title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 4 - 5/2562)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 4 - 5/2562 ลงวันที่ 10 เมษายน 2562 ว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และมาตรา 26 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,838
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 6/2562)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 6/2562 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,839
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 8/2562)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 8/2562 ลงวันที่ 4 กันยายน 2562 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 26 และมาตรา 27 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,840
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 9/2562)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 9/2562 ลงวันที่ 11 กันยายน 2562 ว่าพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 164 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 และมาตรา 75 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,841
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 10/2562)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 10/2562 ลงวันที่ 11 กันยายน 2562 ว่า พระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 มาตรา 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 4 และมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,842
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 13/2562)
ประกาศสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 13/2562 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ว่า พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2562 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,843
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 15/2562)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 15/2562 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ว่าพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 67 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 41 (3) จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,844
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 4/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 4/2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 แต่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 โดยกําหนดคําบังคับให้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้มีผลเมื่อพ้นกําหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 74 ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27มาตรา 28 และมาตรา 77 โดยที่ประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลา 60 ปีแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาการทําแท้งเถื่อนในสังคมที่ทาให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายของหญิงจํานวนมาก และทาให้เกิดปัญหาสังคมจากความไม่พร้อมของหญิงและเด็กที่เกิดมาอีกมากมาย ในขณะที่ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้พัฒนาขึ้นมากสามารถให้บริการดูแลรักษารองรับการตัดสินใจใช้สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของหญิงในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้อย่างสะดวกปลอดภัยแล้ว ประกอบกับยังไม่ได้มีมาตรการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่ครอบคลุมและเหมาะสม ศาลรัฐธรรมนูญจึงให้ข้อเสนอแนะว่าประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องการทําแท้งสมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,845
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 6/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ----------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 6/2563 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ว่าพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พระพุทธศักราช 2456 มาตรา 117 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 249 และมาตรา 250 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,846
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 7/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 7/2563 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ว่า การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทํามิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคหนึ่ง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,847
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 11 - 12/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 11 - 12/2563 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 ว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 38 มาตรา 50 (1) (2) และ (10) มาตรา 51 และมาตรา 53 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,848
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 13/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 13/2563 ลงวันที่ 2 กันยายน 2563 ว่า พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 12 (11) ที่บัญญัติคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องไม่เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,849
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 14/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ----------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 14/2563 ลงวันที่ 9 กันยายน 2563 ว่า พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 151 วรรคสี่ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 มาตรา 26 มาตรา 29 และมาตรา 40 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,850
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 16/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 16/2563 ลงวันที่ 30 กันยายน 2563 ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 มาตรา 227 และมาตรา 227/1 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 4 และมาตรา 29 วรรคสอง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,851
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 17/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 17/2563 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ว่า พระราชบัญญัติคาสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 มาตรา 5 มาตรา 8 และมาตรา 13 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,852
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 21 - 28/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 21 - 28/2563 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 51 มาตรา 53 มาตรา 54 และมาตรา 67 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และมาตรา 37 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,853
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 30/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 30/2563 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวตามคาสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2557 เรื่อง กําหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัวเป็นความผิด ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 เฉพาะในส่วนโทษทางอาญา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 และเฉพาะประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวตามคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ด้วย จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,854
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 31 - 32/2563)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 31 - 32/2563 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ว่าพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 4/1 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 25 มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และมาตรา 37 วรรคหนึ่ง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,855
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 2/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 2/2564 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,856
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 26/2559เรื่อง การบังคับคดีล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 26/2559 เรื่อง การบังคับคดีล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ -------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการบังคับคดีล้มละลายและ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทางธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน ทางธุรกิจ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้รับหลักประกันที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจแล้ว เป็นเจ้าหนี้ มีประกันตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในการดําเนินการใดๆ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวทั้งในคดีล้มละลายและการฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาไปตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ได้บัญญัติไว้ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมายจากผู้อํานวยการ ตรวจสอบข้อมูลจากสํานักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ว่ามีกิจการหรือ ทรัพย์สินใดของลูกหนี้ เป็นหลักประกันทางธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจหรือไม่ หากมี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและสัญญาหลักประกัน ทางธุรกิจเพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้รับหลักประกันได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ไว้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการเกี่ยวกับการขอรับชําระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้รับหลักประกันไม่ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พิจารณาดังนี้ 4.1 หากยังไม่มีเหตุบังคับหลักประกัน หรือมีเหตุบังคับหลักประกันแล้วแต่ผู้รับ หลักประกันยังไม่สามารถบังคับหลักประกันได้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจรวบรวมทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้น เข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในการจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ผู้เสนอราคาทราบ โดยชัดแจ้งว่า ทรัพย์สินที่จะทําการขายเป็นหลักประกันทางธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ผู้ซื้อทรัพย์ได้มีสิทธิในทรัพย์สินภายใต้เงื่อนไขตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจและกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน ทางธุรกิจ 4.2 หากมีเหตุบังคับหลักประกันและผู้รับหลักประกันสามารถบังคับหลักประกันได้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งผู้รับหลักประกันทราบโดยไม่ชักช้า ว่าเงินในส่วนที่เหลือหลังจากการบังคับทรัพย์หลักประกันตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจเป็น ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจในการรวบรวมเข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ผู้รับหลักประกันจะต้องนําส่งเงินดังกล่าว ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พร้อมกับบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เกี่ยวกับการบังคับทรัพย์หลักประกันนั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,857
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 830/2555 เรื่อง การส่งหมาย ประกาศ หนังสือ หรือเอกสารอื่นใดโดยทางไปรษณีย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 830/2555 เรื่อง การส่งหมาย ประกาศ หนังสือ หรือเอกสารอื่นใดโดยทางไปรษณีย์ ------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปิดประกาศขายทอดตลาด ณ สถานที่ ราชการสําคัญตามความในข้อ 9 (4) ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการ ขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 และประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง กําหนดสถานที่ราชการเพื่อปิดประกาศขาย ทอดตลาด ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 เป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ 1. ของคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 336/2544 เรื่อง การส่งหมาย ประกาศ หนังสือ หรือเอกสารอื่นใดโดยทางไปรษณีย์ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๑ เอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งดังต่อไปนี้ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ - หมายแจ้งผู้แทนโจทก์ หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาให้มารับหนังสือบังคับคดีแทน ให้แถลงกรณีต่างๆ หรือให้วางค่าใช้จ่ายเพิ่ม - หมายแจ้งหรือหนังสือแจ้งผู้รับจํานองให้ส่งโฉนด, สัญญาจํานองและแจ้งวิธีการขาย (เฉพาะผู้รับจํานองที่เป็นสถาบันการเงิน - หมายแจ้งถอนการยึดทรัพย์ให้จําเลยหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาทราบ - หนังสือตอบรับเงินต่างๆ - หนังสือแจ้งคู่ความให้มาตรวจสอบบัญชีรับ-จ่าย - หมายแจ้งคู่ความให้มารับค่าใช้จ่ายที่เหลือคืน หรือรับเงิน - การแจ้งผลการอายัด หรือเหตุขัดข้องในการอายัดให้โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทราบ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดส่งเอกสารดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ หรือกรณีมี ความจําเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้อํานวยการหรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดี มีอํานาจกําหนดวิธีการส่ง ตามที่เห็นสมควรได้ ทั้งนี้ให้ระบุเหตุผลและความจําเป็นไว้ด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,858
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 220/2556 เรื่อง การงดเว้นการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 220/2556 เรื่อง การงดเว้นการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด ศาลไม่ได้ออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินที่ปรากฏชื่อ บุคคลอื่นนอกจากลูกหนี้ตามคําพิพากษาในเอกสารสิทธิ์และไม่ใช่กรณีการยึดสินสมรส ถือว่ามีเหตุอันควรสงสัย ว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดึงดเว้นการยึดทรัพย์สินนั้น รายงานให้ ผู้อํานวยการทราบ แล้วร้องขอต่อศาลให้กําหนดการอย่างใดๆ เพื่อมิให้ตนต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทน พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไปดําเนินการทางศาลโดยเฉพาะเจาะจง ข้อ ๒ ในกรณีการอายัดสิทธิเรียกร้อง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาคาเนินการตามความใน ข้อ 1. โดยอนุโลม ข้อ ๓ หากต่อมาศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทราบและรีบดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามคําสั่งศาลโดยมิชักช้า ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 (ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,859
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 779/2557 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่ง และรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 779/2557 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่ง และรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี ---------------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานเดินหมายและประกาศ โดยนําระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานเดินหมาย เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ในงาน เดินหมาย และประกาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 1 (14) และมาตรา 278/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง และระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการส่งคําคู่ความ เอกสาร และสํานวนความ พ.ศ. 2522 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 460/2548 ลงวันที่ 8 กันยายน 2558 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่ง และรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี และคําสั่ง กรมบังคับคดีที 368/2553 ลงวันที่ 16 กันยายน 2553 เรื่อง การใช้แบบรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ข้อ ๒ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการกอง หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัด สาขา หรือส่วนย่อย แล้วแต่กรณี รับหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี ลงในระบบงานเดินหมายและประกาศทางอิเล็กทรอนิกส์ โดย าเนินการภายในวันที่ได้รับหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี หรืออย่างช้าภายในวันถัดไป เพื่อส่งให้พนักงานเดินหมายรับไปดําเนินการ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องในระบบงานให้จัดทําบัญชีรายการส่งหมายไว้ 2 ฉบับมีข้อความตรงกันและทําการลงระบบงานเดินหมายและประกาศทางอิเล็กทรอนิกส์ในภายหลัง ข้อ ๓ ในการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี ให้พนักงานเดินหมายใช้ระบบงาน เดินหมายและประกาศทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (TABLET) ในการรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี โดยให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (TABLET)จัดเก็บพิกัดพื้นที่ และ ถ่ายภาพทรัพย์ หรือสถานที่ที่จัดส่งเพื่อยืนยันการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี เว้นแต่กรณี ที่มีรายละเอียดนอกเหนือจากที่โจทก์เคยแถลงไว้ จึงจะถือว่าเป็นเหตุจําเป็นที่จะต้องวาดแผนที่ทางไป บรรยายสภาพทรัพย์ หรือสภาพสถานที่ส่งหมายเพิ่มเติม กรณีมีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุขัดข้องในระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทําให้ ไม่สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (TABLET) ในการปฏิบัติงานได้ ให้พนักงานเดินหมายรายงานต่อผู้อํานวยการ สํานักงาน หัวหน้าสํานักงาน หรือผู้ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี เพื่อขออนุญาตไม่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (TABLET) ในการจัดเก็บพิกัดพื้นที่ และถ่ายภาพทรัพย์ หรือสถานที่ที่จัดส่ง โดยให้ดําเนินการรายงานผลการส่ง หมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดีด้วยวิธีการจดรายงานไว้ในเอกสาร ตามแบบรายงานการเดินหมาย โดยระบุเหตุขัดข้องไว้ด้วย จากนั้นให้พนักงานเดินหมายดําเนินการบันทึกรายงานผลการเดินหมายในระบบงาน เดินหมายและประกาศทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในวันนั้น หรืออย่างช้าภายในวันถัดไป ข้อ ๔ การรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี ให้พนักงาน เดินหมายรายงานต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน หัวหน้าสํานักงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี แล้วแต่กรณี ในกรณีการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดีที่ต้องจัดส่งโดยด่วน ให้พนักงานเดินหมายจัดส่ง และรายงานผลการส่งทันทีภายในวันที่ได้รับหมาย ประกาศ หรือหนังสือ ในการบังคับคดีนั้น หรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป ข้อ ๕ ในกรณีการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีแทน ให้พนักงานเดินหมาย ดําเนินการภายในกําหนดระยะเวลาตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง และรายงานผลการส่งไปยังผู้ฝากส่งภายในกําหนด 3 วัน นับแต่วันที่ได้รายงานผลการส่ง หากเป็นกรณีเร่งด่วนให้จัดส่งและรายงานผลการส่งทันทีภายในวันที่ได้รับหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดีนั้น หรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไปทางโทรสาร หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ สําหรับค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี ให้ผู้ฝากจัดส่ง ค่าใช้จ่ายในการส่งและค่าฝากส่งทางไปรษณีย์ในอัตราต่ําสุดไปพร้อมกับหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี ให้แก่หน่วยงานที่ต้องทําการส่งแทนด้วยทุกกรณีประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี ข้อ ๖ ให้พนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี โดยใช้แบบพิมพ์ตามที่กรมบังคับคดีกําหนดดังนี้ 6.1 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.1) ใช้กับการรายงานในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การปิดประกาศ ณ ทรัพย์ที่ยึด หรือที่ตั้งทรัพย์ (2) การส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีแก่ผู้รับที่มีภูมิลําเนา ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การปิดประกาศ ณ ทรัพย์ที่ยึด หรือที่ตั้งทรัพย์ โดยสถานที่ปิดประกาศกับภูมิลําเนา ของผู้รับเป็นสถานที่เดียวกัน ให้พนักงานเดินหมายรายงานการปิดประกาศ พร้อมกับรายงานการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีให้แก่ผู้รับ การส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีไม่ได้ หรือส่งโดยวิธีปิดหมายให้รายงานรายละเอียดสถานที่ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี พร้อมจัดทําแผนที่พอสังเขป 6.2 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.2) ใช้กับการรายงานการส่งหมาย ประกาศ หรือ หนังสือในการบังคับคดีแก่ผู้รับที่มีภูมิลําเนาตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีเหตุขัดข้องในการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดีแก่ผู้รับตามภูมิลําเนาไม่ได้ เช่น สถานที่นั้นๆ ถูกรื้อถอน หรือหาไม่พบ เป็นต้น ให้รายงานรายละเอียดสถานที่ส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี พร้อมจัดทําแผนที่ โดยสังเขป 6.3 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.3) ใช้กับการรายงานการส่งหนังสือแจ้งการยึด หรือแจ้งถอนการยืดหรือหนังสืออื่นใด (หากมี) ให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน 6.4 แบบรายงานการปิดประกาศยึดทรัพย์ (ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง) (ม.4) ใช้กับการรายงานการปิดประกาศยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการยึดที่ดิน หรือที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ณ ที่ทําการ เมื่อพนักงานเดินหมายไปทําการปิดประกาศแล้ว ปรากฏว่าที่ตั้งทรัพย์คลาดเคลื่อน ที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงตามแผนที่ หรือหาที่ตั้งทรัพย์ไม่พบ ให้พนักงานเดินหมายจัดทําแผนที่โดยสังเขปเสนอมา พร้อมกับรายงานการปิดประกาศ 6.5 แบบรายงานการปิดประกาศยึดทรัพย์ (ห้องชุด) (ม.5) ใช้กับการรายงาน การปิดประกาศยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการยึดห้องชุด ณ ที่ทําการ เมื่อพนักงานเดินหมายไปทําการปิดประกาศแล้ว ปรากฏว่าที่ตั้งทรัพย์คลาดเคลื่อน ที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงตามแผนที่ หรือหาที่ตั้งทรัพย์ไม่พบ ให้พนักงานเดินหมายจัดทําแผนที่โดยสังเขปเสนอมา พร้อมกับรายงานการปิดประกาศ 6.6 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.6) ใช้กับการรายงานการส่งหมาย ประกาศ แทนเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงาน และหนังสือแก่ผู้รับที่มีภูมิลําเนาตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พิทักษ์ทรัพย์ผู้มีคําสั่งให้ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีให้พนักงานเดินหมายดําเนินการตามข้อ 6.1 วรรคสอง และวรรคสามโดยอนุโลม 6.7 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.6.1) ใช้กับการรายงานการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือแก่ผู้รับที่มีภูมิลําเนาตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แทนเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ผู้มีคําสั่งให้ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี โดยมีเหตุขัดข้องในการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดีแก่ผู้รับตามภูมิลําเนาไม่ได้ เช่น สถานที่นั้นๆ ถูกรื้อถอน หรือหาไม่พบ เป็นต้น ให้รายงานรายละเอียดสถานที่ส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดี พร้อมจัดทําแผนที่โดยสังเขป 6.8 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.7) ใช้กับการรายงานการปิดประกาศขายทอดตลาด ณ สถานที่ขายทอดตลาด และสถานที่ราชการสําคัญตามที่อธิบดีประกาศกําหนด ข้อ ๗ ในกรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนพนักงานเดินหมายจากผู้อํานวยการ สํานักงาน หรือหัวหน้าสํานักงาน แต่ไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (TABLET) ให้รายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีโดยวิธีการจดรายงานไว้ในเอกสาร ตามแบบรายงานการเดินหมาย ข้อ ๘ ในกรณีเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจรายงานการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือในการบังคับคดีแล้ว มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งหมายโดยมิชอบ ด้วยประการใดๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานเสนอผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน หรือหัวหน้า สํานักงาน แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณามีคําสั่งต่อไป ข้อ ๙ ให้พนักงานเดินหมายตลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด หากปรากฏว่าการบังคับคดีต้องสะดุดหยุดลงอันเนื่องมาจากการไม่ได้รับรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ หรือหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ต้องงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าว ให้ถือว่า เป็นความบกพร่องของพนักงานเดินหมายผู้จัดส่ง รวมถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน หัวหน้า สํานักงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณีด้วย ข้อ ๑๐ การส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในงานวางทรัพย์ การบังคับคดีล้มละลาย และ การชําระบัญชีตามคําสั่งศาล ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาว รื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,860
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 503 /2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 503 /2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ---------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน กําหนดแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน บังคับคดีเกี่ยวกับการคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยที่มีความจําเป็นต้องปรับปรุงคําสั่งดังกล่าว เพื่อให้การ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ชําระเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้น หรืออย่างช้า ในวันทําการถัดไป หนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขาหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม และแจ้งสิทธิให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบว่าตามสัญญาผู้ซื้อทรัพย์ ต้องขอรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ และมีสิทธินําใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชําระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมา ขอรับคืนภายใน 20 วัน นับแต่วันชําระราคาครบถ้วน กรณีการขายตามสําเนาเอกสารสิทธิให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาในการขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ในวันรับ หนังสือโอนกรรมสิทธิ์ทุกครั้ง โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขา พิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการขอคืนภาษีได้อีกไม่เกิน 2 เดือน นับแต่ วันครบกําหนดการขอรับคืนภาษี 20 วัน เมื่อครบกําหนดดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏการขอคืนภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายของผู้ซื้อทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการส่งสํานวนจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ – จ่าย หากผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคําร้องและนําใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชําระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ขอรับคืนภาษีภายหลังจากกําหนดระยะเวลาวรรคแรกสิ้นสุดลง ผู้ซื้อทรัพย์ยังมีสิทธิได้รับคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้นได้ตามประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องกันภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ เมื่อส่งสํานวนจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย หากปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดทําบัญชีแสดง รายการรับ-จ่าย เสร็จสิ้นแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการ ปรับปรุงบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย คืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ. 2554 (ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,861
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 810 /2556 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน (Update ฉบับล่าสุด)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 810 /2556 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 503/2554 ลงวันที่ 22 กันยายน 2554 เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน กําหนดแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เกี่ยวกับการคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นั้น โดยที่มีความจําเป็นต้องปรับปรุงคําสั่งดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน บังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 503/2554 ลงวันที่ 22 กันยายน 2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ข้อ ๒ ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขาย ทอดตลาดจะต้องจะต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีต่างๆจากการขายอสังหาริมทรัพย์และ ค่าอากรตามประมวลรัษฎากรเองทั้งหมด โดยผู้ซื้อทรัพย์ไม่สามารถนําใบเสร็จรับเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือค่าอากรแสตมป์มาขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการขายทอดตลาดตามประกาศขายทอดตลาดที่มี กําหนดนัดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,862
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 810 /2556 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 810 /2556 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 503/2554 ลงวันที่ 22 กันยายน 2554 เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน กําหนดแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เกี่ยวกับการคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นั้น โดยที่มีความจําเป็นต้องปรับปรุงคําสั่งดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน บังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 503/2554 ลงวันที่ 22 กันยายน 2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ข้อ ๒ ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขาย ทอดตลาดจะต้องจะต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีต่างๆจากการขายอสังหาริมทรัพย์และ ค่าอากรตามประมวลรัษฎากรเองทั้งหมด โดยผู้ซื้อทรัพย์ไม่สามารถนําใบเสร็จรับเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือค่าอากรแสตมป์มาขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการขายทอดตลาดตามประกาศขายทอดตลาดที่มี กําหนดนัดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,863
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 501/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 501/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน ------------------------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน ขับไล่ รื้อถอน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัย อํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 452/2548 ลงวันที่ 8 กันยายน 2558 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 77/2554 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่อง การ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 831/2555 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2555 เรื่อง การยึด ทรัพย์สินให้เป็นไปตามลําดับในหมายบังคับคดี 1.4 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 220/2556 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2556 เรื่อง การงดเว้น การยึดหรืออายัดทรัพย์สิน 1.5 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 272/2556 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2556 เรื่อง การยึด อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน น.ส. 3 ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องบังคับคดีให้เจ้าหนี้แถลงว่าได้รับชําระหนี้ตามคําพิพากษา ไปแล้วหรือไม่ เพียงใด พร้อมวางเงินทดรองค่าใช้จ่ายขั้นบังคับคดี ดังนี้ 2.1 ยึดอสังหาริมทรัพย์สํานวนละ 2,500 บาท 2.2 ยึดสังหาริมทรัพย์ บังคับคดีขับไล่ รื้อถอน สํานวนละ 1,500 บาท 2.3 ขอให้บังคับคดีแทนไปยังศาลอื่นสํานวนละ 1,000 บาท 2.4 ในการบังคับคดี ณ สํานักงานบังคับคดีที่ทรัพย์ตั้งอยู่ โดยไม่ผ่านสํานักงานบังคับคดี ในเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดี นอกจากวางเงินตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 แล้วแต่กรณีแล้ว ให้เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 1,000 บาท เพื่อส่งเป็นค่าใช้จ่ายให้สํานักงานบังคับคดีที่ออกหมายบังคับคดี ในระหว่างการบังคับคดีหากค่าใช้จ่ายในขั้นบังคับคดีเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีหมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจํานวนที่เห็นสมควร ข้อ ๓ คดีเยาวชนและครอบครัวเฉพาะการบังคับคดีกับค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ และ คดีแรงงาน ไม่ต้องวางค่าใช้จ่ายและไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี การบังคับคดีผู้บริโภคซึ่งดําเนินการโดยผู้บริโภคหรือผู้มีอํานาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค การบังคับคดีนายประกัน การบังคับโทษปรับในคดีอาญา ไม่ต้องวางค่าใช้จ่าย แต่หากบังคับคดีได้เงินแล้ว จึงให้หักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีจากเงินดังกล่าว รวมถึงกรณีที่ผู้ถูกบังคับคดีวางเงิน ชําระหนี้ด้วย ข้อ ๔ การยึดอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด ให้ดําเนินการยึด ณ ที่ทําการ โดยไม่ต้องออกไปดําเนินการยึด ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ เว้นแต่ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีมีคําสั่ง อนุญาตเนื่องจากสภาพทรัพย์มีรายละเอียดมาก มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โรงแรม โรงงาน ฯลฯ เป็นต้น หรือ มีเหตุอื่นอันสมควร การยึดอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินมีเอกสารสิทธิ น.ส. 3 หรือ น.ส. 3 ช ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีออกไปดําเนินการยึด ณ ที่ตั้งทรัพย์ คดีที่ได้มีการยึดไว้แล้ว และยังมิได้มีการไปตรวจสภาพที่ดิน ที่เป็นปัจจุบัน ให้หมายแจ้งโจทก์หรือผู้แทนโจทก์มานําเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดําเนินการตรวจสอบสภาพ ที่ดินให้เป็นปัจจุบันเพื่อยืนยันตําแหน่งที่ดินก่อนดําเนินการบังคับคดีต่อไป อสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้ 4.1 ให้ผู้นํายึดนําส่งเอกสารประกอบการยึด 4.1.1 เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส.3 ก/น.ส. 3 บ/น.ส. 3) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสําคัญที่ดินอื่นๆ หรือในกรณีไม่มี ต้นฉบับเอกสารสิทธิอยู่ในความครอบครอง ให้คัดสําเนาที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสัญญาจํานอง สัญญาเช่า เป็นต้น 4.1.2 สําเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทายาท คู่สมรส ผู้รับจํานอง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดที่เป็น ปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (หากมี) 4.1.3 หนังสือสําคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่รับรองไม่เกิน 1 เดือน หนังสือสําคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (หากมี) ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ รับรองไม่เกิน 1 เดือน หากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้ผู้นํายึดแถลงยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร 4.1.4 แผนที่การไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึดซึ่งมีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะทราบได้ว่า ทรัพย์ที่ยึดตั้งอยู่ที่ใด โดยระบุสถานที่สําคัญซึ่งอยู่ใกล้เคียง พร้อมสําเนา 4.1.5 ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด พร้อมแถลงรายละเอียดของทรัพย์ที่ยึด เช่น สภาพ ขนาด พื้นที่ ลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง เลขที่สิ่งปลูกสร้าง ส่วนต่อเติม เป็นต้น 4.1.6 ราคาประเมินที่ดินหรือห้องชุดของทางราชการซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองหรือผู้นํายึดแถลงรับรอง 4.1.7 เอกสารอื่นๆ ที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาคําขอยึดทรัพย์ตามความจําเป็นแก่กรณี เช่น สําเนาคําฟ้อง หรือสําเนาคําพิพากษา สําเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม เป็นต้น 4.2 เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ ณ ที่ทําการครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบันทึกรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน และข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีนั้น ๆ ลงในระบบ สารสนเทศให้ครบถ้วน โดยให้จัดทํารายงานการยืดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการ ประกาศยึดทรัพย์ หมายแจ้ง การยึดพร้อมราคาประเมินและสําเนาหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้มีส่วนได้เสียทราบ และ แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโดยให้ขอราคาประเมินไปในคราวเดียวกัน ในกรณียึดห้องชุด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบ และแจ้งการยึดให้นิติบุคคลอาคารชุดทราบพร้อมนําส่งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายใน 30 วัน นับแต่ ได้รับคําบอกกล่าว ในกรณียึดที่ดินจัดสรร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดิน ทราบ และแจ้งการยึดให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบ พร้อมนําส่งรายการหนี้ค่าบํารุงรักษาและการจัดการ สาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคําบอกกล่าว 4.3 การยึดทรัพย์สินซึ่งติดจํานองบุคคลภายนอก ในการแจ้งการยึดให้ผู้รับจํานองทราบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุในหนังสือแจ้งการยึดให้ผู้รับจํานองแถลงวิธีการขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโดย กําหนดวันนัดตามวัน เดือน ปี ปฏิทิน ทั้งนี้ ให้มีระยะเวลาไม่เกิน 45 วันนับแต่วันออกหนังสือว่า มีความประสงค์จะขายโดยปลอดการจํานองหรือขายโดยการจํานองติดไป ในกรณีที่ผู้รับจํานองไม่แถลงวิธีการขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกําหนดเพื่อให้การขายทอดตลาดไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจํานอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ ขายทอดตลาดโดยการจํานองติดไป 4.4 การยึดตามสําเนาเอกสารสิทธิที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้นําส่งในกรณีที่เอกสาร สิทธิไม่อยู่ในความครอบครอง ก่อนประกาศขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ที่ยึดถือเอกสารสิทธิ ส่งมอบต้นฉบับเอกสารสิทธิดังกล่าวหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อตรวจสอบสารบัญการจด ทะเบียนของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดเพื่อทราบถึงสิทธิโดยชอบของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในอันที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีตามอํานาจหน้าที่ต่อไป หากผู้ยึดถือหรือครอบครองยังไม่นําส่งต้นฉบับ เอกสารสิทธิ์หรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องภายในกําหนดเวลา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีเพื่อมีคําสั่งให้ขายทอดตลาดตามสําเนาเอกสารสิทธิดังกล่าวต่อไป นี้ ข้อ ๕ ให้ผู้นํายึดนําส่งเอกสารประกอบการยึดสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไป 5.1 สําเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ ตามคําพิพากษา ที่เป็นปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน 5.2 หากสังหาริมทรัพย์ที่ยึดเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือทรัพย์มีทะเบียน เช่น เครื่องจักร รถยนต์ ให้ผู้นํายึดนําส่งเอกสารหลักฐานอื่นๆ ประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม เช่น สําเนาคําขอปลูกสร้างอาคาร ทะเบียนเครื่องจักร คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น 5.3 เอกสารอื่นๆ เช่น สําเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม สําเนาคําฟ้อง หรือสําเนาคําพิพากษา ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาตามความจําเป็นแก่กรณี ข้อ ๖ กรณีขับไล่ รื้อถอน ให้ผู้ขอบังคับคดีนําส่งเอกสาร ดังต่อไปนี้ 6.1 สําเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาที่เป็นปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน 6.2 เอกสารอื่นๆ เช่น สําเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม สําเนาคําฟ้อง สําเนาคําพิพากษา สําเนาเอกสารท้ายฟ้อง สําเนาโฉนด ภาพถ่าย แผนผังของทรัพย์พิพาท เป็นต้น ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี พิจารณาตามความจําเป็นแก่กรณี ข้อ ๗ กรณีขอบังคับคดีแทน ให้ผู้ขอบังคับคดีแทนนําส่งเอกสารต่อสํานักงานบังคับคดีของศาลที่ออกหมายบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 7.1 สําเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ ตามคําพิพากษา 7.2 สาเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขอบังคับคดี ข้อ ๘ ก่อนออกไปทําการยึดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งผู้นํายึดให้จัดเตรียม ยานพาหนะที่จะขนย้ายทรัพย์ด้วย และบรรดาสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ให้นํามาเก็บรักษา ไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณีเว้นแต่ 8.1 ทรัพย์ซึ่งมีลักษณะอาจทําให้เกิดสกปรก เลอะเทอะ หรือมีกลิ่น ซึ่งอาจรบกวนหรือก่อความรําคาญ 8.2 ทรัพย์ซึ่งมีน้ําหนักมากหรือไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายหรือมีความสูง หรือมีความ กว้างมาก หรือเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา 8.3 ทรัพย์ซึ่งโดยสภาพอาจเกิดอันตรายได้ง่าย เช่น สารวัตถุเคมี หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง 8.4 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่โดยเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพของตัวทรัพย์ 8.5 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน เช่น ทรัพย์ที่ถูกยึดตามคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา 8.6 ทรัพย์ซึ่งมีสภาพชํารุดทรุดโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความสนใจของ บุคคลที่จะซื้อ เช่น เครื่องจักรที่ใช้การไม่ได้โดยสภาพ หรือเครื่องจักรที่เมื่อขนย้ายแล้วจะทําให้ใช้การไม่ได้ รถยนต์ที่มีสภาพชํารุดทรุดโทรมไม่สามารถขับเคลื่อนใต้ โต๊ะ เก้าอี้ ที่มีสภาพชํารุด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสภาพใช้ การไม่ได้ หรือเครื่องนุ่งห่มหลับนอนที่ผ่านการใช้มาแล้ว เป็นต้น 8.7 ทรัพย์ซึ่งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีความประสงค์หรือยินยอมมิให้นํามาเก็บรักษา ไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน หรือสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ของสํานักงานบังคับคดี ข้อ ๙ การยึดทรัพย์สินมีค่า เช่น อัญมณีต่าง ๆ ทองรูปพรรณ หรือทรัพย์มีค่าอื่น ๆ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีนํามาเก็บรักษาไว้ในห้องมั่นคงของกรมบังคับคดีหรือตู้นิรภัยของสํานักงานบังคับคดีนั้น ๆ ข้อ ๑๐ ในส่วนกลางหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์ระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาทรัพย์ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายชี้ขาด ข้อ ๑๑ การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ 11.1 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทําการยึดทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการ แจ้งรายการทรัพย์ที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์ บุคคลอื่นซึ่งมีชื่อในทะเบียน ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ และเจ้าพนักงานที่ดินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้นทราบ แล้วแต่กรณี รวมทั้งปิดประกาศยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ เพื่อให้การยึดมีผล ตามกฎหมายแล้วจึงเสนอรายงานการยึดทรัพย์ต่อผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีภายในวันนั้นหรือในวันทํา การถัดไป หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นไม่อาจเสนอได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้รายงานเหตุขัดข้องไปพร้อมด้วย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอรายงานการยึดทรัพย์ให้ศาลทราบด้วย 11.2 ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป หรือยึดทรัพย์ ฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการยึดทรัพย์ของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีเสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีติดตามผลการแจ้งรายการทรัพย์ที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และเจ้าพนักงานที่ดินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้น กับทั้งดําเนินการเรียกต้นฉบับเอกสารสิทธิจากผู้ครอบครองหรือการอื่นใด เพื่อให้การยึดมีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้วให้จัดทําแบบรายงานการตรวจสอบผล การยึดทรัพย์สินเสนอผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีเพื่อมีคําสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ต่อไป ข้อ ๑๓ เมื่อดําเนินการยึดทรัพย์แล้วมีกรณีที่จะต้องแก้ไขราคาประเมินขณะยึดใหม่ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งราคาประเมินใหม่ดังกล่าวแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีโดยระบุในหมายแจ้ง ด้วยว่าหากไม่เห็นชอบด้วยกับราคาประเมินดังกล่าวให้โต้แย้งคัดค้านภายในกําหนด 15 วันนับจากวันที่ ได้รับแจ้ง มิเช่นนั้นจะถือว่าผู้รับแจ้งเห็นชอบด้วยกับราคาประเมิน และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะถือราคา ประเมินดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่าย โดยให้รายงานศาล ทราบด้วย ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดําเนินการยึดทรัพย์สินนั้นได้ แต่มีเหตุขัดข้องอย่างหนึ่ง อย่างใดที่ทําให้ไม่อาจยึดได้ทันทีในขณะนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นเองหรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ร้องขอให้มีคําสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณามีคําสั่ง หากมีคําสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว ให้แจ้งคําสั่งห้ามให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นทราบ ตลอดจนนายทะเบียนหรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายเพื่อให้บันทึกคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ใน ทะเบียน ในกรณีเหตุขัดข้องสิ้นสุดลงหรือไม่มีความจําเป็นต้องบังคับคดีต่อไป หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เพิกเฉยไม่ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งยกเลิก คําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคําพิพากษามีชื่อ บุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฏตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น หากเจ้าพนักงาน บังคับคดีสงสัยว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาและไม่ยอมทําการยึด ถ้าเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษายืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทําการยึดทรัพย์สินนั้น หรือจะสั่งงดการยึดก็ได้ โดยให้เสนอ ความเห็นพร้อมเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อ พิจารณามีคําสั่ง ในกรณีที่สั่งงอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งห้ามการโอน ขาย ยักย้าย จําหน่าย ทําลาย ทําให้ เสื่อมค่าหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินนั้น แล้วแจ้งคําสั่งห้ามให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และบุคคล ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นทราบโดยเร็ว ในกรณีที่ทรัพย์สิน ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จะต้องจดทะเบียนหรือได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้ง คําสั่งห้ามดังกล่าวให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่า ด้วยการนั้นทราบด้วย ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ยื่นคําร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการ ยึดทรัพย์สินภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งงดการยืด หรือศาลมีคําสั่งยกคําร้อง หรือ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้อง แต่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่ง ให้คําสั่งห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นอันยกเลิกไป และให้แจ้งการยกเลิก คําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลตามวรรคหนึ่งทราบด้วย ข้อ ๑๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งห้ามตามข้อ 15 บุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินจะร้องขอต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีให้เพิกถอนคําสั่งห้าม และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรที่จะรับเงินหรือหลักประกันไว้แทน ทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้บุคคลดังกล่าววางเงินหรือหาประกันมาให้แทนทรัพย์สิน ดังนี้ 16.1 กรณีวางเงิน ให้วางเป็นเงินสด หรือใช้วิธีทํารายการผ่านระบบ EDC (Electronic Data Capture) เท่าราคาประมาณของทรัพย์สิน แต่ไม่เกินหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) เป็น ระยะเวลา 1 ปี หากมีการบังคับคดีไว้บ้างแล้วให้หักราคาประเมินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นออกด้วย 16.2 กรณีวางประกัน ให้วางสมุดบัญชีเงินฝากประเภทประจํา สลากออมสิน สลากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พันธบัตรรัฐบาล มูลค่าเท่าราคาประมาณของทรัพย์สิน แต่ไม่เกินหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมดอกเบี้ย(ถ้ามี) เป็นระยะเวลา 1 ปี หากมีการยึดทรัพย์ไว้บ้างแล้วให้ หักราคาประเมินทรัพย์นั้นออกด้วย และให้บุคคลดังกล่าวทําหนังสือยินยอมวางประกันไว้ กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กําหนดมานี้ให้เสนอความเห็น พร้อมเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณามีคําสั่ง หากเจ้าพนักงานบังคับคดีรับเงินสดแทนทรัพย์สินให้เพิกถอนคําสั่งห้ามทันที แต่หาก เจ้าพนักงานบังคับคดีรับหลักประกันแทนทรัพย์สินให้เพิกถอนคําสั่งห้ามได้ต่อเมื่อได้แจ้งนายทะเบียนหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันดังกล่าวโดยชอบแล้ว ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ยื่นคําร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการ ยึดทรัพย์สินภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งงดการยึด หรือศาลมีคําสั่งยกคําร้องให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินหรือหลักประกันที่รับไว้แก่ผู้วางเงินหรือหลักประกันนั้น พร้อมแจ้งนายทะเบียน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันดังกล่าวทราบด้วย ข้อ ๑๗ ในกรณีที่หมายบังคับคดีระบุให้ยึดทรัพย์จํานองออกขายทอดตลาด หากขายได้ไม่พอ ชําระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหากยังขายทอดตลาดทรัพย์จํานองไม่ได้ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีนอกเขตศาลที่มีคําพิพากษาและออกหมายบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการดังนี้ 18.1 เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สํานักงาน บังคับคดีในเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานศาลที่จะมีการบังคับคดีแทน เพื่อตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีในเขตศาลนั้นดําเนินการบังคับคดีแทนต่อไป 18.2 ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําแถลงต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ตั้งศาลอื่นบังคับคดีแทนหรือยื่นคําแถลงต่อศาลที่จะมีการบังคับคดีแทน เมื่อศาลที่จะบังคับคดีแทนมีคําสั่ง อนุญาต และเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้มาตั้งเรื่องบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดี ต่อไป กรณีหากมีการบังคับคดีแทนให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานผลการบังคับคดีแทนไปยัง สํานักงานบังคับคดีในเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีทราบเป็นระยะ และให้ส่งเงินที่ได้จากการบังคับคดีแทน พร้อมเอกสารที่จําเป็นต้องใช้ในการบังคับคดีต่อไปที่ได้รับมาในระหว่างการบังคับคดีไปยังเจ้าพนักงาน บังคับคดี สํานักงานบังคับคดีในเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อดําเนินการไปตามกฎหมาย ข้อ ๑๙ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือปฏิบัติโดยอนุโลม คําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,864
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 172/2565 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 172/2565 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี ------------------------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 98/2563 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง การรับและ จ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 3.9 ตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 98/2563 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “วิธีการและขั้นตอนในการจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารของเจ้าหนี้ หรือผู้ขอรับเงินให้เป็นไปตาม ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และ การน่าเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 (ลงชื่อ) ทัศนีย์ เปาอินทร์ (นางทัศนีย์ เปาอินทร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,865
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 162/2565 เรื่อง การปฏิบัติงานในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณียื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทค่าร้องขอวางเงินค่าใช้จ่าย และคำร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 162/2565 เรื่อง การปฏิบัติงานในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณียื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทค่าร้องขอวางเงินค่าใช้จ่าย และคําร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ----------------------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 23/2564 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่องการปฏิบัติงาน ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์กรณียื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบการบังคับคดีคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 และประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทาง อิเล็กทรอนิกส์ในระบบการบังคับคดีคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2565 เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในระบบ การบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทคําร้องขอวางเงินค่าใช้จ่าย และคําร้องขอเดินทางออกนอก ราชอาณาจักร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้ใช้บังคับกับสํานวนคดีล้มละลายที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ยกเว้นในคดีที่ศาลเคยมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไว้ก่อนแล้วไม่ให้ใช้ระบบการบังคับคดี ล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๒ ให้กองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 6 และกองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตรวจสอบการวางเงิน ค่าใช้จ่ายโจทก์ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งประเภทการวางเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และการวางเงิน ณ กรมบังคับคดี หากกองบังคับคดีล้มละลาย 1 และกองบังคับคดีล้มละลาย 5 ตรวจสอบพบว่า มีการวางเงิน ค่าใช้จ่ายในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ ดําเนินการขออนุมัติในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโอนเงินเข้ามายังบัญชี One Solution ของกองบังคับคดีล้มละลาย 1 และกองบังคับคดีล้มละลาย 5 แล้วแต่กรณีต่อไป ทั้งนี้ ให้ดําเนินการจนกว่า การพัฒนาระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบ One Solution จะเสร็จสมบูรณ์ ข้อ ๓ หากลูกหนี้ยื่นคําร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พิจารณาคําร้องและแจ้งผลการพิจารณาทางระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใน วันทําการถัดไป ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งอนุญาตแล้ว ให้สแกนหนังสืออนุญาตให้เดินทางออกนอก นอกราชอาณาจักรเข้าระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถพิมพ์สําเนา หนังสืออนุญาตผ่านระบบดังกล่าวได้ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องนําส่งต้นฉบับหนังสือดังกล่าวไปยัง สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565 (ลงชื่อ) ทัศนีย์ เปาอินทร์ (นางทัศนีย์ เปาอินทร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,866
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 505/2565 เรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับภาษีค้างชำระสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 505/2564 เรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับภาษีค้างชําระสําหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ---------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับภาษีค้างชําระสําหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีหนังสือแจ้งการยึดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ ตามแบบหนังสือแจ้งการยึด พร้อมขอให้แจ้งรายการ ภาษีค้างชําระสําหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามแบบแจ้งรายการภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างค้างชําระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมระบุว่า หากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้ จะได้กันเงินค่าภาษีค้างชําระไว้ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต่อไป ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสํารวจสํานวนที่ได้มีการยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไว้แล้ว ก่อนทําการขายทอดตลาดให้ดําเนินการตามข้อ 1 ข้อ ๓ ในการนับระยะเวลาการแจ้งรายการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างค้างชําระให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีตรวจสอบว่า การรับเอกสารตามแบบแจ้งรายการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างค้างชําระดังกล่าว ไม่ว่าด้วยวิธีการทางไปรษณีย์ หรือผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมายื่นเอกสารด้วยตนเองนั้น การรับส่ง เอกสารดังกล่าวอยู่ภายในกําหนดเวลา 30 วันหรือไม่ โดยให้ถือตามวันที่ได้ประทับตราในไปรษณีย์ตอบรับ หรือวิธีการลงรับเอกสารงานธุรการ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ธุรการต้องลงรับเอกสารทันทีที่ผู้แทนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมายื่นเอกสารให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้ถือวันดังกล่าวเป็นวันที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีหนังสือมาถึงเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้แล้ว ก่อนส่งสํานวน จัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งรายการภาษีค้างชําระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ เพื่อมีคําสั่ง ให้กันเงินที่ค้างชําระดังกล่าว ภายหลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคับคดี และได้ชําระหนี้ บุริมสิทธิให้แก่ผู้รับจํานองแล้ว ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพื่อนําส่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากไม่มีการแจ้งรายการภาษีค้างชําระให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีคําสั่งไม่ต้องกันเงินดังกล่าวไว้ ในกรณีที่มีการแจ้งภายในกําหนดว่าไม่มีรายการภาษีค้างชําระ ต่อมาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นได้มีหนังสือแจ้งรายการภาษีค้างชําระ หรือมีการแจ้งรายการภาษีค้างชําระเพิ่มเติมหรือลดลง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรับไว้พิจารณาและมีคําสั่งให้มีสิทธิได้รับชําระหนี้ภาษีค้าง ข้อ ๕ การจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ให้แจ้งความและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายมาตรวจรับรองบัญชีก่อนจ่ายเงิน ข้อ ๖ ให้สํานักงานบังคับคดีแทนเป็นผู้กําหนดจํานวนภาษีค้างชําระและกันเงินดังกล่าวไว้ใน บัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินไว้ที่สํานักงานบังคับคดีแทน แล้วแจ้งให้สํานักงานที่ขอให้บังคับคดีแทนทราบ พร้อมแนบบัญชี เพื่อประกอบการจัดทําบัญชีและแจ้งคู่ความทุกฝ่ายให้มาตรวจรับรองบัญชี เมื่อบัญชีเป็นที่สุด ให้แจ้งสํานักงานบังคับคดีแทนทราบ เพื่อนําส่งภาษีค้างชําระให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,867
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 234/2564 เรื่อง การเลื่อนการชำระราคาส่วนที่เหลือ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 234/2564. เรื่อง การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ ---------------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 308/2563 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2563 เรื่อง การเลื่อน การชําระราคาส่วนที่เหลือ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการเลื่อนการชําระราคา ส่วนที่เหลือ เป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมบังคับคดี จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 308/2563 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2563 เรื่อง การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน ข้อ 8 กรณีที่ผู้ซื้อได้รับอนุญาตให้เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือเป็นเวลา 3 เดือน ตามข้อ 2 หรือ 15 วันตามข้อ 3 แล้ว หากผู้ซื้อมีเหตุจําเป็นอื่นที่ไม่สามารถชําระราคาส่วนที่เหลือได้ภายในกําหนดเวลา ที่ได้รับอนุญาตไว้ ผู้ซื้ออาจยื่นคําร้องขอเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือได้อีก 1 ครั้ง โดยให้ยื่นไม่น้อยกว่า 5 วัน ก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าว โดยอ้างเหตุจําเป็น หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุจําเป็น ให้ยกคําร้องและเสนอผู้อํานวยการพิจารณามีคําสั่งทันที พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ชําระเงินส่วนที่เหลือภายใน กําหนดตามที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือไว้ข้างต้น และให้ผู้ซื้อทรัพย์ลงชื่อรับทราบคําสั่ง ยกคําร้องภายในวันนั้นด้วย ทั้งนี้ ไม่ต้องเสนออธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายพิจารณาอีก ในกรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาคําร้องแล้ว เห็นว่ามีเหตุจําเป็นและผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่น ภายในกําหนดเวลา พร้อมวางมัดจําเพิ่มอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของราคาที่ซื้อได้ และลงนามทําสัญญา เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอความเห็นต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณา และอธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายอาจอนุญาตให้เลื่อน การชําระราคาส่วนที่เหลือได้ไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันครบกําหนดตามที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือไว้ข้างต้น ข้อ ๒ คดีที่เคยยื่นคําร้องขอเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ ตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 308/2563 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2563 เรื่องการเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ ข้อ 8 และได้รับอนุญาต ไปแล้วไม่อาจขอเลื่อนการชําระราคาตามคําสั่งนี้ได้อีก ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,868
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 121/2564 เรื่อง มอบอำนาจให้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 121/2564 เรื่อง มอบอํานาจให้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินคดีล้มละลายของกรมบังคับคดี เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2561 จึงมีคําสั่งมอบอํานาจให้ นายชัยเดช รัตนโกมล ตําแหน่งนิติกรชํานาญการ กองบังคับคดีล้มละลาย 6 กรมบังคับคดี เป็นผู้มีอํานาจ ในการยื่นแบบแจ้งความประสงค์ในการรับเงินในคดีล้มละลายทุกคดีต่อศาลล้มละลายกลางแทนเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ด้วยวิธีการโอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร (Internet Banking) (แบบ 4) เพื่อเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาบางขุนนนท์ ประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “กรมบังคับคดี บัญชีเลขที่ 058-1-09327-5 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,869
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 63 /2564 เรื่อง การปฏิบัติงานในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณียื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 63 /2564 เรื่อง การปฏิบัติงานในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณียื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ ----------------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้พัฒนาระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อให้ การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้ใช้บังคับกับสํานวนคดีล้มละลายที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ยกเว้นในคดีที่ศาลเคยมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไว้ก่อนแล้วไม่ให้ใช้ระบบ การบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๒ ให้ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๓ ในการดําเนินการบังคับคดีล้มละลาย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องดําเนินการในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดี แนวปฏิบัติ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวกับการบังคับคดี เท่าที่ไม่ขัดกับคําสั่งนี้ ข้อ ๔ ให้กองบังคับคดีล้มละลาย และสํานักงานบังคับคดี มอบหมายเจ้าหน้าที่ในการ ตรวจสอบการลงทะเบียน และการยืนยันตัวตนของผู้ประสงค์ใช้ระบบ และให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการ ตรวจสอบ ข้อมูลส่วนบุคคลและภาพถ่ายของผู้ประสงค์ใช้ระบบจากบัตรประจําตัวประชาชนผ่านเครื่องอ่านบัตร ว่าเป็น บุคคลเดียวกัน รวมถึงตรวจสอบข้อมูลอื่น ๆ ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ หากตรวจสอบแล้วข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง ตรงกับบุคคลที่มาแจ้งยืนยัน ให้เจ้าหน้าที่อนุมัติให้ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ระบบ ข้อ ๕ เมื่อได้รับคําร้องขอจากผู้ใช้ระบบ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาคําร้องและมี คําสั่งโดยเร็ว และดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป กรณีที่ต้องมีการแจ้งคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดําเนินการโดยทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดตามที่กรมบังคับคดี กําหนด และให้ถือว่าผู้ใช้ระบบได้ทราบคําสั่งนั้นนับแต่วันที่ได้ส่งคําสั่งนั้นไปถึงผู้รับตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถส่งคําสั่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดตามที่อยู่ที่ผู้ใช้ระบบได้แจ้งไว้ได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการส่งคําสั่ง ทางวิธีการตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ระเบียบ คําสั่งว่าด้วยการส่งคําคู่ความและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับต้นฉบับเอกสารสิทธิหรือเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์ ที่มีทะเบียน ให้ตรวจดูเอกสารนั้น หากมีความครบถ้วน ถูกต้อง ตามที่ผู้ใช้ระบบยื่นคําขอไว้ ให้แยกเก็บ ในที่มั่นคง ปลอดภัย กรณีที่มีหรือได้รับเอกสารอื่น ให้สแกนเอกสารนั้นและจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนต้นฉบับเมื่อได้รับแล้วให้จัดเก็บในแฟ้มสํานวน ข้อ ๗ หากผู้ใช้ระบบร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมาย หนังสือ ประกาศหรือเอกสาร ต่าง ๆ ให้แก่ตนเอง โดยผ่านระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการให้ โดยให้ถือว่า เป็นการส่งได้โดยชอบ ข้อ ๘ หากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากผู้ใช้ระบบหรือพบปัญหาหรือความบกพร่องในระบบการ บังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือพบเหตุที่อาจทําให้เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบการ บังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้รีบแจ้งผู้ดูแลระบบทราบทันที เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับแจ้ง หรือพบปัญหาตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการแก้ไขโดยเร็ว หากมีความจําเป็น ผู้ดูแลระบบอาจปิดระบบโดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมบังคับคดี เว้นแต่ในกรณี จําเป็นเร่งด่วนให้ผู้ดูแลระบบปิดระบบชั่วคราวได้ แล้วให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีทราบทันที ข้อ ๙ หากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง หรือพบว่าผู้ใช้ระบบไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กระทําการใด ที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดข้อขัดข้อง หรือความไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบการบังคับคดีล้มละลายทาง อิเล็กทรอนิกส์ให้รีบแจ้งต่อผู้ดูแลระบบทราบทันที เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับแจ้งหรือพบปัญหาตามวรรคหนึ่ง ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดี เพื่อขอให้มีคําสั่งระงับหรือเพิกถอนสิทธิการเข้าใช้ระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ ระบบ หรือมีคําสั่งอื่นใด ข้อ ๑๐ ให้เจ้าหน้าที่รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย เพื่อความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,870
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 638 /2563 เรื่อง มอบอำนาจการพิจารณาหรืออนุญาตการลา
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 638 /2563 เรื่อง มอบอํานาจการพิจารณาหรืออนุญาตการลา ----------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการพิจารณาหรืออนุญาตการลาเป็นไปด้วยความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 38 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการ มอบอํานาจ พ.ศ. 2550 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2546 และข้อ 8 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 จึงมอบอํานาจในการพิจารณาหรือ อนุญาตการลาดังนี้ ข้อ ๑ บรรดาคําสั่ง ระเบียบ หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่มีกําหนดไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน ข้อ ๒ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ข้อ 3 ให้ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาการบังคับคดี มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาแก่ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดได้เท่าที่ผู้อํานวยการสํานัก/กองมีอํานาจตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,871
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 274/2563 เรื่อง แบบประกาศขายทอดตลาด
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 274/2563 เรื่อง แบบประกาศขายทอดตลาด เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําประกาศขายทอดตลาดทรัพย์เป็นหนังสือตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๒ แบบประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามคําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับประกาศขายทอดตลาด ที่ประกาศตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,872
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 232/2563 เรื่อง การปฏิบัติงานในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 232/2563 เรื่อง การปฏิบัติงานในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ----------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้พัฒนาระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) และ To-Do-List ระบบงานบังคับคดีแพ่งเพื่อการพัฒนาสู่ Thailand 4.0 และองค์กรไร้กระดาษ (Paperless) นั้น เพื่อให้ การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้ใช้บังคับกับสํานวนบังคับคดีที่มีการยื่นคําร้องขอบังคับคดี (ตั้งเรื่อง ตั้งแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ข้อ ๓ ในการดําเนินการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) โดยปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดี แนวปฏิบัติ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวกับการบังคับคดี เท่าที่ไม่ขัดกับคําสั่งนี้ ข้อ ๔ ให้สํานักงานบังคับคดีมอบหมายเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบการลงทะเบียน และ การยืนยันตัวตนของผู้ประสงค์เป็นผู้ใช้ระบบ และให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการดังนี้ 4.1 ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและภาพถ่ายของผู้ประสงค์เป็นผู้ใช้ระบบจาก บัตรประจําตัวประชาชนผ่านเครื่องอ่านบัตรว่าเป็นบุคคลเดียวกัน และให้ถ่ายภาพบุคคลนั้น 4.2 ตรวจสอบข้อมูลอื่น ๆ จากผู้ประสงค์เป็นผู้ใช้ระบบว่าถูกต้องตรงกันกับที่ได้ ลงทะเบียนไว้ 4.3 หากตรวจสอบแล้วข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง ตรงกับบุคคลที่มาแจ้งยืนยัน ให้เจ้าหน้าที่อนุมัติให้ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ระบบ ข้อ ๕ เมื่อผู้ใช้ระบบยื่นคําขอ คําร้อง คําแถลง และเอกสารในคดีทางระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาและมีคําสั่งภายในวันที่ได้รับคําขอ คําร้อง คําแถลงนั้น หรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป กรณีที่ต้องมีการแจ้งคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดําเนินการโดยทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใด ตามที่กรมบังคับคดีกําหนดและให้ถือว่าผู้ใช้ระบบ ได้ทราบคําสั่งนั้น ดังนั้นนับแต่วันที่คําสั่งนั้นไปถึงผู้ใช้ระบบตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ ข้อ ๖ เมื่อผู้ใช้ระบบตั้งเรื่องบังคับคดี ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและเอกสารแล้วดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 6.1 หากข้อมูลและเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน ให้แจ้งยืนยันไปยังผู้ใช้ระบบผ่านช่องทาง ที่ผู้ใช้ระบบแจ้งไว้ พร้อมส่งข้อมูลเข้าระบบการบังคับคดีแพ่ง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการต่อไป 6.2 หากข้อมูล หรือเอกสารไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ให้มีคําสั่งไม่รับตั้งเรื่องบังคับคดี และแจ้งกลับไปยังผู้ใช้ระบบผ่านช่องทางที่ได้แจ้งไว้ ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับต้นฉบับเอกสารสิทธิ์หรือเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์ ที่มีทะเบียน ให้ตรวจดูเอกสารนั้น หากมีความครบถ้วน ถูกต้อง ตามที่ผู้ใช้ระบบยื่นคําขอตั้งเรื่องไว้ ให้แยกเก็บ ในที่มั่นคงปลอดภัย กรณีที่มีหรือได้รับเอกสารอื่น ให้สแกนเอกสารนั้นและจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ส่วนต้นฉบับให้จัดเก็บในแฟ้มเอกสารเรียงตามหมายเลขคดีและปี พ.ศ. ข้อ ๘ กรณีผู้ใช้ระบบร้องขอสําเนาเอกสาร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาอนุญาต แล้วแจ้งผู้ขอให้ดาวน์โหลดเอกสารตามที่ร้องขอได้ แต่หากผู้ขอประสงค์ให้มีการรับรองเอกสาร ให้ผู้ขอ ชําระค่าธรรมเนียม ตามที่กรมบังคับคดีกําหนดก่อน ข้อ ๙ กรณีที่ผู้ใช้ระบบยื่นคําร้องขอชําระเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ หรือเงินอื่นใด ที่มีกําหนดระยะเวลา หากเป็นการชําระเงินในวันสุดท้าย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบว่า เป็นการชําระเงิน ภายในเวลา 16.30 นาฬิกา ของวันนั้นหรือไม่ ก่อนดําเนินการในส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคําร้องขอวันนัดจากผู้ใช้ระบบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณากําหนด วันนัดหมายตามตารางนัดของสํานักงานบังคับคดี ข้อ ๑๑ หากผู้ใช้ระบบร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งหมาย หนังสือ ประกาศ หรือ เอกสารต่าง ๆ ให้แก่ตนเอง โดยผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการให้ โดยให้ถือว่าเป็นการส่งได้โดยชอบ ข้อ ๑๒ หากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากผู้ใช้ระบบหรือพบปัญหาหรือความบกพร่องในระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) หรือพบเหตุที่อาจทําให้เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ให้รีบแจ้งผู้ดูแลระบบทราบทันที เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับแจ้ง หรือพบปัญหาตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการแก้ไขโดยเร็ว หากมีความจําเป็น ผู้ดูแลระบบอาจปิดระบบโดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมบังคับคดี เว้นแต่ในกรณี จําเป็นเร่งด่วนให้ผู้ดูแลระบบปิดระบบชั่วคราวได้ แล้วให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีทราบทันที ข้อ ๑๓ หากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง หรือพบว่าผู้ใช้ระบบไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กระทําการใด ที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดข้อขัดข้อง หรือความไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ให้รีบแจ้งต่อผู้ดูแลระบบทราบทันที เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับแจ้งหรือพบปัญหาตามวรรคหนึ่ง ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดี เพื่อขอให้มีคําสั่งระงับหรือเพิกถอนสิทธิการเข้าใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ระบบ หรือมีคําสั่งอื่นใด ข้อ ๑๔ ให้เจ้าหน้าที่รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย เพื่อตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,873
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 98/2563 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 98/2563 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี ------------------------------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทาง เดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 89/2559 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี ข้อ ๒ การรับเงิน 2.1 คดีแพ่ง 2.1.1 การรับเงินค่าขายทรัพย์ ณ ที่ทําการให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบเสร็จรับเงิน ให้ผู้ซื้อ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงินร่วมกับเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การรับเงินค่าขายทรัพย์นอกที่ทําการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกใบเสร็จรับเงิน ให้ผู้ซื้อ เสร็จแล้วให้จัดทําบัญชีรายการขายทรัพย์เสนอผู้บังคับบัญชาพร้อมทั้งจํานวนเงินและสําเนาคู่สอบ ใบเสร็จรับเงินแล้วน้าส่งเจ้าหน้าที่การเงินออกใบเสร็จรับเงินในวันเดียวกัน 2.1.2 การรับเงินอื่น ๆ นอกจากข้อ 2.1.1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายมีคําสั่งรับเงิน แล้วให้เจ้าหน้าที่การเงินรับเงิน ออกใบเสร็จรับเงินและลงชื่อเป็นผู้รับเงิน ในใบเสร็จรับเงินร่วมกับผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบเสร็จรับเงินนั้นให้มีสําเนา 2 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงิน ส่วนสําเนารวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้น 2.1.3 เมื่อเจ้าหนักงานบังคับคดี เห็นสมควรอาจรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน ที่ธนาคารสั่งจ่ายเช็คของส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งจ่ายในนามหน่วยงานของ กรมบังคับคดีเป็นผู้รับเงิน พร้อมจดเลขที่ตัวเงินลงในใบเสร็จรับเงินด้วย หรือรับโอนเงินทางบัญชีเงินฝาก ธนาคารของหน่วยงานหรือใช้วิธีทํารายการผ่านระบบ EDC (Electronic Data Capture) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม ระเบียบกระทรวงการคลังกําหนดไว้ ในกรณีที่รับชําระเป็นเช็คอื่น ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีก่อน เมื่อมีการเรียกเก็บเงินตามวรรค ได้แล้ว หากต้องตอบรับเงินให้ดําเนินการ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน 2.2 คดีล้มละลาย 2.2.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือส่งในคดี จะเป็นเงินสด แคชเชียร์เช็ค เช็ค ตั๋วแลกเงิน ที่ธนาคารสั่งจ่ายเช็คของส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งจ่ายในนามหน่วยงานของกรมบังคับคดี หรือจําเลยผู้ล้มละลายเป็นผู้รับเงิน หรือรับโอนเงินทางบัญชีเงินฝากธนาคารของหน่วยงานหรือใช้วิธี ทํารายการผ่านระบบ EDC (Electronic Data Capture) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมาย ดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงานหรือสั่งคําร้องในการรับเงินนั้น โดยระบุประเภทของเงิน วิธีการชําระเลขที่ตัวเงิน จํานวนเงิน เลขคดี ชื่อจําเลย เลขหน้าบัญชี และเงื่อนไข (ถ้ามี) เพื่อให้เจ้าหน้าที่การเงินรับเงินและ ออกใบเสร็จรับเงิน พร้อมจดเลขที่ตัวเงินลงในใบเสร็จรับเงินด้วย การส่งเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มีการระบุประเภทของเงิน จํานวนเงิน เลขคดี ชื่อจําเลยชัดแจ้งแล้ว ให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบเสร็จรับเงิน เสร็จแล้วแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ ใบเสร็จรับเงินตามแบบ ส.47 ก. ให้เจ้าหน้าที่การเงินลงนามร่วมกับผู้อํานวยการ กองบริหารการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ใบเสร็จรับเงินให้มีสําเนา 2 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระ หรือนําส่งเงิน ส่วนสําเนารวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ในกรณีจะต้องตอบรับเงิน ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในหนังสือตอบรับเงินพร้อมกับ ส่งใบเสร็จรับเงิน และให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน 2.2.2 ในกรณีที่ผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดีด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าฉบับเดียว หรือหลายฉบับในคราวเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดรายงานหรือสั่งคําร้องในวันรับเช็คดังกล่าว โดยระบุรายละเอียด ธนาคารผู้ออกเช็ค เลขที่เช็ค วันที่ลงในเช็ค ประเภทของเงิน จํานวนเงิน เลขคดี ชื่อจําเลย เลขหน้าบัญชี และเงื่อนไข (ถ้ามี) แล้วส่งเช็คไปให้กองบริหารการคลัง เพื่อดําเนินการออก ใบเสร็จรับเงิน และเรียกเก็บเงินเมื่อถึงกําหนดชําระเงิน ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินผู้ได้รับมอบหมาย ลงชื่อรับเช็คดังกล่าวข้างต้น เมื่อเช็คฉบับใดถึงกําหนดชําระให้กองบริหารการคลังออกใบเสร็จรับเงินและ นําฝากธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินแล้วแจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คดังกล่าวไปให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลัง หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายใน 7 วัน นับจากวันที่เรียกเก็บเงินได้หรือนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินแล้วแต่กรณี ในกรณีที่เรียกเก็บเงินตามเช็คได้ ให้กองบริหารการคลังแนบใบเสร็จรับเงิน ส่งไปให้ด้วยเพื่อมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่ง ในกรณีที่เช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ให้ยกเลิกใบเสร็จรับเงิน ทําการปรับปรุงบัญชีแล้วแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบพร้อมทั้งส่งหลักฐานการคืนเช็คเพื่อดําเนินการต่อไป 2.3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 2.3.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือส่งในคดี จะเป็นเงินสด แคชเชียร์เช็ค เช็ค ตั๋วแลกเงิน ธนาคารสั่งจ่าย เช็คของส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งจ่ายในนามหน่วยงานของกรมบังคับคดี เป็นผู้รับเงิน หรือรับโอนเงินทางบัญชีเงินฝากธนาคารของหน่วยงานหรือใช้วิธีทํารายการผ่านระบบ EDC (Electronic Data Capture) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงาน หรือสั่งคําร้องในการรับเงินนั้น โดยระบุประเภทของเงิน วิธีการชําระ เลขที่ตัวเงิน จํานวนเงิน เลขคดี ชื่อจําเลย เลขหน้าบัญชี และเงื่อนไข (ถ้ามี) เพื่อให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเป็นผู้รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงนามเป็นผู้รับเงินร่วมกับผู้อํานวยการกองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบเสร็จรับเงินให้มีสําเนา 3 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงินส่วนสําเนา ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นชั่ว พร้อมจดเลขที่ตัวเงิน ลงในใบเสร็จรับเงินด้วย หากต้องตอบรับเงินให้เนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน การส่งเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มีการระบุประเภทของเงิน จํานวนเงิน เลขคดี ชื่อจําเลย ชัดแจ้งแล้ว ให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบเสร็จรับเงิน เสร็จแล้วแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ 2.3.2 ให้กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารประเภทบัญชี กระแสรายวัน ชื่อบัญชี “กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้” แล้วนําฝากเงินประเภทเงินค่าใช้จ่ายของผู้ขอฟื้นฟูกิจการ งชําระไว้ตามข้อ 2.3.1 2.4 การวางทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานจดรายงานหรือสั่งคําร้องโดยแสดงให้ปรากฏถึง รายละเอียดแห่งการรับเงิน และออกใบเสร็จรับเงินโดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน ร่วมกับผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบเสร็จรับเงินนั้นให้มีสําเนา 2 ฉบับ ต้นฉบับ มอบให้ผู้ชําระเงิน ส่วนสําเนารวมไว้ในสํานวนฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ในกรณีที่ต้องตอบรับเงิน ให้ ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน 2.5 หากคู่ความในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือสํานวน วางทรัพย์แสดงเจตนาประสงค์จะส่งเงินผ่านธนาคาร ให้เจ้าหน้าที่การเงินปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอน ในการรับเงินเข้าบัญชีธนาคารของกรมบังคับคดีตามแบบการรับเงินผ่านธนาคารที่กระทรวงการคลังกําหนด ข้อ ๓ การจ่ายเงิน 3.1 คดีแพ่ง เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดี ให้ผู้ขอรับเงินยื่นใบขอรับเงินตามแบบ 19 ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อมีคําสั่งก่อน หากต้องมีการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินจัดทําใบสั่งจ่ายเงินให้ ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี ลงชื่อพร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงินหรือบัญชีแสดงการรับจ่าย หรือบัญชีส่วนเฉลี่ยว่าได้จ่ายเงินให้ผู้ใดตั้งแต่เมื่อใด ทั้งนี้ ใบสั่งจ่ายเงินให้มีสําเนาหนึ่งฉบับ ต้นฉบับ รวมสํานวนไว้ สําเนาคงไว้เป็นต้นขั้ว โดยลงบัญชีให้ครบถ้วนตามระเบียบของราชการ และเก็บเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้รับเงินมิใช่ผู้มีส่วนได้อันแท้จริง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี อาจสั่ง ให้ผู้ขอรับเงินหาผู้รับรองมาจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะให้ตัวแทนมารับเงินอาจสั่งให้ ตัวการมารับเงินเองก็ได้ 3.2 คดีล้มละลาย ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอรับเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อได้รับ คําสั่งให้จ่ายเงินแล้ว ให้ผู้ขอรับเงินทําใบรับเงินตามแบบ ส.48 แล้วให้เจ้าหน้าที่การเงินจัดทําใบสั่งจ่ายเงิน เสนออธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เพื่ออนุมัติสั่งจ่ายและลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินให้ผู้ขอรับเงิน หรือโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความประสงค์ของผู้รับเงิน พร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงินหรือบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือ บัญชีแสดงส่วนแบ่งทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี ว่าได้จ่ายเงินให้ผู้ใด ตั้งแต่เมื่อใด ทั้งนี้ ใบสั่งจ่ายเงินให้มีสําเนาหนึ่งฉบับ ต้นฉบับรวมสํานวนไว้ สําเนาคงไว้เป็นต้นขั้ว โดยลงบัญชีให้ครบถ้วนตามระเบียบของราชการ และ เก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน เมื่อมีผู้มายื่นขอรับเงินในคดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลพิจารณาและมีคําสั่งในระบบจ่ายเงินคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ส่งคําสั่งให้นักบัญชีโอนเงินให้ผู้ขอรับเงินนั้นโดยจัดทําใบสั่งจ่ายเงินเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดี กรมบังคับคดีมอบหมาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด สงขออนุมัติการจ่ายเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าบัญชีผู้ขอรับเงิน พร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงิน หรือบัญชีแสดงการรับจ่าย หรือบัญชีส่วนแบ่งทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี ว่าได้จ่ายเงินให้ผู้ใด ตั้งแต่เมื่อใด โดยลงบัญชีให้ครบถ้วน ตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน 3.3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการ กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะกําหนดโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมบังคับคดี เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดการ ประชุมเจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายในการประกาศโฆษณาคําสั่ง เป็นต้น ให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์สามารถเบิกจ่ายเงินในคดีได้ 3.4 การวางทรัพย์ เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในสํานวนวางทรัพย์ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอรับเงิน ต่อเจ้าพนักงาน เมื่อมีคําสั่งให้จ่ายเงินได้แล้ว ให้เจ้าหน้าที่การเงินจัดทําใบสั่งจ่ายเงินให้ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดี ลงชื่อพร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงิน ว่าได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ใดตั้งแต่เมื่อใด ทั้งนี้ ใบสั่งจ่ายเงินให้มีสําเนาหนึ่งฉบับ ต้นฉบับรวมสํานวนไว้ สําเนาคงไว้เป็นต้นขั้ว โดยลงบัญชีให้ครบถ้วน ตามระเบียบของราชการ และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน 3.5 กรณีการจ่ายเงินโดยกองบริหารการคลังจํานวนตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ให้สั่งจ่าย เป็นเช็คหรือโดยวิธีโอนผ่านบัญชีธนาคาร ถ้าจํานวนเงินต่ํากว่าห้าพันบาทจะจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คหรือ โดยวิธีโอนผ่านบัญชีธนาคารก็ได้ หากสั่งจ่ายเป็นเงินสดต่ํากว่าห้าพันบาท ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อในใบสั่งจ่ายได้ กรณีการจ่ายเงินของสํานักงานบังคับคดี ให้สั่งจ่ายเป็นเช็คหรือโดยวิธีโอนผ่านบัญชี ธนาคาร 3.6 วิธีการสั่งจ่ายเช็คหรืออนุมัติโอนจ่ายเงินให้อธิบดีหรือรองอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีลงชื่อฝ่ายหนึ่งในเช็คหรืออนุมัติโอนจ่ายเงินร่วมกับ ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือหัวหน้าฝ่ายการเงินหรือเจ้าหน้าที่การเงินผู้ที่ได้รับมอบหมายอีกฝ่ายหนึ่งรวมสองคน 3.7 วิธีการส่งเงินให้ผู้รับเงินให้ทําหนังสือนําส่งพร้อมส่งเช็คไปด้วย กรณีการโอนเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ทําหนังสือแจ้งการโอนเงินให้ผู้รับทราบด้วย 3.8 วิธีการจ่ายเงินกรณีเบิกเงินในคดีเพื่อทดรองจ่ายหรือค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ บังคับคดี ให้ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายเป็นไปตามที่กล่าวข้างต้น และให้สั่งจ่ายเช็คในนามหน่วยงานเป็นผู้รับเงิน 3.9 เมื่อเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หรือสํานวนวางทรัพย์แสดงเจตนาขอรับเงินผ่านธนาคาร ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอตามแบบคําขอรับเงิน ผ่านธนาคารที่กระทรวงการคลังกําาหนด วิธีการและขั้นตอนในการจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารของเจ้าหนี้ หรือผู้ขอรับเงินให้เป็นไปตาม ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ การรับและจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 4.1 การรับและจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หมายถึง การรับและจ่ายเงินในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และการวางทรัพย์ ที่ดําเนินการผ่านช่องทางการชําระเงินด้วย บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต) ผ่านเครื่อง EDC (Electronic Data Capture) หรือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับธนาคารด้วยระบบอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet Banking) Website ของธนาคาร Website ของกรมบังคับคดี เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือตู้ ATM หรือระบบออนไลน์ ผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต) หรือบริการรับชําระข้ามธนาคาร (Cross bank bill payment) และการรับและจ่ายเงินโดยวิธีอื่นตามที่กระทรวงการคลังกําหนด 4.2 เมื่อมีการรับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะนําข้อมูลที่ธนาคารนําส่งทุกสิ้นวัน มาทําการบันทึกบัญชี และออกใบเสร็จรับเงินผ่านระบบโดยอัตโนมัติ โดยกําหนดเลขที่ เล่มที่ใบเสร็จรับเงิน แยกตามหน่วยงานเรียงต่อเนื่องกัน โดยมีการลงลายมือชื่อผู้รับเงินด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในใบเสร็จรับเงินในระบบ โดยผู้ชําระเงินสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินจากช่องทางที่กําหนดได้ 4.3 เอกสารการรับชําระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นเอกสาร แทนใบเสร็จรับเงินของส่วนราชการ 4.4 การรับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะสมบูรณ์ต่อเมื่อหน่วยงานของกรมบังคับคดี ได้รับเงินครบถ้วนจากผู้ให้บริการในการรับชําระเงินแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และข้อตกลงระหว่างกรมบังคับคดี กับผู้ให้บริการ 4.5 เมื่อมีผู้ยื่นขอรับเงินในคดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ รายละเอียดข้อมูล พิจารณาและมีคําสั่งในระบบการจ่ายเงินในคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ และส่งคําสั่งให้นักบัญชี หรือเจ้าหน้าที่การเงินโอนเงินให้ผู้ขอรับเงินนั้นโดยจัดทําใบสั่งจ่ายเสนออธิบดี หรือผู้ที่อธิบดีมอบอํานาจ ผู้อํานวยการกองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจ หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีหรือ ผู้ที่ได้รับมอบอํานาจ ลงชื่ออนุมัติใบสั่งจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าบัญชี ผู้ขอรับเงิน 4.6 กรณีที่มีเหตุขัดข้องหรือจําเป็นไม่อาจดําเนินการรับหรือจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการโดยใช้เอกสารไปพลางก่อน หากเหตุขัดข้องหรือจําเป็นนั้นหมดสิ้นไป ให้เจ้าหน้าที่ จัดให้มีการบันทึกลงระบบและดําเนินการที่เกี่ยวข้องในทันที ในกรณีนี้ให้เจ้าหน้าที่รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงเหตุขัดข้องและการดําเนินการด้วย 4.7 เมื่อสิ้นวันทําการให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี หรือผู้อํานวยการกองตรวจสอบ ความถูกต้องของการรับเงินจากรายงานทางการเงินในระบบงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,874
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 579/2562 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 579/2562 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบังคับตามคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงิน ------------------------------------------ ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 หมวด 2/1 การบังคับทางปกครอง ส่วนที่ 2 การบังคับตามคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงิน 2.การบังคับ โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการบังคับตามคําสั่ง ทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงินโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อศาลส่งหมายบังคับคดี ออกตามความในมาตรา 63/15 แห่งพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มายังสํานักงานบังคับทางปกครองหรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้ว หากหน่วยงาน ของรัฐที่ออกคําสั่งให้ชําระเงินมาดําเนินการตั้งเรื่องบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง และแนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยอนุโลม ข้อ ๒ ในการตั้งเรื่องบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งหน่วยงานของรัฐที่ออกคําสั่ง ให้ชําระเงินค่าเนินการ ดังนี้ 2.1 นําส่งสําเนาคําร้องขอออกหมายบังคับคดีที่ยื่นต่อศาล เพื่อจะได้ทราบว่า การบังคับทางปกครองที่หน่วยงานของรัฐที่ออกคําสั่งให้ชําระเงิน ได้ดําเนินการภายในสิบปีนับแต่วันที่คําสั่ง ที่กําหนดให้ชําระเงินเป็นที่สุดหรือไม่ 2.2 แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบโดยเร็ว หากปรากฏว่า ในระหว่างการบังคับคดี จํานวนหนี้ตามคําสั่งให้ชําระเงินลดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ข้อ ๓ กรณีที่ศาลมีคําสั่งให้งดการบังคับคดี และส่งคําสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ตามมาตรา 63/16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลา หรือเงื่อนไขตามที่ศาลกําหนด และให้แจ้งการจัดการบังคับคดีให้หน่วยงานที่ออกคําสั่งให้ชําระเงิน และบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,875
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 464/2562 เรื่อง การกำหนดเขตอำนาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 464./2562 เรื่อง การกําหนดเขตอํานาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร --------------------- อนุสนธิประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง จัดตั้งสํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง แก้ไขประกาศจัดตั้งสํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ ลงวันที่ 16 มกราคม 2555 ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง จัดตั้งสํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ 5 (กองจําหน่ายทรัพย์สิน) ลงวันที่ 10 กันยายน 2556 ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง จัดตั้ง สํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 6 (กองอายัดทรัพย์สิน) ลงวันที่ 10 กันยายน 2556 คําสั่ง กรมบังคับคดีที่ 225/2558 เรื่อง กรณีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามหมายบังคับคดีของศาลชํานัญ พิเศษ ลงวันที่ 27 เมษายน 2558 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 83/2561 เรื่อง การกําหนดเขตอํานาจศาลที่อยู่ใน ความรับผิดชอบของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 118/2561 เรื่อง การกําหนดเขตอํานาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการบังคับคดีในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร สอดคล้องตามเขตอํานาจศาลที่ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 รับผิดชอบคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงดอนเมือง และศาลแขวงดุสิต (หมายบังคับคดีหรือคําสั่งศาล แขวงดุสิตก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2561) และเป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลภาษีอากรกลาง ข้อ ๒ สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2 รับผิดชอบคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลแพ่ง กรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแขวงพระนครใต้ และศาลแขวงปทุมวัน และเป็นผู้ดําเนินการบังคับคดี ตามหมายบังคับคดีของศาลแรงงานกลาง ยกเว้นเขตพื้นที่ในเขตอํานาจของศาลแรงงานกลาง สาขามีนบุรี เขต มีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบังและเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร) และสาขานนทบุรี เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร) ข้อ ๓ สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 3 รับผิดชอบคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลแพ่ง มีนบุรี และศาลอาญามีนบุรี และเป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลแรงงานกลาง สาขามีนบุรี และศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สาขามีนบุรี ข้อ ๔ สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4 รับผิดชอบคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของ ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลอาญาตลิ่งชัน และศาลแขวงดุสิต (หมายบังคับคดีหรือคําสั่งศาลแขวงดุสิตตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป) และเป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลเยาวชนและ ครอบครัวกลาง ยกเว้นศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สาขามีนบุรี ศาลทหารกรุงเทพ (การบังคับโทษปรับ ในคดียาเสพติด) ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ศาลล้มละลายกลาง และศาลอาญา คดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ข้อ ๕ สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 5 รับผิดชอบคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลแพ่งพระโขนง และศาลอาญาพระโขนง ข้อ ๖ สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 6 รับผิดชอบคดีที่อยู่เขตอํานาจของ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญาธนบุรี ศาลแขวงธนบุรี และแขวงบางบอน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2562 (ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก (นางอรัญญา ทองน้ําตะโก) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,876
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 225/2562 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้รักษาราชการแทน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 225/2562 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้รักษาราชการแทน --------------------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 512/2557 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2557 ที่ 608/2557 ลงวันที่ 2ตุลาคม 2557 ที่ 541/2558 ลงวันที่ 30 กันยายน 2558 ที่ 532/2558 ลงวันที่ 28 กันยายน 2558 และที่ 697/2561 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2561 กรมบังคับคดีแต่งตั้งข้าราชการเป็นผู้รักษา ราชการแทนหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง นั้น เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของกรมบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี 512/2557 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2557 ที่ 208/2557 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2557 ที่ 541/2558 ลงวันที่ 30 กันยายน 2558 ที่ 532/2558 ลงวันที่ 28 กันยายน 2558 และที่ 697/2561 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2561 และบรรดาคําสั่ง ระเบียบหรือประกาศอื่นใด ในส่วนที่มีกําหนดไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ โดยให้ใช้ความตามคําสั่งนี้แทน ข้อ ๒ กรณีไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินใน คดีล้มละลาย ผู้อํานวยการกองบริหารการคลัง ผู้อํานวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้อํานวยการกองบังคับคดี ล้มละลาย 1 – 6 ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ ผู้อํานวยการกองฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 1-6 หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ของหน่วยงานเป็น ผู้รักษาราชการแทน (1) ผู้อํานวยการกลุ่ม หรือหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าฝ่าย อาวุโสลําดับ 1 (2) ผู้อํานวยการกลุ่ม หรือหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าฝ่าย อาวุโสลําดับ 2 (3) ผู้อํานวยการกลุ่ม หรือหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าฝ่าย อาวุโสลําดับ 3 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2562 (ลงชื่อ) สายรุ้ง มารมย์ (นางสาวสายรุ้ง มารมย์) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,877
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 71 2562 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 71 2562 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน ---------------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 501/2560 ลงวันที่ 1 กันยายน 2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน กําหนดแนวปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับ การยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม ถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงให้ยกเลิกแบบ 3 และแบบ 3.1 ตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การยึดทรัพย์ ขับไล่รื้อถอน ฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2560 ข้อ 2. และให้ใช้แบบ 3 และ แบบ 3.1 แนบท้ายคําสั่งนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,878
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 43/2562 เรื่อง แนวทางการจัดทำ รับ ส่งหนังสือและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 43/2562 เรื่อง แนวทางการจัดทํา รับ ส่งหนังสือและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ --------------------------- ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ข้อ 29 กําหนดให้การติดต่อราชการโดยหนังสือ สามารถดําเนินการด้วยระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับงานสารบรรณของกรมบังคับคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ลดการ ใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติราชการ และเตรียมความพร้อมไปสู่องค์กรไร้กระดาษ อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 716/2561 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2561 เรื่อง แนวทาง การจัดทํา รับ ส่ง หนังสือราชการและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และยกเลิกบันทึกซักซ้อมความเข้าใจทุกฉบับ ที่ออกโดยอาศัยคําสั่งดังกล่าว ข้อ ๒ การปฏิบัติงานสารบรรณของกรมบังคับคดีให้ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) ในการจัดทํา รับ-ส่ง หนังสือภายนอก/หนังสือภายใน/ประกาศ/คําสั่ง ยกเว้นหนังสือในงานที่มีระบบงานเฉพาะ ให้ ดําเนินการในระบบงานตามปกติ ข้อ ๓ ในการปฏิบัติงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) ให้ปฏิบัติตามคู่มือการใช้งาน ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) กรมบังคับคดี ข้อ ๔ ให้ทุกหน่วยงานมอบหมายเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทําลงรับและส่ง หนังสือ หรือเอกสารทางสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) ข้อ ๕ หนังสือภายนอก ให้ปฏิบัติ ดังนี้ 5.1 การรับหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทําการบันทึกข้อมูลโดยสแกนหนังสือ หรือเอกสารที่ได้รับและลงทะเบียนรับหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) พร้อมจัดเก็บ ต้นฉบับเอกสารไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบต่อไป และเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งตามลําดับชั้น ในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยไม่ต้องพิมพ์เอกสาร 5.2 การจัดทําและส่งหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจัดทําเอกสารเสนอ ผู้บังคับบัญชาลงนามโดยให้พิมพ์เฉพาะเอกสารต้นฉบับและออกเลขหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo)เพื่อส่งให้กับหน่วยงานภายนอกโดยไม่ต้องพิมพ์เอกสารสําเนาคู่ฉบับ ข้อ ๖ หนังสือภายใน ให้ปฏิบัติ ดังนี้ 6.1 การรับหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทําการบันทึกข้อมูลและลงทะเบียนรับ หนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) จากนั้นให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งตาม ล่าดับชั้นในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยไม่ต้องพิมพ์เอกสาร 6.2. การจัดทําและส่งหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจัดทําหนังสือเสนอ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามตามลําดับชั้น และจัดส่งหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยไม่ต้องพิมพ์ต้นฉบับและสําเนาเอกสาร ข้อ ๗ กรณีเป็นหนังสือเกี่ยวกับการเงิน เมื่อดําเนินการตามข้อ 5 หรือ ข้อ 6 แล้วให้เจ้าหน้าที่ที่ ได้รับมอบหมายส่งหนังสือให้กองบริหารการคลังผ่านทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยให้ใส่ เลขหนังสือที่ส่งให้กองบริหารการคลังทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) ต้นฉบับเอกสารหรือ หลักฐานการเบิกจ่ายและส่งต้นฉบับเอกสารหรือหลักฐานนั้นไปยังกองบริหารการคลังเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง ทั้งนี้กองบริหารการคลังจะลงรับหนังสือในระบบและถือว่าได้รับหนังสือดังกล่าว ต่อเมื่อได้รับต้นฉบับเอกสาร หรือหลักฐานการเบิกจ่ายแล้ว ข้อ ๘ หนังสือหรือเอกสารภายในที่ไม่ต้องทําเป็นบันทึกข้อความให้ติดต่อระหว่างหน่วยงานผ่าน ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ภาครัฐ ไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Trail) ภาครัฐ ของหน่วยงานนั้นๆ ข้อ ๙ ในการสอบถามความประสงค์ หรือการสํารวจข้อมูลต่างๆ ให้จัดทําในรูปแบบ Google Form โดยระบุช่องทางการเข้าถึงเอกสารผ่าน Link หรือ QR Code เพื่อให้เจ้าของเรื่องสามารถประมวลผลได้ทันที ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,879
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 1 /2562 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (4)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 1 /2562 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (4) -------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ มีประกันตามมาตรา 96 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เป็นไปด้วยความถูกต้อง เรียบร้อย เหมาะสม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2550 จึงมีคําสั่งให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ ข้อ ๑ ในกรณีเจ้าหนี้มีประกันยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (4) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าหนี้ตีราคาหลักประกันมาในคําขอรับชําระหนี้ซึ่งเมื่อหักกับจํานวนหนี้ ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่เพียงใดต้องระบุให้ชัดเจน รวมทั้งนําส่งพยานหลักฐานเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกัน เช่น สําเนาเอกสารสิทธิ์ สัญญาจํานอง จํานํา ภาพถ่ายทรัพย์สินปัจจุบัน แผนที่ตั้งทรัพย์ ราคาประเมินราชการที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ราคาประเมินของบริษัทเอกชนที่เป็นสมาชิกในสมาคมผู้ประเมิน ค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย หรือสมาคมอื่นในลักษณะเดียวกันที่ได้จัดทําการประเมินไว้เป็นปัจจุบัน ไม่เกิน 1 เดือน และ การ์ดบัญชี เป็นต้น และเอกสารเกี่ยวกับมูลหนี้ที่มีประกันทั้งในส่วนของลูกหนี้ และลูกหนี้ร่วมทุกราย ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ที่ฝ่ายคําคู่ความหรือสํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาค แล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคําขอรับชําระหนี้ดําเนินการส่งคําขอรับชําระหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อพิจารณาในทันที ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาว่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันที่เจ้าหนี้ ตีราคามานั้นเป็นราคาที่สมควรหรือไม่ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เปรียบเทียบราคาทรัพย์หลักประกัน ระหว่างราคาประเมินของบริษัทเอกชนที่เป็นสมาชิกในสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย หรือสมาคมอื่นในลักษณะเดียวกันที่ได้จัดทําการประเมินไว้เป็นปัจจุบันไม่เกิน 1 เดือน กับราคาประเมิน ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ในการประเมินประกอบการยึดทรัพย์ ราคาใดสูงกว่าให้ถือ ราคานั้นเป็นราคาที่สมควร ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาได้แล้วว่า ราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ที่เจ้าหนี้มีราคามานั้นเป็นราคาที่สมควรหรือไม่ ให้ดําเนินการ ดังนี้ 4.1 กรณีเป็นราคาที่สมควร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยินยอมให้ทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกันตกเป็นสิทธิแก่เจ้าหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมโดยคํานวณ จากราคาที่สมควรดังกล่าวและค่าใช้จ่ายจากเจ้าหนี้ และออกหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าหนี้ต่อไป โดยแจ้งคําสั่งให้แก่โจทก์ และจําเลยที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ทราบต่อไป โดยไม่ต้องรอ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ก่อน กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้น้อยกว่าราคาที่สมควร หรือมีคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้บุริมสิทธิ์น้อยกว่าราคาที่สมควร หรือมีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ จะต้องกําหนด ให้เจ้าหนี้ชดใช้ส่วนต่างด้วย 4.2 กรณีเป็นราคาที่ไม่สมควร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตาม มาตรา 96 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ต่อไป ข้อ ๕ บรรดาสํานวนคดีล้มละลาย กรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน ตามมาตรา 96 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย 2483 ที่ได้ดําเนินการไปแล้วก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผล บังคับใช้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการบังคับคดีต่อไป อนึ่ง คําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,880
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 2 / 2562 เรื่อง การรับส่งข้อมูลด้านการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานต่างๆ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 2 / 2562 เรื่อง การรับส่งข้อมูลด้านการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานต่างๆ -------------------------------- ด้วยกรมบังคับคดีได้ทําความตกลงในการรับส่งข้อมูลด้านการบังคับคดีล้มละลาย อิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายและการรับส่งข้อมูลระหว่าง กรมบังคับคดีและหน่วยงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกรมบังคับคดีกับ หน่วยงานต่างๆ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ภายใต้ความตกลงระหว่างกรมบังคับคดีและหน่วยงานให้เจ้าหน้าที่ ดําเนินการดังนี้ ข้อ ๑ หน่วยงาน หมายความถึง หน่วยงานทางทะเบียน บุคคล หรือ หน่วยงานอื่นใด ที่ได้ทําความตกลงกับกรมบังคับคดีเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบุคคลล้มละลายและข้อมูลทรัพย์สินของบุคคล ล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ตอน ๒ การบันทึกข้อมูลคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ประกอบด้วย ภาพคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของศาล ชื่อ-นามสกุล หรือ ชื่อนิติบุคคล และเลขประจําตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล รวมทั้งหมายเลขคดีแดง ชื่อโจทก์และจําเลยในคดี และตรวจสอบข้อมูลในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ระบบ ส่งข้อมูลการพิทักษ์ทรัพย์ให้หน่วยงานต่างๆ ภายใน 16.00 นาฬิกา ข้อมูลการพิทักษ์ทรัพย์ภายหลังนั้น ระบบ จะ ดําเนินการส่งแก่หน่วยงานทางทะเบียนในวันทําการถัดไป ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบผลจากหน่วยงานแล้วให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ 3.1 ในกรณีที่หน่วยงานแจ้งว่าพบข้อมูลพิทักษ์ทรัพย์ตรงกันกับข้อมูลของหน่วยงาน ให้ส่งสํานวนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดําเนินการ และหากพบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ดําเนินการรวบรวม ทรัพย์สินดังกล่าวตามกฎหมายต่อไป 3.2 ในกรณีที่หน่วยงานแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ ติดภาระผูกพันกับหน่วยงานอื่นหรือถูกดําเนินการตามกฎหมายไว้ก่อนโดยหน่วยงานภาครัฐที่มีอํานาจ ตามกฎหมาย เช่น กรมสรรพากร สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สํานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฯลฯ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประสานกับหน่วยงานภาครัฐ ดังกล่าวเพื่อพิจารณาวิธีการจัดการทรัพย์สิน แล้วแจ้งผลให้หน่วยงานนั้นทราบและดําเนินการกับทรัพย์สิน ของลูกหนี้ต่อไป 3.3 ในกรณีที่หน่วยงานแจ้งว่าพบข้อมูลบุคคลที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์กับข้อมูล ของหน่วยงานตรงกันบางส่วน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและแจ้งผล การตรวจสอบผ่านทางระบบให้หน่วยงานนั้นทราบภายในวันทําการถัดไป ข้อ ๔ เมื่อกองบริหารการคลังตรวจสอบพบว่ามีการนําส่งเงินเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ ให้ค่าเนินการออกใบเสร็จโดยเร็ว และตอบรับเงินนําส่งไปยังหน่วยงานผู้นําส่งเงิน ข้อ ๕ สําหรับสํานวนคดีล้มละลายซึ่งได้บันทึกข้อมูลคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันที่ มีการตกลงวิธีการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกรมบังคับคดีและหน่วยงาน และยังไม่มีคําสั่งศาล อนุญาตให้ปิดคดี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบข้อมูลของลูกหนี้กับหน่วยงานต่างๆ และดําเนินการ ดังนี้ 5.1 กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบพบทรัพย์สินของลูกหนี้และมีคําสั่ง ให้รวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคําสั่งไปยังหน่วยงานนั้นๆ ทันที 5.2 กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีความเห็นควรดําเนินการเพิกถอนนิติกรรม ของลูกหนี้ให้เสนอความเห็นต่อผู้อํานวยการหรือผู้ที่มีอํานาจเพื่อดําเนินการแจ้งให้หน่วยงานทราบและขอให้ แจ้งผู้ที่ประสงค์จะทํานิติกรรมกับทรัพย์สินนั้นทราบว่า ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในกายเพิกถอนนิติกรรม ข้อ ๖ เมื่อลูกหนี้ได้รับการปลดจากการล้มละลายแล้วพบว่ามีการแจ้งให้ระงับการทํา นิติกรรมของลูกหนี้ไปยังหน่วยงานให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อแจ้งยกเลิก คําสั่งเช่นว่านั้นเฉพาะทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้มาภายหลังวันที่ได้รับการปลดจากล้มละลายไปยังหน่วยงาน ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยกเลิกการระงับการทํานิติกรรมของลูกหนี้และ ถอนการดําเนินการกับทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคําสั่งไปยังหน่วยงานนั้น ๆ โดยเร็ว ข้อ ๘ ในการจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ที่รวบรวมไว้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวโดยไม่ต้องแจ้งการเพิกถอนการดําเนินการกับทรัพย์สินแก่หน่วยงาน และออกหนังสือให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้นําไปติดต่อหน่วยงานเพื่อดําเนินการต่อไป ตอน ๙ ในกรณีที่ต้องมีการคืนเงินให้แก่หน่วยงาน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง นักบัญชีโอนเงินให้หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,881
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 801/2561 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 และกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถูกฟ้องบังคับจำนอง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 801/2561 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 และกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถูกฟ้องบังคับจํานอง ---------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ในคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถูกฟ้องบังคับจํานองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พุทธศักราช 2483 ถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2550 จึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 486/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีล้มละลาย กรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน ตามมาตรา 95 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2553 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 32/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลาย กรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน ตามมาตรา 95 ลงวันที่ 24 มกราคม 2554 และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 84/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีล้มละลาย ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรณีถูกฟ้องบังคับจํานอง ลงวันที่ 3 มีนาคม 2554 ข้อ ๒ ในกรณีที่เจ้าหนี้มีประกันยื่นคําร้อง ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ 2.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบเบื้องต้น หากนิติกรรมที่ลูกหนี้กระทํา เป็นโมฆะหรืออยู่ในข่ายเพิกถอน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ก็ให้ดําเนินการ ตามกฎหมายหรือตามคําสั่งกรมบังคับคดีว่าด้วยการปฏิบัติงานในเรื่องนั้นๆต่อไป 2.2 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบไม่พบเหตุตามข้อ 2.1 ให้รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นหลักประกัน เช่น สําเนาเอกสารสิทธิ์ สัญญาจํานอง จํานํา ภาพถ่ายทรัพย์สินปัจจุบัน แผนที่ตั้งทรัพย์ ราคาประเมิน เป็นต้น และเอกสารเกี่ยวกับมูลหนี้ที่มีประกัน รวมทั้งจํานวนยอดหนี้ ณ วันขึ้น คําร้อง และให้ผู้ร้องวางเงินประกันค่าใช้จ่าย 5,000 บาท 2.3 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าประสงค์ จะทําเนินการกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน หรือไม่ 2.4 หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบให้ดําเนินการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ งดดําเนินการตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ แต่การงดดําเนินการนี้ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันที่จะดําเนินการบังคับคดี กับทรัพย์หลักประกันตามกฎหมายอื่น 2.5 ในกรณีที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้ดําเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็น หลักประกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและ าเนินการสอบสวนทําคําสั่งต่อไป 2.6 ในการทําคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําคําสั่งให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่ วันเสร็จการสอบสวน กรณีจําเป็น อาจทําสั่งให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้รายงานตามลําดับ เพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อผู้อํานวยการกองหรือผู้ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี 2.7 คําสั่งตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เสนอ ผู้อํานวยการกองหรือผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการหรือเห็นชอบ และแจ้งคําสั่งให้ผู้ร้องทราบ ข้อ ๓ ในกรณีที่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันได้ยึดไว้อยู่ก่อนแล้วในคดีแพ่งให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตามข้อ 2.1 หากไม่พบเหตุตามข้อ 2.1 ให้แจ้งเจ้าหนี้มีประกันและเจ้าพนักงานบังคับคดี ดําเนินการบังคับคดีกับทรัพย์หลักประกันในคดีแพ่งต่อไป หากมีเงินคงเหลือให้ส่งเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้งดดําเนินการที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้มีประกันที่ยื่นคําร้องตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2553 ซึ่งต่อมาเจ้าหนี้มีประกันดังกล่าวได้ใช้สิทธิฟ้องบังคับจํานอง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ 4.1 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องแล้ว ให้ส่ง หมายเรียกและสําเนาคําฟ้องดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้ทราบ ภายในกําหนด 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียก และ สําเนาคําฟ้อง พร้อมแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบให้ดําเนินการทรัพย์สินอันเป็น หลักประกัน จึงขอมอบหมายให้ลูกหนี้เข้าดําเนินกระบวนพิจารณาคดีด้วยตนเอง 4.2 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคําแถลงต่อศาลว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบให้ ดําเนินการกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและได้มอบหมายให้ลูกหนี้เข้าดําเนินกระบวนพิจารณาคดี ด้วยตนเองแล้ว 4.3 ในกรณีที่ลูกหนี้หลบหนีไม่มาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคําให้การสู้คดีจากพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏ ในสํานวนต่อไป ข้อ ๕ บรรดาสํานวนคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่ได้ทําการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันไว้ก่อนวันที่ คําสั่งนี้มีผลบังคับใช้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการบังคับคดีกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าว ต่อไป อนึ่ง คําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,882
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ------------------------------ ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้นําหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ออกใช้งานแทนหนังสือเดินทางรูปแบบเดิม จึงเห็นสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2545 โดยอาศัยอํานาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 จึงให้ออกระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ใช้บังคับดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ เมื่อระเบียบนี้ใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2545 และให้บรรดาประกาศ ระเบียบ หรือคําสั่งเกี่ยวกับหนังสือเดินทางฉบับอื่น ซึ่งใช้อยู่ในวันก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งระเบียบนี้ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ หากไม่มีข้อความกําหนดเป็นอย่างอื่น (1) หนังสือเดินทาง หมายความว่า เอกสารราชการซึ่งบุคคลสัญชาติไทยใช้ในการเดินทางในต่างประเทศ (2) ผู้ถือหนังสือเดินทาง หมายความว่า ผู้มีชื่ออยู่ในหนังสือเดินทาง (3) เล่มหนังสือเดินทาง หมายความว่า หนังสือเดินทางที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังมิได้บันทึกข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทาง (4) เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หมายความว่า หนังสือสําคัญประจําตัวที่ออกตามข้อ 17 (5) สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทย หมายความว่า สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงสํานักงานอื่นที่รัฐบาลไทยตั้งขึ้นในต่างประเทศให้ทําหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยด้วย แต่ไม่รวมถึงสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (6) พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ หนังสือเดินทางมี 4 ประเภท คือ (1) หนังสือเดินทางทูต (2) หนังสือเดินทางราชการ (3) หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป (4) หนังสือเดินทางชั่วคราว อื่นๆ ๑ ระเบียบการออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทาง ------------------------------ หมวด ๑ หนังสือเดินทางทูต ---------------------------- ข้อ ๖ หนังสือเดินทางทูตออกให้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้ (1) พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2) พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส (3) พระราชวงศ์และบุคคลสําคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ (4) ประธานองคมนตรี และองคมนตรี (5) นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี (6) ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา (7) ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์ (8) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด (9) อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ (10) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพ (11) ข้าราชการที่มีตําแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ (12) ข้าราชการที่มีตําแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจําอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจําอยู่ หรือทําการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี (13) คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ (2) ถึงข้อ (8) (14) บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ หรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจําเป็น หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ หรืออดีตเอกอัครราชทูต หรือในกรณีที่เห็นสมควร ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอํานาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางทูตได้ ข้อ ๗ หนังสือเดินทางทูตมีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางทูต นั้น ข้อ ๘ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้หนังสือเดินทางทูต หรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางทูต ให้ส่งคืนหนังสือเดินทางทูตนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ หมวด ๒ หนังสือเดินทางราชการ ------------------------------- ข้อ ๙ หนังสือเดินทางราชการออกให้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้ (1) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญและสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ (2) ข้าราชการซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจําอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยหรือในคณะทูตถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศในตําแหน่งอื่นที่มิใช่ตําแหน่งทางการทูต รวมทั้งคู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจําอยู่หรือทําการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี (3) บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ (4) บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือในกรณีที่เห็นสมควรเป็นพิเศษ หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอํานาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางราชการได้ ข้อ ๑๐ หนังสือเดินทางราชการมีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางราชการ นั้น ข้อ ๑๑ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้หนังสือเดินทางราชการ หรือเมื่อผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางราชการ ให้ส่งคืนหนังสือเดินทางราชการนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ ข้อ ๑๒ ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนําหนังสือเดินทางไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวมิได้ หมวด ๓ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป --------------------------- ข้อ ๑๓ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปออกให้กับบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น ข้อ ๑๔ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปมีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก หมวด ๔ หนังสือเดินทางชั่วคราว ------------------------------- ข้อ ๑๕ หนังสือเดินทางชั่วคราวออกให้กับบุคคล ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือเสียหายจนใช้การไม่ได้ หรือหนังสือเดินทางขาดอายุระหว่างอยู่ต่างประเทศ แต่มีหลักฐานประกอบการขอออกหนังสือเดินทางครบถ้วน และประสงค์จะเดินทางเป็นการเร่งด่วนโดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้แทนได้ (2) บุคคลที่มีความจําเป็นจะต้องเดินทางเร่งด่วนอย่างยิ่ง และปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย อนุมัติ ข้อ ๑๖ หนังสือเดินทางชั่วคราวมีอายุ 1 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก หมวด ๕ เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง -------------------------------- ข้อ ๑๗ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศอาจออกหนังสือสําคัญประจําตัว (Certificate of Identity) เป็นเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามเงื่อนไขและวิธีการที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด ให้แก่บุคคลในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อหนังสือเดินทางของบุคคลนั้นถูกยกเลิกตามข้อ 23 (2) เมื่อบุคคลนั้นไม่มีหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางสูญหาย หรือเสียหายจนใช้การไม่ได้หรือหนังสือเดินทางขาดอายุ แต่มีหลักฐานอื่นเพียงพอที่จะทําให้ผู้ออกเอกสารเชื่อได้ว่าบุคคลผู้นั้นมีสัญชาติไทย และประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วนโดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้แทนได้ ข้อ ๑๘ หนังสือสําคัญประจําตัวมีอายุตามความจําเป็น แต่ไม่เกิน 6 เดือน ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเป็นอันหมดอายุไม่สามารถต่ออายุได้อีก หมวด ๖ การขอ หรือการแก้ไขเพิ่มเติม หรือการบันทึกรายการในหนังสือเดินทาง ------------------------------- ข้อ ๑๙ การขอ การขอรับ หรือการแก้ไขเพิ่มเติม หรือการบันทึกรายการในหนังสือเดินทางที่ปรากฏในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด ข้อ ๒๐ ในการพิจารณาคําขอ หรือการแก้ไขหนังสือเดินทาง หากกระทรวงการต่างประเทศมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประวัติหรือพฤติการณ์ของผู้ร้อง หรือผู้ร้องขอแก้ไขหนังสือเดินทางรายใดกระทรวงการต่างประเทศอาจส่งเรื่องให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ หมวด ๗ การปฏิเสธหรือยับยั้งคําขอหนังสือเดินทาง ----------------------------- ข้อ ๒๑ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอ หรือแก้ไขหนังสือเดินทางในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อผู้ร้องมีหนังสือเดินทางประเภทเดียวกันที่ยังคงมีอายุใช้ได้อยู่ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด (2) เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกําลังรับโทษในคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจเห็นว่าไม่ควรจะออกหนังสือเดินทางให้ (3) เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอํานาจตามกฎหมายอื่นสั่งห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (4) เมื่อผู้ร้องกระทําผิดกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติทางราชการ ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือปิดบังความจริงอันเป็นสาระสําคัญ หรือแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอหนังสือเดินทาง หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จะเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของผู้เดินทางเอง หรือจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงปลอดภัย หรือชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทย ข้อ ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอและออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ร้องซึ่งหนังสือเดินทางเดิมสูญหายเกินกว่า 2 ครั้งในรอบ 1 ปี นับจากวันขอครั้งแรก จนกว่าบุคคลผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการสูญหายโดยสุจริต หมวด ๘ การยกเลิกหนังสือเดินทาง ------------------------------ ข้อ ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกและเรียกคืนหนังสือเดินทางได้ เมื่อปรากฏภายหลังว่า (1) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะขอหนังสือเดินทางประเภทนั้น (2) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกหนังสือเดินทางให้ตามข้อ 21 (2) (3) และ (4) (3) มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางได้หนังสือเดินทางนั้นมาโดยมิชอบ (4) หนังสือเดินทางนั้นได้มีการแจ้งว่าสูญหายต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจท้องที่เกิดเหตุแล้ว หรือผู้ถือได้ร้องขอให้ยกเลิกเพื่อขอหนังสือเดินทางชนิดเดียวกันเล่มใหม่ (5) หนังสือเดินทางนั้นอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหนังสือเดินทางโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (6) ทางราชการได้ทดรองจ่ายเงินช่วยเหลือส่งตัวผู้ถือหนังสือเดินทางกลับประเทศไทยและผู้ถือได้ทําสัญญากับทางราชการว่าจะชดใช้เงินจํานวนที่ทางราชการได้ทดรองจ่ายไปคืนให้ทางราชการแต่ผู้ถือยังไม่ได้ชดใช้เงินคืนให้แก่ทางราชการจนครบตามเงื่อนไขในสัญญา (7) พิจารณาเห็นว่า หากให้ผู้ถือหนังสือเดินทางยังคงอยู่ในต่างประเทศต่อไป อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทยหรือต่างประเทศได้ ข้อ ๒๔ กระทรวงการต่างประเทศมีอํานาจยึดหนังสือเดินทางที่ถูกยกเลิกจากผู้ถือหนังสือเดินทางหรือผู้ครอบครองหนังสือเดินทาง และมีอํานาจยึดเล่มหนังสือเดินทางจากผู้ครอบครองซึ่งไม่มีอํานาจหน้าที่ในการครอบครองได้ อื่นๆ ๒ ขั้นตอนและวิธีการในการขอหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทาง ---------------------------------- หมวด ๑ สถานที่ยื่นคําขอ ------------------------------------- ข้อ ๒๕ การขอ และขอดําเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในประเทศ สามารถกระทําได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (1) กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (2) สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (3) หน่วยบริการเคลื่อนที่ของกองหนังสือเดินทาง (4) สถานที่ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศอาจกําหนดขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ ข้อ ๒๖ การขอ และขอดําเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในต่างประเทศ สามารถกระทําได้ที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่ง หรือสถานที่ที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่กําหนดเป็นการเฉพาะกิจ ยกเว้นสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ หมวด ๒ การขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป ----------------------------------------- ข้อ ๒๗ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ให้ยื่นคําขอด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) ในกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานะผู้ร้องขอหนังสือเดินทาง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจแจ้งให้ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางแสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นนอกเหนือจาก (1) ได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๒๘ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ยื่นคําขอด้วยตนเองพร้อมหลักฐานและวิธีการดังนี้ (1) สูติบัตรหรือสําเนาสูติบัตรที่ทางราชการรับรองสําหรับผู้อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 สําหรับผู้มีอายุอยู่ในเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน (2) ให้ผู้มีอํานาจปกครองมาแสดงตนพร้อมผู้ร้องขอ เพื่อร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้จะเดินทางไปต่างประเทศในแบบคําร้อง (3) กรณีผู้มีอํานาจปกครองคือบิดาและมารดา ให้บิดาและมารดามาแสดงตนพร้อมกัน ถ้าบิดาและมารดามาแสดงตนพร้อมกันไม่ได้ ให้ผู้ที่ไม่มาทําเป็นหนังสือแสดงความยินยอมตามเงื่อนไขและแบบวิธีที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด (4) บิดามารดา หรือผู้มีอํานาจปกครองตาม (3) ต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชนและหลักฐานแสดงความเกี่ยวพันและการมีอํานาจปกครองผู้ร้องต่อเจ้าพนักงาน ข้อ ๒๙ บุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ยื่นคําขอด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานและวิธีการดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) ยื่นคําร้องพร้อมผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ผู้ซึ่งจะต้องร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้จะเดินทางไปต่างประเทศในแบบคําร้อง โดยแสดงหลักฐานระบุสถานะและความเกี่ยวพันระหว่างกัน ข้อ ๓๐ พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ให้ยื่นคําร้องด้วยตนเองโดยแสดงหลักฐานดังนี้ (1) ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร (2) สําเนาทะเบียนบ้าน/วัด (3) สําเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง (4) เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคมกําหนดวิธีปฏิบัติในการไปต่างประเทศสําหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. 2537 ข้อ ๓๑ การขอหนังสือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ให้ยื่นคําร้องด้วยตนเอง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปในข้อ 27 ข้อ 28 และข้อ 29 พร้อมแสดงหลักฐานเพิ่มเติม คือ หนังสือจากสํานักจุฬาราชมนตรี หรือหนังสือจากคณะกรรมการกลางอิสลามประจําจังหวัดรับรองสถานะการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หมวด ๓ การขอแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือเดินทางธรรมดาที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ---------------------------------- ข้อ ๓๒ ในระหว่างอายุใช้งานของหนังสือเดินทางธรรมดาที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม ขอเพิ่มหน้าตรวจลงตราตามความจําเป็นโดยวิธีการดังนี้ (1) ยื่นคําร้องขอตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด พร้อมหลักฐานบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตัวอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) หนังสือเดินทางที่ขอให้ดําเนินการ (3) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีที่ร้องขอ เช่น ใบสําคัญการสมรส ใบสําคัญการหย่า ใบสําคัญการเปลี่ยนชื่อและชื่อสกุล ตามความจําเป็นแต่ละกรณี หมวด ๔ การขอแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ------------------------------------ ข้อ ๓๓ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้ ข้อ ๓๔ ในระหว่างอายุใช้งานของหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถยื่นคําร้องให้มีการบันทึกรายการระบุการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิม หรือการเปลี่ยนลายมือชื่อโดยยื่นคําร้องตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด พร้อมเอกสารประกอบดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตัวอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ขอให้ดําเนินการ (3) เอกสารที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีที่ร้องขอ ได้แก่ หนังสือเดินทางฉบับเดิม หรือตัวอย่างลายมือชื่อที่ต้องการแก้ไข หมวด ๕ การขอรับหนังสือเดินทาง -------------------------------------- ข้อ ๓๕ ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางสามารถขอรับหนังสือเดินทางได้ 3 วิธี คือ (1) กรณีขอรับด้วยตนเอง ให้นําใบนัดรับหนังสือเดินทางไปขอรับจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกําหนดเวลาและสถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบนัด (2) กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นรับแทน ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางต้องทําหนังสือมอบอํานาจตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด เพื่อให้ผู้รับมอบอํานาจมารับตามกําหนดเวลาและสถานที่ในใบนัด (3) กรณีขอรับทางไปรษณีย์ ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางต้องแสดงความจํานงขอรับทางไปรษณีย์ขณะยื่นคําร้องหนังสือเดินทางตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด โดยผู้ร้องชําระค่าบริการเอง หมวด ๖ การยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในต่างประเทศ -------------------------------- ข้อ ๓๖ หลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องในประเทศโดยอนุโลม หมวด ๗ การยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการ ------------------------------------- ข้อ ๓๗ การยื่นคําร้องให้ดําเนินการเกี่ยวกับหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ ให้กระทําได้ด้วยตนเองที่กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล หรือสํานักงานที่ได้รับมอบหมายผู้ถือหนังสือเดินทางในต่างประเทศสามารถยื่นคําร้องด้วยตัวเองได้ที่สถานทูตสถานกงสุลไทยทุกแห่งโดยยื่นพร้อมเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงถึงสิทธิในการถือหนังสือเดินทางประเภทนั้น ๆ และหนังสือจากหน่วยราชการหรือหน่วยงานต้นสังกัด อนุมัติให้เดินทางไปต่างประเทศโดยมีภารกิจเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือเดินทางประเภทนั้น ๆ หมวด ๘ การยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางชั่วคราว ------------------------------------- ข้อ ๓๘ การยื่นคําร้องหนังสือเดินทางชั่วคราว ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นการขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปมาใช้โดยอนุโลม หมวด ๙ การขอต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ ----------------------------------------- ข้อ ๓๙ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสงค์จะต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศให้ดําเนินการดังนี้ (1) ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนด พร้อมหลักฐานบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) หนังสือเดินทางที่ประสงค์จะขอต่ออายุ (3) รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว สีหรือขาวดํา หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาสีเข้ม ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 2 รูป (4) ในกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานะของผู้ร้อง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจแจ้งให้ผู้ร้องแสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๔๐ บุคคลธรรมดาที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ยื่นคําร้องด้วยตนเองตามแบบฟอร์มที่กําหนดพร้อมหลักฐาน ดังนี้ (1) สูติบัตรหรือสําเนาสูติบัตรที่ทางราชการรับรองสําหรับผู้อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 สําหรับผู้มีอายุอยู่ในเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน (2) ให้ผู้มีอํานาจปกครอง หรือบิดามารดามาแสดงตนพร้อมผู้ร้อง เพื่อร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศในแบบคําร้อง โดยบิดามารดาหรือผู้มีอํานาจปกครองต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชนและหลักฐานแสดงความเกี่ยวพันแบบการมีอํานาจปกครองผู้ร้อง (3) กรณีผู้มีอํานาจปกครองคือ บิดาและมารดา ให้บิดาและมารดามาแสดงตนพร้อมกัน ถ้ามาแสดงตนพร้อมกันไม่ได้ ให้ผู้ที่ไม่มาทําหนังสือแสดงความยินยอม ตามเงื่อนไขและแบบวิธีที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด (4) บิดามารดาหรือผู้มีอํานาจปกครอง ต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชนและหลักฐานแสดงความเกี่ยวพันและการมีอํานาจปกครองของผู้ร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๔๑ บุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถให้ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนด พร้อมหลักฐาน ดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) ยื่นคําร้องพร้อมผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี และต้องร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศในแบบฟอร์มที่กําหนด โดยแสดงหลักฐานระบุสถานะและความเกี่ยวพันระหว่างกัน ข้อ ๔๒ พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ให้ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนดโดยแสดงหลักฐานดังนี้ (1) ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร (2) สําเนาทะเบียนบ้าน/วัด (3) สําเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง (4) เอกสารการได้รับอนุญาตให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อในต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคมกําหนดวิธีปฏิบัติในการไปต่างประเทศสําหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. 2537 ข้อ ๔๓ หนังสือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ (1) ให้ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการต่ออายุหนังสือเดินทางของบุคคลทั่วไปในข้อ 39 ข้อ 40 และข้อ 41 (2) แสดงหลักฐานเพิ่มเติม คือ หนังสือจากสํานักจุฬาราชมนตรี หรือหนังสือจากคณะกรรมการกลางอิสลามประจําจังหวัดรับรองสถานการณ์เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ข้อ ๔๔ การต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศทุกฉบับให้มีอายุการใช้งานไม่เกินวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หมวด ๑๐ ------------------------------- ข้อ ๔๕ ในกรณีที่ผู้ร้องสะกดชื่อภาษาอังกฤษออกเสียงแตกต่างจากภาษาไทยอย่างชัดเจนจนทําให้เข้าใจผิดในตัวบุคคล พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสะกดชื่อให้โดยดําเนินการตามหลักเกณฑ์แห่งประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง การถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2482 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๔๖ เงินค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางซึ่งผู้ยื่นคําร้องได้ชําระให้แก่ทางราชการไปแล้วนั้น ไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ข้อ ๔๗ กระทรวงการต่างประเทศสงวนสิทธิ์ที่จะทําลายหรือดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับหนังสือเดินทางซึ่งออกให้แก่ผู้ร้องไว้แล้วแต่ไม่มีผู้มารับหนังสือเดินทางนั้นตามกําหนดนัดเป็นเวลาเกินกว่า 90 วันขึ้นไป ข้อ ๔๘ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ โดยมีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกประกาศ กฎ ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติ ตลอดจนกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียม เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4,883
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2561 เรื่อง ค่าใช้จ่ายส่วนกลางสำหรับห้องชุด ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินจัดสรร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2561 เรื่อง ค่าใช้จ่ายส่วนกลางสําหรับห้องชุด ค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสําหรับที่ดินจัดสรร -------------------------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับห้องชุด และที่ดินจัดสรรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัย อํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกหนังสือ ดังต่อไปนี้ 1.1 หนังสือ ที่ ยธ 0509/ว 25 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เรื่อง ซักซ้อมการ ดําเนินงานตามมาตรา 309 จัตวา แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และปรับปรุงแก้ไขแบบหนังสือ 1.2 หนังสือ ที่ ยธ 0509/ว 4 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง แนวปฏิบัติการ ขายทอดตลาดห้องชุดและที่ดินจัดสรร ตามมาตรา 309 จัตวา แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1.3 หนังสือ ที่ ยธ 0509/ว 23 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจ ในการกําหนดสิทธิและการจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย ข้อ ๒ ในการนับระยะเวลาการแจ้งค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด หรือค่า บํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่ค้างชําระ แล้วแต่กรณี ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบว่าการรับเอกสารการวางค่าใช้จ่ายฯ ดังกล่าว ไม่ว่าด้วยวิธีการทางไปรษณีย์ หรือผู้จัดการนิติบุคคล หรือผู้แทนมายื่นหนังสือด้วยตนเองนั้น การรับหนังสือดังกล่าวอยู่ภายในกําหนดเวลา 30 วันหรือไม่ ให้ถือตามวันที่ได้ประทับตราในไปรษณีย์ตอบรับ หรือวิธีการลงรับเอกสารงานธุรการ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ธุรการต้องลงรับเอกสารทันทีที่ผู้จัดการนิติบุคคลหรือผู้แทน มายื่นเอกสารให้แก่เจ้าพนักงาน บังคับคดี โดยให้ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่นิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วแต่กรณี มีหนังสือมาถึงเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้อ ๓ ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด ประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ตามมาตรา 18 วรรคสอง และหรือรายการเงินเพิ่ม ตามมาตรา 18/1 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ. 2522 (ถ้ามี) ค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ประกอบด้วย ตามมาตรา 49 และหรือรายการค่าปรับ ตามมาตรา 50 รายการค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 (ถ้ามี) ข้อ ๔ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แจ้งค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หรือ ค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ที่ค้างชําระ แล้วแต่กรณี ก่อนส่งสํานวนทําบัญชีแสดงรายการ หรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แจ้งรายการ แล้วแต่กรณี ภายใน รับ-จ่าย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบว่านิติบุคคลอาคารชุด ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หรือรายการค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคที่ค้างชําระ สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว และได้นําส่งข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด หรือข้อบังคับของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และเอกสารประกอบการคํานวณหนี้ โดยส่งเป็นสําเนาเอกสารหรือแผ่นบันทึกข้อมูล (CD) หรือไม่ เพื่อมีคําสั่งให้กันเงินที่ค้างชําระดังกล่าวเฉพาะที่เป็นบุริมสิทธิเหนือห้องชุด ตามมาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 หรือที่ดินจัดสรร ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 โดยคํานวณถึงวันขายทอดตลาด แต่ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ค้างชําระจนถึงวันที่เคาะไม้ขายต้องเป็น ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี เพื่อจ่ายให้แก่นิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วแต่กรณี หากไม่มี การแจ้งค่าใช้จ่ายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งไม่ต้องกันเงินดังกล่าวไว้ ในกรณีที่มีการแจ้งภายในกําหนดว่าไม่มีรายการค่าใช้จ่ายค้างชําระ ต่อมานิติบุคคลฯ ได้มี หนังสือแจ้งรายการค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หรือรายการค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคค้างชําระ แล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรับไว้พิจารณาและมีคําสั่งให้มีสิทธิได้รับชําระค่าใช้จ่ายฯ เฉพาะส่วนที่ เกิดขึ้นภายหลังกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๕ กรณีที่นิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรใช้สิทธิบอกกล่าวลงทะเบียนใน มูลหนี้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดหรือที่ดินจัดสรร ส่งรายการหนี้ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดผลในบุริมสิทธิ ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 หรือ เกิดสิทธิตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วแต่กรณี และได้ยื่นคําร้อง ต่อศาลตามมาตรา 324 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยศาลมีคําสั่งให้นิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หรือค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ที่ค้างชําระ แล้วแต่กรณี จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินค่าส่วนได้ให้แก่ โจทก์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดจ่ายให้แก่นิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร ตามคําสั่งศาลที่ค้างชําระ แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ ในคดีที่มีการแจ้งค่าใช้จ่ายและส่งเอกสารตามข้อ 4 เมื่อขายทอดตลาดได้แล้วให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งนิติบุคคลอาคารชุดให้แจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่ต้องชําระ หรือนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรให้แจ้งค่าบํารุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและค่าปรับตามกฎหมาย ค้างชําระถึงวัน ขายทอดตลาด พร้อมหลักฐานที่ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่าย หากไม่มีการแจ้งค่าใช้จ่ายและส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้คํานวณค่าใช้จ่ายตามที่ได้รับแจ้งในข้อ 4 การจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ให้แจ้งคู่ความและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายมาตรวจ รับรองบัญชีก่อนจ่าย ข้อ ๗ ในการทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย หากมีการแจ้งภาระหนี้แต่ไม่นําส่งข้อบังคับของ นิติบุคคลอาคารชุด หรือข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และเอกสารประกอบการคํานวณหนี้ ให้ นักบัญชีกันเงินค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลอาคารชุดหรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามที่ได้รับแจ้งไว้ เงินส่วน ที่เหลือให้จัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายและจ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเงินที่กันไว้เมื่อได้รับเอกสารจาก นิติบุคคลอาคารชุดหรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วจึงพิจารณาจ่ายเงินให้ต่อไป ข้อ ๘ ให้สํานักงานที่บังคับคดีแทนเป็นผู้กําหนดจํานวนค่าใช้จ่ายฯ ค้างชําระและกันเงิน ดังกล่าวไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินไว้ที่สํานักงานที่บังคับคดีแทน แล้วแจ้งให้สํานักงานที่ขอให้ บังคับคดีแทนทราบพร้อมแนบบัญชี เพื่อประกอบการจัดทําบัญชีและแจ้งคู่ความทุกฝ่ายให้มาตรวจรับรอง บัญชี เมื่อบัญชีเป็นที่สุดให้แจ้งสํานักงานที่บังคับคดีแทนทราบ เพื่อจ่ายเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางให้แก่นิติบุคคล อาคารชุดหรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ข้อ ๙ กรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ได้เป็นผู้มีสิทธิหักส่วนได้ใช้แทน ให้กันเงินค่าใช้จ่ายฯ ค้างชําระให้ นิติบุคคลฯ ด้วย โดยหากมีกรณีที่ต้องแจ้งให้ผู้ซื้อได้นําเงินมาวางชําระเพิ่ม เงินที่ต้องวางชําระเมื่อรวม ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว จะต้องไม่เกินราคาทรัพย์ที่ซื้อได้ ข้อ ๑๐ กรณีมีบุคคลภายนอกถือกรรมสิทธิ์ร่วมในห้องชุดหรือที่ดินจัดสรรให้นักบัญชีกัน ค่าใช้จ่ายฯ ค้างชําระเต็มจํานวน และนําไปหักออกจากส่วนได้ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมตามสัดส่วนแห่ง กรรมสิทธิ์นั้น ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม บันทึกหรือแนวปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้ตามคําสั่งนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,884
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 716 /2561 เรื่อง แนวทางการจัดทำ รับ-ส่ง หนังสือราชการและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 716 /2561 เรื่อง แนวทางการจัดทํา รับ-ส่ง หนังสือราชการและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ---------------------------- ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ข้อ 29 กําหนดให้การติดต่อราชการโดยหนังสือ สามารถดําเนินการด้วยระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ นั้น เพื่อให้การติดต่อราชการเกี่ยวกับการรับ-ส่งหนังสือราชการและเอกสารภายในกรมบังคับคดี ที่ไม่เกี่ยวกับงานคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเตรียมความพร้อมไปสู่องค์กรไร้กระดาษ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไข เพิ่มเติม จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 270/2561 ลงวันที่ 23 เมษายน 2561 เรื่อง การจัดส่ง หนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๒ การจัดส่งหนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความรวมถึง การจัดส่งหนังสือราชการผ่านทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดส่งหนังสือราชการผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๓ ในการจัดทําหนังสือราชการให้สร้างเอกสารเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นพิจารณา ลงนาม และจัดส่งหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องพิมพ์ต้นฉบับและสําเนาเอกสาร ข้อ ๔ ให้หน่วยงานมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบเอกสารที่จัดส่งมาทางสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ และลงรับในระบบพร้อมเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นเกษียนสั่งในระบบ และจัดส่ง ผู้เกี่ยวข้องโดยไม่ต้องพิมพ์เอกสาร ข้อ ๕ ในกรณีที่ไม่มีความจําเป็นต้องทําเป็นหนังสือ ให้เจ้าของเรื่องเขียนข้อความส่งทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ภาครัฐ ไปยัง e-mail กลางของหน่วยงานนั้นๆ ข้อ ๖ ในการรับหนังสือหรือข้อความทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ภาครัฐ ให้ผู้รับ แจ้งตอบการรับหนังสือหรือข้อความนั้นด้วย และหากมีการโต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ใช้จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เดิม ตอน ๗ ในการสอบถามความประสงค์ หรือการสํารวจข้อมูลต่างๆ ให้จัดทําในรูปแบบ Google Form โดยระบุช่องทางการเข้าถึงเอกสารผ่าน Link หรือ QR Code เพื่อให้เจ้าของเรื่องสามารถประมวลผลได้ทันที ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาว รื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,885
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี --------------------------------------------- ด้วยกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาเห็นว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa) ได้มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมานานแล้ว และโดยที่การตรวจลงตราประเภทดังกล่าวไม่มีค่าธรรมเนียม จึงไม่มีการออกกฎกระทรวงกําหนดชนิดและค่าธรรมเนียมสําหรับการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี จึงเห็นสมควรกําหนดระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรีให้มีความชัดเจน รัดกุมและสอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยอาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองดังนี้ ข้อ ๑ การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี ให้จํากัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ (UN Laissez-Passer ปกสีแดงหรือฟ้า) ที่ประสงค์เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการอื่น นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ทางทูตหรือกงสุล และการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (2) การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางนอกจากกรณีตาม (1) ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะแขกของรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๒ ให้สถานทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี เมื่อได้รับคําร้องขอเป็นทางการดังนี้ (1) ชนิดเข้าออกได้ครั้งเดียว (single entry) อายุการตรวจลงตรา 30 วัน (2) ชนิดเข้าออกได้หลายครั้ง (multiple entries) อายุการตรวจลงตรา 90 วัน โดยพิจารณาชนิดของการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรีตามวัตถุประสงค์การเดินทางเข้าราชอาณาจักรตามที่ระบุในข้อ 1 ประกอบกับข้อมูลกําหนดการหรือกําหนดระยะเวลาหรือลักษณะของการปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรมในราชอาณาจักร รวมทั้งสัญชาติของผู้ยื่นคําร้องและหลักปฏิบัติต่างตอบแทนกับประเทศของผู้ยื่นคําร้อง ทั้งนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561 บุษยา มาทแล็ง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
4,886
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 714/2561 เรื่อง การกำหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 714/2561 เรื่อง การกําหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย -------------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานคดีล้มละลายของกรมบังคับคดีดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์แก่ราชการ และดําเนินการไปในทิศทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 825/2555 เรื่อง การกําหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ข้อ ๑ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้และลูกหนี้มายื่นคําขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณากําหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ ตามแนวทางในคําสั่งนี้ ข้อ ๒ ในกรณีที่ลูกหนี้มีรายได้ประจํา ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะจ่าย เพื่อตอบแทนการทํางานเป็นรายเดือน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบรายได้และรายจ่ายของลูกหนี้และ กําหนดค่าเลี้ยงชีพจากรายได้ดังกล่าวจนถึงวันปลดจากการล้มละลายโดยคํานึงถึงฐานานุรูป สภาวะเศรษฐกิจ ให้กําหนดค่าเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าอัตราเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ในการกําหนดค่าเลี้ยงชีพ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ควรกําหนดค่าเลี้ยงชีพสูงกว่าร้อยละ 70 ของรายได้ประจํา เว้นแต่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามีเหตุจําเป็นที่จะกําหนดค่าเลี้ยงชีพ เกินกว่าจํานวนดังกล่าวก็ให้เสนอความเห็นเพื่อให้ผู้อํานวยการกอง อนุญาตตามแต่กรณี กรณีกําหนดค่าเลี้ยงชีพให้ลูกหนี้จากรายได้ตามวรรคหนึ่ง โดยลูกหนี้มีรายได้ประจําในอัตรา เงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แต่ลูกหนี้มีรายได้อื่นด้วย เช่น เงินเบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา ค่านายหน้า หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะจ่ายเพื่อตอบแทนการทํางาน นอกจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์กําหนดค่าเลี้ยงชีพให้ลูกหนี้จากรายได้อื่นด้วยในอัตราไม่เกินร้อยละ 50 โดยเมื่อรวมค่าเลี้ยงชีพ ตามวรรคหนึ่งแล้ว ไม่เกินอัตราเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ส่วนเงินที่มีลักษณะจ่ายเป็นคราว ๆ ได้แก่ เงินโบนัส เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืนหรือเงินได้อื่นใด ที่มีลักษณะเดียวกับเงินประเภทดังกล่าว เป็นเงินตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยไม่ต้องพิจารณาในเรื่อง ค่าเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงไป และสามารถแสดงเอกสารหลักฐานได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาประเด็นนี้ประกอบด้วย ข้อ ๓ ในการกําหนดค่าเลี้ยงชีพตามข้อ 2 นั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจกําหนด ค่าเลี้ยงชีพให้แก่ลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จ่ายจากเงินที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดมาแก่ลูกหนี้เป็นรายเดือน ในกรณีที่ลูกหนี้มายื่นขอค่าเลี้ยงชีพ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบพบว่าลูกหนี้ ได้รับเงินรายได้ประจําไปก่อนหน้าที่จะมายื่นคําขอ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นําเงินที่ลูกหนี้รับไปมาคํานวณ และหักออกจากค่าเลี้ยงชีพที่ลูกหนี้จึงจะได้รับคืนเข้ากองทรัพย์สินในคราวเดียว หากไม่สามารถหักคืนได้ ในคราวเดียว ให้กําหนดระยะเวลาหักเงินคืนตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากค่าเลี้ยงชีพที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์กําหนดให้ และจํานวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องคืนเข้ากองทรัพย์สินด้วย สําหรับลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ การคํานวณระยะเวลาหักคืนให้คํานึงถึงระยะเวลาที่ลูกหนี้อาจถูกพิพากษาให้ล้มละลาย โดยเมื่อหักเงินที่ลูกหนี้ รับไปแล้วคงเหลือจํานวนเท่าใดให้จ่ายเพียงนั้น ข้อ ๔ กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมรายได้ประจํา ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่น ที่มีลักษณะจ่ายเพื่อตอบแทนการทํางานเป็นรายเดือนไว้แล้วโดยลูกหนี้มิได้มาขอค่าเลี้ยงชีพ ต่อมาลูกหนี้ มาขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดค่าเลี้ยงชีพและขอรับค่าเลี้ยงชีพย้อนหลัง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กําหนดค่าเลี้ยงชีพตามข้อ 2. และพิจารณาจ่ายค่าเลี้ยงชีพจากจํานวนเงินดังกล่าวไม่เกินร้อยละ 50 ของเงิน ที่กําหนดเป็นค่าเลี้ยงชีพย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน หากลูกหนี้ขอค่าเลี้ยงชีพย้อนหลังเกินกว่า 6 เดือน ต้องแสดง พยานหลักฐานเหตุผลความจําเป็นในการดํารงชีพในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับเงินที่มีลักษณะจ่ายคราวเดียว ได้แก่เงินตอบแทนการออกจากงาน เงินบําเหน็จ หรือเงินได้อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับเงินประเภทดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณา กําหนดค่าเลี้ยงชีพโดยถือตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 มากําหนดเป็นเงินที่ลูกหนี้ต้องใช้ในการดํารงชีพแต่ละเดือนและ ให้หักจ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกหนี้เป็นรายเดือน นับแต่วันที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับเงินนั้นจนถึงวันที่ลูกหนี้ได้รับ การปลดจากล้มละลาย ข้อ ๖ กรณีที่ลูกหนี้ออกจากงานเป็นเหตุให้ไม่ได้รับเงินรายได้เป็นรายเดือนตามข้อ 2 อีก แต่ได้รับเงินที่มีลักษณะจ่ายคราวเดียวตามข้อ 5 แทน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณากําหนดค่าเลี้ยงใหม่ ตามแนวทางในคําสั่งนี้ ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดค่าเลี้ยงชีพแก่ลูกหนี้และครอบครัวแล้วให้แจ้งผู้มี หน้าที่จ่ายเงินแก่ลูกหนี้ทราบ และให้ส่งเงินเฉพาะส่วนที่เหลือจากที่ได้กําหนดให้เป็นค่าเลี้ยงชีพแล้วให้แก่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป ข้อ ๘ กรณีอายัดเงินเดือนหรือเงินรายได้อื่นใดของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ เมื่อศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระงับการจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้แก่ลูกหนี้ และระงับการแบ่งเงิน ที่ได้รับจากต้นสังกัดของลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายไว้จนกว่าจะได้สอบถาม และได้รับแจ้งจากต้นสังกัดของลูกหนี้ว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการแบ่งเงินดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับ
4,887
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 --------------------------------- โดยที่กระทรวงการต่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พุทธศักราช 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548” ข้อ ๒ ให้ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มข้อความดังต่อไปนี้เป็นหมวด 9 แห่งระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 หมวด ๙ การขอต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ -------------------------------- ข้อ ๓๙ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสงค์จะต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศให้ดําเนินการดังนี้ (1) ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนด พร้อมหลักฐานบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) หนังสือเดินทางที่ประสงค์จะขอต่ออายุ (3) รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว สีหรือขาวดํา หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาสีเข้ม ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 2 รูป (4) ในกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานะของผู้ร้อง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจแจ้งให้ผู้ร้องแสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๔๐ บุคคลธรรมดาที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ยื่นคําร้องด้วยตนเองตามแบบฟอร์มที่กําหนดพร้อมหลักฐาน ดังนี้ (1) สูติบัตรหรือสําเนาสูติบัตรที่ทางราชการรับรองสําหรับผู้อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 สําหรับผู้มีอายุอยู่ในเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน (2) ให้ผู้มีอํานาจปกครอง หรือบิดามารดามาแสดงตนพร้อมผู้ร้อง เพื่อร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศในแบบคําร้อง โดยบิดามารดาหรือผู้มีอํานาจปกครองต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชนและหลักฐานแสดงความเกี่ยวพันแบบการมีอํานาจปกครองผู้ร้อง (3) กรณีผู้มีอํานาจปกครองคือ บิดาและมารดา ให้บิดาและมารดามาแสดงตนพร้อมกัน ถ้ามาแสดงตนพร้อมกันไม่ได้ ให้ผู้ที่ไม่มาทําหนังสือแสดงความยินยอม ตามเงื่อนไขและแบบวิธีที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด (4) บิดามารดาหรือผู้มีอํานาจปกครอง ต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชนและหลักฐานแสดงความเกี่ยวพันและการมีอํานาจปกครองของผู้ร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๔๑ บุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถให้ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนด พร้อมหลักฐาน ดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) ยื่นคําร้องพร้อมผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี และต้องร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศในแบบฟอร์มที่กําหนด โดยแสดงหลักฐานระบุสถานะและความเกี่ยวพันระหว่างกัน หมวด ๔๒ พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ให้ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนดโดยแสดงหลักฐานดังนี้ (1) ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร (2) สําเนาทะเบียนบ้าน/วัด (3) สําเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง (4) เอกสารการได้รับอนุญาตให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อในต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม กําหนดวิธีปฏิบัติในการไปต่างประเทศสําหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. 2537 ข้อ ๔๓ หนังสือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ (1) ให้ยื่นคําร้องตามแบบฟอร์มที่กําหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการต่ออายุหนังสือเดินทางของบุคคลทั่วไปในข้อ 39 ข้อ 40 และข้อ 41 (2) แสดงหลักฐานเพิ่มเติม คือ หนังสือจากสํานักจุฬาราชมนตรี หรือหนังสือจากคณะกรรมการกลางอิสลามประจําจังหวัดรับรองสถานการณ์เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ข้อ ๔๔ การต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศทุกฉบับให้มีอายุการใช้งานไม่เกินวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกข้อความในหมวด 9 แห่งระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน หมวด ๑๐ ข้อกําหนดอื่น ------------------------------------- ข้อ ๔๕ ในกรณีที่ผู้ร้องสะกดชื่อภาษาอังกฤษออกเสียงแตกต่างจากภาษาไทยอย่างชัดเจนจนทําให้เข้าใจผิดในตัวบุคคล พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสะกดชื่อให้โดยดําเนินการตามหลักเกณฑ์แห่งประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง การถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2482 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๔๖ เงินค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางซึ่งผู้ยื่นคําร้องได้ชําระให้แก่ทางราชการไปแล้วนั้น ไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ข้อ ๔๗ กระทรวงการต่างประเทศสงวนสิทธิ์ที่จะทําลายหรือดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับหนังสือเดินทางซึ่งออกให้แก่ผู้ร้องไว้แล้วแต่ไม่มีผู้มารับหนังสือเดินทางนั้นตามกําหนดนัดเป็นเวลาเกินกว่า 90 วันขึ้นไป ข้อ ๔๘ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ โดยมีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกประกาศ กฎ ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติ ตลอดจนกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียม เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2548 กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้ระเบียบฯ ฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการยกเลิกการต่ออายุหนังสือเดินทางระบบเดิม ทําให้ผู้ร้องต้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ที่เป็นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และต้องยื่นคําร้องด้วยตนเองเพื่อเก็บข้อมูลชีวภาพ ทําให้ผู้ร้องที่อาศัยอยู่ต่างรัฐหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่มีสถานทูตและสถานกงสุลได้รับผลกระทบ จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พุทธศักราช 2548 โดยเพิ่มข้อบทเกี่ยวกับการต่ออายุหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับผู้ร้องที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ทั้งนี้ การต่ออายุทุกฉบับให้มีอายุการใช้งานได้ไม่เกินวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หรืออีกนัยหนึ่งให้มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการออกหนังสือเดินทางระบบเดิม
4,888
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ------------------------------------- ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้นําหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ออกใช้งานแทนหนังสือเดินทางรูปแบบเดิม จึงเห็นสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2545 โดยอาศัยอํานาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2545 จึงให้ออกระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ใช้บังคับดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ เมื่อระเบียบนี้ใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2545 และให้บรรดาประกาศ ระเบียบ หรือคําสั่งเกี่ยวกับหนังสือเดินทางฉบับอื่น ซึ่งใช้อยู่ในวันก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งระเบียบนี้ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ หากไม่มีข้อความกําหนดเป็นอย่างอื่น (1) หนังสือเดินทาง หมายความว่า เอกสารราชการซึ่งบุคคลสัญชาติไทยใช้ในการเดินทางในต่างประเทศ (2) ผู้ถือหนังสือเดินทาง หมายความว่า ผู้มีชื่ออยู่ในหนังสือเดินทาง (3) เล่มหนังสือเดินทาง หมายความว่า หนังสือเดินทางที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังมิได้บันทึกข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทาง (4) เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หมายความว่า หนังสือสําคัญประจําตัวที่ออกตามข้อ 17 (5) สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทย หมายความว่า สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงสํานักงานอื่นที่รัฐบาลไทยตั้งขึ้นในต่างประเทศให้ทําหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยด้วย แต่ไม่รวมถึงสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (6) พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ หนังสือเดินทางมี 4 ประเภท คือ (1) หนังสือเดินทางทูต (2) หนังสือเดินทางราชการ (3) หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป (4) หนังสือเดินทางชั่วคราว อื่นๆ ๑ ระเบียบการออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทาง ---------------------------------- หมวด ๑ หนังสือเดินทางทูต -------------------------------- ข้อ ๖ หนังสือเดินทางทูตออกให้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้ (1) พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2) พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส (3) พระราชวงศ์และบุคคลสําคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ (4) ประธานองคมนตรี และองคมนตรี (5) นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี (6) ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา (7) ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์ (8) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด (9) อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ (10) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพ (11) ข้าราชการที่มีตําแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ (12) ข้าราชการที่มีตําแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจําอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจําอยู่ หรือทําการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี (13) คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ (2) ถึงข้อ (8) (14) บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ หรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจําเป็น หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ หรืออดีตเอกอัครราชทูต หรือในกรณีที่เห็นสมควร ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอํานาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางทูตได้ ข้อ ๗ หนังสือเดินทางทูตมีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางทูต นั้น ข้อ ๘ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้หนังสือเดินทางทูต หรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางทูต ให้ส่งคืนหนังสือเดินทางทูตนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ หมวด ๒ หนังสือเดินทางราชการ --------------------------------- ข้อ ๙ หนังสือเดินทางราชการออกให้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้ (1) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญและสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ (2) ข้าราชการซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจําอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยหรือในคณะทูตถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศในตําแหน่งอื่นที่มิใช่ตําแหน่งทางการทูต รวมทั้งคู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจําอยู่หรือทําการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี (3) บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ (4) บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือในกรณีที่เห็นสมควรเป็นพิเศษ หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอํานาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางราชการได้ ข้อ ๑๐ หนังสือเดินทางราชการมีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางราชการ นั้น ข้อ ๑๑ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้หนังสือเดินทางราชการ หรือเมื่อผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางราชการ ให้ส่งคืนหนังสือเดินทางราชการนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ ข้อ ๑๒ ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนําหนังสือเดินทางไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวมิได้ หมวด ๓ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป ------------------------------------ ข้อ ๑๓ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปออกให้กับบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น ข้อ ๑๔ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปมีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก หมวด ๔ หนังสือเดินทางชั่วคราว ------------------------------------- ข้อ ๑๕ หนังสือเดินทางชั่วคราวออกให้กับบุคคล ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือเสียหายจนใช้การไม่ได้ หรือหนังสือเดินทางขาดอายุระหว่างอยู่ต่างประเทศ แต่มีหลักฐานประกอบการขอออกหนังสือเดินทางครบถ้วน และประสงค์จะเดินทางเป็นการเร่งด่วนโดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้แทนได้ (2) บุคคลที่มีความจําเป็นจะต้องเดินทางเร่งด่วนอย่างยิ่ง และปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย อนุมัติ ข้อ ๑๖ หนังสือเดินทางชั่วคราวมีอายุ 1 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก หมวด ๕ เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง --------------------------------- ข้อ ๑๗ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศอาจออกหนังสือสําคัญประจําตัว (Certificate of Identity) เป็นเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามเงื่อนไขและวิธีการที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด ให้แก่บุคคลในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อหนังสือเดินทางของบุคคลนั้นถูกยกเลิกตามข้อ 23 (2) เมื่อบุคคลนั้นไม่มีหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางสูญหาย หรือเสียหายจนใช้การไม่ได้หรือหนังสือเดินทางขาดอายุ แต่มีหลักฐานอื่นเพียงพอที่จะทําให้ผู้ออกเอกสารเชื่อได้ว่าบุคคลผู้นั้นมีสัญชาติไทย และประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วนโดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้แทนได้ ข้อ ๑๘ หนังสือสําคัญประจําตัวมีอายุตามความจําเป็น แต่ไม่เกิน 6 เดือน ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเป็นอันหมดอายุไม่สามารถต่ออายุได้อีก หมวด ๖ การขอ หรือการแก้ไขเพิ่มเติม หรือการบันทึกรายการในหนังสือเดินทาง ---------------------------------- ข้อ ๑๙ การขอ การขอรับ หรือการแก้ไขเพิ่มเติม หรือการบันทึกรายการในหนังสือเดินทางที่ปรากฏในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด ข้อ ๒๐ ในการพิจารณาคําขอ หรือการแก้ไขหนังสือเดินทาง หากกระทรวงการต่างประเทศมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประวัติหรือพฤติการณ์ของผู้ร้อง หรือผู้ร้องขอแก้ไขหนังสือเดินทางรายใดกระทรวงการต่างประเทศอาจส่งเรื่องให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ หมวด ๗ การปฏิเสธหรือยับยั้งคําขอหนังสือเดินทาง --------------------------------- ข้อ ๒๑ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอ หรือแก้ไขหนังสือเดินทางในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อผู้ร้องมีหนังสือเดินทางประเภทเดียวกันที่ยังคงมีอายุใช้ได้อยู่ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด (2) เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกําลังรับโทษในคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจเห็นว่าไม่ควรจะออกหนังสือเดินทางให้ (3) เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอํานาจตามกฎหมายอื่นสั่งห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (4) เมื่อผู้ร้องกระทําผิดกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติทางราชการ ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือปิดบังความจริงอันเป็นสาระสําคัญ หรือแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอหนังสือเดินทาง หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จะเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของผู้เดินทางเอง หรือจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงปลอดภัย หรือชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทย ข้อ ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอและออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ร้องซึ่งหนังสือเดินทางเดิมสูญหายเกินกว่า 2 ครั้งในรอบ 1 ปี นับจากวันขอครั้งแรก จนกว่าบุคคลผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการสูญหายโดยสุจริต หมวด ๘ การยกเลิกหนังสือเดินทาง --------------------------------- ข้อ ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกและเรียกคืนหนังสือเดินทางได้ เมื่อปรากฏภายหลังว่า (1) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะขอหนังสือเดินทางประเภทนั้น (2) ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกหนังสือเดินทางให้ตามข้อ 21 (2) (3) และ (4) (3) มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางได้หนังสือเดินทางนั้นมาโดยมิชอบ (4) หนังสือเดินทางนั้นได้มีการแจ้งว่าสูญหายต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจท้องที่เกิดเหตุแล้ว หรือผู้ถือได้ร้องขอให้ยกเลิกเพื่อขอหนังสือเดินทางชนิดเดียวกันเล่มใหม่ (5) หนังสือเดินทางนั้นอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหนังสือเดินทางโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (6) ทางราชการได้ทดรองจ่ายเงินช่วยเหลือส่งตัวผู้ถือหนังสือเดินทางกลับประเทศไทยและผู้ถือได้ทําสัญญากับทางราชการว่าจะชดใช้เงินจํานวนที่ทางราชการได้ทดรองจ่ายไปคืนให้ทางราชการแต่ผู้ถือยังไม่ได้ชดใช้เงินคืนให้แก่ทางราชการจนครบตามเงื่อนไขในสัญญา (7) พิจารณาเห็นว่า หากให้ผู้ถือหนังสือเดินทางยังคงอยู่ในต่างประเทศต่อไป อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทยหรือต่างประเทศได้ ข้อ ๒๔ กระทรวงการต่างประเทศมีอํานาจยึดหนังสือเดินทางที่ถูกยกเลิกจากผู้ถือหนังสือเดินทางหรือผู้ครอบครองหนังสือเดินทาง และมีอํานาจยึดเล่มหนังสือเดินทางจากผู้ครอบครองซึ่งไม่มีอํานาจหน้าที่ในการครอบครองได้ อื่นๆ ๒ ขั้นตอนและวิธีการในการขอหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทาง ---------------------------------------- หมวด ๑ สถานที่ยื่นคําขอ ------------------------------------------ ข้อ ๒๕ การขอ และขอดําเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในประเทศ สามารถกระทําได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (1) กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (2) สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (3) หน่วยบริการเคลื่อนที่ของกองหนังสือเดินทาง (4) สถานที่ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศอาจกําหนดขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ ข้อ ๒๖ การขอ และขอดําเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในต่างประเทศ สามารถกระทําได้ที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่ง หรือสถานที่ที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่กําหนดเป็นการเฉพาะกิจ ยกเว้นสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ หมวด ๒ การขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป ----------------------------------- ข้อ ๒๗ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ให้ยื่นคําขอด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) ในกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานะผู้ร้องขอหนังสือเดินทาง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจแจ้งให้ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางแสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นนอกเหนือจาก (1) ได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๒๘ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ยื่นคําขอด้วยตนเองพร้อมหลักฐานและวิธีการดังนี้ (1) สูติบัตรหรือสําเนาสูติบัตรที่ทางราชการรับรองสําหรับผู้อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 สําหรับผู้มีอายุอยู่ในเกณฑ์ต้องมีบัตรประจําตัวประชาชน (2) ให้ผู้มีอํานาจปกครองมาแสดงตนพร้อมผู้ร้องขอ เพื่อร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้จะเดินทางไปต่างประเทศในแบบคําร้อง (3) กรณีผู้มีอํานาจปกครองคือบิดาและมารดา ให้บิดาและมารดามาแสดงตนพร้อมกัน ถ้าบิดาและมารดามาแสดงตนพร้อมกันไม่ได้ ให้ผู้ที่ไม่มาทําเป็นหนังสือแสดงความยินยอมตามเงื่อนไขและแบบวิธีที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด (4) บิดามารดา หรือผู้มีอํานาจปกครองตาม (3) ต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชนและหลักฐานแสดงความเกี่ยวพันและการมีอํานาจปกครองผู้ร้องต่อเจ้าพนักงาน ข้อ ๒๙ บุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ยื่นคําขอด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานและวิธีการดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) ยื่นคําร้องพร้อมผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ผู้ซึ่งจะต้องร่วมลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายสําหรับผู้จะเดินทางไปต่างประเทศในแบบคําร้อง โดยแสดงหลักฐานระบุสถานะและความเกี่ยวพันระหว่างกัน ข้อ ๓๐ พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ให้ยื่นคําร้องด้วยตนเองโดยแสดงหลักฐานดังนี้ (1) ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร (2) สําเนาทะเบียนบ้าน/วัด (3) สําเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง (4) เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคมกําหนดวิธีปฏิบัติในการไปต่างประเทศสําหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. 2537 ข้อ ๓๑ การขอหนังสือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ให้ยื่นคําร้องด้วยตนเอง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปในข้อ 27 ข้อ 28 และข้อ 29 พร้อมแสดงหลักฐานเพิ่มเติม คือ หนังสือจากสํานักจุฬาราชมนตรี หรือหนังสือจากคณะกรรมการกลางอิสลามประจําจังหวัดรับรองสถานะการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หมวด ๓ การขอแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือเดินทางธรรมดาที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ -------------------------------- ข้อ ๓๒ ในระหว่างอายุใช้งานของหนังสือเดินทางธรรมดาที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม ขอเพิ่มหน้าตรวจลงตราตามความจําเป็นโดยวิธีการดังนี้ (1) ยื่นคําร้องขอตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด พร้อมหลักฐานบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตัวอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) หนังสือเดินทางที่ขอให้ดําเนินการ (3) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีที่ร้องขอ เช่น ใบสําคัญการสมรส ใบสําคัญการหย่า ใบสําคัญการเปลี่ยนชื่อและชื่อสกุล ตามความจําเป็นแต่ละกรณี หมวด ๔ การขอแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ --------------------------------- ข้อ ๓๓ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้ ข้อ ๓๔ ในระหว่างอายุใช้งานของหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถยื่นคําร้องให้มีการบันทึกรายการระบุการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิม หรือการเปลี่ยนลายมือชื่อโดยยื่นคําร้องตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด พร้อมเอกสารประกอบดังนี้ (1) บัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตัวอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามนัยพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2526 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 (2) หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ขอให้ดําเนินการ (3) เอกสารที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีที่ร้องขอ ได้แก่ หนังสือเดินทางฉบับเดิม หรือตัวอย่างลายมือชื่อที่ต้องการแก้ไข หมวด ๕ การขอรับหนังสือเดินทาง ------------------------------ ข้อ ๓๕ ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางสามารถขอรับหนังสือเดินทางได้ 3 วิธี คือ (1) กรณีขอรับด้วยตนเอง ให้นําใบนัดรับหนังสือเดินทางไปขอรับจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกําหนดเวลาและสถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบนัด (2) กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นรับแทน ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางต้องทําหนังสือมอบอํานาจตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด เพื่อให้ผู้รับมอบอํานาจมารับตามกําหนดเวลาและสถานที่ในใบนัด (3) กรณีขอรับทางไปรษณีย์ ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางต้องแสดงความจํานงขอรับทางไปรษณีย์ขณะยื่นคําร้องหนังสือเดินทางตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกําหนด โดยผู้ร้องชําระค่าบริการเอง หมวด ๖ การยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในต่างประเทศ ------------------------------ ข้อ ๓๖ หลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องในประเทศโดยอนุโลม หมวด ๗ การยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการ -------------------------------- ข้อ ๓๗ การยื่นคําร้องให้ดําเนินการเกี่ยวกับหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ ให้กระทําได้ด้วยตนเองที่กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล หรือสํานักงานที่ได้รับมอบหมายผู้ถือหนังสือเดินทางในต่างประเทศสามารถยื่นคําร้องด้วยตัวเองได้ที่สถานทูตสถานกงสุลไทยทุกแห่งโดยยื่นพร้อมเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงถึงสิทธิในการถือหนังสือเดินทางประเภทนั้น ๆ และหนังสือจากหน่วยราชการหรือหน่วยงานต้นสังกัด อนุมัติให้เดินทางไปต่างประเทศโดยมีภารกิจเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือเดินทางประเภทนั้น ๆ หมวด ๘ การยื่นคําร้องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางชั่วคราว ------------------------------- ข้อ ๓๘ การยื่นคําร้องหนังสือเดินทางชั่วคราว ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นการขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปมาใช้โดยอนุโลม หมวด ๙ ข้อกําหนดอื่น -------------------------------- ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ผู้ร้องสะกดชื่อภาษาอังกฤษออกเสียงแตกต่างจากภาษาไทยอย่างชัดเจนจนทําให้เข้าใจผิดในตัวบุคคล พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสะกดชื่อให้โดยดําเนินการตามหลักเกณฑ์แห่งประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่องการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ลงวันที่ 6 มีนาคม 2482 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ 11 มกราคม 2542 ข้อ ๔๐ เงินค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางซึ่งผู้ยื่นคําร้องได้ชําระให้แก่ทางราชการไปแล้วนั้น ไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ข้อ ๔๑ กระทรวงการต่างประเทศสงวนสิทธิที่จะทําลายหรือดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับหนังสือเดินทางซึ่งออกให้แก่ผู้ร้องไว้แล้วแต่ไม่มีผู้มารับหนังสือเดินทางนั้นตามกําหนดนัดเป็นเวลาเกินกว่า 90 วันขึ้นไป ข้อ ๔๒ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ โดยมีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกประกาศ กฎ ระเบียบ หรือวิธีการปฏิบัติ ตลอดจนกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียม เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4,889
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราชนิดใช้ได้หลายครั้งแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราชนิดใช้ได้หลายครั้ง แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ ------------------------------------------- ด้วยกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาเห็นว่า ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจลงตราชนิดใช้ได้หลายครั้งแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการตามหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 24566/2502 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2502 ได้ใช้มานานแล้ว และโดยที่ปัจจุบันประเทศไทยได้ทําความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการกับหลายประเทศ ยังผลให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการของประเทศที่ทําความตกลงดังกล่าวกับประเทศไทยเมื่อไปประจําการในประเทศไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราให้กลับเข้ามา (re-entry visa) นอกจากนี้ ประเทศที่ไม่ได้มีความตกลงดังกล่าวกับประเทศไทย ได้อํานวยความสะดวกการตรวจลงตราชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้ง (multiple entry visa) ให้แก่บุคคลในคณะผู้แทนทางทูตและกงสุลของไทย จึงเห็นสมควรแก้ไขระเบียบดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ดังนี้ ข้อ ๑ กระทรวงการต่างประเทศ จะพิจารณาตรวจลงตราชนิดให้กลับเข้ามาได้หลายครั้ง (multiple re-entry visa) แก่บุคคลในคณะผู้แทนทางทูตและกงสุลและเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติที่ประจําการอยู่ในประเทศไทย เมื่อได้รับคําร้องขอเป็นทางการ ดังนี้ ก. หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตและครอบครัว จะตรวจลงตราชนิดให้กลับเข้ามาได้หลายครั้ง โดยให้มีอายุใช้การได้ 1 ปี หรือตลอดเวลาที่ประจําการอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ ข. ผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีคณะผู้แทนทางทูตและกงสุล (Diplomatic and Consular List) และครอบครัว จะตรวจลงตราชนิดให้กลับเข้ามาได้หลายครั้งโดยให้มีอายุใช้การได้ 1 ปี หรือตามกําหนดระยะเวลาประจําการ ทั้งนี้ ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ ค. ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางพิเศษ ที่มิได้มีชื่ออยู่ในบัญชีคณะผู้แทนทางทูตและกงสุล จะตรวจลงตราชนิดให้กลับเข้ามาได้หลายครั้ง โดยให้มีอายุใช้การได้ 6 เดือน ง. ผู้ถือหนังสือเดินทางขององค์การสหประชาชาติ (Laissez-Passer) จะพิจารณาตรวจลงตราชนิดให้กลับเข้ามาได้หลายครั้งภายในระยะเวลาเท่าที่เห็นสมควร โดยให้มีอายุใช้การได้ ไม่เกิน 1 ปี ข้อ ๒ ให้สถานทูตสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราประเภททูตและราชการชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้ง (multiple entry visa) เมื่อได้รับคําร้องขอเป็นทางการ ดังนี้ ก. ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประเทศที่สถานทูตสถานกงสุลไทยตั้งอยู่หรือมีเขตอาณาซึ่งจะไปประจําการในคณะผู้แทนทางทูตหรือกงสุลของตนในประเทศไทย ในกรณีที่ประเทศดังกล่าวให้การตรวจลงตราแก่ผู้แทนทางทูตและกงสุลของไทยที่จะไปประจําการในประเทศนั้น ชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้ง โดยให้มีอายุใช้การได้ 3 ปี หรือไม่เกินวาระประจําการ ให้สถานทูตสถานกงสุลใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราในลักษณะเดียวกัน ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ นอกจากกรณีดังกล่าวให้ใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้ง โดยให้มีอายุใช้การได้ 6 เดือน ข. บุคคลในคณะผู้แทนทางทูตและกงสุลของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประจําการอยู่ในประเทศที่สถานทูตสถานกงสุลไทยตั้งอยู่หรือมีเขตอาณา ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีคณะผู้แทนทางทูตและกงสุล และเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย ให้สถานทูตสถานกงสุลใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้งตามความจําเป็น โดยให้มีอายุใช้การได้ไม่เกิน 6 เดือน ค. บุคคลในคณะผู้แทนทางทูตและกงสุลต่างประเทศ ซึ่งมิได้มีชื่ออยู่ในบัญชีคณะผู้แทนทางทูตและกงสุลตามข้อ 2 ข. และเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศไทย ให้สถานทูตสถานกงสุลใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้งตามความจําเป็นโดยให้มีอายุใช้การได้ไม่เกิน 3 เดือน ง. เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลของประเทศที่สถานทูตสถานกงสุลไทยตั้งอยู่ซึ่งถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ ให้สถานทูตสถานกงสุลใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้งตามความจําเป็น โดยให้มีอายุใช้การได้ไม่เกิน 6 เดือน จ. เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติผู้ถือหนังสือเดินทางของสหประชาชาติ (Laissez-Passer) และเป็นบุคคลสัญชาติของประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย ให้สถานทูตสถานกงสุลใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราชนิดใช้เดินทางเข้าได้หลายครั้งตามความจําเป็น โดยให้มีอายุใช้การได้ไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีที่เป็นบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย ให้สถานทูตสถานกงสุลใช้ดุลพินิจพิจารณาตรวจลงตราให้ตามความจําเป็น โดยให้มีอายุใช้การได้ไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 กฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
4,890
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 713 / 2561 เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควรที่อาจเป็นประโยชน์แก่การขอประนอมหนี้ ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 713 / 2561 เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควรที่อาจเป็นประโยชน์แก่การขอประนอมหนี้ ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการพิจารณาเหตุ อันสมควรที่อาจเป็นประโยชน์แก่การขอประนอมหนี้ ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 เป็นไป โดยเรียบร้อย เหมาะสม และเป็นแนวทางเดียวกัน อันจะทําให้คดีล้มละลายดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์แก่ราชการและประชาชน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับคดีล้มละลายที่ยื่นฟ้อง ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับ คือวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ กรณีที่มีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ระหว่างการจําหน่าย การยื่นคําขอประนอมหนี้ หลังล้มละลายไม่เป็นเหตุให้เลื่อน หรืองดการจําหน่าย เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควรที่อาจเป็นประโยชน์แก่ การขอประนอมหนี้ คือ 2.1 ทรัพย์สินเป็นทรัพย์หลักประกันของเจ้าหนี้ คําขอประนอมหนี้ต้องระบุการจัดการ กับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันไว้โดยเฉพาะซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องจําหน่ายทรัพย์ หลักประกันนั้น โดยคําขอประนอมหนี้ต้องไม่มีเหตุที่จะทําให้ศาลมีคําสั่งไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ตามมาตรา 53 และได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าหนี้มีประกันนั้น 2.2 ทรัพย์สินไม่มีภาระผูกพัน คําขอประนอมหนี้ต้องระบุการจัดการกับทรัพย์สินนั้น ไว้โดยเฉพาะซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องจําหน่ายทรัพย์สินนั้น โดยคําขอประนอมหนี้ ต้องไม่มีเหตุที่จะทําให้ศาลมีคําสั่งไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ตามมาตรา 53 และได้รับความยินยอม เป็นหนังสือจากกรรมการเจ้าหนี้ทุกราย เว้นแต่คดีที่ไม่มีกรรมเจ้าหนี้ให้ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ 2.3 เหตุอันสมควรอื่นๆ ข้อ ๓ ในการพิจารณาเหตุอันสมควรและมีคําสั่งให้เลื่อนหรืองดการจําหน่ายทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังต่อไปนี้เป็นผู้พิจารณาและมีคําสั่ง 3.1 ราคาประเมินทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอเลื่อนหรืองดการจําหน่ายไม่ถึงห้าสิบล้านบาทให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกอง เป็นผู้พิจารณาและมีคําสั่ง 3.2 ราคาประเมินทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ที่ขอเลื่อนหรืองดการจําหน่ายตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับอธิบดีหรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาและมีคําสั่ง ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,891
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 711/2561 เรื่อง การดำเนินการแจ้งคำสั่งให้บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครองแจ้งข้อมูลให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ ตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 711/2561 เรื่อง การดําเนินการแจ้งคําสั่งให้บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครองแจ้งข้อมูลให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ ตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 --------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการพิจารณาดําเนินการ แจ้งคําสั่งให้บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครองแจ้งข้อมูลให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ทราบ ตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เพิ่มโดย พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 เป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม และเป็นแนวทางเดียวกัน อันจะําให้คดีล้มละลายดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์แก่ราชการและประชาชน อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับคดีล้มละลายที่ยื่นฟ้อง ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับ คือวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ข้อ ๒ กรณีที่ได้ความตามทางสอบสวนจากลูกหนี้หรือบรรดาเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นว่า บุคคลหนึ่ง บุคคลใดเป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในความครอบครอง แต่ยังไม่มีพยานหลักฐานที่รับฟังได้ โดยแน่ชัด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคําสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลดังกล่าวมาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือ ทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2583 โดยให้แจ้งไปว่าหากบุคคลดังกล่าวไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ภายในกําหนด อาจมีความผิดต้องระวางโทษปรับ และให้แจ้งไปด้วยว่าบุคคลดังกล่าวอาจยื่นคําขอต่อศาลแสดงถึงเหตุจําเป็น ที่ไม่อาจแจ้งข้อมูลได้ภายในกําหนดเวลา ตามมาตรา 173/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตามแบบหนังสือท้ายคําสั่งนี้ แล้วดําเนินการต่อไปดังนี้ 2.1 เมื่อได้แจ้งคําสั่งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่งแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ติดตาม ผลการส่งหนังสือดังกล่าว หากส่งได้โดยชอบตามกฎหมายแล้ว ให้ลงนัดไว้ 1 เดือน นับแต่วันที่การส่งหนังสือ มีผลตามกฎหมาย เมื่อครบกําหนดนัดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบ ถ้าบุคคลดังกล่าวมาแจ้งข้อมูล เกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ภายในกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งในเรื่องดังกล่าวต่อไป กรณีบุคคลดังกล่าวยื่นคําร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาการแจ้งข้อมูลภายในกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอผู้อํานวยการกองเพื่อมีคําสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไปอีก 1 เดือนนับแต่วันครบกําหนด 2.2 หากบุคคลดังกล่าวไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ภายในกําหนด ระยะเวลาตามข้อ 2.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวได้ยื่นคําขอต่อศาลแสดงถึง เหตุที่ตนไม่อาจแจ้งข้อมูลได้หรือไม่ประการใด (ก) หากได้ความว่าบุคคลดังกล่าวมิได้ยื่นคําขอต่อศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวน ข้อเท็จจริงเบื้องต้น หากพบว่ามีมูลการกระทําความผิดอาญาหรือไม่มีมูลกระทําความผิดอาญาให้เสนอ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นเพื่อพิจารณาตั้งสํานวนคดีอาญาเพื่อทําการสอบสวนคดีอาญาเกี่ยวกับล้มละลาย ตามมาตรา 173/1 และพิจารณาดําเนินการต่อไป หรือยุติเรื่องแล้วแต่กรณี (ข) หากบุคคลดังกล่าวยื่นคําขอต่อศาลแสดงถึงเหตุที่ตนไม่อาจแจ้งข้อมูลได้แต่ศาล ยกคําขอ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ค้าเนินการตาม (ก) ต่อไป (ค) หากศาลมีคําสั่งให้ผู้ขอแจ้งข้อมูลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลาที่ศาลกําหนด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนัดไว้ และเมื่อพ้นระยะเวลาที่ศาลกําหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ภายในกําหนดเวลาที่ ศาลสั่งหรือไม่ หากไม่แจ้งภายในกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตาม (ก) ต่อไป ข้อ ๓ สําหรับกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งอายัดเงินฝาก หลักทรัพย์ ตราสาร หน่วยลงทุน และสิทธิเรียกร้องอื่นใดที่จําเลยมีสิทธิได้รับไปยังธนาคารต่างๆ จํานวน 23 ธนาคาร กับทั้งให้ธนาคารแจ้งข้อมูล การเช่าตู้นิรภัยของจําเลยให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยระบุข้อความตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตามหนังสือซักซ้อมความเข้าใจ ที่ ยธ 0512/ว 4 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2561 นั้นให้ถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เรียกให้มาแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว โดยให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตามข้อ 2.1 และ 2.2 ต่อไป แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีข้อตกลงแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลล้มละลายและข้อมูล ทรัพย์สินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์กับกรมบังคับคดี เมื่อมีการส่งข้อมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่า บุคคลหรือนิติบุคคลได้รับทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้และทรัพย์สิน ตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แล้ว ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,892
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 712/2561 เรื่อง การพิจารณารายงานศาลของดการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยกรณียังไม่มีความจำเป็น ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 712/2561 เรื่อง การพิจารณารายงานศาลของดการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยกรณียังไม่มีความจําเป็น ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ------------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการพิจารณารายงานศาล ของการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยกรณียังไม่มีความจําเป็น ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 เป็นไป โดยเรียบร้อย เหมาะสม และเป็นแนวทางเดียวกัน อันจะทําให้คดีล้มละลายดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์แก่ราชการและประชาชน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับคดีล้มละลายที่ยื่นฟ้อง ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2561 มีผลใช้บังคับ คือวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้ ศาลกําหนดวันนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย เว้นแต่กรณีที่ลูกหนี้มาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน พร้อมเหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตลอดจนความประพฤติแล้วโดยไม่ประสงค์ยื่นคําขอประนอมหนี้ ก่อนล้มละลาย หากยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าลูกหนี้ได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต และในการประชุมเจ้าหนี้ไม่มีเจ้าหนี้ประสงค์ให้ไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย ให้รายงานศาลว่ากรณีดังกล่าวยังไม่มี ความจําเป็นที่จะไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย ข้อ ๓ ในการรายงานพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและงดการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเนื่องจาก กรณียังไม่มีความจําเป็น ตามข้อ 2 ให้รายงานตามแบบ ล. 15 ก โดยให้ตัดคําว่า “และนัดไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผย” แล้วเติมคําว่า “ส่วนการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยนั้นเนื่องจากยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่า ลูกหนี้ได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต และในการประชุมเจ้าหนี้ไม่มีเจ้าหนี้ประสงค์ ให้ไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย กรณียังไม่มีความจําเป็น จึงขอศาลได้โปรดงดการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยไว้ก่อน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสําเนาคําให้การลูกหนี้ ตามแบบ ส.5 และสําเนารายงานการประชุมเจ้าหนี้ ครั้งแรกไปพร้อมหนังสือ ตามแบบหนังสือท้ายคําสั่งนี้ เมื่อศาลมีคําสั่งงดการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามวรรคหนึ่งแล้ว หากความปรากฏ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าลูกหนี้มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต หรือมีเหตุอื่นอันสมควร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อขอให้ศาลนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย ต่อไป ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,893
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 682/2561 เรื่อง ยกเลิกและมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 682/2561 เรื่อง ยกเลิกและมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ตามกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 ------------------------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 142/2559 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ในคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ ขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2559 และคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 228/2561 เรื่อง ยกเลิก และมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ตามกฎกระทรวงกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2561 นั้น เพื่อให้การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัย อํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับ ความในข้อ 11 ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ข้อ 2 และ ข้อ 3 ของคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 142/2559 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ตามกฎกระทรวงกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2559 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 228/2561 เรื่อง ยกเลิกและมอบหมายให้ข้าราชการ ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2561 ข้อ ๓ มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ 3.1 ให้ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ ผู้ตรวจราชการกรม ปฏิบัติราชการในฐานะประธาน กรรมการ คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร 3.2 ให้ นางสาวนภัสวรรณ สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย ปฏิบัติราชการในฐานะกรรมการ คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร 3.3 ให้ นางชนิดา เพชรโปร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีแพ่ง ปฏิบัติราชการ คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่และดําเนินการตามข้อ 6 ของคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 142/2559 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2559 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,894
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 619/2561 เรื่อง การประกาศโฆษณาค่าสั่งหรือคำพิพากษาศาลในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 619/2561 เรื่อง การประกาศโฆษณาค่าสั่งหรือคําพิพากษาศาลในคดีล้มละลาย ------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการประกาศคําสั่ง หรือคําพิพากษาของศาลในกระบวน พิจารณาคดีล้มละลาย ที่กฎหมายกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา และการลง ประกาศโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะอื่นใด ตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศกําหนด เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย รวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 จึงให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กลุ่มจัดการกลางด้านล้มละลาย (ศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า) สํานักงาน เลขานุการกรมทําหน้าที่บันทึกข้อมูลคดีล้มละลายที่ได้รับจากศาลล้มละลายกลางลงในระบบบังคับคดี ล้มละลายอิเล็กทรอนิกส์ และให้สํานักงานเลขานุการกรมมีหน้าที่ในการดําเนินการประกาศโฆษณาคําสั่ง หรือ คําพิพากษาของศาลในกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่กฎหมายกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณา ในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 รวมทั้งการลงประกาศโฆษณา ในเว็บไซต์กรมบังคับคดี (http://www.led.go.th) ตามประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง กําหนดสื่อ อิเล็กทรอนิกส์สาธารณะเพื่อโฆษณาคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลหรือประกาศหรือคําสั่งเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ข้อ ๒ การลงนามในประกาศโฆษณาคําสั่ง หรือคําพิพากษาของศาลตามข้อ 1 ให้หัวหน้า ฝ่ายคําคู่ความ หัวหน้างานสารบรรณ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทน เป็นผู้ลงนามในประกาศ ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้กับคดีล้มละลายที่ปฏิบัติงานในระบบบังคับคดีล้มละลายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกลุ่มจัดการกลางด้านล้มละลาย (ศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า) ได้รับคําสั่งหรือคําพิพากษา ของศาลนับแต่วันที่ 19 กันยายน 2561 และเป็นคดีเรื่องที่ 2710/2559 เป็นต้นไป บรรดาคําสั่ง ระเบียบ แนวปฏิบัติ หรือหนังสือเวียนใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 เดือน กันยายน พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,895
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 505/2561 เรื่อง การรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัดทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 505/2561 เรื่อง การรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัดทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ---------------------------- เพื่อให้การติดต่อราชการในการรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัด เกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกจ้าง ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งอายัดสิทธิเรียกร้อง ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่เป็นลูกจ้าง และส่งคําสั่งอายัดเงินตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไปยังผู้รับ การอายัดซึ่งเป็นนายจ้างของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 หากนายจ้างผู้รับ การอายัดมีความประสงค์ใช้วิธีการส่งเงินอายัดของผู้รับการอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัด ทางอิเล็กทรอนิกส์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการตั้งเรื่องอายัดในระบบงานบังคับคดีแพ่ง ให้ลงข้อมูลเลขที่นิติบุคคลเท่านั้น โดยไม่ต้องใส่ชื่อสาขา ยกเว้นหน่วยงานที่ไม่มีเลขที่นิติบุคคล เช่น สหกรณ์ ให้ใช้เลขประจําตัวผู้เสียภาษี ในสํานวนคดีที่ได้ดําเนินการแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดให้มีการลงข้อมูลในระบบให้ครบถ้วน ข้อ ๒ การส่งเงินอายัด 2.1 นายจ้างหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนที่มีความประสงค์จะส่งเงินอายัดและ แจ้งเหตุขัดข้องทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องดําเนินการลงทะเบียนตามแบบที่กรมบังคับคดีกําหนดต่อ กองบริหารการคลัง กรมบังคับคดี หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ด้วยตนเองพร้อมแสดงหลักฐานประจําตัวที่ เกี่ยวข้อง เพื่อรับชื่อผู้ใช้ระบบ (Username) และรหัสผ่าน (Password) สําหรับใช้งานเฉพาะการรับ-ส่งเงินอายัด และการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัดทางอิเล็กทรอนิกส์ และยืนยันหน่วยงานผู้ส่ง 2.2 ให้กองบริหารการคลังเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ หากเป็นการลงทะเบียนต่อสํานักงานบังคับคดี จังหวัด ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดส่งเรื่องให้กองบริหารการคลังพิจารณาอนุมัติ และส่งให้ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารกําหนดชื่อผู้ใช้ระบบ (Username) และรหัสผ่าน (Password) และแจ้งนายจ้างทราบ ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ 2.3 นายจ้างสามารถนําข้อมูลลูกจ้างผู้ถูกอายัดจําแนกตามนายจ้าง โดยการสอบถามข้อมูล และดึงข้อมูลคดีลูกจ้าง (Download) ดังกล่าว จากระบบการรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงิน อายัดทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบังคับคดีที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อนําไปตรวจสอบสถานะและสิทธิเรียกร้อง ที่มีต่อนายจ้าง ในกรณีที่ข้อมูลในระบบไม่ตรงกัน ให้นายจ้างแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) 2.4 นายจ้างต้องส่งเงิน สั่งอายัดโดยการโอนผ่านระบบธนาคารหรือการทําเงินสดหรือเช็ค เข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขา บางขุนนนท์ ตามที่กรมบังคับคดีกําหนดในนามกรมบังคับคดี เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น ก่อนเวลา 11.00 นาฬิกา ของวันที่มีการส่งเงินดังกล่าว กรณีนายจ้างผู้รับอายัดเงินเข้า บัญชีด้วยเช็ค ให้ถือว่ากรมบังคับคดีได้รับเงินเมื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว นายจ้างต้องแจ้งจํานวนเงินรวมพร้อมรายละเอียดการส่งเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ที่เป็นลูกจ้างให้กรมบังคับคดีผ่านทางระบบการรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัด ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลการนําส่งเงินลงระบบฐานข้อมูลเบื้องต้นต่อไป กรณีที่ไม่มีข้อมูลในระบบการรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัตทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้นายจ้างจัดส่งเงินโดยวิธีปกติ 2.5 เมื่อการโอนเงินเข้าบัญชีของกรมบังคับคดีสมบูรณ์แล้ว นายจ้างสามารถตรวจสอบ การตอบรับการโอนเงิน และพิมพ์เอกสารการตอบรับการโอนเงินผ่านระบบการรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้ง เหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัดทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ เว้นแต่กองบริหารการคลังพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง เช่น เงินขาด/เกินจํานวน ให้กองบริหารการคลังแจ้งข้อขัดข้องให้นายจ้างทราบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) โดยยังไม่ตอบรับการรับเงิน 2.6 เมื่อกองบริหารการคลังได้รับเงินอายัดจากนายจ้างแล้วให้โอนเงินให้สํานักงานบังคับคดี ผู้ออกคําสั่งอายัดไม่เกินเวลา 14.00 นาฬิกา ของวันที่มีการส่งเงินดังกล่าว เว้นแต่กรณีนายจ้างผู้รับอายัดเงิน เข้าบัญชีด้วยเช็ค กองบริหารการคลังจะโอนเงินให้สํานักงานบังคับคดีที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว เมื่อสํานักงานบังคับคดีผู้ออกคําสั่งอายัดได้รับโอนเงินจากกองบริหารการคลังแล้วให้สํานักงาน บังคับคดีออกใบรับเงินตามระเบียบการเก็บรักษาเงินกรมบังคับคดีเป็นรายคดี เพื่อนําเข้าสํานวน โดยไม่ต้องตอบ รับเงินแก่นายจ้าง ข้อ ๓ การแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัด 3.1 กรณีนายจ้างผู้รับคําสั่งอายัดจากสํานักงานบังคับคดีผู้ออกคําสั่งอายัด และดําเนินการตาม ข้อ 2 แล้วมีเหตุขัดข้องในการส่งเงินตามคําสั่งอายัด นายจ้างสามารถแจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวให้แก่สํานักงาน บังคับคดีผู้ออกคําสั่งผ่านระบบการรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงินอายัดทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์ของกรมบังคับคดีได้ 3.2 ให้สํานักงานบังคับคดีตรวจสอบข้อมูลการแจ้งเหตุขัดข้องและการส่งเงินอายัดในระบบงาน อินทราเน็ต โปรแกรมแจ้งเหตุอายัด แยกรายสํานักงาน รายคดี ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่ถูกอายัดดังกล่าว 3.3 เมื่อสํานักงานบังคับคดีผู้ออกคําสั่งอายัด ได้รับข้อมูลการแจ้งเหตุขัดข้องแล้ว ให้สํานักงาน บังคับคดีบันทึกข้อมูลในโปรแกรมแจ้งเหตุอายัด เพื่อลงนัดไปยังระบบงานบังคับคดีแพ่ง และดําเนินการบันทึก ข้อมูลในระบบงานบังคับคดีแพ่งให้ถูกต้อง ครบถ้วน ข้อ ๔ เมื่อสํานักงานบังคับคดีผู้ออกคําสั่งอายัดได้รับแจ้งเหตุขัดข้องตามข้อ 3.3 ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งเจ้าหนี้ผู้ขออายัดทราบต่อไป ทั้งนี้ หากเจ้าหนี้ประสงค์ได้รับรายละเอียดข้อขัดข้องการส่งเงิน ของนายจ้างเพิ่มเติม นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงรายละเอียดเหตุขัดข้องเพิ่มเติมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ มิฉะนั้นอาจถูกดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 321 ได้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ - สั่ง ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,896
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 443/2561 เรื่อง การปฏิบัติราชการของกองบังคับคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 443/2561 เรื่อง การปฏิบัติราชการของกองบังคับคดีล้มละลาย ---------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ด้านการบังคับคดีล้มละลาย เป็นไป ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และกฎกระทรวงแบ่งส่วน ราชการกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 กําหนดให้กองบังคับคดี ล้มละลาย 1-6 มีอํานาจและหน้าที่ดําเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 109/2551 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2551 เรื่อง การปฏิบัติ ราชการกรมบังคับคดี 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 70/2551 ลงวันที่ 29 มกราคม 2561 เรื่อง การปรับปรุง และกําหนดภารกิจงานของกองบังคับคดีล้มละลาย 6 1.3 หนังสือเวียนกรมบังคับคดีที่ ยธ 0511/ว 2 ลงวันที่ 31 มกราคม 2561 เรื่อง การปฏิบัติงานสํานวนคดีล้มละลาย ข้อ ๒ ให้บรรดาสํานวนคดีล้มละลายซึ่งได้รับคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว คําพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดก คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและจัดการทรัพย์มรดก ซึ่งกลุ่มจัดการกลาง ด้านล้มละลาย (ศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า) ได้รับจากศาลล้มละลายกลาง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 อยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับคดีล้มละลาย 1-6 ด้วยการจ่ายสํานวนคดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะจ่าย สํานวน ให้กับกองบังคับคดีล้มละลาย 1-6 กลุ่มงาน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยอัตโนมัติ (RANDOM) เว้นแต่ผู้อํานวยการกองบังคับคดีล้มละลาย 1-6 พิจารณาแล้วมีเหตุสมควร ให้ผู้อํานวยการมีอํานาจในการ มอบหมายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบก็ได้ ข้อ ๓ สํานวนคดีล้มละลายที่ค้างดําเนินการ ณ กองบังคับคดีล้มละลาย 1-6 อยู่ก่อน วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ให้กองบังคับคดีล้มละลายนั้น ๆ รับผิดชอบดําเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น รวมถึงคดี ล้มละลายที่มีคําสั่งให้ปิดคดีแล้ว หากมีกรณีที่จะต้องเปิดคดีขึ้นใหม่ ให้กองบังคับคดีล้มละลายเดิม เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2561 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,897
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 270/2561 เรื่อง การจัดส่งหนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 270/2561 เรื่อง การจัดส่งหนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ --------------------------------- ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ข้อ 29 กําหนดให้การติดต่อราชการโดยหนังสือสามารถดําเนินการด้วยระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ นั้น เพื่อให้การติดต่อราชการเกี่ยวกับการรับ - ส่งหนังสือราชการภายในกรมบังคับคดีที่ไม่เกี่ยวกับงานคดี เป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัด อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การจัดส่งหนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์หมายความถึง การจัดส่งหนังสือราชการ ผ่านทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดส่งหนังสือราชการผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๒ ในการจัดทําหนังสือราชการเป็นเอกสาร ให้เจ้าของเรื่องจัดทําเอกสารเพียงฉบับเดียวไม่ต้องมีสําเนาเอกสาร ข้อ ๓ ในการส่งหนังสือราชการซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้รับจะต้องมีการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต หรือ ดําเนินการต่อ ให้เจ้าของเรื่องสแกนหนังสือเพื่อจัดส่งและเก็บเป็นสําเนาในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ แล้วส่งต้นฉบับหนังสือพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ผู้รับต่อไป ข้อ ๔ ในการส่งหนังสือราชการซึ่งเป็นเรื่องแจ้งให้ผู้รับทราบ ปฏิบัติ ให้เจ้าของเรื่องจัดส่งทาง ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์พร้อมแนบไฟล์เอกสาร โดยไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือไปยังผู้รับ ข้อ ๕ ในการส่งหนังสือราชการซึ่งเป็นเรื่องแจ้งให้ผู้รับหลายหน่วยงานทราบ ปฏิบัติ ให้เจ้าของเรื่อง สแกนหนังสือจัดส่งทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแจ้งเวียน ในอินทราเน็ต หัวข้อ “คําสั่งเร่งด่วนแจ้งหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดีทั่วประเทศ ข้อ ๖ ในการสอบถามความประสงค์ หรือการสํารวจข้อมูลต่าง ๆ ให้จัดทําในรูปแบบ Google Formหรือ QR Code เพื่อให้เจ้าของเรื่องสามารถประมวลผลได้ทันที ข้อ ๗ ในกรณีที่ไม่มีความจําเป็นต้องทําเป็นหนังสือ ให้เจ้าของเรื่องเขียนข้อความส่งทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (e - mail) ภาครัฐ ไปยัง e-mail กลางของหน่วยงานนั้น ๆ ข้อ ๘ ในการรับหนังสือหรือข้อความทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e - mail) ภาครัฐ ให้ผู้รับแจ้ง ตอบการรับหนังสือหรือข้อความนั้นด้วย และหากมีการโต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ให้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) เติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,898
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 275/2561เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการน่าส่งเงินหรือรับเงิน ของกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 275/2561 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการน่าส่งเงินหรือรับเงิน ของกรมบังคับคดี --------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 2/2560 ลงวันที่ 4 มกราคม 2560 แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินของกรมบังคับคดีตามระเบียบการ เบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 นั้น เนื่องจากองค์ประกอบของคําสั่งดังกล่าวข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลงโดยกรรมการบางส่วนได้ลาออกและ เกษียณอายุราชการ ดังนั้น เพื่อให้การเก็บรักษาเงิน การเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว การนําส่งเงินหรือรับเงิน ของกรมบังคับคดี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย จึงให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 2/2560 ลงวันที่ 4 มกราคม 2560 และมีคําสั่งแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทน ชั่วคราว และกรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กรรมการเก็บรักษาเงิน ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ 1.1 นางวิไล เพ็ชรประดับฟ้า ผู้อํานวยการกองบริหารการคลัง กรรมการ 1.2 นางกรรณิการ์ ธรรมวัฒนา นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการพิเศษ กรรมการ 1.3 นางสาวพนารัตน์ ดาวเรือง นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ ข้อ ๒ กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ 2.1 นางสาวจันทิรา จิตติกานต์ นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ 2.2 นางอลิศรา วิไลเนตร นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ 2.3 นางฉวีวรรณ สุวรรณสัมพันธ์ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ ข้อ ๓ กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ 3.1 นางสาวพนารัตน์ ดาวเรือง นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ 3.2 นางสาววรพรรณ โภคาพานิช นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ กรรมการ 3.3 นางสาวกรณีต ติปยานนท์ นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ กรรมการ 3.4 นางฉวีวรรณ สุวรรณสัมพันธ์ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ 3.5 นางประชุมพร ทองนิล เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ 3.6 นางสาวลดาวัลย์ วิริยะศิริวัฒนา เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ 3.7 นางสาวสุภาภรณ์ แดงจิ๋ว เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ กรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินตามข้อ 1 ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้กรรมการ ตามข้อ 2 เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่กรรมการได้ และให้กรรมการตามข้อ 3 อย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงิน ไปส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน กรณีเป็นเงินสดจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงิน ส่งอยู่ห่างไกลหรือกรณีใดจึงเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลัง หรือ หัวหน้าฝ่ายการเงิน เป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุม รักษาความปลอดภัย ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,899
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 196 /2561 เรื่อง การหักเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี
คํากรมบังคับคดี ที่ 196 /2561 เรื่อง การหักเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี --------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าธรรมเนียมในการ บังคับคดี พ.ศ. 2561 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี พ.ศ. 2561 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2561 จนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จึงให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ก่อนนําเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ให้หักเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี โดยให้นําเงินฝากคลัง ชื่อบัญชี “บัญชีเงินฝากค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี ของกองบริหารการคลัง กรมบังคับคดี โดยให้ใช้ใบนําฝากเงิน Pay-In Slip ของกรมบังคับคดี โดยให้ระบุช่อง หมายเลข 2 เงินฝากคลัง เท่านั้น สําหรับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 50 ที่เหลือให้นําส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามเดิม กรณี ที่หักร้อยละ 50 แล้วปรากฏว่ามียอดเงินไม่เท่ากันในจํานวนสตางค์ ให้นําจํานวนเงินที่สูงกว่านําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เมื่อสํานักงานบังคับคดีสาขา หักเงินร้อยละ 50 ไว้ ให้เป็นผู้นําส่งกรมบังคับคดี และรายงาน ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดทราบ ข้อ ๒ การนําส่งค่าธรรมเนียมให้ส่ง ทุกวันที่ 20 ของเดือน เว้นแต่ตรงกับวันหยุดราชการให้ส่งใน วันทําการสุดท้ายก่อนวันที่ 20 ข้อ ๓ เมื่อได้ดําเนินการตาม ข้อ 1. แล้ว ให้ส่งสําเนาเอกสารที่ได้รับจากธนาคาร ทั้ง 2 ส่วน พร้อม ระบุชื่อส่วนราชการที่นําส่ง ไปที่กองบริหารการคลัง ทาง e-mail : fiscalled.mail.go.th ภายในวันที่นําฝาก (โดยไม่ต้องจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์) เพื่อให้กองบริหารการคลังออกใบเสร็จรับเงิน และจัดส่งให้ กับผู้นําส่งเงิน ข้อ ๔ กองบริหารการคลัง เปิดบัญชีเงินฝากคลัง ชื่อบัญชี “บัญชีเงินฝากค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน บังคับคดี” ให้กับส่วนภูมิภาคในระบบ GFMIS กับกรมบัญชีกลาง ตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0414/ว89 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 ข้อ ๕ เพื่อเป็นการรองรับการนําเงินตามข้อ 1. ไปใช้จ่ายเพื่อเสริมเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปี ที่กรมบังคับคดีจะทําการโอนเงินให้กับสํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาค ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัด ที่เป็นหน่วยเบิกจ่าย เปิดบัญชี กับธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน ชื่อบัญชี “...ชื่อส่วนราชการ...เงินนอกงบประมาณ” ถ้าสํานักงานใดมีบัญชีนี้แล้ว ไม่จําเป็นต้องเปิดอีก สามารถใช้บัญชี เดียวกันได้และให้นําบัญชีดังกล่าวไปผูกกับระบบ GFMIS ของสํานักงานคลังจังหวัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,900
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 185/2561 เรื่อง การวางเงินทดรองค่าใช้จ่ายขั้นบังคับคดีในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 185/2561 เรื่อง การวางเงินทดรองค่าใช้จ่ายขั้นบังคับคดีในการดําเนินคดีแบบกลุ่ม (class action) ------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีในการดําเนินคดี แบบกลุ่ม (class action) เป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน ประกอบ กับมาตรา 222/39 ถึงมาตรา 222/42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีต้องรับคําขอรับชําระหนี้ของสมาชิกกลุ่ม สอบสวนคําขอรับชําระหนี้ พิจารณาและมีคําสั่ง และแจ้ง คําสั่งให้ผู้ขอรับชําระหนี้และผู้โต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ทราบ ไม่ว่าในคดีนั้นจะมีการยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิ เรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือไม่ก็ตาม ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายที่ต้องทดลองจ่ายสูงกว่า คดีแพ่งทั่วไป ดังนั้น เมื่อศาลมีหมายบังคับคดีในคดีที่มีการดําเนินคดีแบบกลุ่ม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ออกหมายแจ้งโจทก์หรือทนายความฝ่ายโจทก์วางเงินทดรองค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีครั้งแรกเป็นจํานวน 10,000.-บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) และหากจํานวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ให้แจ้งโจทก์หรือทนายความ ฝ่ายโจทก์วางเงินทดรองค่าใช้จ่ายขั้นบังคับคดีเพิ่มขึ้นอีกได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัตินับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,901
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 118 /2561 เรื่อง การกำหนดเขตอำนาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 118 /2561 เรื่อง การกําหนดเขตอํานาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร --------------------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 83/2561 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 กรมบังคับคดีกําหนด เขตอํานาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร นั้น เนื่องจากมีข้อความที่คลาดเคลื่อน และเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของสํานักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานครเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 83/2561 เรื่อง การกําหนดเขตอํานาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4 รับผิดชอบดําเนินการบังคับคดีแพ่ง ตามหมายบังคับคดีหรือคําสั่งศาลของศาลแขวงดุสิต ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,902
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 83 /2561 เรื่อง การกำหนดเขตอำนาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 83 /2561 เรื่อง การกําหนดเขตอํานาจศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร ----------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้ขอปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งประเภทผู้อํานวยการ ระดับต้น สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 6 เป็น ระดับสูง และตามที่คณะกรรมการกําหนดตําแหน่ง ระดับสูงของกระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาให้กรมบังคับคดีทบทวนภารกิจตามเขตอํานาจศาลของสํานักงาน บังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 6 เพื่อให้มีสัดส่วนของปริมาณงานที่เหมาะสมและสมดุลกัน นั้น เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 6 เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานของกรมบังคับคดี และเพื่อมุ่งเน้น การให้บริการประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ทําให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4 รับผิดชอบดําเนินการบังคับคดีแพ่ง ตามหมายบังคับคดีหรือคําสั่งศาลของศาลแขวงดุสิต เฉพาะหมายบังคับคดีหรือคําสั่งศาลที่เกิดขึ้นใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ สํานวนการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีหรือตามคําสั่งของศาลแขวงดุสิตที่อยู่ระหว่าง ดําเนินการของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ให้อยู่ในอํานาจของสํานักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 1 ต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,903
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 70/2561 เรื่อง การปรับปรุงและกำหนดภารกิจงานของกองบังคับคดีล้มละลาย 6
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 70/2561 เรื่อง การปรับปรุงและกําหนดภารกิจงานของกองบังคับคดีล้มละลาย 6 -------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 788/2556 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ตัดโอนงาน และอัตรากําลังไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับคดีล้มละลาย 6 และตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 623/2559 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เรื่อง การปรับปรุงและกําหนดภารกิจงานของกองบังคับคดี ล้มละลาย 6 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการกรมบังคับคดีดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเกิดประโยชน์แก่ทางราชการ และประชาชนผู้มาติดต่อราชการยิ่งขึ้น จึงให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 623/2559 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เรื่อง การปรับปรุงและกําหนดภารกิจงานของกองบังคับคดี ล้มละลาย 5 และกําหนดภารกิจความรับผิดชอบของกองบังคับคดีล้มละลาย 6 ใหม่ ดังนี้ ข้อ ๑ คดีล้มละลายที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งลูกหนี้เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจํา ลูกจ้าง พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานภาคเอกชน ที่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ค่าจ้างประจํา เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ หรือเงินอื่นใดใน ทํานองเดียวกัน และได้มีหนังสือแจ้งอายัดเงินดังกล่าวไปยังต้นสังกัดหรือนายจ้าง โดยให้ถือการอายัดดังกล่าว เป็นหลักในการพิจารณา แต่หากเป็นคดีมีทรัพย์สิน ได้แก่ คดีมีทรัพย์สินต่างๆ คดีที่รวบรวมทรัพย์สินได้ ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป คดีมีการยื่นคําขอประนอมหนี้ คดีมีการเพิกถอนการชําระหนี้ หรือคดีมีสาขาคดี ให้ส่งกองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 5 ดําเนินการต่อไปตามเลขคดีที่แต่ละกองรับผิดชอบ ข้อ ๒ สํานวนคดีในกรณีที่มีผู้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (2) หรือมาตรา 96 (3) ตาม คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 501/2554 ลงวันที่ 21 กันยายน 2554 ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปให้ดําเนินการจนแล้วเสร็จ ข้อ ๓ คดีล้มละลายสถาบันการเงิน ข้อ ๔ คดีล้มละลายบริษัทประกันภัย และประกันวินาศภัย ข้อ ๕ คดีล้มละลายที่ลงนัดรอรับเงินส่วนได้ในคดีแพ่ง หรือเงินส่วนแบ่งจากคดีล้มละลายอื่น และไม่มีกิจการทรัพย์สินหรือสํานวนสาขาคดีอื่นต้องดําเนินการอีก ข้อ ๖ คดีล้มละลายที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,904
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 135/2560 เรื่อง การมอบหมายให้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีในการอายัดทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 135/2560 เรื่อง การมอบหมายให้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีในการอายัดทรัพย์สิน --------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีด้านการอายัดทรัพย์สินมีความรวดเร็ว และ สามารถอํานวยประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (14) จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้อํานวยการในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ธุรการปฏิบัติการแทน ในสํานวนการอายัดทรัพย์สิน โดยอยู่ในการควบคุมดูแล และคําแนะนําของผู้อํานวยการ ข้อ ๒ ในการดําเนินการดังกล่าวให้ปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานด้านการอายัดทรัพย์สิน (ธุรการ) ข้อ ๓ ในกรณีที่สํานวนการอายัดทรัพย์สินมีเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้ผู้อํานวยการมอบหมาย สํานวนคดีนั้นๆ แก่นิติกร กรณีที่มีหมายนัดของศาล ผู้อํานวยการอาจมอบหมายให้นิติกรไปศาลพร้อมกับ เจ้าหน้าที่ธุรการ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม ข้อ ๔ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ 3 เมษายน 2560 ให้มีนิติกรเป็นผู้ให้คําแนะนํา ข้อ ๕ สํานวนคดีอายัดที่ได้ดําเนินการก่อนวันที่ 3 เมษายน 2560 ให้นิติกรผู้รับผิดชอบเดิม ดําเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,905
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 787/2560 เรื่อง การกำหนดผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะในการพิจารณามีคำสั่งในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 787/2560 เรื่อง การกําหนดผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะในการพิจารณามีคําสั่งในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลาย ---------------------------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 313/2559 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2559 กําหนดแนวทาง ในการพิจารณามีคําสั่งในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกิน ห้าร้อยล้านบาท ต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกองและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับ ผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับสํานวนคําขอรับชําระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 38 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 49 และมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และระเบียบกระทรวง ยุติธรรมว่าด้วยการกําหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอํานาจออกคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ พ.ศ. 2558 จึงกําหนดให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลายเป็นองค์คณะในการพิจารณามีคําสั่งในสํานวน คําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท ดังนี้ ข้อ ๑ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย (ตําแหน่งเลขที่ 7) หรือผู้รักษาการใน ตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย (ตําแหน่งเลขที่ 7) เป็นองค์คณะในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายของกองบังคับคดีล้มละลาย ๆ และกองบังคับคดีล้มละลาย ข้อ ๒ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย (ตําแหน่งเลขที่ 8) หรือผู้รักษาการใน ตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย (ตําแหน่งเลขที่ 8) เป็นองค์คณะในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ ในคดีล้มละลายของกองบังคับคดีล้มละลาย 2 และกองบังคับคดีล้มละลาย 4 ข้อ ๓ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย (ตําแหน่งเลขที่ 9) หรือผู้รักษาการในตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย (ตําแหน่งเลขที่ 9) เป็นองค์คณะในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายของกองบังคับคดีล้มละลาย ๆ และกองบังคับคดีล้มละลาย 6 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,906
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 681/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้สูญหาย หรือถูกรื้อถอน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 681/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้สูญหาย หรือถูกรื้อถอน --------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 93/2554 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2554 เรื่อง การปฏิบัติงาน กรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้สูญหาย หรือถูกรื้อถอน ข้อ ๒ กรณีทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้สูญหาย ถูกรื้อถอน หรือเสียหาย ทั้งหมดหรือ แต่เพียงบางส่วนอันเกิดจากการกระทําความผิดอาญา 2.1 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานเสนอรายงานการตรวจสอบพร้อมกับเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดีแก่ผู้กระทําความผิด หรือขอให้สืบสวน สอบสวนหาตัวผู้กระทําผิดต่อไป ทั้งนี้ ให้เสนอหนังสือร้องทุกข์เพื่อให้อธิบดีกรมบังคับคดี ลงนามไปพร้อมด้วย 2.2 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามความประสงค์เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่ยึดส่วนที่เหลืออยู่ โดยหากประสงค์ให้ดําเนินการบังคับคดีกับทรัพย์สินที่ยึดส่วนที่เหลือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีต่อไปโดยไม่ต้องรอให้ทรัพย์สินที่สูญหาย หรือถูกรื้อถอน แล้วแต่กรณี กลับคืนมาก่อน 2.3 หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอถอนการยึดทรัพย์สินที่สูญหายหรือถูกรื้อถอนนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่าย 2.4 หากสภาพทรัพย์สินที่ยึดส่วนที่เหลือจําเป็นต้องประเมินราคาทรัพย์สินดังกล่าวใหม่ เพื่อใช้เป็นราคาประกอบการขาย เช่น - สิ่งปลูกสร้างถูกรื้อถอนหรือเสียหายแต่เพียงบางส่วน - ทรัพย์สินที่สูญหายเป็นอุปกรณ์หรือส่วนควบของทรัพย์ที่ยึด - กรณีที่ไม่อาจแยกราคาประเมินที่ดินและราคาสิ่งปลูกสร้างได้ - ที่ดินมีราคาสูงขึ้นโดยเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงขอให้ประเมินราคาใหม่ตามหลักเกณฑ์ของกรมบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการประเมินราคาและแจ้งราคาประเมินใหม่ให้ผู้มีส่วนได้เสีย ทราบก่อนทําการขายทอดตลาด 2.5 หากสามารถเรียกทรัพย์สินที่สูญหายหรือถูกรื้อถอนกลับคืนมาได้ในภายหลัง ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่อไปจนเสร็จสิ้น 2.6 สํานวนบังคับคดีที่ทรัพย์สินที่ยึดไว้สูญหาย ให้ถือเป็นสํานวนที่ต้องดําเนินการต่อไป จนกว่าจะได้ทรัพย์สินคืนและหาผู้กระทําความผิดมาลงโทษได้ ภายในกําหนดอายุความตามมาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา การบังคับคดีย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงตามอายุความในทางอาญา เจ้าพนักงานบังคับคดี จึงจะปลดเผาสํานวนดังกล่าวได้ ข้อ ๓ กรณีทรัพย์สูญหายมิได้เกิดจากการกระทําความผิดอาญา เช่น เกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือ เกิดจากการกระทําของบุคคลภายนอก (คําสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอน) หรือเกิดจากจําเลยเป็นผู้กระทําเอง เพื่อต่อเติม ซ่อมแซม ทุบสร้างใหม่ให้ดีขึ้น เป็นต้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดําเนินการจดรายงานเจ้าหน้าที่ พร้อมประเมินราคาทรัพย์ใหม่ให้เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคํานวณ ค่าธรรมเนียมตามตาราง 5 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และแจ้งราคาประเมินใหม่ ให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบก่อนทําการขายทอดตลาด ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,907
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 3/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 3/2564 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 45 (4) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม และมาตรา 101 (13) จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,909
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 5/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 5/2564 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2564 ว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2545 เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง เป็นการออกระเบียบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 44 แต่มิได้ดําเนินการตามมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 197 วรรคสี่ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,910
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 7/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 7/2564 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ว่า มติของคณุกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่วินิจฉัยตัดสิทธิ นางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร และพลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ในการเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,911
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 8/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 8/2564 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ตรี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,912
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 504 /2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายในคดีแพ่ง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 504 /2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทําบัญชีรับ-จ่ายในคดีแพ่ง ---------------------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจัดทําบัญชี รับ-จ่ายในคดีแพ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัย อํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 386/2549 ลงวันที่ 26 กันยายน 2549 เรื่อง การคํานวณ และแสดงบัญชีรับ-จ่ายในคดีแพ่ง ข้อ ๒ เมื่อมีการรับเงินที่จะต้องจัดทําบัญชี และไม่มีเหตุขัดข้องในการทําบัญชีให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีส่งสํานวนให้นักบัญชีดําเนินการในทันที ทั้งนี้ กําหนดระยะเวลาในการทําบัญชีตั้งแต่วันรับเงินถึง วันที่ออกหนังสือแจ้งให้มาตรวจรับรองบัญชีในกรณียึดและขายทอดตลาดทรัพย์ไม่เกิน 45 วัน กรณีอายัด ทรัพย์ไม่เกิน 30 วัน กรณีมีเหตุขัดข้องในการทําบัญชีให้กําหนดเวลาดังกล่าวเริ่มจากวันที่เหตุขัดข้องหมดไป กรณีหากมีข้อยุ่งยากไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จตามวรรคหนึ่งได้ให้รายงานเหตุผลและ ความจําเป็นเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาและให้กําหนดวันแล้วเสร็จ กรณีเงินที่ได้จากขายทรัพย์ที่เป็นของสดของเสียได้ หรือถ้าหน่วงข้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความ เสียหาย หรือค่าใช้จ่ายจะเป็นส่วนแห่งค่าของทรัพย์สิน ให้ส่งทําบัญชีเพื่อจัดสรรหรือแบ่งเฉลี่ยเงินที่ได้ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลา 60 วันนับแต่วันยึดทรัพย์สินไปแล้ว การบังคับคดีในกรณีลูกหนี้ตามคําพิพากษาขาดนัด เงินที่ได้จากการบังคับคดีห้ามมิให้ส่งทํา บัญชีเพื่อจัดสรรหรือแบ่งเฉลี่ยเงินที่ได้มาจนกว่าระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์สินจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว เว้นแต่ศาลจะมีคําสั่งตามมาตรา 338 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ ๓ กรณีลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกวางเงินชําระหนี้ ให้นําเงินดังกล่าวมาทําบัญชีแสดงรายการ รับ-จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้ขอบังคับคดีและเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งศาลมีคําสั่งอนุญาตแล้วตาม มาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ขณะที่มีการวางเงินนั้น กรณีที่ลูกหนี้ประสงค์จะให้ถอนการบังคับคดีจะต้องวางเงินเพียงพอชําระหนี้เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาผู้ขอบังคับคดีและเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งศาลมีคําสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 326 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ขณะที่มีการวางเงินนั้น รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการ บังคับคดีให้ครบถ้วน ข้อ ๔ เมื่อมีเงินที่ได้จากการบังคับคดีเข้ามาในคดีเรียบร้อยแล้ว (มีการออกใบเสร็จรับเงินหรือ เช็คเรียกเก็บได้) ให้นักบัญชีและเจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการ ดังนี้ 4.1 กรณีสํานวนยึดทรัพย์สินที่มีทุนทรัพย์ตามหมายบังคับคดีไม่เกิน 400,000 บาท และมีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพียงคนเดียวที่ไม่มีเหตุขัดข้องในการทําบัญชี ให้จัดทําบัญชีแสดงรายการ รับ-จ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในวันที่รับเงินหรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไปเมื่อพ้นกําหนดร้องเฉลี่ยหรือ นับแต่วันรับเงินหรือครบกําหนดร้องเฉลี่ยโดยแจ้งให้มาตรวจรับรองบัญชีและให้จ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้ภายใน 7 วัน เว้นแต่คดีมีเงินเหลือคนจําเลย 4.2 กรณีคดีศาลเยาวชนและครอบครัว ให้จัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินให้แล้ว เสร็จภายในวันที่รับเงินหรืออย่างช้าภายในวันรุ่งขึ้นของวันทําการถัดไป และจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ทันทีที่มาขอรับเงิน และทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินสรุปรายปีเพื่อรายงานศาลต่อไป ข้อ ๕ ในการทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินให้นักบัญชีลงชื่อในฐานะผู้คิดเสนอผู้บังคับบัญชา ของตนเพื่อตรวจสอบและให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อในฐานะผู้ตรวจสอบแล้วให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีลงชื่อในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี รวมทั้งแจ้งให้ ผู้เกี่ยวข้องมาตรวจสอบรับรองบัญชีตามกฎหมายด้วย ข้อ ๖ กรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหลายคนร้องขอให้บังคับคดี หรือบุคคลใช้สิทธิที่จะได้รับ ชําระหนี้ตามมาตรา 324 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ส่งคําบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ ตามคําพิพากษา เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เจ้าของรวม ผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สิน โดยแจ้งให้ตรวจสอบบัญชี ส่วนเฉลี่ยนั้น และให้ยื่นคําแถลงคัดค้านได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันส่งคําบอกกล่าวตามมาตรา 340 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถ้าไม่มีคําแถลงคัดค้านภายในกําหนดเวลาให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ย ดังกล่าวเป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่บุคคลตามบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น หากมีการคัดค้าน บัญชีส่วนเฉลี่ยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาและมีคําสั่งต่อไป ข้อ ๗ เมื่อได้จัดทําบัญชีเสร็จแล้วและไม่มีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้ได้รับมอบหมาย รายงานบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินให้ศาลทราบ ข้อ ๘ เมื่อนักบัญชีได้รับสํานวนให้ทําการคํานวณหรือทําบัญชีแสดงรายการจ่ายให้ดําเนินการให้แล้ว เสร็จภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปนี้ 8.1 การคํานวณจํานวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้องชําระให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับสํานวนหรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป 8.2 การแสดงบัญชีรับ-จ่ายคดีอายัด ในกรณีไม่มีเจ้าหนี้อื่นขอเฉลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 1 วันทําการ กรณีมีเจ้าหนี้อื่นขอเฉลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวน - วันทําการ 8.3 การทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินได้จากการขายทอดตลาดให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทําการ กรณีมีเจ้าหนี้อื่นขอเฉลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบการคํานวณหรือการทําบัญชีตามข้อ 8.2 และ 8.3 ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทําการ ในกรณีที่มีความจําเป็นไม่อาจปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้ให้รายงานเหตุผลและ ความจําเป็นตามลําดับชั้น ไปยังอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายใน 3 วัน นับจากวันที่มีความจําเป็นดังกล่าว ข้อ ๙ ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีรับผิดชอบในการ ควบคุมดูแลให้นักบัญชีปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด คําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,913
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 9/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 9/2564 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ว่า พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 151 วรรคสาม และมาตรา 166 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,914
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 10 - 13/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 10 - 13/2564 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ว่า พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 บทนิยามคําว่า “การชุมนุมสาธารณะ” มาตรา 10 มาตรา 14 และมาตรา 28 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 34 และมาตรา 44 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,915
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 14/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 14/2564 ลงวันที่ 8 กันยายน 2564 ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 วรรคหนึ่ง เฉพาะในส่วนที่บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทําความผิดมายังศาลภายในกําหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทําความผิดเป็นอันขาดอายุความ” ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 27 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,916
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 15 - 16/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 15 - 16/2564 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,917
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 18/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 18/2564 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,918
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 20/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 20/2564 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,919
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 21/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 21/2564 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 44 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,920
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 502/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 502/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน ---------------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 5/2538 ลงวันที่ 10 มกราคม 2538 เรื่อง การอายัดเงิน ในคดีของศาลต่างจังหวัด 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 334/2551 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 25/2554 ลงวันที่ 14 มกราคม 2554 เรื่อง การปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้วางเงิน ทดรองค่าใช้จ่ายขั้นบังคับคดีสํานวนละ 1,500 บาท ในระหว่างการบังคับคดีหากค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีหมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจํานวนที่เห็นสมควร ข้อ ๓ การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลง ยืนยันจํานวนเงินที่ชออายัดพร้อมส่งเอกสารดังต่อไปนี้ 3.1 อายัดเงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะ เดียวกัน ให้ส่งสําเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้น อายัดเงินฝากในบัญชีจากหน่วยงานที่ให้บริการรับฝากเงิน ให้ส่งสําเนาเอกสารที่มีข้อความ ระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้นพร้อมรายละเอียดว่าต้องการอายัดเงินจากหน่วยงานใด พร้อมระบุสาขา เลขบัญชี และจํานวนเงิน อายัดเงินตามสัญญา หรือสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ให้ส่งสําเนาหนังสือสัญญา หรือเอกสาร หลักฐานแห่งหนี้ที่ระบุว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิได้รับเงินนั้น ๆ 3.2 สําเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ ตามคําพิพากษา หรือคู่สมรส ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องที่อายัดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (หากมี) 3.3 สําเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล ของนายจ้าง หรือบุคคลภายนอกผู้รับคําสั่งอายัดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมหลักฐาน การเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (หากมี) เว้นแต่ นิติบุคคลหรือบุคคลภายนอกนั้นเป็นธนาคาร ข้อ ๔ การอายัดเงินตามข้อ 3.1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี เพื่อพิจารณามีคําสั่ง หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่สามารถส่งเอกสารประกอบคําขออายัดตามข้อ 3.1 แต่ได้แสดง เหตุแห่งการนั้นมาในคําขออายัดพร้อมแถลงยืนยันถึงความมีอยู่แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ๆ และยินยอมรับผิด ในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอความเห็นว่าสมควรมีคําสั่งอายัดให้หรือไม่ ต่อผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี เพื่อพิจารณามีคําสั่งต่อไป ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทใด ข้อ ๕ เมื่อมีคําสั่งอายัดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหนังสืออายัดไปยังบุคคลภายนอกผู้รับคําสั่ง อายัตภายในวันที่มีคําสั่งหรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป โดยระบุห้ามบุคคลภายนอกไม่ให้ปฏิบัติการชําระหนี้ แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา แต่ให้ชําระเงินหรือส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินหรือชําระหนี้อย่างอื่นให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือบุคคลอื่น ภายในเวลาหรือเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด และให้ แจ้งการอายัดไปยังลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ให้จําหน่ายสิทธิเรียกร้องดังกล่าวในคราวเดียวกัน การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินไปยังจังหวัดอื่น ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่ต้องขอศาลบังคับคดีแทน ข้อ ๖ การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินตั้งแต่ 20,000,000 บาทขึ้นไป หรืออายัดสิทธิเรียกร้อง ของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการอายัดแล้ว ให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ ข้อ ๗ กรณีอายัดเงินเป็นคราว ๆ เมื่อมีการส่งเงินมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีตรวจสํานวนทุก 3 เดือน หากเงินที่รวบรวมได้มีจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ให้ส่งสํานวนให้ นักบัญชีดําเนินการทําบัญชีรับ - จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทันที เว้นแต่ ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี เห็นเป็นอย่างอื่น หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาร้องขอ ข้อ ๘ การสั่งเพิ่มหรือลดอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นใน ลักษณะเดียวกัน เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําร้องขอเพิ่มหรือลดอายัด พร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการขอเพิ่มหรือลดอายัด และส่งเอกสารใบรับรองเงินเดือน หลักฐาน ค่าใช้จ่ายอันจําเป็นแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาหลักฐานดังกล่าว โดยคํานึงถึงฐานะทางครอบครัว จํานวนบุพการีและผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือพฤติการณ์แห่งการดํารงชีพ ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจํานวนหนี้ตามหมายบังคับคดี โดยเสนอความเห็นพร้อม ระบุข้อมูลโดยย่อต่อผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีเพื่อมีคําสั่ง ข้อ ๙ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องที่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตาม มาตรา 331 หรือมาตรา 332 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดําเนินการอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่มีเหตุขัดข้อง อย่างหนึ่งอย่างใดที่ทําให้ไม่อาจอายัดได้ทันทีในขณะนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นเองหรือเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาร้องขอให้มีคําสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณามีคําสั่ง หากมีคําสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ไว้เป็นการชั่วคราว ให้แจ้งคําสั่งห้ามให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องนั้นทราบ ตลอดจนนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายเพื่อให้บันทึกคําสั่ง ของเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ในทะเบียน ในกรณีเหตุขัดข้องสิ้นสุดลงหรือไม่มีความจําเป็นต้องบังคับคดีต่อไป หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งยกเลิกคําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคําพิพากษามีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฏตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น หากเจ้าพนักงาน บังคับคดีสงสัยว่าสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาและไม่ยอมทําการอายัด ถ้าเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษายืนยันให้อายัด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทําการอายัดสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจะสั่งงดการอายัดก็ได้ โดยให้เสนอความเห็นพร้อมเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณามีคําสั่ง ในกรณีที่สั่งงด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งห้ามการโอน ขาย ยักย้าย จําหน่าย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในสิทธิเรียกร้องนั้น แล้วแจ้งคําสั่งห้ามให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และ บุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นทราบโดยเร็ว ในกรณีที่ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องที่จะต้องจดทะเบียนหรือได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งคําสั่งห้ามดังกล่าวให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้นทราบด้วย ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ยื่นคําร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทําการอายัดสิทธิเรียกร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งงดการอายัด หรือศาลมีคําสั่ง ยกคําร้อง หรือในกรณีที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้อง แต่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่ดําเนินการบังคับคดี แก่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่ง ให้คําสั่งห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นอันยกเลิกไป และให้แจ้งการยกเลิกคําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลตามวรรคหนึ่งทราบด้วย ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งห้ามตามข้อ 11 บุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของสิทธิเรียกร้อง ตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นหรือผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิเรียกร้องจะร้องขอต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีให้เพิกถอนคําสั่งห้าม และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรที่จะรับเงินหรือหลักประกันไว้แทน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้บุคคลดังกล่าววางเงินหรือหาประกันมาให้แทนสิทธิเรียกร้อง สิทธิเรียกร้อง ดังนี้ 12.1 กรณีวางเงิน ให้วางเป็นเงินสด หรือใช้วิธีทํารายการผ่านระบบ EDC (Electronic Data Capture) เท่ากับจํานวนสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ขออายัด หากมีการบังคับคดีไว้บ้างแล้วให้หักราคาประเมิน ทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นออกด้วย 12.2 กรณีวางประกัน ให้วางสมุดบัญชีเงินฝากประเภทประจํา สลากออมสิน สลาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พันธบัตรรัฐบาล มูลค่าเท่ากับจํานวนสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ ขออายัด หากมีการบังคับคดีไว้บ้างแล้วให้หักราคาประเมินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นออกด้วย และให้ บุคคลดังกล่าวทําหนังสือยินยอมวางประกันไว้ กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กําหนดมานี้ ให้เสนอ ความเห็นพร้อมเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณา มีคําสั่ง หากเจ้าพนักงานบังคับคดีรับเงินสดแทนสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนคําสั่งห้ามทันที แต่หาก เจ้าพนักงานบังคับคดีรับหลักประกันแทนสิทธิเรียกร้อง ให้เพิกถอนคําสั่งห้ามได้ต่อเมื่อได้แจ้งนายทะเบียนหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันดังกล่าวโดยชอบแล้ว ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ยื่นคําร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทําการอายัดสิทธิเรียกร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งงดการอายัด หรือศาลมีคําสั่ง ยกคําร้อง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินหรือหลักประกันที่รับไว้แก่ผู้วางเงินหรือหลักประกันนั้น พร้อมแจ้ง นายทะเบียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันดังกล่าวทราบด้วย คําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,921
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 23/2564)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ----------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 23/2564 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 21 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม มาตรา 26 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสี่ และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 22 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคสอง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,922
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 1/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 1/2565 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 81 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 พรทิภา ไสวสุวรรณวงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ รักษาราชการแทน เลขาธิการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,923
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 505/2560 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการงดและถอนการบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 505/2560 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการงดและถอนการบังคับคดี --------------------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 454/2548 ลงวันที่ 4 กันยายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําขอตั้งเรื่องบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีดําเนินการทันทีในวันนั้น เว้นแต่มีเหตุขัดข้องอย่างหนึ่งอย่างใดที่ไม่อาจดําเนินการบังคับคดีภายใน วันดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวันเวลานัดกับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อดําเนินการบังคับคดี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันยื่นคําขอตั้งเรื่องบังคับคดี หรือที่มีวันว่างตรงกัน โดยให้ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีกํากับดูแลการนัดหมายดังกล่าวไม่ให้มีกําหนดเวลานานเกินความจําเป็น ทั้งนี้ โดยพิจารณา ด้วยว่ากําหนดนัดดังกล่าวจะมีผลกระทบหรือเกิดความเสียหายในคดีหรือไม่เพียงใด ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องบังคับคดีไว้ แต่ยังไม่ประสงค์บังคับคดี ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีลงนัดไว้ 3 เดือนนับแต่วันทั้งเรื่องบังคับคดี เมื่อครบนัดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มาดําเนินการ บังคับคดี โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายนัดเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงความประสงค์ ในการบังคับคดีพร้อมทั้งแจ้งไปด้วยว่าหากไม่มาภายในกําหนดจะถือว่าไม่ประสงค์จะบังคับคดีตามที่ได้ยื่น คําขอไว้ และให้มารับค่าใช้จ่ายคืน มิฉะนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจะนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เมื่อครบกําหนดนัด หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่แถลงความประสงค์ในการบังคับคดีหรือขอรับเงินค่าใช้จ่ายคงเหลือคืน ให้นํา สํานวนลงสารบบส่งเก็บ พร้อมลงนัดไว้ 5 ปี เพื่อนําส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาประสงค์จะของดการบังคับคดีจักต้องนําส่งหนังสือแสดง ความยินยอมของลูกหนี้ตามคําพิพากษาตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อพิจารณาประกอบการของดการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ตามที่เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาแถลง และให้ลงนัด สํานวนมาดําเนินการบังคับคดีต่อไปทันทีเมื่อครบกําหนดนัด หากเงินค่าใช้จ่ายไม่พอในการบังคับคดีต่อไป ให้หมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาวางเงิน ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากไม่มาดําเนินการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการบังคับคดีไว้จนกว่าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา จะนําเงินค่าใช้จ่ายมาวาง หากเจ้าหนี้เพิกเฉยเกินกว่า 6 เดือน ให้หมายสอบถามความประสงค์ของเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาตามข้อ 4 ข้อ ๔ ในการออกหมายให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีหรือ ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด นอกจากการให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว) ให้ระบุเงื่อนไขตามมาตรา 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งทุกครั้ง หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่มาดําเนินการภายใน ระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดโดยไม่แถลงเหตุขัดข้องติดต่อกันถึง 5 ครั้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี รายงานศาลขอให้มีคําสั่งถอนการบังคับคดีทันที ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีกํากับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้นํา สํานวนที่ไม่มีความเคลื่อนไหวติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน มาดําเนินการตามวรรคหนึ่งโดยเคร่งครัด ข้อ ๕ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลภายนอกนําเงินมาวางชําระหนี้ตามคําพิพากษา โดยประสงค์ให้ถอนการบังคับคดี หากมีเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยตามมาตรา 326 ซึ่งศาลมีคําสั่งอนุญาตแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งให้ผู้วางชําระหนี้ทราบว่าการวางชําระหนี้นั้นต้องวางให้ครบจํานวนหนี้ของเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยดังกล่าวทุกราย พร้อมค่าธรรมเนียมยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย หรือจําหน่ายและค่าใช้จ่าย (ถ้ามี) เมื่อวางชําระครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงจะถอนการบังคับคดีได้ เว้นแต่ มีผู้ร้องขอที่ได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 ด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดําเนินการตาม มาตรา 327 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก่อน ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอถอนการยึด ถอนการอายัด หรือถอนการบังคับคดี กับทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องรายการใด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาระบุเหตุผลและความประสงค์ว่ายังจะบังคับคดีต่อไป หรือสละสิทธิในการบังคับคดี เพื่อให้ทราบถึง สิทธิในอนาคตของเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาดังกล่าว และลดข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ข้อ ๗ เมื่อถอนการยืดหรือถอนการบังคับคดีแล้ว ให้คืนต้นฉบับเอกสารสิทธิของทรัพย์ที่ถอนให้แก่ ผู้นําส่ง เว้นแต่ ศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ข้อ ๘ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้เพิกถอนกระบวนการบังคับคดีหรือการขายทอดตลาดทรัพย์สินของ เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าของเรื่องรายงานคําสั่งศาลพร้อมสําเนาคําสั่งเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นเพื่อเสนอต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายภายใน 15 วันนับแต่ทราบ คําสั่ง ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือปฏิบัติโดยอนุโลม คําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,924
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 2/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 2/2565 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง และมาตรา 28 วรรคหนึ่ง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 พรทิภา ไสวสุวรรณวงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ รักษาราชการแทน เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,925
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 3/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 3/2565 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ว่า พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,926
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 4/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 4/2565 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ว่า พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (1) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 และมาตรา 29 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,927
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 503/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 503/2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน --------------------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 333/2551 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เรื่อง การ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 212/2553 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน 1.3 หนังสือเวียนกรมบังคับคดีที่ ยธ 0524/ว 1 ลงวันที่ 10 มกราคม 2556 เรื่อง กําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้ประมูลซื้อทรัพย์อาจมีพฤติการณ์เข้าข่ายการฟอกเงิน ข้อ ๒ ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๓ การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งทรัพย์ตามประกาศขายมีราคาประเมินของเจ้าพนักงาน บังคับคดีตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป หรือคาดหมายว่าจะขายได้ราคาตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป หรือเป็นทรัพย์สิน ของบุคคลที่มีฐานะในสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน ให้รายงานพร้อมเสนอประกาศขายทอดตลาด ให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ ข้อ ๔ การประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไข ให้ผู้ประสงค์จะเสนอราคาต้องนําเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือใช้วิธีทํารายการผ่านระบบ EDC (Electronic Data Capture) มาวางเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ระบุไว้ในประกาศขายทอดตลาด ความในวรรคก่อน มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประสงค์เสนอราคาเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ 1) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี ของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 29 2) คู่สมรสที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว ข้อ ๕ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กําหนดนัดขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ก่อนถึงวันนัดไม่น้อยกว่า 20 วัน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าของสํานวนตรวจสอบสํานวนคดีดังกล่าวว่าได้มีการจัดส่งประกาศ ขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่ และรายงานผลการ ตรวจสอบตามแบบต่อผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี ข้อ ๖ ก่อนทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้สนใจเข้าสู้ราคาซึ่งจะเข้าสู้ราคาในนามของบุคคลอื่นแสดงใบมอบอํานาจก่อนเข้าสู้ราคา และแจ้งด้วยว่าหากผู้เข้าสู้ราคาผู้ใดเข้า ราคาแทนบุคคลอื่นโดยมิได้แสดงใบมอบอํานาจก่อนจะถือว่าผู้เข้าสู้ราคานั้นกระทําการในนามของตนเองและในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นจะขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ซื้อโดยอ้างว่าตน เป็นเพียงตัวแทนมิได้ ข้อ ๗ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินทุกครั้ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศกําหนดราคาสมควรขายแล้ว ให้ประกาศกําหนดจํานวนเงินขั้นต่ําที่ผู้เข้าสู้ราคาอาจเสนอเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่มีผู้เสนอ ก่อนตนได้ ดังนี้ ราคาสมควรขาย เพิ่มราคาไม่น้อยกว่าครั้งละ ต่ํากว่า 50,000 บาท 1,000 บาท ตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท 2,000 บาท เกิน 100,000 - 300,000 บาท 5,000 บาท เกิน 300,000 - 500,000 บาท 10,000 บาท เกิน 500,000 - 700,000 บาท 20,000 บาท เกิน 700,000 – 1,000,000 บาท 30,000 บาท เกิน 1,000,000 – 5,000,000 บาท 50,000 บาท เกิน 5,000,000 – 20,000,000 บาท 100,000 บาท เกิน 20,000,000 – 50,000,000 บาท 200,000 บาท เกิน 50,000,000 – 80,000,000 บาท 500,000 บาท เกิน 80,000,000 ขึ้นไป 1,000,000 บาท อัตราการเพิ่มราคาที่กําหนดดังกล่าวให้ใช้ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินแต่ละรายโดยตลอดตั้งแต่จนเสร็จสิ้นไม่ว่าจะมีการเสนอราคาเสนอสูงขึ้นเพียงใดก็ตาม ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับกับการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาประเมินต่ํากว่า 50,000 บาท ข้อ ๘ ในการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงาน ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี เพื่อขออนุมัติก่อนเคาะไม้ชาย ส่วนการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ที่ออกไปทําการขายเป็น ผู้พิจารณาอนุมัติและเคาะไม้ขาย ข้อ ๙ เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ชําระเงินค่าซื้อทรัพย์พร้อมค่าอากรแสตมป์ปิดใบรับเงินต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีครบถ้วนแล้ว ก่อนแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสถานะ บุคคลล้มละลายผู้ซื้อ และตรวจว่าผู้ซื้อมีชื่อในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ถูกกําหนดตามมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง พ.ศ. 2559 ในวันนั้น ในกรณีที่ผู้ซื้อชําระค่าซื้อทรัพย์เป็นเงินสดจํานวนตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป หรือหากเป็นกรณี ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แล้ว ให้รายงานให้กรมบังคับคดีเพื่อแจ้งสํานักงานป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๐ กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดแล้ว ต่อมาผู้ซื้อไม่ชําระ ราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งริบเงินมัดจําทันทีใน วันทําการถัดไปนับจากวันครบกําหนด และให้นําทรัพย์ดังกล่าวออกทําการขายทอดตลาดใหม่ ในการประกาศขายทอดตลาดใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไขในการวางเงิน หลักประกันการเข้าสู้ราคาตามประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันพิเศษ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการขายทอดตลาดทรัพย์ได้แต่เพียงบางส่วนให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําบัญชีเพื่อจ่ายเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าวให้เจ้าหนี้ โดยกันเงินไว้สําหรับ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะมีการบังคับคดีต่อไป ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือกรณีที่มีการยื่นคําร้องต่อศาล ซึ่งคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลในเรื่องนั้นอาจมีผลให้ต้องเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในภายหลัง หากผู้ซื้อยังไม่ประสงค์จะรับโอนกรรมสิทธิ์และผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีเห็นสมควร อาจมีคําสั่งให้เลื่อนการชําระราคาออกไปจนกว่าศาลจะมีคําสั่งเรื่องร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด หรือ คําร้องนั้น ๆ หากเงินมัดจําที่วางไว้ต่ํากว่าร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อขาย ให้กําหนดให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจําเพิ่มให้ ครบร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อขาย ในกรณีมีการชําระราคาครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อประสงค์จะรับเงินคืน ก็ให้คงไว้ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อขายหรือไม่ต่ํากว่าเงินมัดจําที่วางไว้ แล้วแต่จํานวนใดสูงกว่ากัน โดยให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็น เงินมัดจํา เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้ยกคําร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหรือคําร้อง นั้น ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งผู้ซื้อให้ชําระราคาส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และหาก ผู้ซื้อยื่นคําร้องขอเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้พิจารณาตามประกาศอธิบดี กรมบังคับคดีและคําสั่งกรมบังคับคดีเกี่ยวกับเรื่องการเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือปฏิบัติโดยอนุโลม คําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
4,928
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 6/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 6/2565 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ว่า พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 (2) และมาตรา 11 (6) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,929
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 7 - 8/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 7 - 8/2565 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ว่า พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 12 (11) ที่บัญญัติ คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องไม่เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 โดยกาหนดคําบังคับให้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลเมื่อพ้นสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัย และสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 12 (11) ทั้งอนุมาตรา ให้มีความเหมาะสมกับประเภทของการกระทําและความหนักเบาตามสภาพแห่งข้อหา ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,930
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 9/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ -------------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 9/2565 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ว่า พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,931
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 10/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ------------------------------------ ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 10/2565 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ว่า พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30 (6) ไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 40 วรรคสอง จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,932
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 11/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 11/2565 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ว่าพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (10) ที่บัญญัติให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานักเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 40 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,933
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 12/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ---------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 12/2565 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 มาตรา 248 และมาตรา 249 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 189 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,934
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 13/2565)
ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ----------------------------------------- ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 13/2565 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4,935
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ตราสัญลักษณ์ศาลรัฐธรรมนูญ
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ตราสัญลักษณ์ศาลรัฐธรรมนูญ --------------------------------------- โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่ขณะนี้ยังไม่มีตราสัญลักษณ์ ที่จะแสดงหรือสื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจถึงองค์กรนี้ได้ ในการนี้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงเห็นสมควรกําหนดตราสัญลักษณ์ศาลรัฐธรรมนูญขึ้นไว้ ดังปรากฏตามภาพและรายการท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เชาวน์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
4,936
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง ตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ----------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรกําหนดมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องกับการกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557 ข้อ ๓ ในการจัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งและการจัดตําแหน่งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้เป็นไปตามบัญชีมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557 นุรักษ์ มาประณีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
4,937
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง การเลื่อนข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนสายงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง การเลื่อนข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนสายงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 -------------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (บริหารระดับสูง) ของประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง การเลื่อนข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนสายงาน พ.ศ. 2560 เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการภายในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล และมีความเหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 และข้อ 8 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557 จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งการเลื่อนข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนสายงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความตามข้อ 9 ของประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง การเลื่อนข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น และการย้ายเปลี่ยนสายงาน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (บริหารระดับสูง) ให้ดําเนินการ ดังนี้ (1) ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้เสนอข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้สมควรดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ (2) กรณีมีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ประธานศาลรัฐธรรมนูญอาจดําเนินการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการพลเรือนสามัญข้าราชการรัฐสภาสามัญ ข้าราชการธุรการของศาลยุติธรรม ข้าราชการธุรการของศาลปกครอง หรือข้าราชการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้เสนอข้าราชการผู้สมควรดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การดําเนินการตามข้อ 9 วรรคหนึ่ง (2) ให้ดําเนินการ ดังนี้ (1) ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งจํานวนสามคนประกอบด้วย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนเป็นประธาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารหนึ่งคน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกศาลรัฐธรรมนูญเป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการภายในที่รับผิดชอบด้านการบริหารงานบุคคลของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นเลขานุการ (2) ให้คณะกรรมการสรรหากําหนดเกณฑ์การประเมิน วิธีการและเงื่อนไขในการสรรหาโดยอย่างน้อยต้องมีวิธีการสัมภาษณ์ การเสนอวิสัยทัศน์ และการทดสอบความรู้ความสามารถโดยคณะกรรมการสรรหาอาจกําหนดวิธีการอย่างอื่นตามที่เห็นว่าเหมาะสมเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการสรรหาประกาศรับสมัครโดยกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครให้เป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) กําหนด และกําหนดรายละเอียดขอบเขตงานในหน้าที่ ลักษณะงาน และข้อมูลอื่นที่จําเป็นสําหรับตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (3) ให้คณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเข้ารับการสรรหาและดําเนินการสรรหาโดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ คุณธรรมจริยธรรม ภาวะผู้นําประวัติการรับราชการและประสบการณ์ โดยจะต้องเสนอผลงานอันเป็นที่ประจักษ์มาด้วย ทั้งนี้ตามวิธีการที่คณะกรรมการสรรหากําหนด (4) เมื่อคณะกรรมการสรรหาพิจารณาแล้วให้เสนอบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาจํานวนไม่เกินสามราย โดยเรียงลําดับชื่อตามตัวอักษรพร้อมทั้งระบุเหตุผลและความเหมาะสมของผู้ที่ได้รับการสรรหาดังกล่าวต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบการพิจารณาเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (5) กรณีที่คณะกรรมการสรรหาได้ดําเนินการตามข้อ 9 วรรคสอง (4) แล้ว เห็นว่าไม่มีผู้ใดสมควรได้รับการสรรหาให้รายงานต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญแล้วเริ่มดําเนินการตามข้อ 9 วรรคสอง (2) (3) และ (4) ใหม่” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563 นุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
4,938