title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2554 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 28 /2554
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา
รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 19(1) และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 การขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมซึ่งมีรายการตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) มีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119และตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
(ข) ในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันร่างข้อผูกพันต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุน หากมีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
(3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(4) ร่างหนังสือชี้ชวน
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (1) และร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (2) ผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานด้วย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 34 การยื่นขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมมีประกัน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดการประกัน เช่น จํานวนเงินลงทุนและผลตอบแทนที่ประกัน ระยะเวลาการประกัน วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือผลตอบแทนตามที่ประกันซึ่งต้องไม่เกินห้าวันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนหรือไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่กองทุนรวมเลิก ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกัน ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นต้น
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกันซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวต้องมิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีประกัน
1. ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
2. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
3. บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ
4. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นิติบุคคลตามวรรคหนึ่งต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น
(ข) เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรกจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
(3) มีข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์จะต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 34 การยื่นขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมมีประกัน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดการประกัน เช่น จํานวนเงินลงทุนและผลตอบแทนที่ประกัน ระยะเวลาการประกัน วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือผลตอบแทนตามที่ประกันซึ่งต้องไม่เกินห้าวันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนหรือไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่กองทุนรวมเลิก ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกัน ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นต้น
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกันซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวต้องมิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีประกัน
1. ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
2. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
3. บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ
4. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นิติบุคคลตามวรรคหนึ่งต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น
(ข) เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรกจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
(3) มีข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์จะต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 34 การยื่นขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมมีประกัน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดการประกัน เช่น จํานวนเงินลงทุนและผลตอบแทนที่ประกัน ระยะเวลาการประกัน วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือผลตอบแทนตามที่ประกันซึ่งต้องไม่เกินห้าวันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนหรือไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่กองทุนรวมเลิก ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกัน ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นต้น
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกันซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวต้องมิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีประกัน
1. ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
2. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
3. บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ
4. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นิติบุคคลตามวรรคหนึ่งต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น
(ข) เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรกจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
(3) มีข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์จะต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกข้อ 35 และข้อ 36 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๗ กรณีบริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบในวันก่อนวันที่ประกาศนี้และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2554 เรื่อง แก้ไขข้อกําหนดเกี่ยวกับเอกสารของกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ใช้บังคับ ให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามคําขอดังกล่าวเป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2554 เรื่อง แก้ไขข้อกําหนดเกี่ยวกับเอกสารของกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ใช้บังคับ
ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการที่จะแก้ไขเพิ่มเติม โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(2) คํารับรองว่าข้อมูลของกองทุนรวมดังกล่าวมิได้มีสาระสําคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ คํารับรองต้องลงลายมือชื่อโดยบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และ
(ข) กรรมการที่มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจจากกรรมการ ผู้รับรองต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น
เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้วให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการซึ่งมีสาระสําคัญที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั้นได้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,801 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 5/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 5/2556
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 11 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความดังต่อไปนี้
(1) ข้อ 7 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19 (1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(2) ข้อ 4 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 17 ข้อ 18 และข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2554 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 22 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนรวมวายุภักษ์
(ข) กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
(ค) กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดการดํารงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ําหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินสามเดือน แต่ทั้งนี้ การจัดสรรหน่วยลงทุนให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการกองทุนประกันสังคม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
(3) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น
(4) บุคคลอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร
ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือในกรณีที่มีบุคคลใดถือหน่วยลงทุนเพื่อบุคคลอื่นผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 27 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 27 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ปฏิบัติหรือดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 22 หรือตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (1)
(3) เป็นการถือหน่วยลงทุนโดยบุคคลตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (3) หรือ (4)”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกข้อ 48 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 60 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 60 มิให้นําความในข้อกําหนดดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ
(1) ข้อ 27 วรรคหนึ่ง (1)
(2) ข้อ 22 ข้อ 27 วรรคหนึ่ง (3) และข้อ 29 ทั้งนี้ เฉพาะก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นํามาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด”
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,802 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 12 /2556
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ
กองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 12)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 7 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13) (14) และ (15) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(13) “กองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(ข) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในทรัพย์สินที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม (ก) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(14) “หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า หน่วยลงทุนหรือตราสารดังต่อไปนี้
(ก) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(ข) ตราสารที่ออกโดยกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม (ก)
(15) “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 การตั้งชื่อกองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ จะต้องไม่มีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนเกิดความเข้าใจผิดในลักษณะและประเภทของกองทุนรวมนั้น และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่มีนโยบายลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุชื่อเฉพาะว่า “กองทุนรวมที่ลงทุนในกองโครงสร้างพื้นฐาน”
(2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ให้ระบุชื่อตามหลักเกณฑ์ในข้อ 32/1(2)
(3) กรณีที่เป็นกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ให้ระบุชื่อตามหลักเกณฑ์ในข้อ 61(1)
(4) กรณีที่เป็นกองทุนรวมทองคํา ให้ระบุชื่อตามหลักเกณฑ์ในข้อ 61/2(2)”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ข/1) ใน (3) ของข้อ 61 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(ข/1) หน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ การพิจารณาหมวดอุตสาหกรรมของกองดังกล่าว ให้พิจารณาตามกิจการโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นที่มาของรายได้หรือผลประโยชน์ของกองโครงสร้างพื้นฐานนั้น”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,803 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 38/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 14) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 38 /2556
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา
รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 14)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 8/1 ในส่วนที่ 2 การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวม และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 8/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ปฏิบัติตามประกาศดังต่อไปนี้ และยังมิได้แก้ไขการดําเนินการหรือปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งมีนัยสําคัญต่อการพิจารณาอนุมัติคําขอจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ สํานักงานอาจยกเป็นเหตุในการไม่อนุมัติคําขอจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงานหรือสั่งระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแล้ว ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่ได้เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกต่อประชาชน
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 23 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 19/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรกหากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง
(1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสามสิบห้าราย
(2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึงสิบราย เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกองทุนประกันสังคม
(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป มีการจัดสรรหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ อันเป็นเหตุให้สํานักงานปฏิเสธการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบกรณีตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
เมื่อปรากฏกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน และผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินดังกล่าว (ถ้ามี) ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน โดยในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินค่าจองซื้อและผลประโยชน์ (ถ้ามี) ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินจํานวนดังกล่าวได้ครบถ้วน”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกข้อ 28 และข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 30 ข้อ 31 และข้อ 32 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 49 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 49 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันเหตุของการสิ้นสุดลงของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมหรือดําเนินการตามข้อ 27 ได้”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 60 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 60 มิให้นําความในข้อ 27 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ”
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,804 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 4/2557 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 15) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 4/2557
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ
กองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 15)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 7แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ในการจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะได้รับการอนุมัติแบบปกติ จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในตอนที่ 1 การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบปกติ
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะได้รับอนุมัติแบบเป็นการทั่วไป จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในตอนที่ 2 หลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป
(3) เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแล้ว ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในตอนที่ 3 การดําเนินการเมื่อได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม
ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes การขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต้องดําเนินการโดยวิธีการตามวรรคหนึ่ง (1) เท่านั้น และเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวในประเทศในกลุ่มอาเซียน สํานักงานจะออกหลักฐาน (approval letter) เพื่อนําไปแสดงต่อหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อเมื่อบริษัทจัดการและกองทุนรวมที่จะจัดตั้งเป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,805 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 1/2555 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 1/2555
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ
กองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 10 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,806 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 16) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 35/2558
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ
กองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 16)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 7 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2554 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 การขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมซึ่งมีรายการตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) มีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในมาตรา 119 และตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
(ข) ในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
ร่างข้อผูกพันต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุน หากมีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
(3) เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคําขออื่นตามที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (1) และร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (2) ผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานด้วย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 สํานักงานจะดําเนินการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโดยมีการยื่นคําขอผ่อนผันหรือคําขอรับความเห็นชอบใดเพื่อให้มีคุณสมบัติหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมมาพร้อมกับคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม สํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันหรือคําขอรับความเห็นชอบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,807 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 65/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 17) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 65/2558
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 17)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุจําเป็นโดยไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 1 การจัดตั้งกองทุนรวมและการขายหน่วยลงทุน สําหรับการจัดตั้งกองทุนรวมใดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยต่อสํานักงานได้ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,808 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 78/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 18) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 78/2558
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ
กองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 18)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 16/7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16/7 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแบ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมออกเป็นหลายชนิดได้ เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ โดยต้องกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนชนิดเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน
(1) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน
(2) ระยะเวลาการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(3) สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล
(4) อัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุน
ในหน่วยลงทุน
(5) กรณีเงินที่รับโอนจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือเงินดังกล่าวพร้อมผลประโยชน์ที่รับโอนต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น
(6) กรณีอื่นใดตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนดังกล่าวสามารถปฏิบัติได้จริงและได้คํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดจะได้รับแล้ว
การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งครอบคลุมถึงกรณีที่มีการกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนตามสกุลเงินที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากการชําระค่าขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ถือหน่วยลงทุน การจ่ายเงินปันผลหรือการให้สิทธิและผลประโยชน์อื่นใดในหน่วยลงทุน”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 42/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 42/1 ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมมีการกําหนดเหตุเลิกกองทุนรวมไว้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อความที่ให้ผู้ลงทุนแสดงเจตนาว่าประสงค์จะให้มีการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นหรือไม่ ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน
ในกรณีที่ผู้ลงทุนประสงค์จะให้มีการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้ผู้ลงทุนระบุเกี่ยวกับประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่ผู้ลงทุนประสงค์จะให้โอนไปให้ชัดเจนด้วย ทั้งนี้ หากในช่วงเวลาที่จะมีการโอนย้ายการลงทุนไม่มีกองทุนรวมตามที่ผู้ลงทุนระบุไว้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวม ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) โอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นใดที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเดิม
(2) ในกรณีที่ไม่มีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนตาม (1) ให้โอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนซึ่งมีความเสี่ยงต่ําที่สุด”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 53 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 53 ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมมีการกําหนดเหตุเลิกกองทุนรวมไว้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อความที่ให้ผู้ลงทุนแสดงเจตนาว่าประสงค์จะให้มีการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นหรือไม่ ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,809 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 42 2540
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์ นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการยืมและให้ยืม หลักทรัพย์
“การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อ การส่งมอบ
“ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญากู้ยืมเงินกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการซื้อ หลักทรัพย์ หรือผู้ที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการขายชอร์ต แต่ไม่รวมถึง ผู้ยืมหลักทรัพย์ที่มีฐานะเป็นลูกค้าสถาบันตามบทนิยามในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ที่ กค. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้น อยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
“บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อการซื้อ หลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต
“อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น” หมายความว่า อัตราส่วนขั้นต่ําของจํานวนเงินที่ลูกค้าต้องชําระ เพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าที่ลูกค้าต้องมีในบัญชีมาร์จิ้น ต่อมูลค่าซื้อหลักทรัพย์ รายการใดรายการหนึ่งก่อนที่จะซื้อหลักทรัพย์รายการนั้น หรืออัตราส่วนขั้นต่ําของจํานวนเงินที่ลูกค้า ต้องวางเป็นประกันเพื่อขายชอร์ตหรือทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าที่ลูกค้าต้องมีในบัญชีมาร์จิ้น ต่อมูลค่าขายชอร์ตรายการใดรายการหนึ่งก่อนที่จะขายชอร์ตรายการนั้น แล้วแต่กรณี
“ทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่ลูกค้าต้องดํารงไว้ตามอัตราส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด
“ทรัพย์สินของลูกค้า” หมายความว่า มูลค่าสุทธิของเงินสด หลักทรัพย์ และ ทรัพย์สินอื่นที่เป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง เมื่อหักภาระหนี้ ที่เกิดจากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายนั้นแล้ว
“มูลค่าซื้อ” หมายความว่า จํานวนเงินค่าซื้อหลักทรัพย์แต่ละรายการที่ซื้อจาก บัญชีมาร์จิ้น ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายการนั้นแล้ว
“มูลค่าขายชอร์ต” หมายความว่า จํานวนเงินค่าขายชอร์ตหลักทรัพย์แต่ละรายการ ที่ขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้น ซึ่งหักค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายการนั้นแล้ว
“อํานาจซื้อ” หมายความว่า จํานวนเงินสูงสุดที่ลูกค้าอาจสั่งซื้อหลักทรัพย์จากบัญชี มาร์จิ้นได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว
“อํานาจขายชอร์ต” หมายความว่า จํานวนเงินสูงสุดที่ลูกค้าอาจสั่งขายชอร์ต จากบัญชีมาร์จิ้นได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว
“เงินกองทุน” หมายความว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินสําหรับงวดบัญชีล่าสุด ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ แต่สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนด้วย "เงินกองทุน" ให้หมายถึง เงินกองทุนส่วนที่ได้จัดสรรไว้ ในบัญชีด้านธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งปรากฏตามบัญชีการประกอบธุรกิจเงินทุนและการประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ที่จัดทําแยกออกจากกันตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ณ วันเดียวกับ วันสิ้นงวดบัญชีล่าสุดของงวดบัญชีที่ต้องมีการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี
“ประกาศคณะกรรมการ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
“ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์จะอนุมัติให้บุคคลใดกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าวที่เพียงพอในการวิเคราะห์ความเหมาะสม ในการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต และความสามารถ ในการชําระหนี้ของบุคคลนั้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติให้บุคคลดังกล่าวกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ หลักทรัพย์หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต ทั้งนี้ ข้อมูลขั้นต่ําที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องใช้ประกอบ การพิจารณา ได้แก่
(ก) รายได้ ฐานะการเงิน และวัตถุประสงค์ของการลงทุน
(ข) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ประวัติการลงทุน และประวัติ การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
(ค) ความพร้อมและความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
(2) ตรวจสอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทําว่า บุคคลที่ขอกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ หลักทรัพย์หรือขอยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตเป็นผู้ที่มีอํานาจตัดสินใจสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และมีความสามารถในการชําระหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายดังกล่าว ทั้งนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ รู้หรือควรรู้ว่าเป็นตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์อนุมัติให้บุคคลใดกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือ ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแล้ว บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) กําหนดวงเงินสูงสุดที่ลูกค้าอาจเป็นหนี้บริษัทหลักทรัพย์ได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เนื่องจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของลูกค้ารายนั้น ทั้งนี้ สําหรับลูกค้ารายที่ได้รับอนุมัติให้ทําธุรกรรมทั้งสองลักษณะ ให้บริษัทหลักทรัพย์กําหนดวงเงินสูงสุดเป็นวงเงินรวม
(2) จัดให้ลูกค้าทําสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต เป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อความที่ลูกค้าแสดงความยินยอมให้บริษัทหลักทรัพย์ ยึดถือหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบัญชีมาร์จิ้นหรือเงินค่าขายชอร์ตไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น ของลูกค้ารายนั้น ทั้งนี้ สําหรับลูกค้ารายที่ได้รับอนุมัติให้ทําธุรกรรมทั้งสองลักษณะ สัญญาที่บริษัท หลักทรัพย์จัดให้ลูกค้าลงนามต้องมีข้อความที่ลูกค้าแสดงความยินยอมให้บริษัทหลักทรัพย์ยึดถือ ทั้งหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบัญชีมาร์จิ้นและเงินค่าขายชอร์ตไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น ของลูกค้ารายนั้น
(3) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงลักษณะความเสี่ยงของการกู้ยืมเงินเพื่อ ซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต รวมทั้งความเสี่ยงจากการวางเงินไว้กับบริษัท หลักทรัพย์ ซึ่งเงินดังกล่าวจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําความเข้าใจกับลูกค้าเกี่ยวกับกฎระเบียบในการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตด้วย
(4) รวบรวมข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวกับลูกค้าไว้ในแฟ้มรายตัว และปรับปรุงให้ แฟ้มดังกล่าวเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
(5) ทบทวนวงเงินตาม (1) ของลูกค้าอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มี การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทหลักทรัพย์พิจารณาทบทวนวงเงินนั้น เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์กําหนดรายชื่อหลักทรัพย์ที่จะอนุญาตให้ลูกค้าซื้อหรือ ขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นและอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสําหรับแต่ละหลักทรัพย์นั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยในการกําหนดรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึง สภาพคล่อง ความผันผวนของราคา และความเสี่ยงของแต่ละหลักทรัพย์เป็นสําคัญ
อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสําหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีเป็นการซื้อหลักทรัพย์ อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่กําหนดใน ประกาศคณะกรรมการ
(2) กรณีเป็นการขายชอร์ต อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่กําหนดใน ประกาศคณะกรรมการ โดยอนุโลม
ข้อ ๕ ในการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติดังนี้
(1) จัดให้มีบัญชีมาร์จิ้นสําหรับลูกค้าแต่ละราย และในกรณีที่ลูกค้ารายใดมีทั้ง การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต ให้บริษัทหลักทรัพย์บันทึกรายการ ทั้งสองลักษณะรวมไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเดียวกัน
(2) ดําเนินการให้ลูกค้านําเงินมาวางไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อเป็นประกันการซื้อขาย หลักทรัพย์ก่อนที่จะให้ลูกค้าเริ่มซื้อหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นเป็นครั้งแรก
(3) ไม่ยินยอมให้ลูกค้าสั่งซื้อหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นเกินกว่า อํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตที่คํานวณได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
ในการคํานวณอํานาจซื้อและอํานาจขายชอร์ตของลูกค้า ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานึงถึงทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าในขณะนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ลูกค้าไม่มี ทรัพย์สินส่วนเกิน แต่ได้นําเงินมาวางเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์เฉพาะคราว ให้บริษัท หลักทรัพย์คํานวณอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าจากจํานวนเงินที่ลูกค้านํามาวางไว้ เฉพาะคราวที่มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ เมื่อสิ้นวันทําการของวันที่ลูกค้านําเงินดังกล่าวมาวางไว้แล้ว หากมีเงินคงเหลือ ให้บริษัทหลักทรัพย์คืนเงินคงเหลือนั้นให้แก่ลูกค้า หรือโอนเงินคงเหลือนั้น ไปบันทึกในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าเสมือนว่าลูกค้าได้นําเงินมาวางเพิ่มเติม ตามแต่จะตกลงกับลูกค้า
(4) กําหนดประเภทของทรัพย์สินที่ลูกค้าอาจนํามาวางเพิ่มเติมเพื่อเป็นประกัน การชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเพิ่มเติมจากลูกค้าเพื่อเป็นประกัน การชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นมิใช่ทรัพย์สินในประเภทต่อไปนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวม ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการคํานวณใด ๆ ตามประกาศนี้
(ก) เงินสด
(ข) หลักทรัพย์จดทะเบียน หรือหุ้นที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(ค) พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรธนาคารแห่ง ประเทศไทย
(ง) หลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(จ) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก
(ฉ) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(ช) หนังสือที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้ไว้แก่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการ ชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้า โดยธนาคารพาณิชย์นั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือนั้นจะออกเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกัน
ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับเพิ่มเติมจากลูกค้าเพื่อเป็น ประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อประโยชน์ในการคํานวณอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของ ลูกค้าได้เฉพาะกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินตาม (ก) หรือ (ข) ของวรรคก่อน
(5) ปรับปรุงมูลค่าหลักประกันและยอดหนี้ของลูกค้าในบัญชีมาร์จิ้นทุกบัญชีให้เป็น ปัจจุบันอย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ โดยในการคํานวณหนี้จากการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตและ มูลค่าหลักประกันที่เป็นหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือ หลักประกันดังกล่าวในวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่า และในกรณีที่ไม่มีราคาดังกล่าว
ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ราคาตราหรือราคาอื่นที่เหมาะสมสําหรับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักประกัน แต่ละประเภท
(6) เรียกเก็บดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อ ขายชอร์ตจากลูกค้า หรือชําระดอกเบี้ยสําหรับเงินที่ลูกค้านํามาวางเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น ในส่วนที่คงเหลืออยู่จากการที่ลูกค้ายังซื้อหลักทรัพย์ไม่เต็มตามจํานวนเงินที่วางไว้ โดยให้ดําเนินการ อย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยคํานวณจากยอดคงค้างในแต่ละวันตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้า ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกเก็บหรือชําระดอกเบี้ยดังกล่าวโดยวิธีปรับปรุงจากบัญชีมาร์จิ้นเสมือนว่า ลูกค้าได้ถอนเงินหรือนําเงินมาวางเพิ่มในบัญชีมาร์จิ้น แล้วแต่กรณี
(7) จัดทําและจัดส่งรายงานให้แก่ลูกค้าอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อสรุปความเคลื่อนไหว ของสถานะความเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ของลูกค้า พร้อมทั้งรายการหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้นและ หลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืมคงค้าง
ข้อ ๖ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มียอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายใดรายหนึ่งเนื่องจาก การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่า ร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายนั้น สูงกว่าอัตราที่กําหนดเนื่องจาก
(1) หลักทรัพย์ที่ยืมมีมูลค่าสูงขึ้น
(2) การเรียกเก็บดอกเบี้ยตามข้อ 5 (6) หรือ
(3) การซื้อหลักทรัพย์เพื่อนํามาคืนการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
ในกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายใดรายหนึ่งสูงเกินกว่าอัตราที่กําหนดตาม วรรคหนึ่ง ไม่ว่าการนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุใด ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่ลูกค้ารายนั้นเพิ่มขึ้นอีกจนกว่าหนี้คงค้างของลูกค้ารายนั้นจะเป็นไป ตามอัตราที่กําหนดแล้ว
การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่บุคคล ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายใดตามนัยมาตรา 258 (1) ถึง (7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้นับรวมเป็นการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่ลูกค้า รายนั้นด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๗ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้าทุกรายรวมกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เกินกว่าห้าเท่าของเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและต้องตรวจสอบ ดูแลให้การปฏิบัติงานของพนักงานในการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์ เพื่อขายชอร์ตเป็นไปตามประกาศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙ หากบริษัทหลักทรัพย์ได้โอนหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายใดไปบันทึก ในบัญชีลูกหนี้ประเภทอื่นแล้ว ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือให้ยืม หลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่ลูกค้ารายนั้นอีกจนกว่าลูกค้าจะได้ชําระหนี้คงค้างทั้งหมดแล้ว
ข้อ ๑๐ หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการให้การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อ หลักทรัพย์ที่มีอยู่เดิมของลูกค้ารายใดเป็นไปตามประกาศนี้ได้ภายในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติมแก่ลูกค้ารายนั้นในบัญชีเดิมอีก และให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเพื่อให้ลูกค้าชําระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่มีอยู่ใน บัญชีเดิมดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากลูกค้ารายใดยังคงมีหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ หลักทรัพย์คงค้างในบัญชีเดิม ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือให้ยืม หลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่ลูกค้ารายนั้นอีกทั้งในบัญชีเดิมและบัญชีมาร์จิ้นตามประกาศนี้
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ื 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,810 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 14/2543 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 14/2543
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 41/2541 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
- 2 -
“(5) ปรับปรุงมูลค่าหลักประกันและยอดหนี้ของลูกค้าในบัญชีมาร์จิ้นทุกบัญชีให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ
ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเพื่อขายชอร์ตและมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยสถาบันการเงิน ที่เป็นสกุลบาท ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณตามวิธีการดังต่อไปนี้
1. ให้ใช้ราคาเสนอขายที่ดีที่สุด (the best offer price) สําหรับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเพื่อขายชอร์ต และใช้ราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด (the best bid price) สําหรับมูลค่าหลักประกัน ซึ่งเป็นราคา ณ สิ้นวันทําการก่อนวันคํานวณมูลค่า หรือใช้ราคาปิด ณ สิ้นวันทําการก่อนวันคํานวณมูลค่าในกรณีที่ไม่มีราคาเสนอขายหรือเสนอซื้อดังกล่าว
2. ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (ก) ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ราคาเสนอขายที่ดีที่สุดสําหรับการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเพื่อขายชอร์ต และใช้ราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุดสําหรับการคํานวณมูลค่าหลักประกัน หรือใช้ราคาปิดในกรณีที่ไม่มีราคาเสนอขายหรือเสนอซื้อดังกล่าว โดยให้ใช้ราคา ณ สิ้นวันทําการย้อนหลังที่ใกล้วันคํานวณมูลค่าที่สุดแต่ต้องไม่เกิน 15 วันทําการก่อนวันคํานวณมูลค่าดังกล่าว
3. ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (ข) หรือบริษัทหลักทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นว่าราคาตาม (ก) และ (ข) ไม่เหมาะสม ให้คํานวณโดยใช้ราคาที่เห็นว่าสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (current market price) ของหลักทรัพย์หรือหลักประกันแต่ละประเภท ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผลและเอกสารหลักฐานที่ทําให้เห็นว่าราคาที่ใช้ในการคํานวณสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,811 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 71/2543 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 71 /2543
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคมพ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2543 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ปรับปรุงมูลค่าหลักประกันและยอดหนี้ของลูกค้าในบัญชีมาร์จิ้นทุกบัญชีให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ
ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเพื่อขายชอร์ตและมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยสถาบันการเงิน ที่เป็นสกุลบาท ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณตามวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือราคาอ้างอิง ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย Reuters Bloomberg หรือหน่วยงานที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ หรือ
- 2 -
1. ให้ใช้ราคาที่เห็นว่าสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (currentmarket price) ของหลักทรัพย์หรือหลักประกันแต่ละประเภท
### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,812 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 17/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 5) | ฟ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 17/2545
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น” หมายความว่า อัตราส่วนขั้นต่ําของจํานวนเงินที่ลูกค้าต้องชําระหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าที่ลูกค้าต้องมีในบัญชีมาร์จิ้น ต่อมูลค่าซื้อหลักทรัพย์รายการใดรายการหนึ่ง ก่อนที่จะซื้อหลักทรัพย์รายการนั้น หรืออัตราส่วนขั้นต่ําของจํานวนเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันเพื่อขายชอร์ต หรือทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าที่ต้องมีในบัญชีมาร์จิ้น ต่อมูลค่าขายชอร์ตรายการใดรายการหนึ่ง ก่อนที่จะขายชอร์ตรายการนั้น แล้วแต่กรณี”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ดําเนินการให้ลูกค้านําเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ ก่อนที่จะให้ลูกค้าเริ่มซื้อหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นครั้งแรก ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์จดทะเบียนที่วางเป็นประกัน ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณมูลค่าตามวิธีการที่กําหนดใน (5) โดยอนุโลม
(3) ไม่ยินยอมให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นเกินกว่าอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตที่คํานวณได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
ในการคํานวณอํานาจซื้อและอํานาจขายชอร์ตของลูกค้า ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานึงถึงทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าในขณะนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ลูกค้าไม่มีทรัพย์สินส่วนเกิน แต่ได้นําเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์เฉพาะคราว ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าจากจํานวนเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ลูกค้านํามาวางไว้เฉพาะคราวที่มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ เมื่อสิ้นวันทําการของวันที่ลูกค้านําเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเป็นประกันแล้ว หากมีเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนคงเหลืออยู่จากการที่ลูกค้าซื้อหรือขายชอร์ตไม่เต็มตามจํานวนเงินหรือตามมูลค่าหลักทรัพย์จดทะเบียนที่วางไว้ ให้บริษัทหลักทรัพย์คืนเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนคงเหลือนั้นให้แก่ลูกค้า หรือโอนไปบันทึกในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าเสมือนว่าลูกค้าได้นําเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเพิ่มเติม ตามแต่จะตกลงกับลูกค้า”
ข้อ 3 ให้ยกเลิก (ข) ใน (4) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 41/2541 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) หลักทรัพย์จดทะเบียน”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะนับรวมทรัพย์สินใดที่มิใช่หลักทรัพย์ จดทะเบียนที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ยึดถือไว้เป็นประกันตามมาตรา 195 เป็นทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการคํานวณใด ๆ ตามประกาศนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,813 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 30/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 6) | .
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 30 /2545
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 17/2545เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะนับรวมทรัพย์สินใดที่มิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ยึดถือไว้เป็นประกันตามมาตรา 195 เป็นทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการคํานวณใด ๆ ตามประกาศนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว เว้นแต่จะเข้ากรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 5/2”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
“ข้อ 5/2 ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อผู้ถือหุ้นเดิม กรรมการหรือพนักงานของบริษัท หรือบุคคลในวงจํากัด ซึ่งลูกค้าได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทนั้นและมีหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นอยู่ด้วย ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันได้ตั้งแต่วันที่ลูกค้าทราบแน่นอนถึงจํานวนและราคาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจนถึงวันก่อนวันที่ลูกค้าชําระเงินค่าจองซื้อ วันที่ลูกค้าปฏิเสธสิทธิในการจองซื้อ หรือวันพ้นกําหนดชําระเงินค่าจองซื้อ แต่มิให้นับรวมมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้า ทั้งนี้ เมื่อลูกค้าได้ชําระเงินค่าจองซื้อแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุน เป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ ตั้งแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นเพิ่มทุนที่จองซื้อแล้วจะนําหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานํากับบริษัทหลักทรัพย์ จนถึงวันก่อนวันที่บริษัทผู้ออกหุ้นทําการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น
ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อบุคคลใด ๆ และลูกค้าได้ชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุน เป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ ตั้งแต่วันที่ลูกค้าทราบแน่นอนถึงจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่ได้รับการจัดสรรและบริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นเพิ่มทุนที่จองซื้อแล้วจะนําหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานํากับบริษัทหลักทรัพย์ จนถึงวันก่อนวันที่บริษัทผู้ออกหุ้นทําการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น
การจัดให้มีมาตรการที่เพียงพอตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. ให้ลูกค้าระบุในใบจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้นําหุ้นเข้าบัญชีฝากหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้าหรือดําเนินการให้ลูกค้ามีหนังสือแจ้งบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนสั่งการให้มีการโอนหุ้นเพิ่มทุนที่ได้จากการจองซื้อเข้าบัญชีฝากหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้า
2. ให้ลูกค้ามีหนังสือมอบอํานาจให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการจํานําหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเป็นประกันตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์
การคํานวณมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยวิธีดังต่อไปนี้
1. กรณีลูกค้ายังไม่ได้ชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ให้คํานวณมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยการนําราคาตลาดของหุ้นที่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนหักด้วยราคาจองซื้อและคูณด้วยจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะได้รับตามสิทธิ
2. กรณีลูกค้าชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนโดยการนําราคาตลาดของหุ้นที่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนคูณด้วยจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะได้รับจากการจัดสรร”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,814 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 13/2546 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 7) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 13/2546
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 7/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 41/2541 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2541
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,815 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 35/2547 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 8) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 35/2547
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะนับรวมทรัพย์สินใดที่มิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ยึดถือไว้เป็นประกันตามมาตรา 195 เป็นทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการคํานวณใด ๆ ตามประกาศนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว เว้นแต่จะเข้ากรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 5/2 หรือข้อ 5/3”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
“ข้อ 5/3 ในกรณีที่มีการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนให้แก่ผู้เสนอขายตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์นั้น และลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะขอถอนหลักทรัพย์ของกิจการดังกล่าวที่เป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อไปเสนอขายตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับจากการจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ ตั้งแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการถอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นออกจากบัญชีมาร์จิ้นและบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวแล้ว ลูกค้าจะนําหุ้นทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานําเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ ตลอดจนผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้มีการระบุสัดส่วนของหุ้นที่ออกใหม่ที่ลูกค้าจะได้รับไว้อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งนี้ จนถึงวันก่อนวันที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้ออกหุ้นใหม่
การจัดให้มีมาตรการที่เพียงพอตามความในวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ให้ลูกค้าระบุในเอกสารเกี่ยวกับการจองซื้อหลักทรัพย์เพื่อให้นําหุ้นที่จะได้รับจากผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เข้าบัญชีฝากหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้า และ
1. ให้ลูกค้ามีหนังสือมอบอํานาจให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการจํานําหุ้นที่จะได้รับจากผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อนําไปเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้า
การคํานวณมูลค่าหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับจากผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยการนําราคาตลาดของหุ้นดังกล่าวคูณด้วยจํานวนหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับนั้น
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ คําว่า “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,816 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 26/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 9) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 26/2551
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
(ฉบับที่ 9)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 30/2540 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2551 เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ลูกค้า” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญากู้ยืมเงินกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการขายชอร์ต แต่ไม่รวมถึงผู้ยืมหลักทรัพย์ที่มีฐานะเป็นลูกค้าสถาบัน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ลูกค้าสถาบัน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ลูกค้า” และบทนิยามคําว่า “บัญชีมาร์จิ้น” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 17/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545
“คําว่า “ลูกค้าสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) จัดให้มีบัญชีมาร์จิ้นสําหรับลูกค้าแต่ละราย”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 17/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) กําหนดประเภทของทรัพย์สินที่ลูกค้าอาจนํามาวางเพิ่มเติมเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเพิ่มเติมจากลูกค้าเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นมิใช่ทรัพย์สิน ตราสารทางการเงิน และหนังสือสัญญาในประเภทต่อไปนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการคํานวณใด ๆ ตามประกาศนี้
(ก) เงินสด
(ข) หลักทรัพย์จดทะเบียน
(ค) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ (daily redemption fund)
(ง) ตั๋วเงินคลัง
(จ) พันธบัตรรัฐบาลไทย
(ฉ) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ช) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออกหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(ซ) ตราสารแห่งหนี้ที่ตัวตราสารนั้นเอง หรือผู้ออกตราสาร ผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับบีบีบี (BBB) ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(ฌ) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก หรือ
(ญ) หนังสือค้ําประกันที่สถาบันการเงินออกให้ไว้แก่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้า โดยสถาบันการเงินนั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือนั้นจะออกเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกัน
ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับเพิ่มเติมจากลูกค้าเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อประโยชน์ในการคํานวณอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้เฉพาะกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินตาม (ก) หรือ (ข) ของวรรคก่อน”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของวรรคสองใน (5) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 71/2543 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือราคาอ้างอิง ณ สิ้นวันทําการก่อนหน้าวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย Reuters Bloomberg หรือผู้ประกอบธุรกิจให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ หรือ”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/2 ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อผู้ถือหุ้นเดิม กรรมการหรือพนักงานของบริษัท หรือบุคคลในวงจํากัด ซึ่งลูกค้าได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทนั้นและมีหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นอยู่ด้วย ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันได้ตั้งแต่วันที่ลูกค้าทราบแน่นอนถึงจํานวนและราคาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจนถึงวันก่อนวันที่ลูกค้าชําระเงินค่าจองซื้อ วันที่ลูกค้าปฏิเสธสิทธิในการจองซื้อ หรือวันพ้นกําหนดชําระเงินค่าจองซื้อ แต่มิให้นับรวมมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้า ทั้งนี้ เมื่อลูกค้าได้ชําระเงินค่าจองซื้อแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ ตั้งแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นเพิ่มทุนที่จองซื้อแล้วจะนําหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหุ้นนั้น จนถึงวันก่อนวันที่บริษัทผู้ออกหุ้นทําการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น
ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อบุคคลใด ๆ และลูกค้าได้ชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุน เป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ ตั้งแต่วันที่ลูกค้าทราบแน่นอนถึงจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่ได้รับการจัดสรรและบริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นเพิ่มทุนที่จองซื้อแล้วจะนําหุ้นดังกล่าว
ทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนดเพื่อให้
บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหุ้นนั้น จนถึงวันก่อนวันที่บริษัทผู้ออกหุ้นทําการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น
การคํานวณมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยวิธีดังต่อไปนี้
(1) กรณีลูกค้ายังไม่ได้ชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ให้คํานวณมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยการนําราคาตลาดของหุ้นที่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนหักด้วยราคาจองซื้อและคูณด้วยจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะได้รับตามสิทธิ
(2) กรณีลูกค้าชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนโดยการนําราคาตลาดของหุ้นที่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนคูณด้วยจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะได้รับจากการจัดสรร”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2547 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5/3 ในกรณีที่มีการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนให้แก่ผู้เสนอขายตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์นั้น และลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะขอถอนหลักทรัพย์ของกิจการดังกล่าวที่เป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อไปเสนอขายตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับจากการจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ ตั้งแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการถอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นออกจากบัญชีมาร์จิ้นและบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวแล้วจะนําหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหุ้นนั้น ตลอดจนผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้มีการระบุสัดส่วนของหุ้นที่ออกใหม่ที่ลูกค้าจะได้รับไว้อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งนี้ จนถึงวันก่อนวันที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้ออกหุ้นใหม่
การคํานวณมูลค่าหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับจากผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยการนําราคาตลาดของหุ้นดังกล่าวคูณด้วยจํานวนหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับนั้น
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ คําว่า “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 41/2541 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มียอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายใดรายหนึ่ง เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ และห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มียอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้าทุกรายรวมกันภายหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่าห้าเท่าของเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์
การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายใดตามนัยมาตรา 258 ให้นับรวมเป็นการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้าตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณยอดหนี้คงค้างตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับระบบงาน สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์และหลักประกัน ในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมยอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นยอดหนี้คงค้างตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายใดรายหนึ่งหรือทุกรายรวมกันสูงกว่าอัตราที่กําหนดเนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้
(1) หลักทรัพย์ที่ยืมมีมูลค่าสูงขึ้น
(2) การเรียกเก็บดอกเบี้ยตามข้อ 5(6)
(3) การซื้อหลักทรัพย์เพื่อนํามาคืนการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
(4) เงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ลดลง
ในกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายใดรายหนึ่งหรือทุกรายรวมกัน สูงเกินกว่าอัตราที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าการนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุใด ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกจนกว่ายอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายนั้นจะเป็นไปตามอัตราที่กําหนด และห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายใดเพิ่มเติมอีกจนกว่ายอดหนี้คงค้างของลูกค้าทุกรายรวมกันภายหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะเป็นไปตามอัตราที่กําหนด แล้วแต่กรณี”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 41/2541 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2541
ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ :- เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อขยายประเภทลูกค้าสถาบันให้ครอบคลุมกว้างขึ้น รวมถึงผ่อนคลายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการสามารถให้บริการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้ายิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการกับหลักทรัพย์ที่เป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 195 และมาตรา 228/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,817 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 45/2561 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 45/2561
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ
การให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 5(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2552
เรื่อง การขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่
3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ด้วย
“การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ
“ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญากู้ยืมเงินกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการขายชอร์ต แต่ไม่รวมถึงผู้ยืมหลักทรัพย์ที่มีฐานะเป็นลูกค้าสถาบัน
คําว่า “ลูกค้าสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
“บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต
“อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น” หมายความว่า อัตราส่วนขั้นต่ําของจํานวนเงินที่ลูกค้าต้องชําระหรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าที่ลูกค้าต้องมีในบัญชีมาร์จิ้น ต่อมูลค่าซื้อหลักทรัพย์รายการใดรายการหนึ่งก่อนที่จะซื้อหลักทรัพย์รายการนั้น หรืออัตราส่วนขั้นต่ําของจํานวนเงินหรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันเพื่อ
ขายชอร์ต หรือทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าที่ต้องมีในบัญชีมาร์จิ้นต่อมูลค่าขายชอร์ตรายการใดรายการหนึ่ง ก่อนที่จะขายชอร์ตรายการนั้น แล้วแต่กรณี
“ทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินของลูกค้ารายใดรายหนึ่งในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่ลูกค้าต้องดํารงไว้ตามอัตราส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด
“ทรัพย์สินของลูกค้า” หมายความว่า มูลค่าสุทธิของเงิน หลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นที่เป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง เมื่อหักภาระหนี้ที่เกิดจากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายนั้นแล้ว
“มูลค่าซื้อ” หมายความว่า จํานวนเงินค่าซื้อหลักทรัพย์แต่ละรายการที่ซื้อจากบัญชีมาร์จิ้น ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายการนั้นแล้ว
“มูลค่าขายชอร์ต” หมายความว่า จํานวนเงินค่าขายชอร์ตหลักทรัพย์แต่ละรายการที่ขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้น ซึ่งหักค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายการนั้นแล้ว
“อํานาจซื้อ” หมายความว่า จํานวนเงินสูงสุดที่ลูกค้าอาจสั่งซื้อหลักทรัพย์จากบัญชีมาร์จิ้นได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว
“อํานาจขายชอร์ต” หมายความว่า จํานวนเงินสูงสุดที่ลูกค้าอาจสั่งขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“เงินกองทุน” หมายความว่า ผลรวมของ
(1) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามแบบรายงานฐานะการเงิน (บ.ล. 2) ณ วันสิ้นเดือนล่าสุด ทั้งนี้ ในระหว่างที่บริษัทยังอยู่ระหว่างการจัดทํารายงานตามแบบ บ.ล. 2 ให้บริษัทนั้นใช้ข้อมูลส่วนของผู้ถือหุ้นตามแบบ บ.ล. 2 ณ วันสิ้นเดือนก่อนหน้าวันสิ้นเดือนล่าสุดได้ จนถึงวันก่อนหน้าวันที่บริษัทได้ยื่นรายงานตามแบบ บ.ล. 2 ณ วันสิ้นเดือนล่าสุดต่อสํานักงานแล้ว หรือจนถึงวันที่ 20 ของเดือนปัจจุบัน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
(2) ทุนที่ออกและชําระแล้ว ซึ่งรวมส่วนเกินมูลค่าหุ้นและหักส่วนลดมูลค่าหุ้นแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากการเพิ่มทุนหรือลดทุนของบริษัทภายหลังวันที่ระบุ
ในแบบรายงานตาม (1)
(3) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์นั้นภายหลังวันที่ระบุในแบบรายงานตาม (1)
ข้อ ๒ ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์จะอนุมัติให้บุคคลใดกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าวที่เพียงพอในการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต และความสามารถในการชําระหนี้ของบุคคลนั้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติให้บุคคลดังกล่าวกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต ทั้งนี้ ข้อมูลขั้นต่ําที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องใช้ประกอบการพิจารณาได้แก่
(ก) รายได้ ฐานะการเงิน และวัตถุประสงค์ของการลงทุน
(ข) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ประวัติการลงทุน และประวัติการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
(ค) ความพร้อมและความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
(2) ตรวจสอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทําว่า บุคคลที่ขอกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือขอยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตเป็นผู้ที่มีอํานาจตัดสินใจสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และมีความสามารถในการชําระหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายดังกล่าว ทั้งนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์รู้หรือควรรู้ว่าเป็นตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์อนุมัติให้บุคคลใดกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือ
ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแล้ว บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) กําหนดวงเงินสูงสุดที่ลูกค้าอาจเป็นหนี้บริษัทหลักทรัพย์ได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเนื่องจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของลูกค้ารายนั้น ทั้งนี้ สําหรับลูกค้ารายที่ได้รับอนุมัติให้ทําธุรกรรมทั้งสองลักษณะ ให้บริษัทหลักทรัพย์กําหนดวงเงินสูงสุดเป็นวงเงินรวม
(2) จัดให้ลูกค้าทําสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อความที่ลูกค้าแสดงความยินยอมให้บริษัทหลักทรัพย์ยึดถือหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบัญชีมาร์จิ้นหรือเงินค่าขายชอร์ตไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายนั้น ทั้งนี้ สําหรับลูกค้ารายที่ได้รับอนุมัติให้ทําธุรกรรมทั้งสองลักษณะ สัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์จัดให้ลูกค้าลงนามต้องมีข้อความที่ลูกค้าแสดงความยินยอมให้บริษัทหลักทรัพย์ยึดถือทั้งหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบัญชีมาร์จิ้นและเงินค่าขายชอร์ตไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายนั้น
(3) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงลักษณะความเสี่ยงของการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต รวมทั้งความเสี่ยงจากการวางเงินไว้กับ
บริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเงินดังกล่าวจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องทําความเข้าใจกับลูกค้าเกี่ยวกับกฎระเบียบในการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตด้วย
(4) รวบรวมข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวกับลูกค้าไว้ในแฟ้มรายตัว และปรับปรุงให้แฟ้มดังกล่าวเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
(5) ทบทวนวงเงินตาม (1) ของลูกค้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทหลักทรัพย์พิจารณาทบทวนวงเงินนั้น เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์กําหนดรายชื่อหลักทรัพย์ที่จะอนุญาตให้ลูกค้าซื้อหรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นและอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสําหรับแต่ละหลักทรัพย์นั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยในการกําหนดรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึงสภาพคล่อง ความผันผวนของราคา และความเสี่ยงของแต่ละหลักทรัพย์เป็นสําคัญ
อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสําหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการซื้อหลักทรัพย์ อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่กําหนด
ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์
(2) กรณีเป็นการขายชอร์ต อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่กําหนด
ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อ
การซื้อหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
ข้อ ๕ ในการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีบัญชีมาร์จิ้นสําหรับลูกค้าแต่ละราย
(2) ดําเนินการให้ลูกค้านําเงินหรือหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังนี้ มาวางไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ ก่อนที่จะให้ลูกค้าเริ่มซื้อหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้นครั้งแรก ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณมูลค่าตามวิธีการที่กําหนด
ใน (5) โดยอนุโลม
(ก) หลักทรัพย์จดทะเบียน
(ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน
ทุกวันทําการ (daily redemption fund) แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนที่มีข้อจํากัดการโอน
(ค) ตั๋วเงินคลัง
(ง) พันธบัตรรัฐบาลไทย
(จ) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฉ) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออกหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(ช) ตราสารแห่งหนี้ที่ตัวตราสารนั้นเอง หรือผู้ออกตราสาร ผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับบีบีบี (BBB) ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
หลักทรัพย์ตาม (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อน
(3) ไม่ยินยอมให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตจากบัญชีมาร์จิ้น
เกินกว่าอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตที่คํานวณได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
ในการคํานวณอํานาจซื้อและอํานาจขายชอร์ตของลูกค้า ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานึงถึงทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าในขณะนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ลูกค้าไม่มีทรัพย์สินส่วนเกิน แต่ได้นําเงินหรือหลักทรัพย์ตาม (2) มาวางเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์เฉพาะคราวให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าจากจํานวนเงินหรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้านํามาวางไว้เฉพาะคราวที่มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ เมื่อสิ้นวันทําการของวันที่ลูกค้านําเงินหรือหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันแล้ว หากมีเงินหรือหลักทรัพย์คงเหลืออยู่จากการที่ลูกค้าซื้อหรือขายชอร์ตไม่เต็มตามจํานวนเงินหรือตามมูลค่าหลักทรัพย์ที่วางไว้ ให้บริษัทหลักทรัพย์คืนเงินหรือหลักทรัพย์คงเหลือนั้นให้แก่ลูกค้าหรือโอนไปบันทึกในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าเสมือนว่าลูกค้าได้นําเงินหรือหลักทรัพย์มาวางเพิ่มเติม ตามแต่จะตกลงกับลูกค้า
(4) กําหนดประเภทของทรัพย์สินที่ลูกค้าอาจนํามาวางเพิ่มเติมเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเพิ่มเติมจากลูกค้าเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นมิใช่ทรัพย์สิน ตราสารทางการเงิน และหนังสือสัญญาในประเภทต่อไปนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการคํานวณใด ๆ ตามประกาศนี้
(ก) เงิน
(ข) หลักทรัพย์จดทะเบียน
(ค) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ (daily redemption fund) แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนที่มีข้อจํากัดด้านการโอน
(ง) ตั๋วเงินคลัง
(จ) พันธบัตรรัฐบาลไทย
(ฉ) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ช) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออกหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(ซ) ตราสารแห่งหนี้ที่ตัวตราสารนั้นเอง หรือผู้ออกตราสาร ผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับบีบีบี (BBB) ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(ฌ) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก หรือ
(ญ) หนังสือค้ําประกันที่สถาบันการเงินออกให้ไว้แก่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้า โดยสถาบันการเงินนั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือนั้นจะออกเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกัน
ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับเพิ่มเติมจากลูกค้าเพื่อเป็น
ประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อประโยชน์ในการคํานวณอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้เฉพาะกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินตาม (ก) ถึง (ซ) ทั้งนี้ หากเป็นทรัพย์สินประเภท (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยด้วย
(5) ปรับปรุงมูลค่าหลักประกันและยอดหนี้ของลูกค้าในบัญชีมาร์จิ้นทุกบัญชีให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ
ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเพื่อขายชอร์ตและมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงิน เล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยสถาบันการเงินที่เป็นสกุลบาท ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณตามวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้
(ก) ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวันทําการก่อนวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์ หรือราคาอ้างอิง ณ สิ้นวันทําการก่อนวันที่คํานวณมูลค่าที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย Thomson Reuters Bloomberg หรือผู้ประกอบธุรกิจให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ หรือ
(ข) ให้ใช้ราคาที่เห็นว่าสามารถสะท้อนถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (current market price) ของหลักทรัพย์หรือหลักประกันแต่ละประเภท
(6) เรียกเก็บดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตจากลูกค้า หรือชําระดอกเบี้ยสําหรับเงินที่ลูกค้านํามาวางเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นในส่วนที่คงเหลืออยู่จากการที่ลูกค้ายังซื้อหลักทรัพย์ไม่เต็มตามจํานวนเงินที่วางไว้ โดยให้ดําเนินการอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยคํานวณจากยอดคงค้างในแต่ละวันตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้า ทั้งนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกเก็บหรือชําระดอกเบี้ยดังกล่าวโดยวิธีปรับปรุงจากบัญชีมาร์จิ้นเสมือนว่าลูกค้าได้ถอนเงินหรือนําเงินมาวางเพิ่มในบัญชีมาร์จิ้น แล้วแต่กรณี
(7) จัดทําและจัดส่งรายงานให้แก่ลูกค้าอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อสรุปความเคลื่อนไหวของสถานะความเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ของลูกค้า พร้อมทั้งรายการหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้นและหลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืมคงค้าง
ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะนับรวมทรัพย์สินใดที่มิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ยึดถือไว้เป็นประกันตามมาตรา 195 เป็นทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการคํานวณใด ๆ ตามประกาศนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว เว้นแต่จะเข้ากรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 7 หรือข้อ 8
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อ ผู้ถือหุ้นเดิม กรรมการหรือพนักงานของบริษัท หรือบุคคลในวงจํากัด ซึ่งลูกค้าได้รับสิทธิในการจองซื้อ หุ้นเพิ่มทุนของบริษัทนั้นและมีหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นอยู่ด้วย ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันได้ตั้งแต่วันที่ลูกค้าทราบแน่นอนถึงจํานวนและราคาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจนถึงวันก่อนวันที่ลูกค้าชําระเงิน
ค่าจองซื้อ วันที่ลูกค้าปฏิเสธสิทธิในการจองซื้อ หรือวันพ้นกําหนดชําระเงินค่าจองซื้อ แต่มิให้นับรวมมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้า ทั้งนี้ เมื่อลูกค้าได้ชําระเงินค่าจองซื้อแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ ตั้งแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นเพิ่มทุนที่จองซื้อแล้วจะนําหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหุ้นนั้น จนถึงวันก่อนวันที่บริษัทผู้ออกหุ้นทําการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น
ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อบุคคลใด ๆ และลูกค้าได้ชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ตั้งแต่วันที่ลูกค้าทราบแน่นอนถึงจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่ได้รับการจัดสรรและบริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอ
ที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นเพิ่มทุนที่จองซื้อแล้วจะนําหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหุ้นนั้น จนถึงวันก่อนวันที่บริษัทผู้ออกหุ้นทําการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น
การคํานวณมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยวิธีดังต่อไปนี้
(1) กรณีลูกค้ายังไม่ได้ชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ให้คํานวณมูลค่าสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยการนําราคาตลาดของหุ้นที่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนหักด้วยราคาจองซื้อและคูณด้วยจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะได้รับตามสิทธิ
(2) กรณีลูกค้าชําระเงินค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสิทธิที่จะได้รับหุ้นเพิ่มทุนโดยการนําราคาตลาดของหุ้นที่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนคูณด้วยจํานวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะได้รับจากการจัดสรร
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนให้แก่ผู้เสนอขายตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์นั้น และลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะขอถอนหลักทรัพย์ของกิจการดังกล่าวที่เป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อไปเสนอขายตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมมูลค่าหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับจากการจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวเป็นหลักประกันและอํานาจซื้อหรืออํานาจขายชอร์ตของลูกค้าได้ตั้งแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการถอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นออกจากบัญชีมาร์จิ้นและบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้มีมาตรการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลูกค้าได้รับหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวแล้วจะนําหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนมาจดทะเบียนจํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหุ้นนั้น ตลอดจนผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้มีการระบุสัดส่วนของหุ้นที่ออกใหม่ที่ลูกค้าจะได้รับไว้อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งนี้ จนถึงวันก่อนวันที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้ออกหุ้นใหม่
การคํานวณมูลค่าหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับจากผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยการนําราคาตลาดของหุ้นดังกล่าวคูณด้วยจํานวนหุ้นที่ลูกค้าจะได้รับนั้น
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ คําว่า “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๙ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มียอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายใดรายหนึ่ง เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่าร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ และห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มียอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้าทุกรายรวมกันภายหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่า 5 เท่าของเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์
การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายใดตามนัยมาตรา 258 ให้นับรวมเป็นการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้าตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณยอดหนี้คงค้างตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับระบบงาน สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์และหลักประกัน ในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์นับรวมยอดหนี้คงค้างเนื่องจากการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นยอดหนี้คงค้างตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายใดรายหนึ่งหรือทุกรายรวมกันสูงกว่าอัตราที่กําหนดเนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้
(1) หลักทรัพย์ที่ยืมมีมูลค่าสูงขึ้น
(2) การเรียกเก็บดอกเบี้ยตามข้อ 5(6)
(3) การซื้อหลักทรัพย์เพื่อนํามาคืนการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
(4) เงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ลดลง
ในกรณีที่ยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายใดรายหนึ่งหรือทุกรายรวมกัน สูงเกินกว่าอัตรา
ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าการนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุใด ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกจนกว่ายอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายนั้นจะเป็นไปตามอัตราที่กําหนด และห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายใดเพิ่มเติมอีกจนกว่ายอดหนี้คงค้างของลูกค้าทุกรายรวมกันภายหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะเป็นไปตามอัตราที่กําหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและต้องตรวจสอบ
ดูแลให้การปฏิบัติงานของพนักงานในการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์
เพื่อขายชอร์ตเป็นไปตามประกาศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ หากบริษัทหลักทรัพย์ได้โอนหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้ารายใดไปบันทึก
ในบัญชีลูกหนี้ประเภทอื่นแล้ว ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือให้ยืม
หลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตแก่ลูกค้ารายนั้นอีกจนกว่าลูกค้าจะได้ชําระหนี้คงค้างทั้งหมดแล้ว
ข้อ ๑๒ ให้บรรดาคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 42/2540 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,818 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 9/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง เพื่อการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 9/2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ
และการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทํา
และส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง
เพื่อการออกหุ้นกู้อนุพันธ์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 และข้อ 9 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ประกาศที่ ทจ. 12/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(2) “หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง” หมายความว่า หุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น
(3) “หุ้นอ้างอิง” (underlying shares) หมายความว่า หุ้นรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์มีสิทธิส่งมอบหรือที่ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์มีสิทธิได้รับมอบ เพื่อการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามหุ้นกู้อนุพันธ์
(4) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ บริษัทที่ประสงค์จะออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามแบบ 35-sn/dw ที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง เว้นแต่ในกรณีที่หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์เป็นหุ้นที่จัดอยู่ในดัชนีหลักทรัพย์ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประเภทดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง แต่ยังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 และข้อ 6
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
ข้อ ๔ บริษัทที่ยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงจะได้รับแจ้งยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิงก็ต่อเมื่อสํานักงานพิจารณาเห็นว่าการใช้หุ้นอ้างอิงในกรณีดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงวิธีในการบริหารความเสี่ยงในหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงของบริษัทที่ยื่นคําขอประกอบด้วย
ในการแจ้งยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง สํานักงานอาจกําหนดมูลค่าหรือจํานวนหุ้นอ้างอิงสูงสุด หรือระยะเวลาในการใช้หุ้นอ้างอิงนั้นไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุน สํานักงานอาจประกาศระงับการนําหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาใช้เป็นหุ้นอ้างอิง ภายใต้เงื่อนไขหรือระยะเวลาที่กําหนด (ถ้ามี) แต่การประกาศดังกล่าวไม่กระทบต่อหุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้เสนอขายต่อผู้ลงทุนไปก่อนแล้ว
ข้อ ๖ ภายหลังการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง บริษัทต้องดําเนินการ
ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) แจ้งจํานวนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงที่ขายได้ พร้อมทั้งจํานวนหุ้นอ้างอิงในหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงดังกล่าว ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันปิดการเสนอขาย
(2) แจ้งจํานวนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงที่ได้มีการไถ่ถอนแล้ว พร้อมทั้งจํานวนหุ้นอ้างอิงในหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงดังกล่าว ให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิง
ในกรณีที่การเสนอขายหรือการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงกระทําอย่างต่อเนื่อง ให้บริษัทแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการเสนอขายหรือการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงนั้น
ในการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บริษัทจะดําเนินการตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ก็ได้
(1) แจ้งข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทจะใช้แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ (แบบ 81-1) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนก็ได้
(2) แจ้งข้อมูลผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ทําให้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิงสําหรับการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีความแตกต่างจากหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิงสําหรับการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ ดังนั้น เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิงสําหรับการออกหุ้นกู้อนุพันธ์เป็นการเฉพาะ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,819 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 42/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง เพื่อการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 42/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ
และการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทํา
และส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง
เพื่อการออกหุ้นกู้อนุพันธ์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ประกอบกับข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 9/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิงเพื่อการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 บริษัทที่ประสงค์จะออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ใช้หุ้นอ้างอิงต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามแบบ 35-sn/dw ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์เป็นหุ้นที่จัดอยู่ในดัชนีหลักทรัพย์ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประเภทดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง แต่ยังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 และข้อ 6
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงภายในสามวันทําการ
นับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอตรวจสอบหุ้นอ้างอิงพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
-----------------------------------------------------------------------
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,820 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 20/2555 เรื่อง การพิจารณาขนาดของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 20/2555
เรื่อง การพิจารณาขนาดของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต
ให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น
(holding company) เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การพิจารณาขนาดของบริษัทดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามตารางท้ายประกาศนี้
(ก) ผู้ขออนุญาตซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญเป็นของตนเอง
(ข) บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(ค) บริษัทอื่นซึ่งไม่เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตาม (ข)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,821 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 50/2561 เรื่อง การพิจารณาขนาดของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 50/2561
เรื่อง การพิจารณาขนาดของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต
ให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น
(holding company) เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 23 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 20/2555 เรื่อง การพิจารณาขนาดของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ข้อ ๒ การพิจารณาขนาดของบริษัทดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามตารางท้ายประกาศนี้
(1) ผู้ขออนุญาตซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญเป็นของตนเอง
(2) บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559
(3) บริษัทอื่นซึ่งไม่เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตาม (2)
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,822 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 50/2558 เรื่อง การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 50/2558
เรื่อง การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
โดยที่มาตรา 100 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงกระบวนการในการพิจารณาคําขออนุญาตให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานจึงกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ตั้งบุคคลอื่นเพื่อเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 22/2557 เรื่อง การตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีที่เป็นการตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศนอกเหนือจากกรณีตาม (1) ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่นิติบุคคลดังกล่าวยังไม่เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดการมาก่อน ให้บริษัทจัดการยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
(ข) ในกรณีที่นิติบุคคลดังกล่าวเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดการมาแล้ว ให้บริษัทจัดการแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าสิบห้าวันทําการก่อนวันที่มีการตั้งตัวแทนนั้น ทั้งนี้ หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,823 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 51/2561 เรื่อง การมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 51/2561
เรื่อง การมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ
ในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่มาตรา 100 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 กําหนดให้การมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน สํานักงานจึงกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน หรือการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ และผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ประกาศ ที่ ทธ. 60/2561” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ข้อ ๒ การมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามประกาศนี้ นอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 3 หากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศ ที่ ทธ. 60/2561 แล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะมอบหมายงานจัดการลงทุนของกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรืองานจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้แก่ผู้รับดําเนินการต่างประเทศที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 18 วรรคสอง แห่งประกาศ ที่ ทธ. 60/2561 ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,824 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 52/2558 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 17/2558
เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขาย
หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ประกอบกับข้อ 9 และข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และประกอบกับข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 24/2553 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2557 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๒ ให้กิจการที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ดําเนินการดังต่อไปนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(1) การยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
(2) การยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปและในวงจํากัด
ข้อ ๓ ให้กิจการชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามข้อ 2(1) ในวันที่ยื่นคําขอ
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,825 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 54/2561 เรื่อง การจัดทำรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ของกรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 54/2561
เรื่อง การจัดทํารายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์
ของกรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์
และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 ประกอบกับมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทรัสต์” หมายความว่า กองทรัสต์ดังต่อไปนี้
(1) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(2) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีข้อจํากัดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่
“หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์จากการจัดการกองทรัสต์
“ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับต่อ
จากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย และให้หมายความรวมถึงบุคคลดังต่อไปนี้ด้วย
(1) กรรมการในคณะกรรมการลงทุน
(2) ผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการกองทรัสต์
“คณะกรรมการลงทุน” หมายความว่า คณะกรรมการที่ผู้จัดการกองทรัสต์แต่งตั้งหรือมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวทําหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนของกองทรัสต์
“การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หมวด ๑ บุคคลที่มีหน้าที่รายงานการถือ
และการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒ กรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์มีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามหมวด 2
ข้อ ๓ นอกจากการมีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ในส่วนของตนเองแล้ว ให้กรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์มีหน้าที่รายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับตนเองดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามหมวด 2
(1) คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
(2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(3) นิติบุคคลซึ่งตนเอง บุคคลตาม (1) และบุคคลตาม (2) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลดังกล่าว และการถือหุ้นรวมกันดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในนิติบุคคลนั้น
หมวด ๒ กรณียกเว้นที่ไม่ต้องรายงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ การเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์เนื่องจากกรณีดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
(1) การได้หน่วยทรัสต์ตามสัดส่วนจํานวนหน่วยทรัสต์ที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละคนถืออยู่
(2) การได้หน่วยทรัสต์มาโดยทางมรดก
(3) การเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์อันเนื่องมาจากการทําธุรกรรมยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ที่กระทํากับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์หรือศูนย์ฝากหลักทรัพย์ และเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่บุคคลตามข้อ 2 หรือข้อ 3(1) (2) หรือ (3) เป็นผู้ให้ยืมหน่วยทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดในสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิในการเรียกคืนหน่วยทรัสต์ที่ให้ยืมได้ตลอดอายุของสัญญา
(ข) กรณีที่บุคคลตามข้อ 2 หรือข้อ 3(1) (2) หรือ (3) เป็นผู้ยืมหน่วยทรัสต์
ต้องส่งมอบหน่วยทรัสต์ที่ได้จากการยืมภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ยืมหน่วยทรัสต์นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบเพื่อการขายชอร์ตหรือการให้ยืมต่อในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(ค) กรณีที่บุคคลตามข้อ 2 หรือข้อ 3(1) (2) หรือ (3) เป็นผู้ยืมหน่วยทรัสต์ ต้องส่งมอบหน่วยทรัสต์คืนภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหน่วยทรัสต์เพื่อการส่งคืน
(4) การวางหลักประกันหรือรับหลักประกันโดยการโอนกรรมสิทธิ์ในหน่วยทรัสต์ที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับหลักประกัน ทั้งนี้ เฉพาะสําหรับธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (3)
ในกรณีที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหน่วยทรัสต์ตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (3) และ (4) ให้บุคคลตามข้อ 2 รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในข้อ 8
หมวด ๓ วิธีและระยะเวลาในการรายงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ให้กรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ รายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้
(1) ได้รับการจัดสรรหน่วยทรัสต์จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก
(2) มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหน่วยทรัสต์ เว้นแต่เป็นการโอนหรือรับโอนซึ่งกระทํากับผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) ที่ถือครองหน่วยทรัสต์แทนบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้กรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์จัดทําและส่งรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ตามข้อ 5 ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ตามระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 7
(1) กรณีรายงานที่ต้องส่งตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 ให้จัดทําและส่งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์สํานักงาน
(2) กรณีรายงานที่ต้องส่งตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ให้จัดทําและส่งในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๗ ให้กรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ส่งรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ตามข้อ 6 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) ภายใน 7 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ในกรณีที่เป็นการส่งรายงานตามเหตุในข้อ 5(1)
(2) ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่เป็นการส่งรายงานตามเหตุในข้อ 5(2)
ข้อ ๘ การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ในกรณีที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหน่วยทรัสต์ตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ให้กรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ตามหมวดนี้โดยให้ถือว่าวันที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหน่วยทรัสต์เป็นวันที่มีการซื้อ ขาย โอนหรือรับโอนหน่วยทรัสต์ที่ให้ยืมหรือที่ใช้เป็นหลักประกัน แล้วแต่กรณี
หมวด ๔ การสิ้นสุดหน้าที่การรายงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ กรรมการและผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ย่อมสิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ต่อสํานักงานเมื่อหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นมีการเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกองทรัสต์ดังกล่าวมีการชําระบัญชี
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,826 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 58/2546 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมและแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 58/2546
เรื่อง การกําหนดแบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม
และแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ
โดยที่ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 44/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3 ) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 57/2546เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข./ธ./น. 15/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546กําหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมต้องยื่นคําขอรับความเห็นชอบและผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจการจัดอันดับบริษัทจัดการต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามแบบ จอ. 1 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ที่กําหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือหรือบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม ที่ประสงค์จะประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ แจ้งความประสงค์ดังกล่าวตามแบบ จอ. 2 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ ที่กําหนดท้ายประกาศนี้
ผู้ที่ขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม อาจแจ้งความประสงค์ที่จะประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการมาพร้อมกับการขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมโดยระบุความประสงค์ดังกล่าวไว้ใน แบบ จอ. 1 ด้วยก็ได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,827 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 33/2549 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมและแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 33/2549
เรื่อง การกําหนดแบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม
และแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์แลตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 44/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3 ) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 57/2546 เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข./ธ./น. 15/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน 3.4 ของส่วนที่ 3 ลักษณะต้องห้าม ในหนังสือรับรองประวัติผู้บริหารของบริษัทที่ประกอบธุรกิจจัดอันดับกองทุนรวม/จัดอันดับบริษัทจัดการ ท้ายประกาสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2546 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมและแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“3.4 เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน
ใช่ ไม่ใช่”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,828 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 55/2561 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมและแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 55/2561
เรื่อง การกําหนดแบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับ
กองทุนรวมและแบบแจ้งการประกอบกิจการ
การจัดอันดับบริษัทจัดการ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข./ธ./น. 15/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 58/2546 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมและแบบแจ้งการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวม หรือประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการ ยื่นคําขอรับความเห็นชอบหรือแจ้งการประกอบกิจการต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,829 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 7/2555 เรื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สช. 7 /2555
เรื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับ
เกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับ
การลงทุนของกองทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารตามประกาศดังกล่าวโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน รวมทั้งตามประกาศที่เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลที่กําหนดหลักเกณฑ์การลงทุนในตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ สํานักงานจึงออกข้อกําหนดในการให้ความเห็นชอบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานให้ความเห็นชอบในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหรือกิจการที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และตราสารที่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลกําหนดเงื่อนไขให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(2) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
(ก) Standard & Poor’s
(ข) Moody’s
(ค) Fitch Ratings
(ง) Rating and Investment Information, Inc.
ในกรณีที่เป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหรือกิจการที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 6(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนด้วย
ข้อ ๒ ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 1(2) จัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายตราสารซึ่งเสนอขายในประเทศไทย สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารที่มีโครงสร้างซับซ้อน (structured finance product) ต้องใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างจากสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ทั่วไป พร้อมทั้งอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนและเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบด้วย
(2) ในกรณีที่เป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยไม่ได้รับการว่าจ้างจากผู้ออกตราสาร (unsolicited rating) และมีการเผยแพร่การจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวเป็นภาษาไทยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) กําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในกรณีดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน
(ข) ในการเผยแพร่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อประชาชนทุกครั้ง ให้เปิดเผย
ข้อมูลดังนี้อย่างถูกต้องครบถ้วน
1. การจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ได้รับการว่าจ้างจากผู้ออกตราสารและผู้ออกตราสารมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหรือไม่
2. แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๓ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงการให้ความเห็นชอบตามข้อ 1(2) ได้ หากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใดขาดความเหมาะสมหรือความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือไม่ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติในการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่กําหนดโดย International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 2
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,830 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 71/2558 เรื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สช. 71/2558
เรื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบ
ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้
บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับ
การลงทุนของกองทุน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ประกาศรายชื่อสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศ) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้สามารถจัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารได้ตามขอบเขตที่กําหนด รวมทั้งเป็นผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารที่กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลสามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 7/2555 เรื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เพื่อให้มีสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเพิ่มเติมจากรายชื่อที่ประกาศในครั้งก่อน สํานักงานจึงออกข้อกําหนดในการให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (จ) ของ (2) ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 7/2555 เรื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
“(จ) Japan Credit Rating Agency, Ltd.”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
------------------------------------------------------------------------
ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,831 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 33/2552 เรื่อง กำหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 33/2552
เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตาม
ประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 5(3) (ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(2) “ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (Leasing)” หมายความว่า การให้เช่าทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่าจัดหามาจากผู้ผลิตหรือผู้จําหน่าย หรือทรัพย์สินซึ่งยึดได้จากผู้เช่ารายอื่น เพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์ในกิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการบริการอย่างอื่นเป็นทางค้าปกติ โดยผู้เช่ามีหน้าที่ต้องบํารุงรักษา และซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า ทั้งนี้ ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกําหนดเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะซื้อหรือเช่าทรัพย์สินนั้นต่อไปในราคาหรือค่าเช่าที่ได้ตกลงกัน
(3) “ธุรกิจแฟ็กเตอริง (Factoring)” หมายความว่า ธุรกิจที่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการตกลงจะโอนทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชําระหนี้เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างตนกับลูกหนี้ของตนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง โดยผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงตกลงจะให้สินเชื่อซึ่งรวมถึงการให้กู้ยืมและการทดรองจ่ายแก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการและรับที่จะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) จัดให้มีบัญชีทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชําระหนี้
(ข) เรียกเก็บทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชําระหนี้
(ค) รับผิดชอบในหนี้ที่ลูกหนี้ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการผิดนัด
ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึง ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงอื่น ซึ่งรับโอนหรือตกลงจะรับโอนทรัพย์สินจากผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงตามวรรคหนึ่งและรับที่จะดําเนินการตาม (ก) (ข) และ(ค) ด้วย
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ ธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง และธุรกิจแฟ็กเตอริง เป็นบุคคลอื่นที่สํานักงานประกาศกําหนดเพื่อประโยชน์ตามข้อกําหนดแห่งประกาศดังต่อไปนี้
(1) ข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งกําหนดว่า ตั๋วเงินที่บริษัทออกโดยระบุชื่อบุคคลที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นผู้รับเงิน และมีข้อความ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันในด้านหน้าของตั๋วเงินตั้งแต่วันที่ออกตั๋วดังกล่าว เป็นตั๋วเงินที่ไม่ใช่หลักทรัพย์
(2) ข้อ 5(3) (ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งกําหนดว่า ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากบุคคลที่สํานักงานประกาศกําหนดไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2547 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2547 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายตั๋วเงิน และการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2547 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,832 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 76/2558 เรื่อง กำหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 76/2558
เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์
ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 5(3) (ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 33/2552 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,833 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 57/2561 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ และการรายงานที่เกี่ยวข้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 57/2561
เรื่อง การยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ และการรายงานที่เกี่ยวข้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 7 ประกอบกับข้อ 4 ข้อ 18 ข้อ 23(5) ข้อ 30(5) และข้อ 34(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 9 ประกอบกับข้อ 20 วรรคหนึ่ง ข้อ 41 ข้อ 46(2) ข้อ 47 ข้อ 62(4) และข้อ 81(10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ 8 ประกอบกับข้อ 24 ข้อ 44 ข้อ 50 วรรคสองข้อ 57(7) ข้อ 59(2) และข้อ 61(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 64/2561 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561ข้อ 7 ประกอบกับข้อ 18 ข้อ 30 ข้อ 43 ข้อ 51 วรรคสอง ข้อ 58(7) ข้อ 60(1) และข้อ 62(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 64/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 6 ประกอบกับข้อ 17 ข้อ 30 ข้อ 43 ข้อ 53 วรรคสอง ข้อ 60(3) ข้อ 63(1) และข้อ 65(1) (ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 61/2561 เรื่อง การเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561ข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และประกอบกับข้อ 19/2วรรคหนึ่ง ข้อ 24(2) และข้อ 27(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2559เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ลงวันที่ 4 พฤษภาคมพ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 68/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ข้อ 5 ประกอบกับข้อ 18 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2557เรื่อง การเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และข้อ 10 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 82/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2560 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 16/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 51/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 16/2561 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 17/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 52/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 58/2559 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานของกิจการต่างประเทศสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 73/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของหน่วยงานภาครัฐไทย และรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
(9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
(11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 53/2558 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการยื่นคําขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐาน
สําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และรายงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ประกาศดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
(10) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(11) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์
ข้อ ๓ ให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่ประสงค์จะขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์
เป็นหลักทรัพย์ และนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการ
แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ร่วมกันยื่นคําขออนุมัติโครงการและคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้
ที่ออกใหม่ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้ที่ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(1) การยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้พร้อมเอกสารหรือหลักฐาน
(2) การยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้
(3) การรายงานการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้
(4) การรายงานการไถ่ถอนตราสารหนี้ก่อนครบอายุ
(5) การรายงานอัตราส่วนที่มีนัยสําคัญทางการเงินรายปี (key financial ratio)
ข้อ ๕ ให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ตามข้อ 3 และชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามข้อ 4(1) ต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,834 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 17/2548
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อให้หนังสือชี้ชวนมีการนําเสนอข้อมูลที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนรวมซึ่งผู้ลงทุนสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนได้อย่างสะดวกและถูกต้อง และเพื่อให้ผู้ทําหน้าที่เสนอขายหน่วยลงทุนสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการเสนอขายหน่วยลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมนั้น ๆ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 8 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 40/2545เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2546 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
“ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับหมวด 1 ถึงหมวด 6 แต่ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลซึ่งระบุวันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ และข้อมูลที่สรุปสาระสําคัญเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
ข้อ ๕ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําขึ้นให้มี 2 ส่วน คือ
(1) ส่วนข้อมูลโครงการ
(2) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
ข้อ ๖ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้รายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ
ข้อ ๗ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําโดยคํานึงถึงผู้ลงทุนเป็นสําคัญ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนเอง โดยใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย มีข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องและชัดเจน และไม่มีลักษณะที่อาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยอาจใช้แผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้มีรายการดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม
(2) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม
(3) ตารางแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวม ซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางแนบท้ายประกาศนี้
(4) การเปรียบเทียบอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) ในส่วนที่แตกต่างกับอัตราส่วนการลงทุนตามที่สํานักงานกําหนดไว้
(5) คําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน
(6) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๘ รายการลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ประเภท และอายุของโครงการ
(2) วันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(3) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนรวมนี้เหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกสําหรับเงินลงทุนลักษณะใด
(ข) กองทุนรวมนี้จะนําเงินไปลงทุนในทรัพย์สินใด
(ค) ผู้ลงทุนจะได้อะไรจากเงินลงทุน
(ง) ปัจจัยใดที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเงินลงทุนของผู้ลงทุน
(จ) การลงทุนในกองทุนรวมนี้กับกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนต่างกัน มีความเสี่ยงแตกต่างกันอย่างไร
(ฉ) การลงทุนในกองทุนรวมนี้ควรเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด (benchmark) ใด และ ควรลงทุนในกองทุนรวมนี้เป็นระยะเวลาเท่าใด (กรณีที่สามารถระบุระยะเวลาการลงทุนในกองทุนรวมได้)
(ช) เป็นกองทุนรวมที่มีผู้ประกันเงินลงทุนหรือเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นจะคุ้มครองเงินต้นหรือไม่ อย่างไร
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทน ให้มีคําถามและคําตอบเพิ่มเติมว่าอัตราส่วนการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทนต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเป็นเท่าใด และจะมีผลกระทบทางลบที่มากที่สุดต่อเงินทุนเป็นอย่างไร
(4) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิธีการลงทุนในหน่วยลงทุน สิทธิของผู้ลงทุน และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม เช่น วิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน ช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าหน่วยลงทุน ช่องทางและวิธีการร้องเรียน ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน นายทะเบียนหน่วยลงทุน และผู้สอบบัญชี เป็นต้น
ข้อ ๙ รายการความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน เช่น ความเสี่ยงจากการดําเนินงานของผู้ออกตราสาร (business risk) ความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร (credit risk) ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (market risk) ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร ( liquidity risk) ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (exchange rate risk) ความเสี่ยงจากการขยายฐานเงินลงทุน (leverage risk) ความเสี่ยงตามลักษณะและฐานะ (position) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละประเภท เป็นต้น รวมทั้งแนวทางการบริหารจัดการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงแต่ละประเภท
ข้อ ๑๐ รายการคําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้มีข้อความที่เตือนและแนะนําให้ผู้ลงทุนเข้าใจในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) คําเตือนที่แสดงว่า การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวเมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้
(2) คําเตือนในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่แสดงว่า หากปรากฏว่ามีเหตุการณ์ไม่ปกติผู้ลงทุนอาจได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
(3) คําเตือนในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่ต้องดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องที่แสดงว่า หากกองทุนรวมเปิดไม่สามารถดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคําสั่งไว้
(4) คําเตือนที่แสดงว่า กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการกองทุนรวม
(5) คําเตือนในกรณีที่มีการลงทุนเพื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่กองทุนรวม เช่น คําเตือนว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมเช่นเดียวกันกับที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม โดยบริษัทจะจัดให้มีระบบงานที่ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น
(6) คําเตือนในกรณีของกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) เช่น คําเตือนว่ากองทุนรวมมีการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนไว้เป็นการเฉพาะ โดยมีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ากองทุนรวมทั่วไป เป็นต้น
(7) คําเตือนและคําแนะนําในกรณีที่กองทุนรวมประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทนจากสัญญาดังกล่าว ดังนี้
(ก) คําเตือนที่แสดงว่า กองทุนรวมดังกล่าวมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมอื่น จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงและรับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ลงทุนทั่วไป
(ข) คําแนะนําที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวเมื่อมีความเข้าใจในความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ลงทุนควรพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุน โดยคํานึงถึงประสบการณ์การลงทุน วัตถุประสงค์การลงทุน และฐานะการเงินของผู้ลงทุนเอง
(8) คําแนะนําที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน
(9) คําแนะนําที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ลงทุนสามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
การพิมพ์คําเตือนตาม (1) (2) (3) (7) (ก) และ (8) ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด และการพิมพ์คําเตือนและคําแนะนําตาม (4) (5) (6) (7) (ข) และ (9) ให้พิมพ์ไว้ก่อนวัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๑ ในกรณีของกองทุนรวมเปิด หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชีต้องแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นปีบัญชีนั้น และให้เพิ่มวันที่ที่จดทะเบียนกองทุนรวมไว้ในรายการลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมตามข้อ 7 (1) ด้วย รวมทั้งเพิ่มรายการดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดการลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวม โดยจัดกลุ่มตามประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ตามคําอธิบายแนบท้ายประกาศนี้
(2) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมหรือสํานักงานกําหนด (แล้วแต่กรณี)
ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ให้มีข้อความ “สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่............สิ้นสุดวันที่............” ไว้ที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก
ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหลังจากวันสิ้นปีบัญชี และอยู่ในระหว่างการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญเพื่อจัดส่งให้สํานักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันจัดทําหนังสือชี้ชวน
หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมมีประกัน
ข้อ ๑๒ ในส่วนนี้
“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้
ข้อ ๑๓ รายการลักษณะที่สําคัญสําหรับกองทุนรวมมีประกัน ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมโดยแสดงเป็นคําถามและคําตอบ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ประกันเป็นธนาคารต่างประเทศ ผู้ประกันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับใด
(2) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี) เป็นจํานวนเท่าใด
(3) ระยะเวลาการประกันและวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี) เป็นอย่างไร
(4) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันเป็นจํานวนเท่าใด และสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน
เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวมมีประกันคิดเป็นเท่าใด
(5) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร
(6) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร
(7) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร
ข้อ ๑๔ รายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน ให้มีข้อความที่เตือนให้ผู้ลงทุนเข้าใจในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติม
(1) คําเตือนที่แสดงว่า กองทุนรวมมีการประกันเงินลงทุนหรือผลตอบแทนคิดเป็นร้อยละเท่าใด และผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนจนครบระยะเวลาการประกันที่กําหนดในหนังสือชี้ชวนจึงจะได้รับชําระเงินลงทุนคืนตามเงื่อนไขในการรับประกันและตามความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ประกัน
(2) คําเตือนในกรณีที่กองทุนรวมมีประกันจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่ผู้ประกันเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ ให้ระบุชื่อผู้ประกัน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าว และจํานวนเงินลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับคืนหากผู้ประกันไม่สามารถชําระหนี้คืนได้ ไว้ในคําเตือนด้วย
การพิมพ์คําเตือนตาม (1) และ (2) ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ข้อ ๑๕ รายการคําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้มีข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) คําเตือนที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกําหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชําระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
(2) คําแนะนําที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ รวมทั้งสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคู่มือภาษีได้ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
การพิมพ์คําเตือนตาม (1) ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด และการพิมพ์คําแนะนําตาม (2) ให้พิมพ์ไว้ก่อนวัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
หมวด ๔ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อแก้ไข
ปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
ข้อ ๑๖ รายการความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม และรายการคําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน สําหรับกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ให้มีข้อความเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่าความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของตราสารหลักที่กองทุนรวมลงทุน
หมวด ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ข้อ ๑๗ รายการคําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ให้มีข้อความเพิ่มเติมและรูปแบบการพิมพ์ตามข้อ 15 โดยอนุโลม
หมวด ๖ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ
ข้อ ๑๘ รายการลักษณะที่สําคัญสําหรับกองทุนรวมอีทีเอฟ ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมโดยแสดงเป็นคําถามและคําตอบ ดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมนี้อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ใด และดัชนีดังกล่าวมีหลักทรัพย์ใดเป็นองค์ประกอบ
(2) วิธีการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่ใช้อ้างอิงเป็นอย่างไร
(3) การซื้อขายหน่วยลงทุนโดยตรงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเป็นจํานวนเท่าใด
(4) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิธีการลงทุนในหน่วยลงทุน สิทธิของผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม เช่น หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนในสิบอันดับแรก การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและระดับของดัชนีที่ใช้อ้างอิง ผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วม(participating dealer) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวม (ถ้ามี) ช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวการซื้อขายหน่วยลงทุนและดัชนีที่ใช้อ้างอิงของกองทุนรวมนี้ เป็นต้น
ผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วมตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๑๙ การจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้มีรายการเพิ่มเติมดังนี้
(1) รหัสของหน่วยลงทุนที่ใช้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนในสิบอันดับแรก
(3) จํานวนการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,835 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 35 /2548
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 8 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 รายการคําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้มีข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) คําเตือนที่เกี่ยวกับข้อจํากัดการโอนและการจํานําหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว
(2) คําเตือนที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกําหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชําระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
(3) คําแนะนําที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ รวมทั้งสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคู่มือภาษีได้ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
การพิมพ์คําเตือนตาม (1) และ (2) ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด และการพิมพ์คําแนะนําตาม (3) ให้พิมพ์ไว้ก่อนวัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,836 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2550 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10/2550
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 8 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7/1) ของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548
“(7/1) คําแนะนําสําหรับผู้ลงทุนในการตรวจดูแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงของกองทุนรวม ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใด โดยผู้ลงทุนสามารถตรวจดูกรณีดังกล่าวได้ตามวิธีการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผย”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 2/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ข้อ 14/1 ข้อ 14/2 และข้อ 14/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548
หมวด ๒/๑ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น
ข้อ ๑๔/๑ ในหมวดนี้
“เงินต้น” หมายความว่า เงินที่ผู้ลงทุนแต่ละรายชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นซึ่งโครงการจัดการกองทุนรวมมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง ทั้งนี้ จํานวนเงินดังกล่าวไม่รวมค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๔/๒ รายการลักษณะที่สําคัญสําหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติม โดยแสดงเป็นคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นแตกต่างจากกองทุนรวมมีประกันอย่างไร
(2) ผู้ลงทุนในกองทุนรวมนี้มีโอกาสที่จะไม่ได้รับคืนเงินต้นหรือไม่ อย่างไร
(3) กองทุนรวมนี้มีเงื่อนไขการคุ้มครองเงินต้น และมีกลไกการคุ้มครองเงินต้นอย่างไร
ข้อ ๑๔/๓ รายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ให้มีข้อความที่เตือนเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่ากองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นเป็นเพียงชื่อเรียกประเภทของกองทุนรวมที่จัดนโยบายการลงทุนเพื่อให้เงินต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนมีความเสี่ยงต่ํา โดยกองทุนรวมดังกล่าวมิได้รับประกันเงินลงทุนหรือผลตอบแทนจากการลงทุนแต่อย่างใด
การพิมพ์คําเตือนตามวรรคหนึ่ง ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด ทั้งนี้ ตัวอักษรของคําเตือนดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของหนังสือชี้ชวนนั้น”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อให้ผู้ลงทุนในกองทุนรวมที่มีการลงทุนในหุ้นของบริษัททราบถึงวิธีการตรวจดูแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงของกองทุนรวม และ (2) เพื่อให้ผู้ลงทุนในกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินความเสี่ยงต่ํา แต่มิได้เป็นการรับประกันว่าผู้ลงทุนจะได้รับคืนเงินลงทุนครบถ้วนแต่อย่างใด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,837 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2550 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
========================================================
ที่ สน. 18/2550
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
=================================================
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 8 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําโดยคํานึงถึงผู้ลงทุนเป็นสําคัญ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนเอง โดยใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย มีข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องและชัดเจน และไม่มีลักษณะที่อาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
โดยอาจใช้แผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้มีรายการดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม
(2) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม
(3) ตารางแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมซึ่งต้องมีรายละเอียดตามที่สํานักงานกําหนด และในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดตามการจัดสรรค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ให้แสดงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดในตารางดังกล่าวด้วย
(4) วิธีการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด
(5) การเปรียบเทียบอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) ในส่วนที่แตกต่างกับอัตราส่วนการลงทุนตามที่สํานักงานกําหนดไว้
(6) คําเตือนและคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์
ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน
(7) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสามใน (3) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้มีคําถามและคําตอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งความเสี่ยงและสิทธิประโยชน์ของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) ของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548
“(6/1) คําเตือนในกรณีของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนที่แสดงว่า การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนมิได้ทําให้ความรับผิดของกองทุนรวมที่มีต่อบุคคลภายนอกแยกออกจากกันตามชนิดหน่วยลงทุน ทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวมยังคงอยู่ภายใต้ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกดังกล่าวด้วย”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การพิมพ์คําเตือนตาม (1) (2) (3) (6/1) (7)(ก) และ(8) ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด และการพิมพ์คําเตือนและคําแนะนําตาม (4) (5) (6) (7)(ข) และ(9) ให้พิมพ์ไว้ก่อนวัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ตัวอักษรของคําเตือนดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของหนังสือชี้ชวนนั้น”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากสํานักงานอนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนได้ และเพื่อให้มีการแสดงข้อมูลในหนังสือชี้ชวนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นไปโดยเหมาะสม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,838 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 3 /2556
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 9 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนดังต่อไปนี้
(1) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิดที่ต้องจัดทําตามรอบระยะเวลาที่กําหนด
ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
และการเสนอขายหน่วยลงทุน
(2) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมปิดเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด
“กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง การจัดการและการลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
“กองทุนรวมพิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมพิเศษตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
“ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม
“การลดความเสี่ยง” หมายความว่า การลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินใด ด้วยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ฐานะการลงทุน” (exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาอันเป็นผลให้กองทุนรวมมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนดังต่อไปนี้
(1) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิดที่ต้องจัดทําตามรอบระยะเวลาที่กําหนด
ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
และการเสนอขายหน่วยลงทุน
(2) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมปิดเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด
“กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง การจัดการและการลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
“กองทุนรวมพิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมพิเศษตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
“ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม
“การลดความเสี่ยง” หมายความว่า การลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินใด ด้วยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ฐานะการลงทุน” (exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาอันเป็นผลให้กองทุนรวมมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น
ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันดังต่อไปนี้
(1) รายการประเภทและนโยบายของกองทุนรวม ให้อธิบายข้อมูลดังต่อไปนี้โดยสังเขป
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน
(ข) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี)
(ค) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี)
(ง) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม
(2) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(ก) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร
(ข) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร
(ค) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนดังต่อไปนี้
(1) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิดที่ต้องจัดทําตามรอบระยะเวลาที่กําหนด
ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
และการเสนอขายหน่วยลงทุน
(2) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมปิดเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด
“กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง การจัดการและการลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
“กองทุนรวมพิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมพิเศษตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
“ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม
“การลดความเสี่ยง” หมายความว่า การลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินใด ด้วยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ฐานะการลงทุน” (exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาอันเป็นผลให้กองทุนรวมมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น
ข้อ ๕ หนังสือชี้ชวนต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
(2) ไม่แสดงข้อความหรือข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนรวมจะใช้วิธีการสื่อความหมายโดยแผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนการสื่อความหมายโดยข้อความก็ได้ เว้นแต่จะมีข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๖ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันดังต่อไปนี้
(1) รายการประเภทและนโยบายของกองทุนรวม ให้อธิบายข้อมูลดังต่อไปนี้โดยสังเขป
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน
(ข) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี)
(ค) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี)
(ง) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม
(2) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(ก) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร
(ข) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร
(ค) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร
หมวด ๑ รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน โดยต้องเป็นไปตามแบบ 123-1 แนบท้ายประกาศนี้ และให้มีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องเปิดเผยแนบท้ายแบบดังกล่าว
หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญตามวรรคหนึ่ง ต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และให้มีความยาวไม่เกินสามหน้ากระดาษ A4 เว้นแต่กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อนอาจมีความยาวได้ไม่เกินสี่หน้ากระดาษ A4
ส่วน ๒ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม รวมถึงผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้จากเงินลงทุน
(2) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนรวม
(3) ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม
(4) สรุปอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ตามแบบ 123-2 แนบท้ายประกาศนี้
(5) ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ตามแบบ 123-3 แนบท้ายประกาศนี้
(6) คําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน
(7) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(8) รายการที่สํานักงานกําหนดให้กองทุนรวมเปิดเผยเพิ่มเติมเป็นรายกรณี
ข้อ ๙ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันดังต่อไปนี้
(1) รายการประเภทและนโยบายของกองทุนรวม ให้อธิบายข้อมูลดังต่อไปนี้โดยสังเขป
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน
(ข) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี)
(ค) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี)
(ง) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม
(2) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(ก) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร
(ข) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร
(ค) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร
ข้อ ๑๐ รายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมนั้น ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยเรียงลําดับตามโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและนัยสําคัญของผลกระทบจากมากไปหาน้อย
การแสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ปัจจัยความเสี่ยงจากการดําเนินงานของผู้ออกตราสาร (business risk)
(2) ปัจจัยความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร (credit risk)
(3) ปัจจัยความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (market risk)
(4) ปัจจัยความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (liquidity risk)
(5) ปัจจัยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (exchange rate risk)
(6) ปัจจัยความเสี่ยงจากการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (leverage risk)
ข้อ ๑๑ รายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้มีข้อมูลคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คําเตือนว่า “การพิจารณาร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้มิได้เป็นการแสดงว่าสํานักงานได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม หรือได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่เสนอขายนั้น”
(2) คําเตือนในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว เช่น กรณีบริษัทจัดการกองทุนรวมมีการลงทุนเพื่อตนเองซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวม รวมทั้งต้องแสดงช่องทางและวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและสอบถามข้อมูลอื่นเพิ่มเติม เช่น ทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม เป็นต้น
การพิมพ์คําเตือนตามวรรคหนึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติของหนังสือชี้ชวนนั้น
ส่วน ๓ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๒ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 43 และต้องมีรายการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รหัสของหน่วยลงทุนที่ใช้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนในสิบอันดับแรก
(3) จํานวนการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา
ข้อ ๑๓ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วนต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทของบริษัทจัดการกองทุนรวม
(2) ผู้รับมอบอํานาจจากบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีตําแหน่ง
ไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม
หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนด
หรือลักษณะเฉพาะบางประการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ
ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง และสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ใช่ตัวเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง โดยหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 15
(2) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง หรือมีนโยบายการลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง โดยหนังสือชี้ชวน ส่วนข้อมูลกองทุนรวม ต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 16 และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่นโยบายการลงทุนอาจทําให้กองทุนรวมมีฐานะการลงทุนในสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิง (underlying) ของสัญญาหรือตราสารนั้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 17
(ข) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 18
ข้อ ๑๕ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 14(1)ให้แสดงคําเตือนในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ข้อมูลในอดีตในการคํานวณค่าสัมบูรณ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (absolute correlation coefficient) กองทุนรวมจึงมีความเสี่ยง หากสินค้าหรือตัวแปรที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิง (underlying) และทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลในอดีต ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”
ข้อ ๑๖ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 14(2)
ให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในสัญญาหรือตราสารดังกล่าวไว้อย่างไร
(2) ผลกระทบทางลบที่มากที่สุดจากการลงทุนในสัญญาหรือตราสารดังกล่าว ต่อเงินทุนของกองทุนรวมเป็นอย่างไร
ข้อ ๑๗ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันดังต่อไปนี้
(1) รายการประเภทและนโยบายของกองทุนรวม ให้อธิบายข้อมูลดังต่อไปนี้โดยสังเขป
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน
(ข) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี)
(ค) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี)
(ง) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม
(2) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(ก) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร
(ข) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร
(ค) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร
ข้อ ๑๘ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 14(2) (ข) ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวม ให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับชื่อ คุณสมบัติ ความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งต่อไปนี้
(ก) ผู้จัดการกองทุน
(ข) บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุนดังกล่าว (ถ้ามี)
(2) รายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(ก) สาระสําคัญของสัญญา และวัตถุประสงค์ในการลงทุน
(ข) ลักษณะของความเสี่ยง และเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง
(ค) ผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น
ส่วน ๒ กองทุนรวมที่มีฐานะการลงทุนในต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๙ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีหรือจะมีฐานะการลงทุนในต่างประเทศเกินกว่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ ๒๐ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลสรุปปัจจัยความเสี่ยง
ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศไว้ในรายการสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ปัจจัยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (exchange rate risk)
(2) ปัจจัยความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ (country and political risk)
(3) ปัจจัยความเสี่ยงจากข้อจํากัดการนําเงินลงทุนกลับประเทศ (repatriation risk)
ข้อ ๒๑ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินไว้ในรายการประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม โดยให้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง ให้ระบุว่าแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวเข้าลักษณะใดดังต่อไปนี้
(ก) มีการป้องกันความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นทั้งหมด
(ข) มีการป้องกันความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นบางส่วน
(ค) มีการบริหารความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
(2) กรณีที่กองทุนรวมไม่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง ให้ระบุว่า “ไม่มีการป้องกันหรือบริหารความเสี่ยง”
การแสดงแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่ง (1) (ค) ให้แสดงปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
ส่วน ๓ กองทุนรวมที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๒ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีหรือจะมีฐานะการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่ง เกินกว่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ ๒๓ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 43 และต้องมีรายการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รหัสของหน่วยลงทุนที่ใช้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนในสิบอันดับแรก
(3) จํานวนการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา
ส่วน ๔ กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๔ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน
ข้อ ๒๕ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามคําตอบเกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทนไว้ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมนี้กําหนดสูตรการคํานวณผลตอบแทน รูปแบบของผลตอบแทน รวมทั้งเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องไว้อย่างไร ทั้งนี้ ให้อธิบายรูปแบบของผลตอบแทนเป็นแผนภาพ
(pay-off diagram) ด้วย
(2) ประมาณการผลตอบแทนในสถานการณ์ต่าง ๆ และผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ประมาณการดังกล่าวต้องใช้สมมติฐานที่มีความสมเหตุสมผลและกระทํา
ด้วยความระมัดระวัง
(3) กองทุนรวมนี้เหมาะสมกับผู้ลงทุนที่มีความคาดหวังอย่างไร
ส่วน ๕ กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๖ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
ข้อ ๒๗ รายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย นอกจากรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 11 ให้มีข้อมูลคําเตือนเพิ่มเติมว่า กองทุนรวมที่เสนอขายนี้สามารถลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ในอัตราส่วนที่มากกว่าอัตราส่วนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วนหรือทั้งจํานวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนอาจจะไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม
หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมพิเศษ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ กองทุนรวมตลาดเงิน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๘ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงินที่ใช้เงินฝากเป็นดัชนีชี้วัด (benchmark) เพิ่มเติม ในการเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๒๙ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําเตือนไว้ในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่า การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจํานวน
คําเตือนตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงไว้ทุกจุดที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินฝาก
ส่วน ๒ กองทุนรวมมีประกัน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๐ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมมีประกัน
ข้อ ๓๑ ในส่วนนี้ คําว่า “ผู้ประกัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๓๒ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําเตือนในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ผู้ประกันเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ที่แสดงว่ากองทุนรวมจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้ระบุชื่อผู้ประกันอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าว และจํานวนเงินลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับคืนหากผู้ประกันไม่สามารถชําระหนี้คืนได้ ไว้ในคําเตือนด้วย
ข้อ ๓๓ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันดังต่อไปนี้
(1) รายการประเภทและนโยบายของกองทุนรวม ให้อธิบายข้อมูลดังต่อไปนี้โดยสังเขป
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน
(ข) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี)
(ค) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี)
(ง) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม
(2) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(ก) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร
(ข) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร
(ค) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร
ส่วน ๓ กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๔ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น
ข้อ ๓๕ ในส่วนนี้ คําว่า “เงินต้น” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๓๖ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นแตกต่างจากกองทุนรวมมีประกันอย่างไร
(2) ผู้ลงทุนในกองทุนรวมนี้มีโอกาสที่จะไม่ได้รับคืนเงินต้นหรือไม่ อย่างไร
(3) กองทุนรวมนี้มีเงื่อนไขการคุ้มครองเงินต้น และมีกลไกการคุ้มครองเงินต้น อย่างไร
ส่วน ๔ กองทุนรวมอีทีเอฟ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๗ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ
ข้อ ๓๘ ในส่วนนี้
(1) คําว่า “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญา
รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) “ผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วม” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุอย่างเฉพาะเจาะจงไว้ในโครงการให้ทําการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟกับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้
ข้อ ๓๙ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้มีคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนรวมนี้อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ใด และดัชนีดังกล่าวมีหลักทรัพย์ใดเป็นองค์ประกอบ
(ข) กองทุนรวมนี้จะลงทุนในหลักทรัพย์ใดในสิบอันดับแรก
(ค) กําหนดการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและระดับของดัชนีที่ใช้อ้างอิงไว้อย่างไร
(ง) วิธีการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่ใช้อ้างอิงเป็นอย่างไร
(2) รายการคําถามคําตอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้มีคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้
(ก) การซื้อขายหน่วยลงทุนโดยตรงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเป็นจํานวนเท่าใด
(ข) ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวการซื้อขายหน่วยลงทุนและดัชนีที่ใช้อ้างอิงของกองทุนรวมนี้จากช่องทางใดบ้าง
(3) รายการคําถามคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวม ให้มีคําถามคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง และผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วม (ถ้ามี)
ส่วน ๕ กองทุนรวมทองคํา
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๐ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมทองคําที่มีการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรง
ข้อ ๔๑ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนได้รับการทําประกันภัยหรือไม่ อย่างไร (อธิบาย) และในกรณีที่มีการทําประกันภัย เป็นการทําประกันภัยบางส่วนหรือเต็มจํานวน
(2) ในกรณีที่ทองคําแท่งมีการทําประกันภัย ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนได้รับการประกันภัยคุ้มครองกรณีใดบ้าง และไม่ได้รับการคุ้มครองกรณีใดบ้าง
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนมิได้มีการทําประกันภัยไว้หรือมีการทําประกันภัยไว้แต่เพียงบางส่วน ให้แสดงการวิเคราะห์และอธิบายความเสี่ยงของกองทุนรวมในกรณีที่ทองคําแท่งที่ลงทุนเกิดเสียหาย สูญหาย ถูกโจรกรรม หรือถูกทําลาย ไว้ในรายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมด้วย
หมวด ๔ รายการและข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๓ หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม
(1) เงินทุนโครงการ
(2) รายการการลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนรวม โดยให้อยู่ในส่วนถัดจากรายการค่าธรรมเนียม และให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) รายละเอียดการลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวม โดยจัดกลุ่มตามประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม
(ข) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมหรือสํานักงานกําหนด แล้วแต่กรณี
(3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีดัชนีชี้วัด ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดของกองทุนรวม ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ผลการดําเนินงานของดัชนีชี้วัด
(ข) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนดัชนีชี้วัด ให้แสดงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงดัชนีชี้วัด
ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหลังจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีและอยู่ในระหว่างการจัดทําหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งให้สํานักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันจัดทําหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๔๔ ข้อมูลที่แสดงในหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง ให้ใช้ข้อมูล ณ วันดังต่อไปนี้
(1) วันสิ้นรอบระยะเวลาที่ต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด
(2) วันใดวันหนึ่งในช่วงสามสิบวันก่อนวันเริ่มต้นเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด
ข้อ ๔๕ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 43 และต้องมีรายการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) รหัสของหน่วยลงทุนที่ใช้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนในสิบอันดับแรก
(3) จํานวนการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตามข้อกําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2552 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ต่อไปได้
ข้อ ๔๗ ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีครั้งถัดไปภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําหนังสือชี้ชวนสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามข้อกําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2552 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,839 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 37/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 37/2556
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 9 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
“(6/1) ข้อมูลการจะถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้น โดยให้ระบุจํานวนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อาจเข้ามาถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นด้วย”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 43 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
“(4) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏขึ้นแล้วในปัจจุบัน โดยให้ระบุจํานวนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,840 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 37/2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 37/2557
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (4) ในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายชื่อกรรมการ กรรมการอิสระและผู้บริหาร จํานวนกองทุนรวมทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ในวรรคหนึ่งของข้อ 43 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
“(5) ข้อมูลอัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุนรวม (portfolio turnover ratio)
ซึ่งคํานวณจากมูลค่าที่ต่ํากว่าระหว่างผลรวมของมูลค่าการซื้อทรัพย์สินกับผลรวมของมูลค่าการขายทรัพย์สิน ที่กองทุนรวมลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา หารด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 และแบบ 123-3 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้แบบ 123-1 และแบบ 123-3 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวม จัดทําหนังสือชี้ชวนเฉพาะสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยให้มีรายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวนเช่นเดียวกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้แล้วต่อสํานักงานได้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,841 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 80/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 80/2558
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 6 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนดหรือลักษณะเฉพาะบางประการ ข้อ 27/1 และข้อ 27/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
“ส่วนที่ 6
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงิน
จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 27/1 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือรับโอนเงินดังกล่าวต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น
ข้อ 27/2 หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้แสดงสัญลักษณ์หรือข้อความเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่าเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือรับโอนเงินดังกล่าวต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ตามแนวทางที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด โดยให้ระบุไว้ในส่วนบนสุดในหน้าแรกของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,842 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 61/2561 เรื่อง การระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นเป็นการชั่วคราว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 61/2561
เรื่อง การระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นเป็นการชั่วคราว
*\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_*
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 76(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 11/2556 เรื่อง การระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้
ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๒ เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นมีผลใช้บังคับแล้ว หากผู้ได้รับอนุญาตไม่ปรับปรุงข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นให้เป็นปัจจุบันด้วยการยื่นข้อมูลที่ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวมีหน้าที่จัดทําและส่ง
ตามมาตรา 56 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวระงับเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๓ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นที่ถูกสั่งระงับการมีผลใช้บังคับตามข้อ 2 เริ่มมีผลใช้บังคับอีกครั้ง หากผู้ได้รับอนุญาตได้ปรับปรุงข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล รวมทั้งข้อมูลในหนังสือชี้ชวนที่ใช้ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นด้วยการยื่นข้อมูลที่มีหน้าที่จัดทําและส่งตามมาตรา 56 แล้ว ทั้งนี้ การมีผลใช้บังคับอีกครั้งของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวจะมีผลให้ผู้ได้รับอนุญาตสามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีผลใช้บังคับครั้งแรกตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,843 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 63/2561 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 63/2561
เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตาม
แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
และร่างหนังสือชี้ชวน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 38(6) (ข) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายนพ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 53/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ 61(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 55/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 และข้อ 35(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 56/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ได้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
“ประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่” หมายความว่า
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
“แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตามที่ได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล หากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ และคณะกรรมการบริษัทพิจารณาว่าเป็นกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินอย่างไม่เป็นนัยสําคัญ ให้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินอย่างไม่เป็นนัยสําคัญตามประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(1) การเกลี่ยวงเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายระหว่างรายการที่มีการเปิดเผยข้อมูลไว้แล้วในแบบแสดงรายการข้อมูล
(2) การใช้เงินในเรื่องที่ไม่ได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) กรณีเป็นการใช้เงินในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล มูลค่าการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของจํานวนเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นในครั้งนั้น
(ข) กรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (ก) มูลค่าการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของจํานวนเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นในครั้งนั้น
(3) การเปลี่ยนแปลงกําหนดระยะเวลาการใช้เงินที่มีการเปิดเผยข้อมูลไว้แล้วในแบบแสดงรายการข้อมูล
ข้อ ๓ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินอย่างไม่เป็นนัยสําคัญ ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๔ ให้บริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตามข้อ 3 รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทในครั้งถัดไป โดยหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องระบุความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) จํานวนเงินหรือกําหนดระยะเวลาการใช้เงินที่บริษัทประสงค์จะเปลี่ยนแปลง
(2) ความสมเหตุสมผล เหตุผลและความจําเป็น และประโยชน์และความคุ้มค่าที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงิน
(3) ข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับวงเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป
(4) แผนการใช้เงินภายหลังการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงิน รวมถึงความเพียงพอของแหล่งเงินทุน และมาตรการรองรับในกรณีที่เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นไม่เพียงพอสําหรับการดําเนินการตามแผนดังกล่าว
(5) ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการประกอบธุรกิจของบริษัท หรือต่อประมาณการใด ๆ ที่ได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล (ถ้ามี) อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,844 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 68/2561 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายตราสารหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 68/2561
เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขาย
ตราสารหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 8/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายตราสารหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,845 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 141(2) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 3 ข้อ 6 ข้อ 11 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และข้อ 2 ข้อ 4 ข้อ 10 ข้อ 12 ข้อ 17 และข้อ 18(1) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 5 และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไวดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 33 ข้อ 34 และข้อ 80 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนดังกล่าว
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้มาจากการลงทุนไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
“กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้มาจากการลงทุนไว้ในโครงการ
“การประเมินค่า” หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครอง
ในทรัพย์สิน เงื่อนไข และข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
“การสอบทานการประเมินค่า” หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน
“เช่า” หมายความว่า เช่า ไม่ว่าการเช่านั้นจะเป็นการเช่าโดยตรง หรือเป็นการรับโอนสิทธิการเช่า หรือเป็นการเช่าช่วงก็ตาม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนได้ไม่เกินวงเงินดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ในโครงการ
“เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ตัวแปร” หมายความว่า ตัวแปรตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุน
“ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
“บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
“บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น
“ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
“ผู้จองซื้อทั่วไป” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยลงทุนด้วยวิธีการทั่วไปตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน และมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้
1. ผู้จองซื้อพิเศษ และ
2. เจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า และผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน
“ผู้จองซื้อพิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยลงทุนที่จะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นพิเศษกว่าผู้จองซื้อทั่วไป ซึ่งได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
2. กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
4. กองทุนรวมตามกฎหมายต่างประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
5. สภากาชาดไทย
6. สหกรณ์ออมทรัพย์และชุมนุมสหกรณ์
7. กองทุนประกันสังคม
8. บริษัทประกันภัย
9. มูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
10. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
11. มหาวิทยาลัย
12. ผู้ลงทุนตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่ในการบริหารหรือจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุน
“รายงานการประเมินค่า” หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
“รายได้ประจํา” หมายความว่า รายได้ที่เป็นผลตอบแทนเป็นปกติประจําที่กองทุนรวมได้รับเนื่องจากการให้บุคคลอื่นใช้อสังหาริมทรัพย์ เช่น ค่าเช่า ค่าบริการ เป็นต้น และให้หมายความ
รวมถึงดอกเบี้ยของรายได้ดังกล่าว
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาอื่นในทํานองเดียวกัน
“สินค้า” หมายความว่า สินค้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีรายละเอียดตามที่กําหนดโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ การจัดตั้งกองทุนรวม
ข้อ ๓ คําขอจัดตั้งกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไป
2. เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(3) มีรายละเอียดโครงการที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๔ การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
1. รายละเอียดโครงการตามรายการที่กําหนดไว้ในระบบ Mutual Fund Approval System (MFAS) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศนี้ ซึ่งบริษัทต้องยื่นรายละเอียดโครงการดังกล่าวผ่านระบบข้างต้นด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่การพัฒนาระบบ Mutual Fund Approval System (MFAS) เพื่อการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศนี้ยังไม่แล้วเสร็จ รายละเอียดโครงการให้เป็นไปตามประกาศว่าด้วยรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
2. ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีสาระสําคัญตามที่กําหนดในมาตรา 119
3. ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 5
4. ร่างหนังสือชี้ชวน
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินอย่างน้อยสองรายเพิ่มเติมด้วย
ข้อ ๕ ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย
1. ดําเนินการตรวจตราอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนให้แล้วเสร็จตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
2. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์จากบริษัทจัดการกองทุนรวม
3. ทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ตรวจตราครั้งก่อนแล้วเสร็จ
2. บันทึกสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ตรวจตราให้ถูกต้องและครบถ้วนตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มดําเนินการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์นั้น
(3) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์พบว่าอสังหาริมทรัพย์ชํารุดบกพร่องอย่างมีนัยสําคัญ
(4) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีการประเมินค่าใหม่โดยพลันเมื่อผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น อันมีผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือมูลค่าสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ
1. ตรวจสอบการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้เป็นไปตามโครงการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(6) รับรองว่าการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมถูกต้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
7. ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรายงานของกองทุนรวม
พิจารณาให้ความเห็นชอบวิธีการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 77 วรรคสอง
ข้อ ๖ ในการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหรือแก้ไขเอกสารตามข้อ 4 ให้ครบถ้วนถูกต้อง หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอีกต่อไป เว้นแต่บริษัทแสดงให้เห็นได้ว่าการที่มิได้ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุสมควร
ข้อ ๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัท สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์และหนังสือชี้ชวน โดยมีสาระสําคัญไม่ต่างจากฉบับร่างที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน
ข้อ ๘ ในกรณีที่กองทุนรวมมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อกองทุนรวมซึ่งมีคําว่า “กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์” นําหน้า
หมวด ๒ การเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุน
ข้อ ๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ห้ามมิให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนในการโฆษณาขายหน่วยลงทุนและในหนังสือชี้ชวน เว้นแต่บริษัทจะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการเป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง
ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งร่างหนังสือชี้ชวนที่ระบุข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน รวมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้สํานักงานด้วย
ข้อ ๑๐ ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุน และให้จัดส่งเอกสารดังกล่าวผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ของสํานักงานด้วย และหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทดําเนินการให้ข้อมูลที่จัดส่งนั้นมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันโดยไม่ชักช้าและให้กระทําผ่านระบบงานข้างต้นด้วย
ข้อ ๑๑ ในการเสนอขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการแจกจ่ายข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและกองทุนรวมให้แก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ สําหรับข้อมูลที่เป็นรายละเอียดโครงการ ให้บริษัทเตรียมไว้เพื่อให้ผู้ลงทุนตรวจดูหรือร้องขอได้ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นปัจจุบัน
ข้อ ๑๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม และต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๓ การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้จองซื้อทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
1. ข้อกําหนดหรือเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้จองซื้อแต่ละราย ต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท
2. ไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้
(ก) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรเป็นกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
2. บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น
(ค) บุคคลอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร
1. กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่ต่ํากว่าเจ็ดวัน
2. 1.
2.
3.
4.
5.
6.
(4) จัดให้มีระบบในการจัดสรรหน่วยลงทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้จองซื้อ หน่วยลงทุน โดยต้องกําหนดให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนจํานวนน้อยได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนก่อน
1. การกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน ต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้จองซื้ออันทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ
2. ประชาสัมพันธ์การขายหน่วยลงทุนอย่างกว้างขวางเพื่อให้มีการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนอย่างแพร่หลาย
ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนนั้นแก่ผู้จองซื้อทั่วไปเพื่อนําไปขายต่อ หรือเป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตาม (1)(2)(3)(4) และ (6) ด้วยโดยอนุโลม
ความใน (1)(3)(4)(5) และ (6) มิให้นํามาใช้บังคับสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนซึ่งเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนหรือเป็นการเสนอขายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเอง
ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามข้อ 13(2) ข้อ 16 ข้อ 19(4) ข้อ 21 ข้อ 33 ข้อ 34 และข้อ 54 ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน
(1) บิดา มารดาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
1. คู่สมรส
2. นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด แล้วแต่กรณี
3. นิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่นนั้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้นหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้น แล้วแต่กรณี
(5) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1)(2)(3) หรือ (4)
ข้อ ๑๕ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
จํานวนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนรับไว้ตามสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ให้นับรวมเป็นจํานวนหน่วยลงทุนที่จัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๖ ในการเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนให้กับผู้จองซื้อพิเศษ หรือเจ้าของผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน หรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. เสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้แก่บุคคลดังกล่าว ตามที่ได้มีการระบุชื่อหรือลักษณะของผู้ที่จะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนกรณีดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการและหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
2. ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้จองซื้อหน่วยลงทุนตามขั้นตอนและวิธีการเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้จองซื้อทั่วไป บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนของผู้จองซื้อทั่วไปให้แก่บุคคลดังกล่าวได้ต่อเมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 13(2)
ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนเป็นสิทธิเก็บกินหรือสิทธิเหนือพื้นดิน ให้นําหลักเกณฑ์การจัดสรรหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับเจ้าของที่ดินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๗ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป หรือผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงที่มิใช่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เป็นจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่เสนอขายทั้งหมด
(2) เสนอขายหน่วยลงทุนคงเหลือจากการเสนอขายตาม (1) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามสัดส่วนจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายถืออยู่ (right issue) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิตามสัดส่วน ให้บริษัทเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวให้เป็นไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 54
หมวด ๓ หลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๘ ในการจัดให้มีหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ดําเนินการให้หลักฐานดังกล่าวแสดงข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทและบุคคลอื่นได้
2. มีข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นได้
3. ในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นไว้ให้ชัดเจน
หมวด ๔ การสิ้นสุดของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๑๙ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกแล้ว หากปรากฏกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง
(1) จําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปได้ไม่ถึงสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) จําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้จองซื้อได้ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย
(3) จําหน่ายหน่วยลงทุนได้มีมูลค่าน้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท
(4) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 13(2) หรือ
(5) มูลค่าหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้ไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือ
สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในโครงการ
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบกรณีตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้นตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน หากบริษัทไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลานั้นได้อันเนื่องจากความผิดพลาดของบริษัทเอง ให้บริษัทชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
ข้อ ๒๐ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ หากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้
1. มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
2. มีการเสนอขาย จําหน่ายและจัดสรรหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามข้อ 13 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏพฤติการณ์ว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการใด ๆ หรือบุคคลใดถือหน่วยลงทุนโดยรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่น อันเป็นการปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงในการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ประสงค์จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทําการชี้แจง แสดงเหตุผลข้อเท็จจริง และหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(2) ในกรณีที่ไม่มีการชี้แจงตาม (1) หรือชี้แจงแล้วแต่ไม่อาจพิสูจน์หรือทําให้เชื่อได้ว่าการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นการจัดตั้งกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําการแก้ไข หรือดําเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด เพื่อให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไปอย่างแท้จริง
(3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามที่สํานักงานสั่งตาม (2) หรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถทําให้กองทุนรวมนั้นมีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๓ เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 20 ข้อ 21 หรือข้อ 22 หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในวรรคสองของข้อ 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที
หมวด ๕ การจัดการกองทุนรวม
ส่วน ๑ บททั่วไป
ข้อ ๒๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งสําเนาสัญญาดังต่อไปนี้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์
1. สัญญาแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําสัญญา หรือนับแต่วันแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินก่อนการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ แล้วแต่กรณี
2. สัญญาแต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) และสัญญาแต่งตั้งที่ปรึกษา (ถ้ามี) ภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําสัญญาดังกล่าว
ข้อ ๒๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมอํานวยความสะดวกให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินในการสํารวจอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนเพื่อการประเมินค่า
(2) ผู้ดูแลผลประโยชน์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดูแลผลประโยชน์ในการเข้าตรวจสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์
ข้อ ๒๖ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) ผู้จัดการกองทุนเพื่อทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 52 เพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศรายชื่อผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของบริษัท
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุนซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนหรือตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อทําหน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บริษัทต้องระบุกรณีดังกล่าวไว้ในโครงการ โดยจะต้องระบุวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้แทนผู้ถือ
หน่วยลงทุน จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดังกล่าวให้ชัดเจนไว้ในโครงการด้วย
ข้อ ๒๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องยื่นขอจดทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในสามสิบวันนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม
ข้อ ๒๙ เมื่อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว หากมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ด้วย
(1) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
(2) การประเมินค่าทรัพย์สินและการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินตามข้อ 62 และข้อ 64 โดยมีรายละเอียดข้อมูลตามข้อ 66
ข้อ ๓๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดร้องขอให้มีการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๓๑ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนโดยอนุโลม ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การดําเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
(2) การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ทั้งนี้ ต้องเป็นการควบรวมกองทุนรวมด้วยกันเท่านั้น
(3) การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้
ข้อ ๓๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการหรือหนังสือชี้ชวนอย่างชัดเจน
ส่วน ๒ การดําเนินการเมื่อมีการถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม
ข้อ ๓๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินอัตราส่วนดังกล่าว ไม่ว่าจากการที่บริษัทตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบหรือได้รับแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 34 ให้บริษัทปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 13(2)
(2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ
(3) ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นเฉพาะหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 13(2)
(4) แจ้งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันจําหน่ายหน่วยลงทุนส่วนที่บุคคลดังกล่าวถือเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบการถือหน่วยลงทุนของผู้ที่เคยเป็นเจ้าของหรือผู้โอนสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มบุคคลเดียวกัน หากปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวถือหน่วยลงทุนรวมกันเกินอัตราส่วนดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(3) ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมใด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว
(4) ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 33(3)
ให้นําความในวรรคสองของข้อ 33 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ส่วน ๓ การลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม
ข้อ ๓๕ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีการจัดทําการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย มีทางเข้าออกที่ดีและเหมาะสมตามสภาพ
1. ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการจัดหาผลประโยชน์ได้ ในกรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารซึ่งได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน โดยไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
(4) ต้องเป็นการลงทุนโดยการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือโดยการได้มาซึ่งสิทธิเก็บกินหรือสิทธิเหนือพื้นดิน โดยผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ดังกล่าวยินยอมที่จะขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นเมื่อมีการจัดตั้งกองทุนรวมแล้ว
(5) อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่อยู่ในบังคับแห่งทรัพยสิทธิหรือมีข้อพิพาทใดๆ เว้นแต่จะเป็นประโยชน์แก่กองทุนรวมและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(6) อสังหาริมทรัพย์ต้องไม่เป็นที่ดินว่างเปล่า เว้นแต่จะแสดงได้ว่าจะเป็นประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๓๖ อสังหาริมทรัพย์ประเภทสิ่งก่อสร้างที่กองทุนรวมสามารถซื้อ เช่า หรือได้สิทธิตามข้อ 35 ได้แก่
(1) อาคารสํานักงาน
(2) อาคารศูนย์การค้า
(3) อาคารโรงงานให้เช่าในนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม
(4) อาคารโกดังสินค้า
(5) อาคารที่พักอาศัย เช่น เซอร์วิซอะพาร์ตเมนท์ (service apartment) อาคารห้องชุด พักอาศัย อาคารหอพัก และบ้านพักอาศัย เป็นต้น
(6) อาคารโรงแรม
1. อาคารศูนย์ประชุมหรือศูนย์นิทรรศการ
2. สิ่งก่อสร้างอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเพิ่มเติมซึ่งสํานักงานจะแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ
ข้อ ๓๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) รอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ หรือ
(2) กรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๓๘ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ต้องลงทุนในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่เปิดเผยไว้ในโครงการ และหากราคาที่จะลงทุนซึ่งเปิดเผยไว้ในโครงการสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ลงทุนในราคานั้นในโครงการและหนังสือชี้ชวนด้วย
(2) กรณีกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ต้องลงทุนในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าสูงสุด เกินกว่าร้อยละห้าของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินดังกล่าว ทั้งนี้ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองรายต้องต่างกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาที่ต่ํากว่า
ในกรณีราคาที่ได้รับจากรายงานการประเมินค่าตาม (2) ต่างกันเกินกว่าร้อยละสิบห้าของราคาที่ต่ํากว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประเมินค่าใหม่ และหากมีการปรับราคาในรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินรายเดิม บริษัทต้องดําเนินการให้บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ปรับราคาประกอบไว้ในรายงานการประเมินค่าด้วย
ข้อ ๓๙ การขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องกระทําโดยเปิดเผยและให้โอกาสผู้ที่ประสงค์จะรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างเสมอภาคกัน หากการขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์มีราคาที่ต่ํากว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าสูงสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว บริษัทต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในราคาดังกล่าวไว้ในหนังสือสรุปข้อมูลสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 46
ข้อ ๔๐ รายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินตามข้อ 38 และข้อ 39 จะจัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการลงทุนในหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ดังกล่าวได้ไม่เกินหกเดือน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินใหม่
หากภายในระยะเวลาดังกล่าวมูลค่าทรัพย์สินที่ทําการประเมินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๔๑ ในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําสัญญาเช่าที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดหน้าที่มากกว่าหน้าที่อันเป็นปกติที่ผู้เช่าพึงต้องกระทําเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง หรือทําสัญญาเช่าช่วง เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน และต้องเป็นการเช่าจากบุคคลดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นการเช่าจากผู้มีสิทธิที่จะให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าเป็นที่ดิน ที่ดินนั้นจะต้องมีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้แล้ว
2. ในกรณีที่เป็นการเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ หรือในกรณีที่เป็นการเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ผู้ให้เช่ามิได้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
จากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลดังกล่าว หรือในกรณีที่มิได้จัดให้ผู้รับประกันความเสียหายเพื่อป้องกันความเสียหายเช่นว่านั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยความเสี่ยงให้ผู้ลงทุนทราบโดยต้องระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลประกอบการของกองทุนรวม หากผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์บอกเลิกสัญญา
ข้อ ๔๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องถืออสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนไว้อย่างน้อยหนึ่งปี เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๔๓ ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปแสวงหาผลประโยชน์ได้เฉพาะการให้เช่าพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการอื่นเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาประโยชน์ ทั้งนี้ หากเป็นการลงทุนในอาคารโรงแรม บริษัทต้องนําอาคารดังกล่าวให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการโรงแรมเท่านั้น
ในการจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการให้เช่าพื้นที่และมีการจัดหาผลประโยชน์โดยการให้บริการประกอบด้วย เช่น เซอร์วิซอะพาร์ตเมนท์ (service apartment) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการให้กองทุนรวมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่และการให้เช่าเครื่องใช้อุปกรณ์ตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงจากการให้เช่าพื้นที่นั้น เช่น ชุดรับแขก ชุดครัว เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีใด ๆ
(2) รายงานผลการดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ตาม (1) ของแต่ละอาคารให้สํานักงานทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีของกองทุนรวม
(3) ในการดําเนินการตาม (1) หากกองทุนรวมมีรายได้น้อยกว่าที่กําหนด บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ผู้ประกอบกิจการรายอื่นนําอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้จากการลงทุนไปจัดหาผลประโยชน์ หรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือเลิกกองทุนรวม ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม และแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทได้ดําเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ
ในกรณีที่เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการให้การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้นแล้วเสร็จก่อนการจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ ๔๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนให้เกิดรายได้ประจําไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของรายได้ทั้งหมดของกองทุนรวมในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
1. ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีแรกและรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายของปีที่สิ้นอายุโครงการ หรือ
2. เมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๔๕ เมื่อมีการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์โดยพลัน
1. เอกสารที่แสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ และสัญญาซื้อ เช่า รับโอนสิทธิการเช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(2) สัญญาเป็นหนังสือที่แสดงการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหนังสือแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่เข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น รวมทั้งจัดให้มีข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทและสํานักงานใหญ่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูได้ โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับชื่อ ที่ตั้ง ประเภทการใช้งาน ขนาดพื้นที่ และภาระผูกพันต่าง ๆ
(2) วันที่และราคาที่กองทุนรวมลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งชื่อผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
(3) วันที่และราคาขายหรือค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม รวมทั้งชื่อผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้รับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(4) วันที่ ราคาและวิธีการประเมินที่ได้จากรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย รวมทั้งชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าว
(5) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในราคาที่สูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง (ถ้ามี)
(6) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าสูงสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว (ถ้ามี)
(7) การรับประกันความเสียหายตามข้อ 41(2) (ถ้ามี)
(8) ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลประกอบการของกองทุนรวม ในกรณีที่มิได้จัดให้มีผู้รับประกันความเสียหายตามข้อ 41(2)
เมื่อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญตามวรรคหนึ่งให้ตลาดหลักทรัพย์แทนการจัดส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรือภายในกําหนดเวลาอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด
ข้อ ๔๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กองทุนรวมเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์และดําเนินการให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์นั้นครั้งต่อ ๆ ไปทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่ดําเนินการตรวจตราครั้งก่อนแล้วเสร็จ
การตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการบันทึกสภาพอสังหาริมทรัพย์ให้ถูกต้องและครบถ้วนตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มดําเนินการตรวจตรา และให้ส่งสําเนาบันทึกดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ทําบันทึกแล้วเสร็จ
หากบริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจพบหรือได้รับแจ้งจากผู้ดูแลผลประโยชน์ว่า อสังหาริมทรัพย์ชํารุดบกพร่องอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทดําเนินการให้มีการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์นั้นให้อยู่ในสภาพที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้โดยเร็ว
ข้อ ๔๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประกันภัยดังต่อไปนี้
(1) การประกันภัยอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับส่วนได้เสียของกองทุนรวมที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับกองทุนรวมอันเนื่องมาจากการเกิดวินาศภัยต่ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยกําหนดให้กองทุนรวมเป็นผู้รับประโยชน์ ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์
1. การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่อาจได้รับความเสียหายจากความชํารุดบกพร่องของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทุนรวม หรือผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์จากกองทุนรวม ได้ทําประกันภัยนั้นไว้แล้ว ให้กองทุนรวมทําประกันภัยความรับผิดเฉพาะกรณีที่กองทุนรวมอาจถูกไล่เบี้ยให้ต้องรับผิด
การประกันภัยตามวรรคหนึ่ง ให้เอาประกันตลอดระยะเวลาที่กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันภัยดังกล่าวไว้ในโครงการอย่างชัดเจน
ข้อ ๔๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของกองทุนรวมอย่างดีที่สุด
บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่จะได้รับมอบหมาย และมีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์มาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
ภายหลังจากที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณสมบัติตามวรรคสองแล้ว ให้บริษัทมีหนังสือแจ้งเรื่องการแต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์พร้อมทั้งคํารับรองว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่แต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์
เมื่อปรากฏว่าผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมถอดถอนผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และมีหนังสือแจ้งการถอดถอนผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถอดถอน
ข้อ ๕๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่าห้าปี และบริษัทต้องไม่ให้บุคคลดังกล่าวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายหรือมีส่วนร่วมในการบริหารอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๕๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งรายงานการแต่งตั้ง ถอดถอน หรือเลิกสัญญากับบุคคลดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง ถอดถอน หรือเลิกสัญญา
(1) ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์
(2) ที่ปรึกษา
ส่วน ๔ การบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
ข้อ ๕๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้เพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมก็ได้
1. พันธบัตรรัฐบาล
2. ตั๋วเงินคลัง
(3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
(4) เงินฝากในธนาคาร หรือบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(5) บัตรเงินฝากที่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ทั้งนี้ หากเป็นบัตรเงินฝากที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระเงินลงทุนอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการลงทุน
(6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ หากเป็นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระคืนเงินลงทุนอ้างอิงกับตัวแปร ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการลงทุน
(7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ หรือเงินฝาก
8. หน่วยลงทุนของกองทุนรวม
9. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE)
(ข) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีทรัพย์สินเช่นเดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ และ
2. ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
8. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสินค้าหรือตัวแปรอื่นใดที่มิใช่ราคาหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ดัชนีทางการเงิน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หรืออันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย
(11) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตาม (4)(5)(6)(7)(8)(9)(10) และ (11) ที่นิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย ผู้ค้ําประกัน หรือผู้รับฝากเงิน ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เว้นแต่ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้
1. ภายในสามสิบวันนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม
2. ช่วงระยะเวลาหกสิบวันก่อนวันจ่ายเงินลดเงินทุนจดทะเบียนหรือวันจ่ายเงินปันผล
ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
1. ช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันครบกําหนดอายุโครงการหรือวันเลิกกองทุนรวม
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสอง มิให้นับรวมตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกันโดยต้องเป็นการรับอาวัลแบบไม่มีเงื่อนไข หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
ส่วน ๕ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน
ข้อ ๕๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
2. เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
ข้อ ๕๔ ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามข้อ 53 โดยต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
การนับคะแนนเสียงของผู้ที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดตาม (1) ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนับรวมคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนหรือที่จะลงทุนเพิ่มเติม และกลุ่มบุคคลเดียวกัน
(2) เมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติม โดยต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ก) จํานวนหน่วยลงทุนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่ม
(ข) วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย
(ค) วิธีการเสนอขายหน่วยลงทุน
(ง) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในส่วนของจํานวนหน่วยลงทุนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม หากการจําหน่ายหน่วยลงทุนเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเป็นผลสําเร็จ
(3) ให้ข้อมูลตามข้อ 55 และข้อ 56 ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๕ ข้อมูลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อ 54(3) ต้องมีรายละเอียดของเรื่องดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน
2. จํานวนหน่วยลงทุนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย วิธีการเสนอขายหน่วยลงทุน และวันที่เสนอขายหน่วยลงทุน
(3) การจดทะเบียนหน่วยลงทุนที่เพิ่มเพื่อเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๕๖ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ ในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อ 54(3) ด้วย
(1) กรณีกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน
(2) กรณีกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อ เช่า หรือรับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(ข) ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่า หากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว
(ค) รายชื่อเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน ในกรณีที่ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์มิใช่บุคคลเดียวกับบุคคลที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุรายละเอียดของสิทธิของบุคคลดังกล่าวที่มีสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน
(ง) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อ เช่า หรือรับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนลักษณะของความสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าว
(จ) การรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือของบุคคลผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ กรณีที่เป็นการเช่าจากผู้มีสิทธิในอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาซึ่งทําไว้กับบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี)
6. สรุปสาระสําคัญของสัญญาเช่าระหว่างกองทุนรวมและผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(ช) สรุปสาระสําคัญของสัญญาเช่าระหว่างกองทุนรวมและผู้เช่า กรณีกองทุนรวมให้เช่าทรัพย์สินแก่ผู้เช่ารายเดียวเพื่อไปประกอบกิจการ (ถ้ามี)
(ซ) รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะซื้อหรือเช่า โดยให้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาพรวมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน โครงสร้างรายได้ที่จะได้รับจากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน และนโยบายการบริหารอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๕๗ เมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 54 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุข้อมูลตามข้อ 55 และข้อ 56 รวมทั้งจัดส่งร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมให้สํานักงานพิจารณา
(2) จัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน
(3) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ข้อ ๕๘ เมื่อพ้นระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมแล้ว หากปรากฏว่ามูลค่าหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้ไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้เป็นไปตามวรรคสองของข้อ 19 โดยอนุโลม
ข้อ ๕๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมได้ หากปรากฏว่ากองทุนรวมมีสภาพคล่องส่วนเกินจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ลดลงจากการประเมินค่าทรัพย์สิน
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หากปรากฏว่ากองทุนรวมดังกล่าวมีสภาพคล่องส่วนเกินจากมูลค่าสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ลดลง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม
ข้อ ๖๐ ในการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามข้อ 59 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มิได้กําหนดวิธีการลดเงินทุนจดทะเบียนไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน โดยต้องได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการลดเงินทุนจดทะเบียนตามข้อ 59 วรรคสอง
(2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
(3) ยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ตามแบบที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๖๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม แต่ไม่สามารถลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวได้ ให้บริษัทลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่มีการเสนอขายเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนโดยคํานวณตามสัดส่วนของราคาที่เสนอขายและเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในวรรคสองของข้อ 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม พร้อมทั้งจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมตามแบบที่สํานักงานกําหนด
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้บริษัทคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในวรรคสองของข้อ 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วน ๖ การประเมินค่าและการสอบทานการประเมินค่า
ข้อ ๖๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินจํานวนสองรายเพื่อทําการประเมินค่าในกรณีดังต่อไปนี้
1. ก่อนที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
2. ก่อนที่จะจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๖๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินจํานวนหนึ่งราย เพื่อทําการประเมินค่าในกรณีดังต่อไปนี้
1. ทุกสองปีนับแต่วันที่มีการประเมินค่าเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
2. ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นอันมีผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับการแจ้งจากผู้ดูแลผลประโยชน์
ข้อ ๖๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินจํานวนหนึ่งรายเพื่อทําการสอบทานการประเมินค่าทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่มีการประเมินค่าครั้งล่าสุดไปแล้ว
ข้อ ๖๕ ในการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินเพื่อทําการประเมินค่าหรือทําการสอบทานการประเมินค่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินรายใดรายหนึ่งให้ทําการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เดียวกันติดต่อกันเกินสองครั้งไม่ได้
ข้อ ๖๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สินไปพร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 68 โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
1. ชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
2. ชื่อ ประเภท และที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมิน
3. ราคาที่ได้รับจากรายงานการประเมินค่า หรือรายงานการสอบทานการประเมินค่า
4. วิธีการประเมินค่า หรือการสอบทานการประเมินค่า
(5) วันที่ประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่า ทั้งนี้ ในกรณีที่การประเมินค่าหรือ
สอบทานการประเมินค่าใช้วิธีการพิจารณาจากรายได้ (income approach) ให้ระบุระยะเวลาการประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าด้วย
(6) สิทธิของผู้ลงทุนในการขอรับข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่าจากบริษัทจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๖๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนารายงานการประเมินค่าและรายงานการสอบทานการประเมินค่า พร้อมด้วยสําเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ผู้ดูแลผลประโยชน์โดยพลัน และให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการประเมินค่า
ส่วน ๗ การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน
ข้อ ๖๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ มูลค่าที่คํานวณได้ดังกล่าวต้องมีผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท และสํานักงานใหญ่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งการเปิดเผยชื่อ ประเภทและที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากลงทุนด้วย
ข้อ ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 68 วรรคหนึ่ง อันมีผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพร้อมกับการเปิดเผยตามข้อ 68 วรรคสองด้วย และหากเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่มีการเปิดเผยตามข้อ 68 วรรคสองแล้ว ให้บริษัทเปิดเผยเรื่องดังกล่าวโดยพลัน
ข้อ ๗๐ ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณตามวิธีการดังต่อไปนี้
1. อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่าครั้งล่าสุด แล้วแต่กรณี เว้นแต่การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมครั้งแรก ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ราคาที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี
2. ทรัพย์สินอื่นตามข้อ 52 ให้กําหนดมูลค่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ส่วน ๘ การจัดทํารายงานของกองทุนรวม
ข้อ ๗๑ ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามข้อ 35 (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างทุกรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ลงทุนจนกว่าการก่อสร้างดังกล่าวจะแล้วเสร็จ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้เปิดเผยความคืบหน้าผ่านทางเว็บไซต์ (web site) ของบริษัทด้วย
ข้อ ๗๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่มีธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน
ข้อ ๗๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีและส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี
ข้อ ๗๔ รายงานของกองทุนรวมตามข้อ 73 ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. รายการแสดงทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้โดยแยกตามประเภททรัพย์สิน ทั้งนี้ หากเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกันแต่ในสาระสําคัญเป็นเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างกัน หรือมีความเสี่ยงของตราสารที่แตกต่างกันเนื่องจากมีสินค้าหรือตัวแปรที่แตกต่างกัน ให้แยกแสดงรายการออกจากกันด้วย เช่น อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ทั่วไป ตั๋วเงินทั่วไป ตั๋วแลกเงินที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระคืนเงินลงทุนอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปร เงินฝาก บัตรเงินฝากทั่วไป บัตรเงินฝากที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระคืนเงินลงทุนอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปร เป็นต้น พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด หรือราคายุติธรรม พร้อมอัตราส่วนต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี
2. รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนทุกรายการ โดยแยกตามรายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งานขนาดพื้นที่ อายุการเช่าหรือได้สิทธิ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าครั้งล่าสุด รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี และภาระผูกพันต่าง ๆ เป็นต้น
3. รายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการในรอบปีบัญชี ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) วันที่ ราคา เหตุผลที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินค่าก่อนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย เช่น วันที่ทําการประเมินค่า ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า วิธีที่ใช้ในการประเมินค่า ชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นต้น
(ค) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
1. รายละเอียดเกี่ยวกับการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการในรอบปีบัญชี ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) วันที่ ราคา เหตุผลที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินค่าก่อนการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย เช่น วันที่ทําการประเมินค่า ราคาที่ได้รับจากการรายงานการประเมินค่า วิธีการที่ใช้ในการประเมินค่า ชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นต้น
(ค) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ง) ราคาที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จําหน่าย
1. รายงานของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่แสดงถึงภาพรวมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนและแนวโน้มของธุรกิจดังกล่าว
2. งบดุลและงบกําไรขาดทุนที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี
3. ค่าใช้จ่ายที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวม ซึ่งต้องมีรายละเอียดตามแบบที่สํานักงานกําหนด
4. ความเห็นของผู้ดูแลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
5. ข้อมูลการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
ชื่อและที่อยู่ของที่ปรึกษาและผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมทุกราย (ถ้ามี
ส่วน ๙ การจ่ายเงินปันผล
ข้อ ๗๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของกําไรสุทธิประจําปีเมื่อกองทุนรวมมีกําไรสุทธิ และหากกองทุนรวมมีกําไรสะสมบริษัทอาจจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกําไรสะสมก็ได้
การจ่ายเงินปันผลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี
หมวด ๖ การเลิกกองทุนรวม
ข้อ ๗๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมในกรณีดังต่อไปนี้
(1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย ทั้งนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว
(2) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนลดลงต่ํากว่าห้าร้อยล้านบาท เมื่อคํานวณจากมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน โดยให้เลิกกองทุนรวมภายในวันทําการถัดไป เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนเฉพาะในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
1. บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการได้ เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม แต่ไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมนั้นได้ โดยบริษัทได้ดําเนินการตามข้อ 61 แล้ว
2. กรณีอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในโครงการ
ข้อ ๗๗ ในกรณีที่มีการกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวม เมื่อจะเลิกกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนครบกําหนดอายุโครงการ โดยวิธีการเปิดเผยและให้โอกาสผู้ที่ประสงค์จะรับโอนอสังหาริมทรัพย์อย่างเสมอภาคกัน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่อาจจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ก่อนหกเดือนก่อนครบกําหนดอายุโครงการ หรือในกรณีที่บริษัทเห็นว่าราคาที่จะได้จากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีที่กําหนดในวรรคหนึ่งไม่เหมาะสม ให้บริษัทขอความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อดําเนินการจําหน่ายโดยวิธีอื่น
หมวด ๗ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๗๘ ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดโครงการขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และหากบริษัทมิได้ดําเนินการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้เลิกกองทุนรวมนั้นได้
ข้อ ๗๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว แต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือในกรณีที่บริษัทเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากมีรายละเอียดโครงการขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนในครั้งแรก
(2) ในกรณีที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน แต่ต้องไม่เกินหนึ่ง ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๘๐ ความในส่วนที่ 2 ของหมวด 5 มิให้ใช้บังคับกับกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไม่ว่าที่เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ได้ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม
ข้อ ๘๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานให้สํานักงานทราบเกี่ยวกับการถือหน่วยลงทุนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดที่ได้ถือหน่วยลงทุนนั้นอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ โดยการรายงานดังกล่าวให้กระทําภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เว้นแต่ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนของกองทุนรวมครั้งล่าสุดเกินกว่าสามเดือนก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทรายงานต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการปิดสมุดทะเบียนครั้งต่อไป
ข้อ ๘๒ 82 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทราบเกี่ยวกับผลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวจะได้รับในกรณีที่มีเหตุตามข้อ 80
ข้อ ๘๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเกี่ยวกับการนับมติและการจ่ายเงินปันผลตามข้อ 80 ไว้ในโครงการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๘๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาข้อกําหนดในหมวดนี้ ให้นําความในข้อ 14 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีวัตถุประสงค์ที่จะระดมเงินทุนจากประชาชนทั่วไปเพื่อนําเงินทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้เกิดรายได้ประจําอันเป็นผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ลงทุนว่าบริษัทจัดการจะจัดการลงทุนอย่างโปร่งใส เป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ลงทุน สํานักงานจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น | 1,846 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 20/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการ กองทุนรวม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” และ “ผู้จัดการกองทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2550 รื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
“บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐซึ่งถือหุ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) บุคคลที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการกองทุนรวม
(ข) บุคคลที่ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของบุคคลตาม (ก) เกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของบุคคลดังกล่าว เว้นแต่บุคคลตาม (ก) เป็นบริษัทที่จัดตั้งในต่างประเทศ
(2) นิติบุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าวเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วน
(3) นิติบุคคลที่มีบุคคลที่ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจัดการกองทุนรวมเกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการกองทุนรวมด้วย
(4) กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปของบริษัทจัดการ กองทุนรวม รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าว
(5) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมนั้น
(6) นิติบุคคลที่บุคคลตาม (4) หรือ (5) ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันเกินร้อยละ สามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้น
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ประกอบคําขอด้วย
(1) คํารับรองของบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ที่ขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ ซึ่งได้รับรองว่าบุคคลดังกล่าวได้รับรายงานการประเมินของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินและรายงานเกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม และรับรองว่าได้ทํา การตรวจสอบการลงทุนตามโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมแล้ว และเห็นว่าเป็นธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนการทําธุรกรรมกับคู่ค้าทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transaction)
(2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของ กองทุนรวมก่อนการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นเอกสารชี้แจง การเปลี่ยนแปลงโดยแสดงรายชื่อบุคคลที่ถูกเปลี่ยนแปลงและเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
“ข้อ 4/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการ กองทุนรวมหรือของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบุคคลที่ทําคํารับรองตาม (1) ในวรรคสามของข้อ 4 เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม เว้นแต่มี เหตุผลอันสมควรโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้มีข้อกําหนดที่จะทําให้สํานักงานมีข้อมูลประกอบการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ | 1,847 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 25/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความดังต่อไปนี้
(1) มาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) ข้อ 4 ข้อ 7 ข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
(3) ข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 11 ข้อ 14 ข้อ 18 ข้อ 19(1) ข้อ 19(6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนดังกล่าว
(2) “เช่า” หมายความว่า เช่า ไม่ว่าการเช่านั้นจะเป็นการเช่าโดยตรง หรือเป็นการรับโอนสิทธิการเช่า หรือเป็นการเช่าช่วงก็ตาม
(3) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
(4) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(5) “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีรายละเอียดตามที่กําหนดโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(6) “กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้มาจากการลงทุนไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
(7) “บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) บุคคลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐซึ่งถือหุ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. บุคคลที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการกองทุนรวม
2. บุคคลที่ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของบุคคลตาม 1. เกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของบุคคลดังกล่าว เว้นแต่บุคคลตาม 1. เป็นบริษัทที่จัดตั้งในต่างประเทศ
(ข) นิติบุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าวเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วน
(ค) นิติบุคคลที่มีบุคคลที่ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจัดการกองทุนรวมเกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการกองทุนรวมด้วย
(ง) กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปของบริษัทจัดการ กองทุนรวม รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าว
(จ) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมนั้น
(ฉ) นิติบุคคลที่บุคคลตาม (ง) หรือ (จ) ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือจํานวนหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้น
(8) “รายงานการประเมินค่า” หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ พ.ศ. 2552 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
(9) “บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ พ.ศ. 2552
(10) “การประเมินค่า” หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน เงื่อนไข และข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
(11) “การสอบทานการประเมินค่า” หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน
(12) “กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้มาจากการลงทุนไว้ในโครงการ
(13) “ผู้จองซื้อทั่วไป” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยลงทุนด้วยวิธีการทั่วไปตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน และมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้จองซื้อพิเศษ และ
(ข) เจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า และผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน
(14) “ผู้จองซื้อพิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยลงทุนที่จะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นพิเศษกว่าผู้จองซื้อทั่วไป ซึ่งได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ข) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ค) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ง) กองทุนรวมตามกฎหมายต่างประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
(จ) สภากาชาดไทย
(ฉ) สหกรณ์ออมทรัพย์และชุมนุมสหกรณ์
(ช) กองทุนประกันสังคม
(ซ) บริษัทประกันภัย
(ฌ) มูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
(ญ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ฎ) มหาวิทยาลัย
(ฏ) ผู้ลงทุนตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(15) “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(16) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(17) “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(18) “บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(19) “ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่ในการบริหารหรือจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุน
(20) “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุน
(21) “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(22) “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น
(23) “ศูนย์จําหน่ายสินค้าขนาดใหญ่” หมายความว่า ศูนย์ขนาดใหญ่ที่ใช้สําหรับจําหน่ายสินค้าโดยให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปอย่างไม่จํากัดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งศูนย์ดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท
(24) “รายได้ประจํา” หมายความว่า รายได้ที่เป็นผลตอบแทนเป็นปกติประจําที่กองทุนรวมได้รับเนื่องจากการให้บุคคลอื่นใช้อสังหาริมทรัพย์ เช่น ค่าเช่า ค่าบริการ เป็นต้น และให้หมายความรวมถึงดอกเบี้ยของรายได้ดังกล่าว
(25) “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(26) “สินค้า” หมายความว่า สินค้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(27) “ตัวแปร” หมายความว่า ตัวแปรตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(28) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาอื่นในทํานองเดียวกัน
หมวด ๑ การจัดตั้งกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ คําขอจัดตั้งกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไป
(2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(3) มีรายละเอียดโครงการที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๔ การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดโครงการตามรายการที่กําหนดไว้ในระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวม (Mutual Fund Approval System (MFAS)) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศนี้ ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องยื่นรายละเอียดโครงการดังกล่าวผ่านระบบข้างต้นด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่การพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศนี้ยังไม่แล้วเสร็จ รายละเอียดโครงการให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีสาระสําคัญตามที่กําหนดในมาตรา 119
(3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 6
(4) ร่างหนังสือชี้ชวน
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินอย่างน้อยสองรายเพิ่มเติมด้วย
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ประกอบคําขอด้วย
(1) คํารับรองของบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
ที่ขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ ซึ่งได้รับรองว่าบุคคลดังกล่าวได้รับรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินและรายงานเกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม และรับรองว่า ได้ทําการตรวจสอบการลงทุนตามโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว และเห็นว่าเป็นธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนการทําธุรกรรมกับคู่ค้าทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ
(2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมก่อนการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นเอกสารชี้แจงการเปลี่ยนแปลงโดยแสดงรายชื่อบุคคลที่ถูกเปลี่ยนแปลงและเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย
ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบุคคลที่ทําคํารับรองตามข้อ 4 วรรคสาม (1) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควรโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๖ ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการตรวจตราอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนให้แล้วเสร็จตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์จากบริษัทจัดการกองทุนรวม
(ข) ทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ตรวจตราครั้งก่อนแล้วเสร็จ
(2) บันทึกสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ตรวจตราให้ถูกต้องและครบถ้วนตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มดําเนินการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์นั้น
(3) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์พบว่าอสังหาริมทรัพย์ชํารุดบกพร่องอย่างมีนัยสําคัญ
(4) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีการประเมินค่าใหม่โดยพลันเมื่อผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น อันมีผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือมูลค่าสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ
(5) ตรวจสอบการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้เป็นไปตามโครงการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(6) รับรองว่าการคํานวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมถูกต้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
(7) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรายงานของกองทุนรวม
(8) พิจารณาให้ความเห็นชอบวิธีการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 78 วรรคสอง
ข้อ ๗ ในการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหรือแก้ไขเอกสารตามข้อ 4 ให้ครบถ้วนถูกต้อง หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการตามระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอีกต่อไป เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงให้เห็นได้ว่าการที่มิได้ดําเนินการตามที่สํานักงานแจ้งภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุสมควร
ข้อ ๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และหนังสือชี้ชวน โดยมีสาระสําคัญไม่ต่างจากฉบับร่างที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน
ข้อ ๙ ในกรณีที่กองทุนรวมมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อกองทุนรวมซึ่งมีคําว่า “กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์” นําหน้า
หมวด ๒ การเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ห้ามมิให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนในการโฆษณาขายหน่วยลงทุนและในหนังสือชี้ชวน เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการเป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง
ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งร่างหนังสือชี้ชวนที่ระบุข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน รวมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้สํานักงานด้วย
ข้อ ๑๑ ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้สํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุน และให้จัดส่งเอกสารดังกล่าวผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ของสํานักงานด้วย และหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้ข้อมูลที่จัดส่งนั้นมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันโดยไม่ชักช้าและให้กระทําผ่านระบบงานข้างต้นด้วย
ข้อ ๑๒ ในการเสนอขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการแจกจ่ายข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและกองทุนรวมให้แก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ สําหรับข้อมูลที่เป็นรายละเอียดโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเตรียมไว้เพื่อให้ผู้ลงทุนตรวจดูหรือร้องขอได้ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นปัจจุบัน
ข้อ ๑๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม และต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๔ การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้จองซื้อทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ข้อกําหนดหรือเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้จองซื้อแต่ละรายต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท
(2) ไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้
(ก) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรเป็นกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
(ข) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น
(ค) บุคคลอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร
(3) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่ต่ํากว่าเจ็ดวัน
(4) จัดให้มีระบบในการจัดสรรหน่วยลงทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยต้องกําหนดให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนจํานวนน้อยได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนก่อน
(5) การกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุนต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้จองซื้ออันทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ
(6) ประชาสัมพันธ์การขายหน่วยลงทุนอย่างกว้างขวางเพื่อให้มีการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนอย่างแพร่หลาย
ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนนั้นแก่ผู้จองซื้อทั่วไปเพื่อนําไปขายต่อ หรือเป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) และ (6) ด้วยโดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่ง (1) (3) (4) (5) และ (6) มิให้นํามาใช้บังคับสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนซึ่งเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนหรือเป็นการเสนอขายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเอง
ข้อ ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง (2) ข้อ 17 ข้อ 20 วรรคหนึ่ง (4) ข้อ 22 ข้อ 34 ข้อ 35 และข้อ 55 ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน
(1) บิดา มารดา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) คู่สมรส
(3) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด แล้วแต่กรณี
(4) นิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่นนั้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้นหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้น แล้วแต่กรณี
(5) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
ข้อ ๑๖ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
จํานวนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนรับไว้ตามสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ให้นับรวมเป็นจํานวนหน่วยลงทุนที่จัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๗ ในการเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนให้กับผู้จองซื้อพิเศษ หรือเจ้าของผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน หรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้แก่บุคคลดังกล่าว ตามที่ได้มีการระบุชื่อหรือลักษณะของผู้ที่จะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนกรณีดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการและหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
(2) ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้จองซื้อหน่วยลงทุนตามขั้นตอนและวิธีการเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้จองซื้อทั่วไป บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนของผู้จองซื้อทั่วไปให้แก่บุคคลดังกล่าวได้ต่อเมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง (2)
ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนเป็นสิทธิเก็บกินหรือสิทธิเหนือพื้นดิน ให้นําหลักเกณฑ์การจัดสรรหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับเจ้าของที่ดินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๘ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป หรือผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงที่มิใช่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เป็นจํานวนรวมกันไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่เสนอขายทั้งหมด
(2) เสนอขายหน่วยลงทุนคงเหลือจากการเสนอขายตาม (1) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามสัดส่วนจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายถืออยู่ โดยในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิตามสัดส่วน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวให้เป็นไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 55
หมวด ๓ หลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๙ ในการจัดให้มีหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการให้หลักฐานดังกล่าวแสดงข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้
(2) มีข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นได้
(3) ในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นไว้ให้ชัดเจน
หมวด ๔ การสิ้นสุดของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๐ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกแล้ว หากปรากฏกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง
(1) จําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปได้ไม่ถึงสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) จําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้จองซื้อได้ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย
(3) จําหน่ายหน่วยลงทุนได้มีมูลค่าน้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท
(4) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง (2) หรือ
(5) มูลค่าหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้ไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในโครงการ
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบกรณีตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน และผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้นตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลานั้นได้อันเนื่องจากความผิดพลาดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
ข้อ ๒๑ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ หากปรากฏกรณีดังต่อไปนี้
(1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) มีการเสนอขาย จําหน่าย และจัดสรรหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามข้อ 14 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ปรากฏพฤติการณ์ว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการใด ๆ หรือบุคคลใดถือหน่วยลงทุนโดยรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่น อันเป็นการปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงในการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ประสงค์จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทําการชี้แจง แสดงเหตุผลข้อเท็จจริง และหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(2) ในกรณีที่ไม่มีการชี้แจงตาม (1) หรือชี้แจงแล้วแต่ไม่อาจพิสูจน์หรือทําให้เชื่อได้ว่าการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวเป็นการจัดตั้งกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําการแก้ไข หรือดําเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด เพื่อให้กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไปอย่างแท้จริง
(3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการตามที่สํานักงานสั่งตาม (2) หรือดําเนินการแล้วแต่ไม่สามารถทําให้กองทุนรวมนั้นมีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไปอย่างแท้จริง สํานักงานจะเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๔ เมื่อมีการเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 21 ข้อ 22 หรือข้อ 23 หากได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในข้อ 20 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากมีการจดทะเบียนกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที
หมวด ๕ การจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งสําเนาสัญญาดังต่อไปนี้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์
(1) สัญญาแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําสัญญา หรือนับแต่วันแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินก่อนการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ แล้วแต่กรณี
(2) สัญญาแต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) และสัญญาแต่งตั้งที่ปรึกษา (ถ้ามี) ภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําสัญญาดังกล่าว
ข้อ ๒๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมอํานวยความสะดวกให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินในการสํารวจอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนเพื่อการประเมินค่า
(2) ผู้ดูแลผลประโยชน์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดูแลผลประโยชน์ในการเข้าตรวจสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์
ข้อ ๒๗ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) ผู้จัดการกองทุนเพื่อทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 53 เพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศรายชื่อผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุนซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนหรือตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อทําหน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุกรณีดังกล่าวไว้ในโครงการ โดยจะต้องระบุวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้แทนผู้ถือหน่วยลงทุน จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดังกล่าวให้ชัดเจนไว้ในโครงการด้วย
ข้อ ๒๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องยื่นขอจดทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในสามสิบวันนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม
ข้อ ๓๐ เมื่อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว หากมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ด้วย
(1) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
(2) การประเมินค่าทรัพย์สินและการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินตามข้อ 63 และข้อ 65 โดยมีรายละเอียดข้อมูลตามข้อ 67
ข้อ ๓๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏ กรณีผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่าย
ได้แล้วทั้งหมดร้องขอให้มีการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๓๒ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนโดยอนุโลม ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การดําเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
(2) การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ทั้งนี้ ต้องเป็นการควบรวมกองทุนรวมด้วยกันเท่านั้น
(3) การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้
ข้อ ๓๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการหรือหนังสือชี้ชวนอย่างชัดเจน
ส่วน ๒ การดําเนินการเมื่อมีการถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินอัตราส่วนดังกล่าว ไม่ว่าจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบหรือได้รับแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 35 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง (2)
(2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ
(3) ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นเฉพาะหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง (2)
(4) แจ้งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันจําหน่ายหน่วยลงทุนส่วนที่บุคคลดังกล่าวถือเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบการถือหน่วยลงทุนของผู้ที่เคยเป็นเจ้าของหรือผู้โอนสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มบุคคลเดียวกัน หากปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวถือหน่วยลงทุนรวมกันเกินอัตราส่วนดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(3) ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมใด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว
(4) ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 34 วรรคหนึ่ง (3) ให้นําความในข้อ 34 วรรคสองมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ส่วน ๓ การลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๖ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีการจัดทําการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย มีทางเข้าออกที่ดีและเหมาะสมตามสภาพ
(3) ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการจัดหาผลประโยชน์ได้ ในกรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารซึ่งได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน โดยไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
(4) ต้องเป็นการลงทุนโดยการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือโดยการได้มาซึ่งสิทธิเก็บกินหรือสิทธิเหนือพื้นดิน โดยผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวยินยอมที่จะขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นเมื่อมีการจัดตั้งกองทุนรวมแล้ว
(5) อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่อยู่ในบังคับแห่งทรัพยสิทธิหรือมีข้อพิพาทใด ๆ เว้นแต่จะเป็นประโยชน์แก่กองทุนรวมและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(6) อสังหาริมทรัพย์ต้องไม่เป็นที่ดินว่างเปล่า เว้นแต่จะแสดงได้ว่าจะเป็นประโยชน์ ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๓๗ อสังหาริมทรัพย์ประเภทสิ่งก่อสร้างที่กองทุนรวมสามารถซื้อ เช่า หรือได้สิทธิตามข้อ 36 ได้แก่
(1) อาคารสํานักงาน
(2) อาคารศูนย์การค้า
(3) อาคารโรงงานให้เช่าในนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม
(4) อาคารโกดังสินค้า
(5) อาคารที่พักอาศัย เช่น เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ อาคารห้องชุดพักอาศัย อาคารหอพัก และบ้านพักอาศัย เป็นต้น
(6) อาคารโรงแรม
(7) อาคารศูนย์ประชุมหรือศูนย์นิทรรศการ
(8) ศูนย์จําหน่ายสินค้าขนาดใหญ่
(9) สิ่งก่อสร้างอื่นตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีมติเพิ่มเติมซึ่งสํานักงานจะแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ
ตอน ๓๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) รอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ หรือ
(2) กรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๓๙ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ต้องลงทุนในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่เปิดเผยไว้ในโครงการ และหากราคาที่จะลงทุนซึ่งเปิดเผยไว้ในโครงการสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุดเกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ลงทุนในราคานั้นในโครงการและหนังสือชี้ชวนด้วย
(2) กรณีกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ต้องลงทุนในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าสูงสุดเกินกว่าร้อยละห้าของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินดังกล่าว ทั้งนี้ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองรายต้องต่างกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาที่ต่ํากว่า
ในกรณีราคาที่ได้รับจากรายงานการประเมินค่าตามวรรคหนึ่ง (2) ต่างกันเกินกว่าร้อยละสิบห้าของราคาที่ต่ํากว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประเมินค่าใหม่ และหากมีการปรับราคาในรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินรายเดิม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ปรับราคาประกอบไว้ในรายงานการประเมินค่าด้วย
ข้อ ๔๐ การขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวม ได้มาจากการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องกระทําโดยเปิดเผยและให้โอกาสผู้ที่ประสงค์จะรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างเสมอภาคกัน หากการขายอสังหาริมทรัพย์ หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์มีราคาที่ต่ํากว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าสูงสุดเกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในราคาดังกล่าวไว้ในหนังสือสรุปข้อมูลสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 47
ข้อ ๔๑ รายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินตามข้อ 39 และข้อ 40 จะจัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการลงทุนในหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้ไม่เกินหกเดือน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินใหม่หากภายในระยะเวลาดังกล่าวมูลค่าทรัพย์สินที่ทําการประเมินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๔๒ ในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทําสัญญาเช่าที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดหน้าที่มากกว่าหน้าที่อันเป็นปกติที่ผู้เช่าพึงต้องกระทําเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง หรือทําสัญญาเช่าช่วง เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน และต้องเป็นการเช่าจากบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการเช่าจากผู้มีสิทธิที่จะให้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าเป็นที่ดิน ที่ดินนั้นจะต้องมีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้แล้ว
(2) ในกรณีที่เป็นการเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ หรือในกรณีที่เป็นการเช่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ผู้ให้เช่ามิได้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน หรือบริษัทประกันภัย เป็นผู้รับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลดังกล่าว หรือในกรณีที่มิได้จัดให้ผู้รับประกันความเสียหายเพื่อป้องกันความเสียหายเช่นว่านั้น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยความเสี่ยงให้ผู้ลงทุนทราบโดยต้องระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลประกอบการของกองทุนรวม หากผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์บอกเลิกสัญญา
ข้อ ๔๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องถืออสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนไว้อย่างน้อยหนึ่งปี เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๔๔ ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปแสวงหาผลประโยชน์ได้เฉพาะการให้เช่าพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการอื่นเพื่อนําอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาประโยชน์ ทั้งนี้ หากเป็นการลงทุนในอาคารโรงแรม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องนําอาคารดังกล่าวให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการโรงแรมเท่านั้น
ในการจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการให้เช่าพื้นที่และมีการจัดหาผลประโยชน์โดยการให้บริการประกอบด้วย เช่น เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการให้กองทุนรวมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่และการให้เช่าเครื่องใช้อุปกรณ์ตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงจากการให้เช่าพื้นที่นั้น เช่น ชุดรับแขก ชุดครัว เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีใด ๆ
(2) รายงานผลการดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ตาม (1) ของแต่ละอาคารให้สํานักงานทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุนรวม
(3) ในการดําเนินการตาม (1) หากกองทุนรวมมีรายได้น้อยกว่าที่กําหนด บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ผู้ประกอบกิจการรายอื่นนําอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้จากการลงทุนไปจัดหาผลประโยชน์ หรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือเลิกกองทุนรวม ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม และแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ
ในกรณีที่เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการให้การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นั้นแล้วเสร็จก่อนการจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ ๔๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนให้เกิดรายได้ประจําไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของรายได้ทั้งหมดของกองทุนรวมในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีแรกและรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายของปีที่สิ้นอายุโครงการ หรือ
(2) เมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
หมวด ๔๖ เมื่อมีการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์โดยพลัน
(1) เอกสารที่แสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ และสัญญาซื้อ เช่า รับโอนสิทธิการเช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(2) สัญญาเป็นหนังสือที่แสดงการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหนังสือแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่เข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น รวมทั้งจัดให้มีข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและสํานักงานใหญ่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลงทุนหรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูได้ โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับชื่อ ที่ตั้ง ประเภทการใช้งาน ขนาดพื้นที่ และภาระผูกพันต่าง ๆ
(2) วันที่และราคาที่กองทุนรวมลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งชื่อผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
(3) วันที่และราคาขายหรือค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม รวมทั้งชื่อผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้รับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(4) วันที่ ราคาและวิธีการประเมินที่ได้จากรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย รวมทั้งชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าว
(5) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในราคาที่สูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุดเกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง (ถ้ามี)
(6) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าสูงสุดเกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว (ถ้ามี)
(7) การรับประกันความเสียหายตามข้อ 42(2) (ถ้ามี)
(8) ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลประกอบการของกองทุนรวม ในกรณีที่มิได้จัดให้มีผู้รับประกันความเสียหายตามข้อ 42(2)
เมื่อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญตามวรรคหนึ่งให้ตลาดหลักทรัพย์แทนการจัดส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันซื้อ เช่า จําหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรือภายในกําหนดเวลาอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด
ข้อ ๔๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กองทุนรวมเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์และดําเนินการให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์นั้นครั้งต่อ ๆ ไปทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่ดําเนินการตรวจตราครั้งก่อนแล้วเสร็จ
การตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการบันทึกสภาพอสังหาริมทรัพย์ให้ถูกต้องและครบถ้วนตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มดําเนินการตรวจตรา และให้ส่งสําเนาบันทึกดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ทําบันทึกแล้วเสร็จ
หากบริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจพบหรือได้รับแจ้งจากผู้ดูแลผลประโยชน์ว่า อสังหาริมทรัพย์ชํารุดบกพร่องอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์นั้นให้อยู่ในสภาพที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้โดยเร็ว
ข้อ ๔๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประกันภัยดังต่อไปนี้
(1) การประกันภัยอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับส่วนได้เสียของกองทุนรวมที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับกองทุนรวมอันเนื่องมาจากการเกิดวินาศภัยต่ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยกําหนดให้กองทุนรวมเป็นผู้รับประโยชน์ ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์
(2) การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่อาจได้รับความเสียหายจากความชํารุดบกพร่องของอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทุนรวม หรือผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์จากกองทุนรวม ได้ทําประกันภัยนั้นไว้แล้ว ให้กองทุนรวมทําประกันภัยความรับผิดเฉพาะกรณีที่กองทุนรวมอาจถูกไล่เบี้ยให้ต้องรับผิด
การประกันภัยตามวรรคหนึ่ง ให้เอาประกันตลอดระยะเวลาที่กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในสังหาริมทรัพย์นั้น โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันภัยดังกล่าวไว้ในโครงการอย่างชัดเจน
ข้อ ๕๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของกองทุนรวมอย่างดีที่สุด
บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่จะได้รับมอบหมาย และมีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์มาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
ภายหลังจากที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณสมบัติตามวรรคสองแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหนังสือแจ้งเรื่องการแต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์พร้อมทั้งคํารับรองว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่แต่งตั้งผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์
เมื่อปรากฏว่าผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมถอดถอนผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และมีหนังสือแจ้งการถอดถอนผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถอดถอน
ข้อ ๕๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่าห้าปี และบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่ให้บุคคลดังกล่าวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายหรือมีส่วนร่วมในการบริหารอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๕๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งรายงานการแต่งตั้ง ถอดถอน หรือเลิกสัญญากับบุคคลดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งถอดถอน หรือเลิกสัญญา
(1) ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์
(2) ที่ปรึกษา
ส่วน ๔ การบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ตอน ๕๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้เพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมก็ได้
(1) พันธบัตรรัฐบาล
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
(4) เงินฝากในธนาคาร หรือบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(5) บัตรเงินฝากที่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ทั้งนี้ หากเป็นบัตรเงินฝากที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระเงินลงทุนอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการลงทุน
(6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ หากเป็นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระคืนเงินลงทุนอ้างอิงกับตัวแปรต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการลงทุน
(7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ หรือเงินฝาก
(8) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(9) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของInternational Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE)
(ข) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีทรัพย์สินเช่นเดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ และ
(ค) ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
(10) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสินค้าหรือตัวแปรอื่นใดที่มิใช่ราคาหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ดัชนีทางการเงิน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หรืออันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย
(11) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) และ (11) ที่นิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย ผู้ค้ําประกัน หรือผู้รับฝากเงิน ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เว้นแต่ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) ภายในสามสิบวันนับแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม
(2) ช่วงระยะเวลาหกสิบวันก่อนวันจ่ายเงินลดเงินทุนจดทะเบียนหรือวันจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
(3) ช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันครบกําหนดอายุโครงการหรือวันเลิกกองทุนรวม
การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสอง มิให้นับรวมตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ําประกันโดยต้องเป็นการรับอาวัลแบบไม่มีเงื่อนไข หรือสลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
ส่วน ๕ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
(2) เพื่อดําเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
ข้อ ๕๕ ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามข้อ 54 โดยต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
การนับคะแนนเสียงของผู้ที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนับรวมคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุนหรือที่จะลงทุนเพิ่มเติม และกลุ่มบุคคลเดียวกัน
(2) เมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติม โดยต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ก) จํานวนหน่วยลงทุนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่ม
(ข) วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย
(ค) วิธีการเสนอขายหน่วยลงทุน
(ง) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในส่วนของจํานวนหน่วยลงทุนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม หากการจําหน่ายหน่วยลงทุนเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเป็นผลสําเร็จ
(3) ให้ข้อมูลตามข้อ 56 และข้อ 57 ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๖ ข้อมูลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อ 55(3) ต้องมีรายละเอียดของเรื่องดังต่อไปนี้
(1) วัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน
(2) จํานวนหน่วยลงทุนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย วิธีการเสนอขายหน่วยลงทุน และวันที่เสนอขายหน่วยลงทุน
(3) การจดทะเบียนหน่วยลงทุนที่เพิ่มเพื่อเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๕๗ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อ 55(3) ด้วย
(1) กรณีกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน
(2) กรณีกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อ เช่า หรือรับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(ข) ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่า หากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุดเกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว
(ค) รายชื่อเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน ในกรณีที่ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์มิใช่บุคคลเดียวกับบุคคลที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุรายละเอียดของสิทธิของบุคคลดังกล่าวที่มีสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน
(ง) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อ เช่า หรือรับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนลักษณะของความสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าว
(จ) การรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือของบุคคลผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ กรณีที่เป็นการเช่าจากผู้มีสิทธิในอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาซึ่งทําไว้กับบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี)
(ฉ) สรุปสาระสําคัญของสัญญาเช่าระหว่างกองทุนรวมและผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(ช) สรุปสาระสําคัญของสัญญาเช่าระหว่างกองทุนรวมและผู้เช่ากรณีกองทุนรวมให้เช่าทรัพย์สินแก่ผู้เช่ารายเดียวเพื่อไปประกอบกิจการ (ถ้ามี)
(ซ) รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะซื้อหรือเช่า โดยให้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาพรวมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน โครงสร้างรายได้ที่จะได้รับจากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน และนโยบายการบริหารอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๕๘ เมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 55 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุข้อมูลตามข้อ 56 และข้อ 57 รวมทั้งจัดส่งร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมให้สํานักงานพิจารณา
(2) จัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน
(3) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๕๙ เมื่อพ้นระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมแล้ว หากปรากฏว่ามูลค่าหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้ไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 20 วรรคสองโดยอนุโลม
ข้อ ๖๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมได้ หากปรากฏว่ากองทุนรวมมีสภาพคล่องส่วนเกินจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ลดลงจากการประเมินค่าทรัพย์สิน
ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หากปรากฏว่ากองทุนรวมดังกล่าวมีสภาพคล่องส่วนเกินจากมูลค่าสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ลดลง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม
ข้อ ๖๑ ในการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามข้อ 60 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มิได้กําหนดวิธีการลดเงินทุนจดทะเบียนไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน โดยต้องได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการลดเงินทุนจดทะเบียนตามข้อ 60 วรรคสอง
(2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
(3) ยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๖๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม แต่ไม่สามารถลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโดยการลดจํานวนหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่มีการเสนอขายเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนโดยคํานวณตามสัดส่วนของราคาที่เสนอขายและเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในข้อ 20 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม พร้อมทั้งจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยให้นําความในข้อ 20 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วน ๖ การประเมินค่าและการสอบทานการประเมินค่า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินจํานวนสองรายเพื่อทําการประเมินค่าในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ก่อนที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) ก่อนที่จะจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๖๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินจํานวนหนึ่งรายเพื่อทําการประเมินค่าในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ทุกสองปีนับแต่วันที่มีการประเมินค่าเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นอันมีผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับการแจ้งจากผู้ดูแลผลประโยชน์
ข้อ ๖๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินจํานวนหนึ่งรายเพื่อทําการสอบทานการประเมินค่าทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่มีการประเมินค่าครั้งล่าสุดไปแล้ว
ข้อ ๖๖ ในการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินเพื่อทําการประเมินค่าหรือทําการสอบทานการประเมินค่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินรายใดรายหนึ่งให้ทําการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เดียวกันติดต่อกันเกินสองครั้งไม่ได้
ข้อ ๖๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สินไปพร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 69 โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
(1) ชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
(2) ชื่อ ประเภท และที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมิน
(3) ราคาที่ได้รับจากรายงานการประเมินค่า หรือรายงานการสอบทานการประเมินค่า
(4) วิธีการประเมินค่า หรือการสอบทานการประเมินค่า
(5) วันที่ประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่า ทั้งนี้ ในกรณีที่การประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าใช้วิธีการพิจารณาจากรายได้ ให้ระบุระยะเวลาการประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าด้วย
(6) สิทธิของผู้ลงทุนในการขอรับข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่าจากบริษัทจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๖๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนารายงานการประเมินค่าและรายงานการสอบทานการประเมินค่า พร้อมด้วยสําเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ผู้ดูแลผลประโยชน์โดยพลัน และให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการประเมินค่า
ส่วน ๗ การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ มูลค่าที่คํานวณได้ดังกล่าวต้องมีผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคํานวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และสํานักงานใหญ่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งการเปิดเผยชื่อ ประเภท และที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากลงทุนด้วย
ข้อ ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คํานวณตามข้อ 69 วรรคหนึ่ง อันมีผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพร้อมกับการเปิดเผยตามข้อ 69 วรรคสองด้วย และหากเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่มีการเปิดเผยตามข้อ 69 วรรคสองแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยเรื่องดังกล่าวโดยพลัน
ข้อ ๗๑ ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณตามวิธีการดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่าครั้งล่าสุด แล้วแต่กรณี เว้นแต่การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมครั้งแรก ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ราคาที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(2) ทรัพย์สินอื่นตามข้อ 53 ให้กําหนดมูลค่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ส่วน ๘ การจัดทํารายงานของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗๒ ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ตามข้อ 36(3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างทุกรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ลงทุนจนกว่าการก่อสร้างดังกล่าวจะแล้วเสร็จ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้เปิดเผยความคืบหน้าผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการด้วย
ตอน ๗๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่มีธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน
ข้อ ๗๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานของกองทุนรวมทุกวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีและส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี
ข้อ ๗๕ รายงานของกองทุนรวมตามข้อ 74 ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายการแสดงทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้โดยแยกตามประเภททรัพย์สิน ทั้งนี้ หากเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกันแต่ในสาระสําคัญเป็นเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างกัน หรือมีความเสี่ยงของตราสารที่แตกต่างกันเนื่องจากมีสินค้าหรือตัวแปรที่แตกต่างกัน ให้แยกแสดงรายการออกจากกันด้วย เช่น อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ทั่วไป ตั๋วเงินทั่วไป ตั๋วแลกเงินที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระคืนเงินลงทุนอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปร เงินฝาก บัตรเงินฝากทั่วไป บัตรเงินฝากที่มีการจ่ายผลตอบแทนหรือการชําระคืนเงินลงทุนอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปร เป็นต้น พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาดหรือราคายุติธรรม พร้อมอัตราส่วนต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนทุกรายการ โดยแยกตามรายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งานขนาดพื้นที่ อายุการเช่าหรือได้สิทธิ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าครั้งล่าสุด รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี และภาระผูกพันต่าง ๆ เป็นต้น
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) วันที่ ราคา เหตุผลที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินค่าก่อนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย เช่น วันที่ทําการประเมินค่า ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า วิธีที่ใช้ในการประเมินค่า ชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นต้น
(ค) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) วันที่ ราคา เหตุผลที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินค่าก่อนการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย เช่น วันที่ทําการประเมินค่า ราคาที่ได้รับจากการรายงานการประเมินค่า วิธีการที่ใช้ในการประเมินค่า ชื่อบริษัทประเมินค่า
ทรัพย์สิน เป็นต้น
(ค) กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ง) ราคาที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จําหน่าย
(5) รายงานของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่แสดงถึงภาพรวมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนและแนวโน้มของธุรกิจดังกล่าว
(6) งบดุลและงบกําไรขาดทุนที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี
(7) ค่าใช้จ่ายที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวม ซึ่งต้องมีรายละเอียดตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(8) ความเห็นของผู้ดูแลประโยชน์เกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
(9) ข้อมูลการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(10) ชื่อและที่อยู่ของที่ปรึกษาและผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมทุกราย (ถ้ามี)
ส่วน ๙ การจ่ายเงินปันผล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของกําไรสุทธิประจําปีเมื่อกองทุนรวมมีกําไรสุทธิ และหากกองทุนรวมมีกําไรสะสมบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกําไรสะสมก็ได้
การจ่ายเงินปันผลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี
หมวด ๖ การเลิกกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมในกรณีดังต่อไปนี้
(1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย ทั้งนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว
(2) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนลดลงต่ํากว่าห้าร้อยล้านบาท เมื่อคํานวณจากมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน โดยให้เลิกกองทุนรวมภายในวันทําการถัดไป เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนเฉพาะในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการได้ เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม แต่ไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมนั้นได้ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 62 แล้ว
(4) กรณีอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในโครงการ
ข้อ ๗๘ ในกรณีที่มีการกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวม เมื่อจะเลิกกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนครบกําหนดอายุโครงการ โดยวิธีการเปิดเผยและให้โอกาสผู้ที่ประสงค์จะรับโอนอสังหาริมทรัพย์อย่างเสมอภาคกัน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่อาจจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ก่อนหกเดือนก่อนครบกําหนดอายุโครงการ หรือในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเห็นว่าราคาที่จะได้จากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีที่กําหนดในวรรคหนึ่งไม่เหมาะสม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อดําเนินการจําหน่ายโดยวิธีอื่น
หมวด ๗ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗๙ ความในส่วนที่ 2 ของหมวด 5 มิให้นํามาใช้บังคับกับบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดอยู่แล้วก่อนวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เว้นแต่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวได้มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้นําความในข้อ 15 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๘๐ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๘๑ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
: เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,848 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 53/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
------------------------
อาศัยอํานาจตามความดังต่อไปนี้
(1) มาตรา 141(2) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่
คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) ข้อ 4 วรรคสอง ข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
(3) ข้อ 5 ข้อ 11 ข้อ 14 ข้อ 19(1) ข้อ 19(6) และข้อ 20แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (14) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(14) “ผู้จองซื้อพิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยลงทุนที่จะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเป็นพิเศษกว่าผู้จองซื้อทั่วไป ซึ่งได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการจัดการทรัพย์สินของตนเอง
(ค) บริษัทประกันวินาศภัย หรือบริษัทประกันชีวิต
(ง) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(จ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฉ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ช) กองทุนประกันสังคม
(ซ) กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฌ) สภากาชาดไทย
(ญ) มูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
(ฎ) สหกรณ์ออมทรัพย์และชุมนุมสหกรณ์
(ฏ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก
(ฐ) กองทุนรวมตามกฎหมายต่างประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
(ฑ) ผู้ลงทุนต่างประเทศที่มีลักษณะเดียวกับ (ก) ถึง (ช)
(ฒ) ผู้ลงทุนตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(14/1) “ผู้ลงทุนต่างด้าว” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่เป็นคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่มีสิทธิในที่ดินเสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด แล้วแต่กรณี”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” นําหน้า
(2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่า
ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า “กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์” นําหน้า
(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนทั้งตาม (1) และ (2)
ให้ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า” นําหน้า”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 11/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 11/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะตั้งบริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนเป็นผู้ทําหน้าที่ในการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม บริษัทจัดจําหน่าย
หน่วยลงทุนดังกล่าวต้องไม่มีความสัมพันธ์กับเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า และผู้ให้สิทธิ
ในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุนในลักษณะของการเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 13/1 ในระหว่างระยะเวลาก่อนปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะยกเลิกการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการ
กองทุนรวมสามารถยุติการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขาย
หน่วยลงทุนดังกล่าวได้
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานให้สํานักงานทราบการยุติการขายหน่วยลงทุน
ตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ยุติการขายหน่วยลงทุนนั้น และให้การอนุมัติให้จัดตั้งและ
จัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลงในวันที่แจ้งให้สํานักงานทราบ
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนตามสัดส่วนของเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมสิ้นสุดลงตามวรรคสอง และหากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้อันเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่ บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ไม่เกินกว่าหนึ่งในสาม
ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้
(ก) เป็นการจัดสรรหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่าย
ได้แล้วทั้งหมดให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้
1. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
2. นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคล
3. บุคคลอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) เป็นการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนซึ่งรับหน่วยลงทุนไว้ตามสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน โดยบริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนจะถือหน่วยลงทุนที่รับไว้ในส่วนที่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนรับหน่วยลงทุนดังกล่าว
(2) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่เจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า และผู้ให้สิทธิ
ในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว รวมกันได้
ไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด”
ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 14/1 การพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามข้อ 11/1 ข้อ 14 ข้อ 17 ข้อ 20(4) ข้อ 22 ข้อ 34 ข้อ 35 ข้อ 35/1 ข้อ 35/2 และข้อ 55 ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุส่วนบุคคล”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ข้อกําหนดหรือเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้จองซื้อแต่ละรายต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท
(2) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่ต่ํากว่าเจ็ดวัน
(3) จัดให้มีระบบในการจัดสรรหน่วยลงทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้จองซื้อหน่วยลงทุน โดยต้องกําหนดให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนจํานวนน้อยได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนก่อน
(4) การกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุนต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้จองซื้ออันทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ
(5) ประชาสัมพันธ์การขายหน่วยลงทุนอย่างกว้างขวางเพื่อให้มีการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนอย่างแพร่หลาย
ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนนั้นแก่ผู้จองซื้อทั่วไปเพื่อนําไปขายต่อ หรือเป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่งและข้อ 14 ด้วย โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่งให้นํามาใช้บังคับสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนซึ่งเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไปด้วย”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุน
ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง (2) หรือ (3)”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ภายใต้บังคับข้อ 14 ในการเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนครั้งแรกให้กับ
ผู้จองซื้อพิเศษ หรือเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวม
จะลงทุน หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลดังกล่าวรวมกันได้ไม่เกินร้อยละ
ห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามที่ได้มีการระบุชื่อหรือลักษณะของ
ผู้ที่จะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนกรณีดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการและหนังสือชี้ชวน
ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตาม (2) หรือ (3)
(2) ในกรณีที่ผู้จองซื้อพิเศษได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนตาม (1) แล้ว ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนของผู้จองซื้อทั่วไปให้แก่บุคคลดังกล่าวอีก เว้นแต่เป็นการเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อทั่วไป
(3) ในกรณีที่เจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทุนรวมจะลงทุน หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนตาม (1) แล้ว ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนของผู้จองซื้อทั่วไปให้แก่บุคคลดังกล่าวอีก เว้นแต่เป็นการเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนของผู้จองซื้อทั่วไปที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อทั่วไป และผู้จองซื้อพิเศษตาม (2)”
ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ห้ามมิให้บริษัทจัดการ
กองทุนรวมจัดสรรหน่วยลงทุนให้กับผู้ลงทุนต่างด้าวเกินร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากเป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือ
(2) มีการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในอาคารชุด ทั้งนี้ เมื่อคํานวณพื้นที่ห้องชุดที่กองทุนรวมจะลงทุนรวมกับพื้นที่ห้องชุดที่ถือกรรมสิทธิ์โดยผู้ลงทุนต่างด้าวในอาคารเดียวกันอยู่ก่อนแล้วคิดเป็นสัดส่วนเกินร้อยละสี่สิบเก้าของพื้นที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น”
ข้อ ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 ของหมวด 2 การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 18/1 ในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้ง
นายทะเบียนหน่วยลงทุนที่สามารถควบคุมการถือหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าว ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ภายหลังจากการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 18 รวมทั้งดําเนินการให้มีการปฏิเสธการโอนหน่วยลงทุนที่จะเป็นผลทําให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนต่างด้าวถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนดด้วย”
ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกแล้ว หากปรากฏกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้การอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง
(1) จําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปได้ไม่ถึงร้อยละห้าสิบของจํานวน
หน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง (2) หรือ (3)
(2) จําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อได้ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย
(3) จําหน่ายหน่วยลงทุนได้มีมูลค่าน้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท
(4) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินอัตราที่กําหนด
ในข้อ 14
(5) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนต่างด้าวเกินกว่าอัตราที่กําหนดในข้อ 18
(6) มูลค่าหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้ไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในโครงการ”
ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 30 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การประเมินค่าทรัพย์สินและการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินตาม
ข้อ 63 ข้อ 64 และข้อ 65 โดยมีรายละเอียดข้อมูลตามข้อ 67”
ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 34 และข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 34 ภายใต้บังคับข้อ 35 และข้อ 35/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่บริษัทจัดการกองทุนรวมว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว
(2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ
(3) ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(4) แจ้งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันจําหน่ายหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุกรณีตามวรรคหนึ่งไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
ข้อ 35 ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเป็นบุคคลตามข้อ 14(1) (ก) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว
(2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้อง
ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ
(3) ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(4) แจ้งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันจําหน่ายหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุกรณีตามวรรคหนึ่งไว้อย่างชัดเจนในโครงการ”
ข้อ ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 35/1 และข้อ 35/2 ในส่วนที่ 2 การดําเนินการเมื่อมีการถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม ของหมวด 5 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงาน
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ
วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 35/1 ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเป็นบริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามข้อ 14(1) (ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลาที่บุคคลดังกล่าวถือหน่วยลงทุนที่รับไว้ตามสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่รับหน่วยลงทุน
(1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวม
รู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว
(2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวม
นับคะแนนเสียงของบุคคลดังกล่าวได้เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุน
ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(3) จ่ายเงินปันผลให้แก่บุคคลดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลนั้น
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุกรณีตามวรรคหนึ่งไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
ข้อ 35/2 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่บริษัทจัดการกองทุนรวมว่าผู้ที่เคยเป็นเจ้าของหรือผู้โอนสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว ถือหน่วยลงทุนรวมกันเกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามข้อ 34 โดยอนุโลม”
ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 36 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการ
จัดหาผลประโยชน์ได้ หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าโครงการ ณ วันที่สํานักงานอนุมัติให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง
(ข) มีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าโครงการ ณ วันที่กองทุนรวมทําการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง
การคํานวณมูลค่าโครงการตามวรรคหนึ่งมิให้นับมูลค่าที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโครงการ
ทั้งนี้ สัดส่วนความคืบหน้าของการก่อสร้างต้องได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินด้วย”
ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 38 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในหกเดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือวันที่จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนสําหรับกรณีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนตามข้อ 54(1) แล้วแต่กรณี และดํารงอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวทุกวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) รอบระยะเวลาบัญชีประจําปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ หรือ
(2) กรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน”
ข้อ ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 4/1 การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเป็นพิเศษและข้อ 53/1 ของหมวด 5 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ส่วน ๔/๑ การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเป็นพิเศษ
ข้อ ๕๓/๑ กองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเป็นพิเศษได้ไม่เกินหนึ่งหุ้นตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) หุ้นดังกล่าวออกโดยบริษัทที่เช่าอสังหาริมทรัพย์จากกองทุนรวม โดยหุ้นนั้นให้สิทธิพิเศษในการอนุมัติการดําเนินงานบางประการของบริษัทที่เช่าอสังหาริมทรัพย์ (golden share) ทั้งนี้ ตามที่ได้กําหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทดังกล่าว และ
(2) บริษัทที่เช่าอสังหาริมทรัพย์ตกลงจ่ายค่าเช่าให้แก่กองทุนรวมในอัตราผันแปรตามผลประกอบการของอสังหาริมทรัพย์ที่เช่า”
ข้อ ๒๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 55 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 55 ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม จํานวนหน่วยลงทุนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่ม วิธีการกําหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการเสนอขายหน่วยลงทุน โดยต้องได้รับคะแนนเสียงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่การขอมติกระทําโดยการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
ของกองทุนรวม
(ข) ในกรณีที่การขอมติกระทําโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติดังกล่าว ต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนมาประชุมไม่น้อยกว่ายี่สิบห้ารายหรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมดังกล่าวต้องมีหน่วยลงทุนนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมดังกล่าว จึงจะเป็นองค์ประชุม
(2) ขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการให้สอดคล้องกับการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนตามที่ได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) โดยต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(3) ให้ข้อมูลตามข้อ 56 และข้อ 57 ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วแต่กรณี
ในการนับคะแนนเสียงของผู้ที่มีสิทธิออกเสียงตามวรรคหนึ่ง (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้มิได้
(1) เจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนเพิ่มเติม ในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อซื้อ เช่า หรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
(2) เจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่กองทุนรวมเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทุนรวม ในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้หาประโยชน์
(3) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิในการจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนที่เสนอขายให้กับผู้ลงทุนเฉพาะเจาะจง ในกรณีที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนให้กับผู้ลงทุนเฉพาะเจาะจง
(4) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับกองทุนรวมในเรื่องที่ขอมติ
(5) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะการเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลตามวรรคสอง
(1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนโดยเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการเฉพาะเจาะจง
ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเดิมบางราย หากผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติคัดค้านรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวน
หน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเพิ่มเงินทุน
จดทะเบียนในกรณีดังกล่าว”
ข้อ ๒๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 60 และข้อ 61 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 60 ในกรณีที่กองทุนรวมมีสภาพคล่องส่วนเกินจากกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะจ่ายสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการโดยการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมเท่านั้น
(1) กองทุนรวมมีการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) มูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ลดลงจากการประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สิน
(3) กองทุนรวมมีรายการทางบัญชีที่เป็นรายการค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี
ซึ่งทยอยตัดจ่าย
ข้อ 61 ในการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามข้อ 60 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดเงินทุนโดยการลดมูลค่าหน่วยลงทุน และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาลดเงินทุนจดทะเบียน บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้ในโครงการ
(2) ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ เงินที่เฉลี่ยคืนดังกล่าวมิให้หักออกจากกําไรสะสมของกองทุนรวม
3. ยื่นคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(4) จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับการลดเงินทุนจดทะเบียนทุกครั้งของกองทุนรวมไว้ในเว็บไซด์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมและรายงานประจําปีของกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) เหตุแห่งการลดเงินทุนจดทะเบียน
(ข) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนต่อหน่วยลงทุนที่ลดในแต่ละครั้ง
(ค) วันปิดสมุดทะเบียน และวันที่ดําเนินการเฉลี่ยเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ ๒๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 71/1 ของส่วนที่ 7 การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน ในหมวด 5 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 71/1 การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(2) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตําแหน่งโดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ห้าทิ้ง
ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคํานวณตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําผลประโยชน์นั้นรวมเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม”
ข้อ ๒๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของข้อ 75 แห่งประกาศสํานักงาน
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(4/1) ข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน (ถ้ามี) ของกองทุนรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุนรวม ซึ่งต้องระบุสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ระยะเวลาการกู้ยืมเงิน วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดสัญญากู้ยืมเงิน
(ข) จํานวนเงินกู้ยืม ณ วันทําสัญญา จํานวนเงินกู้ยืมคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และสัดส่วนการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม
(ค) หลักประกันการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน (ถ้ามี)”
ข้อ ๒๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 76 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 76 ในกรณีที่กองทุนรวมมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของกําไรสุทธิที่ไม่รวมกําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประจํารอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ในกรณีที่กองทุนรวมมีกําไรสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีใด บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกําไรสะสมดังกล่าวด้วยก็ได้
การจ่ายเงินปันผลตามวรรคหนึ่งต้องไม่ทําให้กองทุนรวมเกิดยอดขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
การจ่ายเงินปันผลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น”
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 14(1) (ก) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มิให้นําความในข้อ 35(3) และ (4) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ มาใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในทรัพย์สินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 18(1) หรือ (2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการให้มีการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อตรวจสอบรายชื่อของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนต่างด้าวและสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว และแจ้งให้สํานักงานทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553
(2) ในกรณีบริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ากองทุนรวมมีผู้ลงทุนต่างด้าวถือหน่วยลงทุนรวมกันเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือ
(ข) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในอาคารชุด ซึ่งเมื่อคํานวณพื้นที่ห้องชุดที่กองทุนรวมจะลงทุนรวมกับพื้นที่ห้องชุดที่ถือกรรมสิทธิ์โดยผู้ลงทุนต่างด้าวในอาคารเดียวกันแล้ว คิดเป็นสัดส่วนเกินร้อยละสี่สิบเก้าของพื้นที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น
(ค) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ว่าในเรื่องใด ๆ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนับคะแนนเสียงของผู้ลงทุนต่างด้าวที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1)
ในส่วนที่เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจํานวนเสียงในการขอมติได้ เว้นแต่ผู้ลงทุนต่างด้าวรายใดมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมภายหลังจากวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนับจํานวนหน่วยลงทุนที่ได้มาเพิ่มเติม รวมในจํานวนเสียงในการขอมติ
(ง) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนต่างด้าวที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ในส่วนที่เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดได้ เว้นแต่ผู้ลงทุนต่างด้าวรายใดมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมภายหลังจากวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลตามจํานวนหน่วยลงทุนที่ได้มาเพิ่มเติม
(จ) ระบุการดําเนินการตาม (ก) ถึง (ง) ไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
(3) ดําเนินการแต่งตั้งนายทะเบียนหน่วยลงทุนตามข้อ 18/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับมีรายละเอียดโครงการขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว แต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีรายละเอียดของโครงการขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนครั้งแรก
ข้อ ๒๙ กองทุนรวมใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และการดําเนินการดังกล่าวของบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคมพ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 55 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ต่อไปได้ จนกว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้แล้ว
ข้อ ๓๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ การถือหน่วยลงทุนตามเกณฑ์หนึ่งในสาม การถือหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าว ตลอดจนสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว (2) เพื่อกําหนดให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน (3) เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (4) เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ชื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ (5) เพื่อให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สามารถลงทุนในหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเป็นพิเศษ (golden share) ได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,849 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 47 /2553
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) มาตรา 98(10) และมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) ข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
(3) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 9 ข้อ 19(1) และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) (6/2) (6/3) และ (6/4) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(6/1) “การประกันรายได้” หมายความว่า การจัดให้มีบุคคลอื่นเข้ารับประกันรายได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่ประกันไว้
(6/2) “ผู้รับประกันรายได้” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่ากองทุนรวมจะได้รับรายได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่รับประกันไว้
(6/3) “หนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกให้กองทุนรวมเพื่อเป็นประกันรายได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(6/4) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียน
ให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 และข้อ 4/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 4/1 รายละเอียดโครงการ ร่างข้อผูกพัน และร่างหนังสือชี้ชวน ที่ยื่นตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง ต้องมีข้อกําหนดและข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดในรายละเอียดโครงการและร่างข้อผูกพันในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนในการรับเงินปันผลและการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในส่วนที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนด ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อ 14 ทั้งนี้ ในกรณีของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามข้อ 14(1) (ข) ต้องมีข้อกําหนดที่จํากัดการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในส่วนที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นให้ถือหน่วยลงทุนได้เกินกว่าอัตราที่กําหนดในข้อ 14(1) (ข)
(ข) การดําเนินการกับเงินปันผลส่วนที่ไม่อาจจ่ายแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ที่แสดงว่า
1. บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยกเงินปันผลส่วนดังกล่าวให้เป็นรายได้
แผ่นดินโดยถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงรับทราบและยินยอมให้ดําเนินการแล้ว และ
2. ในระหว่างที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังมิได้ดําเนินการตาม 1. บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําบัญชีและแยกเงินปันผลส่วนดังกล่าวออกจากทรัพย์สินอื่นของกองทุนรวมโดยไม่นํามารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(2) ข้อมูลและข้อกําหนดเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุนในรายละเอียดโครงการและร่างหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง หากราคาที่จะลงทุนซึ่งระบุไว้ในโครงการสูงกว่าราคาต่ําสุดที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินกว่าร้อยละสิบต้องแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลของการลงทุนในราคาดังกล่าวไว้ในรายละเอียดโครงการและร่างหนังสือชี้ชวน
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ต้องมีข้อกําหนดในรายละเอียดโครงการที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะลงทุนในราคาที่สูงกว่าราคาต่ําสุดที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินกว่าร้อยละสิบได้ เมื่อได้รับมติโดยเสียงข้างมากจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้วทั้งนี้ การขอมติและการนับคะแนนเสียงต้องกําหนดหลักเกณฑ์ไว้ไม่ต่ํากว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 55 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง และหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติต้องระบุข้อมูลตามข้อ 57(2) ด้วย
ข้อ 4/2 การจัดตั้งกองทุนรวมที่มีผู้รับประกันรายได้ ผู้รับประกันรายได้อย่างน้อยหนึ่งรายต้องเป็นนิติบุคคล
ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้ตามวรรคหนึ่งมิได้จัดให้มีหนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์ หรือหลักประกันอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งครอบคลุมตามจํานวนและระยะเวลาที่ผู้รับประกันรายได้รับประกันไว้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นรายงานการสอบบัญชีของผู้รับประกันรายได้สําหรับสามรอบระยะเวลาบัญชีย้อนหลังก่อนการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ประกอบคําขอจัดตั้งกองทุนรวมด้วย
รายงานการสอบบัญชีตามวรรคสองสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีล่าสุดต้องเป็นรายงานการสอบบัญชีที่จัดทําโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีประจําปีล่าสุดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี 2553 ให้ยื่นรายงานการสอบบัญชีที่จัดทําโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีได้”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 8/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดูแลให้ข้อผูกพันและโครงการเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยในกรณีที่ข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือโครงการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขข้อผูกพันและโครงการโดยไม่ชักช้า”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการประกันรายได้ ข้อมูลที่แจกจ่ายตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 7/1 การเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการ
ประกันรายได้ด้วย”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 ของหมวด 4 การสิ้นสุดของการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 19/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีการเสนอขาย จําหน่าย และจัดสรรหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 34 ข้อ 35 และข้อ 35/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 34 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่บริษัทจัดการกองทุนรวมว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว
(2) แจ้งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันจําหน่ายหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ข้อ 35 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่บริษัทจัดการกองทุนรวมว่าบุคคลตามข้อ 14(1) (ก) ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว
(2) แจ้งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันจําหน่ายหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ข้อ 35/1 ในกรณีที่บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดตามสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามข้อ 14(1) (ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกข้อ 39 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 40 และข้อ 41 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 40 การจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้มาจากการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องกระทําโดยเปิดเผย และเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกองทุนรวมเป็นสําคัญ
ในกรณีที่ราคาที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ต่ํากว่าราคาสูงสุดที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินกว่าร้อยละสิบ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในราคาดังกล่าวไว้ในหนังสือสรุปข้อมูลสําคัญที่จัดทําขึ้นตามข้อ 47
ข้อ 41 ในการลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีรายงานการประเมินค่าที่จัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนวันลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวไม่เกินหกเดือน ทั้งนี้ ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินที่ทําการประเมินค่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญภายในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินใหม่”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความใน (5) และ (6) ของวรรคหนึ่งในข้อ 47 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในราคาสูงกว่าราคาต่ําสุดที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินกว่าร้อยละสิบ (ถ้ามี)
(6) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมในราคาต่ํากว่าราคาสูงสุดที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินกว่าร้อยละสิบ (ถ้ามี)”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 57 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาต่ําสุดที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินกว่าร้อยละสิบ”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 58 เมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 55 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุข้อมูลตามข้อ 56 และข้อ 57 รวมทั้งจัดส่งร่างโครงการที่จะแก้ไขเพิ่มเติม และร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมให้สํานักงานพิจารณา
(2) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม โดยต้องจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนที่มีสาระสําคัญไม่ต่างจากฉบับร่างที่ผ่านการเห็นชอบจากสํานักงานให้แก่ผู้ลงทุน
(ข) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้การให้ความเห็นชอบให้เพิ่มเงินทุนจดทะเบียนนั้นสิ้นสุดลง”
ข้อ 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 7/1 การเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการประกันรายได้ ข้อ 71/2 ข้อ 71/3 ข้อ 71/4 และข้อ 71/5 ของหมวด 5 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ส่วนที่ 7/1
การเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการประกันรายได้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 71/2 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการประกันรายได้
ข้อ 71/3 บริษัทจัดการกองทุนรวมที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม ให้กระทําได้เฉพาะในกรณีที่เป็นการประกันรายได้โดยผู้รับประกันรายได้ที่เป็นนิติบุคคล และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้อย่างชัดเจนในโครงการและหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ หนังสือชี้ชวนต้องแสดงความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ได้จากการวิเคราะห์ความสามารถของผู้รับประกันรายได้ในการปฏิบัติตามสัญญารับประกันรายได้ด้วย
(2) ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้มิได้จัดให้มีหนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์หรือหลักประกันอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งครอบคลุมตามจํานวนและระยะเวลาที่ผู้รับประกันรายได้รับประกันไว้บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีงบการเงินหรืองบการเงินรวมของผู้รับประกันรายได้ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งและบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม
(ก) งบการเงินหรืองบการเงินรวมของสามรอบระยะเวลาบัญชีย้อนหลังก่อนวันยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม หรือก่อนวันยื่นคําขอรับความเห็นชอบการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนจากสํานักงาน หรืองบการเงินหรืองบการเงินรวมเท่าที่มีการจัดทําไว้ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นไม่ถึงสามปี
(ข) งบการเงินหรืองบการเงินรวมตาม (ก) สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีล่าสุดต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีประจําปีล่าสุดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี 2553 ให้ใช้งบการเงินหรืองบการเงินรวมที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีได้
ข้อ 71/4 ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้มิได้จัดให้มีหนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์หรือหลักประกันอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งครอบคลุมตามจํานวนและระยะเวลาที่ผู้รับประกันรายได้รับประกันไว้บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ตลอดระยะเวลาที่มีการประกันรายได้
(1) จัดให้มีข้อกําหนดหรือข้อสัญญาที่มีผลให้ผู้รับประกันรายได้จัดทํางบการเงินหรืองบการเงินรวมในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี ที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(ก) กรณีการจัดทํางบการเงินหรืองบการเงินรวมของผู้รับประกันรายได้สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี 2553
(ข) กรณีที่มีการแต่งตั้งผู้รับประกันรายได้ที่มิใช่บริษัทจดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(2) จัดให้มีงบการเงินหรืองบการเงินรวมในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของผู้รับประกันรายได้ ณ ที่ทําการทุกแห่งและบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม และจัดส่งงบการเงินดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้รับประกันรายได้จัดส่งงบการเงินหรืองบการเงินรวมดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกระทรวงพาณิชย์
(3) ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้เป็นบริษัทจดทะเบียน ให้แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ ไว้ในรายงานของกองทุนรวมที่จัดทําขึ้นตามข้อ 74
(ก) สรุปฐานะทางการเงิน (financial highlight) จากงบการเงินหรืองบการเงินรวมของผู้รับประกันรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีเดียวกันกับการจัดทํารายงานของกองทุนรวม และจากงบการเงินหรืองบการเงินรวมสองรอบระยะเวลาบัญชีย้อนหลังก่อนการจัดทํารายงานของกองทุนรวม
(ข) รายละเอียดของการปฏิบัติตามสัญญาประกันของผู้รับประกันรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี เช่น การบังคับหลักประกัน หรือจํานวนเงินที่ผู้รับประกันรายได้จ่ายให้แก่กองทุนรวมตามสัญญาประกัน เป็นต้น
(ค) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมจากการวิเคราะห์และประเมินฐานะทางการเงินของผู้รับประกันรายได้ เกี่ยวกับความสามารถของผู้รับประกันรายได้ในการปฏิบัติตามสัญญาในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีถัดไป (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ประสงค์จะแสดงความเห็นดังกล่าวให้ระบุว่า “ไม่แสดงความเห็น” และ
(ง) การเปรียบเทียบรายได้ที่เกิดขึ้นจริงจากการหาผลประโยชน์ของกองทุนรวมและรายได้ตามสัญญาประกันรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี
(4) ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้มิใช่บริษัทจดทะเบียน ให้เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ข้อมูลตาม (3) (ข) และ (ง) ให้แสดงไว้ในรายงานของกองทุนรวมที่จัดทําขึ้นตามข้อ 74 และ
(ข) ข้อมูลตาม (3) (ก) และ (ค) ให้จัดให้มีไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่ง และบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนแจ้งข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์และสํานักงาน ทั้งนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้รับประกันรายได้จัดส่งงบการเงินหรืองบการเงินรวมต่อกระทรวงพาณิชย์
ข้อ 71/5 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมอํานวยความสะดวกตามสมควรแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในการตรวจดูหรือขอสําเนาข้อมูลตามข้อ 71/3(2) ข้อ 71/4(2) และ (4) (ข) ได้ในระหว่างเวลาทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวม”
ข้อ 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ของข้อ 75 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(5/1) ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวมตามข้อ 71/4”
ข้อ 15 ให้ยกเลิกความในข้อ 79 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 79 ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมก่อนในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดอยู่แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จ่ายเงินปันผลและนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ตามที่กําหนดในรายละเอียดโครงการและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
(2) ไม่ต้องดําเนินการตามความที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวด 5
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวได้มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้นําความในข้อ 14/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 16 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 79/1 และข้อ 79/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 79/1 ในกรณีที่กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 14(1) (ก) ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดอยู่แล้วก่อนวันที่ 16 พฤศจิกายนพ.ศ. 2552 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ตามที่กําหนดในรายละเอียดโครงการและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
(2) ไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 35(2)
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ข้อ 79/2 ในกรณีที่กองทุนรวมได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อดําเนินการยกเงินปันผลส่วนที่ไม่อาจจ่ายแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนให้เป็นรายได้แผ่นดิน
(2) แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดโครงการและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม เพื่อให้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนในการรับเงินปันผลและการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในส่วนที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนด ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อ 14 ทั้งนี้ ในกรณีของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามข้อ 14(1) (ข) ต้องมีข้อกําหนดที่จํากัดการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในส่วนที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นให้ถือหน่วยลงทุนได้เกินกว่าอัตราที่กําหนดในข้อ 14(1) (ข)
(ข) การยกเงินปันผลส่วนที่ไม่อาจจ่ายแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนให้เป็นรายได้แผ่นดินในกรณีที่ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนให้ดําเนินการตาม (1)
(3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีเงินปันผลส่วนที่ไม่อาจจ่ายแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําบัญชีและแยกเงินดังกล่าวออกจากทรัพย์สินอื่นของกองทุนรวมโดยไม่นํามารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมจนกว่าจะได้ยกเงินดังกล่าวให้แก่แผ่นดินหรือจนกว่าจะเลิกกองทุนรวมนั้นในกรณีที่ไม่ได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนให้ดําเนินการตาม (1)
มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน และแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและข้อผูกพันตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 หรือในกรณีที่กองทุนรวมมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันถือหน่วยลงทุนเกินอัตราที่ประกาศกําหนดและบริษัทจัดการกองทุนรวมจะมีการจ่ายเงินปันผลภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและข้อผูกพันให้แล้วเสร็จก่อนการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสํานักงาน โดยให้ยื่นคําขอความเห็นชอบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่กําหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการมีผล”
ข้อ 17 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อกําหนดแนวทางในการดําเนินการกับเงินปันผลในส่วนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินอัตราที่ประกาศกําหนด (2) เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ในราคาที่ไม่เป็นไปตามราคาประเมิน และ (3) เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,850 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 36/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 36 /2554
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 4 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 7 ข้อ 12 และข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 คําขอจัดตั้งกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไป
(2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(3) ข้อมูลตามคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ และหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(4) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
ต้องไม่มีวัตถุประสงค์ในการนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้เช่าแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว เว้นแต่เป็นการให้เช่าในส่วนที่ไม่มีนัยสําคัญและได้ระบุไว้ในโครงการแล้ว
(5) บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งระงับการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมตามประกาศนี้หรือไม่ เป็นการชั่วคราว”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 14/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14/1 การพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 44/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 44/1 ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่จัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยการให้เช่าแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่ไม่มีนัยสําคัญและได้ระบุไว้ในโครงการแล้ว
(2) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมได้ลงทุนไว้ก่อนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,851 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ประกอบกับข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (14) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(14) “ผู้จองซื้อพิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่หนังสือชี้ชวนระบุวิธีการจัดสรรไว้แยกต่างหากจากผู้จองซื้อทั่วไป โดยผู้ลงทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 9/2555 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่แต่ไม่รวมถึงผู้ลงทุนตามข้อ 2(10) (18) (22) (23) (24) (25) และ (26) แห่งประกาศดังกล่าว
(ข) กองทุนส่วนบุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนตาม (ก) หรือ (ค) ถึง (ญ)
(ค) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ง) สภากาชาดไทย หรือมูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
(จ) สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์
(ฉ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก
(ช) โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายต่างประเทศ และเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
(ซ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนดังต่อไปนี้
1. ผู้ลงทุนสถาบันตาม (ก) แต่ไม่รวมถึงบริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ กองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
2. ผู้ลงทุนตาม (ค)
3. กองทุนส่วนบุคคลที่เป็นการรับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนตาม 1. หรือ 2.
(ฌ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ซ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ
เจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ญ) ผู้ลงทุนอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 76 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 76 ในกรณีที่กองทุนรวมมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของกําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วของรอบปีบัญชี
ในกรณีที่กองทุนรวมมีกําไรสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีใด บริษัทจัดการ
กองทุนรวมอาจจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกําไรสะสมดังกล่าวด้วยก็ได้
การจ่ายเงินปันผลตามวรรคหนึ่งต้องไม่ทําให้กองทุนรวมเกิดยอดขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
การจ่ายเงินปันผลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี หรือวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่กรณี
กําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า กําไรสุทธิที่หักกําไรที่ยังไม่เกิดขึ้น (unrealized gain) จากการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปรับปรุงด้วยรายการอื่นตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะเงินสดของกองทุนรวม”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,852 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 27/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 27 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสองโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 4(2) และข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่9 กันยายน พ.ศ. 2554
“(4/1) ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ต้องเป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของวรรคหนึ่งในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(5) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยในโครงการ ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และร่างหนังสือชี้ชวน ซึ่งลงลายมือชื่อโดยกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 57 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 57 การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อ เช่า หรือรับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ ในหนังสือเชิญประชุมหรือหนังสือที่มีถึงผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 55 วรรคหนึ่ง (3) ด้วย
(1) ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ และประเภทการใช้งาน ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ด้วย
(2) ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาต่ําสุดที่ได้จากรายงานการประเมินค่าเกินกว่าร้อยละสิบ
(3) รายชื่อเจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน ในกรณีที่ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์มิใช่
บุคคลเดียวกับบุคคลที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุรายละเอียดของสิทธิของบุคคลดังกล่าวที่มีสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน
(4) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อ เช่า หรือรับโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนลักษณะของความสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าว
(5) การรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือของบุคคลผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ กรณีที่เป็นการเช่าจากผู้มีสิทธิในอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาซึ่งทําไว้กับบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี)
(6) สรุปสาระสําคัญของสัญญาเช่าระหว่างกองทุนรวมและผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(7) สรุปสาระสําคัญของสัญญาเช่าระหว่างกองทุนรวมและผู้เช่า กรณีกองทุนรวมให้เช่าทรัพย์สินแก่ผู้เช่ารายเดียวเพื่อไปประกอบกิจการ (ถ้ามี)
(8) รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะซื้อหรือเช่า โดยให้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาพรวมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน โครงสร้างรายได้ที่จะได้รับจากอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน และนโยบายการบริหารอสังหาริมทรัพย์”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 67 และข้อ 68 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 67 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สินไปพร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 69 โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
(2) ชื่อ ประเภท และที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมิน
(3) ราคาที่ได้รับจากรายงานการประเมินค่า หรือรายงานการสอบทานการประเมินค่า
(4) วิธีการประเมินค่า หรือการสอบทานการประเมินค่า ทั้งนี้ ในกรณีที่
การประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าใช้วิธีการพิจารณาจากรายได้ ให้ระบุระยะเวลาการประเมินค่า หรือสอบทานการประเมินค่าด้วย
(5) วันที่ประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่า
(6) สิทธิของผู้ลงทุนในการขอรับข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่าจากบริษัทจัดการกองทุนรวม
ข้อ 68 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนารายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่า แล้วแต่กรณี พร้อมด้วยสําเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ผู้ดูแลผลประโยชน์โดยพลัน
นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งสรุปสาระสําคัญของรายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่า แล้วแต่กรณี ที่มีรายละเอียดตามข้อ 67(1) ถึง (5) และข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ต่อผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานดังกล่าวด้วย
(1) สมมติฐานที่สําคัญที่ผู้ประเมินใช้ในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า
(2) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่แสดงว่า รายงานการประเมินค่าหรือรายงานการสอบทานการประเมินค่านั้นได้นําข้อกําหนดและเงื่อนไขในสัญญาจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวระหว่างกองทุนรวมกับคู่สัญญาของกองทุนรวมมากําหนดเป็นสมมติฐานในการประเมินค่าหรือสอบทานการประเมินค่าแล้ว และราคาที่ได้รับจากรายงานดังกล่าวเหมาะสม
ที่จะนํามาใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,853 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 40/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 40/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสองโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่9 กันยายน พ.ศ. 2554
“(1) การยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต้องกระทําภายในวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2556
(2) เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน ซึ่งมีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นการทั่วไป”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 58 เมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 55 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ขอความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องระบุข้อมูลตามข้อ 56 และข้อ 57 พร้อมทั้งยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ให้สํานักงานพิจารณา
(ก) รายละเอียดโครงการในส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
(ข) ร่างหนังสือชี้ชวนที่ใช้ในการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
ในกรณีที่การขอความเห็นชอบเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องยื่นคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารประกอบคําขอภายในวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2556 ทั้งนี้ ให้ยื่นหนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยในเอกสารตามวรรคหนึ่ง (ก) และ (ข) ซึ่งลงลายมือชื่อโดยกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทและเป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดมาพร้อมกันด้วย
(2) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เพิ่มเงินทุนจดทะเบียน
(ข) จัดให้มีหนังสือชี้ชวนที่มีสาระสําคัญไม่ต่างจากฉบับร่างที่ผ่านการเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
(ค) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (2) (ก) ให้การให้ความเห็นชอบให้เพิ่มเงินทุนจดทะเบียนนั้นสิ้นสุดลง”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,854 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 13 /2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบุคลากรเพื่อทําหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) ผู้จัดการกองทุนเพื่อทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 53 เพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 27/1 ในการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทอื่น ที่ดําเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวม เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวม แสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้
(2) ในกรณีที่แต่งตั้งพนักงานของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บุคคลดังกล่าวต้องดํารงตําแหน่งที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน
(ข) ตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 27/1 ในการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทอื่น ที่ดําเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวม เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวม แสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้
(2) ในกรณีที่แต่งตั้งพนักงานของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บุคคลดังกล่าวต้องดํารงตําแหน่งที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน
(ข) ตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) ของข้อ 75 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
“(11) รายชื่อผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และผู้จัดการกองทุนของกองทุนรวม”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,855 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 5/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 5 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง ข้อ 12 และข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 19(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (14) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(14) “ผู้จองซื้อพิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่หนังสือชี้ชวนระบุวิธีการจัดสรรไว้แยกต่างหากจากผู้จองซื้อทั่วไป โดยผู้ลงทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการจัดการทรัพย์สินของตนเอง
(ค) บริษัทประกันวินาศภัย หรือบริษัทประกันชีวิต
(ง) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(จ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฉ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ช) กองทุนประกันสังคม
(ซ) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฌ) สภากาชาดไทย
(ญ) มูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
(ฎ) สหกรณ์ออมทรัพย์และชุมนุมสหกรณ์
(ฏ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก
(ฐ) กองทุนรวมตามกฎหมายต่างประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
(ฑ) ผู้ลงทุนต่างประเทศที่มีลักษณะเดียวกับ (ก) ถึง (ช)
(ฒ) ผู้ลงทุนตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14/2) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(14/2) “ผู้จองซื้อประเภทกองทุน” หมายความว่า ผู้จองซื้อพิเศษที่เป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ข) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ค) กองทุนประกันสังคม
(ง) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เสนอขายและจัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของ
หน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) เสนอขายและจัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปและผู้จองซื้อประเภทกองทุนเป็นจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(3) ในกรณีที่ผู้จองซื้อทั่วไปและผู้จองซื้อประเภทกองทุนจองซื้อหน่วยลงทุนไม่ครบตามอัตราที่กําหนดใน (1) และ (2) ให้จัดสรรหน่วยลงทุนที่เหลือแก่บุคคลดังต่อไปนี้ ตามลําดับ
(ก) ผู้จองซื้อพิเศษ
(ข) เจ้าของ ผู้ให้เช่า ผู้โอนสิทธิการเช่า หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะลงทุน รวมทั้งเจ้าของที่ดินที่กองทุนรวมจะลงทุนในสิทธิเก็บกินหรือสิทธิเหนือพื้นดิน หรือเจ้าของทรัพย์สินที่เกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว
(ค) บริษัทจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนที่รับหน่วยลงทุนตามสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน
ในกรณีที่กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตามวรรคหนึ่ง (3)(ก) และ (ข) ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุน ให้ถือว่าเป็นการจัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง (3)(ก) และ (ข) ด้วย”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 53/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) จําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปและผู้จองซื้อประเภทกองทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 16 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 16 วรรคหนึ่ง (3)”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีการเสนอขาย จําหน่าย และจัดสรรหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 วรรคหนึ่ง (3) หรือข้อ 18”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 36 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้วิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน รวมทั้งตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) แล้ว และมีความเห็นว่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) มีความเหมาะสมสําหรับการลงทุนของผู้ลงทุนทั่วไป
(ข) มีศักยภาพในการก่อให้เกิดรายได้ เช่น ตั้งอยู่ในทําเลที่ดีและมีทางเข้าออกที่เหมาะสมตามสภาพ ไม่มีลักษณะผูกติดกับการใช้งานของผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงอันจะทําให้เปลี่ยนลักษณะการใช้งานเป็นประการอื่นได้ยาก และไม่มีข้อจํากัดในการจัดหาผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงรายใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ ในการพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีความเห็นของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
(ค) มีเอกสารสิทธิหรือเอกสารสัญญาที่ครบถ้วน ชัดเจน บังคับได้ตามกฎหมาย และเพียงพอต่อการที่กองทุนรวมจะใช้ดําเนินการหรือจัดหาผลประโยชน์ได้
ในกรณีที่อาจมีความเสี่ยงจากการลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดด้วย
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนต้องอยู่ในประเทศไทย”
ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 39 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 39 ในกรณีที่กองทุนรวมประสงค์จะลงทุนในอาคารศูนย์การค้าหรือศูนย์จําหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ มูลค่าของโครงการแต่ละแห่งในขณะที่กองทุนรวมลงทุน ต้องไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการลงทุนในอาคารศูนย์การค้าหลายแห่ง กองทุนรวมอาจลงทุนในโครงการที่มีมูลค่าไม่ถึงห้าร้อยล้านบาทก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสองร้อยห้าสิบล้านบาท และมูลค่าเงินลงทุนในโครงการดังกล่าวเมื่อรวมกันทุกโครงการต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
โครงการตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า โครงการ (project) ของอาคารศูนย์การค้าหรือศูนย์จําหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ แล้วแต่กรณี”
ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 44/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 44/2 ในกรณีที่กองทุนรวมได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยการให้เช่าแก่เจ้าของเดิม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดค่าเช่าที่เรียกเก็บจากเจ้าของเดิมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนเป็นการทําธุรกรรมกับคู่ค้าทั่วไปที่เป็นบุคคลภายนอก”
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,856 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 11/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 11/2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 6/1 การผ่อนผันวิธีจัดการกองทุนรวมในกรณีที่กองทุนรวมประสบปัญหาในการดําเนินงาน และข้อ 78/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“หมวด 6/1
การผ่อนผันวิธีจัดการกองทุนรวมในกรณีที่กองทุนรวม
ประสบปัญหาในการดําเนินงาน
ข้อ 78/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแสดงได้ว่ากองทุนรวมประสบปัญหาในการดําเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้อาจเป็นข้อจํากัดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันวิธีการจัดการกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําการหรือไม่กระทําการใดด้วยก็ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,857 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 22/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสต์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 22/2553
เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและ
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสต์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
(2) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
(ก) สายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านทรัสตี การปฏิบัติการด้านทรัสตี การกํากับดูแลการปฏิบัติงานด้านทรัสตี หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน
(ข) สายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ การวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน
(ค) สายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน
ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของทรัสตี บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ทําหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจทรัสตี บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น หรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการดังกล่าว
(4) “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
(5) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ในกรณีที่บุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของทรัสตีหรือของผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีไม่สามารถดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
ข้อ ๓ ในกรณีที่บุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตีหรือของผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีไม่สามารถเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นทรัสตีมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในการดูแลและบริหารจัดการทรัพย์สินในกองทรัสต์ จึงสมควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของผู้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ให้เป็นไปทิศทางเดียวกับลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,858 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 18/2557 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสต์ (ฉบับที่ 2 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สร. 18/2557
เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและ
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสต์
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 22/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตี ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 3/1 ในกรณีที่ทรัสตีหรือผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้นําลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตีหรือของผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ดังกล่าวโดยอนุโลม โดยให้พิจารณาตามกฎหมายที่กํากับดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ถือหุ้นนั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,859 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สข. 22/2553 ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตี (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 22/2553
เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตี
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
(1) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
(2) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
(3) “บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
(ก) สายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านทรัสตี การปฏิบัติการด้านทรัสตี การกํากับดูแลการปฏิบัติงานด้านทรัสตี หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน
(ข) สายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ การวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน
(ค) สายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน
ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของทรัสตี บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ทําหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวกับธุรกิจทรัสตี บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน หรือคณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น หรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการดังกล่าว
(4) “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
(5) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ 2 ในกรณีที่บุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของทรัสตีหรือของผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีไม่สามารถดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
ข้อ 3 ในกรณีที่บุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตีหรือของผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีไม่สามารถเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ 3/1[1](#fn1) ในกรณีที่ทรัสตีหรือผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้นําลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตีหรือของผู้ยื่นคําขอประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีดังกล่าวโดยอนุโลม โดยให้พิจารณาตามกฎหมายที่กํากับดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ถือหุ้นนั้น
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
*หมายเหตุ*
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สข. 22/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตี ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 18/2557 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสตี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
-----------------------(ฉบับประมวล)
---
1. | 1,860 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 7/2552 เรื่อง แบบคำขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 7/2552
เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบที่กําหนดตามประกาศนี้
(1) “ประกาศ ที่ กจ. 7/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(2) “ประกาศ ที่ ทจ. 9/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(3) “ประกาศ ที่ ทจ. 12/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(4) “ประกาศ ที่ ทจ. 13/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(5) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ
(6) “ตั๋วเงินระยะสั้น” หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตั๋ว หรือตั๋วเงินที่ถึงกําหนดใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
ข้อ ๒ ให้ผู้มีสิทธิเสนอโครงการที่ประสงค์จะขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามประกาศ ที่ กจ. 7/2552 และนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามประกาศ ที่ ทจ. 13/2552 ร่วมกันยื่นคําขออนุมัติโครงการและคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามแบบ 35-2-1 (securitization) ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่กําหนดในแบบดังกล่าว จํานวนสองชุด และชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในวันยื่นคําขอนั้น ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้ที่จะออกตามแบบ 35-2-2 และตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้ที่ยื่นมานั้นเป็นหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ด้วย
ข้อ ๓ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามประกาศ ที่ ทจ. 12/2552 ยื่นเอกสารหรือหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป
(ก) ยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบดังกล่าว จํานวนสองชุด และชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอนั้น
(ข) ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์ตามแบบ 35-2-2 (หุ้นกู้อนุพันธ์) พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่กําหนดในแบบดังกล่าว ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ การยื่นดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน เว้นแต่ เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น ให้ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าว
มาพร้อมกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายในวงจํากัด
(ก) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศ ที่ ทจ. 12/2552 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ 2 ของแบบดังกล่าว พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบนั้น จํานวนสองชุด และชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอนั้น
(ข) ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยให้เป็นไปตาม (1)(ข) โดยอนุโลม
(ค) ยื่นรายงานการปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาต ทั้งนี้ การยื่นดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๔ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศ ที่ ทจ. 9/2552ยื่นเอกสารหรือหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป
(ก) ยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบดังกล่าว จํานวนสองชุด และชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอนั้น
(ข) ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้ตามแบบ 35-2-2 พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่กําหนดในแบบดังกล่าว ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ การยื่นดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ให้ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสารดังกล่าวมาพร้อมกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายในวงจํากัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทและหุ้นรองรับตามภาค 4 แห่งประกาศ ที่ ทจ. 9/2552
(ก) ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้ โดยให้เป็นไปตาม (1)(ข) โดยอนุโลม
(ข) ยื่นรายงานการปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาต ทั้งนี้ การยื่นดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๕ ให้บริษัทที่ออกและเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นในกรณีทั่วไปตามภาค 2 แห่งประกาศที่ ทจ. 9/2552 รายงานการชําระหนี้ตามตั๋วเงินต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการชําระหนี้ ทั้งนี้ ตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งเอกสารหรือหลักฐานตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
: เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นแบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,861 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 14/2554 เรื่อง แบบคำขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 14 /2554
เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2552 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 6/1 ในกรณีที่มีการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ก่อนวันครบกําหนดไถ่ถอน ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจรายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการไถ่ถอน ทั้งนี้ ตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 35-2-1 (securitization) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2552 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
และให้ใช้แบบ 35-2-1 (securitization) ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงาน
การไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ก่อนวันครบกําหนดไถ่ถอน
และปรับปรุงแบบคําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์และแบบคําขออนุญาต
เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,862 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 32/2557 เรื่อง แบบคำขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 32/2557
เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุมัติโครงการ
แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ
กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2552 เรื่อง การขออนุญาตและ
การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม
พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2552 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 10/2555
เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงาน
ที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้แบบ 35-2-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 35-2-1 (securitization) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2552 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้
ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 14/2554 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร
หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้
แบบ 35-2-1 (securitization) ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,863 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 10/2555 เรื่อง แบบคำขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 10 /2555
เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 35-2-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2552 เรื่อง แบบคําขอในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้แบบ 35-2-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,864 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 24/2553 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สด. 24/2553
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ
ในประเทศไทย และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ข้อ 9 ข้อ 21 และข้อ 33 ประกอบข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบที่กําหนดตามประกาศนี้
“หุ้นกู้ที่ออกใหม่” หมายความว่า หุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่เสนอขายในประเทศไทยตามประกาศ ที่ ทด. 26/2553
“ประกาศ ที่ ทด. 26/2553” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ข้อ ๒ ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เป็นการทั่วไป ให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามแบบ 35-FX-1 ท้ายประกาศนี้พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบดังกล่าว จํานวนสองชุด และชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขอนั้นต่อสํานักงาน
(2) ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้นั้นในแต่ละครั้ง ตามแบบ 35-FX-2 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดในแบบดังกล่าว ตามวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัด ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้ตามแบบ 35-FX-2 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดในแบบดังกล่าว ตามวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก่อนการเสนอขายในแต่ละครั้ง
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดวิธีการในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย รวมทั้งการยื่นเอกสารหลักฐานและรายงานที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตและการอนุญาต จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,865 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 33/2557 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 33/2557
เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ
ในประเทศไทย และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ข้อ 9 และข้อ 21 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการ
กํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 35-FX-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 24/2553 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้
สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย และการยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ลงวันที่
28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้แบบ 35-FX-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,866 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 17/2553 เรื่อง ร่างข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 17 /2553
เรื่อง ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญ
แสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2553 เรื่อง การออกและการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ข้อ ๒ ร่างข้อกําหนดสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะต้องมีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม โดยต้องมีรายละเอียดของรายการทั่วไปตามข้อ 3 และรายละเอียดของรายการเฉพาะกรณีตามข้อ 4
ข้อ ๓ ร่างข้อกําหนดสิทธิต้องมีรายละเอียดของรายการทั่วไปอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(2) วันเริ่มและวันสิ้นสุดการมีผลใช้บังคับของข้อกําหนดสิทธิ
(3) กฎหมายที่ใช้บังคับกับข้อกําหนดสิทธิซึ่งกําหนดให้ใช้กฎหมายไทย
(4) ลักษณะสําคัญของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(5) สิทธิและเงื่อนไขตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(6) วิธีการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ซึ่งรวมถึงกําหนดเวลาการใช้สิทธิ การปรับอัตราและราคาการใช้สิทธิ
(7) วิธีการจัดทําทะเบียนผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และการลงทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(8) หน้าที่ของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(9) เหตุผิดนัด และผลของการผิดข้อกําหนดหรือเงื่อนไขในข้อกําหนดสิทธิ
(10) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดสิทธิ
(11) การประชุมผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(12) ตัวอย่างตราสารกํากับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีรายการตามข้อ 5
ข้อ ๔ ร่างข้อกําหนดสิทธิต้องมีรายละเอียดของรายการเฉพาะกรณีอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับทรัสตี
(ข) รายละเอียดของหลักทรัพย์อ้างอิงที่โอนให้กับทรัสตี ซึ่งต้องระบุถึงประเภทและจํานวนของหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว
(ค) ขั้นตอน ระยะเวลา และเงื่อนไขในการโอนและถอนการโอนหลักทรัพย์อ้างอิง
(ง) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของทรัสตี
(จ) การแต่งตั้งหรือการเปลี่ยนแปลงทรัสตี
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีผู้ค้ําประกันการชําระหนี้หรือภาระผูกพันตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ค้ําประกัน
(ข) เงื่อนไขของการค้ําประกัน
(3) ในกรณีใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขอันเนื่องมาจากกรณีที่มีการเพิกถอนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ข้อ ๕ ตราสารกํากับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ชื่อเฉพาะของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(2) ลักษณะของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(3) ชื่อของหลักทรัพย์อ้างอิงหรือดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิง
(4) ชื่อผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(5) จํานวนหน่วยตามสิทธิของผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(6) ชื่อผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(7) เลขที่อ้างอิงของผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามทะเบียนผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(8) วัน เดือน ปีที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และวัน เดือน ปีที่สิ้นสุดอายุของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(9) ชื่อทรัสตี (ถ้ามี)
(10) ชื่อผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขาย (ถ้ามี)
(11) การชําระหนี้ของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เมื่อมีการใช้สิทธิ
ตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ซึ่งต้องระบุอย่างชัดเจนว่าจะชําระหนี้โดยการส่งมอบเงินสดหรือหลักทรัพย์อ้างอิง
(12) มีข้อความที่ระบุว่าใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นี้ออกตามข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ซึ่งผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้จัดทําขึ้นและถือเป็นข้อผูกพันระหว่างผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์กับผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์สามารถขอตรวจดูข้อกําหนดสิทธิดังกล่าวได้ในสถานที่ที่กําหนด
(13) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์
ข้อ ๖ ร่างข้อกําหนดสิทธิที่ยื่นมาพร้อมกับคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ จะไม่ระบุข้อมูลที่เกี่ยวกับตราสารและข้อมูลเฉพาะสําหรับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในครั้งนั้นก็ได้ แต่ต้องยื่นข้อมูลดังกล่าวก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ
ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้แสดงความประสงค์ที่จะใช้ข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการและข้อมูลไม่ต่างจากร่างข้อกําหนดสิทธิมาตรฐานที่สํานักงานยอมรับ ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขออนุญาตได้ยื่นร่างข้อกําหนดสิทธิมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์แล้ว และให้ถือว่าร่างข้อกําหนดสิทธิดังกล่าวผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะต้องจัดให้มีในร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,867 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 19/2556 เรื่อง ร่างข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับที่ 2 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 19 /2556
เรื่อง ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญ
แสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2553 เรื่อง การออกและการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 17/2553 เรื่อง ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
“(4) ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ให้ระบุเกี่ยวกับการพิจารณาการใช้สิทธิ โดยให้ใช้ราคาใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวเทียบกับมูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันทําการซื้อขายสุดท้ายของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น เมื่อปรากฏว่าราคาปิดของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นวันทําการซื้อขายสุดท้ายของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าว มีความแตกต่างจากมูลค่าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ณ สิ้นวันเดียวกันนั้นอย่างมีนัยสําคัญทั้งนี้ แนวทางการพิจารณาความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สมาคมกําหนด
คําว่า “สมาคม” ตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึง สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,868 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 36/2557 เรื่อง ร่างข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 36/2557
เรื่อง ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญ
แสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2553 เรื่อง การออกและการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 17/2553 เรื่อง ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่
ของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม
พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 19/2556 เรื่อง ร่างข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และ
ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิง
เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ให้ระบุเกี่ยวกับการพิจารณาการใช้สิทธิ โดยให้ใช้ราคาใช้สิทธิ
ตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวเทียบกับมูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันทําการซื้อขายสุดท้ายของ
ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น เมื่อปรากฏว่าราคาปิดของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นวันทําการซื้อขายสุดท้ายของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวมีความแตกต่างจากมูลค่าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ณ สิ้นวันเดียวกันนั้นอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ แนวทาง
การพิจารณาความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,869 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 27/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า
ที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพคําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้า ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินจัดให้มีหน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ การให้คําแนะนําด้านหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน เป็นต้น และหน่วยงานดังกล่าวต้องมีระบบการควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แยกบุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า และบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าออกจากกัน และ
(2) กําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากบุคลากรที่มีอํานาจของผู้รับฝากทรัพย์สิน ซึ่งต้องมิใช่บุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าหรือเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าว
ข้อ ๓ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดทํารายละเอียดวิธีปฏิบัติในการฝากหรือถอนทรัพย์สินกับหรือจากผู้รับฝากทรัพย์สิน วิธีการในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตลอดจนวิธีการกําหนดค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) และอธิบายให้บริษัทจัดการเข้าใจและลงนามรับทราบรายละเอียดดังกล่าว
ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้บริษัทจัดการทราบโดยพลัน
ข้อ ๔ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้ผู้รับฝากทรัพย์สินสามารถปฏิเสธความรับผิดต่อความสูญหายหรือความเสียหายของทรัพย์สินของลูกค้า อันเนื่องมาจากการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับฝากทรัพย์สิน พนักงานหรือลูกจ้างของผู้รับฝากทรัพย์สิน หรือบุคคลใดที่ผู้รับฝากทรัพย์สินฝากทรัพย์สินของลูกค้าให้ดูแลรักษาแทนตน
ข้อ ๕ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องรับและส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้าตามคําสั่งของบริษัทจัดการที่มีหลักฐานอ้างอิงได้
ข้อ ๖ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือตราสารใดที่อยู่ในการดูแลรักษของผู้รับฝากทรัพย์สินจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารนั้นภายในเวลาอันสมควร
ห้ามมิให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าเพื่อตนเองหรือเพื่อบุคคลอื่นใด โดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทจัดการ
ข้อ ๗ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามในฐานะผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือผู้ค้ําประกัน ที่ปรากฏในทรัพย์สินของลูกค้า และตรวจสอบหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของลูกค้า เว้นแต่ไม่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถกระทําได้
ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแต่งตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนของตนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
ความในวรรคหนึ่งมิให้หมายความรวมถึงกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินฝากหลักทรัพย์ของลูกค้าไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบุคคลอื่นตามที่สํานักงานเห็นชอบ
ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้รับฝากทรัพย์สินกระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิของลูกค้าในทรัพย์สิน โดยปราศจากหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งของบริษัทจัดการหรือลูกค้า ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ข้อ ๑๐ ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินจัดทําบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้าแต่ละรายที่อยู่ในการดูแลรักษา โดยต้องแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินของผู้รับฝากทรัพย์สิน
บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน
(2) ชื่อ จํานวน และประเภททรัพย์สิน
(3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน
ข้อ ๑๑ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการ และต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง
ข้อ ๑๒ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเก็บรักษาไว้เองอย่างน้อยทุกหกเดือน เพื่อสอบทานความถูกต้องตรงกันกับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นผู้จัดทํา
สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินมิได้เก็บรักษาไว้เอง ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบุคคลอื่นตามที่สํานักงานเห็นชอบ กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นผู้จัดทํา
ข้อ ๑๓ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดทําทะเบียนการรับฝากและการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) ชื่อ ประเภท และจํานวนทรัพย์สินที่รับฝากและที่เบิกจ่าย
(2) เงินปันผล ดอกเบี้ย และผลประโยชน์อื่นใดที่ลูกค้าได้รับจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ
(3) สถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินมิได้เก็บรักษาทรัพย์สินไว้เอง
ข้อ ๑๔ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดทํารายงานเกี่ยวกับฐานะทรัพย์สิน ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนของลูกค้าแต่ละราย และส่งให้บริษัทจัดการภายในสองวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของแต่ละเดือนโดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) ชื่อ ประเภท และจํานวนทรัพย์สินที่รับฝากและที่เบิกจ่าย
(2) ยอดทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือน
ข้อ ๑๕ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดทํารายงานการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ตามแบบ 137-1 ท้ายประกาศนี้ และส่งให้สํานักงานภายในวันที่สิบห้าของทุกเดือน
ข้อ ๑๖ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจัดทําข้อมูลและเอกสารดังกล่าวเพื่อให้สํานักงานตรวจสอบได้หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ ๑๗ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในสถานที่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และแยกทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรายใดรับฝากทรัพย์สินของลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับโดยมีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4 ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินรายนั้นดําเนินการให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามข้อ 4 โดยอาจจัดทําขึ้นใหม่ทั้งฉบับหรือเฉพาะส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ และดําเนินการให้คู่สัญญาลงนามในเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,870 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 32/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 32/2547
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า
ที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดการ” และ “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ดังต่อไปนี้
“ “ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งให้เป็นตัวแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 เว้นแต่เป็นการตั้งศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนในการเก็บรักษาทรัพย์สิน ผู้รับฝากทรัพย์สินจะตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินได้ต่อเมื่อผู้รับฝากทรัพย์สินได้รับความเห็นชอบระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31/2547 เรื่อง ระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 แล้ว และต้องเป็นการแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
1. ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
2. ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อกองทุนส่วนบุคคล หรือเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ข้อ 8/2 และข้อ 8/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 8/1 ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ประสงค์จะตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินโดยที่ยังไม่เคยได้รับความเห็นชอบระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินจากสํานักงาน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินยื่นคําขอความเห็นชอบระบบดังกล่าวต่อสํานักงาน ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ ให้ถือว่าผู้รับฝากทรัพย์สินได้รับความเห็นชอบระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินแล้ว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินอย่างเร่งด่วน ผู้รับฝากทรัพย์สินอาจแจ้งต่อสํานักงานเพื่อขอทราบผลการพิจารณาก่อนครบระยะเวลาสิบห้าวันก็ได้
ข้อ 8/2 ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินจะต้องแจ้งการตั้งตัวแทนดังกล่าวให้ลูกค้าทราบก่อนที่จะนําทรัพย์สินของลูกค้าไปเก็บรักษาไว้ที่ตัวแทน
ข้อ 8/3 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องไม่ยินยอมให้ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินตั้งตัวแทนช่วงเว้นแต่ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อกองทุนส่วนบุคคลและตัวแทนช่วงสามารถเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศดังกล่าว”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 17/1 ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ สํานักงานอาจมีคําสั่งดังต่อไปนี้
(1) ห้ามมิให้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้ารายใหม่ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้ารายเดิม ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดําเนินการตามสัญญาเดิมได้จนกว่าสัญญานั้นจะสิ้นสุดลง
(2) พักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานกําหนด
(3) กระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควร”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
--------------------------------------------------- | 1,871 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 6/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 6/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” และ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” ก่อนบทนิยามคําว่า “ลูกค้า” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
““กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งนโยบายโดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 16/1 ในการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบาย การลงทุน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 16 แห่งประกาศฉบับนี้โดยแยกตามรายนโยบายการลงทุนของลูกค้าเพิ่มเติมด้วย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้มีบทบัญญัติรองรับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 1,872 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 4 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้
(ฉบับที่ 4 )
-----------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน
ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 1/1 ความในประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับ
ความเห็นชอบตามข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 20/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินประสงค์จะตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ให้ตั้งได้เฉพาะบุคคลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8 วรรคสองเท่านั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 2)
ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ผู้รับฝากทรัพย์สินจะตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินได้ต่อเมื่อผู้รับฝากทรัพย์สินแสดงต่อสํานักงานได้ว่ามีระบบงานที่มีความพร้อมในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน
ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่ในกรณีการแต่งตั้งศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนในการเก็บรักษาทรัพย์สิน
บุคคลที่ผู้รับฝากทรัพย์สินจะตั้งให้เป็นตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(3) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่สามารถประกอบธุรกิจได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศ
ที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อกองทุนส่วนบุคคล หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดําเนินการเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า สําหรับผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลในต่างประเทศ หรือองค์กรกํากับดูแลอื่นอยู่แล้ว และปรับปรุงข้อกําหนดให้สอดคล้องกับประกาศฉบับอื่นที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 1,873 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 40/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 40/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,874 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 27/2543 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 27/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้(ประมวล)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
[1](#fn1) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งนโยบายโดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้
[2](#fn2) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว
[3](#fn3) “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย
"ลูกค้า" หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพคําว่า "ลูกค้า" หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
"ผู้รับฝากทรัพย์สิน" หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
[4](#fn4) "ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน" หมายความว่า บุคคลที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งให้เป็นตัวแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
"ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์" หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 1/1[5](#fn5) ความในประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 20/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินประสงค์จะตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ให้ตั้งได้เฉพาะบุคคลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8 วรรคสองเท่านั้น
ข้อ 2 ในการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้า ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินจัดให้มีหน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ การให้คําแนะนําด้านหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน เป็นต้น และหน่วยงานดังกล่าวต้องมีระบบการควบคุมภายในที่ดี
ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แยกบุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า และบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าออกจากกัน และ
(2) กําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากบุคลากรที่มีอํานาจของผู้รับฝากทรัพย์สิน ซึ่งต้องมิใช่บุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าหรือเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าว
ข้อ 3 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดทํารายละเอียดวิธีปฏิบัติในการฝากหรือถอนทรัพย์สินกับหรือจากผู้รับฝากทรัพย์สิน วิธีการในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตลอดจนวิธีการกําหนดค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) และอธิบายให้บริษัทจัดการเข้าใจและลงนามรับทราบรายละเอียดดังกล่าว
ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้บริษัทจัดการทราบโดยพลัน
ข้อ 4 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้ผู้รับฝากทรัพย์สินสามารถปฏิเสธความรับผิดต่อความสูญหายหรือความเสียหายของทรัพย์สินของลูกค้า อันเนื่องมาจากการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับฝากทรัพย์สิน พนักงาน
หรือลูกจ้างของผู้รับฝากทรัพย์สิน หรือบุคคลใดที่ผู้รับฝากทรัพย์สินฝากทรัพย์สินของลูกค้าให้ดูแล
รักษาแทนตน
ข้อ 5 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องรับและส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้าตามคําสั่งของบริษัทจัดการที่มีหลักฐานอ้างอิงได้
ข้อ 6 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือตราสารใดที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้รับฝากทรัพย์สินจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารนั้นภายในเวลาอันสมควร
ห้ามมิให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าเพื่อตนเองหรือเพื่อบุคคลอื่นใด โดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทจัดการ
ข้อ 7 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามในฐานะผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย หรือผู้ค้ําประกัน ที่ปรากฏในทรัพย์สินของลูกค้า และตรวจสอบหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของลูกค้า เว้นแต่ไม่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถกระทําได้
ข้อ 8[6](#fn6)[7](#fn7) ผู้รับฝากทรัพย์สินจะตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินได้ต่อเมื่อผู้รับฝากทรัพย์สินแสดงต่อสํานักงานได้ว่ามีระบบงานที่มีความพร้อมในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่ในกรณีการแต่งตั้งศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนในการเก็บรักษาทรัพย์สิน
[8](#fn8) บุคคลที่ผู้รับฝากทรัพย์สินจะตั้งให้เป็นตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1)[9](#fn9) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2)[10](#fn10) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(3)[11](#fn11) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่สามารถประกอบธุรกิจได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อกองทุนส่วนบุคคล หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่
ข้อ 8/1[12](#fn12) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ประสงค์จะตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินโดยที่ยังไม่เคยได้รับความเห็นชอบระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินจากสํานักงาน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินยื่นคําขอความเห็นชอบระบบดังกล่าวต่อสํานักงาน ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ ให้ถือว่าผู้รับฝากทรัพย์สินได้รับความเห็นชอบระบบในการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินแล้ว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินอย่างเร่งด่วน ผู้รับฝากทรัพย์สินอาจแจ้งต่อสํานักงานเพื่อขอทราบผลการพิจารณาก่อนครบระยะเวลาสิบห้าวันก็ได้
ข้อ 8/2[13](#fn13) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินจะต้องแจ้งการตั้งตัวแทนดังกล่าวให้ลูกค้าทราบก่อนที่จะนําทรัพย์สินของลูกค้าไปเก็บรักษาไว้ที่ตัวแทน
ข้อ 8/3[14](#fn14) ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องไม่ยินยอมให้ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินตั้งตัวแทนช่วง เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อกองทุนส่วนบุคคลและตัวแทนช่วงสามารถเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศดังกล่าว
ข้อ 9 ห้ามมิให้ผู้รับฝากทรัพย์สินกระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิของลูกค้าในทรัพย์สิน โดยปราศจากหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งของบริษัทจัดการหรือลูกค้า ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ข้อ 10 ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินจัดทําบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้าแต่ละรายที่อยู่ในการดูแลรักษา โดยต้องแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินของผู้รับฝากทรัพย์สิน
บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน
(2) ชื่อ จํานวน และประเภททรัพย์สิน
(3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน
ข้อ 11 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการ และต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง
ข้อ 12 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเก็บรักษาไว้เองอย่างน้อยทุกหกเดือน เพื่อสอบทานความถูกต้องตรงกันกับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นผู้จัดทํา
สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินมิได้เก็บรักษาไว้เอง ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบุคคลอื่นตามที่สํานักงานเห็นชอบ กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นผู้จัดทํา
ข้อ 13 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดทําทะเบียนการรับฝากและการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) ชื่อ ประเภท และจํานวนทรัพย์สินที่รับฝากและที่เบิกจ่าย
(2) เงินปันผล ดอกเบี้ย และผลประโยชน์อื่นใดที่ลูกค้าได้รับจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ
(3) สถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินมิได้เก็บรักษาทรัพย์สินไว้เอง
ข้อ 14 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องจัดทํารายงานเกี่ยวกับฐานะทรัพย์สิน ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนของลูกค้าแต่ละราย และส่งให้บริษัทจัดการภายในสองวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของแต่ละเดือนโดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) ชื่อ ประเภท และจํานวนทรัพย์สินที่รับฝากและที่เบิกจ่าย
(2) ยอดทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือน
ข้อ 15[15](#fn15) ยกเลิกทั้งข้อ 15
ข้อ 16 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจัดทําข้อมูลและเอกสารดังกล่าวเพื่อให้สํานักงานตรวจสอบได้หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 16/1[16](#fn16) ในการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบาย การลงทุน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 16 แห่งประกาศฉบับนี้โดยแยกตามรายนโยบายการลงทุนของลูกค้าเพิ่มเติมด้วย
ข้อ 17 ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในสถานที่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และแยกทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย
ข้อ 17/1[17](#fn17) ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ สํานักงานอาจมีคําสั่งดังต่อไปนี้
(1)[18](#fn18) ห้ามมิให้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้ารายใหม่ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้ารายเดิม ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดําเนินการตามสัญญาเดิมได้จนกว่าสัญญานั้นจะสิ้นสุดลง
(2)[19](#fn19) พักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานกําหนด
(3)[20](#fn20) กระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควร
ข้อ 18 ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรายใดรับฝากทรัพย์สินของลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับโดยมีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4 ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินรายนั้นดําเนินการให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามข้อ 4 โดยอาจจัดทําขึ้นใหม่ทั้งฉบับหรือเฉพาะส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ และดําเนินการให้คู่สัญญาลงนามในเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 19 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ:
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 27/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ ลงวันที่ 19/06/2543 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 26 มิถุนายน 2543 ฉบับทั่วไป เล่มที่ 117 ตอนพิเศษ 62ง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 32/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16/07/2547 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ฉบับทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 86ง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 6/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 04/02/2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 เล่ม 125 ตอนพิเศษ 62 ง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 11/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 01/06/2552 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 เล่ม 126 ตอนพิเศษ 84 ง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 40/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23/12/2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
---
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
13.
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20. | 1,875 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 7/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข/น. 7/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริม
การขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการกองทุน
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 62/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณากิจการของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อส่งเสริมการขายและให้บริการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมที่ระบุอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนไว้อย่างชัดเจนตามประกาศสํานักงานว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลที่เป็นการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุน การให้บริการหรือการดําเนินกิจการจัดการกองทุน หรือการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ค้าหน่วยลงทุน หรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน โดยทางข้อความ ภาพ เสียง หรือเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่ทําให้บุคคลทั่วไปเข้าใจความหมายได้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ แต่ไม่รวมถึงการให้ข้อมูลโดยผ่านหนังสือชี้ชวนหรือที่มีวัตถุประสงค์เป็นการให้ความรู้หรือแจ้งข้อเท็จจริงโดยมิได้มุ่งเน้นให้เป็นการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนหรือการให้บริการหรือดําเนินกิจการจัดการกองทุน หรือการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ค้าหน่วยลงทุน หรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน เช่น เอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนทั่ว ๆ ไป เป็นต้น
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการ และ
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ค้าหน่วยลงทุน หรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ บททั่วไป
--------------------------
ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถทําการโฆษณาได้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการโฆษณาตามหมวด 2 ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนจึงจะโฆษณาได้
ข้อ ๕ การโฆษณาไม่ว่าจะเป็นกรณีใด บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การโฆษณาในหมวด 3
หมวด ๒ โฆษณาที่ต้องได้รับความเห็นชอบ
-------------------------------------------------
ข้อ ๖ การโฆษณาดังต่อไปนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการโฆษณานั้น
(1) การโฆษณาเกี่ยวกับข้อมูลตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคต
(2) อัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption)
(3) การโฆษณาของบริษัทหลักทรัพย์ที่สํานักงานมีคําสั่งให้ต้องขอความเห็นชอบ การโฆษณาตามข้อ 19
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งข้อมูลที่จะใช้ในการโฆษณาให้สํานักงานพิจารณาแล้ว หากสํานักงานมิได้ทักท้วงภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับข้อมูลดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้โฆษณาเช่นนั้นได้
ข้อ ๗ การโฆษณาตามข้อ 6(1) และ (2) ที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ต้องเป็นไปตามลักษณะดังนี้
(1) ต้องเป็นการโฆษณาสําหรับกองทุนประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมหรือตลอดรอบการลงทุนในแต่ละรอบ หรือตลอดอายุของสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง
(2) การโฆษณาดังกล่าวต้องกระทําผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
(3) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต หรืออัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption) ต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น ทั้งนี้ การนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1)(ข) ต้องแสดงในรูปอัตราเงินปันผล (dividend yield)
(4) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1)(ข) ตัวเลขประมาณการตาม (3) ต้องไม่เกินกว่าสามรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ หากการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นการลงทุนในสิทธิการเช่า ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการนั้นไม่รวมส่วนที่เป็นเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน
(5) ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนตาม (1)(ก) โดยมีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่ปรากฏในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน หรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
(ก) ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน
(ข) อัตราผลตอบแทนของทรัพย์สินที่จะลงทุนแต่ละชนิด
(ค) สัดส่วนการลงทุน
(ง) ระยะเวลาการลงทุน
(จ) ค่าใช้จ่ายของกองทุน
(6) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาสําหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1)(ข) จะต้องปรากฏว่าข้อมูลดังต่อไปนี้ ได้มีการแสดงและเปิดเผยไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(ก) ประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (projection) ของกองทุนรวมซึ่งมีการระบุข้อมูลในลักษณะดังนี้
1. มีการระบุสมมติฐานที่สําคัญที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคตและความเสี่ยงที่อาจทําให้ผลตอบแทนหรือผลการดําเนินการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ และ
2. มีการระบุประมาณการรายได้จากค่าเช่าที่ได้รับการรับรองจากผู้ประเมินค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานหรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดังกล่าวมีการเปิดเผยสมมติฐานที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
(7) ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้อธิบายประกอบตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต หรือประกอบอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption)
(ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตาม (1)(ก) ให้มีคําเตือนประกอบว่า “หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้” หรือ “หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป บริษัทจัดการอาจไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามอัตราที่โฆษณาไว้” แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1)(ข) ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่......บาท และจากอัตราการให้เช่าพื้นที่ (occupancy rate) ที่ ....% ซึ่งเป็นเพียงการแสดงการประมาณการสําหรับรอบระยะเวลา.... ปี สิ้นสุด ณ วันที่.....และไม่อาจรับรองผลได้”
(8) ข้อมูลตาม (5) และข้อความตาม (7) ต้องแสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับข้อมูลตาม (3) และขนาดตัวอักษรของข้อมูลตาม (5) และข้อความตาม (7) ต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของข้อมูลส่วนใหญ่ในการโฆษณา
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การโฆษณา
-----------------------------
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์จะโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมใดได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมนั้นต่อสํานักงานแล้ว และในกรณีที่คําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นยังไม่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่ากองทุนรวมดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมจากสํานักงาน
ข้อ ๙ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาสําหรับกองทุนรวมมีประกันหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการประกันหรือผู้ประกันของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๐ การโฆษณาที่มีการจัดรายการของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้ทําการลงทุนในหน่วยลงทุน การโฆษณาการจัดรายการดังกล่าวจะกระทําได้ต่อเมื่อการจัดรายการนั้นมีระยะเวลา มูลค่าและจํานวนของสมนาคุณ สิทธิหรือประโยชน์อื่นใด อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ข้อ ๑๑ ข้อมูลที่ใช้ในการโฆษณา ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
(2) ข้อมูลและตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต เว้นแต่เป็นประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหมวด 2
(3) ข้อมูลในลักษณะที่เป็นการเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นการโฆษณาของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนทําการลงทุนเพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ทันภายในปีภาษีนั้น
ข้อ ๑๒ การโฆษณาโดยมีข้อความที่เป็นการคัดลอกหรืออ้างอิงเฉพาะบางส่วนของข้อความ บทความ คํากล่าวของบุคคลใด ๆ หรือผลการดําเนินงานในอดีต ข้อความที่คัดลอกหรืออ้างอิงนั้นต้องตรงต่อความเป็นจริง และต้องเป็นการคัดลอกหรืออ้างอิงสาระสําคัญอย่างครบถ้วน โดยไม่มีการตัดทอนหรือต่อเติมข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งนี้ ต้องระบุแหล่งที่มาและวันที่เผยแพร่ของข้อความที่คัดลอกหรืออ้างอิงนั้นอย่างชัดเจน
ข้อ ๑๓ การโฆษณาที่แสดงข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณาที่มีการระบุผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานที่เป็นตัวเลขในอดีตให้กระทําผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
ทั้งนี้ การแสดงข้อมูลดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น และต้องจัดให้มีข้อความดังต่อไปนี้ประกอบด้วย
(ก) คําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีตของ (ให้ระบุว่าเป็นกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล) มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต” โดยคําเตือนดังกล่าวให้แสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับข้อมูลผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน
(ข) ข้อความที่ระบุให้เห็นว่า การวัดผลการดําเนินงานของกองทุน จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยสมาคม โดยแสดงในลําดับถัดจากข้อความตาม (ก) และอยู่ในหน้าเดียวกัน
2. การคํานวณผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องจัดทําขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยประกาศสมาคม
(3) โฆษณาที่แสดงการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานในอดีตระหว่างกองทุน จะกระทําได้ต่อเมื่อการเปรียบเทียบนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยสมาคม
(4) การโฆษณาที่แสดงการเปรียบเทียบหรือแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนกับการลงทุนโดยวิธีอื่น ต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน
ข้อ ๑๔ การโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลที่บริษัทหลักทรัพย์หรือกองทุนได้รับต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลที่เกี่ยวกับผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน จะทําได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) อันดับหรือรางวัลที่ระบุไว้ในโฆษณา เป็นข้อมูลที่ผู้จัดอันดับหรือผู้ให้รางวัล จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยสมาคม
(ข) มีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ในหน้าเดียวกัน
1. อันดับ ชื่อรางวัล หรือประเภทรางวัลที่ได้รับ
2. วันเวลาหรือช่วงระยะเวลาที่ได้รับรางวัล
3. ชื่อสถาบันที่เป็นผู้ให้รางวัลหรือเป็นผู้จัดอันดับรางวัล
4. ข้อความตามข้อ 13(1) (ก) และ (ข)
(2) กรณีที่เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลอื่นใดนอกเหนือจาก (1) ให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อมูลเฉพาะตาม (1)(ข) 1. ถึง 3.
ข้อ ๑๕ การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อความหรือคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ข้อความที่ระบุช่องทางในการขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน
(2) คําเตือนว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
(3) การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาคู่มือภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี และ
(4) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่ากองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้ว ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ................... เมื่อวันที่ .......................... มิได้เป็นการแสดงว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.
หรือสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลในการเสนอขาย และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของกองทุนรวม”
ข้อ ๑๖ การแสดงข้อความหรือคําเตือนตามข้อ 15 หรือคําเตือนในเรื่องใด ๆ ผ่านสื่อหรือเครื่องมือทุกประเภท บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีความชัดเจนในรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญเช่นเดียวกับข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ เช่น ตัวอักษรต้องคมชัด และสามารถมองเห็นหรือรับฟังได้อย่างชัดเจน เป็นต้น
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการแสดงข้อมูลเชิงอรรถในการโฆษณาด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มอบหมายให้บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทําการโฆษณาเกี่ยวกับหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่เป็นการมอบหมายให้เผยแพร่หรือแจกเอกสารหรือสื่อโฆษณาที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําขึ้นเอง
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ทําการโฆษณาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การโฆษณาในหมวดนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) หยุดการโฆษณา
(2) แก้ไขข้อมูลในการโฆษณา
(3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง
(4) กระทําการหรือไม่กระทําการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนดที่จะทําให้การรับรู้ข้อมูลมีความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือไม่คลาดเคลื่อน
ข้อ ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนจากการรับรู้ข้อมูล สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งการตามข้อ 18 ต้องขอความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการโฆษณาแต่ละครั้งได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกํากับดูแลให้การโฆษณาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนตลอดจนการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบ ซึ่งจะทําให้ผู้ลงทุนได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการขายหน่วยลงทุนหรือการจัดการกองทุนที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน และไม่ทําให้สําคัญผิด | 1,876 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข/น. 10/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริม
การขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการกองทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98 (10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์แลตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139 (4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 18 (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
1. “การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลที่เป็นการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุน การให้บริการหรือการดําเนินกิจการจัดการกองทุน หรือการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ค้าหน่วยลงทุน หรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน โดยทางข้อความ ภาพเสียง หรือเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่ทําให้บุคคลทั่วไปเข้าใจความหมายได้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ แต่ไม่รวมถึงการให้ข้อมูลโดยผ่านหนังสือชี้ชวนหรือที่มีวัตถุประสงค์เป็นการให้ความรู้หรือแจ้งข้อเท็จจริงโดยมิได้มุ่งเน้นให้เป็นการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนหรือการให้บริการหรือดําเนินกิจการจัดการกองทุน หรือการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ค้าหน่วยลงทุน หรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน เช่น เอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนทั่ว ๆ ไป เป็นต้น
2. “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล
3. “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า
(ก) บริษัทจัดการ
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ค้าหน่วยลงทุนหรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน
1. “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2. “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
3. “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
4. “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมที่ระบุอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนไว้อย่างชัดเจนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(8) “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์จะโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมใดได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมนั้นต่อสํานักงานแล้ว และในกรณีที่คําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นยังไม่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่ากองทุนรวมดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมจากสํานักงานไว้ในโฆษณาด้วย
ข้อ ๔ ข้อมูลที่ใช้ในการโฆษณา ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
(2) ข้อมูลและตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต เว้นแต่เป็นประมาณการผลตอบแทนในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9
(3) ข้อมูลในลักษณะที่เป็นการเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นการโฆษณาของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนทําการลงทุนเพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ทันภายในปีภาษีนั้น
ข้อ ๕ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาสําหรับกองทุนรวมมีประกันหรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์ต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการประกันหรือผู้ประกันของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวด้วย
ข้อ ๖ การโฆษณาที่มีการจัดรายการของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้ทําการลงทุนในหน่วยลงทุน การโฆษณาการจัดรายการดังกล่าวจะกระทําได้ต่อเมื่อการจัดรายการนั้นมีระยะเวลา มูลค่าและจํานวนของสมนาคุณ สิทธิหรือประโยชน์อื่นใด อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ข้อ ๗ การโฆษณาโดยมีข้อความที่เป็นการคัดลอกหรืออ้างอิงเฉพาะบางส่วนของข้อความ บทความ คํากล่าวของบุคคลใด ๆ หรือผลการดําเนินงานในอดีต ข้อความที่คัดลอกหรืออ้างอิงนั้นต้องตรงต่อความเป็นจริง และต้องเป็นการคัดลอกหรืออ้างอิงสาระสําคัญอย่างครบถ้วน โดยไม่มีการตัดทอนหรือต่อเติมข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งนี้ ต้องระบุแหล่งที่มาและวันที่เผยแพร่ของข้อความที่คัดลอกหรืออ้างอิงนั้นอย่างชัดเจน
ข้อ ๘ การโฆษณาที่แสดงข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณาที่มีการระบุผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานที่เป็นตัวเลขในอดีตให้กระทําผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ทั้งนี้ การแสดงข้อมูลดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น และต้องจัดให้มีข้อความดังต่อไปนี้ประกอบด้วย
(ก) คําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีตของ (ให้ระบุว่าเป็นกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล) มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต” โดยคําเตือนดังกล่าวให้แสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับข้อมูลผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน
(ข) ข้อความที่ระบุให้เห็นว่า การวัดผลการดําเนินงานของกองทุน จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยสมาคม โดยแสดงในลําดับถัดจากข้อความตาม (ก) และอยู่ในหน้าเดียวกัน
2. การคํานวณผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องจัดทําขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยประกาศสมาคม
3. โฆษณาที่แสดงการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานในอดีตระหว่างกองทุน จะกระทําได้ต่อเมื่อการเปรียบเทียบนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยสมาคม
4. การโฆษณาที่แสดงการเปรียบเทียบหรือแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนกับการลงทุนโดยวิธีอื่น ต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน
ข้อ ๙ การโฆษณาที่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตหรืออัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาไว้แน่นอน (auto redemption) ต้องเป็นไปตามลักษณะดังนี้
(1) ต้องเป็นการโฆษณาสําหรับกองทุนประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) กองทุนที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมหรือตลอดรอบการลงทุนในแต่ละรอบ หรือตลอดอายุของสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง
(2) การโฆษณาดังกล่าวต้องกระทําผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
(3) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต หรืออัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอนต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น ทั้งนี้ การนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1) (ข) ต้องแสดงในรูปอัตราเงินปันผล
4. ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1) (ข) ตัวเลขประมาณการตาม (3) ต้องไม่เกินกว่าสามรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ หากการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นการลงทุนในสิทธิการเช่า ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการนั้นไม่รวมส่วนที่เป็นเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน
(5) ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนตาม (1) (ก) โดยมีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่ปรากฏในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน หรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
(ก) ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน
(ข) อัตราผลตอบแทนของทรัพย์สินที่จะลงทุนแต่ละชนิด
(ค) สัดส่วนการลงทุน
(ง) ระยะเวลาการลงทุน
(จ) ค่าใช้จ่ายของกองทุน
(6) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาสําหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1) (ข) จะต้องปรากฏว่าข้อมูลดังต่อไปนี้ ได้มีการแสดงและเปิดเผยไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนแล้ว
1. ประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมซึ่งมีการระบุข้อมูลในลักษณะดังนี้
1. มีการระบุสมมติฐานที่สําคัญที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคตและความเสี่ยงที่อาจทําให้ผลตอบแทนหรือผลการดําเนินการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ และ
2. มีการระบุประมาณการรายได้จากค่าเช่าที่ได้รับการรับรองจากผู้ประเมินค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานหรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดังกล่าวมีการเปิดเผยสมมติฐานที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
(7) ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้อธิบายประกอบตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต หรือประกอบอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน
(ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตาม (1) (ก) ให้มีคําเตือนประกอบว่า “หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้” หรือ “หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป บริษัทจัดการอาจไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามอัตราที่โฆษณาไว้” แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1) (ข)ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่................บาท และจากอัตราการให้เช่าพื้นที่ ที่ ....% ซึ่งเป็นเพียงการแสดงการประมาณการสําหรับรอบระยะเวลา....... ปี สิ้นสุด ณ วันที่........และไม่อาจรับรองผลได้”
8. ข้อมูลตาม (5) และข้อความตาม (7) ต้องแสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับข้อมูลตาม (3) และขนาดตัวอักษรของข้อมูลตาม (5) และข้อความตาม (7) ต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของข้อมูลส่วนใหญ่ในการโฆษณา
ข้อ ๑๐ การโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลที่บริษัทหลักทรัพย์หรือกองทุนได้รับต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. กรณีที่เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลที่เกี่ยวกับผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
2. อันดับหรือรางวัลที่ระบุไว้ในโฆษณา เป็นข้อมูลที่ผู้จัดอันดับหรือผู้ให้รางวัล จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานการวัดผลการดําเนินงานที่กําหนดโดยสมาคม
(ข) มีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ในหน้าเดียวกัน
1. อันดับ ชื่อรางวัล หรือประเภทรางวัลที่ได้รับ
2. วันเวลาหรือช่วงระยะเวลาที่ได้รับรางวัล
3. ชื่อสถาบันที่เป็นผู้ให้รางวัลหรือเป็นผู้จัดอันดับรางวัล
4. ข้อความตามข้อ 8 (1) (ก) และ (ข)
(2) กรณีที่เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลอื่นใดนอกเหนือจาก (1) ให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อมูลเฉพาะตาม (1) (ข) 1. ถึง 3.
ข้อ ๑๑ การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อความหรือคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ข้อความที่ระบุช่องทางในการขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน
(2) คําเตือนว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
(3) การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาคู่มือภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี และ
(4) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่ากองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้ว ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ................... เมื่อวันที่ .......................... มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลในการเสนอขาย และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของกองทุนรวม”
ข้อ ๑๒ การแสดงข้อความหรือคําเตือนตามข้อ 11 หรือคําเตือนในเรื่องใด ๆ ผ่านสื่อหรือเครื่องมือทุกประเภท บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีความชัดเจนในรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญเช่นเดียวกับข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ เช่น ตัวอักษรต้องคมชัด และสามารถมองเห็นหรือรับฟังได้อย่างชัดเจน เป็นต้น ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการแสดงข้อมูลเชิงอรรถในการโฆษณาด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๑๓ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มอบหมายให้บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทําการโฆษณาเกี่ยวกับหน่วยลงทุนนั้นเว้นแต่เป็นการมอบหมายให้เผยแพร่หรือแจกเอกสารหรือสื่อโฆษณาที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําขึ้นเอง
ตอน ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ทําการโฆษณาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การโฆษณาในประกาศนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) หยุดการโฆษณา
(2) แก้ไขข้อมูลในการโฆษณา
(3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง
(4) กระทําการหรือไม่กระทําการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนดที่จะทําให้การรับรู้ข้อมูลมีความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือไม่คลาดเคลื่อน
ข้อ ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนจากการรับรู้ข้อมูล สํานักงานมีอํานาจ สั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งการตามข้อ 14 ต้องขอความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการโฆษณาแต่ละครั้ง
การขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งข้อมูลที่จะใช้ ในการโฆษณาให้สํานักงานพิจารณาแล้วและสํานักงานมิได้ทักท้วงภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับข้อมูลดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้โฆษณาเช่นนั้นได้
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกํากับดูแลให้การโฆษณาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนตลอดจนการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบ รวมทั้งปรับปรุงให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถโฆษณาเกี่ยวกับข้อมูลตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตและอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดได้โดยไม่ต้องยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงานก่อน อันจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดําเนินการของบริษัทหลักทรัพย์ | 1,877 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข/น. 56/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริม
การขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1) (ข) ตัวเลขประมาณการตาม (3) ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ หากการลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นการลงทุนในสิทธิการเช่า ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการนั้นไม่รวมส่วนที่เป็นเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (7) ในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1) (ข) ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ .......................... บาท และจากอัตราการให้เช่าพื้นที่ ที่ ....% ซึ่งเป็นเพียงการแสดงการประมาณการสําหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่...............................................และไม่อาจรับรองผลได้”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงให้การโฆษณาที่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงแสดงตัวเลขที่สะท้อนจากรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,878 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 1/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข/น. 1/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริม
การขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการกองทุน
(ฉบับที่ 3 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต หรืออัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน ต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 56/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงตาม (1) (ข) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) แสดงในรูปอัตราเงินปันผล โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทําอัตราเงินปันผล
ดังกล่าวต้องมาจากประมาณการงบการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากผู้สอบบัญชีว่าสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่กองทุนต้องปฏิบัติ
(ข) ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการต้องเป็นข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างรอบปีบัญชีที่มีการโฆษณาประมาณการดังกล่าว โดยบริษัทจัดการอาจใช้ข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบปีบัญชีถัดไปด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งรอบปีบัญชี
(ค) ในกรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในสิทธิการเช่า ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการไม่รวมส่วนที่เป็นเงินคืนทุน”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,879 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2556 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 13) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 14/2556
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 13 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 4 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 16/7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
“การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) ครอบคลุมถึงกรณีที่มีการกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนตามสกุลเงินที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากการชําระค่าขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ถือหน่วยลงทุน การจ่ายเงินปันผลหรือการให้สิทธิและผลประโยชน์อื่นใดในหน่วยลงทุน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 16/8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2553 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16/8 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามข้อ 16/7 ไว้อย่างชัดเจนในโครงการ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ได้กําหนดไว้ในโครงการในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อกําหนดการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ แต่การกําหนดดังกล่าวจะต้องไม่กระทบสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนเดิม
การกําหนดการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ชนิดหน่วยลงทุนที่แบ่ง
(2) สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งวิธีการคํานวณและการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนโดยละเอียด (ถ้ามี)
(3) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ในแต่ละชนิดหน่วยลงทุน
(4) ข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนระหว่างหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี)
(5) การจัดสรรรายได้ รายจ่าย รวมทั้งผลกําไรและขาดทุน ที่เกิดจากการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี)
(6) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) โดยการกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจะต้องมีความสอดคล้องกับหน่วยลงทุนแต่ละชนิดด้วย
(7) วิธีการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งสิทธิและส่วนได้เสียของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ถ้ามี)”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,880 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 27/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 27/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและ
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(1) ข้อ 10 และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 2(2) และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนเพิ่มเติม ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลซึ่งคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ทะเบียนรายชื่อบุคคลที่สํานักงานได้ให้ความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุน
“บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ ขอบเขตการใช้บังคับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
หมวด ๒ การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน
ข้อ ๔ ในการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน บริษัทจัดการจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องแต่งตั้งบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะแต่งตั้งบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนดังกล่าวที่ได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์เฉพาะกรณีตามข้อ 7(2) และตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13(3) รวมกันได้ไม่เกินหนึ่งราย
(2) บุคคลที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งต้องเป็นพนักงานประจําของบริษัทจัดการที่สามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่บริษัทจัดการได้ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทจัดการ
(3) บุคคลที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งต้องไม่ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทจัดการ เว้นแต่ตําแหน่งอื่นนั้นมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(ก) เป็นตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน หรือ
(ข) เป็นตําแหน่งกรรมการ หรือตําแหน่งผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งตามข้อ 7(2)(ก)
(4) บุคคลที่จะแต่งตั้งต้องไม่เป็นพนักงานหรือผู้บริหารของบริษัทอื่น และต้องไม่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการ เว้นแต่การเป็นพนักงาน ผู้บริหาร หรือผู้จัดการลงทุนนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุน
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ (web site) ของสํานักงาน
(1) รายงานการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน โดยให้จัดส่งล่วงหน้าก่อนการแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
(2) รายงานการสิ้นสุดการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน โดยให้จัดส่งภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่สิ้นสุดการแต่งตั้ง
ให้บริษัทจัดการเปิดเผยรายชื่อผู้จัดการกองทุนของแต่ละกองทุนรวมในรายงานหรือเอกสารที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และแสดงรายชื่อดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ (web site) ของบริษัทจัดการ โดยในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล บริษัทจัดการต้องปรับปรุงรายชื่อในเว็บไซต์ (web site) ให้เป็นปัจจุบันภายในสิบสี่วันนับแต่มีการเปลี่ยนแปลง
หมวด ๓ ผู้มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน
ข้อ ๖ บุคคลใดที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ หากประสงค์จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน ให้บุคคลนั้นยื่นคําขอความเห็นชอบตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ (web site) ของสํานักงาน และสํานักงานจะให้ความเห็นชอบต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขอรับความเห็นชอบมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7
(2) ผู้ขอรับความเห็นชอบไม่มีลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 8 และ
(3) ผู้ขอรับความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ทั้งนี้ ในการพิจารณาคําขอ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอรับความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ในกรณีที่ปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ สํานักงานจะถือว่าบุคคลดังกล่าวไม่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนอีกต่อไป
(1) ผู้ขอรับความเห็นชอบไม่ชําระค่าธรรมเนียมคําขอตาม (3) ของวรรคหนึ่ง
(2) ผู้ขอรับความเห็นชอบมิได้มาชี้แจงหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคสอง
ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาที่ผู้ได้รับความเห็นชอบให้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน ต้องเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังได้รับความเห็นชอบ โดยเป็นการอบรมตามหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรม ทั้งนี้ หากผู้ได้รับความเห็นชอบไม่เข้ารับการอบรมตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ดังกล่าว ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบให้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนเป็นอันสิ้นสุดลง และสํานักงานจะถอดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน
ข้อ ๗ บุคคลใดจะได้รับความเห็นชอบให้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน บุคคลนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปหรือตามหลักเกณฑ์เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
1. หลักเกณฑ์ทั่วไป
(ก) ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ในกรณีที่ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้นั้นมาแล้วเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าได้เข้ารับการอบรมความรู้ดังกล่าวที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
1. เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐาน
ในการประกอบวิชาชีพ โดยการเข้ารับการอบรมนั้นต้องไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ทั้งนี้ การอบรมดังกล่าวต้องเป็นการอบรมอย่างต่อเนื่องจากการอบรมครั้งก่อน ๆ ที่เป็นการเข้ารับการอบรมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบสองปีปฏิทินนับแต่ปีปฏิทินที่ทดสอบผ่านหลักสูตรข้างต้น หรือ
2. เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรเตรียมความรู้ (full course) เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยการเข้ารับการอบรมนั้นต้องไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
(ข) มีคุณสมบัติและประสบการณ์ในการทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ทดสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การทํางานด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ การบริหารความเสี่ยงการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ
2. ได้รับวุฒิบัตร (ระดับสาม) ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ หรือ
3. ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่สํานักงานยอมรับ ให้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นผู้จัดการกองทุน
(2) หลักเกณฑ์เฉพาะกรณี
(ก) เป็นผู้จัดการของบริษัทจัดการ หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับรองลงมาจากผู้จัดการจนถึงระดับผู้อํานวยการฝ่าย ซึ่งตําแหน่งระดับดังกล่าวดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการ
(ข) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน (1)(ก) หรือในกรณีที่ไม่เคยทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ตาม (1)(ก) ต้องปรากฏว่าได้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรเตรียมความรู้ (full course) เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรม โดยการเข้ารับการอบรมนั้นต้องไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
ข้อ ๘ บุคคลที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามข้อ 6 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๙ ในการรักษาสถานภาพการมีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนดังกล่าวต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรม อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบสองปีปฏิทิน นับแต่ปีปฏิทินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) ยื่นคําขอรักษาสถานภาพโดยแสดงหลักฐานหรืออ้างอิงการเข้ารับการอบรมตาม (1) ต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ (web site) ของสํานักงาน
(3) ชําระค่าธรรมเนียมคําขอรักษาสถานภาพตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตาม (1) (2) และ (3) ให้แล้วเสร็จภายในทุกรอบสองปีปฏิทินนับแต่ปีปฏิทินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง และสํานักงานจะถอดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้เป็นผู้จัดการกองทุน บุคคลดังกล่าวจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนที่ใช้บังคับกับบริษัทจัดการโดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
2. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 10 สํานักงานจะดําเนินการต่อบุคคลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒ ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้จัดการกองทุนอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บุคคลดังกล่าวยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนต่อไปได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
(3) เข้ารับการอบรมตามข้อ 9(1) โดยอนุโลม และยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 6 โดยให้ยื่นหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงการเข้ารับการอบรมดังกล่าวมาพร้อมกับการยื่นคําขอความเห็นชอบนั้นด้วย ทั้งนี้ การยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน ให้ยื่นล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนครบรอบสองปีปฏิทินที่ต้องเข้ารับการอบรมตามข้อ 9(1)
(4) ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
หากผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้จัดการกองทุนอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ให้การให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนเป็นอันสิ้นสุดลง เว้นแต่ในกรณีที่มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขตาม (1) และ (2) สํานักงานจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๑๓ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามที่ได้ยื่นคําขอไว้ตามข้อ 12(3) จะต้องดําเนินการให้ตนเป็นผู้มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(1) ได้รับวุฒิบัตร (ระดับสาม) ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA)
(2) มีประสบการณ์การทํางานด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงการมีประสบการณ์ดังกล่าว
(3) เป็นผู้จัดการของบริษัทจัดการ หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับรองลงมาจากผู้จัดการจนถึงระดับผู้อํานวยการฝ่าย ซึ่งตําแหน่งระดับดังกล่าวดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการ
หากบุคคลดังกล่าวไม่ดําเนินการและไม่ยื่นเอกสารหลักฐานการมีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบเป็นอันสิ้นสุดลง และสํานักงานจะถอดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ (web site) ของสํานักงานยังไม่แล้วเสร็จ ให้การดําเนินการตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 9(2) ข้อ 12(3) และข้อ 12(4) กระทําโดยการยื่นในรูปเอกสารต่อสํานักงาน
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลจะต้องดําเนินการโดยผู้จัดการกองทุนที่มีคุณสมบัติและลักษณะที่เหมาะสม อันได้แก่ มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย โดยบุคคลดังกล่าวต้องทําการลงทุนเพื่อกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลด้วยความตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการลงทุนเพื่อบุคคลอื่น และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,881 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 28/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและ
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 11/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “สถาบันฝึกอบรม” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ “สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน และสถาบัน
ฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน 1. ของข้อ 7 (1)(ข) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“1. ทดสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การทํางานด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีประสบการณ์การทํางานด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงการมีประสบการณ์ดังกล่าว”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจจัดการลงทุนที่มีอย่างต่อเนื่อง และป้องกันการขาดแคลนบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน จึงเห็นควรผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนเป็นบางประการ | 1,882 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 16 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและ
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๑๘/๑ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ตามข้อ 18 และประสงค์จะได้รับความเห็นชอบต่อไป ให้บุคคลนั้นยื่นคําขอความเห็นชอบตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 6 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และสํานักงานจะให้ความเห็นชอบต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เข้ารับการอบรมตามข้อ 7(1) โดยอนุโลม และยื่นหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงการเข้ารับการอบรมดังกล่าวมาพร้อมกับการยื่นคําขอความเห็นชอบ
(2) มีประสบการณ์การทํางานด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงการมีประสบการณ์ดังกล่าว
(3) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน และ
(4) ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,883 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 46/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์และการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 46/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์
และการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 และมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 1/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ และการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 เมื่อบริษัทจะงดรับการลงทะเบียน ให้บริษัทแจ้งการงดรับการลงทะเบียนนั้นเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการก่อนวันงดรับการลงทะเบียนวันแรก ต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยในกรณีเป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมดังกล่าว หรือต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรณีเป็นหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ในกรณีเป็นหุ้นกู้ที่มิได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือกรณีเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่มิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้บริษัทประกาศการงดรับการลงทะเบียนให้ผู้ถือหลักทรัพย์ทราบเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันงดรับการลงทะเบียน ณ สํานักงานใหญ่ของบริษัท และหากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ดังกล่าวได้มีการเสนอขายต่อประชาชนโดยบริษัทหรือผู้ถือหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน บริษัทต้องประกาศการงดรับการลงทะเบียนนั้นในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,884 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 9/2554 เรื่อง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์และการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 9 /2554
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์
และการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 1/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ และการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศทั้งจํานวน ให้บริษัทจัดให้มีทะเบียนหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ โดยบริษัทอาจมอบหมายให้บุคคลที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้โดยชอบตามกฎหมายของประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว เป็นผู้ดําเนินการให้มีทะเบียนหลักทรัพย์ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํา
ทะเบียนหลักทรัพย์สําหรับกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ทั้งจํานวนให้มีความสะดวกและสอดคล้องตามกฎหมายของประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์
จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,885 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 25/2548
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนํา เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ผู้ลงทุน ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และให้หมายความรวมถึงลูกค้าของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
หมวด ๑ การขอความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ บุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีสองประเภท คือ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข
ข้อ ๔ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ต้องมีวุฒิการศึกษา และหรือประสบการณ์ทํางาน ความรู้ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อ
กับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่แนบท้ายประกาศนี้
ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้บริหารของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจํากัดตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละแห่งเพียงหนึ่งราย หรือ
(2) เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๕ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักงาน ก.ล.ต. จะดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๖ การขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงาน ก.ล.ต. อาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงาน ก.ล.ต. จะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๗ ผู้ที่ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ ให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมหรือตามหลักสูตรที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ (refresher course) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่การเข้าอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้าอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีก็ได้
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ถือว่าการเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นการเข้าอบรมตามวรรคหนึ่ง
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้รับความเห็นชอบตามข้อ 4 วรรคสอง (1) หรือได้รับความเห็นชอบโดยการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะในต่างประเทศ
ข้อ ๙ ในการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนํา เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ลงทุน ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนตน
ข้อ ๑๐ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
(2) ปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(3) เปิดเผยหรือให้ข้อมูลที่มีความสําคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
(4) รักษาความลับของผู้ลงทุน
(5) ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ ต้องดําเนินการให้มั่นใจว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และเหมาะสม
(6) ไม่สนับสนุน สั่งการ หรือให้ความร่วมมือแก่บุคคลใดในการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักงานจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว
หมวด ๓ มาตรการบังคับ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายใดขาดคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์
(2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด
(3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตาม (3) สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. จะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก
ข้อ ๑๒ ให้การเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. สิ้นสุดลงในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่กระทําการหรือมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8
(2) พ้นจากการเป็นผู้บริหารของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้รับความเห็นชอบตามข้อ 4 วรรคสอง (1)
(3) พ้นจากการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากองค์กรกํากับดูแลของต่างประเทศ ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยคุณสมบัติดังกล่าว
(4) พ้นจากการเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เนื่องจากไม่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และไม่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ ให้ผู้ที่ยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้น คุณสมบัติตามข้อ 4
(1) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(2) เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ ณ วันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การทํางานในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ เกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น ให้กับผู้ลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอความเห็นชอบ
(3) สอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับสองขึ้นไป หรือผ่านการอบรมหลักสูตรสําหรับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ และ
(4) ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรม หรือหลักสูตรอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
ข้อ ๑๔ ให้ผู้ที่ยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้น คุณสมบัติตามข้อ 4
(1) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(2) เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ ณ วันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การทํางานเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข ที่ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําในด้านตราสารทุนหรือตราสารหนี้ ให้กับผู้ลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอความเห็นชอบ
(3) สอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ตั้งแต่ระดับหนึ่งขึ้นไป หรือผ่านการอบรม หลักสูตรสําหรับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ และ
(4) ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรม หรือหลักสูตรอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
ข้อ ๑๕ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ตามข้อ 13 หรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ตามข้อ 14 ให้สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,886 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 10/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 10/2549
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และข้อ 2(2) และข้อ 11 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผน เกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ผู้ลงทุน ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ในการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผน เกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้แก่ผู้ลงทุน ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนตน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,887 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 41/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 41/2549
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และข้อ 2(2) และข้อ 11 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ตามข้อ 13 ให้สิ้นสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ตามข้อ 14 ให้สิ้นสุดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ตามข้อ 4 วรรคหนึ่งของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ตารางที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากระยะเวลาการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ตามบทเฉพาะกาลจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และการดําเนินการขอความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ที่มีในปัจจุบัน ผู้ขอความเห็นชอบต้องใช้เวลาเตรียมตัวระยะหนึ่ง ซึ่งมีผลทําให้จํานวนผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการรองรับธุรกรรมตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในปี พ.ศ. 2550 สมควรขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ออกไปอีก และโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนดังกล่าว เพื่อเพิ่มทางเลือกในการขอความเห็นชอบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,888 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 34/2551 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 34/2551
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และข้อ 2(2) และข้อ 11 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก” และคําว่า “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 10/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามและวรรคสี่ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548
“มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา โดยผู้ขอความเห็นชอบต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี
2. ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ ในกรณีที่ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้นั้นมาเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าเคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรความรู้ดังกล่าวของสถาบันฝึกอบรม หรือ หลักสูตรอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ
3. ทดสอบผ่านหลักสูตรสําหรับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําซึ่งจัดโดยสถาบันฝึกอบรม และ
4. มีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคํา หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ
ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํายื่นคําขอความเห็นชอบภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการซื้อขายทองคําสามารถเข้ามาทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,889 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 50/2552
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 3(2) และข้อ 12 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา หรือวางแผน เกี่ยวกับการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีสองประเภท ได้แก่ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข
(3) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้
(4) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข” หมายความว่า ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งไม่สามารถทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้
(5) “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และให้หมายความรวมถึงลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย
(6) “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายงานจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม
(7) “ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(8) “สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันฝึกอบรมที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(9) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
หมวด ๑ การขอความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ บุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีสองประเภท คือ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข
ข้อ ๔ ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ต้องมีวุฒิการศึกษา และหรือประสบการณ์การทํางาน ความรู้ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่แนบท้ายประกาศนี้ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน โดยจํากัดผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละแห่งเพียงหนึ่งราย หรือ
(2) เป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา โดยผู้ขอความเห็นชอบต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี
(2) ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ ในกรณีที่ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้นั้นมาเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าเคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรความรู้ดังกล่าวของสถาบันฝึกอบรม หรือ หลักสูตรอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ
(3) ทดสอบผ่านหลักสูตรสําหรับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําซึ่งจัดโดยสถาบันฝึกอบรม และ
(4) มีประสบการณ์การทํางานเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคํา หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ
ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํายื่นคําขอความเห็นชอบภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555
ข้อ ๕ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๖ การขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
สํานักงาน ก.ล.ต. จะเปิดเผยผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนและถูกต้อง และในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งผู้ขอความเห็นชอบเป็นหนังสือโดยระบุถึงเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงาน ก.ล.ต. อาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงาน ก.ล.ต. จะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๗ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีอายุสองปี โดยในการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบแต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป
ข้อ ๘ ในกรณีผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข หากปรากฏว่าผู้นั้นได้รับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก โดยใช้คุณสมบัติตามข้อ 4 วรรคสอง (2) และให้มีอายุการได้รับความเห็นชอบเท่ากับรอบระยะเวลาที่เหลืออยู่ของอายุการได้ความเห็นชอบเดิมที่ให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข
ข้อ ๙ ผู้ที่ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะในต่างประเทศ หากสามารถประกอบการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.
หมวด ๒ การต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ การขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ขอความเห็นชอบปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผ่านการอบรม ร่วมกิจกรรม หรือศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสิบห้าชั่วโมง ในทุกรอบสองปีปฏิทินนับแต่ปีปฏิทินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ จรรยาบรรณ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสามชั่วโมง และในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนด้วย การอบรม ร่วมกิจกรรมหรือศึกษาเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมอยู่ด้วยอย่างน้อยหกชั่วโมง
(2) ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุอย่างน้อยหนึ่งเดือนแต่ไม่เกินสี่เดือน ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. และต้องจัดส่งหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงการเข้ารับการอบรมตาม (1) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต.
สํานักงาน ก.ล.ต. จะเปิดเผยรายชื่อผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบการต่ออายุไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบการต่ออายุกับผู้ขอความเห็นชอบรายใด สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งผู้ขอความเห็นชอบรายนั้นเป็นหนังสือโดยระบุถึงเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงาน ก.ล.ต. อาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงาน ก.ล.ต. จะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบการต่ออายุประสงค์จะได้รับหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการพิจารณาคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้ยื่นคําขอตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ซึ่งมีรอบระยะเวลาการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบไม่ตรงกัน ให้บุคคลนั้นยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามรอบระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบครั้งหลังสุด และให้ถือว่าอายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี เป็นไปตามรอบระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบครั้งหลังสุดด้วย
ข้อ ๑๒ การต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ได้รับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ ในการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา วางแผน หรือทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับผู้ลงทุน ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนตน
ข้อ ๑๔ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
(2) ปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(3) เปิดเผยหรือให้ข้อมูลที่มีความสําคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
(4) รักษาความลับของผู้ลงทุน
(5) ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และเหมาะสม
(6) ไม่สนับสนุน สั่งการ หรือให้ความร่วมมือแก่บุคคลใดในการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(7) ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศเกี่ยวกับการติดต่อ ชักชวน ให้คําแนะนํา วางแผนหรือทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พร้อมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กําหนดโดยสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สํานักงานยอมรับโดยอนุโลมด้วย
หมวด ๔ มาตรการบังคับ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. จะดําเนินการต่อผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๖ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. สิ้นสุดลงในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) พ้นจากการเป็นผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้คุณสมบัติดังกล่าว
(2) พ้นจากการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้คุณสมบัติดังกล่าว
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก โดยใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ที่มิใช่ตําแหน่งผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๑๘ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้ และเพื่อประโยชน์ในการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้ถือว่าวันที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. เคยให้ความเห็นชอบ เป็นวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้
ข้อ ๑๙ ให้บรรดาประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานปฏิบัติงาน ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อให้มีบุคลากรที่เพียงพอต่อการรองรับการเติบโตทางธุรกิจจึงปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้สะดวกยิ่งขึ้น (2) เพื่อปรับปรุงการใช้สิทธิผู้บริหารในการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) เพื่อกําหนดรอบระยะเวลาการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้ตรงกัน (4) เพื่อกําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานเพิ่มเติม โดยผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวกับการติดต่อชักชวนที่ใช้กับผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
อื่นๆ - คุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ตามข้อ 4 วรรคหนึ่งของ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| **กรณี****ที่** | **คุณสมบัติอื่น ๆ****วุฒิการศึกษา** | **ประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง1** | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบ****ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญา****ซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก จากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ****ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญา****ซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก จากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** |
| 1 | ปริญญาตรีขึ้นไป | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 2 ปี ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ก่อนวันยื่นคําขอ | ü | - |
| 2 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับหนึ่ง | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ปี ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันยื่นคําขอ | ü | - |
| 3 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับสองขึ้นไป หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับสองหรือหลักสูตร CFP(Certified Financial Planner) หรือหลักสูตร FRM (Financial Risk Manager) | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ปี ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันยื่นคําขอ | - | üยกเว้นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CISA ระดับสองขึ้นไป |
| | นอกเหนือจากกรณีที่มีวุฒิการศึกษาตาม 1-3 โดยเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก จากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงาน ก.ล.ต.ยอมรับ | - | - | ü |
| | | | | | |
#### คุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ตามข้อ 4 วรรคหนึ่งของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552
| **กรณี****ที่** | **คุณสมบัติอื่น ๆ****วุฒิการศึกษา** | **ประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อ**[**[1]**](#_ftn1) | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญา****ซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข จากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** | **ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ****ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญา****ซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข จากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ\*** |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| 1 | ต่ํากว่าปริญญาตรี | มีประสบการณ์การทํางานในหรือต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 4 ปี ในช่วงระยะเวลา 7 ปีก่อนวันยื่นคําขอ | ü | - |
| 2 | ปริญญาตรีขึ้นไป | - | ü | - |
| 3 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับหนึ่ง | - | - | üยกเว้นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CISA ระดับหนึ่งแล้ว |
| 4 | หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับสองขึ้นไป หรือหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับสองหรือหลักสูตร CFP(Certified Financial Planner) หรือหลักสูตร FRM (Financial Risk Manager) | - | - | üยกเว้นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CISA ระดับสองขึ้นไป |
| 5 | นอกเหนือจากกรณีที่มีวุฒิการศึกษาตาม 1-4 โดยเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข จากองค์กรกํากับดูแลของประเทศที่สํานักงาน ก.ล.ต.ยอมรับ | - | - | ü |
[[1]](#_ftnref1) ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ประสบการณ์ทํางานที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนี้
กรณีขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ประเภท ข เช่น การวิเคราะห์ (รวมถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค) การลงทุน การบริหารความเสี่ยง การให้คําแนะนําลงทุน dealer การวางแผนทางการเงิน (Financial Planner) การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
\*ความรู้ทางธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต้องทดสอบผ่านมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หรือหากเกินสองปีต้องเคยเข้าอบรมตามหลักสูตรของสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงานยอมรับ
ไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ | 1,890 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 56/2553 เรื่อง เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข. 56 /2553
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาต
เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 3(2) และ
ข้อ 12 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต.
ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับ
ผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 7/1 ในกรณีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก
ที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง เนื่องจากพ้นจากการดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากบุคคลดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากการดํารงตําแหน่งดังกล่าว สํานักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลนั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประเภทที่เคยได้รับความเห็นชอบก่อนการใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ ๒ ในกรณีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 จนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เนื่องจากพ้นจากการดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากบุคคลดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 สํานักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลนั้นเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประเภทที่เคยได้รับความเห็นชอบก่อนการใช้คุณสมบัติการดํารงตําแหน่งดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ที่การได้รับความเห็นชอบสิ้นสุดเนื่องจากพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,891 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 12/2554 เรื่อง เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข.12/2554
เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 3(2) และข้อ 12 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“(8/1) “โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) หรือแพลทินัม”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ต้องมีวุฒิการศึกษา และหรือประสบการณ์การทํางาน ความรู้ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่จะมีข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ก ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน โดยจํากัดผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละแห่งเพียงหนึ่งราย
(2) บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 4/1 ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี
(2) ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่จัดโดยสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ หรือหลักสูตรอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(3) ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ที่จัดโดยสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ หรือหลักสูตรอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
(ก) หลักสูตรสําหรับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า
(ข) หลักสูตรสําหรับการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรตาม (ก) แล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
(4) มีประสบการณ์การทํางานเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ
การทดสอบผ่านหลักสูตรตามวรรคหนึ่ง (2) หรือ (3) (ก) ต้องไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หรือในกรณีที่ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้นั้นมาแล้วเกินกว่าสองปีในวันยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าเคยเข้ารับการอบรมความรู้ดังกล่าวที่จัดโดยสถาบันฝึกอบรมที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ หรือหลักสูตรอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ไม่เกินสองปีในวันยื่นคําขอ”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 ในกรณีที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. จะดําเนินการต่อผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน”
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 18/1 ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท ข ที่ปฏิบัติหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ตามประกาศนี้ และปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554”
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อขยายขอบเขตการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับ
ผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําให้ครอบคลุมถึงการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,892 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 2/2549 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 2/2549
เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 ข้อ 14 และข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547
สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
“หลักประกันเริ่มต้น” (initial margin) หมายความว่า จํานวนทรัพย์สินขั้นต่ําที่ลูกค้าต้องวางเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อมีการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่
“หลักประกันรักษาสภาพ” (maintenance margin) หมายความว่า จํานวนทรัพย์สินขั้นต่ําที่ลูกค้าต้องดํารงไว้ตลอดเวลาที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้
(1) หลักฐานเกี่ยวกับการรับส่งคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการให้แก่ลูกค้านับตั้งแต่เวลาที่ได้รับคําสั่งดังกล่าวจนถึงเวลาที่ทํารายการเสร็จสิ้น
(2) หลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า (confirmation statement)
(3) หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติม
(4) บัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย
ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องส่งหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าและหลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้แก่ลูกค้าตามวิธีการที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการซื้อขายหรือวันที่มีการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้ในหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(1) ชื่อลูกค้าหรือหมายเลขบัญชีเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(2) วันที่เกิดรายการซื้อขาย
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น ประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (contract type) ชนิดของสินค้าหรือตัวแปร (underlying assets/variables) เดือนที่ส่งมอบหรือชําระราคา (settlement month) เป็นต้น หรือชื่อย่อของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (symbol) ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(4) จํานวนและราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(5) ประเภทของการทํารายการซื้อขาย เช่น เป็นการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ เป็นการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีอยู่ เป็นต้น
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการทํารายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดไว้ในข้อ 3(1) และ(3) ตลอดจนรายการดังต่อไปนี้ในหลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม
(1) มูลค่าหลักประกันเริ่มต้นและมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกเก็บมูลค่าหลักประกันเริ่มต้นหรือมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใด ๆ แตกต่างกัน ให้ระบุมูลค่าหลักประกันเริ่มต้นหรือมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพสําหรับการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น ๆ เป็นรายสัญญาด้วย
(2) ราคาตลาด (market price) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ณ สิ้นวันทําการ
(3) ผลขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าและมูลค่าหลักประกันคงเหลือภายหลังจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาด (mark to market) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกให้ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติม
ข้อ ๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดไว้ในข้อ 3 และข้อ 4 ตลอดจนรายการดังต่อไปนี้ในบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย
(1) ประเภทของลูกค้า โดยให้ระบุว่าเป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายย่อย และในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ(omnibus account) ให้ระบุกรณีดังกล่าวไว้ด้วย
(2) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้าอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
(3) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ (open interest)
(4) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกัน หรือเพื่อชําระราคาและส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อสัญญาครบกําหนด
(5) ผลกําไรจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าและมูลค่าหลักประกันคงเหลือภายหลังจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาด (mark to market) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(6) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม และบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจจัดทําข้อมูลดังกล่าวในรูปข้อมูลเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บันทึกการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าและการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้า ให้เก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนําหรือวันที่ได้รับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้าและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่การให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวด้วย
(2) บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการให้แก่ลูกค้า หลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม บัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย และรายงานหรือบทความการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ให้เก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่เกิดรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า วันที่มีการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม หรือวันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า แล้วแต่กรณี โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,893 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 5/2552 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | | |
| --- |
| |
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ |
| ที่ สธ. 5/2552 |
| เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 2) |
|
| | | |
| --- | --- | --- |
| | | |
| | | |
|
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
สําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2549 เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) บันทึกการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าและการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้า ให้เก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนําหรือวันที่ได้รับคําสั่งซื้อขาย
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่ง
ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้าและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายใน
ระยะเวลาดังกล่าว ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่การให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง
ได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือ
สิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552
| | |
| --- | --- |
| | (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) |
| | เลขาธิการ |
| | สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ |
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อขยายระยะเวลาในการจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนํา
แก่ลูกค้าและการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้าของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ทั้งนี้ เพื่อให้การกํากับดูแลตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้อง
กับมาตรฐานสากล จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,894 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 3/2553 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 3/2553
เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 ข้อ 15 และข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้
ในหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(1) ชื่อลูกค้าหรือหมายเลขบัญชีเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(2) วันที่เกิดรายการซื้อขาย
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น ประเภทของสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า (contract type) ชนิดของสินค้าหรือตัวแปร (underlying assets/variables) เดือนที่ส่งมอบหรือชําระราคา (settlement month) เป็นต้น หรือชื่อย่อของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (symbol) ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(4) จํานวนและราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(5) ประเภทของการทํารายการซื้อขาย เช่น เป็นการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ เป็นการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีอยู่ เป็นต้น
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการทํารายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้
ในหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(1) ชื่อลูกค้าหรือหมายเลขบัญชีเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(2) วันที่เกิดรายการซื้อขาย
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น ประเภทของสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า (contract type) ชนิดของสินค้าหรือตัวแปร (underlying assets/variables) เดือนที่ส่งมอบหรือชําระราคา (settlement month) เป็นต้น หรือชื่อย่อของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (symbol) ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(4) จํานวนและราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(5) ประเภทของการทํารายการซื้อขาย เช่น เป็นการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ เป็นการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีอยู่ เป็นต้น
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการทํารายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้
ในหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(1) ชื่อลูกค้าหรือหมายเลขบัญชีเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า
(2) วันที่เกิดรายการซื้อขาย
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น ประเภทของสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า (contract type) ชนิดของสินค้าหรือตัวแปร (underlying assets/variables) เดือนที่ส่งมอบหรือชําระราคา (settlement month) เป็นต้น หรือชื่อย่อของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (symbol) ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(4) จํานวนและราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(5) ประเภทของการทํารายการซื้อขาย เช่น เป็นการสร้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นใหม่ เป็นการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีอยู่ เป็นต้น
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการทํารายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บันทึกการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าและการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้า ให้เก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนําหรือวันที่ได้รับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้าและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่การให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวด้วย
(2) บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการให้แก่ลูกค้า หลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม บัญชีแสดงรายการ
ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย และรายงานหรือบทความการวิเคราะห์คุณค่าหรือ
ความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า ตลอดจนหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ให้เก็บไว้
อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่เกิดรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า วันที่มีการเรียก
หลักประกันเพิ่มเติม หรือวันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า แล้วแต่กรณี โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที
ในการจัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา ไม่ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใดไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการให้คําแนะนําดังกล่าวในประเทศไทย
ข้อ ๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดไว้ในข้อ 3 และข้อ 4 ตลอดจนรายการดังต่อไปนี้ในบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย
(1) ประเภทของลูกค้า โดยให้ระบุว่าเป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายย่อย และในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ(omnibus account) ให้ระบุกรณีดังกล่าวไว้ด้วย
(2) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้าอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
(3) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ (open interest)
(4) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกัน หรือเพื่อชําระราคาและส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อสัญญาครบกําหนด
(5) ผลกําไรจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าและมูลค่าหลักประกัน
คงเหลือภายหลังจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาด (mark to market) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(6) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม และบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจจัดทําข้อมูลดังกล่าวในรูปข้อมูลเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บันทึกการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าและการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้า ให้เก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนําหรือวันที่ได้รับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้าและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บบันทึกการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่การให้คําแนะนําหรือการรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวด้วย
(2) บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการให้แก่ลูกค้า หลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม บัญชีแสดงรายการ
ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย และรายงานหรือบทความการวิเคราะห์คุณค่าหรือ
ความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า ตลอดจนหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ให้เก็บไว้
อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่เกิดรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า วันที่มีการเรียก
หลักประกันเพิ่มเติม หรือวันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า แล้วแต่กรณี โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที
ในการจัดให้มีการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา ไม่ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใดไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการให้คําแนะนําดังกล่าวในประเทศไทย
ข้อ ๘ ให้บรรดาประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2549 เรื่อง การจัดทําและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๙ ในกรณีที่ประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2549 เรื่อง การจัดทําและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2549 เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ
ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และ (2) เพื่อกําหนดเกณฑ์การจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการให้คําแนะนําของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,895 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 17/2554 เรื่อง เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ.17/2554
เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2553 เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
“(5) “เวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ” หมายความว่า เวลาปิดทําการซื้อขายสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าภาคบ่ายของศูนย์ซื้อขายสัญญา (afternoon session)”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2553 เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
“เพื่อประโยชน์ในการส่งหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคสอง ให้ถือว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นให้แก่ลูกค้า”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2553 เรื่อง การจัดทําและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ราคาตลาด (market price) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ณ เวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดเวลาในการจัดส่งหลักฐานยืนยันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และกําหนดให้แสดงราคาตลาดโดยใช้ราคาตลาด ณ เวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติลงในหลักฐานยืนยัน
การเรียกหลักประกันเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขยายเวลาทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ
ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,896 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 33/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์สำหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (ฉบับที่ 2 ) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 33 /2554
เรื่อง หลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนใน
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า
(ฉบับที่ 2 )
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
“ข้อ 15/1 ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาประสงค์จะขยายขอบเขตการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากผู้ให้บริการตามข้อ 15 เพื่อให้ครอบคลุมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่านอกเหนือจากทองคํา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ แต่ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นคุณสมบัติของผู้ให้บริการตามข้อ 4(1) และได้รับยกเว้นการดูแลให้ผู้ให้บริการดํารงคุณสมบัติตามข้อ 10 วรรคหนึ่ง (2) เฉพาะคุณสมบัติตามข้อ 4(1)”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 1,897 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 73/2558 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 73/2558
เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
เพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ประกาศว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการ
กํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
“ประกาศว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ในต่างประเทศ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ข้อ ๓ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้
(1) หุ้นเพิ่มทุน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายต่อประชาชน ต่อบุคคลในวงจํากัด หรือต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
(2) หุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายต่อประชาชน ต่อบุคคลในวงจํากัด หรือต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
(3) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้
(4) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ในต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นกู้
ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้
ข้อ ๔ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น มีความครบถ้วน ถูกต้อง และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง รวมทั้งต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยตามที่กําหนดในประกาศนี้
หมวด ๑ รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกรณีการออกและเสนอขาย
หุ้นเพิ่มทุนและหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิ
ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
ส่วน ๑ รายการขั้นต่ําในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๕ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นตามข้อ 3(1) และ (2) อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ ไว้อย่างชัดเจน เว้นแต่เป็นการขออนุมัติออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแบบมอบอํานาจทั่วไป (general mandate) ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการนั้น
(1) รายละเอียดของการเสนอขาย เช่น จํานวนหุ้นที่เสนอขาย ประเภทผู้ลงทุนที่จะได้รับการเสนอขาย วิธีการกําหนดราคาเสนอขายและราคาตลาด และวิธีการเสนอขายและการจัดสรร
(2) วัตถุประสงค์ของการออกหุ้นและแผนการใช้เงิน โดยอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดดังนี้
(ก) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของการออกหุ้นและแผนการใช้เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น ทั้งนี้ ในกรณีบริษัทจดทะเบียนมีแผนที่จะนําเงินไปใช้ในหลายวัตถุประสงค์ ให้ระบุรายละเอียดของแต่ละวัตถุประสงค์ รวมทั้งงบประมาณที่ใช้และแผนการใช้เงินสําหรับดําเนินการในแต่ละวัตถุประสงค์แยกต่างหากจากกันไว้อย่างชัดเจน
(ข) กรณีบริษัทจดทะเบียนจะนําเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นไปใช้ในการดําเนินโครงการ ให้ระบุรายละเอียดของโครงการโดยสังเขป เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของโครงการ โอกาสที่โครงการดังกล่าวจะสร้างรายได้ให้แก่บริษัท ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับบริษัทในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินโครงการได้สําเร็จ และความเสี่ยงจากการดําเนินโครงการ รวมทั้งระบุงบประมาณ
ที่คาดว่าจะใช้ในเบื้องต้น และงบประมาณทั้งหมดที่คาดว่าจะต้องใช้เพื่อให้โครงการสามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัท (ถ้ามี)
(ค) ในกรณีที่การดําเนินการตามแผนการใช้เงินของบริษัทเป็นการทํารายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน หรือเป็นการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องระบุวาระในส่วนที่เกี่ยวกับการขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการเข้าทํารายการดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนด้วย
(3) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้น โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น (control dilution) และความคุ้มค่าที่ผู้ถือหุ้นได้รับเปรียบเทียบกับ ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น
(4) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
(ก) เหตุผลและความจําเป็นของการเพิ่มทุน
(ข) ความเป็นไปได้ของแผนการใช้เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่จะนําเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นไปใช้ในการดําเนินโครงการ ต้องให้ความเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้และความชัดเจนที่โครงการจะสามารถดําเนินการได้จริง รวมทั้งสถานะและความคืบหน้าของโครงการ (ถ้ามี)
(ค) ความสมเหตุสมผลของการเพิ่มทุน แผนการใช้เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นและโครงการที่จะดําเนินการ รวมทั้งความเพียงพอของแหล่งเงินทุนในกรณีที่เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นไม่ครอบคลุมงบประมาณทั้งหมดที่ต้องใช้ในการดําเนินการตามแผนหรือโครงการดังกล่าว
(ง) ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการประกอบธุรกิจของบริษัท ตลอดจนฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัท อันเนื่องจากการเพิ่มทุนและการดําเนินการตามแผนการใช้เงินหรือโครงการ
(5) ข้อความที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในกรณีที่กรรมการของบริษัทไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทในเรื่องที่เกี่ยวกับการเพิ่มทุน หากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ผู้ถือหุ้นสามารถฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากกรรมการคนดังกล่าวแทนบริษัทได้ตามมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 และหากการไม่ปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นเหตุให้กรรมการหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องได้ประโยชน์ไปโดยมิชอบ ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนประโยชน์จากกรรมการนั้นแทนบริษัทได้ตามมาตรา 89/18แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ส่วน ๒ รายการเพิ่มเติมกรณีการออกและเสนอขายหุ้น
ต่อบุคคลในวงจํากัด
ข้อ ๖ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นตามข้อ 3(1) และ (2) ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 5 และที่กําหนดเพิ่มเติมในส่วนนี้
ข้อ ๗ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหุ้น ซึ่งเสนอให้ผู้ถือหุ้นมีมติกําหนดราคาเสนอขายไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายหุ้นที่เหลือจาก
การจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนหรือไม่ ต้องระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ระบุชื่อผู้ลงทุนที่จะได้รับการเสนอขายไว้อย่างชัดเจน เว้นแต่การไม่เปิดเผยรายชื่อผู้ลงทุนดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัท และคณะกรรมการของบริษัทได้พิจารณาและตรวจสอบข้อมูลแล้วเห็นว่าบุคคลดังกล่าวสามารถทําประโยชน์ให้แก่บริษัทจดทะเบียนได้อย่างแท้จริง
(2) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
(ก) ความเหมาะสมของราคาหุ้นที่ออกใหม่ซึ่งบริษัทจดทะเบียนจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนตาม (1) และที่มาของการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว
(ข) เหตุผลและความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนตาม (1)
(3) คํารับรองของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงว่า ในการพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทุนตาม (1) คณะกรรมการได้ดําเนินการด้วยความระมัดระวัง และมีความเห็นว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการลงทุน หรือมีการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถลงทุนในบริษัทได้จริง
ข้อ ๘ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหุ้น ซึ่งเสนอให้ผู้ถือหุ้นมีมติกําหนดราคาเสนอขายไว้อย่างชัดเจนโดยราคาดังกล่าวต่ํากว่าราคาตลาด หรือให้เสนอขายหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนในราคาต่ํากว่าราคาถัวเฉลี่ยของหุ้นเมื่อพิจารณาจากผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมดต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (ราคา fully diluted) ต้องระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
(1) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด
(2) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับความคุ้มค่าระหว่างประโยชน์ที่จะได้จาก
ผู้ลงทุนตามข้อ 7(1) เมื่อเปรียบเทียบกับการที่บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําให้แก่บุคคลดังกล่าว โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายและฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่เกิดจากการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินว่าด้วยการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์(share-based payments)
ข้อ ๙ นอกจากข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 8 แล้ว หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติ การออกและเสนอขายหุ้น ซึ่งเสนอให้ผู้ถือหุ้นมีมติกําหนดราคาเสนอขายไว้อย่างชัดเจนโดยราคาดังกล่าวต่ํากว่าราคาตลาด ต้องระบุความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ลงทุนตามข้อ 7(1) มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นประโยชน์กับบริษัทจดทะเบียน หรือมีความรู้หรือประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ หรือมีส่วนช่วยสนับสนุนธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนด้วย
ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ตามความในข้อ 8 และข้อ 9 ให้ใช้วิธีคํานวณราคาตลาดและราคาถัวเฉลี่ยของหุ้นเมื่อพิจารณาจากผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมด ต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (ราคา fully diluted) ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด โดยอนุโลม
หมวด ๒ รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกรณีการออกและเสนอขาย
หุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลในวงจํากัด
ข้อ ๑๑ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามข้อ 3(3) และ (4) อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ ไว้อย่างชัดเจน
(1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราแปลงสภาพ ระยะเวลาใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ
(2) ที่มาและความเหมาะสมของการกําหนดราคาหรืออัตราแปลงสภาพ และระยะเวลาใช้สิทธิแปลงสภาพ
(3) วัตถุประสงค์ของการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและแผนการใช้เงิน โดยอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดตามข้อ 5(2) โดยอนุโลม
(4) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น (control dilution)
(5) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยตามข้อ 5(4) โดยอนุโลม รวมทั้งการวิเคราะห์ความสามารถในการชําระหนี้ของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวที่ไม่ใช้สิทธิแปลงสภาพเมื่อครบกําหนดไถ่ถอน
(6) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ
(7) ข้อความตามข้อ 5(5) โดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามข้อ 3(3) และ (4) เป็นการเสนอขายในราคาต่ําตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ หรือประกาศว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ต้องระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
(1) วัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ในราคาต่ํา
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นออกใหม่ที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพในเรื่องจํานวนที่เสนอขาย ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ และราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอนหรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน
(3) ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามหุ้นกู้แปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณ
(4) ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเสนอขาย
(5) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําที่ขออนุมัติ
ในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขาย
หุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น (control dilution)
(6) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา
ตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ หรือประกาศว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
(7) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิแปลงสภาพกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,898 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2559 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 22/2559
เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
เพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 73/2558 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้ แต่ไม่รวมถึงการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการนั้น
(1) หุ้นเพิ่มทุน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้น ต่อประชาชน หรือต่อบุคคลใด ๆ
(2) หุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหลักทรัพย์อื่น เช่น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์
(3) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้
(4) หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ในต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นกู้ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกชื่อหมวด 1 รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกรณีการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 73/2558 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 73/2558 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นต่อบุคคลในวงจํากัดในกรณีดังต่อไปนี้ ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 5 และที่กําหนดเพิ่มเติมในส่วนนี้
(1) การออกและเสนอขายหุ้น ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด
(2) การออกและเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ
(3) การออกและเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย”
หมวด ๑ รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกรณีการออกและเสนอขายหุ้น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 1,899 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 33/2551
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและ
เสนอขายหลักทรัพย์
“ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
ข้อ ๒ ให้บริษัทจดทะเบียนสามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตดังต่อไปนี้
(1) ออกใบแสดงสิทธิที่มีอายุไม่เกินสองเดือน และกําหนดระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิตามใบแสดงสิทธิครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิดังกล่าว เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(2) ดําเนินการเสนอขายใบแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยให้ผู้ถือหุ้นสามารถโอนสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นให้บุคคลอื่นต่อไปได้ และต้องขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิภายในอายุของใบแสดงสิทธิ
(3) ดําเนินการให้มีข้อกําหนดที่ชัดแจ้งเป็นหนังสือถึงความผูกพันของบริษัทจดทะเบียนที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือใบแสดงสิทธิซึ่งได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นและบริษัทไม่สามารถจัดให้มี
หุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิดังกล่าว และข้อกําหนดเรื่องค่าเสียหายนั้นต้องมีผลเป็นจํานวนไม่ต่ํากว่าส่วนต่างของราคาตลาดของหุ้นของบริษัทซึ่งเป็นประเภทเดียวกับหุ้นที่รองรับการใช้สิทธิตามใบแสดงสิทธิ กับราคาที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ซึ่งกําหนดตามใบแสดงสิทธิ
(4) ส่งสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการเพิ่มทุนตาม (2)สําเนาหนังสือตาม (3) และเอกสารหลักฐานอื่นต่อสํานักงาน โดยส่งพร้อมรายงานผลการขายหุ้นที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ให้บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด
บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 2 สามารถขอผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตต่อสํานักงาน และหากบริษัทที่ได้รับอนุญาตสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดไว้ในข้อ 2 โดยอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(1) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของบริษัทที่ได้รับอนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีนั้น
(2) บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
ข้อ ๔ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิไว้แล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 62/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป เว้นแต่บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตดังกล่าวจะแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานแสดงความประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๕ ให้บริษัทที่ได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังมิได้ยื่นคําขอต่อสํานักงานเพื่อเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าว หรือยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานแล้วแต่แสดงความประสงค์ตามข้อ 4 ที่จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับมติดังกล่าว แล้วแต่เวลาใดจะสิ้นสุดลงภายหลัง
ข้อ ๖ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 62/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าว และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ โดยได้ผ่อนคลายให้บริษัทสามารถเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว โดยกําหนดให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอและต้องขออนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นของบริษัท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 1,900 |
Subsets and Splits