title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซมหรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน ------------------------------------------------- โดยที่กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นว่า ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 ได้ใช้บังคับเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ ด้วยปรากฏว่า มีบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจํานวนมากที่มีเงินได้ หรือได้รับประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น นอกจากจะเรียกเก็บเงินค่าเช่าแล้ว ยังเรียกเก็บเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือน หรือเงินได้อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี 10 ปี หรือ 30 ปี ซึ่งผู้ให้เช่าจะต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชําระภาษีเงินได้ แต่เนื่องจากผู้ให้เช่าต้องยอมให้ผู้เช่าได้เช่าอาคารหรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน ถ้าผู้ให้เช่าจะต้องรับภาระการเสียภาษีเงินได้จากจํานวนเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้นทั้งหมดในปีเดียวกับที่ได้รับเงิน หรือประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมจะเป็นภาระหนักแก่ผู้ให้เช่ามิใช่น้อย เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงการคลังจึงขอเรียนให้ทราบดังนี้ ข้อ ๑ ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น ตามส่วนแห่งจํานวนปีของอายุการเช่าได้ เช่น ผู้ให้เช่าได้รับเงินกินเปล่าในการให้เช่าอาคารเป็นเงิน 30,000,000 บาท แต่ผู้ให้เช่าต้องผูกพันให้เช่าเป็นเวลา 30 ปี ดังนี้ ให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าจํานวน 30,000,000 บาท นั้นออกเป็นรายปีจํานวน 30 ปี โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะมีเงินได้ปีละ 1,000,000 บาท และผู้มีเงินได้ในกรณีนี้จะต้องยื่นรายการเงินได้ และชําระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าของทุกปีที่เฉลี่ย ให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึวประเมินนั้น ข้อ ๒ กรณีผู้ให้เช่าซึ่งได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และ ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ แต่ได้ยื่นรายการเงินได้ และชําระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่า ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกําหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินแล้ว ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่าเป็นรายปีตามจํานวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นรายการเงินได้ และชําระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย ข้อ ๓ กรณีผู้ให้เช่าซึ่งได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ยื่นขอใช้สิทธิชําระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าตามประกาศนี้ มิได้ยื่นรายการเงินได้ และชําระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามปีภาษีของอายุการเช่า ให้เจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากรทําการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ ตามมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ต่อไป ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้สําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปีภาษี 2557 ซึ่งต้องยื่นรายการในปี 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,849
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกาหนดเวลาการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report)
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกาหนดเวลาการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ------------------------------------------------ เพื่อให้การกาหนดหน้าที่แจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report)สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลเกี่ยวกับแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอานาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ขยายกาหนดเวลาการแจ้งข้อความดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ขยายกาหนดเวลาการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ตามมาตรา 17 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 และ ข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 408) เรื่อง กาหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by-Country Report) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้ (1) สาหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลาดับสูงสุดตามข้อ 2 (1) และตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลาดับสูงสุดตามข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวที่ต้องแจ้งข้อความพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ออกไปเป็นภายในสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (2) สาหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทากิจการในประเทศไทยตามข้อ 2 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวที่ต้องแจ้งข้อความพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ออกไปเป็นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความให้แจ้งข้อความจากเจ้าพนักงานประเมิน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสาหรับการแจ้งข้อความตามรายงานข้อมูลรายประเทศ(Country-by-Country Report) สาหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,850
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ALDEHYDES หรือ ALDEHYDES ผสมกับกรด หรือ SURFACTANTS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ALDEHYDES หรือ ALDEHYDES ผสมกับกรด หรือ SURFACTANTS ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ALDEHYDES หรือ ALDEHYDES ผสมกับกรด หรือ SURFACTANTS ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2540 ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALDEHYDES หรือ ALDEHYDES ผสมกับกรด หรือ SURFACTANTS ใน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ (2) วิธีใช้ สําหรับการทําความสะอาด ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.......กับน้ํา........แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด ในกรณีที่พื้นผิวสกปรกมาก ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์........กับน้ํา......แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํานํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณหรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง) สําหรับการฆ่าเชื้อ หลังทําความสะอาดแล้ว ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์........กับน้ํา...........แล้วเทราดหรือใช้ผ้าชุบ หรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องการฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วเช็ดหรือล้างออกด้วยน้ําสะอาด (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ และความร้อน (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ระวังอย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนัง หรือสูดดม 3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 4. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ําคู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ หากเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออก แล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์ 3. หากได้รับพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้ดื่มน้ํา หรือนมปริมาณมากๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๓ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 มงคล ณ สงขลา (นายมงคล ณ สงขลา) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,851
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ALKALIS ผสมกับสารกลุ่ม SURFACTANTS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ALKALIS ผสมกับสารกลุ่ม SURFACTANTS ------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบด้วยสารกลุ่ม ALKALIS ผสมกับสารกลุ่ม SURFACTANTS ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2540 ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ALKALIS ผสมกับสารกลุ่ม SURFACTANTS ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการ ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะ กรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ฆ่าเชื้อโรค ทําความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ (2) วิธีใช้ สําหรับการทําความสะอาด ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์........กับน้ํา........ แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณหรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด ในกรณีที่พื้นผิวสกปรกมาก ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์........กับน้ํา.........แล้วใช้ผ้าชุบหรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํานํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องทําความสะอาดหรือใช้แปรงขัด แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด (หรือแจ้งตามวิธีใช้จริง) สําหรับการฆ่าเชื้อ หลังทําความสะอาดแล้ว ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์.........กับน้ํา..........แล้วเทราดหรือใช้ผ้าชุบ หรือจุ่มผ้าม็อบ ฟองน้ํา นํามาเช็ดให้ทั่วบริเวณ หรือส่วนที่ต้องการฆ่าเชื้อทิ้งไว้นาน 10 นาที แล้วเช็ดหรือล้างออกด้วยน้ําสะอาด (3) วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ระวังอย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนัง หรือสูดดม 3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 4. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุ ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ หากเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออก แล้วล้างร่างกายด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้ดื่มน้ําหรือนมปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๓ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เดือนกันยายน พ.ศ. 2542 มงคล ณ สงขลา (นายมงคล ณ สงขลา) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,852
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสำเร็จรูปชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซ ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสําเร็จรูปชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซ ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่งประกอบ ด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ ผสมกัน ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนประเภทสําเร็จรูป ชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซ ต้องปฏิบัติ ตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุ อันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ในการป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน หรืออาคารสถานที่เช่น ยุง แมลง ริ้น แมลงสาบ มด ตัวสามง่าม หมัด เรือด เห็บ และแมลง เล็ก ๆ อื่น ๆ (2) วิธีใช้ ก่อนใช้ให้คนและสัตว์เลี้ยงออกจากห้องนั้นก่อนปิดประตูและหน้าต่างและให้ผู้ฉีดสวมถุงมือและหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปากและจมูก เขย่า กระป๋องและฉีดวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ขึ้นข้างบนทั้ง 4 ด้าน ฉีดประมาณ 15 วินาที ให้ละอองวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์กระจายให้ทั่ว ทิ้งไว้ 15 นาที จึงเปิดระบายอากาศ หรือ จะฉีดบริเวณนอกห้องที่มีผมสงบก็ได้ สําหรับกําจัดแมลงคลาน เขย่ากระป๋องแล้วฉีดวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ตามซอกมุม ใต้ตู้ รอบถังขยะ ขอบประตู หน้าต่าง รอยแตกหรือตามทางที่แมลงเดินผ่านหรือชอบอยู่ และพยายามฉีดให้ถูกแมลงจะได้ผลดีขึ้น ในห้องครัวและในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารให้ปกปิดหรือเคลื่อนย้ายอาหาร ภาชนะ รวมทั้งพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ห้ามฉีดพ่นขณะทําการผลิต ภายหลังฉีดพ่นก่อนจะทําการผลิตให้ทําความสะอาดพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือความร้อน (4) คําเตือน 1. ระวังอย่าให้ละอองเข้าตา ปาก หรือ จมูก 2. เมื่อเสร็จจากการใช้แล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําสบู่ทุกครั้ง 3. อย่าฉีดพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อนหรือผู้ป่วย 4. ห้าม ทิ้งภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ ควรทิ้งในที่เหมาะสม และห้ามเผาไฟจะเกิดอันตราย (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ ส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตาม ข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,853
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสำเร็จรูป ชนิดฉีดพ่นธรรมดา ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสําเร็จรูป ชนิดฉีดพ่นธรรมดา ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือ สารเหล่านี้ผสมกันในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนประเภทสําเร็จรูปชนิดพ่นธรรมดาต้อง ปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระ สําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน หรืออาคารสถานที่ เช่น ยุง แมลงวัน ใน แมลงสาบ มด ตัวสามง่าม หมัด เรียด เห็บ และแมลงเล็ก ๆ อื่น ๆ (2) วิธีใช้ ก่อนใช้ให้คนและสัตว์เลี้ยงออกจากห้องนั้นก่อนปิดประตูและหน้าต่าง และให้ผู้ฉีดสวมถุงมือและหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปากและจมูก เทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ใส่กระบอกฉีดพ่นแล้วฉีดวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ขึ้นข้างบน 4 ด้าน ฉีดประมาณ 15 วินาที ให้ละอองวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กระจายให้ทั่ว ทิ้งไว้ 15 นาที จึงเปิดระบายอากาศ หรือจะฉีดบริเวณนอกห้องที่มีลมสงบก็ได้ สําหรับกําจัดแมลงคลาน ฉีดวัตถุอันตรายตามซอกมุม ใต้ตู้รอบถังขยะ ขอบประตู หน้าต่าง รอยแตก หรือตามทางที่แมลงเดินผ่านหรือชอบอยู่ และพยายามฉีดให้ถูกแมลงจะได้ผลดีขึ้น ในห้องครัวและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ให้ปกปิดหรือ เคลื่อนย้ายอาหาร ภาชนะ รวมทั้งพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ห้ามฉีดพ่นขณะทําการผลิต ภายหลังฉีดพ่นก่อนจะทําการผลิตให้ทําความสะอาดพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือความร้อน (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ระวังอย่าให้ละอองเบ้าตา ปาก หรือ จมูก 3. เมื่อเสร็จจากการใช้แล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 4. อย่าฉีดพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อนหรือผู้ป่วย 5. ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้ว ควรทิ้งหรือทําลาย ห้ามเทวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือล้างกระบอกฉีดพ่น ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างออกด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ ส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,854
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสำเร็จรูปชนิดใช้กับเครื่องพ่นอัตโนมัติ (INTERMITTENT SPRAY) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสําเร็จรูปชนิดใช้กับเครื่องพ่นอัตโนมัติ (INTERMITTENT SPRAY) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่งประกอบ ด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนประเภทสําเร็จรูป ชนิด ใช้กับเครื่องพ่นอัตโนมัติ (INTERMITTENT SPRAY) ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ในการป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรียน หรืออาคารสถานที่ เช่น ยุง แมลงวัน ใน ตัวสามง่าม หมัด เรือด เห็บ และแมลงเล็ก ๆ อื่น ๆ (2) วิธีใช้ ใช้กับเครื่องพ่นอัตโนมัติ ซึ่งฉีดพ่นวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณ...........มิลลิกรัม ทุก...........นาที ควรติดตั้งเครื่อง 1 หน่วย ต่อปริมาตรห้อง.......ลูกบาศก์ฟุต ควรใช้วิธีอื่นร่วมด้วยในการ ป้องกันแมลง เช่น การรักษาความสะอาดหรือสุขอนามัย ห้ามใช้ ผลิตภัณฑ์นี้ในห้องที่มีเด็กอ่อน ผู้ป่วย และคนชรา ห้ามติดตั้ง เครื่องเหนืออาหารหรืออยู่ภายในรัศมี 12 ฟุต (3.66 เมตร) จากที่มี อาหาร หรือภาชนะบรรจุอาหาร หรือบริเวณที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ในห้องครัวและโรงงานอุตสาหกรรมให้ปกปิดหรือเคลื่อนย้าย อาหาร ภาชนะ รวมทั้งพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ห้ามฉีด พ่นขณะทําการผลิต ภายหลังการฉีดพ่นก่อนจะทําการผลิตให้ทํา ความสะอาดพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (3) วิธีเก็บรักษา เก็บไว้ในที่มิดชิด ให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือ ความร้อน (4) คําเตือน 1. ระวังอย่าให้ละอองเข้าตา ปาก จมูก หรือถูกผิวหนังได้ 2. เมื่อเสร็จจากการใช้แล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 3. อย่าฉีดพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อน หรือผู้ป่วย 4. ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้ว ควรทิ้งหรือทําลาย ห้ามทิ้งลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย/ ชื่อผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุ อันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,855
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสำเร็จรูปชนิดใช้กับเครื่องพ่น ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE หรือ PYRETHROIDS หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสําเร็จรูปชนิดใช้กับเครื่องพ่น ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE หรือ PYRETHROIDS หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่งประกอบ ด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE หรือ PYRETHROIDS หรือ CARBAMATE หรือสาร เหล่านี้ผสมกัน ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ชนิดใช้กับเครื่องพ่น ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน หรืออาคารสถานที่ เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ มด (2) วิธีใช้ ต้องใช้โดยผู้ที่มีความชํานาญในการกําจัดแมลง 1. ใช้ฉีดพ่นพื้นผิว (ในรูปแบบ EC, SC, SL, WP) ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ผสมน้ําในอัตราส่วน ......................แล้วนําส่วนผสมนี้ไปฉีดพ่นในอัตรา...........มิลลิลิตรต่อพื้นที่................ตารางเมตร ฉีดพ่นตามทางเดินซอกมุมที่หลบซ่อนของแมลง ทั้งภายในและภายนอกอาคาร 2. สําหรับการกําจัดยุง โดยวิธีพ่นแบบหมอกควัน ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ผสมกับน้ํามันโซล่าหรือน้ํามันก๊าดในอัตราส่วน .............แล้วนําส่วนผสมนี้ไปฉีดพ่นในอัตรา...........มิลลิลิตรต่อปริมาตร............ของห้อง..........ลูกบาศก์เมตร 3. สําหรับการกําจัดยุงและแมลงวัน โดยวิธีพ่นแบบ ULV ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์....มิลลิลิตร (ไม่ต้องผสมน้ําหรือน้ํามัน) ฉีดพ่นในพื้นที่........ตารางเมตร ในห้องครัวและโรงเรียนอุตสาหกรรมอาหาร ให้ปกปิดหรือเคลื่อนย้ายอาหาร ภาชนะ รวมทั้งพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ห้าม ฉีดพ่นขณะทําการผลิต ภายหลังการฉีดพ่นก่อนจะทําการผลิต ให้ทําความสะอาดพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (3) วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ขณะฉีดพ่นควรอยู่เหนือลม ต้องระวังมิให้เข้าตา ปาก จมูก หรือ ถูก ผิวหนังและเสื้อผ้า 3. หลังจากพ้นวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว ต้องอาบน้ําเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ และซักชุดที่สวมทํางานให้สะอาด 4. ห้ามฉีดพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อน หรือผู้ป่วย 5. ขณะทําการฉีดพ่นวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ในอาคาร ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดพ่นออกจากบริเวณที่ฉีดพ่นวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ และไม่เข้าไปในบริเวณนั้นจนกว่าบริเวณที่ฉีดพ่นจะแห้งสนิท 6. ภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ เมื่อใช้หมดแล้วต้อง/ทําลาย ห้ามนําไปบรรจุสิ่งอื่นใด และห้ามนําไปเผาไฟจะเกิดอันตราย 7. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือล้างภาชนะบรรจุอุปกรณ์ หรือเครื่องพ่นลงในแม่น้ํา กู กลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตรายชื่อผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกนอก ราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้ออกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,856
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วยสาร PIPERONYL BUTOXIDE
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วยสาร PIPERONYL BUTOXIDE ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสาร PIPERONYL BUTOXIDE ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและกําจัดแมลง ในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ประโยชน์ นําไปผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงประเภทสําเร็จรูป 1.2 วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ ความร้อนหรือสารออกซิไดส์ 1.3 คําเตือน (1) สวมเสื้อผ้าชุดปฏิบัติงานให้ครบชุดก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ผิวหนัง หรือเสื้อผ้า (2) ชําระล้างร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน (3) ต้องล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทาน อาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ (4) ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ 1.4 อาการเกิดพิษ หากเข้าตาหรือถูกเนื้อเยื่ออ่อน อาจมีอาการระคายเคือง หากกลืนกิน วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หงุดหงิด กระวนกระวาย หากได้รับในปริมาณสูงมากจะทําลายตับ และอาจชักได้ 1.5 วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําและสบู่จํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากเกิดพิษจากการสูดดมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือ ใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 1.6 ค่าแนะนําสําหรับแพทย์ รักษาตามอาการ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ภักดี โพธิศิริ (นายภักดี โพธิศิริ) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,857
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วย DEET
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วย DEET ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย DEET ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทเทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สําหรับไล่แมลง (2) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (3) ค่าเดือน 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุด ก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้า 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง หลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลองแหล่งน้ําสาธารณะ (4) อาการเกิดพิษ หากเข้าตาหรือถูกเนื้อเยื่ออ่อน จะมีอาการระคายเคือง หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ จะมีอาการสูญเสียการทรงตัว เดินโซเซ หายใจลําบาก กดระบบประสาทส่วนกลาง อาจชักและถึงตายได้ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1.หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียน โดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 4. หากอาการรุนแรง ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ (6) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1. ล้างท้อง 2. รักษาตามอาการ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,858
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทชอล์กกำจัดแมลงคลาน ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทชอล์กกําจัดแมลงคลาน ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS --------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ในผลิตภัณฑ์ประเภทชอล์กกําจัดแมลงคลาน ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดแมลงคลาน เช่น มด แมลงสาบ (2) วิธีใช้ 1. ทุกครั้งที่ใช้ให้จับแท่งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ด้วยถุงพลาสติกหรือกระดาษที่ห่อหุ้ม 2. ลากเส้นขนานหลาย ๆ เส้น ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขวางทางที่แมลงชอบเดินผ่าน เช่น ขอบหรือมุมห้อง หรือบริเวณที่หลบซ่อน 3. ลากเส้นวงกลม 2-3 วง รอบขาดอาหาร ตู้เอกสาร ถังขยะ 4. ใช้เวลากลางคืน แล้วเช็ดออกในตอนเช้า (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้งให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ภายหลังการหยิบจับวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ควรล้างมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 2. ระวังอย่าให้เด็กและสัตว์เลี้ยงสัมผัสกับวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ขีดไว้ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 2. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา เอื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,859
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงคลาน ชนิดผง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงคลาน ชนิดผง --------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและกําจัดแมลงคลานชนิดผง ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และ ข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ป้องกันและกําจัดแมลงคลาน เช่น มด แมลงสาบ ตัวสามง่าม หมัด เรือด เห็บ (2) วิธีใช้ โรยวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เป็นทางบาง ๆ ตามแหล่งหลบซ่อนและทางเดินของแมลง เช่น ขอบประตูและหน้าต่าง หลังหรือเครื่อง เฟอร์นิเจอร์ รอยแตกต่าง ๆ หลังจากโรยวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ นี้แล้ว 24 ชั่วโมง ให้กวาดวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงบริเวณที่คนหรือสัตว์เลี้ยงอาจสัมผัสได้ทิ้งเสีย ห้ามโรยใกล้อาหารหรือบริเวณที่วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์จะมีโอกาสฟุ้งกระจายได้ (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ห้ามโรยวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้บนตัวสัตว์เลี้ยง 3.ระวังอย่าให้เด็กและสัตว์เลี้ยงเข้าไปใกล้บริเวณที่โรยวัตถุอันตรายชื่อผลิตภัณฑ์ไว้ 4 ระวังอย่าให้ถูกผิวหนัง เข้าตา ปาก หรือจมูก 5. ภายหลังการใช้หรือหยิบจับต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ ทุกครั้ง 6. ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วให้ทิ้งหรือทําลาย 7. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. หากวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ถูกผิวหนัง ต้องล้างด้วยสบู่และน้ําจํานวนมาก ๆ หากเข้าตา ต้องล้างตาด้วยน้ําสะอาดจํานวนมาก ๆ หากเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วล้วงคอ หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,860
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ที่กำจัดแมลงชนิดเหยื่อ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ที่กําจัดแมลงชนิดเหยื่อ --------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ที่ใช้ ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนชนิดเหยื่อ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดแมลงวันและแมลงคลาน เช่น แมลงสาบ มด มอด ปลวก เห็บ หมัด และตัวสามง่าม (2) วิธีใช้ 1. กําจัดแมลง โรยวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในภาชนะแล้วนําไปวางในที่แมลงชุกชุม 2. กําจัดแมลงคลาน โรยวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในภาชนะบรรจุ แล้วนําไปวางตรงที่แมลงคลานชุกชุม หรือชอบเดินผ่าน หรือร่องแตกซึ่งเป็นที่หลบซ่อน หรืออาศัยของแมลง ห้ามวางไว้ใกล้กับอาหาร หรือในที่เก็บอาหารและควรวางไว้ใน ที่มิดชิด ห้ามวางในที่ ๆ เด็กเอื้อมถึงและสัตว์เลี้ยงได้ (หมายเหตุ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะใช้กับแมลงวันเพียงอย่างเดียว จักต้องมีข้อห้ามต่อท้ายจากวิธีใช้ด้วย) (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ภายหลังการหยิบจับหรือใช้ ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ ทุกครั้ง 3. ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วให้ทิ้งหรือทําลาย 4. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น หากกลืนกิน รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วล้วงคอ หากมีอาการรุนแรง รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,861
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่กำจัดแมลงสาบชนิดเหยื่อบรรจุในภาชนะสำเร็จรูป
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่กําจัดแมลงสาบ ชนิดเหยื่อบรรจุในภาชนะสําเร็จรูป -------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ของ ผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงสาบชนิดเหยื่อบรรจุในภาชนะสําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดแมลงสาบ (2) วิธีใช้ วางภาชนะบรรจุเหยื่อไว้ตรงที่แมลงสาบชุกชุม หรือชอบเดินผ่านหรือบริเวณที่มีแมลงสาบหลบซ่อน หรือชอบอาศัยอยู่ ห้ามน่าเหยื่อออกจากภาชนะบรรจุ ห้ามวางไว้ใกล้กับอาหารหรือในที่เก็บอาหาร และควรวางไว้ในที่มิดชิด (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ภายหลังการใช้หรือหยิบจับ ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 2. ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วให้ทิ้งหรือทําลาย 3. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น หากกลืนกิน รีบทําให้อาเจียน โดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วล้วงคอ หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,862
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดปลวก ชนิดเทราดลงดิน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดปลวก ชนิดเทราดลงดิน ----------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ 2538 ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดปลวกชนิดเทราดลงดิน ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ สําหรับป้องกันและกําจัดปลวก มด และแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน (2) วิธีใช้ ควรใช้โดยผู้มีความชํานาญในการกําจัดปลวกเท่านั้น ซึ่งต้องสวมถุงมือ หน้ากาก และอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เขย่าภาชนะบรรจุก่อนใช้ ผสมวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กับในอัตราส่วน...เช่น วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์..........ลิตร ผสม.................ให้เข้ากันดีก่อนนําไปใช้ และใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ําแล้วให้หมดทุกครั้ง ไม่ควรนําไปเก็บ เพื่อไว้ใช้ในครั้งต่อไป ก. สําหรับก่อนการปลูกสร้าง หลังจากปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้วใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ตามอัตราส่วนผสมข้างต้น เทราดหรือพ่นลงดินบริเวณที่จะเท คอนกรีตให้ทั่ว โดยใช้เครื่องพันที่มีแรงดันต่ํา (ประมาณ............ ต่อตารางนิ้ว) ในอัตรา........ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร ควรเทพื้นคอนกรีต ให้เสร็จภายในวันเดียวกัน (หากไม่สามารถเทพื้นคอนกรีตให้เสร็จ ในวันนั้นได้ ให้ใช้แผ่นพลาสติกโพลีเอททีลีนคลุมพื้นที่ดังกล่าว) หลังจากนั้นให้เทราดหรือฉีดพ่นวัตถุอันตราย/ซื้อผลิตภัณฑ์รอบบริเวณแนวพื้นคอนกรีต โดย 1.ใช้ท่อฉีด (rodding) วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผสมแล้วเข้าไปในดินในอัตรา............ลิตรต่อความยาว........เมตร ลึก 30 เซนติเมตร) หรือ 2. ขุดร่องกว้างไม่เกิน 15 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตรให้ทั่วเอา ดินที่ขุดจากร่องมาคลุกกับวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผสม แล้วให้ทั่วในอัตรา...........ต่อความยาวร่อง.........เมตร แล้ว ดินที่คลุกแล้วใส่กลับลงไปในร่อง หรืออาจใช้วิธีค่อย ๆ น่าหินใส่ กลับลงไปในร่องแล้วเทราดดินนั้นให้ทั่ว ขณะที่ใส่กลับในร่อง ด้วยอัตราข้างต้น ข. สําหรับอาคารที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจาะรูที่พื้นอาคารและพื้นคอนกรีตบริเวณโดยรอบให้ห่างกันจุดละประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วพ่นอัดวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ตามอัตราส่วนผสมข้างต้น โดยใช้เครื่องพ่นที่มีความดันต่ํา (ประมาณ..........ต่อตารางนิ้ว) ลงไปใต้พื้นคอนกรีตที่เจาะทั้งใน และนอกอาคารในอัตรา........และสําหรับดินบริเวณรอบแนวพื้นคอนกรีตนอกอาคารให้ใช้ท่อฉีด หรือขุดร่องเช่นเดียวกับวิธีในข้อ ก. สําหรับบริเวณรอบ ๆ อาคารและสนามหญ้าที่พบปลวก มด หรือ แมลงได้ ดิน ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ตามอัตราส่วนผสมข้างต้นเทราด หรือฉีดพ่นบริเวณและสถานที่พบเห็นปลวกและแมลงอื่น ๆ จนทั่ว สําหรับเสาไม้หรือวัตถุที่เป็นไม้ฝังอยู่ใต้ดิน พ่นหรืออัดวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ตามส่วนผสมข้างต้นลง ในดินรอบเสาไม้หรือวัตถุนั้น ในอัตรา...ลิตรต่อความลึก.....เซนติเมตร สําหรับเสาไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร และในอัตรา...... ลิตร ต่อความลึก.........เซนติเมตร สําหรับเสาไม้ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตรขึ้นไป (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิดให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือ ความร้อน (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ระวังอย่าให้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เข้าปาก ตา จมูก หรือ ถูกผิวหนัง และเสื้อผ้า 3. ขณะใช้ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องและสัตว์เลี้ยงออกจากบริเวณนั้นและห้ามเข้าไปจนกว่าวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์จะแห้งสนิท 4. ขณะราด หรือพ่นต้องอยู่เหนือลมเสมอ และต้องระวังมิให้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นอง หรือไหลออกนอกบริเวณที่ต้องการ 5. ต้องล้างมือและหน้าให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 6. เมื่อเสร็จจากการใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์แล้วควรรีบล้างหน้า ล้างมือ อาบน้ํา สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า และซักชุดที่สวมทํางาน ให้สะอาด 7. ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้ว ห้ามนํากลับมาใช้อีก ให้ทําลาย 8. ห้ามนําภาชนะที่ใช้ผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น 9. ห้ามล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์เครื่องพ่น หรือทิ้งวัตถุอันตรายลงใน แม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย ชื่อ/ผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรก วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,863
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทาไม้ป้องกันกำจัดปลวกและแมลงทำลายไม้ และป้องกันเชื้อรา (ในกรณีที่มีสารป้องกันเชื้อรา)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ทาไม้ป้องกันกําจัดปลวกและแมลงทําลายไม้ และป้องกันเชื้อรา (ในกรณีที่มีสารป้องกันเชื้อรา) ------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ทาไม้ป้องกันกําจัดปลวกและแมลงทําลายไม้และป้องกันเชื้อรา (ในกรณีที่มีสารป้องกันเชื้อรา ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ป้องกันการผุกร่อนของไม้อันเนื่องมาจากปลวก มอด แมลงอื่นที่ทําลายไม้ และเชื้อรา (ในกรณีที่มีสารป้องกันเชื้อรา) (2) วิธีใช้ ควรใช้โดยผู้มีความชํานาญ ก่อนใช้ควรสวมถุงมือและหน้ากากผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ กับ (ตัวทําละลาย) ในอัตราส่วน.......มิลลิลิตร ต่อ..............ลิตร ทาบนผิวไม้ให้ชุ่มด้วยแปรงทาสี หรือใช้ผ้าผูกปลายไม้ทา หรือพ่นด้วยเครื่องพ่น ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วอาจทาสีทับ อีกครั้ง (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือความร้อน (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2.ห้ามใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้กับพืชทุกชนิด 3. ขณะใช้ต้องอยู่เหนือลม ระวังอย่าให้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ เข้าปาก ตา จมูก หรือถูกผิวหนังและเสื้อผ้า 4. ต้องล้างมือและหน้าให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 5. เมื่อเสร็จจากการใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์แล้วควรรีบล้างมือ ล้างหน้า อาบน้ํา สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า และซักชุดที่สวมทํางานให้สะอาด 6. ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้ว ให้ทิ้งหรือทําลาย 7. ห้ามล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ผสม หรืออุปกรณ์ในการทา หรือทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ลงในแม่น้ํา ย คลอง แหล่งน้ํา สาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกูล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,864
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดหนู ประเภทสำเร็จรูป ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ANTICOAGULANT หรือ CHOLECALCIFEROL หรือ METALLIC POISON
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดหนู ประเภทสําเร็จรูป ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ANTICOAGULANT หรือ CHOLECALCIFEROL หรือ METALLIC POISON ----------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ANTICOAGULANT หรือ CHOLECALCIFEROL หรือ METALLIC POISON ผลิตภัณฑ์กําจัดหนู ประเภทสําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ในการกําจัดหนู (2) วิธีใช้ 1. สําหรับชนิดเหยื่อสําเร็จรูป เทวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์กรัม ลงในภาชนะรองรับแล้ววางไว้ตรงที่มิดชิด หรือบริเวณที่มีหนูชุกชุม ควรวางห่างกันจุดละ 1-2 เมตร และวางติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 5 วัน สําหรับชนิดที่ต้องผสมเหยื่อ ใช้วัตถุอันตราย....ส่วนผสมกับเหยื่อแห้งที่หนูชอบ เช่น ปลายข้าว ปลาป่น ข้าวโพดใน หรือเนื้อสัตว์....ส่วน ให้ใช้ไม้หรือวัสดุที่เหมาะสมคลุกให้เข้ากันในภาชนะ แล้วนําไปวางไว้ที่มิดชิด หรือบริเวณที่มีหนูชุกชุม ควรวางไว้หลายจุด ๆ ละ 50-100 กรัม ห่างกันจุดละ 1-2 เมตร และวางติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 5 วัน สําหรับชนิดผง ใช้โรยบริเวณปากรูหนู หรือบริเวณที่มีหนูชุกชุมเมื่อหนูเดินผ่านผงวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์จะติดตามร่างกายของหนูเมื่อหนูเสียตัวทําความสะอาดจะกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้เข้าไป ควรโรยผงวัตถุอันตราย/เชื่อผลิตภัณฑ์ จนกว่าจะไม่พบร่องรอยของหนู 2. เติมเหยื่อแทนเหยื่อเติมที่หนูแทะไว้แล้ว 3. อัตราการใช้ 1. สําหรับหนูตัวใหญ่ใช้เหยื่อ....กรัม (.......ช้อน) ต่อ 1 จุด ควรวางห่างกันจุดละ 15-30 ฟุต วางเหยื่อติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน หรือจนกระทั่งไม่พบร่องรอยว่ามีหนูอยู่ 2. สําหรับหนูหริ่งบ้านให้เหยื่อ..............กรัม (.......ช้อน) จุด 1 ควรวางห่างกันจุดละ 8-12 ฟุต วางเหยื่อติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน หรือจนกระทั่งไม่พบร่องรอยว่ามีหนูอยู่ (3) วิธีเก็บรักษา ควรเก็บในที่แห้งและเย็น อย่าให้ถูกแสงแดด และเก็บให้มิดชิดห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. วางเหยื่อในสถานที่ที่เด็ก และสัตว์เลี้ยงไม่สามารถเข้าไปได้ 3. อย่าวางเหยื่อในบริเวณที่เหยื่อจะมีโอกาสปนเปื้อนกับอาหาร หรือพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหาร 4. ภายหลังการหยิบจับ ควรล้างมือทุกครั้ง 5. ในกรณีที่วางเหยื่อหรือโรยผงวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ในที่เปิดเผย ควรกระทําการเก็บกวาดและงดใช้ในเวลากลางวัน 6. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ให้ทําให้อาเจียนโดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 2. ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมกับภาชนะบรรจุหรือฉลากของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นั้น ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมอาหารและยา
5,865
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุง ที่ประกอบด้วย สารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุง ที่ประกอบด้วย สารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE ----------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE ในผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุง ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดลูกน้ํายุง (2) วิธีใช้ สําหรับชนิดแกรนูล โรยวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในแหล่งน้ําขังที่ไม่มีทางระบายลงสู่แหล่งน้ําสาธารณะในอัตรา...กรม (...ช้อน) ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรที่ความลึกของแหล่งน้ํา 10 เซนติเมตร ออกฤทธิ์ได้นาน ประมาณ......วัน สําหรับชนิดเข้มข้น ผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 1 ส่วน กับน้ํา.........ส่วน โดยใช้ ไม้กวนเข้าด้วยกันแล้วฉีดพ่นลงในบริเวณที่ต้องการในอัตราส่วน............ ลิตรต่อพื้นที่.....ตารางเมตร อัตราส่วนที่ใช้กับแหล่งน้ําที่ลึก 1 q เซนติเมตร ถ้ามีคราบลึกมากกว่าหรือน้อยกว่า 10 เซนติเมตรต้อง ปรับปริมาณวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฉีดให้เหมาะสม (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ตามปริมาณที่กําหนดอย่างเคร่งครัด 3. ห้ามโรยวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ในแหล่งน้ําที่เป็นน้ําดื่ม น้ําใช้ในบ่อเลี้ยงปลา หรือสัตว์น้ําชนิดอื่น ๆ 4.ระวังอย่าให้สัตว์เลี้ยงเลียกินน้ําที่มีวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ 5. สําหรับชนิดแกรนูล ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังโดยตรง เพราะอาจทําให้ระคายเคือง ควรสวมถุงมือก่อนการใช้ทุกครั้ง หรือ สําหรับชนิดเข้มข้น อย่าสัมผัสวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์โดยตรงเพราะอาจทําให้เกิดการแพ้ตามผิวหนังได้ ขณะใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ควรสวมหน้ากาก ระวังอย่าให้ละอองเข้าตา ปาก หรือจมูกได้ 6. หลังการใช้ทุกครั้ง ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ 7. ภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เมื่อใช้หมดแล้วให้ทั้ง หรือทําลาย ห้ามน่าไปเผาไฟจะเกิดอันตราย 8. ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ถูกผิวหนัง ต้องล้างด้วยน้ําและสบู่ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออก แล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมากจนอาการระคายเคืองทุเลาลง หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียนโดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ และให้รับประทานถ่าน แอคติเวทเทแล้วรีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือ ใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,866
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุง ที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ BACILLUS THURINGIENSIS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุง ที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ BACILLUS THURINGIENSIS ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ BACILLUS THURINGIENSIS ในผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุง ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุ อันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระ ดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดลูกน้ํา หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุง (ขึ้นกับการใช้จริง) (2) วิธีใช้ (สําหรับผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป) สําหรับชนิดเคลือบเม็ดทราย นําไปใช้กําจัดลูกน้ํายุงโดยใส่โดยตรงลงในแหล่งน้ําที่มีลูกน้ํายุง เช่น หนองน้ําทั่วไป ท้องร่อง บึง บ่อ ดื่มน้ําอาบ ตุ่มน้ําราดส้วม ในอัตรา 2.5 กรัม หรือ............ ปริมาตรของแหล่งน้ํา 200 ลิตร สําหรับชนิดดับบลิวพี นําไปใช้กําจัดลูกน้ํายุง โดยใช้เครื่องพ่น พ่นในแหล่งน้ําที่มิใช่แหล่งน้ําดื่มในอัตรา กรม พื้นที่ ตารางเมตรโดยผสมกับน้ําในปริมาณที่เพียงพอต่อพื้นที่ แล้วฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณ ควรหมั่นคนผสมให้ทั่วก่อนฉีดพ่น และขณะทําการฉีดพ่น เพื่อให้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์กระจายทั่วถึงควรใช้อย่างสม่ําเสมอ โดยฉีดพ่นอาทิตย์ละ 1 ครั้ง (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ในที่แห้งและเย็น พ้นจากแสงแดดให้ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อย่าให้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ถูกผิวหนัง เข้าตา ปาก หรือจมูกได้ 2. เมื่อเสร็จจากการใช้แล้ว ต้องล้างมือและหน้าให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 3. ขณะใช้ห้ามรับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้ว ควรทิ้งหรือทําลาย ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นของพิษวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,867
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุง ชนิดเคลือบเม็ดทราย ที่ประกอบด้วย TEMEPHOS 1% W/W
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุง ชนิดเคลือบเม็ดทราย ที่ประกอบด้วย TEMEPHOS 1% W/W -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย TEMEPHOS 1% W/W ในผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุง ชนิดเคลือบเม็ดทราย ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุ อันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดลูกน้ํายุง (2) วิธีใช้ 1. ใส่ในหนองน้ําทั่วไป ท่อระบายน้ําท้องร่อง บึงบ่อใช้ในอัตรา.....กรัม ต่อพื้นที่....ตารางเมตร 2. ใส่ในภาชนะที่ใส่น้ําดื่ม น้ําใช้ ใช้ในอัตรา 1 กรัม ต่อ 20 แกลลอน หรือ 2 ช้อนชา ต่อน้ํา 140 ลิตร 3. ใส่ในขากันมด, แจกันใช้ในอัตรา 1/10 ช้อนชา (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน ไม่ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เกินกว่าอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในวิธีใช้ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,868
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ NAPHTHALENE
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ NAPHTHALENE ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย NAPHTHALENE ในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้เพื่อประโยชน์ในการดับกลิ่น และไล่แมลง ห้าม แสดงรูปผลไม้ และต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและ ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ กรณีเป็นวัตถุดิบ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ดับกลิ่น และไล่แมลง กรณีเป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ใช้ดับกลิ่นและไล่แมลง (2) วิธีใช้ กรณีเป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป นําไปวางไว้ในที่ ๆ ต้องการ เช่น ตู้ลิ้นชัก อย่าให้สัมผัสกับอาหารและเครื่องบริโภคโดยตรง (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือ ความร้อน (4) คําเตือน กรณีเป็นวัตถุดิบ 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุดก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก ถูกผิวหนัง หรือสูดดม 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4.ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ กรณีเป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป 1. ห้ามรับประทาน 2. หลีกเลี่ยงการสูดดมกลิ่นติดต่อกันเป็นเวลานาน 3. ระวังอย่าให้เข้าตา ปาก ถูกเนื้อเยื่ออ่อนหรือผิวหนัง 4. ภายหลังการหยิบหรือจับ ให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง 5. ไม่ควรใช้กับผ้าอ้อมหรือเครื่องใช้เด็กแรกเกิด (5) อาการเกิดพิษ 1. หากกลืนกินจะมีอาการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ มึนงง เหงื่อออกมาก ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด โลหิตจาง มีไข้ ดีซ่าน ไตไม่สามารถทํางานตามปกติในรายที่มีอาการรุนแรงอาจตายได้ 2. หากสูดดมกลิ่นมาก ๆ อาจมีอาการปวดศีรษะ มึนงง ตื่นเต้น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก ปัสสาวะขัด 3. หากถูกผิวหนังหรือนัยน์ตา อาจทําให้เกิดการระคายเคือง (6) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากกลืนกิน ให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วล้วงคอให้อาเจียนแล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือ ใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 2. หากเกิดพิษจากการสูดดมไอระเหยของแนฟทาลีน ให้รีบออก จากบริเวณนั้น 3. หากถูกผิวหนังหรือนัยน์ตา ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ (7) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1. ล้างท้องด้วยน้ําอุ่นจํานวนมาก ๆ 2. ให้ยาถ่ายพวกเกลือ เช่น แมกนีเซียมซัลเฟต 15-30 กรัม 3. ห้ามให้อาหารพวกไขมัน 4. ดื่มน้ํามาก ๆ เพื่อขับปัสสาวะ 5. ให้รับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต 5 กรัม ทุก 4 ชั่วโมง (ในเด็กลดลงตามส่วน) 6. ให้ blood transfusion จนกว่าจะมีปริมาณของฮีโมโกลบิน 60-80 % ของปกติ (8) ให้แสดงสัญลักษณ์ เป็นรูปเปลวไฟสีดําบนพื้นขาวที่มีเส้นคาดตามแนวตั้งเป็นสีแดง มีขนาดเห็นได้ชัดเจน ตามรูปดังนี้ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกูล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,869
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ p-DICHLOROBENZENE
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของ p-DICHLOROBENZENE ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย p-DICHLOROBENZENE ในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้เพื่อประโยชน์ในการดับกลิ่น และไล่แมลง ห้ามแสดงรูปผลไม้ และต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลาก และระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ กรณีเป็นวัตถุดิบ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ดับกลิ่น และไล่แมลง กรณีเป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ใช้ดับกลิ่นและไล่แมลง (2) วิธีใช้ กรณีเป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป นําไปวางไว้ในที่ๆ ต้องการ เช่น ตู้ ลิ้นชัก อย่าให้สัมผัสกับอาหารและเครื่องบริโภคโดยตรง (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือ ความร้อน (4) ค่าเดือน กรณีเป็นวัตถุดิบ 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุดก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก ถูกผิวหนัง หรือสูดดม 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ กรณีเป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป 1. ห้ามรับประทาน 2. หลีกเลี่ยงการสูดดมกลิ่นติดต่อกันเป็นเวลานาน 3. ระวังอย่าให้เข้าตา ปาก ถูกเนื้อเยื่ออ่อนหรือผิวหนัง 4. ภายหลังการหยิบหรือจับ ให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง (5) อาการเกิดพิษ 1. หากกลืนกินจะมีอาการระคายเคืองริมฝีปาก ปากและลิ้นแสบร้อน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ตัวซีด วิงเวียนเซื่องซึม ง่วงนอน กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย มีใช้ เหงื่อออกมาก กระหายน้ํา โลหิตจาง เป็นพิษต่อตับและไต 2. หากถูกผิวหนังหรือนัยน์ตา หรือสูดดมกลิ่นไอวัตถุอันตรายนี้มากๆ จะทําให้เกิดอาการระคายเคือง (6) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากกลืนกินให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วล้วงคอให้อาเจียน หรือ รับประทานไข่ขาว ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ แล้ว รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมด้วยภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 2. หากเข้าตาให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์ หากถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ําและสบู่จากนั้นล้างด้วยแอลกอฮอล์ แล้วล้างด้วยน้ําและสบู่อีกครั้ง 3. หากเกิดพิษจากการสูดดมไอของวัตถุอันตราย ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น (7) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1. หากยังไม่อาเจียนให้ทําการล้างท้อง ยกเว้นในรายที่มี mucosal damage 2. ให้รับประทานถ่านแอคติเวทเต็ด (activated charcoal) หรือ สารผสมของ charcoal กับ saline cathartics หรือ sorbital (saline cathartics ที่ใช้คือ magnesium หรือ sodium sulfate หรือ magnesium citrate และหากใช้ sorbital ต้องติดตามสภาวะของเหลวและอิเล็คโตรไลท์ในผู้ป่วยด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ผู้ป่วยเด็ก) 3. ในรายที่มีลมหายใจติดขัด ต้องให้ airway support และ 100% humidified supplemental oxygen โดยด่วน 4. รักษาตามอาการ และตรวจสอบการทํางานของไต 5. ห้าม ให้ผู้ป่วยรับประทาน นม น้ํามัน หรืออาหารประเภทไขมันเป็นรูปข้าวสาลีและกากบาทสีดําบนพื้นสีขาวที่มีขนาดเห็นได้ (8) ให้แสดงสัญลักษณ์ เป็นรูปข้าวสาลีและกากบาทสีดําบนพื้นสีขาวที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนตามรูปดังนี้ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นํามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอก ราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,870
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 92/2557 เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 92/2557 เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ------------------------------------------------- โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาเห็นเป็นการสมควรลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นการผลักดันและกระตุ้นกลไกทางเศรษฐกิจ ทําให้ประชาชนมีกําลังในการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอันจะทํา ให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง จึงให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 549) พ.ศ. 2555 ข้อ ๒ ให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละหกจุดสาม สําหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนําเข้าทุกกรณีซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 (2) ร้อยละเก้า สําหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนําเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ ข้อ ๕ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
5,871
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 113/2557 เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร กรณีสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 113/2557 เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร กรณีสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว -------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับผู้มีเงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากพิเศษและจากเงินรางวัลสลากพิเศษ แบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 สําหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2549 เนื่องจากในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการกําหนดยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระและเยียวยาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้จําหน่ายสลากพิเศษหรือเป็นผู้ถูกรางวัลสลากพิเศษในกรณีดังกล่าว คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเงินรางวัลสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 สําหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2549 ซึ่งผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ของเงินรางวัลโดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อ ๒ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 สําหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2549 ซึ่งผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ของเงินได้โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อ ๓ ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
5,872
ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
ประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามพระราชบัญญัติ ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ซื้อขายกับลูกค้า ซึ่งเป็นอัตราซื้อถัวเฉลี่ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศและเผยแพร่เมื่อสิ้นวันทําการของแต่ละวันในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคํานวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อคํานวณภาษีการรับมรดกสําหรับมรดกที่มีมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งได้รับในวันถัดไป ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
5,873
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 (1) อธิบดีกรมสรรพากร (2) รองอธิบดีกรมสรรพากร (3) ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภาษีอากรกลาง กรมสรรพากร (4) นักตรวจสอบภาษีเชี่ยวชาญ สํานักตรวจสอบภาษีอากรกลาง กรมสรรพากร ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,874
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลื่อนหรือขยายกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลื่อนหรือขยายกําหนดเวลา ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรจะอนุญาตให้เลื่อนหรือประกาศขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดกหรือแจ้งรายการต่าง ๆ การอุทธรณ์และการเสียภาษีการรับมรดกตามที่กําหนดไว้ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ถือว่าเหตุดังต่อไปนี้ เป็นเหตุที่อธิบดีกรมสรรพากรจะอนุญาตให้เลื่อนกําหนดเวลาออกไปอีกตามความจําเป็นแก่กรณีก็ได้ ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 (1) เหตุจําเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกําหนดเวลาได้ ได้แก่ กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ได้รับบาดเจ็บสาหัสทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน และแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้แสดงความเห็นเป็นหนังสือว่ามีภาวะจํากัดหรือขาดความสามารถ ในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไป อันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 20 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 วัน (2) เหตุที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกหรือผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มิได้อยู่ในประเทศไทย ได้แก่ กรณีที่บุคคลนั้นมีสถานที่อยู่ในประเทศไทยอันเป็นแหล่งสําคัญหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและได้ออกไปนอกประเทศไทยชั่วระยะเวลาอันมีจํากัดจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติตามกําหนดเวลาโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ข้อ ๒ ให้ถือว่าเหตุอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ธรณีพิบัติภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นใดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นเหตุจําเป็นเป็นการทั่วไปที่อธิบดีกรมสรรพากรจะประกาศขยายกําหนดเวลาตามสมควรจนกว่าเหตุดังกล่าวจะสิ้นไป ตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ข้อ ๓ กรณีการขออนุญาตเลื่อนกําหนดเวลาตามข้อ 1 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ยื่นคําร้องขออนุญาตเลื่อนกําหนดเวลาต่ออธิบดีกรมสรรพากรเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,875
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสำเร็จรูปชนิดฉีดพ่นธรรมดา ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทสําเร็จรูป ชนิดฉีดพ่นธรรมดา ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน -------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS หรือ ORGANOPHOSPHATE หรือ CARBAMATE หรือ สารเหล่านี้ผสมกันในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนประเภทสําเร็จรูปชนิดพ่นธรรมดาต้อง ปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระ สําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน หรืออาคารสถานที่ เช่น ยุง แมลงวัน ใน แมลงสาบ มด ตัวสามง่าม หมัด เชือด เห็บ และแมลง เล็ก ๆ อื่น ๆ (2) วิธีใช้ ก่อนใช้ให้คนและสัตว์เลี้ยงออกจากห้องนั้นก่อนปิดประตูและหน้าต่างและให้ผู้ฉีดสวมถุงมือและหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปากและจมูก เท วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ใส่กระบอกฉีดพ่น แล้วฉีดวัตถุอันตรายชื่อผลิตภัณฑ์ขึ้นข้างบน 4 ด้าน ฉีดประมาณ 15 วินาที ให้ละออง วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์กระจายให้ทั่ว ทิ้งไว้ 15 นาที จึงเปิดระบายอากาศ หรือจะฉีดบริเวณนอกห้องที่มีลมสงบก็ได้ สําหรับกําจัดแมลงคลาน ฉีดวัตถุอันตรายตามซอกมุม ได้ รอบถังขยะ ขอบประตู หน้าต่าง รอยแตก หรือตามทางที่แมลง เดินผ่านหรือชอบอยู่ และพยายามฉีดให้ถูกแมลงจะได้ผลดีขึ้น ในห้องครัวและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ให้ปกปิดหรือ เคลื่อนย้ายอาหาร ภาชนะ รวมทั้งพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิต อาหาร ห้ามฉีดพ่นขณะทําการผลิต ภายหลังฉีดพ่นก่อนจะทําการ ผลิตให้ทําความสะอาดพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือความร้อน (4) ค่าเดือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ระวังอย่าให้ละอองเข้าตา ปาก หรือ จมูก 3. เมื่อเสร็จจากการใช้แล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 4. อย่าฉีดพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อนหรือผู้ป่วย 5. ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้ว ควรทิ้งหรือทําลาย ห้ามเทวัตถุ อันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือล้างกระบอกฉีดพ่น ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1.หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย ชื่อ ผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างออกด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียนให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุ อันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ ส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,876
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 5) เรื่อง กำหนดแบบคำร้องขอผ่อนชำระภาษีการรับมรดก
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 5) เรื่อง กําหนดแบบคําร้องขอผ่อนชําระภาษีการรับมรดก ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชําระภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบคําร้องขอผ่อนชําระภาษีการรับมรดก ดังนี้ ให้แบบคําร้องขอผ่อนชําระภาษีการรับมรดก (ท.ป.2/2) เป็นแบบที่ใช้ในการขอผ่อนชําระภาษีการรับมรดก โดยให้พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
5,877
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 1) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 1) เรื่อง กําหนดแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้แบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม. 60) เป็นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก โดยให้พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
5,878
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการขอคืนภาษีการรับมรดก
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการขอคืนภาษีการรับมรดก ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการขอคืนภาษีการรับมรดก ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้มีสิทธิได้รับคืนภาษีการรับมรดกยื่นคําร้องขอคืนภาษีการรับมรดก โดยใช้คําร้องขอคืนเงินภาษีการรับมรดกตามแบบคําร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค. 10) เป็นแบบคําร้องขอคืนภาษีการรับมรดก ข้อ ๒ ให้ผู้มีสิทธิได้รับคืนภาษีการรับมรดกยื่นคําร้องขอคืนเงินภาษีการรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (1) ใบเสร็จรับเงินภาษีการรับมรดก (2) หลักฐานแสดงการเสียภาษีการรับมรดกไว้เกิน (3) หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ขอคืน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
5,879
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือนประเภทกึ่งสำเร็จรูป ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE หรือ PYRETHROIDS หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนประเภทกึ่งสําเร็จรูป ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE หรือ PYRETHROIDS หรือ CARBAMATE หรือสารเหล่านี้ผสมกัน --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE หรือ PYRETHROIDS หรือ CARBAMATE หรือสาร เหล่านี้ผสมกัน ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ชนิดใช้กับเครื่องพ่น ต้องปฏิบัติ ตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุ อันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระ สําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงประเภทสําเร็จรูป (2) วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ (3) ค่าเดือน 1.สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุดก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ถูกผิวหนัง หรือเสื้อผ้า 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ห้ามทิ้ง หรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (4) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดมไอ ควัน วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอก ราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,880
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดแบบคำอุทธรณ์และสถานที่ยื่นคำอุทธรณ์การประเมินภาษีการรับมรดก
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 3) เรื่อง กําหนดแบบคําอุทธรณ์และสถานที่ยื่นคําอุทธรณ์การประเมินภาษีการรับมรดก ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบคําอุทธรณ์และสถานที่ยื่นคําอุทธรณ์การประเมินภาษีการรับมรดกดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้แบบคําอุทธรณ์ (ภ.ม. 6) เป็นแบบที่ใช้ในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์โดยให้พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ข้อ ๒ ให้ยื่นคําอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) สํานักอุทธรณ์ภาษี กรมสรรพากร (2) สํานักงานสรรพากรภาคแห่งใดแห่งหนึ่ง (3) สํานักงานสรรพากรพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
5,881
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบไปด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบไปด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนประเภท เทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและ ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงประเภทสําเร็จรูป (2) วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ (3) ค่าเดือน 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุด ก่อนที่จะลงมือทํางาน ต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก หรือถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้า 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง หลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4.ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (4) อาการเกิดพิษ อาจมีอาการคัน ผื่นแดงตามผิวหนัง จามหรือคัดจมูก อาเจียน วิงเวียน ปวดศีรษะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดมไอควันวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้นําผู้ป่วยออก จากบริเวณนั้น 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ (6) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1. หากกลืนกิน ให้ทําการล้างท้องด้วย sodium bicarbonate ความเข้มข้น 5 % แล้วตามด้วยผงถ่านแอคติเวทเด็ด 2. ถ้ามีความจําเป็นหรือผู้ป่วยมีอาการชัก ให้ diazepam ขนาด 2.5 มิลลิกรัม IV หรือ IM ช้า ๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง ถ้าเป็นเด็ก ให้ขนาด 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ําหนักตัว 3. หากผู้ป่วยหายใจไม่ออก ให้ออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจและ atropine ขนาด 1-2 มิลลิกรัม IV ฉีดทุก 30 นาที 4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง 5. รักษาตามอาการ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออก ไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,882
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 4) เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีการรับมรดก
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก (ฉบับที่ 4) เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีการรับมรดก ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมสรรพากรโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีการรับมรดก ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ทําคําร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้นการยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป ข้อ ๒ การงดเบี้ยปรับตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ให้กระทําได้โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือจากผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย การงดเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกสําคัญผิดว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับมีมูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท จึงมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดกภายในกําหนดเวลาและเมื่อทราบความผิด ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดกพร้อมชําระภาษีครบถ้วนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบความผิด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับมรดกและก่อนได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน โดยมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ถึงเหตุแห่งความสําคัญผิดดังกล่าว ข้อ ๓ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจพิจารณาสั่งลดได้ ตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ที่จะต้องเสียเบี้ยปรับได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดกพร้อมชําระภาษีก่อนออกหมายเรียก ให้เสียเบี้ยปรับ ดังนี้ (ก) ถ้าชําระภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 18 วรรคสอง หรือมาตรา 19 ให้เสียร้อยละ 1 ของเบี้ยปรับ (ข) ถ้าชําระภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาชําระภาษี ให้เสียร้อยละ 2ของเบี้ยปรับ (ค) ถ้าชําระภายหลัง 60 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาชําระภาษีให้เสียร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ (ง) ถ้าชําระภายหลัง 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาชําระภาษีให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ (จ) ถ้าชําระภายหลัง 120 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาชําระภาษี ให้เสียร้อยละ 20ของเบี้ยปรับ (2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียก และผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดกพร้อมชําระภาษีก่อนได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559 ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร
5,883
ประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 393) เรื่อง การคานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สิน และรายการอื่น ๆ ในงบการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงาน
ประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 393) เรื่อง การคานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สิน และรายการอื่น ๆ ในงบการเงิน ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงิน ที่ใช้ในการดาเนินงาน -------------------------------------------- อาศัยอานาจตามความในมาตรา 76 จัตวา (1) และมาตรา 76 เบญจ (1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 50) พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกาหนดหลักเกณฑ์การคานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สิน และรายการอื่น ๆ ในงบการเงิน ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงาน และได้แจ้งหรือขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 76 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้คานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สิน และรายการอื่น ๆ ในงบการเงินในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงานหรือในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงาน โดยคานวณค่าหรือราคาตามหลักเกณฑ์ตามวิชาการบัญชี และได้มีการตรวจสอบและรับรองโดยผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒ ให้คานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราสกุลอื่นที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้เป็นเงินตราสกุลที่ใช้ในการดาเนินงานโดยเลือกใช้วิธีการคานวณอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ใช้อัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คานวณไว้ แต่ในกรณีมีส่วนใดที่ไม่อาจคานวณตามอัตราดังกล่าว ให้ขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้อัตราอื่นเฉพาะส่วนนั้นได้ (2) ใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อหรืออัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คานวณไว้ แต่ในกรณีมีส่วนใดที่ไม่อาจคานวณตามอัตราดังกล่าวให้ขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้อัตราอื่นเฉพาะส่วนนั้นได้เมื่อเลือกใช้วิธีการตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้ใช้วิธีการนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563 อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,884
ประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 392) เรื่อง กาหนดเงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงาน เพื่อการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีเงินได้สาหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
ประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 392) เรื่อง กาหนดเงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงาน เพื่อการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีเงินได้สาหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ----------------------------------------------- อาศัยอานาจตามความในมาตรา 76 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 50) พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกาหนดเงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดาเนินงานเพื่อการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีเงินได้สาหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กาหนดให้เงินตราสกุลดังต่อไปนี้ เป็นเงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยที่ใช้ในการดาเนินงาน ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจแจ้งหรือขออนุมัติต่ออธิบดี แล้วแต่กรณีเพื่อใช้ในการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีเงินได้สาหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (1) ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา (USD) (2) ปอนด์สเตอลิง (GBP) (3) ยูโร (EUR) (4) เยน (JPY) (5) ดอลลาร์ ฮ่องกง (HKD) (6) ริงกิต มาเลเซีย (MYR) (7) ดอลลาร์ สิงคโปร์ (SGD) (8) ดอลลาร์ บรูไนดารุสซาลาม (BND) (9) เปโซ ฟิลิปปินส์ (PHP) (10) รูเปีย (IDR) (11) รูปี อินเดีย (INR) (12) ฟรังก์ สวิส (CHF) (13) ดอลลาร์ ออสเตรเลีย (AUD) (14) ดอลลาร์ นิวซีแลนด์ (NZD) (15) ดอลลาร์ แคนาดา (CAD) (16) โครนา สวีเดน (SEK) (17) โครน เดนมาร์ก (DKK) (18) โครน นอร์เวย์ (NOK) (19) หยวนเหรินหมินบี้ (CNY) (20) ดอง เวียดนาม (VND) (21) วอน เกาหลีใต้ (KRW) (22) ดอลลาร์ ไต้หวัน (TWD) (23) ดีแรห์ม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (AED) ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563 อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,885
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE ------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ORGANOPHOSPHATE ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงประเภทสําเร็จรูป (2) วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ (3) ค่าเดือน 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุด ก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้า 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง หลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ห้ามทิ้ง หรือล้างภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ ลงในแม่น้ํา คู่ คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (4) อาการเกิดพิษ คลื่นไส้ อาเจียน จุกเสียดแน่นในช่องท้องและอก หายใจขัด น้ํามูก และน้ําลายไหลมาก ไอ เหงื่อซึม น้ําตาไหล ชีพจรเต้นช้า ความดัน โลหิตสูง ถ่ายปัสสาวะบ่อย กล้ามเนื้อกระตุกอย่างแรง อ่อนเพลีย อาจชักและตายได้ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดมไอ ควันวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ (6) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1. ใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่มีอาการหายใจขัด 2. ให้ atropine sulfate 2-4 มิลลิกรัม ฉีดเข้าทางหลอดโลหิตดําจนกระทั่งอาการขาดออกซิเจนหายไป แล้วฉีดซ้ําทุก ๆ 5 - 10 นาที จนกระทั่งเกิดอาการ atropinization (ตัวและหน้าแต่ง หัวใจเต้นเร็ว) 3. ในรายที่ใช้ atropine อย่างเดียวแล้วอาการไม่ดีขึ้นให้ฉีด 2-PAM เข้าหลอดโลหิตดําช้า ๆ ขนาดที่ใช้ 1 กรัม สําหรับผู้ใหญ่ และ 0.25 กรัม สําหรับเด็ก 4. ห้ามใช้ยาที่กดการหายใจ เช่น morphine, theophylline หรือ aminophylline 5. รักษาตามอาการ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออก ไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,886
ประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายจ่ายเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้ สําหรับรายจ่ายเพื่อทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม --------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จ่ายไปเพื่อการทําวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 จะต้องมีรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการประกาศกําหนดจากอธิบดีกรมสรรพากร ข้อ ๒ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามข้อ 1จะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เป็นงานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งกระทําอย่างเป็นระบบโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิตใหม่ การวิจัยและพัฒนาแตกต่างจากกิจกรรมอื่นตรงที่มีความแปลกใหม่ และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งประเภทของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมีดังนี้ (ก) การวิจัยพื้นฐาน เป็นการศึกษาค้นคว้าทางทฤษฎี หรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ ๆโดยยังไม่สามารถนําไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการได้โดยตรง (ข) การวิจัยประยุกต์ เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อหาวิธีการใหม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้แล้วล่วงหน้า (ค) การพัฒนาเชิงทดลอง เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ โดยนําความรู้ที่มีอยู่แล้วมาสร้างวัตถุดิบ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต ระบบและการบริการใหม่ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตเดิมให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเชิงทดลองไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามปกติหรือตามระยะเวลาของผลิตภัณฑ์ ระบบการผลิต กรรมวิธีการผลิต การให้บริการ หรือกิจการอื่น ๆ ที่กําลังดําเนินงาน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะทําให้มีความก้าวหน้าก็ตาม (2) นวัตกรรม เป็นการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนําไปสู่การสร้างให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ซึ่งประเภทของนวัตกรรมมีดังนี้ (ก) นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการนําสินค้าหรือบริการที่ใหม่ หรือมีการปรับปรุงอย่างมากในด้านคุณลักษณะและการนําไปใช้ประโยชน์ นวัตกรรมด้านนี้ได้รวมถึงการปรับปรุงอย่างเห็นได้ชัดในด้านลักษณะทางเทคนิค องค์ประกอบ หรือวัสดุที่ใช้รวมถึงซอฟท์แวร์ที่มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายต่อผู้ใช้และลักษณะการใช้งานอื่น ๆ (ข) นวัตกรรมด้านกระบวนการ เป็นการนํารูปแบบการผลิตและการส่งมอบสินค้าแบบใหม่หรือมีลักษณะของการปรับปรุงจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเทคนิคอุปกรณ์ หรือซอฟท์แวร์ที่ใช้ ข้อ ๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 จะต้องยื่นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีจะได้ประกาศกําหนด เพื่อตรวจสอบและรับรองว่าโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ การพัฒนาเชิงทดลองนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมด้านกระบวนการ เมื่อโครงการดังกล่าวได้รับการตรวจสอบและได้รับการรับรองแล้ว ก็ให้ถือว่าโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการวิจัยพื้นฐานการวิจัยประยุกต์ การพัฒนาเชิงทดลอง นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมด้านกระบวนการ ข้อ ๔ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนํารายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาหักเป็นรายจ่ายในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยไม่ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองตามข้อ 3 ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น มีมูลค่าไม่เกินสามล้านบาท (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเคยดําเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามโครงการที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติแล้ว (3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับการตรวจประเมินระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมและได้รับการขึ้นทะเบียนโดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด (4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้แนบแบบรับรองรายจ่ายเพื่อทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเอกสารแนบแสดงรายละเอียดรายจ่ายโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และ (5) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทํารายละเอียดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมฉบับเต็ม รวมทั้งจัดเก็บบันทึกการวิจัย สรุปผล และรายงานการวิจัยไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้ประกอบการตรวจประเมินภายหลัง (ถ้ามี) ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,887
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบไปด้วยสารในกลุ่ม CARBAMATE
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือน ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบไปด้วยสารในกลุ่ม CARBAMATE --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม CARBAMATE ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงในบ้านเรือนประเภท เทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและ ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันและกําจัดแมลงประเภทสําเร็จรูป (2) วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ (3) ค่าเดือน 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุด ก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้า 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง หลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน่าสาธารณะ (4) อาการเกิดพิษ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งช่องท้อง ท้องร่วง ม่านตาหด หายใจหอบ เหงื่อออกมาก (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดมไอดวันวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ (6) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1. ฉีด atropine sulfate ขนาด 2 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดโลหิตดํา ในกรณีที่อาการรุนแรงให้ฉีดซ้ําทุก ๆ 15 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น 2. ห้ามให้ยาพวก morphine, aminophylline, barbiturate หรือ ยาอื่น ๆ ที่กดระบบการหายใจ 3. รักษาตามอาการ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอก ราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,888
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วย DIMETHYL PHTHALATE หรือ DIETHYL PHTHALATE หรือ DIBUTYL PHTHALATE หรือ ETHOHEXADIOL
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วย DIMETHYL PHTHALATE หรือ DIETHYL PHTHALATE หรือ DIBUTYL PHTHALATE หรือ ETHOHEXADIOL ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย DIMETHYL PHTHALATE หรือ DIETHYL PHTHALATE หรือ DIBUTYL PHTHALATE หรือ ETHOHEXADIOL ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทเทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และ ข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไล่แมลง (2) วิธีเก็บรักษา เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (3) คําเตือน 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุด ก่อนที่จะลงมือทํางานต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้า 2. ชําระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง หลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ํา สาธารณะ (4) อาการเกิดพิษ หากเข้าตา หรือถูกเนื้อเยื่ออ่อน จะมีอาการระคายเคือง หากกลืน วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ จะมีอาการไหม้ของริมฝีปาก ลิ้น และ ปาก ระบบประสาทส่วนกลางถูกกด อาจชักและตายได้ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ทําให้อาเจียน โดย ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 4. หากอาการรุนแรง ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ (6) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1. ล้างท้อง 2. รักษาตามอาการ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,889
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดหนู ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ANTICOAGULANT
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดหนู ประเภทเทคนิคอลเกรด ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม ANTICOAGULANT ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจรับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสารในกลุ่ม ANTICOAGULANT ในผลิตภัณฑ์เหยื่อกําจัดหนู ประเภทเทคนิคอลเกรด ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ นําไปผลิต หรือแบ่งบรรจุ เป็นผลิตภัณฑ์กําจัดหนู (2) วิธีเก็บรักษา ควรเก็บในที่แห้งและเย็น อย่าให้ถูกแสงแดด และเก็บให้มิดชิดห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (3) ค่าเดือน 1. สวมเสื้อผ้าชุดสําหรับปฏิบัติงานให้ครบชุดก่อนที่จะลงมือทํางาน ต้องระวังอย่าให้เข้าตา ปาก จมูก ผิวหนังหรือเสื้อผ้า 2. ชําระล้างร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน 3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ 4. ห้ามทิ้งหรือล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (4) อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจากการรับประทานวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ในระยะแรกอาจจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติ นอกจากระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดจะนานขึ้น แต่หากรับประทานวัตถุอันตรายชื่อผลิตภัณฑ์นี้ในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทําให้เกิดการตกเลือด โดยอาจมีเลือดออกมากับปัสสาวะ อุจจาระเลือดกําเดาไหล หรือมีเลือดออกตามเหงือก อาจมีอาการปวดท้องและหลัง เนื่องจากมีอาการตกเลือดภายในช่องท้อง อ่อนเพลีย ตัวซีด อาจตายได้เนื่องจากเสียเลือดมาก (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ให้ทําให้อาเจียน โดยดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 2. ให้รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมกับภาชนะบรรจุหรือฉลากของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นั้น (6) คําแนะนําสําหรับแพทย์ 1.ผู้ป่วยที่รับประทานวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ เป็นเวลาไม่เกินกว่า 2-5 ชั่วโมง หลังจากทําให้อาเจียนแล้ว ให้รับประทานสารละลายถ่านแอ็คติเวทเด็ด (ถ่านแอ็คติเวทเต็ด 30 กรัม ละลายน้ํา 120-180 มิลลิลิตร) 2. หากผู้ป่วยรับประทานวัตถุอันตรายนี้ติดต่อกันในเวลาไม่เกิน 15 วัน หรือสงสัยว่าจะมีผลต่อเลือด และตับโดยดูจากระยะเวลาแข็ง ตัวของเลือด (prothrombin time) ให้ฉีด phytomenadione (vitamin K1) เข้าทางกล้ามเนื้อ ผู้ใหญ่ใช้ขนาด 25 มิลลิกรัม เด็กใช้ขนาด 0.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ภายหลังการฉีดยา 24 ชั่วโมงถ้าระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดนานกว่าปกติมากกว่า 10 วินาที ให้ฉีดยาอีกครั้งหนึ่งในขนาดเท่าเดิม ในรายที่ใช้ยาขนาด แล้วไม่ได้ผลให้ปรับขนาดใหม่ แต่ไม่ควรเกิน 50 มิลลิกรัม 3. ในรายที่แสดงอาการพิษชัดเจน เช่น มีอาการตกเลือด anemia หรือ hematoma อาจจําเป็นต้องให้ phytomenadione เข้าทางหลอดเลือดดํา ผู้ใหญ่ใช้ขนาด 25 มิลลิกรัม เด็กใช้ขนาด 0.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัมให้ในอัตราไม่มากกว่า 1 มิลลิกรัม/นาที โดยเจือจาง phytonnenadione ในน้ําเกลือนอร์มัล หรือ 5% glucose ภายหลัง 24 ชั่วโมงหากอาการยังไม่ดีขึ้นให้ใช้ยา ในอัตราเดิม 4. ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจจะทําการถ่ายเลือด โดยใช้ fresh blood หรือ fresh frozen plasma เพื่อรักษาอาการตกเลือด ควรทําการตรวจระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดและปริมาณ hemoglobin ด้วย 5. ควรให้วิตามินซี โดยการรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ผู้ใหญ่ ใช้ขนาด 100 มิลลิกรัม เด็กใช้ขนาด 50-100 มิลลิกรัม 6. ในรายที่มีการตกเลือดภายใน (internal hemorrhage) ควรจะมีการดูดเอาก้อนเลือดนั้นทิ้ง 7. หลังจากรักษาอาการดีขึ้นแล้ว ควรให้รับประทานยาเม็ดเฟอร์รัสซัลเฟตขนาด 0.3 กรัม วันละ 3 เวลา ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,890
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดสบู่หรือแชมพูอาบน้ำสัตว์เลี้ยง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดสบู่หรือแชมพูอาบน้ําสัตว์เลี้ยง ----------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ชนิดสบู่หรือแชมพูอาบน้ําสัตว์เลี้ยง ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการกําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและ ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร (แจ้งตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงกรณีห้ามใช้กับสัตว์ชนิดใดด้วย) (2) วิธีใช้ 1. ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ฟอกบนตัวสัตว์เลี้ยงที่เปียกน้ําให้ทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเท้า งามเท้า ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ต่อน้ําหนักตัวสัตว์กิโลกรัม (แจ้งตามจริง) ทั้งไว้ประมาณ.....นาที ล้างออกด้วยน้ําสะอาด ใช้ซ้ําอีกครั้งหนึ่งแล้วเช็ดขนให้แห้ง 2. ควรใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ทุกข์............(วัน สัปดาห์ เดือน) หรือเมื่อพบร่องรอยของตัวเบียนบนตัวสัตว์ (3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่มืดชืด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) ค่าเดือน 1. ห้ามรับประทาน 2. เวลาใช้ให้สวมถุงมือยางหรือถุงมือพลาสติกหุ้มถึงข้อศอก ระวัง อย่าให้วัตถุอันตรายเข้าตา จมูก หรือปากได้ 3. หลังจากการใช้ ให้ล้างมือและถุงมือให้สะอาด อาบน้ําชําระร่างกายและถอดเสื่อผ้าไปซักล้างให้สะอาด 4. ขณะใช้ระวังอย่าให้วัตถุอันตรายเข้าตา จมูก ปาก หรือหู ด้านในของสัตว์เลี้ยง 5. ไม่ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้กับสัตว์เลี้ยงที่ป่วย หรือ อ่อนแอและลูกสัตว์ สัตว์ที่กําลังตั้งท้องหรือให้นมลูก 6. ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุหรือวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดจํานวนมากๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่ง แพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน รีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอก ราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,891
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดผงโรย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดผงโรย -------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ชนิดผงโรยที่นํามาใช้ประโยชน์ในการกําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร (แจ้งตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรณีห้ามใช้กับสัตว์ชนิดใดด้วย) (2) วิธีใช้ 1. ทําความสะอาดสัตว์เลี้ยง จากนั้นให้ผูกล่ามไว้ในกรงหรือบริเวณ ซึ่งอับลมและวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ไม่ฟุ้งกระจายได้ง่าย และให้สวมตะกร้อครอบปาก เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเสียหรือกลืนวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ จากนั้นให้โรยวัตถุอันตราย/ชื่อ ผลิตภัณฑ์บาง ๆ บนตัวสัตว์ให้ทั่วและลูบให้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์สัมผัสถึงผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเท้า ง่ามเท้า ภายหลัง 1 ชั่วโมง จึงนําสัตว์เลี้ยงมาแปรงขน เพื่อให้ตัวเบียนร่วงหลุดแล้วทําความสะอาดสัตว์เลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อมิให้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ตกค้างบนตัวสัตว์ 2. กรณีที่มีกรงสัตว์ ให้เคลื่อนย้ายไปยังบริเวณที่ไม่เกิดการฟังกระจายของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ได้ง่าย จากนั้นให้โรยวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ โดยรอบภายในกรงเพื่อกําจัดตัวเบียนที่อาจกลับมาติดสัตว์เลี้ยงอีก ภายหลัง 1 ชั่วโมงให้ทําความสะอาดกรงจนปราศจากวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ก่อนปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้าไป 3. ควรใช้ในกรณีที่พบร่องรอยของตัวเบียนบนตัวสัตว์ และบริเวณที่อยู่ของสัตว์เท่านั้น ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นประจํา (3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) ค่าเดือน 1. ห้ามรับประทาน 2. วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้สามารถตกหล่นและฟุ้งกระจายได้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันมิให้เป็นพิษต่อผู้ใช้และผู้อื่น 3. ขณะใช้ให้นําผ้าปิดจมูก ปาก และสวมถุงมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันการหายใจเอาละอองวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เข้าไปและป้องกันการสัมผัสกับผิวหน้าของผู้ใช้ 4. เมื่อเสร็จจากการใช้ต้องรีบล้างมือ ชําระล้างร่างกายให้สะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที 5. ขณะใช้ระวังอย่าให้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เข้าตา จมูก ปากของสัตว์เลี้ยง 6. ไม่ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้กับสัตว์เลี้ยงที่ป่วย หรืออ่อนแอ ลูกสัตว์ สัตว์ที่กําลังตั้งท้องหรือให้นมลูก 7. ห้าม ทิ้งภาชนะบรรจุ หรือวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในแม่น้ํา ค คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําเ สะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียนโดย ให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วรีบนําผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกวัตถุอันตรายชื่อผลิตภัณฑ์นี้ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอก ราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,892
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดพ่นอัดก๊าซ
ประกาศงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดพ่นอัดก๊าซ --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ชนิดพ่นอัดก๊าซที่นํามาใช้ประโยชน์ในการกําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร (แจ้งตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงกรณีห้ามใช้กับสัตว์ชนิดใดด้วย) (2) วิธีใช้ 1. ฉีดพ่นวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ลงบนตัวสัตว์เลี้ยงบริเวณที่พบตัวเบียน ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้ทุก... (วัน สัปดาห์ เดือน) หรือเมื่อพบร่องรอยของตัวเบียนบนตัวสัตว์ 2. ควรทิ้งไว้นาน...จึงสามารถปล่อยให้เด็กเล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงนั้นได้ 3. อาจใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ฉีดพ่นที่นอนหรือกรงของสัตว์ หากพบตัวเบียนในบริเวณดังกล่าว (3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ระวังอย่าให้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ เข้าตา จมูก ปาก เวลาใช้ให้สวมถุงมือ 2. หลังการใช้ ให้ล้างมือและถุงมือให้สะอาด 3. ระวังอย่าให้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ เข้าตา จมูก ปาก หรือหูด้านในของสัตว์เลี้ยง 4.ไม่ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้กับสัตว์เลี้ยงที่ป่วยหรือ อ่อนแอ ลูกสัตว์ สัตว์ที่กําลังตั้งท้อง หรือให้นมลูก 4 5.ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุ หรือวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ลงใน แม่น้ํา ดู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ ควรทิ้งในที่เหมาะสมและ ห้ามเผาไฟ จะเกิดอันตราย (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้า ให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างออกด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วนําผู้ป่วยส่งแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตาม 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอก ราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,893
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดผงสําหรับผสมน้ำหรือชนิดน้ำ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดผงสําหรับผสมน้ําหรือชนิดน้ํา ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ของ ผลิตภัณฑ์ชนิดผงสําหรับผสมน้ํา หรือชนิดน้ําที่นํามาใช้ประโยชน์ในการกําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลาก และระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร (แจ้งตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงกรณีห้ามใช้กับสัตว์ชนิดใดด้วย) (2) วิธีใช้ 1. ผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์..................ส่วน คนให้เข้ากัน ใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผสมแล้ว มิลลิลิตรต่อน้ําหนักตัวสัตว์เลี้ยง.....กิโลกรัม 2. จุ๋ม อาบ หรือชโลมให้ทั่วตัวสัตว์เลี้ยงที่ตัวเปียกน้ํา โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเท้า งามเท้า แล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยไม่ต้องล้างน้ําซ้ําควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้ทุกวัน.....(วัน สัปดาห์ เดือน) หรือเมื่อพบร่องรอยของตัวเบียนบนตัวสัตว์ 3. ควรทิ้งไว้นาน.... จึงจะสามารถปล่อยให้เด็กเล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงนั้นได้ 4. อาจใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นที่นอนหรือกรงของสัตว์เลี้ยง หากพบตัวเบียนในบริเวณดังกล่าว (3) วิธีเก็บรักษา ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ระวังอย่าให้วัตถุอันตรายเข้าตา จมูก ปาก เวลาใช้ให้สวมถุงมือหุ้มถึงข้อศอก 3. หลังจากการใช้ ให้ล้างมือและถุงมือให้สะอาด อาบน้ําชําระร่างกายและถอดเสื้อผ้าไปซักให้สะอาด 4. ระวังอย่าให้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ เข้าตา จมูก ปาก หรือหูด้านในของสัตว์เลี้ยง 5. ไม่ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้กับสัตว์เลี้ยงที่ป่วยหรืออ่อนแอ ลูกสัตว์ สัตว์ที่กําลังตั้งท้อง หรือให้นมลูก 6. ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุหรือวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมาก ๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วนําผู้ป่วยส่งแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกูล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,894
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กำจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดปลอกคอ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง ชนิดปลอกคอ ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ชาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ชนิดปลอกคอที่นํามาใช้ประโยชน์ในการกําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้กําจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง เช่น เห็บ หมัด ไร (แจ้งตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงกรณีห้ามใช้กับสัตว์ชนิดใดด้วย) (2) วิธีใช้ 1. ฉีกซองแล้วนําปลอกคอสวมคอสัตว์เลี้ยง กะให้หลวมพอเหมาะติดที่ยึดให้เรียบร้อยแล้วตัดส่วนที่ยาวเกินไปออก 2. ให้สัตว์เลี้ยงสวมปลอกคอตลอดเวลา และควรเปลี่ยนปลอกคอใหม่ทุก.....เดือน (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง (4)คําเตือน 1. ภายหลังการหยิบจับหรือสัมผัสปลอกคอนี้ ควรล้างมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง 2. หากสัตว์เลี้ยงแสดงอาการระคายเคืองอาจเนื่องมาจากปลอกคอ รัดแน่นเกินไป ให้คลายปลอกคอออก หากยังมีอาการระคายเคืองอีกให้ถอดปลอกคอออก 3. ระวังมิให้สัตว์เลี้ยงกันหรือเคี้ยวปลอกคอนี้เล่น 4. ไม่ควรใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์นี้กับสัตว์เลี้ยงที่ป่วย หรือ อ่อนแอและลูกสัตว์ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ 2. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ แล้วนําผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,895
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทยาจุดกันยุง ที่ประกอบด้วย สารในกลุ่ม PYRETHROIDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทยาจุดกันยุง ที่ประกอบด้วย สารในกลุ่ม PYRETHROIDS --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาและมีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ในผลิตภัณฑ์ประเภทยาจุดกันยุง ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้จุดป้องกันยุง (2) วิธีใช้ จุดไฟที่หัวยาจุดกันยุงแล้ววางยาจุดกันยุงลงบนภาชนะที่รองรับซึ่งเป็นโลหะ เพื่อป้องกันอัคคีภัย (3) วิธีเก็บรักษา เก็บยาจุดกันยุงไว้ในที่แห้ง อย่าให้ถูกแสงแดด และให้ห่างจากเด็กอาหาร และสัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. อย่าจุดยาจุดกันยุงในห้องที่มีเด็กอ่อนหรือผู้ป่วย หรือในที่อับไม่มีอากาศถ่ายเท 2. หรือรมถูกอาหาร 3. อย่าจุดยากันยุงใกล้วัตถุที่ติดไฟง่าย 4. ภายหลังจากการหยิบจับยาจุดกันยุงควรล้างมือทุกครั้ง (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่จุดยากันยุงไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 3. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา เอื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,896
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทยาจุดกันยุง ชนิดของเหลวบรรจุขวด ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทยาจุดกันยุง ชนิดของเหลวบรรจุขวด ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ในผลิตภัณฑ์ประเภทป้องกันยุง ชนิดของเหลวบรรจุขวด ที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลาก และระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ป้องกันยุง (2) วิธีใช้ 1. เปิดฝาเครื่อง 2. วางวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ลงให้ตรงช่อง 3. เปิดฝาขวดวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ 4. ปิดฝาเครื่องลงตามเดิม โดยให้ขวดตั้งตรงและเข้าที่ 5. เสียบปลั๊ก เปิดสวิทช์ 6. ขณะหยุดใช้งานชั่วคราวให้ปิดสวิทช์ และปิดฝาขวด (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้งมิดชิด อย่าให้ถูกแสงแดด และห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง หรือความร้อน (4) คําเตือน 1. อย่าใช้ในห้องที่มีเด็กอ่อน หรือผู้ป่วย หรือในที่อับไม่มีอากาศถ่ายเท 2. อย่าใช้ใกล้อาหาร หรือวัตถุไวไฟ 3. ภายหลังการหยิบจับ ควรล้างมือทุกครั้ง 4. อย่าคว่ําหรือตะแคงเครื่องไฟฟ้าขณะใช้ 5. อย่าจับเครื่องไฟฟ้าขณะมือเปียกน้ํา (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 3. หากถูกผิวหนัง ต้องล้างด้วยสบู่และน้ําจํานวนมากๆ หากเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลาหากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ หากเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที 4. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,897
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทป้องกันยุง ชนิดแผ่นที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทป้องกันยุง ชนิดแผ่นที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ในผลิตภัณฑ์ประเภทป้องกันยุงชนิดแผ่นที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ป้องกันยุง (2) วิธีใช้ 1. วางเครื่องไฟฟ้าในแนวนอนแล้ววางวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ 1 แผ่น ลงในช่องของเครื่อง 2. เสียบปลั้กไฟ 3. ขณะใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท 4. ควรเปลี่ยนวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่เมื่อเปลี่ยนไป (3) วิธีเก็บรักษา เก็บวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ไว้ในที่แห้ง อย่าให้ถูกแสงแดด และ ให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง หรือความร้อน (4) คําเตือน 1. อย่าใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ในห้องที่มีเด็กอ่อน หรือผู้ป่วยหรือในที่อับไม่มีอากาศถ่ายเท 2. ภายหลังการหยิบจับวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ควรล้างมือทุกครั้ง 3. อย่าใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ใกล้อาหารหรือวัตถุไวไฟ 4. อย่าคว่ําหรือตะแครงเครื่องไฟฟ้าขณะใช้ 5. อย่าจับเครื่องไฟฟ้าขณะมีอเปียกน้ํา (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 3. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,898
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทกล่องครอบกันยุง ที่ใช้กับหลอดไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ประเภทกล่องครอบกันยุง ที่ใช้กับหลอดไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS --------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วยสารในกลุ่ม PYRETHROIDS ในผลิตภัณฑ์ประเภทกล่องครอบกันยุงที่ใช้กับหลอดไฟฟ้า ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้ป้องกันยุง (2) วิธีใช้ 1. ครอบหรือสวมกล่องวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ลงบนหลอดไฟฟ้าให้กระชับพอดี 2. เสียบปลั๊กไฟฟ้า 3. เปลี่ยนกล่องครอบใหม่ เมื่อใช้ครบ..........ชั่วโมง และให้ฉีกกล่องเก่าทิ้ง (3) วิธีเก็บรักษา เก็บวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ไว้ในที่แห้งให้มิดชิด อย่าให้ถูกแสงแดด และให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง หรือความร้อน (4) คําเตือน 1. อย่าใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ในห้องที่มีเด็กอ่อน หรือผู้ป่วยหรือในที่อับไม่มีอากาศถ่ายเท 2. ภายหลังการหยิบจับวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ควรล้างมือทุกครั้ง 3. อย่าใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ใกล้อาหารหรือวัตถุไวไฟ 4. อย่ากว่าหรือตะแคงเครื่องไฟฟ้าขณะใช้ 5. อย่าใช้มือจับหลอดไฟฟ้าหรือกล่องครอบขณะที่มือเปียกน้ํา (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ 3. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,899
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ชุบมุ่งป้องกันกำจัดยุง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ชุบมุ่งป้องกันกําจัดยุง ------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศของ ผลิตภัณฑ์ชุมมุ่งป้องกันกําจัดยุง ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ใช้สําหรับชุบมุ่งเพื่อป้องกันและกําจัดยุง (2) วิธีใช้ ชุบมุ่งให้ได้ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ในขนาด................กรัมต่อ 1 ตารางเมตรของมุ่ง มุ้งไนล่อน ผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ มิลลิลิตร กับน้ํา...............มิลลิลิตร แล้วนําไปชุบมุ่งในปริมาณ.....มิลลิลิตรต่อ 1 ตารางเมตร มุ้งผ้าผสมวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์....มิลลิลิตร กับน้ํา............มิลลิลิตร แล้วนําไปชุบมุ่งในปริมาณ.....มิลลิลิตร ต่อ 1 ตารางเมตร เมื่อชุบมุ่งจนวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ กระจายทั่วมุ่งตาม อัตราส่วนที่กําหนดข้างต้นแล้ว ให้นําไปฝั่งหรือตากในที่ร่มจนแห้ง แล้วจึงน่ามุ่งไปใช้ได้ ควรชุบใหม่ทุก......เดือน การชุบควรกระทําโดยผู้ที่มีความชํานาญ หรืออยู่ในความดูแลของผู้ที่มีความชํานาญ (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิดให้ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ หรือความร้อน (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ระวังอย่าให้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ เข้าปาก ตา จมูกหรือ ถูกผิวหนัง 3. ต้องล้างมือและหน้าให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ําหรือสูบบุหรี่ 4. เมื่อเสร็จจากการใช้วัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์แล้ว ควรรีบล้างมือล้างหน้า เปลี่ยนเสื้อผ้าและซักชุดที่สวมในการทํางานให้สะอาด 5. ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้ว ให้ทิ้งหรือทําลาย 6. ห้ามล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ที่ใช้ผสม หรือทิ้งวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ลงในแม่น้ํา คู คลอง แหล่งน้ําสาธารณะ (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ําจํานวนมากๆ ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที 2. หากสูดดม ให้นําผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้วัตถุอันตรายชื่อผลิตภัณฑ์ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้าม ทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,900
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสำเร็จรูปที่ประกอบด้วย DEET หรือ DIMETHYL PHTHALATE หรือ DIETHYL PHTHALATE หรือ DIBUTYL PHTHALATE หรือ ETHOHEXADIOL หรือสารเหล่านี้ผสมกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสําเร็จรูปที่ประกอบด้วย DEET หรือ DIMETHYL PHTHALATE หรือ DIETHYL PHTHALATE หรือ DIBUTYL PHTHALATE หรือ ETHOHEXADIOL หรือสารเหล่านี้ผสมกัน -------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย DEET หรือ DIMETHYL PHTHALATE หรือ DIETHYL PHTHALATE หรือ DIBUTYL PHTHALATE หรือ ETHOHEXADIOL หรือสารเหล่านี้ผสมกัน ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทสําเร็จรูป ต้อง ปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษ ของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดง สาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ไล่แมลง (2) วิธีใช้ ทาหรือพ่นผิวหนัง (ระบุตามชนิดของผลิตภัณฑ์) เพื่อกันยุงได้นาน ประมาณ.....ชั่วโมง (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 4 ปี 3. ห้ามนําไปทาแทนแป้ง/โลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ป้องกันยุงและระวังมิให้เด็กนําไปทาเล่น (สําหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง/โลชั่น) 4. ก่อนใช้ควรลองทาหรือพื้นที่ข้อพับแขนดูก่อน ถ้าไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง จึงใช้ทาหรือพ่นบริเวณอื่นได้ 5. ให้ใช้เฉพาะเมื่อจําเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจําหรือใช้ในปริมาณมาก 6. อย่าทาหรือพ่นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือบริเวณแผล 7. ภายหลังการใช้ หากจะหยิบจับอาหาร ควรล้างมือเสียก่อน (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างออกด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ 2. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์ 3. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ (สําหรับผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบที่กลืนกินได้) 4. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,901
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสำเร็จรูป ที่ประกอบด้วย DEET และ PYRETHRINS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสําเร็จรูป ที่ประกอบด้วย DEET และ PYRETHRINS ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความ เป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศซึ่ง ประกอบด้วย DEET และ PYRETHRINS ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ประเภทสําเร็จรูป ต้องปฏิบัติตาม ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 7 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 และแสดงสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ประโยชน์ ล่แมลง (2) วิธีใช้ ทาหรือพ่นผิวหนัง (ระบุตามชนิดของผลิตภัณฑ์) เพื่อกันยุงได้นาน ประมาณ...........โมง (3) วิธีเก็บรักษา เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง (4) คําเตือน 1. ห้ามรับประทาน 2. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 4 ปี 3. ห้ามนําไปทาแทนแป้ง/โลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ป้องกันยุง และระวังมิให้เด็กนําไปทาเล่น (สําหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง/โลชั่น) 4. ก่อนใช้ควรลองทาหรือพื้นที่ข้อพับแขนดูก่อน ถ้าไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง จึงใช้บริเวณอื่นได้ 5. ให้ใช้เฉพาะเมื่อจําเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจําหรือ ใช้ในปริมาณมาก 6. อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณแผล 7. ภายหลังการใช้ หากจะหยิบจับอาหาร ควรล้างมือเสียก่อน (5) วิธีแก้พิษเบื้องต้น 1. หากเกิดพิษจากการสูดดม ให้รีบนําผู้ป่วยออกไปบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. หากถูกเนื้อเยื่ออ่อน ให้รีบล้างออกด้วยน้ําปริมาณมาก ๆ 3. หากเข้าตา ให้รีบล้างด้วยน้ําสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์ 4. หากกลืนกินวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ รีบทําให้อาเจียน โดย ให้ดื่มน้ําสะอาด 2 แก้ว แล้วทําการล้วงคอ กรณีที่มีส่วนผสมของ petroleum distillate ให้ใช้ข้อความ ตามนี้ หากกลืนกินวัตถุอันตราย/ชื่อผลิตภัณฑ์ ห้ามทําให้อาเจียน ให้ดื่มน้ําหรือนมเพื่อเจือจาง 5. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนําส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุฉลาก หรือใบแทรกของวัตถุอันตราย ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ การแสดงฉลากของวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็น พิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 บรรเทา อื้อกุล (นายบรรเทา อื้อกุล) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,902
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ----------------------- โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 และข้อ 5 แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ก.พ. จึงกําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (1) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2549 (2) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (3) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 (4) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 (5) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ ให้ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งและในหน่วยงานดังต่อไปนี้ เป็นข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และให้ได้รับเงินเพิ่มตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้ (1) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน ด้านการอภิบาล การศึกษา การฝึกและอบรม การปลูกฝังศีลธรรม จริยธรรม การฝึกระเบียบวินัย ดูแลและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนด้านการสงเคราะห์และบําบัด แก้ไข หรือการตรวจสุขภาพกายและจิตเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมหรือการตรวจรักษาและพยาบาลเด็กและเยาวชน ด้านการสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงและสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน รวมทั้งสาเหตุแห่งการกระทําผิดของเด็กและเยาวชน ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.น.” (2) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ โดยผู้ได้รับการสงเคราะห์ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เนื่องจากเป็นคนพิการทางกาย ทางสมองและปัญญา ทางจิตประสาท เป็นคนชราที่เจ็บป่วยหรือหลง หรือเป็นคนไร้ที่พึ่งที่มีปัญหาด้านจิตประสาทซึ่งในการปฏิบัติงานต้องดูแลให้การสงเคราะห์ ฟื้นฟู และพัฒนา โดยสัมผัสกับผู้รับการสงเคราะห์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยตรง ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.พ.” (3) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานที่เรือนจําตามกฎหมายราชทัณฑ์ซึ่งมีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง หรือผู้ต้องกักขัง หรือผู้ถูกกักกัน ตลอดเวลา หรือบางเวลา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานที่เรือนจํา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ร.” (4) ข้าราชการในทุกส่วนราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเป็นครูการศึกษาพิเศษ สอนคนตาบอด สอนคนหูหนวก สอนคนร่างกายพิการทางแขนขา และลําตัว และสอนคนปัญญาอ่อนที่ปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษาหรือหน่วยงานของทางราชการ หรือในความควบคุมของทางราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ค.ศ.” (5) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในสํานักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสืบสวน การรวบรวมข่าว วิเคราะห์ข่าว หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการข่าวในการติดตามสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศตลอด 24 ชั่วโมง หรือเฝ้าระวังเหตุการณ์หรือสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดการก่อการร้ายหรือบ่อนทําลายความมั่นคง เพื่อแจ้งเตือนและรายงานรัฐบาลและผู้ใช้ข่าวระดับสูงทราบอย่างต่อเนื่อง ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการข่าว ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.ข.” (6) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมจราจรทางอากาศและสื่อสารการบินตามที่ ก.พ. กําหนดในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของเจ้าพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ค.จ.” (7) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในกรมศิลปากร ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติการใต้น้ํา ดังต่อไปนี้ (ก) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ํา การทําแผนผังใต้ทะเลและการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ํา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติการใต้น้ําซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ํา การทําแผนผังใต้ทะเล และการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ํา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ป.น. 1” (ข) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ํา การทําแผนผังใต้ทะเลและการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ํา และมีความรู้ความสามารถในการใช้วัตถุระเบิดใต้น้ํา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติการใต้น้ําซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ํา การทําแผนผังใต้ทะเล และการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ําและมีความรู้ความสามารถในการใช้วัตถุระเบิดใต้น้ํา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ป.น. 2” (8) ข้าราชการในทุกส่วนราชการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติงานทางอากาศโดยปฏิบัติงานทางอากาศในฐานะ ดังต่อไปนี้ (ก) นักบินหรือนักบินผู้ตรวจการบิน ซึ่งปฏิบัติงานบนอากาศยานเป็นประจํา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบิน หรือนักบินผู้ตรวจการบิน บนอากาศยานเป็นประจํา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. 1” (ข) ผู้ตรวจสอบการปฏิบัติการบินทดสอบ (Avionics) ซึ่งปฏิบัติงานบนเครื่องบินทดสอบเป็นประจํา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติการบินทดสอบ (Avionics) บนเครื่องบินทดสอบเป็นประจํา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. 2” (ค) ช่างอากาศหรือช่างเครื่องบิน ซึ่งปฏิบัติงานบนอากาศยานเป็นประจํา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็น ช่างอากาศหรือช่างเครื่องบินบนอากาศยานเป็นประจํา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. 3” (9) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้นในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรมคุมประพฤติ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบบังคับรักษา ด้านการตรวจพิสูจน์การเสพ หรือการติดยาเสพติด ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และด้านติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบบังคับรักษาในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรมคุมประพฤติ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ป.” (10) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการสืบสวนหาข่าว การวิเคราะห์ข่าว การเฝ้าตรวจและติดตามพฤติการณ์ การล่อซื้อ การตรวจค้นจับกุม การดําเนินคดียาเสพติดโดยใช้มาตรการสมคบ การยึด อายัดทรัพย์สิน การบริหารจัดการทรัพย์สิน การเร่งรัดติดตามและประสานคดี การตรวจพิสูจน์ยาเสพติด การสํารวจพืชเสพติด การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ในพื้นที่และการจัดระเบียบสังคมโดยการปฏิบัติงานต้องใช้ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ป.ส.” (11) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในสํานักฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติงานทางอากาศ โดยปฏิบัติงานในฐานะผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์วิทยุสื่อสารและเครื่องช่วยการเดินอากาศและขึ้นบินทดสอบอุปกรณ์หรือระบบนั้นภายหลังแก้ไขปรับแต่ง เพื่อให้การทํางานเป็นไปตามหลักเกณฑ์และความปลอดภัยในการบินปฏิบัติงานของอากาศยาน ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์วิทยุสื่อสารและเครื่องช่วยการเดินอากาศ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. 3” (12) ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขที่เรือนจําในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานที่เรือนจําตามกฎหมายราชทัณฑ์ โดยปฏิบัติหน้าที่ในการบําบัดรักษาและให้บริการทางการแพทย์กับผู้ต้องขัง หรือผู้ต้องกักขัง หรือผู้ถูกกักกัน ตลอดเวลา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขที่เรือนจํา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.ร.” (13) ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน โดยปฏิบัติหน้าที่ในการบําบัดรักษาและให้บริการทางการแพทย์แก่เด็กและเยาวชน ตลอดเวลา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในหน่วยงานสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.พ.” (14) ข้าราชการในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยปฏิบัติงานในสถานที่เกิดเหตุหรือปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพในกรณีถูกวิสามัญฆาตกรรมและศพไม่ทราบชื่อ ศพที่ญาติร้องขอและศพที่ตายผิดธรรมชาติ ตรวจร่างกายผู้เสียหายในกรณีถูกทําร้ายร่างกาย ถูกข่มขืนกระทําชําเรา ตรวจร่างกายและวัตถุพยานของผู้ต้องสงสัยในกรณีกระทําความผิดอาญา รวมถึงกรณีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร้องขอหรือที่ได้รับมอบหมาย ตรวจพิสูจน์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ครบทุกสาขาในกรณีต่าง ๆ ตรวจเก็บหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุในคดีต่าง ๆ ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้โทษทุกชนิดรวมทั้งการตรวจยาพิษ รวบรวมศพ ชิ้นส่วนของศพที่ไม่ทราบชื่อมาทําการพิสูจน์บุคคลและสาเหตุการตาย ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ว.” (15) ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการทางการแพทย์กับผู้เสียหาย หรือผู้ต้องสงสัย หรือวัตถุพยาน หรือศพ ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.ว.” (16) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการระดับต้น ในสํานักงานคุมประพฤติจังหวัด สํานักงานคุมประพฤติจังหวัดสาขา และสํานักงานคุมประพฤติประจําศาล สังกัดกรมคุมประพฤติ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสืบเสาะและพินิจการควบคุมและสอดส่อง การตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานคุมประพฤติจังหวัด สํานักงานคุมประพฤติจังหวัดสาขา และสํานักงานคุมประพฤติประจําศาล สังกัดกรมคุมประพฤติ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ค.ป.” (17) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการในสายงานนิติการตําแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการ สายงานอํานวยการเฉพาะด้าน ตําแหน่งผู้อํานวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับต้น ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ก.” (ก) ผ่านการอบรมหลักสูตรนักกฎหมายภาครัฐหรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าซึ่ง ก.พ. กําหนดหรือรับรอง (ข) ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐกําหนด (ค) ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ 1) ส่วนราชการที่กําหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการซึ่งมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมายและมีหัวหน้าส่วนราชการดํารงตําแหน่งในสายงานนิติการ หรือ 2) หน่วยงานต่ํากว่ากองหรือสํานักหรือหน่วยงานเทียบเท่ากองหรือสํานัก ที่ ก.พ. เห็นชอบการแบ่งงานภายใน มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมาย และมีหัวหน้าหน่วยงานดํารงตําแหน่งในสายงานนิติการ หรือ 3) ส่วนราชการที่กําหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานต่ํากว่ากองหรือสํานักหรือหน่วยงานเทียบเท่ากองหรือสํานัก ที่ ก.พ. เห็นชอบการแบ่งงานภายใน ซึ่งหัวหน้าหน่วยงานไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในสายงานนิติการ แต่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจและยกร่างกฎหมายหรือ การดําเนินการทางวินัยหรือ การดําเนินคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง (ง) ปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งนิติกรที่ได้รับแต่งตั้งตามที่ ก.พ. กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการในสายงานนิติการ ตําแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการ สายงานอํานวยการเฉพาะด้าน ตําแหน่งผู้อํานวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับต้น ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนักกฎหมายภาครัฐซึ่งจัดโดยสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามมติคณะกรรมการนโยบายพัฒนากฎหมายแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ถือว่าผ่านการอบรมหลักสูตรตาม (ก) แล้ว (18) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ ผู้อํานวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ทันตแพทย์ ผู้อํานวยการเฉพาะด้าน (ทันตแพทย์) เภสัชกร ผู้อํานวยการเฉพาะด้าน (เภสัชกรรม) พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบําบัด นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายหรือนักวิชาการศึกษาพิเศษที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย นักกิจกรรมบําบัดหรือนักอาชีวบําบัดที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกิจกรรมบําบัด นักจิตวิทยาคลินิกหรือนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านจิตวิทยาคลินิก และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยใช้ใบอนุญาตดังกล่าวปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการควบคุมป้องกันโรค ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือด้านการฟื้นฟูสภาพ และได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบัญชีกําหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนแนบท้าย ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.” ข้อ ๕ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กําหนดท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,903
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 --------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 และข้อ 5 ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ก.พ. จึงกําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”เทียบเท่ากองหรือสํานัก ที่ อ.ก.พ. กระทรวง เห็นชอบการแบ่งงานภายในซึ่งหัวหน้าหน่วยงานไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในสายงานนิติการ แต่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจและยกร่างกฎหมาย หรือการดําเนินการทางวินัย หรือการดําเนินคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 (17) (ค) ของประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ 1) ส่วนราชการที่กําหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการซึ่งมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมายและมีหัวหน้าส่วนราชการดํารงตําแหน่งในสายงานนิติการ หรือ 2) หน่วยงานต่ํากว่ากองหรือสํานักหรือหน่วยงานเทียบเท่ากองหรือสํานักที่ อ.ก.พ. กระทรวง เห็นชอบการแบ่งงานภายใน มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมาย และมีหัวหน้าหน่วยงานดํารงตําแหน่งในสายงานนิติการ หรือ 3) ส่วนราชการที่กําหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานต่ํากว่ากองหรือสํานักหรือหน่วยงานเทียบเท่ากองหรือสํานัก ที่ อ.ก.พ. กระทรวง เห็นชอบการแบ่งงานภายในซึ่งหัวหน้าหน่วยงานไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในสายงานนิติการ แต่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจและยกร่างกฎหมาย หรือการดําเนินการทางวินัย หรือการดําเนินคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสามของ (17) ในข้อ 4 ของประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 “ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งนิติกรที่ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) แล้ว และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ในระดับสูงขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับ พ.ต.ก. ในอัตราเดิมไปจนกว่าผู้นั้นจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่ ก.พ. กําหนดตั้งแต่วันที่ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับสูงขึ้น” ข้อ ๕ ให้ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน ลําดับ (17) ตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตําแหน่งนิติกรในทุกส่วนราชการ ประเภทเงินเพิ่ม พ.ต.ก. ที่กําหนด ในบัญชีกําหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนแนบท้ายประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 รายละเอียดปรากฏตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,904
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 --------------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และข้อ 5 ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ก.พ. จึงกําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (19) (20) (21) (22) และ (23) ในข้อ 4 ของประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 "(19) ข้าราชการในสํานักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ซึ่งได้รับแต่งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตเหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยสัมผัสใกล้ชิดกับสารเคมีอันตราย ฝุ่นละออง ไอกรด หรือต้องปฏิบัติงานกับเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดความร้อน เสี่ยง แสงสะท้อน หรือแรงสั่นสะเทือน ตลอดเวลา ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในสํานักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "พ.ต.ษ." (20) ข้าราชการกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมการบิน ด้านพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยธรรมชาติ ด้านการตรวจอากาศ โดยการติดตามเฝ้าระวัง ตรวจวัด วิเคราะห์พยากรณ์ แจ้งข่าว รายงาน และเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตลอด 24 ชั่วโมง ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "พ.อ.ต." (21) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งนักข่าว ในสํานักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านการข่าว โดยการติดตาม ศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข่าว ประเมินสถานการณ์ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศและความสงบเรียบร้อยของสังคม หรือติดตามและเฝ้าระวังเหตุการณ์ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งเตือนและรายงานให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทราบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานด้านการข่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการข่าวในกรมการปกครอง ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "พ.ข.ป." (22) ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง ในกรมการปกครอง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งปลัดอําเภอ ในสังกัดที่ทําการปกครองอําเภอ และได้รับคําสั่งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การอํานวยความเป็นธรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ การแก้ไขข้อขัดแย้งและไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล การจัดระเบียบสังคม หรืองานอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอําเภอ) ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานปกครอง ในกรมการปกครอง ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "พ.ป.ค." (23) ข้าราชการในสํานักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา และได้รับคําสั่งให้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองพยาน โดยทําหน้าที่เป็นชุดคุ้มครองความปลอดภัยแก่พยานในคดีอาญา ตามมาตรการทั่วไป และให้ความคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองพยาน ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "พ.ค.พ." ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีกําหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนแนบท้ายประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้ใช้บัญชีกําหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน ที่แนบท้ายประกาศ ก.พ. นี้แทน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,905
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงาน ที่หน่วยงานอื่นในประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 --------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการ โดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ พ.ศ. 2554 เพื่อให้การพัฒนาข้าราชการที่จะไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศเป็นไปด้วยความคล่องตัว และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐมากยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 10 แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) อายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ในวันที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่หน่วยงานอื่นในประเทศ (2) รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ก่อนสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดและหน่วยงานอื่นนั้นตกลงร่วมกันในการให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศโดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์ แผนงาน โครงการที่จะให้ข้าราชการไปปฏิบัติงาน ขอบเขตของงานระยะเวลา และแผนการปฏิบัติงาน (2) การประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดตามมาตรา 76 หรือตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดและหน่วยงานอื่นนั้นจะได้ตกลงกันโดยให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ประเมิน และหน่วยงานอื่นที่รับข้าราชการไปปฏิบัติงานเป็นผู้ให้ข้อมูลและความเห็นประกอบการประเมิน (3) ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่นที่ข้าราชการจะพึงได้รับจากส่วนราชการต้นสังกัดและจากหน่วยงานอื่นในประเทศที่ไปปฏิบัติงาน ซึ่งต้องไม่มีผลให้ได้รับซ้ําซ้อนกัน” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,906
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 --------------------- โดยที่ข้าราชการพลเรือนได้ปฏิบัติงานในบางตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษจากสภาพการทํางานซึ่งสมควรได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (1) ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข พ.ศ. 2548 (2) ระเบียบว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินเพิ่ม” หมายความว่า เงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ ก.พ. ประกาศกําหนดให้เป็นตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ “เหตุพิเศษ” หมายความว่า การทํางานที่มีสภาพการทํางานไม่น่าอภิรมย์ ยากลําบากตรากตรํา เสี่ยงภัย เคร่งเครียด กดดัน หรือเป็นการทํางานที่มีสภาพการทํางานเสี่ยงอันตรายทั้งต่อชีวิตร่างกาย อาจมีผลกระทบต่อร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคจากการปฏิบัติงาน การสูญเสียอวัยวะ หรือเป็นการทํางานที่ต้องใช้ความรู้ ความชํานาญ ประสบการณ์สูง ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลน มีการสูญเสียผู้ปฏิบัติงานออกจากระบบราชการเป็นจํานวนมาก ข้อ ๕ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาจได้รับเงินเพิ่มได้ตามที่ ก.พ. ประกาศกําหนด แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กําหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มหลายอัตรา ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มในอัตราที่สูงที่สุดเพียงอัตราเดียว ข้อ ๖ ข้าราชการผู้ใดปฏิบัติงานไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มสําหรับเดือนนั้นตามส่วนของจํานวนวันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าในเดือนใดข้าราชการผู้ใดมิได้ปฎิบัติงาน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสําหรับเดือนนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีลาป่วย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทําการ เว้นแต่เป็นการป่วยอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ก.พ. อาจกําหนดให้ได้รับเงินเพิ่มเกินหกสิบวันทําการได้ตามควรแก่กรณี (2) กรณีลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน (3) กรณีลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทําการ แต่สําหรับในปีแรกที่รับราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณนั้นไม่เกินสิบห้าวันทําการ (4) กรณีลาพักผ่อนประจําปี ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจําปีตามที่กําหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (5) กรณีลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมิใช่เป็นการลาภายในระยะเวลาสิบสองเดือนแรกที่เข้ารับราชการ และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน (6) กรณีลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน แต่ถ้าพ้นระยะเวลาที่ลาดังกล่าวแล้วผู้นั้นไม่ไปรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเพิ่ม หลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฎิบัติหน้าที่หลัก (7) กรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษและได้รับเงินเพิ่มอยู่แล้วในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษและมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอื่นหรือจนกว่า ก.พ. จะประกาศกําหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๘ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,907
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ---------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ครอบคลุมการลาประเภทต่าง ๆ ตามระเบียบและสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) (9) และ (10) ของข้อ 6 แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 “(8) กรณีการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ให้ถือเป็นวันลาของข้าราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างเวลาดังกล่าวได้ไม่เกินหกสิบวัน (9) กรณีการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย (10) กรณีการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน” ข้อ ๔ ข้าราชการซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรหรือลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ตั้งแต่วันที่ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ใช้บังคับ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ตามที่กําหนดในข้อ 6 (9) หรือ (10) แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,908
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 -------------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ - ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560" ข้อ - ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ - ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 5 ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาจได้รับเงินเพิ่มได้ตามที่ ก.พ. ประกาศกําหนด" ข้อ - ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนท้ายระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,909
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551 --------------------- โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ.2551” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้มีทุนเล่าเรียนหลวงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กําหนดให้พระราชทานแก่นักเรียนซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 6 ปีละไม่เกินเก้าทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใด ผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสม ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะราย หรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔ ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในระดับปริญญาตรี มีกําหนดเวลา การรับทุนตามจํานวนปีของหลักสูตรการศึกษาจนจบปริญญาตรีในสาขานั้น ๆ โดยมีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาในการรับทุน หากไม่กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยภายในระยะเวลาที่ ก.พ. กําหนด ต้องชดใช้เงินคืนเท่ากับจํานวนเงินทุน ที่ได้รับไป ข้อ ๕ ถ้าครบกําหนดเวลาการรับทุนตามข้อ 4 แล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อโดยสังกัดกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทํางานย่อมเกิดขึ้น ตามระเบียบและข้อตกลงของทุนนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๖ ผู้สมัครสอบเพื่อรับทุนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยกเว้น มาตรา 36 ก (2) (2) มีอายุไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์นับถึงวันหมดเขตรับสมัคร (3) สําเร็จการศึกษาหรือกําลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายของหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรอื่นในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า ทั้งนี้ ให้ถือปีการศึกษาตามที่ ก.พ. กําหนด (4) มีการศึกษาในแผนการเรียนและมีผลการเรียนยอดเยี่ยมตามที่ ก.พ. กําหนด (5) ไม่สอบตกวิชาหนึ่งวิชาใดในหลักสูตรที่กําหนดใน (3) (6) มีศีลธรรมและความประพฤติดีโดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่หรือผู้อํานวยการโรงเรียนที่ตนสังกัดมาแสดง ข้อ ๗ ผู้สมัครสอบผู้ใดไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ไม่มีสิทธิเข้าสอบหรือได้รับทุน ข้อ ๘ ผู้มีสิทธิได้รับทุนต้องผ่านการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ข้อ ๙ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องไปศึกษาวิชาการในต่างประเทศ โดยจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใดก็ได้ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยพิจารณาจากความประสงค์ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของผู้ได้รับทุน ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาการในประเทศไทยได้เฉพาะวิชาที่ประเทศไทยสามารถจัดการศึกษาได้ดีกว่าประเทศอื่น ซึ่ง ก.พ. จะได้กําหนดเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๐ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบ กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ โดยจะได้ประกาศเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติ ตามระเบียบ ข้อบังคับ สัญญา หรือคําสั่งของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ข้อ ๑๒ ให้ใช้บังคับระเบียบนี้กับผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงอยู่แล้วในวันหรือก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับด้วย ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,910
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ----------------------- โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 6 ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) สําเร็จการศึกษาหรือกําลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายของหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือหลักสูตรอื่นในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า และให้รวมถึงหลักสูตรของต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่าหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ ให้ถือปีการศึกษาตามที่ ก.พ. กําหนด” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,911
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 2/14/62 | 45,000 | 11 มกราคม 2562 | 15/1/62 – 29/2/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,912
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2562 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2562 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประเทศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวาสนา นิมิตยงสกุล 2. นางวราภรณ์ ศุภางดเสน 3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน 5. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 6. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์ 7. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 8. นายนันทวัฒน์ สังข์ล่อ 9. นางโสภิต พงษ์รัตนานุกูล 10. นายทวัส ทาสุวรรณ 11. น.ส.สมิตานันช์ พรหมพินิจ 12. นายประสาท สมจิตรนึก 13. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 14. นายถนอม จันทเพชร 15. นางมัณฑนา กล้าหาญ 16. นางรัญจวน ช่อสัมฤทธิ์ 17. นายสินติ รังสิยาภรณ์รัตน์ 18. นายธีระพร ศรีรัตน์ 19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายภูวดล เหล่าแก้ว 21. นายถนัด ต้นสกุล อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 (นายเดช ฐิติวณิช) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,913
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 3/14/62 | 50,000 | 18 มกราคม 2562 | 22/1/62 – 5/2/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,914
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 4/14/62 | 45,000 | 25 มกราคม 2562 | 29/1/62 – 12/2/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,915
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 5/14/62 | 45,000 | 1 กุมภาพันธ์ 2562 | 5/2/62 – 19/2/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,916
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2562 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2562 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวาสนา นิมิตยงสกุล 2. นางวราภรณ์ ศุภางดเสน 3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน 5. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์ 6. นางโสภา อินสุข 7. นายโอรส เพชรเจริญ 8. นายนันท์วัฒน์ สังข์ล่อ 9. นางโสภิต พงษ์รัตนานุกูล 10. นายทวัส ทาสุวรรณ 11. น.ส.สมิตานันช์ พรหมพินิจ 12. นายประสาท สมจิตรนึก 13. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 14. นายถนอม จันทเพชร 15. นางมัณฑนา กล้าหาญ 16. นางรัญจวน ช่อสัมฤทธิ์ 17. นายสินติ รังสิยาภรณ์รัตน์ 18. นายธีระพร ศรีรัตน์ 19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายภูวดล เหล่าแก้ว 21. นายถนัด ต้นสกุล อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2562 (นายเดช ฐิติวณิช) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,917
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 5/15/62 | 45,000 | 1 กุมภาพันธ์ 2562 | 15/2/62 – 20/2/62 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,918
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2562 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2562 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 -------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 เท่ากับร้อยละ 1.77238 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,919
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2562 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2562 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวาสนา นิมิตยงสกุล 2. นางวราภรณ์ ศุภางดเสน 3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน 5. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์ 6. นางโสภา อินสุข 7. นายโอรส เพชรเจริญ 8. น.ส. วรางคณา อิ่มอุดม 9. นางโสภิต พงษ์รัตนานุกูล 10. นางจรรยา ตันอนุชิตติกุล 11. น.ส.สมิตานันช์ พรหมพินิจ 12. นายประสาท สมจิตรนึก 13. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 14. นายถนอม จันทเพชร 15. นางมัณฑนา กล้าหาญ 16. นางรัญจวน ช่อสัมฤทธิ์ 17. นายสินติ รังสิยาภรณ์รัตน์ 18. นายธีระพร ศรีรัตน์ 19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายภูวดล เหล่าแก้ว 21. นายถนัด ต้นสกุล อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2562 (นายเดช ฐิติวณิช) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,920
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 6/14/62 | 45,000 | 8 กุมภาพันธ์ 2562 | 12/2/62 – 26/2/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,921
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2562 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2562 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 (รุ่นที่ 1/2ปี/2562) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2562 ที่จะประมูลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 เท่ากับร้อยละ 1.75 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,922
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 7/13/62 | 45,000 | 15 กุมภาพันธ์ 2562 | 20/2/62 – 5/3/62 | 13 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,923
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 8/14/62 | 50,000 | 22 กุมภาพันธ์ 2562 | 26/2/62 – 12/3/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,924
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2562 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2562 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เท่ากับร้อยละ 1.77092 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,925
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 9/14/62 | 50,000 | 1 มีนาคม 2562 | 5/3/62 – 19/3/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 10/14/62 | 50,000 | 8 มีนาคม 2562 | 12/3/62 – 26/4/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,927
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 11/14/62 | 50,000 | 15 มีนาคม 2562 | 19/3/62 – 2/4/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,928
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2562 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนมีนาคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2562 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม 2562 -------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2562 (รุ่นที่ 1/3ปี/2562) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 19 มีนาคม 2562 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3ปี/2562 ที่จะประมูลในวันที่ 21 มีนาคม 2562 เท่ากับร้อยละ 1.81 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2562 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,929
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 12/14/62 | 50,000 | 22 มีนาคม 2562 | 26/3/62 – 9/4/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,930
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 13/15/62 | 50,000 | 29 มีนาคม 2562 | 2/4/62 – 17/4/62 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2562 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5,931
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2565 เรื่อง การใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชำระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/*25*65 เรื่อง การใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ ------------------------------------------ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เนื่องด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยุติการให้บริการระบบการหักบัญชีเช็ค ด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ระบบ ICAS) และสนับสนุนให้ภาคเอกชนเป็นผู้ให้บริการ ระบบ ICAS ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามพระราชบัญญัติ ระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 จึงเห็นควรออกประกาศ ธปท. เรื่อง การใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิ ของรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ ฉบับใหม่มาทดแทนประกาศฉบับเดิมที่อ้างอิงตามระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ที่ ธปท. จะยกเลิก เพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนต ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต รายที่เป็นสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินตามคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายของบริการระบบการหักบัญชีเช็ค ด้วยภาพเช็คสามารถนํายอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement) ไปใช้ชําระเงินสภาพคล่องระหว่างวันตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน หรือรายการ โอนเงินในระบบบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนตได้ โดยนําตราสารหนี้ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกัน หลายฝ่ายในระบบบาทเนต และตราสารหนี้ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อ ตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน มาจํานําเป็นหลักประกัน การใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ ๓ ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2557 เรื่อง การใช้ยอดได้ดุล การหักบัญชีสุทธิของรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 อื่นๆ ๔ ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ใช้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย บริการบาทเนต รายที่เป็นสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินตามคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายของบริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค อื่นๆ ๕ เนื้อหา ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ธปท.” หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย “ผู้ใช้บริการบาทเนต” หมายความว่า ผู้ใช้บริการบาทเนตที่เป็นสถาบันผู้โอน/ รับโอนเงินตามคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายของบริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค “ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค” (Imaged Cheque Clearing System: ICS) หมายความว่า ระบบงานที่ดําเนินการเกี่ยวกับการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค “รอบการชําระดุลหักบัญชี” หมายความว่า รอบการชําระดุลหักบัญชีของระบบ การหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค ซึ่งแยกเป็น รอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บและรอบ การชําระดุลหักบัญชีในเว้นทําการถัดไป “รอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ” (Same-day Settlement) หมายความว่า การชําระดุลการหักบัญชีระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนตในวันที่ส่งเรียกเก็บ “รอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการถัดไป” (Next-day Settlement) หมายความว่า การชําระดุลการหักบัญชีระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนตในวันทําการถัดจากวันที่ส่งเรียกเก็บ “ดุลการหักบัญชีสุทธิ” หมายความว่า ดุลการหักบัญชีของระบบการหักบัญชีเช็ค ด้วยภาพเช็คที่ส่งเรียกเก็บหักกลบด้วยดุลการหักบัญชีเช็คคืนของรอบการชําระดุลหักบัญชีแต่ละรอบ “ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิ” หมายความว่า ดุลการหักบัญชีสุทธิที่มียอดด้านเครดิต “ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ” หมายความว่า ตราสารหนี้ เพื่อเป็นหลักประกันสําหรับการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (Securities Requirement for Setlement: SRS) ที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันดํารงไว้ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิ พร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต “ตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน” (Intraday Liquidity Facilities: ILF) หมายความว่า ตราสารหนี้ของผู้ใช้บริการบาทเนตที่ฝากไว้กับ ธปท. ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน “ปักษ์การพิจารณา” หมายความว่า ปักษ์ที่ ธปท. ใช้ในการพิจารณาให้ผู้ใช้บริการ บาทเนตใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็ค “ปักษ์ที่ใช้ยอดได้ดุล” หมายความว่า ปักษ์ที่สองนับถัดจากปักษ์การพิจารณา ข้อ 2 ผู้ใช้บริการบาทเนตที่ประสงค์จะรับประโยชน์ตามประกาศนี้ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ทําหนังสือแสดงความตกลงเพื่อผูกพันตามประกาศฉบับนี้ ตามแบบที่แนบ (2) ทําหนังสือมอบอํานาจ ตามแบบที่แนบ (3) ใช้บัญชีเงินฝากซึ่งดําเนินการซื้อขายตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน เป็นบัญชีเพื่อการชําระดุลการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคาร ข้อ 3 ธปท. จะให้ผู้ใช้บริการบาทเนตใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชําระดุล หักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement) ไปซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการ ชําระดุลสุทธิ หรือซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน หรือชําระรายการโอนเงินในระบบ บาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต โดยให้ผู้ใช้บริการบาทเนต นําตราสารหนี้ทั้งสองประเภทนั้นมาจํานําเป็นหลักประกันการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิดังกล่าว ข้อ 4 หลักเกณฑ์การใช้ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้ยอดได้ดุลการ หักบัญชีสุทธิ มีดังนี้ (1) ใช้ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเป็นหลักประกันในการ ใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็ค หากยังไม่เพียงพอให้ใช้ตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ตามลําดับ เว้นแต่มีเหตุจําเป็น ธปท. จะพิจารณาการใช้ตราสารหนี้ดังกล่าวตามที่เห็นสมควร (2) ใช้ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ หรือตราสารหนี้เพื่อ เงินสภาพคล่องระหว่างวัน เป็นหลักประกันได้ในราคารับซื้อตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (3) ใช้ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ หรือตราสารหนี้เพื่อ เงินสภาพคล่องระหว่างวัน เฉพาะที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนเพื่อเป็นหลักประกันได้จนถึง 3 วันทําการ ก่อนถึงวันปิดพักทะเบียน ทั้งนี้ วันปิดพักทะเบียน หมายถึง ระยะเวลาที่กําหนดห้ามการโอน การจํานํา หรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด หรือตามประกาศการจําหน่ายตราสารหนี้ แต่ละรุ่น ข้อ 5 ธปท. จะพิจารณาให้ผู้ใช้บริการบาทเนตใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิในปักษ์ ที่ใช้ยอดได้ดุล โดยพิจารณาจากการดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ของผู้ใช้บริการบาทเนต ในปักษ์การพิจารณาตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) เฉลี่ยในช่วงปักษ์การพิจารณาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตของตนเฉลี่ยในช่วงปักษ์เดียวกันนั้น หรือ (2) มีเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ในแต่ละวันตลอดปักษ์การพิจารณา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของ (ก) ยอดมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตของตนในวันนั้น หรือ (ข) ยอดมูลค่า การโอนเงินผ่านบาทเนตของตนเฉลี่ยในช่วงปักษ์ที่สองนับถอยหลังจากปักษ์การพิจารณา แล้วแต่ ยอดใดจะต่ํากว่า (3) เพื่อการคํานวณเงินที่ต้องดํารงสภาพคล่องระหว่างวันตามเกณฑ์ข้างต้นให้ (ก) เงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ให้ถือยอดที่ ธปท. รับซื้อตราสารหนี้ ทั้งหมด หักด้วยยอดที่สถาบันการเงินซื้อคืนตราสารหนี้ก่อนสิ้นวันและได้ถอนคืนตราสารหนี้นั้น (ข) มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตเฉลี่ย หมายถึง ยอดรวมของมูลค่า การโอนเงินผ่านบาทเนตหารด้วยจํานวนวันทําการในปักษ์นั้น ทั้งนี้ มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนต ไม่นับรวมการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (Multilateral Funds Transfer: MFT) การโอนเงินระหว่างบัญชีของสถาบันเดียวกัน (Book Transfer) และการถอนธนบัตรในระบบคําสั่งฝากถอนธนบัตร (Banknote Ordering System: BOS) (ค) การนับปักษ์ ให้ถือเอาวันพุธเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ และให้ถือเอาวันอังคาร ของอีกสองสัปดาห์ถัดจากวันดังกล่าวเป็นวันสิ้นสุดของปักษ์เดียวกัน ข้อ 6 ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิแต่ละคราวเป็นจํานวนเงิน ไม่ต่ํากว่าหนึ่งแสนบาท โดยต้องจํานําตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ หรือตราสารหนี้ เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันต่อ ธปท. เพื่อเป็นหลักประกันจนกว่าจะผ่านการหักบัญชีรอบการชําระดุล หักบัญชีในวันทําการถัดไป (Next-day Settlement) ธปท. จึงจะปลดจํานําตราสารหนี้ที่กล่าวให้แก่ ผู้ใช้บริการบาทเนต ข้อ 7 ผู้ใช้บริการบาทเนตสามารถขอใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิเพียงบางส่วน หรือ ของดเว้นการใช้ยอดได้ดุลเป็นการชั่วคราวได้ โดยต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบความต้องการเป็นรายวัน ในช่วงเวลา 8.30 น. จนถึงเวลาก่อนดําเนินการชําระดุลการหักบัญชีเช็คของรอบการชําระดุลหักบัญชี ในวันที่ส่งเรียกเก็บ ทั้งนี้ หากผู้ใช้บริการบาทเนตรายใดไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ธปท. จะถือว่า ผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นมีความประสงค์ขอใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิเต็มจํานวน ข้อ 8 หากผู้ใช้บริการบาทเนตผู้ขอใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิมีเงินในบัญชีเงินฝาก ที่ ธปท. ไม่พอหักยอดเงินที่ตนเป็นลูกหนี้ตามดุลการหักบัญชีของรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการ ถัดไป รวมทั้ง ได้ดําเนินการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยง จากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนตแล้ว ยังไม่สามารถชําระดุลหักบัญชีดังกล่าวได้ ธปท. จะดําเนินการดังนี้ (1) ปลดจํานําตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ หรือตราสารหนี้ เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นขายตราสารหนี้ดังกล่าวตามระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายใน ระบบบาทเนต และระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะ ซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นมีเงินเพียงพอให้ ธปท. หักบัญชี รอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ธปท. จะคิดค่าปรับการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิ ของผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นในอัตราเดียวกับค่าตอบแทนของการขายคืนตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่อง ระหว่างวันของวันที่ใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิโดยนับรวมวันหยุดทําการของธนาคารด้วย (2) กรณี ธปท. พิจารณาได้ว่า หากปลดจํานําตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกัน ในการชําระดุลสุทธิ หรือตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันเพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตขาย ตราสารหนี้เป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ตามข้อ 8 (1) รวมทั้งได้ดําเนินการตามระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่าย ในระบบบาทเนตแล้ว ผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นยังคงมีเงินไม่เพียงพอหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการถัดไปซึ่งทําให้ต้องดําเนินการให้การหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการถัดไป รวมถึงการหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บที่ล่วงมาแล้วเป็นโมฆะ ธปท. จะบังคับ จํานําตราสารหนี้ที่เป็นหลักประกันทันทีเพื่อนําเงินที่ได้มาดําเนินการดังกล่าว โดยคํานวณมูลค่าตราสารหนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การคํานวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิ ซื้อคืนตราสารหนี้ ซึ่งออกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่า ผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ทั้งนี้ หากการคํานวณมูลค่าตราสารหนี้ที่บังคับจํานํา แล้วมีมูลค่าต่ํากว่ามูลค่าการจํานํา ธปท. จะบังคับจํานําในราคาเท่ากับมูลค่าการจํานํานั้น ข้อ 9 ธปท. สงวนสิทธิ์ ดังนี้ (1) ไม่รับจํานําตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิหรือตราสารหนี้ เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันในบางรุ่น (2) ไม่ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็คตามประกาศนี้ หากผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้น ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งแห่งประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรม ที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งประกาศนี้ หรือมีเหตุไม่สมควรประการอื่น อื่นๆ ๖ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ธปท. ยุติการให้บริการระบบ ICAS และมีผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบที่ให้บริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คตาม กฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน ที่มีการให้บริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คแล้วเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนจัดการชําระเงิน ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร โทรศัพท์ 0 2283 5035
5,932
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2565 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2565 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อ กํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ ๓ เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นายบัญชา มนูญกุลชัย 2. นายณัฏฐ์ ลุมพิกานนท์ 3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. น.ส.พวงทอง กาญจน์รักษ์ 5. นางโสภา อินสุข 6. น.ส.อรสุดา ฐิตสุภวัฒน์ 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2565 (นายเดช ฐิติวณิช) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทีมจัดการพันธบัตร ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร โทรศัพท์ 0 2356 7070 และ 0 2283 5469
5,933
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2565 เรื่อง ข้อความการชำระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO 20022
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สรข. 8/2565 เรื่อง ข้อความการชําระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO 20022 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้นํามาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางข้อความการรับส่งข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับระบบบาทเนต เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถการรับส่งข้อมูล ทางธุรกิจพร้อมกับการชําระเงินมูลค่าสูง ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการเงินและ ธุรกรรมการชําระเงินทั้งในและระหว่างประเทศ สนับสนุนการทํางานแบบอัตโนมัติ (Straight Through Processing: STP) และการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเงินและระบบการชําระเงินโดยรวม โดย ธปท. และผู้ใช้บริการบาทเนต ร่วมมือกันพัฒนาระบบงานให้รองรับมาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งมีกําหนดใช้งาน ในปี 2565 เป็นต้นไป การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 20022 ดังกล่าวส่งผลให้รูปแบบของข้อความที่ส่งผ่าน ระบบบาทเนตมีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่คําสั่งโอนเงิน ข้อความเพื่อการสื่อสาร เอกสารยืนยันคําสั่ง เพื่อชําระราคาหลักทรัพย์และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคําสั่งโอนเงิน ธปท. จึงออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการเปลี่ยนแปลงข้อความ ดังกล่าว มีข้อมูลที่ชัดเจนสําหรับการอ้างอิงในการปฏิบัติงาน และใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบงานให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO 20022 พร้อมกันนี้ ธปท. ได้ปรับปรุงแบบฟอร์มแสดงรายละเอียด บัญชีและความประสงค์ขอรับ Message ทาง SWIFT (แบบฟอร์ม B-8) ให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO 20022 เพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตได้นําไปใช้แจ้ง ธปท. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสมัครเป็น ผู้ใช้บริการบาทเนตรายใหม่ อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจกฎหมายตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ ๓ ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยบริการบาทเนต อื่นๆ ๔ เนื้อหา 4.1 นิยาม “มาตรฐาน ISO 20022” หมายถึง มาตรฐานกลางข้อความการชําระเงินที่เป็น มาตรฐานสากลสําหรับการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูง ซึ่งนํามาใช้รับส่งผ่านระบบบาทเนต ระหว่างสถาบันผู้สั่งโอนเงิน สถาบันผู้รับโอนเงิน สถาบันผู้ส่งคําสั่ง และ ธปท. “ข้อความการชําระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนต” หมายถึง ข้อความการทํารายการ ผ่านระบบบาทเนต ซึ่งครอบคลุมคําสั่งโอนเงิน ข้อความเพื่อการสื่อสาร เอกสารยืนยัน คําสั่งเพื่อชําระราคา หลักทรัพย์และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคําสั่งโอนเงิน 4.2 ข้อความการชําระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO20022 ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบริการบาทเนตให้สอดคล้อง ตามมาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งข้อความการชําระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) คําสั่งโอนเงิน ข้อความเพื่อการสื่อสาร และเอกสารยืนยัน (2) คําสั่งเพื่อชําระราคาหลักทรัพย์และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคําสั่งโอนเงิน ทั้งนี้ รายละเอียดข้อความการชําระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กําหนด 4.3 แบบฟอร์มที่ปรับปรุงตามมาตรฐาน ISO 20022 ผู้ใช้บริการบาทเนตที่ประสงค์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัญชีและ/หรือมีความประสงค์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงการขอรับเอกสารยืนยันหรือข้อความ รวมถึงผู้ใช้บริการบาทเนต รายใหม่ ให้ใช้แบบฟอร์มแสดงรายละเอียดบัญชีและความประสงค์ขอรับ Message ทาง SWIFT (แบบฟอร์ม B-8) ที่ปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 20022 แนบท้ายประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตแจ้ง ธปท. ลวงหนาไม่น้อยกว่า 3 วันทําการ อื่นๆ ๕ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ธปท. เริ่มให้บริการระบบบาทเนตโดยใช้มาตรฐาน ข้อความ ISO 20022 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร โทรศัพท์ 02 356 7699
5,934
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2565 เรื่อง การดำเนินงานกรณีช่องทาง SWIFT ขัดข้อง และการยกเลิกคำสั่งโอนเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2565 เรื่อง การดําเนินงานกรณีช่องทาง SWIFT ขัดข้อง และการยกเลิกคําสั่งโอนเงิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้นํามาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งเป็นมาตราฐานกลาง ข้อความการรับส่งข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับระบบบาทเนต เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถการรับส่งข้อมูล ทางธุรกิจพร้อมกับการชําระเงินมูลค่าสูง ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการเงินและธุรกรรมการ ชําระเงินทั้งในและระหว่างประเทศ สนับสนุนการทํางานแบบอัตโนมัติ (Straight Through Processing: STP) และการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเงินและระบบการชําระเงินโดยรวม โดย ธปท. และผู้ใช้บริการบาทเนต ร่วมมือกันพัฒนาระบบงานให้รองรับมาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งมีกําหนดใช้งานในปี 2565 เป็นต้นไป การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 20022 ดังกล่าวส่งผลให้รูปแบบของข้อความที่ส่งผ่าน ระบบบาทเนตมีการเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับมีการยกเลิกการแลกเปลี่ยน Key ของ SWIFT ด้วย วิธีการ Relationship Management Application (RMA) ธปท. จึงออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้ ผู้ใช้บริการบาทเนตถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO 20022 ต่อไป อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 12 (3) ข้อ 13 ข้อ 19 ข้อ 39 และข้อ 69 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยบริการบาทเนต อื่นๆ ๓ ยกเลิก 3.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง พิธีปฏิบัติกรณีสวิฟท์ขัดข้อง การยกเลิกคําสั่งโอนเงิน และการแลกเปลี่ยน KEY ของสวิฟท์ ลงวันที่ 12 เมษายน 2549 3.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2551 เรื่อง พิธีปฏิบัติกรณีสวิฟท์ขัดข้อง การยกเลิกคําสั่งโอนเงิน และการแลกเปลี่ยน KEY ของสวิฟท์ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 อื่นๆ ๔ ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต อื่นๆ ๕ เนื้อหา ในกรณีที่ช่องทาง SWIFT ขัดข้อง และกรณีที่ผู้ใช้บริการบาทเนตมีความต้องการยกเลิก คําสั่งโอนเงินให้ผู้ใช้บริการบาทเนตดําเนินการ ดังนี้ 5.1 กรณีมีเหตุขัดข้องซึ่งทําให้ผู้ใช้บริการบาทเนตไม่สามารถส่งข้อความผ่านช่องทาง SWIFT ได้ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตแจ้ง ธปท. เพื่อขอใช้บริการทุกประเภทผ่านบริการ EFS โดยใช้วิธีการและ ช่องทางตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กําหนด 5.2 กรณีที่ ธปท. ยังมิได้มีการนําเงินเข้าบัญชีของสถาบันผู้รับโอนเงินตามคําสั่งโอนเงิน หากสถาบันผู้สั่งโอนเงินมีความประสงค์ต้องการขอยกเลิกคําสั่งโอนเงินที่ยังไม่สมบูรณ์ ให้สถาบันผู้สั่งโอนเงิน ดําเนินการขอยกเลิกคําสั่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กําหนด 5.3 กรณีที่ ธปท. ยังมิได้มีการหักหรือนําเงินเข้าบัญชีของสถาบันผู้โอน/ผู้รับโอนเงิน ตามคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย หากสถาบันผู้ส่งคําสั่งมีความประสงค์ต้องการขอยกเลิกคําสั่ง โอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายที่ยังไม่สมบูรณ์ ให้สถาบันผู้ส่งคําสั่งดําเนินการขอยกเลิกคําสั่งดังกล่าว ตามหลักหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กําหนด อื่นๆ ๖ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ธปท. เริ่มให้บริการระบบบาทเนตโดยใช้มาตรฐาน ข้อความ ISO 20022 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร โทรศัพท์ 02 356 7699
5,935
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2565 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ ๓ เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระ เงิน | วันครบ กําหนด | ประเภท อายุ | อายุ คงเหลือ | | 6/FRB182/65 | Compounded THOR + 0.05 | 15,000 | 2 มิ.ย. 65 | 7 มิ.ย. 65 | 6 ธ.ค. 65 | 182 วัน | 182 วัน | | 23/91/65 | - | 50,000 | 7 มิ.ย. 65 | 9 มิ.ย. 65 | 8 ก.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน | | 24/91/65 | - | 50,000 | 14 มิ.ย. 65 | 16 มิ.ย. 65 | 15 ก.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน | | 6/364/65 | - | 15,000 | 14 มิ.ย. 65 | 16 มิ.ย. 65 | 15 มิ.ย. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 6/FRB364/65 | Compounded THOR + 0.05 | 15,000 | 16 มิ.ย. 65 | 20 มิ.ย. 65 | 19 มิ.ย. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 25/91/65 | - | 50,000 | 21 มิ.ย. 65 | 23 มิ.ย. 65 | 22 ก.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน | | 1/FRB2Y/65 | Compounded THOR + 0.05 | 10,000 | 23 มิ.ย. 65 | 27 มิ.ย. 65 | 27 มิ.ย. 67 | 2 ปี | 2 ปี | | 26/91/65 | - | 50,000 | 28 มิ.ย. 65 | 30 มิ.ย. 65 | 29 ก.ย. 65 | 91 วัน | 91 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 6/FRB182/65 มีรายละเอียดดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 6 ธันวาคม 2565 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 1/Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 6/FRB364/65 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 19 มิถุนายน 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 2/Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB2Y/65 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR3/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 4 งวด | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย4/ | วันที่ 27 มีนาคม, 27 มิถุนายน, 27 กันยายน และ 27 ธันวาคม ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 27 กันยายน 2565 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 27 มิถุนายน 2567 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 3/Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-days backward shifted observation period) 4/กรณีวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทําการของธนาคารแห่งประเทศไทย จะเลื่อนไปจ่ายในวันทําการถัดไป และคํานวณดอกเบี้ยจนถึงวัน กําหนดจ่ายดอกเบี้ยใหม่ ยกเว้นดอกเบี้ยงวดสุดท้าย อื่นๆ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 (นางอลิศรา มหาสันทนะ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน โทรศัพท์ 0 2356 7529
5,936
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2565 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ ๓ เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระ เงิน | วันครบ กําหนด | ประเภท อายุ | อายุ คงเหลือ | | 27/91/65 | - | 55,000 | 5 ก.ค. 65 | 7 ก.ค. 65 | 6 ต.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน | | 7/364/65 | - | 20,000 | 5 ก.ค. 65 | 7 ก.ค. 65 | 6 ก.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 7/FRB182/65 | Compounded THOR + 0.05 | 25,000 | 7 ก.ค. 65 | 11 ก.ค. 65 | 9 ม.ค. 66 | 182 วัน | 182 วัน | | 28/95/65 | - | 55,000 | 11 ก.ค. 65 | 14 ก.ค. 65 | 17 ต.ค. 65 | 95 วัน | 95 วัน | | 1/2Y/65 | 1.63 | 15,000 | 14 ก.ค. 65 | 18 ก.ค. 65 | 17 พ.ค. 67 | 2 ปี | 1.83 ปี | | 29/91/65 | - | 55,000 | 19 ก.ค. 65 | 21 ก.ค. 65 | 20 ต.ค. 65 | 91 วัน | 91 วัน | | 7/FRB364/65 | Compounded THOR + 0.05 | 25,000 | 21 ก.ค. 65 | 25 ก.ค. 65 | 24 ก.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 30/87/65 | - | 55,000 | 26 ก.ค. 65 | 1 ส.ค. 65 | 27 ต.ค. 65 | 87 วัน | 87 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 7/FRB182/65 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 9 มกราคม 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 9 มกราคม 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 1/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 7/FRB364/65 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 2/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) อื่นๆ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 (นางอลิศรา มหาสันทนะ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน โทรศัพท์ 0 2356 7529
5,937
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2565 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2565
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2565 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ---------------------------------------- อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ย ลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2565 อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วย การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ ๓ เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2563 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เท่ากับร้อยละ 0.81403 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของ ตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2565 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2565 (นางอลิศรา มหาสันทนะ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย งานตลาดเงินและตลาดพันธบัตร โทรศัพท์ 0 2283 6801-2
5,938
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2565 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ ๓ เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูล วันที่ | วันที่ชําระ เงิน | วันครบ กําหนด | ประเภท อายุ | อายุ คงเหลือ | | 40/91/65 | - | 55,000 | 4 ต.ค. 65 | 6 ต.ค. 65 | 5 ม.ค. 66 | 91 วัน | 91 วัน | | 10/364/65 | - | 30,000 | 4 ต.ค. 65 | 6 ต.ค. 65 | 5 ต.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 10/FRB182/65 | Compounded THOR + 0.05 | 40,000 | 6 ต.ค. 65 | 10 ต.ค. 65 | 10 เม.ย. 66 | 182 วัน | 182 วัน | | 41/87/65 | - | 55,000 | 11 ต.ค. 65 | 17 ต.ค. 65 | 12 ม.ค. 66 | 87 วัน | 87 วัน | | 42/91/65 | | 55,000 | 18 ต.ค. 65 | 20 ต.ค. 65 | 19 ม.ค. 66 | 91 วัน | 91 วัน | | 10/FRB364/65 | Compounded THOR + 0.05 | 35,000 | 20 ต.ค. 65 | 25 ต.ค. 65 | 24 ต.ค. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 43/91/65 | - | 55,000 | 25 ต.ค. 65 | 27 ต.ค. 65 | 26 ม.ค. 66 | 91 วัน | 91 วัน | | 1/FRB2Y/65 | Compounded THOR + 0.05 | 30,000 | 27 ต.ค. 65 | 31 ต.ค. 65 | 27 มิ.ย. 67 | 2 ปี | 1.66 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 10/FRB182/65 มีรายละเอียดดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 10 เมษายน 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 10 เมษายน 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 1/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 10/FRB364/65 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 24 ตุลาคม 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 2/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) อื่นๆ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2565 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2565 (นางอลิศรา มหาสันทนะ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน โทรศัพท์ 0 2356 7529
5,939
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2565 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2565 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ ๓ เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูล วันที่ | วันที่ ชําระเงิน | วันครบ กําหนด | ประเภท อายุ | อายุ คงเหลือ | | 44/91/65 | - | 55,000 | 1 พ.ย. 65 | 3 พ.ย. 65 | 2 ก.พ. 66 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/364/65 | - | 30,000 | 1 พ.ย. 65 | 3 พ.ย. 65 | 2 พ.ย. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 11/FRB182/65 | Compounded THOR + 0.05 | 35,000 | 3 พ.ย. 65 | 7 พ.ย. 65 | 8 พ.ค. 66 | 182 วัน | 182 วัน | | 45/91/65 | - | 55,000 | 8 พ.ย. 65 | 10 พ.ย. 65 | 9 ก.พ. 66 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/FRB364/65 | Compounded THOR + 0.05 | 30,000 | 10 พ.ย. 65 | 14 พ.ย. 65 | 13 พ.ย. 66 | 364 วัน | 364 วัน | | 46/91/65 | - | 55,000 | 15 พ.ย. 65 | 17 พ.ย. 65 | 16 ก.พ. 66 | 91 วัน | 91 วัน | | 47/91/65 | - | 55,000 | 22 พ.ย. 65 | 24 พ.ย. 65 | 23 ก.พ. 66 | 91 วัน | 91 วัน | | 2/2Y/65 | จะกําหนดและประกาศใน วันที่ 22 พ.ย. 2565 | 20,000 | 24 พ.ย. 65 | 28 พ.ย. 65 | 28 พ.ย. 67 | 2 ปี | 2 ปี | | 48/91/65 | - | 55,000 | 29 พ.ย. 65 | 1 ธ.ค. 65 | 2 มี.ค. 66 | 91 วัน | 91 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 11/FRB182/65 มีรายละเอียดดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR1/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 1/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 11/FRB364/65 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ย | Compounded THOR2/+ 0.05% โดย ธปท. จะเผยแพร่ Compounded THOR 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | การจ่ายดอกเบี้ย | ครั้งเดียว ณ วันครบกําหนดไถ่ถอน | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ย | 5 วันทําการก่อนหน้าวันจ่ายดอกเบี้ย | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มี การไถ่ถอนก่อนกําหนด | 2/ Compounded THOR คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคิดทบของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย จนถึง 5 วันทําการก่อนหน้าวันเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยถัดไปหรือวันไถ่ถอนพันธบัตร (5-day backward shifted observation period) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2Y/65 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 28 พฤษภาคม และ 28 พฤศจิกายน ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวน ที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ ๔ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม2565 (นางอลิศรา มหาสันทนะ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย งานกลยุทธ์ตลาดการเงิน โทรศัพท์ 0 2356 7529
5,940
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 2/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 2/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ อื่นๆ ๑ เหตุผลในการออกประกาศ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาภาคครัวเรือนของไทยประสบปัญหาหนี้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นหนี้ด้อยคุณภาพทั้งในส่วนของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 เพื่อขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้สามารถรับซื้อ รับโอน และรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้วยคุณภาพจากผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินได้ รวมทั้งให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถทําหน้าที่ในการให้คําปรึกษาให้แก่ลูกหนี้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนสามารถดําเนินการได้อย่างครบถ้วน เบ็ดเสร็จ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการกําหนดต้องห้ามของกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทบริหารสินทรัพย์มีการดําเนินงานที่โปร่งใส และสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางการเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคาดเดายาก รวมทั้งมีแนวโน้มการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการทางการเงินและการให้ความสําคัญกับการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทําให้ธรรมาภิบาลในองค์กรถือเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสําคัญในการดําเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส่และน่าเชื่อถือ อันจะนําไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ความมั่นคงในระยะยาว การเพิ่มมูลค่าของกิจการ ตลอดจนการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน นอกจากนี้ ด้วยสาเหตุที่สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่งวดบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ในการนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงประกาศนี้ เพื่อกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มเติมจากที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าว อื่นๆ ๒ อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 4/1 มาตรา 4/2 มาตรา 5 มาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 11/1 แห่งพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและ ข้อ 3 (8) ของกฎกระทรวง พ.ศ. 2541 ออกตามความในพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ ตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ ๓ ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 5/2552 เรื่อง การกําหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ ลงวันที่ 25 เมษายน 2562 อื่นๆ ๔ ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ทุกแห่ง อื่นๆ ๕ เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น “บริษัทจํากัด” หมายความว่า บริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด “บริษัทบริหารสินทรัพย์” หมายความว่า บริษัทจํากัดที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และนิติบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา “ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน” หมายความว่า (1) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย (2) ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย (3) ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย (4) ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย (5) ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา “บริษัทแม่” หมายความว่า บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการของบริษัทอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีหุ้นในบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหนึ่ง (3) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้มีอํานาจในการจัดการหรือกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดในบริษัทหนึ่ง หรือ (4) มีอํานาจควบคุมกิจการในลักษณะอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้เป็นบริษัทแม่ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน การมีหุ้นในบริษัทหนึ่งตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีอํานาจควบคุมกิจการ “บริษัทลูก” หมายความว่า (1) บริษัทที่มีบริษัทอื่นเป็นบริษัทแม่ หรือ (2) บริษัทลูกของบริษัทตาม (1) ต่อไปทุกทอด “บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทลูกที่มีบริษัทแม่ร่วมกัน “ผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลซึ่งบริษัทบริหารสินทรัพย์ทําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการหรือการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย หรือการดําเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สมรส (2) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจในการจัดการ (4) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (5) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ (6) เป็นบริษัทลูกของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (7) เป็นบริษัทร่วมของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (8) เป็นตัวการ ตัวแทน หรือ (9) บุคคลอื่นที่มีลักษณะตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดให้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ในกรณีที่บุคคลใดถือหุ้นในบริษัทใดตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทนั้นเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง “สินทรัพย์” หมายความว่า สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน สินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองเซอร์ และสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น “สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) และสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อเกิดรายการ (purchased or originated credit-impaired) รวมถึงสินทรัพย์ที่เสียหายหรือสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตัดออกจากบัญชี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ซึ่งสินทรัพย์ทางการเงิน และสินทรัพย์ที่เสียหายหรือสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตัดออกจากบัญชีข้างต้น หมายถึงลูกหนี้จากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ตามที่กําหนดในแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยแนวนโยบายการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน เท่านั้น (2) ทรัพย์สินรอการขาย (3) สินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกิดจากการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้วยคุณภาพจากสถาบันการเงิน สินทรัพย์จากสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และสินทรัพย์ด้วยคุณภาพจากผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน “สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน” หมายความว่า (1) สินทรัพย์ของผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ลูกหนี้ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ หรือวันที่ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ตลอดจนสินทรัพย์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินตัดออกจากบัญชีไปแล้ว (2) สินทรัพย์ของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินนอกจาก (1) ที่เข้าลักษณะที่แสดงว่าอาจมีปัญหาในการเรียกให้ชําระคืนหรือไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามปกติ ซึ่งได้แก่ลูกหนี้ที่มีลักษณะ ดังนี้ (2.1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญ (2.2) ลูกหนี้ที่หยุดดําเนินกิจการ เลิกกิจการ หรือกิจการอยู่ระหว่างชําระบัญชี (2.3) ลูกหนี้ที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว (2.4) ลูกหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินได้ฟ้องหรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการบังคับหรือคําสั่งของศาลแล้ง (3) ทรัพย์สินรอการขาย “ธุรกิจทางการเงินและระบบการชําระเงิน” หมายความว่า (1) ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย (3) ธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับและธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน (4) ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ (5) ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (6) ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (7) ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน และธุรกิจให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (8) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (9) ธุรกิจทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (10) ธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (11) ธุรกิจอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด “มาตรฐานการบัญชี” หมายความว่า มาตรฐานการบัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ และให้หมายความรวมถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วย “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 5.2 หลักเกณฑ์ในการยื่นคําขอจดทะเบียน บริษัทจํากัดที่ประสงค์จะยื่นคําขอจดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ จะต้องยื่นคําขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ 5.3.1 การกําหนดกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (1) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องกําหนดกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อให้ความเห็นชอบทุกปี ทั้งนี้ กลยุทธ์ดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยทิศทางและนโยบายในการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ เป้าหมายในการบริการแก่ลูกค้า รวมถึงนโยบายการดูแลลูกค้า (2) กลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจตามข้อ 5.3.1 (1) ต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่มีวัตถุประสงค์ให้บริษัทจํากัดที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ดําเนินการรับซื้อ รับโอน หรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นหนึ่งกลไกในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้วยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินและในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ในการนี้ กลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์จะต้องมิใช่การดําเนินการที่มีลักษณะ เป็นการรับซื้อ รับโอน หรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ ที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ เช่น กรณีการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ และนํามาบริหารหรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอื่น 5.3.2 การกําหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบปฏิบัติ สําหรับกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องกําหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบวิธีปฏิบัติที่ช่วยป้องกันมิให้กรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ กระทําการหรือไม่กระทําการอันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น นอกจากนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องไม่แต่งตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นหรือทําหน้าที่กรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (1) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (3) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงและการแปลงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (4) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินหรือเคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง (5) เคยเป็นกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินและระบบการชําระเงินยกเว้นธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ในขณะที่ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ หรือเพิกถอนการจดทะเบียนประกอบธุรกิจ โดยผู้นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบในการถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือถูกเพิกถอนการจดทะเบียน (6) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือเคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือเคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย เว้นแต่การถอดถอนนั้นไม่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตหรือทุจริตต่อหน้าที่ (7) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่ (8) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทางการเงินและระบบการชําระเงิน (9) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือหน่วยงานของรัฐทั้งในและต่างประเทศ กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริต เว้นแต่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด (10) มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าได้กระทําหรือเคยกระทําการอันเป็นการ หรือก่อให้เกิดการฉ้อโกง หรือฉ้อโกงประชาชน หรือเป็นการปฏิบัติต่อผู้บริโภคโดยไม่สุจริตหรือไม่เป็นธรรม (11) มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทําหรือเคยกระทําการอันเป็นการ หรือก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใดอันอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีพฤติกรรมที่แสดงถึงการกระทําอันส่อไปในทางไม่สุจริต 5.3.3 การย้ายหรือปิดสํานักงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์ การย้ายสํานักงานใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องรับได้อนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดําเนินการ โดยให้ยื่นคําขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดในคู่มือประชาชน มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการย้ายสถานที่ตั้งสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา หรือปิดสํานักงานสาขา บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องกําหนดแนวทางดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้ลูกค้าและประชาชนตามความเหมาะสม รวมทั้งต้องประกาศกําหนดการย้ายสถานที่ตั้งสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา หรือปิดสํานักงานสาขา ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานนั้น ๆ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน เว้นแต่กรณีที่เป็นการปิดสํานักงานสาขาเพียงชั่วคราวเนื่องจากเหตุฉุกเฉินหรือเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ ให้ประกาศทันทีปิดสํานักงานสาขาชั่วคราว 5.3.4 ขอบเขตการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องประกอบธุรกิจภายในขอบเขตการบริหารสินทรัพย์ตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์เท่านั้น รวมถึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ ในการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของสถาบันการเงินหรือสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถดําเนินการได้ดังต่อไปนี้ (1.1) กรณีรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถรับซื้อหรือรับโอนได้เฉพาะสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น เท่านั้น (1.2) กรณีรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไป ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ทุกประเภท ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น (1.3) กรณีรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไป ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถรับซื้อหรือรับโอนได้เฉพาะสินทรัพย์ด้วยคุณภาพ ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องมีระบบการบัญชี และการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดังกล่าว แยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (2) การรับจ้างบริหารสินทรัพย์ ในการรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของสถาบันการเงินสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไป ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถดําเนินการได้ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องมีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการจ้างบริหารสินทรัพย์ดังกล่าว แยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (3) การรับเป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในการรับเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกหนี้ สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการดําเนินการที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นที่ปรึกษาดังกล่าว ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไป ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถดําเนินการได้ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องมีระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการรับเป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวแยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์อาจดําเนินการเพื่อบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับซื้อหรือรับโอนตามข้อ 5.3.4 (1) หรือรับจ้างบริหารตามข้อ 5.3.4 (2) ภายในขอบเขตธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 1 5.3.5 การจัดหาเงินทุน บริษัทบริหารสินทรัพย์อาจจัดหาเงินทุนได้ด้วยวิธีการดังนี้ (1) กู้ยืมเงินจากในหรือต่างประเทศ (2) ออกหลักทรัพย์เฉพาะ (2.1) หุ้นหรือหุ้นกู้ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2.2) ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3.6 การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกได้เฉพาะในส่วนของงานที่ไม่ใช่งานหลักที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic function) ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยการพิจารณางานที่ไม่ใช่งานหลักที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ดังกล่าว ให้พิจารณาการจัดกลุ่มตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) รวมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากพันธมิตรทางธุรกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน โดยอนุโลม อนึ่ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าเสมือนบริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการเอง และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องสําคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การดูแลเรื่องความจ่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและการให้บริการแก่ลูกค้า (2) การมีระบบดูแลลูกค้าอย่างเหมาะสม โดยเน้นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอ การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า ตลอดจนการดูแลเรื่องร้องเรียนและแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้า (3) การมีระบบการบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 และต้องดําเนินการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจสอบภายนอก หรือหน่วยงานของทางการอื่น สามารถเข้าตรวจสอบการดําเนินงานระบบการควบคุมภายในต่าง ๆ ของผู้ให้บริการภายนอกหรือผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (ถ้ามี) ได้ โดยข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 5.3.7 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน ถ้าปรากฏว่าสัญญาเดิมกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เป็นอัตราลอยตัวและไม่มีฐานในการคํานวณอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินเดิมให้อ้างอิงได้ ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์คํานวณอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บจากลูกหนี้ตามสัญญาเดิมดังกล่าวได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อประเภทนั้น ๆ ของ 5 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ณ วันที่กําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตามสัญญาเดิม 5.3.8 การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) รวมถึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะเรียกเก็บจากลูกค้า บริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเรียกเก็บจากลูกค้า ให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าก่อนวันที่อัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นั้น มีผลบังคับใช้ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าได้รับทราบและเข้าใจในรายละเอียดดังกล่าวอย่างชัดเจน เช่น ประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการทุกแห่ง เผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือช่องทางอื่น ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (2) การจัดทําตารางแสดงภาระหนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องจัดทําตารางแสดงภาระหนี้สําหรับลูกค้าแต่ละราย โดยให้แสดงรายละเอียดของข้อมูลเป็นรายงวด ซึ่งอย่างน้อยข้อมูลแต่ละงวดต้องประกอบด้วยจํานวนเงินที่ลูกค้าต้องชําระ โดยแยกเป็นเงินต้นและดอกเบี้ย จํานวนเงินต้นคงค้าง เพื่อมอบให้แก่ลูกค้าเมื่อมีการทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือทําสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมสําหรับลูกค้าซึ่งเป็นลูกหนี้ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับซื้อหรือรับโอน (3) การเรียกให้ชําระหนี้และการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ รวมถึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (3.1) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องแสดงรายละเอียดการคํานวณดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากลูกค้าในใบแจ้งหนี้ (3.2) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องแจ้งเตือนลูกค้าที่ผิดนัดชําระหนี้ก่อนดําเนินการบังคับชําระหนี้ตามกฎหมาย โดยต้องมีระยะเวลาที่เพียงพอให้ลูกค้าตรวจสอบและโต้แย้งรายการดังกล่าวได้ (4) การปฏิบัติและการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของลูกค้า บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องดูแลให้มีการรักษาข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นความลับ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์จะเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าได้เฉพาะ กรณีดังต่อไปนี้ (4.1) การเปิดเผยโดยได้รับความยินยอมจากลูกค้าแล้ว (4.2) การเปิดเผยตามหน้าที่ หรือเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือการพิจารณาคดี (4.3) การเปิดเผยแก่ผู้สอบบัญชีของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น (4.4) การส่งข้อมูลเครดิตให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (4.5) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย (5) การปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องดําเนินการตรวจสอบเมื่อลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ และแจ้งความคืบหน้าของผลการตรวจสอบ รวมทั้งชี้แจงขั้นตอนการดําเนินการต่อไปให้ลูกค้าทราบภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน รวมทั้งดําเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนนั้นให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยเร็ว 5.3.9 การจัดทําบัญชีและงบการเงิน และการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องจัดทําบัญชีและงบการเงิน และแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ดังนี้ (1) บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เป็นบริษัทแม่ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินโดยอนุโลม (2) บริษัทบริหารสินทรัพย์นอกเหนือจากข้อ 5.3.9 (1) ต้องบันทึกบัญชีตามที่มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกําหนด (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องใช้รูปแบบงบการเงินของบริษัทเงินทุนตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและการประกาศงบเงินของบริษัทเงินทุน และบัตรเครดิตฟองซิเอร์ โดยอนุโลม ยกเว้นกรณีบริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entites: NPAEs) ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และประสงค์ที่จะจัดทํารายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะตามที่ประกาศกําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้นํารูปแบบงบการเงินตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 21/2558 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 มาใช้โดยอนุโลม (4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปิดบัญชีทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลา 1 ปี (5) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เป็นบริษัทแม่ ต้องใช้ผู้สอบบัญชีในสํานักงานเดียวกันกับผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่เป็นบริษัทแม่ดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ถือว่าสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 5.3.9 (5) วรรคหนึ่ง 5.3.10 การประกาศและจัดส่งงบการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องประกาศและจัดส่งงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทยซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบรวมทั้งได้รับการรับรองจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีการลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น โดยสามารถเปิดเผยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ทั้งนี้ ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เปิดเผยเฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชีงบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากรายงานของผู้สอบบัญชีมีการอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องในรายงานผู้สอบบัญชี ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย (2) เผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (ถ้ามี) โดยต้องเปิดเผยรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด (3) จัดส่งงบการเงิน ซึ่งได้แก่ รายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด มายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในการผ่อนผันธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ต้องปฏิบัติได้ 5.3.11 การจัดทําและการยื่นรายงานที่เกี่ยวข้อง (1) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องจัดและจัดส่งแบบรายงานในรูปแบบและภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยส่งผ่านช่องทางระบบบริการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (DMS Data Acquisition) (2) บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องจัดทําและจัดส่งรายงานและข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมเป็นรายกรณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ 5.3.12 การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้น กรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้น กรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่มีกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น (1) กรณีมีบุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกินกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวถือหรือมีไว้ด้วย (2) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ 5.3.13 บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เป็นบริษัทแม่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เป็นบริษัทแม่ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้แล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการถือครองอสังหาริมทรัพย์รอการขายตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 รวมถึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศและแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารแนบ 4 โดยอนุโลม 5.3.14 การจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ประสงค์จะดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เช่น การจัดทํา จัดเก็บหรือจัดส่งข้อมูล การแจ้งข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการทางการเงินตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการทางการเงินเป็นการทั่วไป ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถดําเนินการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทํา จัดเก็บ และส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงิน มาใช้โดยอนุโลม อื่นๆ ๖ บทเฉพาะกาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนแล้วในก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในคู่มือประชาชน ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ สําหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนแล้วในก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และมีกรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5.3.2 ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดําเนิดการแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ อื่นๆ ๗ วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ยกเว้นข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) ตามข้อ 5.3.8 ให้ใช้บังคับเมื่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) มีผลบังคับใช้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายนโยบายการกํากับสถาบันการเงิน โทรศัพท์ 0 2283 5806, 0 2283 5837 โทรสาร 0 2283 5983
5,941
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง การจัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง ตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง -------------------------- โดยที่มาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ใช้บังคับบทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนสามัญในพระองค์ เมื่อ ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งเสร็จ และจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และประกาศให้ทราบแล้ว บัดนี้ ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง รวมทั้งได้จัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งเสร็จแล้ว จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
5,942
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 122/2548 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจำหน่าย (Certificate of Free Sale : CFS) เพื่อประกอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ฉบับที่ 2)
คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 122/2548 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจําหน่าย (Certificate of Free Sale : CFS) เพื่อประกอบการนําเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ฉบับที่ 2) -------------------------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไข ข้อกําหนดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการ จําหน่าย (Certificate of Free Sale : CS) ท้ายคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 398/2544 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจําหน่าย (Certificate of Free Sale : Cre เพื่อประกอบการนําเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้มีความเหมาะสมมีความน่าเชื่อถือ จึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ อื่นๆ ๑ 1.ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของข้อกําหนดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจําหน่าย (Certificate of free Sale : CPS) ท้ายคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 398/2544 ลง วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “3. CFS ตามข้อ 1 และหนังสือรับรองตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2.1 ต้องออก หรือรับรองข้อความโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดนั้น ๆ หรือหน่วยงานเอกชนที่รัฐรับรอง” อื่นๆ ๒ 2.ให้ทุกกองผลิตภัณฑ์ใช้ข้อกําหนดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจําหน่าย (Certificate of free Sale : CFS) ตามคําสั่งนี้ในการพิจารณาคําขอของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออกคําสั่งนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (นายภักดี โพธิสิริ) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,943
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 398/2544 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจำหน่าย (Certificate of Free Sale : CFS) เพื่อประกอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ
คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 398/2544 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจําหน่าย (Certificate of Free Sale : CFS) เพื่อประกอบการนําเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ------------------------ เพื่อความเหมาะสมกับสถานะการปัจจุบันและเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติเกี่ยวกับ หนังสือรับรองการจําหน่ายที่ผู้ประกอบการต้องนํามายื่นประกอบการขออนุญาต การขึ้นทะเบียนการจดแจ้งและ การอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพในการควบคุม กํากับดูแลของสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา จึงออกคําสั่งดังต่อไปนี้ อื่นๆ ๑ 1.ให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 258/2541 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจําหน่าย (Certificate of Free Sale) สั่ง ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2541 อื่นๆ ๒ 2.ให้ทุกกองผลิตภัณฑ์ใช้ข้อกําหนดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจําหน่าย (Certificate of Free Sale : CFS) ซึ่งแนบท้ายคําสั่งนี้ในการพิจารณาคําขอของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2544 วิชัย โชควิวัฒน์ (นายวิชัย โชควิวัฒน์) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,944
คำสั่งคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่ 2/2555 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
คําสั่งคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่ 2/2555 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอํานาจเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ -------------------------- โดยที่เห็นสมควรแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอํานาจเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่มีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือมีโทษปรับสถานเดียว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7(4) และมาตรา 89 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 และ มติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ในการประชุมครั้งที่ 12-2/2555 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 จึงออก คําสั่งไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้มีอํานาจเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุ อันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะความผิดที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รับผิดชอบ 1.1 เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร 1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัด เฉพาะในความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่จังหวัดที่รับผิดชอบ ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 1 ดําเนินการตามระเบียบคณะกรรมการวัตถุอันตราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเปรียบเทียบปรับ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายยงยุทธ ทองสุข) รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกํากับตรวจสอบกระบวนการผลิต ประธานกรรมการ คณะกรรมการวัตถุอันตราย
5,945
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 391/2565 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้พิจารณาและลงนามเอกสารเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 391/2565 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้พิจารณาและลงนามเอกสารเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ --------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาในด้านวัตถุอันตราย เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว และเหมาะสมกับนโยบายการปรับลดขั้นตอนและเวลาปฏิบัติราชการ และเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 38 และ มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยาจึงมีคําสั่งกําหนดหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และมอบอํานาจในการปฏิบัติ ราชการแทนไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 128/2564 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้พิจารณาและลงนามเอกสารเกี่ยวกับ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ให้ผู้อํานวยการกองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายเป็นผู้พิจารณา การอนุญาตและลงนามในเอกสารดังต่อไปนี้ 2.1 ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (ยกเว้นใบสําคัญการขึ้นทะเบียน วัตถุอันตรายประเภทผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงและสัตว์แทะที่เป็นวัตถุดิบเทคนิคอลเกรด) 2.2 หนังสือแจ้งขอให้ตรวจสอบหนังสือค้ําประกันธนาคาร 2.3 หนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ หรือแบบตอบข้อวินิจฉัย ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (กรณีที่ไม่เคยมีแนวทางการวินิจฉัยมาก่อน) 2.4 บันทึกหรือหนังสือหารือหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปริมาณ สารสําคัญ การทดสอบประสิทธิภาพ และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตด้านวัตถุอันตราย 2.5 หนังสือแจ้งให้ข้อมูลการอนุญาตและข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับวัตถุอันตราย 2.6 หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กร เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ยื่นคําขอขึ้นบัญชีกับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2.7 หนังสือขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทําหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจ สถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เพื่อประกอบกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ดังนี้ 2.7.1 การประเมินเอกสารทางวิชาการตามคําขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย หรือการหารือทางวิชาการเฉพาะด้านเกี่ยวกับ วัตถุอันตราย 2.7.2 การตรวจประเมินสถานประกอบการตามคําขออนุญาตและคําขอ แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต 2.7.3 การตรวจประเมินสถานประกอบการผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ในการผลิตวัตถุอันตราย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการตรวจประเมินโดยหน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการได้มาซึ่งองค์กรผู้เชี่ยวชาญหน่วยงาน ของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อทําหน้าที่ในการตรวจสอบ หรือตรวจ สถานประกอบการผลิตวัตถุอันตราย ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตวัตถุอันตราย ที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ 2.7.4. การตรวจสอบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ข้อ ๓ ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณา การอนุญาตและลงนามในเอกสารดังต่อไปนี้ 3.1 ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ประเภทผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงและสัตว์และ ที่เป็นวัตถุดิบเทคนิคอลเกรด 3.2 หนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ หรือแบบตอบข้อวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ - วัตถุอันตรายผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (กรณีที่มีแนวทางการวินิจฉัยไว้แล้ว) 3.3 หนังสือส่งตัวอย่างวัตถุอันตรายไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายไม่สามารถ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้อํานวยการกองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายเป็นผู้ปฏิบัติราชการตามข้อ 3.1 3.2 และ 3.3 แทน ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ กลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายก่อนออกสู่ตลาด กองควบคุม เครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ดําเนินการดังต่อไปนี้ 4.1 หัวหน้ากลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายก่อนออกสู่ตลาด เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนามเอกสาร 4.1.1 ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายกรณีอ้างอิงทะเบียนเดิม 4.1.2 ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายกรณีถ่ายโอนทะเบียนเดิม 4.1.3 ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่ผลิตหรือนําเข้าเพื่อการส่งออกเท่านั้น 4.1.4 ใบอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (กรณี สายการผลิตเดิม หรือสถานที่เก็บรักษาเคยได้รับอนุญาตแล้ว 4.1.5 ใบผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ชนิดที่ 6 หรือชนิดที่ 3 4.1.6 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงฉลาก สูตรผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุวัตถุ อันตราย และรายการเอกสารอื่น ๆ ประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายประกาศกําหนด 4.1.7 หนังสือคืนคําขอ และหนังสือแจ้งเหตุแห่งความล่าช้า ตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาของทางราชการ พ.ศ. 2558 4.1.8 การคัดสําเนาเอกสารประกอบคําขอเกี่ยวกับวัตถุอันตราย (ยกเว้น กรณีตามข้อ 5.1.6 และ ข้อ 7 ของคําสั่งฉบับนี้ 4.2 เภสัชกรชํานาญการพิเศษหรือเภสัชกรชํานาญการ กลุ่มกํากับดูแลวัตถุ อันตรายก่อนออกสู่ตลาดกองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนามเอกสาร 4.2.1 ใบรับแจ้งการดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 4.2.2 ใบแทนใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และใบอนุญาต 4.2.3 หนังสือรับรองการขาย (Certificate of Free Sale) 4.2.4 หนังสือรับรองผู้ผลิตวัตถุอันตราย (Certificate of Manufacturer) 4.2.5 หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (Certificate of Product Registration) 4.3 เภสัชกร กลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายก่อนออกสู่ตลาด กองควบคุม เครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการ 4.3.1 ใบอนุญาตนําเข้าตัวอย่างหรือผลิตตัวอย่างวัตถุอันตราย 4.3.2 การรับแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 4.3.3 การรับแจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 4.3.4 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงฉลาก สูตรผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุวัตถุ อันตราย และรายการเอกสารอื่น ๆ ประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กองควบคุม เครื่องสําอางและวัตถุอันตรายประกาศกําหนด 4.3.5 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุ อันตราย ใบอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 (กรณีไม่ต้องตรวจสถานที่ และใบรับแจ้ง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 4.3.6 ใบแทนใบรับแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และ ใบรับแจ้งการดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 4.3.7 การต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ใบรับแจ้ง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และใบอนุญาตวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 4.3.8 การรับรองสําเนาใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ฉลากและผลการทดสอบประสิทธิภาพ 4.3.9 การรับรองสําเนาใบรับแจ้งการดําเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และใบอนุญาตวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 4.3.10 การรับรองสําเนาใบแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 4.3.11 การรับรองการแปลเอกสารการอนุญาตวัตถุอันตรายเป็นภาษาอังกฤษ 4.3.12 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบนําผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ กลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายหลังออกสู่ตลาด กองควบคุม เครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ดําเนินการดังต่อไปนี้ 5.1 หัวหน้ากลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายหลังออกสู่ตลาด เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนามเอกสาร 5.1.1 ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย และใบอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งบก กรองตรวจสถานที่ เช่น สถานที่ผลิตใหม่ หรือสายการผลิตใหม่ หรือสถานที่เก็บใหม่) 5.1.2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต (กรณีต้องตรวจสถานที่ เช่น สถานที่ผลิตใหม่ หรือสายการผลิตใหม่ หรือสถานที่เก็บใหม่) 5.1.3 ใบรับแจ้งดําเนินการผลิตเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (กรณีย้ายสถานที่ผลิตและต้องตรวจสถานที่) 5.1.4 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงสร้างของสถานที่ ที่เกี่ยวข้องกับ การผลิต การนําเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย และรายการอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาต รับแจ้งการดําเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แล้ว 5.1.5 หนังสือคืนคําขอ และหนังสือแจ้งเหตุแห่งความล่าช้าตาม พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาของทางราชการ พ.ศ. 2558 5.1.6 การคัดสําเนาเอกสารประกอบคําขอเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการต้านวัตถุอันตราย 5.2 เภสัชกรชํานาญการพิเศษหรือเภสัชกรชํานาญการ กลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายหลังออกสู่ตลาด กองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาอนุญาตและลงนาม เอกสารการรับรองสําเนาหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิตวัตถุอันตราย ข้อ ๖ ให้หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบวัตถุอันตราย กองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้ลงนามหนังสือแจ้งผู้ประกอบการในการต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ใบอนุญาต ใบรับแจ้งการดําเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ข้อ ๗ ให้หัวหน้ากลุ่มกําหนดมาตรฐานวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและ ลงนามเอกสารการคัดสําเนาเอกสารการวินิจฉัยผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ข้อ ๘ ในกรณีเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาการอนุญาตเห็นว่า ไม่สามารถอนุญาตให้ได้ตามกฎหมาย ให้เสนอเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาผู้ได้รับ มอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อพิจารณาลงนามในหนังสือแจ้งผู้ขออนุญาต โดยให้ ระบุเหตุผลของการไม่อนุญาตและแจ้งสิทธิการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ยื่นคําขอทราบด้วย ข้อ ๙ ให้ผู้พิจารณาตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 หรือ ข้อ 8 จัดทําข้อมูล รายงานผลการดําเนินงานในการพิจารณาตามคําสั่งฉบับนี้ทุกสิ้นเดือน เก็บไว้ที่กองควบคุมเครื่องสําอางและ วัตถุอันตรายให้พร้อมรายงานต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาทราบ เพื่อใช้ในการบริหารราชการ ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และให้สรุปจัดทํารายงานผลการพิจารณาให้เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยาทราบดังนี้ การดําเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 31 มีนาคม ให้รายงานภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป การดาเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน ให้รายงานภายในวันที่ 31 ตุลาคม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ 2565 (นายไพศาล ดั่นคุ้ม) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,946
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 531/2562 เรื่อง การจัดการกับวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 531/2562 เรื่อง การจัดการกับวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ --------------------------- เพื่อเป็นการปกป้องสุขอนามัยของประชาชนและผู้บริโภค โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก คนชรา หรือสตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 4 กันยายน 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560 ประกาศ กําหนดให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) และคลอร์ไพริฟอส-เมทิล (chlorpyrifos-methyl) ในความ รับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แต่ทั้งนี้ จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปรากฏว่า ปัจจุบันไม่มีการขึ้นทะเบียนคลอร์ไพริฟอส-เมทิล (chlorpyrifos-methyl) กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่มีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ไว้กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อมีการประกาศให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสในความรับผิดชอบของสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยาเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 แล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จะมีผลห้ามการผลิต การนําเข้า การส่งออก การนําผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง วัตถุอันตรายดังกล่าว อาศัยอํานาจตามมาตรา 43 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 52 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และ มาตรา 52 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยาจึงออกคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้ “วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส” หมายความว่า วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนวันที่ประกาศกําหนดให้วัตถุ อันตรายคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ ส่งคืนวัตถุอันตรายแก่ผู้ที่ตนซื้อมา หรือมอบวัตถุอันตรายดังกล่าว ให้กับสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ณ จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส หรือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ณ จังหวัดที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเพื่อใช้สอยส่วนบุคคล ใช้เป็นที่พักอาศัย ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 มีผลใช้บังคับ (ไม่เกินวันที่ 16 ธันวาคม 2562) (1) ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตส่งออกซึ่งไม่ใช่เจ้าของทะเบียนวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส หรือ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเพื่อใช้รับจ้าง (2) ผู้ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเพื่อใช้สอยส่วนบุคคล หรือ ผู้ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสสําเร็จรูปที่มิใช่เพื่อใช้รับจ้าง ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอ ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุ อันตราย พ.ศ. 2535 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ข้อ ๓ ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดซึ่งรับมอบวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสตามข้อ 2 แจ้ง ปริมาณและส่งมอบวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายในเก้าสิบวันนับจาก วันที่ประกาศให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 มีผลใช้บังคับ (ไม่เกินวันที่ 14 มกราคม 2563) เพื่อรวบรวมส่งไปยังเจ้าของทะเบียนวัตถุอันตรายเพื่อการทําลาย ข้อ ๔ ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ซึ่งเป็นเจ้าของทะเบียนวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนวันที่ประกาศกําหนดให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุ อันตรายชนิดที่ 4 เรียกเก็บคืนวัตถุอันตรายของตนจากท้องตลาด รับคืนวัตถุอันตรายตามข้อ 2 และรับคืนวัตถุ อันตรายจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามข้อ 3 และแจ้งปริมาณวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส คงเหลือ ต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามแบบรายงานสรุปการรวบรวมวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส ภายในหนึ่งร้อยสามสิบห้าวันนับแต่ ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาท้ายคําสั่งฉบับนี้ วันที่ประกาศให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 มีผลใช้บังคับ (ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563) ทั้งนี้ขอให้เก็บรักษาวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสทั้งหมดไว้ที่บริษัทฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยาตรวจสอบปริมาณ และควบคุมการทําลาย ข้อ ๕ กรณีที่มีวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสคงเหลือ ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ซึ่งเป็นเจ้าของทะเบียน วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนวันที่ประกาศ กําหนดให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 แจ้งกําหนดการที่จะทําลายวัตถุอันตราย คลอร์ไพริฟอสตามวิธีการทําลายตามข้อ 5 ให้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาทราบ โดยให้แจ้งพร้อมกับ การแจ้งปริมาณวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสที่คงเหลือตามข้อ 4 ทั้งนี้ กําหนดการในการทําลายวัตถุอันตราย คลอร์ไพริฟอสจะต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุ อันตรายชนิดที่ 4 มีผลใช้บังคับ (ไม่เกินวันที่ 16 เมษายน 2563) ข้อ ๖ ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้าตามข้อ 4 ดําเนินการเพื่อให้มีการทําลายวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส โดยการเผาทําลายในเตาเผาอุณหภูมิสูง (อุณหภูมิเฉลี่ยภายในห้องเผาใดห้องเผาหนึ่งสูงกว่า 1,100 องศาเซลเซียส) ที่ออกแบบและก่อสร้างเพื่อใช้กําจัดของเสียอันตราย โดยไม่รวมเตาเผาปูนซีเมนต์และเตาเผา ปูนขาว โดยแจ้งให้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาทราบเพื่อควบคุมการทําลาย โดยผู้ผลิต ผู้นําเข้า เจ้าของทะเบียนวัตถุอันตราย เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และให้ส่งหลักฐานการทําลายวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส ให้แก่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศให้วัตถุอันตราย คลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 มีผลใช้บังคับ (ไม่เกินวันที่ 16 เมษายน 2563) โดยอย่างน้อยต้องมี (1) หนังสือสัญญาจ้างทําลายวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส (2) บันทึกการทําลายวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส พร้อมลงนามรับรองจากผู้รับทําลาย (3) ภาพถ่ายการทําลายวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส (4) หนังสือรับรองการทําลายวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสจากผู้ผลิต ผู้นําเข้า เจ้าของทะเบียนวัตถุอันตราย ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (นายไพศาล ดั่นคุ้ม) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,947
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 128/2564 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้พิจารณาและลงนามเอกสารเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 128/2564 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้พิจารณาและลงนามเอกสารเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ ----------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาในด้านวัตถุอันตราย เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว และเหมาะสมกับนโยบายการปรับลดขั้นตอนและเวลาปฏิบัติราชการ และเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 38 และ มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยาจึงมีคําสั่งกําหนดหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และมอบอํานาจในการปฏิบัติ ราชการแทนไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 301/2559 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้พิจารณาและลงนามเอกสารเกี่ยวกับ วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ให้ผู้อํานวยการกองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายเป็นผู้พิจารณาการ อนุญาตและลงนามในเอกสารดังต่อไปนี้ 2.1 ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (ยกเว้นใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุ อันตราย ประเภทผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงและสัตว์แทะ ที่เป็นวัตถุดิบเทคนิคอลเกรด) 2.2 ใบนําผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 2.3 หนังสือแจ้งขอให้ตรวจสอบหนังสือค้ําประกันธนาคาร 2.4 หนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ กรณีที่ไม่เคยมีแนวทางการ วินิจฉัยมาก่อน 2.5 บันทึกหรือหนังสือหายหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปริมาณ สารสําคัญ การทดสอบประสิทธิภาพ และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตด้านวัตถุอันตราย 2.6 หนังสือแจ้งให้ข้อมูลการอนุญาตและข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับวัตถุอันตราย ข้อ ๓ ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนามในเอกสารดังต่อไปนี้ 3.1 ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ประมาทผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงและสัตว์แทะ ที่เป็นวัตถุดิบเทคนิคอลเกรด 3.2 หนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ (กรณีสมแนวทางการวินิจฉัยไว้แล้ว) 3.3 หนังสือส่งตัวอย่างวัตถุอันตรายไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ให้ผู้อํานวยการกองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายเป็นผู้ปฏิบัติราชการตามข้อ 3.1 3.3 และ 3.2 แทน ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ กลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายก่อนออกสู่ตลาด กองควบคุม เครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ดําเนินการดังต่อไปนี้ 4.1 หัวหน้ากลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายก่อนออกสู่ตลาด เป็นผู้พิจารณา การอนุญาตและลงนามเอกสาร 4.1.1 ใบอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (กรณ์สายการ ผลิตเดิม หรือสถานที่เก็บรักษาเคยได้รับอนุญาตแล้ว) 4.1.2 ใบนําผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 4.1.3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงฉลาก สูตรผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุวัตถุ อันตราย และรายการเอกสารอื่น ๆ ประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายประกาศกําหนด 4.1.4 หนังสือคืนคําขอ และหนังสือแจ้งเหตุแห่งความล่าช้าตาม พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาของทางราชการ พ.ศ. 2558 4.1.5 การคัดสําเนาเอกสารประกอบคําขอเกี่ยวกับวัตถุอันตราย (ยกเว้น กรณีตามข้อ 5.1.5 และ ข้อ 7 ของคําสั่งฉบับนี้) 4.2 เภสัชกรชํานาญการพิเศษหรือเภสัชกรชํานาญการ กลุ่มกํากับดูแลวัตถุ อันตรายก่อนออกสู่ตลาดกองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนามเอกสาร 4.2.1 ใบรับแจ้งการดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 4.2.2 ใบแทนใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และใบอนุญาต 4.2.3 หนังสือรับรองการขาย (Certificate of Free Sale) 4.2.4 หนังสือรับรองผู้ผลิตวัตถุอันตราย (Certificate of Manufacturer) 4.25. หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (Certificate of Product Registration) 4.3 เภสัชกร กลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายก่อนออกสู่ตลาด กองควบคุม เครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนามเอกสาร 4.3.1 ใบอนุญาตนําเข้าตัวอย่างหรือผลิตตัวอย่างวัตถุอันตราย 4.3.2 การรับแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 4.3.3 การรับแจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 4.3.4. การแก้ไขเปลี่ยนแปลาฉลาก สูตรผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุวัตถุ อันตราย และรายการเอกสารอื่น ๆ ประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กองควบคุม เครื่องอ่างและวัตถุอันตรายประกาศกําหนด 4.3.5 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุ อันตราย ใบอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (กรณีไม่ต้องตรวจสถานที่ และใบรับแจ้งการ ดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 4.36 ใบแทนใบรับแจ้งการดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และใบรับแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 4.3.7 การต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ใบอนุญาต และใบรับแจ้งการดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 4.3.8 การรับรองสําเนาใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ฉลาก และผลการทดสอบประสิทธิภาพ 4.3.9 การรับรองสําเนาใบอนุญาต และใบรับแจ้งการดําเนินการวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 4.3.10 การรับรองสําเนาใบแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 4.3.11 การรับรองการแปลเอกสารการอนุญาตวัตถุอันตรายเป็นภาษาอังกฤษ ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ กลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายหลังออกสู่ตลาด กองควบคุม เครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ดําเนินการดังต่อไปนี้ 5.1 หัวหน้ากลุ่มกํากับดูแลวัตถุอันตรายหลังออกสู่ตลาด เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนามเอกสาร 5.1.1 ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย และใบอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออก (กรณีต้องตรวจสถานที่ เช่น สถานที่ผลิตใหม่ หรือสายการผลิตใหม่ หรือสถานที่เก็บใหม่ 5.1.2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต (กรณีต้องตรวจสถานที่ เช่น สถานที่ผลิตใหม่ หรือสายการผลิตใหม่ หรือสถานที่เก็บใหม่) 5.1.3 ใบรับแจ้งดําเนินการผลิตเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (กรณี ย้ายสถานที่ผลิตและต้องตรวจสถานที่) 5.1.4 หนังสือคืนค่าขอ และหนังสือแจ้งเหตุแห่งความล่าช้าตาม พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาของทางราชการ พ.ศ. 2554 5.1.5 การคัดสําเนาเอกสารประกอบคําขอเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการด้านวัตถุอันตราย 5.2 เภสัชกรชํานาญการพิเศษหรือเภสัชกรชํานาญการ กลุ่มกํากับดูแล วัตถุอันตรายหลังออกสู่ตลาด กองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและลงนาม เอกสาร 5.2.1 การรับรองสําเนาหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตตามหลักเกณฑ์ การที่ดีในการผลิตวัตถุอันตราย ข้อ ๖ ให้หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบวัตถุอันตราย กองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุ อันตรายเป็นผู้ลงนามหนังสือแจ้งผู้ประกอบการในการต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ใบอนุญาต ใบรับแจ้งการดําเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ข้อ ๗ ให้หัวหน้ากลุ่มกําหนดมาตรฐานวัตถุอันตราย เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตและ ส่วนเอกสารการคัดสําเนาเอกสารการวินิจฉัยผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ข้อ ๘ ในกรณีเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาการอนุญาตเห็นว่า ไม่สามารถอนุญาตให้ได้ตามกฎหมาย ให้เสน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาผู้ได้รับ มอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อพิจารณาลงนามในหนังสือแจ้งผู้ขออนุญาต โดยให้ ระบุเหตุผลของการไม่อนุญาตและแจ้งสิทธิการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ยื่นคําขอทราบด้วย ข้อ ๙ ให้ผู้พิจารณาตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 5 ข้อ 7 หรือ ข้อ 8 จัดทําข้อมูล รายงานผลการดําเนินงานในการพิจารณาตามคําสั่งฉบับนี้ทุกสิ้นเดือน เก็บไว้ที่กองควบคุมเครื่องสําอางและ วัตถุอันตรายให้พร้อมรายงานต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาทราบ เพื่อใช้ในการบริหารราชการ ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และให้สรุปจัดทํารายงานผลการพิจารณาให้เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยาทราบดังนี้ การดําเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 31 มีนาคม ให้รายงานภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป การดําเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน ให้รายงานในวันที่ 31 ตุลาคม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 (นายไพศาล ดั่นคุ้ม) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
5,948