title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง วิธีการทดสอบและเกณฑ์ตัดสินผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุนของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคชนิดของเหลวหรือชนิดผงที่ละลายน้ำได้ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง วิธีการทดสอบและเกณฑ์ตัดสินผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุน
ของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ชนิดของเหลวหรือชนิดผงที่ละลายน้ําได้
---------------------------
ด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขึ้นทะเบียน การออกใบสําคัญ และการต่ออายุ ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2552 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การกําหนดรายการข้อมูลเอกสารเพื่อการ ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย พ.ศ. 2552 กําหนดให้ ผู้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายต้องส่งข้อมูล เอกสารผลการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
ดังนั้น เพื่อให้มีวิธีการทดสอบและเกณฑ์การตัดสินผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรค บนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุนของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ชนิดของเหลวและชนิดผงที่ละลายน้ําได้ เป็นมาตรฐาน เดียวกัน สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงประกาศกําหนดดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การทดสอบ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุนของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ชนิดของเหลว ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ กําหนดให้ใช้วิธีทดสอบ ตามมาตรฐานของ AOAC OFFICIAL METHODS OF ANALYSIS (2010) ดังนี้
2.1 วิธีทดสอบการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
(1) AOAC Official Method 955.14 Testing Disinfectants Against Salmonella choleraesuis Use-Dilution Method
(2) AOAC Official Method 955.15 Testing Disinfectants Against Staphylococcus aureus Use-Dilution Method
(3) AOAC Official Method 964.02 Testing Disinfectants Against Pseudomonas aeruginosa Use-Dilution Method
2.2 วิธีทดสอบการฆ่าเชื้อรา Trichophyton mentagrophytes ATCC 9533 ใช้วิธีการเตรียมเชื้อตาม AOAC Official Methods 955.17 Fungicidal Activity of Disinfectants Using Trichophyton mentagrophytes และประยุกต์ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC Official Method 955.15 Testing Disinfectants Against Staphylococcus aureus Use-Dilution Method
ข้อ ๓ การทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในขั้นตอนเดียว (one-step cleaner disinfectant) ต้องทดสอบโดยการใส่สารอินทรีย์ (Organic burden) ตามข้อแนะนํา เพิ่มเติมท้าย ในข้อ 2 ข้างต้น
ข้อ ๔ ระยะเวลาที่เชื้อโรคสัมผัสผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ (exposure time) ให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งทดสอบระบุ หากไม่ระบุให้ใช้ 10 นาที
ข้อ ๕ เกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรค เมื่อทดสอบตามอัตราส่วนที่ระบุในฉลาก ต้องฆ่าเชื้อตามที่ระบุได้ไม่น้อยกว่า 59 carriers จาก 60 carriers
5.1 เชื้อแบคทีเรีย
(1) ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในบ้านเรือนและสถานที่อื่น ต้องผ่านเกณฑ์ การทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Salmonella enterica (choleraesuis) ATCC 10708 และ Staphylococcus aureus ATCC 6538
(2) ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในสถานพยาบาล ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบ กับเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิด Salmonella enterica (choleraesuis) ATCC 10708, Staphylococcus aureus ATCC 6538 และ Pseudomonas aeruginosa PRD 10 ATCC 15442
5.2 เชื้อรา ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบกับ Trichophyton mentagrophytes ATCC 9533 (exposure time) ให้เป็นไปตามที่ผู้ส่ง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
พิพัฒน์ ยิ่งเสรี
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,749 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง วิธีการทดสอบและเกณฑ์ตัดสินผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุนของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคชนิดฉีดพ่นธรรมดาหรือฉีดพ่นอัดก๊าซ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง วิธีการทดสอบและเกณฑ์ตัดสินผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุน
ของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ชนิดฉีดพ่นธรรมดาหรือฉีดพ่นอัดก๊าซ
-----------------------
ด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขึ้นทะเบียน การออกใบสําคัญ และการต่ออายุ ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2552 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การกําหนดรายการข้อมูลเอกสารเพื่อการ ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย พ.ศ. 2552 กําหนดให้ ผู้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายต้องส่งข้อมูล เอกสารผลการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
ดังนั้น เพื่อให้มีวิธีการทดสอบและเกณฑ์การตัดสินเกี่ยวกับผลการทดสอบประสิทธิภาพ การฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุนของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ชนิดฉีดพ่นธรรมดาหรือฉีดพ่นอัดก๊าซ เป็นมาตรฐานเดียวกันสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงประกาศกําหนดดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การทดสอบ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุนของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ชนิดฉีดพ่นธรรมดา หรือฉีดพ่นอัดก๊าซ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๒ กําหนดให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐานของ AOAC OFFICIAL METHODS OF ANALYSIS (2010) AOAC Official Method 961.02 Germicidal Spray Products as Disinfectants
ข้อ ๓ การทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในขั้นตอนเดียว (one-step cleaner disinfectant) ต้องทดสอบโดยการใส่สารอินทรีย์ (organic burden) ตามข้อแนะนํา เพิ่มเติมท้ายวิธีในข้อ 2 ข้างต้น
ข้อ ๔ ระยะห่างในการฉีดพ่น ให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งทดสอบระบุ หากไม่ระบุให้ใช้ 30 เซนติเมตร
ข้อ ๕ ระยะเวลาในการฉีดพ่น ให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งทดสอบระบุ หากไม่ระบุให้ใช้ 10 วินาที
ข้อ ๖ ระยะเวลาที่เชื้อสัมผัสผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ (exposure time) ให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งทดสอบระบุ หากไม่ระบุให้ใช้ 10 นาที
ข้อ ๗ เกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรค ต้องฆ่าเชื้อตามที่ระบุได้ไม่น้อยกว่า 59 carriers จาก 60 carriers
7.1 เชื้อแบคทีเรีย
(1) ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในบ้านเรือนและสถานที่อื่น ต้องผ่านเกณฑ์ การทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Salmonello enterica (choleraesuis) ATCC 10708 และ Staphylococcus aureus ATCC 6538
(2) ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในสถานพยาบาล ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบกับ เชื้อแบคทีเรีย 3ชนิด Salmonella enterica (choleraesuis) ATCC 10708, Staphylococcus aureus ATCC 6538 Las Pseudomonas aeruginosa PRD 10 ATCC 15442
7.2 เชื้อรา ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบกับ Trichophyton mentagrophytes ATCC 9533
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
พิพัฒน์ ยิ่งเสรี
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,750 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง กําหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กําหนดไว้ของสาระสําคัญในวัตถุอันตราย
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
---------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 20 (3) แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของคณะกรรมการ วัตถุอันตราย ออกประกาศกําหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กําหนดไว้ของสารสําคัญในวัตถุอันตราย ที่ใช้ทางการสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ดังนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดเกณฑ์ ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กําหนดไว้ของสารสําคัญในวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยารับผิดชอบ พ.ศ. 2555
ข้อ 4/1 เกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนของวัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์กันยุง ที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า ชนิดแผ่น (Vaporizing mats) ที่ระบุปริมาณของสารสําคัญเป็นหน่วย มิลลิกรัม/แผ่น (mg/mat) จะต้องมีปริมาณสารสําคัญ ไม่เกิน + 15% ของปริมาณสาระสําคัญที่ระบุไว้
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558
ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 5,751 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง แนวทางการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการซักผ้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง แนวทางการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการซักผ้า
----------------------------------
ด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขึ้นทะเบียน การออกใบสําคัญ และการต่ออายุ ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2552 และ ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การกําหนดรายการข้อมูลเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียน วัตถุอันตราย พ.ศ. 2552 กําหนดให้ผู้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายต้องส่งข้อมูลเอกสารผลการทดสอบ ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
ในการนี้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดทําแนวทางในการทดสอบและเกณฑ์ การตัดสินผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการซักผ้า ตาม รายละเอียดแนบท้ายประกาศฉบับนี้ เพื่อเป็นแนวทางสําหรับผู้ประกอบการที่ต้องทดสอบประสิทธิภาพ ของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในกระบวนการซักผ้า
สําหรับวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุแนบท้ายประกาศ ให้สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยาพิจารณาแต่ละวิธีไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เดือน มกราคม พ.ศ. 2556
(นายบุญชัย สมบูรณ์สุข)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,752 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ หรือฟอกขาว ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่ประกอบด้วย CHLORINE และ CHLORINE RELEASING SUBSTANCES | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อ หรือฟอกขาว
ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ที่ประกอบด้วย CHLORINE และ
CHLORINE RELEASING SUBSTANCES
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย CHLORINE และ CHLORINE RELEASING SUBSTANCES ในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้ในการ ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อ หรือฟอกขาว ประเภทสําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญไว้ดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อ ดับกลิ่น ให้สารคลอรีน และเป็นสารฟอกขาว
(2) วิธีใช้ 1. สําหรับการฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ํา
1. ให้เต็มวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ลงในสระว่ายน้ําในตอนค่ํา เมื่อปิดสระแล้ว ห้ามเดิมลงในสระขณะที่มีผู้ใช้สระว่ายน้ํา
2. ให้ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์..........ต่อน้ําในสระ........ลิตร ซึ่งจะให้ความเข้มข้นของคลอรีนอิสสระ อยู่ระหว่าง 1-3 ppm
3. น่าวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์...........ตามปริมาณที่คํานวณแล้วใส่ลงในถังเติมน้ําลงไป 10 เท่า ของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ผสมให้เข้ากันแล้วนําไปเทลงในสระให้ทั่วโดยรอบแล้วทิ้งไว้ค้างคืน
4.ในตอนเช้าให้ตรวจวัดปริมาณคลอรีนอิสระว่าเป็นไปตามค่ามาตรฐาน ข้อ 2
2. สําหรับการซักผ้าขาว
ควรสวมถุงมือขณะผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือขณะซักด้วยมือ
1. สําหรับการซักด้วยมือ ผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ในอัตราส่วน.........ถ้วยต่อน้ําผสมผงซักฟอกหรือสบู่...ลิตร แล้วจึงนํา เสื้อผ้าลงซัก
2. สําหรับการซักด้วยเครื่องซักผ้า
- เครื่องซักผ้าทั่วไปที่เปิดด้านหน้า ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณ...............ถ้วย
-เครื่องซักผ้าทั่วไปที่เปิดด้านบน ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณ.............ถ้วย
3. สําหรับผ้าที่มีคราบเปื้อนซึ่งชักออกยาก ให้นําลงแช่ในวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ที่เจือจางด้วยน้ําในอัตราส่วน..............ถ้วยต่อน้ํา............ลิตร ประมาณ 5 นาที แล้วจึงนําไปซักตามปกติ
4. สําหรับผ้าสีให้ทดสอบว่าสามารถซักด้วยวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ได้หรือไม่ โดยเจือจางวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์..........ช้อนโต๊ะกับน้ํา............ถ้วย แล้วนําไปทดลองหยดลงบนส่วนที่มิดชิดของผ้าทิ้งไว้ 1 นาที หากสีของผ้าไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่าสามารถใช้กับวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ได้
3. สําหรับทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุ ทั่วไป
1. การทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุทั่วไปผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.........ถ้วยต่อน้ํา..........ลิตร ขัดหรือเช็ดถูให้ทั่วพื้นผิวที่ต้องการ แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด
2. การทําความสะอาดโถส้วมเทวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์...........ถ้วยลงในโถส้วมแปรงให้ทั่วทิ้งไว้..........นาที แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด
4 สําหรับฆ่าเชื้อ
เทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์........กรัม หรือมิลลิลิตร ลงในน้ํา.......... ลิตร ผสมให้เข้ากัน แล้วเช็ดหรือล้างสิ่งที่ต้องการทํา ความสะอาด ไม่ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผสมทิ้งไว้ นานเกิน 24 ชั่วโมง เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ให้ available chlorine 5,000 ppm ในกรณีต้องการฆ่าเชื้อไวรัส จะต้องผสมโดยเทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์............กรัม หรือมิลลิลิตรลงในน้ํา.........ลิตร และแช่สิ่งที่ ต้องการทําให้ปลอดเชื้อ เป็นเวลาไม่ต่ํากว่า..... นาที
(3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่แห้งและมิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ ความร้อน สารประกอบพวกแอมโมเนียและสารอ๊อกซิไดซ์
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทานหรือสูดดม
2. ขณะใช้ควรสวมถุงมือ และรองเท้า (แล้วแต่กรณีของการใช้)
3. ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้าก่อนการเจือจาง และอย่าให้เข้าตา หรือสูดดมก่อนหรือหลังการเจือจาง
4. ห้ามใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยแอมโมเนียหรือกรด เช่น ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดโถส้วม ผลิตภัณฑ์ขจัดสนิม น้ําส้มสายชู
5. ห้ามใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้กับผ้าไหม (silk) ผ้าขนสัตว์ (wool) ผ้าฝ้ายผสมขนแกะ (mohair) หนัง (leather) ผ้าใยสแพนเด็กซ์ (spandex) (สําหรับการซักผ้าขาว)
6. ภาชนะที่ใช้หมดแล้ว ควรทิ้งหรือทําลาย ห้ามทิ้งลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) อาการเกิดพิษ (กรณีที่เป็นสารเข้มข้น) ระคายเคืองผิวหนัง นัยน์ตา ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร
(6) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมาก ๆ หากยังมีอาการระคายเคืองอยู่อีก ให้ไปพบแพทย์
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์
4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้รีบดื่มน้ําหรือนมปริมาณมาก ๆ เพื่อเจือจาง จากนั้นรีบว่าผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้
(7) คําแนะนําสําหรับแพทย์ (กรณีที่เป็นสารเข้มข้น)
1. ห้ามทําให้อาเจียน และห้ามใช้สารประเภท acid antidote
2. ให้รับประทานนม ไข่ขาว antacid หรือสารละลาย 1% Sodium thiosulfate ไม่ควรให้ sodium bicarbonate เพราะจะทําให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538
บรรเทา อื้อกุล
(นายบรรเทา อื้อกุล)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,753 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม CHLORINE และ CHLORINE RELEASING ผสมกับ ANIONIC SURFACTANT หรือผสมกับ NONIONIC SURFACTANT | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม CHLORINE และ CHLORINE RELEASING
ผสมกับ ANIONIC SURFACTANT หรือผสมกับ NONIONIC SURFACTANT
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสาร ในกลุ่ม CHLORINE และ CHLORINE RELEASING ผสมกับ ANIONIC SURFACTANT หรือผสมกับ NONIONIC SURFACTANT ในผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ต้อง ปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระ สําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ทําความสะอาดพื้น หรือเครื่องสุขภัณฑ์
(2) วิธีใช้ โรยวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์บนผ้า หรือฟองน้ําที่เปียกแล้วเช็ดถูเครื่องสุขภัณฑ์ ภายหลังการเช็ดถูให้ล้างออกด้วยน้ํา
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง และมิดชิด ห่างจากเด็ก สัตว์เลี้ยง และอาหาร
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ขณะใช้ควรสวมถุงมือ
3. ระวังอย่าให้เข้าตา หรือสูดดม
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ําจํานวนมากๆ หากยังมีอาการระคายเคืองอยู่อีก ไปพบแพทย์
2.หากเข้าตา รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมาก จนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์
4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้รีบดื่มน้ําหรือนมเพื่อเจือจาง จากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538
บรรเทา อื้อกุล
(นายบรรเทา อื้อกุล)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,754 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วย ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทเทคนิคอลเกรด
ที่ประกอบด้วย ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE
------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทเทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไล่แมลง
(2) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารสัตว์เลี้ยง เปลวไฟ และความร้อน
(3) ค่าเดือน 1.สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุดก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ถูก ผิวหนัง หรือเสื้อผ้า
2. ชําระล้างร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน
3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่
4.ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(4) อาการเกิดพิษ
หากเข้าตา หรือถูกเนื้อเยื่ออ่อนจะเกิดอาการระคายเคือง หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์จะเกิดการกดระบบประสาท ซึม คลื่นไส้อาเจียน น้ําลายออกมาก เคลื่อนไหวผิดปกติ และอาจโคม่าและตายได้
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2. หากถูกผิวหนัง ให้รีบล้างด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ หากอาการระคายเคืองไม่ทุเลา ให้ไปพบแพทย์
3. หากเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มนมหรือน้ําจํานวนมาก ๆ แล้วให้รีบนําผู้ ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
(6) คําแนะนําสําหรับแพทย์ รักษาตามอาการ
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,755 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่ประกอบด้วย CITRONELLA OIL | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
ที่ประกอบด้วย CITRONELLA OIL
-----------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสาร CITRONELLA OIL ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการไล่แมลง ประเภทผลิตภัณฑ์ สําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับ ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ไล่แมลง
1.2 วิธีใช้ ทาหรือพ่นผิวหนัง (ระบุตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์) เพื่อกันยุงได้นานประมาณ..........โมง
1.3 วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และอย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟหรือความร้อน
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน
(2) ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 4 ปี
(3) ห้ามนําไปใช้แทนโลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ป้องกันยุง และระวังมิให้เด็กนําไปทําเล่น
(4) ก่อนใช้ควรลองทาหรือพื้นที่ข้อพับแขนดูก่อน ถ้าไม่เกิดอาการ แพ้ หรือระคายเคือง จึงใช้ทาหรือพ่น บริเวณอื่นได้
(5) ให้ใช้เฉพาะเมื่อจําเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจําหรือใช้ในปริมาณมาก
(6) อย่าทาหรือพ่นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือบริเวณแผล
(7) ภายหลังการใช้ หากจะหยิบจับอาหารควรล้างมือเสียก่อน
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างออกด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ
(2) หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์
(3) หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ (สําหรับผลิตภัณฑ์ใน รูปแบบที่กลืนกินได้)
(4) หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,756 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทจุดไล่ยุง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทจุดไล่ยุง
------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสมุนไพรในผลิตภัณฑ์ประเภทจุดไล่ยุง ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้จุดไล่ยุง
(2) วิธีใช้ จุดไฟที่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุงแล้ววางลงบนภาชนะที่รองรับ ซึ่ง เป็นโลหะ เพื่อป้องกันอัคคีภัย (หรือแจ้งตามวิธีการใช้ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์)
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุงไว้ในที่แห้ง อย่าให้ถูกแสงแดด และให้ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. อย่าจุดผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุงในห้องที่มีเด็กอ่อนหรือผู้ป่วย หรือในที่อับไม่มีอากาศถ่ายเท
2. อย่าให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุงสัมผัส หรือรมถูกอาหาร
3. อย่าจุดผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุงใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย
4. ภายหลังการหยิบจับผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุง ควรล้างมือทุกครั้ง
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่จุดผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุงไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2. หากกลืนกินผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุง/ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ
3. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของผลิตภัณฑ์สมุนไพรจุดไล่ยุง/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,757 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ชนิดแผ่นหรือแถบใช้ติด หรือสวมบนร่างกาย ที่ประกอบด้วย CITRONELLA OIL | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
ชนิดแผ่นหรือแถบใช้ติด หรือสวมบนร่างกาย ที่ประกอบด้วย CITRONELLA OIL
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสาร CITRONELLA OIL ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการไล่แมลง ประเภทผลิตภัณฑ์ สําเร็จรูป ชนิดแผ่นหรือแถบใช้ติด หรือสวมบนร่างกาย ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ไล่แมลง (ระบุประเภทของแมลง ตามที่มีผลการทดสอบประสิทธิภาพ)
(2) วิธีใช้ ติด หรือสวมบนร่างกาย (ระบุตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์) เพื่อกันยุง ได้นานประมาณ.........ชั่วโมง
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารสัตว์เลี้ยง และอย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟหรือความร้อน
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 4 ปี
3. ควรใช้เมื่อต้องการใช้ป้องกันยุง และระวังมิให้เด็กนําไปใช้เล่น
4. ก่อนใช้ควรลองใช้ที่ข้อพับแขนดูก่อน ถ้าไม่เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองจึงใช้ติดร่างกายบริเวณอื่นได้
5. ให้ใช้เฉพาะเมื่อจําเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจําหรือใช้ในปริมาณมาก
6. อย่าใช้บริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือ บริเวณแผล
7. ภายหลังการใช้ หากจะหยิบจับอาหารควรล้างมือเสียก่อน
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างออกด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ (สําหรับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่กลืนกินได้)
4. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อ ผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,758 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ชนิดแผ่นหรือแถบใช้ติดที่เครื่องนุ่งห่ม ที่ประกอบด้วย CITRONELLA OIL | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
ชนิดแผ่นหรือแถบใช้ติดที่เครื่องนุ่งห่ม ที่ประกอบด้วย CITRONELLA OIL
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสาร CITRONELLA OIL ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการไล่แมลง ประเภทผลิตภัณฑ์ สําเร็จรูป ชนิดแผ่นหรือแถบใช้ติดที่เครื่องนุ่งห่ม ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ไล่แมลง (ระบุประเภทของแมลง ตามที่มีผลการทดสอบประสิทธิภาพ)
(2) วิธีใช้ ติดที่เครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อผ้า ถุงเท้า (ระบุตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์) เพื่อกันยุงได้นานประมาณชั่วโมง
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และอย่าให้ถูกแสงแดดเปลวไฟหรือความร้อน
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 4 ปี
3. ควรใช้เมื่อต้องการใช้ป้องกันยุง และระวังมิให้เด็กนําไปใช้เล่น
4. ให้ใช้เฉพาะเมื่อจําเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจําหรือ ใช้ในปริมาณมาก
5. ภายหลังการใช้ หากจะหยิบจับอาหารควรล้างมือเสียก่อน
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างออกด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ (สําหรับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่กลืนกินได้)
4. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อ ผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,759 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสำเร็จรูปที่ประกอบด้วย ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสําเร็จรูปที่ประกอบด้วย
ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทสําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ไล่ยุง
(2) วิธีใช้ ทาหรือพ่นผิวหนัง (ระบุตามชนิดของผลิตภัณฑ์) เพื่อกันยุงได้นาน ประมาณ..........โมง
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 4 ปี (สําหรับผลิตภัณฑ์ที่ประกอบ u ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE 1 ความเข้มข้นมากกว่า 12.5%) หรือห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 2 ปี (สําหรับผลิตภัณฑ์ที่ ประกอบด้วย ETHYL BUTYLACETYLAMINOPROPIONATE ในความเข้มข้นเท่ากับหรือน้อยกว่า 12.5%)
3. ห้ามนําไปทาแทนแป้ง/โลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ ป้องกันยุงและระวังมิให้เด็กนําไปทําเล่น (สําหรับผลิตภัณฑ์ ประเภทแป้ง/โลชั่น)
4. ก่อนใช้ควรลองทาหรือพื้นที่ข้อพับแขนดูก่อน ถ้าไม่เกิดอาการ แพ้หรือระคายเคือง จึงใช้ทาหรือพ่น บริเวณอื่นได้
5. ให้ใช้เฉพาะเมื่อจําเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจําหรือใช้ในปริมาณมาก
6. อย่าทาหรือพ่นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือ บริเวณแผล
7. ภายหลังการใช้ หากจะหยิบจับอาหาร ควรล้างมือเสียก่อน
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1.หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างออกด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ
4. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อ ผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,760 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส1. 7/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 3) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส1.7/2563
เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 3)
-----------
1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดําเนินการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินตามมาตรการที่กําหนดในพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส1. 2/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 22 เมษายน 2563 และได้ขยายระยะเวลาการดําเนินการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวออกไปอีก 6 เดือน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส1. 6/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เพื่อเป็นการประคับประคองการประกอบธุรกิจ และเยียวยาผู้ประกอบวิสาหกิจในเบื้องต้น แต่จากสถานการณ์การระบาดในประเทศและในต่างประเทศทั่วโลกยังคงมีความรุนแรง และมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไปโดยมิอาจคาดการณ์ได้จนส่งผลกระทบต่อการค้า การส่งออก การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างรุนแรงและต่อเนื่องยาวนานมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อผู้ประกอบวิสาหกิจในวงกว้างมากขึ้นและยืดเยื้อต่อไปอีกระยะหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น โดยปรับปรุงในส่วนของคํานิยามกลุ่มธุรกิจซึ่งเป็นฐานในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกอบวิสาหกิจ โดยกําหนดให้การคํานวณวงเงินสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจในกรณีบุคคลธรรมดาให้พิจารณาจากบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในฐานะสามี ภรรยา และในกรณีนิติบุคคลให้พิจารณาจากบริษัทที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทลูกของผู้ประกอบวิสาหกิจเพียงหนึ่งทอด เพื่อให้คุณสมบัติของผู้ประกอบวิสาหกิจที่อาจได้รับความช่วยเหลือมีความเหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มลูกหนี้ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น
2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 แห่งพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
4. เนื้อหา
4.1 ให้ยกเลิกคํานิยาม “กลุ่มธุรกิจ” ในข้อ 4.1 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส1. 2/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 22 เมษายน 2563 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“กลุ่มธุรกิจ” หมายความว่า บุคคลหลายคนที่ฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนเสมือนว่าการให้สินเชื่อแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการให้สินเชื่อแก่บุคคลเดียวกันเป็นสําคัญ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นคู่สมรส ในกรณีบุคคลธรรมดา
(2) เป็นบริษัทลูก โดยนับบริษัทลูกเพียงขั้นเดียว ในกรณีนิติบุคคล
ทั้งนี้ การพิจารณาความสัมพันธ์ข้างต้นให้แยกพิจารณาความสัมพันธ์ของบุคคลธรรมดาออกจากนิติบุคคล”
4.2 ให้เพิ่มเติมคํานิยาม “บริษัท” “บริษัทแม่” และ “บริษัทลูก” ระหว่างคําว่า “กลุ่มธุรกิจ” และ “สถาบันการเงิน” ในข้อ 4.1 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส1. 2/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 22 เมษายน 2563 ดังต่อไปนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
“บริษัทแม่” หมายความว่า บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการของบริษัทอื่นโดยมีหุ้นในบริษัทอื่นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
“บริษัทลูก” หมายความว่า บริษัทที่มีบริษัทอื่นเป็นบริษัทแม่”
4.3 ให้ยกเลิกความในข้อ 4.11.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส1. 2/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 22 เมษายน 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4.11.2 เงินชดเชยดอกเบี้ย
ให้สถาบันการเงินได้รับชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บจากผู้ประกอบวิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก นับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมงวดแรกของการยื่นขอกู้สินเชื่อเพิ่มเติมในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ เฉพาะสินเชื่อเพิ่มเติมที่ได้ให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามพระราชกําหนดและประกาศนี้ โดย ธปท. คํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวตามวิธีการปกติของการธนาคาร”
4.4 ให้ยกเลิกความในข้อ 4.7.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส1. 6/2563 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4.7.2 เงินชดเชยดอกเบี้ย
ให้สถาบันการเงินได้รับชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บจากผู้ประกอบวิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก นับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมงวดแรกของการยื่นขอกู้สินเชื่อเพิ่มเติมในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ เฉพาะสินเชื่อเพิ่มเติมที่ได้ให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามพระราชกําหนดและประกาศนี้ โดย ธปท. คํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวตามวิธีการปกติของการธนาคาร”
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ 22 ธันวาคม 2563
(นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝ่ายตรวจสอบ 2
โทรศัพท์ 0 2283 6112 | 5,761 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2563 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 80/2563
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2563 (รุ่นที่ 3/2ปี/2563) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/2ปี/2563 ที่จะประมูลในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 เท่ากับร้อยละ 0.56 ต่อปี
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,762 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 81/2563
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์
ในประจําเดือนพฤศจิกายน 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในประจําเดือนพฤศจิกายน 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.46/14/63 | 40,000 | 20 พฤศจิกายน 2563 | 24/11/63 – 08/12/63 | 14 |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,763 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 82/2563 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 82/2563
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เท่ากับร้อยละ 0.52487 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,764 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 83/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 83/2565
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์
ในประจําเดือนพฤศจิกายน 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในประจําเดือนพฤศจิกายน 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.47/14/63 | 40,000 | 27 พฤศจิกายน 2563 | 01/12/63 – 15/12/63 | 14 |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,765 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 84/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 84/2563
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนธันวาคม 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม 2563 ดังนี้
| | | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | |
| 48/91/63 | - | 40,000 | 1 ธ.ค. 63 | 3 ธ.ค 63 | 4 มี.ค. 64 | 91วัน | 91วัน | |
| 44/183/63 | - | 20,000 | 1 ธ.ค. 63 | 3 ธ.ค. 63 | 4 มิ.ย. 66 | 183 วัน | 183 วัน | |
| 12/364/63 | - | 40,000 | 1 ธ.ค. 63 | 3 ธ.ค. 63 | 2 ธ.ค. 64 | 364 วัน | 364 วัน | |
| 49/87/63 | - | 40,000 | 8 ธ.ค. 63 | 14 ธ.ค. 63 | 11 มี.ค. 64 | 87วัน | 87 วัน | |
| 50/91/63 | - | 40,000 | 15 ธ.ค. 63 | 17 ธ.ค. 63 | 18 มี.ค. 64 | 91วัน | 91วัน | |
| 45/182/63 | - | 20,000 | 15 ธ.ค. 63 | 17 ธ.ค. 63 | 17 มิ.ย. 64 | 182 วัน | 182 วัน | |
| 1/FRB3ปี/2563 | 3M BIBOR -0.1 (เท่ากับ 0.52587 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 18 พ.ย. 63) | 10,000 | 18 ธ.ค. 63 | 22 ธ.ค. 63 | 18 ก.พ. 66 | 3 ปี | 2.16 ปี | |
| 51/91/63 | - | 40,000 | 22 ธ.ค. 63 | 24 ธ.ค. 63 | 25 มี.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 3/2ปี/2563 | 0.56 | 25,000 | 24 ธ.ค. 63 | 28 ธ.ค. 63 | 23 พ.ย. 65 | 2 ปี | 1.9 ปี |
| 52/87/63 | - | 40,000 | 29 ธ.ค. 63 | 4 ม.ค. 64 | 1 เม.ย. 64 | 87 วัน | 87 วัน |
| 46/178/63 | - | 20,000 | 29 ธ.ค. 63 | 4 ม.ค. 64 | 1 ก.ค. 64 | 178 วัน | 178 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2563 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,766 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 85/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ในเดือนธันวาคม 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 85/2563
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์
ในเดือนธันวาคม 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนธันวาคม 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.48/14/63 | 35,000 | 3 ธันวาคม 2563 | 08/12/63 – 22/12/63 | 14 |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,767 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 86/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ในเดือนธันวาคม 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 86/2563
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์
ในเดือนธันวาคม 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนธันวาคม 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.49/14/63 | 30,000 | 9 ธันวาคม 2563 | 15/12/63 – 29/12/63 | 14 |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,768 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 87/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ในเดือนธันวาคม 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 87/2563
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์
ในเดือนธันวาคม 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนธันวาคม 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.50/14/63 | 30,000 | 18 ธันวาคม 2563 | 22/12/63 – 5/01/64 | 14 |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,769 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 88/2563 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 88/2563
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 ที่จะประมูลในวันที่ 18 ธันวาคม 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2563โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 0.57709 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 0.62142 ต่อปี
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,770 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 89/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ในเดือนธันวาคม 2563 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 89/2563
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์
ในเดือนธันวาคม 2563
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนธันวาคม 2563
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.51/14/63 | 30,000 | 25 ธันวาคม 2563 | 29/12/63 – 12/01/64 | 14 |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,771 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 90/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมกราคม 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 90/2563
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมกราคม 2564
-------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม 2563 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 1/91/64 | - | 60,000 | 05 ม.ค. 64 | 07 ม.ค. 64 | 8 เม.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/364/64 | - | 50,000 | 05 ม.ค. 64 | 07 ม.ค. 66 | 6 ม.ค. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 2/92/64 | - | 60,000 | 12 ม.ค. 64 | 14 ม.ค. 64 | 16 เม.ย. 64 | 92 วัน | 92 วัน |
| 3/2ปี/2563 | 0.56 | 30,000 | 14 ม.ค. 64 | 18-ม.ค.-64 | 23 พ.ย. 65 | 2 ปี | 1.85 ปี |
| 3/91/64 | - | 60,000 | 19 ม.ค. 64 | 21 ม.ค. 64 | 22 เม.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 2/3ปี/2563 | 0.65 | 20,000 | 21 ม.ค. 64 | 25 ม.ค. 66 | 28 ก.ย. 66 | 3 ปี | 2.67 ปี |
| 4/91/64 | - | 60,000 | 26 ม.ค. 64 | 28 ม.ค. 64 | 29 เม.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2563
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,772 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 1/2564
เรื่องกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
-------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 5/91/64 | - | 55,000 | 2 ก.พ. 64 | 4 ก.พ. 64 | 6 ก.พ. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 2/364/64 | - | 50,000 | 2 ก.พ. 64 | 4 ก.พ. 64 | 3 ก.พ. 64 | 364 วัน | 364 วัน |
| 6/91/64 | - | 55,000 | 9 ก.พ. 64 | 11 ก.พ. 64 | 13 ก.พ. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 7/91/64 | - | 55,000 | 16 ก.พ. 64 | 18 ก.พ. 64 | 20 ก.พ. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 3/2ปี/2563 | 0.56 | 25,000 | 18 ก.พ. 64 | 22 ก.พ. 64 | 23 ก.พ. 64 | 2 ปี | 1.75 ปี |
| 8/91/64 | - | 55,000 | 23 ก.พ. 64 | 52 ก.พ. 64 | 27 ก.พ. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม 2564
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าราชการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,773 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2564 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 1/2564
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
----------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุมัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
ข้อ ๓ เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นายบัญชา มนูญกุลชัย
2. น.ส.กุฎา รณะนันทน์
3. นางวิภา ผดุงชีวิต
4. นายอัครเดช ดาวเงิน
5. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์
6. นางโสภา อินสุข
7. นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
8. น.ส.วรางคณา อิ่มอุดม
9. นางโสภิต พงษ์รัตนานุกูล
10. นางจรรยา ตันอนุชิตติกุล
11. นายประสาท สมจิตรนึก
12. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
13. นายถนอม จันทเพชร
14. นางมณฑนา กล้าหาญ
15. นางรัญจวน ช่อสัมฤทธิ์
16. น.ส.โสภี สงวนดีกุล
17. นายธีระพร ศรีรัตน์
18. นายถนัด ต้นสกุล
19. น.ส.วรรณา ไหมชุม
20. นางศิริพร ยืนยงสกุล
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม 2564
(นายเดช ฐิติวณิช)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมจัดการพันธบัตร
ฝ่ายการชาระเงินและพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2356 7070 และ 0 2283 5469 | 5,774 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2563 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 2/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2563
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564
----------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เท่ากับร้อยละ 0.52565 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,775 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2564 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 3/2564
เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
--------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้มีการรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ในรูปแบบชุดข้อมูล (XML Data Set) และรูปแบบ Excel File โดยเป็นข้อมูลฐานะการดําเนินงาน (FI Data Set) จํานวน 25 ชุดข้อมูล รูปแบบ Excel File จํานวน 4 รายงาน และชุดข้อมูลธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (FM Data Set) จํานวน 20 ชุดข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของธนาคาร แห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง และต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่ อาศัยของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายงานชุดข้อมูลในรูปแบบ Excel File เพิ่มเติม จํานวน 2 รายงาน ได้แก่ แบบรายงานสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจําแนกตามอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) และแบบรายงานสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (MGL) เพื่อให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยมีข้อมูลเพียงพอใน การติดตามคุณภาพของสินเชื่อที่เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อประโยชน์ในการดําเนิน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยและการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งรายงานข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2562 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 2 กันยายน 2562
ข้อ ๔ ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
ข้อ ๕ เนื้อหา
5.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทําและส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูล (XML Data Set) และในรูปแบบ Excel File ตามรายชื่อรายงานที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รายงาน (เอกสารแนบ 1) และคู่มือการจัดทําชุดข้อมูล (XML Data Set Manual) โดยให้จัดส่งข้อมูล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูล ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เอกสารแนบ 2)
5.2 การจัดส่งแบบรายงานสินเชื่อที่เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
5.2.1 กรณีแบบรายงานสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจําแนกตามอัตราส่วนเงินให้ สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดส่งแบบรายงานดังกล่าวเป็นรายไตรมาส ภายใน 1 เดือน นับจากวันสิ้นไตรมาส โดยเริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นไตรมาสของไตรมาสที่ประกาศมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรายงานข้อมูล ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่อนุมัติ โดยมีการจดจํานองอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป และยังมียอดคงค้างเหลืออยู่ ณ วันที่รายงานข้อมูลให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
5.2.2 กรณีแบบรายงานสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (MGL) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดส่งแบบรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือน ภายใน 1 เดือนนับจากวันสิ้นเดือนนั้น โดยเริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นเดือนถัดจากเดือนที่ประกาศมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป
5.3 ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับรายงานข้อมูลตามชุดข้อมูล (XML Data Set) และ Excel File ในวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลที่ส่งมานั้นมีความครบถ้วนและถูกต้อง โดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องต้น (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว
ข้อ ๖ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2554
(นายเศรษฐพุฒิ สุทธงาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สายระบบข้อสนเทศ
โทรศัพท์ 0 2283 5633 | 5,776 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2564 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้เพื่อการจัดทำสถิติดุลการชำระเงินและฐานการลงทุนระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 4/2564
เรื่อง การจัดส่งข้อมูลได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้
เพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานการลงทุนระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
-----------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อประโยชน์ในการจัดทําข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยให้ทันต่อสถานการณ์และมีความครบถ้วนถูกต้องยิ่งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงจําเป็นต้องให้บุคคลซึ่งทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ และการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ อ่านาจตามกฎหมาย
อาศัยอําานาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
ข้อ ๓ แก้ไข
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559
ข้อ ๔ ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบุคคลซึ่งทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน ระหว่างประเทศ ได้แก่ ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทย ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง และศูนย์รับฝากตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติกุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 และประกาศฉบับนี้
ข้อ ๕ เนื้อหา
5.1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามต่อจากบทนิยามคําว่า “ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง” ในข้อ 4.1 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติ ดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559
““ศูนย์รับฝาก” หมายความว่า บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากั หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดไว้ เพื่อประกอบการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อ ประโยชน์ในการหักบัญชี
“บัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง” หมายความว่า บัญชีฝากหลักทรัพย์แบบแยกรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยเปิดไว้ที่ศูนย์รับฝาก โดยจะเป็นบัญชีที่เปิดแยกตามรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงหรือเปิดเป็นบัญชีเพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ ที่แท้จริงหรือเปิดเป็นบัญชีย่อย (sub account) แยกตามรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงก็ได้””
5.2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 4.2 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559
“(3) ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยและศูนย์รับฝากเปิดเผยและจัดส่งข้อมูล การถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ฝากไว้กับศูนย์รับฝาก ดังต่อไปนี้ ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ศูนย์รับฝากเป็นผู้จัดทําและส่งข้อมูล
(3.1) ให้ศูนย์รับฝากจัดทําและส่งข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เช่น ยอดคงค้าง รายการส่งมอบหรือรับมอบตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทย ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทุกสิ้นวันทําการ โดยให้เริ่มต้นส่งรายงานข้อมูลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
(3.2) ให้ศูนย์รับฝากจัดทําและส่งข้อมูลรายละเอียดของข้อมูลบัญชีฝากหลักทรัพย์ เพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เช่น ชื่อบัญชี สถานะบัญชี ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ภายในวันทําการถัดไปนับจากวันที่ศูนย์รับฝากได้รับเลขที่บัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากธนาคารแห่งประเทศไทย
5.3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งของข้อ 4.3 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยหรือศูนย์รับฝาก มีเหตุจําเป็นอันสมควรทําให้ไม่สามารถจัดทําและส่งข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 4.2 (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ได้ ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยหรือศูนย์รับฝาก ยื่นขอผ่อนผันต่อธนาคารแห่งประเทศไทย”
5.4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4.3 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่มีขอผ่อนผันตามข้อ 4.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันได้ ตามที่เห็นสมควร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้”
ข้อ ๖ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2554
(นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมข้อมูลตลาดการเงิน
ฝ่ายบริหารข้อมูลและตาต้าอนาไลติกส์
โทรศัพท์ 0 2283 5173, 0 2283 5192, 0 2356 7258 | 5,777 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2564 เรื่อง ยกเลิกการรายงานชุดข้อมูล | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 6/2564
เรื่อง ยกเลิกการรายงานชุดข้อมูล
-----------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้สถาบันการเงินมีหน้าที่รายงานข้อมูลตามแบบรายงานชุดข้อมูลที่กําหนดต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณายกเลิกการรายงานชุดข้อมูลจํานวน 4 ชุด เพื่อลดภาระของสถาบันการเงินในการนําส่งรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. ชุดข้อมูล Lending Operation Progress Outstanding (DS\_LOS)
2. ชุดข้อมูล Income and Expense by Branch (DS\_IEB)
3. ชุดข้อมูลธุรกรรมการออกตั๋วเงินเป็นเงินกู้ยืม (DF\_BEX)
4. ชุดข้อมูลกิจการร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ธนาคารพาณิชย์ถือหรือมีหุ้น (DF\_JVD)
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๓ ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินทุกแห่งตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ ๔ เนื้อหา
4.1 ยกเลิกการรายงานชุดข้อมูล Lending Operation Progress Outstanding (DS\_LOS) และ Income and Expense by Branch (DS\_IEB) ที่กําหนดในเอกสารแนบท้าย 1 ของประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2562 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 11 มกราคม 2562
4.2 ยกเลิกการรายงานชุดข้อมูลธุรกรรมการออกตั๋วเงินเป็นเงินกู้ยืม (DF\_BEX) ที่กําหนดในเอกสารแนบท้าย 2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การออกตั๋วเงินของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2555
4.3 ยกเลิกการรายงานชุดข้อมูลกิจการร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ธนาคารพาณิชย์ถือหรือมีหุ้น (DF\_JVD) ที่กําหนดในเอกสารแนบท้ายของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 5/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การดําเนินงานในกิจการร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รอการขายของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2553
ข้อ ๕ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
(เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 5,778 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส2. 8/2564 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส2. 8/2564
เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2)
----------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 และมาตรา 120/3 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๔ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็น ผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จํานวน 13 คน ดังนี้
1. นางสาวกัญญารัตน์ รัตติยาภรณ์
2. นายสมศักดิ์ สุขเกษม
3. นางสาวจิตา จีรเธียรนาถ
4. นางสาวณัฐกาญจน์ นิมมานนวกุล
5. นางสาวทิพย์ประภา ไม้กลัด
6. นางสาวธิดารัตน์ สนธิมโนธรรม
7. นางสาวพรทิพา จัตุรงค์ธาริณี
8. นางสาวพรพิมล แก้วเกิดลาภ
9. นายวรฤทธิ์ วรรณวาณิชย์
10. นายวรุต ต้นรัตนพัฒนกุล
11. นายศรัณยู ทิพยมณฑล
12. นายสุรัติ ทังสุภูติ
13. นายอนุภาค มาตรมูล
ข้อ ๕ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2564
(นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝ่ายวางแผนและพัฒนาผู้ตรวจสอบ
โทรศัพท์ 0 2283 5925 | 5,779 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสำเร็จรูป ที่ประกอบด้วย ICARIDIN | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสําเร็จรูป
ที่ประกอบด้วย ICARIDIN
-----------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย ICARIDIN ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทสําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ไล่ยุง
(2) วิธีใช้ ทาหรือพ่นผิวหนัง (ระบุตามชนิดของผลิตภัณฑ์) เพื่อกันยุงได้นาน ประมาณ........ชั่วโมง
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 2 ปี
3. ห้ามนําไปทาแทนแป้ง/โลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ป้องกันยุงและระวังมิให้เด็กนําไปทาเล่น (สําหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง/โลชั่น)
4. ก่อนใช้ควรลองทาหรือพื้นที่ข้อพับแขนดูก่อน ถ้าไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง จึงใช้ทาหรือพ่นบริเวณอื่นได้
5. ให้ใช้เฉพาะเมื่อจําเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจําหรือใช้ในปริมาณมาก
6. อย่าทาหรือพ่นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปากเปลือกตา รักแร้ หรือ บริเวณแผล
7. ภายหลังการใช้ หากจะหยิบจับอาหาร ควรล้างมือเสียก่อน
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างออกด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม -
ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,780 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/2564 เรื่อง รายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบ (Domestic systemically important banks: D-SIBS) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 11/2564
เรื่อง รายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญต่อระบบ
(Domestic systemically important banks: D-SIBS)
---------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญต่อระบบ (Domestic systemically important banks: D-SIBs) เพื่อเสริมสร้างให้ระบบสถาบันการเงินโดยรวมของประเทศมีเสถียรภาพ โดยมีมาตรการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่เป็น D-SIBs ที่เข้มงวดมากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เพื่อให้สามารถให้บริการทางการเงินที่สําคัญได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์จะประสบปัญหาฐานะทางการเงินและส่งผล กระทบต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศรายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่เป็น D-SIBs ครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 จํานวน 5 แห่ง และได้พิจารณาประเมินธนาคารพาณิชย์ที่เข้าข่ายเป็น D-SIBs มาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปี โดยในปีนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีรายชื่อตามประกาศนี้เป็น D-SIBS เพิ่มเติมอีก 1 แห่ง เพื่อให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การกํากับดูแลที่กําหนด
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 และมาตรา 71 แห่ง พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และข้อ 4.3.1 (4) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยแนวทางการระบุและการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศรายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญต่อระบบในประเทศ (D-SIBs) ตามประกาศ
ข้อ ๓ ขอบเขตการบังคับใช้
ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็น D-SIBs ตามประกาศนี้
ข้อ ๔ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ ธนาคารทหารไทยธนชาต จํากัด (มหาชน) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็น D-SIBS เพิ่มเติมอีก 1 แห่ง
ข้อ ๕ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2564
(นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 5,781 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKALIS หรือ ALKALIS ผสม SURFACTANTS
------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKALIS หรือ ALKALIS ผสม SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการ ทําความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามี อํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ทําความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว
(2) วิธีใช้ ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ําในอัตราส่วน........ล้างภาชนะ หรือเครื่องใช้ในครัวแล้วล้างออกด้วยน้ําจนสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารสัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังอย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนัง หรือสูดดม
3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ํา และสบู่ทุกครั้ง (แล้วแต่กรณี)
4. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คลอง แหล่งน่าสาธารณะ
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ หากเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออก แล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มน้ําหรือนมปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,782 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส2. 12/2564 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส2. 12/2564.
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ
ภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2)
-------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน และมิใช่ผู้ประกอบการ ที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลแก่ผู้บริโภคเพื่อชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด อันเป็นธุรกิจของตนเอง
ข้อ ๒ อําานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามข้อ 19 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 กําหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว
ข้อ ๓ ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน และมิใช่ผู้ประกอบการที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลแก่ผู้บริโภคเพื่อชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด อันเป็นธุรกิจของตนเอง
ข้อ ๔ เนื้อหา
แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 จํานวน 13 คน ดังนี้
1. นางสาวกัญญารัตน์ รัตติยาภรณ์
2. นายสมศักดิ์ สุขเกษม
3. นางสาวจิตา จีรเธียรนาถ
4. นางสาวณัฐกาญจน์ นิมมานนวกุล
5. นางสาวทิพย์ประภา ไม่กลัด
6. นางสาวธิดารัตน์ สนธิมโนธรรม
7. นางสาวพรทิพา จัตุรงค์ราริณี
8. นางสาวพรพิมล แก้วเกิดลาภ
9. นายวรฤทธิ์ วรรณวาณิชย์
10. นายวรุต ต้นรัตนพัฒนกุล
11. นายศรัณยู ทิพยมณฑล
12. นายสุรัติ ทั้งสุภูติ
13. นายอนุภาค มาตรมูล
ข้อ ๕ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2554
(นายเศรษฐฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝ่ายวางแผนและพัฒนาผู้ตรวจสอบ
โทรศัพท์ 0 2283 5925 | 5,783 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2562 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 3/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2562
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564
-----------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เท่ากับร้อยละ 0.52696 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของ ตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,784 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ซักผ้าหรือแช่ผ้ายับยั้งเชื้อโรค ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม CATIONIC SURFACTANTS หรือ AMPHOTERIC SURFACTANTS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ซักผ้าหรือแช่ผ้ายับยั้งเชื้อโรค ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม
CATIONIC SURFACTANTS หรือ AMPHOTERIC SURFACTANTS
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม CATIONIC SURFACTANTS หรือ AMPHOTERIC SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการซักผ้าหรือแช่ผ้ายับยั้งเชื้อโรค ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญไว้ดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ซักผ้า/ผ้ายับยั้งเชื้อโรค (ระบุตามผลทดสอบ)
(2) วิธีใช้ การซักผ้า
ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ําในอัตราส่วน........ซักผ้า แล้วล้างออกด้วยน้ําจนสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง) การแช่ผ้า (กรณีที่มีข้อมูล หรือการทดสอบว่าไม่ระคายเคือง) ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ําในอัตราส่วน...........ลงในน้ําสุดท้ายของการซักผ้า หรือแช่ผ้าทิ้งไว้ประมาณ.........นาที หรือการแช่ผ้า (กรณีไม่มีข้อมูล หรือผลทดสอบการระคายเคือง) ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ําอัตราส่วน.........แช่ผ้าที่ซักแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ...นาที แล้วชักออกด้วยน้ําสะอาดอีกครั้ง
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
(4) ค่าเดือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังอย่าให้เข้าตา ผู้ที่แพ้สารเคมีง่าย ควรสวมถุงมือยาง หรือรองเท้ายาง (แล้วแต่กรณีใช้)
3. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาด จนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
2. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มนมปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ (กรณีที่เป็น CATIONIC SURFACTANTS) หรือ หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ (กรณีที่เป็น AMPHOTERIC SURFACTANTS)
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักรให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,785 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 4/2564
เรื่องกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564
-------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 โดยจะเริ่มประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงธุรกรรมซื้อคืนระยะข้ามคืน (Thai Overnight Repurchase Rate: THOR) รุ่นอายุ 182 วัน เป็นครั้งแรก วงเงิน 30,000 ล้านบาท และวางแผนประมูลพันธบัตรประเภทใหม่ดังกล่าว อย่างสม่ําเสมอในระยะต่อไป
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 9/92/64 | - | 55,000 | 2 มี.ค. 64 | 4 มี.ค. 64 | 4 มี.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 3/364/64 | - | 50,000 | 2 มี.ค. 64 | 4 มี.ค. 64 | 3 มี.ค. 64 | 364 วัน | 364 วัน |
| 10/91/64 | - | 55,000 | 9 มี.ค. 64 | 11 มี.ค. 64 | 10 มี.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 11/91/64 | - | 55,000 | 16 มี.ค. 64 | 18 มี.ค. 64 | 17 มี.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 3/2ปี/2563 | 0.56 | 25,000 | 18 มี.ค. 64 | 22 มี.ค. 64 | 23 มี.ค. 64 | 2 ปี | 1.67 ปี |
| 12/91/64 | - | 55,000 | 23 มี.ค. 64 | 25 มี.ค. 64 | 24 มี.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/FRB182/64 | Compounded THOR+0.05 | 30,000 | 25 มี.ค. 64 | 29 มี.ค. 64 | 27 ก.ย.64 | 182 วัน | 182 วัน |
| 13/91/64 | | 55,000 | 30 มี.ค. 64 | 1 เม.ย.64 | 1ก.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยจนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าราชการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,786 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2564 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 5/2564
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
----------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุมัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
ข้อ ๓ เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นายบัญชา มนูญกุลชัย
2. น.ส.กุฎา รณะนันทน์
3. นางวิภา ผดุงชีวิต
4. นายอัครเดช ดาวเงิน
5. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์
6. นางโสภา อินสุข
7. นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
8. น.ส.วรางคณา อิ่มอุดม
9. นางโสภิต พงษ์รัตนานุกูล
10. นางจรรยา ตันอนุชิตติกุล
11. นายประสาท สมจิตรนึก
12. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
13. นายถนอม จันทเพชร
14. นางมัณฑนา กล้าหาญ
15. น.ส.โสภี สงวนดีกุล
16. น.ส.โสภี สงวนดีกุล
17. นายธีระพร ศรีรัตน์
18. นายถนัด ต้นสกุล
19. น.ส.วรรณา ไหมชุม
20. นางศิริพร ยืนยงสกุล
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2564
(นายเดช ฐิติวณิช)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมจัดการพันธบัตร
ฝ่ายการชาระเงินและพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2356 7070 และ 0 2283 5469 | 5,787 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการยึดหรือติดกันของพื้นผิววัสดุ ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKYL CYANOACRYLATE | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการยึดหรือติดกันของพื้นผิววัสดุ
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKYL CYANOACRYLATE
--------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย สารในกลุ่ม ALKYL CYANOACRYLATE ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการทําให้เกิด การยึดหรือติดกันของพื้นผิววัสดุ ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการ - อาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ เพื่อประโยชน์ในการทําให้เกิดการยึดหรือคิดกันของพื้นผิววัสดุ
(2) วิธีใช้ ทําความสะอาดผิววัสดุที่ต้องการติด ป้ายหรือทาผลิตภัณฑ์บนพื้นผิววัสดุด้านใดด้านหนึ่ง แล้วนํามาประกอบติดกัน กดทิ้งไว้สักครู่ (ตามที่ใช้จริง)
(3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งและเย็น มิดชิด พ้นมือเด็ก ห่างจากอาหาร สัตว์เลี้ยง ความร้อน และเปลวไฟ
(4) คําเตือน 1. ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง เพราะจะทําให้เกิดอาการระคายเคือง และยึดติดกันอย่างรวดเร็ว
2. ห้ามรับประทาน หรือสูดดม
3. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) วิธีแก้ไขพิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง อย่าพยายามดึงหรือแยกรอยที่ติดออก ให้ล้างด้วยนาจํานวนมากๆ
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําอุ่นสะอาดแล้วรีบไปพบแพทย์
3. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากไม่ทุเลาให้ผู้ป่วยส่งแพทย์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2545
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,788 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 6/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564
-------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 3/2ปี/64 | 0.56 | 25,000 | 1 เม.ย 64 | 5 เม.ย 64 | 23 เม.ย 64 | 2 ปี | 1.64 ปี |
| 14/91/64 | - | 60,000 | 5 เม.ย 64 | 8 เม.ย 64 | 8 เม.ย 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 4/364/64 | - | 40,000 | 5 เม.ย 64 | 8 เม.ย 64 | 7 เม.ย 64 | 364 วัน | 364 วัน |
| 2/FRB182/64 | Compounded THOR+0.05 | 30,000 | 8 เม.ย 64 | 12 เม.ย 64 | 11 เม.ย 64 | 182 วัน | 1822 วัน |
| 15/90/2564 | - | 60,000 | 9 เม.ย 64 | 16 เม.ย 64 | 51 เม.ย 64 | 90 วัน | 90 วัน |
| 16/91/64 | - | 60,000 | 20 เม.ย 64 | 12 เม.ย 64 | 22 เม.ย 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 17/91/64 | - | 60,000 | 27 เม.ย 64 | 19 เม.ย 64 | 29 เม.ย 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 18/91/64 | | 60,000 | 30 เม.ย 64 | 6 เม.ย 64 | 5 เม.ย 64 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/ +0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 11 ตุลาคม 2564 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 11 ตุลาคม 2564 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยจนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2564
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าราชการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,789 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 9/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564
-------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 3/FRB182/64 | Compounded THOR+0.05 | 30,000 | 6 พ.ค. 64 | 10 พ.ค. 64 | 8 พ.ค. 64 | 182 วัน | 182 วัน |
| 19/92/64 | - | 60,000 | 11 พ.ค. 64 | 13 พ.ค. 64 | 13 พ.ค. 64 | 92 วัน | 92 วัน |
| 5/364/64 | - | 50,000 | 11 พ.ค. 64 | 13 พ.ค. 64 | 12 พ.ค. 64 | 364 วัน | 364 วัน |
| 20/91/64 | | 60,000 | 18 พ.ค. 64 | 20 พ.ค. 64 | 19 พ.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/2Y/64 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 | 35,000 | 20 พ.ค. 64 | 24 พ.ค. 64 | 24 พ.ค. 64 | 2 ปี | 2 ปี |
| 21/91/64 | - | 60,000 | 24 พ.ค. 64 | 27 พ.ค. 64 | 26 พ.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/ +0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยจนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่น 1/2Y/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 18 พฤษภาคม 2564 |
| การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 24 พฤษภาคม และ 24 พฤศจิกายน ของทุกปี |
| วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการถอนก่อนกําหนด |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน 2564
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าราชการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,790 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2563 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 10/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2563
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2554
--------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ย ลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 0.52355 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ลบร้อยละ 0.1
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที 14 พฤษภาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2554
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,791 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 11/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม 2564
-----------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุมัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม 2564 (รุ่นที่ 1/2Y/64) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตัว (Coupon Rate) ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตัวของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2Y/64 ที่จะประมูลในวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เท่ากับร้อยละ 0.51 ต่อปี
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2554
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,792 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 12/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2564
-----------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562. สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุมัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี 2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 เท่ากับร้อยละ 0.52460 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2554
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,793 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2564 เรื่องกำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 13/2564
เรื่องกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564
-------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 22/90/64 | Compounded THOR+0.05 | 60,000 | 1 มิ.ย. 64 | 4 มิ.ย. 64 | 2 มิ.ย. 64 | 90 วัน | 90 วัน |
| 6/363/64 | - | 50,000 | 1 มิ.ย. 64 | 4 มิ.ย. 64 | 2 มิ.ย. 64 | 363 วัน | 363 วัน |
| 23/91/64 | - | 60,000 | 8 มิ.ย. 64 | 10 มิ.ย. 64 | 9 มิ.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 4/FRB182/64 | Compounded THOR+0.05 | 30,000 | 10 มิ.ย. 64 | 14 มิ.ย. 64 | 13 มิ.ย. 64 | 182 วัน | 182 วัน |
| 24/91/64 | | 60,000 | 15 มิ.ย. 64 | 17 มิ.ย. 64 | 16 มิ.ย. 64 | 91 ปี | 90 วัน |
| 25/91/64 | - | 60,000 | 22 มิ.ย. 64 | 24 มิ.ย. 64 | 23 มิ.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/2Y/64 | 0.51 | 30,000 | 24 มิ.ย. 64 | 28 มิ.ย. 64 | 24 มิ.ย. 64 | 2 ปี | 1.9 ปี |
| 26/91/64 | - | 60,000 | 29 มิ.ย. 64 | 1 มิ.ย. 64 | 30 มิ.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/ +0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 13 ธันวาคม 2564 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยจนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564
(นางสาววชิรา อารมณ์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าราชการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,794 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 14/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 1/2Y/64 | -0.51 | 25,000 | 1 ก.ค. 64 | 5 ก.ค. 64 | 24 พ.ค. 66 | 2 ปี | 1.88 ปี |
| 27/91/64 | - | 60,000 | 6 ก.ค. 64 | 8 ก.ค. 64 | 7 ต.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 7/364/64 | - | 40,000 | 6 ก.ค. 64 | 8 ก.ค. 64 | 7 ก.ค. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 5/FRB182/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 8 ก.ค. 64 | 12 ก.ค. 64 | 10 ม.ค. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 28/91/64 | - | 60,000 | 13 ก.ค. 64 | 15 ก.ค. 64 | 14 ต.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/FRB364/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 25,000 | 15 ก.ค. 64 | 19 ก.ค. 64 | 18 ก.ค. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 29/91/64 | - | 60,000 | 20 ก.ค. 64 | 22 ก.ค. 64 | 21 ต.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 30/91/64 | - | 60,000 | 23 ก.ค. 64 | 29 ก.ค. 64 | 29 ก.ค.64 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 5/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 10 มกราคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 10 มกราคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB364/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,795 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 16/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 31/91/64 | - | 60,000 | 3 ส.ค. 64 | 5 ส.ค. 64 | 4 พ.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 8/364/64 | - | 50,000 | 3 ส.ค. 64 | 5 ส.ค. 64 | 4 ส.ค. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 6/FRB182/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 5 ส.ค. 64 | 9 ส.ค. 64 | 7 ก.พ. 64 | 182 วัน | 182 วัน |
| 32/90/64 | - | 60,000 | 10 ส.ค. 64 | 13 ส.ค. 64 | 11 พ.ย. 64 | 90 วัน | 90 วัน |
| 33/91/64 | - | 60,000 | 17 ส.ค. 64 | 19 ส.ค. 64 | 18 พ.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/2Y/64 | 0.51 | 30,000 | 19 ส.ค. 64 | 23 ส.ค. 64 | 24 พ.ค. 66 | 2 ปี | 1.75 ปี |
| 34/91/64 | - | 60,000 | 24 ส.ค. 64 | 26 ส.ค. 64 | 25 พ.ย. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 2/FRB364/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 26 ส.ค. 64 | 30 ก.ค. 64 | 29 ส.ค. 65 | 364 วัน | 964 วัน |
| 35/91/64 | - | 60,000 | 31 ส.ค. 64 | 2 ก.ย. 64 | 2 ธ.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 9/364/64 | - | 50,000 | 31 ส.ค. 64 | 2 ก.ย. 64 | 1 ก.ย. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 6/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/FRB364/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 29 สิงหาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 29 สิงหาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,796 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 17/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2564 เท่ากับร้อยละ 0.52003 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,797 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 18/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เท่ากับร้อยละ 0.52003 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2628 6025-7 | 5,798 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 19/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 36/91/64 | - | 55,000 | 7 ก.ย. 64 | 9 ก.ย. 64 | 9 ธ.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 7/FRB182/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 9 ก.ย. 64 | 13 ก.ย. 64 | 14 มี.ค. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 37/91/64 | - | 55,000 | 14 ก.ย. 64 | 16 ก.ย. 64 | 16 ธ.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 7/FRB364/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 16 ก.ย. 64 | 20 ก.ย. 64 | 19 ก.ย. 64 | 364 วัน | 364 วัน |
| 38/91/64 | - | 55,000 | 21 ก.ย. 64 | 23 ก.ย. 64 | 23 ธ.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/2Y/64 | 0.51 | 35,000 | 23 ก.ย. 64 | 28 ก.ย. 64 | 24 พ.ค. 66 | 2 ปี | 1.65 ปี |
| 39/91/64 | - | 55,000 | 28 ก.ย. 64 | 30 ก.ย. 64 | 30 ธ.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 7/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 14 มีนาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 14 มีนาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/FRB364/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 19 กันยายน 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 19 กันยายน 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,799 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 20/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 40/91/64 | - | 55,000 | 5 ต.ค. 64 | 7 ต.ค. 64 | 6 ม.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 10/364/64 | - | 45,000 | 5 ต.ค. 64 | 7 ต.ค. 64 | 6 ต.ค. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 8/FRB182/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 7 ต.ค. 64 | 11 ต.ค. 64 | 11 เม.ย. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 41/91/64 | - | 50,000 | 11 ต.ค. 64 | 14 ต.ค. 64 | 13 เม.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 4/FRB364/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 14 ต.ค. 64 | 18 ต.ค. 64 | 17 ต.ค 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 42/91/64 | - | 50,000 | 19 ต.ค. 64 | 21 ต.ค. 64 | 20 ม.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/2Y/64 | 0.51 | 25,000 | 21 ต.ค. 64 | 26 ต.ค. 64 | 24 พ.ค. 66 | 2 ปี | 1.58 ปี |
| 43/91/64 | - | 50,000 | 26 ต.ค. 64 | 28 ต.ค. 64 | 27 ม.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 8/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 11 มีนาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 11 มีนาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/FRB364/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 17 ตุลาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 17 ตุลาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,800 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 21/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 44/91/64 | - | 50,000 | 2 พ.ย. 64 | 4 พ.ย. 64 | 3 ก.พ. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 11/364/64 | - | 40,000 | 2 พ.ย. 64 | 4 พ.ย. 64 | 3 พ.ย. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 9/FRB182/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 4 พ.ย. 64 | 8 พ.ย. 64 | 9 พ.ค. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 45/91/64 | - | 50,000 | 9 พ.ย. 64 | 11 พ.ย. 64 | 10 พ.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 5/FRB364/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 25,000 | 11 พ.ย. 64 | 15 พ.ย. 64 | 14 พ.ย. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 46/91/64 | - | 50,000 | 16 พ.ย. 64 | 18 พ.ย. 64 | 17 ก.พ. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 2/2Y/64 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 | 25,000 | 18 พ.ย. 64 | 22 พ.ย. 64 | 22 พ.ย. 66 | 2 ปี | 2 ปี |
| 47/91/64 | - | 50,000 | 23 พ.ย. 64 | 25 พ.ย. 64 | 24 ก.พ. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 48/91/64 | - | 50,000 | 30 พ.ย. 64 | 2 ธ.ค. 64 | 3 มี.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 9/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 5/FRB364/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2Y/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564 |
| การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | วันที่ 22 พฤษภาคม และ 22 พฤศจิกายน ของทุกปี |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 22 พฤษภาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,801 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 22/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เท่ากับร้อยละ 0.52180 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายนม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2283 6801-2 | 5,802 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 23/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศ ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2564 (รุ่นที่ 2/2Y/64) โดยจะกําหหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2Y/64 ที่จะประมูลในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เท่ากับร้อยละ 0.66 ต่อปี
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายนม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2283 6801-2 | 5,803 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2564 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 24/2564
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เท่ากับร้อยละ 0.52155 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายนม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2283 6801-2 | 5,804 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 25/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 2/2Y/64 | 0.66 | 20,000 | 2 ธ.ค. 64 | 7 ธ.ค. 64 | 22 พ.ย. 65 | 2 ปี | 1.96 ปี |
| 49/91/64 | - | 50,000 | 7 ธ.ค. 64 | 9 ธ.ค. 64 | 10 มี.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 12/364/64 | | 40,000 | 7 ธ.ค. 64 | 9 ธ.ค. 64 | 8 ธ.ค. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 50/91/64 | | 50,000 | 14 ธ.ค. 64 | 16 ธ.ค. 64 | 17 มี.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 10/FRB182/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 25,000 | 16 ธ.ค. 64 | 20 ธ.ค. 64 | 20 มิ.ย. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 51/91/64 | - | 50,000 | 21 ธ.ค. 64 | 23 ธ.ค. 64 | 24 มี.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 6/FRB364/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 25,000 | 23 ธ.ค. 64 | 27 ธ.ค. 64 | 26 ธ.ค. 65 | 364 วัน | 364 วัน |
| 52/91/64 | - | 50,000 | 28 ธ.ค. 64 | 30 ธ.ค. 64 | 31 มี.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 10/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 20 มิถุนายน 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/FRB364/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 26 ธันวาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 26 ธันวาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,805 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2564 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 26/2564
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565
------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2565
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 1/91/64 | - | 50,000 | 4 ม.ค. 65 | 6 ม.ค. 65 | 7 เม.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/364/64 | - | 45,000 | 4 ม.ค. 65 | 6 ม.ค. 65 | 5 ม.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน |
| 1/FRB182/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 6 ม.ค. 65 | 10 ม.ค. 65 | 11 ก.ค. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/95/64 | - | 50,000 | 11 ม.ค. 65 | 13 ม.ค. 65 | 18 เม.ย. 65 | 95 วัน | 95 วัน |
| 2/2Y/64 | 0.66 | 25,000 | 13 ม.ค. 65 | 17 ม.ค. 65 | 22 พ.ย. 66 | 2 ปี | 1.85 ปี |
| 3/91/64 | - | 50,000 | 18 ม.ค. 65 | 20 ม.ค. 65 | 21 เม.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 1/FRB364/64 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 20 ม.ค. 65 | 24 ม.ค. 65 | 23 ม.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน |
| 4/91/64 | - | 50,000 | 25 ม.ค. 65 | 27 ม.ค. 65 | 28 เม.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 10/FRB182/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/FRB364/64 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2 + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 23 มกราคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 23 มกราคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2564
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,806 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 245)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
| ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 245)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
“ข้อ 4/1 ให้ผู้ประกอบการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้ห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดเป็นสถานประกอบการเพียงแห่งเดียวและไม่มีสถานประกอบการแห่งอื่น และมีใบทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนพาณิชย์ประกอบพาณิชยกิจการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 203) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ที่ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศเป็นต้นไป
อื่นๆ ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565
ลวรณ แสงสนิท
(นายลวรณ แสงสนิท)
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,807 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
“ให้ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่งเฉพาะกรณีที่เป็นผู้ประกอบการตามข้อ 5 (1) (ก) ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด (ภ.พ.01) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ได้วิธีเดียว”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 214) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องมีหลักฐานเอกสารตามรายการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) สําหรับผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้ห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดเป็นสถานประกอบการเพียงแห่งเดียวและไม่มีสถานประกอบการแห่งอื่น ต้องมีใบทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนพาณิชย์ประกอบพาณิชยกิจการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
(ข) สําหรับผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนต่างด้าว ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว
(2) กรณีผู้ประกอบการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ต้องมีหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกรณีผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เป็นคนต่างด้าว ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว
(3) กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ต้องมีเอกสาร ดังนี้
(ก) กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการ
ในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร และตัวแทนได้ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรดังกล่าว ต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ
(ข) กรณีกิจการร่วมค้า ต้องมีเอกสารการดําเนินกิจการร่วมค้า
(ค) กรณีนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว
ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และสัญญาหรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด
(ง) กรณีองค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล ต้องมีหลักฐานที่แสดงฐานะนิติบุคคล
(4) กรณีผู้ประกอบการตาม (1) ถึง (3) ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่น
เป็นสถานประกอบการ หรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ต้องมีเอกสาร
และดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) กรณีใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ หรือใช้
สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าว
กรณีสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ต้องมีหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เว้นแต่กรณีผู้ประกอบการ ตาม (1) (ก) ไม่ต้องมีหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าว
(ข) กรณีเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีสัญญาเช่า โดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ
ที่อยู่ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น
โดยไม่มีค่าตอบแทน ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
(ค) กรณีผู้ประกอบการตาม (1) (ก) ใช้ห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดเป็นสถานประกอบการ ต้องมีทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ และแผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขปพร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการ และกรณีที่ใช้ที่อยู่อาศัยของตนเป็นสถานประกอบการ ต้องมีเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัยนั้นด้วย
การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมและพร้อมที่จะแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรด้วย
การยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการตาม (1) (ก) ผู้ประกอบการ
ต้องอัปโหลด (Upload) เอกสารตาม (4) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site)
ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ประกอบคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 5/1 ให้ผู้ประกอบการตามข้อ 5 (1) (ก) ต้องแสดงความยินยอมให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบการ เปิดเผยข้อมูลต่อกรมสรรพากรเพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการมีการประกอบกิจการที่แท้จริงเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ตลาด ช่องทาง หรือกระบวนการอื่นใด
ที่ผู้ประกอบการตามข้อ 5 (1) (ก) ใช้ในการขายสินค้าหรือให้บริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของวรรคสองของข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 214) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560
“(8) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการตามข้อ 5 (1) (ก) มิได้อัปโหลด (Upload) หรืออัปโหลด (Upload) เอกสารหลักฐานตามข้อ 5 ไม่ถูกต้องครบถ้วน และมิได้แสดงหรือนําส่งเอกสารหลักฐานที่ขาดต่อเจ้าพนักงานสรรพากรให้ครบถ้วนตามที่เจ้าพนักงานสรรพากรร้องขอ”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 159) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 214) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ผู้มีอํานาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่หรือผู้ที่สรรพากรพื้นที่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ที่ผู้อํานวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย สําหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่”
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศเป็นต้นไป
อื่นๆ ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565
ลวรณ แสงสนิท
(นายลวรณ แสงสนิท)
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,808 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง รายชื่อผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 279)
| ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 279)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (706) และ (707) ของข้อ ๑ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559
“(706) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท อะกรินโน่ เทค แอนด์ เซอร์วิสเซส จํากัด
(707) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท วัน สมาร์ท แอคเซส จํากัด
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับกรณีดังต่อไปนี้
(706) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
(707) ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
อื่นๆ ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ลวรณ แสงสนิท
(นายลวรณ แสงสนิท)
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,809 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดไรฝุ่นบ้าน ที่ประกอบด้วย BENZYL BENZOATE หรือสารนี้ผสมกับ SURFACTANTS หรือ ORGANIC SOLVENTS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดไรฝุ่นบ้าน
ที่ประกอบด้วย BENZYL BENZOATE หรือสารนี้ผสมกับ SURFACTANTS
หรือ ORGANIC SOLVENTS
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสาร BENZYL BENZOATE หรือสาร ผสมกับ SURFACTANTS หรือ ORGANIC SOLVENTS ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและกําจัดไรฝุ่นบ้าน ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ป้องกันและกําจัดไรฝุ่นบ้าน
1.2 วิธีใช้ โรยหรือฉีดวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ให้ทั่วบริเวณที่ต้องการกําจัดไรฝุ่น เช่น พรม เฟอร์นิเจอร์ ผ้าคลุมเตียง ฯลฯ หลังจากโรย หรือฉีดวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ ทิ้งไว้........... แล้วใช้เครื่อง ดูดฝุ่น ดูดวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงบริเวณที่โรยหรือฉีดไว้ (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง) ห้ามโรยหรือฉีดใกล้อาหารหรือบริเวณที่วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์จะมีโอกาสฟุ้งกระจายได้
1.3 วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (รูปแบบฉีดพ่นอัดก๊าซ เพิ่มข้อความ "เปลวไฟ และความร้อน”)
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน
(2) ห้ามโรยหรือฉีดวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้บนตัวสัตว์เลี้ยง
(3) ห้ามสัมผัสบริเวณที่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ จนกว่าจะทําความสะอาด โดยการดูดฝุ่น (หรือตามวิธีที่บริษัทแนะนํา) ก่อน
(4) ขณะใช้ควรสวมต้องล้างถุงมือยาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับต้องล้างถุงมือยางและมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(5) ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ ควรทิ้งในที่เหมาะสม และห้ามเผาไฟจะเกิดอันตราย (รูปแบบฉีดพ่นอัดก๊าซ)
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
(2) หากถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยสบู่และน้ําจํานวนมาก ๆ หากเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(3) หากเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากอาการไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(4) หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้ดื่มน้ําสะอาดหรือนมปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตรายชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,810 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ลบคำผิด ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่มแอลกอฮอล์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ลบคําผิด ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่มแอลกอฮอล์
-------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่มแอลกอฮอล์ ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการลบคําผิด ประเภทผลิตภัณฑ์ สําเร็จรูปต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับ ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ลบเพื่อแก้ไขคําผิด
(2) วิธีใช้ สําหรับชนิดป้าย
เขย่าภาชนะบรรจุ เปิดฝาจุกขวดแล้วป้ายวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงตําแหน่งที่ต้องการแก้ไข
สําหรับชนิดปากกา
เขย่าภาชนะบรรจุเปิดฝาจุกครอบแล้วป้ายวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงตําแหน่งที่ต้องการแก้ไข (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
(3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บให้ห่างจากเด็ก เปลวไฟ และความร้อน
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน หรือสูดดม
2. ระวังอย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนัง
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากเข้าตา รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
2. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ภายใน 30 นาที รีบทําให้อาเจียน โดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วล้วงคอ รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิ์ศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,811 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ลบคำผิด ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่ประกอบด้วย CHLORINE RELEASING SUBSTANCES | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ลบคําผิด ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
ที่ประกอบด้วย CHLORINE RELEASING SUBSTANCES
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย CHLORINE RELEASING SUBSTANCES ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการลบคําผิด ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลาก และระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ลบเพื่อแก้ไขคําผิด สําหรับหมึกน้ํา หรือหมึกซึมเท่านั้น
(2) วิธีใช้ เปิดฝาจุกขวดแล้วป้ายวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงตําแหน่งที่ต้องการแก้ไข (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
(3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งและมิดชิด ให้ห่างจากเด็ก สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ ความร้อน สารประเภทแอมโมเนีย และสารออกซิไดซ์
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทานหรือสูดดม
2. ระวังอย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนัง
3. อาจทําให้กระดาษเป็นสีเหลือง หรือด่าง ตรงจุดที่ลบ
4. ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําสะอาดจํานวนมากๆ
2. หากเข้าตา รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนรีบนําส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือ ใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,812 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ลบคำผิด ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่ประกอบด้วย HYDROCARBON SOLVENT | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ลบคําผิด ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
ที่ประกอบด้วย HYDROCARBON SOLVENT
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ระดับประกอบด้วย HYDROCARBON SOLVENT ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการลบคําผิด ประเภท ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและ ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ลบเพื่อแก้ไขคําผิด
(2) วิธีใช้ 1.2.1 สําหรับชนิดป้าย
เขย่าภาชนะบรรจุเปิดฝาจุกขวดแล้วป้ายวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงตําแหน่งที่ต้องการแก้ไข
1.2.1 สําหรับชนิดปากกา
เขย่าภาชนะบรรจุเปิดฝาจุกขวดแล้วป้ายวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงตําแหน่งที่ต้องการแก้ไข หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
(3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บให้ห่างจากเด็ก เปลวไฟ หรือความร้อน
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทานหรือสูดดม
2. ระวังอย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนัง
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากเข้าตา รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
2. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน รีบนําส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,813 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์แก้ไขการอุดตันของท่อหรือลอกแวกซ์ ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKALIS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์แก้ไขการอุดตันของท่อหรือลอกแวกซ์
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKALIS
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKALIS ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขการอุดตันของท่อหรือลอก แวกซ์ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และ แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ระบุตามลักษณะที่ใช้จริง
1.1.1 ใช้แก้ไขการอุดตันของท่อน้ําทิ้ง อันเนื่องมาจากอินทรีย์สาร เช่น เส้นผม เศษอาหาร กากสบู่ กระดาษชําระ ไขมัน และสิ่งสกปรกต่างๆ แต่ไม่สามารถขจัดปัญหาการอุดตันของอนินทรีย์สาร เช่น ก้อนอิฐ ปูน โลหะ พลาสติก
1.1.2 ใช้แก้ไขการอุดตันของโถส้วม บริเวณคอห่าน อันเนื่องมาจากกระดาษชําระและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
1.1.3 ใช้สําหรับล้างหรือลอกแวกซ์ที่เคลือบบนพื้นผิวกระเบื้องยาง (ไวนิล ไวนิลทนไฟ, กระเบื้องยางมะตอย) และพื้นหินชนิดต่าง ๆ (หินขัด หินอ่อน และหินอื่นๆ)
1.2 วิธีใช้ 1.2.1 สําหรับการแก้ไขท่อน้ําทิ้งอุดตัน
(1) ก่อนใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้สูบหรือวิดน้ําที่ขังอยู่ออกให้หมด
(2) เทวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ประมาณ (ขึ้นอยู่กับการอุดตันมากหรือน้อย)
(3) เทน้ําตามลงไปช้า ๆ ทันทีในอัตราส่วน..........วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
(4) ทิ้งไว้....นาที เพื่อให้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ออกฤทธิ์กําจัดสิ่งอุดตัน แล้วจึงเทน้ําทําความสะอาดท่อต่อไป หากท่อน้ํายังต้นอยู่ให้ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์อีกครั้งตามวิธีข้างต้น
1.2.2 โ ถส้วมที่อุดตัน
(1) เทวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ประมาณ...........ลงโถส้วมที่ อุดตัน
(2) ทิ้งไว้ประมาณ........ชั่วโมง แล้วจึงเทน้ําเพื่อทําความสะอาด
1.2.3 สําหรับลอกแวกซ์
(1) ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์......ส่วนต่อน้ํา........ส่วน ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับความสกปรกและความหนาของผลิตภัณฑ์เคลือบเงาเก่า
(2) เทวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ตามข้อ (1) ให้ทั่วบริเวณที่ต้องการลอกแวกซ์ ทิ้งไว้......นาที แล้วทําการขัดลอกแวกซ์ออกด้วยเครื่องขัด
(3) หลังจากทําการขัดลอกแวกซ์แล้ว ทําการรีดหรือปาด ออก ให้หมด แล้วใช้ผ้าถูพื้นให้สะอาด รอจนกว่าพื้นแห้ง
(4) ทําความสะอาดด้วยผ้าถูพื้นและน้ํา ประมาณ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหมดคราบวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ เพื่อทําการลงแวกซ์ใหม่ในขั้นต่อไป
1.3 วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งมิดชิดห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทานหรือสูดดม เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง
(2) ระวังอย่าให้เข้าตา เพราะจะทําให้เยื่อตาอักเสบ หรือทําลายเนื้อเยื่อตา ทําให้ตาบอดได้
(3) ขณะใช้ควรสวมถุงมือยางและรองเท้ายาง ระวังอย่าให้ถูกมือ หรือผิวหนัง เพราะจะทําให้เกิดอาการแสบร้อนและไหม้บริเวณ ที่ถูก และภายหลังการใช้มือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายางและมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(4) อย่าใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ กับท่อเอสอ่อนที่มีคุณภาพ ต่ํา เพราะอาจทําให้เสียหายได้ (กรณีสําหรับแก้ไขการอุดตัน ของท่อ)
(5) ไม่ควรใช้บนพื้นไม้ พื้นผิวที่ทาสี เสื่อน้ํามัน หรือวัสดุที่เป็นยางเพราะอาจฟอก หรือทําให้พื้นอ่อนตัวลง (กรณีใช้สําหรับลอก แวกซ์)
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท สะดวก
(2) หากถูกผิวหนัง ให้รีบล้างออกด้วยน้ําจนกว่าผิวหนังจะหมดความลื่น และในรายที่ผิวหนังมีอาการไหม้ ให้รีบนําส่งแพทย์
(3) หากเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ําสะอาดจํานวนมาก ๆ แล้วล้างตาต่อด้วยยาล้างตาหรือน้ําเกลือนอร์มัล หากอาการไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(4) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์เข้าไปห้ามทําให้อาเจียนให้ดื่มน้ําหรือนมปริมาณมากๆ เพื่อเจือจาง แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักรให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,814 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2565 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 1/2565
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
-------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
ข้อ ๓ เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นายบัญชา มนูญกุลชัย
2. นายณัฏฐ์ ลุมพิกานนท์
3. นางวิภา ผดุงชีวิต
4. นายอัครเดช ดาวเงิน
5. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์
6. นางโสภา อินสุข
8. นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
9. น.ส.วรางคณา อิ่มอุดม
10 .นายสาคร ศรีสวัสดิ์
11. น.ส.รุ่งทิวา จันทน์เกษร
12. นายศรัณย์ ธํารงรัตน์
13. น.ส.รววิรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์
14. นางมัณฑนา กล้าหาญ
15. น.ส.ดรุณี สุทธิหิรัญ
16. น.ส.โสภี สงวนดีกุล
17. นายธีระพร ศรีรัตน์
18. นายถนัด ตันสกุล
19. น.ส.วรรณา ไหมชุม
20. นางศิริพร ยืนยงสกุล
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2565
(นายเดช ฐิติวณิช)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมจัดการพันธบัตร
ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2356 7070 และ 0 2283 5469 | 5,815 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง และวัสดุอื่น ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่ประกอบด้วย HYDROGEN PEROXIDE หรือ HYDROGEN PEROXIDE ผสมกับ SURFACTANTS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง และวัสดุอื่นๆ
ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ที่ประกอบด้วย HYDROGEN PEROXIDE
หรือ HYDROGEN PEROXIDE ผสมกับ SURFACTANTS
--------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสารในกลุ่ม HYDROGEN PEROXIDE หรือ HYDROGEN PEROXIDE ผสมกับ SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง และวัสดุอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง และวัสดุอื่น ๆ
1.2 วิธีใช้ 1.2.1 สําหรับการฆ่าเชื้อโรคและทําความสะอาดระบบส่งน้ําควรทําในขณะพักการส่งน้ําและทําในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
(1) ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ําในอัตราส่วน...หรือผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์...กับน้ํา........
(2) นําสารละลายวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ใส่ในระบบส่งน้ํา
(3) ปล่อยให้สารละลายวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ไหลเวียนในระบบส่งน้ําอย่างทั่วถึง โดยเปิดก๊อกน้ําตรวจดูปฏิกิริยาการเกิดฟองฟู่ ถ้าไม่สามารถทําให้สารละลายวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ไหลเวียนไข้ควรเก็บไว้ในระบบส่งน้ําอย่างน้อย...........ชั่วโมง
(4) หลังจากฆ่าเชื้อโรคและทําความสะอาดด้วยวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์แล้ว ล้างระบบส่งน้ําด้วยน้ําสะอาดอีกครั้ง
1.2.2 สําหรับการฆ่าเชื้อโรค และทําความสะอาดพื้น ฝาผนังโรงเรียนเลี้ยงสัตว์ ควรทําในขณะที่ไม่มีสัตว์อยู่ในคอก
(1) ก่อนใช้ให้ย้ายสัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่น ๆ ออกไปนอกโรงเรียน และกําจัดเศษดินหรือสิ่งสกปรกบนพื้นผิวออกล้างด้วยน้ําสะอาด
(2) ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ในอัตราส่วน...หรือวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.........ผสมกับน้ํา...........เทราดหรือฉีดพ่นบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อและทําความสะอาดให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่จนไม่มีฟองฟู่ แล้วจึงล้างด้วยน้ําสะอาดอีกครั้ง เตรียมส่วนผสมก่อนใช้ทุกวัน (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
1.3 วิธีเก็บ ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่แห้ง เย็น มิดชิด และอากาศถ่ายเทสะดวกห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ ความร้อน วัตถุไวไฟ กรด ด่าง สารพวกเอบีนส์ และสารรีติวส์ เช่น โลหะ
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน
(2) ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง เสื้อผ้า หรือสูดดม ก่อนและหลังการเจือจาง
(3) ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และหน้ากาก ภายหลังการใช้ หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(4) ห้ามเทวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์กลับคืนภาชนะบรรจุ หรือผสมกับผลิตภัณฑ์อื่น
(5) ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ในที่มีอากาศถ่ายเท
(6) ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
1.5 อาการเกิดพิษ (กรณีที่เป็นสารเข้มข้น)
ระคายเคือง ปวดร้อนผิวหนัง นัยน์ตา ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร
1.6 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําสะอาดจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(2) หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(3) หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
(4) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบบ้วนปากด้วยน้ําสะอาดปริมาณมากๆ แล้วดื่มนมหรือน้ําปริมาณมากๆ เพื่อเจือจาง จากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,816 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2565 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารนี้ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 2/2565
เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารนี้
---------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อประโยชน์ในการจัดทําสถิติดุลการชําระเงิน ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ และสถิติการเงินของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์และมีความครบถ้วนถูกต้องยิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินภารกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลางในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลสําหรับใช้ประกอบการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินโดยรวมและเพิ่มความโปร่งใสเพื่อให้สอดคล้องกับการกํากับดูแลตามมาตรฐานสากล ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรกําหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่4) พ.ศ. 2551
ข้อ ๓ ยกเลิก
3.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับ ผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559
3.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2564 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับ ผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2564
3.3 หนังสือเวียน
3.3.1 หนังสือที่ ฝสข.(21) ว.71/2559 และ 72/2559 เรื่อง นําส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 8/2559 และแบบรายงานยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2559
3.3.2 หนังสือที่ ฝบข.(ว.) 38/2562 เรื่อง ปรับปรุงเงื่อนไขและแบบรายงาน ยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2562
3.3.3 หนังสือที่ ฝบข.(ว.) 63/2562 เรื่อง การขอผ่อนผันการรายงานยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2562
3.3.4 หนังสือที่ ฝขอ. 17/2564 เรื่อง นําส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2564 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อการจัดทําสถิติุ ดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 12 เมษายน 2564
3.3.5 หนังสือที่ ฝขอ.(ว.) 22/2564 เรื่อง ปรับปรุงการรายงานยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2564
ข้อ ๔ ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบุคคลซึ่งทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน ระหว่างประเทศ ได้แก่ ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทย ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ศูนย์รับฝาก และนายทะเบียนตามที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๕ เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศนี้
“ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย และนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
“นิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย” หมายความว่า
(1) นิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และให้หมายรวมถึงสาขาหรือสํานักงานตัวแทนที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศด้วย
(2)ห้างหุ้นส่วน หรือกิจการร่วมค้า ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
“ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ” หมายความว่า
(1) บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลําเนาในประเทศอื่นนอกประเทศไทย
(2) นิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่นนอกประเทศไทย และให้หมายรวมถึงสาขาหรือ สํานักงานตัวแทนที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยด้วย
(3) บุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เช่น สโมสรที่จัดตั้งในต่างประเทศ ที่ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่จัดตั้งขึ้น
“ตราสารหนี้” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทย ได้แก่
(1) พันธบัตร
(2) หุ้นกู้ธรรมดา
(3) หุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
(5) ตั๋วเงินคลัง
(6) ตั๋วแลกเงิน
(7) ตั๋วเงินอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
(8) บัตรเงินฝากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
(9) first to default credit-linked note
(10) proportionate credit-linked note
(11) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(12) บัตรเงินฝาก
(13) หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ
(14) ใบรับฝากหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้
(15) ตราสารหนี้อื่นใดที่ ธปท. กําหนด
“ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง” หมายความว่า
(1) ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศหรือผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือรับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ หรือ
(2) ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศหรือผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยที่มีอํานาจในทางตรงหรือทางอ้อมในการตัดสินใจทําธุรกรรมเพื่อถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ และให้หมายความรวมถึงบุคคลข้างต้นที่เป็นกองทุนรวม กองทุนสาวนบุคคล ทรัสต์ หรือกองทุนอื่นๆ ซึ่งมีสิทธิในการตัดสินใจถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ที่กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล ทรัสต์ หรือกองทุนอื่นๆ ถือครองอยู่
“ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทย” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัท หลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินทั่วไป รวมถึงการรับหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือการจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล การรับหรือส่งมอบผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้นๆ
“ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ”(global custodian) หมายความว่า สถาบัน การเงินหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งในต่างประเทศ ที่ทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินทั่วไป รวมถึงการรับมอบหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือการจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล การรับหรือส่งมอบผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้นๆ
“ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง” (international broker) หมายความว่า สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ ที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในการซื้อหรือการขายทรัพย์สินและฝากทรัพย์สินดังกล่าวกับผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยหรือผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ
“ศูนย์รับฝาก” หมายความว่า บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดไว้ เพื่อประกอบการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการหักบัญชี
“นายทะเบียน” หมายความว่า บุคคลซึ่งทําหน้าที่จัดทําและเก็บรักษาทะเบียน ตราสารหนี้ รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียน
“บัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง” หมายความว่า บัญชีฝากหลักทรัพย์แบบแยกรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยเปิดไว้ที่ศูนย์รับฝาก โดยจะเป็นบัญชีที่เปิดแยกตามรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงหรือเปิดเป็นบัญชีเพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงหรือเปิดเป็นบัญชีย่อย (sub account) แยกตามรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงก็ได้
“ประกาศหลักเกณฑ์การให้บริการเกี่ยวกับการดูแลและเก็บรักษาตราสารหนี้” หมายความว่า ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงินประเภทการดูแลและเก็บรักษาตราสารหนี้ (custodian service) และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้แก่ลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
5.2 การเปิดเผยและการรายงานข้อมูล
5.2.1 ให้ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ หรือ ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยรายที่ตนฝากตราสารหนี้ ดังกล่าวไว้ หรือผ่านนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีการฝากตราสารหนี้ของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงผ่านผู้รับฝาก ทรัพย์สินในต่างประเทศหรือตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงเป็นทอด ๆ ให้บุคคลข้างต้นเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ดังกล่าวเป็นทอด ๆ เพื่อให้ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทย หรือนายทะเบียน แล้วแต่กรณี สามารถเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลดังกล่าว ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ทั้งนี้ ให้ถือว่าการดําเนินการตามประกาศหลักเกณฑ์การให้บริการเกี่ยวกับการดูแลและเก็บรักษาตราสารหนี้เป็นการเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลในส่วนนั้นตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว
5.2.2 ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยจัดทําและส่งรายงานข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายวัน หรือ กําหนดเวลาอื่นใดตามแต่ละประเภทข้อมูล ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้ที่เว็บไซด์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยผู้รับฝากทรัพย์สิน ในประเทศไทยต้องตรวจสอบและดูแลให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วน
ในกรณีที่ข้อมูลการถือครองตราสารหนี้เป็นข้อมูลที่กําหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีหน้าที่เปิดเผย จัดทําและส่งตามข้อ 5.2.3 หรือ 5.2.4 แล้ว ให้ยกเว้นการจัดทําและส่งรายงานข้อมูลเดียวกันนั้นแก่ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทย แล้วแต่กรณี
5.2.3 ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยและศูนย์รับฝากเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ฝากไว้กับศูนย์รับฝาก ดังต่อไปนี้ ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ศูนย์รับฝากเป็นผู้จัดทําและส่งข้อมูล
(1) ข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เช่น ยอดคงค้าง รายการส่งมอบหรือรับมอบตราสารหนี้ ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดทุกสิ้นวันทําการ
(2) ข้อมูลบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงและรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อบัญชี สถานะบัญชี ข้อมูลที่เกี่ยวกับเจ้าของตราสารหนี้ เฉพาะที่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (shareholder profile) ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกําหนด ภายในวันทําการถัดไปนับจากวันที่ศูนย์รับฝากได้รับเลขที่บัญชีฝากหลักทรัพย์ เพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากธนาคารแห่งประเทศไทย
5.2.4 ให้นายทะเบียนเปิดเผย จัดทําและจัดส่งข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ที่ตน เป็นนายทะเบียนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายครั้งหรือตามรอบเวลาที่ได้รับแจ้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.3 การยื่นคําขอผ่อนผัน
5.3.1 ในกรณีที่ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ หรือ ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงมีเหตุจําเป็นอันสมควรทําให้ไม่สามารถเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 5.2.1 ได้ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นขอผ่อนผัน ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเองหรือผ่านผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยรายที่ตนฝากตราสารหนี้ ดังกล่าวไว้ หรือยื่นขอผ่อนผันเป็นทอด ๆ เพื่อให้ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยรวบรวมคําขอผ่อนผัน ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วแต่กรณี
5.3.2 ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทย ศูนย์รับฝาก หรือนายทะเบียน มีเหตุจําเป็นอันสมควรทําให้ไม่สามารถจัดทําและส่งข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 5.2.2 ถึง 5.2.4 แล้วแต่กรณีได้ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นขอผ่อนผันต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ในกรณีที่มีการขอผ่อนผันตามข้อ 5.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันได้ ตามที่เห็นสมควร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้
5.4 บทเฉพาะกาล
5.4.1 ให้ศูนย์รับฝากเปิดเผยและจัดทําข้อมูลของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
5.4.2 กรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินในประเทศไทยได้รับผ่อนผันการเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์แบบแยกรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงและการลงทะเบียนแสดงตัวตนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงินประเภทการดูแลและเก็บรักษาตราสารหนี้ (custodian service) สําหรับลูกค้าที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ หรือตัวแทนการฝาก ทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เป็นรายกรณีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บุคคลข้างต้นเปิดเผย จัดทํา และจัดส่งรายงานข้อมูลการถือครองตราสารหนี้ตามที่ได้รับผ่อนผัน ตามแบบ และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้เริ่มรายงานข้อมูลยอดคงค้างการถือครอง ตราสารหนี้ตามเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตผ่อนผันแต่ละฉบับ
ทั้งนี้ ก่อนกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลข้างต้นเปิดเผย จัดทํา และ จัดส่งรายงานข้อมูลตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เกี่ยวการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่28 กรกฎาคม 2559 และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว ยกเว้นบุคคลที่ได้รับผ่อนผันการรายงานข้อมูลตามหนังสืออนุญาตผ่อนผันภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สรข. 8/2559 เป็นรายกรณีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้รายงานข้อมูล ตามที่ได้รับผ่อนผันไว้ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565
ข้อ ๖ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565
(นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมข้อมูลตลาดการเงิน
ฝ่ายบริหารข้อมูลและดาต้าอนาไลติกส์
โทรศัพท์ 0 2283 5173, 0 2283 5192, 0 2356 7258 | 5,817 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่บวกับการคำนวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 2/2565
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่บวกับการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงิน
ที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR
-----------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดการเงินทั่วโลก ส่งผลให้มีการพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยระยะข้ามคืน (Overnight rate) ซึ่งแตกต่างจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเดิม เช่น LIBOR ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบมีระยะเวลาที่ทราบค่าล่วงหน้าตั้งแต่ต้นงวดดอกเบี้ย (forward-looking term rate) ทําให้เมื่อนําอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะข้ามคืนดังกล่าวไปใช้ในธุรกรรมการเงินที่มีงวดการชําระดอกเบี้ยยาวกว่าระยะข้ามคืน เช่น งวดดอกเบี้ย 1 เดือน 3 เดือน หรือ 6 เดือน หรือ ตามระยะเวลาที่กําหนดในสัญญา จะต้องคํานวณอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะข้ามคืนดังกล่าวให้เป็นอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินที่จะใช้สําหรับคํานวณดอกเบี้ยในแต่ละงวด ซึ่งการคํานวณด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ยเชิงซ้อน (compound average) ที่คํานึงถึงมูลค่าของเงินตามกาลเวลา (time value of money) เพื่อสะท้อนต้นทุนทางการเงินที่แท้จริงตามหลักการพื้นฐานของทฤษฎีการเงินเป็นวิธีมาตรฐานหนึ่งที่ใช้ในตลาดการเงินทั่วโลก
สําหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้ร่วมตลาดที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่สําหรับสกุลเงินบาท คือ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง Thai Overnight Repurchase Rate (THOR)ซึ่งคํานวณจากอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมระยะข้ามคืนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนระหว่างธนาคาร และการนําอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ไปใช้ในธุรกรรมการเงินที่มีกําหนดชําระดอกเบี้ย เป็นงวดที่ยาวกว่าระยะข้ามคืนจะต้องคํานวณอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ให้เป็นอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินในแต่ละงวด ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THORเพื่อให้สถาบันการเงินมีวิธีปฏิบัติในการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนส่วนต่าง (basis) ที่เกิดจากการใช้วิธีคํานวณที่แตกต่างกัน รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่คู่สัญญาและผู้ใช้บริการว่าการกําหนดอัตราดอกเบี้ยมีความโปร่งใสและเป็นธรรม ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดําเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
ข้อ ๓ ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
ข้อ ๔ เนื้อหา
4.1 คําจํากัดความ
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนระยะข้ามคืนระหว่างธนาคาร (Thai Overnight Repurchase Rate) ที่เผยแพร่โดย ธปท. หรือผู้ที่ ธปท. แต่งตั้ง
“อัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงิน” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินแต่ละงวดที่คํานวณจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR เพื่อใช้ในการคํานวณจํานวนดอกเบี้ยที่ต้องชําระโดยไม่รวมส่วนเพิ่ม (margin) ที่สะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้และปัจจัยอื่นตามที่คู่สัญญาตกลงกัน
“วิธีหาค่าเฉลี่ยเชิงช้อน (compound average)” หมายความว่า วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้สําหรับการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะข้ามคืน เพื่อให้สะท้อนมูลค่าของเงินตามกาลเวลา (time value of money)
หลักเกณฑ์
ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติในการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ดังนี้
(1) ใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยเชิงซ้อน (compound average) เป็นวิธีหลักในการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงิน โดยสถาบันการเงินสามารถใช้สูตรการคํานวณอัตราดอกเบี้ยวิธีหาค่าเฉลี่ยเชิงข้อนตามที่ระบุไว้ในแนวปฏิบัติสําหรับการทําธุรกรรมการเงินอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR (A User’s Guide to Thai Overnight Repurchase Rate) ซึ่งเผยแพร่ที่เว็บไซต์ของ ธปท.([www.bot.or.th](https://www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx))
ในกรณีที่สถาบันการเงินคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินด้วยวิธีอื่นสถาบันการเงินต้องสามารถชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการเลือกใช้วิธีดังกล่าวเมื่อได้รับการสอบถามจาก ธปท.
(2) แจ้งให้คู่สัญญาหรือผู้ใช้บริการทราบถึงความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะข้ามคืนกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแบบมีระยะเวลาที่ทราบค่าล่วงหน้า (forward-looking term rate) รวมทั้งรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการคํานวณดอกเบี้ยที่ต้องชําระในแต่ละงวด เช่น สูตรคํานวณอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงิน เป็นต้น
ข้อ ๕ วันที่เริ่มบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
(นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝ่ายตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2283 5476 | 5,818 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2565 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 3/2565
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
-------------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
ข้อ ๓ เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นายบัญชา มนูญกุลชัย
2. นายณัฏฐ์ ลุมพิกานนท์
3. นางวิภา ผดุงชีวิต
4. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์
5. นางโสภา อินสุข
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2565
(นายเดช ฐิติวณิช)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมจัดการพันธบัตร
ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2356 7070 และ 0 2283 5469 | 5,819 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนังและวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่มแอลกอฮอล์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดพื้น ฝาผนังและวัสดุอื่น ๆ
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่มแอลกอฮอล์
------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่มแอลกอฮอล์ ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง และ วัสดุอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับ ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ทําความสะอาด
1.2 วิธีใช้ 1.2.1 สําหรับชนิดครีม
ใช้ฟองน้ําหรือผ้าแห้งสะอาดชุบวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นํามาเช็ดให้ทั่วพื้นผิวที่ต้องการทําความสะอาดทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งสะอาดอีกครั้ง หรือผสมวัตถุอันตรายกับน้ําในอัตราส่วน........แล้วใช้ตามวิธีข้างต้น
1.2.2 สําหรับชนิดของเหลว
เขย่าภาชนะบรรจุ เทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์บนฟองน้ําหรือผ้าแห้งสะอาด แล้วใช้ตามวิธีข้างต้น (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
1.3 วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ และความร้อน
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน หรือสูดดม
(2) ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง
(3) ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับควรล้างถุงมือยาง และมือด้วยน้ํา และสบู่ทุกครั้ง
(4) ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากไม่ทุเลาให้นําผู้ป่วยส่งแพทย์
(2) หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ หากเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออก แล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(3) หากเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(4) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ภายใน 30 นาที รีบทําให้อาเจียน โดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วล้วงคอ รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,820 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2565 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่สกง. 3/2565
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
----------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับร้อยละ 0.52278 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของ ตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2283 6801-2 | 5,821 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม HYDROCARBON SOLVENT | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง และวัสดุอื่น ๆ
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม HYDROCARBON SOLVENT
-------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม HYDROCARBON SOLVENT ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการทําความสะอาดพื้น ฝาผนังและวัสดุอื่นๆ ประเภทผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ทําความสะอาด
1.2 วิธีใช้ 1.2.1 สําหรับชนิดครีม
ใช้ฟองน้ําหรือผ้าแห้งสะอาดชุบวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นํามาเช็ดให้ทั่วพื้นผิวที่ต้องการทําความสะอาด ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งสะอาดอีกครั้ง หรือผสมวัตถุอันตรายกับนาในอัตราส่วน.....แล้วใช้ตามวิธีข้างต้น
1.2.2 สําหรับชนิดของเหลว
เขย่าภาชนะบรรจุ เทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์บนฟองน้ําหรือผ้าแห้งสะอาด แล้วใช้ตามวิธีข้างต้น (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
1.3 วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ และความร้อน
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน หรือสูดดม
(2) ระวังอย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนัง
(3) ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง (แล้วแต่กรณี) และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(4) ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากไม่ทุเลาให้นําผู้ป่วยส่งแพทย์
(2) หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ หากเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่
(3) หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(4) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,822 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 4/2565
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
-----------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย
การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 9/91/65 | - | 55,000 | 1 มี.ค. 65 | 3 มี.ค. 65 | 2 มิ.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 3/364/65 | - | 50,000 | 1 มี.ค. 65 | 3 มี.ค. 65 | 2 มี.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน |
| 10/91/65 | - | 55,000 | 8 มี.ค. 65 | 10 มี.ค. 65 | 9 มิ.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 3/FRB182/65 | Compounded THOR + 0.05 | 35,000 | 10 มี.ค. 65 | 14 มี.ค. 65 | 12 ก.ย. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 11/91/65 | - | 55,000 | 15 มี.ค. 65 | 17 มี.ค. 65 | 16 มิ.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 3/FRB364/65 | Compounded THOR + 0.05 | 35,000 | 17 มี.ค. 65 | 21 มี.ค. 65 | 20 มี.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน |
| 12/91/65 | - | 55,000 | 22 มี.ค. 65 | 24 มี.ค. 65 | 23 มิ.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 2/2Y/64 | 0.66 | 25,000 | 24 มี.ค. 65 | 28 มี.ค. 65 | 22 พ.ย. 66 | 2 ปี | 1.65 ปี |
| 13/91/65 | - | 55,000 | 29 มี.ค. 65 | 31 มี.ค. 65 | 30 มิ.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/FRB182/65 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/ + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 12 กันยายน 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 12 กันยายน 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด |
1/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/FRB364/65 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2/ + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 20 มีนาคม 2566 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 20 มีนาคม 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด |
2/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,823 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 6/2565
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2565
---------------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2565
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย
การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 14/91/65 | - | 50,000 | 4 เม.ย. 65 | 7 เม.ย. 65 | 7 ก.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 4/365/65 | - | 35,000 | 4 เม.ย. 65 | 7 เม.ย. 65 | 7 เม.ย. 66 | 365 วัน | 365 วัน |
| 2/2Y/64 | 0.66 | 15,000 | 7 เม.ย. 65 | 11 เม.ย. 65 | 22 พ.ย. 66 | 2 ปี | 1.62 ปี |
| 4/FRB182/65 | Compounded THOR + 0.05 | 35,000 | 7 เม.ย. 65 | 11 เม.ย. 65 | 10 ต.ค. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 15/87/65 | - | 50,000 | 11 เม.ย. 65 | 18 เม.ย. 65 | 14 ก.ค. 65 | 87 วัน | 87 วัน |
| 16/91/65 | - | 50,000 | 19 เม.ย. 65 | 21 เม.ย. 65 | 21 ก.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 4/FRB364/65 | Compounded THOR + 0.05 | 35,000 | 21 เม.ย. 65 | 25 เม.ย. 65 | 24 เม.ย. 66 | 364 วัน | 364 วัน |
| 17/95/65 | - | 50,000 | 26 เม.ย. 65 | 28 เม.ย. 65 | 1 ส.ค. 65 | 95 วัน | 95 วัน |
| 18/91/65 | - | 50,000 | 29 เม.ย. 65 | 5 พ.ค. 65 | 4 ส.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/FRB182/65 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/ + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 10 ตุลาคม 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
1/Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/FRB364/65 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2/ + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 24 เมษายน 2566 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 24 เมษายน 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
2/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2565
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,824 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 8/2565
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565
---------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย
การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 5/FRB182/65 | Compounded THOR + 0.05 | 30,000 | 5 พ.ค. 65 | 9 พ.ค. 65 | 7 พ.ย. 65 | 182 วัน | 182 วัน |
| 19/91/65 | - | 50,000 | 10 พ.ค. 65 | 12 พ.ค. 65 | 11 ส.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 5/364/65 | - | 30,000 | 10 พ.ค. 65 | 12 พ.ค. 65 | 11 พ.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน |
| 1/2Y/65 | จะกําหนดและประกาศ ในวันที่ 10 พ.ค. 2565 | 10,000 | 12 พ.ค. 65 | 17 พ.ค. 65 | 17 พ.ค. 67 | 2 ปี | 2 ปี |
| 20/91/65 | - | 50,000 | 17 พ.ค. 65 | 19 พ.ค. 65 | 18 ส.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 5/FRB364/65 | Compounded THOR+ 0.05 | 30,000 | 19 พ.ค. 65 | 23 พ.ค. 65 | 22 พ.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน |
| 21/91/65 | - | 50,000 | 24 พ.ค. 65 | 26 พ.ค. 65 | 25 ส.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
| 22/91/65 | - | 50,000 | 31 พ.ค. 65 | 2 มิ.ย. 65 | 1 ก.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 5/FRB182/65 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/ + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
1/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2Y/65 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2565 |
| การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 17 พฤศจิกายน และ 17 พฤษภาคม ของทุกปี |
| วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวน ที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 5/FRB364/65 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2/ + 0.05%โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย |
| วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด |
2/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน 2565
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0 2356 7529 | 5,825 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2565 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 9/2565
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม 2565
---------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม 2565
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปีประจําเดือนพฤษภาคม 2565 (รุ่นที่ 1/2Y/65) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2Y/65 ที่จะประมูลในวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เท่ากับร้อยละ 1.63 ต่อปี
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2565
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2283 6801-2 | 5,826 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2565 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 10/2565
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2565
--------------------------------------
ข้อ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2565
ข้อ ๒ อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๓ เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 เท่ากับร้อยละ 0.52903 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของ ตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ลบร้อยละ 0.1)
ข้อ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2565
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2565
(นางอลิศรา มหาสันทนะ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2283 6801-2 | 5,827 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม SURFACTANTS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว
ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม SURFACTANTS
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการทําความสะอาดภาชนะ หรือเครื่องใช้ในครัว ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและ ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ทําความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว
1.2 วิธีใช้ ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ําในอัตราส่วน......ล้างภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัวแล้วล้างออกด้วยน้ําจนสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
1.3 วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง
1.4 ค่าเดือน (1) ห้ามรับประทาน
(2) ระวังอย่าให้เข้าตา ผู้ที่แพ้สารเคมีง่าย ควรสวมถุงมือยาง
(3) ภาชนะที่ใช้หมดแล้ว ควรทิ้งหรือทําลาย ห้ามทิ้งลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(2) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้ดื่มน้ํา หรือนมปริมาณมากๆ เพื่อเจือจาง แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ (กรณีที่เป็น ANIONIC SURFACTANT) หรือ (2) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ (ในกรณีที่เป็น NONIONIC หรือ AMPHOTERIC SURFACTANT)
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,828 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฟอกขาว ที่ประกอบด้วยสารที่ให้ออกซิเจนหรือสารที่ให้ออกซิเจนผสมกับด่าง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดหรือฟอกขาว
ที่ประกอบด้วยสารที่ให้ออกซิเจนหรือสารที่ให้ออกซิเจนผสมกับด่าง
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบการไปด้วยสารที่ให้ออกซิเจนหรือสารที่ให้ออกซิเจนหรือผสมกับด่าง ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการ ทําความสะอาดหรือฟอกขาว ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ทําความสะอาด หรือฟอกขาว
1.2 วิธีใช้ ควรสวมถุงมือขณะใช้หรือผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
1.2.1 สําหรับการทําความสะอาดผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ในอัตราส่วน.........ต่อน้ํา..........ขัดหรือเช็ดให้ทั่วพื้นผิวที่ต้องการ แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด
1.2.2 สําหรับการซักผ้าขาว
(1) สําหรับการซักด้วยมือผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ในอัตราส่วน....ต่อน้ําผสมผงซักฟอก หรือสบู่...........แล้วจึงนําเสื้อผ้าลงซัก
(2) สําหรับการซักด้วยเครื่องซักผ้า
- เครื่องซักผ้าทั่วไปที่เปิดด้านหน้า ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ปริมาณ..........
- เครื่องซักผ้าทั่วไปที่เปิดด้านบน ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณ.............
(3) สําหรับผ้าที่มีคราบเปื้อนจึงชักออกยาก ให้น่าลงแช่ในวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ที่เจือจางด้วยน้ําในอัตราส่วน.....ต่อ น้ํา........ประมาณ........นาที แล้วจึงนําไปซักตามปกติ
(4) สําหรับผ้าสีให้ทดสอบว่าสามารถชักด้วยวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์หรือไม่ โดยเจือจางวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.........กับน้ํา........ไปทดลองหยดลงบนส่วนที่มิดชิดของผ้า ทิ้ง ไว้ 1 นาที หากสีของผ้าไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่าสามารถใช้กับวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ได้
1.3 วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง มิดชิด และอากาศถ่ายเทสะดวก ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง ความร้อน เปลวไฟ กรดและสารรีดิวส์ เช่น โลหะ
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน
(2) ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม
(3) ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(4) ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมาก ๆ หากยังมีอาการระคายเคืองอยู่อีกให้พบแพทย์
(2) หากเข้าตา รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาจากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์
(3) หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก จากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์
(4) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้รีบดื่มน้ําหรือนมปริมาณมากๆ เพื่อเจือจาง จากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,829 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโถสุขภัณฑ์ ที่ประกอบด้วยสาร PARAFORMALDEHYDE | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโถสุขภัณฑ์
ที่ประกอบด้วยสาร PARAFORMALDEHYDE
---------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย PARAFORMALDEHYDE ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการดับกลิ่นและฆ่าเชื้อเครื่อง สุขภัณฑ์ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับ ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโถสุขภัณฑ์ในรถโดยสาร รถไฟและเครื่องบิน
1.2 วิธีใช้ เทวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์....................(กรัม)โถสุขภัณฑ์ แปรงให้ทั่ว ทิ้งไว้....นาที แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด
1.3 วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิทเก็บในที่แห้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ ความร้อน กรดและสารออกซิไดส์
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน หรือสูดดม
(2) ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง และภายหลังการใช้ หรือหยิบจับควรล้างถุงมือยาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(3) ระวังอย่าให้เข้าตา ปาก ถูกผิวหนัง หรือเสื้อผ้า
(4) ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
1.5 อาการเกิดพิษ (กรณีสารเข้มข้น) ระคายเคืองผิวหนัง นัยน์ตา ทางเดินลมหายใจ และทางเดินอาหาร
1.6 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมากๆ หากยังมีอาการระคายเคืองอยู่อีกให้ไปพบแพทย์
(2) หากเข้าตา รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาจากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์
(3) หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก จากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์
(4) หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ และคนไข้รู้สึกตัวควรทําให้อาเจียนทันที โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ จากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์พร้อมภาชนะ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์
1.7 คําแนะนําสําหรับแพทย์ (กรณีสารเข้มข้น)
(1) หากผู้ป่วยกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เข้าไป ต้องทําการล้างท้องด้วยสารละลายแอมโมเนียเจือจาง (strong ammonia 1 ช้อนชา ละลายน้ํา 570 มิลลิลิตร) หรือใช้สารละลายแอมโมเนียม คาร์บอเนต 1% ล้างท้องและตามด้วยการให้ saline cathartic
(2) ให้ออกซิเจนในกรณีจําเป็น
(3) รักษาตามอาการ
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,830 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ย่อยสลายสิ่งปฏิกูล ขจัดการอุดตันของท่อ บ่อเกรอะ ถังบำบัดน้ำเสีย ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ENZYMES หรือ ENZYMES ผสมกับ SURFACTANTS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ย่อยสลายสิ่งปฏิกูล ขจัดการอุดตันของท่อ
บ่อเกรอะ ถังบําบัดน้ําเสีย ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ENZYMES หรือ ENZYMES
ผสมกับ SURFACTANTS
---------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ENZYMES หรือ ENZYMES ผสมกับ SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ที่นํา มาใช้เพื่อประโยชน์ในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูล ขจัดการอุดตันของท่อ บ่อเกรอะ ถังบําบัดน้ําเสีย ต้องปฏิบัติ ตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุ อันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้
1.1 ประโยชน์ ใช้ย่อยสลายสิ่งปฏิกูล ขจัดการอุดตันของท่อ บ่อเกรอะ ถังบําบัดน้ําเสีย ที่เกิดจากอินทรีย์สาร
1.2 วิธีใช้ (แจ้งตามวิธีการใช้จริง)
1.2.1 สําหรับขจัดการอุดตันของท่อในครัวและห้องน้ํา เทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณ..........ในท่อ แล้วราดน้ําหรือน้ําอุ่นปริมาณ.....ลงในท่อทําในตอนกลางคืนหรือเมื่อมีการอุดตันอีก
1.2.2 สําหรับขจัดสิ่งปฏิกูลเทวัตถุอันตราย ปริมาณ.........ลงในสิ่งปฏิกูลที่มีน้ําในปริมาณที่ครอบคลุมสิ่งปฏิกูลที่ต้องการกําจัดทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นให้ราดน้ําเย็นนาน 3-5 นาที และทําทุกสัปดาห์หรือเมื่อมีการอุดตันอีก
1.2.3 สําหรับการจัดการอุดตันของถังบําบัดน้ําเสียเทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณ..........ต่อถังขนาด........ในอาทิตย์แรก และ ทําทุกสัปดาห์หรือเมื่อมีการอุดตันอีก
1.3 การเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ และ ความร้อน
1.4 คําเตือน (1) ห้ามรับประทาน
(2) อย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม
(3) ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(4) ห้ามใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ร่วมกับผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด หรือสารเคมีอื่น ๆ
(5) ห้ามใช้กับ RECIRCULATING SYSTEM
1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น
(1) หากถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมากๆ หากเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
(2) หากเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
(3) หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอให้อาเจียน แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่น่าเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภักดี โพธิศิริ
(นายภักดี โพธิศิริ)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,831 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วย CHLORINE และ CHLORINE RELEASING SUBSTANCES | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อ ประเภทเทคนิคอลเกรด
ที่ประกอบด้วย CHLORINE และ CHLORINE RELEASING SUBSTANCES
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย CHLORINE และ CHLORINE RELEASING SUBSTANCES ในผลิตภัณฑ์ทําความ สะอาด ฆ่าเชื้อ หรือฟอกขาว ประเภทเทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดฆ่าเชื้อ ดับกลิ่น หรือฟอกขาว
(2) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารสัตว์เลี้ยงเปลวไฟ ความร้อน สารประเภทแอมโมเนีย เอมินส์ และสารอ๊อกซิไดซ์
(3) คําเตือน 1. สวมเสื้อผ้าชุดปฏิบัติงานให้ครบชุด ก่อนที่จะลงมือทํางาน ต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ถูกผิวหนัง หรือเสื้อผ้า
2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อทุกครั้ง หลังจากปฏิบัติงาน
3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่
4.ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(4) อาการเกิดพิษ
ระคายเคืองผิวหนัง นัยน์ตา ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมาก ๆ หากยังมีอาการระคายเคืองอยู่อีก ให้รีบไปพบแพทย์
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์
4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้รีบดื่มน้ําหรือนมปริมาณมาก ๆ เพื่อเจือจาง จากนั้นรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
(6) คําแนะนําสําหรับแพทย์
1. ห้ามทําให้อาเจียน และห้ามให้สารประเภท acid antidote
2. ให้รับประทานนม ไข่ขาว antacid หรือสารละลาย 1% Sodium thiosulfate ไม่ควรให้ Sodium bicarbonate เพราะจะทําให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
บรรเทา อื้อกุล
(นายบรรเทา อื้อกุล)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,832 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของเมทธานอลในผลิตภัณฑ์อุปโภคที่ใช้ในบ้านเรือน ที่มีสารนี้เป็นตัวทำละลาย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของเมทธานอลในผลิตภัณฑ์อุปโภคที่ใช้ในบ้านเรือน
ที่มีสารนี้เป็นตัวทําละลาย
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ เมทธานอลในผลิตภัณฑ์อุปโภคที่ใช้ในบ้านเรือนที่มีสารนี้เป็นตัวทําละลายหรือในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการประกอบอาหารหรืออุ่นอาหาร ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2538
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย เมทธานอล (METHANOL) ในผลิตภัณฑ์อุปโภคที่ใช้ในบ้านเรือนที่มีสารนี้เป็นตัวทําละลาย ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และต้องปฏิบัติดังนี้
(1) แสดงข้อความของค่าเดือนและวิธีการเก็บรักษา ดังต่อไปนี้
ก. คําเตือน
- ห้ามรับประทาน เพราะอาจทําให้ตาบอดหรือเสียชีวิตได้ หากรับประทาน เข้าไปรีบทําให้อาเจียน โดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ และดื่ม วิสกี้ หรือเหล้าชนิดแรง ๆ ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 มิลลิลิตร) ทุก 3-4 ชั่วโมง ยกเว้นผู้ที่หมดสติ จากนั้นให้ผู้ป่วยนอนราบและห่มผ้าให้อุ่นตลอดเวลา พร้อมทั้งใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วยเพื่อไม่ให้ถูกแสงสว่างมากนัก แล้วรีบนําผู้ป่วยไป พบแพทย์พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อ ผลิตภัณฑ์
- ห้ามสูดดมกลิ่นหรือไอ ควัน หากสูดดมให้นําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มี อากาศถ่ายเทสะดวก
- ระวังอย่าให้เข้าตาหรือถูกผิวหนัง หากเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวน มาก ๆ แล้วรีบนําส่งแพทย์
ข. วิธีเก็บรักษา
- เก็บในที่เย็นและปิดมิดชิด ห่างจากเด็ก ความร้อน เปลวไฟ และประกายไฟ
(2) ให้แสดงสัญลักษณ์ตาม UN HAZARD SYMBOL มีลักษณะเป็นเปลวไฟสีดําหรือสีขาวบนพื้นสีแดง มีขนาดเห็นได้ชัดเจน ตามรูป ดังนี้
ข้อ ๓ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
วิชัย โชควิวัฒน
(นายวิชัย โชควิวัฒน)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,833 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เรื่อง การกำหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
เรื่อง การกําหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 91/13 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการประกอบกิจการที่เป็นการประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว ที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ เป็นการประกอบกิจการชั่วคราว
(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 โดยการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 3 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534
(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534
(3) การให้กู้ยืมเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่า ด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งให้กู้ยืมเงินเป็นครั้งคราวมิใช่การประกอบกิจการ เป็นปกติธุระ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2535
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,834 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการโอนทรัพย์สินในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 3)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
สําหรับรายรับจากการโอนทรัพย์สินในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน (9) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 334) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับรายรับจากการโอนทรัพย์สิน ในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การโอนทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และการโอนทรัพย์สินของนิติบุคคลเฉพาะกิจกลับคืนให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินภายใต้โครงการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ต้องมีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งเป็นที่รับรองทั่วไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542
จักรี รัตยันตรกร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,835 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์และฐานภาษีสำหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 4)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกิจการซื้อ
และขายคืนหลักทรัพย์และฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อ
และขายคืนหลักทรัพย์
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและกําหนดฐานภาษีสําหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี (ฉบับที่ 350) พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้บริษัท หลักทรัพย์ประกอบธุรกิจซื้อและขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อยดังนี้
(1) เป็นการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับสถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ดังนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือ เพื่อการจัดการกองทุนส่วน
(ค) บริษัทประกันภัย
(ง) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(จ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ฉ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ช) กองทุนบําเหน็จบํานาญ
(ซ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ณ) กองทุนรวม
(ญ) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฏ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ฎ) ผู้ลงทุนต่างประเทศที่จัดอยู่ในประเภท หรือเข้าลักษณะเป็นผู้ลงทุน ตาม (ก) ถึง (ฎ)
(2) ต้องมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement) เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ และเป็นสัญญาที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ
(3) ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ขายหลักทรัพย์สัญญาจะซื้อคืนหลักทรัพย์ประเภท เดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ขายให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์เมื่อครบกําหนดซื้อคืนตามสัญญา หรือวันที่คู่สัญญาทวงถามในราคาตามวิธีการคํานวณที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ขายหลักทรัพย์จนถึงวันที่ซื้อคืนหลักทรัพย์ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ หากมีการนําหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่นํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืน มาเพิ่ม หรือมีการส่งคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวอันเนื่องมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กําหนดในสัญญา ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่นํามาเพิ่มหรือ หลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืน ตามวรรคหนึ่งด้วย
(4) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเพิ่มทุน ลดทุน ที่ทําให้หลักทรัพย์นั้นมีจํานวน หรือมูลค่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนหลักทรัพย์ ที่เทียบเท่าจากผู้ซื้อหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ในระหว่างที่มีการขายหลักทรัพย์ตามสัญญาขายหรือซื้อคืนหลักทรัพย์ และผู้ขายหลักทรัพย์ยังไม่ได้ซื้อคืนหลักทรัพย์ตามสัญญา หากผู้ออกหลักทรัพย์ ที่มีการนํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืนมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่เกิดจากการถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องจ่ายคืนผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ได้แก่ กําไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยเงินปันผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ซื้อหลักทรัพย์ได้จ่ายคืนให้ผู้ขายหลักทรัพย์ ตามสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement)
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2542
จักรี รัตยันตรกร
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,836 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกิจการซื้อและขายคืนทรัพย และฐานภาษีสำหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์์ | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 7)
เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกิจการซื้อ
และขายคืนหลักทรัพย์ และฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อ
และขายคืนหลักทรัพย์
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และกําหนดฐานภาษีสําหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี (ฉบับที่ 350) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และกําหนดฐานภาษีสําหรับกิจการ ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี (ฉบับที่ 391) พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกิจการที่กระทําขึ้นระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่น หรือระหว่างสถาบันการเงินและนิติบุคคลอื่น หรือระหว่างสถาบันการเงินหรือระหว่างนิติบุคคลอื่น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ และฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้บริษัท หลักทรัพย์ประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน หรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล ประกอบกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน และต้องมีเงื่อนไขอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ระหว่างบุคคล ดังต่อไปนี้
(1.1) คู่สัญญาที่เป็นได้ทั้งด้านผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) และผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้)
(ก) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ข) ธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ค) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน และ บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัย
(ฉ) บริษัทมหาชนจํากัด นอกจากบริษัทตาม (ข) - (จ)
(ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ซ) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(ฌ) บริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฐ) กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ฑ) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ฒ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(1.2) คู่สัญญาที่เป็นผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ได้อย่างเดียวเท่านั้น ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นอกจาก (1.1)
(2) ต้องมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement) เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อหลักทรัพย์ และเป็นสัญญาที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ
(3) ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ขายหลักทรัพย์สัญญาจะซื้อคืนหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน ในจํานวนที่เทียบเท่ากับที่ขายให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์เมื่อครบกําหนดซื้อคืนตามสัญญาหรือวันที่คู่สัญญาทวงถามในราคาตามวิธีการคํานวณที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ขายหลักทรัพย์จนถึงวันที่ซื้อคืนหลักทรัพย์ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ หากมีการนําหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับที่นํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืน มาเพิ่มหรือมีการส่งคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวอันเนื่องมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามวิธีการที่กําหนดในสัญญา ให้ถือว่าหลักทรัพย์ที่นํามาเพิ่มหรือหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนตามวรรคหนึ่งด้วย
(4) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิเพิ่มทุน ลดทุน ที่ทําให้หลักทรัพย์นั้น มีจํานวนหรือมูลค่าเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนสภาพไป ผู้ขายหลักทรัพย์จะซื้อคืนหลักทรัพย์ที่เทียบเท่าจากผู้ซื้อหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ในระหว่างที่มีการขายหลักทรัพย์ ตามสัญญาขายหรือซื้อคืนและผู้ขายหลักทรัพย์ยังไม่ได้ซื้อคืนหลักทรัพย์ตามสัญญา หากผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีการนํามาทําสัญญาขายหรือซื้อคืนมีการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่เกิดจากการถือครองหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องจ่ายคืน ผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ฐานภาษีสําหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ ได้แก่ กําไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ย เงินปันผลหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ซื้อหลักทรัพย์ได้จ่ายคืนให้ผู้ขายหลักทรัพย์ ตามสัญญาขายหรือซื้อคืน (Repurchase Agreement)
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,837 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ที่ประกอบด้วยสารที่ให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
ที่ประกอบด้วยสารที่ให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสารที่ให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้เพื่อประโยชน์การฆ่าเชื้อโรค ต้อง ปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระ สําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ฆ่าเชื้อโรค
(2) วิธีใช้ ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์...........กรัมกับน้ํา........ลิตร ควรผสมในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกเมื่อผสมแล้วให้ทําฉลากติดที่ภาชนะบรรจุ ดังนี้
“ถังบรรจุผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่เป็นไอระเหย รีบปิดทันที
(3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้ง เย็น มิดชิด และอากาศถ่ายเทสะดวกห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม
3. ขณะผสมควรสวมถุงมือยาง และหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปากและจมูก ภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยางและมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
4. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
2. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ หากเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออก แล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
3. หากเข้าตาให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหาก ไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มน้ําปริมาณมากๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542
มงคล ณ สงขลา
(นายมงคล ณ สงขลา)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,838 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ขจัดคราบสกปรกก่อนการซักหรือซักผ้า ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม SURFACTANTS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ขจัดคราบสกปรกก่อนการซักหรือซักผ้า
ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม SURFACTANTS
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการขจัดคราบสกปรกก่อน การซักผ้าหรือซักผ้า ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลาก และระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ขจัดคราบสกปรกก่อนการซักหรือซักผ้า
(2) วิธีใช้ การขจัดคราบสกปรกก่อนการซักหรือซักผ้าทาหรือป้ายวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ลงบนเสื้อผ้าบริเวณที่ต้องการขจัดคราบทิ้งไว้สักครู่ จากนั้นนําไปซักตามปกติ
การซักผ้า
ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ําในอัตราส่วน.....ซักผ้าแล้วล้างออกด้วยน้ําจนสะอาด (หรือแจ้งจริงตามวิธีใช้จริง)
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังอย่าให้เข้าตา ผู้ที่แพ้สารเคมีง่าย ควรสวมถุงมือยาง
3. ภาชนะที่ใช้หมดแล้ว ควรทิ้งหรือทําลาย
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาด จนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
2. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มนมปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ (กรณีที่เป็น ANIONIC SURFACTANT) หรือ หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ (ในกรณีที่เป็น NONIONIC SURFACTANT หรือ AMPHOTERIC SURFACTANT)
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักรให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542
มงคล ณ สงขลา
(นายมงคล ณ สงขลา)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,839 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่มกรด หรือ ANIONIC SURFACTANT หรือ CATIONIC SURFACTANT หรือสารในกลุ่มนี้ผสมกับ NONIONIC SURFACTANT | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น
ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่มกรด
หรือ ANIONIC SURFACTANT หรือ CATIONIC SURFACTANT
หรือสารในกลุ่มนี้ผสมกับ NONIONIC SURFACTANT
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดหรือฆ่าเชื้อที่พื้น ฝาผนังเครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่มกรด หรือ ANIONIC SURFACTANT หรือ CATIONIC SURFACTANT หรือสารในกลุ่มนี้ผสมกับ NONIONIC SURFACTANT ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2538
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่มกรด หรือ ANIONIC SURFACTANT หรือ CATIONIC SURFACTANT หรือสาร ในกลุ่มนี้ผสมกับ NONIONIC SURFACTANT ในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรค ทําความ สะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ
(2) วิธีใช้ สําหรับการทําความสะอาด
ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์......กับน้ํา.......แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด
ในกรณีที่พื้นผิวสกปรกมาก ผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์กับน้ํา....แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํานํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณหรือส่วนที่ต้องทําความสะอาด หรือใช้แปรงขัด แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
สําหรับการฆ่าเชื้อ
หลังทําความสะอาดแล้ว ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์...........กับน้ํา............แล้วเทราดหรือใช้ผ้าชุบ หรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องการฆ่าเชื้อทิ้งไว้ 10 นาที แล้วเช็ดหรือล้างออกด้วยน้ําสะอาด
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม
3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
4. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ หากเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มน้ําหรือนมปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนําส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๓ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542
มงคล ณ สงขลา
(นายมงคล ณ สงขลา)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,840 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 10) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 10)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
สําหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 เอกวีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 442) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสําหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายในกําหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือหลังวันที่ทําสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิมที่จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นจํานวนไม่เกินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่โดยมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินที่ตั้งอยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่ขายตาม (1) ต้องเป็นอาคารโรงงานพร้อมที่ดิน รวมถึงอาคารอื่น ๆ พร้อมที่ดินที่ใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(3) การซื้ออสังหาริมทรัพย์และย้ายโรงงานเข้าไปในนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะเป็นการซื้อที่ดินพร้อมอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ หรือซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นสถานประกอบการแห่งใหม่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็ได้
(4) ต้องไม่จําหน่าย จ่าย โอนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานประกอบการที่ย้ายเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่
(5) มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิมที่จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเป็นจํานวนไม่เกินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ ทั้งนี้ มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น เว้นแต่กรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นสถานประกอบการภายหลังจากวันที่มีการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ จํานวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ให้รวมถึงอาคารที่ก่อสร้างใหม่ด้วย โดยให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่ก่อสร้างอาคารนั้นเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ ต้องก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และพร้อมใช้เป็นสถานประกอบการแห่งใหม่ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ทําสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิม
ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามมาตรา91/10 แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีสิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ชําระไว้แล้วได้ โดยจะต้องยื่นคําร้องขอคืนตามแบบที่อธิบดีกําหนด (แบบ ค. 10) ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี โดยจะต้องแนบหลักฐานต่าง ๆ ดังนี้
(1) สําเนาและต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีธุรกิจเฉพาะที่ทางราชการออกให้สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิม
(2) สําเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินสําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงาน พร้อมที่ดินแห่งเดิมที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) สําเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินสําหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงาน พร้อมที่ดินแห่งใหม่ที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(4) หนังสือรับรองจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่รับรองเกี่ยวกับวันที่ย้ายโรงงานเข้าไปประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(5) หนังสือรับรองจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่รับรองเกี่ยวกับราคาประเมินมูลค่าของอาคารโรงงานและอาคารอื่น ๆ ที่ก่อสร้างเพิ่มเติม โดยต้องเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ตามราคาเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ข้อ ๓ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินและย้ายโรงงานเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,841 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม NONIONIC SURFACTANT หรือ AMPHOTERIC SURFACTANT | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง
เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม NONIONIC SURFACTANT
หรือ AMPHOTERIC SURFACTANT
--------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด หรือฆ่าเชื้อที่พื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบไปด้วย สารกลุ่ม NONIONIC SURFACTANT หรือ AMPHOTERIC SURFACTANT ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2538
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม NONIONIC SURFACTANT หรือ AMPHOTERIC SURFACTANT ในผลิตภัณฑ์ ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ต้องปฏิบัติ ตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุ อันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ
(2) วิธีใช้ สําหรับการทําความสะอาด
ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์......กับน้ํา.....แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด
ในกรณีที่พื้นผิวสกปรกมาก ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.......กับน้ํา.....แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํานํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณหรือส่วนที่ต้องทําความสะอาด หรือใช้แปรงขัด แล้วเช็ดหรือล้างออกด้วยน้ําสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
สําหรับการฆ่าเชื้อ
หลังทําความสะอาดแล้ว ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.............กับน้ํา..........แล้วเทราดหรือใช้ผ้าชุบ หรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องการฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม
3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือ ด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
4. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุ ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ หากเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
2. หากเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๓ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายข้อ 2 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542
มงคล ณ สงขลา
(นายมงคล ณ สงขลา)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,842 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดนิติบุคคลอื่น ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 469) พ.ศ. 2551 | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 12)
เรื่อง กําหนดนิติบุคคลอื่น ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 469)
พ.ศ. 2551
--------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 469) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กําหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นนิติบุคคลอื่นตามสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์
(ก) กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ข) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ค) กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคม
(ง) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(จ) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ฉ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (ก) - (จ)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ศานิต ร่างน้อย
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,843 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 13) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 13)
เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี
และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 กําหนดให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ธ. 40 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(1) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพกร http://www.rd.go.th โดยตรง โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบดังกล่าวของกรมสรรพากร
(2) เข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ผ่านระบบบริการ Tax Single Sign On ทางเว็บไซต์ (web Site) ของกระทรวงการคลัง https://etax.mof.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้ระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 3”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่มีความประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อ 1 จะต้องยื่นคําขอเพื่อลงทะเบียนการใช้ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรตามข้อ 1 (1) หรือระบบบริการ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลังตามข้อ 1 (2) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะมีสิทธิยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.ธ. 40 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร โดยให้ถือเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นรายการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
อธิบดีกรมสรรพากร | 5,844 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
ที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคาร
หรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน
----------------------------------------------
โดยที่กระทรวงการคลังได้มีประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซมหรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งกําหนดให้ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้หรือได้รับประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ สามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่าเงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้นตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่าได้ และกําหนดให้ผู้มีเงินได้ยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่านั้นให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีภาษี
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อบรรเทาและเยียวยาผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เพื่อขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 แบบ ภ.ง.ด.91 และแบบ ภ.ง.ด.95 สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปีภาษี พ.ศ. 2562 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ดังนั้น เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชําระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.93 สําหรับเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2562 ได้รับการบรรเทาภาระภาษีเช่นเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้างเงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตามแบบ ภ.ง.ด.93 สําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2562 ซึ่งต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,845 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะครั้งแรกให้แก่ผู้มีหน้าที่รายงาน | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะครั้งแรก
ให้แก่ผู้มีหน้าที่รายงาน
----------------------------------------
ด้วยมาตรา 3 สัตตรัส แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมาเฉพาะที่อยู่ในความครอบครองต่อกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปีและต้องส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะครั้งแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประใวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 แต่ปรากฏว่า มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในการดําเนินการทดสอบระบบรับส่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะและการรายงานข้อมูลดังกล่าวต่อกรมสรรพากร
ดังนั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกําหนดเวลาการส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะครั้งแรก ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563
อุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,846 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลาการชำระภาษีอากรสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายเวลาการชําระภาษีอากรสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการ
ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่อเป็นการสร้างความสมัครใจในการเสียภาษีและบรรเทาภาระในการเสียภาษี ตลอดจนเพื่อรณรงค์ให้ผู้เสียภาษีรายใหม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมากยิ่งขึ้น จึงสมควรขยายเวลาการชําระภาษีเป็นการทั่วไปให้แก่ผู้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีภาษีต้องเสียน้อยกว่า 3,000 บาท ได้มีโอกาสยื่นรายการและชําระภาษีอากรโดยสามารถผ่อนชําระเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กันไม่เกิน 6 งวด ให้เป็นการถูกต้องต่อไป โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และไม่ต้องรับผิดทางอาญา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอํานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรจึงขยายเวลาการชําระภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรที่สามารถผ่อนชําระเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กัน ไม่เกิน 6 งวด ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้ต้องเสียภาษีของปีภาษี 2548 เฉพาะกรณีซึ่งมีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2549
ข้อ ๒ กรณีผู้ต้องเสียภาษีไม่สามารถชําระภาษีได้ภายในกําหนดเวลา พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 โดยมีภาษีอากรที่ต้องชําระรวมกันทุกประเภทเงินได้พึงประเมินและจากการคํานวณภาษีทุกกรณี เป็นจํานวนเงินน้อยกว่า 3,000 บาท ให้มีสิทธิยื่นคําร้องขอผ่อนชําระภาษีเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กันไม่เกิน 6 งวด โดยงวดแรกต้องชําระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2549 และงวดสุดท้ายให้ชําระภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2549
ภาษีอากรที่ขอผ่อนชําระตามวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ชําระภายในกําหนดเวลา ให้หมดสิทธิได้รับประโยชน์ตามประกาศนี้เฉพาะภาษีอากรสําหรับงวดที่มิได้ชําระตามกําหนดเวลา รวมทั้งงวดที่ยังไม่ถึงกําหนดชําระทั้งหมดด้วย และต้องเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่มิได้ชําระและงวดต่อ ๆ ไปด้วย
ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่มีผลต่อภาษีอากร เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่ได้เสียไปแล้วก่อนหรือในวันที่ที่ลงในประกาศนี้
ข้อ ๔ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและสถานที่ชําระภาษีอากรได้ตามที่เห็นสมควร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
ไชยยศ สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,847 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม PHENOL หรืออนุพันธ์ของ PHENOL หรือสารในกลุ่มนี้ผสมกับ SURFACTANTS | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์
และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม PHENOL หรืออนุพันธ์ของ PHENOL
หรือสารในกลุ่มนี้ผสมกับ SURFACTANTS
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด หรือฆ่าเชื้อที่พื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบไปด้วยสาร กลุ่ม PHENOL หรืออนุพันธ์ของ PHENOL หรือสารในกลุ่มนี้ผสมกับ SURFACTANT ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2538
ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PHENOL หรืออนุพันธ์ของ PHENOL หรือสารในกลุ่มนี้ผสมกับ SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ประโยชน์ ใช้ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาด พื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ
(2) วิธีใช้ สําหรับการทําความสะอาด
ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์...กับน้ํา....แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด
ในกรณีที่พื้นผิวสกปรกมาก ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.......กับน้ํา....แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํานํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณหรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัดทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง)
สําหรับการฆ่าเชื้อ
หลังทําความสะอาดแล้ว ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์..........กับน้ํา............แล้วเทราดหรือใช้ผ้าชุบ หรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องการฆ่าเชื้อทิ้งไว้ 10 นาที แล้วเช็ดหรือล้างออกด้วยน้ําสะอาด
(3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
(4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม
3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้ หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือ ด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
4. ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุ หรือวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ
(5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง
2. หากเข้าตา รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมากจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มนมปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์
ข้อ ๓ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542
มงคล ณ สงขลา
(นายมงคล ณ สงขลา)
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 5,848 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.