title
stringlengths
10
260
context
stringlengths
29
179k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แรงงานไทยช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศ ลดการว่างงาน หลังเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ส่วนสำคัญจากการบริหารจัดการโควิด-19 ที่ดีของไทย
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2563 แรงงานไทยช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศ ลดการว่างงาน หลังเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ส่วนสำคัญจากการบริหารจัดการโควิด-19 ที่ดีของไทย แรงงานไทยช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศ ลดการว่างงาน หลังเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ส่วนสำคัญจากการบริหารจัดการโควิด-19 ที่ดีของไทย นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงการประชุมครม.ครั้งล่าสุด รมว.แรงงาน (นายสุชาติ ชมกลิ่น) ได้รายงานให้ที่ประชุมซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว. กลาโหมเป็นประธาน ได้รับทราบถึงการจัดส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดนและประเทศฟินแลนด์ ฤดูกาล 2020 ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563 ว่ามีแรงงานไทยที่ได้รับการอนุญาตให้เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในทั้งสองประเทศจำนวนทั้งสิ้น 5,254 คนโดยแยกเป็นประเทศฟินแลนด์ 2,014 คน และประเทศสวีเดน จำนวน 3,210 คน ก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศโดยประมาณขั้นต่ำ 618,341,720 บาท แบ่งเป็นประเทศฟินแลนด์จำนวน 182,655,000 บาท และประเทศสวีเดน จำนวน 435,686,720 บาท โดยในการเดินทางไปในครั้งนี้ กรมการจัดหางานได้วางมาตรการเพื่อคุ้มครองแรงงานไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โดยดำเนินการตามนโยบายของ ศบค. ทุกประการ ซึ่งแรงงานไทยทั้งหมดได้ผ่านการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก่อนเดินทางไป และหลังจากเดินทางกลับ และจะต้องผ่านการกักตัวเป็นระยะเวลาจำนวน 14 วัน ซึ่งในฤดูกาลนี้แรงงานทั้งหมดได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1-22 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา และได้เข้ารับการกักกันตัวในสถานที่กักกันที่กระทรวงแรงงาน ,กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกลาโหมได้ร่วมกันจัดขึ้น สำหรับรายได้ของคนงานไทยที่ไปเก็บผลไม้ป่าในประเทศฟินแลนด์และประเทศสวีเดน ฤดูกาลปี 2020 พบว่า แรงงานที่เดินทางไปประเทศสวีเดน จะมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายประมาณคนละ 150,000 – 180,000 บาท โดยมีระยะเวลาเก็บผลไม้ประมาณ 2 เดือน ส่วนคนงานที่เดินทางไปเก็บผลไม้ที่ประเทศฟินแลนด์ มีระยะเวลาการเก็บผลไม้ประมาณ 55 วัน และมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายประมาณคนละ 90,000 - 150,000 บาท นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการกักตัวของคนงานทั้งหมดที่กลับมานั้น ไม่ได้ใช้งบประมาณของประเทศแต่อย่างใด แต่ใช้เงินของบริษัทต่างประเทศนั้นๆ ที่พาคนงานไทยไปทำงาน ซึ่งคนงานเหล่านี้ บริษัทต่างประเทศ ได้ออกค่าใช้จ่ายในการกักตัวโดยมีแบงค์การันตี คนละ 32,000 บาทต่อคน แต่หากค่าใช้จ่ายจริงไม่ถึงจำนวนนี้ กระทรวงแรงงานก็จะคืนให้บริษัทที่ออกค่าใช้จ่ายให้คนงานไทยที่ไปเก็บผลไม้ป่าต่อไป นายอนุชา กล่าวว่า “แรงงานไทยเป็นที่ต้องการของต่างประเทศเป็นจำนวนมากในขณะนี้ ซึ่งส่วนสำคัญมาจากการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีของไทย ทำให้ประเทศที่ต้องการนำเข้าแรงงาน มีความมั่นใจแรงงานจากไทยเป็นลำดับต้นๆ ซึ่งเป็นโอกาสดีในการเพิ่มช่องทางให้แรงงานไทยได้มีตลาดทำงานในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อให้แรงงานไทยมีอาชีพ มีรายได้ ลดปัญหาการว่างงานภายในประเทศไทย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และนำเงินกลับเข้าประเทศไทย ซึ่งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศของแรงงานไทย สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้เป็นจำนวนมาก” .....
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36393
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23 วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 - 15.00 น.
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23 วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 - 15.00 น. ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23 วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 - 15.00 น. ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-๑๙ และความท้าทายของโลกในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผมเชื่อมั่นว่า กรอบอาเซียนบวกสามเป็นแบบอย่างความสำเร็จของกลไกความร่วมมือพหุภาคีในระดับภูมิภาคที่มีผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เนื่องจากสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับแนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียนของเวียดนามในปีนี้ ซึ่งคือ “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” วิกฤตโควิด-19 ได้พิสูจน์อีกครั้งว่า อาเซียนบวกสามพร้อมที่จะจับมือกัน พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยมีเป้าหมายหลักในการเสริมสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกที่แข็งแกร่งและมีประชาชนเป็นศูนย์กลางโอกาสนี้ ผมขอเสนอประเด็นที่เราควรให้ความสำคัญ ดังนี้ ประการแรกเราควรเสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขอย่างยั่งยืน โดยหลังจากที่ได้หารือกันในการประชุมอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้เห็นความคืบหน้าของความร่วมมือหลายประการ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนของประเทศบวกสามต่อกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-๑๙ดังนั้น ผมหวังให้มีการใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดหาและจัดสรรอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งการพัฒนาวัคซีนและยาที่ทุกประเทศสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ ไทยมุ่งมั่นที่จะร่วมจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต ตามที่เวียดนามเสนอ เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่สอดประสานกันอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยไทยยินดีต่อข้อเสนอของจีนในการจัดตั้งคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์อาเซียนบวกสามสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และหวังว่าจะไม่ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานของคลังสำรองของอาเซียน ในการนี้ ผมขอเสนอให้ใช้ประโยชน์จากศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนร่วมกับกลไกเหล่านี้ด้วย ประการที่สอง เราควรเสริมสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยเร็ว และมีรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตต่อไปในระยะยาว ในวันนี้ ผมจึงมีความยินดีที่จะร่วมรับรองถ้อยแถลงฯ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว การบูรณาการทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ โดยความสำเร็จของการลงนามความตกลง RCEP ก็เป็นย่างก้าวที่สำคัญของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการค้าพหุภาคีของภูมิภาค ดังนั้น ผมขอเชิญชวนประเทศบวกสามให้ร่วมสนับสนุนกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนที่ผู้นำอาเซียนเพิ่งประกาศไปในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน เราควรใช้ช่วงเวลานี้ทบทวนและพัฒนากลไกความร่วมมือที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งควรเร่งต่อยอดกลไกมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคีผ่านการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ โดยคำนึงว่าเสถียรภาพทางการเงินเป็นหัวใจสำคัญของความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เราควรใช้ประโยชน์จากองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ซึ่งเป็นแบบอย่างสำคัญของการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ขณะเดียวกัน การพัฒนาทุนมนุษย์ จะเป็นกุญแจสำคัญของการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะที่จำเป็น ให้แก่ MSMEs และ Start-ups เพื่อให้สามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-๑๙ และพร้อมรับมือกับความท้าทายในยุค 4IR (โฟร์ ไออาร์) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สาม เราควรสานต่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ เนื่องจากเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยการต่อยอดการดำเนินการตามถ้อยแถลงฯ ว่าด้วยข้อริเริ่มการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยง ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่องนี้ต่อไป และเมื่อคำนึงถึงบริบทของโควิด-๑๙ แล้ว ความร่วมมือในด้านความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคโดยรวมเช่นกัน นอกจากนี้ เรายังควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย สุดท้ายนี้ ความเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากสันติภาพและเสถียรภาพ ไทยจึงขอเน้นย้ำเจตนารมณ์ที่จะร่วมกับทุกประเทศในภูมิภาคในการส่งเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลี โดยไทยพร้อมสนับสนุนกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสันติ และหวังที่จะเห็นการเจรจามีความคืบหน้า พร้อมกับคาบสมุทรเกาหลีที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36802
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15 เมื่อวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.00-20.00 น. ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15 วันเสาร์ที่ 14พฤศจิกายน 2563เวลา 18.00-20.00น. * * * * * ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯ พณ ฯ ทั้งหลาย 1. ผมขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 15ปีของ อีเอเอส ซึ่งที่ผ่านมาได้เป็นกลไกที่เราทั้ง 18ประเทศ สามารถใช้หารือประเด็นทางยุทธศาสตร์ อย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ ภายใต้จุดมุ่งหมายร่วมกันในการเสริมสร้างสันติภาพที่ถาวร และการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค 2. โควิด-19เป็นภัยคุกคามต่อทุกประเทศและได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในทุกมิติ ทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิถีชีวิตของประชาชน ในด้านหนึ่ง โควิด-19ถูกมองว่าเป็นตัวเร่งให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์ แต่อีกด้านหนึ่ง โควิด-19เป็นประเด็นท้าทายแห่งศตวรรษที่ทุกประเทศต้องหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ และฟื้นตัวกลับมาอย่างแข็งแกร่งกว่าเดิม 3. “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียนของเวียดนามในปีนี้ คือทางออกในการรับมือกับความท้าทายดังกล่าว เราไม่ต้องการเห็นการแข่งขันที่นำไปสู่การเผชิญหน้าและความขัดแย้ง ซึ่งจะบั่นทอนเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค โดยหากต่างฝ่ายต่างมุ่งหมายที่จะเอาชนะกันเพียงอย่างเดียว เราทุกคนจะพ่ายแพ้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 4. อีเอเอส จึงมีความสำคัญในฐานะกลไกหลักในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันและสร้างความสมดุลเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับระบบพหุภาคีนิยมและภูมิภาคนิยมในการแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง ในขณะเดียวกัน เรายังคงสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค โดยในปีที่แล้วไทยในฐานะประธานอาเซียน ได้ประกาศวิถีทัศน์ของอาเซียนที่ตอกย้ำหลักการการดำเนินความสัมพันธ์กับภาคีภายนอกภูมิภาคผ่านเอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก ที่มุ่งเน้นความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย บนพื้นฐานของกฎระเบียบ ความโปร่งใส การเปิดกว้าง และหลักการสามเอ็ม ได้แก่ การไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งล้วนเป็นหลักการที่ทุกประเทศสนับสนุน 5. นอกจากนี้ AOIP (เอโอไอพี) ได้ระบุสาขาความร่วมมือที่ทุกประเทศสามารถได้รับประโยชน์ร่วมกัน อาเซียนจึงขอเชิญชวนให้ประเทศต่าง ๆ ขยายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมต่อไป เช่น ความร่วมมือด้านการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล ซึ่งไทยจะร่วมกับจีนและสหรัฐฯ จัดการสัมมนาออนไลน์ เรื่องการจัดการขยะทะเลในกรอบเออาร์เอฟ รวมถึงการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยสร้างความเกื้อกูลระหว่างเอ็มแพ็ค 2025 กับทั้ง บีอาร์ไอ และโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูง เพื่อสร้างพลวัตสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยไทยพร้อมมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะดังกล่าว เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรืองและความยั่งยืนในภูมิภาค 6. ไทยมุ่งมั่นที่จะสานต่อการเสริมสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะการพัฒนาที่ยั่งยืน และในฐานะผู้ประสานงานอาเซียนด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เราจะส่งเสริมความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025กับวาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ. 2030รวมทั้งการนำถ้อยแถลงผู้นำอีเอเอสว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืนมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม 7. ในบริบทของโควิด-19ผมขอเสนอว่า เราควรจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือ โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญเร่งด่วน ได้แก่ ความมั่นคงด้านสาธารณสุข ความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยใช้ประโยชน์จากกลไกและศูนย์ต่าง ๆ อาทิ ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม และศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้าสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม เป็นต้น 8. นอกจากนี้ โดยที่การแพร่ระบาดของโควิด-19ได้เร่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลรวดเร็วขึ้น เราจึงควรผลักดันการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลและสร้างมาตรฐานด้านดิจิทัลร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างครบวงจร ในขณะเดียวกัน เราควรเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อป้องกันผลกระทบจากเทคโนโลยี โดยใช้ประโยชน์จาก “ศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค 9. สุดท้ายนี้ เราจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปไม่ได้ หากปราศจากสันติภาพและเสถียรภาพ ไทยจึงขอย้ำเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกับทุกประเทศในภูมิภาคในการส่งเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลี โดยหวังจะเห็นความคืบหน้าของการเจรจา ที่นำไปสู่คาบสมุทรเกาหลีที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ 10. ขณะเดียวกัน ไทยได้ติดตามพัฒนาการในทะเลจีนใต้อย่างใกล้ชิด และปรารถนาจะเห็นทะเลจีนใต้เป็นทะเลแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ ความไพบูลย์ และความยั่งยืน โดยสนับสนุนการหารือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง พร้อมมุ่งเน้นการธำรงรักษาหลักการพื้นฐาน อาทิ เสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่าน การใช้ความยับยั้งชั่งใจ และการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ 11. ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36812
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย ลงพื้นที่อุดรธานี เยี่ยมชมกิจการและให้กำลังใจผู้ประกอบ ฟาร์มงอกเงย
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ปลัดฯ กอบชัย ลงพื้นที่อุดรธานี เยี่ยมชมกิจการและให้กำลังใจผู้ประกอบ ฟาร์มงอกเงย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เยี่ยมชมกิจการและให้กำลังใจห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟาร์มงอกเงย ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายถั่วงอก จ.อุดรธานี : วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เยี่ยมชมกิจการและให้กำลังใจห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟาร์มงอกเงย ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายถั่วงอก โดยมีนายพรเทพ วิวัฒน์อัศวิน ผู้จัดการ ให้การต้อนรับ “ฟาร์มงอกเงย” ปัจจุบันได้ใช้เทคโนโลยีในการล้างถั่วงอก บรรจุถั่วงอก เข้ามาช่วยให้เร็วยิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านโครงการสินเชื่อ SMEs Transformation Loan กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และสินเชื่อ Soft Loan (ธปท.) ทำให้บริษัทมีเงินทุนในการพัฒนากิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้คำแนะนำในการทำธุรกิจที่ต้องเชื่อมโยงในการสร้างรายได้ให้กลับคืนสู่ชุมชน โดยสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูกถั่วงอก เพื่อส่งขายให้กับบริษัทฯ ช่วยให้มีรายได้เพิ่มในอีกทางหนึ่ง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36791
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 8 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 8 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ถ้อยแถลง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 8 ผ่านระบบการประชุมทางไกล วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00 – 09.00 น. ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 8 ผ่านระบบการประชุมทางไกล วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00 – 09.00 น. ท่านประธาน ท่านที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ก่อนอื่น ผมขอร่วมต้อนรับนายโรเบิร์ต ซี. โอไบรอัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริก สู่การประชุม สุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สหรัฐฯ เป็นมหามิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่รอบด้านของอาเซียน และเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและยาวนานกว่า 187 ปีของไทยโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้มีบทบาทในการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค มาถึงจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายในหลากหลายรูปแบบรวมถึงโควิด-19อาเซียนจึงต้องการบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคในการเสริมสร้างความเป็นแกนกลางและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอาเซียน รวมถึงสร้างดุลยภาพใหม่ทางยุทธศาสตร์ในอินโด-แปซิฟิกในภาพรวมซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็ง ของภูมิภาคในระยะยาว โอกาสนี้ ผมขอเสนอให้อาเซียนและสหรัฐฯ กระชับความร่วมมือ ที่เป็นรูปธรรมภายใต้หลักการของมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก และยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างของสหรัฐฯ ใน 3 ประเด็น ดังนี้ ประการแรก การส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นรากฐาน สำคัญของการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนกว่า 1 พันล้านคน ของเราทั้งนี้ ประเด็นเร่งด่วนเฉพาะหน้า คือ การวิจัยและการผลิต ตลอดจนการเข้าถึงยาและวัคซีนต้านโควิด-19 และการสนับสนุนการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเดินทางเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างปลอดภัยในการนี้ ผมจึงขอเสนอให้บริษัทวิจัยและพัฒนายาของทั้งสองฝ่ายผลักดันความร่วมมือเพื่อคิดค้นและผลิตยาและวัคซีนโควิด-19 ให้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว โดยไทยพร้อมจะเป็นฐานในการผลิตยาและวัคซีนดังกล่าวเพื่อให้เป็นสินค้าสาธารณะของโลกที่เข้าถึงได้ นอกจากนี้ การสร้างเสริมศักยภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในอาเซียน ยังคงมีความสำคัญต่อการรับมือกับโควิด-19 และโรคระบาดอื่นๆ ในอนาคตผมจึงสนับสนุนโครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมภายใต้ข้อริเริ่ม “อาเซียน-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุขเพื่ออนาคต” ซึ่งรวมถึง ความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลและสถาบันการแพทย์ของทั้งสองฝ่าย โดยใช้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ ที่มีอยู่ในภูมิภาค ประการที่สอง การส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจ ในภูมิภาค โดยสหรัฐฯ ในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ของโลก และอาเซียนที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 5 ของโลก จะต้องร่วมมือกันดำเนินการ ดังนี้1. สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานสินค้าระหว่างสองฝ่าย 2. เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีในอาเซียน และ 3. พัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากนี้ อาเซียนและสหรัฐฯ จะต้องร่วมกันสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะในการการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีคลาวด์ในอุตสาหกรรมการผลิต ในการนี้ ผมจึงขอเชิญชวนภาคเอกชนของสหรัฐฯ มาร่วมพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลของผู้ประกอบการในอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่ม MSMEs โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลผ่านกลไกของ USDFC(ยูเอสดีเอฟซี)ทั้งนี้ ไทยมีโครงการรองรับการเติบโตด้านดิจิทัลในภูมิภาคที่พร้อมร่วมมือกับสหรัฐฯ อาทิ โครงการ “ASEAN Digital Hub” ซึ่งจะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในอาเซียน และโครงการ “Digital Park Thailand” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ EEC ประการที่สาม คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ โดยอาเซียนและสหรัฐฯ ต้องร่วมกันพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีปกติใหม่ ในยุค 4IR (โฟร์ไออาร์)ในการนี้ ผมเห็นว่า อาเซียนและสหรัฐฯ ควรมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการฝึกอบรมทางเทคนิคและการอาชีวศึกษาในสาขาอาชีพใหม่ๆ การพัฒนาทักษะภาษา และการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในอาเซียนขยายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในสหรัฐฯ เพื่อผลิตแรงงานที่ทันสมัย และมีความสามารถตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานโลก ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป ดังนั้น ผมยินดีที่เราจะรับรองถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ ในวันนี้ สุดท้ายนี้ ผมหวังว่า อาเซียนและสหรัฐฯ จะร่วมกันพลิกวิกฤติ ในครั้งนี้ให้เป็นโอกาส เพื่อสร้างอนาคตที่มีเสถียรภาพและความยั่งยืนสำหรับประชาชนของเราต่อไป ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36781
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘รมช.ประภัตร’ ชื่นชม13กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านหนองไผ่ เน้นจุดแข็งคุณภาพเนื้อโคเป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ‘รมช.ประภัตร’ ชื่นชม13กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านหนองไผ่ เน้นจุดแข็งคุณภาพเนื้อโคเป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ‘รมช.ประภัตร’ ชื่นชม13กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านหนองไผ่ เน้นจุดแข็งคุณภาพเนื้อโคเป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นายประภัตรโพธสุธนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคขุนบ้านหนองไผ่ต.ตรีมงคลอ.บึงสามพันจ.เพชรบูรณ์ว่าตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วน12เรื่องเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีสุขทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในด้านการส่งเสริมอาชีพภาคเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมปศุสัตว์จึงดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ(โคขุนกู้วิกฤตCovid-19)ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมีตลาดรองรับที่แน่นอนมีการประกันราคาสำหรับการสนับสนุนเงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์1ล้านบาทดอกเบี้ย100บาท/ปีถือเป็นดอกเบี้ยที่ต่ำและไม่ต้องนำทรัพย์สินมาค้ำประกันเพียงรวมเป็นกลุ่มและสมาชิก7คนขึ้นไปยื่นจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกับเกษตรอำเภอดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อผ่านความเห็นชอบต่อไปซึ่งจะสามารถเป็นแหล่งเงินทุนที่ช่วยส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน “จากการลงพื้นที่มาหลายจังหวัดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคขุนบ้านหนองไผ่มีการจัดตั้งและผ่านการอนุมัติสินเชื่อสูงสุดถึง13กลุ่มซึ่งถือเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆได้อย่างดีในการเตรียมความพร้อมคุณสมบัติก่อนการยื่นขอสินเชื่อทั้งด้านองค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์การมีตลาดรองรับที่แน่นอนโดยธ.ก.ส.สาขาวังพิกุลได้ร่วมส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและผู้สนใจการเลี้ยงวัวสามารถเข้าศึกษาดูงานการเลี้ยงโคขุนเพื่อการส่งออกที่และสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทองจำกัดซึ่งเลี้ยงโคขุนโดยปราศจากสารเร่งเนื้อแดงและมีตลาดต่างประเทศรับซื้อแน่นอน”นายประภัตรกล่าว สำหรับจุดแข็งของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคขุนบ้านหนองไผ่คือการเลือกเลี้ยงโคพันธุ์ดีเป็นลูกผสมระหว่างโคที่แม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มันผสมกับน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ชาโรเล่ซึ่งเจริญเติบโตเร็วและคุณภาพเนื้อเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศรวมถึงสมาชิกทุกคนมีใจรักในการเลี้ยงโคมีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์การเลี้ยงโคมาเป็นเวลานานสมาชิกมีวัตถุดิบที่ใช้ผสมอาหารTMRทำให้ลดต้นทุนการผลิตสมาชิกทุกคนผ่านการอบรมการเลี้ยงโคขุนโดยไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดงและสหกรณ์เป็นผู้รับซื้อคืนทั้งหมดมีการประกันราคาขั้นต่ำสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทองจำกัดเป็นผู้ซื้อขายโคขุนให้กับต่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับในคุณภาพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36795
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยมุ่งมั่นสานต่อความยั่งยืนในภูมิภาค เสนอจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือ และใช้ประโยชน์จากกลไกและศูนย์ต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อวิกฤตโควิด-19
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ไทยมุ่งมั่นสานต่อความยั่งยืนในภูมิภาค เสนอจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือ และใช้ประโยชน์จากกลไกและศูนย์ต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อวิกฤตโควิด-19 ไทยมุ่งมั่นสานต่อความยั่งยืนในภูมิภาค เสนอจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือ และใช้ประโยชน์จากกลไกและศูนย์ต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อวิกฤตโควิด-19 วันนี้ (วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563) เวลา 18.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมและกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ครั้งที่ 15 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำและผู้แทนประเทศที่เข้าร่วมจำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีเลขาธิการสหประชาชาติ ประธานกลุ่มธนาคารโลก และเลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมด้วย ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมว่าเป็นการกำหนดทิศทางและทบทวนความร่วมมือร่วมกัน รวมถึงบทบาทของ EAS ในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อหาแนวทางการตอบสนองและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เลขาธิการสหประชาชาติยินดีที่ทุกประเทศให้ความสำคัญกับการจัดการเรื่องโควิด-19 และมีการรับมือที่ดี แต่โควิด-19 ส่งผลกระทบกับในวงกว้างหลายมิติ ทุกประประเทศจึงต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น การพัฒนาวัคซีนให้ทุกคนเข้าถึงได้ นอกจากนี้ UN ได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั่วโลก นอกจากนี้ ปัญหาที่ต้องเผชิญร่วมกัน ยังมีอีกหลายประเด็น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างการพัฒนา ประธานกลุ่มธนาคารโลก ยินดีที่ได้ร่วมมือกับทุกประเทศในการรับมือโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจถดถอย และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงถึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีภัยคุกคามรวมถึงความท้าทายด้านความมั่นคงที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ธนาคารโลกได้จัดสรรเงิน ช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี สนับสนุนการรับมือโควิด-19 ยินดีที่ประเทศ G20 มีนโยบายให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารการจัดการภาระหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งธนาคารโลกพยายามอย่างสูงที่จะลดภาระให้กับประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ ประธานกลุ่มธนาคารโลกเชื่อมั่นว่าประเทศกลุ่ม EAS จะเป็นภูมิภาคแรกที่หลุดพ้นจากโควิด-19 ท่ามกลางความท้าทายธนาคารโลกยังคงเชื่อว่าทุกประเทศจะรับมือ และสู้กับโควิด-19 ไปด้วยกันได้ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 15 ปีของ EAS โดยที่ผ่านมา ทั้ง 18 ประเทศ ได้ใช้กลไกของ EAS ในการหารือประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการเสริมสร้างสันติภาพที่ถาวร และความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของภูมิภาค ทั้งนี้ EAS มีความสำคัญในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันและสร้างความสมดุลเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับระบบพหุภาคีนิยมและภูมิภาคนิยมในการแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง ในขณะเดียวกัน ยังคงสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ไทยในฐานะประธานอาเซียนได้เน้นย้ำหลักการของการดำเนินความสัมพันธ์กับภาคีภายนอกภูมิภาคผ่านเอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (AOIP) โดยได้ระบุสาขาความร่วมมือที่ทุกประเทศสามารถได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ อาเซียนขอเชิญชวนให้ประเทศต่าง ๆ ขยายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล และการสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยไทยพร้อมที่จะมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือดังกล่าว เพื่อลดความขัดแย้ง และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความยั่งยืนในภูมิภาค นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในฐานะผู้ประสานงานอาเซียนด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยมุ่งมั่นที่จะสานต่อการเสริมสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยจะมุ่งสานต่อการส่งเสริมความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 กับวาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ. 2030 รวมทั้งการนำถ้อยแถลงของผู้นำ EAS ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน มาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ในบริบทของโควิด-19 นายกรัฐมนตรีเสนอให้จัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือ โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญเร่งด่วน ได้แก่ ความมั่นคงด้านสาธารณสุข ความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยใช้ประโยชน์จากกลไกและศูนย์ต่าง ๆ ตลอดจนผลักดันการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลและสร้างมาตรฐานด้านดิจิทัลร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างครบวงจร รวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยใช้ประโยชน์จากศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36813
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สาธิต รุดเยี่ยม ครอบครัว อสม.เสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้าที่ ที่จ.ชลบุรี
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 สาธิต รุดเยี่ยม ครอบครัว อสม.เสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้าที่ ที่จ.ชลบุรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รุดเยี่ยมครอบครัวอสม.เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ มอบนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ดูแลใกล้ชิด ทั้งด้านสภาพจิตใจ เงินช่วยเหลือ และด้านคดีความ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับแจ้งจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี ชื่อนายเสาร์ อินทร์โยค อายุ 90 ปี ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตขณะออกปฏิบัติหน้าที่สำรวจลูกน้ำยุงลายและหยอดทรายอะเบท บริเวณรอบวัดวังรีคีรีวันวนาราม ผู้พบเห็นได้นำส่งโรงพยาบาล และเสียชีวิตภายหลัง เบื้องต้นได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ส่งทีมเข้าไปดูแลด้านจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต รวมทั้งติดตามเร่งรัดการดำเนินการด้านคดีกับผู้กระทำผิด สำหรับการเยียวยา อสม.ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น ทุกรายจะได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 5,000 บาท จากมูลนิธิ อสม.โดยคุณตาเสาร์ อินทร์โยค ท่านเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ อสม. แห่งประเทศไทย จะได้รับเงินชดเชยจำนวน 385,000 บาท รวมทั้งเงินช่วยเหลือจากสมาคม อสม. จังหวัดชลบุรี 30,389 บาท และจากสมาคม อสม.อำเภอบ่อทองอีก 3,000 บาท “ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตกับเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น กระทรวงสาธารณสุขพร้อมให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่ เบื้องต้นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรีได้ส่งทีมสุขภาพจิตดูแลจิตใจ พร้อมมอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านคดีความ ขณะนี้คนร้ายถูกส่งดำเนินคดีแล้ว โดยขอให้ดำเนินการตามกฎหมายให้ถึงที่สุด” ดร.สาธิต กล่าว ************************************* 14 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36808
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน หนุน นครชัยบุรินทร์ นำร่องเขตสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “WOW”
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 อนุทิน หนุน นครชัยบุรินทร์ นำร่องเขตสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “WOW” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ นำร่องยกระดับบริการสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “WOW” ลดเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึง สะดวก รวดเร็ว ประชาชนรับบริการในเขต นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ ว่า ได้รับฟังข้อสรุปการระดมความคิดในการพัฒนาเขตสุขภาพที่ 9 เป็นพื้นที่นำร่องยกระดับคุณภาพบริการประชาชนในพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการ ทุกที่ สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ลดการส่งต่อนอกเขต ภายใต้คอนเซ็ปต์ “WOW” คือ W : Wellness ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี O : Outstanding แนวคิดและวิธีการดำเนินงานที่โดดเด่น W : Work Force กำลังคนเพียงพอและมีคุณภาพ โดยมี 6 แผนงานรองรับ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุนให้เกิดขึ้น ถือเป็นก้าวหนึ่งของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ลดแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ โดยเรื่องแรกที่เร่งรัดดำเนินการคือนโยบาย 30 รักษาทุกที่ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับประชาชน ไม่ต้องออกไปรักษานอกเขตสุขภาพ สำหรับแผนงานรองรับการพัฒนาตามคอนเซ็ปต์ “WOW” ประกอบด้วย 6 เรื่อง ได้แก่ 1.ระบบบริการระดับปฐมภูมิ : เน้น 3 หมอต่อครอบครัว พัฒนาการศักยภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิกหมอครอบครัวเขตเมือง 2.ระบบบริการระดับทุติยภูมิ : เพิ่มเตียงรับผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤติ พัฒนาห้องผ่าตัด ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ปรับโฉมโรงพยาบาลชุมชนเป็น Smart Hospital และยกระดับการบริการในโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย 3.ระบบบริการระดับตติยภูมิ : ลดความแออัดโรงพยาบาลทั่วไป, ยกระดับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 4.ระบบเทคโนโลยี ใช้ Tele Medicine และเชื่อมฐานข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.),รพ.สต.,โรงพยาบาลชุมชน (รพช.), โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) และโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) รองรับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ มีระบบ Telehealth ดูแลสุขภาพประชาชนทางไกลในชุมชน และใช้แอปพลิเคชัน R9 Health Buddy สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพโดยใช้บัตรประจำตัวประชาชน 5.บุคลากร : ผลิตบุคลากรด้านกัญชาทางการแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และศูนย์แพทยศาสตรศึกษา 4 จังหวัด สามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ 6 . การพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพ : เพิ่มผลิตผลทางการเกษตรเพื่ออาหารปลอดภัย แหล่งผลิตกัญชาทางการแพทย์ การผลิตไพล/ขมิ้นชัน ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ และสร้าง Wellness Center ระดับจังหวัด ************************************* 14 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36784
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย ทุกรายเป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้ากักตัวในสถานกักตัวที่รัฐจัดให้ และสถานกักตัวที่รัฐกำหนด มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 10 ราย ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,707 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.89 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 99 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 2.56 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,866 ราย โดยรายละเอียดผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ ได้แก่ ชาวไทย 3 รายเดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ 1 ราย, สหราชอาณาจักร 2 ราย ทั้งหมดเข้ารับการกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) โดย 2 รายตรวจพบเชื้อ ไม่แสดงอาการ และอีก 1 ราย มีอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลตามระบบ ชาวต่างชาติ 2 รายเดินทางมาจากประเทศอิตาลี 1 ราย, สหรัฐอเมริกา 1 ราย เข้ารับการกักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ทั้งหมดตรวจพบเชื้อ ไม่แสดงอาการ เข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชน โดยค่าใช้จ่ายคิดจากประกันโควิด19 ที่ผู้เข้ารับการกักตัวทำไว้ก่อนเดินทางเข้าประเทศ นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกชื่นชมบทบาทการเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ที่มีการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว และชื่นชม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงสาธารณสุข ที่ให้การสนับสนุนข้อริเริ่มขององค์การอนามัยโลกในการสร้างคลังเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันตัวอย่างเชื้อ สำหรับใช้ในการพัฒนายา และวัคซีน ให้เป็นประโยชน์สาธารณะ พร้อมยกให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบของการประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด 19 แม้จะยังไม่มีวัคซีน ซึ่งมีเครือข่าย อสม. ทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาดูสอดส่องเฝ้าระวังในระดับท้องถิ่น ทำให้ประเทศไทยสามารถควบคุมโรคได้ดี นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ทั่วโลกวันนี้ มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 656,150 ราย มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกแล้วกว่า 53 ล้านราย ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกได้เร่งคิดค้นพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งถือว่ารุดหน้า สร้างความหวังให้กับประชาชนทั่วโลกเป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทยได้เร่งรัดการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ทั้งการการจองล่วงหน้าผ่าน COVAX Facility และการตกลงแบบทวิภาคี,การเจรจาความร่วมมือรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด 19 และการพัฒนาวัคซีนเองในประเทศเพื่อให้เป็นประเทศอันดับต้นของโลกที่ได้รับวัคซีนมาฉีดให้กับคนในประเทศ อย่างไรก็ตาม ขณะที่อยู่ระหว่างการรอการได้มาซึ่งวัคซีน ขอให้ทุกคนป้องกันตัวเองตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำไว้ตั้งแต่ต้น ได้แก่ การสวมหน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ซึ่งถือเป็นวัคซีนธรรมชาติที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถป้องกันการแพร่ สัมผัสเชื้อโควิด 19 และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลจากกองระบาดวิทยากรมควบคุมโรค พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2563 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ 116,052 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 มีผู้ป่วย 343,529 ราย ซึ่งเท่ากับลดลงถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยปีที่ผ่านมา สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 มีการแสดงอาการป่วยที่ใกล้เคียงกัน ในช่วงที่สถานการณ์โควิด 19 ยังไม่เป็นที่น่าวางใจ แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคที่เข้มแข็ง แต่อาจพบผู้ติดเชื้อในประเทศได้ ขอให้ทุกคนสังเกตอาการป่วยของตนเองตนเองหากพบว่ามีอาการ ไข้ ไอ อาการระบบทางเดินหายใจ การรับรสและกลิ่นลดลง ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที ************************************* 14 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36806
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-องค์การอนามัยโลกชื่นชมไทย ในงาน World Health Assembly 2020 นายกฯย้ำ เป็นความสำเร็จร่วมกันของคนไทยทุกคน
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 องค์การอนามัยโลกชื่นชมไทย ในงาน World Health Assembly 2020 นายกฯย้ำ เป็นความสำเร็จร่วมกันของคนไทยทุกคน องค์การอนามัยโลกชื่นชมไทย ในงาน World Health Assembly 2020 นายกฯย้ำ เป็นความสำเร็จร่วมกันของคนไทยทุกคน วันนี้ (13 พฤศจิกายน 2563) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ชื่นชมบทบาทการเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีไทย รวมทั้งการทำงานด้านสาธารณสุขของไทย ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกได้กล่าวในพิธีปิดการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 73 (World Health Assembly 2020) โดยขอบคุณประเทศไทยที่สนับสนุนการทำงานขององค์การอนามัยโลก และชื่นชมประเทศไทยที่เป็นตัวอย่าง ต้นแบบของการประสบความสำเร็จ ในการบูรณาการความร่วมมือของภาครัฐและภาคประชาสังคมต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้จะยังไม่มีวัคซีน ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีการรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 นอกจากจีน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยซึ่งมีประชากรกว่า 70 ล้านคน และเป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าประชากรหนาแน่นแห่งหนึ่งของโลก กลับมีตัวเลขผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 4 พันคน และผู้เสียชีวิตมีเพียง 60 คน ซึ่งความสำเร็จของไทยนี้ไม่ใช่เรื่องความบังเอิญ แต่เป็นเพราะการดำเนินนโยบายของไทยอย่างจริงจัง และตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ลงทุนในโครงสร้างทางด้านสาธารณสุข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการต่อสู้กับโรคภัยตามหลักการของสาธารณสุขสากล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอบคุณองค์การอนามัยโลกที่ได้ชื่นชมการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ของไทย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ไม่เพียงเป็นความสำเร็จของรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นความสำเร็จร่วมกันของทุกภาคส่วน และที่สำคัญเป็นผลมาจากรัฐบาลได้รับความร่วมมือที่ดีจากประชาชนคนไทยทุกคน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36790
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีถวายราชสักการะ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีถวายราชสักการะ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีถวายราชสักการะ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 พร้อมด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งอาสาสมัครฝนหลวง เข้าร่วมในพิธีถวายราชสักการะองค์พระบิดาแห่งฝนหลวง ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบังคับเมฆให้เกิดเป็นฝนจนเกิดเป็นเทคโนโลยีฝนหลวง ช่วยขจัดความทุกข์ยากให้แก่พสกนิกรที่ประสบภัยแล้ง และเป็นองค์ประกอบในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ซึ่งได้จารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อให้ประชาชน เยาวชน ได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่ทรงก่อให้เกิดเทคโนโลยีฝนหลวง อันเป็นมรดกสำคัญของประเทศในการช่วยเหลือประชาชนมาตลอดระยะเวลา 65 ปี ด้านนายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดงานวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กำหนดจัดงานตั้งแต่วันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งได้มีพิธีเปิดนิทรรศการไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 โดยภายในงานมีการจัดนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” แสดงถึงสิ่งสำคัญของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ถ่ายทอดเรื่องราวโครงการพระราชดำริฝนหลวงผ่านเรื่องเล่าพร้อม QR Code และมีการฉายภาพยนตร์ในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง การจัดนิทรรศการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานร่วมบูรณาการ อาทิ กองทัพอากาศ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ทั้งนี้ ตลอดการจัดงานยังมีการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกมากมายกว่า 60 ร้านค้า เป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ซึ่งมีทั้งผัก ผลไม้ อาหารสด และอาหารแปรรูปทางการเกษตรมาจำหน่ายให้ประชาชนในราคาประหยัด อาทิ ก้อนจุลินทรีย์จากมูลไส้เดือน วุ้นทุเรียน เครื่องสำอางจากนมแพะ น้ำพริกและเห็ดแปรรูป แชมพูสมุนไพร ผ้าทอ เครื่องเงิน เป็นต้น รวมทั้งยังมีกิจกรรมการสาธิตเสริมสร้างอาชีพจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ สาธิตการทำอาหารแปรรูปจากปลานิล โดยกรมประมง การประดิษฐ์พัดเดคูพาจ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การสาวไหมและแสดงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหม่อนไหมพร้อมบริการแจกต้นหม่อนไหมผลสด โดยกรมหม่อนไหม นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดงดนตรีคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36794
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ย้ำเวทีอาเซียน-ออสเตรเลีย เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล-เศรษฐกิจสีเขียว
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 นายกฯ ย้ำเวทีอาเซียน-ออสเตรเลีย เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล-เศรษฐกิจสีเขียว นายกฯ ย้ำเวทีอาเซียน-ออสเตรเลีย เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล-เศรษฐกิจสีเขียว วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2563) เวลา 10.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกสองปี และเป็นหนึ่งในการประชุมนอกเหนือจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยมีผู้นำประเทศจาก เวียดนาม ลาว ไทย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และผู้แทนจาก อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมา และมาเลเซีย และนายสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เข้าร่วมด้วย ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวสรุปผลการประชุม ดังนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวเปิดการประชุมว่า เป็นการหารือเพื่อกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือในการประสานงานระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ภายใต้แนวคิดการเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งเพื่อการฟื้นฟู (A Strong Partnership for Recovery) ผลกระทบจากโควิด-19 รวมทั้งขอบคุณในการสนับสนุนความช่วยเหลือผ่านกองทุนฟื้นฟูต่าง ๆ ตลอดจนให้ข้อเสนอเเนะที่เป็นประโยชน์เพื่อตอบรับความท้าทายเเละส่งเสริมศักยภาพในภูมิภาคร่วมกัน ด้านนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียชื่นชมในการรับมือโควิด-19 ของอาเซียนที่ใช้ความเป็นเอกภาพในการเเก้ปัญหา เเละออสเตรเลียจะเป็นหุ้นส่วนในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 กับอาเซียน เพราะเป็นความมั่นคงร่วมกัน โดยทางออสเตรเลียได้ร่วมสนับสนุนกองทุนต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนความมั่นคงทางทะเล ความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งเเวดล้อม ความร่วมมือลุ่มเเม่น้ำโขง เป็นต้น โดยนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้ย้ำถึงความสมดุลและความเป็นมิตรภาพที่ดีต่อกัน นายกรัฐมนตรีไทยกล่าวว่า ไทยยินดีที่อาเซียนและออสเตรเลียรักษาพลวัตของปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยตลอดระยะเวลา 46 ปี ความสัมพันธ์ของอาเซียน-ออสเตรเลีย เต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพที่ครอบคลุมทุกมิติและเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขวิกฤตและฟื้นฟูสังคมให้พัฒนายิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสร้างสมดุลระหว่างการควบคุมโรคกับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ รวมทั้งคำนึงการพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และทุกคนสามารถเข้าถึงได้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงการวางรากฐานสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอ 2 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ 1. ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรและปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ผ่านข้อริเริ่มมาตรฐานการค้าดิจิทัลอาเซียน-ออสเตรเลีย รวมทั้งพัฒนาเมืองเพื่อรองรับยุคดิจิทัลผ่านเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน 2. ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีศักยภาพและมีต้นทุน อาทิ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ทั้งนี้ ไทยมีศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ตั้งขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2562 ซี่งใช้ในการส่งเสริมความร่วมมือผ่านการศึกษาและวิจัย โดยดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมระหว่างสมาชิกและภาคีภายนอก รวมทั้งได้เสนอให้ออสเตรเลียพิจารณาสนับสนุนความร่วมมือด้าน BCG กับศูนย์อาเซียนฯ ต่อไป ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันว่าอาเซียน-ออสเตรเลียเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้ ออสเตรเลียยืนยันที่จะมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอกับอาเซียน และพร้อมเคียงข้างเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจร่วมกับอาเซียน รวมถึงการขยายไปยังช่องทางใหม่ๆ ให้มากขึ้น ตลอดจน ย้ำที่จะร่วมกับอาเซียนในเรื่องวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ใช้วัคซีนตามมาตรฐานโลก โดยออสเตรเลียยินดีที่จะแบ่งปันในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือประชาคมโลกบศูนย์อาเซียนฯ ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36792
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาล แจง คลายล็อกเปิดประเทศ เน้น ปชช.ปลอดภัย รักษาสมดุลคุมโรค-เศรษฐกิจเดินหน้า
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 รัฐบาล แจง คลายล็อกเปิดประเทศ เน้น ปชช.ปลอดภัย รักษาสมดุลคุมโรค-เศรษฐกิจเดินหน้า รัฐบาล แจง คลายล็อกเปิดประเทศ เน้น ปชช.ปลอดภัย รักษาสมดุลคุมโรค-เศรษฐกิจเดินหน้า เมื่อวันที่14พ.ย.น.ส.ไตรศุลีไตรสรณกุลรองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โรคโควิด-19ในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถการควบคุมได้ดีรัฐบาลจึงมีนโยบายคลายล็อกเปิดประเทศบนพื้นฐานความปลอดภัยของประชาชนโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมและเดินหน้าสร้างความเข้าใจต่อประชาชนในการเปิดประเทศภายใต้แนวคิด SMART LIVING WITH COVID-19คนไทยปลอดภัยเศรษฐกิจไทยไปรอดซึ่งการเปิดประเทศจะทำอย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไปเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในมาตรการรองรับพร้อมสร้างความเข้าใจต่อประชาชนถึงความจำเป็นที่จะต้องเปิดต้อนรับชาวต่างชาติเพื่อฟื้นฟูผลกระทบด้านเศรษฐกิจในเวลานี้ สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจะต้องเข้ารับการกักตัว14วันและปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดส่วนการเสนอลดระยะเวลาการกักตัวผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยจาก14วันเหลือ10วันนั้นจะมีการเสนอต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19หรือศบค.ชุดใหญ่ต่อไปโดยการลดการกักตัวเหลือ10วันอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยของประชาชนเนื่องจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดตรวจพบเชื้อภายใน10วันการพบเชื้อหลัง10วันส่วนใหญ่มักไม่มีอาการและมีโอกาสแพร่เชื้อต่ำดังนั้นระยะการกักตัว10วันและ14วันมีความเสี่ยงไม่ต่างกันล้วนแล้วแต่อยู่ในความสามารถจะควบคุมได้ น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่าสถานการณ์โรคโควิด-19ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันจึงไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้เมื่อใดประเทศไทยจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการควบคุมโรคและการเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญคือประเทศไทยมีประสบการณ์ด้านการรับมือการแพร่ระบาดของโรคเป็นอย่างดีแล้วซึ่งการทยอยเปิดประเทศก็เป็นอีกแนวทางสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยเพราะเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญโดยแนวทางสำคัญของการทยอยเปิดประเทศคือการทำอย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไปเดินหน้าไปพร้อมกับการสร้างความรับรู้และเข้าใจต่อประชาชนว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรเมื่อยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคระบาด น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่าแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในประเทศไทยจะดีขึ้นและรัฐบาลกำลังเดินหน้าทยอยเปิดประเทศแต่ประชาชนยังต้องเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อด้วยการสวมหน้ากากอนามัยล้างมือบ่อยๆรับประทานอาหารสุกร้อนใช้ช้อนกลางส่วนตัวลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์มไทยชนะก่อนเข้ารับบริการในสถานที่ต่างๆฯลฯ .............
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36799
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เตือนประชาชนเตรียมป้องกัน ห่วงเกษตรกรรับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น “หว่ามก๋อ”
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 นายกฯ เตือนประชาชนเตรียมป้องกัน ห่วงเกษตรกรรับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น “หว่ามก๋อ” นายกฯ เตือนประชาชนเตรียมป้องกัน ห่วงเกษตรกรรับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น “หว่ามก๋อ” นายอนุชาบูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผยพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีความเป็นห่วงประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรที่อาจจะได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น“หว่ามก๋อ”ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ห่างออกทางตะวันออกของเมืองดานังประเทศเวียดนามประมาณ400กิโลเมตรกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามประมาณวันที่15พฤศจิกายน2563หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับซึ่งจะส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางเกิดขึ้นได้ในช่วงวันที่15-16พฤศจิกายนพ.ศ. 2563จึงขอให้เกษตรกรบริเวณดังกล่าวเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วยและขอให้ประชาชนใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการสัญจร โฆษกประจำสำนักนายกฯกล่าวว่า ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยาhttp://www.tmd.go.thหรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ1182ได้ตลอด24ชั่วโมง ...............
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36789
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยเน้นย้ำความสำคัญของอาเซียนบวกสามในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ไทยเน้นย้ำความสำคัญของอาเซียนบวกสามในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ไทยเน้นย้ำความสำคัญของอาเซียนบวกสามในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ วันนี้ (วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563) เวลา 13.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำและผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนจากทั้ง 10 ประเทศ พร้อมประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีจีน เข้าร่วมด้วย ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปผลการประชุมดังนี้ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวถึงการประชุมว่าเป็นการประชุมเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือในกรอบอาเซียนบวกสาม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อหาแนวทางการตอบสนองและบรรเทาผลกระทบ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศร่วมกัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่า ทุกประเทศต้องร่วมมือกันบนพื้นฐานประสบการณ์ความร่วมมือของ ASEAN+3 ซึ่งเป็นกลไกสำคัญเพื่อความเจริญร่วมกัน นอกจากนี้ ได้ย้ำถึงความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่ต้องร่วมมือกัน ร่วมพัฒนาวัคซีนให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงได้ และต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ควบคู่กับการดำเนินนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 ด้วย โดยเฉพาะการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเชื่อมั่นว่าการหารือในวันนี้จะเป็นการยกระดับความร่วมมือของ ASEAN+3 ในอนาคตต่อไป นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีความร่วมมือจนเห็นผลการพัฒนาในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้พร้อมร่วมมือกันเพื่อเอาชนะความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะโควิด-19 ญี่ปุ่นย้ำพร้อมให้ความร่วมมือ และให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ด้านสาธารณสุข เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการฟื้นฟูที่ให้เป็นเงินกู้กับประเทศสมาชิก ด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีนได้บริจาคเงินเข้ากองทุน ASEAN+3 เพื่อรับมือโควิด-19 ด้วย ด้านนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อปัญหาทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ การประชุมอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษเมื่อต้นปี ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อร่วมรับมือ รักษาห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ กลไก ASEAN+3 มีความเข้มแข็ง ตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆ ในยามที่เราเดือดร้อน เราต้องช่วยเหลือกัน สะท้อนถึงมิตรภาพที่มีต่อกัน เราจะร่วมมือเดินหน้าหากต้องเผชิญการระบาดรอบ 2 ต้องรักษาห่วงโซ่อุปทานให้มั่นคง จีนยินดีช่วยเหลือและร่วมมือกับอาเซียน ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ รวมทั้งจะสร้างสันติภาพความมั่นคงด้วยความร่วมมือที่จริงใจต่อกัน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และประชาคมเอเชียตะวันออกที่แข็งแกร่ง มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พร้อมเสนอ 3 แนวทาง ดังนี้ 1. เสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขอย่างยั่งยืน โดยไทยสนับสนุนให้ประเทศบวกสามสนับสนุนกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 และใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดหาและจัดสรรอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งการพัฒนาวัคซีนและยาที่ทุกประเทศสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ไทยยินดีต่อข้อเสนอของจีนในการจัดตั้งคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์อาเซียนบวกสามสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และไทยเสนอให้ใช้ประโยชน์จากศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนร่วมกับกลไกเหล่านี้ด้วย 2. สร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยเร็ว และมีรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตต่อไปในระยะยาว นายกรัฐมนตรีกล่าวเชิญชวนประเทศบวกสามให้ร่วมสนับสนุนกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน และที่ประชุมฯ ควรทบทวนและพัฒนากลไกความร่วมมือที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งควรเร่งต่อยอดกลไกมาตรการ “ริเริ่มเชียงใหม่” ไปสู่การเป็นพหุภาคีผ่านการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้ ควรใช้ประโยชน์จากองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ซึ่งเป็นแบบอย่างสำคัญของการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งนี้ ไทยยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะที่จำเป็น ให้แก่ MSMEs และ Start-ups เพื่อให้สามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 และพร้อมรับมือกับความท้าทายในยุค 4IR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สานต่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ซึ่งไทยสนับสนุนความร่วมมือในด้านความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคโดยรวม และส่งเสริมการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย ในช่วงท้าย ไทยเน้นย้ำเจตนารมณ์ที่จะร่วมกับทุกประเทศในภูมิภาคในการส่งเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลี พร้อมสนับสนุนกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสันติ และหวังที่จะเห็นการเจรจามีความคืบหน้า บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีเชื่อมั่นว่าการหารือจะนำไปสู่ผลลัพท์ที่เป็นรูปธรรม สาธารณรัฐเกาหลีจะสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านโควิด-19 อีกทั้งจะให้ความช่วยเหลือผ่านความร่วมมือกับสถาบันวัคซีนในเกาหลีใต้ ช่วยเหลือด้านการแจกจ่ายวัคซีนให้ทั่วถึง รวมทั้งการร่วมช่วยรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนให้ประชาชนเดินทางระหว่างกันผ่านระบบ Fast Track ยินดีส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อร่วมกันส่งเสริมการพัฒนา ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ย้ำการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อการเติบโต บนพื้นฐานการค้าเสรี ขอให้มีการดำเนินการอย่างเร็วขึ้นเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน มีการพัฒนาบนพื้นฐานความยั่งยืน สนับสนุนให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยา และแก้ไขประเด็นปัญหาขยะทะเล นายกรัฐมนตรีจีนได้กล่าวถึงความร่วมมือ ASEAN+3 เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาของเศรษฐกิจตะวันออก นายกรัฐมนตรีจีนเสนอให้ 1. ร่วมมือเพิ่มขีดความสามารถด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมโควิด สู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจ จีนพร้อมร่วมมือด้านวัคซีน 2. ต้องพัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจและเขตการค้าเสรี RCEP จะได้มีการลงนามจากทุกภาคส่วนเพื่อบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และการฟื้นฟู 3. อำนวยความสะดวกห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้เศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงและบูรณาการกัน โดยเชื่อมั่นว่าจะต้องส่งเสริมการผลิตที่ปลอดภัย ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจออนไลน์ ที่มีความทั่วถึง MSMEs ให้เข้ามามีส่วนร่วมควบคู่ไปกับเศรษฐกิจออฟไลน์ ตลอดจนการลดอัตราความยากจน การจัดการขยะทะเล และรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่งคั่งควบคู่ไปกับเสถียรภาพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36803
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ฯ 45 ปี
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ฯ 45 ปี ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ฯ 45 ปี ผ่านระบบการประชุมทางไกล วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.15-10.15 น. ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ฯ 45ปี ผ่านระบบการประชุมทางไกล วันเสาร์ที่ 14พฤศจิกายน 2563เวลา 09.15-10.15น. ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมและประเทศสมาชิกอาเซียนขอแสดงความยินดีกับท่านนายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น ที่ได้รับเลือกตั้งอีกวาระหนึ่ง และเชื่อมั่นว่านิวซีแลนด์และอาเซียนจะดำเนินความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น ต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป นิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งในประเทศคู่เจรจาที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียน และมีความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ในระดับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ที่ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งตลอด 45 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด–๑๙ ซึ่งเป็นบททดสอบที่ท้าทายและยากลำบากที่สุดครั้งหนึ่ง แต่ผมเชื่อมั่นว่าอาเซียนและนิวซีแลนด์ จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน ผ่านกรอบความร่วมมือในด้านสาธารณสุขและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งในภาครัฐบาล ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม รวมทั้งจะสามารถร่วมกันฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากกองทุนอาเซียน เพื่อรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 และกลไกอื่นๆ ที่อาเซียนและนิวซีแลนด์มีบทบาทนำ นอกจากนี้ เราควรเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ยืดหยุ่น และยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ เช่น เวชภัณฑ์ ยา วัคซีน อาหาร รวมถึงสินค้าและบริการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในภูมิภาค การลงนามในความตกลง RCEP และการตัดสินใจที่จะเริ่มกระบวนการ เจรจาเพื่อยกระดับความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ในช่วงต้นปี 2564 รวมถึงการดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบความตกลงฯ จะเป็นกลไกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างมีนัยสำคัญ การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ อาทิ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ซึ่งนิวซีแลนด์มีความเชี่ยวชาญ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โอกาสนี้ จึงขอเชิญนิวซีแลนด์ร่วมดำเนินโครงการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จัดตั้งขึ้นในไทยเมื่อปีที่แล้ว เมื่อเรามองไปข้างหน้า การรับรองแผนปฏิบัติการเพื่อการดำเนินความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์จะทำให้ความร่วมมือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตรงกับโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียนและนิวซีแลนด์ มีผลสำเร็จอย่างยั่งยืน ผมเห็นด้วยกับ แนวคิดของชนเผ่าเมารีเรื่อง “ไคติอากิทังก้า” ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนและสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุชนรุ่นหลัง ตามที่นิวซีแลนด์ได้เสนอในวิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำฯ ในการนี้ ไทยจึงขอเน้นย้ำว่า เราควรพลิกวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส โดยการสร้างศักยภาพของภูมิภาคให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว เช่น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามความตกลงปารีส การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน การกำจัดขยะพลาสติกทางทะเล การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เคยมีพระราชดำรัส ว่า “ขาดทุน คือ กำไร” ซึ่งหากเรานำมาอธิบายบริบทของผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-๑๙ ในปัจจุบัน ก็จะเห็นว่า ถึงแม้ไทยและประเทศต่างๆ จะต้องสูญเสีย หรือ “ขาดทุน” รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่ในทางกลับกัน แหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติกลับได้รับการฟื้นฟูและมีความอุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด ทั้งในท้องทะเลที่เกิดจากการลดลงของขยะทะเล อุทยานแห่งชาติ และแหล่งธรรมชาติต่างๆ ซึ่งถือเป็น “กำไร” ที่มีคุณค่า โดยปรากฏการณ์นี้ สะท้อนคำกล่าวที่ว่า ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ ดังนั้น ผมจึงขอเสนอให้ อาเซียนกับนิวซีแลนด์ ริเริ่มความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อสร้างรายได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อคงไว้เป็นมรดกสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป ขอบคุณครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36783
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำความร่วมมือด้านสาธารณสุข การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำความร่วมมือด้านสาธารณสุข การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำความร่วมมือด้านสาธารณสุข การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ วันนี้ (วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563) เวลา 09.15 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-นิวซีแลนด์ ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ฯ 45 ปี ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำและผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนจากทั้ง 10 ประเทศ และนางสาวจาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เข้าร่วมด้วย ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปผลการประชุมดังนี้ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมว่าเป็นการหารือกำหนดแนวทางในการพัฒนาและความร่วมมือในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่เจรจาที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียน ในโอกาสครบรอบ 45 ปีของความสัมพันธ์ พร้อมหารือกับที่ประชุมฯ เรื่องความร่วมมือในมิติต่าง ๆ อาทิ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ด้านนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เน้นย้ำความร่วมมือกับอาเซียน ในฐานะกลุ่มมิตรประเทศที่มีความร่วมมือมายาวนานกว่า 45 ปี และกล่าวถึงการเชื่อมโยงความร่วมมือและเศรษฐกิจนับตั้งแต่อาเซียนและนิวซีแลนด์เป็นหุ้นส่วนกันมา นิวซีแลนด์สนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาค พร้อมเน้นย้ำว่ามิตรภาพกับอาเซียนเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือความท้าทายต่าง ๆ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีกับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ที่ได้รับเลือกตั้งอีกวาระหนึ่ง เชื่อมั่นว่านิวซีแลนด์และอาเซียนจะดำเนินความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นและยั่งยืนต่อไป โดยนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศคู่เจรจาที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียน และประสบความสำเร็จในการดำเนินความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ในระดับประชาชน และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา มาอย่างดีตลอด 45 ปี และแม้ปัจจุบันหลายประเทศกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด–19 แต่ไทยเชื่อมั่นว่าอาเซียนและนิวซีแลนด์จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน ผ่านความร่วมมือในกรอบสาธารณสุขและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งในภาครัฐบาล ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม รวมทั้งจะสามารถร่วมกันฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากกองทุนอาเซียน และกลไกอื่น ๆ ที่อาเซียนและนิวซีแลนด์มีบทบาทนำ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ยืดหยุ่น และยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่าง ๆ อาทิ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ซึ่งนิวซีแลนด์มีความเชี่ยวชาญ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และเชิญชวนนิวซีแลนด์ร่วมดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จัดตั้งขึ้นในไทยเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนแนวคิดของชนเผ่าเมารีเรื่อง “ไคติอากิทังก้า” ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนและสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุชนรุ่นหลัง ตามที่นิวซีแลนด์ได้เสนอในวิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำฯ ไทยเสนอให้ที่ประชุมฯ สร้างศักยภาพของภูมิภาคให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว เช่น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามความตกลงปารีส การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน การกำจัดขยะพลาสติกทางทะเล การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ได้ย้ำว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งเป็นสาขาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด เช่นเดียวกับสาขาอื่นๆ จึงให้ความสำคัญกับการแจกจ่ายวัคซีน การเข้าถึงการป้องกัน และรักษา โดยขอให้ประเทศต่างๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อต่อสู้รับมือกับโควิด-19 นิวซีแลนด์ได้บริจาคเงินเพื่อเข้ากองทุนการพัฒนาวัคซีนและการรักษา การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 โดยจะใช้กลไกห่วงโซ่อุปทานเป็นการขับเคลื่อนการฟื้นฟูสำคัญ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ ต้องปรับให้ทันสมัย เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีต่างๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป้าหมายการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นเรื่องสำคัญ ละทิ้งไม่ได้ สนับสนุนการเสริมสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาค เช่น กรอบ EAS ขอบคุณไทยที่ให้ความสำคัญกับ “ไคติอากิทังก้า” ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นให้ความสำคัญกับประชาชน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36798
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กำชับทุกหน่วยบูรณาการรับมือฝุ่น PM 2.5 ช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 กำชับทุกหน่วยบูรณาการรับมือฝุ่น PM 2.5 ช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 ซึ่งมักจะมีความรุนแรงในช่วงการเปลี่ยนฤดู เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้สำคัญและติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชน โดยได้กำชับให้ทุกหน่วยบูรณาการรับมือ ด้วยการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ เฝ้าระวังสถานการณ์ บังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง เข้มงวดตรวจจับรถควันดำ ควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงาน และลดปริมาณฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง รวมทั้งปรับพฤติกรรมประชาชน เพื่อลดการเผาในที่โล่ง พื้นที่การเกษตร และการเผาขยะในชุมชนหรือเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังกำหนดสถานที่พักชั่วคราว หรือ Safety Zone แจ้งเตือนประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเอง “รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36800
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯพอใจ ”คนละครึ่ง” ประชาชนใช้จ่ายคึกคัก ผู้ค้ารายย่อยได้ประโยชน์ เตรียมขยายเฟส2 เป็นของขวัญปีใหม่
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 นายกฯพอใจ ”คนละครึ่ง” ประชาชนใช้จ่ายคึกคัก ผู้ค้ารายย่อยได้ประโยชน์ เตรียมขยายเฟส2 เป็นของขวัญปีใหม่ นายกฯพอใจ ”คนละครึ่ง” ประชาชนใช้จ่ายคึกคัก ผู้ค้ารายย่อยได้ประโยชน์ เตรียมขยายเฟส2 เป็นของขวัญปีใหม่ นายอนุชาบูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผยพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพอใจผลตอบรับจากประชาชนในโครงการ”คนละครึ่ง”ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นการบริโภคที่บรรลุเป้าหมายตามที่รัฐบาลตั้งใจไว้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19พยุงเศรษฐกิจไทยผ่านการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศช่วยเหลือกลุ่มผู้ค้ารายย่อยโดยเฉพาะหาบเร่แผงลอยร้านโชห่วยร้านขายอาหารและเครื่องดื่มพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดหรือตลาดนัดเป็นต้น ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงการคลังณวันที่13พย. 63มีจำนวนร้านค้าเข้าร่วมโครงการแล้ว648,372ร้านมียอดการใช้จ่ายสะสม13,481ล้านบาทแยกเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายเอง6,869ล้านบาทและส่วนที่รัฐช่วยจ่าย6,612ล้านบาท นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังศึกษาข้อมูลเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเตรียมจัดทำโครงการ“คนละครึ่ง”เฟส2เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและช่วยเหลือกลุ่มผู้ค้ารายย่อยอย่างต่อเนื่องรวมถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์และการเพิ่มวงเงินใช้จ่ายอีกด้วย นายอนุชากล่าวเพิ่มเติมว่า“โครงการ“คนละครึ่ง”นอกจากจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วโครงการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่ช่วยให้ประชาชนได้เกิดการเรียนรู้การใช้แอปพลิเคชั่นทางการเงินทั้งในฝั่งของผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดของไทยในอนาคตอีกทั้งเป็นแนวทางสำคัญในการนำข้อมูลไปพัฒนาระบบNational e-Commerce Platformของประเทศไทยได้อีกด้วย” .................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36788
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนระหว่าง สมาชิกอาเซียนบวกสามกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ไทยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนระหว่าง สมาชิกอาเซียนบวกสามกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก ไทยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนระหว่างสมาชิกอาเซียนบวกสามกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก วันนี้ (วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563) เวลา 15.15 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสามกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก (the East Asia Business Council: EABC) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำ และผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 + 3 และผู้แทนสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกของญี่ปุ่น ไทย และจีน ได้แก่ นาย Nobuhiko Sasaki ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น นายไพรัช บูรพชัยศรี รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นาย Zhang Shaogang รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมด้วย ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปผลการประชุมดังนี้ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามกล่าวว่าเป็นการประชุม เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน ซึ่งรวมถึงสถานการณ์และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ร่วมกับผู้นำภาคเอกชนของอาเซียนบวกสาม โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกที่ได้สนับสนุน ผลักดัน และช่วยสร้างความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนบวกสามให้ดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด–19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบเศรษฐกิจการค้า รัฐบาลไทยเห็นถึงความจำเป็นของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรง ในการช่วยจัดการและแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 ให้ครอบคลุมทุกมิติและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผลสำรวจของสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจและยุทธศาสตร์ดิจิทัลสู่ความปกติใหม่ชี้ให้เห็นว่า ภาคธุรกิจกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับตัวเข้าสู่การดำเนินธุรกิจในยุค New Normal ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับภาครัฐเพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการค้าดิจิทัลให้สอดรับกับกระแสการค้าโลกยุคใหม่ สำหรับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ MSMEs นั้น ไทยขอชื่นชมที่สภาธุรกิจเอเชียตะวันออกที่ได้เผยแพร่ e-Book เรื่อง พิธีการศุลกากรของเอเชียตะวันออก และอยู่ระหว่างจัดทำ e-Book เรื่อง แนวทางการลงทุนในเอเชียตะวันออก โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ MSMEs สามารถดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนบวกสามได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น และทำให้ขยายปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างกันภายในภูมิภาคมากขึ้น ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีรับทราบข้อเสนอแนะของสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกที่เสนอให้ความตกลงสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ครอบคลุมการสำรองสินค้าเกษตรอื่นๆ นอกเหนือจากข้าว โดยเห็นว่าสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกควรหารือกับรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านการเกษตรและป่าไม้เกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ ไทยพร้อมที่สนับสนุน และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนในการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงเสริมสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคให้เข้มแข็ง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36809
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ในการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนบวกสามกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ในการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนบวกสามกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ในการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนบวกสามกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15.15 – 15.45 น. ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯ พณ ฯ ทั้งหลาย และผู้แทนสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกทุกท่าน ผมขอขอบคุณสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกที่ได้สนับสนุน ผลักดัน และช่วยสร้างความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนบวกสามให้ดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด–19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบเศรษฐกิจการค้าอย่างรุนแรง รัฐบาลไทยเห็นถึงความจำเป็นของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง ในการช่วยจัดการและแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนบวกสาม ผมขอขอบคุณภาคเอกชนที่สนับสนุนให้มีการจัดทำความตกลง RCEP ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าจะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจในภูมิภาคมีความเชื่อมโยงที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตลอดจนจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอีกด้วย สำหรับผลสำรวจของสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก เกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจและยุทธศาสตร์ดิจิทัลสู่ความปกติใหม่ ซึ่งสะท้อนถึงความท้าทายที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญ ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับตัวเข้าสู่การดำเนินธุรกิจในยุค New Normal นั้น ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับภาครัฐ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการค้าดิจิทัล ให้สอดรับกับกระแสการค้าโลกยุคใหม่ ในด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ MSMEs นั้น ไทยขอชื่นชมสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก ที่ได้เผยแพร่ e-Book เรื่อง พิธีการศุลกากรของเอเชียตะวันออก และอยู่ระหว่างจัดทำ e-Book เรื่อง แนวทางการลงทุนในเอเชียตะวันออก/ โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ MSMEs สามารถดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนบวกสามได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งการขยายตัวของปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ไทยรับทราบข้อเสนอแนะของสภาธุรกิจเอเชียตะวันออกที่เสนอให้ความตกลงสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ครอบคลุมการสำรองสินค้าเกษตรอื่นๆ นอกเหนือจากข้าว/ โดยเห็นว่าสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก ควรหารือกับรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านการเกษตรและป่าไม้เกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวต่อไป สุดท้ายนี้ ไทยพร้อมที่จะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างเต็มที่ ในการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงเสริมสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคให้เข้มแข็ง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนถาวร ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36811
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก สธ.เผย องค์การอนามัยโลกชื่นชมไทยคุมโควิด 19 ได้ดี แม้ไม่มีวัคซีน
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 โฆษก สธ.เผย องค์การอนามัยโลกชื่นชมไทยคุมโควิด 19 ได้ดี แม้ไม่มีวัคซีน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผยนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญแถลงพิธีปิดการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 73 ขณะที่ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชื่นชมไทยควบคุมโควิด 19 ได้ดี แม้ไม่มีวัคซีน ขอทุกประเทศทำตามแบบอย่าง โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผยนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญแถลงพิธีปิดการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 73 ขณะที่ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชื่นชมไทยควบคุมโควิด 19 ได้ดี แม้ไม่มีวัคซีน ขอทุกประเทศทำตามแบบอย่าง และขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยที่สนับสนุนการสร้างคลังเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพ วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2563) แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญให้กล่าวถ้อยคำแถลงในพิธีปิดการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 73 ซึ่งเป็นการจัดประชุมในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual) ผ่านทางระบบออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 500 คน จากประเทศสมาชิก 194 ประเทศโดยนายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่สนับสนุนประเทศสมาชิกในการตอบโต้โรคโควิด 19 และให้ทุกคนเข้าถึงการตรวจวินิจฉัย ยารักษา และวัคซีนโรคโควิด 19 ผ่านข้อริเริ่ม ACT-Accelerator และกลไก COVAX พร้อมชี้ให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ และเป้าหมาย Triple-billion targets ขององค์การอนามัยโลก คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) การเตรียมความพร้อม ป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพ และการสร้างเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี แพทย์หญิงพรรณประภากล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความร่วมมือกับสำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยในการทบทวนการดำเนินงานตอบโต้โรคโควิด 19 เพื่อถอดบทเรียนและปรับปรุงการดำเนินงานของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ไทยประสบความสำเร็จ คือ การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวของผู้นำโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทยที่มีการลงทุนมานานกว่า 40 ปี และความร่วมมือจากประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคม นอกจากนี้ ยังได้ส่งกำลังใจไปยังทุกประเทศทั่วโลกที่กำลังเผชิญกับโรคโควิด 19 และย้ำว่าไทยพร้อมสนับสนุนประชาคมโลกในการตอบโต้โรคระบาด โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุข และการส่งเสริมให้ยาและวัคซีนโรคโควิด 19 เป็นสินค้าสาธารณะ แพทย์หญิงพรรณประภากล่าวต่อว่า ภายหลังที่นายกรัฐมนตรีกล่าวจบ ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีไทยที่สนับสนุนการทำงานขององค์การอนามัยโลก โดยระบุว่าไทยเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมที่รัฐบาลและสังคมทำงานร่วมกัน ทำให้ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ แม้ยังไม่มีวัคซีน พิสูจน์จากตัวเลขผู้ติดเชื้อในไทยว่า แม้ไทยจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 นอกประเทศจีน แต่ปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 4,000 ราย มีผู้เสียชีวิตเพียง 60 ราย โดยที่มีประชากร 70 ล้านคน และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเมืองใหญ่และมีประชากรในชุมชนเมืองหนาแน่นมากที่สุดในโลก ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ไทยทุ่มเทให้กับการลงทุนโครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข มีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขมากกว่า 1 ล้านคน คอยดูแลสอดส่องระบบสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น และมีบทเรียนการรับมือโรคระบาดในอดีต โดยเฉพาะโรคซาร์สเมื่อปี 2546 "ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ยังเรียกร้องให้ทุกประเทศทำตามแบบอย่างประเทศไทย เพราะไม่มีประเทศไหนที่สามารถพูดได้ว่า เตรียมพร้อมรับมือต่อการระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดีแล้วหรือไม่มีบทเรียนให้เรียนรู้ได้อีกนอกจากนี้ ยังขอบคุณ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่สนับสนุนข้อริเริ่มขององค์การอนามัยโลกในการสร้างคลังเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพ ที่สมาพันธรัฐสวิส เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันตัวอย่างเชื้อ สำหรับพัฒนายาและวัคซีนให้เป็นสินค้าสาธารณะ" แพทย์หญิงพรรณประภากล่าว ************************************* 14 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36807
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยืนยัน สหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่รอบด้านของอาเซียน
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 นายกฯ ยืนยัน สหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่รอบด้านของอาเซียน นายกฯ ยืนยัน สหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่รอบด้านของอาเซียน วันนี้ (วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563) เวลา 08.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 8 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีผู้นำจาก เวียดนาม ลาว ไทย สิงคโปร์ บรูไน และผู้แทนจาก อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย และนายโรเบิร์ต ซี. โอไบรอัน (Robert C. O’Brien) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Security Advisor) เป็นผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวสรุปผลการประชุม ดังนี้ การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ ในอนาคต ขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของความร่วมมือเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน ตลอดจนทบทวนเพื่อต่อยอดความร่วมมือจากการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 นายกรัฐมนตรีเวียดนามชื่นชมบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาค และด้วยความท้าทายที่มากขึ้น ประเทศในภูมิภาคต้องร่วมมือกันมากขึ้นตามหัวข้อหลักของการประชุม แน่นแฟ้นและตอบสนอง เพื่อการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เชื่อมั่นว่าการประชุมจะดำเนินการหารือไปด้วยดี และเป็นปีสำคัญของความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กระทบการพบเจอเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น การเชื่อมห่วงโซ่อุปทานสำหรับโควิด-19 ยังคงจำเป็น ต้องมีความร่วมมือต่อต้านโรคระบาด การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ทั้งความมั่นคงและอาหาร นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การมีการฝึกอบรมสนับสนุนอาชีพ เป็นต้น ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าสหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่รอบด้านของอาเซียน บทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐฯ จะช่วยเสริมสร้างความเป็นแกนกลางและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอาเซียนการสร้างดุลยภาพใหม่ทางยุทธศาสตร์ (new strategic equilibrium) ในอินโด-แปซิฟิก จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจ และการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภูมิภาค นายกรัฐมนตรีเสนอให้ อาเซียนและสหรัฐฯ กระชับความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างอนาคตที่มีเสถียรภาพและความยั่งยืนสำหรับประชาชนใน 3 ประเด็น คือ การส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข สนับสนุนการวิจัยและการผลิต ตลอดจนการเข้าถึงยาและวัคซีนต้านโควิด-19 อย่างเร่งด่วน โดยไทยพร้อมจะเป็นฐาน ในการผลิตยาและวัคซีน เพื่อให้เป็นสินค้าสาธารณะ และไทยพร้อมสนับสนุน โครงการ “อาเซียน-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุขเพื่ออนาคต” การส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และภูมิภาค โดยสหรัฐฯ และอาเซียน เขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 1 และ 5 ของโลก ควรร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานสินค้า เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีในอาเซียน และพัฒนาเมืองอัจฉริยะร่วมกัน รวมทั้งเสริมสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะจากการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนภาคเอกชนของสหรัฐฯ มาร่วมพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลในอาเซียน ซึ่งไทยมีโครงการเพื่อรองรับการเติบโตด้านดิจิทัลที่พร้อมร่วมมือกับสหรัฐฯ อาทิ โครงการ “ASEAN Digital Hub” รวมถึงโครงการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ “Digital Park Thailand” การพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งอาเซียนและสหรัฐฯ ควรร่วมกันพัฒนาทักษะแรงงาน ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ควรมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา ในสาขาอาชีพใหม่ ๆ การพัฒนาทักษะภาษา และการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาผลิตแรงงานที่ทันสมัย และมีทักษะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานโลก ในตอนท้าย ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะสานต่อมิตรภาพและความเป็นหุ้นส่วนสหรัฐ-อาเซียน ให้ดำเนินต่อไปในปีหน้าและต่อ ๆ ไป โดยจะแน่นแฟ้นมากขึ้นทุกด้าน ความร่วมมือสำคัญต่อสันติภาพ ความมั่นคง และประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้ง จะมีความร่วมมือใหม่ ๆ เช่น Task Force ด้านสาธารณสุข และโควิด-19 ลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมากขึ้น เพื่อส่งเสริมแรงงานและบุคลากร ลงทุนเพิ่มขึ้นในด้านโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน ส่งเสริมอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี รวมทั้งปกป้องความเป็นแกนกลางของอาเซียน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36779
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ประจำทุกสองปี ครั้งที่ ๒
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ประจำทุกสองปี ครั้งที่ ๒ ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ประจำทุกสองปี ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๓๐-๑๑.๓๐ น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ประจำทุกสองปี ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๓๐-๑๑.๓๐ น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอร่วมต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรี มอร์ริสัน เข้าร่วมการประชุมในวันนี้ และขอแสดงความยินดีที่อาเซียนและออสเตรเลีย ได้รักษา พลวัตของความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ การรับมือกับประเด็นท้าทายที่เราต้องเผชิญร่วมกันในปัจจุบัน ตลอด ๔๖ ปี ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ของเราเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพ มีความครอบคลุมทุกมิติ และถือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างสมบูรณ์ โดยผมยินดีที่ทราบว่าจะมีการประชุมสุดยอดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป/ ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือในสาขาต่างๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั้งสองฝ่ายมากขึ้น ท่ามกลางบริบทของโควิด-๑๙ เราจำเป็นต้องร่วมมือกัน และยึดมั่นในระบบพหุภาคี เพื่อทำให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤต และฟื้นฟูสังคมให้พัฒนาขึ้นกว่าเดิม การสร้างสมดุลระหว่างการควบคุมโรคกับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งท้าทายที่ทุกประเทศต้องเผชิญ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง/ โดยกลุ่มนักธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตลอดจนขาดทักษะและเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตแบบ New Normal และการรับมือกับวิกฤต ในสถานการณ์เช่นนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และทุกคนสามารถเข้าถึง/ ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลและผลการวิจัยวัคซีนระหว่างผู้เชี่ยวชาญในอาเซียนกับออสเตรเลีย จะช่วยให้เราก้าวข้ามวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้ นอกจากนี้ เราจะต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ เนื่องจากประชาชนจำนวนมากประสบปัญหาตกงานและขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ซึ่งมีต้นทุนทางสังคมน้อยกว่ากลุ่มอื่น แต่เป็นที่น่ายินดีที่เรามีแนวทางรองรับปัญหาดังกล่าวแล้ว คือ การรับรองกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน และแผนงานดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๗ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการวางรากฐานสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างยั่งยืน ผมขอเสนอ ๒ สาขาความร่วมมือ ดังนี้ หนึ่ง การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างครอบคลุม และรองรับการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากร/ รวมถึงการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ผ่านข้อริเริ่มมาตรฐานการค้าดิจิทัลอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๑๕ ข้อริเริ่ม ที่ออสเตรเลียประกาศในช่วงการประชุม สุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ณ นครซิดนีย์ เมื่อปี ๒๕๖๑/ ตลอดจนการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับยุคดิจิทัล ผ่านเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน และการใช้ประโยชน์จากกองทุนเมืองอัจฉริยะอาเซียน-ออสเตรเลีย/ พร้อมกันนี้ ผมขอขอบคุณออสเตรเลียที่มีบทบาทนำ ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านไซเบอร์กับอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง สอง การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือบีซีจี โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีศักยภาพและมีต้นทุนอยู่แล้ว เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ/ เนื่องจากเราเชื่อว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเพิ่มประสิทธิภาพและรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายเดิม พร้อมทั้งเปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ด้วย ในการนี้ ผมขอให้ออสเตรเลีย พิจารณาสนับสนุนความร่วมมือด้าน บีซีจีกับศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งได้ตั้งขึ้นที่กรุงเทพฯ/ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการศึกษาและวิจัย และดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมระหว่างสมาชิกกับภาคีภายนอก สุดท้ายนี้ ผมมั่นใจว่า การที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและสันติภาพ จะช่วยสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟื้นฟูจากโควิด-๑๙ ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน/ ผมจึงหวังว่า อาเซียนและออสเตรเลีย จะช่วยสร้างพลวัตของความร่วมมือ และร่วมกันส่งสัญญาณให้ประเทศต่างๆ ลดความขัดแย้ง และลดการเผชิญหน้า เพื่อให้ทุกประเทศสามารถทุ่มเทสรรพกำลังเพื่อรับมือกับวิกฤตแห่งศตวรรษ และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเข้มแข็ง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของเราได้อย่างแท้จริง ขอบคุณครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36797
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 17 พฤศจิกายน 2563
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 17 พฤศจิกายน 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563) เวลา 09.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง พ.ศ. .... 2. เรื่อง การแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ [ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ความผิดฐานทำให้แท้งลูก) 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ (การแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการในกองบัญชาการตำรวจนครบาล สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) 4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การออกใบรับรอง และการออกใบแทน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. 7. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ รวม 3 ฉบับ 8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองป่าครั่งอำเภอเมืองเชียงใหม่ ตำบลสันปูเลย ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด ตำบลสันกลาง ตำบลต้นเปา ตำบลแม่ปูคา ตำบลสันกำแพง ตำบลร้องวัวแดง และตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลวัดป่า และตำบลหนองไขว่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. .... 10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสุไหงโก - ลก อำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. .... 11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) เศรษฐกิจ - สังคม 12. เรื่อง การเสนอความเห็นการดำเนินการสำหรับทุนหมุนเวียนที่มีผลการประเมินผลการดำเนินงานต่ำกว่าเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนดเป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน 13. เรื่อง การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 14. เรื่อง การเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 และปีบัญชี 2563 15. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน 2563 16. เรื่อง โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชนไทย โดยการจองล่วงหน้า (AstraZeneca) 17. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษในวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษและเลื่อนวันหยุดชดเชตในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม พ.ศ. 2563 ตามมติคณะรัฐมนตรี 18. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2563 19. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563 – 2564 ต่างประเทศ 20. เรื่อง รายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2563 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 21. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 24 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 6 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง 22. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างข้อริเริ่มว่าด้วยการสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน – จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Initiative on Building ASEAN – China Partnership on Digital Economy) 23. เรื่อง ร่างปฏิญญาของประธานของการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก ครั้งที่ 6 (The 6thGHSA Ministerial Meeting) 24. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ว่าด้วยการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล 25. เรื่อง การบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย 13 (Asian Development Fund 13: ADF 13) 26. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 27. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 38 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง 28. เรื่อง ขอความเห็นชอบการรับรองเอกสารJoint Statement of the Eleventh ASEAN Education Ministers Meeting แต่งตั้ง 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 30. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 32. เรื่อง การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง) .............. (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) กฎหมาย 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ให้ยกเลิก 1.1 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนบ้านหนองปรือ - บ้านฉาง พ.ศ. 2558 1.2 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา พ.ศ. 2561 2. กำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยา และตอนบ้านหนองปรือ - บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) เป็นทางหลวงที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวง โดยกำหนดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ใช้จริง ตามประเภทของยานยนตร์ คค. เสนอว่า 1. โดยที่ได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้ 1.1 ได้จัดเก็บค่าธรรมเนียมในระบบเปิดในอัตราเหมาจ่ายขั้นต่ำสำหรับการใช้ยานยนตร์แต่ละประเภทตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 1.2 ต่อมาได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงตามข้อ 1.1) เพิ่มทางเลือกในการชำระค่าธรรมเนียมด้วยวิธีบัตรอัตโนมัติ 1.3 กรมทางหลวงแจ้งว่า ได้ก่อสร้างและปรับปรุงระบบเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงทพมหานคร - เมืองพัทยา แล้วเสร็จ จึงได้ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา พ.ศ. 2558 เพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบังและทางแยกเข้าพัทยา จากเดิมจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราเหมาจ่ายขั้นต่ำสำหรับการใช้ยานยนตร์แต่ละประเภท เป็นจัดเก็บค่าธรรมเนียมในระบบปิดโดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ผู้ใช้ยานยนตร์แต่ละรายที่มีการควบคุมช่องทางเข้าออกได้ใช้ทางจริง เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับเดิม (ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2540 และฉบับที่ 21 พ.ศ. 2555) 1.4 ต่อมาได้ทำการก่อสร้างด่านขาเข้าและด่านขาออกเพิ่มเติมเพื่อให้ระบบครบถ้วนสมบูรณ์ และได้ยกเลิกด่านพานทองที่เป็นด่านขวาง จึงได้ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยนยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา พ.ศ. 2561 เพื่อยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา พ.ศ. 2558 และยังคงมีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน 2. สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงพัทยา – มาบตาพุด คค. ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายพัทยา – มาบตาพุด โดยมีจุดเริ่มต้นของโครงการแยกจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายชลบุรี – พัทยา ที่ทางแยกมาบประชัน ผ่านพื้นที่อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ไปสิ้นสุดที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างและควบคุมงานได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ใช้งบประมาณจากเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางวงเงิน 14,200 ล้านบาท จึงได้ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนบ้านหนองปรือ - บ้านฉาง พ.ศ. 2558 กำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ตอนบ้านหนองปรือ - บ้านฉาง เป็นทางที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เพื่อให้สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมจากบัญชีทุนหมุนเวียนค่าธรรมเนียมผ่านทางของกรมทางหลวงไปชำระค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายพัทยา - มาบตาพุด ได้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางในระบบปิดบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพมหานคร - ชลบุรี และช่วงชลบุรี - พัทยา (1.00 บาท ต่อ 1 กิโลเมตร สำหรับรถ 4 ล้อ 1.60 บาท ต่อ 1 กิโลเมตร สำหรับรถเกิน 6 ล้อขึ้นไป โดยคำนวณจากขาเข้ากรุงเทพมหานคร เริ่มต้นที่อู่ตะเภา – เขาชีโอน - ห้วยใหญ่ สิ้นสุดที่มาบประชัน ขาออกกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นที่มาบประชัน - ห้วยใหญ่ - เขาชีโอน สิ้นสุดที่อู่ตะเภา) 3. เนื่องจาก คค. ได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงพัทยา - มาบตาพุด (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงบ้านหนองปรือถึงบ้านฉาง และทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 บ้านอำเภอ) แล้วเสร็จ และได้เปิดให้บริการเป็นทางสาธารณะแล้ว โดยมีแผนจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมภายในเดือนตุลาคม 2563 กรมทางหลวงได้ออกแบบให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงพัทยา - มาบตาพุด เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายเดียวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา ซึ่งเปิดให้บริการอยู่เดิม และได้กำหนดให้มาบประชันเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการ โดยไม่มีด่านเก็บค่าธรรมเนียมตั้งอยู่ที่มาบประชัน เนื่องจากลักษณะทางกายภาพไม่เหมาะสมเป็นจุดเข้าออก ผู้ใช้ทางสามารถเข้าออกเพื่อใช้โครงข่ายทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ได้ที่ด่านพัทยาและด่านโป่ง ซึ่งมีระยะห่างจากจุดเข้าออกมาบประชัน เพียง 2 - 3 กิโลเมตร ส่วนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมระยะทางประมาณ 149 กิโลเมตร เป็นทางหลวงพิเศษขนาด 2 - 4 ช่องจราจร และเป็นทางหลวงที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผ่านทาง โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมในระบบปิด มีด่านเก็บค่าธรรมเนียมตั้งอยู่ที่ทางเข้าออกทั้งหมดรวม 12 ด่าน ช่วงกรุงเทพฯ – ชลบุรี (ด่านลาดกระบัง บริเวณ กม. 25+400 ด่านบางบ่อ บริเวณ กม. 40+000 ด่านบางปะกง บริเวณ กม. 46+700 ด่านพนัสนิคม บริเวณ กม. 65+328) ช่วงชลบุรี - พัทยา (ด่านบ้านบึงบริเวณ กม. 72+582 ด่านบางพระ บริเวณ กม. 78+800 ด่านหนองขาม บริเวณ กม. 100+075 ด่านโป่ง บริเวณ กม. 117+075 ด่านพัทยา บริเวณ กม. 119+075) ช่วงพัทยา – มาบตาพุด (ด่านห้วยใหญ่ บริเวณ กม. 132+100 ด่านเขาชีโอน บริเวณ กม. 143+100 ด่านอู่ตะเภา บริเวณ กม. 147+050) 4. โดยที่กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนบ้านหนองปรือ - บ้านฉาง พ.ศ. 2558 (ช่วงพัทยา - มาบตาพุด) ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมโดยมีจุดเริ่มต้นขาเข้ากรุงเทพมหานครที่ด่านอู่ตะเภา จุดสิ้นสุดที่ด่านมาบประชัน ขาออกจุดเริ่มต้นที่ด่านมาบประชัน จุดสิ้นสุดที่ด่านอู่ตะเภา แต่ต่อมากรมทางหลวงได้ออกแบบทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงพัทยา - มาบตาพุด ให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายเดียวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา (กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา พ.ศ. 2561) แต่โดยที่ด่านมาบประชันซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการไม่มีด่านเก็บค่าธรรมเนียมตั้งอยู่ จึงสมควรให้ยกเลิกด่านมาบประชัน และรวมกฎกระทรวงทั้งสองฉบับเป็นฉบับเดียวกัน พร้อมทั้งปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวง โดยรวมเป็นบัญชีเดียว ทั้งนี้ การคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้ในการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2558 และกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2561 ดังนี้ ประเภทยานยนตร์ อัตราค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์ หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ใช้จริง - ถ้ามีเศษของค่าธรรมเนียม ไม่เกิน 5 บาท ให้ปัดเศษออก แต่เกิน 5 บาท ไม่ถึง 10 บาท ให้เรียกเก็บเศษนั้นเพียง 5 บาท รถ 4 ล้อ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส โต้ข้ออ้างไทยคมเลี่ยงความรับผิดชอบ กรณีดาวเทียมชำรุดก่อนครบสัญญา
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ดีอีเอส โต้ข้ออ้างไทยคมเลี่ยงความรับผิดชอบ กรณีดาวเทียมชำรุดก่อนครบสัญญา ดีอีเอส โต้ข้ออ้างไทยคมเลี่ยงความรับผิดชอบ กรณีดาวเทียมชำรุดก่อนครบสัญญา ดีอีเอส กางสัญญาสัมปทาน'ไทยคม' ตอบโต้ ข้อกล่าวอ้างของเอกชน ที่พยายามเลี่ยง ไม่รับผิดชอบความเสียหายดาวเทียมไทยคม 5 ชำรุดจนใช้งานไม่ได้ก่อนครบอายุสัญญาสัมปทาน กระทบทั้งผู้ใช้บริการและทำรัฐสูญรายได้ตามข้อสัญญา น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กรณีดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งประสบปัญหาขัดข้องจนต้องปลดระวางก่อนวันครบกำหนดสัญญาสัมปทาน ที่ผ่านมากระทรวงฯ ในฐานะคู่สัญญากับ บมจ. ไทยคม ซึ่งเป็นเอกชนผู้รับสัมปทาน ได้เจรจาให้ บริษัทแสดงความรับผิดชอบเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งกับลูกค้าผู้ใช้บริการ และกับรัฐในฐานะผู้ให้สัมปทาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อยุติร่วมกัน และล่าสุดผู้บริหาร บมจ.ไทยคม ออกมากล่าวอ้างให้ข้อมูลเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน ดังนั้น กระทรวงฯ จำเป็นต้องออกมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อตอบโต้ข้อกล่าวอ้างของเอกชนในประเด็นหลักๆ ดังนี้ การที่ผู้บริหารของไทยคม ระบุว่าได้ดำเนินการตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานครบถ้วนมาตลอดนั้น สัญญาสัมปทานนี้ทำขึ้นเมื่อปี 2534 มีข้อกำหนดชัดเจนให้บริษัทฯ มีหน้าที่จัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยมีดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองซึ่งจัดส่งขึ้นสู่วงโคจรให้ทันใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องกับการสิ้นอายุของดาวเทียมดวงก่อน อีกทั้ง เมื่อถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน บริษัทฯ ต้องส่งมอบทรัพย์สินภายใต้สัญญาฯ คืนให้กระทรวงฯ โดยดาวเทียมต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ ณ ตำแหน่งวงโคจร รวมทั้งสถานีควบคุมดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ทั้งนี้ จากข้อสัญญาข้างต้น ชัดเจนว่าเงื่อนไขสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่จำนวนดาวเทียมที่บริษัทฯ มีการจัดสร้างเพื่อให้บริการ และในวันสิ้นสุดอายุสัญญา ทรัพย์สินในโครงการทั้งหมดที่ต้องส่งมอบให้กับกระทรวงฯ ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานดาวเทียมไทยคม ต้องยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของอายุดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งขึ้นสู่วงโคจรเพื่อให้บริการในปี 2549 นั้น กระทรวงฯ เคยได้รับแจ้งจากบริษัทฯ เมื่อปลายปี 2560 ว่า ดาวเทียมดวงนี้จะหมดอายุทางวิศวกรรมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 เนื่องจากเชื้อเพลิงในระบบขับเคลื่อนจะหมด พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยื่นข้อเสนอขอเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนเพิ่มเติมให้กับดาวเทียมไทยคม 5 และขอแก้อายุสัญญาสัมปทาน “สำหรับข้อเสนอครั้งนั้น กระทรวงฯ เห็นชอบหลักการให้บริษัทฯ เฉพาะในเรื่องคำขอเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนเพิ่มเติมให้กับดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งบริษัทก็ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม 2562” น.ส.อัจฉรินทร์กล่าว อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม 2562 บริษัทฯ ได้แจ้งว่าเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคของระบบแจ้งสถานะของดาวเทียมไทยคม 5 และพยายามทำการแก้ไขแต่ไม่สำเร็จ และได้แจ้งว่าจะต้องปลดระวางดาวเทียมออกจากวงโคจร ซึ่งกระทรวงฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบทางเทคนิค และพบว่าไทยคม 5 เกิดการขัดข้องจริง โดยเกิดจากระบบแจ้งเตือนสถานะบนดาวเทียม (Telemetry) ไม่ส่งสัญญาณลงมา โดยเป็นการเสียแบบเฉียบพลัน ประกอบกับเมื่อปี 2561 บริษัทฯ พบปัญหาอุปกรณ์ Telemetry ตัวที่ 1 ใช้งานไม่ได้ และตัดสินใจใช้งานตัวสำรองแทน ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยไม่เคยแจ้งให้กระทรวงฯ รับทราบ “จากข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่สอดคล้องกับข้ออ้างของ บมจ.ไทยคม ที่ให้ข้อมูลกับสื่อว่า ดาวเทียมไทยคม 5 ชำรุด เพราะหมดอายุวิศวกรรมและใช้งานเกินกว่าอายุที่กำหนด” ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว นอกจากนี้ การที่บริษัทปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นหน้าที่ของบริษัทฯ ที่จะดำเนินการตามข้อปฏิบัติสากล กระทรวงฯ รับทราบว่าต้องดำเนินการแต่ไม่ได้อนุมัติหรือเห็นชอบ และกระทรวงฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการตามข้อกำหนดของสัญญาฯ หลังการปลดระวางด้วย เช่นเดียวกับการปลดระวางดาวเทียมดวงก่อนๆหน้านี้ อีกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานไทยคม ก็คือ ข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีการจัดทำร่วมกันตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทฯ ต้องชำระให้กับกระทรวงฯเป็นร้อยละของรายรับรวมทั้งสิ้นในแต่ละปีก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ โดยเอาจำนวนผลประโยชน์ที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ ดังนั้นข้อมูลที่เอกชนกล่าวอ้าง ถึงตัวเลขที่มีการชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ของดาวเทียมจนถึงปัจจุบัน ว่า เป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงถือเป็นข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อสาธารณชน ที่ไม่ทราบถึงรายละเอียดของสัญญาในประเด็นนี้ **************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36863
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. คว้า 7 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2563
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ธ.ก.ส. คว้า 7 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2563 ธ.ก.ส. ปลื้ม คว้า 7 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2563 จากกระทรวงการคลัง พร้อมขอบคุณลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้สนับสนุนการดำเนินงานของธนาคาร โดยจะนำความภาคภูมิใจนี้มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนงานต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ธ.ก.ส. ปลื้ม คว้า 7 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2563 จากกระทรวงการคลัง ได้แก่ รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่นเกียรติยศ ผู้นำองค์กรดีเด่น การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น การดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่นด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล และการบริการดีเด่น พร้อมขอบคุณลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้สนับสนุนการดำเนินงานของธนาคาร โดยจะนำความภาคภูมิใจนี้มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนงานต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชนที่เข้มแข็ง และความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของประเทศ วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2563) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง โดยมี นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล นายทองลักษณ์ หาญศึก นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข นางปานทิพย์ ศรีพิมล และนางฤชุกร สิริโยธิน กรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ อดีตผู้จัดการ ธ.ก.ส. และนายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการ ธ.ก.ส. เข้ารับรางวัลอันทรงเกียรติ จำนวน 7 รางวัล ได้แก่ รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่นเกียรติยศ รางวัลผู้นำองค์กรดีเด่น รางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น รางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ ประเภทดีเด่น รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล ประเภทเชิดชูเกียรติ และรางวัลบริการดีเด่น ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส. ได้เข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลรัฐวิสาหกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ ธ.ก.ส. ได้ผ่านการพิจารณาและได้รับถึง 7 รางวัล ประกอบด้วย 1) รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่นเกียรติยศ สะท้อนการบริหารจัดการองค์กรภายใต้ความ ท้าทายในสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร โดยยังคงมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนพันธกิจบนพื้นฐานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรฐานสากล เพื่อเป็นองค์กรธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน โดยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท และตอบสนองความต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล ผ่านการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานและมีแนวปฏิบัติในเชิงบูรณาการทั่วทั้งองค์กร ส่งผลให้ ธ.ก.ส. ได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 2) รางวัลผู้นำองค์กรดีเด่น : ผู้นำองค์กรได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะทำให้ ธ.ก.ส. เป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ด้วยการวางรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ยกระดับศักยภาพ ธ.ก.ส. ให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา สร้างโอกาสและสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึงควบคู่กับการให้ความรู้ทางการเงิน ส่งเสริม การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แก้ไขปัญหาความยากจน และสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนที่คำนึงถึงคุณค่าร่วมที่สมดุลในทุก ๆ ด้าน ภายใต้การบริหารจัดการองค์กรที่มั่นคง โปร่งใส และยั่งยืน 3) รางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น : ธ.ก.ส. ให้ความสำคัญในเรื่องของธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีการกำหนดเป็นนโยบาย แนวปฏิบัติ และแนวทางในการดำเนินงานตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยังได้กำหนดช่องทางในการเปิดเผยข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน 4) รางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น : ธ.ก.ส. มุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่เป็นการธนาคารเพื่อพัฒนาชนบทอย่างแท้จริง ร่วมสร้างชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถพึ่งตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกันในชุมชน เพื่อสร้างสังคมเข้มแข็งอย่างยั่งยืน อีกทั้งมุ่งเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ให้กับพนักงาน ผู้บริหาร ฝ่ายจัดการ ตลอดจนคณะกรรมการ ธ.ก.ส. จนเป็นวัฒนธรรมขององค์กรในการใส่ใจความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 5) รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ ประเภทดีเด่น : การดำเนินงานภายใต้แนวคิด การบ่มเพาะ การยกระดับ การต่อยอด ระหว่าง ธ.ก.ส. วว. และ ธสน. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ SMEs เกษตรที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่มูลค่าเกษตร นอกจากจะส่งผลให้ทั้ง 3 หน่วยงานสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่สำคัญ อาทิ ลดความเสี่ยงให้การให้บริการเงินทุน การขยายผลวิทยาศาสตร์และงานวิจัย พร้อมทั้งสามารถสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ ยังทำให้รัฐวิสาหกิจสามารถสร้างคุณค่าในด้านความยั่งยืนในภาคการเกษตรไทย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 6) รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล ประเภทเชิดชูเกียรติ : ธ.ก.ส. ยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นการนำเส้นทางการใช้บริการของลูกค้าและประสบการณ์ของลูกค้ามาออกผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการ ความคาดหวัง โดยนำเทคโนโลยีทางการเงินและเทคโนโลยีทางการเกษตรสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของลูกค้า รวมถึงนำเทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงาน สนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจของธนาคาร อาทิ แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile บัตร Debit Visa Banking Agent เป็นต้น และ 7) รางวัลบริการดีเด่น : ธ.ก.ส. มุ่งมั่นให้ลูกค้าและประชาชนได้รับบริการที่ดีตามสโลแกนที่ว่า “ธ.ก.ส. เป็นมากกว่าธนาคาร” จึงได้กำหนดนโยบาย และทิศทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้น Customer Centric รวมทั้งได้นำมาตรฐานต่าง ๆ อาทิ ISO 9001 และมาตรฐาน GECC มาจัดทำมาตรฐานในการให้บริการ ผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการทำงาน และบุคลากร เพื่อมุ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าและประชาชน จนทำให้ ธ.ก.ส. ได้รับความไว้วางใจมาตลอดระยะเวลากว่า 55 ปี นายสุรชัย กล่าวอีกว่า ธ.ก.ส. ขอขอบคุณเกษตรกรลูกค้าทุกท่านที่ได้ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคารมาโดยตลอด ซึ่งรางวัลแห่งความภาคภูมิใจครั้งนี้ จะเป็นพลังให้ ธ.ก.ส. มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสร้าง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Better Life ชุมชนที่เข้มแข็ง Better Community และ ความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม Better Pride ให้กับเกษตรกรของประเทศต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36867
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“คปภ. – สถาบันนิติวิทยาศาสตร์” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) บูรณาการบทบาทด้านการประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 “คปภ. – สถาบันนิติวิทยาศาสตร์” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) บูรณาการบทบาทด้านการประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์ “คปภ. – สถาบันนิติวิทยาศาสตร์” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) บูรณาการบทบาทด้านการประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์ เปิดมิติใหม่ยกระดับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยของประชาชนอย่างครบวงจร ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (สนว.) ได้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์แก่ประชาชนในด้านประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์เชิงรุก โดยพบสภาพปัญหาของทายาทผู้เสียชีวิตจำนวนมากไม่ทราบสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เสียชีวิตทำประกันภัยไว้ เนื่องจากผู้เอาประกันภัยไม่ได้แจ้งทายาทหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยไว้ หรือผู้เอาประกันภัยอาจเสียชีวิตกะทันหัน ดังนั้น สำนักงาน คปภ. และ สนว. จึงเล็งเห็นการเชื่อมโยงบทบาทด้านการประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาทุกข์และสร้างหลักประกันให้แก่ทายาท ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์ให้ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยถึงมือผู้รับประโยชน์หรือทายาทอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ทั้งสองหน่วยงานยังได้มีการหารือเกี่ยวกับแนวทางที่จะทำให้การประกันภัยดำเนินไปด้วยความยุติธรรม โดยสำนักงาน คปภ. เห็นว่าพยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการสร้างความชัดเจนในคดีประกันภัย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาข้อพิพาทด้านการประกันภัยและการฉ้อฉลประกันภัยได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของสากล ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. โดย ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. และ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โดย พันตำรวจเอกทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (สนว.) จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์ แก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ การให้บริการ การป้องกันการฉ้อฉลประกันภัย และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์แก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ 3 ประการคือ ประการแรก เพื่อคุ้มครองสิทธิตามสัญญาประกันภัยของผู้เสียชีวิตและผู้ที่มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ประการที่สอง เพื่อส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้มีการบริหารงานที่ดี ลดปัญหาข้อพิพาทประกันภัยด้วยพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ซึ่งมีประโยชน์ในการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคอุตสาหกรรม และประการที่ 3 เพื่อให้ทั้งสองหน่วยงานส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์และการประกันภัยเชิงรุกแก่บุคลากรภายใต้การกำกับดูแล ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชน ด้านพันตำรวจเอกทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (สนว.) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง สนว. กับ สำนักงาน คปภ. ในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในการคุ้มครองสิทธิตามสัญญาประกันภัย โดย สนว. จะประชาสัมพันธ์ข้อมูลและวิธีการในการตรวจสอบการทำประกันภัยของผู้เสียชีวิต รวมถึงข้อมูลการประกันภัยต่าง ๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชน ตลอดจนส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย และการให้บริการของสำนักงาน คปภ. แก่บุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทายาทของผู้เสียชีวิต ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชน ตลอดจนให้ความร่วมมือในการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์และดำเนินโครงการหรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย การป้องกันและปราบปรามฉ้อฉลประกันภัย เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ประชาชนจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือในครั้งนี้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน คือ ในกรณีที่ทายาท ครอบครัวผู้เสียชีวิต หรือผู้รับประโยชน์ไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันภัย อาจจะเสียสิทธิในการเรียกร้องเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัทประกันภัย กองทุนประกันชีวิต หรือ กองทุนประกันวินาศภัยได้ ดังนั้น การทำ MOU ในครั้งนี้ จะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ทายาท ครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องได้รับทราบสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัย และสามารถนำเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทันท่วงที อาทิ ช่วยให้มีเงินก้อนสำหรับปลดเปลื้องภาระหนี้สิน ช่วยให้คู่ชีวิตหรือผู้ที่อยู่ในความอุปการะมีเงินเลี้ยงชีพโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่น หรือเป็นทุนการศึกษาให้บุตร เป็นต้น นอกจากนี้ จะเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมประกันภัย สามารถเข้าถึงบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการฉ้อฉลประกันภัย ตลอดจนลดข้อโต้แย้งในด้านประกันภัย เนื่องจากการเข้าถึงพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จะช่วยสร้างความชัดเจนในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัย ในกรณีมีปัญหาข้อพิพาทที่อาจเกี่ยวข้องกับการฉ้อฉลประกันภัยหรือข้อพิพาทด้านประกันภัยต่าง ๆ เช่น การตรวจแอลกอฮอล์ ร่องรอยบาดแผล ลายนิ้วมือ คราบเลือด เส้นผม เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจประกันภัยดำเนินไปได้ด้วยความยุติธรรมและโปร่งใส อันจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจประกันภัยในภาพรวม สำหรับความร่วมมือระหว่างสำนักงาน คปภ. และ สนว. ในระยะแรก จะเป็นการประสานความร่วมมือในรูปแบบประสานงานด้านข้อมูล โดยสำนักงาน คปภ. จะอำนวยความสะดวกในการประสานงานตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของประชาชนที่มารับบริการของ สนว. ตามที่ถูกร้องขอ และมีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางให้ประชาชนรับทราบบทบาท การให้บริการ และแนวทางความร่วมมือของสองหน่วยงาน ส่วนในระยะต่อไปจะมีการยกระดับความร่วมมือทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของสองหน่วยงาน ในรูปแบบ API เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงาน และสามารถค้นหาข้อมูลได้ทันที โดยทั้งสองหน่วยงานจะปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อให้การประสานความร่วมมือเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ สำนักงาน คปภ. และ สนว. จะประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อหารือและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ “ผมเชื่อมั่นว่าความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานที่มีความชำนาญทั้งในด้านประกันภัยและนิติวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้แก่ประชาชนอย่างครบวงจร” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36869
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย ทุกรายเป็นผู้เดินทาง จากต่างประเทศ เข้าเกณฑ์ PUI 1 ราย และเข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด 2 ราย มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,724 ราย หรือคิดเป็นร รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย ทุกรายเป็นผู้เดินทาง จากต่างประเทศ เข้าเกณฑ์ PUI 1 ราย และเข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด 2 ราย มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,724 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 96.03 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 94 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 2.42 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,878 ราย โดยรายละเอียดผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ เป็นชาวต่างชาติ 3 ราย 1 ราย พบจากการคัดกรองที่ด่านท่าเรือ เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค (PUI) เป็นชาย สัญชาติอินเดีย อายุ 20 ปี อาชีพลูกเรือบรรทุกสินค้า เดินทางมาจากประเทศฟิลิปปินส์ เข้ารับการเฝ้าระวังอาการที่โรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี 2 ราย เข้ารับการกักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ทั้งหมดเป็นชาย สัญชาติอังกฤษ อายุ 51 และ 73 ปี เดินทางมาจากสหราชอาณาจักร และต่อเครื่องบินที่เมืองดูไบ ตรวจพบเชื้อ ไม่แสดงอาการ เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลเอกชน โดยค่าใช้จ่ายคิดจากประกันโควิด19 ที่ผู้เข้ารับการกักตัวทำไว้ก่อนเดินทางเข้าประเทศ นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทยขณะนี้ผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งภาครัฐได้มีมาตรการคัดกรอง เฝ้าระวังที่รัดกุม ทั้งในด่านควบคุมโรคท่าอากาศยาน ด่านท่าเรือ และด่านทางบก เพื่อป้องกันนำเชื้อมาแพร่ สู่คนในประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้คัดกรองผู้ที่เดินทางเข้าประเทศแล้ว 152,037 ราย ตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวน 919 ราย นอกจากนี้ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายปกครอง ยังคงเข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังในพื้นที่ 10 จังหวัด ชายแดนเมียนมา ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และด่านสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศมาเลเซีย เนื่องจากยังคงมีการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีช่องทางธรรมชาติที่อาจเกิดการลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายได้ ได้มีการสุ่มตรวจหาเชื้อเชิงรุกตามในพื้นที่แนวชายแดน หากพบผู้ติดเชื้อจะได้นำส่งรักษาตามระบบอย่างทันท่วงที ป้องกันการแพร่เชื้อเป็นวงกว้างในชุมชน นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า แม้ว่าขณะนี้สถานการณ์ในประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก กระทรวงสาธารณสุขยังขอความร่วมมือให้ประชาชนยังคงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวเองต่อไป เช่น การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เว้นระยะห่างเท่าที่จำเป็น ล้างมือบ่อยๆ เลี่ยงสถานที่แออัด และลงทะเบียนเข้าออกสถานที่ผ่าน “ไทยชนะ”ทุกครั้ง เพราะเมื่อหากพบผู้ติดเชื้อ จะง่ายต่อการติดตามผู้สัมผัสเข้าสู่กระบวนการเฝ้าระวังอาการต่อไป ************************************* 17 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36886
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยร่วม 40 ประเทศเอเชียแปซิฟิก วางระบบติดตามความปลอดภัยด้านอาหารมาตรฐานเดียว
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ไทยร่วม 40 ประเทศเอเชียแปซิฟิก วางระบบติดตามความปลอดภัยด้านอาหารมาตรฐานเดียว ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแต่ละปีทั่วโลกป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่มากับอาหารถึง 600 ล้านคน เสียชีวิต 4.2 แสนคน เดินหน้าร่วม 40 กว่าประเทศในเอเชียแปซิฟิกวางระบบติดตามความปลอดภัยอาหารนำเข้าและส่งออกมาตรฐานเดียว ช่วยตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแต่ละปีทั่วโลกป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่มากับอาหารถึง 600 ล้านคน เสียชีวิต 4.2 แสนคน เดินหน้าร่วม 40 กว่าประเทศในเอเชียแปซิฟิกวางระบบติดตามความปลอดภัยอาหารนำเข้าและส่งออกมาตรฐานเดียว ช่วยตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การผลิตถึงบริโภค เพิ่มความมั่นคงด้านอาหารให้แก่ประเทศ วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมความปลอดภัยด้านอาหารระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Regional Food Safety Conference for Asia and the Pacific) ผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ในระบบ Zoom โดยมีนายจอง จิน คิม (Jong Jin Kim ) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เข้าร่วมการประชุมทางออนไลน์ด้วย นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวว่า จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่มากับอาหารประมาณ 600 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตประมาณ 4.2 แสนคนต่อปี เฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีผู้ป่วยถึง 275 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ อาหารถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงต้องมีความปลอดภัยและมีคุณภาพ หากอาหารไม่ปลอดภัยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ยิ่งช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 อาหารปลอดภัยจึงยิ่งมีความสำคัญกว่าที่เคยเป็นมา เนื่องจากช่วยดูแลสุขภาพประชาชนและสร้างความมั่นใจการท่องเที่ยว นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า การประชุมความปลอดภัยด้านอาหารระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เดิมมีกำหนดจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่จากสถานการณ์โรคโควิด 19 ทำให้ต้องเลื่อนการจัดงานออกไปและกำหนดจัดการประชุมรูปแบบเสมือนแทน โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 คือ บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งความปลอดภัยของอาหารจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภค "การประชุมในครั้งนี้มีการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างประเทศระดับสูง และร่วมกันวางระบบเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยของอาหาร ทั้งการนำเข้าและส่งออกให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกกว่า 40 ประเทศ จากเดิมที่แต่ละประเทศมีระบบที่แตกต่างกัน หากระบบนี้สำเร็จจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถตรวจสอบย้อนหลังอาหารที่นำเข้าและส่งออกได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร ช่วยสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร"นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว ************************************* 17 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36887
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจงแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจงแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจงแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ว่า กยท. มีโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ได้แก่ โครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกร การเพิ่มจุดรับซื้อและรวบรวมน้ำยางสด และ โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะ 2 เพื่อลดความเสี่ยงด้านรายได้ ซึ่งราคาประกันที่โครงการกำหนดไว้ คือ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาท/กก. น้ำยางสดราคา 57 บาท/กก. และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาท/กก. ทั้งนี้ เกษตรกรชาวสวนยางต้องขึ้นทะเบียนกับ กยท. ก่อน 15 พฤษภาคม 63 มีสวนยางเปิดกรีดแล้ว อายุยาง 7 ปี ขึ้นไป รายละไม่เกิน 25 ไร่ โดยระยะเวลาประกันรายได้ ตั้งแต่ ตุลาคม 63 – มีนาคม 64 และจะเริ่มจ่ายส่วนต่างให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางได้ประมาณปลายเดือน พ.ย. 63 ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยพยุงราคายางไว้ ให้เกษตรกรสามารถมีรายได้ที่มั่นคงต่อไป .........................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36883
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส เร่งหารือ (ร่าง) แผนปฎิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 3 ปี พ.ศ.2563-2565
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ดีอีเอส เร่งหารือ (ร่าง) แผนปฎิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 3 ปี พ.ศ.2563-2565 ดีอีเอส เร่งหารือ (ร่าง) แผนปฎิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 3 ปี พ.ศ.2563-2565 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารแผนปฏิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 1-2563 โดยมีคณะกรรมการบริหารแผนปฎิบัติราชการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม MDES 1 ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่ประชุมพิจารณาวาระสำคัญ ได้แก่ (ร่าง)แผนปฎิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 3 ปี พ.ศ.2563-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564 ) และประจำปีงบประมาณ 2564 , โครงการสำคัญ (Flagchip Project) ภายใต้แผนปฎิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ,การมอบหมายเจ้าภาพรวบรวมตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย และข้อเสนอโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รวมทั้งหมด 114 โครงการ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ มีความเข้าใจชัดเจนถึงแนวทางการดำเนินตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2565 **************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36881
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส ระดมหน่วยงานในสังกัด “ทีโอที กสท. บจ.ไปรษณีย์” ร่วมกับ กสทช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดทำร่างแผนแม่บทด้านการสื่อสารแห่งชาติ
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ดีอีเอส ระดมหน่วยงานในสังกัด “ทีโอที กสท. บจ.ไปรษณีย์” ร่วมกับ กสทช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดทำร่างแผนแม่บทด้านการสื่อสารแห่งชาติ ดีอีเอส ระดมหน่วยงานในสังกัด “ทีโอที กสท. บจ.ไปรษณีย์” ร่วมกับ กสทช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดทำร่างแผนแม่บทด้านการสื่อสารแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 นายภูเวียง ประคำมินทร์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำร่างแผนแม่บทด้านการสื่อสารแห่งชาติ ซึ่งมีผู้แทนจากสำนักงาน กสทช. บมจ. ทีโอที บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บจ. ไปรษณีย์ไทย เข้ามาร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม Co-Working Space ชั้น 8 สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ช่วยกำหนดยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงการพัฒนาโดยต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และแผนระดับชาติ โดยมีแนวทางและกรอบแผนงาน นำไปสู่การกำหนดนโยบาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาการสื่อสารของประเทศ ทั้ง 3 ด้านให้มีบริการเป็นไปอย่างทั่วถึง เป็นธรรม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสอดรับกับทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสากล อย่างยั่งยืน ตามนิยาม “การสื่อสาร” ขององค์การการค้าโลก The World Trade Organization (WTO) ประกอบด้วย 3 ด้าน คือบริการด้านโทรคมนาคม บริการด้านภาพและเสียง และบริการการส่งพัสดุและไปรษณีย์ ซึ่งการประชุมเชิง ปฏิบัติการนี้ จะร่วมกันกำหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารของประเทศ ให้มีความทันสมัย เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาการสื่อสารของโลก และสามารถบูรณาการด้านการสื่อสาร ในทุกภาคส่วน และมีความยืดหยุ่นสามารถปรับใช้ในการพัฒนาประเทศในทุกสถานการณ์ ****************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36872
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค.มท. เน้นย้ำผู้ว่าฯ 4 จังหวัดชายแดนมาเลเซีย เพิ่มความเข้มงวด สกัดกั้นโควิด-19
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ศบค.มท. เน้นย้ำผู้ว่าฯ 4 จังหวัดชายแดนมาเลเซีย เพิ่มความเข้มงวด สกัดกั้นโควิด-19 ศบค.มท. เน้นย้ำผู้ว่าฯ 4 จังหวัดชายแดนมาเลเซีย เพิ่มความเข้มงวด สกัดกั้นโควิด-19 วันนี้ (17 พ.ย. 63) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศมาเลเซียที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้กระทรวงมหาดไทยกำชับเข้มงวดจังหวัดชายแดนด้านประเทศมาเลเซียในการเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางเข้ามาจากประเทศมาเลเซียในช่วงเวลานี้ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการและประกาศกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เน้นย้ำไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนด้านประเทศมาเลเซีย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา สตูล และสงขลา กำชับเข้มงวดและสั่งการนายอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการและแนวทางปฏิบัติของการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเคร่งครัด พร้อมทั้งเพิ่มความเข้มงวดเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการลักลอบเดินทางเข้าประเทศของบุคคลจากประเทศมาเลเซียอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณชายแดน โดยหากพบกรณีดังกล่าวให้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรการป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และหากพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านจุดผ่านแดนด้านประเทศมาเลเซีย ให้รายงานสถานการณ์และจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ที่สัมผัสกับบุคคลดังกล่าวให้กระทรวงมหาดไทยทราบโดยด่วน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36878
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ส่งทีมติดตามช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 สธ.ส่งทีมติดตามช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ครั้งที่ 2 ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมติดตามช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย จากเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ผู้ประสบภัยยังคงมีความเครียด และกังวลใจ ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลนาดี ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมติดตามช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย จากเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ผู้ประสบภัยยังคงมีความเครียดและกังวลใจ ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลนาดี ติดตามเยี่ยมซ้ำต่อเนื่อง นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการติดตามช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย จากเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม ที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ที่ผ่านมา ว่า เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ได้ส่งทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ เอ็มแคท (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team : MCATT) ออกเยี่ยมและติดตามช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยครั้งที่ 2 ทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 5 บ้านวังมีด หมู่ 6 บ้านวังขอนแดงหมู่ 8 บ้านวังใหม่และหมู่ 10 บ้านทับลานใน จำนวนทั้งหมด 61 ราย พบว่าส่วนใหญ่ผู้ประสบภัยยังคงมีความเครียดและกังวลใจในเรื่องอาคาร สิ่งของที่เสียหาย และรายได้ จำนวน 7 ราย จึงได้จ่ายยาคลายเครียด (Adjustment disorder) ให้แล้วจำนวน 4 ราย โดยให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลนาดี เยี่ยมติดตามอาการเป็นระยะ พบผู้มีประวัติรักษาทางจิตเวช 1 ราย ได้ส่งต่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนาดี นอกจากนี้ได้มอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย จำนวน 57 ชุดอีกด้วย สำหรับทีมที่ออกช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือเอ็มแคท (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team : MCATT) มาจากสำนักงาน​สาธารณสุข​จังหวัด​ปราจีนบุรี ​ร่วมกับ​โรงพยาบาล​จิตเวชสระแก้ว​ราชนครินทร์​ ศูนย์​สุขภาพ​จิต​ที่ 6 ชลบุรี โรงพยาบาล​เจ้าพระยา​อภัย​ภูเบศร​ โรงพยาบาล​นาดี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาดี​ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในอำเภอ​นาดี​ จำนวน 35 คน ************************************* 17 พฤศจิกายน 2563 ******************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36879
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานในพิธีมอบโล่และเกียรติบัตรในงานสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการ "การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ" ประจำปี 2563
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานในพิธีมอบโล่และเกียรติบัตรในงานสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการ "การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ" ประจำปี 2563 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานในพิธีมอบโล่และเกียรติบัตรให้แก่ตัวแทนพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานในพิธีมอบโล่และเกียรติบัตรให้แก่ตัวแทนพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมและเครือข่ายอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีคุณค่าต่อสังคม (Eco Factory Social Value) ในงานสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการ "การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ" ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมี นางวรวรรณ ชิตอรุณ นายจุลพงษ์ ทวีศรี นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสหวัฒน์ โสภา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ โครงการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปีงบประมาณ 2563 ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน โดยได้ดำเนินงาน 4 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการตรวจประเมินระดับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 15 จังหวัด 18 พื้นที่ 2. โครงการยกระดับและพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมตามตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (RECP) และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกันในพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด 3. โครงการยกระดับและพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมตามตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ 2 การส่งเสริม (Enhancement) และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกันในพื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัด และ 4. โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำรวจสถานะปัจจุบันของตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมตามตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36888
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ออมสิน คว้า 5 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ธ.ออมสิน คว้า 5 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563 นายพชร อนันตศิลป์ ประธานกรรมการ พร้อมด้วยนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการ นำทีมผู้บริหารธนาคารออมสิน รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563 นายพชร อนันตศิลป์ ประธานกรรมการธนาคารออมสิน พร้อมด้วยนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน นำทีมผู้บริหารธนาคารออมสิน เข้ารับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “รัฐวิสาหกิจร่วมใจ ไทยปลอดภัยเข้มแข็ง STAY SAFE AND STRONG TOGETHER” โดยมี นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการธนาคารออมสิน นายบุญสน เจนชัยมหกุล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ และนายอิสระ วงศ์รุ่ง รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าบุคคล ร่วมรับรางวัล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 สำหรับการได้รับรางวัลประจำปีนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษที่ธนาคารออมสินสามารถกวาดรางวัลอันทรงเกียรติมาได้มากถึง 5 รางวัล ได้แก่ 1) รางวัลบริหารจัดการองค์กรดีเด่น ในฐานะที่ธนาคารมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินจากการจัดการด้านต่างๆ อาทิ ด้านศักยภาพในการแข่งขัน ด้านการควบคุม และการตรวจสอบภายใน ด้านการบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการสารสนเทศ และการบริหารทรัพยากรบุคคล 2) รางวัลบริการดีเด่น เป็นรางวัลที่สะท้อนบทบาทที่โดดเด่นของธนาคารออมสินในการให้บริการลูกค้าและประชาชน 3) รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล (Digital Transformation Initiative) ประเภทเชิดชูเกียรติ แสดงถึงองค์กรที่มีความโดดเด่น สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาองค์กรในมิติต่างๆ 4) รางวัลเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น ซึ่งมอบให้กับรัฐวิสาหกิจที่มีนโยบาย แนวปฏิบัติ การรายงาน และการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ได้มาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่การกำกับดูแลกิจการที่ดี การต่อต้านการทุจริต และการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในอนาคต และ 5) รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น ด้วยคณะกรรมการธนาคารมีการกำกับดูแลและส่งเสริมการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36868
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จุรินทร์ นำ 3 ประสาน พาณิชย์-เกษตร-ทบ. ผนึกกำลังขับเคลื่อนนโยบาย “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด"
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 จุรินทร์ นำ 3 ประสาน พาณิชย์-เกษตร-ทบ. ผนึกกำลังขับเคลื่อนนโยบาย “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด" กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกองทัพบก โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ประสานความร่วมมือทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ ภาคการเกษตรไทย เพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลกภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในภาคการเกษตร เพราะความมั่นคงด้านอาหารถือเป็นหัวใจสำคัญของทุกประเทศที่ต้องจัดหาอาหารให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน ซึ่งประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรแหล่งใหญ่ของโลก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการกำหนดนโยบายในภาคการเกษตรโดยความร่วมมือของสามฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร โดยวางเป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ภายใต้ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต ซึ่งหน่วยงานขับเคลื่อนหลักในการผลิต ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ และได้เซ็นแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินยุทธศาสตร์ทางด้านนี้ร่วมกันทั้งสองกระทรวงมาแล้ว และวันนี้เป็นโอกาสดีที่ทางกองทัพบกจะได้มาเป็นความร่วมมือทั้งหมดจะเป็นโอกาสของเกษตรกรไทยทั้งเรื่องของการนำรายได้เข้าประเทศและการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจฐานราก นายเฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า ภายใต้แนวคิด “เกษตรทฤษฎีใหม่” เช่น เกษตรปลอดภัย เกษตรนวัตกรรม ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล ส่วนกระทรวงพาณิชย์มีบทบาทในการเชื่อมโยงสินค้ากับตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยมีพาณิชย์จังหวัด รับบทเป็นเซลล์แมนจังหวัด ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงโดยใช้กลไกตลาดต่าง ๆ ทั้งในแบบออนไลน์และออฟไลน์ และตลาดรูปแบบใหม่ ๆ ในลักษณะตลาดไฮบริด ระบบเคาเตอร์เทรด เชื่อมโยงระหว่างภาคความต้องการและ ภาคการผลิต ในขณะที่ทูตพาณิชย์ทั่วโลกเป็นเซลล์แมนประเทศผลักดันสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดโลก โดยมุ่งเน้นการแสวงหาตลาดใหม่ ๆ แต่ยังคงต้องรักษาฐานตลาดเดิม ต่อไปหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรจะใช้ฐานข้อมูลกลางมีระบบการผลิตที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงการค้าเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรในภาคการเกษตรในทุกมิติเพื่อดำเนินการดังกล่าวได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต มีปลัดกระทรวงพาณิชย์และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของการลดต้นทุนการจัดหาเมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ต่างๆ รวมถึงการสื่อสารไปยังภาคการผลิตภาคการค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า กองทัพบกได้เข้ามามีส่วนร่วมที่จะช่วยกันขับเคลื่อนการดำเนินยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตภายใต้นโยบายเกษตรผลิต โดยกองทัพบกจะนำที่ดินว่างเปล่าจำนวนถึง 4.5 ล้านไร่ ภายใต้ความดูแล รวมทั้งกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ มาพัฒนาพื้นที่ เพื่อรองรับการผลิต และการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ เพื่อสนับสนุนภาคการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศตามความต้องการของตลาด รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง Social Media เพื่อสร้างการรับรู้ให้ประชาชน และประชาสัมพันธ์ด้านการตลาดอย่างกว้างขวางและทั่วถึง ผ่านช่องทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานสื่อของกองทัพบกที่สามารถเข้าถึงประชาชนในระดับชุมชนได้เป็นอย่างดี จึงได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกเพื่อขับเคลื่อนต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และพล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ผู้บัญชาการทหารบก ร่วมเป็นสักขีพยาน การทำบันทึกข้อตกลงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างกองทัพบก กระทรวงพาณิชย์ กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตรแบบครบวงจร จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36871
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ททบ. ผนึกกำลังความร่วมมือ ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร ผ่านรายการโทรทัศน์ สร้างการรับรู้ในวงกว้าง
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ททบ. ผนึกกำลังความร่วมมือ ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร ผ่านรายการโทรทัศน์ สร้างการรับรู้ในวงกว้าง กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ททบ. ผนึกกำลังความร่วมมือ ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร ผ่านรายการโทรทัศน์ สร้างการรับรู้ในวงกว้าง กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ททบ. ผนึกกำลังความร่วมมือ ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร ผ่านรายการโทรทัศน์ สร้างการรับรู้ในวงกว้าง นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร และพลโท รังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) ร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตร ผ่านรายการโทรทัศน์ด้านการเกษตรของ ททบ. ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมี พันเอก ภัทรดนัย กาญจนบุรานนท์ ร่วมด้วย นายอานนท์ นนทรีย์ ผู้อำนวยการกองเกษตรสารนิเทศ และ นายจำรัส สว่างสมุทร ผู้อำนวยการใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคารเบญจรังสฤษฏ์ สถานีวิทยุวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตร ในเรื่องของการผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรออกไปสู่เป็นวงกว้าง อีกทั้งช่วยให้เกิดประสิทธิผลและบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมด้านการเกษตรของไทยทั้งภายในประเทศและขยายการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ ททบ. พร้อมปรับผังรายการในปี 2564 เพิ่มรายการที่นำเสนอเนื้อหาด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชน ในเรื่องของการเกษตร อีกทั้งได้สร้างแพลตฟอร์มในการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ จัดทำการตลาดจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านทาง คอลเซ็นเตอร์ และเว็บไซต์ www.ohlalashopping.com ซึ่งเป็นการช่วยผลักดันการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรไปสู่ความสำเร็จและเป็นรูปธรรม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรไทยและสินค้าเกษตรของไทยสามารถไปแข่งขันได้ในระดับโลก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36874
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คุณหญิงกัลยา จับมือ UNICEF ลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งจัดการศึกษาเพื่ออนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 คุณหญิงกัลยา จับมือ UNICEF ลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งจัดการศึกษาเพื่ออนาคตอย่างเป็นรูปธรรม คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมหารือกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ ห้องประชุมจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกัลยา จับมือ UNICEF ลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งจัดการศึกษาเพื่ออนาคตอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมหารือกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ ห้องประชุมจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี Mrs.Séverine Leonardi รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, Ms.Atsuko Okuda ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) และผู้แทนผู้ประสานงานแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (United Nations Resident Coordinator: UNRC) เข้าร่วม ในที่ประชุมได้มีหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการวิจัยเรื่องความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศในการศึกษา ตลอดจนพิจารณารูปแบบกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะ และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี CODING และ STI (Science, Technology and Innovation) อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการยกระดับอุปกรณ์การเชื่อมโยง การรับสาร (Hardware) ด้านเนื้อหา (Software) และการพัฒนาความสามารถของบุคลากรผู้ใช้เครื่องมือดิจิทัล (Peopleware) โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของกระทรวงศึกษาธิการ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือเชิงลึกและกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติงานพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานที่รวดเร็ว ชัดเจน และบูรณาการ เพื่อให้มั่นใจว่าคนไทยจะได้รับการยกระดับทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการดำรงตนและการพัฒนาประเทศต่อไป ขอบคุณข้อมูล: สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: ถ่ายภาพ นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36889
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการจัดหางาน เชิญชวนแรงงานไทยทดสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น เพื่อประกอบการยื่นขอVisa ทำงานสถานะแรงงานมีทักษะเฉพาะ (Specified Skilled Workers)ในประเทศญี่ปุ่น
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 กรมการจัดหางาน เชิญชวนแรงงานไทยทดสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น เพื่อประกอบการยื่นขอVisa ทำงานสถานะแรงงานมีทักษะเฉพาะ (Specified Skilled Workers)ในประเทศญี่ปุ่น นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นเปิดรับสมัครสอบภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น สำหรับแรงงานไทยที่ต้องการจะเดินทางไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยมอบหมายให้ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ (Japan Foundation Bangkok) เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นต่อการสื่อสารและการใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน โดยมีรูปแบบการทดสอบเป็นการเลือกคำตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Based Test :CBT) ซึ่งผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะทราบผลการสอบในทันทีที่ สอบเสร็จ และจะได้รับใบรับรองผลสอบเพื่อเป็นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการตรวจลงตรา (Visa) เพื่อไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นในสถานะแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ (Specified Skilled Workers) ภายใน 5 วันหลังจากการทดสอบโดยสามารถพิมพ์ใบรับรองได้จากระบบ http://ac.prometric-jp.com/testlist/jfe/index.html นายสุชาติ กล่าวว่า กรมการจัดหางานมุ่งหวังส่งเสริมการจัดส่งและการรับแรงงานที่มีทักษะเฉพาะจากประเทศไทยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นอย่างราบรื่น แก้ไขปัญหาในการส่งและการรับแรงงาน ปัญหาของการพำนักอยู่ในญี่ปุ่นของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ ในการนี้ได้แสดงความขอบคุณทางการญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญต่อการรับแรงงานไทยที่มีทักษะเข้าไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และสำหรับแรงงานไทยที่ต้องการจะเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นตามบันทึกความร่วมมือเกี่ยวกับกรอบพื้นฐานเพื่อการจัดระบบและการพำนักของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะที่ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นที่กระทรวงแรงงานได้จัดทำไว้กับกระทรวงยุติธรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น อธิบดีกรมการจัดหางาน ยังกล่าวต่อไปว่า การทดสอบจะเป็นไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Based Test :CBT) ในหัวข้อเกี่ยวกับเนื้อหาและคำศัพท์บทสนทนาและการแสดงความรู้สึก ความเข้าใจจากการฟัง และความเข้าใจจาก การอ่าน ซึ่งหากเทียบกับการสอบเพื่อประเมินความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่น JLPT หรือ Japanese Language Proficiency Test แล้ว จะต้องอยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่า N4 หรือระดับ A2 ของการสอบ JFT – Basic สำหรับผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.doe.go.th/overseas หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โทร. 02-245-6708 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ในวันและเวลาราชการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36892
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“เฉลิมชัย” เดินหน้าช่วยเหลือชาวนา 3 โครงการกว่า 5 หมื่นล้าน
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 “เฉลิมชัย” เดินหน้าช่วยเหลือชาวนา 3 โครงการกว่า 5 หมื่นล้าน “เฉลิมชัย” เดินหน้าช่วยเหลือชาวนา 3 โครงการกว่า5หมื่นล้าน เร่งประสาน “ธกส.” โอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรอบที่ 1 กว่า 8 แสนราย ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงวันนี้ (17พ.ย.) ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อนุมัติโครงการและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 วงเงินรวม 51,858 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการหลัก คือ 1. โครงการประกันรายได้ ปี 2 กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกรเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ตุลาคม 2563 – พฤษภาคม 2564 2. มาตรการคู่ขนานควบคู่กับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 ได้แก่ (1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี (ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 29 กุมภาพันธ์2564) โดยนอกจากเกษตรกรจะได้รับสินเชื่อและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแล้ว เกษตรกรที่มียุ้งฉางจะได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท กรณีสหกรณ์จะได้รับตันละ 1,000 บาท และสมาชิกจะได้รับตันละ 500 บาท (2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ) โดยสหกรณ์เสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 และ (3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2563 -31 มีนาคม 2564 ให้ผู้ประกอบการเก็บข้าวไว้ระยะเวลา 2 - 6 เดือน และจะได้รับชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 จะสามารถดูดซับอุปทานในช่วงที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมากเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 7 ล้านตันข้าวเปลือก จะส่งผลให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณในการชดเชยตามโครงการประกันรายได้ และ 3. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 จะเริ่มเดือน พฤศจิกายน 2563 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ช่วยให้เกษตรกรมีกำลังใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยในช่วงแรกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณของรัฐบาล จะจ่ายเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ในรอบแรกเบื้องต้น อัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ก่อน และในช่วงต่อไปจะได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอ ครม. เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมต่อไปนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และ ธกส. อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรวมทั้งมาตรการคู่ขนานและโครงการอื่น ๆ เป็นไปโดยรวดเร็วและโปร่งใส เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ตลอดจนลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวโดยกลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต2563/64รอบที่ 1 ธกส. รายงานล่าสุดว่า ได้โอนเงินส่วนต่างให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้ว ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 786,380 ราย เป็นเงิน 8,387 ล้านบาท ซึ่งเป็นเกษตรกรชาวนาที่ลงทะเบียนปลูกข้าวชนิดเดียวและจะโอนส่วนที่เหลือให้กับเกษตรกรชาวนาที่ปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 หรืออย่างช้าภายในสัปดาห์นี้ เนื่องจากยังมีเกษตรกรชาวนาที่มีปัญหา 161 ราย ที่มีปัญหาทางบัญชีธนาคารเช่นบัญชีเงินฝากปิดบัญชีไปแล้วหรือบัญชีถูกอายัด ซึ่ง ธกส. จะได้เร่งแก้ไขเพื่อโอนเงินส่วนต่างให้เสร็จสิ้นทุกรายโดยเร็ว ส่วนกรณีที่ ธกส. โอนเงินเกินโอนเงินขาดบางส่วนนั้น ธกส. แจ้งว่าเป็นปัญหาทางเทคนิค ซึ่ง ธกส. จะดำเนินการแก้ไขจ่ายเงินส่วนที่ขาดให้เรียบร้อยอย่าได้กังวล สำหรับจำนวนเกษตรกรชาวนารอบที่ 1 ซึ่งขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ มีจำนวน 839,682 รายซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งข้อมูลให้กับ ธกส. เพื่อโอนเงินส่วนต่าง ทั้งนี้การโอนเงินตามโครงการประกันรายได้ปีที่ 2 รอบที่ 1 เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี 3 พฤศจิกายน 2563 และประกาศคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 รอบที่ 1 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการฯ ความชื้น ข้าวเปลือกแต่ละชนิด ไม่เกิน 15% โดยชดเชยส่วนต่างราคาประกันข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 2,911.17 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,137.45 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 1,222.36 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,066.96 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 2,084.34 บาท จากนั้นจะประกาศราคาอ้างอิงทุก ๆ 7 วัน จนถึงวัน สิ้นสุดโครงการฯ ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดรับเงินส่วนต่าง ถ้าปลูกข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท ข้าวเหนียวจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 34,199 บาท และข้าวหอมมะลิจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาทต่อครัวเรือน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36876
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.ร่วมกับชาวอุตรดิตถ์เชิญเที่ยวงานประเพณีไหลแพไฟ และเทศกาลกินปลา อาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาด ยิ่งใหญ่ 4-5 ธ.ค.นี้ ณ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านหาดสองแคว อุตรดิตถ์
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 วธ.ร่วมกับชาวอุตรดิตถ์เชิญเที่ยวงานประเพณีไหลแพไฟ และเทศกาลกินปลา อาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาด ยิ่งใหญ่ 4-5 ธ.ค.นี้ ณ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านหาดสองแคว อุตรดิตถ์ วธ.ร่วมกับชาวอุตรดิตถ์เชิญเที่ยวงานประเพณีไหลแพไฟ และเทศกาลกินปลา อาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาด ยิ่งใหญ่ 4-5 ธ.ค.นี้ ณ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านหาดสองแคว อุตรดิตถ์ ต่อยอด บวร On Tour สร้างความสุข ความภาคภูมิใจ สร้างรายได้ให้กับประชาชนตามยุทธศาสตร์ชาติ นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายในการยกระดับงานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดงานวัฒนธรรม สร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ จังหวัดอุตรดิตถ์มีพื้นที่ตลอดสองข้างฝั่งแม่น้ำน่าน มีแพกระชังเลี้ยงปลามากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีอาหารพื้นถิ่น ของกินที่มีเอกลักษณ์ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ วธ. ในการต่อยอด 5F(Food Film Fashion Fighting Festival) ปีนี้จังหวัดอุตรดิตถ์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ อาทิ อบต.หาดสองแคว อบจ.อุตรดิตถ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการปกครองจึงได้มีการยกระดับงานประเพณีดังกล่าว เปิดงานประเพณีไหลแพไฟ และเทศกาลกินปลา อาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาด ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563ณ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านหาดสองแคว ซึ่งเป็นชุมชนคุณธรรมฯ ที่มีการต่อยอด บวรOn Tourเป็นหนึ่งใน 100 สุดยอดชุมชนต้นแบบของประเทศไทย โดยมีขบวนไหลแพไฟ พิธีขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำ การแสดงศิลปวัฒนธรรม เทศกาลกินปลาอาหารพื้นบ้านและของกินห้องห้าพลาด ชิม ช้อป แชะ แชร์ ที่ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรมลาวเวียง การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมCPOT/OTOPประกวดภาพถ่าย การละเล่นพื้นบ้าน มหรสพลิเก รำวงย้อนยุค การแสดงแสงสีเสียง อันนำมาซึ่งความสุข ความภาคภูมิใจ สร้างรายได้ให้กับประชาชนตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล ส่งเสริมการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสาน รักษา ต่อยอดงานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งนี้ ประเพณีไหลแพไฟเฉลิมพระเกียรติและพิธีขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำ ได้เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541 ในครั้งนั้นมีเพียงแพรูปจำลองเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เพียงแพเดียว ต่อมาในปี 2542 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา จึงได้กำหนดให้ประเพณีไหลแพไฟเฉลิมพระเกียรติฯ จัดเป็นประจำทุกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี และเป็นงานประเพณีสำคัญตลอดมา จากนั้นได้มีขบวนเรือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยตลอดฝั่งมีประชาชนเข้าร่วมชมความสวยงาม ยิ่งใหญ่อลังการเพิ่มขึ้นทุกปี สร้างความสุข ความภาคภูมิใจ สร้างรายได้ให้กับประชาชนและชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยแพไฟเฉลิมพระเกียรติฯ 7 หลัง ได้แก่ แพหลังที่ 1 เอกองค์อมรินทร์ แพหลังที่ 2 นวมินทร์มหาราช แพหลังที่ 3 ปราชญ์แห่งแผ่นดิน แพหลังที่ 4 อัครศิลปิน แพหลังที่ 5 ภูมินทร์ภัทรราชัน แพหลังที่ 6 คุ้มเกล้าประชาสุขสันต์ แพหลังที่ 7 ราชันแห่งราชา โดยปีนี้ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ขอความร่วมมือผู้ชมงานด้วยวิถีใหม่ (New Normal) สามหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์และเว้นระยะทางสังคม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36875
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการค้าภายในผลกระทบต่อโรงสีข้าวจากการแจ้งข้อมูลประกันราคาข้าวไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 กรมการค้าภายในผลกระทบต่อโรงสีข้าวจากการแจ้งข้อมูลประกันราคาข้าวไม่ตรงตามข้อเท็จจริง กรมการค้าภายในผลกระทบต่อโรงสีข้าวจากการแจ้งข้อมูลประกันราคาข้าวไม่ตรงตามข้อเท็จจริง วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รองอธิบดีกรมการค้าภายใน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของโรงสีกรมการค้าภายในได้เชิญหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในช่วงนี้ที่ผลผลิตข้าวเปลือกฤดูกาลผลิต 2563/64 ออกสู่ตลาดมาก ในขณะนี้ เนื่องจากการชะลอตัวของตลาด ทั้งการบริโภคภายใน และการส่งออกต่างประเทศ จากผลกระทบของสถานการณ์ COVID – 19 ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินพิจารณา ดังนี้ (1) ไม่ปรับลดวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการค้าข้าว ในขณะนี้ เนื่องจากราคาข้าวเปลือกปัจจุบันเป็นราคาตลาดโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิปรับตัวลดลงจากช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสในการแข่งขันกับตลาดโลกได้ การเข้าไปซื้อข้าวเปลือกในขณะนี้จึงมีความเสี่ยงต่ำในการทำตลาดมากกว่าช่วงที่ผ่านมา (2) เพิ่มวงเงินสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ ในการใช้สต๊อกข้าวเป็นหลักประกัน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของมูลค่าสต๊อกข้าวที่ใช้เป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้ประกอบการมีสินทรัพย์อย่างอื่นเป็นหลักประกันร่วมด้วย (3) ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการค้าข้าวตามมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19 ตามนโยบายของรัฐบาล (อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี โดยปลอดดอกเบี้ย 6 เดือนแรก) ซึ่งมีการขยายระยะเวลาโครงการถึง 22 เมษายน 2564 เห็นควรขอกันวงเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยไว้สำหรับผู้ประกอบการค้าข้าว (4)ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการค้าข้าว ซึ่งไม่เป็น NPL ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข (5) ปรับโครงสร้างหนี้ให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวที่มีแนวโน้มประสบปัญหาในการชำระหนี้ ขอความร่วมมือธนาคารแห่งประเทศไทย ประสานทำความเข้าใจกับธนาคารพาณิชย์ในการลดเงื่อนไขการให้สินเชื่อ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) แก่ผู้ประกอบการค้าข้าว เพื่อให้เกิดการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในช่วงนี้ ในอันที่จะรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ทั้งนี้ การพิจารณาแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของสถาบันการเงินจะเป็นไปตามความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจของโรงสีในแต่ละรายเป็นกรณีไป .......................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36884
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิดรับสมัครงานเป็นลูกจ้าง โครงการ “โคก หนอง นา โมเดล”
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เปิดรับสมัครงานเป็นลูกจ้าง โครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลขอเชิญชวนเกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ ผู้ว่างงาน แรงงานที่กลับท้องถิ่น ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการคัดเลือกเข้าปฏิบัติงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่ 73 จังหวัด ยกเว้นจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และสิงห์บุรี จำนวนกว่า 9,000 อัตรา เงินเดือน 9,000 บาท ระยะเวลาการจ้างถึงวันที่ 30 ก.ย. 64 ผู้สนใจสามารถสมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินงาน 575 อำเภอ จนถึงวันที่ 17 พ.ย. 63 ในเวลาราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล “รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36864
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อนุทิน" เผย ครม.เห็นชอบไทยจองซื้อวัคซีนโควิด 26 ล้านโดส ขอคนไทยยังสวมหน้ากากป้องกันโรค
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 "อนุทิน" เผย ครม.เห็นชอบไทยจองซื้อวัคซีนโควิด 26 ล้านโดส ขอคนไทยยังสวมหน้ากากป้องกันโรค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ครม.มีมติเห็นชอบให้ไทยจองซื้อวัคซีนโควิด 19 จากแอสตราเซนเนกาจำนวน 26 ล้านโดส เพื่อให้คนไทย 13 ล้านคนเข้าถึงวัคซีนเป็นประเทศแรกๆ หลังวัคซีนสำเร็จ พร้อมขอทุกคนยังสวมหน้ากาก เพื่อเป็นวัคซีนป้องกันโรค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ครม.มีมติเห็นชอบให้ไทยจองซื้อวัคซีนโควิด 19 จากแอสตราเซนเนกาจำนวน 26 ล้านโดส เพื่อให้คนไทย 13 ล้านคนเข้าถึงวัคซีนเป็นประเทศแรกๆ หลังวัคซีนสำเร็จ พร้อมขอทุกคนยังสวมหน้ากาก เพื่อเป็นวัคซีนป้องกันโรคก่อนที่จะได้วัคซีนมาฉีด หลังพบคนเริ่มการ์ดตก ใส่หน้ากากลดลงจาก 90 กว่าเปอร์เซ็นต์เหลือ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563 ) ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังรณรงค์ให้ประชาชนยกการ์ดสวมหน้ากากป้องกันโรคโควิด 19 ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ มีมติอนุมัติให้ประเทศไทยจองซื้อวัคซีนโควิด 19 จากบริษัทแอสตราเซนเนกา ที่ประเทศไทยมีความร่วมมือในการพัฒนา จำนวน 26 ล้านโดส วงเงิน 6,049,723,117 บาท ครอบคลุมคนไทยร้อยละ 20 ของประชากร หรือ 13 ล้านคน ทำให้คนไทยมั่นใจอีกระดับว่า หากวัคซีนดังกล่าวสำเร็จคนไทยจะมีวัคซีนใช้ทันทีและจะเป็นประเทศลำดับแรกๆ ที่เข้าถึงวัคซีน เนื่องจากหากไม่รีบจองซื้อ พอถึงวันที่วัคซีนสำเร็จก็อาจไม่ได้มาหรืออาจต้องจ่ายในราคาต้นทุนถึงโดสละ 20 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ การจองซื้อจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมาด้วย เพื่อให้ผลิตได้เองภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการขนส่งและความเสียหาย ที่สำคัญวัคซีนที่สำเร็จต้องผ่านกระบวนการรับรองต่างๆ มีความปลอดภัยสำหรับผู้รับวัคซีน นายอนุทินกล่าวอีกว่า ประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ เกิดจากความร่วมมือของประชาชน ซึ่งหากช่วงที่มีการระบาดแล้วคนไทยไม่ร่วมกันใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง คงเกิดการติดเชื้อมากกว่ายอดปัจจุบันที่มี 3,700 กว่าราย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คนไทยเริ่มใส่หน้ากากลดลงจาก 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งการสวมหน้ากากมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดการติดเชื้อ ไม่มี Super Spreader เกิดขึ้น และเป็นที่ยอมรับจากคนทั่วโลก กรมอนามัยจึงต้องจัดกิจกรรมรณรงค์กระตุ้นให้คนกลับมาสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างให้ใกล้เคียงอัตราเดิม เนื่องจากประเทศไทยยังมีความเสี่ยงจากการที่ประเทศต่างๆ ยังมีการติดเชื้อสูง "การใส่หน้ากากถือเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในวันที่วัคซีนโควิด 19 ยังไม่มา และช่วยประเทศชาติอย่างมหาศาล เพราะค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยก็ประมาณเกือบล้านบาทต่อคน ขอให้คนไทยร่วมกันเป็นมือเป็นไม้ ช่วยกันสื่อสารให้คนรอบตัว คนในครอบครัว และเพื่อนฝูง ยังคงสวมหน้ากากกันต่อไป และทำให้เป็นค่านิยม" นายอนุทินกล่าว ************************************ 17 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36891
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Monthly Customs Press 2/2564
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 Monthly Customs Press 2/2564 อธิบดีกรมศุลกากรมีนโยบายให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงนโยบาย โครงการ และประเด็นต่าง ๆ โดยคณะโฆษกกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมดำเนินการแถลงข่าวเป็นประจำทุกเดือน วันนี้ (วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563) เวลา 10.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าว ชั้น 2 อาคาร 1 กรมศุลกากร นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร กล่าวว่า นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงนโยบาย โครงการ และประเด็นต่าง ๆ โดยคณะโฆษกกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมดำเนินการแถลงข่าวเป็นประจำทุกเดือนและสำหรับประเด็นที่น่าสนใจในการแถลงข่าวประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้แก่ (1) ผลการตรวจพบการกระทำความผิดประจำเดือนตุลาคม 2563 (2) กรมศุลกากรเร่งดำเนินการขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่มีความจำเป็นเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (3) กรมศุลกากรเปิดให้ยื่นแบบคำขอต่ออายุล่วงหน้า สำหรับตัวแทนออกของและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ผลการตรวจพบการกระทำความผิดประจำเดือนตุลาคม 2563 ตามที่อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายให้การเร่งรัดปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตร น้ำมัน ยาเสพติด IPRs และสินค้าละเมิดอนุสัญญา CITES โดยสืบสวนหาข่าวและออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตรวจค้นรถบรรทุก โกดัง แหล่งจำหน่าย สถานที่เก็บรักษาที่เชื่อได้ว่ามีของผิดกฎหมายเก็บซุกซ่อนอยู่ อีกทั้งยังมีแผนการป้องกันและปราบปรามสินค้าดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงในการลักลอบนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มีการบูรณาการกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทหาร กอ.รมน. ป.ป.ส. บช.ปส. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สถานทูตต่าง ๆ องค์การตำรวจสากล(Interpol) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration: DEA) เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวระหว่างกัน สำหรับเดือนตุลาคม 2563 กรมศุลกากรตรวจพบการกระทำผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากร จำนวน 1,840 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 164.07 ล้านบาท ผลงานที่น่าสนใจในช่วงเดือนตุลาคม 2563 มีดังนี้ 1.1การจับกุมยาเสพติดให้โทษประเภทเอ็กซ์ตาซี่ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 กรมศุลกากรได้ทำการตรวจสอบพัสดุ ต้องสงสัยซุกซ่อนยาเสพติดมาจากต่างประเทศ ผลการตรวจสอบพบ Ecstasy จำนวน 2,570 เม็ด จากนั้นหน่วย Airport Interdiction Task Force: AITF (ศุลกากร ป.ป.ส. บช.ปส. และ ศรภ.) จึงทำการขยายผล จนกระทั่งวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ได้จับกุมหญิงไทย 2 คน ที่มารับของและทราบว่าได้ถูกว่าจ้างให้เป็นผู้รับของเพื่อส่งต่อไปยังผู้สั่งของที่แท้จริง ผลการตรวจค้น พบ Ecstasy เพิ่มเติมอีก 2,880 เม็ด รวมเป็น 5,450 เม็ด มูลค่าประมาณ 5.4 ล้านบาท ทั้งนี้สถิติการตรวจยึดยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในเดือนตุลาคม 2563 มีจำนวนคดี 19 คดี มูลค่ากว่า 71.73 ล้านบาท 1.2 การจับกุมสินค้าเกษตร - เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 กรมศุลกากรร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลจังหวัดสุรินทร์ ได้ตรวจค้นรถกระบะลักลอบขนเม็ดมะม่วงหิมพานต์ นำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่พบเอกสารหลักฐานการผ่านพิธีการศุลกากรแต่อย่างใด ที่บริเวณถนนโชคชัย- เดชอุดม ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์ น้ำหนักกระสอบละ 25 กิโลกรัม จำนวน 160 กระสอบ น้ำหนักรวม 4,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 600,000 บาท - เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563 กรมศุลกากรได้จับกุมสินค้าประเภทกระเทียม จำนวน 15 กระสอบ และหอมใหญ่ จำนวน 20 กระสอบ น้ำหนักรวม 350 กิโลกรัม ในข้อหาลักลอบหนีศุลกากร นำของต้องห้ามต้องกำกัด หรือของที่ยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจับกุมได้บริเวณโกดังร้างไม่มีเลขที่ ตำบล.สุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นมูลค่า 6,800 บาท ทั้งนี้ สถิติการตรวจยึดสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคม 2563 มีจำนวนคดี ทั้งสิ้น 32 คดี มูลค่ากว่า 2.52 ล้านบาท 1.3 การจับกุมบุหรี่ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 กรมศุลกากรทำการตรวจสอบสินค้า ในเขตปลอดอากรแห่งหนึ่ง พบบุหรี่ละเมิดเครื่องหมายการค้าจำนวน 1,040 กล่อง ถือเป็นการสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยง ข้อห้าม ข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 202, 244 ประกอบมาตรา 252 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พ.ร.บ.การส่งออกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.65 ล้านบาท ทั้งนี้สถิติการจับกุมบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเดือนตุลาคม 2563 ได้แก่ 1. บุหรี่ จำนวน 44 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 4.03 ล้านบาท 2. บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์ จำนวน 12 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 1.78 ล้านบาท 2. กรมศุลกากร เร่งดำเนินการ ขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่มีความจำเป็นเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีมาอย่างต่อเนื่องและ ภาพรวมสถานการณ์ของทั่วโลก ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง คณะรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงในสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีมติเห็นชอบให้มีการขยายมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2563 โดยให้กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่มีความจำเป็นเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านยา เครื่องมือแพทย์ รวมถึงของอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ให้มีการขยายเวลามาตรการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหน้ากากและวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตสินค้าดังกล่าว (ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 19 มีนาคม 2563) จากเดิมมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 19 กันยายน 2563 ให้ขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 2. ให้มีการขยายเวลามาตรการยกเว้นอากรขาเข้าของที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 10 เมษายน 2563) จากเดิมมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 ให้ขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ซึ่งกรมศุลกากรจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้การขยายระยะเวลาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไปทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนโครงสร้างอัตราอากร กองพิกัดอัตราศุลกากร หมายเลขโทรศัพท์ 02-667-6481 หรือ ศูนย์บริการศุลกากร (Customs Care Center) หมายเลข 02-667-6656 หรือสายด่วน 1164 3. กรมศุลกากรเปิดให้ยื่นแบบคำขอต่ออายุล่วงหน้า สำหรับตัวแทนออกของและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ เนื่องจากมีตัวแทนออกของและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของที่จะหมดอายุตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป พร้อม ๆ กัน เป็นจำนวนมาก เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ จึงขอเชิญชวนให้ตัวแทนออกของและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ ที่จะครบกำหนดการอนุญาต ในระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 - เมษายน พ.ศ. 2564 ยื่นแบบคำขอต่ออายุล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนด ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ณ ฝ่ายทะเบียนตัวแทนออกของ ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร ชั้น 1 อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ทั้งนี้ ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร : www.customs.go.th คลิ๊กเพื่อรับชม https://m.facebook.com/customsdepartment.thai/
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36877
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.รณรงค์คนไทยสวมหน้ากากรองรับท่องเที่ยวปลอดภัย
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 สธ.รณรงค์คนไทยสวมหน้ากากรองรับท่องเที่ยวปลอดภัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดกิจกรรมรณรงค์ยกระดับมาตรการสวมหน้ากากป้องกันโรคโควิด 19 รองรับการเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวแบบปลอดภัย หลังพบแนวโน้มการสวมหน้ากากในพื้นที่สนามกีฬา/สวนสาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยวลดลงเหลือเพียง 52- รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดกิจกรรมรณรงค์ยกระดับมาตรการสวมหน้ากากป้องกันโรคโควิด 19 รองรับการเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวแบบปลอดภัย หลังพบแนวโน้มการสวมหน้ากากในพื้นที่สนามกีฬา/สวนสาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยวลดลงเหลือเพียง 52-54 เปอร์เซ็นต์ วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563) ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ยกระดับมาตรการสวมหน้ากากป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) โดยมีนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมพร้อมลงพื้นที่รณรงค์สื่อสารให้ประชาชนภายในบริเวณศูนย์การค้าสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดี จนเป็นที่ยอมรับในระดับโลก จึงได้มีมาตรการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญ คือ การปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขตลอดเวลา ได้แก่ ผู้เดินทางจากต่างประเทศได้รับการตรวจคัดกรอง เฝ้าระวังตามเกณฑ์และแนวทางการป้องกันควบคุมโรคในสถานที่กักกันตามมาตรฐาน การสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และลงทะเบียนไทยชนะเมื่อไปสถานที่ต่างๆ โดยกระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเชื่อมั่นต่อการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานประชาชนปลอดภัย เศรษฐกิจไทยไปรอด นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้การวิจัยวัคซีนโควิด 19 ทั่วโลกมีความคืบหน้าอย่างมาก แต่กว่าจะมีวัคซีนใช้ยังต้องรอเวลาอีกหลายเดือน ช่วงนี้จึงยังต้องคงมาตรการป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนไม่ประมาท การ์ดอย่าตก เนื่องจากประเทศไทยยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดใหม่ได้ โดยเกราะป้องกันโรคโควิด 19 ที่ดีที่สุดตอนนี้ คือ วัคซีน DMHT ได้แก่ D : Social Distancing เว้นระยะห่าง M : Mask Wearing สวมหน้ากาก H : Hand Washing ล้างมือบ่อยๆ และ T : Testing การตรวจเร็ว รักษาเร็ว และควบคุมโรคได้เร็ว เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าจากผลการสำรวจอนามัยโพล เรื่อง พฤติกรรมการป้องกันตัวเองของประชาชนทั่วประเทศนั้น ในช่วงแรกของการระบาดประชาชนสวมหน้ากากเป็นประจำมากกว่าร้อยละ 90 แต่ผลสำรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 สำรวจประชาชนจำนวน 12,842 คน พบว่าประชาชนสวมหน้ากากลดลง โดยสวมหน้ากากเป็นประจำร้อยละ 85 โดยสวมตลอดเวลาในห้างสรรพสินค้ามากที่สุดร้อยละ 77 รองลงมา คือ โรงพยาบาล และร้านสะดวกซื้อ แต่ใน สนามกีฬา/สวนสาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยว (อุทยาน ชายหาด) สวมหน้ากากตลอดเวลาเพียงร้อยละ 52 - 54 เท่านั้น จึงต้องยกระดับมาตรการและแนวปฏิบัติด้านสุขอนามัย เสริมสร้างความรอบรู้ ความตระหนัก และความเข้าใจ ในการดูแลป้องกันตนเองของประชาชน ผู้ประกอบการ ร้านค้า และนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และสร้างกระแสให้คนไทยทุกคนตื่นตัว ตระหนักถึงความสำคัญของการสวมหน้ากาก การเว้นระยะห่าง และการล้างมือ อย่างเคร่งครัด ************************************ 17 พฤศจิกายน 2563 ***********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36890
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ถอดบทเรียนชุมชนเข้มแข็งย่านกะดีจีน เขตธนบุรี เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาสังคม ดูแลคนทุกช่วงวัย ภายใต้แนวคิด บ-ว-ร (บ้าน-วัด-โรงเรียน)
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 พม. ถอดบทเรียนชุมชนเข้มแข็งย่านกะดีจีน เขตธนบุรี เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาสังคม ดูแลคนทุกช่วงวัย ภายใต้แนวคิด บ-ว-ร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) รมว.พม. สั่ง พม. ถอดบทเรียนชุมชนเข้มแข็งย่านกะดีจีน เขตธนบุรี เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาสังคม ดูแลคนทุกช่วงวัย ภายใต้แนวคิด บ-ว-ร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) สั่งการให้กระทรวง พม. ถอดบทเรียนชุมชนต้นแบบย่านกะดีจีน ประกอบด้วย 6 ชุมชน ในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ได้แก่ ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนวัดประยุรวงศ์ ชุมชนวัดบุปผาราม ชุมชนวัดกุฎีขาว และชุมชนโรงคราม โดยวันที่ 16 พ.ย. 63เวลา 15.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะ ได้ร่วมประชุมหารือแนวทางการถอดบทเรียนครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเอื้ออาทร สู่สังคมเข้มแข็ง ของชุมชนย่านกะดีจีน 6 ชุมชน โดยมี ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรุงเทพมหานคร และตัวแทนชุมชน เข้าร่วมประชุม ณ พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เขตธนบุรี กรุงเทพฯ นายอนุกูล กล่าวว่า ชุมชนย่านกะดีจีนดังกล่าว มีวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของชุมชนพึ่งพากันในพหุวัฒนธรรม ซึ่งมี 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ แต่สามารถอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างมีความสุขได้ และมีการดูแลสมาชิกครอบครัวของชุมชนให้มีภูมิคุ้มกันเองในมิติทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และยังเป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการตนเองโดยไม่ทิ้งรากเหง้า วิถีชีวิต และวัฒนธรรมเดิมของชุมชนนำไปสู่สังคมเข้มแข็ง ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการกำหนดแนวทางการถอดบทเรียนชุมชนดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การลงพื้นที่ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ในชุมชน ซึ่งจะเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลประยุกต์ใช้และต่อยอดไปสู่การพัฒนาสังคม ภายใต้แนวคิด บ-ว-ร บ้าน-วัด(ศาสนา)-โรงเรียน (ราชการ) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศนำไปปรับใช้ในพัฒนาสังคม ดูแลคนทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36882
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชวนท่องเที่ยวปลายปี โดยใช้จ่ายผ่านโครงการของรัฐ
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ชวนท่องเที่ยวปลายปี โดยใช้จ่ายผ่านโครงการของรัฐ วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลขอเชิญชวนประชาชนท่องเที่ยวในช่วงปลายปี และใช้จ่ายผ่านโครงการของรัฐ เช่น โครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" รับสิทธิส่วนลดค่าที่พักร้อยละ 40 สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน และคูปองเพื่อใช้เป็นค่าอาหาร ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว สูงสุด 900 บาทต่อวัน รวมทั้งโครงการ “กําลังใจ” ที่รัฐสนับสนุนเงินให้คนละ 2,000 บาท แก่ อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศ 2 วัน 1 คืน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีในโครงการช้อปดีมีคืนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในประเทศ ช่วยให้การท่องเที่ยวคึกคักและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ขับเคลื่อนต่อไป “รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36865
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เกษตรฯ-พาณิชย์ เห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการฯ ร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด"
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เกษตรฯ-พาณิชย์ เห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการฯ ร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" เกษตรฯ-พาณิชย์ เห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการฯ ร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" ภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต โดยมีนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ร่วมเป็นประธาน และผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ ว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รีฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมลงนามในคำสั่งของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ตามวิสัยทัศน์ "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" ภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรไทยไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก โดยในวันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563) คณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตขึ้น 4 คณะ เพื่อให้เกิดกลไกการบูรณาการระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างและใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน (Single Big Data) โดยให้มีอำนาจหน้าที่หลักในการจัดทำระบบ ด้านการผลิตและการตลาดของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ ใช้ข้อมูลจากฐานเดียว และจัดทำข้อมูลให้ตรงกลุ่มผู้ใช้งาน รวมถึงการสร้างความแม่นยำให้กับข้อมูล 2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างแพลตฟอร์มกลาง "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการออกแบบ พัฒนา และจัดทำแพลตฟอร์มกลาง เพื่อการซื้อขายสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรปลอดภัย สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ และสินค้าเกษตรแปรรูป รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้เกิดการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง 3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรไทย และ 4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภันฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด โดยมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผน ออกแบบและพัฒนาตามหลักสูตร รวมถึงขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก เพื่อให้ผลิตสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 ชุด สามารถเรียกหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาให้ข้อมูล หรือเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการฯ รวมถึงสามารถแต่งตั้งคณะทำงานย่อยของตนเองได้ เพื่อให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทภารกิจของคณะอนุกรรมการฯ ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36880
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีผลักดันเทคโนโลยี 5G เพื่อการบริหารยุคใหม่ พร้อมเปิดพื้นที่ให้สตาร์ทอัพ-เยาวชนไทย ใช้ความสามารถร่วมพัฒนาประเทศ
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 นายกรัฐมนตรีผลักดันเทคโนโลยี 5G เพื่อการบริหารยุคใหม่ พร้อมเปิดพื้นที่ให้สตาร์ทอัพ-เยาวชนไทย ใช้ความสามารถร่วมพัฒนาประเทศ นายกรัฐมนตรีผลักดันเทคโนโลยี 5G เพื่อการบริหารยุคใหม่ พร้อมเปิดพื้นที่ให้สตาร์ทอัพ-เยาวชนไทย ใช้ความสามารถร่วมพัฒนาประเทศ วันนี้ (17 พ.ย. 63) เวลา 08.40 น. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงภารกิจก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการนำเสนอผลงานดิจิทัลสตาร์ทอัพ “ยกระดับบริการดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี 5G” ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) โดยมีนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำคณะผู้บริหาร DEPA และสตาร์ทอัพ เสนองานบริการดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นเพื่อรับรองภาคธุรกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยเทคโนโลยี 5G ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ผู้บริหาร DEPA นำเสนอตัวอย่างสตาร์ทอัพที่ DEPA ให้การสนับสนุนคือแพลตฟอร์ม VOOVAM (วู่วาม) ซึ่งเป็นการให้บริการ Virtual Live Streaming ประกอบไปด้วย 6 บริการหลัก ได้แก่ 1) Virtual Live Streaming Event 2) Webinar 3) Virtual Press Conference 4) Virtual Commerce 5) Virtual Learning และ 6) Internal Conferences ว่าเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมสัมมนาและอีเวนท์ต้องนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจด้วยระบบ Virtual Event อาทิ การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ การจัดสัมมนา และแถลงข่าวออนไลน์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ทุกสถานที่ ลดภาระค่ายใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งใช้เทคโนโลยี IoT และ AI ในการนำมาใช้สำหรับระบบพลังงานอาคารอัตโนมัติ แบบออนไลน์ตลอด 24 ชม. สำหรับ โรงพยาบาล โรงแรม อาคารสำนักงาน และโรงงาน เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพระบบพลังงานไฟฟ้า อากาศ น้ำ และสถานะเครื่องจักร ลดค่าใช้จ่ายและสร้างประสิทธิภาพในการควบคุมเครื่องจักร ด้วย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีชื่นชม สตาร์ทอัพไทย ใช้ประโยชน์จากระบบ 5G มาส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ เป็นการบริหารงานที่เท่าทันเทคโนโลยี รัฐบาลก็มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยเช่นเดียวกัน พร้อมกำชับให้ทุกภาคส่วนร่วมสนับสนุน “สตาร์ทอัพไทย” พร้อมเชิญชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วย ................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36870
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-TGI จับมือพันธมิตร TARA , MARA, SIMTec และ EEC Automation Park ร่วมประกาศเจตจำนงสนับสนุนการยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วย Total Smart Solutions ภายในงาน Metalex 2020
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 TGI จับมือพันธมิตร TARA , MARA, SIMTec และ EEC Automation Park ร่วมประกาศเจตจำนงสนับสนุนการยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วย Total Smart Solutions ภายในงาน Metalex 2020 TGI จับมือพันธมิตร TARA , MARA, SIMTec และ EEC Automation Park ร่วมประกาศเจตจำนงสนับสนุนการยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วย Total Smart Solutions ภายในงาน Metalex 2020 วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีประกาศเจตจำนงสนับสนุนการยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วย Total Smart Solutions ภายในงาน Metalex 2020 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงศักยภาพและความร่วมมือ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงนโยบายและการสนับสนุนของกระทรวงอุตสาหกรรมผ่านหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะช่วยสนับสนุนการยกระดับโรงงานเข้าการเป็น Smart Factory ในสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ โดยมีนายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน ร่วมด้วย ณ Robotics Cluster Pavilion ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ ไบเทค บางนา การแสดงเจตจำนงสนับสนุนการยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในครั้งนี้ มีผู้ร่วมแสดงเจตจำนงประกอบด้วย 5 หน่วยงาน จากภาครัฐและเอกชนซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และการยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั้งสิ้น ได้แก่ 1) Center of Robotics Excellence (CoRE) โดยมีสถาบันไทย-เยอรมันเป็นผู้แทน 2) สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) 3) สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 4) สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec) และ 5) EEC Automation Park มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ที่จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในการยกระดับเทคโนโลยีและเตรียมบุคลากรก้าวสู่อุตสาหรรม 4.0 ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36925
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘สุชาติ’ส่งที่ปรึกษาฯ พบเยาวชนชายแดนใต้ร่วมจ้างงานเด็กจบใหม่มีงานทำที่เพชรบุรี เคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ‘สุชาติ’ส่งที่ปรึกษาฯ พบเยาวชนชายแดนใต้ร่วมจ้างงานเด็กจบใหม่มีงานทำที่เพชรบุรี เคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ รัฐมนตรีสุชาติ ชมกลิ่น มอบหมาย ที่ปรึกษาฯ ลงพื้นที่เพชรบุรี เยี่ยมสถานประกอบการ พบปะให้กำลังใจเยาวชนชายแดนใต้ที่เข้าร่วมโครงการ Co – Payment และไทยมีงานทำ สนับสนุนให้คนชายแดนใต้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ เป็นการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ นำมาความมั เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ พบปะพูดคุยและให้กำลังใจผู้จบการศึกษาใหม่ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน (Co- Payment) จำนวน 133 คน แบ่งเป็น โครงการจ้างงานเด็กจบใหม่ 71 คน และโครงการไทยมีงานทำ 54 คน ณ บริษัท แคล – คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย นางวีรยา รัตนนิตย์ ผู้ตรวจราชการกรม กรมการจัดหางาน นางสาวอุดม อ่วมละออ จัดหางานจังหวัดเพชรบุรี คุณจางหมินฮุ้ย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และ นางสาวสุดารัตน์ รัตนแสง ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล บริษัท แคล – คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีงานทำเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 ให้กลับมามีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ และระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเร็ว ซึ่งกระทรวงแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการจ้างงานโดยเฉพาะเยาวชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีงานทำ ในวันนี้ท่านรัฐมนตรีสุชาติ ชมกลิ่น จึงได้มอบหมายให้ดิฉัน ลงพื้นที่มาเยี่ยมชมสถานประกอบการ เพื่อพบปะพูดคุยและให้กำลังใจแก่ผู้จบการศึกษาใหม่ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน (Co- Payment) ซึ่งเยาวชนและประชาชนที่ได้เข้าร่วมโครงการทุกคนต่างรู้สึกดีใจที่ได้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ นางธิวัลรัตน์ กล่าวต่อว่า ความร่วมมือในวันนี้เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สำนักงานจัดหางานจังหวัดเพชรบุรี ได้ประสานไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อนำเยาวชนในพื้นที่เข้าสู่ระบบการมีงานทำผ่านโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและภาคเอกชน (Co – Payment) ซึ่งขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครอยู่ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่ ศอ.บต.ได้เข้ามาอำนวยความสะดวกนำส่งแรงงานไปยังสถานประกอบการต่างๆ ที่มีความต้องการแรงงาน จะช่วยสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ และช่วยให้เยาวชนมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง นำมาซึ่งความสันติสุขในพื้นที่ได้อีกด้วย น.ส.อามีเนาะ นิบาปู อายุ 19 ปี เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ตนทราบข่าวการรับสมัครงานจากเฟสบุ๊ค มีความสนใจที่จะมาทำงานเพื่อหาเงินไว้เรียนต่อ เนื่องจากทางบ้านมีฐานะทางการเงินไม่ค่อยดี รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสมาทำงานที่นี่ ได้รู้จักเพื่อนๆ ได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองชอบ และขอขอบคุณรัฐบาล กระทรวงแรงงาน และ ศอ.บต.ที่ให้การดูแลอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี นายดาราฎอน มะยี อายุ 24 ปี เป็นชาวจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสมาทำงานที่นี่ เมื่อมาเห็นโรงงานก็ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน มีสิ่งอำนวยความสะดวก ขอขอบคุณกระทรวงแรงงานและ ศอ.บต.ที่ช่วยให้เยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ และช่วยดูแลทั้งในเรื่องการเดินทาง อาหาร และที่พัก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36896
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยบูรณาการการขับเคลื่อนงานด้านต่างประเทศ ครั้งที่ 3/2563
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยบูรณาการการขับเคลื่อนงานด้านต่างประเทศ ครั้งที่ 3/2563 นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยบูรณาการการขับเคลื่อนงานด้านต่างประเทศ ณ ห้องชุณหะวัณ กระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563) นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน การประชุมคณะทำงานย่อยบูรณาการการขับเคลื่อนงานด้านต่างประเทศของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องชุณหะวัณ กระทรวงอุตสาหกรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36893
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินประกาศร่วมทุน SAWAD เดินหน้าธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ตั้งเป้าช่วยคนฐานราก ลดภาระดอกเบี้ยเหลือ 18%
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ออมสินประกาศร่วมทุน SAWAD เดินหน้าธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ตั้งเป้าช่วยคนฐานราก ลดภาระดอกเบี้ยเหลือ 18% ธนาคารออมสินประกาศร่วมทุนกับ SAWAD เตรียมทำธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ดอกเบี้ยต่ำ 18% โดยออมสินเข้าถือหุ้นในบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด ในเครือ SAWAD สัดส่วนไม่เกิน 49% วงเงินลงทุนไม่เกิน 1,500 ล้านบาท คาดเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 2564 นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารออมสินได้อนุมัติการร่วมลงทุนกับบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD โดยธนาคารจะเข้าลงทุนในหุ้นสามัญ สัดส่วนไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ในจำนวนเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ซึ่งการร่วมทุนครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถให้ลดต่ำลงสู่ระดับ 18% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดถึง 24% ที่ผ่านมา กระบวนการสรรหาผู้ร่วมลงทุนเริ่มต้นจากการอนุมัติเป็นแผนยุทธศาสตร์ของธนาคาร เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ในการที่จะเข้าสู่ธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสรรหาผู้ร่วมลงทุนในหลายขั้นตอนอย่างโปร่งใส โดยธนาคารได้เชิญบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเข้ายื่นข้อเสนอการร่วมลงทุน และมีผู้ยื่นข้อเสนอ จำนวน 8 ราย และท้ายที่สุดได้คัดเลือกเหลือ 1 รายที่ธนาคารจะร่วมลงทุน คือ บริษัท เงินสดทันใจ จำกัด ทั้งนี้ SAWAD เป็นผู้ดำเนินธุรกิจนอนแบงก์ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถที่มีศักยภาพในการแข่งขัน มีประสบการณ์ในธุรกิจจำนำทะเบียนรถมามากกว่า 40 ปี มีความพร้อมให้บริการประชาชนทั้งที่สาขาและธุรกรรมออนไลน์ ธนาคารจึงมีความเชื่อมั่นว่าการร่วมลงทุนในครั้งนี้ จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการลดดอกเบี้ยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยประชาชนกลุ่มฐานรากสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเงินได้มากขึ้น นางสาวธิดา แก้วบุตตา ผู้ถือหุ้น SAWAD เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเห็นชอบให้ บริษัท เงินสดทันใจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SAWAD ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารออมสินเพื่อดำเนินธุรกิจจำนำทะเบียนรถ สนับสนุนนโยบายภาครัฐ โดยธนาคารออมสินจะเข้ามาถือหุ้นในบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด ในสัดส่วน 49% รวมทั้งให้การสนับสนุนเงินทุนให้กับบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อ โดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแผนงานร่วมกันในการปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ “ความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลดีต่อภาพรวมการดำเนินธุรกิจของ SAWAD ในการขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการเข้าถึงสินเชื่อ โดยในเบื้องต้นจะเน้นกลุ่มลูกค้ารายย่อย เนื่องจากมองว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีความต้องการสินเชื่อสูงและมีจำนวนมาก โดยจะใช้สาขาของ SAWAD ที่มีอยู่เกือบ 5,000 สาขาทั่วประเทศ และของธนาคารออมสิน 1,060 สาขา เป็นช่องทางการให้บริการ” นางสาวธิดา กล่าว https://www.gsb.or.th/news/gsbpr-sawad/
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36897
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-องคมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 องคมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส องคมนตรี ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส เป็นต้นโรงพยาบาลชุมชน Smart Hospital มีระบบนัดหมายออนไลน์ผู้ป่วยนอก ใช้ AI ในห้องบัตรและชำระเงิน ลดเวลารอคอยจาก 34 นาที เหลือ 21 นาที วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) ที่โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรีในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล พร้อมด้วยนายแพทย์สมชัย อัศวสุดสาคร สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 12 และคณะ ตรวจเยี่ยมและให้กำลังเจ้าหน้าที่และติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย นายแพทย์สมชัย อัศวสุดสาคร สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ในมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล ได้ปรับระบบบริการแบบ New Normal รองรับสถานการณ์โรคโควิด 19 บริเวณพื้นที่ชายแดน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จัดการคัดกรองเชิงรุก มีการจัดตั้ง Local Quarantine และติดตามต่อเนื่องด้วยโปรแกรม Y-Tract รวมถึงยังได้รับมอบหุ่นยนต์ HAPY Bot เป็นหุ่นยนต์ที่ช่วยลดการสัมผัสผู้ป่วย ช่วยลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ต่อโรคโควิด 19 สั่งการควบคุมหุ่นยนต์ผ่านแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือการสแกนคิวอาร์โคดด้วยระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทำหน้าที่รับส่งยาหรือครุภัณฑ์ จากอาคารผู้ป่วยนอกถึงอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน นายแพทย์สมชัยกล่าวว่า นอกจากนี้ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ยังเป็นโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบ Smart Hospital โดยพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอก (OPD) ด้วยระบบการนัดคิวออนไลน์ การใช้บัตรประชาชนแทนบัตรโรงพยาบาลในการมารับบริการ ติดตั้งจอแสดงลำดับคิวและเรียกผู้รับบริการ เพิ่มระบบ AI มาใช้บริการ เช่น KIOS ห้องบัตรที่ใช้ระบบจดจำใบหน้า KIOS ชำระเงินทำหน้าที่แทนพนักงานการเงินในการออกใบเสร็จและรับชำระค่าบริการ ทำให้ลดระยะเวลารอคอยการให้บริการจากเดิม 34 นาที ในปี 2561 เหลือเพียง 21 นาที ในปี 2562 สำหรับการให้บริการผู้ป่วยใน (IPD) ใช้ระบบ Digital Chart แทนการบันทึกด้วยกระดาษ ติดตามผล LAB X-Ray และสั่งการรักษาโดย IPAD รวมทั้งการทำงานแบ็กออฟฟิศ เช่น การเข้าทำงานและการขออนุมัติต่างๆ ที่ใช้สมาร์ทโฟนแทนกระดาษ นอกจากนี้ ยังเป็นโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ Green & Clean Hospitalมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นต้นแบบการดำเนินงานครัวโรงพยาบาลสู่ครัวโรงเรียนและครัวสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับรองมาตรฐานฮาลาล ทั้งนี้ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูลให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โดยได้รับพระราชทานรถโมบายเคลื่อนที่สำหรับออกหน่วย ทันตกรรมเคลื่อนที่และบริการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน ทั้งทันตกรรม คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และได้รับพระราชทานเครื่องรับสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิทัล ชนิดชุดรับภาพแฟลตพาเนลไร้สาย ที่มีความแม่นยำ ส่งผลให้วินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพิ่มการเข้าถึงผู้รับบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้อย่างประสิทธิภาพ ประมวลผลด้วย AI เชื่อมต่อระบบ Smart hospital พฤศจิกายน 6/1 ************************************* 18 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36912
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-YMID ผนึก 6 องค์กรลงนามฯ ร่วมพัฒนาระบบจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี หนุนการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 YMID ผนึก 6 องค์กรลงนามฯ ร่วมพัฒนาระบบจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี หนุนการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ YMID ผนึก 6 องค์กรลงนามฯ ร่วมพัฒนาระบบจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี หนุนการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เครือข่ายย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District : YMID) จัดพิธี “การลงนามบันทึกความร่วมมือคณะกรรมการร่วมพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Joint IRB YMID : Multicenter Medical Innovation Clinical Trial)” ในวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ชั้น M สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ โดยผนึกพลัง 6 องค์กร กรมการแพทย์, กรมแพทย์ทหารบก, มหาวิทยาลัยมหิดล, เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ลงนามร่วมกันภายในเครือข่ายย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี มุ่งสร้างต้นแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อนวัตกรรมการแพทย์ของประเทศ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี กล่าวว่า “พื้นที่่บริเวณถนนโยธี ราชวิถี พญาไท พระรามหก และ ศรีอยุธยา มีโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ทั้งภาครัฐและเอกชน เกือบ 20 แห่ง ซึ่งมีขีดความสามารถสูงมากในการให้บริการสุขภาพระดับสูง และการวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ การรวมพลังทางสังคมและปัญญาขององค์กรเหล่านี้ จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถและนำไปสู่การใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งมีการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และมีโอกาสในการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมด้านนี้ด้วย รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาย่านนี้ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และนวัตกรรมทางการแพทย์ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 2 กระทรวง คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้านด้วยกัน คือ 1. การพัฒนานโยบายแนวทางการสนับสนุน การส่งเสริมงานวิจัย นวัตกรรมภายในย่านให้เกิดการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง 2. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการย่านเพื่อให้เกิดกลไก การเชื่อมโยง และระบบนิเวศที่เหมาะสมต่อการลงทุนและการให้บริการด้านการแพทย์ภายในย่าน 3. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวิจัยและปรับปรุงการบริการภายในย่าน และ 4. การพัฒนาพื้นที่ให้มีความสะดวกและเหมาะสมต่อการลงทุน และการบริการด้าน การแพทย์ภายในย่าน” การวิจัยทางคลินิก เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่านวัตกรรมนั้นได้ผลและปลอดภัยเพื่อความรวดเร็วและมีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล การวิจัยทางคลินิกจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันเป็นสหสถาบันซึ่งย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากทุกองค์กรในย่านมีระบบการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่แตกต่างกัน ทำให้การรับรองโครงการวิจัยสหสถาบัน เกิดความล่าช้าติดขัดไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว และมีมาตรฐานระดับสากล ดั้งนั้น คณะกรรมการย่านฯ จึงได้มีมติเห็นชอบให้พัฒนากลไกการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภายในย่าน ทั้งในเรื่องการวิจัยทางคลินิกสหสถาบัน และการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบัน และได้ดำเนินพัฒนาระบบจนแล้วเสร็จ พร้อมทดลองใช้ในการทำงานร่วมกันได้แล้ว จึงจัดพิธี “การลงนามบันทึกความร่วมมือคณะกรรมการร่วมพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Joint IRB YMID : Multicenter Medical Innovation Clinical Trial)” ในวันนี้ (16 พฤศจิกายน 2563) ณ ห้องประชุมสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พิธีลงนามฯ ดังกล่าวนั้นประกอบด้วย 6 องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการแพทย์, กรมแพทย์ทหารบก, มหาวิทยาลัยมหิดล} เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล มีคณะการศึกษาอยู่ภายในย่านฯ ประมาณ 6 คณะ ซึ่งมีหน่วยบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลโรคเขตร้อน และสถานบริการคณะทันตแพทย์ เรามีงานวิจัยทางคลินิกเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์จำนวนมาก หากมีการปลดล็อกด้านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จะทำให้การทำงานในลักษณะสหสถาบันเป็นไปได้โดยง่าย ทุกองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมในการสนับสนุนและผลักดัน กระบวนการดำเนินงานดังกล่าวให้เกิดผลและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเต็มที่” นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า “กรมการแพทย์เป็นกรมวิชาการมีพันธกิจในการสร้าง ถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่สมคุณค่า เสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางวิชาการและบริการทางการแพทย์ในทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาการแพทย์ของประเทศสู่มาตรฐานสากล ซึ่งกรมการแพทย์มีหน่วยงานภายใต้สังกัดที่อยู่ภายในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีหลาย 7 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันประสาทวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันพยาธิวิทยา โรงพยาบาลสงฆ์ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้ดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการแพทย์อย่างต่อเนื่อง การปลดล็อก กระบวนการพิจารณาจริยธรรมฯ ร่วมกันของหน่วยงานในย่านถือเป็นอีกหนึ่งก้าวของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในกรมการแพทย์ และหน่วยงานอื่นๆ ภายใต้ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ซึ่งจะเป็นการผนึกกำลัง เพิ่มศักยภาพ และความเข้มแข็งภายในย่านฯ ที่จะช่วยผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์ให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ กรมการแพทย์จึงให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อขจัดอุปสรรคที่เคยเกิดขึ้นให้หมดไปให้ได้” พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล กรมแพทย์ทหารบก ยังกล่าวอีกว่า “ความร่วมมือคณะกรรมการร่วมพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี เป็นก้าวแรกของการทำงานข้ามหน่วยงานและสถาบันอย่างแท้จริง และในฐานะที่ กรมแพทย์ทหารบก สังกัดกองทัพบก เป็นหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ภายในย่านฯ และมีการพัฒนางานนวัตกรรมและวิจัยทางการแพทย์อย่างสม่ำเสมอนั้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากเราสามารถขยายงานวิจัยทางคลินิกไปยังสถาบันอื่นๆ ภายในย่านฯ และนอกจากนี้ภายในย่านฯ ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ทำการวิจัยและไม่มีคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ก็จะสามารถมาใช้ประโยชน์จากการดำเนินงานในครั้งนี้ด้วย” ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “ความร่วมมือคณะกรรมการร่วมพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Joint IRB YMID : Multicenter Medical Innovation Clinical Trial) นี้ ถือเป็นหนึ่งในงานสำคัญของการดำเนินงานในรูปแบบ YMID Platform ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายในย่านฯ เป็นอย่างดี และมีรูปแบบการทำงานที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านการพัฒนานโยบายแนวทางการสนับสนุน การส่งเสริมงานวิจัย นวัตกรรมภายในย่านให้เกิดการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงาน บุคลากรทางการแพทย์และนักวิจัยภายในย่าน ให้สามารถยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือในคนได้รวดเร็วอย่างมีมาตรฐาน และฐานะที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS เป็นหนึ่งในหน่วยความร่วมมือ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานดังกล่าวนี้ จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ส่งเสริมให้เกิดผลงานวิจัยภายในย่านสามรถพัฒนาต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งขยายขอบเขตความร่วมมือไปสู่ระดับประเทศได้” ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “สนช. พร้อมสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการดำเนินการพัฒนาการวิจัยภายในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี เพื่อให้มีศักยภาพในการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา DeepTech ทางด้านชีวการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการอย่างมากในวงการการแพทย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ 5 ปีแรก จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยที่มีศักยภาพสูง สอดคล้องกับมาตรการและนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ ระยะ 10 ปี จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเชิงกายภาพให้กับพื้นที่เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและทดลองนวัตกรรม การสร้างโครงข่ายสัญจรเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานภายในพื้นที่อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และระยะ 20 ปี จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเชิงกายภาพรองรับและสนับสนุน” นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล กล่าวว่า “เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งเดียวภายในเครือข่ายย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี เรามีการจัดตั้ง Center of Private Research and Innovation Accelerator (CPRIA) ซึ่งมีภารกิจหลัก ในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ กระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในทุกๆกระบวนการของการดำเนินการของโรงพยาบาล เพื่อให้ขั้นตอนของการวิจัยเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน เราจึงจัดตั้ง IRB ของเครือโรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลเปาโล ขึ้นด้วย การเข้าร่วมเครือข่ายและจัดทำโครงการ Joint IRB YMID นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนางานวิจัยทางการแพทย์ของในเครือที่จะสามารถขยายการทำงาน และเร่งการพัฒนางานที่ดีร่วมกับหน่วยงานภายในย่านต่อไป และหวังว่า Joint IRB YMID Model จะสามารถขยายผลและก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงการพัฒนางานนวัตกรรมทางการแพทย์ของประเทศต่อไป”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36915
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรรพากรเปิดระบบใหม่ให้ผู้เสียภาษีชาวต่างชาติขอข้อมูลการเสียภาษีเพื่อต่อ VISA ได้สะดวกยิ่งขึ้น
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 สรรพากรเปิดระบบใหม่ให้ผู้เสียภาษีชาวต่างชาติขอข้อมูลการเสียภาษีเพื่อต่อ VISA ได้สะดวกยิ่งขึ้น กรมสรรพากรเปิดระบบใหม่ให้บริการกับผู้เสียภาษีชาวต่างชาติ เพียงคลิกยินยอมให้ส่งข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองช่วยให้การขอต่อวีซ่าทำงานในประเทศไทย สะดวก ปลอดภัยและช่วยลดค่าใช้จ่าย กรมสรรพากรเปิดระบบใหม่ให้บริการกับผู้เสียภาษีชาวต่างชาติ เพียงคลิกยินยอมให้ส่งข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ช่วยให้การขอต่อวีซ่าทำงานในประเทศไทย สะดวก ปลอดภัยและช่วยลดค่าใช้จ่าย ใช้บริการได้ที่ www.rd.go.th เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “กรมสรรพากรเปิดให้บริการระบบเชื่อมโยงการส่งข้อมูลของผู้เสียภาษีชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยให้กับ สตม. เพียงผู้เสียภาษีแจ้งให้ความยินยอมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากรจะส่งข้อมูลที่ให้ความยินยอมให้แก่ สตม. ได้แก่ แบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.พ.30 เพื่อใช้ในการขอต่อวีซ่าและการขออนุญาต อยู่ต่อของคนต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการต้องเป็นผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หัวข้อบริการอิเล็กทรอนิกส์ และเลือกระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมสรรพากรและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อผู้เสียภาษีเลือกรายการครบถ้วน และได้บันทึกรายการยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล Consent Form ระบบจะสร้าง Consent ID ให้ ๒ รูปแบบ คือ แบบ PDF หรือแบบรูปภาพ พร้อมข้อความแจ้งให้ไปยื่นความประสงค์ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ภายในกำหนดเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ผู้เสียภาษียื่นแสดงความยินยอม ช่วยให้ผู้เสียภาษีชาวต่างชาติสามารถทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยไม่ต้องเดินทางมาขอคัดข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีที่หน่วยงานสรรพากร เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป” โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ระบบแจ้งให้ความยินยอมส่งข้อมูล สามารถขอข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตย้อนหลังได้ 2 ปี นับจากปีปัจจุบัน ช่วยให้ผู้เสียภาษีชาวต่างชาติได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการขอต่อวีซ่าทำงานในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น” สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 หรือที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ กรมสรรพากร สำนักงานเลขานุการกรม โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324 หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36913
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ. กล่าวบรรยายในหัวข้อ “Global Transformation in Age of Pandemic New Normal and Role of Civic Sector for Nation-Building”
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ผู้ช่วยรมว.วธ. กล่าวบรรยายในหัวข้อ “Global Transformation in Age of Pandemic New Normal and Role of Civic Sector for Nation-Building” ผู้ช่วยรมว.วธ. กล่าวบรรยายในหัวข้อ “Global Transformation in Age of Pandemic New Normal and Role of Civic Sector for Nation-Building” วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวบรรยายในหัวข้อ “Global Transformation in Age of Pandemic New Normal and Role of Civic Sector for Nation-Building” ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Nation-Building 2020 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม นักวิชาการจากประเทศต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วม ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36926
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ห่วงสุขภาพประชาชน เที่ยวปลอดภัยวันหยุดยาว 19 – 22 พ.ย. นี้
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 สธ.ห่วงสุขภาพประชาชน เที่ยวปลอดภัยวันหยุดยาว 19 – 22 พ.ย. นี้ โฆษกกระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วงสุขภาพประชาชนช่วงวันหยุดยาว หากท่องเที่ยวภูเขาสูง ยอดดอย ที่มีอากาศหนาว ให้รักษาความอบอุ่นร่างกายระวังพิเศษในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ย้ำมาตรการป้องกันโควิด 19 สวมหน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ เลี่ยงที่แออัด ยังมีความจำเป็น เพื่อท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน นี้ เป็นวันหยุดยาว คาดว่ามีประชาชนออกเดินทางท่องเที่ยวในต่างจังหวัดจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขาสูง ยอดดอย หรือสถานที่มีอากาศหนาวเย็นแนะนำควรเตรียมและสวมเสื้อผ้าเครื่องกันหนาวเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก้หนาว เพราะไม่ได้ทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้นอกจากนี้การอยู่ในพื้นที่สูงยิ่งมีอากาศเบาบาง ทำให้การหายใจได้รับออกซิเจนจะน้อยลง อาจเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคปอด โรคหัวใจ โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง จะป่วยได้ง่ายกว่าผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ขอให้เตรียมยาประจำตัวให้เพียงพอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยมาก หายใจหอบ หายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลม ขอให้หยุดเดิน นั่งพัก และรีบบอกคนที่อยู่ใกล้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบให้รีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่สุดทันที หรือโทรสายด่วน 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แพทย์หญิงพรรณประภา กล่าวต่อว่า ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด 19 เช่นนี้ ขอให้ทุกคนยังคงปฏิบัติตามมาตรการ สวมหน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในพื้นที่แออัด มีคนรวมกันจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ที่อาจตามมาได้ ************************************* 18 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36895
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ผนึกเครือข่ายขับเคลื่อน Safety Thailand
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ก.แรงงาน ผนึกเครือข่ายขับเคลื่อน Safety Thailand สสปท. ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคใต้ จัดงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยในที่ทำงาน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า โครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) เป็นโครงการที่กระทรวงแรงงานดำเนินการเพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลไทยภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นวาระการปฏิรูปเร่งด่วนของกระทรวงแรงงาน มีเป้าหมายการสร้างความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีให้กับผู้ทำงานในทุกภาคส่วน โดยอาศัยการบูรณาการภารกิจระหว่างกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 8 จังหวัดสุราษฏร์ธานี ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงาน เขต 9 จังหวัดสงขลา ได้จัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อตอบรับกับนโยบาย “Safety Thailand ในมิติการมีส่วนร่วมของทุกภาคีเครือข่าย” เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนสร้างสรรค์วัฒนธรรมเชิงป้องกัน ให้คนทำงานทุกคนมีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดี นำไปสู่ความผาสุกอย่างยั่งยืน โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เปิดงานสัมมนาวิชาการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภาคใต้ จังหวัดสงขลา ภายใต้แนวคิด “Forward Culture of Prevention for Safety Thailand 2021 มุ่งสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยเชิงป้องกัน สู่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความผาสุกที่ยั่งยืน ปี 2564” โดยมี พลเอก อภิชาต แสงรุ่งเรือง ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นประธานในพิธีเปิด และมีนางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้การต้อนรับผู้มาร่วมงาน ณ โรงแรมสยามออเรียนทัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กิจกรรมภายในงานมีการจัดสัมมนาวิชาการและนิทรรศการด้านความปลอดภัยหลายหัวข้อ เช่น การประเมินความสอดคล้องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ การจัดเก็บสารเคมีอันตรายอย่างไรให้ปลอดภัย การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยอย่างไรให้ว้าว รวมทั้งการเสวนาในหัวข้อ “Safety for Trust สกัดโควิด ฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคใต้” เป็นต้น และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คน โดยมีเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ การจัดเก็บสารเคมีอันตราย และการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยอย่างไรให้ว้าว ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ การปลูกจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงขยายผลเนื้อหาที่เข้ารับการฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบต่อไป “การส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการป้องกันอุบัติเหตุและสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจ ตระหนัก และนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งครั้งต่อไปได้กำหนดจัดกิจกรรมที่จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนมกราคม 2564 สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง สถานประกอบกิจการ สถาบันการศึกษา หนวยงานภาครัฐ/เอกชน รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมงานกิจกรรม สามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ www.tosh.or.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 0 2448 9111 ” รมช.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36900
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยไทยใช้มิติด้านสาธารณสุขสร้างชาติ ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 สธ.เผยไทยใช้มิติด้านสาธารณสุขสร้างชาติ ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาเปิดการประชุมนานาชาติเพื่อการสร้างชาติครั้งที่ 4 เผยไทยควบคุมโรคโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี จากภาวะผู้นำที่ตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ถูกต้อง มีระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง นำองค์ความรู้ด้านสาธารณสุขสร้างชาติ ขับเคลื่อนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิดชีวิตวิถีใหม่ วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) ที่หอประชุมใหญ่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เป็นตัวแทนปาฐกถาเปิดการประชุมนานาชาติเพื่อการสร้างชาติครั้งที่ 4 ประจำปี 2020 ภายใต้หัวข้อ การสร้างชาติในสภาวะปกติใหม่จากโรคระบาด (Nation-Building in the Pandemic New Normal) นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มาจากภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรีและการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ การมีระบบสุขภาพที่เข้มแข็งจากการลงทุนวางรากฐานมานานกว่า 40 ปี การมีทีมสอบสวนโรคที่ตรวจจับและกักกันโรคได้รวดเร็ว มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ช่วยรับมือในระดับพื้นที่ เพราะประสบการณ์รับมือกับโรคระบาด เช่น ซาร์ส ไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ 2009 ทำให้จัดการรับมือได้เป็นระบบรวดเร็ว ขณะที่ประชาชนมีส่วนร่วมป้องกันและควบคุมโรคด้วยการปฏิบัติตามมาตรการ ทั้งการใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง ทำให้ประเทศไทยควบคุมโรคโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดย Global COVID-19 Index (GCI) จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิด 19 ติดอันดับต้น ๆ ของโลก นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังทยอยเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้มิติด้านสาธารณสุขเป็นแรงขับเคลื่อน มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) เช่น ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ การส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นอาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รวมถึงใช้มิติด้านสาธารณสุขช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนด้านอื่นๆ เช่น การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว การพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตร การพัฒนาเมืองสีเขียว การพัฒนาระบบนิเวศ และการพัฒนาทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 เป็นต้น โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้พื้นฐานของการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal "ประเทศไทยได้ปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับแนวชีวิตวิถีใหม่ตั้งแต่ช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 และต่อเนื่องจนถึงภายหลังการระบาดเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยมีการสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และนำความรู้มาสร้างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน" นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าว พฤศจิกายน 5/10 ************************************* 18 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36901
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการคนละครึ่งจะเปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 โครงการคนละครึ่งจะเปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ที่ประชุม ศบศ.วันนี้ นายกฯ มีข้อสั่งการให้กระทรวงการคลังเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนร่วมโครงการคนละครึ่งเพิ่มเติมอีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ย.2563 จำนวน 722,598 สิทธิ โดยรวบรวมสิทธิคงเหลือจากผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิในรอบที่ผ่านมา นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) วันนี้ นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้กระทรวงการคลังเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเพิ่มเติมอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ หรือวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 722,598 สิทธิ โดยเป็นการรวบรวมสิทธิคงเหลือจากผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิในรอบที่ผ่านมา จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจเตรียมลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ระหว่างเวลา 06.00 น. - 23.00 น. จนกว่าจะครบจำนวน อย่างไรก็ดี ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่เคยได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งมาก่อน และผู้ประสงค์จะใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งจะไม่สามารถใช้สิทธิมาตรการช้อปดีมีคืนได้ สำหรับการเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติมจำนวนกว่า 7 แสนสิทธิดังกล่าว เป็นการเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อให้ครอบคลุมผู้เข้าร่วมโครงการตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ 10 ล้านคน รองโฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมให้กระทรวงการคลังพิจารณารายละเอียดหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีกด้วย สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 7.17 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 8,773,534 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 18,797 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 9,581 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 9,216 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 200 บาทต่อครั้ง ซึ่งจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ตามลำดับ ทั้งนี้ รองโฆษกกระทรวงการคลังได้ขอความร่วมมือประชาชนและร้านค้าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการ และอย่าหลงเชื่อการเชิญชวนของผู้ไม่หวังดีที่เสนอจะช่วยหาประโยชน์จากโครงการโดยไม่ได้ทำการซื้อขายสินค้าจริง ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้มีการระงับสิทธิร้านค้าที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำผิดเงื่อนไขโครงการแล้ว พร้อมทั้งได้ส่งเอกสารหลักฐานให้แก่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เพื่อสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีกับร้านค้าต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้รับความร่วมมือจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่กวดขันไม่ให้ร้านธงฟ้าและร้านค้าทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าซึ่งเป็นการเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภค โครงการคนละครึ่ง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 (24 ชั่วโมง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36920
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่ลดวันกักตัว หวั่นการชุมนุมที่มีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นประเทศ
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่ลดวันกักตัว หวั่นการชุมนุมที่มีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นประเทศ นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่ลดวันกักตัว หวั่นการชุมนุมที่มีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นประเทศ วันนี้ (18 พ.ย. 63) เวลา 11.50 น. ณ บริเวณทางเชื่อม ตึกสันติไมตรีตึกกับตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ยืนยันการเดินทางจากต่างประเทศมาไทยยังต้องถูกกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง 14 วัน ปรามการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศ ขณะที่รัฐบาลเร่งส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าถึงช่วงวันหยุดยาว 4 วันว่า รัฐบาลได้พิจารณามาตรการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ให้กับห่วงโซ่ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและบริการ ขณะเดียวกันยังต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัย รวมทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด - 19 ด้วย ซึ่งจะมีการนำมาตรการเงินทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด - 19 เข้าในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า ในส่วนของการประชุม ศบค. ในวันนี้ ที่ประชุม ได้มีการหารือถึงสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ทั้งในภูมิภาคและภายในอาเซียน ซึ่งบางประเทศยังคงมีสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้น ขณะที่บางประเทศมีแนวโน้มที่ลดลง ดังนั้น ไทยยังคงต้องมีความรอบคอบในการพิจารณามาตรการผ่อนคลายต่าง ๆ โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่า ยังไม่มีการพิจารณาลดจำนวนวันในการกักตัวลง โดยได้ให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง นายรัฐมนตรีเผยว่า ได้ติดตามสถานการณ์การชุมนุมอย่างใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่าย และการชุมนุมยังเป็นสิทธิตามกฎหมาย แต่จะต้องมีการขออนุญาตและต้องไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นวานนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายอาจต้องมีความเข้มข้นขึ้นยังไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษควบคุมสถานการณ์ นายกรัฐมนตรียังย้ำว่า การชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงนั้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศ ขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งเสริมความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ เพื่อดูแลผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งความเป็นอยู่ อาชีพและรายได้ ซึ่งนอกจากจะมีมาตรการดูแลกลุ่มคนเหล่า ยังจำเป็นต้องอาศัยการลงทุนจากต่างประเทศด้วย --------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36910
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. แจงกรณีโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวคลาดเคลื่อน
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ธ.ก.ส. แจงกรณีโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวคลาดเคลื่อน ธ.ก.ส. แจงกรณีการโอนเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 งวดแรก เมื่อ 16 พ.ย. ไม่ครบหรือเกินกว่าจำนวนจริง จากข้อผิดพลาดของการสลับชนิดข้าวทำให้การคำนวณคลาดเคลื่อน พร้อมเร่งโอนเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนในวันที่ 18 พ.ย. ธ.ก.ส. แจงกรณีการโอนเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 งวดแรก เมื่อ 16 พ.ย. ไม่ครบหรือเกินกว่าจำนวนจริง จากข้อผิดพลาดของการสลับชนิดข้าวทำให้การคำนวณคลาดเคลื่อน พร้อมเร่งโอนเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนในวันที่ 18 พ.ย. และชี้แจงทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อดึงเงินส่วนที่เกินคืนต่อไป นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้มีการโอนเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 งวดที่ 1 โดยใช้ข้อมูลเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ซึ่งมีวันเก็บเกี่ยว รอบที่ 1 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 เข้าบัญชีเงินฝากเกษตรกรโดยตรง เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 จํานวน 786,380 ราย จํานวนเงิน 8,387.06 ล้านบาทนั้น โดยตรวจพบข้อผิดพลาดในการคำนวณเงินชดเชยสลับชนิดข้าว กล่าวคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้าซึ่งได้รับชดเชยส่วนต่าง ตันละ 1,222.36 บาท กับข้าวหอมปทุมธานีที่ได้รับการชดเชยส่วนต่างตันละ 1,066.96 บาท จึงทำให้มีเกษตรกรจำนวน 409,917 ราย ซึ่งปลูกข้าวเจ้าและข้าวหอมปทุมธานีไม่ได้รับเงินตามจำนวนที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ได้เร่งแก้ไขโดยการโอนเงินเพิ่มเติมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้าครบตามจำนวน ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 และมอบหมายให้สาขาในพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจแก่เกษตรกรในกรณีที่ต้องดึงเงินส่วนที่เกินคืนจากบัญชีเงินฝากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปทุมธานี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้เกษตรกรสามารถตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินได้ผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าออกบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่เกษตรกรลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36894
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เห็นชอบส่งเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 นายกฯ เห็นชอบส่งเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง นายกฯ เห็นชอบส่งเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 5/2563 (ศบศ.) โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้กล่าวถึงรายละเอียดดังนี้ นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมรับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ซึ่งปรับตัวลดลงร้อยละ 6.4 โดยนับเป็นการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองของปี 2563 ร้อยละ 6.5 รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7 ซึ่งการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจไทยสอดคล้องกับการฟื้นตัวขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองและจำกัดการเดินทางภายในประเทศ ซึ่ง นายกรัฐมนตรียินดีที่มาตรการคนละครึ่ง ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีร้านค้าลงทะเบียนรวมทั้งหมด 717,549 ร้าน มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,277,402 ราย ใช้สิทธิแล้ว 8,751,739 ราย นับเป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและการบริโภคได้ในวงกว้าง นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้ก็กระทรวงการคลังพิจารณาเรื่องการขยายเวลาและปรับปรุงมาตรการนี้ให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สำหรับมาตรการด้านการท่องเที่ยว การเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศภายใต้ STV ให้มากขึ้น โดยพิจารณาคัดเลือกประเทศที่มีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระดับต่ำก่อน รวมทั้งเพิ่มโควตาจำนวน Alternative State Quarantine (ASQ) และ State Quarantine (SQ) โดยข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 พบว่ามีนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) เดินทางเข้าไทยจำนวน 681 คน โดยมีนักท่องเที่ยวที่กักตัวเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 263 คน นักท่องเที่ยวที่อยู่ในระหว่างกักตัวจำนวน 134 คน และนักท่องเที่ยวที่มีกำหนดเดินทางเข้าภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 จำนวน 284 คน โอกาสนี้ ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบด้วย (1) มาตรการส่งเสริมการจัดแพ็คเกจท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Amazing Thailand Plus Special Package) โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสมาคมโรงแรมไทย มีข้อเสนอร่วมกันในการเป็นหน่วยธุรกิจในการดึงนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในประเทศไทย ในรูปแบบของ Amazing Thailand plus Package ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะบริการครบวงจร (One Stop Service) อาทิ การจองตั๋วเครื่องบิน การขอวีซ่าและกระบวนการเดินทางเข้าประเทศ การจองโรงแรม/ที่พัก/ สถานที่กักตัวทางเลือก (ASQ) และบริการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมและครบวงจร (2) การปรับสิทธิประโยชน์รองรับกลุ่มนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีคุณภาพและมีกำลังซื้อสูงภายใต้โปรแกรมพิเศษ Elite Flexible Plus Program โดยผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะต้องเป็นสมาชิกบัตร Thailand Elite ประเภทบัตรที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และอายุบัตรตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยสมาชิกเดิมต้องมี อายุสมาชิกเหลือไม่ต่ำกว่า 5 ปี ต้องยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมโปรแกรมและแสดงหลักฐานการลงทุน โดยการลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้โปรแกรมพิเศษฯ ให้สามารถได้รับอนุญาตให้ทำงานในราชอาณาจักรได้ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการจัดสัมมนาของภาครัฐในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เสนอโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อเป็นส่วนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวได้ โดยเสนอให้ส่วนราชการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดอบรมฝึกอบรมและสัมมนา ในจังหวัดที่พึ่งพิงรายได้จากการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นการเร่งด่วน ภายในปีงบประมาณ 2564 โดยให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และให้ทุกส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรวบรวมและรายงานต่อ ศบศ. ต่อไป ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36930
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอเคาะลงทุนโรงงานผลิตพืช สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทย
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 บีโอไอเคาะลงทุนโรงงานผลิตพืช สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทย บีโอไอเคาะลงทุนโรงงานผลิตพืช สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทย บีโอไอเคาะลงทุนโรงงานผลิตพืช สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทย บีโอไออนุมัติลงทุนโรงงานผลิตพืชโครงการแรกหลังเปิดประเภทกิจการใหม่ ประเดิมด้วยบริษัท วี ที แหนมเนือง 2017 มูลค่ากว่า 90 ล้านบาท ยกระดับการเกษตรสู่สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทย พร้อมอนุมัติลงทุนชุดตรวจวินิจฉัยโรคทาลัสซีเมีย ย้ำไทยศูนย์กลางการแพทย์ในภูมิภาค ทั้งไฟเขียวกิจการผลิตของเล่น นำระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิต ช่วยลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ บีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนหลายโครงการ โดยมีโครงการที่น่าสนใจเป็นประเภทกิจการใหม่ที่บอร์ดบีโอไออนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ของบริษัท วี ที แหนมเนือง 2017 จำกัด มูลค่าลงทุน 94 ล้านบาท ตั้งโครงการที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อเพาะปลูกผักโดยใช้เมล็ดพันธุ์ในประเทศตามคำแนะนำของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีกำลังการผลิตปีละประมาณ 360 ตัน ถือเป็นโครงการแรกหลังเปิดประเภทกิจการใหม่ ทั้งนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา บอร์ดบีโอไอ ได้มีมติให้เพิ่มประเภทกิจการโรงงานผลิตพืช อีกหนึ่งประเภท เพื่อยกระดับและสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคเกษตรไทยให้ก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ (สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิต ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย โดยโรงงานผลิตพืชของวี ที แหนมเนืองแห่งนี้ เป็นโครงการปลูกพืชผักคุณภาพ ไร้สารเคมีตกค้าง โดยปลูกในระบบปิดที่มีระบบควบคุมคุณภาพ ทั้งสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ เช่น ความเข้มของแสง อุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น การปนเปื้อนของเชื้อโรคและแมลงจากน้ำและอากาศ สำหรับโครงการโรงงานผลิตพืชของวี ที แหนมเนือง ยังได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อีกด้วย นอกจากนี้ บีโอไอยังได้อนุมัติโครงการลงทุนชุดตรวจวินิจฉัยโรคทาลัสซีเมีย ของบริษัทยีน เอ็กซ์เซลเลนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเพื่อผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ในเชิงพาณิชย์ มูลค่าลงทุน 22.53 ล้านบาท มีกำลังการผลิตชุดตรวจปีละประมาณ 50,000 ชุด ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับ SMEs ด้วย ซึ่งเป็นการตอกย้ำจุดยืนของไทยในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพในภูมิภาค รวมทั้งยังได้มีการอนุมัติโครงการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการผลิตของเล่น ประเภทดินปั้น (Modeling Clay) โดยโครงการได้นำระบบอัตโนมัติสายพานและแขนกลมาใช้ในกระบวนการผลิต ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ เช่น การผสมวัตถุดิบเข้าด้วยกันเพื่อผสมให้เป็นดินน้ำมัน จนถึงขั้นตอนการใส่ลงบรรจุภัณฑ์และบรรจุลงกล่องเพื่อจัดเก็บในคลังสินค้า ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออกสินค้าได้มากขึ้น “สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของบีไอไอ มุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยรวมทั้ง SMEs ปรับตัวให้สอดรับกับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเป็นการช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทยไปสู่กระบวนการผลิตที่ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าให้เศรษฐกิจไทย” นางสาวดวงใจกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36898
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2563
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2563 ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2563 พบการกระทำผิด จำนวน 472 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.29 ล้านบาท นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดทำแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต พื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทำผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และ ความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน สำหรับผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2564 (ระหว่างวันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2563) พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 472 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.29 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 268 คดี ค่าปรับ 2.28 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 149 คดี ค่าปรับ 2.00 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 10 คดี ค่าปรับ 0.17 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 21 คดี ค่าปรับ 0.29 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 15 คดี ค่าปรับ 0.53 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 9 คดี ค่าปรับ 2.02 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 2,543.390 ลิตร ยาสูบ จำนวน 8,321 ซอง ไพ่ จำนวน 1,109 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 6,275.000 ลิตร น้ำหอม รถจักรยานยนต์ จำนวน 14 คัน สรุปยอดรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 17 พฤศจิกายน 2563 พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 4,070 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 74.34 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 2,286 คดี ค่าปรับ 22.43 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 1,301 คดี ค่าปรับ 30.05 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 109 คดี ค่าปรับ 1.22 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 108 คดี ค่าปรับ 6.25 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 15 คดี ค่าปรับ 0.42 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 164 คดี ค่าปรับ จำนวน 4.54 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 87 คดี ค่าปรับ 9.43 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 75,626.155 ลิตร ยาสูบ จำนวน 113,710 ซอง ไพ่ จำนวน 8,125 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 198,364.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 48,003 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 216 คัน “หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนำจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว” ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต โทร/โทรสาร 0 2241 4778
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36905
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563 ทีเซลส์ เปิดห้องแห่งการเรียนรู้ “มหัศจรรย์การแพทย์ก้าวไกล”
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563 ทีเซลส์ เปิดห้องแห่งการเรียนรู้ “มหัศจรรย์การแพทย์ก้าวไกล” งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563 ทีเซลส์ เปิดห้องแห่งการเรียนรู้ “มหัศจรรย์การแพทย์ก้าวไกล” 14 พฤศจิกายน 2563 / เปิดอย่างเป็นทางการกับงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563” รูปแบบใหม่ Virtual Science Fair โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 23 พฤศจิกายนนี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โชว์ผลงานและศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งในและต่างประเทศจาก 93 หน่วยงานชั้นนำ 11 ประเทศร่วมจัด ย้ำจัดแสดงงานตามรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) วางมาตรการคัดกรองผู้เข้าชมงานอย่างเคร่งครัดตามข้อกำหนดของรัฐบาล พร้อมชวนเปิดประสบการณ์ใหม่ Virtual Science Fair จำลองบรรยากาศงานจริงสู่โลกออนไลน์ เพิ่มทางเลือกการเรียนรู้วิทย์ฯ ในยุคโควิด ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติกล่าวรายงาน ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ กล่าวว่า “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) เปิดห้องแห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตใหม่ “มหัศจรรย์การแพทย์ก้าวไกล” เสริมสร้างความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์ให้น้องๆ เยาวชนได้เรียนรู้แบบง่ายๆ สนุกสนานกับกิจกรรมเกมลับสมองเสริมสร้างโลกการเรียนรู้แห่งอนาคต พบกับ 6 ฐานกิจกรรมค้นหา RC คือ ฐานที่ 1 เทคโนโลยีก้าวไกลห่างกายไม่ห่างใจ ฐานที่ 2 เกราะกันเชื้อ ฐานที่ 3 นวัตกรรมกู้โลก ฐานที่ 4 ขดลวดมหัศจรรย์ ฐานที่ 5 VR ค้นหาอวัยวะของมนุษย์ และฐานที่ 6 อาวุธพิฆาตไวรัส” “งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563 สำหรับไฮไลท์ของบูธทีเซลส์ปีนี้ น้องๆ เยาวชน จะได้เรียนรู้ร่างกายมนุษย์ผ่านเทคโนโลยี VR เกมเสมือนจริง ฝึกทักษะและความคิดสร้างสรรค์ค้นหาอวัยวะของมนุษย์ และเรียนรู้วิถีชีวิตใหม่กับเทคโนโลยีการแพทย์ก้าวไกล ให้น้องๆ เยาวชน ผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองปฏิบัติจริงกับห้องแห่งการเรียนรู้เครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ อาทิ เครื่องฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัสด้วยรังสี UV (Hybrid-UVC Sterilizer) ร่วมออกแบบและพัฒนาต้นแบบโดยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บริษัท บุณย ไลฟ์ ไซอันซ์ จำกัด บริษัท แอเชอร์โฟโทนิกส์ จำกัด ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ทีเซลส์ (TCELS) / ขดลวดค้ำยันชนิดดึงกลับจากวัสดุฉลาด ได้รับความอนุเคราะห์จาก สมาร์ทแล็บ ภาควิชาวิศวกรรมครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี / หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ น้องด็อกโตไซท์ ได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์วัสดุฝังใน ได้รับความอนุเคราะห์จาก บริษัท ออโธพีเซีย จำกัด พร้อมทั้งบอร์ดนิทรรศการที่ให้ความรู้ในเรื่องของเครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ พบกับพี่ๆ และน้องเมลบี ได้ที่บูธทีเซลส์ (TCELS) ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ดร.ศิรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขอเชิญชวนน้องๆ เยาวชน และ ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563 ก้าวสู่ปีที่ 15 กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของประเทศ ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9.00 - 19.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี นอกจากนี้ ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563 ยังมีกิจกรรมอีกหลากหลายไว้คอยต้อนรับน้องๆ เยาวชน สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กและเยาวชนที่เติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต โดยนำกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ที่เน้นให้เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองปฏิบัติจริง ซึ่งมีห้องกิจกรรมแห่งการเรียนรู้หลากหลายให้เด็กและเยาวชนได้ร่วมสนุก ขอเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ คุณครู-อาจารย์ พาน้องๆ เยาวชน มาเรียนรู้โลกของวิทยาศาสตร์ ร่วมสนุกและรับของขวัญมากมาย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36914
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค. เห็นชอบขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 8 ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 63 ถึง 15 ม.ค. 64
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ศบค. เห็นชอบขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 8 ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 63 ถึง 15 ม.ค. 64 ศบค. เห็นชอบขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 8 ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 63 ถึง 15 ม.ค. 64 วันนี้ (18 พ.ย. 63) เวลา 11.50 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุม ศบค. สถานการณ์ประจำวัน และความก้าวหน้าในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ที่ประชุม ศบค. เห็นชอบในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 8 ตั้งแต่ 1 ธ.ค.63 ถึง 15 ม.ค.64 ซึ่งเป็นการขยายเวลาที่คร่อมช่วงเวลาปีใหม่ 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังมีความเข้มข้น และเพื่อรักษาความพร้อมรองรับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันระดับนานาชาติ BWF World Tour ซึ่งการขยายระยะเวลาดังกล่าว จะอำนวยความสะดวกต่อการจัดการแข่งขัน และดูแลผู้ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ โฆษก ศบค. กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอขอให้มีการกักตัวในรูปแบบ Area Quarantine โดยเข้ามากักกันตัว 10 วัน ณ ASQ หลังจากนั้น เห็นควรให้ใช้มาตรการคุมไว้สังเกตเป็นเวลาอีก 4 วัน ในพื้นที่ที่กำหนดร่วมกับการใช้ Application ติดตามตัว ซึ่งที่ประชุม ศบค. ได้มีการหารือกันอย่างกว้างขวางถึงแนวทางการดำเนินการและข้อห่วงใยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ โดยที่ประชุม ศบค. มอบหมายให้ ศบค. ชุดเล็ก และกระทรวงสาธารณสุข ได้ไปเพิ่มเติมรายละเอียด แล้วนำกลับมาพิจารณาให้ได้ข้อสรุปในที่ประชุม ศบค. ครั้งต่อไป พร้อมกันนี้ ศบค. มีมติอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทย และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มีความเห็นว่ามีเหตุที่จัดเป็นผู้เสี่ยงสูงสมควรเข้ารับการกักกัน ให้สามารถเข้ารับการกักกันใน Organizational Quarantine (OQ) ที่ส่วนราชการกำหนดหรือจัดตั้งขึ้น เพื่อป้องกันประชาชนคนไทยในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายแดนปลอดภัยจากการติดเชื้อ กรณีพบแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ที่มีอาการติดเชื้อโควิด-19 ด้านสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย วันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2 ราย อยู่ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,880 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ 1,427 ราย สำหรับสถานการณ์ COVID-19 ของโลก มีผู้ติดเชื้อยืนยันทั่วโลกขณะนี้รวมกว่า 55 ล้านคน เฉลี่ยผู้ป่วยทั่วโลก 2 วัน 1 ล้านคน โฆษก ศบค. เผยว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะ ผอ.ศบค. ได้กล่าวว่า ณ ขณะนี้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนีที่แสดงถึงการฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์โควิด-19 โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ในโลกด้านการฟื้นตัวจากโควิด-19 ซึ่งไทยได้รับการประเมินให้ได้คะแนนดีที่สุดในมิติด้านการฟื้นตัวและมิติด้านความรุนแรงของการระบาด พร้อมกันนี้ มหาวิทยาจอห์น ฮอบกินส์ สหรัฐอเมริกา ได้รายงานดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ หรือ 2019 Global Health Security Index ที่มีการจัดอันดับประเทศทั้งหมดรวม 195 ประเทศในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของภูมิเอเชีย พร้อมยกย่องว่าไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดได้มากที่สุด นอกจากนี้เว็บไซต์ข่าวชื่อดังของสหรัฐอเมริกา คือ U.S News & World Report ได้เผยผลการจัดอันดับของประเทศที่เหมาะสมในการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลกประจำปี 2563 โดยยกให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของโลกและประเทศที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจจากทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลก นับเป็นสัญญาณที่ดีที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติ ในตอนท้ายโฆษก ศบค. ยืนยันว่า เวลาในการกักกันตัวขณะนี้ยังอยู่ที่ 14 วัน ขณะที่พัฒนาการของการกักกันตัวของทั่วโลกได้ปรับเป็น 10 วัน ดังนั้น จะทำอย่างไรให้การกักกันตัวเป็น 10 วัน โดยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้มากกว่านี้ ซึ่งในเวลาอีกประมาณ 1 เดือนกว่า ๆ จากนี้ ศบค. และกระทรวงสาธารณสุขจะไปทำข้อมูลเพิ่มเติมและเสนอรูปแบบใหม่กลับมาเข้าที่ประชุม ศบค. ทั้งนี้ โฆษก ศบค. เน้นย้ำให้ประชาชนใช้หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย ป้องกันตัวเองให้มากที่สุด -------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36907
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมช.ประภัตร” ชื่นชม อสป. หลังคว้า 2 รางวัลพัฒนาองค์กรดีเด่น
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 “รมช.ประภัตร” ชื่นชม อสป. หลังคว้า 2 รางวัลพัฒนาองค์กรดีเด่น “รมช.ประภัตร” ชื่นชม อสป. หลังคว้า 2 รางวัลพัฒนาองค์กรดีเด่น และรางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านการยกระดับบริหารจัดการองค์กรปี 2563 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจแก่ ดร.มณเฑียร อินทร์น้อย ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา (อสป.) พร้อมด้วยตัวแทนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ที่เดินทางเข้าพบในโอกาสที่ อสป. ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2563 ประกอบด้วย 2 รางวัล คือ รางวัลพัฒนาองค์กรดีเด่น และรางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านการยกระดับบริหารจัดการองค์กร ประเภทดีเด่น เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของ อสป. ที่สามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและพัฒนาร่วมกัน ตลอดจนชื่นชมในความตั้งใจ สามัคคี ของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย จนทำให้ประสบความสำเร็จได้รับรางวัล สร้างผลงานที่น่าภาคภูมิใจให้กับองค์กร พร้อมทั้งขอเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เพื่อสร้างผลงานที่ดีอย่างนี้ ต่อไป สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2563 นี้ อสป.สามารถทำผลประกอบการ มีกำไรสูงสุดในรอบ 20 ปี จากการบริหารงานเชิงรุกทุกรูปแบบ รวมถึงการปรับปรุงสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงทั้ง 18 แห่งที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้ทันสมัยมากขึ้น เป็น ”Hub of Seafood” เป็น destination จุดหมายปลายทางของการช็อปปิ้งอาหารทะเล สินค้าสัตว์น้ำ เป็นศูนย์รวมอาหารปลอดภัย ปลอดสารฟอร์มาลีน และมีสุขอนามัย เป็นจุดเชคอิน เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในแต่ละพื้นที่ จนทำให้ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36906
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมบูรณาการการจัดกิจกรรมสวดมนต์ ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย พ.ศ.๒๕๖๔
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมบูรณาการการจัดกิจกรรมสวดมนต์ ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย พ.ศ.๒๕๖๔ รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมบูรณาการการจัดกิจกรรมสวดมนต์ ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย พ.ศ.๒๕๖๔ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมบูรณาการการจัดกิจกรรมสวดมนต์ ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย พ.ศ.๒๕๖๔ โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น ๘ กระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนกว่า ๒๘ หน่วยงาน จัดกิจกรรมศาสนา ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย พ.ศ. ๒๕๖๔ ระหว่างวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ - ๕ มกราคม ๒๕๖๔ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ส่วนภูมิภาค ณ วัดต่าง ๆ ๗๖ จังหวัด เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และเสริมสิริมงคลให้กับประเทศไทย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36924
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-S&P Global Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 S&P Global Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมอง ความน่าเชื่อถือ ของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีความเข้มแข็งภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ หนี้รัฐบาลอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล และสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อีกทั้ง คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในช่วง 1 – 2 ปีข้างหน้า 2) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง แม้ว่าการดำเนินนโยบายการคลังผ่านมาตรการต่างๆของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะทำให้การขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 – 2564 และหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่ส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการคลัง 3) S&P เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตในระยะปานกลางได้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นร้อยละ 6.2 เป็นผลจากการภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ อีกทั้ง รัฐบาลยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และยังส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Public Private Partnership) เพื่อลดความเสี่ยงทางการคลังของรัฐบาลให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ 4) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สภาพคล่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง โดย S&P คาดว่าสภาพคล่องต่างประเทศ (External liquidity) ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับคงที่และไม่น่ากังวล นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพด้านราคา เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ประเด็นที่ S&P ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องและเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน โทร. 02 265 8050 ต่อ 5516
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36927
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-5 นโยบายที่ประชาชนพึงพอใจ ต่อการทำงานของรัฐบาล ในรอบ 1 ปี
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 5 นโยบายที่ประชาชนพึงพอใจ ต่อการทำงานของรัฐบาล ในรอบ 1 ปี วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทำงานของรัฐบาล ในรอบ 1 ปี โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 6,970 คน ระหว่างวันที่ 1 - 15 ส.ค. 63 พบว่า นโยบายที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2) การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 3) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี 4) นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน วิกฤติมีสิทธิ์ทุกที่ หรือ UCEP และ 5) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งผลการสำรวจนี้ มีส่วนสำคัญต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศและดูแลประชาชนให้เกิดความต่อเนื่องต่อไป “รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36916
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งานสัมมนา The Project Dissemination Seminar on Assisting the Foundation of The Smart Monodzukuri Support Team System in Thailand
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 งานสัมมนา The Project Dissemination Seminar on Assisting the Foundation of The Smart Monodzukuri Support Team System in Thailand งานสัมมนา The Project Dissemination Seminar on Assisting the Foundation of The Smart Monodzukuri Support Team System in Thailand วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติในการเปิดงานสัมมนา The Project Dissemination Seminar on Assisting the Foundation of The Smart Monodzukuri Support Team System in Thailand ภายในงาน Metalex 2020 โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานรัฐประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมด้วย ณ Robotics Cluster Pavilion ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ ไบเทค บางนา การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานการพัฒนาบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญของไทย และองค์กรในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นโรงงานต้นแบบในการพัฒนาอุตสาหกรรม ก้าวสู่ยุค 4.0 ด้วยหลักการที่ถูกต้อง โดยผ่านกระบวนการองค์ความรู้ IVI (Industrial Value Chain Intiative) เพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ ประสิทธิผลของโครงการ Smart Monodzukuri Support Team for Thailand ทีมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัจฉริยะของประเทศไทย ที่ได้เริ่มดำเนินการในปี 2562 และได้รับความร่วมมือในการนำ Iot มาใช้ โดยทีมสนับสนุนอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เป็นต้นแบบ รวมทั้งถ่ายทอดระบบที่สามารถพัฒนาให้บุคลากร พึ่งพาตนเองได้ โดยเริ่มจาก Small Start Iot แบบต้นทุนต่ำ เพิ่มมูลค่าสูง สามารถนำไปขยายผล ประกอบกับมีองค์ความรู้ภายในองค์กรเอง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมให้ดำเนินอย่างราบรื่นต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36928
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โลกชื่นชมการดำเนินนโยบายรับมือโควิด-19 ของไทย
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 โลกชื่นชมการดำเนินนโยบายรับมือโควิด-19 ของไทย โลกชื่นชมการดำเนินนโยบายรับมือโควิด-19 ของไทย วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พร้อมกล่าวถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หลายประเทศยังคงมีการระบาดเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ประเทศในภาคพื้นยุโรป ขณะที่ประเทศไทยได้รับคำชื่นชมจากต่างประเทศในการรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด -19 ดังนี้ 1. การจัดอันดับดัชนีที่แสดงถึงการฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 (Global COVID-19 Index (GCI) นั้น ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับหนึ่งในโลกในด้านการฟื้นตัวจากการโควิด-19 ซึ่งไทยได้รับการประเมินให้ได้คะแนนดีที่สุดในมิติด้านการฟื้นตัว (Global Recovery Index) และมิติด้านความรุนแรงของการระบาด (Global Severity Index) 2. มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ของสหรัฐ ซึ่งรายงานดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ (2019 Global Health Security Index) ที่มีการจัดอันดับประเทศทั้งหมดรวม 195 ประเทศในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย พร้อมยกย่องว่า ไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดได้มากที่สุด 3. เว็บไซต์ข่าวชื่อดังของสหรัฐฯ อย่าง U.S. News & World Report ซึ่งได้เผยผลการจัดอันดับประเทศที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลก ประจำปี 2563 (Best Countries to Start a Business 2020) จัดอันดับให้ไทยเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ จากทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติเข้ามาหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดีขึ้น โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มีการพิจารณาถึงการลดระยะเวลากักตัวจาก 14 วัน เป็น 10 วัน โดยได้สั่งการให้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประชุมร่วมกันอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันในการทำงาน นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือประชาชน อาทิ โครงการคนละครึ่ง เป็นต้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36904
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางพร้อมจ่าย!! เบี้ยความพิการเพิ่มเติม 200 บาท เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของคนพิการ 22 พ.ย. 63
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 กรมบัญชีกลางพร้อมจ่าย!! เบี้ยความพิการเพิ่มเติม 200 บาท เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของคนพิการ 22 พ.ย. 63 ตามที่ ครม.มีมติเห็นชอบเพิ่มเบี้ยความพิการเป็น 1,000 บาท ตั้งแต่ ต.ค.2563 - กันยายน 2564 และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเบี้ยความพิการเพิ่ม 200 บาท/เดือน เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เพิ่มเบี้ยความพิการเป็น 1,000 บาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 โดยผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับ 1,000 บาท/เดือน (จากเดิม 800 บาท/เดือน) และผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเบี้ยความพิการเพิ่ม 200 บาท/เดือน โดยจ่ายเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมเป็น 1,000 บาท/เดือน สำหรับผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะไม่ได้รับสิทธิเพิ่มเติม ยังคงได้รับเบี้ยความพิการ 800 บาท/เดือน ตามเดิม นั้น “ในเดือนพฤศจิกายน 2563 กรมบัญชีกลางได้โอนเบี้ยความพิการเข้าบัญชีตามสิทธิเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 สำหรับในส่วนของผู้พิการที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเบี้ยความพิการเพิ่มเติม 200 บาท เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้กำหนดวันจ่ายเบี้ยความพิการเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเดือนต่อ ๆ ไป ประมาณวันที่ 22 ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึง กันยายน 2564 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ” โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36908
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย ลงพื้นที่เยี่ยมชมศึกษาการดำเนินงาน กระบวนการผลิตสินค้าเหล็ก บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ปลัดฯ กอบชัย ลงพื้นที่เยี่ยมชมศึกษาการดำเนินงาน กระบวนการผลิตสินค้าเหล็ก บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ปลัดฯ กอบชัย ลงพื้นที่เยี่ยมชมศึกษาการดำเนินงาน กระบวนการผลิตสินค้าเหล็ก บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมศึกษาการดำเนินงาน กระบวนการผลิตสินค้าเหล็ก บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (SSI) พร้อมด้วย นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายนาวา จันทนสุรคน นายกสมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย ในฐานะผู้แทนกลุ่ม 7 สมาคมอุตสาหกรรมเหล็กไทย นายมนินทร์ อินทร์พรหม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการผลิต บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) นายเฉลิม บุญเทียบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) นายวีระพงษ์ เกษมสุขไพศาล ผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิต บริษัท เหล็กแผ่นเคลือบไทย จำกัด ให้การต้อนรับ ณ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ เป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกำลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนสูงสุด โดยมุ่งเน้นการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นชั้นคุณภาพพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการการใช้เหล็กที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ พลังงาน การขนส่ง และการก่อสร้าง โดย เอสเอสไอ ได้มีการลงทุนร่วมในโครงการต่อเนื่องที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) (TCRSS) 2. บริษัท เหล็กแผ่นเคลือบไทย จำกัด (TCS) 3. บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด (PPC) ให้บริการท่าเรือพาณิชย์เอกชนที่มีความลึกที่สุดในประเทศไทย รองรับการขนถ่ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เหล็กได้ในปริมาณมาก และ 4. บริษัท เวสท์โคสท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (WCE) ให้บริการงานด้านวิศวกรและซ่อมบำรุง รวมถึงการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจเหล็ก ทั้งนี้ ปลัดฯ กอบชัย พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งเป็นเหล็กที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการประกอบหรือขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ด้วยกำลังการผลิตสูงสุด 2.4 ล้านตันต่อปี และมีกำลังการผลิตที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย อาทิ อุตสาหกรรมก่อสร้าง ท่อเหล็ก ถังแก๊ส ตู้คอนเทนเนอร์ ยานยนต์และชิ้นส่วน พร้อมทั้งส่งออกต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมขั้นตอนกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น ของ บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) (TCRSS) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น รายแรกและรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เพื่อการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดม้วนแห่งแรกในประเทศไทย ด้วยเงินลงทุนกว่า 13,500 ล้านบาท ปัจจุบันมีกำลังการผลิตสูงสุด 1.2 ล้านตันต่อปี โดยใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนเป็นวัตถุดิบในการผลิต และบริษัท เหล็กแผ่นเคลือบไทย จำกัด (TCS) เป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีทางไฟฟ้ารายแรกและรายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เพื่อการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีทางไฟฟ้า ด้วยเงินลงทุนประมาณ 2,450 ล้านบาท มีกำลังการผลิตสูงสุด 180,000 ตันต่อปี ซึ่งใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยคุณสมบัติของเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีทางไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์จะมีความเหมาะสม สำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทานต่อการสึกกร่อนมากกว่าเหล็กแผ่นรีดเย็น ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ คอมพิวเตอร์ เเละเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯ ต่างหันมาใช้เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีทางไฟฟ้ากันมากยิ่งขึ้น ตามความต้องการของผู้บริโภค
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36932
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. เปิดศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ปลัด พม. เปิดศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง ปลัด พม. เปิดศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง วันนี้ (18 พ.ย. 63) เวลา 09.00 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดและรับมอบศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ เป็นศูนย์บริการแบบครบวงจร (One Stop Crisis Center) สำหรับเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง โดยบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้มอบเงินสนับสนุนในการสร้างและปรับปรุงสถานที่ เพื่อรองรับผู้รับบริการที่มีจำนวนมากขึ้น โดยมี พล.ต.ท. เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท. โสภณรัชต์ สิงหจารุ นายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ และนายพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เข้าร่วมงาน ณ ลานกิจกรรม ชั้น 2 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา โรงพยาบาลตำรวจ นางพัชรี กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทย มีรูปแบบที่ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจะเป็นกลุ่มเด็กและสตรีในครอบครัว ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานหลักที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ตามนโยบายรัฐบาล ด้วยการขับเคลื่อนภารกิจให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในทุกมิติ และบูรณาการกลไกการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเมื่อเกิดภาวะวิกฤต ทั้งในรูปแบบของทีมสหวิชาชีพ การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสภาพแก่ผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ เป็นศูนย์บริการแบบครบวงจร (One Stop Crisis Center) สำหรับเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงให้สามารถเข้าถึงการบริการทั้งภายในและภานนอกโรงพยาบาลที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยได้เป็นภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับกระทรวง พม. มาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการอบรมให้ความรู้ในการดูแลและการตรวจผู้ป่วยคดีแก่แพทย์ฝึกหัด ให้มีความครบถ้วนถูกต้อง สามารถสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมได้ ทั้งนี้ ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ ได้ทำการปรับปรุงสถานที่แห่งใหม่ให้ทันสมัยและปลอดภัย แก่ผู้มาใช้บริการ ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้ว ณ ชั้น 1 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา โรงพยาบาลตำรวจ โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด สนับสนุนการดำเนินงาน นับเป็นความร่วมมือที่สำคัญ ที่จะทำให้องค์กรมีศักยภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36919
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“เปลี่ยนน้ำดำให้เป็นน้ำใสสะอาด”❓ LandMark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ‼️
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 “เปลี่ยนน้ำดำให้เป็นน้ำใสสะอาด”❓ LandMark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ‼️ "โครงการรักษ์คลองคูเมืองเดิม เฉลิมพระเกียรติฯ" เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวิถีชุมชนอย่างยั่งยืน LandMark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ การปรับปรุงภูมิทัศน์ริมสองฝั่งคลองคูเมืองเดิม และคลองหลอด การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนตลอดแนวคูคลองเมือง การปรับปรุงนำสายไฟและสายสื่อสารลงใต้ดิน และการพัฒนาพื้นที่ชุมชนโดยรอบกระทรวงกลาโหม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36911
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายคนใหม่
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายคนใหม่ คณะกรรมการน้ำตาลทราย มีมติเลือกนายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายคนใหม่ พร้อมเดินหน้าผลักดันการผลิตน้ำตาลทรายคุณภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาเลือกประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายคนใหม่ขึ้นแทนคนเก่าที่หมดวาระไป ซึ่งมีมติเลือกนายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทราย พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เรื่อง กำหนดชนิดและคุณภาพน้ำตาลทรายที่ให้โรงงานผลิต พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญให้โรงงานผลิตน้ำตาลทรายมีคุณภาพขณะทำการผลิตดังนี้ (1) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ต้องมีโพลาไรเซชั่น ไม่น้อยกว่า 99.800Z และค่าสีตั้งแต่ 0 ถึง 45 IU ที่ 420 nm. (2) น้ำตาลทรายขาวเกรด 1 ต้องมีโพลาไรเซชั่น ไม่น้อยกว่า 99.500Z และค่าสีตั้งแต่ 46 ถึง 200 IU ที่ 420 nm. (3) น้ำตาลทรายขาวเกรด 2 ต้องมีโพลาไรเซชั่น ไม่น้อยกว่า 99.500Z และค่าสีตั้งแต่ 201 ถึง 400 IU ที่ 420 nm. (4) น้ำตาลทรายขาวเกรด 3 ต้องมีโพลาไรเซชั่น ไม่น้อยกว่า 99.000Z และค่าสีตั้งแต่ 401 ถึง 600 IU ที่ 420 nm. (5) น้ำตาลทรายดิบ ต้องมีโพลาไรเซชั่น ไม่น้อยกว่า 97.000Z และค่าสีตั้งแต่ 601 IU ขึ้นไป ที่ 420 nm. ทั้งนี้ การกำหนดคุณภาพน้ำตาลดังกล่าว จะช่วยส่งผลให้โรงงานมีปรับตัวผลิตน้ำตาลทรายดิบที่มีคุณภาพที่สามารถจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซียเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดค่าสีน้ำตาลทรายที่ประเทศอินโดนีเซียนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางในการรักษาและเพิ่มขีดความสามารถการส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังประเทศอินโดนีเซียที่เป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทยแล้ว ยังทำให้คุณภาพน้ำตาลทรายดิบส่งออกมีคุณภาพดีขึ้น และสามารถขยายโอกาสการส่งออกน้ำตาลทรายไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการผลิตอ้อยและน้ำตาลของประเทศ ทั้งนี้ มติดังกล่าวคณะกรรมการน้ำตาลทรายจะได้เสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36909
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ พลเอก ประวิตรฯ หารือคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย เตรียมท่าทีเจรจาประชุมคณะมนตรี MRC ครั้งที่ 27
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 รองนายกฯ พลเอก ประวิตรฯ หารือคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย เตรียมท่าทีเจรจาประชุมคณะมนตรี MRC ครั้งที่ 27 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี หารือคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย เตรียมท่าทีเจรจาประชุมคณะมนตรี MRC ครั้งที่ 27 วันนี้ (18 พ.ย.63) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 3/2563 โดยมีนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เข้าร่วมด้วย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 27 ร่วมกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว ไทย และเวียดนาม ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ อาทิ 1) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขงระยะ 10 ปี (ปี 2564 - 2573) และแผนกลยุทธ์คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ระยะ 5 ปี ( ปี 2564 - 2568) ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำในช่วง 10 ปีข้างหน้า มีการเชื่อมโยงกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง และการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนกลยุทธ์คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 2) ยุทธศาสตร์การจัดการสินทรัพย์ด้านสิ่งแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อพัฒนากลยุทธ์เสริมสร้างการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทยได้เลือกพื้นที่ศึกษา 3 แห่งได้แก่ 1. แม่น้ำสงครามตอนล่าง จ.นครพนม 2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย เวียงหนองหล่ม และบริเวณแม่น้ำโขงสายประธาน จ.เชียงราย และ 3. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.สระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก โดยมอบหมายให้ กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน ในการขับเคลื่อนการคุ้มครองสินทรัพย์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย 3) แผนแม่บทการคมนาคมขนส่งทางน้ำ เพื่อเป็นกรอบโครงการพัฒนา ปรับปรุงฟื้นฟูการขนส่งทางน้ำให้เกิดความปลอดภัยในการเดินเรือ สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดริมน้ำโขง และเสริมสร้างร่วมมือในการขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศสมาชิก เป็นต้น ทั้งนี้ จะมีการสรุปผลการหารือ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ เสนอต่อคณะผู้แทนไทยเพื่อใช้เป็นกรอบท่าทีในการเจรจาในการประชุมร่วมกับประเทศสมาชิกต่อไป พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้รับทราบและติดตามสถานการณ์น้ำโขงที่เข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง ซึ่งคาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะมีค่าอยู่ระหว่างค่าระดับน้ำเฉลี่ยของทุกสถานี รวมถึงข้อห่วงกังวลเรื่องความผันผวนของระดับน้ำที่ไม่แน่นอน ซึ่งที่ประชุมจึงมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) วิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด รวมถึงแจ้งข้อมูลให้หน่วยงาน และจังหวัดริมน้ำโขงที่อาจได้รับผลกระทบ ทราบล่วงหน้าเพื่อการเตรียมการรับมือสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ที่ประชุมได้ติดตามสถานะและพิจารณาการดำเนินการตาม PNPCA โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม สปป.ลาว โดย สทนช. ได้ส่งข้อมูลให้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย พิจารณาให้ความเห็นเรื่องเขตแดน รวมถึง สทนช. ได้รับมอบหมายให้รวบรวมความเห็นทางวิศวกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับประเด็นที่มีนัยสำคัญที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยและเส้นเขตแดน เพื่อแจ้งผู้พัฒนาโครงการผ่าน MRCS และเห็นชอบให้ผู้พัฒนาโครงการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบให้มีความชัดเจน รวมทั้งได้มอบหมายให้ สทนช. ติดตามข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูงอย ของ สปป.ลาว อย่างใกล้ชิด และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ความเห็น โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นว่าควรเสนอในกรอบเวทีการเจรจาประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงต่อท่าทีประเทศไทยให้มีการดำเนินกระบวนการการแจ้ง การปรึกษา หารือล่วงหน้า และข้อตกลง (PNPCA) โครงการนี้ ภายหลังสิ้นสุดกระบวนการ PNPCA โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคามแล้ว ----------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36902
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยความคืบหน้าผู้ติดเชื้อที่กระบี่ ขณะนี้ติดตามผู้สัมผัสได้ 290 ราย ยันไม่พบการระบาดในวงกว้าง
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 สธ.เผยความคืบหน้าผู้ติดเชื้อที่กระบี่ ขณะนี้ติดตามผู้สัมผัสได้ 290 ราย ยันไม่พบการระบาดในวงกว้าง กระทรวงสาธารณสุขแจงความคืบหน้าผู้ติดเชื้อที่กระบี่เป็นชายชาวอินเดีย ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ 290 ราย เน้นการปฏิบัติตัวประชาชนยึดมาตรการสวมหน้ากากาอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ยังไม่พบการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง กระทรวงสาธารณสุขแจงความคืบหน้าผู้ติดเชื้อที่กระบี่เป็นชายชาวอินเดีย ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ 290 ราย เน้นการปฏิบัติตัวประชาชนยึดมาตรการสวมหน้ากากาอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ยังไม่พบการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง เผยลดวันกักตัวผู้เดินทางจากประเทศเสี่ยงต่ำเหลือ 10 วันแต่ยังปลอดภัย วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2563) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป และแพทย์หญิงวลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา แถลงถึงความคืบหน้าความคืบหน้าผู้ติดเชื้อ โควิด 19 ในประเทศไทย 1 รายเป็นเพศชาย สัญชาติอินเดีย อายุ 37 ปี อาชีพพนักงานในร้านอาหาร จังหวัดกระบี่ ขณะนี้ผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลกระบี่ อาการทั่วไปปกติ ไม่มีไข้ ไอเล็กน้อย สำหรับผู้ป่วยรายนี้พบเชื้อจากการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน (work permit) โดยได้ทำการตรวจ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลเอกชนและผลตรวจยืนยันของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 จังหวัดภูเก็ตพบเชื้อเช่นกัน แต่เนื่องจากพบเชื้อน้อยมากจึงตรวจทางห้องปฏิบัติการซ้ำครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ผลไม่พบเชื้อ และเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาภูมิคุ้มโควิด 19 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ผลตรวจ IgG เป็นบวก แต่ IgM เป็นลบ ซึ่งแสดงว่าได้รับเชื้อนานแล้ว และมีโอกาสต่ำมากที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น โดยผู้ป่วยรายนี้ได้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ สุโขทัย ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ และกรมควบคุมโรค ส่งทีมสอบสวนโรคไปติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด 290 ราย(เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 79 รายและสัมผัสเสี่ยงต่ำ 211 ราย) ในส่วนผู้สัมผัสเสี่ยง ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ แบ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน 4 รายโดย 3 รายแรกได้แก่น้องชาย น้องสะใภ้และหลานสาวผลตรวจออกแล้วไม่พบเชื้อ โดยภรรยารอผลการตรวจ ผู้สัมผัสในชุมชน 5 ราย แพทย์พยาบาลในโรงพยาบาล 6 ราย และผู้ที่อยู่ในยานพาหนะ ได้แก่เครื่องบิน ซึ่งนับ2 แถวหน้า 2 แถวหลัง เรือเฟอร์รี่ ระหว่างเดินทาง 64 ราย และ ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งไม่ได้ตรวจเชื้อแต่ให้สังเกตอาการ สำหรับการปฏิบัติตัวประชาชนที่สัมผัสใกล้ใช้ผู้ป่วยรายนี้ให้เฝ้าระวังตนเองสวมหน้ากากอนามมัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน หากมีอาการให้รีบพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านพร้อมบอกประวัติ ขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ส่วนการลดการกักตัวจาก 14 วันเหลือ 10 วัน อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ จะเริ่มจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน โดยประเมินความเสี่ยงของประเทศต้นทางเปรียบเทียบกับประเทศไทย (Relative Risk Country) ซึ่งประเทศที่ความเสี่ยงใกล้เคียงกับไทย เช่น จีน มาเก๊า อัตราการติดเชื้อ 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ประเทศที่ความเสี่ยงน้อยกว่าประเทศไทย เช่น ไต้หวัน เวียดนาม มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่า 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ถ้ามีต่างชาติจากกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำเข้ามาในไทย 1 ล้านคน การตรวจ RT-PCR ก่อนการเดินทางจะช่วยลดความเสี่ยงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกักตัว 14 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 0.3 คน ขณะที่การกักตัว 10 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 1.5 คน แต่ใช้มาตรการเสริมป้องกันความเสี่ยง และจากการเก็บข้อมูลผลการตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ในกลุ่มผู้เดินทางจากประเทศซูดานใต้ จำนวน 77 คน พบผู้ติดเชื้อ 17 คน โดยทั้งหมดตรวจพบในช่วงวันที่ 0-9 ของการกักตัว ดังนั้น การกักกันโรค 10 วัน จึงมีความเพียงพอ เมื่อถึงประเทศไทย ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตรวจวัดอุณหภูมิ หากพบว่ามีไข้หรืออาการตามนิยามผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จะแยกกักเพื่อสอบสวนโรค นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อ หากไม่มีไข้ จะส่งเข้ารับการกักกันโรค 10 วัน โดยทำการตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง คือ วันแรก และวันที่ 5 กับวันที่ 9 ของการกักตัว และตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน 2 ครั้ง ในวันแรก และวันที่ 9 หากผลเป็นบวกจะนำส่งรักษากับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา หากผลเป็นลบในวันที่ 10 จะประเมินและติดตั้งแอปพลิเคชัน ใช้ติดตามตัวและรายงานอาการป่วย ชี้แจงให้นักเดินทางทราบถึงการติดตามอาการต่ออีก 4 วัน ก่อนอนุญาตให้ออกจากสถานที่กักกันในวันที่ 11 โดยจัดทีมสนับสนุนติดตามผู้เดินทางอย่างใกล้ชิด เน้นการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง โดยผู้เดินทางรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการกักตัวและรักษาพยาบาล ซึ่งทั้งนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจาก ศบค.ก่อน ขอความร่วมมือประชาชนในจังหวัดต่างๆอย่าตื่นตระหนก กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคตามมาตรการอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามทุกคนยังคงต้องอยู่กับโควิด 19 ไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดเปรียบเสมือนวัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อคือ การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง เข้ารับบริการสถานที่ต่างๆ ลงทะเบียนด้วย "ไทยชนะ" ทุกครั้ง ************************************* 8 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36592
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อนุชา” เผย รัฐบาลพอใจ ประชาชนพร้อมใจร่วมสวดมนต์วันเสาร์ทั่วประเทศ คาดมีผู้สนใจเข้าร่วมมากขึ้น เชื่อคำสอนทางพระพุทธศาสนาช่วยให้สังคมสงบสุข
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 "อนุชา” เผย รัฐบาลพอใจ ประชาชนพร้อมใจร่วมสวดมนต์วันเสาร์ทั่วประเทศ คาดมีผู้สนใจเข้าร่วมมากขึ้น เชื่อคำสอนทางพระพุทธศาสนาช่วยให้สังคมสงบสุข "อนุชา” เผย รัฐบาลพอใจ ประชาชนพร้อมใจร่วมสวดมนต์วันเสาร์ทั่วประเทศ คาดมีผู้สนใจเข้าร่วมมากขึ้น เชื่อคำสอนทางพระพุทธศาสนาช่วยให้สังคมสงบสุข นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรีเผย เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เป็นวันแรกที่รัฐบาลได้กำหนดจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง โดยทุกจังหวัดได้พร้อมใจจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งนี้ เชื่อว่าหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะมีส่วนช่วยจรรโลงจิตใจ ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนได้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กำหนดจัดพิธีที่ อาคาร 100 ปี วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ มีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก สำหรับในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ทางจังหวัดร่วมกับเจ้าคณะจังหวัด กำหนดจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ที่วัดศูนย์กลางของจังหวัดและอำเภอ หรือสถานที่ที่เห็นสมควร อาทิเช่นจ.สงขลา มีการจัดกิจกรรมตามอำเภอต่าง ๆ อาทิ ในพื้นที่ อ.เมืองสงขลา มีประชาชนชาวจังหวัดสงขลา เข้าร่วมในพิธีอย่างพร้อมเพรียง จ.ปทุมธานี จัดพิธีที่วัดสุวรรณบำรุงราชวราราม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยกำหนดจัดเป็นโครงการจิตอาสา วิถีธรรม : เข้าวัดวันเสาร์ ภายใต้โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข มีพระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ด้าน จ.สุรินทร์ จัดพิธีที่วัดศาลาลอย พระอารามหลวง มีพุทธศาสนิกชนชาวสุรินทร์ ร่วมสวดมนต์ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ส่วน จ.ลำพูน จัดขึ้น ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร โดยมีพระศรีธรรมโสภณ รองเจ้าคณะจังหวัดลำพูน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จ.เชียงใหม่ พุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่ พร้อมใจเข้าร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับแผ่นดินและปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าอในโอกาสวันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2563 ที่พระวิหารหลวง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยมีพระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพร้อมเพรียงกันในทุกวันเสาร์ จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ที่วัดใกล้บ้าน ซี่งในพื้นที่ส่วนกลาง กำหนดจัด ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาค กำหนดจัดที่วัดประจำจังหวัดหรืออำเภอ หรือสถานที่ตามที่ทางจังหวัดเห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง ครอบครัว และประเทศชาติ .............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36590
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- รบ.เชิญชวนคนไทยใช้จ่ายผ่านโครงการรัฐ เดินทางท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 รบ.เชิญชวนคนไทยใช้จ่ายผ่านโครงการรัฐ เดินทางท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี รบ.เชิญชวนคนไทยใช้จ่ายผ่านโครงการรัฐ เดินทางท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี เมื่อวันที่ 8 พ.ย. น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลขอเชิญชวนประชาชนออกมาท่องเที่ยวในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดค่อนข้างมาก ตั้งแต่เดือน พ.ย. และ เดือน ธ.ค. ทั้งนี้ประชาชนสามารถท่องเที่ยวโดยใช้จ่ายผ่านโครงการของรัฐหลากหลายโครงการ เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ที่ปัจจุบันข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ย.2563 เหลือจำนวนสิทธิที่พัก 2,275,361 สิทธิ , เหลือสิทธิตั๋วเครื่องบิน 1,828,842 สิทธิ โครงการ “กําลังใจ” โดยรัฐสนับสนุนเงินให้คนละ 2,000 บาท แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) เป็นค่าใช้จ่ายให้เที่ยวในประเทศ 2 วัน 1 คืน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีในโครงการช้อปดีมีคืนได้ด้วย ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย. มีวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นกรณีพิเศษ ในวันที่ 19-20 พ.ย.2563 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ จึงจะทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันตั้งแต่วันที่ 19 - 22 พ.ย. รวม 4 วัน ขณะที่เดือน ธ.ค.2563 มติ ครม.ได้ให้เลื่อนวันหยุดชดเชยวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ 9 จากวันจันทร์ที่ 7 ธ.ค.เป็นวันศุกร์ที่ 11 ธ.ค.63 ซึ่งจะทำให้มีวันหยุดราชการต่อเนื่องรวม 4 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 10-13 ธ.ค.63 ทั้งนี้ เพื่อหวังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอย "สำหรับโครงการเราเที่ยวด้วยกัน รับสิทธิส่วนลดค่าที่พัก 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน รวมไม่เกิน 10 ห้องหรือ 10 คืน , รับคูปองมูลค่าสูงสุด 900 บาทต่อวัน เพื่อใช้เป็นค่าอาหาร ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการ , คืนเงินค่าตั๋วเครื่องบิน 40% โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กำลังพิจารณาแนวทางการปรับปรุงโครงการให้ประชาชนได้รับความสะดวกสูงสุด พร้อมเพิ่มแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้น โดยหวังให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย มีเม็ดเงินกระจายลงสู่ผู้ประกอบการและคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง เพราะการท่องเที่ยว ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวจะช่วยให้เศรษฐกิจในภาพรวมดีขึ้น จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนออกมาเที่ยวในช่วงปลายปี โดยรัฐมีหลายมาตรการสนับสนุน" น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดหวังว่า ในช่วงปลายปี จะมีประชาชนเดินทางท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้น หลังจากที่เกือบครึ่งปี ชาวไทยต้องงดการเดินทางเพื่อช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ด้วยปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ไม่พบผู้ป่วยภายในประเทศเป็นเวลาต่อเนื่องกันกว่าร้อยวัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันในประสิทธิภาพของระบบการป้องกันโรคของประเทศไทย และเหล่านี้ถือโอกาสที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคระบาด โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ทางด้านกระทรวงสาธารณสุข ได้ย้ำถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และย้ำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจว่า มาตรการป้องกันโรคระบาด ต้องทำควบคู่กับการเดินหน้างานด้านเศรษฐกิจ จึงขอประชาชนอย่ากังวลเกี่ยวกับการเดินทางออกไปท่องเที่ยว โดยภาครัฐมีประสบการณ์ด้านการรับมือเป็นอย่างดี ยิ่งเมื่อประชาชนเที่ยวแบบ new normal ก็จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจ ไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยังช่วยให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนได้ดียิ่งขึ้นด้วย ................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36589
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯสั่งเดินหน้าช่วยประชาชนรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนและจัดการเจ้าหนี้โหด
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 นายกฯสั่งเดินหน้าช่วยประชาชนรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนและจัดการเจ้าหนี้โหด นายกฯสั่งเดินหน้าช่วยประชาชนรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนและจัดการเจ้าหนี้โหด นางสาวรัชดาธนาดิเรกรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชนผู้ที่ต้องการเข้าถึงเงินกู้โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีสินทรัพย์และรายได้ที่มั่นคงยิ่งในสภาวะที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19ความจำเป็นที่ต้องกู้มาใช้ในสิ่งจำเป็นอาจมีเพิ่มขึ้นทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ติดตามความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอเรื่องการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยได้แก่สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ(สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลังเพราะเป็นการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบรวมถึงเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในเวลาเดียวกันด้วยโดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยค่าปรับค่าบริการและค่าธรรมเนียมใดๆได้ไม่เกินร้อยละ36ต่อปีในขณะที่ผู้กู้สามารถกู้เงินในระบบได้ง่ายกว่าเดิมรายละไม่เกิน50,000บาทไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้นับแต่เริ่มให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เมื่อปี2559กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์รวม 858รายใน72จังหวัดอนุมัติสินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น328,300บัญชีคิดเป็นวงเงิน8,250.38ล้านบาทหรือเฉลี่ย25,130บาทต่อบัญชีมากไปกว่านั้นรัฐบาลยังมอบหมายให้ธนาคารออมสินเป็นอีกหน่วยงานหลักในการช่วยเหลือประชาชนรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยทางธนาคารได้ออก“สินเชื่อเสริมพลังฐานราก"รอบ2ที่กู้ได้สูงสุดได้ไม่เกินรายละ50,000บาทคิดอัตราดอกเบี้ย0.35%ต่อเดือน(Flat Rate)ระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ไม่เกิน3ปีไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันอีกทั้งยังปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยหรือไม่ต้องชำระเงินงวดใน6เดือนแรก อนึ่งในเรื่องการจัดการเจ้าหนี้โหดนายกรัฐมนตรีได้สั่งการเข้มกับการเอาผิดเจ้าหนี้นอกระบบผิดกฎหมายและกำชับให้ทุกภาคส่วนทำงานอย่างบูรณาการตามนโยบายแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาลหากนับตั้งแต่เดือนตุลาคม2559จนถึงสิ้นเดือนกันยายน2563สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้ผิดกฎหมายจำนวนสะสม7,476รายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการลดภาระหนี้นอกระบบโดยการไกล่เกลี่ยการเพิ่มศักยภาพลูกหนี้นอกระบบและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชนสำหรับประชาชนที่ถูกขูดรีดจากเจ้าหนี้ผิดกฎหมายสามารถร้องเรียนได้โดยตรงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติสายด่วน1599ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสายด่วน1359ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมกระทรวงยุติธรร(ศนธ.ยธ.)โทร. 0 2575 3344 ............................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36588
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ข่าวดีสำหรับลูกหนี้! ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศแนวปฎิบัติสำคัญเรื่องการชำระหนี้ ช่วยให้ลูกหนี้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ข่าวดีสำหรับลูกหนี้! ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศแนวปฎิบัติสำคัญเรื่องการชำระหนี้ ช่วยให้ลูกหนี้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น ข่าวดีสำหรับลูกหนี้! ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศแนวปฎิบัติสำคัญเรื่องการชำระหนี้ ช่วยให้ลูกหนี้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น นายอนุชาบูรพชัยศรีโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดภาระหนี้สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนและลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงินซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สาคัญในระบบการเงินของไทยใน3เรื่องคือ 1.การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชําระหนี้บนฐานของ“เงินต้นที่ผิดนัดจริง”เท่านั้นไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระต่างจากแนวปฏิบัติเดิมที่หากผิดนัดชาระหนี้เพียงงวดเดียวผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมดส่งผลให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมากซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงและเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น 2.การกําหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชําระหนี้ที่“อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน3%”เช่นถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ8%ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชาระหนี้ได้ไม่เกิน11%โดยต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วยซึ่งจากเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เองเช่นกำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูดสุดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่15%หรือบางกรณีสูงถึง18%หรือ22%ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ได้ดังนั้นการปรับ2เกณฑ์ในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกหนี้พยายามจ่ายชำระหนี้ลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้และยังช่วยให้ระบบการเงินมีความสมดุลมากขึ้นการฟ้องร้องดำเนินคดีจะลดลง 3.การกําหนดลําดับการตัดชําระหนี้โดยให้“ตัดค่างวดที่ค้างชําระนานที่สุดเป็นลําดับแรก”เพื่อให้ลูกหนี้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจนโดยเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียมดอกเบี้ยและเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อนต่างจากแนวทางเดิมที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมดตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมดก่อนนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเงินต้นซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้นช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพหรือNPLรวมทั้งช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้ต่อเนื่องและยังช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น ประกาศการกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1เมษายน2564ยกเว้นเรื่องลำดับการตัดชำระหนี้ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2564เป็นต้นไปเนื่องจากผู้ให้บริการทางการเงินต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้องอย่างไรก็ดีสำหรับการใช้ฐานของงวดที่ผิดนัดชาระหนี้จริงมาคำนวณทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือเวียนไปก่อนหน้านี้โดยนับตั้งแต่1พฤษภาคม2563ผู้ให้บริการทางการเงินได้ปรับมาใช้เกณฑ์ใหม่ในการคำนวณแล้วซึ่งประชาชนและธุรกิจSMEsจะได้รับสิทธิตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนดเป็นการทั่วไปโดยไม่ต้องติดต่อสาขาของผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อแก้ไขสัญญาแต่อย่างใดสำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่1เมษายน2564ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แจ้งให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำหลักการตามประกาศฉบับใหม่มาใช้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามสมควรโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ลูกหนี้จำนวนมากกำลังเดือดร้อนจากวิกฤตโควิด19ทั้งนี้หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมสามารถสอบถามหรือร้องเรียนได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.)โทร. 1213 โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า“เกณฑ์การคิดคำนวณการผิดนัดชำระหนี้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้ง3เรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เฉพาะในส่วนของจำนวนเงินที่ผิดนัดชำระจริงเท่านั้นไม่ใช่เงินคงค้างทั้งหมดหรือเรื่องอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่กำหนดให้บวกได้ไม่เกิน3%ของอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาหรือเรื่องที่กำหนดให้เมื่อลูกหนี้นำเงินไปชำระแล้วให้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปตัดในส่วนของค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรกทั้ง3เรื่องนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแนวปฏิบัติเรื่องการชำระหนี้ของประเทศไทยโดยจะช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นกับลูกหนี้และช่วยให้ลูกหนี้ที่ไม่ตั้งใจจะผิดนัดชำระให้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ง่ายขึ้นส่งผลให้ลดจำนวนการฟ้องร้องดำเนินคดีอีกทั้งจะช่วยลดโอกาสการเกิดหนี้เสียของระบบการเงินโดยรวมของไทยอีกด้วย” ....................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36587
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการคนละครึ่งจะเปิดลงทะเบียนในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11)
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 โครงการคนละครึ่งจะเปิดลงทะเบียนในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) ากการที่ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งครบ 10 ล้านคนแล้ว มีผู้ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิและไม่เริ่มใช้สิทธิภายในกำหนด 14 วัน จึงได้มีการเริ่มตัดสิทธิตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป มีจำนวน 1,967,046 สิทธิ นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการที่ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งครบ 10 ล้านคนแล้ว เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 โดยข้อมูลล่าสุดปรากฏว่ามีผู้ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิและไม่เริ่มใช้สิทธิภายในกำหนด 14 วัน จึงได้มีการเริ่มตัดสิทธิตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป มีจำนวน 1,967,046 สิทธิ โดยยอดลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและสิทธิที่ถูกตัดในแต่ละวันจะถูกรวบรวมนำมาเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนอีกครั้ง ซึ่งจะเริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) ระหว่างเวลา 06.00 น. – 23.00 น. ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com จนกว่าจะครบจำนวน ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่เคยได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งมาก่อน และผู้ประสงค์จะใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งจะไม่สามารถใช้สิทธิมาตรการช้อปดีมีคืน สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 5.23 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 7,161,488 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 7,629 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 3,888 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 3,741 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 216 บาทต่อครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ตามลำดับ รองโฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการคนละครึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งประชาชนและร้านค้าว่า การใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันใช้งานได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว ช่วยกระตุ้นยอดขายของร้านค้ารายย่อยได้จริง อีกทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้ประชาชนได้มาก จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจเตรียมลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งก่อนจำนวนสิทธิจะหมดลงอีกครั้งในวันที่ 11/11 สำหรับผู้ประกอบการร้านค้ายังสามารถลงทะเบียนได้ต่อเนื่องผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ในช่วงเวลา 06.00 – 23.00 น. หรือ ณ สาขาหรือจุดรับลงทะเบียนของธนาคารกรุงไทย ทั้งนี้ การจ่ายเงินส่วนที่รัฐร่วมจ่ายให้ร้านค้ายังคงจ่ายทุกวันทำการถัดไป และเร่งพิจารณาแนวทางการจ่ายเงินทุกวันเพื่อมิให้กระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการรายย่อยที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี หากกระทรวงการคลังและธนาคารกรุงไทยตรวจสอบพบการใช้จ่ายของร้านค้าหรือประชาชนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ จะมีการระงับการใช้แอปพลิเคชันและระงับการจ่ายเงินร้านค้าทันที อีกทั้งผู้ที่มีส่วนในการสนับสนุนการกระทำความผิดจะมีโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย รองโฆษกกระทรวงการคลังได้ย้ำว่า ขอความร่วมมือประชาชนและร้านค้าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ อย่าให้มีการดำเนินการไปในทางมิชอบ เพื่อมิให้ทำลายบรรยากาศของการดำเนินโครงการคนละครึ่ง โครงการคนละครึ่ง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 (24 ชั่วโมง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36568
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นฤมล ลั่น สสปท. พร้อมเดินหน้าระบบความปลอดภัยในการทำงานเพื่อแรงงานไทย
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 นฤมล ลั่น สสปท. พร้อมเดินหน้าระบบความปลอดภัยในการทำงานเพื่อแรงงานไทย รมช.แรงงาน เผย สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริม แก้ไขปัญหา และสนับสนุนมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน นฤมล ลั่น สสปท. พร้อมเดินหน้าระบบความปลอดภัยในการทำงานเพื่อแรงงานไทย รมช.แรงงาน เผย สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริม แก้ไขปัญหา และสนับสนุนมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เป็นองค์การมหาชนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่ในด้านการสนับสนุนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับการดูแลให้มีความปลอดภัย มีสุขภาพที่ดีในสังคม ชุมชน และประเทศโดยรวม นอกจากนี้ประชาชนยังจะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสม เกิดความเข้าใจ และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ทั้งในเชิงการป้องกันอันตรายและการไม่เป็นผู้ก่อให้เกิดอันตราย รวมถึงการสร้างนวัตกรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อลดภาระของครอบครัวและสังคมจากการบาดเจ็บ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะจากการประกอบอาชีพ รมช. แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า สสปท. มีการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนระบบการบริหารจัดการ ให้ลดการสูญเสียที่เกิดจากการประสบอันตรายที่เกิดจากการทำงาน ทั้งในเรื่องการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ลดภาระของประเทศในการฟื้นฟูสมรรถนะผู้ใช้แรงงานที่ประสบอันตรายจากการทำงาน และลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน โดยมุ่งเน้นการให้บริการทางวิชาการเกี่ยวกับที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย การพัฒนาบุคลากร การเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและให้คำแนะนำในการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลสถิติ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาแนวโน้มและจัดอันดับความเสี่ยงของการทำงานด้วย “การดำเนินงานตามภารกิจของ สสปท. จะสำเร็จลุล่วงไม่ได้ หากขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งต้องตระหนักและให้ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน รู้เท่าทันถึงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่แรงงาน และปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อผลักดันให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งต่อคนทำงาน ผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป สำหรับหน่วยงานที่ประสงค์รับบริการจาก สสปท. สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-4489111” รมช.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36556
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯวรวรรณ ร่วมประชุมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร”
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 รองปลัดฯวรวรรณ ร่วมประชุมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร” นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมประชุมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ณ ห้องประชุมกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ร่วมประชุมและการกล่าวชี้แจงความเป็นมาของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ณ ห้องประชุมกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อระดมความคิดเห็นในการกำหนดแผนงานและแผนที่นำทาง (Roadmap) การพัฒนาอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติความเป็นมาการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ณ ห้องประชุมการบูร ศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการสมุนไพร กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการประสานการดำเนินงานและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรในอนาคต
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36551
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. จัดประกวดสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (OIC InsurTech Award 2020) เพื่อก้าวข้ามสถานการณ์ COVID-19 พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 คปภ. จัดประกวดสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (OIC InsurTech Award 2020) เพื่อก้าวข้ามสถานการณ์ COVID-19 พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่ คปภ.จัดงานแถลงข่าวการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award 2020 ภายใต้โจทย์ “Insurtech - Breaking Through The New Insurance Possibility พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” ณ สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยศูนย์ Center of InsurTech, Thailand (CIT) จัดงานแถลงข่าวการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award 2020 ภายใต้โจทย์ “Insurtech - Breaking Through The New Insurance Possibility พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” ณ ห้องประชุม ชั้น 2 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ทั้งนี้เพื่อสร้างและส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมประกันภัยให้แก่กลุ่มนิสิต/นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย บุคลากรในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Firm) กลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยี (Tech Startup) และประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจและนำความรู้ไปพัฒนานวัตกรรมอุตสาหกรรมประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ เข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เหมาะสมกับยุค New Normal ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้มุ่งเน้นการสร้างเสริมความรู้ในรูปแบบออนไลน์และส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆ ในการเข้าถึงการประกันภัยของประชาชนและให้ความรู้ด้านการประกันภัยผ่านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดงานการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award 2020 ภายใต้โจทย์ “Insurtech - Breaking Through The New Insurance Possibility พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” โดยกล่าวว่า อุตสาหกรรมประกันภัยเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เทคโนโลยีการประกันภัย” (Insurance Technology ) เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้คนไทยเข้าใจและเข้าถึงเรื่องประกันภัยมากขึ้น สำนักงาน คปภ. โดยศูนย์ Center of InsurTech, Thailand จึงได้จัดการประกวดชิงรางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัยขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Insurtech – Breaking Through The New Insurance Possibility พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” โดยเห็นได้จากในช่วงของการระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้เห็นถึงความหวาดกลัว การตื่นตัว การเฝ้าระวังต่อการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ส่งผลทำให้ประชากรไทยเกิดความตระหนักรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น และมองหาเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการประกันภัยโควิด จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ที่มีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจซื้อกรมธรรม์ผ่านช่องทางดิจิทัลสูงถึงกว่า 9 ล้านกรมธรรม์ ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ดังนั้นสำนักงานคปภ. จึงส่งเสริมช่องทางการขายและวิธีการการขายผ่านทางออนไลน์และดิจิทัลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยได้ริเริ่มรูปแบบการประกันภัยในรูปแบบ Digital Face to face ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งเรื่องของการส่ง E-mail SMS ซึ่งเดิมทีอาจใช้กันอยู่แล้ว แต่สำหรับในยุค New Normal นั้นจะเป็นรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น อาทิ การใช้โซเชียลแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Line call หรือ VDO เป็นต้น ในอนาคตยุค 5G ที่จะมาถึงก็จะช่วยให้พัฒนาต่อยอดงานบริการด้านประกันภัยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการนำส่งกรมธรรม์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจ่ายค่าสินไหมทดแทน และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนั้น แม้จะเป็นวิกฤต แต่ถ้ามองในแง่บวกก็ถือเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมประกันภัยในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านประกันภัยมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมประกันภัยในขณะเดียวกันโครงการนี้ฯ ก็จะเป็นประโยชน์กับกลุ่มนิสิต/นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย บุคลากรในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Firm) กลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยี (Tech Startup) และประชาชนทั่วไป ในการนำความรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสนับสนุนต่อยอดองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมประกันภัย นอกจากนี้ยังเป็นการขยายเครือข่ายผู้ที่มีความสนใจ ตลอดจนผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน InsurTech อีกด้วย สำหรับการเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ นี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนิสิต นักศึกษา และประเภทประชาชนทั่วไป โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้าประกวดเป็นทีม มีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 2-4 คนต่อทีม สมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2563 เวลา 23.59 น. โดยผู้สมัครต้องดาวน์โหลด Template ในส่วนของการส่งผลงานประกวดนั้นนำเสนอในรูปแบบ Business Model Canvas ได้ที่ Link : https://url.oic.or.th/award2020/bizcanvas โดยใส่รายละเอียดหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาธุรกิจประกันกันภัย รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้โจทย์ “พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” บันทึกเป็นไฟล์ PDF (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 20 MB) โดยตั้งชื่อไฟล์ว่า “ผลงานสมัครเข้าร่วม OIC InsurTech Award 2020 - ชื่อทีม” พร้อมกรอกใบสมัครและอัพโหลดไฟล์ Business Model Canvas ได้ที่ Link : https://url.oic.or.th/award2020/regis โดยผู้สมัครสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรูปแบบออนไลน์ 4 หลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนเพื่อพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมงานแข่งขัน OIC InsurTech Award 2020 สามารถเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรูปแบบออนไลน์ได้ที่ : https://url.oic.or.th/award2020/start ทั้งนี้ จะมีการคัดเลือกทีมที่สมัครให้เหลือ 70 ทีม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ จากนั้นจะมีการคัดเลือกรอบที่ 2 จาก 70 ทีม ให้เหลือ 30 ทีม และจะให้ 30 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์แบบเข้มข้นและเจาะลึก เพื่อพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 10 ทีมสุดท้าย ซึ่งจะมีสิทธิมานำเสนอผลงานเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกในรอบชิงชนะเลิศที่งานประกาศรางวัล OIC InsurTech Award 2020 ที่อาคารศูนย์ CIT โดยรางวัลที่จะได้รับแต่ละประเภทแบ่งเป็น รางวัลที่ 1 เป็นเงินรางวัล 70,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รางวัลที่ 2 เป็นเงินรางวัล 50,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รางวันที่ 3 เป็นเงินรางวัล 30,000 บาท จำนวน 1 รางวัล และรางวัลชมเชย เป็นเงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 2 รางวัล ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (CIT) Email : [email protected] โทรศัพท์ 080-900-2820
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36554
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดวธ.เป็นประธานเปิดเวทีเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ๕ ภูมิภาค ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ปลัดวธ.เป็นประธานเปิดเวทีเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ๕ ภูมิภาค ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปลัดวธ.เป็นประธานเปิดเวทีเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ๕ ภูมิภาค ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดเวทีเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ๕ ภูมิภาค ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ วัฒนธรรมจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ประชาชน เด็กและเยาวชนที่สนใจเข้าร่วม ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อมาร่วมขับเคลื่อนให้เกิดนิเวศสื่อที่ดี ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36579
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดประชุม ก.ส.ค. เตรียมจัดงานวันอาสาสมัครสากล
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 พม. จัดประชุม ก.ส.ค. เตรียมจัดงานวันอาสาสมัครสากล พม. จัดประชุม ก.ส.ค. เตรียมจัดงานวันอาสาสมัครสากล วันนี้ (6 พ.ย. 63) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (ก.ส.ค.) มอบหมายให้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะรองประธานกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 โดยมี นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) นายสุทธิ จันทรวงษ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมจำนวน 35 คน เข้าร่วมประชุม นายจุติ กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดงานวันอาสาสมัครสากลตามมติของสหประชาชาติ ในวันที่ 5 ธันวาคมเป็นประจำทุกปี (International Volunteer Day : IVD) โดยให้หน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันอาสาสมัครสากล ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม ถึง 5 ธันวาคมของทุกปี และมอบหมายให้กระทรวง พม. และกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมรับผิดชอบในส่วนของการสนับสนุนและประสานงานในการจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการสำหรับร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ว่าด้วยการกำกับ ดูแล ตรวจสอบการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการรายงานการใช้จ่ายเงินขององค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กรสวัสดิการชุมชน พ.ศ. .... โดยขอให้มีการปรับปรุงแก้ไขและนำมาเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36572
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ร่วมประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนครั้งที่ 24
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 พม. ร่วมประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนครั้งที่ 24 พม. ร่วมประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนครั้งที่ 24 วันนี้ (6 พ.ย. 63) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯนางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับมอบหมายจาก นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในระดับรัฐมนตรี พร้อมด้วยนางสาวอุไร เล็กน้อย รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน นางสาวซาราห์ บินเย๊าะ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นายอรรคพงษ์ ศรีสุบัติ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาสังคม นางศิริลักษณ์ มีมาก ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้สูงอายุ นางสาววิมลรัตน์ รัชชุกูล ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของประเทศไทย และผู้แทนกรมต่าง ๆ สังกัดกระทรวง พม. เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนครั้งที่ 24 (24th Meeting of the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council) ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมออนไลน์จากประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หัวหน้าเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงาน คนพิการ และกิจการสังคม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนในปี 2563 นางสาวสราญภัทรกล่าวว่า การประชุม ASCC Council ครั้งนี้ มีระเบียบวาระสำคัญในการรับทราบรายงานของประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนงานหลัก ตลอดจนเอกสารผลลัพธ์สำคัญที่จะมีการรับรองโดยคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ก่อนเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 การรับทราบความก้าวหน้าเกี่ยวกับข้อริเริ่มเกี่ยวกับการตอบสนองต่อ โควิด-19 และการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ทั้งนี้ การประชุม ASCC Council ครั้งที่ 25 จะกำหนดจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ณ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36574
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2563
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2563 ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2563 พบการกระทำผิด จำนวน 499 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 8.53 ล้านบาท นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดทำแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต พื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทำผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และ ความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน สำหรับผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2564 (ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2563) พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 499 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 8.53 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 279 คดี ค่าปรับ 3.39 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 154 คดี ค่าปรับ 3.62 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 13 คดี ค่าปรับ 0.12 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 5 คดี ค่าปรับ 0.08 ล้านบาท น้ำหอม 3 คดี ค่าปรับ 0.07 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 29 คดี ค่าปรับ 0.64 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 16 คดี ค่าปรับ 0.61 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 2,876.950 ลิตร ยาสูบ จำนวน 6,800 ซอง ไพ่ จำนวน 2,549 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 2,240.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 61 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 35 คัน สรุปยอดรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 5 พฤศจิกายน 2563 พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 2,785 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 51.95 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 1,553 คดี ค่าปรับ 15.25 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 912 คดี ค่าปรับ 23.26 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 75 คดี ค่าปรับ 0.82 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 60 คดี ค่าปรับ 3.49 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 13 คดี ค่าปรับ 0.39 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 112 คดี ค่าปรับ จำนวน 2.80 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 60 คดี ค่าปรับ 5.94 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 65,646.070 ลิตร ยาสูบ จำนวน 96,604 ซอง ไพ่ จำนวน 5,680 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 122,387.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 47,698 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 133 คัน “หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนำจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว” ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต โทร/โทรสาร 0 2241 4778 https://webdev.excise.go.th/act2560/suppress-news/37-2564/596-2564-30-5-2563-56
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกิจกรรมทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกิจกรรมทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกิจกรรมทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายกฤษฎา คงคะจันทร์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกิจกรรมทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมี นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรม ณ บริเวณด้านหน้าอาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36578
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-องคมนตรีตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.ระยอง ต้นแบบระบบบริการดูแลผู้สูงอายุ
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 องคมนตรีตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.ระยอง ต้นแบบระบบบริการดูแลผู้สูงอายุ องคมนตรี ตรวจเยี่ยมการพัฒนาโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดระยอง เป็นโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจร เป็น Smart Hospital เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการ ลดขั้นตอนการทำงานได้ถึงร้อยละ 70 องคมนตรี ตรวจเยี่ยมการพัฒนาโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดระยอง เป็นโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจร เป็น Smart Hospital เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการ ลดขั้นตอนการทำงานได้ถึงร้อยละ70 วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล พร้อมนายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 6 และคณะ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรและติดตามการพัฒนาโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดระยอง นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 6 กล่าวว่า โรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล ในปี 2562 ปรับปรุงอาคารผู้ป่วยนอก มูลค่า 2,032,232.95 บาท ลดความแออัด เพิ่มพื้นที่สำหรับผู้ป่วยรถนั่ง รถนอน สามารถให้บริการได้เพียงพอต่อผู้รับบริการ 200 รายต่อวัน ส่วนปีงบประมาณ 2563 ได้รับการสนับสนุนเครื่องเอกซเรย์ที่มีประสิทธิภาพขนาดไม่น้อยกว่า 500mA มูลค่า 1,500,000 บาท ช่วยลดอัตราการส่งตรวจซ้ำ และลดระยะเวลารอคอยได้รวมไปถึงขยายการให้บริการตรวจสุขภาพกลุ่มข้าราชการ ต่างด้าว และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์กับโรคในระบบทางเดินหายใจ นายแพทย์สุเทพกล่าวต่อว่า โรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ได้พัฒนาเป็นโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบคลินิกผู้สูงอายุครบวงจร รองรับสังคมผู้สูงอายุตามบริบทของพื้นที่ โดยร่วมกับกรมการแพทย์ จัดตั้งคลินิกดูแลผู้สูงอายุแยกจากคลินิกโรคทั่วไป โดยมีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรม ดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจประเมินกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และส่งต่อรับคำปรึกษาโดยทีมสหวิชาชีพ โดยพบผู้มีภาวะสมองเสื่อม และผู้มีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า นำเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา รวมทั้งได้พัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care) ดูแลผู้ป่วยที่พ้นระยะวิกฤตให้ได้รับการดูแลใกล้บ้าน ลดแออัดโรงพยาบาลใหญ่ และยังมีบริการตรวจรักษาโรคผิวหนัง โรคทางจิตเวช การแพทย์แผนจีน เป็นต้น สำหรับการดำเนินงานโรงพยาบาล Smart Hospital ได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการเพิ่มความสะดวกผู้รับบริการตามบริบทของโรงพยาบาลชุมชน เช่นระบบเข้าปฏิบัติงาน (COVID-19 Tracker) ระบบแปลงสัญญาณภาพ X-ray (PACs) ระบบ Smart Vital Sign ระบบคิว (QUEUE SYSTEM) สามารถลดขั้นตอนการทำงานได้ถึงร้อยละ 70 ทำให้ประชาชนไม่ต้องเสียเวลารอคอย รวมทั้งใช้ระบบบริการการแพทย์วิถีใหม่ (New normal medical service) ป้องกันการแพร่กระจายโรคโควิด 19 โดยมีการส่งยาให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ไปที่รพ.สต.ใกล้บ้าน ลดการรับบริการที่โรงพยาบาล จัดตั้งคลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI clinic) แยกออกจากผู้ป่วยนอกทั่วไป จัดพื้นให้บริการผู้ป่วยทันตกรรมแยกแต่ละยูนิตตามแนวทางใหม่การวัดอุณหภูมิร่างกาย เจ้าหน้าที่ และผู้มารับบริการทุกคนก่อนเข้ารพ. และจัดเตรียมแอลกอฮอล์ล้างมือทุกจุด มีการทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ และพื้นที่ให้บริการอย่างสม่ำเสมอ ************************************** 6 พฤศจิกายน 2563 **********************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กป้อม” มอบนโยบาย 10 ข้อ สั่งการมหาดไทยสร้างการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาและบูรณาการการทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนในทุกมิติ
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563 “บิ๊กป้อม” มอบนโยบาย 10 ข้อ สั่งการมหาดไทยสร้างการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาและบูรณาการการทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนในทุกมิติ “บิ๊กป้อม” มอบนโยบาย 10 ข้อ สั่งการมหาดไทยสร้างการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาและบูรณาการการทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนในทุกมิติ วันนี้ (6 พ.ย. 63) เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมราชสีห์ ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและภารกิจสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ให้การต้อนรับและรับฟังแนวนโยบาย โดยเป็นการประชุมผ่านระบบ Video Conference ไปยังทุกจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังนโยบายทั่วประเทศ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี มีความมุ่งมั่นที่จะดูแลพี่น้องประชาชนทุกช่วงวัยอย่างทั่วถึง เร่งแก้ไขปัญหาปากท้อง สร้างรายได้ให้กับประชาชนเพื่อเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต้องขอขอบคุณผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับของกระทรวงมหาดไทยที่ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ โอกาสนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ กล่าวมอบนโยบายการดำเนินงานใน 10 ด้าน ได้แก่ 1. ให้ความสำคัญกับการปกป้องและเทิดทูนสถาบันหลักของชาติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างสังคมแห่งการรู้รักสามัคคี รวมทั้งขับเคลื่อนและขยายผลการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ 2. ขับเคลื่อนการปฏิบัติของจิตอาสาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมถึงการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานทุกระดับ และเน้นย้ำนายอำเภอในการสร้างการรับรู้ภารกิจจิตอาสาต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน 3. ขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่หลังสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” โดยขอให้จังหวัดดำเนินการแก้ปัญหาที่เป็นความเดือดร้อน/ความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด ผ่านการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน และเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) 4. สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ให้มีความพร้อมรับมือได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นตามมาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กำหนด 5. ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่ผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากภาคีการพัฒนาต่าง ๆ และต่อยอดสู่การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ด้วยระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือระบบ TPMAP ให้มีคุณภาพครอบคลุมทุกมิติ และทุกพื้นที่ รวมทั้งประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งงบประมาณแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6. สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจากศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ศอ.ปส.) สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ทั้งในด้านการป้องกัน ปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย การบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด และการบริหารจัดการโดยบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ 7. บูรณาการหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงภาคประชาชนและอาสาสมัคร เตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น อาทิ อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งสร้างการรับรู้ประชาชนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ ประกาศเตือนรับ และการรับรู้ข้อมูลภาครัฐอย่างถูกต้อง ทั่วถึง 8. ขับเคลื่อนบทบาทศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอให้เป็นกลไกสำคัญในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเรื่องร้องเรียนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้ ให้รวบรวมและแจ้งรายละเอียดมาที่หน่วยงานส่วนกลางเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว 9. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอกำชับและติดตามการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของศูนย์บูรณาการและประสานการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในระดับพื้นที่อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน พื้นที่ชายทะเล พื้นที่เขตอุตสาหกรรม และพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว 10. ให้ใช้กลไกของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ส่วนกลางไปจนถึงระดับพื้นที่ ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชนในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์ผลดำเนินงานสำคัญของรัฐบาลและส่วนราชการ พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดข่าวปลอมหรือ Fake News ซึ่งส่งผลกระทบทำให้สังคมเกิดความคลาดเคลื่อนในการรับรู้ข้อเท็จจริง ท้ายสุด พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนในระดับพื้นที่ มีกลไกเชื่อมโยงถึงพี่น้องประชาชนทั้งในท้องที่และท้องถิ่น จึงขอให้ข้าราชการ พนักงาน บุคลากร ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร ทุกคน ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเสียสละอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน” นอกจากนี้ ขอให้เร่งขยายผลเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้า ผลงาน และขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้ทราบ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36576