title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ (2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 6 จัตวา (6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 237 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินเป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพาก | 2,108 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 399) พ.ศ. 2545 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 399) พ.ศ. 2545
----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 399) พ.ศ.2545 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน เป็นสถาบันการเงิน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,109 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการนำเข้าหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทำขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับ หรือของใช้ใดๆ ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการนําเข้าหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทําขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับ หรือของใช้ใดๆ ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 ทวิ (6) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการนําเข้าหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทําขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใดๆ ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการนําเข้าหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทําขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับ หรือของใช้ใด ๆ ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีความประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนําเข้าหรือการขายสินค้า ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โดยต้องยื่นคําร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีรวมกัน ตามมาตรา 83 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งอยู่"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,110 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 406) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระบบการนำส่งภาษีและค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ ผู้ให้บริการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนำส่งเงินภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 406)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระบบการนําส่งภาษีและค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่
ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษี
------------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 718) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการนําส่งภาษี และค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษี ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายเท่าที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการนําส่งภาษี สําหรับการนําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้ หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่ใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 718) พ.ศ. 2564 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร และได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ตามที่ได้จ่ายไปจริงในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ต้องจัดทํารายงานข้อมูลการติดตั้งและการยกเลิกการติดตั้งทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษี ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 718) พ.ศ. 2564 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการจ่ายเพื่อประโยชน์ในการจัดทํา ส่งมอบ รับ หรือเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หรือการนําส่งเงินภาษี
(2) ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(3) ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษี ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 718) พ.ศ. 2564 มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดการลงทุนและการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th) ก่อนยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้สิทธิ แต่ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 718) พ.ศ. 2564 และต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 6 หรือมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องนําเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,111 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 241) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 241)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
และการแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทาง
อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ และมาตรา 85/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรโดยผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (แบบ P.P.01.9) ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยต้องแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน และส่งเอกสารหลักฐานฉบับภาษาอังกฤษ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล
(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยต้องมีข้อความเกี่ยวกับชื่อผู้ประกอบการ ประเทศที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และวันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งหนังสือดังกล่าวต้องผ่านการรับรองมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จากกระทรวงการต่างประเทศ หรือโนตารีพับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศที่มีการจดทะเบียน
(ข) หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการเสียภาษีในประเทศที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ถ้ามี)
(2) กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) สําเนาหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง รูปถ่ายของผู้ถือหนังสือเดินทาง และเลขที่ของหนังสือเดินทาง หรือสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ประกอบการ โดยต้องผ่านการรับรองมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จากกระทรวงการต่างประเทศ หรือโนตารีพับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศนั้น
(ข) หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการเสียภาษีในประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ (ถ้ามี)
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการตามข้อ 1 และให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และส่งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้อนุมัติและประกาศรายชื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มบนเว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้มีผลเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีผู้ประกอบการที่ได้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
(2) กรณีผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ให้อนุมัติเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ก) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการเคยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ภายหลังถูกอธิบดีกรมสรรพากรสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากแสดงรายการในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ หรือไม่มีสถานประกอบการจริงตามที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ได้ประกอบกิจการ หรือไม่ใช่ผู้ประกอบการให้บริการที่แท้จริง
(ข) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการไม่ได้แสดงหรือนําส่งเอกสารหลักฐานตามข้อ 1 ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรให้ครบถ้วน หรือเอกสารหลักฐานที่นําส่งไม่สอดคล้องกับคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ค) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการ (Business Website) ตามที่ระบุไว้ในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (แบบ P.P.01.9) ไม่มีอยู่จริง
ทั้งนี้ คําสั่งไม่อนุมัติให้มีผลนับแต่วันที่ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๓ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญ ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (แบบ P.P.09.9) ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสําคัญตามวรรคหนึ่ง ได้แก่กรณีดังต่อไปนี้
(1) การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ (Name of VAT Operator) ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการประกอบกิจการ (Business Email Address) หรือที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการ (Business Website) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น การเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจํากัด หรือการเปลี่ยนรายชื่อผู้ติดต่อ เป็นต้น
(2) การหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน
(3) การย้ายสถานประกอบการ
(4) การเลิกประกอบกิจการ รวมถึงการเลิกประกอบกิจการเพื่อโอนกิจการทั้งหมดให้แก่ผู้ประกอบการอื่น และการเลิกประกอบกิจการเพื่อควบเข้ากันเป็นผู้ประกอบการรายใหม่
ข้อ ๔ การแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (แบบ P.P.09.9) ให้ถูกต้องครบถ้วนและส่งเอกสารหลักฐานฉบับภาษาอังกฤษตามรายการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ
(2) กรณีการย้ายสถานประกอบการ ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเปลี่ยนแปลงที่อยู่
(3) กรณีการเลิกประกอบกิจการ รวมถึงการเลิกประกอบกิจการเพื่อโอนกิจการทั้งหมดให้แก่ผู้ประกอบการอื่น หรือการเลิกประกอบกิจการเพื่อควบเข้ากันเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเลิกประกอบกิจการ การโอนกิจการ หรือการควบเข้ากันเป็นผู้ประกอบการรายใหม่
กรณีเจ้าพนักงานสรรพากรร้องขอให้มีการรับรองเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องนําเอกสารหลักฐานที่ผ่านการรับรองมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จากกระทรวงการต่างประเทศ หรือโนตารีพับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศนั้นมาแสดงด้วย
ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบการแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 3 และข้อ 4 ก่อนรับทราบหรืออนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ที่ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย เป็นผู้ที่มีอํานาจอนุมัติให้ประกาศรายชื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 และลงนามรับทราบหรืออนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 5
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,112 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 63) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 63)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
-----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ให้ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ดังต่อไปนี้ต้องชําระอากรเป็นตัวเงินตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร 1. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(2) โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตร และใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก ตามลักษณะแห่งตราสาร 2. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(3) เช่าซื้อทรัพย์สิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 3. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(4) จ้างทําของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(5) กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(6) กรมธรรม์ประกันภัย ตามลักษณะแห่งตราสาร 6. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(7) ใบมอบอํานาจ ตามลักษณะแห่งตราสาร 7. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(8) ใบมอบฉันทะสําหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท ตามลักษณะแห่งตราสาร 8. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(9) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทํานองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทํานองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 9. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(10) บิลออฟเลดิง ตามลักษณะแห่งตราสาร 10. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(11) ใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ และพันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย ตามลักษณะแห่งตราสาร 11. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(12) เช็ค หรือหนังสือคําสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค ตามลักษณะแห่งตราสาร 12. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(13) ใบรับฝากเงินประเภทประจําของธนาคาร โดยมีดอกเบี้ย ตามลักษณะแห่งตราสาร 13. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(14) เลตเตอร์ออฟเครดิต ตามลักษณะแห่งตราสาร 14. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(15) เช็คสําหรับผู้เดินทาง ตามลักษณะแห่งตราสาร 15. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(16) ใบรับของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 16. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(17) ค้ําประกัน ตามลักษณะแห่งตราสาร 17. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(18) จํานํา ตามลักษณะแห่งตราสาร 18. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(19) ใบรับของคลังสินค้า ตามลักษณะแห่งตราสาร 19. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(20) คําสั่งให้ส่งมอบของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 20. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(21) ตัวแทน ตามลักษณะแห่งตราสาร 21. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(22) หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน ตามลักษณะแห่งตราสาร 27. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(23) ใบรับ ตามลักษณะแห่งตราสาร 28. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์เฉพาะกรณี
(ค) ใบรับสําหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้ เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562
“ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินเพิ่มเติม หรือยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินเกินกําหนดเวลา ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรชําระเงินเพิ่มอากร หรือค่าปรับอาญา (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินเพิ่มเติมหรือการยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินเกินกําหนดเวลานั้น แล้วแต่กรณี”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 เมื่อผู้มีหน้าที่เสียอากรได้ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรชําระเงินค่าอากร หรือเงินเพิ่มอากร หรือค่าปรับอาญา (ถ้ามี) โดยใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินค่าอากร เงินเพิ่มอากร และค่าปรับอาญา”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 เมื่อผู้มีหน้าที่เสียอากรได้ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินค่าอากร หรือเงินเพิ่มอากร หรือค่าปรับอาญา (ถ้ามี) เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และกรมสรรพากรได้ออกรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์พร้อมใบเสร็จรับเงินตามจํานวนเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรแล้ว ให้ถือว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตามรายการข้อมูลในแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว”
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,113 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 36) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 36)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
สําหรับการบริจาคให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 723) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการบริจาคให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 723) พ.ศ. 2564 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น โดยบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาทําเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” เลขที่บัญชี 067-0-13829-0
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 723) พ.ศ. 2564 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าก็ได้โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริจาคเป็นเงินต้องเป็นการบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาทําเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” เลขที่บัญชี 067-0-13829-0
(2) กรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ประเภทและชนิดตามที่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีกําหนด
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(4) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(5) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาคแต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมาตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(6) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การบริจาคให้แก่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 723) พ.ศ. 2564 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,114 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 407) เรื่อง กำหนดเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็น สำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 407)
เรื่อง กําหนดเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จําเป็น สําหรับการวิเคราะห์ข้อกําหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการวิเคราะห์ข้อกําหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
“ธุรกรรมที่ถูกควบคุม” หมายความว่า ธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
“ธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม” หมายความว่า ธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คู่สัญญาของธุรกรรมนั้นไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
“ผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐาน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นในลักษณะของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และได้รับหนังสือแจ้งความจากเจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดี ให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการวิเคราะห์ข้อกําหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ กําหนดให้เอกสารหรือหลักฐานดังต่อไปนี้ เป็นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการวิเคราะห์ข้อกําหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
(1) เอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานตามรายการดังต่อไปนี้
(ก) ลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารจัดการ (Local Organization Chart) รวมถึงจํานวนผู้ปฏิบัติงาน ห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) รวมถึงคู่ค้าที่สําคัญ คู่แข่งทางการค้าที่สําคัญ (Key Competitors) กลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy) และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
(ข) โครงสร้างความสัมพันธ์ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่มีธุรกรรมกับผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐาน รวมทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงของผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานและผู้ถือหุ้นลําดับสูงสุดของผู้ยื่นเอกสารหรือหลักฐาน
(ค) คําอธิบายเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ (Business Restructuring) ระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีหรือในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีหากได้ปรากฏว่าได้มีการดําเนินการเช่นว่านั้น พร้อมทั้งความแตกต่างของลักษณะการประกอบธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจระหว่างก่อนและหลังการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าว และผลกระทบต่อผลประกอบการของผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐาน
(ง) คําอธิบายเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่ผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานได้รับโอนมาจากหรือที่ได้โอนไปให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีหากได้ปรากฏว่าได้มีการดําเนินการเช่นว่านั้น พร้อมทั้งผลกระทบต่อผลประกอบการของผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐาน
(2) เอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมของผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานตามรายการดังต่อไปนี้
(ก) รายการประเภทธุรกรรมที่ถูกควบคุม คู่สัญญา ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจของคู่สัญญาและจํานวนมูลค่าที่ได้รับมาจากหรือจ่ายไปแก่คู่สัญญา
(ข) คําอธิบายเกี่ยวกับแต่ละประเภทธุรกรรมตาม (ก) และนโยบายการกําหนดราคาที่ใช้ในการกําหนดราคาสําหรับแต่ละประเภทธุรกรรม พร้อมทั้งสมมติฐานที่ปรับใช้ในการกําหนดราคา เว้นแต่ประเภทธุรกรรมนั้นเป็นประเภทธุรกรรมตาม (ก) ที่ไม่มีนัยสําคัญ
(ค) รายการสัญญาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแต่ละประเภทธุรกรรมที่ต้องจัดทําคําอธิบายตาม (ข) พร้อมสรุปสาระสําคัญของสัญญารวมถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับราคาตามสัญญา
(ง) บทวิเคราะห์หน้าที่งาน สินทรัพย์ และความเสี่ยงของผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานและคู่สัญญาที่เกี่ยวกับประเภทธุรกรรมที่ต้องจัดทําคําอธิบายตาม (ข) และความแตกต่างในหน้าที่งาน สินทรัพย์ และความเสี่ยงจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีหากปรากฏเช่นว่านั้น
(จ) ข้อมูลทางการเงินที่ใช้ในการปรับใช้วิธีการกําหนดราคาที่เลือกใช้สําหรับแต่ละประเภทธุรกรรมที่ต้องจัดทําคําอธิบายตาม (ข)
(ฉ) วิธีการกําหนดราคาที่ผู้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานเลือกใช้สําหรับแต่ละประเภทธุรกรรม ต้องจัดทําคําอธิบายตาม (ข) พร้อมทั้งเหตุผลในการเลือกใช้วิธีการดังกล่าวและการไม่เลือกใช้วิธีการกําหนดราคาอื่นที่ได้รับการรับรองแล้ว และระบุคู่สัญญาของธุรกรรมที่ถูกควบคุมที่ใช้ในการทดสอบวิธีการกําหนดราคาหากมีความจําเป็นตามแต่ละวิธีการกําหนดราคาที่เลือกใช้นั้น
(ช) รายการและคําอธิบายธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมที่อาจเทียบเคียงกันได้หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นอิสระที่อาจเทียบเคียงกันได้และข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดทางการเงินของธุรกรรมหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น รวมถึงช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดําเนินการโดยอิสระ พร้อมทั้งคําอธิบายถึงวิธีค้นหาและแหล่งข้อมูลในการค้นหาธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นอิสระที่อาจเทียบเคียงกันได้ดังกล่าว
(3) เอกสารหรือหลักฐานอื่นนอกเหนือจาก (1) และ (2) ที่แสดงข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการวิเคราะห์ข้อกําหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามที่เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีมีหนังสือแจ้งความให้ยื่นเพิ่มเติม
ข้อ ๓ ผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานไม่ต้องยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลตามข้อ 2 (2) (ช) ก็ได้ หากในรอบระยะเวลาบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินระบุในหนังสือแจ้งความให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานตามประกาศนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงตามกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าร้อยล้านบาท
(ข) ไม่มีธุรกรรมที่ถูกควบคุมกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราที่แตกต่างจากผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐาน
(ค) ไม่มีธุรกรรมที่ถูกควบคุมกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ และ
(ง) ไม่มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ ยกมาเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และคู่สัญญาของธุรกรรมที่ถูกควบคุมต้องไม่มีผลขาดทุนสุทธิในลักษณะเช่นว่านั้นด้วย
(2) กรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานได้ร้องขอให้การจัดทําข้อตกลงการกําหนดราคาล่วงหน้าตามสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศไทยหรือสํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้มีการจัดทําข้อตกลงดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของต่างประเทศหรือสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศตามที่ผู้มีหน้าที่ยื่นเอกสารหรือหลักฐานร้องขอแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงการกําหนดราคาล่วงหน้าดังกล่าวที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีตามกําหนดเวลาของข้อตกลงนั้น
ข้อ ๔ การยื่นเอกสารหรือหลักฐานตามข้อ 2 ให้ทําเป็นภาษาไทย และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินผู้ส่งหนังสือแจ้งความตามมาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ณ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นตั้งอยู่
ข้อ ๕ การยื่นเอกสารหรือหลักฐานตามข้อ 4 ให้ถือว่าสมบูรณ์ เมื่อได้รับเลขรับการยื่นเอกสารหรือหลักฐานนั้นจากกรมสรรพากร
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,115 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 408) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 408)
เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความ
ตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report)
---------------------------------------------
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแจ้งข้อความตามประกาศนี้ต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล” หมายความว่า ความตกลงที่รัฐบาลไทยหรือสํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้เข้าผูกพันเป็นคู่สัญญาหรือภาคีซึ่งมีข้อบัญญัติให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรเพื่อประโยชน์ในการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร
“ผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษี” หมายความว่า ผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล
“กลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติ” หมายความว่า
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองรายขึ้นไปที่มีความสัมพันธ์กันด้านการควบคุมตามหลักการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปเกี่ยวกับงบการเงินรวม และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมากกว่าหนึ่งประเทศหรือเขตเศรษฐกิจหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศหรือเขตเศรษฐกิจหนึ่งและได้กระทํากิจการผ่านสถานประกอบการถาวรในต่างประเทศหรือเขตเศรษฐกิจอื่นด้วย หรือ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศหรือเขตเศรษฐกิจหนึ่งที่ได้กระทํากิจการผ่านสถานประกอบการถาวรในต่างประเทศหรือเขตเศรษฐกิจอื่นด้วย
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุด” หมายความว่า
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการควบคุมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาตินั้น อันเป็นเหตุให้มีหน้าที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมตามหลักการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีหรือพึงมีหน้าที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมหากหลักทรัพย์ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากประเทศหรือเขตเศรษฐกิจดังกล่าวไม่มีตลาดหลักทรัพย์และไม่ถูกควบคุมในลักษณะเช่นว่านั้นโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นใดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติดังกล่าว หรือ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์ด้านการควบคุมตามหลักการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปตาม (1) กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้กระทํากิจการผ่านสถานประกอบการถาวรในต่างประเทศหรือเขตเศรษฐกิจอื่น
“ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุด” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติที่ได้รับการแต่งตั้งโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดให้มีหน้าที่แจ้งข้อความตามประกาศนี้แทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดนั้นในประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษี
“เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล
“ความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล” หมายความว่า ความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจที่กําหนดให้ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจซึ่งเป็นคู่สัญญาหรือภาคีสมาชิกต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับรายงานตามประกาศนี้โดยอัตโนมัติกับคู่สัญญาหรือภาคีสมาชิกอื่น
“ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลล้มเหลว” หมายความว่า กรณีที่ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจหนึ่งมีความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความตกลงนั้นมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจนั้นไม่สามารถส่งรายงานข้อมูลตามประกาศนี้ให้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากเหตุขัดข้องที่ไม่ได้กําหนดไว้ในความตกลงดังกล่าว
“รายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report)” หมายความว่า รายงานข้อมูลของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแต่ละรายของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาตินั้นและสถานประกอบการถาวรแต่ละแห่งของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาตินั้น ตามรายการข้อมูลที่ปรากฏตามแบบรายงานข้อมูลแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังต่อไปนี้ของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติมีหน้าที่แจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ตาม Country-by-Country Reporting XML Schema ที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organisation for Economic Co-operation and Development) กําหนด เป็นภาษาอังกฤษต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทํากิจการในประเทศไทย หากปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติไม่มีหน้าที่แจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ในประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษี
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่มีความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล แต่ไม่มีความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศไทย หรือมีความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจดังกล่าวแต่ยังไม่มีผลใช้บังคับสําหรับการแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ของรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องรายงานข้อมูล หรือ
(ค) ปรากฏเหตุของระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลล้มเหลว
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 2 (2) ได้รับยกเว้นหน้าที่แจ้งข้อความตามข้อ 2 หากปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติได้แต่งตั้งตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดเพื่อแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่ตัวแทนดังกล่าวเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษี
(2) ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (1) เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีมีกฎหมายกําหนดหน้าที่การแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจ
(3) ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (1) เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีมีความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศไทยซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วภายในวันสุดท้ายของกําหนดเวลาการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ตามประกาศนี้
(4) เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (1) เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีไม่ได้แจ้งเหตุของระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลล้มเหลวต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศไทย
(5) ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (1) ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่ตนเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีถึงสถานะการเป็นตัวแทนดังกล่าว และ
(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 2 (2) นั้นได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศไทยเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (1)
ข้อ ๔ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติที่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในต่างประเทศหรือเขตเศรษฐกิจอื่นอาจแต่งตั้งตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดดังกล่าวแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.50 ตามข้อ 2 ก็ได้หากปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
(1) ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีไม่มีกฎหมายกําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดดังกล่าวมีหน้าที่แจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report)
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (1) ได้แต่งตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแจ้งการแต่งตั้งดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศไทย และ
(3) รอบระยะเวลาบัญชีของตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (2) ตรงกันกับรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุด
ข้อ ๕ ประกาศนี้ไม่ให้ใช้บังคับกับกรณีที่กลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติที่มีรายได้รวมทั้งหมด (Consolidated Group Revenue) สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องรายงานข้อมูลตามประกาศนี้ ดังต่อไปนี้
(1) น้อยกว่า 28,000 ล้านบาท หรือ
(2) น้อยกว่าจํานวนเฉลี่ยของ 28,000 ล้านบาทซึ่งคํานวณตามจํานวนวันของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นน้อยกว่าสิบสองเดือน
การคํานวณรายได้ตามวรรคหนึ่งที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทยให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อสําหรับเงินโอนซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศไว้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่รายงานข้อมูลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติ ถ้าไม่มีอัตราดังกล่าว ให้ใช้อัตราซื้อในตลาดต่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศไว้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องรายงานข้อมูลตามประกาศนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติทั้งนี้ หากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนสุดท้ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้สําหรับอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ๆ ก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ ๖ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับสําหรับการแจ้งข้อความสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564
เอกนิตินิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิตินิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,116 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น/ย/ข. 3/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น/ย/ข. 3/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหาร
ความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทาง
ในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
###
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(2) ข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 และข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 26/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(3) ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(4) ข้อ 2(1) และ (3) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(5) ข้อ 4(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(6) ข้อ 6(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 27/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(7) ข้อ 2(1) และ (2) และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 42/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ #### ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(2) “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์หรือทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(3) “บุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของบัญชีในทอดสุดท้ายหรือมีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสําคัญในทอดสุดท้ายจากการทําธุรกรรมของลูกค้า
(4) “บุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีอํานาจควบคุมหรือตัดสินใจในทอดสุดท้ายเกี่ยวกับบัญชีหรือการทําธุรกรรมของลูกค้า
(5) “ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย” หมายความว่า ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยตามกฎหมายฟอกเงิน
(6) “กฎหมายฟอกเงิน” หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับและคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
(7) “แนวทางที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่าแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์เป็นสมาชิกและแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว
(8) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ มิให้นําความในประกาศนี้มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง หากหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติให้สถาบันการเงินนั้นปฏิบัติในลักษณะเดียวกับหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและกาสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามประกาศนี้
หมวด ๑ ระบบการบริหารความเสี่ยง
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นลายลักษณ์อักษร
(1) การพิจารณารับลูกค้าหรือการทําธุรกรรมกับลูกค้า
(2) การพิจารณาระงับการทําธุรกรรมกับลูกค้าเป็นการชั่วคราว การพิจารณายุติความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือการดําเนินการอื่นใด ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ทราบว่าลูกค้าเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายฟอกเงิน หรือในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้ในสาระสําคัญ
(3) การรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (know your client/client due diligence หรือ KYC/CDD)
(4) การรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (reporting of suspicious transactions) ตามกฎหมายฟอกเงิน
(5) การเก็บรักษาเอกสารหลักฐานภายใต้กระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าและรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของลูกค้า
นโยบายที่บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีขึ้นตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท เว้นแต่กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีลักษณะโครงสร้างการถือหุ้นและการบริหารงานเป็นแบบกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (financial conglomerate) ซึ่งมีการกําหนดนโยบายการบริหารงานและการกํากับดูแลบริษัทหลักทรัพย์เสมือนเป็นสายธุรกิจหนึ่ง (business unit) ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวตามที่สํานักงานยอมรับ
ขั้นตอนการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอที่บุคลากรและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิบัติได้ และสามารถรองรับการให้บริการหรือการติดต่อกับลูกค้าที่ไม่ได้มาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของบริษัทในขณะที่ขอเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์หรือทําธุรกรรมในครั้งแรก (non-face to face) รวมทั้งสามารถรองรับการทําธุรกรรมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้
ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องทบทวนนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามข้อ 4ตามรอบระยะเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดอย่างเหมาะสม
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีบุคลากร (anti-money laundering officer)เพื่อทําหน้าที่ให้คําปรึกษา ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้การปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปตามประกาศนี้และกฎหมายฟอกเงิน รวมทั้งนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัท ตลอดจนแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการรายงานผลการดําเนินการดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการอบรมให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้การปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปตามประกาศนี้และกฎหมายฟอกเงิน รวมทั้งนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัท ตลอดจนแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับรูปแบบใหม่ ๆ ของการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ทั้งนี้ ตามรอบระยะเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดอย่างเหมาะสม
หมวด ๒ การรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้ารวมทั้งบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายและบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย เมื่อบริษัทหลักทรัพย์มีการพิจารณาเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับลูกค้าหรือทําธุรกรรมกับลูกค้าเป็นครั้งแรกในกรณีที่ไม่มีการเปิดบัญชี (initial KYC/CDD) และตลอดช่วงระยะเวลาที่ลูกค้ามีการทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ (on-going KYC/CDD)
ข้อ ๙ ในการดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังนี้
(1) ระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า (client identification) รวมทั้งบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายและบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย
(2) สอบยันข้อมูลที่ได้รับกับหลักฐานหรือแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ (client verification)
(3) จดบันทึกข้อมูลที่ได้รวบรวมมาและความเห็นภายใต้กระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ในการระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าตาม (1) ให้บริษัทหลักทรัพย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล สัญชาติ อาชีพ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ ชื่อและนามสกุลของบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายและบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย ชื่อนิติบุคคล โครงสร้างการถือหุ้นของนิติบุคคล ประเภทธุรกิจ สถานที่จัดตั้ง สถานที่ประกอบธุรกิจ ฐานะการเงิน วัตถุประสงค์ในการทําธุรกรรม รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงตัวตนของลูกค้าดังกล่าวทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันในขณะที่ดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และในกรณีที่ลูกค้าเป็นบุคคลธรรมดาบริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีเอกสารแสดงตัวตนของลูกค้าที่ปรากฏภาพถ่ายของลูกค้าในเอกสารดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๐ ในการดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
ลูกค้าตามข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดกลุ่มลูกค้า กําหนดขอบเขตและระดับความเข้มงวดในการดําเนินการตามข้อ 9(1) และ (2) สําหรับลูกค้าแต่ละรายแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า (risk-sensitive basis)
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่ให้ลูกค้าเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์หรือทําธุรกรรมกับลูกค้าโดยใช้ชื่อแฝงหรือชื่อปลอม
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ลูกค้าเป็นสถาบันการเงินที่เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อบุคคลที่ใช้บริการของสถาบันการเงินดังกล่าวหลายรายหรือหลายทอด (omnibus account) บริษัทหลักทรัพย์อาจดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงินนั้นโดยไม่ต้องดําเนินการเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวตนของบุคคลที่อยู่ภายใต้บัญชีดังกล่าว และในกรณีที่เป็นสถาบันการเงินในต่างประเทศ (cross border omnibus account) บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการประเมินความรัดกุมเพียงพอของมาตรการในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงินในต่างประเทศนั้นก่อนพิจารณาเสนอขออนุมัติการเปิดบัญชีหรือการทําธุรกรรมในครั้งแรกต่อผู้บริหารระดับสูงของบริษัท
ข้อ ๑๓ บริษัทหลักทรัพย์อาจมอบหมายให้สถาบันการเงินอื่นทําการพบลูกค้าแทนการปรากฏตัวของลูกค้าต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ (face-to-face contact) ในการขอเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ในครั้งแรกภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) สถาบันการเงินดังกล่าวอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการที่มีการกําหนดมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายในระดับที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามที่สํานักงานยอมรับ เช่น ข้อแนะนําของ Financial Action Task Force หรือ FATF เป็นต้น
(2) สถาบันการเงินดังกล่าวมีการปฏิบัติตามมาตรการในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างรัดกุมเพียงพอ และ
(3) บริษัทหลักทรัพย์ได้จัดให้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับสถาบันการเงิน ดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินนั้นทําหน้าที่พบลูกค้า รวมทั้งตรวจสอบเอกสารชุดต้นฉบับว่าถูกต้องตรงกับชุดสําเนาซึ่งใช้เป็นเอกสารประกอบการขอเปิดบัญชีหรือการทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ และทําการจัดส่งเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการพบลูกค้าให้แก่บริษัทหลักทรัพย์เมื่อได้รับการร้องขอโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องติดตามข้อมูลที่มีการเปิดเผยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งจัดให้มีระบบฐานข้อมูลซึ่งมีการปรับปรุงอย่างเหมาะสมหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานในการเข้าถึงฐานข้อมูลภายนอก เกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) รายชื่อบุคคลที่เป็นผู้กระทําความผิดหรือมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่กระทําความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(2) รายชื่อบุคคลที่มีสถานะหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมือง (politically exposed persons หรือ PEPs) หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือต่างประเทศ
(3) รายชื่อเขตดินแดนหรือประเทศที่ไม่มีมาตรการหรือประยุกต์ใช้ข้อแนะนําของ FATF ในการกําหนดมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมถึงเขตดินแดนหรือประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว (non-cooperative countries & territories หรือ NCCTs)
ทั้งนี้ ข้อมูลตาม (1) (2) และ (3) ต้องเป็นไปตามแนวทางที่กําหนดโดยหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงิน
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้ารวมทั้งบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายหรือบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายดังต่อไปนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ลูกค้าอยู่ในกลุ่มลูกค้าที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษและต้องดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในลักษณะที่เข้มงวดมากกว่าปกติ (enhanced KYC/CDD)
(1) ลูกค้าเป็นบุคคลที่มีรายชื่อตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลตามข้อ 14(1) หรือ (2) หรือมีสัญชาติ ถิ่นที่อยู่ แหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการทําธุรกรรม การจัดตั้ง สถานที่ติดต่อ หรือสถานที่ประกอบธุรกิจ อยู่ในเขตดินแดนหรือประเทศที่มีรายชื่อตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลตามข้อ 14(3)
(2) ลูกค้าเป็นนิติบุคคลในกลุ่มบริษัทที่มีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการบริหารงานซับซ้อนในลักษณะที่อาจทําให้ไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า บุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย หรือบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายได้
(3) ลูกค้าเป็นกองทุนจากต่างประเทศที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือไม่ได้ผ่านขั้นตอนการอนุมัติจัดตั้งจากหน่วยงานทางการ
(4) ลูกค้าไม่ให้ความร่วมมือในการจัดส่งเอกสารหลักฐานที่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือเอกสารหลักฐานอื่นใดภายใต้กระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า หรือจัดส่งเอกสารหลักฐานซึ่งมีข้อพิรุธอย่างเห็นได้ประจักษ์ว่าไม่ใช่เอกสารหลักฐานที่ออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกเอกสารหลักฐานนั้น
(5) ลูกค้าเคยถูกบริษัทหลักทรัพย์รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
(6) ลูกค้าประกอบอาชีพหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงตามที่กําหนดโดยหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงิน
(7) ลูกค้าอยู่ในกลุ่มลูกค้าที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษตามที่กําหนดโดยหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงินหรือตามแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
การดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในลักษณะที่เข้มงวดมากกว่าปกติตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง การขยายขอบเขตในการรวบรวมข้อมูลและการสอบยันข้อมูลเพิ่มเติมจากการดําเนินการตามปกติ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการทําธุรกรรม การกําหนดให้ต้องขออนุมัติหรือรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงของบริษัทการจัดให้ลูกค้าหรือบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายหรือบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายมาแสดงตนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ การประเมินมาตรการในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงินที่เปิดบัญชีหรือทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อบุคคลที่ใช้บริการของสถาบันการเงินดังกล่าวหลายรายหรือหลายทอด (omnibus account) หรือการติดตามการทําธุรกรรมของลูกค้าอย่างใกล้ชิด
ข้อ ๑๖ ภายใต้บังคับข้อ 15 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าดังต่อไปนี้
บริษัทหลักทรัพย์อาจดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในลักษณะที่เข้มงวดน้อยกว่าปกติได้ (reduced KYC/CDD)
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้ารวมทั้งบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายและบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนไว้อย่างเพียงพอแล้ว
(2) ลูกค้าเป็นสถาบันการเงินหรือกองทุนที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการที่มีการกําหนดมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายในระดับที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามที่สํานักงานยอมรับ และสถาบันการเงินหรือกองทุนดังกล่าวมีการปฏิบัติตามมาตรการในการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างรัดกุมเพียงพอ
(3) ลูกค้าเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4) ลูกค้ามีลักษณะหรืออยู่ในประเภทซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๑๗ ในการดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตลอดช่วงระยะเวลาที่ลูกค้ามีการทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ (on-going KYC/CDD) บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการปฏิบัติงานในการตรวจสอบและทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เดิมมีความถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการตรวจสอบและทบทวนข้อมูลเดิมเกี่ยวกับลูกค้าเป็นประจําตามรอบระยะเวลาที่แตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า
(2) ดําเนินการตรวจสอบและทบทวนข้อมูลเดิม รวมถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพิ่มเติม ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
(ก) มูลค่า รูปแบบ เงื่อนไข วิธีการ การชําระเงินหรือการรับชําระเงิน ในการทําธุรกรรมของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ (transaction monitoring)
(ข) มีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน ความเป็นปัจจุบัน ความน่าเชื่อถือ หรือความเพียงพอ ของข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่บริษัทหลักทรัพย์ได้มาจากการดําเนินการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
(ค) บริษัทหลักทรัพย์รู้หรือควรรู้จากระบบฐานข้อมูลที่จัดให้มีขึ้นตามข้อ 14 ว่าลูกค้าเป็นบุคคลที่มีรายชื่อตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลตามข้อ 14(1) หรือ (2) หรือมีสัญชาติ ถิ่นที่อยู่ แหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการทําธุรกรรม การจัดตั้ง สถานที่ติดต่อ หรือสถานที่ประกอบธุรกิจ อยู่ในเขตดินแดนหรือประเทศที่มีรายชื่อตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลตามข้อ 14(3)
ระบบการปฏิบัติงานในการตรวจสอบและทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าตามที่กําหนดใน (2) ต้องเอื้ออํานวยต่อการดําเนินการติดตามและทบทวนข้อมูลเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ตาม (ก) และ (ข) ได้โดยเร็วภายหลังข้อเท็จจริงปรากฏหรือเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และต้องกําหนดให้มีการติดตามและทบทวนข้อมูลเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ตาม (ค)ได้ตามรอบระยะเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนด
ให้บริษัทหลักทรัพย์จดบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่งไว้เป็นหลักฐาน และในกรณีที่ข้อมูลของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ บริษัทหลักทรัพย์ต้องพิจารณาดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 9(1) และ (2) ใหม่ตามความจําเป็นและต้องทบทวนการจัดกลุ่มลูกค้าให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของลูกค้านั้นด้วย (re-classification of client)
ข้อ ๑๘ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้ารายเดิมทุกรายให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเว้นแต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าลูกค้า บุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย หรือบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มลูกค้าที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษตามที่กําหนดไว้ในข้อ 15 บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าให้แล้วเสร็จตามรอบระยะเวลาซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
หมวด ๓ การรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
ข้อ ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ในการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงิน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดลักษณะของธุรกรรมที่ควรจัดเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
(2) จัดให้มีระบบและขั้นตอนในการติดตามธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์
(3) จัดให้มีขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณารายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่เหมาะสม
ข้อ ๒๐ บริษัทหลักทรัพย์อาจกําหนดให้การทําธุรกรรมของลูกค้าที่มีลักษณะดังต่อไปนี้หรือธุรกรรมอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยซึ่งต้องพิจารณาความจําเป็นในการรายงานต่อหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงิน
(1) ลูกค้าขอเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์หรือทําธุรกรรมในชื่อของบุคคลอื่นหรือพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อของตนเองในการเปิดบัญชีหรือทําธุรกรรม
(2) ลูกค้าขอเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันหลายบัญชีโดยไม่มีเหตุอันสมควรในลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีเจตนาอําพรางให้เสมือนเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลหลายราย
(3) ลูกค้าพยายามหลบเลี่ยงการมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ร้องขอภายใต้กระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
(4) ลูกค้าทําธุรกรรมในมูลค่าที่มีนัยสําคัญภายหลังจากที่ไม่มีความเคลื่อนไหวของธุรกรรมต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
(5) ลูกค้าทําธุรกรรมในมูลค่าที่มีนัยสําคัญโดยไม่สอดคล้องกับข้อมูลฐานะการเงินของลูกค้าที่บริษัทมีอยู่ และลูกค้าไม่สามารถแสดงแหล่งที่มาของเงินได้อย่างชัดเจน
(6) ลูกค้าทําธุรกรรมที่ไม่มีความสมเหตุสมผลหรือไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลในเชิงเศรษฐศาสตร์ เช่น การขอทําธุรกรรมเร่งด่วนในมูลค่าที่มีนัยสําคัญเป็นประจํา การทําธุรกรรมที่เป็นผลให้ลูกค้าขาดทุนอย่างมีนัยสําคัญเป็นประจําโดยลูกค้าไม่สนใจกับผลขาดทุนดังกล่าว การทําธุรกรรมหรือเงื่อนไขการทําธุรกรรมที่มีความซับซ้อนกว่าปกติโดยไม่มีเหตุจําเป็น เป็นต้น
(7) ลูกค้าส่งคําสั่งซื้อและขายหลักทรัพย์เดียวกันในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันในลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีเจตนาให้คําสั่งดังกล่าวมีการจับคู่ซื้อขายกัน (matched order) โดยลูกค้าไม่สามารถชี้แจงเหตุผลได้อย่างชัดเจน
(8) ลูกค้านําเงินสดในจํานวนที่มีนัยสําคัญมาฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์โดยไม่มีคําสั่งหรือไม่ได้แสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าจะให้นําเงินดังกล่าวไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือไม่อย่างไร หรือแม้มีคําสั่งให้นําเงินดังกล่าวไปลงทุนในหลักทรัพย์แต่ก็เป็นจํานวนเล็กน้อยเมื่อเทียบสัดส่วนกับจํานวนเงินที่ฝากอยู่ทั้งหมด
(9) ลูกค้ามีพฤติกรรมในการชําระเงินหรือรับชําระเงินในการทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ในลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการทําธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบบัญชีของธนาคาร หรือมีการชําระเงินสดเป็นเช็คธนาคาร (cashier’s cheque) เป็นประจํา
(10) ลูกค้ามีการชําระเงินหรือรับชําระเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีบุคคลอื่น หรือโอนหรือรับโอนทรัพย์สินจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่บุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมในทอดสุดท้ายหรือบุคคลที่มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมในทอดสุดท้าย ผ่านบริษัทหลักทรัพย์เป็นประจําหรือในมูลค่าที่มีนัยสําคัญโดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลได้อย่างชัดเจน
(11) ลูกค้าปฏิเสธที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริง หรือไม่ให้ความร่วมมือในการจัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือเอกสารหลักฐานอื่นใดภายใต้กระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า หรือจัดส่งเอกสารหลักฐานซึ่งมีข้อพิรุธอย่างเห็นได้ประจักษ์ว่าไม่ใช่เอกสารหลักฐานที่ออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกเอกสารหลักฐานนั้น
(12) ลูกค้าเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายฟอกเงินซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากกระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ทั้งนี้ ไม่ว่าการมีส่วนเกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าวจะเกิดขึ้นในประเทศหรือต่างประเทศ
(13) ลูกค้าขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยในลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการถูกรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย หรือลูกค้าขอให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่รายงานการทําธุรกรรมของลูกค้า
ข้อ ๒๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้บุคลากรและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานให้แก่บริษัทหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือการรายงานข้อมูลอื่นใดต่อหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงิน ให้ลูกค้าหรือผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
หมวด ๔ การเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
ข้อ ๒๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานรวมทั้งบันทึกข้อมูลและความเห็นภายใต้กระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ตลอดจนรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของลูกค้าไว้ให้ครบถ้วนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้โดยเร็วเมื่อได้รับการร้องขอ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจให้อยู่ในระดับที่จะไม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจและความน่าเชื่อถือของบริษัทหลักทรัพย์ ประกอบกับผู้กระทําความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (“กฎหมายฟอกเงิน”) อาจใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางหนึ่งในการฟอกทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด ซึ่งการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินเพื่อบังคับตามกฎหมายดังกล่าว เช่น การยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เป็นต้น เป็นความเสี่ยงประการหนึ่งของบริษัทหลักทรัพย์นอกจากนี้ การที่บริษัทหลักทรัพย์ถูกกําหนดให้มีหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงิน อาทิเช่น การจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทําธุรกรรม การรายงานธุรกรรมตามที่กฎหมายกําหนดต่อหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงิน เป็นต้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งกับบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากผลของการปฏิบัติฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องครบถ้วนย่อมก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมาย สํานักงานจึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของภาคธุรกิจหลักทรัพย์ จากกาใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตลอดจนส่งเสริมให้บริษัทหลักทรัพย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล | 2,117 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 19/2550 เรื่อง แบบคำขอรับความเห็นชอบการประกอบธุรกิจการซื้อขาย สินค้าเกษตรล่วงหน้าโดยผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 19/2550
เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบการประกอบธุรกิจการซื้อขาย
สินค้าเกษตรล่วงหน้าโดยผู้ประกอบธุรกิจ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบการประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าล่วงหน้า นายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ที่ปรึกษาการซื้อขายล่วงหน้า ผู้บริหารธุรกิจร่วมทุนซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการการซื้อขายล่วงหน้า หรือตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,118 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 20/2550 เรื่อง การกำหนดมูลค่าและระยะเวลาการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สย. 20/2550
เรื่อง การกําหนดมูลค่าและระยะเวลาการเสนอขาย
หุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 3/2550 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มูลค่าของหุ้นกู้ระยะสั้นและตั๋วเงินระยะสั้นที่บริษัทจะขออนุญาตเสนอขายในลักษณะจํากัดมูลค่าการเสนอขาย เมื่อรวมกับมูลค่าของหุ้นกู้ระยะสั้นและตั๋วเงินระยะสั้นที่บริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว ในรอบระยะเวลาหกเดือนใด ๆ จะต้องไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท
ข้อ ๒ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นโดยมีการจํากัดมูลค่าตามข้อ 1 ต้องเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,119 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 25/2550 เรื่อง การกำหนดอัตราหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 25/2550
เรื่อง การกําหนดอัตราหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน
(1) ข้อ 1(9) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากัหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2549 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(2) ข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 67/2547 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 9/2550 เรื่อง การเรียกและการวางหลักประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 22/2549 เรื่อง การกําหนดอัตราหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของตัวแทนซื้อขายสัญญา ให้จํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ เป็นไปตามอัตราหรือมูลค่าขั้นต่ําที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด หรือมูลค่าที่คํานวณได้ตามวิธีการคํานวณหลักประกันที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
ข้อ ๔ ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเริ่มต้น (initial margin) ในอัตราหรือมูลค่าไม่ต่ํากว่าที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด หรือไม่ต่ํากว่ามูลค่าที่คํานวณได้ตามวิธีการคํานวณหลักประกันที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
(2) เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่ม เมื่อหลักประกันของลูกค้ารายนั้นลดลงต่ํากว่าอัตราหรือมูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ (maintenance margin) ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด หรือต่ํากว่ามูลค่าที่คํานวณได้ตามวิธีการคํานวณหลักประกันรักษาสภาพที่ศูนย์ซื้อขายสัญญากําหนด
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,120 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 409) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 409)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 726) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้พ้นโทษ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจําเนื่องจากครบกําหนดโทษตามหมายศาล ลดวันต้องโทษจําคุกหรือพักการลงโทษ
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 726) พ.ศ. 2564 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) รับผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจําเป็นระยะเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัว เข้าทํางาน
(2) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการรับผู้พ้นโทษเข้าทํางานที่จะนํามาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ เป็นรายเดือน ซึ่งมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(3) ต้องมีหลักฐานประกอบการปล่อยตัวของผู้พ้นโทษดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(ก) หนังสือสําคัญการปล่อยตัว (ร.ท.25)
(ข) หนังสือสําคัญปล่อยตัวลดวันต้องโทษจําคุก (ล.ว.ท.3)
(ค) หนังสือสําคัญพักการลงโทษ (พ.7)
(ง) หนังสือสําคัญพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ (พ.8)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,121 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 28/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่
ของผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(1) และ (2) ข้อ 6 และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน” หมายความว่า ทะเบียนรายชื่อบุคคลที่สํานักงานได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการลงทุน
“ทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ทะเบียนรายชื่อบุคคลที่สํานักงานได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุน
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวม หรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้การยอมรับ
“สํานักงาน ก.ล.ต.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ การแต่งตั้งผู้จัดการลงทุน
ข้อ ๓ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นผู้จัดการลงทุนได้ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน และบุคคลนั้นได้รับการแต่งตั้งจากผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนดังกล่าวที่ได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์เฉพาะกรณีตามข้อ 6(2) ได้เพียงหนึ่งรายเท่านั้น
ข้อ ๔ ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดการลงทุนดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ (web site) ของสํานักงาน ก.ล.ต.
(1) รายงานการแต่งตั้งผู้จัดการลงทุน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง
(2) รายงานการสิ้นสุดการแต่งตั้งผู้จัดการลงทุน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่สิ้นสุดการแต่งตั้ง
ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดเผยรายชื่อผู้จัดการลงทุนของแต่ละกองทุนรวมในรายงานหรือเอกสารที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และแสดงรายชื่อดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ (web site) ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปรับปรุงรายชื่อในเว็บไซต์ (web site) ให้เป็นปัจจุบันภายในสิบสี่วันนับแต่มีการเปลี่ยนแปลง
หมวด ๒ ผู้มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน
ข้อ ๕ บุคคลใดประสงค์จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน ให้บุคคลนั้นยื่นคําขอความเห็นชอบตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซด์ (web site) ของสํานักงาน ก.ล.ต. และสํานักงาน ก.ล.ต. จะให้ความเห็นชอบต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน และมีคุณสมบัติตามข้อ 6 รวมทั้งไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7
สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง
สํานักงาน ก.ล.ต. อาจแจ้งให้ผู้ขอรับความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด หากบุคคลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด สํานักงาน ก.ล.ต. จะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งอีกต่อไป
ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดระยะเวลาที่ผู้ได้รับความเห็นชอบให้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน ต้องเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังได้รับความเห็นชอบ โดยเป็นการอบรมตามหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรม ทั้งนี้ หากผู้ได้รับความเห็นชอบไม่เข้ารับการอบรมตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ดังกล่าว ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบให้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนเป็นอันสิ้นสุดลง และสํานักงาน ก.ล.ต. จะถอดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน
ข้อ ๖ บุคคลใดจะได้รับความเห็นชอบให้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน บุคคลนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปหรือตามหลักเกณฑ์เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
(1) หลักเกณฑ์ทั่วไป
(ก) ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ในกรณีที่ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้นั้นมาแล้วเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าได้เข้ารับการอบรมความรู้ดังกล่าวที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1. เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยการเข้ารับการอบรมนั้นต้องไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ทั้งนี้ การอบรมดังกล่าวต้องเป็นการอบรมอย่างต่อเนื่องจากการอบรมครั้งก่อน ๆ ที่เป็นการเข้ารับการอบรมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบสองปีปฏิทินนับแต่ปีปฏิทินที่ทดสอบผ่านหลักสูตรข้างต้น หรือ
2. เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรเตรียมความรู้ (full course) เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยการเข้ารับการอบรมนั้นต้องไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
(ข) มีคุณสมบัติหรือประสบการณ์ในการทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับวุฒิบัตร (ระดับสาม) ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA)
2. ทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ตามโครงการพัฒนาบุคลากรด้านอนุพันธ์ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งจัดโดยสถาบันที่สํานักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบ หรือ
3. ได้รับอนุญาตจากองค์กรกํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของประเทศที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ให้ทําหน้าที่ในทํานองเดียวกันกับการเป็นผู้จัดการลงทุน
(2) หลักเกณฑ์เฉพาะกรณี
(ก) เป็นผู้จัดการของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับรองลงมาจากผู้จัดการจนถึงระดับผู้อํานวยการฝ่าย ซึ่งตําแหน่งระดับดังกล่าวดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ข) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน (1)(ก) หรือในกรณีที่ไม่เคยทดสอบผ่านหลักสูตรความรู้ตาม (1)(ก) ต้องปรากฏว่าได้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรเตรียมความรู้ (full course) เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรม โดยการเข้ารับการอบรมนั้นต้องไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
ข้อ ๗ บุคคลที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามข้อ 5 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๘ ในการรักษาสถานภาพการมีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนดังกล่าวต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรม อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบสองปีปฏิทิน นับแต่ปีปฏิทินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.
(2) ยื่นคําขอรักษาสถานภาพโดยแสดงหลักฐานหรืออ้างอิงการเข้ารับการอบรมตาม (1) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ (web site) ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบมิได้ดําเนินการตาม (1) และ (2) ให้แล้วเสร็จภายในทุกรอบสองปีปฏิทินนับแต่ปีปฏิทินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง และสํานักงาน ก.ล.ต. จะถอดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน
ข้อ ๙ ในกรณีที่บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการลงทุน บุคคลดังกล่าวจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ใช้บังคับกับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 9 สํานักงาน ก.ล.ต. จะดําเนินการต่อบุคคลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๑ บุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนรายใดที่ไม่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนอีกต่อไป ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบให้บุคคลดังกล่าวมีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนเป็นอันสิ้นสุดลง และสํานักงาน ก.ล.ต.จะถอดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุน
ความในวรรคหนึ่งจะไม่ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นผู้จัดการกองทุนตามบทเฉพาะกาลแห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน โดยมิได้ปรากฏรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุน
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒ ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้จัดการลงทุนอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนตามประกาศนี้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสถานภาพ ให้ถือว่าวันที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้จัดการลงทุนตามที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบไว้ เป็นวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ (web site) ของสํานักงานยังไม่แล้วเสร็จ ให้การดําเนินการตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 8(2) กระทําโดยการยื่นในรูปเอกสารต่อสํานักงาน
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะต้องดําเนินการโดยผู้จัดการลงทุนที่มีคุณสมบัติและลักษณะที่เหมาะสม อันได้แก่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจธุรกิจ โดยบุคคลดังกล่าวต้องทําการลงทุนเพื่อลูกค้าด้วยความตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการเงินทุนเพื่อบุคคลอื่น และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,122 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 410) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการนำส่งภาษีและค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ ผู้ให้บริการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนำส่งเงินภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 410)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการนําส่งภาษีและค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่
ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษี
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 718) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระบบการนําส่งภาษีและค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษีค่าบริการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 406) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการนําส่งภาษีและค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษีลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564
“การแจ้งรายละเอียดการลงทุนและการจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 2 มกราคม 2562 แต่ไม่เกินวันที่ 4 สิงหาคม 2563 แจ้งรายละเอียดการลงทุนและการจ่ายเงินหลังการยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,123 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 31/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการขายชอร์ตหน่วยลงทุนอีทีเอฟโดยการยืมหรือซื้อหน่วยลงทุนนั้นมาเพื่อส่งมอบ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 31/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการขายชอร์ตหน่วยลงทุนอีทีเอฟ
โดยการยืมหรือซื้อหน่วยลงทุนนั้นมาเพื่อส่งมอบ
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2550 เรื่อง การขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมอีทีเอฟโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2550 เรื่อง การขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมอีทีเอฟโดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2550 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตหน่วยลงทุนอีทีเอฟตามคําสั่งของลูกค้าโดยการยืมหน่วยลงทุนนั้นมาส่งมอบ ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ที่กําหนดไว้สําหรับการขายชอร์ตตามคําสั่งของลูกค้า โดยอนุโลม
ข้อ ๒ ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตหน่วยลงทุนอีทีเอฟโดยการซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวจากบริษัทจัดการกองทุนรวมมาเพื่อส่งมอบ ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตเพื่อบัญชีตัวเอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่กองทุนรวมอีทีเอฟดังกล่าวอ้างอิงอยู่ในความครอบครองในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต โดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องมั่นใจว่าตนเองสามารถส่งมอบหน่วยลงทุนตามรายการที่ขายชอร์ตภายในระยะเวลาที่สํานักหักบัญชีกําหนด หรือภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ตกลงกัน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ด้วยการนําหุ้นนั้นไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนที่ต้องส่งมอบ
(2) ในกรณีที่เป็นการขายชอร์ตตามคําสั่งของลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องให้ลูกค้าแสดงว่าลูกค้ามีหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่กองทุนรวมอีทีเอฟดังกล่าวอ้างอิงอยู่ในความครอบครองในขณะที่มีคําสั่งขายชอร์ต โดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องมั่นใจว่าลูกค้าสามารถส่งมอบหน่วยลงทุนอีทีเอฟ
ตามรายการที่ขายชอร์ตภายในระยะเวลาที่สํานักหักบัญชีกําหนด หรือภายในระยะเวลาที่คู่สัญญาตกลงกัน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ด้วยการนําหุ้นนั้นไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนที่ต้องส่งมอบ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550
( นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล )
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้การขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟตามคําสั่งลูกค้าโดยการยืมหน่วยลงทุนดังกล่าวมาส่งมอบ และการขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟไม่ว่าเพื่อบัญชีตัวเองหรือตามคําสั่งของลูกค้าโดยการซื้อหน่วยลงทุนจากบริษัทจัดการกองทุนรวมมาส่งมอบ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด ดังนั้น จึงมีความจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้เพื่อรองรับให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถดําเนินธุรกรรมดังกล่าวได้ | 2,124 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 411) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 411)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 729) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 729) พ.ศ. 2564 ต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(1) เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์
(2) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(3) ยานพาหนะที่จดทะเบียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่มิใช่ได้มาเพื่อนําออกให้เช่า
(4) อาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย
ข้อ ๒ ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) (2) และ (3) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติมเปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ต้องเกิดจากการลงทุน หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ดังนี้
(1) ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 หรือ
(2) ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 หรือ
(3) กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกันทั้งสิ้นที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
การลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประเภทของทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลา ดังนี้
(1) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (1) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(2) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (2) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(3) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (3) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(4) ทรัพย์สินตามข้อ 1 (4) ให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลายี่สิบรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ข้อ ๔ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 เริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๕ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 3 และข้อ 4 จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะต้องมีอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดในทํานองเดียวกันที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําขึ้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,125 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 32/2550 เรื่อง รายชื่อผู้ออกพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 32/2550
เรื่อง รายชื่อผู้ออกพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ได้รับยกเว้น
การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
และร่างหนังสือชี้ชวน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3/1(2/1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2549 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2550 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศดังต่อไปนี้ เป็นผู้ออกพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
1. Asian Development Bank
2. International Finance Corporation
3. International Monetary Fund
4. International Bank for Reconstruction and Development
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,126 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 36/2550 เรื่อง การผ่อนผันเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 36/2550
เรื่อง การผ่อนผันเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและ
การคิดค่าธรรมเนียมการจัดการ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่ง และข้อ 18(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และข้อ 18(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมหน่วยลงทุน” หมายความว่า กองทุนรวมหน่วยลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 4(2)(ก) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๒ มิให้นําความในข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะการดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการรับผลประโยชน์ตอบแทนจากบุคคลใด ๆ อันเนื่องมาจากการใช้บริการของบุคคลดังกล่าวในการจัดการกองทุน
(1) กองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้นมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ
(2) โครงการหรือหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมหน่วยลงทุนได้เปิดเผยข้อมูลไว้ว่าบริษัทจัดการอาจได้รับเงินค่าตอบแทนจากกองทุนรวมต่างประเทศเนื่องจากการนําเงินของกองทุนรวมดังกล่าวไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ
(3) บริษัทจัดการได้นําเงินค่าตอบแทนที่ได้รับเนื่องจากการนําเงินของกองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้นไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ (loyalty fee หรือ rebate) เข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหน่วยลงทุน
หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการ (management fee) ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่โครงการหรือหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้นระบุว่าบริษัทจัดการจะไม่คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้บริษัทจัดการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการได้ ไม่เกินกว่าอัตราที่บริษัทจัดการจะได้รับเป็นค่าตอบแทนจากกองทุนรวมต่างประเทศ
(2) กรณีที่โครงการหรือหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้นระบุว่าบริษัทจัดการจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดการด้วย ให้บริษัทจัดการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการได้ไม่เกินกว่าผลรวมของอัตราค่าธรรมเนียมที่ระบุไว้ดังกล่าวและอัตราที่ได้รับเป็นค่าตอบแทนจากกองทุนรวมต่างประเทศ
ทั้งนี้ ให้ถือว่าข้อมูลที่บริษัทจัดการเปิดเผยเกี่ยวกับการรับเงินค่าตอบแทนจากกองทุนรวมต่างประเทศที่ปรากฏในโครงการหรือหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง (2) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 76 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการตามข้อ 2 วรรคสอง และที่มาของการคิดค่าธรรมเนียมดังกล่าวซึ่งสืบเนื่องจากการดําเนินการตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง (3) ตามวิธีการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหน่วยลงทุนดังกล่าวทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ และ
(2) ระบุไว้ในรายงานทุกรอบระยะเวลาหกเดือน และรายงานรอบปีบัญชี ของกองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับแบบแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากในการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหน่วยลงทุน บริษัทจัดการบางแห่งมีการรับเงินค่าตอบแทน (loyalty fee หรือ rebate) จากกองทุนรวมต่างประเทศนั้น แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ (management fee) จากกองทุนรวมหน่วยลงทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ใช้บังคับ เป็นผลให้บริษัทจัดการไม่สามารถรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวโดยตรงได้อีกต่อไป ในขณะที่บริษัทจัดการยังคงมีต้นทุนในการบริหารจัดการกองทุนรวมหน่วยลงทุนอยู่ จึงจําเป็นต้องผ่อนผันให้บริษัทจัดการสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการจากกองทุนรวมหน่วยลงทุนนั้นได้ และถือว่าข้อมูลเกี่ยวกับการรับเงินค่าตอบแทนที่บริษัทจัดการเปิดเผยไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือหนังสือชี้ชวน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการ | 2,127 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 242) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 242)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11
แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ และได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจํานวนเกิน 2,000,000 บาท หนี้สูญที่จะจําหน่ายนอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 2 แล้ว ต้องมีการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ได้ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง แต่ไม่ได้รับชําระหนี้ โดยปรากฏว่า
(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ หรือ
(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลําดับก่อนเป็นจํานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
(2) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้วและมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันสามารถแสดงได้ว่าได้มีการดําเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชําระหนี้ได้
(3) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย หรือในคดีที่ผู้ชําระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายโดยได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกหรือศาลได้มีคําสั่งปิดคดีแล้ว
การดําเนินการตาม (2) หรือ (3) ที่ได้กระทําในต่างประเทศหรือการดําเนินการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันที่ได้กระทําในต่างประเทศ ต้องมีเอกสารหลักฐานแห่งการดําเนินการที่ผู้มีอํานาจตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ออกให้ และหลักฐานดังกล่าวต้องได้รับการรับรองคําแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร
ข้อ 4 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจํานวนไม่เกิน 2,000,000 บาท หนี้สูญที่จะจําหน่ายนอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 2 แล้ว ต้องมีการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ได้ดําเนินการตามข้อ 3 (1) แล้ว
(2) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคําสั่งรับคําขอนั้นแล้ว
(3) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือในคดีที่ผู้ชําระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคําสั่งรับคําขอรับชําระหนี้นั้นแล้ว
ในกรณีตาม (2) หรือ (3) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ ต้องมีคําสั่งอนุมัติให้จําหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ให้นําความในข้อ 3 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การดําเนินการตาม (2) หรือ (3) หรือการดําเนินการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันที่ได้กระทําในต่างประเทศ ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ 5 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจํานวนไม่เกิน 200,000 บาท และมีลักษณะตามข้อ 2 การจําหน่ายหนี้สูญให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 หรือข้อ 4 ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชําระหนี้และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชําระ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 เมื่อดําเนินการครบถ้วนตาม ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วในเดือนภาษีใด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร นําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญ เว้นแต่กรณีตามข้อ 4 (2) (3) และข้อ 6 วรรคหนึ่ง ให้นําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้อง คําขอเฉลี่ยหนี้ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคําสั่งรับคําขอรับชําระหนี้หรือศาลได้มีคําสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการดําเนินการที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ของเดือนภาษีถัดจากวันที่ประกาศในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,128 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข/น. 37/2550 เรื่อง การผ่อนผันการคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่ลงทุนในตราสารแห่งทุนที่ออกโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สข/น. 37/2550
เรื่อง การผ่อนผันการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ที่ลงทุนในตราสารแห่งทุนที่ออกโดยบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนดังต่อไปนี้ ที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนที่ออกโดยบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
(1) กองทุนรวม แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมอีทีเอฟ
(2) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๒ ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสั่งห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เป็นการชั่วคราวอันเนื่องจากศาลปกครองสูงสุดจะมีคําพิพากษาในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ให้บริษัทจัดการใช้วิธีการคํานวณมูลค่า และได้รับการผ่อนผันระยะเวลาหรือเลื่อนการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของตราสารแห่งทุนที่ออกโดยบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าตามราคาปิดของตราสารแห่งทุนดังกล่าวในวันทําการซื้อขายแรกภายหลังจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยกเลิกการสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราวนั้นแล้ว
(2) ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม รวมทั้งราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด และการคํานวณจํานวนหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันหรือเลื่อนระยะเวลาการคํานวณออกไปจนกว่าบริษัทจัดการจะสามารถกําหนดมูลค่ายุติธรรมของตราสารแห่งทุนที่ออกโดยบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ตาม (1) ได้
(3) ในการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม รวมทั้งราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันการประกาศมูลค่าและราคาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันทําการถัดจากวันที่สามารถกําหนดมูลค่ายุติธรรมของตราสารแห่งทุนที่ออกโดยบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ตาม (1) ได้
ข้อ ๓ ไม่ให้นําความในข้อ 2 มาใช้บังคับในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสั่งห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เป็นการชั่วคราวไม่ตลอดระยะเวลาการซื้อขายในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในเรื่องการคํานวณมูลค่าและการประกาศนั้นเช่นเดิม
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เป็นการชั่วคราว อันเนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคําพิพากษาในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผลให้ราคาล่าสุดของตราสารแห่งทุนดังกล่าวไม่เป็นตัวแทนที่ดีของมูลค่ายุติธรรม และส่งผลกระทบต่อกองทุนที่มีการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนของบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ดังนั้น เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงได้รับ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,129 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคำขอแจ้งการเข้ารับการอบรมและ การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม
และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และกําหนดมาตรการป้องกันเพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว โดยให้งดกิจกรรมที่มีคนจํานวนมากไปทํากิจกรรมร่วมกัน จึงส่งผลกระทบต่อการสรรหาและพัฒนาผู้สอบบัญชีภาษีอากร จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ประกอบกับข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และ ข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 5 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.263/2559 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรครั้งที่ 43 (3/2560) สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านเกินกว่าสามปีนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบในแต่ละวิชาได้แต่ไม่เกินวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ กรณีใบอนุญาตหมดอายุ
2.1 ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(1) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 7 มิถุนายน 2563
(2) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 10 มิถุนายน 2563
(3) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 4 สิงหาคม 2563
(4) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 4 ตุลาคม 2563
(5) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 5 ตุลาคม 2563
ใบอนุญาตที่ได้รับการต่ออายุตามคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
หากผู้สอบบัญชีภาษีอากรตาม (1) – (5) ไม่ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นหมดสภาพการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรนับแต่วันที่ใบอนุญาตหมดอายุ
2.2 ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุมาแล้วไม่เกินกว่าหนึ่งปีดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(1) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 2 มิถุนายน 2562
(2) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 2 กรกฎาคม 2562
(3) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 19 สิงหาคม 2562
(4) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 4 ตุลาคม 2562
ใบอนุญาตที่ได้รับการต่ออายุตามคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,130 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคำขอแจ้งการเข้ารับการอบรมและ การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรมและ การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------
ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และโดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีการระบาดระลอกใหม่ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการในเรื่องของการห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค และการห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสรรหาและพัฒนาผู้สอบบัญชีภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ประกอบกับข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 5 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.263/2559 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 กําหนดเลื่อนเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
“ข้อ 1 ให้ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรดังต่อไปนี้ สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านเกินกว่าสามปีนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบในแต่ละวิชาได้ แต่ไม่เกินวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565
(1) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 45 (2/2561)
(2) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 46 (3/2561)”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ข้อ 2 กรณีใบอนุญาตหมดอาย
2.1 ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(1) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564
(2) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564
(3) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 5 มิถุนายน 2564
(4) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 2 สิงหาคม 2564
(5) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 4 ตุลาคม 2564
ใบอนุญาตที่ได้รับการต่ออายุตามคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
หากผู้สอบบัญชีภาษีอากรตาม (1) – (5) ไม่ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นหมดสภาพการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรนับแต่วันที่ใบอนุญาตหมดอายุ
2.2 ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุมาแล้วไม่เกินกว่าหนึ่งปีดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกําหนด ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(1) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563
(2) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563
(3) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 26 มีนาคม 2563
(4) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 7 มิถุนายน 2563
(5) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 10 มิถุนายน 2563
(6) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 4 สิงหาคม 2563
(7) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 4 ตุลาคม 2563
(8) ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 5 ตุลาคม 2563
ใบอนุญาตที่ได้รับการต่ออายุตามคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,131 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคำขอแจ้งการเข้ารับการอบรมและ การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม
และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา
3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 3)
------------------------------------
ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และโดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีการระบาดระลอกใหม่ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการในเรื่องของการห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค และการห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสรรหาและพัฒนาผู้สอบบัญชีภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ประกอบกับข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 5 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.263/2559 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 กําหนดเลื่อนเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลา การสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ให้ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรดังต่อไปนี้ สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านเกินกว่าสามปีนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบในแต่ละวิชาได้ แต่ไม่เกินวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565
(1) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 45 (2/2561)
(2) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 46 (3/2561)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,132 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคำขอแจ้งการเข้ารับการอบรมและ การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม
และ การต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต
แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4)
--------------------------------------------------
ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และโดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีการระบาดระลอกใหม่ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการในเรื่องของการห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค และการห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสรรหาและพัฒนาผู้สอบบัญชีภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ประกอบกับข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และ ข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 5 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 และคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.263/2559 เรื่องกําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 กําหนดเลื่อนเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคําขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ให้ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรดังต่อไปนี้ สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านเกินกว่าสามปีนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบในแต่ละวิชาได้ดังนี้
(1) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 44 (1/2561) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 53
(2) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 45 (2/2561) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 54
(3) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 46 (3/2561) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 55
(4) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 47 (1/2562) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 56
(5) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 48 (2/2562) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 57
(6) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 49 (3/2562) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 58
(7) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 50 (1/2563) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 59
(8) ผู้เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 51 (2/2563) ให้สามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่าน ถึงก่อนวันที่มีประกาศผลการทดสอบครั้งที่ 60”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,133 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงาน ที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่ประสงค์จะขอเข้าเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานนั้นต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สถานฝึกอบรมวิชาชีพเอกชนที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มูลนิธิหรือสมาคม หรือหน่วยงานสวัสดิการภายในส่วนราชการที่มีวัตถุประสงค์หลักในการดําเนินงานเพื่อเผยแพร่ความรู้และจัดอบรมสัมมนาทางด้านกฎหมายภาษีอากรโดยเฉพาะให้แก่ข้าราชการและบุคคลทั่วไป
องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานตามวรรคหนึ่งจะต้องยื่นหนังสือต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร แสดงความประสงค์เป็นองค์กรวิชาชีพบัญชี หรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร พร้อมแนบเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) สําเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการในนามของนิติบุคคล สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพเอกชน และบัตรประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคล สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพเอกชน พร้อมสําเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองนิติบุคคล ทะเบียนสมาคม หรือหลักฐานอื่นที่แสดงฐานะเป็นนิติบุคคล หรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพเอกชน แล้วแต่กรณี หรือ
(ข) เอกสารหลักฐานแสดงสถานภาพการเป็นหน่วยงานสวัสดิการภายในส่วนราชการ พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน
(ค) รายละเอียดหลักสูตร เนื้อหา ขอบเขตวิชา และระยะเวลาในการจัดอบรม
(ง) ชื่อ คุณวุฒิ และประสบการณ์ในการทํางานของวิทยากรผู้บรรยาย
(2) องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องจัดหลักสูตรการอบรมในแต่ละปีทางด้านกฎหมายภาษีอากรและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร ให้มีเนื้อหาวิชาครอบคลุมกฎหมายหลักในประมวลรัษฎากร มาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการสอบบัญชี โดยให้มุ่งเน้นเนื้อหาที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันและต้องมีเนื้อหาวิชาตามระยะเวลาที่จัดอบรมไม่น้อยกว่า ดังนี้
(ก) ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ชั่วโมง
(ข) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ชั่วโมง
(ค) ภาษีธุรกิจเฉพาะภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับอื่น ๆ 3 ชั่วโมง
(ง) มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี 3 ชั่วโมง
การจัดอบรมตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะจัดอบรมหลักสูตรที่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาทั้งหมดในคราวเดียวกันหรือไม่ก็ตาม หากภายหลังองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการอบรมจากที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากรพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
การนับระยะเวลาตามหลักสูตรที่จัดอบรมตามวรรคหนึ่ง ให้นับระยะเวลาในการจัดอบรม 1 ชั่วโมงการอบรมเท่ากับ 60 นาที สําหรับระยะเวลาในช่วงพิธีเปิด – ปิดการอบรม และเวลาพัก ไม่ให้นับเป็นชั่วโมงการอบรม และหากไม่มีการกําหนดระยะเวลาพักไว้ ให้ถือเวลาพักรับประทานอาหารเป็น 1 ชั่วโมง และเวลาพักรับประทานอาหารว่างเป็นครั้งละ 15 นาที
(3) องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องจัดส่งหลักฐานการลงทะเบียนเข้ารับการอบรมต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากรภายใน 7 วันนับแต่วันที่สิ้นสุดการอบรม และจะต้องออกหนังสือรับรองการเข้ารับการอบรมในแต่ละครั้งให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยหนังสือรับรองดังกล่าวจะต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรขององค์กรวิชาชีพบัญชี หรือหน่วยงานที่จัดอบรม
(ข) เลขที่หนังสือ และวันที่ที่ได้รับความเห็นชอบในการจัดอบรมจากอธิบดีกรมสรรพากร
(ค) ชื่อ – ชื่อสกุลผู้เข้ารับการอบรม และเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีภาษีอากร
(ง) หลักสูตรที่อบรม
(จ) วัน เวลา และจํานวนชั่วโมงที่เข้ารับการอบรม
(ฉ) วันที่ออกหนังสือรับรอง
ข้อ ๓ องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดในประกาศนี้อธิบดีอาจพิจารณาสั่งถอนการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมก็ได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป สําหรับองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้และแจ้งการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากรพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจึงจะสามารถจัดอบรมตามหลักสูตรได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,134 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงาน ที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 2)
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ประกอบกับข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 4 ขอคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(2) องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องจัดหลักสูตรการอบรมในแต่ละปีทางด้านกฎหมายภาษีอากรและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร ให้มีเนื้อหาวิชาครอบคลุมกฎหมายหลักในประมวลรัษฎากร มาตรฐานการปฎิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยให้มุ่งเน้นเนื้อหาที่เป็นปัจจุบัน และต้องมีเนื้อหาวิชาตามระยะเวลาที่จัดอบรมไม่น้อยกว่า ดังนี้
(ก) ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ชั่วโมง
(ข) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ชั่วโมง
(ค) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับอื่นๆ 3 ชั่วโมง
(ง) มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี 3 ชั่วโมง
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการอบรมที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป และสําหรับองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้และแจ้งการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากรพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจึงจะสามารถจัดอบรมตามหลักสูตรได้
ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,135 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงาน ที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 3) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงาน ที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 3)
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ประกอบกับข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.263/2559 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๒ องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่ประสงค์จะขอเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องมีคุณสมบัติและดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
(1) องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานนั้นต้องมีลักษณะ ดังนี้
(ก) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(ข) เป็นสถานฝึกอบรมวิชาชีพเอกชนที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการจัดฝึกอบรมสัมมนาปรากฏอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองนิติบุคคล หรือใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (น.ม.3) ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม (ส.ค.4) แล้วแต่กรณี
(ค) เป็นหน่วยงานสวัสดิการภายในส่วนราชการที่มีวัตถุประสงค์หลักในการดําเนินงานเพื่อเผยแพร่ความรู้และจัดอบรมสัมมนาทางด้านกฎหมายภาษีอากรโดยเฉพาะให้แก่ข้าราชการและบุคคลทั่วไป
(2) องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานตาม (1) ต้องยื่นหนังสือต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการกองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร แสดงความประสงค์เป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร พร้อมแนบภาพถ่ายหนังสือรับรองนิติบุคคล ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (น.ม.3) ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม (ส.ค.4) หรือหลักฐานอื่นที่แสดงฐานะเป็นนิติบุคคลหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพเอกชน หรือหลักฐานแสดงสถานภาพการเป็นหน่วยงานสวัสดิการภายในส่วนราชการ แล้วแต่กรณี โดยหลักฐานดังกล่าวต้องปรากฏวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการจัดฝึกอบรมสัมมนาด้วย
(3) องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานตาม (2) ต้องขออนุมัติหลักสูตรการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการกองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร พร้อมแนบเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) รายละเอียดวันเวลาในการเปิดรับสมัคร และระยะเวลาในการจัดอบรม
(ข) ชื่อหลักสูตรพร้อมรายละเอียดของหลักสูตร
(ค) เนื้อหา ขอบเขตวิชา และระยะเวลาในการจัดอบรม ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3
(ง) ชื่อ คุณวุฒิ และประสบการณ์ในการทํางานของวิทยากรผู้บรรยาย ซึ่งวิทยากรผู้บรรยายดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) กรณีเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องมีประสบการณ์ในการทํางานด้านภาษีอากร หรือด้านบัญชีภาษีอากรไม่น้อยกว่า 5 ปีภายหลังจบการศึกษา
2) กรณีเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องมีประสบการณ์ในการทํางานด้านภาษีอากร หรือด้านบัญชีภาษีอากรไม่น้อยกว่า 3 ปี ภายหลังจบการศึกษา
3) กรณีเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ต้องมีประสบการณ์ในการทํางานด้านภาษีอากร หรือด้านบัญชีภาษีอากรไม่น้อยกว่า 1 ปี ภายหลังจบการศึกษา
ทั้งนี้ ความใน (2) ไม่ใช้บังคับกับองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องจัดให้มีหลักสูตรการอบรมในแต่ละปี โดยให้มีเนื้อหาวิชาครอบคลุมกฎหมายภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรอื่นที่กรมสรรพากรจัดเก็บ มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชีและจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีซึ่งมุ่งเน้นเนื้อหาที่เป็นปัจจุบันและต้องมีเนื้อหาวิชาตามระยะเวลาของแต่ละหลักสูตรที่จัดอบรมรวมกันไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้ เนื้อหาหลักสูตรในการจัดอบรมดังกล่าว ต้องมีเนื้อหาวิชากฎหมายภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรอื่นที่กรมสรรพากรจัดเก็บไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
การจัดอบรมตามวรรคหนึ่ง หากภายหลังองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการอบรมหรือมีการเปลี่ยนแปลงวิทยากรจากที่อธิบดีให้ความเห็นชอบไว้ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหรือการเปลี่ยนแปลงวิทยากรดังกล่าวต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการกองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากรและต้องได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการจัดให้มีการอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่น้อยกว่า 15 วัน
ข้อ ๔ องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องแสดงรายละเอียดของหลักสูตร เนื้อหา ขอบเขตวิชา และระยะเวลาในการจัดอบรมดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจัดอบรมตามหลักสูตรในข้อ 3 แก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Offline Training) ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังนี้
(ก) ในการจัดอบรมแต่ละหลักสูตร ต้องกําหนดให้มีเนื้อหา ขอบเขตวิชาตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 โดยให้นับระยะเวลาในการจัดอบรม 1 ชั่วโมงการอบรมเท่ากับ 60 นาที สําหรับระยะเวลาในช่วงพิธีเปิดการอบรม พิธีปิดการอบรมและเวลาพักไม่ให้นับเป็นชั่วโมงการอบรม และหากไม่มีการกําหนดระยะเวลาพักไว้ให้ถือเวลาพักรับประทานอาหารเป็น 1 ชั่วโมง และเวลาพักรับประทานอาหารว่างเป็นครั้งละ 15 นาที
(ข) ต้องจัดส่งหลักฐานการลงทะเบียนเข้ารับการอบรมต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการกองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่การอบรมสิ้นสุดลง และจะต้องออกหนังสือรับรองการเข้ารับการอบรมในแต่ละครั้งให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยหนังสือรับรองดังกล่าวจะต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
1) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรขององค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
2) เลขที่หนังสือ และวันที่ที่ได้รับความเห็นชอบในการจัดอบรมจากอธิบดีกรมสรรพากร
3) ชื่อ - ชื่อสกุลของผู้เข้ารับการอบรม และเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีภาษีอากร
4) หลักสูตรที่อบรม
5) วัน เวลา และจํานวนชั่วโมงที่เข้ารับการอบรม
6) วันที่ออกหนังสือรับรอง
(2) กรณีการจัดอบรมตามหลักสูตรในข้อ 3 แก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรผ่านช่องทางออนไลน์ (Online Training) ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้
(ก) ในการจัดอบรมแต่ละหลักสูตร ต้องกําหนดให้มีเนื้อหา ขอบเขตวิชาตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 โดยให้นับระยะเวลาในการจัดอบรม 1 ชั่วโมงการอบรมเท่ากับ 60 นาที สําหรับระยะเวลาในช่วงพิธีเปิดการอบรม พิธีปิดการอบรมและเวลาพักไม่ให้นับเป็นชั่วโมงการอบรมและหากไม่มีการกําหนดระยะเวลาพักไว้ให้ถือเวลาพักรับประทานอาหารเป็น 1 ชั่วโมง และเวลาพักรับประทานอาหารว่างเป็นครั้งละ 15 นาที
(ข) กําหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เป็นโปรแกรมในการจัดการอบรมให้แก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมสามารถสื่อสารกับวิทยากรได้แบบ Real Time และแบบ Chat พร้อมกําหนดรูปแบบ Interactive media for intention ในระหว่างการจัดอบรม เพื่อควบคุมให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่เข้ารับการอบรมผ่านช่องทางออนไลน์มีปฏิสัมพันธ์กับวิทยากรตลอดระยะเวลาการอบรม โดยห้ามมิให้ใช้การบันทึกสื่อการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ย้อนหลัง
(ค) กําหนด Account Admin ให้กรมสรรพากรเพื่อใช้สําหรับการตรวจสอบการจัดอบรมแบบ Real Time
(ง) ต้องจัดส่งหลักฐานการลงทะเบียนชื่อ - ชื่อสกุล เลขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากรและหลักฐานการยืนยันตัวตนของผู้เข้ารับการอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งปรากฏใบหน้าพร้อมบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เข้ารับการอบรมพร้อมออกหนังสือรับรองการเข้ารับการอบรมในแต่ละครั้งให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมโดยหนังสือรับรองดังกล่าวจะต้องมีรายการอย่างน้อยตาม (1) (ข) ต่ออธิบดีผ่านผู้อํานวยการกองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่การอบรมผ่านช่องทางออนไลน์สิ้นสุดลง
(จ) จัดให้มีคู่มือการใช้งานระบบสําหรับผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งแสดงขั้นตอนวิธีการใช้งานระบบการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ และวิธีการในการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการใช้โปรแกรม หรือจากสัญญาณการสื่อสารขัดข้องในระหว่างการอบรมผ่านช่องทางออนไลน์
ข้อ ๕ องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรใดเลิกกิจการ หรือถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนนิติบุคคลหรือพ้นจากการเป็นหน่วยงานสวัสดิการภายในส่วนราชการนั้น แล้วแต่กรณี ให้องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานดังกล่าวสิ้นสภาพจากการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร นับแต่วันที่เลิกกิจการ หรือถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนนิติบุคคลหรือพ้นจากการเป็นหน่วยงานสวัสดิการภายในส่วนราชการนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรใดขาดคุณสมบัติ ฝ่าฝืน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดในประกาศนี้อธิบดีอาจพิจารณาสั่งเพิกถอนการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,136 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 33) เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าและบริจาคสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 33 )
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
สําหรับการนําเข้าและบริจาคสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 720) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการนําเข้าและบริจาคสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ สินค้าที่นําเข้าต้องเป็นสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามรายการในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๒ ผู้นําเข้าต้องระบุข้อความ “บริจาค COVID-19” ในใบขนสินค้าขาเข้า สําหรับการนําเข้าที่ได้กระทําตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงในประกาศนี้ โดยการส่งข้อมูลใบขนสินค้าให้เป็นไปตามที่กรมศุลกากรประกาศกําหนด
ข้อ ๓ สถานพยาบาลของทางราชการที่รับบริจาคต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่สถานพยาบาลนั้นสังกัดว่าเป็นสถานพยาบาลของทางราชการที่ให้บริการรักษาพยาบาลแก่บุคคลภายนอกเป็นการทั่วไปและได้รับรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๔ องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาล ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ที่รับบริจาคต้องเป็นหน่วยงานดังต่อไปนี้
(1) สภากาชาดไทย หรือ
(2) องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาล ตามข้อ 3 ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535
ข้อ ๕ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 720) พ.ศ. 2564 ต้องมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) ใบขนสินค้าขาเข้า
(2) เอกสารหลักฐานเป็นหนังสือจากผู้รับบริจาค ซึ่งสามารถพิสูจน์การรับบริจาคสินค้านําเข้าจากผู้บริจาคได้ เว้นแต่ผู้รับบริจาคได้ทําการรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่งไม่ว่าเป็นหนังสือหรือเป็นข้อมูลที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ต้องระบุจํานวนและมูลค่าของสินค้านําเข้าที่บริจาคด้วย
ข้อ ๖ ผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 720) พ.ศ. 2564 ต้องไม่นําต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้ามาหักเป็นรายจ่ายในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,137 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 34) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 34)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการตามมาตรการสนับสนุน
การรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ตามพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินซึ่งประกอบธุรกิจให้สินเชื่อ
“ลูกหนี้” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินและให้หมายความรวมถึงเจ้าของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันการชําระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินนั้นด้วย
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน
“เจ้าของทรัพย์สิน” หมายความว่า เจ้าของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันการชําระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินนั้น
ข้อ ๒ ให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าของทรัพย์สิน และสถาบันการเงินต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการเข้ามาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 และให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้มีภูมิลําเนาหรือมีสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ในกรณีที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในวันสุดท้ายของปีภาษีหรือวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการปลดหนี้ แล้วแต่กรณี และให้เก็บรักษาหลักฐานหรือเอกสารอื่นใดที่ได้กระทําภายใต้มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๓ ให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า และสําหรับการกระทําตราสาร ที่ได้กระทํากับสถาบันการเงิน อันเนื่องมาจากการดําเนินการตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ภายใต้พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 โดยให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินดําเนินการดังนี้
(1) ให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินแจ้งและส่งมอบแบบยืนยันการเข้ามาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ซึ่งออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย
(2) ให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าของทรัพย์สิน และสถาบันการเงิน ร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการเข้ามาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 และให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินมีภูมิลําเนาหรือมีสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ในกรณีที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สินอยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในวันสุดท้ายของปีภาษีหรือวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการโอน แล้วแต่กรณี และให้เก็บรักษาหลักฐานหรือเอกสารอื่นใดที่ได้กระทําภายใต้มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๔ ให้สถาบันการเงินได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า และสําหรับการกระทําตราสาร ที่ได้กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าของทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการดําเนินการตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ภายใต้พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 โดยสถาบันการเงินต้องดําเนินการดังนี้
(1) ให้สถาบันการเงินแจ้งและส่งมอบแบบยืนยันการเข้ามาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ซึ่งออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย
(2) ให้สถาบันการเงินจัดทําหนังสือรับรองการโอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคืนตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 และให้สถาบันการเงินแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถาบันการเงินมีภูมิลําเนาหรือมีสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ในกรณีที่สถาบันการเงินอยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการโอน และให้เก็บรักษาหลักฐานหรือเอกสารอื่นใดที่ได้กระทําภายใต้มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชําระหนี้ไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๕ หนังสือรับรองตามข้อ 2 ข้อ 3 (2) และข้อ 4 (2) ต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,138 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 35) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 35)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
สําหรับการบริจาคให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 719) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการบริจาคให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาสําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 719) พ.ศ. 2564 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตามมาตรา 4 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 719) พ.ศ. 2564 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าก็ได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การบริจาคให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 719) พ.ศ. 2564 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,139 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 405) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 405)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้าง
ภายในประเทศ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 716) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ค่าห้องสัมมนา” หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการห้องสัมมนาเรียกเก็บเป็นค่าอาหาร และเครื่องดื่มจากการใช้ห้องสัมมนาตามปกติทางการค้า
“รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา” หมายความถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมสัมมนา เช่น ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าบันทึกภาพและเสียง และค่าจัดทําสื่อที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในการฝึกอบรม
ตอน ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถลูกจ้างของตน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจัดทําโครงการการอบรมสัมมนาโดยมีหลักฐานเอกสารประกอบโครงการ เพื่อประโยชน์ในการแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๔ กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนานั้น จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากนายทะเบียน
ข้อ 5 ค่าห้องสัมมนาหรือค่าห้องสัมมนาและห้องพัก ในการจัดอบรมสัมมนาตามข้อ 3 หมายถึง เฉพาะการอบรมสัมมนาและห้องพักภายในประเทศ ทั้งนี้ ห้องสัมมนาและห้องพักอาจไม่อยู่ในสถานประกอบการเดียวกันก็ได้แต่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการอบรมสัมมนาในคราวเดียวกันนั้น
ข้อ ๕ ค่าห้องสัมมนาหรือค่าห้องสัมมนาและห้องพัก ในการจัดอบรมสัมมนาตามข้อ 3 หมายถึง เฉพาะการอบรมสัมมนาและห้องพักภายในประเทศ ทั้งนี้ ห้องสัมมนาและห้องพักอาจไม่อยู่ในสถานประกอบการเดียวกันก็ได้แต่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการอบรมสัมมนาในคราวเดียวกันนั้น
ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,140 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239)
เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงาน
ตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543
“ข้อ 8 ให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จัดทํารายงานภาษีขายและรายละเอียดของธุรกรรมประกอบการจัดทํารายงานภาษีขาย โดยต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,141 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 240)เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 240)
เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษี
ตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 83 มาตรา 85 มาตรา 85/6 และมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กําหนดแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) แบบ P.P.30.9 Value Added Tax Return for Non – Resident Under Section 82/13 of the Revenue Code
(2) แบบ P.P.01.9 Form for Value Added Tax Registration for Non – Resident Under Section 85/20 of the Revenue Code
(3) แบบ P.P.08.9 Form for Value Added Tax Registration Cancellation Request for Non – Resident Under Section 85/20 of the Revenue Code
(4) แบบ P.P.09.9 Form for Changes in Value Added Tax Registration for Non – Resident Under Section 85/20 of the Revenue Code
แบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้รายการข้อมูลตามแบบดังกล่าวที่สามารถยื่นแบบผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมสรรพากร
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,142 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิและมูลนิธิจุฬาภรณ์ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 37)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิและมูลนิธิจุฬาภรณ์
ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 741) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับการบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิและมูลนิธิจุฬาภรณ์ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิหรือมูลนิธิจุฬาภรณ์ ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 741) พ.ศ. 2564 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิหรือมูลนิธิจุฬาภรณ์ ตามมาตรา 4 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 741) พ.ศ. 2564 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้
ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิหรือมูลนิธิจุฬาภรณ์ให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 4 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 741) พ.ศ. 2564 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,143 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 38) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีอากรสำหรับกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคมและบุคคลซึ่งสนับสนุนกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 38)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีอากร
สําหรับกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคมและบุคคลซึ่งสนับสนุนกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคม
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 6 วรรคสองและวรรคสาม มาตรา 7 มาตรา 8 วรรคสอง มาตรา 10 และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีอากร สําหรับกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคมและบุคคลซึ่งสนับสนุนกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสงค์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสงค์จะให้บุคคลซึ่งสนับสนุนกิจการของตนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ต้องดําเนินการจดแจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรและต้องเป็นหน่วยรับบริจาคตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยยื่นคําขอจดแจ้ง/เลิกการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ว.ส.1) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ดังนี้
(1) กรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ให้จดแจ้งความประสงค์ภายในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
(2) กรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมก่อนวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ให้จดแจ้งความประสงค์ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ วิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่แบ่งปันกําไรที่ได้จดแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 1 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับกําไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แต่ต้องไม่ก่อนวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(2) กรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการในภายหลัง ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ แต่ต้องไม่ก่อนวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(3) กรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมเปลี่ยนแปลงประเภทของวิสาหกิจ จากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสงค์จะแบ่งปันกําไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่แบ่งปันกําไรให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงประเภทของวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ข้อ ๓ วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 ต้องไม่มีการจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) การโอนทรัพย์สินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมอื่นโดยไม่มีค่าตอบแทน
(2) การโอนทรัพย์สินให้แก่สถานพยาบาลหรือสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลหรือสถานพยาบาลหรือสถานศึกษาอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีค่าตอบแทน
(3) การโอนทรัพย์สินเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์โดยไม่มีค่าตอบแทนตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) การโอนทรัพย์สินขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย หรือถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย หรือพระกุศลตามพระอัธยาศัย
(5) การโอนทรัพย์สินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้
(ก) ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะ หรือจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(ค) องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
(ง) หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะ
ข้อ ๔ วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 ต้องไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) การขายสินค้าหรือการให้บริการแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น
(2) การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น โดยค่าสินค้าหรือค่าบริการไม่สูงกว่าราคาตลาด
คําว่า “สินค้า” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ที่อาจมีราคาและถือเอาได้ที่มีไว้เพื่อขายเท่านั้น
คําว่า “บริการ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า
ข้อ ๕ ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ได้ลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการจัดตั้งหรือการเพิ่มทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคมในขณะที่วิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และได้จดแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 1 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้พึงประเมินเท่าที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการจัดตั้งหรือการเพิ่มทุน แล้วแต่กรณี ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งเดียวหรือหลายแห่ง แต่เมื่อรวมเงินลงทุนทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกินกรณีละหนึ่งแสนบาท สําหรับปีภาษีนั้น
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ในปีภาษีดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิยกเว้นในปีภาษีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
(2) การลงทุนเพื่อการเพิ่มทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคม
(ก) กรณีที่มีการเพิ่มทุนก่อนวันที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิยกเว้นในปีภาษีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
(ข) กรณีที่มีการเพิ่มทุนภายหลังจากวันที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิยกเว้นในปีภาษีที่ลงทุน
ข้อ ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการจัดตั้งหรือการเพิ่มทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคมในขณะที่วิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และได้จดแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 1 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการจัดตั้งหรือการเพิ่มทุน ในรอบระยะเวลาบัญชีดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้สิทธิยกเว้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
(2) การลงทุนเพื่อการเพิ่มทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคม
(ก) กรณีที่มีการเพิ่มทุนก่อนวันที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้สิทธิยกเว้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
(ข) กรณีที่มีการเพิ่มทุนภายหลังจากวันที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้สิทธิยกเว้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ลงทุน
การลงทุนเพื่อการจัดตั้งหรือการเพิ่มทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่การลงทุนเพื่อการจัดตั้งหรือการเพิ่มทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคมตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ที่ได้กระทําก่อนวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๗ ผู้ลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 5 หรือข้อ 6 ต้องถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นจนกว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นเลิกกัน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาทุพพลภาพหรือตาย
(2) ผู้ลงทุนที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกัน
(3) ผู้ลงทุนขายหรือโอนหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเพิ่มทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคม
ข้อ ๘ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้โอนเงินหรือทรัพย์สินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทนผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับเงินได้เท่าจํานวนเงินหรือเท่ากับราคาทรัพย์สินนั้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้โอนเงินหรือทรัพย์สินนั้นให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม
ข้อ ๙ ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ การโอนทรัพย์สินให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมตามข้อ 8 หรือการบริจาคทรัพย์สินให้แก่กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมตามข้อ 9 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะโอนหรือบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้าก็ได้ โดยการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าว ให้คํานวณมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่โอนหรือบริจาคตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๑ ให้วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด บัญชีทําการ บัญชีกําไรขาดทุน และบัญชีงบดุล ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ต้องชําระภาษี พร้อมทั้งยื่นรายงานผลการดําเนินงานประจําปีต่อกรมสรรพากร
วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จัดทํารายงานผลการประกอบกิจการประจําปีและรายงานผลลัพธ์จากการดําเนินกิจการเพื่อสังคมยื่นต่อสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 และได้ยินยอมให้สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมเปิดเผยรายงานดังกล่าวต่อกรมสรรพากร ถือว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นได้จัดทํารายงานผลการดําเนินงานประจําปียื่นต่อกรมสรรพากรตามวรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ ๑๒ กรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมเลิกการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือกรณีที่วิสาหกิจเพื่อสังคมเลิกกัน ให้วิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นยื่นคําขอจดแจ้ง/เลิกการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ว.ส.1) เพื่อแจ้งการเลิกการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือการเลิกกันต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
ข้อ ๑๓ วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือผู้ลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนในวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว ต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใดหรือในปีภาษีใด ให้การยกเว้นภาษีเงินได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,144 |
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เรื่อง กำหนดการมอบอำนาจสำหรับการปฏิบัติราชการที่แตกต่างจากมาตรา 23 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม | ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
เรื่อง กําหนดการมอบอํานาจสําหรับการปฏิบัติราชการที่แตกต่างจากมาตรา ๒๓ (๑)
แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
--------------------------------------------------
เพื่อให้การมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนบางเรื่องในเขตพื้นที่จังหวัดเป็นไปโดยเหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติราชการของจังหวัด
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
อื่นๆ - ในกรณีที่มีการมอบอํานาจเกี่ยวกับราชการของส่วนราชการใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน และมีส่วนราชการนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ในเรื่องดังต่อไปนี้
๑. การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๒. การสั่งให้ข้าราชการรักษาการในตําแหน่งตามมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๓. การใช้รถราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ของผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด
๔. การนํารถราชการไปเก็บรักษาที่อื่นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ของส่วนราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด
๕. การอนุมัติให้เข้ารับการศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙ ของผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด
๖. การลงนามรับรองในแบบคําขอมีบัตรประจําตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน ตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน การประดับและกรณีที่ให้ประดับเหรียญพิทักษ์เสรีชน สิทธิ บัตรประจําตัว และการเรียกเหรียญกับบัตรประจําตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนคืน พ.ศ. ๒๕๑๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ของผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
(นายวิษณุ เครืองาม)
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.ร. | 2,145 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 737) พ.ศ. 2564 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 39)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
สําหรับการบริจาคเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0
ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 737) พ.ศ. 2564
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 737) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 737) พ.ศ. 2564 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ทรัพย์สินที่บริจาคต้องเป็นทรัพย์สินที่เป็นเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรเพื่อระบบอัตโนมัติสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่ได้รับการรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(2) ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อ ๒ การคํานวณมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินมาบริจาคไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมาตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า อันเนื่องมาจากการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 737) พ.ศ. 2564 ผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีดังกล่าวต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้เก็บไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
(1) หลักฐานการรับบริจาคที่ออกโดยศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา ซึ่งได้ระบุมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาค เช่น หนังสือขอบคุณใบประกาศเกียรติคุณ
(2) หลักฐานการรับรองทรัพย์สินที่บริจาคตามข้อ 1 (1)
(3) หลักฐานการรับรองศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 ตามข้อ 1 (2)
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,146 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 412) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 412)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับการบริจาค
เงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 732) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” หมายความว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์์ให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 732) พ.ศ. 2564 จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตามมาตรา 4 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 732) พ.ศ. 2564 จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าก็ได้
ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อการบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจํานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคํานวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(3) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนําสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจํานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ การบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 732) พ.ศ. 2564 โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,147 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 413) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสำหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 413)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้
ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
สําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 730) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสําหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับการรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 730) พ.ศ. 2564 ยื่นคําร้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามที่แนบท้ายประกาศนี้โดยต้องกรอกคําขออนุมัติตามแบบ ร.ม.1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในรูปแบบของไฟล์ PDF เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
การยื่นคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 และต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคําร้องขอนั้นด้วย
ข้อ ๒ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับอนุมัติตามข้อ 1 แล้ว ที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 730) พ.ศ. 2564 ยื่นคําขอตามแบบแจ้งเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายสําหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ร.ม.2) ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองที่ออกโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในรูปแบบของไฟล์ PDF มาพร้อมกับคําขอด้วย
ข้อ ๓ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งดําเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลฉบับเดียวโดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน
ข้อ ๔ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 730) พ.ศ. 2564 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสําหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดีรักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,148 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 414) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 414)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่าย
เป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 357 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 401) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามประกาศนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ตนได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(2) กรณีการซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าว”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 401) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564
“ข้อ 8/1 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 8 (1) ต้องส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
กรณีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมดังกล่าวแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลค่าซื้อหน่วยลงทุนเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากรhttp://www.rd.go.th”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 401) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ให้กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคําสั่งโอนจากผู้มีเงินได้จัดทําหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แนบพร้อมหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ เว้นแต่กรณีการโอนหน่วยลงทุนที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป และผู้มีเงินได้ได้แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 8 (1) แล้ว กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคําสั่งโอน ไม่ต้องแนบและส่งมอบหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอน”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 10 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 401) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 8 (2) และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 9 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรือเลขอารบิค โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2565 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,149 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 415) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 415)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 (102) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 357 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 369) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมตามประกาศนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ตนได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม
(2) กรณีการซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการออมดังกล่าว”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 369) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563
“ข้อ 5/1 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 5 (1) ต้องส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศกรมสรรพากร โดยจัดทําขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนําส่งตามวิธีการที่กําหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
กรณีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมได้แจ้งและส่งข้อมูลตามวรรคสองแล้ว แต่มีความประสงค์จะขอแก้ไข ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าวนั้น ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมดังกล่าวแจ้งและส่งข้อมูลผ่านระบบรับข้อมูลค่าซื้อหน่วยลงทุนเกินกําหนดเวลาบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 369) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมตามข้อ 5 (2) และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมตามข้อ 6 ต้องจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทําเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคําแปลภาษาไทยกํากับด้วย ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรือเลขอารบิคโดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2565 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,150 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 416) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 416)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 728) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาเป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) จ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดซึ่งไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน และได้ติดตั้ง ณ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
(3) ต้องสามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่าเป็นการจ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(4) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคํานวณหักค่าใช้จ่ายตามความจําเป็นและสมควร
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการจ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดซึ่งไม่ผ่านการใช้งานมาก่อนและได้ติดตั้ง ณ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
(2) ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(3) ไม่เป็นทรัพย์สินที่นําไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสําหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(4) ต้องสามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่า เป็นการจ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดดังกล่าว สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(5) ต้องเริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้มีการจ่ายค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดนั้น
ข้อ ๓ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว แต่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 728) พ.ศ. 2564 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องนําเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้วรวมเป็นเงินได้ในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือรวมเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เพิ่มเติมสําหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ด้วย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,151 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 417) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 417)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 725) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือค่าจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 725) พ.ศ. 2564 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) เป็นการจ่ายค่าซื้อหรือค่าจ้างทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่รวมค่าบํารุงรักษารายปี และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างทํา หรือผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
(2) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจด้านต่างๆ และเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นในประเทศไทย
(3) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทํา หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
(4) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อหรือจ้างทําต้องนํามาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามประสงค์ภายในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายค่าซื้อหรือค่าจ้างทํา
(5) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ซื้อ จ้างทํา หรือใช้บริการจะต้องไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทเดียวกันตามรายงานแสดงรายละเอียดประเภทและลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ซื้อ จ้างทํา หรือใช้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ เฉพาะภายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,152 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 418) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 418)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้
สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 379 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสําหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 30,000 บาท และให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และชําระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ นอกจากกรณีตาม (2) (3) และ (4) ต้องเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะที่ต้องรวมคํานวณเป็นมูลค่าฐานภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้น
(2) กรณีการจ่ายค่าซื้อหนังสือ แต่ไม่รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้แก่ผู้ขายต้องได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อและนามสกุลของผู้มีเงินได้ในกรณีที่ผู้ขายมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) กรณีการจ่ายค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแต่ไม่รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้แก่ผู้ให้บริการต้องได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้
(4) กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สินค้าดังกล่าวต้องเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว และได้รับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากผู้ขายในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือได้รับใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อ และนามสกุลของผู้มีเงินได้ในกรณีที่ผู้ขายมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยในการจัดทํารายการ ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (5) แห่งประมวลรัษฎากร หรือในใบรับนั้น ผู้ขายจะต้องปฏิบัติดังนี้
(ก) ต้องระบุข้อความที่แสดงว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในแต่ละรายการสินค้า หรือจัดทําเครื่องหมายแสดงในแต่ละรายการสินค้าที่เป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และมีข้อความที่แสดงว่าเครื่องหมายนั้น หมายถึงสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไว้ในใบกํากับภาษีหรือใบรับ เช่น “OTOP” “โอทอป” หรือ “One Tambon One Product” เป็นต้น
(ข) กรณีที่สินค้าทุกรายการในใบกํากับภาษีหรือใบรับนั้นเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จะไม่ระบุข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงว่า สินค้าแต่ละรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ตาม (ก) ก็ได้ โดยให้ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีหรือใบรับประทับตรายางที่มีชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ขายสินค้านั้น และให้ระบุข้อความว่า “สินค้าทุกรายการเป็นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือข้อความอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันในใบกํากับภาษีหรือใบรับฉบับนั้นด้วย
การออกใบกํากับภาษีหรือใบรับตามวรรคหนึ่งที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการออกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ขายหรือผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 หรือระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทําส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e – Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560
ข้อ ๓ กรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกํากับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินําค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกํากับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ข้อ ๔ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินําเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคํานวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,153 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 419) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความ ตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 419)
เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความ ตามรายงานข้อมูลรายประเทศ
(Country-by-Country Report)
-------------------------------------------
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแจ้งข้อความตามประกาศนี้ต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 ข้อ 2/2 และข้อ 2/3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 408) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564
“ข้อ 2/1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่แจ้งข้อความตามข้อ 2 แจ้งข้อความดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th) โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้
(1) เข้าสู่ระบบรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Website) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
ข้อ 2/2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะแจ้งข้อความตามข้อ 2/1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 2/1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 2/1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
ข้อ 2/3 การแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ตามข้อ 2/1 ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้แจ้งข้อความดังกล่าวแล้วเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้รับใบรับการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) จากระบบรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report)”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 408) เรื่อง กําหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติที่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในต่างประเทศหรือเขตเศรษฐกิจอื่นอาจแต่งตั้งตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดดังกล่าวแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.50 ตามข้อ 2 และข้อ 2/1 ก็ได้หากปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
(1) ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีไม่มีกฎหมายกําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดดังกล่าวมีหน้าที่แจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report)
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (1) ได้แต่งตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแจ้งการแต่งตั้งดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศไทย และ
(3) รอบระยะเวลาบัญชีของตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุดตาม (2) ตรงกันกับรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลําดับสูงสุด”
ข้อ ๓ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับสําหรับการแจ้งข้อความสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,154 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 243 ) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 243)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี
ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (25) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
“(25) มูลค่าของค่าไฟฟ้าหรือมูลค่าของส่วนลดของค่าไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนพึงเรียกเก็บจากหรือได้ให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยดังนี้
(ก) มูลค่าของค่าไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนพึงเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 5 (15) แอมแปร์ โดยได้ใช้ไฟฟ้าตามจํานวนหน่วยที่กําหนดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 ทั้งนี้ สําหรับมูลค่าของค่าไฟฟ้าของรอบชําระค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563
มูลค่าของค่าไฟฟ้า หมายความว่า ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าผันแปรและค่าบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนพึงเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า
(ข) มูลค่าของส่วนลดของค่าไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาดเกิน 5 (15) แอมแปร์ที่ได้ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 ทั้งนี้ สําหรับมูลค่าของส่วนลดของค่าไฟฟ้าของรอบชําระค่าไฟฟ้าในเดือนเมษายน 2563
มูลค่าของส่วนลดของค่าไฟฟ้า หมายความว่า ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าผันแปรและค่าบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ให้ส่วนลดให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,155 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 420) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของ กิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 420)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของ
กิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 727) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“รายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 727) พ.ศ. 2564
“รายได้จากกิจการอื่น” หมายความว่า รายได้ของกิจการซึ่งไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 727) พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ การคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการทั้งที่มีรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่าส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้ระหว่างรายได้จากการประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจและรายได้จากกิจการอื่น ทั้งนี้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน โดยให้แยกกระดาษทําการซึ่งแสดงรายละเอียดการคํานวณกําไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกจากกัน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,156 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 มาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
(2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 372) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๒ ให้แบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) เป็นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ยื่นแบบรายงานดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Website) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๔ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะยื่นแบบรายงานตามข้อ 3 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 3 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 3 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
ข้อ ๕ การยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ตามข้อ 3 ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบรายงานดังกล่างแล้วเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ได้รับหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบจากระบบการยื่นแบบรายงานประจําเปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form)
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรจนไม่สามารถดําเนินการตามข้อ 3 ได้ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ที่พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th พร้อมทั้งแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเป็นหนังสือถึงเหตุอันสมควรจนไม่สามารถดําเนินการได้นั้นพร้อมการยื่นแบบรายงานดังกล่าว ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งอยู่
ข้อ ๗ การยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ตามข้อ 6 ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบรายงานดังกล่าวแล้วเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้รับใบรับการยื่นแบบรายงานนั้นจากกรมสรรพากร
ข้อ ๘ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ ให้ยังคงใช้ต่อไปสําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,157 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี (ฉบับที่ 2) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
สําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี (ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 และใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ตามข้อ 3 ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบรายงานดังกล่าวแล้วเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้รับเลขที่ใบรับแบบจากระบบการยื่นแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,158 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 40)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน” หมายความถึง สถาบันการเงิน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความถึง เจ้าหนี้อื่น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565
“ลูกหนี้” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๒ หนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด หมายความว่า หนี้ที่ดําเนินการตามมาตรการหรือหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๓ กรณีตามข้อ 2 เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่ เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,159 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 41) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(ฉบับที่ 41)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
สําหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เพื่อนําไปชําระหนี้ที่ค้างชําระแก่เจ้าหนี้ ซึ่งดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“เจ้าหนี้” หมายความถึง สถาบันการเงิน และบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 742) พ.ศ. 2565
“ลูกหนี้” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๒ จํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ที่นํามาจํานองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้และสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จํานวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชําระอยู่กับเจ้าหนี้หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับเจ้าหนี้และต้องเป็นจํานวนเงินที่นําไปชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
การยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ เจ้าหนี้และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จะต้องร่วมกันจัดทําหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ลูกหนี้ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ประสงค์จะชําระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่ลูกหนี้มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่ เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,160 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 421) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะเวลาเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 421)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะเวลา
เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 5 (1) และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 738) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกัน ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(2) เครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotics Excellence : CoRE)
ข้อ ๒ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจํานวนเท่ากันของจํานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสําหรับระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน โดยให้เริ่มยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 2 ต้องดําเนินการดังนี้
(1) จัดทําโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติและแผนการจ่ายเงินตามตารางการแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศนี้ และแจ้งต่ออธิบดีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
(2) จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการลงทุนในระบบอัตโนมัติ โดยมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้และเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นต้องปรากฏอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินหรือเอกสารอื่นใดในทํานองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,161 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 422) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจ้างแรงงาน ลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 422)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สําหรับการจ้างแรงงาน ลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 739) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสําหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ตามจํานวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อเดือน ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงานที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 หรือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงานที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 711) พ.ศ. 2563 แล้วแต่กรณี
(2) บุคลากรที่จ้างต้องเป็นบุคลากรที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
(3) ตําแหน่งงานที่จ้างต้องเป็นตําแหน่งงานของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้ทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะสูงซึ่งมีรายการตามที่แนบท้ายประกาศนี้ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,162 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 423) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 423)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สําหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 740) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือในการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือในการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
(2) ต้องเริ่มการศึกษาหรือฝึกอบรมหลักสูตรตาม (1) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
ข้อ ๒ การศึกษาหรือการฝึกอบรมในหลักสูตรตามข้อ 1 ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้างนั้น
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 740) พ.ศ. 2564 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรอื่นอีก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,163 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 424) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 424)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สําหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (104) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 380 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การคํานวณผลประโยชน์และผลขาดทุนจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป และเมื่อได้เลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างใดแล้ว ให้ใช้วิธีการทางบัญชีนั้นในการคํานวณผลประโยชน์และผลขาดทุนจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลดังกล่าวตลอดปีภาษี
ราคาคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลคงเหลือในวันสุดท้ายของปีภาษีจากการคํานวณโดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ให้ถือราคานี้เป็นราคาทุนสําหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลคงเหลือยกมาสําหรับปีภาษีถัดไปด้วย
ข้อ ๒ ผู้มีเงินได้จากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดทําบัญชีเพื่อแสดงรายการผลกําไรและผลขาดทุนจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล และเก็บรักษารายการดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้โดยให้มีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อย่อของคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล
(2) วันที่และเวลาที่โอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล
(3) ประเภทรายการธุรกรรม
(4) ปริมาณคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่ทําการโอน
(5) ราคาคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่ทําการโอน
(6) มูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่คํานวณตาม (4) และ (5) ในหน่วยบาท
(7) ค่าธรรมเนียมการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในหน่วยบาท
(8) ต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,164 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 244) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 244)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 192) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงินโดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2569
(ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และเป็นหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2569”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 192) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ใน (ก) และ (ข) ของวรรคสอง
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า
(1) เจ้าหนี้ที่เป็นบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน
(2) เจ้าหนี้อื่นนอกจาก (1) ที่ได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน” หมายความว่า บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินและประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
(2) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
(3) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
(4) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
(5) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(6) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(7) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(8) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(9) บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินอื่นที่เข้าร่วมและดําเนินการตามโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย
“บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน” หมายความว่า บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,165 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 425) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 425)
เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 749) พ.ศ. 2565 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละยี่สิบห้าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเฉพาะการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากโรงงานที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีหนังสือรับรองการผลิตผลิตภัณฑ์จากสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้จะต้องซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพตามประเภทดังนี้
(1) ถุงหูหิ้ว
(2) ถุงขยะ
(3) แก้วพลาสติก
(4) จาน ชาม ถาดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
(5) ช้อน ส้อม มีดพลาสติก
(6) หลอดพลาสติก
(7) ถุงพลาสติกสําหรับเพาะชํา
(8) ฟิล์มคลุมหน้าดิน
(9) ขวดพลาสติก
(10) ฝาแก้วน้ํา
(11) ฟิล์มปิดฝาแก้ว
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดของการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ลวรณ แสงสนิท
นายลวรณ แสงสนิท
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,166 |
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 | พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔
--------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕
(๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
(๓) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๗
(๔) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๗
(๕) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๗
(๖) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๗) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๒ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๘) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๙) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๓/๑ การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จําเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอํานาจตัดสินใจ การอํานวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน
การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคํานึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง
ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้
มาตรา ๔ ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
(๑) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
(๒) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(๓) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๕ การแบ่งราชการออกเป็นส่วนต่างๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้กําหนดตําแหน่งและอัตราเงินเดือนโดยคํานึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของส่วนราชการนั้นๆ ไว้ด้วย
การบรรจุและการแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งหน้าที่ราชการต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ส่วน ๑ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
------------------------------
มาตรา ๗ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี
(๒) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(๔) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
สํานักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
ส่วนราชการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๘ ทวิ การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกําหนดตําแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอนอํานาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอนข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณี
ให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสํานักงบประมาณมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกําหนดตําแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของ ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกําหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ ตรี การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่ชื่อตําแหน่งของข้าราชการในส่วนราชการนั้นเปลี่ยนไปให้ระบุการเปลี่ยนชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่น ประกาศ หรือคําสั่งใดที่อ้างถึงส่วนราชการหรือตําแหน่งของข้าราชการที่ได้ ถูกเปลี่ยนชื่อตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่น ประกาศหรือคําสั่งนั้นอ้างถึงส่วนราชการหรือตําแหน่งของข้าราชการที่ได้เปลี่ยนชื่อนั้น
มาตรา ๘ จัตวา การยุบส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่ายที่เหลืออยู่ของส่วนราชการนั้นเป็นอันระงับไป สําหรับทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการนั้นให้โอนให้แก่ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็น ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี สําหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กําหนดใน พระราชกฤษฎีกา
ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุยุบตําแหน่ง อันเนื่องมาแต่การยุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับอื่นแล้ว ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างตามวรรคสามก็ให้กระทําได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามวรรคสาม แต่ทั้งนี้ต้องกระทําภายในสามสิบวันนับแต่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ เบญจ พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๘ ทวิ หรือมาตรา ๘ จัตวา ที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จัดตั้งส่วนราชการ กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตาม มาตรา ๒๓๐ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ระบุให้ชัดเจนในพระราชกฤษฎีกาว่าบทบัญญัติใดถูกแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกเป็นประการใดในกฎหมายนั้น
มาตรา ๘ ฉ การแบ่งส่วนราชการภายในสํานักงานรัฐมนตรี กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอํานาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการดังกล่าว กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๘ สัตต ให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสํานักงบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกําหนดอํานาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการตามมาตรา ๘ ฉ ในการเสนอความเห็นดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดอัตรากําลัง และสํานักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้สอดคล้องเสนอไปในคราวเดียวกัน
มาตรา ๘ อัฏฐ การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
หมวด ๑ การจัดระเบียบราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี
-----------------------------
มาตรา ๙ การจัดระเบียบราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
ให้ส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นกรม
สํานักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายในขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทําหน้าที่จัดทํานโยบายและแผน กํากับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ เพื่อการนี้นายกรัฐมนตรีจะสั่งให้กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมใน สํานักนายกรัฐมนตรีจัดทําก็ได้
มาตรา ๑๐ สํานักนายกรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
สํานักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในสํานักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ โดยจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีหรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี การสั่งและการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่เพราะนายกรัฐมนตรีตาย ขาดคุณสมบัติ ต้องคําพิพากษาให้จําคุก สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง หรือวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนจากตําแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ให้คณะรัฐมนตรีดังกล่าวอํานวยความสะดวกให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ดําเนินการใดๆ เท่าที่จําเป็น เพื่อรับแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่มาเตรียมการดําเนินการได้
มาตรา ๑๑ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) กํากับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจําเป็นจะยับยั้ง การปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอํานาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(๒) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกํากับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง
(๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตําแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(๔) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสํานักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสํานักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
(๕) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดํารงตําแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดํารงตําแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตําแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
(๖) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ และกําหนดอัตรา เบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
(๗) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี
(๘) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(๙) ดําเนินการอื่นๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย
ระเบียบตาม (๘) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือทบวง นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนก็ได้
มาตรา ๑๓ สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และให้มีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการและจะให้มีผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
มาตรา ๑๔ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์ มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และให้มีรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
ให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
มาตรา ๑๕ ในสํานักนายกรัฐมนตรี อาจมีส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
มาตรา ๑๖ สํานักนายกรัฐมนตรี นอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี คนหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจําในสํานักนายกรัฐมนตรี กําหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสํานักนายกรัฐมนตรี และลําดับความสําคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจําปีของส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีกําหนดรวมทั้งกํากับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี รองจากนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นข้าราชการของส่วนราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ในการปฏิบัติราชการของปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้มีรองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
ในกรณีที่มีรองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือมีทั้งรองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ให้รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และให้รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และผู้ดํารงตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ตามที่ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีกําหนดหรือมอบหมาย
ให้นําความในมาตรา ๑๙/๑ มาใช้บังคับแก่ราชการของสํานักนายกรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวกับสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการที่มิได้ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๗ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของสํานักนายกรัฐมนตรี และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ รวมทั้งกํากับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสํานักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นราชการของส่วนราชการซึ่งกฎหมายกําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่สํานักนายกรัฐมนตรีมีทบวงอยู่ในสังกัดและยังไม่สมควรจัดตั้งสํานักงานปลัดทบวงตามมาตรา ๒๕ วรรคสาม จะให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีทําหน้าที่สํานักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้
หมวด ๒ การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
-------------------------------
มาตรา ๑๘ ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางกระทรวงเห็นว่าไม่มีความจําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ให้ส่วนราชการตาม (๒) และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม (๓) มีฐานะเป็นกรม
กระทรวงใดมีความจําเป็นจะต้องมีส่วนราชการเพื่อทําหน้าที่จัดทํานโยบายและแผน กํากับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสํานักนโยบายและแผนเป็น ส่วนราชการภายใน ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้
ในกระทรวงจะตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการเพื่อรับผิดชอบภาระหน้าที่ใดโดยเฉพาะซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการดังกล่าวเป็นอธิบดีหรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดีก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้อธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวมีอํานาจหน้าที่สําหรับส่วนราชการนั้นเช่นเดียวกับอธิบดี ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้คณะอนุกรรมการสามัญประจํากระทรวงทําหน้าที่คณะอนุกรรมการสามัญประจํากรม สําหรับส่วนราชการนั้น
การตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสี่ให้กระทําได้ในกรณีเป็นการยุบ รวม หรือโอนกรมในกระทรวงใดมาจัดตั้งเป็นส่วนราชการตามวรรคสี่ในกระทรวงนั้นหรือกระทรวงอื่น โดยไม่มีการกําหนดตําแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น และให้นําความในมาตรา ๘ ทวิ และมาตรา ๘ เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การแต่งตั้งอธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของส่วนราชการตามวรรคสี่ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้นําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ และให้ผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง ส่วนราชการตามวรรคสี่ของกระทรวงใด ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
ให้นําความในวรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก และวรรคเจ็ด มาใช้บังคับกับสํานักนายกรัฐมนตรีและทบวงตามหมวด ๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๑๙ กระทรวงมีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหนึ่งๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ส่วนการจัดระเบียบราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับการทหาร และการศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๙/๑ ให้ปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจและหัวหน้า ส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่างๆ ในกระทรวงร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายของกระทรวง
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ากลุ่มภารกิจดังกล่าวจะมีมติให้นํางบประมาณที่แต่ละส่วนราชการได้รับจัดสรรมาดําเนินการและใช้จ่ายร่วมกันก็ได้
มาตรา ๒๐ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๑ ในกระทรวงหนึ่ง ให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกําหนด หรืออนุมัติ โดยจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงปฏิบัติราชการแทนก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจําในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ กํากับการทํางานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัดติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดกระทรวง
ในการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวงตามวรรคหนึ่ง จะให้มี รองปลัดกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมายก็ได้
ภายในกระทรวงจะออกกฎกระทรวงกําหนดให้ส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่สองส่วนราชการขึ้นไปอยู่ภายใต้กลุ่มภารกิจเดียวกันก็ได้ โดยให้แต่ละกลุ่มภารกิจมีผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีคนหนึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจรับผิดชอบราชการและบังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกลุ่มภารกิจนั้น โดยปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงหรือขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีตามที่กําหนดโดยกฎกระทรวง และในกรณีที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีต้องรายงานผลการดําเนินงานต่อปลัดกระทรวงตามที่กําหนดโดยกฎกระทรวง
ในกลุ่มภารกิจเดียวกัน หัวหน้ากลุ่มภารกิจอาจกําหนดให้ส่วนราชการของส่วนราชการระดับกรมแห่งหนึ่งปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารบรรณ บุคลากร การเงิน การพัสดุ หรือการบริหารงานทั่วไปให้แก่ส่วนราชการแห่งอื่นภายใต้กลุ่มภารกิจเดียวกันก็ได้
กระทรวงใดมิได้จัดให้มีกลุ่มภารกิจ และมีปริมาณงานมาก จะให้มีรองปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการเพิ่มขึ้นเป็นสองคนก็ได้
ในกรณีที่กระทรวงใดมีการจัดกลุ่มภารกิจ จะให้มีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจก็ได้ และให้อํานาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่เกี่ยวกับราชการของส่วนราชการในกลุ่มภารกิจเป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้ากลุ่มภารกิจนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎกระทรวงกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
กระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้น และมีความจําเป็นอย่างยิ่งต้องมี รองปลัดกระทรวงมากกว่าที่กําหนดไว้ในวรรคห้าหรือวรรคหก คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจะร่วมกันอนุมัติให้กระทรวงนั้นมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษโดยจะกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้
ในการดําเนินการตามวรรคเจ็ด ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกัน โดยกรรมการแต่ละฝ่ายจะต้องมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุม และในการออกเสียงลงมติจะต้องได้คะแนนเสียงของกรรมการแต่ละฝ่ายเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการฝ่ายดังกล่าวที่มาประชุม แล้วให้นํามติดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
มาตรา ๒๒ สํานักงานรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้
มาตรา ๒๓ สํานักงานปลัดกระทรวงมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ รวมทั้งกํากับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ในกรณีที่กระทรวงมีทบวงอยู่ในสังกัดและยังไม่สมควรจัดตั้งสํานักงานปลัดทบวงตามมาตรา ๒๕ วรรคสาม จะให้สํานักงานปลัดกระทรวงทําหน้าที่สํานักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้
มาตรา ๒๔ การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงให้อนุโลมตามการจัดระเบียบราชการของกระทรวงซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ ถึงมาตรา ๒๓
หมวด ๓ การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
-----------------------------------------
มาตรา ๒๕ ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง จะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง เพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้ และให้จัดระเบียบราชการในทบวงดังนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดทบวง
(๓) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงซึ่งเห็นว่าไม่มีความจําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ให้ส่วนราชการตาม (๒) และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม (๓) มีฐานะเป็นกรม
ในกรณีที่สํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงมีทบวงอยู่ในสังกัด และปริมาณและคุณภาพของราชการในทบวงยังไม่สมควรจัดตั้งสํานักงานปลัดทบวง จะให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือสํานักงานปลัดกระทรวงทําหน้าที่สํานักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้
มาตรา ๒๖ การจัดระเบียบราชการในทบวงหนึ่งๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ส่วนการจัดระเบียบราชการในทบวงมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ทบวงมีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม
มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๑ ทบวงหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และกําหนดนโยบายของทบวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการทบวงมอบหมาย
ในกรณีที่เป็นทบวงสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงปฏิบัติราชการภายใต้การกํากับของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๘ ทบวง นอกจากมีรัฐมนตรีว่าการทบวงและรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ให้มีปลัดทบวงคนหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจําในทบวง กําหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของทบวง และลําดับความสําคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจําปีของ ส่วนราชการในทบวงให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกําหนด รวมทั้งกํากับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในทบวง
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในทบวงรองจากรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานปลัดทบวงและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดทบวง
ในการปฏิบัติราชการของปลัดทบวงตามวรรคหนึ่ง ให้มีรองปลัดทบวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยปลัดทบวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
ในกรณีที่มีรองปลัดทบวงหรือผู้ช่วยปลัดทบวง หรือมีทั้งรองปลัดทบวงและผู้ช่วยปลัดทบวง ให้รองปลัดทบวงหรือผู้ช่วยปลัดทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากปลัดทบวง
ให้รองปลัดทบวง ผู้ช่วยปลัดทบวง และผู้ดํารงตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสํานักงานปลัดทบวง มีอํานาจหน้าที่ตามที่ปลัดทบวงกําหนดหรือมอบหมาย
ในกรณีที่ปลัดทบวงจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กล่าวถึงอํานาจของปลัดทบวงไว้ให้ปลัดทบวงมีอํานาจดังเช่นปลัดกระทรวง
ในกรณีที่ให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือสํานักงานปลัดกระทรวงทําหน้าที่สํานักงานปลัดทบวง ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงทําหน้าที่ปลัดทบวง
มาตรา ๒๙ สํานักงานรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการทบวง และจัดให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้
มาตรา ๓๐ สํานักงานปลัดทบวงมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของทบวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดทบวงโดยเฉพาะ รวมทั้งกํากับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในทบวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของทบวง
หมวด ๔ การจัดระเบียบราชการในกรม
----------------------------------------
มาตรา ๓๑ กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงอาจแบ่งส่วนราชการดังนี้
(๑) สํานักงานเลขานุการกรม
(๒) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มี ความจําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจําเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (๑)หรือ (๒) ก็ได้
สําหรับสํานักงานตํารวจแห่งชาติจะแบ่งส่วนราชการให้เหมาะสมกับราชการของตํารวจ
มาตรา ๓๒ กรมมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กําหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของกรมนั้น
ในกรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผน การปฏิบัติราชการของกระทรวงและในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกําหนดอํานาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อํานาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวให้คํานึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ และนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย
ในกรมหนึ่งจะให้มีรองอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรองจากอธิบดีและช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการก็ได้
รองอธิบดีมีอํานาจหน้าที่ตามที่อธิบดีกําหนดหรือมอบหมาย
มาตรา ๓๓ สํานักงานเลขานุการกรมมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม และราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะมีเลขานุการกรมเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานเลขานุการกรม
ส่วนราชการตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง (๒) และส่วนราชการตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ให้มีอํานาจหน้าที่ตามที่ได้กําหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้มีผู้อํานวยการกอง หัวหน้ากอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบเท่ากับผู้อํานวยการกอง หรือหัวหน้ากองหรือหัวหน้าส่วนราชการตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
มาตรา ๓๔ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ จะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตเพื่อให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจําเขตแล้วแต่จะเรียกชื่อ เพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการก็ได้
หัวหน้าส่วนราชการประจําเขตมีอํานาจหน้าที่เป็นผู้รับนโยบายและคําสั่งจากกระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติงานทางวิชาการ และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจําสํานักงานเขตซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น
ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การแบ่งเขตและการปกครองบังคับบัญชาของตํารวจซึ่งได้กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๓๕ กระทรวง ทบวง หรือกรมใดโดยสภาพและปริมาณของงานสมควรมีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้น ก็ให้กระทําได้
ผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรม มีอํานาจหน้าที่ตรวจและแนะนําการปฏิบัติราชการอันเกี่ยวกับกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้นให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของกระทรวง ทบวง หรือกรมหรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๓๖ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมจะมีเลขาธิการ ผู้อํานวยการ หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด และจะให้มีรองเลขาธิการ รองผู้อํานวยการหรือตําแหน่งรองของตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือผู้ช่วยเลขาธิการ ผู้ช่วยผู้อํานวยการหรือตําแหน่งผู้ช่วยของตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือมีทั้งรองเลขาธิการ และผู้ช่วยเลขาธิการหรือทั้งรองผู้อํานวยการและผู้ช่วยอํานวยการ หรือทั้งตําแหน่งรองและตําแหน่งผู้ช่วยของตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และช่วยปฏิบัติราชการแทนก็ได้
มาตรา ๓๗ ให้นําความในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ มาใช้บังคับแก่ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมโดยอนุโลม
หมวด ๕ การปฏิบัติราชการแทน
-------------------------------------------------
มาตรา ๓๘ อํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดําเนินการอื่นที่ผู้ดํารงตําแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กําหนดเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอํานาจไว้ ผู้ดํารงตําแหน่งนั้นอาจมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งอาจกําหนดให้มีการมอบอํานาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดจนการมอบอํานาจให้ทํานิติกรรมสัญญา ฟ้องคดีและดําเนินคดี หรือกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการมอบอํานาจหรือที่ผู้รับมอบอํานาจต้องปฏิบัติก็ได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับอํานาจในการอนุญาตตามกฎหมาย ที่บัญญัติให้ต้องออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอํานาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งมีอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวมีอํานาจมอบอํานาจให้ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตามที่เห็นสมควร หรือตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดในกรณีมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจมอบอํานาจได้ต่อไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้มอบอํานาจกําหนด
ในกรณีตามวรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนจะตราพระราชกฤษฎีกากําหนดรายชื่อกฎหมายที่ผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งมีอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวอาจมอบอํานาจตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดใน พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็ได้
การมอบอํานาจให้ทําเป็นหนังสือ
มาตรา ๓๙ เมื่อมีการมอบอํานาจแล้ว ผู้รับมอบอํานาจมีหน้าที่ต้องรับ มอบอํานาจนั้น โดยผู้มอบอํานาจจะกําหนดให้ผู้รับมอบอํานาจมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการใช้อํานาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ในกรณีการมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะรัฐมนตรีจะกําหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมอบอํานาจต่อไปให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดก็ได้
มาตรา ๔๐ ในการมอบอํานาจ ให้ผู้มอบอํานาจพิจารณาถึงการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตําแหน่งของผู้รับมอบอํานาจ และผู้รับมอบอํานาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอํานาจตามวัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจดังกล่าว
เมื่อได้มอบอํานาจแล้ว ผู้มอบอํานาจมีหน้าที่กํากับดูแลและติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจ และให้มีอํานาจแนะนําหรือแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจได้
มาตรา ๔๐/๑ ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการภายในกรม ถ้า การปฏิบัติราชการใดของส่วนราชการนั้นมีลักษณะเป็นงานการให้บริการหรือมีการให้บริการเกี่ยวเนื่องอยู่ด้วยและหากแยกการบริหารออกเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษจะบรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๓/๑ ยิ่งขึ้น ส่วนราชการดังกล่าวโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะแยกการปฏิบัติราชการในเรื่องนั้น ไปจัดตั้งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ซึ่งมิใช่เป็น ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจแต่อยู่ในกํากับของส่วนราชการดังกล่าวก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยให้กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้ง การมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทน วิธีการบริหารงาน การดําเนินการด้านทรัพย์สิน การกํากับดูแล สิทธิประโยชน์ของบุคลากรและการยุบเลิกไว้ด้วย
ให้หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ มีหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการตามภารกิจที่จัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษนั้นเป็นหลัก และสนับสนุนภารกิจอื่นของ ส่วนราชการดังกล่าวตามที่ได้รับมอบหมาย และอาจให้บริการแก่ส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน แต่ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อภารกิจอันเป็นวัตถุประสงค์แห่งการจัดตั้ง
ให้รายได้ของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเป็นรายได้ที่ไม่ต้องนําส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
หมวด ๖ การรักษาราชการแทน
-----------------------------------------
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมี แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่รัฐมนตรีว่าการทบวงด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี หรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีหลายคน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกระทรวง หลายคน ให้นายกรัฐมนตรีสําหรับสํานักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง รองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายกรัฐมนตรีสําหรับสํานักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดํารงตําแหน่ง ไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ปลัดกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการกองหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
มาตรา ๔๕ ให้นําความในมาตรา ๔๔ มาใช้บังคับแก่กรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งปลัดทบวงหรือรองปลัดทบวงตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิบดีหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองอธิบดีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี หรือข้าราชการตั้งแต่ตําแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปคนใด คนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้านายกรัฐมนตรีสําหรับสํานักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเห็นสมควรเพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการปฏิบัติราชการในกรมนั้น นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่ง ซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่า เป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้อธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี หรือข้าราชการตั้งแต่ตําแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ให้นําความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการ หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดี ในส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรมด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๗ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการกรมตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง หรือหัวหน้าส่วนราชการตามมาตรา ๓๓ วรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมคนหนึ่ง ซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า เป็นผู้รักษาราชการแทน
ให้นําความในมาตรานี้มาใช้บังคับแก่ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๘ ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้มีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดํารงตําแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอํานาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดํารงตําแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอํานาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอํานาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดํารงตําแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔๙ การเป็นผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนอํานาจนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าอธิบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะแต่งตั้งข้าราชการอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทนตามอํานาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองหรือผู้ช่วยพ้นจากความเป็นผู้รักษาราชการแทนนับแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งเข้ารับหน้าที่
มาตรา ๕๐ ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร
หมวด ๗ การบริหารราชการในต่างประเทศ
------------------------------------
มาตรา ๕๐/๑ ในหมวดนี้
“คณะผู้แทน” หมายความว่า บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายทหารประจําการในต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล ส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ และคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศ
“หัวหน้าคณะผู้แทน” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศ ให้หมายความว่า ข้าราชการสังกัดส่วนราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้า คณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศ
“รองหัวหน้าคณะผู้แทน” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทน ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศ ให้หมายความว่าข้าราชการสังกัดส่วนราชการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในลักษณะเดียวกัน
มาตรา ๕๐/๒ ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับนโยบายและคําสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับการปฏิบัติราชการในต่างประเทศ และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบุคคลใน คณะผู้แทน และจะให้มีรองหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนก็ได้
การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลใน คณะผู้แทนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
หัวหน้าคณะผู้แทนอาจมอบอํานาจให้บุคคลในคณะผู้แทนปฏิบัติราชการแทนตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๕๐/๓ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนรักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีรองหัวหน้าคณะผู้แทนที่จะรักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง หรือไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งใดอันเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้การรักษาราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนหรือผู้ดํารงตําแหน่งใดอันเป็นบุคคลในคณะผู้แทน เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับข้าราชการฝ่ายทหารประจําการในต่างประเทศ
มาตรา ๕๐/๔ หัวหน้าคณะผู้แทนมีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจําอยู่ในประเทศที่ตนมีอํานาจหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๔) รายงานข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของบุคคลตาม (๓) เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการต้นสังกัดเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน
มาตรา ๕๐/๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่า อาจ มอบอํานาจให้หัวหน้าคณะผู้แทนปฏิบัติราชการแทนได้ ในการนี้ให้นําความในมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อมีการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่งโดยชอบแล้ว ผู้รับมอบอํานาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอํานาจนั้น และจะมอบอํานาจนั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่เป็นการ มอบอํานาจต่อไปให้บุคคลในคณะผู้แทนตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
เมื่อได้มีการมอบอํานาจแล้ว หัวหน้าคณะผู้แทนมีหน้าที่กํากับ ติดตามผล การปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจ และให้มีอํานาจแนะนําและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจได้
มาตรา ๕๐/๖ การที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอํานาจหรือมีคําสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะผู้แทน ให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ
ส่วน ๒ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
-------------------------------
มาตรา ๕๑ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้
(๑) จังหวัด
(๒) อําเภอ
หมวด ๑ จังหวัด
--------------------------
มาตรา ๕๒ ให้รวมท้องที่หลายๆ อําเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคําขอจัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็น ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ34๓๕
มาตรา ๕๑/๑ ให้จังหวัดมีอํานาจภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑) นําภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(๒) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม
(๓) จัดให้มีการคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม และช่วยเหลือประชาชนและชุมชนที่ด้อยโอกาส เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในการดํารงชีวิตอย่างพอเพียง
(๔) จัดให้มีการบริการภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็วและมีคุณภาพ
(๕) จัดให้มีการส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถดําเนินการตามอํานาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะดําเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวง ทบวง กรม
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย หรือที่มีกฎหมายกําหนด
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ประจําอยู่ในเขตจังหวัดที่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องและเป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดตามมาตรา ๕๓/๑
มาตรา ๕๓ ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกําหนด
คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทําการอัยการจังหวัด ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัด และหัวหน้า ส่วนราชการประจําจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่างๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจําอยู่ในจังหวัด กระทรวง หรือทบวงละหนึ่งคน เป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสํานักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งกรมต่างๆ ในกระทรวงหรือทบวงนั้นส่งมาประจําอยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงหรือ ปลัดทบวงกําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนของกระทรวงหรือทบวงในคณะกรมการจังหวัด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
มาตรา ๕๓/๑ ให้จังหวัดจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด
ในการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทําการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลางและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทน ภาคธุรกิจเอกชน
การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง จํานวนและวิธีการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการดําเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทําในพื้นที่จังหวัดต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว
มาตรา ๕๓/๒ ให้นําความในมาตรา ๕๓/๑ มาใช้บังคับกับการจัดทําแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๕๔ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคําสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอําเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการรองจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๕๕ ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดดังกล่าวในมาตรา๕๔ ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจําทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอํานาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น
มาตรา ๕๕/๑ ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ธ.จ.” ทําหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะ การปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓/๑
ก.ธ.จ. ประกอบด้วยผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอํานาจในจังหวัดเป็นประธาน ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารและผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ทั้งนี้ จํานวน วิธีการสรรหา และการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ธ.จ. ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่ ก.ธ.จ. พบว่ามีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับหรือมีกรณีที่เป็นการทุจริต ให้เป็นหน้าที่ของ ก.ธ.จ. ที่จะต้องแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่ง แล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีทั้งผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๕๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัด
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคําแนะนําและคําชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) กํากับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจําอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการ ฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี หรือยับยั้งการกระทําใดๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรมมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
(๕) ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
(๖) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสํานักงบประมาณตามมาตรา ๕๒ วรรคสาม และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
(๗) กํากับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
(๘) กํากับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอํานาจทํารายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
(๙) บรรจุ แต่งตั้ง ให้บําเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย
มาตรา ๕๘ การยกเว้น จํากัด หรือตัดทอน อํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการในจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอํานาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทําได้โดยตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๙ ให้นําความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๐ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้
(๑) สํานักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสํานักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานจังหวัด
(๒) ส่วนต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
หมวด ๒ อําเภอ
----------------------------
มาตรา ๖๑ ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอําเภอ
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๖๑/๑ ให้อําเภอมีอํานาจหน้าที่ภายในเขตอําเภอ ดังต่อไปนี้
(๑) อํานาจและหน้าที่ตามที่กําหนดในมาตรา ๕๒/๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) โดยให้นําความในมาตรา ๕๒/๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม
(๓) ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดําเนินการให้มีแผนชุมชน เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม
(๔) ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิด ความสงบเรียบร้อยในสังคมตามมาตรา ๖๑/๒ และมาตรา ๖๑/๓
มาตรา ๖๑/๒ ในอําเภอหนึ่ง ให้มีคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอําเภอ ในเรื่องที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดินมรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท หรือมากกว่านั้น ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
ให้นายอําเภอโดยความเห็นชอบของคณะกรมการจังหวัดจัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท โดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์เหมาะสมกับการทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นและคู่พิพาทตกลงยินยอมให้ใช้วิธีการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทให้คู่พิพาทแต่ละฝ่ายเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อตามวรรคสองฝ่ายละหนึ่งคน และให้นายอําเภอ พนักงานอัยการประจําจังหวัดหรือปลัดอําเภอที่ได้รับมอบหมายคนหนึ่งเป็นประธาน เพื่อทําหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
ให้คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทมีอํานาจหน้าที่ รับฟังข้อพิพาทโดยตรงจากคู่พิพาท และดําเนินการไกล่เกลี่ยให้เกิดข้อตกลงยินยอมร่วมกันระหว่างคู่พิพาทโดยเร็ว ถ้าคู่พิพาททั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทจัดให้มีการทําสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่พิพาท และให้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ในกรณีที่คู่พิพาทไม่อาจตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจําหน่ายข้อพิพาทนั้น
ข้อตกลงตามวรรคสี่ให้มีผลเช่นเดียวกับคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําบัญชี การดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการจัดทําสัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนค่าตอบแทนของคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคําร้องต่อพนักงานอัยการ และให้พนักงานอัยการดําเนินการยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อให้ออกคําบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทได้รับข้อพิพาทไว้พิจารณา ให้อายุความในการฟ้องร้องคดีสะดุดหยุดลง นับแต่วันที่ยื่นข้อพิพาทจนถึงวันที่คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจําหน่ายข้อพิพาทหรือวันที่คู่พิพาททําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แล้วแต่กรณี
ความในมาตรานี้ให้ใช้กับเขตของกรุงเทพมหานครด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๖๑/๓ บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอําเภอใดหากเป็นความผิดอันยอมความได้ และมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ ถ้าผู้เสียหายและ ผู้ถูกกล่าวหายินยอม หรือแสดงความจํานง ให้นายอําเภอของอําเภอนั้นหรือปลัดอําเภอที่นายอําเภอดังกล่าวมอบหมายเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามควรแก่กรณี และเมื่อผู้เสียหายและ ผู้ถูกกล่าวหายินยอมเป็นหนังสือตามที่ไกล่เกลี่ยและปฏิบัติตามคําไกล่เกลี่ยดังกล่าวแล้ว ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาไม่ยินยอมตามที่ไกล่เกลี่ย ให้จําหน่าย ข้อพิพาทนั้นแต่เพื่อประโยชน์ในการที่ผู้เสียหายจะไปดําเนินคดีต่อไป อายุความการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายอาญา ให้เริ่มนับแต่วันที่จําหน่ายข้อพิพาท
หลักเกณฑ์และวิธีในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๒ นําอําเภอหนึ่ง มีนายอําเภอคนหนึ่งเป็นหัวหนาปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอําเภอ
นายอําเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดาอํานาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอําเภอหรือนายอําเภอซึ่งกฎหมายกําหนดให้กรมการอําเภอและนายอําเภอมีอยู่ ให้โอนไปเป็นอํานาจและหน้าที่ของนายอําเภอ
มาตรา ๖๓ ในอําเภอหนึ่ง นอกจากจะมีนายอําเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบดังกล่าวในมาตรา ๖๒ ให้มีปลัดอําเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจําให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอําเภอ และมีอํานาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในอําเภอนั้น
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอําเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอผู้มีอาวุโส ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอ แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายอําเภอแต่งตั้งปลัดอําเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอําเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนไว้ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ปลัดอําเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอ ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๖๕ นายอําเภอมีอํานาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอําเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคําแนะนําและคําชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและ ผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และ ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอําเภอตามกฎหมาย
มาตรา ๖๖ ให้แบ่งส่วนราชการของอําเภอดังนี้
(๑) สํานักงานอําเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอําเภอนั้นๆ มีนายอําเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(๒) ส่วนต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอําเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอนั้นๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา ๖๗ ให้นําความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๘ การจัดการปกครองอําเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่
หมวด ๓ ส่วนที่ ๓
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
-------------------------------
มาตรา ๖๙ ท้องถิ่นใดที่เห็นสมควรจัดให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองท้องถิ่นให้จัดระเบียบการปกครองเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้
(๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒) เทศบาล
(๓) สุขาภิบาล
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด
มาตรา ๗๑ การจัดระเบียบการปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลสุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ส่วน ๔ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
---------------------------
มาตรา ๗๑/๑ ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ร.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีหนึ่งคนที่นายกรัฐมนตรีกําหนดเป็นรองประธาน ผู้ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายหนึ่งคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสิบคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทางด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์รัฐศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ การเงินการคลัง จิตวิทยาองค์การ และสังคมวิทยาอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล คณะรัฐมนตรีจะกําหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคนต้องทํางานเต็มเวลาก็ได้
เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตําแหน่ง
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจากรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอโดยวิธีการสรรหา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๗๑/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๕) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบใน วงราชการ
มาตรา ๗๑/๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี ผู้ซึ่งพ้นจากตําแหน่งแล้ว อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่
มาตรา ๗๑/๔ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗๑/๒
(๔) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๗๑/๕ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระและยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
เมื่อตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ ให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้
มาตรา ๗๑/๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งมีวาระการดํารงตําแหน่งเท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังอยู่ในตําแหน่ง
มาตรา ๗๑/๗ การประชุม ก.พ.ร. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ไม่ว่ากรรมการดังกล่าวจะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทํางานเต็มเวลาหรือไม่
ในการประชุม ก.พ.ร. ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานปฏิบัติหน้าที่แทน ในกรณีที่ไม่มีรองประธานหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๗๑/๘ การปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทํางานเต็มเวลา ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๗๑/๙ ให้มีสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็น ส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี ทําหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.พ.ร. และหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือ ก.พ.ร. กําหนด โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๗๑/๑๐ ก.พ.ร. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามมาตรา ๓/๑ โดยจะเสนอแนะให้มีการกําหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการก็ได้
(๒) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกํากับของราชการฝ่ายบริหารตามที่หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ
(๓) รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดําเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรา ๓/๑
(๔) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกําหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกําหนดอํานาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
(๕) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา และกฎ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
(๖) ดําเนินการให้มีการชี้แจงทําความเข้าใจแก่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป รวมตลอดทั้งการฝึกอบรม
(๗) ติดตาม ประเมินผล และแนะนําเพื่อให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
(๘) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติ ในกรณีที่เป็นปัญหา มติของคณะกรรมการตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
(๙) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา
(๑๐) จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
(๑๑) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่มอบหมาย และจะกําหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นด้วยก็ได้
(๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
บทเฉพาะกาล -
----------------------------
มาตรา ๗๒ คําว่า “ทบวงการเมือง” ตามกฎหมายอื่นที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้หมายความถึงกระทรวง ทบวง กรม ตามพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗๓ พระราชกฤษฎีกา และประกาศของคณะปฏิวัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการในสํานักงานรัฐมนตรี สํานักงานปลัดกระทรวงหรือทบวง กรม และ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรมหรือมีฐานะเป็นกรมที่ได้ตราหรือประกาศโดยอาศัยอํานาจกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดระเบียบราชการตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน
มาตรา ๗๔ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการภายในสํานักงานรัฐมนตรี และกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากรมหรือมีฐานะเป็นกรมใดยังมิได้ระบุอํานาจหน้าที่ไว้ตามมาตรา ๘ วรรคสี่ ให้ดําเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในสองปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๕ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งใดอ้างถึงประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ หรืออ้างถึงบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งนั้นอ้างถึงพระราชบัญญัตินี้ หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน แล้วแต่กรณี
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการจําเป็นต้องกําหนดขอบเขตอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ให้ชัดเจนเพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานซ้ําซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่างๆ และเพื่อให้การบริหารงานในระดับกระทรวงมีเอกภาพสามารถดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกําหนดได้ และสมควรเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนให้ครบถ้วนชัดเจนเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการ และกําหนดอํานาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมขึ้น ประกอบกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการบริหารราชการแผ่นดินได้ประกาศใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรแก้ไขปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติเสียในคราวเดียวกัน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เป็นส่วนราชการสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ในการนี้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ เสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกัน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๖
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและโดยที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งได้ใช้บังคับแล้วบัญญัติให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นส่วนราชการสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ในการนี้ต้องแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อกําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการทั้งสองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๕ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการตามมาตรา ๘วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้คงใช้บังคับได้ต่อไป จนกว่าจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการตามมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๓๐ ได้บัญญัติให้การรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม ที่ไม่มีการกําหนดตําแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นหรือการยุบเลิกส่วนราชการดังกล่าว สามารถทําได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น สมควรกําหนดลักษณะของกรณีที่สามารถตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและวิธีการดําเนินการของแต่ละกรณี และรูปแบบของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสํานักงานรัฐมนตรีและส่วนราชการระดับกรม ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๑๖ ในวาระเริ่มแรก ให้ ก.พ.ร. ดําเนินการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงโครงสร้าง ระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร การปรับเปลี่ยนส่วนราชการเป็นองค์การมหาชน หรือองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ ส่วนราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๗ ให้แก้ไขคําว่า “สํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี” ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นคําว่า “สํานักงานรัฐมนตรี” ทุกแห่ง
มาตรา ๑๘ ให้ดําเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ร. ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้โอนงบประมาณและบุคลากรของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ให้อํานาจหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๘ ทวิ และตามมาตรา ๘ สัตต ใน ส่วนที่เกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการและการกําหนดอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นอํานาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คงมีอํานาจหน้าที่เท่าที่ไม่ซ้ํากับอํานาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.
ให้ดําเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อกําหนดภารกิจของ ก.พ.ร. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําให้แล้วเสร็จและเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๙ ให้บทบัญญัติมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ก่อน การแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ คงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม ให้นํากรณีที่ส่วนราชการใดขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระบบบริหารราชการเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยกําหนดให้การบริหารราชการแนวทางใหม่ต้องมีการกําหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน มีกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการกํากับการกําหนดนโยบายและการปฏิบัติราชการ และเพื่อให้กระทรวงสามารถจัดการบริหารงานให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ จึงกําหนดให้มีรูปแบบการบริหารใหม่ โดยกระทรวงสามารถแยก ส่วนราชการจัดตั้งเป็นหน่วยงานตามภาระหน้าที่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับเป้าหมายของงานที่จะต้องปฏิบัติ และกําหนดให้มีกลุ่มภารกิจของส่วนราชการต่างๆ ที่มีงานสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะสามารถกําหนดเป้าหมายการทํางานร่วมกันได้ และมีผู้รับผิดชอบกํากับการบริหารงานของกลุ่มภารกิจนั้นโดยตรงเพื่อให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งให้มีการประสานการปฏิบัติงาน และการใช้งบประมาณเพื่อที่จะให้การบริหารงานของทุกส่วนราชการบรรลุเป้าหมายของกระทรวงได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความซ้ําซ้อน มีการมอบหมายงานเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ และสมควรกําหนดการบริหารราชการในต่างประเทศให้เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติหน้าที่และสามารถปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ โดยมีหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการ นอกจากนี้ สมควรให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลการจัดส่วนราชการและ การปรับปรุงระบบการทํางานของภาคราชการให้มีการจัดระบบราชการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๖
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการโอนกรมตํารวจไปจัดตั้งเป็นสํานักงานตํารวจแห่งชาติและกําหนดให้ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัด ทําหน้าที่หัวหน้าตํารวจภูธรจังหวัด จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในส่วนของชื่อกรมตํารวจและตําแหน่งของข้าราชการตํารวจในกรมการจังหวัดให้สอดคล้องกัน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๗ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมอบอํานาจตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ยังคงใช้บังคับต่อไปได้ ทั้งนี้ ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระบบการบริหารราชการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการจัดองค์กรภาครัฐให้สอดคล้องกับทิศทางการนําพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อให้การปฏิบัติราชการสามารถอํานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สนับสนุนให้มีการมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนได้กว้างขวางขึ้น เพื่อเน้นการบริการประชาชนให้มีความสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนั้น เพื่อให้การบริหารราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาคสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดบรรลุผล สมควรปรับปรุงอํานาจการดําเนินการของจังหวัด การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดและการจัดทํางบประมาณของจังหวัดให้เหมาะสม รวมทั้งสมควรส่งเสริมให้มีคณะกรรมการธรรมาธิบาลจังหวัด เพื่อสอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันจะทําให้การบริหารเป็นไปด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม และมีความรับผิดชอบ ตลอดจนปรับปรุงอํานาจในทางปกครองของอําเภอเพื่อสนับสนุนให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม และสมควรให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมาตรา ๒๕๕ วรรคห้า บัญญัติให้องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดําเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ | 2,167 |
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 | พระราชบัญญัติ
องค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒
------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“องค์การมหาชน” หมายความว่า องค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
“คณะกรรมการ”๒ หมายความว่า คณะกรรมการของแต่ละองค์การมหาชน
“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการ หรือผู้บริหารสูงสุดซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การมหาชน
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ การจัดตั้ง และวัตถุประสงค์ขององค์การมหาชน
-----------------------------
มาตรา ๕ เมื่อรัฐบาลมีแผนงานหรือนโยบายด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อจัดทําบริการสาธารณะ และมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานบริหารขึ้นใหม่แตกต่างไปจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีความมุ่งหมายให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
กิจการอันเป็นบริการสาธารณะที่จะจัดตั้งองค์การมหาชนตามวรรคหนึ่ง ได้แก่การรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา การศึกษาอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐการทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม การพัฒนาและส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย การถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การอํานวยบริการแก่ประชาชน หรือการดําเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ โดยต้องไม่เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากําไรเป็นหลัก
การพิจารณากิจการตามวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนดโดยข้อเสนอแนะของ กพม.
มาตรา ๕/๑ ให้มีคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า “กพม.” ประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวนสี่คน ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนไม่เกินเจ็ดคน โดยในจํานวนนี้ต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในการบริหารองค์การมหาชนอย่างน้อยสองคน
ให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการและงานวิชาการของ กพม.
มาตรา ๕/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหาพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๕) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
มาตรา ๕/๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะดํารงตําแหน่งกรรมการ ที่ปรึกษา หรือตําแหน่งอื่นใดขององค์การมหาชนในเวลาเดียวกันไม่ได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการ ที่ปรึกษา หรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นใดขององค์การมหาชนให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้กรรมการผู้นั้นลาออกจากตําแหน่งกรรมการ ที่ปรึกษา หรือตําแหน่งอื่นใดขององค์การมหาชนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาตั้งแต่ต้น
มาตรา ๕/๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระและมีการแต่งตั้งกรรมการแทนหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้น อยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกํา หนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๕/๕ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕/๒
(๔) กระทําการอันต้องห้ามตามมาตรา ๕/๓ วรรคหนึ่ง
(๕) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๕/๖ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนภายในสามสิบวันเว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้ กพม. ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่
มาตรา ๕/๗ ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอํานาจดําเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของ กพม. โดยอนุโลม
มาตรา ๕/๘ กพม. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง การรวม หรือการยุบเลิกองค์การมหาชน
(๒) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกําหนดนโยบาย แนวทาง และหลักเกณฑ์กลางที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก การบริหารและพัฒนา และการประเมินผลขององค์การมหาชน
(๓) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์กลางเกี่ยวกับการสรรหาประธานกรรมการกรรมการในคณะกรรมการ และผู้อํานวยการ
(๔) เสนอแนะหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การถือหุ้นหรือการเข้าเป็นหุ้นส่วน
การเข้าร่วมทุนในกิจการของนิติบุคคลอื่น และการจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญตามมาตรา ๑๘ ต่อคณะรัฐมนตรี
(๕) เสนอแนะหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา กรรมรตรวจสอบ และอนุกรรมกาขององค์การมหาชนตามมาตรา ๒๖ รวมทั้งอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อํานวยการตามมาตรา ๓๔ต่อคณะรัฐมนตรี
(๖) กลั่นกรองการโอนอํานาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐให้แก่องค์การมหาชน ที่จะจัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๙ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๗) เสนอแนะหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและบุคลากรขององค์การมหาชนภายหลังการยุบเลิกองค์การมหาชนต่อคณะรัฐมนตรี
(๘) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นประกอบการพิจารณา
(๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย
(๑๐) จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนา และการประเมินผลขององค์การมหาชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๖ ให้องค์การมหาชนเป็นหน่วยงานของรัฐ และเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนตามมาตรา ๕ อย่างน้อยจะต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อขององค์การมหาชน
(๒) ที่ตั้งของสํานักงานแห่งใหญ่
(๓) วัตถุประสงค์ และอํานาจกระทํากิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ขององค์การมหาชน
(๔) องค์ประกอบของคณะกรรมการ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่งของกรรมการ รวมทั้งอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
(๕) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ของผู้อํานวยการ
(๖) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชน
(๗) ทุน รายได้ งบประมาณ และทรัพย์สิน
(๘) การบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่น
(๙) การกํากับดูแล การตรวจสอบ และการประเมินผลงานขององค์การมหาชน
(๑๐) การยุบเลิกองค์การมหาชนในกรณีที่องค์การมหาชนตั้งขึ้นเพื่อดําเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะกิจ หรือตั้งขึ้นโดยมีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุด
(๑๑) ข้อกําหนดอื่น ๆ อันจําเป็นเพื่อให้กิจการขององค์การมหาชนดําเนินการไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
(๑๒) รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาการกํา หนดตาม (๓) ถึง (๑๑) ต้องอยู่ภายในกรอบของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้พระราชกฤษฎีกากําหนดเป็นอย่างอื่นได้ ก็ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานั้น
มาตรา ๘ ในกรณีที่มีปัญหาการซ้ําซ้อนหรือขัดแย้งในการดําเนินกิจการขององค์การมหาชนกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือการดําเนินงานของหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมายให้ กพม. เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและกําหนดระเบียบแบบแผนเพื่อการประสานงานระหว่างองค์การมหาชน ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
คําวินิจฉัยและระเบียบแบบแผนที่คณะรัฐมนตรีกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้องค์การมหาชนส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป
มาตรา ๙ ในกรณีที่จะมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อดําเนินกิจการหนึ่งกิจการใดที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐใดอยู่แล้ว ซึ่งจะมีปัญหาการซ้ําซ้อนหรือขัดแย้งกันในการดําเนินกิจการ และคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุมัติให้มีการโอนอํานาจหน้าที่ กิจการทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นให้แก่องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งขึ้นให้อํานาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นโอนไปเป็นขององค์การมหาชนในวันที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนมีผลใช้บังคับ เว้นแต่เงินงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจําที่ยังคงมีผู้ครองตําแหน่งอยู่ในสังกัดส่วนราชการใด ให้ยังคงเป็นของส่วนราชการนั้นต่อไปจนกว่าจะมีการยุบตําแหน่งนั้น ๆ
สิทธิตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงสิทธิในการใช้หรือสิทธิตามสัญญาเช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๑๐ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา ๙ ถ้าสมัครใจจะเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์การมหาชน ให้แจ้งความจํานงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา และจะต้องผ่านการคัดเลือกหรือการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๑๑ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชนตามมาตรา ๑๐ เป็นข้าราชการ ให้ถือว่าออกจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชแล้วแต่กรณีถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชนตามมาตรา ๑๐ เป็นลูกจ้างของส่วนราชการ ให้ถือว่าออกจากงานเพราะทางราชการยุบเลิกตําแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบําเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบําเหน็จลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาการทํางานสําหรับคํานวณสิทธิประโยชน์ตามข้อบังคับขององค์การมหาชน ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการผู้ใดเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์การมหาชนตามมาตรานี้ ประสงค์จะให้นับเวลาราชการหรือเวลาทํางานในขณะที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างต่อเนื่องกับเวลาทํางานของเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์การมหาชนแล้วแต่กรณี ก็ให้มีสิทธิกระทําได้โดยแสดงความจํานงว่าไม่ขอรับบําเหน็จหรือบํานาญ
การไม่ขอรับบําเหน็จหรือบํานาญตามวรรคสาม จะต้องกระทําภายในสามสิบวันนับแต่วันที่โอนสําหรับกรณีของข้าราชการให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ สําหรับกรณีของลูจ้างให้ระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานยื่นต่อผู้ว่าจ้างเพื่อส่งต่อไปให้กระทรวงการคลังทราบ
หมวด ๒ ทุน รายได้ และทรัพย์สิน
มาตรา ๑๒ ทุนและทรัพย์สินในการดําเนินกิจการขององค์การมหาชน ประกอบด้วย
(๑) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมา
(๒) เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม
(๓) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(๕) ค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดําเนินการ
(๖) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินขององค์การมหาชน
มาตรา ๑๓ ภายใต้วัตถุประสงค์ขององค์การมหาชน ให้องค์การมหาชนมีอํานาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดําเนินกิจการได้ตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
มาตรา ๑๔ บรรดารายได้ขององค์การมหาชน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนํา ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๑๕ ทรัพย์สินขององค์การมหาชนไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
มาตรา ๑๖ ให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งองค์การมหาชนได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ขององค์การมหาชน เป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การมหาชนให้องค์การมหาชนมีอํานาจในการปกครอง ดูแล บํารุงรักษา ใช้ จําหน่าย และจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การมหาชน
มาตรา ๑๗ การใช้จ่ายเงินขององค์การมหาชน ให้ใช้จ่ายไปเพื่อกิจการขององค์การมหาชนโดยเฉพาะ
การเก็บรักษาและเบิกจ่ายเงินขององค์การมหาชนให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๑๘ การกู้ยืมเงิน การถือหุ้นหรือการเข้าเป็นหุ้นส่วน การเข้าร่วมทุนในกิจการของนิติบุคคลอื่น การจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๓ การบริหารและการดําเนินกิจการ
-----------------------------
มาตรา ๑๙ ให้มีคณะกรรมการของแต่ละองค์การมหาชน ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการ โดยมีองค์ประอบตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง และให้ผู้อํานวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการคณะกรรมการมีจํานวนตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง แต่ต้องไม่เกินสิบเอ็ดคนโดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําพนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
ภายใต้บังคับวรรคสาม คณะกรรมการขององค์การมหาชนอาจประกอบด้วยผู้แทนของส่วนราชการซึ่งเป็นกรรมการโดยตําแหน่งก็ได้๑๔
มาตรา ๑๙/๑ ผู้ใดจะดํารงตําแหน่งกรรมการในองค์การมหาชนเกินกว่าสามแห่งไม่ได้ ทั้งนี้ ให้นับรวมการเป็นกรรมการโดยตําแหน่งและการได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในตําแหน่งกรรมการด้วย
การนับจํานวนการดํารงตําแหน่งกรรมการตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการเป็นกรรมการโดยตําแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๒๐ ประธานกรรมการและกรรมการขององค์การมหาชนซึ่งมิใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าและไม่เกินกว่าที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๓) มีคุณวุฒิและประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการขององค์การมหาชนตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๗) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
ความใน (๑) มิให้ใช้บังคับแก่กรรมการชาวต่างประเทศซึ่งองค์การมหาชนจําเป็นต้องแต่งตั้งตามข้อผูกพันหรือตามลักษณะของกิจการขององค์การมหาชนนั้น
มาตรา ๒๑ ประธานกรรมการและกรรมการขององค์การมหาชนใดจะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทํากับองค์การมหาชนนั้น หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการขององค์การมหาชนนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่องค์การมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งมิใช่กรรมการโดยตําแหน่งมีวาระการดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง แต่ต้องไม่เกินคราวละสี่ปี
ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งมิใช่กรรมการโดยตําแหน่งพ้นจาก
ตําแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้น อยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่าประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งมิใช่กรรมการโดยตําแหน่งพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือกระทําการอันมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
มาตรา ๒๔ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการและการดําเนินการขององค์การมหาชน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) กําหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดําเนินงานขององค์การมหาชน
(๒) อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงินขององค์การมหาชน
(๓) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับองค์การมหาชนในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การจัดแบ่งส่วนงานขององค์การมหาชน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
(ข) การกําหนดตําแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่นของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชน
(ค) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตําแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้างขององค์การมหาชน
(ง) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินขององค์การมหาชน
(จ) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชน
(ฉ) การแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
(ช) การกําหนดขอบเขตเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและผู้ตรวจสอบภายใน
(ซ) การกําหนดเครื่องแบบผู้อํานวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนและเครื่องหมายองค์การมหาชน
(๔) อํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกําหนด
มาตรา ๒๔/๑ ในการควบคุมดูแลการดําเนินงานขององค์การมหาชน ให้คณะกรรมการพิจารณากําหนดแนวทางการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจ ความซื่อสัตย์สุจริต การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การกระจายอํานาจการตัดสินใจ การอํานวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน
มาตรา ๒๕ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการได้ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน และมีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรา ๒๔ (๓) (ฉ) และคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
มาตรา ๒๖ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา กรรมการตรวจสอบ และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๒๗ ให้องค์การมหาชนมีผู้อํานวยการคนหนึ่ง ซึ่งจะเรียกชื่อตําแหน่งเป็นอย่างอื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งก็ได้
คณะกรรมการเป็นผู้มีอํานาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อํานวยการ
มาตรา ๒๗/๑ ในการแต่งตั้งผู้อํานวยการต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องแต่งตั้งผู้อํานวยการ และหากมีเหตุผลจําเป็นให้คณะกรรมการขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินหกสิบวัน หากดํา เนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวให้คณะกรรมการรายงานผลให้ กพม. เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
มาตรา ๒๘ ผู้อํานวยการนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓) สามารถทํางานให้แก่องค์การมหาชนได้เต็มเวลา
(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๘) ไม่เป็นผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การมหาชนอื่น
(๙) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ หรือผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชนอื่น
(๑๐) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทํากับองค์การมหาชนนั้น หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการขององค์การมหาชนนั้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
มาตรา ๒๙ ผู้อํานวยการมีวาระอยู่ในตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแต่ต้องไม่เกินคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ผู้อํานวยการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ออกตามกรณีที่กําหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกับผู้อํานวยการ
(๔) คณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสําหรับการเป็นผู้อํานวยการ
มติของคณะกรรมการให้ออกจากตําแหน่งตาม (๔) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการที่มีอยู่โดยไม่นับรวมตําแหน่งผู้อํานวยการ
การขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ (๒) ให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตําแหน่งตามกําหนดเวลาในสัญญาจ้าง
มาตรา ๓๑ ผู้อํานวยการมีหน้าที่บริหารกิจการขององค์การมหาชนให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ขององค์การมหาชน ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด นโยบาย มติ และประกาศของคณะกรรมการ
ภายใต้บังคับมาตรา ๓๙ วรรคสอง ให้ผู้อํานวยการเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชนทุกตําแหน่ง
ผู้อํานวยการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการขององค์การมหาชน
มาตรา ๓๒ ผู้อํานวยการมีอํานาจ
(๑) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชน ตลอดจนให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชนออกจากตําแหน่งทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกําหนด
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินงานขององค์การมหาชนโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะรรมการกําหน
มาตรา ๓๓ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อํานวยการเป็นผู้แทนขององค์การมหาชน เพื่อการนี้ผู้อํานวยการจะมอบอํานาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมการเป็นผู้กําหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อํานวยการตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๔ เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานในองค์การมหาชน
--------------------------------------
มาตรา ๓๕ เจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชนนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓) สามารถทํางานให้แก่องค์การมหาชนได้เต็มเวลา
(๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๘ (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๑๐)
(๕) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา พนักงานหรือลูกจ้างของ
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ หรือผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชนอื่น เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๓๖
ความใน (๑) มิให้ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ชาวต่างประเทศซึ่งองค์การมหาชนมีความจําเป็นต้องจ้างตามลักษณะงานขององค์การมหาชนนั้น
มาตรา ๓๕/๑ การขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๕ (๒) ให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตําแหน่งตามกําหนดเวลาในสัญญาจ้าง
มาตรา ๓๖ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานขององค์การมหาชน รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อาจขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างในองค์การมหาชนเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้น แล้วแต่กรณี
เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์การมหาชนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใด ๆ และให้นับเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในองค์การมหาชนสําหรับการคํานวณบําเหน็จบํานาญหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นทํานองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓๖ ขอกลับเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานในสังกัดเดิมภายในกําหนดเวลาที่อนุมัติ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งและรับเงินเดือนตามข้อตกลงที่ทําไว้ในการอนุมัติตามมาตรา ๓๖
มาตรา ๓๘ กิจการขององค์การมหาชนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้อํานวยกาเจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๓๘/๑ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชนมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะและต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดแห่งการใช้เสรีภาพในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
หมวด ๕ การบัญชี การตรวจสอบ และการประเมินผลงานขององค์การมหาชน
---------------------------------
มาตรา ๓๙ การบัญชีขององค์การมหาชน ให้จัดทํา ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนดซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและการพัสดุขององค์การมหาชน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
ในการตรวจสอบภายใน ให้มีผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชนทําหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ และให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
ในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตําแหน่ง และลงโทษทางวินัยของผู้ตรวจสอบภายใน ให้ผู้อํานวยการและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาร่วมกันแล้วเสนอให้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อนจึงดําเนินการได้
มาตรา ๔๐ ให้องค์การมหาชนจัดทํางบดุล งบการเงิน และบัญชีทําการส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
ในทุกรอบปี ให้สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินขององค์การมหาชน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทําบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๔๑ ให้องค์การมหาชนทํารายงานปีละครั้งเสนอรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานขององค์การมหาชนในปีที่ล่วงมาแล้ว และคําชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทําในภายหน้า
มาตรา ๔๒ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมประสิทธิภาพการดําเนินงานขององค์การมหาชนและเพื่อให้องค์การมหาชนมีความเป็นอิสระในการดําเนินกิจการตามความเหมาะสมภายใต้การกํากับดูแลโดยมีเป้าหมายที่แน่ชัด ให้องค์การมหาชนอยู่ภายใต้ระบบการประเมินผลขององค์การมหาชนตามที่ กพม. กําหนด
หมวด ๖ การกํากับดูแล
---------------------------------
มาตรา ๔๓ ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนมีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลการดําเนินกิจการขององค์การมหาชนให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การมหาชน นโยบายของรัฐบาล มติของคณะรัฐมนตรียุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับองค์การมหาชนนั้น เพื่อการนี้ให้รัฐมนตรีมีอํานาจสั่งให้องค์การมหาชนชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทํารายงาน หรือยับยั้งการกระทําขององค์การมหาชนที่ขัดต่อกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การมหาชนนโยบายของรัฐบาล มติของคณะรัฐมนตรียุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับองค์การมหาชนนั้น ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดําเนินการได้
หมวด ๗ การยุบเลิก
----------------------------------
มาตรา ๔๔ องค์การมหาชนเป็นอันยุบเลิกในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดําเนินกิจการขององค์การมหาชนตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
(๒) เมื่อการดําเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนนั้นเสร็จสิ้นลง และรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนนั้นได้ประกาศยุติการดําเนินการขององค์การมหาชนนั้นในราชกิจจานุเบกษา
(๓) ในกรณีนอกจาก (๑) และ (๒) เมื่อรัฐบาลเห็นควรยุบเลิกการดําเนินกิจการขององค์การมหาชน โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกายุบเลิกให้สภาพนิติบุคคลขององค์การมหาชนดํารงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามมาตรา ๔๕
มาตรา ๔๕ ทรัพย์สินขององค์การมหาชนเป็นทรัพย์สินของรัฐ และเมื่อมีการยุบเลิกองค์การมหาชน ให้มีเจ้าหน้าที่ทําการตรวจสอบทรัพย์สินและชําระบัญชีรวมทั้งการโอนหรือการจําหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่และการจัดการเกี่ยวกับบุคลากรขององค์การมหาชน ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ๑ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การดําเนินงานตามโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของรัฐ หรือการดําเนินงาตามแผนงานหรือนโยบายเพื่อจัดทําบริการสาธารณะด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะมักจะมีปัญหาความสลับซับซ้อน ความขัดแย้งในการดําเนินการ การซับซ้อนของความรับผิดชอบในระหว่างส่วนราชการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ก่อให้เกิดความล่าช้า และความไม่ยืดหยุ่นของกฎระเบียบราชการ ดังนั้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าวและเพื่อเปิดโอกาสให้มีการจัดระบบบริหารแนวใหม่สําหรับภารกิจของรัฐที่มีลักษณะเฉพาะในบางกรณี ให้มีความคล่องตัวและมีการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรและบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ตลอดจนเพื่อบูรณาการให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมกันทํางานอย่างมีเอกภาพ และประสานงานกันเพื่อความรวดเร็วในการดําเนินงาน ซึ่งต้องอาศัยความเร่งด่วน จึงสมควรมีกฎหมายให้ฝ่ายบริหารสามารถตั้งหน่วยงานบริหารเป็นองค์การมหาชนที่แตกต่างไปจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๒๑ ให้องค์การมหาชนทุกแห่งดําเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชนพ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไปยังคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการดําเนินการแทนและเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการขององค์การมหาชนตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคณะกรรมการขององค์การมหาชนนั้นจนครบวาระการดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งดังกล่าว
การนับวาระการดํารงตําแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการซึ่งมิใช่กรรมการโดยตําแหน่งขององค์การมหาชนตามวรรคหนึ่ง ให้นับต่อเนื่องกับการนับวาระตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนและตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๓ ผู้ใดดํารงตําแหน่งกรรมการขององค์การมหาชนอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเกินกว่าจํานวนที่กําหนดในมาตรา ๑๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นลาออกจากตําแหน่งกรรมการขององค์การมหาชนหนึ่งองค์การมหาชนใด หรือมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน แล้วแต่กรณีจนเหลือไม่เกินจํานวนที่กําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามิได้ดําเนินกาดังกล่าว ในกรณีที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ถือว่าพ้นจากตําแหน่งกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งทั้งหมดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกําหนดสามสิบวัน ในกรณีที่เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง ห้ามมิให้ได้รับเบี้ยประชุมหรือผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังครบกําหนดสามสิบวันจนกว่าจะได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทนจนเหลือไม่เกินจํานวนที่กําหนด
มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ในวาระเริ่มแรก มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับผู้อํานวยการหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชนซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แล้วแต่กรณี เว้นแต่การขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามนั้นเกิดขึ้นภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๕ ในวาระเริ่มแรก มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับผู้อํานวยการซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ผู้นั้นดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการต่อไปจนครบระยะเวลาตามที่กําหนดในสัญญาจ้าง
มาตรา ๒๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการจัดตั้งองค์การมหาชนยังขาดมาตรการส่งเสริมและการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรและบุคคล จึงไม่อาจบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักการบริหารงานภาครัฐแบบใหม่ สมควรกําหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเพื่อรับผิดชอบในการเสนอแนะนโยบาย แนวทางการดําเนินงาน การพัฒนา และหลักเกณฑ์กลางที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกองค์การมหาชนต่อคณะรัฐมนตรี ปรับปรุงองค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการขององค์การมหาชนและผู้อํานวยการขององค์การมหาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตลอดจนกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันจะทําให้การบริหารงานและการปฏิบัติภารกิจขององค์การมหาชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการจัดตั้งองค์การมหาชนยังขาดมาตรการส่งเสริมและการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรและบุคคล จึงไม่อาจบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักการบริหารงานภาครัฐแบบใหม่ สมควรกําหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเพื่อรับผิดชอบในการเสนอแนะนโยบาย แนวทางการดําเนินงาน การพัฒนา และหลักเกณฑ์กลางที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกองค์การมหาชนต่อคณะรัฐมนตรี ปรับปรุงองค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการขององค์การมหาชนและผู้อํานวยการขององค์การมหาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตลอดจนกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันจะทําให้การบริหารงานและการปฏิบัติภารกิจขององค์การมหาชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ | 2,168 |
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 | พระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. ๒๕๔๕
---------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๔) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๖) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๗) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๘) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๖
(๙) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๖
(๑๐) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๓๗
(๑๑) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๗
(๑๒) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๑๓) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๑๔) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๙
(๑๕) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๔๑
(๑๖) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๔๑
(๑๗) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๑๘) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๑๙) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๒๐) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๒๑) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๒๒) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒๓) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้มีกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี
(๒) กระทรวงกลาโหม
(๓) กระทรวงการคลัง
(๔) กระทรวงการต่างประเทศ
(๕) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๖) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๖/๑) กระทวงกาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(๗) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๘) กระทรวงคมนาคม
(๘/๑) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(๙) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑๐) (ยกเลิก)
(๑๑) กระทรวงพลังงาน
(๑๒) กระทรวงพาณิชย์
(๑๓) กระทรวงมหาดไทย
(๑๔) กระทรวงยุติธรรม
(๑๕) กระทรวงแรงงาน
(๑๖) กระทรวงวัฒนธรรม
(๑๗) (ยกเลิก)
(๑๘) กระทรวงศึกษาธิการ
(๑๙) กระทรวงสาธารณสุข
(๒๐) กระทรวงอุตสาหกรรม
หมวด ๑ สํานักนายกรัฐมนตรี
------------------
มาตรา ๖ สํานักนายกรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอํานาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
มาตรา ๗ สํานักนายกรัฐมนตรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(๒) กรมประชาสัมพันธ์
(๓) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายรัฐมนตรี
(๔) สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(๕) สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(๖) สํานักข่าวกรองแห่งชาติ
(๗) สํานักงบประมาณ
(๘) สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(๙) สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๑๐) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(๑๑) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ\*
(๑๒) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(๑๓) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(๑๔) สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
(๑๕) สํานักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
(๑๖) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
หมวด ๒ กระทรวงกลาโหม
--------------------------
มาตรา ๘ กระทรวงกลาโหม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๙ การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น
หมวด ๓ กระทรวงการคลัง
------------------------------
มาตรา ๑๐ ระทรวงการคลัง มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับกาเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๑ กระทรวงการคลัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
1. สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมธนารักษ์
(๔) กรมบัญชีกลาง
(๕) กรมศุลกากร
(๖) กรมสรรพสามิต
(๗) กรมสรรพากร
(๘) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
(๙) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
(๑๐) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
หมวด ๔ กระทรวงการต่างประเทศ
--------------------------
มาตรา ๑๒ กระทรวงการต่างประเทศ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
มาตรา ๑๓ กระทรวงการต่างประเทศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมการงสุล
(๓/๑) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
(๔) กรมพิธีการทูต
(๕) กรมยุโรป
(๖) (ยกเลิก)
(๗) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(๘) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
(๙) กรมสารนิเทศ
(๑๐) กรมองค์การระหว่างประเทศ
(๑๑) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
(๑๒) กรมอาเซียน
(๑๓) กรมเอเชียตะวันออก
(๑๔) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
หมวด ๕ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
------------------------------
มาตรา ๑๔ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
มาตรา ๑๕ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมพลศึกษา
(๔) กรมการท่องเที่ยว
[คําว่า “กรมพลศึกษา” ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมโดยผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓]
[คําว่า “กรมการท่องเที่ยว” ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมโดยผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นกรมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๕๓]
หมวด ๖ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
---------------------------
มาตรา ๑๖ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัว และชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๑๗ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมกิจการเด็กและเยาวชน
(๔) กรมกิจการผู้สูงอายุ
(๕) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
(๖) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
(๗) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
มาตรา ๖/๑ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม๑๖
----------------------------
มาตรา ๑๗/๑ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกํากับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
มาตรา ๑๗/๒ การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๗ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
----------------------------------
มาตรา ๑๘ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ําและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรา ๑๙ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๒/๑) กรมการข้าว
๒๐ มาตรา ๑๙
(๓) กรมชลประทาน
(๔) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
(๕) กรมประมง
(๖) กรมปศุสัตว์
(๖/๑) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
(๗) (ยกเลิก)
(๘) กรมพัฒนาที่ดิน
(๙) กรมวิชาการเกษตร
(๑๐) กรมส่งเสริมการเกษตร
(๑๑) กรมส่งเสริมสหกรณ์
(๑๑/๑) กรมหม่อนไหม
(๑๒) สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(๑๓) สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(๑๔) สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
หมวด ๘ กระทรวงคมนาคม
------------------------------------
มาตรา ๒๐ กระทรวงคมนาคม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม
มาตรา ๒๑ กระทรวงคมนาคม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมเจ้าท่า
(๔) กรมการขนส่งทางบก
(๔/๑) กรมการขนส่งทางราง
(๕)๒๕ กรมท่าอากาศยาน
(๖) กรมทางหลวง
(๗) กรมทางหลวงชนบท
(๘) สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
[คําว่า “กรมเจ้าท่า” ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมโดยผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี เป็นกรมเจ้าท่า พ.ศ. ๒๕๕๒]
หมวด ๘/๑ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
------------------------------------------
มาตรา ๒๑/๑ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดําเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติ และราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา ๒๑/๒ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมอุตุนิยมวิทยา
(๔) สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๕) สํานักงานสถิติแห่งชาติ
หมวด ๙ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
---------------------------
มาตรา ๒๒ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน อนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๒๓ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมควบคุมมลพิษ
(๔) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
(๕) กรมทรัพยากรธรณี
(๖) กรมทรัพยากรน้ํา
(๗) กรมทรัพยากรน้ําบาดาล
(๗/๑) กรมป่าไม้
(๘) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๙) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
(๑๐) สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมวด ๑๐ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-----------------------------
มาตรา ๒๔ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๕ (ยกเลิก)
หมวด ๑๑ กระทรวงพลังงาน
-------------------------
มาตรา ๒๖ กระทรวงพลังงาน มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน
มาตรา ๒๗ กระทรวงพลังงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
(๔) กรมธุรกิจพลังงาน
(๕) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
(๖) สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน
หมวด ๑๒ กระทรวงพาณิชย์
-----------------------
มาตรา ๒๘ กระทรวงพาณิชย์ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทวงพาณิชย์
มาตรา ๒๙ กระทรวงพาณิชย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมการค้าต่างประเทศ
(๔) กรมการค้าภายใน
(๕) (ยกเลิก)
(๖) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
(๗) กรมทรัพย์สินทางปัญญา
(๘) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(๙) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
(๑๐) สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
[คําว่า “กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ” ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมโดยผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕]
หมวด ๑๓ กระทรวงมหาดไทย
--------------------------
มาตรา ๓๐ กระทรวงมหาดไทย มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบําบัดทุกข์บํารุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอํานวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๓๑ กระทรวงมหาดไทย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมการปกครอง
(๔) กรมการพัฒนาชุมชน
(๕) กรมที่ดิน
(๖) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๗) กรมโยธาธิการและผังเมือง
(๘) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
หมวด ๑๔ กระทรวงยุติธรรม
-----------------------------
มาตรา ๓๒ กระทรวงยุติธรรม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอํานวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๓๓ กระทรวงยุติธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมคุมประพฤติ
(๔) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(๕) กรมบังคับคดี
(๖) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
(๗) กรมราชทัณฑ์
(๘) กรมสอบสวนคดีพิเศษ
(๙) สํานักงานกิจการยุติธรรม
(๑๐) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
(๑๑) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
มาตรา ๓๔ กระทรวงแรงงาน มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทํา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน
มาตรา ๓๕ กระทรวงแรงงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมการจัดหางาน
(๔) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
(๕) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(๖) สํานักงานประกันสังคม
หมวด ๑๖ กระทรวงวัฒนธรรม
-----------------------------------------
มาตรา ๓๖ กระทรวงวัฒนธรรม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม
มาตรา ๓๗ กระทรวงวัฒนธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมการศาสนา
(๔) กรมศิลปากร
(๕) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
(๖) สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
หมวด ๑๗ (ยกเลิก)
---------------------------
มาตรา ๓๘ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๙ (ยกเลิก)
หมวด ๑๘ กระทรวงศึกษาธิการ
-----------------------------
มาตรา ๔๐ กระทรวงศึกษาธิการ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกํากับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ กําหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา ๔๑ การจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมวด ๑๙ กระทรวงสาธารณสุข
-----------------------
มาตรา ๔๒ กระทรวงสาธารณสุข มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย กาป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชกาอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๔๓ กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมการแพทย์
(๔) กรมควบคุมโรค
(๕) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
(๖) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(๗) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
(๘) กรมสุขภาพจิต
(๙) กรมอนามัย
(๑๐) สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
[คําว่า “กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก” ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมโดยผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๐]
หมวด ๒๐ กระทรวงอุตสาหกรรม
---------------------------------
มาตรา ๔๔ กระทรวงอุตสาหกรรม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรา ๔๕ กระทรวงอุตสาหกรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรมโรงงานอุตสาหกรรม
(๔) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(๕) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
(๖) สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย
(๗) สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(๘) สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(๙) (ยกเลิก)
วรรคสอง (ยกเลิก)
หมวด ๒๑ ส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
-----------------------------------
มาตรา ๔๖ ส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีดังต่อไปนี้
(๑) (ยกเลิก)
(๒) (ยกเลิก)
(๓) สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ และอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
(๔) สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๕) (ยกเลิก)
(๖) สํานักงานราชบัณฑิตยสภา มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ทางวิชาการ และอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
(๗) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
(๘) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการดําเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
(๙) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการดําเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และอํานาจหน้าที่ตาที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
ส่วนราชการตามวรรคหนึ่งมีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี๕๐
วรรคสาม๕๑ (ยกเลิก
บทเฉพาะกาล - --------------------------------
มาตรา ๔๗ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ และภาระผูกพันทั้งปวงของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการอื่นที่ถูกยุบเลิกตามมาตรา ๓ ไปเป็นของกระทรวง กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ โดยกิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ และภาระผูกพันของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการอื่นใดจะโอนไปเป็นของส่วนราชการใด ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกําหนดให้การกําหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้
มาตรา ๔๘ ให้โอนบรรดาข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการอื่นที่ถูกยุบเลิกตามมาตรา ๓ ไปเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวง กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกําหนดให้การกําหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้
มาตรา ๔๙ บรรดาอํานาจหน้าที่ที่มีบทกฎหมายกําหนดให้เป็นของส่วนราชการที่ถูกยุบเลิกตามมาตรา ๓ หรือของรัฐมนตรี ผู้ดํารงตําแหน่ง หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการนั้น ให้โอนไปเป็นของส่วนราชการ หรือของรัฐมนตรี ผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการอื่นตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
ในการโอนอํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ถ้าจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการตามกฎหมายใด หรือแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่และเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ให้กระทําได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาให้ส่วนราชการที่ถูกโอนอํานาจหน้าที่ไป รัฐมนตรีผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการนั้น ยังคงมีอํานาจหน้าที่เดิมต่อไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการให้มีความต่อเนื่องกันก็ได้
ให้ถือว่าพระราชกฤษฎีกาตามมาตรานี้มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบรรดาบทกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
มาตรา ๕๐ ให้รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของกระทรวงที่ถูกยุบเลิกตามมาตรา ๓ และรัฐมนตรีช่วยว่าการของกระทรวงดังกล่าว เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการที่เกี่ยวข้องของกระทรวงตามมาตรา ๕ ตามลําดับ จนกว่าจะมีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่
มาตรา ๕๑ ในระหว่างที่ยังมิได้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ให้กระทรวงศึกษาธิการมีส่วนราชการภายในกระทรวงตามที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติไว้สําหรับกระทรวงศึกษาธิการ เว้นแต่ส่วนราชการใดของกระทรวงศึกษาธิการที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้ให้อยู่ในสังกัดของกระทรวง ทบวง กรมอื่นแล้ว
ให้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ มีฐานะเป็นกรมอยู่ในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
มาตรา ๕๒ ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและส่วนราชการที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา ๓ ยังคงเป็นทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงและส่วนราชการที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยต่อไปและให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และข้าราชการในทบวงมหาวิทยาลัยและในส่วนราชการที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
มาตรา ๕๓ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกรมวิเทศสหการและบรรดาอํานาจหน้าที่ของผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมวิเทศสหการ ไปเป็นของส่วนราชการหนึ่งส่วนราชการใดของกระทรวงการต่างประเทศ หรือของผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการดังกล่าว แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกําหนดให้การกําหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้
เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับแล้ว ให้ถือว่ากรมวิเทศสหการเป็นอันยุบเลิก
มาตรา ๕๔ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๕ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐบาลเสนอกฎหมายปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ให้สอดรับกับภารกิจของทหารตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๕๖ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐบาลเสนอกฎหมายเพื่อโอนภารกิจของสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่มิใช่ภารกิจหลักในการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิด ไปเป็นของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง และเพื่อลดภารกิจในพื้นที่ตามลําดับความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิด
มาตรา ๕๗ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๘ ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ งบประมาณ ข้าราชการและลูกจ้างของกรมไปรษณีย์โทรเลขตามบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เสมือนสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นสํานักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และเมื่อมีการโอนแล้วให้ถือว่ากรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นอันยุบเลิก
มาตรา ๕๙ ภายใต้บังคับวรรคสอง ให้กระทรวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงมีอํานาจหน้าที่และการจัดระเบียบราชการเช่นเดิมต่อไป เว้นแต่กระทรวงกลาโหม สํานักราชเลขาธิการ สํานักพระราชวัง สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสํานักงานอัยการสูงสุด ให้มีอํานาจหน้าที่และการจัดระเบียบราชการตามพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ ใช้บังคับสําหรับกระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมแห่งใดแล้ว ให้กระทรวง กรมหรือส่วนราชการนั้น มีอํานาจหน้าที่และการจัดระเบียบราชการตามพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเป็นต้นไป
ในการจัดระเบียบราชการระยะแรก ถ้ากระทรวงใดสมควรมีกลุ่มภารกิจให้ตรากฎกระทรวงกําหนดให้มีกลุ่มภารกิจใช้บังคับพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง
ในกรณีที่มีการจัดระเบียบราชการของกระทรวงใดเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ถ้ากระทรวงนั้นมีตําแหน่งรองปลัดกระทรวงและผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกินกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นกรณีที่ไม่สามารถย้ายไปดํารงตําแหน่งอื่นในกระทรวงนั้นหรือกระทรวงอื่นที่เหมาะสมได้ ให้ตําแหน่งรองปลัดกระทรวงและผู้ช่วยปลัดกระทรวงดังกล่าวยังคงมีต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๐ ให้รัฐบาลรายงานค่าใช้จ่ายประจําและอัตราของข้าราชการและลูกจ้างของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเปรียบเทียบกับก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เมื่อครบกําหนดหนึ่งปีและสองปีของการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รองนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ระบบราชการนั้นเป็นกลไกสําคัญของประเทศในอันที่จะผลักดันให้แนวทางกาบริหารประเทศตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งการดําเนินการตามแนวนโยบายของรัฐเกิดผลสําเร็จเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนส่วนรวม การจัดกลไกของระบบราชการจึงเป็นเรื่องสําคัญที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม ซึ่งที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการหลายครั้ง แต่ยังคงให้มีการปฏิบัติราชการตามโครงสร้างการบริหารที่ไม่แตกต่างจากรูปแบบเดิมซึ่งเป็นผลให้การทํางานของข้าราชการเป็นไปด้วยความล่าช้าเพราะมีขั้นตอนการปฏิบัติงานค่อนข้างมาก และส่วนราชการต่าง ๆ มิได้กําหนดเป้าหมายร่วมกันและจัดกลไกการปฏิบัติงานให้มีความสัมพันธ์กัน จึงเป็นผลทําให้การปฏิบัติงานเกิดความซ้ําซ้อนและกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชน แนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้จําเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบราชการทั้งระบบ โดยการปรับอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการขึ้นใหม่ และปรับปรุงการบริหารงานโดยการจัดส่วนราชการที่ปฏิบัติงานสัมพันธ์กันรวมไว้เป็นกลุ่มงานเดียวกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สําคัญในการปรับระบบการทํางานในรูปกลุ่มภารกิจ เพื่อให้สามารถกําหนดเป้าหมายและทิศทางการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่มีความเกี่ยวข้องกันให้สามารถทํางานร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ และเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนงานที่ซ้ําซ้อนกัน เมื่อจัดส่วนราชการใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานได้แล้วจะมีผลทําให้แนวทางความรับผิดชอบของส่วนราชการต่าง ๆ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะสามารถปรับปรุงการทํางานของข้าราชการให้มีประสิทธิภาพในระยะต่อไปได้ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชกฤษฎีกายุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม และให้ความใน (๗) ของมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นอันยกเลิกตามมาตรา ๒๓๐ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔ การดําเนินการเกี่ยวกับกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ อํานาจหน้าที่ หนี้สิน และงบประมาณตลอดจนข้าราชการและลูกจ้างของกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ให้ดําเนินการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมิให้นําความในมาตรา ๘ จัตวา วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาใช้บังคับ
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ อํานาจหน้าที่ หนี้ และงบประมาณของกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เว้นแต่กิจการไปรษณีย์และเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจําซึ่งมีผู้ครองอยู่ ให้โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม ย่อมทําให้กิจการและอํานาจหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม เป็นอันหมดไป โดยผลของบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว เป็นการสมควรยุบเลิกกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม แต่โดยที่มาตรา ๒๓๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๘ จัตวา วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้การยุบส่วนราชการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงอํานาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อพ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๓ ให้โอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมป่าไม้มีอํานาจหน้าที่ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริมทํานุบํารุงป่า และการดําเนินการเกี่ยวกับการป่าไม้ การทําไม้ การเก็บหาของป่า การใช้ประโยชน์ในที่ดินป่าไม้ และการอื่นเกี่ยวกับป่าและอุตสาหกรรมป่าไม้ ทั้งนี้ เฉพาะที่ไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และอํานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมป่าไม้
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง ตําแหน่งและอัตรากําลังของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ที่เป็นของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วแต่กรณี
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ถือว่าอ้างถึงกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีอํานาจหน้าที่ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริมและทํานุบํารุงทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช การจัดให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และการดําเนินการอื่นใด ทั้งนี้ ในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และอํานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ําลําธาร และเขตพื้นที่ป่าที่เตรียมการจัดให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้รมป่าไม้มอบอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายว่าด้วยสวนป่า ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดําเนินการได้ด้วย
มาตรา ๗ ให้ ก.พ.ร. ตรวจสอบภารกิจและอํานาจหน้าที่ของกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หากเห็นว่ามีภารกิจหรืออํานาจหน้าที่ใดของหน่วยงานใดมิได้เป็นไปตามมาตรา ๓ วรรคสอง หรือมาตรา ๖ ให้ดําเนินการแบ่งแยกและดําเนินการให้ถูกต้องตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดในมาตรา ๓ วรรคสอง และมาตรา ๖ ทั้งนี้ ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
ในการโอนภารกิจหรืออํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้โอนหรือจัดแบ่งทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง ตําแหน่งและอัตรากําลังให้สอดคล้องกันด้วย
มาตรา ๘ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง ตําแหน่งและอัตรากําลังของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนที่เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ไปเป็นของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๙ เมื่อได้ดําเนินการตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แล้ว ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการที่โอนมา หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่โอนมาดังกล่าว โอนไปเป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการที่รับโอน หรือของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่รับโอนดังกล่าว แล้วแต่กรณี
บรรดาบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงส่วนราชการที่โอนมา หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่โอนมาดังกล่าว ให้ถือว่าอ้างถึงส่วนราชการที่รับโอน หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่รับโอนดังกล่าว แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๑ ในวาระเริ่มแรก ให้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยอนุโลม จนกว่าจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขึ้นใหม่
มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กําหนดให้กรมป่าไม้เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทําให้เกิดปัญหาการบริหาร ทั้งในด้านนโยบาย วิชาการ บุคลากร และการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเป็นเหตุให้ระบบการบริหารงานและการบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบูรณาการตามกลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและนโยบายของรัฐบาล สมควรโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง ตําแหน่งและอัตรากําลัง ไปเป็นกรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสมควรที่จะได้ปรับปรุงอํานาจหน้าที่และกิจการของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งโอนอํานาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ไปเป็นของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีขอบเขตที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน นอกจากนี้ สมควรแก้ไขการใช้อํานาจของรัฐมนตรีและการใช้อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้สอดคล้องกับการดําเนินการดังกล่าวด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสํานักงานความร่วมมือเพื่อกาพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยุบกรมวิเทศสหการ กระทรวงการต่างประเทศ และจัดตั้งเป็นสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยเป็นส่วนราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้มีผู้อํานวยการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
มาตรา ๔ ให้สํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศมีภาระหน้าที่ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวกับการบริหารความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ ตลอดจนส่งเสริมการวิจัย การเผยแพร่ และการฝึกอบรม โดยร่วมมือกับต่างประเทศหรือองค์กรต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อให้เป็นไปตามภาระหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําแผน ศึกษา วิเคราะห์นโยบาย ดําเนินโครงการ ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
(๒) บริหารการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศตามโยบายการต่างประเทศของรัฐบาล
(๓) ร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีในภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้งดําเนินงานตามข้อผูกพันภายใต้ความตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
(๔) บริหารความร่วมมือด้านทุนกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาบุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรต่าง ๆ
(๕) ประสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
(๖) บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้และผลงานการพัฒนา
(๗) กระทําการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
มาตรา ๕ การบริหารราชการ การบริหารงานบุคคล การดําเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณและทรัพย์สิน การจัดทํานิติกรรมสัญญา การดําเนินคดี หรือการดําเนินการอื่นใดของสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ให้ผู้อํานวยการมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิบดีโดยให้กระทําในนามของสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สํานักงาน
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ โดยอยู่ภายใต้การกํากับการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
มาตรา ๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้สิน สิทธิ ภาระผูกพันข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกรมวิเทศสหการ กระทรวงการต่างประเทศไปเป็นของสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา ๗ บรรดาอํานาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งใดของกรมวิเทศสหการ หรือของอธิบดีกรมวิเทศสหการ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมวิเทศสหการ ให้โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสํานักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๘ บรรดาบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งใดที่อ้างถึงกรมวิเทศสหการ หรืออธิบดีกรมวิเทศสหการ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมวิเทศสหการ ให้ถือว่าอ้างถึงสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้อํานวยการสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือข้อบังคับกําหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๙ ให้ความใน (๖) ของมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นอันยกเลิกโดยผลของบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๓๐ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กําหนดให้โอนกิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกรมวิเทศสหการ กระทรวงการต่างประเทศ และบรรดาอํานาจหน้าที่ของผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมวิเทศสหการ กระทรวงการต่างประเทศ ไปเป็นของส่วนราชการหนึ่งส่วนราชการใดของกระทรวงการต่างประเทศ หรือของผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการดังกล่าว แล้วแต่กรณี ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่ากรมวิเทศสหการเป็นอันยุบเลิก แต่เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศยังมีภารกิจด้านให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลซึ่งมิได้อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในกระทรวงการต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องมีหน่วยงานหลักเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ในการนี้สมควรจัดตั้งสํานักงานความร่วมมือเพื่อกาพัฒนาระหว่างประเทศขึ้นเป็นส่วนราชกาซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงการต่างประเทศ และให้มีผู้อํานวยการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ โดยยุบกรมวิเทศสหการมาจัดตั้งเป็นสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย แต่ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องข้าวมีอยู่หลายหน่วยงานและกระจัดกระจายอยู่ตามส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงสมควรให้มีการจัดตั้งกรมการข้าวขึ้นมีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรมเพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องข้าวโดยเฉพาะ ให้ครอบคลุมถึงการปรับปรุงพัฒนาการปลูกข้าวให้มีผลผลิตต่อพื้นที่และคุณภาพสูงขึ้น การพัฒนาพันธุ์ การอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบรับรองมาตรฐาน การส่งเสริมและเผยแพร่เพื่อพัฒนาชาวนา การแปรรูป และการจัดการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว รวมทั้งการตลาดและการส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับข้าว จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติให้จัดตั้งคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพื่อทําหน้าที่กํากับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยแทนกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ และให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ เงินของกองทุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัย เงินของกองทุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิต เงินของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย หนี้ สิทธิ และภาระผูกพันของกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับงานประกันวินาศภัย งานประกันชีวิต และงานคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และให้โอนการดําเนินคดีและการดําเนินการทางวินัยกับข้าราชการหรือลูกจ้างและเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจําและเงินต่าง ๆ ที่จ่ายควบกับเงินเดือนซึ่งมีผู้ครองอยู่ ให้โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ กรณีจึงมีความจําเป็นต้องยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดาข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี และเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทําหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.พ.ร. และหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือ ก.พ.ร. กําหนด ในการนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้ต้องยุบเลิกกรมทางหลวงชนบทภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ โดยให้โอนกิจการอํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอํานาจหน้าที่ของผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวงหรือผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวง หรือไปเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ซึ่งการยุบเลิกจะส่งผลกระทบต่อการดําเนินภารกิจในการกําหนดมาตรฐาน การควบคุมในทางวิชาการ และการพัฒนางานทางหลวงชนบทและทางหลวงท้องถิ่นในภาพรวม ดังนั้น สมควรยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้ยังคงมีกรมทางหลวงชนบทเพื่อดําเนินภารกิจต่อไป จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนชื่อสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้โอนงบประมาณและบุคลากรของสํานักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ สังกัดสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษาไปเป็นของสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สมควรเปลี่ยนชื่อสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับอํานาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๔ แห่งกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม บัญญัติให้กรมทางหลวงชนบทต้องยุบเลิกไปภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แต่เนื่องจากภารกิจปัจจุบันที่กรมทางหลวงชนบทดําเนินการอยู่มีความสําคัญ และจําเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง และการกระจายความเจริญสู่ชนบท ซึ่งเป็นนโยบายหลักของทุกรัฐบาล โดยกรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่หลักในการกําหนดมาตรฐานทางการก่อสร้าง และการบํารุงรักษาทางทั้งทางหลวงชนบทและทางหลวงท้องถิ่นที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ควบคุมในทางวิชาการงานทางฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทั้งระดับผู้ปฏิบัติและระดับผู้บริหารของ อปท. ทั่วประเทศ กํากับและตรวจตราให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักวิชาการตามที่กําหนดไว้วิจัยและพัฒนางานทาง เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานทางหลวงชนบทและงานทางหลวงท้องถิ่น ให้คําปรึกษาและให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการแก่อปท. นอกจากนั้นกฎหมายทางหลวงได้กําหนดให้กรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่เพิ่มขึ้นจากเดิม และมีสาระสําคัญ ๒ ด้าน คือ ด้านกํากับตรวจตราและควบคุทางหลวง และด้านควบคุม รักษา ขยายและสงวนเขตทาง จึงมีความจําเป็นต้องมีกรมทางหลวงชนบทไว้รับผิดชอบภารกิจดังกล่าว ซึ่งมีความสําคัญต่อระบบการคมนาคมขนส่งทางบกของประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี เป็นกรมเจ้าท่า พ.ศ. ๒๕๕๒๖๓
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี เป็นกรมเจ้าท่า
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี เป็นกรมเจ้าท่า เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามหน่วยงาน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางอากาศ เป็นกรมการบินพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางอากาศ เป็นกรมการบินพลเรือน
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางอากาศ เป็นกรมการบินพลเรือน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจด้านการบิน ซึ่งครอบคลุมทั้งการขนส่งทางอากาศและการเดินอากาศ และเป็นการสอดคล้องกับแนวทางในการกําหนดชื่อหน่วยงานลักษณะเดียวกันในต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการของสํานักงานปลัดกระทวงกระทรวงเกษตรและสหรณ์ และบรรดาอํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปเป็นของกรมหม่อนไหมหรือของเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง รวมถึงข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปเป็นของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากหม่อนไหมเป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นที่นําไปสู่สินค้าแปรรูป และนวัตกรรมในหลายรูปแบบ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับเอกลักษณ์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมการดํารงชีพแบบวิถีชาวไทย อันจําเป็นต้องมีการอนุรักษ์ คุ้มครอง สืบทอด และจรรโลงให้คงอยู่กับสังคมไทย กับทั้งต้องส่งเสริมให้สังคมได้เห็นคุณค่าและหวงแหนสิ่งที่มีอยู่แล้ว ตลอดจนต้องมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมและการแปรรูปจากผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นไปสู่สินค้า ตามความต้องการของตลาดอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัย ซึ่งจะเป็นการเผยแพร่ไหมไทยและผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมให้แพร่หลายทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินงานของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สามารถปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว สมควรจัดตั้งกรมหม่อนไหมขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นกรมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นกรมการท่องเที่ยว
ให้เปลี่ยนชื่อตําแหน่งของผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นอธิบดีกรมการท่องเที่ยว และรองผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นรองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นกรมการท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา
ให้เปลี่ยนชื่อตําแหน่งของผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นอธิบดีกรมพลศึกษา และรองผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นรองอธิบดีกรมพลศึกษา
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา และเปลี่ยนชื่อตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณของสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ไปเป็นของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
มาตรา ๕ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใด อ้างถึงสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีนั้นอ้างถึงกรมส่งเสริมวัฒนธรรม อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยุบเลิกสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และเปลี่ยนเป็นกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบงานด้านวัฒนธรรม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๓
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมาตรา ๒๕๕ วรรคห้า บัญญัติให้องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดําเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมการส่งออกและการส่งเสริมการนําเข้าปัจจัยการผลิตและสินค้าที่จําเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะสํานักฝนหลวงและการบินเกษตรไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร ไปเป็นของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรา ๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ถือว่าอ้างถึงกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการปฏิบัติการฝนหลวงเป็นบริการสาธารณะในการทําฝนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ําในพื้นที่เกษตรกรรม ป่าไม้ และเขื่อนหรือพื้นที่เก็บกักน้ํา อันเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภารกิจดังกล่าวรวมถึงการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ําในชั้นบรรยากาศ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแบบบูรณาการของประเทศ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการทําฝนและการดัดแปรสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการให้บริการด้านการบินและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนในภารกิจด้านการเกษตรและอื่น ๆ โดยปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารจัดการและความรับผิดชอบของสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมควรยกฐานะสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจัดตั้งเป็นกรมฝนหลวงและการบินเกษตรขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การบริหารจัดการการปฏิบัติการฝนหลวงเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีความคล่องตัวในการบูรณาการภารกิจร่วมกับส่วนราชการอื่น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๖
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดากิจการ เงิน กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง รวมถึงข้าราชการ พนักงานราชการ และบุคลากร ของสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไปเป็นของสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อแก้ไขปัญหาในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐยังไม่เพียงพอ อันจําเป็นต้องกําหนดให้สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติมีอํานาจในการตรวจสอบการได้รับสิทธิประโยชน์ ให้คําแนะนําและช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวก สวัสดิการและความช่วยเหลืออื่น ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการของสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติสามารถปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว สมควรยกฐานะสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติเป็นกรมในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ ๕ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ที่เป็นของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกระทรวงอุตสาหกรรม และอํานาจหน้าที่ที่เป็นของข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สํานักนายกรัฐมนตรี และของข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สํานักนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สํานักนายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของกระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพันข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ไปเป็นของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
มาตรา ๗ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้ถือว่าอ้างถึงกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - หตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากภารกิจความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศโดยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะนําไปสู่การขยายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ และการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสามารถปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว สมควรยกฐานะสํานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ขึ้นเป็นกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยให้เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
(๒) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน เฉพาะงานเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าของประเทศและงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กําหนด
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๔ ไปเป็นของสํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
มาตรา ๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงส่วนราชการตามมาตรา ๔ และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการตามมาตรา ๔ ให้ถือว่าอ้างถึงสํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์หรือข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาการส่งออก ทําให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของโลกที่สําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทย รวมทั้งยังเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสมควรให้มีการจัดตั้งสํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าขึ้นมีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงพาณิชย์ เพื่อทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักที่กําหนดนโยบายทิศทางการค้าของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะและจัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์การค้าแห่งชาติ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๒ พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็ต้นไป
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๙ ให้ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต หรือราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๐ ให้คณะกรรมการต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถานซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นคณะกรรมการของสํานักงานราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๑ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถาน อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน ประธานสํานักและเลขานุการสํานัก อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ประธานสํานักและเลขานุการสํานัก ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนครบวาระการดํารงตําแหน่ง
ให้ผู้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๒ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ระเบียบการ ประกาศ และคําสั่งที่ได้ออกตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อ “ราชบัณฑิตยสถาน” เป็น “ราชบัณฑิตยสภา” อันเป็นชื่อเดิมที่ใช้เรียกสืบมานับแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในโอกาส ๑๒๐ ปี พระบรมราชสมภพ รวมทั้งปรับปรุงอํานาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภาและการบริหารงานวิชาการของราชบัณฑิตยสภาให้แพร่หลายแก่วงวิชาการของประเทศและประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น ประกอบกับให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภาเพื่อเป็นประโยชน์แก่สมาชิกราชบัณฑิตยสภาและกําหนดให้รายได้ที่ราชบัณฑิตยสภาได้รับจากการให้บริการทางด้านวิชาการและการจัดการศึกษาอบรมสามารถนําไปใช้จ่ายในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของสํานักงานราชบัณฑิตยสภาโดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารงานวิชาการมากยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เฉพาะ
(๑) สํานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑ - ๑๒
(๒) งานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๔ ไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๖ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคและความมั่นคงของมนุษย์ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เฉพาะ
(ก) กองบริหารกองทุน เฉพาะงานเกี่ยวกับกองทุนคุ้มครองเด็ก
(ข) งานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
(๒) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เฉพาะ
(ก) สํานักบริการสวัสดิการสังคม เฉพาะงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
(ข) สํานักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก เฉพาะงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
(ค) สถานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน
(ง) ศูนย์อํานวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(จ) งานตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(๓) สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เฉพาะ
(ก) กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย เฉพาะงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
(ข) สํานักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก
(ค) สํานักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน
(ง) งานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
(จ) งานตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
มาตรา ๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๖ ไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๘ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และบุคลากรของกองทุนคุ้มครองเด็กในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก ไปเป็นของกองทุนคุ้มครองเด็กในกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๙ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือของข้าราชกาพนังานราชการ และลูกจ้างของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วแต่กรณี
(๑) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เฉพาะ
(ก) สํานักบริการสวัสดิการสังคม เฉพาะงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
(ข) สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
(๒) สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เฉพาะ
(ก) กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย เฉพาะงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
(ข) สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ
(ค) งานตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ
มาตรา ๑๐ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๙ ไปเป็นของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๑๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก
เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เฉพาะกองกลาง หน่วยตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชน และกมกิจการผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กําหนด โดยคํานึงถึงความสมัครใจของบุคคลที่จะถูกโอนประกอบกับประโยชน์ของทางราชการด้วย
มาตรา ๑๒ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และบุคลากรของกองทุนผู้สูงอายุในสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ ไปเป็นของกองทุนผู้สูงอายุในกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๑๓ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วแต่กรณี
(๑) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เฉพาะ
(ก) สํานักบริการสวัสดิการสังคม เฉพาะงานเกี่ยวกับสตรี
(ข) สํานักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก ยกเว้นงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
(ค) สถานสงเคราะห์สตรีและสถานสงเคราะห์ตามฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
(ง) งานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
(๒) สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
มาตรา ๑๔ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๓ ไปเป็นของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๑๕ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เฉพาะ
(ก) กองบริหารกองทุน เฉพาะงานเกี่ยวกับกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
(ข) สํานักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เฉพาะกลุ่มการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและกลุ่มการส่งเสริมและประสานเครือข่าย
(ค) งานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
(๒) สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เฉพาะ
(ก) กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย เฉพาะงานเกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาส
(ข) สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส
มาตรา ๑๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๕ ไปเป็นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๑๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และบุคลากรของกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ไปเป็นของกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๑๘ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วแต่กรณี
(๑) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เฉพาะ
(ก) สํานักบริการสวัสดิการสังคม เฉพาะงานเกี่ยวกับคนพิการ
(ข) สถานสงเคราะห์คนพิการและศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ
(๒) สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
มาตรา ๑๙ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๘ ไปเป็นของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๒๐ ให้โอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ และอํานาจหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของส่วนราชการตามกฎหมายดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
(๑) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตามพระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจําพวก พุทธศักราช ๒๔๗๙ ไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชนหรืออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน แล้วแต่กรณี
(๒) ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๐๗ ไปเป็นของอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน
(๓) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ ไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชน หรืออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน แล้วแต่กรณี
(๔) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ ไปเป็นของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว หรืออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน แล้วแต่กรณี
(๕) ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเป็นของอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
(๖) ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
(ก) สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุและผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชน หรืออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน แล้วแต่กรณี
(ข) รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายตามมาตรา ๗ ไปเป็นของรองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนซึ่งอธิบดีมอบหมาย
(ค) สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๖๘ ไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชน
(ง) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตามมาตรา ๓๔ ไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชน
(จ) รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายตามมาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๕ ไปเป็นของอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน
(๗) ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖
(ก) สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุยกเว้นมาตรา ๑๐ ไปเป็นของกรมกิจการผู้สูงอายุ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ไปเป็นของอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ
(ข) ผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ตามมาตรา ๔ วรรคสอง ไปเป็นของผู้อํานวยการสํานักในกรมกิจการผู้สูงอายุซึ่งอธิบดีมอบหมาย
(ค) สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ตามมาตรา ๑๐ ไปเป็นของกรมกิจการผู้สูงอายุ
(ง) ผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ ตามมาตรา ๑๘ ไปเป็นของผู้อํานวยการสํานักในกรมกิจการผู้สูงอายุซึ่งอธิบดีมอบหมาย
(๘) สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปเป็นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
(๙) สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไปเป็นของกรมกิจการเด็กและเยาวชน หรืออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน แล้วแต่กรณี
(๑๐) สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไปเป็นของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรืออธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แล้วแต่กรณี
(๑๑) ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(ก) อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ตามมาตรา ๑๕ ไปเป็นของรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมาย หรืออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน แล้วแต่กรณี
(ข) อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตามมาตรา ๒๙ ไปเป็นของปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๒๑ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงส่วนราชการที่โอนมา และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการที่โอนมา ให้ถือว่าอ้างถึงส่วนราชการที่รับโอน และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการที่รับโอนดังกล่าว แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๒ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ผ่านมา ได้แยกงานด้านนโยบาย ด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติในแต่ละกลุ่มเป้าหมายออกจากกัน ทําให้เกิดปัญหาความซ้ําซ้อนในการปฏิบัติงาน และส่งผลกระทบต่อการให้บริการกับประชาชน จึงสมควรปรับปรุงการจัดโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใหม่ โดยรวมงานด้านนโยบาย ด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติ ของกลุ่มเป้าหมายเดียวกันให้อยู่ในส่วนราชการเดียวกัน เพื่อให้สามารถกําหนดเป้าหมายและทิศทางการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการทํางานที่ซ้ําซ้อน รวมทั้งเป็นการประหยัดทรัพยากรภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๒ พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ และภาระผูกพัน ในส่วนที่เป็นงานเกี่ยวกับท่าอากาศยานและสํานักพัฒนาท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน ไปเป็นของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม
ให้โอนบรรดาข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และอัตรากําลังของกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม เฉพาะงานเกี่ยวกับท่าอากาศยานและสํานักพัฒนาท่าอากาศยานและข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการอื่นของกรมการบินพลเรือนที่มิได้รับการบรรจุเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ไปเป็นของ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม
ในกรณีที่ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการที่โอนมาตามวรรคสอง มีจํานวนเกินจําเป็น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอํานาจสั่งให้ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการไปปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนราชการอื่นในกระทรวงคมนาคมได้ โดยให้โอนอัตรากําลังและเงินงบประมาณที่เกี่ยวกับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการดังกล่าวไปด้วย
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีของกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม เฉพาะงาน เกี่ยวกับท่าอากาศยานและสํานักพัฒนาท่าอากาศยาน และของเจ้าหน้าที่ของกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม เฉพาะงานเกี่ยวกับท่าอากาศยานและสํานักพัฒนาท่าอากาศยาน ไปเป็นอํานาจหน้าที่ ของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม หรือของเจ้าหน้าที่ของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖ ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ และภาระผูกพัน รวมทั้งข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และอัตรากําลังของสํานักมาตรฐานการบิน กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน และงานนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ ไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม
ข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการของกรมการบินพลเรือนผู้ใดที่มิได้ถูกโอนไปตามวรรคหนึ่ง หากประสงค์จะโอนไป ให้แสดงความจํานงเป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวงคมนาคม
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ และให้ปลัดกระทรวงคมนาคมตรวจสอบความรู้ความสามารถและความเหมาะสม แล้วประกาศรายชื่อผู้ที่สมควรโอนไป โดยให้ผู้มีชื่ออยู่ในประกาศดังกล่าวโอนไปตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๗ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีของสํานักมาตรฐานการบิน กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน และงานนิรภัยการบิน และสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ และของเจ้าหน้าที่ของสํานักมาตรฐานการบิน กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน และงานนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม หรือของเจ้าหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกําหนดนี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับนี้ คือ โดยที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ได้ตรวจสอบพบข้อบกพร่องในด้านโครงสร้างและอํานาจหน้าที่ของกรมการบินพลเรือน โดยเฉพาะการแบ่งแยก อํานาจหน้าที่ระหว่างหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลและหน่วยงานผู้ให้บริการ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จึงต้องปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการ ในกรมการบินพลเรือนเสียใหม่ โดยแยกงานการกํากับดูแลออกเป็นสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และงานเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยเหลือกรณีอากาศยานประสบภัย งานนิรภัยการบิน และสอบสวนหาสาเหตุของ อุบัติเหตุอากาศยานให้อยู่ในอํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม รวมทั้งเปลี่ยนชื่อ กรมการบินพลเรือนเป็นกรมท่าอากาศยาน เพื่อให้สอดคล้องกับงานในหน้าที่หลักที่ปรับปรุงใหม่นี้ด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ.๒๕๕๘
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ กําหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานในสํานักงานและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยสมควรกําหนดให้สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๕๙
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
มาตรา ๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม และข้าราชกาพนังานราชการ หรือลูกจ้างของสํานังานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม ให้ถือว่าอ้างถึงสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อกําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และกําหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสํานักงานและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สมควรกําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๙
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๘ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๙ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๘ ไปเป็นของสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา ๑๐ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยกเว้นส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือของข้าราชกาพนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วแต่กรณี
(๑) ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
(๒) สํานักกิจการอวกาศแห่งชาติ
(๓) สํานักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๔) สํานักส่งเสริมและพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
(๕) สํานักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรา ๑๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ ไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา ๑๒ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๒ ไปเป็นของกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา ๑๔ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังต่อไปนี้ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วแต่กรณี
(๑) สํานักกิจการอวกาศแห่งชาติ
(๒) สํานักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๓) สํานักส่งเสริมและพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
(๔) สํานักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรา ๑๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๔ ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา ๑๖ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๖ ไปเป็นของสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา ๑๘ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เฉพาะศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เฉพาะศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๙ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการตามมาตรา ๑๘ ไปเป็นของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๒๐ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงส่วนราชการที่โอนมา และข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการที่โอนมา ให้ถือว่าอ้างถึงส่วนราชการที่รับโอน และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการที่รับโอนดังกล่าว แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๑ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ถือว่าอ้างถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา ๒๒ ในวาระเริ่มแรก
(๑) ให้สํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยอนุโลม จนกว่าจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขึ้นใหม่
(๒) ให้กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยอนุโลม จนกว่าจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขึ้นใหม่
(๓) ให้สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยอนุโลม จนกว่าจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการสํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขึ้นใหม่
มาตรา ๒๓ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจต่างมีความต้องการนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของการให้บริการ แต่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีขอบเขตอํานาจหน้าที่จํากัดเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงเรื่องการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรองรับการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่มีการขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหลัก ซึ่งจําเป็นต้องมีหน่วยงานภาครัฐทําหน้าที่บูรณาการกลไกต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการดําเนินการไปในทิศทางเดียวกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเน้นให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปมีบทบาทในทุกภาคส่วน ดังนั้น เพื่อให้มีกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ครอบคลุมถึงเรื่องดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องดําเนินการปรับโครงสร้างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มีขอบเขตอํานาจหน้าที่มากขึ้น และเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ ซึ่งครอบคลุมทั้งการคุ้มครอง การอนุรักษ์ การส่งเสริม การพัฒนาและการสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกอื่น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และปลอดภัย จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๖ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิก
(๑) มาตรา ๔๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓) มาตรา ๑๐ (๓) และ (๔) มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๔/๑ และมาตรา ๔๒ (๖) (๗) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๗ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
(๑) ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณ ของสํานักราชเลขาธิการและสํานักพระราชวังตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสํานักราชเลขาธิการและสํานักพระราชวัง ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นข้าราชการในพระองค์ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๒) ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ และทรัพย์สิน ของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากําลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากําลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ส่วนเงินงบประมาณ สิทธิ และหนี้สินของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ให้โอนไปเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น
(๓) ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากําลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากําลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๔) ให้โอนบรรดากิจการ อํานาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของสํานักงานนายตํารวจราชสํานักประจํา สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยตํารวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนตําแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการตํารวจในสํานักงานนายตํารวจราชสํานักประจํา สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นตําแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในพระองค์ในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการได้รับบําเหน็จบํานาญ ให้ถือว่าข้าราชการในพระองค์เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี แต่การพ้นจากราชการให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชกฤษฎีกาจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การรับบําเหน็จบํานาญ การรับเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของข้าราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การใดที่สํานักราชเลขาธิการ สํานักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์ หรือหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และสํานักงานนายตํารวจราชสํานักประจํา สํานักงานตํารวจแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการดําเนินการหรือเคยดําเนินการได้ตามกฎหมาย เมื่อได้โอนมาเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงดําเนินการต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยหรือมีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้ดําเนินการเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สํานักราชเลขาธิการ สํานักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม เป็นส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์และพระราชกรณียกิจขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งต้องถวายงานตามโบราณราชประเพณีและพระราชอัธยาศัย การปฏิบัติราชการจึงแตกต่างจากส่วนราชการของฝ่ายบริหารทั่วไป กรณีจึงสมควรกําหนดฐานะของส่วนราชการดังกล่าวขึ้นใหม่ ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์โดยปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลเป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การบริหารราชการในพระองค์เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของราชการในพระองค์ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดตั้งสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ข้อ ๓ ให้สํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีส่วนราชการ หน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และเป็นฝ่ายบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ ฝ่ายแผนงาน โครงการ ฝ่ายงบประมาณบริหารจัดการ และฝ่ายติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา เพื่อประโยชน์ในการกําหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําทั้งระบบ
ในกรณีมีเหตุจําเป็นฉุกเฉิน ให้สํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติมีอํานาจจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราว และมีอํานาจในการขอเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐมาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม
ให้มีผู้อํานวยการสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างในสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ข้อ ๔ ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาเพื่อโอนหน่วยงานในระดับต่ํากว่ากรมจากส่วนราชการต่าง ๆ ไปเป็นของสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และกําหนดหรือปรับปรุงตําแหน่งข้าราชการ ตลอดจนจัดสรรอัตรากําลังให้สํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติให้เหมาะสมตามความจําเป็นแก่ภารกิจ
ข้อ ๕ ในระยะเริ่มแรก ให้สํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติประสานงานกับกรมทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนการดําเนินการของคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติตามกฎหมายและคําสั่งที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติเป็นกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๘๕/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนกว่านายกรัฐมนตรีจะมีคําสั่งเป็นประการอื่น
ข้อ ๖ ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๗ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๑ เรื่อง การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ข้อ ๑ ให้เปลี่ยนชื่อสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดตั้งสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากน้ําแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแห่งชาติตามคําสั่งในวรรคหนึ่ง เป็นเลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ข้อ ๒ ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําของกรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ํา ตามบัญชีรายชื่อที่นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายประกาศกําหนดมาปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานในสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติมีกําหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้ไปรายงานตัวต่อเลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
เมื่อครบกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้าราชการและพนักงานราชการที่มาปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานผู้ใดประสงค์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หรือได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการ ในอัตราของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ให้แสดงความจํานงเป็นหนังสือต่อเลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติภายในสามสิบวันก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว เว้นแต่เลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติเห็นสมควรจะแต่งตั้งข้าราชการหรือทําสัญญาจ้างพนักงานราชการก่อนครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งก็ได้
ให้เลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติแต่งตั้งข้าราชการหรือทําสัญญาจ้างพนักงานราชการที่มาปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามวรรคสอง และได้ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติกําหนดเป็นข้าราชการ หรือพนักงานราชการในกรอบอัตรากําลังของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานราชการที่มาปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานผู้ใดไม่ประสงค์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการหรือได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชกาในกรอบอัตรากําลังของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ หรือไม่ได้รับการคัดเลือกตามวรรคสาม ให้ข้าราชการหรือพนักงานราชการผู้นั้นกลับไปปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานในส่วนราชการต้นสังกัดเดิม ในชื่อตําแหน่งในสายงานเดิม หรือตําแหน่งที่ไม่ต่ํากว่าเดิม
ให้การไปรายงานตัวและการส่งมอบงานของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําที่มาปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําที่มาปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติยังคงได้รับเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นเช่นเดิมจากส่วนราชการต้นสังกัดเดิม และให้ส่วนราชการต้นสังกัดเดิมงดการย้ายข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําดังกล่าว เว้นแต่การย้ายเพื่อเลื่อนตําแหน่งสูงขึ้น
ข้อ ๔ ให้โอนบรรดาหน้าที่และอํานาจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในกรมชลประทาน และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําของส่วนราชการในกรมชลประทาน ดังต่อไปนี้ ไปเป็นหน้าที่ และอํานาจของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ แล้วแต่กณี
(๑) สํานักบริหารโครงการเฉพาะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ําเพื่อจัดทําแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา และงานวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา
(๒) สํานักบริหารจัดการน้ําและอุทกวิทยาเฉพาะงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์และเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ําในระดับข้ามลุ่มน้ํา และงานเฝ้าระวัง วิเคราะห์ พยากรณ์ กํากับ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการน้ําในภาพรวมของประเทศ
ข้อ ๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน และให้โอนข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจํา และอัตรากําลังของส่วนราชการตามข้อ ๔ และส่วนราชการอื่นในกรมชลประทาน จํานวน ๕๖ อัตรา ตามที่อธิบดีกรมชลประทานกําหนดไปเป็นของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ข้อ ๖ ให้โอนบรรดาหน้าที่และอํานาจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของส่วนราชการในกรมทรัพยากรน้ํา และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําของส่วนราชการในกรมทรัพยากรน้ํา ดังต่อไปนี้ ไปเป็นหน้าที่ และอํานาจของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ แล้วแต่กรณี
(๑) ศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ํา เฉพาะงานเกี่ยวกับงานศึกษา วิเคราะห์ และการกําหนดพื้นที่เสี่ยงภัยเกี่ยวกับน้ําในภาพรวมของประเทศ และงานเสนอแนะแผนแม่บทและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขวิกฤตน้ํา
(๒) สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ํา เฉพาะงานเกี่ยวกับฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ งานเสนอแนะนโยบาย แผนแม่บท และมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในภาพรวมของประเทศงานเสนอแนะแนวทาง กรอบแผนงาน และมาตรการในการจัดทําแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ รวมทั้งงานติดตามและประเมินผลการดําเนินการ ตามนโยบาย และแผนแม่บทเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ
(๓) สํานักบริหารจัดการน้ํา เฉพาะงานเกี่ยวกับการกําหนดกรอบ หลักเกณฑ์ เทคโนโลยี และแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในระดับข้ามลุ่มน้ํา การสนับสนุนและให้คําปรึกษาแนะน้ํา แก่คณะกรรมการลุ่มน้ํา หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในระดับข้ามลุ่มน้ํา
(๔) สํานักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ เฉพาะงานเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา
(๕) สํานักวิจัย พัฒนา และอุทกวิทยา เฉพาะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย เทคโนโลยี เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในภาพรวมของประเทศ และการวิเคราะห์ปริมาณน้ํา การวางแผนและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในภาพรวมของประเทศ
ข้อ ๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผรกพัน และให้โอข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจํา และอัตรากําลังของส่วนราชการตามข้อ ๖ และส่วนราชการอื่นในกรมทรัพยากรน้ํา จํานวน ๑๐๒ อัตรา ตามที่อธิบดีกรมทรัพยากรน้ํากําหนดไปเป็นของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ข้อ ๘ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือ มติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงส่วนราชการตามข้อ ๔ และข้อ ๖ และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจําของส่วนราชการตามข้อ ๔ และข้อ ๖ ให้ถือว่าอ้างถึงสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ หรือข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจําของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙ ในระยะเริ่มแรก ให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติสําหรับการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจ รวมทั้งภารกิจของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติดําเนินการกําหนดกรอบอัตรากําลังข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจํารวมจํานวน ๒๔๖ อัตรา ให้สอดคล้องกับโครงสร้างส่วนราชการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติมีผลใช้บังคับ โดยกรอบอัตรากําลังมาจากการตัดโอนอัตราข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจํา และอัตรากําลังจากกรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ํา และเป็นอัตราข้าราชการตั้งใหม่ จํานวน ๘๗ อัตรา
ข้อ ๑๑ ในระหว่างที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติยังไม่มีคณะอนุกรรมการสามัญประจํากระทรวงหรือคณะอนุกรรมการสามัญประจํากรม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนให้การดําเนินการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งในสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และข้าราชการที่มาปฏิบัติราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการตามข้อ ๒ วรรคสาม ให้ดํารงตําแหน่ง ประเภท ระดับ และสายงานต่าง ๆ ในสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกําหนด
ข้อ ๑๒ ให้นายสําเริง แสงภู่วงค์ พ้นจากตําแหน่งรองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และให้ดํารงตําแหน่งรองเลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่เลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติมอบหมาย
ให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องดําเนินการให้เป็นไปตามข้อนี้
ให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการตามวรรคหนึ่ง ให้ดํารงตําแหน่งตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ให้ข้าราชการตามวรรคหนึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่เดิม และไปช่วยราชการในตําแหน่งใหม่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่คําสั่งนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป จนกว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๓ ให้กรมเจ้าท่ากรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ํา กรมทรัพยากรน้ําบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่น กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ําและการเกษตร (องค์การมหาชน) สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ําดําเนินการสนับสนุนและอํานวยความสะดวก ในการให้ข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลด้านทรัพยากรน้ําตามที่สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติกําหนด โดยมอบหมายให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ําและการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการและเชื่อมต่อข้อมูลให้กับสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติในระยะแรก
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๑๕ ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการดําเนินการตามคําสั่งนี้ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ วินิจฉัยคําวินิจฉัยของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้เป็นที่สุด
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณหรือการปฏิบัติภารกิจของกรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ําที่โอนไปเป็นของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ตามคําสั่งนี้ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
ข้อ ๑๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง กลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง๘๖
ข้อ ๘ ให้สํานักงานเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะเทียบเท่ากรมที่ไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวงอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การบริหารบุคคล การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานหน้าที่และอํานาจของส่วนงานและอัตรากําลัง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ให้การงบประมาณ การเงินการคลัง การพัสดุและการจัดการทรัพย์สินของสํานักงานเป็นไปตามข้อบังคับของสํานักงาน
ให้มีผู้อํานวยการสํานักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างในสํานักงาน และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ข้อ ๙ ให้สํานักงานเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
ข้อ ๑๐ นายกรัฐมนตรีอาจสั่งให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐไปช่วยปฏิบัติงานในสํานักงานโดยมีกําหนดเวลาตามที่ตกลงกับผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานของรัฐก็ได้และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรอื่นที่มีอํานาจหน้าที่ทํานองเดียวกันของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นจัดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่จัดส่งบุคคลดังกล่าวไปปฏิบัติหน้าที่ยังสํานักงานมีอัตรากําลังแทนตามความจําเป็นแต่ไม่เกินจํานวนอัตรากําลังที่จัดส่งไป
ให้บุคคลที่ได้รับคําสั่งให้ไปปฏิบัติงานในสํานักงานตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมต่อไป สําหรับสิทธิประโยชน์อื่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะมาตรการและแนวทางการดําเนินการแก้ไขปัญหา และติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินการตามมติของคณะกรรมการ และคณะกรรมการตามข้อ ๑๒ โดยมุ่งเน้นภารกิจเชิงบูรณาการและปฏิบัติการเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศนโยบายการปฏิรูปของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนการสร้างความสามัคคีปรองดองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) บูรณาการข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการดําเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทและแผนการสร้างความสามัคคีปรองดอง
(๓) ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานตามข้อ ๑๒ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๔) รับเรื่องร้องเรียนหรือร้องทุกข์จากประชาชนเกี่ยวกับการดําเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนการสร้างความสามัคคีปรองดองของหน่วยงานของรัฐ
(๕) จัดฝึกอบรมและประเมินผลหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ทุกระดับ
(๖) ดําเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๑๒ นอกจากหน้าที่และอํานาจตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้สํานักงานรับผิดชอบในงานธุรการงานทางวิชาการ และเป็นฝ่ายเลขานุการให้แก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางาน ดังต่อไปนี้
(๑) คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ และ
คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๗ มกรําคม ๒๕๖๐
(๒) คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดําเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล (กขร.) ตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗
(๓) คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน (กขป.) รวม ๕ คณะตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
(๔) คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล (คตน.) ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๓/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
(๕) คณะกรรมการดําเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีที่ ๓๓๑/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐
(๖) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๘๘/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๑
(๗) คณะกรรมการอํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๒๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
(๘) คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจําจังหวัด (คสป.) ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๖/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
(๙) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย THAILAND 4.0 ตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙๔/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐
(๑๐) คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๑
(๑๑) คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ให้สํานักงานทําหน้าที่ประสานงาน ติดตามและรายงานผลการดําเนินการของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการตามข้อ ๑๓ เป็นประจําทุกเดือน
เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง นายกรัฐมนตรีอาจมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานอื่นอีกได้ รวมทั้งมีอํานาจยกเลิก ยุบรวม เปลี่ยนชื่อ และปรับปรุงองค์ประกอบหรือหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานตามวรรคหนึ่งได้
ข้อ ๑๓ ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ และรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจํานวนไม่เกินสามคน ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากภาคเอกชนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
ให้ผู้อํานวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อํานวยการแต่งตั้งข้าราชการในสํานักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน
ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดนโยบายและแนวทางในการขับเคลื่อนและบูรณาการการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายการปฏิรูปของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนการสร้างความสามัคคีปรองดอง
(๒) เร่งรัด ขับเคลื่อนกํากับดูแล และประเมินผลการดําเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทํางานตามข้อ ๑๒ เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศนโยบายการปฏิรูปของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนการสร้างความสามัคคีปรองดองบรรลุเป้าหมายและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) กํากับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานให้เป็นไปตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒
(๔) แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๕) ดําเนินการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๑๕ การปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของคณะกรรมการ รวมทั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ข้อ ๑๖ เมื่อครบกําหนดห้าปีนับแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติพิจารณาความจําเป็นและเหมาะสมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และอํานาจของสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเห็นควรให้สํานักงานยุติบทบาทการดําเนินการ ให้ความในข้อ ๗ ถึงข้อ ๑๕ เป็นอันสิ้นสุดลง และให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอแนวทางการดําเนินการเกี่ยวกับการโอนบุคลากร ทรัพย์สินและหนี้ สินของสํานักงานไปยังหน่วยงานใดต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเป็นประการใดให้ดําเนินการไปตามนั้น
ข้อ ๑๗ การโอนและการรับโอนตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้ มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๑๘ ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสํานักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง สนับสนุนการดําเนินการตามคําสั่งนี้ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยในกรณีที่มีปัญหาหรืออุปสรรคในการดําเนินการให้เสนอนายกรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่เห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๒๐ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
\*พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีภารกิจที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติและกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ สมควรปรับปรุงโครงสร้าง หน้าที่ และอํานาจของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเปลี่ยนชื่อจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในทํานองเดียวกับพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ ตามที่คุ้นเคยกัน และเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทํา ติดตาม และประเมินผลการดําเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องและบูรณาการกับยุทธศาสตร์ชาติรวมทั้งแผนการพัฒนาประเทศต่าง ๆ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๔ ให้โอนบรรดาหน้าที่และอํานาจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เฉพาะสํานักงานโครงการพัฒนาระบบราง และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เฉพาะสํานักงานโครงการพัฒนาระบบราง ไปเป็นหน้าที่และอํานาจของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เฉพาะสํานักงานโครงการพัฒนาระบบราง ไปเป็นของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
มาตรา ๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงสํานักงานโครงการพัฒนาระบบราง สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสํานักงานโครงการพัฒนาระบบราง สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม ให้ถือว่าอ้างถึงกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการขนส่งทางรางมีบทบาทสําคัญกับการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ แต่โดยที่การบริหารจัดการด้านการขนส่งทางรางของประเทศยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และยังไม่มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลให้ระบบขนส่งทางรางทั้งประเทศมีมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้การเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและการกํากับดูแลเป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางของประเทศให้สามารถแข่งขันและเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่นและประเทศเพื่อนบ้านได้ สมควรยกฐานะสํานักงานโครงการพัฒนาระบบรางงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม โดยจัดตั้งเป็นกรมการขนส่งทางรางขึ้นในกระทรวงคมนาคม เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
1. สํานักงานรัฐมนตรี โดยให้สํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๔๕ ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง โดยให้สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(๓) กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(๔) สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยให้สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(๕) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ในระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(๖) สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยให้สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง เป็นสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้ส่วนราชการตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติของคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขึ้นใช้บังคับ
มาตรา ๑๐ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานรัฐมนตรี สํานักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ และสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปเป็นของส่วนราชการที่ระบุไว้ในมาตรา ๙ (๑) (๒) (๓) และ (๔) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ระบุไว้ในมาตรา ๙ (๕) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๑ คดีที่ส่วนราชการซึ่งโอนกิจการตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๓ ไปเป็นของส่วนราชการตามมาตรา ๙ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาซึ่งได้ฟ้องต่อศาลไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ส่วนราชการตามมาตรา ๙ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ตามพระราชบัญญัตินี้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน ในการนี้ ให้ส่วนราชการดังกล่าวดําเนินกระบวนพิจารณาไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้ถือว่าผู้รับมอบอํานาจให้ดําเนินคดีแทนส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๓ ในคดีนั้น ๆ เป็นผู้รับมอบอํานาจจากส่วนราชการตามมาตรา ๙ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ในกรณีที่ศาลได้มีคําพิพากษาคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ส่วนราชการตามมาตรา ๙ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ตามพระราชบัญญัตินี้ เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น
มาตรา ๑๒ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในส่วนที่กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในบัญชี ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในส่วนที่กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม หากเป็นกิจการที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในส่วนที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการร่วม ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในบัญชี ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติที่ระบุไว้ในมาตรา ๙ (๖) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
บทบัญญัติมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ และมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในส่วนที่
กําหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการ
มาตรา ๑๔ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรืออยู่ในกํากับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในส่วนที่กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รักษาการหรือเป็นผู้รักษาการร่วม
ให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาตามวรรคหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่และการเปลี่ยนแปลงผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในบัญชี ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
มาตรา ๑๕ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติของคณะรัฐมนตรีใดที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อ้างถึง “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” หรือผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นอ้างถึง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัต” หรือผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติของคณะรัฐมนตรีใดที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อ้างถึง “กระทรวงศึกษาธิการ” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” “ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ” หรือผู้ดํารงตําแหน่ง หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงศึกษาธิการ หากเกี่ยวกับการอุดมศึกษาหรือการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ในอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นอ้างถึง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” “ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” หรือผู้ดํารงตําแหน่งหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาหรือคณะกรรมการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่และการเปลี่ยนแปลงผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในบัญชี ๔ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่สถาบันการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
มาตรา ๑๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดในอนาคต สมควรจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้น เพื่อให้มีการบูรณาการ การเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นเข้าด้วยกัน และให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผน และนโยบายในการพัฒนาประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๖๔
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๕ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของส่วนราชการดังต่อไปนี้ ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี
(๑) สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉพาะกองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
(๒) สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉพาะกองบริหารจัดการที่ดิน ในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับงานตามภารกิจของคณะกรรมการจัดที่ดิน
มาตรา ๖ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ และอัตรากําลังของสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉพาะกองบริหารจัดการที่ดิน ในส่วนที่เกี่ยวกับงานตามภารกิจของคณะกรรมการจัดที่ดิน ไปเป็นของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วย
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติกําหนดให้มีสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเพื่อรับผิดชอบในการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และมีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าว สมควรจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติขึ้น มีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรมในสํานักนายกรัฐมนตรีและเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี รวมทั้งปรับปรุงอํานาจหน้าที่ของสํานักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ | 2,169 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 1/2552 เรื่อง เรื่อง หลักเกณฑ์สำหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนใน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคำ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 1/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนใน
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา
---------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 27/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
1. (1) “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ติดต่อชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําแก่ลูกค้า
2. (2) “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา
(3) “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลูกค้าของตัวแทนซื้อขายสัญญา
(4) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ให้บริการ
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 วรรคสี่
5. “ประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับทองคํา” หมายความว่า ประสบการณ์
(5) การทํางานในธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคําหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา
ข้อ ๒ นอกเหนือจากการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์สําหรับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการ ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําได้ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ให้บริการต้องเป็นนิติบุคคลและมีคุณสมบัติตามข้อ 3
(2) เป็นการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําเฉพาะในกิจการดังนี้
(ก) รับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาอนุมัติ
(ข) เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
(ค) รับคําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําเพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํารายการให้แก่ลูกค้า
(ง) ให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําแก่ลูกค้า โดยต้องไม่ทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําจากผู้ให้บริการได้ ต่อเมื่อผู้ให้บริการดังกล่าวมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. (1) มีกรรมการ ผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้มีประสบการณ์
ในการทํางานเกี่ยวกับทองคําไม่น้อยกว่าสามปี
(2) กรรมการ ผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) บุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของ
ผู้ให้บริการ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย
(4) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และระบบป้องกัน
การล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพ
(5) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้ดําเนินการติดต่อ
ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําแก่ลูกค้า
ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําจากผู้ให้บริการตามข้อ 3 มีหนังสือแจ้งการใช้บริการและการยกเลิกการใช้บริการจากผู้ให้บริการดังกล่าว ให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันทําสัญญาหรือยกเลิกสัญญา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําจากผู้ให้บริการตามข้อ 3 มีหนังสือแจ้งการใช้บริการและการยกเลิกการใช้บริการจากผู้ให้บริการดังกล่าว ให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันทําสัญญาหรือยกเลิกสัญญา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 3(4) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ
(2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 2(2)
(3) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง
(4) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการ กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงานของผู้ให้บริการ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําเพื่อตนเองผ่านตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการ
(5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ
ข้อ ๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ลงทุน เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา เป็นต้น ไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต.ตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ ๗ เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงานของผู้ให้บริการอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงาน เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อผู้ให้บริการ หรือเพื่อบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อยต้องกําหนดให้บุคคลนั้นซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําผ่านตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการ
ในกรณีที่คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงานมีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาอื่น ระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้บุคคลดังกล่าวรายงานให้ผู้ให้บริการทราบถึงการมีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมทั้งข้อมูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนด
ข้อ ๘ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควร ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้
ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในภายหลังว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือผู้ให้บริการกระทํากิจการนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 2(2)หรือขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไขกระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําจากผู้ให้บริการได้
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายทองคําที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความพร้อมได้มีส่วนร่วมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา โดยเป็นผู้ให้บริการด้านผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,170 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2552 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 14/2552
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 24/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 2/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(2) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(4) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นอย่างน้อยต้องมีข้อมูลที่สรุปสาระสําคัญเกี่ยวกับโครงการจัดการกองทุนรวม และระบุวันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,171 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 16/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์
ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 22(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และข้อ 23(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา
ในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(2) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน”หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน
(3) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(4) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๒ การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หากเป็นการให้เช่าพื้นที่และมีการจัดหาผลประโยชน์โดยการให้บริการประกอบด้วย เช่น เซอร์วิซอะพาร์ตเมนท์ (serviced apartment) จะกระทําได้ต่อเมื่อกองทุนรวมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีใด ๆ ทั้งนี้ รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ดังกล่าวให้รวมถึงรายได้จากการให้เช่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงจากการให้เช่าพื้นที่นั้นด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดครัว เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ให้บริษัทจัดการรายงานผลการดําเนินงานที่เกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่งของแต่ละอาคารให้สํานักงานทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากกองทุนรวมมีรายได้น้อยกว่าที่กําหนดไว้ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้ประกอบกิจการรายอื่นนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปจัดหาผลประโยชน์ หรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือเลิกกองทุนรวม ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม และแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการได้ดําเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ
ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,172 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 17/2552 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 17/2552
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของ
กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
---------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 13 วรรคสองแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 26/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2541
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 50/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(2) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบัน
การเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน
(3) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(4) “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(5) “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ ๓ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์หรือทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เพื่อเป็น
ทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ โดยมีมูลค่ารวมกันโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(3) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก
(4) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก
(5) ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สน. 26/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2541 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2541 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,173 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 19/2552 เรื่อง การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 19/2552
เรื่อง การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในต่างประเทศของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ดูแลสภาพคล่องในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา” หมายความว่า บุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องไว้กับศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อทําหน้าที่สร้างสภาพคล่องในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว
ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําจัดทําและส่งรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําในต่างประเทศเพื่อบัญชีของบริษัท ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเงินออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศ โดยให้จัดทําและส่งรายงานดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามรูปแบบอื่นใดที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบล่วงหน้า
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถบริหารความเสี่ยงหรือทําอาบิทราจโดยการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําในต่างประเทศได้ ดังนั้น เพื่อให้สามารถติดตามและควบคุมปริมาณการทําธุรกรรมดังกล่าวของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เป็นไปอย่างเหมาะสม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,174 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2552 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการดำเนินการเมื่อมีการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินกว่าหนึ่งในสาม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2552
เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการดําเนินการเมื่อมีการ
ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินกว่าหนึ่งในสาม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 6/2549 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 1/2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล(ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 7/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากสํานักงานมีการปรับปรุงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ดังนั้น จึงเห็นควรยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกภายใต้บทบัญญัติดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,175 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 26/2552 เรื่อง การยกเว้นการดำเนินการของบริษัทจัดการเมื่อมีการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เกินกว่าหนึ่งในสามเป็นการชั่วคราว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 26/2552
เรื่อง การยกเว้นการดําเนินการของบริษัทจัดการเมื่อมีการถือ
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
เกินกว่าหนึ่งในสามเป็นการชั่วคราว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และข้อ 19(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(2) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศที่ สน. 25/2552 ที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ก่อนวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
(3) “ประกาศที่ สน. 25/2552” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(4) “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า กลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศ ที่ สน. 25/2552
(5) “บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือผู้โอนสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลงทุน และกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว
(6) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ ในกรณีที่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ใดมีการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์บนกระดานหลักใน
ตลาดหลักทรัพย์ในระหว่างวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนเป็นผลให้บุคคลนั้น กลุ่มบุคคลเดียวกันนั้น หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
อสังหาริมทรัพย์นั้น ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ตั้งแต่วันที่บุคคลนั้น กลุ่มบุคคลเดียวกันนั้น หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์นั้น
ทําการซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกจนถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ข้อกําหนดในเรื่องใดมิได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 25/2552
การนับจํานวนหน่วยลงทุนของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง
ให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนของบุคคลดังกล่าวทุกราย ทั้งนี้ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
จะเป็นชิ้นเดียวกันหรือต่างชิ้นก็ตาม
ข้อ ๓ บริษัทจัดการอาจจ่ายเงินปันผลในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ใดที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2 ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อหน่วยลงทุนให้บริษัทจัดการทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก
(2) ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ให้คํารับรองพร้อมกับการแจ้งข้อมูลตาม (1) ว่าจะไม่ขายหน่วยลงทุนที่ซื้อตามข้อ 2 ภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งสุดท้าย และจะขายหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้ว
ทั้งหมดภายในระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(3) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะขายหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้แล้ว
(ก) ในการขายหน่วยลงทุนในจํานวนที่ถืออยู่ก่อนการซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 2 ภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 2 ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว
ได้แจ้งข้อมูลให้บริษัทจัดการทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
ครั้งแรก
(ข) ในการขายหน่วยลงทุนตาม (2) หากเป็นการขายบนกระดานหลักใน
ตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แจ้งข้อมูลให้บริษัทจัดการทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการขายหน่วยลงทุนดังกล่าวครั้งแรก
(4) ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ส่งรายงานผลการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนให้บริษัทจัดการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งรายงานดังกล่าวแสดงได้ว่าผู้ถือหน่วยลงทุนได้ทําการซื้อหรือขาย
หน่วยลงทุนตามที่ได้แจ้งข้อมูลไว้ใน (1) และ (3) และที่ได้รับรองไว้ใน (2)
ข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดตามรายการที่กําหนดไว้ในแบบตามข้อ 4
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 3
วรรคหนึ่ง (1) (3) และ (4) ตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และให้
บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (1) และ (3) ต่อสํานักงานและตลาดหลักทรัพย์ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามวันทําการก่อนวันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะซื้อหรือจะขายหน่วยลงทุนครั้งแรก
แล้วแต่กรณี
(2) เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (4) ต่อตลาดหลักทรัพย์อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนการเปิดซื้อขายหลักทรัพย์รอบแรกของตลาดหลักทรัพย์ในวันทําการถัดไป เว้นแต่ในกรณีของการรายงานผลการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนครั้งสุดท้าย ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก) เปิดเผยต่อสํานักงานและตลาดหลักทรัพย์ภายในสามวันทําการนับแต่
วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีการซื้อหรือขายหน่วยลงทุน
(ข) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ครบตามที่
แจ้งไว้ในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (1) ได้ทันภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผล
ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลภายในสามวันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาหนึ่งปี
นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(ค) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถขายหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดตามที่รับรองไว้ในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2)
ได้ทันภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการเปิดเผย
ข้อมูลภายในสามวันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับข้อจํากัดสิทธิในกรณีที่มีการถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ภายในวันก่อนวันที่บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (1) ต่อสํานักงานและตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการบรรเทาภาวะผันผวนในทางเศรษฐกิจ
ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลต่อการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงสมควรผ่อนคลายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการเมื่อมีการ
ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เกินกว่าหนึ่งในสามเป็นการชั่วคราวสําหรับผู้ที่
ซื้อหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถือหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละห้าสิบของ
จํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,176 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 27/2552 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 27/2552
เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการ
และผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2552 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบตามประกาศนี้
“ประกาศที่ ทจ. 24/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2552 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในการแจ้งข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ให้บริษัทแจ้งต่อสํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด และยื่นข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัทตามแบบ 35-E1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาหนังสือเดินทาง
(2) เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (สําหรับทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนชื่อ หรือ ชื่อสกุล ตั้งแต่กรรมการหรือผู้บริหารบรรลุนิติภาวะ)
ข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๓ ให้บริษัทที่แจ้งข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัทต่อสํานักงาน จัดให้มีบุคคลที่จะทําหน้าที่ในการประสานงานกับสํานักงานในเรื่องข้อมูลของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท และการดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ข้อ ๔ เมื่อบริษัทได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 ต่อสํานักงานแล้ว สํานักงานจะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้กับรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารแต่ละราย ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
(1) แสดงรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ
ที่ ทจ. 24/2552
(2) แจ้งผลการปฏิเสธการแสดงรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
(3) แจ้งให้รอผลการพิจารณาของสํานักงาน
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ บริษัทหรือบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร อาจขอตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้ขอตรวจสอบ ให้บริษัทขอตรวจสอบต่อสํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด และต้องยื่นหนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลต่อสํานักงานตามแบบ 35-E2 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(2) ในกรณีที่บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นผู้ขอตรวจสอบ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นหนังสือขอตรวจสอบคุณสมบัติในการเป็นกรรมการและผู้บริหารต่อสํานักงานตามแบบ 35-E3 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
สํานักงานจะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้กับบุคคลดังกล่าว ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี
(1) แจ้งการสามารถแสดงชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
(2) แจ้งการอยู่ในข่ายที่สํานักงานไม่สามารถแสดงชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
(3) แจ้งการต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม หากมีบริษัทขอแสดงชื่อบุคคลดังกล่าวในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
ข้อ ๖ ในกรณีเป็นการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการหรือผู้บริหารที่สํานักงานได้แสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร ให้บริษัทปฏิบัติดังนี้
(1) กรณีเป็นการแจ้งข้อมูลของกรรมการหรือผู้บริหารรายใหม่ ให้บริษัทปฏิบัติตามความในข้อ 2 โดยอนุโลม โดยให้แจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทรายนั้นได้รับการแต่งตั้ง
(2) กรณีเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารแล้ว หรือเป็นการแจ้งขอยกเลิกการแสดงชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร ให้บริษัทแจ้งต่อสํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด โดยในกรณีที่เป็นข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้บริษัทแจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ก) การเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (ให้แนบเอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ หรือชื่อสกุลมาด้วย)
(ข) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการดํารงตําแหน่ง
(ค) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องในระดับปริญญาตรีขึ้นไป กรณีที่เป็นกรรมการตรวจสอบ
(ง) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนประสงค์จะแจ้งข้อมูลกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทต่อสํานักงานตามนัยของข้อ 2 วรรคสอง แห่งประกาศที่ ทจ. 24/2552 ให้บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 2 และข้อ 3 โดยอนุโลม และสํานักงานจะดําเนินการกับรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารแต่ละรายตามข้อ 4(1) หรือแจ้งตามข้อ 4(2) หรือ (3) ไปยังบริษัทจดทะเบียนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๘ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการ
แจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์เหล่านั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2548 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,177 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 29/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 29/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน โดยทะเบียนดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน หรือรหัสแทนชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนได้จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนไว้
(2) สัญชาติ ที่อยู่ และเลขประจําตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทางในกรณีที่เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือเลขทะเบียนบริษัท (แล้วแต่กรณี) ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(3) ประเภท มูลค่า จํานวน และเลขที่หน่วยลงทุน
(4) วัน เดือน ปี ที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน
ทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องเก็บรักษาไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ
ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการมอบหมายให้ผู้อื่นเป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องกํากับดูแลให้ผู้ได้รับมอบหมายดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ โดยเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ ที่ทําการของนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ข้อ ๕ ในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและบันทึกทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง
(2) กําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับการโอน การจํานํา การอายัด การออกใบหน่วยลงทุนหรือหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน และการอื่นใดที่จําเป็นในการติดต่อกับบริษัทจัดการ โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ
(3) จัดให้มีระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบอันอาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องมีเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การแบ่งส่วนงานและอํานาจหน้าที่ของพนักงานในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) การควบคุมและเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและใบหน่วยลงทุนหรือหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
(ค) การตรวจสอบกิจการภายใน
(4) จัดให้มีระบบการเก็บรักษา รวบรวม และประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบสํารองข้อมูลไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่ไม่สามารถนําข้อมูลดังกล่าวมาใช้ได้
(5) อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในการตรวจดูหรือขอสําเนาทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในระหว่างเวลาทําการของบริษัทจัดการหรือนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี โดยเปิดเผยหรือจัดทําสําเนาข้อมูลในทะเบียนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุน
รายที่ขอตรวจดูหรือขอสําเนาทะเบียน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรและโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย อาจเปิดเผยหรือจัดทําสําเนาข้อมูลอื่นใดนอกเหนือจากข้อมูลของผู้ถือหน่วยลงทุนรายดังกล่าวด้วยก็ได้
ข้อ ๖ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงกับประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศ ฉบับนี้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นอํานาจของสํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 2,178 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 14/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน โดยเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหน่วยลงทุน ระเบียบวิธีปฏิบัติ ระบบควบคุมภายใน และระบบการเก็บรักษาข้อมูล ตลอดจนหลักเกณฑ์การตรวจดูทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน โดยทะเบียนดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน หรือรหัสแทนชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่ตัวแทนสนับสนุนได้จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนไว้
(2) สัญชาติ ที่อยู่ และเลขประจําตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทางในกรณีที่เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือเลขทะเบียนบริษัท (แล้วแต่กรณี) ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(3) ประเภท มูลค่า จํานวน และเลขที่หน่วยลงทุน
(4) วันเดือนปีที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน
ทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องเก็บรักษาไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ
ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการมอบหมายให้ผู้อื่นเป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องกํากับดูแลให้ผู้ได้รับมอบหมายดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ โดยเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ ที่ทําการของนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ข้อ ๕ ในการจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและบันทึกทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง
(2) กําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับการโอน การจํานํา การอายัด การออกใบหน่วยลงทุนหรือหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน และการอื่นใดที่จําเป็นในการติดต่อกับบริษัทจัดการ โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ
(3) จัดให้มีระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องมีเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การแบ่งส่วนงานและอํานาจหน้าที่ของพนักงานในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) การควบคุมและเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและใบหน่วยลงทุนหรือหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
(ค) การตรวจสอบกิจการภายใน
(4) จัดให้มีระบบการเก็บรักษา รวบรวม และประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบสํารองข้อมูลไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่ไม่สามารถนําข้อมูลดังกล่าวมาใช้ได้
(5) อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในการตรวจดูหรือขอสําเนาทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในระหว่างเวลาทําการของบริษัทจัดการหรือนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี โดยเปิดเผยหรือจัดทําสําเนาข้อมูลในทะเบียนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนรายที่ขอตรวจดูหรือขอสําเนาทะเบียน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรและโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย อาจเปิดเผยหรือจัดทําสําเนาข้อมูลอื่นใดนอกเหนือจากข้อมูลของผู้ถือหน่วยลงทุนรายดังกล่าวด้วยก็ได้
ข้อ ๖ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีอยู่ในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยมีรายการครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3(1) และ (2) และปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 5(2) (3) และ (4) ทั้งนี้ ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 2,179 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 341/2564 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.341/2564
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-----------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ รับจดแจ้งความประสงค์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564 หรือรับจดแจ้งการเลิกการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือการเลิกกัน ตามคําขอจดแจ้ง/เลิกการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ว.ส.1) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมศักดิ์ อนันทวัฒน์
(นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,180 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 342/2565 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.342/2565
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ห้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ สั่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,181 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 343/2565 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.343/2565
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เลขที่ 295 ซอยนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,182 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 344/2565 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.344/2565
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,183 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 345/2565 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่และสรรพากรพื้นที่ สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 345/2565
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่และสรรพากรพื้นที่
สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
--------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามพระราชกําหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 บางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่และสรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การเพิกถอนการได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกําหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ การอนุมัติขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์คําสั่งเพิกถอนการได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,184 |
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | พระราชบัญญัติ
การอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
-----------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๑๗ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับกับบรรดาการอนุญาต การจดทะเบียนหรือการแจ้งที่มีกฎหมายหรือกฎกําหนดให้ต้องขออนุญาต จดทะเบียน หรือแจ้ง ก่อนจะดําเนินการใดบทบัญญัติของกฎหมายหรือกฎใดที่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
“อนุญาต” หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้บุคคลใดกระทําการใดที่มีกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับความยินยอมก่อนกระทําการนั้น และให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต การอนุมัติการจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทานบัตรและการให้อาชญาบัตรด้วย
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า ผู้ซึ่งกฎหมายกําหนดให้มีอํานาจในการอนุญาต
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต
“กฎหมายว่าด้วยการอนุญาต” หมายความว่า บรรดากฎหมายที่มีบทบัญญัติกําหนดให้การดําเนินการใดหรือการประกอบกิจการใดจะต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะดําเนินการได้
“คําขอ” หมายความว่า คําขออนุญาต
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดีการบังคับคดี และการวางทรัพย์
(๓) การดําเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๔) การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๕) การอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารด้านยุทธการ รวมทั้งตามกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยุทธภัณฑ์ และกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน
การยกเว้นไม่ให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การดําเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๖ ทุกห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้อนุญาตพิจารณากฎหมายที่ให้อํานาจในการอนุญาตว่าสมควรปรับปรุงกฎหมายนั้นเพื่อยกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาตหรือไม่ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจําเป็นผู้อนุญาตจะพิจารณาปรับปรุงกฎหมายหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนในกําหนดระยะเวลาที่เร็วกว่านั้นก็ได้
ให้ผู้อนุญาตเสนอผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่งต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณายกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๗ ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดให้การกระทําใดจะต้องได้รับอนุญาต ผู้อนุญาตจะต้องจัดทําคู่มือสําหรับประชาชน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคําขอขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อมกับคําขอ และจะกําหนดให้ยื่นคําขอผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการมายื่นคําขอด้วยตนเองก็ได้
คู่มือสําหรับประชาชนตามวรรคหนึ่งให้ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ที่กําหนดให้ยื่นคําขอ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อประชาชนประสงค์จะได้สําเนาคู่มือดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดสําเนาให้โดยจะคิดค่าใช้จ่ายตามควรแก่กรณีก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ระบุค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในคู่มือสําหรับประชาชนด้วย
ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตที่กําหนดตามวรรคหนึ่งว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่ ในกรณีที่เห็นว่าขั้นตอนและระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ผู้อนุญาตดําเนินการแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็ว
เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ให้ส่วนราชการจัดให้มีศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําขอและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตไว้ ณ ที่เดียวกันตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกําหนด
มาตรา ๘ ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคําขอจะต้องตรวจสอบคําขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นพร้อมคําขอให้ถูกต้องครบถ้วน หากเห็นว่าคําขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานใดให้แจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบทันที ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคําขอดําเนินการแก้ไขหรือยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนถ้าเป็นกรณีที่ไม่อาจดําเนินการได้ในขณะนั้นให้บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติม พร้อมทั้งกําหนดระยะเวลาที่ผู้ยื่นคําขอจะต้องดําเนินการแก้ไขหรือยื่นเพิ่มเติมไว้ในบันทึกดังกล่าวด้วยและให้พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคําขอลงนามไว้ในบันทึกนั้น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มอบสําเนาบันทึกตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคําขอไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอได้จัดทําคําขอถูกต้องและแนบเอกสารหรือหลักฐานครบถ้วนตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนตามมาตรา ๗ แล้ว หรือได้แก้ไขหรือยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมครบถ้วนตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่แนะนําหรือตามที่ปรากฏในบันทึกตามวรรคหนึ่งแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดอีกไม่ได้ และจะปฏิเสธการพิจารณาคําขอนั้นโดยอาศัยเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ของคําขอหรือความไม่ครบถ้วนของเอกสารหรือหลักฐานไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ความไม่สมบูรณ์หรือความไม่ครบถ้วนนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือทุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นผลให้ไม่อาจอนุญาตได้ในกรณีนี้ให้ผู้อนุญาตสั่งการตามที่เห็นสมควร และให้ดําเนินการทางวินัยหรือดําเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชักช้า
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่แก้ไขเพิ่มเติมคําขอหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือตามที่ปรากฏในบันทึกที่จัดทําตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคําขอให้แก่ผู้ยื่นคําขอพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคําขอให้ทราบด้วย
ผู้ยื่นคําขอจะอุทธรณ์คําสั่งคืนคําขอตามวรรคหนึ่ง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหรือจะยื่นคําขอใหม่ก็ได้ แต่ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้ต้องยื่นคําขอใดภายในระยะเวลาที่กําหนดผู้ยื่นคําขอจะต้องยื่นคําขอนั้นใหม่ภายในระยะเวลาดังกล่าว
มาตรา ๑๐ ผู้อนุญาตต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชนตามมาตรา ๗ และแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
เมื่อครบกําหนดเวลาตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชนตามมาตรา ๗ แล้ว หากผู้อนุญาตยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมทั้งส่งสําเนาการแจ้งดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ในกรณีที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเห็นว่าความล่าช้านั้นเกินสมควรแก่เหตุหรือเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของผู้อนุญาต ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรายงานต่อคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการพัฒนาหรือปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการของหน่วยงานนั้น
ในกรณีไม่แจ้งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าผู้อนุญาตกระทําการหรือละเว้นกระทําการเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เว้นแต่จะเป็นเพราะมีเหตุสุดวิสัย
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใดออกใช้บังคับและมีผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดอื่นใดที่ปรากฏในคู่มือสําหรับประชาชนตามมาตรา ๗ การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้น มิให้ใช้บังคับกับการยื่นคําขอที่ได้ยื่นไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ เว้นแต่กฎหมายนั้นจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแต่สําหรับในกรณีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับนั้นจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นได้ก็แต่เฉพาะในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคําขอ
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดอายุใบอนุญาตไว้ และกิจการหรือการดําเนินการที่ได้รับใบอนุญาตนั้นมีลักษณะเป็นกิจการหรือการดําเนินการที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตจะประกอบกิจการหรือดําเนินการนั้นต่อเนื่องกัน คณะรัฐมนตรีจะกําหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ แทนการยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตก็ได้ และเมื่อหน่วยงานซึ่งมีอํานาจออกใบอนุญาตได้รับค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว ให้ออกหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาตโดยเร็ว และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตได้รับการต่ออายุใบอนุญาตตามกฎหมายนั้น ๆ แล้ว
การกําหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้ระบุชื่อพระราชบัญญัติและประเภทของใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ผู้รับใบอนุญาตอาจดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้
ก่อนตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ให้คณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เมื่อพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามิได้มีมติทักท้วง ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อไป
ให้เป็นหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มาตรา ๑๓ ให้เป็นหน้าที่ของผู้อนุญาตที่จะต้องกําหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการตรวจสอบการประกอบกิจการหรือการดําเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตกําหนดและให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้อนุญาตที่จะต้องตรวจสอบตามหลักเกณฑ์และแนวทางดังกล่าว
เมื่อมีผู้ได้รับความเดือดร้อนรําคาญ หรือเสียหายจากการประกอบกิจการหรือการดําเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาต ไม่ว่าความจะปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เองหรือมีผู้ร้องเรียน ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะดําเนินการตรวจสอบและสั่งการตามอํานาจหน้าที่โดยเร็ว
มาตรา ๑๔ ในกรณีจําเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนให้คณะรัฐมนตรีมีมติจัดตั้งศูนย์รับคําขออนุญาต เพื่อทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับคําขอตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตขึ้น
ให้ศูนย์รับคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งมีฐานะเป็นส่วนราชการตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยอยู่ในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีสาขาของศูนย์ประจํากระทรวงหรือประจําจังหวัดด้วยก็ได้
การจัดตั้งศูนย์รับคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กําหนดรายชื่อกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตที่จะให้อยู่ภายใต้การดําเนินการของศูนย์รับคําขออนุญาต
ในการดําเนินการเกี่ยวกับการรับคําขอ จะกําหนดในพระราชกฤษฎีกาให้ผู้ยื่นคําขอ ยื่นคําขอผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
มาตรา ๑๕ เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์รับคําขออนุญาตตามมาตรา ๑๔ แล้ว ให้ดําเนินการและมีผลดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตหรือกฎที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวกําหนดให้ต้องยื่นคําขอ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียมใด ณ สถานที่ใด ถ้าได้มีการยื่นคําขอ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียม ณ ศูนย์รับคําขออนุญาตแล้ว ให้ถือว่าได้มีการยื่นคําขอ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียมโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนั้นแล้ว
(๒) บรรดาเงินค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ศูนย์รับคําขออนุญาตได้รับไว้ตาม (๑) ให้ศูนย์รับคําขออนุญาตนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินในนามของหน่วยงานของผู้อนุญาต หรือส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี และแจ้งให้หน่วยงานของผู้อนุญาตทราบ
(๓) ในกรณีที่หน่วยงานของผู้อนุญาตมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายจากเงินที่จะต้องนําส่งคลัง ให้ศูนย์รับคําขออนุญาตหักเงินดังกล่าวแทนและส่งมอบเงินที่หักไว้นั้นให้แก่หน่วยงานของผู้อนุญาต โดยให้ศูนย์รับคําขออนุญาตมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายของศูนย์รับคําขออนุญาตตามอัตราที่จะได้ตกลงกับหน่วยงานของผู้อนุญาต
(๔) ระยะเวลาตามมาตรา ๑๐ ให้นับแต่วันที่ศูนย์รับคําขออนุญาตส่งเรื่องให้ผู้อนุญาตโดยศูนย์รับคําขออนุญาตจะต้องส่งเรื่องให้ผู้อนุญาตไม่ช้ากว่าสามวันทําการและให้นํามาตรา ๑๐ วรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๕) ให้เป็นหน้าที่ของผู้อนุญาตที่จะต้องส่งคู่มือสําหรับประชาชนตามมาตรา ๗ ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันให้ศูนย์รับคําขออนุญาตตามจํานวนที่จําเป็น และดําเนินการให้มีการฝึกอบรมหรือชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์รับคําขออนุญาต เพื่อให้เกิดความชํานาญในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย
(๖) ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของศูนย์รับคําขออนุญาตที่จะต้องดําเนินการตามมาตรา ๘ และต้องรับผิดชอบในฐานะเช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘
มาตรา ๑๖ ให้ศูนย์รับคําขออนุญาตมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับคําขอและค่าธรรมเนียม รวมตลอดทั้งคําอุทธรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต
(๒) ให้ข้อมูล ชี้แจง และแนะนําผู้ยื่นคําขอหรือประชาชนให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาต รวมตลอดทั้งความจําเป็นในการยื่นคําขออื่นใดที่จําเป็นต้องดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตทั้งปวง ในการประกอบกิจการหรือดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
(๓) ส่งคําขอ หรือคําอุทธรณ์ ที่ได้รับจากผู้ยื่นคําขอหรือผู้ยื่นคําอุทธรณ์พร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคอยติดตามเร่งรัดหน่วยงานดังกล่าวเพื่อดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนดตามพระราชบัญญัตินี้ และคู่มือสําหรับประชาชนตามมาตรา ๗หรือตามกฎหมายที่ให้สิทธิในการอุทธรณ์
(๔) ในกรณีที่เห็นว่าหลักเกณฑ์หรือวิธีการในการยื่นคําขอ มีรายละเอียดหรือกําหนดให้ต้องส่งเอกสารที่ไม่จําเป็น หรือเป็นภาระเกินสมควรแก่ประชาชน ให้เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
(๕) รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากการอนุญาตและการดําเนินการของศูนย์รับคําขออนุญาตเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป
(๖) เสนอแนะในการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอน ระยะเวลา เกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆรวมถึงข้อเสนอในการออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการอนุญาตเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น
มาตรา ๑๗ ให้ผู้อนุญาตจัดทําคู่มือสําหรับประชาชนตามมาตรา ๗ ให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 2,185 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 336/2564 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 336/2564
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 373 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1/2) ของข้อ 3/1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1/2) ของข้อ 3/2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 6 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากที่ระบุใน (4) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 6 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (3) และ (4) หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (1/2) ของข้อ 7 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากที่ระบุใน (2) เฉพาะที่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทย หรือประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่กรณี หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (1/2) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทําของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (2/2) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน (3/2) ของข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสํานักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 9 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม เฉพาะที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ใน (2) ของข้อ 9 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 31/2534 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534
“(ค) กรณีมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความใน (1/2) ของข้อ 12/1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความใน (2/2) ของข้อ 12/1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความใน (1/2) ของข้อ 12/2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1/2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความใน (2/2) ของข้อ 12/2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 328/2563 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2/2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้ดําเนินการนําส่งภาษีด้วยวิธีการที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0”
ข้อ ๑๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,186 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 338/2564 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 338/2564
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
---------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรภาคเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (16) (17) (18) (19) และ (20) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
“(16) การอนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นเงินตกเบิกย้อนหลังจากหน่วยงานของรัฐซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(17) การอนุมัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เฉพาะกรณีที่จ่ายเงินให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินรายเดียวกันหลายครั้งในปีภาษีตามมาตรา 50 ทวิวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
(18) การอนุมัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ทั้งในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ กรณีไม่สามารถประมาณการการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ข้อ 5 และข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535
(19) การอนุมัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535
(20) การอนุมัติให้ขยายเวลาประกอบกิจการในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 85/16 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 246/2558 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 มอบอํานาจให้นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (16) (17) (18) (19) และ (20) ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับคําขออนุมัติที่ยื่นต่อกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,187 |
กฎกระทรวง ว่าด้วยกลุ่มภารกิจ พ.ศ. 2545 | กฎกระทรวง
ว่าด้วยกลุ่มภารกิจ
พ.ศ. ๒๕๔๕
-------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสาม และวรรคหก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ การจัดกลุ่มภารกิจในกระทรวง
------------------------
ข้อ ๑ ให้มีการจัดกลุ่มภารกิจในกระทรวงตามที่กําหนดในหมวดนี้
ข้อ ๒ สํานักนายกรัฐมนตรี
ไม่มี
ข้อ ๓ กระทรวงกลาโหม
ไม่มี (การจัดระเบียบราชการเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม)
ข้อ ๔ กระทรวงการคลัง มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน
๑. กรมธนารักษ์
๒. สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
(ข) กลุ่มภารกิจด้านรายได้
๑. กรมศุลกากร
๒. กรมสรรพสามิต
๓. กรมสรรพากร
(ค) กลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน
๑. กรมบัญชีกลาง
๒. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ข้อ ๕ กระทรวงการต่างประเทศ มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
1. กลุ่มภารกิจความสัมพันธ์ทวิภาคี
๑. กรมยุโรป
๒. กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
๓. กรมเอเชียตะวันออก
๔. กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
(ข) กลุ่มภารกิจความร่วมมือระหว่างประเทศ
๑. กรมวิเทศสหการ
๒. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
๓. กรมองค์การระหว่างประเทศ
๔. กรมอาเซียน
(ค) กลุ่มภารกิจส่งเสริมกิจการต่างประเทศ
๑. กรมการกงสุล
๒. กรมพิธีการทูต
๓. กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
๔. กรมสารนิเทศ
ข้อ ๖ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ไม่มี
ข้อ ๗ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาศักยภาพมนุษย์และสังคม
๑. กรมกิจการเด็กและเยาวชน
๒. กรมกิจการผู้สูงอายุ
๓. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
(ข) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาสวัสดิการสังคมและคุณภาพชีวิต
๑. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
๒. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ข้อ ๘ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการผลิต
๑. กรมการข้าว
๒. กรมประมง
๓. กรมปศุสัตว์
๔. กรมวิชาการเกษตร
๕. กรมหม่อนไหม
(ข) กลุ่มภารกิจด้านบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต
๑. กรมชลประทาน
๒. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๓. กรมพัฒนาที่ดิน
๔. สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ค) กลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและระบบสหกรณ์
๑. กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
๒. กรมส่งเสริมการเกษตร
๓. กรมส่งเสริมสหกรณ์
ข้อ ๙ กระทรวงคมนาคม มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง
๑. กรมทางหลวง
๒. กรมทางหลวงชนบท
(ข) กลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
๑. กรมการขนส่งทางบก
๒. กรมการขนส่งทางราง
๓. กรมเจ้าท่า
๔. กรมท่าอากาศยาน
ข้อ ๑๐ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ
๑. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
๒. กรมทรัพยากรธรณี
๓. กรมป่าไม้
๔. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
(ข) กลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ําในแผ่นดิน
๑. กรมทรัพยากรน้ํา
๒. กรมทรัพยากรน้ําบาดาล
(ค) กลุ่มภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม
๑. กรมควบคุมมลพิษ
๒. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๑ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ไม่มี
ข้อ ๑๒ กระทรวงพลังงาน
ไม่มี
ข้อ ๑๓ กระทรวงพาณิชย์ มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านการค้าภายในประเทศ
๑. กรมการค้าภายใน
๒. กรมการประกันภัย
๓. กรมทรัพย์สินทางปัญญา
๔. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(ข) กลุ่มภารกิจด้านการค้าต่างประเทศ
๑. กรมการค้าต่างประเทศ
๒. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
๓. กรมส่งเสริมการส่งออก
ข้อ ๑๔ กระทรวงมหาดไทย มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
๑. กรมการปกครอง
๒. กรมที่ดิน
(ข) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๑. กรมการพัฒนาชุมชน
๒. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(ค) กลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง
๑. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๒. กรมโยธาธิการและผังเมือง
ข้อ ๑๕ กระทรวงยุติธรรม มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านอํานวยความยุติธรรม
๑. กรมสอบสวนคดีพิเศษ
๒. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
(ข) กลุ่มภารกิจด้านบริหารความยุติธรรม
๑. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
๒. กรมบังคับคดี
(ค) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินิสัย
๑. กรมคุมประพฤติ
๒. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
๓. กรมราชทัณฑ์
ข้อ ๑๖ กระทรวงแรงงาน มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมขีดความสามาถในการแข่งขันของประเทศ
๑. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
๒. กรมการจัดหางาน
(ข) กลุ่มภารกิจด้านประกันความมั่นคงในการทํางาน
๑. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
๒. สํานักงานประกันสังคม
ข้อ ๑๗ กระทรวงวัฒนธรรม
ไม่มี
ข้อ ๑๘ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่มี
ข้อ ๑๙ กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มี (การจัดระเบียบราชการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
ข้อ ๒๐ กระทรวงสาธารณสุข มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์
๑. กรมการแพทย์
๒. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
๓. กรมสุขภาพจิต
(ข) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข
๑. กรมควบคุมโรค
๒. กรมอนามัย
(ค) กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริหารสุขภาพ
๑. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
๓. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ ๒๑ กระทรวงอุตสาหกรรม มีกลุ่มภารกิจ ดังนี้
(ก) กลุ่มภารกิจด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
๑. สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย
๒. สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(ข) กลุ่มภารกิจด้านกํากับตรวจสอบกระบวนการผลิต
๑. กรมโรงงานอุตสาหกรรม
๒. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
(ค) กลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ
๑. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
๒. สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมวด ๒ การบังคับบัญชา
----------------------
ข้อ ๒๒ ให้กลุ่มภารกิจของส่วนราชการตามหมวด ๑ ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี เว้นแต่กลุ่มภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศ ให้ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง แต่ให้รายงานโดยตรงต่อรัฐมนตรีอีกทางหนึ่งด้วย
หมวด ๓ การรายงาน
---------------------
ข้อ ๒๓ “งาน” ในหมวดนี้ หมายความว่า งานตามแผนงานหรือโครงการใดที่มีมูลค่าตามจํานวนที่รัฐมนตรีและปลัดกระทรวงร่วมกันกําหนด
ข้อ ๒๔ ให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจรายงานต่อปลัดกระทรวงในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การกําหนดงานใดขึ้นใหม่โดยมิใช่เป็นงานตามแผนปฏิบัติราชการประจําปี ให้รายงานเมื่อได้กําหนดขอบเขตและกําหนดเวลาของงานนั้นชัดเจนแล้ว
(๒) เมื่อได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานใดให้รายงานการเริ่มต้นทํางาน
(๓) ในกรณีมีเหตุอื่นอันสําคัญอันอาจทําให้เป้าหมายของงานเปลี่ยนไปไม่ว่าจะทําให้เสร็จเร็วขึ้นหรือช้าลง หรือไม่อาจสําเร็จได้ก็ตาม ให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจรายงานเหตุดังกล่าวและผลที่อาจเกิดขึ้น
(๔) ในกรณีที่เหตุสําคัญตาม (๓) เป็นอุปสรรคต่องาน เมื่อได้ริเริ่มใช้มาตรการใดเพื่อแก้ไขอุปสรรค ให้รายงานการดําเนินการ และถ้ามาตรการนั้นไม่อาจบรรลุผล ต้องเปลี่ยนไปใช้มาตรการใหม่ ให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจรายงานการริเริ่มใช้มาตรการใหม่ด้วย
(๕) กรณีที่เหตุสําคัญตาม (๓) ยุติลงแล้ว ให้รายงานการยุติและประเมินผลที่จะตามมา
(๖) กรณีที่งานใดเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานผลการปฏิบัติ การใช้จ่ายงบประมาณบุคลากรและทรัพย์สิน พร้อมกับประเมินผลงานกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
(๗) การรายงานความก้าวหน้าของงานตามที่ปลัดกระทรวงและหัวหน้ากลุ่มภารกิจตกลงกันหรือตามที่รัฐมนตรีมีคําสั่ง
ข้อ ๒๕ แบบรายงานและกําหนดเวลาการรายงานให้เป็นไปตามที่ปลัดกระทรวงและหัวหน้ากลุ่มภารกิจตกลงกันหรือตามที่รัฐมนตรีมีคําสั่ง
ข้อ ๒๖ ปลัดกระทรวงอาจกําหนดให้ไม่ต้องรายงานเมื่อใดก็ได้
ข้อ ๒๗ รัฐมนตรีอาจมีคําสั่งให้มีการรายงานเรื่องใดเพิ่มเติมจากที่กําหนดในข้อ ๒๔ ก็ได้
หมวด ๔ ข้อจํากัดอํานาจของผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ
------------------------------
ข้อ ๒๘ อํานาจในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการระดับ ๙ ขึ้นไป ให้ยังคงเป็นอํานาจของปลัดกระทรวง แต่ก่อนดําเนินการให้ปลัดกระทรวงหารือกับหัวหน้ากลุ่มภารกิจทุกกลุ่มภารกิจก่อน
การใช้อํานาจของหัวหน้ากลุ่มภารกิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ให้กระทําได้เมื่อหารือกับปลัดกระทรวงแล้ว
ในกรณีที่รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง และหัวหน้ากลุ่มภารกิจเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพในการบริหารราชการ จะตกลงร่วมกันให้อํานาจหน้าที่บางประการของปลัดกระทรวงที่โอนไปเป็นของหัวหน้ากลุ่มภารกิจตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ยังคงเป็นอํานาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงต่อไปก็ได้ โดยให้ทําเป็นหนังสือข้อตกลงร่วมกัน ในกรณีเช่นนั้นให้อํานาจหน้าที่ดังกล่าวยังคงเป็นของปลัดกระทรวงต่อไป
หมวด ๕ การปฏิบัติราชการแทน
-------------------------
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่รัฐมนตรีจะมอบอํานาจให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติราชการแทน ถ้าเป็นราชการหรือภารกิจของส่วนราชการในกลุ่มภารกิจใด จะมอบอํานาจให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจนั้นปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ข้อ ๓๐ หัวหน้ากลุ่มภารกิจซึ่งได้รับมอบอํานาจตามข้อ ๒๙ อาจมอบอํานาจต่อให้อธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่า ซึ่งอยู่ในกลุ่มภารกิจเดียวกัน หรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
หมวด ๖ การรักษาราชการแทน
-----------------------
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้ากลุ่มภารกิจ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวงหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่า หรืออธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าในกลุ่มภารกิจนั้นเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีรองปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดํารงตําแหน่งรองอธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าในกลุ่มภารกิจนั้นเป็นผู้รักษาราชการแทน
ให้ผู้รักษาราชการแทนมีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
หมวด ๗ การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง
--------------------------
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองตามมาตรา ๔๔ และ ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ถ้ากฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กําหนดให้ปลัดกระทรวงเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจพิจารณาอุทธรณ์ ในกระทรวงที่มีการแบ่งกลุ่มภารกิจให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ ให้เป็นอํานาจของปลัดกระทรวง
(๒) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองเป็นอธิบดี หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าในกลุ่มภารกิจ ให้เป็นอํานาจของหัวหน้ากลุ่มภารกิจนั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี | 2,188 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 339/2564 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 339/2564
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
---------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (23) (24) และ (25) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 117/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“(23) การอนุมัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เฉพาะกรณีที่จ่ายเงินให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินรายเดียวกันหลายครั้งในปีภาษีตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
(24) การอนุมัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ทั้งในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ กรณีไม่สามารถประมาณการการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ข้อ 5 และข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535
(25) การอนุมัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อตามข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับคําขออนุมัติที่ยื่นต่อกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,189 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 340/2564 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ บางกรณี | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.340/2564
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ บางกรณี
--------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณีเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มอบหมายให้ผู้อํานวยการกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์สั่งงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 89 (2) มาตรา 89 (3) มาตรา 89 (4) และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2564 ถึงเดือนภาษีพฤศจิกายน 2564 โดยไม่จํากัดจํานวนเบี้ยปรับ
การงดเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง เฉพาะกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 มาตรา 83 และมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือกรณีผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/8 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยชําระภาษีพร้อมทั้งเงินเพิ่มตามแบบแสดงรายการทั้งจํานวนให้ครบถ้วนในแต่ละคราวภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือกําหนดเวลาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรืออธิบดีกรมสรรพากรขยายหรือเลื่อนออกไป แล้วแต่กรณีโดยให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคําร้องของดเบี้ยปรับ
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,190 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 337/2564 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ บางกรณี | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 337/2564
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ บางกรณี
-------------------------------------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และข้อ 2 (1) (2) และ (4) ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มอบหมายให้สรรพากรพื้นที่ สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกําหนด และผู้อํานวยการกองตรวจสอบภาษีกลาง สําหรับเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร สั่งงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 89 (2) มาตรา 89 (3) มาตรา 89 (4) และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2564 ถึงเดือนภาษีพฤศจิกายน 2564 โดยไม่จํากัดจํานวนเบี้ยปรับ
การงดเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง เฉพาะกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 มาตรา 83 และมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือกรณีผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/8 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีพร้อมทั้งเงินเพิ่มตามแบบแสดงรายการทั้งจํานวนให้ครบถ้วนในแต่ละคราวภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือกําหนดเวลาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรืออธิบดีกรมสรรพากรขยายหรือเลื่อนออกไป แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ มอบหมายให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 89 (2) มาตรา 89 (3) มาตรา 89 (4) และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2564 ถึงเดือนภาษีพฤศจิกายน 2564 โดยให้เสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย
การลดเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง เฉพาะกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 มาตรา 83 และมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือกรณีผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/8 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ดําเนินการเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 2 กรณี ดังนี้
(1) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี และชําระภาษีไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามแบบแสดงรายการทั้งจํานวนในแต่ละคราวภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือกําหนดเวลาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรืออธิบดีกรมสรรพากรขยายหรือเลื่อนออกไป แล้วแต่กรณี
(2) ชําระภาษีอากรค้างส่วนที่เหลือนั้นให้ครบถ้วนภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการตาม (1) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,191 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 334/2564 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 334/2564
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-----------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ซึ่งได้ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นเงินตราไทย เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (15) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
“(15) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,192 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 335/2564 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 335/2564
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
--------------------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ซึ่งได้ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นเงินตราไทย เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (22) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.117/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“(22) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,193 |
กฎกระทรวง ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ. 2553 | กฎกระทรวง
ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง
พ.ศ. ๒๕๕๓
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖๑/๒ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ ๒๘ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
“ข้อพิพาท” หมายความว่า ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน มรดก และ ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทหรือมากกว่านั้น ตามที่กําหนดใน พระราชกฤษฎีกา
“อําเภอ” หมายความรวมถึง กิ่งอําเภอ
“นายอําเภอ” หมายความรวมถึง ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ
“พนักงานอัยการประจําจังหวัด” หมายความว่า ข้าราชการอัยการซึ่งดํารงตําแหน่งตั้งแต่อัยการผู้ช่วยขึ้นไปที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด
“บัญชีรายชื่อ” หมายความว่า บัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็น ผู้ไกล่เกลี่ย
“ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาท
“ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า นายอําเภอ พนักงานอัยการประจําจังหวัดหรือปลัดอําเภอที่ได้รับมอบหมาย ที่เป็นประธานคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
หมวด ๑ บัญชีรายชื่อ
-------------------------
ข้อ ๓ ในอําเภอหนึ่งให้มีบัญชีรายชื่อ โดยจํานวนบุคคลในบัญชีรายชื่อให้เป็นไปตามที่นายอําเภอเห็นสมควร แต่ต้องไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
ให้นายอําเภอประกาศระยะเวลาในการรับสมัครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยไว้ ณ ที่ว่าการอําเภอ ที่ทําการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ทําการผู้ใหญ่บ้าน และสถานที่ที่ เป็นชุมชนตามที่เห็นสมควร
ในกรณีมีเหตุอันสมควร นายอําเภอจะขยายระยะเวลาตามวรรคสองออกไปอีกก็ได้
ข้อ ๔ ผู้สมัครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติ
(๑) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันสมัคร
(๒) มีภูมิลําเนาตามหลักฐานทะเบียนราษฎรในเขตอําเภอที่สมัคร
(๓) เป็นบุคคลที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์เหมาะสมกับการทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลาย คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๓) เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ใน พรรคการเมือง
(๕) เป็นผู้เคยถูกถอดถอนให้พ้นจากบัญชีรายชื่อ
ข้อ ๕ เมื่อพ้นวันรับสมัครแล้ว ให้นายอําเภอรวบรวมรายชื่อผู้สมัครซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔ พร้อมทั้งประวัติย่อของแต่ละบุคคลเสนอ คณะกรมการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ให้คณะกรมการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบบัญชีรายชื่อให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากนายอําเภอ
ให้นายอําเภอปิดประกาศบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบไว้ ณ สถานที่ตามข้อ ๓ วรรคสอง
ข้อ ๖ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยพ้นจากบัญชีรายชื่อเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก โดยยื่นเป็นหนังสือต่อนายอําเภอ
(๓) นายอําเภอโดยความเห็นชอบของคณะกรมการจังหวัดสั่งให้พ้นจากบัญชีรายชื่อเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔
(๔) ไม่เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทตามกําหนดนัดหมายติดต่อกันเกินสองครั้งโดยไม่แจ้งเหตุผลความจําเป็นต่อประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ย
(๕) ถูกถอดถอนให้พ้นจากบัญชีรายชื่อตามข้อ ๙
ข้อ ๗ ในกรณีที่บัญชีรายชื่อมีจํานวนรายชื่อน้อยกว่ายี่สิบคน หรือน้อยกว่าจํานวนที่นายอําเภอเห็นสมควร ให้นายอําเภอดําเนินการรับสมัครและจัดทํารายชื่อเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๘ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง อิสระ ยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ
(๒) เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททุกครั้ง เว้นแต่แจ้งเหตุผลความจําเป็นล่วงหน้าให้ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยทราบ
(๓) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว ไม่ทําให้การไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาทล่าช้าเกินสมควร
(๔) ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่พิพาทหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาท
(๕) ใช้วาจาสุภาพในขณะปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
(๖) รักษาความลับที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
(๗) ไม่ชี้ขาดข้อพิพาทหรือบีบบังคับให้คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง สองฝ่ายลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อ ๙ เมื่อคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องเรียนว่าผู้ไกล่เกลี่ยผู้ใดประพฤติ ผิดจรรยาบรรณตามข้อ ๘ ให้นายอําเภอดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่ามีมูลและเป็นกรณีประพฤติผิดจรรยาบรรณตามข้อ ๘ (๑) (๔) (๖) หรือ (๗) ให้ดําเนินการถอดถอนผู้นั้นพ้นจากบัญชีรายชื่อโดยความเห็นชอบของคณะกรมการจังหวัด ถ้าเป็นกรณีอื่นให้ดําเนินการว่ากล่าวตักเตือนสั่งให้พ้นจากการทําหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยใน ข้อพิพาทนั้น หรือถอดถอนให้พ้นจากบัญชีรายชื่อโดยความเห็นชอบของคณะกรมการจังหวัด ตามที่เห็นสมควร
ถ้าการร้องเรียนตามวรรคหนึ่ง เป็นการร้องเรียนเมื่อเริ่มต้นกระบวนการ ไกล่เกลี่ยไปแล้ว ให้นายอําเภอสั่งระงับการไกล่เกลี่ยไว้ก่อนจนกว่าจะทราบผลการสอบสวน และเมื่อทราบผลการสอบสวนแล้ว ถ้าเป็นกรณีที่นายอําเภอสั่งให้ผู้ไกล่เกลี่ยนั้นพ้นจากการทําหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย หรือจะดําเนินการถอดถอนให้พ้นจากบัญชีรายชื่อ ให้นายอําเภอสั่งให้คู่พิพาทเลือกผู้ไกล่เกลี่ยอื่นทําหน้าที่แทนผู้ไกล่เกลี่ยที่ถูกร้องเรียน และให้เป็นดุลพินิจของประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยพิจารณาว่าจะดําเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยต่อไปหรือเริ่มต้นกระบวนการไกล่เกลี่ยใหม่
ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยประพฤติผิดจรรยาบรรณตามข้อ ๘ ให้ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของผู้ทําหน้าที่ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยนั้น ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรเปลี่ยนผู้ทําหน้าที่ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ย ให้ดําเนินการโดยเร็ว เว้นแต่นายอําเภอเป็นประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ย ให้พนักงานอัยการประจําจังหวัดทําหน้าที่ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยแทน
ข้อ ๑๐ ให้นายอําเภอตรวจสอบบัญชีรายชื่อเป็นประจําทุกปีปฏิทิน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อบุคคลในบัญชีรายชื่อ ให้นายอําเภอจัดทําบัญชีรายชื่อใหม่ และปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ณ สถานที่ตามข้อ ๓ วรรคสอง
หมวด ๒ การดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
-----------------------------------
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะให้มีการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้แจ้งความประสงค์เป็นคําร้องขอต่อนายอําเภอ โดยจะทําเป็นหนังสือส่งด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ หรือแจ้งด้วยวาจา ณ ที่ว่าการอําเภอที่ตนมีภูมิลําเนาก็ได้ ในกรณีแจ้งด้วยวาจา ให้นายอําเภอจดแจ้งรายละเอียดและให้ผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อนายอําเภอได้รับคําร้องขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้แจ้งให้คู่พิพาท อีกฝ่ายหนึ่งทราบ และสอบถามว่าประสงค์จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาทหรือไม่ หากเป็นกรณีที่มีคู่พิพาทหลายฝ่าย ให้แจ้งและสอบถามคู่พิพาททุกฝ่าย
ในกรณีที่คู่พิพาททุกฝ่ายตกลงยินยอมที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้นายอําเภอแจ้งเป็นหนังสือให้คู่พิพาททุกฝ่ายทราบพร้อมทั้งกําหนดวัน เวลา และสถานที่ให้คู่พิพาททุกฝ่ายมาพร้อมกันเพื่อเลือกผู้ไกล่เกลี่ยและประธาน คณะผู้ไกล่เกลี่ย
เมื่อคู่พิพาททุกฝ่ายมาพร้อมกันแล้ว ให้นายอําเภอดําเนินการให้คู่พิพาทเลือกผู้ไกล่เกลี่ยของตนและร่วมกันเลือกว่าจะให้นายอําเภอ พนักงานอัยการประจําจังหวัด หรือปลัดอําเภอเป็นประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ย และจัดให้มีการบันทึกความตกลงยินยอมไว้ในสารบบการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท พร้อมทั้งให้คู่พิพาททุกฝ่ายลงลายมือชื่อในสารบบนั้น
ในกรณีที่คู่พิพาทไม่อาจร่วมกันเลือกประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยได้ ให้นายอําเภอเป็นผู้กําหนดประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ย
ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้นายอําเภอจําหน่ายคําร้องขอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทนั้นและแจ้งให้ผู้ร้องขอทราบ
ข้อ ๑๒ เมื่อมีการเลือกหรือกําหนดผู้ไกล่เกลี่ยและประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว ให้ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยนัดประชุมคณะผู้ไกล่เกลี่ยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มี คณะผู้ไกล่เกลี่ยครบถ้วน เพื่อพิจารณาคําร้องขอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ในกรณีที่เห็นว่าผู้ร้องขอใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หรือการดําเนินการต่อไปจะเป็นผลให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการดําเนินคดีทางศาล ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยมี มติไม่รับคําร้องขอนั้นไว้พิจารณา และให้ยุติเรื่องในกรณีอื่นให้รับคําร้องขอนั้นไว้เพื่อดําเนินการต่อไป แต่การรับดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับข้อ ๑๔ ข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐
ข้อ ๑๓ การดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท โดยปกติให้กระทํา ณ ที่ว่าการอําเภอ แต่ในกรณีจําเป็นประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยจะกําหนดให้ดําเนินการ ณ สถานที่ราชการอื่นก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้คู่พิพาททราบล่วงหน้าตามสมควร
ให้อําเภอส่งหนังสือนัดหมายการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทแจ้งวัน เวลา และสถานที่ไปยังคณะผู้ไกล่เกลี่ยและคู่พิพาททุกฝ่ายภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ คณะผู้ไกล่เกลี่ยรับคําร้องขอไว้พิจารณาตามข้อ ๑๒ สําหรับการนัดครั้งต่อ ๆ ไป ให้ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยเป็นผู้กําหนดและแจ้งให้คู่พิพาททุกฝ่ายทราบ และบันทึกการนัดหมายไว้ในสารบบการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
การส่งหนังสือนัดหมายตามวรรคสอง ให้นายอําเภอหรือประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ย แล้วแต่กรณี ดําเนินการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่คู่พิพาทและบุคคล ที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ผู้นั้นอยู่ ณ สถานที่ไกล่เกลี่ยในเวลาที่ได้มีการนัดหมายและได้ลงลายมือชื่อรับรู้ไว้ ให้ถือว่าได้ส่งโดยชอบแล้ว
ข้อ ๑๔ ถ้าคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายไม่มาตามกําหนดที่ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยนัดหมายโดยไม่แจ้งเหตุผล หรือไม่ขอเลื่อนวันนัดหมาย หากเป็นกรณี ที่คู่พิพาทที่ยื่นคําร้องขอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท หรือคู่กรณีทุกฝ่ายไม่มาตามกําหนดนัด ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยสั่งจําหน่ายคําร้องขอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทและ สั่งยุติเรื่อง และให้ถือว่าคณะผู้ไกล่เกลี่ยไม่เคยรับคําร้องขอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทนั้นมาแต่ต้น ในกรณีอื่นให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป
ข้อ ๑๕ ก่อนเริ่มต้นกระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยชี้แจงวิธีการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทให้คู่พิพาททุกฝ่ายทราบ
ข้อ ๑๖ การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททุกครั้ง คณะผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมาปฏิบัติหน้าที่ครบทุกคน
ในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการ ให้คู่พิพาทตกลงยินยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยเปิดโอกาสให้คู่พิพาทเสนอข้อผ่อนผันให้แก่กัน หรือคณะผู้ไกล่เกลี่ยอาจเสนอทางเลือกในการผ่อนผันให้แก่คู่พิพาทพิจารณาตกลงยินยอมยุติข้อพิพาทนั้น ทั้งนี้ ห้ามมิให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยชี้ขาดข้อพิพาท
ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยรับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อพิพาทจากคู่พิพาท ทุกฝ่าย โดยให้รับฟังข้อเท็จจริงต่อหน้าคู่พิพาทพร้อมกัน ทั้งนี้ ในการไกล่เกลี่ยนั้นจะ ไกล่เกลี่ยพร้อมกันหรือแยกกันก็ได้ แต่ในการตกลงกันนั้นให้กระทําต่อหน้าคู่พิพาททุกฝ่าย
ในกรณีที่คณะผู้ไกล่เกลี่ยสงสัยโดยมีเหตุอันควรว่าข้อพิพาทนั้นไม่อาจบังคับกันได้ตามกฎหมายที่มิใช่เหตุอายุความ ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยยุติการไกล่เกลี่ยและจําหน่าย ข้อพิพาทออกจากสารบบการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอหรือคณะผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควร คณะผู้ไกล่เกลี่ยอาจให้นําพยานบุคคลเข้าชี้แจงหรือให้ข้อมูลก็ได้ แต่ทั้งนี้ คณะผู้ไกล่เกลี่ยต้องคํานึงถึงหลักการที่จะให้การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการสะดุดหยุดลงของอายุความในการฟ้องร้องคดี ให้ถือว่าวันที่คู่พิพาทแจ้งความประสงค์ตามข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง เป็นวันยื่น ข้อพิพาท กรณีที่แจ้งความประสงค์โดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ ให้ถือวันที่อําเภอได้รับหนังสือแจ้ง
ข้อ ๑๙ ในระหว่างการดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท หากคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจที่จะให้ดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทต่อไป คู่พิพาทฝ่ายนั้นมีสิทธิบอกเลิกการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทต่อประธาน คณะผู้ไกล่เกลี่ย โดยทําเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ และให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยสั่งจําหน่าย คําร้องขอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทและสั่งยุติเรื่อง และให้ถือว่าคณะผู้ไกล่เกลี่ย ไม่เคยรับคําร้องขอไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทนั้นมาแต่ต้น
ข้อ ๒๐ ในระหว่างการดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ถ้า ผู้ไกล่เกลี่ยที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เลือกไว้ต้องพ้นจากบัญชีรายชื่อ หรือไม่อาจดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทต่อไปได้ด้วยเหตุอื่น หรือคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความประสงค์ขอเปลี่ยนตัวผู้ไกล่เกลี่ย ให้คู่พิพาทฝ่ายนั้นเลือกผู้ไกล่เกลี่ยใหม่หรือ ขอเปลี่ยนตัวผู้ไกล่เกลี่ย แล้วแต่กรณี จากบัญชีรายชื่อ เว้นแต่คู่พิพาทนั้นไม่เลือกผู้ไกล่เกลี่ยและประสงค์บอกเลิกการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการตามข้อ ๑๙
การเลือกหรือเปลี่ยนตัวผู้ไกล่เกลี่ยใหม่ตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทที่ได้ดําเนินการไปแล้ว
ข้อ ๒๑ การดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทต้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่นายอําเภอได้ลงเรื่องในสารบบการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท เว้นแต่มีความจําเป็นและคู่พิพาทยินยอม ให้ขยายระยะเวลาได้อีกครั้งละไม่เกินสามเดือน แต่รวมระยะเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหนึ่งปี
เมื่อพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ยังไม่ได้ข้อยุติให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยสั่งจําหน่ายข้อพิพาทนั้น
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่คู่พิพาทไม่อาจตกลงกันได้ ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยสั่งจําหน่ายข้อพิพาทนั้น
ข้อ ๒๓ ๒๓ ในกรณีที่คู่พิพาทตกลงกันได้ ให้คณะผู้ไกล่เกลี่ยจัดให้มีการทําสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่พิพาท และให้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่พิพาท
การจัดทําสัญญาประนีประนอมยอมความตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และให้คู่พิพาททุกฝ่ายและ คณะผู้ไกล่เกลี่ยลงลายมือชื่อ
ข้อ ๒๔ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามข้อ ๒๓ วรรคหนึ่ง ย่อมทําให้ข้อเรียกร้องเดิมของคู่พิพาทได้ระงับสิ้นไป และทําให้คู่พิพาทได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคําร้องต่อพนักงานอัยการที่มีเขตอํานาจรับผิดชอบในท้องที่อําเภอที่ดําเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทนั้น และให้พนักงานอัยการดําเนินการยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อให้ออกคําบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม
การยื่นคําร้องต่อศาลของพนักงานอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําภายในกําหนดเวลาสามปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
หมวด ๓ เบ็ดเตล็ด
----------------------------
ข้อ ๒๖ ให้ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยจัดให้มีการบันทึกสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิพาท ผลของการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท และข้อตกลงยินยอมร่วมกันระหว่างคู่พิพาท เพื่อเก็บรวมไว้ในสารบบการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของอําเภอ
ข้อ ๒๗ คณะผู้ไกล่เกลี่ยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉพาะกรณีที่ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
อัตราค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามอัตราที่กําหนดท้ายกฎกระทรวงนี้
บทเฉพาะกาล - -------------------------------
ข้อ ๒๘ ในวาระเริ่มแรก ให้นายอําเภอดําเนินการจัดให้มีบัญชีรายชื่อตาม ข้อ ๓ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
อื่นๆ - อัตราค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของ
คณะผู้ไกล่เกลี่ยกรณีทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
-------------------------------------------
๑. ประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยได้รับค่าตอบแทนครั้งละ ๑,๒๕๐ บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน ๖,๒๕๐ บาท ต่อหนึ่งข้อพิพาท
๒. ผู้ไกล่เกลี่ยได้รับค่าตอบแทนครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ต่อหนึ่งข้อพิพาท
๓. ผู้ไกล่เกลี่ยมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทํา หน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ครั้งละ ๒๐๐ บาท หรือตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินครั้งละ ๕๐๐ บาท | 2,195 |
กฎกระทรวง ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ. 2553 | กฎกระทรวง
ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา
พ.ศ. ๒๕๕๓
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖๑/๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
“อําเภอ” หมายความรวมถึง กิ่งอําเภอ
“นายอําเภอ” หมายความรวมถึง ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ
“ปลัดอําเภอ” หมายความว่า ปลัดอําเภอที่นายอําเภอมอบหมายให้เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยคดีความผิดที่มีโทษทางอาญา
“ความผิดที่มีโทษทางอาญา” หมายความว่า ความผิดที่มีโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นที่เป็นความผิดอันยอมความได้ และมิใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ข้อ ๓ บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอําเภอใด ถ้าผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอมหรือแสดงความจํานงให้มีการไกล่เกลี่ย ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอของอําเภอนั้นเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามควรแก่กรณี
ข้อ ๔ ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดประสงค์จะให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือหรือด้วยวาจาต่อนายอําเภอหรือปลัดอําเภอ ณ ที่ว่าการอําเภอนั้น ในกรณีที่แจ้งความประสงค์ด้วยวาจา ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอ ทําบันทึกความประสงค์นั้นไว้ และให้ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวลงลายมือชื่อไว้ด้วย
เมื่อนายอําเภอหรือปลัดอําเภอได้รับแจ้งความประสงค์ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้แจ้งผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่งทราบและสอบถามว่าจะยินยอมหรือแสดงความจํานงเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือไม่ หากเป็นกรณีที่มีผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาหลายฝ่าย ให้แจ้งและสอบถามทุกฝ่าย
ในกรณีที่ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายตกลงยินยอมหรือแสดง ความจํานงที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอแจ้งให้ทุกฝ่ายทราบ และจัดให้มีการบันทึกการยินยอมหรือความจํานงเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยไว้ใน สารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา พร้อมทั้งให้ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่าย ลงลายมือชื่อในสารบบนั้น
ในกรณีที่ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมหรือไม่แสดงความจํานงเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ให้การแจ้งความประสงค์ตามวรรคหนึ่งสิ้นผลไป และให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอแจ้งผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาฝ่ายที่เหลือทราบด้วย
ข้อ ๕ ในกรณีที่นายอําเภอหรือปลัดอําเภอเห็นว่าสิทธินําคดีอาญามาฟ้องได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วก่อนวันแจ้งความประสงค์ตาม ข้อ ๔ วรรคหนึ่ง หรือจะระงับไปก่อนวันที่นายอําเภอหรือปลัดอําเภอแจ้งให้ผู้เสียหายหรือ ผู้ถูกกล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่งทราบตามข้อ ๔ วรรคสอง ห้ามไม่ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอ รับข้อพิพาทนั้นไว้ไกล่เกลี่ย และให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอแจ้งให้ผู้แจ้งความประสงค์ทราบโดยพลัน
ข้อ ๖ การแจ้งความประสงค์ตามข้อ ๔ วรรคหนึ่ง ไม่ใช่คําร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๗ เมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายได้ลงลายมือชื่อในสารบบ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาตามข้อ ๔ วรรคสาม แล้ว ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอ รับข้อพิพาทนั้นไว้ไกล่เกลี่ยต่อไป และแจ้งให้ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายทราบถึงสิทธิของตนและผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๗ พร้อมทั้งสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับข้อพิพาทจากผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายรวมทั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบันทึกการแจ้งและรายละเอียดเกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าวไว้ในสารบบ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา
การบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อพิพาทตามวรรคหนึ่ง ให้บันทึกเฉพาะ การกระทําที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทตามที่ได้ความจากผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวัน เวลา สถานที่ และบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท
ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภออ่านข้อความที่บันทึกไว้ในสารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาตามวรรคหนึ่งให้ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายฟัง แล้วให้ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่าย นายอําเภอหรือปลัดอําเภอ ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๘ ในการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับข้อพิพาทตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอกระทําต่อหน้าผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่าย เว้นแต่ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาตามที่นัดหมายโดยไม่มีเหตุอันสมควร จะกระทําลับหลังผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาฝ่ายนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ในการไกล่เกลี่ยนั้นจะ ไกล่เกลี่ยพร้อมกันหรือแยกกันก็ได้ แต่ในการตกลงกันนั้นให้กระทําต่อหน้าผู้เสียหายและ ผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่าย
ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายมีสิทธิให้ผู้ซึ่งตนไว้วางใจไม่เกินสองคน เข้ารับฟังการไกล่เกลี่ยได้ แต่ในการไกล่เกลี่ยครั้งใด หากนายอําเภอหรือปลัดอําเภอเห็นว่าการมีบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาอยู่ด้วยจะเป็นอุปสรรคต่อการไกล่เกลี่ย จะดําเนินการไกล่เกลี่ยครั้งนั้นโดยมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาเข้าร่วมรับฟังก็ได้
ข้อ ๙ การดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้กระทํา ณ ที่ว่าการอําเภอ หรือในกรณีจําเป็นจะกระทํา ณ สถานที่ราชการอื่นตามที่นายอําเภอกําหนดก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายทราบล่วงหน้าตามสมควร
ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอส่งหนังสือนัดหมายการไกล่เกลี่ยไปยังผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่าย เว้นแต่ผู้นั้นได้รับแจ้งด้วยวาจาและลงลายมือชื่อรับรู้ไว้ ให้ถือว่าเป็นการนัดหมายโดยชอบแล้ว
ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท นายอําเภอหรือปลัดอําเภออาจเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาเสนอข้อผ่อนผันให้แก่กัน หรืออาจเสนอทางเลือกให้แก่ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาผ่อนผันให้แก่กันก็ได้ แต่ห้ามไม่ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอวินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือชี้ขาดข้อพิพาท
ข้อ ๑๑ เมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายตกลงยินยอมตามที่ไกล่เกลี่ย ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอจัดทําเป็นหนังสือตกลงยินยอม และบันทึกการตกลงยินยอมนั้นไว้ในสารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา
หนังสือตกลงยินยอมตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุวัน เดือน ปี และรายละเอียดความตกลงยินยอมรวมทั้งกําหนดระยะเวลาการปฏิบัติตามความตกลงยินยอมให้ชัดเจน และให้นําความในข้อ ๗ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ เมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายได้ปฏิบัติตามความตกลงยินยอมตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันและสิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือยื่นฟ้องต่อศาลไว้ ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอแจ้งต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ นายอําเภอหรือปลัดอําเภอจะเปิดเผยข้อเท็จจริงใดที่ได้มาจากการดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามคําสั่งศาล
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายได้ตกลงยินยอมตามที่ไกล่เกลี่ยแล้วแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามความตกลงยินยอมหรือปฏิบัติไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่ ตกลงกันไว้ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอจําหน่ายข้อพิพาทนั้นออกจากสารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา
ข้อ ๑๕ ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยทําเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาต่อนายอําเภอหรือปลัดอําเภอเมื่อใดก็ได้ ในกรณีบอกเลิกด้วยวาจา ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอบันทึกการบอกเลิกนั้นไว้พร้อมทั้งให้ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาฝ่ายที่บอกเลิกลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อนายอําเภอหรือปลัดอําเภอได้รับการบอกเลิกการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามวรรคหนึ่งให้จําหน่ายข้อพิพาทนั้นออกจากสารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา
ข้อ ๑๖ ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอทําการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อพิพาทไว้ เว้นแต่มีความจําเป็นและผู้เสียหายและ ผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายยินยอม ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอขยายเวลาได้อีกไม่เกินสิบห้าวัน
เมื่อพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาทุกฝ่ายไม่สามารถตกลงยินยอมกันได้ ให้นายอําเภอหรือปลัดอําเภอจําหน่ายข้อพิพาทนั้นออกจากสารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา
ข้อ ๑๗ ข้อพิพาทใดที่นายอําเภอหรือปลัดอําเภอจําหน่ายออกจากสารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาตามข้อ ๑๖ วรรคสอง นายอําเภอหรือปลัดอําเภอจะรับข้อพิพาทนั้นเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยอีกไม่ได้
ข้อ ๑๘ เมื่อนายอําเภอหรือปลัดอําเภอจําหน่ายข้อพิพาทออกจากสารบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาแล้ว ให้บันทึกเหตุแห่งการจําหน่ายข้อพิพาทไว้ด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี | 2,196 |
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2556 | กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สํานักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๕๖
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีภารกิจเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการแก่คณะรัฐมนตรีส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบราชการมีความเข้มแข็ง ทันสมัย และสอดรับกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่ที่เน้นเรื่องผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดําเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ.ร. และดําเนินการตามที่ ก.พ.ร.มอบหมาย
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการและการกําหนด อํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ รวมทั้งตรวจสอบดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๓) ชี้แจง ทําความเข้าใจ แนะนํา และฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการตามที่ ก.พ.ร. มอบหมาย
(๔) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อเสนอต่อ ก.พ.ร.
(๕) จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อ ก.พ.ร. เพื่อนําเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต่อไป
(๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๓ ให้แบ่งส่วนราชการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สํานักงานเลขาธิการ
(๒) กองกฎหมายและระเบียบราชการ
(๓) กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น
(๔) กองติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ
(๕) กองบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
(๖) กองเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ
(๗) กองพัฒนาระบบราชการ ๑
(๘) กองพัฒนาระบบราชการ ๒
(๙) กองพัฒนาระเบียบราชการส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๑๐) กองส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ข้อ ๔ ในสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน เพื่อทําหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดําเนินงานภายในสํานักงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสํานักงานรับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ โดยมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสํานักงาน
(๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๕ ในสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทําหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของสํานักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ารับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ โดยมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่เลขาธิการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสํานักงาน
(๒) ติดตาม ประเมินผล และจัดทํารายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในสํานักงาน
(๓) ประสานและดําเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และส่วนราชการในสํานักงาน
(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๖ ในสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เพื่อทําหน้าที่หลักในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในสํานักงาน รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ โดยมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะแก่เลขาธิการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสํานักงาน รวมทั้งจัดทําแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อเลขาธิการ
(๒) ประสานงาน เร่งรัด และกํากับให้ส่วนราชการในสํานักงานดําเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ (๓) รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสํานักงาน และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔) คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
(๕) ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดําเนินการตาม (๓) และ (๔) และ ร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๖) ติดตาม ประเมินผล และจัดทํารายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบของส่วนราชการและการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อเลขาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๗ สํานักงานเลขาธิการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของสํานักงาน รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนประสานการปฏิบัติราชการของสํานักงาน
(๒) ดําเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานช่วยอํานวยการ งานการเงินและพัสดุ งานงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล งานพัฒนาข้าราชการ งานวิเทศสัมพันธ์ งานเลขานุการนักบริหาร และงานประชาสัมพันธ์ของสํานักงาน
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับการให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสํานักงาน
(๔) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของ ก.พ.ร. ร่วมกับส่วนราชการอื่นตามที่เลขาธิการ ก.พ.ร. มอบหมาย
(๕) ดําเนินการอื่นใดที่มิได้กําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของสํานักงาน
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๘ กองกฎหมายและระเบียบราชการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําร่างกฎหมายและระเบียบ ให้ความเห็นและวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.
(๒) ดําเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน
(๓) ให้คําปรึกษา แนะนํา และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ในความรับผิดชอบ และจัดทําคู่มือเผยแพร่การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(๔) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๙ กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะ เพื่อกําหนดนโยบาย แนวทาง และหลักเกณฑ์กลาง ที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก การบริหารงานและพัฒนา และการประเมินผล การปฏิบัติงานขององค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
(๒) ให้คําปรึกษา เสนอแนะ และประสานงานกับองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่นในกํากับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงาน และการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกําหนดตามข้อเสนอของ ก.พ.ร.
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๐ กองติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการ และการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๒) จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานอื่นของรัฐ เสนอต่อ ก.พ.ร.
(๓) ให้คําปรึกษา แนะนํา เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล สัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการ
(๔) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑ กองบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
(๒) เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และกํากับ ติดตาม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๓) เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้การสนับสนุนผู้นําการบริหารการเปลี่ยนแปลงของกรมและจังหวัด .ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสําเร็จ
(๔) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ กองเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริม สนับสนุน และชี้แจงทําความเข้าใจกับส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป รวมทั้งดําเนินการส่งเสริมให้มีความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่อง
(๒) สร้างความเข้าใจ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบราชการ
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๓ กองพัฒนาระบบราชการ ๑ รับผิดชอบกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่นทางด้านเศรษฐกิจ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เสนอแนะ และประสานงาน เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม การจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกําหนดชื่อการเปลี่ยนชื่อ การกําหนดอํานาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
(๒) ให้คําปรึกษา แนะนํา เสนอแนะ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัด โครงสร้างและปรับปรุงระบบงาน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการนํายุทธศาสตร์ หรือมาตรการในการพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔ กองพัฒนาระบบราชการ ๒ รับผิดชอบกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่นทางด้านสังคม มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เสนอแนะ และประสานงานเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม การจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกําหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกําหนดอํานาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
(๒) ให้คําปรึกษา แนะนํา เสนอแนะ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและปรับปรุงระบบงาน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการนํายุทธศาสตร์ หรือมาตรการในการพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๕ กองพัฒนาระเบียบราชการส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการและระบบการพัฒนา ระเบียบราชการส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระบบการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
(๒) ให้คําปรึกษาและประสานงานกับหน่วยงานกลางอื่น ๆ เกี่ยวกับนโยบายการบริหารราชการ ส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ และคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๖ กองส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําและพัฒนาแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ การดําเนินงาน ของส่วนราชการ และแนวทางการสอบทานผลการดําเนินงานของส่วนราชการ
(๒) จัดทํารายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเสนอนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งรายงานการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ภาคราชการตามกฎหรือระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
(๓) ให้คําปรึกษา แนะนํา เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการตรวจสอบและ ประเมินผลภาคราชการ
(๔) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ และอํานาจหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สํานักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไปอันจะทําให้การปฏิบัติภารกิจตามอํานาจหน้าที่ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ | 2,197 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ. 2548 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๘
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรบูรณาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการกํากับดูแลและควบคุมตนเองที่ดีของส่วนราชการ อันจะนําไปสู่การบรรลุผลตามเจตนารมณ์ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจ แก่สาธารณชนต่อการดําเนินการ ตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และผลงานของส่วนราชการ ว่าได้มีการตรวจสอบและกํากับดูแลอย่างรอบคอบถึงประสิทธิผล ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ คุณภาพของการบริหารงาน ตลอดจนการยกระดับขีดสมรรถนะ การเรียนรู้ และศักยภาพของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมีความยุติธรรม โปร่งใส และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“การตรวจสอบและประเมินผล” หมายความว่า การตรวจสอบและประเมินผลการบริหารและผลการดําเนินงาน การตรวจสอบบัญชีและการเงิน ความถูกต้องตามกฎระเบียบ รวมถึงการประเมินความเสี่ยง การประเมินความเพียงพอและเชื่อถือได้ของการกํากับดูแลและควบคุมตนเองที่ดี ตลอดจนการให้คําปรึกษาในการสร้างคุณค่า
“ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกํากับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ข้อ ๔ การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการจะต้องเป็นไปเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจแก่สาธารณะได้ถึงประสิทธิผล ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และคุณภาพของการบริหารงาน ตลอดจนการปรับปรุงขีดสมรรถนะและศักยภาพ การเสริมสร้างการเรียนรู้ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการจัดวางระบบการควบคุมภายในของส่วนราชการที่เพียงพอ เหมาะสม และมีกลไกกํากับดูแลที่น่าเชื่อถือ
ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ค.ต.ป. ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ประธานกรรมการ
(๒) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(๓) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
(๔) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
(๕) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ กรรมการ
(๖) เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
(๗) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๘) อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ
(๙) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการ
จากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาจํานวนไม่น้อยกว่า
เจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบคน
(๑๐) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการและเลขานุการ
(๑๑) รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมอบหมาย กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นจํานวนไม่เกินห้าคน เพื่อทําหน้าที่สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๕ (๙) เมื่อสรรหาได้แล้วให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อประธานกรรมการ เพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งต่อไป
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๕ (๙) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ทางด้านการบัญชี การตรวจสอบและประเมินผล กฎหมาย การเงิน เศรษฐศาสตร์ การบริหารและการจัดการ การวางแผน เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ หรือสถาปัตยกรรมศาสตร์
(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็น โทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เป็นข้าราชการประจํา พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งบริษัทมหาชนที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
(๗) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
ข้อ ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี ผู้ซึ่ง พ้นจากตําแหน่งแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระ และยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่
ข้อ ๙ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๗
(๔) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดําเนินการสรรหาและเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
ให้นําความในข้อ ๖ มาใช้บังคับกับการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ให้มีวาระการดํารงตําแหน่งเท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ยังอยู่ในตําแหน่ง
ข้อ ๑๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานปฏิบัติหน้าที่แทน ในกรณีที่ไม่มีรองประธานหรือมี แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทําหน้าที่ประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องนั้น
ข้อ ๑๓ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางนโยบาย แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลในภาคราชการ รวมถึงกําหนดประเด็นหัวข้อการตรวจสอบและประเมินผล
(๒) ให้ความเห็นชอบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลตาม (๑) ของคณะอนุกรรมการตาม (๗) และหน่วยงานกลางที่มีภารกิจด้านการตรวจสอบและประเมินผล
(๓) ส่งเสริม ผลักดัน สอบทาน และเสนอแนะมาตรการ เพื่อให้แต่ละ ส่วนราชการดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและประเมินผล ภาคราชการ ตามข้อ ๔ และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๔) จัดทํารายงานผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละสองครั้ง และส่งสําเนารายงานดังกล่าวให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้วย
(๕) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
(๖) ประสานงานกับคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในการประเมินผลการดําเนินงานตามคํารับรองการปฏิบัติราชการ
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๘) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะเชิญบุคคลใดหรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเองอย่างน้อยปีละสองครั้ง แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
ข้อ ๑๕ คณะอนุกรรมการตามข้อ ๑๓ (๗) อย่างน้อยจะต้องมีคณะอนุกรรมการกลุ่มกระทรวงและคณะอนุกรรมการกลุ่มจังหวัด เพื่อทําหน้าที่วางแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลในระดับกระทรวงและจังหวัด และอาจให้มีคณะอนุกรรมการอื่นตาม รายสาขาหรือตามประเด็นที่มีความสําคัญก็ได้
ให้นําความในข้อ ๑๒ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ ให้กรรมการและอนุกรรมการตามข้อ ๑๓ (๗) ได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานเป็นเงินสมนาคุณเหมาจ่ายเป็นรายเดือน โดยทําความตกลงกับกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลตนเองที่ดี ให้แต่ละกระทรวงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจํากระทรวงขึ้นทําหน้าที่ในการตรวจสอบและประเมินผล
การแต่งตั้งและคุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจํากระทรวง ตลอดจนองค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจํากระทรวงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
ให้กรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจํากระทรวงได้รับค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานเป็นเงินสมนาคุณเหมาจ่ายรายเดือนในอัตราเดียวกับอนุกรรมการตามข้อ ๑๖
ข้อ ๑๘ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๕ (๘) ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
ข้อ ๑๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้ระเบียบฉบับนี้ คือ โดยที่การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเป็นกลไก ที่สําคัญของระบบราชการในการกํากับดูแลและควบคุมตนเองที่ดีของส่วนราชการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบกับได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจํากระทรวงจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา ต่าง ๆ เพื่อให้ทําหน้าที่สอบทานในประเด็นต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) กําหนด สมควรที่จะได้กําหนดค่าตอบแทนการปฏิบัติงานให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจํากระทรวงดังกล่าว จึงจําเป็นต้องวางระเบียบนี้
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ และดํารงตําแหน่งติดต่อกันครบสองวาระแล้ว อาจได้รับการสรรหาและแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามระเบียบนี้ได้ แต่ให้มีวาระอยู่ในตําแหน่งได้เพียงหนึ่งวาระ | 2,198 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 333/2564 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 333/2564
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่งนอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร วันทําการปกติ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,199 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การใช้ข้อมูลนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การใช้ข้อมูลนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
---------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมสรรพากร และการติดต่อราชการกรมสรรพากร เป็นไปตามข้อ 17 ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560 ให้ยกเลิกการใช้สําเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล อันเป็นการอํานวยความสะดวกรวดเร็ว และลดภาระของประชาชนในกรณีที่ต้องใช้หนังสือรับรองนิติบุคคลและสําเนาเอกสารข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคลอันได้แก่ หนังสือบริคณห์สนธิ และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังนี้
การปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมสรรพากร รวมถึงประกาศ ระเบียบ คําสั่ง ข้อบังคับ ข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ของกรมสรรพากรที่กําหนดให้บุคคลใด ๆ ต้องใช้หนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรใช้ข้อมูลที่เกิดจากวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนวิธีการที่ต้องคัดเอกสารดังกล่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,200 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การยื่นคำขอเป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สําหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
------------------------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กําหนดหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เป็นไปโดยถูกต้อง กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเพื่อทราบโดยทั่วกันดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ประสงค์จะรับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กําหนดหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตั้งอยู่ก็ได้”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมสรรพากรเรื่อง การยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สําหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๒ ให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีตามข้อ 1 โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมกับแนบเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ภาพถ่ายเอกสารการจัดตั้งและวัตถุประสงค์หลักในกรณีที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ยกเว้น กระทรวง ทบวง กรม
(2) ภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(3) ภาพถ่ายทะเบียนบ้าน และบัตรประจําตัวประชาชน (กรณีเป็นบุคคล-ธรรมดา)
(4) รายชื่อนักวิจัยและประวัติโดยละเอียด (ให้แยกระหว่างนักวิจัยที่เป็นพนักงานประจํา และที่จ้างเป็นครั้งคราว)
(5) ภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20)
(6) ตัวอย่างใบรับ ตามข้อ 6 ของประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กําหนดหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539
(7) รายละเอียดเครื่องจักร/อุปกรณ์ เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (ถ้ามี)
(8) ข้อมูลโดยย่อของการประกอบกิจการในปัจจุบัน และแผนการดําเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (ถ้ามี)
ข้อ ๓ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการประกาศให้เป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี จะได้รับสิทธิเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีตามข้อ 1
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,201 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การยื่นคำขอเป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สําหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กําหนดหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เป็นไปโดยถูกต้อง กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเพื่อทราบโดยทั่วกันดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สําหรับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ประสงค์จะรับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กําหนดหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร หรือยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ในท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตั้งอยู่ก็ได้”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,202 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ให้บริการจัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ให้บริการจัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface
---------------------------------------------
โดยที่การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอยู่ในอํานาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ ผู้เสียภาษีอากรและเพื่อการควบคุมกํากับดูแลการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมสรรพากรจึงกําหนดให้ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กรมสรรพากรกําหนด สามารถแจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอเป็นผู้ให้บริการ จัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีของผู้เสียภาษีอากรเพื่อส่งให้กรมสรรพากรผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface กรมสรรพากรจึงกําหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้เสียภาษีอากร” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการจัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษี ของผู้เสียภาษีอากรเพื่อส่งให้กรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ตามรูปแบบและมีความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กรมสรรพากรกําหนด
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ผู้ให้บริการต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินหรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายเฉพาะ
(2) มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันสําหรับการบริหารจัดการภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(3) มีระบบซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบงานของกรมสรรพากรได้ตามรูปแบบและมีความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กรมสรรพากร กําหนด
(4) มี ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) ที่มีมาตรฐานหรือมาตรการด้านความมั่นคง ปลอดภัยตามที่สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กําหนด
(5) มีแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549
(6) ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริการพัสดุภาครัฐ
(7) ไม่ประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงซึ่งเป็นสาเหตุของความเสียหายต่อสาธารณะ หรือความมั่นคงของประเทศ
ข้อ ๓ ผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และมีความประสงค์จะให้บริการจัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีของผู้เสียภาษีอากรเพื่อส่งให้กรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface ให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งขอจัดทํา และยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากรผ่าน Application Programming Interface (API) ภ.อ.01.2 พร้อมข้อตกลงในการจัดทําและยื่นรายการเสียภาษีอากรผ่าน Application Programming Interface โดยให้ยื่น ณ กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร
ข้อ ๔ เมื่อผู้ให้บริการได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 3 แล้ว ผู้ให้บริการจะได้รับชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) จากกรมสรรพากร เพื่อใช้ในการจัดเตรียมข้อมูล ตามแบบแสดงรายการภาษีของผู้เสียภาษีอากรเพื่อส่งให้กรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface ตามรูปแบบและมีความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่กรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๕ เมื่อผู้ให้บริการได้จัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีของผู้เสียภาษีอากรและส่งให้กรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface เรียบร้อยแล้ว ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้ผู้เสียภาษีอากรยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรภายในกําหนดเวลาตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ ผู้ให้บริการต้องจัดทําข้อตกลงในการให้บริการตามประกาศนี้ เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดระหว่างผู้ให้บริการและผู้เสียภาษีอากร
ข้อ ๗ ผู้ให้บริการต้องรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียภาษีอากรหรือของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องที่ผู้ให้บริการได้รับและจัดเก็บจากการให้บริการจัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษี ของผู้เสียภาษีอากรเพื่อส่งให้กรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เว้นแต่ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลอื่น ดังกล่าวได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่ผู้ให้บริการกําหนด
ข้อ ๘ กรณีที่ผู้ให้บริการมีคุณสมบัติไม่เป็นตามข้อ 2 ให้ผู้ให้บริการนั้นไม่มีสิทธิให้บริการจัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีของผู้เสียภาษีอากรเพื่อส่งให้กรมสรรพากรผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ตามประกาศนี้ นับถัดจากวันที่ ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมสรรพากร
กรณีที่ผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลงที่ทําไว้กับกรมสรรพากร และมิได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือ ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากกรมสรรพากร ให้ผู้ให้บริการนั้น ไม่มีสิทธิให้บริการจัดเตรียมข้อมูลตามแบบแสดงรายการภาษีของผู้เสียภาษีอากรเพื่อส่งให้กรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ตามประกาศนี้ เมื่อพ้นหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมสรรพากร
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,203 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2550 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
พ.ศ. ๒๕๕๐
----------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้ง การมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนวิธีการบริหารงาน การดําเนินการด้านทรัพย์สิน การกํากับดูแล และ การยุบเลิกหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ เพื่อให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๐”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“ส่วนราชการ” หมายความว่า กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม หรือส่วนราชการที่ไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นอธิบดีหรือเทียบเท่า ทั้งนี้ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของฝ่ายบริหาร
“ส่วนราชการเจ้าสังกัด” หมายความว่า ส่วนราชการที่มีหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้อยู่ในสังกัด
“หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด” หมายความว่า อธิบดี หรือหัวหน้าของ ส่วนราชการเจ้าสังกัด
“หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานภายในระดับต่ํากว่ากรมของ ส่วนราชการและให้หมายความรวมถึงภารกิจของหน่วยงานหรือของส่วนราชการด้วย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอํานวยการหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการหรือผู้บริหารสูงสุดซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
“ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า
(๑) หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด ในกรณีที่หน่วยบริการรูปแบบพิเศษบริหารงานโดยหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้ควบคุมดูแล หรือ
(๒) คณะกรรมการ ในกรณีที่หน่วยบริการรูปแบบพิเศษบริหารงานโดยมีคณะกรรมการเป็นผู้ควบคุมดูแล
ข้อ ๕ ส่วนราชการใดประสงค์จะให้มีการบริหารงานในรูปแบบพิเศษแตกต่างจากระบบราชการ โดยแปลงสภาพหน่วยงานเดิมเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เสนอเรื่องต่อ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กําหนด
ข้อ ๖ ก.พ.ร. จะให้ความเห็นชอบตามข้อ ๕ ได้ต้องปรากฏว่า
(๑) หน่วยงานดังกล่าวมีขีดความสามารถที่นอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ส่วนราชการนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของส่วนราชการแล้วยังสามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ หรือทรัพยากรอื่นใดของหน่วยงานนั้นให้บริการแก่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น หรือเอกชนได้ด้วย
(๒) เมื่อมีการแปลงสภาพหน่วยงานนั้นเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้แล้วจะก่อให้เกิดความคล่องตัว คุ้มค่า และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐยิ่งขึ้น และ
(๓) มีการปรับโครงสร้างของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการแปลงสภาพหน่วยงานเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
เมื่อ ก.พ.ร. ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ ก.พ.ร. นําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ และประกาศการแปลงสภาพเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษในราชกิจจานุเบกษา
ให้หน่วยงานที่แปลงสภาพเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษมีการบริหารงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๗ การดําเนินงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการภาครัฐเป็นสําคัญ และเมื่อมีกําลังผลิตหรือขีดความสามารถเหลืออยู่จึงจะให้บริการแก่ประชาชนได้ ทั้งนี้ ให้เป็นหน้าที่ของผู้มีอํานาจควบคุมในการวางหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้บริการแก่ประชาชนเพื่อมิให้เป็นการแข่งขันกับภาคเอกชนด้วย
เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดกําหนดเป้าหมาย ปริมาณงานบริการที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดประสงค์จะได้รับบริการจากหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และแจ้งให้หน่วยบริการรูปแบบพิเศษทราบล่วงหน้าเป็นประจําทุกปีงบประมาณ
ข้อ ๘ ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะตั้งงบประมาณเพื่ออุดหนุนหน่วยบริการรูปแบบพิเศษไม่ได้ เว้นแต่เป็นงบประมาณสําหรับค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการใช้บริการของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ หรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก
วิธีการคิดค่าตอบแทนหรือค่าบริการตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๙ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งขึ้น จะให้อยู่ในความควบคุมดูแลโดยตรงของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือจะให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ควบคุมดูแลและรายงานผลการดําเนินงานต่อหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้า ส่วนราชการเจ้าสังกัดกําหนด
ในกรณีที่มีคณะกรรมการเป็นผู้ควบคุมดูแลหน่วยบริการรูปแบบพิเศษให้คณะกรรมการประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นไม่เกินห้าคนซึ่งหัวหน้า ส่วนราชการเจ้าสังกัดแต่งตั้งตามความเหมาะสมกับภารกิจของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ทั้งนี้ หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดจะดํารงตําแหน่งประธานกรรมการก็ได้
การประชุมและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๐ ให้หน่วยบริการรูปแบบพิเศษมีอิสระในการบริหารงานจาก ส่วนราชการเจ้าสังกัดแต่ยังคงเป็นกิจการและเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการเจ้าสังกัด และให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดที่จะต้องใช้บริการของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
ในกรณีที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าค่าตอบแทนหรือค่าบริการของ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษสูงเกินสมควรหรือคุณภาพของการบริการไม่ดีเท่าที่ควร จะสั่งให้ลดค่าตอบแทนหรือค่าบริการหรือปรับปรุงคุณภาพของการบริการภายในเวลาที่กําหนดก็ได้
ข้อ ๑๑ ในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ให้มีผู้อํานวยการคนหนึ่งซึ่งผู้มีอํานาจควบคุมแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับภารกิจของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
ในการแต่งตั้งผู้อํานวยการ ให้ผู้มีอํานาจควบคุมดําเนินการสรรหาจากข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้มีอํานาจควบคุมกําหนด
ในกรณีที่ข้าราชการได้รับการสรรหาให้เป็นผู้อํานวยการ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของข้าราชการผู้นั้นสั่งให้ข้าราชการดังกล่าวมาปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทําการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐
ให้เป็นหน้าที่ของผู้อํานวยการที่จะจัดทําแผนการดําเนินงานประจําปีเสนอ ผู้มีอํานาจควบคุมเพื่อแสดงแนวทางการปฏิบัติงาน การพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรและการจัดหารายได้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๒ ให้ผู้อํานวยการเป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่และรับผิดชอบในกิจการของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้มีอํานาจควบคุมกําหนดและในกรณีที่คณะกรรมการกําหนดต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดด้วย
ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดมอบอํานาจในการบริหาร การจัดทํานิติกรรม การดําเนินคดี และการฟ้องคดี หรือการอื่นใดในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษให้แก่ผู้อํานวยการเพื่อให้บริหารงานหน่วยบริการรูปแบบพิเศษได้โดยอิสระแทนส่วนราชการเจ้าสังกัดนั้น
ในกรณีที่ไม่อาจมอบอํานาจตามวรรคสองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้ ให้ดําเนินการมอบอํานาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๑๓ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษต้องไม่ใช่ข้าราชการหรือ ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการประจําของส่วนราชการนั้น เว้นแต่ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดโดยคําร้องขอของผู้อํานวยการจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวไปปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระยะเวลาที่กําหนดก็ได้ โดยให้ดําเนินการตามพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทําการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐
การบรรจุและแต่งตั้ง การบังคับบัญชา และการบริหารงานบุคคลอื่น ของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของผู้อํานวยการตามระเบียบที่ผู้มีอํานาจควบคุมกําหนด
การกําหนดอัตราค่าจ้างของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษให้ คํานึงถึงประสิทธิภาพและรายได้ของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างทั่วไปในลักษณะงานทํานองเดียวกัน
ข้อ ๑๔ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน ให้ผู้มีอํานาจควบคุม วางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนินงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษขึ้นใช้บังคับไว้เป็นการเฉพาะ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของทางราชการที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป
ระเบียบตามวรรคหนึ่งต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงานของ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และอย่างน้อยต้องมีระเบียบในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) ระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการดําเนินงานและการบริหารทั่วไป
(๒) ระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สิน
(๓) ระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่ผู้ปฏิบัติงาน
(๔) ระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและการประเมินผลการดําเนินงาน
ข้อ ๑๕ ระเบียบของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือเกี่ยวกับการเงินให้ส่งให้กระทรวงการคลังทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ออกระเบียบและถ้ากระทรวงการคลังเห็นว่าระเบียบนั้นขัดต่อกฎหมายหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ให้มีหนังสือโต้แย้งพร้อมเหตุผลไปยังส่วนราชการเจ้าสังกัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในกรณีที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดไม่เห็นชอบด้วยกับข้อโต้แย้งดังกล่าว ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย
ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดให้ส่วนราชการใดมีอํานาจออกกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ และกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานของ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการนั้นดําเนินการแก้ไขกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับนั้น เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานโดยอิสระของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก ก.พ.ร.
ข้อ ๑๖ เงินอุดหนุนที่ได้รับตามข้อ ๘ และรายได้ที่ได้รับจากการให้บริการ ทั้งปวงให้หน่วยบริการรูปแบบพิเศษมีสิทธิเก็บรักษาไว้และนําไปใช้ในกิจการของ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษได้ ตามระเบียบที่ผู้มีอํานาจควบคุมกําหนด
ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดจัดทํารายงานการรับและจ่ายเงินรายได้ตามวรรคหนึ่ง เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกสิ้นปีงบประมาณ
เงินรายได้ตามวรรคหนึ่งที่เป็นเงินอุดหนุนจากส่วนราชการเจ้าสังกัดจะนํามาจัดสรรเป็นเงินเพิ่มพิเศษหรือเงินรางวัลให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษมิได้
ข้อ ๑๗ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานต่อ ก.พ.ร. ตามระยะเวลา ที่ ก.พ.ร. กําหนด และให้ ก.พ.ร. ศึกษาและวิเคราะห์รายงานดังกล่าวเพื่อนําไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาโครงสร้างและระบบการปฏิบัติงานของทางราชการ
ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ให้ ก.พ.ร. ร่วมมือกับส่วนราชการเจ้าสังกัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดไม่ประสงค์จะดําเนินงานหน่วยบริการรูปแบบพิเศษต่อไป หรือเมื่อผลการประเมินตามข้อ ๑๘ ปรากฏว่าหน่วยบริการรูปแบบพิเศษใดไม่สมควรที่จะดําเนินงานต่อไป ไม่ว่าเพราะหมดความจําเป็น การดําเนินงานต่อไปไม่คุ้มค่า หรือขาดประสิทธิภาพ หรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ยุบเลิกหน่วยบริการรูปแบบพิเศษนั้น
ข้อเสนอของ ก.พ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุวิธีจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ภารกิจ และบุคลากรของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่จะยุบเลิกด้วย
ข้อ ๒๐ ให้หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่ได้ดํา เนินการจัดตั้งตามระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้ด้วยต่อไป
ข้อ ๒๑ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอํานาจตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไป ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งระเบียบนี้
ข้อ ๒๒ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม -
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี | 2,204 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ให้บริการ สำหรับการจัดทำและ ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากร | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ให้บริการ สําหรับการจัดทําและ ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
โดยที่การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอยู่ในอํานาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียอากรและเพื่อการควบคุมกํากับดูแลการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมสรรพากรจึงกําหนดให้ผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนดสามารถแจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอเป็นผู้ให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้มีหน้าที่เสียอากร” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากรที่ได้แต่งตั้งผู้ให้บริการตามประกาศนี้ให้เป็นตัวแทนจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามรูปแบบและความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กรมสรรพากรกําหนด
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๒ ผู้ให้บริการต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) ที่มีมาตรฐานหรือมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยตามที่สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กําหนด
(3) มีแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549
ข้อ ๓ ให้ผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 ที่มีความประสงค์จะให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากร แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งขอจัดทําและยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากรผ่าน Application Programming Interface (API) ภ.อ.01.2 พร้อมบันทึกข้อตกลงการให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียภาษีอากรเป็นตัวเงินผ่าน Application Programming Interface (API) โดยให้ยื่น ณ กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร
ข้อ ๔ เมื่อผู้ให้บริการได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 3 แล้ว ผู้ให้บริการจะได้รับชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) จากกรมสรรพากร เพื่อใช้ในการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามรูปแบบและความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๕ ผู้ให้บริการต้องจัดทําข้อตกลงในการให้บริการตามประกาศนี้ เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดระหว่างผู้ให้บริการและผู้มีหน้าที่เสียอากร
ข้อ ๖ ผู้ให้บริการต้องรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้ให้บริการได้รับและจัดเก็บจากการให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากร และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือบุคคลอื่นดังกล่าวได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่ผู้ให้บริการกําหนด
ข้อ ๗ ผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลงที่ทําไว้กับกรมสรรพากร และมิได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากกรมสรรพากร ผู้ให้บริการนั้นไม่มีสิทธิให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประกาศนี้ เมื่อพ้นหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมสรรพากร
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,205 |
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน | ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง ยกเลิกการใช้สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้าน
-----------------------------------------------
ตามข้อ 17 ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560 ประกอบกับที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานซึ่งที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกการใช้สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้าน เพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมสรรพากรและการติดต่อราชการกรมสรรพากร เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 ดังกล่าว อันเป็นการอํานวยความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนในกรณีที่ต้องใช้เอกสารสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้านอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการใช้สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้าน ในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมสรรพากร รวมถึงประกาศระเบียบ คําสั่ง ข้อบังคับ ข้อกําหนด หรือแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ของกรมสรรพากร ที่กําหนดให้บุคคลใด ๆ ต้องใช้สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้าน เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้
1. กรณีจําเป็นและต้องการสําเนาเอกสารดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรเป็นผู้จัดทําสําเนาเอกสารดังกล่าวขึ้นเอง และห้ามมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจัดทําสําเนาเอกสารนั้น
2. กรณีมอบอํานาจให้บุคคลอื่นดําเนินการแทน ให้ใช้สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจ พร้อมลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,206 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. 2552 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๕๒
-------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจํานวน วิธีการสรรหา และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เพื่อให้การสอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามมาตรา ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕๕/๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึง วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนีh
“ประธาน” หมายความว่า ประธานกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
“อําเภอ” หมายความรวมถึง กิ่งอําเภอ
“นายอําเภอ” หมายความรวมถึง ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ
“กลุ่มประชาสังคม” หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวจัดตั้งขึ้นหรือ ที่หน่วยงานของรัฐสนับสนุน และให้หมายความรวมถึงองค์กรชุมชนตามกฎหมายว่าด้วย สภาองค์กรชุมชน และองค์กรภาคประชาสังคมอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
“สมาชิกสภาท้องถิ่น”
“สมาชิกสภาเทศบาล” หมายความว่า สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งมิได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
“ภาคธุรกิจเอกชน” หมายความว่า สมาคมการค้า หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หมายความรวมถึง สมาชิกสภาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มีรูปแบบการปกครองลักษณะพิเศษ ยกเว้นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
“สมาคมการค้า” หมายความว่า สมาคมการค้าตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าและสมาคมที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการค้า อุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน หรือการประกอบธุรกิจอื่นใด
“หอการค้าจังหวัด” หมายความว่า หอการค้าจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้า
“สภาอุตสาหกรรมจังหวัด” หมายความว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า
(๑) ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(๒) รัฐวิสาหกิจ
(๓) องค์การมหาชน
(๔) หน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกํากับของฝ่ายบริหาร
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
-------------------------------
ข้อ ๕ ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการ ธรรมาภิบาลจังหวัดคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ธ.จ.” ประกอบด้วยผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอํานาจในจังหวัดเป็นประธาน และผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัดนั้นเป็นกรรมการ จํานวนกรรมการใน ก.ธ.จ. แต่ละแห่งให้เป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ ๖
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการคนหนึ่ง ทําหน้าที่รองประธาน
ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการสังกัดสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานเสนอเป็นเลขานุการหนึ่งคนและผู้ช่วยเลขานุการหนึ่งคน และแต่งตั้งข้าราชการในจังหวัดนั้นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอเป็นผู้ช่วยเลขานุการหนึ่งคน
ให้เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดสํานักงาน ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดทําวาระการประชุมและงานธุรการอื่นตามที่ประธานมอบหมาย รวมทั้งจัดทําแผนงานการประชุม ก.ธ.จ. เพื่อเสนอให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรียื่นของบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และให้ผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นข้าราชการในจังหวัดมีหน้าที่รับผิดชอบประสานงานกรรมการในจังหวัด เชิญประชุม จัดสถานที่ประชุม และงานธุรการอื่นตามที่ประธานมอบหมาย
ข้อ ๖ จํานวนกรรมการใน ก.ธ.จ. ให้ถือเกณฑ์จํานวนอําเภอของแต่ละจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑) จังหวัดที่มีไม่เกินสิบอําเภอ ให้มีกรรมการจํานวนไม่เกินสิบสี่คน ประกอบด้วยประธาน และผู้แทนภาคประชาสังคมไม่เกินเจ็ดคน ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นสามคน และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนสามคนเป็นกรรมการ
(๒) จังหวัดที่มีตั้งแต่สิบเอ็ดอําเภอแต่ไม่เกินสิบห้าอําเภอ ให้มีกรรมการจํานวนสิบหกคน ประกอบด้วยประธาน และผู้แทนภาคประชาสังคมเก้าคน ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นสามคน และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนสามคนเป็นกรรมการ
(๓) จังหวัดที่มีตั้งแต่สิบหกอําเภอแต่ไม่เกินยี่สิบอําเภอ ให้มีกรรมการจํานวนสิบแปดคน ประกอบด้วยประธาน และผู้แทนภาคประชาสังคมเก้าคน ผู้แทนสมาชิก สภาท้องถิ่นสี่คน และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนสี่คนเป็นกรรมการ
(๔) จังหวัดที่มีตั้งแต่ยี่สิบเอ็ดอําเภอขึ้นไป ให้มีกรรมการจํานวนยี่สิบคน ประกอบด้วยประธาน และผู้แทนภาคประชาสังคมสิบเอ็ดคน ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นสี่คน และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนสี่คนเป็นกรรมการ
ในกรณีที่มีการจัดตั้งอําเภอขึ้นใหม่อันอาจทําให้จํานวนกรรมการที่จะพึงมีของจังหวัดเปลี่ยนไป ให้กรรมการที่อยู่ในตําแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ โดย ไม่ต้องดําเนินการสรรหากรรมการเพิ่มเติม
ในกรณีที่มีการจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่อันอาจทําให้จํานวนกรรมการที่จะพึงมีของจังหวัดเดิมเปลี่ยนไป ให้กรรมการของจังหวัดเดิมที่มาจากอําเภอที่เหลืออยู่คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระโดยไม่ต้องดําเนินการสรรหากรรมการเพิ่มเติม
กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นตาม (๑) และ (๒) ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน ผู้แทนสมาชิกสภาเทศบาลหนึ่งคน และผู้แทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคน
กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นตาม (๓) และ (๔) ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน ผู้แทนสมาชิกสภาเทศบาลหนึ่งคน และผู้แทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลสองคน
ข้อ ๗ ให้นายอําเภอดําเนินการสรรหากรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมของอําเภอ โดยประกาศกําหนดการรับสมัครผู้เข้ารับการสรรหา ปิดไว้ ณ ที่ว่าการอําเภอ ที่ทําการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่ทําการผู้ใหญ่บ้าน
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีกําหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) วันรับสมัคร
(๒) สถานที่รับสมัคร
(๓) จํานวนผู้แทนภาคประชาสังคมของอําเภอนั้น
(๔) เอกสารหรือหลักฐานการสมัคร
(๕) วันประชุมเพื่อเลือกกันเองของผู้สมัคร
ข้อ ๘ กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นสมาชิกของกลุ่มประชาสังคมที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ส่งเสริม หรืออนุรักษ์ ฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครเข้ารับการสรรหา หรือเป็นบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับจากประชาชนในชุมชนนั้นว่าเป็นผู้มีความรู้และความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนา ส่งเสริม หรืออนุรักษ์ฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม
(๒) มีสัญชาติไทย
(๓) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันสมัครเข้ารับการสรรหา
(๔) มีภูมิลําเนาหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรในเขตอําเภอมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครเข้ารับการสรรหา
(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๗) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี หรือเป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้ทําโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ
(๘) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษา พรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๙) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่หน่วยงานของรัฐในจังหวัดนั้นเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทําให้แก่หน่วยงานของรัฐในจังหวัดนั้น หรือที่หน่วยงานของรัฐในจังหวัดนั้นจะกระทํา
ข้อ ๙ เมื่อครบกําหนดเวลารับสมัครตามข้อ ๗ แล้ว ให้นายอําเภอจัดประชุมผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเพื่อเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนภาคประชาสังคมของอําเภอจํานวนหนึ่งคน และแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
ข้อ ๑๐ ให้นายอําเภอดําเนินการสรรหากรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นของอําเภอนั้น โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) ให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเขตอําเภอใดเป็นผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของอําเภอนั้น เว้นแต่อําเภอที่มีสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้นายอําเภอจัดประชุมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตอําเภอเพื่อเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน และแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
(๒) แจ้งให้ประธานสภาท้องถิ่นแต่ละแห่งในเขตอําเภอ ยกเว้นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดประชุมสมาชิกสภาท้องถิ่นเพื่อเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนแห่งละหนึ่งคน
(๓) จัดประชุมผู้ที่ได้รับเลือกตาม (๒) เพื่อเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนประเภทสมาชิกสภาเทศบาลหนึ่งคน และผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคน และแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
ข้อ ๑๑ กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องดํารงตําแหน่งสมาชิก สภาท้องถิ่นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
ข้อ ๑๒ การประชุมเพื่อเลือกกันเองตามข้อ ๙ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งลงคะแนนเลือกผู้เข้าร่วมประชุมจํานวนสองชื่อ ให้ผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้แทนภาคประชาสังคมของอําเภอนั้น ในกรณีที่มีผู้ที่ได้รับคะแนนมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้นายอําเภอจัดให้ผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้ผู้แทนภาคประชาสังคมของอําเภอนั้นหนึ่งคน
การประชุมเพื่อเลือกกันเองตามข้อ ๑๐ (๑) และ (๓) ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ในประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประเภทสมาชิกสภาเทศบาล และประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลแต่ละประเภทลงคะแนนเลือกผู้เข้าร่วมประชุมในประเภทเดียวกันจํานวนสองชื่อ ให้ผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดในแต่ละประเภทเป็นผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนประเภทสมาชิกสภาเทศบาล และผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลของอําเภอนั้น ในกรณีที่มีผู้ที่ได้รับคะแนนมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้นายอําเภอจัดให้ผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้ผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนประเภทสมาชิกสภาเทศบาลและผู้แทนสมาชิกประเภทสภาองค์การบริหารส่วนตําบลของอําเภอนั้นประเภทละหนึ่งคน
ข้อ ๑๓ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดประชุมผู้แทนภาคประชาสังคมตามข้อ ๙ ของทุกอําเภอ เพื่อเลือกกันเองให้ได้กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมตามจํานวนในข้อ ๖ สําหรับจังหวัดที่มีไม่เกินเจ็ดอําเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ต้องจัดประชุมผู้แทนภาคประชาสังคมนั้น และให้ผู้แทนภาคประชาสังคมทั้งหมดเป็นกรรมการ การประชุมเพื่อเลือกกันเอง ให้ผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งลงคะแนนเลือกผู้เข้าร่วมประชุมจํานวนสองชื่อ ให้ผู้ได้คะแนนมากที่สุดเรียงตามลําดับลงมาเป็นกรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมของจังหวัดนั้นตามจํานวนในข้อ ๖ ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากันอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลําดับได้ ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้ผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมของจังหวัดนั้นตามจํานวนในข้อ ๖
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดประชุมผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นตามข้อ ๑๐ (๑) และ (๓) แต่ละประเภทของทุกอําเภอ เพื่อให้ผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ผู้แทนประเภทสมาชิกสภาเทศบาล และผู้แทนประเภทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล แต่ละประเภทเลือกกันเองให้ได้กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นตามจํานวนในข้อ ๖ การประชุมเพื่อเลือกกันเอง ให้ผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งลงคะแนนเลือกผู้เข้าร่วมประชุมจํานวนสองชื่อ ให้ผู้ได้คะแนนมากที่สุดเรียงตามลําดับลงมาเป็นกรรมการตามจํานวนกรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นของจังหวัดนั้น ในกรณีที่ประเภทใดมีผู้ได้คะแนนเท่ากันอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลําดับได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้ผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันในประเภทนั้นจับสลากเพื่อให้ได้กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นของจังหวัดนั้นตามจํานวนในข้อ ๖
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ได้คะแนนในลําดับถัดจากผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ เป็นบัญชีรายชื่อสํารอง ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากัน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้ผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันจับสลากเพื่อเรียงลําดับจัดทําเป็นบัญชีรายชื่อสํารอง
บัญชีรายชื่อสํารองให้เป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสรรหาใหม่ตามวาระ
ข้อ ๑๔ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดําเนินการสรรหากรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน โดยแจ้งให้ประธานหอการค้าจังหวัดและประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดที่มีใน เขตจังหวัดจัดประชุมสมาชิกเพื่อเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนหอการค้าจังหวัดห้าคน และผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดห้าคน และแจ้งรายชื่อผู้แทนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในกรณีที่มีสมาคมการค้าในเขตจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้สมาคมการค้าทราบ และให้นายกสมาคมการค้าที่ประสงค์จะส่งผู้แทนเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน จัดประชุมสมาชิกเพื่อเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนสมาคมการค้าแห่งละสามคน และแจ้งรายชื่อผู้แทนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศ พร้อมทั้งสําเนาเอกสารหรือหลักฐานการจดทะเบียนสมาคมการค้านั้น
การแจ้งรายชื่อผู้แทนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หรือนายกสมาคมการค้า แล้วแต่กรณี รับรองคุณสมบัติของผู้แทนที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๑๕
ข้อ ๑๕ กรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นสมาชิกหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หรือสมาคมการค้ามาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันแจ้งรายชื่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด
(๒) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๘ (๒) ถึง (๙)
ข้อ ๑๖ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดประชุมผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทน สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้แทนสมาคมการค้าตามข้อ ๑๔ ร่วมกัน เพื่อให้ผู้แทน ภาคธุรกิจเอกชนที่เข้าร่วมประชุมทุกคนลงคะแนนเลือกกันเองให้ได้กรรมการผู้แทน ภาคธุรกิจเอกชนตามจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อ ๖
กรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนอย่างน้อยต้องมีผู้แทนหอการค้าจังหวัดหนึ่งคน ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหนึ่งคน และผู้แทนสมาคมการค้าหนึ่งคน ถ้าจังหวัดใดมีกรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนได้สี่คน ให้ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนที่เข้าประชุมลงคะแนนเลือกกันเองเพิ่มขึ้นให้ได้กรรมการตามจํานวนที่จะพึงมีของจังหวัดนั้น
ในกรณีที่จังหวัดใดไม่มีสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หรือไม่มีสมาคมการค้า หรือมีสมาคมการค้าแต่ไม่ประสงค์จะส่งผู้แทนเข้ารับการคัดเลือก ให้ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนที่ เข้าร่วมประชุมลงคะแนนเลือกกันเองให้ได้กรรมการตามจํานวนที่จะพึงมีของจังหวัดนั้น
การลงคะแนนตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และการจัดทําบัญชีรายชื่อสํารอง ให้นําความในข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ดําเนินการสรรหาตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๖ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งรายชื่อไปยังปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อลงนามรับรองรายชื่อกรรมการเป็นรายจังหวัด
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดปิดประกาศรายชื่อกรรมการที่ได้รับ การรับรองตามวรรคหนึ่งให้ประชาชนทราบ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอําเภอ ที่ทําการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่ทําการผู้ใหญ่บ้าน
ข้อ ๑๘ กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคม กรรมการผู้แทนสมาชิก สภาท้องถิ่น และกรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีลงนามรับรองรายชื่อกรรมการเป็นรายจังหวัด กรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับการสรรหาอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกัน เกินสองวาระไม่ได้
เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังไม่มีการสรรหากรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับการสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
ข้อ ๑๙ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคม กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น และกรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธาน และให้ถือว่าพ้นจากตําแหน่งนับแต่วันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๘ ข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๕ แล้วแต่กรณี
(๔) ก.ธ.จ. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้พ้นจากตําแหน่งเพราะมีความประพฤติในทางที่จะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียต่อ ก.ธ.จ. บกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่กรรมการตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๖ พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้บุคคลในบัญชีรายชื่อสํารองตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๖ แล้วแต่กรณี เป็นกรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างตามลําดับ และให้ผู้เป็นกรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ต้องดําเนินการสรรหากรรมการที่พ้นจากตําแหน่งตามวาระตามข้อ ๑๘ หรือการสรรหากรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างตามข้อ ๒๐ ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดําเนินการสรรหากรรมการใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ให้นายอําเภอ ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และสมาคมการค้าดําเนินการสรรหากรรมการผู้แทนภาคประชาสังคม กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือกรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ก.ธ.จ. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สอดส่องการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๒) แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ในกรณีที่พบว่า มีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือมีกรณีทุจริต
(๓) เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติและการส่งเสริมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานของรัฐในจังหวัด
(๔) ติดตามการปฏิบัติตามมติ ก.ธ.จ.
(๕) แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านวิชาการ การประชาสัมพันธ์ หรือด้านอื่น จํานวน ไม่เกินสามคน
(๖) เผยแพร่ผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อสาธารณะตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๓ ในการดําเนินการตามข้อ ๒๒ (๑) ให้ ก.ธ.จ. สอดส่องหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม ตลอดจนไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
(๒) ปฏิบัติภารกิจเพื่ออํานวยความสะดวก ให้บริการ และสนองความต้องการของประชาชน
(๓) ปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
(๔) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า
(๕) ปฏิบัติภารกิจโดยไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น ให้ทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นความเดือดร้อนและทุกข์ยากของประชาชน
(๖) ปฏิบัติภารกิจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
(๗) ปฏิบัติภารกิจโดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน สมํ่าเสมอ และเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ข้อ ๒๔ เมื่อมีการประกาศรายชื่อกรรมการตามข้อ ๑๗ แล้ว ให้ประธาน จัดให้มีการประชุมครั้งแรกภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศ
ให้มีการประชุม ก.ธ.จ. ตามที่ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีประกาศกําหนด
ในกรณีที่กรรมการเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดร้องขอให้เปิดประชุม ก.ธ.จ. ให้ประธานเรียกประชุม ก.ธ.จ. ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคําร้องขอ
ข้อ ๒๕ การประชุมของ ก.ธ.จ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน ทําหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงคะแนนตามวรรคสาม จะกระทําโดยเปิดเผยหรือโดยวิธีลับ ก็ได้แล้วแต่มติของที่ประชุม
ข้อ ๒๖ ให้ ก.ธ.จ. มีอํานาจออกหนังสือแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ปรึกษาตามข้อ ๒๒ (๕) และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม หรือจัดส่งเอกสารหรือข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจําเป็น
ข้อ ๒๗ ในการประชุม ก.ธ.จ. ถ้ากรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา เมื่อกรรมการผู้นั้นได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและตอบข้อซักถามแล้วต้องออกจากที่ประชุมและ ไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องนั้น ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่า ก.ธ.จ. ประกอบด้วยกรรมการทุกคน ที่ไม่ถูกคัดค้าน
ให้ประธานเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่ากรรมการผู้ใดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาหรือไม่
ข้อ ๒๘ กรณีที่ ก.ธ.จ. มีมติว่ามีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับ หรือมีกรณีทุจริต ให้ประธานแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี รายงานผลการดําเนินการให้ประธานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หากผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี มิได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ให้ประธานแจ้งมติ ก.ธ.จ. ตามวรรคหนึ่งให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อรายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดดําเนินการต่อไป
หมวด ๒ เบ็ดเตล็ด
--------------------------------
ข้อ ๒๙ ค่าใช้จ่ายสําหรับ ก.ธ.จ. ที่ปรึกษาของ ก.ธ.จ. รวมทั้งค่าใช้จ่าย ที่จําเป็นอย่างอื่นให้เบิกจ่ายจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง
ข้อ ๓๐ ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ประสานงาน ให้ข้อมูลข่าวสาร และกําหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสรรหากรรมการ การรายงาน และการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ธ.จ. ตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัย
ข้อ ๓๑ ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีจัดทํารายงานผลการปฏิบัติงานประจําปีของ ก.ธ.จ. ในภาพรวมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนธันวาคมของทุกปี แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ข้อ ๓๒ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดทํา ทะเบียนกรรมการส่งให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีทุกครั้งที่มีการสรรหาหรือเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๓๓ ให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดําเนินงานของ ก.ธ.จ.
ข้อ ๓๔ ในวาระเริ่มแรก ให้ดําเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมกรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น และกรรมการผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
อื่นๆ - **ระเบียบคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔**
ข้อ ๑๐ ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๒ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะครบวาระ
กรณีกรรมการผู้แทนสมาชิกท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระและไม่สามารถสรรหากรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างได้ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ตามข้อ ๕ แห่งระเบียบนี้ ให้สรรหาจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลที่ยังไม่มีผู้แทนเป็นกรรมการ ให้ได้สัดส่วนใกล้เคียงกับที่กําหนดไว้ตามข้อ ๕ แห่งระเบียบนี้
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ยังไม่มีบัญชีรายชื่อสํารองตามระเบียบนี้ หากกรรมการพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้ ก.ธ.จ. ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีกรรมการที่ได้รับการสรรหาใหม่ และให้ดําเนินการสรรหากรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน และให้ผู้ได้รับการสรรหาแทนตําแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่ระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่ถึงสองร้อยสี่สิบวัน จะไม่สรรหากรรมการแทนก็ได้ | 2,207 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 332/2564 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป. 332/2564
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เลขที่ 295 ซอยนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,208 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.