title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 3/2545 เรื่อง รายการข้อมูลของลูกค้าของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 3/2545
เรื่อง รายการข้อมูลของลูกค้าของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่ตกลงรับบริการการให้คําแนะนําจากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
“บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจัดทําข้อมูลของลูกค้าโดยมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1). กรณีลูกค้าเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีรายการดังนี้
(ก) ข้อมูลส่วนตัว ได้แก่
1. ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด สัญชาติ สถานภาพสมรส และประวัติการศึกษา
2. เลขที่ วันหมดอายุและสถานที่ออกบัตรประจําตัวประชาชน บัตรข้าราชการ หนังสือเดินทางหรือใบต่างด้าว
3. ตําแหน่งหน้าที่และสถานที่ทํางาน หรือสถานที่ประกอบการของลูกค้าและประเภทของกิจการ
4. ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน และสถานที่ที่ใช้ในการติดต่อและรับส่งเอกสาร
5. รายได้รวมต่อปีของลูกค้า
6. ภาระทางการเงินต่อปีของลูกค้า และจํานวนผู้อยู่ในอุปการะ
(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ในการลงทุนของลูกค้า และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลตอบแทน ความเสี่ยงในการลงทุน ความเคลื่อนไหวของภาวะตลาด หรือปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการลงทุน เป็นต้น
(ค) ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า
(ง) ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า เช่น เพื่อมีรายได้ประจํา เพื่อรักษาเงินต้น หรือเพื่อเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สิน เป็นต้น รวมทั้งระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้
(จ) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดในการลงทุน เช่น ระยะเวลาการลงทุน ความต้องการสภาพคล่อง แผนในการใช้เงินของลูกค้าที่อาจมีผลกระทบต่อการลงทุน ความต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือภาระทางภาษีของลูกค้า เป็นต้น
(2) กรณีลูกค้าเป็นนิติบุคคล ต้องมีรายการดังนี้
(ก) ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ได้แก่
1. ชื่อ สถานที่ตั้ง และวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
2. เลขที่ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียน วันที่จดทะเบียนและสถานที่ออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล
3. รายชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันและเงื่อนไขในการลงนาม
4. สถานที่ที่ใช้ในการติดต่อและรับส่งเอกสาร
5. รายได้รวมต่อปีของลูกค้า
6. ภาระทางการเงินต่อปีของลูกค้า
(ข) ข้อมูลตามข้อ 2(1) (ข) (ค) (ง) และ (จ)
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,816 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)
เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 9) เรื่อง กําหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ข้อ ๒ ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการดังต่อไปนี้ ไม่ต้องนํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี
(1) มูลค่าของสินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้า หรือการให้บริการไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้นจะเป็นสินค้าประเภท และชนิดเดียวกับสินค้าที่ขายหรือบริการที่กระทําหรือไม่ แต่มูลค่าของสินค้าที่แถมจะต้องไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ
(2) มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลกับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการในแต่ละวัน โดยมีมูลค่ารวมกันตามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกําหนด แต่มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ
(3) มูลค่าของการให้บริการเนื่องจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศดังกล่าวขายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน
“(4) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักร และผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นําเข้าตามมาตรา 77/1 (11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทําพิธีการนําเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนําสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว
ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(5) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ดังกล่าวซึ่งเป็นผู้นําเข้าตามมาตรา 77/1 (11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทําพิธีการนําเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนําสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว
ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 132) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป)
“(6) มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นของขวัญ เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนําสินค้าใหม่ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่เป็นปฏิทิน สมุดบันทึกประจําวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทํานองเดียวกันของขวัญหรือของชําร่วยที่มีชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการปรากฏอยู่ โดยของขวัญหรือของชําร่วยดังกล่าว ต้องเป็นสิ่งของที่พึงให้แก่กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร
(7) มูลค่าของสินค้าตัวอย่างที่แจก เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 55) ใช้บังคับ 1 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป)
“(8) มูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้กับพนักงานหรือลูกจ้างในระหว่างเวลาปฏิบัติงาน ตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้าง โดยมูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวต้องมีราคาไม่เกินสมควร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) ใช้บังคับ 1 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป)
“(9) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายได้นําเข้าจากต่างประเทศ และได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อยื่นใบขนสินค้าขาเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร เพื่อชําระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าจะต้องมีสําเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80) ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2541)
“(10) มูลค่าของเครื่องแบบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนายจ้างได้มอบให้แก่ลูกจ้างในจํานวนคนละไม่เกินสองชุดต่อปี และเสื้อนอกในจํานวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี
“เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกายรวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทําด้วยโลหะหรืออัญมณีมีค่า เช่น เงิน ทองคํา ทับทิม หยก
“เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงชุดไทยพระราชทาน และเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสําคัญต่าง ๆ
(11) มูลค่าของค่าตอบแทนที่พึงได้รับจากการมอบสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทดสอบใช้งานก่อนซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ของใช้สิ้นเปลืองและต้องเป็นสินค้าที่มีไว้สําหรับให้ทดลองใช้เป็นการชั่วคราว เพื่อทดลองคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้น และผู้ซื้อสินค้าจะต้องส่งมอบสินค้าดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าเมื่อทดลองใช้เสร็จ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 97) ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2542)
“(12) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้ขายหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็น
(ก) ผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
(ข) ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งได้ทําสัญญาเป็นหนังสือโดยตรงกับผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องทําสัญญากับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเป็นหนังสือ และต้องจัดทํารายงานตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกําหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 102) ลงวันที่ 7 มกราคม 2543)
“(13) มูลค่าของสลากวินโต๊ดและเปร๊สโต๊ดที่ผู้ประกอบการสนามแข่งม้าขายให้แก่ผู้เล่นพนันแข่งม้า เป็นจํานวนเท่ากับจํานวนเงินรางวัลที่จะต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้เล่นพนันแข่งม้าดังกล่าว”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 103) ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2543)
“(14) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชําร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย
ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคํานวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 117) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป)
“(14/1) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายซึ่งผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนภายในเวลา ที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด เป็นจํานวนเท่ากับราคาขายฝากที่กําหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่า ตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
หากมิได้กําหนดราคาขายฝากไว้ มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายฝากตามวรรคหนึ่งให้เป็นจํานวนเท่ากับร้อยละ 84 ของราคาสินไถ่ที่กําหนดไว้ตามสัญญาขายฝาก
สินไถ่ คือ จํานวนเงินที่ผู้ขายฝากหรือผู้มีสิทธิไถ่ตามกฎหมาย จะต้องนํามาชําระให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้มีหน้าที่รับไถ่ เมื่อมาใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้น
ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชําร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย และหมายความรวมถึงนากที่สามารถคํานวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 213) ใช้บังคับ 16 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นไป)
“(15) มูลค่าของน้ํามันดีเซลที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตและขายตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้แก่ผู้ค้าน้ํามันที่จะนําน้ํามันดีเซลดังกล่าวไปขายให้แก่สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะนําน้ํามันดีเซลนั้นไปขายให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย
น้ํามันดีเซลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกําหนดคุณภาพของน้ํามันดีเซลสําหรับการส่งไปขายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ตามที่กรมทะเบียนการค้าประกาศกําหนด และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศกําหนด
ผู้ค้าน้ํามันตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้กระทําการค้าน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง แต่ไม่รวมถึงผู้กลั่นหรือผู้ผลิตน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง หรือผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เรือบรรทุกน้ํามันที่กรมศุลกากรอนุญาตให้ขนถ่ายน้ํามันดีเซลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย เพื่อขายน้ํามันดีเซลให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย
เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสี่ หมายความว่า เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามพระบรมราชโองการประกาศเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2538”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 120) ใช้บังคับ 28 กันยายน 2544 ถึง 31 ธันวาคม 2544)
“(16) มูลค่าของน้ํามันดีเซลที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตและขายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป ให้แก่ผู้ค้าน้ํามันที่จะนําน้ํามันดีเซลดังกล่าวไปขายให้แก่สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะนําน้ํามันดีเซลนั้นไปขายให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมง ตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย
น้ํามันดีเซลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกําหนดคุณภาพของน้ํามันดีเซลสําหรับการส่งไปขายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกําหนด และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศกําหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 146) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป)
“ผู้ค้าน้ํามันตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้กระทําการค้าน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง แต่ไม่รวมถึงผู้กลั่นหรือผู้ผลิตน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ํามันเชื้อเพลิง หรือผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
สถานีบริการจําหน่ายน้ํามันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เรือบรรทุกน้ํามันที่กรมศุลกากรอนุญาตให้ขนถ่ายน้ํามันดีเซลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย เพื่อขายน้ํามันดีเซลให้แก่เรือจดทะเบียนสําหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย
เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ หมายความว่า เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามพระบรมราชโองการประกาศเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 133) ใช้บังคับ 19 สิงหาคม 2545 เป็นต้นไป)
“(17) มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการจดทะเบียน เฉพาะการให้บริการแก่บรรษัทประกันต่อแห่งเอเชียที่กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 148) ใช้บังคับ 28 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป)
“(18) มูลค่าของการให้บริการขนส่งก๊าซทางท่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการแก่ผู้รับบริการซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งได้ทําสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียและผู้ทําสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ทั้งนี้ เฉพาะการให้บริการขนส่งก๊าซซึ่งผลิตจากเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เท่านั้น
พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 150) ใช้บังคับ 28 มกราคม 2546 เป็นต้นไป)
“(19) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนบริจาคให้แก่ส่วนราชการตามโครงการของทางราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติในลักษณะทํานองเดียวกัน
(20) มูลค่าของทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนบริจาคให้แก่ส่วนราชการตามโครงการของทางราชการ เพื่อให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 156) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป)
“(21) มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยต่อตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนลดประกันภัยต่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการประกันภัยต่อได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อ”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207) ใช้บังคับ 30 เมษายน 2558 เป็นต้นไป)
“(22) มูลค่าของการให้บริการผลิตรถยนต์ต้นแบบ หรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบที่ใช้เพื่อการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนผลิตให้แก่ผู้วิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โดยมีหนังสือรับรองการยกเว้นภาษีสรรพสามิตและการอนุมัติให้เป็นผู้วิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์จากกรมสรรพสามิตมาแสดง”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 210) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป)
“(23) มูลค่าของการให้บริการไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ให้บริการไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยซึ่งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5(15) แอมแปร์ โดยได้ใช้ไฟฟ้าไม่เกินจํานวนหน่วยที่กําหนดตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบหรือรับทราบแล้ว และเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน ทั้งนี้ สําหรับมูลค่าของการให้บริการไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
มูลค่าของการให้บริการไฟฟ้าตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าผันแปร และค่าบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 211) ใช้บังคับ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป)
"(24) มูลค่าของค่าน้ําประปาที่การประปานครหลวงเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ําประปาเฉพาะมูลค่าของค่าน้ําประปาที่พึงเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ําประปาแต่ละรายในส่วนที่ไม่เกิน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
มูลค่าของค่าน้ําประปาตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ค่าน้ําประปา ค่าน้ําดิบและค่าบริการที่การประปานครหลวงพึงได้เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ําประปา”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 237) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
นายโกวิทย์ โปษยานนท์
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,817 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39)
เรื่อง กําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดข้อความอื่นในใบกํากับภาษี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร รวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจํานวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน และใบกํากับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในใบกํากับภาษีและสําเนาใบกํากับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
(2) ในสําเนาของใบกํากับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สําเนาใบกํากับภาษี” ไว้ด้วย
ข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สําเนาใบกํากับภาษี” ตามวรรคหนึ่ง จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกํากับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกันไม่ได้
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 182) ใช้บังคับ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นตามข้อ 1 แต่ไม่มีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ก็ให้ยังคงใช้เป็นใบกํากับภาษีได้ต่อไปจนกว่าเอกสารทางการค้าซึ่งได้มีอยู่เดิมก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับจะหมดไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2535
ข้อ ๓ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง และสถานประกอบการที่มิใช่สํานักงานใหญ่ได้นําใบกํากับภาษีของสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องมีข้อความว่า "สาขาที่ออกใบกํากับภาษีคือ" ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวโดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
ข้อ ๔ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการสถานบริการน้ํามันได้ขายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จะต้องระบุ เลขทะเบียนรถยนต์ ไว้ในใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 52) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2537 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ออกใบกํากับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไว้ในใบกํากับภาษีด้วย โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
“อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ไม่สามารถคํานวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 186) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
ข้อ ๖ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนํามูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจํานวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มารวมคํานวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุขอ้ความดังต่อไปนี้ไว้ในใบกํากับภาษีด้วย
(1) ราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศ
(3) ผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากําเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตาม (1) กับราคาซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคําประกาศตาม (2)
(4) จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจาก (3)
(5) หมายเลขลําดับของใบรับที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน แต่หากผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกํากับภาษีด้วย ไม่ต้องระบุหมายเลขลําดับของใบรับ
(6) เลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด
ข้อความตามวรรคหนึ่ง จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้”
ข้อ ๗ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกํากับภาษีนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทํา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๘ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการ จดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกํากับภาษี ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
(1) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความ คําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้
ข้อ ๙ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว สําหรับการจัดทําใบกํากับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความคําว่า “สํานักงานใหญ่” หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสํานักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จํานวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสํานักงานใหญ่ ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏ ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการใน ใบกํากับภาษี ให้ระบุข้อความคําว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏใน ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคําย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจํานวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าวด้วย
(3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) ใช้บังคับ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535
โกวิทย์ โปษยานนท์
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,818 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบแทนใบกํากับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการออกใบแทนใบกํากับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับการร้องขอจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งทําใบกํากับภาษีใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้สูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ออกใบแทนใบกํากับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้หรือใบแทนใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ข้อ ๒ การออกใบแทนดังกล่าวให้กระทําโดยใช้วิธีถ่ายสําเนาใบกํากับภาษี สําเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสําเนาใบลดหนี้ และให้บันทึกรายการดังต่อไปนี้ลงในภาพถ่ายหรือด้านหลังของภาพถ่ายดังกล่าว
(1) ใบแทนออกให้ครั้งที่
(2) วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
(3) คําอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน
(4) ลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้ออกใบแทนตามข้อ 2 บันทึกรายการตามข้อ 2 (1) ถึง (4) ไว้ด้านหลังสําเนาใบกํากับภาษี สําเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสําเนาใบลดหนี้ด้วย
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้ออกใบแทนตามข้อ 2 บันทึกรายการการออกใบแทนในรายงานภาษีขาย ในเดือนที่มีการออกใบแทน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่/เล่มที่ วันที่ของใบกํากับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ที่ได้มีการออกใบแทน ตามข้อ 2
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,819 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีก ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 6) เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534
ข้อ ๒ การประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนําสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนําไปขายต่อไป เช่น การขายสินค้าของกิจการแผงลอยกิจการขายของชํา กิจการขายยา กิจการจําหน่ายน้ํามัน และกิจการห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะในการขายสินค้าที่เป็นไปตามลักษณะและหรือเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น
(2) การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจํานวนมาก เช่น การให้บริการของกิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม กิจการซ่อมแซมทุกชนิด กิจการโรงภาพยนต์ และกิจการสถานบริการน้ํามัน เป็นต้น
กิจการภัตตาคารได้แก่กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้
(3) ผู้ประกอบการตาม (1) และ (2) ต้องจัดทําใบกํากับภาษีและสําเนาใบกํากับภาษี ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกํากับภาษีดังกล่าว ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,820 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนํามาหักออกจากภาษีขายในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นําสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภทถ้าสามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ถือเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ๆ
ข้อ ๒ นอกจากกรณีตามข้อ 5 ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นําสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภท ถ้าไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใด ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ ดังนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเริ่มประกอบกิจการ หรือได้ประกอบกิจการมาแล้วแต่ยังไม่มีรายได้ ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทของปีที่เริ่มมีรายได้
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการรายได้ดังกล่าว และให้นําภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของประมาณการรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขาย แต่ภาษีซื้อดังกล่าวจะต้องมีจํานวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของภาษีซื้อที่นํามาเฉลี่ย
สําหรับในปีถัดจากปีที่เริ่มประกอบกิจการและยังไม่มีรายได้ถึงสิ้นปีของปีที่เริ่มมีรายได้ ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการรายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
เมื่อสิ้นปีที่เริ่มมีรายได้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคํานวณภาษีซื้อที่หักได้จริงตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้นํามาหักออกจากภาษีขายแล้วตามหลักเกณฑ์ตาม (2)
ปีที่เริ่มมีรายได้ให้หมายถึง ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี
(2) การปรับปรุงภาษีซื้อตาม (1) ให้กระทําในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ ดังนี้
(ก) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นํามาหักออกจากภาษีขายแล้ว มีจํานวนเกินกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนชําระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้นพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มอีกหนึ่งฉบับ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อและให้นําภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้นซึ่งยังมิได้นําไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ ไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง
(ข) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นํามาหักออกจากภาษีขายแล้วมีจํานวนน้อยกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคําร้องขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้นําภาษีซื้อส่วนที่ขาด ซึ่งได้นําไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง
(3) สําหรับปีถัดจากปีที่เริ่มมีรายได้เป็นต้นไป ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก และในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภทก็ให้กระทําได้ ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ตาม (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลมและเมื่อได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว ก็ให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้
รายได้ของปีที่ผ่านมาตามวรรคหนึ่ง หมายถึง รายได้ของปีก่อนปีปัจจุบัน 1 ปี
(4) การปรับปรุงภาษีซื้อตามข้อนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ เพื่ออํานวยความสะดวกในการปฏิบัติตามข้อ 2(3)
(1) ถ้ารายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเลือกนําภาษีซื้อทั้งจํานวนไปหักออกจากภาษีขาย ทั้งนี้ ห้ามนําภาษีซื้อดังกล่าวไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ
(2) ถ้ารายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเลือกไม่นําภาษีซื้อทั้งจํานวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่ให้นําไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ
เมื่อได้เลือกปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ก็ให้ถือปฏิบัติตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้
ข้อ ๔ รายได้ตามข้อ 2 และข้อ 3 หมายความว่า
(1) รายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายความว่า มูลค่าของฐานภาษีของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่มูลค่าของฐานภาษีของกิจการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ในกรณีรับขนคนโดยสาร ให้หมายความรวมถึงมูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บ นอกราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารด้วยหรือในกรณีรับขนสินค้าให้หมายความรวมถึงมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนสินค้าเข้าในราชอาณาจักรด้วย
(2) รายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายความว่า มูลค่าของฐานภาษีของกิจการประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รายรับของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และรายรับของกิจการประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ และให้หมายความรวมถึงรายรับสําหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนําเข้าสินค้าที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 67) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป)
“รายได้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึง
(ก) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนําเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ หรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับสําหรับการประกอบกิจการตามมาตรา 91/2(1)(2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการกู้ยืมเงินกันเองในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน
คําว่า "บริษัทในเครือเดียวกัน" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
(ค) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นําเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ
(ง) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการประกอบกิจการประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 153) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป)
ข้อ ๕ กรณีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และเพื่อการอื่นให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อ ดังนี้
(1) ให้ประมาณการการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และเพื่อการอื่น โดยให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการการใช้พื้นที่อาคารดังกล่าว และให้นําภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของประมาณการการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขาย
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการการใช้พื้นที่อาคารตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่งตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่มีภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นถึงเดือนภาษีก่อนมีกรณีการใช้พื้นที่อาคารตรงตามที่ได้ประมาณการไว้ตาม (2)(ก) หรือถึงเดือนภาษีก่อนมีกรณีตาม (2)(ข)
(2) เมื่อการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติ ดังนี้
(ก) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนยังมิได้ใช้พื้นที่อาคารหรือได้ใช้พื้นที่อาคารตรงตามที่ได้ประมาณการไว้ หรือได้ใช้พื้นที่อาคารแล้วแต่ยังไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้
(ข) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้ประมาณการไว้เป็นครั้งแรกในเดือนภาษีใด อันเป็นเหตุให้ภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคํานวณภาษีซื้อที่หักได้จริงตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้นํามาหักออกจากภาษีขายแล้วตามหลักเกณฑ์ตาม (3)
(3) การปรับปรุงภาษีซื้อตาม (2)(ข) ให้กระทําในเดือนภาษีแรกที่ได้ใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้ประมาณการไว้โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่มีภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นถึงเดือนภาษีก่อนเดือนภาษีที่ได้ใช้พื้นที่อาคารดังกล่าวดังนี้
(ก) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นํามาหักออกจากภาษีขายแล้วมีจํานวนเกินกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนชําระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้น พร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นรายเดือนภาษีทุกเดือนเดือนละหนึ่งฉบับภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ และให้นําภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้นซึ่งยังมิได้นําไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง
(ข) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นํามาหักออกจากภาษีขายแล้วมีจํานวนน้อยกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคําร้องขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดและให้นําภาษีซื้อส่วนที่ขาดซึ่งได้นําไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง
(4) สําหรับเดือนภาษีนับแต่เดือนภาษีที่มีกรณีการใช้พื้นที่อาคารตรงตามที่ได้ประมาณการไว้ตาม (2)(ก) หรือที่มีกรณีตาม (2)(ข) เป็นต้นไป หากมีภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นอีก ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อดังกล่าวตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละเดือนภาษี
(5) ภายในกําหนดเวลา 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ หากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารภายหลังจากที่ได้ใช้พื้นที่อาคารตรงตามที่ได้ประมาณการไว้ตาม (2)(ก) หรือภายหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารตาม (2)(ข) แล้ว อันเป็นเหตุให้ภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนปรับปรุงภาษีซื้อตามที่คํานวณภาษีซื้อที่หักได้จริงตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่เกิดขึ้นจริง
การปรับปรุงภาษีซื้อตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําทุกคราวในเดือนภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร ทั้งนี้ ให้นําความใน (ก) และ (ข) ของ (2) ของข้อ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(6) การปรับปรุงภาษีซื้อตามข้อนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
“(7) ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งรายการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารและการใช้พื้นที่อาคารดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่
(ก) รายการเกี่ยวกับการประมาณการการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเพื่อการอื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มทําการก่อสร้างอาคารหรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ทําการก่อสร้างอาคาร แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน ในกรณีที่ได้ทําการก่อสร้างอาคารมาแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ให้แจ้งรายการเกี่ยวกับการประมาณการการใช้พื้นที่อาคารดังกล่าวภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535
(ข) วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
(ค) รายการเกี่ยวกับการเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารทั้งหมดหรือบางส่วน
(ง) รายการเกี่ยวกับการใช้พื้นที่อาคารที่เปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 136) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป)
ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้แจ้งรายการตามวรรคหนึ่งโดยไม่เหตุอันสมควร มิให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามประกาศนี้มาหักออกจากภาษีขาย ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๖ “ ปี ” ตามประกาศนี้ หมายความว่า
(1) ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้นับตามปีประดิทิน เว้นแต่ในกรณีที่เริ่มประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการจนถึงวันสิ้นปีประดิทิน
(2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ให้นับตามรอบระยะเวลาบัญชีเว้นแต่ในกรณีที่เริ่มประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,821 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศตามมาตรา 80/1(4)แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศตามมาตรา 80/1(4)แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องขายสินค้าหรือให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการ ส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ หรือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การระหว่างประเทศ
(2) กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินกู้ตามโครงการเงินกู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง เฉพาะการกู้เงินจากรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
ข้อ ๒ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจต้องออกหนังสือรับรองการชําระค่าสินค้าหรือบริการจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือจากเงินกู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ที่อยู่ ของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ออกหนังสือรับรอง
(2) เลขที่หนังสือของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ออกหนังสือรับรอง
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ประกอบการจดทะเบียน
(4) รายการสินค้าหรือบริการ
(5) มูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(6) วัน เดือน ปี ที่จะซื้อสินค้าหรือรับบริการ
(7) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(8) ข้อความที่แสดงแหล่งที่มาของเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือเงินกู้จากต่างประเทศ
ข้อ ๓ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจนั้นต้องทําสําเนาใบกํากับภาษีและหนังสือรับรองตามข้อ 2 ส่งให้กรมสรรพากรเป็นเวลาสองเดือนต่อครั้ง
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องทําสําเนาใบกํากับภาษีและหนังสือรับรองตามข้อ 2 ส่งให้กรมสรรพากรพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
ข้อ ๕ ในกรณีที่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือเงินกู้ตามโครงการเงินกู้ตามข้อ 1 ชําระค่าสินค้าหรือบริการแต่เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนของค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ได้รับชําระจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือเงินกู้จากต่างประเทศตามหนังสือรับรองในข้อ 2 เท่านั้นที่ใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2 535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,822 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
---------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูงและผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนและดึงดูดบุคลากรซึ่งมีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาทํางานอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวดังต่อไปนี้มีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้
(1) ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นซึ่งประสงค์จะทํางานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเป้าหมายดังต่อไปนี้ และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(ก) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
(ข) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
(ค) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(ง) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
(จ) อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต
(ฉ) อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
(ช) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
(ซ) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
(ฌ) อุตสาหกรรมดิจิทัล
(ญ) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
(ฎ) อุตสาหกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
(ฏ) อุตสาหกรรมสาขาการบริการ ได้แก่
1) การอนุญาโตตุลาการ
2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(2) ผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวตาม (1)
ข้อ ๒ คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้ยื่นขอหนังสือรับรองคุณสมบัติตามข้อ 1 (1) ต่อสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน หรือสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
ข้อ ๓ ในกรณีที่คนต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองตามข้อ 2 แล้ว ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งประสงค์จะขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) จากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือสถานที่อื่นที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด สําหรับใช้ได้หลายครั้งภายในอายุการใช้งาน การตรวจลงตรา ดังต่อไปนี้
(1) ระยะเวลาตามที่กําหนดในสัญญาจ้างแต่ไม่เกินสี่ปี สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงหรือผู้บริหารระดับสูง
(2) ไม่เกินสี่ปีสําหรับนักลงทุน
(3) ไม่เกินสองปีสําหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
(4) ผู้ติดตามของคนต่างด้าว ให้มีอายุการใช้งานการตรวจลงตราไม่เกินระยะเวลาตามสิทธิของคนต่างด้าวผู้นั้น
ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราปีละหนึ่งหมื่นบาท เศษของปีให้คิดเป็นหนึ่งปี
ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลาไม่เกินอายุการใช้งานการตรวจลงตราตามข้อ 3 โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก
ข้อ ๕ คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งประสงค์จะขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปอีกภายหลังจากที่ครบกําหนดเวลาอนุญาตตามข้อ 4 แล้ว ให้ดําเนินการตามข้อ 2 และเมื่อได้รับหนังสือรับรองคุณสมบัติจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือสถานที่อื่นที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด ประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ครั้งละไม่เกินกําหนดเวลาตามข้อ 3 และอนุญาตให้กลับเข้ามา หรืออยู่ต่อเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีกโดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง[5]
ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราปีละหนึ่งหมื่นบาท เศษของปีให้คิดเป็นหนึ่งปี
ข้อ ๖ ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามดําเนินการแจ้งที่พักอาศัยตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เมื่อพํานักในราชอาณาจักรครบทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
ข้อ ๗ การประทับตราอนุญาตตามข้อ 4 การอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกตามข้อ 5 และการแจ้งที่พักอาศัยตามข้อ 6 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด
ข้อ ๘ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 1 (1)
(2) มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าวนั้นด้วย และให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ผู้ติดตามด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๙ คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) ต่อมามีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วยวัตถุประสงค์อื่น ให้สามารถกระทําได้
ข้อ ๑๐ การดําเนินการตามประกาศนี้ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการต่างประเทศ สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องกําหนดด้วย
ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,823 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
(ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------
โดยที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 กําหนดให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งประสงค์จะทํางานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนและดึงดูดบุคลากร ซึ่งมีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาทํางานอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนขอเพิ่มเติมอุตสาหกรรมเป้าหมายสาขาการบริการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฎ) และ (ฏ) ใน (1) ของข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561
“(ฎ) อุตสาหกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
(ฏ) อุตสาหกรรมสาขาการบริการ ได้แก่
1) การอนุญาโตตุลาการ
2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แท
“ข้อ 3 ในกรณีที่คนต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองตามข้อ 2 แล้ว ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งประสงค์จะขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) จากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือสถานที่อื่นที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด สําหรับใช้ได้หลายครั้งภายในอายุการใช้งาน การตรวจลงตรา ดังต่อไปนี้
(1) ระยะเวลาตามที่กําหนดในสัญญาจ้างแต่ไม่เกินสี่ปี สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงหรือผู้บริหารระดับสูง
(2) ไม่เกินสี่ปีสําหรับนักลงทุน
(3) ไม่เกินสองปีสําหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
(4) ผู้ติดตามของคนต่างด้าว ให้มีอายุการใช้งานการตรวจลงตราไม่เกินระยะเวลาตามสิทธิของคนต่างด้าวผู้นั้นให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราปีละหนึ่งหมื่นบาท เศษของปีให้คิดเป็นหนึ่งปี”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งประสงค์จะขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปอีกภายหลังจากที่ครบกําหนดเวลาอนุญาตตามข้อ 4 แล้ว ให้ดําเนินการตามข้อ 2 และเมื่อได้รับหนังสือรับรองคุณสมบัติจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือสถานที่อื่นที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด ประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ครั้งละไม่เกินกําหนดเวลาตามข้อ 3 และอนุญาตให้กลับเข้ามา หรืออยู่ต่อเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีกโดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง”
ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,824 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 27) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ตามมาตรา 80/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 27)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ตามมาตรา 80/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 16) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุล ตามมาตรา 80/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
ข้อ ๒ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องขายสินค้าหรือให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องให้ผลปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัคราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งหนึ่ง ๆ มีจํานวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาท เว้นแต่มูลค่าของกระแสไฟฟ้า น้ําประปา และค่าบริการโทรศัพท์
ข้อ ๓ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องให้ผลปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติ หรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติต้องขอหนังสือรับรองการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 ในแต่ละครั้งที่จะซื้อสินค้าหรือรับบริการจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่การซื้อกระแสไฟฟ้า น้ําประปาและการใช้บริการโทรศัพท์ให้ขอหนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศในการซื้อหรือใช้บริการในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว และต้องแสดงหนังสือรับรองดังกล่าวต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนในการซื้อสินค้าและใช้บริการด้วย
ข้อ ๔ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ต้องสําเนาใบกํากับภาษีให้กรมสรรพากรพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการด้วย เว้นแต่องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ข้อ ๕ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องให้ผลปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติ หรือทบวงการชํานัญพิเศษของสหประชาชาติต้องสําเนาใบกํากับภาษีส่งให้กรมสรรพากรเป็นเวลาสองเดือนต่อครั้ง
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,825 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 24) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียน จัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจการที่ตนทำการแทน ตามมาตรา 87/2 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 24)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียน จัดทํารายงานเกี่ยวกับกิจการที่ตนทําการแทน ตามมาตรา 87/2 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87/2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การจัดทํารายงานของตัวแทนเกี่ยวกับกิจการที่ตนทําการแทนผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนในราชอาณาจักรจัดทํารายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับชนิดของสินค้าที่ตัวแทนได้รับมอบจากตัวการเพื่อจัดจําหน่าย
ข้อ ๒ ให้ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร จัดทํารายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้แก่รายงานภาษีขาย ตามมาตรา 87(1) รายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) และรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับกิจการขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรที่ตนทําการแทน
ข้อ ๓ การจัดทํารายงานของตัวแทน ตามข้อ 1 และ 2 ให้ถือปฏิบัติตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,826 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21) เรื่อง กำหนดรายการในใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณี ตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21)
เรื่อง กําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณี ตามมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86/5(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดรายการในใบกํากับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณี ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้ใบกํากับภาษีของการขายสินค้าหรือให้บริการโดยการส่งออกตามมาตรา 86/5(1)แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการเช่นเดียวกันกับใบกํากับสินค้าซึ่งผู้ส่งออกได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ
ข้อ ๒ กําหนดให้ใบกํากับภาษีของการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 86/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการดังต่อไปนี
(1) ใบกํากับภาษีของการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานให้รายการเช่นเดียวกับแอร์เวย์บิลหรือเฮ้าส์แอร์เวย์บิลที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนรับขนส่งได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ
(2) ใบกํากับภาษีของการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ให้มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลเรียกเก็บค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดนอกรายอาณาจักรไม่ต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้รับบริการ แต่ต้องระบุชื่อเรือเดินทะเล และหมายเลขของบิลออฟเลดิงในกรณีดังกล่าวทุกฉบับสําหรับเที่ยวเรือนั้นในใบกํากับภาษี”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 61) ใช้บังคับ 1 พฤษภาคม 2538 เป็นต้นไป)
“(3) ใบกํากับภาษีของการให้บริการรับขนคนโดยสารระหวางประเทศโดยอากาศยานให้มีรายการเช่นเดียวกับรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่รายการ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการกรณีผู้รับบริการเป็นบุคคลธรรมดาจะระบุที่อยู่หรือไม่ก็ไดและกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนส่งคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทนไม่ต้องระบุที่อยู่และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานแต่ต้องระบุเลขที่ของตั๋วโดยสารในใบกํากับภาษีและสําหรับรายการหมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขกําดับของเล่มถ้ามี ให้ระบุหมายเลขลําดับของตัวแทน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 111) ใช้บังคับ 1 กันยายน 2543 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ กําหนดให้ใบกํากับภาษีของการขายน้ํามันดิบและผลิตภัณฑ์น้ํามันตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ระบุชื่อ ชนิด และประเภทของน้ํามันดิบและผลิตภัณฑ์น้ํามันเป็นภาษาอังกฤษได้ และต้องกําหนดช่องราคาขายปลีกไว้ในใบกํากับภาษีด้วย
ข้อ ๔ กําหนดให้ใบกํากับภาษีของการให้บริการที่กระทําในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการ เช่น เดียวกันกับใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ให้บริการได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ
ข้อ ๕ กําหนดให้ใบกํากับภาษีของการขายยาสูบตามมาตรา 86/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ระบุชื่อ ชนิด และประเภทของยาสูบ เป็นภาษาอังกฤษได้ และต้องกําหนดช่องราคาขายปลีกหักด้วยจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคํานวณตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจํานวนเต็มของราคาขายปลีกไว้ในใบกํากับภาษีด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 93) ใช้บังคับ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป)
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,827 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง
ในการขอรับการตรวจลงตรา
------------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 ฉบับลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2533, ฉบับลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2541, (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 288 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจการยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองดอนเมือง ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530
(2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตในการขอรับการตรวจลงตราของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มเติม ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตในการขอรับการตรวจลงตราของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มเติม ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2535
(4) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2541
(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(6) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ดังนี้
1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ
2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่
3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานภูเก็ต
4. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานหาดใหญ่
5. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานอู่ตะเภา
6. ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย
7. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน
8. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงของ
9. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง
10. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา
11. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานเกาะสมุย
12. (ยกเลิก)
13. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเรืองกรุงเทพ
14. ด่านตรวจคนเข้าเมืองศรีราชา ณ ทําเลจอดเรืออ่าวอุดม และบริเวณเขตท่าเรือแหลมฉบัง
15. ด่านตรวจคนเข้าเมืองมาบตาพุด ณ บริเวณเขตท่าเรือมาบตาพุด และทําเลจอดเรือในอ่าวหน้าเมืองระยอง
16. ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย
17. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย ณ ทําเลจอดเรือบริเวณอ่าวหน้าทอน
18. ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต ณ ทําเลจอดเรือบริเวณอ่าวมะขามและทําเลจอดเรือบริเวณอ่าวฉลอง
19. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล ณ บริเวณท่าเรือด่านศุลกากรตํามะลัง และบริเวณเขตท่าเรือเจ้ะปิลัง
20. ด่านตรวจคนเข้าเมืองกระบี่ ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ําลึกกระบี่ บริเวณเขตท่าเรือเจ้าฟ้า บริเวณเขตท่าเรือเกาะลันตา และบริเวณเขตสนามบินกระบี่
21. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสงขลา ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ําลึกสงขลา และบริเวณเขตท่าเรือเดินเรือไทย
22. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงราย
23. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ร้อยตํารวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,828 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง
ในการขอรับการตรวจลงตรา
-------------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 ฉบับลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2533, ฉบับลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2541, (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 288 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา นั้น
บัดนี้ เป็นการสมควรปรับปรุงช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจการยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองดอนเมือง ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530
(2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตในการขอรับการตรวจลงตราของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มเติม ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตในการขอรับการตรวจลงตราของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มเติม ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2535
(4) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2541
(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(6) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ดังนี้
1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ
2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่
3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานภูเก็ต
4. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานหาดใหญ่
5. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานอู่ตะเภา
6. ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย
7. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน
8. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงของ
9. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง
10. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา
11. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานเกาะสมุย
12. ด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก ณ บริเวณเขตสนามบินสุโขทัย
13. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเรืองกรุงเทพ
14. ด่านตรวจคนเข้าเมืองศรีราชา ณ ทําเลจอดเรืออ่าวอุดม และบริเวณเขตท่าเรือแหลมฉบัง
15. ด่านตรวจคนเข้าเมืองมาบตาพุด ณ บริเวณเขตท่าเรือมาบตาพุด และทําเลจอดเรือในอ่าวหน้าเมืองระยอง
16. ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย
17. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย ณ ทําเลจอดเรือบริเวณอ่าวหน้าทอน
18. ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต ณ ทําเลจอดเรือบริเวณอ่าวมะขามและทําเลจอดเรือบริเวณอ่าวฉลอง
19. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล ณ บริเวณท่าเรือด่านศุลกากรตํามะลัง และบริเวณเขตท่าเรือเจ้ะปิลัง
20. ด่านตรวจคนเข้าเมืองกระบี่ ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ําลึกกระบี่ บริเวณเขตท่าเรือเจ้าฟ้า บริเวณเขตท่าเรือเกาะลันตา และบริเวณเขตสนามบินกระบี่
21. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสงขลา ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ําลึกสงขลา และบริเวณเขตท่าเรือเดินเรือไทย
22. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงราย
23. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ร้อยตํารวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,829 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา
(ฉบับที่ 2)
--------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราไว้แล้ว นั้น
บัดนี้ สมควรกําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติม ดังนี้
1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองพัทยา ณ บริเวณเขตท่าเรือสัตหีบ
3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่
4. ด่านตรวจคนเข้าเมืองโป่งน้ําร้อน
5. ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ
6. ด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร
7. ด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก
8. ด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์
9. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสุไหงโก-ลก
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2548
พลตํารวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,830 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 3) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา
(ฉบับที่ 3)
----------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2548 กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว นั้น
บัดนี้ สมควรกําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติม ดังนี้
1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย ณ บริเวณเขตท่าเรือตามชายฝั่งแม่น้ําโขง
2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองบึงกาฬ
3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองพิบูลมังสาหาร
ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองพิบูลมังสาหาร
4. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าลี่
5. ด่านตรวจคนเข้าเมืองนครพนม
ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองนครพนม
6. ด่านตรวจคนเข้าเมืองน่าน
ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองน่าน
7. ด่านตรวจคนเข้าเมืองบ้านประกอบ
8. ด่านตรวจคนเข้าเมืองควนโดน
9. ด่านตรวจคนเข้าเมืองตากใบ
10. ด่านตรวจคนเข้าเมืองบูเก๊ะตา
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,831 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา
(ฉบับที่ 4)
---------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราไว้แล้ว นั้น
บัดนี้ สมควรกําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ประกอบข้อ 6 วรรคสองของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติมดังนี้
1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุทรปราการ
2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองกาญจนบุรี ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองกาญจนบุรี
3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองประจวบคีรีขันธ์ ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานหัวหิน
4. ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูสิงห์ ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองภูสิงห์
5. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล ณ ทําเลจอดเรือใกล้เกาะหลีเป๊ะ
6. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานตรัง
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,832 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5)
----------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545, (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548, (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว นั้น
สมควรกําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ประกอบข้อ 6 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 (12) ด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก ณ บริเวณเขตสนามบินสุโขทัยของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ข้อ 2 ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติม ดังนี้
1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงคาน ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานเลย
2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสุโขทัย ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานสุโขทัย
3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองอุตรดิตถ์ ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองอุตรดิตถ์
ข้อ 3 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,833 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 6) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา
(ฉบับที่ 6)
-------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราไว้แล้ว นั้น
สมควรกําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ประกอบข้อ 6 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภท การตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการขอรับการตรวจลงตราเพิ่มเติมดังนี้
(1) ด่านตรวจคนเข้าเมืองกาบเชิง
(2) ด่านตรวจคนเข้าเมืองนครราชสีมา
(3) ด่านตรวจคนเข้าเมืองบุรีรัมย์ ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานบุรีรัมย์
(4) ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง
(5) ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานระนอง
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 3,834 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การนําเข้าสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ผู้นําเข้าจะวางเงินประกันหรือจัดให้มีผู้ค้ําประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มที่พึงชําระ แทนการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ สําหรับวิธีการวางประกันและการถอนประกันให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ข้อ ๒ การนําเข้าเครื่องจักรหรือการนําเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้นําเข้าจะวางเงินประกันหลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ําประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชําระหรือพึงชําระแทนการชําระภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ สําหรับวิธีการวางประกันให้กระทําโดยการยื่นหนังสือค้ําประกันของธนาคารต่ออธิบดีกรมศุลกากร ณ กรมศุลกากร หรือ ณ ด่านศุลกากรที่อธิบดีกรมศุลกากรกําหนดพร้อมกับหนังสือของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งแจ้งขอให้ผู้นําเข้าใช้หนังสือค้ําประกันของธนาคารเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม และการถอนประกันดังกล่าวให้กระทําได้เมื่อสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรรับรองว่าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบดังกล่าวเป็นของที่ได้รับอนุมัติให้นําเข้าตามโครงการส่งเสริมการลงทุน และขอให้สั่งถอนประกันดังกล่าว
ข้อ ๓ การวางประกันและการถอนประกันตามข้อ 2 ผู้นําเข้าจะใช้หนังสือของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นเสมือนหนังสือค้ําประกันแทนหนังสือค้ําประกันของธนาคารและใช้หนังสือดังกล่าวเป็นหลักฐานในการถอนประกันด้วยก็ได้ในกรณีดังกล่าว หนังสือของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะต้องรับรองว่าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบดังกล่าวเป็นของที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและขอให้สั่งถอนประกันดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ สําหรับเครื่องจักรหรือวัตถุดิบตามข้อ 2 จะต้องเป็นเครื่องจักรหรือวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและต้องนําเข้าเพื่อใช้ในกิจการดังต่อไปนี้
(1) กรณีเครื่องจักร ต้องนําเข้าเพื่อใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ
(2) กรณีวัตถุดิบ ต้องนําเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น กรณีวัตถุดิบที่นําเข้าเพื่อใช้ทั้งในการผลิตเพื่อการส่งออก และเพื่อขายในราชอาณาจักรด้วยให้วางประกันและถอนประกันได้เฉพาะวัตถุดิบที่นําเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกตามจํานวนที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรับรองเท่านั้น
ข้อ ๕ คําว่า “อธิบดีกรมศุลกากร” ตามข้อ 2 ให้หมายความรวมถึงผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,835 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 82/5(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษี ตามมาตรา 82/5(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/5(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีไม่มีใบกํากับภาษีตามมาตรา 82/5 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการไม่มีสิทธินําภาษีซื้อไปหักในการคํานวณภาษี
ข้อ ๒ กรณีมีใบกํากับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกํากับภาษีได้ว่ามีการชําระภาษีซื้อตามมาตรา 82/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธินําภาษีซื้อไปหักในการคํานวณภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ใบกํากับภาษีถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัย เช่น อัคคีภัย อุทกภัย หรือวาตภัย ซึ่งต้องมีหลักฐานทางราชการหรือหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริง และ
(ข) ผู้ประกอบการไม่สามารถขอใบแทนใบกํากับภาษีจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการได้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่สามารถออกใบแทนใบกํากับภาษีได้เพราะเหตุสุดวิสัย
ข้อ ๓ กรณีมีใบกํากับภาษี และสามารถแสดงใบกํากับภาษีได้ว่ามีการชําระภาษีซื้อไปจริงตามมาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ใบกํากับภาษีดังกล่าวต้องมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ ภาษีซื้อที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากําไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
ข้อ ๕ ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกันตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(ก) ค่ารับรอง หรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และไม่ว่าจะอํานวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
(ข) ค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (ก) และบุคคลอื่น
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,836 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 13) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการของนักแสดงสาธารณะตามมาตรา 81(1)(ฒ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 13)
เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการของนักแสดงสาธารณะตามมาตรา 81(1)(ฒ) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81(1)(ฒ) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดสาขา และลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการของนักแสดงสาธารณะไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่ หรือคณะ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,837 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81(1)(ฏ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12)
เรื่อง กําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81(1)(ฏ) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 (1) (ฏ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
ข้อ ๒ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการตามข้อ 1 ต้องมิใช่การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในทางธุรกิจ
ความในวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการให้บริการกับหน่วยงานของรัฐ ที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย
ข้อ ๓ ผู้ประกอบการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ 1 ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
(2) มูลนิธิ
(3) สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้
(ก) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสถานศึกษาในกํากับของรัฐ
(ข) สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงอื่น ๆ
(ค) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(4) หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
(5) หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม เฉพาะที่เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่แสวงหากําไร แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 238) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป)
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,838 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11) เรื่อง กำหนดสาขา และลักษณะการประกอบกิจการให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ตามมาตรา 81(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11)
เรื่อง กําหนดสาขา และลักษณะการประกอบกิจการให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ตามมาตรา 81(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดสาขา และลักษณะการประกอบกิจการให้บริการที่เป็นทางศิลปะและวัฒนธรรม ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และสาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์
คําว่า “สาขานาฏศิลป์” หมายความถึง การแสดงศิลปะร่ายรําประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองระบํา ละคร และโขน
คําว่า “สาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์” หมายความถึงเฉพาะการแสดงดนตรีไทย หรือการขับร้องเพลงไทยประกอบเครื่องดนตรีไทย
ข้อ ๒ การให้บริการตามข้อ 1 ผู้ประกอบการจะต้องมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,839 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 10) เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5(2)แห่งประมวลรัษฎากร (ยกเลิกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ (187)) | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 10)
เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5(2)แห่งประมวลรัษฎากร (ยกเลิกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ (187))
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79/5 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดประเภทและชนิดยาสูบซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคํานวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5(2) แห่งประมวลรัษฎากรไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล
“บุหรี่ซิกาแรตที่นําเข้าจากต่างประเทศและกรมสามิตได้กําหนดราคายาสูบไว้ตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509”
(เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 26) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,840 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบําเหน็จจากตัวการตามที่ได้กําหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน
ข้อ ๒ สัญญาตามข้อ 1 ต้องจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้
ข้อ ๓ ตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา
ข้อ ๕ ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทําสัญญาตั้งตัวแทน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่“
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 145) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๖ ตัวแทนต้องจัดทํารายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทําแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,841 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 5) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา86/2 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 5)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา86/2 แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 วรรคสี่ และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกํากับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ต้องเป็นตัวแทนที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
(2) ตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งต้องคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
"(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องมอบอํานาจให้ตัวแทนขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อให้ตัวแทนออกใบกํากับภาษีในนามของตน โดยยื่นคําขอตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวแทนตั้งอยู่"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 135) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
(4) ตัวแทนต้องออกใบกํากับภาษีที่มีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
"(5) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวแทน ให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรหรือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ปฏิบัติตาม (1) ถึง (4) และแจ้งการเปลี่ยนแปลง ณสํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวแทนเดิมตั้งอยู่ก่อนการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้ตัวแทนใหม่นําสําเนาแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงมาแจ้ง ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสํานักงานใหญ่ของตัวแทนใหม่ตั้งอยู่"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 135) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๒ ในกรณีตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ ตัวแทนของผู้ประกอบการในราชอาณาจักรต้องออกใบกํากับภาษีที่มีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,842 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี เพราะมีเหตุจำเป็นให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 4)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษี เพราะมีเหตุจําเป็นให้มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจําเป็น ให้มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคําไปนี้
(1) เหตุจําเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า
(2) เหตุสุดวิสัย
(3) ได้รับใบกํากับภาษีในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกํากับภาษี
"ข้อ 2 ภาษีซื้อที่มิได้นําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจําเป็นตามข้อ 1 ให้มีสิทธินําไปหักในการคํานวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกํากับภาษี
การปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุข้อความว่า “ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี...” ไว้ในใบกํากับภาษีดังกล่าว โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทําให้ปรากฏขึ้นด้วย วิธีการอื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกันก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 76) ใช้บังคับ 1 พฤษภาคม 2541 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,843 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อ ที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามมาตรา 81(1)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3)
เรื่อง กําหนดลักษณะและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อ ที่ทําเป็นอุตสาหกรรม ตามมาตรา 81(1)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81(1)(ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดลักษณะและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ที่ทําเป็นอุตสาหกรรมไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อที่ทําเป็นอุตสาหกรรมจะต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชผลทางการเกษตรที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ทั้งนี้ เฉพาะที่ผนึกในลักษณะมั่นคง
(2) ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ทั้งนี้ เฉพาะที่ผนึกในลักษณะมั่นคง แต่ไม่รวมถึงนมสดที่มิได้มีการปรุงแต่ง รส กลิ่น และสี
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,844 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1(10)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนําสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1(10)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77/1(10)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนําสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําบริการหรือนําสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้าการให้บริการ การบริหารงานของกิจการหรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการให้บริการของตนเอง ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
“บริการตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่กรณีดังต่อไปนี้
(1) บริการที่นําไปใช้เพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน
(2) บริการที่นําไปใช้กับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 87) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,845 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 1) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1 (8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 1)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนําสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1 (8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77/1(8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการนําสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนําสินค้านั้นไปใช้ในการผลิตสินค้าการให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
สินค้าตามวรรคหนึ่งต้องมิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน10 คนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตและสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงการนํารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ไปไว้ในสถานแสดงรถยนต์เพื่อขาย
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,846 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 13) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 13)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการขอ้ มูลตามแบบ ภ.ธ. 40 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ธ. 40 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,847 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 6/2545 เรื่อง การจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนด้านการตลาด กองทุนส่วนบุคคล | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 6/2545
เรื่อง การจัดทํารายงานเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้าการวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้า “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“สัญญา” หมายความว่า สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า หรือบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่วางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคลจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน
(1) รายงานวันเริ่มและวันสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าของพนักงานในสังกัดของตนที่เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้สํานักงานภายในสามวันนับแต่วันที่พนักงานเริ่มหรือสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยจัดส่งข้อมูลผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ และนําส่งเอกสารที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่ได้ส่งผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ให้สํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านระบบดังกล่าว
(2) รายงานรายชื่อพนักงานในสังกัดของตนที่ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าหรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course) โดยจัดทําเป็นรายไตรมาสและจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,848 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดนิติบุคคลอื่นตามมาตรา 5(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 469) พ.ศ. 2551 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 12)
เรื่อง กําหนดนิติบุคคลอื่นตามมาตรา 5(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 469) พ.ศ. 2551
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5(2) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 469) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นนิติบุคคลอื่นตามสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์
(ก) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ข) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ค) กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ง) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(จ) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ฉ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (ก)-(จ)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,849 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 11) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 11)
เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 91/10 มาตรา 91/12 และมาตรา 91/21 (3) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของวรรคหนึ่ง ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
“(6) แบบ ภ.ธ. 02.1 แบบคําขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,850 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 10) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 10)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 เอกวีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 442) พ.ศ. 2548อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายในกําหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือหลังวันที่ทําสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิม ที่จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นจํานวนไม่เกินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ โดยมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินที่ตั้งอยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่ขายตาม (1) ต้องเป็นอาคารโรงงานพร้อมที่ดิน รวมถึงอาคารอื่น ๆ พร้อมที่ดินที่ใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(3) การซื้ออสังหาริมทรัพย์และย้ายโรงงานเข้าไปในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะเป็นการซื้อที่ดินพร้อมอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ หรือซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นสถานประกอบการแห่งใหม่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็ได้
(4) ต้องไม่จําหน่าย จ่าย โอนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานประกอบการที่ย้ายเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่
(5) มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิมที่จะได้รับ
ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเป็นจํานวนไม่เกินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ ทั้งนี้ มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น เว้นแต่กรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นสถานประกอบการภายหลังจากวันที่มีการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ จํานวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ให้รวมถึงอาคารที่ก่อสร้างใหม่ด้วย โดยให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่ก่อสร้างอาคารนั้นเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ ต้องก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และพร้อมใช้เป็นสถานประกอบการแห่งใหม่ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ทําสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิม
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามมาตรา91/10 แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีสิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ชําระไว้แล้วได้ โดยจะต้องยื่นคําร้องขอคืนตามแบบที่อธิบดีกําหนด (แบบ ค.10) ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่แล้วแต่กรณี โดยจะต้องแนบหลักฐานต่าง ๆ ดังนี้
(1) สําเนาและต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีธุรกิจเฉพาะที่ทางราชการออกให้ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิม
(2) สําเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิมที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) สําเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินสําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(4) หนังสือรับรองจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่รับรองเกี่ยวกับวันที่ย้ายโรงงานเข้าไปประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(5) หนังสือรับรองจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่รับรองเกี่ยวกับราคาประเมินมูลค่าของอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ ที่ก่อสร้างเพิ่มเติมโดยต้องเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ตามราคาเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ข้อ ๓ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินและย้ายโรงงานเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และ
คําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,852 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 7/2545 เรื่อง การกำหนดรายการข้อมูลในคู่มือลูกค้าหรือเอกสารอื่นใด ที่ใช้ในการชักชวนลูกค้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 7/2545
เรื่อง การกําหนดรายการข้อมูลในคู่มือลูกค้าหรือเอกสารอื่นใด
ที่ใช้ในการชักชวนลูกค้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้าการวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย
“สัญญา” หมายความว่า สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้า
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ คู่มือลูกค้าหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการชักชวนลูกค้าที่บริษัทจัดการ และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคลจัดทําต้องใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทําความเข้าใจ และต้องมีรายการข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
(1) สิทธิของลูกค้า
(2) การรับข้อร้องเรียนของลูกค้า
ข้อ ๓ รายการข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของลูกค้าตามข้อ 2(1) ให้แสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจน
(1) สิทธิในการได้รับทราบรายชื่อของบริษัทจัดการทุกแห่งที่ได้มอบหมายให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
(2) สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและที่อยู่ของตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งชื่อและที่อยู่ของพนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าของนิติบุคคลดังกล่าว
(3) สิทธิในการได้รับทราบคําเตือนและคําอธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สิน และคําเตือนในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลหรือการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน
(4) สิทธิในการได้รับทราบข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสิทธิประโยชน์ของลูกค้า เช่น การเลิกประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ เป็นต้น
(5) สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น ค่าธรรมเนียม หรือผลตอบแทนที่ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลอาจได้รับจากการชักชวนลูกค้าหรือจากการทําสัญญา เป็นต้น
ข้อ ๔ รายการข้อมูลเกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนของลูกค้าตามข้อ 2(2) ให้แสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจน
(1) วิธีการรับข้อร้องเรียน
(2) สถานที่ที่บริษัทจัดการ และตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็น นิติบุคคลใช้ในการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า
ข้อ ๕ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,853 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 9) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 9)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอ
จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
และการออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 91/12 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีสิทธิยื่น คําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (ภ.ธ. 01) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะได้อีกวิธีหนึ่ง
ข้อ ๒ การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามข้อ 1 ให้ยื่นภายในสามสิบวัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ โดยให้ถือว่า วัน เดือน ปี ที่ผู้ประกอบกิจการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นวัน เดือน ปี ที่ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบกิจการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยแสดงรายการให้ถูกต้อง ครบถ้วน EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่า ผู้ประกอบกิจการที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะได้แสดงรายการถูกต้อง ครบถ้วนหรือไม่ และตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ผู้ประกอบกิจการ
ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดําเนินการออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ. 20) ให้แก่ผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการมีสถานประกอบการหลายแห่งให้ออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นรายสถานประกอบการ
ข้อ ๖ ให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือสรรพากรพื้นที่เป็นผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งกรมสรรพากรกําหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือสถานประกอบการ ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,854 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 8/2545 เรื่อง คุณสมบัติของผู้รับฝากทรัพย์สินที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการฝากหลักทรัพย์ ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 8/2545~~..~~
เรื่อง คุณสมบัติของผู้รับฝากทรัพย์สินที่ผู้ดูแลผลประโยชน์แต่งตั้ง
ให้เป็นตัวแทนในการฝากหลักทรัพย์ของกองทุนรวม
ที่ลงทุนในต่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
“กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ 2 ผู้รับฝากทรัพย์สินที่บริษัทจัดการระบุในร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดังกล่าวแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการทําหน้าที่ฝากหลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องเป็นผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่บริษัทจัดการประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์นั้น หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่ ทั้งนี้ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเป็นสมาชิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่รับฝากหลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศดังกล่าว~~หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้~~
ข้อ 3~~5~~ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ผู้รับฝากทรัพย์สินที่บริษัทจัดการระบุในร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดังกล่าวแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการทําหน้าที่ฝากหลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องเป็นผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่บริษัทจัดการประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์นั้น หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่ ทั้งนี้ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเป็นสมาชิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่รับฝากหลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,856 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ในกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 8)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้น
ภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ในกิจการซื้อหรือ
ขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 392) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ในกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์
โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนหรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงิน ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขาย หรือซื้อคืน และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขาย หรือซื้อคืนระหว่างบุคคล ดังต่อไปนี้
(1.1) คู่สัญญาที่เป็นได้ทั้งด้านผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) และผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้)
(ก) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) ธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ค) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน และ บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัย
(ฉ) บริษัทมหาชนจํากัด นอกจากบริษัทตาม (บ)-(จ)
(ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ซ) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(ฌ) บริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน
การเงิน
(ฎ) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฐ) กองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ฑ) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(1.2) คู่สัญญาที่เป็นผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ได้อย่างเดียว เท่านั้น ได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นอกจาก (1.1)
(2) ต้องมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement) เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ และเป็นสัญญาที่สํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ
(3) ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ขายหลักทรัพย์สัญญาจะซื้อคืนหลักทรัพย์ ประเภทเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ขายให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์เมื่อครบกําหนด ซื้อคืนตามสัญญาหรือวันที่คู่สัญญาทวงถามในราคาตามวิธีการคํานวณที่ตกลงกัน ไว้ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ขายหลักทรัพย์จนถึงวันที่ซื้อคืนหลักทรัพย์ ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ หากมีการนําหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับที่นํามาทําสัญญา ขายหรือซื้อคืน มาเพิ่มหรือมีการส่งคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวอันเนื่องมาจากมูลค่า หลักทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กําหนดในสัญญา ให้ถือว่าหลักทรัพย์ ที่นํามาเพิ่มหรือหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืน ตามวรรคหนึ่งด้วย
(4) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเพิ่มทุน ลดทุน ที่ทําให้หลักทรัพย์นั้นมีจํานวนหรือมูลค่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนหลักทรัพย์ที่เทียบเท่าจากผู้ซื้อหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในระหว่างที่มีการขายหลักทรัพย์ ตามสัญญาขายหรือซื้อคืนและผู้ขายหลักทรัพย์ยังไม่ได้ซื้อคืนหลักทรัพย์ตามสัญญา หากผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีการนํามา ทําสัญญาขายหรือซื้อคืนมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่เกิดจากการถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องจ่ายคืนผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ขายหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ต้องไม่นํามูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนในจํานวนที่เท่ากับส่วนเกินมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ มารวมเป็นมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนหรือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ต้องไม่นํามูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนส่วนที่เกินจากมูลค่า ของหลักทรัพย์ที่ได้ขายไป มารวมเป็นมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืน แต่ให้นําไปถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,857 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ และฐานภาษีสำหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 7)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ และฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และกําหนดฐานภาษีสําหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี (ฉบับที่ 350) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและกําหนดฐานภาษีสําหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี (ฉบับที่ 391) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกิจการซื้อและขายคืน หลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกิจการที่กระทําขึ้นระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่น หรือระหว่างสถาบันการเงินและนิติบุคคลอื่น หรือระหว่างสถาบันการเงินหรือระหว่างนิติบุคคลอื่น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์และฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนหรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เป็นการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้
(1.1) คู่สัญญาที่เป็นได้ทั้งด้านผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) และผู้ซื้อ หลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้)
(ก) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ค) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน และบริษัท หลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัย
(ฉ) บริษัทมหาชนจํากัดนอกจากบริษัทตาม (ข) - (จ)
(ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ซ) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(ฌ) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฐ) กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ฑ) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ
(1.2) คู่สัญญาที่เป็นผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ได้อย่างเดียวเท่านั้น ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (1.1)
(2) ต้องมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement) เป็น ลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ และเป็นสัญญาที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ
(3) ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ขายหลักทรัพย์สัญญาจะซื้อคืนหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ขายให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์เมื่อครบกําหนดซื้อคืนตามสัญญา หรือวันที่คู่สัญญาทวงถามในราคาตามวิธีการคํานวณที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ขายหลักทรัพย์จนถึงวันที่ซื้อคืนหลักทรัพย์ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ หากมีการนําหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับที่นํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืน มาเพิ่มหรือมีการส่งคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวอันเนื่องมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กําหนดในสัญญา ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่นํามาเพิ่มหรือหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืน ตามวรรคหนึ่งด้วย
(4) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเพิ่มทุน ลดทุน ที่ทําให้หลักทรัพย์นั้นมีจํานวนหรือมูลค่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนหลักทรัพย์ที่เทียบเท่าจากผู้ซื้อหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในระหว่างที่มีการขายหลักทรัพย์ตามสัญญาขายหรือซื้อคืนและผู้ขาย หลักทรัพย์ยังไม่ได้ซื้อคืนหลักทรัพย์ตามสัญญา หากผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีการนํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืนมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่เกิดจากการถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องจ่ายคืนผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ได้แก่ กําไรก่อนหัก รายจ่ายใด ๆ แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยเงินปันผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ซื้อ หลักทรัพย์ได้จ่ายคืนให้ผู้ขายหลักทรัพย์ ตามสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement)
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,859 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 6)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี
และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ธ. 40 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http:// www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3
ข้อ ๒ ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่มีความประสงค์ จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่ออธิบดีกรมสรรพากรและต้องได้รับ อนุมัติแล้ว มีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ธ. 40 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง
ข้อ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับเดือนภาษีใดให้ยื่นได้ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันที่สิบห้าตรงกับวันหยุดราชการให้ยื่นได้ภายในวันทําการถัดไป และให้ยื่นแบบ แสดงรายการภาษีได้ภายในเวลา 22.00 นาฬิกา ของแต่ละวัน
ข้อ ๔ ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนต้องชําระภาษี (ถ้ามี) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชําระภาษีดังกล่าวจะต้องใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินภาษี
ข้อ ๖ การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามประกาศนี้ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์ เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกรมสรรพากร และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร ตามจํานวนเงิน ซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ตามข้อ 5 ได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งจะจัดพิมพ์ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,860 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2545 เรื่อง การกำหนดประเภททรัพย์สินที่ลูกค้าอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการ จัดการได้เพิ่มเติม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2545
เรื่อง การกําหนดประเภททรัพย์สินที่ลูกค้าอาจมอบหมายให้
บริษัทจัดการจัดการได้เพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สัญญาฟิวเจอร์” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในตลาดหรือศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งบริษัทจัดการเข้าผูกพันตนในสัญญาดังกล่าว โดยมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการต้องส่งมอบสินค้าอ้างอิงหรือชําระราคาของสินค้าอ้างอิงให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการได้รับชําระเงินหรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา
“สินค้าอ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือเงินตราสกุลใด ๆ
“ตัวแปรอ้างอิง” หมายความว่า ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์หรืออัตราดอกเบี้ย
“สัญญาฟอร์เวิร์ด” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นนอกตลาดหรือศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งบริษัทจัดการเข้าผูกพันตนในสัญญาดังกล่าว โดยมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการต้องส่งมอบสินค้าอ้างอิงหรือชําระราคาของสินค้าอ้างอิงให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือมีข้อกําหนดให้บริษัทจัดการได้รับชําระเงินหรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา
“สัญญาสวอป” หมายความว่า สัญญาที่บริษัทจัดการเข้าผูกพันแลกเปลี่ยนผลตอบแทนซึ่งมีมูลค่าผลตอบแทนอย่างน้อยข้างใดข้างหนึ่งของสัญญาผูกกับสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง ทั้งนี้ ตามระยะเวลาและวิธีการที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญา
ข้อ ๒ ในการมอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลูกค้าอาจมอบสัญญาฟิวเจอร์สัญญาฟอร์เวิร์ด หรือสัญญาสวอป ให้บริษัทจัดการจัดการได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,862 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2545 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทจัดการ ดำเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนปิดไม่ถูกต้อง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 12/2545
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทจัดการดําเนินการ
ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนปิดไม่ถูกต้อง
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 26/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนปิด
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่า ดังกล่าวไปแล้ว โดยมูลค่าหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่างจากมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้องน้อยกว่าหนึ่งสตางค์ หรือต่างจากมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบถึงความผิดพลาดภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่พบว่ามูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และจัดให้มีสําเนารายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง
(2) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
(3) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
(4) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง
ในกรณีที่เหตุของความผิดพลาดซึ่งทําให้มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งมีผลต่อเนื่องต่อการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนครั้งต่อไป เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ยผิดพลาด เป็นต้นให้บริษัทจัดการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนให้ถูกต้องตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการพบว่ามูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องด้วย
ข้อ ๓ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว โดยมูลค่าหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่างจากมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไปและคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการพบว่ามูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจนถึงวันที่มูลค่าหน่วยลงทุนถูกต้อง และดําเนินการ ดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่างจากมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไปและคิดเป็นอัตราส่วนตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
(1) จัดทํารายงานการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนย้อนหลังให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการพบว่ามูลค่าหน่วยลงทุนนั้นไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนย้อนหลังเสร็จสิ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง
(ข) มูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
(ค) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
(ง) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีสําเนารายงานตาม (1) ไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
(2) แก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องให้เป็นมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกต้องภายในวันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนย้อนหลัง
(3) ประกาศชื่อกองทุนรวมที่มีการแก้ไขมูลค่าตาม (2) และวัน เดือน ปีที่มีการแก้ไขมูลค่า ตาม (2) ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนตาม (1) เว้นแต่กองทุนปิดนั้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้มีการประกาศการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนตามระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว
ข้อ ๑ ให้บริษัทจัดการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกาศการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนตามข้อ 3(3) ในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น เว้นแต่ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,863 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2545 เรื่อง การจัดทำงบการเงินของกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 14/2545
เรื่อง การจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
เนื่องจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้ออกประกาศ ฉบับที่ 004/2544-2546 เรื่อง มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจํากัด ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2544 เพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีจํานวน 7 ฉบับกับธุรกิจที่มิใช่บริษัทมหาชนจํากัด แต่โดยที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พิจารณาเห็นว่า ในการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นอกจากต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 42 เรื่อง การบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน และมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นตามที่มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 42 กําหนดด้วยแล้ว ยังมีความจําเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยประกาศยกเว้นข้างต้น จํานวน 2 ฉบับ อันได้แก่ ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ และฉบับที่ 48 เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ด้วย เพื่อให้สินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริง และให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน สํานักงานจึงเห็นควรวางข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทํางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ 2 ในการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัท
จัดการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
(2) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 48 เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
(2) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 48 เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,864 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 5) เรื่อง การกำหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 5)
เรื่อง การกําหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 91/13 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการที่เป็นการประกอบกิจ การเป็นการชั่วคราว ที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เรื่อง การกําหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษี ธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการตามมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริม ทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 โดยการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าวมิใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหา กําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541”
“(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออก ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2543
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,865 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการโอนทรัพย์สินในโครงการแปลงทรัพย์สิน เป็นหลักทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 3)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับรายรับจากการโอนทรัพย์สินในโครงการแปลงทรัพย์สิน เป็นหลักทรัพย์
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน (9) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 334) พ.ศ.2541 อธิบดี กรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับ รายรับจากการโอนทรัพย์สินในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การโอนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นให้ แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ และการโอนทรัพย์สินของนิติบุคคลเฉพาะกิจกลับคืนให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินภายใต้โครงการการแปลงทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ต้องมีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งเป็นที่รับรองทั่วไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542
จักรี รัตยันตรกร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,866 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 2)
เรื่อง กําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 91/10 มาตรา 91/12 และมาตรา 91/21 (3) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงกําหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กําหนดแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
(1) แบบ ภ.ธ. 01 แบบคําขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) แบบ ภ.ธ. 02 แบบคําขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
(3) แบบ ภ.ธ. 04 แบบคําขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(4) แบบ ภ.ธ. 09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(5) แบบ ภ.ธ. 40 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
แบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศฉบับนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,867 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 1) เรื่อง การกำหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 1)
เรื่อง การกําหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
--------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 91/13 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดี กรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการประกอบกิจการที่เป็นการประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว ที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ เป็นการประกอบกิจการชั่วคราว
“(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 โดยการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่ การขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4(1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541”
“(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 5) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)
(3) การให้กู้ยืมเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิใช่ธนาคาร พาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งให้กู้ยืมเงินเป็นครั้งคราวมิใช่การประกอบกิจการเป็นปกติธุระ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,869 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 62)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับตราสารบางลักษณะ
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับตราสารบางลักษณะ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 10 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 60) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับตราสารที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,870 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 61) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 61)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 มาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 10 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 59) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 2 ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้มีหน้าที่เสียอากรจะเลือกยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงิน และชําระอากร ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา โดยใช้แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน อ.ส.4 ก็ได้ และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกใบรับเงินและหลักฐานตามมาตรา 116 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ให้ถือว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,871 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 60) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 60)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับตราสารบางลักษณะ
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 และมาตรา 123 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับตราสารบางลักษณะ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตราสาร” หมายความว่า ตราสารที่สามารถชําระอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามประกาศนี้
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ให้บริการ สําหรับการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562
“รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์” หมายความว่า รหัสที่กรมสรรพากรออกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียอากรเมื่อกรมสรรพากรได้รับชําระเงินค่าอากรแล้ว เพื่อใช้ในการตรวจสอบรายการข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ข้อ ๒ ให้ตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ สามารถชําระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) จ้างทําของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(2) กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 5.แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(3) ใบมอบอํานาจ ตามลักษณะแห่งตราสาร 7. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(4) ใบมอบฉันทะสําหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท ตามลักษณะแห่งตราสาร 8.แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(5) ค้ําประกัน ตามลักษณะแห่งตราสาร 17. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ข้อ ๓ ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากร ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารตามข้อ 2 ตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังต่อไปนี
(1) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th)
(2) ทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร
(ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากรด้วยตนเอง ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งขอจัดทําและยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากรผ่าน Application Programming Interface (API) (ภ.อ.01.2) พร้อมข้อตกลงในการจัดทําและยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากร ผ่าน Application Programming Interface ณ กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร เมื่อได้รับชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) จากกรมสรรพากรแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ดังกล่าว
(ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรพิสูจน์และยืนยันตัวตนต่อผู้ให้บริการตามวิธีการที่ผู้ให้บริการกําหนด
ข้อ ๔ การยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามข้อ 3 ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชําระเงินค่าอากร ก่อนกระทําตราสารหรือภายในสิบห้าวัน นับแต่วันถัดจากวันกระทําตราสารโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินเป็นวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันที่เริ่มทําการใหม่ต่อจากวันหยุดราชการนั้น
ข้อ ๕ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียอากรได้ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้วให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรชําระเงินค่าอากรโดยใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๖ ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชําระเงินค่าอากร
ข้อ ๗ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียอากรได้ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินค่าอากรเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และกรมสรรพากรได้ออกรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์พร้อมใบเสร็จรับเงินตามจํานวนเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชําระเงินภาษีอากร” ได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรแล้ว ให้ถือว่าตราสารตามรายการข้อมูลในแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
ข้อ ๘ ผู้มีหน้าที่เสียอากรรับรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์และใบเสร็จรับเงินจากกรมสรรพากรได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามข้อ 3 (1) ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรดาวน์โหลด (Download) ผ่านระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th)
(ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามข้อ 3 (2) ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรขอรับผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร
ข้อ ๙ ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรนํารหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ไปใช้อ้างอิงหรือผนวกกับตราสารเพื่อแสดงว่าตราสารนั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามข้อ 7 แล้ว
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับตราสารที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,872 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 59) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 59)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 มาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 2 ที่ได้จัดทําขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผู้มีหน้าที่เสียอากรจะเลือกยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงิน และชําระอากร ณ สํานักงาน สรรพากรพื้นที่สาขา โดยใช้แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน อ.ส.4 ก็ได้ และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกใบรับเงินและหลักฐานตามมาตรา 116 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ให้ถือว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,873 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กำหนดวิธีการชาระอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์
(ฉบับที่ 58) เรื่อง กําหนดวิธีการชาระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 มาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตราสารอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ที่จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ให้บริการ สําหรับการจัดทําและยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562
“รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์” หมายความว่า รหัสที่กรมสรรพากรออกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียอากรเมื่อกรมสรรพากรได้รับชาระเงินค่าอากรแล้ว เพื่อใช้ในการตรวจสอบรายการข้อมูลสาคัญเกี่ยวกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ข้อ ๒ ให้ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้ ต้องชาระอากรเป็นตัวเงินตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) จ้างทาของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(2) กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(3) ใบมอบอํานาจ ตามลักษณะแห่งตราสาร 7. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(4) ใบมอบฉันทะสําหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท ตามลักษณะแห่งตราสาร 8. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(5) ค้าประกัน ตามลักษณะแห่งตราสาร 17. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ข้อ ๓ ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 2 ตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังต่อไปนี้
(1) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th)
(2) ทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร
(ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากรด้วยตนเอง ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งขอจัดทําและยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากรผ่าน Application Programming Interface (API) (ภ.อ.01.2) พร้อมข้อตกลงในการจัดทําและยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากรผ่าน Application Programming Interface ณ กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร เมื่อได้รับชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) จากกรมสรรพากรแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ดังกล่าว
(ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรพิสูจน์และยืนยันตัวตนต่อผู้ให้บริการตามวิธีการที่ผู้ให้บริการกําหนด
ข้อ ๔ การยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามข้อ 3 ให้ผู้มีหน้าที่ เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชาระเงินค่าอากร ก่อนกระทาตราสารหรือภายในสิบห้าวัน นับแต่วันถัดจากวันกระทาตราสาร โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้าย ของการยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินเป็นวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันที่เริ่มทาการใหม่ต่อจากวันหยุดราชการนั้น
ข้อ ๕ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียอากรได้ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรชาระเงินค่าอากรโดยใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment)
ข้อ ๖ ให้ผู้อานวยการกองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร เป็น “เจ้าหน้าที่รับชาระเงินภาษีอากร” เพื่อรับชาระเงินค่าอากร
ข้อ ๗ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียอากรได้ยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้โอนเงินค่าอากรเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และกรมสรรพากรได้ออกรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ พร้อมใบเสร็จรับเงินตามจานวนเงินซึ่ง “เจ้าหน้าที่รับชาระเงินภาษีอากร” ได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรแล้ว ให้ถือว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตามรายการข้อมูลในแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
ข้อ ๘ ผู้มีหน้าที่เสียอากรรับรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์และใบเสร็จรับเงินจากกรมสรรพากรได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามข้อ 3 (1) ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรดาวน์โหลด (Download) ผ่านระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร [www.rd.go.th](http://www.rd.go.th)
(ข) กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียอากรยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามข้อ 3 (2) ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรขอรับผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง Application Programming Interface ของกรมสรรพากร
ข้อ ๙ ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรนารหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ไปใช้อ้างอิงหรือผนวกกับ ตราสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามข้อ 7 แล้ว
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,874 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 57) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 57)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 56) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสาร บางลักษณะ ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ตราสารที่มิได้จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ประสงค์ พูนธเนศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,875 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 56) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 56)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราซบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตราสาร” หมายความว่า ตราสารที่ต้องชําระอากรเป็นตัวเงินตามประกาศนี้
“จดทะเบียนนิติบุคคล” หมายความว่า จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจํากัด บริษัทมหาซนจํากัด สมาคมการค้า และหอการค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาขนจํากัด กฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้า และกฎหมายว่าด้วยหอการค้า
“นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนผู้รับจดทะเบียนนิติบุคคล
ข้อ ๒ ให้กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) ใบมอบอํานาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทําการครั้งเดียว ตามลักษณะแห่งตราสาร 7. (ก) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เฉพาะที่ผู้มอบอํานาจได้มอบอํานาจให้ผู้รับมอบอํานาจกระทําการยื่นคําขอจดทะเบียนนิติบุคคล หรือคําขอรับหรือแก้ไขข้อมูลขื่อผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) และยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการสําหรับการใช้งานระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) เฉพาะที่มีการจัดทําตราสารในวันยื่นคําขอต่อนายทะเบียน หรือก่อนวันยื่นคําขอต่อนายทะเบียนไม่เกินสิบห้าวัน และยังไม่ได้เสียอากรโดยการปิดแสตมป์อากรในตราสารดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(2) หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจํากัดที่ส่งต่อนายทะเบียน ตามลักษณะแห่ง ตราสาร 24. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(3) ข้อบังคับของบริษัทจํากัดที่ส่งต่อนายทะเบียน ตามลักษณะแห่งตราสาร 25. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(4) ข้อบังคับใหม่หรือสําเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจํากัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน ตามลักษณะแห่งตราสาร 26. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(5) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ตามลักษณะแห่งตราสาร 27. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เฉพาะที่มีการจัดทําตราสารในวันรับจดทะเบียนหรือก่อนวันรับจดทะเบียนไม่เกินสิบห้าวัน และยังไม่ได้เสียอากรโดยการปิดแสตมป์อากรในตราสารดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๓ วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน
(1) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (1)ให้ผู้มอบอํานาจชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อนายทะเบียนก่อนหรือในวันยื่นคําขอต่อนายทะเบียน
(2) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (2) ให้ผู้เริ่มก่อการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อนายทะเบียนก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียน
(3) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (3) และ (4)ให้กรรมการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อนายทะเบียนก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียน
(4) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (4) ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อนายทะเบียนก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียน
ข้อ ๔ ให้นายทะเบียนนําเงินคําอากรแสตมป์ที่ได้รับชําระไว้ตามข้อ 3 ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ตามระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๕ ตราสารตามข้อ 2 ถือว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์ก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ได้บันทึกข้อความไว้นตราสารนั้นว่า “ได้ชําระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ... บาทแล้ว ตามใบเสร็จรับเงิน เล่มที่ ... เลขที่ ... ลงวันที่ ...” แล้วลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์และวันเดือนปีที่บันทึกข้อความดังกล่าว
ข้อ ๖ ตราสารตามข้อ 2 ถ้าได้จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ถือว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์ก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ได้ทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในตราสารนั้นว่า “ได้ชําระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ... บาทแล้ว ตามใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์เลขที่ ... ลงวันที่ ...” แล้วลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์และวันเดือนปีที่ทําข้อความดังกล่าว
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับ
(1) ตราสารที่ได้จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
(2) ตราสารที่มิได้จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 57) ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2560
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,876 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 55 )
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 48) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 2 และเงินค่าอากรที่รับชําระตามข้อ 5 วรรคสอง ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรและผู้รับชําระอากรในกรณีดังกล่าวไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากร พื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่มีการกระทําตราสาร ที่ต้องเสียอากรนั้น หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่อื่น ทั้งนี้โดยใช้แบบขอเสียอากร เป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ดังนี้
(1) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (1) (ก) (ข) (3) และ (12) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้นําไปยื่นชําระก่อนกระทําตราสารหรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทําตราสาร
(2) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (2) (4) (4) (6) (7) (8) และ (9) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้าย ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
(3) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (11) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้น่าไปยื่นชําระก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียน”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,877 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 54) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 54)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร 1. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก)มีค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป
(ข)รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า หรือ
(ค) ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) จ้างทําของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก)มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือ
(ข)รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ อากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับ ตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) กรณีเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร 1. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ มีค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า ให้ผู้ให้เช่าชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนําตราสารมาสลักหลังตามระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทําตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวันกระทําตราสารนั้น”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร
(ร.จ. ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 132 ตอนพิเศษ 28 ง วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558) | 3,878 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 53) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 53)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538
““ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เช่าซื้อทรัพย์สิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 3 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เฉพาะที่นิติบุคคลหรือสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับเป็นผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สินนั้น
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 3 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 51) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) กรณีสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ เป็นผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สิน ให้ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (4) ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับผู้ให้กู้หรือตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์”
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,879 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 52)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์สําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 43) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(3) ในกรณีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ให้ชําระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันที่ได้ขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวนําเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับชําระส่งสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่เดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําส่งภายในวันที่ 30 ของเดือนเดียวกัน
(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,880 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 51) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 51)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้ฃข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 3 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สิน ให้ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,881 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 19/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ และการห้ามการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เนื่องจากการประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 19/2545
เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ และการห้าม
การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
เนื่องจากการประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์
โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต.ครั้งที่ 2/2545 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นเพิ่มเติมได้อีกโดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอแจ้งมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกันโดยประกาศนี้ และเพื่อให้มีข้อกําหนดที่สอดคล้องต่อหลักการตามมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงกําหนดหลักเกณฑ์ประกอบการอนุญาตให้ประกอบกิจการอื่นโดยประกาศนี้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลได้
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมประกอบกิจการอื่นเพิ่มเติมได้อีกดังต่อไปนี้
1. การให้คําปรึกษาทางการเงินแก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น การให้คําปรึกษาในการจัดหาเงินทุน การปรับปรุงโครงสร้างทางการเงิน การซื้อหรือควบกิจการ การหาผู้ร่วมลงทุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatisation) การบริหารความเสี่ยง การให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าของทรัพย์สิน เป็นต้น
2. การให้ข่าวสารต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน รวมทั้งการศึกษาการรวบรวม การวิเคราะห์ การเผยแพร่ข้อมูล ในลักษณะการนําเสนอ การจําหน่ายแก่ประชาชน หรือการจัดอบรมสัมมนา ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการดําเนินธุรกิจและการลงทุน
3. การจําหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการดําเนินธุรกิจของตน และการรับจ้างประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อใช้เอง
ทั้งนี้ กิจการที่กําหนดตาม (1) (2) และ (3) ต้องไม่รวมถึงการให้คําแนะนําที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมที่ให้คําปรึกษาทางการเงินแก่บุคคลใดตามข้อ 3(1) ต้องไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของบุคคลนั้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ในระหว่างที่ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาทางการเงินแก่บุคคลนั้นและภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นสุดการทําหน้าที่ดังกล่าว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,882 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 20/2545 เรื่อง การกำหนดความเพียงพอ และหลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณ และรายงานการดำรงความเพียงพอของหลักประกัน หรือสินทรัพย์สภาพคล่อง ของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 20/2545
เรื่อง การกําหนดความเพียงพอ และหลักเกณฑ์และวิธีการในการคํานวณ
และรายงานการดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์
สภาพคล่องของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 และข้อ 4(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 42/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หลักประกัน” หมายความว่า หลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายของลูกค้าที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน อันได้แก่
(ก) กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย
(ข) หนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ค) หลักประกันอื่นใดตามประกาศสํานักงานที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน
“สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันดังต่อไปนี้
(ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร
(ข) บัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(ค) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก
(ง) สินทรัพย์สภาพคล่องอื่นใดตามประกาศสํานักงานที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน
“บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามข้อ 1(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน พ.ศ. 2545 ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องดํารงไว้ ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่มีการดํารงความเพียงพอของหลักประกันและสินทรัพย์สภาพคล่องรวมกัน หรือใช้สินทรัพย์สภาพคล่องเพียงอย่างเดียว บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องคํานวณความเพียงพอของหลักประกันและสินทรัพย์สภาพคล่องทุกสิ้นวันทําการ และยื่นรายงานตามแบบ ท.ป. 3 ท้ายประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
ในกรณีที่มีการดํารงความเพียงพอของหลักประกันเพียงอย่างเดียว บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องแสดงหลักฐานการมีหลักประกันต่อสํานักงาน และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักประกัน บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องจัดส่งหลักฐานการเปลี่ยนแปลงนั้นภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนไม่สามารถดํารงความเพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่กําหนดในข้อ 2 ได้ในวันใด บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องจัดทํารายงานที่แสดงถึงความไม่เพียงพอของหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องตามแบบ ท.ป. 3 ท้ายประกาศนี้ และยื่นต่อสํานักงานภายในสองวันทําการถัดไป
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,883 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 3/2548 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง หลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 3/2548
==============
เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง
หลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
-------------------------------------
โดยที่กระทรวงการคลังมีนโยบายให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อฟื้นฟูและพัฒนากิจการที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติในหกจังหวัดภาคใต้ โดยให้กองทุนรวมนั้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดําเนินกิจการในหกจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว และเพื่อให้การช่วยเหลือที่ว่านั้นบรรลุวัตถุประสงค์ได้จึงจําเป็นต้องให้กองทุนรวมสามารถลงทุนในหุ้นของกิจการดังกล่าวได้โดยไม่จํากัดจํานวน ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมสึนามิ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเปิด”และคําว่า “บริษัทจัดการ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546
“ “กองทุนรวมสึนามิ” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากธรณีพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในหกจังหวัดภาคใต้”
###### ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2546 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546
###### “(7) กองทุนรวมสึนามิ”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548
------------------------------------
( นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล )
เลขาธิการ
==========
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
--------------------------------------------------- | 3,884 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2545 เรื่อง การกำหนดข้อมูลในรายงานทุกรอบปีบัญชี | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2545
เรื่อง การกําหนดข้อมูลในรายงานทุกรอบปีบัญชี
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 35(7) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิดที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
ข้อ ๒ ในการจัดทํารายงานทุกรอบปีบัญชีเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมบริษัทจัดการต้องแสดงข้อมูลการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมพร้อมทั้งเหตุผลไว้ในรายงานด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,885 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 13/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับสถาบันสินเชื่อ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุน เพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือให้ยืมหลักทรัพย์แก่นักลงทุน เพื่อขายชอร์ต | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 13/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์
หรือให้ยืมหลักทรัพย์แก่นักลงทุนเพื่อขายชอร์ต
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(3) และข้อ 6(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
“นักลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญากู้ยืมเงินกับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์กับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการขายชอร์ต แต่ไม่รวมถึงผู้ยืมหลักทรัพย์ที่มีฐานะเป็นลูกค้าสถาบันตามบทนิยามในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
“บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้นักลงทุนกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้นักลงทุนยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต
“การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ
“ทรัพย์สินของนักลงทุน” หมายความว่า มูลค่าสุทธิของเงินสด หลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นที่เป็นประกันการชําระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนรายใดรายหนึ่ง เมื่อหักภาระหนี้ที่เกิดจากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนรายนั้นแล้ว
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ นอกจากเรื่องที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือให้ยืมหลักทรัพย์แก่นักลงทุนเพื่อขายชอร์ต ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ด้วยโดยอนุโลม
ความตอนใดของประกาศตามวรรคหนึ่งที่กล่าวถึง “ลูกค้า” ให้หมายถึง “นักลงทุน” ตามประกาศนี้ และให้บทนิยามคําว่า “เงินกองทุน” ตามประกาศตามวรรคหนึ่งหมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามงวดบัญชีล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๓ ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์คํานวณมูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดํารงไว้และมูลค่าหลักประกันขั้นต่ําในบัญชีมาร์จิ้นตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) มูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดํารงไว้เท่ากับผลรวมของ
(ก) มูลค่าของหลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่บันทึกอยู่ในบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุคูณด้วยอัตราที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์กําหนด ซึ่งต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพยแห่งประเทศไทยกําหนดให้สมาชิกต้องเรียกให้ลูกค้าบัญชีมาร์จิ้นนําเงินหรือทรัพย์สินมาวางเป็นประกันเพิ่ม และ
(ข) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ตคูณด้วยอัตราที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์กําหนด ซึ่งต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้สมาชิกต้องเรียกให้ลูกค้าบัญชีมาร์จิ้นนําเงินหรือทรัพย์สินมาวางเป็นประกันเพิ่ม
(2) มูลค่าหลักประกันขั้นต่ําในบัญชีมาร์จิ้นเท่ากับผลรวมของ
(ก) มูลค่าของหลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่บันทึกอยู่ในบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนคูณด้วยอัตราที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์กําหนด ซึ่งต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้สมาชิกต้องดําเนินการบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และ
(ข) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ตคูณด้วยอัตราที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์กําหนด ซึ่งต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้สมาชิกต้องดําเนินการบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ข้อ ๔ ในกรณีที่ทรัพย์สินของนักลงทุนมีมูลค่าต่ํากว่ามูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดํารงไว้ซึ่งคํานวณได้ตามข้อ 3 (1) ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์แจ้งต่อนักลงทุนภายในวันทําการถัดจากวันที่หลักประกันของนักลงทุนมีมูลค่าต่ํากว่ามูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดํารงไว้ โดยเรียกให้นักลงทุนนําเงินหรือทรัพย์สินมาวางเป็นประกันเพิ่มหรือดําเนินการอื่นใดจนทําให้ทรัพย์สินของนักลงทุนมีมูลค่าไม่ต่ํากว่ามูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดํารงไว้ และต้องบอกกล่าวให้นักลงทุน
ทราบว่าหากนักลงทุนไม่ดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการที่ห้านับจากวันที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์แจ้งต่อนักลงทุน ในวันทําการที่หกสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์อาจดําเนินการบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อให้ทรัพย์สินของนักลงทุนมีมูลค่าไม่ต่ํากว่ามูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดํารงไว้ต่อไป
ข้อ ๕ ในกรณีที่ทรัพย์สินของนักลงทุนมีมูลค่าเท่ากับหรือต่ํากว่ามูลค่าหลักประกันขั้นต่ําที่คํานวณได้ตามข้อ 3 (2) ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ดําเนินการบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อให้ทรัพย์สินของนักลงทุนมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าหลักประกันขั้นต่ํา โดยให้ดําเนินการในวันทําการถัดจากวันที่ทรัพย์สินของนักลงทุนมีมูลค่าเท่ากับหรือต่ํากว่ามูลค่าหลักประกันขั้นต่ํา
ข้อ ๖ ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์แจ้งการบังคับชําระหนี้ตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี ให้นักลงทุนทราบเป็นหนังสือภายในวันทําการถัดจากวันที่ดําเนินการบังคับชําระหนี้นั้น
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,886 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 22/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับสถาบันสินเชื่อ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุน เพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือให้ยืมหลักทรัพย์แก่นักลงทุน เพื่อขายชอร์ต | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 22/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือให้ยืมหลักทรัพย์
แก่นักลงทุนเพื่อขายชอร์ต
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (3) และข้อ 6 (4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 และความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32 /2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 13/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์หรือให้ยืมหลักทรัพย์แก่นักลงทุนเพื่อขายชอร์ต ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
“นักลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญากู้ยืมเงินกับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ที่ทําสัญญายืมหลักทรัพย์กับสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการขายชอร์ต แต่ไม่รวมถึงผู้ยืมหลักทรัพย์ที่มีฐานะเป็นลูกค้าสถาบันตามบทนิยามในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
“บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้นักลงทุนกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้นักลงทุนยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต
“การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในการให้ยืมหลักทรัพย์แก่นักลงทุนเพื่อขายชอร์ต ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ตด้วยโดยอนุโลม
ความตอนใดของประกาศตามวรรคหนึ่งที่กล่าวถึง “ลูกค้า” ให้หมายถึง “นักลงทุน” ตามประกาศนี้ และให้บทนิยามคําว่า "เงินกองทุน" ตามประกาศตามวรรคหนึ่งหมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามงวดบัญชีล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๔ ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ให้กู้ยืมแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหุ้นดังต่อไปนี้ ในมูลค่าที่ไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าการเสนอขายหุ้นดังกล่าว
1. หุ้นของบริษัทที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. หุ้นของบริษัทที่เสนอขายแก่กรรมการและพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ไม่ได้มีข้อกําหนดระยะเวลาในการห้ามขายหุ้นดังกล่าว หรือมีข้อกําหนดระยะเวลาในการห้ามขายหุ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่มีการเสนอขายหุ้นดังกล่าว
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2545
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,887 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 24/2545 เรื่อง การแยกทรัพย์สินประเภทเงินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ โดยการลงทุนในลักษณะอื่นเพิ่มเติม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 24/2545
เรื่อง การแยกทรัพย์สินประเภทเงินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
โดยการลงทุนในลักษณะอื่นเพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18(1)(ก) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าไปลงทุนในตราสารดังต่อไปนี้ซึ่งตราสารดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้แยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแล้ว
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) พันธบัตรรัฐบาล
(3) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,888 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 25/2545 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 25/2545
เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุนลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“นิติบุคคลร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน
“กิจการ” หมายความว่า วิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อมที่มีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน
“ประกาศที่ กน. 22/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุน ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
“บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งต้องนับรวมการถือหุ้นใน นิติบุคคลร่วมลงทุนหรือในกิจการ แล้วแต่กรณี ตามที่กําหนดในข้อ 4 แห่งประกาศที่ กน. 22/2545
(1) บุคคลที่ถือหรือมีหุ้นในผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนหรือของกิจการไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ถือหุ้นนั้น
(2) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนหรือของกิจการ ถือหรือมีหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(3) คู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลร่วมลงทุนหรือในกิจการ หรือของบุคคลตาม (1)
ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการถือหรือมีหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1)และ (2) หากบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนจัดส่งโครงสร้างการถือหุ้นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าในชั้นใด ๆกับผู้ที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลร่วมลงทุนหรือในกิจการมาให้สํานักงานพิจารณาและหากสํานักงานมิได้แจ้งเป็นประการอื่นใดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการถือหรือมีหุ้นของบุคคลตามโครงสร้างการถือหุ้นที่ส่งมานั้น ไม่เป็นการถือหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1) และ (2)
ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนได้จัดส่งไว้ บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนจะถือเอาประโยชน์ตามวรรคหนึ่งต่อไปไม่ได้ เว้นแต่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนได้จัดส่งข้อมูลใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นให้สํานักงานพิจารณาใหม่และหากสํานักงานมิได้แจ้งเป็นประการอื่นใดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนส่งข้อมูลใหม่ต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการถือหรือมีหุ้นตามข้อมูลใหม่ไม่เป็นการถือหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1) และ (2)
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,889 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 19/2543 เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 19/2543
เรื่อง กําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรม
อันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และข้อ 4 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
“ประกาศกระทรวงการคลัง” หมายความว่า ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
“ประกาศคณะกรรมการ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่12 พฤษภาคม 2543
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงการคลัง และข้อ 4 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการ สํานักงานจึงกําหนดให้ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการพิจารณาระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
(1) ปัจจัยหลัก ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงานให้น้ําหนักในการพิจารณามากกว่าข้อเท็จจริงอื่น ได้แก่
(ก)ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น มีผลกระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น
(ข) นัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
(ค) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม
(2) ปัจจัยรอง ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงานใช้เพื่อการเพิ่มหรือลดน้ําหนักในการพิจารณาข้อเท็จจริงโดยรวม ได้แก่
(ก) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น
(ข) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่นการใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น
(ค) ประวัติพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามในเรื่องเดียวกันในอดีต
(ง) การจงใจฝ่าฝืนหรือละเลยกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(จ) พฤติกรรมอื่นในภายหลัง เช่น ให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีหรือการดําเนินคดี หรือปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานในคดีหรือให้การเท็จเป็นต้น
ข้อ ๓ กําหนดระยะเวลาห้ามมิให้บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศคณะกรรมการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์มีดังต่อไปนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทของลักษณะต้องห้าม | ระดับความร้ายแรงของพฤติกรรม | ระยะเวลาสูงสุดที่จะห้ามมิให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ |
| ข้อ 4(3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง และข้อ 3(3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) แห่งประกาศคณะกรรมการ | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสามปีห้าปี |
| ข้อ 4(11) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง และข้อ 3(11) แห่งประกาศคณะกรรมการ | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสองปีสามปี |
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,890 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 26/2545 เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 26/2545
เรื่อง กําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรม
อันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ/น. 19/2543 เรื่อง กําหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสําหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
“ประกาศกระทรวงการคลัง” หมายความว่า ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงการคลัง สํานักงานจึงกําหนดให้ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการพิจารณาระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
(1) ปัจจัยหลัก ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงานให้น้ําหนักในการพิจารณามากกว่าข้อเท็จจริงอื่น ได้แก่
(ก) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น มีผลกระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น
(ข) นัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
(ค) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม
(2) ปัจจัยรอง ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สํานักงานใช้เพื่อการเพิ่มหรือลดน้ําหนักในการพิจารณาข้อเท็จจริงโดยรวม ได้แก่
(ก) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น
(ข) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น
(ค) ประวัติพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามในเรื่องเดียวกันในอดีต
(ง) การจงใจฝ่าฝืนหรือละเลยกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(จ) พฤติกรรมอื่นในภายหลัง เช่น ให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีหรือการดําเนินคดี หรือปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานในคดีหรือให้การเท็จ เป็นต้น
ข้อ ๔ กําหนดระยะเวลาห้ามมิให้บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทของลักษณะต้องห้าม | ระดับความร้ายแรงของพฤติกรรม | ระยะเวลาสูงสุดที่จะห้ามมิให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ |
| ข้อ 4 (4) (5) (6) (7) (8) หรือ (9) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสามปีห้าปี |
| ข้อ 4 (10) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง | เล็กน้อยปานกลางรุนแรง | หนึ่งปีสองปี สามปี |
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,891 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 32/2548 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ใช้ สธ.26/2562 แทน) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 32/2548
เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าของผู้ได้รับ
ใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 65/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ข้อร้องเรียน” หมายความว่า ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ เพื่อให้ข้อร้องเรียนของลูกค้าได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีหน่วยงานหรือบุคลากรเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการรับและพิจารณา
แก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้า
(2) จัดให้มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการในการรับและพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้า ตลอดจนการรายงานความคืบหน้าและการแจ้งผลการพิจารณาข้อร้องเรียนของตัวแทนซื้อขายสัญญาให้ลูกค้าทราบ
(3) จัดให้มีระบบติดตามและตรวจสอบการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าข้อร้องเรียนดังกล่าวได้รับการพิจารณาแก้ไขภายในระยะเวลาที่เหมาะสมและเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดไว้ใน (2)
ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดําเนินการต่อข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้าตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 2 (2) โดยเร็ว
(2) แจ้งผลการพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนให้ลูกค้าทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาข้อร้องเรียนของลูกค้าแล้วเสร็จ
(3) แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิในการเสนอเรื่องที่ร้องรียนเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการตลอดจนกระบวนการที่ลูกค้าสามารถดําเนินการต่อไป ในกรณีที่ผลการพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า
(4) จัดทํารายงานสรุปผลการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า โดยให้ระบุจํานวนข้อร้องเรียนที่สามารถแก้ไขปัญหาได้และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แยกตามหมวดหมู่ของข้อร้องเรียน และจัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. เป็นรายไตรมาสภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาสนั้น
(5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนของลูกค้าและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาข้อร้องเรียนแล้วเสร็จ โดยการจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที
ข้อ ๔ ในกรณีที่ลูกค้ายื่นข้อร้องเรียนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. และสํานักงาน ก.ล.ต. ได้จัดส่งข้อร้องเรียนดังกล่าวให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแล้ว ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญารายงานผลการดําเนินการให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียนนั้น และหากตัวแทนซื้อขายสัญญายังดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวไม่แล้วเสร็จ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญารายงานความคืบหน้าของการดําเนินการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทุกระยะเวลาสามสิบวันจนกว่าจะพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวแล้วเสร็จ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,892 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการลงทุนใน หรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ และทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่จัดโครงการให้สิทธิสมาชิกซื้อที่อยู่อาศัย โดยการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 31/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และ
ทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่จัดโครงการให้สิทธิสมาชิก
ซื้อที่อยู่อาศัยโดยการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.41/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินของธนาคารอาคารสงเคราะห์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมเงินตามโครงการให้สิทธิสมาชิกซื้อที่อยู่อาศัยที่จัดโดยธนาคารดังกล่าว ทั้งนี้ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จะลงทุนในกรณีดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อเข้าร่วมโครงการ และลูกจ้างที่จะเข้าร่วมโครงการนั้นต้องเป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้
(2) มีการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นมายังกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตาม (1) เพื่อรองรับการเป็นสมาชิกของลูกจ้างที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยมีมูลค่าของเงินสะสม เงินผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบและเงินผลประโยชน์ของเงินสมทบของสมาชิกแต่ละรายที่โอนมาไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของเงินแต่ละประเภทดังกล่าว และ
(3) มูลค่าเงินที่โอนมาตาม (2) ของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทุกรายรวมกัน ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่โอนนั้น และในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นเป็นกองทุนประเภทที่มีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย (pooled fund) การคํานวณมูลค่าให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของนายจ้างแต่ละราย
มูลค่าในการคํานวณเงินตาม (2) และ (3) ให้ใช้มูลค่า ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,893 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สย. 32/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนึ้ เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สย. 32/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีไว้
ซึ่งตราสารแห่งหนี้เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็น
นายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 36/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
“ผู้ค้าหลักทรัพย์” หมายความว่า
(1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์
(2) ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) เป็นการซื้อหรือมีไว้เนื่องจากความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายหรือเนื่องจากการผิดนัดชําระหนี้โดยผู้ค้าหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการขายหรือจําหน่ายตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวออกไปในโอกาสแรกที่ทําได้
(2) เป็นการซื้อเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ให้ยืมเนื่องจากความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายหรือเนื่องจากการผิดนัดชําระหนี้โดยผู้ค้าหลักทรัพย์ อันเป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์ได้ขายตราสารแห่งหนี้โดยที่ยังไม่มีตราสารแห่งหนี้นั้นอยู่ในครอบครอง
(3) เป็นการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้
(ก) ตั๋วเงินคลัง
(ข) บัตรเงินฝาก
(ค) พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และพันธบัตรอื่นที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ข้อ ๓ ในการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการดังต่อไปนี้
(1) ถือตราสารแห่งหนี้ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ได้มา หรือถือจนครบกําหนดไถ่ถอนในกรณีที่เป็นตราสารแห่งหนี้ที่มีอายุคงเหลือจนถึงวันครบกําหนดไถ่ถอนไม่ถึงสามเดือน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) จัดให้มีมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารของบริษัทหลักทรัพย์ด้วย
(3) จัดทําและเก็บรักษาเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อขายตราสารแห่งหนี้ และเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารแห่งหนี้ไว้อย่างครบถ้วนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้มา
ข้อ ๔ ระเบียบวิธีปฏิบัติในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การแยกหน่วยงานและบุคลากรที่มีอํานาจตัดสินใจในการซื้อขายตราสารแห่งหนี้เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์เพื่อการซื้อขายตราสารแห่งหนี้ รวมทั้งต้องมีการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์ (Chinese wall)
(2) การป้องกันมิให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือขายตราสารแห่งหนี้เพื่อตนเอง ในลักษณะที่จะเป็นการเอาเปรียบผู้ค้าหลักทรัพย์
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,894 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 37/2545 เรื่อง แบบรายงานที่เกี่ยวกับนิติบุคคลร่วมลงทุน และกิจการที่นิติบุคคลร่วมลงทุนได้ลงทุน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 37/2545
เรื่อง แบบรายงานที่เกี่ยวกับนิติบุคคลร่วมลงทุน
และกิจการที่นิติบุคคลร่วมลงทุนได้ลงทุน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการเงินร่วมลงทุน ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การรายงานการถือหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนในกิจการภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน ให้เป็นไปตามแบบ บลท. 1 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ การรายงานการเพิ่มหรือลดเงินทุนของนิติบุคคลร่วมลงทุน ให้เป็นไปตามแบบ บลท. 2 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ การรายงานการลงทุนของนิติบุคคลร่วมลงทุน ให้เป็นไปตามแบบ บลท. 3 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ การรายงานการรับรองมูลค่าสินทรัพย์ถาวรและการจ้างแรงงานของกิจการที่นิติบุคคลร่วมลงทุนได้ลงทุน ให้เป็นไปตามแบบ บลท. 4 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,895 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 9/2541
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6(11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ข้อ 10(11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ข้อ 3(10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 ข้อ 27(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และข้อ 3(11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในหน่วยลงทุน ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์" หมายความว่า สัญญาซึ่งบริษัทหลักทรัพย์โอนหลักทรัพย์ของกองทุนรวมให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท รุ่น และชนิดเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากัน คืนให้แก่กองทุนรวม
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์" หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"เงินสด" หมายความว่า เงินสดสกุลบาท
"สมาคม" หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทหลักทรัพย์ทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้เฉพาะกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้ให้ยืมต้องทําด้วยความเข้าใจว่าเป็นการให้ยืมหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้มีการขายหรือจะมีการขายในประเทศไทย หรือเพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถคืนหลักทรัพย์ที่เคยยืมมาก่อน
ข้อ ๕ หลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อาจให้ยืมได้ ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ข้อ ๖ ในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้สัญญาที่มีลักษณะและสาระสําคัญของสัญญาตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งทุนและกองทุนรวมผสม บริษัทหลักทรัพย์อาจทํา ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ โดยต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก หรือที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(3) เล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ออกให้แก่กองทุนรวมเพื่อเป็นประกันการคืนหลักทรัพย์ให้แก่กองทุนรวม โดยธนาคารพาณิชย์นั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น
(4) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เป็นผู้ออก
(5) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เป็นผู้ออก
(6) ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือตราสารแห่งหนี้ที่ผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะดังกล่าว
(7) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ใน SET 50 INDEX
ในการจัดการกองทุนรวมที่มิใช่กองทุนรวมตราสารแห่งทุนหรือกองทุนรวมผสม บริษัทหลักทรัพย์อาจทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ โดยต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะตามที่กําหนดใน (1) ถึง (6)
ข้อ ๘ การวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ตามข้อ 7 (2) (4) (5) (6) และ (7) บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันดังกล่าวหรือต้องดําเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถบังคับชําระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําหลักประกันที่กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไปโอนหรือขายต่อ
ข้อ ๙ ในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการดํารงมูลค่าหลักประกันตามข้อ 7 ณ สิ้นวัน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สินตามข้อ 7(1) หรือ (2) มูลค่าหลักประกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 105 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(2) กรณีหลักประกันเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อ 7(3) หรือทรัพย์สินตามข้อ 7(4) (5) หรือ (6) มูลค่าหลักประกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ110 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(3) กรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สินตามข้อ 7(7) มูลค่าหลักประกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 140 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
ในกรณีที่มูลค่าหลักประกันดังกล่าวน้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันเพิ่มเติมจากผู้ยืมให้มูลค่าหลักประกันเป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักประกันมีมูลค่าน้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนด
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่หลักประกันเป็นเงินสด ให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินสดดังกล่าวไปลงทุนโดยทันทีในทรัพย์สินหรือหาดอกผลดังต่อไปนี้
(1) เงินฝากในธนาคารที่กระทรวงการคลังค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ย หรือในธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 7(2)
(3) บัตรเงินฝากตามข้อ 7(4)
(4) ตั๋วสัญญาใช้เงินตามข้อ 7(5)
(5) ทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 7(2)
ข้อ ๑๑ ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสดและมิใช่เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ให้ใช้วิธีคํานวณตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 หรือประกาศณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี และตามมาตรฐานการคํานวณที่สมาคมกําหนด
ข้อ ๑๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้มูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ในการคํานวณอัตราส่วนการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ และการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม รวมผลประโยชน์ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการให้กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามข้อ 8 มิให้นํามูลค่าหลักประกันดังกล่าวในส่วนที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์มารวมคํานวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ ๑๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่งได้ โดยมีมูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์รวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ ๑๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์นํามูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมตามธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์มารวมคํานวณในอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
ข้อ ๑๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวมเป็นรายเดือนตามแบบและคําอธิบายประกอบการจัดทําแบบรายงานการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวมแนบท้ายประกาศนี้ และส่งให้สํานักงานพร้อมแผ่น diskette ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,896 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 39/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทําธุรกรรมการให้ยืม
หลักทรัพย์ของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12(1)(จ) (2)(ฌ) และ(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 31(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 ข้อ 15(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ข้อ 11(10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และข้อ 20(9) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์” หมายความว่า สัญญาซึ่งบริษัทจัดการโอนหลักทรัพย์ของกองทุนรวมให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท รุ่น และชนิดเดียวกันในจํานวนที่เทียบเท่ากันคืนให้แก่กองทุนรวม
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“เงินสด” หมายความว่า เงินสดสกุลบาท
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้เฉพาะกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์กระทําการในฐานะตัวแทนของผู้ยืม ผู้ยืมที่เป็นคู่สัญญาของกองทุนรวมต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(4) ธนาคารเพื่อการนําเข้าและการส่งออกแห่งประเทศไทย
(5) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(6) ธนาคารพาณิชย์
(7) บริษัทเงินทุน
(8) บริษัทหลักทรัพย์
(9) บริษัทประกันชีวิต
(10) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(11) กองทุนส่วนบุคคล
(12) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(13) นิติบุคคลอื่นตามประกาศสํานักงานที่ออกตามข้อ 9/1 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2540
ข้อ ๕ หลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอาจให้ยืมได้ ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ข้อ ๖ ในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการใช้สัญญาที่มีลักษณะและสาระสําคัญของสัญญาตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน บริษัทจัดการอาจทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ โดยต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน
(3) หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกให้แก่กองทุนรวมเพื่อเป็นประกันการคืนหลักทรัพย์ให้แก่กองทุนรวม โดยธนาคารพาณิชย์นั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น (letter of guarantee)
(4) ตราสารแห่งหนี้ที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก
(ก) ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ข) ธนาคารพาณิชย์
(ค) บริษัทเงินทุน
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด เป็นผู้ออก โดยมีบุคคลตาม (4) (ก) (ข) หรือ (ค) เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(6) ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
(7) ตราสารแห่งหนี้ที่บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(8) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ใน SET 50 INDEXการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (5) และ (7) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
ในการจัดการกองทุนรวมที่ไม่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน บริษัทจัดการอาจทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ โดยต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะตามที่กําหนดใน (1) ถึง (7)
ข้อ ๘ การวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ตามข้อ 7(2) (4) (5) (6) (7) และ (8) บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันดังกล่าว หรือต้องดําเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทจัดการสามารถบังคับชําระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ห้ามมิให้บริษัทจัดการนําหลักประกันที่กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไปโอนหรือขายต่อ เว้นแต่เป็นการบังคับชําระหนี้ตามข้อตกลงธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ ๙ ในการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีการดํารงมูลค่าหลักประกันตามข้อ 7 ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่หลักประกันเป็นเงินสด ให้บริษัทจัดการนําเงินสดดังกล่าวไปลงทุนโดยทันทีในทรัพย์สินหรือหาดอกผลดังต่อไปนี้
(1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 7(2)
(3) บัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่บุคคลตามข้อ 7(4) เป็นผู้ออก
(4) ทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 7(2)
ข้อ ๑๑ ในการคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสดและมิใช่หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก (letter of guarantee) ให้นําวิธีการคํานวณตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยวิธีการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่งได้ โดยมีมูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์รวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้บริษัทจัดการคํานวณโดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม รวมผลประโยชน์ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว
ในกรณีที่มูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์มีมูลค่าเกินอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งโดยมิได้เกิดจากการทําธุรกรรมเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุวันที่ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์มีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๑๓ ให้บริษัทจัดการนํามูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมตามธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์มารวมคํานวณในอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
ข้อ ๑๔ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวมเป็นรายเดือนโดยระบุรายชื่อคู่สัญญา วัน เดือน ปี ที่ทําธุรกรรม ชื่อ ประเภท และมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ณ วันทําธุรกรรม อัตราผลตอบแทนต่อปี อายุของสัญญา ชื่อและประเภทของหลักประกัน และจัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,897 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 41/2545 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 41/2545
เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2540เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2540 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีของกองทุนรวม ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
“บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
“ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม
“ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจาก บริษัทจัดการให้ทําหน้าที่ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมแทนบริษัทจัดการ
“กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ในโครงการ
“กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
“รายงานการประเมินค่า” หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ซึ่งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
“บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นให้มี 2 ส่วน คือ
(1) ส่วนข้อมูลโครงการ
(2) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ
ข้อ ๔ ส่วนข้อมูลโครงการ ให้ใช้รายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ
ข้อ ๕ ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้มีรายการดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมตามข้อ 6
(2) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 7
(3) ตารางแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวม ซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางแนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
(4) คําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไม่เล็กกว่าและอ่านได้ชัดเจนกว่าข้อความทั่วไปในหนังสือชี้ชวน และมีข้อความตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8
(5) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวนรายการตาม (1) ถึง (5) ให้เป็นไปตามลําดับ ยกเว้นคําเตือนและข้อแนะนําตามข้อ 8(1) และ (2) ให้จัดพิมพ์ตามที่กําหนดไว้ในข้อดังกล่าว
ข้อ ๖ รายการลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ประเภท และอายุของโครงการ
(2) จํานวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวนและราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย
(3) นโยบายและวัตถุประสงค์การลงทุน
(4) นโยบายการจ่ายเงินปันผล
(5) วิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(6) การจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
(7) วันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(8) วันที่ที่เสนอขายหน่วยลงทุน
(9) สถานที่ติดต่อซื้อขายหน่วยลงทุน
(10) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ รวมทั้งสัดส่วนการถือหุ้น
(11) ชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียนหน่วยลงทุน ผู้สอบบัญชี บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา และผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(12) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า เช่น ประเภทอาคารสํานักงานในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
2. ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว
3. อัตราการให้เช่าพื้นที่หรือห้องพักในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลัง (ถ้ามี)
(13) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผลประกอบการของกองทุนรวม หากผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์บอกเลิกสัญญาในกรณีที่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้มีสิทธิในอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาที่ทําไว้กับบุคคลดังกล่าว โดยมิได้จัดให้มีผู้รับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลดังกล่าว
(14) ความสัมพันธ์ของบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทในเครือของบุคคลดังกล่าวกับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะซื้อหรือเช่า
ข้อ ๗ รายการความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการระบุถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินหลักให้ชัดเจน รวมทั้งแนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง และการเปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนกับกองทุนรวมประเภทอื่น (ถ้ามี)
ข้อ ๘ รายการคําเตือนและข้อแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้มีข้อความดังต่อไปนี้
(1) ข้อความว่า “การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ นอกจากนี้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทุนรวมที่มุ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว ผู้ลงทุนจึงควรตระหนักถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน” ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
(2) ข้อความว่า “กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ดังนั้น (ชื่อบริษัทจัดการ) จึงไม่มีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของ (ชื่อกองทุนรวม) .ทั้งนี้ ผลการดําเนินงานของ (ชื่อกองทุนรวม) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานของ (ชื่อบริษัทจัดการ) ” ทั้งนี้ ให้พิมพ์ไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมที่หน้าแรก หรือปกหน้าด้านนอกในกรณีที่หนังสือชี้ชวนนั้นมีปก โดยอยู่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุด
(3) ข้อความว่า “ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน”
(4) ข้อความว่า “ผู้ลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ขายหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และควรขอดูบัตรประจําตัวของบุคคลดังกล่าวที่สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกให้ด้วย”
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,898 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 50) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับเงินได้จากการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งเดิมและต้องซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 50)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นอากรแสตมป์สําหรับเงินได้จากการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งเดิมและต้องซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (37) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 444) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นอากรแสตมป์จากการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ รายรับจากการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นบ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น หรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดสําหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สําหรับการทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นอากรแสตมป์ นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) รายรับจากการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ที่ต้องเสียอากรซึ่งไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
(2) ผู้ที่ต้องเสียอากรจะใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกิจการของตนเองด้วยก็ได้
(3) กรณีผู้ที่ต้องเสียอากรได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ และได้โอนชื่อเข้ามาในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ก่อนที่จะขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมนั้น ผู้ที่ต้องเสียอากรจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์ที่ขายน้อยกว่า 1 ปี ก็ได้ แต่เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมไประยะเวลาการมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมและอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่นับถึงวันขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
(4) การมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมกันทั้งหมดถึง 1 ปี ให้ถือว่ามีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ปี
(5) กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสของสามีภริยา คู่สมรสทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
(6) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสําคัญของแต่ละคน โดยมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับสิทธิยกเว้นอากรแสตมป์จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นั้น
ข้อ ๒ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว รายรับจากการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นอากรแสตมป์ ตามข้อ 1 นั้น ผู้ที่ต้องเสียอากรซึ่งได้ชําระค่าอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสาร 28.(ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ไว้แล้วมีสิทธิขอคืนได้โดยจะต้องยื่นคําร้องขอคืนค่าอากรแสตมป์ในกรณีดังกล่าวตามแบบที่อธิบดีกําหนด (แบบ ค.10) ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ผู้ที่ต้องเสียอากรมีภูมิลําเนา โดยจะต้องแนบหลักฐานต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่าอากรแสตมป์ฉบับที่กรมที่ดินออกให้ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิม
(2) สําเนาคู่ฉบับสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิม ที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) สําเนาคู่ฉบับสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ ที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(4) สําเนาทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของผู้ที่ต้องเสียอากร สําหรับอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ (ในกรณีมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร สําหรับอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิมน้อยกว่า 1 ปี ตามข้อ 1(3))
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 นี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,899 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 49) เรื่อง กำหนดจำนวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงินหรือผู้รับชำระราคาต้องออกใบรับ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 49)
เรื่อง กําหนดจํานวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงินหรือผู้รับชําระราคาต้องออกใบรับ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 105(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดจํานวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงินหรือผู้รับชําระราคาต้องออกใบรับ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 34) เรื่อง กําหนดจํานวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงินหรือผู้รับชําระราคาต้องออกใบรับ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับเงินหรือรับชําระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมเงินหรือราคาที่ได้รับชําระแต่ละครั้งเกิน 1,000 บาท”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) | 3,900 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 48) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 48)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับ ตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 47) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 2 และเงินค่าอากรที่รับชําระตามข้อ 5 วรรคสอง ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรและผู้รับชําระอากรในกรณีดังกล่าวไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่มีการกระทําตราสารที่ต้องเสียอากรนั้น หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่อื่น ทั้งนี้โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,901 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 47) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 47)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 41) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 2 และเงินค่าอากรที่รับชําระตามข้อ 5 วรรคสอง ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรและผู้รับชําระอากรในกรณีดังกล่าวไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่มีการกระทําตราสารที่ต้องเสียอากรนั้น ทั้งนี้ โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,902 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 46) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 46)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 33) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 35) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 5 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 3 ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นําไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,903 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 45)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
--------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 32) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 35) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 5 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 3 และเงินค่าอากรที่รับชําระตามข้อ 4 ให้ตลาดหลักทรัพย์นําไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ตลาดหลักทรัพย์ตั้งอยู่โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดและให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,904 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 44)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับ ตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 35) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการ ปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 4 และเงินค่าอากรที่รับชําระตาม ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ให้ธนาคารนําไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ธนาคารตั้งอยู่ โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,905 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 43) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสาร 28. (ข)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 43)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28. (ข)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์สําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28.(ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้ชําระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนดังกล่าวตามระเบียบของกรมสรรพากร”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28.(ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 31) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(3) ในกรณีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ให้ชําระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันที่ได้ขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวนําเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับชําระส่งสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่เดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําส่งภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 31) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสาร 28. (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"เมื่อสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นได้รับชําระเงินค่าอากรแสตมป์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ออกใบสลักหลังตราสาร (อ.ส.5) แก่ผู้นําส่งเงินไว้เป็นหลักฐานเพื่อรวมไว้ในสํานวนแต่ละคดี"
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,906 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 42) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นอากรแสตมป์เกี่ยวกับกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 42)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นอากรแสตมป์เกี่ยวกับกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6(34) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 393) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นอากรแสตมป์เกี่ยวกับกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนหรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้
(1.1) คู่สัญญาที่เป็นได้ทั้งด้านผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) และผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้)
(ก) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ค) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน และบริษัท หลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัย
(ฉ) บริษัทมหาชนจํากัดนอกจากบริษัทตาม (ข) - (จ)
(ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ซ) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(ฌ) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฐ) กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ฑ) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ
(1.2) คู่สัญญาที่เป็นผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ได้อย่างเดียวเท่านั้น ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (1.1)
(2) ต้องมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement) เป็น ลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ และเป็นสัญญาที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ
(3) ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ขายหลักทรัพย์สัญญาจะซื้อคืนหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ขายให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์เมื่อครบกําหนดซื้อคืนตามสัญญา หรือวันที่คู่สัญญาทวงถามในราคาตามวิธีการคํานวณที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ขายหลักทรัพย์จนถึงวันที่ซื้อคืนหลักทรัพย์ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ หากมีการนําหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับที่นํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืน มาเพิ่มหรือมีการส่งคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวอันเนื่องมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กําหนดในสัญญา ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่นํามาเพิ่มหรือหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืน ตามวรรคหนึ่งด้วย
(4) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเพิ่มทุน ลดทุน ที่ทําให้หลักทรัพย์นั้นมีจํานวนหรือมูลค่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนหลักทรัพย์ที่เทียบเท่าจากผู้ซื้อหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในระหว่างที่มีการขายหลักทรัพย์ตามสัญญาขายหรือซื้อคืนและผู้ขาย หลักทรัพย์ยังไม่ได้ซื้อคืนหลักทรัพย์ตามสัญญา หากผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีการนํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืนมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่เกิดจากการถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องจ่ายคืนผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ขายหลักทรัพย์ที่กระทํากิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ต้องไม่นํามูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนในจํานวนที่เท่ากับส่วนเกินมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ มารวมเป็นมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนหรือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ต้องไม่นํามูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืนส่วนที่เกินจากมูลค่าของ หลักทรัพย์ที่ได้ขายไป มารวมเป็นมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ที่ซื้อคืน แต่ให้นําไปถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,907 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 41) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 41)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช- บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดย อนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ อากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน
“ข้อ 6 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 2 และเงินค่าอากรที่รับชําระตาม ข้อ 5 วรรคสอง ให้ผู้ที่ต้องเสียอากร และผู้รับชําระอากรในกรณีดังกล่าวไปยื่นขอชําระ และชําระเงิน ณ ที่ว่าการอําเภอท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่หรือที่ว่าการอําเภอท้องที่ที่มีการ กระทําตราสารที่ต้องเสียอากรนั้น ทั้งนี้โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดี กรมสรรพากรกําหนด และให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือนให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือนให้นําส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,908 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 40) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นอากรแสตมป์เกี่ยวกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 40)
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นอากรแสตมป์เกี่ยวกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
-------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน (27) ของมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออก ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 335) พ.ศ.2541 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การกระทําตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ที่จะได้รับยกเว้นต้องเป็นการกระทําตราสารในโครงการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ต้องมีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งเป็นที่รับรองทั่วไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542
จักรี รัตยันตรกร
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,909 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 39)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของความหมายคําว่า “ธนาคาร” ของข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
“กรณีเช็คสําหรับผู้เดินทาง ตามลักษณะแห่งตราสาร 15. แห่งบัญชีอัตรา อากรแสตมป์ ธนาคารให้หมายความรวมถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งได้ดําเนินการออกเช็คเดินทางระหว่างประเทศในประเทศ ไทยด้วย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 วรรคสอง แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทน การปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้ธนาคารระบุข้อความในตราสาร ตามข้อ 3 ว่า “ชําระอากรแล้ว” หรือ “Stamp Duty Paid” ก่อนจ่ายตราสาร”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,910 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 38) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 38)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิด แสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 25) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระ อากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทํานองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน เฉพาะที่ธนาคารประกอบกิจการในราชอาณาจักรหรือธนาคารประกอบกิจการนอกราชอาณาจักร เป็นผู้สั่งจ่าย ตามลักษณะแห่งตราสาร 9.(1) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์และใบรับฝาก เงินประเภทประจําของธนาคารโดยมีดอกเบี้ยตามลักษณะแห่งตราสาร13. แห่งบัญชีอัตรา อากรแสตมป์
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิด แสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(2) เช็คที่ออกในประเทศไทยหรือที่ออกในต่างประเทศตามลักษณะ แห่งตราสาร 12. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิด แสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่ม เติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 25) เรื่อง กําหนดวิธี การชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) สําหรับตราสารตามข้อ 3(1) ให้ธนาคารผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคน แรกในประเทศไทยหรือผู้รับฝากแล้วแต่กรณีชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
สมใจนึก เองตระกูล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,911 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103(3) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดย อนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตราสาร” หมายความว่า ตราสารที่ต้องชําระอากรเป็นตัวเงิน ตามประกาศนี้
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันภัยและธนาคาร
“ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารหรือสาขาของธนาคารตาม กฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการธนาคารนั้น ๆ
“ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 53) ใช้บังคับ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
ข้อ ๒ ให้กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
“(1) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร 1. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก) มีค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า หรือ
(ค) ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 54) ใช้บังคับ 5 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)
“(2) เช่าซื้อทรัพย์สิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 3 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เฉพาะที่นิติบุคคลหรือสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับเป็นผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สินนั้น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 53) ใช้บังคับ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
"(3) จ้างทําของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี้
(ก) มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือ
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 54) ใช้บังคับ 5 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)
(4) กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตาม ลักษณะแห่งตราสาร 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(5) กรมธรรม์ประกันภัย ตามลักษณะแห่งตราสาร 6. แห่งบัญชี อัตราอากรแสตมป์
(6) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทํานองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วสัญญา ใช้เงิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 9.(2) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(7) เลตเตอร์ออฟเครดิต ตามลักษณะแห่งตราสาร 14. แห่งบัญชี อัตราอากรแสตมป์
(8) ใบรับของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 16. แห่งบัญชีอัตราอากร แสตมป์ เฉพาะกิจการรับขนส่งทางอากาศที่กระทําโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทย
(9) ค้ําประกัน ตามลักษณะแห่งตราสาร 17. แห่งบัญชีอัตราอากร แสตมป์ เฉพาะที่สถาบันการเงิน แต่ไม่รวมถึงบริษัทประกันภัยเป็นคู่สัญญา
(10) คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 23. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เฉพาะที่ต้นฉบับแห่งตราสารนั้น ต้องชําระอากรแสตมป์เป็น ตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร
(11) ใบรับสําหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ ยานพาหนะ ทั้งนี้ เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ ตามลักษณะแห่งตราสาร 28.(ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เฉพาะที่นิติบุคคลเป็นผู้ขาย และผู้ให้เช่าซื้อยานพาหนะนั้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงยานพาหนะที่ใช้แล้ว
(12) ใบรับสําหรับการขายเรือกําปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 28.(ค) แห่ง บัญชีอัตราอากรแสตมป์
ข้อ ๓ วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน
(1) สําหรับตราสารตามข้อ 2(1)
“(ก) กรณีเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร 1. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ มีค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า ให้ผู้ให้เช่าชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนําตราสารมาสลักหลังตามระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทําตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวันกระทําตราสารนั้น”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 54) ใช้บังคับ 5 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)
(ข) กรณีเช่าอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ชําระอากร เป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น ๆ ก่อนหรือในวันที่มี การรับจดทะเบียนดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนําเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับ ชําระไว้นั้น ส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบของทางราชการ
(2) สําหรับตราสารตามข้อ 2(2)
(ก) กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สิน เฉพาะที่เป็นอสังหา ริมทรัพย์ และยานพาหนะที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ แต่ ไม่รวมถึงยานพาหนะใช้แล้ว ให้ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
“(ข) กรณีสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ เป็นผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สิน ให้ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 53) ใช้บังคับ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
(3) สําหรับตราสารตามข้อ 2(3) ให้ผู้รับจ้างชําระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนําตราสารมาสลักหลังตาม ระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทําตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทําตราสารนั้น
“(4) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (4) ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับผู้ให้กู้หรือตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 53) ใช้บังคับ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
(5) สําหรับตราสารตามข้อ 2(5) ให้ผู้รับประกันภัยชําระอากร เป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
ข้อ 6 เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 2 และเงินค่าอากรที่รับชําระตามข้อ 5 วรรคสอง ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรและผู้รับชําระอากรในกรณีดังกล่าวไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากร พื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่มีการกระทําตราสาร ที่ต้องเสียอากรนั้น หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่อื่น ทั้งนี้โดยใช้แบบขอเสียอากร เป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ดังนี้
(1) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (1) (ก) (ข) (3) และ (12) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้นําไปยื่นชําระก่อนกระทําตราสารหรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทําตราสาร
(2) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (2) (4) (4) (6) (7) (8) และ (9) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้าย ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
(3) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (11) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้น่าไปยื่นชําระก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียน
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 55) ใช้บังคับ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)
(7) สําหรับตราสารตามข้อ 2(7)
(ก) กรณีออกในประเทศไทย ให้ธนาคารผู้ออกตราสาร ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
(ข) กรณีออกในต่างประเทศ และให้ชําระเงินในประเทศไทย ให้ธนาคารที่เป็นผู้ทรงคนแรกในประเทศไทยชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
(8) สําหรับตราสารตามข้อ 2(8) ให้ผู้ออกใบรับ ชําระอากร เป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
(9) สําหรับตราสารตามข้อ 2(9) ให้ผู้ค้ําประกันชําระอากรเป็น ตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ โดยชําระไว้ต่อสถาบันการเงิน แต่ไม่รวมถึงบริษัทประกันภัยที่ เป็นคู่สัญญา
(10) สําหรับตราสารตามข้อ 2(10) ให้คู่สัญญาหรือผู้กระทําตราสาร ชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ โดยให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับต้นฉบับ
(11) สําหรับตราสารตามข้อ 2(11) ให้นิติบุคคลผู้ออกใบรับชําระ อากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ ก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนดังกล่าว
(12) สําหรับตราสารตามข้อ 2(12) ให้ผู้ออกใบรับชําระอากรเป็น ตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนําตราสารมาสลักหลัง ตามระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทําตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทําตราสารนั้น เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๔ ตราสารตามข้อ 2(1) เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถือว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ได้บันทึกข้อความไว้ในตราสารนั้นว่า “ได้ชําระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน.................บาท แล้ว ตามใบเสร็จรับเงินเล่มที่................เลขที่...................ลงวันที่............................” แล้วลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ และวันเดือนปีที่บันทึกข้อความดังกล่าว
ข้อ ๕ ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรตามข้อ 2(2)(4)(5)(6)(7)(8)(10) และ (11) ระบุข้อความในตราสารตามข้อ 2 ว่า “ชําระอากรแล้ว”
ให้สถาบันการเงิน แต่ไม่รวมถึงบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับชําระเงิน ค่าอากรจากผู้ที่ต้องเสียอากรตามข้อ 2(9) ระบุข้อความในตราสารนั้นว่า “ชําระอากรแล้ว”
ข้อ ๖ เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 2 และเงินค่าอากรที่รับชําระตามข้อ 5 วรรคสอง ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรและผู้รับชําระอากรในกรณีดังกล่าวไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากร พื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่มีการกระทําตราสาร ที่ต้องเสียอากรนั้น หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่อื่น ทั้งนี้โดยใช้แบบขอเสียอากร เป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ดังนี้
(1) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (1) (ก) (ข) (3) และ (12) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้นําไปยื่นชําระก่อนกระทําตราสารหรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทําตราสาร
(2) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (2) (4) (4) (6) (7) (8) และ (9) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้าย ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
(3) สําหรับตราสารตามข้อ 2 (11) และข้อ 2 (10) เฉพาะคู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารข้างต้น ให้น่าไปยื่นชําระก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 55) ใช้บังคับ 14 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป)
ข้อ ๗ เมื่อผู้ต้องเสียอากรนําเงินค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินไว้ จากผู้ที่ต้องเสียอากรไปชําระ ณ สถานที่และภายในกําหนดเวลาตามข้อ 6 เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ถือว่าตราสารตามรายการในแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
ข้อ ๘ ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรทําทะเบียนคุมตราสารตามข้อ 2(2)(4)(5)(6) (7)(8)(9)(10) และ (11) ที่มีอยู่ และจ่ายไป ส่วนตราสารตามข้อ 2(5) ให้ใช้แบบ ทะเบียนรับเบี้ยประกันวินาศภัย การประกันประเภทอัคคีภัย ที่นายทะเบียนตามกฎหมาย ดังกล่าวเป็นผู้กําหนดเป็นทะเบียนคุมตราสาร
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับ
(ก) ตราสารตามข้อ 2(5) กรมธรรม์ประกันภัย ตามลักษณะแห่ง ตราสาร 6. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
(ข) ตราสารตามข้อ 2(1)(2)(3)(4)(6((7)(8)(9)(10) (11) และ (12) เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,912 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 36) เรื่อง กำหนดประเภทเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับการมอบอำนาจให้บุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 36)
เรื่อง กําหนดประเภทเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นอากรแสตมป์สําหรับการมอบอํานาจให้บุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6(22) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 281) พ.ศ.2538 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดประเภทเงินได้พึงประเมิน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อยกเว้นอากรแสตมป์ สําหรับการมอบอํานาจให้บุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้มอบอํานาจต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้แจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยสื่อคอมพิวเตอร์และได้รับอนุมัติแล้ว
ข้อ ๒ ผู้มอบอํานาจต้องมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร และคู่สมรสฝ่ายภริยาต้องมีเงินได้พึงประเมินเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยสื่อคอมพิวเตอร์จะต้องส่งแผ่นบันทึก แถบบันทึก หรือสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ตามเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีแถบบันทึกข้อมูล (TAPE) ต้องมีคุณสมบัติ
(ก) เป็น NON-STANDARD (NO LABEL) เท่านั้น
(ข) เป็น TAPE 9 TRACKS มี DENSITY 1,600 B.P.I.หรือ 6,250 B.P.I
(ค) ใช้ EBCDIC CODE ของ IBM หรือ UNIVAC หรือ NEC ในการบันทึกข้อมูล
(2) กรณีแผ่นบันทึก (DISKETTE) ต้องมีคุณสมบัติ
(ก) ขนาด 31/2 นิ้ว แบบ HIGH DENSITY
(ข) รหัสภาษาไทยที่ใช้บันทึกข้อมูลต้องใช้รหัส สมอ
(ค) FILE ข้อมูลที่จัดทําต้องเป็น TEXT FILE ชนิด STANDARD FILE ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการกับ TEXT FILE ที่ TRANSFER มาจาก FILE ของ DBASE III ที่ใช้คําสั่ง COPY DBASE FILE มาเป็น TEXT FILE ชนิด STANDARD FILE โดยใช้คําสั่ง USE (FILE NAME) และ COPY TO (FILE NAME) TXT SDF
(3) สําหรับ FILE NAME ที่ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษต้องไม่เกิน 8 CHARACTERS โดยมี RECORD FORMAT (RECORD SIZE = 110 CHARACTERS และ BLOCK SIZE = 10 RECORD) ดังนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| FIELD NO | COLUMN | ข้อมูลที่บันทึก |
| 1 | 1-10 | เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของหน่วยงาน/บริษัท |
| 2 | 11-20 | รหัสหน่วยงาน/แผนก/สาขาที่พนักงาน ลูกจ้างสังกัดอยู่ |
| 3 | 21-30 | รหัสประจําตัวหรือลําดับที่ของพนักงาน ลูกจ้าง |
| 4 | 31-40 | เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของพนักงาน ลูกจ้าง |
| 5 | 41-50 | คํานําหน้าชื่อ (ของพนักงาน ลูกจ้าง) |
| 6 | 51-80 | ชื่อ |
| 7 | 81-110 | นามสกุล |
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2538
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,913 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 34) เรื่อง กำหนดจำนวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อผู้รับเงินหรือผู้รับชำระราคาต้องออกใบรับ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 34)
เรื่อง กําหนดจํานวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อผู้รับเงินหรือผู้รับชําระราคาต้องออกใบรับ
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 105 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดจํานวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงินหรือผู้รับชําระราคาต้องออกใบรับ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ต้องออกใบรับในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชําระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม
“(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับเงินหรือรับชําระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมเงินหรือราคาที่ได้รับชําระแต่ละครั้งเกิน 1,000 บาท”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 49) ใช้บังคับ 1 มิถุนายน 2546 เป็นต้นไป)
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งต้องเสียภาษีตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับเงินหรือรับชําระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชําระ แต่ละครั้งเกิน 500 บาท
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่เข้ากรณีตาม (1) และ (2) และผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งได้รับเงินหรือรับชําระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ หรือจากการกระทํากิจการ รวมเงินหรือราคาที่ได้รับชําระแต่ละครั้งเกิน 100 บาท
(4) ผู้ประกอบการซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 และมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร และผู้ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับเงินหรือรับชําระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ หรือจากการกระทํากิจการ รวมเงินหรือราคาที่ได้รับชําระแต่ละครั้งเกิน 100 บาท
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,914 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 33) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 33)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตราสาร” หมายความว่า ตราสารที่ต้องชําระอากรเป็นตัวเงินตามประกาศนี้
“บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
“บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
ข้อ ๒ ให้กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ ตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับตราสารตั๋วสัญญาใช้เงินเฉพาะที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออกตั๋ว ตามลักษณะแห่งตราสาร 9. (2) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ วิธีเสียอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารข้อ 2 ให้ผู้ออกตั๋วชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
ข้อ ๔ ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ระบุข้อความในตราสารตามข้อ 2 ว่า “ชําระอากรแล้ว” ก่อนจ่ายตราสาร
ข้อ ๕ เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 3 ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นําไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สํานักงานตั้งอยู่โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 46) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๖ ถ้าบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีความประสงค์จะขอชําระค่าอากรเป็นตัวเงินล่วงหน้าก่อนจ่ายตราสารตามข้อ 3 ให้ชําระล่วงหน้าได้ ณ สถานที่ดังกล่าวในข้อ 5 โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และไม่ต้องยื่นชําระเป็นเดือนละ 2 งวด ตามที่กําหนดในข้อ 5 อีก
ข้อ ๗ เมื่อบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้นําเงินค่าอากรที่ต้องชําระเป็นตัวเงินไปชําระ ณ สถานที่และภายในกําหนดเวลาตามข้อ 5 หรือข้อ 6 เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ถือว่าตราสารตามรายการในแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
ข้อ ๘ ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทําทะเบียนคุมตราสารตามข้อ 2 โดยแสดงหมายเลขตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอยู่ จ่ายไป และแสดงหมายเลขตั๋วสัญญาใช้เงินที่ได้เสียอากรแสตมป์แล้ว
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,915 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 32) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 32)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตราสาร” หมายความว่า ตราสารที่ต้องชําระอากรเป็นตัวเงินตามประกาศนี้
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ ให้กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับตราสารใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ เฉพาะที่ตลาดหลักทรัพย์เป็นนายทะเบียนหุ้น ตามลักษณะแห่งตราสาร 11. (1) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้าย หมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓ วิธีเสียอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารตามข้อ 2 ให้ผู้ทรงตราสารชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ โดยชําระไว้ต่อตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ให้ตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้รับชําระเงินค่าอากรจากผู้ที่ต้องเสียอากรตามข้อ 3 ระบุข้อความในตราสารนั้นว่า “ชําระอากรแล้ว” ก่อนจ่ายตราสารให้แก่ผู้ที่ต้องเสียอากร
ข้อ ๕ เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 3 และเงินค่าอากรที่รับชําระตามข้อ 4 ให้ตลาดหลักทรัพย์นําไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ตลาดหลักทรัพย์ตั้งอยู่โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดและให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 45) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๖ ถ้าตลาดหลักทรัพย์มีความประสงค์จะขอชําระค่าอากรเป็นตัวเงินล่วงหน้าก่อนจ่ายตราสารตามข้อ 3 ให้ชําระล่วงหน้าได้ ณ สถานที่ดังกล่าวในข้อ 5 โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และไม่ต้องยื่นชําระเป็นเดือนละ 2 งวด ตามที่กําหนดในข้อ 5 อีก
ข้อ ๗ เมื่อตลาดหลักทรัพย์ได้นําเงินค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินไว้จากผู้ที่ต้องเสียอากร ไปชําระ ณ สถานที่และภายในกําหนดเวลาตามข้อ 5 และข้อ 6 เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ถือว่าตราสารตามรายการในแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินของตลาดหลักทรัพย์ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
ข้อ ๘ ให้ตลาดหลักทรัพย์ทําทะเบียนคุมตราสารตามข้อ 2 โดยแสดงหมายเลขใบหุ้นที่มีอยู่ จ่ายไป และแสดงหมายเลขใบหุ้นที่เสียอากรแสตมป์แล้ว
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2533
บัณฑิต บุณยะปานะ
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,916 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 23) เรื่อง กำหนดวิธีการในการออกใบรับและใบส่งของกับยกเว้นการออกใบรับและใบส่งของในบางกรณี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 23)
เรื่อง กําหนดวิธีการในการออกใบรับและใบส่งของกับยกเว้นการออกใบรับและใบส่งของในบางกรณี
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดวิธีการในการออกใบรับและใบส่งของกับยกเว้นการออกใบรับและใบส่งของในบางกรณีดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 1) เรื่อง กําหนดวิธีการในการออกใบรับและยกเว้นการออกใบส่งของในบางกรณี ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2497
(2) ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 2) เรื่องกําหนดวิธีการในการออกใบรับและการออกใบส่งของกับยกเว้นการออกใบส่งของในบางกรณี ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2497
(3) ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 3) เรื่องกําหนดวิธีการออกใบรับและยกเว้นการออกใบส่งของในบางกรณี ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2498
(4) ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 4) เรื่องกําหนดวิธีการให้บันทึกการรับเงินผ่อนชําระไว้ในใบส่งของได้ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2501
(5) ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 5) เรื่องกําหนดวิธีการให้บันทึกการรับเงินไว้ในหนังสือแจ้งยอดเงินของธนาคารได้โดยไม่ต้องออกใบรับอีกต่างหาก ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2501
(6) ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 8) เรื่องยกเว้นการออกใบรับให้แก่ผู้ประกอบการค้ายาสูบของโรงงานยาสูบลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2504
(7) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 19) เรื่อง กําหนดวิธีการในกรณีที่มีการใช้เครื่องจักรออกใบรับและใบส่งของ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522
ข้อ ๒ ในกรณีผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง ปฏิบัติในการออกใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เมื่อได้ออกใบส่งของ ตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อแล้วไม่ต้องแสดงรายการเกี่ยวกับชนิด ชื่อ จํานวน และราคาของสินค้านั้นไว้ในใบรับอีกก็ได้ แต่ต้องแสดงรายการไว้ในใบรับว่า ได้รับชําระราคาตามใบส่งของเล่มที่ (ถ้ามี) เลขที่ ลงวันเดือนปีใดเป็นจํานวนเงินเท่าใดไว้ให้ชัดเจนด้วย
ในกรณีมิใช่บุคคลตามวรรคหนึ่งมีความประสงค์จะออกใบส่งของเพื่อไม่ต้องแสดงรายการเกี่ยวกับชนิด ชื่อ จํานวน และราคาของสินค้าไว้ในใบรับก็ให้ทําได้แต่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๓ ในกรณีผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้ขายส่ง ขายสินค้าเป็นเงินสดซึ่งรวมราคาที่ต้องชําระครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท จะไม่ออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติในการออกใบรับให้เป็นไปตามมาตรา105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องแสดงชนิด ชื่อ จํานวนและราคาสินค้าที่ขายตามที่ระบุไว้ในมาตรา 105 จัตวา (5) แห่งประมวลรัษฎากร นั้นไว้ในใบรับด้วย
ข้อ ๔ ในกรณีผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง ส่งสินค้าไปให้สถานการค้าสาขาหรือตัวแทนจําหน่ายโดยออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่สถานการค้าสาขาหรือตัวแทนแล้ว เมื่อสถานการค้าสาขาหรือตัวแทนจําหน่ายสินค้านั้นต่อไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร อีกก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติในการออกใบรับให้เป็นไปตาม มาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรและต้องแสดงชนิด ชื่อ จํานวน และราคาสินค้าที่ขายตามที่ระบุไว้ในมาตรา 105 จัตวา (5) แห่งประมวลรัษฎากร นั้นไว้ในใบรับด้วย
ข้อ ๕ ผู้ประกอบการค้าซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติในการออกใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือต้องปฏิบัติในการออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร และใบรับหรือใบส่งของเช่นว่านี้จําเป็นต้องส่งไปยังผู้รับ ณ ต่างประเทศ จะแสดงข้อความในใบรับหรือใบส่งของเป็นภาษาอังกฤษแทนอักษรไทยก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่เสื่อมสิทธิของเจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 3 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖ ในกรณีผู้ผลิต ทําการขายหรือจําหน่ายผลผลิตโดยไม่มีการส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ เช่นการจําหน่ายกระแสไฟฟ้า และน้ําประปา เป็นต้น จะไม่ออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้
ข้อ ๗ ในกรณีผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง ทําการขายปลีกสินค้าอย่างอื่นที่ผู้ประกอบการค้านั้นมิใช่เป็นผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้ขายส่งสินค้านั้น ๆ จะไม่ออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้
ข้อ ๘ ในกรณีผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง จําหน่ายสินค้าเป็นเงินสดจะปฏิบัติในการออกใบรับตามมาตรา 105 ทวิ และใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร บนกระดาษแผ่นเดียวกันและใช้เลขลําดับของเล่มและของใบรับรวมกับเลขลําดับของเล่มและของใบส่งของก็ได้
ข้อ ๙ ในกรณีผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง ทําการขายปลีกเป็นเงินสดซึ่งสินค้าที่ผู้ประกอบการค้านั้นเป็นผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่งจะไม่ออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติในการออกใบรับให้เป็นไปตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องแสดงชนิด ชื่อ จํานวน และราคาสินค้าที่ขายตามที่ระบุไว้ในมาตรา 105 จัตวา (5)แห่งประมวลรัษฎากร นั้น ไว้ในใบรับด้วย
ข้อ ๑๐ ในการออกใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรถ้าใบรับมิได้ทําเป็นเล่ม หรือทําแต่เพียงเล่มเดียว จะไม่ใส่เลขลําดับของเล่มไว้บนใบรับก็ได้ เมื่อใบรับนั้นมีเลขลําดับของใบรับติดต่อกันไปตลอดปีประดิทิน
ถ้าใบรับดังกล่าวทําเกินกว่าหนึ่งเล่ม จะใช้ตัวอักษรไทยหรืออังกฤษโดยเรียงตามลําดับของตัวอักษรแทนตัวเลขลําดับของเล่มก็ได้
ในกรณีที่มีเลขลําดับของเล่มดังกล่าวมาในวรรคก่อนแล้วจะตั้งต้นเรียงเลขลําดับใหม่ของใบรับแต่ละเล่มก็ได้
ข้อ ๑๑ ในกรณีผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง ได้ขายสินค้าเชื่อให้กับผู้ซื้อโดยได้ออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ซื้อไปแล้ว ครั้นเมื่อเวลาเก็บเงินตามใบส่งของนั้นผู้ซื้อได้ผ่อนชําระให้เป็นคราว ๆ ซึ่งผู้ขายไม่อาจจะออกใบรับให้เต็มตามจํานวนเงินในใบส่งของได้ ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้ขายจะบันทึกการรับเงินนั้นไว้ในใบส่งของที่ได้ออกให้แก่ผู้ซื้อในทันทีทุกคราวที่ได้รับเงินก็ให้กระทําได้
การบันทึกรับเงินผ่อนชําระตามวรรคแรกไม่ต้องทําต้นขั้วหรือสําเนาไว้และไม่ต้องแสดงข้อความตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ให้แสดงเฉพาะจํานวนเงินที่ได้รับและวันเดือนปีที่ได้รับเท่านั้น
เมื่อได้รับเงินผ่อนชําระครบถ้วนตามใบส่งของแล้ว ผู้ขายจะต้องออกใบรับแสดงการรับเงินทั้งสิ้นให้ผู้ซื้ออีกฉบับหนึ่ง
ข้อ ๑๒ ในกรณีผู้ขายสินค้ายาสูบของโรงงานยาสูบ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องออกใบรับ ตามมาตรา 105 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้าได้ส่งสินค้าไปขายให้ผู้ซื้อในต่างประเทศเมื่อผู้ซื้อได้ชําระราคาสินค้าโดยวิธีโอนเงินเข้าธนาคารในต่างประเทศแล้ว ธนาคารในต่างประเทศก็จะโอนเงินมาเข้าธนาคารในประเทศ เพื่อนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ขายในประเทศไทย ในกรณีนี้ธนาคารในประเทศไทยจะมีหนังสือแจ้งยอดเงินที่นําเข้าบัญชีให้ผู้ขายทราบ เมื่อผู้ขายได้รับหนังสือแจ้งยอดเงินจากธนาคาร ให้ผู้ขายบันทึกการรับเงินไว้ในหนังสือนั้น โดยใช้คําว่า “จ่ายแล้ว” หรือ “ได้รับชําระแล้ว” โดยไม่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105(1) แห่งประมวลรัษฎากร อีกต่างหากได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งใบรับนั้นต้องมีข้อความตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และผู้มีหน้าที่ออกใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร ใช้เครื่องจักรในการออกใบรับและใบส่งของ ใบรับและใบส่งของที่ออกด้วยเครื่องจักรนั้นจะไม่ลงข้อความชื่อหรือยี่ห้อของผู้ซื้อและชนิด ชื่อสินค้าในใบรับและใบส่งของที่ต้องออกดังกล่าว เป็นอักษรไทยก็ได้ แต่ต้องลงข้อความ ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ซื้อเป็นอักษรที่ใช้ในภาษาอังกฤษและลงข้อความชนิดชื่อสินค้าเป็นรหัสตัวเลขอารบิคหรืออักษรที่ใช้ในภาษาอังกฤษ
ให้ผู้มีหน้าที่ออกใบรับและใบส่งของที่ได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งเก็บรักษาคําแปลรหัสและคําแปลอักษรที่ใช้ในภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไว้ ณ สํานักงานของผู้มีหน้าที่ออกใบรับและใบส่งของดังกล่าว และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
วิทย์ ตันตยกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,917 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสารบางลักษณะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22)
เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารบางลักษณะ
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และมาตรา 123 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 16) เรื่องกําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการเปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารเช็ค ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
(2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 17)ลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
(3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 18)ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
(4) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 20) เรื่อง กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสําหรับตราสารตั๋วแลกเงินหรือตราสารทํานองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2523
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ตราสาร” หมายความว่า ตราสารที่ต้องชําระอากรเป็นตัวเงินตามประกาศนี้
"ธนาคาร" หมายความว่า ธนาคารหรือสาขาของธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการธนาคารนั้น ๆ
“กรณีเช็คสําหรับผู้เดินทาง ตามลักษณะแห่งตราสาร 15. แห่งบัญชีอัตรา อากรแสตมป์ ธนาคารให้หมายความรวมถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งได้ดําเนินการออกเช็คเดินทางระหว่างประเทศในประเทศ ไทยด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 39) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ ให้กําหนดวิธีการชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103 (3) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
“(1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทํานองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน เฉพาะที่ธนาคารประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นผู้สั่งจ่ายตามลักษณะแห่งตราสาร9.(1) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์และใบรับฝากเงินประเภทประจําของธนาคารโดยมีดอกเบี้ยตามลักษณะแห่งรัษฎากร 13. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 38) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)
(2) เช็คที่ออกในประเทศไทยหรือที่ออกในต่างประเทศตามลักษณะ แห่งตราสาร 12. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 38) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)
(3) เช็คสําหรับผู้เดินทางที่ออกหรือจําหน่ายในราชอาณาจักร ตามลักษณะแห่งตราสาร 15. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ข้อ ๔ วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน
“(1) สําหรับตราสารตามข้อ 3(1) ให้ธนาคารผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคน แรกในประเทศไทยหรือผู้รับฝากแล้วแต่กรณีชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 38) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)
(2) สําหรับตราสารตามข้อ 3 (2) หรือ (3) ให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนแรกชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ โดยชําระไว้ต่อธนาคาร
ในกรณีตราสารตามข้อ 3 ที่ธนาคารเป็นผู้ออก ให้ธนาคารชําระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
ข้อ ๕ ให้ธนาคารเป็นผู้รับชําระเงินค่าอากรจากผู้ที่ต้องเสียอากรตามข้อ 4 (2) ระบุข้อความในตราสารนั้นว่า “ชําระอากรแล้ว” ก่อนจ่ายตราสารให้ผู้ที่ต้องเสียอากร
“ให้ธนาคารระบุข้อความในตราสาร ตามข้อ 3 ว่า “ชําระอากรแล้ว” หรือ “Stamp Duty Paid” ก่อนจ่ายตราสาร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 39) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป)
ข้อ ๖ เงินค่าอากรที่ต้องชําระตามข้อ 4 และเงินค่าอากรที่รับชําระตาม ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ให้ธนาคารนําไปยื่นขอชําระและชําระเงิน ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ธนาคารตั้งอยู่ โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และให้ชําระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นําไปยื่นชําระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป"
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 44) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ข้อ ๗ ถ้าธนาคารมีความประสงค์จะขอชําระค่าอากรเป็นตัวเงินล่วงหน้าก่อนจ่ายตราสารตามข้อ 4 ให้ชําระล่วงหน้าได้ ณ สถานที่ดังกล่าวในข้อ 6 โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด และไม่ต้องยื่นชําระเป็นเดือนละ 2 งวด ตามที่กําหนดในข้อ 6 อีก
ข้อ ๘ เมื่อธนาคารได้นําเงินค่าอากรที่ต้องชําระหรือได้รับเป็นตัวเงินไว้จากผู้ที่ต้องเสียอากร ไปชําระ ณ สถานที่และภายในกําหนดเวลาตามข้อ 6 หรือข้อ 7 เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ถือว่าตราสารตามรายการในแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินของธนาคารได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
ข้อ ๙ ให้ธนาคารทําทะเบียนคุมตราสารตามข้อ 3 (1) โดยแสดงหมายเลขประจําเล่ม เลขที่ (มีสําเนาติดเล่มไว้) ที่มีอยู่ ได้มา และจ่ายไปสําหรับตราสารข้อ 3 (2) และ (3) ให้ธนาคารทําทะเบียนคุม โดยแสดงหมายเลขเช็คที่มีอยู่ จ่ายไป และแสดงหมายเลขเช็คที่ได้เสียอากรแสตมป์แล้ว หรือแสดงหมายเลขเช็คที่ได้รับยกเว้นอากรแสตมป์พร้อมทั้งแสดงรายชื่อผู้ได้รับยกเว้นอากรแสตมป์
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
วิทย์ ตันตยกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 3,918 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 45/2545 เรื่อง การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สบ. 45/2545
เรื่อง การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากในขณะที่ครบกําหนดชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน บริษัทดังกล่าวได้รับการจัดอันดับการกํากับดูแลกิจการโดยมีคะแนนรวมตั้งแต่เจ็ดคะแนนขึ้นไปจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด และมีการเปิดเผยอันดับการกํากับดูแลกิจการนั้นต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ตามอัตราและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละห้าสิบของอัตราค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 เฉพาะการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดพิเศษสําหรับการขออนุญาตและการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
(2) ร้อยละห้าสิบของอัตราค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ อัตราค่าธรรมเนียมที่ลดหย่อนตามประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับเฉพาะค่าธรรมเนียมที่ครบกําหนดชําระระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,919 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 46/2545 เรื่อง แบบงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 46/2545
เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
1. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 6/2543 เรื่อง แบบงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
2. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 44/2543 เรื่อง แบบงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํางบการเงินซึ่งประกอบด้วยงบดุล งบกําไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และงบกระแสเงินสด ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยถือปฏิบัติตามคําชี้แจงท้ายประกาศนี้ด้วย
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 อยู่ด้วย งบการเงินที่จัดทําตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ตอน ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 3,921 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.