title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 193/2555 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 193/2555
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,612 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 192/2554 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 192/2554
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองระนอง ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะพยาม หมู่ที่ 1 ตําบลเกาะพยาม อําเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองระนอง สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ระนอง ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,613 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 191/2554 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 191/2554
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริการการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะวันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554 และวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,614 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 190/2554 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 190/2554
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึงวันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,615 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 189/2554 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป. 189/2554
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครสถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตาม 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554 และวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ )
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,616 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 188/2554 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 188/2554
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร B ชั้น 6 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,617 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 187/2554 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 187/2554
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้ามาบุญครอง ชั้น 5 (โซนร้านค้าขายเฟอร์นิเจอร์) ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงการคลัง อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) (สํานักงานใหญ่) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร
(6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(7) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ ศาลภาษีอากรกลาง ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(8) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาลืออํานาจ (หน่วยจัดเก็บย่อยพนา) ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานเทศบาลตําบลพนา เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ตําบลพระเหลา อําเภอพนา จังหวัดอํานาจเจริญ
(9) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยน ชั้น 2 เลขที่ 89/201 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตําบลคลัง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
(10) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะเต่า หมู่ที่ 2 ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(11) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาระนอง ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะพยาม หมู่ที่ 1 ตําบลเกาะพยาม อําเภอเมือง จังหวัดระนอง
(12) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสตูล ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอส่วนหน้าเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมือง จังหวัดสตูล
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (2)
(3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (3)
(4) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (4)
(5) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (5)
(6) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (6)
(7) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (7)
(8) สรรพากรพื้นที่อํานาจเจริญ สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (8)
(9) สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (9)
(10) สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (10)
(11) สรรพากรพื้นที่ระนอง สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (11)
(12) สรรพากรพื้นที่สตูล สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1 (12)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (1) ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (2) ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 เฉพาะวันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (3) ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2554
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (4) ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (5) เฉพาะวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554
(6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (6) เฉพาะวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2554
(7) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (7) เฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2554
(8) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (8) ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554
(9) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (9) ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 ไม่เว้นวันหยุดราชการ
(10) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (10) ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554
(11) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (11) ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554
(12) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1 (12) ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,618 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 186/2554 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 186/2554
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,619 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 185/2553 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 185/2553
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สํานักงานสาขาของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อําเภอเกาะสมุย อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ดังต่อไปนี้เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณีตามประมวลรัษฎากร สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรที่มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่ อําเภอเกาะสมุย อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และถ้ามีภาษีต้องเสียหรือนําส่ง ให้ชําระทั้งหมดเป็นเงินสดในคราวเดียวกันด้วย
(1) สาขาเกาะสมุย
(2) สาขาบิ๊กซีเกาะสมุย
(3) สาขาแม่น้ํา
(4) สาขาละไม
(5) สาขาเฉวง
(6) สาขาเกาะพะงัน
(7) สาขาหาดริ้น
(8) สาขาเกาะลันตา
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,620 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 184/2553 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 184/2553
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง“เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ เฉพาะวันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553 และวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,621 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 183/2553 เรื่อง มอบอำนาจการออกใบผ่านภาษีอากรให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 183/2553
เรื่อง มอบอํานาจการออกใบผ่านภาษีอากรให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทย
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 114/2545 เรื่อง มอบอํานาจการออกใบผ่านภาษีอากรให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทย ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการในการออกใบผ่านภาษีอากร และอํานวยความสะดวกให้คนต่างด้าวซึ่งจะเดินทางออกจากประเทศไทย ในการยื่นคําร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรตามมาตรา 4 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าคนต่างด้าวที่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากรดังต่อไปนี้อยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และให้ยื่นคําร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือส่วนบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) หรือหน่วยตรวจสอบสินค้าและจ่ายคืนภาษีให้นักท่องเที่ยว (ท่าอากาศยานนานาชาติ) หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แล้วแต่กรณี
(1) คนต่างด้าวผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีที่ค้างชําระหรือที่ต้องชําระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินอยู่ก่อนหรือในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(2) คนต่างด้าวผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้แทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย
(3) คนต่างด้าวที่มีเงินได้พึงประเมินจากการเป็นนักแสดงสาธารณะในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ
คําว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ
(4) คนต่างด้าวที่มีเงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชร หรือไข่มุก หรือที่ทําขึ้นใหม่
กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าแบบแสดงรายการนําเข้า-ส่งออกอัญมณีตามที่กรมศุลกากรกําหนด เป็นคําร้องขอรับใบผ่านภาษีอากร
ข้อ ๓ มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ออกใบผ่านภาษีอากรตามมาตรา 4 ฉ มาตรา 4 สัตต และมาตรา 4 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร ให้คนต่างด้าวที่ยื่นคําร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรตาม (1) (2) และ (3) ของข้อ 2
ข้อ ๔ มอบอํานาจให้บุคคลดังต่อไปนี้ ออกใบผ่านภาษีอากรตามมาตรา 4 ฉ มาตรา 4 สัตต และมาตรา 4 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร ให้คนต่างด้าวที่ยื่นคําร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรตาม (4) ของข้อ 2
(1) หัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว
(2) สรรพากรพื้นที่สาขาสําหรับสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่มีด่านศุลกากรตั้งอยู่ในเขตท้องที่ แต่ไม่มีหน่วยบริการของกลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวในเขตท้องที่
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,622 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 182/2553 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 182/2553
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายอัญมณีดังกล่าว มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ส่วนบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ณ ท่าอากาศยาน ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินจากการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และต้องนําเงินได้พึงประเมินจากการขายอัญมณีดังกล่าว มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(2) ท่าอากาศยานเชียงใหม่
(3) ท่าอากาศยานภูเก็ต
(4) ท่าอากาศยานกระบี่
(5) ท่าอากาศยานสมุย
(6) ท่าอากาศยานหาดใหญ่
(7) ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
ข้อ ๒ ให้หัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีให้แก่นักท่องเที่ยว กรมสรรพากร ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,623 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 181/2553 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 181/2553
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 273 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 12/5 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/5 ให้บุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ให้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ สําหรับการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุกและสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าไปเพื่อการบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนําไปขายต่อ
ทั้งนี้ สําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน เฉพาะที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/6 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“ข้อ 12/6 การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจํานวนตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจํานวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,624 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 180/2553 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 180/2553
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานอํานวยการตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2) ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนาเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยน ถนนพัฒนาการคูขวาง ตําบลคลัง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 25 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตาม 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) เฉพาะวันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553และวันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,625 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 179/2553 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 179/2553
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,626 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 178/2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 178/2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ชั้น 5 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงการคลัง อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร B ชั้น 6 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
(3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(3)
(4) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(4)
(5) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(5)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตาม 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) เฉพาะวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) เฉพาะวันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 และวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(4) เฉพาะวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และวันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(5) เฉพาะวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 (ยกเว้นวันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553)
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช )
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,627 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 146/2548 เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาตการอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 146/2548
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาตการอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน 1.1 ของข้อ 1 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“1.1 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองเทียบเท่าไม่ต่ํากว่าปริญญาดังกล่าว”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้ว ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเข้ารับการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่น้อยกว่าเก้าชั่วโมงต่อปีจากองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน 5.1.1 และ 5.1.2 ของ 5.1 ของข้อ 5 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“5.1.1 ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในสามเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด โดยให้แนบสําเนาหรือภาพถ่ายใบประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองผ่านการอบรมที่ได้รับการอบรมระหว่างที่เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามที่กําหนดในข้อ 4
5.1.2 กรณีที่ไม่สามารถยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรภายในเวลาที่กําหนดใน 5.1.1 ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนระยะเวลาดังกล่าวได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว แต่ทั้งนี้ ต้องขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเวลาไม่เกินหกเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้นั้นหมดสภาพการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร และหากประสงค์จะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่อไปจะต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุดและเข้ารับการอบรมอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องชําระค่าธรรมเนียมการทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การอบรมจากกรมสรรพากร การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การขอแก้ไขทะเบียน รวมทั้งค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ตามที่อธิบดีกําหนด”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 8 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด”
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,628 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 145/2548 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 145/2548
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาคลองหลวง 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารวัชมน (ตลาดไท) เลขที่ 32/399 หมู่ 9 ถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
(3) สรรพากรพื้นที่ปทุมธานี 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(3)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) เฉพาะวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 และวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2548
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 เว้นวันหยุดราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,629 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 144/2548 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 144/2548
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,630 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 143/2547 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 143/2547
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-----------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรภาคเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 มอบอํานาจให้นักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาค สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2(2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี 9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,631 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 142/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 142/2547
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
----------------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ออกตามความในมาตรา 27 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 มาตรา 89 วรรคสอง และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.131/2546 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) สรรพากรภาค และนักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาค สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี 9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.131/2546 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) สรรพากรภาค และนักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาค สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น ไม่เกิน 300,000.- บาท
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี 9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,632 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 141/2547 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 141/2547
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2547 วันเสาร์ที่ 18 กันยายนพ.ศ. 2547 และวันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,633 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 140/2547
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี
--------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดเบี้ยปรับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และข้อ 2(4) ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับ การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มอบหมายให้สรรพากรพื้นที่ สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น สั่งงด เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่จํากัดจํานวนเบี้ยปรับ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับได้กระทําความผิด ดังนี้
(1) ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) โดยเข้าใจว่าได้จดทะเบียนแล้ว
(2) ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เข้าใจว่าต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะและได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) ไปแล้ว
(3) กรอกแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยนํายอดขายหรือยอดซื้อของสถานประกอบการสาขามารวมคํานวณกับสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ โดยยังไม่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีรวมกัน
(4) ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมที่สํานักงานใหญ่แล้วแต่ยังกรอกแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แยกยื่นเป็นรายสถานประกอบการ
(5) นําภาษีซื้อมาใช้หักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนเดือนที่ระบุใน ใบกํากับภาษีในกรณี
(ก) นําภาษีซื้อตามใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรส่วนที่เป็นภาษี มูลค่าเพิ่มมาใช้หักจากภาษีขายในเดือนที่มีการนําเข้า ไม่ตรงตามเดือนภาษีที่ความรับผิดเกิดขึ้น
(ข) นําภาษีซื้อตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรส่วนที่เป็นภาษี มูลค่าเพิ่ม ในการชําระภาษีตามแบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) มาใช้หักจากภาษีขายในเดือนที่มีการส่งเงินไป ต่างประเทศ
ข้อ ๒ มอบหมายให้ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีกลาง สําหรับเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกําหนด และสรรพากรภาค สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น สั่งงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับคําร้องที่มีจํานวนเบี้ยปรับเต็มอัตราตามกฎหมายไม่เกิน 5,000,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับได้กระทําความผิด ดังนี้
(1) ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากเข้าใจว่าเป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา
“(2) ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่ทราบว่าเมื่อรายรับต่อปีเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.149/2549 ใช้บังคับ 1 เมษายน 2548 เป็นต้นไป)
(3) นําภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อใช้หรือจะ ใช้ในกิจการหลักประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาได้ขายหรือให้เช่าหรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในสามปีนับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
(4) การกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ในกรณี
(ก) มิได้เฉลี่ยภาษีซื้อหรือเฉลี่ยภาษีซื้อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535
(ข) นําภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือนําภาษีที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ค) นําภาษีซื้อตามมาตรา 82/5(2) ถึง (4) แห่งประมวลรัษฎากร มาหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ง) ออกใบเพิ่มหนี้และนําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเพิ่มหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อแทนที่จะนําไปรวมเป็นภาษีขาย ทําให้ภาษีขายแจ้งขาด
(จ) ได้รับใบลดหนี้และนําภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบลดหนี้ไปรวมเป็นภาษีขาย แทนที่จะนําไปหักออกจากภาษีซื้อ ทําให้ภาษีซื้อแจ้งเกิน
ข้อ ๓ การพิจารณาคําร้องของดเบี้ยปรับตามข้อ 2 ให้กระทําโดยคณะกรรมการพิจารณาการงดเบี้ยปรับแล้วเสนอมติต่อผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาสั่งการ
ข้อ ๔ คณะกรรมการพิจารณาการงดเบี้ยปรับ สําหรับสํานักตรวจสอบภาษีกลางประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักตรวจสอบภาษีกลาง ในตําแหน่งต่อไปนี้
4.1 นักวิชาการภาษี 9 ชช. (ประธานกรรมการ)
4.2 ผู้อํานวยการส่วนตรวจสอบภาษี (กรรมการ)
4.3 ผู้อํานวยการส่วนสอบยันกลาง (กรรมการ)
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีกลางหรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสํานักตรวจสอบภาษีกลางเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.162/2550 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป )
ข้อ ๕ คณะกรรมการพิจารณาการงดเบี้ยปรับ สําหรับสํานักบริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ในตําแหน่งต่อไปนี้
5.1 นิติกร 9 ชช. (ประธานกรรมการ)
5.2 ผู้อํานวยการส่วนกฎหมาย (กรรมการ)
5.3 ผู้อํานวยการส่วนวางแผนและประเมินผล (กรรมการ)
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.162/2550 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป )
ข้อ ๖ คณะกรรมการพิจารณาการงดเบี้ยปรับ สําหรับสํานักงานสรรพากรภาค ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาคนั้น ในตําแหน่งต่อไปนี้
6.1 นักวิชาการภาษี 9 ชช. ซึ่งกํากับดูแลสายงานกฎหมาย (ประธานกรรมการ)
6.2 ผู้อํานวยการส่วนกฎหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้าง (กรรมการ)
6.3 ผู้อํานวยการส่วนวางแผนและประเมินผล (กรรมการ)
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สรรพากรภาคหรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสํานักงานสรรพากรภาคเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.162/2550 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป )
ข้อ ๗ การสั่งงดเบี้ยปรับตามข้อ 1 สําหรับคําร้องที่เบี้ยปรับเต็มอัตราตามกฎหมาย มีจํานวนเกิน 1,000,000 บาท ให้สํานักงานสรรพากรพื้นที่รายงานผลการพิจารณาให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามแบบที่กําหนดพร้อมแนบภาพถ่ายบันทึกการพิจารณาคําร้องของดเบี้ยปรับ เป็นรายไตรมาสภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของไตรมาสนั้น
ข้อ ๘ การสั่งงดเบี้ยปรับตามข้อ 2 ให้สํานักตรวจสอบภาษีกลาง สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่และสํานักงานสรรพากรภาค แล้วแต่กรณี รายงานผลการพิจารณาให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบทุกราย ตามแบบที่กําหนดพร้อมแนบภาพถ่ายรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการงดเบี้ยปรับ เป็นรายไตรมาสภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของไตรมาสนั้น
ข้อ ๙ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,634 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 139/2547 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 139/2547
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 229 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3/2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544
"ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นการโอนทรัพย์สินที่มิใช่เงินสด เพื่อตอบแทนการได้สิทธิในการดําเนินการตามสัญญาที่กระทํากับรัฐวิสาหกิจก่อนการนําทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ โดยสัญญาดังกล่าวต้องเป็นสัญญาที่กระทําก่อนวันที่คําสั่งกรมสรรพากรนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสัญญาที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังจากวันที่คําสั่งกรมสรรพากรนี้ใช้บังคับในส่วนสาระสําคัญของระยะเวลาการได้สิทธิ หรือ มูลค่าทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบ"
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,635 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 138/2547 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 138/2547
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,636 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 137/2547 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 137/2547
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักรที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,637 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 177/2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 177/2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 (3) ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 112/2545 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ (3) หน่วยงานสรรพากร อาคารกองอํานวยการตลาดโรงเกลือ เลขที่ 350 หมู่ที่ 7 ตําบลป่าไร่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีกรณีการขายสินค้าชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จุดผ่อนปรน โรงเกลือ หมู่ที่ 7 ตําบลป่าไร่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาอรัญประเทศ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,638 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 136/2547 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (ยกเลิกโดย ท.ป | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 136/2547
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (ยกเลิกโดย ท.ป.161/2550)
-----------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเกาะพะงัน
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานีออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร เฉพาะสองวันทําการสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการและชําระเงินภาษีอากรที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่ 7 และวันที่ 15 ของทุกเดือน และเดือนมีนาคม พฤษภาคม สิงหาคม และกันยายน ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,639 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 135/2547 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 135/2547
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา คลองหลวง 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเช้นท์ จํากัด เลขที่ 31 หมู่ที่ 9 ถนนพหลโยธิน กม.42 ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาคลองหลวง 1 สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ปทุมธานี 2 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,640 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 176/2552 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 176/2552
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 6 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 34/2534 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ความในวรรคหนึ่ง ไม่ให้ใช้บังคับกับการจ่ายเงินค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่งที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ให้เช่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ได้รับชําระแล้วไม่ต่ํากว่า 60 ล้านบาท และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล
(3) กําหนดเวลาเช่าต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เว้นแต่ทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่ายึดมาจากผู้เช่ารายอื่น ระยะเวลาในการให้เช่าอาจไม่ถึง 3 ปีก็ได้
คําว่า “การให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง” หมายความว่า สัญญาให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินและนําออกให้เช่าโดยให้คํามั่นว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิเลือกที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือส่งคืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ให้เช่าก็ได้”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,641 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 134/2547 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 134/2547
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่31 มีนาคม พ.ศ. 2547
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,642 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 175/2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป. 175/2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ เฉพาะวันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552 และวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,643 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 133/2546 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 133/2546
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
---------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรพื้นที่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.119/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“(4) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะออกจากทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(3) แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,644 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 132/2546 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 132/2546
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) และ (12) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“(11) การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะย้อนหลังตามมาตรา 91/12 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
(12) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะออกจากทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(3) แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,645 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 131/2546 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 131/2546
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
--------------------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ออกตามความในมาตรา 27 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 มาตรา 89 วรรคสอง และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) สรรพากรภาคและนักวิชาการสรรพากร 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาค สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการสรรพากร 9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) สรรพากรภาคและนักวิชาการสรรพากร 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาค สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น ไม่เกิน 300,000.- บาท
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการสรรพากร 9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,646 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 130/2546 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 130/2546
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
--------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรภาคเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.118/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น ดังต่อไปนี้
(1) การใช้อํานาจตามมาตรา 12 และมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การอนุมัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือเงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่แก้ไขให้ถูกต้องหรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องได้ สําหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“(3) การอนุมัติให้ถือว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุโลม ในกรณีผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ได้นําส่งภาษีโดยมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดสําหรับการหักภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.216/2557 ใช้บังคับ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป)
(4) การอนุมัติขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
(5) การอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคําวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคําพิพากษาของศาล ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากร
(6) การรับจํานอง การรับจํานํา การไถ่ถอนการจํานอง และการคืน ทรัพย์สินที่จํานํากรณีการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากร และให้มีอํานาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปทําการดังกล่าวแทนได้ด้วย
(7) การสั่งคืนสัญญาค้ําประกันที่ใช้ค้ําประกันหนี้ภาษีอากรค้างระหว่างขอทุเลาการเสียภาษีอากรหรือการผ่อนชําระภาษีอากรค้าง เมื่อปรากฏว่าผู้ค้างภาษีอากรได้ชําระภาษีอากรค้างครบถ้วนแล้ว หรือได้มีคําวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคําพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ปลดหนี้ภาษีอากรค้าง รวมถึงการแจ้งหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ําประกันไปยังผู้ค้ําประกันด้วย
“(8) การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการได้ประกอบกิจการโดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังต่อไปนี้ ก่อนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
(ก) ผู้ประกอบการประกอบกิจการโดยสําคัญผิดว่าได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
(ข) ผู้ประกอบการออกใบกํากับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ในการขายสินค้า หรือการให้บริการทุกครั้ง และจัดทําในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(ค) ผู้ประกอบการจัดทํารายงานภาษีซื้อ และรายงานภาษีขาย
(ง) ผู้ประกอบการได้ยื่นแบบแสดงรายการ และชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน กําหนดเวลาตามกฎหมาย ซึ่งคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยวิธีภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้ประกอบการได้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อพ้นกําหนดเวลาตามกฎหมายโดยตนเอง ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน
(จ) ในขณะที่มีการยื่นคําร้องขออนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการยังประกอบกิจการอยู่จนถึงในปัจจุบัน และ
(ฉ) ผู้ประกอบการขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคําขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้มีสิทธิออกใบกํากับภาษีและนําส่งภาษีขายให้ถูกต้อง มิได้มีเจตนา ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด ทั้งนี้ โดยพิจารณาในปีนั้นว่ามีภาษีขายที่ต้องชําระมากกว่าภาษีซื้อ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.233/2557 ใช้บังคับ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป)
“(9) การพิจารณาคําอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง กรณีสรรพากรพื้นที่ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง และกรณีข้าราชการระดับ 8 ระดับ 7 และระดับ 6 ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่ได้ใช้อํานาจตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2539 และกรณีผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายให้ใช้อํานาจตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.164/2550 ใช้บังคับ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป)
“(10) การอนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการและเสียภาษีของสามีและภริยา ตามมาตรา 57 ฉ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีสามีหรือภริยาได้ยื่นคําขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการนั้น โดยยังไม่มีการออกหมายเรียกหรือออกหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานประเมิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 246/2558 ใช้บังคับ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)
“(11) การรับแจ้งเพื่อใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(12) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(13) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สินที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(14) การอนุมัติให้ใช้อัตราอื่นเฉพาะส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้คํานวณไว้ ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 326/2563 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
“(15) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 334/2564 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ มอบอํานาจให้นักวิชาการสรรพากร 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9)ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.164/2550 ใช้บังคับ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป)
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,647 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 174/2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 174/2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 และวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552
มาลีรัตน์ เลิศสุวรรณกุล
(นางสาวมาลีรัตน์ เลิศสุวรรณกุล)
ผู้อํานวยการสํานักสืบสวนและคดี
รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร | 2,648 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 129/2546 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 129/2546
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ หรือเขต สําหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอ หรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2546 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2546
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,649 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 128/2546 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 128/2546
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.112/2545 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2545
"กรณีสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตามข้อ 2(1) มีจํานวนข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ไม่เหมาะสมที่จะแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร สรรพากรพื้นที่สาขาอาจแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 1 ขึ้นไป เป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากรก็ได้"
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,650 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 173 /2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 173 /2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงการคลัง อาคารกระทรวงการคลัง ชั้น 1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาพญาไท สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2552 ถึงวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552 และวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2552 ถึงวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,651 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 127/2546 เรื่อง มอบหมายให้สั่งงดเบี้ยปรับภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร บางกรณี | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 127/2546
เรื่อง มอบหมายให้สั่งงดเบี้ยปรับภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร บางกรณี
---------------------------------------------------------
เพื่อเป็นการบรรเทาภาระเบี้ยปรับภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร บางกรณี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2 ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มอบหมายให้สรรพากรพื้นที่ สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้นมีอํานาจสั่งงดเบี้ยปรับภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยไม่ต้องมีคําร้องขอบุคคลที่ต้องเสียเบี้ยปรับ และไม่จํากัดจํานวนเบี้ยปรับ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีบุคคลธรรมดาขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร ตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 หรือมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2542
การสั่งงดเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง ให้สั่งได้ก่อนเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,652 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 172 /2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 172 /2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552 และวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552
อัษฎางค์ ศรีศุภรพันธ์
(นายอัษฎางค์ ศรีศุภรพันธ์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,653 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 126/2546 เรื่อง มอบอำนาจให้ออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูล บัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 126/2546
เรื่อง มอบอํานาจให้ออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูล บัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร
--------------------------------------------------------
เพื่อให้การออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545มาตรา 2 และมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มอบอํานาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรออกหมายเรียก เอกสาร หรือหลักฐาน เกี่ยวกับข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากรแทนอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,654 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 171/2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 171/2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจาก สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานอํานวยการตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2) ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเวียงชัย ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอําเภอเวียงเชียงรุ้ง เลขที่ 9 หมู่ที่ 15 ตําบลทุ่งก่อ อําเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
(6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยน ถนนพัฒนาการคูขวาง ตําบลคลัง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
(3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(3)
(4) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 25 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(4)
(5) สรรพากรพื้นที่เชียงราย สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(5)
(6) สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(6)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตาม 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) เฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552 และวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) เฉพาะวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(4) เฉพาะวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552 วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552 วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552 และวันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552
(5) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(5) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552 วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 และวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552
(6) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(6) ตั้งแต่วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552 วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552 และวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,655 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 125/2546 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 125/2546
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จํากัด (มหาชน) สาขาปิ่นเกล้า เลขที่ 7/222 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่งนอกจากที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 16 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,656 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 170/2552 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 170/2552
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
--------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรพื้นที่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 119/2545 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการ แทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ดังต่อไปนี้
(1) การสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร
(2) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การรับจํานอง การรับจํานํา การไถ่ถอนการจํานอง และการคืนทรัพย์สินที่จํานํา กรณีการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากร และให้มีอํานาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปทําการดังกล่าวแทนได้ด้วย
(4) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะออกจากทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(3) แห่งประมวลรัษฎากร
(5) การอนุมัติให้ถือว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุโลม ในกรณีผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ได้นําส่งภาษีโดยมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด สําหรับการหักภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,657 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 124/2546 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 124/2546
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร
--------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวันที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เลขที่ 444 อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่งนอกจากที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2546
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,658 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 123/2545 เรื่อง กำหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 123/2545
เรื่อง กําหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการ ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดจรรยาบรรณของ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.99/2544 เรื่อง กําหนดมรรยาท การปฏิบัติงาน การรายงาน และบทลงโทษสําหรับผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
2.1 ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
2.1.1 ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ
2.1.2 ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นกลางโดยมีผลประโยชน์หรือตําแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น หรือโดยมีเหตุอื่นที่อาจจะก่อให้เกิดความลําเอียงและส่งผลให้มีการละเว้นการเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง
2.1.3 ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีด้วยความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต
2.1.4 ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสําคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือชื่อรับรองไว้ในรายงาน ซึ่งอาจทําให้เกิดการหลงผิดและอาจเสียหายแก่ กิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีนั้น หรือแก่กรมสรรพากร หรือแก่บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.5 ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย ออก หรือใช้ใบกํากับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.1.6 ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงบัญชีหรือการทําเอกสารประกอบการลงบัญชี ซึ่งเป็นเหตุให้กิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีนั้นมิต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงกว่าที่ควรเสีย
2.1.7 ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของกิจการใด ซึ่งมีเหตุผลเชื่อได้ว่ามีข้อมูลที่ผิดหรือบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงและมีการละเว้นหรือปิดบังข้อมูลที่จําเป็นต้องยื่นต่อกรมสรรพากร
2.1.8 ไม่รับรองบัญชีที่ตนเป็นผู้จัดทําขึ้นเอง หรือช่วยเหลือ หรือเป็น ผู้จัดทําบัญชีชุดอื่นขึ้น เพื่อเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร
2.2 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
2.2.1 ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถของวิชาชีพ
2.2.2 ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้ และไม่ทําการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่า 300 รายต่อปี
2.2.3 ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานของกิจการที่ตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบหรือควบคุมการปฏิบัติงานตรวจสอบ
2.2.4 สอดส่องใช้ความรู้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไป
2.2.5 ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างว่าตนเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีใน กิจการใดโดยตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี
2.3 จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี
2.3.1 ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนําออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ทราบโดยวิธีใดสําหรับกิจการที่ตนได้รู้มาในหน้าที่จากการตรวจสอบและรับรองบัญชีอันเป็นเหตุให้กิจการนั้นได้รับความเสียหาย เว้นแต่การกระทํานั้นเป็นการกระทําตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย
2.3.2 ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุอันสมควร
2.4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพ
2.4.1 ไม่แย่งงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น
2.4.2 ไม่ทําการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น
2.5 จรรยาบรรณทั่วไป
2.5.1 ไม่กระทําการใด ๆ อันอาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายอื่น
2.5.2 ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใด ๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพอันแสดงให้เห็นว่าจะช่วยเหลือให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง
2.5.3 ไม่ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เพื่อเป็นการ จูงใจให้บุคคลอื่นแนะนําหรือจัดหางานตรวจสอบและรับรองบัญชีมาให้ตนทํา
2.5.4 ไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลใดในเมื่อบุคคลนั้นได้รับงานเพราะการแนะนําหรือการจัดหางานของตน
2.5.5 ไม่กําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนโดยถือเอาอัตราสูงต่ําตามยอดเงินหรือของมูลค่าทรัพย์สินใดที่ตนตรวจสอบและรับรองบัญชี หรือมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเป็นเกณฑ์
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,659 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 169/2552 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 169/2552
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,660 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 122/2545 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 122/2545
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไป
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” หมายความว่า ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตามกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
“ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” ให้หมายความรวมถึง ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒ การปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
2.1 มาตรฐานการปฏิบัติงาน
2.1.1 ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องจัดทําแนวทางการสอบบัญชีสําหรับงานที่รับตรวจสอบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยให้จัดเก็บแนวทางการสอบบัญชีดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน
2.1.2 ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องจัดทํากระดาษทําการ เพื่อบันทึกการตรวจสอบและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2.1.3 การปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเน้นการทดสอบความถูกต้องของงบการเงินและบัญชีว่าถูกต้องเป็นจริงตามควรตรงตามเอกสารประกอบการลงบัญชี และบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ ซึ่งงบการเงินต้องแสดงข้อมูลและรายการตรงตามสมุดบัญชี รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทางด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยเลือกใช้วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกรณี
2.1.4 ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องทําการตรวจสอบการปรับปรุงกําไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิทางบัญชี เป็นกําไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร รวมถึงการตรวจสอบการจัดทําบัญชีพิเศษของกิจการที่กําหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร
2.1.5 ในกรณีที่พบว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีพฤติการณ์ในการทําเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบันทึกบัญชี โดยที่เห็นว่าน่าจะไม่ตรงกับความเป็นจริงอันอาจเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมิต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงกว่าที่ควรเสีย ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญของบัญชี และแจ้งพฤติการณ์ไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่ตนจะต้องลงลายมือชื่อรับรอง
“สําหรับมาตรฐานการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแนวทางที่อธิบดีกําหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.147/2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
“2.2 การแจ้งรายชื่อกิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องแจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตนจะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี พร้อมแนบหนังสือตอบรับงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่มีข้อความอย่างน้อยตามแบบท้ายแบบสําหรับการแจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น ทั้งนี้ ต้องแจ้งก่อนวันที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี
กรณีผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีภายหลังกําหนดระยะเวลาการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
การแจ้งจํานวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงกรณีที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่มีการลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.147/2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบคําขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นแบบคําขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับ การตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
การตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจัดทํารายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่มีข้อความตามแบบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,661 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 121/2545
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
--------------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่น ดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.61/2539 เรื่อง มอบอํานาจการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(2) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.70/2540 เรื่อง มอบอํานาจสั่งงดเบี้ยปรับ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์บางกรณี ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2540
(3) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.96/2543 เรื่อง มอบอํานาจการสั่งงดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร การสั่งขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์และการสั่งอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรสําหรับศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ มอบหมายให้บุคคลดังต่อไปนี้ สั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ทีอธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยไม่จํากัดจํานวนเบี้ยปรับ
(1) ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีกลาง สําหรับเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกําหนด
“(3) สรรพากรภาค และนักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาค สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี 9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.142/2547 ใช้บังคับ 17 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป)
(4) สรรพากรพื้นที่ สําหรับเขตท้องที่สํานักงานภาษีสรรพากรพื้นที่นั้น
(5) สรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
ข้อ ๓ มอบหมายให้เจ้าพนักงานสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ นอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด สําหรับคําร้องขอ งดหรือลดเบี้ยปรับที่มีจํานวนเบี้ยปรับเต็มอัตราตามกฎหมาย ดังนี้
(1) ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีกลาง สําหรับเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรไม่เกิน 500,000.- บาท
(2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกําหนด ไม่เกิน 500,000.- บาท
“(3) สรรพากรภาค และนักวิชาการภาษี 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาค สําหรับเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น ไม่เกิน 300,000.- บาท
การสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรของนักวิชาการภาษี 9 ชช. ตามวรรคหนึ่ง สรรพากรภาคจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.142/2547 ใช้บังคับ 17 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป)
(4) สรรพากรพื้นที่ สําหรับเขตท้องที่สํานักงานภาษีสรรพากรพื้นที่นั้นไม่เกิน 100,000.-บาท
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,662 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 120/2545 เรื่อง มอบหมายการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรกรณีการนำเข้า | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 120/2545
เรื่อง มอบหมายการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรกรณีการนําเข้า
-----------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกตามความในมาตรา 89 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 11 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มอบหมายให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่ต้องมีคําร้องของผู้นําเข้า ดังนี้
(1) ในกรณีที่ผู้นําเข้าได้รับการงดค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ในกรณีที่มีการเรียกค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรน้อยกว่าหนึ่งเท่าของเงินอากรที่ขาด ให้ลดเบี้ยปรับลงคงเสียตามอัตราส่วนของค่าปรับที่เรียกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) ในกรณีที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร แต่เจ้าพนักงานตรวจพบว่าผู้นําเข้ายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทําให้จํานวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป ให้ลดเบี้ยปรับลงคงให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(4) ในกรณีที่ผู้นําเข้าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและเบี้ยปรับที่ต้องเสียเต็มอัตราตามกฎหมายมีจํานวนไม่เกิน 1,000.- บาท ให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,663 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 119/2545 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 119/2545
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
-------------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรพื้นที่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 64/2539 เรื่อง มอบอํานาจการสั่งให้ ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ดังต่อไปนี้
(1) การสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร
(2) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การรับจํานอง การรับจํานํา การไถ่ถอนการจํานอง และการคืน ทรัพย์สินที่จํานํากรณีการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากร และให้มีอํานาจ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปทําการดังกล่าวแทนได้ด้วย
“(4) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะออกจากทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(3) แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.133/2546 ใช้บังคับ 10 กันยายน 2546 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,664 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 118/2545 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 118/2545
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักงานสรรพากรภาคเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 65/2539 เรื่อง มอบอํานาจสั่งขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์ ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(2) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 66/2539 เรื่อง มอบอํานาจสั่งอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(3) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 67/2539 เรื่อง มอบอํานาจให้ใช้อํานาจตามมาตรา 12 และมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
(4) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 95/2543 เรื่อง มอบอํานาจการสั่งอนุมัติให้ถือเป็นรายจ่าย กรณีมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และการสั่งอนุมัติการยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ กรณีมิได้ใช้แบบแสดง รายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(5) คําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.77/2543 เรื่อง มอบอํานาจหน้าที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น ดังต่อไปนี้
(1) การใช้อํานาจตามมาตรา 12 และมาตรา 12 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(2) การอนุมัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือเงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่แก้ไขให้ถูกต้องหรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องได้ สําหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(3) การอนุมัติให้ถือว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่ง ภาษีถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุโลม ในกรณีผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ได้นําส่งภาษีโดยมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด สําหรับการหักภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
(4) การอนุมัติขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
(5) การอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคําวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคําพิพากษาของศาล ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากร
(6) การรับจํานอง การรับจํานํา การไถ่ถอนการจํานอง และการคืน ทรัพย์สินที่จํานํากรณีการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากร และให้มีอํานาจ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปทําการดังกล่าวแทนได้ด้วย
(7) การสั่งคืนสัญญาค้ําประกันที่ใช้ค้ําประกันหนี้ภาษีอากรค้างระหว่างขอทุเลาการเสียภาษีอากรหรือการผ่อนชําระภาษีอากรค้าง เมื่อปรากฏว่าผู้ค้างภาษีอากรได้ชําระภาษีอากรค้างครบถ้วนแล้ว หรือได้มีคําวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคําพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ปลดหนี้ภาษีอากรค้าง รวมถึงการแจ้งหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ําประกันไปยังผู้ค้ําประกันด้วย
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,665 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 117/2545 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 117/2545
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
---------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามประมวลรัษฎากรบางกรณีสําหรับสํานักบริหาร ภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.62/2539 เรื่อง มอบหมายให้เจ้าพนักงานสรรพากรสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 110/2545 เรื่อง มอบหมายให้เจ้าพนักงานสรรพากรสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียน ออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545
(2) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 94/2543 เรื่อง มอบอํานาจการสั่งอนุมัติ ให้ถือเป็นรายจ่าย กรณีมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และการสั่งอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง การขยายเวลาการชําระอากรเป็นตัวเงิน และการสั่งอนุมัติการยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ กรณีมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด สําหรับศูนย์บริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(3) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 107/2545 เรื่อง มอบอํานาจสั่งอนุมัติให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วย เงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับศูนย์บริหาร ภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2545
(4) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท. 486/2542 เรื่อง มอบอํานาจหน้าที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดี สําหรับศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สําหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) การอนุมัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือเงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลา บัญชีที่แก้ไขให้ถูกต้องหรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องได้สําหรับกรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ ตามข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(2) การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การอนุมัติขยายเวลาการชําระอากรเป็นตัวเงินตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียอากรได้เสียอากรโดยวิธีปิดแสตมป์บนตราสาร สําหรับตราสารที่กําหนดให้ต้องชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรตามประกาศอธิบดี กรมสรรพากรที่ออกโดยอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต่อมาได้นําตราสารดังกล่าวไปชําระอากรเป็นตัวเงินไว้อีก และได้ขอขยายเวลาการชําระอากรเป็นตัวเงิน
(4) การอนุมัติให้ถือว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุโลม ในกรณีผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ได้นําส่งภาษีโดยมิได้ใช้แบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดสําหรับการหักภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
(5) การอนุมัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
(6) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร
(7) การอนุมัติขยายกําหนดเวลาการอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
(8) การอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคําวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคําพิพากษาของศาล ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากร
(9) การรับจํานอง การรับจํานํา การไถ่ถอนการจํานอง และการคืน ทรัพย์สินที่จํานํากรณีการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ค้ําประกันหนี้ภาษีอากร และให้มีอํานาจ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปทําการดังกล่าวแทนได้ด้วย
(10) การสั่งคืนสัญญาค้ําประกันที่ใช้ค้ําประกันหนี้ภาษีอากรค้างระหว่างขอทุเลาการเสียภาษีอากรหรือการผ่อนชําระภาษีอากรค้าง เมื่อปรากฏว่าผู้ค้างภาษีอากรได้ชําระภาษีอากรค้างครบถ้วนแล้ว หรือได้มีคําวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคําพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ปลดหนี้ภาษีอากรค้าง รวมถึงการแจ้งหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ําประกันไปยังผู้ค้ําประกันด้วย
“(11) การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะย้อนหลังตามมาตรา 91/12 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
(12) การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะออกจากทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(3) แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพารที่ ท.ป.132/2546 ใช้บังคับ 10 กันยายน 2546 เป็นต้นไป)
“(13) การอนุมัติให้เป็นสํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 586) พ.ศ. 2558
(14) การอนุมัติให้เป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 587) พ.ศ. 2558”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพารที่ ท.ป.247/2558 ใช้บังคับ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)
“(15) การอนุมัติให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
(16) การอนุมัติให้สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค ตามมาตรา 10 (4) และมาตรา 11/6 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561
(17) การอนุมัติให้สํานักงานใหญ่ข้ามประเทศ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 586) พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 674) พ.ศ. 2561”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.313/2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
“(18) การรับแจ้งเพื่อใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(19) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(20) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(21) การอนุมัติให้ใช้อัตราอื่นเฉพาะส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้คํานวณไว้ ตามมาตรา 76 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 327/2563 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
“(22) การอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 335/2564 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,666 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 116/2545 เรื่อง การเก็บและรักษารายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้ง เอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 116/2545
เรื่อง การเก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้ง เอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกําหนด
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดี กรมสรรพากร กําหนดสถานที่เก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานประกอบการที่จัดทํารายงานนั้น ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.71/2540 เรื่อง การเก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกําหนด ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 2 ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งมีหน้าที่เก็บและรักษา รายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทํารายงานนั้น มีความประสงค์จะเก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนา ใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานของปีภาษีก่อนปีภาษีปัจจุบันไว้ ณ สถานประกอบการแห่งอื่นหรือสถานที่แห่งอื่น นอกจากสถานประกอบการที่จัดทํารายงานนั้น ให้ยื่น คําร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจัดทํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานตั้งอยู่"
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.71/2540 เรื่อง การเก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการ ลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกําหนด ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน
"ข้อ 3 ให้สรรพากรพื้นที่เป็นผู้พิจารณาคําร้องตามข้อ 2 แล้วแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบการทราบการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พร้อมทั้งส่งสําเนาหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้สรรพากรภาคทราบด้วย และจัดทําทะเบียนคุมการอนุญาตหรือไม่อนุญาตแยกเป็นเขต หรืออําเภอตามที่ตั้งสถานประกอบการนั้น ๆ โดยระบุรายการดังนี้
(1) ลําดับที่
(2) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบการ
(3) ประเภท ชนิด เดือน พ.ศ. ของรายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี และเอกสารประกอบการลงรายงานที่ได้รับอนุญาตให้นําไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่อื่น
(4) สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้นํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนา ใบกํากับภาษี และเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษา"
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.71/2540 เรื่อง การเก็บและรักษารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกําหนด ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 4 ผู้ประกอบการที่ได้ยื่นคําร้องตามข้อ 2 แล้ว จะนํารายงาน ใบกํากับภาษี สําเนาใบกํากับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาตได้ต่อเมื่อได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตจากสรรพากรพื้นที่"
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,667 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 115/2545 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 115/2545
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 13 ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นําส่งภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหัก ตามแบบที่อธิบดีกําหนด ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้แล้วหรือไม่"
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,668 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 114/2545 เรื่อง มอบอำนาจการออกใบผ่านภาษีอากรให้คนต่างด้าวผู้เดินทาง ออกจากประเทศไทย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 114/2545
เรื่อง มอบอํานาจการออกใบผ่านภาษีอากรให้คนต่างด้าวผู้เดินทาง ออกจากประเทศไทย
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการในการออกใบผ่านภาษีอากร และอํานวยความสะดวกให้คนต่างด้าวซึ่งจะเดินทางออกจากประเทศไทย ในการยื่นคําร้องขอรับใบผ่าน ภาษีอากรตามมาตรา 4 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าคนต่างด้าวที่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร ดังต่อไปนี้อยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และให้ยื่นคําร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรต่ออธิบดี กรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่
(1) คนต่างด้าวผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากรที่ค้างชําระ หรือที่จะต้องชําระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินอยู่ก่อนหรือในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(2) คนต่างด้าวผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้แทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการ ในประเทศไทย
(3) คนต่างด้าวที่มีเงินได้พึงประเมินจากการเป็นนักแสดงสาธารณะในประเทศไทยไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ
คําว่า "นักแสดงสาธารณะ" หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ และโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ
ข้อ ๒ มอบอํานาจให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ออกใบผ่านภาษีอากรตามมาตรา 4 ฉ มาตรา 4 สัตต และมาตรา 4 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร ให้คนต่างด้าวที่ยื่นคําร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,669 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 113/2545 เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 113/2545
เรื่อง กําหนดสถานที่ยื่นคําร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 ตรี มาตรา 84/1 และมาตรา 91/11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงออกคําสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเป็นสถานที่ยื่นคําร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สําหรับผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรในเขตท้องที่ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,670 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 112/2545 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 112/2545
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรดังต่อไปนี้
(1) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 53/2537 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2537
(2) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 69/2539 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2539
(3) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 74/2541 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
(4) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 85/2542 เรื่อง การกําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542
(5) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 86/2542 เรื่อง กําหนดสถานที่รับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สําหรับคนต่างด้าวซึ่งถูกระงับการเดินทางออกนอกประเทศไทย ตามแบบ ผ.5 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
(6) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 90/2542 เรื่อง การกําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบแสดงรายการนําส่งภาษีในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
(2) กองคลัง กรมสรรพากร สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางสื่อบันทึกข้อมูล และกรณีอื่น ๆ ตามที่อธิบดีเห็นสมควร
“ (3) หน่วยงานสรรพากร อาคารกองอํานวยการตลาดโรงเกลือ เลขที่ 350 หมู่ที่ 7 ตําบลป่าไร่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีกรณีการขายสินค้าชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จุดผ่อนปรน โรงเกลือ หมู่ที่ 7 ตําบลป่าไร่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาอรัญประเทศ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.177/2552 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป )
(4) สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับชําระเงินภาษีอากรตามการประเมินสําหรับคนต่างด้าวซึ่งถูกระงับการเดินทางออกนอกประเทศไทยตามแบบ ผ.5 ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
(ก) บริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหลักสี่ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยตรวจสินค้าและจ่ายคืน (สํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว) เลขที่ 171 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสีกัน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร (ท่าอากาศยานกรุงเทพ)
(ข) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองเชียงใหม่ 1 ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยตรวจสินค้าและจ่ายคืน (สํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว) เลขที่ 60 ถนนสนามบิน ตําบลสุเทพ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (ท่าอากาศยานเชียงใหม่)
(ค) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาถลาง ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยตรวจสินค้าและจ่ายคืน (สํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว) เลขที่ 222 หมู่ที่ 6 ถนนสนามบิน ตําบลไม้ขาว อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต (ท่าอากาศยานภูเก็ต)
(ง) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาคลองหอยโข่ง ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยตรวจสินค้าและจ่ายคืน (สํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว) เลขที่ 99 หมู่ที่ 3 ตําบลคลองหลา อําเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา (ท่าอากาศยานหาดใหญ่)
(จ) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางพลี ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยตรวจสินค้าและจ่ายคืน ( สํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ) เลขที่ 99 ถนนบางนา – ตราด กม .15 ตําบลราชาเทวะ อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ( ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ )
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.156/2549 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป )
ข้อ ๓ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2(1)
(2) ผู้อํานวยการกองคลัง สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2(2)
(3) สรรพากรพื้นที่สระแก้ว สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2(3)
(4) นักวิชาการภาษี 9 ชช. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 2(4)( ก ) และ ( จ )
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.156/2549 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป )
(5) สรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 1 สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2(4)(ข)
(6) สรรพากรพื้นที่ภูเก็ต สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2(4)(ค)
(7) สรรพากรพื้นที่สงขลา 2 สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 2 (4)(ง)
"กรณีสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตามข้อ 2(1) มีจํานวนข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ไม่เหมาะสมที่จะแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร สรรพากรพื้นที่สาขาอาจแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 1 ขึ้นไป เป็นเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากรก็ได้"
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.128/2546 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป )
ข้อ ๔ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งเจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 3 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,671 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 111/2545 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 111/2545
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 238 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ใน (2) ของข้อ 9 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.31/2534 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) กรณีมีภูมิลําเนาอยู่ในต่างประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคํานวณหักไว้ตามอัตราที่กําหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้สําหรับบุคคลธรรมดา เว้นแต่นักแสดงสาธารณะที่เป็น นักแสดงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่มีการดําเนินการถ่ายทํา ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ในประเทศไทยโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้ถ่ายทําในประเทศไทยจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคําขออนุญาตถ่ายทําภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทําภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2544 หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,672 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 110/2545 เรื่อง มอบหมายให้เจ้าพนักงานสรรพากรสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 110/2545
เรื่อง มอบหมายให้เจ้าพนักงานสรรพากรสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
เพื่อให้การสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร ดําเนินการไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.62/2539 เรื่อง มอบหมายให้เจ้าพนักงานสรรพากรสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
“(3) ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ตามที่กรมสรรพากรกําหนด”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม -
สั่ง ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,673 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 109/2545 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 109/2545
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรเขตจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็น "เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง"เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร" ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคล-ธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2545 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2545
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,674 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 108/2545 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 108/2545
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
-------------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางประการในคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528 อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอํานาจตามมาตรา 65 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ 4.1 ของข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.77/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการประกันชีวิต กิจการธุรกิจบัตรเครดิต หรือกิจการอื่นทํานองเดียวกันที่ไม่เข้าลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยสําหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชําระติดต่อกันเป็นเวลาเกินหกเดือน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะนําดอกเบี้ยส่วนนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้ เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่สามารถได้รับชําระหนี้ และ
(2) มีกรณีแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า ลูกหนี้ไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเพียงพอที่จะชําระ เช่น
(ก) มีหลักประกันไม่คุ้มกับหนี้ที่ต้องชําระ
(ข) ลูกหนี้ดําเนินธุรกิจขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี หรือเลิกกิจการแล้ว หรืออยู่ระหว่างการชําระบัญชี
(ค) ได้ดําเนินคดีแพ่งหรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้แล้ว
(ง) ได้ดําเนินคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้แล้ว”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,675 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 106/2545 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 106/2545
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 229 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ หักภาษี ณ ที่จ่าย
(1) ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1) เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท บริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1) เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจําหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก และจําหน่ายครั้งแรกในราคาต่ํากว่าราคาไถ่ถอน ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันถัดจากวันที่ออกคําสั่ง เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,676 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 3 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
และการเสนอขายหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของตน แต่ทั้งนี้ มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(5) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(6) กองทุนรวมคาร์บอน
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
คําว่า “กองทุนรวมปิด” “กองทุนรวมเปิด” “เงินทุนจดทะเบียน” “เงินทุนโครงการ” และ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
ข้อ ๔ นอกจากการปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรและการขายหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน
(3) ประกาศเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
หมวด ๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นหนังสือชี้ชวนที่จะใช้จัดส่งหรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่าย
(1) เมื่อมีการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของแต่ละกองทุนรวม
(2) เมื่อมีการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดเพิ่มเติม เพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน
ข้อ ๖ ในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปรับปรุงหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้เป็นปัจจุบัน และยื่นต่อสํานักงานพร้อมหนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
(ก) กรณีกองทุนรวมตลาดเงิน ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาสามเดือนตามปีปฏิทิน และยื่นต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาสามเดือนดังกล่าว
(ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามปีปฏิทิน และยื่นต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าวในกรณีที่ข้อมูลซึ่งได้นํามาแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญมีการเปลี่ยนแปลไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปรับปรุงข้อมูลในหนังสือชี้ชวนดังกล่าวโดยไม่ชักช้า และยื่นต่อสํานักงานภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
(2) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และยื่นต่อสํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว
ข้อ ๗ ในการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 5 และข้อ 6 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวมของสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลของหนังสือชี้ชวน สํานักงานอาจกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยก็ได้
ข้อ ๘ ในการเสนอขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องจัดส่งหรือแจกจ่ายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้จัดส่งหรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนทุกรายพร้อมใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน หรือดําเนินการโดยวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนทุกรายได้รับข้อมูลในหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวก่อนการตัดสินใจลงทุน
(2) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้จัดส่งหรือแจกจ่าย ณ จุดขายด้วยวิธีการใด ๆ ที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนได้รับหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวอย่างทั่วถึง
หนังสือชี้ชวนที่จะใช้จัดส่งหรือแจกจ่ายตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการและข้อมูลตรงกับรายการและข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุด
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ให้เป็นผู้ขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 8 อย่างเคร่งครัด
(2) ดําเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์มีหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งหรือแจกจ่ายต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ
(3) ตรวจสอบและดูแลบริษัทหลักทรัพย์ให้จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การเสนอขายหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุด
ข้อ ๑๑ การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) กระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนอย่างแพร่หลาย
(2) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองวัน
(3) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้ลงทุนแต่ละรายต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท
(4) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน เงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้ลงทุน อันจะทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ
(5) จัดสรรหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ในกรณีที่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่งมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ได้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแสดงได้ว่าการผ่อนผันดังกล่าวมีความจําเป็นเพื่อให้การเสนอขายเป็นไปอย่างเหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุนนั้น ๆ ความในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือในกรณีที่มีบุคคลใดถือหน่วยลงทุนเพื่อบุคคลอื่นผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (5) หรือตามที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 11 วรรคสอง โดยอนุโลม
ข้อ ๑๓ ในการรับชําระค่าหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องรับชําระด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเท่านั้น เว้นแต่มีข้อกําหนดตามประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 117 ให้กระทําได้
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศใดมีหน้าที่ต้องปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวนตามรอบระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 6 แห่งประกาศนี้ ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวนสําหรับรอบระยะเวลาดังกล่าวก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,677 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 5/2556 เรื่อง การให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง หรือหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 5 /2556
เรื่อง การให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขาย
เฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง
หรือหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“ผู้มีเงินลงทุนสูง” หมายความว่า ผู้มีเงินลงทุนสูงตามที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์แต่ละประเภท
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเภทดังต่อไปนี้
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(4) การจัดการกองทุนรวม
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์
หมวด ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการให้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกได้รับอนุญาตให้เสนอขายเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
(3) หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดเพิ่มเติม
บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกตามมาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แล้วแต่กรณีด้วย เว้นแต่ในประกาศนี้จะได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การทําความรู้จักกับลูกค้า
(2) การศึกษาและทําความเข้าใจหลักทรัพย์
(3) การติดต่อ ชักชวน และการให้คําแนะนํากับลูกค้า
ข้อ ๕ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์
ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ให้ถือว่บริษัทหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว
ในกรณีที่สมาคมมีการกําหนดแนวทางตามวรรคหนึ่ง โดยแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามแนวทางของสมาคมนั้นด้วย
หมวด ๒ การทําความรู้จักกับลูกค้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ก่อนเริ่มให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อ 3 แก่ลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทําความรู้จักลูกค้า เพื่อ
(ก) ระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า
(ข) ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้า
(ค) พิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการลงทุน
(2) จัดประเภทลูกค้า เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถนําเสนอหลักทรัพย์ที่สอดคล้องกับลักษณะของลูกค้า
ข้อ ๗ ในการทําความรู้จักลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า หรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนลูกค้า (ถ้ามี) ในลักษณะที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลดังกล่าวได้
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและความเหมาะสมในการลงทุนอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ฐานะทางการเงิน
(ข) ประสบการณ์ในการลงทุน
(ค) ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
(ง) วัตถุประสงค์ในการลงทุน
(จ) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการชําระหนี้และการวางหลักประกันของลูกค้า และแหล่งที่มาของรายได้ที่นํามาวางเป็นหลักประกันหรือชําระหนี้ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะใช้บริการที่จําเป็นต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์จะให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้ารายใด ซึ่งแตกต่างจากการให้บริการกับลูกค้าทั่วไปได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แล้ว
(1) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือผู้มีเงินลงทุนสูง บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าลูกค้าเป็นผู้ลงทุนประเภทใด พร้อมทั้งแจ้งเตือนว่าหลักทรัพย์ที่จะให้บริการซื้อขายนั้นอาจมีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนมากกว่าหลักทรัพย์ที่เสนอขายแก่ ผู้ลงทุนทั่วไป และลูกค้าอาจได้รับการปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและการให้คําแนะนําการลงทุนแตกต่างจากมาตรฐานที่กําหนดสําหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนทั่วไป
(2) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตาม (1) และต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าบริษัทหลักทรัพย์มิได้จัดให้มีการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนให้แก่ลูกค้า แต่ทั้งนี้ ลูกค้าอาจแสดงความประสงค์ที่จะขอรับการประเมินดังกล่าวได้
(3) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่เป็นนิติบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตาม (1) และต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าลูกค้าอาจไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนก็ได้ หากได้แสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการประเมินดังกล่าว
ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลที่ได้รับตามข้อ 7 ให้เป็นปัจจุบันในระยะเวลาที่เหมาะสม และต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวที่ทําให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการให้บริการกับลูกค้าได้
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลตามข้อ 7 หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญที่อาจทําให้ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อ 6 ได้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนลูกค้า (ถ้ามี) ได้ ให้ปฏิเสธการให้บริการ
(2) ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้าได้ ต้องไม่นําเสนอหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ให้แก่ลูกค้าดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ที่เป็นนิติบุคคลซึ่งไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนตามข้อ 8(2) และ (3)
(3) ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการลงทุน ให้ปฏิเสธการให้บริการหรือจํากัดขอบเขตการให้บริการ
หมวด ๓ การศึกษาและทําความเข้าใจหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ที่จะนํามาเสนอขายอย่างเพียงพอ และต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าผู้ทําหน้าที่แนะนําการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์รู้และเข้าใจข้อมูลดังกล่าวเป็นอย่างดี และสามารถนําเสนอข้อมูลนั้นต่อลูกค้าให้เข้าใจได้
ข้อ ๑๒ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ตามข้อ 11 ได้แก่ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะ โครงสร้าง และเงื่อนไขผลตอบแทนของหลักทรัพย์
(2) ลักษณะและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงของหลักทรัพย์
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกหลักทรัพย์
(4) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์
(5) ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(6) ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(7) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน
หมวด ๔ การติดต่อ ชักชวน และการให้คําแนะนํากับลูกค้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ ในการติดต่อ ชักชวน และให้คําแนะนํากับลูกค้าเพื่อให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อ 3 บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้าในหลักทรัพย์นั้น
(2) มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ตามข้อ 12 และมีการจัดส่งหรือแจกจ่ายสรุปข้อมูลสําคัญของหลักทรัพย์ (fact sheet) ให้แก่ลูกค้า รวมทั้งมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าลูกค้าเข้าใจลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทน ของหลักทรัพย์เป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจลงทุน
(3) มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมเหตุสมผล และไม่ทําให้สําคัญผิด
(4) ให้เวลาลูกค้าอย่างเพียงพอที่จะทําให้ลูกค้าศึกษาข้อมูลและตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ โดยไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการติดต่อชักชวนให้ลูกค้าลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องนําเสนอเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีความเหมาะสมกับลูกค้า ซึ่งพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้าเท่านั้น
ข้อ ๑๕ ในการพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้าตามข้อ 13(1) บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการประเมินข้อมูลของลูกค้าที่ได้มาตามข้อ 7(2) เพื่อวิเคราะห์ว่าลูกค้ามีความเหมาะสมกับหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะลงทุนหรือไม่ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ บริษัทหลักทรัพย์จะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้าก็ได้
(1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน
(2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่และมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน
ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน หากลูกค้าดังกล่าวแสดงความประสงค์ที่จะได้รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าตามข้อ 7(2) และดําเนินการในกรณีที่ลูกค้าไม่เหมาะสมที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 16 และข้อ 17 โดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ข้อมูลจากการประเมินความสามารถของลูกค้าแสดงผลว่าลูกค้าไม่เหมาะสมที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ลูกค้าทราบ โดยการแจ้งดังกล่าวต้องอยู่ในรูปแบบที่ลูกค้าจะสามารถจัดเก็บข้อมูลและตรวจสอบดูข้อมูลในอนาคตได้
(2) ในกรณีที่ลูกค้ายืนยันที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีคําแนะนําเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทนของหลักทรัพย์นั้นเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกค้าทบทวนหรือพิจารณาการตัดสินใจลงทุนอีกครั้ง หากลูกค้ายังคงยืนยันที่จะลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ลูกค้าลงนามยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้น
ข้อ ๑๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดเก็บหลักฐานแสดงการแจ้งและการลงนามของลูกค้าตามข้อ 16 เพื่อให้สํานักงานตรวจสอบได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,678 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 23/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและ
การส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อ หรือเครื่องมือใด ๆ
“การส่งเสริมการขาย” หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ลงทุน เพื่อจูงใจให้ผู้ลงทุนใช้บริการ หรือตอบแทนที่ผู้ลงทุนใช้บริการ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเสนอ
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๓ ในการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักการดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการในเรื่องการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ความสําคัญกับข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจของลูกค้า และต้องสื่อสารข้อมูลดังกล่าวให้กับลูกค้าอย่างชัดเจน โดยไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญในการปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ในกรณีที่มิได้มีข้อกําหนดในเรื่องใดกําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ หรือมีข้อกําหนดแต่จําเป็นต้องพิจารณาหรือตีความข้อกําหนดดังกล่าว ให้พิจารณาหรือตีความให้การโฆษณาและการส่งเสริมการขายเป็นไปตามหลักการในวรรคหนึ่ง
ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ด้วย
(1) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(2) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย
(3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง หรือไม่ทําให้สําคัญผิด
(4) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจ หรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้สําคัญผิด
(5) ให้ขอความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนทําการโฆษณาหรือก่อนจัดให้มีการส่งเสริมการขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ ในการขอความเห็นชอบดังกล่าว หากสํานักงานมิได้ทักท้วงภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการขอความเห็นชอบนั้น ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้โฆษณาหรือจัดให้มีการส่งเสริมการขายนั้นได้
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวเดียวกัน
(2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
(3) กําหนดให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายบางกรณีต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนทําการโฆษณาหรือจัดให้มีการส่งเสริมการขายนั้น เพื่อตรวจสอบให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายนั้นเป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๖ ในกรณีที่สมาคมมีการกําหนดแนวทางการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฎิบัติตามแนวทางของสมาคมนั้นด้วย
หมวด ๒ การโฆษณา
ข้อ ๗ ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับการโฆษณาดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการให้ความรู้ ทําความเข้าใจ หรือแจ้งข้อเท็จจริง เกี่ยวกับตลาดทุน การลงทุน ภาคการผลิตและบริการ หรือภาพรวมของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภทหรือโดยรวม
(2) การโฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหลักทรัพย์โดยการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๘ ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือต่อการตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ
(2) ไม่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
(3) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้
(ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม
(ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข
(ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด
(4) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอย่างเหมาะสม และมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการหรือการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
(5) หากเป็นการโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อมูลที่โฆษณาต้องเป็นข้อมูลที่สามารถดําเนินการได้โดยชอบ และต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าเป็นการโฆษณาในระหว่างที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ยังไม่มีผลใช้บังคับ
(6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
(7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้องมีข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย
(8) หากเป็นการโฆษณาเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จะกระทําได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อสํานักงานแล้ว และในกรณีที่คําขอดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาคําขอนั้นจากสํานักงาน
(9) หากเป็นการโฆษณาเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจจะนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมใด ๆ ได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทุนรวมหรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ หากเป็นการโฆษณาเพื่อกองทุนรวมหลายกองรวมกัน ต้องมีหลักเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากกองทุนรวม
แต่ละกองอย่างเป็นธรรมด้วย
(10) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8)
ข้อ ๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย
หมวด ๓ การส่งเสริมการขาย
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบธุรกิจอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดผู้ลงทุนโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน
(2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด
(3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสมและเป็นธรรม
(4) มีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย
(5) หากเป็นการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทุนรวม
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๑ ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ในรายละเอียด ให้ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 รวมทั้งคําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวซึ่งยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศหรือแนวทาง ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้
ใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,679 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 34/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 34/2556
เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับ
การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
1. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/ข/ด/น. 62/2552 เรื่อง การกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
2. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 63/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
3. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
4. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
5. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 52/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555
6. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 64/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
7. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 65/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกระทําการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
8. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 67/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
9. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
10. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 21/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
11. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
12. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
13. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 12/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
14. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
15. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
16. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 33/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 6 กันยายนพ.ศ. 2556
17. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 80/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
18. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
19. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
20. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 53/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555
21. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556
22. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
23. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
24. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 5/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
25. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 3/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
26. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2555 เรื่อง เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
27. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 4/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
28. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
29. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
30. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
31. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556
32. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
33. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 11/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
34. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
35. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 5/2556 เรื่อง การให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง หรือหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
36. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,680 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 39/2556 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าสำหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 39 /2556
เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าสําหรับ
ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 มาตรา 31 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในส่วนที่ 3 การปฏิบัติต่อทรัพย์สินของลูกค้า และส่วนที่ 4 การคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า ของหมวด 2 แห่งกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดํารงฐานะทางการเงินเพื่อรองรับการจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดด้วย (ถ้ามี)
ข้อ ๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาล ของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,681 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 40/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 40 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
ของผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย มาใช้บังคับกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,682 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 42/2556
เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจ
หรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า
(1) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของผู้ประกอบธุรกิจ
“ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย
ข้อ ๒ ในการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจอาจแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเพื่อทําหน้าที่ในนามของผู้ประกอบธุรกิจได้ โดยต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังในการคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดําเนินการตามที่ได้รับแต่งตั้ง และต้องดูแลให้ผู้ให้บริการดังกล่าวดําเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓ ในการแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังในการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดําเนินการตามวรรคหนึ่ง และต้องดูแลให้บุคคลดังกล่าวดําเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 2,683 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 168/2551 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 168/2551
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักรที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับ เฉพาะวันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551 และวันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,684 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 105/2545 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 105/2545
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีของสํานักงานสรรพากรเขตพระนคร ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพ มหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรเขตปทุมวัน ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เลขที่ 444 อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่ 1 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่ 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 1(2)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จ รับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ตามข้อ 1(1) ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545 และตามข้อ 1(2) ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,685 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 167/2551 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 167/2551
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ที่ตั้งอยู่ ณ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและ รับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,686 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 166/2551 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 166/2551
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสํานักงานตลาด (ตลาดธนบุรี) แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
(3) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(3)
(4) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 25 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(4)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตาม 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) เฉพาะวันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) เฉพาะวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(4) เฉพาะวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,687 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 104/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 104/2544
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 234 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 12/1 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 (2) ข้อ 10 ข้อ 12 ข้อ 12/3 และข้อ 12/4 แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
คําว่า “การให้บริการ” หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า
คําว่า “ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือจากสถานที่ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 12/4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสําหรับการขนส่งสาธารณะ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
คําว่า “การขนส่งสาธารณะ” หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/5 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“ข้อ 12/5 การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจํานวนตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจํานวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท”
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม -
สั่ง ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,688 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 165/2551 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 165/2551
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,689 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 164/2550 เรื่อง มอบอำนาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 164/2550
เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
---------------------------------------------
เพื่อให้การพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองเกี่ยวกับการคืนเงินภาษีอากรและคําสั่งเกี่ยวกับ การคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 45 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประกอบกับข้อ 2(3) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2540) ออกตามความใน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และข้อ 4 (9) – (20) (ข) ของกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2545 มีความรวดเร็วและเป็นการอํานวยความ สะดวกแก่ประชาชน ตลอดจนกระจายความรับผิดชอบให้แก่สรรพากรภาคและนักวิชาการสรรพากร 9 ชช. อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 4(9) – (20) (ข) ของกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
“(9) การพิจารณาคําอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง กรณีสรรพากรพื้นที่ซึ่งเป็นหัวหน้า
ส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง และกรณีข้าราชการระดับ 8 ระดับ 7 และระดับ 6 ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่ได้ใช้อํานาจตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2539 และและกรณีผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายให้ใช้อํานาจตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 130/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 143/2547 เรื่อง มอบอํานาจให้สรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 มอบอํานาจให้นักวิชาการสรรพากร 9 ชช. ที่ปฏิบัติราชการ ณ สํานักงานสรรพากรภาคสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9)ในเขตท้องที่สํานักงานสรรพากรภาคนั้น”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,690 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 103/2544 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงิน ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 103/2544
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงิน ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดี กรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรเขตจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็น “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2544 ถึงวันที่ 29 กันยายน 2544
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,691 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 102/2544 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สั่ง และปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 102/2544
เรื่อง มอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สั่ง และปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
------------------------------------------
เพื่อให้การดําเนินการออกหนังสือรับรองการเสียภาษี และการมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษ สําหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.100/2544 เรื่อง มอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สั่ง และปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,692 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย | คําสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป. 101/2544
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 229 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 และข้อ 3/2 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“ข้อ 3/1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
(2) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึง มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0
ข้อ 3/2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
(2) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึง มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.19/2530 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
“ข้อ 4 ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ หักภาษี ณ ที่จ่าย
(1) ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งเป็น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมาตรีประกาศกําหนด ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ร ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1) เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1) เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงิน-กู้ยืม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจําหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคลอื่นเป็นผู้ออก และจําหน่ายครั้งแรกในราคาต่ํากว่าราคาไถ่ถอน ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 ข้อ 12/2 ข้อ 12/3 และข้อ 12/4 แห่ง คําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
“ข้อ 12/1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 (2) ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 12/3 แต่ไม่รวมถึงการจ่าย ค่าโดยสารสําหรับการขนส่งสาธารณะ ค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
คําว่า “การให้บริการ” หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า
คําว่า “ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือจากสถานที่ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้
คําว่า “การขนส่งสาธารณะ” หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการ ทั่วไปเป็นปกติธุระ
ข้อ 12/2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับการให้รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นําสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนําไปขายต่อ
ข้อ 12/3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันวินาศภัย ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคํานวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
ข้อ 12/4 การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจํานวนตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจํานวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท”
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,693 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 163/2550 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 163/2550
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องยื่นรายการภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550 และวันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,694 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 99/2544 เรื่อง กำหนดมรรยาท การปฏิบัติงาน การรายงาน และบทลงโทษสำหรับผู้ตรวจสอบ และรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 99/2544
เรื่อง กําหนดมรรยาท การปฏิบัติงาน การรายงาน และบทลงโทษสําหรับผู้ตรวจสอบ และรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2496 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการ ตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งให้"ผู้ตรวจสอบและ รับรองบัญชี" ต้องปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับมรรยาท การปฏิบัติงาน การรายงาน และบทลงโทษ สําหรับผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มรรยาทของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
1.1 ให้รักษามรรยาทตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505
1.2 ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่เกินกว่า 300 รายต่อคนต่อปี
1.3 ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะต้องปฏิบัติงานและรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตาม ข้อ 2
ข้อ ๒ การปฏิบัติงานและการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีในการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
2.1 แนวทางการปฏิบัติงาน
2.1.1 ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีต้องจัดทําแนวการสอบบัญชีสําหรับงาน ที่รับตรวจสอบไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักฐานและให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยให้จัดเก็บแนวการสอบบัญชีดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานด้วย
2.1.2 ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีต้องจัดทํากระดาษทําการ เพื่อบันทึกการตรวจสอบและจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
2.1.3 ในการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ให้เน้นการทดสอบความถูกต้องของงบการเงินและบัญชีว่าถูกต้องเป็นจริงตามควรตรงตามเอกสารประกอบการลงบัญชี และบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ โดยงบการเงินแสดงข้อมูลและรายการตรงตามสมุดบัญชี รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทางด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยเลือกใช้วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกรณี
2.1.4 ให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีทําการตรวจสอบการปรับปรุงกําไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิทางบัญชี เป็นกําไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร รวมถึงการตรวจสอบการจัดทําบัญชีพิเศษของกิจการที่กําหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร
2.1.5 ให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญของบัญชี และแจ้งพฤติการณ์ไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่ตนจะต้องลงลายมือชื่อรับรองในกรณีที่พบว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยนั้นมีพฤติการณ์ในการทําเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือลงบัญชี โดยที่เห็นว่าน่าจะไม่ตรงกับความเป็นจริงอันอาจเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยนั้นมิต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงกว่าที่ควรเสีย
2.2 แนวทางการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีกรณีที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีทําการตรวจสอบและรับรองบัญชีให้แก่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตาม กฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๓ บทลงโทษ
3.1 กรณีที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่รักษามรรยาท และไม่ปฏิบัติงานตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดในข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น อาจถูกพิจารณา พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
3.2 กรณีที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากรน้อยกว่าเก้าชั่วโมงต่อปี อาจถูกพิจารณาพักใบอนุญาตเป็นการชั่วคราวจนกว่าผู้นั้นจะได้เข้ารับการอบรมครบตามเกณฑ์ที่กําหนด และแจ้งให้อธิบดีทราบ
3.3 กรณีที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรมีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนตามที่ได้แจ้งไว้ต่ออธิบดี กล่าวคือ ชื่อ ที่อยู่ และที่ตั้งสํานักงาน โดยมิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีเหตุอันควร อธิบดีอาจจะดําเนินการพักใบอนุญาตของผู้สอบบัญชีภาษีอากรนั้นก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,695 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 98/2544 เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 98/2544
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งให้ “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” ต้องปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออก ใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คุณสมบัติ
“1.1 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองเทียบเท่าไม่ต่ํากว่าปริญญาดังกล่าว”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
1.2 มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
1.3 มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็น ผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
1.4 ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
1.5 ไม่เคยต้องโทษจําคุกในคดีเกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีอื่นที่อธิบดีเห็นว่าอาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
1.6 ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
1.7 ไม่เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอน ใบอนุญาต
1.8 ต้องผ่านการทดสอบตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๒ การทดสอบ
2.1 ผู้ประสงค์เข้ารับการทดสอบ ต้องทดสอบวิชาดังต่อไปนี้
2.1.1 วิชาการบัญชี
2.1.2 วิชาการสอบบัญชี
2.1.3 ความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2.1.4 วิชาอื่นที่อธิบดีกําหนด
2.2 ผู้ดําเนินการทดสอบ ได้แก่ กรมสรรพากรหรือหน่วยงานที่อธิบดีมอบหมาย
การเปิดให้มีการทดสอบ การยื่นคําขอสมัครทดสอบ ระยะเวลารับสมัคร วันเวลา สถานที่ทดสอบ ขอบเขตวิชาที่ทดสอบ ค่าธรรมเนียมในการทดสอบ สถานที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบ ผู้ผ่านการทดสอบ และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ การขอขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาต
3.1 ผู้ผ่านการทดสอบทุกวิชาตามข้อ 2 จะต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร พร้อมชําระค่าธรรมเนียมต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ
3.2 เมื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่เสนอคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่ออธิบดี เพื่อพิจารณาอนุมัติให้รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
3.3 เมื่ออธิบดีอนุมัติให้รับขึ้นทะเบียน และออกใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้ว เจ้าหน้าที่จะทําการบันทึกชื่อ ที่อยู่ คุณวุฒิ ที่ตั้งสํานักงาน และรายละเอียดอื่นๆ ตามที่ได้แจ้งไว้ตามคําขอขึ้นทะเบียน และติดรูปถ่ายของผู้นั้นลงในทะเบียนผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้วจึงออกใบอนุญาตให้ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรให้ใช้แบบที่อธิบดีกําหนด และให้มีอายุห้าปี
ข้อ ๔ “การอบรม
เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้ว ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเข้ารับการอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่น้อยกว่าเก้าชั่วโมงต่อปีจากองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 ใช้บังคับ 1 กันยายน 2548 เป็นต้นไป)
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร การอบรมด้านกฎหมายภาษีอากรของผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 )
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ การต่ออายุใบอนุญาต
5.1 กรณีใบอนุญาตหมดอายุ
“5.1.1 ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในสามเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด โดยให้แนบสําเนาหรือภาพถ่ายใบประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองผ่านการอบรมที่ได้รับการอบรมระหว่างที่เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามที่กําหนดในข้อ 4
5.1.2 กรณีที่ไม่สามารถยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรภายในเวลาที่กําหนดใน 5.1.1 ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนระยะเวลาดังกล่าวได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว แต่ทั้งนี้ ต้องขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเวลาไม่เกินหกเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้นั้นหมดสภาพการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร และหากประสงค์จะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่อไปจะต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุดและเข้ารับการอบรมอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
5.1.3 ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ได้รับการต่ออายุแล้ว ให้มี อายุห้าปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
5.2 กรณีพ้นจากการถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคําขอเพื่อให้ได้รับ การพิจารณาอนุญาตให้กลับไปเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้อีก เมื่อเวลาผ่านไปเกินกว่าสามปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่ต้องผ่านการทดสอบตามข้อ 2 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอธิบดี
ข้อ ๖ การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียน
6.1 ในกรณีใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรสูญหายหรือถูกทําลายหรือชํารุดเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรยื่นคําขอใบแทนใบอนุญาตต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกําหนดใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบเดียวกันกับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 แต่ให้ระบุข้อความเพิ่มเติมว่า “ใบแทน” ไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ชัดเจนและให้มีอายุเช่นเดียวกันกับใบอนุญาตฉบับจริงที่สูญหายหรือถูกทําลายหรือชํารุดเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้นั้น
6.2 ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนตามที่ได้แจ้งไว้แล้ว กล่าวคือ ชื่อ ที่อยู่ และที่ตั้งสํานักงานตามข้อ 3 ให้แจ้งแก้ไขการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่อธิบดีกําหนด
“ข้อ 7 ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องชําระค่าธรรมเนียมการทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การอบรมจากกรมสรรพากร การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การขอแก้ไขทะเบียน รวมทั้งค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ตามที่อธิบดีกําหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
“ข้อ 8 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.146/2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต และการขอแก้ไขทะเบียนของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดแบบคําขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นแบบคําขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับ การตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,696 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 162/2550 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 162/2550
เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี
---------------------------------------------
เพื่อให้การสั่งงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
“ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีกลางหรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสํานักตรวจสอบภาษีกลางเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
“ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 6 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 254 “ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สรรพากรภาคหรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสํานักงานสรรพากรภาคเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ”
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,697 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 97/2544 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 97/2544
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีของสํานักงานสรรพากรเขตพระนคร ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรเขตปทุมวัน ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เลขที่ 444 อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่ 1 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร ตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่ 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ตามข้อ 1(1) ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2544 ถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2544 และตามข้อ 1(2) ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2544 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2544
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2544
ชาญยุทธ ปทุมารักษ์
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,698 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 161/2550 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 161/2550
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
บทเฉพาะกาล ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 136/2547 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) สาขาเกาะเต่า (สุราษฎร์ธานี) ย่อย เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายและรับชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณี ตามประมวลรัษฎากร สําหรับผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชําระหรือนําส่งเงินภาษีอากรที่มีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่ ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และถ้ามีภาษีต้องเสียหรือนําส่ง ให้ชําระทั้งหมดเป็นเงินสดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๓ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 2
ข้อ ๔ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 3 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,699 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 93/2543 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 93/2543
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------
เพื่ออํานวยความ สะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการ จัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงาน สรรพากรเขตจตุจักร ที่ตั้ง อยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดสวนจตุจักร ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงราย การและรับชําระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ สําหรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่า จะมี ภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่ง ตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับ ปริมาณงานเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ให้ถือ ว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จ รับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและ รับชําระเงินภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะวันเสาร์ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2543 ถึงเดือนกันยายน 2543
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์ศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,700 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 92/2543 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับ ชำระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 92/2543
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับ ชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวก แก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัด เก็บภาษี อากรตามประมวลรัษฎากร มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 11 แห่ง ประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถาน ที่ต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงราย การและรับชําระเงิน ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจาก ที่ว่าการอําเภอ สําหรับผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีภูมิ ลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระ ภาษีของสํานักงานสรรพากรเขตพระนคร ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับ ชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรเขตปทุมวัน ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เลขที่ 444 อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนน พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้น ที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้า ราชการ พลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวน ที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร”เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่ 1 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระ เงินภาษีอากร ตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่ 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระ เงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
ข้อ ๓ การ เสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็น การสมบูรณ์เมื่อได้รับ ใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่ง นี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและ รับชําระเงิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร ตามข้อ 1(1) ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2543 และตาม ข้อ 1(2) ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2543
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์ศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,701 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 91/2543 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 91/2543
เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
--------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางประการในคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 65 วรรคสอง และวรรคสามแห่งประมวลรัษฎากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 4.9 ของข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่ง กรมสรรพากร ที่ ท.ป.78/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคํานวณรายได้และรายจ่าย ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2541
“ 4.9 การคํานวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 เว้นแต่รายได้ซึ่งเกิดจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์จะนํารายได้ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชําระก็ได้”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์ศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,702 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 160/2550 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 160/2550
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาวัฒนา ณ อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ เลขที่ 159 ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ณ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางกอกน้อย ณ อาคารกรมบังคับคดี เลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 8 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 16 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2) และ (3)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) ตั้งแต่วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2550
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) ตั้งแต่วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2550
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,703 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 84/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่มอากร ตามมาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 84/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่มอากร ตามมาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยอากรแสตมป์และอากรมหรสพ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรซึ่งต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากนําตราสารที่ถูกกําหนดให้ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรไปชําระอากรโดยวิธีปิดแสตมป์ลงบนตราสารดังกล่าว เมื่อผู้มีหน้าที่เสียอากรนําตราสารดังกล่าวไปชําระอากรเป็นตัวเงินพร้อมกับเงินเพิ่มอากรให้เสียเงินเพิ่มอากรร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินอากรนับแต่วันที่ต้องชําระอากร
การเสียเงินเพิ่มอากรตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับเงินเพิ่มอากรที่คํานวณจากเงินอากรที่ต้องเสียเฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรได้ปิดแสตมป์ลงบนตราสารที่ถูกกําหนดให้ชําระอากรเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,704 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 159/2550 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 159/2550
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาปทุมวัน 1 ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ถนนกําแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดุสิต ที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2) และ (3)
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(1) ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(2) ณ กองอํานวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) เฉพาะวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 และวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2550
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรตามข้อ 1(3) ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2550
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,705 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 81/2542
เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 ทวิ วรรคสอง มาตรา 67 ตรี วรรค สาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 31) พ.ศ. 2534 มาตรา 89 วรรคสอง และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดี กรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์การงดหรือลด เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.11/2529 เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2529
(2) คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรม สรรพากร ที่ ท.ป.50/2537 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2537
ข้อ ๒ ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 89 หรือมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ทําคําร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงาน ประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้น เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็น สมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับโดยไม่ต้องมีคําร้องก็ได้
การยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือ แจ้งการประเมิน ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระ ภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ หรือกรณีผู้ประกอบกิจการที่เสียภาษีธุรกิจ เฉพาะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับการยื่นแบบแสดงราย การนั้น โดยไม่ได้รับคําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ถือว่า แบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคําร้องตามวรรคหนึ่ง
คําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสาม หมายความถึง กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ใน หนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.127/2546 )
ข้อ ๓ เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้เฉพาะกรณีเจ้า พนักงานประเมินเห็นว่า บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความ ร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
ข้อ ๔ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดได้ แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของ เบี้ยปรับ
ข้อ ๕ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(1) มาตรา 89(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนําส่งภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนําส่งนั้น โดยไม่ได้รับคําเตือนหรือคําเรียกตรวจ สอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าชําระภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาชําระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าชําระภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้น กําหนดเวลาชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545 )
(ค) ถ้าชําระภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้น กําหนดเวลาชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545 )
(ง) ถ้าชําระภายหลัง 60 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาชําระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.71) หรือแบบนําส่งภาษี และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษี ตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ได้มายื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนําส่งภาษี และชําระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนําส่งนั้น
(ก) ภายในกําหนดเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว ให้เสีย ร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) พ้นกําหนดเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรั
(3) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทําความผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวล รัษฎากร และได้มีการบันทึกความผิดไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ พ้นกําหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
(4) ในกรณีที่มีการตรวจพบการกระทําความผิดตาม (3) แล้ว แต่ เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้ดําเนินการประเมินภาษีให้เสร็จVสิ้น และผู้มีVหน้าที่เสียภาษีหรือ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ได้มายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือแบบนําส่งภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนําส่งนั้น ก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ให้ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบการกระทํา ความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นําส่งภาษี ให้เจ้าพนักงาน ประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดเบี้ยปรับได้ ตามอัตราและเงื่อนไขตาม (3)
ข้อ ๖ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(5) และมาตรา 89(10) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งไม่ใช่กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้เจ้าพนักงานประเมินมี อํานาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายใน หนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้น กําหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ ๗ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีมีสินค้า ขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นําฐานภาษีซึ่งมีการกระทําความผิด กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี มูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะ ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ พ้นกําหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นําฐานภาษีซึ่งมีการกระทําความผิด กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ เสียร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับ
ข้อ ๘ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้า พนักงานประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดัง ต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นําฐานภาษีซึ่งมีการกระทําความผิดตาม มาตรา 89(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบ ถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 0.5 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทําความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ พ้นกําหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 1 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นําฐานภาษีซึ่งมีการกระทําความผิด ตามมาตรา 89(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสีย ร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
ข้อ ๙ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(9) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนัก งานประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดได้ แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ ๑๐ การงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(6) และมาตรา 89(7) แห่ง ประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอํานาจพิจารณาสั่งงดหรือลดได้ เว้นแต่อธิบดี กรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๑ การงดหรือลดเบี้ยปรับนอกเหนือไปจากที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ ให้ กระทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.120/2545 )
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 )
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.127/2546 )
ข้อ ๑๒ ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับหลายกรณีตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่ง เป็นกรณีที่จะทําให้เรียกเก็บได้เงินเป็นจํานวนมาก และอาจพิจารณาสั่งลดให้อีกตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 หรือข้อ 11 สําหรับกรณีที่เรียกเก็บนั้น ส่วนกรณีอื่นให้งด
ข้อ ๑๓ ให้นําความในข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 11 และข้อ 12 มาใช้บังคับสําหรับการงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากรโดย อนุโลม
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 )
( ดูคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.127/2546 )
ข้อ ๑๔ ให้บุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 67 ตรี ทําคําร้องเป็น หนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเงินเพิ่มนั้น เว้นแต่กรณีอธิบดีกรม สรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเงินเพิ่มโดยไม่ต้องมีคําร้องก็ได้
การยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือ แจ้งการประเมิน ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีบุคคลตามวรรคหนึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษี เงินได้นิติบุคคลกลางปี โดยไม่ได้รับคําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็น หนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคําร้องตามวรรคหนึ่ง
คําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรค สามหมายความถึง กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิด ไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
ข้อ ๑๕ เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้ได้เฉพาะกรณี เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า บุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
ข้อ ๑๖ การลดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนัก งานประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดได้ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการและชําระ ภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับคําเตือนหรือคําเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าชําระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษีที่ต้องชําระ
(ข) ถ้าชําระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น กําหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชําระ
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้เสียร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษ ของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชําระ แต่ไม่เกินเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๑๗ การงดหรือลดเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ ให้ กระทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
ข้อ ๑๘ คําสั่งกรมสรรพากรที่ถูกยกเลิกโดยคําสั่งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้า ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปสําหรับการจัดเก็บภาษีการค้าที่ต้องชําระอยู่ก่อนหรือในและหลังวันที่ คําสั่งฉบับนี้ใช้บังคับ
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกคําสั่งนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,706 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 158/2550 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 158/2550
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชันที่ตั้งอยู่ ณ สํานักงานอํานวยการตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตลิ่งชัน สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เฉพาะวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ถึงวันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2550
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ไพฑูรย์ พงษ์เกษร
(นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,707 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 80/2542 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำะภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 80/2542
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําะภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากร และให้การบริหารการจัดเก็บ ภาษีอากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรเขต- จตุจักร ที่ตั้งอยู่ ณ กองอํานวยการตลาดนัดสวนจตุจักร ถนนกําแพงเพชร 2 แขวง ลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ 5 ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็น “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้รับ ใบเสร็จรับเงินซึ่ง “ เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร ” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงิน แล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,708 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 157/2550 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 157/2550
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากรอธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และสาขาของธนาคาร เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากร สําหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 และถ้ามีภาษีต้องเสียให้ชําระทั้งหมดในคราวเดียวกันด้วย
ข้อ ๒ ให้พนักงานธนาคารซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารเป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1
ข้อ ๓ การเสียภาษีอากรตามคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550
ไพฑูรย์ พงษ์เกษร
(นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,709 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 79/2542 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 79/2542
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากร และให้การบริหารการจัดเก็บ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 แห่ง ประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชําระ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่ว่าการอําเภอ สําหรับผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหรือเขตท้องที่ใด
(1) หน่วยบริการรับชําระภาษีของสํานักงานสรรพากรเขตปทุมวัน ที่ ตั้งอยู่ ณ อาคาร บริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เลขที่ 444 อาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์การค้ามาบุญครอง)
(2) หน่วยบริการรับชําระภาษีของสํานักงานสรรพากรเขตจตุจักร ที่ ตั้งอยู่ ณ อาคาร บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จํากัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว เลขที่ 1693 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว)
(3) หน่วยบริการรับชําระภาษีของสํานักงานสรรพากรเขตพระโขนง (สาขา) ที่ตั้งอยู่ ณ อาคาร บริษัทบางนาเซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ จํากัด เลขที่ 1091 1093 ถนนบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร (ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้ บางนา)
(4) หน่วยบริการรับชําระภาษีของสํานักงานสรรพากรเขตบางกะปิ ที่ ตั้งอยู่ ณ อาคาร บริษัทเดอะมอล์ลกรุ๊ป จํากัด สาขาบางกะปิ เลขที่ 3522 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร (ศูนย์การค้าเดอะมอล์ลบางกะปิ)
ข้อ ๒ ให้สรรพากรพื้นที่ดังต่อไปนี้ ออกคําสั่งเป็นหนังสือแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในจํานวนที่เหมาะสมกับปริมาณงานเป็น เจ้าหน้าที่ รับชําระเงินภาษีอากรเพื่อรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) สรรพากรพื้นที่ 2 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(1)
(2) สรรพากรพื้นที่ 5 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(2)
(3) สรรพากรพื้นที่ 9 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(3)
(4) สรรพากรพื้นที่ 10 สําหรับการรับแบบแสดงรายการและรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 1(4)
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,710 |
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 156/2549 เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร | คําสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 156/2549
เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่ออํานวยความสะดวกแก่คนต่างด้าวซึ่งถูกระงับการเดินทางออกนอกประเทศไทย ตามแบบ ผ .5 ให้มีสิทธิชําระเงินภาษีอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้อีกแห่งหนึ่ง อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 11 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( จ ) ของ (4) ของข้อ 2 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท . ป .112/2545 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ . ศ . 2545
“( จ ) หน่วยบริการรับชําระภาษีอากรของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางพลี ที่ตั้งอยู่ ณ หน่วยตรวจสินค้าและจ่ายคืน ( สํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ) เลขที่ 99 ถนนบางนา – ตราด กม .15 ตําบลราชาเทวะ อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ( ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ )”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 3 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท . ป .112/2545 เรื่อง กําหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชําระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ .ศ .2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) นักวิชาการภาษี 9 ชช. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว สําหรับการรับชําระเงินภาษีอากรตามข้อ 2(4)( ก ) และ ( จ )”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ . ศ . 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ . 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 2,711 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.