title
stringlengths 10
260
| context
stringlengths 29
179k
| url
stringlengths 0
53
|
---|---|---|
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงกลาโหม นำทัพจิตอาสา “เราทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ลุยล้างถนน ล่องเรือเก็บขยะ รอบชุมชนวัดโพธิ์-ท่าเตียน สร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย!! | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
ปลัดกระทรวงกลาโหม นำทัพจิตอาสา “เราทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ลุยล้างถนน ล่องเรือเก็บขยะ รอบชุมชนวัดโพธิ์-ท่าเตียน สร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย!!
พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในกิจกรรมโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” กิจกรรมทำความสะอาดปรับปรุงภูมิทัศน์ และช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร (วัดโพธิ์) และชุมชนท่าเตียน
โดยมี พลเรือเอกชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ และคุณรมิดา อินทรเจริญ นายกสมาคมภริยาข้าราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม คุณกานต์กนิษฐ์ แห้วสันติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เขต1 กรุงเทพมหานคร และคุณเกรียงไกร โอฬารพันธุ์สกุล ร่วมตรวจเยี่ยมการทำความสะอาดในแม่น้ำเจ้าพระยาและจุดบริการประชาชน สำหรับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของโลก เนื่องจากเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางเข้ามาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ ในกิจกรรมดังกล่าวมีจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 800 คน ประกอบด้วย กำลังพลจิตอาสาจากหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งประชาชนจิตอาสาในพื้นที่รอบศาลาว่าการกลาโหม โดยแบ่งทำความสะอาดตามพื้นที่ ได้แก่ ถนนวังหลังและภายในวัดโพธิ์ ถนนมหาราช ถนนสนามไชย ซอยเศรษฐการ อีกทั้ง ยังมีการล่องเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเก็บขยะและสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนไทยเลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง นอกจากนี้ยังมีจุดบริการ และช่วยเหลือประชาชน อาทิ จุดแจกจ่ายยาสามัญประจำบ้าน จุดตั้งเต้นท์ตัดผม จุดตรวจสุขภาพประชาชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มาใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย
สำหรับกิจกรรมจิตอาสาในครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคีในการร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียวของกำลังพล และประชาชนจิตอาสาในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อประเทศชาติที่จะสืบสาน “เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ตามแนวพระราโชบายสืบไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36569 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เรียกประชุมด่วน หลังราคายางพาราผันผวนต่อเนื่อง | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
กระทรวงเกษตรฯ เรียกประชุมด่วน หลังราคายางพาราผันผวนต่อเนื่อง
กระทรวงเกษตรฯ เรียกประชุมด่วน เตรียมเคาะมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรสัปดาห์หน้า หลังราคายางพาราผันผวนต่อเนื่อง
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคายางที่ผันผวนอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ซึ่งมีผลมาจากปัจจัยภายในประเทศ เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมถึงปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งมีผลมาจากผู้ซื้อในตลาดล่วงหน้ามีการเทขายเพื่อทำกำไร และสต็อกยางของตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคายางในประเทศช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีความผันผวน และเริ่มลดลงในช่วงปัจจุบัน ทั้งนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเป็นห่วงในสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เร่งจัดการประชุมหารือเพื่อกำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบแก่เกษตรกรชาวสวนยางอย่างเร่งด่วน ในวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน นี้ โดยเชิญตัวแทนจากกรมการค้าภายใน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กรมวิชาการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม
นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากกระทรวงพาณิชย์ในการเข้าตรวจสอบสต็อกยางของผู้ประกอบการรายใหญ่ภายในประเทศ เพื่อหาทางออกในการเจรจากับผู้ประกอบการในการรับซื้อยางจากเกษตรกรต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36566 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เน้นย้ำ เพิ่มพูนความร่วมมือไทย-แอฟริกาใต้อย่างรอบด้าน พร้อมขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพระหว่างกัน | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
นายกฯ เน้นย้ำ เพิ่มพูนความร่วมมือไทย-แอฟริกาใต้อย่างรอบด้าน พร้อมขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพระหว่างกัน
นายกฯ เน้นย้ำ เพิ่มพูนความร่วมมือไทย-แอฟริกาใต้อย่างรอบด้าน พร้อมขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพระหว่างกัน
วันนี้ (วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเจฟฟรีย์ ควินตัน มิตเชลล์ ดอยจ์ (H.E. Mr. Geoffrey Quinton Mitchell Doidge) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่ออำลาในโอกาสพ้นจากหน้าที่ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับและขอบคุณเอกอัครราชทูตฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้มีความใกล้ชิดและก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีหวังว่าทั้งสองประเทศจะเพิ่มพูนความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
เอกอัครราชทูตฯ ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานมาโดยตลอด พร้อมทั้งยินดีกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้ ตลอดจนเห็นพ้องว่าทั้งสองฝ่ายควรเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งในด้านการค้าการลงทุน การเกษตร และสาธารณสุข นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตฯ ชื่นชมนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งแอฟริกาใต้พร้อมเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าวกับไทย ด้านนายกรัฐมนตรีขอบคุณรัฐบาลแอฟริกาใต้ที่อำนวยความสะดวกส่งชาวไทยเดินทางกลับประเทศในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ยืนยันไทยพร้อมแลกเปลี่ยนร่วมมือกับแอฟริกาใต้เพื่อผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าวไปด้วยกัน
โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ไทยและแอฟริกาใต้ยังมีศักยภาพที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุน ทั้งสองประเทศมีจุดแข็งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเป็นประตูเชื่อมภูมิภาคให้แก่กันและกันได้ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนให้นักลงทุนจากแอฟริกาใต้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในสาขาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยพร้อมให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการลงทุน ไทยพร้อมสนับสนุนให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในแอฟริกาใต้มากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาในรายละเอียดร่วมกันเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36567 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างคลังน้ำมันแห่งใหม่ เสริมแกร่งเครือข่ายขนส่งน้ำมันในภูมิภาค! | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
ตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างคลังน้ำมันแห่งใหม่ เสริมแกร่งเครือข่ายขนส่งน้ำมันในภูมิภาค!
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างคลังน้ำมันแห่งใหม่ เสริมแกร่งเครือข่ายขนส่งน้ำมันในภูมิภาค!
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำทีมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงพื้นที่ตรวจความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างคลังน้ำมันและท่อส่งน้ำมัน เอ็นเอฟซีที (NFCT Terminal) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยระบุโครงการดังกล่าวจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายการจัดส่งน้ำมันในระดับภูมิภาค ขณะเดียวกันยังมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน และตอบโจทย์นโยบายรัฐด้านการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจเป้าหมาย คาดสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2564
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการคลังน้ำมันและท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิง (NFCT Fuel Tank Farm Project) ของบริษัท เอ็นเอฟซีที จำกัด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดหน้าดินโครงการฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า โครงการฯดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นที่พื้นที่พัฒนาตามแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การลงทุน เพื่อสร้างโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ที่สมบูรณ์เชื่อมโยง 3 ระบบ ทั้งระบบถนน ระบบราง เรือ และอากาศ โดยเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ โดยเชื่อมั่นว่าเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและเปิดโอกาสให้มีการค้าน้ำมันในระดับภูมิภาค เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังจะช่วยส่งเสริมนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของประเทศได้เป็นอย่างดี
“โครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงาน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับภูมิภาค รองรับความต้องการเชื้อเพลิงของภาคการขนส่งและคมนาคม และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐด้านต่างๆ รวมทั้งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของประเทศได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางพลังงานที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
ด้านนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการคลังน้ำมันและท่อส่งน้ำมัน ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง บนพื้นที่ประมาณ 43 ไร่ โดยเป็นการเช่าพื้นที่ กนอ.ของบริษัท เอ็นเอฟซีที จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อรองรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านพลังงาน และสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายในการจัดส่งน้ำมันระดับภูมิภาค ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยโครงการดังกล่าวฯ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนรวมโครงการฯ อยู่ที่ประมาณ 2,570 ล้านบาท หรือ ประมาณ 83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ภายในปี 2564
“สำหรับการก่อสร้างคลังน้ำมันและท่อส่งน้ำมันของบริษัท เอ็นเอฟซีที จำกัด กนอ.มองว่ามีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ต่อยอดสู่การพัฒนาทุกด้าน และตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน มีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาค เพิ่มประสิทธิภาพของระบบ โลจิสติกส์ เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายน้ำมันของประเทศและภูมิภาคให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปด้วยกัน”นางสาวสมจิณณ์ พิลึก กล่าว
ด้านนายณัฐพงษ์ รัตนสุวรรณทวี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็นเอฟซีที จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในโครงการคลังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และบริการระบบขนส่งน้ำมันทางท่อ โดยโครงการดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนเพื่อขยายขอบเขตธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้าเหลวของกลุ่มบริษัทเอ็นเอฟซี เพื่อสนับสนุนรายได้ให้แก่ธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัทฯ ตลอดจนเพิ่มความหลากหลายและกระจายความเสี่ยงของการลงทุน บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าว จะช่วยเสริมศักยภาพและส่งผลให้ธุรกิจในภูมิภาคเติบโตมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ โครงการฯ ประกอบด้วย คลังน้ำมัน และถังจัดเก็บน้ำมันแก๊สโซลีนพื้นฐาน จำนวน 6 ถัง ขนาดความจุรวม 90 ล้านลิตร เพื่อใช้รองรับน้ำมันที่ขนถ่ายมาจากเรือขนน้ำมันนำเข้าขนาดกลาง (medium range) ก่อนที่จะขนสูบผ่าน 2 ทาง คือ ผ่านท่อขนส่งน้ำมันเข้าสู่ระบบท่อส่งน้ำมันของผู้ประกอบการขนส่งน้ำมันทางท่อ และเข้าสู่เรือขนส่งน้ำมัน.
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36552 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.อนุชา มอบนโยบาย พศ. แนะข้าราชการปลูกผังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีความตระหนักรักในสถาบันหลักของชาติ | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
รมต.อนุชา มอบนโยบาย พศ. แนะข้าราชการปลูกผังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีความตระหนักรักในสถาบันหลักของชาติ
รมต.อนุชา มอบนโยบาย พศ. แนะข้าราชการปลูกผังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีความตระหนักรักในสถาบันหลักของชาติ
วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) เวลา 14.00 น. ณ หอประชุมพุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายแก่ข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีนางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อสถาบันหลักของชาติ คือ สถาบันศาสนา และพระพุทธศาสนาก็เป็นศาสนาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือ เป็นรากฐานทางจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการใช้ชีวิตของคนในสังคม พร้อมกล่าวมอบนโยบายแก่ข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 3 ข้อ ประกอบด้วย
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติต้องสามารถสร้างความตระหนักรู้ เผยแพร่ และปลูกผังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นจริง และมีความตระหนักรักในสถาบันหลักของชาติ (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์)
2) การทำนุบำรุงศาสนา เป็นภารกิจที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติต้องสร้างความเข้มแข็ง โดยส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง ดีงาม ให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงแก่นแท้ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
3) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรต้องมุ่งสู่ความเป็นหน่วยงานดิจิทัลที่ตรวจสอบได้ มีระบบจัดเก็บข้อมูลภาครัฐ ลดขั้นตอน ความยุ่งยาก เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้รวดเร็ว
นอกจากนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คาดหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก โดยย้ำให้ข้าราชการ ร่วมดูแลรักษาศาสนสมบัติต่างๆ ส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนาโดยนำความทันสมัยของการส่งต่อข้อมูลมาช่วยให้ประชาชนทุกระดับเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
.......................
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36570 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมธนารักษ์เดินหน้าเปิดจองสิทธิโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ - ธนารักษ์” ราคาเริ่มต้นห้องละ 1.82 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 9 – 30 พฤศจิกายน 2563 | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
กรมธนารักษ์เดินหน้าเปิดจองสิทธิโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ - ธนารักษ์” ราคาเริ่มต้นห้องละ 1.82 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 9 – 30 พฤศจิกายน 2563
กรมธนารักษ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ธอส. ธ.ออมสิน ธ.กรุงไทย และ ธพส. ดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ -ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ สป.623 (บางส่วน) ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) ณ กรมธนารักษ์ นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมธนารักษ์ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU : Memorandum of Understanding) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน บมจ. ธนาคารกรุงไทย และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) เพื่อดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ -ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ สป.623 (บางส่วน) ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 20-0-00 ไร่ ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ของประเทศไทยและตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ราชพัสดุที่มีศักยภาพ
นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ ได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการเปิดจองสิทธิโครงการฯ ระหว่างวันที่ 9 – 30 พฤศจิกายน 2563 โดยมีราคาห้องพักเริ่มต้น 1.82 – 2.99 ล้านบาท (ราคารวมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า) โดยสามารถจองได้ 2 ช่องทางคือ
(1) จองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยให้ผู้สูงอายุหรือตัวแทนแสดงความประสงค์และจัดส่งเอกสารผ่านเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ https://www.treasury.go.th หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สมุทรปราการhttps://samutprakan.treasury.go.th และเว็บไซต์เครือข่ายพันธมิตรโครงการฯ ได้แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://med.mahidol.ac.th และ ธพส https://www.dad.co.th
(2) จองผ่านเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (Walk in) ได้แก่
2.1 กรมธนารักษ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กทม.
2.2 บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. (เฉพาะวันและเวลาราชการ 08.30 น. – 16.30 น. เท่านั้น เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้จัดส่งเอกสารผ่านระบบให้แก่ผู้สูงอายุแต่ละราย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 58 (ห้าสิบแปด) ปี ณ วันที่จองสิทธิ และหรือมีอายุตั้งแต่ 60 (หกสิบ) ปี ขึ้นไป ณ วันที่เข้าพักอาศัยจริง
2. มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือพึ่งพาตัวเองได้ดี ไม่มีโรคหรืออาการของโรคอันเป็นอุปสรรคในการเข้าพักอาศัยภายในโครงการฯ ตามความเห็นของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. สามารถยอมรับเงื่อนไขค่าใช้จ่ายตามที่โครงการฯ กำหนด หรือยอมรับเงื่อนไขการขอสินเชื่อจากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ
สำหรับสิทธิประโยชน์และรายละเอียดโครงการฯ ผู้สูงอายุหรือบุตรหลานที่สนใจรายละเอียดโครงการฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายตรงโครงการฯ เบอร์โทรศัพท์ 0 2142 2276, 0 2142 2283
กรมธนารักษ์หวังเป็นเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการดังกล่าวข้างต้นจะสนองตอบนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีที่พักอาศัยบนที่ดินราชพัสดุ พร้อมอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ มีระบบการดูแลสุขภาพและสวัสดิการอื่นๆ แบบครบวงจรบนที่ดินราชพัสดุ อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวทิ้งท้าย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36557 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK ขยายเวลาการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
EXIM BANK ขยายเวลาการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563
EXIM BANK ขยายเวลาการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.exim.go.th
EXIM BANK ขยายเวลาการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563
EXIM BANK ขยายเวลาการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.exim.go.th
ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) มีมติประกาศขยายเวลาการรับสมัครกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้สมัครต้องเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 58 ปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นใบสมัคร สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) รับรอง ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส.13/2562 โดยมีคุณสมบัติเฉพาะ ประกอบด้วย มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคาร การตลาด และเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างดี มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการองค์กร เคยทำงานในสถาบันการเงินไม่น้อยกว่า 10 ปีและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้บริหารสูงสุดขององค์กรอย่างน้อย 3 ปี โดยองค์กรดังกล่าวต้องมีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปีในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานด้านสินเชื่อ สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ดีมาก มีภาวะความเป็นผู้นำสูง มีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร มีความสามารถในการตัดสินสั่งการ การแก้ไขปัญหา เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล วาระดำรงตำแหน่งตามสัญญาจ้างคราวละไม่เกิน 4 ปี หรือเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ผู้สนใจติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล EXIM BANK สำนักงานใหญ่ ชั้น 15 อาคารเอ็กซิม หรือดาวน์โหลดใบสมัครทางเว็บไซต์ www.exim.go.th และส่งใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ตั้งแต่วันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2563 ในวันและเวลาทำการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2271 3700 ต่อ 2003
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4120-4
EXIM Thailand Extends Application Deadline for the Position of “President” to November 16, 2020
EXIM Thailand has extended the recruitment of candidates to be nominated for the position of EXIM Thailand President to November 16, 2020. For further information, visit EXIM Thailand website www.exim.go.th.
The President Nomination Committee of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand) announced to extend the deadline for candidates to apply to be EXIM Thailand President. The application period is from November 5-16, 2020. The applicant must be a Thai national aged not more than 58 on the application date. He/She must possess at least a bachelor’s degree from an educational institution accredited by Office of the Civil Service Commission, and have no prohibited characteristics according to the Standard Qualifications of State Enterprise Directors and Officials Act, B.E. 2518 (1975) and subsequent amendments and the Notification of the Bank of Thailand no. SorKorSor. 13/2562. Specific qualifications required are dependable knowledge, competence and experience in banking and finance, marketing and international economy, particularly with at least 10-year work experience with a financial institution and organization management with at least 3 years in an executive position of not lower than one rank below the top executive of the organization which has asset turnover worth at least 50,000 million baht per year. He/She must be keen in credit operation and management, have very good command of Thai and English, and possess vision and leadership skill in people management and development, as well as good judgment in decision making and problem solving. He/She must have displayed a personality trait that can be a good example of an executive with adherence to the code of conduct and ethics under corporate governance principles. EXIM Thailand President’s term of office is 4 years and not beyond the age of 60.
Those interested can obtain an application form at EXIM Thailand’s Human Resources Department, Head Office, 15th floor, EXIM Building, or download the application form from EXIM Thailand website www.exim.go.th. Please submit the application form together with required documents in the period of November 5-16, 2020 during office hours. For further information, please call 0 2271 3700 ext. 2003.
For further information, please contact Sustainable Development and Corporate Communication Department
Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 4120-4
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36559 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย – เวียดนาม กระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี พร้อมเน้นย้ำความร่วมมือในกรอบอาเซียน | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
ไทย – เวียดนาม กระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี พร้อมเน้นย้ำความร่วมมือในกรอบอาเซียน
ไทย – เวียดนาม กระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี พร้อมเน้นย้ำความร่วมมือในกรอบอาเซียน
วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) เวลา 11.00 น. ณ ห้องโดมทอง ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือทางโทรศัพท์กับนายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อหารือถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือในกรอบอาเซียน ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์อุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคกลางของเวียดนาม โดยไทยในฐานะมิตรประเทศของเวียดนามพร้อมให้การสนับสนุนเวียดนามในการฟื้นฟูความเสียหาย โอกาสนี้ ไทยและเวียดนามได้หารือถึงความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยยืนยันความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง (Strengthened Strategic Partnership) ระหว่างสองประเทศ พร้อมพิจารณาจัดการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ ไทย – เวียดนาม (Joint Cabinet Retreat: JCR) ครั้งที่ 4 ในปีหน้า ภายหลังจากที่สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้คลี่คลายแล้ว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 45 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
นายกรัฐมนตรีชื่นชมที่เวียดนามคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ระลอกสอง จนไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศต่อเนื่องกันเป็นเวลากว่าสองเดือน และกล่าวขอบคุณเวียดนามที่สนับสนุนการเคลื่อนย้ายคนไทยกลับประเทศ รวมทั้งยินดีที่ได้ทราบว่าภาคเอกชนไทยที่ลงทุนในเวียดนามจะทยอยมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 8 ล้านชิ้นแก่เวียดนามภายในเดือนธันวาคม 2563
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามเห็นพ้องที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับไทย ในการจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 พร้อมกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ กระชับความร่วมมือในธุรกิจ e-commerce และเชิญชวนภาคเอกชนของทั้งสองประเทศมาลงทุนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังยินดีที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการประชุม Thailand – Vietnam Energy Forum ครั้งที่ 2 เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานในรายละเอียดต่อไป
ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือในภูมิภาคด้านอื่น ๆ อาทิ การร่วมมือกันบริหารจัดการแม่น้ำโขงผ่านกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง การส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดและผลกระทบของ โควิด-19 อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ไทยยินดีที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องในสัปดาห์หน้า ซึ่งเวียดนามเป็นเจ้าภาพผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยผู้นำทั้งสองฝ่ายหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การจัดตั้งคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์อาเซียนสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข การทบทวนกึ่งวาระของแผนงานประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 การประกาศจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 และการตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันเพื่อประชาชนในภูมิภาค พร้อมกันนี้ ทั้งสองฝ่ายยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีพิธีลง RCEP ในการประชุมฯ ครั้งนี้ด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36562 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ จับมือ SCGP ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนมไทย-เดนมาร์ค | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
กระทรวงเกษตรฯ จับมือ SCGP ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนมไทย-เดนมาร์ค
กระทรวงเกษตรฯ จับมือ SCGP ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนมไทย-เดนมาร์ค พร้อมเปิดตัวใช้หลอดกระดาษ ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลกนำร่องในผลิตภัณฑ์นม “ไทย-เดนมาร์ค แลคโตสฟรี" คาดออกสู่ตลาดต้นปี 2564 ช่วยลดการใช้หลอดพลาสติก 7,00
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนมไทย-เดนมาร์ค ระหว่างองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กับ บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด และ บริษัท กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ณ ห้องประชุม Hall 1 อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 10 บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ถนนปูนซีเมนต์ไทย บางซื่อ กรุงเทพฯ ว่าการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เพื่อพัฒนาการใช้หลอดกระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค ให้มีประสิทธิภาพ สามารถลดการใช้พลาสติกในอุตสาหกรรมนม และเป็นผู้นำการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแผน Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของประเทศ พ.ศ.2561-2573 พร้อมเปิดตัวใช้หลอดกระดาษ ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก โดยนำร่องใช้กับผลิตภัณฑ์นม “ไทย-เดนมาร์ค แลคโตสฟรี" นับเป็นแบรนด์แรกที่เลือกใช้หลอดกระดาษจากผู้ผลิตภายในประเทศโดยคาดการณ์ว่าพร้อมออกสู่ตลาดในไตรมาสแรก ของปี พ.ศ. 2564 จะช่วยลดการใช้หลอดพลาสติก 7,000,000 หลอด ลดปริมาณขยะพลาสติก 2.5 ตันต่อปี โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมนมในประเทศต่อไป
รมช.มนัญญา กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจโภชนาการที่ดี และสนใจดูแลสุขภาพ ทำให้การบริโภคนมได้รับความนิยมมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลยังมีการรณรงค์ให้ผู้บริโภคดื่มนม จาก 18 ลิตร ต่อคน ต่อปี เพิ่มเป็น 25 ลิตร ต่อคน ต่อปี ภายในปี พ.ศ.2569 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ได้ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อม และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และจะร่วมมือกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาการใช้หลอดกระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค แทนการใช้หลอดพลาสติก เป็นการส่งเสริมและตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก การใช้ผลิตภัณฑ์จากกระดาษที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติมาใช้ทดแทน เป็นต้น
ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย รวมถึงเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค ได้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ใน SCGP พัฒนาหลอดกระดาษรวมถึงบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เพื่อลดปริมาณขยะภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาหลอดกระดาษและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมและยกระดับสังคมไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ใน SCGP ได้พัฒนาหลอดกระดาษเฟสท์ โดยตัวหลอดผลิตจากกระดาษสำหรับสัมผัสอาหาร ภายใต้มาตรฐานกระบวนการผลิตระดับสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP-EU Standard สามารถย่อยสลายได้ภายใน 90 วัน ใช้นวัตกรรมการผลิตที่ทำให้หลอดโค้งงอมีปลายตัดสะดวกสำหรับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย มีความแข็งแรงสามารถเจาะกล่องนมได้และใช้ดื่มนมได้จนหมดกล่อง
กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว
กองเกษตรสารนิเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร 02 281 0859 ต่อ 137
แฟกส์ 02 2822871
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36560 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดวธ.ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
ปลัดวธ.ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
ปลัดวธ.ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีพระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา นางกฤตษญา ตระบันพฤกษ์ วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ณ วัดชะเมา จังหวัดนครศรีธรรมราช
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36580 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม Paris Peace Forum เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม Paris Peace Forum เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19
นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม Paris Peace Forum เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ของไทยในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุม Paris Peace Forum เป็นโอกาสสำคัญที่ผู้นำประเทศต่างๆ องค์การระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคม จะร่วมระดมสมอง และถอดบทเรียน เพื่อหาทางออกที่เข้มแข็งและยั่งยืน ในประเด็นสำคัญของโลกหลังโควิด-19
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสำเร็จของไทยในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมของไทยอยู่ในหลักพัน และมีผู้เสียชีวิตต่ำกว่า 60 คน ไทยยินดีแบ่งปันบทเรียนจากความสำเร็จของไทยในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 กับทุกภาคส่วน ดังนี้ (1) การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญในการรับมือนี้ และการสร้างฐานชีวิตวิถีใหม่ให้สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 (2) ระบบการแพทย์ การสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้มแข็ง รวมทั้งการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ เพื่อให้บริการกับประชาชนอย่างครอบคลุม
สำหรับการประชุม Paris Peace Forum ครั้งที่ 3 จะจัดวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างเวลา 14.00-15.30 น. (เวลาท้องถิ่นกรุงปารีส ซึ่งตรงกับเวลา 20.00-21.30 น. ของประเทศไทย) มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขวิกฤติการณ์โควิด-19 โดยผู้ที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม ได้ที่ https://parispeaceforum.org/become-a/
อนึ่ง Paris Peace Forum เป็นองค์กรอิสระ ริเริ่มโดยนายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเสริมสร้างสันติภาพ และระบอบพหุภาคีในโลก โดยนายกรัฐมนตรีเคยร่วมพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum ครั้งที่ 1 รวมกับผู้นำอีก 64 ประเทศ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36573 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดวธ. เป็นประธานพิธีเปิดและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะความรู้ ความเข้าใจระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการและอำนวยการงานพิธี | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
ปลัดวธ. เป็นประธานพิธีเปิดและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะความรู้ ความเข้าใจระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการและอำนวยการงานพิธี
ปลัดวธ. เป็นประธานพิธีเปิดและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะความรู้ ความเข้าใจระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการและอำนวยการงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน
วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะความรู้ ความเข้าใจระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการและอำนวยการงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน โดยมี นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายวินัย วรวัตร์ ผู้อำนวยการกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน นายชวลิต ศิริภิรมย์ ที่ปรึกษากรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วม ณ โรงแรมเคยูโฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36577 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์ จนถึง 5 ธันวา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.9 เพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศ | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
รัฐบาลเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์ จนถึง 5 ธันวา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.9 เพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศ
รัฐบาลเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์ จนถึง 5 ธันวา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.9 เพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศ
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผย จากสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติและโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง ผู้คนมีความขัดแย้งทางความคิด เกิดความแตกแยกในสังคม โดยประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนา จึงเห็นควรให้มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปเป็นกรอบแนวคิดในการดำรงชีวิตอย่างมีสติ เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี ซึ่งในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นวันชาติ รวมทั้งเป็นวันพ่อแห่งชาติ ถือเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และเพื่อความเป็นสิริมงคลของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สนองแนวทางตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม ให้ประสานไปยังจังหวัดต่าง ๆ เตรียมจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม โดยพร้อมเพรียงกัน โดยจะเริ่มวันเสาร์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ซี่งในพื้นที่ส่วนกลาง กำหนดจัด ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาคให้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดประสานกับเจ้าคณะจังหวัด และปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดในการกำหนดวัดที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดและอำเภอเพื่อจัดพิธีตามสมควร จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกพื้นที่ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน
..................................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36558 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ จัดงาน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ครบรอบ 65 ปี ภายใต้แนวคิด “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ ฝนหลวง” | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
กระทรวงเกษตรฯ จัดงาน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ครบรอบ 65 ปี ภายใต้แนวคิด “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ ฝนหลวง”
กระทรวงเกษตรฯ จัดงาน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ครบรอบ 65 ปี ภายใต้แนวคิด “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์
ฝนหลวง” ได้กำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 115
ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดงานวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 ครบปีที่ 65 แห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน ภายใต้แนวคิด “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” ได้กำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน 2563 ณ ลานอเนกประสงค์
อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เพื่อแสดงความจงรักภักดี ประกาศก้องถึงพระเกียรติคุณแห่งองค์พระบิดาแห่งฝนหลวง และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ของพระองค์ท่านร่วมกัน ภายในงานมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ภายใต้แนวคิด “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” นิทรรศการผลงานภาพจิตรกรรม “ฝนหลวง สืบสาน รักษา
ต่อยอด” นิทรรศการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการ 20 หน่วยงาน ในปีนี้
มีไฮไลท์ของงาน คือการนำเสนอภาพยนตร์ในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง นอกจากนี้ยังมีร้านค้าที่มาจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกว่า 60 ร้านค้า เป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ซึ่งมีทั้งผัก ผลไม้ อาหารสด และอาหารแปรรูปทางการเกษตร มาจำหน่ายให้ประชาชนในราคาประหยัด รวมทั้งยังมีกิจกรรมการสาธิตเสริมสร้างอาชีพจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ อาทิ สาธิตการทำอาหารแปรรูปจากปลานิล การทำสาวไหม การสอนทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายในครัวเรือน การประดิษฐ์พัดเดคูพาจ และการแสดงดนตรีคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง
ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าวต่อไปว่า การเตรียมความพร้อมในการจัดงาน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2563 ซึ่งในปีนี้ครบปีที่ 65 แห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้ประชาชน เยาวชน ได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงก่อให้เกิดเทคโนโลยีฝนหลวง
ด้านนายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดงานวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 ในวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป จะมีพิธีเปิดนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” ที่แสดงถึงสิ่งสำคัญของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ที่เกิดขึ้นใน
รัชสมัยรัชกาลที่ 9 มีการมอบรางวัลอาสาสมัครฝนหลวงดีเด่นระดับประเทศและระดับภูมิภาค มอบรางวัลโครงการประกวดภาพจิตรกรรม “ฝนหลวง สืบสาน รักษา ต่อยอด” พร้อมการจัดแสดงผลงานที่ได้รับรางวัล มีการถ่ายทอดเรื่องราวฝนหลวงในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง การจัดนิทรรศการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานร่วมบูรณาการ อาทิ กองทัพอากาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และในวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายแด่องค์พระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ โดยได้รับเกียรติจาก นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธานในพิธี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36561 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-WHO เชิญไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศ แชร์ประสบการณ์ต้านโควิด 19 | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
WHO เชิญไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศ แชร์ประสบการณ์ต้านโควิด 19
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลก ยกไทย เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่มีประสบการณ์ในการทบทวนระหว่างปฏิบัติงานด้านโรคโควิด 19 และร่วมแถลงข่าวนำเสนอเป็นตัวอย่างผ่านระบบประชุมทางไกล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลก ยกไทย เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่มีประสบการณ์ในการทบทวนระหว่างปฏิบัติงานด้านโรคโควิด 19 และร่วมแถลงข่าวนำเสนอเป็นตัวอย่างผ่านระบบประชุมทางไกล
วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) ที่ห้องประชุมองค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย นายแพทย์ริชาร์ด บราวน์ ผู้จัดการโครงการด้านภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินและการดื้อยาต้านจุลชีพ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดี
กรมควบคุมโรค และนายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุขแถลงข่าวผ่านระบบประชุมทางไกล ว่าด้วยการทบทวนระหว่างการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โรคโควิด 19
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคในสถานการณ์โควิด 19 และองค์การอนามัยโลกได้คัดเลือกให้นำประสบการณ์มาแถลงข่าว ร่วมกับอีก 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และอุซเบกิสถาน เนื่องจากประเทศไทยได้รับความชื่นชมจากนานาชาติว่า สามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ได้เป็นอย่างดีจากการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อาทิ การค้นหาผู้ป่วยอย่าง ครอบคลุมการติดตามผู้สัมผัสและกักกันโรคอย่างเข้มข้น ที่สำคัญคือได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาคประชาสังคมในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบผู้ติดเชื้อในประเทศน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าอยู่ในสถานที่กักกันและเข้าสู่ระบบการรักษา
นายอนุทินกล่าวต่อว่า ประเทศไทยได้ดำเนินการทบทวนระหว่างปฏิบัติงาน (IAR) เพื่อถอดบทเรียนจากการตอบสนองต่อสถานการณ์โรคโควิด 19 โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา และนักวิชาการ เป็นผู้ประเมินตามเครื่องมือที่องค์การอนามัยโลกออกแบบ ระหว่างวันที่ 20-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งผู้ที่อยู่หน้างานและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ พบว่า ปัจจัยที่เอื้อให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 คือการตัดสินใจเด็ดขาดของผู้นำบนพื้นฐานทางวิชาการการมีระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง และความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในการยับยั้งวงจรของการแพร่ระบาดในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รัฐบาลควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 ได้
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีความท้าทายในการพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ให้มีความทันสมัยใช้ประโยชน์ได้ในอนาคตและสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ รวมถึงขยายระบบการเฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วยของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินอีกด้วย
**************************************6 พฤศจิกายน 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36575 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เผยลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน ติดตามต่ออีก 4 วัน นำร่องประเทศกลุ่มเสี่ยงต่ำ | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
สธ. เผยลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน ติดตามต่ออีก 4 วัน นำร่องประเทศกลุ่มเสี่ยงต่ำ
กระทรวงสาธารณสุข เผยการลดวันกักตัว 10 วัน และ 14 วันมีความเสี่ยงไม่ต่างกัน จะเริ่มนำร่องในกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำหรือใกล้เคียงประเทศไทย ผู้เดินทางต้องตรวจโควิดก่อนเดินทาง ผ่านการคัดกรองเข้มทั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และเข้าสู่การกักกันโรค ต
กระทรวงสาธารณสุข เผยการลดวันกักตัว 10 วัน และ 14 วันมีความเสี่ยงไม่ต่างกัน จะเริ่มนำร่องในกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำหรือใกล้เคียงประเทศไทย ผู้เดินทางต้องตรวจโควิดก่อนเดินทาง ผ่านการคัดกรองเข้มทั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และเข้าสู่การกักกันโรค ตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง หลังออกจากสถานที่กักกันมีการติดตามต่อเนื่องอีก 4 วัน โดยใช้สายรัดข้อมือหรือแอปพลิเคชัน เจ้าหน้าที่ติดตามทุกวัน หากมีอาการหรือติดเชื้อจะนำส่งรักษาพยาบาล ทั้งหมดผู้เดินทางรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ไม่เป็นภาระของภาครัฐ
บ่ายวันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวเรื่องข้อเสนอการลดวันกักตัวผู้เดินทางจากประเทศที่มีความเสี่ยงโรคโควิด 19 ต่ำหรือใกล้เคียงกับประเทศไทย ว่า จาก 14 วันเหลือ 10 วัน อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ โดยผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการด้านวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 และที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 โดยมีข้อมูลประกอบการพิจารณาคือ ผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดตรวจพบเชื้อภายใน 10 วัน การพบเชื้อหลัง 10 วัน ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ มีโอกาสแพร่เชื้อต่ำ เช่นกรณีดีเจร้านอาหาร หรือหญิงชาวฝรั่งเศส
ซึ่งไม่พบผู้สัมผัสติดเชื้อเพิ่ม ขณะที่ข้อมูลล่าสุดพบว่า ระยะการกักตัว 10 วัน และ 14 วัน มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน และเมื่อออกจากที่กักกันโรค จะใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด ได้แก่ การสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การจัดระบบระบายอากาศ และมีระบบติดตามตัวทุกคน เพื่อรายงานอาการป่วย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า การลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน จะเริ่มจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยประเมินความเสี่ยงของประเทศต้นทางเปรียบเทียบกับประเทศไทย (Relative Risk Country) ซึ่งประเทศที่ความเสี่ยงใกล้เคียงกับไทย เช่น จีน มาเก๊า อัตราการติดเชื้อ 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ประเทศที่ความเสี่ยงน้อยกว่าประเทศไทย เช่น ไต้หวัน เวียดนาม มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่า 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ถ้ามีต่างชาติจากกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำเข้ามาในไทย 1 ล้านคน การตรวจ RT-PCR ก่อนการเดินทางจะช่วยลดความเสี่ยงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกักตัว 14 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 0.3 คน ขณะที่การกักตัว 10 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 1.5 คน และจากการเก็บข้อมูลผลการตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ในกลุ่มผู้เดินทางจากประเทศซูดานใต้ จำนวน 77 คน พบผู้ติดเชื้อ 17 คน โดยทั้งหมดตรวจพบในช่วงวันที่ 0-9 ของการกักตัว และพบการติดเชื้อภายใน 7 วันแรกของการกักตัวถึง 15 ราย ดังนั้น การกักกันโรค 10 วัน จึงมีความเพียงพอ
นายแพทย์โอภาสกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เดินทางจากประเทศเสี่ยงต่ำ จะต้องยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทพิเศษและการพำนักในประเทศไทย (Special Tourist Visa : STV2) โดยต้องยื่นเอกสารขอรับวีซ่าที่สถานทูตไทยในประเทศต้นทาง ยื่นเอกสารยืนยันก่อนการเดินทาง ได้แก่ ใบรับรองตรวจไม่พบเชื้อโควิดก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง ใบ Fit to Fly ใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทย ประกันวงเงิน 1 แสนเหรียญสหรัฐ และการจองที่พักโรงแรมที่เป็นสถานกักกันที่รัฐกำหนด (Alternative Stare Quarantine : ASQ)
เมื่อถึงประเทศไทยจะเข้าด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ดำเนินการตรวจวัดอุณหภูมิ หากพบว่ามีไข้หรืออาการตามนิยามผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จะแยกกักเพื่อสอบสวนโรค นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อ หากไม่มีไข้หลังผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง จะส่งเข้ารับการกักกันใน ASQ ทำการตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง และตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน 2 ครั้ง คือ วันแรกที่เข้าโรงแรม วันที่ 5 และ 9 ของการกักตัว หากผลเป็นบวกจะนำส่งรักษากับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา หากผลเป็นลบในวันที่ 10 จะประเมินและตรวจเอกสารก่อนอนุญาตให้ออกจากสถานที่กักกันในวันที่ 11หลังออกจากสถานกักกันโรคจะต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน ใช้ติดตามตัว และชี้แจงให้นักเดินทางทราบถึงการติดตามอาการต่ออีก 4 วัน โดยจัดทีมสนับสนุนติดตามผู้เดินทางอย่างใกล้ชิด เน้นการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง โดยผู้เดินทางรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการกักตัวและรักษาพยาบาล คาดว่าจะเริ่มนำร่องใน 1 เดือนข้างหน้า ภายหลังจากที่ ศบค.ให้ความเห็นชอบ
************************************** 6 พฤศจิกายน 2563
****************************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36571 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. ประกาศรวมพลังสร้าง 3 สิ่งที่ดีงามสู่เศรษฐกิจฐานรากทดแทนคุณแผ่นดิน | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
ธ.ก.ส. ประกาศรวมพลังสร้าง 3 สิ่งที่ดีงามสู่เศรษฐกิจฐานรากทดแทนคุณแผ่นดิน
ก้าวสู่ที่ปี 55 ธ.ก.ส. ประกาศรวมพลังพนักงานทั่วประเทศยืนหยัดเคียงข้างเกษตรกร ก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนที่ดีและความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน
ก้าวสู่ที่ปี 55 ธ.ก.ส. ประกาศรวมพลังพนักงานทั่วประเทศยืนหยัดเคียงข้างเกษตรกร ก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนที่ดีและความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน สร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจ สังคมของประเทศให้เติบโตและก้าวผ่านช่วงที่ยากลำบากมาได้อย่างยาวนาน เล็งดึงคนรุ่นใหม่กลับไปร่วมพัฒนา กอดบ้านเกิด กอดประเทศ ด้วยใจรัก พร้อมอัดฉีดเม็ดเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 220,000 ล้านบาท กระตุ้นการลงทุนภาคชนบท ควบคู่การประสานเครือข่ายภาครัฐเอกชน เติมความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการตลาด สร้างความมั่นใจในการประกอบอาชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ
นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 54 ปี และการก้าวสู่ปีที่ 55 ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาภาคเกษตรและชนบทของไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” และพร้อมใจรวมพลังพนักงานทั่วประเทศกว่า 25,000 คน ยืนหยัดเคียงข้างเกษตรกรในการก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ภัยธรรมชาติ เพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายในการสร้าง “Better Life Better Community Better Pride” คุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนที่ดี และความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน สร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศให้เติบโตมาอย่างยาวนาน แม้ในช่วงที่ยากลำบากภาคเกษตรของไทยก็ได้ช่วยโอบอุ้มให้ก้าวผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มาได้ทุกครั้ง และเชื่อมั่นว่าด้วยพลังมุ่งมั่นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เราจะก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันเช่นเคย
ในการดำเนินงาน ธ.ก.ส. ตระหนักถึงคุณค่าและศักยภาพของคนรุ่นใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ที่ทำงานในเมือง นิสิตนักศึกษาจบใหม่ ทายาทเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการและการตลาดสมัยใหม่ หันกลับมาช่วยพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยจับมือหรือทดแทนเกษตรกรในรุ่นพ่อแม่ที่มีอายุมาก เพื่อให้ภาคเกษตรเติบโตและก้าวทันความเปลี่ยนแปลง เพื่อประโยชน์ของทุก ๆ คนและประเทศชาติ ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้จัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ผ่านโครงการประกวด “New Gen Hug บ้านเกิด เพื่อสื่อสารให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาพัฒนา กลับมากอดครอบครัว กอดประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน โดย ธ.ก.ส. พร้อม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็ม ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่านโครงการสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ และสินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ วงเงิน 170,000 ล้านบาท โดยปลอดดอกเบี้ยในช่วง 3 เดือนแรก และในช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR ร้อยละ 6.50 ต่อปี) และสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย วงเงิน 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี หรือล้านละ 100 บาท เป็นต้น นอกจากนี้จะร่วมประสานเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ไม่ว่าจะเป็น กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ สถาบันการศึกษา สำนักงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรด เป็นต้น ในการช่วยเติมความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการทางการผลิต การตลาด รวมถึงงบประมาณที่จะช่วยรองรับพื้นฐานการผลิต สร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ลงทุนต่อไป
นายสุรชัย กล่าวต่อไปว่า ในช่วงสถานการณ์ภัยแล้งและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รวมถึงอุทกภัยที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้มอบนโยบายให้สาขาจัดทีมเข้าไปดูแลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น โดยการจัดถุงยังชีพ การมอบเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต บ้านเรือนและเครื่องมือทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งสำรวจความเสียหายเพื่อรายงานส่วนกลางและรัฐบาลในการกำหนดแนวทางการช่วยเหลืออื่น ๆ ต่อไป โดย ธ.ก.ส.ได้ดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ไปแล้ว ดังนี้
1. มาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน เพื่อลดภาระและผ่อนคลายความกังวลในช่วงวิกฤต ให้สามารถดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง โดยการปรับปรุงโครงสร้างการชำระหนี้ (Loan Review) ให้สอดคล้องกับที่มาของรายได้ และการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งระบบ 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในเดือนมิถุนายน 2564 โดยมีเกษตรกรลูกค้า สหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับประโยชน์ ณ 22 ตุลาคม 2563 จำนวนกว่า 3.25 ล้านราย วงเงินพักชำระหนี้กว่า 1.45 ล้านล้านบาท
2. มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ลดปัญหาการว่างงาน กระตุ้นกลไกการซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SME โดยใช้ Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งมีเกษตรกร ผู้ประกอบและวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ที่ได้รับประโยชน์ ณ 22 ตุลาคม 2563 จำนวน 5,974 ราย วงเงินกู้กว่า 5,085.58 ล้านบาท โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและครอบครัวในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินภายในครัวเรือน วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน กำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน นับจากวันกู้ และปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก มีเกษตรกรและครอบครัวให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านระบบ LINE Official BAAC Family ณ 31 ตุลาคม 2563 จำนวน 2,520,680 ราย โดย ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อไปแล้วกว่า 8.5 แสนราย วงเงินกว่า 8,484.83 ล้านบาท
3. มาตรการช่วยเหลือของรัฐผ่านระบบ ธ.ก.ส. ได้แก่ การจ่ายเงินชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563) ซึ่งในการดำเนินงาน นอกจากจ่ายเงินผ่านระบบ ธ.ก.ส. ไปยังผู้ใช้สิทธิ์ที่ลงทะเบียนในโครงการกว่า 2.7 ล้านราย เป็นเงินกว่า 43,015 ล้านบาทแล้ว ธ.ก.ส. ยังร่วมจัดตั้งทีมผู้พิทักษ์สิทธิ์ ทั่วประเทศกว่า 6,000 ราย ทำหน้าที่สอบทานการประกอบอาชีพของผู้ขอทบทวนสิทธิ์เพิ่มเติมอีกจำนวน 212,987 ราย โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณ 150,000 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้นำมาตรวจสอบสถานะผู้ที่เสียชีวิตและความซ้ำซ้อนกับการให้ความช่วยเหลือ อื่น ๆ ของรัฐ และทยอยโอนเงินผ่าน ธ.ก.ส. ทุกสาขากว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือจำนวนกว่า 7.56 ล้านราย เป็นเงิน 113,304 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่เข้าไปช่วยเหลือประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ เช่น การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ เงินเดือน อสม. เงินประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 พืชหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
นายสุรชัย กล่าวอีกว่า ในช่วงวิกฤตถือเป็นโอกาสของ ธ.ก.ส. และเกษตรกรลูกค้าในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งตรงไปบนมือถือเกษตรกร ช่วยสร้างความสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น การลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์กู้เงินฉุกเฉิน การแจ้งข้อมูลเงินเข้า - เงินออกผ่าน BAAC Connect โดยไม่มีค่าใช้จ่าย การแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จาก ธ.ก.ส. ในระบบ LINE Official : BAAC Family การเช็คสิทธิ์โครงการรัฐบาลผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com การสื่อสารผ่าน Facebook BAAC Thailand เป็นต้น และในขณะนี้ ธ.ก.ส. ได้พัฒนาระบบการอนุมัติสินเชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างบริการที่ทันสมัย รวดเร็ว แม่นยำ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคใหม่
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36564 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิดลงทะเบียนผู้มีสิทธิ รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ ปี 64 แล้ว สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป | วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
เปิดลงทะเบียนผู้มีสิทธิ รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ ปี 64 แล้ว สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เปิดลงทะเบียนผู้มีสิทธิ รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ ปี 64 แล้ว สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
วันที่ 6 พ.ย.63 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย รัฐบาลโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เปิดรับลงทะเบียนผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2563 และเดือนมกราคม – กันยายน 2564 สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว และผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2565 โดยนับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2565 ต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2505 เนื่องจากผู้สูงอายุที่เกิดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2505 – 1 ตุลาคม 2505 เป็นผู้สูงอายุที่จะมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ คือเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นปีงบประมาณ 2566 ดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่เกิดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2505 – 1 ตุลาคม 2505 สามารถลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
เอกสารหลักฐานประกอบแบบคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย 2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 3) สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรณีขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ 1) รับเงินสดด้วยตนเอง 2) รับเงินสดโดยบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ 3) โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิ 4) โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ ทั้งนี้ สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้
“ สำหรับการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 เห็นชอบจัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุ 60 - 69 ปี จะได้รับ 600 บาท / อายุ 70 - 79 ปี จะได้รับ 700 บาท /อายุ 80 - 89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท ทั้งนี้ เป็นการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณโครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ให้กับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย รวม 66,016,930,800 บาท เพื่อจ่ายเป็นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 8,296,573 คน โดยไม่รวมเทศบาลนครและเทศบาลเมือง จำนวน 214 แห่ง ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณตรง” โฆษกรัฐบาลกล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36553 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ รุก! ร่วมหารือ ม.เกษตร ผลักดันอุตสาหกรรมพืชกัญชง | วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
ก.อุตฯ รุก! ร่วมหารือ ม.เกษตร ผลักดันอุตสาหกรรมพืชกัญชง
นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือผลักดันอุตสาหกรรมพืชกัญชงกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือผลักดันอุตสาหกรรมพืชกัญชงกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ แนวทางดำเนินงาน และแผนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การเพาะปลูก โดยพัฒนาสายพันธุ์ของพืชกัญชงให้มีลักษณะลำต้นที่เตี้ยและอายุที่สั้นลง ห้องปฏิบัติการในการทดลอง ทดสอบมาตรฐาน และนักวิจัยกว่า 300 คน ที่พร้อมผลักดันพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งแผนการปรับปรุงและขอใบอนุญาตครอบครอง การจัดทำมาตรฐาน KU Standard ก่อนยกร่างในระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมต่อไป
สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทำมาตรฐานเบื้องต้น จำนวนทั้งสิ้น 5 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐาน CBD มาตรฐานน้ำมันกัญชง มาตรฐานน้ำมันเมล็ดกัญชง มาตรฐานแกนกัญชง และมาตรฐานเปลือกกัญชง โดยคาดว่าแผนการพัฒนานวัตกรรมจากพืชกัญชงในปี 2565 จะจัดตั้งศูนย์ให้บริการแบบครบวงจรนำร่องที่ จ.ลำปาง เป็นแห่งแรก นอกจากนี้การหารือครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานมีความเห็นร่วมกันผลักดันอุตสาหกรรมพืชกัญชง โดยจะจัดทำ MOU ร่วมกัน ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35157 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธนาคารพาณิชย์ผนึกกำลังขานรับ ธปท.ช่วยลูกค้าภาคธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ | วันอังคารที่ 8 กันยายน 2563
ธนาคารพาณิชย์ผนึกกำลังขานรับ ธปท.ช่วยลูกค้าภาคธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ
สมาคมธนาคารไทยได้ลงนามความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” และเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ภาคธนาคารตระหนักถึงความสำคัญและความจําเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและวิกฤติโควิค-19 สงครามการค้า หรือภัยธรรมชาติ ให้ได้ข้อยุติร่วมกันแบบ One Stop Service ตามความสามารถและศักยภาพของลูกค้าอย่างทันท่วงที โดยสมาคมธนาคารไทยได้ลงนามความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” และเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา
ธนาคารสมาชิกได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางในการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ใน 3 มิติ คือ 1. บูรณาการความช่วยเหลือร่วมกันจากทุกสถาบันการเงิน ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาภาระหนี้ได้อย่างรวดเร็วเบ็ดเสร็จในคราวเดียว ลดความซ้ำซ้อนเรื่องการติดต่อ จัดส่งเอกสาร และเจรจาแก้ไขปัญหา 2. สถาบันการเงินทุกแห่งสามารถร่วมกันพิจารณาและวิเคราะห์ Root Cause ของลูกค้า เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะสมกับลูกค้า เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ หาผู้ร่วมทุน หรือตีทรัพย์สินชำระหนี้ตามความประสงค์ของลูกค้าและหลักเกณฑ์ของธนาคารตามความจำเป็น โดยให้สิทธิ์ลูกค้าซื้อทรัพย์คืนภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหลักการช่วยเหลือจะเป็นไปตามความสามารถของลูกค้าแต่ละราย 3. ลูกค้าที่มีศักยภาพและแผนธุรกิจชัดเจน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นลูกค้านิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารมากกว่า 1 แห่ง และมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจรวมทุกธนาคาร ตั้งแต่ 50 - 500 ล้านบาท และมีสถานะการชำระหนี้เป็นปกติ หรือผิดนัดชำระหนี้กับธนาคารบางแห่ง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยลงทะเบียนและกรอกข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจ เช่น ประเภทธุรกิจ เลขที่บัตรประชาชนหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล พร้อมระบุธนาคารพาณิชย์ที่สะดวกให้ติดต่อกลับผ่านเว็บไซต์ www.bot.or.th เว็บไซต์ธนาคารที่มีวงเงินสินเชื่อ และเว็บไซต์สมาคมธนาคารไทย www.tba.or.th โดยธนาคารจะติดต่อกลับเพื่อแจ้งผลภายใน 5 วัน ทั้งนี้ ธนาคารจะตรวจสอบตัวตนและขอเอกสารประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับการพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือ ธนาคารจะแจ้งผลให้ลูกค้าทราบและลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนถูกต้อง กรณีที่ธุรกิจมีความซับซ้อน อาจใช้เวลาในการพิจารณาเพิ่มขึ้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center และสาขาของธนาคารที่ใช้บริการ
สมาคมธนาคารไทย
โทร. 0-2558-7500
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34884 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุริยะเร่งพัฒนา “อุตสาหกรรม 4.0” ยกระดับการผลิตอุตฯ ไทย ตอบสนองการบริโภคยุค New Normal | วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2563
สุริยะเร่งพัฒนา “อุตสาหกรรม 4.0” ยกระดับการผลิตอุตฯ ไทย ตอบสนองการบริโภคยุค New Normal
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งพัฒนา “อุตสาหกรรม 4.0” ยกระดับการผลิตอุตฯ ไทย ตอบสนองการบริโภคยุค New Normal
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปหลังผู้บริโภคปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ New Normal ให้ทัน ชี้เป็นโอกาสดึงนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตหลังไทยสามารถควบคุมโควิด-19 ได้ดี
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เตรียมแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้เร็วขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการยุคใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยภาคอุตสาหกรรมจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยหลังแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีหลังฟื้นตัว อุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและการแพทย์จะยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก เกิดการลงทุนและการจ้างงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมหลักอื่นจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการและการใช้จ่ายภายในประเทศที่ดีขึ้น เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ อุตสาหกรรม Hard disk drive อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในต่างประเทศยังคงน่าเป็นห่วง พฤติกรรมการบริโภคทั่วโลกมีความเปลี่ยนแปลงจากเดิม มีการบริโภคสินค้าคงทนที่ลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ในขณะที่การบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคกลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ภาคอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ให้ทัน และใช้โอกาสจากวิกฤตในครั้งนี้ดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสร้างฐานการผลิตในไทย
“สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้ประกอบการทำงานและชีวิตประจำวัน ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ New Normal ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คาด ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องยกระดับให้สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ให้ทัน และต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตต่อไป ด้วยเหตุนี้ ภาคอุตสาหกรรมไทยจึงจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม มุ่งใช้เทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในสถานการณ์ต่างประเทศที่นักลงทุนต้องการย้ายฐานการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง จึงจำเป็นต้องเร่งจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่าง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานเพื่อรองรับการทำงานในยุคอุตสาหกรรม 4.0” นายสุริยะ กล่าวปิดท้าย
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า การยกระดับอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทำงานผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายอัจฉริยะ พร้อมนำข้อมูลการทำงานไปวิเคราะห์และประมวลผลสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ประกอบกับสถานการณ์ต่างประเทศที่มีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในฐานการผลิตสำคัญ รวมทั้งสถานการณ์สงครามการค้า
ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต้องชะงักลง อุตสาหกรรมบางประเภทขาดชิ้นส่วนการผลิต เกิดปัญหาทางด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มทบทวนแผนการผลิตใหม่และมีความต้องการย้ายฐานการผลิตออกเพื่อกระจายความเสี่ยง นับเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะดึงดูดผู้ให้ประกอบการเข้ามาลงทุน โดยที่ประเทศไทยมีจุดแข็งทางด้านของแรงงานที่มีฝีมือและมีการควบคุมโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ดี สอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่จะย้ายเข้ามาใหม่ได้ รวมถึงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC การเตรียมความพร้อมในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติได้ทันที ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ สศอ. เร่งจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ๆ ต่อไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35048 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ ผนึกหน่วยงานทุกภาคส่วน เปิดเวทีระดมสมองสร้างแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับสมบูรณ์ | วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563
กระทรวงเกษตรฯ ผนึกหน่วยงานทุกภาคส่วน เปิดเวทีระดมสมองสร้างแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับสมบูรณ์
กระทรวงเกษตรฯ ผนึกหน่วยงานทุกภาคส่วน เปิดเวทีระดมสมองสร้างแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับสมบูรณ์
มุ่งใช้เทคโนโลยีพัฒนาเกษตรไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรของไทย วางรากฐานงานเกษตรอัจฉริยะของประเทศ
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวมอบนโยบาย ในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับสมบูรณ์)” ผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ โปรแกรม Zoom ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม – ๑ กันยายน ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม 801 กรมพัฒนาที่ดิน ว่า ในปี ๒๕๖๓ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายปฏิรูปภาคเกษตรกรรมไทย มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเกษตร 4.0 มาช่วยสนับสนุนการพัฒนาการเกษตร มีการพัฒนาแปลงเรียนรู้และเกษตรแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรแม่นยำ เกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Agriculture และ IoT Platform ตลอดจนการสนับสนุนด้านจัดการการขนส่งภาคการเกษตรหรือโลจิสติกส์ อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบ E-commerce เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรของตนได้โดยตรงไปยังผู้บริโภคผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์ต่างๆ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้แนวทาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” โดยมุ่งเน้นให้ผลิตผลทางการเกษตรสามารถจำหน่ายออกสู่ตลาดได้ทั้งภายในและต่างประเทศ นอกจากนั้นยังขับเคลื่อนงานธุรกิจเกษตรหรือ Agribusiness ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน) จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech 2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ 3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce และ 4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร
สำหรับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ มีหน้าที่ขับเคลื่อนการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการจัดทำแผนแม่บทเกษตรอัจฉริยะ โดยยกร่างแล้วเสร็จในเบื้องต้นตั้งแต่ปลายปี 2562 สาระสำคัญประกอบด้วย 6 แนวทางการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ คือ 1) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 2) การสร้างแปลงเรียนรู้ต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ แปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ 3) การสร้างการรับรู้ เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และการส่งเสริมขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 4) การพัฒนาการแปรรูปและการตลาดเกษตรอัจฉริยะ 5) การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการเกษตรอัจฉริยะ และ 6) การพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายด้านเกษตรอัจฉริยะ รวม 15 แผนงาน 58 โครงการ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อแผนเป็น “แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ” เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยยังคงกรอบเดิมแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเกษตร 4.0 ของกระทรวงฯ ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกรร่วมประชุม ให้ข้อคิดเห็น และจัดทำข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านงบประมาณ และด้านการพัฒนาเกษตรกร เป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทยต่อไป
นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามการแข่งขันที่มากขึ้นในระดับสากล ประเทศไทยต้องพยายามลดการนำเข้าและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยบูรณาการร่วมมือกับทุกภาคส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรเกษตรกร รวมถึงภาคอุตสาหกรรม โดยใช้แนวทางแบบ sandbox management เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทยได้ง่าย ในราคาที่เป็นธรรม อีกทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ต้องเร่งขับเคลื่อนนำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร เซนเซอร์ทางการเกษตร หุ่นยนต์ทางการเกษตร และ IoT Platform มาใช้ในกระบวนการผลิตจะช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร และยังเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรของไทยอีกด้วย
ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ กล่าวว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีของรัฐบาล ปี พ.ศ. 2561-2580 ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ได้สานต่อการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครอบคลุม การจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในเชิงการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนระบบเกษตรอัจฉริยะ การพัฒนา IoT Platform การขยายผลแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ ตลอดจนการบูรณาการขับเคลื่อนงานร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม หรือ ศูนย์ AIC จังหวัด ทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการประมวล Innovation Catalog และ Quick Win ที่แต่ละศูนย์ AIC จะขับเคลื่อนดำเนินการ รวมถึงการทำงานร่วมหน่วยงานภายนอก เช่น ธ.ก.ส. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ตลอดจนได้มีการจัดทำแผนแม่บทเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ธ.ก.ส. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย Smart Farmer/Young Smart Farmer ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม Agritech and Innovation Center (AIC) รวมจำนวน ๑๒๐ คน โดยมี 2 กิจกรรม คือ 1. การเสวนา เรื่อง การสนับสนุนและความคาดหวังในการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย และ 2. การแบ่งกลุ่ม เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการ เพื่อให้ได้ข้อเสนอโครงการ งบประมาณ ซึ่งจะทำให้ได้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะของประเทศ ต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34686 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กยศ. รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ในรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น | วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
กยศ. รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ในรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น
กยศ.รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2563 ในรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น โดยได้รับเกียรติจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2563 ในรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้เปิดเผยว่า “จากการดำเนินงานที่ผ่านมา กองทุนได้รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2563 ในรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น โดยกองทุน กยศ. เป็นหนึ่งในทุนหมุนเวียนที่ได้รับพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลจากหน่วยงานทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ทั้งหมดจำนวน 115 ทุนหมุนเวียน รางวัลดังกล่าวถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในฐานะทุนหมุนเวียนที่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยตลอดมา
ในปีที่ผ่านมา กองทุนมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการบริหารจัดการในทุกด้านทั้งภายในและภายนอก ในการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบและวินัยทางการเงินให้แก่ผู้กู้ยืม กองทุนขอขอบคุณกรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง สถานศึกษา หน่วยงานองค์กรนายจ้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ที่มีส่วนสนับสนุน การดำเนินงานกองทุน ซึ่งทำให้กองทุนเป็นทุนหมุนเวียนที่สามารถดำเนินงานได้ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35193 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ สร้างนวัตกรรมแอปพลิเคชัน“รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย” | วันอังคารที่ 15 กันยายน 2563
กระทรวงเกษตรฯ สร้างนวัตกรรมแอปพลิเคชัน“รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย”
กระทรวงเกษตรฯ ดึงกูรูพืช-ดินผนึกกำลังสร้างนวัตกรรมแอปพลิเคชัน“รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย”
กระทรวงเกษตรฯ โดย กรมวิชาการเกษตร ผสานองค์ความรู้ กรมพัฒนาที่ดิน สร้างสุดยอดแอปพลิเคชัน“รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย”โชว์แอฟฯ เดียวในประเทศไทยให้คำแนะนำสูตรปุ๋ยและอัตราการใช้ที่เหมาะสมกับพืชและดินครบถ้วน รู้ผลแบบเรียลไทม์ แม่นยำใช้งานง่ายไม่ต้องเสียเวลาเก็บตัวอย่างดินรอผลตรวจอีกต่อไป มั่นใจแอฟฯ ผู้ช่วยตัวจริงลดต้นทุนใช้ปุ๋ยให้เกษตรกร พร้อมเปิดตัวแอปฯ ให้บริการแล้วกว่า 60 ชนิดพืชครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่า 149 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกพืชส่วนใหญ่ธาตุอาหารในดินถูกพืชดึงไปใช้ประโยชน์และขาดการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ผลผลิตพืชลดน้อยลง เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยมีความเชื่อว่าหากใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากจะทำให้พืชให้ผลผลิตมากหรือบางรายใส่ตามความเคยชินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยที่สูงขึ้นซึ่งหลักการใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชได้รับประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักวิชาการเกษตรกรต้องรู้จักศักยภาพของดินในพื้นที่ต้องการปลูกพืชก่อนว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใดเนื่องจากการใส่ปุ๋ยจำเป็นต้องพิจารณาความต้องการธาตุอาหารของพืชร่วมกับคุณลักษณะของดิน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารตรงตามความต้องการแล้วยังช่วยประหยัดต้นทุนการใช้ปุ๋ยให้เกษตรกรได้อย่างมากอีกด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรดังนั้นจึงมีแนวคิดให้กรมวิชาการเกษตรซึ่งมีองค์ความรู้ทางวิชาการความต้องการธาตุอาหารเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดและแต่ละช่วงเวลาการเจริญเติบโต ในขณะที่กรมพัฒนาที่ดินมีฐานข้อมูลชุดดินอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 300 ชนิดโดยให้ทั้ง 2 หน่วยงานนำองค์ความรู้ทั้งด้านพืชและดินมาผนวกกันจัดทำเป็นฐานข้อมูลให้คำแนะนำการใส่ปุ๋ยที่ถูกชนิดและในอัตราที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชและตรงกับศักยภาพของดินโดยมีหลักคิดที่สำคัญว่าต้องเป็นเทคโนโลยีที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ทั้งด้านพืช ดิน และปุ๋ย ได้อย่างครบถ้วนสะดวกรวดเร็วมีความแม่นยำ ใช้งานง่าย ที่สำคัญต้องประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร
กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว
กองเกษตรสารนิเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร 02 281 0859 ต่อ 137
แฟกส์ 02 2822871
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35054 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2563 | วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2563
วันนี้ (26 สิงหาคม 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรีนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แถลงความคืบหน้าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศอินเดีย และเข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 8 ราย ทำให้มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,237 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.12 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 108 ราย หรือร้อยละ 3.17 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,403 ราย
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ เป็นเพศหญิง อายุ 38 ปี สัญชาติไทย อาชีพธุรกิจส่วนตัว เดินทางมาจากประเทศอินเดีย ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจในครั้งที่ 2 วันที่ 21 สิงหาคม 2563 (วันที่ 13 ของการกักตัว) พบว่ามีอาการ คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย และจมูกไม่ได้รับกลิ่น ส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร โดยก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 21 ราย
นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า ในช่วงวันหยุดยาว 4-7 กันยายน 2563 คาดว่าจะมีประชาชนส่วนใหญ่ออกเดินทาง เกิดการรวมตัวของคนจำนวนมากในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว ถือว่ายังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 อยู่ในระดับต่ำ ขอให้นักท่องเที่ยวทุกคนอย่าประมาท รักษามาตรการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงสถานที่มีคนแออัด หากมีอาการป่วยขอให้อยู่บ้าน ที่สำคัญเมื่อใช้บริการในสถานที่ต่างๆ ให้แสกน คิวอาร์โค้ดไทยชนะ เพราะเมื่อพบผู้ติดเชื้อจะง่ายต่อการติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังอาการ และควบคุมโรค ต่อไป
******************************* 26 สิงหาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34583 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. 'วราวุธ' ตรวจเยี่ยมสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ | วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563
รมว.ทส. 'วราวุธ' ตรวจเยี่ยมสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
รมว.ทส. 'วราวุธ' ตรวจเยี่ยมสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
รมว.ทส. 'วราวุธ' ตรวจเยี่ยมสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
วันนี้ (๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๓) เวลา ๑๑.๓๐ น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะผู้บริหารฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และปลูกต้นพะยูง ณ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๗ จังหวัดชัยภูมิ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34670 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เข้มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค เตรียมรับมือแรงงานต่างชาติลักลอบเข้าประเทศผ่านชายแดนตาก | วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563
สธ. เข้มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค เตรียมรับมือแรงงานต่างชาติลักลอบเข้าประเทศผ่านชายแดนตาก
กระทรวงสาธารณสุขเข้มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค โควิด 19 พื้นที่แนวชายแดนจังหวัดตาก สั่งการนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สำรวจอุปกรณ์ป้องกันเตรียมพร้อมรับมือแรงงานต่างชาติลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย
กระทรวงสาธารณสุขเข้มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค โควิด 19 พื้นที่แนวชายแดนจังหวัดตาก สั่งการนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สำรวจอุปกรณ์ป้องกันเตรียมพร้อมรับมือแรงงานต่างชาติลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย และให้ อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประชากรต่างด้าว ร่วมตรวจสอบความผิดปกติในชุมชน
นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 กล่าวว่า จากกรณีที่พบแรงงานต่างชาติลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายผ่านบริเวณพรมแดนธรรมชาติในเขตพื้นที่จังหวัดตาก ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่อาจนำเชื้อโควิด 19 ที่กำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้านเล็ดลอดเข้าสู่ประเทศไทยได้ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตาก ยังไม่มีมติอนุมัติให้แรงงานต่างชาติสามารถให้เข้าประเทศผ่านชายแดนได้ นอกจากกระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังที่ด่านชายแดนปกติแล้ว ยังได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และปกครอง โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประชากรต่างด้าว (อสต.) ร่วมตรวจสอบพื้นที่ หากพบความผิดปกติ หรือคนแปลกหน้าในชุมชน จะประสานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที
นายแพทย์ภาณุมาศ กล่าวต่อว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก เร่งสำรวจอุปกรณ์ในการป้องกันโรค จากทุกโรงพยาบาลในสังกัด ได้แก่ ชุดกาวน์, ชุด Cover all , หน้ากาก N95 , Shoe Cover , Surgical hood , Long glove , Face shield , Surgical mask พบว่าอุปกรณ์ป้องกันดังกล่าวมีเพียงพอใช้ประมาณ 1-3 เดือน เพื่อเตรียมไว้ใช้หากพบผู้ติดเชื้อ และได้ขอการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันจากส่วนกลางสำรองไว้เพิ่มเติมหากเกิดการระบาดในพื้นที่
*********************************** 7 กันยายน 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34860 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอรุกชวนผู้ประกอบการช่วยพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม หวังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ | วันอังคารที่ 8 กันยายน 2563
บีโอไอรุกชวนผู้ประกอบการช่วยพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม หวังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
บีโอไอรุกชวนผู้ประกอบการช่วยพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม หวังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
บีโอไอรุกชวนผู้ประกอบการช่วยพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมหวังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
บีโอไอ มุ่งยกระดับบุคลากรภาคอุตสาหกรรม หวังยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศระยะยาว เชิญผู้ประกอบการร่วมสัมมนาออนไลน์ “พลังขับเคลื่อน SMART Human Resource Development” เผยเคล็ดลับความสำเร็จในการยกระดับบุคลากร
นายเศกสรรค์ เรืองโวหาร รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในปัจจุบันจะมุ่งเน้นการลงทุนที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้แก่ประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นพื้นฐาน ไม่ใช่การลงทุนที่ใช้แรงงานราคาถูกเหมือนในอดีต
ในช่วงที่ผ่านมาบีโอไอได้ออกมาตรการต่างๆ หลายมาตรการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสร้างความพร้อมด้านกำลังคน เนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้ประกอบในการตัดสินใจลงทุน โดยนอกจากจะให้ส่งเสริมกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้ว ยังสนับสนุนให้ผู้ประกอบการอบรมพนักงานและมีส่วนร่วมในการพัฒนานักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการจัดตั้งสถานฝึกฝนวิชาชีพ/สถาบันการศึกษาในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม (STEM) ระดับสูง โดยได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
1) มาตรการสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากร ให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรไปรวมคำนวณในวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่กำหนดเงื่อนไขค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ
2) มาตรการสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาบุคลากรทักษะสูงโดยภาคเอกชน ผู้ประกอบการ (บริษัทแม่) ที่ดำเนินธุรกิจอื่นซึ่งไม่ใช่สถาบันการศึกษาและสถาบันฝึกอบรม หากลงทุนจัดตั้งสถานศึกษา หรือสถานฝึกฝนอาชีพ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาด้าน STEM ระดับสูง และได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปีในวงเงินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนที่ใช้ในการตั้งสถาบันการศึกษาส่วนสถาบันการศึกษาที่ตั้งขึ้น จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดการยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ภายในสิ้นปี 2564
“บีโอไอให้ความสำคัญและให้สิทธิประโยชน์สูงสุดแก่โครงการที่ลงทุนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งให้กับประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างบุคลากรเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าว” นายเศกสรรค์กล่าว
สัมมนาออนไลน์ (Webinar) เรื่อง “พลังขับเคลื่อน SMART Human Resource Development” กำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 9.30 – 11.45 น. โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมการอภิปราย ได้แก่ นายขวัญชัย วรกัลยากุล ผู้อำนวยการกองประสานและพัฒนาปัจจัยการลงทุน บีโอไอ ผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ผศ.ดร.อาทิตย์ คูณศรีสุข ผู้อำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานฝ่ายปฎิบัติการฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ประเทศไทย ร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธาน ฝ่ายนในระยะยาวี่ใช้เทคบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ในงานสัมมนาครั้งนี้ จะเผยเคล็ดลับความสำเร็จในการยกระดับบุคลากรของภาคธุรกิจโดยการเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษา สิทธิประโยชน์จากบีโอไอในกิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการบอกเล่าประสบการณ์จากผู้ประกอบการที่ขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://zoom.us/webinar/register/WN_7B2NXNwVSPK6GYJ8-PYZnA หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 02 553 8111 กด 6161 (ในเวลาราชการ)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34895 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วราวุธ ใช้โอกาสวันหยุด ลุยตรวจความพร้อมศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกสาริกา จ.นครนายก ให้พร้อมรับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้ | วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2563
วราวุธ ใช้โอกาสวันหยุด ลุยตรวจความพร้อมศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกสาริกา จ.นครนายก ให้พร้อมรับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้
วราวุธ ใช้โอกาสวันหยุด ลุยตรวจความพร้อมศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกสาริกา จ.นครนายก ให้พร้อมรับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้
วราวุธ ใช้โอกาสวันหยุด ลุยตรวจความพร้อมศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกสาริกา จ.นครนายก ให้พร้อมรับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้
วันนี้ (5 กันยายน 2563) เวลา 10.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อตรวจเยี่ยมความพร้อมในการให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวที่รัฐบาลกำหนด 4-7 กันยายน 2563 ซึ่งพบว่ามีนักท่องเที่ยวจำนวนมากหลั่งไหลเดินทางมาท่องเที่ยวกับครอบครัวจากทั่วประเทศ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังได้มอบนโยบายให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานในเรื่องการดูแลความสะอาด การจัดสร้างห้องน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ และที่สำคัญ ยังได้สั่งการให้เร่งมีการออกแบบจัดสร้างเส้นทางสำหรับรถเข็นพยาบาล (วีลแชร์) เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถท่องเที่ยวบริเวณน้ำตกได้อย่างสะดวกและปลอดภัย อีกทั้ง ยังได้มีการพบปะพูดคุยกับประชาชนเพื่อสอบถามความต้องการและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมนอกจากนี้ รมว.ทส. ยังเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกนายของอุทยาน ต้องผ่านการฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น และต้องเตรียมความพร้อมไว้ทุกสถานการณ์ พร้อมกันนี้ ยังได้รับชมการสาธิตวิธีการทำ CPR จากเจ้าหน้าที่อีกด้วย
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบเสื้อปฏิบัติการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ พร้อมกล่าวขอบคุณที่เจ้าหน้าที่ทุกนายร่วมกันปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ในการดูแลอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนอีกด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34833 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา เยี่ยมชมรับฟังคลื่นเกษตรกรรุ่นใหม่ ในโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ | วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563
รมช.มนัญญา เยี่ยมชมรับฟังคลื่นเกษตรกรรุ่นใหม่ ในโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ
รมช.มนัญญา เยี่ยมชมรับฟังคลื่นเกษตรกรรุ่นใหม่ ในโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ จ.ระยอง ชูสหกรณ์ขับเคลื่อนตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เยี่ยมชม นิทรรศการโครงการสหกรณ์นิคมชุมแสงจันทร์ จำกัด นิทรรศการจัดแสดงสินค้าและผลผลิตใน"โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพเกษตร" และนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ ณ สหกรณ์นิคมชุมแสงจันทร์ จำกัด อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ในวันที่ 24 สิงหาคม 2563
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการเยี่ยมชมนิทรรศการ ว่า ปัจจุบันสังคมไทยมีแน้วโน้มสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) จึงมีความจำเป็นและส่งเสริม สนับสนุน ให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่ "โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพเกษตร " มีจุดประสงค์เพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรได้กลับมาอยู่กับครอบครัว ใช้ความรู้ประสบการณ์จากภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ มาพัฒนาการเกษตรของอาชีพการเกษตรให้เกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการทำอาชีพการเกษตร จึงได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ในการกระจายและจัดจำหน่ายสินค้า รวมถึงการส่งเสริมคุณภาพสินค้าโดยให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ผลักดันเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไทยให้ครัวไทยไปสู่ครัวโลกอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้พบปะเกษตรกร พร้อมมอบปุ๋ยหมักจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีธาตุอาหารที่สูงและเยี่ยมชมนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ การรักษาดินป่วย ซึ่งมีขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ โดยสถานีพัฒนาที่ดินระยอง จากนั้นเยี่ยมชม นิทรรศการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพเกษตร ได้แก่ หญ้าหวาน พืชผักอินทรีย์ และ กระชังปลาทับทิมและปลานิล เป็นต้น "เมื่อได้รับฟังเกษตรกรรุ่นใหม่ ทราบว่าทุกคนมีความรู้ความสามารถในด้านอื่นๆอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี หรือการตลาด กระทรวงเกษตรและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพียงต่อยอดแนะนำส่งเสริมด้านความรู้และศักยภาพด้านการเกษตรให้ นอกจากจะสามารถสร้างความมั่นคงในอาชีพแล้ว ยังก่อให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว ลูกหลานได้กลับมาดูแลพ่อแม่ ถือว่าเป็นการทำน้อยแต่ได้มาก และครบทุกบทบาทอย่างยั่งยืน" รมช.มนัญญา กล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34503 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“นฤมล” ลุยพื้นที่อุตสาหกรรมบางพลี ติวเข้มเด็กอาชีวะ ป้อนยานยนต์ | วันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2563
“นฤมล” ลุยพื้นที่อุตสาหกรรมบางพลี ติวเข้มเด็กอาชีวะ ป้อนยานยนต์
- -
วันที่ 14 กันยายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ บุษกร วัชรศรีโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ด้านวิชาการ คุณอัครวัฒน์ อัศวเหม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณยงยุทธ สุวรรณบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เยี่ยมชมและให้กำลังใจผู้เข้าฝึกอบรมกว่า 100 คน เป็นนักเรียนอาชีวะ ระดับ ปวส. 2 สาขาช่างยนต์ จำนวน 64 คน และแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์อีก 50 คน เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ
ศาสตราจารย์ นฤมล รมช.แรงงาน กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทักษะแก่กำลังแรงงานของประเทศ เพื่อให้มีศักยภาพได้มาตรฐาน และได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือด้วย ซึ่งจะมีส่วนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของตนเองภายใต้แนวคิด สร้าง ยก ให้ รวมไทยสร้างชาติ สำหรับการลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจกรรมการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ให้แก่กลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับ ปวส. 2 สาขาช่างยนต์ จำนวน 64 คน ที่เข้าฝึกอบรมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในครั้งนี้ เป็นการสร้างแรงงานฝีมือให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ถึงแม้กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ต้องหยุดหรือเลิกกิจการไปก็ตาม แต่สถานประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ยังคงต้องดำเนินการต่อ เพราะยังมีการใช้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง
รมช.แรงงาน กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมดังกล่าวยังมีความต้องการแรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาทำงาน การพัฒนาทักษะฝีมือให้กับแรงงานใหม่ในกลุ่มของนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นปีสุดท้าย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน จึงเป็นหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ที่ต้องเติมทักษะให้สามารถทำงานได้จริง ฝึกปฏิบัติมากขึ้น พร้อมกับฝึกประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบกิจการ โดยต้องบูรณาการร่วมกันกับภาคเอกชน ด้วยเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อให้แรงงานใหม่กลุ่มนี้ได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเมื่อต้องไปทำงาน จะได้สามารถทำงานกับเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ เช่น การทำงานกับเครื่องยนต์อัตโนมัติ การควบคุมหุ่นยนต์ และความรู้อื่นๆ ที่จำเป็นในงานอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น จากการสอบถามข้อมูล พบว่า นักเรียนอาชีวะกลุ่มนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในงานอุตสาหกรรมและฝึกปฏิบัติการกลึงและกัดชิ้นงานด้วย เครื่อง CNC ระยะเวลาการฝึก 102 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 18 กันยายน 2563 นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์อีก 50 คน ซึ่งสถานประกอบกิจการส่งมาฝึกทักษะด้านระบบควบคุมคุณภาพ ISO 9001 และระบบไฟฟ้าและรีเลย์ เพื่อยกระดับฝีมือ โดยมีระยะเวลาฝึกอบรม 30 ชั่วโมง
หลังจากนั้น รมช.แรงงาน และคณะ ได้ชมการฝึกซ้อมและให้กำลังใจเยาวชนไทยที่เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันฝีมือแรงงานระดับอาเซียน และนานาชาติ สาขาเครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึงและเครื่องกัด) และสาขาเทคโนโลยีระบบทำความเย็น โดยในปี 2564 จะมีการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 6-11 เมษายน 2564 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และการแข่งขันฝีมือแรงงานระดับนานาชาติ ครั้งที่ 46 จะจัดขึ้นนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงต้องเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนที่จะต้องเดินทางไปแข่งขัน ได้ฝึกฝนฝีมือเพื่อให้เกิดความชำนาญและเรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศด้วย ซึ่งประเทศไทยส่งเยาวชนเข้าแข่งขัน ในระดับอาเซียน จำนวน 6 สาขา ประกอบด้วย 1. บริการอาหารและเครื่องดื่ม 2. ประกอบอาหาร 3. เทคโนโลยีระบบทำความเย็น 4. แต่งผม 5. หุ่นยนต์เคลื่อนที่ และ 6. เทคโนโลยียานยนต์
“การแข่งขันฝีมือแรงงานทั้งระดับชาติ ระดับอาเซียน และระดับนานาชาติ จะเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้กับเยาวชนไทยได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพราะเป็นโอกาสในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและการทำงานในอนาคต ตัวแทนส่วนใหญ่มาจากเด็กอาชีวะที่มีพื้นฐานจากสถาบันการศึกษาอยู่แล้ว มาเพิ่มทักษะฝีมือกับ กพร. และหน่วยงานภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนฝึกภาคปฏิบัติ ถือเป็นการทำงานร่วมกันแบบประชารัฐ จึงเกิดแรงงานที่มีคุณภาพอย่างชัดเจน” รมช.แรงงาน กล่าวทิ้งท้าย
------------------------------------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35074 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โกยเงินให้ปัง สร้างคอนเทนต์ให้เปรี้ยง !! สรรพากรเปิดกลยุทธ์ “รู้” สุดยอดทริคเพื่อธุรกิจออนไลน์ พร้อมเทคนิคจัดการภาษีสุดอีซี่ | วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2563
โกยเงินให้ปัง สร้างคอนเทนต์ให้เปรี้ยง !! สรรพากรเปิดกลยุทธ์ “รู้” สุดยอดทริคเพื่อธุรกิจออนไลน์ พร้อมเทคนิคจัดการภาษีสุดอีซี่
เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ยังแรงต่อเนื่องสำหรับ “ธุรกิจออนไลน์” โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ที่จะเห็นได้ว่าเป็นธุรกิจที่ฆ่าไม่ตาย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ แถมยังช่วยให้การขายของสามารถเชื่อมต่อกับผู้คน ได้ทุกที่ทั่วโลก
เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ยังแรงต่อเนื่องสำหรับ “ธุรกิจออนไลน์” โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ที่จะเห็นได้ว่าเป็นธุรกิจที่ฆ่าไม่ตาย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ แถมยังช่วยให้การขายของสามารถเชื่อมต่อกับผู้คน ได้ทุกที่ทั่วโลก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายคนจะได้รับโอกาสจากการโกยเงินของธุรกิจดังกล่าวมาอย่างมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ทำการค้าออนไลน์กลับคิดไม่ถึงและมองข้ามไปนั่นก็คือ “การจัดการภาษี” ซึ่งพบปัญหาทั้งการเริ่มต้นยื่นภาษี เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ การจะยื่นภาษีว่าต้องใช้แบบใด การเลือกระบบบริหารจัดการ และที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือบรรดาผู้ค้าออนไลน์หลายรายยังไม่รู้แม้กระทั่งว่าการทำธุรกิจดังกล่าวต้องมีการเสียภาษีเลยทีเดียว
เพื่อให้คนทำธุรกิจออนไลน์เข้าใจเรื่องภาษีได้มากกว่าที่ผ่านมา ล่าสุด “กรมสรรพากร” จึงได้จัดสัมมนา “ยอดขายออนไลน์ปัง มาฟังเรื่องภาษี” เมื่อวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งได้แนะแนวทางเกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ควบคู่กับการบริหารภาษี พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าจริง ๆ แล้ว เรื่องภาษีไม่ได้เป็นเรื่องยากอย่างที่คิด โดยคุณถนอม เกตุเอม เจ้าของเพจ TaxBugnoms ซึ่งเป็นเพจที่ให้ความรู้เรื่องภาษีในรูปแบบภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ให้กลยุทธ์ 3 “รู้” สำหรับผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ว่า
• รู้รายได้ ควรจะทราบถึงรายได้ของตนเองก่อนว่ามีรายได้เข้ามาจากทางใดบ้าง และมีหลักฐานที่มาของรายได้อย่างไร เพื่อที่จะได้ทราบว่าตนเองควรจะยื่นภาษีเงินได้ในประเภทใด เพราะในแต่ละประเภทก็มีอัตรา ในการเสียภาษี และวิธีการคำนวณภาษีที่แตกต่างกันออกไป สำหรับรายได้ของผู้ค้าออนไลน์จะเป็นประเภท 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
• รู้รายจ่าย ต้องทราบว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์ อาจจะเคยได้ยินการเลือกคิดภาษีได้ 2 แบบ ได้แก่ การคิดจากค่าใช้จ่ายแบบเหมา และการคิดภาษีจากค่าใช้จ่ายแบบตามจริง ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ต้องมีหลักฐานแน่นอน ดังนั้น การเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญ
• รู้ลดหย่อน เพื่อรักษาสิทธิของผู้ค้าออนไลน์เอง โดยควรจะกลับไปตรวจสอบว่าตนเองนั้นสามารถลดหย่อนภาษีในส่วนใดได้บ้าง เช่น ลดหย่อนภาษีจาก (การดูแลบิดา มารดา บุตร) ลดหย่อนจากการใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ การลดหย่อนจากการออมหรือการลงทุน การลดหย่อนจากการบริจาค ซึ่งก็จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายภาษีลดน้อยลงได้อีก
อีกหนึ่งคำถามสำคัญ สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่ใช้ช่องทางออนไลน์นั่นคือ “จำเป็นหรือไม่ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ซึ่งกรมสรรพากรแนะนำว่า ควรจะต้องจดเมื่อมีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ในที่นี้ต้องดูตามความเหมาะสมด้วยว่ารูปแบบธุรกิจที่ทำนั้นมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดในการจัดตั้งบริษัท เพราะหากเป็นการดำเนินธุรกิจด้วยตนเองเพียงผู้เดียว ไม่ได้มีลูกจ้างหรือการทำงานในรูปแบบบริษัท ก็อาจจะกลายเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน นั่นคือการเสียภาษีทั้งรูปแบบเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้นิติบุคคลด้วย
“เรื่องภาษีที่เคยเป็นเรื่องซับซ้อน เข้าใจยาก ปัจจุบันสามารถเปลี่ยนให้เป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็วโดยระบบการยื่นภาษีแบบออนไลน์ได้แล้ว ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องความซับซ้อน และการจัดการเอกสาร ต่าง ๆ รวมไปถึงระบบ “e-Filing” ที่พัฒนาโดยกรมสรรพากร ที่จะช่วยทำให้ “ทุกคลิก มั่นใจ” ทำให้ผู้มีรายได้สามารถยื่นภาษีได้ด้วยตนเอง ผ่านระบบออนไลน์ การกรอกข้อมูลไม่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สำนักงานสรรพากร นอกจากนี้ในระบบยังมีฐานข้อมูลของผู้เสียภาษี ทำให้เอกสารบางส่วนที่ไม่จำเป็นถูกตัดทอนออกไป ขั้นตอนเตรียมเอกสารของผู้ยื่นก็จะง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และยังมีระบบการคำนวณภาษีให้ทันทีเพียงแค่กรอกข้อมูลตามที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ เท่านี้การยื่นภาษีที่เป็นเรื่องซับซ้อนก็จะไม่เป็นปัญหากับผู้ค้าออนไลน์อีกต่อไป” คุณถนอม กล่าวทิ้งท้าย
อีกหนึ่งอาวุธที่สำคัญ และเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับคนทำธุรกิจออนไลน์ก็คือ “การสร้างคอนเทนต์” ที่จะสร้างอย่างไรให้โดนใจ และเพื่อตอบทุกความต้องการของลูกค้า ซึ่งเรื่องดังกล่าว คุณพงษ์ปิติ ผาสุขยืด หรือ คุณเพิร์ท ผู้ก่อตั้งเพจ Ad Addicts ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และคอนเทนต์ได้เผยทริค “รู้” เช่นเดียวกับคุณถนอม เพื่อเป็นแนวทางโกยเงิน และเป็นไอเดียให้ผู้ค้าออนไลน์ได้ไปสร้างคอนเทนต์เพื่อยอดขายปังรับปี 2021 คือ
• “รู้” จักตัวเอง สำคัญที่สุดคือต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าจะทำอะไร มีจุดเด่น และจุดแข็งที่แตกต่างอย่างไรกับอีกหลาย ๆ ตัวเลือกในท้องตลาด และเราต้องการทำคอนเทนต์ในการสื่อสารออกไปเพื่ออะไร
• “รู้” จักคู่แข่ง ต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งว่าคู่แข่งมีจุดแข็งตรงไหน และมีจุดอ่อนอะไร ซึ่งไม่จำเป็น ต้องดูแค่เพียงคู่แข็งในกลุ่มธุรกิจเดียวกับเรา และต้องมองหาโอกาสที่เป็นช่องว่างในตลาดว่าธุรกิจ
• “รู้” จักกลุ่มลูกค้า การรู้จักลูกค้าถือเป็นแต้มต่อสำคัญของการดำเนินธุรกิจออนไลน์ที่จำเป็น ต้องรู้เร็ว ยิ่งรู้ก่อน ก็จะทำให้เราสร้างคอนเทนต์ และผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ไวกว่า ก่อนจะไปสังเกต ทั้งพฤติกรรม ความต้องการ และทัศนคติของลูกค้าเพื่อให้ขายได้ตรงจุด
• “รู้” จักสภาพแวดล้อม ต้องไปมองดูว่าลูกค้าของเราอยู่ในที่ใด ช่องทางออนไลน์ใดที่กลุ่มลูกค้าของเราใช้งานมากที่สุด เพราะช่องทางนั้นๆจะเป็นตัวกำหนดการสร้างคอนเทนต์ว่าควรสร้างคอนเทนต์แบบใดให้เหมาะสม
และเมื่อรู้จักทั้ง 4 รู้แล้ว ต้องไม่ลืมว่าการสร้างคอนเทนต์ควรทำอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาปรับเปลี่ยน ไปเรื่อย ๆ อย่ายึดติดกับการทำในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และที่สำคัญอย่าลืมดูผลตอบรับจากกลุ่มคนที่เราสื่อออกไปว่ามีการตอบรับคอนเทนต์ของเราในแง่บวกหรือลบ เพื่อให้ได้ทั้งคอนเทนต์ที่ตรงจุด และตรงใจมากยิ่งขึ้น คุณพงษ์ปิติ กล่าว
ด้วยทริคง่าย ๆ ทั้งเคล็ดลับในการจัดการภาษีและการสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ตรงใจลูกค้า ก็จะเป็นอาวุธชั้นดีที่ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์เคลื่อนทัพไปได้อย่างว่องไวในวงการธุรกิจออนไลน์ที่กำลังขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด เพราะทั้ง “คอนเทนต์ก็ปัง เรื่องภาษีก็เป๊ะ” ได้ง่ายกว่าที่คุณคิด
สำหรับช่วงโค้งสุดท้ายในเดือนสิงหาคม 2563 นี้ก็ใกล้ถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับรอบปีภาษี 2562 จึงขอเชิญชวนผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการฯ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th และหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) 1161 หรือที่สานักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ
กรมสรรพากร สำนักงานเลขานุการกรม
โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324 หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34593 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นฤมล หารือร่วมภาคอุตสาหกรรม ยกระดับฝีมือแรงงานไทย | วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
นฤมล หารือร่วมภาคอุตสาหกรรม ยกระดับฝีมือแรงงานไทย
รมช.แรงงาน หารือร่วมภาคอุตสาหกรรม ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานไทย รองรับ 12 อุตสาหกรรมของประเทศ
วันที่ 17 กันยายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ร่วมกับสถานประกอบกิจการใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม 37 หน่วยงาน เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาด้านการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับสถานประกอบกิจการ ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศต่อไป โดยมีหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าร่วม ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
รมช. แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) มีมาตรการช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ ภายใต้นโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับกระทรวงแรงงานจาก “กระทรวงด้านสังคม” ไปสู่ “กระทรวงด้านเศรษฐกิจ” ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยใช้หลัก 3 ประการคือ “สร้าง-ยก-ให้” สร้างแรงงานคุณภาพให้มีความรู้และทักษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน สถานประกอบกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรม S-Curve เพื่อรองรับอุตสาหกรรม S-Curve ทั้ง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC และเขตพัฒนาพิเศษในปี 2563 ยกระดับฝีมือแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อให้ได้รับอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นให้แก่แรงงานทั่วไปและนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา เพื่อนำไปสู่การรับรองความรู้ความสามารถในสาขาอาชีพที่เป็นอันตรายต่อสาธารณะ ให้แรงงานกลุ่มเปราะบางเข้าถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน ด้วยการฝึกอบรมทักษะฝีมือ เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพให้สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางวิกฤตการณ์ ให้มีอาชีพ มีรายได้อย่างยั่งยืน มีความเข้มแข็ง และมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวของแรงงานและครอบครัว
รมช. แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 วิกฤตเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี กพร. จึงมีแนวทางที่จะสร้าง Training Platform เพื่อแนะนำหลักสูตรพัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ตลอดจนนำหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งหมดในประเทศไทยมาไว้ที่เดียว สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีเป้าหมายที่จะพัฒนาฝีมือแรงงาน 4.13 ล้านคน ดำเนินการโดย กพร. กว่า 1.3 แสนคน และส่งเสริมสถานประกอบกิจการดำเนินการ 4 ล้านคน นอกจากนี้ กพร. ยังมีมาตรการที่จะช่วยเหลือสถานประกอบกิจการ คือ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงกระตุ้นและจูงใจให้สถานประกอบการพัฒนาลูกจ้างของตน
จากการประชุมหารือในครั้งนี้ พบว่า ผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรมได้ขอให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานช่วยเหลือด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ร่วมกับกระทรวงศึกษา กำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานโดยเฉพาะในกลุ่ม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขต EEC ตลอดจนสร้างฐานข้อมูลตลาดแรงงานที่เป็น Big data โดยให้สถานประกอบการระบุความต้องการแรงงานในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้ภาครัฐนำไปกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงบูรณาการการทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและลดขั้นตอนการทำงาน
นอกจากนี้ยังขอให้พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในรูปแบบใหม่ทั้งทักษะพื้นฐานและเพิ่มเติมทักษะด้านภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น เนื่องจากภายหลังการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจเปลี่ยนตาม สำหรับผลการหารือวันนี้จะนำเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.พช) เพื่อขับเคลื่อนต่อไป
--------------------------------------------------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35165 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานในพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม | วันพุธที่ 9 กันยายน 2563
รมว.วธ.เป็นประธานในพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
รมว.วธ.เป็นประธานในพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางนิภา โสภาสัมฤทธิ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณะผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ ครู อาจารย์ บุคลากร นักเรียนและ นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวนกว่า ๕๐๐ คน เข้าร่วมพิธี ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วังหน้า) ทั้งนี้ พิธีไหว้ครูเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นับเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบไป โดยผู้ที่ศึกษาศิลปะ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ศิลปิน และผู้ประกอบอาชีพศิลปะในสาขาดังกล่าวจะยึดถือปฏิบัติการประกอบพิธีไหว้ครู เข้าร่วมพิธีไหว้ครูอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยกำหนดพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือกันว่าเป็นวันครู และจะประกอบพิธีไหว้ครูโดยบูชาเทพเจ้าแห่งศิลปะต่าง ๆ รำลึกถึงพระคุณของโบราณจารย์ที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34907 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"วราวุธ" รมว.ทส. ลุยต่อวันหยุด ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเปิดโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร "เร่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน" | วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2563
"วราวุธ" รมว.ทส. ลุยต่อวันหยุด ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเปิดโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร "เร่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน"
"วราวุธ" รมว.ทส. ลุยต่อวันหยุด ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเปิดโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร "เร่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน"
"วราวุธ" รมว.ทส. ลุยต่อวันหยุด ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเปิดโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร "เร่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน"
วันที่ 12 กันยายน 2563 นายวราวุธ ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) ลงพื้นที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 7 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร และมอบแกลลอนน้ำ 20 ลิตร เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรของประชาชน และเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้ง พบปะพูดคุย พร้อมรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของพี่น้องประชาชนและเกษตรกรที่มาร่วมงานฯ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมแปลงเกษตรของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ในโอกาสนี้ด้วย
โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล นำโดย พลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ซึ่งทุกหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการทำงานทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว การเกษตร การจัดหาที่ดิน การแก้ไขปัญหาพิบัติภัยด้านต่าง ๆ การจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมนตรีฯ จะทำหน้าที่ในการประสานทุกภาคส่วนให้ร่วมกันแก้ไขปัญหา เร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับของ รมว.ทส. 'วราวุธ' ได้มีการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID 19 การนำระบบการจองล่วงหน้าผ่าน Application มาใช้ในการให้บริการอุทยานแห่งชาติ และสวนสัตว์ทั่วประเทศ เพื่อควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวรองรับสถานการณ์ COVID 19 การหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และการจัดที่ดินทำกินตามกลไก คทช. การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง การแก้ไขปัญหาหมอกควันและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นต้น
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35040 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุขอนามัย ห่างไกลโควิด-19 | วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563
สุขอนามัย ห่างไกลโควิด-19
คู่มือชีวิตวิถีใหม่ ชีวิตดีเริ่มที่เรา
พื้นที่ต่างๆทำความสะอาดด้วยการกวาดและถูตามปกติ แต่ถ้าหากไม่มั่นใจว่านำเชื้อจากนอกบ้านเข้ามาหรือเปล่า สามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นดูได้
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34667 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หนุนหน่วยงานรัฐ จัดซื้อจัดจ้างพัสดุจาก SMEs | วันอังคารที่ 8 กันยายน 2563
หนุนหน่วยงานรัฐ จัดซื้อจัดจ้างพัสดุจาก SMEs
วันเสาร์ที่ 6 กันายน 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยใช้เงินงบประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จัดซื้อจัดจ้างพัสดุจาก SMEs ที่ได้ขึ้นบัญชีรายการพัสดุและรายชื่อไว้กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวมถึงผลิตภัณฑ์ของร้านค้าสหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรฯ รับรอง ขณะเดียวกันยังส่งเสริมการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ และพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนสินค้าและวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34866 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.- AFRIMS ร่วมวิจัยโรคเขตร้อน ถอดรหัสสารพันธุกรรมไวรัสโควิด 19 ในไทย | วันอังคารที่ 15 กันยายน 2563
สธ.- AFRIMS ร่วมวิจัยโรคเขตร้อน ถอดรหัสสารพันธุกรรมไวรัสโควิด 19 ในไทย
กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร สหรัฐอเมริกา (USAMD-AFRIMS) ร่วมมือศึกษาวิจัยทางคลินิกโรคเขตร้อน วัคซีนเอชไอวี วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก และการใช้ประโยชน์จากการถอดรหัสสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด 19 ในไทย
กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร สหรัฐอเมริกา(USAMD-AFRIMS)ร่วมมือศึกษาวิจัยทางคลินิกโรคเขตร้อน วัคซีนเอชไอวี วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก และการใช้ประโยชน์จากการถอดรหัสสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด 19 ในไทย
วันนี้ (15 กันยายน 2563) ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) ถนนโยธี กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายไมเคิล จอร์จ ดีซอมเบร(H.E. Mr. Michael George DeSombre)เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอเมริกานายพลพีร์ สุวรรณฉวี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พลโท นพ.ชาญชัย ติกขะปัญโญ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก และคณะเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารUS Army Medical Directorate of the Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (USAMD-AFRIMS)เพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์และความร่วมมือที่สำคัญระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาในการวิจัยทางการแพทย์ การเฝ้าระวังโรค การพัฒนามาตรการตอบโต้ทางการแพทย์
นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้มีความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิดผ่านศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข(TUC)และAFRIMSมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมศึกษาวิจัยทดลองทางคลินิกโรคเขตร้อน การผลิตวัคซีนเอชไอวี และวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก รวมทั้งตั้งแต่ช่วงแรกที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ได้ช่วยสืบค้นผู้สัมผัส และการตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อโควิด 19ซึ่งAFRIMSเป็นเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิจัยทางการแพทย์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด
นายอนุทินกล่าวต่อว่าAFRIMSได้มีความร่วมมือในโครงการเฝ้าระวังและงานวิจัยร่วมกับกรมควบคุมโรค อาทิ การศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในชายไทยที่ได้รับการคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการ กองทัพบก โครงการศึกษาวัคซีนเอดส์ทดลอง การศึกษาเบื้องต้นการถอดรหัสสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด 19 ที่พบในคนไทย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาธรรมชาติของเชื้อไวรัสในแง่ความเชื่อมโยงที่มาที่ไปของผู้ป่วย และความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคกับไวรัสที่กลายพันธุ์จากชนิดหนึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่งได้ การลงพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยโรคมาลาเรียเชิงรุก ยกระดับจากการควบคุมโรคเป็นกำจัดโรค โดยการตั้งเป้าหมายร่วมกันให้ทุกอำเภอของประเทศไทยไม่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี รวมถึงการเฝ้าระวังเชื้อมาลาเรียดื้อยา
สำหรับความร่วมมือต่อเนื่องที่จะดำเนินการร่วมกันคือ การสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทั้งทางซีโรโลยี พันธุกรรม การเพาะเชื้อ ในภาวะที่มีการระบาดของโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคติดต่ออุบัติใหม่,โครงการเฝ้าระวังเชิงรุกกลุ่มโรคไข้สมองอักเสบด้านห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคJapanese B encephalitis, ขยายผลการเฝ้าระวังโรค พาหะนำโรคติดต่อในพื้นที่ชายแดนและช่องทางเข้าออกประเทศ เน้นโรคในกลุ่มที่เป็นโรคติดต่ออันตราย ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558, สนับสนุนการศึกษาดูงานผู้เข้ารับการฝึกอบรมสาขาแพทย์ระบาดวิทยาภาคสนาม และผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากสถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษาอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันจัดทำแนวปฏิบัติในการรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังที่ตรวจพบจากโครงการวิจัยและโครงการเฝ้าระวังโรคติดต่อในพื้นที่ดำเนินการต่างๆ ของAFRIMSเข้ามาอยู่ในระบบรายงานโรคตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558
*************************** 15 กันยายน 2563
***************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35109 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ. ผนึกกำลังศิลปิน-เครือข่ายวัฒนธรรม จัดงาน “มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ชมฟรีการแสดงพื้นบ้าน-ลิเก-ลำตัด-นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “เอกชัย-จินตรา-ต่าย อรทัย-ศรราม น้ำเพชร” | วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
วธ. ผนึกกำลังศิลปิน-เครือข่ายวัฒนธรรม จัดงาน “มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ชมฟรีการแสดงพื้นบ้าน-ลิเก-ลำตัด-นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “เอกชัย-จินตรา-ต่าย อรทัย-ศรราม น้ำเพชร”
วธ. ผนึกกำลังศิลปิน-เครือข่ายวัฒนธรรม จัดงาน “มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ”
ชมฟรีการแสดงพื้นบ้าน-ลิเก-ลำตัด-นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “เอกชัย-จินตรา-ต่าย อรทัย-ศรราม น้ำเพชร”
วธ. จัด“มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ”
ชมฟรีการแสดงพื้นบ้าน-ลิเก-ลำตัด-นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “เอกชัย-จินตรา-ต่าย อรทัย-ศรราม น้ำเพชร”
จำหน่ายสุดยอดอาหารหายาก-อาหารอร่อย ๑๐๐ ปี ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ๑๕ – ๒๐ ก.ย. นี้
เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๓ ที่บริเวณด้านหน้าอาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานแถลงข่าว “มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” โดยมี นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ศิลปิน ดารา นักแสดง และภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม เข้าร่วม
นายอิทธิพล กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) โดยออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจ รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชน ชุมชน และประเทศ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดทำแผนงานและโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านมิติวัฒนธรรมเพื่อช่วยเหลือประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและขับเคลื่อนแผนงานดังกล่าว วธ. ร่วมกับ ศิลปิน และภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรมจัดงาน “มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ภายใต้แนวคิด “คนไทยไม่ทิ้งกัน” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๐ กันยายน ๒๕๖๓ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. ณ หอประชุมใหญ่ และลานกลางแจ้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ เพื่อฟื้นฟูเยียวยา สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับศิลปิน ศิลปินพื้นบ้าน ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมวัฒนธรรม และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนให้สามารถกลับสู่สภาวะปกติดังเดิม
สำหรับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานประกอบด้วย การแสดงจากศิลปินแห่งชาติ ศิลปินอาวุโส ศิลปินจากสมาคมศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินศิลปาธร ศิลปินร่วมสมัย และศิลปินชื่อดัง อาทิ แม่ขวัญจิต ศรีประจัน ,แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน ,เอกชัย ศรีวิชัย ,จินตหรา พูนลาภ ,ต่าย อรทัย ,บานเย็น รากแก่น และศรราม น้ำเพชร การแสดงจากสมาคมศิลปินพื้นบ้าน ๔ ภูมิภาค ๙ สมาคม ประกอบด้วย สมาคมศิลปินขับซอล้านนา สมาคมกลองและศิลปะการแสดงล้านนา สมาคมลิเกประเทศไทย สมาคมอุปรากรจีน สมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลางประเทศไทย สมาคมหมอลำอีสาน สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ สหพันธ์สมาคมโนราประเทศไทย และสมาคมหนังตะลุงปักษ์ใต้ รวมทั้งการแสดงดนตรี กวี ศิลป์ รวมมิตรคนร่วมสมัยหัวใจรักชาติ การแสดงนาฏลีลาร่วมสมัย และการแสดงหุ่นสายร่วมสมัย โดยสลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนแสดงให้ประชาชนได้รับชมฟรีทุกวัน
นอกจากนี้ มีการจำหน่ายสุดยอดผลิตภัณฑ์งานฝีมือคนไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) จากชุมชนและผู้ประกอบการโดยตรงจากทั่วประเทศในราคาสุดพิเศษ อาทิ ผ้าชนเผ่า ผ้าทอล้านนา ผ้าฝ้ายหมักโคลน ผ้าปักไหมสุหรี ผ้าบาติกยางกล้วย เป็นต้น รวมทั้งมีการออกร้านจำหน่ายอาหารดี อาหารดัง อาหารหาทานยาก และอาหารอร่อยร้าน 100 ปี ให้ประชาชนเลือกซื้อเลือกชิม อาทิ หมี่กรอบจีนหลี สมัยรัชกาลที่ 5 ,ป.ป๋าอาจ แหนมสดลีลา ,ฮะเส็ง ข้าวหมูแดงร้อยปี ,ไก่ย่างกะทิแม่แดง(ไก่กอและ) ขณะเดียวกันยังมีกิจกรรมการสาธิตทำอาหารไทยแบบโบราณ พร้อมการขับเสภากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน การนวดแผนไทย การเปิดหมวกจากเด็กและเยาวชน รวมทั้งศิลปินอิสระ เป็นต้น นอกจากนี้ ภายในงานยังมีไฟประดับตระการตานับหมื่นดวงสวยงามอลังการ เพื่อให้ประชาชนได้มาถ่ายรูปที่ระลึก รวมทั้งจุดเช็คอิน : ชุมชนคุณธรรมเสน่ห์วิถีไทย “บวร on Tour” กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่นำมาตั้งไว้กลางกรุง มาที่เดียวเหมือนได้เที่ยวทั่วไทย ทั้งนี้ มีพิธีเปิดงานฯ ในวันที่ ๑๕ ก.ย.๒๕๖๓ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ ลานกลางแจ้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม
วธ. ขอเชิญร่วมงานมหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ สอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วนวัฒนธรรม ๑๗๖๕ หรือ www.m-culture.go.th
-------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34964 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“9 เดือน 9” ... วันดี ได้มีบ้านเพียบ!! แห่ประมูลซื้อทรัพย์ NPA ธอส. ออนไลน์ แค่ 2 ชั่วโมงครึ่งขายได้ถึง 43 รายการ มูลค่ารวม 67.4 ล้านบาท | วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
“9 เดือน 9” ... วันดี ได้มีบ้านเพียบ!! แห่ประมูลซื้อทรัพย์ NPA ธอส. ออนไลน์ แค่ 2 ชั่วโมงครึ่งขายได้ถึง 43 รายการ มูลค่ารวม 67.4 ล้านบาท
ธอส. เผยผลการจัดงาน “9 เดือน 9” ประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ในวันนี้(9 กันยายน 2563) หลังเปิดประมูลระหว่างเวลา 11.00-13.30 น. จำหน่ายทรัพย์ได้ทั้งสิ้น 43 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม 67.4 ล้านบาท
ธอส. เผยผลการจัดงาน “9 เดือน 9” ประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ในวันนี้(9 กันยายน 2563) หลังเปิดประมูลระหว่างเวลา 11.00-13.30 น. จำหน่ายทรัพย์ได้ทั้งสิ้น 43 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม 67.4 ล้านบาท สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน แบ่งเป็นทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 12 รายการ ทรัพย์ในส่วนภูมิภาค 31 รายการ พิเศษ!! ธอส. มอบส่วนลดเพิ่มอีก 10% จากราคาที่ปิดประมูลให้แก่ผู้ชนะการประมูล เพียงทำสัญญาและทำนิติกรรมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการจัดงาน “9 เดือน 9” ประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA โดยนำทรัพย์ NPA ที่ให้ส่วนลดสูงสุด 40% จากราคาปกติในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และในส่วนภูมิภาครวม 99 รายการ มาเปิดประมูลขายพร้อมกันในวันนี้(9 กันยายน 2563) ระหว่างเวลา 11.00-13.30 น. ซึ่งพบว่าได้รับความสนใจจากลูกค้าประชาชนจำนวนมากที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองเข้าร่วมประมูล ทำให้ธนาคารสามารถจำหน่ายทรัพย์ได้ทั้งสิ้น 43 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม 67.4 ล้านบาท แบ่งเป็นทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 12 รายการ ทรัพย์ในส่วนภูมิภาค 31 รายการ ซึ่งผลการประมูลในครั้งนี้ถือเป็นการขายทรัพย์ออนไลน์ได้สูงที่สุดของธนาคารทั้งจำนวนรายการและมูลค่านับตั้งแต่ธนาคารเริ่มเปิดประมูลออนไลน์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยทรัพย์ที่ประมูลขายได้ในราคาสูงสุด คือ ห้องชุดขนาด 53.80 ตารางเมตร 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำในโครงการ เดอะเทมโปพหลโยธิน ซอยพหลโยธิน 2 กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทรัพย์เด่นที่ตั้งห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีสนามเป้าเพียง 400 เมตร จำหน่ายได้ในราคาปิดประมูล 4,330,000 บาท ส่วนทรัพย์ที่ประมูลขายได้ในราคาถูกที่สุดเพียง 420,000 บาท คือ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาด 78 ตารางวา ใน อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ และยังมีทรัพย์ถึง 3 รายการที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลถึงรายการละ 6 ราย โดยเฉพาะรายการทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยว 1 ชั้น เนื้อที่ 66.8 ตารางวา ในโครงการเดอะไนน์ทรี(อยู่สบาย 9) ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ราคาเริ่มต้นประมูล 1,440,000 บาท สามารถจำหน่ายได้ในราคาปิดประมูลที่ 1,800,000 บาท
“การที่มีประชาชนสนใจประมูลซื้อทรัพย์ NPA ออนไลน์ของ ธอส. สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของบ้านมือสองของ ธอส. ที่มีราคาสอดคล้องกับสภาพทรัพย์และยังมีทำเลที่ตั้งที่น่าสนใจ รวมถึงยังมีช่องทางการจำหน่ายผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ซึ่งสะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในยุค New Normal และนอกจากผู้ชนะการประมูลบ้านมือสองออนไลน์จะได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาที่คุ้มค่าเป็นอย่างมากแล้ว ในการประมูลครั้งนี้ ธอส. ยังมอบส่วนลดพิเศษเพิ่มให้อีกถึง 10% จากราคาที่ปิดประมูลให้แก่ผู้ชนะการประมูล เพียงทำสัญญาและทำนิติกรรมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในฐานะธนาคารบ้านของคนไทยอีกด้วย”นายฉัตรชัย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ที่พลาดการประมูลบ้านมือสองออนไลน์ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ในงาน “9 เดือน 9” ในครั้งนี้ สามารถดาวน์โหลด Application : G H Bank Smart NPA และลงทะเบียนเข้าร่วมประมูลออนไลน์เพื่อเตรียมเข้าร่วมการประมูลซื้อทรัพย์ NPA ใหม่ คุณภาพดี ราคาพิเศษของธนาคารได้เฉพาะในวันที่ ๆ ตรงกับเลขเดือน โดยการประมูลครั้งต่อไปกำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2563 หรือ 10 เดือน 10 นอกจากนี้ ธอส. ยังเตรียมเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนที่ต้องการซื้อบ้านมือสอง โดยการจัดทำ “โครงการ GH Bank Market Place ตลาดกลางบ้านมือสอง” เพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ต้องการลดภาระรายจ่ายในการผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัย ให้สามารถนำที่อยู่อาศัยของตนเองมาฝาก ธอส. จำหน่ายผ่านช่องทางของธนาคาร ซึ่งระยะที่ 1 จะเริ่มเปิดให้ประชาชนส่งรายละเอียดของทรัพย์ที่ต้องการจะขายมาให้ธนาคารระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2563 จากนั้นธนาคารจะนำข้อมูลเผยแพร่เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบผ่านทาง www.ghbhomecenter.com และ Mobile Application : GHBank Smart NPA และ ธอส. จะนำทรัพย์ออกประมูลขายครั้งแรกในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 ต่อไป สอบถามรายละเอียด และดูข้อมูลทรัพย์ NPA ของธนาคารได้ที่ www.ghbhomecenter.com กรณีทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โทร 0-2202-1016, 0-202-1582 ส่วนทรัพย์ในภูมิภาค โทร 0-202-1170 หรือ 0-202-2036 และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34949 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก.ปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เดินหน้าปฏิรูปจัดการโรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสังคมผู้สูงอายุ | วันพุธที่ 2 กันยายน 2563
คกก.ปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เดินหน้าปฏิรูปจัดการโรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสังคมผู้สูงอายุ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เปิดรับฟังความคิดเห็นแผนปฏิรูปด้านสาธารณสุข 10 ประเด็นหลัก ในการจัดการภาวะโรคระบาด-โรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสังคมผู้สูงอายุ บูรณาการทุกภาคส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อประโประโยชน์ประชาชน
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เปิดรับฟังความคิดเห็นแผนปฏิรูปด้านสาธารณสุข 10 ประเด็นหลัก ในการจัดการภาวะโรคระบาด-โรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสังคมผู้สูงอายุ สาเหตุคุกคามสุขภาพคนไทย บูรณาการทุกภาคส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อประโยชน์ประชาชน
วันนี้ (2 กันยายน 2563) ที่อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ว่า คณะกรรมการฯ ชุดนี้เป็นชุดที่ 2 มีระยะเวลาดำเนินการเพียง 2 ปี ครบกำหนดในวันที่ 14 สิงหาคม 2565 ยืนยันว่า จะต่อยอดประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขของคณะกรรมการฯ ชุดแรกที่มี นายแพทย์เสรี ตู้จินดา เป็นประธาน ให้เห็นเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1.ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ 2.ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ 3.กำลังคนสุขภาพ 4.ระบบบริการปฐมภูมิ 5.การแพทย์แผนไทย 6.การแพทย์ฉุกเฉิน 7.การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 8.ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 9.การคุ้มครองผู้บริโภค และ 10.ระบบหลักประกันสุขภาพ
“การปฏิรูปทุกเรื่องเป็นเรื่องใหญ่ เกี่ยวข้องกับคนทั้งประเทศ ความสำเร็จอาจต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี แต่อย่างน้อยช่วง 2 ปีนี้ ต้องวางระบบที่ดีของประเทศ ถือเป็นความท้าทาย โดยจะจัดการใน 3 เรื่องที่เป็นภาวะคุกคามด้านสาธารณสุขของไทยและโลกก่อน ได้แก่ โรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs และสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งต้องอาศัยทั้ง 10 ประเด็นปฏิรูปในการขับเคลื่อน” ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดมกล่าว
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดมกล่าวต่อว่า เรื่องโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ จะนำบทเรียนโรคโควิด 19 มาเป็นต้นแบบ เพราะแม้ประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุขจะควบคุมโรคโควิด 19 ได้ดี แต่ต้องการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานอื่นๆ ให้มากขึ้น กฎหมายอย่าง พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ยังไม่ครอบคลุม สิ่งสำคัญคือที่ทำให้ควบคุมโรคนี้ได้สำเร็จคือความร่วมมือของประชาชน เช่นเดียวกันการปฏิรูปที่จะสำเร็จได้
สำหรับประเด็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถือเป็นปัญหาของโลก ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตรวมปีละ 56 ล้านคน โดยมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงร้อยละ 70 ขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงสุดเช่นกัน และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก ปีละ 3-4 แสนล้านบาท จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน ควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์ที่แพทย์กำหนดเพียงร้อยละ 25 ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยร้อยละ 40 มารู้ตัวอีกทีเมื่อเกิดอาการ ทำให้เป็นอัมพาต หัวใจวาย เสียชีวิต จึงต้องปฏิรูป โดยบูรณาการบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ความรอบรู้ด้านสุขภาพเข้ากับการรักษา หากปรับพฤติกรรมได้โรคก็จะลดลง
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดมกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องผู้สูงวัย ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกิน 60 ปีถึงร้อยละ 20 ของประเทศในปี 2567-2568 และจะเกินร้อยละ 25 ในปี 2578 ซึ่งผู้สูงอายุจะเป็นโรคจากความเสื่อมของร่างกาย มีค่าใช้จ่ายมากกว่าคนหนุ่มสาว 5-10 เท่า ที่ผ่านมามีการตั้งหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จึงต้องปฏิรูปเพื่อขับเคลื่อนและเกิดการบูรณาการ โดยเฉพาะการดูแลที่บ้านและชุมชน ซึ่งถือเป็น new normal ของระบบสุขภาพหลังจากมีวิกฤตโรคโควิด 19 ตั้งเป้าหมายให้มีผู้บริบาลดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น มีการผลิตเพิ่มใหม่ภายในปี 2565 จำนวนรวม 70,000 คน
“การปฏิรูปต้องทำอะไรที่ไม่เหมือนเดิม ถ้าทำแบบเดิมก็ไม่มีการปฏิรูป ซึ่งใน 3 เรื่องที่จะขับเคลื่อนเป็นเพียงตุ๊กตาภาพใหญ่ที่ตั้งไว้ ยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด สามารถปรับปรุงได้ จึงนำมารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ขอให้ช่วยกันคิดเสนอแนะให้เกิดการปฏิรูปผ่าน 10 ประเด็น เช่น การจัดการ ระบบการเงินการคลัง 3 กองทุนสุขภาพทั้งบัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม ทำอย่างไรถึงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การลดเหลื่อมล้ำ การยกระดับเรื่องข้อมูลที่ยังไม่เชื่อมโยง ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์วางแผนได้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่เป็นคอขวดให้การปฏิรูปไม่สำเร็จ สร้างนวัตกรรมระบบบริการปฐมภูมิ เช่น ปรับแผนการทำงานให้คล่องตัว สร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนซึ่งผู้สนใจสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ผ่านเว็บไซต์ http://nscr.nesdb.go.th/thailandreform" ศ.คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดมกล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34763 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.ยกย่อง 100 สุดยอด ชุมชนคุณธรรมฯต้นแบบ-150 หน่วยงานหรือบุคคลหนุนงาน “บวร” ประจำปี 63 พร้อมเปิดบูธ ชุมชนคุณธรรมเสน่ห์วิถีไทย “บวร On Tour” ส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรม | วันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2563
วธ.ยกย่อง 100 สุดยอด ชุมชนคุณธรรมฯต้นแบบ-150 หน่วยงานหรือบุคคลหนุนงาน “บวร” ประจำปี 63 พร้อมเปิดบูธ ชุมชนคุณธรรมเสน่ห์วิถีไทย “บวร On Tour” ส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรม
วธ.ยกย่อง 100 สุดยอด ชุมชนคุณธรรมฯต้นแบบ-150 หน่วยงานหรือบุคคลหนุนงาน “บวร” ประจำปี 63 พร้อมเปิดบูธ ชุมชนคุณธรรมเสน่ห์วิถีไทย “บวร On Tour” ส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรม มาที่เดียวเหมือนได้เที่ยวทั่วไทย ในงาน“มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” 15
เมื่อเร็วๆนี้ นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือก 100 สุดยอด ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรต้นแบบ และ 150 หน่วยงานหรือบุคคล ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน "บวร" ในการพัฒนาชุมชนด้วยมิติทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 2/2563 โดยมี นายปรารพ เหล่าวานิช ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงวัฒนธรรม ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม คณะที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมชั้น ๖ กระทรวงวัฒนธรรม
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดทำแผนงานและโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านมิติวัฒนธรรมเพื่อช่วยเหลือประชาชน ล่าสุดร่วมกับศิลปิน และภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม จัดงาน“มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ”ระหว่างวันที่ 15-20 กันยายน 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ และลานกลางแจ้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเพื่อฟื้นฟูเยียวยา ศิลปินทั่วไปศิลปินพื้นบ้าน ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมวัฒนธรรม และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชน
ปลัด วธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากจะมีการแสดงศิลปินทุกภาค จำหน่ายอาหาร สินค้าวัฒนธรรมไทยแล้วภายในงานมีจุดเช็คอิน : ชุมชนคุณธรรมเสน่ห์วิถีไทย“บวรOn Tour”กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่นำมาตั้งไว้กลางกรุง มาที่เดียวเหมือนได้เที่ยวทั่วไทยเผยแพร่เสน่ห์ของชุมชน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของดีชุมชน ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ประจำชุมชนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน
นายกฤษศญพงษ์กล่าวอีกว่าอีกหนึ่งไฮไลท์ในงานครั้งนี้ คือพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติ 100 สุดยอด ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลัง บวร ต้นแบบ และ 150 หน่วยงานหรือบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อน “บวร” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 รวมไปถึงการเปิดเวทีจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำ บวร ทั่วประเทศเพื่อขยายเครือข่ายทางวัฒนธรรม เผยแพร่ผลงานของชุมชน หน่วยงานและบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อนพลัง บวร สู่สาธารณชน ตลอดเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นต่อไป ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ วธ. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำหลักการ “บวร:บ้าน วัด โรงเรียน” ซึ่งถือเป็นสถาบันหลักที่มีความสำคัญขับเคลื่อนกิจกรรมบ่มเพาะและเผยแพร่ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อพัฒนาจิตใจและจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้ประชาชน
ทั้งนี้ การช่วยเหลือเยียวยางาน“มหกรรมวัฒนธรรมร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ”แบ่งเป็น 3 ระยะที่1.จัดงานส่วนกลางที่ วธ. ช่วงเดือนกันยายน 2563 เปิดเวทีให้ศิลปินทุกภูมิภาคมาร่วมจัดแสดงให้ประชาชนได้รับชม ระยะที่ 2. จัดงานตามภูมิภาคต่างๆ โดยให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป้าหมายเร่งหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงความพร้อมและรูปแบบการจัดงานให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของจังหวัดนั้นๆ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ศิลปิน และเยียวยาประชาชนระยะที่ 3.ให้ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจัดทำแผนดำเนินการโครงการกิจกรรมเพื่อขอรับการเยียวยาฟื้นฟูในระยะยาวจากรัฐบาลต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35051 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จับกัง 1 ชู กรมการจัดหางาน ขานรับนโยบายรัฐ บรรจุแต่งตั้งข้าราชการใหม่ | วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563
จับกัง 1 ชู กรมการจัดหางาน ขานรับนโยบายรัฐ บรรจุแต่งตั้งข้าราชการใหม่
นายสุชาติ ชมกลิ่น รมต.แรงงาน เผย มติครม. ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เร่งดำเนินการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการประจำ ทั้งจากผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาและผู้ว่างงาน หรือถูกเลิกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อลดปัญหาการว่างงานในประเทศ
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เร่งดำเนินการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการประจำ ทั้งจากผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาและผู้ว่างงาน หรือถูกเลิกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อลดปัญหาการว่างงานภายในประเทศ นั้น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ได้เร่งร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งล่าสุด ได้รับรายงานจาก อธิบดีกรมการจัดหางานว่า ได้ขานรับนโยบาย และนำไปปฏิบัติแล้ว โดยขณะนี้ กรมการจัดหางาน ได้บรรจุแต่งตั้งข้าราชการใหม่ จำนวน 40 คน ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
“ รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของพี่น้องแรงงาน และตระหนักดีว่า หากแรงงานในประเทศไม่มีงานทำ ย่อมส่งผลต่อการใช้จ่ายของคนในประเทศ และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงภาคส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ดี รัฐบาลจะเร่งหามาตรการเพื่อรักษาสภาพการจ้างงานในประเทศ และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน เพราะการมีงานทำ มีรายได้ ในช่วงเวลานี้ นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ” นายสุชาติฯ กล่าว
ด้านนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ กรมการจัดหางาน ได้บรรจุ และแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการของ สำนักงาน กพ. แล้ว จำนวน 40 อัตรา อัตราเงินเดือน ระหว่าง 15,000-16,500 บาท โดยปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้บริการประชาชนตามภารกิจของกรมการจัดหางาน ได้แก่ การบริการจัดหางานในประเทศ การบริหารแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ การคุ้มครองคนหางาน การควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว และการแนะแนวอาชีพและส่งเสริมการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ข้าราชการบรรจุใหม่ทั้ง 40 คน จะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34856 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การฉายแสงด้วยหลอดไฟยูวีสามารถทำลายเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ควรหรือไม่ควรใช้ และใช้กับอะไรได้บ้าง ?? | วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2563
การฉายแสงด้วยหลอดไฟยูวีสามารถทำลายเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ควรหรือไม่ควรใช้ และใช้กับอะไรได้บ้าง ??
ฉายแสงด้วยหลอดไฟยูวีสามารถทำลายเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ??
Q : การฉายแสงด้วยหลอดไฟยูวีสามารถทำลายเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ควรหรือไม่ควรใช้ และใช้กับอะไรได้บ้าง ??
A : รังสียูวีสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ โดยสามารถใช้กับสิ่งของ เช่น ช้อน ส้อม ด้วยการฉายแสงทำลายเชื้อโรค แต่ไม่แนะนำให้นำมาใช้กับร่างกาย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34822 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘สุชาติ’ หารือจัดงาน ‘จ๊อบเอ็กซ์โปร์ 2020’ ช่วยคนตกงานล้านตำแหน่ง 26 -28 ก.ย.นี้ ที่ไบเทคบางนา | วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2563
‘สุชาติ’ หารือจัดงาน ‘จ๊อบเอ็กซ์โปร์ 2020’ ช่วยคนตกงานล้านตำแหน่ง 26 -28 ก.ย.นี้ ที่ไบเทคบางนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย กระทรวงแรงงาน ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เตรียมความพร้อมในการจัดงาน JOB EXPO THAILAND 2020 ระหว่างวันที่ 26 -28 ก.ย. 63 ณ ไบเทคบางนา เตรียมตำแหน่งงานว่าง 1 ล้านตำแหน่ง ช่วยคนตกงานจากผลกระทบโควิด- 19
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหารือการเตรียมการจัดงาน JOB EXPO THAILAND 2020 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย โดย รมว.แรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะการเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์โควิด -19 คลี่คลายลง โดยนำนโยบาย “รวมไทยสร้างชาติ” เข้ามาดำเนินการ เพื่อมีเป้าหมายที่จะผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันวางแผนเพื่อกำหนดอนาคตประเทศไทย” ซึ่งการประชุมในวันนี้ ผมจึงได้นัดประชุมหารือกับผู้แทนสองฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ ผู้แทนกระทรวงต่างๆ นายจ้างผู้ประกอบการและผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ต้องการรับสมัครงาน เพื่อรวบรวมตำแหน่งงานว่างที่ต้องการรับสมัครและนำไป Matching กับผู้ที่มาสมัครงานในตำแหน่งต่างๆ ที่นายจ้างต้องการในงานจ็อบเอ็กซ์โปร์ ที่กำหนดจัดขึ้นในปลายเดือนนี้ ตลอดจนการหารือร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการมีงานทำของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ที่ผ่านมา
นายสุชาติ กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมการจัดหางาน พบว่า ตำแหน่งงานว่างรอการบรรจุ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 สำหรับงาน JOB EXPO THAILAND 2020 จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000 อัตรา แบ่งออกเป็นตำแหน่งงานว่างกรมการจัดหางานจำนวน 106,312 อัตรา ตำแหน่งงานต่างประเทศ 112,242 อัตราตำแหน่งงานพาร์ทไทม์ จำนวน 66,881 อัตรา การจ้างงานโดยภาครัฐจำนวน 410,415 อัตรา การจ้างงานตามมาตรการส่งเสริมการมีงานทำให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ จำนวน 260,000 อัตรา และตำแหน่งงานที่คาดว่าจะจ้างแรงงานไทยแทนแรงงานต่างด้าว จำนวน 44,150 คน
สำหรับการจัดงาน JOB EXPO THAILAND 2020 จะกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 – 28 กันยายน 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ภายในงานแบ่งเป็นโซนนิทรรศการพระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย โซนหน่วยงานภาครัฐ โซนรัฐวิสาหกิจ โซนภาคเอกชน โซนเวที และโซนนิทรรศการ การสาธิต และแนะแนวอาชีพ เป็นต้น
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34803 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช. ธรรมนัส ลงพื้นที่พบปะเกษตรกร | วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563
รมช. ธรรมนัส ลงพื้นที่พบปะเกษตรกร
รมช. ธรรมนัส ลงพื้นที่พบปะเกษตรกร พัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค
ร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังลงตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์PGSณนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลละหารจ.ระยองว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนาด้านการผลิตผลผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยด้านอาหารกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมการผลิตตามแนวทางเกษตรอินทรีย์นั้นเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรด้วยหลักธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้ปัจจัยการผลิตจากการสังเคราะห์ไม่ใช้สารเคมีปุ๋ยเคมีฮอร์โมนสังเคราะห์ไม่ใช้พืชที่มีการดัดแปรพันธุกรรม(GMOs)มีการจัดการผลผลิตแปรรูปเพื่อรักษาสภาพและคุณภาพเกษตรอินทรีย์ในทุกขั้นตอนซึ่งในปัจจุบันตลาดมีความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น
กลุ่มเกษตรอินทรีย์แสนสุขจัดตั้งขึ้นเมื่อปี2550มีการรวมกลุ่มสมาชิกจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ลดใช้สารเคมีทางการเกษตรผลิตพืชผักพืชสมุนไพรอ้อยคั้นน้ำและไม้ผลพร้อมทั้งได้ยกระดับการพัฒนาด้านการผลิตสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม(PGS)ในปี2561มีสมาชิกจำนวน10รายภายใต้การสนับสนุนของกรมพัฒนาที่ดิน
ทั้งนี้ทางสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดระยองได้จัดที่ดินให้แก่เกษตรกรเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์แบ่งเป็น3โครงการดังนี้1.โครงการศูนย์ต่อสู้เอาชนะความยากจนจังหวัดระยองได้จัดที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนความยากจน(ศตจ.อำเภอปลวกแดง)จัดที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยเนื้อที่1ไร่และที่ดินทำกินเนื้อที่3ไร่จำนวน44ราย86แปลงเป็นเนื้อที่170ไร่ 2.โครงการบ่มเพาะเกษตรกรอนาคตในเขตปฏิรูปที่ดินได้จัดที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยเนื้อที่1ไร่และที่ดินทำกินเนื้อที่3ไร่จำนวน50ราย100แปลงเป็นเนื้อที่200ไร่3.โครงการสร้างและพัฒนาผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่ได้จัดที่ดินให้แก่ผู้ผ่านขบวนการคัดกรองจัดที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินเนื้อที่3ไร่จำนวน81รายแปลงเป็นเนื้อที่243ไร่และยังได้ตรวจบ่อน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานขนาด1,260ลบ.ม.และพื้นที่ในบริเวณที่จะทำการขุดลอกอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่จำนวน2,000,000ลบ.ม.ด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34493 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ 25 สิงหาคม 2563 | วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ 25 สิงหาคม 2563
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2563 ณ จังหวัดระยอง
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (25 สิงหาคม 2563) เวลา 10.30 น.ณ ห้องประชุมสุนทรภู่ ชั้น 2 โรงแรมสตาร์ คอนเวนชั่น ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งที่ 2/2563 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ
เรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย พ.ศ. ….
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
3. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ- สังคม
5. เรื่อง การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ของสำนักงานธนานุเคราะห์
6. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
7. เรื่อง ขออนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ตามแผนปฏิบัติการบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2565) ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
8. เรื่อง โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมือง นวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG)
9. เรื่อง ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเวทีแสดงพลังสร้างสรรค์ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ณ จังหวัดระยอง เพื่อกำหนดประเด็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563
10. เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11. เรื่อง ขออนุมัติการดำเนินงานโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563
12. เรื่อง ขอความเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562 – 2563
13. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 15
14. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ
15. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019(COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
16. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมทั้งสิ้น 2,771.1784 ล้านบาท ของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท
ต่างประเทศ
17. เรื่อง ขออนุมัติร่างความตกลงโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียลและสถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือ
18. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
19. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่าด้วยการเข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ของกองทัพสิงคโปร์ใน ราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2563-2568)
20. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 และผลการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชนกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13
21. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีนิเทศอาเซียนว่าด้วยการลดผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
แต่งตั้ง
22. เรื่อง ขอให้คณะรัฐมนตรีส่งรายชื่อผู้แทนคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานในการเลือกสรรผู้สมควรดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ(นักบริหารสูง)
29. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ
เรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 และอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. 2006 (Maritime Labour Convention 2006) เพื่อให้ประเทศไทยมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศในการคุ้มครองดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการและชีวิตความเป็นอยู่ของคนประจำเรือให้ดีขึ้น ตลอดจนเป็นการวางหลักเกณฑ์ด้านแรงงานทางทะเลสำหรับเรือต่างชาติที่มาจอดเทียบท่าเรือในฐานะรัฐเจ้าของท่าเรือ (Port State Control) อันเป็นการส่งเสริมกิจการธุรกิจพานิชยนาวีของประเทศอีกทางหนึ่ง
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจเรือโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หรือมีหนังสือสอบถาม หรือเรียกเจ้าของเรือ คนประจำเรือ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
2. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อนายเรือ หรือเจ้าของเรือในการเข้าตรวจเรือ และนายเรือหรือเจ้าของเรือต้องอำนวยความสะดวกและไม่ขัดขวางการปฏิบัติตามหน้าที่
3. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการสอบถามข้อเท็จจริง เก็บเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ และกระทำการอย่างอื่นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบที่อาจทำให้เจ้าของเรือ นายเรือ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความเสียหาย ห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร
4. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรายงานการตรวจเรือต่างประเทศตามแบบของบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการควบคุมเรือของรัฐเมืองท่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Report of Inspection in Accordance with the Memorandum of Understanding on Port State Control in the Asia – Pacific Region) หากมีข้อบกพร่อง ให้เจ้าของเรือดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่า 1 วันทำการ เพื่อให้ไปทำการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่อง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังการแก้ไขดังกล่าวไว้
5. กำหนดให้หากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าข้อบกพร่องของเรือเป็นการฝ่าฝืนอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. 2006 อย่างร้ายแรง หรือเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่เกิดขึ้นซ้ำ ให้ดำเนินการกักเรือ และออกคำสั่งเป็นหนังสือให้นายเรือของเรือต่างประเทศนั้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้อง พร้อมทั้งแจ้งการกักเรือไปยังรัฐเจ้าของธงของเรือต่างประเทศ องค์กรด้านคนประจำเรือและองค์กรเจ้าของเรือที่เกี่ยวข้องกับเรือนั้น เฉพาะในกรณีที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือกรณีเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ทันที อาจให้นายเรือหรือเจ้าของเรือจัดทำแผนแก้ไขข้อบกพร่องและระบุระยะเวลาการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จ โดยนายเรือหรือเจ้าของเรือจะต้องส่งแผนแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐเจ้าของธงของเรือ และจะได้รับการปล่อยเรือเมื่อได้แก้ไขข้อบกพร่องแล้ว
6. กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการตรวจสอบเรือ ดังนี้
ประเภท
อัตราค่าใช้จ่าย
ค่าเดินทางในการตรวจสอบ
- กรณีไม่ค้างคืน
- กรณีต้องค้างคืน
- กรณีวันหยุดราชการไม่ค้างคืน
- กรณีวันหยุดราชการและต้องค้างคืน
3,000 บาท/วัน
6,000 บาท/คืน
6,000 บาท/คืน
9,000 บาท/คืน
ค่าเดินทางโดยสารเครื่องบิน หรือเช่าเหมาเรือ หรือยานพาหนะอื่น ๆ นอกจากรถยนต์
จ่ายตามที่จ่ายจริง
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ
จ่ายตามที่จ่ายจริง
หมายเหตุ : การตรวจสอบที่ใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 1 วัน และเวลาที่เกิน
24 ชั่วโมง ให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเท่ากับ 1 วัน
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็นการกำหนดให้มีการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดให้ยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) จะช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน อันจะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย ดังนั้น เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงเห็นควรกำหนดให้มีการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564
ผลกระทบ
การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรการข้างต้น คาดว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนี้
1. ประมาณการการสูญเสียรายได้
(1) การปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ ร้อยละ 1 จะทำให้ภาครัฐมีรายได้
เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 70,000 ล้านบาท
(2) การกำหนดให้คงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น)
จะไม่มีผลกระทบต่อการประมาณการรายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เนื่องจากในการจัดทำงบประมาณได้มีการคำนวณประมาณการรายได้ โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานการคำนวณของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น)
2. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(1) ในส่วนของประชาชน จะช่วยลดผลกระทบจากค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชาชน ภาคธุรกิจมีการลงทุนเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัว
(2) ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจ ทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของอัตราภาษี ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้แก่ภาคเอกชนและสามารถวางแผนการบริหารธุรกิจได้ต่อไป
3. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ขยายระยะเวลาการประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 กันยายน 2563
เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ราชอาณาจักร (คราวที่ 4) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 และสิ้นสุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ที่เกิดขึ้นในประเทศ
การดำเนินการที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศบค.) ได้เชิญหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการ ตามพระราชกำหนดฯ ในด้านต่าง ๆ ผู้แทนส่วนราชการและประชาคมข่าวกรองเข้าร่วมการประชุม โดยมีเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน เพื่อประเมินผลการปฏิบัติของส่วนราชการต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน และพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด–19 ในภาพรวมทั่วโลกยังรุนแรงอยู่ในหลายภูมิภาค และมีคนไทยจากต่างประเทศเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจุบันได้มีการบังคับใช้มาตรการผ่อนคลายกิจกรรม/กิจการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด–19 และอนุญาตให้ชาวต่างชาติหลายกลุ่มสามารถเดินทางเข้ามาภายในราชอาณาจักร จึงมีความจำเป็น ต้องมีอำนาจตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเข้มงวด เป็นเอกภาพและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคภายในประเทศในช่วงการวิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตวัคซีน
2. ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่ายังมีความจำเป็นจะต้องใช้อำนาจตามพระราชกำหนดฯ เพื่อกำกับดูแลและบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ 1) การควบคุมการเดินทางเข้า – ออกราชอาณาจักรในทุกช่องทาง 2) การจัดทำระบบติดตามตัว การกักตัว และการเฝ้าระวังบุคคลต้องสงสัย และ 3) การกำหนดมาตรการควบคุมโรคที่สามารถบังคับใช้ได้อย่างครอบคลุมในทุกกิจกรรม/กิจการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะต้องมีระบบการบริหารจัดการวิกฤติการณ์ในลักษณะการรวมศูนย์ที่มีการบูรณาการกำลังจากพลเรือน ตำรวจ และทหาร เข้าร่วมปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง
3. ที่ประชุมให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าอำนาจตามพระราชกำหนดฯ ถือเป็นเครื่องมือทางกฎหมายของภาครัฐเพื่อป้องกันและควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด–19 ภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในขณะที่พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ยังมีข้อจำกัดในการปฏิบัติงานหลายประการ โดยเฉพาะอำนาจที่ไม่ครอบคลุมการปฏิบัติงานในทุกภารกิจ และปัญหาในการบูรณาการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ได้อย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
4. สมช. ได้นำผลการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบผลการประชุม และมีมติให้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต่อไป
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ให้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี และตอนพระประแดง - บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 3 กันยายน 2563 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 8 กันยายน 2563
เศรษฐกิจ- สังคม
5. เรื่อง การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ของสำนักงานธนานุเคราะห์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
[สำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.)] ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อเป็นเงินทุนสำรองสำหรับหมุนเวียนรับจำนำและสำหรับใช้จ่ายในการบริหารการเงินให้เกิดสภาพคล่องในกิจการ ตามที่ พม. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
พม. รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 เห็นชอบให้ พม. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของ สธค. จำนวน 500 ล้านบาท โดยสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2563 แต่เนื่องจาก สธค. ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีเงินทุนสำรองหมุนเวียนรับจำนำและสำหรับใช้จ่ายในการบริหาร เพื่อให้มีสภาพคล่องในกิจการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 โดยการกู้เงินประเภทเบิกเงินเกินบัญชีนั้น หาก สธค. ไม่ได้เบิกมาจะไม่เสียดอกเบี้ยจ่าย นอกจากนี้ สธค. มีความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำส่งเงินรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารทางการเงินการคลังของรัฐบาลในภาพรวม ดังนั้น คณะกรรมการอำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ ในการประชุมครั้งที่ 11 ปีงบประมาณ 2562 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 จึงมีมติเห็นชอบการต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 30 กันยายน 2563 ออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565
2. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินงานของ สธค. มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ประสบปัญหาเฉพาะหน้าด้านการเงิน ประกอบกับการให้บริการรับจำนำไม่สามารถกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนได้ สธค. จึงมีความเสี่ยงในการขาดสภาพคล่องในบางช่วงเวลา อีกทั้งผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยต้องการใช้เงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน สธค. จึงจำเป็นต้องมีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองสำหรับหมุนเวียนรับจำนำและรองรับการดำเนินงานในการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงให้ความเห็นชอบให้ พม. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน เพื่อใช้ในกิจการของ สธค. วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 โดย กค. ไม่ค้ำประกัน ทั้งนี้ พม. (สธค.) ต้องพิจารณาดำเนินการกู้เงินให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยต้องกระทำด้วยความรอบคอบ และคำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งการกระจายภาระการชำระหนี้
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เห็นชอบการต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาทของ สธค. แล้ว
6. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 2,899,649,900 บาท ให้กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (กรมกิจการเด็กและเยาวชน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่จะได้รับเงินต่อเนื่อง 4 เดือน (เดือนมิถุนายน – กันยายน 2563) จำนวน 1,745,207 คน ตามที่ พม. เสนอ
เรื่องเดิมและสาระสำคัญ
พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อดำเนินงานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลโดยอุดหนุนให้กับเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี ที่อยู่ในครัวเรือนยากจนหรือเสี่ยงต่อความยากจน เดือนละ 400 บาท ต่อคน ในปีงบประมาณ 2559 และขยายอายุเป็น 0 - 3 ปี เดือนละ 600 บาท ต่อคน ในปีงบประมาณ 2560 ถึงปีงบประมาณ 2562 ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 เห็นชอบขยายระยะเวลาให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดอายุ 0 – 6 ปี และขยายฐานรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ให้กลุ่มเป้าหมายเด็กที่เกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558
กรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้รับงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบอุดหนุนเฉพาะกิจ (เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด) เพื่อเบิกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิฯ จำนวน 1,745,207 ราย จำนวนเงิน 10,875,914,400 บาท เงินกันเหลื่อมปี งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2561 ของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวนเงิน 973,258,500 บาท และเงินเหลือจ่ายที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนำส่งคืน จำนวน 215,400 บาท รวมเป็นเงิน 11,849,388,300 บาท
กรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้เบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้มีสิทธิฯ ตามที่ได้รับงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 10,095,615,800 บาท คงเหลือเงินจำนวน 1,753,772,500 บาท และกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ประมาณการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้มีสิทธิตามโครงการฯ ระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน 2563 จำนวน 1,745,207 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,653,422,400 บาท
ดังนั้น เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กแรกเกิดในโครงการฯ จึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพิ่มเติม เป็นเงิน 2,899,649,900 บาท เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนฯ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน 2563 อย่างต่อเนื่อง
7. เรื่อง ขออนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ตามแผนปฏิบัติการบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2565) ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ในช่วงแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 1 – 2 (พ.ศ. 2554 – 2562) และแผนปฏิบัติการบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2565) ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริและสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
2. เห็นชอบสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ตามแผนปฏิบัติการบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2565) โดยมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีในหมวดเงินอุดหนุนตามแผนดังกล่าว ภายในกรอบวงเงิน 572.58 ล้านบาท
สาระสำคัญของเรื่อง
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้เสนอร่างแผนปฏิบัติการบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2565) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. นโยบายหลัก
1) พัฒนาพื้นที่ต้นแบบของสถาบันฯ ทั้งหมด ด้วยการเสริมประสิทธิภาพและยกระดับสู่ความยั่งยืน สามารถเชื่อมโยงกับภายนอกได้ และให้ความสำคัญกับการเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า หารูปแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ที่เหมาะสม รวมทั้งเป็นสถานที่เรียนรู้ระบบการพัฒนาที่จะนำไปสู่การขยายผล และเป็นทิศทางหลักในการพัฒนาประเทศ
2) เน้นการขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริโดยใช้รูปแบบ แนวทางกระบวนการองค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริง และประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริในพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคงของประเทศ ทั้งจังหวัดชายแดนภาคเหนือและจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ
3) ส่งเสริมการขยายผลและเผยแพร่รูปแบบการพัฒนาที่เกิดขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา เข้ามาเรียนรู้รูปแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่มีความหลากหลายเหมาะสมกับภูมิสังคม โดยจัดกระบวนการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ ควบคู่กับการขยายผลรูปแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริสู่ระบบราชการ อันจะนำไปสู่การเป็นทิศทางหลักในการพัฒนาประเทศระยะต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยอย่างกว้างขวางมากขึ้น
2) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในพื้นที่ต้นแบบเดิมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
3) เพื่อขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริไปยังพื้นที่ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล
4) เพื่อสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ และสร้างนักพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริให้มากยิ่งขึ้น
3. เป้าหมายการพัฒนา เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้กำหนดเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2565) ดังนี้
1) พัฒนาพื้นที่ต้นแบบทั้ง 9 จังหวัด (น่าน อุดรธานี กาฬสินธุ์ อุทัยธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ให้พึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักทฤษฎีใหม่
2) ขยายพื้นที่การปฏิบัติงานเพื่อประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริไปในพื้นที่ความมั่นคงตามแนวชายแดนภาคเหนือและชายแดนภาคใต้
3) สร้างนักพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นวิทยากร/พี่เลี้ยง และผู้ประสานงานการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. ประเด็นแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2565) ของมูลนิธิฯ และสถาบันฯ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแผนงาน
ประเด็นแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 3 ประกอบด้วย 3 แนวทางคือ แนวทางการพัฒนาที่ 1 การสร้างเสริมความเข้มแข็งของพื้นที่ต้นแบบเดิมให้ไปสู่ความยั่งยืน สามารถรองรับสถานการณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริในพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคงของประเทศ และ แนวทางการพัฒนาที่ 3 การบริหารจัดการเพื่อขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริให้สอดคล้องกับภูมิสังคมและสภาพแวดล้อม โดยมีเป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนงาน และโครงการ รวมปีละ 10 แผนงาน 40 โครงการ ที่ดำเนินงานในระยะเวลา 2 ปี
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ได้โมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะเป็นแบบแผนในการพัฒนาประเทศในอนาคตสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี คือ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) ได้แนวทางการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริในมิติที่เป็นความสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะในมิติความมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เช่น การค้าและการแพร่ระบาดของยาเสพติด
3) ได้แนวทางการขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริไปในพื้นที่ที่หลากหลายภูมิสังคม สอดคล้องกับหลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่ยั่งยืน และคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
4) ประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่ต้นแบบจะได้รับในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน จะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนในพื้นที่อื่นเห็นประโยชน์และนำไปปรับใช้มากขึ้น ตามพันธกิจขององค์กรกล่าวคือ
4.1) ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการในหมู่บ้านต้นแบบ ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่ มีรายได้สูงกว่าการพัฒนาในระยะที่ผ่านมา (ปี 2563)
4.2) ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าให้พื้นที่ต้นแบบ 5 ผลิตภัณฑ์ ภายในระยะ 2 ปี (พ.ศ. 2564 – 2565)
4.3) เกิดความสามัคคีในชุมชน มีการทำงานร่วมกัน แบ่งปันทรัพยากร โดยมีการรวมกลุ่มอาชีพและกองทุน ที่บริหารจัดการโดยชุมชน ได้รับมาตรฐานตามหลักเกณฑ์จากหน่วยงาน เช่น กลุ่มเกษตร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และมีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง
4.4) พื้นที่ป่าไม้ เช่น ป่าเศรษฐกิจ ป่าใช้สอย ป่าชุมชนฯ ในโครงกร ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ได้รับการดูแลรักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มีสัดส่วนร้อยละ 55 ของพื้นที่โครงการ
8. เรื่อง โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568)
2. อนุมัติกรอบวงเงินในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) จำนวน 5,408.77 ล้านบาท
สาระสำคัญของโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568) วงเงินลงทุนรวม 5,408.77 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (SI) นักนวัตกร ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการสาธิต การเรียนรู้ และการทดลองปฏิบัติจริง ซึ่งครอบคลุม Industry Assessment Tools, Learning Station/Line และ testbed/sandbox และรวมไปถึงกิจกรรมวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ โดยมีสถานที่ตั้งโครงการ บนพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEci) วังจันทร์วัลเลย์โซน E (ARIPOLIS Pilot Plant) อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ
กรอบกิจกรรมการดำเนินงานและเป้าหมายในการจัดตั้ง SMC เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอุตสาหกรรม โดยกลยุทธ์การดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ EECi ผสมผสานกับแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ที่เกี่ยวข้อง จัดกลุ่มเป็น 2 ส่วนงานหลักคือ
1. ส่วนงานด้านพัฒนาผลงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบการผลิต (Manufacturing Management and Process Development) เพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัย พัฒนาและทดสอบในด้านกระบวนการพัฒนาต้นแบบการผลิตให้กับผู้ประกอบการ
2. ส่วนงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ (Manufacturing Product Development) เพื่อรองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทดสอบศักยภาพ ในด้านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดให้กับผู้ประกอบการ
โดยกิจกรรมย่อยทั้งหมดของโครงการ SMC ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่
(1) Reference Architecture and Standards หมายถึง งานบริการทดสอบและจัดทำมาตรฐาน
(2) Service & Industry Promotion หมายถึง งานบริการและสนับสนุนอุตสาหกรรม : สร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่และสนับสนุนการประกอบธุรกิจเทคโนโลยีด้วยบริการครบวงจร
(3) Workforce Development หมายถึง งานด้านการพัฒนาคน : เตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะแรงงาน สร้างและพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากรในภาคเอกชน
(4) Pilot Line หมายถึง ศูนย์สาธิต ด้านอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ได้แก่ 1) Re-Manufacturing 2) Warehouse 3) Smart Energy & utility 4) Command unit 5) Maintenance
(5) Industry 4.0 Testlabs/Tested bed and R&I หมายถึง งานบริการทดสอบต้นแบบและผลิตภัณฑ์ งานวิจัยพัฒนาร่วมกับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการร่วมวิจัยและนวัตกรรมกับภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีกลุ่มพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อน SMC ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 กลุ่มสมาชิก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงข้อมูลและบริการลดหลั่นกันไปตามลำดับ ได้แก่
Tier 1 ได้แก่ กลุ่มร่วมทุน (Anchor) โดยมีเป้าหมายสำคัญในการก่อตั้งศูนย์ฯ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทยตลอดห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ผลิตบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องทั่วไป
Tier 2 ได้แก่ กลุ่มสมาชิก (member) ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
(1) ผู้ประกอบการที่นำผลิตภัณฑ์มาร่วมวาง/สาธิต/ทดสอบ ในศูนย์
(2) ผู้ประกอบการที่ใช้บริการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
โดยกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญ คือ การพัฒนาต่อยอดผลงานบนฐานนวัตกรรมสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจรวมถึงการเผยแพร่ผลงาน เพื่อให้บริการในเชิงธุรกิจแก่กลุ่มอุตสาหกรรมและการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Tier 3 ได้แก่ กลุ่มเครือข่าย (Partners) เช่น กลุ่มเมกเกอร์ นักศึกษา บุคคลทั่วไป โดยมีบทบาทสำคัญ คือ การร่วมส่งเสริมให้มีการขยายผลการใช้งานและแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นไปอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการส่วนร่วมในระบบนิเวศนวัตกรรมอุตสาหกรรม
ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน โครงการ SMC ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะที่ 1 เริ่มปีงบประมาณ 2564 กลุ่มปฏิบัติการมุ่งเน้นด้านกระบวนการวางพื้นฐานองค์ความรู้ และองค์ประกอบสำหรับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
2. ระยะที่ 2 เริ่มปีงบประมาณ 2565 – 2567 กลุ่มปฏิบัติการมุ่งเน้นด้านยกระดับกระบวนการการวางพื้นฐานทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
3. ระยะที่ 3 เริ่มปีงบประมาณ 2568 กลุ่มปฏิบัติการมุ่งเน้นด้านการพัฒนากระบวนการผลิตก้าวหน้า สู่การวางพื้นฐานและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตขั้นสูงของภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
1. โครงสร้างพื้นฐานและกำลังคนเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะ พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยตลอดห่วงโซ่การผลิต (Value chain)
2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ รวมถึงหน่วยงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องสามารถทดสอบการขยายผลการวิจัยพัฒนาไปสู่การลงทุนต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ด้วยความพร้อมทั้งทางเทคนิคและศักยภาพการแข่งขัน
3. ศูนย์กลางเครือข่ายองค์ความรู้และโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเพื่อการยกระดับการผลิตสินค้าและบริการของเขตนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกิดใหม่แบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทยและพร้อมสู่ระดับสากล ซึ่งจะเป็นปัจจัยดึงดูดนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยต่างชาติ และนักลงทุน
ประมาณการรายได้รวมของโครงการและผลตอบแทนจากการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาใน EECi ในระยะ 10 ปี
1. เกิดรายได้สำหรับการพึ่งพาตนเองลดภาระรายจ่ายงบประมาณภาครัฐของโครงการ SMC จะมุ่งเน้นการบริการในกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่และกลุ่มผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนรวม 2,349.25 ล้านบาท
2. เกิดโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ BCG โดยคาดว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม เสริมมศักยภาพความเข้มแข็งทางการแข่งขันของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทานการผลิต รวมถึงก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมอัจฉริยะทั้งการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต รวมถึงการผลิตสินค้าและบริการใหม่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าการลงทุนดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 จึงนับได้ว่าเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน
3. เกิดมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มเติมของผู้ประกอบการที่เข้ารับบริการจากโครงการ ศูนย์ฯ คาดว่าจะมีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการ ผลิตอัจฉริยะเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นรวม 26,136.84 ล้านบาท
9. เรื่อง ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเวทีแสดงพลังสร้างสรรค์ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ณ จังหวัดระยอง เพื่อ
กำหนดประเด็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเวทีแสดงพลังสร้างสรรค์ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ณ จังหวัดระยองเพื่อกำหนดประเด็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 ตามที่เสนอ
2. เห็นชอบตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่อไป
ตามที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการจัดเวทีสร้างการรับรู้และรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการในด้านต่าง ๆ
ของรัฐบาล เพื่อเป็นการส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยการรับฟังความคิดเห็นและคัดเลือกตัวแทนนักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าร่วมรับฟังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ในพื้นที่จังหวัดระยองและเสนอแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับจังหวัดของตนต่อคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 และ สศช. ได้ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ภายใต้ชื่อ “การประชุมเชิงปฏิบัติการเวทีแสดงพลังสร้างสรรค์ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ณ จังหวัดระยอง เพื่อกำหนดประเด็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ” ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมเสม็ด โรงแรม คามิโอ แกรนด์ ระยอง จังหวัดระยอง นั้น
ในการนี้ สศช. ขอเสนอผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเวทีแสดงพลังสร้างสรรค์ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ณ จังหวัดระยองฯ ดังกล่าว มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. เรื่องเดิม
1.1 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีเวทีสร้างการรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเป็น
การส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การดำเนินการในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล รวมทั้งสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ทุกภาคส่วนและประชาชนทั่วไป โดยให้พิจารณากำหนดประเด็นการพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน และกำหนดหน่วยงานหลักรับผิดชอบในแต่ละประเด็นให้ชัดเจน
1.2 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีข้อเสนอแนวทางในการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนคนรุ่นใหม่ในจังหวัดที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เพื่อรับฟัง
ความคิดเห็นของ นักเรียน นิสิต นักศึกษาในประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะ หรือแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับจังหวัดของตน โดยให้มี นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าร่วมรับฟังการประชุมคณะรัฐมนตรี และให้มีตัวแทนนำเสนอผลสรุปความเห็นและข้อเสนอจากการระดมสมองต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยตนเอง
2. การดำเนินงาน
2.1 สศช. ได้จัดเวทีการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนคนรุ่นใหม่ ที่จังหวัดระยองเป็นพื้นที่แรก ในวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 ระหว่างเวลา 8.00 – 16.00 น. ณ โรงแรมคามิโอ แกรนด์ จังหวัดระยอง ภายใต้ชื่อ “เวทีพลังสร้างสรรค์ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ณ จังหวัดระยอง เพื่อกำหนดประเด็นการพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ”
2.2 กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย ผู้แทนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จากสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดระยอง จำนวน 99 คน จาก 37 สถาบัน พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ สศช. รวมจำนวนทั้งสิ้น 130 คน
2.3 กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของประชาชนคนรุ่นใหม่กับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยการบรรยายของวิทยากรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2) กิจกรรมการระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในกลุ่มย่อย ตามหัวข้อความสนใจ 7 ประเด็น ได้แก่ (1) การศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร (2) EEC และเศรษฐกิจระยอง
(3) คุณภาพสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหา (4) E-Sport กับการพัฒนาคนรุ่นใหม่ (5) จังหวัดระยอง
ในอนาคต (2025) (6) มุมมองคนรุ่นใหม่ต่อโรคโควิด-19 และ (7) การมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการพัฒนา เพื่อให้แต่ละกลุ่มจัดทำสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มนำเสนอต่อผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบรวมทั้งให้ความเห็นและข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
3) สมาชิกแต่ละกลุ่มคัดเลือกและเสนอชื่อตัวแทน นักเรียน และนักศึกษา กลุ่มละ 1 คน เพื่อเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมรับฟังการประชุมและนำเสนอสรุปประเด็นความเห็นและข้อเสนอจากประชาชนคนรุ่นใหม่จังหวัดระยองต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดระยอง ในวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563
3. สาระสำคัญ
3.1 ด้านการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร
1) สภาพปัญหา ประกอบด้วย (1) ชั่วโมงเรียนยาวนานและมีเนื้อหาทางทฤษฎี
มากเกินไป (2) ปัญหาจากบุคลากรทางการศึกษา ขาดการรับฟังความเห็น การเลือกปฏิบัติ (3) หลักสูตรไม่ตรงกับความสนใจ และไม่ครอบคลุมเนื้อหาสำหรับการสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และ (4) ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ทางการศึกษาแพง การขาดทุนทรัพย์ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
2) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) เพิ่มพื้นที่และเวลาให้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตร สนับสนุนการเรียนรู้อย่างรอบด้าน ลดกิจกรรมเข้าแถว (2) ลดจำนวนนักเรียนต่อห้อง รวมทั้งให้มีการอบรมครูด้านการปฏิบัติและการใช้คำพูดต่อนักเรียน (3) ปรับปรุงหลักสูตร สนับสนุนการพัฒนาทักษะที่หลากหลายและสามารถใช้ในการดำรงชีวิตได้จริง และ (4) ขยายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงได้ง่าย จัดให้มีอุปกรณ์การเรียนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันระหว่างโรงเรียน ลดการบังคับให้ใส่เครื่องแบบหรืออุปกรณ์เสริม เพื่อลดค่าใช้จ่าย
3.2 ด้านการพัฒนา EEC และเศรษฐกิจระยอง
1) สภาพปัญหา ประกอบด้วย (1) ปัญหาสภาพแวดล้อมและมลพิษจากอุตสาหกรรม (2) การจราจรแออัด ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะไม่เพียงพอ (3) บริการด้านสาธารณสุขล่าช้าไม่เพียงพอ (4) ประชากรแฝงจำนวนมาก ทำให้งบประมาณที่ได้รับไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และ (4) การท่องเที่ยวซบเซา แหล่งท่องเที่ยวน้อย ชุมชนขาดรายได้
2) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) บังคับใช้มาตรการกำกับการปล่อยสารพิษอย่างจริงจัง (2) เพิ่มระบบขนส่งมวลชน มีการพัฒนาผังเมืองโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตของประชาชน (3) เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุข จัดให้มีการตรวจสุขภาพประชาชนปีละ 2 ครั้ง และ (4) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ พร้อมทั้งดำเนินนโยบายสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน เพื่อให้เกิดรายได้และอาชีพภายในชุมชนของตนเอง
3.3 ด้านการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหา
1) สภาพปัญหา ประกอบด้วย (1) อุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษ ส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่ และทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล ทะเลระยองเที่ยวไม่ได้ เสียโอกาสท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (2) การขนส่งภาคอุตสาหกรรม และการสร้างถนนหลายแห่งพร้อม ๆ กัน ทำให้การจราจรติดขัด และ (3) การสัญจรทางเท้าไม่สะดวก ขนส่งสาธารณะไม่น่าใช้
2) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) รัฐควรคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก กำกับเอกชนให้มีความรับผิดชอบอย่างจริงจัง ให้ความรู้สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นรวมทั้ง
การเรียกร้องสิทธิที่พึงได้ (2) สร้างและซ่อมถนนเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบที่ตามมาเป็นหลัก และ (3) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ มากกว่าเน้นรองรับการใช้รถส่วนบุคคล
3.4 ด้าน E-Sport กับการพัฒนาคนรุ่นใหม่
1) สภาพปัญหา ประกอบด้วย (1) ทัศนคติในเชิงลบและขาดความเข้าใจใน E-Sport (2) ขาดการสนับสนุนทั้งด้านค่าใช้จ่าย (3) ขาดพื้นที่และโอกาสในการแข่งขัน และ (4) ขาดทักษะด้านภาษา
2) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) ให้ความรู้ความเข้าใจต่อสังคม พร้อมทั้งปรับปรุงภาพลักษณ์ของ E-Sport ในเชิงอาชีพ (2) ภาครัฐให้การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในลักษณะเดียวกับ
การประกอบอาชีพอื่น ๆ (3) ให้การสนับสนุนพื้นที่จัดการแข่งขันเพื่อโอกาสในการพัฒนาทักษะขั้นสูงขึ้น และ
(4) ให้การสนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
3.5 ด้านการพัฒนาจังหวัดระยองในอนาคต (2025)
1) ความคาดหวัง ประกอบด้วย (1) เดินทางปลอดภัยสะดวกสบาย คุณภาพชีวิตดี (2) เศรษฐกิจมั่นคง ชุมชนมีรายได้ ค้าขายดี เพิ่มมูลค่าภาคการเกษตร (3) สิ่งแวดล้อมสะอาด ปราศจากมลภาวะ (4) สังคมสงบสุข ปลอดคอร์รัปชั่น ลดความเหลื่อมล้ำ และ (5) บริการสาธารณะเหมาะสมและทั่วถึง
2) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ (2) สนับสนุน OTOP เชื่อมโยงเกษตร สร้างงานในพื้นที่ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (3) กำกับโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบ ส่งเสริมการเปิดเยี่ยมชมโรงงาน (4) ปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรม ให้มีจิตสำนึกที่ดีโดยผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน และ (5) จัดสรรทรัพยากรและบริการสาธารณะให้สอดคล้องกับจำนวนคนในพื้นที่จริง
3.6 ด้านมุมมองคนรุ่นใหม่ต่อโรคโควิด-19
1) ความคาดหวัง ประกอบด้วย (1) พื้นที่ระยองปราศจากปัญหาโควิด (2) เศรษฐกิจฟื้นตัวและพัฒนา และ (3) รัฐบาลมีความพร้อมรับมือโรคระบาดในอนาคต
2) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) มีมาตรการที่เข้มข้น โดยควบคุมดูแลให้มาตรการต่าง ๆ ไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากนัก (2) เมื่อเข้าสู่ภาวะปกติควรสนับสนุนการท่องเที่ยว และ (3) มีช่องทางการสื่อสารระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่มีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์
3.7 ด้านการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการพัฒนา
1) สรุปความเห็น ประกอบด้วย (1) ภาครัฐขาดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากเยาวชน (2) ประชาชนคนรุ่นใหม่ต้องการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สังคม และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น และ (3) ประชาชนคนรุ่นใหม่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
2) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) หน่วยงานภาครัฐควรมีระบบรับฟังความเห็นของเยาวชนจากแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาแก้ปัญหาต่าง ๆ (2) ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ในการใช้สื่อออนไลน์สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น เช่น แนะนำแหล่งท่องเที่ยว เชิญชวนให้คนมาเที่ยวระยอง เป็นต้น และ (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนา เช่น ระบบรับฟังความคิดเห็นและการแจ้งเหตุจากประชาชนเพื่อการปรับปรุงบริการสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขนส่งสาธารณะและระบบเตือนภัยพิบัติ
มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่อไป
10. เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสัมมนา “การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ณ อาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และมอบหมายกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสั่งการของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสัมมนาดังกล่าว
สาระสำคัญ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานผลการประชุมสัมมนา “การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสัมมนาฯ และมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายรอยล จิตรดอน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งส่วนกลาง ส่วนพื้นที่ และส่วนภูมิภาค จำนวนรวมทั้งสิ้น 500 ท่าน โดยสรุปสาระสำคัญจากการประชุมสัมมนา ดังนี้
1. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมและ
มอบนโยบายประกอบการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมอบหมายกระทรวงมหาดไทย โดยมอบหมายผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมอบหมายผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในแต่ละนโยบาย ดังนี้
1.1 โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบหลักในพื้นที่ โดยปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ในชุมชน ร่วมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาพระราชทาน
(2) สร้างกลไกการรับรู้ โดยใช้เครือข่ายจิตอาสาพระราชทาน เป็นช่องทางสื่อสารและสร้างความร่วมมือกับประชาชน
(3) ใช้การเจรจาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้ราษฎรที่อยู่ในเขตป่า ลดการใช้พื้นที่ ไม่บุกรุกป่าเพิ่ม ไม่เผาป่า และร่วมกันดูแลรักษาป่า
(4) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดเตรียมกล้าไม้ที่แข็งแรง สมบูรณ์เพื่อสนับสนุนการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว
1.2 ป่าชุมชน
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะคณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด เป็นกลไกหลัก
ในการบริหารจัดการและกำกับการดำเนินงานของคณะกรรมการป่าชุมชนในแต่ละพื้นที่
(2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเสริม
การจัดตั้ง ฟื้นฟูและขยายป่าชุมชน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อยู่อาศัยและทำกินในป่าชุมชน
1.3 โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
(1) เร่งรัดการสำรวจการถือครองและจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำหรือพื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำ 1 และ 2 เพื่อจัดสรรที่ดินอยู่อาศัยและทำกินให้ราษฎร ตามกลไก คทช. รวมทั้งเร่งรัดฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ดังกล่าว
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด สอบถามความต้องการ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของราษฎรที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ตามกลไก คทช. ที่ผ่านมา และเร่งรัดหน่วยงานต่าง ๆ ให้ดำเนินการตามความต้องการ ของราษฎร
1.4 การแก้ปัญหาหมอกควัน และ PM 2.5
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่ายจิตอาสา แก้ไขปัญหาไฟป่าโดยกลไกภายใต้โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า
(2) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ (War Room) ระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัดระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น ในพื้นที่เสี่ยงไฟป่า รวมทั้งจัดชุดพิทักษ์ป่าประจำหมู่บ้านโดยร่วมกันระหว่างฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ป่าไม้
(3) นำเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่
1.5 การบริหารจัดการน้ำและการเติมน้ำลงดิน
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดและกลั่นกรอง แผนงานโครงการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งเก็บกักน้ำบนดินและใต้ดิน เพื่อส่งข้อมูลให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประสานกับหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เสนอจัดตั้งงบประมาณ
(2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดหาแหล่งน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ให้ประชาชนทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ทุกอำเภอทั่วประเทศ
(3) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและผู้ว่าราชการจังหวัด นำองค์ความรู้เรื่องการเติมน้ำใต้ดินไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน สภาพพื้นที่ รูปแบบทางวิชาการ แหล่งน้ำที่จะใช้เติม และคุณภาพน้ำทั้งก่อนเติมและหลังการเติม
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ส่งมอบคู่มือการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้ง 76 จังหวัด ใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ดังนี้
2.1 คู่มือปฏิบัติงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
2.2 คู่มือปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ระดับจังหวัด
2.3 คู่มือปฏิบัติการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ระดับจังหวัด
2.4 คู่มือเติมน้ำใต้ดิน ระดับตื้น คู่มือเกณฑ์กำหนดสำหรับการออกแบบ ก่อสร้าง และการบำรุงรักษาอาคารประกอบในโครงสร้างพื้นฐาน และคู่มือปฏิบัติงานโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า ระดับจังหวัด
11. เรื่อง ขออนุมัติการดำเนินงานโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณด้วย ดังนี้
1. อนุมัติการดำเนิงานโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563
2. อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 วงเงินทั้งสิ้น 3,440,049,735 บาท ดังต่อไปนี้
(1) ใช้เงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แบ่งเป็น
(1.1) เงินเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย อัตราไร่ละ 2,000 บาท ครัวเรือนละ
ไม่เกิน 25 ไร่ จำนวน 3,355,181,560 บาท
(1.2) ค่าบริหารจัดการโครงการ สำหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร (ธ.ก.ส.) ครัวเรือนละ 7 บาท จำนวน 1,376,585 บาท
(1.3) ค่าชดเชยต้นทุนให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ร้อยละ 2.25 ของวงเงินเยียวยาที่ต้องจ่าย จำนวน 75,491,590 บาท
(2) ค่าบริหารจัดการโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร 8,000,000 บาท โดยใช้
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของกรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไยปี 2563 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ผลผลิตลำไยไม่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ส่งผลกระทบหลายด้านโดยเฉพาะตลาดหลักที่รับซื้อผลผลิต คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ไม่สามารถเข้ามารับซื้อผลผลิตลำไยได้
สาระสำคัญ
โครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไย ให้สามารถฟื้นฟูการผลิตลำไยที่ได้รับผลกระทบทั้งด้านการผลิตและการตลาดและส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีแนวทางปฏิบัติต่อสวนลำไยเพื่อประกอบอาชีพชาวสวนลำไยได้อย่างยั่งยืน เกษตรกร จำนวน 200,000 ครัวเรือน ภายใต้กรอบวงเงินทั้งสิ้น 3,440,049,735 บาท ประกอบด้วย
1. ใช้เงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แบ่งเป็น
1.1 เงินเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย อัตราไร่ละ 2,000 บาท ครัวเรือนละ ไม่เกิน 25 ไร่ จำนวน 3,355,181,560 บาท
1.2 ค่าบริหารจัดการโครงกร สำหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ครัวเรือนละ 7 บาท จำนวน 1,376,585 บาท
1.3 ค่าชดเชยต้นทุนให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
(ในอัตรา FDR+1 = 2.25) ร้อยละ 2.25 ของวงเงินเยียวยาที่ต้องจ่าย จำนวน 75,491,590 บาท
2. ค่าบริหารจัดการโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร 8,000,000 บาท โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของกรมส่งเสริมการเกษตร
ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2563
การดำเนินการ
1. กรมส่งเสริมการเกษตรสรุปและส่งข้อมูลเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2562 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรทุกครัวเรือน ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานใหญ่ เพื่อดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกร โดยผู้มีสิทธิ์ต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ภายในวันที่ 15 กันยายน 2563
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินให้แก่เกษตรกรผ่านบัญชีเงินฝากของเกษตรกรที่มีกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
3. กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์โครงการรวมทั้งชี้แจงให้เกษตรกรทราบ
12. เรื่อง ขอความเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562 – 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอการขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562 – 2563 ออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2563 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2563 โดยใช้กรอบงบประมาณดำเนินการเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้ (27 ส.ค. 62) จำนวน 13,378.99 ล้านบาท ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ให้แก่เกษตรกรแล้ว 9 งวด เป็นเงิน 6,729.57 ล้านบาท คงเหลือจำนวน 6,649.42 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ให้แก่เกษตรกร และเป็นค่าบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. (ก.ย. 62 – ธ.ค. 63)
พณ. เสนอว่า
เนื่องจากระยะเวลาดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันปี 2562 – 2563 จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2563 เพื่อขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562 – 2563 ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ประสบปัญหาด้านอุปทานและราคาในขณะนี้ และในอนาคตที่ยังไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาที่สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายลงอย่างสิ้นเชิงได้ชัดเจน ซึ่งทำให้ราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำต่อเนื่องจนถึงปลายปี 2563 รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลตามที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562
ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562 – 2563 เพื่อเป็นหลักประกันในการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันมีรายได้จากการขายผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงกว่าต้นทุนการผลิตและทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการดำรงอาชีพเกษตรกรรม ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการฯ ไม่มีผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของผู้บริโภค
13. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 15
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 15 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2563 ซึ่งได้รับข้อมูลจาก 147 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 99 ของส่วนราชการทั้งหมด (148 ส่วนราชการ) สรุปข้อมูลดังนี้
1. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ
ส่วนราชการได้มีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการตามปกติเพิ่มมากขึ้น (81 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 55) โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา (78 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 53) และส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เหลื่อมเวลาในการทำงานเป็น 3 ช่วงเวลาเพิ่มมากขึ้น (79 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 54)
2. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home)
ส่วนราชการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการลดลง (66 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 45) โดยในจำนวนนี้มีส่วนราชการ 16 ส่วนราชการ (คิดเป็นร้อยละ 11) มอบหมายให้ทุกคนปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง
14. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ ในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 10 – 14 สิงหาคม 2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีจำนวน 55 แห่ง โดยผลสัมฤทธิ์ฯ ของรัฐวิสาหกิจในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 10 – 14 สิงหาคม 2563 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (ปฏิบัติงานที่บ้านหรือที่พักหรือสถานที่ตามที่รัฐวิสาหกิจกำหนด)
รัฐวิสาหกิจ 14 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง โดยมีรัฐวิสาหกิจ 41 แห่ง ที่ให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามปกติแล้ว เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 3 – 7 สิงหาคม 2563) ทั้งนี้ จากจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดจำนวน 272,540 คน มีพนักงานและลูกจ้างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งจำนวน 11,777 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 4
2. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา)
รัฐวิสาหกิจ 26 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาเท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 3 – 7 สิงหาคม 2563) โดยรัฐวิสาหกิจ 26 แห่ง มีช่วงเวลาเริ่มปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาตั้งแต่เวลา 6.00 น. – 10.00 น.
3. แนวทางการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจที่ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งมีการติดตามผลการปฏิบัติงานทั้งเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีการกำกับ ติดตาม และบริหารผลการปฏิบัติงานผ่านแอปพลิเคชัน Line ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการติดตามงานและการลงเวลาปฏิบัติงานที่องค์กรพัฒนาขึ้นเอง โดยรัฐวิสาหกิจยังคงใช้แอปพลิเคชัน Line มาสนับสนุนการปฏิบัติงานมากที่สุด ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งว่า ควรเตรียมอุปกรณ์และระบบเพื่อรองรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้เพียงพอ และควรพัฒนาระบบการปฏิบัติงานขององค์กรให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ ซึ่งรวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งควรพิจารณาลักษณะงานที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งเท่านั้น เช่น การให้บริการประชาชน และสำหรับงานอื่นที่ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้ง ควรพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งแทน
15. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,000,000,000.- บาท ในลักษณะเงินอุดหนุนให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อให้การสนับสนุนหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศในการเพิ่มศักยภาพการผลิตวัคซีนให้พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด 19 และการสร้างขีดความสามารถของประเทศโดยการพัฒนาวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้จัดทำโครงการพัฒนาวัคซีนต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำและเตรียมความพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สรุปสาระสำคัญของโครงการ ดังนี้
หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2563 มีผู้ป่วยยืนยันกว่า 20 ล้านคน เสียชีวิต 733,000 คน ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคได้อย่างดียิ่ง แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโรคได้ในระลอกที่ 2 เนื่องด้วยยังมีผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลก หากสถานการณ์การระบาดไม่สามารถยุติได้ในระยะเวลาอันใกล้ การเปิดประเทศเพื่อเดินหน้าสู่การดำเนินชีวิต New Normal คู่ขนานไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงเป็นไปได้ยาก และรัฐบาลยังจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือ เพื่อประคองกิจการต่าง ๆ ในประเทศให้สามารถดำเนินการได้ ฉะนั้น วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ และเป็นนวัตกรรมทางสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงที่จะเป็นคำตอบในการป้องกันควบคุมโรค และเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย การเร่งรัดให้มีวัคซีนใช้ในประเทศเร็วขึ้นเพียงไม่กี่เดือนจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
แผน Blueprint เพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของประชาชนไทย ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 ซึ่งถือเป็นกรอบนโยบายในการบูรณาการประสานความร่วมมือหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ในการบรรลุเป้าหมายการเข้าถึงวัคซีนให้ทันท่วงที และสร้างขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาและผลิตวัคซีน เพื่อให้ประชาชนไทยได้รับวัคซีนโดยเร็วที่สุด โดยดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 1) การนำวัคซีนต้นแบบที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศมาทดสอบในประเทศไทย และขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิต (เป้าหมายระยะสั้น และระยะกลาง) และ 2) พัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศไทยตั้งแต่ต้นน้ำ (เป้าหมายระยะกลาง และระยะยาว) ในการนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้ให้การสนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยพัฒนา และหน่วยผลิตวัคซีนในประเทศ ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อส่งเสริมการผลิตวัคซีนใช้ได้เองในประเทศตั้งแต่ต้นน้ำ นอกจากนี้ ยังได้มีการเจรจาสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อการขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทั้งจากประเทศจีน และยุโรป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่มีแนวโน้มจะได้วัคซีนมาใช้ภายในต้นปี 2564 น่าจะเป็นทางเลือกที่รัฐบาลควรลงทุน เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศไทยก้าวข้ามสถานการณ์การระบาดได้อย่างก้าวกระโดด เนื่องจากการมีวัคซีนใช้เร็วขึ้น 1 เดือน จะช่วยให้ประเทศสามารถสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประมาณ 2.5 แสนล้านบาท และยังสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่นของประชาชนไทยด้วย
วัคซีนโควิด 19 หลายชนิดที่มีการพัฒนาในโลก วัคซีนกลุ่ม Adenovirus เป็นที่ยอมรับในระดับโลกและมีการพัฒนาที่ใกล้สำเร็จ โดยเฉพาะวัคซีนชนิด Chimpanzee Adenovirus ที่พัฒนาโดย Oxford University ร่วมกับผู้ผลิตคือบริษัท AstraZeneca ขณะนี้มีผลการวิจัยในมนุษย์ที่ดีมาก สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี กำลังศึกษาวิจัยในมนุษย์ ระยะที่ 3 คาดการณ์ว่าจะสามารถได้รับอนุมัติทะเบียนที่ยุโรปภายในธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยมีผู้ผลิตในประเทศที่มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี และคาดว่าจะสามารถมีผลิตภัณฑ์วัคซีนให้ประชาชนไทยได้ในปี 2564 ด้วยศักยภาพการผลิตวัคซีนได้ 200 ล้านโด๊สต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ในประเทศ
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ในเวลาใกล้เคียงกับประเทศอื่น ๆ ในโลก รวมถึงการลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศได้อย่างรวดเร็วขึ้น สธ. โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด 19 จากต่างประเทศ เพื่อเตรียมหน่วยผลิตวัคซีนในประเทศให้มีความพร้อมสำหรับการผลิตวัคซีนชนิด Adenovirus ตั้งแต่ต้นน้ำ ด้วยกำลังการผลิต 200 ล้านโด๊สต่อปี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมยาชีววัตถุในประเทศให้สามารถผลิตวัคซีนโควิด 19 ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เองตั้งแต่ต้นน้ำ
2. เพื่อให้ประเทศมีวัคซีนโควิด 19 สำหรับให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง
ระยะเวลาการดำเนินการ เดือนสิงหาคม 2563 - พฤศจิกายน 2564
งบประมาณ จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) งบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000,000.- บาท
16. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมทั้งสิ้น 2,771.1784 ล้านบาท ของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมทั้งสิ้น 2,771.1784 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง วงเงินรวม 1,719.1008 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท วงเงินรวม 1,052.0776 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยให้ คค. ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
คค. ได้รับรายงานจากกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมทั้งสิ้น 2,771.1784 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง วงเงินรวม 1,719.1008 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท วงเงินรวม 1,052.0776 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
กรมทางหลวง เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวม 1,719.1008 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และโครงการติดตั้งหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) ในระยะที่ 1 ของกรมทางหลวง
กรมทางหลวงชนบท เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวม 1,052.0776 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และโครงการติดตั้งหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) ในระยะที่ 1 ของกรมทางหลวงชนบท
ทั้งนี้ คค. พิจารณาแล้วเห็นว่า การขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ดังกล่าว ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ยังเป็นการช่วยยกระดับราคายางพารา เพิ่มรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพารา และระบายผลผลิตยางพาราที่มีอยู่จำนวนมากอย่างเป็นรูปธรรม
ต่างประเทศ
17. เรื่อง ขออนุมัติร่างความตกลงโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียลและสถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียลและสถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือ และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่เนื้อหาสาระสำคัญก่อนการลงนาม ให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามความตกลงโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียลและสถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือ โดยมีกำหนดหารลงนามความตกลงฯ ในวันที่ 1 กันยายน 2563 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ
ร่างความตกลงโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการศึกษา ฉบับใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คู่ภาคี (กระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา) ร่วมมือกันพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียล และสถาบันเทคโนโลยีกำปงสปือเพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลได้ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญา ครูทักษะชีวิต และครูวิชาชีพในระดับอุดมศึกษา โดยได้กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของคู่ภาคีในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งฝ่ายไทยจะรับผิดชอบการก่อสร้าง ปรับปรุง และซ่อมแซมอาคาร ระบบสาธารณูปโภค สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสถาบัน ทั้งด้านหลักสูตร และบุคลากร รวมทั้งอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนตามที่คู่ภาคีเห็นว่าจำเป็นและได้ตกลงร่วมกันแล้ว ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชาจะรับผิดชอบการประสานงานและให้ความร่วมมือด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ซ่อมแซมอาคาร กำกับดูแลการบริหารงานของสถาบันทั้งสองแห่งให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอน สนับสนุนทางวิชาการและการเงิน เพื่อการบริหารสถาบัน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อยกเว้นภาษีศุลกากรและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายใต้โครงการ รวมถึงการดูแลความปลอดภัยของบุคลากรฝ่ายไทยที่ปฏิบัติงานภายใต้โครงการ และความปลอดภัยของสิ่งก่อสร้างและสาธารณูปโภคต่าง ๆ
18. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามผลการประชุมดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในฐานะประธานอาเซียนปี 2563 ได้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 โดยมีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุม สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ภาพรวม ผู้นำอาเซียนได้ดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ เช่น ยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแท้จริง ภายใต้แนวคิด “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” หารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และรับรองวิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยอาเซียนที่แน่นแฟ้นและตอบสนอง ก้าวข้ามความท้าทายและเสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
2. การส่งเสริมพหุภาคีนิยมการค้าเสรี และความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น เน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างพหุภาคีนิยมและการช่วยเหลือเกื้อกูลระดับโลก เน้นย้ำบทบาทนำและความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาค การเสริมสร้างความร่วมมือที่จะช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เน้นย้ำการสนับสนุนการค้าเสรีที่เปิดกว้างและบูรณาการเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในปี 2563 เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการส่งเสริมความมั่นคงระหว่างประเทศ
3. การส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนในการรับมือกับโควิด-19 เช่น ประกาศจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นข้อเสนอของไทย เห็นชอบแนวทางและเงื่อนเวลาสำหรับการจัดทำแผนงานฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน เร่งรัดการจัดตั้งคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์และการจัดทำมาตรฐานวิธีปฏิบัติของอาเซียนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
สำหรับประเด็นที่ไทยผลักดัน โดยได้เสนอแนวทาง 3 ประการเพื่อการฟื้นตัวของอาเซียนหลังโควิด-19 ได้แก่ (1) ให้อาเซียนกลับมาเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ (2) ให้อาเซียนสร้างความเข้มแข็งมากขึ้น ผ่านการลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัล และแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG) (3) ให้อาเซียนมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยสนับสนุนการจัดทำแผนฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน ซึ่งควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างความมั่นคงทางสาธารณสุข
19. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่าด้วยการเข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ของกองทัพสิงคโปร์ในราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2563-2568)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่าด้วยการเข้าร่วมฝึกคอบร้าโกลด์ของกองทัพสิงคโปร์ในราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2563-2563) (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Singapore on the Participation of Singapore Armed Forces in Cobra Gold Exercise in the Kingdom of Thailand) และให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย
1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ 2) กล่าวโดยทั่วไป 3) สถานภาพในการฝึก 4) การเข้าร่วมการฝึก 5) กิจกรรมที่ทำการฝึก 6) พื้นที่การฝึก 7) ขั้นตอนการปฏิบัติ 8) การปฏิบัติเพื่อยุติความขัดแย้ง และ 9) การมีผลบังคับใช้
2. ร่างบันมึกความเข้าใจฯ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการระบุเงื่อนไข ข้อกำหนด และคำแนะนำในการเข้าร่วมการฝึกตามนโยบายของกองทัพไทย สถานภาพกำลังพลของกองทัพสิงคโปร์ในการเข้าร่วมการฝึก รวมทั้งระเบียบปฏิบัติในการฝึกต่าง ๆ อาทิ การจัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ การเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าสู่ประเทศไทย การส่งกำลังและการสนับสนุน และการชดใช้ค่าเสียหาย
การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ (พ.ศ. 2563-2568) เป็นการดำเนินงานที่ต่อเนื่องจากบันทึกความเข้าใจฯ (พ.ศ. 2558-2563) ในการกำหนดเงื่อนไข และข้อกำหนด สำหรับกองทัพสิงคโปร์ในการเข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่งผลให้ไทยได้รับประโยชน์จากสาธารณรัฐสิงคโปร์ทั้งในด้านการเมือง ด้านการทหาร และด้านเศรษฐกิจ ในอนาคตต่อไป
20. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 และผลการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชนกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมครั้งที่ 13
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชนกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือ ผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย ในการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 โดยให้ความเห็นชอบต่อประเด็นหารือของไทย และร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 เพื่อให้รัฐมนตรีประจำกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย ร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ ดังกล่าว โดยไม่มีการลงนาม ในการประชุมระดับรัฐมนตรีของกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงข่าวร่วมฯ ได้ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยสำนักงานฯ จะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขพร้อมด้วยเหตุผลประกอบอีกครั้งหนึ่งตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ผลการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชนกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ณ กระทรวงคมนาคม
1.1 ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รับทราบอุปสรรค และหารือแนวทางการดำเนินงานระหว่างรัฐ-เอกชนของประเทศสมาชิก ภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงระยะที่ 2 ปี 2562 – 2566 (MIDV2.0) ซึ่งมุ่งพัฒนาความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความเชื่อมโยงด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และกฎระเบียบ 2) นวัตกรรมเชิงดิจิทัลการยกระดับอุตสาหกรรมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านไอซีที และ 3) การดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยที่ประชุมฯ ได้เน้นย้ำความสำคัญของวิสัยทัศน์ดังกล่าว ในการผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการรับมือกับผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านโครงการลำดับความสำคัญสูงที่เสนอโดยประเทศสมาชิก
1.1.1 ข้อคิดเห็นจากภาครัฐของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ผู้แทนประเทศสมาชิกเห็นพ้องต่อการมุ่งสนับสนุนการเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าระหว่างกัน และการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการลดผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต่อการดำเนินงานภายใต้ MIDV 2.0 ผ่านโครงการลำดับความสำคัญสูง ครอบคลุมการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล เศรษฐกิจฐานดิจิทัล และ e-Commerce สนับสนุนการสร้างกลไกเพื่อลดต้นทุนในการจัดตั้งและดำเนินธุรกิจของ MSMEs ตลอดจนการยกระดับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมาย SDGs ในอนุภูมิภาค รวมทั้งเน้นย้ำการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการตามความตกลง CBTA การพัฒนาระบบศุลกากร ณ จุดเดียวในอาเซียน ตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงผ่านการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในโครงการลงทุนต่าง ๆ
1.1.2 ข้อคิดเห็นจากภาคเอกชนประเทศลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ภาคเอกชนให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานที่ใกล้ชิดกับภาครัฐ เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะการขับเคลื่อนความตกลง CBTA ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การพัฒนาระบบศุลกากร ณ จุดเดียวในอาเซียน และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังได้เน้นย้ำการผนวกเทคโนโลยีเข้ากับการพัฒนาธุรกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ครอบคลุมการยกระดับความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล การบริหารจัดการระบบ e-Commerce และ e-Payment ตลอดจนการสร้างและเชื่อมโยงฐานข้อมูลภาคธุรกิจของตลาดกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและญี่ปุ่น ส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์และทักษะแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมถึงมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ MSMEs เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการค้าให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป
2. การดำเนินงานต่อไป ประเทศญี่ปุ่นจะได้พิจารณาให้ความร่วมมือในการสนับสนุนแผนงาน/โครงการที่ถูกนำเสนอขึ้นมา และนำเสนอต่อรัฐมนตรีระเทศลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ในการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ต่อไป
3. การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ระหว่างเวลา 14.30 – 16.00 น. ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 โดยประเด็นหารือและข้อเสนอของประเทศไทย ในการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 ดังนี้
3.1 สนับสนุนประเทศญี่ปุ่นในการให้ความร่วมมือในการสนับสนุนแผนงาน/โครงการที่ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้นำเสนอขึ้นมาเพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ MIDV2.0 เพื่อรับมือกับผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมในอนุภูมิภาคไม่ขาดช่วง
3.2 เสนอให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงเร่งปรับปรุงกฎระเบียบการข้ามแดนระหว่างประเทศให้มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดการข้ามแดนที่ปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ลดความแออัดบริเวณหน้าด่าน และมีการดำเนินงานแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้หลักการ Thailand Plus One
3.3 เสนอให้ญี่ปุ่นร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาการผลิตที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ในพื้นที่ EEC เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
4. ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 12 สรุปสาระสำคัญดังนี้
4.1 มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ละประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ ในการขยายห่วงโซ่อุปทานระหว่างภูมิภาค และยกระดับประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้ง สร้างแรงกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขงขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล และวาระการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
4.2 ข้อเสนอแนะที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะร่วมมือกัน ดังนี้ 1) เพิ่มการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพ และด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ 2) สร้างความเข้มแข็งแก่ห่วงโซ่อุปทานโดยการส่งเสริมการลงทุน 3) พัฒนาความยั่งยืนของอุปทานพลังงานไฟฟ้า และทรัพยากรมนุษย์ 4) เพิ่มการขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ 5) ส่งเสริมทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาทางสังคมเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs
4.3 มีความพร้อมที่จะดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ MIDV2.0 โดยเฉพาะโครงการปรับปรุงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ญี่ปุ่นและประเทศลุ่มแม่น้ำโขงด้านการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล และความร่วมมือเพื่อการจัดการมลพิษ
21. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีนิเทศอาเซียนว่าด้วยการลดผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนว่าด้วยการลดผลกระทบเชิงลบจาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (Draft) Joint Statement of the ASEAN Minister Responsible for Information to Minimise the Negative Effects of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และอนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนของไทย รับรองร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนว่าด้วยการลดผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แบบเวียน (Ad-referedum) โดยกรมประชาสัมพันธ์จะประสานสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อแจ้งยืนยันการรับรองของไทย ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมย์ของรัฐมนตรีที่กำกับดูแลภารกิจด้านสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสาระสำคัญ คือ การส่งเสริมบทบาท สนับสนุน และยกระดับการดำเนินงานร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการพัฒนาการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์ และพัฒนาความร่วมมือในการจัดการกับข่าวลวงและข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
แต่งตั้ง
22. เรื่อง ขอให้คณะรัฐมนตรีส่งรายชื่อผู้แทนคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานในการเลือกสรรผู้สมควรดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
1. มอบมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
2. มอบหมายให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานในการเลือกสรรผู้สมควรดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร แล้วเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้ง แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายธีร์ ภวังคนันท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง ประเภทบริหารระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งเดิมเกษียณอายุราชการสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
1. นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
2. นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง นายกิตติพัฒน์ เดชะพหุล รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหารสูง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติสนอแต่งตั้ง นายธนากร บัวรัษฏ์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหารสูง) ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหารสูง) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
29. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวม 9 คน ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ดังนี้
1. นางอรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการ
2. นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน
3. นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. นายสราวุธ เบญจกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์
5. นายอนุชิต อนุชิตานุกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
6. นายกนิษฐ์ สารสิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์
7. นางสาวช่อผกา วิริยานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์
8. นายเฉลิมรัฐ นาควิเชียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารธุรกิจ หรือตัวแทน Startup
9. นายยรรยง เต็งอำนวย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายสำราญ รอดเพชร เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ไปดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพื่อทดแทนผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
…………………………
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34533 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘นฤมล’ ลุยระบบ Big Data ‘คนมีฝีมือ ยุค 5G’ | วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563
‘นฤมล’ ลุยระบบ Big Data ‘คนมีฝีมือ ยุค 5G’
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เดินหน้าระบบ Big Data เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแรงงานที่ต้องการพัฒนาทักษะ สอดรับตำแหน่งงานว่าง สู่การพัฒนาฝีมือแรงงานในยุค 5G
วันที่ 31 สิงหาคม 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับคุณณัฐฐินันท์ สุขสมพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคท บัซซ์ ทีวี จำกัด และคณะ ที่ได้เข้าแสดงความยินดีในโอกาสดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน รวมถึงหารือแนวทางการสร้าง Smart Governance ด้วยการสร้าง Digital Service Platform บน Line Official Account ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ณ ห้องรับรองพิเศษ ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน
สำหรับระบบดังกล่าวพัฒนาโดยบริษัท แคทบัซซ์ ทีวี จำกัด ในฐานะ บริษัทร่วมทุนของ CAT Telecom โดยทาง CAT Telecom เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ร่วมกับ พันธมิตรด้าน Digital Platform บริษัท สยาม อินโน ซิตี้ จำกัด ในฐานะทีม Line Govtech และ บริษัท โมเดอร์น เน็ตเวิร์ค จำกัด ซึ่งจะเป็นระบบที่เชื่อมต่อและเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับประชาชนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ รวมถึงเป็นช่องทางการส่งเสริมองค์ความรู้และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของภาครัฐ ตลอดจนการให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับประชาชนทั่วไปด้วยรูปแบบของ Social Platform ที่สะดวกต่อการใช้งานของประชาชนทุกกลุ่ม
รมช. แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดจากความร่วมมือในการสนับสนุนเทคโนโลยีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างช่องทางในการเชื่อมต่อหน่วยงานต่าง ๆ ของกรมฯ ในการให้บริการประชาชนด้วย ช่องทาง Line Official Account เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้เข้าถึงการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น ทั้งด้านการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตำแหน่งงานว่าง ความต้องการจ้างงานของนายจ้าง และความประสงค์ของแรงงานที่ต้องการตำแหน่งงาน โดยมีระบบการจัดเก็บข้อมูลบุคคลที่เข้ามาใช้บริการด้านต่าง ๆ ของกรมฯ ผ่านระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นช่องทางการสื่อสารแบบสองทางระหว่างหน่วยงานกับประชาชนได้ตรงกลุ่มมากขึ้น
รมช. แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการพัฒนาฝีมือแรงงานจะเป็นการใช้ประโยชน์จากระบบ Line Official Account เพื่อให้ผู้อบรมใช้เป็นช่องทางตั้งแต่การลงทะเบียน การเข้าอบรม ตลอดจนการทำแบบทดสอบ โดยมีระบบ Free WiFi ที่มีคุณลักษณะพิเศษในการดึงผู้ใช้ WiFi เข้าเป็นสมาชิกบน Line Official Account โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้มีสมาชิกในระบบเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งจะได้ติดตั้งระบบ Free WiFi ไว้บริเวณหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงแรงงานทั่วประเทศ
-----------------------------------------------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34694 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘นฤมล’ หนุนพัฒนาทักษะฝีมือผู้สูงอายุ สร้างอาชีพในชุมชน | วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563
‘นฤมล’ หนุนพัฒนาทักษะฝีมือผู้สูงอายุ สร้างอาชีพในชุมชน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เผย พร้อมหนุนการพัฒนาทักษะแรงงานผู้สูงอายุ และกลุ่ม ชาติติพันธุ์ สร้างอาชีพในชุมชน พร้อมขับเคลื่อนการค้าชายแดน
วันที่ 12 กันยายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมและให้กำลังใจกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ที่ผ่านการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือ และได้รับการส่งเสริมการมีงานทำ จากหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน อาทิ การปักผ้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ การทำผลิตภัณฑ์ของใช้ การแปรรูปอาหารทำไวท์ผลไม้ และของตกแต่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านสันกอง หมู่ 2 ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย
รมช.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน มีภารกิจในการส่งเสริมการจ้างงาน การสร้างอาชีพ และพัฒนาศักยภาพแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในกลุ่มแรงงานที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพได้ จึงได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ และเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีงานทำ มีรายได้ สร้างคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำประโยชน์ให้กับครอบครัวและประเทศชาติ
รมช.แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้กลุ่มผู้สูงอายุที่ผ่านการฝึกอบรม จะมีอาชีพ มีรายได้แล้ว แต่ยังคงมีความต้องการพัฒนาทักษะฝีมือให้สูงขึ้น โดยเฉพาะการปักผ้า ที่มีลวดลายหลายแบบ จึงต้องการต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากผ้าปัก และเรียนรู้การปักผ้าในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อออกแบบให้ถูกใจลูกค้ามากขึ้น ตลอดจนต่อยอดสู่การขาย นำไปสู่การมีอาชีพ มีรายได้ที่มากขึ้น
นอกจากกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ามาเรียนรู้และฝึกอบรมการปักผ้าแล้ว แรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ ยังให้ความสนใจเข้าฝึกอบรมเรียนรู้ที่ศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ด้วย ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญการเข้าถึงบริการของภาครัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้น การพัฒนาทักษะให้กับกลุ่มแรงงานชาติพันธุ์ ที่มีความพร้อมและประสงค์เข้าทำงานในเขตการค้าชายแดน หรือสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพเสริม เป็นกลุ่มแรงงานที่น่าสนใจ ควรได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการเหล่านั้นอย่างเต็มที่ อีกทั้ง ยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้อีกทางหนึ่งด้วย ในการนี้กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะได้ประสานไปยังภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการ และเกิดผลสำเร็จของการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35032 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรรพากรนำเสนอบริการให้ความรู้รูปแบบใหม่ สามารถเรียนรู้ภาษีอากรได้ทุกที่ ทุกเวลา | วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563
สรรพากรนำเสนอบริการให้ความรู้รูปแบบใหม่ สามารถเรียนรู้ภาษีอากรได้ทุกที่ ทุกเวลา
กรมสรรพากรนำเสนอรูปแบบใหม่ การให้บริการความรู้ด้านภาษีอากรผ่านออนไลน์ เพื่อให้ผู้เสียภาษี ผู้ประกอบการและประชาชน เข้าใจกฎหมายภาษีอากร และใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ของกรมสรรพากร ทำให้มีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “กรมสรรพากรให้ความสำคัญด้าน Tax Literacy มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษีอากรให้แก่ผู้เสียภาษี ผู้ประกอบการและประชาชน จึงได้นำ Webinar หรือสัมมนาออนไลน์มาปรับใช้ภายใต้สถานการณ์ที่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะเรื่องของ Social Distancing ในสถานการณ์โควิด - 19 ที่ผ่านมา โดยได้รวบรวมการสัมมนาออนไลน์ในรูปแบบรายการ TAX Station ซึ่งเป็นการอัพเดทความรู้เรื่องภาษีอากรผสานกับองค์ความรู้จากพันธมิตร ทั้งในรูปแบบคลิปวิดีโอ และ Podcast เป็น Webinar เผยแพร่บนเว็บไซต์กรมสรรพากร เพื่อเพิ่มความหลากหลาย เพิ่มช่องทาง เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลความรู้ภาษีอากรได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Transfer Pricing Disclosure Form, บูตเครื่อง SMEs, เจาะความรู้ 4 ค. เพื่อผู้ค้าออนไลน์ และ Guru Talk “เจาะลึกกฎหมาย e-Service กับผลกระทบธุรกิจไทย” จึงขอเชิญชวนผู้เสียภาษี ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ รับชมรายการ TAX Station ได้ทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > ความรู้เรื่องภาษี > TAX Station
สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลข่าวสารการสัมมนา และความเคลื่อนไหวทางด้านภาษีอากร สามารถติดตามได้ที่ facebook ของกรมสรรพากร www.facebook.com/revenuedepartment หรือ YouTube www.youtube.com/กรมสรรพากรประเทศไทย เพื่อติดตามรับข้อมูลข่าวสารจากกรมสรรพากรได้อย่างต่อเนื่อง”
กรมสรรพากร สำนักงานเลขานุการกรม
โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324
หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34641 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบังคับคดี - บสย. ยกระดับความร่วมมือ รับ– ส่งข้อมูลบุคคลล้มละลาย อิเล็กทรอนิกส์ | วันพุธที่ 2 กันยายน 2563
กรมบังคับคดี - บสย. ยกระดับความร่วมมือ รับ– ส่งข้อมูลบุคคลล้มละลาย อิเล็กทรอนิกส์
นางอรัญญา ทองน้ำตะโก อธิบดีกรมบังคับคดี และ นายจตุฤทธิ์ จันทรกานต์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานปฏิบัติการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมลงนามบันทึกความตกลงการรับ – ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างกรมบังคับคดี กับ บสย.
นางอรัญญา ทองน้ำตะโก อธิบดีกรมบังคับคดี และ นายจตุฤทธิ์ จันทรกานต์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานปฏิบัติการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมลงนามบันทึกความตกลงการรับ – ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างกรมบังคับคดี กับ บสย. โดยมี นายฐิติพงศ์ นันทาภิวัฒน์ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานสารสนเทศและดิจิทัล บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกรมบังคับคดี และ บสย. เข้าร่วมในพิธีลงนาม ณ ห้องประชุมคชสาร 2 ชั้น 3 อาคารกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563
นายจตุฤทธิ์ จันทรกานต์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานปฏิบัติการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า การลงนามบันทึกความตกลงการรับ – ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างกรมบังคับคดี กับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในวันนี้จะเป็นก้าวสำคัญของการยกระดับการพัฒนาและต่อยอดความร่วมมือ ซึ่งเห็นความสำคัญของข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลล้มละลาย และการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวกับบุคคลล้มละลาย ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะที่สามารถเปิดเผยได้ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ กรมบังคับคดี ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลของบุคคลล้มละลายเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์กรมบังคับคดีได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งในปี 2561 กรมบังคับคดี ได้เปิดโอกาสให้ บสย.ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน นับเป็นโครงการความร่วมมือครั้งแรกร่วมกัน
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการทำงานเชิงรุก ทันสมัยตอบโจทย์ในยุคดิจิทัล การสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน โดยคำนึกถึงความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่างกรมบังคับคดี และ บสย. ตอบโจทย์การทำงานที่สะดวกรวดเร็วของการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ลดการใช้เอกสาร และยังเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ให้มีความรวดเร็วขึ้น เป็นการส่งเสริม สนับสนุนภารกิจของกรมบังคับคดี และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ตรงตามวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรวบรวมทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุน และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม 2.เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับบรรดาเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายและประชาชนทั่วไปจากการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ 3.เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ลดการใช้เอกสาร อันเป็นการบูรณาการและสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34769 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘นฤมล’ ลุยพัฒนาทักษะการค้าชายแดนลุ่มน้ำโขง | วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563
‘นฤมล’ ลุยพัฒนาทักษะการค้าชายแดนลุ่มน้ำโขง
รมช.แรงงาน เยือน สนพ.เชียงแสน เดินหน้าพัฒนาศักยภาพแรงงานตามแนวชายแดนไทย ย้ำ!แรงงานต้องได้รับการพัฒนาทักษะใหม่ มีความเชี่ยวชาญ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
วันที่ 12 กันยายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครือข่ายพัฒนาศักยภาพแรงงานตามแนวชายแดนไทย พร้อมพบปะพูดคุยกับผู้มาร่วมงาน จำนวนทั้งสิ้น 350 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีนโยบายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศบนหลักการที่ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมของภูมิภาคจะส่งผลต่อการเติบโตและการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรมในการผลิต ด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับ และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รูปแบบการทำธุรกิจต่างๆ จะเปลี่ยนไป จนเกิดคำว่า new normal ในหลากหลายมิติ ภาคธุรกิจและแรงงานต้องปรับตัวให้อยู่รอดและก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาทักษะด้านแรงงาน ทั้งการพัฒนาความรู้ในทักษะเดิมให้เชี่ยวชาญและนำเทคโนโลยีมาสนับสนุน และการพัฒนาทักษะใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และรองรับงานหรือหน้าที่ใหม่ที่ต่างไปจากเดิม
รมช. แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นความพยายามของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ ได้เชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เป็นแนวทางในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการทำงานภาคเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการและโลจิสติกส์ ซึ่งมีผู้ร่วมสัมมนารวมกว่า 350 คน เช่น หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ สภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1-2 เครือข่ายธุรกิจบิสคลับ ประเทศไทย สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ สถาบันการศึกษา อาสาสมัครแรงงาน ผู้ประกันตนตาม ม.40 จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยกันขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงาน สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกับ EEC เพื่อสร้างคนให้พร้อมกับงานที่จะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ใน S-Curve ทั้ง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC ท่านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังมีแนวนโยบายที่จะขยายความเจริญสู่ภูมิภาคอื่น นอกเหนือจาก EEC ต่อไปเราจะได้เห็น NEC หรือ Northern Economic Corridor ที่ภาคเหนือนี้ เช่นเดียวกันกระทรวงแรงงานก็มีส่วนในการสร้างทรัพยากรรองรับ และจะได้ขยายสู่ภูมิภาคอีสานต่อไป ซึ่งจะยกระดับกระทรวงแรงงานขึ้นเป็นกระทรวงด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นเรื่องของการสร้าง ยก ให้ รวมไทยสร้างชาติ คือ การสร้างแรงงานคุณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ เวทีนี้จึงเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สถานประกอบกิจการและแรงงาน การสนับสนุนแรงงานไทยเพื่อให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเหนือที่จังหวัดเชียงรายได้มากขึ้น และทุกภาคส่วนที่จะได้รับประโยชน์จากการสัมมนาครั้งนี้” รมช. แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
หลังจากนั้น ศาสตราจารย์ นฤมล พร้อมคณะ ชมห้องนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และเยี่ยมชมการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ ประกอบด้วย การฝึกอบรมเทคนิคการขับรถลากจูง เป็นกลุ่มผู้ว่างงานจำนวน 22 คน การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ (สำหรับรถพยาบาลและรถฉุกเฉิน) ผู้เข้าอบรมเป็นพนักงานขับรถพยาบาลและรถฉุกเฉินที่ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน รวม 30 คน การฝึกอบรมคานาเป้และเครื่องดื่มสำหรับร้านคาเฟ่ บาร์เทนเดอร์มืออาชีพ บาริสต้ามืออาชีพ และเบเกอร์รี่ฟิวชั่น หลักสูตรละ 25 คน รวม 100 คน นอกจากนี้ยังเยี่ยมชมและให้กำลังใจแก่วิทยากรที่เข้าอบรมในหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพวิทยากรเครือข่ายของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ อีก 30 คน
นางธัญพิสิษฐ์ แซ่จัง เล่าว่า จากเดิมเคยประกอบอาชีพขายของตามตลาดนัด แต่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องหยุดขาย สามีจึงชวนเข้าฝึกอบมการขับรถ โดยเริ่มจากการเข้าฝึกอบรมรถบรรทุกจนได้ใบรับรองการขับขี่ประเภท 2 และสมัครเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรการขับรถลากจูง เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยให้สามารถหางานทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งตำแหน่งการขับรถหัวลากหรือรถขนาดใหญ่ จะมีรายได้ขั้นต่ำ 25,000 บาทต่อเดือน
-------------------------------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35026 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. มอบโล่เกียรติยศให้กับผู้ทำคุณประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2563 | วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563
รมว.ทส. มอบโล่เกียรติยศให้กับผู้ทำคุณประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2563
รมว.ทส. มอบโล่เกียรติยศให้กับผู้ทำคุณประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2563
รมว.ทส. มอบโล่เกียรติยศให้กับผู้ทำคุณประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2563
วันที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 16.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานมอบโล่เกียรติยศ แด่บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2563 ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อแทนคำขอบคุณและเชิดชูเกียรติ ในโอกาสที่ผู้ทำคุณประโยชน์ จะเกษียณอายุราชการ ในปีงบประมาณ 2563 นี้ด้วย
ในโอกาสนี้ รมว.ทส. ได้กล่าวแสดงมุทิตาจิตความโดยสรุปว่า “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขอขอบคุณทุกท่านที่ทุ่มเทกายใจทำงานเพื่อกระทรวงมาโดยตลอด ประสบการณ์ที่ทุกท่านมีจะเป็นประโยชน์ที่ประเมินค่ามิได้ให้แก่ข้าราชการรุ่นหลัง และความรู้ความสามารถที่ท่านมีจะยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ต่อแผ่นดิน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เกษียณทุกท่านเช่นเดิม”
นอกจากนั้น นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้อ่านกลอนเชิดชูเกียรติและกล่าวว่า “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะยังเป็นบ้านที่อบอุ่น รอต้อนรับทุกท่านเสมอไม่เปลี่ยนแปลง”
อีกทั้ง นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวความรู้สึกในฐานะตัวแทนผู้ที่จะเกษียณอายุราชการอีกด้วย สำหรับบรรยากาศภายในงาน มีคณะผู้บริหารทุกระดับ ข้าราชการ และบุคลากรทุกภาคส่วน ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35024 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์พุแค จ.สระบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นปอดขนาดใหญ่ของประชาชน | วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2563
รมว.ทส. ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์พุแค จ.สระบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นปอดขนาดใหญ่ของประชาชน
รมว.ทส. ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์พุแค จ.สระบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นปอดขนาดใหญ่ของประชาชน
รมว.ทส. ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์พุแค จ.สระบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นปอดขนาดใหญ่ของประชาชน
วันนี้ (6 กันยายน 2563) เวลา 10.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาตรวจเยี่ยมสวนพฤกษศาสตร์พุแค จังหวัดสระบุรี โดยได้รับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งสวนแห่งนี้ เป็นสวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย มีเนื้อที่ 5,321 ไร่ ใช้เป็นสถานที่รวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ รวมถึงการเป็นสถานที่พักผ่อนที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี
รมว.ทส. ได้รับฟังสภาพปัญหาข้อขัดข้องจากหน่วยงาน พบว่า สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้เป็นแห่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาในพื้นที่ รวมถึงเป็นสถานที่ออกกำลังกายของประชาชน แต่เนื่องจากพื้นที่ของสวนพฤกษศาสตร์พุแคมีพื้นที่แยกออกเป็น 3 ส่วน โดยมีถนนหลวงตัดผ่าน ในการนี้ รมว.ทส. จึงได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยงข้องศึกษาการออกแบบเส้นทางเชื่อมสวนทั้ง 3 ส่วนเข้าด้วยกัน เน้นให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยแก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ที่มาใช้ประโยชน์จากสถานที่แห่งนี้
นอกจากนั้น รมว.ทส. พร้อมคณะ ได้ร่วมกันปลูกต้นมหาพรหมราชินี พร้อมเดินเยี่ยมชมรอบสวนพฤกษาศาสตร์พุแค รวมถึงได้มอบแนวทางปรับปรุงให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ อีกทั้ง ยังต้องการให้สวนพฤกษาศาสตร์พุแคแห่งนี้เป็นปอดขนาดใหญ่ให้กับชาวสระบุรี รวมถึงสร้างคุณค่าให้ประชาชนทุกคนร่วมกันรักษา หวงแหน ให้สวนพฤกษาศาสตร์พุแคแห่งนี้อยู่คู่สร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนจังหวัดสระบุรีตลอดไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34850 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.แรงงาน รับฟังนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันการค้ามนุษย์ และแรงงงานต่างด้าว | วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563
รมช.แรงงาน รับฟังนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันการค้ามนุษย์ และแรงงงานต่างด้าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน รับฟังนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันการค้ามนุษย์ และแรงงงานต่างด้าว
วันที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานโดยมีดร.ภาคิน สมมิตรธนกุล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางจุรีพร สินธุไพร คณะทำงานและนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงานลงพื้นที่จังหวัดระยอง พร้อมร่วมรับฟังบรรยายสรุปด้านการค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว แรงงานประมง และประเด็นด้านความมั่นคง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ) กล่าวต้อนรับ
โดยในเขตพื้นที่ EEC 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรีและตราด มีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ จำนวน 258,697 คน (ลาว พม่า กัมพูชา) อยู่ในกิจการประมงทะเล จำนวน 6,835 คน และยังมีความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีการบรรยาย ประเด็นด้านความมั่นคงและการปฏิบัติงานของจังหวัดระยอง ที่สำคัญมี 4 เรื่อง ได้แก่ ด้านความมั่นคง นำเสนอโดยปกครองจังหวัดระยอง ด้านการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย นำเสนอโดยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ นำเสนอโดยตำรวจภูธรจังหวัดระยอง และการควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงระยอง นำเสนอโดยศูนย์ PIPO จังหวัดระยอง หลังจากนั้น พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายการปฏิบัติงานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34469 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาล แจง ยังไม่เริ่ม “ภูเก็ตโมเดล” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เผย อยู่ในขั้นหารืออีกหลายขั้นตอน | วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563
รัฐบาล แจง ยังไม่เริ่ม “ภูเก็ตโมเดล” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เผย อยู่ในขั้นหารืออีกหลายขั้นตอน
รัฐบาล แจง ยังไม่เริ่ม “ภูเก็ตโมเดล” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เผย อยู่ในขั้นหารืออีกหลายขั้นตอน
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเตรียมใช้ภูเก็ตโมเดล เป็นต้นแบบเปิดรับนักท่องเที่ยวนั้น โครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการหารือในรายละเอียด ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่จะต้องมาพิจารณาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น แนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยว กลุ่มชาวต่างชาติที่จะเข้ามา วิธีการคัดกรอง การป้องกัน ฯลฯ ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร จนกว่าจะมั่นใจได้ว่า เมื่อเปิดรับชาวต่างชาติแล้ว จะไม่นำมาซึ่งความเสี่ยง การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 2
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ขอให้ชาวภูเก็ต และนักท่องเที่ยวชาวไทยสบายใจได้ ว่าตอนนี้ยังไม่มีการเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยการดำเนินการจะทำอย่างรัดกุมมากที่สุด การเปิดรับนักท่องเที่ยวจะทำอย่างเหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื่อโควิด-19 ระลอก 2 และภูเก็ตโมเดลจะเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ (New Normal) ที่กำหนดพื้นที่ให้ท่องเที่ยวแบบจำกัด มีการกักตัว14 วันก่อนให้เดินทางท่องเที่ยวอย่างแน่นอนที่สำคัญจะพิจารณาเฉพาะประเทศที่ปลอดโควิดช่วงนี้รัฐบาลขอเชิญชวนคนไทยออกไปเที่ยวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้มีการกระจายรายได้ลงสู่ประชาชนในแต่ละพื้น
-----------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34624 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีประชุมขับเคลื่อนแผนงานโครงการเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 | วันพุธที่ 16 กันยายน 2563
นายกรัฐมนตรีประชุมขับเคลื่อนแผนงานโครงการเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
นายกรัฐมนตรีประชุมขับเคลื่อนแผนงานโครงการเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
วันนี้ (16 กันยายน 2563) เวลา 13.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบศ.) สรุปสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้
ก่อนการประชุม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงแนวทางการทำงานของรัฐบาลในรูปแบบใหม่ โดยวันนี้ได้พบปะพูดคุยกับนักเศรษฐศาสตร์ จากองค์กรวิจัยอิสระ มหาวิทยาลัย สถาบันการเงิน และหน่วยงานภายนอก โดยเมื่อได้พูดคุยแล้วเห็นว่ามีแนวทางความคิดในการขับเคลื่อนประเทศที่สอดคล้องกับรัฐบาล โดยจะได้นำแนวทางจากการหารือเหล่านี้นำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานที่ประชุมเพื่อทราบเกี่ยวกับ สถานการณ์การท่องเที่ยวช่วงวันหยุดของไทย และแนวทางการเปิดประเทศรับนักธุรกิจของสิงคโปร์ เวียดนาม รวมทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รายงานเกี่ยวกับแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ที่ได้อนุมัติในหลักการไปแล้ว ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางในการทำงาน เพื่อดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวที่เมืองรอง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้การสนับสนุนจากรัฐได้ ตลอดจนได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจาความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ เพื่อกำหนดแนวทาง ทำการศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการดำเนินการของต่างประเทศ และสร้างความเข้าใจกับประชาชนเมื่อเปิดรับการเดินทางจากต่างประเทศไม่ให้เกิดปัญหา
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้นำเสนอที่ประชุมเกี่ยวกับมาตรการ ดึงดูดนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ เช่น ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดิจิทัล Automobile วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ได้เสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และปรับปรุงหลักเกณฑ์ของมาตรการ Smart Visa เช่น เพิ่มเติมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทาง ในการศึกษาพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อการตัดสินใจที่รัดกุม โดยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือในรายละเอียดต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศเพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้แก่กลุ่มต่างๆ เช่น เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยจะเพิ่มยอดเงินผ่านบัตรสวัสดิการของรัฐ โครงการ “คนละครึ่ง” ต่อยอดลักษณะเดียวกับโครงการ ชิมช็อปใช้ โดยได้กำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นมาตรการที่จะได้ดูแลประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ จึงสั่งการให้นำปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนศึกษาประกอบ เพื่อป้องกัน แก้ไข อาทิ เรื่องการลงทะเบียนใช้สิทธิ์ และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมให้นำข้อพิจารณาและข้อสังเกตจากที่ประชุม เช่น การใช้ไปรษณีย์ไทยเข้ามาช่วยเรื่องการลงทะเบียน จำนวนผู้ลงทะเบียนจำนวนมาก ไปประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เสนอข้อเสนอแนะการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อสินค้า (Credit Term) ในประเทศไทย เช่น การเพิ่มขึ้นของระยะเวลาการชำระค่าสินค้าและบริการ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit Term เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจากปัญหา Credit Term สำหรับ SMEs ในหลายๆ ประเทศนั้นแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯ ได้สนับสนุนข้อเสนอของธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเรื่อง Credit Term เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว เสนอโครงการบริหารเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาว ที่ได้มีการพบปะหารือกับผู้ลงทุนหลากหลาย จึงเสนอโครงการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาว 32 โครงการ เช่น
1. กลุ่ม การเร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. กลุ่ม การปรับปรุงโครงสร้างหรือกฎระเบียบในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
3. กลุ่ม การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
4. กลุ่ม การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของโครงการสะพานไทย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุมเห็นชอบกลุ่มโครงการสำคัญตามที่เสนอ และขอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ดำเนินการ เพื่อกำจัดอุปสรรค ปัญหา พร้อมนำข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการ หากติดขัดให้ไปหารือกับหน่วยงานโดยตรง
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าจากแผนโครงสร้างพื้นฐานที่จะพัฒนาขึ้น จะช่วยเปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ ใหม่แบบ New Normal
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35140 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบจัดทำแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในรูปแบบเฉพาะกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2564-2565 | วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
นายกรัฐมนตรีประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบจัดทำแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในรูปแบบเฉพาะกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2564-2565
นายกรัฐมนตรีประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบจัดทำแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในรูปแบบเฉพาะกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงระหว่างปี 2564-2565
วันนี้ (10 ก.ย.63) เวลา 10.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2563 ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
คณะกรรมการฯ ได้รับทราบความก้าวหน้าการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน ที่คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศ ตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 และ 5 พฤษภาคม 2563 โดยคณะกรรมการฯ ได้เสนอแนะให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศรับไปพิจารณาให้ความสำคัญกับกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่มีนัยสำคัญ เร่งด่วน และมุ่งเน้นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม (หรือ Big Rock) เช่น ด้านการเมือง เสนอเรื่องปฏิรูปการเมืองที่ชอบธรรมและสุจริต ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอเรื่องปฏิรูปการเบิกจ่ายของภาครัฐ และควรให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการวิเคราะห์และบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกระบวนการยุติธรรม เสนอเรื่องปฏิรูประบบการลดโทษของราชทัณฑ์ ด้านเศรษฐกิจ เสนอเรื่องปฏิรูปการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ และควรให้ความสำคัญกับกิจกรรม Wellness/Medical center Logistics และการเป็น Regional Office Center
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอเรื่องปฏิรูปด้านที่ดินทำกิน การจัดการมลพิษ ขยะ น้ำเสีย และปัญหาหมอกควัน การส่งเสริมเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ เสนอปฏิรูปเรื่องการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์ที่ดีและมีคุณภาพ และควรให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ผู้บริโภคสื่อ ด้านสังคม เสนอเรื่องปฏิรูปสังคมที่เข้มแข็ง ปลอดภัย และอบอุ่น การปฏิรูปที่ดินเพื่อการยังชีพและการพัฒนาเมือง รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนทั้งก่อนและหลังวัยเกษียณ ด้านพลังงาน เสนอให้เพิ่มเติมเรื่องพลังงานหมุนเวียนและชีวภาพ ด้านการศึกษา เสนอให้เน้นความสำคัญด้านการเรียนการสอน และด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสนอให้เน้นความสำคัญของการนำค่านิยมที่ดีมาปรับหลักคิดและทัศนคติ เป็นต้น โดยการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศดังกล่าวจะต้องเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณา รวมทั้งรายงานต่อรัฐสภาทราบก่อนประกาศใช้ในช่วงประมาณปลายปี พ.ศ. 2563 ต่อไป
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญ จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้
(1) การดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ตามที่สำนักงานฯ เสนอ โดยจะดำเนินการจัดทำแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในรูปแบบเฉพาะกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงระหว่างปี 2564-2565 ซึ่งกำหนดเป้าหมายหลักเพื่อให้“คนมีงานทำ สามารถยังชีพอยู่ได้ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ และมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ (Economic Transformation)” ทั้งนี้ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ จะประกอบด้วย 3 มิติของการพัฒนา ได้แก่ (1) การพร้อมรับ (Cope) (2) การปรับตัว (Adapt) และ (3) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) รวมทั้ง แบ่งเป็น 4 ประเด็นหลักการพัฒนา ได้แก่ (1) การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) (2) การยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) (3) การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน (Human Capital) ให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และ (4) การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานฯ ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
(2) โครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานร่วมกันของสำนักงานฯ หน่วยงานเจ้าภาพตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ในการ (1) การมองเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (2) การจัดทำโครงการสำคัญตามการวิเคราะห์ห่วงโซ่ความสัมพันธ์และช่องว่างการพัฒนาต่อการบรรลุเป้าหมาย และ (3) การจัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการสำคัญ ซึ่งมีโครงการที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งหมด 571 โครงการ สามารถจำแนกเป็น (1) โครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 ตามร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ (Top Priorities) รวม 250 โครงการ และ (2) โครงการสำคัญรองรับการพัฒนาประเทศ ที่สอดคล้องกับการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายย่อยที่เกี่ยวข้องจากทั้ง 140 เป้าหมายของ 23 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวม 321 โครงการ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการสำคัญดังกล่าวตามที่สำนักงานฯ เสนอ โดยมอบหมายสำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรองรับการดำเนินการโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 571 โครงการ ในลักษณะงบประมาณพิเศษ หรืองบประมาณแบบบูรณาการเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และมอบหมายสำนักงบประมาณใช้ร่าง “แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565” และห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand) เพื่อประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป
(3) การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเพิ่มเติมในทั้ง 6 ด้าน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 หรือตามที่คณะกรรมการฯ ได้มอบหมาย โดยมีสรุปรายชื่อประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านความมั่นคง พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา (2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน นางอรรชกา สีบุญเรือง (3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร (4) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ (5) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล และ (6) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ นายพงศ์โพยม วาศภูติ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานฯ ดำเนินการเสนอประกาศแต่งตั้งตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบ (4) ร่างระเบียบที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ (5) แนวทางการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี เพื่อกำหนดเค้าโครงรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ และกรอบระยะเวลาการจัดทำรายงานดังกล่าวต่อไป
---------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
(ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สศช.)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34975 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว. ดีอีเอส มอบนโยบายผู้บริหารบูรณาการโครงการหนุนเพิ่มรายได้ปชช. | วันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2563
รมว. ดีอีเอส มอบนโยบายผู้บริหารบูรณาการโครงการหนุนเพิ่มรายได้ปชช.
รมว. ดีอีเอส มอบนโยบายผู้บริหารบูรณาการโครงการหนุนเพิ่มรายได้ปชช.
“พุทธิพงษ์” มอบนโยบายผู้บริหารดีอีเอส และหน่วยงานในสังกัด ถึงยุคปรับ Mindset เชื่อมโยงหลายโครงการเข้ามาทำร่วมกัน บูรณาการข้อมูล สนับสนุนการต่อยอดให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเพื่อเพิ่มรายได้ บรรเทาผลกระทบจากเศรษฐกิจหลังโควิด-19
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ (11 ก.ย. 63) เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายผู้บริหาร ในโอกาสที่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนงานสำคัญ ปี พ.ศ. 2564 ของกระทรวงดิจิทัลฯ กำหนดทิศทางเพื่อมุ่งสร้างการปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mindset) ในการทำงาน โดยนำโครงการแต่ละหน่วยงานที่สามารถเชื่อมโยงกันได้มาทำร่วมกัน นำทักษะของแต่ละหน่วยงานมาต่อยอดโครงการ เพิ่มความรู้และทักษะให้กับประชาชนที่เป็นกลุ่มผู้รับประโยชน์ มีการติดตามผลและบูรณาการข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน และเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับประชาชน โดยเฉพาะในสถานการณ์หลังโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบแทบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ปัจจุบัน เห็นภาพชัดเจนแล้วว่าหลังโควิด-19 ทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการทำงาน ปรับเปลี่ยนมาเป็นดิจิทัล เป็นสถานการณ์ที่เจอกันทั่วทุกพื้นที่ ทำให้การสื่อสารมีความสำคัญ ระบบเปลี่ยนแปลง และเมื่อระบบเปลี่ยนแปลง ดีอีเอส ซึ่งมีบทบาทชัดเจนด้านนี้ และผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด
ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างโครงการนำร่องที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คือ โครงการ Free Wi-Fi ในพื้นที่ชุมชนเมืองกรุงเทพ และภูมิภาค มุ่งเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำในชุมชนเมือง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต และเพื่อต่อยอดด้านดิจิทัล สร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน และปรับวิถีการใช้ชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) โดยมอบหมายให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที สำรวจและคัดเลือก กำหนดไว้รายละ 10 พื้นที่ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกอยู่แล้ว
“โครงการนี้เราใช้วิธีคิดแบบใหม่ เน้นการต่อยอดพื้นที่มีโครงข่ายลากไปถึงอยู่แล้ว ที่พื้นที่เป้าหมายเป็นชนบทและพื้นที่ห่างไกล ติดตั้งหมู่บ้านละ 1 จุด ซึ่งเดิมมองที่การอำนวยความสะดวก ให้ชาวบ้านเข้าถึงการสื่อสารได้ แต่จากผลกระทบโควิด-19 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน มีความต้องการใช้ มีคนใช้ไวไฟมากขึ้น ทำให้ไม่เพียงพอรองรับความต้องการจำนวนคนหลายๆ คนพร้อมกัน” นายพุทธิพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ หลักการเลือกพื้นที่เป้าหมายจะนำร่องชุมชนที่มีความแตกต่างกันเรื่องโจทย์ความต้องการ เช่น ชุมชนที่เป็นแหล่งค้าขายขนาดใหญ่ 1 แห่ง เข้าไปติดตั้งไวไฟสปีดแรงกระจายไว้ 50 จุด จากนั้นเอาหน่วยงานของดีอีเอส เช่น กสท หรือสดช. เข้าไปอบรมการขายของออนไลน์ให้ผู้ประกอบการในชุมชน ปลดล็อกปัญหาขายสินค้าไม่ได้เพราะพิษโควิด/เพิ่มโอกาสการขายสินค้าออนไลน์ และใช้บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) เป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้า พร้อมให้มอบโปรโมชั่นส่วนลดค่าบริการให้กับผู้ค้า
ส่วนชุมชนเมืองในภูมิภาค บางพื้นที่อาจมุ่งเพิ่มโอกาสด้านการศึกษา ให้เด็กสามารถเข้าถึงเรียนออนไลน์, มุ่งการสร้างอาชีพ ในบางพื้นที่ซึ่งมีวัยแรงงานที่ต้องโยกย้ายกลับภูมิลำเนาเพราะตกงานจากโควิด เมื่อมีการกระตุ้นให้เกิดการค้าขายออนไลน์ในชุมชน คนกลุ่มนี้ก็อาจปรับเปลี่ยนมาเป็นพนักงาน delivery สินค้าภายในชุมชน/ชุมชนใกล้เคียงได้ เป็นต้น
ป้จจุบัน ปณท. มีความพร้อมในการเข้ามาเป็นหนึ่งในหน่วยงานสนับสนุนอี-มาร์เก็ตเพลส หรือคอมเมิร์ซชุมชนในโครงการนำร่องฟรีไวไฟชุมชนเมือง เนื่องจากล่าสุด “โครงการสนับสนุนค่าจัดส่งสินค้าอุปโภค บริโภค และค่าจัดส่ง/จัดซื้อสินค้าที่จําหน่ายใน Platform ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด อาทิ www.thailandpostmart.com ฯลฯ และการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ เพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และ กระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19” ได้รับการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตามกรอบวงเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 วงเงิน 4 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยื่นเสนอขอสนับสนุนงบประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งแม้จะไม่ได้รับการอนุมัติเต็มตามจำนวนที่เสนอไป แต่ก็จะเป็นโครงการสำคัญที่สามารถช่วยเหลือให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายในใช้บริการ ขณะที่ การที่มีหลายหน่วยงานของกระทรวงฯ เข้ามาร่วมบูรณาการสนับสนุนและต่อยอดโครงการอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ จะช่วยให้มีการใช้งบประมาณได้มาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และส่งผลกระทบในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยจะมีภาคส่วนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการ/ประชาชนทั่วไป จะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็น 2. ประชาชนที่สั่งซื้อ/ผู้รับสินค้า จะได้รับการสนับสนุนเงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นซึ่งจำหน่ายผ่าน www.thailandpostmart.com หรือใช้เป็นค่าจัดส่งสินค้าสำหรับการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ
และ 3. ผู้ประกอบการ/หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน สามารถใช้บริการ ปณท เพื่อส่งสิ่งของ/สินค้าระหว่างกันได้ในอัตราค่าบริการพิเศษ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยค่าบริการส่วนต่างจากอัตราค่าบริการที่ ปณท เรียกเก็บในอัตราปกติ
**************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35049 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แผนพัฒนาสื่อปลอดภัยฉบับแรก สร้างมาตรฐานผลิตสื่อคุณภาพ | วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563
แผนพัฒนาสื่อปลอดภัยฉบับแรก สร้างมาตรฐานผลิตสื่อคุณภาพ
วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลเห็นชอบแผนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (ปี 2563 - 2565) ซึ่งเป็นแผนพัฒนาสื่อฉบับแรกของไทย เพื่อให้เกิดการบูรณาการแก้ไขปัญหาสื่อที่ไม่ปลอดภัยที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาเด็กและเยาวชน และวิถีชีวิตคนไทยในยุคดิจิทัล ส่งเสริมให้มีสื่อคุณภาพสูงมีคุณธรรมจริยธรรม ประชาชนใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อ และวางเป้าหมายสำคัญ เช่น ผู้ผลิตสื่อ ต้องมีจริยธรรมและผลิตสื่อที่ปลอดภัย สร้างสรรค์หรือส่งเสริมให้เกิดสื่อเชิงนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีทักษะและพฤติกรรมในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34553 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK เสนอสินเชื่อเอ็กซิมเสริมไทยเก่ง ส่งเสริม SMEs ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตร อาหาร และเครื่องสำอาง | วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2563
EXIM BANK เสนอสินเชื่อเอ็กซิมเสริมไทยเก่ง ส่งเสริม SMEs ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตร อาหาร และเครื่องสำอาง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมให้สินเชื่อเอ็กซิมเสริมไทยเก่ง (EXIM Star Credit) เป็นเงินทุนหมุนเวียนก่อนและหลังการส่งออก สำหรับผู้ส่งออก SMEs ใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม
EXIM BANK เสนอสินเชื่อเอ็กซิมเสริมไทยเก่ง ส่งเสริม SMEs ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตร อาหาร และเครื่องสำอาง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมให้สินเชื่อเอ็กซิมเสริมไทยเก่ง (EXIM Star Credit) เป็นเงินทุนหมุนเวียนก่อนและหลังการส่งออก สำหรับผู้ส่งออก SMEs ใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มอาหารและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และกลุ่มเครื่องสำอาง วงเงินสูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย 4.75% ต่อปี และลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 4% ต่อปี (Prime Rate -1.75% ต่อปี) กรณีส่งออกไป CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) พิเศษ! ผู้ส่งออกที่มีกรมธรรม์ประกันการส่งออกกับ EXIM BANK รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ต่อปีตลอดอายุโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2564
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4120-4
EXIM Thailand Launches EXIM Star Credit Promoting Thai SMEs’ Exports of Agricultural, Food and Cosmetics Products
Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand) recently launched EXIM Star Credit, a pre- and post-shipment revolving credit for SMEs exporters in 3 industrial sectors, namely, agricultural and biotechnological, food and food processing and cosmetics industries. A maximum credit line of 3 million baht per exporter at the interest rate of 4.75% per annum, or 4% per annum (prime rate -1.75% per annum) in case of export to the CLMV (Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam) is offered. Special! EXIM Thailand’s export credit insurance clients are eligible for an additional 0.25% interest rate reduction throughout the program period from now until July 31, 2021.
For further information, please contact Sustainable Development and Corporate Communication Department
Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 4120-4
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34607 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทำไม? ผู้หญิงถึงสมัครใจมาเรียน รด.เพิ่มมากขึ้น | วันพุธที่ 16 กันยายน 2563
ทำไม? ผู้หญิงถึงสมัครใจมาเรียน รด.เพิ่มมากขึ้น
#กระทรวงกลาโหม
#นักศึกษาวิชาทหาร
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35130 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทีเซลส์ ผลักดันสตาร์ทอัพ LIFE SCIENCES & HEALTH TECH สู่ความสำเร็จของธุรกิจแบบก้าวกระโดด | วันพุธที่ 9 กันยายน 2563
ทีเซลส์ ผลักดันสตาร์ทอัพ LIFE SCIENCES & HEALTH TECH สู่ความสำเร็จของธุรกิจแบบก้าวกระโดด
ทีเซลส์ ผลักดันสตาร์ทอัพ LIFE SCIENCES & HEALTH TECH สู่ความสำเร็จของธุรกิจแบบก้าวกระโดด
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับ สมาคมเฮลท์เทคไทย บริษัท Healthinc และ Rise Impact จัดทำโครงการ Journey to Success 2020 by TCELS Mentoring Program เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ Startup ด้าน Life Sciences & Health Tech ให้มีโอกาสก้าวสู่ความสำเร็จในธุรกิจและเกิด Deal flow ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล
ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและนวัตกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “สิ่งที่ทีเซลส์ตั้งใจทำ คือ ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และสตาร์ทอัพ จะเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการ “Commercialization” คือ การนำเอางานวิจัยถ่ายทอดไปสู่การใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ มีผลทำให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว”
ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการเปิดเผยว่า “Journey to Success ได้จัดเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยปีนี้มีการออกแบบให้เป็นลักษณะออนไลน์ และมีกิจกรรมที่ทำให้สตาร์ทอัพแต่ละทีมได้ประโยชน์สูงสุด สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดด”
Journey to Success 2020 ได้ดำเนินการระหว่างเดือน มิ.ย. - ส.ค. ปี 2563 โดยคัดเลือก 11 ผู้ประกอบการ Startup ด้าน Life Sciences & Health Tech เข้าร่วมโครงการ ดังต่อไปนี้
1. บริษัท สเตปโซล จำกัด บริการออกแบบแผ่นรองเท้าส่วนบุคคลตามหลักออร์โทปิดิกส์และวิศวกรรม
2. บริษัท อินโนเอดจ์ โกโก จำกัด บริการแพลตฟอร์มการประเมินความเจ็บปวดในผู้สูงอายุสมองเสื่อม
3. บริษัท พานาคิวรา จำกัด บริการพยากรณ์โรคด้วยยีนส์
4. จิโปรสไมล์ บริการออกแบบวางแผนการรักษาทันตกรรม 3 มิติ
5. บริษัท เทรคอน (เว็บไซต์) จำกัด บริการระบบช่วยองค์กรจัดการและส่งเสริมสุขภาพที่ดีของพนักงาน
6. บริษัท Expert Technology Development จำกัด บริการนวัตกรรมคัดกรองผู้ป่วยอัตโนมัติ ‘Smart Easy OPD’
7. บริษัท แอ็กนอสเฮลท์ จำกัด แอปพลิเคชันช่วยวินิจฉัยคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
8. บริษัท ชีวีบริรักษ์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ Telemedicine Mobile App
9. บริษัท ฟินน์ โซลูชั่น จำกัด ระบบ Tele Consult ผ่าน AR
10. บริษัท บอนด์ อาร์ดีไอ เซ็นเตอร์ จำกัด บริการแพล็ตฟอร์มเชื่อมโยงสังคมเกษตรอินทรีย์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural product) ของไทยโดยใช้เทคโนโลยี Blockchain
11. บริษัท IQmed Innovation จำกัด บริการออกแบบ วิจัย และพัฒนาอุปกรณ์เก็บรักษาหัวใจในสภาวะเต้นอยู่เพื่อการขนส่งสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ
กิจกรรมหลักของโครงการประกอบไปด้วย การอบรมแบบออนไลน์ (Online Learning) การให้คำปรึกษาแบบเชิงลึก (1-on-1 mentoring) และการจับคู่ธุรกิจ (Business matching)
การอบรมและให้คำปรึกษาแบบเชิงลึกเพื่อปลดล๊อคอุปสรรคมี 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ Product standard, Exit plan, Finance และ Intellectual property
Product Standard หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้รับเกียรติจากวิทยากรมากประสบการณ์ถึง 3 ท่าน
ได้แก่ คุณธเนศ วิริยะเมธานนท์ วิศวกรชีวการแพทย์กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และ คุณนฤมล รัตนกรณ์พันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท ไบโอเนียร์ เอเชีย จำกัด
Exit Plan ได้รับเกียรติจาก Mr.Laurens van Hoorn ผู้ก่อตั้งของบริษัท Healthinc ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน
การระดมทุน (Fundrising) ของธุรกิจสุขภาพชั้นนำในตลาดยุโรปที่ได้นำ EOS model หรือ 6 องค์ประกอบที่ทุกธุรกิจพึงมี ช่วยให้แต่ละทีมได้มีการวางแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีอยู่แล้วให้เป็น Exit plan ที่มีประสิทธิภาพ
Finance ได้รับเกียรติจาก คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จํากัด ที่มาให้
ความรู้ด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและการเงินของ Startup แต่ละทีมให้คุ้มค่าแก่การลงทุนและเกิดกำไรมากที่สุด
Intellectual Property ได้รับเกียรติจาก คุณวีระเวช อรธนาลัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทลเล็คชวล
ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด และทีมงานนักกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP) มาให้ความรู้ในด้านดำเนินงานจดทะเบียน เพื่อปกป้องและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของแต่ละทีม
และปิดท้ายด้วยกิจกรรม Business Matching ซึ่งออกแบบให้มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัท Startup กับ CEO มืออาชีพ ผู้ประกอบการรายใหญ่และนักลงทุน
ในระยะเวลา 2 เดือนของการดำเนินโครงการ ผลการเจรจาธุรกิจ Startup ที่เข้าร่วมมีมูลค่าที่เกิดขึ้นแล้ว 8.6 ล้านบาท โดยบริษัท Dietz สามารถเจราธุรกิจร่วมกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) โดยมีมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการเจรจาทางธุรกิจกว่า 40 ล้านบาท
Startup ด้าน Life Sciences & Health Tech มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศษรฐกิจ และเทคโนโลยีของประเทศในปัจจุบัน จึงเป็นก้าวสำคัญของไทยที่จะช่วยผลักดันให้ Startup ผู้มีความมุ่งมั่นด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้เติบโตและก้าวสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34910 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องจากกลุ่มผู้เสียหายจากการร่วมลงทุนแชร์กับบ้านแชร์ซ้อใหม่ | วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องจากกลุ่มผู้เสียหายจากการร่วมลงทุนแชร์กับบ้านแชร์ซ้อใหม่
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องจากกลุ่มผู้เสียหายจากการร่วมลงทุนแชร์กับบ้านแชร์ซ้อใหม่
ในวันอังคารที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมไชยานุกิจ ชั้น ๓ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพฯ
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์จากกลุ่มผู้เสียหาย กรณีร่วมลงทุนแชร์กับกลุ่มแชร์บ้านซ้อใหม่ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า ๕๐ ล้านบาท
ในการนี้ทางศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข ได้รับคำขอของผู้เสียหาย และประสานต่อให้ สภ.บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อติดตามและเร่งรัดการดำเนินคดี รวมทั้งประสาน สำนักงาน ปปง. เพื่อยึดอายัดทรัพย์สินของท้าวแชร์ไว้ดำเนินคดี และช่วยเหลือให้ผู้เสียหายได้รับความเป็นธรรมต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34570 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.- รถไฟฟ้า BTS ย้ำประชาชนต้องช่วยป้องกันโควิด 19 | วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563
สธ.- รถไฟฟ้า BTS ย้ำประชาชนต้องช่วยป้องกันโควิด 19
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (จำกัด) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส กำหนดมาตรการป้องกันโควิด 19 ในขนส่งสาธารณะ ขอความร่วมมือประชาชนสวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (จำกัด) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส กำหนดมาตรการป้องกันโควิด 19 ในขนส่งสาธารณะ ขอความร่วมมือประชาชนสวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง
วันนี้ (26 สิงหาคม 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย และนายสุมิตร ศรีสันติธรรม (ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) แถลงข่าวมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับ “ขนส่งสาธารณะ” ว่า ภายหลังรัฐบาลได้มีการผ่อนปรน ทำให้ประชาชนเดินทางออกนอกเคหะสถานเพื่อประกอบกิจการและดำเนินชีวิตประจำวัน และใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นจำนวนมาก อาจนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดยอาคารสถานีโดยสารควรจัดตั้งจุดคัดกรอง จุดล้างมือ และทำความสะอาดบริเวณสถานีและจุดสัมผัสร่วมบ่อยๆ เช่น เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว ราวบันได และห้องน้ำ งดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเกิดความแออัด จัดระยะห่างระหว่างรอคิวอย่างน้อย 1 เมตรด้านยานพาหนะให้ทำความสะอาดจุดเสี่ยงสำคัญ เช่น ประตู ราวจับ เบาะนั่ง จัดให้มีจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์ในรถโดยสาร เปิดประตู-หน้าต่าง
เพื่อระบายอากาศก่อนและหลังใช้งานคนขับรถ/พนักงานให้สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไข้ ไอ จาม ควรงดปฏิบัติงาน และผู้โดยสารควรสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เลี่ยงการรับประทานอาหารขณะอยู่บนรถ
“ถึงแม้มาตรการในระยะต่างๆ จะถูกผ่อนคลายตามลำดับอย่างไร เมื่อมีการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ยังเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นฐานวิถีชีวิตใหม่ ช่วยป้องกันให้มีความปลอดภัย และที่สำคัญถ้าเราทุกคนเอื้อเฟื้อต่อกัน ตระหนักถึงตนเองและผู้อื่น จะทำให้ปัญหาเรื่องความแออัด ความกังวลใจ ไม่มั่นใจ ผ่อนคลายลง เราจะได้ เดินหน้าต่อไปได้ด้วยวิถีชีวิตใหม่ที่พวกเราพร้อมจะร่วมมือกัน” แพทย์หญิงพรรณพิมลกล่าว
ด้านนายสุมิตร ศรีสันติธรรม (ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) กล่าวว่า บีทีเอส ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม โดยมีมาตรการรักษาความสะอาด ทั้งบริเวณสถานี บนรถไฟฟ้า จุดพักเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ ก่อนออกเดินรถ และระหว่างวันจะฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนขบวนรถเมื่อเข้าสถานี ทำความสะอาดจุดสัมผัส ตั้งแต่จุดจำหน่ายตั๋ว เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ประตูทางเข้าทุกชั่วโมง สิ่งที่สำคัญคือมาตรการคัดกรอง พนักงาน/ เจ้าหน้าที่ก่อนปฏิบัติงาน ให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า และให้ความรู้ในการป้องกันตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการให้บริการ หากไม่สบาย ไอ มีน้ำมูกให้งดปฏิบัติงาน
สำหรับผู้โดยสาร จะมีจุดคัดกรองก่อนเข้าสถานี ต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าตลอดเวลาที่อยู่ ในสถานีและบนรถไฟฟ้า มีจุดวัดอุณหภูมิ จุดล้างมือ ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการไม่ให้หนาแน่นเกินไป มีระบบถ่ายเทอากาศ ซึ่งทุก 2 นาที ขบวนรถไฟฟ้าจะมีการจอดและเปิดประตูถ่ายเทอากาศ และภายใน 1 ชั่วโมง ระบบปรับอากาศจะเปลี่ยนถ่ายอากาศจากภายนอกถึง 14 เท่า สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ ขอความร่วมมืองดการพูดคุยหรือใช้โทรศัพท์บนขบวนรถ และลงทะเบียนผ่านไลน์หรือแอปพลิเคชันที่ติดอยู่บนขบวนรถ เพื่อให้สามารถติดตามตัวหากพบผู้ติดเชื้อ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อจากการใช้ขนส่งมวลชน นอกจากนี้ ยังคงมาตรการรักษาระยะห่าง หลังมีการผ่อนปรนให้ระบบขนส่งมวลชนเปิดให้บริการตามปกติ ยอดผู้ใช้บริการกลับมาสูงถึงร้อยละ 75 ของปกติ
*************************************** 26 สิงหาคม 2563
***********************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34585 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘ก.แรงงาน’ เปิดเวทีเสวนาเชิงนโยบาย (Policy dialogue) “การพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสุขภาวะของแรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้รับการคุ้มครองในกลุ่มคนทำงานบ้าน และคนทำงานภาคเก | วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2563
‘ก.แรงงาน’ เปิดเวทีเสวนาเชิงนโยบาย (Policy dialogue) “การพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสุขภาวะของแรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้รับการคุ้มครองในกลุ่มคนทำงานบ้าน และคนทำงานภาคเก
ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเวทีเสวนาเชิงนโยบาย (Policy dialogue) “การพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสุขภาวะของแรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้รับการคุ้มครองในกลุ่มคนทำงานบ้าน และคนทำงานภาคเกษตร” จัดโดย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 13 กันยายน 2563 เวลา 09.30 น. นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดเวทีเสวนาเชิงนโยบาย (Policy dialogue) “การพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสุขภาวะของแรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้รับการคุ้มครองในกลุ่มคนทำงานบ้าน และคนทำงานภาคเกษตร” จัดโดย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนโครงการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี นายมนัส โกศล คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอนันต์ บวรเนาวรักษ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คณะกรรมการกำกับทิศทางแรงงานฯ สสส. กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบ้าน กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในภาคการเกษตร กลุ่มแรงงานนอกระบบ ตลอดจนองค์กรภาคแรงงานและภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านแรงงาน จำนวน 77 คน เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
นายสุทธิฯ กล่าวว่า เวทีเสวนาเชิงนโยบายในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้ถูกครอบคลุมในกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน ให้ได้รับความคุ้มครองในการจ้างงานและเข้าถึงการให้บริการสุขภาพอย่างเป็นธรรม และเพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขนโยบายที่เกี่ยวข้อง ผ่านกลไกความร่วมมือทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์กรภาคประชาสังคมด้านแรงงาน
“กระทรวงแรงงานมีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะดูแลและคุ้มครองแรงงานทุกคนที่มาทำงาน ดังนั้นหากมีแนวทางการปรับปรุงแก้ไขนโยบายที่เกี่ยวข้อง ผ่านการมีกลไกความร่วมมือทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์กรภาคประชาสังคม ต่อการคุ้มครองกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบ้านและกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ทำงานภาคเกษตร รวมถึงกลุ่มอื่นๆ ทางกระทรวงแรงงานก็พร้อมรับข้อเสนอและร่วมทำงานกับกลุ่มต่างๆ ในอนาคตต่อไป” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในท้ายสุด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35036 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยเคียงข้างธุรกิจ ช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจในโครงการ DR BIZ | วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563
กรุงไทยเคียงข้างธุรกิจ ช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจในโครงการ DR BIZ
ธ.กรุงไทยขานรับโครงการ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” ของธนาคารแห่งประเทศไทย เร่งพิจารณาปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าภาคธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท
ธนาคารกรุงไทยขานรับโครงการ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” ของธนาคารแห่งประเทศไทย เร่งพิจารณาปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าภาคธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท ตามความเหมาะสมและศักยภาพของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถฟื้นตัวและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
นายเอกชัย เตชะวิริยะกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้ให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเต็มที่ ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและวิกฤติโควิค-19 มาอย่างต่อเนื่อง และเตรียมประสานงานกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินอื่นๆ ในการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีภาระหนี้กับเจ้าหนี้หลายราย ภายใต้โครงการ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” เพื่อบรรเทาภาระหนี้ของลูกค้า และให้สามารถฟื้นตัวกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ
“โครงการดังกล่าว มุ่งให้ความช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจทุกประเภทและทุกอุตสาหกรรมที่มีเจ้าหนี้หลายราย และได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเป็นลูกค้าภาคธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท มีสถานะการชำระหนี้เป็นปกติ หรือผิดนัดชำระหนี้กับธนาคารบางแห่งอันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมให้มีการเจรจาปรับเงื่อนไขสินเชื่อของลูกค้าธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายรายให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว และมีช่องทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกค้าภาคธุรกิจให้ได้ข้อยุติร่วมกันแบบเบ็ดเสร็จในคราวเดียวกัน โดยธนาคารเจ้าหนี้ทุกธนาคารจะบูรณาการความช่วยเหลือร่วมกัน ตามความสามารถและศักยภาพของลูกค้า เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ หาผู้ร่วมทุน ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าที่มีแผนธุรกิจชัดเจนภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร”
ธนาคารกรุงไทย พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการภาคธุรกิจซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติโดยเร็ว ลดภาระทางธุรกิจภายใต้สถานการณ์วิกฤติ ผู้ประกอบการที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สอบถามรายละเอียดได้ที่ Krungthai Call Center 02-111-1111 ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา สำนักงานธุรกิจทั่วประเทศ หน่วยงานสินเชื่อที่ดูแลท่าน และเว็บไซต์ krungthai.com
ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด ธนาคารกรุงไทย
โทร. 02 208 4174-8
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34465 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ จับมือเดลต้า อัดฉีดทุนหนุนสตาร์ทอัพ ปั้นธุรกิจ-นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ปี 5 | วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563
ก.อุตฯ จับมือเดลต้า อัดฉีดทุนหนุนสตาร์ทอัพ ปั้นธุรกิจ-นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ปี 5
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีแถลงผลสำเร็จพร้อมมอบเงินทุนสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ ณ ห้องประชุม A อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
วันนี้ (28 สิงหาคม 2563) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีแถลงผลสำเร็จพร้อมมอบเงินทุนสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ ภายใต้โครงการแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ (Delta Angel Fund for Startup) ปีที่ 5 และร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบทุน มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ แก่บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม A อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
สำหรับโครงการฯ นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ประสานความร่วมมือกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนเงินทุนแบบเงินให้เปล่า (Angel Fund) แก่ผู้ประกอบการที่มีไอเดียหรือต้นแบบสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ให้สามารถดำเนินธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกรวม 30 ทีม ผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจ ไอเดียนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ (Pitching) ใน 3 ด้าน ได้แก่ ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (Industry Automation) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีการใช้พลังงานอย่างมีความรับผิดชอบ (Energy Management) และนวัตกรรมเพื่ออนาคต (Innovation) ครอบคลุม 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ การแพทย์ครบวงจร อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และดิจิทัล
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34644 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดวธ.บรรยายพิเศษในหัวข้อ "แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๕) และการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด" | วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
รองปลัดวธ.บรรยายพิเศษในหัวข้อ "แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๕) และการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด"
รองปลัดวธ.บรรยายพิเศษในหัวข้อ "แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๕) และการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด"
วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและนายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ "แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๕) และการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด" ในการประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทยในมิติวัฒนธรรม สู่การสร้างคุณค่า สร้างมูลค่า และสร้างชาติเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ หัวหน้ากลุ่มงานในส่วนสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงแรม รามาดา วินแดม บาย แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35175 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน ชื่นชม ระนอง จังหวัดเดียวภาคใต้ที่ไม่พบโควิด 19 | วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2563
อนุทิน ชื่นชม ระนอง จังหวัดเดียวภาคใต้ที่ไม่พบโควิด 19
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชื่นชมจังหวัดระนอง เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่พบโควิด 19 มี อสม. เป็นพลังสำคัญร่วมหน่วยงานในพื้นที่เข้มผู้เดินทางเข้า-ออกจังหวัด และพื้นที่ชายแดน
วันนี้ (6 กันยายน 2563) ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11 และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เยี่ยมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดระนอง โดยนายอนุทิน ให้สัมภาษณ์ว่า ขอชื่นชมหน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัดระนอง รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ช่วยกันเฝ้า ระวังป้องกัน โรคโควิด 19 ในพื้นที่ อย่างเข้มแข็ง เข้มงวดในการเดินทางเข้าออกจังหวัด และในพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านจนทำให้จังหวัดระนองไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า อสม. เป็นกำลังหลักของกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำงานเชิงรุกเคาะประตูบ้าน ให้ความรู้คนในชุมชน ช่วยให้ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระดับต่ำ และเสริมให้ประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขที่ดี จนเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ แต่อย่างไรก็ตามขอให้ อสม.ช่วยสื่อสารประชาชนในพื้นที่ว่าอย่าประมาท การ์ดอย่าตก ให้ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน นี่คือจุดแข็งที่ประเทศอื่นไม่มี นอกจากจะเป็นการป้องกันโควิด 19 แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค ส่วนการล้างมือบ่อยๆ สามารถช่วยลดการป่วยโรคทางเดินอาหาร ท้องร่วงได้ ทำให้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ
************************************* 6 กันยายน 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34848 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าวของนายกรัฐมนตรีในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 3 | วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563
คำกล่าวของนายกรัฐมนตรีในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 3
ผ่านระบบการประชุมทางไกล ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 24 สิงหาคม 2563
ฯพณฯ หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ฯพณฯ ทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ฯพณฯ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ฯพณฯ อู วิน มยิน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ฯพณฯ เหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ในนามของประชาชนชาวไทย ผมขอให้กำลังใจแก่ประเทศจีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ นำไปสู่ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ผมเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำของผู้นำจีนและความร่วมมือของประชาชนชาวจีน จีนจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้โดยเร็วที่สุด
ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 3 และขอแสดงความชื่นชมที่ MLC มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและมีพลวัตของความร่วมมือเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการร่วมที่ได้รับรองไว้ในปฏิญญาซานย่าในการประชุมผู้นำแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 1 ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนหลักพหุภาคีนิยม การเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือด้วยความสมัครใจ ฉันทามติ การเปิดกว้าง และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของแต่ประเทศ
การประชุมครั้งนี้แม้จะเป็นการหารือผ่านระบบทางไกล แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทุกฝ่ายที่จะขยายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในภาวะที่ทุกประเทศต่างเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และความไม่แน่นอนต่าง ๆ ทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการขาดความเชื่อมั่นในระบบพหุภาคี
ท่ามกลางสภาวะความไม่แน่นอนดังกล่าว ประเทศไทยขอแสดงความชื่นชมสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการความท้าทายด้วยการแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้งในกรอบทวิภาคี กรอบอนุภูมิภาค และกรอบอาเซียน ตลอดจนการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์และเป็นรูปธรรมในกรอบพหุภาคี อาทิ ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (BRI) และสนับสนุนการทำงานขององค์การอนามัยโลก (WHO)
การประชุมในครั้งนี้เป็นอีกวาระหนึ่งที่ MLC จะร่วมกันพลิกวิกฤตจากโควิด-19 ให้กลายเป็นโอกาสที่จะยกระดับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน โดยใช้จุดแข็งของกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งได้แก่ความยืดหยุ่นและเปิดกว้าง สามารถตอบรับกับสถานการณ์ใหม่ ๆ และเชื่อมั่นว่า ปฏิญญาเวียงจันทน์ซึ่งที่ประชุมจะให้ความเห็นชอบต่อไปจะย้ำเจตนารมณ์ร่วมของพวกเราที่จะต่อยอดความร่วมมือทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์ในภาคประชาชน ตลอดจนพัฒนากลไกความร่วมมือที่มีอยู่ โดยเฉพาะกองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ซึ่งในปีนี้ไทยได้รับอนุมัติทั้งหมด 10 โครงการ
ในโอกาสนี้ ผมขอกล่าวถึงสาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญและมีความพร้อมทั้งหมด 4 สาขา ได้แก่ (1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (2) ความมั่นคงด้านสาธารณสุข (3) ความเชื่อมโยง และ (4) การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 (Post Covid-19 Economic Recovery) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำนับตั้งแต่การจัดตั้งกรอบความร่วมมือ MLC ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมีพัฒนาการรุดหน้าต่อเนื่อง ถ้อยแถลงของท่านนายกรัฐมนตรีหลี่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของฝ่ายจีนที่จะยกระดับให้เป็นรูปธรรม และจะร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนกับประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในโอกาสครบรอบ 45 ปีแห่งความสัมพันธ์ไทย - จีน ผมได้สนทนากับท่านประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนทางโทรศัพท์ และเรามีความเห็นพ้องต้องกันว่าเราจะทำให้แม่น้ำโขงเป็น “แม่น้ำแห่งมิตรภาพ” ดังนั้น การพัฒนาความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำจึงนับเป็นฉันทามติร่วมที่น่าชื่นชมในช่วงที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในวงกว้าง
ประเทศไทยยินดีที่จีนได้เสนอแนวทางแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการน้ำตลอดทั้งปีร่วมกันอย่างเป็นระบบ และประเทศสมาชิกกำลังพิจารณาการจัดตั้งกลไก (Platform) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยสนับสนุนข้อริเริ่มของจีน และประสงค์ให้มีการติดตามประเมินผลความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำทั้งในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเพื่อนำไปสู่การขยายความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้ ประเทศไทยประสงค์ให้นำประสบการณ์และรูปแบบการดำเนินการที่ดีของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission - MRC) มาดำเนินการร่วมกับกลไกนี้ และควรให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำระหว่าง MLC และ MRC นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การผลักดันกลไกความร่วมมือในระดับนโยบายรุดหน้า รวมทั้งขอให้นำผลความคืบหน้าการหารือของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านทรัพยากรน้ำมารายงานให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศซึ่งเป็น focal point ของ MLC ตามเจตนารมณ์ของปฏิญญาซานย่าทราบผลสำเร็จของกลไกโดยเร็วด้วย
สาขาที่สองด้านความมั่นคงด้านสาธารณสุข เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การฟื้นตัวอย่างยั่งยืน และการปรับตัวเข้ากับความปกติใหม่ (new normal) และความปกติในอนาคต (next normal) การที่ไทยได้รับการยอมรับว่าสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกนั้น นอกจากประชาชนทั้งชาติร่วมมือกันแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือนโยบายความมั่นคงด้านสาธารณสุข ซึ่งให้ความสำคัญกับความพร้อมของบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ ความสามารถในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและยา และความพร้อมในการเผชิญวิกฤต
ในระดับอนุภูมิภาค ประเทศไทยพร้อมที่จะมีความร่วมมือกับจีนในการวิจัยและพัฒนาวัคซีน (Research and Development) การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือด้านการป้องกันโรคระบาด และการพัฒนาขีดความสามารถของไทยในการเป็นฐานการผลิตยาและวัคซีนของอนุภูมิภาคในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยขอแสดงความชื่นชมแนวคิดและข้อริเริ่มของจีนเรื่อง “การสร้างประชาคมร่วมด้านสาธารณสุข” (Shared Community for Public Health) และยินดีที่ได้ทราบว่า จีนจะจัดตั้งกองทุนพิเศษด้านสาธารณสุขในกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (MLC Special Fund for Public Health) ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ในอนุภูมิภาคของเรา
ในระดับโลก ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภายใต้กรอบ WHO อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ไทยกำลังเร่งความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนกับนานาชาติ และเห็นพ้องกับประเทศสมาชิกว่า เมื่อมีการผลิตวัคซีนสำเร็จแล้ว วัคซีนดังกล่าวควรจะเป็นสินค้าสาธารณะ (global public goods) ซึ่งทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้
สาขาที่สามเป็นเรื่องความเชื่อมโยง ประเทศไทยสนับสนุนให้ MLC เร่งยกระดับความเชื่อมโยงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ห่วงโซ่อุปทานทั้งในยามปกติและในยามวิกฤต ซึ่งรวมถึงแนวคิดของจีนในการจัดตั้งช่องทางพิเศษสำหรับการขนส่งสินค้า (Green Channel) และการส่งเสริมการเดินทางข้ามพรมแดนที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางด้านสาธารณสุข ประเทศไทยประสงค์จะเห็นการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีความสมดุลกับความมั่นคงทางสาธารณสุขของภูมิภาค เกี่ยวกับเรื่องนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่มีการคุมเข้มด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการผ่อนปรนให้นักธุรกิจ นักลงทุน สามารถเดินทางเข้ามาประกอบธุรกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้การจัดทำข้อตกลงพิเศษหรือ Special Arrangement ระหว่างกัน
นอกจากนี้ MLC ควรเร่งรัดความร่วมมือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงในทุกมิติ ทั้งทางกายภาพ กฎระเบียบ และประชาชน รวมทั้งเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้ทำงานสอดประสานกับแนวคิดและกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค เช่น อาเซียน ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (BRI) และเอกสารมุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEANOutlook on the Indo-Pacific - AOIP) อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ พลังงาน ดิจิทัล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อกระจายรายได้ไปสู่พื้นที่ที่ห่างไกลจากระเบียงเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง
สาขาสุดท้ายเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศไทยเห็นว่า MLC ควรสนับสนุนให้ระบบเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ และแรงงานมีความพร้อมในการรับมือกับวิกฤต มีความยืดหยุ่น มีการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ผมเห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะเป็นการวางรากฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน คือ การสร้างความยืดหยุ่น (Resilience) ให้ภาคเอกชน ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อย โดยประเทศไทยพร้อมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับใช้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างความยืดหยุ่นและการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์กับประเทศสมาชิก MLC และเห็นพ้องกับกับจีนในการเร่งดำเนินการตาม Green Mekong - Lancang Plan และ Mekong - Lancang Environment Cooperation Strategy การขยายความร่วมมือด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมนวัตกรรมในภาคเกษตร และการเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าเกษตรจากประเทศใน MLC ไปจีน ซึ่งเป็นประเด็นที่ท่านประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและผมเห็นพ้องกันในการหารือเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาด้วย
เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์มากขึ้น ประเทศไทยเสนอให้ MLC เพิ่มการสนับสนุนภาคเอกชน โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย (MSMEs) ซึ่งเป็นฐานรากของเศรษฐกิจ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดการสร้างงานที่มีคุณภาพ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ อาทิ คณะทำงานร่วมสาขาความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน นอกจากนี้ ประเทศไทยขอสนับสนุนให้ประเทศใน MLC ร่วมกันกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ทั้งการค้าชายแดน การท่องเที่ยว และการไปมาหาสู่ของประชาชน โดยคำนึงถึงความสมดุลกับความมั่นคงด้านสาธารณสุข
ผมถือว่าวันนี้เป็นวันที่พวกเราประเทศลุ่มน้ำโขงได้เป็นประจักษ์พยานที่จีนได้ยืนยันความสำคัญที่ให้ต่อประเทศลุ่มน้ำโขง และได้ร่วมกันแสดงเจตจำนงและความแน่วแน่ที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายต่าง ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในโลก โดยเปลี่ยนวิกฤตที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ ให้เป็นโอกาสในการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด สร้างสรรค์ และต่อเนื่อง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต เสถียรภาพ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเพื่อการพัฒนาและความมั่งคั่งของพลเมืองของเรา โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
********************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34473 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระหว่างวันที่ 21 – 27 สิงหาคม 2563 | วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระหว่างวันที่ 21 – 27 สิงหาคม 2563
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระหว่างวันที่ 21 – 27 สิงหาคม 2563 พบการกระทำผิด จำนวน 535 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 16.25 ล้านบาท
https://twittr.com/News_offe/status/1299228028447256578?s=20นายวรวรรธน์ ภิญโญ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิด กฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดทำแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ ชุดเฉพาะกิจจากสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต พื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทำผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และ ความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
สำหรับผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2563 (ระหว่างวันที่ 21 - 27 สิงหาคม 2563) พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 535 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 16.25 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 288 คดี ค่าปรับ 2.22 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 177 คดี ค่าปรับ 4.11 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 14 คดี ค่าปรับ 0.13 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 25 คดี ค่าปรับ 8.42 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 5 คดี ค่าปรับ 0.14 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 16 คดี ค่าปรับ 0.59 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 10 คดี ค่าปรับ 0.64 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 2,580.220 ลิตร ยาสูบ จำนวน 11,182 ซอง ไพ่ จำนวน 474 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 256,671.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 2,686 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 22 คัน
สรุปยอดรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 27 สิงหาคม 2563 พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 26,020 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 453.84 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 14,862 คดี ค่าปรับ 149.10 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 7,697 คดี ค่าปรับ 177.91 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 565 คดี ค่าปรับ 7.95 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 1,148 คดี ค่าปรับ 55.18 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 66 คดี ค่าปรับ 1.73 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 1,146 คดี ค่าปรับ จำนวน 28.95 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 536 คดี ค่าปรับ 33.02 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 1,794,486.294 ลิตร ยาสูบ จำนวน 480,053 ซอง ไพ่ จำนวน 67,012 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 2,956,068.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 46,491 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 1,292 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนำจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต
โทร/โทรสาร 0 2241 4778
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34634 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุชา พร้อมผลักดันเปลี่ยนแปลงเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีให้ดียิ่งขึ้น แนะเพิ่มกิจกรรม สร้างความตื่นเต้น ดึงดูดนักท่องเที่ยว | วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2563
อนุชา พร้อมผลักดันเปลี่ยนแปลงเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีให้ดียิ่งขึ้น แนะเพิ่มกิจกรรม สร้างความตื่นเต้น ดึงดูดนักท่องเที่ยว
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมผลักดันเปลี่ยนแปลงเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีให้ดียิ่งขึ้น แนะเพิ่มกิจกรรม สร้างความตื่นเต้น ดึงดูดนักท่องเที่ยว
วันนี้ (13 กันยายน 2563) เวลา 09.00 น. นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานและมอบนโยบายเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนประชาชนเข้าร่วม
นายเบญจพล นาคประเสริฐ กรรมการบริหาร ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) กล่าวรายงานการดำเนินงานของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี โดยเริ่มต้นจากความร่วมมือของชุมชนที่ต้องการให้เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่ด้านการเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ซึ่งตั้งแต่มีการก่อตั้งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ประชาชนในพื้นที่เกิดรายได้จากการรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน เช่น วิสาหกิจการผลิตอาหารสัตว์ ในชุมชนแม่เหียะ ชุมชนสุเทพ ชุมชนหนองควาย และชุมชนบ้านปง จากผลสำรวจพบว่าชุมชนเกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้น 25% ทั้งนี้ ชุมชนมีความกังวลว่าการบริหารงานขอเชียงใหม่ไน้ท์ซาฟารีที่ได้เคยช่วยเหลือชุมชน หากเกิดการโอนเปลี่ยนการดำเนินงานไปยังองค์กรสวนสัตว์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร
รัฐมนตรีประจำประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินกิจการของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีว่า รัฐบาลพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวมาโดยตลอด ทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศ สร้างรายได้สู่ชุมชน สู่ท้องถิ่น ทำให้ประชาชนมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีนั้น ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลพร้อมจะผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อยู่ในองค์กรที่มีสภาพคล่องในการดำเนินงาน ที่สำคัญจะต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยคนในองค์กรและคนในชุมชน ขออย่าได้กังวลถึงการเปลี่ยนแปลง เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงแล้วทำให้แย่กว่าเดิม ตนเองจะรู้สึกผิดและไม่มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำลงไป ขอยืนยันพร้อมให้คำมั่นว่าจะผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้ ขอให้จัดกิจกรรมที่หลากหลายเพิ่มความน่าสนใจ สร้างความตื้นเต้นให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้น พร้อมกับสร้างบรรยากาศให้นักท่องเที่ยวรู้สึกเข้าไปอยู่ในสถานที่จริงๆ เช่น การกำหนดธีมแต่งกาย โดยให้เปลี่ยนชุดซาฟารีก่อนจะเยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความสมจริง
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ต้องทำสถานที่ท้องถิ่นนิยมให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ไม่ได้เป็นที่รู้จักเฉพาะคนในท้องถิ่น แต่ต้องทำให้เป็นรู้จักของนักท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง พร้อมกับต้องร่วมมือก้าวไปข้างหน้าเติบโตไปพร้อมกันของทุกภาคส่วน จะต้องไม่แยกกันเติบโต เพราะการท่องเที่ยวเป็นพลังสำคัญในการผลักดันสร้างรายได้ให้กับประเทศ และคนในชุมชนต่อไป
--------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35037 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วราวุธ ลุยงานวันหยุด ตรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้ | วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2563
วราวุธ ลุยงานวันหยุด ตรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้
วราวุธ ลุยงานวันหยุด ตรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้
วราวุธ ลุยงานวันหยุด ตรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 4-7 ก.ย. นี้
วันนี้ (5 กันยายน 2563) เวลา 13.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกเหวนรก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อตรวจเยี่ยมความพร้อมในการให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวที่รัฐบาลกำหนด 4-7 กันยายน 2563
และปลูกต้นหว้า ณ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ทางลงน้ำตกเหวนรก) พร้อมทั้งได้เดินตรวจเส้นทางไปน้ำตก ซึ่งระหว่างทางได้มีประชาชนมาร่วมถ่ายภาพกับ รมว.ทส. จำนวนมาก
ทั้งนี้ รมว.ทส. ได้ตรวจจุดสกัดเฝ้าระวังช้างป่า บริเวณเส้นทางเดินไปยังน้ำตก พร้อมกับทดสอบระบบสัญญาณเตือนภัยทุกระบบ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังได้ตรวจจุดที่ช้างป่าใช้เป็นเส้นทางข้ามลำน้ำ ในระหว่างรับฟังบรรยายสรุปเหตุการณ์ช้างป่าพลัดตกเหว และวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ นอกจากนั้น ยังได้กล่าวให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ทุกนาย ความโดยสรุปว่า “ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกนายอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย รวมถึงความยากลำบากต่างๆ เพราะเจ้าหน้าที่อุทยานคือกำลังสำคัญในการปกป้องชีวิตสัตว์ป่า และนักท่องเที่ยว
รมว.ทส. ยังกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ช้างป่าพลัดตกเหวเมื่อปี 2562 ว่า “อุทยาแห่งชาติได้วางมาตรการดำเนินงานอย่างรัดกุมมาตลอดกว่า 30 ปี แต่สำหรับเหตุการณ์ในปีที่ผ่านมานั้น เกิดจากปริมาณกระแสน้ำที่มีมากกว่าทุกปี จนเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ช้างป่าถูกกระแสน้ำพลัดตกเหว นำมาซึ่งความเศร้าเสียใจของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้จัดให้มีระบบสัญญาณเตือน เมื่อมีสัตว์ป่า เดินเข้ามาในจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการป้องกันได้ทันท่วงที”
นอกจากนั้น รมว.ทส. ยังได้ฝากไปถึงนักท่องเที่ยวทุกคนว่า “ขอให้ช่วยกันรักษากฎระเบียบต่างๆ อย่างเคร่งครัด พื้นที่อุทยานเปรียบเสมือนบ้านของสัตว์ป่า นักท่องเที่ยวเปรียบเสมือนแขกที่มาเยี่ยม เราต้องช่วยกันรักษามารยาทและดูแลบ้านของสรรพสัตว์ให้ดี”
โอกาสนี้ รมว.ทส. ได้มอบเสื้อปฏิบัติการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ และตรวจดูอุปกรณ์รถควบคุมโดรน ของสมาคมตอบโต้ภัยพิบัติด้วย
ต่อมา เวลา 15.00 น. รมว.ทส. พร้อมคณะได้เดินทางไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และด่านเก็บค่าผ่านทางของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะต่างๆ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพบว่า วันนี้มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเดินทางมาเป็นจำนวนมากอีกด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34841 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. พร้อมคุ้มครองดูแลเด็ก 2 คน หลังผู้เป็นแม่ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต ที่ย่านภาษีเจริญ กทม. | วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563
พม. พร้อมคุ้มครองดูแลเด็ก 2 คน หลังผู้เป็นแม่ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต ที่ย่านภาษีเจริญ กทม.
พม. พร้อมคุ้มครองดูแลเด็ก 2 คน หลังผู้เป็นแม่ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต ที่ย่านภาษีเจริญ กทม.
วันที่ 30 ส.ค. 63เวลา 15.00 น.นางพัชรี อาระยะกุล รองปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ในฐานะโฆษกกระทรวง พม. เปิดเผยว่า จากกรณีหญิงอายุ 37 ปี ถูกสามีอายุ 27 ปี ทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้มีอาการปอดฉีก ซี่โครงหักทิ่มปอด สมองบวม มีรอยฟกช้ำทั่วร่างกาย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งทั้งสองคนมีลูกด้วยกัน 2 คน อายุ 5 ขวบ และ 3 เดือน ที่ย่านภาษีเจริญ กทม. นั้น ขณะนี้ กระทรวง พม. โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 พร้อมให้ความช่วยเหลือเด็กทั้ง 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของผู้เสียชีวิต โดยจะรับเข้าไว้ในความความคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพของบ้านพักเด็กและครอบครัว ซึ่งแนวทางการให้ความช่วยเหลือ ของบ้านพักเด็กและครอบครัว มีดังนี้ 1) วันที่ 30 ส.ค. 63 เวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร นำส่งเด็กทั้งสองคนที่ประสบปัญหาผู้เป็นแม่เสียชีวิต ซึ่งเด็กไม่มีผู้อุปการะดูแลต่อ เพื่อเข้ารับการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพต่อไป ที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท และ 2) ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เพื่อพิจารณาและประเมินครอบครัวร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อวางแผนในการช่วยเหลือครอบครัวระยะยาวต่อไป
นางพัชรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นผู้ประสบปัญหาทางสังคม สามารถแจ้งมาที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชม. ซึ่งกระทรวง พม. พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34697 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ประชุมเครือข่ายนักสันติวิธีสาธารณสุขทั่วประเทศ ลดข้อแย้ง ร้องเรียนทางการแพทย์ | วันพุธที่ 2 กันยายน 2563
สธ. ประชุมเครือข่ายนักสันติวิธีสาธารณสุขทั่วประเทศ ลดข้อแย้ง ร้องเรียนทางการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข สร้างเครือข่ายนักสันติวิธี แก้ไขปัญหาขัดแย้งในระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข จัดการข้อร้องเรียนโดยใช้หลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ลดปัญหาการฟ้องร้องตามนโยบาย 2P Safety
กระทรวงสาธารณสุข สร้างเครือข่ายนักสันติวิธี แก้ไขปัญหาขัดแย้งในระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข จัดการข้อร้องเรียนโดยใช้หลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ลดปัญหาการฟ้องร้องตามนโยบาย 2P Safety
บ่ายวันนี้ (2 กันยายน 2563) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการเครือข่ายนักสันติวิธีสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2563 “การเจรจาไกล่เกลี่ย : คำตอบของการจัดการความขัดแย้ง” เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ นำเสนอนวัตกรรมจากปฏิบัติงานการไกล่เกลี่ย สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านสันติวิธี บรูณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้รับผิดชอบงานรับเรื่องร้องเรียนและเจรจาไกล่เกลี่ยในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มหาวิทยาลัยทุกแห่ง คณะกรรมการไกล่เกลี่ยส่วนกลางและภูมิภาค ผู้รับผิดชอบงาน 2P Safety ประจำเขตสุขภาพ 13 เขต และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน
นพ.ยงยศกล่าวว่า ปัจจุบันการร้องทุกข์และฟ้องร้องทางการแพทย์จากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และมีแนวโน้มความขัดแย้งเพิ่มขึ้น มีความหลากหลายของปัญหา สิ่งสำคัญที่พบและน่าเป็นห่วงคือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและญาติกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีการฟ้องร้อง กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายในการพัฒนาระบบคุณภาพความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) ตามหลักการของ 2P Safety ให้ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันการเกิดปัญหาจนถึงการจัดการเมื่อเกิดปัญหา และมอบหมายให้ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข จัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยของกระทรวงสาธารณสุขและเขตสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์โดยใช้หลักการเจรจาไกล่เกลี่ย สื่อสารทำความเข้าใจระหว่างคนไข้และญาติกับบุคลากรทางการแพทย์ไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงและสามารถยุติได้โดยเร็ว นอกจากนี้ ได้มอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพสู่นักสันติวิธีสาธารณสุข เมื่อวันที่ 21-26 เมษายน 2562 จำนวน 48 คน
ทั้งนี้ กลุ่มระงับข้อพิพาททางการแพทย์ กองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวบรวมข้อมูลสถิติการฟ้องร้อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2563 (ณ วันที่ 30 เมษายน 2563) มีคดีแพ่ง 352 คดี คดีอาญา 44 คดี คดีปกครอง 4 คดี มีคดีแพ่งและคดีผู้บริโภคอยู่ในศาลรวม 50 คดี (เป็นทุนทรัพย์คดีทั้งหมดประมาณ 3,357 ล้านบาท) อยู่ในศาลขั้นต้น 22 คดี ศาลอุทธรณ์ 22 คดี ศาลฎีกา 6 คดี สำหรับคดีผู้บริโภค ตั้งแต่ 23 สิงหาคม 2551 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 รวม 219 คดี ไกล่เกลี่ยได้แล้ว 136 คดี
*************************** 2 กันยายน 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34770 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. เตือนทำงานในที่อับอากาศอาจเสียชีวิต หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน | วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
กสร. เตือนทำงานในที่อับอากาศอาจเสียชีวิต หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้าง ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศต้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมายและอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวเหตุการณ์เสียชีวิตของลูกจ้างที่ทำงานในพื้นที่อับอากาศตามที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ กสร.ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า สาเหตุใหญ่มาจากการไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 รวมทั้งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดมาตรการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยไว้อย่างชัดเจน เช่น กำหนดให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีการประเมินสภาพอันตรายในที่อับอากาศ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือ และช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศต้องได้รับการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น กสร.จึงขอเตือนไปยังนายจ้าง ลูกจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของลูกจ้างและนายจ้าง สำหรับความผิดของนายจ้างที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า อุบัติเหตุจากการทำงานในที่อับอากาศนั้น สามารถป้องกันได้หากทุกฝ่ายตระหนักและคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานสอบถามได้ที่ กองความปลอดภัยแรงงาน โทรศัพท์ 0 2448 9128-39 ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 1-12 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือที่โทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34991 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2563 | วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 256
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางต่างประเทศ (อินเดีย 1 ราย) และเข้ารับการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ ไม่มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่ม ทำให้มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,237 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.09 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 109 ราย หรือร้อยละ 3.20 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,404 ราย
สำหรับข้อมูลผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ เดินทางมาจากประเทศอินเดีย สัญชาติอินเดีย อายุ 35 ปี เดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 8 สิงหาคม 2563 เข้ากักตัวใน Alternative State Quarantine ที่กรุงเทพมหานคร เก็บตัวอย่างส่งตรวจครั้งแรกวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ผลไม่พบเชื้อ และตรวจครั้งที่ 2 วันที่ 21 สิงหาคม 2563 ผลพบเชื้อ ไม่มีอาการ โดยก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 22 ราย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกยังมีการระบาดรุนแรงหลายประเทศ โดยประเทศเพื่อนบ้านมีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น พบการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนภายในประเทศ หลังเปิดการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ สำหรับประเทศไทยแม้ขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศกว่า 3 เดือนแล้ว (94 วัน) แต่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ยังคงมีโอกาสกลับมาพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะสามารถช่วยให้สถานการณ์ของประเทศอยู่ในระดับต่ำแบบนี้ต่อไปได้คือ ประชาชนยังคงต้องมีวินัยในการดูแลป้องกันตนเอง ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าตลอดเวลา ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง หลักเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก เพื่อให้ครอบครัว ชุมชน สังคม สถานที่ทำงานปลอดภัย
สำหรับกรณีที่มีข่าวเด็กใช้แอลกอฮอล์เจลทาแขน ขาและได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้ นั้น ขอให้ผู้ปกครองระมัดระวังการใช้แอลกอฮอล์เจล ไม่ควรใช้กับเด็กทารกและเด็กเล็ก ให้ใช้สบู่และน้ำล้างมือ ในการใช้แอลกอฮอล์เจล หากใช้ครั้งแรกควรทดสอบการแพ้ก่อน และควรใช้เพียง 2 – 3 ซีซี หรือครึ่งช้อนชา ใส่ลงในฝ่ามือถูให้ทั่วทั้ง 2 มือ นาน 20 วินาทีและปล่อยให้แห้ง ไม่ควรใช้กับบริเวณผิวบอบบาง เช่น รอบดวงตา ผิวหนังที่มีการอักเสบ หากสัมผัสบ่อยๆ ผิวอาจกระด้างได้ และหากทามือแล้วยังไม่แห้งควรหลีกเลี่ยงเปลวไฟ เนื่องจากมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในปริมาณมากสามารถติดไฟได้ รวมทั้งควรเก็บแอลกอฮอล์เจลในที่พ้นมือเด็ก และไม่ให้ถูกแสงแดดป้องกันการระเหยของแอลกอฮอล์
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34610 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมมอบรางวัล "เพชรจรัสแสง” และ รางวัล "คนดีศรี สป.” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 | วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2563
ทส. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมมอบรางวัล "เพชรจรัสแสง” และ รางวัล "คนดีศรี สป.” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
ทส. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมมอบรางวัล "เพชรจรัสแสง” และ รางวัล "คนดีศรี สป.” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
ทส. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมมอบรางวัล "เพชรจรัสแสง” และ รางวัล "คนดีศรี สป.” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
วันนี้ (3 กันยายน 2563) เวลา 13.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต และการประเมินความเสี่ยงการทุจริตหน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมอบรางวัล "เพชรจรัสแสง” บุคคลต้นแบบสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 27 ราย และรางวัล "คนดีศรี สป." แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่สมควรยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดี สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 16 ราย ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ชั้น 2 อาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยโอกาสนี้ รมว.ทส. ได้กล่าวให้โอวาทต่อต้านการทุจริต โดยในการทำงานให้กับแผ่นดินไทยเพื่อสนองใต้เบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ท่านทรงมีพระราชปณิธานตั้งมั่นในพระปฐมบรมราชโองการในการทรงงานเพื่อ “สืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” นั้น ความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน วิริยะอุตสาหะ และมีวินัย ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน ในวันนี้ขอให้ทุกท่านรักษาความดี รักษามาตรฐานความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทนในการทำงาน เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เพื่อนๆ รุ่นน้อง และผู้ใต้บังคับบัญชาในสังกัดกระทรวงฯ และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งนี้ ขอแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลและขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านปฏิบัติงานเพื่อแก่ประชาชนและประเทศชาติต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34809 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีคุมนโยบายและทีมเศรษฐกิจ เดินหน้าใช้งบฟื้นฟูฯ ดูแลเศรษฐกิจรายเล็ก เร่งการจ้างงาน กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ พร้อมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำใน จ.สุโขทัย | วันพุธที่ 2 กันยายน 2563
นายกรัฐมนตรีคุมนโยบายและทีมเศรษฐกิจ เดินหน้าใช้งบฟื้นฟูฯ ดูแลเศรษฐกิจรายเล็ก เร่งการจ้างงาน กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ พร้อมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำใน จ.สุโขทัย
นายกรัฐมนตรีคุมนโยบายและทีมเศรษฐกิจ เดินหน้าใช้งบฟื้นฟูฯ ดูแลเศรษฐกิจรายเล็ก เร่งการจ้างงาน กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ พร้อมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำใน จ.สุโขทัย
วันนี้ (2 กันยายน 2563) เวลา 11.00 น. ณ บริเวณทางเชื่อมระหว่างตึกภักดีบดินทร์กับตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบศ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ว่า ช่วงที่ผ่านมาได้สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงไปในพื้นที่ กำชับให้ติดตาม ดูแล เยียวยาประชาชนและหามาตรการเตรียมแผนการฟื้นฟูเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งวันนี้จะเข้าไปดูพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดสุโขทัย และเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการเก็บกักน้ำในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และการระบายน้ำในพื้นที่สุโขทัยที่เป็นปัญหาน้ำท่วมทุกปี ทุกอย่างต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งในที่ประชุม ศบศ. ในวันนี้ได้พูดถึงการใช้งบแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 วงเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งระยะแรกใช้ไป 1 แสนล้านบาท และในระยะต่อไปจะใช้ในการฟื้นฟูเรื่องของภาคธุรกิจ SMEs ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก รวมทั้งการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่และที่ตกงานอยู่เดิมในปี 62-63 ในระยะแรก ซึ่งนอกจากกระทรวงแรงงานแล้ว ยังมีงบจ้างงานอื่น ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย รัฐบาลต้องการให้เพิ่มการจ้างงานให้มากยิ่งขึ้น ๆ ขอให้ทุกคนทำความเข้าใจรัฐบาลจะใช้เงินอย่างระมัดระวังภายใต้มาตรการที่เหมาะสม
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการท่องเที่ยวที่เน้นการท่องเที่ยวในประเทศว่า วันนี้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศมีมากขึ้น โรงแรมมีการจองมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถทดแทนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้ มาตรการเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ รัฐบาลทำการศึกษาไว้ก่อน ยังไม่มีการดำเนินการ ขออย่าตื่นตระหนก รัฐบาลยืนยันให้ความสำคัญทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจจะเดินหน้าก็ต้องกลับมาดูแลสุขภาพด้วย วันนี้เป็นโอกาสดีครบ 100 วัน ที่ประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศ เป็นสิ่งที่ทุกคนช่วยกันมาตลอด ทำให้ประเทศชาติปลอดภัย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังชี้แจงถึงการลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า เป็นเหตุผลและความจำเป็นด้านสุขภาพ พร้อมยืนยันรัฐบาลทำงานได้แน่นอน เพราะมีระเบียบในการรักษาราชการในการกำกับดูแล มีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจกำกับดูแลกระทรวงการคลัง เป็นกติกา กฎ ในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ว่าขาดตรงไหนทำได้ เพราะมีคนทำงานและข้าราชการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ที่ทำงานมาตั้งแต่ต้นของทุกโครงการ ขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลทำงานได้ เพราะในระดับนโยบายมีนายกรัฐมนตรี รัฐบาล การเมืองขับเคลื่อน ขณะที่ข้าราชการคือผู้ปฏิบัติ ทุกคนเป็นคนทำงานนำนโยบายไปแปลงสู่การปฏิบัติ ฝากไปถึงต่างประเทศและทุกคนขอให้มั่นใจ รัฐบาลยังคงเดินหน้าทุกมิติและนายกรัฐมนตรีพร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย
**************
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34754 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีสุริยะฯ และคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์มิตซูบิชิฯ และติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคต นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี | วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563
รัฐมนตรีสุริยะฯ และคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์มิตซูบิชิฯ และติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคต นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์มิตซูบิชิฯ และติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคต นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
จ.ชลบุรี : วันนี้ (24 สิงหาคม 2563) เวลา 08.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เพื่อติดตามการทำงานของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 (ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2563
โดยจุดแรกได้เยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งบริษัทฯ ได้มีแผนการลงทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เทคโนโลยียานยนต์รองรับอนาคต ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล พร้อมรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีปลั๊กไฮบริดในรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ที่มีความจุและสามารถขับเคลื่อนที่ไม่ต้องเติมน้ำมันบ่อย รถยนต์อเนกประสงค์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของพื้นถนนหรือการจราจรได้ทันที และผลการดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการประกอบยานยนต์แห่งอนาคต โดยผู้แทนบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะยังได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคต พื้นที่แหลมฉบัง จ.ชลบุรี ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34504 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมช.ประภัตร” เล็งผันน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ | วันพุธที่ 9 กันยายน 2563
“รมช.ประภัตร” เล็งผันน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
“รมช.ประภัตร” เล็งผันน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เติมเขื่อนกระเสียว ช่วยพื้นที่เกษตรเมืองสุพรรณฯ กว่า 5 แสนไร่ แก้วิกฤติภัยแล้ง
วันนี้ (4 ก.ย.63) นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ณ เขื่อนศรีนครินทร์ ต.เขาโจด อ.ศีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ว่า วันนี้ได้ร่วมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของตัวแทนเกษตรกร 5 อำเภอ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ อำเภอด่านช้าง หนองหญ้าไซ เดิมบางนางบวช สามชุก และดอนเจดีย์ ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำจากเขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ 3 ปีติดต่อกัน มีพื้นที่เกษตรกว่า 5 แสนไร่ ไม่ได้ทำเกษตร ดังนั้น จึงนำตัวแทนกว่า 200 คน ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ชลประทาน จ.สุพรรณบุรี และชลประทาน จ.กาญจนบุรี ซึ่งรับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ มาร่วมชี้แจงให้เกษตกรในครั้งนี้ด้วย
นายประภัตร กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางที่ได้หารือกันในเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนั้น ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาถึงความเหมาะสมในการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ไปยังอ่างเก็บน้ำกระเสียว จ.สุพรรณบุรี เพื่อบรรเทาภัยแล้งให้กับเกษตรกร กว่า 500,000 ไร่ ซึ่งการผันน้ำครั้งนี้ มีระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม มีอุปสรรคคือระดับน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ มีความสูงประมาณ 180 เมตรเหนือน้ำทะเล แต่ต้องผันน้ำผ่านยอดเขาซึ่งมีความสูง 530 เมตรจากระดับน้ำทะเล จึงต้องดำเนินการสูบน้ำจากจุดเขื่อนศรีนครินทร์นี้ไปยังยอดเขาระยะทาง 15 กิโลเมตร หลังจากนั้นอีก 55 กิโลเมตรจะปล่อยตามแรงโน้มถ่วงของโลกไปยังเขื่อนกระเสียว ต่อไป
“เบื้องต้น ความจุน้ำทั้ง 2 เขื่อน คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ รวมประมาน 25,000 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การได้ประมาณ 15,000 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม เขื่อนกระเสียวมีความต้องการน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ 100 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี เนื่องจากเขื่อนกระเสียวมีความจุน้ำเพียง 250 ล้าน ลบ.ม. หากได้ปริมาณน้ำเพิ่มจะช่วยพื้นที่การเกษตรได้เพียงพอ ดังนั้น จากการวิเคราะห์ มีความเป็นไปได้ในการผันน้ำ หากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่ายประสานกัน ทั้งด้านเทคนิค และสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าโครงการนี้จะแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างถาวร ทั้งนี้ ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปศึกษา เพื่อดำเนินการต่อไป” นายประภัตร กล่าว
กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว
กองเกษตรสารนิเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร 02 281 0859 ต่อ 137
แฟกส์ 02 2822871
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34924 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมีหนังสือแสดงความยินดีถึงนายสึกะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง | วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
นายกรัฐมนตรีมีหนังสือแสดงความยินดีถึงนายสึกะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีมีหนังสือแสดงความยินดีถึงนายสึกะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือแสดงความยินดีถึงนายสึกะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ดังนี้
Office of the Prime Minister, Government House,
BANGKOK.
16 September B.E. 2563 (2020)
Excellency,
On behalf of the Royal Thai Government and people of the Kingdom of Thailand, I have the honour to extend to you my sincere congratulations on your assumption of office as Prime Minister of Japan. Indeed, your appointment is a compelling reflection of the high trust and confidence placed in you to take Japan forward, especially during such challenging times for the international community.
In view of this, I am pleased that Thailand and Japan share a close strategic partnership, as well as common views on regional and international issues. Moreover, under your co-chairmanship of the Japan-Thailand High Level Joint Commission (HLJC), economic cooperation between our two countries made significant progress, especially in such areas as free trade agreements, infrastructure cooperation, human resource development and local-to-local cooperation. It is my earnest hope, therefore, that Thailand and Japan will continue to follow through and build on these areas of cooperation under the HLJC.
In this regard, I look forward to working closely with you to further deepen and expand relations between Thailand and Japan in all dimensions for the mutual benefit of our two countries and peoples, and for the progress of the international community. Particularly important will be our collaboration on post-COVID-19 socio-economic recovery.
I would like to take this opportunity to extend to you my best wishes for your continued success. I also wish to take this opportunity to extend an invitation to you to pay an official visit to Thailand at a mutually convenient date.
Accept, Excellency, the assurances of my highest consideration.
General (Ret.)
(Prayut Chan-o-cha)
Prime Minister of the Kingdom of Thailand
His Excellency
Mr. SUGA Yoshihide,
Prime Minister of Japan
TOKYO.
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35152 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- นฤมล’ ลั่น การขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งดูแลกลุ่มผู้สูงอายุและสตรี | วันอังคารที่ 1 กันยายน 2563
นฤมล’ ลั่น การขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งดูแลกลุ่มผู้สูงอายุและสตรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เผยข้อมูลติดตามการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เน้นย้ำ การพัฒนาต้องได้รับความร่วมมือทุกภาคส่วนและตอบโจทย์ในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและสตรี
ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า โครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการให้ทุกภาคส่วนประสานความร่วมมือ มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเสมือนผู้นำของแต่ละจังหวัด และให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแลแต่ละจังหวัดทำหน้าที่ประสานงาน ให้คำปรึกษา รับฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ ทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอในการขอรับการช่วยเหลือ เพื่อให้รัฐบาลได้นำไปวางแผนและร่วมกันขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รมช.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า กระทรวงแรงงานมีนโยบายที่จะดำเนินการหลายโครงการ ไม่เพียงแค่จังหวัดน่านและแพร่ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเท่านั้น แต่ประชาชนสามารถเข้ารับบริการต่างๆ ที่กระทรวงแรงงานมีให้บริการในทุกจังหวัดที่มีหน่วยงานของกระทรวงฯ ตั้งอยู่ และจากการลงพื้นที่จังหวัดน่าน-แพร่ ที่ผ่านมา ได้รับฟังข้อมูลการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันทั้งสถานการณ์แรงงานของจังหวัดแพร่และน่าน ความต้องการแรงงาน มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การคัดกรอง และการขับเคลื่อนจากหน่วยงานอื่นๆ ภายในจังหวัด เช่น การบริการจัดการแหล่งน้ำ โครงการบรรเทาความเดือนร้อนจากภัยแล้งและน้ำท่วม ในแต่ละช่วงของฤดูกาล พบว่า ทั้งสองจังหวัด (แพร่ น่าน) ยังมีความต้องการให้ส่งเสริมและสนับสนุน การเป็นศูนย์ฝึกอบรมการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรองรับการเปลี่ยนโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งให้พัฒนาทักษะฝีมือให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและสตรี เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงาน หรือเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามวัย
ประเด็นด้านการท่องเที่ยว ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดมีสนามบิน จึงสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการท่องเทียวเชิงนิเวศน์และการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน จังหวัดจึงเสนอให้สนับสนุนการขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของสายการบินในการนำเครื่องบินลงจอด รมช.แรงงาน ในฐานะที่รับผิดชอบพื้นที่ของ 2 จังหวัดดังกล่าว จะขอรับข้อมูลดังกล่าวเพื่อนำเสนอให้แก่รัฐบาลได้ทราบเพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนต่อไป
“สำหรับปัญหาเรื่องภัยแล้งและน้ำท่วมตามฤดูกาล กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกรมอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน เสนอโครงการเร่งด่วน เช่น โครงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อทำถังเก็บน้ำไว้ใช้ในชุมชน และโครงการขุดลอกฝาย เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน เป็นต้น” รมช.แรงงาน กล่าวท้ายที่สุด
----------------------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34722 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วราวุธ เปิดการประชุม “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เร่งแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน | วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2563
วราวุธ เปิดการประชุม “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เร่งแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน
วราวุธ เปิดการประชุม “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เร่งแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน
วราวุธ เปิดการประชุม “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เร่งแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน
วันนี้ (13 ก.ย. 63) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุม “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรับฟังสรุปสถานการณ์ ประเด็นปัญหา รวมทั้งกําหนดแนวทาง และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี คณะผู้บริหาร ทส. หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมแควใหญ่ ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี
โดยในที่ประชุมได้รายงานสรุปถึงสถานการณ์ ประเด็นปัญหา ดังนี้
1. ปัญหาเรื่องที่ดิน
2. ปัญหาเรื่องช้างป่า
3. ปัญหาเรื่องการปรับภูมิทัศน์และการจัดระเบียบแพ
4. ปัญหาเรื่องไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
5. ปัญหาเรื่องภัยแล้ง
6. ปัญหาเรื่องยาเสพติด
7. ปัญหาเรื่องทางด้านการเมือง
8. ปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
9. สรุปผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี
รมว.ทส. กล่าวว่า ปัญหาเรื่องที่ดิน ยังมีพื้นที่บางส่วนของราชการที่ทับซ้อนกับพื้นที่ของพี่น้องประชาชน ทางกระทรวงฯ จะนำไปหารือกับคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4,000 (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) สำหรับปัญหาไฟป่าหมอกควัน ทางกระทรวงฯ ได้แนะนำ ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้ง ให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังการเกิดไฟป่า และในเรื่องปัญหาภัยแล้งได้มอบหมายกรมทรัพยากรน้ำบาดาลขุดเจาะบ่อบาดาล และให้กรมทรัพยากรน้ำ เร่งหาแหล่งน้ำผูกรวมทำเป็นอ่างพวง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ส่งเสริม และเน้นเรื่องการปลูกป่า รวมไปถึงการดูแลบำรุงผืนป่า เพื่อให้เป็นแหล่งต้นน้ำของจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ กระทรวงฯ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังได้มีการวางแผนและแนวทางในการสร้างแหล่งอาหาร แหล่งน้ำให้กับช้างป่าเพื่อดึงช้างให้กลับเข้าป่า เป็นการแก้ปัญหาช้างป่าอีกด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35046 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“พุทธิพงษ์” เป็นประธานประชุมคณะกรรมการ กบส. ครั้งที่ 1/2563 | วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
“พุทธิพงษ์” เป็นประธานประชุมคณะกรรมการ กบส. ครั้งที่ 1/2563
“พุทธิพงษ์” เป็นประธานประชุมคณะกรรมการ กบส. ครั้งที่ 1/2563
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563 โดยมีนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุม brainstorm ชั้น 22 สพธอ. ทั้งนี้ที่ประชุมพิจารณาวาระสำคัญที่น่าสนใจ อาทิ แผนการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสำนักงาน กบส. ในปีงบประมาณ 2563 ร่างกรอบโครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานฯ และร่างแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565 ) ของสำนักงานฯ สถานที่ตั้งสำนักงานฯ เป็นต้น
**************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34957 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘สุชาติ ชมกลิ่น’ เผย ส่งตัวล่ามจากซาอุฯ ถึงไทยแล้ว ร่วมส่งกำลังใจให้หายป่วยเร็ววัน | วันพุธที่ 2 กันยายน 2563
‘สุชาติ ชมกลิ่น’ เผย ส่งตัวล่ามจากซาอุฯ ถึงไทยแล้ว ร่วมส่งกำลังใจให้หายป่วยเร็ววัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย สนร.ริยาด ประสาน สอท.ริยาด ส่งตัวล่ามประจำสำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย กลับมารักษาตัวที่ไทยแล้ว ร่วมส่งกำลังใจให้หายป่วยโดยเร็ว
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ และด่านตรวจคนหางานดอนเมือง กระทรวงแรงงาน อำนวยความสะดวกในการนำตัวของนายหมัด มะมิน ล่ามประจำสำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย และการดำเนินการส่งกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยเพื่อเคลื่อนย้ายไปพักรักษาตัวยังโรงพยาบาลราชวิถี โดยล่าสุดได้รับรายงานจากด่านตรวจคนหางานดอนเมืองว่า เมื่อเวลาประมาณ 00.45 น.วันที่ 2 ก.ย.63 เครื่องบินลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศระหว่างประเทศ Air Ambulance ของบริษัท SKYMED ASIA SERVICE ได้เดินทางมาถึงสนามบินดอนเมืองแล้ว จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวของล่ามไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถีต่อไป
สำหรับนายหมัด มะมิน ล่ามประจำสำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย อายุ 54 ปี เป็นคนไทยมุสลิม มีภูมิลำเนาและภรรยาอยู่ที่กรุงเทพฯ มีบุตรชายสองคนอยู่ที่กรุงริยาด ก่อนหน้านี้มีอาการป่วยเนื่องจากติดเชื้อโควิด – 19 และได้รักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูนานกว่า 1 เดือน จนมีอาการดีขึ้นจนแพทย์ระบุว่าตรวจไม่พบเชื้อโควิด – 19 แล้ว และขอกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย ซึ่งล่ามได้ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานแรงงานฯ มากว่า 20 ปี มีผลงานได้ช่วยแรงงานไทยทั้งใน ซาอุดีอาระเบีย คูเวต บาห์เรน เลบานอน มามากมาย
“ล่ามไทยในซาอุดีอาระเบียรายนี้ เขาได้ออกไปทำงานเพื่อช่วยให้คนไทยที่เจ็บป่วยได้เดินทางกลับบ้าน และได้ดำเนินการจนสำเร็จลุล่วง จนทำให้ตัวเองต้องล้มป่วย จึงอยากให้ทุกคนช่วยกันส่งพลังใจให้เขามีอาการดีขึ้นและหายป่วยในเร็ววัน” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34748 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์เรื่องการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ในโลก ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย | วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์เรื่องการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ในโลก ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์เรื่องการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ในโลก ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันนี้ (17 ก.ย.63) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์เรื่องการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ในโลก ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ดังนี้
พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ
วันนี้ ผมขอพูดกับทุกท่านเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้นในโลก ซึ่งไม่ค่อยจะดีนัก และอาจจะส่งผลต่อประเทศไทยเราด้วย ในช่วงเวลาข้างหน้านี้
ตอนนี้ กำลังเกิดการระบาดของโควิดครั้งใหญ่ ระลอกใหม่ ทั้งในยุโรป และที่อื่น ๆ หลายที่ ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศสเปน มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 30,000 คน และปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพิ่มขึ้นวันละมากกว่า 12,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนการเพิ่มต่อวัน ที่มากกว่า เมื่อตอนสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ในเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมาในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสตอนนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เกือบ 10,000 คนต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนการเพิ่มต่อวัน ที่มากกว่าในช่วงที่สถานการณ์แย่ที่สุดเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบัน ฝรั่งเศสมีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 30,000 คน
ส่วนที่ประเทศอังกฤษ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในหนึ่งสัปดาห์ และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 42,000 คนและที่อื่น ๆ ในโลกก็ด้วย อย่างที่ประเทศอินเดีย ตอนนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ภายในแค่วันเดียว กว่า 90,000 คน หรือที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 30,000 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วเกือบ 200,000 คน
โลกกำลังตกอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ครั้งใหญ่ ระลอก 2 อย่างชัดเจน
เมื่อช่วงเริ่มต้นที่เกิดการแพร่ระบาดโควิดบนโลก ประเทศไทยเริ่มรับมือและพยายามระงับการแพร่ระบาดในประเทศ อย่างเด็ดขาด และรวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่วันนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่ถึง 10 คนต่อวัน เมื่อเราเทียบกับประเทศอื่น หลายประเทศที่ลังเลการปิดประเทศ และไม่ได้ดำเนินมาตรการ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ทำให้วันนี้ ประเทศเหล่านั้นมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวัน มากกว่าประเทศไทยเป็นพัน ๆ เท่า
การที่ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์แบบปัจจุบันนี้ได้ ถือเป็นความสำเร็จของแพทย์ทุกท่าน อาสาสมัครสาธารณสุขที่น่าทึ่งทุกคน พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่บุคลากรด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกคน ซึ่งเป็นผู้กล้าหาญที่อยู่แนวหน้า ช่วยยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดในประเทศไทย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพใน ศบค. แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือคนไทยทั้งประเทศ ที่ร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว ยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิดในประเทศไทย ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคม
ตอนนี้ เมื่อในโลก โควิดกำลังกลับมาระบาดใหญ่อีกครั้ง ผมจึงอยากจะขอพี่น้องประชาชนทุกคน ให้ลุกขึ้นมาตั้งการ์ดของตัวเองให้สูงขึ้นอีกครั้ง เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น รักษาวินัยที่ดีไว้ อย่างที่เราเคยทำกันมา เพราะสงครามกับโควิด จะยังอยู่ไปอีกนาน
ผมขอใช้โอกาสนี้ พูดกับคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อยากจะออกมารวมตัวกันประท้วงด้วยเหตุผลต่าง ๆ ของท่าน
เมื่อเวลาที่ท่านมารวมตัวกัน ท่านกำลังเพิ่มความเสี่ยงอย่างมหาศาล ที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ในประเทศไทย และขณะเดียวกัน ท่านกำลังเพิ่มความเสี่ยง ที่จะทำลายการทำมาหากินของคนไทยด้วยกัน อีกสิบ ๆ ล้านคน
การจุดชนวนการแพร่ระบาดโควิด ให้เสี่ยงที่จะลุกโชนขึ้นมาอีก นั่นจะส่งผลกระทบที่เลวร้าย และทวีคูณปัญหาเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ไปสู่ระดับที่เรายังไม่เคยเจอมาก่อน
ผม ขอให้ทุกท่านคำนึงถึงเรื่องนี้ให้มาก
ในประเทศอื่น การรวมตัวกัน และการไม่รักษาวินัยในการป้องกันโรคระบาด ได้สร้างปัญหาให้กับประชาชนคนอื่น ๆ ในประเทศของตัวเองมาแล้ว
ตอนนี้ รัฐมนตรีสาธารณสุข ของประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป กำลังเริ่มพูดถึงการกลับมาเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง หรืออย่างในรัฐใหญ่รัฐหนึ่ง ของประเทศออสเตรเลีย ตอนนี้ การเปิดร้านค้าและออฟฟิศ หรือแค่การจะออกจากบ้าน ก็ยังมีข้อบังคับและข้อจำกัดมากมาย
ส่วนในบ้านเรา แม้ว่าการไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศ จะสร้างความเจ็บปวดให้เราอย่างมาก แต่อย่างน้อย ร้านอาหาร ร้านค้าต่าง ๆ ยังเปิดได้อยู่ โรงเรียน ไซต์งานก่อสร้าง โรงงาน และสำนักงาน ยังเปิดได้ และการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยด้วยกันเอง ก็ยังคงทำได้อยู่ ดังนั้น เราจึงไม่ควรทำอะไรก็ตาม ที่จะเพิ่มความเสี่ยงให้ประเทศไทยต้องกลับไปล็อกดาวน์อีกครั้ง เหมือนเมื่อเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา แบบนั้นจะยิ่งเพิ่มความเดือดร้อนและเจ็บปวดให้กับทุกคน
ผมขอบอกทุกคนที่อยากจะออกมาชุมนุม ชัดๆ ว่า ผมได้ยินสิ่งที่ท่านพูด ผมรับทราบความคับข้องใจของพวกท่านในเรื่องการเมือง และความไม่พอใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
ผม เคารพ ความคิดเห็น และความรู้สึกของท่าน แต่วันนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความเจ็บปวดเร่งด่วน ที่เราจำเป็นต้องจัดการก่อน นั่นคือการบรรเทาความเสียหายทางเศรษฐกิจที่โควิดได้ก่อให้เกิดขึ้นไปทั่วโลก เราไม่ควรทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งไปกว่านี้
การชุมนุมจะทำให้การฟื้นเศรษฐกิจเกิดการล่าช้า เพราะจะทำลายความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ และสร้างความลังเลใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะมาเมืองไทย เมื่อถึงเวลาที่เราพร้อมจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง การชุมนุมจะสร้างความวุ่นวายในประเทศ และทำลายสมาธิการทำงานของภาครัฐในการจัดการกับโควิด และปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน
ผมจึงอยากขอให้เราเอาชนะโควิดและผ่านวิกฤตโลกครั้งนี้ไปด้วยกันให้ได้ก่อน หลังจากนั้น เราค่อยกลับมาที่เรื่องการเมือง
ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลายประเทศ ใช้ความเด็ดขาดในการยุติการประท้วง ด้วยเหตุผลที่ไม่ยอมให้เกิดการกระทำที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด โดยหลายประเทศ ห้ามไม่ให้มีการรวมตัวใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในประเทศเยอรมัน เมื่อมีการประท้วงของคนจำนวนกว่า 38,000 คน มีผู้ถูกจับดำเนินคดีมากกว่า 300 คน ในคดีทำลายโอกาสของประเทศ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การศึกษา และสังคม
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมสั่งการไปคือ ขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับผู้ชุมนุมด้วยความนิ่มนวล เพราะผมยังเชื่อว่า ผู้ที่จะออกมาประท้วง จะมีความตระหนักรู้ ถึงสิ่งที่ควรต้องระมัดระวัง และอยู่ในขอบเขต แต่ผมก็ขอฝากไปถึงทุกคนที่จะออกมารวมตัวกันว่า ขอให้นึกถึงพี่น้องคนไทยด้วยกันให้มาก ๆ คนไทยอีกเป็นสิบ ๆ ล้านคน ที่จะได้รับผลกระทบ จากการที่ท่านกำลังเพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วยจากโควิด และเพิ่มความเสี่ยงให้เราต้องกลับไปล็อกดาวน์อีกครั้ง
ภารกิจของผมชัดเจน คือ ผมต้องปกป้องคนไทยไม่ให้เกิดการสูญเสียในชีวิต เป็นหมื่น ๆ ชีวิต เหมือนในประเทศอื่น และป้องกันหายนะทางเศรษฐกิจที่จะตามมาจากการเสียชีวิตของผู้คน และหายนะที่จะตามมาจากการล็อกดาวน์
เพราะฉะนั้น เรายังต้องระมัดระวัง ในการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา เพราะมีความเสี่ยงในการนำเชื้อโควิดเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งจะยิ่งสร้างปัญหาให้กับเราทุกคน แต่ในขณะที่ทำอย่างนั้น ผมก็รู้ถึงความเจ็บปวดของทุกคนที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยว
ผมรู้สึกจริง ๆ ครับว่าทุกคนเจ็บปวด หลายครั้งผมนอนไม่หลับนะครับ เมื่อคิดถึงจำนวนคนที่ต้องตกงาน และจำนวนธุรกิจที่ต้องปิดกิจการลง
เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายมาก ซึ่งไม่มีทางออกไหนที่ไม่มีความเจ็บปวดรออยู่ การเปิดประตูประเทศ อาจจะทำให้มีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในระดับหนึ่ง แต่เราก็รู้ว่า จะมีโควิดเข้าประเทศมาด้วยแน่นอน แม้จะมีการตรวจเช็คขนาดไหนก็ตาม สิ่งที่ผมกังวลคือ หากเกิดการระบาดใหญ่เป็นวงกว้างในประเทศ เราอาจจะไม่สามารถรับมือได้ และถ้ามันเกิดขึ้นแบบนั้น ความเดือดร้อนในเรื่องของเศรษฐกิจปากท้องจะยิ่งรุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งจะไม่ได้ส่งผลเฉพาะกับภาคการท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่จะส่งผลกับทุกภาคส่วนในสังคม
พี่น้องครับ เรากำลังเดินเข้าสู่ช่วงเวลาที่จะยิ่งยากลำบากมากขึ้น เราจึงควรวางเรื่องการเมืองเอาไว้ก่อน แล้วจับมือร่วมแรงร่วมใจกัน ผ่านพ้นความยากลำบากที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในประวัติศาสตร์โลกไปให้ได้ ผมขอให้ทุกคนยกการ์ดของตัวเองให้สูงอีกครั้ง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม และโชว์สปิริตของความเป็นไทยต่อไป ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันเอาชนะโควิดไปให้ได้
ขอบคุณครับ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35197 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 มอบนโยบาย ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ทั่วประเทศ เน้นย้ำ | วันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2563
มท.1 มอบนโยบาย ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ทั่วประเทศ เน้นย้ำ
มท.1 มอบนโยบาย ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ทั่วประเทศ เน้นย้ำ "ต้องทำหน้าที่ด้วยจิตใจนักปกครอง ห่วงทุกข์สุขประชาชน"
วันนี้ (14 ก.ย. 63) เวลา 09.00 น. ที่อาคาร Exhibition Hall 5 อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดและมอบนโยบายการประชุมเชิงปฏิบัติการปลัดจังหวัด นายอำเภอ และผู้บริหารส่วนกลาง เพื่อขับเคลื่อนภารกิจและนโยบายสำคัญของรัฐบาลสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี นายอนุชา โมกขะเวส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลตำรวจตรี ธารา ปุณศรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ปลัดจังหวัด นายอำเภอ และผู้บริหารส่วนกลาง ของกรมการปกครอง รวม 1,074 คน ร่วมประชุม
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กรมการปกครอง เป็นผู้นำนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยไปขับเคลื่อนและกำกับการปฏิบัติทุกหน่วยงานในพื้นที่ ผ่านกลไกนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน โดยกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ ไม่ว่าส่วนราชการใด ก็ต้องผ่านกลไกการปกครองท้องที่ ดังนั้น บุคลากรกรมการปกครองจึงใกล้ชิดกับการปฏิบัติงานทุกหน่วยงานและใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา ฝ่ายปกครองมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นความภูมิใจของกระทรวงมหาดไทย
จากนั้น พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้มอบนโยบายการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) โครงการจิตอาสาพระราชทาน เป็นการเอาประโยชน์สาธารณะเป็นตัวตั้ง โดยเฉพาะเรื่องน้ำและการพัฒนาในพื้นที่ตนเอง และเมื่อเกิดสาธารณภัย ต้องช่วยเหลือและดูแลประชาชนให้กลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว และจัดตั้งโรงครัวพระราชทานประกอบอาหารสำหรับประชาชนและผู้ปฏิบัติงานอย่างทั่วถึง 2) การสกัดกั้นและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ผ่านมา กลไกฝ่ายปกครองได้ร่วมกับสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ สกัดกั้นการแพร่ระบาดด้วยความร่วมมือ ร่วมใจกันเป็นอย่างดี ทั้ง Local Quarantine และการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) จึงขอให้รณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข สวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ลดการพบปะใกล้ชิดกัน และล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค 3) การดำเนินงาน "รวมไทยสร้างชาติ" มุ่งเน้นหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน มีหลักการดำเนินงานสำคัญ 3 ประการ คือ 1.รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ให้ประชาชนร่วมเสนอความคิดเห็น ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ 2.ประเมินผลสัมฤทธิ์ และ 3. ทำงานเชิงรุก ตอบสนองประชาชนอย่างรวดเร็ว เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และการขับเคลื่อน "ไทยไปด้วยกัน" เป็นแนวคิดในการติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ มีกลไกการดำเนินงานระดับพื้นที่ โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ทำหน้าที่ติดตามรับฟังและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนในระดับจังหวัด ตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว และมีรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวงกำกับและให้คำปรึกษาในแต่ละจังหวัด 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและการค้ามนุษย์ ต้องบูรณาการทุกภาคส่วน ลด Demand และ Supply ของยาเสพติดและค้ามนุษย์อย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อให้ยาเสพติดและการค้ามนุษย์หมดไป 5) ศูนย์ดำรงธรรม ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของนักปกครองในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประชาชน จึงต้องขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนให้เกิดผลสำเร็จ เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
สุดท้าย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เน้นย้ำว่า ฝ่ายปกครองต้องทำงานตามอำนาจหน้าที่ ระเบียบ กฎหมาย อย่างเคร่งครัด ครองตน ครองคน ครองงาน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความดี ทำหน้าที่ตามธรรมาภิบาล (Good Governance) ทำด้วยจิตใจนักปกครอง ห่วงทุกข์สุขประชาชน เพื่อให้พี่น้องประชาชนทุกคนมีความสุข ส่งผลให้ประเทศชาติมีความสงบสุขและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35055 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คุมเข้มแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย | วันอังคารที่ 15 กันยายน 2563
คุมเข้มแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
วันอังคารที่ 15 กันยายน 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลกำชับ ผวจ.ทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับมือ จัดตั้งจุดตรวจ เฝ้าระวัง และสกัดกั้นผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงติดตามค้นหาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบกลับเข้าประเทศไทย ทั้งในสถานประกอบการและสถานที่ที่มีแรงงานต่างด้าวทำงาน หากพบให้ดำเนินการตามกฎหมายและมาตรการด้านสาธารณสุข พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่อง เมื่อพบบุคคลต้องสงสัยให้แจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายอำเภอ หรือโทรสายด่วน 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35086 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีร่วมประชาสัมพันธ์วันพิพิธภัณฑ์ไทย แนะคนไทย รัก สามัคคี ร่วมเดินหน้าประเทศไทย | วันอังคารที่ 15 กันยายน 2563
นายกรัฐมนตรีร่วมประชาสัมพันธ์วันพิพิธภัณฑ์ไทย แนะคนไทย รัก สามัคคี ร่วมเดินหน้าประเทศไทย
นายกรัฐมนตรีร่วมประชาสัมพันธ์วันพิพิธภัณฑ์ไทย แนะคนไทย รัก สามัคคี ร่วมเดินหน้าประเทศไทย
วันนี้ (15 กันยายน 2563) เวลา 08.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2563 โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมด้วย
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นำนายกรัฐมนตรีชมการแสดงหุ่นหลวงหลังได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู การติดตามนำโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทยจากสหรัฐอเมริกา และผลงานการใช้เทคโนโลยีในพิพิธภัณฑ์ โดยเป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์เหมือนจริง (Virtual Museum) เพื่อประชาสัมพันธ์วันพิพิธภัณฑ์ไทย ในโอกาสครบรอบ “146 ปี กิจการพิพิธภัณฑ์ไทย” ภายใต้แนวคิด “พิพิธภัณฑ์ เข้าถึงได้ สนุก และทันสมัย” (Learning by Playing) ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 15 - 19 กันยายน 2563
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีให้ความสนใจกิจกรรมต่อจิ๊กซอว์วัตถุโบราณจำลอง อาทิ ถ้วยชาม หม้อไห ร่วมกับเด็กนักเรียนจากโรงเรียนคลองบางกระทึก พร้อมแนะว่า การต่อจิ๊กซอว์ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ สามารถช่วยฝึกทักษะกระบวนการคิด รวมทั้งยังเป็นกุศโลบายให้เห็นว่า ประเทศไทยหากมีความแตกแยกก็จะไม่สวยงาม ดังนั้นทุกคนต้องร่วมใจกัน รัก สามัคคี เพื่อให้ประเทศชาติสามารถเดินหน้าต่อไปได้
.......................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35097 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 1 กันยายน 2563 | วันอังคารที่ 1 กันยายน 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 1 กันยายน 2563
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศฟิลิปปินส์ และเข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 22 ราย ทำให้มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,274 ราย
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ประจำวันที่ 1 กันยายน 2563
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศฟิลิปปินส์ และเข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 22 ราย ทำให้มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,274 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.82 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 85 ราย หรือร้อยละ 2.49 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,417 ราย
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากประเทศฟิลิปปินส์ 5 ราย แบ่งเป็น
รายที่ 1 – 3 เป็น เพศหญิง สัญชาติฟิลิปปินส์ อายุ 26, 28, 37 ปี อาชีพรับจ้าง (ครูสอนภาษา) เดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรกวันที่ 28 สิงหาคม 2563 (วันที่ 3 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ
รายที่ 4 - 5 เป็นเพศชาย อายุ 3 ปี และหญิง อายุ 15 ปี อาชีพนักเรียน สัญชาติฝรั่งเศส ทั้ง 2 รายเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกันเดินทางพร้อมครอบครัว ถึงประเทศไทยวันที่ 29 สิงหาคม 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรก วันที่ 29 สิงหาคม 2563 (วันที่ 0 ของการกักตัว)
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลไม่ถึง 100 ราย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อที่มีคุณภาพ ส่งผลให้มีอัตราการรอดชีวิตสูง เสียชีวิตเพียงร้อยละ 1.7 ซึ่งผู้เสียชีวิต
ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีการป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่นมาก่อน
สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทย ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนน้อยราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ หรือสถานที่รัฐกำหนด หรือโรงพยาบาลทางเลือก อย่างไรก็ตาม อาจมีการแพร่เชื้อในประเทศเกิดขึ้นได้อีก กระทรวงสาธารณสุขจึงเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์โรคโควิด 19 อย่างเต็มที่ทั้ง ยา เวชภัณฑ์ เตียง การตรวจแลป และบุคลากรทางการแพทย์ ถ้าหากมีการระบาดเกิดขึ้นจริง เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกยังคงพบการแพร่ระบาด รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านที่มีการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างก้าวกระโดด แม้ว่าหน่วยงานด้านความมั่นคง สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้มงวดมาตรการตามพื้นที่แนวชายแดนเพื่อเฝ้าระวังป้องกันผู้ที่เดินทางเข้ามาจากพื้นที่ระบาด แต่อาจมีแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายหลุดลอดเข้ามาในชุมชนได้ บุคคลกลุ่มนี้จะไม่ได้ผ่าน การคัดกรองโรคโควิด 19 ตามระบบ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย จึงขอความร่วมมือประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อสม. ช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องคนแปลกหน้าที่เข้ามาในชุมชน หากสงสัยขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้ามาตรวจสอบ และเฝ้าระวังสอบสวนโรคในพื้นที่ทันที เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน
********************* 1 กันยายน 2563
***************************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34741 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยจับมือไปรษณีย์ไทยพัฒนาบริการทางการเงินให้ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ | วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2563
กรุงไทยจับมือไปรษณีย์ไทยพัฒนาบริการทางการเงินให้ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไปรษณีย์ไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือศึกษาและพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยธนาคารได้แต่งตั้งไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไปรษณีย์ไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือศึกษาและพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยธนาคารได้แต่งตั้งไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตลอดจนร่วมกันพัฒนารูปแบบและต่อยอด เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการที่สะดวกสบาย
นายผยง ศรีวณิช เปิดเผยว่า ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าไม่จำกัดเพียงที่สาขาหรือช่องทางหลักของธนาคารเท่านั้น การร่วมมือทางธุรกิจโดยแต่งตั้งไปรษณีย์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ ช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการทางการเงินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจุดให้บริการของไปรษณีย์ไทยกว่า 1,200 แห่ง รวมกับสาขาของธนาคาร 1,014 แห่ง และเครื่องบริการอัตโนมัติอีกกว่า 10,000 จุด ทำให้ธนาคารมีจุดให้บริการรวมทั้งสิ้นกว่า 13,000 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งจุดบริการของไปรษณีย์ไทยมีความปลอดภัยสูงสุดเช่นเดียวกับการทำธุรกรรมที่สาขา โดยเมื่อไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ได้ให้บริการฝากเงินสด โดยไม่ต้องใช้สมุดบัญชี ตั้งแต่ 1 บาท – 50,000 บาทต่อรายการ สูงสุด 100,000 บาทต่อวันต่อบัญชี มียอดการทำธุรกรรมแล้วกว่า 3,600 ล้านบาท และบริการรับชำระค่าปรับจราจร จากใบสั่ง หรือใบเตือนทุกชนิดที่มีบาร์โค้ดและเครื่องหมาย PTM มียอดการทำธุรกรรมแล้วกว่า 114 ล้านบาท
“นอกจากนี้ ทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมกันศึกษาพัฒนารูปแบบและต่อยอด เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการทางการเงินใหม่ๆ ได้แก่ ถอนเงินผ่านเครื่อง EDC และ QR Code ได้ทุกธนาคาร เติมเงินบัตร M-Pass ติดตั้งเครื่อง “e-KYC” เทคโนโลยีการระบุตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเปิดบัญชีหรือทำธุรกรรมทางการเงิน โครงการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้บริการรับชำระภาษี จัดพิมพ์และจัดส่งใบแจ้งรายการทรัพย์สิน ใบแจ้งภาษีและใบแจ้งเตือนให้แก่หน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น การพัฒนาระบบรับชำระเงินในเว็บไซต์ Thailandpostmart และแอปพลิเคชัน Wallet@Post ให้เชื่อมโยงกับ Krungthai NEXT ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRMS) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานและลูกจ้างของไปรษณีย์ไทย เช่น การขอเอกสารรับรองเงินเดือน เป็นต้น”
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยและธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมกันพัฒนาบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลาย ด้วยเครือข่ายของไปรษณีย์ไทยที่มีสาขาครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ปัจจุบันไปรษณีย์ไทยเป็นตัวแทนให้กับธนาคาร (Banking Agent) ในการรับฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ การรับชำระค่าปรับการจราจร นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของธนาคารเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ www.thailandpostmart.com ซึ่งเป็น Marketplace ที่รวบรวมสินค้าของดีทั่วไทย
ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด ธนาคารกรุงไทย
โทร. 02 208 4174-8
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34594 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว. ทส. ร่วมงาน "GCNT FORUM 2020 : Thailand Business Leadership for SDGs” | วันอังคารที่ 1 กันยายน 2563
รมว. ทส. ร่วมงาน "GCNT FORUM 2020 : Thailand Business Leadership for SDGs”
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมงาน "GCNT FORUM 2020 : Thailand Business Leadership for SDGs” โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี
รมว. ทส. ร่วมงาน "GCNT FORUM 2020 : Thailand Business Leadership for SDGs”
วันที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 น. ณ ศูนย์ประชุมสำนักงานสหประชาชาติ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมงาน "GCNT FORUM 2020 : Thailand Business Leadership for SDGs” โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ทั้งนี้ ภายในงานดังกล่าว ได้รวมสุดยอดผู้นำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน จากภาครัฐ ภาคธุรกิจ สหประชาชาติ และภาคประชาสังคม กว่า 200 ราย เข้าร่วมสัมมนาเพื่อผนึกกำลังในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้วิถีใหม่ ตามหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มาร่วมประกาศเจตนารมณ์ ในการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ฟื้นตัวได้ดีกว่าเดิมและเติบโตอย่างยั่งยืน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34736 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทยสั่งการทุกจังหวัด จัดกิจกรรม | วันพุธที่ 2 กันยายน 2563
มหาดไทยสั่งการทุกจังหวัด จัดกิจกรรม
มหาดไทยสั่งการทุกจังหวัด จัดกิจกรรม "เดิน กิน ชิม เที่ยว ถนนคนเดิน" อย่างต่อเนื่อง กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ บนชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
วันนี้ (2 ก.ย.63) นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วประเทศ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยประสานกรุงเทพมหานคร และแจ้งไปยังทุกจังหวัดจัดกิจกรรมในรูปแบบถนนคนเดินที่สร้างรายได้ให้ประชาชนในระดับพื้นที่ โดยบูรณาการความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนภาคประชาชน ให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) ที่ผ่านมา ได้ให้จังหวัดพิจารณาดำเนินกิจกรรมดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยให้คำนึงถึงความเสี่ยงต่อสาธารณชนโดยรวมต่อการแพร่ระบาดของโรคเป็นสำคัญ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ กล่าวว่า ในขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เริ่มคลี่คลายลงและภาครัฐได้มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงได้มีข้อสั่งการให้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากและสร้างรายได้ให้ประชาชนในระดับพื้นที่ จึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ดำเนินการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในระดับจังหวัด “เดิน กิน ชิม เที่ยว ถนน..... จังหวัด...” อย่างต่อเนื่องตลอดปี อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งตามแนวทางรูปแบบที่กำหนด
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยได้กำชับให้ทุกจังหวัดปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโคนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสร้างความความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวอันจะส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) อย่างยั่งยืน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34758 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไอแบงก์ ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง | วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563
ไอแบงก์ ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) โดยนายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย กรรมการและผู้จัดการ ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) โดยนายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย กรรมการและผู้จัดการ ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายรายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โรคระบาดโควิด19 และภัยธรรมชาติ ให้ได้รับการบรรเทาภาระหนี้และให้มีกลไกในการจัดการหนี้กับสถาบันการเงินทุกแห่งได้อย่างบูรณาการ และเพื่อให้ภาคธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจของประเทศสามารถฟื้นตัวได้ในระยะต่อไป ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563
ลูกหนี้ธุรกิจที่สามารถเข้าร่วมโครงการ DR BIZ ต้องเป็นลูกหนี้ที่ยังคงมีศักยภาพแต่ประสบปัญหาจากสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบจากโรคโควิด 19 โดยสถาบันการเงินจะมีแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับศักยภาพของลูกหนี้แต่ละราย เช่นการขยายเวลาชำระหนี้ การลดค่างวด หรือปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ให้สอดรับกับธุรกิจของลูกหนี้ รวมทั้งพิจารณาให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้
โดยในระยะแรกเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมุ่งกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจที่มีหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายรายวงเงินรวมกันตั้งแต่ 50-500 ล้านบาท และสามารถใช้แนวทางที่กำหนดร่วมกันดังกล่าวขยายผลไปยังกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจที่มีวงเงินขนาดอื่นได้ต่อไป ทั้งนี้ การเข้าร่วมโครงการทำได้โดยลูกหนี้สามารถติดต่อสมัครโดยตรงกับสถาบันการเงินหลักที่ใช้บริการ (สถาบันที่ลูกหนี้มีภาระหนี้สูงสุด) หรือสถาบันการเงินที่แจ้งเชิญลูกหนี้เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34471 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘ก.แรงงาน’ อบรม ‘ขรก. ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล ยุค 4.0’ | วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563
‘ก.แรงงาน’ อบรม ‘ขรก. ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล ยุค 4.0’
รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดโครงการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติและการใช้ประโยชน์ข้อมูลสู่การเป็น Provincial Big Data พัฒนาศักยภาพดิจิทัลของบุคลากรภายในองค์กร ให้มีความรู้เท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลของโลกใน
วันนี้ (26 ส.ค. 63) เวลา 13.45 น. นายสุรพล พลอยสุข รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ในพิธีเปิดโครงการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติและการใช้ประโยชน์ข้อมูลสู่การเป็น Provincial Big Data ณ ห้อง แกรนด์ บอลรูม โรงแรม เอส รัชดา กรุงเทพฯ โดย รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า “การจัดการอบรมในครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ และเป็นการเตรียมพร้อมบุคลากร เพื่อเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างมากต่อวิถีชีวิตของคน และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปแบบกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การค้า การบริการ กระบวนการทางสังคม รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรวมทั้งส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ตัวอย่างเช่น Big Data ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์และนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยการจัดอบรมในครั้งนี้ เป็นเพียงการเริ่มต้น เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ และการพัฒนาศักยภาพดิจิทัลของบุคลากรภายในองค์กร เกี่ยวกับกระแสเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานในยุค 4.0 โดยเฉพาะความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ Big Data ซึ่งเป็นความท้าทายของบุคลากรในการบริหารจัดการข้อมูล และการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ประโยชน์ในการทำงาน เพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานมีความรู้เท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลของโลกที่สัมพันธ์กับทิศทางการบริหารงานของรัฐบาลในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รวมทั้งสามารถปรับตัวสร้างสมรรถนะให้ตนเองโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลหรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อประโยชน์ แก่องค์กรต่อไป”
โครงการอบรมนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 27 สิงหาคม 2563 โดยมีผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการกอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบบริหาร ผู้ตรวจสอบภายในกระทรวง หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต แรงงานจังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน จำนวน 130 คน
+++++++++++++++++++
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
26 สิงหาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34584 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘นฤมล’ เยือนเมืองปากน้ำโพ พัฒนาอาชีพเกษตรยุคใหม่ | วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563
‘นฤมล’ เยือนเมืองปากน้ำโพ พัฒนาอาชีพเกษตรยุคใหม่
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงาน ลงพื้นที่ จ.นครสวรรค์ กระตุ้นแรงงานภาคการเกษตร พัฒนาตนเองสู่เกษตรกร 4.0
วันที่ 11 กันยายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการการทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุให้กับราษฎร โดยสัญญาเช่าจำนวนมาก เป็นการเช่าเพื่อทำการเกษตร กระทรวงแรงงาน จึงนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเกตรกรรม แนะนำแก่ประชาชน เพื่อใช้เพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้น และช่วยลดต้นทุนการผลิต
กิจกรรมที่กระทรวงแรงงงานได้นำมาบริการประชาชน ณ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในวันนี้ ได้แก่ สำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ให้บริการ การรับเรื่องราวร้องทุกข์ร้องเรียน สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครสวรรค์ แนะแนวตำแหน่งงาน รับสมัครงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ นำเทคโนโลยีการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร แนะนำเกษตรกรที่สนใจ นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับ บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่แรงงานในภาคการเกษตร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ให้คำปรึกษา การรับคำร้องทุกข์ ร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานทั้งในระบบและนอกระบบ
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิประโยชน์กับผู้ประกันตน การรณรงค์ส่งเสริมการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 พร้อมให้บริการรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 และศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 6 เผยแพร่ความรู้การใช้สารเคมีในการทำงานการเกษตร
ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรยกระดับสู่การเป็น Smart Farmer ซึ่งรัฐบาลโดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องเกษตรกรทุกคน และต้องการเห็นเกษตรกรยุคใหม่ มีความรู้ มีทักษะที่สามารถพัฒนาอาชีพของตนเอง ไปสู่การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ด้วยการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ การควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร จึงเป็นอีกทางเลือกแก่เกษตรกร ในการเพิ่มผลผลิตการเกษตร และทำงานได้รวดเร็วขึ้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงเดินหน้าพัฒนาทักษะให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ เกษตรกร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด สู่การเป็นเกษตรกรยุค 4.0 ต่อไป และเพิ่มหลักสูตรใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของแรงงานภาคการเกษตรได้อย่างแท้จริง
-------------------------------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35004 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 2 กันยายน 2563 | วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2563
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 2 กันยายน 2563
ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 2 กันยายน 2563 พบการกระทำผิด จำนวน 256 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 4.16 ล้านบาท
นายวรวรรธน์ ภิญโญ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิด กฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดทำแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ ชุดเฉพาะกิจจากสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต พื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทำผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และ ความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
สำหรับผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2563 (ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 2 กันยายน 2563) พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 256 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 4.16 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 144 คดี ค่าปรับ 1.28 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 66 คดี ค่าปรับ 1.59 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 2 คดี ค่าปรับ 0.02 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 9 คดี ค่าปรับ 0.28 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 2 คดี ค่าปรับ 0.06 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 18 คดี ค่าปรับ 0.43 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 15 คดี ค่าปรับ 0.50 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 6,548.525 ลิตร ยาสูบ จำนวน 6,894 ซอง ไพ่ จำนวน 104 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 14,730.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 225 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 38 คัน
สรุปยอดรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 2 กันยายน 2563 พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 26,276 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 458.00 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 15,006 คดี ค่าปรับ 150.38 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 7,763 คดี ค่าปรับ 179.50 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 567 คดี ค่าปรับ 7.97 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 1,157 คดี ค่าปรับ 55.46 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 68 คดี ค่าปรับ 1.79 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 1,164 คดี ค่าปรับ จำนวน 29.38 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 551 คดี ค่าปรับ 33.52 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 1,801,034.819 ลิตร ยาสูบ จำนวน 486,947 ซอง ไพ่ จำนวน 67,116 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 2,970,798.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 46,716 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 1,330 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนำจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต
โทร/โทรสาร 0 2241 4778
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34793 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-LANNA Gastronomy ฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังวิกฤติโควิด-19 | วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
LANNA Gastronomy ฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังวิกฤติโควิด-19
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 48 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังวิกฤติโควิด-19 ผ่านโครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy “คิดถึงเชียงใหม่” มุ่งพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารล้านนาแบบใหม่ ให้กลับมาเติบโต มีศักยภาพ และพึ่งพาตนเองได้อีกครั้ง โดยเน้นส่งเสริมการปลูกพืชและจัดการวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น และนำเอาองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกับศิลปะและการทำอาหารที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการแล้วจะสร้างรายได้ให้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้ให้บริการในพื้นที่เพิ่มขึ้นราว 500 ล้านบาท และเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวคุณภาพในปี 2564 ได้มากกว่า 50,000 คน
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35114 |
Subsets and Splits
No community queries yet
The top public SQL queries from the community will appear here once available.