title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104)
เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 23) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงาน ตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 51) เรื่อง กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทํารายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2537
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แตกต่างไปจากรายงานภาษีขายที่มีรายการและข้อความตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าที่คํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และจัดทําบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี จะปรับปรุงบัญชีดังกล่าวเป็นรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเพิ่มช่องรายการ “ชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” และ “จํานวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม” ลงในบัญชีนั้นก็ได้
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดา และคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หากขายสินค้าเป็นเงินสดเพียงอย่างเดียว ให้บริการเป็นเงินสดเพียงอย่างเดียว หรือให้บริการทั้งกรณีเป็นเงินสดและเงินเชื่อ จะปรับปรุงบัญชีเงินสดซึ่งต้องจัดทําอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี เป็นรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเพิ่มช่องรายการ “ชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” และ “จํานวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม” ลงในบัญชีเงินสดทางด้านเงินสดรับก็ได้
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทํารายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา 87 (3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่จะต้องทําการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน ของปี และวันที่ 31 ธันวาคม ของปี และกรอกรายการสินค้าคงเหลือในแบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือ โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้ถือว่าแบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือเป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไป
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการโรงเลื่อย โรงค้าไม้แปรรูป และกิจการอื่นใดซึ่งต้องจัดทําบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าของเก่า ซึ่งต้องจัดทําบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ประเภทร้านค้าปลอดอากร ซึ่งต้องจัดทําบัญชีแยกประเภทสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าให้แก่
(ก) ผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
(ข) ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งได้ทําสัญญาเป็นหนังสือโดยตรงกับผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
ข้อ ๔ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งนอกจากมีสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่แล้ว ยังมีสถานประกอบการอื่นอีกหลายแห่งที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้จัดทํารายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบของสถานประกอบการแห่งอื่นรวมกัน ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ได้
(1) สถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ประกอบกิจการอยู่เป็นประจําในสถานที่เช่า ซึ่งได้จ่ายค่าเช่าเป็นรายวันหรือตามสัญญาเช่า
(2) สถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเดินทั่วไปที่มีผู้คนสัญจรไปมา หรือภายในบริเวณอาคารสํานักงาน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือภายในบริเวณศูนย์อาหารของอาคารสํานักงาน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
การจัดทํารายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถจัดทํารวมกับสํานักงานใหญ่เพียงรายงานฉบับเดียว ซึ่งรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการ การซื้อสินค้าหรือการรับบริการ และการรับหรือจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบของสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่และสถานประกอบการแห่งอื่น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และต้องเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 จะต้องยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ตามแบบคําขออนุมัติจัดทํารายงานตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง จะต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปติดแถบเครื่องหมายแสดงการได้รับอนุมัติไว้ ณ ที่เปิดเผย ซึ่งเห็นได้ง่าย กรณีแถบเครื่องหมายดังกล่าวชํารุดเสียหายหรือสูญหาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคําร้องขอรับแถบเครื่องหมายจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ทันที”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 147) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป)
ข้อ ๖ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่ต้องนําค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 (3) (4) (5) (9) และ (12) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 102) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2543 จัดทํารายงานภาษีขาย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่ต้องนําค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 (14) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่องกําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 จัดทํารายงานภาษีขาย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จัดทํารายงานภาษีขายและรายละเอียดของธุรกรรมประกอบการจัดทํารายงานภาษีขาย โดยต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,614 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 235) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 235)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 และมาตรา 85/10 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประสงค์จะขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/10 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ต้องยื่นคําขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.08) โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(1) กรณีการยื่นคําขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.08) ในรูปแบบของกระดาษ ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(2) กรณีการยื่นคําขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.08) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นผ่านเว็บไซต์ (Web Site) ดังต่อไปนี้
(ก) เข้าสู่ระบบทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับอนุมัติจากการลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(ข) เข้าสู่ระบบทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นคําขอตาม (ก) หรือ (ข) จะถือว่าสมบูรณ์เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับหมายเลขอ้างอิงการยื่นคําขอดังกล่าวจากกรมสรรพากร
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 จะได้รับสิทธิในการพิจารณาถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวเข้าลักษณะตามมาตรา 85/10 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ผู้มีอํานาจสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ที่ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นคําขอตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,615 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 103) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 103)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดี กรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลง วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 102) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํา มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2543
“ (13) มูลค่าของสลากวินโต๊ดและเปร๊สโต๊ดที่ผู้ประกอบการสนามแข่งม้าขายให้แก่ผู้เล่นพนันแข่งม้า เป็นจํานวนเท่ากับจํานวนเงินรางวัลที่จะต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้เล่นพนันแข่งม้าดังกล่าว”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร
รองอธิบดีรักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,616 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 102) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 102)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12) ของ ข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 98) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวม คํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2542
“(12) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายหรือให้ บริการแก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็น
(ก) ผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
(ข) ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งได้ทําสัญญาเป็นหนังสือโดยตรงกับผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย- มาเลเซีย
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องทําสัญญากับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ เป็นหนังสือ และต้องจัดทํารายงานตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกําหนด”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,617 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 234) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 234)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิยื่นแบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามแบบคําขอที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ถือเป็นการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้อีกวิธีหนึ่ง
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการตามข้อ 1 มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ในเมื่อ
(1) ผู้ประกอบการดังกล่าวมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และ
(2) มีการดําเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การก่อสร้างอาคารสํานักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร
ให้ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่งมีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ภายในกําหนดหกเดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่จะมีสัญญาหรือหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะดําเนินการก่อสร้างโรงงานหรืออาคารสํานักงานหรือติดตั้งเครื่องจักร หรือมีการกระทําในลักษณะทํานองเดียวกัน ให้มีสิทธิยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในเวลาที่เหมาะสมและจําเป็นต่อการก่อสร้างโรงงานหรืออาคารสํานักงานหรือติดตั้งเครื่องจักร
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการซึ่งจะประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประเภทที่กําหนดในมาตรา 81/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ระบุในแบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องจัดเตรียมเอกสารตามแบบคําขอที่แนบท้ายประกาศนี้พร้อมที่จะแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรด้วย
ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่า ผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ
กรณีผู้ประกอบการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากผู้ประกอบการแสดงรายการในแบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ครบถ้วน หรือแสดงรายการในแบบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครบถ้วนแล้ว แต่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ
(1) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการแสดงรายการในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นเท็จ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนผู้ประกอบการเป็นตัวแทนเชิดของเจ้าของกิจการที่แท้จริง
(3) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ไม่มีสถานประกอบการจริงตามที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการใช้สํานักงานกฎหมายหรือสํานักงานบัญชีของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
(5) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมิใช่ผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการที่แท้จริง
(6) ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการมิได้แสดงเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 และข้อ 4 ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรให้ครบถ้วนตามที่เจ้าพนักงานสรรพากรร้องขอ
ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้แก่ผู้ประกอบการ กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งให้ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายสถานประกอบการ
ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เว้นแต่กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการเพราะเข้าลักษณะตามข้อ 5 วรรคสอง ถือว่าผู้ประกอบการดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งในขณะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยระบุเฉพาะสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ มิได้ระบุสถานประกอบการแห่งอื่น ๆ ไว้ในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย ให้ถือว่าสถานประกอบการแห่งอื่น ๆ นั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในวันเดือนปีเดียวกันกับสํานักงานใหญ่
ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์คําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่มีเลขที่อ้างอิง เพื่อใช้เป็นเสมือนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้จนกว่าจะได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
ข้อ ๘ ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ที่ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นคําขอตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,618 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 101) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 101)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าว ได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้
การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขาย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ จําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามา หักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้ กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5”
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตาม กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสาม ของข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ จําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามา หักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้ แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุง โครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ”
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย
(2) ธนาคารออมสิน
(3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตาม กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้ กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
(5)บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“เจ้าหนี้อื่น" หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการ เจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลง เป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,619 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 233) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 233)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ ข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วซึ่งมีมูลค่าการซื้อสินค้ารวมกันทั้งหมดตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ต้องนําสินค้าตามข้อ 2 และคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับรับรองในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) หรือตรวจรับรองคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของ ข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เมื่อผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรขอรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยวิธีการดังนี้
4.1 ยื่นคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหรือ
4.2 นําส่งคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ดังกล่าวทางไปรษณีย์ ให้กับเจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้าเป็นวันแรก หรือ
4.3 ยื่นคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
“ในกรณีที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วตามข้อ 4.3 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ผ่านช่องทางการชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,620 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 100) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 100)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของ ข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 79) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้ นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2544
(ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของ เจ้าหนี้อื่น โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้กระทําภายในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2544”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของ (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้ นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 95) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542
“ใน (ก) และ (ข) ของวรรคสอง
สถาบันการเงิน หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) ธนาคารออมสิน
(3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
เจ้าหนี้อื่น หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการ เจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
ลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,621 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 232) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 232)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface
----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 3 วรรคสามของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 230) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสําหรับการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร” หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
“ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร” หมายความว่า ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
“ระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (e-VAT Refund for Tourists)” หมายความว่า ระบบที่ใช้สร้างและเก็บรักษาข้อมูลการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
“แบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า แบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่อธิบดีได้กําหนดรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้บนระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (e-VAT Refund for Tourists) เพื่อใช้ในการจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และนําส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร มีสิทธิจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดี ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวตามแบบที่อธิบดีกําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ หรือผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
3.1 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อธิบดีอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
3.2 ไม่เคยมีประวัติเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกํากับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3.3 มีเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับกรมสรรพากร ตามมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface ในการจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และนําส่งข้อมูลคําร้องดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรได้ในทันที (Real Time)
ข้อ ๔ เมื่ออธิบดีได้อนุมัติคําขอตามข้อ 2 แล้ว ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว เป็นผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และจะได้รับชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) จากกรมสรรพากร เพื่อใช้ในการจัดทําข้อมูลแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามแบบที่อธิบดีกําหนดไว้ผ่านระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (e-VAT Refund for Tourists) ตลอดจนนําส่งข้อมูลดังกล่าวให้กรมสรรพากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface
ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เพียงวิธีการเดียวเท่านั้น
ข้อ ๕ เมื่อผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแล้วให้ปฏิบัติ ดังนี้
5.1 จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยระบุเลขที่หนังสือเดินทางของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรลงในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
5.2 รับรองรายการสินค้าที่ปรากฏในใบกํากับภาษีตามข้อ 5.1 และจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (e-VAT Refund for Tourists)
5.3 นําส่งแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทําขึ้นตามข้อ 5.2 ให้กับกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface เพื่อขออนุมัติหมายเลขอ้างอิงการนําส่งแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และ
5.4 เมื่ออธิบดีได้อนุมัติหมายเลขอ้างอิงการนําส่งแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (e-VAT Refund for Tourists) แล้ว ให้ผู้มีสิทธิจัดทําคําร้องดังกล่าวส่งมอบหลักฐานการนําส่งแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าในทันที
ข้อ ๖ ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลนั้น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ตามที่ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องดังกล่าวกําหนด
ข้อ ๗ ในกรณีที่ไม่สามารถนําส่งแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Application Programming Interface ตามข้อ 5.3 ได้ เนื่องจากเหตุขัดข้องของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทําให้แบบคําร้องฉบับดังกล่าว ไม่ได้รับการอนุมัติหมายเลขอ้างอิงตามข้อ 5.4 ให้ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องนั้นดําเนินการ ดังนี้
7.1 ดําเนินการจัดทําใบกํากับภาษีตามข้อ 5.1 และรับรองรายการสินค้าพร้อมจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 5.2 ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
7.2 ส่งมอบหลักฐานการนําส่งแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ปรากฏหมายเลขอ้างอิงตามข้อ 5.4 ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าดังกล่าวในทันที และ
7.3 จัดทํารายงานเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แจ้งวันเวลา และเหตุขัดข้องดังกล่าวต่อกรมสรรพากร ผ่านช่องทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ([email protected]) พร้อมแนบสําเนาหลักฐานการนําส่งแบบคําร้องตามข้อ 7.2 ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ภายในวันถัดไป
ในกรณีที่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถดําเนินการได้ตามปกติ ให้ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องดังกล่าว ดําเนินการตามข้อ 5.3 เพื่อขออนุมัติหมายเลขอ้างอิงผ่านระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (e-VAT Refund for Tourists) ในทันที
ข้อ ๘ ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้โดยเคร่งครัด เว้นแต่อธิบดีจะได้มีคําสั่งเพิกถอนการอนุมัติดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องดังกล่าว ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศนี้ ให้อธิบดีมีอํานาจสั่งเพิกถอนการอนุมัติ และออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ผู้มีสิทธิจัดทําแบบคําร้องดังกล่าว ยุติการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร นับแต่วันที่อธิบดีมีหนังสือเพิกถอนเป็นต้นไป
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,622 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 99) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 99)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 74) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการยื่น คําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจาก (1) ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรอําเภอ สํานักงานสรรพากรอําเภอ (สาขา) หรือสํานักงานสรรพากร กิ่งอําเภอ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่อําเภอ หรือกิ่งอําเภอตั้งใหม่ที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากําลังไว้ ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรอําเภอ สํานักงานสรรพากรอําเภอ (สาขา) หรือสํานักงานสรรพากรกิ่งอําเภอที่เคยควบคุมท้องที่เดิม ของอําเภอหรือกิ่งอําเภอตั้งใหม่นั้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,623 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 98) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 98)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฉ) ของวรรคสอง ของข้อ 2(4) แห่ง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อ ที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 95) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการ คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542 ดังนี้
“(ฉ) การแปรรูปกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดําเนินการในกิจการของรัฐ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,624 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 231) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 231)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน 2.3 ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“2.3 มูลค่าการซื้อสินค้าต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 2,000 บาท โดยซื้อจากสถานประกอบการแห่งละจํานวนไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ต่อวัน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน และมีความประสงค์จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แจ้งต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า พร้อมแสดงหนังสือเดินทาง เพื่อจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ในวันที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรซื้อสินค้า”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการซื้อสินค้าทั้งหมดตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ต้องนําสินค้าตามข้อ 2 และคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับรับรองในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่สินค้าที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา หรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแสดงสินค้าดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรด้วย
เมื่อผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรขอรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หรือส่งคําร้องดังกล่าวให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งทางไปรษณีย์ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้าเป็นวันแรก”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งหักค่าใช้จ่ายในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราที่อธิบดีกําหนดท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วเป็นจํานวนไม่เกิน 30,000 บาท ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ โดยคืนเป็นเงินสด ตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือผ่านระบบการชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องคืนให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีจํานวนเกินกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรเป็นตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือผ่านระบบการชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,625 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 97) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 97)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (10) และ (11) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคมพ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541
“(10) มูลค่าของเครื่องแบบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนายจ้างได้มอบให้แก่ลูกจ้างในจํานวนคนละไม่เกินสองชุดต่อปี และเสื้อนอกในจํานวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี
“เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกายรวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทําด้วยโลหะหรืออัญมณีมีค่า เช่น เงิน ทองคํา ทับทิม หยก
“เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงชุดไทยพระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสําคัญต่างๆ
(11) มูลค่าของค่าตอบแทนที่พึงได้รับจากการมอบสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทดลองใช้งานก่อนซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ของใช้สิ้นเปลืองและต้องเป็นสินค้าที่มีไว้สําหรับให้ทดลองใช้เป็นการชั่วคราว เพื่อทดลองคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้น และผู้ซื้อสินค้าจะต้องส่งมอบสินค้าดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าเมื่อทดลองใช้เสร็จ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,626 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 95) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 95)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (จ) ของวรรคสอง ของข้อ 2(4) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 84) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ดังนี้
“(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัด และบริษัท จํากัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,627 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 94) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 94)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยและการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (16) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 83) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
“(16) การประกอบกิจการให้บริการใช้สนามบินของบริษัท การบินกรุงเทพ จํากัด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 83) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ทั้งนี้ ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 100,000 บาท แต่ไม่รวมถึงการให้บริการตาม (12) (13) (14) (15) และ (16)”
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2542
จักรี รัตยันตรกร
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,628 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 230) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 230)
เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คําขออนุมัติให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกําหนด โดยให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ หรือยื่นคําขออนุมัติผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในการกํากับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นผ่านกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือยื่นคําขออนุมัติผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มเติมความดังต่อไปนี้เป็น 1.3 ของข้อ 1 วรรคสาม ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
“1.3 เป็นผู้มีสิทธิออกใบกํากับภาษีด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน 3.2 ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“3.2 จัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและสําเนาคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกําหนด (ภ.พ.10) ให้แก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยส่งมอบต้นฉบับคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทาง และเก็บรักษาสําเนาคําร้องอีกหนึ่งฉบับไว้ ณ สถานประกอบการ
ในกรณีที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วจากการซื้อสินค้าที่เป็น อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพาหรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ให้ผู้ประกอบการประทับข้อความ ""Item No........ must also be presented to Revenue Officer"" ลงในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10)
แบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้คําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้น หรือแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่ได้จัดทําขึ้นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไว้เท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 ขอรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับรายที่อยู่ในการกํากับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ และในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ขอรับคําร้องดังกล่าว เป็นรายสถานประกอบการ โดยขอรับได้ที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
การขอรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอต่อสรรพากรพื้นที่ หรือผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ก่อนวันคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ไม่น้อยกว่า 7 วันทําการ โดยแนบสําเนารายงานการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ฉบับปัจจุบันประกอบการขอรับคําร้องดังกล่าวด้วย”
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,629 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 229) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้า จากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 229)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้า จากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้เดินทางที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว จากการซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(2) ไม่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย
(3) ไม่เป็นนักบินหรือลูกเรือของสายการบินที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(4) เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ที่มีสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวตั้งอยู่
(5) ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
(6) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศนี้
ข้อ ๒ ผู้เดินทางที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียก เก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดในจํานวนไม่เกินสามหมื่นบาท
การตั้งตัวแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตัวแทนที่ผู้เดินทางตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๓ ผู้มีความประสงค์จะประกอบกิจการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ต้องยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคําขออนุมัติตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) มีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้ว ตั้งแต่ยี่สิบห้าล้านบาทขึ้นไป
(3) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เคยมีประวัติเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกํากับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ปรากฏอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองนิติบุคคล
(5) เสนอแผนการดําเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
(5.1) รายละเอียดของพื้นที่ในการให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(5.2) รายละเอียดของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ รวมถึงระบบงานพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ ในการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(5.3) รายละเอียดของระบบเชื่อมต่อการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้กรมสรรพากรได้ทันที (Real Time)
ข้อ ๔ ตัวแทนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร สามารถให้บริการเป็นตัวแทนขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรได้ โดยต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) จัดให้มีสถานประกอบการให้บริการ ในพื้นที่ตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
(2) จัดทําระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อนําส่งข้อมูลการคืนภาษีให้กับกรมสรรพากรแบบ Real Time
(3) จัดให้มีกล่องรับแบบคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) (Drop Box)ติดตั้งไว้ ณ บริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวตั้งอยู่
ข้อ ๕ ผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว หากมีความประสงค์จะเพิ่มพื้นที่ให้บริการให้จัดทําหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าว พร้อมจัดทําแผนงานตามความในข้อ 3 วรรคสอง (5) เสนอต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว การเพิ่มพื้นที่ให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่งต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๖ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมแสดงหนังสือเดินทางต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าในวันที่ซื้อสินค้า เพื่อให้จัดทําเอกสาร ดังนี้
(1) ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณีโดยระบุเลขที่หนังสือเดินทางของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) คําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) หรือคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
ทั้งนี้ ใบกํากับภาษีที่ปรากฏในคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) ที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แต่งตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศฉบับนี้แล้ว ไม่สามารถนําไปใช้เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้อีก
ข้อ ๗ สินค้าที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามประกาศฉบับนี้ ต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นสินค้าที่นําไปพร้อมกับการเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) ไม่เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนําออกนอกราชอาณาจักร อาวุธปืน วัตถุระเบิด หรือสินค้า ที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน อัญมณีที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ กรณีเป็นสินค้าที่สามารถบริโภคได้ในราชอาณาจักร สินค้าดังกล่าวต้องได้รับการบรรจุหีบห่อและปิดผนึก (Seal) ที่มีสัญลักษณ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนในลักษณะมั่นคง และให้มีข้อความ “No Consumption made whilst in Thailand” ลงบนหีบห่อ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
(3) เป็นสินค้าที่ซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทําคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) และมูลค่าการซื้อสินค้าต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าสองพันบาท โดยซื้อจากสถานประกอบการแห่งละจํานวนไม่น้อยกว่าสองพันบาทต่อวัน
(4) เป็นสินค้าที่ต้องนําออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้เดินทางออกไป นอกราชอาณาจักรแจ้งความประสงค์ตามข้อ 6
ข้อ ๘ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการซื้อสินค้าทั้งหมดตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ต้องนําสินค้าตามข้อ 7 และคําร้องขอคืนเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) พร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ที่มีกล่องรับคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) (Drop Box) ติดตั้งไว้ในขณะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับ รับรองในคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) กรณีสินค้าที่ปรากฏข้อความ “Item No. ... must also be presented to Revenue Officer” ในคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา หรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทาง ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องแสดงสินค้า ดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ จุดบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตั้งอยู่ภายหลังผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง เพื่อประทับรับรองการมีสินค้าลงในคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10)
ข้อ ๙ เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อ 8 แล้ว ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร นําส่งคําร้องขอคืนเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) พร้อมใบกํากับภาษีในกล่องรับคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) (Drop Box) ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
ข้อ ๑๐ เมื่อผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของประกาศนี้ กรมสรรพากรจะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าวผ่านตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติ
เอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามวรรคหนึ่ง มีดังนี้
(1) รายงานการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ประกอบเอกสารหลักฐานการตั้งตัวแทน
(2) คําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) และใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีสิทธิตามประกาศนี้
ข้อ ๑๑ ตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้เป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับ ให้ถือว่าเป็นตัวแทนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรและสามารถให้บริการเป็นตัวแทนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ได้โดยมิต้องยื่นคําขออีก
ข้อ ๑๒ ในกรณีตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติตามประกาศนี้ หรือตัวแทนตามข้อ 11 ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศนี้ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 2 ได้ และให้ตัวแทนที่ถูกเพิกถอนดังกล่าวยุติการให้บริการนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากร มีหนังสือเพิกถอนเป็นต้นไป
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,630 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 93) เรื่อง กำหนดรายการในใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 93)
เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 61) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2538
“ข้อ 4 กําหนดให้ใบกํากับภาษีของการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการเช่นเดียวกันกับใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ให้บริการได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้า หรือบริการ บางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 61) เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการ บางกรณีตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2538
“ข้อ 5 กําหนดให้ใบกํากับภาษีของการขายยาสูบตามมาตรา 86/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ระบุชื่อ ชนิด และประเภทของยาสูบ เป็นภาษาอังกฤษได้ และต้องกําหนดช่องราคาขายปลีกหักด้วยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็ม ของราคาขายปลีกไว้ในใบกํากับภาษีด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,631 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 228) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 228)
เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการไว้ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 171) เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ผู้ประกอบการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ 1 ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือเป็นมูลนิธิ หรือเป็นสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
สถาบันอุดมศึกษาตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาดังต่อไปนี้
(1) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสถานศึกษาในกํากับของรัฐ
(2) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงอื่น ๆ
(3) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,632 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 227) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติสถานเอกอัครราชทูตสถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย ตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 227)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติสถานเอกอัครราชทูตสถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย ตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 49) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 27) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ตามมาตรา 80/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องขายสินค้าหรือให้บริการให้แก่องค์การสหประชาชาติทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุลองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องให้ผลปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งหนึ่ง ๆ มีจํานวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาท เว้นแต่มูลค่าของกระแสไฟฟ้า น้ําประปา และค่าบริการโทรศัพท์
ข้อ ๓ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องให้ผลปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ต้องขอหนังสือรับรองการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 ตามที่แนบท้ายประกาศนี้จากกระทรวงการต่างประเทศในแต่ละครั้งที่จะซื้อสินค้าหรือรับบริการ เว้นแต่การซื้อกระแสไฟฟ้า น้ําประปา หรือการใช้บริการโทรศัพท์ ให้ขอหนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศในการซื้อหรือใช้บริการในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว และต้องแสดงหนังสือรับรองดังกล่าวต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนในการซื้อสินค้าและใช้บริการด้วย
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ต้องสําเนาใบกํากับภาษี ให้กรมสรรพากรพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการด้วย เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ข้อ ๕ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องให้ผลปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือสํานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ต้องสําเนาใบกํากับภาษีส่งให้กรมสรรพากรเป็นเวลาสองเดือนต่อครั้ง
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,633 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 226) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บ ไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 226)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บ ไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้า จากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้เดินทางที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว จากการซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(2) ไม่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย
(3) ไม่เป็นนักบินหรือลูกเรือของสายการบินที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(4) เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 2 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
(5) ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
(6) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศนี้
ข้อ ๒ ผู้เดินทางที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 มีสิทธิตั้งตัวแทนได้ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดในจํานวนไม่เกิน หนึ่งหมื่นสองพันบาท
การตั้งตัวแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตัวแทนที่ผู้เดินทางตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๓ ผู้มีความประสงค์จะประกอบกิจการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ต้องยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ให้บริการ เป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมือง ที่แนบท้าย ประกาศนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคําขออนุมัติตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) มีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้ว ตั้งแต่ยี่สิบห้าล้านบาทขึ้นไป
(3) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เคยมีประวัติเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกํากับภาษีที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย
(4) มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ปรากฏอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดที่ระบุไว้ ในหนังสือรับรองนิติบุคคล
(5) เสนอแผนการดําเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
(5.1) รายละเอียดของพื้นที่ในการให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่เกิน 5 พื้นที่ให้บริการ
ในกรณีของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ให้บริการตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมืองแล้ว และมีความประสงค์จะเพิ่ม พื้นที่ให้บริการ ให้จัดทําหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าว เสนออธิบดีกรมสรรพากรผ่านหัวหน้า กลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาอนุมัติเพิ่มพื้นที่ ให้บริการตามที่เห็นสมควร แต่รวมกับพื้นที่ให้บริการที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่เกิน 5 พื้นที่ให้บริการ
(5.2) รายละเอียดของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ รวมถึงระบบงานพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ ในการให้บริการเป็นตัวแทน คืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมือง
(5.3) รายละเอียดของระบบเชื่อมต่อการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้กรมสรรพากรได้ทันที (Real Time)
ข้อ ๔ ตัวแทนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร สามารถให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมืองได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 และจะต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) จัดให้มีสถานประกอบการให้บริการ ในพื้นที่ตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
(2) จัดทําระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมือง เพื่อนําส่งข้อมูลการคืนภาษีให้กับกรมสรรพากรแบบ Real Time
(3) จัดทํากล่องรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) (Drop Box) จํานวน 3 กล่อง ติดตั้งไว้ ณ บริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยาน นานาชาติสุวรรณภูมิด้านตะวันตกและด้านตะวันออก และบริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ข้อ ๕ แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในข้อ 3 (5) อธิบดีกรมสรรพากรอาจกําหนดให้ตัวแทนที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพิ่มพื้นที่ให้บริการ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตามระยะเวลาที่กําหนดได้ ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๖ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมแสดงหนังสือเดินทางต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าในวันที่ซื้อสินค้า เพื่อให้จัดทํา เอกสาร ดังนี้
(1) ใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี โดยระบุเลขที่หนังสือเดินทางของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) คําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
ทั้งนี้ ใบกํากับภาษีที่ปรากฏในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แต่งตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศฉบับนี้แล้ว ไม่สามารถ นําไปใช้เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศได้อีก
ข้อ ๗ สินค้าที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามประกาศฉบับนี้ ต้องมีลักษณะ ดังนี้
(1) เป็นสินค้าที่นําไปพร้อมกับการเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) ไม่เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนําออกนอกราชอาณาจักร อาวุธปืน วัตถุระเบิด หรือสินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน อัญมณีที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ
กรณีเป็นสินค้าที่สามารถบริโภคได้ในราชอาณาจักร สินค้าดังกล่าวต้องได้รับการบรรจุหีบห่อ และปิดผนึก (Seal) ที่มีสัญลักษณ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนในลักษณะมั่นคง และให้มีข้อความ “No Consumption made whilst in Thailand” ลงบนหีบห่อ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
(3) เป็นสินค้าที่ซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) และมูลค่าของสินค้าที่ซื้อต้องมีจํานวน ไม่น้อยกว่าสองพันบาท โดยซื้อจากสถานประกอบการแห่งละจํานวนไม่น้อยกว่าสองพันบาทต่อวัน
(4) ต้องนําสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้เดินทางออกไป นอกราชอาณาจักรแจ้งความประสงค์ตามข้อ 6
ข้อ ๘ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ต้องนําสินค้าตามข้อ 7 และคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) พร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อ เจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ หรือท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ขณะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับรับรองในคําร้องขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10)
กรณีสินค้าที่ปรากฏข้อความ “Item No. ... must also be presented to RevenueOfficer” ในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็น ตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพาหรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋า เข็มขัด ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าของสิ้นค้าต่อชิ้นตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องแสดงสินค้าดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ จุดบริการ คืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตั้งอยู่ภายหลังผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง เพื่อประทับรับรองการมีสินค้า ลงในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10)
ข้อ ๙ เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อ 8 แล้ว ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร นําส่งคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) พร้อมใบกํากับภาษีในกล่องรับแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) (Drop Box) ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ประจําท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิด้านตะวันตกและด้านตะวันออก หรือบริเวณด้านหน้า สํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ข้อ ๑๐ เมื่อผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศนี้ กรมสรรพากรจะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวล รัษฎากร ให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว ผ่านตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติ
เอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง มีดังนี้
(1) รายงานการให้บริการเป็นตัวแทนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ประกอบเอกสารหลักฐานการตั้งตัวแทน
(2) คําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) และใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีสิทธิตามประกาศนี้
ข้อ ๑๑ ตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 224) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไป นอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวล รัษฎากร ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561 ให้ถือว่า เป็นตัวแทนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร และสามารถให้บริการเป็นตัวแทนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ ได้โดยมิต้องยื่นคําขออีก
ข้อ ๑๒ ในกรณีตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติตามประกาศนี้ หรือตัวแทนตามข้อ 11 ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศนี้ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจเพิกถอน การอนุมัติตามข้อ 2 ได้ และให้ตัวแทนที่ถูกเพิกถอนดังกล่าวยุติการให้บริการนับแต่วันที่ อธิบดีกรมสรรพากร มีหนังสือเพิกถอนเป็นต้นไป
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,634 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนขออนุมัติจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 35) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติออกใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศหรือหน่วยเงินตราต่าง ประเทศตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาอังกฤษและ เป็นหน่วยเงินตราไทยตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าได้รับ อนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศฉบับนี้
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ ซึ่งต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยมีรายการตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดตามมาตรา 86/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องขออนุมัติจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศหรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งส่งออกสินค้าตามมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งการให้บริการได้กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากร กําหนด และได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีความประสงค์จัดทํารายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ จะต้องได้ ้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ มีสิทธิยื่นคําร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติจัดทํารายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศ แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งการให้บริการได้กระทําในราชอาณาจักร และได้มีการ ใช้บริการนั้นในต่างประเทศ แต่ไม่เป็นไปตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด จึงไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทําใบกํากับภาษีโดยมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการแปลเป็นภาษาไทยด้วย
ข้อ ๖ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และข้อ 5 ยื่นคําร้อง เป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรภาคในเขตท้องที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรภาค ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 143) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๗ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 และข้อ 5 จะจัดทํารายการในใบกํากับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ หรือเป็นภาษาต่างประเทศได้ จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน
ข้อ ๘ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 3(2) และข้อ 5 ซึ่งได้จัดทํารายการในใบกํากับ ภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยไม่ได้ขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 86/4 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,635 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 225) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 225)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 224) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ผู้มีความประสงค์จะประกอบกิจการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางตามข้อ 2 วรรคหนึ่งเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ต้องยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคําขออนุมัติตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) มีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้ว ตั้งแต่ยี่สิบห้าล้านบาทขึ้นไป
(3) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เคยมีประวัติเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกํากับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ปรากฏอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองนิติบุคคล
(5) เสนอแผนการดําเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
(5.1) รายละเอียดของพื้นที่ในการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ไม่เกิน 5 พื้นที่ให้บริการ
ในกรณีของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ให้บริการตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมืองแล้ว ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และมีความประสงค์จะเพิ่มพื้นที่ให้บริการ ให้จัดทําหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าว เสนออธิบดีกรมสรรพากรผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาอนุมัติเพิ่มพื้นที่ให้บริการตามที่เห็นสมควร แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 5 พื้นที่ให้บริการ
(5.2) รายละเอียดของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ รวมถึงระบบงานพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ในการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(5.3) รายละเอียดของระบบเชื่อมต่อการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้กรมสรรพากรได้ทันที (Real Time)”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มเติมข้อความดังต่อไปนี้เป็น ข้อ 4/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 224) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561
“ข้อ 4/1 แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในข้อ 3 (5) อธิบดีกรมสรรพากรอาจกําหนดให้ตัวแทนที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพิ่มพื้นที่ให้บริการ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตามระยะเวลาที่กําหนดได้ ตามที่เห็นสมควร”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,636 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ.2541 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้เดินทางที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วจากการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.1 ไม่เป็นผู้มีสัญชาติไทย
“1.2 ไม่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 152) ใช้บังคับ 7 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป)
1.3 ไม่เป็นนักบินหรือลูกเรือของสายการบินที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
1.4 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
1.5 ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
1.6 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศนี้
ข้อ ๒ สินค้าที่ผู้เดินทางซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร และมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
2.1 เป็นสินค้าที่นําไปพร้อมกับการเดินทาง
2.2 ไม่เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนําออกนอกราชอาณาจักร อาวุธปืน วัตถุ ระเบิด หรือสินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน อัญมณีที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ
“2.3 มูลค่าการซื้อสินค้าต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 2,000 บาท โดยซื้อจากสถานประกอบการแห่งละจํานวนไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ต่อวัน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 231) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
“2.4 เป็นสินค้าที่ต้องนําออกนอกราชอาณาจักรภายใน 60 วัน โดยนับวันที่ซื้อสินค้าเป็นวันแรก”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 198) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน และมีความประสงค์จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แจ้งต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า พร้อมแสดงหนังสือเดินทาง เพื่อจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ในวันที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรซื้อสินค้า”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 231) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
ข้อ ๔ ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วซึ่งมีมูลค่าการซื้อสินค้ารวมกันทั้งหมดตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ต้องนําสินค้าตามข้อ 2 และคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับรับรองในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) หรือตรวจรับรองคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 233) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
“ในกรณีที่สินค้าที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา หรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแสดงสินค้าดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 231) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
“เมื่อผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรขอรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยวิธีการดังนี้
4.1 ยื่นคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหรือ
4.2 นําส่งคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ดังกล่าวทางไปรษณีย์ ให้กับเจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้าเป็นวันแรก หรือ
4.3 ยื่นคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 233) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ เมื่อผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข ครบถ้วนตามประกาศฉบับนี้ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร หากผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไม่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข หรือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไม่ครบถ้วนตามประกาศฉบับนี้สําหรับการซื้อสินค้ารายการใด ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะสินค้ารายการที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขครบถ้วนตามประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖ ในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งหักค่าใช้จ่ายในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราที่อธิบดีกําหนดท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วเป็นจํานวนไม่เกิน 30,000 บาท ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ โดยคืนเป็นเงินสด ตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือผ่านระบบการชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องคืนให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีจํานวนเกินกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรเป็นตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือผ่านระบบการชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 231) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
“ในกรณีที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วตามข้อ 4.3 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ผ่านช่องทางการชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 233) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,637 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 224) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนาออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 224)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนาออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้เดินทางที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว จากการซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(2) ไม่เป็นผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทย
(3) ไม่เป็นนักบินหรือลูกเรือของสายการบินที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(4) เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 2 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
(5) ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
(6) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศนี้
ข้อ ๒ ผู้เดินทางที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 มีสิทธิตั้งตัวแทนได้ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดในจํานวนไม่เกินหนึ่งหมื่นสองพันบาท
การตั้งตัวแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตัวแทนที่ผู้เดินทางตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ ๓ ผู้มีความประสงค์จะประกอบกิจการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางตามข้อ 2 วรรคหนึ่งเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ต้องยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ตามแบบคําขออนุมัติเป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคําขออนุมัติตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) มีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้ว ตั้งแต่ยี่สิบห้าล้านบาทขึ้นไป
(3) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เคยมีประวัติเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกํากับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ปรากฏอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองนิติบุคคล
(5) เสนอแผนการดําเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
(5.1) รายละเอียดของพื้นที่ในการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ไม่เกิน 5 พื้นที่ให้บริการ
ในกรณีของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ให้บริการตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมืองแล้ว ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และมีความประสงค์จะเพิ่มพื้นที่ให้บริการ ให้จัดทําหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าว เสนออธิบดีกรมสรรพากรผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาอนุมัติเพิ่มพื้นที่ให้บริการตามที่เห็นสมควร แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 5 พื้นที่ให้บริการ
(5.2) รายละเอียดของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ รวมถึงระบบงานพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ในการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(5.3) รายละเอียดของระบบเชื่อมต่อการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้กรมสรรพากรได้ทันที (Real Time)
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 225) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 )
ข้อ ๔ ตัวแทนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร สามารถให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรได้นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 และจะต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) จัดให้มีสถานประกอบการให้บริการ ในพื้นที่ตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
(2) จัดทําระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อนําส่งข้อมูลการคืนภาษีให้กับกรมสรรพากร แบบ Real Time
(3) จัดทํากล่องรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10) (Drop Box) จํานวน 3 กล่อง ติดตั้งไว้ ณ บริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิด้านตะวันตก และด้านตะวันออก และบริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ข้อ 4/1 แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในข้อ 3 (5) อธิบดีกรมสรรพากรอาจกําหนดให้ตัวแทนที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพิ่มพื้นที่ให้บริการ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตามระยะเวลาที่กําหนดได้ ตามที่เห็นสมควร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 225) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 )
ข้อ ๕ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมแสดงหนังสือเดินทางต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าในวันที่ซื้อสินค้า เพื่อให้จัดทําเอกสาร ดังนี้
(1) ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้วแต่กรณี โดยระบุเลขที่หนังสือเดินทางของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) คําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
ทั้งนี้ ใบกํากับภาษีที่ปรากฏในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แต่งตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศฉบับนี้แล้ว ไม่สามารถนําไปใช้เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศได้อีก
ข้อ ๖ สินค้าที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามประกาศฉบับนี้ต้องมีลักษณะ ดังนี้
(1) เป็นสินค้าที่นําไปพร้อมกับการเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) ไม่เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนาออกนอกราชอาณาจักร อาวุธปืน วัตถุระเบิด หรือสินค้าที่มีลักษณะทานองเดียวกัน อัญมณีที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ กรณีเป็นสินค้าที่สามารถบริโภคได้ในราชอาณาจักร สินค้าดังกล่าวต้องได้รับการบรรจุหีบห่อ (Seal) ที่มีสัญลักษณ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนผนึกในลักษณะมั่นคง และให้มีข้อความ “No Consumption made whilst in Thailand” ลงบนหีบห่อ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
(3) เป็นสินค้าที่ซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10) และมูลค่าของสินค้าที่ซื้อต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าสองพันบาท โดยซื้อจากสถานประกอบการแห่งละจํานวนไม่น้อยกว่าสองพันบาทต่อวัน
(4) เป็นสินค้าที่ต้องนําออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรแจ้งความประสงค์ตามข้อ 5
ข้อ ๗ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วต้องนําสินค้าตามข้อ 6 และคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10) พร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิหรือท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองขณะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับรับรองในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10)
กรณีสินค้าที่ปรากฏข้อความ “Item No. ... must also be presented to Revenue Officer” ในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10) ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพาหรือสมาร์ทโฟนคอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋า เข็มขัด ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท หรือสินค้าที่สามารถนาติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าของสิ้นค้าต่อชิ้นตั้งแต่ห้าหมื่นบาท ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องแสดงสินค้าดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ จุดบริการ คืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตั้งอยู่ภายหลังผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง เพื่อประทับรับรองการมีสินค้าลงในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10)
ข้อ ๘ เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อ 7 แล้ว ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร นําส่งคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) พร้อมใบกํากับภาษีในกล่องรับแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10) (Drop Box) ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิด้านตะวันตก และด้านตะวันออก และบริเวณด้านหน้าสํานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวประจําท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ข้อ ๙ เมื่อผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศนี้ กรมสรรพากรจะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว ผ่านตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติ
เอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามวรรคหนึ่ง มีดังนี้
(1) รายงานการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ประกอบเอกสารหลักฐานการตั้งตัวแทน
(2) คําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 10) และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีสิทธิตามประกาศนี้
ข้อ ๑๐ ในกรณีตัวแทนที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศนี้ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 2 ได้ และให้ตัวแทนที่ถูกเพิกถอนดังกล่าวยุติการให้บริการนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากร มีหนังสือเพิกถอนเป็นต้นไป
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ ณ วันที่ที่ลงในประกาศ จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,638 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90)
เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
“คําขออนุมัติให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกําหนด โดยให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ หรือยื่นคําขออนุมัติผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในการกํากับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นผ่านกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือยื่นคําขออนุมัติผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 230) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิยื่นคําขออนุมัติ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
“1.1 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 209) ใช้บังคับ 12 เมษายน 2559 เป็นต้นไป)
1.2 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
“1.3 เป็นผู้มีสิทธิออกใบกํากับภาษีด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 230) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 แสดงข้อความ “VAT REFUND FOR TOURISTS” ณ ที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่ายในสถานประกอบการเป็นรายสถานประกอบการ
ข้อ ๓ เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิและมีความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วจากการซื้อสินค้าดังกล่าว ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติดังต่อไปนี้
3.1 จัดทําใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยระบุเลขที่หนังสือเดินทางของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรลงในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
“3.2 จัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและสําเนาคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกําหนด (ภ.พ.10) ให้แก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยส่งมอบต้นฉบับคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทาง และเก็บรักษาสําเนาคําร้องอีกหนึ่งฉบับไว้ ณ สถานประกอบการ
ในกรณีที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วจากการซื้อสินค้าที่เป็น อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพาหรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ให้ผู้ประกอบการประทับข้อความ “Item No........ must also be presented to Revenue Officer” ลงในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10)
แบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้คําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้น หรือแบบคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่ได้จัดทําขึ้นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไว้เท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น3.3 จัดทํารายงานการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากร ภายใน 3 วัน นับแต่วันจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม”
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 ขอรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สําหรับรายที่อยู่ในการกํากับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ และในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ขอรับคําร้องดังกล่าว เป็นรายสถานประกอบการ โดยขอรับได้ที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
การขอรับคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอต่อสรรพากรพื้นที่ หรือผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ก่อนวันคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ไม่น้อยกว่า 7 วันทําการ โดยแนบสําเนารายงานการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) ฉบับปัจจุบันประกอบการขอรับคําร้องดังกล่าวด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 230) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 ต้องเก็บรักษาคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) และรายงานการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานประกอบการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร หรือรายงานการจัดทําคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับอนุมัติตามข้อ 1 ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ตามประกาศนี้ อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 1 ได้และห้ามมิให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกเพิกถอนการอนุมัติตามข้อ 1 ยื่นคําขออนุมัติดังกล่าวอีก ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนการอนุมัติ
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,639 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 223) เรื่อง กำหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 223)
เรื่อง กําหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 118) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 36 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นการยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 118) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 36 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,640 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 222) เรื่อง กำหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 222) เรื่อง กําหนดการยื่น แบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษี
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 115) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 30 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3 และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร
บทเฉพาะกาล ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 115) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ. 30 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,641 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 221) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่นคำขอและการออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 221)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่นคําขอและการออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/5 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่นคําขอและการออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประสงค์จะยื่นคําขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/5 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ต้องยื่นคําขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 04) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนทราบถึงการสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดของใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(1) กรณีการยื่นคําขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 04) ในรูปกระดาษ ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) กรณีการยื่นคําขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 04) ด้วยวิธีการทํางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นผ่านเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยใช้ รหัสผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับอนุมัติจากการลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้ระบบ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ข้อ ๒ ผู้มีอํานาจออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ที่ผู้อํานวยการกองบริหารภาษี ธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษี ธุรกิจขนาดใหญ่
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,642 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 220) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 220)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน เพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน สําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 175) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขออนุมัติ
(1) คุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจําเครื่อง (Serial Number) ของอุปกรณ์ในแต่ละชุด และจํานวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ
(3) แผนผังแสดงตําแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน และแผนผังแสดงระบบการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น
(4) ตัวอย่างใบกํากับภาษีอย่างย่อและสําเนาใบกํากับภาษีอย่างย่อ
(5) ตัวอย่างรายงานการขายสินค้าประจําวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงินแต่ละเครื่อง และรายงานต่างๆ ที่ออกจากระบบควบคุมกลางตามข้อ 3 (6) แห่งประกาศนี้
กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลคําขออนุมัติดังกล่าวตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมกับอัปโหลด (Upload) เอกสารและรายการตามวรรคหนึ่งประกอบคําขออนุมัติได้อีกวิธีหนึ่ง”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของ (7) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 175) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (10) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 175) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(10) การจําหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การทําลาย การระงับการใช้เครื่องบันทึก การเก็บเงิน การเคลื่อนย้าย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายภายในสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือออกจากสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้งให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทราบตาม แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รับอนุมัติ (แบบ ภ.พ.06.1) ภายใน 7 วันก่อนวันจําหน่าย ทําลาย ระงับ หรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ให้แจ้งภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งต่อสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งต่อผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,643 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 219) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทน และกำหนดรายการในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 219)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 198 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายสินค้าหรือการให้บริการอื่น ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบกํากับภาษีของการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 174) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งต่อผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 174) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษี โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ทุกกรณี เว้นแต่หลักเกณฑ์ในส่วนที่ได้กําหนดไว้แล้วในประกาศฉบับนี้ การยื่นคําขออนุมัติให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนซึ่งประสงค์จะยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลคําขออนุมัติดังกล่าวตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ได้อีกวิธีหนึ่ง”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (5) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 174) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ส่งมอบต่อผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,644 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 218) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 218)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2535 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กําหนดลักษณะและหรือเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากร
คําขออนุมัติให้ยื่นตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขออนุมัติ
(1) คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจําเครื่อง (Serial Number) และจํานวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ
(3) แผนผังแสดงตําแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(4) ในกรณีที่มีการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ให้แสดงแผนผังระบบการต่อเชื่อมดังกล่าวด้วย
(5) ตัวอย่างใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และตัวอย่างรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการประจําวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(6) ตัวอย่างใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดียวกัน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (13) ของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 173) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(13) การจําหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การทําลาย การเคลื่อนย้ายออกจากสถานประกอบการโดยมิใช่เพื่อการซ่อมแซมหรือบํารุงรักษา หรือกรณีที่มิได้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้งให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทราบตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รับอนุมัติ (แบบ ภ.พ.06.1) ภายใน 7 วันก่อนวันจําหน่าย ทําลาย หรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ให้แจ้งภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ทราบเป็นรายสถานประกอบการ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ทราบ”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 173) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อจะต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่โดยต้องยื่นคําขออนุมัติเป็นรายสถานประกอบการ และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นคําขออนุมัติผ่านผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลคําขออนุมัติดังกล่าวตามแบบคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.พ.06) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมกับอัปโหลด (Upload) เอกสารและรายการตามข้อ 2 ประกอบคําขออนุมัติได้อีกวีธีหนึ่ง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,645 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 217) เรื่อง กำหนดการให้บริการการประกอบวิชาชีพอิสระอื่น ตามมาตรา 81 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 217) เรื่อง กําหนดการให้บริการการประกอบวิชาชีพอิสระอื่น ตามมาตรา 81 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร ซี่งแก้1ฃเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้!ขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังกําหนดการให้บริการการประกอบวิชาชีพอิสระ อื่น ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การประกอบวิชาชีพของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,646 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 216) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 216)
เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/6 วรรคสอง มาตรา 85/7 วรรคสี่ มาตรา 85/8 วรรคสาม มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 ละมาตรา 85/16 วรรคลี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ค. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 166) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ค. 2549 และให้ใข้ความต่อไปนี้แทน
“(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ คู่สมรสสามีและภริยา ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชน ที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคลให้แนบภาพถ่ายใบทะเบียนสมรสหรือภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแล้วแต่กรณี และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ให้แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทน หนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (5) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 166) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ การออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่น เป็นสถานประกอบการหรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คู่สมรสสามีและภริยา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าวด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,647 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที 215) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที 215)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราซบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ การออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 165) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และให้ไข้ความต่อไปนี้แทน
“(2) กรณีผู้ประกอบการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ คู่สมรสสามีและภริยา ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดา ตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายใบทะเบียนสมรส หรือภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้ง คณะบุคคลที่มีใซ่นิติบุคคลแล้วแต่กรณี และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มีใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ให้ แนบภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (5) ของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 204) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) กรณีใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คู่สมรสสามีและภริยาคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าว
กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ให้แนบภาพถ่ายหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ค.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,648 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 214) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 214)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องมีหลักฐานเอกสารตามรายการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา สําหรับผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว
(2) กรณีผู้ประกอบการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน หน่วยงาน หรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมีใช่นิติบุคคล ต้องมีหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นคนต่างด้าว ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว
(3) กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ต้องมีเอกสาร ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร และตัวแทนได้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรดังกล่าว ต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซี่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ
(ข) กรณีกิจการร่วมค้า ต้องมีเอกสารการดําเนินกิจการร่วมค้า
(ค) กรณีนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ต้องมีใบอนญาตประกอบธุรกิจ และสัญญาหรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด
(ง) กรณีองค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ต้องมีหลักฐานที่แสดงฐานะนิติบุคคล
(4) กรณีผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (3) ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ต้องมีเอกสารและดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้ สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าว
กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ต้องมีหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(ข) กรณีเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีสัญญาเช่า โดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมและพร้อมที่จะแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรด้วย”
หมวด ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
“(7) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการมิได้แสดงหรือนําส่งเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรให้ครบถ้วนตามที่เจ้าพนักงานสรรพากรร้องขอ”
หมวด ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ยื่นคําขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่ กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ เพราะเข้าลักษณะตามข้อ 6 วรรคสอง ถือว่าผู้ประกอบการดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตั้งแต่วันที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01)
ความในวรรคหนึ่งอธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ใด้
กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งอยู่แล้วในขณะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยระบุเฉพาะสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่มิได้ระบุสถานประกอบการแห่งอื่นๆ ไว้ในคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ให้ถือว่าสถานประกอบการแห่งอื่นๆ นั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในวันเดือนปีเดียวกันกับสํานักงานใหญ่
ผู้ประกอบการสามารถใช้คําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซด์ของกรมสรรพากรที่มีเลขที่อ้างอิง เพื่อใช้เป็นเสมือนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้จนกว่าจะได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)”
หมวด ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้ที่ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
หมวด ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
หมวด - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,649 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 213) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณ มูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 213)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณ มูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดย อนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวม มูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14/1) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวม คํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 211 ) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
“(14/1) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายซึ่งผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนภายในเวลา ที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด เป็นจํานวนเท่ากับราคาขายฝากที่กําหนดไว้ใน สัญญา ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่า ตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
หากมิได้กําหนดราคาขายฝากไว้ มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายฝากตามวรรคหนึ่งให้เป็น จํานวนเท่ากับร้อยละ 84 ของราคาสินไถ่ที่กําหนดไว้ตามสัญญาขายฝากสินไถ่ คือ จํานวนเงินที่ผู้ขายฝากหรือผู้มีสิทธิไถ่ตามกฎหมาย จะต้องนํามาชําระให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้มีหน้าที่รับไถ่ เมื่อมาใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้น
ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชําร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย และหมายความรวมถึงนากที่สามารถคํานวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,650 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 212) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้ามาเพื่อขายหรือการขายเพชรพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกันเฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 212)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการนําเข้ามาเพื่อขายหรือการขายเพชรพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกันเฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 617) พ.ค. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ลําหรับการนําเข้ามาเพื่อขายหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยัง มิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีการนําเข้าเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียม วัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ มาเพื่อขาย ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้นําเข้าอัญมณีดังกล่าว มาเพื่อขาย ด้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องไม่เป็นการนําเข้าอัญมณีดังกล่าวมาเพี่อใช้ในกิจการของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยมิใช่ การนําเข้ามาเพื่อขาย
(2) ต้องไม่เป็นการนําเช้าอัญมณีดังกล่าวมาเพื่อการรับจ้างเจียระไนหรือการรับข้างผลิตอัญมณี ที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใด ๆ
(3) ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
(4) ต้องนําเข้าอัญมณีดังกล่าวมาพร้อมกับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและต้องยื่นแบบ แสดงรายการ การนําเข้า ล่งออก อัญมณีที่ยังมิได้เจียระไน พร้อมกับแสดงสินค้าอัญมณีดังกล่าวต่อ เจ้าพนักงานศุลกากรในขณะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งในกรณีที่อัญมณีที่นําเข้านั้นเป็นเพชรที่ยังมิได้เจียระไน ผู้นําเข้าอัญมณีดังกล่าวจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเข้าเพชรที่ยังมิได้เจียระไน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า
ข้อ ๒ กรณีการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียม วัตถุดังกล่าว หรือที่ทําขึ้นใหม่ ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ชายอัญมณีดังกล่าวต้องไม่เป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
ข้อ ๓ กรณีผู้นําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือผู้ชายอัญมณี ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ตามข้อ 1 และข้อ 2 ผู้นําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือผู้ชายอัญมณีไม่ได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการนําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือการขายอัญมณีดังกล่าว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,651 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 211) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 211)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (23) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 210) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
“(23) มูลค่าของการให้บริการไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ให้บริการไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยซึ่งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 (15) แอมแปร์ โดยได้ใช้ไฟฟ้าไม่เกินจํานวนหน่วยที่กําหนดตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบหรือรับทราบแล้ว และเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน ทั้งนี้ สําหรับมูลค่าของการให้บริการไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
มูลค่าของการให้บริการไฟฟ้าตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าผันแปร และค่าบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ - ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,652 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 210) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 210)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (22) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่า ของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558
“(22) มูลค่าของการให้บริการผลิตรถยนต์ต้นแบบ หรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบที่ใช้ เพื่อการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษี สรรพสามิต ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนผลิตให้แก่ผู้วิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ที่ได้รับ อนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โดยมีหนังสือรับรองการยกเว้นภาษีสรรพสามิตและการอนุมัติให้เป็นผู้วิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์จากกรมสรรพสามิตมาแสดง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ไข้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,653 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 209) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 209)
เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแกไขเพิ่มเดิมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเดิมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทาง ออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1.1 ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขาย สินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูก เรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งแกไข เพิ่มเดิมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 127) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทาง ออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“1.1 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 1.3 ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขาย สินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูก เรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นด้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,654 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 208) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 208)
เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
----------------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85/6 วรรคสอง มาตรา 85/7 วรรคสี่ มาตรา 85/8 วรรคสาม มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 และมาตรา 85/16 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของ (5) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 166) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549
“กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ให้แนบภาพถ่ายหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้วลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 166) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้ที่ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพาก | 3,655 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 97(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 97(4) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 97(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30 ) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (21) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 97(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 156) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 97(4) แห่งหระมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2546
“(21) มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยต่อตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนลดประกันภัยต่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการประกันภัยต่อได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,656 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 206) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 206)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 189) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“สถาบันการเงิน” หมายความถึง สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตาม มาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 189) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2557
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และ ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้นั้นด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,657 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 205) เรื่อง การกำหนดการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1 (10) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 205)
เรื่อง การกําหนดการกระทําที่ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1 (10) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77/1 (10) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดการกระทําที่ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการไว้ ดังต่อไปนี้
การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด กรรมการโดยตําแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กฎหมายกําหนด และกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,658 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 204) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 204)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออก ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น วรรคสอง ของ (ก) ของ (5) ของ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 165) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549
“กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ให้แนบภาพถ่ายหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,659 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 203) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 203)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออก ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 165) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมายสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้ที่ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,660 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 202) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 202)
เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 197) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงานการเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2542 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2/1 ข้อ 2/2 และข้อ 2/3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 197) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2/1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2/2 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการลงรายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ในรายงานภาษีขายตามข้อ 2/1 ดังนี้
(1) รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้ลงรายการดังกล่าวเฉพาะกรณีการลงรายการสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) รายการสถานประกอบการ ให้ลงรายการของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขาที่ .. ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และเป็นสถานประกอบการที่ปรากฏตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้น แล้วแต่กรณี
รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตาม (1) และรายการสถานประกอบการตาม (2) ให้ลงรายการ ดังกล่าวสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และสําหรับใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่อ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2/3 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการลงรายการเลขประจําตัว ผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียน ในรายงานภาษีซื้อตามข้อ 2/1 ดังนี้
(1) รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ให้ลงรายการดังกล่าวเฉพาะกรณีการลงรายการสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการนั้น แล้วแต่กรณี
(2) รายการสถานประกอบการ ให้ลงรายการของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขาที่ .. ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการนั้น แล้วแต่กรณี
รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตาม (1) และรายการสถานประกอบการตาม (2) ให้ลงรายการดังกล่าวสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และสําหรับใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่อ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,661 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 201) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 201)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 195) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการและได้ออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นใบกํากับภาษีที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และต่อมาได้ออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอ้างอิงใบกํากับภาษีฉบับดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้จะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ ไว้ในใบลดหนี้ด้วย
(1) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการ ของผู้ออกใบลดหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้น ไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้ออกใบลดหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้น ไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งเป็นผู้รับใบลดหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความ คําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้น ไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,662 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 190) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 190)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 และมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน การจัดทํารายงาน และการเก็บรักษารายงานไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 170) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ข้อ ๒ กําหนดให้การประกอบกิจการขายน้ํามันเชื้อเพลิงของสถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง ซึ่งขายน้ํามันเบนซิน น้ํามันดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และก๊าซธรรมชาติดังต่อไปนี้ เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก
(1) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ํามันตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง หรือเป็นผู้ได้รับอนุมัติจดทะเบียนจัดตั้งสถานีบริการค้าน้ํามันตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง ซึ่งขายน้ํามันเบนซิน น้ํามันดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และก๊าซธรรมชาติ โดยเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิงด้วยถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิงที่เป็นถังใต้ดินซึ่งมีความจุใบละ 5,000 ลิตรขึ้นไป ไม่ว่าจะมีถังลอยรวมอยู่ในสถานีบริการด้วยหรือไม่ หรือที่เป็นถังลอยอย่างเดียว รวมถึงสถานีบริการที่ใช้ถังลอยเก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิงอย่างเดียว และ
(2) เป็นสถานีบริการที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก
คําขออนุมัติให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคําขออนุมัติ
(ก) สําเนา ภ.พ. 20
(ข) สําเนาใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ํามันหรือใบทะเบียนจัดตั้งสถานีบริการน้ํามันตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง
(ค) แผนผังแสดงที่ตั้ง พร้อมทั้งจํานวนหัวจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงและถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ไม่จําต้องออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายน้ํามันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกํากับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรตามที่ผู้ซื้อสินค้าเรียกร้องทุกครั้งพร้อมทั้งส่งมอบใบกํากับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อสินค้า
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียด การขายน้ํามันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด เพื่อประกอบการบันทึกยอดขายน้ํามันเชื้อเพลิงรวมทั้งวันในรายงาน ภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร และให้ถือรายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ํามันเชื้อเพลิงเป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยให้จัดทําแยกเป็นรายสถานบริการ
รายงานตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) จํานวนสินค้าคงคลังในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ณ วันเปิดสํารวจแต่ละเดือน (ใช้ไม้วัด เครื่องวัดถังไฟฟ้า หรือมาตรวัดปริมาณความจุของถัง)
(2) การรับมอบน้ํามันเชื้อเพลิงระหว่างเดือน และเลขลําดับแสดงจํานวนครั้งที่รับมอบน้ํามันเชื้อเพลิงในระหว่างเดือน พร้อมทั้งหมายเลขของใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับ การขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง โดยให้แยกเป็นรายบริษัทผู้ค้าส่งน้ํามันเชื้อเพลิง
(3) จํานวนสินค้าคงคลังในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ณ วันปิดสํารวจแต่ละเดือน (ใช้ไม้วัด เครื่องวัดถังไฟฟ้า หรือมาตรวัดปริมาณความจุของถัง)
(4) จํานวนเงิน (บาท) และปริมาณน้ํามัน (ลิตร/กิโลกรัม) ในมิเตอร์หัวจ่าย ณ วันเปิดอ่านในแต่ละเดือน
(5) จํานวนเงิน (บาท) และปริมาณน้ํามัน (ลิตร/กิโลกรัม) ในมิเตอร์หัวจ่าย ณ วันปิดอ่านในแต่ละเดือน
(6) ยอดการขายประจําวัน ทั้งจํานวนเงิน (บาท) และปริมาณน้ํามัน (ลิตร/กิโลกรัม)
(7) จํานวนน้ํามันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งสะสมในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง โดยคํานวณจากรายงานสินค้าคงคลังสะสม (จํานวนสินค้าคงคลังในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ณ วันเปิดสํารวจ + จํานวนซื้อ - จํานวนขาย) กับจํานวนสินค้าคงคลังสะสมในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง
(8) ภาษีซื้อ
(9) ภาษีขาย
(10) จํานวนใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ออกตามข้อ 3 ประจําวัน และจํานวนเงินรวมทั้งสิ้นตามใบกํากับภาษี
ใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงที่ใช้ประกอบการลงรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้จัดเก็บแยกเป็นรายเดือน เป็นรายบริษัทผู้ค้าส่งน้ํามันเชื้อเพลิงเรียงตามลําดับที่ได้รับก่อนหลังในแต่ละเดือนและให้ระบุเลขที่ที่ได้รับใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงซึ่งแยกเป็นรายบริษัทผู้ค้าส่งน้ํามันเชื้อเพลิงในแต่ละเดือน เรียงตามลําดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงนั้น
รายงานตามวรรคหนึ่งและใบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือใบกํากับการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงให้เก็บไว้ที่สถานีบริการเป็นรายสถานีเป็นเวลาสองปี ภายหลังจากนั้นจะเก็บไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่จนครบห้าปีก็ได้
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ต้องจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงมิเตอร์หัวจ่ายทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น
(1) ตัวเลขมิเตอร์หัวจ่ายเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ตัวเลขมิเตอร์หรือซ่อมแซมมิเตอร์หัวจ่าย
(2) การติดตั้งอุปกรณ์หัวจ่ายใหม่
(3) การหมุนกลับของตัวเลขมิเตอร์หัวจ่าย (เช่น มิเตอร์กลับมาที่เลข 0 หลังจากถึงเลขสูงสุด)
ข้อ ๖ การจัดทํารายงานตามข้อ 4 ให้คํานวณจํานวนน้ํามันเชื้อเพลิงในถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิงที่ขาดหายไปเนื่องจากการระเหยของน้ํามันเชื้อเพลิงตามสภาพปกติได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของปริมาณน้ํามันเชื้อเพลิงที่ขายผ่านมิเตอร์หัวจ่ายในแต่ละเดือนภาษี
ข้อ ๗ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ซึ่งให้ส่วนลดแก่ลูกค้าบางรายในราคา ที่ต่ํากว่าราคาที่แสดงอยู่ในมิเตอร์หัวจ่ายต้องออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการขายน้ํามันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ข้อ ๘ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร เป็นผู้ประกอบการรายย่อยตามข้อ 2 จะต้องจัดทําแผ่นป้ายที่มีข้อความ "เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์ หัวจ่าย" โดยแผ่นป้ายดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
แผ่นป้ายตามวรรคหนึ่งจะต้องแสดงไว้ ณ จุดแสดงราคาขายน้ํามันเชื้อเพลิงปลีกต่อหน่วย ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (ถ้ามี) หากผู้ประกอบการ จดทะเบียนมีความจําเป็นที่จะต้องแสดงแผ่นป้ายไว้ ณ สถานที่อื่น จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
แผ่นป้ายตามวรรคหนึ่งจะต้องมีขนาดของข้อความอย่างน้อยเท่ากับขนาด ของข้อความแสดงราคาขายน้ํามันเชื้อเพลิงปลีกต่อหน่วย
ข้อ ๙ สถานีบริการซึ่งเริ่มประกอบกิจการขายน้ํามันเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป และมีหัวจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 50 หัวจ่ายขึ้นไป ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์รวม ควบคุมการจ่ายน้ํามันของหัวจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงในสถานีบริการทั้งหมด
ข้อ ๑๐ การยื่นคําขออนุมัติตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติ ดังนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขต ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคําขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการแต่ละแห่งตั้งอยู่
นอกจากการยื่นคําขออนุมัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะยื่นคําขอโดยยื่นรายการข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ก็ได้ โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นคําขออนุมัติต้องแสดงรายการข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องมีหลักฐานเอกสารตามรายการข้อมูลที่แสดงในคําขออนุมัติด้วย
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,663 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 200) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 200)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 194)เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการและได้ออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นใบกํากับภาษีที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และต่อมาได้ออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอ้างอิงใบกํากับภาษีฉบับดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้จะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ ไว้ในใบเพิ่มหนี้ด้วย
(1) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุ ข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งเป็นผู้รับใบเพิ่มหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,664 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 196) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทํา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 8 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการ จดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกํากับภาษี ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
(1) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความ คําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
ข้อ 9 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏ ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการใน ใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏใน ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สุทธิชัย สังขมณี
(นายสุทธิชัย สังขมณี)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,665 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 198) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 198)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน 2.4 ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“2.4 เป็นสินค้าที่ต้องนําออกนอกราชอาณาจักรภายใน 60 วัน โดยนับวันที่ซื้อสินค้าเป็นวันแรก”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 126) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งหักค่าใช้จ่ายในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามอัตราที่อธิบดีกําหนดท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องคืนให้แก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีจํานวนไม่เกิน 30,000 บาท ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยคืนเป็นเงินสด ตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือนําเงินเข้าบัญชีของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรและในกรณีที่จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องคืนให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีจํานวน เกินกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานสรรพากรหรือตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรเป็นตั๋วแลกเงินผ่านทางไปรษณีย์ หรือนําเงินเข้าบัญชีของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,666 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กำหนดแบบหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89)
เรื่อง กําหนดแบบหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงานการเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2542 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 202) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) รายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
“ข้อ 2/1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2/2 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการลงรายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ในรายงานภาษีขายตามข้อ 2/1 ดังนี้
(1) รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้ลงรายการดังกล่าวเฉพาะกรณีการลงรายการสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) รายการสถานประกอบการ ให้ลงรายการของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขาที่ .. ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และเป็นสถานประกอบการที่ปรากฏตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้น แล้วแต่กรณี
รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตาม (1) และรายการสถานประกอบการตาม (2) ให้ลงรายการ ดังกล่าวสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และสําหรับใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่อ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2/3 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการลงรายการเลขประจําตัว ผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียน ในรายงานภาษีซื้อตามข้อ 2/1 ดังนี้
(1) รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ให้ลงรายการดังกล่าวเฉพาะกรณีการลงรายการสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการนั้น แล้วแต่กรณี
(2) รายการสถานประกอบการ ให้ลงรายการของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขาที่ .. ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการนั้น แล้วแต่กรณี
รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตาม (1) และรายการสถานประกอบการตาม (2) ให้ลงรายการดังกล่าวสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และสําหรับใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่อ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 202) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า ซึ่งคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร จัดทํารายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ สามารถจัดทํารายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีรายการและข้อความแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการโรงเลื่อย โรงค้าไม้แปรรูป และกิจการอื่นใดซึ่งต้องจัดทําบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ โดยให้ถือว่าบัญชีแสดงรายการปริมาณสินค้าซึ่งมีอยู่ ได้มา และจําหน่ายไปเป็นรายวันตามแบบบัญชีซึ่งต้องจัดทําตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าของเก่า โดยให้ถือว่าบัญชีแสดงรายการปริมาณสินค้าซึ่งมีอยู่ ได้มา และจําหน่ายไปเป็นรายวันตามแบบบัญชี ซึ่งต้องจัดทําตามกฎหมายว่าการค้าของเก่าเป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ประเภทร้านค้าปลอดอากร ให้ถือว่าบัญชีแยกประเภทสินค้าซึ่งแสดงรายละเอียดของสินค้าทั้งที่นําเข้าจากต่างประเทศและหรือของที่ผลิตภายในประเทศ ที่นําเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ของที่ขายไป ของที่คงเหลืออยู่ โดยแยกประเภท ชนิดปริมาณของของไว้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งต้องจัดทําตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ให้ถือว่ารายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ต้องจัดทําตามกฎหมายดังกล่าว เป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าโดยมีการรับประกันสินค้าที่ขายหรือบริการซ่อมสินค้าที่ขาย กรณีมีการชํารุดบกพร่องหรือเพื่อเหตุอื่นอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน จัดทํารายงานจ่ายอะไหล่โดยไม่คิดมูลค่าเพื่อใช้ในการประกันสินค้าที่ขายหรือบริการซ่อมสินค้าที่ขายแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งโดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 และข้อ 3 สามารถจัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) รายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) และรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยแยกออกเป็นแต่ละแผนกของสินค้าหรือบริการ หรือแยกออกเป็นแต่ละประเภท ชนิด ขนาด หรือในลักษณะทํานองเดียวกันของสินค้าหรือบริการก็ได้
การจัดทํารายงานตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถแยกทุกประเภทรายงาน หรือแยกเฉพาะรายงานดังกล่าวบางรายงานก็ได้
ข้อ ๕ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) รายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) และรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันหรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๖ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นประจําอยู่แล้ว แต่มีหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือร้านค้าประเภทคอนเทนเนอร์ หรือร้านค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายได้ไม่ว่าจะมีล้อเลื่อนหรือไม่ เพื่อขายสินค้าในสถานที่ต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการชั่วคราว เช่น งานนิทรรศการ หรืองานมหกรรม หรือที่ชุมชน หรือตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยมิได้ใช้สถานที่หนึ่งที่ใดเป็นสถานที่ขายสินค้าเป็นประจํา ให้จัดทํารายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) รายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ต้องแยกตามหน่วยขายก็ได้ แต่ให้จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยแยกออกเป็นแต่ละหน่วยขายต่างหากจากกัน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เป็นผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าที่มีสถานประกอบการ ซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) รายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) และรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่สถานประกอบการใดเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ให้จัดทําเฉพาะรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) และรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร ของหน่วยขายดังกล่าวนั้น
ข้อ ๗ การลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับหรือพึงได้รับซึ่งเกิดจากใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรเฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป เป็นรายใบกํากับภาษี และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกํากับภาษี
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้จัดทําใบกํากับภาษีในแต่ละวันตั้งแต่ 100 ฉบับขึ้นไป ของแต่ละสถานประกอบการ และได้จัดให้มีรายงานสรุปการขายประจําวัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับตามรายงานสรุปการขายประจําวัน โดยไม่ต้องลงเป็นรายใบกํากับภาษีก็ได้ และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกํากับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคสอง ต้องจัดทํารายงานสรุปการขายประจําวันโดยมีรายการและข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้ และสามารถจัดทําแยกออกเป็นแต่ละแผนกของสินค้าหรือบริการ หรือแยกออกเป็นแต่ละประเภท ชนิด ขนาด หรือในลักษณะทํานองเดียวกันของสินค้าหรือบริการก็ได้
(ก) วัน เดือน ปี
(ข) เลขที่ใบกํากับภาษี เล่มที่/เครื่องที่ (ถ้ามี)
(ค) ชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(ง) มูลค่าสินค้าหรือบริการ และจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าสินค้าและหรือบริการให้ชัดแจ้ง
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคสอง มีความประสงค์จัดทํารายงานสรุปการขายประจําวันโดยมีรายการและข้อความแตกต่างจากที่กําหนดไว้ตามวรรคสาม ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 มาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับ ซึ่งเกิดจากใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 มาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูปนั้น และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกํากับภาษีอย่างย่อหรือใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการและรายการสินค้าหรือบริการ และต้องแยกจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากมูลค่าสินค้าหรือบริการ โดยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าหรือบริการ
(ข) กรณีจัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกํากับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ ของใบกํากับภาษี ว่า “ เล่มที่... เลขที่...ถึงเลขที่...”
(ค) กรณีจัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่อโดยไม่ได้ออกเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกํากับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่องเลขที่/เล่มที่ ของใบกํากับภาษี ว่า “ เลขที่...ถึงเลขที่...”
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/5 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเครื่องบันทึกการเก็บเงินออกรายงานสรุปการขายประจําวันแยกเป็นรายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ให้ลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับ ซึ่งเกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยแยกออกเป็นรายเครื่องบันทึกการเก็บเงินพร้อมทั้งระบุเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไว้ในรายงานภาษีขายด้วย และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกํากับภาษี เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินชนิดไฟฟ้า หรือชนิดคอมพิวเตอร์ที่ใช้ต่อเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นเป็นระบบ POSS (Point of Sale System) จะต้องจัดทํารายงานภาษีขายโดยอัตโนมัติทุกสิ้นวันทําการ
(4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก ซึ่งมีสิทธิออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 และมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูปได้ แต่มีหน้าที่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้องให้ดําเนินการดังนี้
(ก) กรณีจัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่อเป็นเล่มหรือไม่ได้ออกเป็นเล่มตาม (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยไม่ต้องจัดทําใบกํากับภาษีอย่างย่ออีก และให้ลงรายการตาม (1)
(ข) กรณีใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกํากับภาษีอย่างย่อและลงรายการตาม (3) แล้ว หากผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําใบกํากับภาษีซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้ลงรายการตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายใบกํากับภาษีด้วย โดยไม่ต้องระบุมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ หมายเหตุไว้ว่า “ ออกแทนใบกํากับภาษีอย่างย่อ เลขที่...”
(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการสถานบริการน้ํามันให้ลงรายการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดใน (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณีเว้นแต่การขายน้ํามันของสถานบริการน้ํามัน ซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย ให้ลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายน้ํามันเชื้อเพลิงผ่านมิเตอร์หัวจ่ายตามรายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ํามันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด (ส่วน ก.) ซึ่งต้องจัดทําเป็นรายวันอยู่แล้ว และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่จัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ํามันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด (ส่วน ก.)
(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับหรือพึงได้รับ โดยจัดให้มีเอกสารประกอบการลงรายงานตามประเภทความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเอกสารดังกล่าวต้องมีปริมาณและมูลค่าสินค้าหรือบริการเพื่อคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการจําหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเมื่อมีการให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(8)(ง)(จ)(ฉ) และ(ช) หรือมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใด ๆ
(ค) กรณีส่วนราชการเป็นผู้ทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร โดยส่วนราชการได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาด และส่งมอบสําเนาใบเสร็จรับเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นหลักฐานลงรายงานภาษีขาย
(7) กรณีผู้ทอดตลาดที่มิใช่ส่วนราชการได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน และมีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเสียตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร โดยยื่นรายการตามแบบนําส่งภาษีตามมาตรา 83/5 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินไม่ต้องนํามูลค่าสินค้าและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามสําเนาใบกํากับภาษีที่ออกตามมาตรา 86/3 แห่งประมวลรัษฎากร มาลงรายการในรายงานภาษีขาย
(8) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนําค่าตอบแทนที่มีลักษณะและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนําค่าตอบแทนดังกล่าวมาลงรายการในรายงานภาษีขาย
(9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าโดยการส่งออก ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าส่งออกโดยให้ใช้ราคา เอฟ.โอ.บี. ของสินค้า และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้
(ก) การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อชําระอากรขาออก วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ําประกันอากรขาออก ให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ชําระอากรขาออก วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ําประกันอากรขาออก แล้วแต่กรณี
การส่งออกสินค้าตามวรรคหนึ่ง ถ้าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่กรมศุลกากรออกใบขนสินค้าขาออก
“ (ข) การนําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ในวันที่นําสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร ให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่นําสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 124) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป)
(10) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 82/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บหรือใช้คืน ซึ่งเกิดจากใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ แล้วแต่กรณี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สามารถจัดทํารายงานภาษีขายซึ่งลงรายการเฉพาะรายการตามใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้อีก 1 รายงานก็ได้
(11) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และได้มีการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญมาหักออกจากภาษีขายในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญ โดยใช้เอกสารการตัดหนี้สูญทางบัญชีประกอบการลงรายการในรายงานภาษีขาย
ข้อ ๘ การลงรายการในรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ดําเนินการดังนี้
(1) ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดเก็บใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพสามิต และเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อ แยกต่างหากจากเอกสารหลักฐานอื่น โดยให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก) แยกเป็นรายเดือนภาษีที่ลงรายการในรายงานภาษีซื้อ
(ข) เรียงตามลําดับใบกํากับภาษีที่ได้รับ
(ค) ให้เลขที่กํากับใบสําคัญดังกล่าวเรียงขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสําคัญนั้น ๆ
(2) ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเกิดจากใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป เป็นรายใบกํากับภาษี โดยให้ลงรายการเรียงตามลําดับใบกํากับภาษีที่ได้รับโดยไม่คํานึงว่าใบกํากับภาษีนั้นจะลงวันเดือนปีใด แต่การลงรายการในช่องวันเดือนปีของใบกํากับภาษี ให้ลงวันเดือนปีตามที่ระบุไว้ในใบกํากับภาษี และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับใบกํากับภาษี เว้นแต่ ภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจําเป็น ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงมีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามมาตรา 82/3 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ลงรายการในเดือนภาษีที่นําไปถือเป็นภาษีซื้อได้ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะลงรายการวันหนึ่งวันใดในเดือนภาษีนั้นก็ได้ โดยต้องจัดเรียงเอกสารรวมกับใบกํากับภาษีของเดือนภาษีที่ถือเป็นภาษีซื้อ
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อนําเข้าสินค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากกรมศุลกากร ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร และให้ลงรายการโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม (2)
(4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมีหน้าที่นําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6แห่งประมวลรัษฎากร ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร และให้ลงรายการโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม (2)
(5) ให้ลงรายการตามใบกํากับภาษีตาม (2) และใบเสร็จรับเงินตาม (3) หรือ (4) เฉพาะรายการภาษีซื้อที่มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น
(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นําสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภท ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนํามาหักออกจากภาษีขายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร และให้ลงรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) ลงรายการตามมูลค่าทั้งหมดของสินค้าหรือบริการ และ
(ข) ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีสิทธินําไปหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
การลงรายการในรายงานตามวรรคหนึ่ง (ก) และ (ข) ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถเพิ่มช่องรายการในรายงานภาษีซื้อ หรือแยกรายงานภาษีซื้อ ออกเป็น 2 รายงานก็ได้ โดยรายงานหนึ่งให้ลงรายการตามใบกํากับภาษีที่มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ทั้งหมด และอีกรายงานหนึ่งให้ลงรายการตามใบกํากับภาษี ตาม (ก) และ (ข)
(7) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 82/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บหรือได้รับคืน ซึ่งเกิดจากใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ แล้วแต่กรณี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สามารถจัดทํารายงานภาษีซื้อซึ่งลงรายการเฉพาะรายการตามใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้อีก 1 รายงานก็ได้
ข้อ ๙ การลงรายการในรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่ง ประมวลรัษฎากร ให้ลงรายการตามปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ที่รับมาหรือจ่ายไปจริง โดยจัดให้มีเอกสารประกอบการลงรายงานเป็นใบสําคัญรับหรือจ่ายสินค้า และให้ลงรายการภายในสามวันทําการนับแต่วันที่รับมาหรือจ่ายไปซึ่งสินค้าหรือวัตถุดิบ โดยแยกออกเป็นแต่ละประเภท ชนิด ขนาด หรือในลักษณะทํานองเดียวกันของสินค้าหรือวัตถุดิบก็ได้
การลงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ลงเป็นแต่ละรายการของการรับมาหรือจ่ายไปซึ่งสินค้าหรือวัตถุดิบ เว้นแต่กรณีที่มีการจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดสินค้าหรือวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไปเป็นรายวัน จะลงเป็นยอดรวมของการรับมาหรือจ่ายไปซึ่งสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นรายวันก็ได้
รายงานแสดงรายละเอียดสินค้าหรือวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไปเป็นรายวัน ตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) วัน เดือน ปี
(ข) ปริมาณสินค้าและวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไป
(ค) มูลค่ารวมของสินค้าและวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไป
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก ซึ่งสินค้าที่ขายแต่ละประเภทมีหลายชนิด หลายขนาด และควบคุมปริมาณเป็นหน่วยได้ยาก เช่น อะไหล่ วัสดุก่อสร้าง เครื่องเขียน สินค้าอุปโภคบริโภคประจําวัน หรือสินค้าอื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะลงรายการในรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งและวรรคสอง เช่น ลงรายการเป็นกลุ่มของสินค้า ก็ให้กระทําได้
ข้อ ๑๐ การลงรายการในรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เขียนด้วยหมึก หรือใช้วิธีพิมพ์ หรือจัดทําด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และจะลงรายการเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
การลงรายการโดยใช้วิธีพิมพ์ตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด การพิมพ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปสเปรดชีต (Spreadsheet) เช่น LOTUS หรือ EXCEL หรือโปรแกรมสําเร็จรูปที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
การลงรายการโดยการจัดทําด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่งคุณสมบัติของซอฟต์แวร์สําหรับการลงรายการในรายงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งชนิดใด ดังต่อไปนี้
ชนิด ก.
(1) เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูล และโอนเข้าบัญชีแยกประเภทแล้ว จะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงตามวิธีการทางบัญชี
(2) เป็นโปรแกรมที่ช่วยไม่ให้หลีกเลี่ยงภาษี
(3) เป็นโปรแกรมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้
(4) เป็นโปรแกรมที่การบันทึกรายการเป็นไปตามระบบบัญชีคู่
ชนิด ข.
(1) เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูล และโอนเข้าบัญชีแยกประเภทแล้ว จะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงตามวิธีการทางบัญชี
(2) เป็นโปรแกรมที่ช่วยไม่ให้หลีกเลี่ยงภาษี
(3) เป็นโปรแกรมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้
(4) เป็นโปรแกรมที่การบันทึกรายการเป็นไปตามระบบบัญชีคู่
(5) เป็นโปรแกรมที่มีระบบซอฟต์แวร์ในระบบงานบางระบบใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบขาย ระบบพัสดุ ฯลฯ ระบบซอฟต์แวร์นั้นต้องโอนเข้าระบบบัญชีแยกประเภทได้โดยตรง
ชนิด ค.
(1) เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูล และโอนเข้าบัญชีแยกประเภทแล้ว จะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงตามวิธีการทางบัญชี
(2) เป็นโปรแกรมที่ช่วยไม่ให้หลีกเลี่ยงภาษี
(3) เป็นโปรแกรมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึง ข้อมูลได้
(4) เป็นโปรแกรมที่การบันทึกรายการเป็นไปตามระบบบัญชีคู่
(5) เป็นโปรแกรมที่มีระบบซอฟต์แวร์ในระบบงานทุกระบบใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบซอฟต์แวร์นั้นทุกระบบต้องโอนเข้าระบบบัญชีแยกประเภทได้โดยตรง
ชนิด ง.
(1) เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูล และโอนเข้าบัญชีแยกประเภทแล้ว จะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงตามวิธีการทางบัญชี
(2) เป็นโปรแกรมที่ช่วยไม่ให้หลีกเลี่ยงภาษี
(3) เป็นโปรแกรมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้
(4) เป็นโปรแกรมที่การบันทึกรายการเป็นไปตามระบบบัญชีคู่
(5) เป็นโปรแกรมที่มีระบบซอฟต์แวร์ในระบบงานทุกระบบใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบซอฟต์แวร์นั้นทุกระบบต้องโอนเข้าระบบบัญชีแยกประเภทได้โดยตรง
(6) มีการแจ้งรหัสผ่านต่อกรมสรรพากร เพื่อให้สามารถผ่านระบบรักษาความปลอดภัยได้ โดยให้ใส่ซองปิดผนึก ซึ่งกรมสรรพากรจะไม่เปิด เว้นแต่จะเปิดต่อหน้าผู้ประกอบการ
ข้อ ๑๑ ผู้จําหน่ายซอฟต์แวร์ตามข้อ 10 ต้องระบุคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ไว้ที่หน้าจอแรก โดยมีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้
“ ซอฟต์แวร์นี้เขียนขึ้นโดย.. ซึ่งมีเลขประจําตัว ........ซอฟต์แวร์เฮ้าส์เลขที่........เป็นซอฟต์แวร์เลขที่......... และ เป็นซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานซอฟต์แวร์เพื่อภาษีสรรพากรของกรมสรรพากรชนิด ก. หรือ ชนิด ข.”
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเขียนซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เอง ต้องระบุคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ไว้ที่หน้าจอแรก โดยมีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้
“ ซอฟต์แวร์นี้เขียนขึ้นโดย........................และเป็นซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานซอฟต์แวร์เพื่อภาษีสรรพากรของกรมสรรพากรชนิด ก. หรือชนิด ข. หรือชนิด ค. หรือชนิด ง. ”
ข้อ ๑๒ ความใน (1) ของมาตรฐานซอฟต์แวร์ชนิด ก ชนิด ข ชนิด ค หรือชนิด ง “ เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูลและโอนเข้าบัญชีแยกประเภทแล้ว จะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงตามวิธีการทางบัญชี ” โดยจะต้อง
(ก) เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วต้องโอนรายการเข้าบัญชีแยกประเภทด้วย และสามารถพิมพ์รายงานจากบัญชีแยกประเภทเพื่อการตรวจสอบได้
(ข) การแก้ไขรายการไม่ให้ใช้วิธีลบทิ้ง หรือล้างรายการออก แต่ให้ใช้วิธีบันทึกรายการปรับปรุงเพิ่มเข้าไป เพื่อแสดงให้เห็นรายการก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง
(ค) สามารถแสดงรายงานการแก้ไขปรับปรุงรายการโดยอัตโนมัติ และต้องระบุเลขที่หรือที่มาของเอกสารอ้างอิง พร้อมทั้งแสดงวันที่ เวลาที่เกิดรายการ รหัสประจําตัวของผู้ทํารายการแต่ละรายการ จํานวนรายการ และจํานวนเงินที่มีการแก้ไขปรับปรุงด้วย และ
(ง) ปฏิเสธการทํารายการปกปิดหรือซ่อนรายการรายงานการแก้ไขปรับปรุงรายการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๑๓ ความใน (2) ของมาตรฐานซอฟต์แวร์ชนิด ก ชนิด ข ชนิด ค หรือ ชนิด ง “ เป็นโปรแกรมที่ช่วยไม่ให้หลีกเลี่ยงภาษี ” โดยจะต้อง
(ก) เขียนขึ้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประมวลรัษฎากร
(ข) ไม่สามารถกําหนดหรือเลือกวิธีการประมวลผลข้อมูลในลักษณะที่ผิดไปจากความเป็นจริงได้ เช่น การกําหนดเงื่อนไขให้ยอดขายสินค้าชนิดเดียวกันบางรายการนําไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บางรายการไม่ต้องนําไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ค) สามารถแสดงยอดรวมและเปรียบเทียบยอด เพื่อตรวจนับความครบถ้วนของข้อมูลขณะทําการประมวลผล
(ง) สามารถตรวจนับจํานวนรายการที่มีอยู่ในแฟ้มข้อมูลว่าอยู่ครบถ้วนหรือไม่ และสามารถสอบยันกับจํานวนรายการที่นําเข้าว่าตรงกันหรือไม่
(จ) กรณีผู้ประกอบการจัดทํางบย่อยหรืองบประกอบ หรืองบการเงินสาขา ต้องสามารถแสดงรายละเอียดของงบย่อยหรืองบประกอบ ซึ่งเป็นที่มาของงบการเงินรวมเป็นรายงานด้วย
(ฉ) ไม่สามารถผ่านรายการขายได้โดยไม่ผ่านรายการภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกัน และ
(ช) หากสามารถบวกกลับรายการท้ายงบการเงิน เพื่อการคํานวณกําไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี ต้องมีรายงานซึ่งระบุที่มาของรายการด้วย
ข้อ ๑๔ ความใน (3) ของมาตรฐานซอฟต์แวร์ชนิด ก ชนิด ข ชนิด ค หรือ ชนิด ง “ เป็นโปรแกรมที่มีระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้ ” โดยจะต้อง
(ก) สามารถแสดงภาพการทํางานรวมของระบบ (System Flowchart)ได้
(ข) ให้แสดงระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่หน้าจอ โดยระบุจํานวน และระดับเจ้าหน้าที่ที่สามารถบันทึก อ่าน หรือแก้ไขข้อมูลได้
(ค) โปรแกรมและแฟ้มข้อมูลมีการควบคุมโดยใช้รหัสผ่านและการตั้งรหัสผ่านสําหรับผู้แก้ไข ต้องตั้งเพิ่มแยกต่างหากจากส่วนอื่น
(ง) บันทึกการใช้รหัสผ่านในการทํางานโดยระบุให้ทราบถึง รหัสประจําตัวของผู้ปฏิบัติงาน งานที่ทํา วัน และเวลาที่ปฏิบัติงาน สําหรับรายการการแก้ไขต้องระบุให้ทราบถึงรหัสประจําตัวของผู้ปฏิบัติ จํานวน และรายละเอียดของรายการที่แก้ไขปรับปรุง และ
(จ) ถ้าแฟ้มข้อมูลมีการควบคุมโดยการเข้ารหัสลับ (Encryption)เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล ถ้ามีการถอดรหัสลับ (Decryption) ต้องบันทึกหลักฐานไว้ทุกครั้งเพื่อการตรวจสอบ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,667 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 197)
เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงานการเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2542 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 ข้อ 2/2 และข้อ 2/3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 124) เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทํารายงาน การลงรายการในรายงานการเก็บใบกํากับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545
“ข้อ 2/1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร จัดทํารายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2/2 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการลงรายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ในรายงานภาษีขายตามข้อ 2/1 ดังนี้
(1) รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้ลงรายการดังกล่าวเฉพาะกรณีการลงรายการสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) รายการสถานประกอบการ ให้ลงรายการของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขาที่ .. ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และเป็นสถานประกอบการที่ปรากฏตามใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้น แล้วแต่กรณี
รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตาม (1) และรายการสถานประกอบการตาม (2) ให้ลงรายการ ดังกล่าวสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และสําหรับใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่อ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2/3 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการลงรายการเลขประจําตัว ผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียน ในรายงานภาษีซื้อตามข้อ 2/1 ดังนี้
(1) รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ให้ลงรายการดังกล่าวเฉพาะกรณีการลงรายการสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการนั้น แล้วแต่กรณี
(2) รายการสถานประกอบการ ให้ลงรายการของสถานประกอบการซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขาที่ .. ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการนั้น แล้วแต่กรณี
รายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตาม (1) และรายการสถานประกอบการตาม (2) ให้ลงรายการดังกล่าวสําหรับใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และสําหรับใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่อ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 202) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,668 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 196) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 196)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 186) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555
“ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไว้ในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
การจัดทํารายการเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทําเฉพาะกรณีที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นผู้ที่ต้องมีและใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรตามมาตรา 3 เอกาทศ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 8 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ดังนี้
(1) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” และ “สาขาที่ ..” ตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
ข้อ 9 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ดังนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความว่า “สาขาที่ ..” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มนั้นไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อความคําว่า “สํานักใหญ่” และ “สาขาที่ ..” ตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,669 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 195) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 195)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการและได้ออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นใบกํากับภาษีที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และต่อมาได้ออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอ้างอิงใบกํากับภาษีฉบับดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้จะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ ไว้ในใบลดหนี้ด้วย
(1) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการ ของผู้ออกใบลดหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้น ไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้ออกใบลดหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้น ไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งเป็นผู้รับใบลดหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ได้ออกใบลดหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความ คําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบลดหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้น ไว้ในใบลดหนี้ดังกล่าวด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 201) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,670 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 88) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 88)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต การให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสําหรับรถยนต์ดังกล่าว”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,671 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 194) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 194)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการและได้ออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นใบกํากับภาษีที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป และต่อมาได้ออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอ้างอิงใบกํากับภาษีฉบับดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้จะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ ไว้ในใบเพิ่มหนี้ด้วย
(1) เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิง ใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุ ข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้ออกใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งเป็นผู้รับใบเพิ่มหนี้ ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้เป็นสํานักงานใหญ่ หรือแสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย
(ข) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ได้ออกใบเพิ่มหนี้โดยอ้างอิงใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกํากับภาษีดังกล่าวได้ระบุสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้เป็น “สาขาที่ ..” หรือแสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ซึ่งเป็นสถานประกอบการของผู้รับใบเพิ่มหนี้ตามที่ปรากฏในใบกํากับภาษีนั้นไว้ในใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 200) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,672 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 193) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 193)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
“ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฎ) และ (ฏ) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
“(ฎ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย โดยได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้ทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ เฉพาะการขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น หรือนําอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้กระทําภายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(ฏ) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นโดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้ทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ เฉพาะการขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น หรือนําอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้กระทําภายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ใน (ฎ) และ (ฏ) ของวรรคสอง
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(7) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยและได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นด้วย””
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,673 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 192) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 192)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 185) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และเป็นหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกคํานิยาม “สถาบันการเงิน” ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 179) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ใน (ก) และ (ข) ของวรรคสอง
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,674 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 191) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำเข้ามาเพื่อขายหรือการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทำเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทำขึ้นใหม่ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 191)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการนําเข้ามาเพื่อขายหรือการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 556) พ.ศ. 2556 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการนําเข้ามาเพื่อขายหรือการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุกและสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีการนําเข้าพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ มาเพื่อขาย ที่จะได้รับ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้นําเข้าอัญมณีดังกล่าวมาเพื่อขาย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องไม่เป็นการนําเข้าอัญมณีดังกล่าว มาเพื่อใช้ในกิจการของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยมิใช่การนําเข้ามาเพื่อขาย
(2) ต้องไม่เป็นการนําเข้าอัญมณีดังกล่าว มาเพื่อการรับจ้างเจียระไนหรือการรับจ้างผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใดๆ
(3) ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
(4) ต้องนําเข้าอัญมณีดังกล่าว มาพร้อมกับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและต้องยื่นแบบแสดงรายการ การนําเข้า ส่งออก อัญมณีที่ยังมิได้เจียระไน พร้อมกับแสดงสินค้าอัญมณีดังกล่าว ต่อเจ้าพนักงานศุลกากรในขณะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ กรณีการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายอัญมณีดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ใช้สิทธิ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
ข้อ ๓ กรณีผู้นําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือผู้ขายอัญมณี ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ตามข้อ 1 และข้อ 2 ผู้นําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือผู้ขายอัญมณีไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการนําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือการขายอัญมณีดังกล่าว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,675 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 189) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 189)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 183) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“สถาบันการเงิน” หมายความถึง สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตาม มาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 183) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2555
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และ ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้นั้นด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,676 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 188) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 188)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 และข้อ 6/2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
“ข้อ 6/1 การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย เฉพาะการปลดหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(3) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(4) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ 6/2 การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,677 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 187) เรื่อง กำหนดฐานภาษี ประเภท และชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 187)
เรื่อง กําหนดฐานภาษี ประเภท และชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดฐานภาษี ประเภท และชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5(2) แห่งประมวลรัษฎากรไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 10) เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดยาสูบซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 26) เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดยาสูบซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2535
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ค่าการตลาด” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร แต่ไม่รวมถึง
อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยคํานวณเฉลี่ยตามสัดส่วนของยอดขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตแต่ละชนิดของรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะมีวิธีการคํานวณอื่นที่เหมาะสมกว่าวิธีการคํานวณเฉลี่ยตามสัดส่วนของยอดขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตแต่ละชนิด
“ราคา ซี.ไอ.เอฟ.” หมายความว่า ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ตามมาตรา 79/2 (1) วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ กําหนดให้การขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ทั้งที่ผลิตโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาลและที่นําเข้าจากต่างประเทศ เป็นการขายยาสูบที่ต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ ฐานภาษีสําหรับการขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล ได้แก่ มูลค่าของยาสูบที่ได้มาจากการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของยาสูบ โดยให้คํานวณจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก ราคาขายปลีกตามวรรคหนึ่งคํานวณได้จากมูลค่าดังต่อไปนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า
(1) ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ บวกด้วย ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และค่าการตลาด
(2) ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ข้อ ๕ ฐานภาษีสําหรับการขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตที่นําเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ มูลค่าของยาสูบที่ได้มาจากการหักจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจํานวนเต็มของราคาขายปลีกของยาสูบ โดยให้คํานวณจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีก ราคาขายปลีกตามวรรคหนึ่งคํานวณได้จากมูลค่าดังต่อไปนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า
(1) ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และค่าการตลาด
(2) ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ข้อ ๖ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล และผู้นําเข้า ซึ่งขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งราคาขายปลีกตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในวันที่ 1 มิถุนายนถึงวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี และให้ใช้ราคาขายปลีกตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณีในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีสําหรับการขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
(2) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกซึ่งใช้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามข้อ 4 หรือข้อ 5 เนื่องจากราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตตามที่กําหนดในมาตรา 77/1 (19) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินบํารุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เงินบํารุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือภาษีบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดเปลี่ยนแปลงไป ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีก พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดวิธีการคํานวณราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นหนังสือต่อกรมสรรพากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ภายในกําหนดเวลา 30 วันก่อนวันที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีก และให้ใช้ราคาขายปลีกตามที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงไว้ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่แจ้งเป็นต้นไป
(3) แจ้งราคาขายปลีกที่ใช้เป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ให้ผู้ประกอบการที่ซื้อยาสูบดังกล่าวเพื่อนําไปขายต่อทุกทอดทราบด้วย
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีของยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาลและผู้นําเข้า ซึ่งขายยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต แจ้งราคาขายปลีกตามข้อ 6 ครั้งแรกภายในกําหนดเวลา 30 วันนับถัดจากวันที่ที่ลงในประกาศนี้ และให้ใช้ราคาขายปลีกที่แจ้งไว้ ในการคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่แจ้งถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สาธิต รัคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,678 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 186) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 186)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 77) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และใช้ความต่อไปนี้แทน
“อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ไม่สามารถคํานวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สาธิต รัคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,679 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กนจ. 5/2555 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามโครงการ “หุ้นใหม่ ความภูมิใจของจังหวัด” | ร่าง-ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กนจ. 5 /2555
เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
ตามโครงการ “หุ้นใหม่ ความภูมิใจของจังหวัด”
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ “หุ้นใหม่ ความภูมิใจของจังหวัด”
(ข) บริษัทที่เป็นผลจากการปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัทตาม (ก)
(2) ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556
(3) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลตาม (1)(ข) ผู้ขออนุญาตต้องยื่นหนังสือรับรองจากที่ปรึกษาทางการเงินและจากบริษัทตาม (1)(ก) ที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทตามข้อ (1)(ก) มาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตตาม (2)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
(นายชัยเกษม นิติสิริ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,680 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 9/2555 เรื่อง การกำหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 9/2555
เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์ หรือการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยประกาศดังกล่าวมิได้กําหนดบทนิยามคําว่าผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้คําดังกล่าวมีความหมายตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 หรือข้อ 3 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศในข้อ 1 ได้แก่ผู้ลงทุนดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ธนาคารพาณิชย์
(3) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4) บริษัทเงินทุน
(5) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(6) บริษัทหลักทรัพย์
(7) บริษัทประกันวินาศภัย
(8) บริษัทประกันชีวิต
(9) กองทุนรวม
(10) กองทุนส่วนบุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (9) หรือ (11) ถึง (26) หรือของผู้ลงทุนรายใหญ่
(11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(13) กองทุนประกันสังคม
(14) กองทุนการออมแห่งชาติ
(15) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(16) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(17) ผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
(18) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(19) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(20) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(21) นิติบุคคลประเภทบรรษัท
(22) นิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) ถึง (21) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(23) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (22)
(24) ผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน
(25) ผู้จัดการลงทุนที่มีชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(26) ผู้ลงทุนอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๓ ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศในข้อ 1 ได้แก่ผู้ลงทุนดังต่อไปนี้
(1) นิติบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ข) มีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป
(2) บุคคลธรรมดาซึ่งนับรวมกับคู่สมรสแล้วมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ สินทรัพย์ดังกล่าวไม่นับรวมมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยประจําของบุคคลนั้น
(ข) มีรายได้ต่อปีตั้งแต่สี่ล้านบาทขึ้นไป
(ค) มีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(นายชัยเกษม นิติสิริ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,681 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 10/2555 เรื่อง การไม่นำบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 10 /2555
เรื่อง การไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
มาใช้บังคับกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 63(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกับการอนุญาตหรือการจดทะเบียน จากหน่วยงานกํากับดูแลหลักให้จัดตั้งโครงการดังกล่าว
“ประเทศกลุ่มอาเซียน” หมายความว่า ประเทศกลุ่มอาเซียนที่เป็นสมาชิกของInternational Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยเป็นพหุภาคีประเภท signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU)
“หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท (investment company) หรือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน
“หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลในประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (CIS operator)
“บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ เป็นหลักทรัพย์ที่มิให้นําบทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ
(1) เป็นหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีลักษณะตามข้อ 3
(2) เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวทั้งหมดต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) มีบริษัทนายหน้าเป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวในประเทศไทย
(4) มีตัวแทน (local representative) เพื่อประสานงานและอํานวยความสะดวกในเรื่องดังต่อไปนี้ในประเทศไทย
(ก) การเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักกําหนดให้เปิดเผยหรือส่งให้แก่ผู้ลงทุนหรือข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศซึ่งผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศประสงค์จะเปิดเผยให้แก่ผู้ลงทุน
(ข) การรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ แทนผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือแทนโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ข้อ ๓ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศของหน่วยที่จะได้รับยกเว้นตามข้อ 2 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักซึ่งมีอํานาจในการพิจารณาลงโทษ หรือสั่งให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ หากมีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้
(ข) ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานกํากับดูแลหลัก
(ค) ไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก หรือไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งเอกสารดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก
(2) มีนโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117
(3) มีการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ และต้องไม่อยู่ระหว่างถูกหน่วยงานกํากับดูแลหลักสั่งห้ามการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายชัยเกษม นิติสิริ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,682 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 11/2555 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ตามโครงการ “หุ้นกู้ SMEs” | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กม. 11 /2555
เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้
หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ตามโครงการ “หุ้นกู้ SMEs”
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ออกใหม่ต้องมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งประกอบกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่งหรือค้าปลีก แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือกิจการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(ข) มีสินทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วไม่เกินสองพันล้านบาท
(ค) ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ “หุ้นกู้ SMEs”
(2) ผู้ขออนุญาตได้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556
(3) ผู้ขออนุญาตไม่เคยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามประกาศนี้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายชัยเกษม นิติสิริ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,683 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 13/2555 เรื่อง การกำหนดผู้ออกหลักทรัพย์ที่ถือเป็นบริษัท | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 13/2555
เรื่อง การกําหนดผู้ออกหลักทรัพย์ที่ถือเป็นบริษัท
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ทรัสต์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบริษัทตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(1) ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550
(2) มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมเงินของผู้ลงทุนและนําไปหาประโยชน์เพื่อผู้ลงทุน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายชัยเกษม นิติสิริ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,684 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 87) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามมาตรา 77/1(10)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 87)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนําสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามมาตรา 77/1(10)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77/1(10)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนําสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนําสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1(10)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“บริการตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่กรณีดังต่อไปนี้
(1) บริการที่นําไปใช้เพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) บริการที่นําไปใช้กับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,685 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 16/2555 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทำนองเดียวกับหน่วยลงทุน | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 16 /2555
เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์ที่มีลักษณะ
การลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศประเภทหุ้น เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ค และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวได้
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้น
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(นายชัยเกษม นิติสิริ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,686 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2556 เรื่อง แนวทางการพิจารณานิยามคำว่า “บริษัท” ตามมาตรา 89/1 | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 6 /2556
เรื่อง แนวทางการพิจารณานิยามคําว่า “บริษัท”
ตามมาตรา 89/1
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่การยกระดับบรรษัทภิบาลของบริษัทที่มีการระดมทุนจากประชาชนในวงกว้างภายใต้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ ในปี 2545 ริเริ่มดําเนินการโดยเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 จึงมุ่งหมายให้บทบัญญัติที่เสนอใช้บังคับเฉพาะกับบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวอันเป็นกฎหมายไทย แม้ต่อมาจะมีการนําร่างบทบัญญัติที่เสนอมาแก้ไขเพิ่มเติมเป็นหมวด 3/1 การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ มาตรา 89/1 ถึง มาตรา 89/32 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แทน ยังปรากฏบทบัญญัติตามหมวด 3/1 หลายมาตราที่มีการอ้างอิงในลักษณะที่เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมหรือเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติบางมาตราในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 อันได้แก่ มาตรา 89/3 มาตรา 89/4 มาตรา 89/12 มาตรา 89/18 และมาตรา 89/30 ดังนั้น บทบัญญัติในหมวดนี้จึงมีที่มาและความมุ่งหมายที่เป็นการเฉพาะและแตกต่างจากบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(4/1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกแนวทางการพิจารณานิยามคําว่า “บริษัท” ตามมาตรา 89/1 ให้หมายความถึงบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535
อื่นๆ - ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,687 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2556 เรื่อง การแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในกรณีผู้ประกอบธุรกิจถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 9 /2556
เรื่อง การแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้า
ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจถูกศาล
สั่งพิทักษ์ทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 14 และมาตรา 111/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า
(1) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(3) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอื่นที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดเพิ่มเติมตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และบริษัทหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดเพิ่มเติมตามมาตรา 111/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
“ทรัพย์สินของลูกค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นของลูกค้าตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
“ลูกค้า” หมายความว่า ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
“สํานักหักบัญชี” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสําหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักหักบัญชีสําหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
“ผู้มีอํานาจดําเนินการ” หมายความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และสํานักงาน ก.ล.ต.
“บัญชีทรัพย์สินของลูกค้า” หมายความว่า บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี และกฎเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการแยกและจัดการทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการจัดการชําระราคาและส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือหลักทรัพย์ของลูกค้า และการจัดการทรัพย์สินของลูกค้าที่ไม่มีภาระผูกพันกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้มีการแบ่งแยกไว้อย่างชัดเจนแล้ว
หมวด ๑ ขอบเขตการดําเนินการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ในตลาดทุนโดยรวม และเพื่อให้ลูกค้าได้รับทรัพย์สินที่มีหลักฐานแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้ผู้มีอํานาจดําเนินการทําการแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ชักช้าและให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าดังต่อไปนี้
(ก) รวบรวมและจัดสรรทรัพย์สินของลูกค้าคืนให้แก่ลูกค้า
(ข) โอนบัญชีและทรัพย์สินของลูกค้าไปให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น
(ค) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าในกรณีที่ไม่สามารถโอนให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายอื่นได้
(2) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการอื่นใดนอกเหนือจากการดําเนินการตาม (1) เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ข้อ ๕ ในการดําเนินการตามข้อ 4(1) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช่วยเหลือสนับสนุนการดําเนินการใด ๆ เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถดําเนินการได้สําเร็จลุล่วง และให้สํานักงาน ก.ล.ต. ประสานงานให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบการดําเนินการดังกล่าวเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถดําเนินการตามข้อ 4(2) ได้
ข้อ ๖ การดําเนินการตามข้อ 4 และข้อ 5 กรมบังคับคดีและสํานักงาน ก.ล.ต. อาจร่วมกันกําหนดแนวปฏิบัติในรายละเอียดได้
ข้อ ๗ ในการดําเนินการแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจดําเนินการอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการแทนได้ตามที่เห็นสมควร
การมอบหมายการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้มีอํานาจดําเนินการต้องติดตามดูแลให้ผู้ได้รับมอบหมายแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าให้เป็นไปตามที่ได้รับมอบหมาย ตามกฎหมาย และตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
หมวด ๒ การแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ ในการแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 4(1) ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจพิสูจน์ทรัพย์สินของลูกค้าโดยให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจและภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งดําเนินการแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากกองทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) ชําระราคาหรือส่งมอบทรัพย์สินที่มีภาระผูกพันอยู่กับบุคคลภายนอกดังต่อไปนี้
(ก) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า โดยชําระราคาหรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่สํานักหักบัญชี
(ข) บุคคลตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือนอกตลาดหลักทรัพย์ (over the counter) ซึ่งได้ดําเนินการผ่านหรือในนามของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อประโยชน์ของลูกค้า โดยชําระราคาหรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลดังกล่าว
(3) ส่งคืนทรัพย์สินของลูกค้าที่เหลืออยู่คืนให้แก่ลูกค้าหรือโอนบัญชีไปยังผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น แล้วแต่กรณี ตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถคืนหรือโอนบัญชีได้ ให้ดําเนินการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและคืนทรัพย์สินคงเหลือ (ถ้ามี) ให้แก่ลูกค้า
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ หรือลูกค้าไม่มารับทรัพย์สินคืน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการตามแนวปฏิบัติที่กรมบังคับคดีและสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ร่วมกันกําหนดขึ้นตามข้อ 6
ข้อ ๙ ในการจัดสรรทรัพย์สินคืนให้แก่ลูกค้า ให้สํานักงาน ก.ล.ต. คืนทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าซึ่งไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก่อน
ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าที่เหลืออยู่ภายหลังการแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 8 ไม่เพียงพอที่จะคืนให้แก่ลูกค้าครบจํานวน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. คืนทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าเฉลี่ยตามสัดส่วนที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําไว้
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าทรัพย์สินที่สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าไปดําเนินการแยกและจัดการนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าหรือไม่ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อจัดการทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไป
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการแยกและจัดการทรัพย์สินของลูกค้าให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการตามประกาศนี้แล้วเสร็จ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งการดําเนินการพร้อมค่าใช้จ่าย (ถ้ามี) ให้กรมบังคับคดีทราบเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย และเพื่อให้มีการชําระค่าใช้จ่ายตามมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตามความเหมาะสมต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,688 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 185) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 185)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 179) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
(ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และเป็นหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,689 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 184) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 184)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 179) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 516) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,690 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 180) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/ แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 180)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน 2.3 ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“2.3 มูลค่าของสินค้าที่ซื้อต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 2,000 บาท โดยซื้อจากสถานประกอบการแห่งละจํานวนไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ต่อวัน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,691 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 183) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 183)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการและได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้ การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 177) เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“สถาบันการเงิน” หมายความถึง บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 177) เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2554
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(2) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้นั้นด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,692 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 182) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 182)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 64) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร รวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจํานวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน และใบกํากับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในใบกํากับภาษีและสําเนาใบกํากับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
(2) ในสําเนาของใบกํากับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สําเนาใบกํากับภาษี” ไว้ด้วย
ข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สําเนาใบกํากับภาษี” ตามวรรคหนึ่ง จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกํากับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันไม่ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,693 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 181) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 181)
เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 122) เรื่อง กําหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้น ในต่างประเทศ
กรณีการให้บริการตามวรรคหนึ่งซึ่งมีการใช้บริการบางส่วนในราชอาณาจักรด้วย ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะส่วนที่ได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
การให้บริการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนําเที่ยวในต่างประเทศ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,694 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 179) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 179)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 163) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทํากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทํากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม และเป็นหนี้ที่ต้องดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกคํานิยาม “สถาบันการเงิน” ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 163) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ใน(ก) และ (ข) ของวรรคสอง
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารออมสิน
(2) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
(7) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน” ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
“ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 155) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 484) พ.ศ. 2552 และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 496) พ.ศ. 2553”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,695 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ และได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้
การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งได้ออกใบกํากับภาษีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 มาตรา 78/1 และมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ให้มีสิทธินําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญมาหักออกจากภาษีขายในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญ
ข้อ ๒ หนี้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตามข้อ 1 ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังนี้
(1) เป็นหนี้จากการประกอบกิจการที่ได้นําไปรวมคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(2) เป็นหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) เป็นหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งได้ออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5เฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป
(4) เป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ และมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้
หนี้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงหนี้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ผู้เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
ข้อ ๓ การจําหน่ายหนี้สูญในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจํานวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ได้ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชําระหนี้ โดยปรากฏว่า
(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชําระหนี้ได้
(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลําดับก่อนเป็นจํานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
(2) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคําบังคับหรือคําสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ หรือ
(3) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว
ข้อ ๔ การจําหน่ายหนี้สูญในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจํานวนไม่เกิน 500,000 บาท ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ได้ดําเนินการตามข้อ 3 (1) แล้ว
(2) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่ง และศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคําสั่งรับคําขอนั้นแล้ว หรือ
(3) ได้ดําเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคําสั่งรับคําขอรับชําระหนี้นั้นแล้ว
ในกรณีตาม (2) หรือ (3) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีคําสั่งอนุมัติให้จําหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ข้อ ๕ การจําหน่ายหนี้สูญในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจํานวนไม่เกิน 100,000 บาท ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 หรือข้อ 4 ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชําระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชําระ
ข้อ ๖ การจําหน่ายหนี้สูญในกรณีที่ได้ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้ลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคําสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“สถาบันการเงิน” หมายความถึง สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 206) ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2557
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และ ให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้นั้นด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 206) ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
“ข้อ 6/1 การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย เฉพาะการปลดหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(3) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(4) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ 6/2 การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
(2) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 188) ใช้บังคับ 25 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป)
ข้อ ๗ เมื่อดําเนินการครบถ้วนตาม ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วในเดือนภาษีใด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร นําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญ เว้นแต่กรณีตามข้อ 4(2)(3) และข้อ 6 วรรคหนึ่ง ให้นําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้อง คําขอเฉลี่ยหนี้ คําขอรับชําระหนี้ หรือเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
การคํานวณหาภาษีขายจากส่วนของหนี้สูญตามวรรคหนึ่ง ให้นําส่วนของหนี้สูญนั้นคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วยร้อยบวกด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัยและคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,696 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำเข้ามาเพื่อขายหรือการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทำขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทำเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทำขึ้นใหม่ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 178)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับ
การนําเข้ามาเพื่อขายหรือการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก
และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าว
หรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 493) พ.ศ. 2553 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการนําเข้ามาเพื่อขายหรือการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีการนําเข้าพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ มาเพื่อขาย ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้นําเข้าอัญมณีดังกล่าวมาเพื่อขาย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องไม่เป็นการนําเข้าอัญมณีดังกล่าว มาเพื่อใช้ในกิจการของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยมิใช่การนําเข้ามาเพื่อขาย
(2) ต้องไม่เป็นการนําเข้าอัญมณีดังกล่าว มาเพื่อการรับจ้างเจียระไนหรือการรับจ้างผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับหรือของใช้ใดๆ
(3) ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
(4) ต้องนําเข้าอัญมณีดังกล่าว มาพร้อมกับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและต้องยื่นแบบแสดงรายการ การนําเข้า – ส่งออก อัญมณีที่ยังมิได้เจียระไน พร้อมกับแสดงสินค้าอัญมณีดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานศุลกากรในขณะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ กรณีการขายพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทําเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทําขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทําเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทําขึ้นใหม่ ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายอัญมณีดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540
ข้อ ๓ กรณีผู้นําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือผู้ขายอัญมณี ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ตามข้อ 1 และข้อ 2 ผู้นําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือผู้ขายอัญมณีไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการนําเข้าอัญมณีมาเพื่อขายหรือการขายอัญมณีดังกล่าว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,697 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 176) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขายนมสดพาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ภายใต้โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 176)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขายนมสดพาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ภายใต้โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 (17) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 486) พ.ศ. 2552 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขายนมสดพาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ภายใต้โครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เป็นการขายนมสดพาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ภายใต้โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
ข้อ ๒ การขายนมสดพาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ตามข้อ 1 ต้องขายให้แก่ สํานักงานการประถมศึกษาขั้นพื้นฐานหรือองค์การบริหารส่วนตําบล หรือ โรงเรียน ภายใต้โครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน โดยผลิตภัณฑ์นมที่บรรจุกล่อง หรือ ภาชนะอื่นใดต้องมีข้อความว่า “ห้ามจําหน่าย” ไว้ด้วย
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการได้รับอนุญาตให้ผลิตอาหารประเภทนมสดพาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการขายนมสดพาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,698 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 84) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 84)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ของวรรคสอง ของข้อ 2(4) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 79) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2541 ดังนี้
“(ง) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ที่ได้ควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2541”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,699 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 83) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 83)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยและการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (15) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 75) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2540
“(15) การประกอบกิจการให้บริการใช้สนามบินของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการ ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 75) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ทั้งนี้ ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 100,000 บาท แต่ไม่รวมถึงการให้บริการตาม (12) (13) (14) และ (15)”
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,700 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 172) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 172)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ และได้นําภาษีขายไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจําหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจํานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีขายที่คํานวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจําหน่ายหนี้สูญได้การจําหน่ายหนี้สูญและการคํานวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 162) เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5
“สถาบันการเงิน” หมายความถึง บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 85) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 162) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจําหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนํามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/11 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดําเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนําหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทําได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทําในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2552
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(2) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทําความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,701 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)
เรื่อง กําหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/10(1)(2)(3) และ(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดเหตุอื่นดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 18) เรื่อง กําหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10(1)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ข้อ ๒ กําหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10(1)(2)(3)และ(4) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่
(1) เหตุเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อผูกพันในกฎหมาย
(2) เหตุเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการคืนเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทํานองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงทางการค้า
(3) เหตุเนื่องจากมีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน
(4) เหตุเนื่องจากมีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนและผู้ซื้อสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทําภายในเวลาอันสมควร
(5) เหตุเนื่องจากการให้บริการบกพร่อง หรือให้บริการผิดข้อกําหนดที่ตกลงกัน
(6) เหตุเนื่องจากไม่มีการให้บริการตามสัญญา
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,702 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 177) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 177)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 42 (8) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 และตามความในข้อ 2(38) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 200 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55)เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านระบบการหักหรือโอนเงินจากบัญชีดังกล่าวไปยังบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากอื่นใด และมีจํานวนดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,703 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 175) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรลักษณะรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 175)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรลักษณะรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออกณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 141) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่นผ่านผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามใน (7) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 141) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นคําร้องขอรับเครื่องหมายแสดงเลขรหัสประจําเครื่องจากผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองใน (10) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 73) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 141) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินสําหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกที่มีสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อยตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งต่อสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งต่อผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,704 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 81) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทน และกำหนดรายการในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 81)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสี่ มาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 และกฎกระทรวงฉบับที่ 198 (พ.ศ.2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายสินค้าหรือการให้บริการอื่น ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2538 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบกํากับภาษีของการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5(4)แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ ต้องไม่ตั้งผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนรายอื่นรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการ และออกใบกํากับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ สําหรับสินค้าหรือบริการประเภทที่ได้ทําสัญญาตั้งให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนรายใด ดําเนินการรับชําระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการและออกใบกํากับภาษีแทนแล้ว เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น”
บทเฉพาะกาล ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2538 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,705 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2541
“(9) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายได้นําเข้าจากต่างประเทศ และได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อยื่นใบขนสินค้าขาเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร เพื่อชําระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ทั้งนี้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าจะต้องมีสําเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,706 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 174) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนและกำหนดรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 174)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนและกําหนดรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 198 (พ.ศ.2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายสินค้าหรือการให้บริการอื่น ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบกํากับภาษีของการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองใน (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 140) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษี ตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งต่อผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษี โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ทุกกรณี เว้นแต่หลักเกณฑ์
ในส่วนที่ได้กําหนดไว้แล้วในประกาศฉบับนี้การยื่นคําขออนุมัติให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่กําหนดผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ และกรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่นผ่านผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองใน (5) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 140) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทน และกําหนดรายการในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
“กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ส่งมอบต่อผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,707 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 79) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 79)
เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกําหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
“ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต่อมาได้ขายหรือให้เช่าหรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเนื่องมาจาก
(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดและได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 สําหรับในกรณีที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ก่อนวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดนั้น หากได้ดําเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสําหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมด้วย
(ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้การค้าที่มิได้เป็นสถาบันการเงินตาม (ก) ที่ได้ดําเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ลูกหนี้นั้นเป็นหนี้เจ้าหนี้การค้าและเป็นหนี้เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินด้วย และได้กระทําภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542
(ค) การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2541
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,708 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 173) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 173)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (13) ของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 137) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(13) การจําหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การทําลาย การเคลื่อนย้ายออกจากสถานประกอบการโดยมิใช่เพื่อการซ่อมแซมหรือบํารุงรักษา หรือกรณีที่มิได้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้งให้สรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทราบ ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดภายใน 7 วัน ก่อนวันจําหน่าย ทําลาย หรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ให้แจ้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ทราบเป็นรายสถานประกอบการ และกรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ทราบ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 137) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อจะต้องยื่นคําขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีตามวรรคหนึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่โดยต้องยื่นคําขออนุมัติเป็นรายสถานประกอบการ และกรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นคําขออนุมัติผ่านผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินทั้งสําหรับออกใบกํากับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดียวกันผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ทุกกรณีโดยจะต้องระบุคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงินและโปรแกรม รวมทั้งหลักการและวิธีการที่จะดําเนินการโดยละเอียด และห้ามใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินบันทึกรายการใด ๆ ในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะได้รับอนุมัติให้ใช้สําหรับออกใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องเดียวกันได้ด้วย”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,709 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 40) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2537
“(8) มูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้กับพนักงานหรือลูกจ้างในระหว่างเวลาปฏิบัติงาน ตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้าง โดยมูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวต้องมีราคาไม่เกินสมควร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,710 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 171) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือ การให้บริการทางวิชาการตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 171)
เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือ การให้บริการทางวิชาการตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการตามข้อ 1 ต้องมิใช่การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในทางธุรกิจ
ความในวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการให้บริการกับหน่วยงานของรัฐ ที่มีฐานะเป็น กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย
“ข้อ 3 ผู้ประกอบการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ 1 ต้องเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือเป็นมูลนิธิ หรือเป็นสถาบันอุดมศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้
(1) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสถานศึกษาในกํากับของรัฐ
(2) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงอื่นๆ
(3) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,711 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 77) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 77)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 52) เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบ กํากับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2537
ข้อ ๒ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ออกใบกํากับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 วรรคสอง แห่ง ประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไว้ในใบกํากับภาษีด้วย โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏด้วย วิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจําวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยของวันถัดไป ตาม มาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ผู้มีอํานาจลงนาม - ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,712 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 170) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 170)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/8 และมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน การจัดทํารายงาน และการเก็บรักษารายงาน ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกํากับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงาน ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2537
“นอกจากการยื่นคําขออนุมัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะยื่นคําขอโดยยื่นรายการข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ก็ได้ โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นคําขออนุมัติ ต้องแสดงรายการข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องมีหลักฐานเอกสารตามรายการข้อมูลที่แสดงในคําขออนุมัติด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,713 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.