title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 460/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งและรายงานผลการส่งหมายประกาศและหนังสือในการบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 460/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งและรายงานผลการส่งหมายประกาศและหนังสือในการบังคับคดี ------------------------------- เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อความ และราชการยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 269/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติ หน้าที่เกี่ยวกับการส่งและรายงานผลการส่งหมายประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี ข้อ ๒ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการกองหรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณีรับหมาย ประกาศ หรือหนังสือจากเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งไปยังพนักงานเดินหมายโดยทําบัญชีรายการส่งหมายไว้ 2 ฉบับมีข้อความตรงกัน แล้วมอบให้พนักงานงานเดินหมายลงชื่อรับไว้เพื่อเป็นหลักฐานทุกครั้ง ข้อ ๓ ในส่วนกลางให้งานเดินหมายและประกาศทําบัญชีรับจ่ายหมาย ประกาศ และหนังสือ เพื่อเฉลี่ยจ่ายให้พนักงานเดินหมายรับไปส่งเป็นประจําทุกวัน ข้อ ๔ ให้พนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมาย ส่งประกาศ หรือส่งหนังสือ ต่อผู้บังคับบัญชาภายในระยะเวลา 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับหมาย ประกาศ หรือหนังสือ แล้วแต่ กรณี ข้อ ๕ กรณีที่เป็นการส่งหมาย ประกาศหรือหนังสือแทน ให้ผู้ฝากส่งจัดส่งค่าใช้จ่าย ในการส่งและค่าฝากส่งทางไปรษณีย์ในอัตราต่ําสุดไปพร้อมกับหมาย ประกาศหรือหนังสือนั้น ๆ ให้ แก่หน่วยงานที่จะต้องทําการส่งแทนด้วย และให้พนักงานเดินหมายดําเนินการจัดส่งและรายงานผลโดย เร็วภายในกําหนดเวลาตามข้อ 4 แล้วรายงานผลการส่งไปยังผู้ฝากส่งโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน 3 วันนับแต่ ได้เสนอผลการส่งหมาย หากเป็นกรณีเร่งด่วนให้รายงานทางโทรสาร กรณีบังคับคดีแทนผู้ฝากส่งไม่ต้องจัดส่งค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งไปยังสํานักงาน เจ้าของเรื่องผู้ส่งหมายแทน ข้อ ๖ กรณีหมาย ประกาศหรือหนังสือที่ต้องจัดส่งโดยด่วน ให้พนักงานเดินหมาย ดําเนินการจัดส่งและรายงานผลการส่งทันทีภายในวันที่ได้รับหมาย ประกาศหรือหนังสือนั้น หรืออย่างช้า ภายในวันทําการถัดไป และหากเป็นการส่งแทนหน่วยงานอื่นให้รับรายงานผลการส่งทางโทรสารไปยัง ฝากลงทันทีหรืออย่างช้าไม่เกินวันทําการถัดไป ข้อ ๗ ให้พนักงานเป็นหมายคลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตาม โดยเคร่งครัด ประกาศ หรือ ให้ถือว่า เป็นความบกพร่องของพนักงานเดินหมายจัดส่งรวมถึงหัวหน้างาน เลขานุการกรม และผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณีด้วย หากปรากฏว่าการบังคับคดีต้องสะดุดหยุดลงอันเนื่องมาแต่ได้รับรายงานการส่งหมาย หนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ต้องการขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าว ข้อ ๘ ให้ผู้บังกับบัญชาตรวจรายงานการส่งหมาย ประกาศหรือหนังสือเพื่อมีกาสั่งง่าย พาหนะและค่าป่วยการแก่พนักงานเดินหมาย แล้วจัดส่งรายงานการส่งให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดย บัญชีรายการส่งให้ผู้รับลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๙ ให้ผู้อํานวยการกอง หัวหน้ากลุ่มงานบังคับคดีแพ่ง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี จังหวัดหรือสาขาและเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้รับผิดชอบสํานวนตรวจรายงานการส่งหมาย ประกาศ หรือ หนังสือ โดยละเอียด หากเห็นว่าภูมิลําเนาที่ปรากฏชัดเจนควรส่งหมายได้แต่พนักงานเดินหมายรายงานว่า หาไม่พบ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งหมายโดยมิชอบด้วยประการใด ๆ ให้ทําบันทึกรายงานเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบเพื่อมีคําสั่งต่อไป ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติ โดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน 2548 ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,248
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 460/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งและรายงานผลการส่งหมายประกาศและหนังสือในการบังคับคดี (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 460/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งและรายงานผลการส่งหมายประกาศและหนังสือในการบังคับคดี ------------------------------ เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อความ และราชการยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 269/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติ หน้าที่เกี่ยวกับการส่งและรายงานผลการส่งหมายประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี ข้อ ๒ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการกองหรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณีรับหมาย ประกาศ หรือหนังสือจากเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งไปยังพนักงานเดินหมายโดยทําบัญชีรายการส่งหมายไว้ 2 ฉบับมีข้อความตรงกัน แล้วมอบให้พนักงานงานเดินหมายลงชื่อรับไว้เพื่อเป็นหลักฐานทุกครั้ง ข้อ ๓ ในส่วนกลางให้งานเดินหมายและประกาศทําบัญชีรับจ่ายหมาย ประกาศ และหนังสือ เพื่อเฉลี่ยจ่ายให้พนักงานเดินหมายรับไปส่งเป็นประจําทุกวัน ข้อ ๔ ให้พนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมาย ส่งประกาศ หรือส่งหนังสือ ต่อผู้บังคับบัญชาภายในระยะเวลา 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับหมาย ประกาศ หรือหนังสือ แล้วแต่ กรณี ข้อ ๕ กรณีที่เป็นการส่งหมาย ประกาศหรือหนังสือแทน ให้ผู้ฝากส่งจัดส่งค่าใช้จ่าย ในการส่งและค่าฝากส่งทางไปรษณีย์ในอัตราต่ําสุดไปพร้อมกับหมาย ประกาศหรือหนังสือนั้น ๆ ให้ แก่หน่วยงานที่จะต้องทําการส่งแทนด้วย และให้พนักงานเดินหมายเนินการจัดส่งและรายงานผลโดย เร็วภายในกําหนดเวลาตามข้อ 4 แล้วรายงานผลการส่งไปยังผู้ฝากส่งโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน 3 วันนับแต่ ได้เสนอผลการส่งหมาย หากเป็นกรณีเร่งด่วนให้รายงานทางโทรสาร กรณีบังคับคดีแทนผู้ฝากส่งไม่ต้องจัดส่งค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งไปยังสํานักงาน เจ้าของเรื่องผู้ส่งหมายแทน ข้อ ๖ กรณีหมาย ประกาศหรือหนังสือที่ต้องจัดส่งโดยด่วน ให้พนักงานเดินหมาย ดําเนินการจัดส่งและรายงานผลการส่งทันทีภายในวันที่ได้รับหมาย ประกาศหรือหนังสือนั้น หรืออย่างช้า ภายในวันทําการถัดไป และหากเป็นการส่งแทนหน่วยงานอื่นให้รีบรายงานผลการส่งทางโทรสารไปยัง ผู้ฝากส่งทันทีหรืออย่างช้าไม่เกินวันทําการถัดไป ข้อ ๗ ให้พนักงานเดินหมายคลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตาม โดยเคร่งครัด หากปรากฏว่าการบังคับคดีต้องสะดุดหยุดลงอันเนื่องมาแต่ได้รับรายงานการส่งหมาย ประกาศ หรือ หนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ต้องการขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าว ให้ถือว่า เป็นความบกพร่องของพนักงานเดินหมาย จัดส่งรวมถึงหัวหน้างาน เลขานุการกรม และผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณีด้วย ข้อ ๘ ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจรายงานการส่งหมาย ประกาศหรือหนังสือเพื่อมีคําสั่งจ่ายค่า พาหนะและค่าป่วยการ พนักงานเดินหมาย แล้วจัดส่งรายงานการส่งให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดย บัญชีรายการส่งให้ผู้รับลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๙ ให้ผู้อํานวยการกอง หัวหน้ากลุ่มงานบังคับคดีแพ่ง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี จังหวัดหรือสาขาและเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้รับผิดชอบสํานวนตรวจรายงานการส่งหมาย ประกาศ หรือ หนังสือโดยละเอียด หากเห็นว่าภูมิลําเนาที่ปรากฏชัดเจนควรส่งหมายได้แต่พนักงานเดินหมายรายงานว่า หาไม่พบ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งหมายโดยมิชอบด้วยประการใด ๆ ให้ทําบันทึกรายงานเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบเพื่อมีคําสั่งต่อไป ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน 2548 ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,249
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบรายงานการรับประกันวินาศภัย และค่าสินไหมทดแทน พ.ศ. 2560
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบรายงานการรับประกันวินาศภัย และค่าสินไหมทดแทน พ.ศ. 2560 ----------------------------------------------- เพื่อรองรับคําสั่งคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ 12/2560 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทน ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และเพื่อให้การรายงานข้อมูลการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนตามระบบฐานข้อมูลการประกันภัย (Insurance Bureau System) เป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งคําสั่งคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ 12/2560 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทน ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทน พ.ศ. 2560” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๓ รายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทน ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้ความในข้อ 2 (3) แห่งคําสั่งนายทะเบียน ที่ 35/2553 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และคําสั่งนายทะเบียนที่ 38/2554 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นอันยกเลิกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,250
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคล ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558 ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 79 (2) และข้อ 80 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย ข้อ ๔ บริษัทที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์โดยการเป็นตัวแทน ด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคล ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาลและระบบการดําเนินการที่ดี (2) มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) ไม่ต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนอาจกําหนดมาตรการที่จําเป็นในการกํากับดูแลสถานะการเงินของบริษัทได้ ตามประกาศว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย และมีอัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อเงินสํารองประกันภัยมากกว่าร้อยละหนึ่งร้อย (3) ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (4) จัดทําแผนงานการให้บริการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามกรอบนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นที่บริษัทจัดทําขึ้นตามข้อ 62 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่น ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 โดยแผนงานการให้บริการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคล ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ขอบเขตการดําเนินงาน ความรับผิดชอบ (ข) การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน (ค) การกําหนดค่าตอบแทน การวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า และ (ง) การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น (5) แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และใช้ความระมัดระวังมิให้การให้บริการดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการตามปกติของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทได้ดําเนินการตาม (3) (4) และ (5) ต่อนายทะเบียนเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ข้อ ๕ การให้บริการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทนอกจากต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องแล้วบริษัทต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการบันทึกบัญชีโดยแยกรายได้และรายจ่ายของการให้บริการเป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคลออกจากธุรกิจประกันชีวิต (2) การทําธุรกรรมของลูกค้าต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ต้องไม่ดําเนินการใด ๆ ในลักษณะเป็นการบังคับลูกค้า หรือใช้เป็นเงื่อนไขในการต่อรองการทําธุรกรรมอื่นใดของบริษัท (3) ให้บริการโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าเป็นสําคัญ ปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าและภาพลักษณ์ของธุรกิจ ข้อ ๖ กรณีบริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ นายทะเบียนอาจให้ชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติ หรือมีคําสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ เมื่อเห็นสมควร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,251
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักสูตรสำหรับผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักสูตรสําหรับผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558 ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 (2) (ก) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักสูตรสําหรับผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือหัวหน้าส่วนงานของหน่วยงานการลงทุนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการลงทุนให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนและบริหารเงินลงทุนของบริษัท หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งอื่นที่เทียบเท่า “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย ข้อ ๔ บุคคลที่บริษัทมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทได้ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยสถาบันประกันภัยไทย หรือสถาบันหรือหน่วยงานที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ รวมกันไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง โดยมีรายละเอียดเนื้อหาวิชาครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของบริษัทประกันภัย และ (2) ธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน ข้อ ๕ ในการจัดอบรมหลักสูตรตามข้อ 4 ให้สถาบันหรือหน่วยงานที่จัดอบรม จัดทําแผนการจัดอบรม รายละเอียดหลักสูตร และแนวทางปฏิบัติในการจัดอบรมตามที่กําหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ และจัดส่งให้นายทะเบียนพิจารณาก่อนการจัดอบรมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน หากนายทะเบียนมิได้มีหนังสือทักท้วงไปยังสถาบันหรือหน่วยงานที่จัดอบรมภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารดังกล่าว ให้ถือว่านายทะเบียนได้อนุญาตให้สถาบันหรือหน่วยงานที่จัดอบรมที่ยื่นเอกสารดังกล่าว สามารถจัดอบรมหลักสูตรตามประกาศฉบับนี้ได้ ให้สถาบันหรือหน่วยงานที่จัดอบรม จัดส่งข้อมูลผู้สมัครเข้ารับการอบรมให้แก่นายทะเบียนก่อนวันทําการอบรมอย่างน้อยหนึ่งวัน และส่งข้อมูลผู้ผ่านการอบรมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สิ้นสุดการอบรม ข้อ ๖ ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรตามข้อ 4 โดยให้บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน (1) เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุน หรือสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับ 1 ขึ้นไป หรือสอบผ่านหลักสูตร Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) ระดับ 1 ขึ้นไป และ (2) ปฏิบัติงานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน ของบริษัท บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี การขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทส่งเอกสารหลักฐานรับรองคุณสมบัติของผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทตาม (1) และ (2) พร้อมทั้งให้บุคคลดังกล่าวและกรรมการบริษัทลงลายมือชื่อรับรองเอกสารหลักฐานดังกล่าวให้แก่นายทะเบียน ทั้งนี้ หากเอกสารหลักฐานดังกล่าวไม่เพียงพอหรือขาดความน่าเชื่อถือ นายทะเบียนอาจพิจารณาไม่ให้ความเห็นชอบก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนที่บริษัทแต่งตั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 15 (2) (ข) และ (ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 ครบถ้วนแต่ยังไม่ได้ผ่านหลักสูตรการอบรมตามข้อ 4 เนื่องจากไม่มีการอบรมหลักสูตรในขณะนั้น และบุคคลดังกล่าวไม่ได้รับการยกเว้นตามข้อ 6 ให้บุคคลนั้นสามารถรับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทไปพลางก่อนได้ และให้เข้ารับการอบรมในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ ในกรณีมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทแจ้งแก่นายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่แต่งตั้งบุคคลดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,252
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการวางเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 นายทะเบียน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการวางและการขอคืนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “นายทะเบียนหลักทรัพย์” หมายความว่า นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “ประกาศ คปภ.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อ ๕ ให้บริษัทรายงานการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทตามแบบ สรว.1 แนบท้ายประกาศนี้ต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่บริษัทต้องวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยตามข้อ 5 วรรคสอง แห่งประกาศ คปภ. ข้อ ๖ การวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทตามประกาศ คปภ. ให้บริษัทดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีทรัพย์สินที่นํามาวางไว้กับนายทะเบียนเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ให้บริษัทดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) แปลงรูปแบบใบหลักทรัพย์ (scrip) ผ่านระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (scripless) (ข) นําทรัพย์สินดังกล่าวมาวางไว้กับนายทะเบียนผ่านระบบไร้ใบหลักทรัพย์ โดยโอนเข้าบัญชีผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงาน (ค) เมื่อดําเนินการตาม (ก) และ (ข) แล้วให้บริษัทยื่นแบบ สรว.2 แบบ อสว.1 และแบบ อสว.3 แนบท้ายประกาศนี้ต่อนายทะเบียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 บริษัทอาจนําทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งมาวางไว้กับนายทะเบียนตามประกาศ คปภ. ในรูปแบบที่มีใบหลักทรัพย์ได้ โดยให้ดําเนินการตาม (2) (2) กรณีทรัพย์สินที่นํามาวางไว้กับนายทะเบียนเป็นทรัพย์สินอื่นนอกจาก (1) และเป็นทรัพย์สินในรูปแบบที่มีใบหลักทรัพย์ ให้บริษัทดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) แจ้งต่อนายทะเบียนหลักทรัพย์ และผู้ออกเอกสารสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้องตามแบบ สรว.3 แนบท้ายประกาศนี้ว่าจะนําทรัพย์สินนั้นมาวางไว้กับนายทะเบียนเพื่อเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท และหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียนก่อน (ข) ส่งมอบทรัพย์สินให้นายทะเบียนผ่านสํานักงาน หรือผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงาน และ (ค) เมื่อบริษัทดําเนินการตาม (ก) และ (ข) แล้วให้บริษัทยื่นสําเนาแบบ สรว.3 และหนังสือรับแจ้งการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทที่นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือที่ผู้ออกเอกสารสิทธิเป็นผู้ออกให้ตามแบบ สรว.4 พร้อมแบบ สรว.2 และแบบ อสว.1 แนบท้ายประกาศนี้ต่อนายทะเบียน (3) กรณีทรัพย์สินที่นํามาวางไว้กับนายทะเบียนเป็นบัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือสมุดคู่ฝากประเภทฝากประจําที่มีระยะเวลาการฝากเงินตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ให้บริษัทดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) แจ้งต่อสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือสมุดคู่ฝากตามแบบ สรว.3 แนบท้ายประกาศนี้ว่าจะนําทรัพย์สินนั้นมาวางไว้กับนายทะเบียนเพื่อเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท และหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียนก่อน (ข) ส่งมอบทรัพย์สินให้นายทะเบียนผ่านสํานักงาน หรือผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงาน และ (ค) เมื่อบริษัทดําเนินการตาม (ก) และ (ข) แล้วให้บริษัทยื่นสําเนาแบบ สรว.3 และหนังสือรับแจ้งการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออกให้ตามแบบ สรว.4 พร้อมแบบ สรว.2 และแบบ อสว.1 แนบท้ายประกาศนี้ต่อนายทะเบียน ทั้งนี้ จะถือว่านายทะเบียนได้รับการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทจากบริษัทตาม (1) หรือในกรณีที่บริษัทส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงานตาม (2) หรือ (3) ต่อเมื่อสํานักงานได้รับแจ้งจากผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงานว่าได้รับโอนหรือรับมอบทรัพย์สินดังกล่าวแล้วแต่กรณีเรียบร้อยแล้ว ข้อ ๗ การขออนุญาตต่ออายุการฝาก หรือปรับยอดเงินฝาก หรือไถ่ถอนดอกเบี้ยสมุดเงินฝากประจําที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทไว้กับนายทะเบียนตามข้อ 6 (3) ให้บริษัทดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ยื่นแบบ สรว.5 แนบท้ายประกาศนี้ต่อนายทะเบียน (2) ต้องส่งมอบสมุดเงินฝากประจําฉบับเดิมนั้นต่อผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงานทันทีที่ดําเนินการต่ออายุการฝาก หรือปรับยอดเงินฝาก หรือไถ่ถอนดอกเบี้ยเสร็จสิ้น ทั้งนี้ ระยะเวลาในการดําเนินการดังกล่าวต้องไม่เกินห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับจากผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงาน หากบริษัทไม่ส่งมอบสมุดเงินฝากประจําที่วางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทภายในระยะเวลาตาม (2) ให้ถือว่าบริษัทได้ถอนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทจากนายทะเบียนนับแต่วันที่ได้รับจากผู้รับฝากทรัพย์สินของสํานักงานแล้ว กรณีสมุดเงินฝากประจําที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท เป็นสมุดเงินฝากประจําที่ไม่สามารถต่ออายุการฝากโดยให้มีระยะเวลาการฝากเงินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6 (2) แห่งประกาศ คปภ. ได้ เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการฝาก หรือไถ่ถอนบริษัทต้องนําทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 6 แห่งประกาศ คปภ. มาวางไว้กับนายทะเบียนก่อนครบกําหนดระยะเวลาการฝากหรือไถ่ถอนอย่างน้อยสิบห้าวัน การดําเนินการต่ออายุการฝาก หรือปรับยอดเงินฝาก หรือไถ่ถอนดอกเบี้ย สมุดเงินฝากประจําที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองประกันภัยไว้กับนายทะเบียน ต้องไม่ทําให้บริษัทมีทรัพย์สินวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทไว้กับนายทะเบียนไม่ครบถ้วนตามจํานวนที่กําหนดไว้ในประกาศ คปภ. ข้อ ๘ การขอคืนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท ให้บริษัทยื่นแบบ สรว.2 แบบ อสว.2 และแบบ อสว.3 แนบท้ายประกาศนี้ต่อนายทะเบียน ข้อ ๙ หนังสือมอบอํานาจในการวางและการขอคืนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท หรือการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับประกาศนี้ ให้เป็นไปตามแบบหนังสือมอบอํานาจแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๐ กรณีที่บริษัทวางทรัพย์สินตามข้อ 6 (1) ในรูปแบบที่มีใบหลักทรัพย์ไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทยังคงวางทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะขอคืน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,253
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดกรณีที่ถือว่าบริษัทประกันวินาศภัยมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดกรณีที่ถือว่าบริษัทประกันวินาศภัยมีฐานะหรือการดําเนินการ อยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย พ.ศ. 2557 --------------------------------------------- เพื่อกําหนดกรอบในการพิจารณาว่ากรณีใดบ้างที่ถือว่าบริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 8/2557 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดกรณีที่ถือว่าบริษัทประกันวินาศภัยมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย ข้อ ๔ กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าบริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน (1) บริษัทยื่นรายงานไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือแสดงรายงานอันเป็นเท็จโดยมีพฤติกรรมปิดบัง ซ่อนเร้น เช่น มีการแต่งบัญชี จัดส่งรายงานฐานะการเงินต่าง ๆ ไม่ตรงตามความเป็นจริงไม่บันทึกภาระผูกพันเป็นหนี้สิน (2) มีพฤติกรรมหรือการกระทําที่ส่อไปทางทุจริต เบียดบังทรัพย์สินของบริษัท เช่น บริษัทรับประกันภัยโดยไม่ลงสมุดทะเบียน หรือไม่ลงบันทึกรายการทางบัญชีหรือเอาสินทรัพย์ของบริษัทไปค้ําประกันหนี้สินส่วนตัวของกรรมการหรือผู้บริหาร (3) บริษัทมีเจตนาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของนายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งให้ส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบฐานะการเงินของบริษัท หรือส่งเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จ (4) บริษัทขยายธุรกิจในระหว่างดําเนินการตามโครงการตามมาตรา 27/5 (5) บริษัทไม่ยื่นรายงานประเภทต่าง ๆ เกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท โดยไม่มีเหตุอันควร เช่น ไม่ยื่นรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และรายงานทางคณิตศาสตร์รายงานเงินกองทุน รายงานประจําเดือน รายงานรายไตรมาส รายงานประจําปี (6) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นงบการเงินแบบมีเงื่อนไข แสดงความเห็นว่าไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงความเห็น ในลักษณะที่จะเป็นเหตุให้บริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน เช่น กรณีที่ผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตของการตรวจสอบโดยความตั้งใจของฝ่ายบริหาร หรือไม่มีเหตุอันควร บริษัทมีค่าใช้จ่ายไม่สมเหตุผลและไม่สามารถตรวจสอบและชี้แจงได้ หรือทําบัญชีไม่ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี เช่น ไม่ลงบัญชีตามหลัก accrual basis หรือกรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น ซึ่งเป็นสาระสําคัญส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท (7) บริษัทมีเจตนาขายประกันภัยประเภทที่ตนไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจนอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน (8) บริษัทลงทุนประกอบธุรกิจอื่น และไม่ดําเนินการให้มีระบบงานและความพร้อมตามประกาศว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย จนอาจเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินอย่างมีนัยสําคัญ (9) บริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่ายหรือคืนไปโดยไม่สุจริตจนอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน (10) บริษัทกระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือข้อกําหนดหรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และนายทะเบียนได้มีคําสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการที่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ข้อกําหนด หรือประกาศดังกล่าวแล้ว แต่บริษัทยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนตามข้อ 4 (1) (2) (3) หรือ (4) นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจมีคําสั่งให้บริษัทแก้ไขฐานะหรือการดําเนินการ และหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่บริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนตามข้อ 4 (5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจมีคําสั่งให้บริษัทแก้ไขการดําเนินการ และจะสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,254
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนำบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทําธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ หรือธนาคารพาณิชย์ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 80 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทําธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “งานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การให้บริการแนะนํา เผยแพร่ข้อมูลและบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าและติดต่อชักชวนลูกค้าให้มาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงการแจก รวบรวม ตรวจสอบเอกสารคําขอ และหลักฐานประกอบในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ ๔ บริษัทที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแสดงให้เห็นถึงความพร้อมด้านระบบงาน และบุคลากร ในการประกอบธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๕ บริษัทที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ ให้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมตามที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ ๖ บริษัทอาจมอบอํานาจให้ตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทดําเนินงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ในนามของบริษัทได้ ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดการให้ตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทดําเนินการตามข้อ 7 (1) (2) และ (4) แห่งประกาศนี้ และบริษัทต้องร่วมรับผิดในการดําเนินงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ของตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัท ข้อ ๗ ในการประกอบธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์บริษัทต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) แสดงให้ลูกค้าเข้าใจได้ว่าบริษัทมีหน้าที่ดําเนินงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าเท่านั้น บริการต่าง ๆ ที่ได้รับจากบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทแต่อย่างใด โดยให้ระบุในเอกสารชี้ชวนที่จัดทําขึ้นโดยบริษัทหรือบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ แล้วแต่กรณี (2) เผยแพร่เอกสารหรือข้อมูลที่มีความถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้ลูกค้าเข้าใจผิดในสาระสําคัญ (3) จัดให้มีพื้นที่ในการประกอบธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ให้เป็นสัดส่วน โดยเฉพาะแยกออกจากส่วนให้บริการด้านประกันภัย กรณีที่บริษัทดําเนินงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์นอกสถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา บริษัทต้องมีป้ายแสดงหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจนในการแสดงฐานะที่เป็นผู้ให้บริการของผลิตภัณฑ์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ (4) ให้การรับบริการของลูกค้าต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และห้ามบังคับให้ลูกค้ารับบริการจากบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ หรือกําหนดเป็นเงื่อนไขในการขายหรือให้บริการผลิตภัณฑ์ประกันภัย ข้อ ๘ หากนายทะเบียนพบว่าบริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ นายทะเบียนสงวนสิทธิที่จะเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,255
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการกระทำของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นเหตุให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการกระทําของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นเหตุให้นายทะเบียน มีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 -------------------------------------------- เพื่อกําหนดกรอบในการพิจารณากรณีที่ถือว่านักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78/6 มาตรา 78/7 หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยรับรองรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยขาดความระมัดระวังตามมาตรา 78/8 (2) อันเป็นเหตุให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามมาตรา 78/8 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณา การกระทําของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นเหตุให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็น นักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “ประกาศ คปภ.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย ข้อ ๔ นายทะเบียนมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เมื่อปรากฏแก่นายทะเบียนว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัยกระทําการฝ่าฝืนจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่กําหนดไว้ในประกาศ คปภ. ดังกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพ (professional integrity) เช่น (ก) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้บริการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยด้วยความไม่ซื่อสัตย์ (ข) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีส่วนในการนําวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยไปใช้ในทางที่ขัดต่อกฎหมาย (ค) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้บริการแก่ผู้ว่าจ้าง แม้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการบริการนั้นอาจถูกนําไปใช้โดยขัดต่อกฎหมายและนําความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพ (ง) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําที่ไม่ซื่อสัตย์ การฉ้อโกง การหลอกลวง หรือการกระทําใด ๆ ที่ขัดกับวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (2) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (standards of practice) เช่น (ก) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยปฏิบัติไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่นายทะเบียนหรือสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด (ข) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักการสากลที่ได้รับการยอมรับกันโดยแพร่หลาย ในกรณีที่แนวทางปฏิบัติทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่นายทะเบียนหรือสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ไม่ได้กําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานในเรื่องใดไว้ (3) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้บริการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เว้นแต่สามารถให้บริการอย่างเป็นกลาง รวมทั้งได้มีการเปิดเผยให้ผู้ว่าจ้างและผู้ต้องการจะว่าจ้างดังกล่าวทั้งหมดที่อาจได้รับผลกระทบจากการให้บริการทางวิชาชีพของตนได้ทราบถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และผู้ว่าจ้างและผู้ต้องการจะว่าจ้างดังกล่าวทั้งหมดได้แสดงความยินยอมที่จะรับบริการนั้น (4) การรักษาความลับ (confidentiality) เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับที่ได้มาระหว่างปฏิบัติงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย (5) มารยาทและความร่วมมือ (courtesy and cooperation) เช่น (ก) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยแสดงความคิดเห็นต่อผลงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยรายอื่นอย่างมีอคติ ไม่มีมารยาท ขาดความเคารพ หรือไม่ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ข) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการรับงานแก่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยรายอื่นที่ได้รับการร้องขอให้ปฏิบัติงานแทน (ค) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ให้ข้อมูลที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานแก่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยรายอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานแทน (6) การโฆษณา (advertising) เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัยทําการโฆษณา การสื่อสารไม่ว่าด้วยทางใด ๆ กล่าวอ้าง หรือกล่าวเกินจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพ หรือความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพของตน ที่อาจมีอิทธิพลทางตรงหรือทางอ้อมต่อบุคคลหรือองค์กรในการตัดสินใจว่าจําเป็นหรือไม่ที่จะต้องได้รับการบริการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือในการเลือกนักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือบริษัทที่จะให้บริการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย (7) การสื่อสารและการเปิดเผย (communication and disclosures) เช่น (ก) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยสื่อสารอย่างไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือไม่เปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ข) ในการสื่อสาร นักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ได้ระบุว่า สามารถขอข้อมูลและคําอธิบายเพิ่มเติมได้จากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือแหล่งอื่นใด (ค) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่เปิดเผยให้ผู้ว่าจ้างทราบถึงความสัมพันธ์ทางการเงิน และทางองค์กรที่สืบเนื่องจากการให้บริการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ข้อ ๕ นายทะเบียนมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เมื่อปรากฏแก่นายทะเบียนว่านักคณิตศาสตร์ประกันภัยกระทําการรับรองรายงานการคํานวณความรับผิด ตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยขาดความระมัดระวังตามมาตรา 78/8 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ดังเช่นแต่ไม่จํากัดเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ (1) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยรับรองผลการประเมินมูลค่าสํารองประกันภัยที่ปรากฏในรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยไม่สามารถอธิบายเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ในฐานะนักคณิตศาสตร์ประกันภัยได้อย่างสมเหตุสมผล หรือไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือสนับสนุน (2) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมิได้ติดตามสถานการณ์ สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต เพื่อใช้ประกอบการรับรองผลการประเมินมูลค่าสํารองประกันภัยที่ปรากฏในรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,256
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) พ.ศ. 2557
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) พ.ศ. 2557 ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบซึ่งมีการระบุคําว่า “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” ไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือหนังสือรับรองการประกันภัย ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดทํารายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ให้เป็นไปตามแบบรายการและโครงสร้างข้อมูลการรับประกันภัย แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (1) การรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ให้บริษัทรายงานภายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (2) การรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ให้บริษัทรายงานเป็นรายสัปดาห์ (วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์) โดยรายงานภายในวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป ในกรณีที่สัปดาห์ใดวันจันทร์ตรงกับวันหยุด ให้รายงานในวันเปิดทําการถัดไป ข้อ ๖ ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตามข้อ 5 ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ การยื่นรายงานในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง หากข้อมูลไม่ผ่านการตรวจสอบตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ ให้ถือว่าบริษัทมิได้ยื่นรายงาน ในกรณีที่รายงานตามวรรคหนึ่งที่บริษัทยื่นมาไม่ถูกต้องหรือมีรายการไม่ครบถ้วน นายทะเบียนอาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ หรือในกรณีที่เห็นสมควรนายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติด้วยก็ได้ หากบริษัทไม่แก้ไขเพิ่มเติมรายงานให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลา หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด ตามวรรคสองให้ถือว่าบริษัทมิได้ยื่นรายงาน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,257
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาตและแบบใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ ให้ใช้แบบคําขอรับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย คําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,258
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักสูตร วิชา การปฏิบัติงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และรายชื่อสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักสูตร วิชา การปฏิบัติงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยของผู้ขอรับใบอนุญาต เป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และรายชื่อสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 78/3 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักสูตร วิชา การปฏิบัติงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และรายชื่อสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักสูตร วิชา การปฏิบัติงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และรายชื่อสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ ให้ผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า และสอบผ่านวิชาที่มีเนื้อหาวิชาดังต่อไปนี้ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรองเป็นผู้สําเร็จการศึกษาทางคณิตศาสตร์ประกันภัยตามมาตรา 78/3 (1) (1) คณิตศาสตร์ประกันภัย หรือเทียบเท่า (2) ทฤษฎีความเสี่ยง หรือตัวแบบคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือเทียบเท่า (3) ทฤษฎีดอกเบี้ย หรือคณิตศาสตร์การเงิน หรือเทียบเท่า (4) ทฤษฎีความน่าจะเป็น หรือเทียบเท่า (5) ทฤษฎีความน่าเชื่อถือและการแจกแจงการสูญเสีย หรือเทียบเท่า ข้อ ๕ ให้ผู้ปฏิบัติงานในด้านดังต่อไปนี้ รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือสถิติที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยตามมาตรา 78/3 (1) (1) คํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย (2) วิเคราะห์ข้อมูลประสบการณ์ และสมมติฐานที่จําเป็นและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ ๖ ให้สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย เป็นสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามมาตรา 78/3 (2) ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยอยู่ในวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 หากดําเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว จะถือว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา 78/3 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,259
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันภัย ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ทําหน้าที่ประเมินระบบควบคุมภายใน ระเบียบวิธีปฏิบัติในด้านลงทุนและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันของบริษัทประกันวินาศภัย “บริษัทประกันวินาศภัย” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ ๓ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ทําหน้าที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของนิติบุคคลประเภทที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันวินาศภัย ข้อ ๔ ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ตรวจสอบบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนตามประกาศนี้ จนกว่านายทะเบียนจะกําหนดเปลี่ยนแปลงเป็นประการอื่น ข้อ ๕ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันภัยตามประกาศนายทะเบียนตามข้อ 1 ที่ยังไม่สิ้นระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ สามารถทําหน้าที่ประเมินระบบควบคุมภายใน ระเบียบวิธีปฏิบัติในด้านลงทุนและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันของบริษัทประกันวินาศภัยได้ จนกว่าสิ้นระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,260
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย และรายงานการประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2553
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต ใบอนุญาต เป็นผู้ประเมินวินาศภัย และรายงานการประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2553 ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่ต้องดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2552 นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ คําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ รายงานการประเมินวินาศภัย ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,261
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การออกหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การออกหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ ๒ การออกหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดและหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 2.1 บริษัทที่จะออกหุ้นบุริมสิทธิต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัด 2.2 ต้องเป็นการออกหุ้นใหม่เพื่อเพิ่มทุนของบริษัท 2.3 หุ้นบุริมสิทธิที่ออกต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 2.3.1 ไม่เป็นหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล 2.3.2 มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่าสิทธิออกเสียงลงคะแนนของหุ้นสามัญ 2.3.3 เป็นหุ้นบุริมสิทธิที่ชําระค่าหุ้นเป็นเงิน 2.4 บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนในการออกหุ้นบุริมสิทธิ ข้อ ๓ การออกหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทให้มีวิธีการ และเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ 3.1 ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน 3.2 สําเนาหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการออกหุ้นบุริมสิทธิ 3.3 รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการออกหุ้นบุริมสิทธิ 3.4 ข้อบังคับของบริษัท 3.5 สําเนาคําขอจดทะเบียน หรือสําเนาคําขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหุ้นบุริมสิทธิที่ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,262
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/6 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศให้การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ตามประกาศว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ในกรณีดังต่อไปนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย อื่นๆ - (1) การลงทุนในตั๋วเงิน ที่ออกโดยบริษัทจํากัด ซึ่งตั๋วเงินนั้นได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่า AA หรือเทียบเท่า (2) การลงทุนในตั๋วเงิน ที่มีธนาคาร องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ บริษัทประกันชีวิต บริษัทจํากัด ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่า AA หรือเทียบเท่า เป็นผู้สั่งจ่าย เป็นผู้ออก เป็นผู้รับรองเป็นผู้อาวัล หรือเป็นผู้ค้ําประกันโดยไม่มีข้อจํากัดความรับผิด (3) การลงทุนในตั๋วเงินที่ธนาคารต่างประเทศเป็นผู้รับอาวัล หรือเป็นผู้ค้ําประกัน (4) การลงทุนในบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน (5) การลงทุนในหุ้นของบริษัทจํากัด หรือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ไม่รวมหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ตั๋วเงินคลัง ตราสารที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งจํานวน พันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรหรือหุ้นกู้ ซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศ หรือออกโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังให้เสนอขายในประเทศไทยเงินฝากธนาคาร รวมกันไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (6) การลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทจํากัด ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ต่ํากว่า AA หรือเทียบเท่า (7) การลงทุนในอนุพันธ์ (8) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (9) การให้กู้ยืม (10) การให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (11) การให้เช่าซื้อรถ (12) การประกอบกิจการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (back office) (13) การลงทุนนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,263
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การสมัครสอบ การจัดสอบ การประกาศผลสอบ และระเบียบการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การสมัครสอบ การจัดสอบ การประกาศผลสอบ และระเบียบการสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 และข้อ 11 ของประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การขออนุญาต การอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 นายทะเบียน จึงออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การสมัครสอบ การจัดสอบ การประกาศผลสอบ และระเบียบการสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หมวด ๑ การสอบความรู้ เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ---------------------------------------------- ข้อ ๔ การสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ต้องมีจํานวนข้อและกําหนดจํานวนคะแนนแต่ละวิชา ดังต่อไปนี้ 4.1 ใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัย 4.1.1 วิชา จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันวินาศภัย จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.1.2 วิชา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.1.3 วิชา พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.1.4 วิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย ประกอบด้วย 4.1.4.1 วิชา หลักการประกันวินาศภัย จํานวน 4 ข้อ 8 คะแนน 4.1.4.2 วิชา การประกันอัคคีภัย จํานวน 4 ข้อ 8 คะแนน 4.1.4.3 วิชา การประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํานวน 4 ข้อ 8 คะแนน 4.1.4.4 วิชา การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง จํานวน 4 ข้อ 8 คะแนน 4.1.4.5 วิชา การประกันภัยเบ็ดเตล็ด จํานวน 4 ข้อ 8 คะแนน 4.2 ใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัย ประเภทการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันสุขภาพ 4.2.1 วิชา จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันวินาศภัย จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.2.2 วิชา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.2.3 วิชา พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.2.4 วิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และการประกันสุขภาพ จํานวน 20 ข้อ 40 คะแนน 4.3 ใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัย ประเภทการประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 4.3.1 วิชา จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันวินาศภัย จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.3.2 วิชา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.3.3 วิชา พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 4.3.4 วิชา การประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํานวน 20 ข้อ 40 คะแนน ข้อ ๕ การสอบความรู้ตามข้อ 4 ให้ใช้วิธีการสอบแบบปรนัย โดยมีระยะเวลาการสอบ จํานวน 2 ชั่วโมง หมวด ๒ การสอบความรู้ เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต ---------------------------------------------- ข้อ ๖ วิธีการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ประเภทการจัดการประกันภัยโดยตรง ต้องมีจํานวนข้อ และกําหนดจํานวนคะแนนแต่ละวิชา ดังต่อไปนี้ 6.1 วิชา จรรยาบรรณและศีลธรรมของนายหน้าประกันวินาศภัย จํานวน 10 ข้อ 20 คะแนน 6.2 วิชา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย จํานวน 20 ข้อ 40 คะแนน 6.3 วิชา พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 จํานวน 20 ข้อ 40 คะแนน 6.4 วิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย ประกอบด้วย 6.4.1 หลักการประกันวินาศภัย จํานวน 14 ข้อ 28 คะแนน 6.4.2 การประกันอัคคีภัย จํานวน 14 ข้อ 28 คะแนน 6.4.3 การประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํานวน 14 ข้อ 28 คะแนน 6.4.4 การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง จํานวน 14 ข้อ 28 คะแนน 6.4.5 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด จํานวน 14 ข้อ 28 คะแนน ข้อ ๗ สําหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยต่อเมื่อสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยโดยตรงแล้ว ต้องสอบความรู้วิชาเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ 80 คะแนน ข้อ ๘ การสอบความรู้ตามข้อ 6 ให้ใช้วิธีการสอบแบบปรนัย ระยะเวลาการสอบจํานวน 3 ชั่วโมง สําหรับการสอบความรู้ตามข้อ 7 ให้ใช้วิธีการสอบแบบปรนัยหรือแบบอัตนัยก็ได้ระยะเวลาการสอบจํานวน 1 ชั่วโมง หมวด ๓ การสมัครสอบ การจัดสอบ และการประกาศผลสอบ ---------------------------------------------- ข้อ ๙ ผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย ต้องยื่นใบสมัครสอบพร้อมทั้งแนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบความรู้ตามข้อ 9 ต้องชําระค่าธรรมเนียมการสอบตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น ข้อ ๑๑ การกําหนดวัน เวลา สถานที่รับสมัครสอบ การจัดสอบ และการประกาศผลสอบจะกําหนดโดย 11.1 สมาคมประกันวินาศภัย และ/หรือสถาบันประกันภัยไทย กรณีการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย 11.2 สํานักงาน กรณีการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย หมวด ๔ เกณฑ์การตัดสิน ---------------------------------------------- ข้อ ๑๒ ผู้สมัครสอบความรู้ตามข้อ 4 ใช้เกณฑ์ตัดสินดังนี้ 12.1 ผ่านการสอบความรู้ในวิชาจรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันวินาศภัยได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 12.2 ผ่านการสอบความรู้ในทุกวิชายกเว้นวิชาจรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันวินาศภัยตาม 4.1 หรือ 4.2 หรือ 4.3 แล้วแต่กรณี ได้คะแนนเฉลี่ยรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ผู้สมัครสอบต้องสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ทั้งใน 12.1 และ 12.2 ในการสอบครั้งเดียวกันจึงถือว่าสอบได้ ข้อ ๑๓ ผู้สมัครสอบความรู้ตามข้อ 6 ใช้เกณฑ์ตัดสินดังนี้ 13.1 ผ่านการสอบความรู้ในวิชาจรรยาบรรณและศีลธรรมของนายหน้าประกันวินาศภัยได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 13.2 ผ่านการสอบความรู้ในวิชาตามข้อ 6.2 6.3 และ 6.4 ได้คะแนนเฉลี่ยรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ผู้สมัครสอบต้องสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ทั้งใน 13.1 และ 13.2 ในการสอบครั้งเดียวกันจึงถือว่าสอบได้ ข้อ ๑๔ ผู้สมัครสอบความรู้ตามข้อ 7 ใช้เกณฑ์ตัดสินดังนี้ 14.1 ต้องเป็นผู้สอบความรู้ได้ตามข้อ 13 14.2 ผ่านการสอบความรู้ในวิชาเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ผู้สมัครสอบต้องสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ทั้งใน 14.1 และ 14.2 จึงถือว่าสอบได้ หมวด ๕ ระเบียบการสอบ ---------------------------------------------- ข้อ ๑๕ ให้ผู้สมัครสอบความรู้ปฏิบัติตามระเบียบ ดังต่อไปนี้ 15.1 ต้องแสดงบัตรประจําตัวสอบต่อผู้ควบคุมการสอบก่อนเข้าห้องสอบ 15.2 ต้องเข้าห้องสอบตามวัน เวลา และสถานที่ตามประกาศกําหนด หากเวลากําหนดเข้าห้องสอบผ่านไปแล้ว 15 นาที ผู้สมัครสอบความรู้ไม่มีสิทธิเข้าห้องสอบ และผู้เข้าสอบจะออกจากห้องสอบก่อนเวลา 20 นาที หลังจากที่ได้เริ่มสอบไม่ได้ 15.3 ต้องแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย 15.4 ต้องนั่งสอบในที่ที่กําหนดไว้ และแสดงบัตรเข้าสอบพร้อมบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรอื่น ๆ ที่ออกโดยส่วนราชการซึ่งติดภาพถ่ายของผู้ถือบัตรโดยวางไว้บนโต๊ะที่นั่งสอบ 15.5 ต้องใช้กระดาษคําตอบที่ผู้ควบคุมการสอบแจกให้เท่านั้น 15.6 ต้องนําอุปกรณ์ในการตอบข้อสอบ เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ หรือเครื่องคํานวณ มาด้วยตนเอง 15.7 ต้องลงลายมือชื่อของผู้เข้าสอบความรู้ด้วยตนเองในทะเบียนผู้เข้าสอบความรู้ตามที่ผู้ควบคุมการสอบจัดให้ 15.8 ห้ามนํากระดาษ สมุด ตํารา เอกสารอื่นใด หรืออุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดเข้าไปในห้องสอบเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมการสอบ 15.9 ห้ามนําข้อสอบ หรือกระดาษคําตอบออกจากห้องสอบ 15.10 ห้ามพูดคุย ปรึกษาหารือ ลอกเลียนผู้อื่น ส่งเสียงดัง หรือกระทําการใดอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญต่อผู้อื่นในขณะทําการสอบ ข้อ ๑๖ ผู้เข้าสอบ ผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบการเข้าสอบข้อหนึ่งข้อใดตามที่กําหนดในข้อ 15 แห่งประกาศฉบับนี้ให้ถือว่าผู้นั้นสอบตก ข้อ ๑๗ ผู้สมัครสอบ ผู้ใดกระทําการทุจริต หรือมีส่วนร่วมทุจริตในการสอบ หรือยินยอมให้ผู้อื่นทําการสอบแทน ทั้งผู้สมัครสอบ ผู้ทําการสอบแทน และผู้ที่มีส่วนร่วมในการทุจริตการสอบต้องถูกตัดสิทธิการสมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและการสมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย มีกําหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้กระทําการนั้น ผู้ทําการสอบแทนหรือผู้มีส่วนร่วมทุจริตในการสอบ เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยอยู่แล้ว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวกระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย และให้นายทะเบียนมีอํานาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,264
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ------------------------------------------ เพื่อการกํากับบริษัทประกันวินาศภัย และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนอันเนื่องมาจากฐานะหรือการดําเนินการของบริษัท อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๒ นายทะเบียนจะขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพื่อมีคําสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เมื่อปรากฏหลักฐานว่าบริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ดังเช่นในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บริษัทมีเงินกองทุนน้อยกว่าร้อยละสิบของเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้รับทั้งหมดสําหรับปีปฏิทินที่ล่วงแล้ว (2) บริษัทมีเงินกองทุนน้อยกว่าสามสิบล้านบาท (3) บริษัทไม่ยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจําเดือนสามรอบเดือนติดต่อกัน ข้อ ๓ การสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ไม่เกินกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) หกเดือน สําหรับกรณีตามข้อ 2 (1) หรือ (2) (2) สามเดือน สําหรับกรณีตามข้อ 2 (3) แต่ทั้งนี้ไม่ต่ํากว่าสิบวันทําการ หากในระหว่างการหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว หรือพ้นระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนดตามข้อ 3 แล้ว บริษัทไม่อาจแก้ไขฐานะหรือการดําเนินการตามข้อ 2 (1) (2) หรือ (3) นายทะเบียนจะเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพื่อพิจารณาดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ข้อ ๔ นอกจากการดําเนินการตามที่กําหนดในประกาศนี้ นายทะเบียน คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือรัฐมนตรี อาจมีมาตรการเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 เพื่อให้บริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการไม่อยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน อีกก็ได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับกรณีที่นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีได้สั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,265
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง คุณสมบัติคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ของบริษัทประกันวินาศภัย
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง คุณสมบัติคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ของบริษัทประกันวินาศภัย ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 มีนาคม 2547 นายทะเบียนประกาศกําหนดคุณสมบัติคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ของบริษัทประกันวินาศภัยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทประกันวินาศภัย” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) บริษัทที่มีการควบคุมในบริษัทประกันวินาศภัย (2) บริษัทที่มีการควบคุมต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจาก บริษัทที่ควบคุมบริษัทตาม (1) “บริษัทย่อย” หมายความว่า (1) บริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทประกันวินาศภัย (2) บริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจาก บริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทตาม (1) “การควบคุม” หมายความว่า การมีอํานาจในการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทนั้น ซึ่งอํานาจดังกล่าวมาจากข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ (1) การมีสิทธิในการออกเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งในบริษัท (2) การมีอํานาจแต่งตั้ง หรือถอดถอนบุคคลส่วนใหญ่ ซึ่งทําหน้าที่เป็นกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารที่มีหน้าที่เทียบเท่ากรรมการบริษัท (3) การมีอํานาจในการออกเสียงส่วนใหญ่ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท (4) การมีอํานาจตามกฎหมาย หรือตามข้อตกลง ในการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานในบริษัท ทั้งนี้ การได้มาซึ่งอํานาจตาม (1) (2) (3) และ (4) อาจมาจากทางตรงหรือทางอ้อมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคล หรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว (2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน (4) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่บุคคลดังกล่าว หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (5) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าว หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (6) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าว หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (7) นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล “ญาติสนิท” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรสและโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น บิดา มารดา คู่สมรส บุตร พี่น้อง ลุง ป้า น้า อา รวมทั้งคู่สมรสของบุคคลดังกล่าว เป็นต้น “ความเห็นที่เป็นอิสระ” หมายความว่า การแสดงความเห็นหรือรายงานได้อย่างเสรีตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือตําแหน่งหน้าที่และไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด รวมถึงไม่มีสถานการณ์ใด ๆ ที่จะมาบีบบังคับให้ไม่สามารถแสดงความเห็นได้ตามที่พึงจะเป็น ข้อ ๒ คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ของบริษัทประกันวินาศภัยต้องมีองค์ประกอบดังนี้ (1) เป็นกรรมการบริษัท (2) ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท และ (3) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 2 คน ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบควรมีความชํานาญที่เหมาะสมตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และประธานคณะกรรมการตรวจสอบไม่ควรทําหน้าที่ในคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓ ให้บริษัทนําส่งมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อ ขอบเขต การดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ หนังสือรับรอง และประวัติของกรรมการตรวจสอบตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดแนบท้ายประกาศนี้ต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการของบริษัท หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ ข้อ ๔ กรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนชําระแล้วของบริษัทหรือบริษัทในเครือ ทั้งนี้ ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (2) เป็นกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงานในบริษัท บริษัทในเครือหรือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท รวมทั้งไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจําจากบริษัท บริษัทในเครือ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (3) เป็นกรรมการที่ไม่มีผลประโยชน์ หรือส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมทั้งในด้านการเงินและการบริหารงานของบริษัท บริษัทในเครือ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทและรวมถึงไม่มีผลประโยชน์ หรือส่วนได้เสียในลักษณะดังกล่าวในเวลา 1 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ยกเว้น คณะกรรมการของบริษัท ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่า การเคยมีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระของกรรมการตรวจสอบ (4) เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือญาติสนิทของผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (5) เป็นกรรมการที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นตัวแทน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (6) สามารถปฏิบัติหน้าที่และแสดงความคิดเห็นหรือรายงานผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทได้โดยอิสระ โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทของบุคคลดังกล่าว ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อ 4 (3) การกระทําดังต่อไปนี้อาจถือเป็นรายการที่ไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระของกรรมการตรวจสอบ (1) การกระทําระหว่างกรรมการตรวจสอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรรมการตรวจสอบที่กระทํากับบริษัท บริษัทในเครือ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) การได้มาหรือจําหน่ายสินค้าหรือบริการนั้นอยู่บนพื้นฐานของการดําเนินธุรกิจปกติและเป็นเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปที่กําหนดโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและเปิดเผย และ (ข) ราคาสินค้า หรือค่าบริการเป็นราคาที่เทียบเคียงได้กับ ราคาสินค้าหรือค่าบริการที่ให้ลูกค้ารายอื่น (2) ความช่วยเหลือทางการเงินที่กรรมการตรวจสอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรรมการตรวจสอบได้รับจากบริษัท บริษัทในเครือ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทที่เป็นธุรกิจปกติ (3) การกระทําที่เกี่ยวโยงกันซึ่งได้ดําเนินการตามข้อกําหนดของนายทะเบียนที่เกี่ยวข้องแล้ว (4) การกระทําอื่นตามที่นายทะเบียนกําหนด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,266
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการบังคับคดี --------------------------- เพื่อให้การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลมีความโปร่งใสยุติธรรม อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกรมบังคับคดี จึงให้เจ้าพนักงานถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 265/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการบังคับคดี ข้อ ๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย ปราศจากอคติ ข้อ ๓ ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคําสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา และตามลําดับชั้นการบังคับบัญชาเว้นแต่จะมีคําสั่งหรือได้รับอนุญาตให้ข้ามลําดับขั้นได้ ในกรณีที่ความเห็นหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานเจ้าของสํานวนขัดหรือแย้งกับความเห็น หรือคําสั่งของผู้บังคับบัญชาขั้นต้น ให้เสนอความเห็นหรือคําสั่งนั้นต่อผู้บังคับบัญชาลําดับถัดไปและ หากมีความเห็นหรือคําสั่งที่ขัดแย้งกันให้เสนอต่ออธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อมีคําสั่งต่อไป ข้อ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ประพฤติหรือกระทําการดังต่อไปนี้ 4.1 เรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากความหรือผู้แทนหรือ ผู้มีส่วนได้เสียในคดีเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากที่กฎหมาย ระเบียบหรือคําสั่งกําหนดให้รับได้โดยชอบ 4.2 การแสดงด้วยคําพูดหรือกิริยาอาการว่าประสงค์จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์ อื่นใดเป็นการตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน 4.3 การแสดงด้วยคําพูดหรือกิริยาอาการว่าไม่พอใจเนื่องจากการที่ตนปฏิบัติหน้าที่แล้ว ไม่ได้รับเงิน หรือไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นใดเป็นพิเศษจากคู่ความหรือผู้แทนหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ผู้ใดกระทําตามข้อห้ามข้างต้นจะถูกดําเนินการทางวินัย ข้อ ๕ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินต้องดําเนินการให้ตรงตามวัน เวลา สถานที่ ลําดับที่ปรากฏใน ประกาศขายทอดตลาดหรือบัญชีนัก หากมีการจัดงดการขายทรัพย์สินใดแล้วถ้ามีการนําทรัพย์นั้นออกมาขาย อีกในวันเดียวกัน หรือขายทรัพย์สินไม่ตรงตาม ลําดับในประกาศหรือบัญชีนัด อันทําให้เกิดความ เสียหายแก่ราชการ หรือปรากฏหฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต จะถูกดําเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขากวดขันดูแลโดยเคร่งครัด หากมีการกระทําดังกล่าวเกิดขึ้นให้ถือว่ามี ความผิดด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน 2548 ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,267
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขให้ผู้สอบบัญชีประเมินระบบการควบคุมภายในและระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขให้ผู้สอบบัญชีประเมินระบบ การควบคุมภายในและระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น ของบริษัทประกันวินาศภัย ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 วรรคสี่ แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 นายทะเบียนจึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขให้ผู้สอบบัญชีประเมินระบบการควบคุมภายในและระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ผู้สอบบัญชีประเมินระบบการควบคุมภายใน และระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2545 ข้อ ๒ ในการประเมินระบบการควบคุมภายในและระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ผู้สอบบัญชี จะต้องแสดงความเห็นและจัดทํารายงานเสนอต่อนายทะเบียนอย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้ (2.1) ประเมินประสิทธิภาพระบบการตรวจสอบภายในของบริษัทดังนี้ (1) โครงสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายใน โดยพิจารณาความเหมาะสมด้านจํานวนบุคลากร พื้นฐานการศึกษา และความสามารถของผู้ตรวจสอบภายใน (2) ความเป็นอิสระ ความสามารถในการแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายใน (3) ขอบเขตการตรวจสอบ โดยพิจารณาความเหมาะสมของคู่มือการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน แนวทางการตรวจสอบ วิธีการและความถี่ในการตรวจสอบ (4) ระบบการรายงานและการติดตาม โดยพิจารณาความเหมาะสมของการนําเสนอรายงานการตรวจสอบต่อผู้บริหาร เกี่ยวกับสาระสําคัญ ความครบถ้วน และการติดตามการแก้ไขปัญหา (2.2) ประเมินประสิทธิภาพการลงทุนของบริษัท ดังนี้ (1) ระบบการควบคุมภายในระดับผู้บริหาร ในด้านการป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดจากการกระทําโดยมิชอบหรือไม่มีอํานาจ (2) การปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (3) ประสิทธิภาพการบริหารการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (4) การบริหารความเสี่ยง โดยต้องระบุอย่างชัดเจนถึงความเสี่ยงที่บริษัทประสบหรืออาจประสบ ผลกระทบของความเสี่ยงนั้น ๆ และมาตรการจัดการหรือลดความเสี่ยง ข้อ ๓ ในการประเมินระบบการควบคุมภายใน และระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนของบริษัทประกันวินาศภัยตามข้อ 2 ให้ผู้สอบบัญชีรายงานเรื่องต่อไปนี้ไว้ในรายงานที่ต้องส่งนายทะเบียนด้วย (1) ความเหมาะสม (2) การละเว้นปฏิบัติ (3) ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข (4) เรื่องอื่น ๆ ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดให้ผู้สอบบัญชีบริษัทเสนอรายงานดังกล่าวโดยตรงต่อนายทะเบียนภายในเดือนมีนาคมของทุกปี หรือตามที่นายทะเบียนกําหนดเพิ่มเติมยกเว้นรายงานที่ต้องจัดส่งในปี พ.ศ. 2547 ให้จัดส่งภายในเดือน มิถุนายน 2547 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,268
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้บริษัทประกันวินาศภัยประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (Leasing)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้บริษัทประกันวินาศภัย ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (Leasing) ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 (20) และข้อ 26 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 นายทะเบียนประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้บริษัทประกันวินาศภัยประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (Leasing) ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทที่จะขออนุญาตประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังนี้ 1.1 มีเงินกองทุนส่วนเกินไม่น้อยกว่า 70 ล้านบาท 1.2 มีกําไรสุทธิจากผลการดําเนินงานไม่น้อยกว่าสองปีติดต่อกันก่อนวันยื่นคําขออนุญาต 1.3 มีสินทรัพย์สภาพคล่องเพียงพอที่จะจ่ายเงินตามภาระผูกพันที่มีต่อค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายและสํารองค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งหนี้สินอื่นที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาประกันภัยสําหรับปีที่ล่วงมาแล้ว 2 ปี และในอีก 2 ปีข้างหน้า เป็นอย่างน้อย 1.4 มีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง และเคร่งครัดตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย ข้อ ๒ บริษัทที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 หากประสงค์จะประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ให้ยื่นคําขออนุญาตต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้ 2.1 แผนการดําเนินธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งของบริษัท 2.2 ร่างสัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งของบริษัท 2.3 หลักเกณฑ์ของบริษัทเกี่ยวกับการวิเคราะห์เครดิตและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า 2.4 คู่มือการปฏิบัติงานของบริษัทเกี่ยวกับธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง 2.5 ระเบียบการปฏิบัติงานของบริษัทเกี่ยวกับการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง หากบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วน และนายทะเบียนเห็นสมควร ให้นายทะเบียนออกหนังสืออนุญาตให้บริษัทประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ ข้อ ๓ เมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว บริษัทจะทําสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งได้ต่อเมื่อบริษัทมีการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเพียงพอสําหรับความผูกพันตามสัญญาประกันภัย การคํานวณสินทรัพย์สภาพคล่องตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาจากรายงานประจําเดือนก่อนหน้าทําสัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งไม่เกิน 2 เดือน ข้อ ๔ นายทะเบียนมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งได้ เมื่อปรากฎแก่นายทะเบียนว่า บริษัท 4.1 ขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1 4.2 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ 4.3 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่กําหนดไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 4.4 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง หรือ 4.5 ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งแล้วทําให้เกิดหรืออาจทําให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท ผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เมื่อนายทะเบียนสั่งเพิกถอนการอนุญาตตามวรรคก่อนแล้ว สิทธิในการประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งของบริษัทเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน เว้นแต่สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่ยังไม่สิ้นสุดลงให้บริษัทคงผูกพันต่อไปตามอายุสัญญาที่เหลืออยู่ ข้อ ๕ บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ต่อไปอีกหนึ่งปีนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ หากบริษัทตามวรรคหนึ่ง ประสงค์จะประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งต่อไป ให้ยื่นคําขออนุญาตใหม่ตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2545 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,269
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การให้ความเห็นชอบ นิติบุคคลเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2542 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2543 นายทะเบียนประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ที่ดิน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง “ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์และประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ “ผู้ประเมินราคาหลัก” หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสมาคมให้เป็นผู้ประเมินราคาหลักและเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ “สมาคม” หมายความว่า สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย หรือสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทยหรือองค์กรที่นายทะเบียนประกาศกําหนด “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานด้านการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณีด้วย “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสของกรรมการ (2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ (3) ผู้ว่าจ้างที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการ หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน (4) ผู้ว่าจ้างที่เป็นหุ้นส่วนจํากัดที่กรรมการ หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดชอบรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น (5) ผู้ว่าจ้างที่เป็นบริษัทจํากัดที่กรรมการ หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือผู้ว่าจ้างตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น (6) บริษัทที่กรรมการ หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือผู้ว่าจ้างตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 หมวด ๑ การขอและการให้ความเห็นชอบ -------------------------------- ส่วน ๑ ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ -------------------------------- ข้อ ๒ นิติบุคคลใดประสงค์จะเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ให้นิติบุคคลนั้นยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนตามรายการและแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ นิติบุคคลที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบจะได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้เป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ต่อเมื่อ (1) จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด (2) ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมให้เป็นบริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน (3) มีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน รัดกุมเพียงพอทําให้เชื่อถือได้ว่าสามารถควบคุมให้การปฏิบัติงานประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ และต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ขาดความรับผิดชอบหรือขาดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพเยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงกระทําในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (ข) มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าขาดความรับผิดชอบหรือขาดความระมัดระวังหรือขาดความซื่อสัตย์สุจริตในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือมีการจัดทํารายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญหรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพในสาระสําคัญในประการที่น่าจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ใช้รายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หรือทําให้ผู้ใช้รายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์สําคัญผิดในราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมิน (ค) มีประวัติถูกเปรียบเทียบปรับหรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดและถูกลงโทษในคดีอาญาเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ทุจริต เจตนาปกปิดข้อมูลหรือเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งให้ต้องรับผิดเนื่องจากการบริหารงานในลักษณะดังกล่าว (ง) อยู่ระหว่างการถูกกล่าวโทษจากเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างการถูกดําเนินคดีอาญาในชั้นศาลเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ทุจริต เจตนาปกปิดข้อมูล หรือกระทําการอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (4) ต้องมีผู้บริหารและผู้ประเมินราคาหลักที่มีความรู้ความสามารถหรือมีประสบการณ์ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างดี มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสาธารณชน และต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีประวัติเคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก เนื่องจากการกระทําทุจริต (ข) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (ค) มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าขาดความรับผิดชอบหรือขาดความระมัดระวังหรือขาดความซื่อสัตย์สุจริตในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือมีการจัดทํารายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพในสาระสําคัญในประการที่น่าจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ใช้รายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หรือทําให้ผู้ใช้รายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์สําคัญผิดในราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมิน (ง) มีประวัติถูกเปรียบเทียบปรับหรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดและถูกลงโทษในคดีอาญาเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงทุจริตเจตนาปกปิดข้อมูลหรือกระทําการอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งให้ต้องรับผิดเนื่องจากการบริหารงานในลักษณะดังกล่าว (จ) อยู่ระหว่างการถูกกล่าวโทษจากเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างการถูกดําเนินคดีอาญาในชั้นศาลเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ทุจริต เจตนาปกปิดข้อมูล หรือกระทําการอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (ฉ) เป็นบุคคลที่เป็นเหตุให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์อื่นถูกนายทะเบียนสั่งพักหรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบและผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นยังคงอยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรืออยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ยังไม่อาจยื่นคําขอรับความเห็นชอบใหม่ได้ (5) ต้องมีผู้ประเมินราคาหลักที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้เป็นผู้ประเมินราคาหลักเป็นพนักงานประจําอย่างน้อย 2 คน และอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีประสบการณ์ด้านการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ก่อนวันยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาหลัก ในกรณีที่ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริหาร หรือผู้ประเมินราคาหลักมีลักษณะไม่เป็นไปตาม (3) หรือ (4) แต่นายทะเบียนเห็นว่าเหตุที่ทําให้มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเรื่องไม่ร้ายแรงหรือได้ดําเนินการแก้ไขแล้ว นายทะเบียนจะไม่นําเหตุดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาก็ได้ ข้อ ๔ ในการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบ นายทะเบียนอาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์จัดให้ผู้บริหาร ผู้ประเมินราคาหลักหรือพนักงานอื่นใดมาทดสอบความรู้ ความสามารถ หรือชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายอาจไปตรวจดูสถานประกอบธุรกิจของผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ด้วยก็ได้ ในกรณีที่ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่จัดให้บุคคลตามวรรคหนึ่งมาทดสอบความรู้ ความสามารถ หรือให้ชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารเพิ่มเติม หรือบุคคลดังกล่าวไม่มาทดสอบความรู้ความสามารถตามเวลาที่นายทะเบียนกําหนด หรือไม่มาชี้แจง ไม่ส่งเอกสารหลักฐาน หรือจัดส่งเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด ให้ถือว่าผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นยกเลิกคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๕ นายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาการขอรับความเห็นชอบเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นคําขอตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในใบคําขอภายในสามสิบวันทําการนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ในรายการและแบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๖ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ให้มีกําหนดระยะเวลาคราวละสองปีตั้งแต่วันที่ที่นายทะเบียนกําหนดไว้ในหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบ ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ใดประสงค์จะเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในคราวต่อไปต้องยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่ออายุต่อนายทะเบียนตามรายการและแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่สิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบในคราวก่อน การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงเนื่องจากการขาดต่ออายุ หรือเนื่องจากไม่ได้รับความเห็นชอบการต่ออายุตามความในวรรคก่อน หากผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ต่อไปให้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบใหม่ ข้อ ๗ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ให้ความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 3 นายทะเบียนอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบในครั้งใหม่ก็ได้ โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของเหตุที่ทําให้มีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าวเป็นรายกรณีไป หากนายทะเบียนกําหนดระยะเวลาการยื่นคําขอขอรับความเห็นชอบใหม่ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบคดีความผิดมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับ หรือนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีอาญาตามคําพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่ง หรือนับแต่วันที่นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ ส่วน ๒ ผู้ประเมินราคาหลัก -------------------------------- ข้อ ๘ ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ประสงค์จะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ประเมินราคาหลัก ให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนตามรายการและแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ ผู้ประเมินราคาหลักต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นพนักงานประจําของผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ (2) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันยื่นคําขอรับความเห็นชอบ (3) ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมให้เป็นผู้ประเมินราคาหลักและเป็นสมาชิกของสมาคม (4) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (5) ไม่เคยถูกผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ใดไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก เนื่องจากไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ หรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ (6) ไม่อยู่ระหว่างการถูกสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาหลัก ข้อ ๑๐ ให้นําความในข้อ 5 มาใช้บังคับกับการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาหลักโดยอนุโลม หมวด ๒ การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ -------------------------------- ข้อ ๑๑ ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ต้องรักษาจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพเยี่ยงผู้มีวิชาชีพประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์จะพึงกระทําในกิจการเช่นว่านั้น และต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์และความระมัดระวัง (2) ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์และจัดทํารายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรฐานที่กําหนดโดยสมาคม และข้อกําหนดเพิ่มเติมตามที่นายทะเบียนกําหนดให้ปฏิบัติ ในกรณีที่สมาคมมิได้กําหนดมาตรฐานไว้ และนายทะเบียนไม่ได้กําหนดเพิ่มเติมให้ต้องปฏิบัติ ให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์และผู้ประเมินราคาหลักปฏิบัติหน้าที่และประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในการนี้ให้ระบุมาตรฐานที่ใช้ไว้ในรายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ด้วย (3) รายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จัดทําขึ้นต้องลงลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์และลงลายมือชื่อผู้ประเมินราคาหลัก (4) จัดทํากระดาษทําการ (Working paper) เพื่อบันทึกและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงการประเมิน และอ้างอิงการจัดทํารายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ กระดาษทําการดังกล่าวต้องเก็บรักษาไว้อย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่ออกรายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้น ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์รับประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่นายทะเบียนจะกําหนดให้เป็นอย่างอื่น (1) ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์มีความสัมพันธ์ในเชิงการถือหุ้นกับบริษัท หรือกับผู้ว่าจ้าง รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือกับผู้ว่าจ้างด้วย (2) ผู้บริหารของผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลที่ลงลายมือชื่อในรายงานประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ว่าจ้าง หรือเป็นผู้บริหาร พนักงาน กรรมการของผู้ว่าจ้างหรือบริษัท (3) ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวแทนหรือนายหน้าขายอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมินนั้นในวันที่จัดทํารายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือเคยเป็นตัวแทนหรือนายหน้าขายอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมินราคานั้นภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนหรือหลังวันที่จัดทํารายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้น (4) ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หรือผู้บริหารของผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับบริษัทหรือกับผู้ว่าจ้างหรือกับอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมินราคาให้ผู้ว่าจ้างในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์จัดให้หรือยอมให้ผู้ประเมินราคาหลักที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทหรือกับผู้ว่าจ้างที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่กําหนดไว้ในข้อ 12 รับผิดชอบประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจัดทํารายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หรือลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ว่าจ้างรายนั้น ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 หรือไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามความในข้อ 11 ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องแจ้งต่อนายทะเบียนโดยทันทีและต้องดําเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้ หมวด ๓ การพักหรือการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ -------------------------------- ข้อ ๑๕ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่าผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 หรือปฏิบัติตามหน้าที่ตามข้อ 11 บกพร่อง ไม่เหมาะสม ไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 12 หรือ 13 หรือข้อกําหนดอื่นตามประกาศนี้ นายทะเบียนอาจมีคําสั่งดังต่อไปนี้ก็ได้ (1) สั่งให้ชี้แจง ให้มาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้กระทํา หรือสั่งให้แก้ไขการกระทํา หรือให้งดเว้นการกระทํา (3) สั่งพักการให้ความเห็นชอบ ตามระยะเวลาที่นายทะเบียนเห็นสมควร ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่กําหนดไว้ในคําสั่งเมื่อเกิดเหตุตามที่กําหนดไว้ข้างต้นหรือเกิดเหตุตาม (1) หรือ (2) แต่มีลักษณะไม่ร้ายแรง ในการสั่งพักดังกล่าว นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๖ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า เหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 15 เกิดขึ้นมีลักษณะร้ายแรง หรือมีเหตุตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเกิดขึ้นซ้ําอีกภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่เกิดเหตุครั้งก่อนนายทะเบียนอาจมีคําสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบแก่ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้น และในการนี้นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้ประเมินราคาหลักขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 9 หรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม ไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดอื่นในประกาศนี้ นายทะเบียนอาจมีคําสั่งดังต่อไปนี้ก็ได้ (1) สั่งให้ชี้แจง ให้มาชี้แจงส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้กระทํา หรือสั่งให้แก้ไขการกระทํา หรือให้งดเว้นการกระทํา (3) สั่งพักการให้ความเห็นชอบตามระยะเวลาที่นายทะเบียนเห็นสมควร ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่กําหนดไว้ในคําสั่ง เมื่อหากปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า (ก) เหตุตามที่กําหนดไว้ข้างต้นมีลักษณะร้ายแรง (ข) มีเหตุตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเกิดขึ้นซ้ําขึ้นอีกภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่เกิดเหตุครั้งก่อน (ค) ผู้ประเมินราคาหลักไม่ดําเนินการตาม (1) หรือ (2) ในการสั่งพักดังกล่าว นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๘ ห้ามมิให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่นายทะเบียนสั่งพักตามข้อ 15 ทําการเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์จนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่นายทะเบียนได้กําหนดไว้ในคําสั่ง ข้อ ๑๙ ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ใดถูกเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 16 หากประสงค์จะเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์อีก ให้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนได้เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาที่มีนายทะเบียนกําหนดไว้ในคําสั่ง ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีคําสั่ง เมื่อพ้นระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด หรือเมื่อผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนดแล้ว นายทะเบียนจะไม่นําเหตุในการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบครั้งหลังอีก ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 (2) เนื่องจากการให้ความเห็นชอบที่ได้รับจากสมาคมหมดอายุลง หากผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นได้รับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบจากสมาคมนั้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบเดิมหมดอายุ นายทะเบียนจะไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุในการสั่งตามข้อ 16 ข้อ ๒๑ การให้ความเห็นชอบที่สิ้นสุดลงเนื่องจากครบกําหนดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบหรือเนื่องจากการขาดต่ออายุหรือเนื่องจากการไม่ได้รับความเห็นชอบต่ออายุให้เป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือเนื่องจากการถูกสั่งพักหรือถูกสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 ไม่มีผลกระทบต่อรายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ได้จัดทําและผู้ประเมินราคาหลักได้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าวก่อนวันที่สิ้นสุดการเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หมวด ๔ บทเฉพาะกาล -------------------------------- ข้อ ๒๒ ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้เป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ จนกว่าจะครบกําหนดระยะเวลาเก้าสิบวันตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เมื่อครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคแรกแล้ว ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวประสงค์จะเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ต่อไป ให้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบใหม่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,270
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 380/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปลดล้มละลายบุคคลธรรมดา
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 380/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปลดล้มละลายบุคคลธรรมดา ----------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปลดล้มละลายบุคคลธรรมดาเป็นไปด้วยความ เรียบร้อย เป็นผลดีแก่คู่ความในคดี จึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหน้าที่ของ กรมบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 319/2547 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปลด ล้มละลายของบุคคลธรรมดา ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ข้อ ๒ เมื่อศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาล้มละลายแล้ว ให้ธุรการคดี ของแต่ละหน่วยงานบันทึกข้อมูลวันที่ศาลมีคําพิพากษาและวันครบกําหนดปลดจากล้มละลายไว้และ ให้มีบันทึกแจ้งฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรมทราบด้วย ข้อ ๓ ให้ฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม บันทึกข้อมูลในระบบงานของกรม บังคับคดีว่า “บุคคลนี้จะปลดจากล้มละลาย เมื่อวันที่ .............เดือน ......พ.ศ...." ข้อ ๔ ให้ธุรการคดีของแต่ละหน่วยงานและฝ่ายคําคู่ความลงนัด ตรวจสอบ และแจ้ง รายชื่อลูกหนี้ผู้ล้มละลายที่จะปลดจากล้มละลายให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวนทราบก่อน วันครบกําหนดปลดจากล้มละลายไม่น้อยกว่า ข้อ ๕ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแจ้งรายชื่อลูกหนี้ตามข้อ 4 แล้ว ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบสํานวนเพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 5.1 ถ้าปรากฏว่าลูกหนี้คนใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะปลดจากล้มละลายได้ทันทีที่ พ้นกําหนดระยะเวลาตามมาตรา 81/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปสํานวนเสนอ ผู้อํานวยการกอง หรือ ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค แล้วแต่กรณี เพื่อขอ อนุญาตประกาศโฆษณา เมื่อครบกําหนดเวลาปลดจากล้มละลายตามกฎหมาย เมื่อได้ประกาศโฆษณาตามกฎหมายแล้ว หากปรากฏว่ายังมีกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการต่อไปจนแล้ว เสร็จและจัดทําบัญชีรับ - จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ หรือในกรณีไม่ปรากฏทรัพย์สินให้จัดทําบัญชีรายงาน ผลการปฏิบัติงานต่อศาลต่อไป 5.2 ถ้าปรากฏว่าลูกหนี้คนใดมิได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวมทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุอันควร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปสํานวนรายงานพร้อม เสนอความเห็นว่าควรหยุดนับระยะเวลาปลดจากล้มละลายในกําหนดเวลาเท่าใด เสนอต่ออธิบดี กรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อขออนุญาตยื่นคําขอต่อศาลเพื่อให้ศาลหยุดนับระยะ เวลาปลดจากล้มละลาย ถ้าศาลมีคําสั่งให้หยุดนับระยะเวลาแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดําเนินการต่อไปตามข้อ 2 และข้อ 3 โดยอนุโลม ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,271
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย สำหรับตัวแทนประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัยรถจักรยานยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ของ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับ การประกันวินาศภัย สําหรับตัวแทนประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัย รถจักรยานยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ของ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ----------------------------------------- เพื่อเป็นประโยชน์แก่เจ้าของรถ ซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้และต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สําหรับผู้ประสบภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และเป็นการสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐในการจัดให้มีบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ขึ้นรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นรถที่มีสภาพของการเสี่ยงภัยสูงแต่มีเบี้ยประกันภัยต่ํา ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปโดยความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยตามที่กฎหมายกําหนด อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 64 (8) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนประกาศกําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับตัวแทนประกันวินาศภัยเฉพาะการรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หลักสูตรการสอบ สอบเฉพาะความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 คะแนนเต็ม 100 คะแนน ข้อ ๒ วิธีการสอบ ใช้วิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย หรือสอบสัมภาษณ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ข้อ ๓ หลักฐานการสมัครสอบ ผู้สอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ต้องยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐาน ดังนี้ (1) รูปถ่าย ขนาด 2.5 × 3 ซม. ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ก่อนวันสมัครสอบ จํานวน 2 รูป (2) ภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชน (3) ภาพถ่ายบัตรประจําตัวพนักงานหรือหนังสือรับรองการเป็นพนักงานของบริษัทหรือองค์กร ข้อ ๔ สถานที่รับสมัคร กําหนดวันรับสมัครและกําหนดวันสอบ ประกาศโดยกรมการประกันภัย ข้อ ๕ ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ ผู้สมัครชําระค่าธรรมเนียมในวันสมัครสอบตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ข้อ ๖ เกณฑ์การตัดสิน ผู้สมัครต้องสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงถือได้ว่าสอบได้ ข้อ ๗ การประกาศผลสอบ ประกาศโดยกรมการประกันภัย ข้อ ๘ สิทธิขอรับใบอนุญาต ผู้สอบได้ต้องยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยเฉพาะการรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ต่อนายทะเบียนภายในกําหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันประกาศผลสอบ และในกรณีใบอนุญาตสิ้นอายุให้ขอรับใบอนุญาตใหม่ได้ภายในกําหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2542 บรรพต หงษ์ทอง อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,272
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 5/2544 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้การชำรุดหรือสูญหายของเครื่องหมาย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 5/2544 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมาย ---------------------------------------- เพื่อให้การกํากับดูแลและตรวจสอบเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถของบริษัท เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ที่ถูกต้องครบถ้วนและเพื่อให้บริษัทถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมายต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกเดือน โดยกําหนดส่งรายงานอย่างช้าไม่เกินวันที่ 20 ของเดือนถัดไป\* ทั้งนี้ การจัดทํารายงานให้เป็นไปตามแบบและรายละเอียดที่แนบ ข้อ ๒ คําสั่งใดขัดแย้งกับคําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ เป็นสําคัญ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสําหรับรอบเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ นายทะเบียน
5,273
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 266/2548 เรื่อง การกำหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 266/2548 เรื่อง การกําหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ----------------------------------------- เพื่อให้การขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรม จึงมีคําสั่ง มีประสิทธิภาพและมีหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่ความในคดีดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 489/2544 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2544 เรื่อง การกําหนด ราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ข้อ ๒ ทรัพย์สินที่มีราคาประเมินขณะอืด หรือราคาประเมินของสํานักงานวางทรัพย์กลางตั้งแต่ 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้านบาท) ขึ้นไป หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขาแล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ทําการกําหนดราคาใหม่ ให้เสนอคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์พิจารณา ก่อนที่จะทําการประกาศขายทอดตลาดในครั้งแรก ข้อ ๓ ในการขายทอดตลาดตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป ถ้าไม่มีผู้ใดเสนอราคาหรือมีผู้เสนอ ราคาต่ํากว่าราคาเริ่มต้นของเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาค ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณีเห็นสมควรให้ทําการ กําหนดราคาใหม่ก่อนทําการประกาศขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้รายงานเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือ รองอธิบดีกรมบังคับคดีผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาว่าสมควรให้เสนอคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์เพื่อ พิจารณากําหนดราคาใหม่หรือไม่ ข้อ ๔ ในการกําหนดราคาทรัพย์สินให้คณะกรรมกําหนดราคาทรัพย์พิจารณาหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ประกอบด้วย (1) ราคาประเมินของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดิน (2) ราคาประเมินของพนักงานประเมิน สํานักงานวางทรัพย์กลาง (3) สภาพของทรัพย์ที่จะขาย (4) สภาพของเศรษฐกิจและสภาวะตลาดในทรัพย์ขณะทําการขาย ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,275
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 32/2542 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 32/2542 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงาน การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ---------------------------------------- เพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ถูกต้อง ครบถ้วนรวมทั้งให้การปฏิบัติของแต่ละบริษัทเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อบริษัทประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแล้วให้บริษัทดําเนินการดังนี้ (1) ยื่นหนังสือนําส่งรายงานข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ และ (2) รายงานข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบรายการข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ โดยส่งข้อมูลผ่านทางสื่อ Diskette 3.5” หรือส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย โดยข้อมูลอยู่ในรูป PC – DOS Format ที่มีชื่อไฟล์ตามเอกสาร Record Layout จํานวน 1 ชุด การยื่นหนังสือนําส่งและการรายงานข้อมูลดังกล่าวต้องยื่นต่อนายทะเบียนทุกเดือน ภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดจากวันเดือนที่บริษัทประกันภัยรถยนต์นั้น ข้อ ๒ เมื่อมีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจให้บริษัทดําเนินการดังนี้ (1) ยื่นหนังสือนําส่งรายงานการแก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ ตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ และ (2) รายงานข้อมูลที่แก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงการประกันภัยรถยนต์ตามแบบรายการข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ โดยส่งข้อมูลผ่านทางสื่อ Diskette 3.5” หรือ ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย โดยข้อมูลอยู่ในรูป PC – DOS Format ที่มีชื่อไฟล์ตามเอกสาร Record Layout จํานวน 1 ชุด การยื่นหนังสือนําส่งและการรายงานข้อมูลที่แก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงดังกล่าวต้องยื่นต่อนายทะเบียน ภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดจากวันเดือนที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลนั้น ข้อ ๓ การยื่นหนังสือนําส่งรายงานและการรายงานข้อมูลตามข้อ 1 และข้อ 2 (ถ้ามี) เฉพาะของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม พ.ศ. 2543 หากบริษัทไม่สามารถยื่นและรายงานต่อนายทะเบียนได้ภายในระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 (ถ้ามี) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทยื่นและรายงานให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย
5,276
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 36/2542 เรื่อง เลื่อนกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 36/2542 เรื่อง เลื่อนกําหนดระยะเวลาการบังคับใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ -------------------------------- ตามที่กรมการประกันภัย ได้มีคําสั่งนายทะเบียน ที่ 30/2542 เรื่อง ให้ใช้แบบข้อความ ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความและพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก ลงวันที่ 14 กันยายน 2542 ซึ่งกําหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป นั้น เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายธุรกิจประกันวินาศภัย ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 ให้มีการพิจารณาทบทวนแบบ ข้อความ กรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์อีกครั้ง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ข้อ ๑ ให้เลื่อนการบังคับใช้แบบ ข้อความ กรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 30/2542 ออกไปมีกําหนดระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในระหว่างระยะเวลาที่เลื่อนออกไปตามข้อ 1. ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไปก่อนจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,277
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 35/2542 เรื่อง ให้ยกเลิกแบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 35/2542 เรื่อง ให้ยกเลิกแบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล ---------------------------------------- ด้วยกรมการประกันภัย ได้มีการกําหนดแบบ ข้อความ กรมธรรม์ประกันภัยตลอดจนอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลขึ้นใหม่ไว้แล้ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ ข้อความ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ข้อ ๒ ให้ยกเลิกอัตราเบี้ยประกันภัยของ (1) การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (2) การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล สําหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ข้อ ๓ การยกเลิกตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ยกเลิกเฉพาะในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัย ที่บริษัทได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เท่านั้น ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,278
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 264/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานสำนวนบังคับคดีแพ่งในส่วนกลาง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 264/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานสํานวนบังคับคดีแพ่งในส่วนกลาง ----------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานสํานวนการบังคับคดีแพ่งในส่วนกลางดําเนิน ไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการแบ่งส่วนราชการของกรมบังคับคดี จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 777/2545 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2545 เรื่อง การปฏิบัติงาน ในสํานวนบังคับคดีแพ่ง ข้อ ๒ ให้ฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่รับหมายบังคับคดีจากศาลทุกศาล เพื่อดําเนินการจัดทําสารบบคุมสํานวนและจัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ข้อ ๓ ให้กองยึดทรัพย์สิน ทั้งเรื่องบังคับคดีและดําเนินการตามหมายบังคับคดี หากเป็น กรณีขออายัดทรัพย์สินให้ส่งเรื่องให้กองอายัดทรัพย์สินดาเนินการ ข้อ ๔ ให้กองยึดทรัพย์สินส่งสํานวนให้กองจําหน่ายทรัพย์สิน เนินการต่อไปเมื่อได้ดําเนินการดังต่อไปนี้แล้ว 4.1 รายงานศาลขออนุญาตขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและได้รับคําสั่งอนุญาตจากศาลให้ขายแล้ว 4.2 ได้รับแจ้งราคาประเมินเป็นหนังสือจากสํานักงานวางทรัพย์กลางหรือ คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ 4.3 ผู้รับจํานองแถลงวิธีการขาย ส่งต้นฉบับเอกสารสิทธิและสัญญาจํานองแล้ว ทั้งนี้ ให้ใช้กับสํานวนบังคับคดีแทนด้วย ข้อ ๕ ในกรณีมีการจัดการบังคับคดีไว้ตามกฎหมายก่อนรายงานขออนุญาตขายทอดตลาด หรือก่อนศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาด หรืออยู่ระหว่างดําเนินการตามข้อ 4 เมื่อเหตุแห่งการงด การบังคับคดีสิ้นสุดลงแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกองยึดทรัพย์สินรีบปฏิบัติงานในสํานวนเรื่องนั้นต่อไป ตามข้อ 4 แล้วส่งสํานวนให้กองจําหน่ายทรัพย์สินดําเนินการ ข้อ ๖ คดีของศาลในเขตกรุงเทพมหานคร ขอให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา บังคับคดีแทน ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกองยึดทรัพย์สินดําเนินการจนเสร็จสิ้นจนถึงส่งสํานวนให้ กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ ดําเนินการ ข้อ ๗ ให้กองยึดทรัพย์สินเป็นผู้เก็บรักษาต้นฉบับโฉนด เอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุด สัญญาจํานอง และเอกสารสิทธิ์ต่าง ๆ และมีหน้าที่เบิกจ่าย หรือตนเอกสารดังกล่าวให้แก่บุคคลตามที่ผู้อํานวยการกอง ยึดทรัพย์สิน ผู้อํานวยการกองจําหน่ายทรัพย์สินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี มีคําสั่งอนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ)ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,279
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 34/2542 เรื่อง ให้แก้ไขกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 34/2542 เรื่อง ให้แก้ไขกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ --------------------------------------- เพื่อให้สอดคล้องกับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 18.8, 18.9, 18.10 และ 18.11 ของกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน 18.8 การใช้ในการแข่งขันความเร็ว ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้บังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,280
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2542 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2542 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ----------------------------------------- เพื่อให้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ดังนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มเบี้ยประกันภัย สําหรับการคุ้มครองการชน (กช.) ได้อีกไม่เกิน 1,500 บาท จากอัตราเบี้ยประกันภัยขั้นสูงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ข้อ ๒ ให้เพิ่มเบี้ยประกันภัย สําหรับการคุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ทส. เพิ่ม) ได้อีกไม่เกิน 500 บาท จากอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มขั้นสูงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ข้อ ๓ การเพิ่มเบี้ยประกันภัยตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้กับทุกรหัสรถตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย ข้อ ๔ ส่วนอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับความคุ้มครองอื่น ๆ นอกจากความคุ้มครองตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้คงไว้ตามเดิม ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 บรรพต หงษ์ทอง อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,281
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 194/2548 เรื่อง การดำเนินการตามแผนของผู้บริหารแผน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 194/2548 เรื่อง การดําเนินการตามแผนของผู้บริหารแผน ------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในการกํากับดูแลการดําเนินการตามแผนของผู้บริหารแผน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่ผู้บริหารแผนมิได้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนภายในกําหนด ให้ส่วนจัด กิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูมีหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่วันครบกําหนดส่งรายงานผลการ ปฏิบัติงานตามแผน ถึงผู้บริหารแผนให้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ รับหนังสือ โดยให้ระบุในหนังสือด้วยว่า “หากผู้บริหารแผนไม่ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนตาม กําหนดนัด จะถือว่า ผู้บริหารแผนไม่สามารถดําเนินการตามแผนได้ ถ้าผู้บริหารแผนได้รับหนังสือดังกล่าว โดยชอบ แต่มิได้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนตามกําหนดนัด และมิได้ขอขยายระยะเวลาส่งรายงาน ผลการปฏิบัติงานตามแผน ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูมีหนังสืออีกครั้ง ภายใน 7 วัน นับแต่วันครบกําหนดส่งตามหนังสือครั้งแรก ถึงผู้บริหารแผนให้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยให้ระบุในหนังสือด้วยว่า “หากผู้บริหารแผนไม่ส่งรายงานผล การปฏิบัติงานตามแผนตามกําหนดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะพิจารณาดําเนินการหรือรายงานขอให้ ศาลมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรต่อไป ข้อ ๒ ถ้าผู้บริหารแผนได้รับหนังสือครั้งหลังดังกล่าวโดยชอบ แต่มิได้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามแผนตามกําหนดนัด และมิได้ขอขยายระยะเวลาส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน ให้ส่วนจัดกิจการ ทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูรายงานส่วนกฎหมายภายใน 7 วัน นับแต่วันครบกําหนดส่งตามหนังสือ ครั้งหลัง เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขอให้ศาลมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 90/67 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้บริหารแผนขอขยายระยะเวลาการส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนให้ผู้อํานวยการส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟู เป็นผู้พิจารณาอนุญาตขยายระยะเวลาตามที่ เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน เว้นแต่มีพฤติการณ์พิเศษให้ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้บริหารแผนส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและ กํากับดูแลการฟื้นฟูตรวจสอบรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนของผู้บริหารแผน หากปรากฏว่าผู้บริหารแผน ไม่ได้ดําเนินการตามแผน หรือไม่เป็นไปตามแผน ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูตรวจสอบ หรือสอบถามผู้บริหารแผนถึงเหตุที่ผู้บริหารแผนไม่ดําเนินการตามแผน หรือไม่เป็นไปตามแผน ตลอดจนแนว ทางในการดําเนินการแก้ไข ถ้าส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้บริหารแผน มีเหตุผลเพียงพอในเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจของลูกหนี้ และมีแนวทางในการดําเนินการแก้ไขได้ ให้ส่วนจัด กิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูรายงานส่วนกฎหมายเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาล ทราบและพิจารณาต่อไป แต่ถ้าส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้บริหารแผน ไม่มีเหตุผลเพียงพอในเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจของลูกหนี้ และไม่มีแนวทางในการแก้ไข หรือผู้บริหารแผน ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต หรือ ผู้บริหารแผนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สิน และกํากับดูแลการฟื้นฟูรายงานส่วนกฎหมายโดยเร็ว เพื่อรายงานตามลําดับชั้นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือ รองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป ข้อ ๕ เมื่อระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลง ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการจะได้ดําเนินการเป็นผลสําเร็จตามแผนหรือไม่ ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูรายงานส่วนกฎหมายโดยเร็ว เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลทราบและพิจารณาภายใน 14 วัน นับแต่ระยะเวลา ดําเนินการ ตามแผนสิ้นสุด ตามมาตรา 90/70 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ข้อ ๖ เพื่อให้การกํากับดูแลการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงมอบหมายให้ ข้าราชการในตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 6.1 ผู้อํานวยการส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟู 6.2 หัวหน้ากลุ่มงานจัดกิจการทรัพย์สิน 6.3 หัวหน้ากลุ่มงานกํากับดูแลการฟื้นฟู ข้อ ๗ ให้ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้อํานวยการส่วนกฎหมาย และผู้อํานวยการ ส่วนจัดการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟู กํากับดูแลและควบคุมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และ เจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,282
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 56/2543 เรื่อง ให้เพิ่มเติมแบบ ข้อความ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 56/2543 เรื่อง ให้เพิ่มเติมแบบ ข้อความ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ------------------------------------------ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันภัย ที่จะจัดให้มีการประกันภัยให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยของตน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ในการพิจารณารับประกันภัย บริษัทอาจขยายความคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก เฉพาะในส่วนของบุคคลภายนอกที่อยู่นอกรถยนต์คันเอาประกันภัย ให้มีจํานวนเงินเอาประกันภัยสูงกว่าในส่วนบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ใน หรือกําลังขึ้น หรือกําลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัยได้ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) การประกันภัยนั้นจะต้องคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยของบุคคลภายนอก ตั้งแต่ 1,000,000 บาทต่อคนขึ้นไป (2) จํานวนเงินเอาประกันภัยที่ขยาย ให้ขยายไปเป็นไม่จํากัดความรับผิดต่อคน และต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง และ (3) การขยายความคุ้มครองดังกล่าว ไม่เป็นผลให้บริษัทเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่ม ข้อ ๒ เมื่อมีการขยายจํานองเงินเอาประกันภัย ตามข้อ 1 ให้บริษัทออกเอกสารแนบท้ายตามแบบ ร.ย. 29 ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543 นววัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,283
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2543 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความ ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2543 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความ ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ------------------------------------- ตามที่นายทะเบียน ได้มีคําสั่งที่ 30/2542 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง แทนแบบ ข้อความพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก ลงวันที่ 14 กันยายน 2542 และต่อมาได้มีการเลื่อนการบังคับใช้คําสั่งดังกล่าวออกไปเป็นเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยิ่งขึ้น นั้น บัดนี้ การพิจารณาปรับปรุงแก้ไขได้แล้วเสร็จ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้แก้ไขแบบ ข้อความ ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 30/2542 ลงวันที่ 14 กันยายน 2542 ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ข้อ 7 ของหมวดเงื่อนไขทั่วไป ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยทั้งสามประเภท และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "6 การลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี 6.1 ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทน้อยกว่า 3คันบริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นลําดับขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 20% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สําหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าความเสียหายต่อบริษัท ในการประกันภัยปีแรก ขั้นที่ 2 30% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สําหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท ในการประกันภัย 2 ปีติดต่อกัน ขั้นที่ 3 40% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สําหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท ในการประกันภัย 3 ปีติดต่อกัน ขั้นที่ 4 50% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สําหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัทในการประกันภัย 4 ปีติดต่อกัน หรือกว่านั้น ทั้งนี้บริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ต่ออายุการประกันภัยกับบริษัท และเฉพาะข้อตกลงคุ้มครองที่ต่ออายุเท่านั้น คําว่า "รถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย" ให้หมายความรวมถึงรถยนต์คันที่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ค่าเสียหายนั้นมิได้เกิดจากความประมาท ของรถยนต์คันเอาประกันภัย และผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ หากในระหว่างปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดีมีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัทแล้ว ในการต่ออายุการประกันภัยปีต่อไปบริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนี้ (ก) ลดลงหนึ่งลําดับขั้นจากเดิม หากการเรียกร้องนั้นเกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัย หรือผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ (ข) ลดลงสองลําดับขั้นจากเดิม แต่ไม่เกินอัตราปกติ หากมีการเรียกร้องที่รถยนต์คันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปรวมกันจํานวนเกิน 200% ของเบี้ยประกันภัย 6.2 ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทตั้งแต่3 คันขึ้นไปบริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนี้ - 30 % ของเบี้ยประกันภัยของปีที่ต่ออายุของรถยนต์ทุกคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท หักด้วยจํานวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัทในปีที่เอาประกันภัย ในกรณีได้เอาประกันภัยรถยนต์ 3 คันถึง 9 คัน - 35 % ของเบี้ยประกันภัยของปีที่ต่ออายุของรถยนต์ทุกคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท หักด้วยจํานวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัทในปีที่เอาประกันภัย ในกรณีได้เอาประกันภัยรถยนต์ 10 คันถึง 19 คัน - 40 % ของเบี้ยประกันภัยของปีที่ต่ออายุของรถยนต์ทุกคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท หักด้วยจํานวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัทในปีที่เอาประกันภัย ในกรณีได้เอาประกันภัยรถยนต์ 20 คันถึง หรือกว่านั้น ทั้งนี้ บริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ต่ออายุการประกันภัยกับบริษัทและเฉพาะข้อตกลงคุ้มครองที่ต่ออายุเท่านั้น คําว่า "จํานวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัท" ไม่รวมถึงค่าเสียหายที่มิได้เกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ 7. การเพิ่มเบี้ยประกันประวัติไม่ดี ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีรถเอาประกันไว้กับบริษัทคันเดียวหรือหลายคันและมีการเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างปีที่เอาประกันภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ อย่างน้อยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปรวมกันมีจํานวนเงินเกิน 200% ของเบี้ยประกันภัย บริษัทจะเพิ่มเบี้ยประกันภัยเป็นขั้นๆ ดังนี้ ขั้นที่ 1 20 % ของอัตราเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ขั้นที่ 2 30 % ของอัตราเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นต่อบริษัท 2 ปีติดต่อกัน ขั้นที่ 3 40 % ของอัตราเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นต่อบริษัท 3 ปีติดต่อกัน ขั้นที่ 4 50 % ของอัตราเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นต่อบริษัท 4 ปีติดต่อกัน หรือกว่านั้น ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกเพิ่มเบี้ยประกันประวัติไม่ดีไม่ว่าลําดับขั้นใดและในปีกรมธรรม์นั้น มีการเรียกร้องค่าเสียหาย ที่รถยนต์คันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ไม่ถึง 2 ครั้ง หรือถึง 2 ครั้ง แต่มีค่าเสียหายไม่เกิน 200% ของเบี้ยประกันภัยแล้วในการต่ออายุการประกันภัย บริษัทจะใช้เบี้ยประกันภัยในลําดับขั้นเดิม เช่นในปีที่ผ่านมา แต่หากไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย หรือมีการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น มิได้เกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัยและผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้แล้ว ในการต่ออายุการประกันภัยในปีต่อไปบริษัทจะใช้เบี้ยประกันภัยในอัตราปกติ" ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น 7.6 ของข้อ 7. ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยทั้งสามประเภท "7.6 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์" ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 8. ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยทั้งสามประเภท และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 8 ข้อสัญญาพิเศษ ภายใต้จํานวนเงินจํากัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางบริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัย หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือข้อ 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 2 ของหมวดเงื่อนไขทั่วไป เป็นข้อต่อสู่บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตาม 1.1 ในหมวดนี้ ส่วนเงื่อนไข 7.6 บริษัทจะไม่นํามาเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก เพื่อปฏิเสธความรับผิดทั้งตาม 1.1 และ 1.2 ในหมวดนี้ ในกรณีที่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ต่อผู้เอาประกันภัย แต่บริษัทได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ในความรับผิดที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกไปแล้วผู้เอาประกันภัยต้องใช้จํานวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัทภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือเรียกร้องจากบริษัท" ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 4 ความเสียหายส่วนแรก ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ดังนี้ (ก) 2,000 บาทแรกของความเสียหายอันเกิดจากการชนในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัทราบถึงคู่กรณีอีฝ่ายหนึ่งได้ (ข) ตามจํานวนเงินส่วนแรกของความเสียหายดังระบุไว้ในตาราง (ค) 6,000 บาทแรกของความเสียหายต่อรถยนต์ ที่เกิดจากการชนการคว่ํา ในกรณีเป็นการประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ หากผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ มิใช้ผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนแรก (ข) และ (ค)หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น มิได้เกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัยและผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเอง ตาม(ก) (ข) และ (ค) บริษัทจะจ่ายแทนผู้เอาประกันภัยไปก่อน เมื่อบริษัทได้จ่ายเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบไปแล้ว ผู้เอาประกันภัยต้องใช้คืนให้บริษัทภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือเรียกร้องจากบริษัท" ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน 9.3 ของข้อ 9. ของหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "9.3 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์" ข้อ ๖ ให้ยกเลิกเอกสารแนบท้าย ร.ย. 12 การเลิกความคุ้มครอง และให้ใช้ เอกสารแนบท้าย ร.ย. 12 การเลิกความคุ้มครอง ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทน ข้อ ๗ ให้เพิ่มเอกสารแนบท้ายขึ้นอีกหนึ่งแบบ เป็นเอกสารแนบท้าย ร.ย. 28การเปลี่ยน/เพิ่มผู้ขับขี่ โดยให้มีแบบและข้อความตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทได้จัดพิมพ์กรมธรรม์ประกันภัย ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 30/2542 ลงวันที่ 14 กันยายน 2542 ไว้แล้ว ให้บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยตามที่จัดพิมพ์ไว้นั้น พร้อมเอกสารแนบท้ายตามแต่ละประเภทของกรมธรรม์ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปพลางก่อนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2543 ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (1) การใช้ส่วนบุคคล และ (2) การใช้เพื่อการพาณิชย์ ของข้อ 6. ลักษณะการใช้รถยนต์ ที่ปรากฏในข้อบังคับทั่วไป และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(1) การใช้ส่วนบุคคล หมายถึง รถที่ผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคลธรรมดา และใช้รถยนต์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ไม่ใช้รับจ้าง หรือให้เช่า และให้รวมถึง รถที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของแต่เป็นรถที่มีไว้เพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้โดยเฉพาะ เช่น รถประจําตําแหน่ง ในกรณีดังกล่าวให้ระบุชื่อบุคคลนั้นเป็นผู้เอาประกันภัย (2) การใช้เพื่อการพาณิชย์ หมายถึง รถที่ใช้รับจ้าง ให้เช่า หรือรถที่ผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคลธรรมดาแต่โดยปรกติการใช้รถจะใช้เพื่อการขนส่งผู้โดยสาร หรือบรรทุกสินค้าเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือธุรกิจ หรือเป็นรถที่ผู้เอาประกันภัยเป็นติติบุคคล" ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การเพิ่มอัตราเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดี และหลักเกณฑ์การลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ที่ปรากฏในข้อบังคับทั่วไป และให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่ปรากฏในข้อ 1 ของคําสั่งนี้แทน ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความใน 10.4 ของข้อบังคับทั่วไป และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "10.4 ความเสียหายส่วนแรก ความเสียหายส่วนแรก หมายถึง ส่วนแรกของความรับผิด หรือความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง แบ่งเป็น ก) ความเสียหายส่วนแรก ที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างบริษัทกับผู้เอาประกันภัย โดยอาจตกลงให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกสําหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ หรือความเสียหายส่วนแรก สําหรับความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งในกรณีนี้บริษัทจะต้องลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนี้ (1) ความเสียหายส่วนแรก สําหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ - 5,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 100% ของ จํานวนเงินความเสียหายส่วนแรก - ส่วนที่เกิน 5,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกัน 10% ของจํานวนเงินความเสียหายส่วนแรก (2) ความเสียหายส่วนแรก สําหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถจักรยานยนต์ - 1,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 100% ของ จํานวนเงินความเสียหายส่วนแรก - ส่วนที่เกิน 1,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกัน 20% ของจํานวนเงินความเสียหายส่วนแรก (3) ความเสียหายส่วนแรก สําหรับความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก - 5,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 10% ของ จํานวนเงินความเสียหายส่วนแรก - ส่วนเกิน 5,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกัน 1% ของจํานวนเงินความเสียหายส่วนแรก ข) ความเสียหายส่วนแรก เนื่องจากผู้เอาประกันภัยผิดสัญญา เช่นรถยนต์คันเอาประกันภัยไปเกิดความเสียหาย ในขณะที่มีบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่บุคคลที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ เป็นต้น ค) ความเสียหายส่วนแรก สําหรับกรณีที่กําหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย เช่น ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดจากการชน ซึ่งผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้" ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกตารางที่ 1 เบี้ยประกันภัยพื้นฐานของรถยนต์ทุกประเภทและให้ใช้ตารางที่ 1 อัตราเบี้ยประกันภัยพื้นฐานของรถยนต์แต่ละประเภท ดังต่อไปนี้แทน [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกตาราง 2 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอายุผู้ขับขี่ สําหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสาร และรถจักรยานยนต์ และให้ใช้ตารางต่อไปนี้แทน [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] ข้อ ๑๔ ให้แก้ไขตารางแบ่งกลุ่มรถยนต์ (เฉพาะรถยนต์นั่งโดยรหัส 110 120 เท่านั้น) ในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ Honda City จากกลุ่ม 3 ให้เป็นกลุ่ม 5 ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ปรากฏในคําสั่งนี้บังคับ แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 30/2542เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความ พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขตามคําสั่งนี้ให้มีความหมายและเจตนารมณ์ตามที่ปรากฏในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ข้อ ๑๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2543 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,284
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2543 เรื่อง เลื่อนกำหนดระยะเวลาให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2543 เรื่อง เลื่อนกําหนดระยะเวลาให้บริษัทประกันวินาศภัย ยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ -------------------------------------- ตามที่นายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 32/2542 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ โดยให้มีผลใช้บังคับสําหรับการประกันภัยที่มีระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป นั้น เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายธุรกิจประกันวินาศภัย ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 ให้มีการพิจารณาทบทวนแบบ ข้อความ กรมธรรม์ประกันภัยและพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ออกไป มีกําหนดระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป นายทะเบียนจึงได้มีคําสั่งที่ 36/2542 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 ให้เลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ออกไป มีกําหนดระยะเวลา 3 เดือน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้เลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้คําสั่งนายทะเบียนที่ 32/2542 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ออกไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2543 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,285
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 267/2548 เรื่อง การประเมินราคาเพื่อประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์สินในส่วนกลาง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 267/2548 เรื่อง การประเมินราคาเพื่อประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์สินในส่วนกลาง ----------------------------- เพื่อให้การประเมินราคาทรัพย์สินประกอบการขายทอดตลาดในคดีแห่งในส่วนกลางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 228/2534 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 เรื่อง การปฏิบัติ หน้าที่เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์ 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดี 450/2539 ลงวันที่ 10 กันยายน 2539 เรื่อง การประเมิน ราคาทรัพย์สินในส่วนกลาง 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 782/2545 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2545 เรื่อง การประเมิน ราคาเพื่อประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนกลาง ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาประเมินขณะยึดตั้งแต่ 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาท) ขึ้นไปหรือมีราคาต่ํากว่า 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร ก่อนนําทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ พนักงานประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง ประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวและให้ใช้เป็นราคา ประกอบดุลพินิจในการขายด้วยทุกกรณี ข้อ ๓ ในการขายทอดตลาดห้องชุดซึ่งมีราคาประเมินขณะยึดต่ํากว่า 1,500,000 บาท (หนึ่งล้าน ห้าแสนบาท) ให้ใช้ราคาประเมินของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดิน ประกอบ ดุลพินิจในการขายทอดตลาดด้วย ข้อ ๔ ให้พนักงานประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง ประเมินราคาทรัพย์และแจ้งผล การประเมินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายใน 15 วันนับแต่ได้รับเรื่องไว้ ให้ผู้อํานวยการกองกวดขันดูแล ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จในระยะเวลาดังกล่าว หากไม่สามารถประกาศขายทอดตลาดได้ภายในระยะเวลาอันสมควร การขายทอดตลาดไว้เนื่องมาจากเหตุดังกล่าวให้ถือว่าเป็นความบกพร่องของพนักงานผู้ประเมิน และผู้อํานวยการกองด้วย หรือมีการงด หัวหน้าฝ่าย ข้อ ๕ กรณีประเมินราคาทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดซึ่งมีราคาตั้งแต่ 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) ขึ้นไปหรือประเมินราคาทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดของบุคคลสําคัญหรือบุคคลที่มีฐานะ ทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชนตามคําขอของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อได้ดําเนินการเสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบโดยเร็ว ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,286
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 262/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 262/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ---------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาและคดีนายประกันเป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็น แนวทางเดียวกัน จึงให้มีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 85/2538 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 เรื่อง การตรวจสอบการส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 82/2539 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 เรื่อง การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 308/2540 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค 1.4 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 406/2541 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2541 เรื่อง การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ 1.5 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 353/2542 ลงวันที่ 8 กันยายน 2542 เรื่อง การขายทอดตลาดทรัพย์สิน 1.6 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 139/2544 ลงวันที่ 3 เมษายน 2544 เรื่อง การแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ 1.7 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 134/2546 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2546 เรื่อง การขายทอดตลาดทรัพย์สินในส่วนภูมิภาค 1.8 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 253/2546 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2546 เรื่อง การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ 1.9 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 484/2546 ลงวันที่ 1 กันยายน 2546 เรื่อง กําหนดหลักประกันในการซื้อทอดตลาดทรัพย์ 1.10 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 8/2548 ลงวันที่ 10 มกราคม 2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 67/2548 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 เรื่อง การหักภาษีเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ ๒ ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๓ การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งทรัพย์ตามประกาศขายมีราคาประเมิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป หรือคาดหมายว่าจะขายได้ราคาตั้งแต่ 20 ล้านบาท ขึ้นไป หรือเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน ให้รายงาน พร้อมเสนอประกาศขายทอดตลาดให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ ข้อ ๔ การประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาต้องนําเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือ หนังสือค้ําประกัน ของธนาคาร โดยไม่มีเงื่อนไขมาวางเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นจํานวน 50,000.-บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ทุกรายการ เว้นแต่ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินไม่เกิน 500,000.- บาท ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขาใช้ ดุลพินิจกําหนดหลักประกันตามที่เห็นสมควร หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์ จะเสนอราคาวางหลักประกันนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนด เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็คดังกล่าว ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาในกรณีที่ ผู้วางเป็นผู้ซื้อได้ ส่วนหนังสือค้ําประกันของธนาคารจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคา เมื่อเรียกเก็บเงินได้แล้ว การชําระราคาส่วนที่เหลือให้ชําระภายใน 15 วัน นับแต่ซื้อทอดตลาดทรัพย์ ความในวรรคก่อน มิให้ใช้บังคับแก่การประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์โดย การจํานองติดไป หรือผู้ที่ประสงค์เสนอราคาเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา (2) ผู้มีสิทธิ์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 79 (3) คู่สมรสที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว (4) ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ซึ่งศาลมีคําสั่งอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้ ข้อ ๕ การขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กําหนดนัดขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ก่อนถึงวันนัด ไม่น้อยกว่า 20 วัน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าของสํานวนตรวจสอบสํานวนคดีดังกล่าวว่า การจัดส่ง ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่ และ รายงานผลการตรวจสอบตามแบบต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขาแล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ก่อนทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้สนใจ เข้าสู้ราคาซึ่งจะเข้าสู้ราคาในนามของบุคคลอื่นแสดงใบมอบอํานาจก่อนเข้าสู้ราคา และแจ้งด้วยว่า หากผู้เข้าราคาผู้ใดเข้าสู้ราคาแทนบุคคลอื่นโดยมิได้แสดงใบมอบอํานาจก่อนจะถือว่าผู้เข้าสู้ราคา ผู้นั้นกระทําการ ในนามของตนเอง และในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นจะขอให้ จดทะเบียนใส่ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ซื้อโดยอ้างว่าตนเป็นเพียงตัวแทนมิได้ ข้อ ๘ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินทุกครั้ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ กําหนดราคาสมควรขายแล้ว ให้ประกาศกําหนดจํานวนเงินขั้นต่ําที่ผู้เข้าสู้ราคาอาจเสนอเพิ่มให้สูงกว่า ราคาที่มีผู้เสนอก่อนคนได้ดังนี้ ราคาสมควรขาย เพิ่มราคาไม่น้อยกว่าครั้งละ ต่ํากว่า 50,000 บาท 1,000 บาท ตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท 2,000 บาท เกิน 100,000 - 300,000 บาท 5,000 บาท เกิน 300,000 - 500,000 บาท 10,000 บาท เกิน 500,000 - 700,000 บาท 20,000 บาท เกิน 700,000 - 1,000,000 บาท 30,000 บาท เกิน 1,000,000 5,000,000 บาท 50,000 บาท เกิน 5,000,000 - 20,000,000 บาท 100,000 บาท เกิน 20,000,000 - 50,000,000 บาท 200,000 บาท เกิน 50,000,000 - 80,000,000 บาท 500,000 บาท เกิน 80,000,000 บาท ขึ้นไป 1,000,000 บาท อัตราการเพิ่มราคาที่กําหนดดังกล่าวให้ใช้ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินแต่ละรายโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะมีการเสนอราคาสูงขึ้นเพียงใดก็ตาม ข้อ ๙ ในการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่มีผู้เสนอราคาสูงสุดไม่เกินห้าสิบล้านบาท หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงานผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณี เพื่อขออนุมัติก่อนเคาะไม้ขาย ถ้าเป็นทรัพย์ที่มีผู้เสนอราคา สูงสุดเกินกว่าห้าสิบล้านบาทขึ้นไป หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงานตามลําดับขั้นเพื่อขออนุมัติอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายก่อนเกาะไม้ขาย ทั้งนี้การรายงานในส่วนภูมิภาค ให้ใช้วิธีโทรสาร ส่วนการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ที่ออกไป ทําการขายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติและเกาะไม้ขาย ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคําร้องขอขยายระยะเวลาในการชําระราคาทรัพย์ส่วนที่ค้างชําระ ซึ่งมิใช่กรณีที่เป็นผลมาจากการยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือศาลมีคําสั่งให้ งดการบังคับคดี โดยมีหนังสือขอขยายระยะเวลาการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมาแสดง หรือมีเหตุอื่นอันสมควร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานข้อเท็จจริงตลอดจนพิเคราะห์พฤติการณ์ แห่งคดีของผู้ร้องว่าผู้ร้องได้ยื่นคําร้องโดยสุจริตหรือไม่แล้วเสนอ ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณีพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชําระ ราคาได้อีกไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระราคา 15 วัน และไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ให้มีการ พา ระยะเวลาชําระอีก ข้อ ๑๑ เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ชําระเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นหรืออย่างช้า ในวันทําการถัดไป หนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี จังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามและให้แจ้งแก่ผู้ซื้อทรัพย์ให้ทราบว่าตามสัญญา ผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธินําใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชําระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาขอรับคืนภาษีได้ ภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ หากไม่มาขอรับคืนภาษีภายในกําหนดหรือ ผู้ซื้อไม่มารับหนังสือ โอนกรรมสิทธิ์ในวันดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับคืน ภาษีดังกล่าว ยกเว้นกรณีขายทอดตลาด โดยวิธีจํานองคิดไปผู้ซื้อไม่มีสิทธิขอรับภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายคืน กรณีหักส่วนได้ใช้แทนให้ถือวันที่ผู้ซื้อตรวจรับรองบัญชี และวางเงินค่าซื้อทรัพย์เพิ่ม เป็นวันชําระเงินครบถ้วน เมื่อพ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้วแต่กรณี หรือผู้ซื้อทรัพย์อื่น คําร้องขอเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืน ให้ส่งสํานวนให้นักบัญชีแสดงบัญชีรับ-จ่ายต่อไป ข้อ ๑๒ กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเกาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดแล้ว ต่อมาผู้ซื้อ ไม่ชําระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งริบเงินมัดจํา ทันทีในวันทําการถัดไปนับจากวันครบกําหนด และให้นําทรัพย์ดังกล่าวออกทําการขายใหม่ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการขายทอดตลาดทรัพย์ได้แต่เพียงบางส่วน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําบัญชีเพื่อจ่ายเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยกันเงินไว้ สําหรับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะมีในการบังคับคดีต่อไป ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ประสงค์ ที่จะได้รับเงินคืนและอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายได้มีคําสั่งให้คืนเงินให้ผู้ซื้อให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อ โดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย ข้อ ๑๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติ ตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บางมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,287
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 263/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 263/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี -------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และดําเนินไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 9/2552 ลงวันที่ 11 มกราคม 2522 เรื่อง ยึดอายัด ทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่าย 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 266/2522 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2552 เรื่อง ให้รายงาน สํานวนค้นหาไม่พบหรือหายหรือขาดอายุความ 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 57/2527 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2527 เรื่อง การเก็บ รักษาทรัพย์ 1.4 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 54/2531 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2531 เรื่อง การแก้ไขคําผิด และตกเติมข้อความในเอกสารสํานวนความ 1.5 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 2072531 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2531 เอง การรายงาน เกี่ยวกับการบังคับคดี 1.6 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 493/2540 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2560 เรื่อง การรายงานคดี ค้างดําเนินการ 1.7 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 247/2542 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 เรื่อง การจ่ายเงิน จากการขายทอดตลาดทรัพย์จํานอง 1.8 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 365/2547 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เกี่ยวกับกําหนดเวลาในการบังคับคดี ลงวันที่ 6 กันยายน 2547 ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําขอตั้งเรื่องบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและประสงค์จะบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการทันทีในวันนั้น หากมีเหตุขัดข้องหรือความจําเป็น ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่อาจดําเนินการบังคับคดีภายในวันดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวันเวลานัดกับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อดําเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วันนับแต่วันยื่นคําขอ ทั้งเรื่องบังคับคดี ทั้งนี้โดยพิจารณาด้วยว่ากําหนดนัดดังกล่าว จะมีผลกระทบหรือเกิดความเสียหายในคดี หรือไม่เพียงใด ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทั้งเรื่องบังคับคดีไว้แต่ยังไม่ประสงค์บังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีลงนัดไว้ 6 เดือนนับแต่วันทั้งเรื่องบังคับคดี เมื่อครบนัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายนัดเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาสอบถามความประสงค์ในการบังคับคดีพร้อมทั้งแจ้งไปด้วยว่าหากไม่มารับเงินค่าใช้จ่าย คืนภายในกําหนดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เมื่อครบกําหนดนัดหากเจ้าหนี้ตามคํา พิพากษาไปแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีหรือขอรับเงินค่าใช้จ่ายคงเหลือคืน ให้นําสํานวนลงสารรบบ ส่งบ้าน พร้อมลงนัดไว้ 5 ปี เพื่อนําส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาประสงค์จะของการบังคับคดีจักต้องนําส่งหนังสือ แสดงความยินยอมของลูกหนี้ตามคําพิพากษาตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีเพื่อพิจารณาประกอบการของการบังคับคดีและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ใน แต่ละกรณี ดังนี้ 3.1 ของการบังคับคดี โดยมีหรือไม่มีกําหนดระยะเวลา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีตามกําหนดเวลาที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลง แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 2 เดือน 3.2 ของดการบังคับคดีโดยเหตุที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาขอปรับโครงสร้างหนี้กับ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา หรือมีข้อตกลงเป็นหนังสือในการผ่อนชําระหนี้ระหว่างกัน ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ส่งเอกสารหลักฐานการปรับโครงสร้างหนี้หรือการผ่อนชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อพิจารณาและ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาแล้วฟังได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นตามนั้น ให้มีคําสั่งงดการบังคับคดีภายใน กําหนดเวลาที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1 ปี โดยให้เสนอขออนุญาตต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี คําพิพากษาประสงค์จะงดการบังคับคดี ข้อ ๔ เมื่อครบกําหนดนัดตามข้อ 3 ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาประสงค์จะงดการบังคับคดีต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามข้อ 3.1 หรือ 3.2 แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ กรณีครบกําหนดนัดตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4 แล้วเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่มา แถลงความประสงค์ในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา แถลงความประสงค์ในการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่กําหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1 เดือนนับแต่วันได้รับ หมายนัดพร้อมระบุในหมายนัดด้วยว่า หากไม่มาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีภายในกําหนด ระยะเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานศาลเพื่อขอให้มีคําสั่งสอนการบังคับคดีตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวี เมื่อครบกําหนดนัดแล้วเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดพร้อมระบุข้อความดังกล่าวข้างต้นอีกครั้ง หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ยังคงเพิกเฉยอีก ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานศาลเพื่อขอให้มีคําสั่งถอนการบังคับคดีตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิ ต่อไป ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการขายทอดตลาดทรัพย์ได้แต่เพียงบางส่วน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําบัญชีเพื่อจ่ายเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยกันเงินไว้ สําหรับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะมีในการบังคับคดีต่อไป ข้อ ๗ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ยกเลิกเพิกถอนกระบวนการบังคับคดีหรือการขายทอดตลาด ทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าของเรื่องรายงานคําสั่งศาลพร้อมสําเนา คําสั่งเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นเพื่อเสนอต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายภายใน 15 วัน นับแต่มีค่าสั่ง ข้อ ๘ การรับ-ส่งมอบทรัพย์สินเพื่อเก็บรักษาหรือเพื่อดําเนินการใด ๆ ให้เจ้าหน้าที่งานรักษาทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องลงลายมือชื่อในบัญชีรับ - ส่งไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง และให้หัวหน้างานรักษาทรัพย์หรือผู้มีหน้าที่ดังกล่าวรายงานการเก็บรักษาจํานวนทรัพย์สินที่เข้าออกและ คงเหลือต่อผู้อํานวยการสํานักงานวางทรัพย์กลางหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี ทุกวันที่ 30 ของเดือน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานวางทรัพย์กลางแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สินต่อผู้อํานวยการ กองยึดทรัพย์สินและผู้อํานวยการกองจําหน่ายทรัพย์สิน ข้อ ๙ การแก้ไขคําผิดและตกเติมข้อความในคําคู่ความหรือเอกสารใด ๆ ถ้ามีผิดตกที่ได ห้ามมิให้ชูกลบออกหรือใช้น้ํายาลบคําผิด แต่ให้ขีดฆ่าเสียแล้วเขียนลงใหม่ และผู้เขียนต้องลงลายมือชื่อ กํากับไว้ที่ริมกระดาษ ถ้ามีข้อความตกเดิมให้ผู้ตกเต็มลงลายมือชื่อหรือลงชื่อย่อไว้ ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,288
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 265/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 265/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการบังคับคดี ------------------------- เพื่อให้การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลมีความโปร่งใส ยุติธรรม อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกรมบังคับคดี จึงให้เจ้าพนักงานถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 43/2530 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2530 เรื่อง การปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดี ข้อ ๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย ปราศจากอคติ ข้อ ๓ ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคําสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาและตามลําดับชั้น การบังคับบัญชา เว้นแต่จะมีคําสั่งหรือได้รับอนุญาต ข้อ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ห้ามมิให้ประพฤติหรือกระทําการดังต่อไปนี้ 4.1 เรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากความหรือผู้แทนหรือ ผู้มีส่วนได้เสียในคดีเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากที่กฎหมาย ระเบียบหรือคําสั่งกําหนดให้รับได้โดยชอบ 4.2 การแสดงด้วยคําพูดหรือกิริยาอาการว่าประสงค์จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์ อื่นใดเป็นการตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน 4.3 การแสดงด้วยคําพูดหรือกิริยาอาการว่าไม่พอใจเนื่องจากการที่ตนปฏิบัติหน้าที่แล้ว ไม่ได้รับเงิน หรือไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นใดเป็นพิเศษจากคู่ความหรือผู้แทนหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ผู้ใดกระทําตามข้อห้ามข้างต้นจะถูกดําเนินการทางวินัยต่อไป ข้อ ๕ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ต้องดําเนินการให้ตรงตามวัน เวลา สถานที่ ลําดับที่ปรากฏ ในประกาศขายทอดตลาดหรือบัญชีนัก หากมีการงดการขายทรัพย์สินใดแล้วถ้ามีการนําทรัพย์นั้น ออกมาขายอีกในวันเดียวกัน หรือขายทรัพย์สินไม่ตรงตามลําดับในประกาศหรือบัญชีนัด อันทําให้ เกิดความเสียหายแก่ราชการ หรือปรากฏพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต จะถูกดําเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขากวดขันแลโดยเคร่งครัด หากมีการกระทําดังกล่าว เกิดขึ้นให้ถือว่ามีความผิดด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บวรมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,289
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 261/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับ ที่ 261/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ --------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาและคดีนายประกันเป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นแนวทาง เดียวกันจึงให้มีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 168/2526 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2526 เรื่องข้อปฏิบัติระหว่างกรมที่ดิน และกรมบังคับคดีเกี่ยวกับการตําแหน่ง ที่ดินเพื่อทําการยึดทรัพย์นายประกันตามคําสั่งศาล พ.ศ. 2526 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 253/2530 ลงวันที่ 2 เมษายน 2530 เรื่อง การวางเงิน ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 2541 2530 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2530 เรื่อง การลงแจ้งความการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในหนังสือพิมพ์รายวัน 1.4 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 267 2530 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 เรื่อง วิธีปฏิบัติในการยึดทรัพย์ 1.5 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 162/2532 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2532 เรื่อง การเก็บรักษาทรัพย์มีค่าที่ยึด 1.6 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 167/2532 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2532 เรื่อง การวางเงินค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี 1.7 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 149/2533 ลงวันที่ 30 เมษายน 2533 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี 1.8 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 339/2553 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2533 เรื่อง การตรวจทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด 1.9 คําสั่งกรมบังคับคดีที 6/2538 ลงวันที่ 10 มกราคม 2538 เรื่องค่าใช้จ่ายสําหรับ เจ้าพนักงานที่ดินในการยึดทรัพย์นายประกัน 1.10 คําสั่งการมาที่ 9/2538 ลงวันที่ 10 มกราคม 2538 เรื่อง การตรวจสอบผลการยึดอาอายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน 1.11 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 102/2539 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง การบังคับคดีแก่สังหาริมทรัพย์ 1.12 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 102/2540 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2540 เรื่องการเสนอ รายงานการยึดทรัพย์ 1.13 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 122/2540 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2540 เรื่อง การ นําทรัพย์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน 1.14 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 124/2540ลงวันที่ 18 มีนาคม 2540 เรื่อง การ ขอสําเนาหนังสือสําคัญหรือราคาประเมินจากเจ้าพนักงานที่ดิน 1.15 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 473/2540 ลงวันที่ 17 กันยายน 2540 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ ยวกับการหรือขัดทรัพย์ และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ 1.16 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 530/2544 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 เรื่อง การ ขายทอดตลาดห้องชุด 1.17 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 79/2546 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 เรื่อง ระบบ การบังคับคดีแพ่งด้วยระบบสารสนเทศ 1.18 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 86/2547 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2547 เรื่องการขายทอดตลาด ทรัพย์สินในคดีแพ่ง ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทั้งเรื่องบังคับคดีให้วางเงินทดรองค่าใช้จ่ายขั้นบังคับคดี ดังนี้ 2.1 ยึดอสังหาริมทรัพย์ สํานวนละ 2,500 บาท 2.2 ยึดสังหาริมทรัพย์ บังคับคดีขับไล่ รื้อถอน สํานวนละ 1,500 บาท 2.3 ขอให้บังคับคดีแทนไปยังศาลอื่น สํานวนละ 1,000 บาท ในระหว่างการบังคับคดีหากค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอ เช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งหมายในถิ่นทุรกันดาร ฯลฯให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจํานวนที่เห็นสมควร ข้อ ๓ การยึดอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด ให้ ดําเนินการยึด ณ ที่ทําการ โดยไม่ต้องออกไปดําเนินการยึด ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ เว้นแต่ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขามีคําสั่งอนุญาตเนื่องจากสภาพทรัพย์มีรายละเอียดมาก มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โรงแรม โรงงาน ฯลฯ เป็นต้น หรือมีราคาประเมินเกินกว่า 20 ล้านบาท 3.1 ให้ผู้นํายึดส่งเทสารประกอบการยืดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการดังต่อไปนี้ 3.1.1 เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการ ทําประโยชน์ (น.ส.3 น.ส. 3 ก.) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสําคัญที่ดินอื่น ๆ หรือในกรณีไม่มีต้นฉบับเอกสารสิทธิอยู่ในความครอบครองให้คัดสําเนาที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงาน ที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เช่น หนังสือสัญญาจํานอง สัญญาเช่า เป็นต้น 3.1.2 สําเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทายาท คู่สมรส ผู้รับจํานอง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดที่เป็นปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน 3.1.3 หนังสือสําคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน 3.1.4 แผนที่การไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสําเนา 3.1.5 ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะ ยึดพร้อมแถลงรายละเอียดของทรัพย์ที่ยึดเช่น บ้านเลขที่ หมู่ที่ หมู่บ้าน ซอย ถนน ตําบล/แขวง อําเภอ/เขต สถานที่สําคัญซึ่งอยู่ใกล้เคียง 3.2 เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ ณ ที่ทําการครบถ้วน แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบันทึกรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน และข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีนั้น ๆ ลงในระบบสารสนเทศให้ครบถ้วน โดยให้จัดทํารายงานการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการประกาศยึดทรัพย์ หมายแจ้งการยึดพร้อมราคาประเมินให้แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้มีส่วนได้เสียทราบ และแจ้งเจ้าพนักงานที่ดิน โดยให้ขอราคาประเมินไปในคราวเดียวกัน หรือแจ้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด พร้อมสอบถามภาระหนี้สินของห้องชุดที่ยึดไว้ว่ามีภาระหนี้สินค้างชําระหรือไม่จํานวนเท่าใด ภาระ หนี้สินต่อเดือนเดือนละเท่าใด โดยให้แจ้งภายใน 15 วันนับแต่วันรับหนังสือ หากไม่ได้รับแจ้งภายใน กําหนดให้ผู้นํายึดเป็นผู้ตรวจสอบภาระหนี้สินดังกล่าวและนําส่งพร้อมรับรองก่อนทําการประกาศขาย 3.3 การยึดทรัพย์สินซึ่งติดจํานองบุคคลภายนอก ในการแจ้งการยึดให้ผู้รับจํานองทราบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุในหนังสือแจ้งการยึดด้วยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทําการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวโดยปลอดการจํานอง หากผู้รับจํานองจะคัดค้านให้ยื่นคําคัดค้านเป็น หนังสือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน นับแต่วันรับหมายแจ้งการยืด มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ คัดค้านและเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดโดยปลอดการจํานองและกินเงินในส่วนบุริมสิทธิ ของผู้รับจํานองไว้เมื่อขายทอดตลาดได้ ในกรณีที่ผู้รับจํานองยื่นหนังสือคัดค้านวิธีการขายทอดตลาดตามที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งไปนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอความเห็น พร้อมคําสั่งต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเพื่อมีคําสั่งต่อไป 3.4 การยืดตามสําเนาเอกสารสิทธิที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้นําส่งในกรณีที่ เอกสารสิทธิไม่อยู่ในความครอบครอง ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานศาลขออนุญาตขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้ผู้ที่ยึดถือเอกสารสิทธิส่งมอบเอกสารสิทธิดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อตรวจสอบสารบัญการจดทะเบียนของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดเพื่อทราบถึงสิทธิโดยชอบของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีตามอํานาจหน้าที่ต่อไปหากเรียกเอกสารสิทธิจากผู้ยึดถือหรือครอบครองไม่ได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานศาล ขอให้มีคําสั่งเรียกเอกสารสิทธิจากผู้ที่ยึดถือและหากไม่ได้มาให้ขอศาลอนุญาตขายตามสําเนาเอกสารสิทธิ ดังกล่าว ข้อ ๔ ในกรณียึดสังหาริมทรัพย์ บังคับคดีขับไล่ รื้อถอน ให้ผู้นํายึดนําส่งเอกสารประกอบ การยึดสังหาริมทรัพย์ให้ครบถ้วน เช่นสําเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ ตามหาพิพากษา เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน เป็นต้น 4. ข้อ ๕ ก่อนออกไปทําการ อสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งผู้นํายืดให้จัดเตรียม ยานพาหนะที่จะขนย้ายทรัพย์ด้วยและบรรดาสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ให้นํามาเก็บ รักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือ ชาแล้วแต่กรณีเว้นแต่ 5.1 ทรัพย์ซึ่งมีลักษณะอาจทําให้เกิดสกปรกเลอะเทอะหรือมีกลิ่น ซึ่งอาจรบกวนหรือ ก่อความรําคาญ 5.2 ทรัพย์ซึ่งมีน้ําหนักมากหรือไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายหรือมีความสูง หรือมีความกว้างมาก หรือเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา 5.3 ทรัพย์ซึ่งโดยสภาพอาจเกิดอันตรายได้ง่าย เช่น สารวัตถุเคมี หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง 5.4 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่โดยเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพของตัวทรัพย์ ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน เช่น ทรัพย์ที่ถูกยึดตามคําสั่งคุ้มครอง 5.5 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน เช่น ทรัพย์ที่ถูกยึดตามคําสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวก่อนพิพากษา 5.6 ทรัพย์ซึ่งมีสภาพชํารุดทรุดโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความสนใจ ของบุคคลที่จะซื้อ เช่นเครื่องจักรที่ใช้การไม่ได้โดยสภาพ หรือเครื่องจักรที่เมื่อขนย้ายแล้วจะทําให้ใช้การ ไม่ได้ รถยนต์ที่มีสภาพชํารุดทรุดโทรมไม่สามารถขับเคลื่อนได้ โต๊ะ เก้าอี้ ที่มีสภาพชํารุด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสภาพใช้การไม่ได้ หรือเครื่องนุ่งห่มหลับนอนที่ผ่านการใช้มาแล้ว เป็นต้น 5.7 ทรัพย์ซึ่งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีความประสงค์หรือยินยอมมิให้นํามา เก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขา 5.8 เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรว่าไม่ควรนํามาเก็บรักษาที่สถานรักษาและ จําหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดี หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาโดยความเห็นชอบของผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขาแล้วแต่กรณี ข้อ ๖ การยึดทรัพย์สินมีค่า เช่น อัญมณีต่างๆ ทองรูปพรรณ หรือทรัพย์มีค่าอื่นๆ ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีนํามาเก็บรักษาไว้ในห้องมั่นคงของกรมบังคับคดีหรือตู้นิรภัยของหน่วยงานนั้นๆ ข้อ ๗ ในส่วนกลางหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์ระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาทรัพย์ให้เสนอธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายชี้ขาด ข้อ ๘ ในกรณีทรัพย์ที่ยึดมั่นสูญหาย หรือเสียหายซึ่งเกิดจากมีผู้กระทําความผิดอาญา ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเสนอรายงานการตรวจสอบ พร้อมกับเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อดําเนินการดังต่อไปนี้ 8.1 ในกรณีตัวผู้กระทําผิดให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดี แก่ผู้กระทําผิดต่อไป 8.2 ในกรณีไม่รู้ตัวผู้กระทําผิดให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทําผิดต่อไป การเสนอรายงานความเห็นข้างต้นให้เสนอหนังสือร้องทุกข์เพื่อให้อธิบดีกรมบังคับคดี ลงนามไปพร้อมด้วย ข้อ ๙ การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ 9.1 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทําการยึดทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบ ดําเนินการแจ้งการยึดเพื่อให้การยึดมีผลตามกฎหมาย แล้วจึงเสนอรายงานการยึดทรัพย์ต่อหัวหน้ากลุ่มผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาในวันนั้นหรือในวันทําการถัดไปหากมีเหตุขัดข้องจําเป็นไม่อาจเสนอได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้รายงานเหตุขัดข้องไปพร้อมด้วย 9.2 ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ 20,000,000 บาท ขึ้นไป หรือยึดทรัพย์ ของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการยึดทรัพย์เสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ 9.3 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีติดตามผลการแจ้งการยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง หรือดําเนินการเรียกต้นฉบับเอกสารสิทธิ์หรือการอื่นใดเพื่อให้การยึด มีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 303 และ มาตรา 304 แล้วให้จัดทําแบบ เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง รายงานการตรวจสอบผลการยึดทรัพย์สิน ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาตรวจสอบว่าดําเนินการถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบหรือ คําสั่งแล้วหรือไม่ หากไม่ถูกต้องให้มีคําสั่งแก้ไขแล้วให้ลงนามผลการตรวจสอบได้ จากนั้นให้เจ้า พนักงานบังคับคดีรายงานการยึดพร้อมขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตขายทรัพย์ที่ยึดมั่นต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่อดําเนินการยึดทรัพย์แล้วมีกรณีที่จะต้องแก้ไขราคาประเมินขณะยึดใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งราคาประเมินใหม่ดังกล่าวแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีโดยระบุใน หมายแจ้งด้วยว่าหากไม่เห็นชอบด้วยกับราคาประเมินดังกล่าวให้โต้แย้งคัดค้านภายในกําหนด 3 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง มิเช่นนั้นจะถือว่าผู้รับแจ้งเห็นชอบด้วยกับราคาประเมิน และเจ้าพนักงานบังคับคดี จะถือราคาประเมินดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบิดแล้วไม่มีการจานหรือจําหน่าย 10 ให้ ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม อนึ่ง หากคําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บาร อวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,290
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2547 เรื่อง การรายงานจากเพื่อขอยกเลิกการล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2547 เรื่อง การรายงานจากเพื่อขอยกเลิกการล้มละลาย ------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการรายงานศาลเพื่อขอ ยกเลิกการล้มละลายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 267/2522 เรื่อง การกําหนดเงินค่าเลี้ยงชีพแก่ลูกหนี้และการวางเงิน ประกันค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2522 ข้อ 4 และข้อ 5 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 41/2523 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรายงานศาลเพื่อขอยกเลิกการล้มละลาย ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2523 และค่าสั่งกรมบังคับคดีที่ 3072540 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงาน บังคับคดีในส่วนภูมิภาค ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540 ข้อ 13 ข้อ ๒ คดีล้มละลายเรื่องใดซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรายงานศาลขอยกเลิกการล้มละลาย ตามพระราช บัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 135 ได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบถามกองคลัง เพื่อทราบเกี่ยวกับจํานวนค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการค่าเนินการในเรื่องนี้ หากได้รับแจ้งว่าเงินในคดีไม่มี หรือมีไม่พอ หรือมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่ลูกหนี้ ผู้ล้มละลาย หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ค้างชําระให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งลูกหนี้ผู้ล้มละลาย หรือ เจ้าหนี้ ผู้เป็นโจทก์ หรือโจทก์ทราบเพื่อนํามาชําระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะ รายงานศาลยกเลิกการล้มละลาย ข้อ ๓ การขอยกเลิกการล้มละลายตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขออนุญาตต่อผู้อํานวยการ กองบังคับคดีล้มละลาย เพื่อขออนุญาตรายงานศาลขอยกเลิกการล้มละลาย ข้อ ๔ สําหรับคดีล้มละลายในส่วนภูมิภาค ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัด ข้อ ๕ ในกรณีขอยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(4) หากล้มละลายหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่น่าเงิน ค่าใช้จ่ายมาช้าระต่อเจ้าพนักงานที่ทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานผู้อํานวยการกองบังคับคดี ล้มละลายหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เพื่อพิจารณาสั่งดําเนินการปลดเผาสํานวนตามระเบียบ กระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการเก็บรักษาและทําลายสมุดบัญชีดวงตราเอกสาร และสํานวนในกรมบังคับคดี พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,291
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 569/2547 เรื่อง การออกเสียงลงคะแนนเพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 569 /2547 เรื่อง การออกเสียงลงคะแนนเพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ---------------------------- ด้วยเมื่อศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกว่า บุคคลใดสมควรเป็นผู้ทําแผน อาจเป็นกรณีที่มีผู้เสนอชื่อผู้ทําแผนหลายราย หรืออาจเป็นกรณีที่ศาลเห็นว่า บุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอไม่สมควรเป็นผู้ทําแผน และถึงแม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะมีมติเลือกผู้ทําแผนได้ ศาลก็มี ดุลยพินิจที่จะตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทําแผนหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่มีผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้ทําแผนหลายราย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้เจ้าหนี้ ที่มาในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผนทราบและให้ออกเสียงลงคะแนนว่าจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ทําแผน ข้อ ๒ ในกรณีที่มีผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้ทําแผนเพียงรายเดียว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ เจ้าหนี้ที่มาในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผนทราบและให้ออกเสียงลงคะแนนว่าจะเลือกหรือไม่เลือกบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทําแผน ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานผลการประชุมเพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผนต่อศาล ภายในสามวันนับแต่วันประชุมเพื่อให้ศาลพิจารณาและมีคําสั่งต่อไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2547 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,292
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 518/2547 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนำส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 518/2547 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี -------------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 83/2544 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 เรื่องตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบ การเก็บรักษาเงินและการนําส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการ นําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 83/2544 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการ นําส่งหรือรักษาเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. ผู้อํานวยการกองคลัง (หม่อมหลวงผกาพรรณ สันติกุญชร) เป็นกรรมการ 2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดี (นางวิไล เพ็ชรประดับฟ้า) เป็นกรรมการ 3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางศุภมาศ เหมไหรณย์) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการ ได้ให้ ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ 1. หัวหน้ากลุ่มงานบัญชีและงบประมาณ (นางสาวรัตนา วิมุกตานนท์) เป็นกรรมการ 2. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางวรรณี ศรีสุโท) เป็นกรรมการ เป็นกรรมการ 3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ค. กรรมการจาส่งหรือรับเงิน หรือการเงินไปจ่ายนอกนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งพนักงาน 1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางศุภมาศ เหมไหรณย์) เป็นกรรมการ 2. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางวรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ 3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ 4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางทศพร วิสิทธิ์) เป็นกรรมการ 5. นักวิชาการเงินและบัญชี 5 (นางสุภาพรรณ ปุยสาลี) เป็นกรรมการ ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือ รับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่ จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือหัวหน้า ฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษา ความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนํา เงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,293
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 365/2547 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 365 /2547 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับกําหนดเวลาในการบังคับคดี ------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับกําหนดเวลาในการบังคับคดี เป็นไปด้วยความเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น อันเป็นผลดีแก่คู่ความและ ราชการ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 411 / 2543 เรื่องเร่งรัดการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําขอตั้งเรื่องบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและ ประสงค์จะบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการในวันนั้น หากมีเหตุขัดข้องหรือความจําเป็นของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่อาจดําเนินการบังคับคดีภายในวันดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด วันเวลานัดกับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อดําเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน ทั้งนี้โดย พิจารณาด้วยว่ากําหนดนัดดังกล่าว จะมีผลกระทบหรือเกิดความเสียหายในคดีหรือไม่เพียงใด ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องบังคับคดีไว้แต่ยังไม่ประสงค์บังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีลงนัดไว้ 6 เดือน เมื่อครบนัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายนัดเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาสอบถามความประสงค์บังคับคดีพร้อมแจ้งไปด้วยว่าหากยังไม่ประสงค์จะบังคับคดีใน ขณะนี้ให้มารับเงินค่าใช้จ่ายคงเหลือคืนไป หากไม่มารับเงินคืนภายในกําหนดเจ้าพนักงานบังคับคดี จะส่งเงินดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดิน เมื่อครบกําหนดนัดหากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ไม่แสดง ความประสงค์ในการบังคับคดีหรือขอรับเงินค่าใช้จ่ายคงเหลือคืน ให้ลงสารบบ ส่งเก็บพร้อมลงนัดไว้ 5 ปี เพื่อนําส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ข้อ ๓ สํานวนคดีที่มีการบังคับคดีแล้ว หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาของดการบังคับคดี ในกรณีต่อไปนี้ 3.1 ของ การบังคับคดีโดยมีหรือไม่มีกําหนดระยะเวลา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี งดการบังคับคดีตามกําหนดเวลาที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลง แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 2 เดือน 3.2 ของการบังคับคดีโดยเหตุที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาขอปรับโครงสร้างหนี้กับ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาส่งเอกสารหลักฐานการปรับโครงสร้างหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาได้ความจริงตามนั้นให้มีคําสั่งให้งด การบังคับคดีภายในกําหนดเวลาที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1 ปี โดยให้เสนอขออนุญาตต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ เมื่อครบกําหนดนัดตามข้อ 3 ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้งดการบังคับคดีต่อไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี การบังคับคดี โดยดําเนินการตามข้อ 3.1 หรือ 3.2 แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ หากครบนัดตามข้อ 3 หรือข้อ 4 แล้วแต่กรณี หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มา แถลงความประสงค์ในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดแจ้งให้เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่กําหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันได้รับหมายนัด โดยระบุในหมายนัดด้วยว่า หากไม่มาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดี ภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานทาสขอให้มีคําสั่งถอน การบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวี เมื่อครบกําหนดนัดแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดตามข้อความข้างต้น อีกครั้งหนึ่ง หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายังคงเพิกเฉยอีก ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานศาลขอให้ มีคําสั่งถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิ ต่อไป ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเฉย ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2547 ลงชื่อ ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,294
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 320/2547 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 320/2547 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ----------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้ในคดีล้มละลายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม เป็นผลดีแก่คู่ความและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 156/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2521 และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 141/2526 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 กันยายน 2526 ข้อ ๒ เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แต่ยังมิได้พิพากษาให้ล้มละลาย หากมีการยึดสังหาริมทรัพย์ไว้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาดูว่าทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่เป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงช้า ไว้ก็จะเป็นการเสี่ยงความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเป็นส่วนแห่งค่าของทรัพย์นั้นหรือไม่ หากเข้าตามมาตรา 19 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้รีบขายโดยเร็ว ข้อ ๓ ในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในเรื่องที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ต้องได้รับความเห็น ชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าเป็นกรณีที่มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อน หรือ มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นอย่างมากควรแก่การนําเข้าที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปสํานวนเสนอขออนุญาตต่อผู้อํานวยการกอง เมื่อผู้อํานวยการกองมีคําสั่งแล้ว หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่สมควรเสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณา ให้เสนอเรื่องดังกล่าวต่ออธิบดี กรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายต่อไป ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการจัดกิจการ และทรัพย์สินของลูกหนี้ที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ เช่น การขาย ทรัพย์สินของลูกหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดเป็นต้น หรือพิจารณาเกี่ยวกับการจัดกิจการและ ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้อํานวยการกองอนุญาตให้นําเรื่องเสนอที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาตามวรรคแรก ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานสรุปสํานวนในเรื่องที่จะประชุมเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นก่อนวัน ประชุม และหากเห็นว่าเป็นเรื่องที่สมควรเสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณาให้รายงานสรุปสํานวนเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน และให้รายงานผลการประชุมเจ้าหนี้ในวันที่มีการประชุมนั้นหรืออย่างช้าไม่เกินวันถัดไปเพื่อให้อธิบดีกรม บังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายพิจารณา สําหรับในส่วนภูมิภาค ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคเป็น ผู้พิจารณาแทนอธิบดีกรมบังคับคดี หากเป็นคดีที่มีความสําคัญหรือยุ่งยากสลับซับซ้อน หรือมีผลกระทบ ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นอย่างมาก หรือเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ควรแก่การพิจารณาให้รายงาน อธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายทราบเป็นการด่วน ข้อ ๔ กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาเห็นว่าการนําทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้เช่าจะทําให้ กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับประโยชน์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นําปัญหาเรื่องสมควรให้เช่าทรัพย์ หรือไม่เข้าที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณา หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบให้นําทรัพย์ออกให้เช่า ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์พิจารณา ถึงตัวผู้เช่าโดยละเอียด เช่น ฐานะความมั่นคง มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็นต้น และควรจัดให้มีหลักประกันในกรณีทรัพย์ที่ให้เช่าสูญหายหรือบุบสลายด้วย เงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบด้วยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บันทึกไว้ใน รายงานส่วนสัญญาเช่าให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร่างขึ้นต่างหากและเสนอเรื่องราวรายละเอียดพร้อม สัญญาเช่าต่อผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี จังหวัดสาขาตรวจสอบก่อนเสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมาย พิจารณาก่อนที่จะให้ผู้เช่าและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนามในสัญญาเช่า ข้อ ๕ กรณีลูกหนี้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของคนหรือดําเนินธุรกิจของคนต่อไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 และ 120 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 5.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีคําสั่งโดยแจ้งชัดให้ลูกหนี้ หรือกรรมการผู้จัดการหรือ กรรมการผู้มีอํานาจทําบัญชีกิจการทรัพย์สินยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนนับแต่ ได้ดําเนินกิจการของลูกหนี้ดังกล่าวคือ 5.1.1 บัญชีแสดงการรับและจ่ายเงิน 5.1.2 บัญชีรายละเอียดทรัพย์สิน 5.1.3 บัญชีสินค้างสต๊อกคงเหลือ 5.14 บัญชีงบบาดทุน-กําไร 5.1.5 บัญชีอื่นๆตามที่เห็นสมควร สําหรับส่วนกลาง ให้เจ้าหน้าที่กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ทําหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง ของบัญชีข้างต้นรายงานเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมาย ส่วนภูมิภาค ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขาสั่งเจ้าหน้าที่ หรือจัดบุคคลอื่นใดที่มีความรู้ความชํานาญดําเนินการตรวจสอบแล้วรายงานอธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๖ เมื่อลูกหนี้ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการขายทอดตลาดทรัพย์ ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายโดยเร็วที่สุด นอกจากมีกรณีตามมาตรา 158 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ข้อ ๗ เมื่อปรากฏต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่ามีกรณีที่มีการกระทําความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวนและทําคําสั่งว่า สมควรดําเนินคดีอาญาต่อผู้ถูกกล่าวหา หรือไม่เสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดี ที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2547 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,295
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 319/2547 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปลูกล้มละลายของบุคคลธรรมดา
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 319/2547 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปลูกล้มละลายของบุคคลธรรมดา --------------------------- ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 กําหนดให้ปลด บุคคลธรรมดาจากการล้มละลายทันทีที่พ้นกําหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปลดล้มละลายบุคคลธรรมดาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นผลดีแก่คู่ความในคดี จึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกค่าสั่งกรมบังคับคดีที่ 317/2543 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เกี่ยวกับการที่ลูกหนี้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2543 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 13/2545 เรื่อง การดําเนินการกับทรัพย์สิน ในคดีล้มละลาย ลงวันที่ 8 มกราคม 2545 และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 98/2546 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ลงวันที่ 5 มีนาคม 2546 ข้อ ๒ เมื่อศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาล้มละลายแล้ว ให้ธุรการคดีของแต่ละ หน่วยงานบันทึกข้อมูลวันที่ศาลมีคําพิพากษาและวันครบกําหนดปลดจากล้มละลายไว้และให้มีบันทึกแจ้ง ฝ่ายความ สํานักงานเลขานุการกรมทราบด้วย ข้อ ๓ ให้ฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม บันทึกข้อมูลในระบบงานของกรมบังคับคดีว่า “บุคคลนี้จะปลดจากล้มละลาย เมื่อวันที่.........เดือน........พ.ศ......” ข้อ ๔ ให้ธุรการคดีของแต่ละหน่วยงานและฝ่ายคําคู่ความลงนัด ตรวจสอบ และแจ้งรายชื่อลูกหนี้ ผู้ล้มละลายที่จะปลดจากล้มละลายให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวนทราบก่อนวันครบกําหนด ปลดจากล้มละลายไม่น้อยกว่า 6 เดือน ข้อ ๕ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแจ้งรายชื่อลูกหนี้ตามข้อ 4 แล้ว ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบสํานวนเพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 5.1 ถ้าปรากฏว่าลูกหนี้คนใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะปลดจากล้มละลายได้ทันทีที่พ้น กําหนดระยะเวลาตามมาตรา 81/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่7) พ.ศ. 2547 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปสํานวนรายงานอธิบดี กรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อขออนุญาตประกาศโฆษณา เมื่อครบ กําหนดเวลาปลดจากล้มละลายตามกฎหมาย เมื่อได้ประกาศโฆษณาตามกฎหมายแล้ว หากปรากฏว่ายังมีกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จและจัดทํา บัญชีรับ - จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ หรือในกรณีไม่ปรากฏทรัพย์สินให้จัดทําบัญชีรายงานผลการปฏิบัติงาน ยหาดต่อไป 5.2 ถ้าปรากฏว่าลูกหนี้คนใดมิได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวม ทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุอันควร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปสํานวนรายงานพร้อมเสนอความเห็นว่าควร หยุดนับระยะเวลาปลดจากล้มละลายในกําหนดเวลาเท่าใด เสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดี กรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อขออนุญาตยื่นคําขอต่อศาลเพื่อให้ศาลหยุดนับระยะเวลาปลดจาก ล้มละลาย ถ้าศาลมีคําสั่งให้หยุดนับระยะเวลาแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการต่อไปตามข้อ 2 และข้อ 3 โดยอนุโลม ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2547 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,296
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 183/2547 เรื่อง การแบ่งทรัพย์สิน และการขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 183/2547 เรื่อง การแบ่งทรัพย์สิน และการขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 159/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2521 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 192/2544 เรื่อง เร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลงวันที่ 30 เมษายน 2544 และคําสั่ง กรมบังคับคดีที่ 307/2540 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีใน ส่วนภูมิภาค ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540 ข้อ 2.1 ข้อ ๒ การแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายให้กระทําทุกระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ ล้มละลาย ถ้าไม่อาจกระทําการแบ่งทรัพย์สินได้ตามกําหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงาน ขออนุญาตขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินตามลําดับชั้นเสนออธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย ก่อนกําหนดการรายงานศาลขออนุญาตขยายเวลาตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่น้อยกว่า 20 วัน ทุกครั้ง การรายงานขออนุญาตขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินในส่วนภูมิภาคให้รายงานต่อผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าจํานวนเงินที่รวบรวมได้พอที่จะทําการแบ่งให้กับเจ้าหนี้ได้ โดยไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แล้ว ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ส่งสํานวนคดีนั้นให้กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ดําเนินการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ โดยเร็วที่สุด ข้อ ๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินได้เป็นเงินสดตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รีบดําเนินการแบ่งเงินดังกล่าวให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทันที ข้อ ๕ เหตุในการรายงานขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินในแต่ละครั้งต้องแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้า ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยมิใช่เหตุเดียวกันกับที่ได้เคยแสดงไว้แล้วในครั้งก่อน ข้อ ๖ การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในกรมบังคับคดี เช่นระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กับเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้ใช้วิธีติดต่อ ประสานงานกันภายในแทนการติดต่อทางหนังสือ แล้วจดรายงานเจ้าพนักงานไว้เป็นหลักฐาน หรือใช้วิธีติดต่อ ทางสื่ออิเลคโทรนิคต่าง ๆ ที่รวดเร็วและสะดวกที่สุด ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,297
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 97/2547 เรื่อง การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 97 /2547 เรื่อง การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน --------------------- ด้วยการประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ในกรณีที่มีการคัดค้าน การออกเสียงลงคะแนนของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องมีคําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ เจ้าหนี้ที่ถูกคัดค้านออกเสียงลงคะแนนในจํานวนหนี้เท่าใด นั้น มีความสําคัญต่อกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟู กิจการเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นที่สุด เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นคําขอแสดงความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือก ผู้ทําแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจหลักฐานแห่งความเป็นเจ้าหนี้ว่าเป็นเจ้าหนี้ที่อาจขอรับชําระหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการและลูกหนี้ได้ก่อนิติสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นขึ้นก่อนศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับประกอบการมีคําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ออกเสียงลงคะแนนในจํานวนหนี้เท่าใด ในคําขอแสดงความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ในกรณีที่มีการคัดค้านการ ออกเสียงลงคะแนนของเจ้าหนี้ที่ถูกคัดค้านนั้น แต่ถ้าไม่มีการคัดค้านการออกเสียงลงคะแนนของเจ้าหนี้ รายใดให้เจ้าหนี้นั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้เต็มจํานวนหนี้ตามที่เจ้าหนี้ระบุมาในคําขอดังกล่าว ข้อ ๒ ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถามลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่มาประชุมว่าจะคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ถ้ามีผู้คัดค้านการออกเสียงของ เจ้าหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นประธานในการประชุมเจ้าหนี้นั้นดําเนินการให้เจ้าหนี้ออกเสียงลง คะแนนเลือก ท่าแผนในบัตรลงมติ แต่ยังไม่ให้มีการรวมคะแนน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการ ตามข้อ 3 เสียก่อน สําหรับบัตรลงมติให้เก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย และให้มีคําสั่งพักการประชุมเจ้าหนี้ และ นัดฟังคําสั่งว่าจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ที่ถูกคัดค้านการออกเสียงมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในจํานวนหนี้หรือไม่ จํานวนเท่าใด และให้ดําเนินการรวมคะแนนในบัตรลงมติพร้อมแจ้งผลการลงมติดังกล่าวให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ ทราบในการประชุมเจ้าหนี้คราวต่อไป ทั้งนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ ภายใน 15 วันนับแต่วันประชุม ข้อ ๓ สํานวนขอแสดงความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้นําแผนของเจ้าหนี้ ที่ถูกคัดค้าน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการสอบถามหรือสอบสวนผู้คัดค้าน เจ้าหนี้ผู้ถูกคัดค้าน และ ลูกหนี้เกี่ยวกับเรื่องที่คัดค้าน ถ้าบุคคลดังกล่าวมาประชุม จากนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสํานวนคําขอ แสดงความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้นําแผนของเจ้าหนี้ดังกล่าว พร้อมเสนอคําสั่งว่าจะให้ เจ้าหนี้ดังกล่าวออกเสียงลงคะแนนได้หรือไม่ จํานวนเท่าใด ตามลําดับชั้นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรอง อธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วก่อน จึงจะดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มีนาคม 2547 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,298
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 13/2544 เรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลง พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 13/2544 เรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลง พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ------------------------------------------- ด้วยอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ถือปฏิบัติติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่แท้จริงในปัจจุบัน ให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 30 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ปี 2540 เฉพาะในส่วนของอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยสําหรับเขตอันตราย อัตราเบี้ยประกันภัยส่วนภูมิภาคซึ่งมิใช่เป็นภัยโดดเดี่ยวและอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัยให้เป็นไปตามอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้บังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และกรมธรรม์ประกันอัคคีถัยสําหรับที่อยู่อาศัย ที่เริ่มให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,299
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 10/2544 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 10/2544 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 --------------------------------------- ตามที่ นายทะเบียนได้มีคําสั่งนายทะเบียน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 9 มกราคม 2541 ไปแล้ว นั้น เพื่อส่งเสริมให้รถเข้าสู่ระบบการประกันภัยรถภาคบังคับ และสนองรับนโยบายการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงให้เปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกัน สําหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กําหนดไว้ในประกาศนายทะเบียนข้างต้นเสียใหม่ ให้เป็นไปตามอัตราเบี้ยประกันภัยสูงสุดไม่รวมภาษีอากร สําหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังปรากฏรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายคําสั่งนี้ จํานวน 1 แผ่น คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,300
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 9/2544 เรื่อง แก้ไข เพิ่มเติมแบบรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 9/2544 เรื่อง แก้ไข เพิ่มเติมแบบรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ------------------------------------------- ตามที่ คณะกรรมการพิจารณาวางระบบจัดเก็บข้อมูลและปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกําหนดแนวทางการปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เพื่อพิจารณาทบทวนแบบรายการข้อมูลประกันภัยรถยนต์ที่แนบท้ายคําสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2543 ลงวันที่ 28 เมษายน 2543 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และการปฏิบัติของแต่ละบริษัทประกันภัยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั้น บัดนี้ การพิจารณาทบทวนแบบรายการข้อมูลดังกล่าวได้แล้วเสร็จ จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมแบบรายการข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่แนบท้ายคําสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2543 ลงวันที่ 28 เมษายน 2543 ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ยกเลิกตารางที่ 5 ประเภทกรมธรรม์ และตารางที่ 6 แบบกรมธรรม์ ข้อ ๒ ให้แก้ไขข้อความที่แนบท้ายคําสั่งนี้ เฉพาะรายการดังต่อไปนี้และให้ใช้ข้อความที่แก้ไขใหม่แทน (เอกสารแนบ) 2.1) ตารางรายละเอียดองค์ประกอบของแบบรายการกรมธรรม์ภาคสมัครใจ ลําดับที่ 8, 9, 12, 15, 16, 17, 20, 21, 52, 54, 61 และ 67 2.2) ตารางรายละเอียดองค์ประกอบของแบบรายการรายละเอียดอุบัติเหตุ ลําดับที่ 11, 14, 21 และ 33 2.3) ตารางรายละเอียดองค์ประกอบของแบบรายการรายประมาณการ/จ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามความคุ้มครอง TPPD ลําดับที่ 12 2.4) ตารางรายละเอียดองค์ประกอบของแบบรายการรายประมาณการ/จ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามความคุ้มครอง TPBI ลําดับที่ 8, 10 และ 11 2.5) ตารางรายละเอียดองค์ประกอบของแบบรายการรายประมาณการ/จ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามความคุ้มครอง รย. 01, 02, 03 ลําดับที่ 8, 10 และ 11 ข้อ ๓ ตารางที่ 9 รหัสอาชีพ ให้เพิ่มข้อความคํานิยามหรือความหมายเพิ่มเติม (เอกสารแนบ) ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,301
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2544 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยส่งแบบรายการผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้น
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2544 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยส่งแบบ รายการผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้น ------------------------------------------------- ตามที่นายทะเบียนได้กําหนดแบบรายการผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อให้บริษัทปฏิบัติตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 เพื่อให้บริษัทส่งแบบรายการดังกล่าวแจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นทุกคราว นั้น อาศัยอํานาตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 จึงให้บริษัทส่งแบบรายการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บริษัทตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ นายทะเบียน
5,302
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2544 เรื่อง กำหนดระยะเวลาแก้ไขเพิ่มเติมรายงานประจำปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2544 เรื่อง กําหนดระยะเวลาแก้ไขเพิ่มเติมรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงิน และกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย --------------------------------------- ตามที่นายทะเบียนได้กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาแล้ว เพื่อให้บริษัทจัดส่งต่อนายทะเบียนภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และหากรายงานประจําปีดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ ให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนบริบูรณ์ในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด นั้น เพื่อให้การแก้ไขรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทเป็นไปโดยรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนกําหนดระยะเวลาให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทให้ถูกต้องหรือครบถ้วนบริบูรณ์ส่งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือลงทะเบียนตอบรับจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมรายงานประจําปีดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,303
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 3/2544 เรื่อง กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัท
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 3/2544 เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัท ----------------------------------- เพื่อให้ผลประโยชน์ตกแก่ผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่มีการเอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัท อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียน ที่ 94/2541 เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัท ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ให้กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทดังนี้ (1) อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ให้บริษัทกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ หรือมีคําสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงไว้แล้วได้ไม่เกินร้อยละของจํานวนเบี้ยประกันภัยตามกําหนดระยะเวลาประกันภัยของสัญญาดังต่อไปนี้ ระยะเวลาประกันภัยหนึ่งปีถึงสามปี ไม่เกินร้อยละยี่สิบสาม ระยะเวลาประกันภัยสี่ปีถึงเก้าปี ไม่เกินร้อยละยี่สิบ ระยะเวลาประกันภัยสิบปีถึงสิบสี่ปี ไม่เกินร้อยละสิบเจ็ด ระยะเวลาประกันภัยสิบห้าปีถึงสิบเก้าปี ไม่เกินร้อยละสิบห้า ระยะเวลาประกันภัยยี่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี ไม่เกินร้อยละสิบสาม ระยะเวลาประกันภัยยี่สิบหกปีถึงสามสิบปี ไม่เกินร้อยละสิบสอง สําหรับทรัพย์สินของทางราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้ลดอัตราเบี้ยประกันภัยตามคําสั่ง ที่ 69/2540 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 เมื่อรวมกับการลดอัตราเบี้ยประกันภัยตามข้อนี้แล้วจะต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบสามของเบี้ยประกันภัยในลักษณะภัยเดียวกันนั้น (2) อัตราเบี้ยประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง ให้บริษัทกําหนดอัตราเบี้ยประกันต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ หรือมีคําสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงไว้แล้วได้ไม่เกินร้อยละสิบสามของจํานวนเบี้ยประกันภัย (3) อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ให้บริษัทกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ หรือมีคําสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงไว้แล้วได้ไม่เกินร้อยละสิบแปดของจํานวนเบี้ยประกันภัย (4) อัตราเบี้ยประกันภัยรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้บริษัทกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ หรือมีคําสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงไว้แล้วได้ไม่เกินร้อยละสิบสองของจํานวนเบี้ยประกันภัย (5) อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยอื่นนอกจาก (1) (2) (3) (4) ให้บริษัทกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบหรือมีคําสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงไว้แล้วได้ไม่เกินร้อยละสิบแปดของจํานวนเบี้ยประกันภัย ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,304
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2545 เรื่อง แก้ไขคำสั่งนายทะเบียนที่ 5/2544 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชำรุด หรือสูญหายของเครื่องหมาย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2545 เรื่อง แก้ไขคําสั่งนายทะเบียนที่ 5/2544 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงาน การใช้ การชํารุด หรือสูญหายของเครื่องหมาย --------------------------------------------- ตามที่นายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 5/2544 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชํารุด หรือสูญหายของเครื่องหมาย ลงวันที่ 1 มีนาคม 2544 กําหนดให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชํารุด หรือสูญหายของเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัย ต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกรอบเดือน อย่างช้าไม่เกินวันที่ 20 ของเดือนถัดไป ตามแบบและรายละเอียดแนบท้ายคําสั่งดังกล่าวนั้น เนื่องจากระยะเวลาที่กําหนดไว้ในคําสั่งดังกล่าวได้กําหนดไว้เพียง 20 วัน นับแต่วันสิ้นเดือน ทําให้บริษัทบางบริษัทที่มีสาขาหลายสาขาไม่สามารถยื่นรายงานการใช้เครื่องหมายที่ชํารุด หรือสูญหายได้ทันภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว นายทะเบียนจึงเห็นสมควรขยายระยะเวลาการยื่นรายงานการใช้การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมายที่บริษัทต้องยื่นต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกรอบเดือนจากที่กําหนดไว้ในคําสั่งดังกล่าวออกไปเป็นภายในไม่เกินสิ้นเดือนของเดือนถัดไป คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับสําหรับการยื่นรายงานการใช้ การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมายสําหรับรอบเดือนพฤษภาคม 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,305
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2545 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2545 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ---------------------------------------- เพื่อให้ได้ข้อมูลและสถิติการประกันภัยทางทะเลและขนส่งที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อใช้ในการพิจารณาปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง รวมทั้งให้การปฏิบัติการรายงานข้อมูลและสถิติของแต่ละบริษัทเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็วในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลสถิติการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง เป็นรายกรมธรรม์ตามปีรับประกันภัย (Underwriting Year) สําหรับการประกันภัยที่มีระยะเวลาการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดของรายงานข้อมูลตามโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ได้กําหนดไว้ และให้ยื่นรายงานข้อมูลดังกล่าวผ่านสมาคมประกันวินาศภัยเป็นประจําทุกเดือน ภายในสิ้นเดือนถัดไป เพื่อทําการประมวลผลต่อไป ข้อ ๒ ให้บริษัทยื่นแบบตารางสรุปรายงานข้อมูลการประกันภัยทางทะเลและขนส่งจากการประมวลผลตามข้อ 1 ต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกปี ภายในวันที่ 1 เมษายนของปีถัดไปและให้เป็นไปตามแบบและรายการที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๓ การยื่นแบบตารางสรุปรายงานข้อมูลตามข้อ 2 ให้บริษัทยื่นเป็นเอกสารหรือทําการบันทึกรายการลงในแฟ้มบันทึกข้อมูล (Computer - Media) และยื่นแผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวต่อนายทะเบียนแทนการยื่นเป็นเอกสารก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2545 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,306
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2546 เรื่อง ให้ยกเลิกแบบและข้อความ กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2546 เรื่อง ให้ยกเลิกแบบและข้อความ กรมธรรม์ประกันภัย สําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง ------------------------------------------- ด้วยกรมการประกันภัย ได้มีการกําหนดแบบและข้อความ กรมธรรม์ประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างขึ้นใหม่ และบริษัทได้รับความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจากนายทะเบียนไป ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2545 แล้ว นั้น ฉะนั้น เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างมีแบบและข้อความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่เกิดความสับสนต่อผู้เอาประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้ยกเลิกแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง ที่บริษัทได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนก่อนวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2546 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,307
คำสั่งกรมการประกันภัย ที่ 248/2546 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน
คําสั่งกรมการประกันภัย ที่ 248/2546 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน ------------------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 สอดคล้องกับระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2546 และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมการประกันภัย จึงออกคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 1) คําสั่งกรมการประกันภัย ที่ 108/2538 เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมการประกันภัย ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2538 2) คําสั่งกรมการประกันภัย ที่ 207/2544 เรื่อง การมอบอํานาจของอธิบดีกรมการประกันภัยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทําหน้าที่ CEO ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ข้อ ๒ บรรดาคําสั่ง ระเบียบ ประกาศอื่นในส่วนที่มีกําหนดไว้แล้ว หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ใช้คําสั่งนี้แทน ข้อ ๓ มอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมการประกันภัยด้านการพิจารณา อนุมัติ อนุญาต หรือวินิจฉัยสั่งการในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามบัญชีการมอบอํานาจและหลักเกณฑ์การใช้อํานาจแนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานผลการใช้อํานาจตามข้อ 3 ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนมีนาคมและกันยายน ของทุกปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย
5,308
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 12/2547 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 12/2547 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก -------------------------------------------------- เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการเลือกทําประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจได้มากขึ้นนอกเหนือไปจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบมาตรฐาน และเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดทําประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจได้ในอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจ อาศัยอํานาจตามมาตรา 29 วรรคแรก และมาตรา 30 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก และเอกสารแนบท้าย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๒ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก ตามรหัส ประเภทรถสําหรับการใช้ส่วนบุคคล โดยเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยคงที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่อปีดังนี้ รหัส 110 รถยนต์นั่ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เบี้ยประกันภัย 1,600 บาท รหัส 210 รถยนต์โดยสาร ไม่เกิน 12 ที่นั่ง เบี้ยประกันภัย 2,600 บาท รหัส 310 รถยนต์บรรทุก น้ําหนักไม่เกิน 4 ตัน เบี้ยประกันภัย 2,600 บาท ข้อ ๓ บริษัทประกันภัยที่ประสงค์จะใช้กรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัย ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,309
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2547 เรื่อง ให้ใช้เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถว่าด้วยการขยายระยะเวลาคุ้มครองโดยอัตโนมัติ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2547 เรื่อง ให้ใช้เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ว่าด้วยการขยายระยะเวลาคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ------------------------------------------------- เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกและลดภาระให้แก่เจ้าของรถซึ่งต้องจัดทําประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในการยื่นชําระภาษีรถประจําปีต่อกรมการขนส่งทางบก อาศัยอํานาจตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ขยายระยะเวลาประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยอัตโนมัตินับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาความคุ้มครองตามที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย เป็นวันเดียวกับวันสิ้นสุดอายุภาษีรถประจําปีของปีถัดไป แต่ไม่เกิน 90 วัน ข้อ ๒ การขยายระยะเวลาความคุ้มครองโดยอัตโนมัติตามข้อ 1 ให้ใช้กับกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่ได้เอาประกันภัยไว้ก่อนวันที่ 1 กันยายน 2547 และมีวันสิ้นสุดอายุภาษีรถประจําปีระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 ข้อ ๓ ให้ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ว่าด้วยการขยายระยะเวลาคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๔ การใช้เอกสารแนบท้ายนี้ ให้ใช้ได้กับกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกโดยบริษัทประกันภัยตามรายชื่อที่ปรากฏในเอกสารแนบท้ายคําสั่งนี้เท่านั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,310
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 9/2547 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 9/2547 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศ ------------------------------------- ตามที่กรมการประกันภัย ได้มีนโยบายให้บริษัทประกันวินาศภัย ดําเนินการรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศ (รับเสี่ยงภัยไว้เอง หรือเอาประกันภัยต่อในประเทศ) สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน หรือกรมธรรม์ประกันภัยใด ๆ ที่ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว และทรัพย์สินภายในอาคารจากอัคคีภัย รวมทั้งกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง (สินค้า) ซึ่งบริษัทได้ให้ความร่วมมือและถือปฏิบัติเป็นอย่างดี นั้น เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องกอปรกับภาครัฐมีมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการประกันภัย จึงนับได้ว่ามีส่วนกระตุ้นต่อการทําประกันวินาศภัยของประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจประกันวินาศภัยมีแนวโน้มการขยายตัวสูงขึ้น ดังนั้น ในปี 2548 กรมการประกันภัย จึงเห็นควรกําหนดนโยบายการรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยให้บริษัทรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศทั้งหมดทุกรายดังนี้ 1. กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินหรือกรมธรรม์ประกันภัยใด ๆ ที่ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว และทรัพย์สินภายในอาคารจากอัคคีภัย ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยไม่เกิน 20 ล้านบาท 2. กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง (สินค้า) ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยไม่เกิน 4 ล้านบาทต่อกรมธรรม์ อนึ่ง ในกรณีที่บริษัทออก Open Cover และ Cover Note แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อเป็นการยืนยันการรับประกันภัยในระยะยาว โดยที่ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้บริษัททราบถึงรายละเอียดของการขนส่งสินค้าในแต่ละครั้ง หรือแต่ละเที่ยวการขนส่งเพื่อออกใบรับรอง (Certificate) ความคุ้มครองในเที่ยวดังกล่าวให้ถือเอาใบรับรอง (Certificate) ที่ให้ความคุ้มครองแต่ละเที่ยวการขนส่งนั้นเป็นหนึ่งกรมธรรม์ที่บริษัทต้องเก็บไว้ในประเทศ ตามประกาศนี้ 3. กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยไม่เกิน 1 ล้านบาท ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันภัยที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่าที่กําหนดไว้ตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ให้บริษัทรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศตามจํานวนที่กําหนดไว้ข้างต้น ในส่วนที่เกินกว่าที่กําหนดนี้ให้บริษัทพยายามรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศตามขีดความสามารถ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงได้มีคําสั่งให้บริษัทยื่นรายงานการรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศ สําหรับการประกันภัยดังกล่าวไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งที่ 16/2544 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ข้อ ๒ ให้บริษัทยื่นรายงานการรับเสี่ยงภัยไว้ในประเทศต่อนายทะเบียนประจําทุกสามเดือนภายใน 30 วัน นับจากวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กําหนดโดยใช้แบบ ป.ต. 7 แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยทุกฉบับที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,311
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 4/2547 เรื่อง การกำหนดระยะเวลาประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 4/2547 เรื่อง การกําหนดระยะเวลาประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ -------------------------------------------- เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยสามารถเอาประกันภัยรถตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยมีระยะเวลาประกันภัยต่ํากว่าหรือเกินกว่า 1 ปีได้ อาศัยอํานาจตามมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง ระยะเวลาการประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2546 ข้อ ๒ ให้ระยะเวลาประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีกําหนด 1 ปี เว้นแต่เป็นความประสงค์ของผู้เอาประกันภัย ให้บริษัทรับประกันภัยโดยมีระยะเวลาประกันภัยต่ํากว่า 1 ปี หรือเกินกว่า 1 ปีได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 ปี โดยให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยแบบเฉลี่ยรายวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,312
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 22/2548 เรื่อง กำหนดแบบอักษรและขนาดอักษรของกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 22/2548 เรื่อง กําหนดแบบอักษรและขนาดอักษรของกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย -------------------------------------- เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย มีแบบอักษรและขนาดอักษรเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อความสะดวกในการทําความเข้าใจของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ และประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งกําหนดแบบอักษรและขนาดอักษรของกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ใช้อักษรแบบ Angsana หรือ EACP Pemai มีขนาดไม่ต่ํากว่า 16 พอยท์ สําหรับกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภท ยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล (Marine Cargo Policy) และกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือ (Marine Hull Policy) รวมทั้งเอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ข้อ ๒ กรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย ที่บริษัทจัดพิมพ์ขึ้นก่อนวันที่มีคําสั่งนี้ ซึ่งมีแบบอักษรและขนาดอักษรไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 1 ให้บริษัทใช้กรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้ต่อไปอีกไม่เกิน 180 วัน นับแต่วันที่มีคําสั่งนี้ กําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนอาจขยายให้อีกได้ไม่เกิน 90 วัน เมื่อบริษัทร้องขอก่อนสิ้นระยะเวลานั้นโดยมีเหตุผลอันสมควร ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,313
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2548 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2548 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ----------------------------------------- ตามที่ได้มีคําสั่งนายทะเบียนที่ 6/2548 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 และคําสั่งนายทะเบียน ที่ 16/2548 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2548 ไปแล้ว นั้น เพื่อให้อัตราเบี้ยประกันภัยเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัยยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) และ (2) ของข้อ 4 ประเภทรถยนต์ ของข้อบังคับทั่วไป และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(1) ประเภทรถยนต์นั่ง หมายถึง รถยนต์ที่นั่งได้ไม่เกิน 7 คน รวมทั้งคนขับ ได้แก่ ก) รถเก๋ง ข) รถตรวจการ หรือรถแวน ค) รถจิ๊ป ช่วงสั้น ง) รถสามล้อเครื่อง จ) รถนั่งสองตอนท้ายบรรทุก (2) ประเภทรถยนต์โดยสาร หมายถึง รถยนต์ที่ใช้โดยสาร ได้แก่ ก) รถตู้โดยสาร ข) รถปิคอัพ หรือรถโดยสารที่นั่งสองแถว ค) รถเมล์โดยสาร” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกตารางที่ 2 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมตามความเสี่ยงภัยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอายุรถยนต์ สําหรับรถยนต์นั่ง (รหัส 110 120) รถยนต์โดยสาร (รหัส 210 220 230) และรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ (รหัส 730) และให้ใช้ตารางต่อไปนี้แทน ประเภทรถยนต์: รถยนต์นั่ง (รหัส 110 120) | | | | | | --- | --- | --- | --- | | อายุรถยนต์ | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 2 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 3 | | อายุรถยนต์ 1 ปี | 100% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 2 ปี | 100% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 3 ปี | 102% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 4 ปี | 105% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 5 ปี | 110% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 6 ปี | 116% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 7 ปี | 120% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 8 ปี | 124% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 9 ปี | 125% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 10 ปี | 126% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์เกิน 10 ปี | 127% | 100% | 100% | ประเภทรถยนต์: รถยนต์โดยสาร (รหัส 210 220 230) | | | | | | --- | --- | --- | --- | | อายุรถยนต์ | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 2 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 3 | | อายุรถยนต์ 1 ปี | 100% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 2 ปี | 101% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 3 ปี | 103% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 4 ปี | 105% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 5 ปี | 107% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 6 ปี | 104% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 7 ปี | 105% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 8 ปี | 100% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 9 ปี | 94% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 10 ปี | 92% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์เกิน 10 ปี | 84% | 100% | 100% | ประเภทรถยนต์: รถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ (รหัส 730) | | | | | | --- | --- | --- | --- | | อายุรถยนต์ | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 2 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 3 | | อายุรถยนต์ 1 ปี | 100% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 2 ปี | 110% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 2 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 3 | | อายุรถยนต์ 3 ปี | 132% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 4 ปี | 126% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 5 ปี | 126% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 6 ปี | 124% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 7 ปี | 123% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 8 ปี | 112% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 9 ปี | 108% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์ 10 ปี | 106% | 100% | 100% | | อายุรถยนต์เกิน 10 ปี | 86% | 100% | 100% | ข้อ ๓ สําหรับประเภทรถยนต์นั่งสองตอนท้ายบรรทุก ทุกยี่ห้อ ให้จัดเข้ากลุ่ม 3 ของตารางแบ่งกลุ่มรถยนต์ (เฉพาะรถยนต์นั่งรหัส 110 120 เท่านั้น) ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,314
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2546 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการหักเงินและการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2546 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการหักเงินและการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักเงินค่าธรรมเนียม การบังคับคดี พ.ศ. 2546 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน บังคับคดี พ.ศ. 2546 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคําสั่งให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กองคลังเปิดบัญชีเงินฝากที่กรมบัญชีกลาง ชื่อบัญชี บัญชีเงินฝากค่าใช้จ่าย ในการดําเนินงานบังคับคดี " เพื่อรวบรวมเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และให้เปิดบัญชีเงินฝากที่สํานักงานคลังจังหวัดชื่อบัญชี บัญชีเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี สําหรับกรณีที่มีการโอนเงินไปตั้งจ่ายทางสํานักงานคลังจังหวัด ข้อ ๒ ก่อนนําเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ให้หักเงินดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 50 และให้ดําเนินการดังนี้ ส่วนกลาง น่าฝาก บัญชีเงินฝากค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี ส่วนภูมิภาค นําส่งกรมบังคับคดี โดย จัดส่งเป็นตัวแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค หรือ เช็ค สั่งจ่าย “กรมบังคับคดี” ข้อ ๓ การอนุมัติสั่งจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี ให้บุคคลต่อไปนี้ มีอํานาจอนุมัติสั่งจ่ายได้ ดังนี้ 3.1 รองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายให้กํากับดูแลกองคลัง ครั้งละไม่เกิน500,000.-บาท 3.2 ผู้อํานวยการกองคลัง ครั้งละไม่เกิน 50,000.-บาท ข้อ ๔ ให้กองคลังรายงานผลการดําเนินงานให้กระทรวงการคลัง และสํานักงบประมาณทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,315
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 515/2546 เรื่อง การดำเนินคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 515/2546 เรื่อง การดําเนินคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สิน --------------------- โดยที่ประเทศไทยประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากสภาวะวิกฤติ เศรษฐกิจส่งผลให้การบังคับคดีล้มละลายมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับลูกหนี้ที่ถูกบังคับคดี ล้มละลายส่วนใหญ่จะไม่มีทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการจําหน่ายและนํามาชําระหนี้ให้แก่ บรรดาเจ้าหนี้ การดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายล้มละลาย ไม่อาจเอื้อประโยชน์ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ และเป็นผลให้กรมบังคับคดีที่มีอัตรากําลังของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ไม่สามารถปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในส่วนที่มีทรัพย์สินได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการเร่งรัด การบังคับคดีล้มละลายเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ เสียทุกฝ่าย จึงเห็นสมควรให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่ ไม่ปรากฏทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นไปในแนวทาง เดียวกัน จึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สําหรับคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สิน ของลูกหนี้ มิให้นําคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 112/2546 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลงวันที่ 13 มีนาคม 2546 มาใช้บังคับ ข้อ ๒ คดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สิน หมายความถึง คดีล้มละลายที่ไม่มีการยื่นคําขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 96 ไม่มีการตรวจสอบทรัพย์หลักประกันตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่มีการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่ง ในกรณีลูกหนี้เป็นนิติบุคคล เมื่อได้ตรวจสอบ เอกสารทางทะเบียนแล้วหุ้นของลูกหนี้ต้องชําระครบถ้วน และจากการสอบสวนกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้จะต้องไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอื่นใดอีก และลูกหนี้ไม่ประสงค์จะยื่นคําขอประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือลูกหนี้ไม่มาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม กําหนดนัดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานศาลขอให้ออกหมายจับ ข้อ ๓ ก่อนวันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พบว่าคดีล้มละลายคดีหนึ่ง คดีใดเป็นคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สิน เมื่อถึงวันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดรายงานงดดําเนินการสํานวนคําขอรับชําระหนี้ไว้ จนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสามารถรวบรวม ทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ พร้อมทั้งให้เจ้าหนี้สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้มาแลงภายใน วันประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก และหากเจ้าหนี้ไม่มาแถลงหรือไม่มาร่วมประชุมตามกําหนดนัด จะถือว่าเจ้าหนี้ ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และไม่คัดค้านในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานขอให้ ศาลมีคําสั่งปิดคดีตามแบบรายงานการตรวจคําขอรับชําระหนี้ คดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สินทางคําสั่งนี้ ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พบว่าคดีล้มละลายคดีหนึ่งคดีใดเป็นคดีล้มละลายที่ไม่มี ทรัพย์สินภายหลังการตรวจคําขอรับชําระหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดรายงานงดดําเนินการสํานวน คําขอรับชําระหนี้ไว้ จนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสามารถรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้และกําหนด นัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ข้อ ๕ ในการประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง นัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกในคดี ล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้เจ้าหนี้มาแถลงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในวันนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก หากเจ้าหนี้ไม่แถลงหรือไม่มาร่วม ประชุมตามกําหนดนัดจะถือว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และไม่คัดค้านในการที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานขอให้ศาลมีคําสั่งปิดคดีในหัวข้อปรึกษาวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามแบบประกาศและรายงานการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๖ สําหรับคดีที่ไม่มีทรัพย์สิน ซึ่งได้ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือศาลได้มีคําพิพากษาให้ ล้มละลายแล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้รายงานขอให้ศาลมีคําสั่งปิดคดี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จดรายงานงดดําเนินการสํานวนคําขอรับชําระหนี้ไว้ จนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสามารถรวบรวม ทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และหมายนัดเจ้าหนี้ให้มาแถลงผลการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหมายนี้ หากเจ้าหนี้ไม่มาแถลงตามกําหนดนัดจะถือว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของ ลูกหนี้ได้ และไม่คัดค้านในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานขอให้ศาลมีคําสั่งปิดคดี ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 กันยายน 2546 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,316
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 516/2546 เรื่อง การยื่นและรับคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 516/2546 เรื่อง การยื่นและรับคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลาย ---------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีวิธีปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อประโยชน์แก่คู่ความและประชาชนในการติดต่อราชการ จึงให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 426/2543 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานสํานวนคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง (กรณีศาลล้มละลายภาค ยังไม่เปิดทําการ) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543 ข้อ 3 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ (1) การยื่นคําขอรับชําระหนี้ (ข) ในกรณีที่ลูกหนี้ (จําเลย) รายใด มีภูมิลําเนาอยู่ต่างจังหวัด และเจ้าหนี้ขอยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อสํานักงาน บังคับคดีในส่วนภูมิภาค และให้มีคําสั่งดังต่อไปนี้ การยื่นคําขอรับชําระหนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้ขอยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค ให้สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาครับคําขอรับชําระหนี้ไว้ และส่งสําเนาคําขอรับชําระหนี้ไปยัง ฝ่ายค่าคู่ความ กรมบังคับคดี เพื่อตั้งการสํานวนไว้ส่วนกลาง ส่วนต้นฉบับให้สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาค ตั้งสํานวนไว้เพื่อดําเนินการต่อไป (ส่วนลําดับเจ้าหนี้ ให้สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคสอบถามโดยทาง โทรสารหรือโทรศัพท์) ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 76/2545 เรื่องการยื่นคําคู่ความหรือเอกสารอื่นใดต่อหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดี ลงวันที่ 31 มกราคม 2545 และ ตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 112/2546 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ข้อ 2.2 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2546 ด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 กันยายน 2546 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,317
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 271/2546 เรื่องการอายัดทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 271/2546 เรื่องการอายัดทรัพย์สิน -------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สินอันเป็นสิทธิ เรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อบุคคลภายนอกให้ชําระเป็นเงินดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 247/2533 เรื่องวิธีปฏิบัติในการอายัดสิทธิเรียกร้อง ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในคดีแพ่ง ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2533 ข้อ 6 และคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 5/2538 เรื่องการอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัด ลงวันที่ 30 มกราคม 2538 ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําขออายัดเงินหรือสิทธิเรียกร้องซึ่งลูกหนี้ตามคําพิพากษา ต่อบุคคลภายนอก ให้ผู้ยื่นคําขอแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่จะขออายัด จํานวนเงิน ชื่อ ที่อยู่ของบุคคลภายนอกที่จะรับอายัดให้ชัดเจน ข้อ ๓ กรณีขออายัดบัญชีเงินฝากจากสถาบันการเงิน ให้แถลงรายละเอียดว่าต้องการอายัดเงิน จากสถาบันการเงินใดพร้อมทั้งระบุสาขาที่แน่ชัด ประเภทบัญชี จํานวนเงิน และหากเป็นการอายัด เงินเป็นคราวๆ ให้ระบุระยะเวลาที่แน่ชัด ข้อ ๔ การขออายัดสิทธิเรียกร้องใดๆ ให้ผู้ขออายัดส่งเอกสาร ดังต่อไปนี้ 4.1 กรณีอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่น ๆ ในลักษณะเดียวกับเงินเดือน หรือ ขออายัดเงินตาม ข้อ 3 ให้ส่งสําเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้น 4.2 กรณีอายัดเงินตามสัญญา หรือตามสิทธิเรียกร้องอื่นๆ ให้ส่งสําเนาหนังสือสัญญา หรือเอกสารหลักฐานแห่งหนี้ที่ระบุว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิได้รับเงินนั้นๆ ข้อ ๕ กรณีอายัดเงินเดือนค่าจ้าง หรือรายได้อื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีคําสั่งอายัดให้ โดยคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งการดํารงชีพของลูกหนี้ประกอบ และห้ามมิให้อายัด ข้อ ๖ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องที่จะมีมาภายหน้า ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทใด ข้อ ๗ เมื่อผู้ขออายัดส่งเอกสารครบถ้วนและเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาว่าสมควรมีคําสั่งอายัด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหนังสืออายัดภายในวันที่มีคําสั่งหรืออย่างช้าภายในวันถัดไป ข้อ ๘ การขออายัดทรัพย์สินไปยังจังหวัดอื่น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งรับคําขออายัด แล้วให้มีหนังสือแจ้งอายัดไปยังบุคคลภายนอกผู้รับอายัดในทันที โดยระบุในหนังสือโดยแจ้งชัดให้ ส่งมอบเงินนั้น ๆ ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ออกหนังสืออายัด ข้อ ๙ กรณีอายัดเงินเป็นคราวๆ เมื่อมีการส่งเงินมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีตรวจสํานวนทุก 3 เดือน หากเงินที่รวบรวมได้มีจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ให้ ส่งสํานวนให้นักบัญชีดําเนินการทําบัญชีรับ - จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้ทันที ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2546 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,318
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 251/2546 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในสำนวนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เกี่ยวกับการทำคำสั่งหรือความเห็น
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 251/2546 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในสํานวนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เกี่ยวกับการทําคําสั่งหรือความเห็น ------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในสํานวนฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้เกี่ยวกับการทําคําสั่งหรือความเห็นดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคําร้องขอให้ดําเนินการทวงหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 90/39 คําร้องขอให้ดําเนินการเพิกถอนการฉ้อฉล ตามมาตรา 90/40 คําร้องขอให้ดําเนินการเพิกถอนการกระทําอันเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตามมาตรา 90/41 คําร้องขอให้รายงานศาลเพื่อมีคําสั่งให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งหรือมีคําสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา 90/67 และคําร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนความผิดใน ทางอาญาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการมีหนังสือ ทวงหนี้ หมายนัดสอบสวน หมายเรียก ตรวจสอบ หรือดําเนินการอื่นใดตามกฎหมายภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําร้องหรือสํานวนแล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ในการสอบสวนพยานหลักฐานในสํานวนทวงหนี้ สํานวนเพิกถอนการฉ้อฉล สํานวนเพิกถอนการกระทําอันเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่น สํานวนร้องขอให้ถอนผู้บริหารแผน และ สํานวนสอบสวนความผิดทางอาญา ตามข้อ 1. ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการสอบสวน ติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนการสอบสวนจนกว่าจะเสร็จการสอบสวนและมีความเห็นหรือคําสั่ง เว้นแต่มี เหตุจําเป็นที่จะต้องเลื่อนการสอบสวน แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคําสั่งอนุญาตให้เลื่อนการ สอบสวนไปแล้วตามคําขอของคู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นจะขอเลื่อนการสอบสวนอีกไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และคู่ความที่ขอเลื่อนแสดงให้เป็นที่พอใจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ว่า ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนต่อไปอีก จะทําให้เสียความยุติธรรม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจอนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนต่อไปได้เท่าที่ จําเป็น โดยในการเลื่อนการสอบสวนแต่ละครั้งให้เลื่อนไปได้ไม่เกินกว่าครั้งละ 7 วัน เว้นแต่มีเหตุ สุดวิสัย ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดําเนินการสอบสวน หรือตรวจสอบ หรือ ดําเนินการอื่นใดตามข้อ 1. เสร็จให้ดําเนินการทําคําสั่งหรือความเห็นให้เสร็จภายใน 14 วัน นับแต่วัน เสร็จการสอบสวน หรือการตรวจสอบ หรือการดําเนินการอื่นใดแล้วแต่กรณี ในกรณีจําเป็นหรือมี เหตุขัดข้องที่ไม่อาจทําคําสั่งหรือความเห็นให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานตามลําดับชั้นขออนุญาตขยายระยะเวลาต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือ รองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณามีคําสั่งตามที่เห็นสมควรต่อไป ข้อ ๔ ก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะลงนามหรือมีคําสั่งในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้จะต้องเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับหมายเพื่อขอความเห็นชอบหรือ มีคําสั่งก่อนจึงจะดําเนินการต่อไปได้ 4.1 คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน ตามมาตรา 90/30 ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ที่มูลหนี้ไม่อาจกําหนดจํานวนได้แน่นอน หนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Contingent liability) หนี้ที่มี เงื่อนไข (Condition precedent) มูลหนี้ที่มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าหรือมีการโต้แย้งกล่าวอ้างว่าเป็น มูลหนี้ที่เกิดจากการฉ้อฉลหรือจากการสมยอมระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หรือมีมูลหนี้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 ของหนี้ที่อาจขอรับชําระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ๆ 4.2 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ดังต่อไปนี้ 4.2.1 คําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาตั้งแต่ 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) ขึ้นไป 4.2.2 คําขอรับชําระหนี้ที่มีการโต้แย้งและมีจํานวนหนี้ที่ขอมาตั้งแต่ 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) ขึ้นไป 4.2.3 กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยกหาบอบชําระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วนอันมิใช่การคํานวณหนี้ผิดพลาดและจํานวนหนี้ที่ถูก ยกค่า มีจํานวน ตั้งแต่ 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท ขึ้นไป 4.3 ความเห็นในสํานวนทวงหนี้ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันหนี้ยอดหนี้ หรือจําหน่ายชื่อ ลูกหนี้ซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์ตั้งแต่ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) ขึ้นไป 4.4 กรณีการทําความเห็น หรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใน คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีกรณีขัดหรือแย้งกับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย 4.5 ความเห็นควรดําเนินการร้องขอให้เพิกถอน หรือไม่เลิกถอนการฉ้อฉล หรือการกระทําอื่นใดอันเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่นในสํานวนเพิกถอน ตามมาตรา 90/40 และมาตรา 90/41 4.6 ความเห็นควรรายงาน หรือไม่ควรรายงานศาลให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งหรือมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา 90/67 4.7 ความเห็นควรรายงาน หรือ ไม่ควรรายงานศาลให้มีคําสั่งยกเลิกการ ฟื้นฟูกิจการหรือมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามมาตรา 90/70 ยกเว้นเป็นกรณีที่ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารแผนเป็นผู้ยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 4.8 ความเห็นควรหรือไม่ควรร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษบุคคลใดต่อ พนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีอาญาในความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 4.9 คําสั่งหรือความเห็นไม่ดําเนินการตามมาตรา 90/39 มาตรา 90/40มาตรา 90/41 มาตรา 90/67 และมาตรา 90/70 4.10 อุทธรณ์ หรือไม่อุทธรณ์คําสั่งศาลในสํานวนทวงหนี้ สํานวนเพิกถอน การฉ้อฉลและสํานวนเพิกถอนการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ข้อ ๕ เมื่ออธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมายมีคําสั่งประการใด ตามข้อ 4. ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคําสั่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตามคําสั่งนั้นตามกฎหมายโดยเร็วต่อไป อย่างช้า ข้อ ๖ คําสั่งตามข้อ4.1 ให้เจ้าพนักงานทพิทักษ์ทรัพย์ที่กําลังเสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมายภายใน 3 วัน นับแต่สอบสวนในเรื่องการโต้แย้งสิทธิออกเสียง ลงคะแนนเสร็จ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมบังคับคดีแล้ว ให้ทําการประกาศคําสั่ง ดังกล่าวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน ข้อ ๗ ให้ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้อํานวยการส่วนกฎหมาย ผู้อํานวยการส่วนจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และหัวหน้ากลุ่มกฎหมาย กํากับและควบคุมดูแล ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคําสั่งนี้ โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2546 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,319
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 66/2546 เรื่อง การรับหนังสือ หมาย หรือเอกสารอื่นใด
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 66/ 2546 เรื่อง การรับหนังสือ หมาย หรือเอกสารอื่นใด ------------------------ ด้วยการส่งหนังสือ หมาย หรือเอกสารอื่นใดของศาลล้มละลายกลางให้แก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลใด ซึ่งอยู่ที่อาคารกรมบังคับคดี แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร นั้น มีข้อขัดข้อง เพื่อให้การดังกล่าวดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จัดเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับส่งหนังสือ ทําหน้าที่รับ หนังสือ หมาย หรือเอกสารอื่นใดจากศาลล้มละลายกลาง ทั้งให้จัดทําสารบบการรับแยกไว้ต่างหาก ข้อ ๒ ในแต่ละวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับหนังสือ หมาย หรือเอกสารตามข้อ 1 แล้วให้เจ้าหน้าที่ ดังกล่าวรวบรวมหนังสือ หมาย หรือเอกสาร ส่งต่อฝ่ายสารบรรณ สํานักงานเลขานุการกรม เพื่อจัดส่งให้แก่ ผู้รับโดยให้ทําหลักฐานการส่งเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย ทั้งนี้ให้จัดส่งให้แก่ฝ่ายสารบรรณก่อนเวลา 12.00 นาฬิกา ของแต่ละวันทําการ ข้อ ๓ ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป และผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ควบคุม ดูแลให้การเป็นไปตามคําสั่งโดยเคร่งครัดต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,320
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2549 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสำหรับโดยสาร
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2549 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสําหรับโดยสาร ---------------------------------------------- เพื่อให้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสําหรับโดยสาร สอดคล้องกับการกําหนดให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเดินเรือสําหรับโดยสารต้องจัดให้มีการประกันภัยคุ้มครองผู้โดยสารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 73 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พ.ศ. 2456 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง ที่บริษัทได้รับความเห็นชอบอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ (2) อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างที่บริษัทได้รับความเห็นชอบอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ ข้อ ๒ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสําหรับโดยสาร ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 (1) ข้อ ๓ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสําหรับโดยสารที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 (2) ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสําหรับโดยสาร ที่เริ่มต้นให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 จันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,321
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 5/2549 เรื่อง ยกเลิกการกำหนดแบบและข้อความ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 5/2549 เรื่อง ยกเลิกการกําหนดแบบและข้อความ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ------------------------------------------------------ ด้วยนายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร พร้อมอัตราเบี้ยประกันภัยที่ปรับปรุงใหม่สําหรับบริษัทผู้ร่วมรับประกันภัยในโครงการประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรแล้วเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2548 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และ มาตรา 29 วรรคสอง มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนดังต่อไปนี้ (1) คําสั่งนายทะเบียนที่ 66/2546 เรื่อง กําหนดแบบและข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2546 (2) คําสั่งนายทะเบียนที่ 5/2547 เรื่อง ให้แก้ไขเพิ่มเติม กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 (3) คําสั่งนายทะเบียนที่ 3/2548 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแทนแบบและข้อความที่ถูกยกเลิก ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2549 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,322
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 12/2549 เรื่อง แก้ไขอัตราเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 12/2549 เรื่อง แก้ไขอัตราเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ------------------------------------------- เพื่อให้อัตราเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ในส่วนของความคุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร มีความละเอียด ชัดเจนและจําแนกตามความคุ้มครองได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้แก้ไขอัตราเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว เฉพาะในส่วนของความคุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร จากเดิมซึ่งใช้อัตราเบี้ยประกันภัยอัตราเดียว เป็นให้จําแนกอัตราเบี้ยประกันภัยตามความคุ้มครองดังนี้ | | | --- | | อัตราเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (รวมการถูกฆ่าหรือถูกทําร้ายร่างกาย) : ชั้น 1 | | ความคุ้มครอง | อัตราเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ต่อปี) | | อบ.1 | อบ.2 | | ขั้นต่ํา | ขั้นสูง | ขั้นต่ํา | ขั้นสูง | | 1. การเสียชีวิต | 0.07 % | 0.17 % | 0.07 % | 0.17 % | | 2. การสูญเสียอวัยวะ | 0.01 % | 0.03 % | 0.04 % | 0.09 % | | 3. ทุพพลภาพถาวร | 0.02 % | 0.05 % | 0.04 % | 0.09 % | สําหรับอัตราเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ในความคุ้มครองส่วนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2549 บุษรา อึ๊งภากรณ์ รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,323
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2549 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2549 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก 1.1 คําสั่งนายทะเบียนที่ 68/2543 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2543 1.2 คําสั่งนายทะเบียนที่ 4/2546 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ลงวันที่ 17 มกราคม 2546 ข้อ ๒ ให้บริษัทยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ดต่อนายทะเบียน รวม 19 ประเภท ดังต่อไปนี้ (1) การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (2) การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (3) การประกันภัยเครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (4) การประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง (5) การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (6) การประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ (7) การประกันภัยสําหรับเงิน (8) การประกันภัยโจรกรรม (9) การประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญา (CWI) (ก) หมวดการประกันภัยงานก่อสร้าง (CAR) (ข) หมวดการประกันภัยการติดตั้งเครื่องจักร (EAR) (10) การประกันภัยความซื่อสัตย์ของลูกจ้าง (11) การประกันภัยป้ายโฆษณา (12) การประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด (13) การประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากผลิตภัณฑ์ (14) การประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากวิชาชีพ (15) การประกันภัยเครื่องจักร (16) การประกันภัยหม้อกําเนิดไอน้ําและถังอัดความดัน (17) การประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสําหรับบุคคลและกลุ่มทั่วไป (18) การประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสําหรับธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ (19) การประกันภัยเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ใน (1) - (18) ข้อ ๓ การยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ตามข้อ 2 ให้บริษัทยื่นรายงานข้อมูลเป็นรายกรมธรรม์ประกันภัยตามปีรับประกันภัย (Underwriting Year) ต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกเดือน ภายในสิ้นเดือนถัดไป ข้อ ๔ การยื่นรายงานข้อมูลตามข้อ 3 ให้บริษัทยื่นโดยทําการบันทึกรายงานลงในแฟ้มบันทึกข้อมูล (Computer media) ให้มีรายละเอียดของรายงานข้อมูลตามโครงสร้างแฟ้มข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ดท้ายคําสั่งนี้ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัย เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,324
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2549 เรื่อง ให้บริษัทรายงานเกี่ยวกับหนังสือรับรองที่ใช้กับเอกสารแนบท้ายการประกันตัวผู้ขับขี่ (ร.ย.03)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2549 เรื่อง ให้บริษัทรายงานเกี่ยวกับหนังสือรับรองที่ใช้กับ เอกสารแนบท้ายการประกันตัวผู้ขับขี่ (ร.ย.03) ----------------------------------------------- เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบหนังสือรับรองที่ใช้กับเอกสารแนบท้ายการประกันตัวผู้ขับขี่ (ร.ย.03) ใน Website ของกรมการประกันภัยได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทรายงานการออกหนังสือรับรองที่ใช้กับเอกสารแนบท้ายการประกันตัวผู้ขับขี่ (ร.ย.03) ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่บริษัทได้ออกหนังสือรับรอง เว้นแต่หนังสือรับรองที่ออกก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 บริษัทต้องรายงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 การรายงานให้กระทําโดยการกรอกข้อมูลผ่านทาง Website ของกรมการประกันภัยที่ www.doi.go.th โดยเลือกหัวข้อ “ร.ย. 03 การประกันตัวผู้ขับขี่” หรือหมวดงานบริการข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตหัวข้อบริษัทประกันภัย โดยให้บริษัทเริ่มรายงานได้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป ข้อ ๒ บริษัทต้องตรวจสอบข้อมูลที่บริษัทได้รายงานตามคําสั่งนี้อย่างสม่ําเสมอ หากพบข้อผิดพลาด หรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บริษัทต้องดําเนินการแก้ไขตามวิธีการในข้อ 1 ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่บริษัทพบข้อผิดพลาด หรือนับแต่เวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓ การรายงาน หรือการแก้ไข เปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่กระทําตามคําสั่งนี้ บริษัทต้องใช้ E-mail address ที่ใช้ติดต่อกรมการประกันภัยในครั้งแรกเท่านั้น ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามคําสั่งนี้ ให้บริษัทขอรับ USERNAME และ PASSWORD ผ่านทาง E-mail โดยพิมพ์ข้อความ “ขอรับ USERNAME และ PASSWORD เพื่อใช้ในการจัดส่งข้อมูลหนังสือรับรองที่ใช้กับเอกสารแนบท้ายการประกันตัวผู้ขับขี่” พร้อมทั้งแจ้งชื่อบริษัท เจ้าหน้าที่ที่ติดต่อและหมายเลขโทรศัพท์ ส่งไปที่ E-mail address: [email protected] ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 และกรมการประกันภัยจะแจ้ง USERNAME และ PASSWORD ให้บริษัททราบภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่กรมการประกันภัยได้รับ E-mail จากบริษัท ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,325
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 188/2545 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 188/2545 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี ---------------------------------- เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2541 ขึ้นใหม่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติราชการ และเพื่ออํานวยความสะดวก รวดเร็ว แก่คู่ความและ ประชาชนผู้มาติดต่อและเพื่อเป็นการประสานงานระหว่างกองคลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 5/2518 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เรื่อง ระเบียบ ปฏิบัติเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี ข้อ ๒ การรับเงิน 2.1 คดีแพ่ง 2.1.1 การรับเงินค่าขายทรัพย์ ณ ที่ทําการกรมบังคับคดี เมื่อได้รับเงินแล้วให้เจ้าหน้าที่ การเงิน กองคลัง ออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบรับเงินร่วมกับ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การรับเงินค่าขายทรัพย์นอกที่ทําการกรมบังคับคดีเมื่อได้รับเงินแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ เมื่อเสร็จการขายวันหนึ่งแล้วแต่กรณี ให้ทําบัญชีรายการขายทรัพย์ส่ง ผู้อํานวยการกองบังคับคดีแพ่งพร้อมทั้งจํานวนเงินและสําเนาคู่สอบใบเสร็จรับเงิน แล้วนําเงินส่งกองคลัง กรมบังคับคดี ในวันเดียวกัน 2.1.2 การรับเงินอื่น ๆ นอกจากข้อ 2.1.1 ให้ผู้อํานวยการกองบังคับคดีแพ่งหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายจดรายงานการรับเงินแล้วให้กองคลังรับเงินและออกใบรับเงินให้ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบรับเงินร่วมกับผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินนั้นให้มีสําเนา 3 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงิน ส่วนสําเนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว 2.1.3 เมื่อผู้อํานวยการกองบังคับคดีแพ่งหรือผู้อํานวยการกองคลังเห็นสมควร อาจรับ เงินเป็นเช็ค หรือตั๋วแลกเงินก็ได้ แต่ต้องเป็นเช็คหรือตั๋วแลกเงินที่ธนาคารสั่งจ่าย หรือเช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คของส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งจ่ายในนามกรมบังคับคดี พร้อมจดเลขหมาย เช็คลงในใบรับเงินด้วย ในกรณีจะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้อํานวยการ กองบังคับคดีแพ่งหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตอบรับเงินพร้อมกับส่งใบรับเงิน 2.2 คดีล้มละลาย 2.2.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดี จะเป็นเงินสด เช็ค ดร๊าฟท์หรือตั๋วเงินที่ดีให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงานการรับเงินนั้นโดยละเอียดว่า เป็นเงินประเภทใดในคดีใด ของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใดและมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระหรือ ผู้นําส่งเงินพร้อมกับสํานวนและรายงานดังกล่าวไปส่งที่กองคลังเพื่อที่กองคลังจะได้รับเงินและออกใบรับ เงิน โดยให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนามในใบรับเงินตามแบบ ล.47 ร่วมกับผู้อํานวยการกองคลังหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินให้มีสําเนาสามฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือนําส่งเงิน ส่วนสําเนา กองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่งรวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว เมื่อผู้อํานวยการกองคลังเห็นสมควรรับเงินเป็นเช็ค ให้จดเลขหมายเช็คในใบรับเงินด้วย ในกรณีจะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายเป็นผู้ตอบรับเงินพร้อมกับส่งใบรับเงิน 2.2.2 ในกรณีที่ผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดีด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าฉบับเดียวหรือ หลายฉบับในคราวเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการเรื่องนั้นจด รายงานการรับเช็คนั้นโดยละเอียดว่าเป็นเช็คของธนาคารใด เลขที่เท่าไรลงวันที่อะไร จํานวนเงินเท่าไรรับไว้ เป็นเงินประเภทใด ในคดีใดของผู้ใด และมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วให้ส่งเช็คไปให้กองคลัง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินผู้ได้รับมอบหมายลงชื่อรับเช็ค เมื่อเช็คฉบับใดถึงกําหนดชําระให้กองคลังนําไปเรียกเก็บเงินแล้วแจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คดัง กล่าวไปให้ผู้อํานวยการกอง หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทราบภายในกําหนด 3 วัน นับจากวันที่เรียก เก็บเงินได้ หรือนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วแต่กรณี ในกรณีที่เรียกเก็บเงินตามเช็คได้ ให้กองคลังแนบใบรับเงินส่งไปให้ด้วย เพื่อผู้อํานวยการกอง หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมอบให้ผู้ชําระ หรือผู้นําส่งเงิน ในกรณีที่เช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ให้ยกเลิกใบเสร็จรับเงิน ทําการปรับปรุงบัญชี แล้วแจ้งให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ดําเนินการในเรื่องนั้นทราบพร้อมทั้งส่งหลักฐานการคืนเช็คเพื่อดําเนินการต่อไป 2.3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 2.3.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดีจะเป็นเงินสด เช็ค ดร๊าฟท์ หรือตั๋วแลกเงินก็ดี รือส่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการในเรื่องนั้น จดรายงานการรับเงินโดยละเอียด ว่าเป็นเงินประเภทใด ในคดีใดของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใด และมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระ นวนและรายงานดังกล่าวส่งให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเป็นผู้รับเงินและออกไป เสร็จรับเงินให้โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงนามเป็นผู้รับเงินร่วมกับผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไปรับเงินนั้นให้มีสําเนา 3 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงิน ส่วน สําเนาส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นชั่ว การรับเงินเป็นเช็ค ดร๊าฟท์ หรือตั๋วแลกเงินให้จดเลขหมายในใบรับเงินด้วย 2.3.2 ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารประเภทบัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี “สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้" แล้วนําฝากเงินประเภทเงินค่าใช้จ่ายของผู้ขอ ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งรับชําระไว้ตามข้อ 2.3.1 2.3.3 ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารประเภทบัญชี ออมทรัพย์ในนามของลูกหนี้ผู้ขอฟื้นฟูแต่ละราย แล้วนําเงินรายรับที่รวบรวมได้จากกองทรัพย์สินนําเข้าฝาก ในบัญชีของลูกหนี้ผู้ขอฟื้นฟูรายนั้น ๆ 2.4 การวางทรัพย์ ให้เจ้าหน้าที่สํานักงานวางทรัพย์กลางจดรายงานโดยแสดงให้ปรากฏถึง รายละเอียดแห่งการรับเงิน และออกใบรับเงินโดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบรับเงิน ร่วมกับผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินนั้นให้มีสําเนา 4 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ ผู้ชําระเงิน ส่วนสําเนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมไว้ในสํานวนฉบับหนึ่ง คืนสํานักงานวางทรัพย์ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ในกรณีจะต้องตอบรับจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ตอบรับเงินพร้อม ส่งใบเสร็จรับเงินไปให้ ข้อ ๓ การจ่ายเงิน 3.1 คดีแพ่ง เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดี ให้ผู้มีส่วนได้ยื่นคําขอรับเงินต่อผู้อํานวยการ กองบังคับคดีแพ่งเพื่อขออนุมัติก่อน เว้นแต่จะมีการสั่งอนุมัติไว้แล้วในบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชี ส่วนเฉลี่ยแล้วให้ผู้มีส่วนได้นั้นทําใบรับเงิน และให้กองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจัดทําใบสั่งจ่ายเงิน ให้อธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย ลงชื่อพร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงาน การจ่ายเงินหรือบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีส่วนเฉลี่ยแล้วแต่กรณีว่าได้จ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้คนใดไป แต่วันเดือนปีใดทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชีโดยครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้ขอรับเงินมิใช่ผู้มีส่วนได้อันแท้จริง เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจสั่ง ให้ผู้ขอรับเงินหาผู้รับรองมาจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะให้ตัวแทนมารับเงินอาจสั่งให้ ตัวการมารับเงินเองก็ได้ 3.2 คดีล้มละลาย เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดีให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอรับเงินต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เมื่อได้รับคําสั่งให้จ่ายเงินได้แล้ว ให้ผู้นั้นทําใบรับเงิน ตามแบบ ล.48 ที่กองคลังและให้กองคลังจัดทําใบสั่งจ่ายเงินตามแบบ ล.42 แล้วจ่ายเงินให้แก่ผู้ขอรับเงินนั้นให้ กองคลังจัดทําใบสั่งจ่ายเงินให้อธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย ลงชื่อพร้อมกับ หมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงินหรือบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีแสดงส่วนแบ่งทรัพย์สินแล้วแต่กรณี ว่าได้จ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้คนใดไป แต่วันเดือนปีใด ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชีโดยครบถ้วนตาม ระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้ขอรับเงินมิใช่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียอันแท้จริง ผู้อํานวยการกองคลัง อาจสั่งให้ผู้ขอรับเงินหาผู้มารับรองจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะหรือมอบอํานาจให้ ตัวแทนมารับเงินแล้ว อาจสั่งให้ตัวการมารับเองก็ได้ 3.3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะกําหนดโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมบังคับคดี 3.4 การวางทรัพย์ เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในสํานวนวางทรัพย์ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอรับเงิน ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เมื่อได้รับคําสั่งจ่ายเงินได้แล้วให้เจ้าหน้าที่การเงินทําใบรับเงิน และใบสั่งจ่ายให้ผู้อํานวยการสํานักงานวางทรัพย์กลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามสั่งจ่าย และให้หมาย เหตุไว้ในรายงานเจ้าหน้าที่ว่าได้จ่ายเงินให้ผู้ใด แต่วันเดือนปีใด ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชีโดย ครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน 3.5 การจ่ายเงินตามข้อ 3.1 3.2 3.3 และ3.4 กรณีสั่งจ่ายเงินจํานวนตั้งแต่สองพันบาท ขึ้นไป ให้จ่ายเงินโดยเช็คธนาคารที่กรมบังคับคดีได้เปิดบัญชีไว้ให้แก่ผู้รับเงินนั้น ถ้าจํานวนเงินต่ํากว่าสอง พันบาทจะจ่ายเงินสดหรือเช็ค ก็ได้ ในกรณีจํานวนเงินที่สั่งจ่ายไม่ถึงสองพันบาท ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายลงชื่อในใบสั่งจ่ายได้ การลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือหัวหน้าฝ่ายการเงินหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมายฝ่ายหนึ่งลงชื่อร่วมกับอธิบดีหรือรองอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอีกฝ่ายหนึ่งรวมสองคน เป็นเช็คหรือตั๋วแลกเงินโดยจ่ายเช็คสั่งจ่ายธนาคารเพื่อซื้อตั๋วแลกเงินตามจํานวนนั้น และให้กองที่มี หน้าที่นั้นๆ เป็นผู้ดําเนินการจัดส่ง ในกรณีที่จะต้องส่งเงินให้ผู้รับเงินโดยมีหนังสือนําส่งให้จัดส่งเงินจํานวนนั้น กรณีจะต้องเบิกเงินจากธนาคารให้ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายเป็นไปตามที่กล่าวข้างต้น และ สั่งจ่ายในนาม “กรมบังคับคดี" เป็นผู้รับเงิน 3.6 เมื่อเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือ สํานวนวางทรัพย์แสดงเจตนาขอรับเงินผ่านธนาคาร ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอตามแบบคําขอรับเงินผ่าน ธนาคารที่กระทรวงการคลังกําหนด วิธีการและขั้นตอนในการจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารของเจ้าหนี้ หรือผู้ขอรับเงินให้ เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 38 แก้ไข เพิ่มเติมโดยระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ข้อ ๔ การรับ การเก็บรักษา และนําส่งค่าธรรมเนียมเป็นรายได้แผ่นดินให้ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 65 ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2545 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,326
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2550 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2550 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ------------------------------------------------- เพื่อให้การกํากับดูแลและตรวจสอบการดําเนินงานของบริษัท เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถิติการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 5/2542 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมาย และรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้บริษัทยื่นรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกเดือน โดยกําหนดส่งรายงานอย่างช้าไม่เกินวันที่ 20 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ การจัดทํารายงานให้เป็นไปตามแบบและรายละเอียดเอกสารหมายเลข 1 ที่แนบท้ายคําสั่งนี้โดยให้เริ่มใช้สําหรับการรายงานรอบเดือนเมษายน 2550 เป็นต้นไป” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 5/2544 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมาย ลงวันที่ 1 มีนาคม 2544 ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 1/2550 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้บริษัทยื่นรายงานข้อมูลการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยกรมการประกันภัย ตามคู่มือการจัดทําข้อมูลรูปแบบ XML ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ตามเอกสารหมายเลข 2 ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ พร้อมกับยื่นรายงานในรูปแบบกระดาษ (Hard Copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน โดยให้เริ่มใช้สําหรับการรายงานการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนผู้ประสบภัยในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นต้นไป การยื่นรายงานในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคแรก หากข้อมูลเบื้องต้นไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กําหนดไว้ในคู่มือการจัดทําข้อมูลรูปแบบ XML ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ให้ถือว่าบริษัทยังไม่ยื่นรายงาน” ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 จันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,327
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2550 เรื่อง ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแทนฉบับเดิม
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2550 เรื่อง ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแทนฉบับเดิม ------------------------------------------ เพื่อให้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนายทะเบียนนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนได้ลงนามเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ ข้อ ๓ ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่ยกเลิกตามข้อ 2 ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยที่แนบท้ายคําสั่งนี้ได้ ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดิมออกให้ผู้เอาประกันภัยไปพลางก่อนได้ ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 3 สิงหาคม 2550 แต่บริษัทต้องยึดถือรายละเอียดตามแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2550 จันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,328
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2550 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2550 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ------------------------------------------------- เพื่อให้การกํากับ ดูแลและตรวจสอบการดําเนินงานของบริษัท เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้รูปแบบของข้อมูลการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 สอดคล้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่กรมการประกันภัยพัฒนาขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 รายงานข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ และรายงานข้อมูลการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตามกลุ่มข้อมูลที่ 182 183 187 188 189 190 และ 196 ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยกรมการประกันภัย ตามคู่มือการจัดทําข้อมูลรูปแบบ XML ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ตามแบบและรายการที่แนบท้ายคําสั่งนี้ รายงานข้อมูลการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ตามกลุ่มข้อมูลที่ 182 และ 183 ของคู่มือการจัดทําข้อมูลรูปแบบ XML ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ให้ยื่นในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง พร้อมกับการยื่นรายงานตามรูปแบบเดิม (text file และเอกสาร) ตามแบบและรายการที่แนบท้ายคําสั่งนายทะเบียนที่ 5/2542 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมาย และรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 ควบคู่กันไป เป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ หลังจากนั้นให้ยื่นรายงานในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น รายงานข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถตามกลุ่มข้อมูลที่ 187 188 189 และ 190 ของคู่มือการจัดทําข้อมูลรูปแบบ XML ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ให้ยื่นในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง พร้อมกับการยื่นรายงานในรูปแบบเอกสาร ตามแบบและรายการที่แนบท้ายคําสั่งนายทะเบียนที่ 5/2544 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้ การชํารุดหรือสูญหายของเครื่องหมาย ลงวันที่ 1 มีนาคม 2544 และประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ลงวันที่ 8 เมษายน 2546 ควบคู่กันไป เป็นระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ หลังจากนั้นจะให้ยื่นรายงานในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น รายงานข้อมูลการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตามกลุ่มข้อมูลที่ 196 ของคู่มือการจัดทําข้อมูลรูปแบบ XML ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ให้ยื่นรายงานในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง พร้อมกับการยื่นรายงานในรูปกระดาษ (Hard Copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน ข้อ ๒ การยื่นรายงานในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 1 วรรคหนึ่ง หากข้อมูลเบื้องต้นไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กําหนดไว้ในคู่มือการจัดทําข้อมูลรูปแบบ XML ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ให้ถือว่าบริษัทยังไม่ยื่นรายงาน ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับ 1) การรายงานข้อมูลการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ รอบเดือนมีนาคม 2550 เป็นต้นไป 2) การรายงานการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 จันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,329
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 22/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบและเอกสารแนบท้ายที่แก้ไข ปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้ายที่ถูกยกเลิก
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 22/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้ายที่แก้ไข ปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้ายที่ถูกยกเลิก ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้ายที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้ายที่ถูกยกเลิก” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งเอกสารประกอบและเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ ดังนี้ (1) กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (2) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (3) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๔ ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งเอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัยที่แนบท้ายคําสั่งดังต่อไปนี้ แทนแบบที่ถูกยกเลิกตามข้อ 3 (1) กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (2) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (3) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๕ ให้ยกเลิกพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเฉพาะในส่วนของข้อบังคับทั่วไปและพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย ข้อ ๖ ให้ใช้ข้อบังคับทั่วไปของพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัยที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนที่ถูกยกเลิกตามข้อ 5 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,330
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 37/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยและแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 37/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 37/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้บริษัทออกเอกสารแนบท้าย การชําระเบี้ยประกันภัยกรณีผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลตามแบบที่แนบท้ายคําสั่งนี้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่เป็นนิติบุคคล สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยต่อไปนี้ (1) กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (2) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (3) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ข้อบังคับทั่วไป ข้อ 8.3 และให้ใช้ความตามที่ปรากฏแนบท้ายคําสั่งนี้แทน ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,331
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เอกสารประกอบและเอกสารแนบท้าย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,332
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 20/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบข้อความคำขอเอาประกันภัย ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความคำขอเอาประกันภัย ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกยกเลิก
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 20/2551 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความคําขอเอาประกันภัย ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่แก้ไขปรับปรุงแทน แบบ ข้อความคําขอเอาประกันภัย ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกยกเลิก ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความคําขอเอาประกันภัยตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความคําขอเอาประกันภัย ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกยกเลิก” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับดังนี้ (1) คําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (3) คําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย ข้อ ๔ ให้ใช้คําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยตามแบบที่แนบท้ายคําสั่งดังต่อไปนี้ แทนแบบที่ถูกยกเลิกตามข้อ 3 (1) คําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (3) คําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย ส่วนแบบและข้อความของเงื่อนไข ข้อตกลงคุ้มครองและข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้อยู่กับคําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยตามข้อ 3 ให้คงใช้กับคําขอเอาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยตามข้อ 4 ต่อไปได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,333
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 4/2551 เรื่อง ให้ใช้คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 4/2551 เรื่อง ให้ใช้คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย ----------------------------------------------- ตามที่ นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2550 นั้น เพื่อให้มีการตีความสอดคล้องกับเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย มีความหมายและเจตนารมณ์ตามที่ปรากฏในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัยที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,334
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 686/2545 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของสำนักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 686/2545 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค --------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของสํานักงานบังคับคดีใน ส่วนภูมิภาคเป็นไปโดยเรียบร้อย ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย และสมเจตนารมณ์ของทางราชการ จึงมี คําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดี ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 309/2559 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2559 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลาง ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ข้อ ๒ ให้ผู้อํานวยการกองคลังเปิดบัญชีเงินฝากประจําไว้กับธนาคารที่ได้รับความเห็นชอบจาก อธิบดีกรมบังคับคดีแล้ว โดยใช้ชื่อว่า "ดอกเบี้ยเงินกลางส่วนภูมิภาค เพื่อรวมเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงิน กลางของสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค และอธิบดีกรมบังคับคดีร่วมกับผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมายจากอธิบดีเป็นผู้มีอํานาจถอนเงินจากธนาคาร ข้อ ๓ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขา และหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีพื้นที่เขต ดําเนินการต่อไปนี้ 3.1 สํารวจเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของสํานักงาน แล้วดําเนินการตามข้อ3.2 3.2 ถอนเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของสํานักงานไปเข้าบัญชี “ดอกเบี้ยเงินกลาง ส่วนภูมิภาค" ที่กรมบังคับคดี โดยสั่งทําตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค หรือเขียนเช็ค สั่งจ่ายกรมบังคับคดี กรณีสํานักงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในวันเดียวกัน การถอนเงินห้ามถอนเป็นเงินสดเก็บไว้ แล้วรายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบ 3.3 รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีทราบทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลาง 3.4 ให้ทําข้อตกลงกับธนาคารที่มีเงินฝากของสํานักงาน ดังต่อไปนี้ 3.4.1 ให้ถอนเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของสํานักงานที่มีอยู่ในขณะนี้ไปเข้าบัญชี "ดอกเบี้ยเงินกลางส่วนภูมิภาค" ที่กรมบังคับคดี โดยดําเนินการตามข้อ 3.2 3.4.2 ทุกครั้งที่มียอดเงินครบกําหนดที่จะคํานวณดอกเบี้ยได้ ให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยแล้ว ถอนเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชี "ดอกเบี้ยเงินกลางส่วนภูมิภาค” ที่กรมบังคับคดีโดย ดําเนินการตามข้อ 3.2 3.4.3 ส่งรายงานการถอนเงินอันเกิดจากดอกเบี้ยเงินกลางของสํานักงานตามข้อ 3.4.1 และข้อ 3.4.2 ไปยังกรมบังคับคดี ข้อ ๔ อธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาสั่งจ่ายเงินดังกล่าว ข้อ ๕ กรณีที่จะต้องเบิกจ่ายดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาค ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาครายงานขออนุมัติอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อนทุกครั้ง เว้นแต่ในกรณีที่ได้มีการมอบหมายไว้โดยเฉพาะในคําสั่งกรมบังคับคดี เรื่องใดแล้ว ก็ให้ปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดีในเรื่องนั้น การเบิกจ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงยุติธรรมและระเบียบของ กระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,335
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2551 เรื่อง การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2551 เรื่อง การกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 --------------------------------------------- ตามที่ นายทะเบียนได้มีคําสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2548 เรื่อง การกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ไปแล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริงในปัจจุบัน และเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2548 เรื่อง การกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังเอกสารแนบท้ายคําสั่งนี้แทนอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาเริ่มต้นให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,336
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 38/2552 เรื่อง ให้ใช้เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 38/2552 เรื่อง ให้ใช้เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ------------------------------------------ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวปฏิบัติ ในกรณีที่เงื่อนไขการสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพ กําหนดไว้แตกต่างกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทออกเอกสารแนบท้ายตามแบบที่แนบท้ายคําสั่งนี้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,337
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 687/2545 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนำส่งเงินหรือรับเงิน หรือนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงานของสำนักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 687 / 2545 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค ------------------------------ เพื่อให้การเก็บรักษาเงิน การนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของ สํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค เป็นไปด้วยความสะดวก เรียบร้อย และถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 53 แห่งระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 จึงมีคําสั่งแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งเงิน หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 227/2535 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 เรื่อง ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวและกรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้ง สํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ข้อ ๒ กรรมการเก็บรักษาเงิน ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน คือ 2.1 ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขา หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีพื้นที่เขต 2.2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี อาวุโสรองจากหัวหน้าส่วนราชการตาม ข้อ 2.1 2.3 นักวิชาการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่กาเงิน และบัญชี หรือเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ข้อ ๓ กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินตามข้อ 2. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการเก็บรักษาเงินได้ ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ คือ 3.1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี 3.2 นักวิชาการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่การเงิน และบัญชี หรือเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี กรณีสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค มีข้าราชการดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะมอบหมาย ให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินหรือกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งเจ้าหน้าที่ ธุรการร่วมเป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน หรือกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ข้อ ๔ กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับ หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 4.1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี 4.2 นักวิชาการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ การเงิน และบัญชี หรือเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี กรณีการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือมีกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าส่วนราชการตามข้อ 2.1 เป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าพนักงาน ตํารวจคอยควบคุมความปลอดภัยด้วย ข้อ ๕ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลัง ของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด และให้หัวหน้าส่วนราชการตามข้อ 2.1 มอบหมายให้ข้าราชการ ผู้ที่ดํารงตําแหน่งดังกล่าวปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,338
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 37/2552 เรื่อง ให้แก้ไขพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 37/2552 เรื่อง ให้แก้ไขพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 9.2 (4) ข้อบังคับทั่วไปของพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) กลุ่มรถยนต์ กลุ่มรถยนต์แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยอาศัยราคาอะไหล่และค่าซ่อมแซมเป็นตัวกําหนดการแบ่งกลุ่มรถยนต์ดังกล่าว โดยจําแนกรายละเอียดตามยี่ห้อ หรือยี่ห้อและรุ่น รายละเอียดระบุไว้ในตารางกลุ่มรถยนต์ กรณีรถยนต์ยี่ห้อ หรือยี่ห้อและรุ่นที่มิได้ระบุไว้ในตารางกลุ่มรถยนต์ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย ซึ่งจําแนกตามราคา ลักษณะของรถ และจําแนกตามการผลิตภายในประเทศและรถที่นําเข้าจากต่างประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้จําแนกกลุ่มรถยนต์ตามราคารถยนต์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ราคารถยนต์ตั้งแต่ 5,000,000 บาทเป็นต้นไป กลุ่มที่ 2 ราคารถยนต์ตั้งแต่ 1,500,000 แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท กลุ่มที่ 3 ราคารถยนต์ตั้งแต่ 1,000,000 แต่ไม่เกิน 1,500,000 บาท กลุ่มที่ 4 ราคารถยนต์ตั้งแต่ 700,000 แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท กลุ่มที่ 5 ราคารถยนต์ไม่เกิน 700,000 บาท ขั้นที่ 2 ให้ปรับกลุ่มรถยนต์ที่ได้ในขั้นที่ 1 ขึ้นอีก 1 ขั้น กรณีลักษณะของรถเป็นรถยนต์สปอร์ต หรือเป็นรถที่นําเข้าจากต่างประเทศ ให้จัดกลุ่มรถยนต์ในกลุ่มที่ 3 เป็นต้น รถยนต์สปอร์ต หมายถึง รถยนต์ 2 ประตู ซึ่งอาจมีเบาะหลังหรือไม่มีก็ได้ และเป็นรถที่มีการติดตั้งเครื่องยนต์มีแรงขับเคลื่อนสูง และมีช่วงล่างค่อนข้างกระด้างเพื่อการเกาะถนนที่ดี เช่น รถยนต์ยี่ห้อ นิสสัน สกายลาย เป็นต้น กลุ่มรถยนต์ใช้สําหรับ รถรหัส 110 120 (เฉพาะรถยนต์นั่งเท่านั้น)” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกตารางแบ่งกลุ่มรถยนต์ตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 6 2548 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ตารางแบ่งกลุ่มรถยนต์แนบท้ายคําสั่งนี้แทนตารางแบ่งกลุ่มรถยนต์ที่ได้ยกเลิก ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,339
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2552 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2552 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่ง ไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ปี 2544 เฉพาะในส่วนของอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัย อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับภัยเพิ่มเติมพิเศษรวม อันดับชั้น และอัตราเบี้ยประกันภัยส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่เป็นภัยโดดเดี่ยว และส่วนลดสําหรับอุปกรณ์ดับเพลิงให้เป็นไปตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ที่เริ่มให้ความคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,340
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2552 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2552 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 (2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ให้ใช้ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่แนบท้ายคําสั่งดังต่อไปนี้ แทนแบบที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 (1) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 การคุ้มครองผู้ประสบภัย ภายใต้บังคับข้อ 6 บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยในนามผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยดังนี้ 3.1 ผู้ประสบภัย 3.1.1 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ตาม 3.1.2 บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิด ตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน 3.1.2 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย ในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน (1) ตาบอด (2) หูหนวก (3) เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด (4) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ (5) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพอย่างถาวร 3.1.3 ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน 3.1.4 ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จํานวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากความคุ้มครองที่ระบุใน 3.1.1 3.1.2 และ 3.1.3 3.1.5 ในกรณีได้รับความเสียหายตาม 3.1.1 และต่อมาได้รับความเสียหายตาม 3.1.2 หรือ 3.1.3 หรือทั้งตาม 3.1.2 และ 3.1.3 บริษัทจะจ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน ทั้งนี้เมื่อรวมข้อ 3.1.4 ต้องไม่เกิน 204,000 บาทต่อคน 3.2 กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย ซึ่งมิใช่ผู้ขับขี่ ทั้งนี้ในกรณีผู้ขับขี่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ให้นําความใน 3.1.1 3.1.2 3.1.3 3.1.4 และ 3.1.5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม 3.3 กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัย และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ประสบภัย บริษัทจะรับผิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ไม่เกินจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดต่อหนึ่งคน และรวมกันแล้วไม่เกินจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ระบุไว้ในรายการที่ 4 ของตาราง” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 การสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย เป็นเหตุให้ผู้ประสบภัยได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายบริษัทตกลงจะสํารองจ่าย ให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกําลังขึ้นหรือกําลังลงจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้ 6.1 ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ 6.2 ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในวันละ 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน 6.3 ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจํานวนเงิน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 6.4 ข้อ 6.1 6.2 และ 6.3 รวมกันไม่เกิน 204,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยรถอื่นจะร่วมกันสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพตามวรรคต้น โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่า ๆ กัน เมื่อมีการสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพตามเงื่อนไขนี้แล้ว หากปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้อื่น มิใช่ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพที่บริษัทได้สํารองจ่ายไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมายนั้น ในทางกลับกันหากบริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่น ได้สํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัยที่โดยสารมา หรือกําลังขึ้นหรือกําลังลงจากรถที่ตนรับประกันภัยไว้ หรือผู้ประสบภัยที่อยู่นอกรถแล้ว และปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว บริษัทตกลงจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพคืนแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่นซึ่งได้สํารองจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในกําหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 10.5 แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “10.5 กรณีบริษัทปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้เสียหายได้นําคดีขึ้นสู่ศาลหรือเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ เมื่อศาลพิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้บริษัทแพ้คดีบริษัทจะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามคําพิพากษาหรือตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พร้อมดอกเบี้ยในฐานะลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของหมวดเงื่อนไขทั่วไป แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (เฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย) และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ความรับผิดของบริษัทเมื่อมีการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เมื่อมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อบริษัท และหากบริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม จนเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนําคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลหรือเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ หากศาลพิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้บริษัทแพ้คดี บริษัทจะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย หรือผู้เสียหายนั้น โดยชดใช้ค่าเสียหายตามคําพิพากษา หรือคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของหมวดการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 การคุ้มครองผู้ประสบภัย ภายใต้บังคับข้อ 4 บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยของผู้ประสบภัยในนามผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้นในระหว่างระยะเวลาประกันภัยดังนี้ 1.1 ผู้ประสบภัย 1.1.1 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ตาม 1.1.2 บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิด ตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน 1.1.2 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย ในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน (1) ตาบอด (2) หูหนวก (3) เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด (4) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ (5) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพอย่างถาวร 1.1.3 ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน 1.1.4 ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จํานวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากความคุ้มครองที่ระบุใน 1.1.1 1.1.2 และ 1.1.3 1.1.5 ในกรณีได้รับความเสียหายตาม 1.1.1 และต่อมาได้รับความเสียหายตาม 1.1.2 หรือ 1.1.3 หรือทั้งตาม 1.1.2 และ 1.1.3 บริษัทจะจ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน ทั้งนี้เมื่อรวมข้อ 1.1.4 ต้องไม่เกิน 204,000 บาทต่อคน 1.2 กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย ซึ่งมิใช่ผู้ขับขี่ ทั้งนี้ในกรณีผู้ขับขี่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ให้นําความใน 1.1.1 1.1.2 1.1.3 1.1.4 และ 1.1.5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม 1.3 กรณีผู้ประสบภัย เป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัย และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ประสบภัย บริษัทจะรับผิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ไม่เกินจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดต่อหนึ่งคน และรวมกันแล้วไม่เกินจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของหมวดการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 การสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพ ในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย เป็นเหตุให้ผู้ประสบภัยได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย บริษัทตกลงจะสํารองจ่าย ให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกําลังขึ้นหรือกําลังลงจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้ 4.1 ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ 4.2 ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในวันละ 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน 4.3 ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจํานวนเงิน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 4.4 ข้อ 4.1 4.2 และ 4.3 รวมกันไม่เกิน 204,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยรถอื่นจะร่วมกันสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพตามวรรคต้น โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่า ๆ กัน เมื่อมีการสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพตามเงื่อนไขนี้แล้ว หากปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้อื่น มิใช่ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพที่บริษัทได้สํารองจ่ายไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมายนั้น ในทางกลับกันหากบริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่น ได้สํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัยที่โดยสารมา หรือกําลังขึ้นหรือกําลังลงจากรถที่ตนรับประกันภัยไว้ หรือผู้ประสบภัยที่อยู่นอกรถแล้ว และปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว บริษัทตกลงจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพคืนแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่นซึ่งได้สํารองจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในกําหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ” ข้อ ๙ คําสั่งนี้ให้บังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,341
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 685/2545 เรื่อง การส่งสำนวนคดีล้มละลายให้กองคำนวณและเฉลี่ยทรัพย์เพื่อคำนวณเงินต่าง ๆ หรือทำบัญชีส่วนแบ่ง หรือตรวจสอบเอกสาร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 685/2545 เรื่อง การส่งสํานวนคดีล้มละลายให้กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์เพื่อคํานวณเงินต่าง ๆ หรือทําบัญชีส่วนแบ่ง หรือตรวจสอบเอกสาร -------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการคํานวณ หรือทําบัญชีส่วนแบ่ง หรือตรวจสอบเอกสาร ในคดีล้มละลายของราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี ดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อสํานวนคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องให้เสร็จสิ้นในขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง และจะต้องทําบัญชีส่วนแบ่ง หรือบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย หรือคํานวณเงินต่างๆ หรือ ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน เพื่อตั้งสํานวนทวงหนี้ หรือการทําบัญชีเพื่อชําระบัญชี ฯลฯ ให้ส่งสํานวนดังกล่าว ให้ทองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ดําเนินการ ข้อ ๒ การส่งสํานวนตามข้อ 1. ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งผลของการดําเนินคดีนั้นว่าได้ ดําเนินการแล้วเสร็จเพียงใด ไม่มีงานใดๆ ค้างเกี่ยว หรือมีงานอย่างใดในคดีที่ค้างปฏิบัติบ้าง รวมทั้งให้จัดทํา สารบัญสํานวนต่างๆ ทั้งหมดให้ครบถ้วน ข้อ ๓ ในการทําบัญชีส่วนแบ่ง หรือบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายในคดีล้มละลาย กรณีทําบัญชีแบ่งสุดปิดคดี ให้กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์สอบถามไปยังโจทก์ และกองบังคับคดีแพ่งว่ามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวค้างบ้างหรือไม่ ข้อ ๔ การทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย หรือการทําบัญชีส่วนแบ่งในคดีล้มละลาย หรือการทําบัญชีเพื่อ ชําระบัญชี ให้ผู้อํานวยการกองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์หรือผู้ได้รับมอบหมาย พนักงานบัญชีและผู้ตรวจ สอบเป็นผู้ลงชื่อในบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย หรือบัญชีส่วนแบ่ง หรือทําบัญชีการชําระบัญชีในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คิดและผู้ตรวจสอบ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องมารับรองบัญชีตามกฎหมายด้วย ข้อ ๕ กรณีที่มีผู้คัดค้านบัญชี ให้กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ส่งเรื่องให้กองบังคับคดีล้มละลาย ที่รับผิดชอบเพื่อดําเนินการตามกฎหมายต่อไปหากไม่มีผู้คัดค้านบัญชี ให้กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามบัญชีเงินส่วนแบ่ง ข้อ ๖ ในการส่งสํานวนคืนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ทองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์รายงาน รายละเอียดของยอดเงินคงเหลือในบัญชีว่าเป็นเงินประเภทใดบ้างให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแบ่งทรัพย์สินให้เจ้าหนี้ในครั้งต่อไป ข้อ ๗ การรายงานศาลในคดีล้มละลาย เมื่อกองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ได้จัดทําบัญชีต่างๆ เสร็จแล้ว ให้ผู้อํานวยการกองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์หรือผู้ได้รับมอบหมายมีหน้าที่รายงานและลงนามในหนังสือ รายงานศาลในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ข้อ ๘ การตรวจสอบเอกสารเพื่อตั้งสํานวนทวงหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งเอกสารทาง บัญชีที่รวบรวมได้ให้กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ ให้นักบัญชีตรวจสอบเอกสารดังกล่าว หากพบว่าลูกหนี้มีสิทธิ เรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชําระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้รายงานพร้อมส่งเอกสารที่ เกี่ยวข้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบเพื่อมีคําสั่งต่อไป กรณีเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งบุคคลภายนอกยังมีหนี้ค้างชําระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้นักบัญชีตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมคํานวณหนี้ที่ค้างชําระ แล้วรายงานให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทราบเพื่อดําเนินการต่อไป ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วมีคําสั่งให้ตั้งสํานวนทวงหนี้ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการ กองบังคับคดีล้มละลายจัดเอกสารที่เกี่ยวข้องตั้งสํานวนทวงหนี้และส่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่รับผิดชอบ ดําเนินการต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งเอกสารทางด้านการเงิน งบดุล และเอกสารอื่นๆ ให้นักบัญชี แล้ว ให้นักบัญชีตรวจสอบเอกสาร และรายงานให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการในเรื่องที่ เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสํานวนชําระบัญชีให้กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ ให้นักบัญชี ตรวจสอบเอกสารและจัดทํางบดุล ณ วันที่ศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชําระบัญชี และรายงานให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,342
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 189/2545 เรื่อง การคำนวณและแสดงบัญชีรับ-จ่ายในคดีแพ่ง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 189 / 2545 เรื่อง การคํานวณและแสดงบัญชีรับ-จ่ายในคดีแพ่ง ------------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการคํานวณและการทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย บัญชีรายละเอียด แสดงจํานวนเงินทั้งหมดหรือบัญชีส่วนเฉลี่ย) ในคดีแพ่งของราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี ดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อสํานวนบังคับคดีแพ่ง เรื่องใดเสร็จสิ้นหรือต้องดําเนินการในส่วนการคํานวณ การคิดค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งสํานวนให้ส่วนคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์เพื่อดําเนินการทันที ข้อ ๒ ในการทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย ให้พนักงานบัญชี และผู้ตรวจสอบลงลายมือชื่อในบัญชีแสดงรายการ รับ-จ่าย ในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้คิดและผู้ตรวจสอบ รวมทั้งให้ผู้อํานวยการกองบังคับคดีแพ่งหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมาย ลงชื่อในหนังสือแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องมารับรองบัญชีตามกฎหมายด้วย ข้อ ๓ ในกรณีมีผู้คัดค้านบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย ให้ส่วนคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ส่งเรื่องให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีผู้รับผิดชอบดําเนินการตามกฎหมายต่อไป กรณีไม่มีผู้คัดค้านบัญชี ให้ส่วนคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้ตามบัญชีแสดงรายการ รับ-จ่ายนั้น ข้อ ๔ การรายงานศาลในคดีแพ่ง เมื่อเจ้าหน้าที่ได้จัดทําบัญชีต่างๆ เสร็จแล้ว ให้ผู้อํานวยการกองบังคับคดีแพ่ง หรือผู้ได้รับมอบหมายมีหน้าที่รายงานและลงนามในหนังสือรายงานศาลในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,343
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 83/2544 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 83/2544 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ----------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 278/2543 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2543 เรื่อง ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงินกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบ การเก็บรักษาเงินและการนําส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 นั้น บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 278/2543 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2543 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงิน แทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้ อื่นๆ - ก.กรรมการเก็บรักษาเงิน 1.ผู้อํานวยการกองคลัง (หม่อมหลวงผกาพรรณ สันติกุญชร) เป็นกรรมการ 2.หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดี (นางวิไล เพชรประดับฟ้า) เป็นกรรมการ 3.หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางศุภมาศ เหมไหรณ) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ข.กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก.ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ 1.หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ (นางสาวรัตนา วิมุกตานนท์) เป็นกรรมการ 2.หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางนงลักษณ์ ยุติธาดา) เป็นกรรมการ 3.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ชีวพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ค.กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานคือ 1.หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางศุภมาศ เหมไหรณ์) เป็นกรรมการ 2.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ 3.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 (นางสาวอนงค์ เที่ยงตรง เป็นกรรมการ 4.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 (นางสาวทศพร เจริญสุข) เป็นกรรมการ 5.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะ นําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลัง หรือหัวหน้าฝ่าย การเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่ง คลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (นายบัณฑิต รชตะนันทน์) รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมบังคับคดี
5,344
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 554/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 554/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ----------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการประกาศคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ การตรวจรับคําขอรับชําระหนี้ การนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ การตรวจคําร้องหรือคําขอ หรือคําแถลง การสอบสวนทําความเห็น คําสั่งในสํานวนคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมและเป็นระเบียบเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 367/2543 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการรับคําขอรับชําระหนี้ การนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ การสอบสวนทําความเห็น คําสั่ง อุทธรณ์และฎีกา ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 192/2544 เรื่อง เร่งรัด การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลงวันที่ 30 เมษายน 2544 คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 314/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 และ บันทึก ที่ ยธ 0401/29415 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2544 เรื่อง การเสนอความเห็นในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ ให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบ ข้อ ๒ ให้กองบังคับคดีล้มละลาย 1 ถึงกองบังคับคดีล้มละลาย 5 รับผิดชอบเป็นเวรสั่งใน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตามลําดับ โดยจัดหัวหน้ากลุ่มงาน 1 คน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 1 คน ทําหน้าที่เวรสั่ง ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทําหน้าที่เวรสั่งไปปฏิบัติหน้าที่ที่ฝ่ายคําคู่ความ ในวันที่แต่ละกองต้องรับผิดชอบ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรสั่ง มีหน้าที่ดังนี้ 2.1 เมื่อได้รับแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้ดําเนินการประกาศค่าสั่งพิทักษ์ทรัพย์ กําหนด วันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ หมายเรียก หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเรียกลูกหนี้ (จําเลย) มาให้ การสอบสวนพร้อมแจ้งหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กําหนดหรือหมายนัดให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ วางเงินประกันค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งแถลงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ (จําเลย) ภายในวันนั้น เสร็จแล้วให้รวบรวมส่งกองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบ เพื่อสั่งจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการในทันทีในวันที่ได้รับสํานวนหรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป 2.2 ตรวจและมีคําสั่งในคําขอรับชําระหนี้ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าดําเนินการ โดยถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หรือไม่ หากเจ้าหนี้ไม่ส่งเอกสารหลักฐานประกอบหนี้ หรือส่งเอกสารหลักฐานประกอบหนี้ไม่ครบถ้วนใน วันยื่นคําขอรับชําระหนี้ให้มีคําสั่งให้เจ้าหนี้นําส่งวันหนึ่งวันใดก่อนถึงวันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นสมควรกําหนด พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าหากประสงค์จะยื่นบันทึกถ้อยคํา ยืนยันข้อเท็จจริงประกอบให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ให้สํานักงาน บังคับคดีในส่วนภูมิภาคถือปฏิบัติ ในกรณีที่รับคําขอรับชําระหนี้ที่เจ้าหนี้ขอยื่นคําขอรับชําระหนี้ใน คดีล้มละลายของลูกหนี้ (จําเลย) ไว้แทนด้วย 2.3 ตรวจคําร้องหรือคําขอหรือคําแถลงหรือหมายต่าง ๆ ที่ยืนในคดีล้มละลาย ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ให้แจ้งบรรดาเจ้าหนี้ทราบว่า หากประสงค์จะโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้รายใด รวมทั้งคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ว่า เป็นมูลหนี้ที่มีลักษณะทุจริตหรือไม่ ให้ยื่นคําโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใน 7 วัน นับแต่ วันตรวจคําขอรับชําระหนี้ ข้อ ๔ สํานวนคําขอรับชําระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้มิได้เป็นบุคคลภายในของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้หรือ เจ้าหนี้ไม่โต้แย้งไม่ว่าเป็นหนี้ประเภทใด และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นหนี้ที่ขอรับชําระหนี้ไม่ได้ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็น เสนอศาลให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ภายใน 15 วันนับแต่วันครบกําหนดโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ ตามข้อ 3 โดยไม่ต้องทําการสอบสวน เว้นแต่จะมีเหตุสมควรซึ่งเป็นผลให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้น้อยกว่าที่ขอมาหรือไม่ได้รับชําระหนี้ตามขอ กรณีสํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีผู้โต้แย้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัด สอบสวนไปยังเจ้าหนี้และผู้โต้แย้งภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ครบกําหนดโต้แย้งและให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์กําหนดวันนัดสอบสวนเจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งไว้รวม 2 นัด โดยรวมระยะเวลาแล้วไม่เกิน 15 วัน และแจ้งไปด้วยว่า เมื่อถึงกําหนดนัดถ้าเจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งไม่นําพยานไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สอบสวนตามนัดโดยมีแจ้งเหตุขัดข้อง หรือร้องขอเลื่อน เจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งยินยอมให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ โดยถือว่าฝ่ายที่ไม่มาไม่มีพยาน หรือไม่ติดใจนําพยาน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวน ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทําความเห็นต่อไปตามพยาน หลักฐานเท่าที่ปรากฏในสํานวน ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องทําการสอบสวนในสํานวนทวงหนี้ สํานวน ร้องขัดทรัพย์ สํานวนเพิกถอนการฉ้อฉลหรือการโอน หรือสํานวนอื่นใดก็ตามให้เริ่มดําเนินการทันที ในวันที่ได้รับมอบหมายสํานวนและการนัดสอบสวนให้ถือปฏิบัติตามวรรคก่อน โดยอนุโลม ข้อ ๕ การเลื่อนวันนัดทําการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ แต่ทั้งนี้มิให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาเหตุที่ขอเลื่อนโดยเคร่งครัดและให้เลื่อนกรณีจําเป็น เลื่อนไปเกินกว่า 20 วัน นับแต่วันขอเลื่อน และกําชับว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนอีกไม่ว่าด้วย เหตุใด ๆ หากเหตุที่ขอเลื่อนไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานมาให้การสอบสวน ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็นหรือคําสั่งให้เสร็จ ภายใน 15 วัน นับแต่วัน เสร็จการสอบสวน โดยไม่จําต้องส่งสํานวนให้นักบัญชีคิดคํานวณยอดหนี้ ในกรณีจําเป็นไม่อาจทําความเห็นหรือคําสั่งให้เสร็จภายในกําหนดดังกล่าวได้ ให้รายงาน ตามลําดับเพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณี ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวนสํานวนการบังคับคดีล้มละลาย ซึ่งจะต้อง ทําความเห็นหรือคําสั่งต่อไปเสร็จในวันใด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็นหรือค่าสั่งให้เสร็จ ภายใน 15 วันนับแต่วันสอบสวนเสร็จและในกรณีที่ต้องอ่านความเห็นหรือคําสั่งให้คู่ความฟัง ให้นัดฟัง อย่างช้าไม่เกิน 20 วัน นับแต่วันที่เสร็จการสอบสวน ถ้าต้องแจ้งวันนัดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทราบ โดยการออกหมายนัดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดวันนัดฟังความเห็นหรือค่าสั่งอย่างช้าไม่เกิน 25 วัน แล้วให้คู่ความที่มาในวันนั้นลงชื่อรับทราบวันนัดฟังความเห็นหรือคําสั่ง และให้รีบแจ้งกําหนด วันนัดให้คู่ความที่ไม่มาทราบด้วย เว้นแต่กรณีมีเหตุผลอันสมควรจะกําหนดเกินกว่าเวลาข้างต้นก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณีก่อน ข้อ ๘ ความเห็นหรือคําสั่งในกรณีดังต่อไปนี้จะต้องเสนออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาสั่งการหรือเห็นชอบก่อนจึงจะดําเนินการต่อไปได้ 8.1 คําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ตามมาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในจํานวนหนี้ที่ขอมาตั้งแต่ 10,000,000.- บาท (สิบล้านบาท) ขึ้นไป หรือกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีความเห็นให้ยกคําขอรับชําระหนี้หรือ ให้ได้รับชําระหนี้บางส่วน ซึ่งมิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการคํานวณผิดพลาด 8.2 คําสั่งตามมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 8.3 ความเห็นให้เพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการฉ้อฉลหรือการโอน 8.4 ความเห็นไม่สมควรค่าเนินการตามมาตรา 113. มาตรา 114 มาตรา 115, มาตรา 116, มาตรา 118 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 8.5 ความเห็นในสํานวนทวงหนี้ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันหนี้ ลดยอดหนี้ หรือจําหน่ายชื่อลูกหนี้ 8.6 คําสั่งถอนหรือไม่ให้ถอนการ ในจํานวนร้องขัดทรัพย์ 8.7 การอุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่อุทธรณ์หรือไม่มีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ข้อ ๙ กรณีตามข้อ 8.1, 8.2 และ 8.7 ในส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เสนอความเห็นหรือคําสั่งพร้อมสํานวนไปให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค สั่งการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี เว้นแต่ความเห็นของหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีกับผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแตกต่างกัน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค พิจารณาส่งเรื่องให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งการต่อไป กรณีตามวรรคแรก แม้ความเห็นของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค กับหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดจะไม่แตกต่างกันก็ตาม หากเป็นคดีสําคัญหรือคดีมีทุนทรัพย์มาก หรือมีปัญหายุ่งยากซับซ้อนให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๐ ในกรณีที่อธิบดี หรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายมีความเห็นให้เพิกถอนการฉ้อฉลหรือ เพิกถอนการโอนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําค่าร้องขอเพิกถอนยื่นต่อศาลภายในกําหนด 15 วัน นับแต่วันมีความเห็น ข้อ ๑๑ การเสนอความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือ ไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือ ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เสนอความเห็นพร้อมกับส่งสํานวนที่เกี่ยวข้องต่อบุคคลดังกล่าวก่อนที่จะครบกําหนดระยะเวลา ในการอุทธรณ์หรือฎีกาไม่น้อยกว่า 15 วัน หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นต้องเสนอความเห็นช้ากว่ากําหนด ดังกล่าวให้ยื่นคําร้องเพื่อขอขยายระยะเวลาในการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลและรายงานเหตุขัดข้อง ดังกล่าวไปให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบด้วย ข้อ ๑๒ กรณีที่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคําสั่งศาลเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ส่งสํานวนคําขอรับชําระหนี้ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพร้อมกับอุทธรณ์หรือฎีกาหรือ คําแก้อุทธรณ์หรือคําแก้ฎีกาแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นเงินสดจํานวนตั้งแต่ 50,000.- บาทขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รีบดําเนินการแบ่งเงินดังกล่าวให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ ภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่ศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือนับแต่ครบกําหนดที่ศาล อนุญาตให้ขยายแบ่ง ข้อ ๑๔ เหตุในการรายงานขอศาลขยายแบ่งในคดีล้มละลายคดีหนึ่งคดีใด แต่ละครั้ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติหน้าที่มิใช่อ้างสาเหตุที่ได้เคยอ้างไว้ในครั้งก่อน ข้อ ๑๕ การติดต่อประสานงานภายในหน่วยงานกรมบังคับคดี เช่นกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สอบถามผลการปฏิบัติงานบังคับคดีแพ่งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ใช้วิธีติดต่อประสานงานกันภายใน แทนการติดต่อประสานงานทางหนังสือ ในกรณีมีเหตุขัดข้องไม่อาจปฏิบัติตามข้อ 13 - 15 ได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น จนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณามีคําสั่งต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,345
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 536/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินของสำนักงานบังคับคดีจังหวัด
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 536/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินของสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงิน ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการรับและ จ่ายเงินสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 เป็นไปด้วย ความรวดเร็ว เหมาะสมและรัดกุม ตลอดจนอํานวยความสะดวกแก่คู่ความ และประชาชนผู้มาติดต่อยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรกําหนดวิธีปฏิบัติในเรื่องการจ่ายเงิน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การถอนเงินจากธนาคาร ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดเป็นผู้อนุมัติในใบสั่งจ่ายและ ลงลายมือชื่อ สั่งจ่ายในเช็คร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงินผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น ข้อ ๒ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่การเงินผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงินอาวุโสรองลงมา ข้อ ๓ ในกรณีที่สํานักงานบังคับคดีจังหวัดใดไม่มีเจ้าหน้าที่การเงินอาวุโสรองลงมาตามข้อ 2 ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คร่วมกับ เจ้าหน้าที่ธุรการอาวุโส อนึ่ง การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง สํานักงานบังคับคดีสาขาด้วย ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,346
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 530/2544 เรื่อง การขายทอดตลาดห้องชุด
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 530/2544 เรื่อง การขายทอดตลาดห้องชุด ------------------- เพื่อให้การขายทอดตลาดห้องชุด ของกรมบังคับคดี ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเป็นไปด้วย ความถูกต้อง เป็นธรรม เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และให้เป็นที่สนใจของประชาชน จึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 488/2544 เรื่อง การขายทอดตลาดน้องชุด ลงวันที่2 ตุลาคม 2544 ข้อ ๒ การยืดห้องชุดในนิติบุคคลอาคารชุด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งการยึดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดทราบ พร้อมสอบถามภาระหนี้สินของห้องชุด ที่ยึดไว้ ว่ามีภาระหนี้สินค้างชําระหรือไม่ จํานวนเท่าใด ภาระหนี้สินต่อเดือน เดือนละเท่าใด โดยให้แจ้งภายใน 15 วัน หากไม่ได้รับแจ้งภายในกําหนดให้ผู้นํายึดเป็นผู้ตรวจสอบภาระหนี้สินดังกล่าว และนําส่งพร้อมรับรองก่อนทําการประกาศขาย ข้อ ๓ ในประกาศขายทอดตลาดห้องชุด ในกรณีนิติบุคคลอาคารชุดมิได้ขอรับชําระหนี้บุริมสิทธิในภาระหนี้สินเหนือห้องชุดต่อศาลให้เจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุ รายละเอียดของภาระหนี้สินและภาระของผู้ซื้อ ดังนี้ “ห้องชุดที่จะขายมีภาระหนี้สินค้างชําระถึงเดือน....................... พ.ศ..............................เป็นเงิน........................ บาท ภาระหนี้สินต่อเดือน เดือนละ................................พ.ศ. บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจะนําภาระหนี้สินดังกล่าว ไปพิจารณารวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาสมควรขาย ผู้ซื้อทรัพย์ได้จะต้องเป็นผู้ชําระหนี้สินค้างชําระต่อนิติบุคคลอาคารชุดก่อน จึงจะโอนกรรมสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18, มาตรา 29 และ มาตรา 41 ข้อ ๔ ในวันขายทอดตลาดห้องชุด ให้เจ้าหน้าที่ผู้ขายทอดตลาดประกาศแจ้งรายละเอียดตามข้อ 3ให้ผู้ซื้อทรัพย์ผู้เสนอราคาทราบก่อนที่จะให้มีการเสนอราคาด้วย ข้อ ๕ ในการขายทอดตลาดน้องชุด ซึ่งนิติบุคคลอาคารชุดมิได้ขอรับชําระหนี้บุริมสิทธิ์ในภาระหนี้สิน เหนือห้องชุดต่อศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นําภาระหนี้สิน เหนือห้องชุดที่ได้รับแจ้งมาหักออกจากราคาที่เห็นสมควรขาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2544 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,347
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 525/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 525/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี ------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี เกี่ยวกับ การสั่งคําร้องขอขยายระยะเวลาในการชําระราคาทรัพย์ หรือคําร้องขอคืนราคาทรัพย์ในการขายหรือ จําหน่ายทรัพย์ ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 414/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี ลงวันที่ 6 กันยายน 2544 ข้อ ๒ เมื่อได้รับคําร้องขอขยายระยะเวลาในการชําระราคาทรัพย์ หรือค่าร้องขอคืนราคาทรัพย์ ซึ่งมิใช่กรณีที่เป็นผลมาจากการยกเลิกหรือเพิกถอนการขายหรือจําหน่ายทรัพย์ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานข้อเท็จจริงตลอดจนพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของ ผู้ร้องว่าผู้ร้องได้ยื่นคําร้องโดยสุจริตหรือไม่ กรณีที่มีการร้องขอให้ศาลยกเลิกหรือเพิกถอนการขาย คําร้องนั้นมีมูลหรือไม่เพียงใด ให้เสนอความเห็นว่าควรมีคําสั่งยกคําร้องหรืออนุญาตตามคําร้องทั้งหมด หรือเพียงบางส่วน โดยในส่วนกลางให้เสนอความเห็นพร้อมสํานวนไปตามลําดับชั้น เพื่อขออนุมัติ จากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย สําหรับในส่วนภูมิภาคให้เสนอความเห็นพร้อมเอกสาร ที่จําเป็นไปตามลําดับชั้น เพื่อขออนุมัติจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,348