title
stringlengths
10
260
context
stringlengths
29
179k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์ขยายสิทธิเบิกจ่ายตรงค่ายารักษาโรคมะเร็ง
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์ขยายสิทธิเบิกจ่ายตรงค่ายารักษาโรคมะเร็ง กรมบัญชีกลางได้ดำเนินงานภายใต้คณะทำงานพิจารณาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาระบบเบิกจ่ายค่ายากลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยคณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดำเนินงานภายใต้คณะทำงานพิจารณาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาระบบเบิกจ่ายค่ายากลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็ง และเภสัชกรเชี่ยวชาญ โดยคณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ปรับปรุงและขยายเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายารักษาโรคมะเร็งที่ต้องลงทะเบียนเพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายในระบบ OCPA เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ดังนี้ 1.1 ปรับปรุงเกณฑ์การตรวจวินิจฉัยสำหรับการเบิกจ่ายค่ายา Trastuzumab และ Pertuzumab ในโรคมะเร็งเต้านม โดยยกเลิกการตรวจยืนยันด้วย FISH หรือ DISH ในกรณีที่มีการตรวจ HER2 เป็น 3+ โดยวิธี Immunohistochemistry ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัย และทำให้ผู้ป่วยที่มี HER2 เป็น 3+ มีโอกาสได้ใช้ยาเร็วขึ้น 1.2 ขยายข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Imatinib ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ชนิด GIST สำหรับการใช้เป็นการรักษาเสริมหลังการผ่าตัดที่พบว่ามีโอกาสของการกลับคืนโรคได้สูง และเพิ่มข้อบ่งชี้โรคมะเร็งผิวหนังชนิด Dermatofibrosarcoma protuberans (DFSP) 1.3 เพิ่มข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Trastuzumab ในการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย 2. กำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Imatinib และ Trastuzumab สำหรับการรักษาทุกข้อบ่งชี้ โดยให้เบิกจ่ายค่ายาได้ไม่เกินอัตราที่กำหนด ดังนี้ 2.1 ยา Imatinib ความแรง 100 มิลลิกรัม และ 400 มิลลิกรัม อัตรา 160 บาทต่อเม็ด และ 610 บาทต่อเม็ด ตามลำดับ 2.2 ยา Trastuzumab ความแรง 150 มิลลิกรัม 440 มิลลิกรัม และ 600 มิลลิกรัม อัตรา 3,940 บาทต่อไวแอล 11,230 บาทต่อไวแอล และ 12,350 บาทต่อไวแอล ตามลำดับ โดยหลักเกณฑ์ตามข้อ 1.1 จะมีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป สำหรับหลักเกณฑ์ตามข้อ 1.2 1.3 และ 2 ให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป “การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการสามารถเข้าถึงการรักษาที่จำเป็นอย่างสมเหตุผล สอดคล้องกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ และสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับ ปัจจุบันยารักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงหลายรายการมีทั้งยาต้นแบบ (original/originator) และยาสามัญ (generic) หรือยาชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilar) ซึ่งมีราคาแตกต่างกันมาก โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนว่ายา generic หรือ biosimilar มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาพยาบาลเทียบเท่าหรือไม่ด้อยกว่ายา original/originator ดังนั้น การกำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายาจะช่วยให้รัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาบางส่วนได้ โดยไม่ทำให้คุณภาพการรักษาพยาบาลลดลง ผู้ป่วยจะยังคงได้รับยาที่มีคุณภาพในการรักษาและมีความปลอดภัยตามมาตรฐานการคัดเลือกยาของสถานพยาบาล และรัฐสามารถนำงบประมาณที่ประหยัดได้ไปใช้ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจจะต้องมีการร่วมจ่ายค่ายา หากมีความประสงค์จะเลือกใช้ยาที่มีราคาสูงกว่าอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02 127 7000 ต่อ 6850 หรือ 6851 ในวัน เวลาราชการ” หรือสืบค้นข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล/กฎหมายระเบียบและหนังสือเวียน (สวัสดิการรักษาพยาบาล)” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61469
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. เติมทุน 5,000 ล้าน ยกระดับสถาบันเกษตรกร หนุนการเชื่อมโยงธุรกิจเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ธ.ก.ส. เติมทุน 5,000 ล้าน ยกระดับสถาบันเกษตรกร หนุนการเชื่อมโยงธุรกิจเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า ธ.ก.ส. ผนึกกำลังส่วนราชการ สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด เติมทุนหนุนการเชื่อมโยงธุรกิจเกษตร ยกระดับภาคเกษตรไทย ตั้งแต่ต้น-กลาง-ปลายน้ำ ผ่านโครงการจัดการผลผลิตเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรและเพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน ธ.ก.ส. ผนึกกำลังส่วนงานราชการ สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด เติมทุนหนุนการเชื่อมโยงธุรกิจเกษตร ยกระดับภาคเกษตรไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ผ่านโครงการจัดการผลผลิตเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรและเพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดแก้หนี้ แก้จน & ก้าวพ้นวิกฤต โดยเน้นการจับคู่ธุรกิจระหว่างเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร พร้อมเติมทุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำวงเงินกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ พัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับคุณภาพผลผลิตไปสู่การจำหน่ายสินค้าคุณภาพดีที่ตรงกับความต้องการตลาดโลก วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือการเชื่อมโยงธุรกิจสินค้าเกษตรในโครงการจัดการผลผลิตเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรและเพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดแก้หนี้ แก้จน & ก้าวพ้นวิกฤต ระหว่างนายโสรัต โสพรรณรัตน์ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. และส่วนงานราชการ สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในห่วงโซ่การผลิต เพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรจนไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยมีนายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. และภาคีเครือข่าย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมพิษณุโลกคอนเวนชั่น โรงแรม ดิอิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ พิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการและโฆษก ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรมีราคาพุ่งสูงขึ้น อาทิ ปุ๋ยเคมี เชื้อเพลิง ค่าขนส่ง ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายครัวเรือน รวมถึงหนี้สินที่เกิดจากการลงทุน ซึ่ง ธ.ก.ส. ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าวและพร้อมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาและร่วมพัฒนาศักยภาพการผลิตในภาคการเกษตรภายใต้แนวคิดการจัดการ – ออกแบบเชิงพื้นที่ “แก้หนี้ แก้จน” Design & Manage by Area (D&MBA) เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยคนในชุมชนให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างเข้มแข็ง พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิตให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรมีรายได้อย่างยั่งยืน โดยร่วมกับส่วนงานราชการ สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดตาก ซึ่งมีการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักหลายชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย ดำเนินโครงการจัดการผลผลิตเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรและเพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดแก้หนี้ แก้จน & ก้าวพ้นวิกฤต ในการเข้าไปเป็นผู้ช่วยในการจับคู่ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ภายใต้กรอบแนวคิดการออกแบบ-การจัดการเชิงพื้นที่ แก้หนี้ แก้จน D&MBA ซึ่งเริ่มตั้งแต่การศึกษาสาเหตุ ปัญหาที่เกิดขึ้นและความต้องการเกษตรกรในพื้นที่ กำหนดแนวทางแก้ไขโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ประเมินความเป็นไปได้และศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนตามแนวทางที่กำหนด เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน รวมทั้งมีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน เครือข่ายทางสังคม ให้การสนับสนุนในการเติมความรู้ด้านการสร้างอาชีพเดิม เสริมอาชีพใหม่ ความรู้ด้านการเงิน เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่เกษตรกร สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรในการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร จนสามารถส่งมอบผลผลิตที่มีคุณภาพที่ตรงกับความต้องการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจากการร่วมมือครั้งนี้จะมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดกว่า 520,353 ตัน ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ยังมีการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลผ่านโครงการประกันรายได้ในพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพาราและปาล์มน้ำมัน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ซึ่งมีการจ่ายเงินไปแล้วจำนวน 142,667 ล้านบาทและมีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.68 ล้านราย และ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน วงเงินรวมกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ได้แก่ สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและลงทุนในการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี สินเชื่อนวัตกรรมดีมีเงินทุน เพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้และลดต้นทุนในกระบวนการผลิต อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4 ต่อปี สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร สำหรับลูกค้าเกษตรหัวขบวนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ที่เน้นสนับสนุนสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน กองทุนหมู่บ้านและกลุ่มเกษตรกรในการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ่านการแปรรูปผลผลิต อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี และมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการ SME เกษตรหัวขบวนและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Smart Farmer) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันภาคเกษตรไทยไปสู่ตลาดสากล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61490
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-DAD สานต่อโครงการ “แยกขวด สู้ภัยโควิด”
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 DAD สานต่อโครงการ “แยกขวด สู้ภัยโควิด” DAD Asset Development ร่วม ส่งมอบขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว (ขวด PET) ในโครงการ “แยกขวด สู้ภัยโควิด” ให้แก่ พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร) เจ้าอาวาสวัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดมาแปรรูปทำชุด PPE สำหรับพระสงฆ์ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ นายธีธัช สุขสะอาด รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD Asset Development ร่วมกับนายจรง เจียมอนุกูลกิจ ผู้จัดการโครงการ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ STI ผู้แทนกลุ่มที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C ส่งมอบขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว (ขวด PET) ในโครงการ “แยกขวด สู้ภัยโควิด” ให้แก่ พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร) เจ้าอาวาสวัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดมาแปรรูปทำชุด PPE สำหรับพระสงฆ์ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด และนำมาขวดพลาสติกที่ใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นผ้าผืน เพื่อให้จิตอาสาของชุมชนนำมาตัดเย็บเป็นชุดผ้าไตรจีวรถวายให้แก่พระสงฆ์ได้สวมใส่ สำหรับโครงการ “แยกขวด สู้ภัยโควิด” DAD ได้ส่งมอบขวด PET ในเฟสแรก จำนวน 275 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา และในครั้งนี้เฟสที่สอง DAD ได้ตั้งจุดรับบริจาคบริเวณโดยรอบโครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ทั้งหมด 3 จุด ได้แก่ 1. อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) บริเวณประตู 6 ชั้น 1 2. อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) บริเวณทางเชื่อมอาคารจอดรถ ชั้นที่ 2 และ 3. กองอำนวยการร่วมโครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซน C (ตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามอาคาร B) ได้ขวด PET ทั้งหมดรวม จำนวน 99 กิโลกรัม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ยังสอดคล้องตามแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566-2570 ที่ให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อน การลดปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน (Reduce Reuse and Recycle) เพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาการแยกขยะ การหมุนเวียนพลาสติกที่ใช้แล้ว และการส่งเสริมการรีไซเคิลขยะให้เกิดมูลค่าทำให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและถือเป็นงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61485
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วันนี้(10 พ.ย.) บช.น.และกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการซักซ้อมรถนำขบวนเอเปค ครั้งที่2 ใน 2 ช่วงเวลา 16.30-20.00 น. และ 21.00-03.00 น.ของวันถัดไป
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 วันนี้(10 พ.ย.) บช.น.และกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการซักซ้อมรถนำขบวนเอเปค ครั้งที่2 ใน 2 ช่วงเวลา 16.30-20.00 น. และ 21.00-03.00 น.ของวันถัดไป วันนี้(10 พ.ย.) บช.น.และกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการซักซ้อมรถนำขบวนเอเปค ครั้งที่2 ใน 2 ช่วงเวลา 16.30-20.00 น. และ 21.00-03.00 น.ของวันถัดไป ชี้เป้าประชาชนติดตามข้อมูลแนะนำเลี่ยงเส้นทางที่เพจเฟซบุ๊ค กองบัญชาการตำรวจนครบาล และสายด่วน 1197 วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชนได้เตรียมความพร้อมสำหรับสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย.นี้ โดยส่วนของการรักษาความปลอดภัยและการจัดจราจรให้กับคณะผู้นำแต่ละเขตเศรษฐกิจ สำนักงานตรวจแห่งชาติได้มอบหมายให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ สำหรับการเตรียมการนั้น บช.น.ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศซักซ้อมรถนำขบวนผู้นำเอเปค ครั้งที่1 ไปเมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่่ผ่านมา ซึ่งการซักซ้อมผ่านไปได้ด้วยความเรียบร้อย และในวันนี้ (10 พ.ย.) จะมีการซักซ้อมเป็นครั้งที่ 2 ใน 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 16.30-20.00 น. และ 21.00-03.00 น. ของวันถัดไป ซึ่ง บช.น.ได้แจ้งถึงความจำเป็นต้องปิดการจราจรบนทางด่วนและทางพื้นราบในบางช่วงเวลา เพื่อเป็นข้อมูลการวางแผน และลดผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน บช.น. จึงได้แจ้งเส้นทางที่จะมีการปิดจราจร และแจ้งเส้นทางแนะนำ ดังนี้ เส้นทางที่จะปิดการจราจร ใน 2 ช่วงเวลา ประกอบด้วย เวลา 16.30 -20.00 น. ปิดการจราจร ถนนพิษณุโลก(แยกมิสกวัน-แยกสี่เสาเทเวศร์), ถนนราชดำเนินตลอดสาย(แยกสวนมิสกวัน-แยกผ่านฟ้าลีลาศ-แยกผ่านพิภพ-แยกป้อมเผด็จ), ถนนหน้าพระลาน(ตลอดสาย), ถนนหน้าพระธาตุ(ตลอดสาย), ถนนมหาราช(แยกท่าช้าง-แยกท่าเตียน), ถนนท้ายวัง(ตลอดสาย), ถนนสนามไชย(แยก นรด.-แยกป้อมเผด็จ), สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ส่วนเวลา 21.00-03.00 น. ของวันถัดไป มีการปิดจราจร 3 ส่วน ประกอบด้วย 1)เส้นทาง(พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนพระราม4/2 ประกอบด้วย ถนนเพลินจิต(แยกราชประสงค์-แยกเพลินจิต), ถนนสุขุมวิท (แยกเพลินจิต-ซอยสุขุมวิท22), ถนนราชดำริ (แยกราชประสงค์-แยกศาลาแดง), ถนนวิทยุ(แยกเพลินจิต-แยกวิทยุ), ถนนรัชดาภิเษก(แยกอโศกมนตรี-แยกพระราม4), ถนนพระราม4 (แยกศาลาแดง-แยกพระราม4) และถนนสาทร(แยกวิทยุ-แยกนรินธร) 2)เส้นทาง(พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนยมราช ประกอบด้วยถนนเพชรบุรี (แยกอุรุพงษ์-แยกยมราช), ถนนพิษณุโลก(แยกยมราช-แยกสวนมิสกวัน), ถนนราชดำเนินตลอดสาย(แยกสวนมิสกวัน-แยกผ่านฟ้า-แยกผ่านพิภพ-แยกป้อมเผด็จ),ถนนหน้าพระลาน(ตลอดสาย), ถนนหน้าพระธาตุ(ตลอดสาย), ถนนมหาราช(แยกท่าช้าง-แยกท่าเตียน), ถนนท้ายวัง(ตลอดสาย) 7)ถนนสนามไชย(แยก นรด.-แยกป้อมเผด็จ) และ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 3)เส้นทางบนทางด่วน ได้แก่ ทางขึ้นด่วนสุรวงศ์, ทางลงด่วนสีลม, ทางลงด่วนอุรุพงษ์, ทางขึ้น/ลงด่วนยมราช, ต่างระดับพญาไท-ต่างระดับมักกะสัน, ทางขึ้น/ลงด่วนเพลินจิต และ ทางขึ้น/ลงด่วนพระราม4/2 น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า บช.น.ได้แจ้งเส้นทางแนะนำสำหรับประชาชนในช่วงเวลาที่มีการปิดจราจร 2 ช่วงดังกล่าว ดังนี้ 1)เส้นทางแนะนำ(พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนยมราช ตั้งแต่เวลา 16.30-20.00 น. และ 21.00-03.00 น.ของวันถัดไป ประกอบด้วย ถนนราชวิถี, ถนนศรีอยุธยา, ถนนกรุงเกษม, ถนนประชาธิปไตย, ถนนพระสุเมรุ, ถนนดินสอ, ถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง, ถนนหลานหลวง, ถนนจักรวรรดิ, ถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช, ถนนจรัญสนิทวงศ์, สะพานซังฮี้, สะพานพระราม8, สะพานพระพุทธยอดฟ้า และสะพานพระปกเกล้า 2)เส้นทางแนะนำ(พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนพระราม4/2 ช่วงเวลา 21.00-03.00น.ของวันถัดไป ประกอบด้วย ถนนเพชรบุรี,ถนนพญาไท, ถนนอังรีดูนังต์, ถนนสีลม, ถนนนราธิวาสฯ, ถนนจันทน์, ถนนสุทรโกษา, ซอยทองหล่อ, ซอยเอกมัย, ซอยสุขุมวิท24, ซอยแสนสบาย และซอยกล้วยน้ำไท "ขอให้ประชาชนเลี่ยงเส้นทางที่ บช.น. แจ้งจะมีการปิดการจราจรในแต่ละช่วงเวลา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจราจรในช่วงสัปดาห์ประชุมผู้นำเอเปคสามารถติดตามที่เพจเฟซบุ๊ค "กองบัญชาการตำรวจนครบาล-บช.น." หรือโทรสายด่วนศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร 1197" น.ส.ไตรศุลี กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61468
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปมท. ถวายมุทิตาสักการะยกย่อง พระครูวิทูรธรรมนิเทศ และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ (ขุนศิริ) ผอ.ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระผู้มีวัตรปฏิบัติ ฯ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ปมท. ถวายมุทิตาสักการะยกย่อง พระครูวิทูรธรรมนิเทศ และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ (ขุนศิริ) ผอ.ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระผู้มีวัตรปฏิบัติ ฯ ปลัด มท. ถวายมุทิตาสักการะยกย่อง พระครูวิทูรธรรมนิเทศ และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ (ขุนศิริ) ผอ.ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระผู้มีวัตรปฏิบัติในการสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริ ปลัด มท. ถวายมุทิตาสักการะยกย่อง พระครูวิทูรธรรมนิเทศ และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ (ขุนศิริ) ผอ.ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระผู้มีวัตรปฏิบัติในการสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทยและคนทั้งโลก เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 65 เวลา 15.00 น. ที่พระมหาธาตุเจดีย์ ชั้น 2 ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานถวายช่อดอกไม้แสดงมุทิตาสักการะในพิธีถวายโล่รางวัล "บุคคลแห่งสันติภาพโลก" และรางวัลไดม่อน ออฟ เอเซีย (Diamond of Asia) ในงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรมนานาชาติแห่งประเทศไทยครั้งที่ 21 แด่พระครูวิทูรธรรมนิเทศ (หลวงพ่อสำรวย ตายโน) เจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ (ขุนศิริ) ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นประธานในพิธีเปิดป้าย "ศูนย์ศึกษานานาชาติแห่งศาสตร์พระราชาไทย" ท่ามกลางอาคันตุกะศิลปินจากนานาประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยานอย่างพร้อมเพรียง โดยมี นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวประภัสรา ศรีทอง ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดชลบุรี นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พลตรี อำนาจ จันทรนิมะ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย นายธงชัย สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ที่ปรึกษาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดิน รักษ์น้ำ (Earth Safe Foundation) หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วถวายช่อดอกไม้แสดงมุทิตาสักการะแด่พระครูวิทูรธรรมนิเทศ (หลวงพ่อสำรวย ตายโน) และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ (ขุนศิริ) และร่วมกล่าวอนุโมทนา โดยกล่าวว่า "ผมมั่นใจในวัตรปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูวิทูรธรรมนิเทศ และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ พระสงฆ์ผู้มีวัตรปฏิบัติเป็นหลักชัยของความยั่งยืนและเป็นหลักชัยของการช่วยเหลือเกื้อกูลพี่น้องประชาชน ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : UN SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ด้วยการสนองแนวพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้มีความแน่วแน่มั่นคงในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมนาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เพื่อนำพาพี่น้องประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีควบคู่กับการธำรงรักษาสภาวะแวดล้อมให้เป็นสภาวะแวดล้อมที่ดี เหมาะสมต่อมวลมนุษยชาติ ให้ได้อยู่อาศัย เป็นการต่ออายุของโลกใบนี้ของเราให้มีอายุยืนยาว หายเจ็บไข้จากภาวะโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ "อย่างเช่นสถานที่มหาเจดีย์แห่งนี้ แม้ว่าจะก่อสร้างด้วยวิทยาการสมัยใหม่ แต่ก็เป็นการเห็นถึงคุณค่าแห่งความยั่งยืน ตั้งแต่วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ท่านก็นำเอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และเป็นอาคารที่ประหยัดไฟ อนุรักษ์พลังงาน แม้แต่พระประธาน ก็นำดินมาประมวลรวมสร้างเป็นพระประธานแทนการใช้เหล็ก ทองเหลือง หรือซีเมนต์ อันเป็นเครื่องยืนยันว่าท่านคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ท่านได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมนาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแผ่ขยายผลเพื่อให้ญาติโยมได้มีที่พึ่งเป็นแสงประทีปนำทางชีวิตให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ได้กล่าวอีกว่า พระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ เป็นบุคคลที่ประวัติศาสตร์อาจจะลืมไปแล้วว่า การนำทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาสู่ประชาชนเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต ท่านเป็นผู้ที่ค้นพบคำพูดที่เข้าถึงพี่น้องประชาชนได้โดยง่าย จากเมื่อก่อนเราจะรู้จักเศรษฐกิจพอเพียงกันในชื่อเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นหลัก แต่แท้จริงแล้วทฤษฎีใหม่ของพระองค์ท่านมีมากกว่า 40 ทฤษฎี เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นเพียงทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งท่านพระอาจารย์ได้ร่วมกับอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร และทีมงานอีกหลายท่าน จนเกิดการอรรถาธิบายทฤษฎีใหม่ในชื่อ โคก หนอง นา ผ่านงานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยเด็กผู้เป็นอนาคตของชาติ อนาคตของโลก ปั้นดินปั้นทรายเป็นโมเดล เรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่ผ่านการเล่นและงานฝีมือบนกระบะทราย (sandbox) โดยที่ไม่รู้ว่า นั่นแหละ คือ ทฤษฎีใหม่ กระทั่งเมื่อมาตรวจผลงานดู เกิดการอุทานว่า "โคก หนอง นา" และท่านอาจารย์ยักษ์ ได้น้อมนำทฤษฎีใหม่ไปทดลองทำในรูปแบบที่สมบูรณ์มากขึ้น ใช้ชื่อว่า โคก หนอง นา ตลอดมา จวบจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานอารักขาแก่ประชาชนชาวไทย ความว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป" และทรงลงมือทำแปลงโคก หนอง นา ด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษา ค้นคว้า และพระราชทานโครงการให้กับกรมราชทัณฑ์ ชื่อ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง เพื่อที่จะให้ผู้ที่หลงผิดต้องโทษจำขัง ได้ฝึกปฏิบัติ ได้รับองค์ความรู้ ก่อนที่จะพ้นโทษ สำหรับการไปช่วยเหลือตนเอง เพื่อที่จะให้ตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่โดยไม่ต้องไปทำผิดซ้ำซาก และยังผลทำให้สถิติของผู้ที่พ้นโทษและกลับมารับโทษซ้ำลดลง จากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 30 เพราะพระมหากรุณาธิคุณ และได้พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โคก หนอง นา แห่งความสุข และ Happy Family หลายต่อหลายภาพ ซึ่งเกิดจากการสรุปองค์ความรู้และพระราชทานกำลังใจแก่พวกเราทุกคนจากห้องทรงอักษรของพระองค์ "ผมขอเรียนย้ำเตือนว่า "โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง" ไม่ใช่เพียงช่วยผู้ต้องขังให้มีวิชาความรู้ แต่ได้ช่วยทุกคนในสังคม ด้วยเพราะว่า เมื่อพวกเขาได้รับการพัฒนาทักษะให้เป็นคนที่มีวิชาความรู้แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ประกอบสัมมาชีพที่สุจริต มีคุณภาพชีวิตที่ดี เลี้ยงดูตนเองได้ ก็จะไม่หลงผิด และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะประกอบความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น จึงถือได้เป็นการช่วยให้คนไทยทุกคนได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือเรียกว่าเป็นการ "แก้ไขในสิ่งผิด" ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ข้าราชบริพารของพระองค์ท่านว่า "ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ ได้น้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวมาเผยแผ่ด้วยกุศโลบายในการสื่อสารสังคม โดยเชิญคุณแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ไปทำโคก หนอง นา เอามื้อสามัคคี ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ อันเป็นการสื่อสารกับสังคมว่า ดาราศิลปินดังก็เห็นประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ทำให้เกิดเป็น "โคก หนอง นา ดาราโมเดล" ที่ช่วยกระตุ้นปลุกเร้าให้แฟนคลับของคุณแพนเค้ก เขมนิจ ได้ให้ความสนใจศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติตามเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า คุณูปการที่พระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ ได้ทำมาทั้งหมด โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย ทั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่มอบเพชรเม็ดงาม คือ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล มูลนิธิ Earth Safe ยังช่วยส่งผลทำให้กระทรวงมหาดไทยสามารถน้อมนำเอาสิ่งที่พระอาจารย์และผู้มีคุณูปการภาคีเครือข่ายข้างต้น มาขับเคลื่อนไปสู่พี่น้องประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งพวกเราทุกคนทั้งในฐานะศิษยานุศิษย์และในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอแสดงมุทิตาจิตยินดีที่ท่านได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติร่วมกับพระอาจารย์ของท่าน และขอให้กำลังใจที่พวกเราทุกคนมาร่วมกันสามัคคีสโมสรในวันนี้ เป็นการดลบันดาลให้ท่านพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปญฺโญ และพระครูวิทูรธรรมนิเทศ ได้เพิ่มพูนความช่วยเหลือสาธารณสงเคราะห์ให้กับมวลมนุษยชาติไม่เฉพาะคนไทย แต่รวมตลอดจนถึงชาวโลกประเทศอื่น ๆ ด้วย และขอให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้ช่วยกันนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ ณ พื้นที่มาบเอื้องแห่งนี้ ขยายผลสร้างการรับรู้ไปสู่พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดชลบุรีและพี่น้องประชาชนทุกคนโดยทั่วกัน เพื่อให้พี่น้องประชาชนและประเทศชาติมีความวัฒนาสถาพรเพิ่มมากขึ้นอย่างยั่งยืนตลอดไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61472
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ลดฝุ่น PM 2.5 ตั้งเป้าไม่ให้เกิน 5% ของอ้อยทั้งหมด
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ลดฝุ่น PM 2.5 ตั้งเป้าไม่ให้เกิน 5% ของอ้อยทั้งหมด รัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ลดฝุ่น PM 2.5 ตั้งเป้าไม่ให้เกิน 5% ของอ้อยทั้งหมด วันที่ 10พฤศจิกายน 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคการเกษตร ทีมีสาเหตุหลักมาจากการตัดอ้อยไฟไหม้ ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าไม่ให้มีการตัดอ้อยไฟไหม้เกิน 5% ของจำนวนอ้อยทั้งหมด ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตราการส่งเสริมการตัดอ้อยสด ผ่านการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสดโดยไม่ต้องเผาอ้อย สำหรับฤดูการผลิต 2565/2566 มีการอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือเป็นจำนวน 8,159 ล้านบาท นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้ดำเนินโครงการให้กู้ยืมและชดเชยดอกเบี้ย ปี 2565-2567 เป็นวงเงิน ปีละ 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท ให้กับชาวไร่อ้อย เพื่อชดเชยสำหรับการจัดการแหล่งน้ำ ซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 สำหรับแนวโน้มราคาของอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตปี 2565/2566 คาดการณ์ว่า จะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่าตันละ 1,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยราคาน้ำตาลตลาดโลก หากราคา (รวมพรีเมี่ยม) อยู่ที่ประมาณ 20.00 เซนต์/ปอนด์ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34 บาท/เหรียญสหรัฐ ราคาอ้อยขั้นต้นจะสูงกว่าตันละ 1,000 บาท” “อ้อยเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศ ทั้งในเรื่องของการบริโภคและการแปรรูปเป็นพลังงานชีวมวล ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพแบบครบวงจรตั้งแต่ภาคการเกษตร จนถึงภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญต้องไม่ให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยเป็นเหตุของปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 นโยบายการสร้างแรงจูงใจและช่วยเหลือเกษตรกรไม่ให้ตัดอ้อยไฟไหม้ ถือเป็นหัวใจสำคัญและได้รับการยอมรับจากเกษตรกร” นางสาวรัชดา กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61465
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM leaves for Cambodia to attend 40th and 41st ASEAN summits and related summits
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 PM leaves for Cambodia to attend 40th and 41st ASEAN summits and related summits PM leaves for Cambodia to attend 40th and 41st ASEAN summits and related summits November 10, 2022, at 0730hrs, at the Royal Thai Air Forces Airport Wing 6, Don Maung, Bangkok, Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha and spouse, together with Minister of Finance Arkhom Termpittayapaisith, Deputy Minister of Commerce Sinit Lertkrai, and Secretary General of Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC) Danucha Pichayanan, left for Phnom Penh, Kingdom of Cambodia to attend the 40th and 41st ASEAN summits and related summits during November 10-13, 2022. The 40th and 41st ASEAN summits and related summits will be hosted by Cambodia, chair of ASEAN in 2022, under the theme: “ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together”. Priorities to be put forward by Thailand at the 40th and 41st ASEAN summits are strengthening the ASEAN Community in preparation for common challenges, i.e., economic and public health challenges; opportunity building for sustainable future, and regional security and peacekeeping, among others. Thailand’s key message for the 40th and 41st ASEAN summits and related summits will be “Strengthening Present – Joining Forces Toward Future – Respecting ASEAN Way”. The Prime Minister’s schedule is as follows: November 10, 2022 (Thu) Morning: ​Prime Minister and spouse, and delegation leave for Phnom Penh, Kingdom of Cambodia Afternoon:​Dialogue between ASEAN leaders and the ASEAN Inter-Parliamentary Assembly (AIPA) 15:15:​Dialogue between ASEAN leaders and ASEAN Youth 16:30:​Dialogue between ASEAN leaders and ASEAN Business Advisory Council (ASEAN-BAC) 17:30:​14th Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) Leaders' Meeting November 11, 2022 (Fri) 08:30: ​Opening session of the 40th and 41st ASEAN Summits 08:50: ​​Plenary session of the 40th ASEAN Summit 10:30:​​Plenary session of the 41st ASEAN Summit 14:00:​​25th ASEAN- China Summit 15:20:​​23rd ASEAN- Republic of Korea Summit 17:30:​​12th ASEAN-United Nations (UN) Summit November 12, 2022 (Sat) 08:00:​​25th ASEAN Plus Three Summit 09:50: ​19th ASEAN-India Summit to Commemorate 30th anniversary of ASEAN-India relations 11:10:​​2nd ASEAN- Australia Summit 14:00:​​25th ASEAN- Japan Summit 15:20:​​10th ASEAN-U.S. Summit 16:40: ​ASEAN- Canada Commemorative Summit to mark 45th anniversary of the dialogue relations 19:30: ​Gala Dinner November 13, 2022 (Sun) 08:00: ​​2nd ASEAN Global Dialogue 10:15: ​​17th East Asia Summit 12:30: ​​Closing and Handing Over Ceremony of ASEAN Chairmanship Evening:​Prime Minister and spouse, and delegation leave from Phnom Penh, Kingdom of Cambodia for Thailand
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61459
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด สธ. เผยแนวโน้มผู้ป่วยโควิด 19 เริ่มเพิ่มขึ้นช่วงฤดูหนาว ย้ำฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกัน
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ปลัด สธ. เผยแนวโน้มผู้ป่วยโควิด 19 เริ่มเพิ่มขึ้นช่วงฤดูหนาว ย้ำฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกัน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแนวโน้มผู้ป่วยโควิด 19 เพิ่มขึ้น 4-5% เป็นไปตามคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากมีการเปิดเทอมและมีกิจกรรมจำนวนมากจนถึงปีใหม่ ขณะที่ประชาชนฉีดวัคซีนลดลง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแนวโน้มผู้ป่วยโควิด 19 เพิ่มขึ้น 4-5% เป็นไปตามคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากมีการเปิดเทอมและมีกิจกรรมจำนวนมากจนถึงปีใหม่ ขณะที่ประชาชนฉีดวัคซีนลดลง ย้ำประชาชนฉีดเข็มกระตุ้น กลุ่มเด็กเล็ก 6 เดือน - 4 ปี เร่งรับวัคซีน วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด19 ในประเทศไทยเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขคาดการณว่าช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวจะมีการติดเชื้อและป่วยด้วยโรคโควิด 19 เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเปิดเทอม รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ฮาโลวีนลอยกระทง ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปีใหม่ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ป่วยโควิด 19รวม 2,759 ราย เฉลี่ย 394 รายต่อวัน เพิ่มขึ้นกว่า 2-3 สัปดาห์ก่อนประมาณ 4-5% ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบมี 333 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 169 ราย และผู้เสียชีวิต 40 ราย เฉลี่ย 5 รายต่อวัน ยังไม่เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก “การติดเชื้อและการป่วยที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากที่คนไทยเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ลดลง ทำให้ภูมิต้านทานเริ่มน้อยลงด้วย เมื่อประกอบกับการมีกิจกรรมต่างๆ ช่วงปลายปีมากขึ้น จึงทำให้การติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ จึงต้องเร่งรัดให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมทั้งการฉีดวัคซีนในเด็กเล็กอายุ6 เดือน - 4 ปี ให้มากขึ้น” นพ.โอภาสกล่าว นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าวัคซีนโควิด19 มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยโดยประเทศไทยมีการฉีดมาแล้วกว่า143 ล้านโดส พบว่าช่วยป้องกันการเสียชีวิตของประชาชนได้อย่างน้อย 5 แสนคนและป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่า 1 ล้านคน ดังนั้น เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันในช่วงฤดูหนาวที่จะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น จึงขอให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นมารับวัคซีน โดยเฉพาะเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปีที่ยังไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน จะมีโอกาสป่วยอาการรุนแรงและเสียชีวิตสูงกว่าเด็กโต ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองพามารับวัคซีนที่โรงพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ******************************* 10 พฤศจิกายน 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61491
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ข่าวสารการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ข่าวสารการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 ข่าวสารการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 นายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน ค.ศ. 2022 (ASEAN Business and Investment Summit (ABIS) 2022) หัวข้อ “อาเซียนที่มีความพร้อมด้านดิจิทัล (Digital-Ready ASEAN)” ผ่านระบบการประชุมทางไกล ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นายกรัฐมนตรีหารือกับสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรีและภริยา ออกเดินทางจากท่าอากาศยาน 2 กองบิน 6 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61456
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงข้อคิดเห็น ระหว่างการหารือผู้นำอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน เชื่อมั่น AIPA ชวนร่วมสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลสมาชิกในอาเซียน
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงข้อคิดเห็น ระหว่างการหารือผู้นำอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน เชื่อมั่น AIPA ชวนร่วมสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลสมาชิกในอาเซียน นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงข้อคิดเห็นระหว่างการหารือผู้นำอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน เชื่อมั่น AIPA ชวนร่วมสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลสมาชิกในอาเซียน วันนี้ (วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565) เวลา 08.45 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และภริยา เดินทางถึงกรุงพนมเปญ ซึ่งในช่วงสายของวันนี้ นายกรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ณ พระบรมราชวัง ต่อมา เวลา 14.20 น. ณ โรงแรมสกคา กรุงพนมเปญ ได้กล่าวแสดงข้อคิดเห็นในการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly: AIPA) ซึ่งในปีนี้ วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดการประชุม AIPA คือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน และปรึกษาหารือในการรับมือประเด็นความท้าทายร่วมกัน การประชุม AIPA เป็นการประชุมแบบเต็มคณะ (plenary) โดยมีสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและประธานอาเซียน เป็นประธานการประชุม และมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ผู้แทนจากรัฐสภาประเทศสมาชิก อาเซียน 9 ประเทศ (เมียนมาไม่เข้าร่วม) เลขาธิการอาเซียน และเลขาธิการ AIPA ซึ่งนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเป็นผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วม ในโอกาสนี้ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญจากคำกล่าวนายกรัฐมนตรี ดังนี้ นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ได้พบกับสมาชิก AIPA วันนี้ การควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพแสดงถึงความสำเร็จของรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ และประชาชนที่ร่วมมือเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ อย่างไรก็ดี ต้องร่วมมือกันต่อไปเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แก้ไขประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตามคำกล่าวของประธาน AIPA นายกรัฐมนตรี เชื่อว่า AIPA สนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลสมาชิกในอาเซียนได้ 3 ประการ ดังนี้ 1. ตอบสนองต่อการรับมือและบรรเทาผลกระทบจากความท้าทายต่าง ๆ อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต้องร่วมมือกันต่อไปเพื่อพิจารณาผ่านร่างกฎหมายที่จำเป็นและงบประมาณของประเทศเพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข 2. ขับเคลื่อนวาระของประชาชน หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถ่ายทอดความเห็นของประชาชนมายังรัฐบาล โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับประชาชนเพื่อขยายผลไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อความผาสุกของประชาชน 3. แก้ไขหรือออกกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณี และความตกลงของอาเซียน ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่ RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว และหวังว่าประเทศที่เหลือจะเร่งดำเนินการให้สัตยาบันโดยเร็ว เพื่อใช้ผลประโยชน์จากความตกลงฯ ร่วมกัน ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่ารัฐสภาอาเซียนจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน นำประชาคมอาเซียนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61497
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.เฮ้ง ห่วงแรงงานไทยถูกหลอกทำงานญี่ปุ่น สั่งกรมการจัดหางานเร่งตรวจสอบช่วยเหลือ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รมว.เฮ้ง ห่วงแรงงานไทยถูกหลอกทำงานญี่ปุ่น สั่งกรมการจัดหางานเร่งตรวจสอบช่วยเหลือ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณี คนไทย 27 ราย ยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อพล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือเนื่องจากถูกหลอกลวงจากนายหน้าจัดหางาน ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย อ้างว่าสามารถพาไปทำงานประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ “วีซ่าทักษะเฉพาะทาง”Specified skilled Worker จนทำให้แรงงานไทยที่หลงเชื่อสูญเงินค่าบริการจัดหางานไปแล้วรายละ 20,000 – 70,000 บาท สุดท้ายถูกเลื่อนกำหนดเดินทางไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นพิรุธ ขอเงินคืนกลับถูกนายหน้าบ่ายเบี่ยง ทำให้บางรายเสียทั้งเงินและงาน เนื่องจากแจ้งลาออกจากงานล่วงหน้า เพื่อเตรียมเดินทางไปทำงานที่ใหม่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เป็นมูลค่าความเสียหายรวม 5 ล้านบาท ซึ่งตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรับทราบเรื่องแล้วไม่นิ่งนอนใจ ได้สั่งการกรมการจัดหางานเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวทันที “ผมได้สั่งการอธิบดีกรมการจัดหางาน เร่งตรวจสอบแล้วพบว่า นายซังคิวและพวก ที่ถูกแรงงานไทย 27 คน รวมตัวกันร้องเรียนนั้น ไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดหางานจากกรมการจัดหางาน จึงไม่สามารถรับสมัครและจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศได้ ซึ่งกรมการจัดหางานจะเร่งดำเนินคดีต่อไป ในส่วนโรงเรียนสอนภาษาดังกล่าว ได้ประสานหน่วยงานเจ้าของเรื่องรับไปดำเนินการต่อ สุดท้ายผมขอฝากความห่วงใยถึงคนไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ก่อนหลงเชื่อโอนเงินให้ผู้ใด ขอให้ตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดหางานกับกรมการจัดหางานก่อน”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าว ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า กรมการจัดหางานมีศูนย์ประสานการปราบปรามผู้เป็นภัยต่อคนหางาน กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน ทำหน้าที่ติดตาม เฝ้าระวัง การโฆษณาจัดหางานบนสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเข้มงวด หากพบผู้ใดโฆษณาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน ถือว่ามีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางาน หรือส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ โดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุก 3-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ผู้ใดที่จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 บาท - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “สำหรับผู้ที่สนใจไปทำงานต่างประเทศสามารถศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ตนจะเดินทางไปทำงาน เพื่อป้องกันการหลอกลวงได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน doe.go.th หรือ doe.go.th/overseas เว็บไซต์กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตที่เว็บไซต์ doe.go.th/ipd กรณีประสบปัญหาจากการสมัครงานหรือการเดินทางไปทำงานต่างประเทศร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์ประสานการปราบปรามผู้เป็นภัยต่อคนหางาน กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายโทรศัพท์ 0 2245 6708 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694”อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61499
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายนราพัฒน์ฯ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี BIMSTEC ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 นายนราพัฒน์ฯ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี BIMSTEC ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นายนราพัฒน์ฯ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี BIMSTEC ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีภายใต้กรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ(BIMSTEC หรือ Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2 (Second BIMSTEC Agriculture Ministers Meeting : 2nd BAMM) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยนางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยของการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส BIMSTEC ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2 (Second Meeting of the BIMSTEC Senior Officials on Agriculture : 2nd SOM-A) และผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สำหรับการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส BIMSTEC ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ไทยร่วมกับสำนักเลขาธิการ BIMSTEC และประเทศสมาชิก พิจารณาร่างแผนปฏิบัติงาน (Plan of Action) การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ด้านความร่วมมือทางการเกษตรภายใต้กรอบ BIMSTEC และร่าง MOU ระหว่างสถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research Institute: IFPRI) กับ BIMSTEC เพื่อรับรองในการประชุม BAMM ครั้งที่ 2 รวมทั้งได้พิจารณาเพิ่มสาขาความร่วมมือย่อยประมงและปศุสัตว์ ให้อยู่ภายใต้กลไกความร่วมมือของการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเกษตร (SOM-A) และระดับรัฐมนตรีเกษตร (BAMM) นอกจากนี้ การประชุมระดับรัฐมนตรี BIMSTEC ด้านการเกษตร ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 โดยที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติงาน (Plan of Action) การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือทางการเกษตรฯ และ (ร่าง)MOU IFPRI กับ BIMSTEC ซึ่งให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านการเกษตรในภูมิภาค BIMSTEC เพื่อส่งเสริมการจ้างงานในภาคชนบท การบรรเทาความยากจน ความมั่นคงอาหาร โภชนาการ การบริโภคที่ยั่งยืน การเสริมสร้างรายได้เกษตรกร การพัฒนาการค้า และการลงทุนด้านการเกษตร นายนราพัฒน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือที่สำคัญเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และหารือกับประเทศสมาชิก ประเทศไทยยินดีที่จะประยุกต์แนวทางโยบายต่าง ๆ เช่น โมเดลเศรษฐกิจ BGC การส่งเสริมระบบเกษตรอาหารยั่งยืน (Sustainable Agri-Food Systems) และนโยบายการเกษตรและอาหาร 3S (Safety, Security and Sustainability) เพื่อพัฒนา และสนับสนุนภาคเกษตรและอาหารในภูมิภาค BIMSTEC ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61494
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.หนุน SME จัดช่องทางพิเศษเพิ่มความสะดวกให้คำปรึกษา-ใบอนุญาตผู้ประกอบการ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 สธ.หนุน SME จัดช่องทางพิเศษเพิ่มความสะดวกให้คำปรึกษา-ใบอนุญาตผู้ประกอบการ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ จัดช่องทางพิเศษ SME Fast Lane ให้บริการคำปรึกษาเชิงรุกและการขอใบอนุญาตแบบ One Stop Service กลุ่มผู้ประกอบการ SME กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ จัดช่องทางพิเศษSME Fast Lane ให้บริการคำปรึกษาเชิงรุกและการขอใบอนุญาตแบบOne Stop Service กลุ่มผู้ประกอบการ SME เริ่มกลุ่มสมุนไพรและอาหาร วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) ที่ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิด “ช่องทางพิเศษสำหรับให้บริการแก่ผู้ประกอบการกลุ่มSME : SME Fast Lane” โดยมี นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้บริหารสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมงาน ดร.สาธิต กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการSME เข้าถึงการดูแลของภาครัฐ และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการขออนุมัติ/อนุญาตต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ โดยช่องทางพิเศษให้บริการแก่ผู้ประกอบการกลุ่ม SME : SME Fast Lane เกิดจากความร่วมมือของ3 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(สพร.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการพัฒนาช่องทางการให้บริการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงบริการของภาครัฐที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น การให้คำปรึกษา การขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาต ข้อมูลวิชาการต่าง ๆ สำหรับนำไปต่อยอดทางธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการข้อมูลเชื่อมโยงระบบงานบริการ SME One ID โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ในภาพรวมของประเทศด้วย ถือเป็นก้าวสำคัญในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐที่จะขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ด้านนายแพทย์ไพศาล กล่าวว่า โครงการ “SME Fast Lane” เป็นการเพิ่มช่องทางพิเศษอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) และผู้ประกอบการขนาดย่อม (SME) ได้เข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ เช่น รายละเอียดขั้นตอน การกรอกข้อมูลหรือการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อขอรับอนุญาตด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้บริการให้คำปรึกษาเชิงรุก (Pro-Active Consultation) ในด้านกระบวนการขออนุญาต การจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร และการให้บริการด้านใบอนุญาตต่าง ๆ ของ อย. แบบ One Stop Service โดยในระยะเริ่มต้นให้บริการสำหรับผู้ประกอบการ SME กลุ่มสมุนไพรและอาหาร ที่อาคาร 6 ชั้น 4 อย. และจะขยายบริการให้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ที่ อย. ดูแลรับผิดชอบในระยะต่อไป ด้าน ดร.วีระพงศ์ กล่าวว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการMSME ที่มีมากกว่า 3 ล้านราย และเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม สสว. ได้ร่วมกับ สพร. พัฒนาระบบทะเบียนและการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ประกอบการทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจให้บริการแก่ผู้ประกอบการ MSME ในการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกอบการจากระบบฐานข้อมูล SME One ID ให้ผู้ประกอบการสามารถใช้หมายเลข ID เดียวในการเข้าถึงบริการของภาครัฐทุกหน่วยงาน ลดความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสารซึ่งเป็นต้นทุนและอุปสรรคในการขอรับอนุญาต ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ารับบริการกับหน่วยงานรัฐโดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใหม่ และที่สำคัญคือ เข้าถึงบริการและโครงการที่ภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนได้สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอการยืนยันเอกสารในรูปแบบเดิม ********************************* 10 พฤศจิกายน 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61496
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ จัดการประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 กระทรวงเกษตรฯ จัดการประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม รับทราบความก้าวหน้าโครงการช่วยเหลือราคาน้ำนมดิบแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และแผนการจัดประชุมคณะกรรรมการทั้ง 5 คณะ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 65 นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ครั้งที่ 4/2565 โดยมีนายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานราชการต่าง ๆ ภายในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนหน่วยงานราชการภายนอก ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมนม และตัวแทนกลุ่มเกษตรกร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับการประชุมในครั้งนี้เพื่อทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการช่วยเหลือราคาน้ำนมดิบแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และแผนการจัดประชุมคณะกรรรมการทั้ง 5 คณะ ภายใต้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ - ผลการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) การซื้อขายน้ำนมโค ปี 2565/2566 - ขอปรับปรุงคำสั่งคณะอนุกรรมการศูนย์สารสนเทศโคนมระดับชาติ เพิ่มเติม - (ร่าง) หลักเกณฑ์การจัดสรรโควตาสินค้านม ปี 2566 - ร่างประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง ราคากลางรับซื้อน้ำนมโค ณ หน้าโรงงานแปรรูป พ.ศ.2565 - ทบทวนการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการในคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61460
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุริยะ ย้ำ!! พร้อมรับมือ PM2.5 สั่งกรมโรงงานฯ เดินหน้าตรวจโรงงานเชิงรุก ไม่ปรับปรุงสั่งปิดทันที
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 สุริยะ ย้ำ!! พร้อมรับมือ PM2.5 สั่งกรมโรงงานฯ เดินหน้าตรวจโรงงานเชิงรุก ไม่ปรับปรุงสั่งปิดทันที สุริยะ ย้ำ!! พร้อมรับมือ PM2.5 สั่งกรมโรงงานฯ เดินหน้าตรวจโรงงานเชิงรุก ไม่ปรับปรุงสั่งปิดทันที นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมรับมือในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) มอบนโยบายดำเนินการต่อเนื่องตาม 3 มาตรการ คือ 1. มาตรการเร่งด่วน เข้มงวด กรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน ให้ออกคำสั่งปรับปรุงแก้ไขทันที 2. มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) และ 3. มาตรการระยะยาว ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมอบหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันนโยบายสู่การดำเนินการอย่างบูรณาการ และให้เน้นตรวจเชิงรุกด้านฝุ่นละอองโรงงานที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัลติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 896 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 260 โรงงาน โรงงานในเขตปริมณฑล (สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี) จำนวน 636 โรงงาน หากพบการกระทำผิด จะให้สั่งปรับปรุงแก้ไขหรือหยุดประกอบกิจการทันที นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานใน กรอ. ดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ดำเนินการตรวจกำกับโรงงานอย่างเข้มงวด เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากการประกอบกิจการโรงงาน นอกจากนี้เมื่อกลางปี กรอ. ได้ออกกฎหมายให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ (CEMS) เพื่อติดตามข้อมูลการระบายมลพิษอากาศจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม และให้โรงงานส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษระยะไกลแสดงผลบนเว็บไซต์ของ กรอ. https://poms.diw.go.th และ แอปพลิเคชัน POMS (Pollution Online Monitoring System) ประชาชนสามารถติดตามการระบายมลพิษอากาศของโรงงานได้ตลอดเวลา โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ทั้งระบบ Android และ iOSพร้อมกำชับผู้ประกอบการวางแผนการผลิต และควบคุมดูแลการประกอบกิจการ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ต้องดูแลรักษาระบบบำบัดมลพิษอากาศให้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา นายจุลพงษ์ กล่าวปิดท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61461
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมถนนสาย พง.1004 อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา หลังได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 กรมทางหลวงชนบท เร่งซ่อมแซมถนนสาย พง.1004 อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา หลังได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้อย่างปลอดภัย ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ได้กำชับให้สำนักงานทางหลวงชนบท แขวงทางหลวงชนบท และหมวดบำรุงทางหลวงชนบทในพื้นที่ภาคใต้ จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ลาดตระเวนโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อรับมือสถานการณ์อุทกภัยได้อย่างทันท่วงที รวมถึงหากมีสายทางที่ได้รับความเสียหายทำให้ประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ให้บริหารจัดการเส้นทางและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจากการรายงานล่าสุดในพื้นที่จังหวัดพังงา แขวงทางหลวงชนบทพังงา ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรเข้าซ่อมแซมผิวจราจร บริเวณทางเบี่ยง บนถนนทางหลวงชนบทสาย พง.1004 แยก ทล.4 - บ้านคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ช่วง กม.ที่ 16+300 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนัก ทำให้กระแสน้ำกัดเซาะส่งผลให้ถนนบริเวณดังกล่าวทรุดตัว ปัจจุบันได้ดำเนินการซ่อมแซมเบื้องต้นให้ประชาชนสามารถสัญจรผ่านได้ชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนใช้รถใช้ถนนอย่างระมัดระวัง โดยสังเกตป้ายเตือนหรืออุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยที่หน่วยงานได้นำไปติดตั้งไว้ ส่วนในด้านการซ่อมบำรุงเพื่อให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ได้กำชับให้ทุกแขวงทางหลวงชนบทที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเร่งสำรวจ ออกแบบ และประมาณการราคา รายงานมาที่กรม เพื่อที่จะรายงานเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อของบซ่อมบำรุงอย่างถาวรต่อไป นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี)สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฏร์ธานี) สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 12 (สงขลา) และสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 14 (กระบี่) ซึ่งดูแลพื้นที่โครงข่ายทางหลวงชนบทครอบคลุม 15 จังหวัด เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมรายงานให้ได้รับทราบอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ หากมีเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ ให้ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายบอกทาง ให้สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ทั้งนี้ หากต้องการความช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุสามารถติดต่อได้ที่แขวงทางหลวงชนบททุกจังหวัด หรือสายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61467
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME D Bank ปลื้ม ‘สินเชื่อ COD ไปรษณีย์ไทย’ ติดสปีดสุดปัง สัปดาห์เดียวแห่กู้ทะลุ 200 ราย แนะรีบยื่นก่อนเต็ม มาก่อน! มีสิทธิ์ก่อน!
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 SME D Bank ปลื้ม ‘สินเชื่อ COD ไปรษณีย์ไทย’ ติดสปีดสุดปัง สัปดาห์เดียวแห่กู้ทะลุ 200 ราย แนะรีบยื่นก่อนเต็ม มาก่อน! มีสิทธิ์ก่อน! SME D Bank ร่วมกับ บจ.ไปรษณีย์ไทย เปิดตัว “สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการค้าขายผ่าน Cash on Delivery (COD) ไปรษณีย์ไทย” หรือ “สินเชื่อ COD ไปรษณีย์ไทย” เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2565 ที่ผ่านมา ได้การตอบรับดีมากจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจค้าขายออนไลน์ นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เผยว่า หลังจากที่ SME D Bank ร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดตัว “สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการค้าขายผ่าน Cash on Delivery (COD) ไปรษณีย์ไทย” หรือ “สินเชื่อ COD ไปรษณีย์ไทย” เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ได้การตอบรับดีมากจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจค้าขายออนไลน์ มียอดยื่นกู้แล้ว ณ วันที่ 8 พ.ย. 65 รวมมากกว่า 200 ราย ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นและสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง อุปกรณ์กีฬา ประดับยนต์ เป็นต้น กระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งจากจำนวนยื่นกู้ มีรายเข้าเกณฑ์ตามเงื่อนไขเกือบ 50 ราย วงเงินยื่นกู้รวมประมาณ 7 ล้านบาท เฉลี่ยรายละ 160,000 บาท และได้รับการอนุมัติแล้ว 2 ราย ได้แก่ “Kummee Shop” ธุรกิจจำหน่ายสื่อและอุปกรณ์โยคะ จ.ชัยภูมิ และ "เคทีจี สปอร์ต" ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์กีฬา จ.นครราชสีมา สาเหตุที่ “สินเชื่อ COD ไปรษณีย์” ได้การตอบรับอย่างล้นหลาม เพราะปัจจุบัน กระแสการค้าออนไลน์ ผ่านกระบวนการชำระเงินปลายทาง หรือ Cash on Delivery (COD) กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องการเงินทุนไปเสริมสภาพคล่องกิจการ เดินหน้าธุรกิจได้โดยไม่สะดุด ประกอบกับสินเชื่อนี้ กระบวนการกู้ง่าย ไม่ต้องใช้เอกสาร ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน เพียงสมัครง่ายผ่าน [emailprotected] และมียอดขายผ่าน COD ไปรษณีย์ไทยเท่านั้น ช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับเงินรวดเร็ว สามารถนำไปใช้วางแผนบริหารจัดการธุรกิจ หรือสต็อกสินค้าได้เหมาะสม ช่วยสร้างรายได้เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจเติบโตเป็นอย่างดี ทั้งนี้ “สินเชื่อ COD ไปรษณีย์ไทย” มีวงเงินรวมเพียงแค่ 300 ล้านบาท ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจใช้บริการ ต้องรีบแจ้งความประสงค์ยื่นกู้โดยเร็ว ก่อนจะเต็มวงเงิน โดยจะใช้เกณฑ์มาก่อน มีสิทธิ์ก่อน เงื่อนไขวงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้น 1.05% ต่อเดือนเท่านั้น ปิดรับคำขอสินเชื่อในวันที่ 30 มิ.ย.66 หรือเมื่อเต็มวงเงิน สามารถตรวจสอบคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และแจ้งความประสงค์ยื่นกู้ ได้ที่เว็บไซต์ www.smebank.co.th และ LINE Official Account : SME Development Bank หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61480
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางบก เผยประกาศราชกิจจานุเบกษาฯ ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 กรมการขนส่งทางบก เผยประกาศราชกิจจานุเบกษาฯ ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ... กรมการขนส่งทางบก เผยประกาศราชกิจจานุเบกษาฯ ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึง พระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2565 ว่า พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ดำเนินการออกมาตรการช่วยเหลือผู้ขับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกา ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) รถยนต์สามล้อรับจ้าง รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ครบกำหนดเสียภาษีประจำปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 ให้ปรับลดภาษีลงร้อยละ 90 จากอัตราที่กำหนดท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เช่น รถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) น้ำหนักรถ 1,300 กิโลกรัม เดิมจัดเก็บภาษี 685 บาท ลดเหลือ 68.50 บาท/คัน หรือน้ำหนักรถ 2,100 กิโลกรัม เดิมจัดเก็บภาษี 1,250 บาท/คัน ลดเหลือ 125 บาท/คัน รถยนต์สามล้อรับจ้างเดิมจัดเก็บภาษี 185 บาท/คัน ลดเหลือ 18.5 บาท/คัน รถจักรยานยนต์รับจ้าง เดิมจัดเก็บภาษี 100 บาท/คัน ลดเหลือ 10 บาท/คัน เป็นต้น กระทรวงคมนาคม และ ขบ. ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โรคระบาดและปัญหาเศรษฐกิจ ที่มีต่อรายได้ในการดำรงชีพของผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ และได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะก่อนหน้านี้ เช่น มอบเงินช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกอบอาชีพขับรถอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (29 จังหวัด) เป็นต้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61474
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อลงกรณ์” นำภาคีเครือข่ายและเกษตรกรอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ”
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 “อลงกรณ์” นำภาคีเครือข่ายและเกษตรกรอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” สร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือ และรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการทำนาเกลือของประเทศ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย เป็นประธานเปิดงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” โดยมี นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันเกลือทะเลไทย นายเลอพงษ์ จั่นทอง ผู้แทนสหกรณ์กรุงเทพจำกัด นางสาวเกตุแก้ว สำเภาทอง ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรนาเกลือบางแก้ว จำกัด นายคธาวุธ บุญมา ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด หัวหน้าส่วนราชการ แขกผู้มีเกียรติ เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรชาวนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วม ณ วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ หมู่ 3 โคกขาม ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นการจัดงานประเพณีแรกนาเกลือครั้งแรกของไทย หลังจากที่ได้ห่างหายไปเป็นเวลานาน สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดสมุทรสาคร เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร และหน่วยงานภาคีเครือข่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือ และรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการทำนาเกลือของประเทศ สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การผลิตเกลือทะเลของประเทศไทย กระตุ้นให้เกษตรกรพัฒนาการทำนาเกลือ และเริ่มต้นการผลิตใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ที่มีศักยภาพต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อสืบสานวิถีชีวิตด้านการเกษตร สร้างเครือข่ายด้านการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างอาชีพทางการเกษตร สร้างรายได้ให้กับชุมชนและ และต่อยอดธุรกิจการเกษตร ทั้งนี้ “ประเพณีแรกนาเกลือ” คือ การประกอบพิธีกรรมการเริ่มทำนาเกลือในฤดูกาลใหม่ ที่จัดขึ้นก่อนเริ่มทำนาเกลือในแต่ละปี คือประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือช่วงหลังออกพรรษา โดยถือฤกษ์ยามอันดีคือตรงกับวันพฤหัสบดีและวันธงชัย ในเวลาเช้าของวัน ตั้งแต่ 07.00 เป็นต้นไป ผู้ทำพิธีจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยชาวนาเกลือมีความเชื่อว่าเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลในการทำนาเกลือ ทำให้การทำนาเกลือมีความราบรื่น ไม่มีอุปสรรค และได้ผลผลิตเกลือเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การทำนาเกลือได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และประสบผลสำเร็จในการทำนาเกลือ จึงมีพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยของมงคล อาทิ ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมขี้หนู ไข่ต้ม หัวหมู เป็ดพะโล้ และผลไม้มงคล 9 อย่าง เป็นต้น การจัดงานจะเริ่มจากพิธีสงฆ์ โดยพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ รับประเคนภัตตาหารเช้า และให้พรเพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วจึงเริ่มประกอบพิธีแรกนาเกลือ โดยพราหมณ์หรือเจ้าพิธีทำพิธีบวงสรวงเชิญเทพยดา ถวายเครื่องสักการะเป็นเครื่องบูชาในการประกอบพิธีแรกนาเกลือ ประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติจุดธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นำกระทงบรรจุขนมมงคลไปวางอยู่บริเวณหูนา นำพลั่วขุดดินขานานำน้ำแก่เข้านาเพื่อเริ่มการทำนาเกลือทะเล โดยประธานประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมลั่นฆ้องเพื่อเป็นสัญญาณการเริ่มต้นการแรกนาเกลือ บริเวณนาเกลือเพื่อเป็นสิริมงคล เป็นอันเสร็จพิธี นอกจากนี้ ภายในงานนี้ยังมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาคีเพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือทะเลเพื่อการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ทิศทางในการพัฒนาเกลือทะเลไทย ปี 2566 – 2570 จากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย กรมส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเกลือทะเลให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (GAP เกลือทะเล) จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ การแสดงเทคโนโลยีการพัฒนาต้นแบบรถลำเลียงเกลือแบบตัวตักด้านหน้ากึ่งอัตโนมัติ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และการเชื่อมโยงการทำนาเกลือกับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การสร้างรายได้เสริมนอกฤดูกาลการทำนาเกลือ อาทิ การเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น และการแปรรูปเกลือทะเลเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเกลือทะเล เช่น อาหารทะเลแปรรูป แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และร้านอาหารและที่พักที่อยู่ในการท่องเที่ยวเส้นทางเกลือ ภายใต้แนวคิด “Salt Sand Seafood” “การจัดงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” ครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงานครั้งแรก เพื่อเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่น ๆ ที่มีการประกอบอาชีพทำนาเกลือทะเล ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และปัตตานี ได้นำไปประยุกต์ในการจัดงานในปีต่อ ๆ ไป เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือ รักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการทำนาเกลือสืบต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61477
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กรุงไทย” ยกทัพขึ้นเหนือ จัดโปรแรง งาน Money Expo เชียงใหม่ ตอบโจทย์ลูกค้าทุกมิติ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 “กรุงไทย” ยกทัพขึ้นเหนือ จัดโปรแรง งาน Money Expo เชียงใหม่ ตอบโจทย์ลูกค้าทุกมิติ ธ.กรุงไทยนำเสนอบริการทางการเงินในงาน Money Expo Chiangmai 2022 ภายใต้แนวคิด “ติดปีกไทย สู่ความยั่งยืน : Empower Better Life for All Thais” ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ย.2565 ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่ แอร์พอร์ต ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ เดินหน้ายกระดับคุณชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นในทุกวัน นำเสนอบริการทางการเงินสุดพิเศษใน งานมหกรรมการเงินเชียงใหม่ ครั้งที่ 17 (Money Expo Chiangmai 2022) ภายใต้แนวคิด “ติดปีกไทย สู่ความยั่งยืน : Empower Better Life for All Thais” ด้วยผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุนที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มในทุกมิติ ระหว่างวันที่ 11 - 13 พฤศจิกายน 2565 ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่ แอร์พอร์ต สำหรับไฮไลท์บริการทางการเงินและโปรโมชั่น จัดเต็มทั้งสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อ SME ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับทรัพย์สินพร้อมขาย (NPA) ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมการประเมินราคาหลักทรัพย์ประกัน สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน เปลี่ยนหลักทรัพย์ให้เป็นเงินก้อนโตได้ง่ายๆ วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 30 ปี สินเชื่อบ้านกรุงไทย ดอกเบี้ยเริ่มต้นปีแรก 1.00% วงเงินสูงสุด 100% ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ สินเชื่อกรุงไทย Smart Money สำหรับผู้มีรายได้ประจำ แต่ไม่มีบัญชีเงินเดือนกับธนาคาร วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ ไม่ต้องมีหลักประกัน ผ่อนนาน 5 ปี นอกจากนี้ยังมี สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ เพื่อสมาชิกกบข. วงเงินสูงสุด 15 เท่าของเงินเดือน คิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินใช้จริง สินเชื่ออเนกประสงค์ เพื่อสมาชิกกบข. วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยพิเศษเริ่มต้น 6.47% ต่อปี ไม่ต้องมีบัญชีเงินเดือนผ่านกรุงไทย ก็ยื่นกู้ได้ เสริมสภาพคล่อง ติดปีกธุรกิจ SME ด้วย สินเชื่อฟื้นฟูเพื่อธุรกิจ ดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี สินเชื่อ Krungthai SME Smart Shop สำหรับร้านค้ารายย่อย พ่อค้าแม่ค้า ที่ต้องการเงินลงทุนเพื่อขยายร้าน เติมสต็อก เปิดร้านสาขาใหม่ หรือเพิ่มเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ไม่ต้องใช้หลักประกัน แค่ใช้แอปพลิเคชันถุงเงิน หรือเครื่อง EDC กรุงไทย วงเงินสูงสุดหลักล้านบาท ตอบโจทย์การวางแผนด้านสุขภาพและการลงทุน ด้วย คาราวานตรวจสุขภาพฟรี ของกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต พร้อมแคมเปญพิเศษ iHealthy Ultra มาตรฐานใหม่ของการวางแผนเรื่องสุขภาพ เปิดบัญชีซื้อ-ขายหลักทรัพย์ผ่านแอปฯ WealthMe ของ Krungthai XSpring รับฟรี Tops E-Voucher มูลค่า 100 บาท ลงทุน 200,000 บาทขึ้นไป รับฟรีกระเป๋า G2000 สมัครบัตรเครดิต KTC รับบัตรกำนัล Starbucks มูลค่า 200 บาท สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111 หรือ www.krungthai.com
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61470
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ มั่นใจ “เอเปค 2022” ช่วยเอกชนไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น เตรียมหารือการพัฒนา 4 ด้าน พร้อมเปิดเวทีสร้างเครือข่าย ผู้นำเอเปค-ภาคธุรกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 นายกฯ มั่นใจ “เอเปค 2022” ช่วยเอกชนไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น เตรียมหารือการพัฒนา 4 ด้าน พร้อมเปิดเวทีสร้างเครือข่าย ผู้นำเอเปค-ภาคธุรกิจ ..... พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กห. เชื่อมั่นว่าการประชุมเอเปค 2022 จะส่งผลสำคัญต่อการฟื้นตัวของภาคเอกชน โดยจะมีการหารือถึงแนวทางใหม่ ๆ ในการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ MSMEs ไทย และปรับปรุงการเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปค 4 ด้าน คือ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กพัฒนาได้เร็วขึ้น การจัดหาเงินทุนและปรับโครงสร้างหนี้ การรับมือกับตลาดที่กำลังพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปและสร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสตาร์ทอัพ ส่งเสริมนวัตกรรม . มีไฮไลท์เป็นเวทีหารือเพื่อสร้างเครือข่าย ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค กับภาคธุรกิจ ได้แก่ การประชุม APEC CEO Summit Thailand 2022 และ สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค APEC Business Advisory Council เพื่อสร้างโอกาสการเจริญเติบโตแก่เขตเศรษฐกิจและภาคเอกชนได้อย่างเต็มที่ . อ่านเพิ่มเติม คลิก >>https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61416 . #ไทยคู่ฟ้า#สื่อสารรัฐบาลไทย -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61464
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย. ม่วนใจ๋ ชวน SMEs Add Line “TCG First” “ตรวจสุขภาพทางการเงิน – ปรึกษาแก้หนี้ ในงาน MONEY EXPO 2022 เชียงใหม่ 11-13 พ.ย.
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 บสย. ม่วนใจ๋ ชวน SMEs Add Line “TCG First” “ตรวจสุขภาพทางการเงิน – ปรึกษาแก้หนี้ ในงาน MONEY EXPO 2022 เชียงใหม่ 11-13 พ.ย. บสย. ร่วมงานมหกรรมการเงินเชียงใหม่ ครั้งที่ 17 MONEY EXPO 2022 (MONEY EXPO CHIANGMAI 2022) ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2565 ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมงานมหกรรมการเงินเชียงใหม่ ครั้งที่ 17 MONEY EXPO 2022 (MONEY EXPO CHIANGMAI 2022) ระหว่าง วันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2565 ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต พร้อมเร่งขยายฐาน SMEs ใช้บริการ Line TCG First ตอบโจทย์ให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพทางการเงิน และขอรับบริการปรึกษาแก้หนี้ ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่ สะดวก รวดเร็ว บนมือถือ โดยสามารถลงทะเบียนสแกนผ่าน QR Code : Line TCG First (@doctor.tcg) ณ บูธ (E2) บสย. ภายในงาน พร้อมรับของที่ระลึก นอกจากนี้ บสย. ยังได้เตรียมทีมที่ปรึกษา เพื่อให้บริการผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการขอสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อในช่วงโค้งสุดท้าย ภายในงาน และวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรองรับกว่า 150,000 ล้านบาท จากโครงการค้ำประกันสินเชื่อต่างๆ ได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2 ดอกเบี้ยต่ำ รวมค่าธรรมเนียมค้ำประกันเพียง 3% 2 ปีแรก โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Soft Loan Extra และล่าสุด โครงการค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบันการเงินระยะที่ 7 (BI 7)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61486
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ. เผยผลโพล “พลิกโฉมงานด้านศาสนาสู่ใจประชาชน” พบประชาชนต้องการให้ขับเคลื่อนกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ชี้คนไทยต้องมีคุณลักษณะรักชาติ-นำเทคโนโลยี
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 วธ. เผยผลโพล “พลิกโฉมงานด้านศาสนาสู่ใจประชาชน” พบประชาชนต้องการให้ขับเคลื่อนกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ชี้คนไทยต้องมีคุณลักษณะรักชาติ-นำเทคโนโลยี วธ. เผยผลโพล “พลิกโฉมงานด้านศาสนาสู่ใจประชาชน” พบประชาชนต้องการให้ขับเคลื่อนกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ชี้คนไทยต้องมีคุณลักษณะรักชาติ-นำเทคโนโลยี วธ. เผยผลโพล “พลิกโฉมงานด้านศาสนาสู่ใจประชาชน” พบประชาชนต้องการให้ขับเคลื่อนกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ชี้คนไทยต้องมีคุณลักษณะรักชาติ-นำเทคโนโลยีพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา แนะ “สนับสนุนกิจกรรมด้านศาสนาครอบคลุมทุกศาสนา – สร้างความตะหนักรู้ความสำคัญ และคุณค่าหลักศาสนา แนะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เยาวชนตั้งแต่ระดับปฐมวัย นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า กรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรมได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน หัวข้อ “พลิกโฉมงานด้านศาสนาสู่ใจประชาชน” โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างครอบคลุมทุกอาชีพและทุกภูมิภาค จำนวน 4,069 คนทั่วประเทศ ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นสิ่งที่ประชาชนต้องการให้กรมการศาสนาขับเคลื่อนในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 พบว่า ร้อยละ 88.08 ต้องการให้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ และการจัดกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ รองลงมาร้อยละ 86.76 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา อาทิ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีและเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ และร้อยละ 72 อยากให้ใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางศาสนาเพื่อให้คนใช้บริการเพิ่มขึ้น อาทิ ฐานข้อมูลวัดและศาสนสถานภายใต้ภารกิจกรมการศาสนา เส้นทางจาริกบุญในมิติทางศาสนา ชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนพลังบวร รวมถึงการจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้โดยใช้เว็บไซต์และ Social media ขณะที่ร้อยละ 63.27 ต้องการให้นำทุนทางวัฒนธรรม “วิถีชีวิตของแต่ละศาสนา อาหาร ความเชื่อ องค์ความรู้ด้านศาสนามาสร้างสรรค์ต่อยอดสร้างมูลค่าสร้างรายได้สู่ประเทศ และร้อยละ 61.81 ต้องการให้ ส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนา สืบสานมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมและส่งเสริมอัตลักษณ์ไทยและความเป็นไทย โดยขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ศาสนพิธี กิจกรรมสวดโอ้เอ้วิหารราย เป็นต้น ทั้งนี้ ได้สอบถามเรื่องคุณธรรม 5 ประการที่ประชาชนให้ความสนใจ อันดับ 1 ระบุว่า สุจริต รองลงมาพอเพียง วินัย จิตอาสา และกตัญญู ตามลำดับ และจากการสำรวจความคิดเห็นว่าประชาชนต้องการให้คนไทยมีคุณลักาณะอย่างไร พบว่าอันดับ 1 ต้องการให้คนไทยรักชาติ รองลงมาโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเข้าใจเข้าถึงศาสนาและยุคสมัย ไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามลำดับ และได้สำรวจความคิดเห็นคำขวัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านศาสนาที่ประชาชนต้องการ 3 อันดับ ได้แก่ 1.นำธรรมะสู่ใจประชาชน 2. พลิกโฉมศาสนา สู่วิถีชีวิตใหม่ 3. นำทุนวัฒนธรรม ต่อยอดงานศาสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนว่าปัญหาที่ต้องการให้กรมการศาสนาแก้ไขเร่งด่วน ดังนี้ 1.ต้องการให้ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาให้ครอบคลุมทุกศาสนาและสร้างความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางศาสนา 2.เสริมสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญและคุณค่าของหลักธรรมทางศาสนาเพื่อปกป้องคุ้มครองศาสนาให้มั่นคง และ 3. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เยาวชนตั้งแต่ระดับปฐมวัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังได้สอบถามประชาชนว่าเคยเข้าร่วมกิจกรรมและใช้บริการของกรมการศาสนาบ้าง พบว่า 1.กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ 2.กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อาทิ มาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬบูชาและเข้าพรรษา เป็นต้น 3. กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี4. เข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ (วันพระ) และ 5. กิจกรรมศาสนิกสัมพันธ์ 5 ศาสนา ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมการศาสนานำข้อคิดเห็นของประชาชนที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้นำมาใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานของกรมการศาสนาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61492
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟท. จัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวาคม
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รฟท. จัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวาคม เปิดจำหน่ายตั๋วโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และรัฐบาลยังได้กำหนดให้เป็นวันชาติ วันศูนย์รวมจิตใจความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ และวันพ่อแห่งชาติรฟท. จึงได้จัดกิจกรรม เดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวาคม เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาสุดมิได้ต่อกิจการรถไฟไทย รวมถึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่นๆ อีกนับพันโครงการ ที่สร้างความผาสุกแก่พสกนิกรภายในประเทศ ในโอกาสนี้รฟท. ได้นำหัวรถจักรไอน้ำ รุ่นแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดยบริษัท นิปปอน ชาร์เรียว จำกัด ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาและซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี มาจัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เส้นทางสายประวัติศาสตร์ระหว่างสถานีกรุงเทพถึงสถานีฉะเชิงเทรา เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ โดยเริ่มจำหน่ายตั๋วโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป อัตราค่าโดยสาร รถธรรมดาชั้น 3 ไป - กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก ราคา 299 บาท และตู้โดยสารปรับอากาศ (รถโอทอป) ราคา 799 บาท โดยผู้โดยสารจะได้รับบริการอาหารว่างและน้ำดื่มทั้งเที่ยวไป - กลับทุกที่นั่ง ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อตั๋วและสำรองที่นั่งล่วงหน้าด้วยระบบ D-Ticket หรือที่สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเว็บไซต์ www.railway.co.th หรือเฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับเส้นทางขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ ขบวนที่ 903/904 จะออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 08.10 น. ถึงสถานีฉะเชิงเทราเวลา 09.50 น. นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดฉะเชิงเทราได้ตามอัธยาศัยประมาณ 6 ชั่วโมง อาทิ กราบสักการะหลวงพ่อพระพุทธโสธร พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ไหว้ขอพรพระพิฆเนศวัดสมานรัตนาราม เดินชม ช้อปสินค้าที่ตลาดบ้านใหม่ จากนั้นขบวนรถเที่ยวกลับออกจากสถานีฉะเชิงเทรา เวลา 16.30 น. ถึงกรุงเทพ เวลา 18.10 น.โดยมีสถานีที่หยุดรับ - ส่งผู้โดยสาร ได้แก่ สถานีมักกะสัน คลองตัน หัวหมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นหรือลงตามสถานีดังกล่าว ขณะเดียวกันยังขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา สามารถร่วมบันทึกภาพหัวรถจักรไอน้ำในเส้นทางที่ขบวนรถวิ่งผ่านได้ตลอดเส้นทาง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61487
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ จอดรถขวางกลางรางรถไฟ ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนกับขบวนรถด่วนกรุงเทพ - เชียงใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ จอดรถขวางกลางรางรถไฟ ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนกับขบวนรถด่วนกรุงเทพ - เชียงใหม่ เกิดเหตุขบวนรถด่วนที่ 51 กรุงเทพ - เชียงใหม่ ชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ที่จอดรถขวางกลางรางรถไฟ มีเครื่องกั้นถนนชนิดเครื่องกั้นอัตโนมัติ มีป้ายไฟ ป้ายสัญญาณจราจรครบถ้วน ระหว่างสถานีศาลาแม่ทา - หนองหล่ม อ.แม่ทา จ.ลำพูน ในเบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (10 พ.ย. 65) เวลา 11.24 น. รฟท. ได้รับรายงาน เกิดเหตุขบวนรถด่วนที่ 51 กรุงเทพ - เชียงใหม่ ชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ หมายเลขทะเบียน 71-0497 เชียงใหม่ ที่จอดรถขวางกลางรางรถไฟ บริเวณจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ หลักกิโลเมตรที่ 703/7-8 ระหว่างสถานีศาลาแม่ทา - หนองหล่ม อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ซึ่งในบริเวณดังกล่าวมีเครื่องกั้นถนนชนิดเครื่องกั้นอัตโนมัติ มีป้ายไฟ ป้ายสัญญาณจราจรครบถ้วน ส่งผลให้รถจักรดีเซล หมายเลข 4501 ได้รับความเสียหายอย่างมาก และตกราง 6 ล้อ กีดขวางการเดินรถ เบื้องต้น ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการขนถ่ายผู้โดยสารบนขบวนรถจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังสถานีปลายทางที่สถานีลำพูน และเชียงใหม่ พร้อมทั้ง ได้ให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุอย่างเร่งด่วนเพื่อหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ และเข้าดำเนินการยกรถจักรดีเซลที่ตกรางกีดขวางการเดินรถ ให้กลับมาเปิดให้บริการได้โดยเร็วที่สุด คาดว่าจะแล้วเสร็จในเวลาไม่เกิน 17.00 น. ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางในเส้นทางสายเหนือแต่อย่างใด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61489
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ชื่นชม 13 จังหวัด คว้ารางวัล “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ระดับประเทศ รอบที่ 1 ยุติเอดส์ภายใน 8 ปี
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 สธ. ชื่นชม 13 จังหวัด คว้ารางวัล “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ระดับประเทศ รอบที่ 1 ยุติเอดส์ภายใน 8 ปี กระทรวงสาธารณสุข มอบรางวัล “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ระดับประเทศ ยุติเอดส์ภายใน 8 ปี รอบที่ 1 ให้แก่ 13 จังหวัด ขับเคลื่อน “จังหวัดยุติเอดส์” ด้วยความร่วมมือระดับจังหวัด ช่วยผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าถึงบริการสุขภาพ ตรวจเร็ว ทราบผลเร็ว กระทรวงสาธารณสุข มอบรางวัล “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ระดับประเทศ ยุติเอดส์ภายใน 8 ปี รอบที่ 1 ให้แก่ 13 จังหวัด ขับเคลื่อน “จังหวัดยุติเอดส์” ด้วยความร่วมมือระดับจังหวัด ช่วยผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าถึงบริการสุขภาพ ตรวจเร็ว ทราบผลเร็ว ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ทันทีและต่อเนื่อง โดยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) ที่โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานมอบรางวัล “โครงการแข่งขันชิงรางวัลตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ระดับประเทศ รอบที่ 1 ให้แก่ 13 จังหวัด และกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย เร่งรัดดำเนินงานยุติเอดส์ให้ได้ตามเป้าหมายภายในปี 2573 มาอย่างต่อเนื่อง โดยกรมควบคุมโรค ร่วมกับสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี สำนักงานหลักประสุขภาพแห่งชาติ โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดโครงการแข่งขันชิงรางวัล “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ระดับประเทศ มีกลยุทธ์สำคัญคือ การขับเคลื่อน “จังหวัดยุติเอดส์” โดยสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายระดับจังหวัด ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม และเอกชน เพื่อป้องกันควบคุมโรคเอดส์ในพื้นที่ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังช่วยให้กลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงผู้ติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงทุกกลุ่มประชากรสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงบริการสุขภาพและเข้าถึงกระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ทันทีและต่อเนื่อง “ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับ 13 จังหวัดที่ได้รับรางวัลโครงการตรวจเร็ว รักษาเร็ว ซึ่งเป็นการทำงานที่ต้องได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายในพื้นที่ รวมถึงต้องหาวิธีการเชิงรุกเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้ได้รับการตรวจเอชไอวี และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดและประเทศชาติต่อไป” นายแพทย์โสภณ กล่าว ด้าน ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ประธานกรรมการโครงการฯ กล่าวว่า โครงการแข่งขันชิงรางวัล “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ประกอบด้วย รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2565 และรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 30 เมษายน 2566 โดยรอบที่ 1 จังหวัดที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี สุโขทัย พัทลุง เชียงราย ชัยภูมิ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และภูเก็ต นอกจากนี้ ยังมีจังหวัดที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณและโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ จังหวัดนครปฐมและลำปาง ************************************* 10 พฤศจิกายน 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61493
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จังหวัดลพบุรี จัดพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี 2565 มีประชาชนและภาคีเครือข่ายร่วมอนุโมทนากว่า 1.3 ล้านบาท
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 จังหวัดลพบุรี จัดพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี 2565 มีประชาชนและภาคีเครือข่ายร่วมอนุโมทนากว่า 1.3 ล้านบาท จังหวัดลพบุรี จัดพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี 2565 มีประชาชนและภาคีเครือข่ายร่วมอนุโมทนากว่า 1.3 ล้านบาท เพื่อสนองพระราชปณิธานสืบสาน รักษา และต่อยอด ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการศึกษาพระสงฆ์ไทย จังหวัดลพบุรี จัดพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี 2565 มีประชาชนและภาคีเครือข่ายร่วมอนุโมทนากว่า 1.3 ล้านบาท เพื่อสนองพระราชปณิธานสืบสาน รักษา และต่อยอด ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการศึกษาพระสงฆ์ไทยตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 65 เวลา 10.00 น. ณ วัดกวิศราราม ราชวรวิหาร ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี 2565 จังหวัดลพบุรี โดยได้รับความเมตตาจากพระเทพเสนาบดี เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เจ้าอาวาสวัดกวิศราราม ราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีพระสังฆาธิการ พระเถรานุเถระ ประกอบพิธี โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้อง และประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมในพิธี นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิธีทอดผ้าป่าเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ซึ่งมหาเถรสมาคมได้มีมติให้คณะสงฆ์สนับสนุน และขอความร่วมมือจากวัดต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จัดพิธีทอดผ้าป่าฯ ขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพระภิกษุและสามเณร ให้ได้มีโอกาสศึกษาพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง อันเป็นการสืบสานพระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้จัดพิธีรับมอบผ้าไตรพระราชทานเพื่อใช้จัดพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเชิญไปประกอบพิธีในจังหวัดต่าง ๆ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมถกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ความว่า “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ แต่เดิมมา ข้าพเจ้าได้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส และได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วยวิธีนั้น ๆ อยู่แล้ว ฉะนั้น บัดนี้ข้าพเจ้าได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว จึงขอมอบตัวแด่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า จะได้รับการจัดการให้ความคุ้มครองรักษาพระพุทธศาสนาโดยชอบธรรมตลอดไป ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงจำไว้ด้วยดีว่า ข้าพเจ้าเป็นพุทธศาสนูปถัมภกเถิด” โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระมหากรุณาให้จัดพิธีทอดผ้าป่าเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลอุทิศถวายเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้พระราชทานก่อตั้งโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย สำหรับการทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี 2565 จังหวัดลพบุรีมีผู้ร่วมอนุโมทนาถวายปัจจัยตามโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ ในเบื้องต้น จำนวน 1,300,999 บาท (หนึ่งล้านสามแสนเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)" ผวจ.ลพบุรี กล่าวเพิ่มเติม นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวในช่วงท้ายว่า โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 พร้อมพระราชทานทุนปฐมฤกษ์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรก เพื่อสนับสนุนพระภิกษุและสามเณรให้ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรมให้ลึกซึ้งแตกฉาน มีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาขั้นสูงจากสถาบันพุทธศาสนาในประเทศ และนำไปเผยแผ่เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจและความคิดในการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน โดยผู้รับทุนจะต้องเป็นพระภิกษุ หรือ สามเณรที่มีสัญชาติไทยมีศีลาจารวัตรที่งดงามตามพระธรรมวินัย มีความประพฤติเรียบร้อย มีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จหลักสูตร และมีจิตอาสา โดยต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของโครงการฯ และของสถานศึกษาที่ศึกษาอยู่ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. ทุนศึกษาบาลีชั้นสูง (แบบต่อเนื่อง) เปรียญธรรม 6 - 9 ประโยค 2. ทุนระดับอุดมศึกษา (แบบต่อเนื่อง) ด้านพุทธศาสตร์ ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก 3. ทุนหลักสูตรอบรมพระนักเทศน์ 4. ทุนหลักสูตรอบรมพระวิปัสสนาจารย์ และ 5. ทุนหลักสูตรอบรมพระธรรมจาริก สำหรับผู้มีจิตศรัทธามีความประสงค์ที่จะร่วมสมทบทุนบริจาคเงินในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย สามารถร่วมสมทบผ่านธนาณัติ ตั๋วแลกเงินธนาคาร เช็คขีดคร่อม ตามที่อยู่ โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์ เขตพระนคร กทม. 10200 หรือ โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย" ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน สาขาพระบรมมหาราชวัง หมายเลขบัญชี 061-2-06592-5 โดยสามารถส่งหลักฐานการโอนเงิน ทางโทรสารหมายเลข 0-2220-7403 หรือทาง Facebook Fanpage โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย E-mail. [emailprotected] โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2220-7400 ต่อ 4121, 4217, 4345 และ 4358
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61473
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ร่วมมือครอบครัวอาเซียน หนุนวัฒนธรรมและศาสนา แก้ปัญหาสังคม สู้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รมว.พม. ร่วมมือครอบครัวอาเซียน หนุนวัฒนธรรมและศาสนา แก้ปัญหาสังคม สู้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก รมว.พม. ร่วมมือครอบครัวอาเซียน หนุนวัฒนธรรมและศาสนา แก้ปัญหาสังคม สู้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก วันนี้ (10 พ.ย. 65) นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วย นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ร่วมแชร์ความท้าทายและแนวทางแก้ไขสถานการณ์ด้านครอบครัวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเห็นพ้องว่าพลังทางวัฒนธรรมของชาวเอเชีย และความช่วยเหลือของชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจะสามารถช่วยแก้ปัญหาและสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ในระหว่างการประชุมด้านครอบครัวของเอเชีย (Asian Family Conference) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 พ.ย.2565 ณ ประเทศสิงคโปร์ นายจุติ กล่าวว่า คนไทยและครอบครัวชาวเอเชียมีความมุ่งมั่นและความอดทนอยู่แล้ว และจะสามารถผ่านวิกฤตเหล่านี้ไปได้ ซึ่งตนเห็นว่ารัฐบาลทุกประเทศประสบปัญหาทางการเงินในภาวะนี้เช่นกัน จึงต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่รวมถึงคน เช่น อาสาสมัครและชุมชน เป็นพลังในการแก้ปัญหาครอบครัวให้ได้ ทั้งนี้ ตนยังเชื่อมั่นว่า ความรักเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กและคนในครอบครัวสามารถเอาชนะทุกอุปสรรคได้ นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการพูดคุยกับรัฐมนตรีและผู้แทนประเทศต่างๆ ทุกคนเห็นตรงกันว่าภูมิภาคเอเชีย มีวัฒนธรรมและสายใยในครอบครัวที่เข้มแข็ง และมีบริบททางสังคมที่ต่างจากประเทศตะวันตก ดังนั้น เราจึงควรใช้จุดแข็งนี้ในการแก้ไขปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคมอื่น เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อประชาชนชาวเอเชีย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61488
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มีผลแล้ว! พรฎ. ลดภาษีประจำปี “แท็กซี่ สามล้อ วินมอเตอร์ไซค์” เหลือ 10% นาน 1 ปี ช่วยลดต้นทุนประกอบอาชีพ ลดภาระค่าใช้จ่าย
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 มีผลแล้ว! พรฎ. ลดภาษีประจำปี “แท็กซี่ สามล้อ วินมอเตอร์ไซค์” เหลือ 10% นาน 1 ปี ช่วยลดต้นทุนประกอบอาชีพ ลดภาระค่าใช้จ่าย ..... ข่าวดีสำหรับพี่น้องผู้ขับขี่รถรับจ้าง ทั้งแท็กซี่ สามล้อ และวินมอเตอร์ไซค์ ล่าสุด เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปี พ.ศ. 2565 สำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ครบกำหนดเสียภาษีประจำปีในระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 โดยลดลงร้อยละ 90 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 65 เป็นต้นไป ตัวอย่างเช่น . -รถแท็กซี่ น้ำหนักรถ 1,300 กก. เดิมจัดเก็บภาษี 685 บ. ลดเหลือ 68.50 บ./คัน -รถแท็กซี่ น้ำหนักรถ 2,000 กก. เดิมจัดเก็บภาษี 1,060 บ. ลดเหลือ 106 บ./คัน -รถยนต์สามล้อรับจ้าง เดิมจัดเก็บภาษี 185 บ. ลดเหลือ 18.5 บ.คัน -รถจักรยานยนต์สาธารณะ เดิมจัดเก็บภาษี 100 บ. ลดเหลือ 10 บ./คัน . นับเป็นอีกหนึ่งมาตรการช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถรับจ้าง ในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายหลังราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติโลกปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการประกอบอาชีพขับขี่รถสาธารณะ และอาจกระทบต่อผู้ใช้บริการรถสาธารณะได้ #ไทยคู่ฟ้า #สื่อสารรัฐบาลไทย -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61463
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.หนุน SME จัดช่องทางพิเศษเพิ่มความสะดวกให้คำปรึกษา-ใบอนุญาตผู้ประกอบการ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 สธ.หนุน SME จัดช่องทางพิเศษเพิ่มความสะดวกให้คำปรึกษา-ใบอนุญาตผู้ประกอบการ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ จัดช่องทางพิเศษ SME Fast Lane ให้บริการคำปรึกษาเชิงรุกและการขอใบอนุญาตแบบ One Stop Service กลุ่มผู้ประกอบการ SME กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ จัดช่องทางพิเศษSME Fast Lane ให้บริการคำปรึกษาเชิงรุกและการขอใบอนุญาตแบบOne Stop Service กลุ่มผู้ประกอบการ SME เริ่มกลุ่มสมุนไพรและอาหาร วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) ที่ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิด “ช่องทางพิเศษสำหรับให้บริการแก่ผู้ประกอบการกลุ่มSME : SME Fast Lane” โดยมี นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้บริหารสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมงาน ดร.สาธิต กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการSME เข้าถึงการดูแลของภาครัฐ และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการขออนุมัติ/อนุญาตต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ โดยช่องทางพิเศษให้บริการแก่ผู้ประกอบการกลุ่ม SME : SME Fast Lane เกิดจากความร่วมมือของ3 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(สพร.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการพัฒนาช่องทางการให้บริการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงบริการของภาครัฐที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น การให้คำปรึกษา การขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาต ข้อมูลวิชาการต่าง ๆ สำหรับนำไปต่อยอดทางธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการข้อมูลเชื่อมโยงระบบงานบริการ SME One ID โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ในภาพรวมของประเทศด้วย ถือเป็นก้าวสำคัญในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐที่จะขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ด้านนายแพทย์ไพศาล กล่าวว่า โครงการ “SME Fast Lane” เป็นการเพิ่มช่องทางพิเศษอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) และผู้ประกอบการขนาดย่อม (SME) ได้เข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ เช่น รายละเอียดขั้นตอน การกรอกข้อมูลหรือการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อขอรับอนุญาตด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้บริการให้คำปรึกษาเชิงรุก (Pro-Active Consultation) ในด้านกระบวนการขออนุญาต การจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร และการให้บริการด้านใบอนุญาตต่าง ๆ ของ อย. แบบ One Stop Service โดยในระยะเริ่มต้นให้บริการสำหรับผู้ประกอบการ SME กลุ่มสมุนไพรและอาหาร ที่อาคาร 6 ชั้น 4 อย. และจะขยายบริการให้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ที่ อย. ดูแลรับผิดชอบในระยะต่อไป ด้าน ดร.วีระพงศ์ กล่าวว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการMSME ที่มีมากกว่า 3 ล้านราย และเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม สสว. ได้ร่วมกับ สพร. พัฒนาระบบทะเบียนและการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ประกอบการทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจให้บริการแก่ผู้ประกอบการ MSME ในการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกอบการจากระบบฐานข้อมูล SME One ID ให้ผู้ประกอบการสามารถใช้หมายเลข ID เดียวในการเข้าถึงบริการของภาครัฐทุกหน่วยงาน ลดความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสารซึ่งเป็นต้นทุนและอุปสรรคในการขอรับอนุญาต ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ารับบริการกับหน่วยงานรัฐโดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใหม่ และที่สำคัญคือ เข้าถึงบริการและโครงการที่ภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนได้สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอการยืนยันเอกสารในรูปแบบเดิม ********************************* 10 พฤศจิกายน 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61495
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลดูแลผู้พิการจากอุบัติเหตุการใช้รถใช้ถนน ยื่นคำขอรับอุปกรณ์ช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันนี้ – 29 ธ.ค.65
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 รัฐบาลดูแลผู้พิการจากอุบัติเหตุการใช้รถใช้ถนน ยื่นคำขอรับอุปกรณ์ช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันนี้ – 29 ธ.ค.65 รัฐบาลดูแลผู้พิการจากอุบัติเหตุการใช้รถใช้ถนน ยื่นคำขอรับอุปกรณ์ช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันนี้ – 29 ธ.ค.65 วันนี้(17พ.ย.65)นางสาวรัชดาธนาดิเรกรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมลดกับดักความเหลื่อมล้ำโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังทั้งเด็กผู้สูงวัยและคนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง นางสาวรัชดากล่าวว่ากรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้พิการจากการประสบภัยในการใช้รถใช้ถนนยื่นคำขอรับจัดสรรเงินค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการได้ตั้งแต่วันที่15พ.ย. – 29ธ.ค. 2565ในวันและเวลาราชการสำหรับอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการเช่นเครื่องผลิตออกซิเจนเครื่องดูดเสมหะเตียงแขนเทียมขาเทียมโลหะดามขารถสามล้อโยกรถเข็นรถเข็นไฟฟ้าเป็นต้นทั้งนี้ผู้พิการที่จะขอรับอุปกรณ์ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานโดยพื้นที่กรงเทพมหานครให้ยื่นณสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดให้ยื่นณสำนักงานขนส่งจังหวัด สำหรับคุณสมบัติผู้พิการมีดังนี้ 1.ต้องเป็นผู้พิการอันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนน2.เป็นผู้พิการที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนหรือหน่วยงานอื่น3.เป็นผู้พิการที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนหรือหน่วยงานอื่นมาแล้วเกินกว่า3ปีนับถึงวันที่ยื่นคำขอเว้นแต่เป็นอุปกรณ์คนละประเภทกับที่เคยได้รับความช่วยเหลือ4.ไม่เป็นผู้ที่เคยฝ่าฝืนเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอรับจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการของกรมการขนส่งทางบก ส่วนเอกสารประกอบการยื่นคำขอต้องใช้คำขอตามแบนที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด(ดาวน์โหลดแบบคำขอโดยสแกนQR Codeตามภาพ)พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้ (1)บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานแสดงตนอื่นใดที่ทางราชการออกให้ (2)บัตรประจำตัวผู้พิการ(ถ้ามี)โดยอย่างน้อยให้มีรายการชื่อที่อยู่ของผู้พิการวันที่ออกบัตรและวันหมดอายุประเภทหรือลักษณะความพิการและชื่อผู้ดูแลผู้พิการ (3)รูปถ่ายของผู้พิการที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะความพิการอย่างชัดเจนในลักษณะท่าทางแตกต่างกันขนาดไม่น้อยกว่า3x5นิ้วที่ถ่ายมาแล้วไม่เกิน3เดือนอย่างน้อย3รูป (4)รูปถ่ายแสดงสภาพอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(ถ้ามี)ขนาดไม่น้อยกว่า3x5นิ้วอย่างน้อย1รูป (5)กรณีขออุปกรณ์เป็นรถนั่งไฟฟ้าใช้รูปถ่ายสภาพแวดล้อม(บริเวณที่พักอาศัยหอบ้านพักของผู้พิการขนาดไม่น้อยกว่า3x5นิ้วอย่างน้อย2รูป (6)ประวัติทางการแพทย์จากทะเบียนผู้ป่วย(OPD Card)หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้หรือหลักฐานการขอรับหรือได้รับการชดเชยคำสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสนภัยที่สามารถยินยันหรือบ่งมอกได้ว่าความพิการนั้นเกิดจากอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน กรณีที่ผู้ขอรับจัดสรรไม่มีเอกสารหลักฐานตาม(6)หากมีเอกสารหลักฐานยืนยันหรือระบุโดยแพทย์แล:มีตราประกับของสถานพยาบาลไว้อย่างชัดเจนว่าความพิการของผู้พิการมีสาเหตุมาจากการประสนภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนให้สามารถใช้เป็นหลักฐานตาม(6)ได้ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1584หรือ02-271-8888ต่อ2511-2515 —————-
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61712
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. เผย คนดอนกอย ปลื้มกองทัพนักข่าวและผู้แทนจากนานาประเทศรุมล้อมให้ความสนใจ “ดอนกอยโมเดล” ภายในงานการประชุม APEC2022 ด้วยความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณ “พระองค์หญิง”
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ปลัด มท. เผย คนดอนกอย ปลื้มกองทัพนักข่าวและผู้แทนจากนานาประเทศรุมล้อมให้ความสนใจ “ดอนกอยโมเดล” ภายในงานการประชุม APEC2022 ด้วยความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณ “พระองค์หญิง” ปลัด มท. เผย คนดอนกอย ปลื้มกองทัพนักข่าวและผู้แทนจากนานาประเทศรุมล้อมให้ความสนใจ “ดอนกอยโมเดล” ภายในงานการประชุม APEC2022 ด้วยความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณ “พระองค์หญิง” พระผู้พลิกฟื้นคืนอาชีพหัตถกรรมไทยด้วยแฟชั่นนิยมสมัยใหม่ให้เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก วันนี้ (16 พ.ย. 65) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565 ได้คัดเลือกให้ “ดอนกอยโมเดล” เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยที่ได้นำเสนอผลงานผ่านบูธนิทรรศการการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านเครื่องแต่งกายของคนไทยสู่เวทีโลก ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 ที่บริเวณ foyer ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถ.รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC2022) จัดโดยกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับชมรมแม่บ้านมหาดไทย โดยภายในบูธได้จัดแสดงภูมิปัญญาและฝีมือของช่างทอผ้าแล้ว ยังมีกิจกรรมแสดงและสาธิต ได้แก่ กิจกรรมย้อมสีธรรมชาติ ย้อมคราม กิจกรรมค้นฮูก กิจกรรมกวักหมี่ กิจกรรมอิ้วฝ้าย/ดีด กิจกรรมมัดหมี่ กิจกรรมคันหมี่ กิจกรรมกวักฝ้าย กิจกรรมเข็นฝ้าย กิจกรรมทอผ้า และกิจกรรมแสดงเส้นไหมย้อมจากสีธรรมชาติ รวมทั้งมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมคราม ทั้งเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ผ้าพันคอ กระเป๋า และสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่ทำจากผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันแรกของการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC2022) กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้เชิญให้พี่น้องประชาชนกลุ่มย้อมครามบ้านดอนกอย ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้มาร่วมสาธิตการย้อมคราม และร่วมจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าภายในบริเวณงาน โดยได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน ผู้นำ เจ้าหน้าที่อาวุโส และผู้นำเยาวชนจากกลุ่มสมาชิก APEC มาเยี่ยมชมบูธและร่วมกิจกรรมการสาธิตย้อมคราม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของพี่น้องบ้านดอนกอยเป็นจำนวนมาก อาทิ สาธารณรัฐชิลี ไต้หวัน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อินโดนีเซีย และอีกหลายประเทศ รวมถึงนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีสินค้าที่ได้รับความนิยมชมชอบ อาทิ กระเป๋า ผ้าพันคอ และด้ายถัก ซึ่งสามารถจำหน่ายได้แล้วกว่าหลายหมื่นบาท พร้อมทั้งได้รับเสียงชื่นชมจากบรรดาเหล่าผู้นำ และสื่อมวลชนที่เข้าเยี่ยมชมบูธ ที่ต่างทึ่งกับผลผลิตจากภูมิปัญญาคนไทยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก เพราะผลิตภัณฑ์ “ดอนกอยโมเดล” เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าที่ได้ประยุกต์วิชาการแฟชั่นสมัยใหม่ผสมผสานควบคู่กับภูมิปัญญาความเป็นไทยดั้งเดิมของบรรพบุรุษผ่านการย้อมครามได้อย่างกลมกลืนลงตัว สอดคล้องกับความนิยมชมชอบตามสมัยนิยมของคนทั่วโลก “พี่น้องประชาชนกลุ่มดอนกอยที่เป็นตัวแทนของชาวบ้านดอนกอย อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขารู้สึกตื้นตันใจ และปลื้มปีติที่ผลงานผลิตภัณฑ์ “ดอนกอยโมเดล” ได้รับความสนใจจากผู้นำและสื่อมวลชนต่างประเทศอย่างล้นหลาม ไม่คิดว่าจะได้รับความสนใจมากขนาดนี้ เพราะเพิ่งจะเปิดบูธได้เพียงสองวัน ทั้งนี้ พี่น้องบ้านดอนกอยทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน “ซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณของพระองค์หญิง” ด้วยเพราะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระปณิธานที่มุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ทรงเป็นพระผู้อภิรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าไทยให้กลายเป็นอาชีพของคนไทย ด้วยการทรงต่อยอดนำวิชาการแฟชั่นสมัยใหม่มาสอน มาชี้แนะ มาร่วมลงมือทำกับพี่น้องชาวบ้านดอนกอย ทั้งการทรงแนะนำให้ย้อมผ้าครามด้วยเฉดสีเทรนโลก หรือ Earth Tone ที่สามารถแบ่งเฉดสีได้อย่างหลากหลาย ไม่เป็นสีเข้มสีเดียว รวมถึง นำผ้าย้อมครามมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย และยังทรงแนะนำเรื่องการย้อมด้วยสีธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความยั่งยืนกับโลกใบเดียวนี้ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) อันเป็นสิ่งที่ผู้นำทั่วโลก รวมถึงสื่อมวลชนต่างชาติ ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้พระราชทานตราสัญลักษณ์ “ดอนกอยโมเดล” ที่โดดเด่น มีความเป็นสากลที่สอดแทรกไปด้วยลวดลายเส้นแสดงถึงความเป็นไทย ชวนให้ผู้สนใจมาเลือกชม เลือกซื้อ เลือกหา และเป็นที่ดึงดูดให้บุคคลเหล่านี้ เข้ามาชื่นชมในผลิตภัณฑ์ “ดอนกอยโมเดล” อีกด้วย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยเดชะพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระผู้ทรงแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ได้พระราชทานให้กับพี่น้องบ้านดอนกอย จนเรียกได้ว่า เป็นการต่อลมหายใจ เป็นการต่อความมั่นคงของชีวิต เติมความสวยงามให้กับภูมิปัญญา จนเกิดเป็น “ดอนกอยโมเดล” ในวันนี้ จนได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าที่ได้เฉิดฉายสู่สายตาผู้นำกลุ่ม APEC ในการประชุมในครั้งนี้ อันเป็นการเปิดโอกาส สร้างช่องทางการส่งออกสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่นที่ทรงคุณค่า จนได้รับความสนใจเลือกซื้อ เลือกหา แวะเวียนมาอย่างไม่ขาดสาย เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า พระองค์ทรงทำให้ “ฝีไม้ลายมือคนไทยซึ่งไม่แพ้ชาติใดในโลก” เฉกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉลองพระองค์ผ้าไทยโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศในทุกประเทศ ทำให้คนทั่วทั้งโลกได้ชื่นชมในความสามารถของคนไทยผ่านฉลองพระองค์ของพระองค์ท่าน และวันนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงต่อยอดภูมิปัญญาไทยตามพระราชดำริสมเด็จย่าของพระองค์ด้วยพระกตเวทิตาคุณจนกลายเป็น “สุดยอดผลิตภัณฑ์ผ้า” โดยกระทรวงมหาดไทย และสมาคมแม่บ้านมหาดไทย จะได้น้อมนำไปเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง อย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อทำให้พระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ทำให้พี่น้องประชาชนช่างทอผ้า ผู้ประกอบการทอผ้ากลุ่มอื่น ๆ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังเช่นที่บ้านดอนกอย อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร อันจะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยในทุกถิ่นที่ชนบทห่างไกล มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61705
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ทิพานัน" ย้อนแสบเพื่อไทย  "ทักษิณ" อดีตหลอกคนไทยจนปังปัจจุบันพังพินาศ ทั้งหลบหนีคดี-โกงชาติ-คอร์รัปชัน-ขโมยประโยชน์ชาติเข้าตระกูลตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่สังคมโลกรังเกียจ  ย้ำรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์" มาจากการเลือกตั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 "ทิพานัน" ย้อนแสบเพื่อไทย "ทักษิณ" อดีตหลอกคนไทยจนปังปัจจุบันพังพินาศ ทั้งหลบหนีคดี-โกงชาติ-คอร์รัปชัน-ขโมยประโยชน์ชาติเข้าตระกูลตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่สังคมโลกรังเกียจ ย้ำรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์" มาจากการเลือกตั้ง "ทิพานัน" ย้อนแสบเพื่อไทย "ทักษิณ" อดีตหลอกคนไทยจนปังปัจจุบันพังพินาศ ทั้งหลบหนีคดี-โกงชาติ-คอร์รัปชัน-ขโมยประโยชน์ชาติเข้าตระกูลตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่สังคมโลกรังเกียจ ย้ำรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์" มาจากการเลือกตั้ง วันนี้( 17พ.ย. 65)น.ส.ทิพานันศิริชนะรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกมากล่าวหาว่าภาพลักษณ์เผด็จการของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชาเป็นอุปสรรคในเวทีโลกว่าการออกมาแสดงความคิดเห็นดังกล่าวสะท้อนความหวั่นไหวและหวาดกลัวของพรรคเพื่อไทยที่ได้เห็นภาพความสำเร็จของพล.อ.ประยุทธ์ที่ได้รับการยอมรับและให้การต้อนรับเป็นอย่างดีจากบรรดาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นผู้นำประเทศที่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมด้วยตนเอง ยิ่งมีเสียงชื่นชมการจัดงานการประชุมที่ได้มาตรฐานระดับโลกจากบุคลากรของเอเปคเองคือนางรีเบคกาสตามาเรียผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการเอเปคด้วยแล้วพรรคเพื่อไทยอาจรับไม่ได้ที่นานาประเทศชื่นชมไทย “ส่วนที่กล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการความจริงแล้วพรรคเพื่อไทยเองก็ตระหนักดีว่าพล.อ.ประยุทธ์นั้นมาจากการเลือกตั้งที่มีกติกาเดียวกันกับพรรคเพื่อไทยเมื่อปี2562ที่เป็นฝ่ายค้านในสภาฯอยู่ในขณะนี้”น.ส.ทิพานันกล่าว รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่าพรรคเพื่อไทยต้องยอมรับว่านักโทษชายทักษิณหลอกคนไทยว่าจะไม่โกงเพราะรวยอยู่แล้วจะเข้ามาบริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์สุจริตใช้วาทะกรรมหลอกจนปังแต่ปัจจุบันพินาศไปแล้ว เพราะในสมัยรัฐบาลทักษิณชินวัตรที่พรรคเพื่อไทยมักจะนำมากล่าวอ้างถึงความสำเร็จต่างๆโดยเฉพาะการจัดการประชุมเอเปคในยุคนั้นกลับมีพฤติกรรมที่เรียกว่า“เผด็จการรัฐสภา”ที่ก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันเชิงนโยบายเช่นกรณีแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพาสามิตด้วยการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิตเอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน)ทำให้รัฐเสียหาย6.6หมื่นล้านบาทซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาให้ลงโทษจำคุก2ปีฐานที่นายทักษิณอดีตนายกรัฐมนตรีในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยให้บุคคลอื่นมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นแทนในกรณีของการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน),เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองและผู้อื่นและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต “พรรคเพื่อไทยยังคงภาคภูมิใจกับเศษซากปรักหักพังของประเทศที่ต้องสูญเสียไปกับการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่ขโมยผลประโยชน์ชาติเข้าตระกูลตัวเองอยู่อีกหรือทั้งยังเป็นนักโทษหลบหนีคดีแต่จะขอกลับมาเมืองไทยแบบเท่ๆสร้างความอับอายและเป็นพฤติกรรมที่สังคมโลกรังเกียจ”รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุ —————-
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61728
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ทิพานัน" แจ้งเตือนผู้ลงทะเบียนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่สมบูรณ์ เร่งแก้ไขวันนี้วันสุดท้าย
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 "ทิพานัน" แจ้งเตือนผู้ลงทะเบียนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่สมบูรณ์ เร่งแก้ไขวันนี้วันสุดท้าย "ทิพานัน" แจ้งเตือนผู้ลงทะเบียนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่สมบูรณ์ เร่งแก้ไขวันนี้วันสุดท้าย วันนี้(17พ.ย.65)น.ส.ทิพานันศิริชนะรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเตือนว่าวันนี้(17พฤศจิกายน2565)เป็นวันสุดท้ายของการแก้ไขข้อมูลในโครงการลงทะเบียนเพื่อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะถูกตัดสิทธิจึงขอให้พี่น้องประชาชนที่ลงทะเบียนในโครงการฯตั้งแต่วันที่5กันยายน– 31ตุลาคม2565ที่ผ่านมาหากตรวจสอบแล้วพบ“สถานการณ์ลงทะเบียนไม่สมบูรณ์”ให้รีบแก้ไขโดยด่วนโดยผู้ลงทะเบียนต้องติดต่อขอแก้ไขข้อมูลให้แล้วเสร็จที่หน่วยรับลงทะเบียนที่ได้ลงทะเบียนหรือที่ได้ยื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนไว้เท่านั้น ส่วนผู้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่ไม่มีครอบครัว(โสด)สามารถไปแจ้งแก้ไขข้อมูลที่หน่วยรับลงทะเบียนใดก็ได้ น.ส.ทิพานันกล่าวว่าหลังจากนี้ให้รอประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติในเดือนมกราคม2566โดยประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติผ่านเว็บไซต์หากผ่านรอยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐได้ที่ธนาคารของรัฐ3แห่งได้แก่ธนาคารกรุงไทยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารออมสิน หากไม่ผ่านจะไม่ได้รับสิทธิหรือสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อได้ส่วนกำหนดการใช้สิทธิสวัสดิการจะใช้ได้เมื่อใดกระทรวงการคลังจะประกาศให้ทราบในภายหลัง “พล.อ.ประยุทธ์ได้เดินหน้าปรับปรุงพัฒนาโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้มุ่งดูแลประชนผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่มให้เข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐได้อย่างตรงเป้าหมายเพื่อช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม”น.ส.ทิพานันกล่าว ————-
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61722
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK จับมือเวียดคอมแบงก์ สนับสนุนการค้าการลงทุนไทย-เวียดนาม คาดการณ์เพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนไทย-เวียดนาม 10,000 ลบ. ในปี 2566
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 EXIM BANK จับมือเวียดคอมแบงก์ สนับสนุนการค้าการลงทุนไทย-เวียดนาม คาดการณ์เพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนไทย-เวียดนาม 10,000 ลบ. ในปี 2566 EXIM BANK ร่วมมือกับเวียดคอมแบงก์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเวียดนามนำเข้าสินค้าหรือบริการของไทยเพิ่มขึ้น รวมถึงสนับสนุนนักลงทุนไทยในเวียดนามให้มีวงเงินหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจเพื่อขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-เวียดนาม EXIM BANK ร่วมมือกับเวียดคอมแบงก์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเวียดนามนำเข้าสินค้าหรือบริการของไทยเพิ่มขึ้น รวมถึงสนับสนุนนักลงทุนไทยในเวียดนามให้มีวงเงินหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจเพื่อขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-เวียดนาม โดยคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนไทย-เวียดนามได้ประมาณ 10,000 ล้านบาทในปี 2566 และเติบโต 10% ต่อปีในระยะถัดไป นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาสนับสนุนการค้าและการลงทุน ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และเวียดคอมแบงก์ (Vietcombank) โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายเหวียน แทงห์ ตุ่ง รักษาการกรรมการผู้จัดการ เวียดคอมแบงก์ เป็นผู้ลงนาม ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ในโอกาสนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ร่วมแสดงความยินดีกับความร่วมมือครั้งนี้ระหว่าง EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังที่มีภารกิจส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศกับเวียดคอมแบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐแห่งแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการให้บริการสินเชื่อเพื่อการส่งออกและนำเข้าและธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ ครอบคลุมความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันการเงินในการให้วงเงินสินเชื่อระหว่างกัน (Reciprocal Credit Lines) แนะนำผู้ประกอบการระหว่างกัน (Customer Referrals) ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ อาทิ การเป็นตัวแทนรับหลักประกัน (Security Agent) การเป็นตัวแทนในการเบิกจ่ายเงินกู้ (Disbursement Agent) เป็นการสนับสนุนบริการครบวงจรทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงินสำหรับผู้ประกอบการไทย-เวียดนาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเวียดนามนำเข้าสินค้าหรือบริการจากไทยและผลักดันให้เกิดโครงการลงทุนหรือร่วมทุนระหว่างไทยกับเวียดนามเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะทำให้มูลค่าการค้าและการลงทุนไทย-เวียดนามเพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 ล้านบาทในปี 2566 และเติบโต 10% ต่อปีในระยะถัดไป กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า EXIM BANK สานพลังกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการทำงานร่วมกับทีมประเทศไทย ภายใต้บทบาทของ EXIM BANK ในการเป็น “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย” เดินหน้าสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในเวทีโลก โดยมองเห็นศักยภาพของเวียดนาม หนึ่งในตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงด้วยจำนวนประชากรเกือบ 100 ล้านคน มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2566 จะเติบโตถึง 6.2% และเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 6.6% ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า ขณะที่รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมการค้าเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเวียดนามมีความตกลงการค้าเสรี (FTAs) มากที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายของนักลงทุนทั่วโลก สะท้อนจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิ (FDI Net Inflow) ที่ไหลเข้าเวียดนามขยายตัวเฉลี่ย 7.9% ต่อปีในปี 2555-2564 เทียบกับ FDI โลกที่ขยายตัวเพียง 3.3% ผู้ประกอบการไทยจึงมีโอกาสอีกมากที่จะขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนเข้าไปยังตลาดเวียดนาม ในปี 2564 มูลค่าการค้าระหว่างไทย-เวียดนามสูงราว 620,000 ล้านบาท นับเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 2 ของไทยในอาเซียน รองจากมาเลเซีย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเวียดนามก้าวขึ้นมาเป็นตลาดที่มีบทบาทต่อการส่งออกของไทยอย่างมาก มูลค่าส่งออกจากไทยไปเวียดนามเติบโตเกือบเท่าตัว ด้านการลงทุน ไทยเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 8 ในเวียดนาม ด้วยมูลค่าลงทุนสะสมราว 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 470,000 ล้านบาท การลงทุนของไทยในเวียดนามกระจายอยู่ในหลากหลายธุรกิจ อาทิ นิคมอุตสาหกรรม พลังงาน อาหารแปรรูป ปิโตรเคมี และบรรจุภัณฑ์ “เวียดนามวันนี้ได้พลิกโฉมจากคู่แข่งกลายมาเป็นคู่ค้าคนสำคัญที่ไทยพึ่งพาและพึ่งพิงมากขึ้น EXIM BANK พร้อมทำหน้าที่มากกว่าธนาคาร เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเชื่อมโยง Supply Chain การผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศเวียดนามและตลาดโลกได้ โดยธุรกิจส่วนใหญ่ในเวียดนามมุ่งสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลไทยและประชาคมโลกสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ สร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไปจนถึงภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และประชาคมโลก” ดร.รักษ์ กล่าว EXIM Thailand Joins Hands with Vietcombank in Supporting Thai-Vietnamese Trade and Investment with Growth Forecast of 10,000 MB in Trade and Investment Value in 2023 EXIM Thailand has collaborated with Vietcombank in promoting Vietnamese entrepreneurs’ import of Thai goods and services to a greater extent, and supporting Thai investors in Vietnam with offering of revolving credit facility for business operation to grow Thai-Vietnamese trade and investment value, the growth of which is predicted at approximately 10,000 million baht in 2023 and 10% average per year afterward. This is part of a synergized move toward sustainable development in Asia-Pacific. General Prayut Chan-o-cha, Prime Minister of Thailand, and Mr. Nguyen Xuan Phuc, President of the Socialist Republic of Vietnam, witnessed the signing ceremony of the trade and investment support agreement between Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand) and Vietcombank, with Dr. Rak Vorrakitpokatorn, EXIM Thailand President, and Mr. Nguyen Thanh Tung, Deputy CEO in charge of the Board of Management of Vietcombank, as the agreement signatories at the Government House on November 16, 2022. Mr. Arkhom Termpittayapaisith, Minister of Finance, congratulated this occasion where the bilateral cooperation between EXIM Thailand, a state-owned specialized financial institution under the supervision of the Ministry of Finance with a mission to promote and support export and investment conducive to national development, and Vietcombank, the first state-owned bank listed on the Vietnamese stock exchange and mandated to provide supports through credit facilities for export and import and international financial transactions has taken place. The agreement covers both financial institutions’ collaboration in offering reciprocal credit lines and customer referrals and facilitating international transactions, e.g., security agent service and disbursement agent service. This would help make available full-fledged financial and non-financial facilities and services for Thai-Vietnamese entrepreneurs, aiming to stimulate Vietnamese entrepreneurs’ import of goods or services from Thailand and encourage greater emergence of investment or joint-investment projects between Thai and Vietnamese investors. The synergy built by the two institutions is anticipated to generate higher Thai-Vietnamese trade and investment value by approximately 10,000 million baht in 2023 and an annual average growth of 10% in the following years. EXIM Thailand President revealed that EXIM Thailand has synergized with public and private entities alongside working with Thailand Team under its role as “Thailand Development Bank” seeking to build strong and sustainable Thai economic warriors on the global front. The Bank has envisaged Vietnam as a new frontier with high potential, recording a population of almost 100 million and consistent economic growth rates. According to the International Monetary Fund (IMF), Vietnamese economy is predicted to grow by as high as 6.2% in 2023 and by an annual average of 6.6% for the next 5 years. Meanwhile, the Vietnamese government has a policy to promote free trade and foreign direct investment (FDI). Vietnam has been among top of the list of countries having inked highest number of free trade agreements (FTAs) and one of target destinations for investors from around the world. This has been reflected by Vietnam’s FDI net inflow over 2012-2021 which recorded an average growth of 7.9% per year, compared with that of global FDI of only 3.3%. In view of this, Thai entrepreneurs would have ample opportunities to expand their trade and investment to Vietnam. In 2021, Thai-Vietnamese trade value was as high as around 620,000 million baht, making Vietnam the 2nd largest ASEAN trade counterpart of Thailand, following Malaysia. For the past decade, Vietnam has played a significant role as a principal market for Thai export with an almost doubled growth in export value. Meanwhile, Thailand has been the 8th largest foreign investor in Vietnam with accumulated investment value of around 13,000 million US dollars or approximately 470,000 million baht. Thai investment in Vietnam has been scattered in diverse businesses, such as industrial estate, energy, processed food, petrochemical and packaging businesses. “Vietnam has today turned over from a competitor to a major trade counterpart on which Thailand has increasingly relied and depended. EXIM Thailand is fully equipped to perform beyond banking to assist Thai entrepreneurs in building up connectivity with production supply chains for export to Vietnam and global markets. Most businesses in Vietnam aim to drive Bio-Circular-Green (BCG) economy, which is in response to Thai government policy and global efforts toward net zero emissions, as well as solid and sustainable development from local to Asia-Pacific regional and global communities at large,” added Dr. Rak.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61715
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ครั้งที่ 2 ธ.ก.ส. นำทัพสถาบันการเงิน ช่วยแก้หนี้พี่น้องภาคอีสาน 18 – 20 พ.ย. นี้ ที่ขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 งานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ครั้งที่ 2 ธ.ก.ส. นำทัพสถาบันการเงิน ช่วยแก้หนี้พี่น้องภาคอีสาน 18 – 20 พ.ย. นี้ ที่ขอนแก่น ธ.ก.ส. นำทัพสถาบันการเงินของรัฐลงพื้นที่ภาคอีสาน ในงาน“มหกรรมร่วมใจแก้หนี้มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”ครั้งที่ 2 ณ ฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น (KICE) ระหว่างวันที่ 18 - 20 พฤศจิกายนนี้ กระทรวงการคลัง ธปท. และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ มอบ ธ.ก.ส. นำทัพสถาบันการเงินของรัฐลงพื้นที่ภาคอีสาน เร่งคลายปัญหาภาระหนี้ ให้คำปรึกษาทางการเงินผ่านมาตรการดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชนแบบครบวงจร ควบคู่กับการเติมความรู้ เติมทุน ในการสร้างอาชีพสร้างรายได้อย่างยั่งยืนส่งมอบแคมเปญโปรโมชันพิเศษกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมากมาย ในงาน“มหกรรมร่วมใจแก้หนี้มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”ครั้งที่ 2 ณ ฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น (KICE) ระหว่างวันที่ 18 - 20 พฤศจิกายนนี้ นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน กระทรวงการคลังจึงร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (GFA) ผนึกกำลังจัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตต่าง ๆ ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ภัยธรรมชาติ และปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย ให้สามารถกลับมามีกำลังในการประกอบอาชีพ มีรายได้และศักยภาพในการชำระหนี้ โดยกำหนดแนวทางช่วยเหลือลูกค้าในทุกมิติผ่านการให้ความรู้ทางการเงิน การวางแผนและการสร้างวินัยทางการเงิน การช่วยเหลือผ่านมาตรการต่าง ๆ ของแต่ละสถาบันการเงิน รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินโดยตรงอันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดงานดังกล่าวจะสัญจรไปใน 5 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี และสงขลา ซึ่งในครั้งที่ 1 จัดไปแล้วเมื่อวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2565 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมมหกรรมฯ กว่า 15,000 ราย สำหรับงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจรครั้งที่ 2 ธ.ก.ส. ได้รับมอบหมายในการเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 20 พฤศจิกายน 2565 ณ ฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น(KICE)โดย ธ.ก.ส. พร้อมด้วยสถาบันการเงินของรัฐ (SFIs) ทุกแห่ง ธนาคารกรุงไทย รวมถึงส่วนงานต่างๆ หลายภาคส่วนจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการลดภาระการผ่อนชำระ การลดอัตราดอกเบี้ย การขยายเวลาการชำระหนี้ ยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระ การตัดเงินต้นเพิ่มเติม โดยครอบคลุมลูกหนี้สินเชื่อประเภทต่าง ๆ อาทิ สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อผู้ประกอบการธุรกิจ สินเชื่อภาคการเกษตร ลูกหนี้บัตรเครดิต ฯลฯ ควบคู่กับการให้คำปรึกษาทางการเงิน การเติมองค์ความรู้ในการฟื้นฟูอาชีพเดิม การสร้างอาชีพเสริม อาชีพใหม่ และการเติมทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ ภายใต้อัตราดอกเบี้ยพิเศษและเงื่อนไขที่ผ่อนปรนซึ่งผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอแก้ไขหนี้ออนไลน์ผ่าน https://www.bot.or.th/DebtFair/หรือเข้าร่วมปรึกษาภายในงานได้ตลอดทั้ง 3 วัน กิจกรรมครั้งนี้สถาบันการเงินทุกแห่งยังพร้อมใจขนแคมเปญและโปรโมชันมากมายทั้งทางด้านสินเชื่อและเงินฝาก เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าและผู้ประกอบการ สามารถสานฝันธุรกิจไปสู่เป้าหมาย ควบคู่ไปกับการสร้างภูมิคุ้มกันผ่านการออมและการประกันภัย อาทิ สินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน โดยไม่ต้องมีหลักประกัน สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สินเชื่อนวัตกรรมดีมีเงินทุน ที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำจาก ธ.ก.สมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.9 ต่อปี นาน 6 เดือนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ สินเชื่อผู้ส่งออกป้ายแดงจาก EXIM Bankสินเชื่อ Krungthai SME Money จากธนาคารกรุงไทยสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงินจากธนาคารออมสิน สลากดิจิทัลจากธนาคารออมสินและธ.ก.ส. รวมไปถึงการเลือกซื้อบ้านมือสอง(NPA) คุณภาพดี กู้ได้เต็มวงเงิน การจัดกิจกรรมเสวนา พบกับผู้ประกอบการและเกษตรกร ที่ผ่านการแก้ไขปัญหาหนี้สินและกลับมาสร้างความสำเร็จในธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยพิธีกรชื่อดังจากรายการไอเดียเกษตร คุณนิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรืองเรียนรู้เทคนิคการบริหารเงิน การจัดการหนี้ และส่งเสริมการออม โดยกูรูทางการเงินชื่อดัง พร้อมกิจกรรมร่วมสนุกและรับของที่ระลึกมากมาย ขอเชิญชวนลูกหนี้ที่ประสงค์รับความช่วยเหลือและประชาชนทั่วไปที่สนใจร่วมงาน“มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 2ระหว่างวันที่ 18 - 20 พฤศจิกายน 2565 ณ ฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น (KICE)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61713
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ทิพานัน" เผย ผอ.สำนักเลขาธิการเอเปค ยกย่องไทย “ระดับเวิลด์คลาส” จัดประชุมเอเปค 2022 ยอดเยี่ยม สะท้อน "พล.อ.ประยุทธ์" จัดงานได้มีประสิทธิภาพ ส่งผลภาพลักษณ์และศักยภาพระดับโลก
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 "ทิพานัน" เผย ผอ.สำนักเลขาธิการเอเปค ยกย่องไทย “ระดับเวิลด์คลาส” จัดประชุมเอเปค 2022 ยอดเยี่ยม สะท้อน "พล.อ.ประยุทธ์" จัดงานได้มีประสิทธิภาพ ส่งผลภาพลักษณ์และศักยภาพระดับโลก "ทิพานัน" เผย ผอ.สำนักเลขาธิการเอเปค ยกย่องไทย “ระดับเวิลด์คลาส” จัดประชุมเอเปค 2022 ยอดเยี่ยม สะท้อน "พล.อ.ประยุทธ์" จัดงานได้มีประสิทธิภาพ ส่งผลภาพลักษณ์และศักยภาพระดับโลก เปิดโอกาสดึงอีเวนท์ใหญ่นานาชาติจัดที่ไทย กระตุ้นเศรษฐกิจกระจายรายได้ทุกภาคส่วน วันนี้(17พ.ย.65) น.ส.ทิพานันศิริชนะรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีนางรีเบคกาสตามาเรียผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการเอเปคได้กล่าวในการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคว่าชื่นชมการเป็นเจ้าภาพงานประชุมเอเปค2022ของไทยในปีนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ4ปีที่ผู้นำจากเขตเศรษฐกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถกลับมาประชุมแบบพบหน้ากันในแง่โลจิสติกส์สถานที่ต่างๆของไทยถือว่าอยู่ในระดับเวิลด์คลาสและจัดการได้เยี่ยมยอดเป็นการจัดเตรียมงานที่เป็นเลิศเอาใจใส่ดูแลให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความปลอดภัยทั้งจากการเดินทางและจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19ในขณะที่ในแง่สารัตถะก็สามารถทำให้เกิดความคืบหน้าท่ามกลางความท้าทายที่เราเผชิญอยู่ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จปีหนึ่งของเอเปค น.ส.ทิพานันกล่าวว่า เสียงชื่นชมดังกล่าวเป็นการการันตีการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค2022ของไทยที่สามารถจัดการได้อยู่ในระดับเวิลด์คลาสยอดเยี่ยมภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีที่วางนโยบายควบคุมการจัดการประชุมให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยและเป็นที่ประทับใจของนานาชาติ "และยิ่งเมื่อต้นปี2565ที่ GainingEdgeบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกด้านอุตสาหกรรมการจัดงาน(MICE) ได้จัดอันดับให้กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับ6ของโลก“เมืองจุดหมายการประชุมนานาชาติปี2564”และเป็นอันดับที่4ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของเมืองในการเป็นจุดหมายจัดการประชุมนานาชาติ โดยเป็นการประเมินคุณภาพของ3ปัจจัยหลักคือ1.ด้านสุขอนามัยหรือHygiene Factors 2.ด้านความได้เปรียบในการแข่งขันหรือCompetitive Advantagesและ3.ด้านการสร้างความแตกต่างหรือKey Differentiators “เชื่อมั่นว่าเสียงชื่นชมการจัดประชุมเอเปคของผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการเอเปคและผู้เข้าร่วมอื่นๆจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงดูดงานอีเว้นท์ใหญ่ๆจากทั่วโลกให้เข้ามาจัดในประเทศไทยได้ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นและมีรายได้กระจายไปทุกภาคส่วนดังนั้นระหว่างวันที่18-19พ.ย. นี้จะเป็นการประชุมผู้นำในเขตเศรษฐกิจ จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยทุกคนจะร่วมกันเป็นเจ้าบ้านสร้างความประทับใจในเสน่ห์ทางวัฒนธรรมความเป็นอยู่อาหารกการกินอัธยาศัยต้อนรับของคนไทยรวมถึงความปลอดภัยและสงบที่จะถูกส่งต่อและเผยแพร่ออกไปสู่สายตานานาประเทศ ให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีระดับโลกที่ส่งผลถึงประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติในอนาคต”น.ส.ทิพานันกล่าว —————
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61714
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเชิญชวนประชาชนชมกิจกรรมแสงสี “VIJIT CHAO PHRAYA” 6 จุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวันที่ 27 พ.ย. จุดสะพานพระพุทธยอดฟ้าเพิ่มรอบการแสดงพลุ 19-20 ,24-27 พ.ย.
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 รัฐบาลเชิญชวนประชาชนชมกิจกรรมแสงสี “VIJIT CHAO PHRAYA” 6 จุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวันที่ 27 พ.ย. จุดสะพานพระพุทธยอดฟ้าเพิ่มรอบการแสดงพลุ 19-20 ,24-27 พ.ย. รัฐบาลเชิญชวนประชาชนชมกิจกรรมแสงสี “VIJIT CHAO PHRAYA” 6 จุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวันที่ 27 พ.ย. จุดสะพานพระพุทธยอดฟ้าเพิ่มรอบการแสดงพลุ 19-20 ,24-27 พ.ย. วันที่17พ.ย. 65น.ส.ไตรศุลีไตรสรณกุลรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ได้จัดกิจกรรม“VIJIT CHAO PHRAYA”ปรากฎการณ์แห่งแสงสีริมแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ตั้งแต่วันนี้-27พ.ย. 65บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยารวมเป็น6จุด ในโอกาสนี้รัฐบาลจึงขอเชิญชวนประชาชนรับชมการแสดงแสงสีเสียงในจุดต่างๆได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย “มุมมองในการชมแสงสีได้สวยงามที่สุดจะเป็นการล่องเรือในเส้นทางท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยาและริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามจุดที่ทำการแสดงโดยกิจกรรมครั้งนี้ททท.ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสีสันตลอดริม2ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาต้อนรับการประชุมผู้นำเอเปคสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติและยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเรืออาหารเรือนำเที่ยวโรงแรมที่พักตลอดจนร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ทำการแสดง”น.ส.ไตรศุลีกล่าว สำหรับชุดการแสดงและกำหนดเวลาการแสดงใน6พื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยาในกิจกรรม“VIJIT CHAO PHRAYA”มีดังนี้ 1.สะพานพระราม8 : “ทอแสงวิจิตรตระการ” เป็นการแสดงLight Show & Laserเพื่อต้อนรับการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคตามแนวคิดOpen. Connect. Balance.และเป็นการเฉลิมฉลองการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวกลับมาโดยมีการย้อมไฟกับเส้นสายของสะพานพระราม8เกิดเป็นสีสันบรรยากาศและฉายแสงเลเซอร์เป็นลวดลายและข้อความประกอบกับเสียงเพลงที่ผสมผสานความเป็นไทยเข้ากับดนตรีสากลจากศิลปินThe Sound of Siamจัดแสดงทุกวันๆละ6รอบเวลา19.00น. 19.30น. 20.00น. 20.30น. 21.00น.และ21.30น. 2.ป้อมวิไชยประสิทธิ์: “วิจิตรปราการธารธารา”เป็นการแสดงProjection MappingประกอบแสงสีและEffectพิเศษถ่ายทอดเรื่องราวความรุ่งเรืองวิถีแห่งสายน้ำตราบอดีตจวบปัจจุบันที่มีการเดินเรือค้าขายการเดินทางติดต่อทางการทูตวิถีชีวิตของคนไทยกับสายน้ำและการต่อสู้เพื่อความสุขสงบสันติของแผ่นดินโดยใช้กำแพงป้อมที่งดงามเป็นพื้นที่ฉายภาพจัดแสดงทุกวันๆละ6รอบเวลา19.00น. -19.06น. 19.20- 19.26น.20.00-20.06น.20.06-20.26น.21.10-21.16น.และ21.30-21.36น.การแสดงมีเอฟเฟคในวันที่19-20พ.ย. ,24-27พ.ย.65 3.วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร: "นฤมิตวิจิตรนาฏกรรม"การแสดงทางวัฒนธรรมประยุกต์ผสมผสานระบบเทคนิคพิเศษ บอกเล่าเรื่องราวของประเพณีอันเรืองงามคู่สายน้ำเจ้าพระยาโดยมีหนังใหญ่และการแสดงทางวัฒนธรรม ที่สืบเนื่องกับแม่น้ำร่วมแสดงสื่อถึงความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทยตลอดจนความสุขที่เปี่ยมมิตรไมตรีและรอยยิ้มจัดแสดงในช่วงวันที่18-20พ.ย. ,25-27พ.ย. 65เวลา19.30 -19.40น. 20.30 -30.40น.และ21.30-21.10น.มีการแสดงวัฒนธรรมและพลุ 4.สะพานพระพุทธยอดฟ้า: "วิจิตรเรืองรองท้องนที"การแสดงIllumination Light Showประกอบดนตรีที่สื่อถึงประสบการณ์การเดินทางแห่งความสุขในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทยถ่ายทอดออกมาเป็นการเล่นแสงไฟตามจังหวะเพลงที่น่าตื่นตาตื่นใจสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางออกไปค้นหาจัดแสดงทุกวันๆละ6รอบเวลา19.15น. 19.45น. 20.15น. 20.45น. 21.15น.และ21.45น.และมีการเพิ่มรอบการแสดงพลุรับชมฟรีในวันที่ 19-20และ24-27พ.ย. 65เวลา20.45-20.52น. 5.ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้แบงค็อก:วิจิตรไทยแลนด์"การฉายProjection Mappingไปยังพื้นผิวอาคารเป็นถ่ายทอดเรื่องราวของเสน่ห์แห่งแม่น้ำเจ้าพระยาและนำเสนอSOFT POWERสำคัญในเมืองไทย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาสัมผัสประสบการณ์อันมหัศจรรย์ทั้งFOOD FILM FASHION FIGHT FESTIVALจัดแสดงทุกวันๆละ6รอบเวลา19.00น. 19.30น. 20.00น. 20.30น. 21.00น.และ21.30น. 6.ไอคอนสยาม: “วิจิตรธารามหาปรากฏการณ์”การประดับไฟตกแต่งไอคอนสยามแบงคอกอิลูมิเนชั่นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยพลังงานสะอาดจากSolar Cellนวัตกรรมใหม่ที่สอดรับกับนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศและการแสดงThe ICONIC Multimedia Water Featureการแสดงระบำสายน้ำประกอบแสงสีเสียงที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดแสดงทุกวันๆละ4รอบเวลา18.15น. 19.15น. 20.15น.และ21.15น. ——————
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61725
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Joint Statement On the Official Visit of His Excellency Mr. Nguyen Xuan Phuc, President of the Socialist Republic of Viet Nam, to the Kingdom of Thailand
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 Joint Statement On the Official Visit of His Excellency Mr. Nguyen Xuan Phuc, President of the Socialist Republic of Viet Nam, to the Kingdom of Thailand Joint Statement On the Official Visit of His Excellency Mr. Nguyen Xuan Phuc, President of the Socialist Republic of Viet Nam, to the Kingdom of Thailand 16 November 2022, Bangkok
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61698
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ หารือผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง พร้อมกระชับความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ฮ่องกงชื่นชมนายกฯ และรัฐบาลไทยกับบทบาทการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2022
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 นายกฯ หารือผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง พร้อมกระชับความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ฮ่องกงชื่นชมนายกฯ และรัฐบาลไทยกับบทบาทการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2022 นายกฯ หารือผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง พร้อมกระชับความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ฮ่องกงชื่นชมนายกฯ และรัฐบาลไทยกับบทบาทการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2022 วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2565) เวลา 13.55 น. ณ ห้องรับรองพิเศษ สนามบินสุวรรณภูมิ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือทวิภาคีแบบสั้น (pull-aside) กับนายจอห์น ลี คา-ชิว (The Honourable John Lee Ka-Chiu) ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเดินทางมาร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ไทย ซึ่งปีนี้ไทยมีการประชุมหัวข้อ Open. Connect. Balance. ซึ่งไทยยินดีร่วมมือกับฮ่องกงในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคให้รุ่งเรือง ทั้งนี้ ไทยและฮ่องกงมีความร่วมมือที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะการค้าและการลงทุน รัฐบาลพร้อมร่วมมือกันในทุกมิติ เชื่อมั่นว่า ฮ่องกงและไทยจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเจริญรุ่งเรืองต่อไป ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงยินดีที่ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีในวันนี้ โดยไทยและฮ่องกงมีความร่วมมือที่แน่นแฟ้น อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายยังมีศักยภาพในการเพิ่มพูนความร่วมมือกันอีกมาก ทั้งนี้ ฮ่องกงชื่นชมนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไทยในการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพการประชุมฯ ของไทย พร้อมยืนยันความร่วมมือระหว่างกันในการทำงานอย่างใกล้ชิด โดยเชื่อมั่นว่าการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพจะประสบความสำเร็จ โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเป็นโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายร่วมแก้ปัญหาท่ามกลางความท้าทาย และเป็นโอกาสให้ยกระดับความร่วมมือ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมในเรื่องการค้าและการลงทุน และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนการค้าในผลิตภัณฑ์ทางด้านเกษตร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61729
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกฯ หารือนายกฯญี่ปุ่น ประกาศยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership)”
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ​นายกฯ หารือนายกฯญี่ปุ่น ประกาศยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership)” อีกก้าวสำคัญทางความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2565) เวลา 16.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือกับนายคิชิดะ ฟูมิโอะ (H.E. Mr. KISHIDA Fumio) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อกระชับความสัมพันธ์อย่างรอบด้าน รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนและสานต่อผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ภายหลังเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบหารือ และได้ต้อนรับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและภริยา เดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยไทยยินดีกับพลวัตทางความสัมพันธ์ที่ก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการกลับมาดำเนินกิจกรรม และการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชน ด้านนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยินดีที่ได้พบนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง การเดินทางครั้งนี้นอกจากเพื่อเข้าร่วมประชุมเอเปคแล้ว ยังจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ติดตามและสานต่อผลการหารือระหว่างผู้นำทั้งสองจากที่นายกรัฐมนตรีได้พบกันเมื่อพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา พร้อมขอบคุณที่ได้สละเวลาให้เข้าพบก่อนที่การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจจะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้ โอกาสนี้ ผู้นำทั้งสองได้หารือในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ผู้นำทั้งสองต่างยินดีในโอกาสครบรอบ 135 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในปีนี้ และการครบรอบ 10 ปีของความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ โดยไทยและญี่ปุ่นยังได้ยืนยันความพร้อมที่จะร่วมมือกันเพื่อพัฒนา “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ ประชาชนและภูมิภาค ซึ่งการลงนามและประกาศใช้แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นในระยะ 5 ปี จะยิ่งช่วยสนับสนุนการพัฒนาหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านต่อไป ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทยและญี่ปุ่นยินดีที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยพร้อมเป็นหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน และส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ ซึ่งญี่ปุ่นพร้อมพิจารณาใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของอาเซียนด้วย โดยญี่ปุ่นยังได้กล่าวเสนอเพิ่มพูนความร่วมมือธุรกิจ startup ของทั้งสองประเทศด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ขอให้ญี่ปุ่นพิจารณาขยายการจัดตั้งสถาบันโคเซ็นในไทยเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว เชื่อมั่นว่า ทรัพยากรมนุษน์เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในภาคอุตสาหกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับไทยและญี่ปุ่นต่อไป ในด้านพลังงาน ไทยและญี่ปุ่นพร้อมร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ทันสมัยและการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำร่วมกันผ่านข้อเสนอความร่วมมือด้านพลังงาน (White Paper) ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น และภายใต้ข้อริเริ่ม Asia Zero-Emission Community (AZEC) ของญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย นายกรัฐมนตรียินดีกับการเป็นเจ้าภาพ World Expo 2025 Osaka ของญี่ปุ่น ไทยพร้อมสนับสนุนการจัดงานอย่างเต็มที่ และเชื่อมั่นว่างานจะประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยไทยหวังจะได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นในการเป็นเจ้าภาพจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ (Specialised Expo) 2028 ที่จังหวัดภูเก็ตเช่นกัน เชื่อมั่นว่าจะเป็นเวทีให้นานาประเทศนำเสนอทางออกและแลกเปลี่ยนความร่วมมือสู่ความยั่งยืน ความร่วมมือด้านความมั่นคง ยินดีที่ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือด้านการทหารและการป้องกันประเทศที่ใกล้ชิด เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบต่างๆ โดยทั้งสองฝ่ายยังได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเยือนไทย ซึ่งขณะนี้กระทรวงกลาโหมอยู่ระหว่างการพิจารณาสาขาความร่วมมือที่ประสงค์ร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นต่อไป ด้านประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ยินดีที่ไทยร่วมมือกับญี่ปุ่นในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา เพื่อช่วยเหลือประเทศที่สามอย่างต่อเนื่อง ไทยพร้อมสานต่อความร่วมมือกับญี่ปุ่นในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ต้องการของประเทศผู้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมบทบาทที่แข็งขันในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และไทย ในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น พร้อมมีบทบาทอย่างแข็งขันเพื่อให้ความร่วมมือและกิจกรรมต่างๆ บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นยังได้ร่วมกันยินดีที่ทั้งสองประเทศมีการหารือจนมีผลเป็นรูปธรรมในหลายๆ ด้าน สามารถพัฒนาและยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” ฉลองครบรอบ 135 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปีนี้ และการครบรอบ 10 ปีของความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ที่ถือเป็นอีกก้าวสำคัญทางความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61731
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. – นายกสมาคมแม่บ้าน มท. ร่วมแสดงความยินดี “40 ปีศรแดงเมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน” เน้นย้ำ เป็นภาคีเครือข่ายในการสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ปลัด มท. – นายกสมาคมแม่บ้าน มท. ร่วมแสดงความยินดี “40 ปีศรแดงเมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน” เน้นย้ำ เป็นภาคีเครือข่ายในการสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช ปลัด มท. – นายกสมาคมแม่บ้าน มท. ร่วมแสดงความยินดี “40 ปีศรแดงเมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน” เน้นย้ำ เป็นภาคีเครือข่ายในการสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการขยายผลเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับป ปลัด มท. – นายกสมาคมแม่บ้าน มท. ร่วมแสดงความยินดี “40 ปีศรแดงเมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน” เน้นย้ำ เป็นภาคีเครือข่ายในการสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการขยายผลเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประชาชนทุกครัวเรือนอย่างยั่งยืน วันนี้ (16 พ.ย. 65) เวลา 09.00 น. ที่บริเวณสถานที่จัดงาน “ความสุขปลูกได้ Field Day 2022” เนเธอแลนด์เมืองไทย สำนักงานใหญ่บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง) ซอยวัดคลองตาคล้าย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 40 ปี การดำเนินงานบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง) ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายด้านการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประชาชน โอกาสนี้ นายแร็มโก โยฮันเนิส ฟัน ไวน์คาร์เดิน (H.E. Mr. Remco van Wijngaarden) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายราชันย์ ซุ้นหั้ว นางสาวอโรชา นันทมนตรี นายอภิชัย อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี หม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์ รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา นางสุจิตรา ศรีนาม นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมในงาน โดยมี นายดูเว่ ไซจพ์ (Mr. Douwe Zijp) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) กลุ่มบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป และเจ้าหน้าที่ กลุ่มบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ร่วมให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชมงาน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมแสดงความยินดีในวาระครบ 40 ปี การดำเนินงานของบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง) ซึ่งเป็นกัลยาณมิตร เป็นภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ทำให้ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้ ด้วยความฝันเหมือนกันที่อยากเห็นพี่น้องประชาชน ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ที่พระองค์ทรงเพียรพยายามในการเผยแพร่และดำเนินการในเรื่องนี้หลายระดับ อาทิ ระดับโรงเรียน พระองค์ท่านทรงสนับสนุนส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร รณรงค์การปลูกผักสวนครัว ในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ให้สามารถมีพืชผักในการประกอบอาหารไว้รับประทาน หรือแม้แต่ในชุมชน/หมู่บ้าน ได้พระราชทานพระดำริ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” อยู่หลายจุดด้วยกัน อาทิ ตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ถอดบทเรียนสู่ปฏิบัติการ “ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ผ่านแนวทาง “ผู้นำต้องทำก่อน” ด้วยการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย คนละ 10 ชนิด เป็นตัวอย่างให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งขณะนี้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ ได้เป็นแม่ทัพคนสำคัญในการทำเป็นตัวอย่าง และรณรงค์เชิญชวนให้หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น กลุ่มองค์กรเครือข่าย ร่วมกันสร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่องทุกพื้นที่ และสื่อสารสร้างการรับรู้ผ่านทุกช่องทาง “ขอขอบคุณ อีสท์ เวสท์ ซีด หรือที่พี่น้องประชาชนเกษตรกรชาวไทยรู้จักกันในนาม “เมล็ดพันธุ์ศรแดง” ที่เป็นพันธมิตรที่ดีของกระทรวงมหาดไทยและพี่น้องประชาชนเกษตรกรคนไทยมาตลอดระยะเวลา 40 ปี นับแต่การก่อตั้งบริษัท โดยคุณไซมอน แนนน์ กรูท และไม่หยุดยั้งที่จะค้นคว้า วิจัย พัฒนาเมล็ดพันธุ์ผักที่มีคุณภาพสูงบริการให้กับเกษตรกรชาวไทย และยังได้ให้ความเชื่อมั่นในการจับมือกับกระทรวงมหาดไทยสนับสนุนส่งเสริมให้ครัวเรือนของพี่น้องประชาชนได้หันมาปลูกผักสวนครัวภายในบ้านอันเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สร้างความรัก ความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัว ให้ยิ่งทวีความมั่นคงขึ้นไปอีก ทั้งยังหวังว่าจะสามารถขยายผลสร้างแรงจูงใจให้ทุกครัวเรือนหันมาปลูกผักสวนครัว สามารถมีแหล่งอาหารภายในครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสร้างวิถีชีวิต วัฒนธรรมดี ๆ ของครัวเรือนไทยให้เกิดขึ้น อย่างยั่งยืนต่อไป และต่อเนื่องในทุกสภาวการณ์ ดังพันธกิจของอีสท์ เวสท์ ซีด ที่มุ่งมั่นส่งมอบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกผักและการปลูกผักเขตร้อนให้เติบโตและมีคุณภาพยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนเกษตรกรไทยถึง 25 ล้านคนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดภาวะโลกร้อนให้กับโลกใบเดียวของพวกเราทุกคน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทย ขอเชิญชวนอีสท์ เวสท์ ซีด ได้จับมือร่วมกันกับกระทรวงมหาดไทยและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนอย่างมั่นคง อย่างพร้อมเพรียง ในการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาหารที่ปลอดภัย มีความมั่นคงด้านอาหารให้กับครัวเรือนทุกครัวเรือน ผ่านโครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน และโครงการพระราชดำริอื่น ๆ ด้วยการเชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนใช้พื้นที่ว่างทั้งพื้นที่ส่วนตัวในบ้าน และพื้นที่สาธารณะ หันมาปลูกพืชผักสวนครัว สร้างความมั่นด้านอาหาร ขับเคลื่อนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป ด้าน นายดูเว่ ไซจพ์ (Mr. Douwe Zijp) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) กลุ่มบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 40 ปี ที่เมื่อย้อนกลับไป คุณไซมอน แนนน์ กรูท ได้เดินทางมาที่ประเทศไทย และเล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาเกษตรกรไทยให้มีอาชีพที่มั่นคงและมีผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยนำเมล็ดพันธุ์ผักที่มีคุณภาพสูงมาขยายผลให้บริการกับประชาชนเกษตรกรชาวไทย และในปัจจุบันสภาวการณ์โลกร้อน และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศอื่น ๆ เป็นสิ่งที่อีสท์ เวสท์ ซีด ให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแม้ว่าในอนาคต ผู้บริหารจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่พันธกิจและความตั้งใจของอีสท์ เวสท์ ซีด ในการเสริมสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนเกษตรกรไทยจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และจะยิ่งทวีประโยชน์ให้กับคนไทย ให้กับประเทศไทย และขอขอบคุณกระทรวงมหาดไทยที่เป็นภาคีเครือข่ายสำคัญในการให้โอกาสอีสท์ เวสท์ ซีด ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทย ด้าน นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของแปลงผักมากกว่า 200 ชนิดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ไม่ได้เริ่มจาก 3 หรือ 6 เดือน แต่จุดเริ่มต้นนี้เกิดขึ้นเมื่อ 40 ปีก่อนโดยนักเมล็ดพันธุ์คนหนึ่งจากเนเธอแลนด์ที่มีความเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะสามารถเปลี่ยนคนได้ และตั้งปณิธานจะส่งมอบเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้กับเกษตรกรในประเทศไทย นั่นคือ คุณไซมอน แนนน์ กรูท ผู้ก่อตั้งบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ทั้งนี้ เรารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของบริษัท และภูมิใจที่ได้ขับเคลื่อนร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประชาชนพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ อีสท์ เวสท์ ซีด ขอเชิญชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทุกท่าน มาเยี่ยมชม มาดูเมล็ดพันธุ์ของเรา ด้วยการมา site visit ในพื้นที่ 20 ไร่ของเรา อันเป็นเรื่องที่เราภูมิใจอย่างแท้จริง และอีสท์ เวสท์ ซีด มุ่งมั่นในการทำให้ที่นี่เป็น landmark เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วใส่ใจสุขภาพ ปลูกผักกินเอง และเชื่อว่าแปลงผักสวย ๆจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากปลูกผัก และคนมีทางเลือกในการได้รับเมล็ดพันธุ์ที่ดี กับงาน “ความสุขปลูกได้ Field Day 2022 ” โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. ที่สำนักงานใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61707
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกฯ หารือ ปธน.เวียดนาม ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ส่งเสริมความร่วมมือรอบด้าน ย้ำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง พร้อมผลักดันศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัล
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ​นายกฯ หารือ ปธน.เวียดนาม ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ส่งเสริมความร่วมมือรอบด้าน ย้ำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง พร้อมผลักดันศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ​นายกฯ หารือ ปธน.เวียดนาม ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ส่งเสริมความร่วมมือรอบด้าน ย้ำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง พร้อมผลักดันศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัล วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2565) เวลา 16.00 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในโอกาสการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย (Official Visit) โดยนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเวียดนาม ได้ร่วมตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น นายกรัฐมนตรีเชิญประธานาธิบดีเวียดนามไปยังห้องสีงาช้างด้านนอก เพื่อลงนามในสมุดเยี่ยม และได้หารือความร่วมมือเต็มคณะ ในเวลา 16.25 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ผู้นำทั้งสองได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ โดยฝ่ายไทยมีบุคคลสำคัญเข้าร่วมด้วย ดังนี้ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีเหวียน ซวน ฟุก และคณะผู้แทนเวียดนามที่เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันนี้ ซึ่งการเยือนครั้งนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการเยือนไทยครั้งแรกภายหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเวียดนาม และเป็นการเยือนไทยของประมุขแห่งรัฐของเวียดนามครั้งแรกในรอบ 24 ปี ซึ่งไทยและเวียดนามจะต้องจับมือกันเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างเข้มแข็ง พร้อมยินดีที่ทั้งสองประเทศจะเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะในโอกาสที่ปีหน้าจะครบรอบ 10 ปีของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ด้านประธานาธิบดีเวียดนามขอบคุณรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยที่ให้การต้อนรับอย่างเป็นเกียรติและเปี่ยมไปด้วยมิตรไมตรีที่อบอุ่นของความเป็นพี่น้องกัน ซึ่งที่ผ่านมา เวียดนามและไทยได้ทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งไทยคือเพื่อนที่ใกล้ชิดที่เวียดนามให้ความสำคัญสามารถหารือเพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือ สร้างสันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ถือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ทั้งในกรอบของอาเซียน ภูมิภาคและโลก พร้อมยินดีกับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ซึ่งเวียดนามยินดีสนับสนุนความร่วมมือเพื่อให้การประชุมเอเปคในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเวียดนามได้หารือในประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ไทยและเวียดนามมีการแลกเปลี่ยนการเยือนและหารือระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีอุปสรรคในสถานการณ์โควิด-19 โดยล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้ต้อนรับรองประธานาธิบดีเวียดนาม เยือนไทยเมื่อเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสพบปะกับนายกรัฐมนตรีฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังว่าจะได้เยือนเวียดนามเพื่อร่วมการประชุมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (JCR) ครั้งที่ 4 โดยวันพรุ่งนี้จะมีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมด้านความมั่นคงไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 ที่กระทรวงกลาโหม โดยเห็นพ้องที่จะจัดการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (JWG on PSC) ครั้งที่ 12 ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ซึ่งประธานาธิบดีฯ เสนอให้กระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือระหว่างประเทศ ตลอดจนการดูแลความมั่นคงด้านการประมงที่คำนึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลด้วย ด้านเศรษฐกิจ ไทยและเวียดนามเป็นคู่ค้าที่สำคัญระหว่างกันในอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเสนอให้ทั้งสองฝ่ายเร่งอนุญาตการนำเข้า – ส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรประเภทผัก ผลไม้ ข้าว และสินค้าปศุสัตว์และเร่งรัดจัดทำความตกลงและกลไกเจรจาด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคการขนส่งสินค้าจากไทยผ่านเวียดนามไปประเทศที่สาม รวมทั้งเห็นพ้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ยาและเวชภัณฑ์ ด้านการลงทุน ทั้งสองฝ่ายพร้อมสนับสนุนนักลงทุนให้เข้ามาทำธุรกิจระหว่างสองประเทศ พร้อมยินดีกับการจัดตั้งหอการค้าไทยในเวียดนาม หรือ ThaiCham เมื่อปี 2564 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ด้านประธานาธิบดีเวียดนามเห็นว่า ทั้งสองประเทศต่างเป็นคู่ค้ารายใหญ่ซึ่งกันและกัน จำนวนกว่า 18,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมชื่นชมที่ทั้งสองฝ่ายมีเสถียรภาพมากในการเพิ่มมูลค่าสินค้าต่างตอบแทน และยินดีที่จะขยายธุรกิจด้านพลังงานสีเขียว รวมทั้งโลจิสติกส์ ในส่วนของการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านคมนาคม - ทั้งสองฝ่ายจะเร่งเจรจาเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างไทยกับเวียดนามในทุกด้านทางบก ผ่านการปรับปรุงถนน R12 ใน สปป. ลาว และการจัดทำความตกลงเดินรถโดยสารไทย - ลาว - เวียดนาม และทางน้ำผ่านความตกลงเดินเรือชายฝั่งไทย - กัมพูชา - เวียดนาม ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล - ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งชาติเวียดนามได้เริ่มพัฒนาการเชื่อมโยงเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านระบบ QR code ระหว่างกัน โดยในอนาคตทั้งสองฝ่ายจะใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการเงิน e-commerce ด้าน 5G และ 6G นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนวทาง Three Connects ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานหรือ supply chain ในอุตสาหกรรมที่เกื้อกูลกัน 2. การเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากและท้องถิ่น โดยเฉพาะระหว่างภาคอีสานของไทย กับภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนาม 3. การเชื่อมโยงนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืน ผ่านการประสานนโยบายระหว่าง โมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทยกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียวของเวียดนาม ประธานาธิบดีเห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรี และยินดีที่จะส่งเสริมผลิตผลข้าวเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค ด้านการพัฒนาและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน ทั้งสองฝ่ายพร้อมต่อยอดความร่วมมือด้านวัฒนธรรมมากขึ้น ผ่านวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการพัฒนาของชุมชนชาวเวียดนามในไทย โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่ได้จัดกิจกรรมฉลองการครบรอบ 45 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปีที่ผ่านมา รวมทั้งเห็นว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรกับไทยมากที่สุดเป็นอันดับต้น คือ 18 คู่ ซึ่งในวันนี้จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจเมืองคู่มิตรระหว่าง จังหวัดขอนแก่นกับนครดานังอีกคู่หนึ่งด้วย ขณะที่ประธานาธิบดีเวียดนามยินดีความชื่นชมบทบาทของสมาคมมิตรภาพของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีศักยภาพอย่างมากในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ด้านความเป็นหุ้นส่วนในอนุภูมิภาคและภูมิภาค ไทยและเวียดนามจะประสานท่าทีและความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยเฉพาะกรอบ ACMECS และอาเซียน โดยเห็นพ้องที่จะสนับสนุนความเป็นเอกภาพภายในอาเซียนและร่วมกันแก้ไขปัญหาตาม ASEAN สำหรับความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการพัฒนา ACMECS เพื่อให้ประเทศลุ่มน้ำโขงร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตตัวเอง ในส่วนการบริหารจัดการน้ำ ทั้งสองฝ่ายเห็นควรส่งเสริมความร่วมมือกันให้มากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการหาเสียงให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษในปี 2028 โดยเชื่อมั่นว่า งาน Expo 2028 Phuket จะเป็นเวทีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งประธานาธิบดีเวียดนามยินดีสนับสนุนไทยในการเลือกตั้งในกรอบองค์การนิทรรศการโลก (BIE) ในเดือนมิถุนายนของปีหน้า (2566) ที่กรุงปารีส ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีอวยพรและเป็นกำลังใจให้ประธานาธิบดีเวียดนามประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศ และขอให้ประธานาธิบดีเวียดนาม ซึ่งเป็น “มิตรแท้ของไทย” ช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามให้มีความแน่นแฟ้นและก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61700
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Week: AELW)
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Week: AELW) ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 ข่าวสารกำรประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Week: AELW) และกำหนดกำรเยือนไทยอย่ำงเป็นทำงกำรของผู้นำในฐำนะแขกของรัฐบำล (Official Visit) ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 นายกฯ กล่าวเปิดการประชุม APEC CEO Summit ผลักดันความร่วมมือกับภาคเอกชนส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน พร้อมสร้างบรรยากาศการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล นายกฯ กล่าวเปิดงาน “APEC University Leaders’ Forum 2022” ย้ำความร่วมมือของทุกภาคส่วน ภาคการศึกษาคือกำลังสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่น และยกระดับองค์ความรู้ เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61730
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการแถลงข่าวร่วมกับนายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการแถลงข่าวร่วมกับนายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการแถลงข่าวร่วมกับนายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการแถลงข่าวร่วมกับนายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ท่านประธานาธิบดีเหวียน ซวน ฟุก แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกท่านครับ ในนามของรัฐบาลและประชาชนไทย ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ ท่านเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ในโอกาสเยือนไทย อย่างเป็นทางการในวันนี้ การเยือนของท่านประธานาธิบดีฟุกในวันนี้เป็นโอกาสพิเศษในหลายด้าน โดยเป็นทั้งการเยือนไทยในฐานะเพื่อนเก่าของผมที่ได้ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่สมัยท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเวียดนาม นอกจากนี้ ยังเป็นการเยือนไทยเป็นครั้งแรกภายหลังท่านประธานาธิบดีฟุกเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปีที่แล้ว และยังเป็นการเยือนไทยเป็นครั้งแรกของประมุขแห่งรัฐของเวียดนามในรอบ 24 ปีด้วย การเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไทย เวียดนาม และประเทศในภูมิภาคต่างกำลังเผชิญความท้าทายทางการเมืองและเศรษฐกิจจากความผันผวนในสถานการณ์ระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ทุกประเทศก็กำลังเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้น ไทยและเวียดนามจึงให้ความสำคัญกับการเยือนครั้งนี้เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เข้าร่วมการหารือในวันนี้ และในวันพรุ่งนี้ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจไทย - เวียดนาม โดยนักธุรกิจชั้นนำของทั้งสองประเทศจะมารวมตัวกันกว่า ๓๐๐ คน ช่วยกันขับเคลื่อนการเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกท่านครับ ไทยและเวียดนามเห็นพ้องที่จะเปิดศักราชใหม่ของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะในโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะครบรอบ 10 ปีของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในปีหน้า ซึ่งผมได้ใช้โอกาสนี้เรียนเชิญท่านฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนามเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และทั้งสองฝ่ายจะประสานงานเพื่อจัดการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (JCR) ครั้งที่ 4 ที่เวียดนาม เมื่อสักครู่นี้ ท่านประธานาธิบดีฟุกและผมได้เป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนความตกลงหลายฉบับ ได้แก่ 1.แผนปฏิบัติการว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งไทย -เวียดนามในระยะ 5 ปีข้างหน้า 2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในคดีแพ่ง 3. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสถาปนาเมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดขอนแก่นกับนครดานัง 4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม และ 5. สัญญาสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าหรือ เอ็กซิมแบงค์ กับธนาคารพาณิชย์เพื่อการค้าระหว่างประเทศเวียดนามเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างผู้ประกอบการไทยและเวียดนาม ท่านประธานาธิบดีฟุก และผมได้หารือกันในหลายประเด็น ซึ่งครอบคลุมทุกมิติของความสัมพันธ์ไทย - เวียดนาม ในบรรยากาศของมิตรภาพ ความเชื่อมั่น และไว้เนื้อเชื่อใจ โดยมีผลลัพธ์ที่สำคัญ ดังนี้ ในด้านการเมืองและความมั่นคง ไทยและเวียดนามต่างเป็นประเทศที่มีความสำคัญ ต่อความมั่นคงของอนุภูมิภาคและภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นพ้องจะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วน เพื่อสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน โดยจะแลกเปลี่ยนการเยือนและการปรึกษาหารือ ในกรอบและกลไกด้านการเมือง ความมั่นคง และการทหาร ในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกัน และเป็นกรอบในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในทุกด้านต่อไป ซึ่งรวมถึงการแก้ปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น ภัยทางไซเบอร์ และอาชญกรรมข้ามชาติรูปแบบต่าง ๆ ในด้านเศรษฐกิจ ไทยและเวียดนามต่างเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้งในเชิงขนาดและศักยภาพในการเติบโต อีกทั้งมีระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งทั้งการค้าและการลงทุน ดังนั้น ในวันนี้ ไทยและเวียดนามจึงเห็นพ้องกันที่จะผลักดันความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองประเทศและภูมิภาค โดยครอบคลุมทั้งการค้า การลงทุน ความเชื่อมโยงทางคมนาคม การเงินการธนาคารและเศรษฐกิจดิจิทัล และทราบว่า จะมีพิธีเปิดใช้งาน QR code อย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ ซึ่งก็จะยิ่งทำให้การชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างกันสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะเร่งอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ทั้งการนำเข้า ส่งออก และการนำผ่านสินค้าไปประเทศที่สาม โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ และยา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการค้าที่ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 (ค.ศ. 2025) ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายจะเร่งส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น และจะดูแลสนับสนุนนักลงทุนของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างดีต่อไป นอกจากนี้ ผมและท่านประธานาธิบดีฟุกเห็นพ้องที่ไทยและเวียดนามจะรวมพลังทางเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไปข้างหน้ายิ่งขึ้น ตามแนวทาง Three Connects คือ (1) การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในสาขาที่เกื้อกูลกัน (2) การเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากและผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคอีสานของไทยกับภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนาม และ (3) การเชื่อมโยงนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว โดยเฉพาะ BCG กับนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวของเวียดนาม ในด้านการพัฒนาและประชาชน ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน เพื่อยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชนในทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะผ่านโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ที่ประชาชนและท้องถิ่นเวียดนามจะได้รับประโยชน์จากโครงการให้ความช่วยเหลือจากไทย เช่น โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ชนบท โครงการพัฒนาการประมงยั่งยืน และโครงการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาเวียดนาม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้ใช้ประโยชน์จากกรอบกลไกความร่วมมือในระดับประชาชนและท้องถิ่นระหว่างจังหวัดไทยและเวียดนาม และสมาคมมิตรภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งส่งเสริมความเชื่อมโยง การไปมาหาสู่ และการดำเนินกิจกรรมธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างท้องถิ่นของทั้งสองประเทศต่อไป แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกท่านครับ ผมและท่านประธานาธิบดีฟุกได้หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นกันเกี่ยวกับประเด็นความท้าทายในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เรามีความห่วงใยและมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเราเห็นพ้องกันว่า ไทยและเวียดนามให้ฐานะประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค จึงควรประสานท่าทีและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยเฉพาะในกรอบ ACMECS และอาเซียน เราทั้งสองประเทศต้องการให้ภูมิภาคนี้มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง โดยฝ่ายต่าง ๆ มีความร่วมมือที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยและเวียดนามให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความเป็นเอกภาพและความเข้มแข็งของอาเซียน และจะร่วมมือกันใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ และให้อาเซียนเป็นแกนกลางกำหนดทิศทางในอนาคตของภูมิภาค ผมและท่านประธานาธิบดีฟุก เห็นตรงกันว่าไทยและเวียดนามมีเป้าหมายเดียวกัน ในเรื่องเมียนมา คือต้องการให้มีการคลี่คลายสถานการณ์และความเป็นปกติสุขกลับคืนสู่เมียนมาโดยเร็ว โดยเชื่อว่าการดำเนินการของอาเซียนตามแนวทาง ASEAN Way บนพื้นฐานของความร่วมมือ การปรึกษาหารือกัน และฉันทามติร่วมกัน (Cooperation, Consultation, Consensus) จะสามารถช่วยสนับสนุนการคลี่คลายปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ผมขอย้ำความยินดี และดีใจที่ได้ต้อนรับและหารือกับท่านประธานาธิบดีฟุกในการเยือนไทย อย่างเป็นทางการในวันนี้ และยินดีที่จะได้ร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับท่านในวันที่ ๑๘ และ ๑๙ พฤศจิกายนนี้ต่อไป ขอบคุณครับ ซินก๋ามเอิน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61703
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พ่อเมืองลำพูน นำทุกภาคส่วนรื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นแรก ตามโครงการ "1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ" ปรับปรุงระบบไฟฟ้า “ถนนรอบเมืองนอก” ถนนสายสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นเคเบิลใต้ดิน
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 พ่อเมืองลำพูน นำทุกภาคส่วนรื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นแรก ตามโครงการ "1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ" ปรับปรุงระบบไฟฟ้า “ถนนรอบเมืองนอก” ถนนสายสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นเคเบิลใต้ดิน พ่อเมืองลำพูน นำทุกภาคส่วนรื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นแรก ตามโครงการ "1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ" ปรับปรุงระบบไฟฟ้า “ถนนรอบเมืองนอก” ถนนสายสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นเคเบิลใต้ดิน วันนี้ (16 พ.ย. 65) เวลา 09.00 น. ที่บริเวณหน้าสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สาขาลำพูน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีรื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นแรก ตามโครงการ “1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ” ปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน ถนนรอบเมืองนอก โดยมี นายชีวิน พัฒนคูหะ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาค 1 นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ ปลัดจังหวัดลำพูน นายบุญส่ง ไชยมณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน นายโยธิน ประสงค์ความดี นายอำเภอเมืองลำพูน นายบรรพต ธรรมสโรช ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และประชาชนในพื้นที่ ร่วมในพิธี นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลดังกล่าว จึงได้มีนโยบายให้ส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้คิดริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน อันเป็นการสนองพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป" โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จึงได้ริเริ่มโครงการ “1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ” โดยได้ร่วมกับทุกจังหวัดดำเนินการพิจารณาคัดเลือกถนนสายสำคัญ เช่น ถนนประวัติศาสตร์ ถนนใจกลางเมือง ถนนในพื้นที่เศรษฐกิจ ตามความเหมาะสม เพื่อพัฒนาเป็นถนนเฉลิมพระเกียรติ ไม่มีสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือสายสื่อสารที่รกรุงรังบดบังทัศนียภาพของเมือง ทำให้เมืองมีทัศนียภาพที่สวยงาม มีความปลอดภัยกับประชาชน “จังหวัดลำพูนได้ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเทศบาลเมืองลำพูน จัดทำแผนงานปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน ตามโครงการ "1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ" บริเวณถนนรอบเมืองนอกจังหวัดลำพูน โดยมีพื้นที่ดำเนินงาน ตั้งแต่บริเวณด้านหน้าสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สาขาลำพูน ถึงบริเวณเชิงสะพานท่านาง ระยะทางรวม 2.2 กิโลเมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 58 ล้านบาท มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองลำพูน ให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนที่เดินทางสัญจรไปมา ตลอดจนเป็นการพัฒนาระบบการจ่ายไฟฟ้าให้มีความมั่นคง สามารถรองรับความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และรองรับการพัฒนาจังหวัดลำพูนให้เป็นเมืองท่องเที่ยวในระดับสากล ต่อไป” ผวจ.ลำพูน กล่าวเน้นย้ำ ด้าน นายบรรพต ธรรมสโรช ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน กล่าวว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มุ่งเน้นการให้พัฒนางานบริการเพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็ว มีมาตรฐาน ให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาระบบไฟฟ้า ให้ตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนาเมืองในแต่ละพื้นที่ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำพูนแล้วเห็นว่า จังหวัดลำพูนมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,300 ปี มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เป็นเมืองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในเชิงศิลปะและวัฒนธรรม โดย “ถนนรอบเมืองนอก” เป็นถนนสายประวัติศาสตร์ล้อมรอบตัวเมืองลำพูนชั้นในเป็นรูปหอยสังข์ เป็นถนนที่มีความสำคัญในด้านการคมนาคมขนส่งและเป็นเส้นทางสัญจรหลักของผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงเป็นที่มาของการเลือกให้เข้าร่วมโครงการ "1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ" นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดลำพูนให้ความสำคัญในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าและการส่งเสริมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยดำเนินการพัฒนาปรับปรุงถนน และปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นระบบเคเบิ้ลใต้ดิน เพื่อทำให้เมืองลำพูนเป็นเมืองที่สวยงาม ปลอดภัย และประการสำคัญที่สุด เป็นการดำเนินการเพื่อร่วมกันสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้ทรงเป็นหลักชัยของปวงชนชาวไทย ที่ได้พระราชทานพระราชดำรัส ความว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งการดำเนินการโครงการฯ ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการ “แก้ไขในสิ่งผิด” ทำให้บ้านเมืองมีความสวยงาม “ขอขอบคุณเทศบาลเมืองลำพูน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ได้ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนโครงการนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลจากการดำเนินโครงการนี้จะส่งผลให้ทัศนียภาพของเมืองลำพูน มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่า เป็นการตอบโจทย์แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน ประเด็นที่ 1 เรื่อง เมืองแห่งวัฒนธรรมอัตลักษณ์วิถีและท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะสามารถเกื้อหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองลำพูนในมิติต่าง ๆ และสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน อันจะส่งผลทำให้พี่น้องประชาชนชาวลำพูนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสุขอย่างยั่งยืน” ผวจ.ลำพูน กล่าวในช่วงท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61709
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกฯ และ ปธน.เวียดนาม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนความตกลง พร้อมแถลงข่าวร่วม เน้นย้ำการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันอย่างรอบด้าน ขับเคลื่อนแนวทาง “Three Connects”
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ​นายกฯ และ ปธน.เวียดนาม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนความตกลง พร้อมแถลงข่าวร่วม เน้นย้ำการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันอย่างรอบด้าน ขับเคลื่อนแนวทาง “Three Connects” ​นายกฯ และ ปธน.เวียดนาม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนความตกลง พร้อมแถลงข่าวร่วม เน้นย้ำการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันอย่างรอบด้าน ขับเคลื่อนแนวทาง “Three Connects” รวมพลังทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2565) เวลา 18.05 น. ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนความตกลง 5 ฉบับ พร้อมกล่าวถ้อยแถลงในการแถลงข่าวร่วมกับ นายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงข่าวร่วม นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเวียดนามร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง 5 ฉบับ ได้แก่ 1. แผนปฏิบัติการว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งไทย - เวียดนามในระยะ 5 ปีข้างหน้า (2565-2570) 2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในคดีแพ่ง 3. บันทึกความเข้าใจเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องระหว่างราชอาณาจักรไทยกับนครดานัง 4. บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเวียดนาม และ 5. สัญญาสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือ เอ็กซิมแบงค์ กับธนาคารพาณิชย์เพื่อการค้าระหว่างประเทศแห่งเวียดนาม ในส่วนของถ้อยแถลงการแถลงข่าวร่วม นายกรัฐมนตรีกล่าวเป็นเกียรติที่ได้ต้อนรับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมเวียดนามในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยการเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไทย เวียดนาม และประเทศในภูมิภาคต่างกำลังเผชิญความท้าทายทางการเมืองและเศรษฐกิจจากความผันผวนในสถานการณ์ระหว่างประเทศ ทุกประเทศกำลังเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทั้งสองประเทศจะต้องช่วยกันขับเคลื่อนการเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ และพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งในวันพรุ่งนี้จะมีกิจกรรมทางธุรกิจไทย-เวียดนาม นักธุรกิจของทั้งสองประเทศจะมารวมตัวกันกว่า 300 คน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเปิดศักราชใหม่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยเฉพาะในโอกาสที่จะครบรอบ 10 ปีของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในปีหน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เรียนเชิญ นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนามเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และจะประสานงานเพื่อจัดการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (JCR) ครั้งที่ 4 ที่เวียดนาม ทั้งนี้ จากการหารือร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ทั้งสองฝ่ายได้หารือประเด็นสำคัญร่วมกัน โดยมีผลลัพธ์ที่สำคัญ ดังนี้ ด้านการเมืองและความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องจะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน โดยจะแลกเปลี่ยนการเยือนและการปรึกษาหารือในกรอบและกลไกด้านการเมือง ความมั่นคง และการทหาร ทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกัน ด้านเศรษฐกิจ ไทยและเวียดนามเห็นพ้องกันที่จะผลักดันความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองประเทศและภูมิภาค ครอบคลุมทั้งการค้า การลงทุน ความเชื่อมโยงทางคมนาคม การเงินการธนาคาร และเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งจะเร่งอำนวยความสะดวก ลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน นอกจากนี้ ไทยและเวียดนามจะรวมพลังทางเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไปข้างหน้ายิ่งขึ้น ตามแนวทาง “ทรีคอนเน็กซ์” (Three Connects) คือ 1. การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในสาขาที่เกื้อกูลกัน 2. การเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากและผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคอีสานของไทยกับภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนาม และ 3. การเชื่อมโยงนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว โดยเฉพาะ BCG กับนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวของเวียดนาม ด้านการพัฒนาและประชาชน ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน ยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยเฉพาะผ่านโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ประชาชนและท้องถิ่นเวียดนามจะได้รับประโยชน์จากโครงการให้ความช่วยเหลือจากไทย รวมทั้งจะใช้ประโยชน์จากกรอบกลไกความร่วมมือในระดับประชาชนและท้องถิ่นระหว่างจังหวัดไทยและเวียดนาม และสมาคมมิตรภาพต่าง ๆ ด้านความท้าทายในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าควรประสานท่าที และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยเฉพาะในกรอบ ACMECS และอาเซียน เพื่อให้ภูมิภาคนี้มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง พร้อมให้ความสำคัญกับความเป็นเอกภาพและความเข้มแข็งของอาเซียน รวมทั้งไทยและเวียดนามมีเป้าหมายเดียวกันในเรื่องเมียนมา คือต้องการให้คลี่คลายสถานการณ์และความเป็นปกติสุขกลับคืนสู่เมียนมาโดยเร็ว โดยเชื่อว่าการดำเนินการของอาเซียนตามแนวทาง ASEAN Way บนพื้นฐานของความร่วมมือ การปรึกษาหารือกัน และฉันทามติร่วมกัน (Cooperation, Consultation, Consensus) จะคลี่คลายปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงข่าวร่วม นายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเยี่ยมชมการจัดแสดงผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและหัตถศิลป์ของไทย ณ โถงกลาง ตึกสันติไมตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61701
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ หารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ชื่นชมพลวัตในความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส พร้อมกระชับความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 นายกฯ หารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ชื่นชมพลวัตในความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส พร้อมกระชับความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม นายกฯ หารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ชื่นชมพลวัตในความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส พร้อมกระชับความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565) เวลา 11.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือทวิภาคีกับ นายเอมานูว์แอล มาครง (H.E. Mr. Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในโอกาสเดินทางเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ในฐานะแขกพิเศษของเจ้าภาพ (Guest of the Chair) ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบหารือกับประธานาธิบดีฝรั่งเศสอีกครั้ง ชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่มีพลวัตอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นว่าการเยือนครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อนความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และในโอกาสการเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 ไทยขอรับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสในฐานะสมาชิก G7 และ G20 ในการขับเคลื่อนวาระสำคัญของไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้หารือร่วมกันในช่วงการประชุมฯ ด้วย ประธานาธิบดีฝรั่งเศสขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พร้อมทั้งชื่นชมความร่วมมือระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่มีความคืบหน้าในหลาย ๆ ด้าน แม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะความร่วมมือด้านอวกาศ ในการพัฒนาดาวเทียมธีออส 2 โอกาสนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสชื่นชมนายกรัฐมนตรีและประเทศไทยในโอกาสการเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 โดยประเด็นความร่วมมือของ APEC ในแง่การค้าและการลงทุน การรักษาสันติภาพ และสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ฝรั่งเศสต้องการผลักดัน ยืนยันสนับสนุนประเด็นที่ไทยต้องการผลักดัน โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือที่สำคัญร่วมกัน ดังนี้ การจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการไทย - ฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีขอให้ฝรั่งเศสเร่งรัดการดำเนินการดังกล่าวให้มีความคืบหน้า ซึ่งจะช่วยให้การเดินหน้าความสัมพันธ์เป็นไปด้วยความสะดวก โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมเร่งรัดการดำเนินการคาดว่าภายในเดือนมกราคม 2566 จะมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ด้านความมั่นคง นายกรัฐมนตรียินดีกับความร่วมมือทางการทหารที่ใกล้ชิด บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ตลอดจนยินดีที่ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก รวมถึงไทย โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมเร่งรัดการจัดตั้งกลไกการหารือ 2+2 dialogue ไทย - ฝรั่งเศส เพื่อหารือในประเด็นท้าทายด้านความมั่นคง ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสเห็นว่า ไทยกับฝรั่งเศสมีศักยภาพที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการส่งเสริมความเชื่อใจและความใกล้ชิดระหว่างทหารของทั้งสองฝ่าย การสร้างฐานอุตสาหกรรมในประเทศไทย การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยทางทะเล เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และเห็นพ้องกันว่า ทั้งสองฝ่ายยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้อีกมาก โดยรัฐบาลไทยได้ปรับนโยบายที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการส่งออกสินค้าสิ่งแวดล้อมและการลงทุนในธุรกิจสีเขียว ไทยร่วมกับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไปสำหรับรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมจำนวน 54 รายการ นายกรัฐมนตรีจึงเชิญชวนให้ฝรั่งเศสใช้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมมีความร่วมมือกับไทยในด้านการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรกรรม ตลอดจนพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนา EEC ด้านการศึกษาและวิชาการ ไทยกับฝรั่งเศสมีความร่วมมือในด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งในปีหน้าคาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถลงนามในความตกลงด้านการศึกษาระหว่างกันได้ ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น สำหรับการสมัครเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2028 ที่จังหวัดภูเก็ต ของไทย นายกรัฐมนตรีขอรับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งการจัดงาน Expo 2028 – Phuket Thailand ในเดือนมิถุนายน 2566 ระหว่างช่วงการประชุมสมัชชาใหญ่ (BIE General Assembly) ครั้งที่ 172 ที่กรุงปารีส โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมให้การสนับสนุนไทยในประเด็นนี้ สำหรับความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและภูมิภาค นายกรัฐมนตรียืนยันว่า ไทยพร้อมสนับสนุนฝรั่งเศสในการมีส่วนร่วมและมีบทบาทที่สร้างสรรค์ ทั้งในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) อาเซียน – ฝรั่งเศส และอาเซียน – EU รวมถึงการขับเคลื่อนวาระสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิก และมุมมองอาเซียนต่ออินโด – แปซิฟิก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ฝรั่งเศสสนับสนุนการรื้อฟื้นการเจรจา FTA ไทย - EU ด้วยเช่นกัน ซึ่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมสนับสนุนนโยบายระหว่างไทยกับ EU และพร้อมผลักดันการรื้อฟื้นการเจรจา FTA ไทย – EU อย่างแข็งขัน ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกรัฐมนตรีมอบเอกสารแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE) เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาและป้องกันโดยโรคติดต่อระหว่างสัตว์กับคน (zoonotic disease) หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61727
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. เผย ฝ่ายความมั่นคงทำการ Re X-Ray อย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าจับกุมผู้ต้องหายาเสพติดทุกพื้นที่ และขยายผลเพื่อกำจัดยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ปลัด มท. เผย ฝ่ายความมั่นคงทำการ Re X-Ray อย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าจับกุมผู้ต้องหายาเสพติดทุกพื้นที่ และขยายผลเพื่อกำจัดยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ปลัด มท. เผย ฝ่ายความมั่นคงทำการ Re X-Ray อย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าจับกุมผู้ต้องหายาเสพติดทุกพื้นที่ และขยายผลเพื่อกำจัดยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2565) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เปิดเผยถึงปฏิบัติการทำสงครามกับยาเสพติด โดยเริ่มต้นที่การ Re X-Ray ในพื้นที่ และการตรวจค้นหาสารเสพติดของเจ้าหน้าที่ ก่อนปฏิบัติการจัดระเบียบสังคม ป้องกัน ปราบปราม เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ นายธนกฤต ฉันทะจำรัสศิลป์ นายอำเภอดอยสะเก็ด ได้ ดำเนินการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายให้แก่บุคลากร รวม 28 คน และนายวรศักดิ์ พานทอง นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา ได้ทำการตรวจค้นหาสารเสพติดเจ้าหน้าที่ในสังกัด อบต.แม่แดด จำนวน 33 ราย เช่นกัน ซึ่งผลการปฏิบัติทั้งสองอำเภอไม่พบสารเสพติดแต่อย่างใด สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดมาตรการเข้มข้นภายใต้แนวคิด “ส่วนราชการ หน่วยงาน สีขาวปลอดยาเสพติด" ซึ่งในอีกหลายพื้นที่ก็ดำเนินการลักษณะเช่นกัน จึงขอชื่นชมการเอาใจใส่ในปฏิบัติการของทุกพื้นที่ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมีการปฏิบัติที่เข้มข้น ในหลายพื้นที่ซึ่งเป็นการจับกุมผู้กระทำความผิดรายสำคัญ จึงขอนำผลการปฏิบัติมาเล่าสู่กันฟังเพื่อชื่นชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอฮอด ร.ต.อ.กวี ศิริ รอง สว.สส.สภ.บ่อหลวง อ.ฮอด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมกันจับกุม นายสุพล อายุ 32 ปี พร้อมด้วยของกลาง อาวุธปืนยาว (ไทยประดิษฐ์) ขนาด .22 จำนวน 1 กระบอก เครื่องกระสุนปืนขนาด .22 จำนวน 6 นัด และยาบ้า 59 เม็ด และที่ อำเภอเชียงดาว นายสงัด​ บูรณภัทรโชติ​ นายอำเภอเชียงดาว​ ได้ตั้งด่านตรวจบูรณาการร่วมบ้านแก่งปันเต๊า ที่บริเวณ หมู่ ​10​ ต.แม่นะ​ อ.เชียงดาว สามารถจับกุม​ นายนราวิชญ์​​ อายุ​ 20 ปี​ พร้อมของกลางยาเสพติดให้โทษประเภท1​ (ยาบ้า​) จำนวน​ 800 เม็ด​ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้นำตัวผู้ต้องหาส่งให้พนักงานสอบสวน​ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 2. จังหวัดมหาสารคาม นายอนุพงศ์ คำภูแก้ว ปลัดจังหวัดมหาสารคาม ได้สั่งการให้ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองจังหวัดมหาสารคาม ลงพื้นที่เอกซ์เรย์เพื่อนำผู้เสพเข้ารับการบำบัดตามแนวทางประกาศสงครามกับยาเสพติด โดยสามารถควบคุมตัวนายบัวสวรรค์ อายุ 55 ปี พร้อม อาวุธปืนไทยประดิษฐ์ 2 กระบอก ยาบ้า 30 เม็ด เจ้าหน้าที่จึงได้ควบคุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.บรบือ เพื่อดำเนินคดีต่อไป 3. จังหวัดร้อยเอ็ด นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยนายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด สมาชิก อส. บูรณาการร่วมกับ ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และแรงงานจังหวัด จัดกิจกรรมปล่อยแถวกำลังพลจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดร้อยเอ็ด โดยได้เข้าดำเนินการตรวจสถานบริการ 3 แห่ง คือ 1. ร้านตะวันแดง สาดแสงทอง 2. ร้านตำนานคนอีสาน และ 3.ร้านโรงเบียร์ 101 พาวิลเลี่ยน โดยได้ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนผู้มาใช้บริการและพนักงานในสถานบริการ พร้อมทั้งสุ่มตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดกับพนักงานและผู้มาใช้บริการ จำนวน แห่งละ 50 ราย พบสารเสพติด จำนวน 1 ราย จึงได้นำตัวไปดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 4. จังหวัดเชียงราย พ.อ.ณฑี ทิมเสน ผบ.ฉก.ม.2 กองกำลังผาเมือง, พ.อ.สุทธิเขตต์ ศรีนิลทิน ผบ.บก.ควบคุม ปส.กองกำลังผาเมือง สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ทหารทำการลาดตระเวนเฝ้าระวังตามแนวชายแดน และพบกลุ่มคนต้องสงสัย 8-9 คน ซึ่งมีการพกพาอาวุธปืนไม่ทราบชนิด และสะพายเป้หลังมาด้วย ได้เปิดฉากยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่เพื่อเปิดทางหลบหนีส่งผลทำให้เกิดการปะทะกันขึ้นนานประมาณ 5 นาทีและทำการหลบหนีจากนั้นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพื้นที่พบกระเป๋าเป้ตกในที่เกิดเหตุ 12 ใบ ภายในบรรจุห่อยาบ้าประทับตรา Y1 สีเขียว และ 999 มงกุฎสีน้ำเงิน คาดว่ามียาบ้ารวมกันประมาณ 1,560,000 เม็ด จึงได้ตรวจยึดไว้เป็นของกลาง จากนั้นจึงได้ประสาน สภ.แม่ฟ้าหลวง ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบและดำเนินการต่อไป 5. จังหวัดหนองคาย พล.ร.ต.สมาน ขันธพงษ์ ผบ.นรข., น.อ.จิรัฎฐ์ ผูกทอง ผบ.นรข.เขตหนองคาย, พ.อ.มงคล หอทอง รอง ผบ.กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี, พ.ต.อ.ปรีชา กองแก้ว รอง ผบก.หนองคาย, ร.อ.ธนกร ฤทธิ์จอหอ หัวหน้าหน่วยเรือโพนพิสัย พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ศุลการ และฝ่ายปกครอง ร่วมกันแถลงผลตรวจยึดยาเสพติด ของกลางยาบ้า 1,592,000 เม็ด ผงแป้งสีขาว รอการพิสูจน์ทราบ 700 กิโลกรัม ซึ่งคาดว่ายาเสพติดของกลางทั้งหมดกำลังจะถูกนำขนเข้าไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศ หรืออาจเตรียมใช้พื้นที่ประเทศไทยเป็นทางผ่านเพื่อนำสารตั้งต้นไปผลิตยาเสพติดที่ต่างประเทศ จึงนำของกลางทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน สภ.โพนพิสัย ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป 6. จังหวัดอุดรธานี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้มอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรี รักชัย เลิศสุบิน นายอำเภอเพ็ญ จัดชุดปฏิบัติการฝ่ายปกครอง พร้อมด้วยสมาชิก อส. ออกตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งเบาะแส ซึ่งสามารถจับกุม น.ส. ต้า อายุ 22 ปี และนายโป้ง อายุ 22 ปี พร้อมของกลางยาบ้า จำนวน 103 เม็ด (โดยทั้ง 2 คน เคยเป็นเข้าสู่การบำบัดคัดกรองแล้วและผันตัวเองมาเป็นผู้เสพและค้า) และได้ทำการขยายผลจึงสามารถจับกุมนายยอด อายุ 29 ปี พร้อมของกลางยาบ้า จำนวน 149 เม็ด (เคยต้องโทษในคดียาเสพติดพ้นโทษมาได้ 2 ปี กลับมากระทำความผิดซ้ำ) ขณะนี้ได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย ส่งให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวไปดำเนินคดีตามกฎหมายเเล้ว นอกจากนี้ จังหวัดพิษณุโลก นายนิสิต สวัสดิเทพ นายอำเภอเมืองพิษณุโลก มอบหมายให้ จ.ส.อ.นรินทร์ นินนาทนรณัฐ บูรณาการร่วมกับ พ.ต.ท.วศิน สุภา สวป.สภ.เมืองพิษณุโลก เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุดจัดระเบียบสังคมอำเภอเมืองพิษณุโลก DOPA 37 ออกตรวจสถานบริการและสถานประกอบการที่ให้บริการคล้ายสถานบริการ ในพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก จำนวน 6 ร้าน ได้แก่ 1. ร้านตะวันแดง 2. ร้าน Wepith 3. ร้านไม้หมอน 4. ร้าน District 65 5. ร้าน Camper และ 6. ร้านปิกัสโซ่ โดยเจ้าหน้าที่ได้เน้นย้ำ กำชับ ให้ผู้ประกอบการ ดำเนินการ เปิด-ปิด ตามกำหนดระยะเวลาอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมทำการสุ่มตรวจปัสสาวะ พนักงานในสถานบริการ สถานประกอบการคล้ายสถานบริการ ทั้ง 6 แห่ง จำนวนไม่น้อยกว่า 5% รวม 36 คน ผลการตรวจ ไม่พบสารเสพติดในปัสสาวะและไม่พบการกระทำผิดแต่อย่างใด "จากตัวอย่างที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ จะเห็นได้ว่า การทำสงครามกับยาเสพติดยังไม่สิ้นสุดเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต่างเเข็งขัน และมีความตั้งใจที่จะทำให้ยาเสพติดหมดสิ้นไปจากประเทศไทย ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง ได้มีการกำชับให้ บูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ ทำการตั้งจุดตรวจจุดสกัด จัดระเบียบสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเรื่องชุดตรวจเเละอุปกรณ์สนับสนุนต่าง ๆ กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้งแนวทางให้ จังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพิจารณาให้การสนับสนุนเเล้ว ทั้งนี้ พบเห็นการกระทำความผิดโทรศัพท์ 1567 ทันที เพื่อร่วมกันทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ปลอดยาเสพติดไปด้วยกันกับกระทรวงมหาดไทย" ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวทิ้งท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61708
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุริยะ ผนึก เมติ ดึงนักลงทุนข้ามชาติ ยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปั้นบุคลากรเทคโนโลยีดิจิทัล เสริมสมรรถนะเศรษฐกิจไทย
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 สุริยะ ผนึก เมติ ดึงนักลงทุนข้ามชาติ ยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปั้นบุคลากรเทคโนโลยีดิจิทัล เสริมสมรรถนะเศรษฐกิจไทย สุริยะ ผนึก เมติ ดึงนักลงทุนข้ามชาติ ยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปั้นบุคลากรเทคโนโลยีดิจิทัล เสริมสมรรถนะเศรษฐกิจไทย กรุงเทพฯ 16 พฤศจิกายน 2565 – กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ METI ประเทศญี่ปุ่น หารือกรอบความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรม 2 ประเทศ หวังดึงกลุ่มทุนข้ามชาติร่วมพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีไทย กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยศักยภาพต่างแดน พร้อมเร่งสร้างบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบการทำงานร่วมกันตลอดจนพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator ตลอดจนยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน ล่าสุดข้อมูลต้นปี 2565 ญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นการลงทุนไทย ผ่านการลงทุนโครงการต่าง ๆ เป็นจำนวนร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI)ได้ร่วมมือกันในด้านการพัฒนาและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมประชุมกับ นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและกำหนดแนวทางการดำเนินงานความร่วมมือในอนาคต ระหว่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม พร้อมกำหนดความร่วมมือในอนาคต ภายใต้กรอบการทำงาน Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ผ่าน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2.การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3.การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-creation) และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น “การแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย มุ่งเน้นการสร้างโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านการถอดบทเรียนหลังการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy : BCG Model ของไทย ” นายสุริยะ กล่าว นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม และ METI ร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ามายกระดับภาคการผลิตตามเป้าประสงค์ต่างๆ อาทิ โครงการ Lean Automation and System Integrators (LASI) และการใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ โมโนซึกุริ ที่ใช้พลังกลที่มีอยู่ในธรรมชาติแก้ปัญหาซึ่งสามารถลดต้นทุนค่าพลังงาน ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน โดยกรอบการทำงานที่ทั้งสองกระทรวง ได้มีการแลกเปลี่ยนกันไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 และจะได้รับการยกระดับไปอีกขั้น โดยเฉพาะในด้านการสร้างบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยการแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือในวันนี้ ยิ่งไปกว่านั้นภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ยังมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator เพื่อยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังมีความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในด้านอื่น ๆ อีกด้วย อาทิ การดำเนินงานโครงการการจัดตั้งศูนย์ต้นแบบการจัดการซากยานยนต์แบบครบวงจรในประเทศไทย (End-of-life Vehicles in Thailand : ELV Project) ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการกำจัดขยะรถยนต์ที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศไทย และโครงการศึกษาแนวทางในการพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ในพื้นที่มาบตาพุด (Carbon Neutral Industrial Estate Project at Map Ta Phut Industrial Estate) ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้มีการลงนาม MOC ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายจากไทยและญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 และได้รับการสนับสนุนจาก METI ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนด้วยพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดที่หลากหลาย ทั้งนี้ แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 กระทบต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรมไทยและทั่วโลก แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นคู่ค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยจากข้อมูลสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรายเดือนสะสมเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 198 โครงการ เงินลงทุน 77,290 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดบริการและสาธารณูปโภค รองลงมาเป็นหมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เฉพาะญี่ปุ่น มีจำนวน 45 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 13,788 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นายสุริยะ กล่าวทิ้งท้าย นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ได้เปิดเผยว่า METI ได้ตัดสินใจที่จะให้การสนับสนุนการลงทุนในประเทศไทยเพื่อขยายฐานการผลิตของบริษัทญี่ปุ่น โดยในปัจจุบันบริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่หลายรายต่างมีแผนการขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท โซนี่กรุปคอร์ปอเรชัน ที่ต้องการขยายโรงงานการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ บริษัท เอจีซี ที่มีแผนการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 แสนล้านเยน และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ที่มีการลงนาม MOU กับภาครัฐของไทยในด้านการผลิต EV
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61726
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานสลากฯ เตรียมพร้อมการอำนวยความสะดวก และข้อแนะนำขั้นตอนการขึ้นรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ในช่วงวันหยุดทำการช่วงการประชุมเอเปค 16 - 18 พ.ย. 2565
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานสลากฯ เตรียมพร้อมการอำนวยความสะดวก และข้อแนะนำขั้นตอนการขึ้นรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ในช่วงวันหยุดทำการช่วงการประชุมเอเปค 16 - 18 พ.ย. 2565 ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 สำนักงานสลากฯ ได้เตรียมการอำนวยความสะดวกการขึ้นเงินรางวัลให้แก่ประชาชนผู้ถูกรางวัลแบบใบ ขึ้นรางวัลได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ที่อยู่ใกล้บ้านทุกสาขาทั่วประเทศ พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย–แปซิฟิก (APEC 2022) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 16 – 18 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร อำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการเดินทางแก่ผู้เข้าร่วมประชุม สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงขอแจ้งวันหยุดทำการเป็นกรณีพิเศษ ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 ตามมติของคณะรัฐมนตรีที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันหยุดดังกล่าว สำนักงานสลากฯ ได้เตรียมการอำนวยความสะดวกการขึ้นเงินรางวัลให้แก่ประชาชนผู้ถูกรางวัล โดยผู้ที่ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลในรูปแบบใบ สามารถเดินทางไปขึ้นรางวัลได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่อยู่ใกล้บ้านทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งจะสามารถขึ้นรางวัลได้ตั้งแต่รางวัลที่ 2-5 รวมถึงรางวัลเลขท้าย 2-3 ตัว และเลขหน้า 3 ตัว ส่วนประชาชนที่ถูกรางวัลจากการซื้อสลากดิจิทัล ผ่านแอปพลิเคชัน เป๋าตัง สามารถเลือกขึ้นรางวัลผ่านแอปฯ เป๋าตังได้ทันที โดยระบบจะแจ้งเตือนไปที่แอปพลิเคชันเป๋าตังของวันที่ออกรางวัล และเลือกรับรางวัลโดยการโอนเงิน ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยที่ผูกไว้กับแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งสามารถขึ้นรางวัลได้ตั้งแต่รางวัลที่ 2-5 รวมถึงรางวัลเลขท้าย 2-3 ตัว และเลขหน้า 3 ตัวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับประชาชนที่ถูกรางวัลที่ 1 ทั้งในรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบใบ หรือสลากดิจิทัล จะต้องรอมาขึ้นเงินรางวัลในวันเปิดทำการที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในวันถัดไป คือตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0 2528 9999
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61716
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. เปิดรับฝากออมทรัพย์ New Freshy ผลตอบแทนสูงสุดถึง 4.00% ต่อปี ในงานมหกรรมร่วมใจแก้ไขหนี้ฯ ขอนแก่น 18-20 พ.ย. 65 นี้เท่านั้น!!
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ธอส. เปิดรับฝากออมทรัพย์ New Freshy ผลตอบแทนสูงสุดถึง 4.00% ต่อปี ในงานมหกรรมร่วมใจแก้ไขหนี้ฯ ขอนแก่น 18-20 พ.ย. 65 นี้เท่านั้น!! ธอส. นำผลิตภัณฑ์ เงินฝากออมทรัพย์ New Freshy ไปเปิดให้บริการประชาชนที่ต้องการออมเงินเพื่อรับผลตอบแทนสูงในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้ไขหนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2” จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ นำผลิตภัณฑ์ เงินฝากออมทรัพย์ New Freshy ไปเปิดให้บริการประชาชนที่ต้องการออมเงินเพื่อรับผลตอบแทนสูงในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้ไขหนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2” จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น ให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดสูงสุดถึง 4.00% ต่อปี แบ่งเป็น ตั้งแต่วันเปิดบัญชี-วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 1 ธันวาคม 2567 จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี และตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567-2 มีนาคม 2568 ได้รับอัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี รับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยรวมสูงถึง 2.11% ต่อปี (คำนวณจากวันสุดท้ายของการรับเปิดบัญชีและรับฝากเพิ่ม) เปิดบัญชีเงินฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท ขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี เปิดบัญชีและฝากเงินได้ไม่เกิน 2 ล้านบาท และสำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เปิดบัญชีและฝากเงินได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถจองสิทธิ์เปิดบัญชีเงินฝากได้ 1 ราย ต่อ 1 บัญชี พิเศษ! อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จองสิทธิ์ภายในงานพร้อมเปิดบัญชีและฝากเพิ่มถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ณ สาขาที่ธนาคารกำหนด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส.ทุกสาขาทั่วประเทศ G H Bank Call Center โทร 0-2645-9000 หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และติดตามข่าวสารของธนาคารได้ที่ Mobile Application : GHB ALL , Mobile Application : GHB ALL GEN และ www.ghbank.co.th
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61711
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กกร.ประกาศความสำเร็จก้าวแรกของ NDTP แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย ในงาน Digital Trade Transformation Symposium
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 กกร.ประกาศความสำเร็จก้าวแรกของ NDTP แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย ในงาน Digital Trade Transformation Symposium กกร.ประกาศความสำเร็จก้าวแรกของ NDTP แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย ในงาน Digital Trade Transformation Symposium มุ่งมั่นพัฒนาเชื่อมโยงระบบระหว่างประเทศ ส่งเสริมทุกกลุ่มธุรกิจมีโอกาสทางการค้าเท่าเทียมกันและเติบโตอย่างยั่งยืน กกร.ประกาศความสำเร็จก้าวแรกของ NDTP แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย ในงาน Digital Trade Transformation Symposium มุ่งมั่นพัฒนาเชื่อมโยงระบบระหว่างประเทศ ส่งเสริมทุกกลุ่มธุรกิจมีโอกาสทางการค้าเท่าเทียมกันและเติบโตอย่างยั่งยืน NDTP (National Digital Trade Platform) แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย ซึ่งในเฟสแรก พัฒนาและดำเนินการโดย บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) และบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็นผู้ดูแลจัดการเกี่ยวกับเอกสารสัญญาที่เกี่ยวข้อง แพลตฟอร์ม NDTP ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และดำเนินการโดย บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้พัฒนาและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของไทย รวมทั้ง PromptPay และได้ขยายบริการไปยังโครงสร้างพื้นฐานการค้าและการให้สินเชื่อ ทั้ง PromptBiz และ Trade Document Registry (TDR) สำหรับธนาคาร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ และสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน NDTP เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกต่อไป แพลตฟอร์มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้การส่งออกนำเข้า ง่าย สะดวก รวดเร็ว ขึ้น ช่วยป้องกันการทำธุรกรรมในเชิงมิชอบหรือการทำธุรกรรมซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการทำการค้าแก่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs ในประเทศ ภาครัฐให้การสนับสนุนโดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการศึกษาและการกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐในการสนับสนุนการพัฒนา NDTP ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ NDTP ประสบความสำเร็จในพัฒนาแพลตฟอร์ม และการทดสอบรายการ Proof-of-Concept (POC)/Pilot Live ในเฟสที่ 1 ร่วมกับ แพลตฟอร์ม TradeWaltz ของญี่ปุ่น และแพลตฟอร์ม NTP (Networked Trade Platform) ของประเทศสิงคโปร์ เรียบร้อยแล้วในเดือนตุลาคม 2565 โดยมีขอบเขตรวมถึงการใช้เอกสารการค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐาน UNCEFACT สำหรับใบสั่งซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic purchase order) ใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (electronic invoice) และ ใบกำกับหีบห่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic packing list) และเอกสารอื่นๆ ที่ยังเป็นรูปภาพ สำหรับผู้ส่งออกนำเข้าที่ร่วมทำรายการ POC กับคู่ค้าในญี่ปุ่น คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) ผู้ส่งออกนำเข้าที่ร่วมทำรายการ Pilot Live กับคู่ค้าในสิงคโปร์ คือ บริษัท บี.ฟู้ดส์ โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเครือกลุ่มริษัทเบทาโกร และบริษัท แปซิฟิก ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในเครือกลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล ในเฟสที่ 1 POC นี้ ได้รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ธนาคารได้รับเพื่อปล่อยสินเขื่อด้วย โดยเป็นการเชื่อมต่อระหว่าง NDTP และ TDR (Trade Document Registry) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปี 2565 สำหรับธนาคารที่ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในการตรวจสอบการขอสินเชื่อซ้ำซ้อน (double financing) โดยมีธนาคารที่ร่วมโครงการระหว่าง NDTP เฟสที่ 1 และTDR ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทยจำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) การทำงานเฟสต่อไป จะเป็นการก่อตั้ง สรรหา องค์กรและหน่วยงานที่จะพัฒนาและดำเนินการ NDTP ต่อไปเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง ให้ได้ผล บรรลุตามจุดมุ่งหมายอย่างเป็นรูปธรรม นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ประเทศไทยได้เปิดตัวแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระดับชาติ ซึ่งจะรวมศูนย์และปรับปรุงขั้นตอนการนำเข้าและส่งออก เพื่อให้ประเทศไทยแข่งขันทางการค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะการค้าดิจิทัล โดยนำเสนอความยืดหยุ่นให้ธุรกิจสู่ความเป็นเลิศในโลกการค้ายุคใหม่ ดังนั้น ความสะดวกในการทำธุรกิจจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานร่วมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวว่า ความสำเร็จของ NDTP ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการยกระดับการค้าระหว่างประเทศสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมการค้า การนำเข้า และการส่งออกสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสารกระดาษ จากการใช้อิเล็กทรอนิกส์ทำการค้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ขณะที่สถาบันการเงินสามารถตรวจสอบการขอสินเชื่อซ้ำซ้อน (Double Financing) เพื่อพิจารณาสินเชื่อตามศักยภาพของผู้ประกอบการแต่ละรายได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีการตรวจสอบผ่านระบบ Trade Document Registry (TDR) อยู่แล้ว ความสำเร็จของ NDTP เฟสที่ 1 เกิดจากการผนึกกำลังของภาคส่วนต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่มีความคืบหน้าในด้านการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ ซึ่งหวังว่าจะสามารถขยายความร่วมมือในการพัฒนาเชื่อมโยงระบบระหว่างประเทศ และผลักดันให้เกิดการขยายผลการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมส่งเสริมให้ทุกกลุ่มธุรกิจมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการทำการค้าและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ ABAC ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานร่วมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวว่า โครงการ NDTP นี้จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมที่เป็นส่วนสำคัญในการนำเข้าและส่งออกสินค้าของประเทศ มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ปัจจุบันการนำเข้าและส่งออกสินค้ามีมูลค่าสูงถึง 17 ล้านล้านบาทในปี 2564 มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิดที่ผ่านมาภาคการส่งออกสินค้าเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ทุกวันนี้การนำเข้าและการส่งออกสินค้าไทยยังมีขั้นตอนและการใช้เอกสารจำนวนมาก มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากถึง 20-30 หน่วยงานต่อการนำเข้าหรือส่งออกแต่ละครั้ง ซึ่งใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศ ดังนั้น การที่ กกร.ได้ขับเคลื่อนโครงการนี้จะเป็นการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ (Ease of Doing Business) และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness) ได้อย่างมาก สอดคล้องกับข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาธุรกิจ (ABAC) ที่เสนอต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC (Letter to Leader) ที่ผลักดันเรื่องการค้าระหว่างประเทศด้วยระบบดิจิทัล (Cross Border Digital Trade) นอกจากนี้โครงการ NDTP ยังสามารถช่วยเหลือ SME เข้าถึงสินเชื่อทางการเงินได้ง่ายขึ้น เนื่องจากระบบจะมีการเชื่อมต่อกับธนาคารด้วยระบบ Trade Document Registry (TDR) เพื่อตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่น่าเชื่อจากระบบ และตรวจสอบการป้องกันการขอสินเชื่อซ้ำซ้อน (Double Financing) ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้สถาบันการเงินสามารถลดความเสี่ยงจะทำให้การช่วยเหลือ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน (SMEs Access to Finance) ได้มากขึ้น นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานร่วมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีความยินดีที่ภาคเอกชนไทยได้พัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP เฟสที่ 1และนำไปสู่การทดสอบเชื่อมต่อจนสำเร็จ ความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อก้าวสู่ระบบการค้าระหว่างประเทศแบบ fully digital ซึ่งสามารถลดต้นทุนและเวลา ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ตลอดจนเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลและความโปร่งใสในกระบวนการนำเข้า-ส่งออก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้สนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP มาอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนต่อไปเพื่อยกระดับโดยขยายขอบเขตการเชื่อมโยงข้อมูลกับประเทศต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์ม NDTPจึงอยากจะเชิญชวนผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศให้เข้ามาใช้บริการแพลตฟอร์ม NDTP โดยเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าแพลตฟอร์มนี้จะช่วยทำให้ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศของเราอยู่ในรูปแบบ digital ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP โดยใช้กลไกการแต่งตั้ง อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทยที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบความถูกต้องของการเชื่อมโยงข้อมูลเมื่อระบบเริ่มปฏิบัติการจริง ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการนำเข้า-ส่งออกกับระบบ NSW โดยมีหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวข้องกว่า 36 หน่วยงาน ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าดิจิทัล อาทิ การตราพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ที่กำหนดให้ภาครัฐต้องให้บริการด้วยช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการ เพิ่มการขยายตัวทางธุรกิจ และสร้างโอกาสในการแข่งขันของภาคเอกชนไทยในทุกระดับ สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งผลักดันการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งเป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมในการนำจุดเด่นของภาครัฐและภาคเอกชนมาดำเนินงานร่วมกันในการให้บริการแพลตฟอร์ม NDTP ให้สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567 ในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน (Feasibility) เพื่อให้ NDTP สามารถตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังของภาคธุรกิจและประชาชนต่อไป ดร กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานคณะทำงานย่อยโครงการ NDTP ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัล เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าและเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่สมบูรณ์ ในการทำงานและการขับเคลื่อนดังกล่าวมีความยากลำบากและสลับซับซ้อน เพราะมีผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลายจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกเป็นจำนวนมาก รวมถึงการที่ต้องมีการปรับปรุงกฏหมายและระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อเอกสารและการทำธุรกรรมดิจิทัล จึงต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะมาร่วมกันทำงานแบบบูรณาการทั้งองคาพยพ ดังนั้นความสำเร็จของการพัฒนาระบบและการทดสอบการใช้งานของระบบ NDTP เฟสที่ 1 นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย ผมขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่าน ทุกคณะทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ สมาคมธนาคารไทย กกร บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ที่ทำงานกันอย่างแข็งขันจนประสบความสำเร็จในก้าวนี้ และขอขอบคุณหน่วยรัฐอื่นๆที่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วย JSCCIB announces the success of the first key milestone of Thailand NDTP (National Digital Trade Platform) at Digital Trade Transformation Symposium “Advancing Digital Trade Transformation and Connectivity in APEC and ASEAN” The NDTP project is driven and owned by the Joint Standing Committee of Commerce, Industry and Banking (JSCCIB), an apex body of the three core private organizations of the Thai business sector and has, the objective of improving efficiency of end-to-end export and import processes and increasing access to financing particularly for SMEs. A special sub-committee under the Office of the Public Sector Development Commission has been established to orchestrate various public sectors in supporting JSCCIB to drive the NDTP. NDTP Phase 1 has been developed with blockchain technology and operated by National ITMX Company Limited (NITMX), the infrastructure service provider for payments in Thailand such as PromptPay. Recently, NITMX expanded its scope to develop and provide trade infrastructure as well as financing for banks including the Trade Document Registry (TDR) and PromptBiz. NDTP development has been supported by NITMX as this is one of the country’s trade infrastructures designed to strengthen Thailand’s competitiveness in the global trade industry. The legal and documentation components are supported by Baker McKenzie Thailand. Proof of Concept/Pilot Live of Thailand NDTP 1st phase to digitize international trade documents and processes has been successfully completed thanks to the connectivity with TradeWaltz in Japan and Networked Trade Platform (NTP) in Singapore. Phase 1 is the critical milestone for Thailand to kick start international trade digitization. The scope includes implementation of standards, UNCEFACT, for electronic commercial documents including electronic purchase orders, electronic invoices and electronic packing lists. The four POC transactions were executed by PTT Global Chemical Public Company Limited, Toyota Tsusho (Thailand) Co. Ltd., and Unicord Public Company Limited with their counterparties in Japan while the other two Pilot Live export transactions were executed by B.Food Product International Co. Ltd. of Betagro Group and Pacific Sugar Corporation Limited of Mitrphol Sugar Group with their counterparties in Singapore. This Phase 1 also includes authenticity verification of the underlying document for financing by banks by way of connectivity between NDTP and TDR, the platform connecting international trade financing banks which has been operative in providing double financing checking for banks since early 2022. Participating banks in phase 1 NDTP/TDR include Bangkok Bank Public Company Limited, Bank of Ayudhya Public Company Limited, Kasikorn Bank Public Company Limited, Krungthai Bank Public, Siam Commercial Bank Public Company Limited, and TMB Thanachart Bank Public Company Limited. The next step for Thailand NDTP is to establish a body to take what has been completed in Phase 1 forward, and continue the development and connectivity, in order to start offering services in the commercialization phases. Mr. Chaiwut Thanakamanusorn, Minister of Digital Economy and Society said Thailand has launched a national digital trade platform, which would centralize and streamline import and export procedures to make Thailand even more competitive in trade, particular digital trade, by offering businesses the flexibility to excel in this new era of global commerce. This platform will improve ease of doing business, which is a crucial factor in order to attract foreign trade and investment to Thailand. Mr. Payong Srivanich, Chair of the Thai Bankers’ Association and Co-Chair of JSCCIB said: “This achievement of NDTP Phase 1 is indeed a significant milestone in the digital transformation of Thailand’s international trade, which will make export and import easier, faster and more convenient for not only exporters and importers but also all other stakeholders. It will reduce time spent on preparing and processing documents. Banks will be able to verify supporting documents for financing more efficiently in addition to the existing double finance checking on TDR. This will increase access to financing for exporters and importers and in turn increase the competitiveness of Thai exports particularly for SMEs.” “This Phase 1 success is a result of strong collaboration and cooperation between teams from the private and public sectors, and it has made Thailand one of the first countries in the region to make such progress in digital trade. I hope that this cross-country collaboration and connectivity will be expanded in both breadth and depth to the regional and global levels in order to promote equality in business and sustainable growth.” Mr. Kriengkrai Thiennukul, Chair of the APEC Business Advisory Council (ABAC) 2022, Chairman of the Federation of Thai Industries (FTI) and the chairman of the Joint Standing Committee on Commerce, Industry and Banking (JSCCIB) said: “The importance of this NDTP project is helping the industrial sector, which is an important part of the country's imports and exports, in being more efficient and competitive. Currently, imports and exports of goods worth up to 17 trillion baht in 2021, play an important role in driving the country's economy. This has been particularly true in the COVID era, where the export sector has been the main engine in driving the Thai economy.” “Today, the import and export of Thai products still require a lot of procedures and documents. There are up to 20-30 entities involved per each import or export. This is very time-consuming and costly compared to many countries. Therefore, the JSCCIB has driven this project to facilitate business (Ease of Doing Business) and greatly increase the country's competitiveness (Thailand Competitiveness) in line with the proposal of the APEC Business Advisory Council (ABAC) to the APEC (Letter to Leader) economic zone leaders who drive international trade with the Digital Technology (Cross Border Digital Trade). In addition, the NDTP project can help SMEs access financial loans more easily. This is because the system will be connected to banks with the Trade Document Registry (TDR) system to verify the credibility of import and export data from the system and checks to prevent double financing using Blockchain Technology. This will allow financial institutions to reduce their risks and help SMEs access more funding sources (SMEs Access to Finance).” Mr. Sanan Angubolkul, Chair of the Board of Trade of Thailand and Co-Chair of JSCCIB, said: “On behalf of the Board of Trade of Thailand, we are very pleased that the Thai private sector has successfully developed the first phase of the National Digital Trade Platform or NDTP and introduced the connection of the Proof of Concept with Japan's Trade Waltz platform and Pilot Live with Singapore’s Networked Trade Platform or NTP.” “This achievement is the result of strong cooperation between all relevant agencies, both public and private, to fully digitize our international trade practices. Benefits of this platform include reducing costs and time, improving the country competitiveness, as well as increasing both data security and transparency in the import-export processes. The Board of Trade of Thailand has continuously supported the development of the NDTP platform and has committed to drive it to the next level by expanding the connectivity with other countries. Therefore, we would like to invite international trade communities, not only importers and exporters, but also bankers, logistics providers and insurance companies, to join the NDTP platform when ready. We strongly believe that NDTP will fully digitalize our country’s trading system and will definitely enhance Thailand's competitiveness in the near future.” Ms. Onfa Vejjajiva, Secretary-General of the Office of the Public Sector Development Commission, said: “The Office of the Public Sector Development Commission (OPDC) was assigned by the Cabinet to develop the NDTP platform by setting up the Public Sector Development Sub-Committee on Thailand’s National Digital Trade Platform comprising experts from relevant agencies, both the public and private sectors. The task was to jointly develop a prototype to test data linking accuracy when the system goes live to operate and enhance import-export information linking with the National Single Window (NSW) in which more than 36 government agencies are involved. Furthermore, improving laws and regulations reduce the digital trade obstacles. This includes the announcement of the Electronic-means Administrative Functions Act B.E. 2565 (EAFA), which aims to encourage government agencies to provide digital services to facilitate and build confidence for entrepreneurs to increase business growth and create competitive opportunities for all companies in the Thai private sector. The OPDC will accelerate the development of NDTP platform following the model of public-private partnership (PPP), which brings together the strengths of the public and private sectors to work together. The NDTP platform is to be operational by 2024. Currently, it is in the investment feasibility study process that will allow the NDTP to respond to the needs and expectations of business sector and citizens.” Dr. Kobsak Pootrakul, Chairman of the Sub-Committee of the Office of Public Sector Development Commission for NDTP, said: “A digital trade platform, as a part of digital trade transformation, is a key element to drive the digital economy for Thailand. Driving digital trade transformation is very complex. It requires a lot of time and effort by a large number of parties both government and private sectors, given the number of documents and processes involved in the import and export processes. Laws and rules have to be changed to facilitate electronic transactions. Tremendous collaboration is required from all par
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61717
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- Joint Statement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Japan on the Elevation of the Relations to a Comprehensive Strategic Partnership
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 Joint Statement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Japan on the Elevation of the Relations to a Comprehensive Strategic Partnership issued on 17 November 2022, Bangkok At the invitation of His Excellency Prime Minister Prayut Chan-o-chaof the Kingdom of Thailand, His Excellency Mr. KISHIDA Fumio, Prime Ministerof Japan, paid a visit to Thailand to attend the 29th APEC Economic Leaders' Meeting on 17-19 November 2022 in Bangkok. The Prime Minister of Thailand and the Prime Minister of Japan held a bilateral meeting on 17 November 2022 at the Government House. The two Leaders noted with satisfaction on the developments in Thailand-Japan relations, strengthened by exchanges of high-level visits, particularly the official visit by His Excellency KISHIDA Fumio, Prime Minister of Japan, to Thailand on 1-2 May 2022 and His Excellency General Prayut Chan-o-Cha, Prime Minister and Minister of Defense of Thailand, to attend the 27thInternational Conference on the Future of Asia (Nikkei Forum) on 25-27 May 2022 in Tokyo as well as cooperation in sub-regional, regional and multilateral frameworks, including under the Mekong-Japan, ACMECS, of which Japan is a Development Partner, ASEAN-Japan and the United Nations. Since the formulation of the “Strategic Partnership” between Thailandand Japan in 2012, the two countries have deepened and expanded bilateral tiesin a wide range of areas. Especially this year, which marks the 135th anniversaryof the establishment of diplomatic relations, the leaders of the two countriesvisited each other and moved forward bilateral cooperation in various fields suchas security, economy and global challenges. The two Leaders also welcomed the signing of the “The Five-Year Joint Action Plan on Japan-Thailand Strategic Economic Partnership” between His Excellency Mr. Don Pramudwinai, Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs of Thailand, and His ExcellencyMr. HAYASHI Yoshimasa, Minister for Foreign Affairs of Japan, on17 November 2022 in Bangkok. Based on the shared view of making the Strategic Partnership, in particular economic partnership, between Thailand and Japan relevant with changing times and co-creating economic relations as equalpartners by charting a new course for cooperation towards a more resilient and sustainable future, the Five-Year Joint Action Plan will serve as a mid-termguideline to set direction for the economic relationship during 2022-2026 inthree areas of cooperation; namely, (1) human resource development, regulatoryreform, innovation, (2) Bio-Circular-Green (BCG) Economy and (3) infrastructure. In view of the above, and cognizant of the progress of the close andmulti-dimensional relations of the two countries and the continued deepeningand expanding of the “Strategic Partnership”, the two Leaders concurred toelevate the “Strategic Partnership” to a “Comprehensive Strategic Partnership” to reflect the shared strong determination to advance cooperation on all frontsamidst present and emerging challenges of the evolving regional and global landscapes. In this regard, the two Leaders affirmed the commitment to working closely together to develop a meaningful “Comprehensive Strategic Partnership” and ensuring the implementation of the “The Five-Year Joint Action Plan on Japan-Thailand Strategic Economic Partnership” into concrete action for the mutual benefits, progress and prosperity of the two countries, peoples and beyond. * * * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61733
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมโรงงานฯ รับลูกรุดตรวจสอบจุดเพลิงไหม้โรงงานผลิตรองเท้า ย่านสมุทรปราการ เผยไม่ส่งผลกระทบด้านมลพิษต่อประชาชน
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 กรมโรงงานฯ รับลูกรุดตรวจสอบจุดเพลิงไหม้โรงงานผลิตรองเท้า ย่านสมุทรปราการ เผยไม่ส่งผลกระทบด้านมลพิษต่อประชาชน สมุทรปราการ : นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตรองเท้าอย่างใกล้ชิด สมุทรปราการ : นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตรองเท้าอย่างใกล้ชิด เผยเบื้องต้นไม่พบการเผาไหม้ของสารเคมีอันตรายภายในโรงงาน ที่ส่งผลต่อมลพิษทางอากาศ ยืนยันประชาชนโดยรอบปลอดภัย นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภายหลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตรองเท้า จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ลงพื้นที่ด่วนเพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดได้ส่งวิศวกรของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมรถตรวจมลพิษเคลื่อนที่เข้าพื้นที่ประเมินผลกระทบด้านมลภาวะทางอากาศ ซึ่งผลจากการตรวจวัดพบว่าไม่เกินค่ามาตรฐาน อธิบดีฯ กล่าวต่อว่า อาคารที่เกิดเพลิงไหม้ เป็นของบริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรองเท้า ยี่ห้อ Aerosoft ตั้งอยู่บริเวณถนนบางนา-ตราด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นอาคารสูง 5 ชั้น ใช้เป็นอาคารสำนักงานและโชว์รูมจัดแสดงสินค้า แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปภายในตัวอาคารได้ ประกอบกับสถานที่ดังกล่าวเป็นที่เก็บสินค้าประเภทรองเท้าซึ่งเป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี ทำให้เพลิงไหม้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว และการควบคุมเพลิงเป็นไปด้วยความยากลำบาก อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ในช่วงเวลา 22.45 น. จากการตรวจสอบจุดเพลิงไหม้พบว่าเป็นอาคารของโชว์รูมไม่ได้ลุกลามเข้าไปในส่วนของโรงงานผลิตรองเท้าที่อยู่บริเวณอาคารถัดไป ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นที่จัดเก็บสารเคมีต่าง ๆ ของทางบริษัท อย่างไรก็ดีทางเจ้าหน้าที่ยังคงต้องเฝ้าระวังการประทุของเชื้อไฟที่อาจเกิดขึ้นได้ เบื้องต้นจากการตรวจสอบไม่พบผู้เสียชีวิต โดยคาดว่าสาเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงงานฯ ได้ให้ความร่วมมืออย่างดี พร้อมรับผิดชอบในทุกความเสียหาย และฝากขออภัยต่อประชาชนที่ต้องได้รับผลกระทบจากการสัญจรและกลุ่มควันจากเปลวเพลิงที่มีการเผาไหม้หลายชั่วโมง "ท่านรัฐมนตรีฯ สุริยะ ได้กำชับให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แม้ว่าจะสามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้แล้วก็ตาม โดยได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดส่งรถตรวจมลพิษและทีมวิศวกรลงพื้นที่ เพื่อเข้าตรวจสภาพอากาศ น้ำ และเศษซากกากที่อาจหลงเหลืออยู่บริเวณโดยรอบโรงงาน เบื้องต้นผลจากการตรวจสอบ พบว่ายังมีกลุ่มควันอยู่เล็กน้อย และไม่พบการเผาไหม้ของสารเคมี ขณะเดียวกันได้ตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณภายนอกอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 จำนวน 2 จุด คือจุดที่ 1 ด้านหน้าอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ พบว่าปริมาณออกซิเจนในอากาศ (O2) = 19.8% สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) = 0.8 ppm ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP) = 56 µg/m3 ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) = 32 ug/m3 ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) = 11.4 ug/m3 และจุดที่ 2 บริเวณสะพานลอยทางเข้าโรงงาน พบค่า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) = 5.0 ppm ฝุ่นละออง TSP = 78 µg/m3 ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) = 47 µg/m3 และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) = 21.4 µg/m3 ซึ่งแปลผลโดยสรุปได้ว่าผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศมีค่าความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกรายการ และในส่วนของก๊าซอื่น ๆ เช่น ไนตริกออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนีย ที่อาจส่งผลกระทบต่อมลภาวะก็ตรวจวัดไม่พบ” นายจุลพงษ์ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61724
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไอแบงก์รวมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและขนโปรโมชันสุดปัง เยือนอีสานในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้”สัญจรครั้งที่ 2 จ.ขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ไอแบงก์รวมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและขนโปรโมชันสุดปัง เยือนอีสานในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้”สัญจรครั้งที่ 2 จ.ขอนแก่น ไอแบงก์รวบรวมมาตรการความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไขเริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (KICE) จังหวัดขอนแก่น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) รวบรวมมาตรการความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่กำลังประสบปัญหาและขนโปรโมชันสุดพิเศษไปบริการพี่น้องชาวอีสานมีทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตรากำไรต่ำเริ่มต้น 1.99% ต่อปีเงินฝากประจำพิเศษที่ให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับสูงสุด 1.20% ต่อปีทรัพย์สินรอขายทรัพย์สวยราคาโดนใจพร้อมให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างยั่งยืนในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไขเริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (KICE) จังหวัดขอนแก่น มหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจรครั้งที่ 2 นี้จัดโดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐทุกแห่งซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นเจ้าภาพหลักจัดขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้สินประชาชนและต่อยอดสินเชื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้พร้อมให้คำปรึกษาด้านการเงินต่างๆ ภายในงานไอแบงก์ได้รวบรวมมาตรการความช่วยเหลือด้านการเงินและยกขบวนโปรโมชันทางการเงินต่างๆมากมายดังนี้ 1. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหา (NPF) สำหรับลูกหนี้สินเชื่อรายย่อย - ชำระเฉพาะกำไรรายเดือน 100% (ลดอัตรากำไรรายเดือน 12 เดือน) - ชำระเฉพาะกำไรรายเดือน 75% (ลดอัตรากำไรรายเดือน 12 เดือน) - ชำระเฉพาะกำไรรายเดือน 50% (ลดอัตรากำไรรายเดือน 12 เดือน) 2. มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ทั่วไป (Non - NPF) สำหรับลูกหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (MSME)และสินเชื่ออเนกประสงค์แบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน - ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ / มีสถานะค้างชำระไม่เกิน 90 วัน - ได้รับการผ่อนปรนชำระเฉพาะกำไรไม่เกิน 12 เดือนและขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 2 ปี - ลดค่างวดการผ่อนชำระเป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน (เงื่อนไขอื่นๆเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด) 3. มาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์ (Refinance)และการรวมหนี้ (Debt Consolidation)เพื่อลดภาระค่างวดผ่อนชำระสำหรับผู้ที่มีบัญชีสินเชื่อบ้านและบัญชีสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันสามารถเข้าร่วมมาตรการโดยการรวมหนี้ทั้งภายในธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 4. โครงการสินเชื่อSoft Loanฟื้นฟูธุรกิจเป็นการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารณวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาทหรือลูกค้าสินเชื่อใหม่ที่ไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงินใดๆณวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจลดผลกระทบต่อการจ้างงานและฟื้นฟูการดำเนินกิจการทั้งนี้ไม่รวมถึงการRefinanceและเพื่อการลงทุนหรือการปรับปรุงหรือการพัฒนาในเรื่องของเครื่องจักรอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนระบบหรือกระบวนการต่างๆที่เป็นการเสริมศักยภาพธุรกิจให้สามารถแข่งขันและดำเนินการต่อได้อย่างยั่งยืนทั้งจากกระแสดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือนวัตกรรมแห่งโลก 5. มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย 2565 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อของธนาคารที่ประสบภัยอุทกภัยและได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมได้รับการพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือนพร้อมยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด (Late Charge)และขยายเวลาสัญญาสินเชื่อออกไปตามระยะเวลาพักชำระหนี้เงินต้น นอกจากนี้ยังมีแคมเปญ “ไอแบงก์ยืนหนึ่ง”ที่ครบเครื่องเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะซื้อซ่อมสร้างรีไฟแนนซ์คิดอัตรากำไรต่ำพิเศษเริ่มต้น 1.99% ต่อปี (SPRL –5.41% ปัจจุบันSPRL =7.4% ต่อปี) นาน 6 เดือนให้วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทผ่อนได้นานสูงสุด 35 ปีรวมถึงสินเชื่ออเนกประสงค์Top upและสินเชื่อบ้านแลกเงินอัตรากำไรต่ำพิเศษพร้อมฟรีค่าประเมินและค่านิติกรรมสัญญาด้านเงินฝากประจำพิเศษให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับสูงถึง 1.20% ต่อปี (ระยะเวลาการฝาก 24 เดือน) ผู้สนใจเชิญชวนร่วมงานระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดขอนแก่น (KICE)ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. พิเศษสำหรับลูกค้าที่ยื่นคำขอพร้อมเอกสารครบถ้วนรับทันทีของที่ระลึกกระเป๋าผ้าเอนกประสงค์และรับของพรีเมี่ยมอีกต่อเมื่อทำธุรกรรมครบเงื่อนไขธนาคารสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่iBank Call Center1302 หรือแชททางMessenger : Islamic Bank of Thailand - ibank (@ibank.th)และLine : iBank4all (@ibank)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61710
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุม 2022 APEC CEO Summit
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ​คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุม 2022 APEC CEO Summit วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรี ท่านประธานเอเปค ซีอีโอ ซัมมิท ปี 2565 ท่านประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน คณะผู้แทนเอแบค นักธุรกิจ และผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมมีความยินดีที่ได้มาร่วมการประชุมเอเปค ซีอีโอ ซัมมิท กับทุกท่านในวันนี้ ในฐานะที่เอเปค ซีอีโอ ซัมมิท เป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในภูมิภาค การกลับมาอีกครั้งของการประชุมในรูปแบบพบหน้ากัน ถือเป็นการส่งสัญญาณบวกให้แก่ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการที่ทุกท่านมาเข้าร่วมประชุมกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งในวันนี้ สะท้อนให้ เห็นว่า ภูมิภาคของเรากลับมาเดินหน้าท าธุรกิจอย่างเต็มที่อีกครั้งหลังจากที่ชะงักงันมาหลายปี การกลับมาครั้งนี้เป็นโอกาสให้เราฟื้นฟูความเชื่อมโยง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ และสานต่อความร่วมมือระหว่างกันอย่างน่ายินดียิ่ง ขณะที่โลกกลับมาเชื่อมโยงกันอีกครั้งในยุคหลังโควิด ไทยกำลังขับเคลื่อนความร่วมมือเอเปค ในประเด็นที่ท้าทายและมีวิสัยทัศน์ได้แก่ ประเด็นการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและการเดินทาง วาระความยั่งยืนของ โลก โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจที่มีพลวัตสูงในปัจจุบัน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้สะท้อนอยู่ในหัวข้อหลักของ เอเปคปีนี้ คือ OPEN.CONNECT.BALANCE ภายใต้หัวข้อหลักนี้ ประเด็นสำคัญของเอเปคถูกน าทางโดยแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจีที่เป็นวาระแห่งชาติและประเทศไทยได้นำมาเป็นยุทธศาสตร์ในการฟื้นฟูจากผลกระทบของโควิด-19 ตลอดจน เป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาและการเติบโตในระยะยาวที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม เศรษฐกิจ บีซีจีผสานแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวเข้าด้วยกัน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้ คุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพเกี่ยวข้องกับการผลิตที่เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าที่มาจากทรัพยากรและวัตถุดิบชีวภาพที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไปเศรษฐกิจหมุนเวียนมุ่งให้เกิดระบบการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการแบบฟื้นสร้าง โดยมีการวางแผนตั้งแต่การออกแบบ ระบบที่ให้ความสำคัญกับการลดขยะและมลพิษ ในขณะเดียวกัน ก็พยายามใช้วัตถุดิบซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สุดท้าย เศรษฐกิจสีเขียวส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบและโมเดลเศรษฐกิจ ที่ยั่งยืน ซึ่งสร้างผลกำไรควบคู่ไปกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม แนวทางเศรษฐกิจทั้งสามข้างต้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG แตกต่างออกไปคือ การตระหนักว่าความท้าทายหลากหลายที่เราประสบอยู่เป็นเรื่องที่เชื่อมโยง และคาบเกี่ยวกัน ดังนั้น การแก้ปัญหาของเราจึงต้องไม่เป็นไปแบบแยกส่วน ด้วยเหตุผลนี้ เศรษฐกิจ BCG จึงให้ความสำคัญและผลักดันการใช้สามแนวทางเศรษฐกิจนี้ร่วมกันอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์แบบทวีคูณ ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ได้อย่างเสียอย่าง ๗. บนหนทางสู่การพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และครอบคลุมนั้น ภาคเอกชนมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผมขอใช้โอกาสนี้ขอบคุณเอแบคสำหรับความร่วมมือในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย การร่วมมือกับภาคเอกชน เป็นส่วนสำคัญต่อกระบวนการเอเปค และผมให้ความสำาคัญกับมุมมองและการสนับสนุน จากภาคธุรกิจในการดำเนินความร่วมมือในด้านต่าง ๆ โดยมีสามประเด็นที่ผมเชื่อว่าภาครัฐและภาค ธุรกิจสามารถร่วมมือกันได้อย่างเข้มแข็ง ดังนี้ ประเด็นแรก การส่งเสริมความยั่งยืน ทุกวันนี้ เราเผชิญหน้ากับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน เราได้เห็นพายุและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้น อุณหภูมิโลก และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น คุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ลง และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพวกเรา เราจึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าการเติบโตเป็นไปอย่างยั่งยืนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวของภูมิภาค ในการผลักดันการเติบโตที่สมดุลและครอบคลุม เราได้กำหนดให้ความยั่งยืนเป็นวาระสำคัญสูงสุดของเอเปคในปีนี้ และเรามุ่งมั่นที่จะนำเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นในระยะยาว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม อย่างครอบคลุม พร้อมทั้งหาหนทางที่เหมาะสมให้ธุรกิจยังสามารถมีผลกำไรได้ ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า เราทุกคนสามารถร่วมมือกันได้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและพัฒนาวิถีการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น ความร่วมมือที่เข้มแข็งและความมุ่งมั่นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชนเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม เราจะต้องเปลี่ยนการกระทำของเราในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีกว่าเดิม พวกเราสามารถร่วมมือกันเพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่เข้มแข็ง ของเราผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี นำทรัพยากรอันมีค่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อบรรลุ เป้าหมายให้ของเสียเป็นศูนย์ในกระบวนการผลิต ที่สำคัญที่สุด ธุรกิจสามารถมุ่งไปสู่ความยั่งยืนด้าน สิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ล้าสมัยในการผลิตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ยัง สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการด าเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และวิธีการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ที่ภาคเอกชน ทั่วโลกให้ความสำคัญมากในขณะนี้ ในการที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนนั้นไม่ง่ายและต้องทำแบบรอบด้าน เรากำลังสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการลดของเสีย และการปล่อยก๊าซมลพิษ การค้าและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น รวมถึงนวัตกรรม ที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขณะเดียวกัน การเงินการคลังที่ยั่งยืน ก็มีความสำคัญยิ่งต่องานของเรา การประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปคเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ดังนั้น ภาคเอกชนสามารถมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการเงินที่ยั่งยืนที่อิงกลไกตลาด ตราสารทางการเงิน และเทคโนโลยี รูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน เราจะสานต่อการทำงานเพื่อสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่เอื้อให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้ สำหรับเส้นทางไปสู่ความยั่งยืนของไทย เรากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2025โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม EV และการพัฒนาระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ไทยมุ่งจะเป็นฐานการผลิต EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้ โดยเราพร้อมร่วมมือทางด้านการเงินและด้านวิชาการ ตลอดจนการแบ่งปัน ความรู้ การเผยแพร่เทคโนโลยี และการพัฒนาขีดความสามารถกับทุกท่าน อย่างรอบด้าน เพื่อบรรล เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่นี้ ประเด็นที่สอง การเจริญเติบโตที่ครอบคลุม เราต้องมั่นใจว่าเราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังใน เส้นทางการพัฒนาของเรา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่ผลักดันให้เรามองไกล ไปกว่าเพียง แค่การสร้างผลกำไรให้มากที่สุด และหันมาให้ความสำคัญกับการท าธุรกิจที่สมดุล ครอบคลุม และ ยั่งยืน การเจริญเติบโตนี้ต้องเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในภูมิภาคของเรา จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ที่ต้องท าให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการทำธุรกิจ ผ่านการเสริมทักษะที่จำเป็น ขยายโอกาสในการจ้างงาน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบ ธุรกิจ เอเปคผลักดันให้มีการปฏิรูปทางโครงสร้างและมาตรการที่จำเป็น เพื่อสร้างแรงจูงใจ ทางการเงินสำหรับการลงทุนที่มีคุณภาพ และขจัดอุปสรรคของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป กฎระเบียบภายใน การส่งเสริมบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุน การช่วยเหลือ MSMEs และกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการปลดปล่อยศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมี ความรับผิดชอบ และเอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เทคโนโลยีดิจิทัล และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ เราต้องดูแล MSMEs ของพวกเรา ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 98 ของธุรกิจทั้งหมด ในภูมิภาค และคิดเป็นร้อยละ 40-60 ของ GDP ในเขตเศรษฐกิจเอเปคส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ เรามุ่งที่จะร่วมมือกับพวกท่านเพื่อทำให้ MSMEs ของพวกเรามีขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างนวัตกรรม ตลอดจนส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงตลาดและแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นอกจากนี้ สตรีและเยาวชนก็มีบทบาทส าคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ควบคู่กับการค านึงถึงเพศสภาวะในการจัดทำนโยบายต่าง ๆ เราจะผลักดันการเสริมพลังสตรีและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจอย่าง แท้จริง สำหรับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของเรา เราต้องรับฟังเสียงของพวกเขา เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมได้รับปฏิญญาผู้แทนเยาวชนจากกลุ่มการประชุมผู้แทนเยาวชนเอเปค ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ การเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนและการปกป้องโลกเพื่อคนรุ่นหลัง ประเด็นที่สาม การมุ่งไปสู่ดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นมิติใหม่ของการสร้างอาชีพ และการเจริญเติบโตในภูมิภาคของเรา เอเปคจึงเน้นให้เรื่องการมุ่งไปสู่ดิจิทัลเป็นหนึ่งในประเด็น สำคัญในปีนี้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจะสร้างโอกาสอย่างมหาศาลส าหรับธุรกิจทั้ง ในและนอกภูมิภาค อนาคตของภูมิภาคขึ้นอยู่กับเราที่จะต้องร่วมมือกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพ ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ซึ่งจะเป็นตัวเร่งทางเศรษฐกิจที่ส าคัญขณะที่เราฟื้นตัวจากผลกระทบ ของโรคระบาด และจะมีส่วนต่อการพัฒนาของภูมิภาคในระยะยาวต่อไป ปีนี้ เราได้วางรากฐานสำหรับภูมิภาคในการปฏิรูปทางโครงสร้างให้สอดรับกับสถานการณ์ ปัจจุบัน ขับเคลื่อนงานที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่การค้าดิจิทัลและความเชื่อมโยง และเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงานด้านอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปค อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลาย เรื่องที่เราต้องท า เราจะร่วมมือกับภาคเอกชนต่อไปในการลดช่องว่างด้านดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ความตระหนักรู้ พัฒนาขีดความสามารถ และส่งเสริมทักษะทางดิจิทัล เพื่อยกระดับความสามารถของ ภาคแรงงานในยุคดิจิทัล ในส่วนของไทย เรากำลังปรับตัวเพื่อให้เท่าทันต่อการพัฒนาอย่างรวดเร็วในภาคดิจิทัล และดำเนินการปฏิรูปทางโครงสร้างที่จำเป็น เพื่อให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน เศรษฐกิจดิจิทัลคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 14 ของ GDP ของไทย ไทยมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุดลำดับต้น ๆ ของโลก โดยมีอินเทอร์เน็ตบ้านเร็ว ติดอันดับ หนึ่งในห้าของโลก ตามการจัดอันดับความเร็วอินเทอร์เน็ตโลก ด้วยปัจจัยนี้ ไทยมองว่าภาคธุรกิจ ดิจิทัลจะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ของ GDP ของไทยภายในปี 2573 ประเทศไทยมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมมือกับท่าน และยินดีต้อนรับการลงทุน และแรงงานที่มีทักษะและแรงงานขั้นสูงเพิ่มเติมในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล เราก าลังส่งเสริม อุตสาหกรรมดิจิทัล ผ่านมาตรการจูงใจทั้งทางภาษีและไม่ใช่ภาษี โดยเน้นการพัฒนาซอฟท์แวร์ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และธุรกิจที่ส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มี ความสามารถเข้ามาท างานในไทยมากขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ เราได้เปิดตัวโครงการตรวจลงตราประเภท ผู้พำนักระยะยาว 10 ปี พร้อมสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน ดิจิทัล นอกจากนี้ ไทยได้จัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ อีอีซีดี เป็นเขตนวัตกรรมดิจิทัลแห่งใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ EEC และเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและ นวัตกรรมของภูมิภาค ที่นักลงทุนและนักบุกเบิกด้านดิจิทัลสามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วนและสนับสนุน การเติบโตของระบบนิเวศที่มีนวัตกรรมและโครงการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ผู้มีเกียรติทุกท่านครับ สิ่งที่ผมกล่าวไปข้างต้น คือ ทิศทางที่ไทยเชื่อว่า เป็นหนทางที่ภูมิภาคและโลก ต้องก้าวไปให้ ถึง หากเราจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากผลกระทบของโควิด-19 และเติบโตในระยะยาวอย่างสมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม ดังนั้น เพื่อบูรณาการปัจจัยขับเคลื่อนเป้าหมายที่กล่าวมาทั้งหมด ไทยจึงจะเสนอให้ผู้นำเอเปครับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ในปลายสัปดาห์นี้ เอกสารฉบับนี้จะกำหนดทิศทางของเอเปคไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน วางเป้าหมายเพื่อสนับสนุนความพยายามในการ จัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน ผลักดัน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาคเอกชน การเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็ง ระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิภาคของเราก้าวไปข้างหน้าและเติบโตไปสู่ อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล ด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และในขณะที่รัฐบาลสามารถ ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่การปฏิรูปโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ท้ายที่สุด ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น ยืดหยุ่น และสร้างสรรค์ของภาคเอกชนที่จะขับเคลื่อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในเอเปคให้ก้าวหน้าต่อไป ผมยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภูมิภาคของเราในช่วงเช้านี้ และขอเน้นย้ำว่าเรา ต้องร่วมมือกันเพื่อสานต่อความเป็นหุ้นส่วนและทำให้ความมุ่งหวังของเรากลายเป็นจริงได้อย่างเป็น รูปธรรมสูงสุดในอนาคต ขอบคุณและสวัสดีครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61719
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ข่าวดี ก.แรงงาน รับสมัครคนไทยฝึกงานญี่ปุ่น ผ่านองค์กร IM Japan 3 ปี ฝึกครบรับเงินกลับบ้าน 1.5 แสนบาท
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ข่าวดี ก.แรงงาน รับสมัครคนไทยฝึกงานญี่ปุ่น ผ่านองค์กร IM Japan 3 ปี ฝึกครบรับเงินกลับบ้าน 1.5 แสนบาท กระทรวงแรงงาน เปิดรับสมัครผู้ฝึกงานเทคนิคประเทศญี่ปุ่น ประเภทงานอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง ผ่านองค์กร IM Japan ปี 2566 ครั้งที่ 1 สมัครสอบทางออนไลน์ไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 21 – 25 พฤศจิกายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า กรมการจัดหางาน ประกาศรับสมัครคัดเลือกผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นผ่านองค์กร IM Japan ปี 2566 ครั้งที่ 1 (เพศชาย) ในตำแหน่งผู้ฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิค ประเภทงานอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง ระหว่างวันที่ 21 – 25 พฤศจิกายน 2565 โดยผู้สมัครสามารถสมัครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ toea.doe.go.th และสอบคัดเลือก ณ ศูนย์สอบจังหวัดอุดรธานี โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือก เป็นผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคฯ จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น 4 เดือน และเดินทางไปฝึกอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่นอีก 1 เดือน เมื่อผ่านการอบรมและได้รับคัดเลือกจากนายจ้างจะได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนแรก 80,000 เยน หรือประมาณ 20,358 บาท ค่าที่พัก ค่าน้ำ-ค่าไฟ ฟรี และเดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 36 จะได้ค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายญี่ปุ่นกำหนด เมื่อฝึกครบตามกำหนด จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฝึกงาน และเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพจำนวน 600,000 เยน หรือประมาณ 152,685 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพเมื่อเดินทางกลับประเทศไทย “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแรงงานไทยให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศมาโดยตลอด เพราะนอกจากแรงงานไทยสามารถมีรายได้ดูแลครอบครัว ยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองได้แล้ว รายได้และประสบการณ์ที่นำกลับมายังมีส่วนในการพัฒนาประเทศด้วย”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าว ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า สำหรับการฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น ผ่านองค์กร IM Japan ปี 2566 ครั้งที่ 1 มีระยะเวลาฝึกปฏิบัติงานฯ สูงสุด 3 ปี (36 เดือน) ในตำแหน่งงานผู้ฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคประเภทอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง อาทิ งานหล่อกลึงโลหะ งานปั๊มขึ้นรูปโลหะ งานเชื่อม งานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ งานบำรุงรักษาเครื่องจักร งานพ่นสี งานหลอม พลาสติก งานซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ งานแปรรูปอาหาร เป็นต้น โดยจะมีการคัดเลือกด้วยวิธีสอบภาคความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ด้านช่าง และความรู้ความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่น การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ เพื่อทดสอบทัศนคติ บุคลิกภาพ การปรับตัว และวุฒิภาวะทางอารมณ์ โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.เพศชายอายุ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ 2.จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ไม่จำกัดสาขาวิชา 3.ความสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร น้ำหนักได้สัดส่วนกับส่วนสูง สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ 4.พ้นภาระการรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร 5.ไม่มีรอยสักหรือความผิดปกติทางร่างกาย ไม่มีความประพฤติเสียหาย 6.ไม่เคยเป็นผู้ไปฝึกปฏิบัติงานเทคนิคที่ประเทศญี่ปุ่นโดยใช้วีซ่า “Technical Intern” ไม่เคยทำงานหรือเข้าเมืองหรือพำนักอาศัยโดยผิดกฎหมายทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ไม่เคยเป็นผู้ผ่านการคัดเลือกและถูกตัดสิทธิออกจากการฝึกอบรมก่อนเดินทางไปฝึกปฏิบัติงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น 7.สายตาปกติ ไม่บอดสี ไม่เป็นโรคต้องห้ามเข้าประเทศญี่ปุ่น และสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการฝึกอบรมในประเทศไทยและระหว่างการฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่นได้ ทั้งนี้ ผู้ไม่ผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ในขั้นตอนต่อไป โดยกรมการจัดหางานจะเรียกผู้ผ่านการคัดเลือกตามบัญชีรายชื่อเข้ารับการฝึกอบรมด้านวัฒนธรรมและภาษาญี่ปุ่นก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 4 เดือน แบบอยู่ประจำ ณ ศูนย์ฝึกอบรม ซึ่งหากผู้ผ่านการคัดเลือกไม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรม ตามที่กรมการจัดทางานกำหนดให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์ โดยจะเรียกผู้ผ่านการคัดเลือกตามบัญชีรายชื่อในลำดับถัดไปเข้ารับการฝึกอบรมแทน และเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมก่อนเดินทางจะมีการทดสอบภาษาญี่ปุ่น ซึ่งต้องผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนภาษาญี่ปุ่นระดับ 5 ในหลักสูตรที่องค์กร IM ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับกรมการจัดหางานกำหนด จึงจะมีสิทธิได้เดินทาง สุดท้ายจะต้องเข้ารับการอบรมด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นอีก 1 เดือน โดยจะมีการทดสอบอีกครั้ง หากไม่ผ่านการทดสอบจะถูกส่งกลับประเทศไทย “ผู้ที่ประสงค์จะสมัครคัดเลือกผู้ฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น สามารถสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ toea.doe.go.th ลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนคนหางาน และตรวจสอบสถานะการสมัคร ในหัวข้อ “ดูรายการสมัครไปทำงานโดยรัฐจัดส่ง” หรือตรวจสอบที่ E-Mail ของตนเอง ทั้งนี้ จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ทางเว็บไซต์ doe.go.th/prd หรือเว็บไซต์ doe.go.th/overseas และเพจ facebook : IMthailand กรณีต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทร. 0 2245 9428 หรือ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694”อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61723
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกฯ กล่าวเปิดการประชุม APEC CEO Summit ผลักดันความร่วมมือกับภาคเอกชนส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ​นายกฯ กล่าวเปิดการประชุม APEC CEO Summit ผลักดันความร่วมมือกับภาคเอกชนส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน พร้อมสร้างบรรยากาศการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล วันนี้ (17 พ.ย. 2565) เวลา 9.28 น. ณ ห้อง Athenee Crystal Hall ชั้น 3 โรงแรม ดิ แอทธินี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุม APEC CEO Summit ตามคำเชิญของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) โดยภายหลังเสร็จสิ้นพิธี นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้ APEC CEO Summit เป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และเป็นการกลับมาอีกครั้งของการประชุมในรูปแบบพบหน้า ถือเป็นการส่งสัญญาณบวกให้แก่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สะท้อนให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกพร้อมเดินหน้าทำธุรกิจอย่างเต็มที่อีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสให้ฟื้นฟูความเชื่อมโยง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ และสานต่อความร่วมมือระหว่างกัน สำหรับประเด็นสำคัญของเอเปคปีนี้ ซึ่งอยู่บนแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่ไทยนำมาเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาและการเติบโต ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ไทยยังตระหนักว่าความท้าทายที่ประสบอยู่เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงและคาบเกี่ยวกัน ดังนั้น นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ ดังนี้ ประเด็นแรก การส่งเสริมความยั่งยืน นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกและสภาพภูมิอากาศที่ล้วนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยไทยได้กำหนดให้ความยั่งยืนเป็นวาระสำคัญสูงสุดของเอเปคในปีนี้ และมุ่งมั่นที่จะนำเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นในระยะยาว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุม พร้อมทั้งหาหนทางที่เหมาะสมให้ธุรกิจยังสามารถมีผลกำไร นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ทุกคนสามารถร่วมมือกันได้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและพัฒนาการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น ความร่วมมือที่เข้มแข็งและความมุ่งมั่นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ไทยกำลังสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยแก่ภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการลดของเสีย และการปล่อยก๊าซมลพิษ การค้าและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 และกำลังเร่งพัฒนาระบบนิเวศเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งไทยหวังว่าจะได้ร่วมมือกับทุกฝ่ายต่อไป ประเด็นที่สอง การเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ทุกฝ่ายสามารถร่วมมือกันและต้องมั่นใจว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังในเส้นทางการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่ผลักดันให้มองไกลไปกว่าการสร้างผลกำไร และหันมาให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อทุกระดับในภูมิภาค โดยเอเปคผลักดันให้มีการปฏิรูปทางโครงสร้างและมาตรการที่จำเป็น และขจัดอุปสรรคของการทำธุรกิจ ทั้งการปฏิรูปกฎระเบียบภายใน การส่งเสริมบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุน การช่วยเหลือ MSMEs การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และเอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เทคโนโลยีดิจิทัล และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง การที่ไทยผลักดันการเสริมพลังสตรี และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบกับเยาวชนในโครงการ APEC Voices of the Future และได้รับแถลงการณ์เยาวชน (Youth Declaration) ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนและการปกป้องโลกเพื่อคนรุ่นหลัง ประเด็นที่สาม การมุ่งไปสู่ดิจิทัล นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นมิติใหม่ของการสร้างอาชีพ และการเจริญเติบโตในภูมิภาค เอเปคจึงเน้นให้การมุ่งไปสู่ดิจิทัลเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในปีนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจทั้งในและนอกภูมิภาค โดยร่วมมือกันเพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ซึ่งจะเป็นตัวเร่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญท่ามกลางการฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาด และส่งผลต่อการพัฒนาของภูมิภาคในระยะยาว ทั้งนี้ เอเปคได้วางรากฐานในการปฏิรูปทางโครงสร้างให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ขับเคลื่อนงานที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่การค้าดิจิทัลและความเชื่อมโยง รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงานด้านอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปค อย่างไรก็ตาม เอเปคต้องดำเนินการร่วมมือกับภาคเอกชนในด้านดิจิทัลเพื่อลดช่องว่าง สร้างความตระหนักรู้และสร้างความรู้ทางดิจิทัล พัฒนาขีดความสามารถ และส่งเสริมทักษะทางดิจิทัล เพื่อสร้างความสามารถของภาคแรงงานในยุคดิจิทัล สำหรับไทยมีการปรับตัวและปฏิรูปทางโครงสร้างที่จำเป็น ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีต้อนรับการลงทุน และแรงงานที่มีทักษะและแรงงานขั้นสูงเพิ่มเติมในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล รวมทั้งมีมาตรการจูงใจทั้งทางภาษีและไม่ใช่ภาษี นอกจากนี้ ไทยได้เปิดตัวโครงการตรวจลงตราประเภทผู้พำนักระยะยาว 10 ปี พร้อมสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล พร้อมจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เป็นเขตนวัตกรรมดิจิทัลแห่งใหม่ และเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและนวัตกรรมของภูมิภาค โดยในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยจะเสนอให้ผู้นำเอเปครับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ในปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะกำหนดทิศทางของเอเปคไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน สนับสนุนความพยายามในการจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน ผลักดันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะให้เป็นศูนย์ ซึ่งความสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาคเอกชน และการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ภูมิภาคก้าวไปข้างหน้า และเติบโตไปด้วยกันสู่อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ การประชุม CEO Summit เป็นกิจกรรมของภาคเอกชนที่จัดขึ้นคู่ขนานกับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และถือเป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคเอกชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกประจำปีที่สำคัญที่สุด โดยปีนี้จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Embrace, Engage, Enable” มีการเชิญผู้นำ/ผู้แทนเขตเศรษฐกิจ ผู้นำภาคธุรกิจ และผู้นำทางความคิดเข้าร่วมงาน เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ในประเด็นสำคัญ เช่น อนาคตของโลก ความยั่งยืน การเติบโตที่ครอบคลุม การสาธารณสุขและสวัสดิการสุขภาพในยุคหลังโควิด-19 และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล นอกจากนี้ การประชุม CEO Summit ยังเป็นโอกาสให้นักธุรกิจในภูมิภาคได้สร้างเครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งในปีนี้ มีผู้นำและผู้แทนที่เข้าร่วมกล่าวปาฐกถาและเสวนาในการประชุมฯ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 มีทั้งหมด 5 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีเวียดนาม ประธานาธิบดีชิลี รองประธานาธิบดีเปรู และนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 มีทั้งหมด 2 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61718
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​Opening Keynote Address APEC CEO Summit 2022
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ​Opening Keynote Address APEC CEO Summit 2022 ​17 November 2022, Athenee Crystal Hall, The Athenee Hotel Khun Poj Aramwattananont - 2022 CEO Summit Chair, Sanan Angubolkul - Chairman of the Joint Standing Committee on Commerce, Industry and Banking, Leaders of the business community, Distinguished participants, Ladies and Gentlemen, It is my pleasure to be with you all today at the 2022 APEC CEO Summit. As one of region’s most prominent gatherings of the private sector, the return of physical CEO Summit sends a positive signal for the Asia-Pacific. The packed venue today reflects the region’s reality that we are fully back in business after years of disruptions. This return also provides an opportunity for us to reconnect, nurture personal contacts and foster cooperation. As the world gradually reconnects in the post-COVID-19 era, Thailand is steering APEC towards an ambitious, forward-looking agenda that takes into account today’s rapidly changing economy: new trade and investment narratives, rapid digital transformation, the need to reconnect supply chains and travel, and the global sustainability agenda, which is captured in this year’s APEC theme of Open. Connect. Balance. Under this theme, APEC’s priorities are guided by the Bio-Circular-Green (BCG) Economy that Thailand introduced as a recovery strategy from COVID-19 and a blueprint for long-term growth that is more balanced, sustainable and inclusive. The BCG Economy synergises bio-, circular and green economic approaches, utilising new technologies and innovation to create value, increase resource efficiency and promote environmental sustainability. The Bio-Economy involves the production of renewable biological resources and bio-based materials and converting them into value-added products using technology and innovation. The Circular Economy envisages a regenerative production-consumption system where product, service and system design choices enable the elimination of waste and pollution while keeping existing materials in use. The Green Economy promotes responsible practices and sustainable business models that generate profits in tandem with social and environmental sustainability. These three approaches are not new, but what sets the BCG Economy concept apart is how it recognises that the various challenges we face are crosscutting and interconnected, and therefore, our solutions cannot be siloed. For this reason, the BCG Economy underlines and advocates the integration of these approaches to maximise their multiplying effect and address their trade-offs. On our path towards sustainable, resilient and inclusive growth, the role of the private sector is indispensable. I would like to take this opportunity to thank ABAC for their invaluable contribution in driving forward Thailand’s host year priorities. Private sector collaboration is integral to the APEC process and we count on the business perspective and support in implementing specific areas of cooperation. Going forward, there are three areas that I believe government and business can work strongly together. First is on promoting sustainability. Today, we face unprecedented environmental challenges. We are seeing more frequent and severe storms and droughts, rising temperature and sea-levels, worsening air quality and loss of biodiversity, which affect our livelihood. For the region to grow in the long-term, we need to ensure that growth is sustainable. The temporary halt in cross-border travel and tourism during COVID-19 gave us a preview of how our nature can recover and flourish if treated with care and left untouched. However, COVID-19 has also forced us to temporarily put the safety of our people ahead of our planet. We see rising intensity in plastic use in many industries, especially in the medical and food industries. To ensure balanced and inclusive growth, we have made sustainability central to Thailand’s APEC priority this year. Hence our commitment to utilising the BCG Economy to advance long-term resilient economic growth in tandem with comprehensively ensuring environmental sustainability, while offering a viable way for businesses to be profitable. There are a number of steps we can work strongly together to safeguard the environment and develop more sustainable ways of doing business. Strong collaboration and commitment from all sectors, in particular Public-Private-Partnership is key to achieving a sustainable and inclusive future. We have to change our actions now for a better future. Together we can build on our rich biodiversity through innovations and technology, maximise the use of our precious resources with a view towards achieving zero waste in the production process. Most importantly, businesses can work towards environmental sustainability by harnessing innovative biotechnology in our agricultural and industrial productions. These applications are also in line with Responsible Business Conduct (RBC) and Environmental, Social and Governance (ESG) practices. In pursuing this demanding and comprehensive transition towards a sustainable economy, we are making sure that there is a conducive business environment necessary for private sectors to promote the reduction of waste and emissions, greener trade and investment, innovations that support transition to low carbon economy while at the same time ensuring the necessary human resource development. Sustainable and green financing is crucial to our efforts. The recent APEC Finance Ministers’ Meeting in October emphasised the importance of sustainable finance. In this regard, the private sector can play a key role in realising market based sustainable finance mechanisms, innovative financing instruments, and emerging technologies to support the alignment of financial flows towards a greener economy. We will continue our work to build a financial ecosystem that enables both government and private sector to be able to work towards reaching our sustainability objectives. For Thailand, on our path towards sustainability, we are transitioning to clean energy to achieve carbon neutrality by 2050 and net zero gas emissions in or before 2065. In particular, Thailand is transitioning into the EV industry and is building its EV ecosystem. Thailand aspires to be one of the world’s biggest EV production bases in the near future. Financial and technical cooperation, as well as knowledge sharing, technology dissemination and capacity building remain fundamental to making such progress. We look forward to foster cooperation with you in this area. The second area of collaboration that we can work together is inclusive growth. In line with the BCG Economy that prompts us to look beyond pursuing profit maximisation, and focus on a more balanced, inclusive and sustainable way of doing business, we must ensure that we leave no one behind on our path of development. We need to ensure the benefits of this growth are felt by all levels within our region. It is incumbent upon us to ensure that everyone can benefit from economic growth and business activities. To be able to do so, we need to equip them with the right skill sets, expand opportunities for employment and provide an enabling environment for entrepreneurship. Our work in APEC ensures that necessary structural reform and appropriate measures are in place to provide fiscal incentives to promote quality investment and address chokepoints for businesses. Such measures include, reform of domestic regulations, Business Enabling Environment, assistance to MSMEs and those with untapped economic potential. This will enable responsible business conduct, as well as facilitate access to sustainable financing facilities, digital technology and other enablers. We also have to look after our MSMEs, which make up more than 98 percent of our region’s businesses and represent between 40-60 percent of GDP in most APEC economies. This being the case, we look forward to cooperating with you all to enable our MSMEs to be more competitive, innovative and increase their access to more markets and financing. Women and youth also have significant roles to play in our economic activities, particularly in promoting sustainable and inclusive growth. Therefore, we are committed to mainstreaming gender in our policy making processes. We will continue to advance women empowerment and promote their meaningful participation in the economy. Youth represents our future; therefore, we need to ensure that their voices are heard. A few days ago, I received the Voices Declaration from the APEC Voices of the Future that engaged youth from APEC economies. Our youth sent a key message on the need to accelerate the transition to sustainability and protect the planet for our future generations. The third area that governments and businesses can work together is on digitalisation. The digital economy is a new frontier for job creation and growth in our region, therefore APEC has made digitalisation a priority this year. Effective digital transformation offers enormous opportunities for businesses in the region and beyond. The future of our region will depend on us working together to embrace the potential from digital transformation, which will be a significant economic boost as we emerge from the pandemic and will contribute to the region’s long-term development. This year we have laid the groundwork for the region to undertake appropriate structural reforms, advance work promoting digital trade transformation and connectivity, and accelerate the implementation of the APEC Internet Digital Economy Roadmap. Nevertheless, more remains to be done. We look forward to further engaging with the private sector to bridge the digital divide, be it through developing awareness and digital literacy, working towards capacity building, and promotion of digital skills to build workforce capacity in the digital age. On our part, Thailand is keeping up with the rapid developments of the digital sector and undergoing the necessary structural reforms to enable faster and fairer digital transformation. 26. The digital economy currently accounts for 14.1% of Thailand’s GDP. According to the Speedtest Global Index, Thailand has one of the world’s five best internet facilities. Riding this trend, we foresee digital business constituting 30% of the GDP by 2030. Thailand is excited to engage with you and welcomes more investment and skilled and advanced workforce in the digital industries. We are promoting the digital industry through tax and non-tax incentives, with a focus on software development, digital infrastructure and digital ecosystem supported business. To encourage foreign talents to relocate to Thailand, we have recently introduced a ten-year Long-Term Resident visa scheme with privileges, especially those with digital talents. 29. Additionally, Thailand has established the EECd, a new digital innovation zone, as part of the Eastern Economic Corridor (EEC). It is a regional digital and innovation hub where investors and digital innovators can partner and support the growth of innovative ecosystem and immersion programs. Ladies and Gentlemen, What I have just outlined above is the direction Thailand believes the region, indeed the world, needs to move towards if we are to recovery sustainably from COVID-19 and achieve long-term growth that is more balanced, sustainable and inclusive. To bring all these elements together in a comprehensive and integrated manner, Thailand has proposed for the APEC Leaders endorsement later this week the Bangkok Goals on the BCG Economy. This leaders’ level document will help chart the course for APEC to achieve its sustainability objectives, laying out goals on supporting climate change efforts, progressing sustainable trade and investment, advancing environmental conservation and improving resource efficiency towards zero waste. Whether or not we succeed will of course also depend upon the support of the private sector. Indeed, a strong partnership between governments and businesses is crucial for our region to successfully move forward and grow together, leaving no one behind. While the government can continue to undertake measures towards effective structural reforms that will enable an ecosystem conducive to economic growth, it is ultimately the determination, resilience and creativity of the private sector that will drive the economic prosperity of APEC. It has been a pleasure to reflect on the state of our region with you this morning. As we look to the future, let us join hands and work together to further our partnerships and transform our aspirations into reality. Thank you.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61721
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงเทพฯ ​(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) ฯพณฯ นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงเทพฯ ตามคำเชิญ ของ ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้หารือข้อราชการระดับทวิภาคีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ณ ทำเนียบรัฐบาล ผู้นำทั้งสองรับทราบด้วยความยินดีต่อพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการเสริมสร้างด้วยการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง โดยเฉพาะการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 – 2 พฤษภาคม 2565 และการเยือนญี่ปุ่นของ ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าร่วมการประชุม International Conference on the Future of Asia (Nikkei Forum) ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 25 – 27 พฤษภาคม 2565 ที่กรุงโตเกียว รวมถึงความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ภูมิภาค และพหุภาคี ซึ่งรวมถึงกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ซึ่งญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา อาเซียน - ญี่ปุ่น และสหประชาชาติ นับตั้งแต่ประเทศไทยและญี่ปุ่นสถาปนาความเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” เมื่อปี 2555 ทั้งสองประเทศได้พัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในเชิงลึกและอย่างกว้างขวางในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะในปีนี้ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 135 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ผู้นำของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันและและขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคีในหลายสาขา อาทิ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และความท้าทายในระดับโลก ผู้นำทั้งสองยังยินดีต่อการลงนาม “แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่นในระยะ 5 ปี” ระหว่าง ฯพณฯ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับ ฯพณฯ นายฮายาชิ โยชิมาสะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของความเห็นพ้องร่วมกันที่จะทำให้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น สัมพันธ์กับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปและร่วมรังสรรค์ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในฐานะหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันด้วยการกำหนดแนวทางใหม่เพื่อความร่วมมือสู่อนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนยิ่งขึ้น แผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับนี้จะเป็นแนวทางระยะกลางในการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในห้วงปี 2565 - 2569 ใน 3 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ (1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปฏิรูปกฎระเบียบ นวัตกรรม (2) เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) และ (3) โครงสร้างพื้นฐาน เมื่อคำนึงถึงข้างต้นและด้วยความตระหนักถึงความก้าวหน้าของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศที่ใกล้ชิดและครอบคลุมหลากหลายมิติ รวมทั้งการส่งเสริมความเป็น“หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ระหว่างกันให้ลึกซึ้งและกว้างขวางอย่างต่อเนื่อง ผู้นำทั้งสองจึงเห็นพ้องที่จะยกระดับความสัมพันธ์จาก “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” เป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือให้ก้าวหน้าในทุกด้านท่ามกลางความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ของภูมิภาคและของโลก ในการนี้ ผู้นำทั้งสองได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาความเป็น“หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” ให้เปี่ยมด้วยความหมาย และเพื่อให้มั่นใจในการนำ “แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่นในระยะ 5 ปี” สู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อผลประโยชน์ ความก้าวหน้าและความมั่งคั่งร่วมกันของทั้งสองประเทศ ประชาชนไทยและญี่ปุ่นและในวงกว้างสืบไป * * * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61732
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 เห็นชอบขยายระยะเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 บรรเทาผลกระทบอุทกภัย
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 มท.1 เห็นชอบขยายระยะเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 บรรเทาผลกระทบอุทกภัย มท.1 เห็นชอบขยายระยะเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 บรรเทาผลกระทบอุทกภัย วันนี้ (16 พ.ย. 65) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากสถานการณ์อุทกภัยในด้านการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จึงได้ให้ความเห็นชอบขยายกำหนดเวลาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 เป็นการทั่วไป ออกไปอีก 2 เดือน ได้แก่ 1) ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกาศ และจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบ จากเดิมภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นภายในเดือนมกราคม 2566 2) ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็น ในการจัดเก็บภาษี จากเดิมก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นก่อนวันที่ 1 เมษายน 2566 3) ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแจ้งการประเมินภาษี โดยส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี จากเดิมภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นภายในเดือนเมษายน 2566 4) ขยายกำหนดเวลาของผู้เสียภาษีในการชำระภาษีตามแบบแจ้งการประเมินภาษี จากเดิมภายในเดือนเมษายน 2566 เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2566 5) ขยายกำหนดเวลาของผู้เสียภาษีในการผ่อนชำระภาษี โดยงวดที่ 1 จากเดิมภายในเดือนเมษายน 2566 เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2566 งวดที่ 2 จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นภายในเดือนกรกฎาคม 2566 งวดที่ 3 จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2566 เป็นภายในเดือนสิงหาคม 2566 6) ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่มีภาษีค้างชำระ จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นภายในเดือนกรกฎาคม 2566 และ 7) ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้สำนักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขา จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2566 เป็นภายในเดือนสิงหาคม 2566 “การขยายระยะเวลาดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประชาชนที่ได้รับผลกระทบและความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย โดยผู้เสียภาษีจะมีระยะเวลาเตรียมการชำระภาษีและผ่อนชำระภาษีประจำปี พ.ศ. 2566 เพิ่มมากขึ้น และไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหากได้ชำระภาษีภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ให้ความเห็นชอบ” พลเอก อนุพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61706
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย-เวียดนาม จับมือร่วมผลักดันฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองประเทศ
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ไทย-เวียดนาม จับมือร่วมผลักดันฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองประเทศ ไทย-เวียดนาม จับมือร่วมผลักดันฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองประเทศและภูมิภาค อำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งการนำเข้า ส่งออก และการนำผ่านสินค้าไปประเทศที่สาม โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และสินค้าปศุสัตว์ พร้อมส่งเสริมการผลิตข้าวเพื่อขยายตลาดในอาเซียน วันที่16พฤศจิกายน2565เมื่อเวลา16.00น.ณห้องสีม่วงตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยดร.เฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การต้อนรับนายเหวียนซวนฟุก(H.E. Mr. Nguyen Xuan Phuc)ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลโดยนายกฯนำตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ3เหล่าทัพจากนั้นได้หารือข้อราชการแบบเต็มคณะซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรคือไทยและเวียดนามเห็นพ้องที่จะผลักดันความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองประเทศและภูมิภาคและทั้งสองฝ่ายจะเร่งอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันทั้งการนำเข้าส่งออกและการนำผ่านสินค้าไปประเทศที่สามโดยเฉพาะสินค้าเกษตรได้แก่มะม่วงและเงาะจากไทยและสินค้าปศุสัตว์ได้แก่ลูกไก่และไข่ฟักพ่อแม่พันธุ์จากไทยนอกจากนี้ฝ่ายไทยยังขอให้ทั้งสองประเทศส่งเสริมการผลิตข้าวเพื่อขยายตลาดในอาเซียนและเตรียมความพร้อมร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนปุ๋ยและอาหารสัตว์ ทั้งนี้การค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและเวียดนามในช่วงปี2562 - 2564ไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปเวียดนามร้อยละ4.42ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปโลกคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละ56,310ล้านบาทโดยมีอัตราการส่งออกลดลงเฉลี่ยร้อยละ12.36ต่อปีสินค้าเกษตรส่งออกจากไทยไปยังเวียดนามที่สำคัญได้แก่นมยูเอชทีและนมถั่วเหลืองทุเรียนน้ำตาลสุกรมีชีวิตอาหารปรุงแต่งเช่นเต้าหู้แอลกอฮอล์ผงและครีมเทียมในขณะเดียวกันในช่วงปี2562 - 2564ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากเวียดนามร้อยละ4.51ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากโลกคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยปีละ23,967ล้านบาทมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ7.06ต่อปีสินค้านำเข้าสำคัญได้แก่เนื้อปลาแบบฟิลเลของปลาอื่นๆเช่นเนื้อปลาซูริมิสดหรือแช่เย็นกาแฟอาหารปรุงแต่งเช่นเต้าหู้แอลกอฮอล์ผงและครีมเทียมผลไม้แช่แข็งเช่นสับปะรดทุเรียนลำไยมังคุดลิ้นจี่และมะม่วงปลาหมึกกระดองและปลาหมึกกล้วยแห้ง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61704
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กรุงไทย” ร่วมเวที APEC CEO Summit 2022 โชว์ศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ดิจิทัล
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 “กรุงไทย” ร่วมเวที APEC CEO Summit 2022 โชว์ศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ดิจิทัล กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย จะเข้าร่วมเวทีการประชุม APEC CEO SUMMIT วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 หัวข้อ Digital Transformation เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต (Digitalizatio ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ และผู้สนับสนุนหลักการจัดประชุมสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ABAC) และการประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit 2022) ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 ร่วมเป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้นำธุรกิจแห่งเอเชียแปซิฟิกจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ที่เดินทางมาร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการค้า การลงทุน และสังคม ในภูมิภาคร่วมกัน ​ในโอกาสนี้ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จะเข้าร่วมเวทีการประชุม APEC CEO SUMMIT วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 หัวข้อ Digital Transformation เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต (Digitalization and the Next Normal) โดยนำเสนอการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของธนาคารกรุงไทย ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และโลกธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องเผชิญความท้าทายรอบด้าน โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นมหาวิกฤติของทั่วโลก เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้นในทุกด้าน ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ พร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนมาตรการภาครัฐ ช่วยให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงความช่วยเหลือของรัฐ และบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน การร่วมประชุมในเวทีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงให้ผู้นำภาคธุรกิจ นักลงทุนและสื่อมวลชนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ได้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทย ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยเฉพาะความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงิน เพื่อก้าวสู่สังคมไร้เงินสดและเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยนำแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (ESG) และกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) มาปรับใช้ในการดำเนินงาน ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61720
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61699
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK สภาหอฯ ส.อ.ท. สรท. และ CMMU ฉลองความสำเร็จสร้างผู้ส่งออก Top X รุ่นแรก พร้อมอาวุธด้านความรู้ แหล่งเงินทุน และเครือข่าย คาดสร้างมูลค่าการค้าการลงทุนกว่า 1,000 ลบ.
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 EXIM BANK สภาหอฯ ส.อ.ท. สรท. และ CMMU ฉลองความสำเร็จสร้างผู้ส่งออก Top X รุ่นแรก พร้อมอาวุธด้านความรู้ แหล่งเงินทุน และเครือข่าย คาดสร้างมูลค่าการค้าการลงทุนกว่า 1,000 ลบ. EXIM BANK สานพลังหอการค้าไทยและสภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมฯ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล จัดพิธีฉลองความสำเร็จและมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ประกอบการที่สำเร็จหลักสูตรครบวงจร Top X EXECUTIVE PROGRAM รุ่นที่ 1 EXIM BANK สานพลังหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีฉลองความสำเร็จและมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ประกอบการที่สำเร็จหลักสูตรครบวงจร Top X EXECUTIVE PROGRAM รุ่นที่ 1 ได้รับความรู้ทางธุรกิจยุคใหม่ ข้อมูลตลาดต่างประเทศเชิงลึก ช่องทางการตลาดที่มีศักยภาพ เครือข่ายทางธุรกิจ พร้อมแหล่งเงินทุน คาดว่าจะเกิดมูลค่าการค้าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท จากการจับคู่เจรจาธุรกิจ ผู้จบหลักสูตรสามารถสมัครขอรับสินเชื่อ “EXIM Export Ready Credit” วงเงินกู้หมุนเวียนสูงสุด 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เริ่มต้น 3.50% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 3 ปี ฟรี! ค่า Front-end Fee ของ EXIM BANK นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร หลักสูตร Top X EXECUTIVE PROGRAM รุ่นที่ 1 หลักสูตรระยะสั้นสำหรับเจ้าของกิจการและผู้บริหารเพื่อการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจเพื่อการส่งออก โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (สภาหอฯ) นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ รศ.ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เข้าร่วมพิธีและแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ 3 สภาธุรกิจชั้นนำและสถาบันอุดมศึกษาในการจัดให้มีหลักสูตร Top X ครั้งนี้นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของการสานพลังระหว่างภาครัฐ ภาคการเงินการธนาคาร ภาคธุรกิจ และสถานศึกษาในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจตลอดห่วงโซ่การผลิตอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในมิติของเงินทุน องค์ความรู้ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำพาธุรกิจก้าวผ่านความแปรปรวนของเศรษฐกิจและการค้าโลกไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคง ทำให้ผู้ประกอบการไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ในระบบประมาณ 3.2 ล้านรายและทำธุรกิจส่งออกเพียง 1% สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทัพสินค้าไทยออกสู่ตลาดโลกที่เปิดกว้าง นับเป็นขุมพลังใหม่ที่เป็นความหวังในการผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK รายงานความสำเร็จของหลักสูตร Top X รุ่นที่ 1 ซึ่งเกิดจากการสานพลังระหว่าง EXIM BANK กับองค์กรพันธมิตร เพื่อสร้างและขยายจำนวนนักธุรกิจระหว่างประเทศชั้นแนวหน้าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยตลอดระยะเวลาการอบรมกว่า 2 เดือน ผู้เข้าร่วมอบรมทั้ง 50 ท่านได้รับความรู้อย่างเต็มอิ่ม ได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศ รวมถึงประสบการณ์จริงจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การดูงานนอกสถานที่ และที่สำคัญ คือ กิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ในลักษณะ Sandbox Business Matching ซึ่ง EXIM BANK ทำงานร่วมกับทีมประเทศไทยนำพาผู้ประกอบการ Top X รุกตลาดต่างประเทศ ทั้ง CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และตะวันออกกลาง โดยการค้าการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงภายใต้ Sandbox รวมถึงมีการขยายผลต่อ คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึงกว่า 1,000 ล้านบาทจากคู่เจรจากว่า 50 คู่ ผู้ผ่านการอบรมสามารถสมัครขอรับบริการสินเชื่อ “EXIM Export Ready Credit” วงเงินกู้หมุนเวียนสูงสุด 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เริ่มต้น 3.50% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 3 ปี ฟรี! ค่า Front-end Fee ของ EXIM BANK “EXIM BANK มุ่งมั่นขยายความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อติดอาวุธผู้ประกอบการไทยให้พร้อมออกไปแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้อย่างประสบความสำเร็จ สร้างผู้ส่งออกรายใหม่จำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเติมความรู้ เติมทุนทุกวงจรธุรกิจ และเติมเครือข่ายหรือช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดย EXIM BANK จะพัฒนาหลักสูตร Top X รุ่นที่ 2 ในปี 2566 ต่อไป เพื่อสร้าง Ecosystem วงจรการค้าที่ขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงกับการพัฒนาในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ดร.รักษ์ กล่าว 26 พฤศจิกายน 2565 ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4110-4 EXIM Thailand, TCC & BOT, FTI, TNSC and CMMU Celebrate Success in Building Top X Class 1 Exporters Fully Equipped with Knowledge Base, Sources of Funds and Networks with Expected Trade and Investment Value of Over 1,000 Million Baht EXIM Thailand has joined hands with the Thai Chamber of Commerce (TCC) and Board of Trade of Thailand (BOT), the Federation of Thai Industries (FTI), Thai National Shippers’ Council (TNSC), and the College of Management of Mahidol University (CMMU) in celebrating the successful collaboration and awarding of certificates to entrepreneurs who have fully completed the Top X Executive Program, Class 1. The trainees have been provided with modern business know-how, in-depth export market data, prospective marketing channels, business networks, and sources of funds. This collaborative program is expected to help generate trade and investment value of more than 1,000 million baht. The new exporters from the program may apply for “EXIM Export Ready Credit,” a revolving credit facility with a maximum credit line of 5 million baht, a special interest rate starting from 3.50% p.a., a loan tenor of up to 3 years, and free! front-end fee. Mr. Arkhom Termpittayapaisith, Minister of Finance, presided over the certificate presentation ceremony of the Top X Executive Program, Class 1, a short-term course for business owners and executives for export business development and enhancement, at the Ministry of Finance on November 26, 2022. Also participating in the ceremony to extend congratulations were Dr. Rak Vorrakitpokatorn, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), Dr. Chaichan Charoensuk, Chairman of Thai National Shippers’ Council (TNSC), Dr. Visit Limlurcha, Vice Chairman of the Thai Chamber of Commerce (TCC), Mr. Chartchai Panichewa, Vice Chairman of the Federation of Thai Industries (FTI), and Assoc. Prof. Dr. Wichita Raktham, Dean of the College of Management, Mahidol University (CMMU). The Minister of Finance said that the collaboration between EXIM Thailand, the three leading business organizations and the higher education institution in organizing this Top X Executive Program can be seen as a new chapter of the synergized efforts between the public and private sectors, namely finance and banking, business and educational institutions, aiming to strengthen businesses throughout the supply chains in a concrete manner and in multi-dimensions covering capital, knowledge base and tools that would help Thai entrepreneurs bring their businesses through global trade and economic uncertainties toward steady business growth. This is anticipated to empower and enable the around 3.2 million Thai entrepreneurs in the system, of whom only 1% have engaged in export businesses, to step up as leaders bringing an extensive array of Thai goods to the large, open global markets, representing a new source of hope of driving forces for the sustainable growth of Thai economy. President EXIM Thailand has reported on the successful outcome of the Top X Executive Program, Class 1, driven by the powerful team-up of the Bank and its business counterparts to build and expand the number of leading international businessmen for Thailand. Throughout the more than 2 months of the program, the 50 trainees have gained comprehensive knowledge, got new ideas for their business operations from sharing and exchange of experiences with the country’s leading businessmen and experts, and build up hands-on experiences from the program workshop, offsite visits, and most importantly, the Sandbox business matching for which EXIM Thailand has worked closely with Thailand Team in bringing Top X entrepreneurs to penetrate overseas markets, comprising the CLMV (Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam) and the Middle East. The actual trade and investment under the Sandbox and the extension from which are predicted to be as high as over 1,000 million baht in value from more than 50 pairs of negotiation partners. Entrepreneurs who have undergone and completed the program may apply for “EXIM Export Ready Credit,” a revolving credit facility with a maximum credit line of 5 million baht, a special interest rate starting from 3.50% p.a., a loan tenor of up to 3 years, and free! front-end fee. “EXIM Thailand is committed to expanding our cooperation with both public and private sectors to get Thai entrepreneurs fully armed to ensure their successful competition in the global markets, and consistently build new exporters through fill-up of knowledge, capital for all business cycles, and offline and online business networks and marketing channels. We will continue to develop the Top X Executive Program, Class 2, in 2023 to create trade ecosystem that would help drive Thailand’s export and economic growth in linkage with social and environmental development on a sustainable basis,” added Dr. Rak. November 26, 2022 Corporate Branding and Communication Department For further information, please contact Corporate Branding and Communication Department Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 4110-4
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62048
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดมหาดไทยย้ำ ทุกพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกมิติ จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีในครอบครัวและชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ปลัดมหาดไทยย้ำ ทุกพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกมิติ จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีในครอบครัวและชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน ปลัดมหาดไทยย้ำ ทุกพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกมิติ จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีในครอบครัวและชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 65 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า นับตั้งแต่รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานความมั่นคง ได้ประกาศสงครามกับยาเสพติด ทุกหน่วยงานได้ดำเนินการอย่างจริงจัง เฉียบขาด โดยเฉพาะด้านการปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิด การ Re X - Ray พื้นที่เป้าหมาย และกลุ่มเสี่ยงทุกพื้นที่ ซึ่งได้ปรากฏผลการจับกุมเป็นจำนวนมากตามที่ได้รายงานให้ทราบในทุกวัน สำหรับวันนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกหน่วยงานทุกพื้นที่ ก็ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงขอนำผลการดำเนินการมานำเสนอเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เเละผู้ที่คอยสนับสนุนเป็นกำลังสำคัญในความสำเร็จ โดยมีตัวอย่าง ดังนี้ 1.จังหวัดภูเก็ต ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.เสริมพันธุ์ ศิริคง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต นำโดย พ.ต.ท.พิชิต ทองโต หน.ชปส.ภ.จว.ภูเก็ต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ชปส.ภ.จว.ภูเก็ต จับกุมผู้ต้องหาคดีที่สำคัญ คือ การจับกุม นายกฤษดา หรือแดง อายุ 32 ปี ชาว จ.ภูเก็ต พร้อมด้วยของกลางยาไอซ์ น้ำหนักประมาณ 1003.5 กรัม หรือ 1.35 กิโลกรัม เฮโรอีน จำนวน 1 หลอด น้ำหนักประมาณ 0.04 กรัม โทรศัพท์มือถือและของกลางอื่นรวม 9 รายการ และตรวจยึดเพื่อตรวจสอบทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นซีบีอาร์ 650 สีดำแดง ติดแผ่นป้ายทะเบียน 3 ขจ 8558 กรุงเทพมหานคร มูลค่าประมาณ 150,000 บาท โดยจับกุมได้ที่ห้องแบ่งเช่า ห้องที่ 3 ซ.พูลผล 11 ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหา “จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ไอซ์, เฮโรอีน) โดยการมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต” และ “เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน หรือไอซ์, ยาบ้า) โดยผิดกฎหมาย” ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองภูเก็ต เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 2.จังหวัดสงขลา พล.ต.ท.นันทเดช ย้อยนวล ผบช.ภ.9 พล.ต.ต.วรา เวชชาภินันท์ ผบก.ก.จว.สงขลา นายพงศ์ธร ธรรมชาติ ผอ.ป.ป.ส.ภาค 9 สั่งการให้ พ.ต.อ.ธนวัต เส้งสุย ผกก.สส.ภ.จว.สงขลา/หน.ชปส.ภ.จว.สงขลา นำกำลังตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติดกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธร จ.สงขลา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ปปส.ภาค 9 เข้าตรวจค้นภายในบ้านเช่าเลขที่ 6/2 ม.5 ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา หลังจากสืบทราบว่าถูกใช้เป็นที่พักยาบ้าล็อตใหญ่เพื่อรอกระจายส่งให้กับลูกค้า โดยสามารถจับกุม นายอธิวัฒน์ อายุ 27 ปี หรือโอม ชาว ต.บ้านหาร อ.บางกล่ำ จ.สงขลา จากการตรวจค้นภายในบ้านเช่า พบยาบ้า 4 แสนเม็ด มูลค่า 12 ล้านบาท ซุกซ่อนอยู่ในกล่องพัสดุ 2 กล่อง จากการสอบสวน นายอธิวัฒน์ ให้การว่า เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ได้รับการว่าจ้างจากนายเอ้ ไม่ทราบชื่อจริง โดยติดต่อผ่านไลน์ ให้ไปรับยาบ้า 4 กล่อง รวม 8 แสนเม็ด ที่ถูกส่งมาทางพัสดุกับทางบริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง ย่านถนนรัถการ อ.หาดใหญ่ โดยไปช่วยกันขนกับนายสรานนท์ หรือแม็กซ์ ด้วยรถกระบะสองคันและนำมาเก็บไว้ในบ้านเช่า ในช่วงเย็นวันเดียวกันได้รับใบสั่งให้นำยาบ้า 2 กล่อง รวม 4 แสนเม็ด ไปส่งให้กับลูกค้าโดยนำไปวางไว้ริมโคนเสาไฟฟ้าข้างป่าช้าหนองลิง ป่าช้าหนองลิง ต.บ้านหาร อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นและจับกุม ซึ่งเจ้าหน้าที่จะดำเนินการขยายผลการจับกุมต่อไป 3.จังหวัดปทุมธานี ตำรวจ สภ.คลองหลวง จับกุมนายวรรณะ อายุ 43 ปี ชาว จ.ลพบุรี พร้อมของกลาง รถจยย.ยามาฮ่า มีโอ ไม่ติดป้ายทะเบียน ยาบ้า 99 เม็ด ได้ที่ถนนพหลโยธินขาออก ช่องทางคู่ขนาน หน้าตู้จราจร ใต้ต่างระดับบางขัน ม.7 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ระหว่างที่ตำรวจตั้งด่านบริเวณถนนพหลโยธินขาออกใต้ต่างระดับบางขัน ช่องทางคู่ขนานพบคนขับรถจยย. ไม่สวมหมวกนิรภัยและไม่ติดป้ายทะเบียนจึงเรียกตรวจสอบ ตรวจค้นตัวพบยาบ้าบรรจุอยู่ในถุงยาเส้น ซึ่งผู้ขับขี่ถือไว้ในมือ จึงจับกุมตัวพร้อมของกลางนำตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป 4.จังหวัดตรัง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จังหวัดตรังเดินหน้ามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยได้เร่งปฏิบัติการ “กวาดบ้านตัวเองให้สะอาด” ทำการตรวจปัสสาวะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และอาสาสมัครรักษาดินแดน ไปแล้ว 10 อำเภอ จำนวน 1,934 คน พบสารเสพติดในปัสสาวะของบุคลากรภาครัฐ จำนวน 3 ราย เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ในอำเภอรัษฎา จำนวน 1 ราย และอำเภอวังวิเศษ 2 ราย ซึ่งได้ให้ออกจากราชการไปเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการสุ่มตรวจปัสสาวะในนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาต่าง ๆ จำนวน 569 ราย ใน 10 อำเภอ พบสารเสพติดในปัสสาวะ 36 ราย ซึ่งจะได้มีการจัดทำข้อมูล พร้อมหารือร่วมกับผู้ปกครองในการนำเด็กเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ตามระบบสมัครใจ การนำเข้าสู่กระบวนการจิตสังคมบำบัดในสถานศึกษา และค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไป นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่อว่า นอกจากมาตรการด้านการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิด การ Re X - Ray กลุ่มเสี่ยง / พื้นที่เป้าหมายเพื่อหาผู้กระทำผิดและนำตัวผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษา รวมทั้ง ปฏิบัติการ "กวาดบ้านตัวเองให้สะอาด" ในการตรวจสอบบุคลากรภาครัฐไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว กระทรวงมหาดไทยได้เน้นย้ำให้ทุกพื้นที่เร่งจัดกิจกรรมเสริมแรงบวกในการต่อต้านยาเสพติดต่าง ๆ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การจัดการแข่งขันกีฬา การจัดกิจกรรม TO BE NUMBER ONE และกิจกรรมนันทนาการอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้คนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในการป้องกันยาเสพติดไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับลูกหลานของเรา ซึ่งจะขอยกตัวอย่างในบางพื้นที่ดังนี้ เช่น 1.จังหวัดพิจิตร นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในนามจังหวัดพิจิตร โดยนายแพทย์วิศิษฏ์ อภิสิทธิ์วิทยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ในนามของชมรมทูบีนัมเบอร์วันจังหวัดพิจิตร ได้จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำ PHICHIT TO BE NUMBER ONE CAMP รุ่นที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้วัยรุ่นและเยาวชน ช่วงอายุ 6-24 ปี มีพื้นที่ในการแสดงความสามารถ ด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา รวมถึงฝึกฝนทักษะการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งจะนำไปสู่การมีภูมิคุ้มกันด้านจิตใจสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อโลกและเหตุการณ์ ในยุคปัจจุบัน โดยมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 112 คน และจบหลักสูตรจำนวน 112 คน โดยจัดฝึกอบรมที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า CK Convention Hall อำเภอเมืองพิจิตร โดยการจัดค่ายดังกล่าวนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีองค์ความรู้ระดับประเทศ มาสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อดึงศักยภาพของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ที่สามารถพัฒนาต่อยอดโดยการสนับสนุนของจังหวัดพิจิตร มุ่งหวังให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพและห่างไกลยาเสพติด ตามเจตนารมย์ของโครงการได้อย่างดียิ่ง 2.จังหวัดแพร่ นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอสูงเม่น จ.แพร่ พร้อมด้วย นางชลธิชา ฟูบินทร์ นายกกิ่งกาชาด อ.สูงเม่น / ประธานแม่บ้านมหาดไทย อ.สูงเม่น เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันกีฬา อ.สูงเม่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสัมพันธ์ ลานกีฬาต้านยาเสพติด “มิตรภาพเหนือการแข่งขัน” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย สร้างความสมัครสมานสามัคคีในหน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานท้องที่ และเป็นการสร้างภูมิต้านทานโรค รวมถึงเป็นการสร้างความสุขทางด้านจิตใจ ตลอดจนถึงให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ ในการป้องกันปัญหายาเสพติดของ อ.สูงเม่น โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ อ.สูงเม่น เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนบ้านหัวดง ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น จ.แพร่ 3.จังหวัดจันทบุรี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน “อัศวินยกทัพ Running วิ่งกู้ชาติ” ที่มูลนิธิผึ้งหลวงอัศวินร่วมกับจังหวัดจันทบุรีจัดขึ้นบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก มีบรรดานักวิ่งทั้งประเภทสมัครเล่น และอาชีพจากทั่วประเทศกว่า 1,000 คน เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มนักวิ่งส่วนใหญ่มากันเป็นคณะจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ และมีผู้ติดตามร่วมเดินทางเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวในพื้นที่ สามารถปลุกกระแสการท่องเที่ยวที่ไปกับการแข่งขัน นับว่าเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่พัก ที่กิน ที่เที่ยว ในช่วงปลายปีนี้ของจันทบุรีให้มีชีวิตชีวาได้มากขึ้นโดยการแข่งขันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือฟันรัน (Fun Run) 5 กิโลเมตร และ ซิตี้รัน (City Run) 10 กิโลเมตร ใช้เส้นทางรอบอู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชวิ่งผ่านหมู่บ้านเสม็ดงาม ที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมทอเสื่อกกอันเลื่องชื่อ และวนกลับมาเลียบทะเลบริเวณหน้าอู่ต่อเรือฯ เป็นอันจบเส้นทางของการแข่งขัน 4.จังหวัดสุรินทร์ นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดโครงการ 1 จังหวัด 1 Sport Event กิจกรรม ปั่นจักรยานเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยกิจกรรมดังกล่าวใช้เส้นทางหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ในระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรโดยเริ่มปล่อยขบวนที่บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (สวนใหม่) และพักครึ่งทางที่องค์การบริหารส่วนตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และที่หมู่บ้านช้างเป็นจุดเส้นชัย จากนั้นรับเหรียญรางวัลเป็นของที่ระลึกมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 200 คน "ขอขอบคุณอีกครั้ง และเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุก ๆ หน่วยงาน ภาคีเครือข่าย รวมทั้งประชาชนจิตอาสาต่าง ๆ ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เห็นผลได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถึงแม้ว่าในวันนี้ พวกเราจะยังไม่สามารถเอาชนะยาเสพติดได้อย่างเด็ดขาด แต่ถ้าหากพวกเราทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน พี่น้องประชาชนทุกคน ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เป็นหูเป็นตาช่วยแจ้งเบาะแส โดยเฉพาะครอบครัวซึ่งเป็นระดับที่เล็กที่สุด แต่ก็สำคัญที่สุด ที่ต้องสร้างความอบอุ่น สร้างความรักให้กับลูกหลาน หมั่นจัดกิจกรรมภายในบ้านให้ลูกหลานได้พูดคุย พบปะกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เช่น ร่วมกันปลูกผักสวนครัว ช่วยกันรณรงค์แยกขยะ ชุมชนก็จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น การช่วยกันดูแลชุมชนต่าง ๆ อำเภอและจังหวัดก็จัด กีฬา กิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะให้ประชาชน เด็กและเยาวชน ได้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย ทั้งนี้ ได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนเครือข่ายต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับพี่น้องประชาชน เพื่อช่วยกันรังสรรค์กิจกรรมเหล่านี้ขึ้นบ่อย ๆ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญในปฏิบัติการป้องกันเเละแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวทิ้งท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62059
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงขยายทางหลวงหมายเลข 304 สายอำเภอบางคล้า - อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตอน 1 แล้วเสร็จ
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 กรมทางหลวงขยายทางหลวงหมายเลข 304 สายอำเภอบางคล้า - อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตอน 1 แล้วเสร็จ 8 ช่องจราจร รองรับโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม โดยสำนักก่อสร้างทางที่ 2 ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 304 สายฉะเชิงเทรา - ตำบลเขาหินซ้อน ตอน อำเภอบางคล้า - อำเภอพนมสารคาม ตอน 1 แล้วเสร็จ จากทั้งหมด 3 ตอน คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้ง 3 ตอน ในปี 2566 ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการเพิ่มศักยภาพสายทางพร้อมทั้งสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น 1 ใน 3 จังหวัดที่อยู่ในโครงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยประสิทธิภาพของพื้นที่และความพร้อมต่าง ๆ จึงมีนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนจำนวนมากเพื่อเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้นและโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 304 เป็นอีกหนึ่งในโครงการที่ ทล. เล็งเห็นความจำเป็นที่จะดำเนินการก่อสร้างใหม่ประกอบกับผิวทางหลวงชำรุดเป็นช่วง ๆ รวมทั้งในปัจจุบันมีปริมาณการจราจรเพิ่มสูงขึ้น ทล. ดำเนินการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 304 สายฉะเชิงเทรา - ตำบลเขาหินซ้อน ตอน อำเภอบางคล้า - อำเภอพนมสารคามตอน 1 ระหว่าง กม. ที่ 81 - 85 ระยะทางยาวประมาณ 4 กิโลเมตร จากมาตรฐานเดิม 4 ช่องจราจร เป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 8 ช่องจราจร ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด 8 ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ 4 ช่องจราจร) ผิวทางแบบคอนกรีต ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร ด้านในกว้าง 1.5 เมตร แบ่งทิศทางการจราจรด้วยเกาะกลาง พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างตลอดเส้นทาง งบประมาณ 634,789,200 บาท โดยรูปแบบรองรับโครงการฯทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านใต้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้การคมนาคมขนส่งมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจร ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของจังหวัด รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเปิดประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ทล. ขอความร่วมมือผู้ใช้ทางปฏิบัติตาม “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามเส้นทางการเดินทางได้ที่สายด่วน ทล. โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62056
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-The cabinet met on November 22, 2022
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 The cabinet met on November 22, 2022 The cabinet met on November 22, 2022. Some of the resolutions are as follows: Title: Draft Ministerial Regulation on Thai Industrial Standard for Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers having a maximum quantity of oil exceeding 5 l, but not exceeding 12 l and Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers including pressurized types with a pressure not exceeding 50 kPa and a pressure volume litres product not exceeding 200, B.E. … The cabinet approved in principle the draft Ministerial Regulation on Thai Industrial Standard for Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers having a maximum quantity of oil exceeding 5 l, but not exceeding 12 l and Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers including pressurized types with a pressure not exceeding 50 kPa and a pressure volume litres product not exceeding 200, B.E. …, as proposed by Ministry of Industry. Gist The draft Ministerial Regulation on Thai Industrial Standard for Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers having a maximum quantity of oil exceeding 5 l, but not exceeding 12 l and Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers including pressurized types with a pressure not exceeding 50 kPa and a pressure volume litres product not exceeding 200, B.E. …, prescribes Thai Industrial Standard for Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers having a maximum quantity of oil exceeding 5 l, but not exceeding 12 l and Doughnut Fryers and Deep Fat Fryers including pressurized types with a pressure not exceeding 50 kPa and a pressure volume litres product not exceeding 200 to be in accordance with TIS 60335 (Book 2) (37)- B.E. 2564. The draft Ministerial Regulation shall take effect 180 days after being announced in the Royal Gazette. Title: Request for use of Government’s central fund for contingency and emergency for election of members of National Farmers Council and Provincial Farmers Council, Fiscal Year B.E. 2066 The cabinet approved the use of Government’s central fund for contingency and emergency, at the total amount of 540,714,700 Baht for the election of members of National Farmers Council and Provincial Farmers Council, Fiscal Year B.E. 2066, as proposed by National Farmers Council. Title: Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET The cabinet approved the following proposals made by Ministry of Natural Resources and Environment: Approved Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET Approved the official consent letter, and authorized Director-General of the Pollution Control Department as signatory of the official consent letter Assigned Ministry of Foreign Affairs to issue the Full Powers for the signatory Should there be an amendment of the Approved Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET in parts that are not gist nor against the law and national interest, Ministry of Natural Resources and Environment may proceed without having to resubmit to the cabinet. EANET member countries (China, Indonesia, Japan, Malaysia, Mongolia, Philippines, South Korea, Russia, Vietnam, Thailand, Cambodia, Lao PDR, and Myanmar) shall report the approval of Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET at the 24th Intergovernmental Meeting (IG24) held during November 24-25, 2022 in Manila, Republic of the Philippines. Title: draft outcome document of the 22nd Indian Ocean Rim Association (IORA) Council of Ministers (COM) Meeting The cabinet approved the draft outcome document of the 22nd Indian Ocean Rim Association (IORA) Council of Ministers (COM) Meeting, to be held on November 24, 2022 in Dhaka, Bangladesh. The document to be adopted at the 22nd IORA COM is the Dhaka Communique, of which the gist is as follows: Acknowledged accomplishments made by various mechanisms under IORA that aim to promote post COVID-19 economic recovery and climate actions, i.e., 1) Indonesia’s drafting of Strategic Framework for Marine Debris Action in the Indian Ocean, and France’s development of the guideline to prevent importation of illegal fishing products into supply chains of IORA member countries; 2) signing of MOUs between IORA and other organizations to deepen cooperation in the areas of mutual interest. Partner organizations include Coalition for Disaster Resilient Infrastructure (CDRI), International Seabed Authority (ISA), and the Indian Ocean Commission (IOC); and 3) Extension of the MOU between IORA and Non-Aligned Movement (NAM) S&T Center for another 3 years. Acknowledged IORA Gender Pledge on International Women's Day 2022 which is aimed to promote gender equality, on par with the international standard, through making the best efforts to achieve and maintain an average of 40:40:20 women to men attendance ratio across all IORA meetings, activities and events by 2030 Accepted Saudi Arabia as IORA’s 11th dialogue partner The Indian Ocean Rim Association (IORA), established in 1995, is an international organization consisting of 23 states bordering the Indian Ocean, namely, Australia, Bangladesh, Comoros, France, India, Indonesia, Iran, Kenya, Madagascar, Malaysia, Maldives, Mauritius, Mozambique, Oman, Seychelles, Singapore, Somalia, South Africa, Sri Lanka, Tanzania, Thailand, United Arab Emirates, and Yemen, with 10 dialogue partners: China, Egypt, Germany, Italy, Japan, South Korea, Russia, Turkey, United Kingdom, and United States. IORA’s priority areas are: 1) Maritime Safety and Security; 2) Trade & Investment Facilitation; 3) Fisheries Management; 4) Disaster Risk Management; 5) Tourism and Cultural Exchanges; and 6) Academic, Science & Technology. The Dhaka Communique is relevant with Thailand’s policy to promote post-COVID-19 economic recovery and interaction with IORA member countries and dialogue partners, which will contribute to the country’s endeavor for sustainable development in the areas of marine economic development, marine connectivity, sustainable fisheries, and women’s economic empowerment.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62045
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลโปรโมทท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้ ชาวนราธิวาสชวนคนไทย “หยิบหมอก หยอกเมฆ และแสงแรกแห่งปี” “เช็คอินกับเสาธงชาติไทยปลายด้ามขวาน” นายก ฯ มุ่งเป้าสร้างสันติสุขชายแดนใต้
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 รัฐบาลโปรโมทท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้ ชาวนราธิวาสชวนคนไทย “หยิบหมอก หยอกเมฆ และแสงแรกแห่งปี” “เช็คอินกับเสาธงชาติไทยปลายด้ามขวาน” นายก ฯ มุ่งเป้าสร้างสันติสุขชายแดนใต้ รัฐบาลโปรโมทท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้ ชาวนราธิวาสชวนคนไทย “หยิบหมอก หยอกเมฆ และแสงแรกแห่งปี” “เช็คอินกับเสาธงชาติไทยปลายด้ามขวาน” นายก ฯ มุ่งเป้าสร้างสันติสุขชายแดนใต้ผ่าน Soft Power วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เปิดเผยว่า ตามนโยบายพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเป้าการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ผ่านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างอาชีพ และรายได้แก่ประชาชน โดยการส่งเสริม Soft Power ทั้งแหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรม อาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น นับเป็นจุดขายที่มีอัตลักษณ์ และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมาเลเซีย นางสาวรัชดากล่าวว่า จากที่ได้ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาสพร้อมกับเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 26-27 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน พบว่า ประชาชนมีความต้องการและพร้อมร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยกระดับสินค้าชุมชนเพื่อให้เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเชื่อมั่นว่าสันติสุข เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนได้และรัฐบาลมาถูกทางแล้ว สำหรับการโปรโมท Soft Power นั้น รัฐบาลได้มีแผนครอบคลุมทุกด้าน อย่างจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีสังคมพหุวัฒนธรรม เช่น วัดชลธาราสิงเห หรือวัดปกป้องแผ่นดินไทย มัสยิดเก่าแก่ “ตะโละมาเนาะ” ขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอย่างมาก ศอ.บต. และจังหวัด ยังเพิ่มจุดขายการท่องเที่ยว อาทิ “ชมแสงแรกแห่งปีที่เกาะยาว” อ.ตากใบ เนื่องจากต้นฤดูหนาวของวันขึ้นปีใหม่แกนโลกจะเอียงไปทางขวามากที่สุดในรอบปี จนทำให้เกิดเป็นปรากฎการณ์แสงแรกของพระอาทิตย์ที่ขึ้นเป็นที่แรกของประเทศไทย และ “ชมหมอก หยอกเมฆที่สุคิริน” “เดินป่าฮาลา-บาลา” “เช็คอินกับเสาธงชาติไทยปลายด้ามขวาน” เป็นต้น “นายกรัฐมนตรีติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างใกล้ชิด และเชื่อมั่นในโอกาสแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างมั่นคง ผ่านการส่งเสริม Soft power ที่ครอบคลุม การท่องเที่ยว สังคมพหุวัฒนธรรม ความงามของธรรมชาติ อาหาร และกิจกรรมกีฬา เป็นต้น อีกทั้ง ท่านนายกฯยังได้ส่งกำลังใจไปยังพี่น้องประชาชน เจ้าหน้าที่ และภาคส่วนต่างๆที่ได้ร่วมมือกันในการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ด้วยกันเป็นอย่างดี โดยย้ำถึงการดำเนินการทุกด้านต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม เพื่อความอยู่ดี กินดี และสันติสุขของประชาชน” นางสาวรัชดา กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62055
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ. เปิดงานการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนามุสลิมยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมไทยสู่สันติสุข
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 วธ. เปิดงานการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนามุสลิมยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมไทยสู่สันติสุข วธ. เปิดงานการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนามุสลิมยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมไทยสู่สันติสุข วธ. เปิดงานการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนามุสลิมยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมไทยสู่สันติสุข วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00 น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายจากนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ในฐานะผู้เเทนนายกรัฐมนตรีให้เป็นประธานในพิธีเปิดงาน การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนาอิสลามยุคใหม่ (Muslim Thai Leader 2022)พร้อมมอบโล่เกียรติคุณแก่ผู้สนับสนุนการจัดงานและการประกวดภาพถ่ายเมืองไทยเมืองพหุวัฒนธรรม โดยมี นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม สถาบันพัฒนาผู้นำศาสนาอิสลาม ผู้แทนองค์การศาสนา แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนเข้าร่วม ณ โรงแรม อัล มีรอซ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่น ต่างเกื้อกูลบูรณาการภารกิจเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมในเรื่องส่วนรวม โดยเฉพาะในเรื่องของศาสนาและการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้ครอบคลุมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศักยภาพสังคมมนุษย์ การพัฒนาคุณธรรม ความดีงาม และจิตสาธารณะ โดยมีแนวคิดสำคัญในประเด็นที่ว่า “อะไรก็ตามที่เป็นเรื่องส่วนรวมจะเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือ การช่วยเหลือสนับสนุน” ทั้งนี้ พลังบูรณาการทางสังคมพหุวัฒนธรรมได้สะท้อนภาพลักษณ์ของพลังความร่วมมือและสังคมสมานฉันท์ว่าไม่เคยหดหายไปจากประเทศไทย ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมหรือท้องถิ่นใด นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร กล่าวต่อไปว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ได้สนับสนุนให้สำนักจุฬาราชมนตรี จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนาอิสลามยุคใหม่ เพื่อให้ผู้นำศาสนามีศักยภาพในการบริหารองค์กรและชุมชน และทำให้ศาสนิกชนที่มีความเชื่อถือในหลักศาสนาที่แตกต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจอันดี โดยผู้อบรมเป็นผู้นำศาสนาอิสลามจากทั่วประเทศ ซึ่งหลังจากอบรมแล้ว สามารถที่จะนำความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ควบคู่กับหลักธรรมทางศาสนา ในการขับเคลื่อนองค์กรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพ มีความพอเพียง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ สอดคล้องกับนโยบายกรมการศาสนา ในการขับเคลื่อนศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิกชนต่างศาสนา และมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโลกปัจจุบัน และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมในมุมมองของต่างศาสนิก ที่จะนำสร้างความสันติสุขในสังคมและประเทศชาติ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความมุ่งมั่นในการบริหารประเทศ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและความมีสุข โดยกระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา ได้นำนโยบายของรัฐบาลมาขับเคลื่อนงานด้านศาสนาและการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ทั้ง 5 ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์ โดยทำงานร่วมกับองค์กรศาสนาต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาผู้นำศาสนาอิลสาม ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทำงานและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมงานสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติตามหลักธรรมตามศาสนาที่ตนเองนับถือ สอดคล้องกับแผนส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ด้านความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู ซึ่งจะทำให้ประชาชนในสังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขอย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62084
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.เฮ้ง ส่ง‘ที่ปรึกษา’เปิดอบรมอาสาสมัครแรงงาน สร้างเครือข่ายขจัดยาเสพติดในสถานประกอบการ
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 รมว.เฮ้ง ส่ง‘ที่ปรึกษา’เปิดอบรมอาสาสมัครแรงงาน สร้างเครือข่ายขจัดยาเสพติดในสถานประกอบการ รมว.เฮ้ง ส่ง‘ที่ปรึกษา’เปิดอบรมอาสาสมัครแรงงาน สร้างเครือข่ายขจัดยาเสพติดในสถานประกอบการ วันที่28พฤศจิกายน2565นายสุชาติชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมอบหมายให้นางธิวัลรัตน์อังกินันทน์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครแรงงานในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปีงบประมาณพ.ศ.2566โดยมีหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบุรีและอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีร่วมให้การต้อนรับณห้องประชุมยงค์นพคุณสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรีตำบลธงชัยอำเภอเมืองเพชรบุรีจังหวัดเพชรบุรี นางธิวัลรัตน์กล่าวว่ารัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกระทรวงได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและในวันนี้ท่านสุชาติชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงได้มอบหมายให้ดิฉันมาเป็นประธานเปิดการอบรมให้กับอาสาสมัครแรงงานซึ่งเป็นเสมือนฟันเฟืองขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงแรงงานไปสู่ประชาชนในพื้นที่เนื่องจาก‘ปัญหายาเสพติด’เป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศกระทรวงแรงงานถือเป็นหน่วยงานหลักในระดับนโยบายในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการจึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดสิ้นไปเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชน “การจัดอบรมในวันนี้เป็นอีกภารกิจหนึ่งในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในสถานประกอบการของอาสาสมัครแรงงานที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเบื้องต้นระหว่างแรงงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างต่ำกว่า10คนลงมากับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการป้องกันยาเสพติดซึ่งเปรียบอาสาสมัครแรงงานเสมือนดินแต่ละเม็ดที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวทำงานด้านการป้องกันยาเสพติดถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีพระราชดำรัสห่วงใยประชาชนเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดให้หมดไปในแผ่นดินของเรา”นางธิวัลรัตน์กล่าวท้ายสุด สำหรับโครงการดังกล่าวสำนักงานแรงงานจังหวัดเพชรบุรีได้จัดขึ้นเพื่ออบรมให้แก่อาสาสมัครแรงงานแกนนำระดับตำบลเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการโรงงานสีขาวมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ(มยส.)และโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการTO BE NUMBER ONEสามารถให้ความรู้คำปรึกษาแนะนำเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่นายจ้าง/ลูกจ้างในสถานประกอบการรวมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนสถานประกอบการและแรงงานนอกระบบให้เห็นความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านอาสาสมัครแรงงานอันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานที่ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จากนั้นที่ปรึกษารัฐมนตรีฯยังได้เป็นประธานในพิธีมอบประกาศเกียรติคุณเครือข่าย“บวร”แก่กลุ่มสมาชิกบ้านวัดโรงเรียนและโรงงานดีเด่นประจำปี2565ของจังหวัดเพชรบุรีที่ทำประโยชน์ต่อสังคมในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านประกันสังคมและร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบรถยนต์และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับวัดและวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในศาสนกิจของวัดและเพื่อการศึกษาของพระภิกษุสามเณรณห้องประชุมยงค์นพคุณสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรีตำบลธงชัยอำเภอเมืองเพชรบุรีจังหวัดเพชรบุรีด้วย +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 28พฤศจิกายน2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62065
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตร – สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (USABC)
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 กระทรวงเกษตร – สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (USABC) กระทรวงเกษตร – สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (USABC) หารือความร่วมมือทางด้านการเกษตรและนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนายไมเคิล มิคาลัค รองประธานกรรมการอาวุโสและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาค สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (US-ASEAN Business Conncil : USABC) พร้อมด้วย นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ และผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า USABC และภาคเอกชนสหรัฐได้เข้ารับทราบข้อมูลนโยบายเกษตรของไทยและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้นำหลัก 5 ยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาด้านการเกษตรของไทยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาล ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 2.ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 3. ยุทธศาสตร์ 3S คือ Safety-Security-Sustainability 4. ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน และ 5.ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวศาสตร์พระราชา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตร รวมถึงความร่วมมือเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรสู่ระบบอาหารและเกษตรที่ยั่งยืน สำหรับการหารือในวันนี้ กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูล Big Data ด้านการเกษตรมาใช้ การส่งเสริมตลาด E-Commerce และการสนับสนุนและผลักดันสินค้าสู่ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) รวมถึงการสร้าง Young Smart Farmer เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้เป็น Smart Production ให้มีคุณภาพสูงและปลอดภัย เพื่อรองรับเกษตร 4.0 ซึ่งภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรและหากมีความร่วมมือระหว่างกัน ก็จะเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน นายนราพัฒน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมผสมผสานภูมิปัญญา ยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่ง BCG Model เป็นหัวใจหลักในการประชุมระดับผู้นำเอเปคที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทั้งนี้ หวังว่าภาคเอกชนสหรัฐฯ จะร่วมสนับสนุน BCG model ตามเป้าหมายร่วมกันของเอเปค 2022 และสานต่อในวาระการเป็นเจ้าภาพเอเปคของสหรัฐฯ ในปี 2023 ทั้งนี้ ภาคเอกชนสหรัฐฯ แสดงความชื่นชมการดำเนินการของไทย และพร้อมที่จะสนับสนุนเทคโนโลยีนวัตกรรมและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องในด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ให้การดำเนินงานตามนโยบายด้านเกษตรบรรลุผล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62081
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการ จอดรถฟรี 5 วัน ณ ลานจอดรถระยะยาวโซน C ระหว่างวันที่ 2 - 6 ธันวาคม 2565
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการ จอดรถฟรี 5 วัน ณ ลานจอดรถระยะยาวโซน C ระหว่างวันที่ 2 - 6 ธันวาคม 2565 ... ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดให้ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการ จอดรถฟรี 5 วัน ณ ลานจอดรถระยะยาวโซน C ระหว่างวันที่ 2 - 6 ธันวาคม 2565 ช่วงวันหยุดยาววันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ยกเว้นอัตราค่าบริการจอดรถ ณ ลานจอดรถระยะยาว (Long Term Parking) โซน C ซึ่งสามารถรองรับได้จำนวน 718 คัน ทั้งนี้ ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการสามารถนำรถยนต์เข้ามาจอดฟรี ระหว่างวันที่ 2 - 6 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2565 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 5 วัน ทั้งนี้ ทสภ. ได้จัดรถ Shuttle Bus สาย A วิ่งให้บริการรับ - ส่งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ ระหว่างลานจอดรถระยะยาวโซน C และอาคารผู้โดยสารทุกๆ 15 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยรถ Shuttle Bus สาย A จะเริ่มวิ่งจากศูนย์การขนส่งสาธารณะ (Public Transportation Center) ไปยังลานจอดรถระยะยาวโซน C และแวะจอดรับ – ส่งตามจุดต่างๆ ก่อนจะไปจอดที่อาคารผู้โดยสารบริเวณ ชั้น 1 ประตู 3 และประตู 8 จากนั้นจะวนไปที่ลานจอดรถระยะยาวโซน A และกลับเข้าสู่ศูนย์การขนส่งสาธารณะ ทสภ. ขอความร่วมมือผู้โดยสารที่เดินทางในเที่ยวบินระหว่างประเทศควรเผื่อเวลาก่อนการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง และเที่ยวบินภายในประเทศควรเผื่อเวลาก่อนการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง หากผู้โดยสารต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการอาคารจอดรถยนต์ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2132 9511 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ AOT Contact Center หมายเลขโทรศัพท์ 1722 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62076
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2565
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2565 เศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค.2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณทรงตัวจากเดือนก่อน “เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณทรงตัวจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอย่างใกล้ชิด” นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2565 ว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณทรงตัวจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอย่างใกล้ชิด” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนตุลาคม 2565 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 16.2 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -7.9 ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือนตุลาคม 2565 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -2.4 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 2.6 สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนตุลาคม 2565 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -5.4 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนตุลาคม 2565 ขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 18.3 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนตุลาคม 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.1 จากระดับ 44.6 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวลในเรื่องค่าครองชีพที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม 2565 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 1.4 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -14.5 สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนตุลาคม 2565 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -5.7 และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -2.9 ขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 12.0 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -7.1 มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ 21,772.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันที่ร้อยละ -4.4 และหากพิจารณาเฉพาะมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง ทองคำ และยุทธปัจจัย พบว่า ลดลงร้อยละ -2.8 เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะลอลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมเงินทั่วโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สินค้าส่งออกของไทยลดลง อย่างไรก็ดี สินค้าส่งออกที่ยังขยายตัว ได้แก่ สินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารสัตว์เลี้ยง และข้าว โดยขยายตัวร้อยละ 26.3 4.8 และ 2.8 ตามลำดับ สอดคล้องกับสินค้าเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่ขยายตัวร้อยละ 90.6 และ 8.5 ตามลำดับ 2 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามอุปสงค์ที่ชะลอตัวของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดี ตลาดที่ยังคงขยายตัว ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย ตลาด CLMV และสหราชอาณาจักร ขยายตัวที่ร้อยละ 18.8 10.6 และ 3.7 ตามลำดับ สอดคล้องกับกลุ่มตลาดอื่น ๆ ขยายตัวได้ดี อาทิ ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 103.5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้า ในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 22,368.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ -2.2 ทำให้ดุลการค้าขาดดุลที่ -596.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนตุลาคม 2565 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.0 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 1.1 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ โดยเฉพาะผลผลิตสุกร และไก่เนื้อ และสินค้าในหมวดไม้ผลเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม 2565 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 93.1 จากระดับ 91.8 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อการผลิตและส่งออกสินค้าในระยะต่อไป สำหรับภาคบริการด้านการท่องเที่ยวในเดือนตุลาคม 2565 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวม จำนวน 1.48 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 7,178.2 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -11.2 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย อินเดีย ลาว เกาหลีใต้ และเวียดนาม ตามลำดับ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ในเดือนตุลาคม 2565 จำนวน 17.7 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 285.0 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -18.8 เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยปัจจัยกดดันจากระดับราคาสินค้าเริ่มปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.98 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 3.17 ส่วนสัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 60.4 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ในเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 0.47 ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งหมด สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับที่มั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 อยู่ในระดับสูงที่ 201.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62070
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ แนะนำหนังสือ “ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21 : Capital in the Twenty-First Century” อธิบายเศรษฐศาสตร์จากการรวบรวมข้อมูล ซึ่งใช้เวลาเก็บข้อมูลยาวนาน จากกว่า 20 ประเทศ
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ​โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ แนะนำหนังสือ “ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21 : Capital in the Twenty-First Century” อธิบายเศรษฐศาสตร์จากการรวบรวมข้อมูล ซึ่งใช้เวลาเก็บข้อมูลยาวนาน จากกว่า 20 ประเทศ ​โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ แนะนำหนังสือ “ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21 : Capital in the Twenty-First Century” อธิบายเศรษฐศาสตร์จากการรวบรวมข้อมูล ซึ่งใช้เวลาเก็บข้อมูลยาวนาน จากกว่า 20 ประเทศ วันนี้ (28 พฤศจิกายน 2565) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แนะนำหนังสือ”ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21 : Capital in the Twenty – First Century” เขียนโดย Thomas Piketty (โทมัส พิเก็ตตี) นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอธิบายว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลว่ากลไกอะไรที่ทำให้คนเรามีทุนไม่เท่ากัน ทำไมคนรวยรวยมากขึ้น โดยโทมัสใช้วิธีรวบรวมข้อมูลเป็นเวลายาวนาน ซึ่งรวบรวมทั้งข้อมูลด้านภาษี เงินเดือน รายได้ประชาชาติ ความมั่งคั่ง ผลตอบแทนรายปีของทุน ฯลฯ ครอบคลุมเวลาทั้งสิ้น 3 ศตวรรษ (ศตวรรษที่ 18 – ต้นศตวรรษที่ 21) จากมากกว่า 20 ประเทศ เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำมาสังเคราะห์ และค้นหาแบบแผนทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการใช้ข้อมูลมากที่สุด ในช่วงเวลาที่นานมากที่สุด และในระดับที่ใหญ่ที่สุด โฆษกรัฐบาลกล่าวเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้คือ การตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับการกระจายความมั่งคั่ง และจริงหรือไม่ที่พลวัตของการสะสมทุนเอกชนจะทำให้ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ในมือคนจำนวนน้อยลง หรือความสมดุลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การแข่งขัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะลดความเหลื่อมล้ำจนนำไปสู่ความกลมกลืนทางชนชั้นได้ในที่สุดใช่หรือไม่ รวมทั้งมีบทเรียนหรือความรู้อะไรบ้างที่ได้รู้จากวิวัฒนาการของความมั่งคั่งและรายได้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นคำถามที่พยายามตอบโดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเชิงเปรียบเทียบ “นายกรัฐมนตรีอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองเสมอ โดยเชื่อมั่นในการอ่าน ศึกษาเพิ่มเติมว่าจะช่วยพัฒนาระบบคิด ที่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล โดยหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวโยงถึงอดีต มุ่งเน้นไปที่ปัญหาเรื่องการกระจายความมั่งคั่งและรายได้ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล ผ่านการศึกษาอย่างมีระบบ และแบบแผน นำมาวิเคราะห์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าจะเป็นตัวอย่างที่ต่อยอดแสวงหาทางออกในการแก้ไขปัญหาได้ โดยนายกรัฐมนตรีแนะนำหนังสือเล่มนี้ ให้เป็นหนังสือที่เพิ่มพูนความรู้ มุมมอง และแนวคิดแก่ผู้อ่าน เชื่อว่าอ่านแล้วได้ประโยชน์ นำมาประยุกต์ใช้ได้จริง” นายอนุชาฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62074
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ทิพานัน" เชิญชวนชาวภูเก็ต-ประชาชนทั่วประเทศส่งแรงใจเชียร์ไทยให้ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ Specialised Expo 2028 หวังดึงทั่วโลกมาเที่ยว สร้างงาน สร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 "ทิพานัน" เชิญชวนชาวภูเก็ต-ประชาชนทั่วประเทศส่งแรงใจเชียร์ไทยให้ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ Specialised Expo 2028 หวังดึงทั่วโลกมาเที่ยว สร้างงาน สร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย "ทิพานัน" เชิญชวนชาวภูเก็ต-ประชาชนทั่วประเทศส่งแรงใจเชียร์ไทยให้ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ Specialised Expo 2028 หวังดึงทั่วโลกมาเที่ยว สร้างงาน สร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สนับสนุนให้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดงาน Specialised Expo 2028 เพื่อการพัฒนาและต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เกิดการจ้างงานที่จะส่งผลให้จีดีพีเติบโตขึ้น รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลักดันบทบาทของประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ Medical hub และเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก หลังจากที่ไทยได้แสดงศักยภาพในการจัดงานระดับนานาชาติ คือการประชุมเอเปค2022 ที่ผ่านพ้นไป ท่ามกลางเสียงชื่นชมจากผู้นำ ตัวแทนผู้เข้าร่วม รวมถึงผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการเอเปคยกให้ไทยจัดงานได้ยอดเยี่ยมในระดับเวิลด์คลาส ทั้งนี้งาน Specialised Expo 2028 ถือเป็นงานมหกรรมใหญ่ระดับโลก รองลงมาจากการจัด World Expo ที่มีระยะเวลาการจัดงานนานถึง 3 เดือนด้วยกัน ซึ่งไทยได้แสดงตัวว่ามีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2028 ภายใต้แนวคิด Future of Life : Living in Harmony, Sharing Prosperity หรือ ชีวิตแห่งอนาคต : แบ่งปันความรุ่งเรือง อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยได้นำเสนอโมเดลพื้นที่การจัดงานที่จะใช้พื้นที่ของโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลกในเนื้อที่กว่า 141 ไร่ "หนึ่งในจุดเด่นของจังหวัดภูเก็ตคือได้รับเสียงโหวตให้เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกและเป็น 1 ใน 10 เมืองของโลกที่มีความเหมาะสมในการเป็นสถานที่ทำงานไปเที่ยวพักผ่อนไป (Workation) มีโครงสร้างสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ครบถ้วน ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศของคนในพื้นที่ บริการทางด้านสุขภาพที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการดำเนินโครงการ “Phuket Sandbox” สร้างต้นแบบการฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้พื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้การท่องเที่ยวไทยกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง" น.ส. ทิพานัน กล่าว น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทยได้ผ่านเข้ารอบพร้อมกับอีก 4 เมืองได้แก่ เมืองซาน คาร์ลอส เด บาริโลเช่ ประเทศอาร์เจนตินา เมืองเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย เมืองมาลากา ประเทศสเปน และเมืองมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเสนอแนวทางการนำเสนอความพร้อมของประเทศ ครั้งที่ 2 (Country Presentation) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งถ้าภูเก็ตได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (ทีเส็บ) ประเมินการศึกษาความเป็นไปได้ว่าจะมีเงินสะพัดระหว่างการจัดงานสูงถึง 49,231 ล้านบาท เพิ่มมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) 39,357 ล้านบาท ความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ประมาณ 9 เท่า และเกิดการลงทุนและการจ้างงานจำนวนมากกว่า 1 แสนอัตรา จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวภูเก็ตและคนไทยทั่วประเทศร่วมส่งแรงใจสนับสนุนให้จังหวัดภูเก็ตได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2028 โดยสามารถร่วมรับชมถ่ายทอดสดและส่งแรงใจเชียร์ไทยได้ผ่าน Facebook Page : https://www.facebook.com/thesouthernMICE ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เริ่มเวลา 20.00 น.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62044
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โค้งสุดท้าย!!! ขอเชิญน้องๆ เยาวชนร่วมส่งผลงานไวรัลคลิป ชิงเงินรางวัลกว่า 30,000 บาท
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 โค้งสุดท้าย!!! ขอเชิญน้องๆ เยาวชนร่วมส่งผลงานไวรัลคลิป ชิงเงินรางวัลกว่า 30,000 บาท ชิงเงินรางวัลกว่า 30,000 บาท !! กับโครงการประกวดผลิตสื่อไวรัลคลิป (Viral Clip) ในหัวข้อ “การปลูกจิตสำนึกปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ของประเทศได้มีโอกาสแสดงผลงานอย่างสร้างสรรค์ในการผลิตคลิปที่สื่อถึงเรื่องราวที่สอดคล้องกับหัวข้อการประกวด ปลูกฝังให้เยาวชนของชาติ เกิดความรักเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ จัดโดยสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมส่งผลงานได้แล้ววันนี้ถึง 9 ธ.ค. 65 นี้เท่านั้น!! โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://sopsd.mod.go.th/Viralclip.aspx กติกาและเงื่อนไขของการประกวด 1. ผู้เข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ และผลิตคลิปวิดีโอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายน่าสนใจ จำนวน 1 เรื่อง ความยาวคลิปไม่น้อยกว่า 45 วินาที และไม่เกิน 1.30 นาที มีคุณภาพ Full HD 1080p พร้อมใส่คำบรรยายภาษาไทย 2. ผู้เข้าประกวด 1 ท่าน สามารถส่งผลงานได้ไม่จำกัดจำนวนแต่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลสูงสุดเพียง 1 รางวัลเท่านั้น 3. ผู้เข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง และผลงานที่ส่งประกวดต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ห้ามลอกเลียนแบบ และจะต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่เคยมีการเผยแพร่ หรือเคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน หากตรวจพบหรือมีผู้ร้องเรียนว่ามีการลอกเลียนแบบ จะถือว่าการเข้าร่วมประกวดของผู้ประกวดรายนั้นเป็นโมฆะ และถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นั้นแต่เพียงผู้เดียว 4. ผู้เข้าร่วมประกวดที่ได้รับรางวัลทุกประเภทจะต้องส่งมอบผลงานเป็นไฟล์นามสกุล MP4 ทางอีเมล์ [emailprotected] และยินยอมโดยไม่มีเงื่อนไข หากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะนำผลงานนั้นไป แก้ไข ดัดแปลง หรือปรับปรุง และเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เพิ่มเติมได้โดยไม่ขออนุญาตผู้เข้าประกวด 5. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 6. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด รูปแบบและการส่งผลงาน 1. ส่งผลงานที่อีเมล์ [emailprotected] ภายในวันที่ 9 ธ.ค.65 2. สามารถ Download Logo หน่วยงาน ได้ที่ https://sopsd.mod.go.th/ 3. ประกาศผลบนเว็บไซด์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม https://sopsd.mod.go.th/ ในวันที่ 21 ธ.ค.65 หลักเกณฑ์การให้คะแนนผลงาน คะแนนรวม 100 คะแนน แบ่งเป็น 5 หัวข้อ แนวคิดในการสร้างคลิปวีดีโอ 20 คะแนน ความคิดสร้างสรรค์ 20 คะแนน เทคนิคการเล่าเรื่อง 20 คะแนน การใช้ภาษาและดนตรี 20 คะแนน คุณภาพในการผลิต 20 คะแนน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62069
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2565
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2565 เศรษฐกิจภูมิภาคเดือน ต.ค.2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวต่อเนื่องในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2565 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวต่อเนื่องในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดดังนี้ เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 22.8 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 31.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 25.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว สำหรับด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 1,144.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 1,038.0 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 42.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.7 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.1 เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 23.3 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 23.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -14.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 37.8 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -8.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 729.38 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 297.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานแปรรูปผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อบลดความชื้น ด้วยเงินทุน 242.43 ล้านบาท ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 281.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -26.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 424.7 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -26.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 75.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 76.1 เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 24.5 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -10.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 265.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -19.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 479.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -16.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 50.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 48.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.4 เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -19.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 54.0 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 24.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -11.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 33.9 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 1,577.57 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานซ่อม ดัดแปลง พ่นสี ตัวถังรถยนต์บรรทุก ฯลฯ และเครื่องจักรอื่นๆ ด้วยเงินทุน 468 ล้านบาท ในจังหวัดชลบุรีเป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 306.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -12.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 618.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -22.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 49.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.5 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 102.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7 เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 44.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -3.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 28.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -8.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 24.1 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 981.9 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 458.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณด้วยเงินทุน 805.2 ล้านบาท ในจังหวัดเพชรบุรีเป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 178.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -23.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 227.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -28.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 45.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.5 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3 เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 55.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -28.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 41.6 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว แต่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 11.0 ต่อปี ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 576.1 ต่อปี เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 1,589.5 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 44.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.3 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3 เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 47.5 ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 34.5 ต่อปี และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 36.1 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 2,072.65 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 903.7 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ด้วยเงินทุน 1,462 ล้านบาท ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 337.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -19.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 427.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -32.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 45.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.5 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62071
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ย้ำเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ ชูเศรษฐกิจ BCG ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ตอบโจทย์การพัฒนาแบบยั่งยืน มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 นายกฯ ย้ำเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ ชูเศรษฐกิจ BCG ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ตอบโจทย์การพัฒนาแบบยั่งยืน มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 นายกฯ ย้ำเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ ชูเศรษฐกิจ BCG ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ตอบโจทย์การพัฒนาแบบยั่งยืน มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 วันนี้ (28 พฤศจิกายน 2565) เวลา 13.30 น. ณ ห้องจูปิเตอร์ 4-6 ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกิจกรรมนำเสนอผลการพัฒนาต้นแบบนโยบายภายใต้โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า เจ้าหน้าที่ภาครัฐในส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีรับฟังการนำเสนอผลการพัฒนาต้นแบบนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการในเชิงบูรณาการตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และหมุดหมายจาก (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ตามลำดับ ดังนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดย พลเอก สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นำเสนอต้นแบบนโยบาย “การสร้างกลไก พื้นที่ เวที หรือ Platform การเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองเพื่อการพัฒนาประเทศ” 2) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและลดความเสี่ยงจากอุทกภัย โดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยการน้ำแห่งชาติ นำเสนอต้นแบบนโยบาย “การสร้างตัวแบบนโยบาย และขยายผลการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน” และ 3) การพัฒนาสมรรถนะทุนมนุษย์เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต โดยนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร นำเสนอต้นแบบนโยบาย “การสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะสำคัญของกำลังคนในอนาคต” โดยจะมีการนำต้นแบบนโยบายดังกล่าวไปปรับปรุง พัฒนา และใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นการสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติที่เน้นการทำงานเชิงบูรณาการในการปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมผ่านการปฏิบัติจริง และเป็นการพัฒนาทักษะสมรรถนะของข้าราชการให้เป็นข้าราชการแห่งศตวรรษที่ 21 ต่อไป จากนั้น นายวิษณุ เครืองาม กล่าวให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เน้นย้ำการเปิดพื้นที่หรือเวทีหรือแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมและยังไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ไม่มีการตัดสิน เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนรู้และหาวิธีการแก้ไขด้วยตัวเอง มีเวทีเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวมอบนโยบายว่า การนำเสนอผลการพัฒนาต้นแบบนโยบายภายใต้โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นโอกาสดีในการหารือเพื่อวางแนวทางการพัฒนาและกำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการร่วมมือกันระหว่างกระทรวง ลดการทำงานแนวดิ่ง หรือการทำงานแบบไซโล เพิ่มการทำงานแนวราบ และขับเคลื่อนร่วมกันทั้งองคาพยพ ซึ่งหัวใจของการทำงานในปัจจุบัน ต้องมีการปรับตัวและปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้พร้อมเผชิญกับความผันผวนไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เช่น ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และการเกิดโรคอุบัติใหม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ความท้าทายสำหรับประเทศไทยคือการทำให้ประเทศเติบโตได้บนความสมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยรัฐบาลได้นำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม BCG Model เป็นหลักในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางธรรมชาติ และร่ำรวยวัฒนธรรมที่เป็น SOFT POWER หากต่อยอดขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย จะทำให้เศรษฐกิจ BCG เติบโต และสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นและจริงใจอย่างยิ่งในการเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศชาติในทุกมิติ ให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมนานาอารยประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วน ให้ได้รับโอกาสการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม ซึ่งนอกจากนโยบายเศรษฐกิจ BCG ที่มีส่วนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ พร้อมตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว รัฐบาลยังให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 และเป็นพลเมืองคุณภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและคำนึงถึงสังคมผู้สูงอายุควบคู่ไปด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเร่งลงทุนเพื่ออนาคต ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โทรคมนาคม ดิจิทัล 5G ซึ่งจะรองรับการเชื่อมโยงกันของคน แรงงาน ข้อมูล ความรู้ และเงิน ส่งเสริมการค้าการลงทุนให้กระจายตัวไปสู่ทุกพื้นที่ของประเทศ เปลี่ยนยุค “รวยกระจุก จนกระจาย” ให้กลายเป็นประชาชนมีความสุข มีรายได้ดี ตลอดจนการขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมยุคใหม่ให้เป็น Smart Farmer และผลักดัน 12 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ การพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน เป็นหน้าที่ของทุกคน ที่จะต้องร่วมมือกัน โดยส่วนราชการเป็นฟันเฟืองใหญ่และมีความสำคัญในการดำเนินการ ตั้งแต่การวางนโยบายจนถึงขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ การให้บริการประชาชนที่สะดวก รวดเร็ว โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริม ซึ่งเป็นโอกาสดีที่โครงการฯ เปิดโอกาสให้ระดับผู้บริหารได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการทำงานจนสำเร็จเห็นผลเป็นรูปธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นที่ตั้ง ซึ่งการพัฒนาต้นแบบนโยบายฯ เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต มีความเชื่อมโยงกับแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บท และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการขับเคลื่อนกลไกภาครัฐในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ แบบบูรณาการกันต่อไป นายกรัฐมนตรีกำชับขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการปฏิบัติ ได้แก่ สทนช. เร่งพัฒนาการแจ้งเตือนภัยด้านน้ำให้เสร็จโดยเร็ว และให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลพัฒนา Application ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลสินค้า การท่องเที่ยว เกษตร และการเตือนภัย นอกจากนี้ ขอให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการบูรณาการระดับพื้นที่ร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยควรนำตัวแบบนโยบายจากอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ไปขยายผลการทำงานให้ครอบคลุมทั้ง 22 ลุ่มน้ำ 76 จังหวัด 878 อำเภอ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อป้องกันปัญหาภัยแล้ง และอุกทกภัยในอนาคต ซึ่งปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมาก หากสามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและส่งผลดีกับประชาชน พร้อมเน้นย้ำให้ทุกคน ทุกฝ่ายช่วยกันทำงานเชื่อมโยงและสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานด้วย นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำเรื่องการกำหนดนโยบาย ที่ควรร่วมรับฟังปัญหาจากกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ประสบปัญหาโดยตรงอย่างแท้จริง ดังนั้นการทดสอบต้นแบบนโยบายฯ จึงควรนำไปทดสอบกับพื้นที่หรือสถานการณ์จริง เมื่อได้ต้นแบบที่เหมาะสมแล้วให้มีการถอดบทเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทที่เหมาะสมต่อไป เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้ตรงจุด และขอให้การทำงานอย่างบูรณาการร่วมกันในหลักสูตรฯ “เป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่สิ้นสุด” ยังคงร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกภารกิจสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยนำหลักการและแนวทางที่ได้รับไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติงานภาครัฐ ที่เน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนำกระบวนนวัตกรรมเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ไปต่อยอดและขยายผลในการกำหนดนโยบายเรื่องอื่น ๆ ในอนาคตต่อไป รวมทั้งให้มีการนำความรู้และรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ไปขยายผลให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างความเข้มแข็งให้ประเทศชาติและประชาชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป และขอให้มีการรายงานความก้าวหน้าพร้อมสรุปผลการดำเนินการ รวมถึงรายงานผลการนำต้นแบบนโยบายไปสู่การปฏิบัติ แก่สำนักงาน ป.ย.ป. เป็นระยะด้วย ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีชื่นชมและกล่าวขอบคุณปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการทุกระดับ ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ให้ความสำคัญและบูรณาการการบริหารราชการแผ่นดินและการทำงานระหว่างกระทรวงโดยการหารือและกำหนดทิศทางร่วมกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่กระบวนการคิด กระบวนการทำให้เกิดการลงมือปฏิบัติจริงเป็นรูปธรรม รวมถึงการใช้นวัตกรรมรูปแบบใหม่ในการกำหนดนโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดียิ่งขึ้นจากกระบวนการ Policy Lab จนสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ก่อนการรับฟังผลการพัฒนาต้นแบบนโยบายฯ นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมนิทรรศการการสร้างกลไกพื้นที่เวทีหรือแพลตฟอร์มการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองเพื่อการพัฒนาประเทศโดยการเปิดพื้นที่กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ชมต้นแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีบริหารจัดการข้อมูลน้ำแบบองค์รวมพร้อมระบบการสื่อสารแบบสองทางเพื่อประชาชน การสร้างตัวแบบและการขยายผลการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ การพัฒนาทักษะสำคัญของกำลังคนในอนาคตเพื่อค้นหาทักษะสมรรถนะที่สำคัญสำหรับคนไทยโดยเฉพาะวัยแรงงานและพัฒนากลไกในการสร้างความร่วมมือสำหรับทุกภาคส่วนตามกระบวนการ Design Thinking และชมกระบวนการศึกษาการพัฒนาทักษะสำคัญด้าน EV ของกำลังคนในอนาคต
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62077
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 4/2565
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ​รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 4/2565 ​รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 4/2565 วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 14.30 น. นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 4/2565 โดยมีนายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (หัวหน้ากลุ่มภารกิจสาธารณะภัยและพัฒนาเมือง) เป็นประธานในการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การประชุมดังกล่าว เพื่อรับทราบสภาพอากาศ สถานการณ์ การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ผลการดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2565/66 และการใช้น้ำระหว่างลุ่มน้ำ/การผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ ทั้งนี้ท่านประธานได้เน้นย้ำถึง 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 และ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 โดยขอให้หน่วยงานในคณะทำงานด้านการบริหารจัดการน้ำ บูรณาการงานร่วมกับพื้นที่โดยเฉพาะกับผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เพื่อให้มาตรการขับเคลื่อนไปสู่พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62080
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. ปาฐกถาพิเศษ "บทบาทของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับจังหวัด" เน้นย้ำ สังคมไทยต้องมีผู้นำและต้องบูรณาการร่วมมือกันในทุกมิติ
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ปลัด มท. ปาฐกถาพิเศษ "บทบาทของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับจังหวัด" เน้นย้ำ สังคมไทยต้องมีผู้นำและต้องบูรณาการร่วมมือกันในทุกมิติ ปลัด มท. ปาฐกถาพิเศษ "บทบาทของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับจังหวัด" เน้นย้ำ สังคมไทยต้องมีผู้นำและต้องบูรณาการร่วมมือกันในทุกมิติของชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยกัน Change for Good ให้โลกใบเดียวนี้คงอยู่อย่างยั่งยืน วันนี้ (28 พ.ย. 65) เวลา 10.00 น. ที่ห้องแคทลียา ชั้น 1 โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "บทบาทของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับจังหวัด" ในการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด โดยมี นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นายกฤษณะ พินิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษทั้ง 16 ภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 200 คน ร่วมรับฟัง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงมหาดไทยได้ให้ความสำคัญเพื่อเป็นแกนนำร่วมหัวจมท้ายกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผลักดันให้เกิดการ Change for Good สร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นกับโลกใบเดียวนี้ของพวกเราทุกคน เพราะคนมหาดไทยมีแรงปรารถนา (Passion) ในการที่จะช่วยลดโลกร้อน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทำให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งมันจะยั่งยืนได้เราต้องมุ่งมั่นขับเคลื่อนในทุกบริบทของการทำงาน เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Win - Win ทั้งชีวิตความเป็นอยู่และสภาวะแวดล้อม เพราะพี่น้องประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี อากาศที่บริสุทธิ์ ซึ่งการแปรปรวนของสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญที่ท้าทายพวกเราทุกคนในการทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ทั้งนี้ “คนมหาดไทย” พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรที่ดีและเอาจริงเอาจังในการลดสภาวะโลกร้อน สร้างชีวิตของผู้คนให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี เพื่อให้โลกใบเดียวนี้ของเรามีอายุยืนยาว เป็นโลกที่สวยงาม และมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับลูกหลานไม่รู้อีกกี่ร้อยรุ่นของเราในอนาคตได้มีโลกใบที่สวยงามนี้อยู่อาศัย “เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้ประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืนกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย มุ่ง Change for Good ทำให้โลกใบเดียวของทุกคนมีอายุยืนยาวตราบนานเท่านาน ด้วยแนวคิด “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน “โลกนี้เพื่อเรา”” และแม้ว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่านจะเกษียณอายุราชการหรือโยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดอื่นแล้ว แต่ “คำมั่นสัญญานั้นเป็นพันธะของตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด” ไม่ว่าท่านใดจะมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดใด ท่านเหล่านั้นก็คือ “ผู้นำ” ในการขับเคลื่อนทุกงานในพื้นที่จังหวัดด้วยการบูรณาการทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ทั้งภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน “ทุกท่านจึงอย่ารังเกียจกับการทำงานแบบบูรณาการ” ทั้งนี้ สังคมต้องมีผู้นำ ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และท่านนายอำเภอเป็นผู้นำในพื้นที่ เพราะระบบราชการกำหนดให้ทั้ง 76 จังหวัดมีเจ้าเมือง คือ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” อำเภอทั้ง 878 อำเภอมี “นายอำเภอ” แม้ว่าจะเป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทย แต่หน้าที่ที่สำคัญที่สุด คือ การเป็นผู้นำของข้าราชการในการขับเคลื่อนงานนโยบายของรัฐบาลในระดับพื้นที่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเปรียบเสมือนนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัด ท่าน ทสจ. คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัด ดังนั้น หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของการทำหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชา คือ “การทำให้ผู้บังคับบัญชาทำในสิ่งที่ดีที่เราอยากให้เกิดขึ้น” ด้วยการที่พวกเราต้องหมั่นขวนขวาย ค้นคว้า ศึกษา เรื่องที่เรากำลังทำให้เข้าใจถ่องแท้ แล้วป้อนสิ่งที่ดี แนวคิดที่ดีให้ผู้นำ เพื่อผู้นำจะได้ Delivery (ส่งผ่าน) สั่งการผู้นำในระดับรองลงไป อันจะทำให้แนวคิดของเรานั้นได้ส่งไปถึงพี่น้องประชาชน และเกิดผลลัพธ์ทั้งเชิงคุณภาพควบคู่กับเชิงปริมาณเต็มทั้งพื้นที่” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทยได้จับมือร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ “อบก.” ในด้านการบริหารจัดการขยะในครัวเรือนทั้งประเทศกว่า 25 ล้านตัน ซึ่ง 60-70% ของจำนวนดังกล่าวเป็นขยะเปียก โดยภายในเดือนธันวาคม 2565 ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 7,849 แห่ง จะรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมี “ถังขยะเปียกลดโลกร้อน” โดยนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ถังขยะใบเดียวมีฝาปิด ตัดก้นถัง ขุดหลุมเป็นรูปลิ่ม เพื่อให้ก้นหลุมลึกกว่าก้นถัง ประมาณครึ่งศอกถึง 1 ศอก ประจำครัวเรือน ซึ่งจากค่าเฉลี่ย ใน 1 วันคนจะผลิตขยะเปียก 0.6 กรัมจากเศษอาหาร เศษพืช เศษผัก เมื่อใส่รวมลงถังขยะเปียกลดโลกร้อนก็จะกลายเป็นปุ๋ยหมัก หรือสารบำรุงดินตามกฎหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อรวมแล้วจะได้ปริมาณร่วมล้านตันคาร์บอนเครดิตต่อปี ทั้งนี้ อบก. ได้ทำการประเมินรับรองคาร์บอนเครดิตจากถังขยะเปียกลดโลกร้อนเรียบร้อยแล้ว ภายใต้ความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สำหรับในส่วนของบ้านที่ไม่มีพื้นที่ดิน ให้ใช้วิธีนำขยะเปียกรวมให้เทศบาลนำไปใส่ถังรวม ซึ่งขณะนี้การขับเคลื่อนคืบหน้าไปมากจนใกล้จะจำหน่ายคาร์บอนเครดิตได้ โดยไม่ได้ซีเรียสว่าจะได้เงินเท่าใด แต่ต้องเกิดมรรคผลเป็นรูปธรรมที่ส่งผลดีกับโลกจริง ๆ “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ในขณะนี้ งานที่ชาวมหาดไทยกำลังทำโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน คือ ให้นายอำเภอสร้าง “ทีมผู้นำการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดยบูรณาการ 7 ภาคีเครือข่าย เพื่อลดจุดอ่อนของข้าราชการที่จะเกษียณอายุราชการ โยกย้าย ในรูปแบบ “ทีมอำเภอ” “ทีมตำบล” ซึ่งเมื่อข้าราชการ ทั้งนายอำเภอ ปลัดอำเภอย้ายไปแล้ว สิ่งดี ๆ ที่ได้ร่วมกันคิด จะได้รับการสานต่อโดย “ทีมจิตอาสาเหล่านี้” นอกเหนือจากคนของระบบราชการ อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน รวมทั้งได้เชิญชวนให้ประชาชน เริ่มตั้งแต่เด็กที่มีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สมัครเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ. 2561 เพื่อร่วมมือกันดูแลครอบครัวให้รู้จักคัดแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล และขยะพิษ รวมทั้งเป็นผู้นำในการสร้างจิตสำนึกให้แก่คนในครอบครัว ชุมชน ตำบล และหมู่บ้าน ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ซึ่ง อปท. สามารถใช้งบประมาณอบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด เพื่ออุดช่องว่างเสริมเติมเต็มในการขับเคลื่อนงานให้กับท่าน ทสจ. ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการส่งเสริมการใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก สำหรับการก่อสร้างของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะเรื่องนี้ No plan B because we have only one planet “เรามีเพียงแผนเดียวเท่านั้น คือ ทุกคนต้องช่วยกันทำให้สภาวะโลกร้อนลดลง และทำให้โลกสวยงาม เพราะมีโลกแค่เพียงใบเดียวเท่านั้น”” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนงานด้านลดภาวะโลกร้อนเกิดผลที่เป็นจริงในชีวิตของพี่น้องประชาชน คือ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผ่าน “โครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง หรือ อารยเกษตร” เปรียบเสมือนการปฏิวัติสีเขียวครั้งใหญ่ที่ประชาชนจะอยู่รอดปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งภายในแปลงโคก หนอง นา จะมีการปลูกต้นไม้ 5 ระดับก็คือ ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการผสมผสาน ที่เล็งเห็นถึงปัจจัย 4 ทั้งหมด เช่น มีไม้เพื่อใช้ทำที่อยู่อาศัย ไว้ใช้สอย ไว้ทำเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตร และการปลูกที่มีไว้ใช้สำหรับเป็นอาหารและยารักษาโรค รวมถึงมีส่วนที่ไว้ค้าขายผลิตผลทางเกษตร และอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ทุกพื้นที่จะเป็นกสิกรรมธรรมชาติ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง และไม่มีการเผาทำลายซากเศษใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เราจะเอาส่วนนั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดบริหารจัดการไม่ให้เหลือเป็นเศษขยะ รวมทั้งน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ด้วยการปลูกผักสวนครัว ครบ 100% ทุกครัวเรือนภายในสิ้นปี 65 นี้ และน้อมนำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ให้เพิ่มมากที่สุด เพื่อทำให้เด็กมีความรู้ มีความรัก ความหวงแหนต้นไม้ และช่วยกันกระตุ้นปลุกเร้าให้ช่างทอผ้า ผู้ประกอบการผ้าไทย ผ้าอัตลักษณ์ทุกประเภททั่วประเทศ น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา งดใช้สีเคมีในการย้อมผ้า และหันมาผลิตวัตถุดิบที่จะใช้ผลิตผ้า เช่น ปลูกฝ้าย ปลูกหม่อน และเลี้ยงไหม ปลูกต้นไม้ที่สามารถนำไปใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าให้มากขึ้น เพื่อลดการเกิดของเสีย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และยังส่งผลดีต่อสุขภาพของคนย้อมผ้าและผู้สวมใส่ รวมถึงให้ทุกจังหวัดได้รณรงค์ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนร่วมกันสวมใส่ผ้าไทย ภายใต้ชื่อ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริ ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ผู้ทอผ้าในทุกถิ่นที่ของประเทศไทย ที่เป็นเสาหลักในการดูแลสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีด้วยรายได้จากการจำหน่ายผ้าไทย เพราะผ้าทอไทยเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยที่อยู่กับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ถิ่นต่าง ๆ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การย้อมผ้า และยังช่วยทำให้ลดอุณหภูมิห้องลงอย่างน้อย 2 องศาเซลเซียสอีกด้วย “สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นได้อยู่ที่พวกเราทุกคนว่า เราต้องเชื่อ (Believe) ในสิ่งที่เราคิดควบคู่กับการทำในฐานะเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งผมมั่นใจว่า “พวกเราทุกคนมีความเชื่อมั่นว่าตำแหน่งหน้าที่ที่ทำอยู่ได้ทำบุญกับโลก กับเพื่อนมนุษย์ กับคนไทย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี” โดยต้องเติม Passion หรือแรงบันดาลใจเข้าไปว่า “ก่อนที่ฉันจะเกษียณอายุราชการหรือไปรับหน้าที่อื่น ฉันจะ Change for Good ให้เกิดขึ้น” ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดีที่สุดต้องไปชวน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ ให้ผนึกกำลังทุกภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนภารกิจ Change for Good ให้โลกของเราให้เต็มที่ เพื่อสุดท้ายปลายทาง คือ คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนของพี่น้องประชาชนทุกคน ขอให้รีบทำทันที เพื่อโลกใบเดียวของเราจะได้อยู่รอดปลอดภัยเป็นโลกที่สวยงามของลูกหลานเหลนเราตลอดไป ” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62068
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.สุชาติ ชวนคนประจำเรือ แจ้งการเดินทางผ่าน e-Service
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ​รมว.สุชาติ ชวนคนประจำเรือ แจ้งการเดินทางผ่าน e-Service กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน เปิดให้บริการยื่นคำขอเดินทาง แจ้งการเดินทางเข้า-ออก สำหรับคนประจำเรือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยี โดยกระทรวงแรงงานได้มีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพราะตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการภาครัฐ ที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผู้รับบริการได้รับความสะดวก รวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายและปัจจุบันการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ระยะที่ 4 กำลังทยอยพัฒนาแล้วเสร็จ ทำให้คนประจำเรือสามารถแจ้งการเดินทางขาออก และขาเข้า บริษัทจัดหางานให้คนไปทำงานต่างประเทศ สามารถยื่นคำขอแบบรายงานการจัดหางานให้คนไปทำงานเป็นคนประจำเรือ ตรวจสอบสถานะ พิมพ์แบบรายการการเดินทางออกไปทำงาน และเดินทางกลับจากการเป็นคนประจำเรือนอกราชอาณาจักร ได้ผ่านระบบ e-Service การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 กรมการจัดหางาน โดยนายโอวาท ทองบ่อมะกรูด ผู้อำนวยการกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ได้เชิญบริษัทจัดหางานที่ส่งคนหางานไปทำงานเป็นคนประจำเรือ ทั้ง 6 บริษัท มาประชุมรับฟังแนวทางการให้บริการการรับแจ้งจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานเป็นคนประจำเรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โดยมีบริษัทจัดหางาน ทีเอสทีชี ไทย จำกัด บริษัทจัดหางาน บีเอสซี แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัทจัดหางาน ซีทีไอ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทจัดหางาน แปซิฟิค ซีทราน ไลน์ส จำกัด บริษัทจัดหางาน บาเฮีย (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทจัดหางาน ทรู (ไทยแลนด์) จำกัด รวม 6 บริษัท ร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุมกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ชั้น 10 อาคารสำนักงานประกันสังคม และผ่านระบบ Video Conference เพื่อเรียนรู้การใช้งานระบบที่จะเปิดในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 นายไพโรจน์ กล่าวต่อไปว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมฯมีกำหนดพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ระยะที่ 4 ให้แล้วเสร็จ ซึ่งทุกอย่างกำลังเป็นไปตามเป้าหมาย ที่สำเร็จไปแล้วมีทั้งการเพิ่มช่องทางการชำระเงินค่าสมัครสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ การชำระเงินค่าทดสอบภาษาเกาหลีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Service) การเชื่อมโยงหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรมการจัดหางาน และบริการยื่นคำขอรับแจ้งและการบริหารจัดการข้อมูลการจัดหางานให้คนหางานซึ่งเดินทางออกไปทำงานเป็นคนประจำเรือนอกอาณาจักรนอกจากนี้กรมฯมีกำหนดจะเปิดให้บริการรับชำระเงินค่าสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ กรณีบริษัทจัดหางานจัดส่ง ในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 ในวันและเวลาราชการ หรือ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62051
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.อนุชา ชี้ภาคการเกษตรช่วยสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ย้ำผู้บริหารชัยนาทเร่งหาแนวทางสนับสนุน ดันโครงการ "โคเนื้อสายพันธุ์เจ้าพระยาบีฟ" หนทางสร้างรายได้ใหม่ชาวชัยนาท
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 รมต.อนุชา ชี้ภาคการเกษตรช่วยสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ย้ำผู้บริหารชัยนาทเร่งหาแนวทางสนับสนุน ดันโครงการ "โคเนื้อสายพันธุ์เจ้าพระยาบีฟ" หนทางสร้างรายได้ใหม่ชาวชัยนาท รมต.อนุชา ชี้ภาคการเกษตรช่วยสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ย้ำผู้บริหารชัยนาทเร่งหาแนวทางสนับสนุน ดันโครงการ "โคเนื้อสายพันธุ์เจ้าพระยาบีฟ" หนทางสร้างรายได้ใหม่ชาวชัยนาท วันนี้ (28 พฤศจิกายน 2565) เวลา 09.30 น. ณ ศาลากลางจังหวัดชัยนาท นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดชัยนาทและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดชัยนาท ครั้งที่ 11/2565 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยมี นายนที มนตริวัต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนสมาคม ผู้แทนชมรมต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดชัยนาทเข้าร่วมประชุมด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับฟังรายงานผลการดำเนินงานด้านต่างๆ อาทิ สถานการณ์การเงินการคลังในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งพบว่าภายหลังที่รัฐบาลผ่อนปรนมาตรการจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของพื้นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 รองลงมาคือภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ที่ประชุมได้รายงานผลการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อของจังหวัดชัยนาท หรือโคเนื้อสายพันธุ์เจ้าพระยาบีฟ โดยตั้งเป้าเป็น "โคหนุ่ม เนื้อนุ่ม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา" มีความโดดเด่นที่เนื้อโคมีความนุ่ม อุ้มน้ำ ไขมันแทรกสูง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตตั้งเป้าเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้ประชาชน ปัจจุบันมีประชาชนร่วมโครงการกว่า 2,000 ครัวเรือน ใช้เวลาในการขุนเพียง 3-6 เดือน สามารถสร้างรายได้เฉลี่ยตัวละ 11,000 บาท รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชัยนาทคือภาคการเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ แม้จะไม่ใช่ตัวเลข GDP หลักแต่ก็มีความสำคัญ เพราะเป็นกลุ่มที่หล่อเลี้ยงคนจำนวนมากของประเทศ และทำให้ฐานการค้าการลงทุนโดยเฉพาะระดับฐานรากมีความเข้มแข็ง จังหวัดชัยนาทมีความโดดเด่นด้านการเกษตร โดยมีผลผลิตหลัก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น ในส่วนของแนวทางการส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโคเนื้อสายพันธุ์เจ้าพระยาบีฟ ถือเป็นอีกหนึ่งหนทางในการสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ประชาชนอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้คณะผู้บริหารในพื้นที่ร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนภาคการเกษตร ดึงจุดเด่นของจังหวัด สร้างให้เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เพื่อดึงดูดเม็ดเงินและนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้น เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนทั่วทั้งจังหวัดต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62078
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM commends accomplishment of researchers from Rajamanjala University of Technology Isan on production of 100% electric buses
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 PM commends accomplishment of researchers from Rajamanjala University of Technology Isan on production of 100% electric buses PM commends accomplishment of researchers from Rajamanjala University of Technology Isan on production of 100% electric buses November 27, 2022, Deputy Secretary-General to the Prime Minister and Acting Government Spokesperson Anucha Burapachaisri disclosed that Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha marveled Thai researchers from Rajamanjala University of Technology Isan, Khon Kaen Campus for their work on the production of 100% electric buses. This accomplishment is a collaboration between the University and Cho Thavee Public Company Limited. The research is funded by National Research Council of Thailand (NRCT). The bus can travel 250 kilometers on a single charge (2 hours) with the top speed of 120 kmph. It is a low floor bus which facilitates passengers’ accessibility, and uses both ultracapacitors and lithium batteries for energy storage. According to the Government Spokesperson, the Government has placed great importance on the development of human capital, especially in innovative development. NRCT strives to provide funding and support to research works related to the 10 S-Curve industries, that is, the 5 “First S-Curve” to enhance current industries to continue the growth, and the 5 “New S-Curve” to develop future industries to achieve the leap growth of Thai economy. The 10 S-Curve industries include: 1. Next-Generation Automotive, 2. Smart Electronics, 3. Affluent, Medical and Wellness Tourism, 4. Agriculture and Biotechnology, and 5. Food for the Future for the First S-Curve, and: 1. Robotics, 2. Aviation and Logistics, 3. Digital, 4. Biofuels and Biochemical, and 5. Medical Hub for the New S-Curve.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62047
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ต่างชาติชื่นชมไทยบริหารจัดการโควิด-19 มีประสิทธิภาพ บีโอไอเผยนักลงทุนหลายบริษัทมั่นใจเลือกขยายฐานลงทุนในไทยเพิ่ม นายกรัฐมนตรีกำชับดูแลความต่อเนื่องการผลิตอุตสาหกรรม
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ต่างชาติชื่นชมไทยบริหารจัดการโควิด-19 มีประสิทธิภาพ บีโอไอเผยนักลงทุนหลายบริษัทมั่นใจเลือกขยายฐานลงทุนในไทยเพิ่ม นายกรัฐมนตรีกำชับดูแลความต่อเนื่องการผลิตอุตสาหกรรม ต่างชาติชื่นชมไทยบริหารจัดการโควิด-19 มีประสิทธิภาพ บีโอไอเผยนักลงทุนหลายบริษัทมั่นใจเลือกขยายฐานลงทุนในไทยเพิ่ม นายกรัฐมนตรีกำชับดูแลความต่อเนื่องการผลิตอุตสาหกรรม ด้านกรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์ผู้ป่วยใหม่รอบสัปดาห์ 4,914 คน เฉลี่ยวันละ 702 คน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้รายงานให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ทราบถึงแนวโน้มการเลือกพื้นที่การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติว่าได้เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด19 โดยมีการเพิ่มปัจจัยความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนการผลิต นโยบายของรัฐบาลในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตเช่นในช่วงเกิดโรคระบาดที่ไม่กระทบภาคธุรกิจ การผลิตอุตสาหกรรม และการส่งออก ทั้งนี้ บีโอไอ ยังรายงานว่าในระยะ 2-3 ปี ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด19 นักลงทุนโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่ผลิตสินค้าจากไทยส่งไปทั่วโลกได้ชื่นชมประเทศไทยที่สามารถบริหารจัดการสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายรายตัดสินใจขยายการลงทุนในไทยเพิ่มเพราะเชื่อมั่นในนโยบายการบริหารจัดการในช่วงวิกฤตของรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้เน้นย้ำกับทุกหน่วยงานว่าต้องดูแลความปลอดภัยของประชาชนคู่ขนานไปกับการดูแลเศรษฐกิจรวมถึงการผลิต การส่งออกให้ดำเนินการไปได้เพื่อรักษาการมีงานทำของประชาชน พร้อมกับปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในช่วงที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ นำไปสู่นโยบายส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ปี 2566-70 ที่บอร์ดบีโอไออนุมัติไปเมื่อ 12 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา สำหรับสถานการณ์โควิด19 ในประเทศขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามและมีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่โดยรวมยังเป็นไปตามที่กรมควบคุมโรคได้คาดการณ์ไว้ว่าหลังการประกาศลดระดับจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังจะมีผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเนื่องการการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แต่แม้สถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วง นายกรัฐมนตรีก็เห็นว่าจะต้องไม่ประมาท ต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนทั้งตามเกณฑ์และเข็มกระตุ้นโดยเฉพาะกลุ่ม 608 และขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาให้กรมควบคุมโรคประสานนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดที่พื้นที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่หนาแน่น ให้เตรียมชุดมาตรการและคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมกรณีที่พบผู้ติดเชื้อโควิด19 ขณะที่การผลิตยังคงดำเนินไปได้โดยไม่สะดุด กรมควบคุมโรคได้รายงานสถานการณ์โควิด19 ในรอบสัปดาห์ ช่วงวันที่ 20-26 พ.ย. 65 ผู้ติดเชื้อรายใหม่รักษาตัวในโรงพยาบาล 4,914 คน เฉลี่ยวันละ 702 คน เทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า (19-26 พ.ย. 65) มีผู้ติดเชื้อ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,957 คน เฉลี่ยวันละ 565 คน ทำให้ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงปัจจุบันอยู่ที่ 2,483,809คน ในส่วนของผู้เสียชีวิตรายใหม่มี 74 คน เฉลี่ยวันละ 10 คน เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่เสียชีวิตรวม 69 คน เฉลี่ยวันละ 9 คน ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงปัจจุบันอยู่ที่ 11,482 คน ขณะที่ยอดผู้ป่วยปอดอักเสบ 553 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 319 คน ส่วนจำนวนการให้วัคซีน ณ วันที่ 26 พ.ย. 65 มีการให้วัคซีนสะสม 143,155,910โดส เพิ่มขึ้น 8,415 โดส เป็นวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,086,730 โดส เพิ่มขึ้น 1,009 โดส เข็มที่ 2 จำนวน 53,570,366 โดสเพิ่มขึ้น 885 โดส และตั้งแต่เข็มที่3 ขึ้นไป 32,498,814 โดส เพิ่มขึ้น 6,521 โดส
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62046
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กรุงไทย” หนุนจัดพอร์ตลงทุนส่งท้ายปี เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ชุดใหม่อายุ 3 ปี คุ้มครองเงินต้น ดีเดย์ 1-2 ธ.ค.นี้
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 “กรุงไทย” หนุนจัดพอร์ตลงทุนส่งท้ายปี เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ชุดใหม่อายุ 3 ปี คุ้มครองเงินต้น ดีเดย์ 1-2 ธ.ค.นี้ กรุงไทยรุกตลาดหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อเนื่อง หลังประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้อนุพันธ์กว่า 20,000 ลบ. เตรียมเสนอขายชุดใหม่ “กรุงไทย Citi DRP” อายุ 3 ปี คุ้มครองเงินต้น 100% เสนอขายวันที่ 1-2 ธันวาคมนี้ “ธนาคารกรุงไทย” รุกตลาดหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อเนื่อง หลังประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้อนุพันธ์กว่า 20,000 ล้านบาท เตรียมเสนอขายชุดใหม่ “กรุงไทย Citi DRP” อายุ 3 ปี คุ้มครองเงินต้น 100% สนับสนุนผู้ลงทุนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ สร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในช่วงท้ายปี เสนอขายวันที่ 1-2 ธันวาคมนี้ นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนอย่างต่อเนื่องในปี 2566 จากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ความไม่แน่นอนของสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และนโยบายการเปิดประเทศของจีน ส่งผลให้ผู้ลงทุนมองหาการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และเงินต้นได้รับความคุ้มครอง ธนาคารจึงรุกเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์แฝง เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง หลังประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงไปแล้วกว่า 20,000 ล้านบาท ล่าสุด เตรียมเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงกรุงไทย Citi DRP หรือ Citi Diversified Risk Premia อายุ 3 ปี ด้วยจุดเด่นคุ้มครองเงินต้น 100% มุ่งสร้างผลตอบแทนภายใต้ภาวะตลาดที่ผันผวน ไม่มีค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากการลงทุน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มองหาการลงทุนที่มีความหลากหลาย และต้องการจัดพอร์ตการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยง มีโอกาสสร้างผลตอบแทนตามดัชนีที่อ้างอิง แต่เงินต้นยังปลอดภัย ทั้งนี้ หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงกรุงไทย Citi DRP จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงดัชนี Citi DRP ซึ่งมี Citigroup เป็นผู้จัดทำดัชนี มีนโยบายลงทุนกระจายในสินทรัพย์หลัก ทั้งตราสารหนี้ อัตราแลกเปลี่ยนสกุลหลัก และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยไม่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้น มีกลยุทธ์เลือกเฟ้นสินทรัพย์ที่จะเข้าลงทุนแบบมืออาชีพ ทั้ง กลยุทธ์ Value Carry และ Momentum นอกจากนี้ ยังมีการปรับพอร์ตสม่ำเสมอ เพื่อบริหารผลตอบแทนท่ามกลางความผันผวนของตลาด โดยดัชนีอ้างอิง Citi DRP มีผลตอบแทนการลงทุนในอดีตเฉลี่ย 6.40% ต่อปี ซึ่งธนาคารกรุงไทยในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ ยังคุ้มครองเงินต้นจากการลงทุน 100% และจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มอีกปีละ 1% ในช่วง 2 ปีแรก คาดว่า จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงกรุงไทย Citi DRP ในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 โดยเสนอขายผู้ลงทุนรายใหญ่ และผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ อีเมล [emailprotected] หรือ โทร.0-2208-4817 0-2208-4831 0-2208-4673 และ 0-2208-4691
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62053
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.ร่วมกับภาคีเครือข่ายเปิดเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 (World Film Festival of Bangkok)
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 วธ.ร่วมกับภาคีเครือข่ายเปิดเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 (World Film Festival of Bangkok) วธ.ร่วมกับภาคีเครือข่ายเปิดเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 (World Film Festival of Bangkok) ฉายหนังดีเด่นดัง 53 เรื่องจากทั่วโลกให้คนไทยชม 2 - 11 ธ.ค.นี้ ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีนีมา เวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ วธ.ร่วมกับภาคีเครือข่ายเปิดเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 (WorldFilm Festival of Bangkok)ฉายหนังดีเด่นดัง 53 เรื่องจากทั่วโลกให้คนไทยชม 2 - 11 ธ.ค.นี้ ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีนีมา เวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ดันSoft Powerภาพยนตร์และสื่อสร้างสรรค์ไทยสู่ระดับนานาชาติ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลพร้อมผลักดัน“Soft Power”ความเป็นไทย ผ่านงานวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5Fได้แก่Food (อาหาร)Film (ภาพยนตร์และวีดิทัศน์)Fashion (ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น)Fighting (ศิลปะการต่อสู้-มวยไทย) และFestival (การอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาล ประเพณีสู่ระดับโลก)ให้เป็นที่รู้จักในเวทีนานาชาติ ต่อยอดและพัฒนาสร้างคุณค่าเป็นมูลค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งตรงกับโมเดลเศรษฐกิจBCGนั้น ล่าสุด วธ. โดย สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับภาคีเครือข่าย เตรียมเปิดเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 (World Film Festival of Bangkok)ระหว่างวันที่ 2–11 ธันวาคม 2565 โดยมีพิธีเปิดในวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีนีมา เวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นนำเสนอภาพยนตร์คุณภาพจากทั่วโลกสู่สายตาผู้ชมในประเทศไทย และเปิดพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและองค์ความรู้ด้านภาพยนตร์ และสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยผ่านการจัดฉายภาพยนตร์และจัดสัมมนา ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย อีกทั้งสอดคล้องตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ดำเนินกิจกรรมมาแล้ว 14 ครั้ง โดยสามครั้งล่าสุดจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2557 2558 และ 2559 ซึ่งเว้นระยะเวลามาแล้ว 6 ปี และมาจัดในปี พ.ศ. 2565 นี้เป็นการจัดเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ (World Film Festival of Bangkok)ครั้งที่ 15 โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมสัมมนาในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์การพัฒนาSoft Powerในด้านภาพยนตร์และสื่อสร้างสรรค์จากประเทศต่าง ๆ และสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการยกระดับเมืองพัทยาไปสู่เมืองภาพยนตร์หรือPattaya City of Film2.การจัดพิธีเปิดและพิธีปิดเทศกาลฯ กำหนดจัดระหว่างวันที่ 2 - 11 ธันวาคม 2565 ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีนีมา เวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยรายชื่อภาพยนตร์ที่จะจัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 จำนวน 53 เรื่อง อาทิAFTERSUNจากUK / US , ALCARRÀSจากSpain / Italy , IN VIAGGIOจากItaly , EOจากPoland / France , NO BEARSจากIran , A ManจากJapan , TORI AND LOKITAจากBelgium , A HUNDRED FLOWERSจากJapan , RULE34 จากBrazil / France , RETURN TO SEOULจากFrance-SouthKorea-Cambodia-Germany-Belgiumสามารถดูรายละเอียดได้ที่https://www.facebook.com/photo?fbid=118843937646988&set=pcb.118851077646274 “จากนี้ไป กระทรวงวัฒนธรรมจะผลักดันการเติบโตของมูลค่าซอฟต์พาวเวอร์ โดยเฉพาะในหมวดFilmภาพยนตร์และวีดิทัศน์ แอนนิเมชัน เกม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซีรีส์ของประเทศไทยซึ่งกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ เป็นไปตามนโยบายปรับบทบาทเป็นกระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ ใช้ทุนวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ในท้องถิ่น สร้างงาน สร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม”นายอิทธิพล กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62085
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชาวประมงมีเฮ !!! “เฉลิมชัย” ห่วงใยชาวประมง เร่งดีเดย์สินเชื่อเสริมสภาพคล่อง 5 พันล้าน เปิดยื่นกู้ 15 ธันวาคมนี้
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ชาวประมงมีเฮ !!! “เฉลิมชัย” ห่วงใยชาวประมง เร่งดีเดย์สินเชื่อเสริมสภาพคล่อง 5 พันล้าน เปิดยื่นกู้ 15 ธันวาคมนี้ ชาวประมงมีเฮ !!! “เฉลิมชัย” ห่วงใยชาวประมง เร่งดีเดย์สินเชื่อเสริมสภาพคล่อง 5 พันล้าน เปิดยื่นกู้ 15 ธันวาคมนี้ “อลงกรณ์” มอบกรมประมงจับมือกรมเจ้าท่า เตรียมเปิดขึ้นทะเบียนเรือประมงเพื่อการท่องเที่ยว เพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ให้ชาวประมง นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ครั้งที่ 5/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ zoom cloud meeting ณ ห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง (เมื่อวันที่ 24 พ.ย.65) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง นายอำนวย คงพรหม ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล นางสาวสัมพันธ์ ปานจรัตน์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนองค์การสะพานปลา และผู้แทนองค์กรการประมง เช่น ผู้แทนสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมประนอกน่านน้ำ ผู้แทนสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ฯลฯ โดยมี นายพัฒนพงศ์ ชูแสง ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ เป็นเลขานุการการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบตามโครงการ ดังนี้ 1) คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้สนับสนุนการดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงามในการส่งออกต่างประเทศ (Aqua Feed & Ornamental Fish Industry : AFOF) และมอบหมายกรมประมง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมพิจารณาหารือในการสนับสนุนงบประมาณหรือการลงทุนจากภาคเอกชนโครงการนี้ 2) ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการใช้ประโยชน์เรือประมงเพื่อการท่องเที่ยว โดยมอบหมายกรมประมง กรมเจ้าท่า และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ จัดประชุมหารือในความร่วมมือกับตัวแทนองค์กรประมง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางออกใบอนุญาตทะเบียนเรือประมงเพื่อการท่องเที่ยว สามารถประกอบการทั้งประเภทท่องเที่ยวจับสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ๆ เช่น การดูปลาวาฬบรูดา และการดำน้ำเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวประมง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าในโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดดำเนินการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องชาวประมง ได้แก่ (1) ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง ระยะที่ 2 โดยมีวงเงินสินเชื่อรวม 5,000 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงดำเนินการ สำหรับวงเงินสินเชื่อแบ่งเป็น (1.1) ธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท โดยสนับสนุนรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท (1.2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สินเชื่อผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท โดยสนับสนุนรายละไม่เกิน 5 ล้านบาท ทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการด้านสินเชื่อ ระยะที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมประมง เป็นประธาน จะมีการประชุมกำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืม ในวันที่ 6 ธันวาคม 2565 จากนั้นหน่วยงานในพื้นที่จะทำการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวประมงมายื่นความประสงค์ขอกู้ยืม ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ห่วงใยพี่น้องชาวประมงจึงได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และมอบกรมประมงเร่งรัดดำเนินการโดยเร็ว เพื่อเป็นสินเชื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ (2) ความก้าวหน้าการดำเนินงานคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสภาการประมง พ.ศ. .... และ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนประมง พ.ศ. ....ซึ่งกรมประมงได้มีการปรับปรุงร่างดังกล่าว และได้จัดทำหน้งสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป (3) รับทราบโครงการน้ำมันเพื่อการประมง เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงพาณิชย์และพื้นบ้านในการลดต้นทุนกการประกอบอาชีพประมง (4) ความคืบหน้าโครงการนำเรืออกนอกระบบ โดยวิธีบริหารจัดการแบบใหม่ให้แล้วเสร็จภายในปีหน้า (5) ความร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล การส่งเสริมการปลูกป่าโกงกาง การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล การเพิ่มหญ้าทะเลที่เป็นอาหารสัตว์น้ำ (6) การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกใหม่ที่จะมีบทบาทในการพัฒนาการประมงโดยเฉพาะในท้องที่ติดชายฝั่งทะเลและท้องที่ที่มีประมงเพาะเลี้ยง (7) การพัฒนาประมงท่องเที่ยวโดยใช้ท่าเรือประมงที่เป็นของกรมประมง และการพัฒนาระบบตลาดสัตว์น้ำเพื่อสร้างระบบการค้าที่เป็นธรรม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาท่าเทียบเรือและแพปลาท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากคลองระบายน้ำ เช่น กรณีหมู่บ้านประมงโตนดน้อย ตำบลหนองขนาน จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบ ความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้คำสั่งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ดังนี้ (1) คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพื้นบ้าน (1.1) ความก้าวหน้าโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตการประมง และได้สนับสนุนให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มและขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น สมาชิกจำนวน 106,108 ราย จำนวน 2,820 องค์กร (1.2) ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประมง เพื่อเป็นการสร้างรายได้ จำนวน 200 ชุมชน ชุมชนละ 100,000 บาท งบประมาณ 20,000,000 บาท กระจายสู่ 50 จังหวัด เป็นพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเล 22 จังหวัด และ 28 พื้นที่จังหวัดแหล่งน้ำจืด (2) คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพาณิชย์ และการประมงนอกน่านน้ำไทย (3) คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (4) คณะอนุกรรมการพัฒนาผลิตผลผลิตภัณฑ์ประมงและการพาณิชย์ (5) คณะทำงานโครงการ Fisherman’s Village Resort และ (6) คณะทำงานส่งเสริมและพัฒนาการกระจายสินค้าประมงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62083
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อลงกรณ์”โต้”สนธิ ลิ้ม” ประกาศชัดไม่ยอมให้ใครผูกขาดทุเรียนไทย พร้อมชนทุนผูกขาด ลั่นใครเอี่ยวฟันเด็ดขาด มั่นใจผลงานทีมประชาธิปัตย์ 3 ปี ดันทุเรียนไทยผงาดแชมป์จีนสร้างรายได้ทะลุแสนล้
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2565 “อลงกรณ์”โต้”สนธิ ลิ้ม” ประกาศชัดไม่ยอมให้ใครผูกขาดทุเรียนไทย พร้อมชนทุนผูกขาด ลั่นใครเอี่ยวฟันเด็ดขาด มั่นใจผลงานทีมประชาธิปัตย์ 3 ปี ดันทุเรียนไทยผงาดแชมป์จีนสร้างรายได้ทะลุแสนล้ “อลงกรณ์”โต้”สนธิ ลิ้ม” ประกาศชัดไม่ยอมให้ใครผูกขาดทุเรียนไทย พร้อมชนทุนผูกขาด ลั่นใครเอี่ยวฟันเด็ดขาด มั่นใจผลงานทีมประชาธิปัตย์ 3 ปี ดันทุเรียนไทยผงาดแชมป์จีนสร้างรายได้ทะลุแสนล้านเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ชี้แจงวันนี้ว่า ตามที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกรายการ Sonthitalk (ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง) เผยแพร่ทางยูทูปเรื่อง”แฉทุนจีนสีเทาผูกขาดทุเรียนไทย”นั้นต้องขอบคุณที่ให้ความสนใจนำเสนอเรื่องดังกล่าวและได้ให้คำแนะนำในเรื่องการป้องกันการผูกขาดและการค้าทุเรียนอ่อนด้อยคุณภาพรวมทั้งปัญหาล้งนอมินีที่อาจกระทบต่อทุเรียนไทย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับข้อห่วงใยของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด) เช่นเดียวกันโดยได้ให้กรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเป็นปัญหาที่หมักหมมสะสมมานานให้ลุล่วงโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ จากผลการบริหารจัดการผลไม้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจนสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับสามารถยกระดับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียนจนประสบความสำเร็จทำให้ผู้บริโภคจีนเขื่อมั่นในคุณภาพผลไม้ไทย ส่งผลให้ราคาทุเรียนหน้าสวนและหน้าล้งดีต่อเนื่องมากว่า 2 ปี ทำรายได้เพิ่มให้กับชาวสวนทุเรียนของไทยแม้ว่าต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด19และผลกระทบจากสงครามรัสเซีย – ยูเครน ซึ่งต้องทำงานด้วยความยากลำบาก แต่ก็ฝ่าฟันมาได้ เป็นผลให้ในปีที่ผ่านมาผลไม้ไทยสามารถครองใจผู้บริโภคชาวจีนจนครองส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ตามมาด้วยชีลิที่เป็นอันดับ 2 ซึ่งครองสัดส่วนตลาดร้อยละ 15 และเวียดนามครองอันดับที่ 3 ด้วยสัดส่วนตลาดร้อยละ 6 สามารถสร้างรายได้จากตลาดจีนกว่า 2 แสนล้านบาท ยิ่งกว่านั้นทุเรียนสดของไทยยังสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดโลกกว่าร้อยละ 70 และครองส่วนแบ่งในตลาดจีนสูงเกินกว่าร้อยละ 90 ด้วยปริมาณการส่งออกไปตลาดจีนกว่า 8 แสนตันคิดเป็นมูลค่าทะลุ 1 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สำหรับปีนี้ได้ส่งออกทุเรียนสดไปจีนแล้วกว่า 7 แสนตันมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาทระหว่างวันที่ 1 ก.พ.ถึง 17 พ.ย.2565 ความสำเร็จข้างต้นเป็นผลมาจากยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตและยุทธศาสตร์ 3 s(safety security sustainability)โดยรูปแบบการทำงานเชิงรุกล่วงหน้าบูรณาการทุกภาคส่วนด้วยกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ แบบออนไลน์ออฟไลน์และการทำพิธีสารส่งออกนำเข้าผลไม้ไทย – จีนฉบับใหม่จนเปิดด่านจีนได้เพิ่มขึ้นเป็น 10 ด่าน และสามารถเพิ่มการขนส่งทางรางด้วยรถไฟ จีน – ลาวได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยกำลังขยายเป้าหมายเส้นทางขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรของไทยไปยังเอเซียกลาง ตะวันออกกลางและยุโรป “ส่วนหนึ่งของความสำเร็จเป็นผลมาจากนโยบายยกระดับคุณภาพมาตรฐานและมาตรการป้องกันการปนเปื้อนโควิดของผลไม้ไทย โดยเฉพาะการปราบปรามทุเรียนอ่อนทุเรียนด้อยคุณภาพและทุเรียนสวมสิทธิ์อย่างเด็ดขาดของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ด โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯ กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง สมาคมผลไม้ สหกรณ์และตัวแทนเกษตรกร โดยต้องไม่ให้ลูบหน้าปะจมูก เช่น กรณีการแอบอ้างเป็นที่ปรึกษาหรือคนรู้จักกับฝ่ายการเมืองไม่ว่าพรรคฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ต้องไม่ละเว้นให้ดำเนินคดีให้หมดทุกราย และหากนักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ทุจริตต่อหน้าที่โดยเรียกรับผลประโยชน์จะถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด ยืนยันว่าไม่มีฝ่ายการเมืองในกระทรวงเกษตรฯ ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนจีนสีเทา จึงขอให้กลั่นกรองข่าวสารข้อมูลอย่างถ้วนถี่ หรือตรวจสอบข้อมูลกับฟรุ้ทบอร์ดหรือตนได้ตลอดเวลาทั้งในและนอกเวลาราชการ ส่วนกรณีใบรับรอง GAP จำนวน 8 หมื่นฉบับที่ต้องปรับรหัสตามระบบใหม่เพื่อให้การบริหารข้อมูล GAP ของประเทศไทยและประเทศจีนทันสมัยมากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบย้อนกลับ(traceability)ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การทำงาน แบบใหม่ โดยทางอธิบดีกรมวิชาการรายงานต่อฟรุ้ทบอร์ดว่าได้จัดหน่วยพิเศษเพิ่มขึ้นเพื่อดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยทันฤดูกาลใหม่ที่จะมาถึงแน่นอน การบริหารจัดการผลไม้ยังต้องแก้ไขปัญหาอีกมากทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบไม่ใช่ว่า 3 ปีจะแก้ไขได้หมดทุกเรื่องทุกประเด็น โดยเฉพาะเรื่องปัญหาคุณภาพมาตรฐานและปัญหาระบบการค้าเพราะเป็นปัญหาที่หมักหมมสะสมมานานหลายสิบปี รวมทั้งการยกระดับการป้องกันการปนเปื้อนของโควิด 19 เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19ระลอกใหม่อย่างรุนแรงในประเทศจีนในช่วงนี้และยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใด ก็ต้องสร้างความพร้อมในการรับมือเผชิญหน้ากับปัญหาผลผลิตเพิ่มและคู่แข่งใหม่ๆ ภายใต้แผนบริหารจัดการผลไม้ 5 ปีอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็นที่ว่ากลุ่มทุนจีนสีเทาวิ่งเต้นอยู่เบื้องหลังการย้าย ผอ.สวพ.6 เพื่อเปิดช่องให้ขบวนการค้าทุเรียนอ่อน สมประโยชน์นั้น ยืนยันว่า ไม่มีใครมาวิ่งเต้นให้ย้าย ผอ.สวพ.6 ซึ่งเหตุผลการโยกย้ายเป็นไปตามที่อธิบดีกรมวิชาการได้แถลงชี้แจงไปแล้วอยู่จังหวัดเดียวมา 30 กว่าปี มีประสบการณ์ความรู้ควรไปช่วยทุกภาคเพื่อประโยชน์ของผลไม้ทั้งประเทศวันหน้าเป็นรองอธิบดีเป็นอธิบดีได้ ไม่อยากให้ลาออก หรืออาจจะไปเล่นการเมืองเป็น ส.ส. แบบพี่ชายก็ห้ามกันไม่ได้ ขออย่างเดียวอย่าเอาการเมืองมาปั่นจนกระทบการค้าการส่งออกทุเรียนไปจีนที่กำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดี การออกข่าวหรือเคลื่อนไหวอะไรให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยกับจีน และความรู้สึกของคนจีนที่มีความรักคนไทยและผลไม้ไทยมิฉะนั้นจะกลายเป็นทุบหม้อข้าวชาวสวนผลไม้ไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ ฟรุ้ทบอร์ดได้กำชับให้กรมวิชาการต้องทำงานแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนทุเรียนด้อยคุณภาพทุเรียนสวมสิทธิ์ให้ดีกว่าเดิมยิ่งๆขึ้นไปอีก ที่ผ่านมาจับกุมดำเนินคดีได้น้อยมาก ตรวจแล้วปล่อยก็มีและคดีก็ช้าผิดปกติซึ่งได้มอบให้รองปลัดกระทรวงเกษตรและผู้ตรวจราชการกระทรวงลงไปช่วยสนับสนุนการทำงานในพื้นที่อีกแรงหนึ่ง เพราะยิ่งตลาดดีราคาดีคนก็มาปลูกมาค้าทุเรียนมากขึ้นมีมือใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเนื่องจากเห็นเป็นโอกาสทองของทุเรียนไทย โดยฟรุ้ทบอร์ดพร้อมส่งเสริมคนไทยให้เป็นผู้ประกอบการล้งอย่างต่อเนื่องและจะมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบปัญหาการขายสวนทุเรียนให้ต่างชาติ ปัญหาทุนสีเทา ปัญหานอมินีและเรื่องสินเชื่อพิเศษสำหรับผู้ประกอบการล้งต่อไป เราจะไม่ยอมให้ใครมาผูกขาดทุเรียนไทย โดยเฉพาะตนยืนคนละฝั่งกับกลุ่มทุนผูกขาดไม่ว่าใหญ่แค่ไหนไม่เคยกลัว อย่าว่าแต่ทุนใหญ่ต่างด้าวเลยแม้แต่ยักษ์ใหญ่ในประเทศก็ชนมาแล้ว”นายอลงกรณ์ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62042
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกฯ หารือ USABC เสนอ 3 แนวทางการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจ มุ่งส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างสมดุลและครอบคลุม
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ​นายกฯ หารือ USABC เสนอ 3 แนวทางการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจ มุ่งส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างสมดุลและครอบคลุม ด้านเอกชนสหรัฐฯ ชื่นชมความสำเร็จประธานเอเปคของไทย และยืนยันบทบาทฐานะหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย วันนี้ (28 พฤศจิกายน 2565) เวลา 10.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล คณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน (U.S. - ASEAN Business Council: USABC) เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยในครั้งนี้ มีบุคคลสำคัญเข้าร่วมการหารือด้วย ดังนี้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สำหรับนักธุรกิจสหรัฐฯ ได้แก่ H.E. Mr. Robert Godec (นายโรเบิร์ต โกเดค) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย นาย Ted Osius ประธาน USABC และผู้แทนบริษัทสมาชิก จำนวน 43 บริษัทจากกลุ่มอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ อาทิ พลังงาน อาหารและการเกษตร สาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการทางการเงิน ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบ USABC และภาคเอกชนสหรัฐฯ ถือเป็นมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยมายาวนาน และมีบทบาทสนับสนุนการเติบโตของไทยมาโดยตลอด โดยการพูดคุยในวันนี้จะเป็นโอกาสดีที่จะสานต่อการหารือถึงพัฒนาการสำคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะภายหลังจากที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค พร้อมย้ำว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือ และการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกับภาคเอกชน ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า ไทยมีพัฒนาการที่ดีทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมภายหลังรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ มีพลวัตเพิ่มขึ้นและคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ไทยได้ผลักดันผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ทั้งการทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย แปซิฟิก (FTAAP) ในบริบทหลังโควิด-19 การฟื้นฟูความเชื่อมโยง โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว รวมทั้งการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม โดยการนำเสนอเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจ สีเขียว (Bangkok Goals on BCG) รวมทั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิก (IPEF) ที่ไทยเข้าร่วมตั้งแต่ต้น และถือเป็นเวทีความร่วมมือรูปแบบใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือเพื่อรับมือกับประเด็นท้าทายใหม่ ๆ โดยนายกรัฐมนตรีย้ำว่า ไทยพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตระหว่างร้อยละ 2.7-3.2 ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เพื่อมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งและการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างสมดุลและครอบคลุม และให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม บนพื้นฐานโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุนของภูมิภาค ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้าน BCG ด้านผู้มีศักยภาพจากทั่วโลก ด้านโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค และด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เสนอวิสัยทัศน์ และแนวทางการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจไทยในยุค Next Normal 3 ประการ ได้แก่ หนึ่ง ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีความสมดุล ไทยให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว โดยเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ และมุ่งเข้าสู่การเป็นสังคมปลอดคาร์บอน โดยรัฐบาลได้เร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นสีเขียว โดยประสงค์จะได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน เพื่อยกระดับไทยไปสู่การผลิต EV สำหรับภูมิภาค พัฒนาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บ คาร์บอน สอง ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ไทยพร้อมสร้างโอกาสทางการค้า มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน โดยรัฐบาลได้เร่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจตามข้อเสนอ Ten for Thailand เพื่อพัฒนาไทยไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคสำหรับธุรกิจ การค้า และการลงทุน และ สาม ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ไทยมุ่งผลักดันและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เร่งพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น และส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล นายกรัฐมนตรีหวังว่า ในโอกาสฉลองครบรอบ 190 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในปี 2566 ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนจะเพิ่มพูน และแน่นแฟ้น มีพลวัตในความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านประธาน USABC กล่าวยินดีที่ได้พบกันอีกครั้งภายหลังจากที่ได้พบหารือกันในรูปแบบกึ่งออนไลน์ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้พบกันพร้อมหน้า และเป็นคณะที่ใหญ่สุดที่เดินทางมาประเทศไทย รวม 43 บริษัทที่มาในวันนี้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือกับไทย และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการลงทุนในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะประเทศไทย และถือเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลองวาระครบครบรอบ 190 ปีของความสัมพันธ์ไทย - สหรัฐฯ ในปีหน้าด้วย พร้อมชื่นชมความสำเร็จที่นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธานการประชุมเอเปค 2022 ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งไทยได้ตั้งมาตรฐานไว้สูงมากในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค และสนับสนุนการส่งเสริมความยั่งยืนผ่านแนวคิด BCG ส่วนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวขอบคุณที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นต่อคณะสภาธุรกิจในวันนี้ ชื่นชมความสัมพันธ์ไทย - สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยั่งยืนยาวนาน ทั้งสองฝ่ายร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธ์ในหลายระดับ ทั้งรัฐบาล ประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งถือว่าความสำคัญระหว่างภาคเอกชนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลสหรัฐฯ ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของการประชุมเอเปค และพร้อมรับไม้ต่อในการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีหน้า เน้นย้ำว่า สหรัฐฯ ยืนยันจะส่งเสริมความร่วมมือกับไทยต่อไป ด้านผู้แทนจากบริษัทภาคเอกชนสหรัฐฯ ทั้ง 43 บริษัทจาก 6 อุตสาหกรรมหลัก ได้กล่าวแนะนำตัวและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยแสดงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือและสนับสนุนแนวคิด BCG ของไทยผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านการใช้พลังงาน ผลิตภัณฑ์ อย่างคุ้มค่าและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวแทนบริษัทส่วนใหญ่เห็นว่า ไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์การกลางลงทุนในด้านต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ (Auto Hub) ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้ง พร้อมที่จะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่พร้อมต่อการทำงาน ซึ่งจะช่วยรองรับการขยายการลงทุนของแต่ละธุรกิจในอนาคตต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62064
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. หนุนองค์กรเกษตรกร ร่วมเจรจาการค้า ADBC จีน
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ธ.ก.ส. หนุนองค์กรเกษตรกร ร่วมเจรจาการค้า ADBC จีน ธ.ก.ส. ร่วมธนาคารเกษตรจีน พัฒนาศักยภาพเกษตรกรทั้งการผลิตและการตลาด พร้อมดึงเอกชนจากประเทศจีน ร่วมเจรจาการค้ากับสถาบันเกษตรกรในการเชื่อมโยงการส่งออกข้าวและมันสำปะหลังจากเกษตรกรผู้ผลิตไปยังตลาดต่างประเทศโดยตรง วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2565) นายเสกสรรค์ จันทร์ขวาง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นประธานการประชุม Business Matching for BAAC and ADBC Clients ระหว่างธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งประเทศจีน (Agricultural Development Bank of China : ADBC) นำโดย Mr. Zhu yuan yang ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ADBC และคณะ กับ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ร้อยเอ็ด จำกัด สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด ผู้ประกอบกิจการรวบรวมข้าว สีข้าว จัดจำหน่ายและรับทำ OEM และ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. กำแพงเพชร จำกัด ผู้ประกอบกิจการรับซื้อมันสำปะหลังสดและแปรรูปเป็นมันเส้นเพื่อจำหน่าย โดยสถาบันเกษตรกรทั้ง 2 แห่ง ถือเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองคุณภาพการผลิตตามมาตรฐานสากล และมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก โดยประชุมเจรจาผ่านระบบ VDO Conference การจัดประชุมเจรจาทางการค้าครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าของ ธ.ก.ส. สามารถขยายขอบเขตการทำธุรกิจจากในประเทศเติบโตสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ และเชื่อมโยงให้ลูกค้าของธนาคาร ADBC สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตและวัตถุดิบสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมจากผู้ผลิตต้นน้ำโดยตรง โดยบริษัทที่ร่วมเจรจา ประกอบด้วย 1) บจก.เซียะเหมิน ฮุยเฟิง อินดัสเทรียล 2) บจก.กวงซี จินหยวน ไบโอเคมีคอล อินดัสทรี 3) บจก.จินยี่เหมิง กรุ๊ป 4) บจก.เจียงซี ไรซ์ อินดัสทรี 5) บจก. ซูโจว ว่านเซิน นู้ดเดิล โปรดักซ์ ซึ่งทั้งหมดเป็นลูกค้าที่ธนาคาร ADBC ให้การสนับสนุน ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าจะเป็นคู่ค้าที่มีศักยภาพในด้านของเงินทุนและกำลังซื้อ โดยในส่วนของ ธ.ก.ส. จะอำนวยความสะดวกในการคัดกรองผู้ส่งออกที่มีความสามารถในการผลิตและส่งสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน และดูแลในการชำระเงินระหว่างประเทศให้แก่ลูกค้าทั้งสองธนาคาร การประชุมครั้งนี้จึงเป็นความร่วมมือเบื้องต้นเพื่อขยายผล รวมไปถึงตลาดผลิตผลหลักทางการเกษตรประเภทอื่น ๆ ของลูกค้า ธ.ก.ส. ต่อไป ทั้งนี้ ธ.ก.ส. และ ADBC ได้ลงนามความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2548 ไม่ว่าจะเป็นการอบรมพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพของบุคลากร การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความเชี่ยวชาญในบริบทของการพัฒนาธุรกิจรายย่อยและขนาดกลาง ต่อยอดมาถึงการพัฒนาลูกค้า ในด้านการส่งเสริมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าผลผลิต รวมถึงการเชื่อมโยงด้านการตลาดระหว่างลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคาร ซึ่งนอกจากสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าแล้ว ยังสร้างโอกาสในด้านธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62054
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนพฤศจิกายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร เป็นสำคัญ” นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนพฤศจิกายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร เป็นสำคัญ” โดยมีรายละเอียดดังนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 80.9 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมจากคู่ค้าต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 79.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเพิ่มขึ้น และในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการในบางพื้นที่มีการขยายกิจการ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการบางรายในพื้นที่จะขยายกิจการเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 74.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูป และในภาคบริการ เนื่องจากผลประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 68.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากนักท่องเที่ยวให้ความสนใจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในภาคเกษตร เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตร ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 66.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการภาคบริการบางรายจะขยายกิจการในอนาคต สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 56.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น และในภาคเกษตร จากความต้องการสินค้าเกษตรของประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2565 (ณ เดือนพฤศจิกายน 2565) กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ดัชนีความเชื่อมั่น อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 56.3 80.9 74.4 79.0 66.7 68.1 76.1 ดัชนีแนวโน้มรายภาค 1) ภาคเกษตร 60.4 80.8 72.1 70.9 61.9 70.7 69.5 2) ภาคอุตสาหกรรม 66.4 82.7 79.2 78.6 65.8 59.4 78.1 3) ภาคบริการ 56.3 85.6 77.7 89.0 75.2 81.6 85.6 4) ภาคการจ้างงาน 51.9 75.3 67.6 74.8 65.0 65.3 68.0 5) ภาคการลงทุน 46.4 79.9 75.5 81.6 65.9 63.5 79.4 กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62072
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.2 ร่วมแสดงความยินดี และมอบรางวัล “ผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง” ประจำปี 2565 จำนวน 26 จังหวัด ย้ำการทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนสามารถช่วยเหลือประชาชนพื้นที่ กินดี อ
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2565 มท.2 ร่วมแสดงความยินดี และมอบรางวัล “ผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง” ประจำปี 2565 จำนวน 26 จังหวัด ย้ำการทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนสามารถช่วยเหลือประชาชนพื้นที่ กินดี อ มท.2 ร่วมแสดงความยินดี และมอบรางวัล “ผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง” ประจำปี 2565 จำนวน 26 จังหวัด ย้ำการทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนสามารถช่วยเหลือประชาชนพื้นที่ กินดี อยู่ดี ครอบครัวมีความสุข วันนี้ (27 พ.ย. 2565) เวลา 09.30 น. ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง ภายในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 40 ภายใต้แนวคิด “Connect the Dot : Enhancing Thailand Competitiveness” โดยมี นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายมงคล จุลทรรศน์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับรางวัล ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานและเลขาธิการหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) ร่วมพิธี นายทรงศักดิ์ ทองศรี เปิดเผยว่า "รางวัลสำเภาทอง" เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติยศของกระทรวงมหาดไทยอันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสัมพันธภาพและมิตรภาพอันดีระหว่างภาครัฐและเอกชนในการบูรณาการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในทุกระดับพื้นที่อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งเป็นการเชิดชูผลงานและแสดงถึงความขอบคุณแด่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้ความสำคัญและดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ มีหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ว่าราชการจังหวัดรางวัลสำเภาทองใน 4 มิติ คือ 1) มิติด้านความร่วมมือและการมีส่วนร่วม 2) มิติด้านการสนับสนุนการดำเนินงานของหอการค้าจังหวัด 3) มิติด้านการบริหารราชการจังหวัด และ 4) มิติด้านความสัมพันธ์และทัศนคติ ในปี 2565 มีผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 26 จังหวัด ได้แก่ 1. นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ 2. นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี) 3. นายไมตรี ไตรติลานันท์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา) 4. นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย 5. นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง 6. นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม 7. นายวิเชียร จันทรโณทัย เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา) 8. นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช) 9. นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี) 10. นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน 11. นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา) 12. นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต 13. นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน 14. นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร) 15. นายชาญนะ เอี่ยมแสง เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง) 16. นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี 17. นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี) 18. นายสิธิชัย จินดาหลวง เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง) 19. นายชัยธวัช เนียมศิริ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลย) 20. นายวัฒนา พุฒิชาติ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ) 21. นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร 22. นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร 23. นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี 24. นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์) 25. นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี) 26. นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี) นายทรงศักดิ์ ทองศรี กล่าวตอนท้ายว่า การดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจมาได้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน โดยส่วนหนึ่งของความสำเร็จดังกล่าว เกิดจากการขับเคลื่อนโดยผ่านกลไกของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีการกินดีอยู่ดี ครอบครัวมีความสุขอย่างพอเพียงแล้ว ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาทางสังคมและปัญหาทางด้านความมั่นคงของประเทศ อันเป็นภารกิจอันดับแรกในความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาของกระทรวงมหาดไทยด้วย นอกจากนี้ ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายประกาศทำสงครามกับยาเสพติดด้วยหลักคิด Change for Good และหลักการทำงานเชิงรุก โดยใช้หลักการกลไก 3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคีเครือข่าย มาเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาการในการขับแคลื่อนปฏิบัติการขจัดยาเสพติดให้สิ้นซากอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการป้องปรามและด้านการบำบัดฟื้นฟูอย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยและประเทศชาติหลุดพ้นจากวงจรยาเสพติดอันเป็นพิษร้ายทำลายเศรษฐกิจและโครงสร้างสังคม และร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่สังคมไทยที่ปลอดยาเสพติดอย่างแท้จริง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62043
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย “Thailand Insurance Symposium 2022”
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 คปภ. เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย “Thailand Insurance Symposium 2022” • ชูผลงานทางวิชาการเรื่อง “ประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐ” เป็นผลงานดีเด่นแห่งปี เผยเล็งนำไปต่อยอดเพื่อขยายผลในทางปฏิบัติต่อไป ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี พ.ศ. 2565 หรือ “Thailand Insurance Symposium 2022” ภายใต้แนวคิด “Thai Insurance Industry at Crossroads: Digitalization, Cyber Risk and Sustainable Growth” จัดโดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งจัดในรูปแบบ hybrid มีผู้เข้าร่วมประชุม ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา คู่ขนานกับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ online โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันภัย ผลิตภัณฑ์ประกันภัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดถึงการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ จากสภาวการณ์ของธุรกิจประกันภัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ซึ่งในการสัมมนามีการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่ได้รับรางวัลของนักศึกษาหลักสูตร วปส. 10 และการบรรยายจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิชั้นนำจากหลากหลายวงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และให้ข้อเสนอแนะระหว่างกัน เพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือและนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยและประยุกต์ใช้ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย เลขาธิการ คปภ. กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับบริบทโลกที่ท้าทายภายใต้ความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่า ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด การเชื่อมต่อฐานข้อมูลในโลกไร้พรมแดน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และความเสี่ยงอุบัติใหม่ (Emerging Risks) ก่อนหน้านี้คำว่า VUCA WORLD ถูกพูดถึงอย่างมาก แต่โลกหลังวิกฤติโควิด-19 เรากำลังเข้าสู่ยุค BANI WORLD ซึ่งเป็นมากว่า “สถานการณ์” ผันผวน,ไม่แน่นอน,ซับซ้อน,คลุมเครือ ที่ถูกพูดถึงใน VUCA แต่จะเป็นการมองไปถึง “ผลกระทบด้านอารมณ์ของคน" ด้วย BANI WORLD ประกอบด้วย B คือ Brittle เปรียบเสมือนโลกที่เปราะบาง ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็ว สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจอาจถูก Disrupt ได้ตลอดเวลา A คือ Anxious เปรียบเสมือนโลกที่เต็มไปด้วยความกังวล อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความกังวลตลอดไป แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตัดสินใจก็ตาม N คือ Nonlinear เป็นโลกที่ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นเส้นตรง ในขณะที่โลกดำเนินไปจะมีปัจจัยแทรกซ้อนหรือสถานการณ์อื่น ๆ เข้ามาส่งผลกระทบแบบที่เราไม่รู้มาก่อน การคาดเดาจึงเกิดขึ้นได้ยาก เราจึงไม่สามารถมองเห็นแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และ I คือ Incomprehensible เป็นโลกที่เข้าใจได้ยาก ทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่มีความชัดเจน อาจต้องใช้สัญชาตญาณช่วยในการหาคำตอบและทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ BANI World จึงเปรียบเสมือนเป็นการรวบรวมเอา VUCA World, Digital Disruption, สังคมสูงวัย และโรคอุบัติใหม่ ๆ เข้ามาไว้รวมกัน จนทำให้โลกของเราเป็นโลกที่เปราะบาง เต็มไปด้วยความกังวล เข้าใจได้ยาก และไม่สามารถคาดการณ์ได้ เราจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร นั่นเป็นคำถามที่เราจะต้องหาคำตอบไปด้วยกัน และสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบประกันภัยเป็นกลไกในการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบ และเป็นเหตุผลที่ธุรกิจประกันภัยอยู่บนทางแยกที่จะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับความเสี่ยงใหม่นี้ สำหรับผลงานทางวิชาการของนักศึกษาหลักสูตร วปส. 10 ที่มีการนำเสนอในเวทีสัมมนาวิชาการครั้งนี้ คือ ผลงานที่ได้รับรางวัลระดับ “ดีเด่น” เรื่อง แนวทางการทำประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยผู้นำเสนอ คือ คุณกฤดา กฤติยาโชติปกรณ์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร กรมสรรพากร และได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยวดี โขวิฑูรกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎหมาย บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้วิพากษ์ผลงาน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานที่ได้รับรางวัลระดับ “ดี” โดยผู้นำเสนอ คือ คุณกฤตยา รามโกมุท ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกิจการทั่วไป บริษัท โกลบอลเทคโนโลยี อินทิเกรเทด จำกัด, คุณนัทธกัญญ์ แซ่ก้วย ผู้อำนวยการอาวุโสเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ คุณทวีพงษ์ เกียรติธนะบำรุง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไพศาลกิจ (1995) จำกัด เรื่อง การพัฒนา Digital Game เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านการประกันชีวิตให้กับประชาชน ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ณดา จันทร์สม อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้วิพากษ์ผลงาน ส่วนผลงานที่ได้รับรางวัลระดับ “ชมเชย” มี 2 รางวัล ได้แก่ เรื่อง การศึกษากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยโควิด-19 แบบเจอ-จ่าย-จบเป็นกรณีศึกษา” และเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อเตรียมความพร้อมคนไทยสู่สังคมสูงวัย (Silver Smile) ซึ่งในโอกาสนี้ ได้มีการมอบรางวัลผลงานวิชาการทั้ง 4 รางวัลด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยซึ่งเป็นผู้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงาน คปภ. ภายใต้โครงการ “โครงการ InsurTech แพลตฟอร์มส่งเสริมและตรวจสอบการซื้อขายการประกันภัยเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน” โดย ผศ.ดร.ณัฐกรณ์ ผิวชื่น มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิจัยดังกล่าว จะเป็นการสร้างนวัตกรรมแอปพลิเคชัน “คปภ. เคียงข้าง” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มส่งเสริมและตรวจสอบการซื้อขายประกันภัยเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน โดยตรวจสอบคำพูดระหว่างการซื้อขายกรมธรรม์ประกันภัยว่ามีแนวโน้มกระทำผิดกฎหมายหรือผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ทั้งในกรณีผ่านระบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เปรียบเสมือนมี คปภ. อยู่เคียงข้าง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยหวังว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและอุตสาหกรรมประกันภัย ในขณะเดียวกันผลงานชิ้นนี้ยังมีความสอดคล้องและต่อยอดกับสิ่งที่สำนักงาน คปภ. กำลังดำเนินการเกี่ยวกับระบบรายงานพฤติกรรมการฉ้อฉลประกันภัย เพื่อให้เชื่อมกับฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย (IBS) และเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ โดยจะนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ ติดตาม และตรวจจับพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉล เพื่อดำเนินการกับกลุ่มมิจฉาชีพได้อย่างทันท่วงทีและลดโอกาสเกิดการฉ้อฉลประกันภัย สำหรับการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในประเทศและวิทยากรต่างประเทศ ได้แก่ หัวข้อ “Initiative to Promote Cyber Insurance Case Study of the Philippines” โดย Mr. Alexander Reyes, Ex-senior Vice President, National Reinsurance Corporation of the Philippines (NatRe) หัวข้อ “ESG recent development in Insurance Sector & What does matter to us here?” โดย Mr.Johann Dutoit, Chief Investment Officer, AIA Thailand และ Mr.Duncan Lee, Director, Investment Environmental, Social & Governance, Group Investment, AIA Group และ หัวข้อ “Insurance Reimagined by Showcasing Transformation with Digital Technologies” โดยคุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์, กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง, หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษาและหัวหน้ากลุ่มธุรกิจ บริการทางการเงิน บริษัท PwC (ประเทศไทย) จำกัด “การจัดงานสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี พ.ศ. 2565 หรือ “Thailand Insurance Symposium 2022” ในครั้งนี้มีความโดดเด่นกว่าปีก่อน ๆ เนื่องจากหัวข้อที่มีการนำเสนอเป็นประเด็นที่ร่วมสมัย และสอดคล้องกับบริบทใหม่ของระบบประกันภัยของไทยที่จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการรองรับความเสี่ยงที่อุบัติใหม่ และเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งจากภาคธุรกิจประกันภัย ภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาคธุรกิจอื่น แลกเปลี่ยนมุมมองและเชื่อมต่อการทำงานผ่านการสร้างพันธมิตรในการประกอบธุรกิจซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้เกิดการเติบโตแบบยั่งยืนของธุรกิจประกันภัยและเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันทั้งในภาคส่วนธุรกิจประกันภัยและธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกันนี้ต้องขอแสดงความยินดีกับผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัลซึ่งจะมีการนำไปต่อยอดขยายผลในทางปฏิบัติต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62052
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพและทักษะในทุกช่วงวัย สนับสนุนให้มีการเทียบโอนได้จากการศึกษาต่างระบบ
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพและทักษะในทุกช่วงวัย สนับสนุนให้มีการเทียบโอนได้จากการศึกษาต่างระบบ โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพและทักษะในทุกช่วงวัย สนับสนุนให้มีการเทียบโอนได้จากการศึกษาต่างระบบ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาได้อย่างคล่องตัว ในขณะที่ยังคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีอิสระในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา โดยต่างมหาวิทยาลัยก็โอนได้ แต่ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวมีสาระสำคัญ อาทิ การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีหลักการ ดังต่อไปนี้ (1) การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาต้องสามารถเทียบโอนได้ทั้งจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (2) การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาต้องยึดหลักความเสมอภาคและธำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (3) สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดให้มีหน่วยงานทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษาและดำเนินการให้มีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาตามกระบวนการและหลักเกณฑ์ที่กำหนด (4) สถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้ในการทดสอบและประเมินผลเพื่อการเทียบโอนที่มีมาตรฐาน สถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ หลักเกณฑ์การเทียบโอนจากการศึกษาในระบบ ระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี (1) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าที่คณะกรรมการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง (2) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนำมาขอเทียบโอนต้องมีสาระสำคัญครอบคลุมรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบโอน (3) ผลการเรียนในรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนำมาขอเทียบโอน ต้องมีระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า (4) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนจากต่างสถาบันอุดมศึกษา ไม่สามารถนำมาคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมได้ ระดับบัณฑิตศึกษา (1) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าที่คณะกรรมการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง (2) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนำมาขอเทียบโอนต้องมีสาระสำคัญครอบคลุมรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบโอน (3) ผลการเรียนในรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนำมาขอเทียบโอนต้องมีระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า (4) การเทียบโอนในรายวิชาวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนดโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา (5) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนจากต่างสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถนำมาคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมได้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62050
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท ลาดยางถนน 16 กิโลเมตร เสร็จสมบูรณ์ สนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 กรมทางหลวงชนบท ลาดยางถนน 16 กิโลเมตร เสร็จสมบูรณ์ สนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เสริมศักยภาพการคมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้ว ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 - บ้านคลองผักขม อำเภอนาดี และอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้ว เสร็จสมบูรณ์ จากนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการสนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เพิ่มศักยภาพการคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและอำเภอให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยแบ่งเบาการจราจรของถนนสายหลัก (ทล.304) และเป็นการพัฒนาชุมชนโดยรอบให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทช. จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 - บ้านคลองผักขม อำเภอนาดี และอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้ว ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 145.400 ล้านบาท โดยการก่อสร้างมีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณ กม. ที่ 0+000 (บ้านทุ่งโพธิ์) และสิ้นสุดโครงการบริเวณ กม. ที่ 16+000 (บ้านอ่างทอง) รวมระยะทางดำเนินการ 16 กิโลเมตร ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างขยายถนนแบบผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตจากเดิมกว้าง 6 เมตร มีไหล่ทางกว้างข้างละ 1 เมตร เป็นผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตกว้าง 7 เมตร มีไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร พร้อมงานปรับปรุงขยายสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 7 แห่ง ตลอดจนการก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในเขตชุมชน การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยในสายทาง บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านคลองตาหมื่น โรงเรียนบ้านราษฎร์เจริญ เพื่อให้ผู้ใช้เส้นทางมีความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางอีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62060
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดกระทรวงดีอีเอส ประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 รองปลัดกระทรวงดีอีเอส ประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครั้งที่ 14 รองปลัดกระทรวงดีอีเอส ประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครั้งที่ 14 วันนี้(28พฤศจิกายน65) ดร.เวทางค์พ่วงทรัพย์รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลครั้งที่14จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลณห้องประชุม801ชั้น8สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม _______________________
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62075
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ทิพานัน” คิกออฟโครงการสร้างเสริมความรู้พิษภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน หวังป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และจุดเริ่มต้นไปสู่สิ่งเสพติดอื่น
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 “ทิพานัน” คิกออฟโครงการสร้างเสริมความรู้พิษภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน หวังป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และจุดเริ่มต้นไปสู่สิ่งเสพติดอื่น “ทิพานัน” คิกออฟโครงการสร้างเสริมความรู้พิษภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน หวังป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และจุดเริ่มต้นไปสู่สิ่งเสพติดอื่น เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพและอนาคตที่ดีของเด็กและเยาวชน น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิด “โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจตระหนักรู้ภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน” ที่ห้องประชุมโรงเรียนนาหลวง เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่แนวโน้มความนิยมบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่ผลสำรวจทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้าและสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทยพบว่า ส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ โดยมีเพียง ร้อยละ 9 ของเด็กและเยาวชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในระดับสูง น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ทั้งนี้เนื่องจากการโฆษณาชวนเชื่อของสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ที่สร้างวาทะกรรมชวนเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา และจะช่วยให้ลดการสูบบุหรี่ลงได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ายังพบสารเสพติดคือ นิโคติน และสารประกอบอื่นๆอีกมากมายในไอของบุหรี่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งยังมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่นโรคหัวใจอีกด้วย ซึ่งรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความห่วงใยสุขภาพลานามัยของประชาชนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัย “โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจตระหนักรู้ภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน” โดยเครือข่ายพัฒนาเยาวชนแห่งกรุงเทพมหานคร จึงมีความสำคัญและจำเป็นที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน และคนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ห่างไกลจากบุหรี่ ป้องกัน ไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่สิ่งเสพติดอื่นๆ ด้านนายณัฐกานต์ สังขดี ประธานที่ปรึกษาเครือข่ายพัฒนาเยาวชนแห่งกรุงเทพมหานคร (พยก.)กล่าวว่า กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจตระหนักรู้ภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน ที่จัดขึ้นในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ากับกลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งปัจจุบันเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาหลายแห่งได้รับข้อมูลที่ไม่รอบด้าน เช่น เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่า จึงไม่ก่อให้เกิดความอันตรายต่อสุขภาพหรือแม้แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีสารนิโคติน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ล้วนเป็นการเร่งพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนให้เข้าถึงอย่างรวดเร็วและอายุของการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้กิจกรรมในวันนี้มีได้ดำเนินการพัฒนาข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมี 3 ข้อเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เรื่องผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครอย่าง (2) บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น บังคับใช้เรื่องพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะรวมถึงการกวดขันการลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และ(3) ประกาศนโยบายให้ทุกสถานศึกษาเป็นสถานศึกษาปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62062
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่ากากระทรวงยุติธรรม ร่วมยินดี 48 ปีสถาปนากรมบังคับคดี ขอเร่งประชาสัมพันธ์งานไกล่เกลี่ย เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน หลังจัดไปแล้ว 77 จังหวัด
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 รัฐมนตรีว่ากากระทรวงยุติธรรม ร่วมยินดี 48 ปีสถาปนากรมบังคับคดี ขอเร่งประชาสัมพันธ์งานไกล่เกลี่ย เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน หลังจัดไปแล้ว 77 จังหวัด รัฐมนตรีว่ากากระทรวงยุติธรรม ร่วมยินดี 48 ปีสถาปนากรมบังคับคดี ขอเร่งประชาสัมพันธ์งานไกล่เกลี่ย เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน หลังจัดไปแล้ว 77 จังหวัด ช่วยไป 94,328 ครอบครัว ทุนทรัพย์ 23,529 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 น. ที่กรมบังคับคดี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่ากากระทรวงยุติธรรมเป็นประธานในพิธี วันสถาปนากรมบังคับคดี ครบรอบ 48 ปี โดยมี นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วย รมว.ยุติธรรม นายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พันตำรวจโท ประวุธ วงศ์สีนิล รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรมและข้าราชการร่วมงาน โดยมีพิธีเจริญพุทธมนต์พระสงฆ์ 10 รูป และคณะผู้บริหารได้ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า กรมบังคับคดีถือเป็นอีกหน่วยงาน ที่มีความสำคัญ ในการทำหน้าที่ด้านกระบวนการยุติธรรม ทางแพ่ง และล้มละลาย ตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งปีที่ผ่านมา ตนขอชื่นชมที่ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือประชาชน ที่มีปัญหาหนี้สิน หรือ ถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ด้วยการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ย หนี้สินครัวเรือน 77 จังหวัด ทั่วประเทศ โดยสามารถช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบปัญหาหนี้สิน ได้ถึง 94,328 ครอบครัว ทุนทรัพย์กว่า 23,529 ล้านบาท และสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ได้กว่า 7,024 ล้านบาท โดยการจัดมหกรรมการไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ได้เสมือนเป็นโมเดลให้กระทรวงต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือประชาชน ที่มีปัญหาหนี้สิน จากผลกระทบโควิด-19 ด้วยการจัดไกล่เกลี่ยหนี้สินเช่นกัน จึงนับว่าเป็นอีกความสำเร็จ ที่กรมบังคับคดีได้ริเริ่มทำ เพื่อให้อีกหลายภาคส่วน ได้เข้ามาขับเคลื่อนต่อ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากเสียงเรียกร้องของประชาชน ที่เข้ารับการไกล่เกลี่ยไม่ทัน ขอให้มีการจัดอีกครั้ง ตนขอให้กรมบังคับคดี เร่งประชาสัมพันธ์แผนงานไกล่เกลี่ย ที่จะจัดขึ้นอีกครั้ง ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน เพราะงานจะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ภายใต้งาน “ไกล่เกลี่ยทั่วไทย สุขใจปีใหม่ 2566” จัดขึ้นที่ กรมบังคับคดี และสาขาสำนักงานบังคับคดีจังหวัด 111 แห่ง ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 19 ธ.ค.65 - 13 ม.ค.66 ซึ่งแต่ละหน่วยงานในกระทรวงอาจจะมีหน้าที่แตกต่างางกัน แต่เราต้องทำงานบูรณาการช่วยเหลือกัน แต่ละหน่วยงานก็ต้องเข้าใจงาน พบปะพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ ขอให้ทุกท่านภูมิใจกับการทำงานให้กับกระทรวงยุติธรรม "ผมขอให้กรมบังคับคดี ไปบูรณาการร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ที่ได้จัดงาน “พร้อมใจไกล่เกลี่ยแก้หนี้ครัวเรือน” ทุกวันเสาร์สิ้นเดือน เริ่มวันที่ 26 พ.ย.65 - 23 ก.ย.66 รวม 11 ครั้ง ที่กระทรวงยุติธรรมเพื่อร่วมกันช่วยเหลือประชาชน ให้ครบทุกมิติ และขอให้ผู้บริหารกรมบังคับคดี ทั้งส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค รวมถึงเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมทุกท่าน ช่วยกันขับเคลื่อนงานแบบเชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงปัญหาของประชาชน และทำให้กระทรวงยุติธรรม กลายเป็นที่พึ่งของประชาชน อย่างแท้จริง ตามนโยบาย ยุติธรรมเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน” นายสมศักดิ์ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62066