title
stringlengths
10
260
context
stringlengths
29
179k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.เกษตรฯ ยกทัพใหญ่ร่วมงานกาชาด 2565 เชิญชวนประชาชนเที่ยวชมบูธที่จัดเต็มความสนุกและสินค้าน่าสนใจให้ชิม ช็อป ใช้ มากมาย
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ก.เกษตรฯ ยกทัพใหญ่ร่วมงานกาชาด 2565 เชิญชวนประชาชนเที่ยวชมบูธที่จัดเต็มความสนุกและสินค้าน่าสนใจให้ชิม ช็อป ใช้ มากมาย ก.เกษตรฯ ยกทัพใหญ่ร่วมงานกาชาด 2565 เชิญชวนประชาชนเที่ยวชมบูธที่จัดเต็มความสนุกและสินค้าน่าสนใจให้ชิม ช็อป ใช้ มากมาย วันที่ 8 ธันวาคม 2565 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณ วรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานกาชาด ประจำปี พ.ศ.2565 ณ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฝ้ารับเสด็จ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมออกร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรในงาน 9 ทศวรรษ ใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย งานกาชาดประจำปี พ.ศ. 2565 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 18 ธันวาคม 2565 เวลา 11.00 – 22.00 น. ณ สวนลุมพินี และระบบออนไลน์ www.งานกาชาด.com และ www.redcrossfair.com โดยกระทรวงเกษตรฯ จะอยู่ในบูธหมายเลข 3.5 ใกล้กับบริเวณน้ำพุ สามารถเข้าทางประตูที่ 3 และ 4 มีการจัดแสดงนิทรรศการ “องค์ความรู้ด้านเกษตรพอเพียงและการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด” พร้อมชิงโชคกับเกมตกปลาหรรษา ลุ้นรับรางวัลต่าง ๆ มากมาย และเลือกซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากโคเนื้อ (เนื้อสเต็กทีโบน, ริบอาย, สันนอก, เนื้อโคขุนเสียบไม้, เนื้อโคขุนสไลด์) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกร (แหนมซี่โครง, แหนมกระดูกอ่อน, สเต็กหมู, คอหมูย่าง, ซี่โครงหมักและขาหมู) จากกรมปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์น้ำ จากร้าน Fisherman Shop กรมประมง มาจัดจำหน่ายด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพารา จากการยางแห่งประเทศไทย อาทิ หมอนยางพารา เบาะรองนั่งยางพารา กระเป๋าสานยางพารา ที่นอนยางพารา ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนากอ จังหวัดนราธิวาส และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรลาดบัวขาว จังหวัดราชบุรี โดยกรมส่งเสริมการเกษตร อาทิ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลูกหยี กล้วยอบน้ำผึ้ง พลังงานแสงอาทิตย์ ส้มแขกตากแดด น้ำผึ้งแท้เขาบูโด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว โดยกรมการข้าว เช่น แคปข้าว ข้างตังอบกรอบหน้าต่าง ๆ ถั่วและธัญพืช กล้วยหน้าธัญพืช ผลิตภันฑ์ที่โดดเด่นจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรโดยพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิ ผักอินทรีย์ น้ำอ้อยและสินค้าของที่ระลึก อาทิ เสื้อม่อฮ่อม กระเป๋ากระจูด ของที่ระลึกลายผ้าขาวม้า หนังสือองค์ความรู้ รวมถึงข้าวหอมมะลิ 100% ตรา อ.ต.ก. น้ำดื่ม อ.ต.ก. โดยองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร นมและผลิตภัณฑ์จากนมไทยเดนมาร์ค โดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และสินค้าอาหารทะเลพร้อมทานที่ทั้งสดและอร่อย โดยองค์การสะพานปลา มาจัดจำหน่ายภายในงาน สำหรับการจัดงานกาชาดในครั้งนี้ เป็นรูปแบบ Hybrid Event ผสมผสานระหว่างงานกาชาด On ground ที่สวนลุมพินี และงานกาชาด Online บนแพลตฟอร์ม www.งานกาชาด.com และ www.redcrossfair.com นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดกิจกรรมหารายได้ของสภากาชาดไทยและเป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับต้น ๆ ที่ปรับรูปแบบการจัดงานให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2563 - 2564 คณะกรรมการ ฯ ได้ปรับรูปแบบการจัดงานกาชาดในรูปแบบออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ โดยการสร้างสรรค์งานกาชาดลงบนแพลตฟอร์มในโลกเสมือนจริง ซึ่งเป็นโอกาสของการขยายกลุ่มผู้เที่ยวชมงานกาชาดออกไปถึงผู้ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดและต่างประเทศ ที่ไม่สะดวกหรือไม่เคยมาเที่ยวงานกาชาด ที่สวนลุมพินี เมื่อการจัดงานในรูปแบบออนไลน์มีผลตอบรับเป็นอย่างดีทั้งการซื้อสินค้าและการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ จึงได้นำมาต่อยอดเป็นการจัดงานแบบผสมผสาน อีกทั้งในปีนี้ยังเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา และทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ครบ 66 ปี จึงได้จัดโซนเฉลิมพระเกียรติขึ้นตามแนวคิดของการจัดงาน “๙ ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดี สภานายิกาสภากาชาดไทย” ก็จะมีกิจกรรมภายในงานที่เชื่อมโยงทั้งที่สวนลุมพินีและที่ www.งานกาชาด.com และ www.redcrossfair.com
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62488
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 กรมทางหลวงชนบท ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เชิญชวนพี่น้องประชาชนเดินทางท่องเที่ยวสาย ชร.3037 และ ชร.5047 สู่ดอยช้าง จังหวัดเชียงราย กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม เชิญชวนพี่น้องประชาชนท่องเที่ยวบนโครงข่ายทางหลวงชนบทสาย ชร.3037 และ ชร.5047 สู่ดอยช้าง ดินแดนแห่งกาแฟ ภูเขา และสายหมอก โดยมีลักษณะเป็นพื้นที่สูงล้อมไปด้วยป่าเขาอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีอากาศเย็นสบาย สามารถปลูกพืชเมืองหนาวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ กาแฟ บ๊วย ท้อ แมคคาเดเมีย อีกทั้งยังเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น ให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพความสวยงามสัมผัสหมอกและแสงยามเช้าได้อย่างเพลิดเพลิน หรือใครที่ชื่นชอบดูดาวยามค่ำคืน บริเวณศูนย์วิจัยดอยช้างจะมีจุดกางเต็นท์ไว้คอยบริการให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ดอยช้างตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย หากเดินทางมาจากตัวเมืองเชียงราย สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 จากนั้นเลี้ยวขวาที่อำเภอแม่ลาว (กม. ที่ 910+103) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 118 เลี้ยวขวา (กม. ที่ 134+050) มาตามสายทางหลวงชนบท ชร.3037 และตัดเข้าสู่สาทางหลวงชนบท ชร.5047 (กม. ที่ 5+150) นอกจากนี้ บริเวณดอยช้างยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้มาเก็บภาพวิวทิวทัศน์หรือแวะซื้อสินค้าประจำถิ่นอีกหลายแห่ง เช่น -จุดชมวิวเขื่อนแม่สรวย ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม รายล้อมไปด้วยหุบเขา ใครที่ต้องการเดินทางไปดอยช้างสามารถแวะจุดชมวิวเก็บภาพบรรยากาศสวย ๆ กันก่อนได้ที่นี่ โดยอยู่ในสายทางหลวงชนบท ชร.3037 (กม. ที่ 3+500) เส้นทางก่อนถึงดอยช้าง -วิสาหกิจชุมชนแปรรูปแมคคาเดเมียดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ โดยนำแมคคาเดเมียซึ่งเป็นผลผลิตที่สำคัญของดอยช้างมาแปรรูปจัดจำหน่ายอย่างหลากหลาย อาทิ แมคคาเดเมียอบ ถ่านแมคคาเดเมีย และน้ำมันแมคคาเดเมียสกัดเย็น เป็นอีกจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถแวะเวียนมาซื้อเป็นของฝากกลับบ้านได้เป็นอย่างดี โดยอยู่ในสายทางหลวงชนบท ชร.5047 (กม. ที่ 5+150) เลยจุดชมวิวดอยช้าง ทั้งนี้ ทช. ได้สนับสนุนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยบริหารจัดการเส้นทางบริเวณโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและรองรับการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชน ทั้งนี้ หากต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทาง สามารถติดต่อได้ที่ [
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62502
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จ.อุบลฯ จัดใหญ่ทิ้งท้ายสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้รณรงค์วันดินโลก ปี 2565 สานพลัง “บวร”และภาคีเครือข่ายมุ่งสร้างความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรดิน ภายใต้แนวคิด อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 จ.อุบลฯ จัดใหญ่ทิ้งท้ายสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้รณรงค์วันดินโลก ปี 2565 สานพลัง “บวร”และภาคีเครือข่ายมุ่งสร้างความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรดิน ภายใต้แนวคิด อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน จ.อุบลฯ จัดใหญ่ทิ้งท้ายสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้รณรงค์วันดินโลก ปี 2565 สานพลัง “บวร”และภาคีเครือข่ายมุ่งสร้างความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรดิน ภายใต้แนวคิด อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน หรือ Soils, where food begins เพื่อมุ่งคืนดินดีให้ผืนแผ่นดิน จ.อุบลฯ จัดใหญ่ทิ้งท้ายสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้รณรงค์วันดินโลก ปี 2565 สานพลัง “บวร” และภาคีเครือข่ายมุ่งสร้างความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรดิน ภายใต้แนวคิด อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน หรือ Soils, where food begins เพื่อมุ่งคืนดินดีให้ผืนแผ่นดิน สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ และระบบนิเวศที่สมดุล ทำให้แผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินทอง เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 65 นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนายสมเจตน์ เต็งมงคล ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เนื่องในโอกาสวันดินโลก และกิจกรรมการทำบุญตักบาตรถนนสายวัฒนธรรม นำสู่ “ดินดี อาหารดี สุขภาพดี ชีวีมีสุข” ซึ่งเป็นกิจกรรมวันสุดท้ายของสัปดาห์แห่งการสร้างความตระหนักรู้ หรือ Awareness Week ในระหว่างวันที่ 2 – 8 ธ.ค. 65 โดยได้รับความเมตตาจากพระราชธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดมณีวนารามและเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระครูโสภณอาภากร เจ้าอาวาสวัดบ้านแขม เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ และที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะสงฆ์ เข้าร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระราชธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม และเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวาระที่เป็นมงคลที่ได้มาร่วมกันแสดงเจตจำนงสุจริตในการประกาศเจตนารมณ์ที่จะดูแลพัฒนาแผ่นดิน ดังที่ท่านทั้งหลายได้รับชมในวิดีทัศน์ ซึ่งได้จัดทำขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผืนแผ่นดิน การประกาศเจตานรมณ์นี้เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญู เชิดชูผืนแผ่นดิน เป็นการทำให้ถิ่นที่อยู่อาศัยในโลกให้มีความสมบูรณ์เราต่างรู้ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่าง พืชพันธุ์ ธัญญาหาร ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากดิน” ด้วยความที่เราอยู่ในแผ่นดิน มีความกตัญญู คือ รู้คุณและตอบแทนแผ่นดิน การแสดงออกซึ่งความกตัญญูนี้สามารถทำได้หลายวิธี การที่พวกเรามาในวันนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งซึ่งจะเป็นสัญญลักษณ์ เป็นแนวทางในการแสดงออกถึงความกตัญญู ดังที่คนโบราณกล่าวไว้ว่า “มีข้าวกิน มีดินอยู่ มีผู้ดูแล นั้นคือ ความสุขของชีวิต พืชพันธุ์ธัญญาหาร ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ก็เพราะผืนแผ่นดิน” นอกจากนี้ ดินยังเป็นที่อยู่ของพวกเราอีกด้วย การมาร่วมแสดงออกในวันนี้จึงเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที เชิดชูแผ่นดิน เชิดชูพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นมหาราช ผู้เป็นที่ได้รับการยกย่องทั่วโลกเป็น “พลังของแผ่นดิน” จนทำให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น วันดินโลก ทำให้เราคนไทยกล้าที่จะประกาศไปสู่ประชาคมโลกว่า แผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แต่การที่จะทำให้ความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้คงอยู่เราจำเป็นจะต้องมีการพัฒนา และมีผู้ดูแล ซึ่งพวกเราจะต้องเป็นผู้ดูแลเป็นผู้สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน คืนความสมดุลให้แก่ธรรมชาติ เสริมสร้างระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน สำหรับบรรยากาศในวันนี้เป็นพิธีแห่งความสมัครสมานสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่เราได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำดีต่อผืนแผ่นดิน สำนึกในคุณค่าของดิน ขอให้การจัดกิจกรรมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ขอให้ทุกดวงใจได้รำลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพลังของแผ่นดินดังที่โลกได้ยกย่องให้ทุกปีเป็นวันดินโลก ขอเจริญพร นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้ให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพื้นที่นำร่องการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เนื่องในวันดินโลก ปี 2565 (World Soil Day 2022) ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมมาตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค. 65 ที่ผ่านจนถึงวันนี้ โดย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ณ วัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม วันที่ 3 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน อำเภอเมืองอุบลราชธานี วันที่ 4 ธันวาคม 2565 ณ บ้านหนองสะโน อำเภอทุ่งศรีอุดม วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ณ บ้านโนนมะเขือ อำเภอกุดข้าวปุ้น วันที่ 6 ธันวาคม 2565 ณ วัดหนองคู อำเภอน้ำยืน วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ณ อำเภอพิบูลมังสาหาร และวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสามารรับชมกิจกรรมย้อนหลังได้ที่ Facebook กระทรวงมหาดไทย PR หรือที่ลิงค์ https://fb.watch/hhBs0vyXWo/ โดยบรรยากาศในงานกิจกรรมการรณรงค์ในวันนี้เต็มไปด้วยความอบอุ่น ความรักใคร่สามัคคี และเจตนาที่จะพลิกฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ซึ่งภายหลังจากการจัดงานในวันนี้กระทรวงมหาดไทยจะได้ขยายผลการสร้างการรับรู้ปลุกเร้าให้พี่น้องประชาชนคนไทยมาร่วมแสดงพลังในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรดิน ด้วยแนวคิด คืนดินดีให้ผืนแผ่นดิน สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ และระบบนิเวศที่สมดุล ทำให้แผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินทอง โอกาสนี้ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้เกียรติเป็นประธานนำขบวนเดินรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของดิน เนื่องโอกาสสัปดาห์แห่งการรับรู้งานวันดินโลก ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน หรือ Soils, where food begins” เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในเรื่อง ดิน ให้แก่ประชาชน และภาคีเครือข่าย ให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน รวมถึงนิทรรศการวันดินโลกและกิจกรรมการเสวนา ภายใต้หัวข้อ “Great food from good soil for better life awareness week” หรือ ดินดี อาหารดี สุขภาพดี ชีวีมีสุข พร้อมเปิดกิจกรรมวันดินโลก ประจำปี 2565 พระเทพวราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีประกาศเจตนารมณ์พร้อมกันกับเครือข่ายพลัง บวร 25 อำเภอ 601 ชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายสมเจตน์ เต็งมงคล ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี ในนามผู้จัดกิจกรรมวันดินโลกประจำปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้หัวข้อ “Great food from good soil for better life awareness week” หรือ ดินดี อาหารดี สุขภาพดี ชีวีมีสุข” กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ ในการนี้ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากพระปัญญาวชิรโมลี ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม มาร่วมกิจกรรม และมีนายสุริยา บุตรจินดา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี นายอำเภอทั้ง 25 อำเภอ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ กลุ่ม SAVEUBON และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฯ นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวทิ้งท้ายว่า ในปัจจุบันทั่วทั้งโลกได้ตระหนักถึงคุณค่าในทรัพยกรดิน ซึ่งเป็นสิ่งตั้งต้นที่ทำให้มนุษย์ของเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นแหล่งก่อกำเนิดปัจจัย ไม่เพียงแต่อาหาร แต่ดินเป็นทั้งแหล่งกำเนิดที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม พืชสมุนไพรหรือยารักษาโรค พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไว้ให้คนไทย กว่า 4,000 โครงการ ซึ่งนับเป็นโชคดีของประชาชนคนไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอด และพระองค์ทรงมีพระราโชบายที่ชัดเจน ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานพระราชปณิธานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในฐานะตัวแทนพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี และประชาชนชาวไทยทุกท่าน ขอเป็นหนึ่งในผู้แสดงเจตนารมณ์ที่มีความตั้งอย่างแน่วแน่ที่จะสนองแนวพระราชปณิธาน เพื่อทำให้คนในชุมชนจุดเล็ก ๆ มีความมั่นคงทางด้านอาหาร มีอาชีพ มีรายได้ มีความตระหนักในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีความสุข เพื่อร่วมอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดินให้อยู่คู่ผืนแผ่นดินไทย ทดแทนคุณแผ่นดินเกิดของเราตราบชั่วลูกหลานของเรา และประชาคมโลก #GlobalSoilPartnership #UNFAO #SEPtoSDGs #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62513
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมาคมแม่บ้าน มท. คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดร้านค้ากาชาดประจำปี 2565 ประเภทหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการรังสรรค์พื้นที่ 894 ตร.ม. ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษ ๑๐ เรื่องราว ใต้ร่มพระบารมี..
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 สมาคมแม่บ้าน มท. คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดร้านค้ากาชาดประจำปี 2565 ประเภทหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการรังสรรค์พื้นที่ 894 ตร.ม. ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษ ๑๐ เรื่องราว ใต้ร่มพระบารมี.. สมาคมแม่บ้านมหาดไทย คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดร้านค้ากาชาดประจำปี 2565 ประเภทหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการรังสรรค์พื้นที่ 894 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษ ๑๐ เรื่องราว ใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 65 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่สภากาชาดไทย จัดงานกาชาดประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด "9 ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย" ระหว่างวันที่ 8-18 ธันวาคม 2565 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา และทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสภากาชาดไทยครบ 66 ปี โดยในการจัดงานดังกล่าว ได้เชิญชวนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมประกวดการออกแบบร้านภายในงานกาชาด โดยกำหนดหลักเกณฑ์ออกแบบตกแต่งร้าน ภายใต้แนวคิด “น้ำพระทัย ใต้ร่มพระบารมี” และเป็นการจัดงานในรูปแบบ Green Fair ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุย่อยสลายหรือสามารถนำกลับไปใช้ซ้ำได้ นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวว่า ผลการประกวดร้านค้ากาชาด ประจำปี 2565 ประเภทหน่วยงานภาครัฐ ปรากฏว่า ร้านสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้ออกแบบร้านกาชาด ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษ ๑๐ เรื่องราว ใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” โดยมีพื้นที่รวม 894 ตารางเมตร ได้รังสรรค์ตกแต่งพื้นที่ให้มีความเป็นธรรมชาติ ร่มรื่น สวยงาม และสร้างสรรค์ เน้นวัสดุตกแต่งจากธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้งานอารยสถาปัตย์เพื่อคนทุกกลุ่ม ทุกวัย สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยในการหวงแหนและรักษาโลกใบเดียวนี้ให้คงอยู่ดังเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ภายในมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยเทคนิค 360 องศา ซึ่งผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้ทั้งรูป กลิ่น เสียง เสมือนเข้ามาเดินเล่นในป่าท่ามกลางธรรมชาติและพรรณไม้นานาชนิด ได้มองท้องฟ้า แลเห็นยอดไม้ จนถึงเทคนิคผสมผสานกลิ่นดอกไม้ป่า พร้อมทั้งสัมผัสกับผลิตภัณฑ์สินค้าจากศูนย์ศิลปาชีพที่สามารถจับต้องได้ สะท้อนพระราชกรณียกิจและเรื่องราวอันเนื่องด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ได้แก่ 1) ความหมายของพระนามาภิไธย ส.ก. สะท้อนความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรชาวไทย 2) 66 ปี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย สะท้อนพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่พระองค์พระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนครอบคลุมทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ให้แก่ลูก ๆ พสกนิกรชาวไทยของพระองค์ และได้แผ่ขยายสายธารพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าไปยังผู้ลี้ภัยที่มาพึ่งใบบุญพระบรมโพธิสมภารอย่างไพศาล 3) ศิลปาชีพ สร้างงาน สร้างอาชีพ สะท้อนแนวพระราชดำริในการทรงก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ เพื่อส่งเสริมอาชีพและธำรงรักษา อนุรักษ์งานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาหัตถศิลป์ หัตถกรรมของบรรพบุรุษ ทั้งการปั้น ทอ จักสาน จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก 4) โขนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ด้วยทรงส่งเสริมฟื้นฟูงานศิลปะการแสดงชั้นสูงของชาติ คือ “การแสดงโขน” ให้กลับคืนสู่สังคมไทย กระทั่งเกิดการแสดงโขนพระราชทาน หรือ โขนมูลนิธิศิลปาชีพอย่างต่อเนื่องซึ่งผลลัพธ์ที่สำคัญของแนวพระราชดำรินี้ ส่งผลให้เมื่อปี 2561 ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียน “โขน” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) ของมวลมนุษยชาติ 5) นานาองค์กรร่วมเฉลิมพระเกียรติคุณ ด้วยเพราะพระองค์ทรงเป็น “ผู้ให้” การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อพยพในหลายเหตุการณ์โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สภากาชาดไทยร่วมมือกับกาชาดสากลดำเนินการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมจนได้รับการถวายการสดุดีจากนานาประเทศ 6) ป่ารักน้ำ ดังพระราชดำรัส “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า” สะท้อนพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะทรงงานด้านการอนุรักษ์ป่าซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายลงจนเสื่อมโทรมให้คืนกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ 7) ทรงอนุรักษ์ป่าชายเลน โดยทรงมุ่งเน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูปรับปรุงและพัฒนาป่าต้นน้ำและป่าชายเลน อันเป็นแหล่งกำเนิด แหล่งอาศัย และแหล่งอาหารตามธรรมชาติของสรรพชีวิต ซึ่งเป็นฐานและต้นทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 8) พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ จากพระราช-กรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ โดยเฉพาะการฟื้นคืนป่าไม้ของประเทศให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์จนเป็นที่ประจักษ์สายตาสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ กระทั่งได้รับการถวายพระนามเป็น “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” 9) ดอกไม้ในพระนามาภิไธยและดอกไม้พระราชทานนาม ด้วยทรงเป็นนักอนุรักษ์พืชพันธุ์ไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้ที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ จนเป็นที่ประจักษ์ได้รับการเทิดพระเกียรติคุณ อัญเชิญพระนามาภิไธย “สิริกิติ์” ไปตั้งเป็นชื่อดอกไม้ อันเป็นที่มาของบุปผาราชินี เพื่อเป็นสมบัติทางธรรมชาติที่ล้ำค่าของประเทศ และ 10) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆและไม้ที่กำลังจะสูญพันธุ์ช่วยสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรพันธุ์พืชไทย และได้มีการน้อมนำพระราชดำริในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ด้วยการส่งเสริมช่องทางการตลาด ทำให้พี่น้องประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าได้จากผู้ผลิตได้โดยตรง อันจะส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนให้กับชุมชน โดยการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชน (OTOP) และจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้กับพี่น้องประชาชน ภายใต้ชื่อ “ร้านนายประหยัด” รวมทั้งมีบริการนวดเพื่อสุขภาพตามตำรับตำราแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้กับประชาชนผู้สนใจอีกด้วย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ มีกิจกรรมเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เพลิดเพลิน ได้ร่วมสนุก ร่วมทำบุญ และลุ้นรับของรางวัล ได้แก่ 1) การจำหน่าย “สลากบำรุงสภากาชาดไทย” ประจำปี 2565 ลุ้นชิงรางวัล 51 รายการ มูลค่ารวม 3,328,500 บาท ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 ทองคำแท่งหนัก 20 บาท 1 รางวัล รางวัลที่ 2 สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท 10 รางวัล และรางวัลที่ 3 สร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท 40 รางวัล โดยจะออกรางวัลในวันอาทิตย์ที่ 18 ธ.ค. 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป และประกาศรายชื่อผู้โชคดีทางเว็บไซต์กระทรวงมหาดไทย www.moi.go.th ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 19 ธ.ค. 2565 2) กิจกรรม “จับผีเสื้อแห่งความจงรักภักดี” ที่ต้นราชพฤกษ์พระราชา และต้นโมกพระราชินี ซึ่งได้ออกแบบจำลองโดยใช้ไม้ไผ่จากวิสาหกิจชุมชน (ลานไม้ไผ่บ้านดงบัง – วงศ์ไผ่ปราจีนบุรี) ผลิตภัณฑ์และงานฝีมือจักสานจากศูนย์การเรียนรู้งอบไทยใบลาน และศูนย์ OTOP ตำบลบ้านม้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการส่งเสริมหัตถกรรม หัตถศิลป์ เครื่องจักสาน ตามแนวพระราชดำริขององค์สภานายิกาสภากาชาดไทย และมีเทคนิคการตกแต่งสไตล์ Gardens by the bay ในประเทศสิงคโปร์ และที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจไปกว่านั้น คือ ที่ต้นราชพฤกษ์พระราชา และต้นโมกพระราชินี จะมี “ผีเสื้อแห่งความจงรักภักดี” ถูกประดับตกแต่งรวมจำนวนกว่า 50,000 ตัว ที่ทุกตัวล้วนประดิษฐ์จากผ้าไทย ผ้าอัตลักษณ์ของ 76 จังหวัดจำลองถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าไม้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศด้วยน้ำพระทัยและพระบารมี ทั้งนี้ เมื่อพี่น้องประชาชนร่วมกิจกรรมจับผีเสื้อเพื่อลุ้นของรางวัลแล้ว ยังได้รับผีเสื้อกลับไปเป็นของที่ระลึกนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ อันเป็นการร่วมสืบสานพระราชปณิธานในการธำรงรักษาอัตลักษณ์ภูมิปัญญาผ้าไทยของบรรพบุรุษให้ได้รับการสืบทอดเป็นอาชีพที่มั่นคงให้กับช่างทอผ้าทั่วประเทศ และ 3) การออกร้าน “ร้านเสื้อผ้าไทยมือใหม่และมือสองราคาสุดพิเศษ” จำหน่ายผ้าไทยทั้งชุดใหม่ และชุดมือสองสภาพดี ในราคาสุดพิเศษ จำนวนจำกัด เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ภาคภูมิใจด้วยการสวมใส่ชุดผ้าไทย หลายรูปแบบ หลากดีไซน์ เพื่อร่วมสนองพระดำริในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผ่านโครงการพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” อันทำให้ช่างทอผ้า ผู้ประกอบการผ้า ได้พัฒนาทักษะ ฝีไม้ลายมือ ด้านการทอผ้า การออกแบบผ้า ให้สอดคล้องกับความต้องการและความนิยมชมชอบของผู้ซื้อ คนทุกวัยใส่ได้ และยังสามารถใส่ได้ทุกโอกาส ซึ่งพี่น้องประชาชนสามารถเลือกสรรชุดผ้าไทย และสินค้าอื่น ๆ ที่ชื่นชอบ ให้กับตนเอง หรือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ที่เคารพนับถือและบุคคลที่เรารักในช่วงเทศกาลแห่งความสุขได้อีกด้วย "ประการสำคัญที่สุดในการออกร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในครั้งนี้ คือ เงินทุกบาททุกสตางค์ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายอย่างใดทั้งสิ้น จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อบำรุงสภากาชาดไทย สำหรับช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ประสบภัยพิบัติตามภารกิจของสภากาชาดไทย อันมีนัยยะที่สำคัญว่า ทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมร้านกาชาดกับกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยจะได้ร่วมกันทำบุญด้วยการ “ให้” อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกิจกรรมร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ในงานกาชาดประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 8–18 ธันวาคม 2565 เวลา 11.00–22.00 น. รวม 11 วัน 11 คืน ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานค" ดร.วันดีฯ กล่าวในช่วงท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62511
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. นำประกาศเจตนารมณ์ "พม.โปร่งใส ร่วมใจต่อต้านการทุจริต" เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล 2565
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 รมว.พม. นำประกาศเจตนารมณ์ "พม.โปร่งใส ร่วมใจต่อต้านการทุจริต" เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล 2565 รมว.พม. นำประกาศเจตนารมณ์ "พม.โปร่งใส ร่วมใจต่อต้านการทุจริต" เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล 2565 วันนี้ (9 ธ.ค. 65) เวลา 08.30 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) นำคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต “พม. โปร่งใส ร่วมใจต่อต้านการทุจริต” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล วันที่ 9 ธันวาคม 2565 ณ บริเวณลานพระประชาบดี จากนั้นรับฟังมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในองค์กรจากผู้บริหารกระทรวง พม. ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ นายจุติ กล่าวว่า ด้วยองค์การสหประชาชาติ (United Nation - UN) ประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็น "วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล" (International Anti-Corruption Day) หลังจากที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติมีมติเห็นชอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (United Nations Convention against Corruption - UNCAC, 2003) โดยได้กำหนดประเด็นความร่วมมือที่สำคัญของรัฐภาคี 3 ประการ ประกอบด้วย 1. ด้านมาตรการเชิงป้องกัน ทุกประเทศต้องมุ่งป้องกันปัญหาคอร์รัปชันเป็นอันดับแรก 2. ด้านการบัญญัติความผิดทางอาญา ทุกประเทศต้องถือว่าการคอร์รัปชันทุกรูปแบบคืออาชญากรรม และ 3. ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ทุกประเทศต้องให้ความร่วมมือในการทำให้อนุสัญญามีผลในทางปฏิบัติได้จริง นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานหลักของภาครัฐในการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างมั่นคงสำหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งวันนี้ กระทรวง พม. ได้จัดกิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต “พม. โปร่งใส ร่วมใจต่อต้านการทุจริต” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เพื่อให้คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวง พม. ได้แสดงเจตนารมณ์มุ่งมั่นในการขจัดปัญหาการทุจริต รวมทั้งสร้างค่านิยมในการต่อต้านการทุจริตและสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน อีกทั้งมีการเสริมสร้างคุณลักษณะ 10 ข้อ "คน พม. ทำได้" (Easy you can do it) ได้แก่ เคารพและให้เกียรติกัน มุ่งมั่นตั้งใจทำงาน ตรงต่อเวลา มีการวางแผน ซื่อสัตย์ พัฒนาตนเอง ทัศนคติดี มีวินัย โปร่งใส และบุคลิกภาพดี นับเป็นการสร้างสังคม พม. ให้เป็นสังคมที่โปร่งใสและใสสะอาด ภายใต้แนวคิด "พม.ไม่ทนต่อการทุจริต" (MSDHS Zero Tolerance) เป็นองค์กรธรรมาภิบาลที่ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย ต่อการทุจริตในทุกรูปแบบ "ข้าพเจ้า นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. ในฐานะผู้บริหารสูงสุดของกระทรวง พม. ขอประกาศเจตนารมณ์ว่า จะทำหน้าที่นำบุคลากรกระทรวง พม. ให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดี เป็นแบบอย่างด้านความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน เสริมสร้างคุณประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน ปฏิบัติงานด้วยความอุตสาหะ เสียสละ ยึดหลักกฎหมาย หนักแน่น เที่ยงตรง มีเกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นข้าราชการ กล้ายืนหยัดเพื่อสิ่งที่ถูกต้อง ไม่คดโกงแผ่นดิน ไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ และไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง จะปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมุ่งประโยชน์ ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ข้าพเจ้า คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้น ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า จะประพฤติปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาท สืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อยอดศาสตร์ของพระราชาผู้ทรงธรรม ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์ จะยืนเคียงข้างประชาชน ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จงรักภักดี เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของประเทศสืบไป" นายจุติ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62521
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมสรรพสามิตสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยการลดภาษี ล่าสุดร่วมลงนามกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย)
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 กรมสรรพสามิตสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยการลดภาษี ล่าสุดร่วมลงนามกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) กรมสรรพสามิตขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อเนื่อง ล่าสุดลงนามข้อตกลงกับ บจก.เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ลดภาษีสรรพสามิต ตามขนาดความจุของแบตเตอรี่สำหรับการนำเข้าและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้น กรมสรรพสามิตขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อเนื่อง ล่าสุดลงนามข้อตกลงกับบจก.เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ลดภาษีสรรพสามิต ตามขนาดความจุของแบตเตอรี่สำหรับการนำเข้าและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยมลพิษ และขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเน้นการดำเนินการในเรื่อง ESG ตามยุทธศาสตร์ EASE Excise ของกรมฯ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่าวันนี้ (9 ธันวาคม 2565) กรมสรรพสามิตได้ลงนามข้อตกลงตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระหว่างกรมสรรพสามิตกับผู้นำเข้ารถยนต์เพิ่มอีก 1 ราย คือ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยบริษัทจะได้รับสิทธิลดอากรศุลกากร และลดภาษีสรรพสามิต ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่ สำหรับการนำเข้ารถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: BEV) ในปี 2565 – 2566 และผลิตรถยนต์ BEV ในปี 2565 – 2568 จากการลงนามในครั้งนี้ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นำเข้าลงนามในข้อตกลงกับกรมสรรพสามิตแล้ว จำนวน 12 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ารถยนต์ จำนวน 9 ราย และรถจักรยานยนต์ จำนวน 3 ราย ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตได้จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์แล้ว จำนวน 1 ครั้ง จำนวนรวมทั้งสิ้น 540 คัน คิดเป็นเงินอุดหนุนจำนวน 81,000,000 บาท และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ ครั้งที่ 2 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,297 คัน คิดเป็นเงินอุดหนุนจำนวน 194,550,000 บาท โดยคาดว่าจะมียอดจองและยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ขอรับสิทธิตามมาตรการฯ ภายในสิ้นปี 2565 รวมกันทั้งสิ้นกว่า 25,000 คัน และจะมีผู้ประกอบอุตสาหกรรม/ผู้นำเข้ารถยนต์ที่สนใจทยอยเข้าร่วมลงนามเพิ่มขึ้นอีกในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจะส่งผลให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ BEV มีราคาลดลงและสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภค หันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นและช่วยส่งผลดีต่อการลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นสิ่งที่กรมสรรพสามิตให้ความสำคัญ และได้บรรจุในเรื่อง สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อยู่ในยุทธศาสตร์ EASE Excise ที่กรมสรรพสามิตจะดำเนินการขับเคลื่อนต่อไป อธิบดีกรมสรรพสามิตกล่าวทิ้งท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62507
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บิ๊กป้อม สั่งกวาดล้างบัญชีม้า เร่ง ดีอีเอส ทำกฎหมายตัดวงจรฉ้อโกงออนไลน์
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 บิ๊กป้อม สั่งกวาดล้างบัญชีม้า เร่ง ดีอีเอส ทำกฎหมายตัดวงจรฉ้อโกงออนไลน์ บิ๊กป้อม สั่งกวาดล้างบัญชีม้า เร่ง ดีอีเอส ทำกฎหมายตัดวงจรฉ้อโกงออนไลน์ พลเอกประวิตรวงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรีสั่งการให้นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)จัดประชุมการแก้ไขปัญหาฉ้อโกงออนไลน์ในวันนี้9ธ.ค. 65โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์วิศิษฏ์สรอรรถปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพลตำรวจเอกดำรงค์ศักดิ์กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษผู้แทนสมาคมธนาคารไทยรวมทั้งผู้แทนกระทรวงการคลัง ที่ประชุมได้สรุปผลของการปฎิบัติงานและสถิติการดำเนินคดีทางอาชญากรรมออนไลน์ที่สำคัญในปี2565ถึงเดือนพฤศจิกายนนี้ประกอบด้วย 1.การปิดกั้นข้อความSMS/โทรหลอกลวงจำนวน94,043หมายเลขและดำเนินคดีแก๊งค์Call center 46คดีจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับจำนวน60ราย 2.การอายัดบัญชีม้าจำนวน47,245บัญชีและปิดกลุ่มโซเชี่ยลมีเดียซื้อขายบัญชีม้าจำนวน8กลุ่ม 3.การดำเนินคดีหลอกลวงลงทุน-ระดมทุนออนไลน์และหลอกลวงทางการเงินจำนวน562คดีจับกุมผู้ต้องหาจำนวน578ราย 4.การปราบพนันออนไลน์โดยดำเนินคดี287คดีมีผู้ต้องหาจำนวน430รายและปิดกั้นเว็บไซต์พนันจำนวน1,691เว็บไซต์ 5.การดำเนินคดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าบริการออนไลน์จำนวน246คดีและจับกุมผู้ต้องหาจำนวน253ราย ในวันนี้ที่ประชุมได้มีพิจารณากรณีที่ลูกค้าที่ใช้บริการShopeePay Walletสูญเงินจากบัญชีโดยที่ลูกค้าไม่ได้เป็นผู้ทำรายการซึ่งตำรวจไซเบอร์อยู่ระหว่างการสืบสวนหาข้อเท็จจริงอย่างไรก็ตามฝากเตือนให้ประชาชนระวังการได้รับSMSหรือข้อความต่างๆซึงอาจทำให้หลงเชื่อว่ามาจากผู้ให้บริการนั้นๆผ่านทางโทรศัพท์มือถือเช่นอาจหลอกโดยการแจ้งว่าaccountมีปัญหาหรือบัญชีถูกระงับมีการโอนเงินแปลกๆพร้อมกับมีการส่งลิงก์ให้กดเพื่อทำการแก้ปัญหาตามที่อ้างและพบว่าคนร้ายอาจติดต่อลูกค้าให้เพิ่มเพื่อนทางLineโดยใช้โลโก้ของบริการนั้นๆและขอรหัสผ่านรหัสบัญชีทั้งนี้ผู้ใช้งานควรพิจารณาการติดต่อต่างๆจะต้องติดต่อผ่านทางแอปของการบริการนั้นๆ เท่านั้นไม่ควรติดต่อผ่านช่องทางอื่น และที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าตามแนวทางมาตรการเร่งด่วนแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงทางออนไลน์โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญมีเป้าหมายแล้วเสร็จใน30วันได้แก่ 1.กระทรวงดิจิทัลฯจัดทำร่างพ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงทางออนไลน์พ.ศ. ....ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโดยมีบทลงโทษการซื้อขายบัญชีม้า(หรือบัญชีธนาคารที่คนร้ายซื้อมาเพื่อใช้รับโอนเงินของเหยื่อ)การโฆษณาซื้อขายบัญชีม้าการทำให้ธนาคารสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันสำหรับของพฤติกรรมที่ต้องสงสัยและสามารถระงับพฤติกรรมดังกล่าวได้เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ประชาชนตัดวงจรอาชญากรรมฉ้อโกงออนไลน์ก่อนกระทบในวงกว้างซึ่งในการจัดทำพ.ร.ก.ได้ดำเนินการร่วมกับทุกหน่วยงานปปง.สตช.ธปท.สมาคมธนาคารไทย กสทช. 2.กระทรวงดิจิทัลฯร่วมกับธนาคารกรุงไทยยกระดับการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่นเป๋าตังโดยกระทรวงดิจิทัลได้ลงนามความร่วมกับกับธนาคารกรุงไทยจำกัด(มหาชน)เมื่อวันที่8ธ.ค. 65ประชาชนสามารถรับทราบรูปแบบการฉ้อโกงทางออนไลน์ในรูปแบบต่างๆเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพผ่านแอปเป๋าตังซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า40ล้านคนทั่วประเทศ 3.ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกแนวนโยบายเพิ่มเติมกำหนดให้ธนาคารมีการตรวจสอบชื่อเจ้าของเบอร์โทรศัพท์และชื่อบัญชีเงินฝากให้ตรงกันรวมทั้งให้mobile bankingใช้งานได้1หมายเลขโทรศัพท์ต่อ1อุปกรณ์ 4.สมาคมธนาคารไทยป้องกันการหลอกโอนเงินผ่านRemote Control Applicationของคนร้ายและมีการแจ้งเตือนลูกค้าผ่านmobile bankingอย่างต่อเนื่อง 5.ปปง.จัดการแก้ไขปัญหาการรับจ้างเปิดบัญชีม้าโดยแจ้งข้อมูลบัญชีม้าผ่านระบบให้ธนาคารจัดการในกรณีที่เป็นบัญชีผิดกฎหมายและคาดว่าจะปิดบัญชีม้าได้7,000 - 10,000บัญชีใน1เดือน 6.สำนักงานกสทช.ดำเนินการจัดการผู้ครอบครองซิมโทรศัพท์จำนวนมากและไม่ลงทะเบียนยืนยันตัวตนตามระบบหากไม่มายืนยันให้ถูกต้องจะถูกระงับการให้บริการเพื่อป้องกันการนำSIMไปใช้ทำผิดกฎหมาย นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯกล่าวว่า“ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมากต้องขอขอบคุณความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทยสมาคมธนาคารไทยสำนักงานปปง.ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบE-Banking / Mobile Bankingการป้องกันการโอนเงินผ่านRemote control Applicationที่คนร้ายใช้และสำนักงานกสทช.เร่งจัดการกับผู้ถือครองSimจำนวนมากและยังไม่ลงทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายและสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ดำเนินคดีต่อผู้ทำความผิด” บิ๊กป้อมย้ำ“รัฐบาลให้ความสำคัญและเร่งรัดการดำเนินการในทุกด้านเพื่อปกป้องประชาชนจากมิจฉาชีพและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขกฎหมายการสร้างความตระหนักรู้การปราบปรามผู้กระทำความผิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนโดยวันนี้ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการให้เห็นผลใน30วัน” ______________
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62516
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.เฮ้ง สั่ง กสร. และหน่วยงานในสังกัด เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและช่วยเหลือลูกจ้างขับรถรับส่งนักท่องเที่ยวไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงาน
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 รมว.เฮ้ง สั่ง กสร. และหน่วยงานในสังกัด เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและช่วยเหลือลูกจ้างขับรถรับส่งนักท่องเที่ยวไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ห่วงลูกจ้างทำหน้าที่ขับรถรับส่งนักท่องเที่ยวไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงาน สั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และหน่วยงานในสังกัด เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อมวลชนเสนอข่าวว่า บริษัททัวร์ ค้างจ่ายค่าจ้าง และไม่ได้ให้ลูกจ้างขับรถรับส่งนักท่องเที่ยวทำงานช่วงโควิดที่ผ่านมา ตนจึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ตรวจสอบข้อเท็จจริงและช่วยเหลือให้ลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ในเบื้องต้น ได้รับรายงานว่า วันนี้ เพจสายไหมต้องรอดได้นำลูกจ้างประมาณ 30 คน ไปยื่นคำร้อง (คร.7) ต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10 (เขตคลองสามวา สายไหม มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานสูง หนองจอก) กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงข้อกฎหมาย สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมาย รวมถึงขั้นตอนการรับวินิจฉัยคำร้อง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบข้อเท็จจริงจากลูกจ้างและจะเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ไปยื่นคำร้อง (คร.7) ในวันนี้ สามารถไปยื่นคำร้อง คร.7 กรณี ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินอื่นๆ ต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน หรือตามภูมิลำเนา หรือท้องที่ที่สะดวก หรือจะยื่นผ่านระบบคำร้องอิเล็กทรอนิกส์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ www.labour.go.th ทั้งนี้ กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายตามสิทธิที่พึงได้รับลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 3 หรือ 1546 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62533
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​วธ.นำทัพนักแสดงและดนตรี โขน งิ้ว โนรา แรป การแสดงพื้นบ้าน 4 ภาคโชว์อลังการในงานกาชาดคึกคัก9-18 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ​วธ.นำทัพนักแสดงและดนตรี โขน งิ้ว โนรา แรป การแสดงพื้นบ้าน 4 ภาคโชว์อลังการในงานกาชาดคึกคัก9-18 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ​วธ.นำทัพนักแสดงและดนตรี โขน งิ้ว โนรา แรป การแสดงพื้นบ้าน 4 ภาคโชว์อลังการในงานกาชาดคึกคัก9-18 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วธ.นำทัพนักแสดงและดนตรี โขน งิ้ว โนรา แรป การแสดงพื้นบ้าน 4 ภาคโชว์อลังการในงานกาชาดคึกคัก9-18 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการแผนกการแสดงกิจกรรมบนเวทีงานกาชาดประจำปี 2565 ว่า การจัดงานกาชาดประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 8-18 ธันวาคม 2565 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ จัดโดยสภากาชาดไทย และหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา สมาคม มูลนิธิ ชมรม ภาคเอกชน มาร่วมประกวดร้านงานกาชาด ออกบูธแสดงนิทรรศการ จำหน่ายสินค้า จัดกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จะมีการจัดแสดงทางวัฒนธรรม ณ เวทีกลาง สวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 9-18 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อาทิ การแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนศึกโรมคัลทศกัณฐ์พ่าย โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร การแสดงโนรา คณะมโนราห์เอกชัย นิยมศิลป์ และการแสดงเพลงบอกคณะเจษฎา โสภาศิลป์ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขับร้องประสานเสียง สถาบันรัชปาร์มิวสิค และการแสดงแรป กลุ่มไทยแรปทีวี โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย การแสดงดนตรีไทยและขับร้องเพลงโดย เก่ง ธชย การแสดงลิเก โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม การแสดงละครสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร การแสดงหมอลำกลอนประยุกต์ คณะแม่ราตรีศรีวิไล โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาคและการแสดงพื้นบ้าน โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นต้น รวมไปถึงการแสดงเพลงบอก การแสดงดนตรีร่วมสมัยวง ASIA 7 การแสดงบัลเลต์แจ๊ส การแสดงดนตรีจากกรมประชาสัมพันธ์ ดุริยางค์ทหารบก นักร้องจากรายการไมค์ทองคำ รายการเพลงเอกการแสดงดนตรีและขับร้องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯลฯ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทรสายด่วนวัฒนธรรม 1765
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62490
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ธนกร” ย้ำชัดนโยบายการสื่อสารแบบ 2 ทาง รับฟังปัญหานำสู่การแก้ไข เน้นทำงานเชิงรุก ขอบคุณกรมประชาสัมพันธ์ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ทุกสารส่งถึงประชาชน
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 “ธนกร” ย้ำชัดนโยบายการสื่อสารแบบ 2 ทาง รับฟังปัญหานำสู่การแก้ไข เน้นทำงานเชิงรุก ขอบคุณกรมประชาสัมพันธ์ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ทุกสารส่งถึงประชาชน “ธนกร” ย้ำชัดนโยบายการสื่อสารแบบ 2 ทาง รับฟังปัญหานำสู่การแก้ไข เน้นทำงานเชิงรุก ขอบคุณกรมประชาสัมพันธ์ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ทุกสารส่งถึงประชาชน วันนี้ (9 ธ.ค.65) เมื่อเวลา 08.00 น. นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช โดยมีนายสมพงษ์ มากมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายพงษ์ศักดิ์ เมืองดี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช พล.ต.ต.สมชาย ซื่อต่อตระกูล ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช นายณรงค์ หนูคง ผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช และนายศุภพงษ์ เชาวน์แล่น ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ “การลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้ตนเองลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมรับฟังปัญหาจากพี่น้องประชาชน ซึ่งถือเป็นการลงพื้นที่ครั้งแรกหลังการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง จ.นครศรีธรรมราชก็เป็นบ้านเกิดของตนเองด้วย” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว จากนั้นเวลา 10.00 น. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อมอบนโยบายหน่วยงานในกำกับดูแล “ผมได้มีโอกาสติดตามการประชาสัมพันธ์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งต้องชื่นชมถึงความเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ โดยเฉพาะท่านอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด) ที่นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุคใหม่ของการประชาสัมพันธ์ ให้เข้าถึงกลุ่มชาวบ้าน นำสารที่สำคัญของท่านนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลที่เป็นประโยชน์ มาขยายประเด็นให้เข้าใจและเข้าถึงประชาชนในทุกกลุ่ม ในทุกพื้นที่ได้รับรู้ ทั้งนี้ การเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของตนเองนั้น มีนโยบายที่เน้นการทำงานลงพื้นที่เพื่อติดตามรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ไม่เพียงแค่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ แต่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชาชนอย่างแท้จริง โดยเน้นความรวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งตนเองอยากจะให้กรมประชาสัมพันธ์ นำสื่อโซเชียลมีเดียมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับภาครัฐและประชาชน ขณะที่ขอเน้นย้ำในเรื่องของการสื่อสาร 2 ทาง เพื่อฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่เกิดขึ้นจริง และหวังว่ากรมประชาสัมพันธ์จะเป็นกระบอกเสียงส่งต่อปัญหาและติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างเข้มข้น” นายธนกร กล่าว ขณะที่ในช่วงบ่ายของวันนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธนกร วังบุญคงชนะ) จะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ที่ อ.ท่าศาลา และ อ.สิชล พร้อมกับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะตนเองจะได้นำข้อมูลที่ได้พบและได้ฟังจากเสียงของประชาชนรายงายต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อที่รัฐบาลจะได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาและเยียวยา รวมถึงหามาตรการช่วยเหลือหลังจากสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วได้อย่างถูกจุดและรวดเร็วที่สุด ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า ท่านนายกฯ ติดตามสถานการณ์ด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง และพร้อมเข้าไปช่วยเหลือคนไทยทุกคนที่กำลังเดือดร้อนอย่างทันท่วงที
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62508
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​กรมการขนส่งทางบก ย้ำเจ้าของรถเร่งนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ซีดจางมาเคลือบสีใหม่ฟรีหมวด 3กก - 4กฆ กรุงเทพมหานคร และบางหมวดของต่างจังหวัด ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2565
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ​กรมการขนส่งทางบก ย้ำเจ้าของรถเร่งนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ซีดจางมาเคลือบสีใหม่ฟรีหมวด 3กก - 4กฆ กรุงเทพมหานคร และบางหมวดของต่างจังหวัด ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2565 ... กรมการขนส่งทางบก ย้ำเจ้าของรถเร่งนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ซีดจางมาเคลือบสีใหม่ฟรีหมวด 3กก - 4กฆ กรุงเทพมหานคร และบางหมวดของต่างจังหวัด ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2565 นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ตามที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ขยายระยะเวลาให้บริการเคลือบสีแผ่นทะเบียนฟรี สำหรับป้ายทะเบียนรถยนต์หมวด 3กก - 4กฆ กรุงเทพมหานคร และบางหมวดของต่างจังหวัดเพิ่มเติมจนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2565 เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาสิทธิให้แก่เจ้าของรถและได้ออกหนังสือแจ้งให้เจ้าของรถนำแผ่นป้ายทะเบียนรถมาเคลือบสีใหม่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เข้าสู่เดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายในการให้บริการเคลือบสีแผ่นทะเบียนฟรี ขบ. ขอประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของรถยนต์แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์หมวด 3กก - 4กฆ กรุงเทพมหานคร และบางหมวดของต่างจังหวัดที่ยังไม่ได้นำแผ่นป้ายทะเบียนรถมาเคลือบสีใหม่ให้เร่งนำแผ่นป้ายทะเบียนมาเคลือบสีใหม่ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2565 ในวันและเวลาราชการ ทั้งนี้สามารถตรวจสอบหมวดแผ่นป้ายทะเบียนสีหลุดลอกง่ายซีดจางได้ด้วยตนเอง ที่เว็บไซต์ ขบ. หรือ https://bit.ly/3BfET5a โดยแผ่นป้ายทะเบียนที่ตรงกับเงื่อนไขจะไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเคลือบสีใหม่ สำหรับเจ้าของรถที่ต้องการนำแผ่นป้ายทะเบียนมาเคลือบสีใหม่ ให้นำแผ่นป้ายทะเบียนพร้อมหลักฐานมาติดต่อ ได้ที่งานแผ่นป้ายทะเบียนรถ อาคาร 7 ขบ. โดยตรง ซึ่งสามารถรอรับได้ภายในวันที่ติดต่อทันที หรือยื่นความประสงค์ได้ที่สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนหรืออยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อให้สำนักงานขนส่งที่รับแจ้งจัดส่งแผ่นป้ายทะเบียนเข้ามาเคลือบสีที่ ขบ. โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการรวมจัดส่งไม่เกิน 7 วันทำการ หลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่ ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนา หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลแล้วแต่กรณี สำหรับเจ้าของรถที่ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เจ้าของรถสามารถใช้ใบนัดรับแผ่นป้ายทะเบียนรถเป็นหลักฐานชั่วคราวแสดงกับเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แทนแผ่นป้ายทะเบียนรถที่อยู่ระหว่างส่งเคลือบสีได้ ทั้งนี้ แผ่นป้ายทะเบียนรถที่ต้องการเคลือบสีใหม่ ต้องผ่านการทำความสะอาดเบื้องต้น และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เช่น ไม่บิดงอ เจาะรู เป็นต้น ส่วนแผ่นป้ายทะเบียนที่ชำรุดเนื่องจากสาเหตุอื่น เช่น สีหลุดลอกมาจากการใช้งาน การขัดล้าง ที่ไม่ถูกวิธี เป็นต้น สามารถขอรับแผ่นป้ายทะเบียนใหม่ทดแทนของเดิมได้ โดยมีค่าคำขอ 5 บาท และค่าแผ่นป้ายทะเบียน แผ่นละ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมสายด่วน โทร. 1584
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62486
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บขส. เตรียมจัดรถโดยสารให้บริการวันละ 2,900 - 3,000 เที่ยว รองรับผู้โดยสารกว่า 30,000 คน ในช่วงวันหยุดวันรัฐธรรมนูญ
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 บขส. เตรียมจัดรถโดยสารให้บริการวันละ 2,900 - 3,000 เที่ยว รองรับผู้โดยสารกว่า 30,000 คน ในช่วงวันหยุดวันรัฐธรรมนูญ พร้อมแนะนำช่วงเทศกาลปีใหม่จองตั๋วออนไลน์เดินทางไปก่อน - กลับ ทีหลัง รับส่วนลด 10% นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดวันรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 10 - 12 ธันวาคม 2565 บขส. ได้เตรียมความพร้อมจัดการเดินรถเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย บขส. ได้จัดรถโดยสาร (รถ บขส. รถร่วม และรถตู้) เที่ยวไปประมาณวันละ 2,900 เที่ยว คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการประมาณวันละ 32,000 คน ส่วนการเดินทางกลับได้จัดรถโดยสารรองรับประมาณวันละ 3,000 เที่ยว คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการประมาณวันละ 33,000 คน โดย บขส. คาดการณ์ว่าในช่วงวันหยุดนี้จะมีประชาชนเดินทางมากกว่าช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากข้อมูลการเดินรถในช่วงวันหยุดระหว่างวันที่ 2 - 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา บขส.ได้จัดรถโดยสาร (รถ บขส. รถร่วม และรถตู้) อำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางในเที่ยวไป - กลับ จำนวน 23,233 เที่ยว รองรับผู้โดยสาร จำนวน 227,386 คน แบ่งเป็นการเดินทางในเที่ยวไปได้จัดรถโดยสาร จำนวน 11,555 เที่ยว รองรับผู้โดยสาร จำนวน 115,917 คน ส่วนการเดินทางในเที่ยวกลับเข้ากรุงเทพฯ ได้จัดรถโดยสาร จำนวน 11,678 เที่ยว รองรับผู้โดยสารได้ 111,469 คน โดยพบว่าประชาชนเดินทางออกจากกรุงเทพฯ มากที่สุด ในวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ประมาณ 36,309 คน และเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ มากที่สุด ในวันที่ 3 ธันวาคม 2565 ประมาณ 30,111 คน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวเพิ่มเติมว่า บขส. ได้จัดโครงการ “HAPPY NEW YEAR 2023 ลด 10% ไปก่อน - กลับทีหลัง” มอบส่วนลดค่าโดยสาร 10% เป็นของขวัญปีใหม่ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม ให้กับลูกค้าที่ซื้อตั๋วโดยสารผ่านช่องทางออนไลน์ Application E-Ticket หรือ Website บขส. www.transport.co.th เดินทางระหว่างวันที่ 21 - 27 ธันวาคม 2565 และวันที่ 3 - 9 มกราคม 2566 เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการวางแผนการเดินทางล่วงหน้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 นอกจากนี้ บขส. ได้เปิดให้บริการตรวจเช็กสภาพ ความพร้อมของรถยนต์ก่อนออกเดินทางให้กับประชาชนทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 19 - 29 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงและตรวจสภาพรถ บขส. (รังสิต) อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้เน้นย้ำไปยังพนักงาน บขส. และผู้ประกอบการรถร่วมต้องดำเนินการตามมาตรการ วิธีการปฏิบัติสำหรับการเดินรถโดยสาร เพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด และให้ดูแลเรื่องความปลอดภัย ตรวจสภาพความพร้อมของรถโดยสาร พนักงานขับรถ ก่อนออกเดินทาง รวมทั้งนำมาตรการ 4 พร้อม (สถานีพร้อม พนักงานพร้อม รถโดยสารพร้อม และการบริการพร้อม) มาใช้ เพื่อสร้างความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารทุกคน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62504
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟท. ร่วมกับ ราชภัฎลำปาง จัดแพคเกจนำเที่ยวโปรแกรมพิเศษ
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 รฟท. ร่วมกับ ราชภัฎลำปาง จัดแพคเกจนำเที่ยวโปรแกรมพิเศษ นั่งรถไฟ สัมผัสลมหนาว ชมฝนดาวตก ต่อยอดจากความร่วมมือด้านการบริการวิชาการ นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ารฟท. และมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ร่วมมือจัดบริการนำเที่ยวแบบแพคเกจ เส้นทางท่องเที่ยว นั่งรถไฟ สัมผัสลมหนาว ชมฝนดาวตก ระหว่างวันที่ 13 - 15 ธันวาคม 2565 ถือเป็นทริปนำร่องที่จัดขึ้นตามความร่วมมือแบบบูรณาการที่มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการบริการวิชาการและการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางรถไฟและย่านเมืองเก่า ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในมิติต่าง ๆ โดยนำจุดเด่นของทั้งสองหน่วยงานมาสร้างสรรค์เป็นการท่องเที่ยวที่แตกต่าง และยังไม่เคยเกิดขึ้นในเส้นทางรถไฟ ในเส้นทางภาคเหนือ ด้วยการบริการนำเที่ยวต่อเนื่องจากขบวนรถไฟด้วยรถยนต์ ในเส้นทางย่านเมืองเก่า สัมผัสวิถีชุมชน วัฒนธรรมแห่งล้านนา จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ โดยนำชมปรากฏการฝนดาวตกเจมินิดส์ เป็นฝนดาวตกที่เด่นที่สุดกลุ่มหนึ่งในรอบปี ณ ลานดูดาวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของจังหวัดลำปาง และลำพูน อาทิ วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม สุสานไตรลักษณ์ วัดดอยพระฌาณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกคุณภาพดี สินค้าพื้นเมืองและงานคราฟท์งานแฮนด์เมด ที่โหล่งฮิมคาว อัตราค่าบริการ ราคา 5,890.- บาท ต่อท่าน เดินทางโดยตู้นอนชั้น 2 ปรับอากาศ ขบวนรถไฟด่วนพิเศษที่ 13 กรุงเทพ – ลำปาง วันที่ 13 ธันวาคม 2565 และเที่ยวกลับขบวนรถด่วนพิเศษที่ 10 (อุตราวิถี) วันที่ 15 ธันวาคม 2565 บริการอาหารตามที่ระบุในรายการ ค่าที่พัก ค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆ ค่าประกันอุบัติเหตุ และรถบัสนำเที่ยวตลอดทริป แสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม และแสดงผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อตั๋วและสำรองที่นั่งล่วงหน้าด้วยระบบ D-Ticket หรือสถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหมายเลขโทรศัพท์ 086 439 5129
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62483
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน จับมือ นารายา สร้างงานสร้างอาชีพช่วยคนไทยฐานราก
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ออมสิน จับมือ นารายา สร้างงานสร้างอาชีพช่วยคนไทยฐานราก ธนาคารออมสินและนารายา (NaRaYa) ร่วมมือกันจัดทำโครงการเพื่อสังคมโดยธนาคารมีแนวคิดในการผลิตของขวัญเนื่องในเทศกาลปีใหม่2566ที่สามารถส่งต่อความช่วยเหลือไปยังชุมชนท้องถิ่นให้มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ผ่านการสร้างงานแก่ชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และ นางวาสนา รุ่งแสนทอง ประธานกรรมการบริหารบริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายแบรนด์ นารายา (NaRaYa) ร่วมมือกันจัดทำโครงการเพื่อสังคมโดยธนาคารมีแนวคิดในการผลิตของขวัญเนื่องในเทศกาลปีใหม่2566ที่สามารถส่งต่อความช่วยเหลือไปยังชุมชนท้องถิ่นให้มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ผ่านการสร้างงานแก่ชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน จึงได้มอบหมายให้นารายา เป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้แนวคิดGSBxNaRaYaเพื่อเตรียมมอบเป็นที่ระลึกให้แก่ลูกค้าและผู้มีอุปการคุณของธนาคาร โดยมีนางสาววชิรา การสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานความยั่งยืน กลุ่มยุทธศาสตร์และนายพศิน ลาทูรัส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด ร่วมด้วย ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ นารายาเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ไทยมีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ที่มีการสอนเทคนิคงานฝีมือเย็บผ้าพร้อมทั้งมอบหมายให้ชาวบ้านเป็นผู้เย็บชิ้นส่วนและประกอบชิ้นงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ ดังนั้น โครงการผลิตของขวัญปีใหม่2566ของธนาคารออมสินในครั้งนี้ จึงตอบโจทย์ภารกิจเพื่อช่วยเหลือสังคมของทั้ง2หน่วยงานที่จะสร้างงานสร้างรายได้แก่คนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ทั้ง2หน่วยงานยังได้ร่วมกันจัดทำโครงการสร้างช่างเย็บผ้าชุมชนมืออาชีพเพื่อขยายผลการสร้างองค์ความรู้ สร้างโอกาสทางอาชีพแก่ชาวบ้านในชุมชนโดยจัดหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพช่างเย็บผ้าแก่ตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจาก4ภูมิภาค ในวันที่7–8ธันวาคม2565ณ วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับวุฒิบัตรรับรองการเป็นผู้ผลิตชิ้นงานได้ตามมาตรฐานของนารายาและเป็นโอกาสทางอาชีพในการรับงานจ้างจากนารายาต่อไปในอนาคตอีกทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ไปขยายผลถ่ายทอดให้สมาชิกในกลุ่มองค์กรชุมชนของตนเองได้ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62529
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​Thai rice export grows by 33% during first 10 months of 2022
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ​Thai rice export grows by 33% during first 10 months of 2022 ​Thai rice export grows by 33% during first 10 months of 2022 December 8, 2022, Deputy Secretary-General to the Prime Minister and Acting Government Spokesperson Anucha Burapachaisri disclosed that Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha was reported by concerned agency on the overview of Thai rice export during the first 10 months of 2022 (January-October 2022), which has increased by 33% in volume, and 32.4% in value yoy. In the month of October, comparing to the previous month, export volume and value have increased by 24.7% and 20.5% respectively. Over 400,000 tons of white rice has been exported, an increase of 44%. White rice is mostly exported to Iraq, China, Japan, Angola, Mozambique, and Cameroon. An increase of 21% has also been reported for parboiled rice, which is exported mostly to African countries (Benin, South Africa, Bangladesh, Yemen, Cameroon, and Niger). According to the Government Spokesperson, Ministry of Commerce, through the Department of International Trade, has come to terms with Thai Rice Exporter Association to adjust rice export target from 7 million tons to 7.5 million tons. It is expected that approx. 750,000-800,000 tons of rice was exported in November, with the higher demand of rice for Christmas, New Year, and the Chinese New Year in January 2023. The Prime Minister has confidence in the quality and price competitiveness of Thai rice, and has instructed all concerned sectors to strictly control production and export quality of Thai rice in order to maintain the reputation of Thai rice in the global market.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62481
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนายทะเบียนประกันภัยอาเซียนประจำปี 2565 ครั้งที่ 25
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ไทยประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนายทะเบียนประกันภัยอาเซียนประจำปี 2565 ครั้งที่ 25 ไทยประสบความสำเร็จงดงามการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนายทะเบียนประกันภัยอาเซียนประจำปี 2565 ครั้งที่ 25 แจ้งเกิดแนวคิดผลิตภัณฑ์ประกันภัยอาเซียนเพื่อความยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีแชร์ข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามกระบวนการฉ้อฉลประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนายทะเบียนประกันภัยอาเซียนประจำปี 2565 ครั้งที่ 25 (25th ASEAN Insurance Regulators’ Meeting หรือ AIRM) ซึ่งเป็นการประชุมระดับภูมิภาคระหว่าง regulators ด้านประกันภัยของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย และพัฒนาการประกันภัยของแต่ละประเทศ รวมทั้งรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการต่าง ๆ ของประเทศสมาชิกในด้านพัฒนาการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและความร่วมมือระหว่างกัน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ณ ห้อง Ballroom 1-2 โรงแรมแชง-กรีลา กรุงเทพฯ ในส่วนของภาคธุรกิจประกันภัยของอาเซียน มีการจัดประชุมสภาธุรกิจประกันภัยอาเซียนครั้งที่ 48 (The 48th ASEAN Insurance Council หรือ AIC) คู่ขนานกัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือร่วมกันในการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยในอาเซียน นอกจากนี้ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ยังมีการประชุมร่วมกันระหว่าง AIRM และ AIC (Joint Plenary Meeting) อีกด้วย ในโอกาสนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมฯ AIRM ครั้งที่ 25 และการประชุม AIC ครั้งที่ 48 โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่า ประกันภัยมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้าง ความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งระดมเงินออมระยะยาวที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่ช่วยสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกระดับ นอกจากนี้การประกันภัยยังเข้ามามีบทบาทต่อการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนสังคมและประชาชนให้ได้รับโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้นในการจัดประชุมหน่วยงานกำกับและภาคธุรกิจประกันภัยในกลุ่มประเทศอาเซียนครั้งนี้จึงเป็นเวทีที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยรวมถึงความต้องการของภาคธุรกิจประกันภัยในมิติต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจประกันภัยในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาการในด้านเทคโนโลยีประกันภัยอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยที่อุบัติใหม่ และส่งผลทำให้ระบบประกันภัยมีความโดดเด่นในเรื่องของการรับประกันภัยจากการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการที่จะต้องใช้เป็นบทเรียนเพื่อปรับปรุงในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ต่อไป ซึ่งตนมองว่าธุรกิจประกันภัยอาเซียนควรหันมาเน้นการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยความยั่งยืนเพื่อรองรับกระแสโลกที่ให้ความสำคัญเศรษฐกิจ ESG เพื่อปรับการบริหารงานขององค์กรให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และร่วมกันดูแลภาวะโลกร้อน ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีส่วนดูแลสิ่งแวดล้อม ในส่วนของประเทศไทยได้มีกรมธรรม์ในลักษณะให้ความคุ้มครองทั้งภัยธรรมชาติและประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ซี่งประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองภัยแก่เกษตรกรมานานหลายปีแล้ว ในรูปแบบของการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ตนอยากให้เวทีการประชุมในครั้งนี้มีการหารือเกี่ยวกับการประกันสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพให้มีความรัดกุมและสอดคล้องกับกฎ กติกา ของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคประกันภัยไทย ด้าน ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ในฐานะประธานการประชุม AIRM เปิดเผยว่าที่ประชุม AIRM ได้หยิบยกประเด็นการประกันภัยที่ยั่งยืน (Sustainable Insurance) ขึ้นเป็นวาระสำคัญของการประชุมฯ ในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของประเทศสมาชิก และได้นำเสนอผลการสำรวจต่อที่ประชุมฯ โดยพบว่า ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน อาทิ ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประกันภัยพืชผล ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เป็นต้น อีกทั้งยังมีความก้าวหน้าในการพัฒนาแนวทางการพิจารณาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน รวมถึงมาตรการและแรงจูงใจการส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยนำเรื่องความยั่งยืนบรรจุลงในแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งการเรียนรู้จากประสบการณ์ของแต่ละประเทศที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนประเด็นในเรื่องนี้ ในโอกาสนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้นำเสนอให้มีโครงการฝึกอบรมหัวข้อประกันภัยสุขภาพดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน ซึ่งประเทศไทย โดยสำนักงาน คปภ. รับเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมให้กับบุคลากรของหน่วยงานกำกับดูแลด้านประกันภัยของอาเซียน ทั้งยังมีโอกาสรายงานให้ประเทศสมาชิกทราบถึงความคืบหน้าและพัฒนาการด้านการส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจประกันภัยผ่านโครงการ Product Innovation and Tailor-Made Sandbox การบรรจุประเด็นด้านความยั่งยืนในแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 การจัดตั้งคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจประกันภัย และการมอบรางวัลแก่บริษัทประกันภัยที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้ผลักดันโครงการเพื่อยกระดับความยั่งยืนของธุรกิจประกันภัยของอาเซียน โดยเสนอให้ประเทศสมาชิกร่วมกันศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนในประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านกลไกการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละประเทศสมาชิก ที่จะร่วมกันศึกษาข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับความยั่งยืนของธุรกิจประกันภัยของอาเซียน และต่อยอดสู่การพัฒนาแผนงานความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป โดยสำนักงาน คปภ. เล็งเห็นถึงโอกาสในการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก จึงใช้โอกาสในการประชุมครั้งนี้ ผลักดันแนวทางการดำเนินงานด้านการประกันภัยที่ยั่งยืนของอาเซียนให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น อันจะช่วยเสริมสร้างบทบาทของภาคธุรกิจประกันภัยให้ก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีต่อประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการจัดประชุมในครั้งนี้ โดยเฉพาะในการที่สำนักงาน คปภ. ได้ริเริ่มการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมริเริ่มแนวทางการยกระดับความยั่งยืนของธุรกิจประกันภัยในอาเซียน อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทำให้ประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมความยั่งยืนของภาคธุรกิจประกันภัย โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบและพร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันข้อริเริ่มที่ไทยนำเสนอ ในโอกาสนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้รับทราบข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก ความคืบหน้าแผนการดำเนินการภายใต้โครงการการบริหารการเงินและการประกันภัยด้านภัยพิบัติ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Disaster Risk Financing and Insurance: ADRFI) ในระยะที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดตัวแพลตฟอร์ม ADRFI-2 ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศสมาชิกในการประเมินและวางแผนลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ประเด็นที่ 2 พัฒนาการที่สำคัญในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ร่วมนำเสนอพัฒนาการที่สำคัญของประเทศไทย ด้านการพัฒนากรอบการประเมินระดับความพร้อมด้านการรับมือภัย (Cyber Resilience Assessment Framework: CRAF) สำหรับบริษัทประกันภัย เพื่อสนับสนุนการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลของภาคประกันภัยอย่างมั่นคงและปลอดภัย ประเด็นที่ 3 ความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้พิธีสารฉบับที่ 5 เรื่องกรอบการประกันภัยรถขนส่งสินค้าผ่านแดนภาคบังคับของอาเซียน ซึ่งประเทศสมาชิกอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบ ACMI และเชื่อมโยงระบบ ACMI ภายในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยในส่วนของประเทศไทย ได้มีการพัฒนาระบบ ACMI ขึ้นโดยบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ในขณะที่สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการในส่วนของการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามพิธีสาร การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับผ่านแดนอาเซียน นอกจากการประชุม AIRM และการประชุม AIC แล้ว ยังมีการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในฝั่งของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ประกอบด้วยการประชุมคณะกรรมการบริหารของ ASEAN Insurance Training and Research Institute (AITRI) ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารร่วมกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ตลอดจนการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Cross-Sectoral Coordination Committee on Disaster Risk Financing and Insurance (ACSCC on DRFI Capacity Building Workshop) และการประชุมคณะทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของภาคธุรกิจประกันภัย อาทิ Education Committee Council of Bureaux (COB) ASEAN Natural Disaster Research Work Sharing (ANDREWS) และASEAN Reinsurance Working Group อีกด้วย โดยในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 หลังจากเสร็จสิ้นการประชุม AIRM และ AIC แล้ว ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายทะเบียนประกันภัยอาเซียนกับกรรมการและประเทศสมาชิกของสภาธุรกิจประกันภัยอาเซียน (ASEAN Insurance Council) ภาคธุรกิจประกันภัยอาเซียน ในรูปแบบ Joint Plenary Meeting เพื่อร่วมกันหารือและกำหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของภูมิภาคอาเซียนในอนาคตให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของคณะทำงานชุดต่าง ๆ และได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้ ประเด็นที่ 1 เรื่องความยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งสองภาคส่วนเล็งเห็นถึงความสำคัญร่วมกัน และได้หารือร่วมกันในหลากหลายมิติ ทั้งในเชิงการลงทุนในสินทรัพย์ ESG และพิจารณาความสมดุลทางธุรกิจด้วยการใช้ Taxonomy ทั้งในระดับสากลและอาเซียน เป็นหลักนำในการพิจารณาเรื่องเหล่านี้ โดยหน่วยงานกำกับและภาคธุรกิจประกันภัยอาเซียนจะร่วมกันเดินหน้าหา Win-win situation ในประเด็นนี้ร่วมกันต่อไป ประเด็นที่ 2 ความท้าทายของการดำเนินการภายใต้พิธีสารฉบับที่ 5 เรื่องกรอบการประกันภัยรถขนส่งสินค้าผ่านแดนภาคบังคับของอาเซียน อาทิ ความแตกต่างของระบบความรับผิดและการชดเชยความเสียหาย การขาดการยอมรับร่วมกัน (mutual recognition) ในการประกันภัยของประเทศอื่น ซึ่งหน่วยงานกำกับและภาคธุรกิจจะร่วมกันเดินหน้าแก้ไขประเด็นข้อท้าทายเหล่านี้ รวมถึงประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างการรับรู้ในหมู่ประชาชนทั่วไปให้มากขึ้น และผลักดันการพัฒนาระบบ ACMI ให้เป็นดิจิทัล (Digitalization) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการซื้อขายประกันภัยรถภาคบังคับผ่านแดนอาเซียน ผ่านช่องทางออนไลน์ ประเด็นที่ 3 ผลกระทบเรื่องการฉ้อฉลในการประกันภัย (Fraud in Insurance) และแนวทางการลดปัญหาดังกล่าว โดยให้ความสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูล อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องพิจารณาภายใต้ขอบเขตของกฎหมายที่มีอยู่ด้วย และประเด็นที่ 4 ที่ประชุมฯ ได้รับทราบพร้อมให้การสนับสนุนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรต่าง ๆ ภายใต้ AIRM และ AIC ได้แก่ AIC, CoB, AIEC, ANDREWS และ Reinsurance Working Committee และแผนการดำเนินงานในปี 2566 รวมถึงรายงานพัฒนาการที่สำคัญของภาคธุรกิจประกันชีวิต และภาคธุรกิจประกันวินาศภัย “การประชุม AIRM ครั้งที่ 25 และการประชุม AIC ครั้งที่ 48 ได้รับความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากประเทศไทยสามารถผลักดันประเด็นใหม่ ๆ ให้มีการขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมต่อไปได้ ทั้งนี้ยังมีโอกาสเจรจาทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนเพื่อที่จะผนึกกำลังกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสามารถบูรณาการความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจและภาคธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืน ซึ่งประเด็นใหม่ที่สำนักงาน คปภ. ได้ผลักดันในเวทีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนแนวคิดเรื่องผลิตภัณฑ์ประกันภัยอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนให้เกิดความสอดคล้องกันในภูมิภาคและเกิดประโยชน์ต่อคนไทย ตลอดจนเป็นการเพิ่มความร่วมมือในการป้องกันและบริหารความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรื่องการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนผู้เอาประกันภัยและภาคธุรกิจประกันภัย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62524
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 กระทรวงเกษตรฯ ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 กระทรวงเกษตรฯ ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 กระทรวงเกษตรฯ ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 8 ธ.ค. 65 นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการ เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบประเด็น 1) แนวทางการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมให้ครอบคลุมถึงคณะกรรมการ 2) คำสั่งคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ที่ 1/2565 3) รายงานการดำเนินการของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 4) รายงานผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 5) การแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ กอ.นตผ. 6) การจัดงาน OTOP Midyear 2023 และร่วมกันพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2566 - 2570 และการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62500
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ธนกร” เผยนายกฯ สั่งโฟกัสช่วยประชาชนเป็นหลัก ใช้เวลาที่มีอย่างเต็มที่
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 “ธนกร” เผยนายกฯ สั่งโฟกัสช่วยประชาชนเป็นหลัก ใช้เวลาที่มีอย่างเต็มที่ “ธนกร” เผยนายกฯ สั่งโฟกัสช่วยประชาชนเป็นหลัก ใช้เวลาที่มีอย่างเต็มที่ วันนี้ (9 ธ.ค.65) เวลา 14.00 น. นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กำชับให้ตนเองลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ถึงปัญหาและช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ โดยขอชื่นชมหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานพื้นที่ นักการเมืองทุกสังกัด ที่ร่วมมือกันในการดูแลประชาชน จนสามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ ซึ่งภายหลังจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานในพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหายเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงทีต่อไป” นายธนกร กล่าว จากนั้นคณะของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางสู่ที่ว่าการอำเภอสิชล เพื่อรับฟัง ข้อมูลในพื้นที่ก่อนเสร็จสิ้นภารกิจที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในวันนี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62531
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยี่ยมชมสถานีรถไฟโตเกียว ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยี่ยมชมสถานีรถไฟโตเกียว ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าเยี่ยมชมสถานีรถไฟโตเกียว พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก รักษาราชการ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สถานีรถไฟโตเกียวเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2457 ออกแบบโดยนายคินโกะ ทัตสึโนะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ในรูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันตก ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาคารสถานีรถไฟ Amsterdam Central ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อมาในปี 2542 สภาเมืองโตเกียวร่วมกับบริษัท JR East ได้ร่วมกันวางแผนโครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมและปรับปรุงอาคารสถานีให้ดูสวยงามดังเช่นในอดีต โดยใช้งบประมาณกว่า 50,000 ล้านเยน หรือ 17,000 ล้านบาท โดยตัวสถานีประกอบด้วย ชานชาลาทั้งหมด 31 ชานชาลา ซึ่งให้บริการทั้งรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น และบริเวณใต้ดินภายในสถานีและโดยรอบสถานี ถูกพัฒนาให้เป็นแหล่งห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ และพื้นที่สาธารณะ ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟโตเกียวถือได้ว่าเป็น “ยุคบุกเบิก” ของการประยุกต์แนวคิด “Transit-Oriented Development (TOD)” แห่งแรก ๆ ของประเทศญี่ปุ่น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่สำหรับการบรรยายประวัติความเป็นมาของสถานีโตเกียว ซึ่งทำให้คณะผู้แทนไทยได้รับทราบภูมิหลังความสำเร็จ และแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นหลายเส้นทาง ทั้งนี้ การเยี่ยมชมและใช้บริการระบบรถไฟความเร็วสูงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์และแนวทางสำคัญในการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ และการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนบทบาทการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคอาเซียนและระหว่างภูมิภาคต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62487
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ และกล่าวขอบคุณคณะผู้บริหารประเทศญี่ปุ่น
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ และกล่าวขอบคุณคณะผู้บริหารประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ และกล่าวขอบคุณคณะผู้บริหารประเทศญี่ปุ่น โดยมี นายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะผู้แทนไทย และนายคิกุจิ มาซะฮิโระ รองอธิบดีกรมเมือง กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (Japanese Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism: MLIT) นายทานากะ ฮิโระ อธิบดีสำนักงานการบริหารโครงสร้างพื้นฐาน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) นางสาวมายะ เซ็ตสึโกะ รองประธานองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency: UR) ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในนามของคณะผู้แทนไทยและกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นในการมาเยือนประเทศญี่ปุ่นตลอดสองวันที่ผ่านมา ซึ่งในโอกาสนี้ คณะผู้แทนฝ่ายไทยได้เข้าพบและหารือร่วมกับท่านไซโต เท็ตสึโอะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) และผู้บริหารระดับสูงจากทั้งจาก JICA และ UR โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ซึ่งเป็นที่มาของการจัดตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อบริหารพื้นที่และสินทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด และ UR เพื่อสรรหาผู้ลงทุนในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยในระยะที่ 1 จะเริ่มดำเนินการในโซน A และโซน E ซึ่งมีพื้นที่รวมกว่า 175 ไร่ นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังมีนโยบายในการผลักดันการพัฒนาโครงการอื่น ๆ ในรูปแบบ TOD เช่น การพัฒนาศูนย์กลางทางการแพทย์ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีธนบุรี พื้นที่รวม 21 ไร่ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โครงการ RCA บริเวณถนนเพรชบุรีตัดใหม่ และการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีแม่น้ำ ซึ่งเป็นจุดแลนด์มาร์คสำคัญของกรุงเทพมหานคร พื้นที่รวม 270 ไร่ เป็นต้น ทั้งนี้ ขอให้ทั้งสองฝ่ายใช้โอกาสนี้ในการทำความรู้จักซึ่งกันและกัน เพื่อสานต่อความร่วมมือในอนาคต และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งหากทางฝ่ายญี่ปุ่นมีสิ่งใดประสงค์จะเสนอแนะต่อฝ่ายไทย โดยฝ่ายไทยมีความพร้อมที่จะดำเนินงานร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่นอย่างแข็งขันต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62485
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จองซื้อเต็ม! พันธบัตรวอลเล็ต สบม.“สุขใจให้ออม” บนเป๋าตัง 15,000 ล้านบาท ตอกย้ำความสำเร็จตอบโจทย์ การลงทุนและความยั่งยืนยุคดิจิทัล
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 จองซื้อเต็ม! พันธบัตรวอลเล็ต สบม.“สุขใจให้ออม” บนเป๋าตัง 15,000 ล้านบาท ตอกย้ำความสำเร็จตอบโจทย์ การลงทุนและความยั่งยืนยุคดิจิทัล “สบน.-กรุงไทย”ประสบความสำเร็จ ผู้ลงทุนจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ วอลเล็ต สบม.รุ่น “สุขใจให้ออม” ในแอปฯ เป๋าตัง เต็มวงเงิน 15,000 ล้านบาท ตอกย้ำศักยภาพการตอบโจทย์ผู้ลงทุน บนช่องทางดิจิทัลที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และโปร่งใส “สบน.-กรุงไทย”ประสบความสำเร็จ ผู้ลงทุนจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ วอลเล็ต สบม.รุ่น “สุขใจให้ออม” ในแอปฯ เป๋าตัง เต็มวงเงิน 15,000 ล้านบาท ตอกย้ำศักยภาพการตอบโจทย์ผู้ลงทุน บนช่องทางดิจิทัลที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และโปร่งใส สนับสนุนการออมและการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินอย่างยั่งยืน นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารและสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประสบความสำเร็จในการเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ วอลเล็ต สบม. รุ่น “สุขใจให้ออม” ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง วงเงิน 15,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินสูงที่สุด นับตั้งแต่เปิดขายพันธบัตรวอลเล็ต สบม. โดยประชาชนและผู้ลงทุนให้การตอบรับเข้าลงทุนอย่างท่วมท้น ตั้งแต่วันแรกที่เปิดจองซื้อ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2565 และเต็มวงเงินในช่วงเช้าวันที่ 9 ธันวาคม 2565 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในพันธบัตรรัฐบาลที่ตอบโจทย์การออมและการลงทุน มีความเสี่ยงต่ำ รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ ลงทุนง่ายผ่านแอปฯเป๋าตัง ที่เป็นThailand Open Digital Platform ที่คนไทยคุ้นเคย มีความสะดวก รวดเร็ว ลงทุนได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถทำรายการซื้อขายในตลาดรองเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที ทำรายการได้ง่ายจากทุกที่ เช็คยอดได้แบบเรียลไทม์ “ขอบคุณประชาชนและผู้ลงทุนทุกท่าน ที่ให้ความเชื่อมั่นและสนับสนุนพันธบัตรออมทรัพย์ วอลเล็ต สบม. ด้วยดีมาโดยตลอด โดยการเปิดขายพันธบัตรวอลเล็ต สบม.ทั้ง 7 รุ่น วงเงินรวม 55,200 ล้านบาท ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ทำสถิติขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งธนาคารมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงิน เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนในทุกมิติ ส่งเสริมการออมและการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นทุกวัน ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ทั้งด้านการลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม โปร่งใส บนมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล และด้านการแก้ปัญหาโลกร้อน จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนในรูปแบบไร้กระดาษ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน” ทั้งนี้ พันธบัตรวอลเล็ต สบม.รุ่น “สุขใจให้ออม” เปิดขายจำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.30% ต่อปี และรุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี จ่ายอัตราดอกเบี้ยทุก 3 เดือน โดยมีผู้ลงทุนอายุตั้งแต่อายุ 15-90 ปี ออกแบ่งออกเป็น ช่วงอายุ 15 – 40 ปี 23.05% ช่วงอายุ 41 – 60 ปี 49.73% และช่วงอายุ 61 ปีขึ้นไป 27.22% กระจายตัวในทุกจังหวัดทั่วประเทศแบ่งเป็นกรุงเทพฯ 30 % และต่างจังหวัด 70 % ธนาคารยังเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นสุขใจให้ออม วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท แยกเป็นวงเงิน 40,000 ล้านบาท สำหรับบุคคลธรรมดาระหว่างวันที่ 13–20 ธันวาคม 2565 ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินจองซื้อสูงสุด ผ่าน Krungthai NEXT และสาขาทั่วประเทศ สำหรับนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร จำหน่ายให้กับสภากาชาดไทย มูลนิธิสมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และองค์กรอื่นที่ไม่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร เปิดจำหน่ายระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2565 วงเงิน 5,000 ล้านบาท ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินจองซื้อสูงสุด จำหน่ายผ่านสาขาทั่วประเทศ จ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.90% ต่อปี ทุก 6 เดือน และสามารถซื้อพันธบัตรวอลเล็ต สบม.รุ่นอื่น ๆ จากตลาดรองผ่านวอลเล็ต สบม.ในแอปฯ เป๋าตัง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.krungthai.com หรือ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62510
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สมศักดิ์" แถลงพาลีปราบยา ลุยยึดรีสอร์ทหรู-รถยนต์ เครือข่าย "ตู้ห่าว" อีก 3,020 ล้านบาท ขอบคุณทุกหน่วยประสานกันอย่างดี ขอประชาชนเห็นอะไรติดขัดท้วงติงมาได้เลย
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 "สมศักดิ์" แถลงพาลีปราบยา ลุยยึดรีสอร์ทหรู-รถยนต์ เครือข่าย "ตู้ห่าว" อีก 3,020 ล้านบาท ขอบคุณทุกหน่วยประสานกันอย่างดี ขอประชาชนเห็นอะไรติดขัดท้วงติงมาได้เลย "สมศักดิ์" แถลงพาลีปราบยา ลุยยึดรีสอร์ทหรู-รถยนต์ เครือข่าย "ตู้ห่าว" อีก 3,020 ล้านบาท ขอบคุณทุกหน่วยประสานกันอย่างดี ขอประชาชนเห็นอะไรติดขัดท้วงติงมาได้เลย ยันทุกภาคส่วนต้องเป็นหนึ่งเดียวเอาชนะยาเสพติดให้ได้ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.65 เวลา 11.30 น. ที่กระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าวกรณียึดอายัดทรัพย์คดีตู้ห่าวเพิ่มเติม โดยมีว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม พล.ต.ต.บรรพต มุ่งขอบกลาง รอง ผบ.ปส. นายอุทัย สินมา อธิบดีอัยการสำนักงานคดียาเสพติด และนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ พลเมืองดีผู้แจ้งเบาะแสยาเสพติด ร่วมการแถลง นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลที่นายชูวิทย์ได้นำมามอบให้ ประกอบกับการทำงานของ คณะทำงานพาลีปราบยา ล่าสุดวันนี้ในช่วงเช้า ชุดพาลีปราบยาได้ยึดอายัด เป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง บริษัท ดีวาลักซ์ รีสอร์ทแอนสปา จำกัด ซึ่งมีชื่อของนายตู้ห่าวเป็นผู้ถือหุ้น เปิดเป็นรีสอร์ท ตั้งอยู่ที่ บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ซึ่งแบ่งเป็นโฉนดที่ดิน 5 แปลง รวมประมาณ 39 ไร่ และอาคาร 9 ตึก 375 ห้องแต่ละห้องตกแต่งอย่างหรู และยังได้อายัดรถยนต์หรู 9 คัน อาทิ เบนท์ลีย์ คอนติเนนทัล จีที โตโยต้า อัลพาร์ท รวมมูลค่าทรัพย์ทั้งสิ้น 3,020 ล้านบาทเศษ ตรงนี้ตนต้องขอขอบคุณ กรมที่ดินและกรมการขนส่งทางบก ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้งานเร็วขึ้น ซึ่งในส่วนนี้เป็นคนละส่วนกับที่ทาง ป.ป.ส. ยึด 1,131 ล้านบาท ที่เราได้แถลงไปเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 65 นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบูรณาการของทุกหน่วยงานราบรื่นดี ไม่มีอะไรที่ติดขัดหรือขัดแย้งกัน ทุกหน่วยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกันสืบสวนสอบสวน ทั้ง ตำรวจ ป.ป.ส. ดีเอสไอ ปปง. และกรมสรรพากร ซึ่งตนอยากให้ประชาชนที่รู้เบาะแสแจ้งข้อมูลเพื่อรับรางวัล 5% และไม่ต้องกังวลเพราะเรามีชุดคุ้มครองพยานของดีเอสไอ แต่หากยังกังวลก็ขอให้รออีกนิด เพราะเราได้จัดทำระบบการแจ้งเบาะแสในระบบออนไลน์หรือ block chain ที่จะรับเงินรางวัลผ่านคริปโต ช่วยปกปิดตัวตนให้ผู้แจ้งปลอดภัย โดยขณะนี้กำลังให้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ศึกษาและจัดทำระบบ คาดว่าจะเสร็จในช่วงเดือน ม.ค.66 "เราพยายามทำงานให้เร็วที่สุด เพราะยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ ซึ่งหากใครมีเบาะแสหรือเห็นว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ไม่ถูก ติดขัดตรงไหน ให้ท้วงติงมาได้เลย เรากำลังเดินให้เข้าถึงตัวการใหญ่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ ในส่วนของตำรวจ เราได้มีการประสานพูดคุยกันอยู่ตลอด แต่ยังไม่ได้สรุปเรื่องตัวเลข ขณะนี้เป็นการอายัดวันต่อวัน ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะชนะยาเสพติดไม่ได้" นายสมศักดิ์ กล่าว ขณะที่นายชูวิทย์ ซึ่งมาร่วมการแถลงข่าววันนี้ ยืนยันย้ำว่า ส่วนแบ่ง5% ในการแจ้งเบาะแสเครือข่ายยาเสพติดตนเองไม่นำไปใช้และจะนำไปมอบให้โรงพยาบาลทั้งหมด พร้อมตั้งข้อสังเกตการถึงกรณีที่ตำรวจยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาตู้ห่าวฐานฟอกเงิน ว่า ที่ไม่แจ้งข้อกล่าวหาการฟอกเงินของพนักงานสอบสวน ทำให้ต้องนำข้อมูลหลักฐานไปยื่นให้อัยการสูงสุดพิจารณา และในอนาคต อาจนำรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ พิจารณารับกรณีนี้เป็นคดีพิเศษต่อไป ตนจะจับตาการดำเนินคดีนี้แน่นอน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62519
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือเครือข่าย ช่วยเด็กนักเรียน นักศึกษาด้อยโอกาส ร่วมจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 พม. จับมือเครือข่าย ช่วยเด็กนักเรียน นักศึกษาด้อยโอกาส ร่วมจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พม. จับมือเครือข่าย ช่วยเด็กนักเรียน นักศึกษาด้อยโอกาส ร่วมจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วันนี้ (9 ธ.ค. 65) เวลา 12.00 น. นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.) พร้อมด้วย ดร.สำรวย มหาพราหมณ์ ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยเทคโนโลยีไทย - เอเซีย และพระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ประธานมูลนิธิปิยวรรณพิพัฒน์ เพื่อสังคม ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย - เอเซีย และมูลนิธิปิยวรรณพิพัฒน์ เพื่อสังคม ณ โถงชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ นางสาวแรมรุ้ง กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย - เอเซีย และมูลนิธิปิยวรรณพิพัฒน์ เพื่อสังคม โดยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ด้อยโอกาส เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตริวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานอาเซียนและสากล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ และประเด็นยุทธศาสตร์ของกระทรวง พม. ในการสร้างศักยภาพคนและสร้างความเข็มของสถาบันครอบครัวอย่างยั่งยืน และการพัฒนาทุนทางสังคม นางสาวแรมรุ้ง กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. จะร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทุนทางสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. เพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนในระดับ ปวช. สาขาการบัญชี การตลาดคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการโรงแรม และในระดับ ปวส. สาขาการตลาด และเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล โดยจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี สอนเสริมออนไลน์ ตลอดจนการฝึกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน การพัฒนาหลักสูตรต่างๆ และกระทรวง พม. จะสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานด้านต่างๆ ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และแนวทางความร่วมมือ รวมทั้งกระทรวง พม. จะเอื้ออำนวยบุคลากร ทรัพยากร สนับสนุนทางการเรียนการสอน เครื่องมือ และอุปกรณ์ปฏิบัติการระหว่างกัน ทั้งนี้ ภายใต้บังคับของกฎหมาย กฎ ระเบียบของราชการที่เกี่ยวข้อง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62528
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาฝีมือแรงงาน เชิญชวนทดสอบวัดระดับทักษะฝีมือแรงงาน หากผ่านเกณฑ์ รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุด 900 บาทต่อวัน
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาฝีมือแรงงาน เชิญชวนทดสอบวัดระดับทักษะฝีมือแรงงาน หากผ่านเกณฑ์ รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุด 900 บาทต่อวัน รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาฝีมือแรงงาน เชิญชวนทดสอบวัดระดับทักษะฝีมือแรงงาน หากผ่านเกณฑ์ รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุด 900 บาทต่อวัน วันที่ 9 ธันวาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายยกระดับรายได้หรือค่าแรงขั้นต่ำให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน รวมถึงสนับสนุนการปรับเปลี่ยนทักษะและเปลี่ยนสายอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ดำเนินโครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อพัฒนากำลังแรงงานหรือพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้และทักษะฝีมือสอดคล้องกับอุตสาหกรรม 6 กลุ่มเป้าหมาย (ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์) สามารถใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการต่อยอดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีผู้ได้รับการฝึกอบรม จำนวน 5,671 คน โครงการยกระดับเพื่อเพิ่มศักยภาพฝีมือและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความก้าวหน้าทางเทโนโลยีและนวัตกรรม รองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรม/บริการ มีผู้ได้รับการฝึกอบรม จำนวน 28,304 คน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพได้จัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบ SMEร กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ จำนวน 17,407 คน รวมถึงมีการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่ำกว่า 50 คนลงมา และบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอุปสงค์และอุปทานกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 17,359 แห่ง นางสาวรัชดา กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขับเคลื่อนนโยบายดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ณ สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละจังหวัด เมื่อพัฒนาทักษะฝีมือของตนเองจนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมี 3 ระดับแล้ว จะได้รับใบรับรองที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานออกให้ เพื่อใช้แนบยื่นเป็นหลักฐานในการขอรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแล้วทั้งสิ้น 88,675 คน จากการเข้าทดสอบ 272 สาขา สำหรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีผลบังคับใช้แล้วรวม 112 สาขาอาชีพ โดยในแต่ละสาขาที่ มีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ต่ำสุดวันละ 350 บาท ในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ พนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ระดับ 1 ส่วนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุดในสาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (โภชนบำบัด)ระดับ 2 อัตราค่างจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 900 บาท ทั้งนี้ ยังมีสาขาอาชีพที่ประชาชนคุ้นเคย เช่น ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างแอร์ ผู้ที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 จะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไม่ต่ำกว่าวันละ 440 บาท ระดับ 2 อัตราวันละ 550 บาท และระดับ 3 อัตราวันละ 660 บาท ส่วนสาขาช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 ถึงระดับ 3 จะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไม่ต่ำกว่า 440 บาท 515 บาท และ 585 บาท ซึ่งทุกสาขาที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ มีอัตราค่าจ้างที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งสิ้น “ แรงงานงานที่ต้องการได้รับอัตราค่าจ้างสูงๆ ต้องพัฒนาทักษะฝีมือของตนเองให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว จึงจะสามารถนำใบรับรองที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานออกให้ไปแนบยื่นเป็นหลักฐานในการขอรับอัตราค่าจ้างได้ ขอเชิญชวนแรงงานฝีมือเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานได้ที่สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ตั้งอยู่แต่ละจังหวัดได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” นางสาวรัชดา ย้ำ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62498
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย จัด Workshop บุคลากรในสังกัด ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย จัด Workshop บุคลากรในสังกัด ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน ตอกย้ำการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดย กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย จัด Workshop บุคลากรในสังกัด ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน.. ตอกย้ำการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดย กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย จัด Workshop บุคลากรในสังกัด ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน สร้างนวัตกรรม ยกระดับประเทศไทยสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ วันนี้ (9 ธ.ค. 65) เวลา 09.30 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธีเปิดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทย และสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN) พร้อมกล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิดกิจกรรม โดยมี คุณกีต้า ซับบระวาล (Ms.Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย คุณอาร์มิดา ซัลเซีย อาลีเชียบานา (Ms.Armida Salsiah Alisjahbana) รองเลขาธิการองค์การสหประชาชาติและเลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมทุกกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค องค์การตลาด องค์การจัดการน้ำเสีย และจังหวัดทุกจังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร รวม 315 คน เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กทม. คุณกีต้า ซับบระวาล (Ms.Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวว่า การจัด Workshop ในวันนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ซึ่งตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ก็มีความเชื่อมั่นว่า แนวคิด Change for Good จะสามารถเกิดขึ้นได้จริง ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในบริบทที่หลากหลายให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ แนวคิดดังกล่าว ยังช่วยสานพลังทางความคิด ปลุกแรงบันดาลใจในการทำงาน ไม่เพียงแต่คนในองค์กร แต่ได้แพร่กระจายไปแล้วทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เช่น ในเรื่องการใช้ Solar Rooftop มีครัวเรือนประมาณ 100,000 ครัวเรือน เห็นความสำคัญในการใช้พลังสะอาด จนนำไปสู่การติดตั้งในที่อยู่อาศัย ท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมกิจกรรม Workshop ในวันนี้ ในนามของสหประชาติประจำประเทศไทยมีความพร้อมที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่ายอย่างเต็มกำลัง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมพิธีเปิดกิจกรรม Workshop ในวันนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมลงนามในพิธีประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ผ่านความร่วมมือกับทีมงาน สหประชาชาติประจำประเทศไทย (United Nation Country Team : UNCT) และพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ในนามของกระทรวงมหาดไทย "77 จังหวัด 77 คำมั่นสัญญา สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" และเพื่อเป็นการตอกย้ำเจตจำนงการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในมิติต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัด Workshop ในวันนี้ขึ้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ และสร้างความตระหนักรู้ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ผ่านเครือข่ายการทำงานของกระทรวงมหาดไทยทั่วประเทศ 878 อำเภอ 76 จังหวัด และภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน “ภายหลังจากการลงนามเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 กระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ตามแนวทาง Change for Good ผ่านการสร้างทีมผู้นำนักขับเคลื่อนนำการเปลี่ยนแปลง 878 อำเภอ ในโครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ที่เข้าดำเนินงานสำรวจประเด็นปัญหา เพื่อเข้าใจและแก้ไขปัญหาตามภูมิสังคมแต่ละพื้นที่ มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้พี่น้องประชาชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความสามัคคีของชุมชน โดยใช้กลไกจิตอาสา พร้อมมุ่งสู่ขั้นก้าวหน้า ยกระดับพัฒนาจากชุมชนชนบทสู่ระดับชุมชนเมือง เพื่อทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย และมีภูมิต้านทานต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในบริบทโลกปัจจุบันที่สอดคล้องกับประเด็นความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ 5 ด้านที่สำคัญได้แก่ 1) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 2) การอนุรักษ์และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน 3) การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว การแก้ปัญหาการเผาชีวมวล ด้วยแนวทางที่อิงธรรมชาติและการลดมลพิษทางอากาศและพลาสติก 4) การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและลดการสูญเสียอาหาร การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนการทำฟาร์มอัจฉริยะ และ 5) การเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้ชุมชนและระบบนิเวศทางทะเล โดยการปรับตัวและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยคำนึงถึงความท้าทายบนเส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ” ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเน้นย้ำ คุณอาร์มิดา ซัลเซีย อาลีเชียบานา (Ms.Armida Salsiah Alisjahbana) รองเลขาธิการองค์การสหประชาชาติและเลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) เปิดเผยว่า ตนรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีการจัดกิจกรรม ภายใต้หัวข้อ "77 จังหวัด 77 คำมั่นสัญญา สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" ที่จัดขึ้นในวันนี้ สำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ถือเป็นกระบวนการที่อยู่ในกระแสหลักของโลก ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัย ภาวะผู้นำ และความรู้สึกการเป็นเจ้าของ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับการหวงแหนรักษาในประเด็นตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สามารถส่งต่อสู่รุ่นต่อไปได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยร่วมกับกระทรวงมหาดไทยทุกด้าน นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีความมุ่งหวังจะทำให้ "ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ หลัก "อารยเกษตร" มาเป็นแนวทางในการพึ่งพาตนเองอย่างมีเหตุผล ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการอำเภอนำร่องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน (National Food Waste Management Campaign) ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่กับบริหารจัดการขยะ พร้อมสร้างวัฒนธรรม 3Rs คือ ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายครัวเรือน และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ส่งเสริมการใช้และสวมใส่ผ้าไทย อีกทั้งเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” อีกด้วย และเนื่องในโอกาสวันดินโลก 5 ธันวาคม ของทุกปี กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรดิน ภายใต้แนวคิด Soils, where food begins หรือ อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์กลับสู่ดิน ทำให้เกิดผลดีทั้ง 4 ด้าน คือ ด้าน ผลิตผลที่ดีขึ้น (Better Production) ด้านโภชนาการที่ดีขึ้น (Better Nutrition) ด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น (Better Environment) และด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Better Life) อีกด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การ Workshop ในวันนี้ประกอบด้วยกิจกรรมการเสวนาเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในบริบทของประเทศไทย ความสมดุลระหว่างมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการเร่งด่วนจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด เพื่อร่วมสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างปรเทศ (International Trade Center: ITC) และกิจกรรมกลุ่มย่อย 6 กลุ่มย่อย ได้แก่ 1) “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และกระทรวงเกษตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร 2) “เศรษฐกิจหมุนเวียนระดับจังหวัด” – กุญแจเพื่อบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) และโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat) ซึ่งเป็นการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามแนวคิดนวัตกรรมทางสังคม และการเป็นหุ้นส่วนทางสังคม (4Ps) ไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 4) “การเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติในระดับท้องถิ่น” โดยสำนักงานว่าด้วยกลยุทธ์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN-DRR) ที่เน้นการสร้างเมืองให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) พร้อมรองรับภัยพิบัติทุกรูปแบบ 5) “ผสมผสานเศรษฐกิจ BCG เข้ากับวิถีชีวิต สายน้ำและเกษตร” โดย องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และ 6) “ใช้ประโยชน์จากคำติชม และเสียงสะท้อนเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์การพัฒนาระดับจังหวัด” โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะกับสภาพภูมิสังคมตามบริบทพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น อุดช่องว่างในการขับเคลื่อนภารกิจไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน “ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมในวันนี้ จะเป็นการตอกย้ำให้ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ร่วมกันผนึกกำลังขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบบูรณาการประสานความร่วมกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และ 7 ภาคีเครือข่าย เพื่อทำให้ความตั้งใจในการเป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้ทำสิ่งดี ๆ ให้แก่ประเทศไทย เพื่อลูกหลาน คนไทย ตลอดจนร่วมสืบสานพระราชปณิธานการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล เพื่อสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่มั่นคงยกระดับชุมชน นำเทคโนโลยีมาใช้สร้างนวัตกรรมการผลิตที่สร้างสรรค์ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในทุกด้าน ทำให้โลกใบเดียวของเราเป็นพื้นที่แห่งความสุข เพื่อลูกหลานของเราทุกคน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวทิ้งท้าย #GlobalSoilPartnership #UNFAO #SEPtoSDGs #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62534
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กบข. เพิ่มทางเลือกให้สมาชิก เปิดตัวแผนลงทุนใหม่ “แผนทองคำ และตราสารหนี้ต่างประเทศ”
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 กบข. เพิ่มทางเลือกให้สมาชิก เปิดตัวแผนลงทุนใหม่ “แผนทองคำ และตราสารหนี้ต่างประเทศ” กบข. หาโอกาสลงทุนช่วงลงทุนผันผวน เพิ่ม 2 แผนการลงทุนใหม่ เน้นลงทุนกองทุนทองคำและตราสารหนี้ต่างประเทศ หวังให้สมาชิกมีทางเลือกมากขึ้น ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกที่มีความผันผวน และส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ในการลงทุน ซึ่ง กบข. ได้มองหาโอกาสในการลงทุนอยู่เสมอ จึงได้เพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับสมาชิก โดยเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนได้ดีในสถานการณ์ลงทุนเช่นนี้ กบข. จึงได้ออกแผนการลงทุนใหม่ 2 แผน คือ แผนตราสารหนี้ต่างประเทศและแผนทองคำ เพื่อให้ตรงกับความต้องการรับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของสมาชิกด้วย โดย “แผนตราสารหนี้ต่างประเทศ” เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประกอบด้วย ตราสารหนี้ภาครัฐโลกซึ่งเป็นการลงทุนแบบรายหลักทรัพย์ และตราสารหนี้ภาคเอกชนโลกลงทุนผ่านกองทุนรวมและจัดจ้างผู้จัดการกองทุน เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับกลุ่มลงทุน (Investment Grade) ส่วน “แผนทองคำ” จะลงทุนผ่านกองทุนรวมทองคำ (Gold Fund) ในต่างประเทศ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคําโลก (Passive Management) โดยแผนตราสารหนี้ต่างประเทศจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งจำนวน ขณะที่แผนทองคำมีการป้องกันความเสี่ยงเพียงบางส่วนเท่านั้น ดร. ศรีกัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 กบข. ได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ถึงหดตัว อาจทำให้ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐ มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยในช่วงหลังของปี ซึ่งจะส่งผลดีต่ออัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ทั่วโลก รวมถึงสนับสนุนการปรับขึ้นของราคาทองคำด้วย จึงเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้สมาชิกเลือกลงทุนในแผนตราสารหนี้ต่างประเทศและแผนทองคำ ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนโดยรวมของพอร์ตได้ อีกทั้งยังลดการกระจุกตัวของการลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ทั้งนี้ ปัจจุบัน กบข. มีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือกลงทุนทั้งหมด 12 แผน คือ แผนสมดุลตามอายุ แผนมุ่งคุ้มครองเงินต้น แผนเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น แผนตราสารหนี้ แผนหลัก แผนตราสารหนี้ต่างประเทศ แผนหุ้น 35 แผนหุ้น 65 แผนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย แผนหุ้นต่างประเทศ แผนหุ้นไทย และแผนทองคำ สมาชิกสามารถเลือกแผนการลงทุนที่ กบข. จัดไว้ให้ หรือสามารถเลือกผสมแผนการลงทุนตามสัดส่วนได้ด้วยตนเองตามต้องการ สมาชิก กบข. สามารถแจ้งความประสงค์เปลี่ยนแผนการลงทุนได้ 12 ครั้งต่อปี ผ่าน 5 ช่องทางคือ 1. My GPF Application 2. LINE กบข. 3. My GPF Website 4. เว็บไซต์ www.gpf.or.th 5. ส่งเอกสารมายัง กบข. โดยกรอกข้อมูลในแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน โดยสมาชิกสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงการลงทุน เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของตนเอง และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนมากขึ้น สมาชิกที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Contact Center โทร. 1179 Facebook กบข. หรือ LINE กบข. พิมพ์ค้นหาไอดี @gpfcommunity และสามารถนัดหมายศูนย์ข้อมูลการเงิน ผ่าน My GPF Application เลือกเมนู “นัดหมายบริการข้อมูลการเงิน” เพื่อขอรับคำปรึกษาในการเลือกแผนการลงทุนอย่างละเอียด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62496
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ยืนยัน ดูแลบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามเกณฑ์ให้ได้รับค่าเสี่ยงภัยโควิด ส่วนที่ยังขาดเร่งรวบรวมข้อมูลเพื่อขอเพิ่มเติม
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 สธ. ยืนยัน ดูแลบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามเกณฑ์ให้ได้รับค่าเสี่ยงภัยโควิด ส่วนที่ยังขาดเร่งรวบรวมข้อมูลเพื่อขอเพิ่มเติม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน ดูแลบุคลากรที่ปฏิบัติงานโควิดตรงตามหลักเกณฑ์ให้ได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยโควิด โดยได้รับจัดสรรมาแล้วถึงเดือนมิถุนายน 2565 รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน ดูแลบุคลากรที่ปฏิบัติงานโควิดตรงตามหลักเกณฑ์ให้ได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยโควิด โดยได้รับจัดสรรมาแล้วถึงเดือนมิถุนายน 2565 ส่วนที่เป็นงบเงินกู้ไม่สามารถนำมาปรับเกลี่ยจ่ายแทนงบกลางได้ และหากเบิกจ่ายไม่หมดต้องส่งคืน สำหรับค่าเสี่ยงภัยส่วนที่ยังขาดและของเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ได้กำชับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรวจสอบ รวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อขออนุมัติเพิ่มเติม และสื่อสารให้บุคลากรในพื้นที่เข้าใจ วันนี้ (9 ธันวาคม 2565) นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีบุคลากรกลุ่มลูกจ้างสายสนับสนุนการปฏิบัติงานเรียกร้องความเป็นธรรมการจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยโควิด 19 ที่ได้รับเพียง1-2 เดือน ว่า ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยผู้ปฏิบัติงานโควิด 19 ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคอื่นๆ และ 2.กลุ่มบุคลากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่เข้าหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย คือ มีการปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมถึงมีคำสั่งมอบหมายหรือให้ไปปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากเป็นผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ยืนยันว่าจะดูแลให้ได้รับค่าตอบแทน ทั้งนี้งบประมาณค่าตอบแทนเสี่ยงภัยที่ได้รับจัดสรร เดือนพฤศจิกายน 2564 – มิถุนายน 2565 มาจากแหล่งงบประมาณ2 ส่วน คือ งบเงินกู้ ซึ่งเป็นงบที่รัฐบาลต้องเสียดอกเบี้ย มีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำกับดูแล และมีข้อกำหนดให้เบิกจ่ายได้เฉพาะกลุ่มวิชาชีพ เจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคอื่นๆ ต้องมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ อย่างเข้มงวด และ งบกลาง สำหรับกลุ่มบุคลากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งได้รับเพียงบางส่วนจากยอดที่ขอรับการสนับสนุนทั้งหมด จึงต้องจัดสรรไปจังหวัดต่างๆ ลดทอนลงตามสัดส่วน โดยงบเงินกู้ไม่สามารถนำมาปรับเกลี่ยจ่ายแทนงบกลางได้ หากเบิกจ่ายไม่หมดต้องส่งคืน สำหรับค่าเสี่ยงภัยส่วนที่ยังขาดและอีก 3 เดือน คือ กรกฎาคม - กันยายน 2565 กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวง เพื่อเสนอของบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล ได้กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเร่งรวบรวม ตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ รวมถึงสื่อสารทำความเข้าใจกับบุคลากรในพื้นที่อย่างต่อเนื่องด้วย *********************************** 9 ธันวาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62530
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ปลื้มนักลงทุนซาอุดีอาระเบียมีแผนร่วมลงทุนกับไทยในกลุ่มธุรกิจด้านอาหาร ท่องเที่ยว สุขภาพ และในพื้นที่อีอีซี ผลลัพธ์จากนโยบายความสัมพันธ์
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ปลื้มนักลงทุนซาอุดีอาระเบียมีแผนร่วมลงทุนกับไทยในกลุ่มธุรกิจด้านอาหาร ท่องเที่ยว สุขภาพ และในพื้นที่อีอีซี ผลลัพธ์จากนโยบายความสัมพันธ์ โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ปลื้มนักลงทุนซาอุดีอาระเบียมีแผนร่วมลงทุนกับไทยในกลุ่มธุรกิจด้านอาหาร ท่องเที่ยว สุขภาพ และในพื้นที่อีอีซี ผลลัพธ์จากนโยบายความสัมพันธ์ และการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน วันที่ 9 ธันวาคม 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ได้ทราบว่า ซาอุดีอาระเบีย มีแผนเตรียมจะลงทุนธุรกิจในไทยด้านอาหาร ท่องเที่ยว สุขภาพ และในพื้นที่อีอีซี เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจ เกิดเงินหมุนเวียนในไทยจำนวนมาก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า จากการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งการค้า การลงทุน และแรงงาน โดยในส่วนของความร่วมมือด้านการดำเนินธุรกิจระหว่างกันเห็นผลเป็นรูปธรรมจากการลงทุนของซาอุดีอาระเบียกับไทยจำนวนมาก อาทิ กลุ่มธุรกิจอาหารส่งออกและแปรรูป ที่องค์การอาหารและยา ซาอุดีอาระเบีย อนุญาตให้ 11 โรงงานของไทยที่ผ่านการตรวจสอบส่งออกไก่ได้ ถัดมาคือ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ที่สายการบินแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabian Airlines) เปิดบินตรงจากกรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สู่ไทย จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สร้างความตื่นตัวให้แก่ภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก เนื่องจากเส้นทางบินสามารถเชื่อมต่อจากกรุงริยาด (Riyadh) ที่เป็นเมืองหลัก และเมืองเจดดาห์ (Jeddah) ที่เป็นเมืองรองได้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้นยังมีในส่วนของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบียเพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้เพิ่มสวัสดิการ ด้านสาธารณสุขให้ประชาชนมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของไทยที่อนุมัติในหลักการเพิ่มประเทศซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวจะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน ตลอดจน นักลงทุนซาอุดีอาระเบียมีแผนลงในไทยในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ECC) เป็นจำนวนหลายโครงการ “ผลสำเร็จจากการทำงานของรัฐบาลในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลลัพธ์เป็นดอกผลทางเศรษฐกิจ ผลที่เกิดเป็นมิตรสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย เมื่อมาประกอบกับการดำเนินการนโยบายของรัฐบาลที่ได้สร้างความเจริญด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย จึงเห็นเป็นผลสำเร็จที่เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะส่งผลถึงคุณภาพชีวิต รายได้ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทยทุกกลุ่ม อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายอนุชาฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62484
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ร่วมกับเครือข่าย ช่วยเด็กชายวัย 5 ขวบ ปลอดภัยแล้ว หลังถูกพ่อทำร้ายและจะพาไปโดดสะพาน ที่ จ.ปทุมธานี
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 พม. ร่วมกับเครือข่าย ช่วยเด็กชายวัย 5 ขวบ ปลอดภัยแล้ว หลังถูกพ่อทำร้ายและจะพาไปโดดสะพาน ที่ จ.ปทุมธานี พม. ร่วมกับเครือข่าย ช่วยเด็กชายวัย 5 ขวบ ปลอดภัยแล้ว หลังถูกพ่อทำร้ายและจะพาไปโดดสะพาน ที่ จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เปิดเผยว่า จากกรณีหญิงอายุ 25 ปี แจ้งขอความช่วยเหลือผ่านสื่อโซเชียล ว่าลูกชายอายุ 5 ปี ถูกพ่อแท้ๆ อายุ 31 ปี นำตัวออกจากที่พักย่านคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จากนั้น ผู้เป็นพ่อได้ถ่ายคลิปวิดีโอในลักษณะทำร้ายร่างกายลูก และจะพาลูกไปกระโดดสะพาน ขณะนี้ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่เพจสายไหมต้องรอด คุณกัน จอมพลัง และตำรวจ ได้ลงพื้นที่ค้นหาและติดตามช่วยเหลือเด็กชายดังกล่าวไว้ได้อย่างปลอดภัยแล้ว พร้อมทั้งได้นำเด็กเข้าตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลธัญบุรี ส่วนผู้เป็นแม่ได้แจ้งความดำเนินคดีและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานข้อหาทำร้ายร่างกายลูกชาย นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดปทุมธานีได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านและพูดคุยกับแม่เด็กเพื่อประเมินทางสังคมสำหรับวางแผนการให้ความช่วยเหลือต่างๆ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายในการคุ้มครองเด็ก สำหรับเด็กชายดังกล่าว ผู้เป็นลุงจะรับไปดูแลที่เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ โดยแม่เด็กจะช่วยค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ แม่เด็กยังมีลูกสาวอีก 1 คน โดยผู้เป็นน้าประสงค์จะรับเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กฯ ได้ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการรับบุตรบุญธรรมเพื่อให้เป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นเด็กถูกกระทำความรุนแรง หรือประสบปัญหาความเดือดร้อนทางสังคม ขอให้โทรมาแจ้งที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมง รวมทั้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นที่
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62520
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. รับมอบอาหารญี่ปุ่น จากบริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด พร้อมส่งต่อความช่วยเหลือให้กลุ่มเปราะบาง
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 รมว.พม. รับมอบอาหารญี่ปุ่น จากบริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด พร้อมส่งต่อความช่วยเหลือให้กลุ่มเปราะบาง รมว.พม. รับมอบอาหารญี่ปุ่น จากบริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด พร้อมส่งต่อความช่วยเหลือให้กลุ่มเปราะบาง วันนี้ (9 ธ.ค. 65) เวลา 11.00 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานรับมอบอาหารญี่ปุ่น จำนวน 3,511 กล่อง มูลค่า 526,650 บาท จากบริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด นำโดยนายจักรกฤติ สายสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะ เพื่อนำไปมอบให้กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการของกระทรวง พม. ทั้งนี้ มีคณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับมอบ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ นายจุติ กล่าวว่า วันนี้ ตนรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด ได้ร่วมส่งต่อความสุขส่งท้ายปีให้กับกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยนำอาหารญี่ปุ่น จำนวน 3,511 กล่อง มามอบให้กระทรวง พม. เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการภายใต้การดูแลหน่วยงานของกระทรวง พม. จำนวน 15 แห่ง และวันนี้ เราจะนำอาหารส่งต่อไปให้ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชน เขตบางกอกใหญ่ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กรุงเทพมหานคร บ้านพักเด็กและครอบครัว กรุงเทพมหานคร และ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ให้เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่เสมอ ส่วนผู้ที่รับจะเป็นผู้ที่โชคดี แต่ผู้ให้นับว่าโชคดีกว่าผู้รับ เพราะมีโอกาสที่ได้มอบให้ ทั้งนี้ ขอขอบคุณจากใจจริง ในสิ่งที่ท่านมีแล้วยังนึกถึงผู้ที่ไม่มี วันนี้สังคมไทยมีเหรียญสองด้าน ด้านที่หนึ่งคือคนที่เกิดมาแล้วไม่เคยขาดแคลน กับอีกด้านหนึ่งคือคนที่เกิดมาแล้วขาดแคลน ไม่เคยรู้จักกับคำว่าอิ่มคืออะไร การที่เรามีและเราเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับคนที่ไม่มีนั้น นับเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งตนขอขอบคุณแทนผู้รับทุกคนและเชื่อว่าผู้รับจะมีความสุขที่ได้รับอาหารที่อร่อยและมีคุณภาพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62526
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมเจ้าท่าจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติการทุ่มทิ้งของเสียหรือวัสดุอื่นในทะเล พ.ศ. ....
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 กรมเจ้าท่าจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติการทุ่มทิ้งของเสียหรือวัสดุอื่นในทะเล พ.ศ. .... ... กรมเจ้าท่าจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติการทุ่มทิ้งของเสียหรือวัสดุอื่นในทะเล พ.ศ. .... วันที่ 9 ธันวาคม 2565 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย กระทรวงคมนาคม เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติ การทุ่มทิ้งของเสียหรือวัสดุอื่นในทะเล พ.ศ. .... ณ ห้องประชุมวิสูตรสาครดิษฐ์ ชั้น 4 อาคาร 164 ปี และผ่านระบบ ZOOM ของกรมเจ้าท่า ทั้งนี้ ที่มาของร่างพระราชบัญญัติการทุ่มทิ้งของเสียหรือวัสดุอื่นในทะเล พ.ศ. .... เป็นร่างกฎหมายอนุวัติการ ที่ออกตามพิธีสาร ค.ศ. ๑๙๙๖ (พิธีสารลอนดอน) ที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคี โดยรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งหากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านกระบวนการ นิติบัญญัติ ประเทศไทยก็จะดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคีพิธีสารนี้ได้ โดยร่างกฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและส่งเสริมการใช้ทะเลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62527
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สุขใจให้ออม” บนวอลเล็ต สบม. ครบวงเงินจำหน่าย 15,000 ล้านบาทแล้ว พบกันอีกครั้ง 13 ธันวาคม 2565 ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 “สุขใจให้ออม” บนวอลเล็ต สบม. ครบวงเงินจำหน่าย 15,000 ล้านบาทแล้ว พบกันอีกครั้ง 13 ธันวาคม 2565 ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ “รุ่นสุขใจให้ออม” บนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 15,000 ล้านบาท ครบวงเงินเรียบร้อยแล้ว นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ “รุ่นสุขใจให้ออม” บนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 15,000 ล้านบาท ครบวงเงินเรียบร้อยแล้ว สบน. ขอขอบคุณประชาชนทุกท่านที่ให้ความสนใจลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ “รุ่นสุขใจให้ออม” บนวอลเล็ต สบม. โดย สบน. จะจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ “รุ่นสุขใจให้ออม” อีกครั้ง วงเงิน 45,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) สำหรับประชาชน จองซื้อได้ระหว่างวันที่ 13 - 14 ธันวาคม 2565 วงเงิน 40,000 ล้านบาท 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.30 ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี และไม่จำกัดวงเงินจองซื้อ โดย สบน. จะจัดสรรแบบ Small Lot First ซึ่งผู้จองซื้อทุกท่านจะได้รับจัดสรรพันธบัตร 2) สำหรับนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรที่กระทรวงการคลังกำหนด ซื้อได้ระหว่างวันที่ 19 – 20 ธันวาคม 2565 วงเงิน 5,000 ล้านบาท รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.90 ต่อปี และไม่จำกัดวงเงินซื้อ โดย สบน. จะจัดสรรแบบ First Come First Served ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ “รุ่นสุขใจให้ออม” สามารถสอบถามเงื่อนไขและวิธีการจัดจำหน่ายได้ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง หรือติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2271 7999 ต่อ 5809/ 0 2265 8050 ต่อ 5307
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62499
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมกิจกรรมงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมกิจกรรมงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) “ภายใต้แนวคิด Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” ในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ณ สำนักงาน ป.ป.ช. สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริต
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62512
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนพันธุ์ไม้มีค่า ไม้ผล ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจและพืชผักพืชอาหารให้แก่เกษตรกร สำหรับทำการเกษตรตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศ ภา
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 กระทรวงเกษตรฯ มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนพันธุ์ไม้มีค่า ไม้ผล ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจและพืชผักพืชอาหารให้แก่เกษตรกร สำหรับทำการเกษตรตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศ ภา กระทรวงเกษตรฯ มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนพันธุ์ไม้มีค่า ไม้ผล ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจและพืชผักพืชอาหารให้แก่เกษตรกร สำหรับทำการเกษตรตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศ ภายใต้โครงการ “ต้นกล้าสานฝันปันรัก...สู่ลูกหลาน” ตั้งเป้าเปิดรับสมัครเกษ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการสร้างการรับรู้การดำเนินงานโครงการ “ต้นกล้าสานฝันปันรัก...สู่ลูกหลาน” โดยมีนายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ กอไพศาล ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจ และผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนพันธุ์ไม้มีค่า ไม้ผล ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจและพืชผักพืชอาหารให้แก่เกษตรกร สำหรับทำการเกษตรตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน สำหรับพันธุ์ไม้ที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการศูนย์ปฏิบัติการและศูนย์ขยายพันธุ์พืชของกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการผลิตพันธุ์ไม้มีค่า ไม้ผล ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ และพืชผักพืชอาหาร รวม 372,300 ต้น และได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ เป็นต้นกล้าไม้มีค่า ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจจำนวน 1,166,100 ต้น เช่น สัก พะยูง ประดู่ ชิงชัน ตะแบก เป็นต้น รวมพันธุ์ไม้ทั้งสิ้น 1,538,400 ต้นโดยมีการแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสมของพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำเกษตรไม่เหมาะสม (Zoning) กลุ่มสอง คือ เกษตรกรศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต้นแบบ โดยเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะได้รับพันธุ์ไม้ รวมจำนวน 200 ต้นต่อราย แบ่งเป็น ไม้ผลและพืชผักอาหาร จำนวน 8 ชนิด (ไผ่ซางหม่น มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ มะม่วง สะเดา อะโวคาโด กล้วย พริก มะเขือ) และต้นกล้าไม้มีค่า ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ กลุ่มสาม คือ สมาชิกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเข้าร่วมกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรผู้นำ (อบรม/ดูงาน) ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยเกษตรกรจะได้รับพันธุ์ไม้ รวมจำนวน 50 ต้นต่อราย แบ่งเป็น ไม้ผลและพืชผักอาหาร จำนวน 5 ชนิด (มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ มะม่วง กล้วย พริก มะเขือ) และต้นกล้าไม้มีค่า ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความพร้อมสำหรับการแจกจ่ายได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อสร้างการรับรู้การดำเนินงานโครงการให้เกษตรกรและผู้สนใจได้รับรู้ถึงความสำคัญของการปลูกไม้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เป็นหลักประกันได้ในอนาคต ตลอดจนเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศต่อไป โดยได้บูรณาการการทำงานร่วมกับกรมป่าไม้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเพิ่มการรับรู้ของเกษตรกรให้มากขึ้น “กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายสำคัญด้านการส่งเสริมการเกษตรในการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากป่าปลูกแบบครบวงจร และแผนแม่บทแห่งชาติภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติกำหนดพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของพื้นที่ประเทศ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเกษตรกรและประชาชนปลูกไม้ยืนต้นมีค่า เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศแล้ว ยังสามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอกู้เงิน ทำให้เข้าถึงสินเชื่อที่มีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้มีการให้หลักประกันทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศต่อไป” ดร.เฉลิมชัย กล่าว ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรนำหลักการและแนวคิดตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาต่อยอดเป็นโครงการ “ต้นกล้าสานฝันปันรัก...สู่ลูกหลาน” โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 27,537 ราย ประกอบด้วยเกษตรกรตามโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำการเกษตรไม่เหมาะสม จำนวน 1,000 ราย ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรต้นแบบ จำนวน 77 แห่ง และสมาชิกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จำนวน 26,460 ราย ซึ่งโครงการดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างประโยชน์ให้แก่ เกษตรกร ครอบครัว ชุมชน ได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการสามารถเห็นผลได้ในทุกระยะ ตั้งแต่ระยะที่หนึ่ง ที่เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากพืชผัก ระยะที่สองที่เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากไม้ผล และระยะที่สามที่เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากไม้เศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องและยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62522
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วังเจ้า รวมพลังผู้นำท้องที่ เชิญชวนจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทำให้ 76 คำมั่นสัญญาเป็นจริง
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 วังเจ้า รวมพลังผู้นำท้องที่ เชิญชวนจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทำให้ 76 คำมั่นสัญญาเป็นจริง วังเจ้า รวมพลังผู้นำท้องที่ เชิญชวนจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทำให้ 76 คำมั่นสัญญาเป็นจริง เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 65 นายเอกสิฏฐ์ วิไลศิลป์ นายอำเภอวังเจ้า เปิดเผยว่า นักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ระดับอำเภอ กรมการปกครอง รุ่นที่ 1 ได้บูรณาการร่วมกับผู้นำท้องที่ตำบลนาโบสถ์ "ผู้นำทำเป็นตัวอย่าง" นำโดยนายอนุรักษ์ นิลน้อย กำนันตำบลนาโบสถ์ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ร่วมกันขับเคลื่อนการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ โดยการนำเศษอาหารมาทิ้งให้ถูกที่ ในกิจกรรม "ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน" ในพื้นที่ตำบลนาโบสถ์ ซึ่งภายในงานมีการจัดกิจกรรมการสาธิตการทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ด้วยถังหรือเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อรองรับการนำเศษอาหารเหลือทิ้งจากครัวเรือน หรือขยะอินทรีย์มาใส่ในถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อำเภอวังเจ้า และในพื้นที่จังหวัดตากต่อไป นายเอกสิฏฐ์ วิไลศิลป์ นายอำเภอวังเจ้า กล่าวว่า กิจกรรมเมื่อวานนี้ได้มีการเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมกันจัดทำ "ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน" ซึ่งได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงของการจัดทำถังขยะเปียกในพื้นที่อำเภอวังเจ้าให้ครบทุกครัวเรือน นอกจากจะเป็นการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี โดยการกำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปหลุมฝังกลบและช่วยในการย่อยสลายของขยะอินทรีย์ ให้กลายเป็นปุ๋ยที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สามารถเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า ยังเป็นการช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs เพื่อจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้ยั่งยืนในทุกมิติ ตลอดจนในด้านเศรษฐกิจซึ่งจะช่วยเป็นการส่งเสริมการลดรายจ่าย สร้างรายได้ ของภาคครัวเรือนได้ อีกทั้งยังเป็นการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างบันได 9 ขั้น สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับพื้นที่ด้วยการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความเจริญยั่งยืน และที่สำคัญที่สุด คือ การได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมจากการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ดังนั้น ความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ทำให้โลกใบนี้ได้อยู่กับลูกหลานอย่างยั่งยืน นายเอกสิฏฐ์ วิไลศิลป์ นายอำเภอวังเจ้า กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการครั้งนี้ ยังเป็นการสนองนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนของประชาชนในทุกมิติ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกช่วงวัย ตลอดจนการขับเคลื่อนเป้าหมายตามการประกาศเจตนรมณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนตามนโยบายของรัฐบาล ที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อที่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ว่า "ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก" และการประกาศเจตนารมณ์ของผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย นำโดยท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พิธีลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) โดยมี คุณกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมเป็นสักขีพยาน ด้วยแนวคิด Change for Good และคำมั่นสัญญา “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน เพื่อคนไทยกว่า 69 ล้านคน ร่วมกับสหประชาชาติ “โลกนี้เพื่อเรา” ให้เกิดผลที่เป็นเชิงประจักษ์แก่สายตาประชาคมโลก #GlobalSoilPartnership #UNFAO #SEPtoSDGs #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62515
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. ย้ำทนเห็นปัญหายาเสพติดกัดกร่อนสังคมไทยต่อไปไม่ได้ เร่งถกอธิบดีปกครอง ลด Demand และ Supply ด้วยการทบทวนกระบวนการบำบัดรักษา เพื่อคืนคนดีสู่สังคม ให้มีอาชีพที่สุดจริต
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ปลัด มท. ย้ำทนเห็นปัญหายาเสพติดกัดกร่อนสังคมไทยต่อไปไม่ได้ เร่งถกอธิบดีปกครอง ลด Demand และ Supply ด้วยการทบทวนกระบวนการบำบัดรักษา เพื่อคืนคนดีสู่สังคม ให้มีอาชีพที่สุดจริต ปลัด มท. ย้ำทนเห็นปัญหายาเสพติดกัดกร่อนสังคมไทยต่อไปไม่ได้ เร่งถกอธิบดีปกครอง ลด Demand และ Supply ด้วยการทบทวนกระบวนการบำบัดรักษา เพื่อคืนคนดีสู่สังคม ให้มีอาชีพที่สุดจริตบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วันนี้ (9 ธ.ค. 65) เวลา 08.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ประชุมติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการทำสงครามกับยาเสพติดของกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้อง War Room ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้มีการหารือถึงการกระบวนการลด Supply Side เพื่อป้องกัน ปราบปราม และจับกุมผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติด ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำมาดำเนินคดีตามกฎหมาย และกระบวนการลด Demand Side ด้วยการทบทวนกลไกและกระบวนการบำบัด รักษา และการฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษา สามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดีในสังคม และสามารถพึ่งพาตนเองได้มีอาชีพที่สุจริต โดยไม่หันกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และเป็นกำลังหลักในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้กรมการปกครองขับเคลื่อนภารกิจการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เร่งด่วน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การ Re X-Ray เพื่อค้นหาผู้ค้า – ผู้เสพ ทุกพื้นที่ ซึ่งมีตัวเลขผู้เสพ ประมาณ 120,000 ราย และ ผู้ค้าประมาณ 18,000 ราย 2) การค้นหาสถานที่บำบัดรักษา ซึ่งขณะนี้มีสถานที่ที่พร้อมดำเนินการจัดเป็นสถานที่บำบัดรักษามีสิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภคครบถ้วนแล้ว จำนวน 158 แห่ง และ 3) การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (งบกลาง) เพื่อใช้ในการดำเนินการ ซึ่งขณะนี้สำนักงานงบประมาณได้เห็นชอบในหลักการแล้ว แต่มีความเห็นให้ตัดลดงบประมาณลง แต่ทางกรมการปกครองได้ยืนยัน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามเดิม เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่า ตัวเลขผู้ค้าและผู้เสพอาจมีปริมาณมากกว่าที่สำรวจก็เป็นได้ ซึ่งหากมีการตัดลดงบประมาณจะทำให้ไม่สามารถดำเนินการในส่วนที่เพิ่มขึ้นมา จะต้องรอรับการสนับสนุนงบประมาณในปีถัดไป นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อว่า ขอชื่นชมและขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคนทุกฝ่าย และขอให้ระลึกไว้ว่า อย่ากลัวความล้มเหลว หรือ ความผิดพลาด เพราะเราตั้งใจดี เจตนาแบบตรงไปตรงมา ที่จะทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชน ซึ่งปัญหายาเสพติดถือเป็นภัยเรื้อรังของชาติ โดยที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ทำให้เกิดการตื่นตัวทางสังคมให้ลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง คือ เหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้กระทรวงมหาดไทยต้องประกาศทำสงครามกับยาเสพติด ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านความมั่นคง และด้านอื่น ๆ อย่างจริงจัง โดยในปัจจุบันพบว่ากลุ่มผู้ค้าผู้เสพมีจำนวนมาก และราคายาเสพติดก็ถูกลงกว่าสมัยก่อน ซึ่งในบางพื้นที่ราคาถูกกว่าอาหารตามสั่งเสียอีก บ่งชี้ถึงนัยยะที่สำคัญตามหลักเศรษฐศาสตร์ เรื่อง Demand และ Supply คือ ถ้าสินค้าราคาถูก แสดงว่ามีสินค้านั้นจำนวนมาก ซึ่งจำนวนกลุ่มลูกค้าก็จะมากขึ้นตามลำดับเพราะเข้าถึงง่ายหาซื้อง่าย จากข้อมูลที่กรมการปกครองรายงาน มีคนที่ติดยาเสพติด จำนวน 120,000 คน และมีจำนวนผู้ค้า 18,000 คน ทำให้ประมาณการได้ว่าอัตราส่วนผู้ค้า 1 คน มีลูกค้ามากถึง 13 ราย ตัวเลขนี้เป็นการสำรวจที่ไม่ครบ 100% ความหมาย คือ ว่า ถ้าวิเคราะห์ตามตัวเลขที่เราได้มา อาจจะไม่เยอะแต่เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ฉะนั้นจึงต้องกลับมาทบทวนที่ระบบการบำบัดรักษาในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าระบบปัจจุบันมีปัญหา กล่าวคือ จากเหตุการณ์ผู้ป่วยยาเสพติดคลุมคลั่งส่วนใหญ่ ผ่านการบำบัดรักษามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า ผลลัพธ์จากการส่งผู้ป่วยยาเสพติดไปบำบัดรักษามีปัญหา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนและแก้ไขในข้อบกพร่องเพื่อปรับระบบเสียใหม่ ดังนั้น ถ้าจะต้องวางแผนการลด Demand หรือจำนวน คนเสพกว่า 120,000 ราย ให้เข้าสู่การบำบัดเชิงคุณภาพ อย่างน้อยที่สุด 15 วัน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเลิกยาเสพติดได้ตั้งแต่อยู่ที่ศูนย์บำบัด ไม่ใช่ปล่อยให้กลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ตั้งแต่วันแรกที่มาพบแพทย์แล้วกลับบ้าน สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหารือกันให้ชัด คือ ถ้ารัฐบาลต้องการจะทำสงครามกับยาเสพติดอย่างจริงจัง จะต้องสนับสนุนงบประมาณในส่วนนี้ให้ท่านนายอำเภอได้ไปดำเนินการ แต่ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ได้ใช้ความพยายามช่วยเหลือตนเอง ด้วยการขอรับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแหล่งงบประมาณอื่น ๆ เพิ่มด้วยอีกทาง เพราะเชื่อว่าคนไทยและคนในพื้นที่ ทนเห็นปัญหายาเสพติดที่เป็นอยู่ไม่ได้และต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเร่งปราบปรามให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย นอกจากนี้ จังหวัด และอำเภอจะต้องหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงที่สุดภายใต้ข้อจำกัดเชิงพื้นที่ ดังนั้น เรื่องที่ต้องรีบดำเนินการ คือ สร้างระบบกลไกโครงสร้างเชิงพื้นที่ มีสถานที่บำบัดรักษาที่เข้าถึงได้ง่ายและพร้อมดำเนินการ ซึ่งควรจะเพิ่มจำนวนให้ทุกอำเภอมีสถานบำบัดรักษา ให้พิจารณาระดมสรรพกำลังในการปรับปรุง ทำความสะอาด ปรับพื้นที่เพื่อรองรับ เช่นห้องน้ำห้องอาหารลานกิจกรรมห้องครัวห้องนอน หรือจะกางเต็นท์นอนแบบลูกเสือก็ได้ แต่ให้มีพื้นที่บริเวณรั้วรอบขอบชิด มี ทีมแพทย์ จิตแพทย์ เครือข่ายการฟื้นฟู กลุ่มวิทยากร ซึ่ง 1 ชุดครูฝึกอาจจะดูแลหลาย ศูนย์บำบัดรักษาก็ได้และหลักสูตรรายวิชา โครงสร้างกลไกขับเคลื่อนที่เป็นทางการมาจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งจะต้องระบุเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นการรองรับหากได้รับงบประมาณจะได้เร่งดำเนินการในทันที ซึ่ง 120,000 คน เรา สามารถอบรมได้รุ่นละ 50,000 - 60,000 คน ซึ่งอาจจะอบรม ไม่เกิน 3 รุ่นก็ครบจำนวนทั้งหมดแล้ว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเน้นย้ำว่า วิชาชีพที่ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาจะต้องไม่มีวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า หรือช่างซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพราะต้องไปเดินหางานอยู่ดี สิ่งที่ต้องสอน คือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ต้องสอนทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ให้เขารู้จักพึ่งพาตนเอง ปลูกพืชผักสวนครัว รู้จักเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงไส้เดือน และวิธีทำกับข้าว ทำขนม การทำถนอมอาหาร เช่น ที่บ้านเลี้ยงเป็ด 1 วัน ได้ไข่ 20 ฟอง ถ้ามีวิชาทำไข่เค็ม ไข่ตุ๋น ไข่เจียว เพิ่มและรู้จักปลูกผักสวนครัว ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว และภาครัฐหรือกลไกที่กล่าวไป ต้องหมั่นไปเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ ส่งเสริมสิ่งที่เขาทำว่าถูกต้อง เสริมความรู้ความยั่งยืนต่าง ๆ เช่น การทำถังขยะเปียกรถโลกร้อน การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมัก ไปพูดคุยแลกเปลี่ยน ไปให้กำลังใจ ทำให้เขารู้สึกมีคุณค่าในสังคม ถึงแม้ไม่ได้งบประมาณก็ต้องทำ ส่วนต่อมาที่สำคัญอีกประการ คือ ฝ่ายปกครองและทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาและเฝ้าระวัง แจ้งเบาะแสค้นหาผู้ค้าผู้เสพเพิ่มเติม ควบคู่กับการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดรักษา และท้ายที่สุด จะต้องเร่งสื่อสารกับสังคมให้รู้ เพื่อให้เกิดความตระหนักและกระตุ้นให้สังคมรณรงค์ป้องกันภัยจากยาเสพติดนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ทุกฝ่ายจะต้องเพิ่มระดับความเข้มข้น ทั้งในวงกว้าง ชุมชน สังคม อำเภอ จังหวัด และในวงแคบ สถาบันการศึกษา โรงงาน สถานประกอบการ สิ่งเหล่านี้ต้องทำควบคู่กันไป “นอกจากนี้ กรมการปกครองกำลังเร่งถอดบทเรียนให้เป็นโมเดลศูนย์บำบัดฟื้นฟูที่วัดถ้ำกระบอก อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เพื่อให้แต่ละจังหวัดนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดหากมีความคืบหน้าแล้วจะได้รายงานให้ทราบต่อไป คำถามสำคัญที่สุด คือ เราจะปล่อยให้ปัญหายาเสพติดเกิดขึ้นต่อไป โดยไม่ทำอะไรทิ้งไว้เฉย ๆ ได้หรือ? คำตอบคือไม่ได้ เพราะเรามีจิตสำนึก มีจิตวิญญาณ มี Passion ในการ Change for Good เราจะต้องไม่ปล่อยให้สังคมมีปัญหา หรือทำให้คนในสังคมวุ่นวายไม่มีความสุข เพราะยาเสพติด เราปราบปรามอย่างจริงจัง ในฐานะข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ซึ่งพระองค์ท่านทรงมีพระบรมราโชบายที่ชัดเจนว่าต้องช่วยกันทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และคำพูดของเราที่บอกว่าเรา คือ ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะช่วยพิสูจน์ตัวเราเองว่า ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยมีคุณค่าเพียงใด ดังนั้น การทำให้ประเทศชาติของเรามีความมั่นคง และยั่งยืนในทุกมิติ คือ หมุดหมายที่กระทรวงมหาดไทยมีความตั้งใจจะสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดมรรคผลที่เป็นรูปธรรม” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวทิ้งท้าย #GlobalSoilPartnership #UNFAO #SEPtoSDGs #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62517
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงข้อสงสัยหลักเกณฑ์การประมาณการจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วม
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงข้อสงสัยหลักเกณฑ์การประมาณการจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผยการเยียวยาเป็นไปตามระเบียบราชการ ส่วนกรณีที่ปรากฏตามข่าวนั้น ยังอยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย รวมถึงผู้ประสบอุทกภัยในฤดูฝนปี 2565 จะได้รับการช่วยเหลือตามมติ ครม. 29 พ.ย.65 อีกด้วย ตามที่ปรากฏข่าวผ่านสื่อกรณีชาวบ้านนามน หมู่ 5 หมู่ 10 ต.ตาลสุม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี ร้องเรียนผ่านสื่อว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่สำรวจประมาณราคาที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้าง โรงเรียน ยุ้งข้าว รวมทั้งสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จ.อุบลราชธานี ปี 2565 โดยมองว่า เจ้าหน้าที่ที่มาสำรวจความเสียหายมีการเลือกปฏิบัติ ประเมินราคาความเสียหายไม่ตรงตามข้อเท็จจริง เนื่องจากบางบ้านที่เสียหายมาก กลับได้รับเงินช่วยเหลือน้อยกว่าบ้านที่เสียหายน้อย จึงตั้งคำถามว่า ภาครัฐมีหลักเกณฑ์ในการประเมินความเสียหายอย่างไรนั้น วันที่ 6 ธันวาคม 2565 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ให้จังหวัดอุบลราชธานี ตรวจสอบรายละเอียด จึงขอชี้แจงข้อมูลและข้อเท็จจริง ดังนี้ 1) เมื่อมีกรณีสาธารณภัยเกิดขึ้น การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทางราชการมีระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราการให้ความช่วยเหลือไว้ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563 โดยจะมีขั้นตอนเริ่มจากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจและประเมินความเสียหายที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ตามระเบียบฯ ดังกล่าว เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแล้วจะส่งให้อำเภอเพื่อให้คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินระดับอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) พิจารณา หากอำเภอมีวงเงินทดรองราชการฯ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดสรรวงเงินทดรองราชการฯ ให้อำเภอเพียงพอต่อการให้ความช่วยเหลือ ทาง ก.ช.ภ.อ. จะพิจารณาอนุมัติการให้ความช่วยเหลือได้เอง หากมีวงเงินทดรองราชการฯ ไม่เพียงพอ อำเภอจะส่งเรื่องให้ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินระดับจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) พิจารณาต่อไป 2) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดในด้านการดำรงชีพ กำหนดให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นสิ่งของหรือจ่ายเป็นเงิน โดยคำนึงถึงสภาพและเหตุการณ์ตามความเหมาะสม โดยในส่วนที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยประจำได้รับความเสียหายนั้นมีกำหนดไว้ ดังนี้ “5.1.4 ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเบื้องต้น กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,800 บาท 5.1.5 ค่าวัสดุซ่อมแซม ที่อยู่อาศัยประจำซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของอยู่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 49,500 บาท” 3) กรณีที่ปรากฎข่าว จังหวัดอุบลราชธานีได้ตรวจสอบแล้ว พบว่ายังอยู่ในขั้นตอนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจและประมาณราคาความเสียหาย ยังมิได้รวบรวมนำส่งมาขอรับการให้ความช่วยเหลือจากอำเภอ โดยบ้านหลังดังกล่าวจากการประเมินความเสียหายที่ต้องซ่อมแซมได้รับรายงานว่ามีภาพถ่ายความเสียหายระบุเป็นฝ้าหลังคา พื้นที่ 15 ตารางเมตร ค่าวัสดุตารางเมตรละ 128 บาท คิดเป็นเงิน 1,920 บาท 4) ผู้ประสบอุทกภัยในฤดูฝนปี 2565 นอกเหนือจากที่จะได้รับการพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ แล้ว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เยียวยาจากรัฐบาล ใน 3 กรณี ดังนี้ 4.1 ครัวเรือนละ 5,000 บาท กรณีที่พักอาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24ชม.) แต่ไม่เกิน 7 วันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย /หรือถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน 4.2 ครัวเรือนละ 7,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน 4.3 ครัวเรือนละ 9,000 บาท กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62403
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. นำถกปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนด ย้ำต้องเร่งสร้างการรับรู้ให้คู่รักที่วางแผนจะมีลูกได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน เพื่อประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ปลัด มท. นำถกปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนด ย้ำต้องเร่งสร้างการรับรู้ให้คู่รักที่วางแผนจะมีลูกได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน เพื่อประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ปลัด มท. นำถกปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนด ย้ำต้องเร่งสร้างการรับรู้ให้คู่รักที่วางแผนจะมีลูกได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน เพื่อประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน วันนี้ (6 ธ.ค. 65) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนิน “โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด” ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยได้รับเมตตาจาก พระปัญญาวชิรโมลี ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ธราธิป โคละทัต เลขานุการและผู้จัดโครงการฯ นายธนิศร์ วงศ์ปิยะสถิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายบรรจบ จันทรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน นายกิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์ ท้องถิ่นจังหวัดนครนายก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม . นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีภารกิจสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนด้วยปณิธาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ในทุกมิติ ซึ่งปัญหาการเกิดก่อนกำหนดของทารกเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญอันส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของประชาชนโดยที่ผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้ล่วงรู้ล่วงหน้าหรือไม่มีความรู้ด้านการผดุงครรภ์กระทั่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในระยะยาว เนื่องจากความสมบูรณ์ของทารกแรกเกิดนั้นจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าทารกที่คลอดครบกำหนด รวมถึงต้องเผชิญกับสภาวะความเสี่ยงต่อโรคหรืออาจเสียชีวิตหรืออาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในด้านอื่น ๆ ซึ่งจะต้องใช้อาหารเสริมทางด้านโภชนาการ และการเลี้ยงดูที่มีการเอาใจใส่และการดูแลเป็นพิเศษกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้ การที่เด็กเกิดมาแล้วมีร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์นั้นถือเป็นความทุกข์ของประชาชน และส่งผลต่อประชากรวัยแรงงานของประเทศในอนาคต “กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการเสริมสร้างความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และการวางแผนของครอบครัว ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาคนในอนาคต จึงเป็นที่มาของการหารือในวันนี้ที่ต้องเชิญให้หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงเรียนแพทย์ที่เป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยมาช้านาน ได้มาร่วมหารือและให้ข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะถึงแนวทางป้องกันและลดโอกาสเกิดการภาวะการคลอดก่อนกำหนดให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ประชาชนคนไทยในทุกพื้นที่ได้มีการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและสามารถให้กำเนิดเด็กทารก ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยสิ่งที่ต้องทำเป็นการเร่งด่วนในขณะนี้ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด อำเภอ ตลอดจนกลไกของกระทรวงมหาดไทยในระดับพื้นที่ทุกส่วนต้องสร้างความตระหนักรู้และการรับรู้ให้กับประชาชน เริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ตลอดจนถึงเมื่อเกิดมาเป็นทารก ซึ่งกระทรวงมหาดไทยตั้งเป้าหมายในการลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายใน 1 ปี และในปีต่อไปอีกร้อยละ 50 ในทุกจังหวัด” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ . ด้าน ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ธราธิป โคละทัต กล่าวว่า ภาวะที่ทารกเกิดก่อนกำหนด คือ ภาวะที่ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิต และพบภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด ได้แก่ เลือดออกในสมอง สายตาพิการ (ตาบอด) ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของทารก ครอบครัว และชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก เตียงในหออภิบาลทารกแรกเกิดไม่เพียงพอ แพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญมีจำกัดและขาดแคลนอุปกรณ์ เช่น ตู้อบทารกและเครื่องช่วยหายใจ นอกจากนี้ ครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหรือฟื้นฟูสภาพร่างกายไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี หรือบางรายอาจต้องได้รับการดูแลและเลี้ยงดูไปตลอดชีวิต ซึ่งจากการทำวิจัยโดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พบว่าประมาณร้อยละ 50 - 60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีเหล่านั้นยังขาดความรู้การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด จึงเข้ามารับการรักษาล่าช้า เป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมักไม่ประสบผลสำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญกับโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก โดยเน้นย้ำว่า “ต้นทางดีจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี” กล่าวคือ ต้องร่วมกันสร้างระบบป้องกันและรักษาภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ด้วยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ดูแลสุขภาพตนเองระหว่างการตั้งครรภ์ ให้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน มีการดูแลสุขภาพครรภ์ที่ดีในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ . “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทำการศึกษาและดำเนินงานเพื่อลดอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา โดยบูรณาการระบบส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในระดับจังหวัด ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและผลลัพธ์ที่ดี ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เกิดกลไกการทำงานแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็นที่มาของการร่วมหารือกับกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นกระทรวงที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลประชาชนตั้งแต่ระดับจังหวัดถึงระดับหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการฯ นำร่องไปสู่ชุมชนและเกิดมรรคผลอย่างแท้จริง” ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ธราธิปฯ กล่าว . นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ คือ จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับเด็ก และเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวที่กำลังวางแผนจะมีบุตร ว่าต้องมีการตรวจโรค หรือความเสี่ยง หรือความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนที่จะตั้งครรภ์ และเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์จะต้องรีบไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาล เพื่อให้ได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์ ซึ่งภายหลังการคลอดก็จะต้องมีวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และสร้างพัฒนาการให้แก่เด็กทารก การวางแผนตั้งแต่ก่อน ระหว่าง หลัง การตั้งครรภ์จึงมีส่วนสำคัญ “ด้วยการให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ได้มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เข้าใจง่าย เพื่อเร่งสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของแม่หรือหญิงมีครรภ์ โดยตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอเพื่อไปบำรุงเลี้ยงดูทารกในครรภ์ ตลอดจนถึงการสงเคราะห์แก่ผู้ยากไร้ในการไปพบแพทย์เป็นประจำหรือเมื่อมีนัดพบแพทย์ ซึ่งจะเป็นส่วนที่สนับสนุนทำให้เกิดภาวะการคลอดก่อนกำหนดลดลง” “จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งท่านนายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้นำท้องที่ และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้เน้นย้ำเรื่องการให้ความรู้ตั้งแต่คู่รักที่มาจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ ว่าการเตรียมตัวเป็นคุณแม่จะต้องมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร นอกจากนี้ เรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน คือ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ก็จะต้องเน้นย้ำและให้ความสำคัญในเรื่องของการรณรงค์ให้รู้จักการป้องกัน เพื่อมิให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งนี้ การวางแผนที่ดีในการสร้างครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ เพราะพื้นฐานการพัฒนาชุมชน หรือการพัฒนาระดับประเทศ จะต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ คือการมีสุขภาพพลานามัยที่ดี มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะเป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงแข็งแรงในอนาคต ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย . #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nurition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood .
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62383
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ มุ่งกระจายอำนาจอย่างเป็นระบบ โปร่งใส มีประสิทธิภาพ เท่าทันนวัตกรรม
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ​โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ มุ่งกระจายอำนาจอย่างเป็นระบบ โปร่งใส มีประสิทธิภาพ เท่าทันนวัตกรรม เป็นไปตามความต้องการและบริหารตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วันนี้ (7 ธันวาคม 2565) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ด้วยนโยบายกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น และผลักดันแนวคิดการกระจายอำนาจภาครัฐไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งปรับองค์กรภาครัฐ (Government Reengineering) ให้มีความคล่องตัว และมีความยืดหยุ่นสูงขึ้น รองรับต่อความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) และความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องที่ ซึ่งมีอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ความเป็นมา มีสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนทุกคน ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไทย โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านที่ 6 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล และการพัฒนาระบบการบริหารการจัดการภาครัฐ ตามแผนงานย่อย ดังนี้ - ภาครัฐเพื่อประชาชน เพิ่มขีดความสามารถของภาครัฐให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่น ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเงิน การคลังภาครัฐ ให้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของชาติและประชาชน - ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส สะดวกและสุจริต โดยประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบประเมินผลได้ - กระจายอำนาจอย่างเหมาะสม ปรับตัวให้ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมต่อภารกิจการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มีระบบภาษีและรายได้ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ - พัฒนาค่านิยมในการทำงาน บุคลากรภาครัฐเป็นคนเก่งที่ดี ยึดมั่นในคุณธรรม และทำงานเพื่อประชาชน ภายใต้การสนับสนุนพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ภาครัฐ - ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพในสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเสมอภาค ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ระบบยุติธรรมชุมชน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจากการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา เห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีได้เห็นศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ เดินหน้ากระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและสร้างโอกาสการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนา ลดการกระจุกตัวของการพัฒนา และประชากรของเมืองใหญ่ในปัจจุบัน โดยการสร้างสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองที่สงบสุข เพียงพอ และแก้ปัญหา การย้ายถิ่นฐาน โดยได้ 1. ส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเพื่อเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเอเชีย ได้แก่ พัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และการพัฒนาจังหวัดชายแดน เพิ่มพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งใหม่ในภูมิภาค และเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอย่างต่อเนื่อง 2. ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ทั่วประเทศ ตลอดจนได้พัฒนาโครงสร้าง และระบบการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ การปรับเปลี่ยนกระบวนการอนุมติ อนุญาตของทางราชการที่มีความสำคัญ ต่อการประกอบธุรกิจและดำเนินชีวิตของประชาชนให้เป็นระบบดิจิทัล การพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่่ในการบริหารราชการแผ่นดิน การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐสู่สาธารณะ การส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนากลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการสาธารณะ และการตรวจสอบภาครัฐ และการปรับปรุงระเบียบ กฎหมาย เพื่อเอื้อต่อการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน “นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ ไม่เพียงแต่เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลดำเนินการตั้งแต่วันแรกที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ แต่รัฐบาลเชื่อว่า การกระจายอำนาจนั้นต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นระบบ ตรวจสอบได้ ตอบสนองต่อความแตกต่าง และความต้องการของแต่ละพื้นที่ อีกทั้งต้องเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม ซึ่งตลอดเวลาของการทำงาน นายกรัฐมนตรีใช้หลักการเหล่านี้ มุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม กระจายความเจริญอย่างทั่วถึง เท่าเทียม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกคน” นายอนุชาฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62386
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สมศักดิ์" จี้การไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบ มีจนท.เอี่ยวหรือไม่ หลังดีเอสไอปฏิบัติการปราบโกงสายฟ้าฟาด จับกลุ่มขโมยไฟฟ้าขุดบิทคอยน์เสียหายกว่า 500 ล้าน
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 "สมศักดิ์" จี้การไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบ มีจนท.เอี่ยวหรือไม่ หลังดีเอสไอปฏิบัติการปราบโกงสายฟ้าฟาด จับกลุ่มขโมยไฟฟ้าขุดบิทคอยน์เสียหายกว่า 500 ล้าน "สมศักดิ์" จี้การไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบ มีจนท.เอี่ยวหรือไม่ หลังดีเอสไอปฏิบัติการปราบโกงสายฟ้าฟาด จับกลุ่มขโมยไฟฟ้าขุดบิทคอยน์เสียหายกว่า 500 ล้าน ชี้นี่แค่ 1% หากรวบได้ทั้งหมดอาจสูงถึง 5 หมื่นล้าน หวั่นเป็นสาเหตุปรับขึ้นค่าไฟฟ้าประชาชน "สมศักดิ์" จี้การไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบ มีจนท.เอี่ยวหรือไม่ หลังดีเอสไอปฏิบัติการปราบโกงสายฟ้าฟาด จับกลุ่มขโมยไฟฟ้าขุดบิทคอยน์เสียหายกว่า 500 ล้าน ชี้นี่แค่ 1% หากรวบได้ทั้งหมดอาจสูงถึง 5 หมื่นล้าน หวั่นเป็นสาเหตุปรับขึ้นค่าไฟฟ้าประชาชน ในวันพุธที่​ 7 ธันวาคม​ 2565 เวลา 09.30 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยนายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ต.ต.วรณัน​ ศรีล้ำ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายชวภณ สินพูนภักดิ์ หัวหน้าคณะพนักงานสืบสวน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าว โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เปิดปฏิบัติการปราบโกงสายฟ้าฟาด ปราบปรามจับกุมกลุ่มผู้ที่ทำการลักลอบใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในการขุดเหรียญดิจิทัล โดยเฉพาะบิทคอยน์ในพื้นที่จ.นนทบุรี 39 แห่งและกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง รวม 41 จุด หลังจากที่มีผู้ร้องเรียนและทำการสืบสวนสอบสวนมาเกือบ 1 ปี โดยสามารถจับกุมผู้กระทำผิดเพศชาย 1 ราย อายุ 30 ปี และยึดเครื่องขุดเงินดิจิทัลรุ่นเอส 9 ได้ประมาณ 3,500 เครื่อง ทั้งนี้​ จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า กลุ่มผู้กระทำผิดได้ลักลอบติดตั้งตั้งเครื่องขุดเงินดิจิทัลแห่งละประมาณ 100 เครื่อง โดยทำมาแล้วประมาณ 2 ปี ส่งผลให้รัฐเสียหายค่าไฟฟ้าเดือนละ 20-30 ล้านบาท รวม 2 ปีกว่า 500 ล้านบาท และจากการตรวจสอบพบว่าที่ผ่านมามีการลักลอบใช้ไฟฟ้าในอาคารพาณิชย์ปริมาณสูงมากส่งผลให้มีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย ซึ่งการใช้ไฟฟ้าลักษณะนี้ทำให้มีอาคารพาณิชย์ถูกไฟไหม้ไปแล้วประมาณ 3 แห่ง จึงถือว่าอันตรายมาก นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ พบว่าผู้กระทำความผิดมีรายได้จากการขุดเงินดิจิทัล 35 บาทต่อเครื่องต่อวันทั้งหมด 3,500 เครื่อง ทำให้มีรายได้ถึง 4.2 ล้านบาทต่อเดือน รวม 2 ปีมีรายได้กว่า 100 ล้านบาทโดยไม่เสียค่าไฟฟ้า แต่รัฐกลับสูญเสียรายได้หลายร้อยล้านบาท ขณะเดียวกัน จากการสอบปากคำผู้ต้องหา พบว่า มีการลักลอบขุดบิทคอยน์มากว่า 2 ปี มีลูกน้องอีกประมาณ 20 คน เป็นกลุ่มคนไทยทั้งหมด โดยอุปกรณ์และข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบได้มีเพียง 1%เท่านั้น ดังนั้นหากคำนวนแล้วถ้ามีการกระทำผิด 100% รัฐจะเสียหายค่าไฟฟ้ากว่า 5 หมื่นล้านบาท จากปฏิบัติการที่เกิดขึ้นผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า การลักลอบใช้ไฟฟ้าในช่วง 2 ปีนี้ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงทราบเรื่องหรือสงสัยหรือไม่ และเป็นไปได้หรือไม่ที่เรื่องดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับการขึ้นค่าไฟฟ้าของประชาชนจนส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน และประเทศเสียหาย จึงขอฝากไปยังการไฟฟ้านครหลวงและผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบโดยเร็วที่สุด เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ และขอให้ประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตา หากพบเหตุต้องสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที" นายสมศักดิ์ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62413
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ ย้ำนโยบายหลัก 15 ด้าน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ปี 66
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 รัฐมนตรีเกษตรฯ ย้ำนโยบายหลัก 15 ด้าน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ปี 66 เน้นทำงานเชิงรุก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องเกษตรกร ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2566 ที่ยังคงเน้นย้ำนโยบายหลัก 15 ด้าน ได้แก่ 1) นโยบาย “ตลาดนำการผลิต” 2) การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก 3) การส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ Start Up 4) การส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) 5) การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) 6) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร 7) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ 8) การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม 9) การส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 10) การประกันภัยพืชผล 11) การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน 12) การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน 13) การวิจัยและพัฒนา 14) การพัฒนาฐานข้อมูล Big Data ข้อมูลพื้นที่ระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลัง 15) การประกันรายได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การทำงานในปี 2566 นี้ ยังคงเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานยึดหลักยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบาย โดยให้ทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งในเรื่องของยุทธศาสตร์เกษตร 4.0 ซึ่งในยุคต่อไป 4.0 คงจะไม่พอ จึงต้องนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัย เพื่อนำมาลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกร และบูรณาการการทำงานทั้งภายในกระทรวง หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ภาคเอกชน และทุกภาคส่วน ที่สำคัญตั้งใจที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตร โดยจะต้องสร้างเครื่องมือและสร้างโอกาสให้พี่น้องเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรด้านการเกษตรและบุคลากรด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำในเรื่องการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิต ซึ่งทุกหน่วยงานต้องร่วมกันวางแผนว่าจะให้เกษตรกรเดินหน้าอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงและเงื่อนไขระดับโลก ซึ่งจะต้องปรับตัวตั้งแต่วันนี้ เพื่อที่จะส่งออกสินค้าเกษตรได้ อีกทั้งขอให้ทุกหน่วยงานมีการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ อาทิ - การนำนโยบายรัฐบาล BCG Model ไปสู่การปฏิบัติ - ด้านเกษตรปลอดภัย จะทำอย่างไรให้เกษตรกรปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย ซึ่งถือเป็นหัวใจของการผลิต และเป็นนโยบายแรกที่มุ่งเน้นการดำเนินงานอย่างเข้มข้น - การผลักดันค่าตอบแทนให้อาสาสมัครเกษตร - การบริหารจัดการน้ำที่ดี การใช้น้ำอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด - การแนะนำพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ พี่น้องเกษตรกร - การคาดการณ์ตลาดโลก ตลาดผู้บริโภคในอนาคต การตั้งเป้าหมาย “เป็นครัวของโลก” ต้องมีแหล่งผลิตอาหารที่เพียงพอสำหรับคนและสัตว์ ส่งเสริมการปลูกสำหรับอาหารในประเทศ เพื่อลดการนำเข้า "อยากเห็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปลี่ยนเป็นกระทรวงด้านเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ให้ภาคการเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศด้วย และได้ฝากให้ผู้บริหารทุกหน่วยงานปรับตัวตามสถานการณ์เพื่อนำนโยบายดังกล่าวไปเป็นแนวทางไปปฏิบัติ โดยขอให้ดำเนินการทุกอย่างด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้" ดร.เฉลิมชัย กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62409
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รองโฆษกรัฐบาลเผยรัฐบาลทำงานเชิงรุก โทรชวนหญิงไทยคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผ่านสายด่วน สปสช.1330 สำเร็จกว่า 500,000 เคส
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ​รองโฆษกรัฐบาลเผยรัฐบาลทำงานเชิงรุก โทรชวนหญิงไทยคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผ่านสายด่วน สปสช.1330 สำเร็จกว่า 500,000 เคส ​รองโฆษกรัฐบาลเผยรัฐบาลทำงานเชิงรุก โทรชวนหญิงไทยคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผ่านสายด่วน สปสช.1330 สำเร็จกว่า 500,000 เคส วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลทำงานเชิงรุกสร้างสังคมสุขภาวะที่ดีสู่ประชาชนทุกเพศทุกวัย เพื่อสุขภาพที่ดีอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เดินหน้าไปอย่างเข้มแข็ง นางสาวรัชดา กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ฝ่ายบริการประชาชนและคุ้มครองสิทธิ (สายด่วน สปสช.1330) ได้ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลรณรงค์ให้หญิงไทยตามกลุ่มเป้าหมาย ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บป่วย โดยใช้วิธีโทรศัพท์เชิงรุก สายด่วน สปสช.1330 ติดต่อประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายได้รับสิทธิประโยชน์บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสิทธิและการรักษาพยาบาล สำหรับการโทรศัพท์จะใช้ฐานข้อมูลประชาชนที่เคยติดต่อเข้ามาที่สายด่วน สปสช.1330 เพื่อเชิญชวนหญิงไทยทุกสิทธิการรักษาที่อยู่กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยเริ่มดำเนินการโทรเชิงรุก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน 2565 – 30 กันยายน 2565 จำนวน 300,016 เคส และปีงบประมาณ 2566 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565- 30 พฤศจิกายน 2565 จำนวน 249,204 เคส นางสาวรัชดา ขอให้ประชาชนมั่นใจการให้บริการ หากเป็นเจ้าหน้าที่สายด่วน สปสช. 1330 ติดต่อไป หน้าจอของประชาชนคือหมายเลข 1330 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการแนะนำตัวดังนี้ “สวัสดีค่ะ/ครับ ดิฉัน/ผม…….แนะนำชื่อ…..โทรจากสายด่วน สปสช.1330 ขอรบกวนเวลาสักครู่ เพื่อแนะนำบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ไม่ทราบสะดวกหรือไม่ค่ะ/ครับ” หากประชาชนสะดวกรับฟังข้อมูล เจ้าหน้าที่จะแนะนำบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แนะนำสถานที่ตรวจ ให้เบอร์ติดต่อหน่วยบริการเพื่อนัดหมายหรือสอบถาม โดยภายในการสนทนาจะไม่มีการสอบถามข้อมูลส่วนตัวแต่อย่างใด "หากประชาชนไม่มั่นใจต้องการตรวจสอบว่าเบอร์ที่โทรไป นั่นเป็นบริการของสปสช. หรือเป็น มิจฉาชีพ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาทีสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1.สายด่วน สปสช. 1330 2.ช่องทางออนไลน์ * ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 * Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand" นางสาวรัชดา ย้ำ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62387
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชมนักกีฬายกน้ำหนักไทยเปิดฉากอย่างสวยงาม คว้า 5 เหรียญทอง 3 เหรียญเงินแล้ว ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก 2022 ณ กรุง Bogotá
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชมนักกีฬายกน้ำหนักไทยเปิดฉากอย่างสวยงาม คว้า 5 เหรียญทอง 3 เหรียญเงินแล้ว ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก 2022 ณ กรุง Bogotá โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชมนักกีฬายกน้ำหนักไทยเปิดฉากอย่างสวยงาม คว้า 5 เหรียญทอง 3 เหรียญเงินแล้ว ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก 2022 ณ กรุง Bogotá วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ได้ทราบว่า นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย สามารถคว้ารางวัลมาได้แล้ว 5 เหรียญทอง และ 3 เหรียญเงิน ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก 2022 ณ กรุงโบโกตา (Bogotá) ประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเปิดฉากการแข่งขันเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมเป็นวันแรก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ไทยได้รับแล้ว 5 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน ซึ่งเป็นผลงานจากธรรญธร สุขข์เจริญ 2 เหรียญทอง และ 1 เหรียญเงิน จากสิริวิมล ประมงคล 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และจากธีรพงศ์ ศิลาชัย 2 เหรียญทอง ซึ่งรายการการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลกนี้ เป็นรายการเก็บคะแนนโอลิมปิกเกมส์ ค.ศ. 2024 "ปารีสเกมส์” ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ ยังมีโปรแกรมการแข่งขันของนักกีฬายกน้ำหนักไทยรุ่นอื่น ๆ อีกจนถึงวันที่ 16 ธ.ค. ซึ่งนักยกน้ำหนักไทยยังมีโอกาสคว้าเหรียญรางวัลเพิ่มได้อีก จึงขอเชิญชวนให้แฟนกีฬาชาวไทยติดตามเชียร์ให้กำลังใจด้วย “นายกรัฐมนตรีชื่นชมความสามารถของนักกีฬาไทย แสดงศักยภาพคว้ารางวัลในการแข่งขันระดับโลก เชื่อมั่นว่ายกน้ำหนักเป็นหนึ่งในประเภทกีฬาที่ไทยมีศักยภาพ ที่จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทยอย่างแน่นอน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณนักกีฬาที่ขยันฝึกซ้อม พัฒนาทักษะ ชั้นเชิง และสมาธิ รวมทั้งขอบคุณเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยผลักดันในการแข่งขันนี้ รวมทั้งเชิญชวนชาวไทยร่วมเชียร์ให้กำลังใจนักกีฬาไทยจนจบการแข่งขัน” นายอนุชาฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62408
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยร่วมประชุมรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 6 ประเทศ GMS ครั้งที่ 25 สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพ ขับเคลื่อนการลงทุน-เศรษฐกิจดิจิทัล-ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ไทยร่วมประชุมรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 6 ประเทศ GMS ครั้งที่ 25 สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพ ขับเคลื่อนการลงทุน-เศรษฐกิจดิจิทัล-ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ ไทยร่วมประชุมรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 6 ประเทศ GMS ครั้งที่ 25 สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพ ขับเคลื่อนการลงทุน-เศรษฐกิจดิจิทัล-ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบเอกสาร 5 ฉบับ ที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion economic cooperation program: GMS) ครั้งที่ 25 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้หัวข้อ “การเร่งรัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อต่อยอด 30 ปี แห่งความสำเร็จของแผนงงาน GMS ไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน” ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารทั้ง 5 ฉบับ มีดังนี้ ฉบับแรก ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 25 เป็นการรับทราบการดำเนินงาน อาทิ 1.ความก้าวหน้าสำคัญในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ เช่น 1)ด้านคมนาคม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2)ด้านพลังงาน การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานผ่านการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด 3)ด้านการเกษตร การส่งเสริมการทำเกษตรที่ยั่งยืน 4)ด้านสิ่งแวดล้อม การลงทุนในสาขาสิ่งแวดล้อมเพื่อผลักดันการพลิกฟื้นเศรษฐกิจสีเขียว 2.รับทราบและให้การรับรองแผนและการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้าในประเด็นเชิงบูรณาการ เช่น การจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ของอนุภูมิภาค GMS ความร่วมมือด้านดิจิทัลและการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัล และ 3.เน้นย้ำการดำเนินตามกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. 2573 พร้อมทั้งกำหนดให้มีกลไกติดตามและประเมินผล และเร่งสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนา ฉบับที่สอง ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS เน้นย้ำการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ผ่านการสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในโครงการรายสาขาต่าง ๆ ภายใต้แผนงาน GMS ให้มากยิ่งขึ้น และเป็นการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 โดยระบุประเด็นเชิงบูรณาการ เช่น การประสานเศรษฐกิจมหภาค การเคลื่อนย้ายแรงงานและการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัย การศึกษาและทักษะ เขตเศรษฐกิจพิเศษ และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ฉบับที่สาม กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ.2573 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการติดตามและประเมินผลในการบรรลุวิสัยทัศน์ GMS 2030 คือ "อนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการ มั่งคั่ง ยั่งยืน และครอบคลุมมากขึ้น" โดยได้กำหนดตัวชี้วัดใน 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 ความก้าวหน้าในการบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ โดยให้ความสำคัญกับการประเมินผลการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในภาพรวม ระดับที่ 2 ประเมินผลระดับโครงการภายใต้สามเสาหลักของวิสัยทัศน์แผนงาน GMS พ.ศ.2573 (การเชื่อมต่อ (connectivity) ความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) และชุมชน (community)) และ ระดับที่ 3 ประเมินปัจจัยนำเข้าในมิติด้านงบประมาณการสนับสนุนองค์ความรู้และกลไกเชิงสถาบัน ฉบับที่สี่ ข้อริเริ่มความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล GMS จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เร่งการเชื่อมต่อด้านดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล และเร่งการพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล โดยมีแนวทางการดำเนินการ คือ การจัดทำโครงการวิจัยเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาเศษฐกิจดิจิทัลใน GMS เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน แสวงหาโอกาสและความท้าทายของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS และฉบับที่ห้า กรอบการลงทุนของภูมิภาคฉบับใหม่ พ.ศ.2568 (RIF 2025) มุ่งพัฒนาเกณฑ์ของกรอบการลงทุนอนุภูมิภาคฉบับใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการคัดเลือกโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน ทั้งนี้ โครงการมูลค่าลงทุนสูงของไทยที่ได้เริ่มดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาและเข้าสู่กลไกงบประมาณแล้ว ได้แก่ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ในประเทศ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ในครั้งนี้ คือ 1)นำเสนอบทบาทการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาของไทยใน GMS 2)หารือแนวทางการฟื้นฟู GMS ภายหลังโควิด-19 3)สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่ EEC และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62389
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดห้องแสดงผลิตภัณฑ์ เรือนจำชั่วคราวเขาเขื่อนลั่น ภายใต้สังกัดเรือนจำกลางคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดห้องแสดงผลิตภัณฑ์ เรือนจำชั่วคราวเขาเขื่อนลั่น ภายใต้สังกัดเรือนจำกลางคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดห้องแสดงผลิตภัณฑ์ เรือนจำชั่วคราวเขาเขื่อนลั่น ภายใต้สังกัดเรือนจำกลางคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา ในวันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๓๐ น. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดห้องแสดงผลิตภัณฑ์ เรือนจำชั่วคราวเขาเขื่อนลั่น ภายใต้สังกัดเรือนจำกลางคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งสักการะพระพุทธมิ่งมงคลศรีชลธารคลองไผ่ โดยมี นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พันตำรวจโท ประวุธ วงศ์สีนิล รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายเผด็จ หริ่งรอด ผู้บัญชาการเรือนจำกลางคลองไผ่ ให้การต้อนรับ ณ เรือนจำชั่วคราวเขาเขื่อนลั่น สังกัดเรือนจำกลางคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา สำหรับห้องแสดงผลิตภัณฑ์ เรือนจำชั่วคราวเขาเขื่อนลั่น ภายใต้สังกัดเรือนจำกลางคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา จัดสร้างขึ้นเพื่อแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฝีมือผู้ต้องขัง ได้แก่ ภาพวาดด้วยน้ำกาแฟ เป็นต้น พร้อมทั้งจัดกิจกรรมให้ผู้ต้องขังได้ฝึกอบรมวาดภาพลายเส้นด้วยดินสอและน้ำกาแฟ โดยเชิญวิทยากรจากภายนอกมาฝึกสอน ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ ผู้ต้องขังมีพฤตินิสัยเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และมีภาพวาดที่สวยงามสามารถจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกได้ อีกทั้งยังเป็นรายได้แก่ผู้ต้องขังอีกทางหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงยุติธรรมที่ให้เรือนจำที่มีศักยภาพพัฒนาเรือนจำให้เป็นเรือนจำท่องเที่ยว เพื่อเสริมสร้างทักษะให้ผู้ก้าวพลาด และสร้างโอกาสให้ประชาชนภายนอกเข้ามาสนับสนุนการประกอบอาชีพที่สุจริต ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมในการยอมรับผู้ก้าวพลาดกระทำผิดให้คืนสู่สังคมต่อไป ทั้งนี้ เรือนจำชั่วคราวเขาเขื่อนลั่นแห่งนี้ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมจำนวนมาก และถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดนครราชสีมา
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62400
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อโรงโกศ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อโรงโกศ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อโรงโกศ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อโรงโกศ เมื่อเร็วๆ นี้ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อโรงโกศ โดยมี นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชนะกิจ คชชี ผู้อำนวยการกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีฯ เข้าร่วม ณ อาคารเครื่องเกียรติยศ กองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน กระทรวงวัฒนธรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62414
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๖-๘ ธันวาคม ๒๕๖๕
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62401
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-๗ ธันวาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ๗ ธันวาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ...
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62385
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ธนกร" ชี้ ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค-EEC-ท่องเที่ยวฟื้นตัว ปัจจัยสำคัญดึงลงทุนไหลเข้าประเทศ มั่นใจปี 66 ปีทองเศรษฐกิจไทย หลังนานาชาติชี้เป็นเสียงเดียว ไทยจะโตสวนทางเศรษฐกิจโลก
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 "ธนกร" ชี้ ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค-EEC-ท่องเที่ยวฟื้นตัว ปัจจัยสำคัญดึงลงทุนไหลเข้าประเทศ มั่นใจปี 66 ปีทองเศรษฐกิจไทย หลังนานาชาติชี้เป็นเสียงเดียว ไทยจะโตสวนทางเศรษฐกิจโลก "ธนกร" ชี้ ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค-EEC-ท่องเที่ยวฟื้นตัว ปัจจัยสำคัญดึงลงทุนไหลเข้าประเทศ มั่นใจปี 66 ปีทองเศรษฐกิจไทย หลังนานาชาติชี้เป็นเสียงเดียว ไทยจะโตสวนทางเศรษฐกิจโลก โวผลงานรัฐบาลเริ่มผลิดอกออกผล เป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงใจของนายกฯ ต่อการแ วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มั่นใจว่าปี 2566 จะเป็นโอกาสทองของประเทศไทย ภายใต้การบริหารประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ที่วางยุทธศาสตร์ชาติ และเดินหน้ามาตรการต่างๆ ให้ประเทศไทยมีความพร้อม ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัล 5G แรงงานที่มีทักษะสูง และส่งเสริมภาคบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข การท่องเที่ยว และ softpower รวมถึงความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไทยมีศักยภาพและความพร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 ขณะที่ World Bank และ ADB คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตถึง 4.1% และ 4.2% ซึ่งโตสวนทางเศรษฐกิจโลกที่ IMF คาดว่าจะโตเพียงร้อยละ 2.7% รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนนั้น มีกลุ่มเป้าหมายทั้งนักลงทุนไทยและต่างประเทศ ภายใต้การเดินหน้าโครงการ EEC ซึ่งเป็นทั้งการสร้างพื้นที่และโอกาสใหม่ของการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ จากความสำเร็จของอีอีซี ในการลงทุนระยะที่ 1 (2561 – 2565) มีการอนุมัติงบลงทุนสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท โดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐร่วมเอกชน หรือ PPP ได้เอกชนผู้ลงทุนทั้ง 4 โครงการหลัก มูลค่ารวมประมาณ 655,821 ล้านบาท และตั้งเป้าแผนการลงทุนใน 5 ปี (ปี 2565-2569) จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ภาคเกษตรของไทยในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง จากอุปสงค์ความต้องการอาหารของโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงเดินหน้านโยบาย BCG / เกษตรอัจฉริยะ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและพลังงานหมุนเวียน เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น นายธนกร กล่าวอีกว่า ส่วนภาคบริการ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว กลายเป็นอุตสาหกรรมที่กลับมาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 คลี่คลาย โดย ลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 2 ธันวาคม 2565 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมแล้ว 9.6 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยวสะสมมากกว่า 2.8 แสนล้านบาท เชื่อว่าภายในช่วงกลางเดือนธันวาคม นี้ ภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวปี 65 จะเกินเป้าหมาย 10 ล้านคนอย่างแน่นอน สำหรับด้านการต่างประเทศ จากความสำเร็จในการเป็นประธานการประชุมเอเปค 2022 และการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศซาอุดิอาระเบียในรอบ 30 ปี เป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้มีความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว แรงงาน การค้า และการลงทุน "วันนี้ประเทศไทยกลายเป็นโมเดลความสำเร็จที่หลายประเทศต่างให้ความสนใจ แม้ว่าจะมีการประเมินเศรษฐกิจโลกในปีหน้าว่ายังคงมีภาวะถดถอย แต่ประเทศไทยกลับยังได้รับความไว้วางใจจากต่างประเทศ โดยถูกมองว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในปี 2566 ที่เศรษฐกิจจะมีอัตราเติบโตที่สูงขึ้น และเป็นการเติบโตสวนทางเศรษฐกิจโลก โดยส่วนหนึ่งเป็นผลสำเร็จจากความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายของท่านนายกฯ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ที่วันนี้เริ่มทยอยผลิดอกออกผลให้เห็น และที่ผ่านมาได้กำชับรัฐมนตรีทุกท่านให้ทำงานหนักเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เชื่อว่าผลงานที่ทยอยออกมานั้น จะเป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงใจของท่านนายกฯ ในการแก้ปัญหาให้กับประเทศและประชาชนได้เป็นอย่างดี" นายธนกร กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62388
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘รมช.มนัญญา’ ชื่นชมทุเรียนชะนีอินทรีย์เกาะช้าง คุณภาพเยี่ยม ดันสินค้าอินทรีย์สร้างรายได้
วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2565 ‘รมช.มนัญญา’ ชื่นชมทุเรียนชะนีอินทรีย์เกาะช้าง คุณภาพเยี่ยม ดันสินค้าอินทรีย์สร้างรายได้ ‘รมช.มนัญญา’ ชื่นชมทุเรียนชะนีอินทรีย์เกาะช้าง คุณภาพเยี่ยม ดันสินค้าอินทรีย์สร้างรายได้ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมสวนทุเรียนชะนีเกาะช้าง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ของนายพิษณุ สิทธิถาวร เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน โดยมี นายกัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วม ณ ต.เกาะช้างใต้ อ.เกาะช้าง จ.ตราด สำหรับทุเรียนเกาะช้างเป็นทุเรียนพันธุ์ชะนี ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน GI ภายใต้ชื่อ ทุเรียนชะนีเกาะช้าง มีการนำมาปลูกในพื้นที่อำเภอเกาะช้างครั้งแรก เมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ จึงทำให้ทุเรียนพันธุ์ชะนีเกาะช้างมีความโดดเด่น มีทรงผลค่อนข้างรี ยาว หนามใหญ่และห่างเปลือกผล เปลือกบาง เนื้อละเอียด แห้ง เหนียว สีเหลืองเข้ม รสชาติ หวาน มัน มีกลิ่นหอม เนื่องจากสภาพของพื้นดินที่ปลูกจะมีแร่ธาตุของดินภูเขาไฟ ปลูกกลางทะเล มีน้ำเค็มล้อมรอบ จึงทำให้รสชาติของทุเรียนชะนีเกาะช้างแตกต่างกับทุเรียนที่ปลูกตามพื้นที่อื่น ๆ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการขับเคลื่อนส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรให้ความสำคัญ และใส่ใจในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม อ.เกาะช้าง จ.ตราด นอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามแล้ว ยังมีทุเรียนชะนีเกาะช้างที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะทุเรียนอินทรีย์ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้บริโภคผลไม้ปลอดภัย และในอนาคตเชื่อว่าผลไม้อินทรีย์จะเป็นสินค้าติดอันดับ สร้างมูลค่าให้กับเกษตรกร ซึ่งสวนแห่งนี้มีการปลูกทุเรียนอินทรีย์ในพื้นที่ 3 ไร่ ปริมาณผลผลิตทุเรียน จำนวน 3 ตันต่อปี โดยมีการแปรรูปเป็นทุเรียนแช่แข็งและไอศครีม ถือเป็นต้นแบบที่ดีให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป” รมช.มนัญญา กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62376
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 ธันวาคม 2565
วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2565 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 ธันวาคม 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (6 ธันวาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 5. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 6. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564 7. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 8. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน 9. เรื่อง รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว 10. เรื่อง การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ 11. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ 12. เรื่อง ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) 13. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2565 14. เรื่อง รายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) 15. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน – มิถุนายน 2565) 16. เรื่อง รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ต่างประเทศ 17. เรื่อง การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา 18. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 25 19. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ) 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเกทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน) 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) 29. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 306/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง 30. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 307/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี 31. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 308/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 32. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 309 /2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ ตามโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจ และเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด ทั้งนี้ เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและสนับสนุนการเพาะปลูกของพื้นที่เกษตรของราษฎร ในเขตพื้นที่ชลประทาน 40,590 ไร่ โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) [เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย] ซึ่ง กษ. ได้แก้ไขรายละเอียดแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาตามผลการตรวจสอบของกรมการปกครองด้วยแล้ว และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดย กษ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้แล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ และได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี มีกำหนดใช้บังคับ 2 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน (รง.) เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยปรับปรุงสำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน เป็น กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และกองพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน ตามลำดับ และเพิ่มสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 20 สถาบัน สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รง. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รง. พ.ศ. 59 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รง. พ.ศ. .... หมายเหตุ ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนี้ (1) สำนักงานเลขานุการกรม (2) กองบริหารการคลัง (3) กองบริหารทรัพยากรบุคคล (4) กองแผนงานและสารสนเทศ (5) กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ (6) กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (7) สำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก (8) สำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน (9) – (33) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 – 25 คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม (7) กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก (8) กองพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน (9) – (53) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 – 45 เปลี่ยนสำนักเป็นกอง เปลี่ยนสำนักเป็นกอง เพิ่มสถาบัน จำนวน 20 สถาบัน 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่ มท. เสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลหันคา ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหันคา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหันคา ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนหันคาให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการบริหาร การปกครอง การค้า และการบริการในระดับอำเภอ 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม ให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม ศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ 1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางด้านสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) 4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) 5. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) 6. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) 7. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) 8. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อห้ามการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชย กรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่าเพื่อการค้า สุสานและ ฌาปนสถาน คลังน้ำมัน คลังก๊าซ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด เพลิงไหม้ และมลพิษ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม และสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น โรงงานทำขนมปังหรือขนมเค้ก การทำขนมปังกรอบหรือขนมอบแห้ง การทำน้ำดื่ม หรือการทำเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น - เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อห้ามการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่าเพื่อการค้า สุสานและฌาปนสถาน คลังน้ำมัน คลังก๊าซ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด เพลิงไหม้และมลพิษ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม และสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น โรงงานซ่อมนาฬิกา เครื่องวัดเวลา หรือเครื่องประดับที่ทำด้วยเพชร พลอย ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี โรงงานซักรีด ซักแห้ง ซักฟอก รีด อัด หรือย้อมผ้า เครื่องนุ่งห่ม พรม หรือขนสัตว์ เป็นต้น - เป็นศูนย์กลางชุมชน หรือพื้นที่รองรับการรวมกลุ่มเพื่อให้บริการการค้า การบริการแก่ชุมชน รวมถึงสร้างความคุ้มค่าในการลงทุนทางด้านการใช้ที่ดินที่เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางชุมชน มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วยตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยมีข้อห้ามการประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่เพื่อคุ้มครองร้านค้ารายย่อย และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดการรบกวนย่านการค้า การบริการ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่า เพื่อการค้า คลังน้ำมัน คลังก๊าซ สถานีบริการก๊าซ และสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด เพลิงไหม้ และมลพิษ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมและสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น โรงงานซ่อมนาฬิกา เครื่องวัดเวลา หรือเครื่องประดับที่ทำด้วยเพชร พลอย ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี โรงงานซักรีด ซักแห้ง ซักฟอก รีด อัด หรือย้อมผ้า เครื่องนุ่งห่ม พรม หรือขนสัตว์ เป็นต้น - เป็นพื้นที่กันชนของชุมชนเมืองให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ควบคุมการขยายตัวของชุมชน และรักษาคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น และสามารถสร้างที่อาศัยได้เฉพาะบ้านเดี่ยว อาคารชุดหรือหอพัก โดยมีข้อห้ามการประกอบกิจการโรงแรม การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม เป็นต้น และสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทห้องแถว บ้านแถว หรือตึกแถว เว้นแต่บางบริเวณที่มีศักยภาพในการเข้าถึง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการขยายตัวของเมืองไปในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม - เป็นที่ดินซึ่งเป็นของรัฐให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น เกาะกลางคลองกระจับ บึงกระจับด้วน และลานกีฬาอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลหันคา โดยมีข้อห้ามการอยู่อาศัยประเภทอาคารขนาดใหญ่ การเลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่า เพื่อการค้า การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุดหรือหอพัก โรงงานบำบัดน้ำเสียรวม กำจัดมูลฝอย จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภทห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนอนุบาลหันคา โรงเรียนหันคาพิทยาคม และโรงเรียนบ้านท่าหลวง เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดท่ากฤษณา วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลหันคา สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา และที่ว่าการอำเภอหันคา เป็นต้น 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นดังต่อไปนี้ 4.1 ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ข 3 และถนนสาย ข 4 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.1.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.1.3 การเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 4.2 ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ข 1 และถนนสาย ข 2 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.2.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.2.3 การเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 4.2.4 การอยู่อาศัยที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคาร ขนาดใหญ่ 4.2.5 การอยู่อาศัยซึ่งมิใช่ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว 4.2.6 การอยู่อาศัยซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรที่ดิน 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงนาม และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (สป. พน.) โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เปลี่ยนชื่อ จาก “กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน” เป็น “กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค” และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน รวมทั้งกำหนดหน้าที่และอำนาจของกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน มีหน้าที่และอำนาจในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทุกระดับเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน รวมทั้งศึกษา ประสานงาน สนับสนุน และส่งเสริมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ เพื่อการสร้างสมดุลและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานการปฏิบัติงานในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ส่วนกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กำหนดเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการของกระทรวงและสำนักงานปลัดกระทรวง และประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานระดับภูมิภาค โดยเน้นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามนโยบาย และกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค ให้มีหน้าที่และอำนาจในการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายใน สป. พน. ดังนี้ 1. การแบ่งส่วนราชการภายใน สป. พน. โดยปรับปรุงหน้าที่และอำนาจ และเปลี่ยนชื่อจาก “กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน” เป็น “กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค” ดังนี้ การแบ่งส่วนราชการเดิม การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง หมายเหตุ สป. พน. สป. พน. ก. ราชการบริหารส่วนกลาง ก. ราชการบริหารส่วนกลาง (1) กองกลาง (1) กองกลาง คงเดิม (2) กองการต่างประเทศ (2) กองการต่างประเทศ คงเดิม (3) กองตรวจราชการ (3) กองตรวจราชการ คงเดิม (4) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (4) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน คงเดิม (5) กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน (5) กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค - เปลี่ยนชื่อหน่วยงานและปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป (6) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (6) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คงเดิม ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค - สำนักงานพลังงานจังหวัด - สำนักงานพลังงานจังหวัด คงเดิม 2. หน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายในที่ขอปรับปรุง โดยปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ สป. พน. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน และกำหนดหน้าที่และอำนาจของกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค สรุปได้ดังนี้ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... หมายเหตุ สป. พน. มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง (2) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกระทรวงและแปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติงาน (3) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานการบริหารราชการ และปฏิบัติการเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงในต่างประเทศ (4) จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์ (5) กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง (6) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง (7) ดูแลงานประชาสัมพันธ์และพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย (8) กำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินภารกิจด้านพลังงานในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในเขตอำนาจ (9) ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนประสานการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (10) ศึกษา ประสานงาน สนับสนุน และส่งเสริมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน (11) ประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานในภูมิภาค (12) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย สป. พน. มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม (9) ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจรวมทั้งสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ ตลอดจนประสานการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (10) ศึกษา ประสานงาน สนับสนุน และส่งเสริมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบ อื่น ๆ เพื่อการสร้างสมดุลและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในทุกระดับเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานการปฏิบัติงานในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอแนะนโยบายและกลยุทธ์ในการจัดทำแผนงาน โครงการ และแผนการปฏิบัติงานของกระทรวง (2) จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของ สป. และกระทรวง ประสานนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง (3) ติดตามและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (4) ประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานในภูมิภาค (5) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมและการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย คงเดิม (2) จัดทำและพัฒนายุทธศาสตร์แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการของกระทรวง และ สป. รวมทั้งเร่งรัด กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนและโครงการดังกล่าว ตลอดจนติดตามและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (3) ประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานระดับภูมิภาค โดยเน้นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามนโยบาย (4) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนและบริหารงบประมาณของกระทรวง และ สป. (5) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมและการปฏิบัติราชการของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการ - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการระดับภูมิภาค โดยเน้นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามนโยบาย - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนและบริหารงบประมาณของกระทรวง และ สป. - ปรับถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น - ปรับถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน (2) จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน (3) เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานและโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (4) ประสานงาน และดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน (5) ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน (6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน และพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการดังกล่าว (2) เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ (3) ประสาน บูรณาการ และขับเคลื่อนการปฏิบัติงานระหว่างราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย - เปลี่ยนชื่อ - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป เดิมมีขอบเขตงานเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์เฉพาะโดยครอบคลุม 35 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่ยุทธศาสตร์ครอบคลุมทั่วประเทศ 76 จังหวัด และขยายภารกิจนอกเหนือจากโครงการโรงไฟฟ้าฐานที่จ่ายไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงในระดับประเทศ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชนที่เชื่อมโยงกับศักยภาพพลังงานในเชิงพื้นที่ - ปรับถ้อยคำ - ปรับถ้อยคำ - นำไปรวมอยู่ใน (1) และปรับถ้อยคำ - ปรับถ้อยคำ เศรษฐกิจ-สังคม 5. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน 1.1 เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.9 ในปี 2565 และร้อยละ 2.6 ในปี 2566 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงซึ่งเกิดจากปัจจัยด้านราคาพลังงานและอาหารที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ภาคการบริโภคและการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวลงซึ่งเป็นผลจากเงินเฟ้อและภาวะการเงินที่ตึงตัวกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นทำให้สถานการณ์การเงินโลกตึงตัวและผันผวน การค้าโลกอาจชะลอตัวลง และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อเพิ่มขึ้น เช่น ความขัดแย้งสหพันธรัฐรัสเชีย-ยูเครน และความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน-สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 1.2 เศรษฐกิจไทย 1.2.1 ภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.3 ในปี 2565 และร้อยละ 3.8 ในปี 2566 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 9.5 ล้านคน ในปี 2565 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 21 ล้านคนในปี 2566 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลจากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นและมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่คลี่คลายลง 1.2.2 การส่งออกของไทย มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 8.2 ในปี 2565 (สูงกว่าประมาณการเดิมในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ร้อยละ 7.9) และคาดว่าจะชะลอตัวลงมาที่ร้อยละ 1.1 ในปี 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าเป็นสำคัญ 1.2.3 การบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 (สูงกว่าประมาณการเดิมในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ร้อยละ 4.9) ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนแต่ยังมีปัจจัยกดดันจากต้นทุนค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ส่วนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 สอดคล้องกับการจ้างงานและรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ 1.2.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2565 และลดลงเหลือร้อยละ 2.6 ในปี 2566 เนื่องจากราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาอาหารสดและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ กนง.ประเมินว่า การส่งผ่านต้นทุนในระยะต่อไปอาจจำกัดเนื่องจากแรงกดดันด้านอุปทานลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง 2. ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน 2.1 ภาพรวม มีแนวโน้มผ่อนคลายลดลงเล็กน้อยเนื่องจากยังคงมีความกังวลจาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและการใช้นโยบายการเงินเพื่อชะลอการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ (เช่น การขึ้นดอกเบี้ย ของธนาคารกลางในหลายประเทศ ในส่วนภาคเอกชนการกู้ยืมโดยรวมยังเอื้อต่อการระดมทุนและไม่กระทบการระดมทุนในตลาดการเงินเนื่องจากภาคธุรกิจได้ทยอยระดมทุนไปในช่วงก่อนหน้าและมีแนวโน้มระดมทุนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาระดมทุนในประเทศมากขึ้นจากต้นทุนการระดมทุนในต่างประเทศที่สูงขึ้น 2.2 ค่าเงินบาทในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 36.33 ดอลลาร์สหรัฐ โดยอ่อนค่าลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2565 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สูง 2.3 ระบบการเงิน ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็งส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs ในบางสาขาธุรกิจยังคงฟื้นตัวช้าและครัวเรือนรายได้น้อยบางกลุ่มยังคงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูง รวมทั้งสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) และหนี้ภาคธุรกิจต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูง 3. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 กนง. ได้มีมติขึ้นดอกเบี้ย จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ในการประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี (ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี) และครั้งที่ 2 ในการประชุม กนง. ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 1 ต่อปี (ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี) โดยเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงอัตรางินเฟ้อทั่วไปที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจากการส่งผ่านต้นทุนให้แก่ผู้บริโภคนอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ SMEs ในสาขาที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่มีรายได้น้อยด้วย 6. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564 ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ สทพ.) ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 และครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 20กรกฎาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ มาตรา 10 (6) บัญญัติให้คณะกรรมการ สทพ. เสนอรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและมาตรา 16 (4) บัญญัติให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวจัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะกรรมการ สทพ. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ พระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้มีกลไกคณะกรรมการในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ จำนวน 3 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการ สทพ. คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยมีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวรับผิดชอบเป็นเลขานุการในคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ รวมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ มีผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ คณะกรรมการ ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 1. คณะกรรมการ สทพ. - กำหนดมาตรการและแผนงานที่สำคัญ โดยการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน1 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพขึ้น เช่น ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศและกำหนดให้เป็นประเด็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ เพิ่มมาตรการการคุ้มครองผู้ถูกกระทำและพยาน โดยให้มีศูนย์ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ให้กระทรวงแรงงานเพิ่มประเด็นการล่วงละเมิดทางเพศในการทำงานเข้าไปในการตรวจโรงงาน และการให้หน่วยงานขจัดสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการส่วงละเมิดทางเพศหรือคุกคามทางเพศในการทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ประกาศเจตนารมณ์ “การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศโดยมีหน่วยงานเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ จำนวน 63 หน่วยงาน แบ่งเป็น ภาคเอกชน 34 หน่วยงาน ภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ 22 หน่วยงาน สถาบันการศึกษา 6 หน่วยงาน และพรรคการเมือง 1 พรรค - พัฒนากลไกและกระบวนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ สทพ. จำนวน 3 คณะ คือ (1) คณะอนุกรรมการด้านนโยบายมาตรการ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (2) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และ (3) คณะอนุกรรมการรณรงค์การสื่อสารความเท่าเทียมระหว่างเพศและการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศให้มีความสะดวกและประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น 2. คณะกรรมการ วลพ. รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ จำนวน 15 คำร้อง ใน 6 ประเด็น ดังนี้ (1) สถานบันเทิงกีดกันไม่ให้ผู้มีเพศสภาพแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดเข้าใช้บริการ (2) หน่วยงานรัฐปฏิเสธไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศโดยกำเนิด (3) สถาบันการศึกษาให้ใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบการยื่นร้องขอแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพ (4) หน่วยงานรัฐปฏิเสธการยื่นความประสงค์ขอออกหนังสือเดินทางและวีซ่า (5) แรงงานถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยอ้างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (6) สถานศึกษาจำกัดสิทธิการแต่งกายตามเพศสภาพในการเข้าเรียน สอบวัดผล และฝึกปฏิบัติงาน และการรับพระราชทานปริญญาบัตร โดยคณะกรรมการ วลพ. มีคำวินิจฉัยแล้ว จำนวน 1 คำร้อง2 อยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวน 10 คำร้อง ถอนคำร้องระหว่างการพิจารณา จำนวน 3 คำร้องและไม่รับพิจารณา จำนวน 1 คำร้อง3 3. คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กองทุนฯ ได้รับงบประมาณประจำปี 2563 จำนวน 7.30 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพัน จำนวน 4.31 ล้านบาท และคงเหลือ จำนวน 2.99 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เช่น การจ่ายเงินชดเชย เยียวยาหรือบรรเทาทุกข์แก่ผู้เสียหายจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การปรับทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศของสังคม โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศให้แก่เครือข่ายต่าง ๆ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศเพื่อเป็นคู่มือแกนกลางเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหลักคิดและสร้างการยอมรับเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศ รวมถึงการสนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศให้แก่หน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ คณะกรรมการ ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564 1. คณะกรรมการ สทพ. - จากการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ได้มีการติดตามประเมินผลหน่วยงานที่ได้มีการดำเนินการตามมาตรการฯ พบปัญหาการล่วงละเมิดฯ จำนวน 13 หน่วยงาน4 (ตามข้อ 2.1) - ประกาศใช้แผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) 5 และแจ้งเวียนให้หน่วยงานภาครัฐทราบ - พัฒนากลไกและกระบวนการในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของคณะกรรมการ วลพ. ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น - พิจารณางบประมาณและเห็นชอบแผนปฏิบัติการและการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ประจำปีงบประมาณ 2565 ในวงเงิน 7.30 ล้านบาท 2. คณะกรรมการ วลพ. รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ จำนวน 2 คำร้อง ใน 2 ประเด็น ดังนี้ (1) หน่วยงานรัฐจำกัดสิทธิการใช้รูปถ่ายในใบประกอบวิชาชีพครูและบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ และ (2) สำนักอบรมกฎหมายจำกัดสิทธิการแต่งกายตามเพศสภาพในการอบรมวิชาว่าความ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาทั้ง 2 คำร้อง 3. คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กองทุนฯ ได้รับงบประมาณประจำปี 2564 จำนวน 7.80 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพัน 5.17 ล้านบาท และคงเหลือ จำนวน 2.63 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อคุ้มครองและป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การปรับทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศของสังคม รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สังคมตระหนักเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ นอกจากนี้ ได้จัดประกวดสื่อสร้างสรรค์ โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน 373 ผลงาน และมีผู้ได้รับรางวัลจากการประกวด จำนวน 12 ผลงาน ตลอดจน สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กร/เครือข่าย จำนวน 15 หน่วยงาน ในการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ 2. ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ 2.1 การดำเนินงานตามมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน พบว่า มีกรณีที่เข้าข่ายการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน จำนวน 13 หน่วยงาน และหน่วยงานที่ถูกร้องว่ามีการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานได้มีการดำเนินการจัดตั้งกลไกร้องทุกข์ในหน่วยงานและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนวินัยผู้กระทำและกำหนดบทลงโทษให้สอดคล้องกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 แล้ว จำนวน 4 หน่วยงาน รวมถึงกำหนดนโยบายและแนวทางในการจัดการกรณีการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในการทำงานแล้ว จำนวน 3 หน่วยงาน และอยู่ระหว่างการติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 6 หน่วยงาน 2.2 การดำเนินงานตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. ตั้งแต่ ปี 2558-2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) คณะกรรมการ วลพ. ได้รับคำร้องจำนาน 61 คำร้อง มีคำวินิจฉัยแล้ว จำนวน 41 คำร้อง โดยมีผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยและคำสั่งของคณะกรรมการ วลพ. ได้แก่ (1) ผู้ถูกร้องที่เป็นสถาบันการศึกษาได้มีการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. โดยออกระเบียบอนุญาตให้นักศึกษา ผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดสามารถแต่งกายและไว้ทรงผมตามเพศสภาพในการเข้าเรียน สอบวัดผล และฝึกปฏิบัติงาน รวมทั้งใช้รูปถ่ายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพในเอกสารรับรองการศึกษา และแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ และ (2) ผู้ถูกร้องที่เป็นสถานประกอบการ องค์กรเอกชน หรือบุคคลได้มีการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. โดยสถานประกอบการได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดเข้าใช้บริการ และผู้ถูกร้องได้มีการกล่าวคำขอโทษต่อผู้ร้องตามที่ผู้ร้องต้องการแล้ว รวมถึงได้จัดทำบันทึกสรุปบทเรียนที่เป็นเหตุแห่งการร้อง 3. ข้อท้าทายและการดำเนินงานในระยะต่อไป เพื่อให้การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฯ ดังนั้น (1) ควรมีการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบาย มาตรการ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ (2) ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ทำให้เกิดการจำกัดสิทธิและเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ (3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนต่าง ๆ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจความหลากหลายทางเพศ การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกเพศอย่างต่อเนื่อง และ (4) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ เพื่อนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป ___________________ 1คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 มิถุนายน 2558) เห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน จำนวน 7 ข้อ และให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ ตามที่ พม. เสนอ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (21 เมษายน 2563) เห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานที่ปรับใหม่ จำนวน 12 ข้อ ตามที่ พม.เสนอ 2ผลการวินิจฉัยในประเด็นสถาบันการศึกษาให้ใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบการยื่นร้องขอแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศสภาพ คือ การกระทำของ ผู้ถูกร้องเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ 3คณะกรรมการ วลพ. ไม่รับพิจารณาคำร้อง จำนวน 1 คำร้อง ในประเด็นหน่วยงานรัฐปฏิเสธการยื่นความประสงค์ขอออกหนังสือเดินทางและวีซ่า เนื่องจากเหตุแห่งการร้องไม่เข้าลักษณะการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ 4จากหน่วยงานที่มีการรายงานผลการดำเนินงานตามป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน จำนวน 2,049 หน่วยงาน 5ประกาศคณะกรรมการ สทพ. เรื่อง ประกาศใช้แผนฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 7. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ และ ให้กระทรวงการคลัง (กค.) เร่งรัดดำเนินการศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการพิจารณาดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า 1. การจัดเก็บภาษีเป็นเครื่องมือทางการคลังของรัฐบาลในการหารายได้เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ เช่น การกระตุ้นการจ้างงานในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ และการป้องกันภาวะเงินเฟ้อด้วยมาตรการทางภาษี โดยในปี 2563 รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี จำนวน 2.86ล้านล้านบาท โดยเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 7.45 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 26.04 ของภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้) ซึ่งเป็นภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้จำนวนมากที่สุด 2. รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรม ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทข้อหาที่เข้าสู่ศาลภาษีอากรกลางเป็นจำนวนมากที่สุดคือ ข้อหาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นพฤติการณ์การทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การปลอมแปลงเอกสาร (เช่น ใบกำกับภาษี) เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมิชอบหรือหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการจดทะเบียนประกอบการแต่ไม่มีการประกอบการจริง การจัดตั้งราคาสินค้าและบริการที่สูงเกินจริงเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนมาก และผู้ประกอบการบางรายใช้กรณีการส่งออกเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น ไม่ได้กระทำการส่งออกจริงแต่มีการปลอมเอกสารการส่งออก และการสำแดงสินค้าส่งออกอันเป็นเท็จหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเพื่อเปลี่ยนพิกัดศุลกากรให้ต้องเสียอากรน้อยลงหรือไม่ต้องเสียซึ่งการทุจริตดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอย่างมาก 3. จากการศึกษาปัญหาการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วพบว่า มีประเด็นปัญหาที่ควรพิจารณา ดังนี้ 3.1 การประสานและบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยจัดเก็บภาษีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ก่อให้เกิดปัญหาในด้านการตรวจสอบความถูกต้อง เช่น การปลอมแปลงเอกสาร ประกอบการนำเข้า ส่งออก และการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.2 การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ละเลยไม่สอบยันใบกำกับภาษีซื้อ ไม่สอบยันข้อมูลของกรมศุลกากร และไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เนื่องจากได้รับการสั่งการจากผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่ อาจได้รับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการด้วย 3.3 ระบบตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอื้อต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น การไม่ตรวจสอบการมีอยู่จริงของกรรมการบริษัทเมื่อมีการขอจดทะเบียนนิติบุคคล ทำให้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลบังหน้า และการมีตัวแทนในการทำธุรกรรมแทนทำให้ไม่ทราบผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงและติดตาม ผู้ที่ทุจริตได้ยาก 3.4 การแทรกแซงหรือบังคับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้ทำการตรวจสอบ ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาษีไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและผู้มีอำนาจได้รับผลประโยชน์ทางภาษีและถูกตรวจสอบน้อย 3.5 ความไม่ชัดเจนของกฎหมายหรือการที่กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับภาษีซึ่งนำไปสู่การถูกแทรกแซงได้ เช่น การถูกแทรกแซงจากสายการบังคับบัญชาทำให้เจ้าหน้าที่ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่กระบวนการควบคุมหรือตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 4. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นควรเสนอมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความโปร่งใส และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในภาพรวมของประเทศ ป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเงินภาษีเข้ารัฐได้มากขึ้น ดังนี้ มาตรการ/การดำเนินการ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย (1) การเชื่อมโยงข้อมูลและระบบแจ้งเบาะแส (1.1) ควรเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และหน่วยงานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์เป็นนิติบุคคล โดยมีการบูรณาการเทคโนโลยีระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบดิจิทัล เพื่อสนับสนุนภารกิจเกี่ยวกับการตรวจสอบ สอบยันข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอบยันใบกำกับภาษีซื้อ สอบยันความถูกต้องของเอกสารประกอบต่าง ๆ และตรวจสอบย้อนกลับของการทำธุรกรรมด้วย กระทรวงการคลัง (กค.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) (1.2) ควรจัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตที่มีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และจัดให้มีสินบนนำจับในกรณีมีผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับภาษี รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการตลอดจนสิทธิที่ได้รับในการแจ้งเบาะแสการทุจริต กค. (2) ควรกำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสอบยันและตรวจสอบจากระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีกลไกการรายงานผลการปฏิบัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทุกขั้นตอน รวมถึงการตรวจสอบนิติบุคคลที่มาขอคืนภาษีว่ามีสถานประกอบการหรือไม่ กค. (3) ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุล สอบยันในหน่วยจัดเก็บภาษี โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธานและมีบุคคลภายนอกหรือผู้แทน เช่น สภาวิชาชีพบัญชี ร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระและมีการถ่วงดุลในกระบวนการตรวจสอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กค. 4) ในกรณีข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกรมศุลกากรระบุว่ามีการส่งออกซึ่งไม่เพียงพอต่อการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากรส่งเรื่องให้กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีการส่งออกจริงหรือไม่และยืนยันผลการตรวจสอบก่อน จึงจะนำมาใช้อ้างอิงได้ รวมถึงให้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านภาษีหรือการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของต่างประเทศว่าผู้นำเข้ามีการประกอบการจริงหรือไม่ในกรณีที่พบว่าผู้ส่งสินค้าส่งออกมีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กค. (5) ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบผู้ส่งออกที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กค. (6) ควรมีการตรวจสอบเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง โดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบการแสดงตนว่าใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อให้สามารถป้องกันและทราบถึงกรณีตัวแทนการจดทะเบียนบังหน้า รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบเกี่ยวกับการแสดงตนของลูกค้าว่าใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในขั้นตอนการเปิดบัญชี พณ. และธนาคารแห่งประเทศไทย 8. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน กรณีนมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรส์จากเดิมราคา 6.58 บาทต่อถุง เป็น 6.89 บาทต่อถุง และนมโรงเรียนชนิดยู เอช ที จากเดิมราคม 7.82 บาทต่อกล่อง เป็น 8.13 บาทต่อกล่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตรวจสอบผลการจัดหานมโรงเรียนตามจ่ายจริงโดยเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามแผนและหรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมถึงพิจารณานำเงินรายได้หรือเงินสะสมมาสมทบในส่วนที่เพิ่มขึ้นในโอกาสแรกก่อน โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ และสำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นชองสำนักงบประมาณ สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ได้แจ้งให้กรมปศุสัตว์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน (คณะกรรมการฯ) เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาปรับราคากลางนมโรงเรียน (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557) ให้สอดคล้องกับการปรับราคาน้ำนมโค (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 สิงหาคม 2565) ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 กรมปศุสัตว์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ เสนอให้ปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนถุงหรือกล่องละ 0.41 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าน้ำนมโคขนาด 200 มิลิลิตร ถุงหรือกล่องละ 0.31 บาท และต้นทุนค่าบริหารจัดการ (ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าพลังงาน ค่าขนส่ง และค่าจัดการ) เฉลี่ยถุงหรือกล่องละ 0.1 บาท อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ เห็นว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในวิธีการคำนวณราคากลางนมโรงเรียนจึงมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ สอบถามความเห็นของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เกี่ยวกับโครงสร้างการคำนวณราคากลางนมโรงเรียนดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ต่อมากรมการค้าภายในแจ้งว่า ในการปรับราคากลางนมโรงเรียนให้เทียบเคียงกับแนวทางการอนุญาตปรับราคานมพาณิชย์ ซึ่งอนุญาตให้ปรับราคาเฉพาะต้นทุนน้ำนมดิบที่สูงขึ้น 1.5 บาท/กิโลกรัม ตามขนาดบรรจุและสัดส่วนการใช้น้ำนมดิบ ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการฯ จึงมีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนถุงหรือกล่องละ 0.31 บาท และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดซื้อนมโรงเรียน จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) (2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) (3) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ (4) เมืองพัทยา ซึ่งการปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนถุงหรือกล่องละ 0.31 บาท จะส่งผลให้ กทม. และเมืองพัทยามีวงเงินงบประมาณ 2566 สำหรับจัดซื้อนมโรงเรียนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ สถ. และ สช. ยังมีวงเงินปีงบประมาณ 2566 เพียงพอ เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนลดลง1 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบแนวทางการจัดซื้อนมโรงเรียนสำหรับภาคเรียนที่ 2/2565 และภาคเรียนที่ 1/2566 โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดซื้อนมโรงเรียนพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานตามราคากลางที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ (ข้อเสนอในครั้งนี้) และสำหรับหน่วยงานที่มีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้เสนอเรื่องขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ไปยัง สำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อให้นักเรียนได้รับนมโรงเรียนครบ 260 วัน2 _____________________________________ 1 ในการตั้งงบประมาณสำหรับการจัดซื้อนมโรงเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะใช้จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2564 ในการคำนวณกรอบวงเงินงบประมาณ ในขณะที่การคำนวณกรอบวงเงินงบประมาณกรณีมีการปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนตามข้อเสนอในครั้งนี้ จะใช้จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2565 ในการคำนวณ 2 260 วัน คือระยะเวลา 1 ปีการศึกษา หรือนักเรียนจะได้นมโรงเรียนคนละ 1 ถุงหรือกล่องต่อวัน ตลอดช่วงเปิดเทอม (200 วัน) และปิดเทอม (60 วัน) ไม่รวมเสาร์ - อาทิตย์ 9. เรื่อง รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว (ร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ) เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. เรื่องนี้เดิมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในรูปแบบการให้เอกชนบริหารจัดการโดยให้สิทธิสัมปทาน ระยะเวลาโครงการ 30 ปี หลังจากวันที่สิ้นสุดสัญญาในฐานะที่เป็นโครงการใหม่ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (เนื่องจากในขั้นตอนการเสนอโครงการยังอยู่ในช่วงที่พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ยังมีผลใช้บังคับอยู่) ต่อมากระทรวงอุตสาหกรรม โดย กนอ. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และโดยที่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ มีความเห็นว่าไม่ควรใช้วิธีการคัดเลือกโดยวิธีประมูล เนื่องจากหากมีเอกชนผู้ร่วมลงทุนรายใหม่เข้ามาดำเนินโครงการฯ แทนผู้รับสัมปทานรายเดิมจะทำให้การดำเนินโครงการฯ ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ และทำให้ภาครัฐสูญเสียประโยชน์มากกว่ากรณีให้เอกชนรายเดินดำเนินการต่อไป คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยเสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564) ให้ความเห็นชอบให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล และได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ด้วยแล้ว 2. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติดังกล่าวข้างต้น กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ จนเสร็จสิ้นแล้ว และจัดทำร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว โดย กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 มาใช้ประกอบการดำเนินการด้วย ซึ่งรวมถึงการกำหนดเงื่อนไขที่สำคัญไว้ในสัญญาร่วมลงทุนฯ จากนั้น กนอ. ได้ส่งร่างสัญญาร่วมทุนฯ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา ซึ่ง กนอ. แจ้งว่า กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ปรับแก้ไขร่างสัญญาตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดด้วยแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความเห็นชอบต่อผลการคัดเลือกเอกชน ร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ และเงื่อนไขสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุนดังกล่าวด้วยแล้ว ในครั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนฯ เพื่อให้ กนอ. ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 42 ของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 3. กนอ. ยืนยันว่า ในการเจรจาเงื่อนไขสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชนคู่สัญญา กนอ. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ดำเนินการตามกรอบของสาระสำคัญของโครงการฯ ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการไว้ โดย กนอ. ประมาณการว่าจะได้รับผลตอบแทนจากค่าให้สิทธิการร่วมลงทุน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าธรรมเนียมสินค้าผ่านท่า ส่วนแบ่งรายได้จากการดำเนินโครงการฯ (ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 5) และค่าบริการสาธารณูปโภค รวมตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 ปี คิดเป็นมูลค่า 20,236.68 ล้านบาท หรือเท่ากับปีละ 676.26 ล้านบาท 10. เรื่อง การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้ 1. รับทราบการขยายกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ (โครงการฯ) กรณีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ รูปแบบโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท. 5050 และ ส.กท. 827 (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ประมาณ 3 - 1 - 91 ไร่ มีระยะเวลาโครงการ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 2. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) แยกบัญชีโครงการฯ เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (Public Service Account: PSA) และให้ กค. รับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณาต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 รับทราบกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ (โครงการฯ) โดยโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาโครงการ 5 ปี (สิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564) ซึ่งโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราวและหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยได้กำหนดโครงการนำร่อง ปี พ.ศ. 2559 ไว้ 6 แปลง เนื้อที่รวม 105 - 0 - 86 ไร่ [โครงการเช่าระยะสั้น 2 แปลง หมายเลขทะเบียน ที่ กท.5050 กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างดำเนินการ) และ กท. 2615 กรุงเทพมหานคร (ยกเลิกการดำเนินโครงการฯ) โครงการเช่าระยะยาว 4 แปลง หมายเลขทะเบียนที่ ชม.35, ชม.1698 จังหวัดเชียงใหม่ (ยกเลิกการประกวดโครงการฯ) อ.ชร.31 จังหวัดเชียงราย (ไม่มีผู้ยื่นซองประกวดราคา) พบ.260 จังหวัดเพชรบุรี (บริษัทฯ ขอยกเลิกสัญญาเช่าทั้งหมด) และ พบ.261 จังหวัดเพชรบุรี (อยู่ระหว่างดำเนินการ)] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงปลายปี 2563 และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2564 ส่งผลต่อเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบริษัทผู้ได้รับสิทธิดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ (บริษัทฯ) ทั้งโครงการระยะสั้นและระยะยาวประสบปัญหาในการดำเนินโครงการดังกล่าว กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมธนารักษ์) จึงได้หารือร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) และบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งที่ประชุมได้มีแนวทางการแก้ปัญหาโครงการฯ (เฉพาะที่อยู่ระหว่างดำเนินการ) ดังนี้ โครงการฯ ผลการดำเนินโครงการฯ มติที่ประชุม โครงการเช่าระยะสั้น ที่ดินแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท. 5050 และ ส.กท. 827 (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ประมาณ 3 - 1 - 91 ไร่ บริษัทฯ ได้แจ้งขอเลื่อนการลงนามในสัญญาก่อสร้างอาคารยกกรรมสิทธิ์ให้ กค. และวางหลักประกันสัญญา รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ เนื่องจากอยู่ระหว่างธนาคารออมสินพิจารณาสินเชื่อในการดำเนินโครงการฯ และจัดเตรียมหลักประกัน พร้อมขอรับสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559) บริษัทฯ ขอรับสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อดำเนินโครงการฯ บนที่ดินราชพัสดุแปลงดังกล่าว (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559) โดย ธอส. และ ธ.ออมสิน ไม่ขัดข้องที่จะให้สินเชื่ออัตราดังกล่าวและให้กรมธนารักษ์เสนอเรื่องการขยายกรอบการดำเนินโครงการฯ ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีกรอบการดำเนินโครงการ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ โครงการเช่าระยะยาว ที่ดินแปลงหมายเลข พบ.261 อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ประมาณ 21 - 0 - 11 ไร่ คงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการขายจำนวน 4 หลัง โดยมีประชาชนสนใจซื้อแล้ว 4 หลัง และได้ยื่นขอสินเชื่อจาก ธอส. แล้ว (สิงหาคม 2564) แต่ได้รับแจ้งจาก ธอส. ว่าไม่สามารถเสนอขออนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยตามโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 (ตามกรอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559) บริษัทฯ ขอรับสินเชื่อ “โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลังระยะที่ 2)” (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565) ให้กับประชาชนผู้สนใจโครงการฯ แทนสินเชื่อโครงการฯ ซึ่ง ธอส. ไม่ขัดข้องที่จะให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยโครงการบ้านล้านหลังและได้มีหนังสือตอบรับการสนับสนุนสินเชื่อสำหรับที่พักอาศัยบนที่ดินราชพัสดุที่เหลืออยู่จำนวน 4 หลังแล้ว (ธอส. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี) 11. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้ 1. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID สำหรับข้อเสนอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) รายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ทั้งนี้ สคก. มีความเห็นว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) หรือ ดศ. แล้วแต่กรณี รายงานการดำเนินการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นต้องเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก 2. รับทราบกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ 3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนฯ จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณและดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ โครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 4. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ดศ. รายงานว่า 1. การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID 1.1 ความคืบหน้าด้านกฎหมาย ได้พัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการนำโครงสร้างพื้นฐานด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลไปปรับใช้กับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 โดยเป็นการเพิ่มเติมหมวด 3/1 ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (2) พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (4) บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกันตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด (3) ร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ....1 มาตรา 8 วรรค 2 บัญญัติให้การยืนยันตัวตนจะกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่นนอกจากการแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางก็ได้ ถ้าวิธีอื่นดังกล่าวนั้นจะเป็นการสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น และ (4) ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. ....2 ซึ่งเป็นการรองรับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลผู้ให้บริการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล 1.2 ความคืบหน้าด้านการจัดทำมาตรฐานทางด้านเทคนิคหรือแนวทางการพัฒนาและใช้งานระบบ Digital ID ของประเทศ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อให้การพัฒนาและใช้งานระบบ Digital ID ของประเทศไทยมีมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ลดความเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สรุปได้ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียดความคืบหน้า (1) มาตรฐานกลางสำหรับภาคส่วนต่าง ๆ นำไปใช้งาน (1.1) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (1.1.1) กรอบการทำงาน เลขที่ ขมธอ. 18-2564 เพื่ออธิบายคำศัพท์กระบวนการการประเมินความเสี่ยง และการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Digital ID มีความเข้าใจตรงกัน (1.1.2) ข้อกำหนดของการพิสูจน์ตัวตน เลขที่ ขมธอ. 19-2564 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider : IdP) ในการพิสูจน์ตัวตนของบุคคลที่ประสงค์จะใช้บริการหรือทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ IdP มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (1.1.3) ข้อกำหนดของการยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 20-2564 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับ IdP ในการบริหารจัดการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ ให้มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน (1.2) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยเทคโนโลยีชีวมิติ (1.2.1) เล่ม 1 : การใช้งานเทคโนโลยีชีวมิติสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 29 เล่ม 1-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับ การบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยการใช้เทคโนโลยี ชีวมิติ (1.2.2) เล่ม 2 : การใช้งานเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้าสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 29 เล่ม 2-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลที่มาจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้า (1.3) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการทดสอบสมรรถนะการทำงานเทคโนโลยีชีวมิติ เลขที่ ขมธอ. 30-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเทคโนโลยีชีวมิติในการลงทะเบียน พิสูจน์ยืนยันชีวมิติและระบุชีวมิติ รวมถึงการทดสอบสมรรถนะการป้องกันการโจมตีหลอกระบบ (2) มาตรฐานสำหรับหน่วยงานของรัฐ (2.1) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (2.2) มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ (2.2.1) ภาพรวม (เวอร์ชัน 1.0) (2.2.2) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชัน 1.0) 2. กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) พร้อมแผนปฏิบัติการ สพธอ. ได้จัดทำกรอบการขับเคลื่อนฯ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศ3 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 และวันที่ 31 มีนาคม 2565 และได้ผ่านการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลบนมาตรฐานเดียวกันได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อเร่งผลักดันการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 8 หลักการ ดังนี้ กลยุทธ์หลัก แผนปฏิบัติการ (1) Digital ID ครอบคลุมบุคคล นิติบุคคล และบุคคลต่างชาติ พร้อมรองรับการยืนยันตัวตนการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การมอบอำนาจ และการให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ (1.1) กำหนดนิยาม ความสัมพันธ์ สถาปัตยกรรม ความเชื่อมโยงของกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในบริบทของการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Digital ID การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การมอบอำนาจและการให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง) (1.2) จัดให้มีการปรับปรุงระบบตรวจสอบข้อมูลสถานะของหนังสือเดินทางไทย (กรมการกงสุล สพธอ. และ สพร.) (1.3) จัดให้มีบริการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID สำหรับบุคคลต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย [กรมการปกครอง สพธอ. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และกรมสรรพากร)] (1.4) จัดให้มีระบบตรวจสอบข้อมูลสถานะของคนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (สตม. สพธอ. และ สพร.) (1.5) จัดให้มีสนามทดสอบนวัตกรรมใหม่ ๆ (Sandbox) ที่เกี่ยวกับการให้บริการ Digital ID ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธนาคาร และภาคโทรคมนาคม เช่น จัดให้มีการทำการยืนยันตัวตนระหว่างหน่วยงาน (Cross Sector Authentication) ในการทดสอบการเปิดบัญชีธนาคารโดยให้ Mobile ID [สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สพธอ. สพร. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย]สพธกี่ยวข้อง กับหน่วยงานของรัฐ์รพิสูบสนุนหน่วยงานของรัสด้ผ่านการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแผนปฏ (2) ประชาชนสามารถเลือกใช้ Digital ID ในระดับความเชื่อมั่นที่เหมาะสมในการเข้าถึงบริการออนไลน์ของภาครัฐและเอกชน (2.1) จัดให้มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ประโยชน์ของบริการ Digital ID กลุ่มประชาชนและภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมการใช้งาน Digital ID และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้วยกิจกรรม Hackathon (สพธอ. สพร. ธปท. สำนักงาน ก.ล.ต. คปภ. และสำนักงาน กสทช.) (2.2) IdP ที่ให้บริการกับหน่วยงานของรัฐ เป็นบริการที่ได้มาตรฐานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด โดยรวมถึง IdP ภาคเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตฯ ตามกฎหมาย (สพร. สพธอ. และสำนักงาน ก.พ.ร.) (2.3) ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำ Digital ID ที่รวมถึง Digital ID ของภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาต ไปใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับการเข้าใช้งานบริการประชาชนผ่านทางออนไลน์ในระยะแรก (กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร. สพธอ. และ สพร.) (3) มท. เป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลและบริการสนับสนุนการพิสูจน์ตัวตนให้กับ IdP ทั้งภาครัฐและเอกชนในการออก Digital ID สำหรับบุคคลธรรมดาทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย โดยมีกระบวนการกำกับดูแลให้มีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ (3.1) กรมการปกครอง มท. จัดให้มีบริการยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน D.DOPA ให้ครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศ และให้บริการข้อมูลแก่ IdP ทั้งภาครัฐและเอกชน (กรมการปกครอง สพธอ. และ สพร.) (3.2) มท. จัดให้มีบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัลให้กับ IdP (มท. สพธอ. และ สพร.) (4) การใช้ Digital ID ในการทำธุรกรรมของนิติบุคคลเป็นการใช้ Digital ID บุคคลธรรมดาของผู้มีอำนาจของนิติบุคคลนั้นร่วมกับการมอบอำนาจหากจำเป็น จัดให้มีการทดลองนวัตกรรม Digital ID สำหรับนิติบุคคล เช่น การทำธุรกรรมเปิดบัญชีธนาคารผ่านช่องทางออนไลน์และการให้บริการด้านโทรคมนาคมผ่านช่องทางออนไลน์ ในลักษณะ Co-Sandbox (สพธอ. ธปท. สำนักงาน กสทช. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยและผู้ให้บริการ Digital ID เอกชน) (5) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือของนิติบุคคลเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมของนิติบุคคลผ่าน Digital ID (5.1) ดำเนินการให้ฐานข้อมูลพื้นฐานสำคัญเป็นแบบดิจิทัล โดยปรับปรุงระบบนำเข้าข้อมูล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.) (5.2) จัดให้มีบริการเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการตรวจสอบข้อมูลผู้มีอำนาจในการทำธุรกรรม/นิติกรรมของนิติบุคคล ในรูปแบบดิจิทัลที่ตรวจสอบได้ตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.) (5.3) จัดให้มีบริการหนังสือรับรองนิติบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ PDF/A3 (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.) (6) ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่น่าเชื่อถือและประชาชนใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องลงทะเบียนพิสูจน์ตัวตนซ้ำซ้อนด้วยมาตรฐานสากลแบบเปิด (Open Standards) (6.1) หน่วยงานของรัฐดำเนินการพัฒนาระบบหรือบริการของหน่วยงานเพื่อรองรับการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วย IdP (หน่วยงานของรัฐ สพร. สำนักงาน ก.พ.ร. สพธอ. และกรมการปกครอง) (6.2) สพร. พัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มกลางเพื่อเชื่อมโยงไปยัง IdP รายต่าง ๆ (สพร. กรมการปกครอง และ สพธอ.) (7) สพธอ. กำหนดนโยบาย Digital ID ในภาพรวม ซึ่งรวมถึงการพัฒนามาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการที่เกี่ยวกับ Digital ID ของรัฐและเอกชนมีมาตรฐานสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ โดยหน่วยงานกำกับในแต่ละภาคส่วน (Sector) นำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงกำหนดนโยบายเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับบริการหรือธุรกิจที่กำกับหรือดูแล (7.1) จัดให้มีนโยบายและมาตรฐานบริการดิจิทัลไอดีสำหรับการใช้งานของแต่ละ Sector ตามลักษณะเฉพาะของตน โดยคำนึงถึงภาระของผู้ให้บริการ (สำนักงาน ก.พ.ร. ธปท. สำนักงาน ก.ล.ต. คปภ. สำนักงาน กสทช. สพร. และ สพธอ.) (7.2) จัดให้มีการนำร่องการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลกับต่างประเทศผ่านระบบ National Digital Trade Platform (NDTP) และระบบ Smart Financial and Payment Infrastructure for Business (สำนักงาน ก.พ.ร. กรมการปกครอง ธปท. สำนักงาน กสทช. สพธอ. และ สพร.) (8) สพร. พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเพื่อให้บริการที่เกี่ยวกับ Digital ID ของรัฐและเอกชนได้มาตรฐานสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับบริการ Digital ID ระหว่างรัฐและเอกชนได้ (8.1) จัดทำแนวทางการเชื่อมโยงระบบและข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับหน่วยงานรัฐและเอกชน [สพร. กรมการปกครอง สำนักงาน กสทช. สพธอ. ธปท. และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และผู้ให้บริการดิจิทัลไอดี เช่น ระบบ National Digital ID (NDID) และระบบ Mobile National ID (MNID)] (8.2) จัดทดสอบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับบริการ Digital ID ระหว่างรัฐและเอกชน สำหรับบริการภาครัฐ (สพร. และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง) 3. การพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล ประกอบด้วย 2 ระบบ ดังนี้ 3.1 ระบบ FVS ได้แก่ (1) พัฒนาระบบ FVS เพื่อให้บริการตรวจสอบภาพใบหน้า รองรับธุรกรรมสูงสุด 60 รายการต่อวินาที หรือประมาณ 5 ล้านรายการต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะเพียงพอสำหรับการลงทะเบียนใช้งานทั่วไป (2) การตรวจสอบภาพใบหน้า ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมใบหน้า เพื่อตรวจสอบกับระบบ FVS โดยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของภาพใบหน้า (3) กรมการปกครองจะส่งผลการตรวจสอบภาพใบหน้า ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลภาพใบหน้าที่น่าเชื่อถือ (4) ผู้ใช้งานระบบ FVS เป็น IdP โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขของ IdP ที่สามารถใช้บริการระบบได้ และ (5) IdP ตรวจสอบคุณภาพของภาพใบหน้าตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศก่อนส่งมาตรวจสอบกับระบบ FVS 3.2 ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) และแอปพลิเคชัน D.DOPA ได้แก่ (1) ขยายระบบรองรับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน D.DOPA เป็น 60 ล้านคน (2) รองรับการพิสูจน์ตัวตนโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเพื่อรองรับการลงทะเบียนในการพิสูจน์ตัวตนด้วยตนเอง (Self-Enrolment) โดยใช้ภาพใบหน้า ตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (Identity Assurance Level : IAL) ที่ระดับ IAL 2.3 (3) การตรวจสอบภาพใบหน้า พัฒนาจากระบบที่มีอยู่โดยเพิ่มเติมฟังก์ชันการตรวจจับการปลอมแปลงชีวมิติเพื่อป้องกันการถ่ายภาพจากรูปถ่ายหรือวิดีโอ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการ Self-Enrolment (4) หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนสามารถใช้ผลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของแอปพลิเคชัน D.DOPA ได้ เนื่องจากประชาชนที่เป็นผู้ถือแอปพลิเคชัน D.DOPA เป็นผู้อนุญาตให้มีการตรวจสอบ (5) D.DOPA-Digital ID รองรับการยืนยันตัวตนสูงสุดที่ 100 ธุรกรรมต่อวินาที และ (6) D.DOPA-Digital ID รองรับให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลพื้นฐานตามข้อมูลหน้าบัตรประจำตัวประชาชน ไปให้หน่วยงานผู้อาศัยการยืนยันตัวตน ผ่านโปรโตคอล OpenID Connect ได้ 4. ความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยส่งเสริมให้นำ Digital ID มาใช้ในการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 12 บริการ Agenda4 ได้มีการทำแผนการขับเคลื่อนพัฒนา (Roadmap) ในแต่ละบริการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) และส่งให้คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาทางดิจิทัลตามงานบริการ Agenda สำคัญ พิจารณาเรียบร้อยแล้ว และจะมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน Roadmap โดยมีข้อเสนอสำหรับแนวทางการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำดิจิทัลไอดีของระบบ NDID และเป๋าตังไปใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับการเข้าใช้งานบริการประชาชนผ่านทางออนไลน์ และระยะต่อไป ผลักดันระบบ DOPA-Digital ID และแอปพลิเคชัน D.DOPA ของกรมการปกครองให้รองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 1 แสนราย และให้ มท. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการจัดทำแผนงานหรือโครงการตามแนวทางการพัฒนาระบบ FVS รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการทำงานเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนสามารถใช้บริการระบบ FVS ได้ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. และ สพร. ได้จัดทำแอปพลิเคชันทางรัฐที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้แบบจุดเดียวทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งส่วนหนึ่งใช้งานดิจิทัลไอดีด้วยแอปพลิเคชัน D.DOPA ที่ปัจจุบันมีบริการหลายหมวดหมู่ เช่น ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร ตรวจสอบข้อมูลหนังสือรับรองผล O-NET ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา 5. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ปัจจุบันรัฐและเอกชนได้พัฒนาและให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่สำคัญ 3 ระบบหลัก ได้แก่ (1) ระบบ NDID (ดูแลโดยบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด และมีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็น IdP) รองรับการนำไปใช้กับธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝาก/e-Money และการยื่นภาษี และตรวจสอบค่าลดหย่อน (2) ระบบ Mobile ID (ดูแลโดยสำนักงาน กสทช. และมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศไทย เป็น IdP รองรับการนำไปใช้กับธุรกรรมการเปิดบัญชีธนาคารและเตรียมขยายไปใช้กับบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม และ (3) ระบบ DOPA-Digital ID (ดูแลโดยกรมการปกครอง มท. และเป็น IdP) รองรับการนำ Digital ID ของกรมการปกครองไปใช้กับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมการปกครอง เช่น ระบบตรวจสอบประวัติตนเองและการขอย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ อย่างไรก็ตาม แต่ละระบบได้ถูกออกแบบทางเทคนิคมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน จึงมีข้อจำกัดในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล และจำเป็นต้องมีการบูรณาการภาพรวมการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย เพื่อลดภาระการออกแบบและพัฒนาระบบให้บริการของผู้อาศัยการยืนยันตัวตนในอนาคต และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐและภาคเอกชนโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนซ้ำ ๆ รวมทั้งประชาชนมีอิสระในการเลือกใช้ Digital ID ตามความต้องการ ทั้งนี้ สพร. ได้จัดตั้งคณะทำงานจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่สำคัญ 3 ระบบหลักที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยคณะทำงานฯ อยู่ระหว่างร่วมกันออกแบบด้านเทคนิคเพื่อทดสอบให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และได้จัดทำหลักการพื้นฐานและแนวทางการส่งผ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริการด้าน Digital ID พร้อมทั้งแนวทางการเชื่อมโยงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) ขั้นตอนสำหรับการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งาน เพื่อออก Digital ID ให้กับผู้ใช้งาน และ (2) ขั้นตอนสำหรับการรับบริการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ของผู้ใช้งานที่ IdP ออกให้ จำนวน 3 ขั้นตอนย่อย ซึ่งคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีมติเห็นชอบต่อหลักการพื้นฐานและขั้นตอนการดำเนินงานด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อวางกรอบการให้บริการที่เหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการดำเนินงานด้าน Digital ID ควรเป็นระบบเปิดที่มี IdP ได้หลายรายและไม่จำกัดเฉพาะเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการเฉพาะ ________________________________________ 1 พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 กันยายน 2563) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณา ซึ่ง สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 3 คณะกรรมการส่งเสริมฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนเป็นกรรมการ และ สพธอ. เป็นเลขานุการฯ เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักดันให้เกิดการอำนวยความสะดวกในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ เอกชน และประชาชนให้ใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล 4 งานบริการ Agenda หมายถึง งานบริการที่มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องหลายส่วนราชการ แล้วมีผลกระทบให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น หรือสนับสนุนช่วยเหลือให้ภาคเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบปัญหาในภาวะสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและยั่งยืน เช่น ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการปกครอง กรมที่ดิน และกรมการจัดหางาน 12. เรื่อง ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) เสนอผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ที่ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดเก็ฐข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาลแล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ โดยเป็นการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 6,970 ราย ระหว่างวันที่ 17-31 ตุลาคม 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อเป็นขวัญปีใหม่ในปี 2566 มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค (ร้อยละ 91.1) (2) ลดค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา (ร้อยละ 67) (3) แก้ปัญหาด้านการเกษตร เช่น ราคาพืชตกต่ำ จัดหาตลาดรองรับผลผลิต และราคาปุ๋ยแพง (ร้อยละ 30) (4) แก้ปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 23.4) และ (5) เพิ่มมาตรการ/สวัสดิการ/เงินช่วยเหลือเยียวยา เช่น โครงการคนละครึ่ง เพิ่มเงินผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา/ผู้พิการ 2. มาตรการ/โครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านมากที่สุด ได้แก่ (1) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 75.8) (2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 69.9) (3) มาตรการลดค่าไฟฟ้า (ร้อยละ 59.2) (4) โครงการเราชนะ (ร้อยละ 25.1) และ (5) โครงการ ม.33 เรารักกัน (ร้อยละ 14.8) 3. ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 42.1 แบ่งเป็น พึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 7.7 และพึงพอใจมาก ร้อยละ 34.4) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 41) ระดับน้อย-น้อยที่สุด (ร้อยละ 14.7 แบ่งเป็น พึ่งพอใจน้อย ร้อยละ 11.8 และพึงพอใจน้อยที่สุด ร้อยละ 2.9) และไม่พึงพอใจ (ร้อยละ 2.2) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในภาคใต้มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 62.2) ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจ ในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่ต่ำกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 22.2) นอกจากนี้ ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มอาชีพเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ พ่อบ้าน แม่บ้าน ผู้เกษียณอายุ นักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงาน มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น 4. ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยประชาชนมีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 35.4) แบ่งเป็นเชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 5.8 และเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 29.6) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.8) ระดับน้อย-น้อยที่สุด (ร้อยละ 20.6 แบ่งเป็น เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 15.7 และเชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 4.9) และไม่เชื่อมั่น (ร้อยละ 3.2) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในภาคใต้ มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าคนอื่น (ร้อยละ 54.8) ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่ต่ำกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 19) นอกจากนี้ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มอาชีพเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ พ่อบ้าน แม่บ้าน ผู้เกษียณอายุ นักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงาน มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น 5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ 5.1 ควรมีมาตรการ/โครงการช่วยเหลือและลดภาระค่าครองชีพของประชาชน เช่น มาตรการลดค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค และเพิ่มวงเงินในโครงการคนละครึ่ง 5.2 ควรเร่งแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างอาชีพแก่ประชาชน เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในการประกอบอาชีพ และหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร 5.3 ควรเร่งสร้างความร่วมมือ เครือข่าย และกระบวนการป้องกันไม่ให้คนในสังคมเข้าไปเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสู่วงจรของยาเสพติด เช่น สร้างความสามัคคีในชุมชน สร้างการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งการใช้กฎหมายลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างจริงจังและเด็ดขาด 5.4 ควรมีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ และภัยพิบัติต่าง ๆ 5.5 ควรประชาสัมพันธ์ข่าวสารเพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชนเรื่องการถูกหลอกลวง/ล่อลวงทางโซเซียลมีเดียเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ช่องทางการร้องเรียน/ร้องทุกข์ เช่น สายด่วนศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 และสายดาวนตำรวจไซเบอร์ 1441 13. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขนุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านการขับเคลื่อนแผนระดับที่ 3 โดยมีสถานะการดำเนินการตามแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน... ณ เดือนกันยายน 2565 รวม จำนวน 155 แผน สรุปได้ ดังนี้ (1) แผนที่เสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วและมีผลบังคับใช้แล้ว จำนวน 74 แผน โดยเป็นแผนฯ ที่ประกาศบังคับใช้เพิ่มเติม จำนวน 2 แผน ได้แก่ 1) นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565-2570) และ 2) แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 (2) แผนฯ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรองของ สศช. จำนวน 47 แผน (3) แผนฯ ที่ยกเลิกการดำเนินการ/สิ้นสุดการดำเนินการ จำนวน 31 แผน และ (4) แผนฯ ที่อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี จำนวน 3 แผน* ได้แก่ 1) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566-2570) 2) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) และ 3) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ทั้งนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนระดับที่ 3 จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการกำหนดประเด็นเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดการ “พุ่งเป้า” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนระดับชาติร่วมกันและสามารถถ่ายระดับยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นแผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 ไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นธรรม 1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2570 ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดกลไกการดำเนินการ 3 ระดับ ได้แก่ (1) กลไกเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นกลไกระดับนโยบายที่มุ่งบูรณาการหน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนา 13 หมุดหมายไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดผ่านกลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวม 5 คณะ (2) กลไกตามภารกิจ เป็นกลไกการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ยึดโยงและถ่ายระดับเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ไปสู่แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ และแผนอื่น ๆ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และ (3) กลไกระดับพื้นที่ เป็นการเชื่อมโยงและกระจายผลของการพัฒนาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สู่ระดับชุมชน และเชื่อมต่อการพัฒนาจากพื้นที่ในระดับตำบลสู่ระดับประเทศผ่าน 2 กลไกหลัก ได้แก่ แผนพัฒนาอื่นของรัฐในระดับพื้นที่ (One Plan) โดยเริ่มจากความต้องการจุดย่อยสู่จุดใหญ่ (Bottom-up) เพื่อส่งความต้องการระดับพื้นที่และระดับตำบลสู่ระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่อไป และภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่หลากหลายในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ชุมชน และภาคีการพัฒนา อื่น ๆ โดยร่วมกันเสริมสร้างขีดความสามารถของพื้นที่เพื่อขยายผลในการขับเคลื่อนการดำเนินการที่ส่งผลต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศในภาพใหญ่ 1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้ขับเคลื่อนการดำเนินการของ ศจพ. ระดับต่าง ๆ และทีมปฏิบัติการในพื้นที่ โดยให้ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยในระดับพื้นที่ และได้เน้นย้ำให้พื้นที่ต้นแบบ ศจพ. นำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี สระบุรี และนครสวรรค์ สนับสนุนการจัดทำแนวทางความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการลดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อนำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นที่มีความสอดคล้องกับภูมิสังคมและบริบทของพื้นที่ต่อไป รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างตรงจุดเพื่อให้สามารถ “อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน” 2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ การจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน จำนวน 45 ฉบับ มีสถานะดำเนินการ ณ เดือนตุลาคม 2565 ดังนี้ (1) กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้แล้ว 9 ฉบับ เช่น 1) พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 2) ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม 3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม. 6) 4) พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 และ 5) พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 (2) กฎหมายที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จำนวน 36 ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างหน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 23 ฉบับ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี จำนวน 7 ฉบับ อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นชอบ จำนวน 3 ฉบับ และอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา จำนวน 3 ฉบับ 3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานของรัฐได้นำเข้าข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้ (1) ข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานที่นำเข้าระบบฯ ทั้งหมด จำนวน 34,780 โครงการ โดยหน่วยงานที่มีการนำเข้าข้อมูลฯ สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่หน่วยงานได้รับจัดสรร (2) ข้อมูลแผนระดับ 3 ที่นำเข้าระบบฯ จำนวน 447 แผน ประกอบด้วย แผนปฏิบัติการด้าน... จำนวน 54 แผน แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 302 แผน และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี จำนวน 91 แผน 4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ จากการตรวจสอบการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานและแผนระดับที่ 3 ของหน่วยงานองค์การมหาชนในระบบ eMENSCR พบว่า มีองค์การมหาชนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR จำนวน 25 หน่วยงาน จากทั้งหมด 60 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 43 ขององค์การมหาชนทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าองค์การมหาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อให้มีข้อมูลในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่ครอบคลุมทุกการดำเนินงานของหน่วยงานทุกประเภทของรัฐ สศช. จึงได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน เพื่อกำกับให้องค์การมหาชนให้ความสำคัญในการดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและนำเข้าแผนระดับที่ 3 การนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงาน และการรายงานผลในระบบ eMENSCR ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งให้มีการนำเข้าข้อมูลสถิติ สถานการณ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในระบบฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (Open Data Portal for Monitoring and Evaluating Government Projects under National Strategy: Open-D) _____________________ *1. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566-2570) อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรี 2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) อยู่ระหว่างปรับปรุงรายละเอียดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการอาหารแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และ 3. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 14. เรื่อง รายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามความตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนากลไกเครดิตร่วมเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 (เรื่อง การขยายระยะเวลาความตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนา JCM) ให้ ทส. รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้ JCM ให้คณะรัฐมนตรีทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. สถานภาพโครงการต้นแบบ JCM กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ให้เงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM ในประเทศไทย จำนวน 49 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 3,018 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนร่วมภายใต้กลไกเครดิตร่วม JCM มากกว่า 9,806 ล้านบาท และมีหน่วยงานผู้รับทุนเป็นบริษัทเอกชนไทย จำนวน 45 แห่ง โดยประเภทโครงการต้นแบบที่ได้รับทุน คือ (1) การผลิตพลังงานหมุนเวียน จำนวน 26 โครงการ (2) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จำนวน 21 โครงการ และ (3) การผลิตพลังงานหมุนเวียนร่วมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จำนวน 2 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ 262,357 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 2. สถานภาพโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน1 มีโครงการต้นแบบ JCM ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 11 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ 58,096 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และโครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิต จำนวน 5 โครงการ มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ 4,032 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ฝ่ายไทย 2,015 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าฝ่ายญี่ปุ่น 2,0172 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) 3. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการ การพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM ต้องมีผู้ร่วมพัฒนาโครงการฝ่ายญี่ปุ่น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยใช้งานฐานข้อมูลจับคู่ทางธุรกิจ และร่วมกับสภาอุตสาหกรรมในการส่งเสริมให้ที่ปรึกษาของหน่วยงานให้ทุนฝ่ายญี่ปุ่นเข้าถึงผู้ประกอบการไทยที่ต้องการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM ____________________ 1 โครงการต้นแบบ JCM ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ JCM ก็ต่อเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการร่วม JCM เอกสารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจะรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้ของโครงการ มีหน่วยเป็นต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ส่วนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการสามารถลดได้จริงจากการดำเนินงานเรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งคณะกรรมการร่วม JCM เป็นผู้ให้การรับรองคาร์บอนเครดิตและสัดส่วนคาร์บอนเครดิตที่จะแบ่งปันกันระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น 2 กรณีที่ฝ่ายญี่ปุ่นให้การสนับสนุนมากกว่าร้อยละ 50 จะมีการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้ตามสัดส่วนของเงินสนับสนุนต่อเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ 15. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน – มิถุนายน 2565) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน – มิถุนายน 2565) และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป รายงานดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญรวม 4 ส่วน ได้แก่ 1) สรุปความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 2) ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 3) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ และ 4) การดำเนินการในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้ 1. สรุปความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) สศช. ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ทั้ง 13 ด้าน ประกอบด้วย กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) รวมทั้งสิ้น 62 กิจกรรม และกฎหมายที่จัดทำ/ปรับปรุงใหม่รวม 45 ฉบับ โดยมีการระบุเป้าหมายย่อยของความสำเร็จ (Milestone : MS) กรอบระยะเวลาแล้วเสร็จ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการไว้อย่างชัดเจนจากระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศได้ทันสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด รวมทั้งสามารถขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับรายงานความคืบหน้าฯ รอบเดือนเมษายน – มิถุนายน 2565 มีสถานะการดำเนินการของกิจกรรม Big Rock เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ร้อยละ 85.5 และกิจกรรม Big Rock ร้อยละ 14.5 อยู่ระหว่างการเร่งรัด กำกับ ติดตามการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศตามกรอบระยะเวลาของแผนที่กำหนดไว้ต่อไป สรุปได้ดังนี้ 1.1 ด้านการเมือง มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง (BR0103) โดยการมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านการดำเนินงานในลักษณะประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ มีความยืดหยุ่น และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง (BR0104) โดยมีแอปพลิเคชัน Smart Vote Civic Education เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าถึงข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งข้อมูลพรรคการเมือง และข้อมูลที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง 1.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานและการบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล (BR0201) โดยมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น มีระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ มีระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) มาใช้ในการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้ และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 ขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว คุ้มค่า โปร่งใส ปราศจากการทุจริต (BR0205) ได้มีการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความคล่องตัวเปิดเผย ตรวจสอบได้โดยใช้ระบบ e-GP ให้มีการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ 1.3 ด้านกฎหมาย มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (BR0302) โดยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เพื่อให้ผู้ที่มีความผิดไม่ร้ายแรงชำระค่าปรับแทนการลงโทษทางอาญาและไม่มีการจำคุก และเพื่อให้การรับโทษเหมาะสมกับสภาพความผิดซึ่งทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 จัดให้มีกลไกกำหนดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย (BR0303) โดยการพัฒนาให้มีระบบกลางทางกฎหมายผ่านเว็บไซต์ (www.law.go.th) ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 1.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่ (BR0402) โดยได้มีการออกคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 177/2564 เรื่อง การรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษความผิดอาญานอกเขตอำนาจการสอบสวน ซึ่งจากสรุปสถิติฐานความผิดคดีอาญา ในปี 2564 มีจำนวนคดีที่รับคำร้องทุกข์ จำนวน 637,780 คดี โดยสามารถจับกุมได้ 602,910 คดี (คิดเป็นร้อยละ 95) และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ (BR0403) โดยจัดให้มีทนายความอาสาให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจ จำนวน 203 สถานี รวมทั้งจัดให้มีการให้คำปรึกษาทางกฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์ และจัดระบบให้มีการปล่อยชั่วคราวได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุด เพื่อให้ประชาชนได้รับการอำนวยความยุติธรรม โดยสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมยิ่งขึ้น 1.5 ด้านเศรษฐกิจ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การสร้างเกษตรมูลค่าสูง (High Value Added) (BR0501) ได้มีระบบภาษีเพื่อความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้รัฐ โดยจัดให้มีระบบการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ (e-Filling) กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย (BR0503) โดยการพัฒนาระบบให้บริการ SME ACCESS ดำเนินการพัฒนาเชื่องโยงและบูรณาการข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการและกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (BR0505) โดยให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์สามารถจำหน่ายสินค้าได้เองผ่านระบบ DGTFarm อตก. ดอทคอม Co-op click และตลาดเกษตรออนไลน์ 1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 เพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย (BR0601) โดยมีการบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรรายย่อย และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าชายเลนแก่ชุมชนใกล้เคียง และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด (BR0604) โดยมีระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ซึ่งสามารถติดตามสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศและนำไปสู่การกำหนดมาตรการและนโยบายในการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.7 ด้านสาธารณสุข มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาล การรักษาพยาบาลที่บ้าน/ชุมชน และการดูแลสุขภาพตนเองในระบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงนวัตกรรม (BR0703) โดยมีระบบฐานข้อมูลระดับประเทศด้านการคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุ (Blue Book Application) และระบบข้อมูลกลางของผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง ซึ่งใช้โปรแกรม Long Term Care (3C) และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพและกองทุนที่เกี่ยวข้องให้มีความเป็นเอกภาพ บูรณาการ เป็นธรรม ทั่วถึง เพียงพอและยั่งยืนด้านการคลัง (BR0704) โดยมีการยกระดับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทองให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทุกพื้นที่ 1.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การพัฒนาระบบคลังข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการจัดการ Fake News (BR0801) โดยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti-Fake News Center : AFNC) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิด และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาข่าวปลอมผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Website Line และ Facebook และกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ (BR0802) โดยมีการดำเนินโครงการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย และ Facebook Fanpage “อาสา จับตาออนไลน์” เพื่อการแก้ปัญหาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง และอาชญากรรม อื่น ๆ ที่แพร่หลายในโลกโซเชียล ซึ่งประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์ได้ 1.9 ด้านสังคม มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การมีระบบการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้หลังวัยเกษียณที่เพียงพอและครอบคลุมในกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ (BR0901) โดยกระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน (BR0905) โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายการสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้ประชาชน 1.10 ด้านพลังงาน มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 ศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จ One-Stop-Service ด้านกิจการไฟฟ้าที่แท้จริง (BR1001) โดยมีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จ เช่น กฎกระทรวงเพื่อยกเลิกประเภทหรือชนิดของโรงงาน ลำดับที่ 88 โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าไม่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่อเพิ่มการแข่งขัน (BR1005) โดยกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้ากรณีต่าง ๆ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (แผน PDP2022) 1.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต (BR1101) โดยดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่และการสร้างวัฒนธรรมสุจริต เช่น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจต่อแนวทางการขับเคลื่อนงานต่อต้านการทุจริตในพื้นที่ และการมีช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตของภาคประชาชน และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ ในการดำเนินคดีทุจริตทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (BR1103) โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ถึงการดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเนื่อง 1.12 ด้านการศึกษา มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย (BR1201) โดยเด็กเล็กจะต้องได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา สะท้อนได้จากอัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับก่อนประถมศึกษา อายุ 3 – 5 ปี ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.15 มีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน โดยได้มีพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะในทุกระดับชั้น กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (BR1202) มีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้นในแต่ละปีในสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 539 สถานศึกษา และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน (BR1205) มีระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้หรือ ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อสะสมและเทียบโอนหน่วยกิต นักเรียน/นักศึกษาในระดับช่วงมัธยมปลายให้สามารถโอนหน่วยกิตมาเรียนเทียบในระดับอุดมศึกษาเพียง 2 ปี 1.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการดำเนินการตามแผนฯ ผ่านกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ (BR1302) โดยกระทรวงวัฒนธรรมมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยี QR Code Augment Realiy (QR Code AR) และ Virtual Reality (VR) มาใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์/ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้และการผลิตสื่อในรูปแบบคลิปองค์ความรู้/Infographic/Live Talk เพื่อให้การเผยแพร่ความรู้น่าสนใจ เข้าใจได้ง่าย และเข้าถึงคนได้ในวงกว้าง และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การส่งเสริมประชาชนเป็นศูนย์กลางในการสร้างวิถีชีวิตทางการกีฬา และการออกกำลังกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และการสร้างโอกาสทางการกีฬาและการพัฒนานักกีฬาอาชีพ (BR1303) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการพัฒนาลานกีฬาในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมลานกีฬานำร่องในห้างสรรพสินค้าในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและกรุงเทพมหานคร 2. ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 45 ฉบับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งมีสถานะความคืบหน้าของกฎหมาย ประกอบด้วย (1) กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 7 ฉบับ โดยดำเนินการแล้วเสร็จเพิ่มเติมจากรอบก่อนหน้า จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ซึ่งเป็นกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 2) ประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ 3) กฎกระทรวงการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และ (2) กฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 38 ฉบับ โดยมีกฎหมายที่มีสถานะการจัดทำ/ปรับปรุงคืบหน้ากว่ารอบรายงานที่ผ่านมา จำนวน 6 ฉบับ ทั้งนี้ ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างหน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 25 ฉบับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการเร่งดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ และนำเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป สรุปได้ ดังนี้ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวนกฎหมาย (ฉบับ) อยู่ระหว่างการดำเนินการ หน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย สลค. พิจารณาเพื่อเสนอ ครม. เห็นชอบหลักการ สคก. ให้ความเห็นต่อร่างกฎหมาย รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายก่อนประกาศใช้ แล้วเสร็จ 1. ด้านการเมือง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทปษ.รมว.อว. เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและบริหารจัดการทุนการศึกษาด้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ประจำปีการศึกษา 2565
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ทปษ.รมว.อว. เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและบริหารจัดการทุนการศึกษาด้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ประจำปีการศึกษา 2565 ทปษ.รมว.อว. เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและบริหารจัดการทุนการศึกษาด้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ประจำปีการศึกษา 2565 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ดร. พัชรินรุจา จันทรโรนานนท์ ทปษ.รมว.อว. เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและบริหารจัดการทุนการศึกษาด้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมี ศ.พัดชา อุทิศวรรณกุล ผศ.อนุชา ทีรคานนท์ หม่อมหลวงทรงลักษณ์ สวัสดิวัตน์ นางสาวรติรส ภู่วิภาดาวรรธน์ และ นางสาววราภรณ์ รุ่งตระการ ผอ.กสค. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุม เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครรับทุนในรอบที่ 1 ซึ่งจากการที่ สป.อว ได้ประกาศรับสมัคร นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ในด้านศิลปะทุกแขนง ที่มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมด้านศิลปะ มีความประพฤติและผลการเรียนที่ดี สมัครเข้ารับทุนฯ โดยในปีนี้มีนักศึกษาสนใจสมัครเข้ารับทุนจำนวนมาก จากสถาบันอุดมศึกษา 29 สถาบัน จำนวน 50 คนโดยคณะกรรมการฯ จะคัดให้เหลือ 25 ราย เพื่อเข้าสู่รอบสัมภาษณ์ต่อไป โดยทุนการศึกษาด้านศิลปะ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ต้องการสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษาที่มีความสามารถด้านศิลปะ มีโอกาสศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จบออกไป และใช้ความสามารถสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรมด้านศิลปะเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สังคม และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62391
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท เพิ่มความมั่นคงแข็งแรงของ โครงสร้างเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 กรมทางหลวงชนบท เพิ่มความมั่นคงแข็งแรงของ โครงสร้างเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บูรณะสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้ประชาชนใช้สัญจรอย่างสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการบูรณะสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เขตพระนคร และบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร แล้วเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้สัญจรอย่างสะดวกปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากตัวสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ามีอายุการใช้งานเกือบ 50 ปี มีปริมาณการจราจรมากกว่า 120,000 คันต่อวัน ส่งผลให้อุปกรณ์และชิ้นส่วนโครงสร้างบางส่วน มีการเสื่อมสภาพและชำรุดเสียหาย อาจสร้างความเสียหายต่อสะพานในอนาคต ดังนั้น ทช. จึงได้ดำเนินการบูรณะสะพานโดยการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งเพิ่มเติม เพื่อลดการสั่นไหวบริเวณช่วงกลางสะพาน พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนชุดอุปกรณ์รอยต่อเพื่อการขยายตัวการเสริมกำลังบริเวณเชิงลาดของสะพานฯ (ฝั่งธนบุรี) ตลอดจนการปรับปรุงจุดรองรับของสะพานและการปรับปรุงระบบระบายน้ำบนสะพานอีกด้วย ทั้งนี้ การซ่อมบำรุงดังกล่าวนั้น เพื่อให้อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างสะพานกลับมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนสะพาน เป็นการยืดอายุของตัวสะพานให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและมั่นคงแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เป็นการอำนวยความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชน ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62405
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรชัยมงคล
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ดีอีเอส ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรชัยมงคล ดีอีเอส ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรชัยมงคล วันที่7ธันวาคม2565ศ.พิเศษวิศิษฏ์วิศิษฏ์สรอรรถปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนำคณะผู้บริหารของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทูลเกล้าฯถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรชัยมงคลเบื้องหน้าพระรูปสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรมหาวัชรราชธิดาเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติในวันที่7ธันวาคม2563ณวังศุโขทัย _______________________
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62417
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถาบันการบินพลเรือน เปิดรับสมัครหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเตรียมวิศวกรรมการบิน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 สถาบันการบินพลเรือน เปิดรับสมัครหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเตรียมวิศวกรรมการบิน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ... สถาบันการบินพลเรือน เปิดรับสมัครหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเตรียมวิศวกรรมการบิน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม กองวิชาวิศวกรรมการบิน สถาบันการบินพลเรือน เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเตรียมวิศวกรรมการบิน เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้พัฒนาทักษะ และความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมการบิน สามารถต่อยอดประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการบินในอนาคต เป็นหลักสูตรสองภาษา (ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบิน) เทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศ (GED) โดยคุณสมบัติของผู้สมัคร ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 3) หรือเทียบเท่า รอบรับตรง (เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2565 - 8 มีนาคม 2566) สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดและสมัครได้ผ่านทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.catc.or.th หรือสมัครได้ด้วยตนเองที่อาคารศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการบิน ชั้น G แผนกทะเบียนและวัดผล ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกสื่อสารองค์กร โทร. 0 2272 5741-4 ต่อ 3620 3621 2210 2220 หรือ Inbox Facebook : catcthailand
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62415
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์ปฎิบัติการถ่ายโอนสาธารณสุข กำชับ อบจ.จัดหาผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขสนับสนุน ช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้บริการ ปชช.ไร้รอยต่อ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ศูนย์ปฎิบัติการถ่ายโอนสาธารณสุข กำชับ อบจ.จัดหาผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขสนับสนุน ช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้บริการ ปชช.ไร้รอยต่อ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการถ่ายโอน รพ.สต. กำชับ อบจ.จัดหาบุคลากรสาขาวิชาชีพและทรัพยากร เพื่อรองรับการให้บริการประชาชนต่อเนื่องหลังการถ่ายโอน โดยกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการช่วยเหลือช่วงเปลี่ยนผ่าน จัดทันตแพทย์ดูแลการทำงานของทันตาภิบาล คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการถ่ายโอน รพ.สต. กำชับ อบจ.จัดหาบุคลากรสาขาวิชาชีพและทรัพยากรเพื่อรองรับการให้บริการประชาชนต่อเนื่องหลังการถ่ายโอน โดยกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการช่วยเหลือช่วงเปลี่ยนผ่านจัดทันตแพทย์ดูแลการทำงานของทันตาภิบาล พร้อมเสนอ 6 ประเด็นด้านวิชาการและติดตามประเมินผล วันนี้ (7 ธันวาคม 2565) นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนจังหวัด ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าการถ่ายโอนฯโดยล่าสุด ดำเนินการแล้ว 40 จังหวัด 2,932 แห่ง เหลืออีก 9 จังหวัด รวม 331 แห่ง ซึ่งหาก อบจ.มีความพร้อมจะสามารถลงนามได้ทันที ส่วนรพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปแล้ว พบปัญหาบางแห่งต้องหยุดให้บริการทันตกรรม เนื่องจาก อบจ.ไม่ได้ประสานเรื่องการจัดทันตแพทย์ควบคุมการปฏิบัติงานของทันตาภิบาลใน รพ.สต. ตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.วิชาชีพ นพ.ณรงค์กล่าวต่อว่า เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของ สอน. และ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนฯ ได้รับบริการส่งเสริมป้องกันทางสุขภาพช่องปาก และการรักษาทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้ทำหนังสือถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1.แจ้งโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดสนับสนุนทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวัสดุและเครื่องมือ เพื่อจัดบริการส่งเสริมป้องกันทางสุขภาพช่องปาก และการรักษาทางทันตกรรม ใน สอน.และ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนฯ ตามที่ อบจ.ขอความอนุเคราะห์ในระยะเปลี่ยนผ่าน และ 2.จังหวัดที่ไม่มีทันตแพทย์ปฏิบัติงานในสังกัด อบจ. ให้แจ้ง อบจ. หรือคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ เร่งจัดจ้างหรือจัดหาผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม มาทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพของทันตาภิบาลใน สอน.และ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพ “หลังการถ่ายโอนภารกิจไปแล้ว อบจ.ต้องเตรียมพร้อมทุกระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดหากำลังคนทั้งบุคลากรแพทย์ พยาบาล และผู้ควบคุมการประกอบวิชาชีพ เตรียมจัดหาและกระจายทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้กลไกในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด โดยกระทรวงสาธารณสุขยินดีช่วยสนับสนุนดูแลในช่วงเปลี่ยนผ่าน”นพ.ณรงค์กล่าว นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ 11) และประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการการถ่ายโอนฯ ด้านวิชาการและติดตามประเมินผล ได้เสนอความเห็นแผนการดำเนินงานด้านวิชาการและติดตามประเมินผลใน 6 ประเด็นได้แก่ 1.เร่งออกแบบกลไกความพร้อมของระบบสั่งการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน 2.เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบทั้งหมดของ อบจ. หรือปรับแก้ระเบียบต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ 3.กระทรวงสาธารณสุขมีการมอบอำนาจเป็นระยะจนถึงระดับ รพ.สต. และผู้ปฏิบัติงาน แต่ อบจ.ยังไม่มีฐานอำนาจมารองรับ 4.ต้องมีการบริหารจัดการ ระบบแผนงาน ค่าตอบแทน งบประมาณ สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการต่างๆ 5.การจัดการคุณภาพของทรัพยากรต่างๆ ทั้งบุคลากร วัสดุสิ่งของ สร้างความเข้าใจในแผนงานงบประมาณเพื่อวางแผนระยะยาว และ 6.สถานที่บางแห่งอาจยังไม่พร้อมทั้งบุคลากรหรือทรัพยากร ในช่วงเปลี่ยนผ่านอาจยังไม่กระทบกับประชาชน แต่ในอนาคตข้างหน้าอาจจะเกิดผลกระทบ เช่น การเข้าถึงบริการไม่ได้ จึงควรวางแผนทั้งระยะสั้น และระยะยาว เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษาคนในพื้นที่ สร้างกลไกการมีส่วนร่วม เป็นต้น ด้าน นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาสุขซึ่งเป็นรองอนุกรรมการถ่ายโอน (ชุดนายเลอพงศ์) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน กระทรวงสาธารณสุขได้ให้การช่วยเหลือในระบบบริการต่างๆ ที่ได้ถ่ายโอนไป ซึ่งจะทำได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างนี้ อบจ. ที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจไปต้องเร่งจัดหาบุคลากรวิชาชีพต่างๆ ที่ต้องให้การดูแลในระบบบริการให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้รับบริการ และวิชาชีพต่างๆ ไม่ทำงานคลาดเคลื่อน อันจะเกิดความเสียหายได้ ********************************** 7 ธันวาคม 2565 *****************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62429
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดนครราชสีมา และตรวจเยี่ยมเรือนจำกลางคลองไผ่
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดนครราชสีมา และตรวจเยี่ยมเรือนจำกลางคลองไผ่ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดนครราชสีมา และตรวจเยี่ยมเรือนจำกลางคลองไผ่ ในวันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายให้กับ หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดนครราชสีมา ทั้งหมด ๑๙ หน่วยงาน โดยมี นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พันตำรวจโท ประวุธ วงศ์สีนิล รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนครราชสีมา ให้การต้อนรับ ณ เรือนจำกลางคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้มอบนโยบายกับหัวหน้าส่วนฯ ๔ ประเด็น ดังนี้ ๑. กระทรวงยุติธรรมมีกลไกสำคัญระดับพื้นที่ คือ กลไกคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด (กพยจ.) และระดับชาติคือ คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) อยากจะให้นำมาต่อยอดในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการอำนวยความเป็นธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ๒. การถอดบทเรียน จากเหตุการณ์จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดหนองบัวลำภู หรือคดีอาชญากรรมอื่นๆ อยากให้วิเคราะห์ไปถึงสาเหตุของปัญหา เพื่อจะรู้วิธีป้องกันและแก้ปัญหาให้ตรงจุด ๓. มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น และเมื่อประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นและจะต้องเตรียมพร้อมมาตราฐานในการบริการประชาชนที่จะเข้ามาเป็นจำนวนมากด้วย ๔.การยึดมั่นในกฏหมาย ระเบียบการปฎิบัติการต่างๆ ยึดหลักสุจริต หลักธรรมภิบาลในการบริหารงาน มุ่งเน้นประโยชน์ราชการและคำนึงถึงประชาชนเป็นศูนย์กลางการให้บริการสูงสุด นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมผู้บริหาร และคณะฯ ได้ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังเรือนจำกลางคลองไผ่ โดยทางเรือนจำฯ ได้จัดชุดแสดงศักยภาพของผู้ต้องขัง อาทิ การแสดงสุนัขแสนรู้เยียวยาจิตใจผู้ต้องขังโทษสูง จากโครงการฝึกอบรมพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังโทษประหารชีวิต การแสดงละครหุ่น การแสดงดนตรี และการแต่งเพลงราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รวมทั้งเข้าเยี่ยมระบบการพยาบาลดูแลผู้ต้องขัง และโรงครัวประกอบอาหารสำหรับผู้ต้องขัง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62402
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​ขยายเวลา โค้งสุดท้าย!!! ขอเชิญน้องๆ เยาวชนร่วมส่งผลงานไวรัลคลิป ชิงเงินรางวัลกว่า 30,000 บาท
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ​ขยายเวลา โค้งสุดท้าย!!! ขอเชิญน้องๆ เยาวชนร่วมส่งผลงานไวรัลคลิป ชิงเงินรางวัลกว่า 30,000 บาท ชิงเงินรางวัลกว่า 30,000 บาท !! กับโครงการประกวดผลิตสื่อไวรัลคลิป (Viral Clip) ในหัวข้อ “การปลูกจิตสำนึกปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ของประเทศได้มีโอกาสแสดงผลงานอย่างสร้างสรรค์ในการผลิตคลิปที่สื่อถึงเรื่องราวที่สอดคล้องกับหัวข้อการประกวด ปลูกฝังให้เยาวชนของชาติ เกิดความรักเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ จัดโดยสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมส่งผลงานได้แล้ววันนี้ถึง 19 ธ.ค.65 นี้เท่านั้น!! โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://sopsd.mod.go.th/Viralclip.aspx กติกาและเงื่อนไขของการประกวด 1. ผู้เข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ และผลิตคลิปวิดีโอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายน่าสนใจ จำนวน 1 เรื่อง ความยาวคลิปไม่น้อยกว่า 45 วินาที และไม่เกิน 1.30 นาที มีคุณภาพ Full HD 1080p พร้อมใส่คำบรรยายภาษาไทย 2. ผู้เข้าประกวด 1 ท่าน สามารถส่งผลงานได้ไม่จำกัดจำนวนแต่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลสูงสุดเพียง 1 รางวัลเท่านั้น 3. ผู้เข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง และผลงานที่ส่งประกวดต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ห้ามลอกเลียนแบบ และจะต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่เคยมีการเผยแพร่ หรือเคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน หากตรวจพบหรือมีผู้ร้องเรียนว่ามีการลอกเลียนแบบ จะถือว่าการเข้าร่วมประกวดของผู้ประกวดรายนั้นเป็นโมฆะ และถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นั้นแต่เพียงผู้เดียว 4. ผู้เข้าร่วมประกวดที่ได้รับรางวัลทุกประเภทจะต้องส่งมอบผลงานเป็นไฟล์นามสกุล MP4 ทางอีเมล์ [emailprotected] และยินยอมโดยไม่มีเงื่อนไข หากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะนำผลงานนั้นไป แก้ไข ดัดแปลง หรือปรับปรุง และเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เพิ่มเติมได้โดยไม่ขออนุญาตผู้เข้าประกวด 5. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 6. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด รูปแบบและการส่งผลงาน 1. ส่งผลงานที่อีเมล์ [emailprotected] ภายในวันที่ 19 ธ.ค.65 2. สามารถ Download Logo หน่วยงาน ได้ที่ https://sopsd.mod.go.th/ 3. ประกาศผลบนเว็บไซด์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม https://sopsd.mod.go.th/ ในวันที่ 21 ธ.ค.65 หลักเกณฑ์การให้คะแนนผลงาน คะแนนรวม 100 คะแนน แบ่งเป็น 5 หัวข้อ แนวคิดในการสร้างคลิปวีดีโอ 20 คะแนน ความคิดสร้างสรรค์ 20 คะแนน เทคนิคการเล่าเรื่อง 20 คะแนน การใช้ภาษาและดนตรี 20 คะแนน คุณภาพในการผลิต 20 คะแนน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62421
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เริ่มแล้ววันนี้! รัฐบาลเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ “สุขใจให้ออม” รวม 6 หมื่นล้าน ขายผ่านวอลเล็ต สบม.บน แอปเป๋าตัง และ 4 ธนาคาร อายุ 15 ปีก็ลงทุนได้!
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 เริ่มแล้ววันนี้! รัฐบาลเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ “สุขใจให้ออม” รวม 6 หมื่นล้าน ขายผ่านวอลเล็ต สบม.บน แอปเป๋าตัง และ 4 ธนาคาร อายุ 15 ปีก็ลงทุนได้! เริ่มแล้ววันนี้! รัฐบาลเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ “สุขใจให้ออม” รวม 6 หมื่นล้าน ขายผ่านวอลเล็ต สบม.บน แอปเป๋าตัง และ 4 ธนาคาร อายุ 15 ปีก็ลงทุนได้! วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ #รุ่นสุขใจให้ออม วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่วันนี้ 7 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป โดยมีช่องทางจำหน่าย 2 ช่องทาง คือ 1)จำหน่ายพันธบัตรผ่านวอลเล็ต สบม. วงเงิน 15,000 ล้านบาท และจำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายสำหรับประชาชน วงเงิน 45,000 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ 1. รุ่นสุขใจให้ออมบนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 15,000 ล้านบาท มี 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 2.30 ต่อปี และรุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เปิดให้ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 100 บาท - 20 ล้านบาท โดยผู้เยาว์จะต้องลงทะเบียนในวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง และไปยืนยันตัวตนพร้อมผู้ปกครองเพื่อกรอกเอกสารให้ความยินยอม ณ สาขาธนาคารกรุงไทยสำหรับการซื้อครั้งแรก เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 7 – 20 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อลงทะเบียน ยืนยันตัวตน และเติมเงินเข้าวอลเล็ต สบม. ผ่าน Mobile Banking หรือผูกบัญชีธนาคารกรุงไทย รวมถึงเติมเงินด้วย Wallet ID ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา 2. รุ่นสุขใจให้ออม วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ โดยแบ่งจำหน่ายเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 เปิดให้ประชาชนจองซื้อพันธบัตรผ่านธนาคาร วันที่ 13 -14 ธันวาคม 2565 วงเงิน 40,000 ล้านบาท จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 2.30 ต่อปี และรุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน โดยทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย วงเงินจองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท ทวีคูณรอบละ 1,000 บาท และสามารถจองซื้อได้โดยไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ผู้สนใจสามารถจองซื้อผ่าน Internet Banking Mobile Banking หรือเคาน์เตอร์ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ทั้งนี้ ลำดับในการจองซื้อไม่มีผลต่อการจัดสรร ไม่ว่าจะไปช้าหรือเร็วมีสิทธิ์การซื้อเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้จองซื้อจะทราบผลการจัดสรรพันธบัตร ในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 จากทั้งจาก SMS ของธนาคารตัวแทนจำหน่าย ช่วงที่ 2 เปิดจำหน่ายให้แก่นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (19 - 20 ธันวาคม 2565) วงเงิน 5,000 ล้านบาท จัดสรรพันธบัตรแบบ First-Come, First-Served รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 2.90 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน วงเงินซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท และไม่จำกัดวงเงินขั้นสูง ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงไทย โทร. 20-111-1111 และธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62404
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กรุงไทย” ยกทัพบริการการเงินร่วม Thailand Smart Money Bangkok ชูแนวคิด “ติดปีกไทย สู่ความยั่งยืน”
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 “กรุงไทย” ยกทัพบริการการเงินร่วม Thailand Smart Money Bangkok ชูแนวคิด “ติดปีกไทย สู่ความยั่งยืน” ธ.กรุงไทยยกทัพบริการทางการเงินพร้อมข้อเสนอสุดพิเศษในงาน Thailand Smart Money Bangkok ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด “ติดปีกไทย สู่ความยั่งยืน : Empower Better Life for All Thais” ระหว่างวันที่ 9-11 ธันวาคม 2565 ที่ BCC HALL เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นทุกวัน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน” ยกทัพบริการทางการเงินพร้อมข้อเสนอสุดพิเศษในงาน Thailand Smart Money Bangkok ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด “ติดปีกไทย สู่ความยั่งยืน : Empower Better Life for All Thais” ด้วยผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุนที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ระหว่างวันที่ 9-11 ธันวาคม 2565 ที่ BCC HALL เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว สำหรับบริการทางการเงินและโปรโมชั่นภายในงาน ครอบคลุมทั้งสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อ SMEs ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน เปลี่ยนหลักทรัพย์ให้เป็นเงินก้อนโตได้ง่ายๆ วงเงินกู้สูงสุด 20 ล้านบาท กู้ได้นาน 30 ปี สินเชื่อบ้านกรุงไทย ดอกเบี้ยเริ่มต้นปีแรก 1.00%ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 100% ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ Krungthai NPA MEGA Sale 2565 ยกทัพทรัพย์สินพร้อมขายคุณภาพดีทั่วประเทศ กว่า 3,000 รายการ มูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาท ลดราคาสูงสุด 55% Krungthai NPA เหมาเหมา ซื้อทรัพย์ราคาพิเศษ เมื่อเหมาทรัพย์ตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป พร้อมสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ซื้อทรัพย์สินพร้อมขาย (NPA) ดอกเบี้ยเริ่มต้นปีแรก 0.5% ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม การประเมินราคาหลักทรัพย์ประกัน นอกจากนี้ยังมี สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ เพื่อสมาชิก กบข. วงเงินสูงสุด 15 เท่าของเงินเดือน คิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินใช้จริง สินเชื่ออเนกประสงค์ เพื่อสมาชิก กบข. วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยพิเศษเริ่มต้น 6.47% ต่อปี ไม่ต้องมีบัญชีเงินเดือนผ่านกรุงไทย ก็สามารถยื่นกู้ได้ ธนาคารตอกย้ำแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่มเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อธุรกิจ ดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี สินเชื่อ Krungthai SME Smart Shop ร้านเล็กก็กู้ได้ เพียงใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”หรือ เครื่อง EDC กรุงไทย ไม่ต้องใช้หลักประกัน วงเงินสูงสุดหลักล้านบาท สินเชื่อกรุงไทย Smart Money สำหรับผู้มีรายได้ประจำ แต่ไม่มีบัญชีเงินเดือนกับธนาคาร ให้กู้วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ ไม่ต้องมีหลักประกัน กู้ได้นาน 5 ปี นอกจากนี้ เตรียมพบกับ คาราวานตรวจสุขภาพฟรี ของ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต พร้อมแคมเปญพิเศษ iHealthy Ultra มาตรฐานใหม่ของการวางแผนเรื่องสุขภาพ ตอบโจทย์การวางแผนด้านสุขภาพและ การลงทุน โดยซื้อประกันภัย PA สุขใจชัวร์ เบี้ยประกันภัย 5,000 บาทขึ้นไป ของ บมจ.กรุงไทยพานิชประกันภัย รับบัตร Starbucks E-Coupon มูลค่า 150 บาท ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย บมจ.ทิพยประกันภัย เบี้ยประกันภัย 5,000 บาทขึ้นไป รับสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 3 และลงทุน 200,000 บาทขึ้นไป รับฟรีกระเป๋า G2000 พิเศษสมัคร บัตรเดบิตกรุงไทย รับ 2 ต่อ ฟรีค่าธรรมเนียมออกบัตร และส่วนลดค่าธรรมเนียมรายปี (ปีแรก) สมัครบัตรเครดิต KTC รับบัตรกำนัล Starbucks มูลค่า 200 บาท
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62395
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. เตือน! นายจ้างยื่นแบบ คร.11 ภายใน ม.ค. ศกหน้า
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 กสร. เตือน! นายจ้างยื่นแบบ คร.11 ภายใน ม.ค. ศกหน้า กสร. เตือน! นายจ้างยื่นแบบ คร.11 ภายใน ม.ค. ศกหน้า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กำชับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน (คร.11) ด้วยตนเอง หรือผ่านช่องทาง E-service ภายในเดือนมกราคม 2566 ให้ถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ หากลูกจ้างลดลงไม่ครบ 10 คน ขอให้แจ้งแก้ไขเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า มาตรา 115/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 ขึ้นไป ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน (คร.11) ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในเดือนมกราคมของทุกปี จึงขอย้ำเตือนให้นายจ้างเร่งดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลและยื่นแบบ คร.11 ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถยื่นแบบดังกล่าวได้ 2 ช่องทาง โดยนำส่งด้วยตนเองที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ หรือยื่นแบบผ่านออนไลน์โดยการกรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (www.labour.go.th) ช่องทาง E-service (https://eservice.labour.go.th) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้นายจ้างดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าสถานประกอบกิจการใดฝ่าฝืนไม่ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท อธิบดี กล่าวต่อว่า สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างลดลงไม่ครบ 10 คน หรือไม่มีลูกจ้าง หรือเลิกกิจการ ขอให้กรอกแบบฟอร์มดังกล่าวด้วย เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานนำไปปรับปรุงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ในส่วนของสถานประกอบกิจการที่เพิ่งมีลูกจ้างครบ 10 คน ก็สามารถยื่นแบบ คร.11 ได้เช่นเดียวกัน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62419
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สืบสานพระราชปณิธานองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย และพระราชดำริองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย กระทรวงมหาดไทย – สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมออกร้านค้ากาชาด ในงานกาชาด ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษใต้ร่มพระ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 สืบสานพระราชปณิธานองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย และพระราชดำริองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย กระทรวงมหาดไทย – สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมออกร้านค้ากาชาด ในงานกาชาด ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษใต้ร่มพระ สืบสานพระราชปณิธานองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย และพระราชดำริองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย กระทรวงมหาดไทย – สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมออกร้านค้ากาชาด ในงานกาชาด ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” ประจำปี 2565 วันที่ 8–18 ธ.ค. 2565 สืบสานพระราชปณิธานองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย และพระราชดำริองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย กระทรวงมหาดไทย – สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมออกร้านค้ากาชาด ในงานกาชาด ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” ประจำปี 2565 วันที่ 8–18 ธ.ค. 2565 รวม 11 วัน 11 คืน ณ สวนลุมพินี วันนี้ (6 ธ.ค. 65) เวลา 11.00 น. ที่ร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ในการจัดงานกาชาดประจำปี 2565 สวนลุมพินี กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และนางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ร่วมแถลงข่าวร้านค้ากาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม นางจิรวรรณ เพ็ญพาส นางปวีณ์ริศา เกิดสม นางวรสุดา รัตนสุคนธ์ นางศลิษา ภิรมย์รัตน์ นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย สื่อมวลชน และภาคีเครือข่าย ร่วมรับฟังการแถลงข่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ซึ่งนับเป็นบุญของคนไทยทุกคนที่มีพระองค์ท่านผู้ทรงเป็น “แม่แห่งแผ่นดิน” ที่ทรงคอยดูแลทำนุบำรุงประเทศชาติและห่วงหาอาทรพสกนิกรชาวไทยซึ่งเปรียบประดุจมารดาห่วงใยต่อบุตรกว่า 70 ล้านคน มาตลอดระยะเวลากว่า 70 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การดูแลคุณภาพชีวิต” ผ่านพระราชเสาวนีย์และแนวพระราชดำริในการบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ในยามเจ็บป่วย รวมทั้งพระราชกรณียกิจด้านมนุษยธรรมที่สำคัญ คือ การจัดสร้างศูนย์สภากาชาดไทย (ศูนย์ราชการุณย์ เขาล้าน จังหวัดตราด) ณ บ้านเขาล้าน ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด พร้อมจัดหาแพทย์มาให้การรักษาพยาบาล จัดหาครูศิลปาชีพให้ความรู้และฝึกอาชีพให้กับชาวกัมพูชาที่ลี้ภัยสงครามและมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เพื่อให้ผู้อพยพมีอาชีพเลี้ยงดูตนเองได้อย่างยั่งยืน กอปรกับสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย ทรงมีความเพียรพยายามในการสนองพระมหากรุณาธิคุณองค์สภานายิกาสภากาชาดไทยด้วยการทรงบริหารกิจการสภากาชาดไทยให้มีความเจริญรุดหน้าเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย “กระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์สภานายิกาสภากาชาดไทย และองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย ด้วยการสนองพระราชดำริในการดูแลทุกข์สุขของพี่น้องประชาชนคนไทย ด้วยปณิธาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” อันสอดคล้องกับคติทัศน์ของสภากาชาดไทยที่ว่า “บรรเทาทุกข์ บำรุงสุข บำบัดโรค กำจัดภัย” โดยในส่วนของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ภายใต้การนำของ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้ดำเนินกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เคียงข้างกระทรวงมหาดไทยร่วมกับสภากาชาดไทยมาอย่างต่อเนื่อง และมีประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดซึ่งเป็นคู่สมรสของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากองค์สภานายิกาสภากาชาดไทยให้ดำรงตำแหน่ง “นายกเหล่ากาชาดจังหวัด” ทำหน้าที่ออกเยี่ยมให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ในทุกพื้นที่จังหวัด เคียงข้างผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับนายกกิ่งกาชาดอำเภอ และท่านนายอำเภอ เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข เป็นเสาหลักร่วมกันในการดูแลคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนมาอย่างยาวนาน เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมไทยได้อย่างเป็นปกติสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปลอดโรค ปลอดภัย” นายสุทธิพงษ์ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ได้กล่าวต่ออีกว่า การจัดงานกาชาด ประจำปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้นำ “ผีเสื้อแห่งความจงรักภักดี” มาเป็นกิจกรรมในการร่วมลุ้นของรางวัล โดยจะผูกติดไว้ที่ต้นราชพฤกษ์พระราชา และต้นโมกพระราชินี ให้พี่น้องประชาชนที่ซื้อคูปองสอยดาวในราคา 50 บาท สามารถไปจับผีเสื้อเพื่อลุ้นของรางวัลมูลค่าตั้งแต่ 60 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ “ผีเสื้อ” ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ดังพระราชเสาวนีย์ “..พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ...” ประกอบกับที่พวกเราคนไทยทุกคนได้ร่วมกันสนองพระราชดำริด้วยการนำผ้าไทย ผ้าอัตลักษณ์ของทุกจังหวัดทั่วประเทศ มาประดิษฐ์เป็นผีเสื้อประดิษฐ์ในการเฉลิมฉลองวาระมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา โดยท่านที่ร่วมจับผีเสื้อในงานกาชาดกระทรวงมหาดไทย และสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ซึ่งมีถึง 50,000 ตัว ก็จะได้รับผีเสื้อกลับไปเป็นของที่ระลึกนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้มีการน้อมนำพระราชดำริในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ โดยการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชน (OTOP) ทั้งประเภทของกิน ประเภทเสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย และประเภทสมุนไพร รวม 12 ร้าน และเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาวะทางเศรษฐกิจให้กับพี่น้องประชาชน ได้เปิด “ร้านนายประหยัด” จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาประหยัด จำนวน 38 รายการ นอกจากนี้ ยังมีการบริการนวดเพื่อสุขภาพ “ร้านทองน้ำหนึ่ง เชียงใหม่” นวดไทย นวดตัว นวดเท้า ตามตำรับตำราแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้กับประชาชนผู้สนใจอีกด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า ร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษ ๑๐ เรื่องราว ใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” ที่สะท้อนพระราชกรณียกิจและเรื่องราวอันเนื่องด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ได้แก่ 1) ตราสัญลักษณ์พระนามาภิไธย ส.ก. 2) 66 ปี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย 3) ศิลปาชีพ สร้างงาน สร้างอาชีพ 4) โขนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ 5) นานาองค์กรร่วมเฉลิมพระเกียรติคุณ 6) ป่ารักน้ำ 7) ทรงอนุรักษ์ป่าชายเลน 8) พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ 9) ดอกไม้ในพระนามาภิไธยและดอกไม้พระราชทานนาม และ 10) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ นายพงศ์รัตน ภิรมย์รัตน์ กล่าวว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงมหาดไทย และได้ร่วมหารือกับนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ในการรังสรรค์ตกแต่งพื้นที่ให้มีความเป็นธรรมชาติ ร่มรื่น สวยงาม และสร้างสรรค์ เน้นวัสดุตกแต่งจากธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้งานอารยสถาปัตย์เพื่อคนทุกวัย โดยภายในฯ มีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยเทคนิค 360 องศา โดยผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้ทั้งรูป กลิ่น เสียง เสมือนเข้ามาเดินเล่นในป่าท่ามกลางธรรมชาติและพรรณไม้นานาชนิด ได้มองท้องฟ้า ยอดไม้ ผสมผสานกับได้ยลสินค้าจริงจากศูนย์ศิลปาชีพที่สามารถจับต้องได้ จนถึงเทคนิคผสมผสานกลิ่นดอกไม้ป่า นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า ในร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในครั้งนี้ ได้มีการออกร้าน “ร้านเสื้อผ้าไทยมือใหม่และมือสองราคาสุดพิเศษ” โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ได้บริจาคชุดผ้าไทย เพื่อจำหน่ายนำเงินรายได้สมทบบำรุงสภากาชาดไทย ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ จำหน่ายราคาถูกมาก ตามเกรดของผ้า คือ เกรด A 300 บาท เกรด B 200 บาท และเกรด C 100 บาท เพื่อให้พี่น้องประชาชนสามารถเข้าถึงชุดผ้าไทยและได้ภาคภูมิใจด้วยการสวมใส่ชุดผ้าไทย หลายรูปแบบ หลายดีไซน์ อันเป็นการสนองพระดำริในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผ่านโครงการพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” อันทำให้ช่างทอผ้า ผู้ประกอบการผ้า ได้พัฒนาทักษะ ฝีไม้ลายมือ ด้านการทอผ้า การออกแบบผ้า ให้สอดคล้องกับความต้องการและความนิยมชมชอบของผู้ซื้อ คนทุกวัยใส่ได้ และยังสามารถใส่ได้ทุกโอกาส ซึ่งพี่น้องประชาชนสามารถเลือกสรรชุดผ้าไทย และสินค้าอื่น ๆ ที่ชื่นชอบ ให้กับตนเอง หรือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ที่เคารพนับถือและบุคคลที่เรารักในช่วงเทศกาลแห่งความสุขได้อีกด้วย นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ในการจัดงานกาชาดของกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในครั้งนี้ มุ่งเน้นการจัดงานในรูปแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Green Fair เพื่อให้สอดคล้องกับหมุดหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์กับผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ด้วยการรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะ พร้อมทั้งเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่จะมาเยี่ยมชม เที่ยวชมงาน ร่วมกันพกถุงผ้า มาจับจ่ายใช้สอยภายในงาน ด้าน นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย กล่าวว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงมีพระราชดำริให้สภากาชาดไทย จัดงานกาชาดประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “๙ ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” ระหว่างวันที่ 8–18 ธ.ค. 2565 เวลา 11.00–22.00 น. รวม 11 วัน 11 คืน ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร และบนแพลตฟอร์มออนไลน์ www.งานกาชาด.com หรือ www.redcrossfair.com ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวเน้นย้ำในช่วงท้ายว่า “ประการสำคัญที่สุดในการออกร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในครั้งนี้ คือ เงินทุกบาททุกสตางค์ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายอย่างใดทั้งสิ้น จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อบำรุงสภากาชาดไทย สำหรับช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ประสบภัยพิบัติตามภารกิจของสภากาชาดไทย อันมีนัยยะที่สำคัญว่า ทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมร้านกาชาดกับกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยจะได้ร่วมกันทำบุญด้วยการ “ให้” อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกิจกรรมร้านกาชาดกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ในงานกาชาดประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 8–18 ธ.ค. 2565 เวลา 11.00–22.00 น. รวม 11 วัน 11 คืน ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62379
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​“ธ สถิตในดวงใจ…นิรันดร์” สป. จัดกิจกรรมน้อมรำลึกวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ในหลวง ร.9
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ​“ธ สถิตในดวงใจ…นิรันดร์” สป. จัดกิจกรรมน้อมรำลึกวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ในหลวง ร.9 ... สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมขอร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2565 ระหว่าง 1 - 6 ธันวาคม 2565 โดยมี พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี ณ ห้องพินิตประชานาถ ในศาลาว่าการกลาโหม สำหรับภายในกิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจฯ การมอบพันธุ์ไม้มีค่าให้กับผู้แทนหน่วย ศอว.ศอพท. และ รวท.อท.ศอพท. โดยหลังจากนั้นปลัดกระทรวงกลาโหมและคณะตรวจเยี่ยม ได้ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ทำความสะอาดคลองคูเมืองเดิมและบริเวณโดยรอบศาลาว่าการกลาโหม รวมทั้งเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ทั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่กำลังพลทุกนายได้มาร่วมกันเทิดพระเกียรติ แสดงออกถึงความจงรักภักดี และ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ถือเป็นการสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรดินซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และส่งเสริมให้กำลังพล สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ครู นักเรียน และทุกท่านได้ตระหนักถึงคุณค่า และร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62420
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.อว. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ธัชภูมิ : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของพื้นที่” เผยไทยเป็นมหาอำนาจทางการท่องเที่ยว
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 รมว.อว. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ธัชภูมิ : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของพื้นที่” เผยไทยเป็นมหาอำนาจทางการท่องเที่ยว รมว.อว. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ธัชภูมิ : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของพื้นที่” เผยไทยเป็นมหาอำนาจทางการท่องเที่ยว วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 4 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และภาคีเครือข่ายด้านนโยบาย จัดสัมมนาวิซาการ เคลื่อนภูมิภาคไทยด้วยวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ครั้งที่ 2 "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ตาน้ำของศิลปวิทยากร เชื่อมคน เชื่อมโลก" ขึ้น เพื่อเติมเต็มความรู้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของประเทศไทยที่เชื่อมโยงระดับภูมิภาค พร้อมร่วมทำความเข้าใจในแนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและธัชภูมิที่สำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่และประเทศ และการนำเสนอแนวทางการดำเนินโครงการปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของพื้นที่ภายใต้แผนงานธัชภูมิของระบบ ววน. รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ด้วยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการสร้างพลังของคนที่จะร่วมกันพัฒนาพื้นที่ต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ธัชภูมิ : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของพื้นที่” รมว.อว. กล่าวว่า ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 24 ของโลก จาก 200 กว่าประเทศทั่วโลก ที่ 1 คือ อเมริกา 2 คือ จีน… แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าในระยะหลัง ประเทศไทยเศรษฐกิจไม่ดี แต่เราเป็นผู้มีความรู้ ต้องดูข้อมูลหลายด้าน เรามีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนเรามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 24 ของโลก ในอาเซียนก็เป็นรองจากแค่อินโดนีเซียในอันดับ 16 แต่เขามีคน 200 ล้าน มากกว่าคนไทยเรา ดังนั้น เราน่าจะทำให้ประเทศไทย ซึ่งพัฒนาจากรายได้น้อยจนเป็นรายได้ปานกลางระดับสูง เราน่าจะพัฒนาจนเป็นประเทศรายได้สูงได้ภายในปี 2580 คนไทยมักประเมินไทยต่ำกว่าความเป็นจริง ในขณะที่ชาวต่างชาติเห็นว่าเรามีดีมากมาย เราเป็นมหาอำนาจทางการท่องเที่ยว เทียบเท่า ฝรั่งเศส อิตาลี ถ้านึกดูสมัยก่อน เราแทบไม่มีแหล่งท่องเที่ยว จะมีแต่เชียงใหม่ ในขณะที่ภูเก็ตยังมีแต่เหมืองแร่ อีสานก็ยังแห้งแล้ง พัทยาก็ไม่มีคนรู้จัก แต่ปัจจุบันทุกภาคทั่วประเทศมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ในเรื่องศิลปวัฒนธรรม เราก็ได้รับจัดอันดับมีมรดกทางวัฒนธรรมอันดับ 5-6 ของโลก มากกว่าเกาหลี ญี่ปุ่น ที่คนไทยเราชอบไปเที่ยว ไปเปรียบเทียบ เราต้องภูมิใจในความเป็นไทยของเรา ต้องเปลี่ยน mindset ของคนไทย และนักวิจัย ไม่ทำงานเฉพาะความเป็นเลิศเท่านั้น แต่ให้ทำงานให้เป็นกำลังเศรษฐกิจ เป็นความภาคภูมิใจของไทย การท่องเที่ยวอยู่ในเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ creative economy ซึ่งมีส่วนสำคัญใน GDP ประมาณ 20% (ภาคเกษตร มีแค่ 8% ภาคอุตสาหกรรม มีส่วน 30%) รวมกับเรื่องอื่นๆ ก็ประมาณ 30% ได้ ซึ่งพอๆ กับภาคอุตสาหกรรม แต่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มี net value มากกว่า เพราะมันอยู่ในตัวของคนไทยอยู่แล้ว ในขณะที่อุตสาหกรรมเราต้องนำเข้าวัตถุดิบ นำเข้าเครื่องจักรมูลค่าเพิ่มหรือ net value ในประเทศน้อยกว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาก คนไทยเราเป็นคน 2 ชีพ มาตลอด ด้านหนึ่งเป็นเกษตรกร แต่ทำไปก็ไม่อาจร่ำรวยได้ เรามี productivity ต่ำไม่เหมือนในยุโรปที่มี surplus มาก เกิดพัฒนาการเป็นอุตสาหกรรม อีกด้านหนึ่ง เวลาว่างหลังเก็บเกี่ยว 8 เดือนก็มาทำศิลปะ ซ่อมวัด ทำเรื่องเล่นๆ ได้ดีมาก เรามองเกษตรกรไทย คิดว่าเป็นเกษตรกรเท่านั้น ไม่รู้ว่าเขามีดีเรื่องศิลปะด้วย เลยเติมแต่ความรู้ด้านเกษตร เราไม่ได้ใส่แว่นทางมานุษยวิทยาดูคนว่าคนไทยมีความเก่งเรื่องศิลปะสุนทรียะด้วย ต้องพัฒนาเรื่องศิลปะสุนทรียะด้วย คนไทยเราเก่ง สามารถทำได้ทั้งวิทยาศาสตร์ ทั้งสุนทรียะ ให้ทำวิทยาศาสตร์ก็ทำได้ดี ทำศิลปะก็ดี แสดงว่าเศรษฐกิจเราเดินได้ด้วย 2 ขา คือ ทั้งวิทยาศาสตร์ และ ศิลปะสุนทรียะ เรื่องมานุษยวิทยา คนไทยให้เรียนปรัชญาอาจจะไม่อ่านหนังสือ แต่พอเล่าให้ฟังง่ายๆ ก็เข้าใจ แม้จะดูไม่เป็นวิชาการ แต่ก็เข้าใจเรื่องศาสนา เข้าใจเรื่องการปลงในชีวิต คนจนไม่อิจฉาคนรวย คิดว่าเป็นบุญวาสนา คนรวยก็ไม่รังเกียจคนจน เราต้องคิดพัฒนาและทำเรื่องมานุษยวิทยา แบบไทยๆ อย่าไปทำเลียนแบบใคร อย่าเลียนแบบฝรั่ง เพราะประเทศไทยไม่เหมือนใคร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62390
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทย ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ Earth Safe และ เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม ผนึกกำลัง เมืองแหล่งมรดกโลก ชวนภาคีเครือข่ายพื้นที่เขาใหญ่ และ อ.ปากช่อง ร่วมเป็นพลังแผ่นดิน
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 มหาดไทย ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ Earth Safe และ เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม ผนึกกำลัง เมืองแหล่งมรดกโลก ชวนภาคีเครือข่ายพื้นที่เขาใหญ่ และ อ.ปากช่อง ร่วมเป็นพลังแผ่นดิน มหาดไทย ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ Earth Safe และ เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม ผนึกกำลัง เมืองแหล่งมรดกโลก ชวนภาคีเครือข่ายพื้นที่เขาใหญ่ และ อ.ปากช่อง ร่วมเป็นพลังแผ่นดิน ปักหมุดประกาศเจตนารมณ์ “วันดินโลกปี 65” ตั้งมั่น ดูแลรักษาดินและสิ่งแวดล้อม มหาดไทย ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ Earth Safe และ เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม ผนึกกำลัง เมืองแหล่งมรดกโลก ชวนภาคีเครือข่ายพื้นที่เขาใหญ่ และ อ.ปากช่อง ร่วมเป็นพลังแผ่นดิน ปักหมุดประกาศเจตนารมณ์ “วันดินโลกปี 65” ตั้งมั่น ดูแลรักษาดินและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการผลิต และบริโภคอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 65 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดกิจกรรมเปิดถนนคนเดินเขาใหญ่ ครั้งที่ 2 (Khao Yai Green Market) เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 65 ที่ผ่านมา ณ เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีรองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย คุณปรเมศวร์ สิทธิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม คุณชยดิฐ หุตานุวัตร ประธานสถาบันพัฒนาเมืองและนโยบายสาธารณะ คุณสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ (Earth Safe) นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปากช่อง นายกสมาคมผู้ประกอบการเขาใหญ่ นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก “กิจกรรมเปิดถนนคนเดินเขาใหญ่ ครั้งที่ 2 (Khao Yai Green Market) เป็นความร่วมมือระหว่างภาคีเครือทุกภาคส่วนทั้งผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอปากช่อง และบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในพื้นที่อำเภอปากช่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยบริบทที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนการผลิต การบริโภค อาหารปลอดภัยและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักรู้ในการร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้มีการมอบประกาศนียบัตรตาม “โครงการเขาใหญ่ปากช่องเมืองอาหารอินทรีย์” ให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนมีการออกบูธร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสอดรับไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยว และผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ ของ เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม นั้น เป็นพื้นที่ศูนย์ฝึกอบรมของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อีกด้วย ที่เป็นเเหล่งเรียนรู้เป็น โคก หนอง นา “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม” บริเวณติด ถ. ธนะรัชต์ บนพื้นที่ขนาด 80 ไร่ ” นายสยามฯ กล่าว ด้าน คุณปรเมศวร์ สิทธิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม ได้เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ที่มุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพและการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการที่เห็นความสำคัญของมื้ออาหารอินทรีย์ อันเป็นการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการเรื่องของอาหารอินทรีย์ อาหารปลอดภัยที่ปลอดเคมี และการสนับสนุนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้อง ที่ให้ความสำคัญในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำกระบวนการขาย การรวมกลุ่ม การผลิตและให้บริการ และขั้นก้าวหน้า คือ กระบวนการปลายทางที่ยกระดับมาตรฐานในหลายมิติ ทั้งด้านการผลิต การปรับปรุงคุณภาพ การขาย การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกระดับ ทุกพื้นที่ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือที่คนไทยรู้จักกันว่า 5 ธันวาคม คือ “วันพ่อแห่งชาติ” นับเป็นนิมิตหมายอันดี ที่จะร่วมกันแสดงพลังและเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อการแก้ปัญหาดินในทุกลักษณะ ทั้งดินปนทราย ดินเปรี้ยว ดินเค็ม และการพังทลายของดิน เพื่อให้พี่น้องประชาชนและเกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้ดีขึ้น ทั้งนี้ การทรงงานเรื่องดินเป็นที่ประจักษ์ต่อนักวิทยาศาสตร์ด้านดินทั่วโลก ว่าการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ยั่งยืนในทุกมิติ ซึ่งในพุทธศักราช 2547 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ได้มีมติเสนอให้วันที่ 5 ธันวาคม (วันพระบรมราชสมภพ) เป็นวันดินโลก เพื่อรำลึกถึงพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณด้านการจัดการทรัพยากรดินของพระองค์ท่าน รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า สำหรับความเป็นมาของการจัดงานวันดินโลกในปี ค.ศ. 2022 นี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Soils, where food begins. หรือ อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน โดยในช่วงสัปดาห์นี้ระหว่างวันที่ 2 – 8 ธันวาคม 2565 กระทรวงมหาดไทยมีการกำหนดจัดกิจกรรมเป็นสัปดาห์แห่งการสร้างการตระหนักรู้ (Awareness week) ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง 7 วัน ภายใต้แนวคิด Great food from Good soil for Better Life awareness week หรือ ดินดี อาหารดี สุขภาพดี ชีวีมีสุข ซึ่งเป็นการประกาศเจตนารมณ์การขับเคลื่อนงานการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในทรัพยากรดิน โดยท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มีการ Kick Off ไปแล้วเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ณ วัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และจะขยายผลพร้อมกันให้ครอบคลุมทุกอำเภอ 878 อำเภอ 76 จังหวัด โดยมีการเชิญชวนภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ รวมกันจัดกิจกรรมและประกาศเจตนารมณ์พร้อมเพียงกันทั่วประเทศในห้วงเวลาดังกล่าว นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยพื้นที่เขาใหญ่ในเขตอำเภอปากช่องนั้น ได้รับเกียรติจากคุณสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ หรือ Earth Safe Foundation เป็นผู้นำกล่าวประกาศเจตนารมณ์เนื่องในวันดินโลก ความว่า"ข้าพเจ้า / จะสืบสานศาสตร์พระราชา / เพื่อพัฒนาดินอย่างยั่งยืน ข้าพเจ้า / จะรักษาความอุดมสมบูรณ์แห่งดิน / เพื่อเป็นแหล่งสร้างอาหารที่มีคุณภาพ ข้าพเจ้า / จะต่อยอด ขยายผล / ขับเคลื่อนเครือข่ายพลังแผ่นดิน / สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน"เพื่อเป็นการแสดงออกในเจตนารมณ์อันแนวแน่ ที่จะร่วมสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นเป็นการ Change for Good เพื่อสืบสานรักษาความอุดมสมบูรณ์แห่งดิน และต่อยอดขยายผลกิจกรรมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำให้บรรลุสามารถเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อ "คืนดินดีให้ผืนแผ่นดิน สร้างสรรค์ความสมดุลธรรมชาติ และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ให้แผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินทอง" #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62411
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อลงกรณ์”เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมืองมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและอาหารปลอดภัย
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 “อลงกรณ์”เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมืองมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและอาหารปลอดภัย “อลงกรณ์”เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมืองมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและอาหารปลอดภัย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรยายในหัวข้อเรื่อง “เกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง สู่ BCG Model” ในงานสัมมนาออนไลน์ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนวิถีในเมือง ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting จัดโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาตระหนักถึงนโยบายและความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของคนเมือง รวมถึงสนับสนุนการสร้างพื้นที่เกษตรกรรมในเมืองให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจชุมชนมีรายได้ด้วยเศรษฐกิจสีเขียว นายอลงกรณ์ ได้กล่าวถึง 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals :SDGs) เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการกำหนดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมสู่ความยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยเป็นครัวของโลก มีศักยภาพและเป้าหมายในการเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเกษตรปลอดภัย และอาหารปลอดภัยท็อปเท็นของโลก โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ 3’s (Safety-Security-Sustainability) เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน โดยยกตัวอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศ ๆ เช่น จีน สวีเดน สิงคโปร์ อัลบาเนีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เข้ากับพื้นที่ในประเทศไทย ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางหมุดหมายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทั้ง 5 สาขา คือ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสาน ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและทำการเกษตร เป็นการพัฒนาแบบคู่ขนานทั้งในเมืองและชนบท สำหรับในพื้นที่เมือง มีโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเน้นการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย โดยมีคณะทำงานด้านต่าง ๆ เช่น คณะทำงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus) คณะทำงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่โรงเรียนและวิทยาลัย (Green School and College) พื้นที่วัด (Green Temple) คณะทำงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) เน้นการทำงานบนความร่วมมือของทุกภาคส่วนในลักษณะการเป็น partnership ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคเกษตรกรและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทาง BCG Model ส่วนในชนบทมีโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล (Tumbom Sustainable Agriculture Development Project :TAP) ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน” พร้อมกัน 77 จังหวัด โดยคิกออฟที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดแรก มีโครงสร้างการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ และคณะทำงานฯ ในระดับส่วนกลาง ระดับส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล 7,255 ตำบล ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อมุ่งสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชน ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยโดยใช้ 12 คานงัด เป็นเครื่องมือในการสร้างจุดเปลี่ยน และผลักดันภาคการเกษตรของไทยสู่การเป็นประเทศผู้ผลิต ส่งออก เกษตรปลอดภัย และอาหารปลอดภัยของโลกต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62431
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 15 (The 15th World Film Festival of Bangkok) 2-11 ธันวาคม 2565 ณ โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 15 (The 15th World Film Festival of Bangkok) 2-11 ธันวาคม 2565 ณ โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 15 (The 15th World Film Festival of Bangkok) 2-11 ธันวาคม 2565 ณ โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 15 (The 15th World Film Festival of Bangkok) 2-11 ธันวาคม 2565 โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็วๆ นี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานพิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 World Film Festival of Bangkok “Return To Cinema” โดยมี นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เนชั่นกรุ๊ป นายดรสรน โกวิทวณิชชา ผู้อำนวยการเทศกาลฯ นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ศิลปิน นักแสดง และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “World Film Festival of Bangkok” หรือ “เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ” (ครั้งที่ 15) กลับสู่ประเทศไทยอีกครั้ง ภายใต้ธีม ‘Return to Cinema’ โดยมีผู้อำนวยการเทศกาล คือ ‘ดรสะรณ โกวิทวณิชชา’ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยอิสระที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก คัดสรรภาพยนตร์มากถึง 61 เรื่อง ภาพยนตร์สั้นทดลอง 20 เรื่อง มาจากทั้งหมด 51 ประเทศทั่วโลก และกิจกรรมพิเศษตลอดทั้งเทศกาล 10 วัน เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจนถึงระดับสากล ซึ่งงานนี้ยังเป็นอีก 1 งานสำคัญที่อยู่ในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ “Soft Power” ผลักดันส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5 F ของประเทศไทย ในด้านภาพยนตร์ (Film) ซึ่งเทศกาลจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-11 ธันวาคม 2565 ณ โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สำหรับภาพยนตร์ที่ถูกฉายในเทศกาลครั้งนี้* มีเรื่องราวที่หลากหลายทั้งเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม รวมถึงความหลากหลายทางเพศ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตผู้คนจากทุกสภาพสังคมทั่วโลก โดยแบ่งหมวดต่างๆดังนี้: Kaleidoscope: ไม่ว่าจะเป็นหนังแรงที่เป็นที่กล่าวขวัญจากเทศกาลดังทั่วโลก หรือหนังที่เก็บกวาดชนะรางวัลมาจากเทศกาลหนังระดับแนวหน้า ทีมงานได้รวบรวมมาให้แฟนภาพยนตร์ในประเทศไทยได้รับชมกันที่นี่ที่เดียวเท่านั้น Record: เพื่อเอาใจคอหนังสารคดี "World Film Festival of Bangkok" จึงเฟ้นหา และคัดสรร เพื่ออัปเดตภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวและมุมมองในเนื้อหาที่น่าสนใจจากหลากหลายประเทศ พลาดไม่ได้สำหรับคอหนังสารคดีดังที่คัดมาจากทั่วทุกมุมโลก Windows: ด้วยวิถีการเล่าเรื่องแนวใหม่ๆ และการใช้เทคนิคการถ่ายทำที่พัฒนาขี้นอย่างก้าวกระโดดด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่โลกได้เปลี่ยนไปแล้วในห้วงเวลาจากล็อกดาวน์ และมีผลกระทบต่อชีวิตผู้คน ทำให้เราได้เปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับโลกภาพยนตร์ไม่มีที่สิ้นสุดด้วยภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์แนวทดลองที่น่าจับตามองที่สุดของปี 2022-2023 Special Presentation: โปรแกรมพิเศษที่เป็นมากกว่าการฉายภาพยนตร์ แต่ผู้ชมจะได้สัมผัส และทำความรู้จักกับผู้สร้างสรรค์งานศิลปะแห่งการเล่าเรื่องบนโลกหนังมากขึ้นผ่านกิจกรรมสุดพิเศษที่ทางเทศกาลได้เตรียมไว้อย่างครบครัน Classics: รวบรวมภาพยนตร์ระดับตำนานที่หาดูได้ยาก และยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำและประทับในความรู้สึกที่ผู้ชมยังคงต้องการที่จะได้ร่วมรับประสบการณ์สุดประทับใจอีกครั้ง ทางเทศกาลได้เตรียมจัดฉายเป็นกิจกรรมพิเศษในงานครั้งนี้ด้วย ภาพยนตร์ไฮไลท์จำนวน 12 เรื่อง จากทั้งหมด 61 เรื่อง ให้ผู้ร่วมงานได้เข้าไปสู่โลกของเทศกาลภาพยนตร์อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น อาทิ AFTERSUN จากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา, ALCARRÀS จากประเทศสเปนและอิตาลี, IN VIAGGIO จากประเทศอิตาลี, EO จากประเทศโปแลนด์และฝรั่งเศส, NO BEARS จากประเทศอิหร่าน, A MAN จากประเทศญี่ปุ่น, TORI AND LOKITA จากประเทศเบลเยี่ยม, A HUNDRED FLOWERS จาก ประเทศญี่ปุ่น, RULE 34 จากประเทศ บลาซิลและฝรั่งเศส, RETURN TO SEOUL หนังความร่วมมือจากหลายประเทศอย่าง ฝรั่งเศส, เกาหลีใต้, กัมพูชา, เยอรมนี และเบลเยี่ยม, TCHAIKOVSKY’S WIFE จากประเทศรัสเซีย, ฝรั่งเศส และสวิสเซอร์แลนด์, CLOSE จากประเทศเบลเยี่ยม โดยภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่องได้รับการยอมรับและถูกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอย่าง Cannes Film Festival, Venice Film Festival, Toronto Film Festival และ Busan International Film Festival เป็นต้น เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 15 ยังเป็นเทศกาลที่เชื่องโยงผู้คนแวดวงภาพยนตร์จากทั่วโลกมาเจอกัน ซึ่งปีนี้มีผู้กำกับ นักแสดง และผู้เชี่ยวชาญวงการภาพยนตร์ เดินทางมาร่วมเทศกาลครั้งนี้ราว 40 ท่าน สำหรับรางวัลประจำเทศกาล “Lotus Award” เพื่อมอบให้ผู้กำกับหน้าใหม่ที่มีผลงานภาพยนตร์ที่ได้รับการจับตามองในเทศกาลยนตร์นานาชาติทุกมุมโลก โดยปีนี้มีภาพยนตร์เข้าชิงทั้งหมด 21 เรื่อง ได้แก่ 1) #LOOKATME จากประเทศสิงคโปร์ 2) I HAVE ELECTRIC DREAMS จากประเทศเบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, ตอสตาริกา Belgium 3) A MAN จากประเทศญี่ปุ่น 4) RULE 34 จากประเทศบลาซิล, ฝรั่งเศส 5) SAFE PLACE จากประเทศโครเอเชีย, สโลวีเนีย 6) LEONOR WILL NEVER DIE จากประเทศฟิลิปินส์ 7) SCALA จากประเทศไทย 8) STONEWALLING จากประเทศญี่ปุ่น 9) THE SALES GIRL จากประเทศมองโกเลีย 10) TORA'S HUSBAND จากประเทศอินเดีย 11) HOW IS KATIA? จากประเทศยูเครน 12) JOYLAND จากประเทศปากีสถาน 13) AUTOBIOGRAPHY จากประเทศอินโดนีเซีย, ฝรั่งเศส, สิงคโปร์, โปแลนด์, ฟิลิปปินส์, เยอรมนี, กาต้าร์ 14) BLUE AGAIN จากประเทศไทย 15) HAVE YOU SEEN THIS WOMAN? จากประเทศเซอร์เบีย, โครเอเชีย 16) VICTIM จากประเทศสโลวาเกีย, เซ็ก รีพับลิค, เยอรมนี 17) MEMENTO MORI: EARTH จากประเทศเวียดนาม 18) RICEBOY SLEEPS จากประเทศแคนาดา 19) THE CORD OF LIFE จากประเทศจีน 20) A HUNDRED FLOWERS จากประเทศญี่ปุ่น 21) KLONDIKE จากประเทศยูเครน ทั้งนี้ทางเทศกาลฯริ่เริ่มรางวัลพิเศษ “รางวัลเกรียงศักดิ์ศิลากอง” เพื่อรำลึกการจากไปของ “วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง” อดีตผู้อำนวยการเทศกาล ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศเชิดชูบุคลากรที่มีคุณูปการแก่วงการภาพยนตร์ทั้งในไทยและระดับนานาชาติ และเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพขอร่วมรำลึกและอาลัยต่อ "หม่อมน้อย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล" ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวที ชื่อดังที่สร้างผลงานไว้อย่างมากมายในสายตาคนไทยและต่างชาติ ทางเทศกาลฯจัดฉายภาพยนตร์คุณภาพการกำกับฝีมือชั้นครู 3 เรื่อง ได้แก่ ฉันผู้ชายนะยะ, นางนวล และ มหัศจรรย์แห่งรัก “World Film Festival of Bangkok” หรือ “เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ” (ครั้งที่ 15) จัดเต็มภาพยนตร์ระดับโลก 61 เรื่อง ภาพยนตร์สั้นทดลอง 20 เรื่อง จาก 51 ประเทศ และกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายตลอดทั้งเทศกาล จัดขึ้นระหว่าง 2-11 ธันวาคมนี้ ที่โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ติดตามข่าวสารและโปรแกรมภาพยนตร์ได้ทางเว็บไซต์www.worldfilmbangkok.comและ Facebook: World Film Festival of Bangkok Official ติดต่อสอบถามอีเมล์[emailprotected]
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62416
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ด้วยพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการส่งเสริมศิลปการแสดงของชาติ สู่การต่อยอดการแสดง “โขน” ในรูปแบบ “โขนภาพยนตร์” ปลัดมหาดไทย เชิญชวนคนไทยทุกวัยร่วมรับชม ฯ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการส่งเสริมศิลปการแสดงของชาติ สู่การต่อยอดการแสดง “โขน” ในรูปแบบ “โขนภาพยนตร์” ปลัดมหาดไทย เชิญชวนคนไทยทุกวัยร่วมรับชม ฯ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการส่งเสริมศิลปการแสดงของชาติ สู่การต่อยอดการแสดง “โขน” ในรูปแบบ “โขนภาพยนตร์” ปลัดกระทรวงมหาดไทย เชิญชวนคนไทยทุกวัยร่วมรับชม “โขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey” ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ โรงภาพยนตร์ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการส่งเสริมศิลปการแสดงของชาติ สู่การต่อยอดการแสดง “โขน” ในรูปแบบ “โขนภาพยนตร์” ปลัดกระทรวงมหาดไทย เชิญชวนคนไทยทุกวัยร่วมรับชม “โขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey” ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ โรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ และเอสเอฟ ทุกแห่งทั่วประเทศ . วันนี้ (6 ธ.ค. 65) ที่กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า นับเป็นโชคดีของคนไทยทุกคนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานอันมุ่งมั่นแน่วแน่ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนองแนวพระราชดำริในด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ อันเป็นที่ประจักษ์ชัดผ่านพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินในหลายโอกาส อาทิ การเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “สะกดทัพ” รอบปฐมทัศน์ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 และการเสด็จพระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรโขนภาพยนตร์ หนุมาน ไวท์ มังกี (WHITE MONKEY) รอบปฐมทัศน์ และนิทรรศการ “โขนภาพยนตร์” ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์ เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2565 ทำให้คนไทยทุกคนได้ร่วมซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็นผู้นำในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติในดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยอย่างยั่งยืน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า “โขนภาพยนตร์ หนุมาน ไวท์ มังกี (WHITE MONKEY)” ผลิตขึ้นตามโครงการผลิตโขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับบริษัท สหศีนิมา จำกัด และกระทรวงวัฒนธรรม จากแนวคิด “Goes Digital โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน” โดยการผสมผสานศิลปะการแสดงวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมที่เกิดขึ้นบนเวทีการแสดงผนวกเข้ากับเทคนิคทางด้านดิจิทัลคอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์ มาสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจและจินตนาการให้กับเรื่องราวของโขนรามเกียรติ์ ในรูปแบบของ “โขนภาพยนตร์” อันทำให้ผู้ชมได้รับความสนุก ตื่นเต้น และประทับใจยิ่งขึ้น สอดรับร่วมสมัยกับพฤติกรรมของผู้ชมยุคใหม่ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงประจำชาติไทยไปสู่สากล โดยเชิญนักวิชาการละครและดนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงจากหลากหลายสถาบัน รวมทั้งนักแสดงโขนจากโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงร่วมในการแสดงด้วย “จุดสำคัญที่ทำให้เกิดแนวคิดในการผลิตโขนภาพยนตร์ คือ คนส่วนมากอาจคิดว่างานอนุรักษ์ต้องอยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น งานอนุรักษ์สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงได้ “โขน” ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งได้รับความสนใจจากคนไทยได้ในทุกยุคทุกสมัย แต่ด้วยเป็นนาฏกรรมชั้นสูงที่มีองค์ประกอบของการจัดแสดงที่ต้องใช้ความละเอียดในทุกส่วน ทั้งเบื้องหน้า อันได้แก่ ตัวผู้แสดง ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง และเบื้องหลัง อันได้แก่ ผู้กำกับศิลป์ ผู้กำกับการแสดง นักออกแบบเครื่องพัสตราภรณ์ นักออกแบบศิลปกรรม นักดนตรีไทย ครูเพลง นักร้อง นักพากษ์ รวมถึงฝ่ายประสานงานต่าง ๆ ส่งผลให้พี่น้องประชาชนจะหาชมการแสดงโขนได้ยากมาก และในหนึ่งปีจะมีการแสดงที่ได้รับความนิยมชมชอบด้วยน้ำพระราชหฤทัยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพได้จัดแสดงเพื่อให้ประชาชน เด็ก เยาวชน ได้ซึมซับและเรียนรู้ ภาคภูมิใจศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาติ จึงเป็นที่มาของ การจัดทำโขนภาพยนตร์ เพื่อให้ประชาชนคนไทยรวมถึงคนทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในมุมไหนของโลกใบนี้ ทุกคนก็สามารถรับชมได้ โดยนำความเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมมาผนวกกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยจนเกิดผลงาน “โขนภาพยนตร์” ที่ทรงคุณค่าและเข้าถึงได้ง่าย เป็นการต่อลมหายใจของศิลปวัฒนธรรมการแสดงชั้นสูงของชาติไทยให้มีชีวิตต่อไป เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ที่เป็นวิวัฒนาการแบบใหม่ของศิลปะการแสดงโขน โดยมีโขนศาลาเฉลิมกรุง คือ โขนฉาก มาต่อยอดสร้างสรรค์จากโขนฉากบนเวทีสู่จอภาพยนตร์ นับเป็นการนำศิลปะการแสดงโขนประยุกต์กับเทคโนโลยีจนกลายเป็นนวัตกรรมศิลปะการแสดงอันเป็นวิวัฒนาการครั้งสำคัญของนาฏกรรม “โขน” ของประเทศไทย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวต่ออีกว่า ความเรียบง่ายของคำว่า HANUMAN White Monkey ถูกนำมาใช้เป็นชื่อของภาพยนตร์ชุดนี้ ซึ่งนอกจาก “หนุมาน” ขุนศึกตัวเอกในการดำเนินเรื่องจะเป็น “ลิงสีขาว” เพียงตัวเดียวแล้ว ยังใช้ชื่อเพื่อแทนความหมายของ “สีขาว” ตามจิตวิทยาของความรู้สึกของสีมาแทนค่า “แทนความบริสุทธิ์ สันติภาพ ความสงบ ความดี ความเรียบง่าย และความหลุดพ้น” ซึ่งหนุมานตัวเอกจะนำพาผู้ชมไปค้นหาคำตอบและจุดหมายปลายทางนั้นในตอนจบ โดยสิ่งที่ผู้ชมจะเห็นได้อย่างชัดเจน คือ การออกแบบงานศิลป์ในภาพยนตร์ เป็นการถ่ายทำแบบ Blue Screen ทั้งหมด จึงต้องสร้างสรรค์งานภาพจาก Computer Graphic โดยถอดรหัสและตีความจากเรื่องราวของโขนรามเกียรติ์และข้อมูลจากครูผู้เชี่ยวชาญด้านโขน เพื่อสามารถผลักดันหรือขับเคลื่อนการเล่าเรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบภาพยนตร์ให้ดีที่สุดในด้านสุนทรียภาพ และสุนทรียศาสตร์ ซึ่งมีความพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ ดนตรีประกอบภาพยนตร์ เป็นการนำดนตรีไทยแบบ “ปี่พาทย์” ผสมผสานกับดนตรีแบบตะวันตก ทำให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้น สนุก และไม่น่าเบื่อ ครบรสทั้งรูปแบบเพลงไทยเดิม รูปแบบออร์เคสตรา และรูปแบบเพลงร็อค ซึ่งสามารถนำเสียงเพลงเหล่านี้มาประกอบกับโขนภาพยนตร์อย่างลงตัว และนอกจากเสียงดนตรีแล้ว ยังมีเสียงพากย์แบบที่ใช้ในการแสดงโขนการขับร้องเพลงไทย และการแรป ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาอยู่ในโขนภาพยนตร์ได้ลงตัวเป็นอย่างดีและน่าเหลือเชื่อ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวในช่วงท้ายว่า “โขนภาพยนตร์ หนุมาน ไวท์ มังกี (WHITE MONKEY)” จึงเป็นภาพยนตร์ที่ควรค่าแก่การรับชมเพื่อดื่มด่ำสัมผัสกับสุนทรียศาสตร์อันปราดเปรื่องของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยที่พ่อ แม่ สามารถจูงมือลูก หลาน ปู่ ย่า ตา ยาย ไปรับชมพร้อมกันทั้งบ้าน ทั้งครอบครัว เพื่อได้ร่วมกันภาคภูมิใจและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัว โดยสามารถดูรายละเอียดและเลือกซื้อบัตรเพื่อรับชมโขนภาพยนตร์ หนุมาน ไวท์ มังกี (WHITE MONKEY) ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า ทุกแห่งทั่วประเทศ #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62382
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ทิพานัน" โชว์ผลงาน "พล.อ.ประยุทธ์" ปรับกฎหมายให้ทันสมัย ปฏิวัติดอกเบี้ยโหดในรอบ 95 ปีให้เป็นธรรม ชี้ปรับปรุงกม.แพ่ง ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ ประชาชนปลดหนี้ได้ไวขึ้น
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 "ทิพานัน" โชว์ผลงาน "พล.อ.ประยุทธ์" ปรับกฎหมายให้ทันสมัย ปฏิวัติดอกเบี้ยโหดในรอบ 95 ปีให้เป็นธรรม ชี้ปรับปรุงกม.แพ่ง ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ ประชาชนปลดหนี้ได้ไวขึ้น "ทิพานัน" โชว์ผลงาน "พล.อ.ประยุทธ์" ปรับกฎหมายให้ทันสมัย ปฏิวัติดอกเบี้ยโหดในรอบ 95 ปีให้เป็นธรรม ชี้ปรับปรุงกม.แพ่ง ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ ประชาชนปลดหนี้ได้ไวขึ้น วันที่ 7 ธันวาคม 2565 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าในปี 3 ผลการดำเนินงานของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้าในการลดข้อจำกัดด้านกฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการทำธุรกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน แก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย โดยการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายและแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย 87 ฉบับเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด และอีก 57 ฉบับเกี่ยวกับใบอนุญาต และยังยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นด้วย น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า หนึ่งในกฎหมายที่ส่งผลดีต่อประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง คือกฎหมายเกี่ยวกับ “การปฏิวัติดอกเบี้ย” ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แก้ไขวิธีการคิดดอกเบี้ยใหม่ ที่ใช้มานานกว่า 95 ปี เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ นอกจากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์การคิดดอกเบี้ยในประเทศไทยแล้วยังเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อประโยชน์ของประชาชนและผู้ประกอบการทั่วประเทศได้อย่างยั่งยืน มีความเป็นธรรม คุ้มครองไม่ให้ลูกหนี้ถูกเอาเปรียบ และสอดคล้องกับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป จึงมีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 (อัตราดอกเบี้ย) ประกาศใช้ เมื่อ 10 เมษายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราหรือวิธีการที่ก่อให้เกิดภาระแก่ลูกหนี้สูงเกินสมควร โดยมีสาระสำคัญ คือ 1. หากไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในนิติกรรมให้ใช้อัตราร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งทำให้ชำระดอกเบี้ยลดลง จากเดิมร้อยละ 7.5 เหลือร้อยละ 3 ต่อปี และเพื่อให้มีการปรับปรุงให้เป็นธรรมกับลูกหนี้ สอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์จึงกำหนดให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนทุก 3 ปี ให้ใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ด้วย 2. อัตราดอกเบี้ยผิดนัด ปรับเป็นอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยผิดนัดอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี ลดจากเดิมร้อยละ 7.5 ต่อปี 3. กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใดงวดหนึ่ง เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากเงินต้นของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยเพราะไม่ใช่คิดจาก “เงินต้นทั้งหมด” ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ เป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ลูกหนี้ที่ถูกบิดเบือนมานับศตวรรษ น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า การปฏิวัติดอกเบี้ย ยังส่งผลดีไปยังดอกเบี้ยในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นในวันที่ 10 มกราคม 2566 ที่จะถึงนี้ ประชาชนที่เช่าซื้อยานพาหนะต่างๆ ก็จะได้รับการคิดดอกเบี้ยที่เป็นธรรมมากขึ้นกว่าเดิม ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2565 โดยมีสาระสำคัญ คือ อัตราดอกเบี้ยจะต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี หรือ Effective Interest Rate โดยเพดานสูงสุดที่กฎหมายกำหนด สำหรับรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี รถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี และรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินร้อยละ 23 ต่อปี น.ส. ทิพานัน กล่าวว่า รวมถึงกำหนดให้เบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่เกิน 5% ต่อปี และให้คิดเบี้ยปรับจากยอดหนี้ที่ผิดนัดชำระเท่านั้น ส่วนหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระผู้ให้เช่าซื้อไม่สามารถนำมาคิดเป็นเบี้ยปรับได้ (จากเดิมผู้ประกอบการส่วนใหญ่นำหนี้ทั้งก้อนไปคิดเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้เช่าซื้อ) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับการแก้ไขปรับปรุงประมวลแพ่งและพาณิชย์เรื่องดอกเบี้ยและเบี้ยปรับล่าสุด และเรื่องการคิดดอกเบี้ย ยังให้มีการพิจารณาปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยทุกๆ 3 ปีเพื่อสร้างความเป็นธรรมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจด้วย “การแก้ไขกฎหมายที่ล้าหลัง คือความใส่ใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นความมุ่งมั่นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการสร้างความยุติธรรมให้มีขึ้นในสังคมให้มากที่สุด เป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้าง เพื่อพี่น้องประชาชนจะไม่ต้องทนกับภาระดอกเบี้ยโหดอีกต่อไป อันจะนำไปสู่การใช้ชีวิตและมีเงินทุนในการประกอบอาชีพอื่นๆต่อได้” น.ส.ทิพานัน กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62393
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อว. ทอดผ้าป่า เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 อว. ทอดผ้าป่า เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต อว. ทอดผ้าป่า เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต อว. ทอดผ้าป่า เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต และสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ณ วัดหัวลำโพง (14 พฤศจิกายน 2565) เวลา 14.00 น. ณ วัดหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท ป.ธ.๓) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีทอดผ้าป่า เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต และสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย โดยมี ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงฯ ผู้บริหารกระทรวง อว. ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธี โอกาสนี้ ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถ เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีลเสร็จแล้ว ต่อมาประธานในพิธีถวายธูปเทียนแพเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมอัญเชิญผ้าไตรพระราชทานจากพานแว่นฟ้า ไปที่ต้นผ้าป่า พร้อมนำกล่าวถวายผ้าป่าและถวายผ้าป่า เมื่อพระสงฆ์พิจารณาผ้าป่า เลขานุการรัฐมนตรีฯ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ รับพร เป็นอันเสร็จพิธี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62392
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จังหวัดกาญจนบุรี จับมือเครือข่ายโคก หนอง นา พนมทวน ชวนน้องพัฒนากร ร่วมกิจกรรมวันดินโลก ย้ำต้องสร้างความตระหนักรู้ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี(Better Life) ของพวกเราทุกคน
วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2565 จังหวัดกาญจนบุรี จับมือเครือข่ายโคก หนอง นา พนมทวน ชวนน้องพัฒนากร ร่วมกิจกรรมวันดินโลก ย้ำต้องสร้างความตระหนักรู้ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี(Better Life) ของพวกเราทุกคน จังหวัดกาญจนบุรี จับมือเครือข่ายโคก หนอง นา พนมทวน ชวนน้องพัฒนากร ร่วมกิจกรรมวันดินโลก ย้ำต้องสร้างความตระหนักรู้ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี(Better Life) ของพวกเราทุกคน เมื่อวันที่5 ธันวาคม 2565 เวลา 10.00 น. ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับอำเภอพนมทวนจัดกิจกรรม "วันดินโลก" (World Soil Day) ปี 2565 ณ พื้นที่ศูนย์เรียนรู้แปลงโคก หนอง นา โมเดล ต้นแบบครัวเรือน ของนายธนพนธ์ ทองมณโฑ หมู่ที่ 6 ตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้มอบหมายให้นางรัชนี โพธิสัตยา พัฒนาการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยนายศุภกรณ์ แนนไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายสมพร พุ่มช่วย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน เครือข่ายโคก หนอง นา และพัฒนากรก่อนประจำการ รุ่นที่ 121 ที่ลงพื้นที่ฝึกภาคสนามในเขตอำเภอพนมทวนเข้าร่วมกิจกรรมวันดินโลก (World Soil Day) ปี 2565 ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Soils, where food begins หรือ อาหาร ก่อกำเนิด เกิดจากดิน" ที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนด รวมถึง แนวคิด “Great food from good soil for better life awareness week” หรือ “ดินดี อาหารดี สุขภาพดี ชีวีมีสุข” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้เรื่องของวันดินโลกให้แก่ประชาชน และเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน และเกิดจิตสำนึกในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย 1. การปลูกถั่วฝักยาวพันธุ์สิรินธร 2. การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 3. กิจกรรมเอามื้อสามัคคี ครูพาทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง และ 4. การเยี่ยมชมการแสดงผลความสำเร็จของพื้นที่ภายในศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” . ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวต่อว่า วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันดินโลก ซึ่งเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทย พระราชทานแนวพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการเกษตร โดยผ่านโครงการพระราชดำริต่าง ๆ จนเป็นที่ประจักษ์ในพระปรีชาสามารถและยอมรับไปทั่วโลก สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (IUSS) ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล "นักวิทยาศาสตร์ดิน เพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist)" เป็นพระองค์แรกของโลก ต่อมาองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศสดุดีพระเกียรติคุณ โดยรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก และบรรจุในปฏิทินการปฏิบัติงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และประเทศสมาชิกทั่วโลกจะร่วมกันจัดกิจกรรมในวันสำคัญนี้ . ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวต่อว่า การจัดกิจกรรม "วันดินโลก" (World Soil Day) ปี 2565 ขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในทรัพยากรดิน ส่งผลให้เกิดผลผลิตที่ดี (Better Production) ทำให้มีโภชนาการที่ดีขึ้น (Better Nutrition) และพื้นดินจะมีความร่มเย็นชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ กลายเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น (Better Environment) และทั้ง 3 ดี ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราดี (Better Life) คือ มีชีวิตที่ดี เป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึงสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินตามเป้าหมายของวันดินโลก (World Soil Day) และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน นางรัชนี โพธิสัตยา พัฒนาการจังหวัดกาญจนบุรี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "กรมการพัฒนาชุมชนและจังหวัดกาญจนบุรี ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวันดินโลก และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งแนวคิดในการจัดงานปีนี้ คือ “Soils, where food begins หรือ อาหาร ก่อกำเนิด เกิดจากดิน" จะเห็นได้ว่าปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความตระหนักของความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และยังสอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน “ดิน” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีพ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ช่วยพัฒนาระบบนิเวศให้มีความยั่งยืน เอื้อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และบรรเทาผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความต้องการใช้ทรัพยากรดินมีเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด และไม่สามารถนำกลับมาทดแทนใหม่ได้ หากขาดการอนุรักษ์และพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน จะก่อให้เกิดปัญหา ความเสื่อมโทรมของดินที่ส่งผลต่อคุณภาพ การผลิต และกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ และหากดินมีความเสื่อมโทรมที่รุนแรง การฟื้นฟูดินให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์เหมือนเดิมจะทำได้ยากขึ้นด้วย ดังนั้น วันดินโลก นอกจากจะเป็นการสร้างการรับรู้และตระหนักให้ประชาชนได้รู้คุณค่าของดินแล้วยังทำให้สำนึกในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อีกด้วย" . #GlobalSoilPartnership #UNFAO #SEPtoSDGs #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62378
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟท. จัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ Doctor Train ครั้งที่ 2
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 รฟท. จัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ Doctor Train ครั้งที่ 2 จังหวัดลำปาง ให้บริการตรวจสุขภาพแก่พี่น้องประชาชน เจ้าหน้าที่ ลูกจ้างการรถไฟฯ และครอบครัวฟรี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม จัดกิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ Doctor Train ครั้งที่ 2 ที่โรงรถจักรลำปาง จังหวัดลำปาง โดยมีนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นประธานพิธีเปิด พร้อมด้วยศาสตราจารย์นายแพทย์อนันต์ ศรีเกียรติขจร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) คณะผู้บริหาร รฟท. คณะแพทย์ สจล.และคณะแพทย์โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรฟท. กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในการเปิดให้บริการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคแก่ประชาชน เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง รฟท. และครอบครัว ในจังหวัดลำปาง และพื้นที่ภาคเหนือฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เมื่อวันที่2 - 3 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการรักษาและเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีได้อย่างเท่าเทียมกัน นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ หรือ Doctor Train ถือเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่ รฟท. จัดขึ้น เพื่อมุ่งเสริมสร้างสุขภาพอนามัยที่ดีแก่พนักงาน ครอบครัวคนรถไฟ และประชาชนทั่วไป โดยได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม ในการนำศักยภาพของแต่ละฝ่ายมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการให้บริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และคลินิกเฉพาะทางเคลื่อนที่ทางรถไฟ สำหรับกิจกรรม Doctor Train ที่จังหวัดลำปาง ถือเป็นการจัดขึ้นในครั้งที่ 2 หลังจากประสบความสำเร็จจากการนำร่องครั้งแรกที่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยรฟท. และ สจล.ได้นำทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเฉพาะทางจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร มาให้บริการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรค อาทิ การตรวจโรคหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ตรวจอัลตราซาวนด์หัวใจ (ECHO) ตรวจคัดกรองจอประสาทตา โรคอายุรกรรม ตรวจสุขภาพทั่วไป อาทิ โรคปอด หอบ หืด นอนกรน รวมถึงให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพฟรี แก่ประชาชน เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง รฟท. และครอบครัว ในจังหวัดลำปาง และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมใช้บริการตรวจสุขภาพมากกว่า 622 คน นอกจากนี้ ภายหลังจากเข้ารับบริการหากพบตรวจโรค คณะแพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มีความร่วมมือเพื่อทำการรักษาต่อทันที อีกทั้งยังมีระบบการติดตามอาการ ซึ่งจะมีการพัฒนา chatbot เพื่อเฝ้าติดตามอาการผ่านทางทีมแพทย์ที่มีความชำนาญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากนี้รฟท. และ สจล. มีแผนจะออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนไปยังภูมิภาคอื่นต่อไปอีกด้วย ท้ายนี้ รฟท. ขอส่งมอบความห่วงใย และมุ่งหวังที่จะร่วมส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน พนักงาน ลูกจ้าง รฟท. และครอบครัว เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการรักษา ดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีได้อย่างทัดเทียมกัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62423
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา หนุนสหกรณ์ จ.ตราด ผลิตผลไม้ส่งออกคุณภาพ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 รมช.มนัญญา หนุนสหกรณ์ จ.ตราด ผลิตผลไม้ส่งออกคุณภาพ รมช.มนัญญา หนุนสหกรณ์ จ.ตราด ผลิตผลไม้ส่งออกคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออกจังหวัดตราด จำกัด ต.ทุ่งนนทรี อ.เขาสมิง จ.ตราด พร้อมมอบเงินอุดหนุนชดเชยดอกเบี้ย โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกล่มเกษตรกร ให้กับผู้แทนสหกรณ์ จำนวน 7 แห่ง รวมมูลค่ากว่า 2.29 ล้านบาท ตลอดจนเยี่ยมชมบูธซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ โดยมี นายกัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ นายวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออกจังหวัดตราดจำกัดและสมาชิกสหกรณ์ เข้าร่วม จากนั้น เยี่ยมชมสวนผลไม้ของประธานสหกรณฯ ซึ่งมีพื้นที่ 200 ไร่ ปริมาณผลผลิต ทุเรียน จำนวน 100-120 ตัน/ปี เงาะ จำนวน 100 ตัน/ปี และมังคุด 40-50 ตัน/ปี ณ บ้านเขามะพูด ต.ทุ่งนนทรี อ.เขาสมิง จ.ตราด รมช.มนัญญ กล่าวว่า จ.ตราด เป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตผลไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออก และของประเทศไทย ซึ่งแต่ละปีมีการส่งออกไปยังต่างประเทศจำนวนมาก และได้รับความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพ รสชาติ โดยเฉพาะทุเรียน เงาะ และมังคุด โดยในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่จะออกสู่ตลาดพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด ส่งผลกระทบทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ รมช.มนัญญา กล่าวต่อไปว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญในการผลิตผลไม้ให้มีคุณภาพ ตรงความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อยกระดับผลไม้สู่สากล จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เร่งช่วยเหลือสมาชิกและเกษตรกรให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยมุ่งพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นศูนย์ในการรวบรวมและรับซื้อผลผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาด้านผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้เกษตรกรผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคในระยะยาวต่อไป “สหกรณ์ฯ แห่งนี้ใช้อาคารห้องเย็นใช้ในการเก็บรวบรวมผลผลิตทุเรียนแช่แข็ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากที่ผ่านมามีทุเรียนตกเกรด ตกไซส์ จึงทำให้ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา แต่เมื่อสหกรณ์มีห้องเย็นสามารถแปรรูปเป็นทุเรียนแช่แข็งที่มีรสชาติอร่อย โดยใช้ระบบกลไกสหกรณ์เข้าไปเป็นตัวกลางรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ส่งผลต่อการรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีฯ ได้กำชับ ให้กระทรวงเกษตรฯ เข้าไปให้ความรู้ ทำความเข้าใจกับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเพื่อให้ผลผลิตทุเรียนมีคุณภาพ รสชาติอร่อย ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนทุเรียนตกเกรดน้อยลง และส่งออกทุเรียนสดปริมาณมากขึ้น ถือว่าประสบความความสำเร็จ และยังคงต้องรักษาคุณภาพเพื่อให้ประเทศไทยครองแชมป์ตลาดทุเรียนโลก” รมช.มนัญญา กล่าว สำหรับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออกจังหวัดตราด จัดตั้งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 เป็นสหกรณ์การเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการบริหารจัดการด้านการตลาดผลไม้ และระบายผลผลิตในช่วงที่ออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งส่งเสริมการแปรรูปผลไม้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร สหกรณ์มีรายได้รวมทั้งสิ้น 5.961 ล้านบาท ด้านการดำเนินธุรกิจระหว่างปี มีมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น 3.506 ล้านบาท มีการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ 1. ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 2. ธุรกิจรวบรวมผลิตผลจากสมาชิก 3. ธุรกิจให้บริการรับจ้างแกะทุเรียน 4. การรับฝากเงิน และ 5. แผนธุรกิจรวบรวมผลผลิตผลไม้จากสมาชิกเกษตรกร ในปี 2566 ได้แก่ ทุเรียน จำนวน 10,000 ตัน เพื่อส่งออกต่างประเทศ แบ่งเป็น ทุเรียนแช่แข็ง 8,000 ตัน และทุเรียนผลสด 2,000 ตัน มังคุด จำนวน 100 ตัน เพื่อจำหน่ายในประเทศ และเงาะ จำนวน 100 ตัน เพื่อจำหน่ายในประเทศ นอกจากนี้ สหกรณ์ได้รับเงินอุดหนุนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตามโครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในปี 2561 เป็นรถบรรทุกห้องเย็น ขนาด 6 ล้อ ขนาด 190 แรงม้า จำนวน 1 คัน ปัจจุบัน จ.ตราด มีสถาบันเกษตรกรที่เป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ทั้งสิ้น 79 แห่ง มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นประมาณ 9,380 ล้านบาท สมาชิกรวมทั้งสิ้น 55,000 คน ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือสมาชิกตามหลักการสหกรณ์ได้เป็นอย่างดี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62430
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมต.อนุชา เผยผลการดำเนินงาน
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ​รมต.อนุชา เผยผลการดำเนินงาน ​รมต.อนุชา เผยผลการดำเนินงาน "ราชบัณฑิต" ตลอดปี 65 สูงกว่ามาตรฐาน เตรียมเดินหน้าสร้างองค์ความรู้เข้าถึงทุกกลุ่ม ตอกย้ำองค์กรวิชาการหลักของประเทศ วันนี้ 7 ธันวาคม 2565 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางตรวจเยี่ยมสำนักงานราชบัณฑิตยสภา หน่วยงานในกำกับดูแล ติดตามการดำเนินงานประจำปี 2565 และแผนการปฏิบัติงานปี 2566 รวมถึงความคืบหน้าการบูรณะ “เรือนเจ้าจอมมารดาเลื่อน” ให้เป็นหอประวัติราชบัณฑิตยสภา โดยมี นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารราชบัณฑิตยสภาเข้าร่วม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ที่ปฎิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นจนทำให้ผลการดำเนินงานในปี 2565 สูงกว่าเป้าหมาย และมอบนโยบายให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนถึงบทบาทและความสำคัญของสำนักงานฯ ต่อภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย ขณะเดียวกัน ขอให้ทางสำนักงานฯ นำเสนอเนื้อหาและการดำเนินงานผ่านรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยอาจขอความร่วมมือจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) เพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างครอบคลุม สำหรับแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2566 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีเป้าหมายในการสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ และกำหนดมาตรฐานการใช้ภาษาไทย ให้บริการวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานเอกชน และประชาชน เพื่อให้บรรลุตามผลสัมฤทธิ์ คือ ประชาชนไทยมีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเผยแพร่และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62407
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME D Bank ยกทัพ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ร่วมงาน ‘Thailand Smart Money’ จัดโปรโมชั่นสินเชื่อดี ฟรีค่าธรรมเนียม ติดปีก SMEs เดินหน้าธุรกิจเต็มพิกัด
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 SME D Bank ยกทัพ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ร่วมงาน ‘Thailand Smart Money’ จัดโปรโมชั่นสินเชื่อดี ฟรีค่าธรรมเนียม ติดปีก SMEs เดินหน้าธุรกิจเต็มพิกัด SME D Bank ยกทัพ “เติมทุนคู่พัฒนา” ให้บริการในงาน “Thailand Smart Money กรุงเทพฯ ครั้งที่ 13” เทศกาลการเงิน-การลงทุน ส่งท้ายปี 2565 ระหว่างวันที่ 9-11 ธ.ค.65 ณ ชั้น 5 BCC Hall เซ็นทรัล ลาดพร้าว ที่ “บูธหมายเลข K3” ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย ยกทัพ “เติมทุนคู่พัฒนา” ให้บริการในงาน “Thailand Smart Money กรุงเทพฯ ครั้งที่ 13” เทศกาลการเงิน-การลงทุน ส่งท้ายปี 2565 ระหว่างวันที่ 9-11 ธ.ค.65 ณ ชั้น 5 BCC Hall เซ็นทรัล ลาดพร้าว ที่ “บูธหมายเลข K3” พบกับโปรโมชั่นสินเชื่อพิเศษ เสริมสภาพคล่องกิจการ ผ่าน “โครงการสินเชื่อธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” หรือ “BCG Loan” สนับสนุนให้เอสเอ็มอี มีเงินทุนไปยกระดับพัฒนาสู่ BCG Model ผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน รับสิทธิพิเศษ เมื่อยื่นกู้พร้อมอนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาภายในวันที่ 30 ธ.ค.65 นี้ รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ปีแรกคงที่ 3.99% พร้อมยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ (Front end Fee) และปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 2 ปี ช่วยให้เอสเอ็มอีลดภาระการผ่อนชำระ บริหารจัดการต้นทุนธุรกิจได้เหมาะสม วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 12 ปี อีกทั้ง รับสิทธิเข้าร่วมโครงการ “SME D Coach” ให้คำปรึกษาธุรกิจ โดยโค้ชมืออาชีพ ยกระดับธุรกิจ ช่วยเพิ่มรายได้ ขยายตลาดเติบโต โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น พิเศษ! ยื่นขอสินเชื่อภายในงาน รับบัตร STARBUCKS CARD มูลค่า 200 บาท (จำนวนจำกัด) หรือลงทะเบียนรับคำปรึกษาแนะนำสินเชื่อ รับ Gift Set “SME D Gift ดูแลด้วยใจ” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการ โทร. 02-265-3800 หรือ Call Center 1357
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62422
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand and Brunei to work together and support each other under ASEAN and multilateral frameworks
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 Thailand and Brunei to work together and support each other under ASEAN and multilateral frameworks Thailand and Brunei to work together and support each other under ASEAN and multilateral frameworks December 7, 2022, at 09.30hrs, at the Ivory Room, Thai Khu Fah Building, Government House, H.E. Mr. Pengiran Haji Sahari bin Pengiran Haji Salleh, Ambassador of Brunei Darussalam to Thailand, paid a courtesy call on Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha on occasion of his assumption of the position. Deputy Secretary-General to the Prime Minister and Acting Government Spokesperson Anucha Burapachaisri disclosed gist of the meeting as follows: The Prime Minister welcomed back the ambassador to Thailand as this is his 2nd tenure in the country, and affirmed the Thai Government’s commitment to provide full support. He also expressed confidence that relations between the two countries would be well advanced and tightened with the Ambassador’s experiences and expertise. The Prime Minister also conveyed his profound gratitude toward the Sultan of Brunei Darussalam and Prince Abdul Mateen for their attendance at the 29th APEC Economic Leaders’ Meeting, and the royal support provided to Thailand’s hosting of the APEC 2022. He hoped that outcomes of the APEC Economic Leaders’ Meeting would pave ways and opportunities to private sector of the APEC economies and ASEAN member countries in a sustainable manner. The Bruneian Ambassador expressed pleasure to meet with the Prime Minister today, and congratulated Thailand’s success as host of the APEC Economic Leaders’ Meeting. He also commended the country’s effective response to COVID-19 which has led to economic recovery and revival of tourism activities. Relations between Thailand and Brunei have been close and cordial with constant exchange of high-level visits, both at the royal family and the government levels. Brunei wishes to seek further cooperation with Thailand in the areas of the latter’s expertise, especially agriculture, livestock, trade and investment, and tourism, and to learn from Thailand on developing community businesses. Both parties agreed that it is important for Thailand and Brunei to strengthen relations and cooperation amidst the changing global situation and challenges, and to support each other at the international stage. The two countries should join hands in promoting food security and energy security. Thailand stands ready to share its experiences and expertise on agriculture, livestock, aquaculture, healthcare tourism, and Halal food production. The Bruneian Ambassador was of the view that there are plenty of potentials for the two countries to tighten cooperation, especially in the areas of trade and investment, tourism, cultural exchange, labor, and empowerment of grassroots economy. On multilateral cooperation, Thailand stands ready to cooperate with Brunei to reinforce the ASEAN Community. The Prime Minister commended Brunei’s success on ASEAN chairmanship last year. The Ambassador affirmed Brunei’s commitment to forge cooperation with Thailand under the ASEAN framework and to support each other at the international stage.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62427
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รัฐบาลอนุมัติเพิ่มราคากลางจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ​รัฐบาลอนุมัติเพิ่มราคากลางจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า รัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมโคนมไทย โดยอนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม ในโครงการอาหารเสริมโรงเรียน หรือ นมโรงเรียน 0.31 บาท/ถุงหรือกล่อง แบ่งเป็น นมพาสเจอร์ไรส์ จากราคา 6.58 บาท เป็น 6.89 บาท/ถุง และ นมยู เอช ที จาก 7.82 บาท เป็น 8.13 บาท/กล่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับราคารับซื้อน้ำนมโคจากเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น 1.50 บาท/กก. ตามต้นทุนการผลิตน้ำนมที่เพิ่มขึ้น และให้เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล- ประถมศึกษาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่อง โดยการปรับราคาในครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดซื้อนมโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนโรงเรียนในสังกัด กทม. และเมืองพัทยา สามารถปรับแผนงบประมาณก่อนได้หากยังไม่เพียงพอให้เสนอขอจากสำนักงบประมาณต่อไป “สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62396
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย. เปิดเวที KM & INNO day 2022 โชว์ไอเดียสร้างสรรค์สู่องค์กรนวัตกรรม
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 บสย. เปิดเวที KM & INNO day 2022 โชว์ไอเดียสร้างสรรค์สู่องค์กรนวัตกรรม บสย. เปิดเวทีสร้างสรรค์ KM & INNO day 2022 จัดประกวดโครงการ IDEA สู่ INNO ต่อยอดแนวคิด สู่องค์กรนวัตกรรม นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ต้อนรับ นายสุพัฒน์ เมธีวรพจน์ ประธานกรรมการด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม บสย. ในโอกาสประธานเปิดงาน “KM & INNO day 2022” และกรรมการตัดสิน ร่วมด้วย นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานการเงิน นางดุสิดา ทัพวงษ์ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ ในโครงการ “IDEA สู่ INNO” เปิดเวทีให้พนักงาน บสย. ในฝ่ายงานต่างๆ ได้นำเสนอไอเดียใหม่ๆ จุดประะกายความคิดสร้างสรรค์ เปิดกว้างให้ทุกฝ่ายคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการพัฒนายกระดับการทำงานสู่องค์กรนวัตกรรม ภายใต้โจทย์ แตกต่าง ใหม่ และ สร้างคุณค่า โดยลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงในการทำงาน โครงการ IDEA สู่ INNO เป็นหนึ่งในแผนการจัดการนวัตกรรม ปี 2564-2568 รองรับเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (Enablers) 4 ด้าน คือ 1.การเชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนวิสาหกิจ 2.การมีส่วนร่วมจากบุคลากร บสย. ทุกระดับ 3.การประเมินเชิงระบบ ครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรม ได้แก่ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ กระบวนการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 4.การบูรณาการการจัดการนวัตกรรมกับงานประจำ ตามภารกิจและยุทธศาสตร์ของ บสย. โดยในปี 2565 มีผลงานดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ประจำปี 2565 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการสอบทานหนังสือค้ำประกันภายหลังการค้ำประกัน โดยใช้เทคโนโลยี OCR (Optical Charcter Recognition) เป็นเครื่องมือแปลงไฟล์ข้อมูล หรือรูปภาพถูกจัดเก็บ ค้นหา แก้ไข และวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น ลดปริมาณเอกสาร (Hard Copy) สู่ไฟล์อิเล็คทรอนิกส์ พร้อมนำ Text Compare ในการตรวจสอบและค้นหาความแตกต่าง แทน MS Word หรือ Google Docs ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อย โครงการ TCG Platform on Line OA พัฒนาโปรแกรม Line เข้าถึงบริการต่าง ๆ ของ บสย. จัดระเบียบ จัดทำระบบสมาชิก เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและบทบาทหน้าที่ของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนา Chatbot เพื่อลูกค้า รวมถึงการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Engagement) โครงการหลักสูตรสร้างชีวิตใหม่ พัฒนาหลักสูตรอบรมด้านการประกอบอาชีพในรูปแบบ VDO เพื่อผู้ต้องขัง สามารถจัดการฝึกอบรมได้ทุกช่วงเวลา และสร้างข้อมูลเชื่อมโยงความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ แก่ผู้ต้องขังที่ได้รับอิสรภาพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62399
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. เตรียมโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 งวดที่ 8 อีกกว่า 500 ล้านบาท 8 ธ.ค. นี้
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ธ.ก.ส. เตรียมโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 งวดที่ 8 อีกกว่า 500 ล้านบาท 8 ธ.ค. นี้ ธ.ก.ส. ได้เตรียมโอนเงินส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในงวดที่ 8 เข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เป็นจำนวนเงิน 557.58 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 192,775 ครัวเรือน นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 วงเงินงบประมาณตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 18,700.13 ล้านบาท และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ โดยที่กลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้เริ่มโอนเงินประกันรายได้ งวดที่ 1-7 สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม ถึง 25 พฤศจิกายน ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เป็นจำนวนเงิน 6,697.65 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 2.33 ล้านครัวเรือน สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวในช่วงวันที่ 26 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2565 ธ.ก.ส. ได้เตรียมโอนเงินส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในงวดที่ 8 เข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เป็นจำนวนเงิน 557.58 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 192,775 ครัวเรือน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2565/66 กับกรมส่งเสริมการเกษตร และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จะจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวและคำนวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชยส่งให้ ธ.ก.ส. ประมวลผลเพื่อดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ ผู้ปลูกข้าว ​ ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถรตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plus ตลอด 24 ชั่วโมงและจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ สำหรับเกษตรกรที่มีข้อสอบถามเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวนี้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62428
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘รมช.มนัญญา’ ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง จ.ตราด
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ‘รมช.มนัญญา’ ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง จ.ตราด ‘รมช.มนัญญา’ ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง จ.ตราด ป้องกันปัญหาอุทกภัย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 30,000 ไร่ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามความคืบหน้าแผนงานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง ต.หนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด โดยมี นายกัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายเศกสิทธิ์ โพธิ์ชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศกรรมชลประทาน กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกร เข้าร่วม ณ สำนักงานเทศบาลตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ทั้งนี้ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จ.ตราด มีลักษณะของโครงการเป็นเขื่อนดิน ก่อสร้างปิดกั้นคลองแอ่ง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำเขาสมิง สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 35.38 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เมื่อโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้พื้นที่กว่า 30,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองบอน ตำบลช้างทูน และตำบลบ่อพลอย จ.ตราด โดยมีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 4 ปี (2566 - 2569) งบประมาณก่อสร้าง 680 ล้านบาท เป็นการช่วยป้องกันปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองแอ่งและด้านท้ายน้ำ และแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำต้นทุนในทำการเกษตรให้แก่เกษตรกรในฤดูแล้ง รวมถึงเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับเพาะปลูก อุปโภค-บริโภค ตลอดจนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น “จังหวัดตราดเป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกผลไม้ที่สำคัญและมีชื่อเสียง อาทิ ทุเรียน เงาะ ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำสำหรับการเพาะปลูกปริมาณมาก ที่ผ่านมาประสบปัญหาอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งอ่างเก็บน้ำดังกล่าวสามารถช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยได้เป็นอย่างดี ลดผลกระทบและความเสียหายในพื้นที่เกษตร อย่างไรก็ตามต้องบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน” รมช.มนัญญาฯ กล่าว สำหรับแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ จ.ตราด มีทั้งหมด 6 โครงการ ประกอบด้วย 1. อ่างเก็บน้ำคลองสะพานหินพร้อมระบบส่งน้ำ (ดำเนินการแล้วเสร็จ) ความจุอ่าง 20 ล้าน ลบ.ม. 2. อ่างเก็บน้ำคลองพร้าว (อยู่ระหว่างดำเนินการ ปี 2564 - 2567) ความจุอ่าง 2.35 ล้าน ลบ.ม.พื้นที่รับประโยชน์ 1,780 ไร่ 3. อ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง (ดำเนินการ ปี 2566 - 2569) ความจุอ่าง 35.38 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 30,000 ไร่ 4. อ่างเก็บน้ำห้วยสะตอ (อยู่ระกว่างดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่) ความจุอ่าง 74.65 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 75,490 ไร่ 5. ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองโสน (อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบ) ความจุอ่าง65 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 53,300 ไร่ และ 6. อ่างเก็บน้ำวังตาสังข์ (อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเหมาะสม) ความจุอ่าง 30 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 80,000 ไร่
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62418
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"เอนก" ประกาศข่าวดี "ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA ของไทยติดอันดับหนึ่งคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงสุดในอาเซียน"
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 "เอนก" ประกาศข่าวดี "ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA ของไทยติดอันดับหนึ่งคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงสุดในอาเซียน" "เอนก" ประกาศข่าวดี "ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA ของไทยติดอันดับหนึ่งคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงสุดในอาเซียน" เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประกาศข่าวดีว่า ผลการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงสุดของโลก ซึ่งเพิ่งประกาศผลในวันนี้ พบว่า "ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ลันตา (LANTA) ของกระทรวง อว. โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับการประเมินว่าเป็นซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอาเซียน" โดยเป็นอันดับที่ 20 ของทวีปเอเชีย และอันดับที่ 70 ของโลก มีประสิทธิภาพในการคำนวณที่สูงถึง 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่ติดอยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก ซึ่งเป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโนโลยีที่ต้องอาศัยการคำนวณขั้นสูงของประเทศไทยให้อยู่ในระดับแนวหน้าของโลกแล้ว รมว.อว. กล่าวต่อว่า "รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนการปฏิรูปอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศอย่างเต็มที่ ซึ่งมีการพัฒนาจัดระบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในรูปแบบใหม่ ส่วนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็ได้สนับสนุนการวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนักวิจัยในระดับมาตรฐานโลก โดยในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยมีความพร้อมอย่างมาก เป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญ อยู่ในระดับโลก เรามีเครื่องซินโครตรอน กล้องดูดาวขนาดใหญ่ หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ และเครื่องโทคาแมค ซึ่งแต่ละสถานีวิจัยนั้นเป็นอันดับหนึ่งหรือเครื่องเดียวในอาเซียน และล่าสุดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของไทยก็ได้รับการจัดเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอาเซียนแล้ว" ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ลันตา หรือ LANTA เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย เป็นการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวง อว. ผ่านเครือข่ายซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ไทย (Thai SC) ซึ่งจัดตั้งที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. สำหรับการใช้งานของทุกหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนนักวิจัยจากทั้งภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย หน่วยงานจากภาครัฐ รวมทั้งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในภาคเอกชนและอุตสาหกรรม และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีการคำนวณของไทยให้อยู่ในระดับนานาชาติ ซึ่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ลันตานี้สามารถใช้งานได้กับหัวข้อวิจัยที่สำคัญได้หลากหลาย ลดระยะเวลาการวิจัยที่ต้องคำนวณอย่างมากได้หลายร้อยเท่า เช่น การวิจัยการแพทย์แม่นยำ การวิจัยพัฒนายาชนิดใหม่ การออกแบบชุดตรวจวินิจฉัย การจำลองสภาพภูมิอากาศตามเวลาจริงโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม การคำนวณออกแบบวัสดุใหม่ แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง การศึกษาการทำงานของชีวโมเลกุล และความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยาของไทย และในด้านการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างรวดเร็ว โดยนำไปใช้ประโยชน์การบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการจราจร การบริหารการสาธารณสุข หรือประมวลข้อมูลการกระจายรายได้ เป็นต้น ด้าย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สวทช. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า LANTA เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่น Cray EX Supercomputer ออกแบบระบบโดยทีมไทย ผลิตโดยบริษัท Hewlett Packard Enterprise (HPE) ประกอบด้วยหน่วยประมวลผล CPU AMD EPYC เจนเนอเรชั่น ที่ 3 (Milan) รวมทั้งสิ้น 31,744 cores และหน่วยประมวลผล GPU รุ่น NVIDIA A100 ที่เหมาะสมสำหรับการคำนวณด้าน AI ขั้นสูงและการจำลอง simulation ทางวิทยาศาสตร์จำนวน 704 หน่วย มีระบบจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงรุ่น Cray ClusterStor E1000 ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่า 10 เพตะไบต์ (petabytes) หรือ 10,000 ล้านล้านไบต์ โดยใช้การเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายประสิทธิภาพสูง HPE Slingshot Interconnect ที่มีความเร็วในการส่งรับข้อมูล 200 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งทำให้ LANTA มีประสิทธิภาพการประมวลผลสูงสุดในทางทฤษฎี (theoretical peak performance) อยู่ที่ 13.7 petaFLOPS และประสิทธิภาพการคำนวณสูงสุดที่วัดได้ (maximum LINPACK performance) อยู่ที่ 8.1 petaFLOPS หรือ 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที (ดูข้อมูลได้ที่https://top500.org/system/180125/) นอกจากนี้ LANTA เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ (warm water cooling) ระบบแรกของประเทศไทย ซึ่งมีประสิทธิภาพการระบายความร้อนสูงกว่าการระบายความร้อนด้วยอากาศ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ในระยะยาว และเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการเข้าสู่ยุคของ Green Computing เช่นเดียวกับศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำทั่วโลก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62394
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เอกอัครราชทูตบรูไนฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีพร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว รวมถึงประสานความร่วมมือในกรอบอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 เอกอัครราชทูตบรูไนฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีพร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว รวมถึงประสานความร่วมมือในกรอบอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศ เอกอัครราชทูตบรูไนฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีพร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว รวมถึงประสานความร่วมมือในกรอบอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศ วันนี้ (7 ธันวาคม 2565) เวลา 9.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเปองีรัน ฮาจี ซาฮารี บิน เปองีรัน ฮาจี ซัลเละฮ์ (Mr. Pengiran Haji Sahari bin Pengiran Haji Salleh) เอกอัครราชทูตบรูไนดารุสซาลามประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีในโอกาสรับหน้าที่ในประเทศไทย โดยทราบว่าเป็นการประจำการในประเทศที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งที่สองแล้ว รัฐบาลไทยพร้อมสนับสนุนการทำงานอย่างเต็มที่ เชื่อมั่นว่าประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเอกอัครราชทูตบรูไนฯ จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-บรูไนฯ ให้ก้าวหน้า แน่นแฟ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ และเจ้าชายอับดุล มาติน ที่เสด็จฯ เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และทรงสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพของไทยมาโดยตลอด หวังว่าจะผลลัพธ์จากการประชุมฯ จะช่วยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ภาคเอกชนและกระตุ้นการดำเนินธุรกิจในเขตเศรษฐกิจเอเปคและอาเซียนเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เอกอัครราชทูตบรูไนฯ รู้สึกยินดีที่ได้มาพบปะกับนายกรัฐมนตรีในวันนี้ และขอบคุณการต้อนรับที่อบอุ่นจากรัฐบาลนับตั้งแต่ที่เดินทางมาถึงไทย พร้อมกล่าวชื่นชมต่อความสำเร็จของไทยในการเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 นำมาซึ่งผลลัพธ์ของการประชุมที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงชื่นชมต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวฟื้นตัว ทั้งนี้ ไทยและบรูไนฯ มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาโดยตลอด มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงทั้งระดับราชวงศ์ และผู้นำรัฐบาลระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง บรูไนฯ ประสงค์แสวงหาความร่วมมือกับไทยมากขึ้นในด้านที่ไทยเชี่ยวชาญทั้งการเกษตร ปศุสัตว์ การค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงการเรียนรู้ประสบการณ์จากไทยเรื่องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจของชุมชน นายกรัฐมนตรีและเอกอัครราชทูตบรูไนฯ ต่างเห็นพ้องว่าสถานการณ์โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลง และความท้าทาย นายกรัฐมนตรีเห็นว่าไทยและบรูไนฯ ควรกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งการประสานท่าทีในเวทีระหว่างประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน โดยไทยพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ไทยมีความเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการผลิตอาหารฮาลาล ด้านเอกอัครราชทูตบรูไนฯ เห็นว่าทั้งสองประเทศสามารถเพิ่มพูนความร่วมมือได้อีกมาก ทั้งการเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความร่วมมือด้านแรงงาน รวมถึงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สำหรับความร่วมมือพหุภาคี นายกรัฐมนตรีพร้อมร่วมมือกับบรูไนฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้อาเซียนมีความเป็นปึกแผ่นอย่างเข้มแข็ง และกล่าวชื่นชมการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของบรูไนฯ เมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางความท้าทายอย่างมาก ซึ่งเอกอัครราชทูตบรูไนฯ ยินดีร่วมมือกับไทยเสริมสร้างความร่วมมือในกรอบอาเซียน เพื่อความเป็นปึกแผ่นในอาเซียน ในโอกาสนี้ ทั้งสองยืนยันความพร้อมกระชับความร่วมมือ บทบาท และการประสานท่าทีในเวทีระหว่างประเทศร่วมกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62406
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพสู่การเป็นท่าเรือชั้นนำด้วยการให้บริการเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพสู่การเป็นท่าเรือชั้นนำด้วยการให้บริการเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร ... วันพุธที่ 7 ธ.ค. 65 เวลา 13.00 น. ณ สำนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารการท่าเรือฯ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายที่มอบให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดทำแผนการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพฯ สู่การเป็นท่าเรือชั้นนำด้วยการให้บริการเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร ควบคู่กับการบริหารจัดการท่าเรือ โดยพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้ 1. โครงการจัดตั้งเขตปลอดอากรในพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพ (Bangkok Port Free Zone) สร้างกิจกรรมใหม่ ยกระดับการให้บริการ สร้างรายได้ให้กับท่าเรือกรุงเทพเพิ่มเติม 2. แนวทางการเพิ่มรายได้ของการท่าเรือฯ ภายในพื้นที่/นอกพื้นที่เขตรั้วศุลกากร 2.1 ภายในพื้นที่เขตรั้วศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ - โครงการความร่วมมือทางธุรกิจกับ บ.ไปรษณีย์ไทยฯ แนวทางความร่วมมือ Port to Door, บริการรับ – ส่งสินค้า, บริหารจัดการรถบรรทุก Truck Queue Management, GPS - Tracking - โครงการพัฒนาระบบ E-DO สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาใช้บริการที่มารับมอบสินค้าและตู้สินค้าให้แก่ผู้บริหารและพนักงานการท่าเรือฯ 2.2 ภายนอกพื้นที่เขตรั้วศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ - การนำพื้นที่แปลงย่อยที่เหมาะสมมาเปิดประมูล - การนำพื้นที่แปลงใหญ่ที่มีศักยภาพมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ พัฒนาพื้นที่ด้านการค้า (สำนักงาน ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์แสดงสินค้า นิทรรศการ ศูนย์การประชุม พื้นที่ค้าปลีก และธนาคาร ) 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือกรุงเทพ เพื่อรองรับการพัฒนาสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก 4. แนวทางความร่วมมือระหว่างท่าเรือกรุงเทพกับท่าเรือเอกชนในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดประโยชน์ร่วมกัน - โครงการท่าเรือไอซีดีกรุงเทพอยุธยา เพิ่มช่องทางการขนส่งตู้สินค้าจากทางบกมาสู่ทางน้ำ(Shift Mode) เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้า แก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณท่าเรือฯ และช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62425
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอบ 3 ปี กสศ.ช่วยเหลือนักเรียนยากจนกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง ด้วยงบประมาณ 2.18 หมื่นล้านบาท เผยอัตราการเข้าเรียนสูงขึ้น ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นรายบุคคล
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 รอบ 3 ปี กสศ.ช่วยเหลือนักเรียนยากจนกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง ด้วยงบประมาณ 2.18 หมื่นล้านบาท เผยอัตราการเข้าเรียนสูงขึ้น ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นรายบุคคล รอบ 3 ปี กสศ.ช่วยเหลือนักเรียนยากจนกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง ด้วยงบประมาณ 2.18 หมื่นล้านบาท เผยอัตราการเข้าเรียนสูงขึ้น ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นรายบุคคลตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษา สร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ประสานกว่า 200 องค์กร วันที่ 7 ธันวาคม 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ดำเนินนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ และมีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โดยต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ได้ดำเนินการในหลายส่วน รวมถึงการดูแลนักเรียน นักศึกษาผู้ขาดโอกาสแบบพุ่งเป้าผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทั้งนี้ คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของ กสศ. ได้รายงานถึงผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานว่ารอบ 3 ปี ( พ.ค. 61-พ.ค. 65) ว่า กศส. ได้ใช้งบประมาณจากทุกแหล่งเงิน จำนวน 21,886.43 ล้านบาท ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาทั้งในและนอกระบบให้ได้รับประโยชน์รวมกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง(นับตามครั้งที่มีการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เด็ก 1 คน มากกว่า 1 ครั้งต่อปี) ประกอบด้วย 1) เด็กและเยาวชนในระบบการศึกษา 3.02 ล้านคน/ครั้ง แยกเป็น นักเรียนทุนเสมอภาค 2.97 ล้านคน/ครั้ง นักเรียนทุนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา 8,013 คน และเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 45,028 คน 2) เด็ก เยาวชน และแรงงานนอกระบบการศึกษา 44,829 คน 3)ครู 26,648 คน น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กสศ. ได้ให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ขาดโอกาสโดยมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานเชิงระบบ เช่น เปลี่ยนแปลงระบบการคัดกรองความยากจน โดยสร้างแนวทางการค้นหาเด็กนักเรียนยากจนร่วมกับครูในพื้นที่ตามหลักการความเป็นธรรมและโปร่งใส มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนโดยตรงโดยพิจารณาจากความจำเป็นและความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล จากระบบเดิมที่เป็นการให้เงินงบประมาณกับโรงเรียนและจ่ายเงินรายหัวตามจำนวนนักเรียนเพื่อให้โรงเรียนไปจัดการศึกษาเพียงอย่างเดียว การดำเนินงานดังกล่าวได้แสดงผลสัมฤทธิ์ผ่านตัวชี้วัดหลายประการ อาทิ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาที่มีอัตราการเข้าเรียนน้อยกว่าร้อยละ 85 ได้ลดลงจาก 18,345 คน ในภาคเรียน 1/2563 เหลือ 1,024 คน ในภาคเรียน 2/2563 และเด็กยากจนและยากจนพิเศษ 11,783 คน มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยสามารถเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย (TCAS64) ในสถาบันอุดมศึกษา 69 แห่งทั่วประเทศ น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า มีการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้และการบริหารภายใน โดยสามารถยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้และทักษะของนักเรียนกว่า 190,000 คน ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อจัดการศึกษาตามความต้องการที่หลากหลายเพื่อคุณภาพของผู้เรียน ขณะที่เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาใน 20 จังหวัดนำร่อง มีโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพตามศักยภาพ ส่วนแรงงานนอกระบบได้รับการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น ทักษะชีวิตด้านการเงิน การบริหารจัดการสำหรับศตวรรษที่ 21 และทักษะอาชีพ นอกจากนี้ กสศ. ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ “iSEE” โดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ 6 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ทำให้สามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสได้ตรงตามเป้าหมาย มีระบบการติดตามนักเรียนทุนรายบุคคลผ่านเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลและใช้ติดตามรายที่หลุดออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษา และมีการระดมความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้มีส่วนสนับสนุน กสศ. ทั้งในรูปแบบการระดมทุนและความร่วมมือกว่า 200 องค์กร ทั้งนี้ การประเมินผลและติดตามผลสัมฤทธิ์ของ กสศ. จะมีขึ้นทุก 3 ปี ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 44 พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้ต้องมีการรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ ทุก 3 ปี พร้อมกับรายงานให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ทราบ และเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบเพื่อความโปร่งใส ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดความเหลื่อมล้ำและร่วมกันมอบโอกาสผ่านการศึกษาแก่ผู้ยากจนในสังคม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62384
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดมหาดไทยเผยกลไกมหาดไทยในระดับพื้นที่บูรณาการทุกหน่วยลุยกวาดล้างยาเสพติดเต็มรูปแบบ เพื่อให้ลูกหลานของพวกเราทุกคนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ปลัดมหาดไทยเผยกลไกมหาดไทยในระดับพื้นที่บูรณาการทุกหน่วยลุยกวาดล้างยาเสพติดเต็มรูปแบบ เพื่อให้ลูกหลานของพวกเราทุกคนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน ปลัดมหาดไทยเผยกลไกมหาดไทยในระดับพื้นที่บูรณาการทุกหน่วยลุยกวาดล้างยาเสพติดเต็มรูปแบบ เพื่อให้ลูกหลานของพวกเราทุกคนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าได้เน้นย้ำให้ทุกพื้นที่เร่งนำตัวผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่ระบบบำบัดฟื้นฟู โดยยกกรณีตัวอย่างที่มีผลงานเป็นรูปธรรมของอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิถต์ โดยการอำนวยการของ นายปรีชา สุทนต์ นายอำเภอน้ำปาด/ผอ.ศป.ปส.อ.น้ำปาด ได้มอบหมายให้ นายทวีศักดิ์ พุ่มมรดก ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายนพนิวัฒน์ อัคจร ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง พร้อมด้วยกำลัง อส.อ.น้ำปาดที่ 4 จนท.ตร.สภ.น้ำปาด จนท.รพ.น้ำปาด ผู้ใหญ่บ้าน/ผช.ผญบ./ชรบ/อสม.หมู่ที่ 4 ตำบลแสนตอ ดำเนินการ Re-X-ray ออกปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปี 2566 เร่งด่วน 3 เดือน (1 พฤศจิกายน 2565-31 มกราคม 2566) ในพื้นที่บ้านแสนตอ หมู่ที่ 4 ตำบลแสนตอ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีผลการปฏิบัติ คือ ได้ทำการตรวจสอบบุคคลและสุ่มตรวจเพื่อหาสารเสพติดในร่างกายบุคคลเป้าหมายในบัญชีผู้ค้า/ผู้เสพของอำเภอน้ำปาด จำนวน 18 ราย ผลปรากฏว่าพบผู้ที่มีสารเสพติดในปัสสาวะจำนวน 5 ราย จึงนำตัวส่งศูนย์คัดกรองเพื่อเข้ารับการบำบัดต่อไป พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์ทำการตรวจปัสสาวะพระภิกษุสงฆ์ วัดต้นตะคร้อ และวัดชุมพล จำนวน 5 รูป ซึ่งผลการตรวจปัสสาวะเป็นลบ (ปกติ) ทุกรูป “สำหรับกรณีปฏิบัติการ “กวาดบ้านตัวเองให้สะอาด” ภายใต้แนวคิดที่ว่าก่อนที่จะดำเนินการเรื่องยาเสพติด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องบริสุทธิ์และไม่เกี่ยวข้องกับเสพยาเสพติด ซึ่งในวันนี้มีตัวอย่างผลการปฏิบัติที่น่าสนใจ เช่น ที่ว่าการอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นายธนกฤต ฉันทะจำรัสศิลป์ นายอำเภอดอยสะเก็ด/ผอ.ศป.ปส.อ.ดอยสะเก็ด ได้สั่งการให้ฝ่ายความมั่นคงร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอยสะเก็ด ตรวจหาสารเสพติดในร่างกายให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน และแพทย์ประจำตำบล ทั้ง 14 ตำบล รวมจำนวนทั้งสิ้น 353 คน ซึ่งผลการตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย ไม่พบสารเสพติดในร่างกายแต่อย่างใด (ผลตรวจเป็นลบทั้งหมด) ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นแม่ทัพคนสำคัญในการกำกับติดตามการตรวจสอบบุคลากรในสังกัดมิให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นประจำและต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด "ส่วนราชการ/หน่วยงาน สีขาวปลอดยาเสพติด" และสำหรับในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ได้ดำเนินการมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเร่ง Re X-Ray สถานที่สุ่มเสี่ยง เช่น สถานบริการและสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ พื้นที่ชุมชนเป้าหมายที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ซึ่งหลายพื้นที่ได้ปล่อยแถวชุดปฏิบัติการ เข้ากวาดล้างจับกุม และกดดันป้องปราม รวมทั้งสุ่มตรวจสถานบันเทิงต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ยังกล่าวต่อด้วยว่า สำหรับในมิติด้านการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดนั้น กระทรวงมหาดไทยยังคงเดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการทำสงครามกับยาเสพติดทุกชนิดด้วยการบูรณาการการทำงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ป.ป.ส. รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น โดยใช้ทุกกลไกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และลงพื้นที่ลุยกวาดล้างผู้กระทำความผิดอย่างแข็งขัน จริงจัง และต่อเนื่อง ทั้งผู้ค้ารายใหญ่และผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่ของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีตัวอย่างผลการปฏิบัติที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย พล.ต.ต.ประสงค์ เรืองเดช ผบก.ภ.จว.อุบลราชธานี พ.ต.อ.ชาญชัย อินนรา ผกก.สส.ภ.จ.อุบลราชธานี สนธิกำลังกับ พล.ต.ธีรเดช กลัมพสุต ผอ.สปข.ศรภ. พล.ร.ต.สมาน ขันธพงษ์ ผบ.นรข. พล.ต.ต.สถาพร เอมโอษฐ์ ผบก.ภ.จว.อำนาจเจริญ พล.ต.วีระยุทธ รักศิลป์ ผบ.กกล.สุรนารี พ.ต.อ.ชัยกฤต โชติวรรณ ผกก.สภ.เขมราฐ พ.ต.อ.ชัชชัย สำเนียง ผกก.ตม.จว.อุบลราชธานี พ.ต.อ.รินณวัฒน์ ภูวัฒนติกานต์ ผกก.ตชด.22 น.อ.วรรณะ เกื้อทิพย์ ผบ.นรข.เขตอุบลราชธานี และ นายสะอาด วงศ์รักษ์ นายอำเภอเขมราฐ นำกำลังทั้งในและนอกเครื่องแบบ ขับรถยนต์ติดตามรถยนต์ต้องสงสัยจากพื้นที่ริมฝั่งโขงด้านอำเภอเขมราฐ จนสามารถจับกุมตัวนายธนพลฯ อายุ 22 ปี ชาวอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ได้ที่บ้านดอนหวาย อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร พร้อมด้วยของกลางยาบ้า จำนวน 56,000 เม็ด จึงได้นำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 2) จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ต.ท.ศักดิ์ดา ทองประพันธ์ รอง ผกก.สส.สภ ทุ่งสง และ พ.ต.ท.ธรรมราช ส้มเขียวหวาน สว.สส. สภ.ทุ่งสง เดินทางไปตรวจสอบผู้บาดเจ็บจากเหตุรถกระบะเสียหลักตกร่องกลางถนนอัดก็อปปี้ต้นไม้ จำนวน 2 ราย ที่โรงพยาบาลทุ่งสง ซึ่งหลังจากตรวจค้นรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุแล้วพบยาบ้า 4,000 เม็ด จึงตรวจค้นที่ผู้บาดเจ็บทั้งสองเพิ่มเติมพบยาบ้าอีก 6,200 เม็ด รวม 10,200 เม็ด จึงอายัดตัวผู้บาดเจ็บทั้งสองไว้เพื่อดำเนินคดีต่อไป 3) จังหวัดยโสธร ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดยโสธรสรุปผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดยโสธรห้วงระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา สามารถตรวจยึดของกลางยาบ้า จำนวน 20,789 เม็ด และไม่สามารถนับจำนวนได้ จำนวน 6 ถุง จับกุมผู้ต้องหาได้ 2 ราย “กระทรวงมหาดไทย เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการทำสงครามกับยาเสพติดทุกชนิดด้วยการบูรณาการการทำงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ป.ป.ส. รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น โดยใช้ทุกกลไกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ลงพื้นที่ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดอย่างแข็งขัน พร้อมทั้งนำผู้หลงผิดเข้ารับการบำบัดรักษา เพื่อคืนคนดีให้กับสังคม ให้กับครอบครัว และหมั่นลงพื้นที่ติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ปัญหายาเสพติดเป็นปัจจัยทำลายคนบริสุทธิ์อีก อันจะทำให้ลูกหลานของพวกเราทุกคนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข พร้อมทั้งได้กำชับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์หมายเลขติดต่อในการแจ้งเบาะแส โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 ชั่วโมง ซึ่งพี่น้องประชาชนสามารถจดจำและติดต่อได้ง่าย อันเป็นการอำนวยความสะดวกและเป็นการเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้าย #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62410
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยนำคณะผู้บริหารระดับสูง จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยนำคณะผู้บริหารระดับสูง จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริ ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยนำคณะผู้บริหารระดับสูง จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา 7 ธันวาคม 2565 วันนี้ (7 ธ.ค. 65) เวลา 06.30 น. ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศล และพิธีถวายพระพร เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา 7 ธันวาคม 2565 โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม นายสมคิด จันทมฤก นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม นางจิรวรรณ เพ็ญพาส นางปวีณ์ริศา เกิดสม นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ร่วมพิธี โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำคณะผู้บริหารระดับสูง และภาคีเครือข่าย ร่วมตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 20 รูป เพื่อถวายเป็นพระกุศล โดยได้รับเมตตาจากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นำพระภิกษุสงฆ์และสามเณร รับบิณฑบาต เสร็จแล้ว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ถวายธูปเทียนแพ เบื้องหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ถวายแจกันดอกไม้ เบื้องหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา จากนั้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นำผู้ร่วมพิธีฯ กล่าวถวายพระพร ความว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงมีพระปณิธานที่มุ่งมั่น แน่วแน่ ในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธาน และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด บนฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยทรงทุ่มเทอุทิศพระองค์ ปฏิบัติบำเพ็ญพระกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ สนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระวิริยะ อุตสาหะ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่พสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม รวมถึงผู้ต้องขัง โดยได้น้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน “โครงการราชทัณฑ์ปันสุข” ด้วยการประสานความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป ตามหลักมนุษยธรรม รวมไปถึงการน้อมนำพระบรมราโชบายที่จะให้อนุรักษ์ป่าและช้าง และการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างอย่างมีสุข ผ่าน “โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์” และ “โครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (โครงการพัฒนาชุมชน ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี)” สนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชปณิธานสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อช่วยเหลือราษฎรผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตชายแดนที่ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นพื้นที่มรดกโลกของประเทศไทยที่ได้รับการดูแลรักษา คนอยู่กับป่าอย่างสมดุล และรักษาต้นน้ำ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อีกทั้งทรงรับเป็นประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ภัยพิบัติที่รุนแรงให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตอย่างปกติสุขสนับสนุนให้ผู้ทุกข์ยากน้อยกว่า ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากมากกว่า ผู้ที่แข็งแรงช่วยผู้อ่อนแอ ภายใต้แนวคิด “แบ่งปัน พอเพียง ยั่งยืน” โดยทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และพระราชทานพระยศเป็น พลเอกหญิง” “เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ตลอดจนพระเทวานุภาพแห่งพระสยามเทวาธิราช และพระบรมเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ ได้โปรดอภิบาลรักษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ให้ทรงพระเกษมสำราญ มีพระชันษายิ่งยืนนาน พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลทั่วทิศานุทิศ สถิตเป็นมิ่งขวัญร่มเกล้าของพสกนิกรชาวไทยตลอดกาลนาน”นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62412
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ชัยวุฒิ” โชว์เน็ตประชารัฐ ลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิทัล ในการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ที่เกาหลีใต้ รับความท้าทาย ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 “ชัยวุฒิ” โชว์เน็ตประชารัฐ ลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิทัล ในการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ที่เกาหลีใต้ รับความท้าทาย ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล “ชัยวุฒิ” โชว์เน็ตประชารัฐ ลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิทัล ในการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ที่เกาหลีใต้ รับความท้าทาย ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เกาหลีใต้ (10 พ.ย.65) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค Asia – Pacific Digital Ministerial Conference สมัยที่ 1 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Ministry of Science and ICT) ของสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) โดยมี ดร. ลี จอง โฮ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธานการประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วยรัฐมนตรี ผู้แทนระดับสูง ร่วมด้วยนางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา เลขาฯ เอสแคป เข้าร่วมการประชุมฯ โดยในการประชุมฯ ได้มีการหารือสถานะ ความท้าทาย และแนวทางการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล การลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างความร่วมมือดิจิทัลในระดับภูมิภาค ตามเจตจำนงที่ประเทศสมาชิกเอสแคปให้ไว้ในปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี การก่อตั้งเอสแคป รวมทั้งการรับรองปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน (Ministerial Declaration on Digital Cooperation for Shaping Our Common Future) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมในครั้งนี้ นอกจากนี้ รัฐมนตรี/ผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกเอสแคป ได้มีการกล่าวถ้อยแถลงในประเด็นเกี่ยวกับความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 นโยบายและการดำเนินการที่ประเทศของตนดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงทางดิจิทัลที่มีคุณภาพสูงและราคาเข้าถึงได้ เพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลให้เป็นสังคมดิจิทัลที่ครอบคลุมและเท่าเทียม นายชัยวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางกระทรวงดีอีเอส ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 นับเป็นแรงกระตุ้นและเร่งรัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทั่วโลกเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยได้ให้เล็งเห็นความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยได้กำหนดแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยได้การดำเนิน “โครงการเน็ตประชารัฐ” ขึ้นเพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัลที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จำเป็นต่อการพัฒนาด้านดิจิทัลอื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ภูมิภาคเอเชีย – แปซิก เป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่เจริญเติบโตและยั่งยืน พร้อมกันนี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังร่วม หารือทวิภาคีกับ นายเอซ่า สาเรพูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ด้านความร่วมมือเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือและประสบการณ์ ด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างกัน ************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61478
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดดีอีเอส วิทยากรพิเศษในสัมมนา “การประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ปลัดดีอีเอส วิทยากรพิเศษในสัมมนา “การประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ปลัดดีอีเอส วิทยากรพิเศษในสัมมนา “การประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ วันนี้(10พฤศจิกายน2565)ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์วิศิษฏ์สรอรรถปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นวิทยากรพิเศษโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“การประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ”จัดโดยสำนักงานป.ย.ป.ณโรงแรมรอยัลปริ้นเซสหลานหลวง ________________________
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61500
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เกษตรกรปลูกมัน เฮ! ไทย MOU กับฟิลิปปินส์ ส่งออกมันเส้น - อัดเม็ด สร้างรายได้กว่า 2 หมื่น ลบ./ปี ช่วยดันราคามันสูงขึ้นต่อเนื่อง
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เกษตรกรปลูกมัน เฮ! ไทย MOU กับฟิลิปปินส์ ส่งออกมันเส้น - อัดเม็ด สร้างรายได้กว่า 2 หมื่น ลบ./ปี ช่วยดันราคามันสูงขึ้นต่อเนื่อง ..... ข่าวดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ล่าสุด ก.พาณิชย์ จับมือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ของฟิลิปปินส์ (The Philippines Association of Feed Millers, Inc.: PAFMI) จัดกิจกรรมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เจรจาซื้อขายมันเส้นและมันอัดเม็ดของไทย คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท/ปี ระหว่างสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย และสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย กับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ของฟิลิปปินส์ (PAFMI) เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 65 ที่ผ่านมา . นับเป็นการซื้อขายล็อตใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์มีความต้องการนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยไปใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกสำหรับผลิตอาหารสัตว์ เพื่อทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และธัญพืชอื่นที่มีราคาสูงขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน . แม้ปัจจุบันราคามันสำปะหลังในประเทศทั้งระบบจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ เร่งขยายตลาดส่งออกมันสำปะหลังต่อเนื่องเพื่อให้เกษตรกรเชื่อมั่นว่าจะมีตลาดที่ดีรองรับ สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับกลไกตลาดโลก #ไทยคู่ฟ้า#สื่อสารรัฐบาลไทย -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61466
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมเจ้าท่า ขับเคลื่อนพัฒนาโครงการสำคัญ ให้เกิดเป็นรูปธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 กรมเจ้าท่า ขับเคลื่อนพัฒนาโครงการสำคัญ ให้เกิดเป็นรูปธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล ... กรมเจ้าท่า ขับเคลื่อนพัฒนาโครงการสำคัญ ให้เกิดเป็นรูปธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ประชุมติดตามผลการดำเนินงานพร้อมมอบนโยบายให้แก่กรมเจ้าท่า โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่า นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านวิชาการ นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย และคณะผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมวิสูตรสาครดิษฐ์ ชั้น 4 อาคาร 162 ปี กรมเจ้าท่า พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 - 7 และสาขา และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 - 8 ร่วมประชุมผ่านระบบทางไกล cisco กรมเจ้าท่า ได้รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 ผลสัมฤทธิ์ปี 2565 ภาพรวมการดำเนินโครงการสำคัญต่างๆ ในปี 2566 ตามแผนยุทธศาสตร์กรมเจ้าท่า และได้รายงานผลการดำเนินการตามข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้ง 15 นโยบาย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 2 นโยบาย รวมถึงการดำเนินการในช่วงอุทกภัย โดยการจัดตั้ง “ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” พร้อมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังและช่วยเหลือประชาชนตลอดระยะเวลาที่ประสบปัญหาอุทกภัยจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะการณ์ปกติ นอกจากนี้ กรมเจ้าท่า ได้จัดกิจกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรวมพลบูรณาการ ปฏิบัติงาน “ลอยกระทงปลอดภัย..ไร้อุบัติเหตุ” ซึ่งผลจากการดำเนินการทำให้ไม่มีอุบัติเหตุและเหตุการณ์โดยรวมปกติ ในการนี้ นายอธิรัฐ ได้ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย/ แผนงานและข้อสั่งการ ปี 2565 และมอบนโยบายการดำเนินงานกรมเจ้าท่า ปี 2566 ดังนี้ 1. การปรับปรุงท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier) ในปี 2565 กรมเจ้าท่าสร้างท่าเรือแล้วเสร็จพร้อมใช้งาน จำนวน 5 ท่า ได้แก่ ท่ากรมเจ้าท่าท่าสะพานพุทธ ท่านนทบุรี ท่าช้าง ท่าสาทร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการพร้อมเปิดใช้งานภายในปี 2565 จำนวน 6 ท่า ได้แก่ ท่าเตียนท่าบางโพท่าพระราม 7ท่าพายัพ ท่าราชินี ท่าเกียกกาย ในปี 2566 ปรับปรุงก่อสร้างจำนวน 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าปิ่นเกล้าท่าพระราม 5ท่าปากเกร็ด 2. การขุดลอกต่างตอบแทนแก้ปัญหาภัยแล้งในปี 2565 กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการขุดลอกไปแล้ว 132 แห่ง ปริมาณดินรวม 18,160,500 ลบ.ม./ ขุดลอกต่างตอบแทนและอื่นๆ ปริมาณ 5.00 ล้าน ลบ.ม. ประหยัดงบประมาณ 285 ล้านบาท ในปี 2566จำนวน 54 แห่ง ปริมาณดินรวม 4,048,600 ลบ.ม./ ขุดลอกต่างตอบแทนและอื่นๆ (ออกใบอนุญาตแล้ว) รวม 170,101.2 ลบ.ม. 3. เรือไฟฟ้า (EV BOAT) ในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมี จำนวน 26 ลำ ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 11 ลำ ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 7 ลำ 4. องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ในปี 2565 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง (CAP) จำนวน 29 รายการ ในปี 2566 เตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินจากองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (ระหว่างวันที่ 20 - 27 กุมภาพันธ์ 2566) ท้ายนี้ รักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่า รับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนและสอดรับนโยบายของรัฐบาล พร้อมเดินหน้าโครงการสำคัญต่างๆ ของกรมเจ้าท่า เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และดำเนินการด้วยความรอบคอบ โปร่งใส เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61475
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าวนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน ค.ศ. 2022 (ASEAN Business and Investment Summit (ABIS) 2022)
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 คำกล่าวนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน ค.ศ. 2022 (ASEAN Business and Investment Summit (ABIS) 2022) คำกล่าวนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน ค.ศ. 2022 (ASEAN Business and Investment Summit (ABIS) 2022) คำกล่าวนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน ค.ศ. 2022 (ASEAN Business and Investment Summit (ABIS)2022) ในหัวข้อ “อาเซียนที่มีความพร้อมด้านดิจิทัล (Digital-Ready ASEAN)” ท่านผู้นำและรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียน ท่านประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน สมาชิกสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับเชิญให้มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียนอีกครั้งในปีนี้ภายใต้หัวข้อ “อาเซียนที่มีความพร้อมด้านดิจิทัล” ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลไทยและอาเซียนให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังโควิด-19 ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา ความท้าทายต่าง ๆ ทั้งด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยเร่ง ที่ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายมาเป็นวิถีชีวิต ความจำเป็น และความอยู่รอดของหลาย ๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ตั้งแต่ปี2562เป็นต้นมา อาเซียนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล จึงได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านนี้อย่างจริงจัง ผ่านการจัดทำแผนงานต่าง ๆ ตั้งแต่แผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ.2025จนถึงแผนยุทธศาสตร์อาเซียนในประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่4และแผนงานบันดาร์เสรีเบกาวันซึ่งล้วนแต่มีเป้าหมายสำคัญในการทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลในทุกมิติ และสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่ ท่ามกลางความท้าทายระดับโลกต่าง ๆ เราควรให้ความสำคัญแก่3ประเด็นหลัก ในการพัฒนาความพร้อมด้านดิจิทัลของอาเซียนเพื่อบรรลุการเป็นประชาคมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่น ครอบคลุม บูรณาการ และสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ได้แก่ ประการแรก:การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนมีการขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า400ล้านคน และคาดว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคจะมีมูลค่ากว่า360,000ล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก3ปีข้างหน้า ดังนั้น เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคและของโลก อาเซียนควรเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างรอบด้านต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการปรับปรุงมาตรฐานและกฎระเบียบด้านดิจิทัลที่โปร่งใสและเป็นธรรมการบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพ การบริหารจัดการข้อมูลดิจิทัลที่ปลอดภัย การพัฒนาทักษะดิจิทัลที่มีคุณภาพสูงในภาคแรงงานและธุรกิจ ตลอดจนการส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ทอัพที่เข้มแข็งทั้งนี้ไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ทอัพให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อต่อยอดสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลและการขยายธุรกิจ ตลอดจนมุ่งส่งเสริมการลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั้งในและนอกอาเซียนโดยเฉพาะในสาขาที่มีศักยภาพ อาทิ เทคโนโลยีบล็อคเชน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โลจิสติกส์อัจฉริยะ และเกษตรอัจฉริยะ ประการที่สอง:การสร้างความเชื่อมโยงดิจิทัลโดยเฉพาะการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและไร้ร้อยต่อ ความเชื่อมโยงด้านข้อมูลและระบบการชำระเงินดิจิทัล ตลอดจนความเชื่อมโยงของระบบASEAN Single Windowเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศที่เอื้อต่อธุรกิจดิจิทัล และเสริมสร้างการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน ในส่วนของไทย ภายใต้โครงการASEAN Digital Hubได้มีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมทั่วประเทศ และพัฒนาความเชื่อมโยงของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศในภูมิภาค การพัฒนาโครงการThailand Digital Valleyในพื้นที่EECเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงแห่งใหม่ของอาเซียน เน้นการพัฒนาและออกแบบนวัตกรรมดิจิทัล รวมทั้งมีการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาของเมืองอย่างตรงจุด นอกจากนี้ บริษัทชั้นนำระดับโลกอย่างอะเมซอนเว็ปเซอร์วิสยังได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ส่วนกลางสำหรับ หน่วยราชการไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปฏิรูประบบดิจิทัลของภาครัฐ ประการที่สาม:การสร้างความยั่งยืนและครอบคลุมโดยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการMSMEsและสตรี เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอาเซียนนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ครอบคลุม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาค โดยไม่ทิ้งกลุ่มใด ๆ ไว้ข้างหลัง ไทยจึงให้ความสำคัญกับการเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลในบุคคลทุกกลุ่ม ทุกระดับ และดึงดูดแรงงานดิจิทัลทักษะสูงจากต่างประเทศ รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้ามาทำงานในไทย นอกจากนี้ ไทยยังให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศโดยได้ออกกฎหมายภายใน เพื่อส่งเสริมเรื่องดังกล่าว อีกทั้งยังได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรม ซึ่งจะช่วยลดช่องว่าง ด้านการพัฒนา และขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ทั้งนี้ ผมขอเน้นย้ำด้วยว่า โดยที่เรากำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารและพลังงาน อาเซียนควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความร่วมมือและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสาขาเกษตรอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งรวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และพร้อมสำหรับอนาคต นอกจากนี้ ผมขอชื่นชมบทบาทของประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอกของอาเซียนในการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนวาระการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งขอสนับสนุนให้ทุกฝ่ายใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-สิงคโปร์เพื่อความเป็นเลิศด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ประเทศสิงคโปร์ และศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ประเทศไทยเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านไซเบอร์ในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ผมเห็นว่า การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมและการเข้าถึงนวัตกรรม การพัฒนาระบบนิเวศที่ปลอดภัย การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการดิจิทัล มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการขยายโอกาสและผลักดันการเติบโตด้านดิจิทัลในยุคหลังโควิด-19 สุดท้ายนี้ โดยที่อาเซียนกำลังมุ่งหน้าสู่การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ.2025 ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือและการสอดประสานในการพัฒนาด้านดิจิทัลของอาเซียนจะเป็นไป3เสาของประชาคมอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับการมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ความเชื่อมโยงดิจิทัลที่เข้มแข็ง และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน และขอถือโอกาสนี้เน้นย้ำถึง ความมุ่งมั่นของไทยในการขับเคลื่อนประชาคมดิจิทัลอาเซียนที่เข้มแข็ง เชื่อมโยง และครอบคลุม และพร้อมก้าวสู่การบูรณาการด้านดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบเพื่อการเป็น“ดิจิทัลอาเซียน”และทำให้อาเซียนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก เพื่อประโยชน์ของประชาชนของเราสืบต่อไป ขอบคุณครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61481
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ทิพานัน" ย้ำทุกสิทธิรักษา บัตรทอง-สวัสดิการข้าราชการ-พนง.ส่วนท้องถิ่น-ประกันสังคม ติดเชื้อโควิด สามารถรับบริการผ่าน 4 แอปฯ ส่งยาฟรีถึงบ้าน ย้ำรัฐบาลเดินหน้าเพิ่มสิทธิใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 "ทิพานัน" ย้ำทุกสิทธิรักษา บัตรทอง-สวัสดิการข้าราชการ-พนง.ส่วนท้องถิ่น-ประกันสังคม ติดเชื้อโควิด สามารถรับบริการผ่าน 4 แอปฯ ส่งยาฟรีถึงบ้าน ย้ำรัฐบาลเดินหน้าเพิ่มสิทธิใหม่ "ทิพานัน" ย้ำทุกสิทธิรักษา บัตรทอง-สวัสดิการข้าราชการ-พนง.ส่วนท้องถิ่น-ประกันสังคม ติดเชื้อโควิด สามารถรับบริการผ่าน 4 แอปฯ ส่งยาฟรีถึงบ้าน ย้ำรัฐบาลเดินหน้าเพิ่มสิทธิใหม่ ยกระดับคุณภาพบริการใหม่ให้บัตรทอง สร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เดินหน้าในการปรับปรุงสิทธิประโยชน์และเพิ่มบริการใหม่ๆ ให้กับผู้สิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์และการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง สร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพ ลดเหลื่อมล้ำทุกด้านโดยเฉพาะด้านถิ่นที่อยู่อาศัย ล่าสุดได้มีการเพิ่มบริการใหม่ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับ 4 ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิดผ่านบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้านครอบคลุมทุกสิทธิรักษาพยาบาล สิทธิบัตรทอง(สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) สิทธิพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิทธิสวัสดิการข้าราชการ สิทธิผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม โดยเมื่อประชาชนตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเลือกลงทะเบียนเพื่อพบแพทย์ผ่านออนไลน์ ซักถามและจ่ายยาตามอาการ หากเข้าเกณฑ์จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลพินิจของแพทย์ พร้อมจัดส่งถึงบ้านฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามประกาศหลักเกณฑ์การดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ฉบับใหม่ของสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ผ่าน 3 แอปพลิเคชัน โดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1.แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด : https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57 ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศที่เป็นกลุ่มอาการสีเขียวและกลุ่ม 608 สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic 2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด : https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศที่เป็นกลุ่มอาการสีเขียว สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp 3.แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) : https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7 ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการสีเขียว ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และชลบุรี เท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @gdtt น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ล่าสุดแอปพลิเคชัน โททอลเล่เทเลเมด (เดอะโททอลเล่คลินิก) เข้าร่วมเพื่อขยายการให้บริการที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยสามารถลงทะเบียนผ่าน LINE Official Account ที่ https://lin.ee/a1lHjXZn ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทุกกลุ่ม ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ รวมทั้งกลุ่ม 608 สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @totale หรือสายด่วน 0620462944, 0618019577 โดยทุกแอปพลิเคชันเมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปสามารถทำตามคำแนะนำในแต่ละขั้นตอนเพื่อพบแพทย์ผ่านออนไลน์ เข้ารับบริการประเมินอาการเบื้องต้น และปรึกษาแพทย์ออนไลน์พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลตัวเอง หากเข้าเกณฑ์อาจได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยจัดส่งยาถึงบ้านฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย “ที่ผ่านมาระบบบริการสุขภาพไทยมีมาตรฐานติดอันดับโลก รวมถึงการบริหารจัดการโควิด-19 ด้วยจนทำให้ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ชื่นชมที่ประเทศไทยมีระบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบสุขภาพปฐมภูมิ หรือ Primary Health Care ที่มีมาตรฐาน และไทยได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการนำร่องการทบทวนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความมั่นคงทางสุขภาพด้านการเตรียมความพร้อมและการตอบสนอง (Universal Health Preparedness and Response, UHPR) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลกแล้ว รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังได้ดำเนินนโยบายของรัฐบาลมุ่งมั่นเพิ่มสิทธิใหม่และยกระดับคุณภาพบริการเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพที่เป็นพื้นฐานความสุขของประชาชน โดยยึดหลักไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเดินหน้าสร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพให้กับพี่น้องประชาชนไทยทุกกลุ่ม” น.ส.ทิพานัน กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61483
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ หารือนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี พร้อมร่วมเดินหน้าแก้ไขปัญหาขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์ข้ามชาติ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 นายกฯ หารือนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี พร้อมร่วมเดินหน้าแก้ไขปัญหาขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์ข้ามชาติ นายกฯ หารือนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี พร้อมร่วมเดินหน้าแก้ไขปัญหาขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์ข้ามชาติ วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) เวลา 11.10 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา (เวลาเท่ากับประเทศไทย) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือกับ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องเพื่อกระชับความสัมพันธ์หลังจากผู้นำทั้งสองว่างเว้นจากการพบปะหารือกันมากว่าสามปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และเพื่อติดตามความคืบหน้าและหารือประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในระดับทวิภาคี นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ประธานอาเซียนของกัมพูชาพร้อมขอบคุณที่ตอบรับคำเชิญเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ในฐานะแขกพิเศษ โดยนายกรัฐมนตรียินดีกับทิศทางความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชาที่แน่นแฟ้น ราบรื่น ซึ่งต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ให้ความใส่ใจและสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยตนเอง จนทำให้มีความร่วมมือที่ดีในทุด้านที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และหวังว่าจะได้กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปในทุกระดับ ทั้งนี้ ไทยชื่นชมและสนับสนุนความพยายามของกัมพูชา ในฐานะประธานอาเซียน กับการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 และการร่วมมือกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม รวมถึงการผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการรักษาเสถียรภาพ สันติภาพ และความเจริญของภูมิภาค ด้านนายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองประเทศ ยินดีที่กัมพูชาและไทยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนและการหารือกันอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ รวมทั้งได้ยืนยันความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อสานต่อความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคีให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายยินดีที่เศรษฐกิจของไทยและกัมพูชาเติบโตอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้น โดยการค้าระหว่างกันมีการขยายตัวอย่างชัดเจน ซึ่งทั้งสองเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือและทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและให้บรรลุเป้าหมายการค้าที่ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2025 ไทยและกัมพูชาชื่นชมความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศหารือกัน เพื่อกระชับความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจดิจิทัลในมิติต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ในด้านความเชื่อมโยง ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายยินดีที่มีการเปิดใช้งานทางหลวงพิเศษระหว่างกรุงพนมเปญกับจังหวัดพระสีหนุ ซึ่งเป็นทางหลวงพิเศษสายแรกของกัมพูชาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับกัมพูชาอย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศมากยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระดับประชาชน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขอให้หน่วยงานความร่วมมือด้านการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทั้งสองฝ่ายสานต่อการหารือเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในด้านการแพทย์และการศึกษา ซึ่งเป็นด้านที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาให้ความสำคัญ ด้านปัญหาขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์ข้ามชาติ (แก๊งค์ call center) นายกรัฐมนตรีขอบคุณกัมพูชาที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในการช่วยเหลือคนไทยที่ถูกชักชวนไปทำงานกับขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์ข้ามชาติ (แก๊งค์ call center) ในกัมพูชา โดยไทยตระหนักดีว่าขบวนการ call center เป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้กัมพูชาเป็นฐานปฏิบัติการ และยินดีที่กัมพูชาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และพร้อมให้การสนับสนุนในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอรับการสนับสนุนการสมัครเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2028-Phuket Thailand จากกัมพูชา โดยหวังที่จะให้เวทีนี้เป็นเวทีให้นานาประเทศนำเสนอแนวทางเพื่อเป็นทางออกร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความร่วมมือสู่ความยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61476
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ออกเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ออกเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา พร้อมหยิบยกประเด็นสำคัญเสริมสร้างประชาคมอาเซียน สร้างโอกาสสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน รักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค “สร้างปัจจุบันให้เข้มแข็ง – ร่วมแรงสู่อนาคต – เคารพวิถีอาเซียน วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) เวลา 07.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และภริยา ออกเดินทางจากท่าอากาศยาน 2 กองบิน 6 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 การประชุมครั้งนี้ถือเป็นบทสรุปของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของกัมพูชาในปี 2565 ภายใต้แนวคิดหลัก “อาเซียน เอ.ซี.ที : รับมือความท้าทายร่วมกัน” (ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together) ทั้งนี้ กัมพูชาจะทำหน้าที่ประธานอาเซียนต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยประเด็นสำคัญที่จะมีการหยิบยกและไทยมุ่งผลักดัน อาทิ การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือกับความท้าทายร่วมกัน เช่น ด้านสาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น การสร้างโอกาสสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค โดยมี key message ในการประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ คือ “สร้างปัจจุบันให้เข้มแข็ง – ร่วมแรงสู่อนาคต – เคารพวิถีอาเซียน” สำหรับกำหนดการประชุมที่สำคัญของนายกรัฐมนตรี มีดังนี้ วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ในช่วงเช้า - นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยคณะ เดินทางออกจากประเทศไทยไปยังท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในช่วงบ่าย - การหารือระหว่างผู้นำประเทศอาเซียนกับผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน 15.15 น. - การหารือระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนกับผู้แทนเยาวชนอาเซียน 16.30 น. - การหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน 17.30 น. - การประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 08.30 - พิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 08.50 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 10.30 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 41 14.00 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25 15.20 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 23 17.30 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน สหประชาชาติ ครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565 08.00 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 25 09.50 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 19 เพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย 11.10 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน ออสเตรเลีย ครั้งที่ 2 14.00 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 25 15.20 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 10 16.40 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-แคนาดา สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา 19.30 น. - งานเลี้ยง Gala Dinner วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 08.00 น. - การประชุม ASEAN Global Dialogue ครั้งที่ 2 10.15 น. - การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 17 12.30 น. - พิธีปิด และพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียน ในช่วงเย็น - นายกรัฐมนตรีจะเดินทางกลับประเทศไทย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61458
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้คณะกรรมการบริหารร่วม 4 สมาคมแท็กซี่ และสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทยเข้าพบเพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าโดยสาร
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้คณะกรรมการบริหารร่วม 4 สมาคมแท็กซี่ และสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทยเข้าพบเพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าโดยสาร ... นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้คณะกรรมการบริหารร่วม 4 สมาคมแท็กซี่ และสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย เข้าพบ เพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้แทน ให้คณะกรรมการบริหารร่วม 4 สมาคมแท็กซี่ และสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทยนำโดย นายศดิศ ใจเที่ยง เข้าพบ เพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าโดยสาร โดยมี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีความเห็นใจทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ขับรถแท็กซี่และประชาชนผู้ใช้บริการ โดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความห่วงใย และเน้นย้ำให้ดำเนินการช่วยเหลือคนทุกกลุ่มที่เดือนร้อนด้วยความเป็นธรรม และภายใต้กรอบของกฎหมาย จึงสั่งการให้กรมการขนส่งทางบก ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการน้อยที่สุด ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกเข้าใจถึงความเดือนร้อนของทุกคนด้วยความจริงใจ และพร้อมรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ทั้งนี้ คณะทำงานพิจารณาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานคณะทำงาน ได้นำข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารร่วม 4 สมาคมซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการในเขตสนามบิน พร้อมทั้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต้นทุนในการขับรถแท็กซี่ที่ทาง TDRI ได้วิเคราะห์ มารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่จากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ผู้แทนภาคประชาชน และผู้ขับรถแท็กซี่กลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับรถแท็กซี่ส่วนบุคคล และกลุ่มสหกรณ์ผู้ขับรถแท็กซี่ โดยในภาพรวมที่ประชุมเห็นพ้องด้วยกับการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป และคำนึงถึงความเป็นธรรมกับประชาชนผู้ใช้บริการ ดังนั้น คณะทำงานฯ จึงได้มีมติเห็นชอบอัตราค่าโดยสารที่ TDRI นำเสนอ โดยอัตราดังกล่าวจะทำให้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.34 ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หากแต่ยังไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ที่มาเรียกร้องในวันนี้ ที่ประชุมจึงได้ทำความเข้าใจกับกลุ่มแท็กซี่ดังกล่าวถึงอัตราที่จะปรับเพิ่ม โดยยึดความเห็นส่วนใหญ่ของตัวแทนภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องการให้การปรับอัตราค่าโดยสารในครั้งนี้ทำให้ผู้ขับรถแท็กซี่มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และมีผลกระทบกับประชาชนผู้ใช้บริการน้อยที่สุด โดยหลังจากนี้กรมการขนส่งทางบกจะเร่งดำเนินการในเรื่องของเอกสารข้อกฎหมายการประกาศใช้อัตราค่าโดยสารใหม่ และดำเนินการส่งเรื่องต่อมายังกระทรวงคมนาคม ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้กระบวนการของการประกาศใช้รวดเร็วที่สุด ภายหลังการหารือ กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ที่มาชุมนุมได้เข้าใจและยอมรับในอัตราค่าโดยสารตามมติคณะทำงานฯ ซึ่งหลังจากการประกาศใช้อัตราค่าโดยสารใหม่แล้ว กรมการขนส่งทางบกจะแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด ร่วมกับที่ปรึกษาที่มีองค์ความรู้ มีข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน เพื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61457
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กรุงไทย”ตอกย้ำผู้นำการลงทุนดิจิทัล เปิดเทรดทองออนไลน์กับ “วายแอลจี” ผ่าน Gold Wallet บนเป๋าตัง ดีเดย์ 10 พ.ย.นี้
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 “กรุงไทย”ตอกย้ำผู้นำการลงทุนดิจิทัล เปิดเทรดทองออนไลน์กับ “วายแอลจี” ผ่าน Gold Wallet บนเป๋าตัง ดีเดย์ 10 พ.ย.นี้ “ธนาคารกรุงไทย” เดินหน้าตอบโจทย์ผู้ลงทุน เปิดเทรดทองออนไลน์ครบวงจรกับ “วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล” ร้านทองชั้นนำของไทย ผ่าน Gold Wallet บนแอปฯเป๋าตัง นับเป็นพันธมิตรรายที่ 2 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุน ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย.65 เป็นต้นไป นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากความมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการลงทุน เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนทุกกลุ่มผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ดิจิทัล และการลงทุนทองคำออนไลน์ ล่าสุด ธนาคารจับมือกับ บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร้านค้าทองชั้นนำของไทย เปิดซื้อขายทองออนไลน์ครบวงจร ผ่านบริการ Gold Wallet บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งนับเป็นพันธมิตรรายที่ 2 เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับผู้ลงทุน ในการซื้อ-ขาย-ถอนทองออนไลน์ 99.99% ได้แบบเรียลไทม์ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป ธนาคารมีเป้าหมายพัฒนา Gold Wallet บนแอปฯเป๋าตัง ให้เป็นตลาดซื้อ-ขาย-ถอนทองคำออนไลน์แบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุน จากการเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา นักลงทุนให้การตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยบริการที่ครอบคลุม ทั้งการส่งคำสั่งซื้อ-ขาย-ถอนทองออนไลน์ พร้อมบริการรายงานความเคลื่อนไหวของราคาทอง และอัตราแลกเปลี่ยน ผ่านช่องทาง Krungthai Connext ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการเปิดบัญชี Gold Wallet รวมจำนวน 140,000 บัญชี “ทิศทางการลงทุนทองคำ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดบัญชีและปริมาณการซื้อ-ขายที่เพิ่มขึ้นมาก ธนาคารจึงขยายความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าทองใน Gold Wallet และมีแผนขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นอีกเร็วๆนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุน และสร้างผลตอบแทนการลงทุนกับร้านทองชั้นนำในประเทศ ที่มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐานทั้งด้านราคา และคุณภาพเพิ่มขึ้น” ทั้งนี้ การลงทุนทองคำออนไลน์ผ่าน Gold Wallet มีความสะดวก ง่าย และปลอดภัย ด้วยจุดเด่น ซื้อ-ขายทองขั้นต่ำ 0.1 ออนซ์ หรือเท่ากับ 6,000 บาท (ขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาซื้อ-ขาย) สามารถส่งคำสั่ง ซื้อ-ขาย ผ่านแอปฯเป๋าตัง โดยไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถเปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่กำหนดวงเงินขั้นต่ำ ซื้อ-ขายทองผ่านแอปฯด้วยสกุลดอลลาร์สหรัฐ USD โดยอ้างอิงราคาตลาดโลก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และ Krungthai Contact Center โทร 02-111-1111
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61482
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา ชูทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก นำกรมวิชาการเกษตรผนึกกำลังผู้ประกอบการส่งออก
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รมช.มนัญญา ชูทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก นำกรมวิชาการเกษตรผนึกกำลังผู้ประกอบการส่งออก รมช.มนัญญา ชูทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก นำกรมวิชาการเกษตรผนึกกำลังผู้ประกอบการส่งออก ดันทุเรียนไทยขึ้นชั้นผลไม้พรีเมี่ยมระดับโลก นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามนโยบายการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อส่งออก ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จ.ชุมพร พร้อมด้วย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเยี่ยมชมสวนทุเรียนฉัตรกมลฟาร์ม ของนายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต GAP จากกรมวิชาการเกษตร พร้อมพบปะเกษตรกรเครือข่ายทุเรียนแปลงใหญ่ และมอบใบรับรองมาตรฐานการผลิต GAP ทุเรียน ให้กับตัวแทนเกษตรกรรวม 320 ราย 345 แปลง พื้นที่ 2,877.35 ไร่ ณ สวนทุเรียนฉัตรกมลฟาร์ม ต.พระรักษ์ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร จากนั้น เป็นประธานมอบนโยบายการประชุม เรื่อง “แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน” ณ ห้องประชุมที่ว่าการ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ก่อนเดินทางตรวจติดตามการดำเนินงานโรงคัดบรรจุผลไม้ (ทุเรียน) “หอมหมื่นลี้” ณ ตลาดมรกต ต.วังตะกอ อ.หลังสวน อ.ชุมพร รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายมุ่งเน้นการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อส่งออก ภายใต้มาตรการส่งออกทุเรียนไทยตามข้อตกลงทางพิธีสารไทย-จีน จึงได้ย้ำในที่ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุกว่า 100 ราย ว่าทุเรียนไทยเป็นทุเรียนที่ดีที่สุดในโลก ทั้งด้านรสชาติและคุณภาพ และขอยืนยันว่าประเทศไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะทำดำเนินการอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาชื่อเสียง รักษาตลาดส่งออก และรักษามาตรฐานการผลิตของทุเรียนไทย สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคทั่วโลก ทั้งนี้ ขอฝากไปยังผู้ประกอบการ และชาวสวน ในช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตทุเรียนภาคใต้ออกสู่ตลาด ขอความร่วมมือทุกคนอย่าตัดทุเรียนอ่อนเพราะจะสร้างความเสียหายกับการส่งออกทุเรียนของไทยอย่างมาก กระทบกับความเชื่อมั่นในคุณภาพ และที่สำคัญระมัดระวังอย่าให้ใครมาสวมสิทธิ์ทุเรียนของเกษตรกรไทยอย่างเด็ดขาด “ในปี 2564 มีปริมาณการส่งออกทุเรียนทั้งประเทศ จำนวน 925,855 ตัน มูลค่า 119,160 ล้านบาท และมีแนวโน้มการเติบโตของพื้นที่การผลิตและพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นทุกปี จึงขอย้ำต่อผู้ประกอบการส่งออกว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร พร้อมให้คำแนะนำและบูรณาการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อรักษาชื่อเสียงและมาตรฐานของทุเรียนไทยที่ส่งออกไปทั่วโลก ดังนั้นทุกมาตรการที่กรมวิชาการกำหนดออกมานั้น นอกจากมาตรการการส่งเสริมและการกำกับตามระเบียบที่กรมรับผิดชอบแล้ว ยังเป็นมาตรการที่มาจากการหารือกับประเทศคู่ค้าที่กำหนดร่วมกันอีกด้วย จึงขอฝากว่าทุกฝ่ายต้องช่วยกันยกระดับมาตรฐานโรงคัดบรรจุทุเรียนสดเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะด้านสุขอนามัยพืชตามพิธีสารไทย-จีน อย่างเคร่งครัด” รมช.เกษตรฯ กล่าว รมช.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า ขอให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนเร่งดำเนินการขอขึ้นทะเบียนแปลง GAP เพื่อยกระดับสวนทุเรียน โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดรถ “GAP Mobile เคลื่อนที่” ลงไปทุกพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรและลดระยะเวลาในการเดินทาง เป็นการยกระดับคุณภาพผลผลิตของทุเรียนไทย ซึ่งเป็นผลไม้ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดกิจกรรม “GAP Mobile เคลื่อนที่” เพื่อเร่งดำเนินการให้บริการขึ้นทะเบียน หรือต่ออายุสวน GAP ให้แก่เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนแปลงทุเรียนที่ขึ้นทะเบียน GAP ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานในพื้นที่ของกรมวิชาการเกษตร และพร้อมส่งออกไปจีนแล้ว จำนวน 26,823 แปลง และมีโรงคัดบรรจุทุเรียนสดที่พร้อมรวบรวมและคัดบรรจุแล้ว จำนวน 490 โรงคัดบรรจุ ทั้งนี้คาดว่าตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป จะมีผลผลิตทุเรียนในภาคใต้จำนวน 120,000 ตัน โดยเป็นทุเรียนในพื้นที่ จ.ชุมพร 80,000 ตัน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบคุณภาพ และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเพื่อส่งออกไปจีน “สถานการณ์ปัจจุบัน การส่งออกทุเรียนสดไทยไปจีนนั้นมิได้มีประเทศไทยเพียงประเดียวแล้ว แต่มีประเทศอื่นๆ ที่สามารถส่งออกทุเรียนสดได้แล้ว ดังนั้นเกษตรกร ผู้ประกอบการ และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันสร้างจุดเด่นและความแตกต่าง และเน้นย้ำมาตรฐานและคุณภาพทุเรียนไทย โดยต้องไม่มีทุเรียนอ่อนหรือทุเรียนด้อยคุณภาพส่งออกไปเด็ดขาด ต้องเสริมสร้างแนวคิดและผลักดันเอกลักษณ์ “ผลไม้ไทย ผลไม้คุณภาพ” (Premium thai fruits) เพื่อช่วยกันสร้างความเชื่อถือ และความมั่นใจในผลไม้หรือทุเรียนที่ส่งออกมาจากเกษตรกรไทย ทั้งนี้ เพื่อภาพลักษณ์ผลไม้ไทย ผลไม้ที่มีคุณภาพในตลาดส่งออกอย่างยั่งยืน” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61484
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีหารือผู้แทนเยาวชนอาเซียน เสนอแนวทางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและสร้างโอกาสแก่เยาวชน พร้อมสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 นายกรัฐมนตรีหารือผู้แทนเยาวชนอาเซียน เสนอแนวทางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและสร้างโอกาสแก่เยาวชน พร้อมสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม นายกรัฐมนตรีหารือผู้แทนเยาวชนอาเซียน เสนอแนวทางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและสร้างโอกาสแก่เยาวชน พร้อมสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) เวลา 15.15 น. ณ โรงแรมสกคา กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนเยาวชนอาเซียน 20 คน เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนเยาวชนอาเซียน ให้เยาวชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีรู้สึกยินดีที่ได้มาพบปะกับคนรุ่นใหม่ของอาเซียนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในปีนี้ เป็นปีเยาวชนอาเซียน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเยาวชนทั้งหลายล้วนมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศและประชาคมอาเซียน พร้อมหวังว่าเยาวชนอาเซียนจะเป็นพลังสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และช่วยขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้มีความเข้มแข็ง มีขีดความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังเช่นที่ได้เห็นบทบาทที่สำคัญของเยาวชนในการปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอทิศทางการพัฒนาและส่งเสริมบทบาทของเยาวชน ดังนี้ ประการแรก ไทยสนับสนุนให้เยาวชนสามารถก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น โดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพให้เยาวชนเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในอาเซียน เน้นนวัตกรรมและแนวคิดข้อริเริ่มใหม่ และสร้างความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและผู้ประกอบการในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งทั้งหมดนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาและสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนอาเซียนให้สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ที่จะปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในอนาคต ประการที่สอง นายกรัฐมนตรีสนับสนุนการส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนในด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการช่วยลดช่องว่างระหว่างเยาวชนของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบอกเล่าประสบการณ์และวัฒนธรรม สร้างแรงบันดาลใจ และความเชื่อมั่นร่วมกัน ประการที่สาม นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในเรื่องความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยเยาวชนอาเซียนจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการริเริ่ม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนทางธรรมชาติ ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการสนับสนุนการพัฒนาให้เยาวชนอาเซียนทุกคนเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ของภูมิภาคนี้ ซึ่งนอกจากทักษะสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องมีแล้ว เชื่อมั่นว่า เยาวชนรุ่นใหม่ของอาเซียนต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบในทุกมิติ มีความรักและหวงแหนในอัตลักษณ์ขนบธรรมเนียมที่ดีงามของอาเซียน และมีจิตสาธารณะที่พร้อมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นประชาคม เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61498
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชลบุรี ขานรับนโยบาย ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วม Kick Off โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกันทั้งจังหวัดวันนี้
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ชลบุรี ขานรับนโยบาย ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วม Kick Off โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกันทั้งจังหวัดวันนี้ ชลบุรี ขานรับนโยบาย ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วม Kick Off โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกันทั้งจังหวัดวันนี้ เมื่อวันที่่ 9 พ.ย. 65 นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 08.00 น. จังหวัดชลบุรี ได้จัดกิจกรรม Kick Off โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกันทุกอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 99 แห่ง โดยที่จังหวัดชลบุรีได้จัดกิจกรรม Kick Off บริเวณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบ้านสวน 2 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย นางสาวประภัสรา ศรีทอง ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดชลบุรี นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายสุคนธ์ สุวรรณศักดิ์สิน นายอำเภอเมืองชลบุรี นางสาวอสิตรา รัตนะมณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดชลบุรี นางสาวสุดินา แก้วดี ท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี นางพนิดา จันทวัฒน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี นายวิชิต ชิตวิเศษ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านสวน ผู้นำท้องที่ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ อสม. อถล. ประชาชนจิตอาสา และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม นายธวัชชัย ศรีทอง กล่าวว่า จังหวัดชลบุรี ได้จัดกิจกรรม Kick Off โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการ Change for Good สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ที่เป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (Conference of the Parties – COP 26) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ประกอบกับการประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) ของกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 ที่มุ่ง Change for Good ทำให้โลกใบเดียวของทุกคนมีอายุยืนยาวตราบนานเท่านาน ด้วยแนวคิด “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน “โลกนี้เพื่อเรา” นายธวัชชัย ศรีทอง กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูล “จังหวัดสะอาด” ของจังหวัดชลบุรี ได้กำหนดเป้าหมายให้ทุกครัวเรือนที่มีบริเวณหรือพื้นที่ จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนร้อยละ 100 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 และบรรลุเป้าหมายก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด สำหรับกิจกรรม Kick Off โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในครั้งนี้ คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ร่วมกันจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบ้านสวน เพื่อเป็นต้นแบบและนำไปขยายผลให้ได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงมหาดไทยและจังหวัดชลบุรีกำหนด สอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในการพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองสะอาดต่อไป ทั้งนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี และประชาชนในจังหวัดอื่น ๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปด้วยกัน ด้วยกิจกรรมง่าย เพียงจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน เปลี่ยนจากเศษอาหาร ขยะเปียกให้กลับกลายเป็นปุ๋ยเติมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผืนดิน หรือหากท่านใดไม่มีพื้นที่สำหรับจัดทำถังขยะเปลี่ยนลดโลกร้อน ก็ขอเชิญชวนให้คัดแยกขยะด้วยการใช้หลักการ 3Rs คือ Reduce ใช้น้อย Reuse ใช้ซ้ำ และ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อกำจัดขยะอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61471
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกฯ แสดงวิสัยทัศน์งาน ABIS 2022 ย้ำ 3 ประเด็นหลัก พัฒนา “ดิจิทัลอาเซียน” สร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคที่เข้มแข็ง เชื่อมโยง ครอบคลุมทุกมิติ
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ​นายกฯ แสดงวิสัยทัศน์งาน ABIS 2022 ย้ำ 3 ประเด็นหลัก พัฒนา “ดิจิทัลอาเซียน” สร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคที่เข้มแข็ง เชื่อมโยง ครอบคลุมทุกมิติ ​นายกฯ แสดงวิสัยทัศน์งาน ABIS 2022 ย้ำ 3 ประเด็นหลัก พัฒนา “ดิจิทัลอาเซียน” สร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคที่เข้มแข็ง เชื่อมโยง ครอบคลุมทุกมิติ วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2565) เวลา 14.08 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงวิสัยทัศน์ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน ค.ศ. 2022 (ASEAN Business and Investment Summit (ABIS) 2022) หัวข้อ “อาเซียนที่มีความพร้อมด้านดิจิทัล (Digital-Ready ASEAN)” ผ่านระบบการประชุมทางไกล ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ภายหลังเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียนอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งหัวข้อ “อาเซียนที่มีความพร้อมด้านดิจิทัล” เป็นประเด็นที่รัฐบาลไทยและอาเซียนให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังโควิด – 19 ในภาคธุรกิจ เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลในทุกมิติ สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่ โดยนายกรัฐมนตรีเสนอ 3 ประเด็นหลักที่ควรให้ความสำคัญเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านดิจิทัลของอาเซียนเพื่อบรรลุการเป็นประชาคมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่น ครอบคลุม บูรณาการ และสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ ดังนี้ 1. การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนมีการขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 360,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งควรเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างรอบด้านต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการปรับปรุงมาตรฐานและกฎระเบียบด้านดิจิทัลที่โปร่งใสและเป็นธรรม การบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพและปลอดภัย การพัฒนาทักษะดิจิทัลที่มีคุณภาพสูงในภาคแรงงานและธุรกิจ ตลอดจนการส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ทอัพที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ทอัพให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ต่อยอดสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลและการขยายธุรกิจ ตลอดจนมุ่งส่งเสริมการลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั้งในและนอกอาเซียน อาทิ เทคโนโลยีบล็อคเชน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โลจิสติกส์อัจฉริยะ และเกษตรอัจฉริยะ 2. การสร้างความเชื่อมโยงดิจิทัล การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและไร้ร้อยต่อ ความเชื่อมโยงด้านข้อมูลและระบบการชำระเงินดิจิทัล ตลอดจนความเชื่อมโยงของระบบ ASEAN Single Window เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศที่เอื้อต่อธุรกิจดิจิทัลและเสริมสร้างการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งไทยมีโครงการ ASEAN Digital Hub เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมทั่วประเทศ และพัฒนาความเชื่อมโยงของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศในภูมิภาค การพัฒนาโครงการ Thailand Digital Valley ในพื้นที่ EEC รวมทั้งการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาของเมืองอย่างตรงจุด นอกจากนี้ บริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง อะเมซอนเว็ปเซอร์วิส ยังได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ส่วนกลางสำหรับหน่วยราชการไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปฏิรูประบบดิจิทัลของภาครัฐ 3. การสร้างความยั่งยืนและครอบคลุม ลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล การพัฒนาบุคลากรดิจิทัล การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตลอดจนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ MSMEs และสตรี นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ครอบคลุม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาค โดยไม่ทิ้งกลุ่มใด ๆ ไว้ข้างหลัง ไทยจึงให้ความสำคัญกับการเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลในบุคคลทุกกลุ่ม ทุกระดับ และดึงดูดแรงงานดิจิทัลทักษะสูงจากต่างประเทศ รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้ามาทำงานในไทย นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรม ลดช่องว่างด้านการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า อาเซียนควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความร่วมมือและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสาขาเกษตรอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งเห็นว่า การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมและการเข้าถึงนวัตกรรม การพัฒนาระบบนิเวศที่ปลอดภัย การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการขยายโอกาสและผลักดันการเติบโตด้านดิจิทัลในยุคหลังโควิด-19 ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า การพัฒนาด้านดิจิทัลของอาเซียนจะเป็นไปแบบรอบด้านระหว่าง 3 เสาของประชาคมอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับการมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ความเชื่อมโยงดิจิทัลที่เข้มแข็ง และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยในการขับเคลื่อนประชาคมดิจิทัลอาเซียน พร้อมก้าวสู่การบูรณาการด้านดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบเพื่อการเป็น “ดิจิทัลอาเซียน” และทำให้อาเซียนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก เพื่อประโยชน์ของประชาชนสืบต่อไป อนึ่ง การประชุม ABIS เป็นกิจกรรมประจำปีของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้นำรัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ และผู้นำธุรกิจทั้งภายในและภายนอกอาเซียน ซึ่งในปีนี้ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในรูปแบบผสม (hybrid) ภายใต้หัวข้อหลัก “Addressing Challenges Together” เน้นประเด็นเรื่องการเผชิญความท้าทาย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสาธารณสุข
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61479