title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 40/2541 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินลงทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 40/2541
เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 1 (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้แบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ให้ยกเลิกหน้า 2 หน้า 3 หน้า 8 หน้า 10 หน้า 12 หน้า 14 หน้า 18 หน้า 19 หน้า 22 และหน้า 24 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้คําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,122 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 1/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนของกองทุนรวม | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 1/2541
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนของกองทุนรวม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ข้อ 10 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ข้อ 3 (10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 ข้อ 27 (8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัยพ์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และข้อ 3 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในหน่วยลงทุน ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน" หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"สมาคม" หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทหลักทรัพย์ทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๓ การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนต้องมีวัตถุประสงค์เป็นการลงทุนระยะสั้น ซึ่งต้องมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือน และต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ ในการจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบันในประเทศดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(5) บริษัทประกันภัย
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(7) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(8) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ข้อ ๔ ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งทุนและกองทุนรวมผสม บริษัทหลักทรัพย์อาจทํา ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก หรือที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป
(2) ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือตราสารแห่งหนี้ที่ผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะดังกล่าว
(3) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ใน SET 50 INDEX
ในการจัดการกองทุนรวมที่มิใช่กองทุนรวมตราสารแห่งทุนหรือกองทุนรวมผสม บริษัทหลักทรัพย์อาจทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ได้เฉพาะตามที่กําหนดใน (1) และ (2)
ข้อ ๕ ในการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 4 ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 4(1) มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าราคาซื้อ
(2) กรณีทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 4(2) มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 105 ของราคาซื้อ
(3) กรณีทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหลักทรัพย์ตามข้อ 4(3) มูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 135 ของราคาซื้อ
ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 5 ณ สิ้นวันตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 5(1) ไม่น้อยกว่ามูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(2) ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 5(2) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 105 ของมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(3) ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ตามข้อ 5(3) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 135 ของมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
ในกรณีที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวน้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการให้มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้เป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้มีมูลค่าน้อยกว่าอัตราส่วนที่กําหนด ทั้งนี้ โดยให้มีการโอนเงิน หรือหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 4 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ หรือดําเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์มีกรรมสิทธิ์ในเงิน หรือหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ดังกล่าว
ข้อ ๗ การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์ทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามข้อ 5 ให้ใช้วิธีคํานวณตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี และตามมาตรฐานการคํานวณที่สมาคมกําหนด
ข้อ ๘ การคํานวณมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตามข้อ 6 ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณโดยใช้ราคาซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ รวมผลประโยชน์ที่พึงได้รับตามสัญญาจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว และให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้มูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและการดํารงอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๙ ในการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดยชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด หรือตามที่สํานักงานยอมรับ
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ส่วนที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการขายคืนตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปโอนหรือขายต่อ
ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนได้ตามระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,123 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 19/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 19/2541
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทําธุรกรรมการซื้อ โดยมีสัญญาขายคืนของกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ข้อ 10 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ข้อ 3 (10) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 ข้อ 27 (8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และข้อ 3 (11) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในหน่วยลงทุน ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนของกองทุนรวม ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(1) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก หรือที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวน หรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,124 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 16/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 16 /2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ
ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ และกรรมการบริหาร รวมทั้งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
“ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่บริษัทจัดการได้เต็มเวลาหรือเป็กรรมการของบริษัทจัดการ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทจัดการนั้น เว้นแต่เป็นตําแหน่งในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
(3) ผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
(4) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่นหรือไม่เป็นผู้จัดการการลงทุนให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการ เว้นแต่การเป็นพนักงานประจํา ผู้บริหาร หรือผู้จัดการการลงทุนนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(5) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
ข้อ ๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากสํานักงาน
(4) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
(5) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(7) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีดําตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(8) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(9) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(10) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน
(11) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่เหตุแห่งการเพิกถอนนั้นเนื่องจากการไม่เข้าอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม
(12) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(13) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ
(14) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(15) จงใจอําพรางการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรแจ้งในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(16) จงใจละเลยการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(17) มีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(18) มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจจัดการลงทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจนั้น
ข้อ ๔ ในการขอรับความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีได้
บุคคลที่เคยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ต่อมามิได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการใดแล้ว บุคคลนั้นอาจเข้ารับการอบรมความรู้ รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพจากสมาคมตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง เพื่อรักษาสถานภาพการได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลรายใดมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลรายนั้นแก้ไขคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้
(1) ขาดคุณสมบัติข้อ 2(1) หรือ (4)
(2) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(3) ไม่เข้ารับการอบรมตามข้อ 5
ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้อง
(1) ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๘ บุคคลใดได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นทั้งผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและผู้จัดการกองทุนรวม บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และผู้จัดการกองทุนรวมในบริษัทจัดการเดียวกันได้ในกรณีที่บริษัทจัดการนั้นได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมด้วย แต่บุคคลนั้นจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในบริษัทจัดการอื่นหรือเป็นผู้จัดการกองทุนรวมในบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุน ส่วนบุคคล มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบบุคคล ดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว
ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ในภายหลัง
ข้อ ๑๐ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่สํานักงานประกาศกําหนดตามข้อ 9 แล้วอยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่กําหนดระยะเวลาในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามข้อ 9 สูงสุดไม่เกินหนึ่งปี สํานักงานอาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 3 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุน ส่วนบุคคล จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของลูกค้า หรือจะทําให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น ต่อภาคธุรกิจจัดการลงทุน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าสํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลอันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 9 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 9 แล้ว มิให้สํานักงานนําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ซึ่งเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งหลังอีก
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการใดมีผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ให้บริษัทจัดการนั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลรายนั้น
ข้อ ๑๓ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและผู้จัดการกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมและผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ และให้ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคม ตามระยะเวลาการเข้ารับการอบรมครั้งแรกที่สํานักงานกําหนดในการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๑๔ นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2544ในกรณีที่บริษัทจัดการซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพขอรับความเห็นชอบให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ในขณะที่ยื่นคําขอเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้ที่บริษัทจัดการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวได้รับยกเว้นการพิจารณาคุณสมบัติตามข้อ 2(3) โดยสํานักงานจะพิจารณาคุณสมบัติประการอื่นที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแทน
ข้อ ๑๕ นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2544บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลสําหรับกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นการชั่วคราวได้
(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 2(1) (2) และ (4)
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
(3) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานแล้ว
ในการขอขึ้นทะเบียนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด พร้อมด้วยหนังสือรับรองของบริษัทจัดการว่าผู้ที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลมีคุณสมบัติตามข้อ 2(1)(2) และ (4) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,125 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 24/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 24/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ
ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ
“ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ และกรรมการบริหาร รวมทั้งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านหลักทรัพย์ การปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ หรือการวิจัยด้านหลักทรัพย์หรือตลาดทุน หรือสายงานอื่นในทํานองเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าสายงานนั้นจะปฏิบัติงานเพื่อให้บริการแก่บุคคลอื่นหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร หรือมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินงานของบริษัทแทนคณะกรรมการบริษัท
“ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลที่รับผิดชอบในระดับส่วนงานภายในบริษัท
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นพนักงานประจําที่สามารถทํางานให้แก่บริษัทจัดการได้เต็มเวลาหรือเป็นกรรมการของบริษัทจัดการ และไม่ได้ดํารงตําแหน่งอื่นในบริษัทจัดการนั้น เว้นแต่เป็นตําแหน่งในสายงานบังคับบัญชาโดยตรง (vertical line of command) หรือตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
(3) ผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพจากสถาบันฝึกอบรมหรือตาม หลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(4) ไม่เป็นพนักงานประจําหรือผู้บริหารที่มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่นหรือไม่เป็นผู้จัดการการลงทุนให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการ เว้นแต่การเป็นพนักงานประจํา ผู้บริหาร หรือผู้จัดการการลงทุนนั้นไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(5) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ หากผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวมาแล้วเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ต้องปรากฏว่าได้ผ่านการอบรมความรู้ดังกล่าว ที่จัดโดยสมาคมหรือสถาบันฝึกอบรมมาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ
ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งเป็นผู้จัดการ หรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการที่ผ่านการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดใน (5) มาแล้วไม่เกินสองปีในวันที่ยื่นคําขอ ให้ได้รับยกเว้นคุณสมบัติตาม (3) และ (5) แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวให้ใช้สําหรับผู้ขอรับความเห็นชอบเพียงรายเดียวและต่อบริษัทจัดการแต่ละแห่ง และให้การยกเว้นสิ้นสุดลงเมื่อบุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากการดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้น
ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากสํานักงาน
(4) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
(5) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(7) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(8) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(9) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(10) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน
(11) เคยถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(12) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(13) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ
(14) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(15) จงใจอําพรางการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรแจ้งในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(16) จงใจละเลยการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143
(17) มีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(18) มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจจัดการลงทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจนั้น
ข้อ ๕ ในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดในข้อ 3(5) อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในทุกช่วงสองปี เว้นแต่ในการเข้ารับการอบรมครั้งแรกภายหลังจากการได้รับความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องเข้ารับการอบรมให้เป็นช่วงเวลามากกว่าสองปีได้
ผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลผู้ใด แม้จะมิได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการใดแล้ว หากประสงค์จะรักษาสถานภาพการได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล บุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลสิ้นสุดลง
ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลผู้ใดที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามวรรคสาม หากเข้ารับการอบรมความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรที่กําหนดในข้อ 3(5) และยื่นขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานภายในหกเดือนนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต่อไป
ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลรายใดมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลรายนั้นแก้ไขคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้
(1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3(1) หรือ (4)
(2) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4
ข้อ ๘ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้อง
(1) ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๙ ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและผู้จัดการกองทุนรวมในบริษัทจัดการเดียวกันได้ในกรณีที่บริษัทจัดการนั้นได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมด้วย แต่บุคคลนั้นจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในบริษัทจัดการอื่นหรือเป็นผู้จัดการกองทุนรวมในบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว
ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการ และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ในภายหลัง
ข้อ ๑๑ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่สํานักงานประกาศกําหนดตามข้อ 10 แล้วอยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่กําหนดระยะเวลาในการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามข้อ 10 สูงสุดไม่เกินหนึ่งปี สํานักงานอาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 4 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของลูกค้า หรือจะทําให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจจัดการลงทุน
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าสํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลอันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 10 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 10 แล้ว มิให้สํานักงานนําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4(9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) หรือ (18) ซึ่งเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งหลังอีก
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการใดมีผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 ให้บริษัทจัดการนั้นรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลรายนั้น
ข้อ ๑๔ การจัดทําและส่งเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่หรือการสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามประกาศสํานักงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้า
ข้อ ๑๕ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๑๖ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544บุคคลใดที่ผ่านการทดสอบความรู้หรือผ่านการอบรมความรู้ตามข้อ 3(5) มาแล้วเกินกว่าสองปีในวันที่ยื่นคําขอ อาจยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ โดยไม่ต้องนําระยะเวลาตามข้อ 3(5) มาใช้บังคับในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 1 ซึ่งยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,126 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 39/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 39/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ
ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
โดยที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้การจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องกระทําโดยผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ บุคคลที่จะได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลจึงต้องกําหนดให้ผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพ กฎเกณฑ์ จรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ข้อกําหนดดังกล่าวในระยะเริ่มต้นไม่กระทบต่อการจัดหาบุคลากรของบริษัทจัดการ การผ่อนคลายข้อกําหนดดังกล่าวโดยยังคงรักษาหลักการของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ดังข้างต้นไว้จึงอาจทําได้โดยการกําหนดให้ผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งดํารงตําแหน่งในระดับบริหารของบริษัทจัดการ อาจขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลได้หากมีคุณสมบัติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลได้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ในกรณีผู้ขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งเป็นผู้จัดการ หรือผู้อํานวยการฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบสายงานที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนของบริษัทจัดการ ให้บุคคลดังกล่าวได้รับยกเว้นคุณสมบัติตาม (3) และ (5) หากปรากฏว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติประการอื่นที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ ข้อยกเว้นดังกล่าวให้ใช้สําหรับผู้ขอรับความเห็นชอบเพียงรายเดียว และต่อบริษัทจัดการแต่ละแห่ง และให้การยกเว้นสิ้นสุดลงเมื่อบุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากการดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,127 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 26/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 26/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมวายุภักษ์
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ เพื่อปฏิรูประบบแนวทางการลงทุนของกระทรวงการคลังให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การออม และการลงทุนของประเทศ และเพื่อเพิ่มทางเลือกของประชาชนผู้ออมเงินในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ํา รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ จึงต้องกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว ดังนั้น คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 46/2541 โดยอนุโลม
ข้อ ๓ บริษัทจัดการอาจแบ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ออกเป็นหลายชนิดได้ โดยกําหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเท่าเทียมกัน แต่ต้องกําหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก
ในการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจแบ่งตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา หรือแบ่งตามสิทธิหรือประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากกองทุนรวมวายุภักษ์ก็ได้
ข้อ ๔ ในการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กําหนดนโยบายการลงทุนและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการการลงทุน และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุนไว้ในโครงการด้วย
ข้อ ๕ การลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ ต้องเป็นไปตามอัตราส่วน หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,128 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 35/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 35/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมวายุภักษ์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ดูแลผลประโยชน์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” และ “สํานักงาน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 ดังต่อไปนี้
““ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมวายุภักษ์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 46/2541 โดยอนุโลม ยกเว้นข้อ 24 มิให้นํามาใช้บังคับ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมวายุภักษ์ ต้องเป็นไปตามอัตราส่วน หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ ให้กองทุนรวมวายุภักษ์เข้าเป็นคู่สัญญาที่กระทรวงการคลังให้สิทธิในการขายทรัพย์สินคืน และเข้าเป็นคู่สัญญาที่ให้สิทธิกระทรวงการคลังในการซื้อทรัพย์สินคืนได้ โดยไม่จํากัดอัตราส่วน”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 และข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546
“ข้อ 5/1 การคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมวายุภักษ์และของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังนี้
(1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมวายุภักษ์ และของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ทุกสิ้นวันทําการ
(2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมวายุภักษ์ และมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ของวันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ และของวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล ภายในวันทําการถัดจากวันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ หรือถัดจากวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล แล้วแต่กรณี
มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หมายถึง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมวายุภักษ์หารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
มูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด หมายถึง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมวายุภักษ์และของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย
การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ และจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนที่บริษัทจัดการแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ในตลาดรอง
ข้อ 5/2 การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้จ่ายได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิเมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมจนถึงงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลหรือมีกําไรสุทธิในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น หรือจากสํารองการจ่ายเงินปันผล
ในกรณีที่บริษัทจัดการพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้บริษัทจัดการประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
(2) ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการ และจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนที่บริษัทจัดการแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ในตลาดรอง
(3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมวายุภักษ์”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,129 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 17/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 17/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
และการตั้งตัวแทนสนับสนุน
(ฉบับที่ 2)
ตามที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กําหนดหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นั้น
เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน มีการเตรียมความพร้อมของระบบงานและบุคลากรได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพก่อนการขอรับความเห็นชอบตามประกาศดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เลื่อนวันใช้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,131 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 7/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 7/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
และการตั้งตัวแทนสนับสนุน
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และคําว่า “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้
““การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การบริการธุรกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (automaticteller machine) บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (telebanking) อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันตามที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่การตลาด” “บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” “ผู้ให้คําแนะนํา” “ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน” และ “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” ระหว่างบทนิยามคําว่า “สมาคม” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้
““เจ้าหน้าที่การตลาด” หมายความว่า ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด
“บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
“ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า ผู้ให้คําแนะนําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน
“ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
“ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาด
กองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
“ข้อ 10/1 ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนได้จัดให้มี
บริการการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยอนุโลม”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 ข้อ 26 ข้อ 27 และข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 25 บริษัทจัดการต้องดูแลให้พนักงานของตนที่ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและพนักงานของผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ และบริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้พนักงานของตนเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการจัดทําบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทุน และการให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน และดูแลให้ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นบุคคลธรรมดาเข้ารับการอบรมดังกล่าวด้วย
(2) จัดให้มีระบบควบคุมภายในในส่วนที่เกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
เช่น จัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานการปฏิบัติหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของพนักงาน
เป็นต้น
(3) จัดให้มีหน่วยงานที่ควบคุมดูแลให้พนักงานของตนปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ
และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลต้องดูแลให้พนักงานของตนผู้ทําหน้าที่ขายหรือ
รับซื้อคืนหน่วยลงทุน ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้
และต้องดําเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
ข้อ 26 ให้ตัวแทนสนับสนุนดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนดังต่อไปนี้
(1) รับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนสนับสนุนหรือพนักงานของตัวแทนสนับสนุนนั้น และหากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ให้บันทึกการร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ผู้ลงทุน
ลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวจะดําเนินการแก้ไขปัญหา
(2) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว
(3) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
(4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้ตัวแทนสนับสนุนแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้ลงทุนเพื่อให้บริษัทจัดการทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้ลงทุนเพื่อให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น
(5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น
ข้อ 27 ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสมหรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศนี้ หรือตามประกาศที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้มาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
=====================================================
(2) สั่งให้กระทําหรืองดเว้นการกระทํา
==================================
(3) ภาคทัณฑ์
============
(4) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลาที่กําหนด
================================================
ในกรณีที่พนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตาม (1) (2) หรือ (3) สํานักงานอาจสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรายนั้น ๆ ได้
===============================================================================================================================================================================
ข้อ 28 ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบรายใดถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา การปฏิบัติงานเป็นผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือการปฏิบัติงานเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล สํานักงานมีอํานาจสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 27(4) ได้”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,132 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 25/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 25/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
และการตั้งตัวแทนสนับสนุน
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ช) ของ (1) ในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ช) รับชําระเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุน หรือชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายกองทุนรวมหรือผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งมอบหลักฐานการรับเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนด้วย ทั้งนี้ ให้ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นบุคคลธรรมดาชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีที่มีการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลอาจรับชําระเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุน หรือชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุน พร้อมทั้งมอบหลักฐานการรับเงินค่าจองซื้อหรือค่าซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวให้ผู้ลงทุนด้วย ทั้งนี้ ให้ชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนภายใน ห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีที่มีการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546
**ร้อยเอก**
**(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)**
**รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง**
**ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์** | 4,133 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสำคัญแสดงสิทธิและหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ และการอนุญาต (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 8/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิ
และหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ
และการอนุญาต
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 และข้อ 7 ทวิ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิ และหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิ และหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ และการอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 นอกจากกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ และหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบ 35-3 ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามข้อ 7 ทวิ โดยต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตนั้นด้วย
บริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 ซึ่งยื่นคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ จะไม่จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตก็ได้
(1) เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้น
(2)กําหนดวันใช้สิทธิครั้งแรกจะเกิดขึ้นหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว และ
(3)ไม่มีการเรียกชําระราคาใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นจากผู้ถือหุ้น
บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ และหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ และหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ แล้วแต่กรณี
ข้อ 7 ทวิ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตให้มีดังต่อไปนี้
(1) เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เอกสารที่มีข้อมูลอย่างเดียวกับ “ส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” และ “ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์” ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ จํานวนห้าชุด สําหรับการขออนุญาตในกรณีอื่นนอกจาก (ข)
(ข) เอกสารที่มีข้อมูลอย่างเดียวกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับกับหลักทรัพย์ประเภทนี้ ซึ่งกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ จํานวนห้าชุด สําหรับการขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 7 วรรคสอง
ในกรณีที่บริษัทยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นมานั้นเป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตาม (1)(ก) หรือ (ข) แล้ว
(2) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งที่มีการพิจารณาให้ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(3) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ออกหุ้นกู้เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
(4) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(5) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์
(6) สําเนาข้อบังคับของบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
(7) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,134 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 31/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ
“ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามประกาศนี้ และประกาศ ที่ กน. 46/2541 แต่ทั้งนี้
(1) มิให้นําความในข้อ 12 และข้อ 23 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541 มาใช้บังคับ
(2) ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันหรือสั่งการให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 24 วรรคหนึ่ง วรรคสอง ข้อ 26 ข้อ 31ข้อ 40 ข้อ 41 และข้อ 42 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541 เป็นประการอื่นได้
ข้อ ๓ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการที่ประสงค์จะยื่นคําขอดังกล่าวต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน การยื่นคําขอดังกล่าวอาจยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนปิดหรือกองทุนเปิดก็ได้
ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใดมิได้เป็นสมาชิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่บริษัทจัดการประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์นั้น ให้บริษัทจัดการจัดให้มีข้อความระบุไว้ในร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดังกล่าวสามารถฝากหลักทรัพย์ในต่างประเทศโดยทําสัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน ซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนดเป็นตัวแทนในการทําหน้าที่ฝากหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
ข้อ ๕ เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศแล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อขอให้พิจารณารับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ ๖ ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งไม่รับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้เพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว
(ก) ยุติการรับคําสั่งซื้อ และคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการสั่งไม่รับหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจากตลาดหลักทรัพย์ สําหรับกรณีกองทุนเปิด
(ข) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนรวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการสั่งไม่รับหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจากตลาดหลักทรัพย์
(ค) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการสั่งไม่รับหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
(ง) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (ค)ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการสั่งไม่รับหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจากตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น
เมื่อได้ดําเนินการตาม (ก) ถึง (ง) แล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตาม (ค) ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม
ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศตามข้อ 8 เว้นแต่ ในกรณีเป็นการฝากเงินของกองทุนรวมไว้ในบัญชีเงินฝากในประเทศเพื่อสํารองเงินไว้สําหรับการดําเนินงานของกองทุนรวม รอการลงทุน รักษาสภาพคล่องของกองทุน หรือสําหรับการอื่นใดอันมีลักษณะทํานองเดียวกันนี้
ข้อ ๘ ในการจัดการลงทุน ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือ ตราสารทางการเงินอื่นใด หรือหาดอกผลโดยการฝากเงิน ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์หรือตราสารการเงินอื่นใดและผู้รับเงินฝากต้องเป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศที่มีหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือของประเทศที่มีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ Federation International des Bourses de Valeurs (FIBV) ทั้งนี้ หากเป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้น หุ้นดังกล่าวต้องเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ Federation International des Bourses de Valeurs (FIBV) ด้วย
ธุรกรรมการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใด หรือธุรกรรมการฝากเงินตามวรรคหนึ่งต้องเกิดขึ้นในประเทศที่มีหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือในประเทศที่มีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ Federation International des Bourses de Valeurs (FIBV)
ข้อ ๙ การลงทุนตามข้อ 8 ต้องเป็นไปตามอัตราส่วนและข้อกําหนดที่สํานักงานประกาศกําหนด เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการขอจัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนตามที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยระบุความประสงค์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการที่ยื่นขอต่อสํานักงานและในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม รวมทั้งมีคําเตือนเป็นพิเศษเกี่ยวกับความเสี่ยงของกองทุนรวมดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนด้วย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศให้เป็นกองทุนรวมที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการนั้น และได้แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบถึงความเสี่ยงของการไม่ดํารงอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวก่อนการลงมติในเรื่องดังกล่าวแล้ว
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,135 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 40/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 40/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” และคําว่า “วันทําการ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ดูแลผลประโยชน์” และคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้
““วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
“วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) มิให้นําความในข้อ 12 ข้อ 23 ข้อ 27 และข้อ 29 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541 มาใช้บังคับ”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 4/1 ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) รับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีตามข้อ 9/1 แห่งประกาศนี้ และข้อ 30 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541 หรือกรณีอื่นใดที่บริษัทจัดการได้สงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุนให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ
(2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดดังกล่าว เว้นแต่กรณีตามข้อ 9/1 แห่งประกาศนี้ โดยให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(3) ชําระเงินให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดดังกล่าว เว้นแต่กรณีตามข้อ 28 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541
ทั้งนี้ ใบคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนต้องมีข้อความที่เป็นคําเตือนอย่างน้อยดังนี้“ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กําหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคําสั่งไว้””
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ในการจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศตามข้อ 8 เว้นแต่กรณีที่เป็นการฝากเงินของกองทุนรวมไว้ในบัญชีเงินฝากในประเทศ หรือการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีอายุคงเหลือต่ํากว่า 1 ปี ที่ออกหรือเสนอขายในประเทศไทย เพื่อสํารองเงินไว้สําหรับการดําเนินงานของกองทุนรวม รอการลงทุน รักษาสภาพคล่องของกองทุนรวม หรือสําหรับการอื่นใดอันมีลักษณะทํานองเดียวกันนี้”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
“ข้อ 9/1 บริษัทจัดการอาจไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ซึ่งบริษัทจัดการได้กําหนดไว้ในโครงการ
(1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(2) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อ 8 ที่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ที่ลงทุนในต่างประเทศ ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(3) เกิดเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ
(4) เมื่อบริษัทจัดการโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศได้อย่างสมเหตุสมผล ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หรือมีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในกรณีนี้ได้ไม่เกินหนึ่งวันทําการ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
เมื่อปรากฏเหตุตามวรรคหนึ่ง และบริษัทจัดการประสงค์ที่จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้ว หรือประสงค์ที่จะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการประกาศการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือประกาศการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนและแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนทราบโดยพลัน และให้บริษัทจัดการรายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตาม (1) (2) (3) หรือ (4) เกินหนึ่งวันทําการ ให้บริษัทจัดการรายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้น ให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน รวมทั้งแจ้งการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบในทันทีที่สามารถกระทําได้ด้วย
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้วหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจหยุดคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืน
หน่วยลงทุนก็ได้”
### ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,136 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 30/2544 เรื่อง การผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 30 /2544
เรื่อง การผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจพิจารณาการขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 9 และข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สําหรับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามแนวทางการดําเนินการกับธนาคารนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารศรีนคร จํากัด (มหาชน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
20 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตามความจําเป็นและสมควร ตลอดจนกําหนดข้อปฏิบัติหรือเงื่อนไขใด ๆ ด้วยก็ได้
การขอผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอํานาจพิจารณาการขอผ่อนผันและกําหนดข้อปฏิบัติหรือเงื่อนไขใด ๆ เพิ่มเติมได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,137 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 8/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 8/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ตอน ๒ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 46/2541 ยกเว้น ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 46(1) (2) ข้อ 49 และข้อ 50 มิให้นํามาใช้บังคับ
ข้อ ๓ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงการใดแล้วหากปรากฏว่าจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ประชาชนได้ไม่ถึงสิบราย ให้บริษัทจัดการยุติการจําหน่ายหน่วยลงทุนและให้ถือว่าการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง และให้บริษัทจัดการแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการต้องชําระดอกเบี้ยให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการชําระเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนครบถ้วน
ข้อ ๔ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรวมในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจัดการหรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุนไว้ในคําขอเปิดบัญชีเพื่อซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ
(2) แจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดตาม (1)
ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1)คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน
(2)ชื่อ ประเภท อายุโครงการ (ถ้ามี) และวัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดอายุโครงการ (ถ้ามี)
(3)ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(4)เลขที่ใบหน่วยลงทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ
(5)วัน เดือน ปี ที่ออกใบหน่วยลงทุน
(6)ชื่อบริษัทจัดการ
(7)ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์
(8)ข้อจํากัดว่าจะนําหน่วยลงทุนไปจําหน่ายจ่ายโอน จํานําหรือนําไปเป็นประกันมิได้
(9)ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการ และตราประทับของบริษัทจัดการ(ถ้ามี) หรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในใบหน่วยลงทุนตาม (2) (3) (4) (6) และ (7)ให้บริษัทจัดการดําเนินการยกเลิกและเปลี่ยนใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๖ บริษัทจัดการอาจกําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่า จะออกหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแทนการออกใบหน่วยลงทุนก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้บริษัทจัดการต้องออกหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน หรือปรับปรุงรายการในสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้เป็นปัจจุบัน และส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ
หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ประเภท และอายุโครงการ (ถ้ามี) และวัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดอายุโครงการ (ถ้ามี)
(2) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(3) ประเภทของหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(4) วัน เดือน ปี ที่ซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน
(5) จํานวนหน่วยลงทุนหรือจํานวนเงินที่ซื้อหรือขายคืนแต่ละครั้ง และจํานวนหน่วยลงทุนคงเหลือ
(6) ชื่อบริษัทจัดการ
(7) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์
(8) ข้อจํากัดว่าจะนําหน่วยลงทุนไปจําหน่ายจ่ายโอน จํานํา หรือนําไปเป็นประกันมิได้
(9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามรับรองเพื่อบริษัทจัดการ
ข้อ ๗ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๘ ห้ามมิให้บริษัทจัดการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการจัดการกองทุนรวมให้สํานักงานหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,138 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 28/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 28/2544
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “สมาคม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “นายทะเบียน” และ “สํานักงาน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้
““สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการจัดการกองทุนรวมให้สํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนให้
ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,139 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 64/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 64/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทน
รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 49/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 บริษัทหลักทรัพย์อาจตั้งตัวแทนเพื่อรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดแทนตนได้ เฉพาะตัวแทนที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ดําเนินธุรกิจให้บริการรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ได้”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 49/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากผู้ลงทุนนอกเหนือจากที่ผู้ลงทุนมีหน้าที่ต้องชําระต่อบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเรียกเก็บค่าบริการที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอาจเรียกได้เนื่องจากการประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือการประกอบธุรกิจเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,140 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 63/2543 เรื่อง การจัดทำบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 63/2543
เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์
ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2541 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงบการเงินตั้งแต่งวดบัญชีสิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,141 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 3/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 3/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์
==========================================================
เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 98(7)(ข) และมาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในการซื้อขายหรือจัดให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีบัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ไว้เป็นการเฉพาะ โดยให้แบ่งแยกประเภทบัญชีในการลงทุนแต่ละคราวให้ชัดเจนว่าเป็นประเภท “การลงทุนชั่วคราว” (short-term investment portfolio) หรือ “การลงทุนระยะยาว” (long-term investment portfolio) โดยให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป
ข้อ 4 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนวัตถุประสงค์หรือประเภทบัญชีในการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีโดยปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) หลักเกณฑ์การโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนชั่วคราวกับบัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนระยะยาว”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อจํากัดผลขาดทุนจากการลงทุนชั่วคราว”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,142 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 60/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 60/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์
เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 98(7) (ข) และมาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับใบอนุญาต ไม่ว่าจะกระทําโดยตนเองหรือผ่านการลงทุนในกิจการของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุนทั้งหมดของกิจการของบุคคลอื่นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทั้งนี้ ไม่ให้ถือว่าการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินเพื่อการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์เป็นการประกอบกิจการอื่น
เมื่อเป็นกรณีการลงทุนในกิจการของบุคคลอื่นที่ไม่เกินสัดส่วนที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเป็นกรณีการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินเพื่อการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้นได้โดยถือว่าได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามมาตรา 98(7)(ข) แล้วด้วย”
ข้อ 2 บริษัทหลักทรัพย์ใดลงทุนในกิจการของบุคคลอื่นที่มิใช่กิจการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบได้ตามมาตรา 98(8)ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุนทั้งหมดของกิจการของบุคคลอื่นอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นยื่นขอรับอนุญาตประกอบกิจการอื่นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ผ่านสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอื่นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในกิจการของบุคคลอื่นให้เหลือไม่เกินร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดของกิจการของบุคคลอื่นนั้น หรือเลิกการประกอบกิจการในประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาต ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ไม่อนุญาตดังกล่าว
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,143 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 38/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 38/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์
เพื่อบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 98(3) และมาตรา 98(7)(ข) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 22/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 3/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 60/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังนี้ แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(4) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
“รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์” หมายความว่า บทความหรืองานวิจัยที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําขึ้นเพื่อให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์ ความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัท ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้นได้โดยถือว่าได้รับผ่อนผันจากสํานักงานตามมาตรา 98(7)(ข) แล้ว แต่ในกรณีที่การลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 98(8) ด้วย
ข้อ ๔ ในการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัท บริษัทหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อนประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์ โดยต้องซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของลูกค้าก่อนบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ เว้นแต่คําสั่งของลูกค้าจะกําหนดเงื่อนไขในการซื้อขายหลักทรัพย์ไว้ชัดเจนเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๕ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัทโดยแสวงหาประโยชน์จากการเป็นผู้จัดทํารายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยแสวงหาประโยชน์จากการเป็นผู้จัดทํารายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วย เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร และการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน
(1) บริษัทหลักทรัพย์มีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัทในระหว่างการจัดทํารายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือภายในสามวันทําการตั้งแต่วันที่รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้เผยแพร่ต่อผู้ลงทุน และ
(2) บริษัทหลักทรัพย์ไม่มีระเบียบวิธีปฏิบัติหรือไม่ได้ควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องควบคุมดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําและเก็บรักษาเอกสารหรือรายงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์และรายงานเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของบริษัทไว้อย่างครบถ้วนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีการจัดทําเอกสารหรือรายงาน
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ใดไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือสํานักงานเห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์อาจได้รับความเสียหายจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหรือมีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน การเปิดเผยข้อมูล หรือการกระทําอื่นที่เกี่ยวข้องได้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,144 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 52/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพยฺ์ที่ออกใหม่ พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียน เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 52/2543
##### เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับ
##### การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อ
##### ปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 247 และมาตรา 248 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
##### ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ท้ายบทนิยามคําว่า
##### “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543
““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
##### ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543
“นอกจากการยื่นแบบ 69/247-1 ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นแบบ 69/247-1 ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ แบบ 69/247-1 ที่ผู้ได้รับอนุญาตยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
=====================================================================
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,145 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 26/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศบริษัทร่วมบริษัทย่อยหรือสาขาของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 26/2543
เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่
กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย
หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 64 มาตรา 67มาตรา 69 และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 41 /2541 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยในประเทศไทย ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ
“หน่วยงานที่กํากับดูแลการเสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่กํากับดูแลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในตลาดแรกหรือตลาดรองของประเทศที่หุ้นของบริษัทต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้น
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ซึ่งออกโดยบริษัทต่างประเทศ
“ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศนั้นเอง
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของบริษัทต่างประเทศ หรือกรรมการของบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย
“พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของบริษัทต่างประเทศ หรือพนักงานของบริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย
“บริษัทย่อย” หมายความว่า
(1) บริษัทที่บริษัทต่างประเทศถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) บริษัทที่บริษัทตาม (1) ถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(3) บริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงของบริษัทตาม (2) ในบริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยการถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมนั้น
(4) บริษัทที่บริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทตาม (1) (2) หรือ (3) ถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
“บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทที่บริษัทต่างประเทศหรือบริษัทย่อยถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินกว่าร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
“การเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานในวงจํากัด” หมายความว่า
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่มีจํานวนไม่เกินสามสิบห้ารายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ
(2) การเสนอขายหุ้นให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่มีมูลค่าการเสนอขายไม่เกินยี่สิบล้านบาทในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
“แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
“การปิดการขาย” หมายความว่า การที่บริษัทต่างประเทศได้ขายหลักทรัพย์ตามที่เสนอขายไว้ทั้งหมดแล้ว หรือโครงการสิ้นสุดอายุแล้ว
“โครงการ” หมายความว่า โครงการให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงาน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ส่วน ๑ การขออนุญาตและการอนุญาต
ข้อ ๔ บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยให้อยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้
ข้อ ๕ การเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 4 โดยบริษัทต่างประเทศซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ให้กระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
(1) (ก) บริษัทต่างประเทศซึ่งมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่มีหน่วยงานที่กํากับดูแลการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือ
(ข) บริษัทต่างประเทศซึ่งมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ Federation Internationale des Bourses de Valeurs (FIBV) และ
(2) บริษัทต่างประเทศมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสาธารณชนตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานหรือองค์การตาม (1) แล้ว
ข้อ ๖ บริษัทต่างประเทศที่มิใช่บริษัทตามข้อ 5 จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 4 ก็ต่อเมื่อสามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่า
(1) การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทต่างประเทศอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานหรือองค์การซึ่งมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการคุ้มครองผู้ถือหลักทรัพย์ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญไม่ต่างจากการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทต่างประเทศตามข้อ 5(1)(ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี
(2) บริษัทต่างประเทศมีการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานหรือองค์การตาม (1) แล้ว
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งไปยังบริษัทต่างประเทศโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๗ ในกรณีที่หลักทรัพย์ตามข้อ 5 หรือข้อ 6 เป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิแล้ว ให้ถือว่าบริษัทต่างประเทศนั้นได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย
ส่วน ๒ การเปิดเผยข้อมูลก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์
ข้อ ๘ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานในวงจํากัดให้บริษัทต่างประเทศดําเนินการดังต่อไปนี้ ก่อนการเสนอขาย
(1) แต่งตั้งบุคคลในประเทศไทยเพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศในการติดต่อกับสํานักงานและผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศซึ่งอยู่ในประเทศไทย และในการดําเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว
(2) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานจํานวนสามชุด
(3) จัดให้มีสําเนาเอกสารตาม (2) ไว้ ณ สถานที่ตั้งของบุคคลที่เป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศตาม (1) หรือ ณ สถานประกอบการที่กรรมการหรือพนักงานปฏิบัติงานอยู่ เพื่อแจกจ่ายแก่กรรมการหรือพนักงาน หรือเพื่อให้กรรมการหรือพนักงานตรวจดูได้
(4) จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน และเอกสารอื่นใดที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ เพื่อทําหน้าที่ตอบข้อซักถามของกรรมการหรือพนักงานเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวในระหว่างเวลาทําการ ตั้งแต่วันที่บริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานจนถึงวันที่ยกเลิกโครงการก่อนการขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงานหรือวันที่ปิดการขาย แล้วแต่กรณี
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่บริษัทต่างประเทศซื้อคืนมาจากผู้ถือหลักทรัพย์ (treasury stock) เฉพาะกรณีที่บริษัทต่างประเทศนั้นเป็นบริษัทตามข้อ 5 หรือแสดงได้ว่าเป็นบริษัทตามข้อ 6
ข้อ ๙ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 8 ให้ประกอบด้วยเอกสารและข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) เอกสารที่ปรากฏรายละเอียดของข้อมูลอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดไว้ในมาตรา 69(1) ถึง (10) หรือมาตรา 71(1) ถึง (4) แล้วแต่กรณี
(2) เอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ และฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งบริษัทต่างประเทศต้องยื่นต่อหน่วยงานหรือองค์การตามข้อ 5 หรือข้อ 6 เพื่อเปิดเผยต่อสาธารณชน
(3) ลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทต่างประเทศเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
(4) เอกสารที่แสดงว่าบริษัทต่างประเทศได้แต่งตั้งบุคคลในประเทศไทยเป็นตัวแทนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 8(1)
ในกรณีที่เอกสารตาม (2) มีรายละเอียดของข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารตาม (1) ครบถ้วน ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นประกอบด้วยเอกสารตาม (1) แล้ว
ในกรณีที่เอกสารตาม (1) (2) หรือ (4) เป็นภาษาต่างประเทศอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ ให้บริษัทต่างประเทศจัดให้มีคําแปลเอกสารดังกล่าวเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยรับรองความถูกต้องของคําแปลและยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 8 มีผลใช้บังคับในวันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนครบถ้วนตามที่กําหนด
(2) ในวันทําการถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนครบถ้วนตามที่กําหนด ในกรณีที่ระยะเวลาที่ให้กรรมการหรือพนักงานซื้อหรือใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์จะเริ่มขึ้นเมื่อพ้นเวลาอย่างน้อยสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนครบถ้วนตามที่กําหนด
ข้อ ๑๑ ร่างหนังสือชี้ชวนที่บริษัทต่างประเทศต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 8 ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 72
ส่วน ๓ การเปิดเผยข้อมูลและหน้าที่ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์
ข้อ ๑๒ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานในวงจํากัด นับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของบริษัทต่างประเทศที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามส่วนที่ 2 มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งงบการเงิน รายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานและรายงานเหตุการณ์สําคัญที่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งบริษัทต่างประเทศต้องยื่นต่อหน่วยงานหรือองค์การตามข้อ 5 หรือข้อ 6 และรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลโดยผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทต่างประเทศ ให้แก่สํานักงานจํานวนสองชุด
(2) จัดให้มีสําเนาเอกสารตาม (1)ไว้ ณ สถานที่ตั้งของบุคคลที่เป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศตามข้อ 8(1) หรือ ณ สถานประกอบการที่กรรมการหรือพนักงานปฏิบัติงานอยู่
ทั้งนี้ ให้บริษัทต่างประเทศปฏิบัติตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทต่างประเทศยื่นเอกสารดังกล่าวต่อหน่วยงานหรือองค์การตามข้อ 5 หรือข้อ 6
ในกรณีที่เอกสารตาม (1) เป็นภาษาต่างประเทศอื่นนอกจากภาษาอังกฤษให้บริษัทต่างประเทศจัดให้มีคําแปลเอกสารดังกล่าวเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยรับรองความถูกต้องของคําแปลและยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารดังกล่าว
ข้อ ๑๓ ให้บริษัทต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่ตามข้อ 12 เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้
(1) เมื่อบริษัทต่างประเทศยกเลิกโครงการก่อนการขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงาน
(2) เมื่อปิดการขาย ให้บริษัทต่างประเทศแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานก่อนถึงกําหนดเวลาส่งงบการเงินและรายงานต่าง ๆ ของบริษัทตามข้อ 12
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีการออกใบหลักทรัพย์ ให้บริษัทต่างประเทศส่งมอบใบหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหลักทรัพย์โดยปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 88
ข้อ ๑๕ ให้บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้รายงานผลการขายหลักทรัพย์โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,146 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 49/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศบริษัทร่วมบริษัทย่อยหรือสาขาของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 49/2543
เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่
กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม
บริษัทย่อยหรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 56 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “โครงการ” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
“นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้บริษัทต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งและคําแปลเอกสารดังกล่าวตามวรรคสามต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่บริษัทต่างประเทศยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
“นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้บริษัทต่างประเทศยื่นเอกสารตาม (1) และคําแปลเอกสารดังกล่าวตามวรรคสามต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่บริษัทต่างประเทศยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,147 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 48/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 48/2543
##### เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย
##### หลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
##### ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” กับคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 1 แห่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2538 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
##### ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2538 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
“นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้บุคคลตามข้อ 3 ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่บุคคลตามข้อ 3 ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,148 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 36/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 36/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ
เข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538
“(6) กรณีที่ได้หุ้นมาเนื่องจากการเป็นผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,149 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 50/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 50/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์
เพื่อครอบงํากิจการ
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 247 มาตรา 248 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กิจการ” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือ ประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 45/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538
“ข้อ 45/1 ให้บุคคลที่ได้ยื่นรายงานหรือข้อมูลดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานในรูปเอกสาร
สิ่งพิมพ์ ส่งรายงานหรือข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย
(1) การประกาศเจตนาในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 247-3
(2) การยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 247-4
(3) การประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 247-5
(4) การประกาศขยายระยะเวลารับซื้อ การประกาศแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ การประกาศข้อเสนอสุดท้าย หรือการประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย ตามแบบ 247-6
(5) การแจ้งจํานวนและสัดส่วนของหลักทรัพย์ที่มีผู้แสดงเจตนาขาย ตามแบบ 247-6
(6) การรายงานผลการซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 256-2
(7) การแจ้งยกเลิกคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามข้อ 40(2)
รายงานหรือข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,150 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 23/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 23 /2543
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่
เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “การใช้สิทธิแปลงสภาพ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “หุ้นกู้แปลงสภาพ” และคําว่า “บริษัทที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
““การใช้สิทธิแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงสภาพแห่งสิทธิในหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น ไม่ว่าการแปลงสภาพดังกล่าวจะเกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือเกิดจากข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดที่เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่นั้น
(2) มีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิดังกล่าว ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวมิได้มีข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ
ทั้งนี้ สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพตามวรรคหนึ่งไว้เป็นอย่างอื่นสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนใต่างประเทศก็ได้”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4 ทวิ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535
“ข้อ 4 ทวิ ในกรณีที่บริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ตามข้อ 4 โดยหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ดังกล่าวมีข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ บริษัทต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงถึงความเสี่ยงของผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพอันเนื่องมาจากข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ ในลักษณะต่อไปนี้ในเอกสารที่โฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ “หุ้นกู้แปลงสภาพฉบับนี้มีข้อกําหนดที่ให้สิทธิบริษัทที่ออกหุ้นกู้บังคับให้ผู้ถือหุ้นกู้ต้องแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กําหนดในเอกสารที่โฆษณาชี้ชวน ดังนั้น ผู้ที่จะซื้อหุ้นกู้จึงควรตระหนักว่าในกรณีที่มีการบังคับการแปลงสภาพ ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับชําระหนี้เป็นหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ตามราคาและอัตราแปลงสภาพที่กําหนดไว้เท่านั้น” ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2539เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“บริษัทมหาชนจํากัดที่ยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ต่อเมื่อมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ (แต่ละประเภท) ที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่นั้นต้องไม่มีข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
=============================
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
========================================================= | 4,151 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 22/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ประเภทใบสำคัญแสดงสิทธิ และหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ และการอนุญาต (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 22 /2543
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นหรือ
หุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ และการอนุญาต
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 และข้อ 4 ทวิ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิและการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิและการอนุญาต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในลักษณะดังต่อไปนี้ เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นดังกล่าวได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
(1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสามสิบห้าราย ภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวม
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว ตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) โดยอนุโลม
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิตามที่บริษัทมหาชนจํากัดได้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธินั้นในมูลค่าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบริษัทนั้นได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย
ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง รายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้นในแต่ละครั้ง เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นอาจใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้บริษัทรายงานผลการใช้สิทธิภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ โดยให้ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้สิทธิและจํานวนหุ้นที่ได้ใช้สิทธิ
ข้อ 4 ทวิ การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นหรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิตามข้อ 7 มิให้ถือเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 4(2)
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม ให้การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 4(2)
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ให้กองทุนรวมเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายนั้นในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐาน และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะในครั้งนั้นได้
=================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
====================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม”
===============================================================================================================
ข้อ 2 ในกรณีที่บริษัทมหาชนจํากัดใดซึ่งมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและไม่เป็นบริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว พร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบริษัทมหาชนจํากัดนั้นได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวจากสํานักงานแล้ว ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิและการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิและการอนุญาต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,152 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 20 /2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุน หรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น เพื่อบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 20/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนใน
หรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เงินฝาก บัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้รับฝาก หรือเป็นผู้ออก แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ที่เป็นการลงทุนในทอดแรก
(2) บัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
เป็นผู้ออก ที่เป็นการลงทุนในตลาดรอง”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,153 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 5/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 5/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539
“ข้อ 7/1 ในกรณีที่กองทุนรวมทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนบริษัทใดบริษัทหนึ่งรวมกันถึงจํานวนที่ต้องรายงานการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวโดยระบุชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และวันที่ได้มาซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าว ส่งให้สํานักงานพร้อมกับการยื่นรายงานการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วย”
ข้อ 2 ภายในระยะเวลาสามปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 7 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ตามความจําเป็นและสมควร ตลอดจนกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ปฏิบัติด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทจดทะเบียนอันเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,154 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 18/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 18/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
(ฉบับที่ 4 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เมื่อผู้ลงทุนจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการรับผิดชอบดําเนินการอยู่หรือที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง เพื่อการลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนผ่านผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการมอบหมายให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนเพื่อกองทุนรวม และเมื่อกองทุนรวมได้รับจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนรวมทั้งมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนในจํานวนเดียวกับจํานวนหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ไม่สามารถซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนได้ ให้บริษัทจัดการมอบหมายให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแก่ผู้ลงทุน และหากบริษัทจดทะเบียนไม่ดําเนินการยื่นคําขอให้ตลาดหลักทรัพย์รับหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนภายในระยะเวลาเดียวกันกับที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้บริษัทจดทะเบียนยื่นคําขอให้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือตลาดหลักทรัพย์ไม่รับหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้บริษัทจัดการดําเนินการบังคับไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามจํานวนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับจากการจองซื้อตามวิธีการที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,155 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 13/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจำกัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 13 /2543
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
และการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ
หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 17 ให้นําข้อ 13 ถึงข้อ 20 แล้วแต่กรณี แห่งประกาศหุ้น มาใช้บังคับกับการอนุญาตให้ออกหุ้นที่เสนอขายแก่กรรมการ พนักงาน หรือผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ที่มิใช่การเสนอขายหุ้นแก่กรรมการหรือพนักงานในวงจํากัดโดยอนุโลม"
ข้อ 2 บริษัทมหาชนจํากัดใดได้ยื่นคําขออนุญาตออกหลักทรัพย์ต่อสํานักงานและสํานักงานยังมิได้แจ้งผลการพิจารณาก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สํานักงานดําเนินการพิจารณาคําขออนุญาตต่อไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,156 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 22/2542 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 22/2542
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 51 ทวิ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537
“ข้อ 51 ทวิ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ผู้ออกหุ้นกู้อาจยื่นคําขอต่อสํานักงานให้ผ่อนผันคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อ 51(4) และจะได้รับการผ่อนผันต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัด
(2) ผู้ออกหุ้นกู้สามารถแสดงได้ว่าผู้ถือหุ้นกู้ได้รับทราบและยินยอมให้แต่งตั้งบุคคลที่ขอความเห็นชอบเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) ผู้ออกหุ้นกู้สามารถแสดงได้ว่าความเกี่ยวข้องหรือการมีส่วนได้เสียของบุคคลที่ขอความเห็นชอบเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นที่อาจเป็นผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในอนาคต
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันได้และในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นอันสิ้นสุดลง”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,157 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 10/2543 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 10/2543
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต
และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17 เบญจ ข้อ 17 ฉ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2537
==========================================================================================================================================================================================================================================
“ข้อ 17 เบญจ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตตามความในส่วนนี้ดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 17 ฉ
(1) จัดให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการเสนอขาย เว้นแต่ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือถึงสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุผลอันสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานใดๆ ที่แสดงว่าได้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (1) ให้แก่สํานักงานมาพร้อมกับรายงานผลการขายหุ้นกู้
(3) จัดให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (1) ตลอดอายุหุ้นกู้
ข้อ 17 ฉ ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับอนุญาตไม่จําต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 17 เบญจ
(1) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่มีมูลค่าที่เสนอขายไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขายให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์ หรือ
(2) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ไม่ว่าผู้ลงทุนดังกล่าวจะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 9(2) หรือไม่ก็ตาม และผู้ได้รับอนุญาตได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วยแล้ว
(ก) จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังกล่าวต่อสํานักงานในแต่ละครั้งก่อนที่ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้น และ
(ข) ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีข้อความตามข้อ 16(1) ในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง โดยข้อความดังกล่าวเป็นการสงวนสิทธิที่จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะทําให้มีจํานวนผู้ถือหุ้นกู้ในแต่ละรุ่น ณ ขณะใดขณะหนึ่งเกินกว่าสิบรายไม่ว่าผู้ลงทุนในหุ้นกู้จะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 9(2) หรือไม่ก็ตาม
(3) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับอนุญาตอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ และผู้ได้รับอนุญาตได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วยแล้ว
(ก) จดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้โดยระบุชื่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ดังกล่าวซึ่งจะสามารถเป็นผู้รับโอนหุ้นกู้ได้ต่อสํานักงานแล้ว
(ข) ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีข้อความตามข้อ 16(1) ในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้งโดยข้อความดังกล่าวเป็นการสงวนสิทธิที่จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใดๆ หากการโอนนั้นจะทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เป็นบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่บุคคลตามรายชื่อที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ตาม (ก)
(4) เป็นกรณีที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่าการเสนอขายและการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะจํากัดอยู่ในบุคคลที่มีลักษณะที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ และบุคคลดังกล่าวไม่ประสงค์จะได้รับผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ ในการผ่อนผันดังกล่าว สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขที่ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19 เบญจ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2537
“ข้อ 19 เบญจ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 19 ทวิ ดําเนินการให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยปฏิบัติตาม (1) (2) และ (3) ของข้อ 17 เบญจ โดยอนุโลม”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2537
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2537 และให้ใช้ความในข้อต่อไปนี้แทน
“ข้อ 26 ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามความในส่วนนี้ ดําเนินการดังนี้
(1) จัดให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการเสนอขาย เว้นแต่ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือถึงสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุผลอันสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น กระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) จัดให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (1) ตลอดอายุหุ้นกู้”
ข้อ 5 ความในข้อ 1 แห่งประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจํากัด ซึ่งเป็นหุ้นกู้ประเภทหุ้นกู้มีประกัน หรือหุ้นกู้ไม่มีประกันที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ได้รับอนุญาตได้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ดังกล่าวไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(2) ผู้ได้รับอนุญาตได้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่พร้อมทั้งเอกสารหลักฐาน
ที่ถูกต้องและครบถ้วนต่อสํานักงานแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ไม่ว่าสํานักงานจะแจ้งการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นก่อนหรือหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวเสนอขาย หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นแล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,158 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 2/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 2/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บัญชีหลักทรัพย์เพื่อการค้า” และคําว่า “บัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้บทนิยามดังต่อไปนี้แทน
““บัญชีหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจค้าหลักทรัพย์” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการหลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ หรือคงเหลือจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ ไม่ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวจะได้มาหรือจําหน่ายไปโดยวิธีใด
“บัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์นั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนชั่วคราวหรือการลงทุนระยะยาว ตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน(1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) จัดให้มีบัญชีหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจค้าหลักทรัพย์แยกจากบัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่
17 พฤษภาคม 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีบัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน และประสงค์จะโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจค้าหลักทรัพย์กับบัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีโดยปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) หลักเกณฑ์การเลือกหลักทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจค้าหลักทรัพย์
(2) หลักเกณฑ์การโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจค้าหลักทรัพย์กับบัญชีหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,159 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 7/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 7/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 และข้อ 5/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
"ข้อ 5/1 ในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้แก่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยตามหลักเกณฑ์ ที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ 5/2 ในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าหลักทรัพย์
ผู้รับผิดชอบตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย"
ข้อ 2 ภายในหกเดือนนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทหลักทรัพย์จะแต่งตั้งผู้ที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าหลักทรัพย์ก็ได้
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,160 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558 เพื่อแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ได้กําหนดไว้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (32) และ (33) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(32) นายแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต กรมอนามัย และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา”
“(33) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการเผยแพร่ นักประชาสัมพันธ์ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักจัดการงานทั่วไป สังกัดกรมควบคุมโรค”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (12) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(12) ข้าราชการและพนักงานราชการ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 - 12 สังกัดกรมควบคุมโรค”
ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 4,161 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กําหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ พ.ศ. 2561
-------------------------------------------------------
ปัจจุบันการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในร้านค้าสะดวกซื้อ อันเป็นการจูงใจให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ทําให้เด็ก เยาวชนและประชาชนเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุ และอาชญากรรมโดยรวมของสังคม
เพื่อให้การกําหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 (8) และมาตรา 30 (6) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้
“เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” หมายความว่า อุปกรณ์ หรือหัวจ่าย หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ระบบหรือกลไกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สามารถบริโภคได้ทันที
“ร้านค้าสะดวกซื้อ” หมายความว่า ร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าหรือบริการโดยตรง เพื่อความสะดวกและสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีลักษณะของสถานประกอบการขายสุราของผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 2
ข้อ ๒ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณ ดังต่อไปนี้
(1) ร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นการประกอบกิจการโดยบุคคลธรรมดา
(2) ร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นการประกอบกิจการโดยนิติบุคคล
(3) ร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นการประกอบกิจการ โดยได้รับความยินยอมให้ใช้สิทธิในการประกอบกิจการจากผู้ให้สิทธิ
ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 4,162 |
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง
ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
--------------------------------------------
เพื่อให้การโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปด้วยความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติการกําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําหนดขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจงานด้านควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคเก้า แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกเอกสารแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2552 ข้อ 1.4 (7) และใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ระบบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง ระบบท่อและอุปกรณ์ตามวาระ
(7.1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการครบ 10 ปี ให้แจ้งต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอให้ทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ระบบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง ระบบท่อและอุปกรณ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแจ้งต่อไปยังกรมธุรกิจพลังงาน หรือสํานักงานพลังงานจังหวัด แล้วแต่กรณี
(7.2) กรมธุรกิจพลังงาน หรือสํานักงานพลังงานจังหวัด แล้วแต่กรณี จะส่งเจ้าหน้าที่ไปดําเนินการตาม (2)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
เมตตา บันเทิงสุข
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน | 4,163 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 (1) ข้อ 11 (2) ข้อ 14 (2) และ (3) ข้อ 17 (2) และ (3) และข้อ 20 (1) แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
หมวด ๑ บททั่วไป
-------------------------------------
ข้อ ๓ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
ข้อ ๔ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคต้องเป็นลูกจ้างซึ่งนายจ้างได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
ข้อ ๕ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงต้องเป็นลูกจ้างที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า
(2) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า และได้ทํางานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
ข้อ ๖ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพต้องเป็นลูกจ้างที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และได้ทํางานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (2) ต้องเข้ารับการฝึกอบรมและได้รับใบรับรองตามข้อ 15 วรรคสอง ภายในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ข้อ ๗ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับบริหาร หรือนายจ้าง
ข้อ ๘ ให้นายจ้างส่งผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 ถึงข้อ 7 แล้วแต่กรณี เข้ารับการฝึกอบรมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามข้อ 17 พร้อมยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานดังกล่าว
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือสําเนาหนังสือเดินทางของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(2) สําเนาเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(3) หนังสือรับรองการเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหาร สําหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหาร แล้วแต่กรณี
(4) หนังสือรับรองการเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน สําหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารให้นายจ้างยื่นเอกสารตาม (1) และ (2) พร้อมเอกสารแสดงความเป็นนายจ้าง เช่น หนังสือรับรอง
การจดทะเบียนนิติบุคคล ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานตามวรรคหนึ่ง
หมวด ๒ หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
-------------------------------------------
ข้อ ๙ หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับ ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๑๐ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานในแต่ละหลักสูตรตามข้อ 9 ต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้
(1) ไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง สําหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
(2) ไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง สําหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค
(3) ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบชั่วโมง สําหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง
(4) ไม่น้อยกว่าสี่สิบสองชั่วโมง สําหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ
(5) ไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง สําหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
หมวด ๓ การประเมินผล การทดสอบ และการรับรองผลการฝึกอบรม
-----------------------------------------------------------
ข้อ ๑๑ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานระดับเทคนิค หรือระดับบริหารต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรตามข้อ 9 และได้รับการประเมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
ข้อ ๑๒ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของระยะเวลาการฝึกอบรมในแต่ละหมวดวิชาของหลักสูตรตามข้อ 9 และได้รับการประเมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน รวมทั้งต้องผ่านการทดสอบตามข้อ 14
ข้อ ๑๓ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรตามข้อ 9 และได้รับการประเมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน รวมทั้งต้องผ่านการทดสอบตามข้อ 14
ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานส่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพเข้ารับการทดสอบจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรองให้เป็นหน่วยงานทดสอบ ตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด
การทดสอบหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง ประกอบด้วยข้อสอบปรนัย และข้อสอบอัตนัยแยกแต่ละหมวดวิชา
การทดสอบหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพแบ่งออกเป็นการทดสอบภาคทฤษฎี ประกอบด้วย ข้อสอบปรนัยและข้อสอบอัตนัยแยกแต่ละหมวดวิชา และการทดสอบภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน
การทดสอบตามวรรคสองและวรรคสาม ให้ถือเกณฑ์ผ่านด้วยคะแนนไม่ต่ําร้อยละหกสิบของแต่ละหมวดวิชา
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ในหมวดวิชาใด ให้ผู้นั้นเข้าทดสอบในหมวดวิชาที่ไม่ผ่านได้อีกหนึ่งครั้ง หากยังไม่ผ่าน ให้ผู้นั้นเข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบเฉพาะในหมวดวิชานั้นใหม่
ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค หรือระดับบริหาร
ให้หน่วยงานทดสอบตามข้อ 14 เป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
หมวด ๔ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
--------------------------------------
หมวด ๑๖ หน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
(1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอนสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
(2) หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(3) รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(4) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(5) นายจ้างซึ่งมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพประจําสถานประกอบกิจการ เฉพาะการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหารให้แก่ลูกจ้างของนายจ้างนั้น
ข้อ ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียน รวมทั้งการดําเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานของหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด
ให้หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สามารถดําเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานได้คราวละสามปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
ข้อ ๑๘ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่อธิบดีกําหนดตามข้อ 17 ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งให้หยุดการดําเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเป็นการชั่วคราว
(3) เพิกถอนการขึ้นทะเบียน
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
----------------------------------
ข้อ ๑๙ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานหรือระดับบริหาร ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก่อนหรือหลังวันที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 มีผลใช้บังคับ และผ่านการฝึกอบรมภายในวันที่ 21 สิงหาคม 2549 ให้ถือว่าผู้นั้นผ่านการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหารตามประกาศนี้
ข้อ ๒๐ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก่อนวันที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 มีผลใช้บังคับ ซึ่งผ่านการทดสอบ และนายจ้างได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ให้ถือว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติตามข้อ 6 (2)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,164 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2553
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 (1) ข้อ 11 (2) ข้อ 14 (2) และ (3) ข้อ 17 (2) และ (3) และข้อ 20 (1) แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบด้วยมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 16 แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน
(ก) ซึ่งมีหลักสูตรการสอนสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
(ข) ซึ่งไม่มีหลักสูตรการสอนสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า เฉพาะการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค หรือระดับบริหาร”
ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,165 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ
พ.ศ. 2549
-----------------------------------------
โดยที่ข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 กําหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทํางานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะที่จําเป็นในการทํางานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ วิธีการฝึกอบรม
-------------------------------------------
ข้อ ๔ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรมที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศให้แก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ ผู้จัดฝึกอบรมต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) แจ้งกําหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนการจัดฝึกอบรม
(2) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กําหนด
(3) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(4) ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม
ข้อ ๖ ผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกินสามสิบคน และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน
ข้อ ๗ ในการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง และได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน
ข้อ ๘ รายการอุปกรณ์การฝึกอบรมภาคปฏิบัติอย่างน้อย ต้องประกอบด้วย
(1) เครื่องตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศ
(2) เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นขั้นต่ําของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้
(3) เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ
(4) เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
(5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามเนื้อหาหลักสูตร ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดส่งอากาศช่วยหายใจ อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน
ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรม ให้นายจ้างเลือกใช้เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศตามความเหมาะสมกับสารเคมีที่มีในสถานประกอบกิจการ
หมวด ๒ หลักสูตรการฝึกอบรม
---------------------------------------------------
ข้อ ๙ หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศมี ดังนี้
(1) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต
(2) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน
(3) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ
(4) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
(5) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
ข้อ ๑๐ หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศตาม ข้อ 9 ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมหกชั่วโมง ดังนี้
(1) กฎหมายความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(2) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(3) การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทํางานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(4) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
(5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(6) ระบบการขออนุญาตทํางานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทํางานในที่อับอากาศสามสิบนาที
(7) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
ข้อ ๑๑ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมตาม ข้อ 10
ข้อ ๑๒ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมเก้าชั่วโมง ดังนี้
(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10
(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(4) การสั่งให้หยุดทํางานชั่วคราว สามสิบนาที
(5) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางานในที่อับอากาศสามสิบนาที
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
ข้อ ๑๓ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบชั่วโมง ดังนี้
(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10
(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย สามสิบนาที
(5) การดับเพลิงขั้นต้น สามสิบนาที
(6) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที
(7) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น สามสิบนาที
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าห้าชั่วโมง
ข้อ ๑๔ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมเก้าชั่วโมง ดังนี้
(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10
(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย สามสิบนาที
(5) การดับเพลิงขั้นต้น สามสิบนาที
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
ข้อ ๑๕ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบเอ็ดชั่วโมง ดังนี้
(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10
(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง
(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย สามสิบนาที
(5) การสั่งให้หยุดทํางานชั่วคราว สามสิบนาที
(6) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางานในที่อับอากาศสามสิบนาที
(7) การดับเพลิงขั้นต้น สามสิบนาที
(8) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที
(9) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น สามสิบนาที
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าห้าชั่วโมง
หมวด ๓ วิทยากรฝึกอบรม
-------------------------------------------------------
ข้อ ๑๖ วิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมภาคทฤษฎีต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า
(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ โดยผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสองปี
(3) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานมาไม่น้อยกว่าสามปี โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์การทํางานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสามปี
(4) มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าห้าปี
(5) สําเร็จการศึกษาหรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย
(6) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ
ข้อ ๑๗ วิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับที่อับอากาศไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ และผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสองปี
(3) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานมาไม่น้อยกว่าสามปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์การทํางานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสามปี
(4) มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าห้าปี
(5) สําเร็จการศึกษาหรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย และมีประสบการณ์การทํางานเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่าห้าปี
(6) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ และมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
หมวด ๔ การขึ้นทะเบียนหน่วยงานฝึกอบรม
------------------------------------------------------
ข้อ ๑๘ หน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ ได้แก่
(1) สถาบันการศึกษาของรัฐ หรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอน สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า
(2) หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(3) รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(4) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัท มหาชนจํากัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(5) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ ๑๙ หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรซึ่งมีคุณสมบัติไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทําหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรมอย่างน้อยหนึ่งคน
(2) มีวิทยากรซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 16 หรือข้อ 17 ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศอย่างน้อยหนึ่งคน
(3) มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน
(4) มีอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน
(5) ไม่เคยถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง เว้นแต่พ้นกําหนดสามปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง
(6) ไม่มีผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศอื่นที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรองมาแล้วเว้นแต่พ้นกําหนดสามปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง
ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ ยื่นคําขอพร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
(1) สําเนาเอกสารที่แสดงถึงความเป็นหน่วยงานตามข้อ 18
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(3) สําเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(4) สําเนาหนังสือแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของนิติบุคคลหรือวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงาน
(5) แผนที่แสดงที่ตั้งของหน่วยงานโดยสังเขป
(6) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ฝึกภาคปฏิบัติโดยสังเขป
(7) รายชื่อเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของบุคลากรซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการฝึกอบรม
(8) รายชื่อเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของวิทยากร รวมทั้งหนังสือยืนยันการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงาน
(9) เอกสารประกอบการฝึกอบรม ตามหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน
(10) เอกสารแสดงรายการอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมตามข้อ 8
ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงานลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสําเนาเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๑ เมื่อมีการยื่นคําขอตามข้อ 20 และอธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคําขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 19 ให้อธิบดีขึ้นทะเบียนผู้ยื่นคําขอนั้นเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ และออกใบสําคัญแสดงการขึ้นทะเบียน พร้อมมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในห้าวัน นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคําขอขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 19 ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบโดยเร็ว
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 21 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 19 ให้อธิบดีเพิกถอนทะเบียน
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 21 มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง สถานภาพของหน่วยงาน วิทยากรฝึกอบรม หรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดจากที่ได้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนไว้ ให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศนั้นส่งเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๒๔ การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศให้มีอายุคราวละสามปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันที่การขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง และให้นําความในข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 มาใช้บังคับแก่การยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดยอนุโลม
หมวด ๕ การกํากับดูแล
-----------------------------------------------
ข้อ ๒๕ ให้นายจ้างจัดทําทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสํานักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ข้อ ๒๖ ให้นายจ้างจัดทํารายงานผลการฝึกอบรมตามข้อ 4 ซึ่งประกอบด้วย ชื่อหลักสูตรจํานวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร วันและเวลาที่ฝึกอบรม แจ้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ในปีนั้นไม่ได้มีการฝึกอบรม
ข้อ ๒๗ ให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และเอกสารเกี่ยวกับการประเมินผลการฝึกอบรมแต่ละครั้ง โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดําเนินการฝึกอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม
ข้อ ๒๘ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเข้าไปในหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียน สถานที่จัดการฝึกอบรมเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ตรวจสอบ หรือกํากับ ดูแลให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอํานวยความสะดวก ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งสิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๙ หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งให้หยุดการดําเนินงานเป็นการชั่วคราว
(3) เพิกถอนทะเบียน
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
-------------------------------------------------------
ข้อ ๓๐ ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ หรือผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามประกาศนี้
ข้อ ๓๑ หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศซึ่งได้ใบรับรองตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ให้ถือว่าเป็นหน่วยงานฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนตามประกาศนี้ จนกว่าใบรับรองจะสิ้นอายุ
ข้อ ๓๒ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ก่อนหรือหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและผ่านการฝึกอบรมภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ให้ถือว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเป็นวิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมภาคปฏิบัติตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,166 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2551
------------------------------------------------
เพื่อให้การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549
“ข้อ 7/1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(2) มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม”
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,167 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
(ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระยะเวลาการยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนตามข้อ 6 (2) (ก) และข้อ 6 (2) (ค) แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการดําเนินการของคณะกรรมการประเมินที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 วรรคสาม แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการพัฒนามาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001 - 2546) พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน (ฉบับที่ 2)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 (2) (ก) และข้อ 6 (2) (ค) แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ให้ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานที่ประสงค์จะต่ออายุการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก่อนวันที่หนังสือรับรองตามข้อ 6 (1) วรรคสองหมดอายุไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
(ค) ผู้ได้รับการต่ออายุการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานตาม (ข) ที่มีความประสงค์จะเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานต้องยื่นคําขอต่ออายุการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก่อนวันที่หนังสือรับรองหมดอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยยื่นหลักฐานแสดงประสบการณ์ในการทํางานเป็นที่ปรึกษาในการจัดทําระบบบริหารจัดการมาตรฐานแรงงานและหลักฐานการพัฒนาวิชาชีพ ตามข้อ 6 (4) และข้อ 6 (5)”
ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,168 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน พ.ศ. 2550 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
พ.ศ. 2550
------------------------------------------
โดยที่ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนามาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001 - 2546) พ.ศ. 2549 ข้อ 11 วรรคสาม กําหนดให้ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ต้องมีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกําหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าวอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงกําหนดคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน พ.ศ. 2550”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549
หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ
------------------------------------------
ข้อ ๔ ผู้เชี่ยวชาญต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีประสบการณ์ในการทํางานไม่น้อยกว่าสิบปีในสาขาด้านแรงงาน ด้านการผลิต ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริหารคุณภาพ ด้านกฎหมาย หรือด้านการฝึกอบรม
(2) มีบุคลิกภาพดี เป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับข้อคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุมีผลเชื่อมั่นในตนเองมีความสามารถในการเป็นผู้นํา การวิเคราะห์แก้ไขปัญหา
(3) มีความสามารถในการบริหารจัดการทั้งระบบ เพื่อให้การเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีคุณภาพ
(4) มีความสามารถรับรู้สื่อความได้ดีทั้งโดยการเขียนหรือพูดในภาษาที่ใช้ในการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
(5) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการให้คําปรึกษาด้านแรงงาน
หมวด ๒ คุณสมบัติและการจดทะเบียนที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
-------------------------------------
ข้อ ๕ ที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
5.1 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี
5.2 มีคุณลักษณะส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
(1) มีจริยธรรม
(2) มีบุคลิกภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(3) ช่างสังเกต ตระหนักถึงวัฒนธรรม และคุณค่าขององค์กร รวมทั้งมีความสนใจต่อสิ่งรอบตัวและกิจกรรมตลอดเวลา
(4) มีความสามารถในการรับรู้ และสื่อข้อความได้ดีทั้งการเขียนและการพูดสามารถประสานงานกับพนักงานทุกระดับในองค์กร มีความเชื่อมั่น ไวต่อวัฒนธรรมขององค์กร
(5) เชื่อมั่นในตนเอง ทํางานอย่างอิสระ โดยไม่มีผลประโยชน์ทางวิชาชีพในงานที่รับผิดชอบ
(6) ทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ
(7) มีความสามารถในการให้คําปรึกษา รู้จักยืดหยุ่นในการบริหารเวลาที่ดีและมีความสามารถในการเป็นผู้นํา
(8) มีความรับผิดชอบในงาน และมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
(9) ควบคุมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตกลงไว้ และตัดสินใจเรื่องต่างๆ ภายใต้พื้นฐานความรู้ และข้อเท็จจริง
(10) มีความหนักแน่น และยึดมั่นในหลักการ
(11) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว ถูกต้อง สมเหตุสมผล
(12) ประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลาและใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
(13) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเอื้อเฟื้อ มีน้ําใจ ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน และมีมนุษย์สัมพันธ์
(14) สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และให้คําตอบที่เป็นทางเลือก และอย่างสร้างสรรค์
5.3 มีความรู้ และทักษะ ดังต่อไปนี้
(1) มีความรู้ในการวางแผนและการจัดการเกี่ยวกับระบบบริหารการจัดการมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง
(2) มีความรู้ ความเข้าใจในความหมาย ขอบเขต เจตนารมณ์ ขั้นตอน และกระบวนการตรวจประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001 - 2546)
(3) มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 และกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(4) มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามข้อกําหนดมาตรฐานแรงงานอื่น ซึ่งอาจประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตามข้อกําหนดของมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001 - 2546)
(5) มีความรู้ ความเข้าใจหลักการวิธีการและเทคนิคสําหรับระบบการบริหารจัดการมาตรฐานแรงงาน เช่น หลักการการทบทวนระบบจัดการและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามวงจรเดมมิ่งวิธีการและเทคนิคการตรวจประเมิน เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาในการดําเนินงาน เทคนิคและวิธีการบริหารการผลิตเพื่อควบคุมชั่วโมงการทํางานล่วงเวลา
(6) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องด้านแรงงาน
5.4 มีประสบการณ์ในการทํางานเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบบริหารการจัดการมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง หรือมีประสบการณ์การให้คําปรึกษาด้านใดด้านหนึ่งอย่างน้อยสี่แห่งภายในห้าปีก่อนจดทะเบียนครั้งแรก ดังต่อไปนี้
(1) มาตรฐานแรงงานอื่น
(2) มาตรฐานระบบการจัดการอื่น
(3) ด้านกฎหมายแรงงาน
(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
(5) การบริหารการจัดการการผลิต
ข้อ ๖ ผู้ที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนเพื่อเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน จะต้องยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานพร้อมหลักฐานตามที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกําหนด
ข้อ ๗ เอกสารหลักฐานตามข้อ 5.4 จะต้องลงนามรับรองโดยผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลของสถานประกอบกิจการ ซึ่งผู้ยื่นใบสมัครตามข้อ 6 ได้ทําหน้าที่ให้คําปรึกษา และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน ปี ที่ให้คําปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
(2) ระยะเวลาที่ให้คําปรึกษา ณ สถานประกอบกิจการแต่ละครั้ง และเวลารวมทั้งหมด
(3) กิจกรรมที่ให้คําปรึกษา ณ สถานประกอบกิจการแต่ละครั้ง
(4) เอกสารที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานที่ให้คําปรึกษา
(5) ชื่อ และสถานที่ติดต่อของสถานประกอบกิจการ
(6) ชื่อ และสถานที่ติดต่อของหน่วยงานที่ผู้ยื่นใบสมัครสังกัด
ข้อ ๘ ผู้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามข้อ 5.1 และข้อ 5.4 จะต้องเข้ารับการประเมินคุณสมบัติตามข้อ 5.2 และตามข้อ 5.3 โดยการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์
ข้อ ๙ ผู้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานซึ่งผ่านการประเมินคุณสมบัติตามข้อ 8 จะเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานพร้อมได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน และบัตรประจําตัวที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานจะสามารถทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานได้เป็นเวลาสามปี นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
บทเฉพาะกาล ๑๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานจะต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองการจดทะเบียนที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน พร้อมบัตรประจําตัวที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
หมวด ๓ การพัฒนาความรู้ของที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
----------------------------------------
ข้อ ๑๑ ที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานต้องได้รับการพัฒนาความรู้โดยการฝึกอบรมเพิ่มเติมหรือการทํากิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับระบบบริหารการจัดการมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งอย่างต่อเนื่องปีละไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง นับแต่วันได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
หลักฐานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งต้องแสดงระยะเวลาที่ฝึกอบรม เนื้อหา ชื่อผู้จัด และสถานที่ติดต่อของผู้จัดการฝึกอบรม
การพัฒนาความรู้โดยการทํากิจกรรมต่างๆ ตามวรรคหนึ่งต้องมีความต่อเนื่องกันตลอดระยะเวลาการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน และต้องเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ โดยประเภทของกิจกรรมและหลักเกณฑ์การนับจํานวนชั่วโมงให้เป็นไปตามตารางท้ายประกาศนี้
หมวด ๔ การต่ออายุการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
--------------------------------------
ข้อ ๑๒ ที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานที่ประสงค์จะต่ออายุการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานต้องยื่นคําขอต่ออายุการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานภายในเก้าสิบวัน ก่อนวันที่หนังสือรับรองตามข้อ 9 หมดอายุ
การยื่นคําขอต่ออายุการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) หนังสือรับรองซึ่งแสดงประสบการณ์ในการทํางานเป็นที่ปรึกษาในการจัดทําระบบบริหารจัดการมาตรฐานแรงงานที่ลงนามโดยผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลของสถานประกอบกิจการ ที่ได้ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาอย่างน้อยสามแห่ง
(2) หลักฐานแสดงการพัฒนาความรู้ตามข้อ 11 อย่างน้อยสิบแปดชั่วโมงในรอบสามปีที่ผ่านมา
(3) เอกสารหลักฐานตามที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ยื่นคําขอต่ออายุการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน จะต้องได้รับการตรวจสอบเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ และประสบการณ์ในการให้คําปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
ข้อ ๑๔ ผู้ยื่นคําขอต่ออายุการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานซึ่งผ่านการตรวจสอบตามข้อ 13 จะต้องเข้ารับการประเมินคุณสมบัติตามข้อ 5.2 และตามข้อ 5.3 โดยการสอบข้อเขียนหรือการสอบสัมภาษณ์
ข้อ ๑๕ ผู้ยื่นคําขอต่ออายุการจดทะเบียนที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ซึ่งผ่านการประเมินคุณสมบัติจะเป็นผู้ได้รับการต่ออายุการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
หมวด ๕ บัตรประจําตัวที่ปรึกษา
---------------------------------------
ข้อ ๑๖ บัตรประจําตัวที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกบัตรผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ที่มีความประสงค์จะต่ออายุบัตรประจําตัวที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานประจําปีต้องยื่นคําขอต่ออายุบัตรประจําตัวที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานภายในสามสิบวันก่อนวันที่บัตรประจําตัวหมดอายุ โดยยื่นหลักฐานแสดงประสบการณ์ในการทํางานเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานอย่างน้อยหนึ่งแห่งและหลักฐานการพัฒนาความรู้ตามข้อ 11
หมวด ๖ การเพิกถอน
---------------------------------------
ข้อ ๑๗ ที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน ต้องรักษาจรรยาบรรณและชื่อเสียงของการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานดังต่อไปนี้
(1) ให้คําปรึกษาตามหน้าที่ความรับผิดชอบครบถ้วนถูกต้องตามหลักวิชาการ และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ แบบแผน เพื่อให้บรรลุผลสําเร็จตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
(2) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกําลังความสามารถ
(3) เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทํางานเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
(4) รักษาข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับคําปรึกษาเป็นความลับ
(5) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และไม่เรียกร้องให้จัดสิ่งอํานวยความสะดวกส่วนตัว และสิ่งอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่
(6) ละเว้นการนําผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(7) ไม่ทําหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินในขณะที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
(8) ไม่ประพฤติตนใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ตนเอง และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(9) ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และปฏิบัติตามระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการพัฒนามาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001 - 2546) พ.ศ. 2549
(10) ไม่นําหนังสือรับรองการจดทะเบียน และบัตรประจําตัวที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานไปใช้ในทางที่อาจทําให้เกิดความเสื่อมเสียต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๑๘ ที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีอํานาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) ให้ระงับการดําเนินการเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
(3) เพิกถอนหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงานและบัตรประจําตัวที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,169 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้าน | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้าน
----------------------------------------------------
โดยที่ข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2547 กําหนดให้นายจ้างผู้ซึ่งส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้านให้ลูกจ้างทําแจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวันส่งมอบ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้าน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างผู้ซึ่งส่งมอบงานให้ลูกจ้างแจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันส่งมอบงานแต่ละครั้ง โดยแจ้งด้วยตนเอง แจ้งโดยทางไปรษณีย์ หรือแจ้งโดยทางโทรสาร แล้วแต่กรณี
หนังสือแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้านตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ ให้นายจ้างแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้านต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ที่นายจ้างมีสถานประกอบกิจการหรือลูกจ้างมีสถานที่ทํางานตั้งอยู่ในเขตซึ่งได้แก่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ดังต่อไปนี้
(ก) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 1 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร และเขตสัมพันธวงศ์
(ข) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตบางซื่อ เขตบางเขน และเขตหลักสี่
(ค) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 3 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตดินแดง เขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตห้วยขวาง
(ง) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 4 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตยานนาวา เขตสาทร และเขตบางคอแหลม
(จ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 5 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคลองสาน เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางพลัด
(ฉ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 6 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางแค เขตภาษีเจริญ และเขตหนองแขม
(ช) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 7 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตราษฎร์บูรณะ
(ซ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 8 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคลองเตย เขตบางนา เขตประเวศ เขตพระโขนง เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง
(ฌ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 9 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคันนายาว เขตบางกะปิ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง และเขตบึงกุ่ม
(ญ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 10 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง เขตหนองจอก และเขตสายไหม
(2) สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่นายจ้างมีสถานประกอบกิจการหรือลูกจ้างมีสถานที่ทํางานตั้งอยู่ในเขตสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2547
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,170 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้าน (ฉบับที่ 2)
----------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้าน ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2547 ให้สอดคล้องกับการจัดแบ่งเขตพื้นที่การปฏิบัติงานของกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ และเป็นการอํานวยความสะดวกในการบริการประชาชน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้าน (ฉบับที่ 2)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้าน ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้นายจ้างแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทําที่บ้านต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ที่นายจ้างมีสถานประกอบกิจการหรือลูกจ้างมีสถานที่ทํางานตั้งอยู่ในเขตซึ่งได้แก่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ดังต่อไปนี้
(ก) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 1 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร และเขตสัมพันธวงศ์
(ข) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตบางซื่อ เขตบางเขน และเขตหลักสี่
(ค) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 3 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตดินแดง เขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตห้วยขวาง
(ง) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 4 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตยานนาวา เขตสาทร และเขตบางคอแหลม
(จ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 5 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคลองสาน เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางพลัด
(ฉ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 6 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางแค เขตภาษีเจริญ และเขตหนองแขม
(ช) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 7 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตราษฎร์บูรณะ
(ซ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 8 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคลองเตย เขตบางนา เขตประเวศ เขตพระโขนง เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง
(ฌ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 9 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคันนายาว เขตบางกะปิ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง และเขตบึงกุ่ม
(ญ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 10 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในท้องที่เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง เขตหนองจอก และเขตสายไหม
(2) สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่นายจ้างมีสถานประกอบกิจการหรือลูกจ้างมีสถานที่ทํางานตั้งอยู่ในเขตสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนั้น”
ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,171 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกำหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือ
ออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือ
ออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
-------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว นั้น
เนื่องจากเป็นการสมควรกําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเสียใหม่ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
อาศัยอํานาจตามมาตรา 5 มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร และกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549
(2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร และกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาใน หรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองตามบัญชีรายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมือง และช่องทางอนุญาต ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,172 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกำหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือ
ออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือ
ออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
-------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว นั้น
เนื่องจากเป็นการสมควรกําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเสียใหม่ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
อาศัยอํานาจตามมาตรา 5 มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร และกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549
(2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร และกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาใน หรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองตามบัญชีรายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมือง และช่องทางอนุญาต ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,173 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกำหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือ
ออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือ
ออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
(ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว นั้น
เนื่องจากเป็นการสมควรกําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบและด่านตรวจคนเข้าเมืองลพบุรีเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกรายชื่อของด่านตรวจคนเข้าเมือง สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ ลําดับที่ 20 ตามบัญชีรายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมือง และช่องทางอนุญาตท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความตามบัญชีรายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมือง และช่องทางอนุญาตท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ให้เพิ่มเติมรายชื่อของด่านตรวจคนเข้าเมืองลพบุรี สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองลพบุรี เป็นลําดับที่ 24/1 ตามบัญชีรายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางอนุญาต ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
ข้อ 3 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,174 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกำหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
และกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของ
พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3)
----------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว นั้น
สมควรกําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกรายชื่อของด่านตรวจคนเข้าเมือง สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงคาน ลําดับที่ 36 และด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก ลําดับที่ 50 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความตามบัญชีท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ให้เพิ่มเติมรายชื่อของด่านตรวจคนเข้าเมืองสุโขทัย สถานที่ตั้งและช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองสุโขทัย เป็นลําดับที่ 50/1 และรายชื่อของด่านตรวจคนเข้าเมืองอุตรดิตถ์ สถานที่ตั้งและช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองอุตรดิตถ์ เป็นลําดับที่ 51/1 ในบัญชีรายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางอนุญาต ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
ข้อ 3 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,175 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกำหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 4) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
และกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจ
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 4)
---------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว นั้น
สมควรกําหนดชื่อ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มเติมรายชื่อของด่านตรวจคนเข้าเมืองบุรีรัมย์ สถานที่ตั้ง และช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองบุรีรัมย์ เป็นลําดับที่ 43/1 ตามบัญชีรายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางอนุญาตท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกําหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,176 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจและมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง
(1) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ผ่านการตรวจสอบ คัดกรอง ความสัมพันธ์นายจ้าง - ลูกจ้าง และมีหนังสือรับรองจากกรมการจัดหางานตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขออนุญาตทํางานและการอนุญาตให้ทํางาน ตามพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ฉบับลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ หรือผ่านการพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทาง หรือที่ได้รับการตรวจลงตราและประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีนับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าว ที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
(2) คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าว บางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ หรือผ่านการพิสูจน์สัญชาติ จากประเทศต้นทาง หรือที่ได้รับการตรวจลงตราและประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีนับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดามารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
(3) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวก เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ หรือผ่านการพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทาง หรือที่ได้รับการตรวจลงตราและประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 และมีอายุ ไม่เกินห้าสิบห้าปีนับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดามารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
(4) คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้รับการตรวจลงตราและประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2559 และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดามารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทางและประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางานกับนายจ้างให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีประสงค์จะทํางานกับนายจ้างให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีหากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติภายในหกสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรองรับการขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน กําหนดสถานที่อื่นตามความเหมาะสม
ข้อ 2/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 2 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ อนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว
ในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ ให้ใช้เอกสารที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงแรงงานหรือบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นหลักฐานในการแสดงตน
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 2
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตเพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
(ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือหรือทางบก เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้าในกรณีเคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางบกต้องมีหนังสือรับรองจากกรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด
(ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง แล้วแต่กรณี
(ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวโดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง
(จ) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษาหรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวั
(ฉ) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึงข้อ (จ)
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) ถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานโดยให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของบุตรของคนต่างด้าว ตามข้อ 2 ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวเพื่อไปดําเนินการพิสูจน์สัญชาติให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีพิสูจน์สัญชาติในราชอาณาจักร
(ก) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและได้จัดทําบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 2 แล้ว การเดินทางออกนอกเขตท้องที่จังหวัดให้ใช้บัตรประจําตัวดังกล่าวเป็นหลักฐานในการเดินทาง ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
(ข) คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้มารายงานตัวและดําเนินการตามข้อ 2 ให้ใช้เอกสารที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงแรงงานหรือประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามข้อ 1 แล้วแต่กรณี เป็นหลักฐานเพื่อการเดินทางออกนอกเขตท้องที่จังหวัด ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
(2) กรณีการเดินทางไปเพื่อพิสูจน์สัญชาติและรับหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวนอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ที่ถือเอกสารตามข้อ 7 ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทํางานกับนายจ้างให้ดําเนินการดังนี้
(1) คนต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติที่ถือเอกสารตามข้อ 7 ที่ได้รับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาเพื่อทํางานอยู่ในราชอาณาจักรซึ่งการอนุญาตสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางาน ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติ และบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
(2) คนต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติได้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาเพื่อทํางานอยู่ในราชอาณาจักร ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติ และบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
(3) คนต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติแล้วเสร็จระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ ขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และรายงานตัว จัดทําทะเบียนประวัติ และบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ณ สถานที่ตั้งหรือที่ทําการของแต่ละหน่วยงานในจังหวัดที่คนต่างด้าวผู้นั้นทํางานอยู่หรือกรุงเทพมหานคร โดยจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและอนุญาตให้ทํางานได้ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
ในกรณีที่คนต่างด้าวเดินทางไปรับเอกสารตามข้อ 7 ณ ประเทศต้นทาง และได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจําด่านตรวจคนเข้าเมืองที่คนต่างด้าวนั้นผ่านเข้ามาใน ราชอาณาจักร ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักร
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส o (L-A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในหกสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ 8/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 8 (1) และ (2) และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานกับนายจ้าง หรือตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อทํางาน ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
ข้อ ๙ ทั้งนี้ การกรอกข้อมูลทะเบียนประวัติ การขอจดทะเบียนและขอมีบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย การตรวจลงตรา การขออยู่ต่อ และการอนุญาตทํางานของคนต่างด้าวและผู้ติดตามให้ใช้แบบ ท.บ. 1 ท.บ. 2 ท.ต. 1 และ ท.ต. 1/1 แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๐ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 เมื่อไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
ข้อ ๑๑ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวันเพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,177 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------------
ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ไปรายงานตัวเพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัว ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขออนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ และเมื่อมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล แล้วจะได้รับอนุญาตทํางานอยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 รวมทั้ง ตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางานถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 2 ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรองรับการขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน กําหนดสถานที่อื่นตามความเหมาะสม
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ข้อ 2/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 2 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ อนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว
ในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ ให้ใช้เอกสารที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงแรงงานหรือบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นหลักฐานในการแสดงตน
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ข้อ 8/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 8 (1) และ (2) และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานกับนายจ้าง หรือตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อทํางาน ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,178 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561
---------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูซา ลาว และเมียนมา รวมถึงผู้ติดตาม ซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปีที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัว ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวก เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือ บัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ในกรุงเทพมหานคร และ 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ติดทะเลซึ่งเป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง ได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวัดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่อายุตั้งแต่สิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้างให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไข ทะเบียนประวัติภายในหกสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรองรับการขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน กําหนดสถานที่อื่นตามความเหมาะสม[2]
ข้อ 2/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 2 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ อนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว
ในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ ให้ใช้บัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นหลักฐานในการแสดงตน
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก, คนต่างด้าว ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัด ที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจาก พนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง แล้วแต่กรณี
(ข) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวโดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง
(ค) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายซื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะไปทัศนศึกษาหรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(ง) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึงข้อ (ค)
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวตังกล่าว มีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประซาซน หรือมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่า เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประซาซน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) ถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในลิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าว ยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วย การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปีให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการพิสูจน์สัญชาติให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีพิสูจน์สัญชาติในราชอาณาจักร
(ก) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและได้จัดทําบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มี สัญชาติไทยตามข้อ 2 แล้ว การเดินทางออกนอกเขตท้องที่จังหวัดให้ใช้บัตรประจําตัวตังกล่าว เป็นหลักฐานในการเดินทาง ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
(ข) คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้มารายงานตัวและดําเนินการตามข้อ 2 ให้ใช้บัตรประจําตัวคน ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 เป็นหลักฐานเพื่อการเดินทางออกนอกเขตท้องที่จังหวัด ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
(2) กรณีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อพิสูจน์สัญชาติ และรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้กรมการจัดหางาน หรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายซื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วย การทะเบียนราษฎรเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัดและการดําเนินกรรมวิธีการเดินทาง ออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรอง สถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ที่ถือเอกสารตามข้อ 7 ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักร เพื่อการทํางานกับนายจ้างให้ดําเนินการตังนี้
(1) คนต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติได้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ให้นายจ้าง นําคนต่างด้าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในกรุงเทพมหานคร และ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเลดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้ คนต่างด้าวเข้ามาเพื่อทํางานอยู่ในราชอาณาจักร ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้ง จัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
(2) คนต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติแล้วเสร็จระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาต ให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ ขอรับใบอนุญาตทํางาน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และรายงานตัว จัดทําทะเบียนประวัติ และบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ณ สถานที่ตั้ง หรือที่ทําการของแต่ละหน่วยงานในจังหวัดที่คนต่างด้าวผู้นั้นทํางานอยู่ หรือกรุงเทพมหานคร หรือสถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด โดยจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวและอนุญาตให้ทํางานได้ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ในกรณีที่คนต่างด้าวเดินทางไปรับเอกสารตามข้อ 7 ณ ประเทศต้นทาง และได้เดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักร ให้พนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจําด่านตรวจคนเข้าเมืองที่คนต่างด้าวนั้นผ่านเข้ามาในราชอาณาจักร ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักร
สําหรับบุตรของคนต่างด้าวที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์ จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และ แกไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L-A) และให้ประทับตราอนุญาต ประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในหกสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ 8/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 8 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานกับนายจ้าง ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
ข้อ ๙ ทั้งนี้ การกรอกข้อมูลทะเบียนประวัติ การขอจดทะเบียนและขอมีบัตรประจําตัวคน ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย การตรวจลงตรา การขออยู่ต่อ และการอนุญาตทํางานของคนต่างด้าวและผู้ติดตาม ให้ใช้แบบ ท.บ. 1 ท.บ. 2 ท.ต. 1 และ ท.ต. 1/1 แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๐ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลา ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 เมื่อไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
ข้อ ๑๑ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ให้คนต่างด้าวดังกล่าว อยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,179 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2)
---------------------------------------------------
ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ที่ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ไปรายงานตัวเพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัว ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขออนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ และเมื่อมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลแล้วจะได้รับอนุญาตทํางานอยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 2 ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรองรับการขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน กําหนดสถานที่อื่นตามความเหมาะสม
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ข้อ 2/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 2 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ อนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว
ในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ ให้ใช้บัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นหลักฐานในการแสดงตน
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ข้อ 8/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 8 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานกับนายจ้าง ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,180 |
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561
------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วย การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้ คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 รวมถึงผู้ที่ทํางานเป็นช่างเครื่องยนต์ในเรือประมงทะเลที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือ บัตรประจําตัว ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขออนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวัดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล
กรณีคนต่างด้าวที่อยู่ระหว่างทํางานในทะเล ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง และเมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้าส่งให้ไปดําเนินการตาม วรรคหนึ่งภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561
คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรองรับการขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน กําหนดสถานที่อื่นตามความเหมาะสม
ข้อ 2/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 2 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ อนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว
ในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ ให้ใช้บัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นหลักฐานในการแสดงตน
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานเว้นแต่
(ก) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือหรือทางบกเพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล ในกรณีเคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางบก ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด
(ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง แล้วแต่กรณี
(ค) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง
(ง) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษาหรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษาหรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าว มีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประซาซน หรือมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) ถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีพิสูจน์สัญชาติในราชอาณาจักร
(ก) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและได้จัดทําบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 2 แล้ว การเดินทางออกนอกเขตท้องที่จังหวัดให้ใช้บัตรประจําตัวดังกล่าวเป็นหลักฐานในการเดินทาง ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
(ข) คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้มารายงานตัวและดําเนินการตามข้อ 2 ให้ใช้บัตรประจําตัวคน ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 เป็นหลักฐานเพื่อการเดินทางออกนอกเขตท้องที่จังหวัด ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
(2) กรณีการเดินทางไปเพื่อพิสูจน์สัญชาติและรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธี การเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาใน ราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ที่ถือเอกสารตามข้อ 7 ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักร เพื่อการทํางานกับนายจ้างให้ดําเนินการดังนี้
(1) คนต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติได้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเลดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาเพื่อทํางานอยู่ในราชอาณาจักร ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติ และบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน หรือประกันสุขภาพ และขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
(2) คนต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติแล้วเสร็จระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ ขอรับใบอนุญาตทํางาน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และรายงานตัวจัดทําทะเบียนประวัติ และบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ณ สถานที่ตั้งหรือที่ทําการของแต่ละหน่วยงานในจังหวัดที่คนต่างด้าวผู้นั้นทํางานอยู่ หรือสถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด โดยจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวและอนุญาตให้ทํางานได้ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ในกรณีที่คนต่างด้าวเดินทางไปรับเอกสารตามข้อ 7 ณ ประเทศต้นทาง และได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจําด่านตรวจคนเข้าเมืองที่คนต่างด้าวนั้นผ่านเข้ามาในราชอาณาจักร ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ 8/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 8 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานกับนายจ้าง ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว
ข้อ ๙ ทั้งนี้ การกรอกข้อมูลทะเบียนประวัติ การขอจดทะเบียนและขอมีบัตรประจําตัวคน ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย การตรวจลงตรา การขออยู่ต่อ และการอนุญาตทํางานของคนต่างด้าวและผู้ติดตาม ให้ใช้แบบ ท.บ. 1 ท.บ. 2 ท.ต. 1 และ ท.ต. 1/1 แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๐ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลา ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 เมื่อไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
ข้อ ๑๑ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,181 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------
ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ที่ทํางานเป็นช่างเครื่องยนต์ในเรือประมงทะเล ที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ไปรายงานตัวเพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัว ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขออนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ และเมื่อมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลแล้วจะได้รับอนุญาตทํางานอยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 2 ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอต่อการรองรับการขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน กําหนดสถานที่อื่นตามความเหมาะสม
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ข้อ 2/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 2 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ อนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว
ในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ ให้ใช้บัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพูเดิม) ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นหลักฐานในการแสดงตน
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“ข้อ 8/1 ในกรณีที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการตามข้อ 8 และได้ยื่นขอจัดทําทะเบียนประวัติหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตามประกาศนี้ กับกรมการจัดหางาน ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานกับนายจ้าง ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตรวจสุขภาพ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ และอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,182 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตาม
ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
------------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 (6) แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าวจํานวนไม่เกินสี่คน ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน ดังต่อไปนี้
(1) ราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain)
(2) รัฐคูเวต (State of Kuwait)
(3) รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman)
(4) รัฐกาตาร์ (State of Qatar)
(5) ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Kingdom of Saudi Arabia)
(6) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,183 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตาม
ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
-----------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 (6) แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ ให้กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าวจํานวนไม่เกินสี่คน ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน ดังต่อไปนี้
(1) ราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain)
(2) รัฐคูเวต (State of Kuwait)
(3) รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman)
(4) รัฐกาตาร์ (State of Qatar)
(5) ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Kingdom of Saudi Arabia)
(6) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates)
(7) ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
(8) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic)
(9) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Republic of the Union of Myanmar)
(10) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Viet Nam)
(11) สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,184 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตาม
ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
(ฉบับที่ 2)
---------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และข้อ 13 (6) แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี
ข้อ 1 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น (7) ถึง (11) ของข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555
“(7) ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
(8) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic)
(9) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Republic of the Union of Myanmar)
(10) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Viet Nam)
(11) สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,185 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวที่พนักงานสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และผู้เสียหายนั้นสมัครใจยินยอมเข้ารับการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพในหน่วยงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
(2) เพื่อการรักษาพยาบาล การบําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ หรือการเรียกร้องสิทธิของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
ข้อ ๒ ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ส่งหลักฐานของคนต่างด้าวตามข้อ 1 พร้อมทั้งเสนอระยะเวลาตามความเหมาะสมที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้ แต่ไม่ควรกําหนดระยะเวลาเกินหกเดือน ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณากําหนดระยะเวลาการอนุญาต เพื่อใช้ในการรายงานตัวต่อ นายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด โดยให้ขยายระยะเวลาการอนุญาตได้จนกว่าการช่วยเหลือหรือคุ้มครองสวัสดิภาพสิ้นสุดลง
หากคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทํางาน และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการพิจารณาความเหมาะสมแล้ว ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวเพื่อขอรับใบอนุญาตทํางาน ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด และไม่เกินระยะเวลาที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
ข้อ ๓ การเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติเพื่อการทํางานให้สามารถกระทําได้ เมื่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยให้เคลื่อนย้ายคนต่างด้าวเพื่อการทํางานได้เฉพาะในจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้ ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
สําหรับการเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวเพื่อดําเนินการตามข้อ 1 (1) และ (2) หรือเพื่อเหตุผลด้านมนุษยธรรม หรือกิจกรรมสาธารณะอื่น ให้กระทําได้เมื่ออยู่ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อ ๔ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวแล้วและได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรยังประเทศที่คนต่างด้าวนั้นมีถิ่นที่อยู่หรือมีภูมิลําเนาจนกว่าการช่วยเหลือหรือการคุ้มครองสวัสดิภาพสิ้นสุด
ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่คนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ข้อ ๖ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผล เมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) พ้นจากสภาพการให้ความช่วยเหลือของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
(2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 3 เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายคนต่างด้าวออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจ
(ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลหรือการบําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยให้หน่วยงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจัดเจ้าหน้าที่กํากับดูแลในการเดินทางเพื่อไปดําเนินการดังกล่าว
(4) ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 5
ข้อ ๗ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 6 หรือสิ้นสุดการดําเนินการช่วยเหลือหรือคุ้มครองสวัสดิภาพ ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการแจ้งสํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง จําหน่ายคนต่างด้าวดังกล่าวออกจากฐานข้อมูลทะเบียนประวัติและเรียกบัตรประจําตัวคืน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,186 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวที่พนักงานสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และผู้เสียหายนั้นสมัครใจยินยอมเข้ารับการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพในหน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
(2) เพื่อการรักษาพยาบาล การบําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ หรือการเรียกร้องสิทธิของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
[คําว่า “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2)]
ข้อ ๒ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งหลักฐานของคนต่างด้าวตามข้อ 1 พร้อมทั้งเสนอระยะเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินหนึ่งปี และหากมีความจําเป็นตามข้อเท็จจริงแห่งคดี ให้สามารถขอขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาต และกําหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักร เพื่อใช้รายงานตัวต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ในการจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด
หากคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทํางาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาความเหมาะสมแล้ว ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวเพื่อขอรับใบอนุญาตทํางาน ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด และไม่เกินระยะเวลาที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
[คําว่า “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2)]
ข้อ ๓ การเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติเพื่อการทํางานให้สามารถกระทําได้ เมื่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น โดยให้เคลื่อนย้ายคนต่างด้าวเพื่อการทํางานได้เฉพาะในจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้ ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สําหรับการเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวเพื่อดําเนินการตามข้อ 1 (1) และ (2) หรือเพื่อเหตุผลด้านมนุษยธรรม หรือกิจกรรมสาธารณะอื่น ให้กระทําได้เมื่ออยู่ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
[คําว่า “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2)]
ข้อ ๔ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวแล้ว และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรยังประเทศที่คนต่างด้าวนั้นมีถิ่นที่อยู่หรือมีภูมิลําเนาจนกว่าการช่วยเหลือหรือการคุ้มครองสวัสดิภาพสิ้นสุด
ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่คนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ข้อ ๖ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผล เมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) พ้นจากสภาพการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
(2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 3 เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายคนต่างด้าวออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจ
(ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลหรือการบําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยให้หน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดเจ้าหน้าที่กํากับดูแลในการเดินทางเพื่อไปดําเนินการดังกล่าว
(4) ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 5
[คําว่า “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2)]
ข้อ ๗ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 6 หรือสิ้นสุดการดําเนินการช่วยเหลือหรือคุ้มครองสวัสดิภาพ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แจ้งสํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง จําหน่ายคนต่างด้าวดังกล่าวออกจากฐานข้อมูลทะเบียนประวัติและเรียกบัตรประจําตัวคืน
[คําว่า “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2)]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,187 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------------------------
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เพื่อดําเนินการให้ผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทํางานได้ระหว่างดําเนินคดีกับผู้กระทําผิด การรักษาพยาบาล การบําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ หรือการเรียกร้องสิทธิ มีระยะเวลาครั้งละไม่เกินหกเดือน และสามารถขยายได้จนกว่าการช่วยเหลือหรือการคุ้มครองสวัสดิภาพสิ้นสุด นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และให้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งหลักฐานของคนต่างด้าวตามข้อ 1 พร้อมทั้งเสนอระยะเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินหนึ่งปี และหากมีความจําเป็นตามข้อเท็จจริงแห่งคดี ให้สามารถขอขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาต และกําหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักร เพื่อใช้รายงานตัวต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ในการจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด”
ข้อ 2 ให้แก้ไขคําว่า “กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และ “กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” เป็น “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ทุกแห่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,188 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3)
--------------------------------------------------------------
ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 เพื่อดําเนินการให้ผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทํางานได้ระหว่างดําเนินคดีกับผู้กระทําผิด การรักษาพยาบาล การบําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ หรือการเรียกร้องสิทธิ มีระยะเวลาครั้งละไม่เกินหนึ่งปี และหากมีความจําเป็นตามข้อเท็จจริงแห่งคดีให้สามารถขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
“ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีและบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามและวรรคสี่ในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
“ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้าง ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและปรับปรุงแก้ไขทะเบียนประวัติให้เป็นปัจจุบันภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ และให้มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรเช่นเดียวกับสิทธิของบิดาหรือมารดา”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 6 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) พ้นจากสภาพการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ผู้ใดประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางานกับนายจ้าง ให้ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาความเหมาะสม และส่งหลักฐานการอนุญาตของคนต่างด้าวตามข้อ 2 พร้อมทั้งระยะเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสองปีให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาตและกําหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทํางานต่อไป และให้ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อจัดทําหรือปรับปรุงแก้ไขทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด พร้อมทั้งไปขอรับใบอนุญาตการทํางานกับนายจ้างต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทํางานกับนายจ้างได้ทํางานครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคสอง และไม่มีพฤติการณ์ตามมาตรา 12 (7) หรือ (8) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตเพื่อทํางานกับนายจ้างดังกล่าว หากคนต่างด้าวผู้นั้นประสงค์จะทํางานกับนายจ้างต่อไปอีก อาจขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกคราวละหนึ่งปี โดยการขออนุญาตให้ดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการตามวรรคสอง
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคสองและวรรคสาม หากคนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายหรือประกาศอื่น ให้การอนุญาตตามประกาศนี้สิ้นสุด”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) และ (ง) ใน (3) ของข้อ 6 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เสียหายจากการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
“(ค) กรณีคนต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(ง) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตาม (ก) ถึง (ค)”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,189 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดําเนินคดี
กับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
--------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งพนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน พิจารณาแล้วเห็นควรให้เป็นพยานบุคคลในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และเป็นพยานสําคัญแห่งคดี ได้แก่
(1) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และการอนุญาตดังกล่าวสิ้นสุดลง
(2) คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งรัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และการอนุญาตดังกล่าวสิ้นสุดลง
(3) คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ข้อ ๒ ให้พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน ส่งความเห็นการเป็นพยานของคนต่างด้าวตามข้อ 1 และความเห็นของพนักงานสอบสวนสําหรับผู้เสียหายจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อส่งความเห็นดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอระยะเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินหนึ่งปี และหากมีความจําเป็นตามข้อเท็จจริงแห่งคดี ให้สามารถขอขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาตและกําหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักร เพื่อใช้ในการรายงานตัวต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด
คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะทํางาน ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม หรือสํานักงานตํารวจแห่งชาติ แล้วแต่กรณี ที่ให้ความช่วยเหลือ ดูแล หรือคุ้มครองคนต่างด้าวดังกล่าว โดยคํานึงถึงหลักมนุษยธรรม พิจารณาความเหมาะสม แล้วให้นําหลักฐานการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวเพื่อขอรับใบอนุญาตทํางานตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด แต่ไม่เกินระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๓ การเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร หรือท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติเพื่อการทํางาน ให้สามารถกระทําได้เมื่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม หรือสํานักงานตํารวจแห่งชาติ แล้วแต่กรณี ที่ให้ความช่วยเหลือ ดูแล หรือคุ้มครองคนต่างด้าวดังกล่าว ได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยในเขตกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในท้องที่จังหวัดอื่น โดยให้เคลื่อนย้ายคนต่างด้าวเพื่อการทํางานได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครหรือท้องที่จังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขตกรุงเทพมหานคร หรือท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้
ข้อ ๔ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวแล้ว และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรยังประเทศที่คนต่างด้าวนั้นมีถิ่นที่อยู่หรือมีภูมิลําเนา จนกว่าสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศอื่นที่ออกตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่คนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และให้แจ้งพนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณี ทราบด้วย
ข้อ ๖ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลเมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ได้สืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 หรือสืบพยานในระหว่างการดําเนินคดี แล้วเสร็จ เว้นแต่คนต่างด้าวผู้ใดประสงค์จะทํางานอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปให้นําความในข้อ 2 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ไม่มาตามหมายเรียกของศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนได้ติดตามมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว
(3) ออกนอกเขตกรุงเทพมหานครหรือท้องที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 3 เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายคนต่างด้าวออกนอกเขตกรุงเทพมหานครหรือท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้าง และลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกัน และต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจ
(ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลหรือการบําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ หรือเพื่อความปลอดภัยของพยาน โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม หรือสํานักงานตํารวจแห่งชาติ แล้วแต่กรณี ที่ให้ความช่วยเหลือ ดูแล หรือคุ้มครองคนต่างด้าวดังกล่าว จัดเจ้าหน้าที่กํากับดูแลในการเดินทางเพื่อไปดําเนินการดังกล่าว
(4) ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 5
ข้อ ๗ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อส่งตัวให้สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองดําเนินการส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
กรณีไม่สามารถส่งตัวคนต่างด้าวให้สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ทันภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมีอํานาจขยายเวลาได้อีกไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม หรือสํานักงานตํารวจแห่งชาติ แล้วแต่กรณี ที่ให้ความช่วยเหลือ ดูแล หรือคุ้มครองคนต่างด้าวดังกล่าว แจ้งสํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง จําหน่ายคนต่างด้าวดังกล่าวออกจากฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ และเรียกบัตรประจําตัวคืน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,190 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดําเนินคดี
กับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------------------
ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 กรณีการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลเมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตได้สืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 หรือสืบพยานในระหว่างการดําเนินคดีแล้วเสร็จ เว้นแต่คนต่างด้าวผู้ใดประสงค์จะทํางานอยู่ในราชอาณาจักรต่อไป ให้อยู่ต่อไปได้ไม่เกินหนึ่งปี นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
“ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีและบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามและวรรคสี่ในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
“ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้าง ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและปรับปรุงแก้ไขทะเบียนประวัติให้เป็นปัจจุบันภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ และให้มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรเช่นเดียวกับสิทธิของบิดาหรือมารดา”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 6 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ได้สืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 หรือสืบพยานในระหว่างการดําเนินคดีในส่วนของตนแล้วเสร็จ
คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ผู้ใดประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางานกับนายจ้าง ให้ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติพิจารณาความเหมาะสม และส่งหลักฐานการอนุญาตของคนต่างด้าวตามข้อ 2 พร้อมทั้งระยะเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสองปี ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาตและกําหนดระยะเวลาให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทํางานต่อไป และให้ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อจัดทําหรือปรับปรุงแก้ไขทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด พร้อมทั้งไปขอรับใบอนุญาตการทํางานกับนายจ้างต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวตามเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทํางานกับนายจ้างได้ทํางานครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคสอง และไม่มีพฤติการณ์ตามมาตรา 12 (7) หรือ (8) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตเพื่อทํางานกับนายจ้างดังกล่าว หากคนต่างด้าวผู้นั้นประสงค์จะทํางานกับนายจ้างต่อไปอีก อาจขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกคราวละหนึ่งปี โดยการขออนุญาตให้ดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการตามวรรคสอง
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคสองและวรรคสาม หากคนต่างด้าวผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายหรือประกาศอื่น ให้การอนุญาตตามประกาศนี้สิ้นสุด”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) และ (ง) ใน (3) ของข้อ 6 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
“(ค) กรณีคนต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(ง) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตาม (ก) ถึง (ค)”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,191 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางหรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล
(1) ที่ครบระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ หรือ
(2) ที่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจะสิ้นสุดลงก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 หรือไม่สามารถขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ และ
(3) มีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี นับถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อทํางานกับนายจ้าง ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวพร้อมหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวดังกล่าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติขอรับบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขอรับใบอนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และได้ชําระค่าธรรมเนียมตามวิธีการที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดก่อนแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
สําหรับคนต่างด้าวตามข้อ 1 (2) เมื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามประกาศนี้แล้ว ให้การตรวจลงตราและระยะเวลาการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง
ในกรณีบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้างให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไป จะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 2
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตเพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
(ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเลหรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า
(ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี
(ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง
(จ) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(ฉ) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึง ข้อ (จ)
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานโดยให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตร ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,192 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
--------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางหรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล
(1) ที่ครบระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ หรือ
(2) ที่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจะสิ้นสุดลงก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 หรือไม่สามารถขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ และ
(3) มีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี นับถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อทํางานกับนายจ้าง ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวพร้อมหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวดังกล่าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติขอรับบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขอรับใบอนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และได้ชําระค่าธรรมเนียมตามวิธีการที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดก่อนแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
สําหรับคนต่างด้าวตามข้อ 1 (2) เมื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามประกาศนี้แล้ว ให้การตรวจลงตราและระยะเวลาการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง
ในกรณีบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้างให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไป จะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 2
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตเพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
(ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเลหรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า
(ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี
(ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง
(จ) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(ฉ) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึง ข้อ (จ)
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานโดยให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตร ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ คนต่างด้าวที่ต้องออกไปดําเนินการรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล นอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ตนจัดทําทะเบียนประวัติไว้ให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีเดินทางไปรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนดให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่
(2) กรณีการเดินทางไปรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 ที่ประเทศต้นทางได้ออกให้ใหม่ หรือที่เคยได้รับการตรวจลงตราซึ่งยังมีอายุเหลืออยู่ไม่น้อยกว่าหกเดือน เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 256
ในกรณีเอกสารตามข้อ 7 หมดอายุให้ย้ายรอยตราประทับ ไปยังเอกสารเล่มใหม่ เพื่อตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรโดยมีระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
สําหรับบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี ให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L-A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี
(1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน
(2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
(3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 4,193 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (ฉบับที่ 2)
--------------------------------------------------------------
ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่มีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ผ่านการตรวจสัญชาติและได้รับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ที่ครบระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร หรือที่ระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลงก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 หรือไม่สามารถขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
“ข้อ 5 คนต่างด้าวที่ต้องออกไปดําเนินการรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล นอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ตนจัดทําทะเบียนประวัติไว้ให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีเดินทางไปรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนดให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่
(2) กรณีการเดินทางไปรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ 6 มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ 7 หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 ที่ประเทศต้นทางได้ออกให้ใหม่ หรือที่เคยได้รับการตรวจลงตราซึ่งยังมีอายุเหลืออยู่ไม่น้อยกว่าหกเดือน เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
ในกรณีเอกสารตามข้อ 7 หมดอายุให้ย้ายรอยตราประทับ ไปยังเอกสารเล่มใหม่ เพื่อตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรโดยมีระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
สําหรับบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี ให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L-A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ 9 การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี
(1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน
(2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
(3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ 10 เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร”
ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,194 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ
-----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง
(1) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 118/2557 เรื่อง การกําหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 หรือ
(2) คนต่างด้าวตาม (1) รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปีที่ไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ขอรับใบอนุญาตทํางาน ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสัญชาติ และให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และ
(3) มีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี นับถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางานกับนายจ้าง ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติขอรับบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และขอรับใบอนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีประสงค์จะทํางานกับนายจ้าง ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีหากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติ ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้วให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 2
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัด ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตเพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
(ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเลหรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า
(ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี
(ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง
(จ) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(ฉ) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึง ข้อ (จ)
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานโดยให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ คนต่างด้าวที่ต้องออกไปดําเนินการตรวจสัญชาตินอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดที่ตนจัดทําทะเบียนประวัติไว้ให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนด ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด
(2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 ที่ประเทศต้นทางออกให้ ทั้งก่อนหรือหลังการจัดทําทะเบียนประวัติ เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561[2]
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี ให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L-A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี
(1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน
(2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
(3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,195 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง
(1) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 118/2557 เรื่อง การกําหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 หรือ
(2) คนต่างด้าวตาม (1) รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปีที่ไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ขอรับใบอนุญาตทํางาน ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสัญชาติ และให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และ
(3) มีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี นับถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางานกับนายจ้าง ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้าง เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติขอรับบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และขอรับใบอนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีประสงค์จะทํางานกับนายจ้าง ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีหากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติ ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้วให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 2
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัด ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตเพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
(ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเลหรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า
(ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี
(ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง
(จ) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน
(ฉ) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึง ข้อ (จ)
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานโดยให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ คนต่างด้าวที่ต้องออกไปดําเนินการตรวจสัญชาตินอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดที่ตนจัดทําทะเบียนประวัติไว้ให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนด ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด
(2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี ให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติ ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี
(1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน
(2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
(3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,196 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ (ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------------
ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่มีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี และผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ และได้รับอนุญาตให้ทํางานอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เพื่อดําเนินการตรวจสัญชาติ และเมื่อมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลแล้ว จะได้รับอนุญาตทํางานอยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 8 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 ที่ประเทศต้นทางออกให้ ทั้งก่อนหรือหลังการจัดทําทะเบียนประวัติ เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 8 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี ให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L-A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่อยู่ระหว่างการตรวจสัญชาติ ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
“ข้อ 10 เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร”
ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,197 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558
--------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา และผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 118/2557 เรื่อง การกําหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ที่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจสัญชาติภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทํางานกับนายจ้าง ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ในท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการของนายจ้างเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ขอรับใบอนุญาตทํางาน ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ภายในเวลาระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 1 ซึ่งติดตามมาด้วยต่อมามีอายุเกินสิบห้าปีให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดามารดา แต่ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตเพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้างสามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
(ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า
(ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลโดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี
(ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง
(จ) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึงข้อ (ง)
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานโดยให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนดให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด
(2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่ประเทศต้นทางตอบรับเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้วหากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินสองปี
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปีในวันที่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งได้รับอนุญาตให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบห้าปี ให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดามารดา แต่ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี
(1) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
(2) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้างและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,198 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2)
----------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา และผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ และได้รับอนุญาตให้ทํางาน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ เพื่อดําเนินการตรวจสัญชาติ และเมื่อมีหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลแล้ว จะได้รับอนุญาตทํางานอยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางานให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินสองปี นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคมพุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกําหนดสถานที่ที่ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปีทํางาน พ.ศ. 2559 ที่ไม่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปีทํางานในสถานประกอบกิจการ ที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ํา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้คนต่างด้าวที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและขอรับใบอนุญาตทํางานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ําตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีนับแต่วันออกประกาศนี้ ขอเปลี่ยนประเภทกิจการหรือนายจ้างเพื่อทํางานในประเภทกิจการอื่นตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือใช้สิทธิการเป็นผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของบิดาหรือมารดา ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
โดยให้นายจ้างนําคนต่างด้าวที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนประเภทกิจการ หรือเปลี่ยนนายจ้างตามวรรคหนึ่ง ไปแจ้งการเปลี่ยนประเภทกิจการหรือนายจ้างกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว และให้คนต่างด้าวนําหลักฐานที่กรมการจัดหางานออกให้ ไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องที่หรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่นายจ้างมีภูมิลําเนาเพื่อแก้ไขทะเบียนประวัติและการเปลี่ยนนายจ้าง
ในกรณีไม่สามารถดําเนินการได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสิ้นผลการอยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 4 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่จะใช้สิทธิการเป็นผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของบิดาหรือมารดาที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและขอรับใบอนุญาตทํางานไว้ในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวที่ใช้สิทธิของผู้ติดตามนําหลักฐานที่แสดงการเป็นบิดาหรือมารดาไปแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว และให้คนต่างด้าวนําหลักฐานที่กรมการจัดหางานออกให้ ไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องที่หรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่นายจ้างของบิดาหรือมารดามีภูมิลําเนาอยู่เพื่อแก้ไขทะเบียนประวัติ
ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,199 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และทํางานกับนายจ้างที่มีกิจการหลักเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ํา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
แปรรูปสัตว์น้ํา หมายถึงการแปรรูปและการถนอมปลา และสัตว์น้ําที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู หมึก หอย โดยการเตรียมและถนอมปลา และสัตว์น้ําไม่มีกระดูกสันหลัง การแช่แข็ง การแช่เยือกแข็ง การอบแห้ง การรมควัน การหมักเค็ม การหมักในน้ําเกลือ การบรรจุอาหารสําเร็จรูป เช่น การบรรจุกระป๋อง การผลิต หรือผลิตภัณฑ์จากปลาและสัตว์น้ําไม่มีกระดูกสันหลังที่ปรุงสําเร็จแล่เป็นชิ้น ๆ เพื่อเป็นอาหารสําหรับบริโภคหรือเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งไข่ปลา การทําน้ําปลาจากปลาและจากสัตว์ทะเลอื่น ๆ ทั้งนี้ ให้รวมกิจกรรมในการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ําดังกล่าวที่กระทําบนเรือและกิจการโรงน้ําแข็งเพื่อการประมง
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ภายในเวลาระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดชายทะเลที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีให้มีสิทธิอยู่ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา ไม่เกินวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และต้องทํางานกับนายจ้าง
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลโดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี
(ข) ได้รับอนุญาตให้ทํางานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ํากับนายจ้างใหม่ หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ําเท่านั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว
การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด
(2) กรณีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวตามที่ประเทศต้นทางตอบรับเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางานให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวเป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย[5]
ในกรณีผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา แต่ไม่เกินวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และต้องทํางานกับนายจ้าง
ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี
(1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน
(2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานและพื้นที่ตามข้อ 1 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม หรือ
(3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้างและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,200 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
-----------------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและทํางานกับนายจ้างที่มีกิจการหลักเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ํา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
แปรรูปสัตว์น้ํา หมายถึงการแปรรูปและการถนอมปลา และสัตว์น้ําที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู หมึก หอย โดยการเตรียมและถนอมปลา และสัตว์น้ําไม่มีกระดูกสันหลัง การแช่แข็ง การแช่เยือกแข็ง การอบแห้ง การรมควัน การหมักเค็ม การหมักในน้ําเกลือ การบรรจุอาหารสําเร็จรูป เช่น การบรรจุกระป๋อง การผลิต หรือผลิตภัณฑ์จากปลาและสัตว์น้ําไม่มีกระดูกสันหลังที่ปรุงสําเร็จแล่เป็นชิ้น ๆ เพื่อเป็นอาหารสําหรับบริโภคหรือเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งไข่ปลา การทําน้ําปลาจากปลาและจากสัตว์ทะเลอื่น ๆ ทั้งนี้ ให้รวมกิจกรรมในการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ําดังกล่าวที่กระทําบนเรือและกิจการโรงน้ําแข็งเพื่อการประมง
ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ภายในเวลาระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดชายทะเลที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่
(ก) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลโดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี
(ข) ได้รับอนุญาตให้ทํางานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ํากับนายจ้างใหม่ หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง
(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง
คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ําเท่านั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว
ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด
(2) กรณีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวตามที่ประเทศต้นทางตอบรับเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน
ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางานให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวเป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณ
(1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน
(2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานและพื้นที่ตามข้อ 1 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม หรือ
(3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้างและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,201 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
(ฉบับที่ 2)
-------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและได้รับอนุญาตให้ทํางานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เพื่อดําเนินการตรวจสัญชาติ และเมื่อมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลแล้ว จะได้รับอนุญาตทํางานอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินสองปี นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกําหนดสถานที่ที่ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปีทํางาน พ.ศ. 2559 ที่ไม่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปีทํางานในสถานประกอบกิจการ ที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ํา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และทํางานกับนายจ้างที่มีกิจการหลักเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ํา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ําตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีให้มีสิทธิอยู่ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา ไม่เกินวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และต้องทํางานกับนายจ้าง”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ในข้อ 4 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 8 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ําตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ในกรณีผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา แต่ไม่เกินวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และต้องทํางานกับนายจ้าง”
ข้อ 6 ให้คนต่างด้าวที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและขอรับใบอนุญาตทํางาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีนับแต่วันออกประกาศฉบับนี้ สามารถขอเปลี่ยนประเภทกิจการหรือนายจ้างเพื่อทํางานในประเภทกิจการอื่นตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือใช้สิทธิการเป็นผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของบิดาหรือมารดาภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
โดยให้นายจ้างนําคนต่างด้าวที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนประเภทกิจการ หรือเปลี่ยนนายจ้างตามวรรคหนึ่ง ไปแจ้งการเปลี่ยนประเภทกิจการหรือนายจ้างกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว และให้คนต่างด้าวนําหลักฐานที่กรมการจัดหางานออกให้ ไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องที่หรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่นายจ้างมีภูมิลําเนาเพื่อแก้ไขทะเบียนประวัติและการเปลี่ยนนายจ้าง
ในกรณีไม่สามารถดําเนินการได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสิ้นผลการอยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 4 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เว้นแต่จะใช้สิทธิการเป็นผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของบิดาหรือมารดาที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติและขอรับใบอนุญาตทํางานไว้ในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวที่ใช้สิทธิของผู้ติดตามนําหลักฐานที่แสดงการเป็นบิดาหรือมารดาไปแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว และให้คนต่างด้าวนําหลักฐานที่กรมการจัดหางานออกให้ ไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องที่หรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่นายจ้างของบิดาหรือมารดามีภูมิลําเนาอยู่เพื่อแก้ไขทะเบียนประวัติ
ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,202 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตำบลคลองวาฬอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ
อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
---------------------------------------------------------------
ด้วยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 รับทราบมติคณะอนุกรรมการพิจารณาการเปิดจุดผ่านแดน สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2558 ซึ่งเห็นชอบให้มีการเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรงข้ามบ้านมุด่อง เมืองมะริด ภาคตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยเปิดทําการระหว่างเวลา 06.30 น. – 18.30 น. ของทุกวัน โดยกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ใช้หนังสือเดินทาง บัตรผ่านแดน และบัตรผ่านแดนชั่วคราว เป็นเอกสารในการเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๒ อนุญาตให้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทย และบุคคลสัญชาติเมียนมา เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๓ อนุญาตให้บุคคลสัญชาติเมียนมาที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร สามารถเดินทางได้ภายในเขตพื้นที่อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เท่านั้น โดยให้พํานักได้ครั้งละไม่เกิน 2 วัน (พักค้างได้ 1 คืน) และต้องเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านทางช่องทางเดิม
ข้อ ๔ ห้ามมิให้มีการดําเนินการที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศบริเวณด่านสิงขรโดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และเมื่อมีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แล้ว ให้ปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรทันที
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,203 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตำบลคลองวาฬอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ
อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
-------------------------------------------------
ด้วยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 รับทราบมติคณะอนุกรรมการพิจารณาการเปิดจุดผ่านแดน สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2558 ซึ่งเห็นชอบให้มีการเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรงข้ามบ้านมุด่อง เมืองมะริด ภาคตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยเปิดทําการระหว่างเวลา 06.30 น. – 18.30 น. ของทุกวัน โดยกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ใช้หนังสือเดินทาง บัตรผ่านแดน และบัตรผ่านแดนชั่วคราว เป็นเอกสารในการเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๒ อนุญาตให้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทย และบุคคลสัญชาติเมียนมา เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๓ อนุญาตให้บุคคลสัญชาติเมียนมาที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร สามารถเดินทางภายในเขตพื้นที่อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เท่านั้น โดยให้พํานักได้ครั้งละไม่เกิน 4 วัน (พักค้างได้ 3 คืน) และต้องเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางเดิม4. ห้ามมิให้มีการดําเนินการที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศบริเวณด่านสิงขรโดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และเมื่อมีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แล้ว ให้ปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรทันที
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,204 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตำบลคลองวาฬอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ
อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(ฉบับที่ 2)
----------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 นั้น
เพื่อเป็นการผ่อนคลายข้อจํากัดด้านการค้าและการท่องเที่ยวในบริเวณจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2558 รับทราบมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการเปิดจุดผ่านแดน สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ในการขยายเวลาพํานักของบุคคลสัญชาติเมียนมาที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรผ่านจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรจากเดิมพํานักได้ครั้งละไม่เกิน 2 วัน (พักค้างได้ 1 คืน) เป็นพํานักได้ครั้งละไม่เกิน 4 วัน (พักค้างได้ 3 คืน)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงขอยกเลิกแนวปฏิบัติข้อที่ 3 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้
“3. อนุญาตให้บุคคลสัญชาติเมียนมาที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร สามารถเดินทางภายในเขตพื้นที่อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เท่านั้น โดยให้พํานักได้ครั้งละไม่เกิน 4 วัน (พักค้างได้ 3 คืน) และต้องเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางเดิม”
ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,205 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวตามประกาศนี้ หมายความว่า บุคคลสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่มาทําทะเบียนประวัติ หรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 118/2557 เรื่อง การกําหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานมิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล
ข้อ ๓ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง
ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 3 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่อนุญาต จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559
สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปีในวันที่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งได้รับอนุญาต ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ในกรณีผู้ติดตามที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสอง ต่อมามีอายุเกินสิบห้าปี ให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดามารดา แต่ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๕ สิทธิการอยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 4 ในกรณี
(1) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม
(2) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,206 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ฉบับที่ 2)
--------------------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ฉบับลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาต จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสารตามข้อ 3 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 เมื่อคนต่างด้าวตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 118/2557 เรื่อง การกําหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 อยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางานให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินสองปี
บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งที่อายุไม่เกินสิบห้าปีในวันที่คนต่างด้าวนั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งติดตามมาด้วยอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของตนได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบห้าปีให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา แต่ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย”
ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,207 |
ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง | ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ
เรื่อง การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง
---------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 (7) ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง จึงได้ยกเลิกประกาศกระทรวงการต่างประเทศ ลงวันที่ 11 มกราคม 2521 และให้กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้
1. ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป
ก. สําหรับ 5 ปี ฉบับละ 1,000.00 บาท
ข. สําหรับต่ํากว่า 5 ปี ปีละ 200.00 บาท
โดยให้อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ข้อ 42
2. ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือเดินทางราชการ ฉบับละ 1,000.00 บาท
3. ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือเดินทางชั่วคราว ฉบับละ 200.00 บาท
4. ค่าธรรมเนียมการแก้ไขหนังสือเดินทาง ที่ไม่ใช่
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับละ 100.00 บาท
5. ค่าธรรมเนียมการบันทึกรายการในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ฉบับละ 100.00 บาท
6. ค่าธรรมเนียมคัดสําเนาหนังสือเดินทาง ฉบับละ 100.00 บาท
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
กันตธีร์ ศุภมงคล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | 4,208 |
ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ
เรื่อง การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 2)
-----------------------------------------------
โดยที่กระทรวงการต่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขประกาศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 (7) ขอกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
1. ประกาศนี้ เรียกว่า “ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 2)”
2. ให้ใช้ประกาศนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3. ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ลงเป็นข้อ 7 ของประกาศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
“ข้อ 7 ค่าธรรมเนียมการต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ ฉบับละ 1,000 บาท”
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2548
กันตธีร์ ศุภมงคล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | 4,209 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือบัตรประจําตัวตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมาย ว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวเพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทํางาน ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามซึ่งได้แก่บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยาของคนต่างด้าวดังกล่าว ซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ
ข้อ ๒ ให้กรมการจัดหางาน ส่งเอกสารหลักฐานการอนุญาตทํางาน ให้กรมการปกครองเพื่อจัดทําบัตรประจําตัวตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้คนต่างด้าวดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด
สําหรับผู้ติดตามของคนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะทํางานให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว เพื่อขอรับใบอนุญาตทํางาน ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด
ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด
(2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 เว้นแต่
(ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้างหรือสามี ภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้างหรือสามี ภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
(ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ํา ให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเลหรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า
ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ข้อ ๖ เมื่อมีเหตุจําเป็นออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลคนต่างด้าวและผู้ติดตามจะออกนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น
เมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่ทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมาย ว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวหรือได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่และต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๗ คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2549
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,210 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
(ฉบับที่ 2)
-----------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2546 ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรเอกสิทธิ์พิเศษ (Thailand Elite) เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ โดยให้มีสิทธิได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นพิเศษ (Special Entry Visa) จากสถานทูต สถานกงสุลในต่างประเทศ หรือจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้งเป็นเวลาห้าปี โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา นั้น
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 อนุมัติให้สมาชิกบัตร Thailand Elite Card มีสิทธิได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นพิเศษ (Special Entry Visa) ต่อไปครั้งละ 5 ปี ตลอดอายุบัตรสมาชิกและยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ให้บุคคลตามข้อ 1 มีสิทธิได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นพิเศษ (Special Entry Visa) จากสถานทูต สถานกงสุลในต่างประเทศ หรือจากกระทรวงการต่างประเทศหรือจากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้งเป็นเวลาห้าปี ตลอดอายุบัตรสมาชิก โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา”
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,212 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2530) เรื่อง กำหนดเครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2530)
เรื่อง กําหนดเครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
-------------------------------------------
โดยที่ปรากฏว่า ขณะนี้เครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่ประชาชนใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การแสดงลักษณะเฉพาะยังไม่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยของผู้บริโภค สมควรกําหนดเครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่
(1) เครื่องปรับอากาศที่ใช้สําหรับยานพาหนะ
(2) เครื่องปรับอากาศที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องปรับอากาศดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า “สําหรับส่งออกเท่านั้น” หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า “For Export Only”
(ข) เครื่องปรับอากาศดังกล่าว ต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก
ข้อ ๓ เครื่องปรับอากาศที่จะนําออกขาย ต้องจัดให้มีฉลากรวมทั้งเอกสารหรือคู่มือตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4 และข้อ 5
ข้อ ๔ ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถมองเห็นและอ่านได้ชัดเจน ปิดหรือติดไว้ที่เครื่องปรับอากาศ และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต
(ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อผู้นําเข้าและสถานที่ประกอบการผู้นําเข้า
(ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นําเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสําเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนําสินค้านั้นออกขาย
ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้
(2) ชื่อประเทศที่ผลิต
(3) แบบหรือรุ่น (model)
(4) หมายเลขลําดับ (serial number)
(5) เดือน ปี ที่ผลิต
(6) แรงดันไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นโวลต์
(7) เฟส (phase)
(8) ความถี่ โดยระบุหน่วยเป็นเฮิรตซ์
(9) พิกัดกระแสไฟฟ้าเข้า โดยระบุหน่วยเป็นแอมแปร์
(10) พิกัดกําลังไฟฟ้าเข้า โดยระบุหน่วยเป็นวัตต์
(11) วงจรไฟฟ้า
(12) ขนาดของขีดความสามารถทําความเย็น โดยระบุเป็นหน่วยเอสไอ
(13) ค่าประสิทธิภาพการทําความเย็น
(14) คําเตือนเกี่ยวกับการเปิดปิดเครื่อง เช่น “เมื่อปิดเครื่องแล้วปล่อยให้เครื่องพักไม่น้อยกว่า 3 นาทีก่อนเปิดครั้งต่อไป”
กรณีตาม (6) (7) (8) (9) (10) (11) และ (12) จะใช้สัญลักษณ์แทนข้อความนั้นก็ได้
ข้อ ๕ เอกสารหรือคู่มือสําหรับเครื่องปรับอากาศ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ตามความเหมาะสม และอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ขนาด กว้าง ยาว หนา โดยระบุหน่วยเป็นระบบเมตริก
(2) น้ําหนักสุทธิ โดยระบุหน่วยเป็นระบบเมตริก
(3) ชนิดและปริมาณของสารทําความเย็น
(4) วิธีติดตั้ง
(5) วิธีใช้และข้อควรระวังในการใช้
(6) การบํารุงรักษา
ข้อ ๖ ให้เครื่องปรับอากาศที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนําเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนําออกขาย
ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2530
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,214 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 3 ทวิ ข้อ 3 ตรี และข้อ 3 จัตวา แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541
“ข้อ 3 ทวิ ให้สินค้าที่ควบคุมฉลากดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดฉลากตามข้อ 1 และข้อ 2 ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(1) สินค้าที่ขายส่งแก่ผู้ประกอบการใช้ในโรงงานหรือสถานประกอบกิจการให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องติดฉลาก
(2) สินค้าประเภทเครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ หรืออะไหล่ของสินค้าประเภทเครื่องจักรกล หรือรถยนต์ หรือรถไถ หรือรถอื่น ๆ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ํา และสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 3 ได้ครบถ้วน ให้แสดงฉลากราคาและข้อความอื่นตามข้อ 2 ไว้ในคู่มือหรือเอกสารหรือบัญชีราคาสินค้า (Price List) ไว้ ณ จุดที่ขาย
(3) สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไม่ต้องติดฉลาก
ข้อ 3 ตรี สินค้าประเภทน้ํามันเครื่อง ให้ทําฉลากตามข้อ 1 ข้อ 2 และให้ระบุเครื่องหมายและเลขทะเบียนคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ํามันหล่อลื่นเหลวตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า ในประเภทน้ํามันเครื่องด้วย
ข้อ 3 จัตวา สินค้าประเภทก๊าชหุงต้ม ให้ทําฉลากตามข้อ 1 ข้อ 2 และให้แสดงเครื่องหมายประจําตัวของผู้บรรจุก๊าชตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้าในประเภทก๊าชหุงต้มด้วย”
ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,215 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ย. 14/2545
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
“รายได้” หมายความว่า ยอดรายได้รวมจากการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตก่อนหักค่าใช้จ่ายตามงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามอัตราที่กําหนด ล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น
(1) การค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท
(2) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็น ปีละ 1,000,000 บาท
ตราสารแห่งหนี้
(3) การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ปีละ 100,000 บาท
(4) การจัดการเงินร่วมลงทุน ปีละ 50,000 บาท
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละห้าแสนบาท และให้ชําระต่อสํานักงานก่อนวันตรงกับวันที่ได้รับใบอนุญาตในปีแรก
ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน พ.ศ. 2545 ชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเพียงประเภทเดียว ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละสองหมื่นห้าพันบาท ต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น
(2) กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใดที่มิได้มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ด้วย ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละสองหมื่นห้าพันบาทต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น
(3) กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง หรือประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ตามข้อ 7 ด้วย ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในข้อ 9
ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม พ.ศ. 2545 ชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในข้อ 9
ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละหนึ่งล้านบาทต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น
ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎกระทรวงฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ชําระค่าธรรมเนียมปีละสองรอบ รอบละหกเดือนตามปีปฏิทิน โดยค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในแต่ละรอบ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.0045 ของค่าเฉลี่ยของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคลทุกกองทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ในรอบระยะเวลาการชําระค่าธรรมเนียมนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ํากว่าสามแสนบาท และไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อปี
ให้บริษัทหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมสําหรับรอบหกเดือนที่หนึ่งภายในวันที่ 31 กรกฎาคมของทุกปี และรอบหกเดือนที่สองภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําจํานวนสามแสนบาทต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับ และในปีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง หรือประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ตามข้อ 7 ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในข้อ 9 แทนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ข้อ ๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2545 ชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในข้อ 9
ข้อ ๘ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละห้าหมื่นบาท และให้ชําระต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใดที่มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ด้วยให้บุคคลดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในข้อ 9
ข้อ ๙ การชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ชําระตามอัตราและวิธีการดังต่อไปนี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ํากว่าห้าแสนบาท และไม่เกินห้าล้านบาทต่อปี
(1) รายได้ส่วนที่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ให้ชําระในอัตราร้อยละสองต่อปี
(2) รายได้ส่วนที่เกินหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินสองร้อยล้านบาท ให้ชําระในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าต่อปี
(3) รายได้ส่วนที่เกินสองร้อยล้านบาท ให้ชําระในอัตราร้อยละหนึ่งต่อปี
การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําจํานวนห้าแสนบาทต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น และชําระส่วนที่เกินห้าแสนบาทภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์นั้น เว้นแต่ในปีแรกของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับ และในปีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต โดยในการคํานวณค่าธรรมเนียมให้ใช้รายได้จากงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วล่าสุด ทั้งนี้ หากวันที่เลิกประกอบกิจการหรือเพิกถอนใบอนุญาตอยู่ในช่วงที่ยังมิได้จัดทํางบการเงิน ให้ใช้รายงานของผู้สอบบัญชีในการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องรายได้สําหรับระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจในปีนั้น เป็นฐานในการคํานวณค่าธรรมเนียม
ข้อ ๑๐ การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4(1) และ (2) และข้อ 8 ในปีแรกของการประกอบธุรกิจ ให้บริษัทหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับ และในกรณีที่ระยะเวลาในการประกอบธุรกิจสําหรับปีแรกนั้นเหลือไม่เกินหกเดือน ให้ชําระค่าธรรมเนียมเพียงกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้
ข้อ ๑๑ การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 ข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 8 สําหรับปี พ.ศ. 2545 และการชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 6 วรรคสองสําหรับปี พ.ศ. 2545 ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนั้น ๆ หรือใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่บริษัทหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้ชําระตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามกฎกระทรวงหรือประกาศดังกล่าวสําหรับปี พ.ศ. 2545 แล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์นั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้สําหรับปี พ.ศ. 2545
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ไม่ชําระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กําหนด หรือชําระค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนตามที่ประกาศนี้กําหนด ให้ชําระค่าธรรมเนียมเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของค่าธรรมเนียมที่ค้างชําระ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนแล้ว
ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,216 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ย. 45/2545 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ย. 45/2545
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ
ตามที่ได้รับใบอนุญาต
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
“(5) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน พ.ศ. 2545 ชําระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเพียงประเภทเดียว ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละสองหมื่นห้าพันบาทต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น
(2) กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใดที่มิได้มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ด้วย ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละสองหมื่นห้าพันบาทต่อสํานักงานล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น
(3) กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 5 วรรคหนึ่งด้วย ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในข้อ 9”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในข้อ 9 แทนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,217 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ย. 47/2546
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 45/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
“รายได้” หมายความว่า รายได้จากการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานโดยคํานวณจากรายได้ในอัตราร้อยละหนึ่งต่อปี แต่ต้องไม่ต่ํากว่าสองแสนบาทและไม่เกินสามล้านบาท ทั้งนี้ รายได้ที่จะนํามาคํานวณค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ครบทุกประเภท
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ระบุใน (1) แต่ขาดประเภทใดประเภทหนึ่ง
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(4) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตามประเภทดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมคงที่เป็นรายปีต่อสํานักงานตามอัตราที่กําหนดดังนี้
(1) การค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท
(2) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท
(3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ปีละ 25,000 บาท
(4) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ปีละ 500,000 บาท
(5) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท
(6) การจัดการเงินร่วมลงทุน ปีละ 50,000 บาท
(7) การให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท
ในกรณีที่ระยะเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินสําหรับการประกอบกิจการในปีแรกที่ได้รับใบอนุญาตเหลือน้อยกว่าหกเดือน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมเพียงกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ที่มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ตามอัตราที่กําหนดในข้อ 3 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการประกอบกิจการตามที่กําหนดในข้อ 4 แต่บริษัทหลักทรัพย์ต้องนํารายได้จากการประกอบกิจการตามข้อ 4 ดังกล่าวไปรวมคํานวณเพื่อชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดในข้อ 3 แทน
(1) บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(1) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(7)
(2) บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(2) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(1) (2) (3) และ (7)
(3) บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(3) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(3) และ(7)
(4) บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(4) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(1) (2) (3) และ (7) แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(1) และ (2)
ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ชําระค่าธรรมเนียมภายในกําหนดระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และภายในกําหนดระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๘ บรรดาค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต้องชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 14/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 หากยังมิได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระให้เสร็จสิ้นตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศดังกล่าวจนกว่าจะชําระแล้วเสร็จ
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,218 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ย/ข. 28/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ย/ข. 28/2547
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546
“(8) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน แต่ละประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ ปีละ 10,000 บาท”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมโดยคํานวณจากรายได้ตามอัตราที่กําหนดในข้อ 3 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการประกอบกิจการตามที่กําหนดในข้อ 4 แต่บริษัทหลักทรัพย์ต้องนํารายได้จากการประกอบกิจการตามข้อ 4 ดังกล่าวไปรวมคํานวณเพื่อชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดในข้อ 3 แทน
1. บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(1) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(7)
2. บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(2) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(1) (2) (3) (7) และ (8)
3. บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(3) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(3) และ (7)
4. บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(4) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(1) (2) (3) (7) และ (8) แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(1) (2) และ (8)”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,219 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ย/ข. 43/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ย/ข. 43/2547
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย/ข. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ที่เป็นหน่วยลงทุน ประเภทใดประเภทหนึ่ง
หรือหลายประเภท ปีละ 10,000 บาท”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย/ข. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3(3) สําหรับการประกอบกิจการตามข้อ 4(3) (7) และ (8)”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,220 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ย/ข. 42/2549 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 4 ) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ย/ข. 42 /2549
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
(ฉบับที่ 4 )
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานโดยคํานวณจากรายได้ในอัตราร้อยละหนึ่งต่อปี แต่ต้องไม่ต่ํากว่าห้าแสนบาทและไม่เกินห้าล้านบาท ทั้งนี้ รายได้ที่จะนํามาคํานวณค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
1. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ครบทุกประเภท
2. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ระบุใน (1)แต่ขาดประเภทใดประเภทหนึ่ง
3. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
4. บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,221 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย/ข. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย/ข. 43/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย/ข. 42/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 3
(2) “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
(3) “รายได้” หมายความว่า รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท ยกเว้นใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้และประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(2) ใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
หมวด ๑ การชําระค่าธรรมเนียม
------------------------------------
ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามประเภทกิจการที่ได้รับใบอนุญาตตามอัตราที่กําหนดในส่วนที่ 1 หรือส่วนที่ 2 แล้วแต่กรณี และหากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหลายประเภทกิจการ ให้ชําระค่าธรรมเนียมของทุกประเภทกิจการรวมกัน ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะใบอนุญาตที่เริ่มประกอบกิจการแล้ว
ส่วน ๑ อัตราค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจ
---------------------------------------
ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจตามที่กําหนดในส่วนนี้ โดยจํานวนที่ชําระต้องไม่ต่ํากว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่กําหนดในข้อ 6
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(4) การจัดการกองทุนรวม
(5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(6) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน และประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย
ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5 ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 5(1) (2) ค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 500,000 บาท
หรือ (3) ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท
(2) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 5(4) ค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 500,000 บาท
หรือ (6) ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท
(3) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 5(5) ค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 500,000 บาท
และไม่ได้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตาม
ข้อ 5(1) (2) (3) (4) และ (6)
(4) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งต้องชําระค่า ค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 500,000 บาท
ธรรมเนียมขั้นต่ําตาม (1) และ (2)
ขอหยุดการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ตามข้อ 5(1) (2) และ (3) ทุกประเภท
หรือขอหยุดการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ตามข้อ 5(4) หรือขอหยุดการประกอบ
ธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมด
ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้คํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราดังนี้
ส่วนที่ไม่เกิน 200,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0018
ส่วนที่เกินกว่า 200,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 400,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0015
ส่วนที่เกินกว่า 400,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0007
ทั้งนี้ มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดจากรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ตาม (2) และมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราตาม (1) โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทํารายการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(3) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากกําไรสุทธิ (net capital gain) ที่เกิดจากการค้าหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งหนี้และหน่วยลงทุน
ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนรวม ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการเฉลี่ยในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือนมาถัวเฉลี่ย ในอัตราดังนี้
ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0050
ส่วนที่เกินกว่า 50,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0040
ส่วนที่เกินกว่า 100,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0025
ส่วนที่เกินกว่า 200,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 300,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0010
ส่วนที่เกินกว่า 300,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0005
(2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวมหรือการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนเอง หรือค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหักด้วยค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จ่ายให้ตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือยอมให้บริษัทดังกล่าวหักไว้ได้
ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการเฉลี่ยในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือนมาถัวเฉลี่ย ในอัตราตามข้อ 10(1)
(2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายใต้การจัดการของตนเอง
ข้อ ๑๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน และประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย ชําระค่าธรรมเนียมสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกําไรสุทธิที่เกิดจากการค้าหลักทรัพย์ หรือรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและขอจํากัดขอบเขตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของตนไว้เฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 6 สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าว และค่าธรรมเนียมตามข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 แต่ต้องชําระค่าธรรมเนียมคงที่ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แทน
(1) การค้าหลักทรัพย์ที่จํากัดขอบเขตเฉพาะหลักทรัพย์
อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท
(2) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่จํากัดขอบเขต
เฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท
(3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์
หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่จํากัดขอบเขต
เฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณี
ตามวรรคสอง ปีละ 500,000 บาท
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตาม วรรคหนึ่ง (3) แต่ต้องชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจในอัตราตามข้อ 12 แทน
ส่วน ๒ อัตราค่าธรรมเนียมคงที่
-------------------------------
ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดดังนี้
(1) การค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท
(2) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท
(3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์
หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน
ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท
และไม่ได้ประกอบกิจการประเภทการจัดการ
กองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ปีละ 500,000 บาท
(4) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ปีละ 500,000 บาท
(5) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท
(6) การจัดการเงินร่วมลงทุน ปีละ 50,000 บาท
(7) การให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท
(8) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ปีละ 25,000 บาท
ในกรณีที่ระยะเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินสําหรับปีแรกที่เริ่มประกอบกิจการเหลือน้อยกว่าหกเดือน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมเพียงกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง
หมวด ๒ กําหนดเวลาและวิธีการชําระค่าธรรมเนียม
-------------------------------------------
ข้อ ๑๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจต่อสํานักงาน โดยให้แบ่งชําระเป็นสองงวดดังนี้
(1) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 6 ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ และ
(2) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (1) ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป
ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคงที่ต่อสํานักงานเป็นรายปีตามปีปฏิทินภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในวันที่เริ่มประกอบกิจการ
ข้อ ๑๗ ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 15 และข้อ 16 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
--------------------------
ข้อ ๑๘ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปีที่สํานักงานไม่สามารถนําค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ชําระไว้มาหักทอนด้วยค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการในอัตราปีละห้าล้านบาทหรือตามจํานวนเงินค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า
ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 หากยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระให้เสร็จสิ้นตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศดังกล่าวจนกว่าจะชําระแล้วเสร็จ
หมวด ๔ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
------------------------------------
ข้อ ๒๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรให้ปรับปรุงอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสําหรับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อรองรับการเปิดเสรีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และเพื่อให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนในการกํากับดูแลการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตของสํานักงาน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 4,222 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/ข/ด/น. 12/2554 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/ข/ด/น. 12 /2554
เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553
“(4) “ธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า” หมายความว่า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวมีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าด้วย”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้คํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราดังนี้
ส่วนที่ไม่เกิน 200,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0018
ส่วนที่เกินกว่า 200,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 400,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0015
ส่วนที่เกินกว่า 400,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0007
ทั้งนี้ มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยรายการดังนี้
(ก) มูลค่าการซื้อขายที่เกิดจากรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ที่มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมตาม (2)
(ข) มูลค่าการซื้อขายที่เกิดจากรายการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนเฉพาะที่เป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้า ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
(ค) มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวมหรือการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนเอง หรือค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหักด้วยค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จ่ายให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นที่เป็นตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือยอมให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวหักไว้ได้”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ซึ่งมีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าด้วย ชําระค่าธรรมเนียมสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกําไรสุทธิที่เกิดจากการค้าหลักทรัพย์ หรือรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 6(2) สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ในการนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้เฉพาะตามกําหนดเวลาในข้อ 15(2)”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์
หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน
ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท และไม่ได้
ประกอบกิจการประเภทการจัดการกองทุนรวม
การจัดการกองทุนส่วนบุคคล และธุรกิจตัวแทนซื้อขาย
สัญญาที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า
ปีละ 500,000 บาท”
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการคํานวณและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม
และการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน เพื่อมิให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ซ้ําซ้อนกับผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 4,223 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 6/2551 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 6/2551
เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาต
การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551ประกอบกับข้อ 11(1) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ก ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้
(1) หนึ่งร้อยล้านบาทสําหรับการยื่นขอรับใบอนุญาตภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และ
(2) ห้าร้อยล้านบาทสําหรับการยื่นขอรับใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ข ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ค ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง หรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,224 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.