title
stringlengths 10
260
| context
stringlengths 29
179k
| url
stringlengths 0
53
|
---|---|---|
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ติดตามผู้สัมผัสเคสสมุทรสาคร | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
สธ. ติดตามผู้สัมผัสเคสสมุทรสาคร
กระทรวงสาธารณสุข ติดตามผู้สัมผัสกรณีหญิงติดเชื้อโควิด 19 ที่ตลาดกุ้ง จ.สมุทรสาคร 165 ราย พบคนในครอบครัวติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย ที่เหลือรอผลตรวจ ปิดตลาดกุ้ง 1 และ 2 ทำความสะอาด 3 วัน ทีมสอบสวนค้นหาผู้สัมผัสเพิ่ม
กระทรวงสาธารณสุข ติดตามผู้สัมผัสกรณีหญิงติดเชื้อโควิด 19 ที่ตลาดกุ้ง จ.สมุทรสาคร 165 ราย พบคนในครอบครัวติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย ที่เหลือรอผลตรวจ ปิดตลาดกุ้ง 1 และ 2 ทำความสะอาด 3 วัน ทีมสอบสวนค้นหาผู้สัมผัสเพิ่ม
วันนี้ (18 ธันวาคม 2563) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 และความคืบหน้าการผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วันนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายใหม่จำนวน 16 ราย รักษาหายเพิ่ม 16 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยสะสม 4,297 ราย หายป่วยสะสม 4,005 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 232 ราย และเสียชีวิตสะสม 60 ราย สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ 15 ราย เดินทางมาจากต่างประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย 5 ราย เมียนมา 4 ราย สวิตเซอร์แลนด์ 2 ราย อินเดีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และตุรกี ประเทศละ 1 ราย ทั้งหมดเข้ารับการรักษาตามระบบแล้ว ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ มีเพียง 1 รายมีอาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ สำหรับผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 1 ราย เป็นหญิงไทยอายุ 67 ปี เจ้าของแพปลา จังหวัดสมุทรสาคร
ทั้งนี้ สถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลกมีผู้ป่วยสะสมรวม 75.2 ล้านราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7.21 แสนราย อาการรุนแรง 107,213 ราย เสียชีวิตรวม 1.66 ล้านราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 17.6 ล้านราย อินเดีย 9.97 ล้านราย บราซิล 7.11 ล้านราย รัสเซีย 2.76 ล้านราย และฝรั่งเศส 2.42 ล้านราย ส่วนทวีปเอเชียนั้น อินโดนีเซีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น บังกลาเทศ มาเลเซียเมียนมา ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ยังมีผู้ป่วยรายใหม่เกิน 1 พันราย
สำหรับกรณีท่าขี้เหล็กมีผู้ป่วยรวม 71 ราย ระยะหลังเป็นผู้เดินทางเข้ามาสู่ระบบกักกัน รวมแล้ว 72 ราย ติดเชื้อในประเทศเพียง 2 ราย กรณีนี้ถือว่าไม่มีปัญหาแล้ว ประชาชนสามารถไปท่องเที่ยวได้ โดยคงมาตรการใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง
ด้านนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า กรณีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจากปฏิบัติงานใน ASQ รวม 7 ราย รายสุดท้ายรายงานเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ผ่านมา 6 วันยังไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ดี ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอยู่ในการกักกันเฝ้าระวังอาการให้ครบ 14 วัน ถือว่าเหตุการณ์สงบลง และควบคุมโรคได้แล้ว และมีการดำเนินมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
สำหรับการสอบสวนผู้ป่วยโควิด 19 รายใหม่ในประเทศ เพศหญิงอายุ 67 ปี ทำงานที่ตลาดกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร มีอาการป่วย 13 ธันวาคม 2563 ปวดเมื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น สอบถามประวัติย้อนหลัง 2 อาทิตย์ก่อนมีอาการป่วย ไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ อยู่เฉพาะพื้นที่ขายของในตลาดกุ้งตั้งแต่ 6.00 -11.00 น. เมื่อเริ่มป่วยไปตรวจรักษา รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อโควิด 19 ช่วงค่ำ ทราบผล 22.00 น. พบการติดเชื้อ และส่งตรวจยืนยันอีกครั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ผลออกมาตรงกัน จึงส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ รพ.สมุทรสาครในเวลา 02.30 น. และดำเนินการสอบสวนโรค เก็บตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว จำนวน 165 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง 26 รายในจำนวนนี้ เป็นคนในครอบครัว 7 คน ตรวจพบติดเชื้อ 3 ราย คือพี่สาว มารดา น้องสะใภ้,กลุ่มที่ทำงานร่วมกันในแพปลาของผู้ป่วย 3 คน คือลูกชาย ตรวจไม่พบเชื้อ ลูกจ้างเมียนมา 2 คนจะทราบผลตรวจวันนี้, กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในรพ.เอกชน 8 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ และแรงงานในตลาดกุ้ง 8 คน รอผลการตรวจ ส่วนกลุ่มเสี่ยงต่ำ 139 คนเป็นแรงงานในตลาดกุ้ง ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 14 คน และเมียนมา 125 คน รอผลการตรวจ และจะตรวจเพิ่มในกลุ่มแรงงานตลาดใกล้เคียง
นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า ขณะนี้ ทางจังหวัดได้สั่งปิดตลาดพื้นที่ที่พบผู้ป่วย 4 ราย เป็นเวลา 3 วัน ระดมทำความสะอาด ในส่วนของมาตรการป้องกันควบคุมโรค มีการตีวงสอบสวนค้นหาผู้สัมผัสและตรวจหาผู้ที่ติดเชื้อ สื่อสารประชาสัมพันธ์ เน้นย้ำป้องกันโรคส่วนบุคคล สวมหน้ากาก 100% ล้างมือ หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนแออัด ขอให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง/ เสี่ยงต่ำอยู่ในสถานที่จำกัด สังเกตอาการป่วยโรคติดต่อทางเดินหายใจ เมื่อป่วยจะนำเข้าสู่การวินิจฉัยในโรงพยาบาลได้ทันที ขยายการเฝ้าระวังไปยัง ร้านขายยา คลินิก ในช่วงนี้ผู้มารับการตรวจรักษาทางเดินหายใจ ที่มีอาการไข้หวัด ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ก็จะทำการตรวจหาเชื้อโควิด รวมทั้งทุกภาคส่วนร่วมกันจัดทำมาตรการพื้นที่ ทำความสะอาดทุกตลาด คัดกรองก่อนเข้าตลาด เว้นระยะห่าง จัดที่ล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์ สแกนไทยชนะและทำความสะอาดพื้นผิวบ่อย ๆ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37729 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สุชาติ" ยันจ๊อบเอ็กซ์โป ประสบความสำเร็จ หลัง 3 เดือน จ้างงานแล้วเกือบ 4 แสนอัตราจากเป้า 1 ล้านอัตรา | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
"สุชาติ" ยันจ๊อบเอ็กซ์โป ประสบความสำเร็จ หลัง 3 เดือน จ้างงานแล้วเกือบ 4 แสนอัตราจากเป้า 1 ล้านอัตรา
แจง ตัวเลขจ้างงานเด็กจบใหม่น้อย เพราะเพียงเสี้ยวเดียวของการจ้างงานทั้งระบบ หลังธุรกิจหลักเริ่มฟื้นตัว ลั่นมีงบจ้างงานเด็กจบใหม่รองรับเม.ย. 64
วันที่ 18 ธ.ค. 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการจ้างงานภายหลังการจัดมหกรรมจ๊อบเอ็กซ์โป ว่า สำหรับการจัดงานดังกล่าวจำนวน 1 ล้านตำแหน่ง ถือเป็นนโยบายที่ยิ่งใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งตัวเลขบรรจุงานล่าสุด คือ 399,072 อัตรา หรือประมาณร้อยละ 40 โดยเป็นการจ้างงานของภาครัฐ 2 แสนอัตรา เอกชน 1 แสนอัตรา และส่งแรงงานไปต่างประเทศ 3 หมื่นอัตรา เป็นต้น โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนหลังการจัดงานจ๊อบเอ็กซ์โป ปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่จากข้อมูลของบางสื่อได้วิเคราะห์ อาจโฟกัสไปที่นักศึกษาจบใหม่ซึ่งถือเป็นเสี้ยวหนึ่งของการจัดงานดังกล่าว ซึ่งมีการจ้างงาน 4 กลุ่ม และนักศึกษาจบใหม่เป็น 1 กลุ่มเท่านั้น
“เราตั้งเป้าจ้างนักศึกษาจบใหม่ 2.6 แสนอัตราก็จริง แต่การจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย.- ต.ค. มีจำนวน 182,000 คน และ ภายหลังการจัดงานจ๊อบเอ็กซ์โปเมื่อปลายเดือนก.ย. ต่อมามีตัวเลขระหว่างวันที่ 1 ต.ค.- 31 ต.ค. มีการจ้างงานคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีลงมา 2 หมื่นกว่าอัตรา แต่เข้าระบบ Co-payment หรือจ้างงานเด็กจบใหม่ โดยมีบางสื่อ ระบุว่า จ้างงาน 2,000 อัตรา ผมไปตรวจสอบบริษัทที่ไม่เข้าร่วมโครงการจ้างนักศึกษาจบใหม่ เพราะอยู่ในภาคธุรกิจที่ยังแข็งแรงอยู่ และต้องการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้พนักงาน เช่น ธุรกิจยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ สิ่งทอ ซึ่งขณะนี้ฟื้นตัวแล้ว ดังนั้นหากจ้างนักศึกษาจบใหม่ เข้าโครงการนี้ อาจจะไม่ได้รับความมั่นคงในชีวิตเนื่องจากเป็นการจ้างงานปีเดียว ซึ่งบริษัทต่างๆมีความแข็งแรง จึงสามารถจ้างแรงงานปกติได้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังมีงบประมาณเพื่อรับนักศึกษาที่จบใหม่ในเดือน เม.ย. ปี 2564"
นายสุชาติ กล่าวว่า สำหรับโครงการ Co-payment รัฐบาลทำขึ้นเนื่องจากมีความเป็นห่วงธุรกิจสตาร์ทอัพ ธุรกิจ SME ที่มีกำลังเม็ดเงินจำนวนน้อย และถือเป็น 1ใน 4 ของงานจ๊อบเอ็กซ์โปเท่านั้นเอง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37733 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานในพิธีอัญเชิญไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
รมว.วธ.เป็นประธานในพิธีอัญเชิญไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
รมว.วธ.เป็นประธานในพิธีอัญเชิญไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญไฟพระฤกษ์ประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่ออัญเชิญไปในการประกอบกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย ประจำปี ๒๕๖๔ โดยมี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น ๘ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ ทั้งนี้ วัฒนธรรมจังหวัดและผู้แทนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ ร่วมพิธีถวายสักการะอัญเชิญไฟพระฤกษ์ประทานหน้าพระรูปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่ออัญเชิญไปถวายแด่เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ นำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัดที่จัดพิธีสวดมนต์ข้ามปีทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบพิธีระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ถึง ๑ มกราคม ๒๕๖๔
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37735 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-องคมนตรีตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสระบุรี | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
องคมนตรีตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสระบุรี
องคมนตรีตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสระบุรี เป็นโรงพยาบาล Smart Hospital จัดบริการแบบ New Normal ให้บริการกัญชาทางการแพทย์ และการแพทย์แผนไทยครบวงจร ผู้ป่วยพึงพอใจ
องคมนตรีตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสระบุรีเป็นโรงพยาบาล Smart Hospital จัดบริการแบบ New Normal ให้บริการกัญชาทางการแพทย์ และการแพทย์แผนไทยครบวงจร ผู้ป่วยพึงพอใจ
วันนี้ (18 ธันวาคม 2563) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล พร้อมด้วยนายแพทย์สมยศ ศรีจารนัย สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 4 และคณะ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสระบุรี
นายแพทย์สมยศ ศรีจารนัย สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 4 กล่าวว่า โรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสระบุรี เป็น Smart Hospital ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการระบบบริการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วผู้รับบริการ และปรับระบบบริการแบบ New Normal สำรองเวชภัณฑ์ใช้ได้ 4 เดือนจัดห้องแยกโรค ปรับปรุงระบบระบายอากาศ เตรียมหอผู้ป่วยเฉพาะโรค 40 เตียง มีคลินิกเฉพาะโรคทางเดินหายใจ และเข้มมาตรการป้องกันโรค DMHT ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล นอกจากนี้ ได้เปิดบริการกัญชาทางการแพทย์แบบผสมผสาน บริการการแพทย์แผนไทยครบวงจร มีโรงผลิตยาสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรอง GMP WHO ใช้แหล่งวัตถุดิบในพื้นที่ ให้ประชาชนปลูกแล้วนำมาจำหน่ายให้โรงพยาบาล พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมให้ใช้ยาสมุนไพร ทั้งในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาล และโรงพยาบาลในจังหวัดสระบุรี ได้ทำ MOU การซื้อขายยาในภาพของเขตสุขภาพที่ 4 ทำวิจัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ยาสมุนไพร มีผู้มารับบริการทั้งนวด อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร และการดูแลหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือจำนวนมาก
นอกจากนี้ ได้จัดโครงการพาหมอไปหาคนไข้ จัดตั้งคลินิกโรคเรื้อรังร่วมกับเครือข่าย เน้นการรับรู้เรื่องโรค การปรับพฤติกรรมตนเอง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 13 แห่ง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ เพิ่มขึ้นจาก 28.68 เป็น 38.51 ผู้ป่วยพึงพอใจ ลดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาของผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันครบวงจร โดยความร่วมมือจากโรงพยาบาลสระบุรี เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น ลดความแออัดของโรงพยาบาลสระบุรี มีผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟู 101 คน และดูแลในชุมชน 60 คน มีอาการดีขึ้นสามารถกลับไปทำงานได้ 64 คน เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชน ทั้งยังเป็นโรงพยาบาลเศรษฐกิจพอเพียง มีศูนย์สาธิตการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกันของชุมชน ปลูกผักสวนครัวผลิตน้ำยาต่าง ๆ ใช้ในโรงพยาบาลและขยายผลสู่ชุมชน
ทั้งนี้ ในปี 2562 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อเครื่องตรวจอวัยวะคลื่นความถี่สูงชนิดสี 2 หัวตรวจ มูลค่า 930,000 บาท มีผู้รับบริการ 110 คน และเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิทัลแบบพกพา 4 เครื่อง และในปีงบ 2563 ได้รับการสนับสนุนยูนิตทำฟัน มูลค่า 460,000 บาท มีผู้รับบริการ 243 คน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37716 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 สั่งการทุกจังหวัด บูรณาการป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนืออย่างเป็นระบบ | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
มท.1 สั่งการทุกจังหวัด บูรณาการป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนืออย่างเป็นระบบ
มท.1 สั่งการทุกจังหวัด บูรณาการป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนืออย่างเป็นระบบ
วันนี้ (18 ธ.ค. 63) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ด้วยในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปี ประเทศไทยจะเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุหลักจากกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งโดยธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ อาทิ การคมนาคมขนส่ง การเผาในที่โล่ง ไฟป่า ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง หมอกควันข้ามแดน และสภาพทางอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งสภาพภูมิประเทศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ลมสงบ ส่งผลให้ระดับเพดานการลอยตัวและการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำ การไหลเวียนและถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมฝุ่นละอองในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นบางช่วงเวลาในหลายพื้นที่
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า เพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ช่วงปลายปี 2563 ต้นปี 2564 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 จึงได้สั่งการไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ดำเนินการ 6 มาตรการ ได้แก่ 1) ถือปฏิบัติตามหลักในการอำนวยการ สั่งการ ควบคุมและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) ทบทวนและจัดทำแผนเผชิญเหตุสำหรับใช้แก้ปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำรายละเอียดการแบ่งพื้นที่ การกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนถึงระดับอำเภอและตำบล ตลอดจนการจัดชุดปฏิบัติการที่สามารถเข้าไปยังจุดที่ก่อให้เกิดการเผาหรือการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ครอบคลุมในทุกพื้นที่ 3) ตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ ติดตามสถานการณ์การเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยี อาทิ ภาพถ่ายดาวเทียม และ Application เสริมประสิทธิภาพการติดตามตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศและการบัญชาการดับไฟป่า ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการอำนวยการ สั่งการ และแจ้งเตือนประชาชน 4) เน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งการควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ การก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และสร้างการรับรู้ ความตระหนักให้แก่ประชาชน เช่น ส่งเสริมการตรวจสภาพรถยนต์ส่วนบุคคลอย่างสม่ำเสมอ การใช้พลังงานสะอาด และการใช้เตาหุงต้ม/เตาปิ้งย่าง/ถ่านปลอดมลพิษ เป็นต้น 5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประสานอำเภอ อปท.ในพื้นที่ เร่งสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างความรู้ให้ผู้นำชุมชน จิตอาสา อาสาสมัคร และประชาชน ในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระหว่าง ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพอากาศ รวมทั้งขยายเครือข่ายแจ้งเตือน และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทราบถึงสถานการณ์ที่ถูกต้อง 6) ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ประชาชนให้ตระหนักถึงผลกระทบจากกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) แนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ มาตรการต่าง ๆ ภาครัฐ และข้อกฎหมาย ทั้งนี้ หากสถานการณ์อยู่ในภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพประชาชน ให้เร่งบูรณาการทุกหน่วยงานให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยเร็ว
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวต่อว่า สำหรับในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และพื้นที่จังหวัดภาคอื่นที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ให้ปฏิบัติตามมาตรการ "4 พื้นที่ 5 มาตรการบริหารจัดการ" โดยในส่วน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1) พื้นที่ป่าสงวน/ป่าอนุรักษ์ โดยดำเนินการควบคุมไฟป่า จัดทำแนวป้องกันไฟ จัดกำลังลาดตระเวน บังคับใช้กฎหมาย ปิดป่าในช่วงประกาศห้ามเผา การทำป่าเปียก/ป่าชื้น ฯลฯ และการให้ผู้นำท้องที่ตั้งกฎกติกาการห้ามเผาป่าในหมู่บ้าน/ชุมชน และจัดทำบัญชีผู้มีพฤติกรรมเข้าป่าเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์ 2) พื้นที่เกษตรกรรม โดยควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร จัดระเบียบบริหารเชื้อเพลิง รณรงค์การใช้สารย่อยสลายหรือไถกลบตอซังข้าว/ข้าวโพด/ซากวัชพืช ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและการแปรวัสดุการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า และจัดอาสาสมัครเฝ้าระวังไม่ให้เกษตรกรลักลอบเผา 3) พื้นที่ชุมชน/เมือง ให้จังหวัด อำเภอ และอปท. กำหนดกติการ่วมกันของชุมชน โดยใช้กลไกประชารัฐ เฝ้าระวัง ป้องกัน การเผาในพื้นที่ชุมชน/เมือง การฟอกอากาศ/การสร้างเมืองต้นไม้ การกำหนดพื้นที่ปลอดมลพิษ (Safety Zone) และจัดชุดปฏิบัติการประจำตำบล/หมู่บ้าน ประชุมชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ให้ทราบมาตรการและแนวทางภาครัฐ 4) พื้นที่ริมทาง โดยจัดกำลังอาสาสมัครภาคประชาชนลาดตระเวน เฝ้าระวัง และกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้ง ที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ และในส่วนมาตรการบริหารจัดการ 5 มาตรการ ได้แก่ 1) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ โดยให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดและอำเภอ เป็นองค์กรหลักในการอำนวยการ สั่งการ ระดมสรรพกำลัง ทรัพยากร และประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ 2) สร้างความตระหนัก สร้างการรับรู้กับประชาชนทราบถึงมาตรการการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และการส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียน เยาวชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า 3) ลดปริมาณเชื้อเพลิง โดยให้จัดทำแนวกันไฟ การควบคุมการเผา ส่งเสริมการใช้สารหมักชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซัง และการนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาทำอาหารสัตว์ และกำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน สอดส่อง ตักเตือน ห้ามปราม ผู้ที่จุดไฟเผาเศษวัสดุทางการเกษตร โดยเฉพาะตามเขตรอยต่อระหว่างชุมชนกับเขตป่าไม้ 4) การบังคับใช้กฎหมาย ให้กำชับเจ้าพนักงานตามกฎหมายบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และจับกุมผู้กระทำความผิดที่ลักลอบเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชน/เมือง และพื้นที่ริมทาง 5) ทีมประชารัฐ โดยบูรณาการทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและกำหนดแนวทาง มาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเน้นย้ำให้ทุกจังหวัดให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทุกคนเป็นสำคัญ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37712 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สภา สบช. พร้อมผลิตกำลังคนด้านสาธารณสุขกว่า 5 พันคน ในปีการศึกษา 2564 | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
สภา สบช. พร้อมผลิตกำลังคนด้านสาธารณสุขกว่า 5 พันคน ในปีการศึกษา 2564
สภาสถาบันพระบรมราชชนก พร้อมผลิตกำลังคนด้านสาธารณสุขปี 2564 คณะพยาบาลศาสตร์ 3,686 คน และคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 1,875 คน เพื่อรองรับการดูแลสุขภาพประชาชนในระบบปฐมภูมิ
สภาสถาบันพระบรมราชชนก พร้อมผลิตกำลังคนด้านสาธารณสุขปี 2564 คณะพยาบาลศาสตร์ 3,686 คน และคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 1,875 คน เพื่อรองรับการดูแลสุขภาพประชาชนในระบบปฐมภูมิ
วันนี้ (18 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะนายกสภาสถาบันพระบรมราชชนก เป็นประธานการประชุมสภาสถาบันพระบรมราชชนก ครั้งที่ 9/2563 และให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบแผนการผลิตนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ของสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปีการศึกษา 2564 ซึ่งมาจากการวิเคราะห์และสำรวจความต้องการบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร ตำรวจ เป็นต้น เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรตามความต้องการ สอดคล้องกับนโยบายที่จะพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งการดูแลส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การฟื้นฟู และการรักษาโรค เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริการใกล้บ้าน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดแออัดในรพ.ใหญ่ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านสาธารณสุขด้วย
ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2564 สถาบันพระบรมราชชนกจะเปิดรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาภายในเดือนมิถุนายน 2564 โดยเปิดรับ คณะพยาบาลศาสตร์ 3,686 คน, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์รวม 1,875 คน แบ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 360 คน สาขาวิชาทันตสาธารณสุข 340 คน สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์ 330 คน สาขาวิชาเวชระเบียน 50 คน สาขาวิชารังสีเทคนิค 55 คน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 50 คน สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 40 คน และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม 320 คน สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 210 คน และสาขาวิชาเวชระเบียน 120 คน
************************* 18 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37718 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เร่งแผนส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี พร้อมผลักดันการพัฒนาระบบ 5G ควบคู่แผนพัฒนาการเกษตรเชื่อมโยงอุตสาหกรรม | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
นายกฯ เร่งแผนส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี พร้อมผลักดันการพัฒนาระบบ 5G ควบคู่แผนพัฒนาการเกษตรเชื่อมโยงอุตสาหกรรม
นายกฯ เร่งแผนส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี พร้อมผลักดันการพัฒนาระบบ 5G ควบคู่แผนพัฒนาการเกษตรเชื่อมโยงอุตสาหกรรม
วันนี้ (18 ธ.ค.63) เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 5/2563 ร่วมกับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญของการประชุมดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงเรื่องความก้าวหน้าในการดำเนินงานในพื้นที่อีอีซี ซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของประเทศไทยที่ต้องช่วยกันให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ และเป็นไปตามแผนงานทุกประการ พร้อมกล่าวย้ำในเรื่องการลงทุนในเขตอีอีซีว่า จะต้องหาวิธีการให้มีการลงทุนในพื้นที่อีอีซีให้มากขึ้น และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น
ที่ประชุม กพอ. พิจารณาการพัฒนาโครงข่าย 5G และโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) โดยพิจารณาแนวทางการดำเนินงานผลักดันการใช้ประโยชน์จาก 5G ให้เกิดการลงทุนพัฒนาระบบ 5G ในพื้นที่ อีอีซี โดยมีแนวทาง ดังนี้ (1) สร้างผู้ใช้ 5G อย่างเป็นระบบ ผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐใช้เทคโนโลยี 5G ในโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เขตส่งเสริมอีอีซี ประมาณ 10,000 แห่ง โรงแรมทั้งหมดในอีอีซี ประมาณ 300 แห่ง หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มเอสเอ็มอี โดยได้จัดทำโครงการนำร่องพัฒนาระบบ 5G เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน เริ่มตั้งแต่ บริเวณฐานทัพเรือสัตหีบเสริมความมั่นคง สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน เสริมโครงสร้างพื้นฐาน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเสริมประสิทธิภาพอุตสาหกรรม และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อให้ชุมชนได้เริ่มทดลองใช้ระบบ 5G (2) เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูล ผลักดันให้ภาคเอกชนและภาครัฐ จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ ในพื้นที่ อีอีซี โดยให้ EECd เป็นจุดติดตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) นอกจากนี้ วางแนวทางและปรับข้อกฎหมาย นำข้อมูลคลาวด์ภาครัฐ และคลาวด์ภาคเอกชน เฉพาะข้อมูลที่เปิดเผยได้มาจัดทำข้อมูลกลาง เพื่อธุรกิจในอนาคต (Common Data Lake) เพื่อให้ภาคธุรกิจ และกลุ่มสตาร์ทอัพ นำข้อมูลดังกล่าวไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจ เช่น E-Commerce การท่องเที่ยว สาธารณสุข และการแพทย์ (3) พัฒนาบุคลากรดิจิทัล ผลักดันเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนการพัฒนาคน โดยเน้นผลิตบุคลากรที่มีทักษะตามความต้องการของเอกชน (Up-Re-New) จำนวน 100,000 คน นอกจากนี้ ได้ปรับแนวทางการดำเนินโครงการ EECd ให้เป็นกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาโครงข่าย 5G ซึ่งวิธีการพัฒนาจะเน้นความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีประสบการณ์ จัดตั้งเขตนวัตกรรมดิจิทัลในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน จีน และสหภาพยุโรป โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นเจ้าภาพ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุม กพอ. รับทราบการขอรับส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี ช่วง 11 เดือน (ม.ค.- พ.ย. 2563) มีทั้งสิ้น 387 โครงการ มูลค่าลงทุนสูงถึง 1.28 แสนล้านบาท เทียบเท่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนทั้งประเทศ เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ 76,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และปิโตรเคมี โดยนักลงทุนที่สนใจจะลงทุน ขณะนี้ บีโอไอ ได้ประสานกระทรวงต่างประเทศ ทดลองผ่อนผันการกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศ เพื่อความสะดวกและเป็นแรงจูงใจ ให้กับนักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในอีอีซี
กพอ. ยังรับทราบความก้าวหน้าแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ อีอีซี โดยแผนเกษตรในอีอีซี ใช้ความต้องการตลาดนำ (Demand Pull) เน้นเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร พัฒนาสินค้าตรงความต้องการ ใช้เทคโนโลยีสร้างรายได้ (Technology Push) ให้สินค้าเกษตรมีคุณภาพดี ราคาสูง ให้ความสำคัญ 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ ผลไม้ ประมงเพาะเลี้ยง พืชชีวภาพ พืชสมุนไพร ปศุสัตว์ เพื่อยกระดับการผลิตตรงความต้องการ เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้แผนฯ เป็นกรอบในการขอรับงบประมาณปี 2565 เป้าหมายหลัก ต้องการยกระดับภาคเกษตร ใช้เทคโนโลยีนำการผลิต สินค้าตรงตามความต้องการของตลาด เพิ่มรายได้ภาคเกษตร ใกล้เคียงภาคอุตสาหกรรม
------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37721 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ที่สุดในรอบปี เสาร์นี้ ธอส.ขนบ้านมือสองมากกว่า 7,000 รายการ ออกประมูลออนไลน์เลี่ยงโควิด-19 ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ราคาเริ่มต้นลดสูงสุดถึง 75% ราคาถูกสุดแค่ 30,000 บ. | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
ที่สุดในรอบปี เสาร์นี้ ธอส.ขนบ้านมือสองมากกว่า 7,000 รายการ ออกประมูลออนไลน์เลี่ยงโควิด-19 ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ราคาเริ่มต้นลดสูงสุดถึง 75% ราคาถูกสุดแค่ 30,000 บ.
ธอส.ห่วงความปลอดภัยด้านสุขภาพของลูกค้าประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 ประกาศเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน “ประมูลขายบ้านมือสอง(รวมที่ดินเปล่า) ธอส. ครั้งที่ 4/2563” ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นการประมูลออนไลน์ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ห่วงความปลอดภัยด้านสุขภาพของลูกค้าประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 ประกาศเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน “ประมูลขายบ้านมือสอง(รวมที่ดินเปล่า) ธอส. ครั้งที่ 4/2563” ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นการประมูลออนไลน์ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA โดยนำทรัพย์ทั่วประเทศมาออกประมูลมากที่สุดในรอบปีมากกว่า 7,000 รายการ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุด แฟลต อาคารพาณิชย์ และที่ดินเปล่า แบ่งเป็นทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 555 รายการ และทรัพย์ในภูมิภาค 6,500 รายการ ลดราคาสูงสุดถึง 75% จากราคาปกติ ราคาเริ่มต้นประมูลต่ำสุดเพียง 30,000 บาท แบ่งทรัพย์ออกประมูลออกเป็น 7 รอบเวลา รอบละ 30 นาที ประมูลระหว่างเวลา 10.00-16.30 น.
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่ง ธอส. ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในสุขภาพรวมถึงความสะดวกของลูกค้าประชาชนเป็นหลักนั้น ธนาคารจึงขอประกาศ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานประมูลขายบ้านมือสอง(รวมที่ดินเปล่า) ธอส. ครั้งที่ 4/2563 ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 จากเดิมกำหนดให้มีการประมูลที่สำนักงานใหญ่ หรือ ที่ทำการสาขาที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ มาเป็นการประมูลออนไลน์ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA โดยธนาคารได้คัดทรัพย์สภาพดีรวมทั้งสิ้นมากกว่า 7,000 รายการ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงในภูมิภาค ทั้งประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุด อาคารพาณิชย์ และที่ดินเปล่า ราคาเริ่มต้นประมูลให้ส่วนลดสูงสุด 75% จากราคาปกติ แบ่งเป็นทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 555 รายการ ราคาเริ่มต้นประมูลให้ส่วนลดสูงสุด 50% ถึง 33 รายการ โดยมีรายการที่น่าสนใจ อาทิ ทรัพย์ที่มีราคาจำหน่ายต่ำสุด ได้แก่ ห้องชุดชั้นที่ 5 ขนาด 19.5 ตารางเมตร โครงการสมจินตรา ตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ราคาเริ่มต้นประมูลอยู่แค่ 30,000 บาทเท่านั้น ส่วนรายการทรัพย์เด่นที่มีสภาพใหม่ ตั้งอยู่ในทำเลดี อาทิ ทรัพย์ที่สามารถเดินทางไปสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท-ศรีนครินทร์ ได้อย่างสะดวก ได้แก่ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น เนื้อที่ 67.4 ตารางวา โครงการหมู่บ้านปริญญดา ถ.บางพลี-ตำหรุ อ.บาลพลี จ.สมุทรปราการ ราคาเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 3,600,000 บาท ทรัพย์ที่อยู่ห่างจากศูนย์การค้าเมกาบางนาเพียง 4 กิโลเมตร คือ ทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น เนื้อที่ 28.1ตารางวา ในโครงการหมู่บ้านเดอะคัลเลอร์สเลชเชอร์บางนา กม.10 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ราคาเริ่มต้นประมูล 2,520,000 บาท ขณะที่ทรัพย์ในภูมิภาคนำออกประมูล 6,500 รายการ โดยมีรายการที่น่าสนใจ อาทิ ราคาเริ่มต้นประมูลลดเกือบ 70% และมีราคาเริ่มต้นประมูลต่ำที่สุดเพียงแค่ 85,000 บาท ได้แก่ ที่ดินเปล่า ขนาด 188 ตารางวา ใน อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์
“ผลจากการจัดประมูลทรัพย์ออนไลน์ผ่านแอป G H Bank Smart NPA ตลอด 6 ครั้งระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งสามารถขายทรัพย์ได้ 165 รายการ ราคารวมถึง 254.6 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าลูกค้าของธนาคารมีความคุ้นเคยกับการรูปแบบการประมูลออนไลน์มากขึ้น และมีส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้การขายทรัพย์ NPA ของธนาคารในปีนี้จนถึง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 สามารถขายได้แล้วถึง 3,352 รายการ มูลค่ารวม 2,872.27 ล้านบาท แม้ว่าจะมีปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี ซึ่งทำให้ธนาคารไม่สามารถจัดงานประมูลขายทรัพย์ หรือนำทรัพย์ไปออกจำหน่ายในมหกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ ส่วนในปี 2564 ธนาคามีเป้าหมายในการขายทรัพย์จำนวน 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเป้าของการขายผ่านทางออนไลน์จำนวน 400 ล้านบาท เพราะคาดว่าจะเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมจากลูกค้ามากยิ่งขึ้น”นายฉัตรชัย กล่าว
สำหรับการประมูลขายบ้านมือสอง(รวมที่ดินเปล่า) ธอส. ครั้งที่ 4/2563 ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ในครั้งนี้ จะแบ่งทรัพย์ออกประมูลเป็น 7 รอบเวลา รอบละ 30 นาที ประกอบด้วย
รอบที่ 1 เวลา 10.00-10.30 น. ประมูลทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.จันทบุรี จ.ระยอง จ.ตราด และ จ.สระแก้ว
รอบที่ 2 เวลา 11.00-11.30 น. ประมูลทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.พะเยา จ.แพร่ จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ลำปาง จ.ลำพูน จ.กำแพงเพชร จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.เพชรบูรณ์ จ.ลพบุรี จ.สุโขทัย และ จ.อุทัยธานี
รอบที่ 3 เวลา 12.00-12.30 น. ประมูลทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สระบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.อ่างทอง จ.ยโสธร จ.อำนาจเจริญ จ.ร้อยเอ็ด จ.ศรีสะเกษ จ.สุรินทร์ จ.สิงห์บุรี จ.นครนายก และ จ.อุบลราชธานี
รอบที่ 4 เวลา 13.00-13.30 น.ประมูลทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จ.กาญจนบุรี จ.นครปฐม จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร จ.พัทลุง จ.ยะลา จ.สงขลา จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สตูล
รอบที่ 5 เวลา 14.00-14.30 น.ประมูลทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.กระบี่ จ.ตรัง จ.นครศรีธรรมราช จ.ภูเก็ต จ.ชุมพร จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.เพชรบุรี จ.สุราษฎร์ธานี จ.พังงา จ.ระนอง จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส
รอบที่ 6 เวลา 15.00-15.30 น. ประมูลทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ปราจีนบุรี
รอบที่ 7 เวลา 16.00-16.30 น. ประมูลทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.มุกดาหาร จ.ชัยภูมิ จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.เลย จ.สกลนคร จ.หนองคาย จ.หนองบัวลำภู จ.บึงกาฬ และ จ.อุดรธานี
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลสามารถดาวน์โหลด Application : G H Bank Smart NPA และลงทะเบียนเข้าร่วมประมูลออนไลน์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2563 เวลา 09.45 น.(เฉพาะลูกค้าที่ยังไม่เคยลงทะเบียน) ผู้ชนะการประมูลจะได้รับ QR Code ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA สำหรับติดต่อกับธนาคารเพื่อชำระเงินมัดจำตามที่ธนาคารกำหนดและทำสัญญาจะซื้อจะขายในระหว่างวันที่ 21-30 ธันวาคม 2563 และสามารถเลือกใช้โปรโมชั่นผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 60 เดือน หรือเทดาวน์แล้วยื่นกู้เลยก็มีสิทธิ์เลือกใช้โปรโมชั่นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 48 เดือน (ภายใต้เงื่อนไขของมาตรการพิเศษที่ธนาคารกำหนด) สอบถามรายละเอียด หรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารเพิ่มเติมได้ที่ www.ghbhomecenter.com หรือ www.ghbank.co.th หรือ โทรศัพท์สอบถามข้อมูลกรณีทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โทร. 0-2202-1582 ถึง 3 กรณีทรัพย์ในส่วนภูมิภาค โทร. 0-2202-2036 และ 0-2202-1170 หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ส่วนประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
โทร. 02-202-1980-5
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37717 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อความสุขของประชาชน บูรณาการขับเคลื่อนงานโครงการจิตอาสาฯ ร่วมศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ให้การทำงานมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
คณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อความสุขของประชาชน บูรณาการขับเคลื่อนงานโครงการจิตอาสาฯ ร่วมศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ให้การทำงานมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม
นายกรัฐมนตรีประชุมคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อความสุขของประชาชน บูรณาการขับเคลื่อนงานโครงการจิตอาสาฯ ร่วมศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ให้การทำงานมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม
วันนี้ (18 ธ.ค.63) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า เมื่อเวลา 13.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชน ครั้งที่ 1/2563 ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่และอำนาจสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ในการน้อมนำแนวพระราชดำริมาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารัฐบาลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน จึงมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 156/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชนขึ้น เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการจิตอาสาพระราชทานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดผลเป็นรูปธรรมตามพระบรมราโชบายอย่างสมพระเกียรติ
สำหรับการประชุมวันนี้เป็นการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชน และศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เพื่อบูรณาการและเสริมการทำงานร่วมกันให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โครงการจิตอาสาพระราชทาน เพื่อให้เกิดความรู้รักสามัคคี ประชาชนมีความสุข ประเทศชาติมีความมั่นคง อย่างยั่งยืน ภายใต้พระราชปณิธาน “สืบสาน รักษา ต่อยอด” โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และแนวพระราชดำริต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้วจำนวนประมาณ 6.7 ล้านคน โดยนายกรัฐมนตรีแนะให้มีการบริหารจัดการข้อมูลของจิตอาสาให้ชัดเจนเป็นปัจจุบันและทันสมัย เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการพิจารณาในการดำเนินการหาจิตอาสามาทดแทนในส่วนที่ต้องเสริมให้เพียงพอ พร้อมเน้นย้ำถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของจิตอาสาต้องมีความระมัดระวังและมีอุปกรณ์ในการดูแลป้องกันตนเองในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ด้วย โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่เรื่องของภัยพิบัติ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ฝากให้ช่วยกันดำเนินการในเรื่องของการทำฝายชะลอน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำต้นทางไว้ให้มากที่สุด รวมไปถึงการดูแลแม่น้ำลำคลองให้สะอาดสวยงาม การกำจัดผักตบชวา การสนับสนุนส่งเสริมให้ปลูกไม้มีค่า 58 ชนิด เพื่อเป็นสินทรัพย์และหลักทรัพย์ค้ำประกันของประชาชนในอนาคต การปลูกไม้ยืนต้นและไม้ดอกสวยงามตามพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มสีสันและความสวยงามให้กับประเทศได้
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้รับทราบภาพรวมภารกิจและผลการดำเนินงานจิตอาสาพระราชทาน ซึ่งได้รวมความสามัคคีของคนไทยทุกหมู่เหล่า มาทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าจนบังเกิดเป็นประโยชน์สุขต่อสังคมส่วนรวมอย่างยั่งยืน โดยมีการแบ่งจิตอาสาพระราชทาน แยกตามภารกิจ/กิจกรรม เป็น 3 ประเภท ได้แก่ จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ประสานงานของหน่วยงานระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า โดยมอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า เป็นผู้ประสานงานและแจ้งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทราบภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ เพื่ออำนวยการ กำกับดูแล สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสากับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานพิจารณาดำเนินงานและจัดกิจกรรมจิตอาสาตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละหน่วยงานต่อไป
-------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37731 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ตรวจสอบและดำเนินคดีผู้ทุจริตในโครงการคนละครึ่ง” | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
“ตรวจสอบและดำเนินคดีผู้ทุจริตในโครงการคนละครึ่ง”
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมแถลงผลการตรวจสอบและดำเนินคดีผู้ทุจริตในโครงการคนละครึ่ง
วันนี้ (18 ธ.ค.2563) เวลาประมาณ 13.00 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ต.ปัญญา ปิ่นสุข รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผบก.ปอศ. นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมายธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ร่วมกันแถลงผลการตรวจสอบและดำเนินคดีผู้ทุจริตในโครงการคนละครึ่ง
โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่รัฐบาลจัดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานราก ผ่านผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อให้ประชาชน ใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” และรัฐบาลจะออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 3,000 บาท ในเฟสแรก (3,500 บาท ในเฟส 2) ตลอดระยะเวลาโครงการ ต่อมา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารกรุงไทย ได้สอบเบื้องต้นพบความผิดปกติในการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ มีรูปแบบการกระทำความผิดอยู่ 2 แบบ คือ ร้านแลกหรือรับเงินเป็นผู้ดำเนินการ และแบบมีเจ้ามือเป็นผู้ดำเนินการจำนวนหลายราย จึงได้มีการระงับการใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” และระงับการจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าดังกล่าว และได้จัดส่งข้อมูลร้านค้าและผู้เกี่ยวข้องที่กระทำผิดเงื่อนไข ให้แก่ ตร. ดำเนินการ
ผบ.ตร. จึงได้มอบหมาย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบและดำเนินคดี โดยมี พล.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นผู้ช่วย และมอบหมายให้ บช.ก. เร่งรัดดำเนินการ โดย มี พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช รอง ผบช.ก. เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ร่วมดำเนินการกับ บก.ปอศ.
มีผลการดำเนินคดี 1 ราย ผู้ต้องหา 4 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์เป็นแบบเจ้ามือ ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สาวิตา รักชีพชอบ” โฆษณาชักชวนให้ประชาชนที่ร่วมโครงการฯ มาแลกรับเงินจากเจ้ามือโดยไม่ต้องมีการซื้อ
จากการตรวจสอบพบธุรกรรมต้องสงสัยมีการสแกนใช้สิทธิ์กับร้านขายของชำแห่งหนึ่งในเขต จ.สมุทรสาคร โดยประชาชนหลายรายมีภูมิลำเนาและที่อยู่ปัจจุบันห่างไกลจากร้านค้าดังกล่าวมาก บางรายอยู่ จ.เชียงใหม่ , จ.สงขลา เป็นต้น แต่กลับมีการใช้จ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง กับแอพพลิเคชั่นถุงเงินของร้านค้าดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ใน จ.สมุทรสาคร ประชาชนได้รับโอนเงินส่วนต่างจากเจ้ามือ จำนวน 80-100 บาท ต่อการทำธุรกรรมใช้จ่ายผ่านร้านดังกล่าว
ต่อมาวันที่ 9 ธ.ค.2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนจากธนาคารกรุงไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าขายของชำที่ ต.คอกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พบ น.ส.สมปอง (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 62 ปี แสดงตนเป็นเจ้าของร้านขายของชำดังกล่าว และพบ นายสรัล (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี บุตรชายเจ้าของร้านดังกล่าว จากการตรวจสอบพบ 1.โทรศัพท์มือถือที่ใช้ในระบบ G Wallet จำนวน 5 เครื่อง 2. แท็บเล็ต iPad จำนวน 1 เครื่อง 3.คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค จำนวน 1 เครื่อง และ 4.บัญชีเงินฝากธนาคาร 6 เล่ม จึงได้ตรวจยึดไว้เป็นของกลางในคดี และจากการสอบสวนปากคำ น.ส.สมปองฯ เจ้าของร้าน การดำเนินการทั้งหมดนายสรัลฯบุตรชายเป็นผู้ดำเนินการ โดยนายสรัลฯ ให้การยอมรับว่าได้ตกลงร่วมมือกับผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สาวิตา รักชีพชอบ” และใช้ไลน์ชื่อJeerapot ในการติดต่อ และเมื่อได้รับเงินจากรัฐบาล ได้โอนเงินคืนให้กับเจ้ามือ ผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อ นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) โดยทางร้านค้าจะได้ผลประโยชน์ 30 บาทต่อราย ส่วนผู้ใช้ไลน์ชื่อJeerapot ได้ 30บาทต่อราย คนที่มาขายสิทธิจะได้เงิน รายละ 90 บาท อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงพื้นที่สอบสวนปากคำประชาชนที่ใช้สิทธิ์ผ่านร้านค้าดังกล่าวจำนวน 14 จุด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิเช่น จ.ลพบุรี ,ชลบุรี ,ชัยภูมิ ,บุรีรัมย์ ,สุรินทร์ ,เชียงใหม่ ,สงขลา เป็นต้น และจากการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานตลอดจนการวิเคราะห์เส้นทางการเงินในคดี ทำให้ทราบว่า เจ้ามือ หรือ ผู้ใช้งานเฟซบุ๊คชื่อ “สาวิตา รักชีพชอบ” คือ นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ นางกนกภณณ์ (ขอสงวนนามสกุล)เป็นสามีภรรยากัน อยู่ใน จ.ลพบุรี
ต่อมาในวันที่ 17 ธ.ค.2563 จึงได้แจ้งข้อกล่าวหากับ น.ส.สมปอง (ขอสงวนนามสกุล) ,นายสรัล (ขอสงวนนามสกุล) , นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ นางกนกภรณ์ (ขอสงวนนามสกุล) ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342(1) อัตราโทษ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ น.ส.สมปองฯ ให้การปฏิเสธ ส่วน นายสรัลฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา นายจีรพจน์ฯ ให้การปฏิเสธ โดยให้การว่าไม่รู้เรื่องมาก่อน ส่วนนางกนกภรณ์ฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยรับว่าร่วมกับนายสรัลฯ ซึ่งนางกนกภรณ์ฯ จะเป็นคนหาลูกค้าประชาชนผ่านเฟซบุ๊ค “สาวิตา รักชีพชอบ” จากนั้นจะนำข้อมูลมาล็อคอินผ่านแอพฯเป๋าตังค์สแกนใช้สิทธิ์ผ่านแอพฯถุงเงินร้านค้าของนายสรัลฯ โดยไม่มีการซื้อขายจริง
จากการตรวจสอบพบว่ายังมีกลุ่มที่อาจจะเข้าข่ายกระทำความผิดในลักษณะนี้อีกกว่า ๗๐๐ ราย ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม ขณะนี้ ตร. โดย ท่าน ผบ.ตร. อยู่ระหว่างมีคำสั่งแต่งตั้งชุดปฏิบัติการสืบสวน เพื่อสนับสนุน ในการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ของบุคคล กลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมก่อนว่ามีผู้ใด หรือมีเครือข่ายใดเกี่ยวข้องบ้าง และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อาจจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานฯ ซึ่งมีอยู่ในแต่ละจังหวัดไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน โดยจะให้นำแนวทางการสืบสวนสวนในภาพรวมของ บช.ก. และ ตร. ดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
จึงขอฝากประชาสัมพันธ์เตือนถึงพี่น้องประชาชนว่า แม้คดีฉ้อโกงฯ จะมีอัตราโทษไม่มาก จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือ ๕ ปี /ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ 100,000 บาท ก็ตาม แต่การกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จะถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ หากมีการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวซ้ำๆหลายครั้ง ก็จะได้รับโทษในแต่ละครั้งในทุกๆครั้ง เมื่อรวมแล้วอาจจะได้รับโทษจำคุก ถึง 10-20 ปี หรือมากกว่านั้น จึงขออย่าได้เข้าร่วมในการกระทำการทุจริตในโครงการฯดังกล่าว เพราะจะมีการตรวจสอบที่เข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายร้านค้าผู้ประกอบการหรือประชาชน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียโอกาสของผู้อื่น จึงขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้หลงเชื่อการชักชวนให้กระทำผิดเงื่อนไขโครงการ เพราะทั้งร้านค้าและประชาชนจะถูกตัดสิทธิ์ และจะถูกดำเนินคดีทุกรายซึ่งมีอายุความในการดำเนินคดีถึง ๑๐ ปี
ทั้งนี้ หากท่านพบพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ สามารถแจ้งเบาะแสมาที่ [email protected] หรือส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยระบุ รายละเอียดของการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และข้อมูลสำหรับการติดต่อกลับพร้อมหลักฐาน (หากมี) หรือที่ ตร. ที่เว็บไซต์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) http://pct.police.go.th/form.php
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37723 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 15/2563 | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
การประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 15/2563
รองปลัด กษ. ร่วมประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 15/2563
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 15/2563 ในฐานะกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) โดยมีนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งที่ประชุมได้หารือและพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) โรงงานน้ำตาลขอผ่อนผันขยายระยะเวลาการนำส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อใช้ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2563
2) ขอทบทวนการกำหนดอัตราค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2563/2564
3) การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2562/2563
4) การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2563/2564
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37725 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนรม. อนุทินฯ รับมอบช้อนจีน 6 แสนคันจากภาคเอกชน เพื่อนำไปช่วยเหลือการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ใน รพ.พระนั่งเกล้า และ รพ.สต. ทั่วประเทศ | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
รองนรม. อนุทินฯ รับมอบช้อนจีน 6 แสนคันจากภาคเอกชน เพื่อนำไปช่วยเหลือการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ใน รพ.พระนั่งเกล้า และ รพ.สต. ทั่วประเทศ
รองนรม. อนุทินฯ รับมอบช้อนจีน 6 แสนคันจากภาคเอกชน เพื่อนำไปช่วยเหลือการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ใน รพ.พระนั่งเกล้า และ รพ.สต. ทั่วประเทศ
วันนี้ (18 พ.ย. 63) เวลา 12.45 น. ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล คณะผู้บริหาร บริษัท ไทยสเตนเลสสตีล จำกัด (Seagull) เข้าพบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อมอบของบริจาคช่วยเหลือดำเนินงานป้องกันโรคโควิด-19 โดยมี นายพลพีร์ สุวรรณฉวี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สินชัย ตันติรัตนานนท์ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธาณสุข และ นพ.มณเฑียร เพ็งสมบัติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ร่วมการรับมอบในครั้งนี้
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีรับมอบช้อนจีน (สเตนเลส) จำนวน 6 แสนคัน มูลค่า 1.2 ล้านบาท เพื่อนำไปช่วยเหลือการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศ ทั้งนี้ บริษัท ไทยสเตนเลสสตีล จำกัด (Seagull) จะทำการมอบเครื่องนึ่งขวดนมแก่โรงพยาบาลเด็ก เพื่อนำไปใช้เป็นคุณประโยชน์อีกด้วย โดยรองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 พร้อมกำชับให้มีการแจกจ่ายช้อนจีน (สเตนเลส) อย่างทั่วถึงในสถานพยาบาล หรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่ขาดแคลนด้วย
-----------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37720 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ผลิต “พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์” ช่องทางอาชีพยุค New Normal | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
ก.แรงงาน ผลิต “พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์” ช่องทางอาชีพยุค New Normal
รมช.แรงงาน ปลื้ม กพร. ผลิต “พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์” เพิ่มช่องทางสร้างอาชีพยุค New Normal เขตคันนายาว การันตีอาชีพอิสระสอดรับยุคใหม่ ครอบคลุมทุกพื้นที่
วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมการขายสินค้าออนไลน์ ณ สำนักงานเขตคันนายาว พร้อมชมการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ การทำเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ การสานตะกร้าพลาสติก การทำสายคล้องแมส นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับรองความรู้ความสามารถ ให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารออมสิน และการให้คำปรึกษาด้านการประกอบธุรกิจ จากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้แก่ประชาชนในเขตคันนายาวกว่า 100 คน ณ โรงเรียนผู้สูงอายุคุณตาคุณยาย เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร โดยมีนายไพโรจน์ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้บริหาร ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย
ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในการประกอบอาชีพท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ต้องการเห็นพี่น้องประชาชนทุกคนมีอาชีพ มีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี และลดความเหลื่อมล้ำให้ได้มากที่สุด จึงเป็นหนึ่งในภารกิจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ในการเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ ด้วยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะฝีมือ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ตามแนวคิด สร้าง ยก ให้ รวมไทยสร้างชาติ ด้วยการ “สร้าง” อาชีพใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น “ให้” โอกาสแก่ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้ามาเรียนรู้และพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ โดยวันนี้ได้มอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เป็นอาชีพที่สามารถทำได้ง่าย สามารถทำได้ทุกที่ ลดค่าใช้จ่ายไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างพนักงาน รวมทั้งสามารถเปิดขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกอบกับนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคมของรัฐบาล จึงทำให้การขายสินค้าออนไลน์มีบทบาทมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ในแต่ละปี ที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นผู้ค้ารายใหญ่หรือรายย่อยก็ตาม เริ่มเปลี่ยนการซื้อ-ขายมาสู่ระบบการค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
รมช.แรงงาน กล่าวต่อว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้ เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ โดยมีความมุ่งมั่น ให้ประชาชนเข้าถึงบริการตามภารกิจของหน่วยงานอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถใช้โมบายแอพพลิเคชั่นเป็นช่องทางทำธุรกิจ และสร้างรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาทักษะและเทคนิคต่างๆ ไปต่อยอดการพัฒนาตนเองได้ การฝึกอบรมการขายสินค้าออนไลน์ มีระยะเวลาการฝึก 18 ชั่วโมง ในครั้งนี้ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร อบรมระหว่างวันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2563 เนื้อหาการอบรม ประกอบด้วย การเรียนรู้เรื่องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดร้านค้าออนไลน์ เทคนิคการคัดเลือกสินค้าเพื่อการจำหน่ายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเทคนิคการคัดเลือกสิ้นค้าเพื่อการจำหน่ายนั้น ผู้เข้าอบรม จะเรียนรู้ตั้งแต่การสำรวจความต้องการของผู้บริโภค สำรวจตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคนิคการตั้งชื่อสินค้าและการถ่ายภาพสินค้าเพื่อจำหน่ายบนออนไลน์
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37727 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. แสดงความเสียใจกรณีลูกค้าสาขาลำปลายมาศเสียชีวิต พร้อมแจงการให้บริการทำธุรกรรมที่สาขา | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
ธ.ก.ส. แสดงความเสียใจกรณีลูกค้าสาขาลำปลายมาศเสียชีวิต พร้อมแจงการให้บริการทำธุรกรรมที่สาขา
ธ.ก.ส.ขอแสดงความเสียใจต่อกรณีที่ลูกค้าสาขาลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตขณะเดินทางมาทำธุรกรรมที่สาขา แจงมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปมาใช้บริการที่สาขาเป็นจำนวนมากเพื่อมารับเงินจากโครงการนโยบายรัฐต่างๆ
ธ.ก.ส.ขอแสดงความเสียใจต่อกรณีที่ลูกค้าสาขาลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตขณะเดินทางมาทำธุรกรรมที่สาขา แจงมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปมาใช้บริการที่สาขาเป็นจำนวนมากเพื่อมารับเงินจากโครงการนโยบายรัฐต่าง ๆ พร้อมแนะช่องทางการใช้บริการโดยไม่ต้องเดินทางไปสาขา ผ่าน ATM และ A-Mobile ได้
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัวลูกค้าสาขาลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตขณะเดินทางมารับคิวใช้บริการที่ ธ.ก.ส. สาขาลำปลายมาศ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยธนาคารได้มอบหมายให้ผู้จัดการสาขานำพวงหรีด เงินร่วมทำบุญ น้ำดื่ม ไปเคารพศพ ซึ่งญาติ ๆ เข้าใจถึงสถานการณ์ดังกล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีโครงการนโยบายรัฐที่จ่ายเงินให้กับเกษตรกรจำนวนมากผ่านระบบ ธ.ก.ส. เช่น โครงการประกันรายได้พืชเศรษฐกิจหลัก 5 ประเภท (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน) ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์กว่า 5 ล้านครัวเรือน และยังมีการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพคนพิการ ผู้เข้าร่วมโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ และค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นต้น ทำให้มีเกษตรกรรวมถึงประชาชนทั่วไปมาใช้บริการที่สาขาจำนวนมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะที่สาขาดังกล่าวมีการโอนเงินกว่า 13,000 ราย ประกอบกับเป็นช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ธ.ก.ส. คำนึงถึงความปลอดภัย ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข จึงได้พยายามบริหารจัดการการให้บริการผ่านการแจกบัตรคิว เพื่อมิให้ลูกค้าต้องมารอหน้าสาขานานเกินไป ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าทราบช่วงเวลาที่จะได้รับบริการและสามารถบริหารจัดการเวลาเพื่อทำภารกิจอื่น ๆ ของตนเองได้
อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ได้เชิญชวนให้ลูกค้าที่มีบัตร ATM ทำธุรกรรมผ่านตู้ถอนเงินอัตโนมัติหรือโอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile รวมถึงมีการนัดหมายผ่านผู้นำชุมชนเพื่อให้บริการตามหมู่บ้าน พร้อมทั้งได้ประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ตำรวจ อสม. เข้ามาอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเข้ามาใช้บริการ
ธ.ก.ส. มุ่งทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีที่สุด และจะนำข้อคิดเห็นต่าง ๆ มาพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นสำหรับรองรับการทำธุรกรรมของลูกค้าที่มีปริมาณมากต่อไป นายสมเกียรติกล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37726 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙” | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙”
รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙”
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙” โดยมี นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมพิธี ณ อาคารนิทรรศการ ๓ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จัดนิทรรศการ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙” โดยจัดแสดงผลงานชิ้นเยี่ยมของศิลปินชั้นครู ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย อาทิ เฟื้อ หริพิทักษ์, พิมาน มูลประมุข, ชิต เหรียญประชา, จำรัส เกียรติก้อง, บัณจบ พลาวงศ์ โดยเป็นผลงานที่อยู่ในความครอบครองของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และผลงานที่ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืม รวมถึงผลงานที่ได้รับมอบจากหน่วยงาน องค์กร และบุคคล รวมถึงศิลปิน จำนวน ๘๒ ชิ้น นำมาจัดแสดงในส่วนห้องนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ตามมาตรฐานสากล โดยเปิดให้เข้าชมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ อาคารนิทรรศการ ๓ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37734 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เห็นชอบจ่ายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท นาน 3 เดือน | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
เห็นชอบจ่ายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท นาน 3 เดือน
วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลเห็นชอบมาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนกว่า 14 ล้านคน โดยเพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน คือ ม.ค. – มี.ค. 2564 ถือเป็นของขวัญช่วงปีใหม่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สำหรับการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ที่คาดว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนได้ในช่วงต้นปีหน้านั้น เบื้องต้นยังคงเงื่อนไขเดิม คือ ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ว่างงาน มีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี มีทรัพย์สินทางการเงินรวมแล้วไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะใช้รายได้ต่อครัวเรือนมาประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37713 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน ลงพื้นที่ สมุทรสาคร หลังพบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด 19 เพิ่ม ส่งรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยพระราชทานเพื่อคัดกรอง 3 คัน | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
อนุทิน ลงพื้นที่ สมุทรสาคร หลังพบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด 19 เพิ่ม ส่งรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยพระราชทานเพื่อคัดกรอง 3 คัน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตลาดกลางกุ้ง หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศ ที่ จ.สมุทรสาคร ที่มีความสัมพันธ์กับตลาดเพิ่ม ให้กรมควบคุมโรคเร่งสอบสวนโรค ติดตามผู้สัมผัส ส่งรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทานลงพื้นที่แล้
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตลาดกลางกุ้งหลังพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศ ที่ จ.สมุทรสาคร ที่มีความสัมพันธ์กับตลาดเพิ่ม ให้กรมควบคุมโรคเร่งสอบสวนโรค ติดตามผู้สัมผัส ส่งรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทานลงพื้นที่แล้ว 3 คัน พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษา
ค่ำวันนี้ (18 ธันวาคม 2563) ที่ จ.สมุทรสาคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าหลังพบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด 19ที่ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร โดยให้สัมภาษณ์ว่าวันนี้ได้มาติดตามความคืบหน้ากรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งขณะนี้ทีมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งทีมทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสาคร และผู้ว่าราชการจังหวัดในการติดตามสอบสวนโรคและตรวจหาเชื้อ ขณะนี้มีความพร้อมค่อนข้างมาก โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณส่งรถตรวจหาเชื้อนิรภัยพระราชทานจำนวน 3 คัน เพื่อทำการตรวจผู้ที่พักอาศัย ในตลาดกลางกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร ประมาณ 4,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ในจำนวนนี้มีคนไทยอยู่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้ตรวจหาเชื้อไปแล้วกว่า 2,000 คน เบื้องต้นพบผู้ติดเชื้อ 13 ราย ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับตลาด และจะขยายการสอบสวนโรคต่อไป สำหรับผู้ติดเชื้อรายแรกขณะนี้ได้ทราบ timeline ในแต่ละวัน ซึ่งมีอาชีพค้าขายโดยรวบรวมกุ้งไปขายอีกตลาดหนึ่ง ซึ่งจะต้องติดตามหาผู้สัมผัสเพิ่มเติมส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงขณะนี้ได้เข้าระบบกักกันแล้ว
สำหรับสถานการณ์ที่จังหวัดสมุทรสาคร ถือว่ายังไม่เป็นที่กังวล แต่ขอให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หลีกเลี่ยงจุดเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อ ล้างมือบ่อยๆ เพิ่มความระมัดระวังตนเอง ส่วนกรมควบคุมโรคต้องเร่งสอบสวนโรคและทำการตรวจหาเชื้อให้ได้มากที่สุด เพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาด หากประชาชนที่พักอาศัยในบริเวณตลาดกลางกุ้ง มีความประสงค์จะตรวจหาเชื้อ สามารถขอเข้ารับการตรวจได้ฟรี
“ขอย้ำว่าไม่มีปัญหาใดๆ ให้ระบบการควบคุมโรคได้ทำงาน หากพบผู้ป่วย เราก็มียาที่รักษาให้หายได้ ซึ่งผู้ป่วยที่พบไม่ได้แสดงอาการใดๆ ที่น่าเป็นห่วง ได้อยู่ในมือของทีมแพทย์และพยาบาลในเขตจังหวัดสมุทรสาครเรียบร้อยแล้ว อาทิ โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลกระทุ่มแบน พร้อมให้การดูแลรักษา ขณะนี้มีห้องแยกโรค ห้องความดันลบครบ เตรียมรับมือกับสถานการณ์ขอให้มั่นใจ ผู้ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดสมุทรสาคร หรือใช้เป็นทางผ่าน สามารถท่องเที่ยวได้ตามปกติไม่มีอันตรายอย่างแน่นอน” นายอนุทินกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทานลงพื้นที่ตลาดกลางกุ้งจ.สมุทรสาคร เพื่อเก็บตัวอย่างประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 3 คัน และสนับสนุนหลอดเก็บตัวอย่าง VTM จำนวน 2,500 หลอด ไม้ swab 2,500 NPS และ Throat swab ชุดตรวจ Rapid Ab test 200 test วัสดุกับ ppe ปรอท 100 ชิ้น กาวน์กันน้ำ 200 ตัว surgical mask 500 ชิ้นหมวกคลุมผม 200 ชิ้น face shield 100 ชิ้น alcohol 5 ลิตร 10 แกลลอน ถุงแดง 5 กิโลกรัม
***************************** 18 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37737 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม.พล.อ.ประวิตรฯ ย้ำ เร่งบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมเห็นชอบโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง เพิ่มแหล่งน้ำดิบสำรอง เสริมศักยภาพผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกง | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
รอง นรม.พล.อ.ประวิตรฯ ย้ำ เร่งบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมเห็นชอบโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง เพิ่มแหล่งน้ำดิบสำรอง เสริมศักยภาพผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกง
รอง นรม.พล.อ.ประวิตรฯ ย้ำ เร่งบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมเห็นชอบโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง เพิ่มแหล่งน้ำดิบสำรอง เสริมศักยภาพผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกง
วันนี้ (18 ธ.ค. 63) เวลา 10.30 น ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ครั้งที่ 4/2563 เพื่อพิจารณาโครงการขนาดใหญ่และโครงสร้างสำคัญที่หน่วยงานเตรียมเสนอขอตั้งงบประมาณ ปี 2565 ก่อนเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป โดยที่ประชุมเห็นชอบในหลักการโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเขื่อนเก็บกักน้ำความจุ 15 ล้าน ลบ.ม. โดยมีพื้นที่เก็บกักน้ำในฤดูฝน 10,000 ไร่ และในฤดูแล้ง 3,000 ไร่ กรอบวงเงิน 1,370 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2565 - 2568) เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งน้ำดิบสำรองเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ อีกทั้งช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยาในการเสริมศักยภาพการผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกง รวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่โครงการให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อีกด้วย
ที่ประชุมได้มีการติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญที่ผ่านความเห็นชอบจาก กนช. ทั้งสิ้นจำนวน 32 โครงการ ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีและได้รับงบประมาณเรียบร้อยแล้วจำนวน 23 โครงการ ผ่านความเห็นชอบของ กนช. แล้วแต่ยังไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรี 3 โครงการ ซึ่งที่ประชุมได้เร่งรัดให้เสนอโครงการเพื่อให้ทันกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณในปี 2565 และโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการขอตั้งงบประมาณปี 2565 อีกจำนวน 6 โครงการ สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชฯ นั้น ที่ประชุมได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เร่งขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 151 โครงการให้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายด้วยเช่นกัน
รองนายกรัฐมนตรี ยังได้เร่งรัดการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ เพื่อการจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ ให้ประชาชนทุกส่วนได้ใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร และอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี พร้อมย้ำโครงการที่เสนอจะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับจังหวัด เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการมีความพร้อมในทุกด้าน ไม่เกิดปัญหาหลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการที่ได้วางแผนไว้
-------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37719 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วันคล้ายวันสถาปนา SME D Bank ก้าวสู่ปีที่ 19 | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
วันคล้ายวันสถาปนา SME D Bank ก้าวสู่ปีที่ 19
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank ณ อาคาร SME Bank Tower
วันนี้ (18 ธันวาคม 2563) 10.00 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank พร้อมด้วยนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารธนาคาร ร่วมพิธีสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหารเพล พระสงฆ์จำนวน 9 รูป เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ก้าวสู่ปีที่ 19 ณ อาคาร SME Bank Tower
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37736 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.หารือร่วมคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วางแผนพัฒนาและสนับสนุนวัคซีนโควิด 19 | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
สธ.หารือร่วมคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วางแผนพัฒนาและสนับสนุนวัคซีนโควิด 19
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หารือร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นชอบตั้งคณะทำงานร่วม 2 หน่วยงาน วางแผนการดำเนินงานพัฒนาและสนับสนุนวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA เพื่อทำข้อมูลเสนอ ครม.พิจารณา เบื้องต้นอาจทดลองเข็มแรกในม
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หารือร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นชอบตั้งคณะทำงานร่วม 2 หน่วยงาน วางแผนการดำเนินงานพัฒนาและสนับสนุนวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA เพื่อทำข้อมูลเสนอ ครม.พิจารณา เบื้องต้นอาจทดลองเข็มแรกในมนุษย์หลังสงกรานต์
วันนี้ (18 ธันวาคม 2563) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ หารือแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนการผลิตวัคซีนโควิด 19 ของคนไทย ร่วมกับศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อประชาชนไทย มี 3 แนวทาง คือ 1. การทำความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อให้มีโอกาสได้วัคซีนเร็วขึ้น 2. การจัดซื้อวัคซีนเพื่อนำมาใช้ในประเทศ ซึ่งสองแนวทางนี้ประเทศไทยมีความร่วมมือกับบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัดและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในการจองและซื้อวัคซีนจำนวน 26 ล้านโดส คาดว่าจะฉีดให้แก่ประชาชนไทยกลุ่มเป้าหมายได้ในกลางปี 2564 และ 3. การวิจัยพัฒนาวัคซีนในประเทศเพื่อให้ผลิตได้เอง ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน อย่างการพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้สนับสนุนงบในการดำเนินการไปแล้ว 355 ล้านบาท
นายอนุทินกล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการหารือร่วมกับทีมพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีข้อสรุปว่า จะมีการตั้งคณะทำงานร่วม 2 หน่วยงาน 1 ชุด ซึ่งฝั่งกระทรวงสาธารณสุขมีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เป็นตัวแทน หารือร่วมกับทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ได้แผนการดำเนินงานการพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด 19 ให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลในการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นหากสามารถดำเนินการได้ตามแผน คาดว่าจะทดลองวัคซีนในมนุษย์ระยะที่ 1 เข็มแรกได้หลังสงกรานต์ 2564
********************************* 18 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37730 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. หนุน รัฐ-เอกชน ตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
สธ. หนุน รัฐ-เอกชน ตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
สธ. หนุน รัฐ-เอกชน ตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
กระทรวงสาธารณสุข หนุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ คัดกรองความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
วันนี้ (18 ธันวาคม 2563) ที่ศูนย์การประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพกลุ่มวัยแรงงาน โดยมี ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภานายจ้างแห่งประเทศไทย สภาลูกจ้างแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ผู้แทนจากโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถานประกอบการและวิสาหกิจชุมชน นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 320 คน เข้าร่วมประชุม
นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้กรมควบคุมโรคดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพในกลุ่มวัยทำงาน ทั้งในและนอกระบบจำนวนกว่า 37.5 ล้านคน ซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนสังคม และระบบเศรษฐกิจประเทศ และใช้ชีวิตในสถานที่ทำงานกว่า 1 ใน 3 ของชีวิตประจำวัน โดยให้จัดตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน (Wellness Center) และโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข เพื่อดูแลสุขภาพคนวัยทำงานและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพจากการประกอบอาชีพ โดยนำนโยบาย 5 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม, โครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข, คลินิกโรคจากการทำงาน, ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่ปี 2562 ปัจจุบันมีองค์กรต้นแบบในการจัดตั้งศูนย์สุขภาพวัยทำงาน 8 แห่ง และองค์กรภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข 198 แห่ง และเชิญชวนสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง
นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ในการดำเนินงานจะเชื่อมโยงงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคระหว่างสถานประกอบการและหน่วยบริการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนกลุ่มวัยทำงานในสถานประกอบการมีสุขภาพที่แข็งแรงในทุกมิติ สามารถดูแลสุขภาพและบริหารจัดการได้ด้วยองค์กร โดยมีหน่วยบริการสาธารณสุขเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำด้านสุขภาพ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพระหว่างการทำงานที่เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ลดการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขอเชิญชวนหน่วยงานและสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้บุคลากรมีความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถตรวจพบและเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาได้เร็ว
ด้านนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการดำเนินงานศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน ในปี 2562 ที่ผ่านมาทำให้พบรายงานปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนวัยทำงานส่วนใหญ่คือ การสูบบุหรี่ร้อยละ 42.88, สมรรถภาพการได้ยิน ร้อยละ 14.28, น้ำตาลในเลือด ร้อยละ 14.28, โรคติดต่อร้อยละ 14.28,ความดันโลหิตร้อยละ 14.28 และในวันนี้มีการมอบโล่รางวัลต้นแบบแก่ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน จำนวน 8 แห่ง และรางวัลแก่สถานประกอบการที่ผ่านการประเมินคุณภาพจำนวนนี้ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวน 81 แห่ง แบ่งเป็น สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ระดับโล่เงิน จำนวน 32 แห่ง ระดับโล่ทอง จำนวน 27 แห่ง ระดับโล่ทอง 3 ปีต่อเนื่อง จำนวน 14 แห่ง
**************************** 18 ธันวาคม 2563
************************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37724 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเตือน อย่าลักลอบเข้าเมือง เปิดโอกาสแสดงความจำนงระยะนี้ไม่เอาผิด | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
รัฐบาลเตือน อย่าลักลอบเข้าเมือง เปิดโอกาสแสดงความจำนงระยะนี้ไม่เอาผิด
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลแจ้งเตือนประชาชนที่พำนักอยู่ในต่างแดน แม้จะเคยเป็นผู้กระทำผิดกฏหมายเข้าเมือง หากต้องการเดินทางกลับเข้าประเทศไทยขอให้แจ้งทางการและดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย โดยในระยะนี้จะถือว่าไม่มีความผิด เพื่อที่จะได้เข้าสู่การกักกันโรคเป็นเวลา 14 วัน และหากพบว่าเป็นโรคโควิด19 จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งภาครัฐพร้อมดูแลตั้งแต่บริเวณด่านควบคุมโรค และขอย้ำว่าอย่าลักลอบเข้าประเทศ เพราะจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นในสังคม ทั้งยังเป็นการกระทำผิด พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และ พ.ร.บ.โรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในส่วนของรัฐบาลนั้นได้เพิ่มความเข้มงวดการตรวจตราตามแนวชายแดนให้มากขึ้น
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37714 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - สปป. ลาว | วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - สปป. ลาว
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - สปป. ลาว วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๓
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีสารแสดงความยินดีไปยังนายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ดังนี้
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล กทม. ๑๐๓๐๐
๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
เรียน ฯพณฯ นายทองลุน สีสุลิด
ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะครบรอบ ๗๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ผมในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยขอร่วมแสดงความยินดีและส่งความปรารถนาดีมายังท่านและประชาชนลาว
ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นสองรัฐที่มีความใกล้ชิดกันอย่างแนบแน่นคนไทยคนลาวอยู่เคียงข้างกันมาแต่โบราณกาล มีความเข้าใจและผูกพันกันด้วยความใกล้ชิดทางภาษาและวัฒนธรรม ในช่วง ๗๐ ปีที่ผ่านมาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและรัฐสมัยใหม่ ไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ผ่านบทพิสูจน์ของกาลเวลาและได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดแน่นแฟ้นให้ครอบคลุมทุกมิติบนพื้นฐานของความเข้าใจและเชื่อใจกันซึ่งนำประโยชน์มาสู่ทั้งสองฝ่าย ผมจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ในการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการไทย – ลาว ครั้งที่ ๓ ที่นครหลวงเวียงจันทน์เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๑ ไทยกับลาวได้เห็นพ้องยกระดับความสัมพันธ์เป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญที่ทั้งสองประเทศมีต่อกันอย่างแท้จริง และจะเป็นแนวทางที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
ด้วยความปรารถนาดีอย่างจริงใจที่มีต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสมอมา ผมขอให้คำมั่นว่าจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับท่านและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย – ลาว ให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ยิ่งขึ้นไป โดยจะมุ่งเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือที่มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนของทั้งสองประเทศ
ในขณะที่ไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-๑๙ ผมรู้สึกยินดีที่ทั้งสองประเทศยังคงความร่วมมือที่ใกล้ชิดและมีความมุ่งมั่นที่จะจับมือและก้าวไปข้างหน้าด้วยกันแม้ในยามยากลำบาก ผมพร้อมจะร่วมมือกับท่านเพื่อช่วยผลักดันการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและของภูมิภาคต่อไป
สุดท้ายนี้ ผมขออวยพรให้ท่าน รัฐบาลและพี่น้องประชาชนชาวลาวประสบความสุขสวัสดีและความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
ขอแสดงความนับถือ
(พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ฯพณฯ นายทองลุน สีสุลิด
นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
นครหลวงเวียงจันทน์
ในโอกาสเดียวกันนี้ นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีสารแสดงความยินดีมายัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดังนี้
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร
นายกรัฐมนตรี
นครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
ฯพณฯ
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างลาวและไทย
ในนามรัฐบาลและประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวคือ ในนามส่วนตัว ข้าพเจ้ามีความปีติยินดี ส่งคำแสดงความยินดีอันอบอุ่น และพรชัยอันประเสริฐมายัง ฯพณฯ และโดยผ่าน ฯพณฯ ไปยังรัฐบาล และประชาชนไทยทุกถ้วนหน้า
ตลอดระยะเวลา ๗ ทศวรรษ แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการร่วมกันระหว่างสองประเทศลาวและไทย สายสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมืออันดีงามดังกล่าวได้รับการพัฒนา และเพิ่มพูนอย่างต่อเนื่องในแต่ละด้านเป็นก้าว ๆ ตลอดมา เห็นได้จากผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยือนซึ่งกันและกันอย่างเป็นปกติ กลไกร่วมมือต่าง ๆ ได้รับการจัดตั้งขึ้น และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล ทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดนั้น ได้สร้างเงื่อนไขเอื้ออำนวยให้แก่การเพิ่มพูนทวีคูณความสัมพันธ์ลาว-ไทย ข้าพเจ้าให้ความสำคัญต่อสายสัมพันธ์ร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันเป็นอย่างสูง ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ได้แก่ ความร่วมมือทางด้านการค้า-การลงทุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือด้านสาธารณสุข การเกษตร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคที่พิเศษ สองประเทศเรามีสะพานข้ามแม่น้ำโขงถึง ๔ แห่ง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศของพวกเราตั้งแต่เหนือจรดใต้ สิ่งดังกล่าวได้กลายเป็นปัจจัยอันสำคัญในการเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของสองประเทศของพวกเรา เพื่อนำผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมมาสู่ประชาชนสองชาติลาวและไทย ซึ่งก็คือของภูมิภาคอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สองประเทศของพวกเรายังได้สนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ก็คือ ในระยะที่มีการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ซึ่งได้เป็นส่วนสำคัญเข้าในการกระชับสายสัมพันธ์มิตรภาพ และความร่วมมือระหว่างสองประเทศลาวและไทยให้นับวันยิ่งหยั่งลึกและแน่นแฟ้นยิ่ง ๆ ขึ้น
ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่า ด้วยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของสองฝ่ายภายใต้กลไกความร่วมมือลาว-ไทย ไทย-ลาว ที่มีอยู่ สายสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมือที่ดีงามดังกล่าวจะได้รับการสานต่อเพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อก้าวไปสู่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อความเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะนำเอาผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมาสู่ประชาชนสองชาติ กล่าวคือ เพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในภูมิภาค และในโลก
ในบรรยากาศแห่งความเบิกบานสนุกสนานและมีความหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ ข้าพเจ้าขออวยพรให้สายสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมืออันดีงามในฐานะบ้านใกล้เรือนเคียงระหว่างสองประเทศของพวกเราจงมั่นคงยืนยงอย่างแข็งแกร่งและผลิดอกออกผลอย่างไม่หยุดยั้ง และขออวยพรชัยอันประเสริฐมายัง ฯพณฯ จงมีสุขภาพแข็งแรง มีความผาสุก และประสบผลสำเร็จในภารกิจอันสูงส่งของ ฯพณฯ
ด้วยความนับถืออย่างสูง
ทองลุน สีสุลิด
ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ กรุงเทพมหานคร
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37708 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุริยะ ให้รองประธานฯบริษัท นิสสัน มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และคณะเข้าพบ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
รมว.สุริยะ ให้รองประธานฯบริษัท นิสสัน มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และคณะเข้าพบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้รองประธานฯบริษัท นิสสัน มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และคณะเข้าพบ ณ ห้องรับรอง 2 ชั้น 2 สปอ.
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) เวลา 16.30 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายยูตากะ ซานาดะ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัดและคณะเข้าพบ ในโอกาสเยี่ยมคารวะและอำลาในโอกาสที่จะพ้นจากตำแหน่งการทำงานในประเทศไทย โดยมีนายราเมช นาราสิมัน ประธาน บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) เข้าร่วมคารวะ และมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องรับรอง 2 ชั้น 2 สปอ.
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37483 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รวอ.สุริยะ ให้ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เข้าพบ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
รวอ.สุริยะ ให้ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เข้าพบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เข้าพบ ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 สปอ.
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) เวลา 15.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายโจเซฟ แอนโทนี คอตเตอร์ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และคณะ เข้าพบ เพื่อเยี่ยมคารวะและแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับหน้าที่ และหารือเกี่ยวกับความสัพันธ์ด้านการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับไอร์แลนด์ โดยมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 สปอ.
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37478 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 8 ธันวาคม 2563 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 8 ธันวาคม 2563
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) เวลา 09.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่
อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่
อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา
อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพ ทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ....
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอน ใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. ....
6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. ....
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง ทางบก พ.ศ. 2522
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติพ.ศ. 2559 จำนวน 5 ฉบับ
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้อง เป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
11. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ....
12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี
พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. ....
13. เรื่อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ - สังคม
15. เรื่อง (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
16. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับโครงสร้างเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
18. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์
โควิด - 19 พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับสมบูรณ์)
19. เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
20. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เกี่ยวกับ การจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) ของหน่วยงานของรัฐ และแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ
21. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
22. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 ในประเทศไทย พ.ศ. 2566
23. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
24. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
25. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและ บริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563
26. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2
27. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 30/2563
28. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2563
ต่างประเทศ
29. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับหน่วยข่าวกรองทางการเงินแห่งราชอาณาจักรภูฏาน
30. เรื่อง สหรัฐอเมริกาประกาศระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(GSP)
สินค้าไทย 231 รายการ ด้วยเหตุผลประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2563
31. เรื่อง การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา –
แม่โขง ครั้งที่ 9
32. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Project of Mekong - Lancang Cooperation Special Fund)
33. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล
แต่งตั้ง
34. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (กระทรวงการต่างประเทศ)
35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
36. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
38. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร
39. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณา ในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักข่าวกรองแห่งชาติและ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยตามที่ วธ. เสนอ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ วธ. รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างระเบียบที่ วธ. เสนอ เป็นการกำหนดแนวทางการพิจารณาจัดตั้งวัดคาทอลิก ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณ ฐานะ ของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยาม ตามกฎหมาย ร.ศ. 128 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการยื่นคำขอจัดตั้งวัดและคำขอให้รับรองวัดจากมิซซัง โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดหรือรับรองวัด เพื่อเป็นกลไกในการพิจารณาจัดตั้งวัดของมิซซัง ขึ้นใหม่และรับรองวัดคาทอลิกที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยที่ไม่ได้มีสถานะเป็นวัดคาทอลิกที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้ง การพิจารณากำหนดคำขอจัดตั้งวัดและคำขอให้รับรองวัดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
1. กำหนดให้มี “คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก” ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 6 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 3 คน และอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดต่อรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยให้กรมการศาสนาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ
2. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกจากมิซซัง ดังนี้
(1) เป็นสถานที่ที่สมควรเป็นที่พำนักของบาทหลวงและเพื่อการประกอบศาสนกิจ อย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ
(2) ตั้งอยู่ห่างจากวัดคาทอลิกอื่นโดยรอบ ไม่น้อยกว่า 20 กิโลเมตร
(3) มีบาทหลวงพำนักอยู่เป็นประจำอย่างน้อย 2 คน
(4) เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยตั้งอยู่ในเขตชุมชนที่มีคริสต์ศาสนิกชนอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 200 คน
(5) มีเหตุผลที่จะสนับสนุนได้ว่า เมื่อตั้งวัดคาทอลิกแล้วจะได้รับการทำนุบำรุง ส่งเสริมและอุปถัมภ์จากประชาชนในพื้นที่ โดยอาจดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบบริเวณที่ตั้งวัดคาทอลิก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
3. กำหนดรายละเอียดเอกสารในการขอจัดตั้งวัดคาทอลิก เช่น แผนที่แสดงเขตที่ตั้งวัดคาทอลิก วัดคาทอลิกและสถานที่ใกล้เคียงโดยรอบ และเส้นทางคมนาคมโดยสังเขป หนังสือรับรองให้จัดตั้งวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยให้มิซซังยื่นคำขอจัดตั้ง ณ กรมการศาสนา เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาคำขอ และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารประกอบคำขอแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
4. กำหนดให้เมื่อคณะกรรมการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกแล้ว ให้เสนอคำขอพร้อม ความเห็นประกอบไปยังรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งวัดคาทอลิกแล้ว ให้รัฐมนตรีประกาศการจัดตั้งวัดคาทอลิกในราชกิจจานุเบกษา
5. กำหนดให้รวบรวมข้อมูลวัดคาทอลิกเพื่อจัดทำเป็นทะเบียน และให้กรมการศาสนารวบรวมข้อมูลจัดส่งให้กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
6. กำหนดให้วัดที่ได้จัดตั้งอยู่ก่อนวันที่ระเบียบฉบับนี้ใช้บังคับ หากมิซซังร้องขอให้ รับรองวัดคาทอลิก ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นคณะกรรมการอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณายกเว้นหลักเกณฑ์หรือเอกสารบางประเภทได้ตามเหตุผลและความจำเป็น
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
1. ขสมก. ได้ดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาการใช้พื้นที่เชิงธุรกิจ อู่มีนบุรีและอู่บางเขน เพื่อศึกษาวิเคราะห์และประเมินความต้องการใช้ประโยชน์ที่มีความสำคัญกับบริบทพื้นที่ ทั้งกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อนำเสนอผังแม่บทในการใช้พื้นที่และทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปเป็นนโยบายและแผนการดำเนินการในการพัฒนาพื้นที่ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ ขสมก. และนำผลการศึกษาไปดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดยสรุปได้ว่า
1.1 อู่มีนบุรี มีพื้นที่ 10 ไร่ มีราคาตลาดมูลค่า 347 ล้านบาท มีความเหมาะสมใน การพัฒนาเป็นอพาร์ตเม้นท์และตลาด ลักษณะการให้สิทธิเอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
1.2 อู่บางเขน มีพื้นที่ 11 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา มีราคาตลาดมูลค่า 1,148.25 ล้านบาท มีความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการประเภท ศูนย์การค้า โรงแรมลักษณะเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรม
ทั้งนี้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของ ขสมก. เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์และธุรกิจ เป็นไปตามมาตรา 7 แต่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) ได้ให้ ขสมก. พิจารณาแนวทางเลือกที่สามารถดำเนินการได้ตามขอบเขตของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
2. คณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเพิ่มรายได้ให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ลดภาระกับภาครัฐ จำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่ในเชิงธุรกิจตามแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 นอกจากนี้ เพื่อการบริหารจัดการหนี้สิน และเกิดประโยชน์ในการชำระหนี้ได้ในระยะยาว จำเป็นต้องออกพันธบัตรเงินกู้ จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงมีมติที่ประชุมครั้งที่ 6/2561 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 ให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ในส่วนของมาตรา 6 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและมาตรา 7 (7) ในส่วนของการออกพันธบัตรเงินกู้
3. ขสมก. ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. ตามข้อ 2. รวมทั้งได้หารือไปยังกระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแล้ว ทั้งสองหน่วยงานไม่ขัดข้องในการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 และมาตรา 7 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 มิถุนายน 2562) เห็นชอบในหลักการแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ซึ่งรวมถึงการพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจและการบริหารหนี้สินอันจะต้องดำเนินการด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 คค. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้นใหม่ เพื่อให้ ขสมก. สามารถดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ได้อย่างต่อเนื่องตามแผนฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งพัฒนาองค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สามารถเพิ่มรายได้และ ลดภาระให้กับภาครัฐ อันจะพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในด้านการบริการสาธารณะและสามารถก้าวเข้าสู่ การแข่งขันด้านบริการสาธารณะในสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ขสมก. ให้สามารถประกอบการอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบการขนส่งบุคคล หรือประกอบธุรกิจอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ ขสมก. หรือประโยชน์สาธารณะได้
2. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจการดำเนินกิจการ เพื่อประโยชน์แก่กิจการ ขสมก. ให้สามารถออกพันธบัตรเงินกู้หรือตราสารอื่นใด เพื่อการลงทุนหรือเพื่อประโยชน์แก่กิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอ สูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางรถไฟ และทางและสะพานข้ามทางรถไฟ ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน ซึ่งสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และ ให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้สถานพยาบาลสามารถจัดให้มีการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดบทนิยาม คำว่า “การฝึกอบรม” “การวิจัย” “สถานพยาบาล” “สภาวิชาชีพ” “คณะกรรมการวิชาชีพ” และ “คณะกรรมการ”
2. กำหนดให้สถานพยาบาลอาจจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล
3. กำหนดให้การฝึกอบรมมี 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 การฝึกอบรมหลักสูตรที่มีการรับรองจากสภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการวิชาชีพ และประเภทที่ 2 การฝึกอบรมหลักสูตรอื่นนอกจากประเภทที่ 1 สถานพยาบาลที่จะจัดการฝึกอบรมให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตพร้อมเอกสาร และกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาการยื่นคำขอการฝึกอบรมแต่ละประเภท
4. กำหนดให้การวิจัยในสถานพยาบาลต้องดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์ ในกรณีที่สถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลจะจัดการวิจัย ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อการวิจัยเสร็จสิ้นให้แจ้งการสิ้นสุดการวิจัยต่อผู้อนุญาตภายใน 30 วัน ในกรณีที่เชื่อได้ว่าสถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและแนวทางจริยธรรมดังกล่าว หรือการดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ผู้อนุญาตอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการวิจัยได้
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงมหาดไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ สธ. เร่งดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยด่วนต่อไป
ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
1. โดยที่มาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร ประกอบกับมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 บัญญัติให้ในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินหรือปลูกหรือก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา หรือทำลายต้นไม้ หรือพฤกษชาติอื่นหรือทำลายความหลากหลายทางชีวภาพหรือระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ หรือขุดหาแร่ หิน ดิน หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสมุนไพร เว้นแต่การดำเนินการใด ๆ เพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร หรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพรโดยได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต โดยการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมายดังกล่าว สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. .... เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
3. คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในการประชุมครั้งที่ 90-3/2563 (Zoom Cloud Meeting) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2. และให้ดำเนินการต่อไป
4. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็น โดยการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม 2562 – 20 กันยายน 2562 รวมระยะเวลา 26 วัน รวมทั้ง มีหนังสือไปยังส่วนราชการ และองค์กรที่เกี่ยวข้องและมีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จำนวน 16 หน่วยงาน โดยส่วนใหญ่เห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงฯ
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดคำนิยามคำว่า “พื้นที่คุ้มครองสมุนไพร” “ใบอนุญาต” “ผู้อนุญาต” “เจ้าหน้าที่” “อธิบดี” และ “คณะกรรมการ”
2. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ ไม่ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
2.1 การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรของหมอพื้นบ้านในการผลิตยาเพื่อยังชีพแบบพื้นบ้าน หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์เพื่อช่วยเหลือตนเอง หรือประชาชน
2.2 การใช้ประโยชน์จากสมุรไพร หรือการใช้ประโยชน์จากพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรของประชาชน ตามวิถีวัฒนธรรมของชุมชนที่เป็นมา
3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำขอรับใบอนุญาต และวิธีการพิจารณาอนุญาตการชำระค่าธรรมเนียม และการแจ้งการอนุญาต รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองในการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือ การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร
4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพักใช้ใบอนุญาต การสั่งถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตการเพิกถอนใบอนุญาต และการแจ้งคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ 3 งาน 31 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโตนดแห่งใหม่ และใช้ประโยชน์อย่างอื่นในราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลโตนด ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดังกล่าวแล้ว
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ คค. เสนอ เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตและการขอต่ออายุใบอนุญาต เพื่อให้การพิจารณาความเหมาะสมของผู้รับใบอนุญาตหรือขอต่ออายุใบอนุญาตมีข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอและมีประสิทธิภาพ และให้การดำเนินการของ นายทะเบียนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยแผนการดำเนินการในการประกอบการขนส่ง และเอกสารหลักฐานตามแบบที่กรมการขนส่งกำหนด
3. กำหนดขั้นตอนและแนวทางการพิจารณาดำเนินการออกและต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
4. กำหนดให้นายทะเบียนต้องตรวจสอบข้อมูลการประกอบการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งในช่วงระยะเวลาการได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเพื่อประกอบการพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ผ่านมา และให้อำนาจนายทะเบียนที่จะพิจารณาไม่ต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ หากพบว่าผู้ประกอบการขนส่งนั้นได้กระทำการใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
5. ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมีอำนาจประกาศกำหนดมาตรฐานหรือลักษณะของรถโดย ความเห็นชอบของรัฐมนตรีและกำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 จำนวน 5 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 จำนวน 5 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. ....
กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ เจ้าหน้าที่ทางนิวเคลียร์และรังสี และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตสังสี อีกทั้งกำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่สภากาชาดไทย และหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ
2. ร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. ....
กำหนดให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสียื่นคำขอแจ้งการครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีนั้น และให้ผู้แจ้งจัดส่งรายงานแสดงปริมาณของวัสดุกัมมันตรังสีที่มีไว้ในครอบครองหรือใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี แต่ไม่ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม เว้นแต่กรณีที่ได้รับใบแจ้งภายหลังวันที่ 30 กันยายน ให้ได้รับยกเว้นการจัดส่งรายงานดังกล่าวสำหรับปีนั้น
3. ร่างกฎกระทรวงการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ พ.ศ. ....
3.1 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มี 3 ระดับ ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วไป (2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาวุโส (3) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ควบคุม โดยแต่ละระดับจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กำหนด
3.2 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ดังนี้
3.2.1 กำหนดให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ต่อเลขาธิการสำนักางานปรมาณูเพื่อสันติ หรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร และหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอรับใบอนุญาต เมื่อได้รับคำขอแล้วให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือ ผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายตรวจคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าว
3.2.2 กำหนดให้การพิจารณาออกใบอนุญาตให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณู เพื่อสันติพิจารณาตามหลักเกณฑ์โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้
4. ร่างกฎกระทรวงการจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว พ.ศ. ....
กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่มีเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วเกิดขึ้น ต้องเก็บรักษาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วดังกล่าวตามวิธีการที่ระบุไว้ในรายงานวิเคราะห์ความปลอดภัยของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขในใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ เว้นแต่ส่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วให้แก่หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่เก็บรักษาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ส่งไปจัดการนอกราชอาณาจักร หรือส่งกลับคืนแก่ประเทศผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซึ่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
5. ร่างกฎกระทรวงกำหนดการดำเนินกิจการทางนิวเคลียร์ที่ต้องแจ้งต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. ....
กำหนดให้ผู้ซึ่งดำเนินกิจการทางนิวเคลียร์ตามที่ระบุในภาคผนวก 1 ของพิธีสารเพิ่มเติมความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์ความปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ต้องแจ้งการดำเนินกิจการทางนิวเคลียร์ต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ทั้งนี้ กิจการทางนิวเคลียร์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือประกอบสินค้าหรือวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และการจัดเก็บหรือแปรสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อก. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล (IEC) และเป็นไปตามข้อตกลงว่าด้วยการปรับระบบด้านกฎระเบียบและการควบคุมบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (AHEEERR) อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1195 – 2561 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5505 (พ.ศ. 2562) โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงตามที่ อก. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี การผลิตในปัจจุบัน อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2186 – 2561 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 5711 (พ.ศ. 2563) และมาตรฐานเลขที่ มอก. 2214 – 2561 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5712 (พ.ศ. 2563) โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
11. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและ ร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างระเบียบที่ มท. เสนอ เป็นการปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 ที่ให้โอนบรรดากิจการและอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรีในส่วนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ไปเป็นของกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันอุบัติภัยของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นเอกภาพ
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
1. แก้ไขบทนิยามคำว่า “อุบัติภัย” เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554 โดยในส่วนของอุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางบก ไม่หมายความรวมถึงอุบัติเหตุทางถนน
2. ตัดบทนิยามคำว่า “แผนหลัก” ออก เนื่องจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายมีแผนของแต่ละหน่วย เพื่อปฏิบัติงานอยู่แล้ว ควรกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) ทำหน้าที่เพียงเสนอนโยบายเท่านั้น
3. ปรับปรุงโครงสร้าง องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ของ กปอ. และแก้ไขชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน
4. เพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 2 ปี เป็น 4 ปี
5. ปรับปรุงเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 7 (4) จากบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
6. ปรับปรุงองค์ประชุมและระเบียบการประชุมของ กปอ. เพื่อให้เกิดความคล่องตัว
7. แก้ไขหน่วยงานที่ทำหน้าที่เลขานุการ กปอ. โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของ กปอ. แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
8. กำหนดค่าเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ กปอ. และคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดย กปอ. ว่าให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของ ปภ.
9. แก้ไขผู้รักษาการตามระเบียบนี้ จากนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
พณ. เสนอว่า โดยที่คณะกรรมการนโยบายอาหารได้มีมติเห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คราวละ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563เห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (กากถั่วเหลือง ปลาป่น และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ปี 2564 – 2566 ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 79) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานกรรมการนโยบายอาหารเสนอ พณ. จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน สำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. ....
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1. กำหนดให้ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 1005.90.90 ซึ่งมีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรองรับถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) หนังสือรับรอง ใบรับรอง หรือเอกสารอื่นใด ซึ่งแสดงว่าสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อชีวิต หรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช
2. กำหนดให้การนำสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
2.1 กรณีองค์กรคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า ต้องนำเข้าระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม ของแต่ละปี และต้องจัดทำแผนการจัดซื้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการผลิต การตลาด ภาวะราคา และความต้องการใช้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ
2.2 กรณีผู้นำเข้าทั่วไป ต้องนำเข้าระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม ของแต่ละปี และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานควบคุมการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
2.3 ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่มีด่านตรวจพืชและด่านกักสัตว์ หรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของด่านดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่
3.3 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ สำหรับการนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามข้อ 1. เข้ามาในราชอาณาจักร ในอัตราน้ำหนักสุทธิเมตริกตันละศูนย์บาท
4. กำหนดให้ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
13. เรื่อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..) จำนวน 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 14/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ดังนี้
1. ยกเลิกเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาพำนักระยะยาวในราชอาณาจักรที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำฯ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV)
2. ยกเลิกเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำหรือความเสี่ยงปานกลางฯ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร พร้อมทั้งขยายระยะเวลาให้แก่คนต่างด้าวที่มากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในกรณีที่เดินทางออกจากประเทศต้นทางและอยู่ระหว่างการเดินทางเข้าน่านน้ำไทยก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ และกรณีเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาจอด และจอดเรืออยู่ที่ท่าเรือในราชอาณาจักรก่อนประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีผลบังคับใช้ มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ออกไปอีก 30 วันหลังจากวันที่ประกาศฉบับใหม่มีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
หลังจากที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ทั้ง 2 ฉบับ มีผลบังคับใช้ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และประเทศที่มีความเสี่ยงปานกลาง ตามการจัดกลุ่มประเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ มีจำนวนไม่มาก ดังนั้นการที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ 2 ฉบับ ดังกล่าว ที่กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อพำนักระยะยาวในราชอาณาจักรตามเงื่อนไขการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) เฉพาะบุคคลที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร เฉพาะบุคคลที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือความเสี่ยงปานกลางฯ ทำให้มีชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย มีจำนวนไม่มาก โดยข้อมูล ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประเภทนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (STV) จำนวน 825 คน จาก 29 สัญชาติ
หลังจากที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้ต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ที่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสารในกรณีที่เดินทางออกจากประเทศต้นทางและอยู่ระหว่างการเดินทางเข้าน่านน้ำไทยก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ และกรณีเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาจอดและจอดเรืออยู่ที่ท่าเรือในราชอาณาจักรก่อนประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีผลบังคับใช้ มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ภายใน 30 วันหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ วันที่ 1 พฤศจิกยน 2563 แต่ในทางปฏิบัติพบว่า การอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเดินทางเข้าประเทศโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานต้องไปออกประกาศ คำสั่ง และระเบียบรองรับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว จึงทำให้กระบวนการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเดินทางเข้าประเทศมีผลสมบูรณ์ประมาณวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา จึงทำให้เรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้เพียง จำนวน 6 ลำ
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19 โดยเฉพาะในส่วนของภาคการท่องเที่ยวที่ต้องการดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศไทยที่กำลังจะมาถึง จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ 2 ฉบับดังกล่าว
14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงเพื่อขยายระยะเวลา และลดอัตราค่าธรรมเนียมในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) และปรับปรุงถ้อยคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) เพิ่มส่วนลดอัตราค่าธรรมเนียมแก่ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่ยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) จากเดิมลดให้ร้อยละ 30 เป็นลดให้ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 3 ปี (1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566)
2) ปรับปรุง ข้อ 3 (8) การตรวจเอกสาร ดังนี้
- ยกเลิก คำว่า “งบการเงิน” ใน (ข) เพื่อลดความซ้ำซ้อนและทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจเอกสารงบการเงิน เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 24 กันยายน 2561 แล้ว
- ยกเลิกข้อความใน (ค) “การตรวจเอกสารทางระบบคอมพิวเตอร์ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด” เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 1020/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น จึงควรใช้อัตราค่าธรรมเนียมอัตราเดียว
3) ปรับปรุงข้อ 3 (9) การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง รวมทั้งสำเนาเอกสารพร้อมทั้งคำรับรองที่ออกตามหมายเรียกของศาล และ ข้อ 3 (10) การขอหนังสือรับรองข้อความในทะเบียน รวมทั้งหนังสือรับรองที่ออกตามหมายเรียกของศาล โดยยกเลิกวรรคสอง ใน (9) และ (10) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 1020/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
4) ปรับปรุงข้อ 3 (12) คำว่า “ถ่ายโอนข้อมูล” เป็นคำว่า “เชื่อมโยงข้อมูล” และคำว่า “รายละ 30 บาท” เป็นคำว่า “รายการละ 30 บาท” เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการให้บริการในปัจจุบันของกรม
5) ปรับปรุงข้อ 5 คำว่า “ส่วนราชการ” เป็นคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และสนับสนุนนโยบายการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
เศรษฐกิจ - สังคม
15. เรื่อง (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ ดังนี้
1.เห็นชอบ (ร่าง) แผนการปฏิรูปประทศ (แผนฯ) (ฉบับปรับปรุง) ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ และรายงานต่อรัฐสภาตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ต่อไป
2. เห็นชอบแนวทางการขับคลื่อนแผนฯ (ฉบับปรับปรุง) โดยให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ สศช. ร่วมกันขับเคลื่อนแผนฯ ให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. รายงานว่า
1. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 คณะ ได้ดำเนินการปรับปรุงแผนฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยได้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนเมื่อเดือนสิงหาคม – กันยายน 2563 ผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้วจึงได้เสนอ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 เพื่อให้ความเห็นต่อ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) แล้วจึงได้นำประเด็นความเห็นดังกล่าวไปปรับปรุงกิจกรรม Big Rock เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของแผนให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำเสนอ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปทุกคณะได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ก่อนนำเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติให้ ความเห็นชอบ
2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 มีมติเกี่ยวกับ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ดังนี้
2.1 เห็นชอบ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 คณะ เสนอ โดยเป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ จำนวน 13 คณะ และเห็นชอบการปรับปรุงแผนฯ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ และให้ขยายระยะเวลาการปรับปรุง แผนฯ โดยขั้นตอนการเสนอ (ร่าง) แผนฯ(ฉบับปรับปรุง) เป็นไปตามตามนัยของมาตรา 11 และ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พศ. 2560 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ (ร่าง) แผนฯ ที่ผ่านการพิจารณาแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบแล้ว (ภายในวันที่ 9ธันวาคม 2563)
2.1.1 องค์ประกอบของ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย
องค์ประกอบ
รายละเอียด
1. แผนฯ 13 ด้าน
ได้แก่ (1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน (3) กฎหมาย (4) กระบวนการยุติธรรม (5) เศรษฐกิจ (6) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (7) สาธารณสุข (8) สื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ (9) สังคม (10) พลังงาน (11) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (12) การศึกษา และ (13) วัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2. กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock)
เป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นใหม่/ดึงจากแผนฯ เดิม โดยเน้นเฉพาะกิจกรรมปฏิรูปสำหรับแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมได้ (Big Rock) จำนวน 62 กิจกรรม ทั้งนี้ ทุกกิจกรรม Big Rock ต้องมีเป้าหมายสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ
3. ผลอันพึงประสงค์
ผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด
เป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ในมาตรา 257 และมาตรา 258 ซึ่งบัญญัติให้ทำการปฏิรูปประเทศเพื่อวางรากฐานการพัฒนาไปสู่ประเทศที่มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุล ประชาชนในสังคมมีโอกาสทัดเทียมกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก
กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม Big Rock เพื่อทำงานร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ในการประสานบูรณาการกับหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง รวมหน่วยงานทั้งสิ้น 36 แห่ง และ 2 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
5. ระยะเวลาดำเนินการ
ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2565
6. ขั้นตอนและวิธีการ
ดำเนินการปฎิรูป
ระบุขั้นตอนและวิธีการการดำเนินงานของกิจกรรมปฏิรูปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรมปฏิรูปและแผนการปฏิรูปประเทศด้านนั้น ๆ
7. ข้อเสนอให้มีหรือให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
มีรายชื่อของกฎหมายที่ต้องจัดทำหรือปรับปรุง รวมทั้งสิ้น 45 ฉบับ
2.1.2 ในส่วนของการบูรณาการระหว่างแผนฯ ด้านต่าง ๆ พบว่ามีประเด็นใกล้เคียงและเกี่ยวข้องกันที่สามารถบูรณาการร่วมกันได้ 7 ประเด็น ได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพคน (2) การท่องเที่ยว (3) การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาผู้สูงอายุ (4) การลดอุปสรรคในการดำเนินชีวิต และลดขั้นตอนทางธุรกิจ (5) การกระจายอำนาจ (6) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และ (7) การมีส่วนร่วม และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กิจกรรม Big Rock จะต้องหาแนวทางดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
2.2 เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ โดยเมื่อแผนฯ (ฉบับปรับปรุง) มีผลใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ สศช. ดำเนินการขับเคลื่อนแผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ภายในปี 2565 โดยดำเนินการ ดังนี้
2.2.1 ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมของแผนฯ เดิม ในรูปแบบภารกิจปกติของหน่วยงาน คู่ขนานกับกิจกรรม Big Rock
2.2.2 จัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรม Big Rockและถ่ายทอดขั้นตอนการดำเนินการแก่หน่วยงานปฏิบัติ
2.2.3 ให้หน่วยงานจัดทำแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานของหน่วยงาน ซึ่งรวมถึงการดำเนินงาน/โครงการที่ดำเนินการภายใต้กิจกรรม Big Rock และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
2.2.4 การขับเคลื่อนประเด็นการบูรณาการระหว่างแผนฯ ด้านต่าง ๆ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศและหน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดทำความเชื่อมโยงของกิจกรรม Big Rock เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.2.5 ให้สำนักงบประมาณให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock
2.2.6 ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศและ สศช. ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและติดตามในระดับนโยบาย และให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและติดตามในระดับปฏิบัติ รวมถึงพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพื่อรองรับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน/โครงการที่ดำเนินการภายใต้กิจกรรม Big Rock
16. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนาน การปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ. ได้พิจารณาข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ โดยได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า) สำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหน้า สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม กรมพระธรรมนูญ และกองการต่างประเทศ ยธ. แล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.
สรุปผลการพิจารณา
1. กฎหมายภายใน
รัฐบาลควรพิจารณาการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่ห้ามการเลือกปฏิบัติในภาพรวมเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
ปัจจุบันกฎหมายภายในของประเทศไทยที่มีอยู่ไม่ขัดต่อหลักการของอนุสัญญาฯ จึงไม่มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่ อย่างไรก็ตาม ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. .... เพื่อให้เป็นกฎหมายกลางในการขจัดการเลือกปฏิบัติในภาพรวมต่อไป
2. กลุ่มคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ
2.1 รัฐบาลควรสำรวจจำนวนผู้สูงอายุไร้สัญชาติและคนไร้สัญชาติที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักร แต่ได้เข้ามาอยู่อาศัยจนมีความกลมกลืนกับสังคมไทย รวมถึงสาเหตุของความไร้สัญชาติ และสภาพปัญหาที่บุคคลดังกล่าวต้องประสบ รวมทั้งควรมีนโยบายให้กระบวนการให้สัญชาติแก่กลุ่มบุคคลดังกล่าวมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และมีเอกสารประกอบการพิจารณาที่เป็นไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดสามารถเข้าถึงสิทธิในสัญชาติได้
กรณีกลุ่มผู้สูงอายุไร้สัญชาติ มท. โดยกรมการปกครองได้สำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติไว้แล้ว และได้แก้ไขสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถหาหลักฐานการเกิดเพื่อมาใช้วิธีการขอสัญชาติ โดยให้นายทะเบียนใช้วิธีการสอบปากคำพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือใช้กระบวนการประชาคมหมู่บ้าน หรือการรับรองโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อยืนยันว่าผู้สูงอายุดังกล่าว เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทยแทนหลักฐานการเกิดและได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับเร่งรัดดำเนินการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติให้กับกลุ่มผู้สูงอายุไร้สัญชาติอย่างจริงจังและเร่งด่วน
กรณีคนไร้สัญชาติที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักร แต่เข้ามาอยู่อาศัยจนมีความกลมกลืนกับสังคมไทย มท. ได้เสนอขอแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพ เข้ามาและอยู่มานานตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายแล้ว (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สมช.) และได้แก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 ซึ่งอนุมัติหลักเกณฑ์การให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
2.2 รัฐบาลควรเร่งตรวจสอบหาสาเหตุของการจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนราษฎร และแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว (กรณีอำเภอแม่แตง และเวียงแห) และควรกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานจนกว่าจะได้รับสถานะกลับคืน รวมทั้งกำหนดแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะดังกล่าว
กรณีการจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนราษฎร อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มท. โดยกรมการปกครอง ได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามีมูลเหตุต้องสงสัยกระทำการทุจริต และได้ทำการคืนรายการบุคคลเรียบร้อยแล้ว จำนวน 70 ราย สำหรับกรณีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร. 13) โดยอ้างการปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 ข้อ 105 โดยไม่มีทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อย จะต้องตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนชาวเขาหรือการจัดทำทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ โดยบุคคลที่มีหลักฐานทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อย ให้ขอคืนรายการบุคคล ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักฐานดังกล่าวให้ถือว่าการจำหน่ายรายการบุคคลนั้นถูกต้องแล้ว
กรณีอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ สาเหตุการจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนราษฎร เนื่องจากสำนักทะเบียนไม่ได้ดำเนินการตามแนวทางหนังสือสั่งการเกี่ยวกับการขอคืนรายการทะเบียนบุคคล จึงทำให้ต้องส่งคำร้องคืนหรือแจ้งกลับเพื่อให้ดำเนินการเพิ่มเติมส่งผลให้เกิดความล่าช้า ไม่มารายงานตัวตามระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ สำนักทะเบียนกลาง ได้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง แนวทางปฏิบัติ โดยจะคืนรายการทะเบียนเป็น “บุคคลถูกระงับความเคลื่อนไหวทางทะเบียนอยู่ระหว่างรอรายงานตัว” เมื่อตรวจสอบพยานหลักฐานแล้ว เชื่อได้ว่าเป็นเจ้าของรายการและ มีคุณสมบัติถูกต้อง ให้เสนอนายอำเภอหรือนายทะเบียนเพื่อยกเลิกการระงับความเคลื่อนไหวทางทะเบียน
ปัจจุบัน มท. โดยกรมการปกครอง ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิต่อกรณีการจำหน่ายรายการบุคคลออกจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรและการระงับความเคลื่อนไหวทางทะเบียนราษฎรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สม.) กรมการปกครอง จังหวัดเชียงใหม่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล โดยจะได้บูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
2.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรชี้แจงทำความเข้าใจกับคนไทยพลัดถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการยื่นคำขอคืนสัญชาติ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) รวมทั้งอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นเพื่อให้ได้รับสัญชาติโดยเร็ว และรัฐบาลควรมีนโยบายให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่คนกลุ่มนี้ รวมถึงสิทธิด้านการศึกษา สวัสดิการ และการประกอบอาชีพ
มท. โดยกรมการปกครอง ได้ทำความเข้าใจกับคนไทยพลัดถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการยื่นคำขอคืนสัญชาติ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นมาโดยตลอด ผ่านการลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ มุลนิธิชุมชนไท และ สม. โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้งานสถานะบุคคลและสัญชาติ เป็น 1 ใน 10 โครงการสำคัญของกรมการปกครอง โดยกำหนดเป้าหมาย จำนวน 13,300 ราย ทั้งนี้ กรมการปกครองได้แก้ไขปัญหาคนไทยพลัดถิ่น โดยได้ดำเนินการออกหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นแล้ว จำนวน 7,712 ราย อนุมัติเปลี่ยนแปลงสถานะของบุคคลในเอกสารการทะเบียนราษฎร จำนวน 3,285 ราย รวมคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่นทั้งสิ้น จำนวน 10,997 ราย
สำหรับกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการคืนสัญชาติไทย รัฐบาลมีนโยบายให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ดังนี้ (1) ด้านการรักษาพยาบาล (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 และวันที่ 20 เมษายน 2558) ให้ สธ. รับผิดชอบการรักษาพยาบาลให้กับคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่รัฐบาล มีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลและกลุ่มที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ (2) ด้านการศึกษา (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548) ให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยทุกคนเข้าศึกษาเล่าเรียน และเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องออกหลักฐานรับรองผลการเรียนให้ทุกราย (3) ด้านการประกอบอาชีพ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559) ให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและ สิทธิของบุคคล ทำงานได้ทุกประเภทงาน
3. กลุ่มคนไทยเชื้อสายมลายู
3.1 รัฐบาลควรส่งเสริมหลักนิติรัฐโดยติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐให้อยู่ในกรอบกฎหมายอย่างเคร่งครัด
กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย และหากมีเจ้าหน้าที่กระทำการ ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการทั้งทางอาญา แพ่ง และทางวินัย พร้อมทั้งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากกลุ่มองค์กรภายนอกเข้ามาตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการจัดตั้งสภาสันติสุข สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล และมีส่วนร่วมในการแจ้งความเห็นการไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติและเน้นการทำงานที่โปร่งใส เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกผ่านเว็บไซต์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ของ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งที่ผ่านมาได้แจ้งข้อมูลข่าวสารจนนำไปสู่การติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุได้หลายราย
3.2 รัฐบาลควรเร่งรัดกระบานการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยยึดหลักความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ร่วมกับ 5 หน่วยงานคือ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุข และ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า โดยให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลทุกคนบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติยึดถือตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จชต. ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนอกเหนือหลักเกณฑ์ตามระเบียบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)
3.3 รัฐบาลควรเคารพวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู และปรับปรุงการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ โดยใช้ภาษามลายูท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย
หน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานใน จชต. ยืนยันว่าการดำเนินงานต่าง ๆ ใน จชต. ยึดหลักตามยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นแนวคิดในการปฏิบัติงาน ซึ่งทุกหน่วยงานให้ความสำคัญและมีความระมัดระวังในการเคารพวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู ตลอดจนการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่อย่างมาก โดยมีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขนบธรรมเนียม ภาษา ประเพณี และวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ อันจะเป็นการเสริมสร้างความพร้อมใน การปฏิบัติหน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
3.4 รัฐบาลควรดำเนินมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูได้เข้าถึงสิทธิต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม ใช้ความระมัดระวัง ไม่สร้างความรู้สึกแบ่งแยก
มท. โดยกรมการปกครอง ได้ดำเนินการตามโครงการตรวจพิสูจน์ สารพันธุกรรม (DNA) เพื่อนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการรับรองสถานะทางทะเบียนราษฎร เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ รวมทั้งเป็นมาตรการช่วยสร้างหลักประกันในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 1,392 ราย
3.5 รัฐบาลควรมีมาตรการทางสังคมและการศึกษาเพื่อสร้างความกลมเกลียวระหว่างชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูกับชาวไทยพุทธในพื้นที่ให้มากขึ้น
หน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานใน จชต. ได้ดำเนินมาตรการทางสังคมและการศึกษาเพื่อสร้างความกลมเกลียวระหว่างไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูกับชาวไทยพุทธในพื้นที่ ในการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่ผู้เรียนในพื้นที่ รวมทั้งการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและหลักคำสอนของแต่ละศาสนา ตลอดจนการยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยกำหนดให้วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม รวมทั้งศาสนาอื่นเป็นวันหยุดราชการประจำปีในพื้นที่ด้วย
3.6 รัฐบาลควรดูแลให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิด ต้องมีการลงโทษทางวินัยและทางอาญาอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้เกิดวัฒนธรรมการไม่ต้องรับโทษ
กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า มีแนวนโยบายในการบังคับใช้กฎหมายมั่นคงตามหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและหลักการอื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติ หลีกเลี่ยงการตั้งฐานปฏิบัติการในหมู่บ้าน ชุมชน วัด โรงเรียน มัสยิด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะเด็ก บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนผู้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ ยังมีการวางแนวทางปฏิบัติสำหรับการตั้งด่านตรวจ การตรวจค้น การติดตามจับกุม การควบคุมตัว และการใช้อาวุธให้เป็นไปตามหลักกฎหมายและจารีตประเพณีท้องถิ่น โดยดำเนินการตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก ซึ่งเจ้าหน้าที่จะใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายเท่านั้น และมี การติดตามให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตามระเบียบ
3.7 รัฐบาลควรทบทวนประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ใน จชต. โดยควรบังคับใช้เท่าที่จำเป็นและในระยะเวลาที่จำกัดเท่านั้น
คณะรัฐมนตรีมีมติ (วันที่ 12 กันยายน 2560) เห็นชอบแผนการและขั้นตอนการปรับลดพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้แทน ที่ผ่านมามีการปรับลดพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคงเหลือ 28 อำเภอ (จากทั้งหมด 33 อำเภอ) ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงในพื้นที่ จชต. และเจ้าหน้าที่ทุกคนได้คำนึงถึงความถูกต้องและ ความจำเป็นในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด
3.8 รัฐบาลควรเร่งรัดให้มีกฎหมายอนุวัติให้สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาปสูญโดยถูกบังคับ
คณะรัฐมนตรีมีมติ (วันที่ 23 มิถุนายน 2563) เห็นชอบต่อ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจะนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎรตามลำดับต่อไป
3.9 รัฐบาลควรกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมตัวบุคคลตามกฎหมายด้านความมั่นคง ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใส
บุคคลที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายด้านความมั่นคงจะต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ดังนี้
1) ระเบียบวิธีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 เป็นมาตรการกำกับไม่ให้เจ้าหน้าที่กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอันขาด ซึ่งรวมถึงการกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการตั้งด่าน การค้นตัวบุคคล และพื้นที่ต้องสงสัย รวมทั้งการกักตัวเพื่อสืบหาข้อเท็จจริง ซึ่งสามารถทำได้ไม่เกิน 7 วัน และต้องประสานผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน และหากนำตัวออกจากพื้นที่ไปสอบถาม ต้องแจ้งญาติพี่น้องของผู้ถูกควบคุมตัวให้ทราบ และอนุญาตให้ญาตใกล้ชิดสามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ตั้งแต่ วันแรกนับแต่ถูกควบคุมตัว หากผู้ต้องสงสัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต้องรีบปล่อยตัวทันที และเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้ว สำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต. จะจัดให้มีการเยียวยาทั้งการเยียวยาจิตใจจากการกักตัว คนละ 30,000 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้
2) ระเบียบและวิธีการปฏิบัติในการจับกุมและควบคุมตัวตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นมาตรการควบคุมการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้สามารถจับกุมโดยพลการ หากมีความประสงค์ที่จะทำการควบคุมตัว จะต้องขออำนาจศาล เมื่อศาลพิจารณาอนุญาตให้ควบคุมตัวจะทำได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน หากมีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อ ต้องได้รับอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย โดยพิจารณาถึงความจำเป็นร่วมกันในการขออำนาจศาลควบคุมตัวต่อไปได้ อีกคราวละ 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของศาล และ ในระหว่างการควบคุมตัว ญาติของบุคคลต้องสงสัยสามารถเข้าเยี่ยมได้ตั้งแต่วันแรกของการควบคุมตัว
3.10 กรณีการเสนอให้รัฐอนุญาตให้ กสม. สามารถตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัว หรือพบผู้ถูกควบคุมตัวได้ทันทีเมื่อได้รับการร้องเรียนเพื่อให้สามารถตรวจสอบและแสวงหาข้อเท็จจริงตามหน้าที่และอำนาจได้โดยเร็ว
กสม. สามารถเข้าตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว หรือพบผู้ถูกควบคุมตัวได้ โดยจะต้องดำเนินการตามระเบียบและแนวปฏิบัติของหน่วยงาน ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. กลุ่มชาติพันธุ์
4.1 รัฐบาลควรยุติการจับกุมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจัดให้มีกระบวนการพิสูจน์สิทธิว่าเป็นผู้อยู่อาศัยมาก่อน การประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ การจะขับไล่หรือไล่รื้อต้องดำเนินการหลังจากมีการพิสูจน์สิทธิและคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น
การดำเนินคดีและจับกุม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า แลพันธุ์พืช ชี้แจงว่า จะดำเนินการกับผู้ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้เท่านั้น หากมีการบุกรุก ยึดถือ ครอบครอง ภายหลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และกรณีที่มีการกระทำที่ผิดเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เช่น การซื้อขายเปลี่ยนมือ บุกรุกเพิ่มเติม ฯลฯ แต่สำหรับกรณีราษฎรผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินจะได้รับ การตรวจสอบและพิจารณาตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 แต่หากเป็นการกระทำผิดภายหลังคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายทุกกรณี โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นราษฎรทั่วไป หรือกลุ่มชาติพันธุ์
4.2 รัฐบาลควรทบทวนปรับปรุงขั้นตอนก่อนการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติ และแนวทางการจัดการข้อพิพาทการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานของรัฐในเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติควรผนวกมิติทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ด้วย โดยยอมรับการมีส่วนร่วมของชุมชน
การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดรับฟังความคิดเห็นและเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ โดยเขตที่จะทำการประกาศต้องมีการสำรวจพื้นที่อยู่อาศัย และที่ทำกินเดิมของราษฎร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อนเสมอ สำหรับการจัดการข้อพิพาท และการประกาศมรดกโลกทางธรรมชาตินั้น ยึดถือหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนเช่นเดียวกัน โดยใน การดำเนินการทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัง จะต้องมีการหารือประชาชนหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
4.3 รัฐบาลควรพิจารณาศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการทำเกษตรแบบยังชีพของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในรูปแบบ “ไร่หมุนเวียน”
กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว สามารถขอรับการส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและการทำไร่หมุนเวียน จาก กษ. ซึ่งมีภารกิจโดยตรงในการดูแลประเด็นดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ในหลักการ ปลูกพืชเพื่อทำไร่หมุนเวียนนั้น จะต้องกำหนดมาตรการและแนวทาง การปฏิบัติที่ชัดเจน โดยจะต้องสามารถควบคุม กำกับ และตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันการเปิดพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มเติม
4.4 รัฐบาลควรดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ที่มี การปรับปรุงแก้ไขใหม่ ได้กำหนดการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกี่ยวข้องใน การจัดการพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินของราษฎรในชุมชนที่อาศัยอยู่เดิม ให้สามารถอยู่อาศัยภายในเขตอุทยานแห่งชาติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งการเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ในพื้นที่ เพื่อให้คงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ โดยคำนึงถึงวิถีชีวิตของชุมชนเดิม และกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่
4.5 รัฐบาลควรเร่งดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว แต่จะดำเนินการได้หลังจากที่ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ประกาศใช้เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว [ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติฯ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจะนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎร ตามลำดับต่อไป]
4.6 รัฐบาลควรพิจารณาให้ชนเผ่ามานิกลุ่มที่ต้องการดำรงชีวิตตามภูมิปัญญาดั้งเดิมได้อยู่ในพื้นที่สมบูรณ์ ลดการให้ความช่วยเหลือแบบสงเคราะห์ เช่น การแจกข้าว อาหาร เสื้อผ้า ซึ่งจะทำให้ชนเผ่ามานิสูญเสียอัตลักษณ์และศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองและธรรมชาติ ส่วนกลุ่มที่ประสงค์จะตั้งถิ่นฐานถาวรและทำการเกษตรควรจัดสรรพื้นที่ให้ตามความเหมาะสม
กลุ่มชาติพันธุ์มานิ หรือ ซาไก ที่มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งถาวรและได้รับการรับรองสถานะบุคคลแล้ว สามารถได้รับการพิจารณาเพื่อการอยู่อาศัยและทำกินภายในเขตป่าอนุรักษ์ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 64 และพระราชบัญญัติป่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 121 แต่สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์มานิ หรือ ซาไก ที่มีวิถีแบบดั้งเดิมอยู่อาศัยในป่าเคลื่อนย้ายที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง หากมีความจำเป็นต้องดำรงชีพอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดใหม่ทดแทนได้ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 65 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 57
5. กลุ่มแรงงานข้ามชาติ
5.1 รัฐบาลควรบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง
ประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการลักลอบ นำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง โดย รง. ได้แก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างบูรณาการภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 – 2564 และการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย คุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐานสากลและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา เพื่อปรับลดขั้นตอนระยะเวลาในการนำเข้าแรงงาน ด้วยการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมแรงงานข้ามชาติก่อนเข้ามาทำงานในประเทศ และได้ตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าวและนายจ้าง/สถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ รง. ได้ร่วมมือทางวิชาการกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว ผ่านโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง โครงการความปลอดภัยและยุติธรรม และร่วมกับกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาจัดโครงการยกระดับการบังคับใช้กฎหมายแรงงานและกฎหมายอาญา เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ รง. และ สมช. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) โดยกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย กลยุทธ์ที่ 1 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายในการตรวจสอบและจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้จัดหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องด้วย
5.2 รัฐบาลควรทำความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการรับรองสัญชาติของเด็กที่เกิดจากแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพื่อป้องกันปัญหาเด็กไร้สัญชาติภายในประเทศ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านในการจดทะเบียนการเกิดของเด็ก การรับรองสัญชาติและการสมรสของแรงงานดังกล่าวด้วย
สธ. ได้จัดทำคู่มือเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองการเกิดให้เด็กที่เกิดจากบุคคลที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย และได้แจกจ่ายให้โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทั่วประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากนี้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน อยู่ระหว่างการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
5.3 รัฐบาลควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง และการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว
รง. อยู่ระหว่างแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยได้มีความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศในการร่วมกันศึกษาและ นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงกฎหมายให้มีบทบัญญัติสอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการรอพิจารณาวาระที่ 2 และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างกระบวนการนำเสนอคณะรัฐมนตรีสำหรับการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ 87 นั้น รง. จะดำเนินการในลำดับถัดไป
6. กลุ่มผู้อพยพ/ผู้แสวงหาที่พักพิง
6.1 รัฐบาลควรเร่งพิจารณาดำเนินการตามระบบคัดกรองคนเข้าเมืองผิดกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560
ปัจจุบันได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 แล้ว โดยจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรอง คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ อันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 แล้ว ปัจจุบัน สตม. อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครองซึ่งเป็นผู้แทน จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามระเบียบฯ ดังกล่าว ต่อไป
6.2 รัฐบาลควรแสวงหาความร่วมมือกับประเทศต้นทางและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อรับชาวโรฮีนจากลับภูมิลำเนา หากรายใดไม่สามารถส่งกลับได้เนื่องจากอาจเป็นอันตราย ควรพิจารณาประสานและทำงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเพื่อให้ความช่วยเหลือเรื่องการตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามต่อไป
สมช. และ สตม. ได้ดูแลผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้เป็นไป ตามหลักมนุษยธรรม กรอบกฎหมายภายใน และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการไทยได้ประสานผ่านช่องทาง การทูตทั้งเมียนมาและบังกลาเทศเพื่อให้เข้ามาพิสูจน์อัตลักษณ์และยืนยัน ความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา ซึ่งบังกลาเทศได้เข้ามาพิสูจน์อัตลักษณ์และยืนยันความเป็นพลเมืองจนสามารถรับกลับประเทศแล้วจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ไทยยังดำเนินการร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติในการสนับสนุนให้ชาวโรฮีนจาไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามด้วย
6.3 รัฐบาลควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
สมช. ได้จัดประชุมเพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวนท่าทีของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันที่ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
6.4 รัฐบาลควรพิจารณาแก้ไขปัญหาความแออัดของห้องกักและจัดให้มีระบบรักษาพยาบาลผู้ต้องกักที่เจ็บป่วยอย่างเหมาะสม
สตม. ได้มีคำสั่งกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการรับตัว การควบคุมและดูแลคนต่างด้าว โดยกำหนดแนวทางการดูแลผู้ต้องกักไว้ให้ดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การรักษาพยาบาล” ซึ่งสถานที่กักตัวหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองได้จัดเตรียมยานพาหนะ และเจ้าหน้าที่ตำรวจรับผิดชอบในการนำผู้ต้องกักที่มีอาการเจ็บป่วยส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่น ๆ และกำหนดให้สถานที่กักตัวหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองประสานงานกับโรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีการส่งตัวผู้ต้องกักไปรักษาโดยจัดให้มีสถานที่เฉพาะสำหรับผู้ต้องกักที่เจ็บป่วยเพื่อสะดวกต่อการควบคุม พร้อมทั้งงจัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิด
6.5 รัฐบาลควรพิจารณาทางเลือกอื่นแทนการควบคุมตัวผู้อพยพไว้ในห้องกักของ สตม.
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ตช. พม. กต. มท. สธ. ศธ. รง. ได้ร่วมลงนามในบันทึกความตกลง เรื่อง การกำหนดมาตรการและแนวทางแทน การกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและแนวทางปฏิบัติงานของ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการไม่กักตัวเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ไว้ในสถาน กักตัวฯ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีเห็นชอบขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานภายใต้บันทึกฯ ดังกล่าวแล้ว โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน อยู่ระหว่าง การยกร่างคู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน ตามบันทึกฯ ดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับโครงสร้างเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปรับโครงสร้างเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากอัตรา 200,000 บาท เป็นอัตรา 235,900 บาท (เพิ่มขึ้น 35,900 บาท) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จาก 200,000 เป็น 235,900 บาท (เพิ่มขึ้น 35,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.95) ซึ่งอัตราเงินเดือนดังกล่าวการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใช้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 โดยในครั้งนี้ กฟภ. ได้มีการวิเคราะห์หลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนระบบแรงจูงใจ และสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 รวมทั้งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และสำนักงาน ก.พ. ตามขั้นตอนของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว นอกจากนี้ กฟภ. แจ้งว่า ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่กระทบรายได้ที่นำส่งเข้ารัฐแต่อย่างใด และ กฟภ. ไม่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลในการดำเนินการ จึงไม่กระทบต่อภาระงบประมาณ หรือภาระการสูญเสียรายได้ของรัฐในอนาคต
18. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด - 19 พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับสมบูรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอดังนี้
1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด – 19 พ.ศ. 2564 – 2565 (แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ) (ฉบับสมบูรณ์) เพื่อประกาศใช้ต่อไป
2. เห็นชอบแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ตามที่ สศช. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. รายงานว่า
1. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) และมอบหมายให้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาตินำเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในส่วนของ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
2. (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ยังคงยึดหลักการ เป้าประสงค์มิติและประเด็นการพัฒนาตาม (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับปรับปรุง) แต่มีการปรับค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับบริบทการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ได้ ดังนี้
สาระสำคัญ
รายละเอียด
หลักการ
ล้มแล้ว ลุกไว (Resilience)
เป้าประสงค์
เพื่อให้ “คนสามารถยังชีพอยู่ได้ มีงานทำ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติิ และมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ (Economic Transformation)”
3 มิติ
การพัฒนา
1. การพร้อมรับ (Cope) คือ ความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้สภาวะวิกฤติให้สามารถยืนหยัดและต้านทานความยากลำบาก รวมถึงฟื้นคืนกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
2. การปรับตัว (Adapt) คือ การปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงพร้อมกระจายความเสี่ยงและปรับตัวอย่างเท่าทันเพื่อแสวงหาประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป
โดย 3 มิติการพัฒนา จะทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ภายใต้หลัก 3 ขั้นการพัฒนา ได้แก่ survival (การอยู่รอด) Sufficiency (พอเพียง) และ Sustainability (ยั่งยืน)
4 ประเด็น
การพัฒนา
โดยเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในระยะ 2 ปีข้างหน้า ได้แก่
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาต่างประเทศ
2. การยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศไทยมีโอกาส และมีศักยภาพภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงและบริบทโลกใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไป
3. การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) เพื่อการยกระดับและปรับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและโครงสร้างเศรษฐกิจที่ปรับเปลี่ยนไป พร้อมทั้งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต
4. การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) ให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพของประเทศ
แนวทางการพัฒนา
มีความสอดคล้องกับข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอการดำเนินการจากองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่
1. รายงาน Consolidated Socio-Economic Impact Assessment of COVID – 19 in Thailand ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP)
2. รายงาน Navigating COViD - 19 in Asia and the Pacific ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)
3. Thailand Economic Monitor: Thailand in the Time of COVID - 19 ของธนาคารโลก (World Bank)
3. สศช. ได้เสนอแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำเนินการบูรณาการได้และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
3.1 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใช้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์)เป็นกรอบในการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติมจากโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 250 โครงการ ที่เป็นโครงการที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ (Top Priorities) ภายใต้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ให้ทันต่อคำของบประมาณประจำปี 2565 ต่อไป
3.2 ให้สำนักงบประมาณใช้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) เป็นกรอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของโครงการประจำปีงบประมาณ 2565 ร่วมกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 ประเด็น ในปัจจุบัน
19. เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565) ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สงป. รายงานว่า สงป. ได้ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. หลักการและกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) (ยุทธศาสตร์ชาติ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) (แผนแม่บทฯ) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯ) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) (นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติฯ) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด - 19 พ.ศ. 2564 - 2565 (แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาล โดยมุ่งให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับประเด็นการพัฒนาตามแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ จำนวน 4 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) (2) การยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) (3) การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) (4) การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) ที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถรับมือและเตรียมความพร้อมในการเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย (ตามข้อ 2.)
1.2 นำเป้าหมายและตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ มากำหนดไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน เพื่อแสดงให้เห็นเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนในแต่ละระดับที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
1.3 นำแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ 4 ประเด็น แผนย่อยภายใต้แผนแม่บทฯ 23 แผน จำนวน 85 ประเด็น และแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 13 ด้าน มากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้ยุทธศาสตร์แต่ละด้าน พร้อมทั้งนำเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนดังกล่าวมากำหนดไว้ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และตัวชี้วัดที่สามารถติดตามผลได้
1.4 นำแนวทางและประเด็นการพัฒนาภายใต้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ แผนย่อยภายใต้แผนแม่บทฯ และแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) มากำหนดเป็นนโยบายการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำโครงการรองรับประเด็นดังกล่าว และเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป
2. โครงสร้างของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย
2.1 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
(2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
(3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
(5) ยุทธศสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(6) ยุทธศาตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
2.2 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย
20. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เกี่ยวกับการจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) ของหน่วยงานของรัฐ และแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เกี่ยวกับการจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) ของหน่วยงานของรัฐ และเห็นชอบแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยประสานกับหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผน BCP ให้เป็นปัจจุบันเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ และได้รายงานความคืบหน้าการจัดทำแผน BCP พร้อมทั้งนำเสนอกรอบแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร) ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 และครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การส่งเสริมหน่วยงานของรัฐจัดทำแผน BCP
1.1 สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต และการจัดทำแผน BCP โดยจัดทำ (1) คู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (2) แนวทางการทบทวนและปรับปรุงแผน BCP (3) คลิปวีดิโอแนวทางการจัดทำแผน BCP และ (4) แบบฟอร์มแนะนำสำหรับการทำแผน ทั้งนี้ ได้เผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานภาครัฐในการจัดทำแผน BCP
1.2 ร่วมกับกรมสรรพากร สำนักงานจังหวัดนครปฐม สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครปฐม และเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในการจัดทำแผนตัวอย่างเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ในการศึกษาประกอบการจัดทำแผนของหน่วยงาน โดยมีแผนตัวอย่าง 4 ประเภทหน่วยงาน ได้แก่ (1) ส่วนราชการที่มีภารกิจด้านการให้บริการประชาชน (กรมสรรพากร) (2) ส่วนราชการที่มีภารกิจด้านการอำนวยการบริหารงานภาครัฐ (สำนักงาน ก.พ.ร) (3) ส่วนราชการส่วนภูมิภาค (สำนักงานจังหวัดนครปฐมและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครปฐม) และ (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม)
1.3 เปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารแนะนำการจัดทำแผน BCP ทางแอปพลิเคชัน LINE @opdcteam ขณะนี้มีผู้ติดตาม LINE จำนวน 2,741 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563)
1.4 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผน BCP ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่ส่วนราชการระดับกรม เมื่อวันที่ 8 - 9 มิถุนายน 2563 ส่วนราชการส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 และ อปท. เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563
2. การจัดทำแผน BCP ของหน่วยงานของรัฐ
2.1 การทบทวนและปรับปรุงแผน BCP ของหน่วยงานของรัฐ ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 มีหน่วยงานของรัฐจัดทำแผน BCP แล้ว 3,616 หน่วยงาน (คิดเป็นร้อยละ 43.66) จากจำนวนหน่วยงานทั้งหมดที่ต้องจัดทำแผน 8,281 หน่วยงาน โดยมีการวิเคราะห์ภาพรวมของแผนที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างพันธกิจ กระบวนการหลักที่สำคัญ การนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชน รวมถึงกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องที่สำคัญ กรณีหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการจัดทำและยังไม่ได้จัดส่งแผน BCP สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้ติดตามให้หน่วยงานดังกล่าวจัดทำแผนให้แล้วเสร็จต่อไป นอกจากนี้ แผน BCP ยังรองรับสถานการณ์อื่น ๆ ด้วย ดังนี้
แผนรองรับสถานการณ์
ร้อยละ
COVID19/โรคระบาดต่อเนื่อง
96.97
อัคคีภัย
98.10
อุทกภัย
95.33
ชุมนุมประท้วง/จราจล
84.97
ไฟฟ้าดับวงกว้าง
60.33
ก่อการร้าย
34.71
แผ่นดินไหว
31.24
คุกคามทางไซเบอร์
25.90
ทั้งนี้ ในสถานการณ์การคุกคามทางไซเบอร์ หน่วยงานได้จัดทำแนวปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Contingency Plan) ตามแนวทางของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) อยู่แล้วนอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมสนับสนุน ดศ. ในการจัดทำแผน BCP ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับเหตุวิกฤตที่กระทบต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศและภัยคุกคามทางไซเบอร์
2.2 การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในประเด็นที่คณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563)
2.2.1 การนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชน จากสถานการณ์ COVID-19 หน่วยงานของรัฐได้เห็นถึงความสำคัญของการนำระบบ e-Service และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชน ทั้งระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว รวมถึงมีแผนที่จะพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานในระยะต่อไป เช่น การจองทะเบียนรถผ่านแอปพลิเคชัน (กรมการขนส่งทางบก) การรักษาผู้ป่วยผ่านระบบ AI (กรมการแพทย์) การพัฒนาระบบ Educational Data Center: EDC (กระทรวงศึกษาธิการ) (ศธ.) และระบบการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม (สถาบันนิติวิทยาศาสตร์) ทั้งนี้ หน่วยงานได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบช่องทางการรับบริการออนไลน์เพื่อทดแทนการเดินทางมาติดต่อราชการด้วยตนเองในส่วนของส่วนราชการส่วนภูมิภาคและ อปท. ได้ให้บริการประชาชนผ่านระบบของส่วนกลาง
2.2.2 การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้ทบทวนและปรับปรุงแผน BCP เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ให้ความสำคัญต่อการให้บริการประชาชนโดยไม่ให้เกิดการหยุดชะงัก โดยกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องและวิธีการต่าง ๆ ไว้แล้ว เช่น
ภารกิจ
การดำเนินการ
ด้านไฟฟ้า
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีแผนที่รองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดสภาวะวิกฤตที่ทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าหยุดชะงักจะสามารถจ่ายไฟคืนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ภายใน 3 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ภายใน 24 ชั่วโมง (หรือจะหยุดชะงักไม่เกิน 1 วัน) นอกจากนี้ได้ใช้ระบบเทคโนโลยีในการควบคุมการผลิตและจ่ายไฟฟ้าจากส่วนกลางได้เต็มทั้งระบบ ตลอดจนมีระบบสำรองในการควบคุมในกรณีที่ระบบแรกไม่สามารถใช้การได้ มีระบบที่ควบคุมและสั่งการโดยเจ้าหน้าที่กรณีระบบหลักและระบบสำรองล้มเหลว รวมทั้งมีแผนการหมุนเวียนหรือทดแทนบุคลากรเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต
ด้านโทรคมนาคม
หน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่หน่วยงานของรัฐได้อย่างต่อเนื่อง โดยหยุดชะงักไม่เกิน 4 ชั่วโมง เร็วกว่ามาตรฐานของคุณภาพบริการโทรคมนาคมที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กำหนดให้ไม่นานกว่า 24 ชั่วโมง โดยมีระบบที่ครอบคลุมทั้งระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการและระบบงานภายในองค์กร มีแหล่งข้อมูลสำรองทุกระบบ มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ในรูปแบบทรัพยากรร่วมของหน่วยงาน รวมทั้งกำหนดขั้นตอนและหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินไว้อย่างชัดเจน
3. แนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐที่มีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับบริการภาครัฐอย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤตสามารถใช้บริการแบบเบ็ดเสร็จผ่าน e-Service ภาครัฐ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการด้วยตนเอง ในขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐทุกแห่งต้องมีความพร้อมในการดำเนินภารกิจอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
3.1 การนำระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการแก่ประชาชน
ภารกิจ
การดำเนินการ
การพัฒนา
e-Service ภาครัฐ
ให้หน่วยงานของรัฐเร่งรัดการพัฒนางานบริการแบบเบ็ดเสร็จ โดยนำ e-Service มาเป็นทางเลือกให้ประชาชนใช้แทนการเดินทางไปติดต่อราชการเอง ณ หน่วยงาน
โดยเฉพาะงานที่มีปริมาณการขอรับบริการเป็นจำนวนมาก งานที่ต้องมีการรอคิวรับบริการ ณ หน่วยงาน งานที่มีผลทำให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น หรือสนับสนุนช่วยเหลือให้ภาคเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบปัญหาในสถานการณ์ COVID-19 ฟื้นตัวได้รวดเร็วและยั่งยืนยิ่งขึ้น รวมถึงงานที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานประชาสัมพันธ์ e-Service ของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับนำความเห็นของประชาชนหลังใช้บริการมาปรับปรุงให้ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งพิจารณาให้สามารถขยายเวลาการให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ
ที่เป็นอุปสรรค
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ร่วมกับหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ในการเร่งรัดแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ e-Service
การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน
ด้านดิจิทัล
ของประเทศ
ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ดศ. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (องค์กรมหาชน) เร่งรัดการส่งเสริมและให้การสนับสนุนหน่วยงานในการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน บริการโทรคมนาคมมีความเร็วและความเสถียรเพียงพอ มีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูล ควบคู่ไปกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสำคัญของประเทศ เพื่อให้ระบบบริการในรูปแบบ e-Service มีความสมบูรณ์ สามารถให้บริการได้อย่างเบ็ดเสร็จตั้งแต่ยื่นเรื่องจนได้รับเอกสารการอนุมัติ
การขับเคลื่อน
การให้บริการ
ประชาชนผ่าน
e-Service ภาครัฐ
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชน
ผ่าน e-Service ภาครัฐ โดยกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนางานบริการภาครัฐให้เป็น e-Service ยกระดับระบบที่มีอยู่ให้สามารถบริการออนไลน์ได้อย่างครบวงจร ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ (สงป.) กรมบัญชีกลาง พิจารณากำหนดแนวทางการสร้างแรงจูงใจแก่หน่วยงานของรัฐในการเร่งพัฒนาการให้บริการประชาชนผ่าน e-Service
3.2 การส่งเสริมการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตในระยะต่อไปแก่หน่วยงานของรัฐ
ภารกิจ
การดำเนินการ
การสร้างองค์ความรู้ในการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสริมสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของหน่วยงานของรัฐเพื่อยกระดับการดำเนินการ โดยเตรียมความพร้อมแบบองค์รวมตั้งแต่การบริหารจัดการ การทำความเข้าใจองค์กร การกำหนดกลยุทธ์ การจัดทำแผนและนำไปปฏิบัติ การทดสอบ ปรับปรุง ทบทวนแผน และการปลูกฝังให้ดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับความพร้อมของภาครัฐในการรับมือกับสภาวะวิกฤตต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้แผนและการดำเนินการตามแผน BCP ของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การพัฒนาคุณภาพของ BCP
ให้หน่วยงานของรัฐทบทวน ทดสอบ ซักซ้อม และปรับปรุงแผนเป็นประจำทุกปีเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ รวมทั้งให้พิจารณาจัดทำแผนจำแนกตามสถานการณ์ตามบริบทขององค์กรและพื้นที่ มีการบูรณาการทรัพยากรระหว่างหน่วยงานที่มีทรัพยากรประเภทเดียวกัน หน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่/อาคารเดียวกัน และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แผน BCP ของหน่วยงานมีความครบถ้วนสมบูรณ์และทันต่อสถานการณ์
การขยายผล
สู่หน่วยงานในพื้นที่
ให้หน่วยงานของรัฐและ อปท. ที่มีหน่วยงานในสังกัดอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ส่งเสริมและติดตามให้หน่วยงานในสังกัด เช่น อำเภอ โรงเรียน โรงพยาบาล จัดทำแผน BCP เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทุกระดับมีความพร้อมต่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต ทั้งนี้ กรมการแพทย์อยู่ระหว่างการส่งเสริมโรงพยาบาลในสังกัดจัดทำแผน BCP ต้นแบบ เพื่อจะขยายผลให้โรงพยาบาลอื่น ๆ ดำเนินการต่อไป โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมในการส่งเสริมองค์ความรู้และติดตามการดำเนินการดังกล่าวด้วย
การสนับสนุน
การจัดหาทรัพยากรในสภาวะวิกฤต
ให้ สงป. กระทรวงการคลัง (กค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการสนับสนุนหน่วยงานของรัฐให้สามารถจัดหาทรัพยากรในสภาวะวิกฤตได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน BCP เช่น การจัดเตรียมงบประมาณสำรองเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับดำเนินภารกิจสำคัญหรือภารกิจในการบริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แผน BCP มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเมื่อเกิดเหตุวิกฤต
การจัดทำแผน
BCP เฉพาะด้าน
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำแผน BCP เฉพาะด้าน เพื่อรองรับสถานการณ์ที่สำคัญ เช่น ร่วมกับ ดศ. และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ในการจัดทำแผน BCP ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ หรือกรอบแนวทางในการจัดทำแผน BCP ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้นำไปปรับปรุงแผน BCP ของตนเองต่อไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัด ติดตาม และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการตามแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ และรายงานให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบเป็นระยะ
21. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) [เป็นการดำเนินการตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ที่บัญญัติว่า ทุกหกเดือน ให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบ ทั้งนี้ ให้จัดทำรายงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี] โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 หดตัวสูงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมาตรการปิดเมืองที่เข้มงวดส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว การส่งออกบริการภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากรายได้ของประเทศคู่ค้าอ่อนแอลง การบริโภคภาคเอกชนหดตัวสูงตามการจ้างงาน รายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสูงตามภาวะอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับลดลงตามผลประกอบการและความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า ซึ่งการใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศมีความเปราะบางมากขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบตามราคาหมวดพลังงาน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเป็นบวกแต่ปรับลดลงมากตามอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลง และอัตราการว่างงานเร่งตัวขึ้นมาก ส่วนเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องและสามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงจากเดือนธันวาคม 2562 เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปรับลดลงมากตามรายรับจากนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ในภูมิภาคและประเทศไทย
2. การดำเนินงานของ ธปท. มีการดำเนินงานและประเมินผลนโยบาย 3 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านนโยบายการเงิน
2.1.1 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติ (24 ธันวาคม 2562) อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 – 3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่สำหรับระยะปานกลางและสำหรับปี 2563 ซึ่งเหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อไทยที่มีแนวโน้มต่ำลง และการเปลี่ยนรูปแบบเป้าหมายเป็นช่วงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกและไทยผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูง
2.1.2 กนง. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้ง จากร้อยละ 1.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ซึ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลายและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จากร้อยละ 0.46 เหลือร้อยละ 0.23 ของฐานเงินฝากเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินปรับลดอัตราเงินกู้อ้างอิงเพิ่มเติมซึ่งจะช่วยบรรเทาภาวะหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง
2.1.3 กนง. ให้ความสำคัญกับการติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไปจนกระทบการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยเห็นควรติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผลของมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายขาออกที่ได้ดำเนินการไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 และการประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม
2.2 ด้านนโยบายสถาบันการเงิน
2.2.1 คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
(1) การเพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการเงิน การสนับสนุนการธนาคารเพื่อความยั่งยืน และการผลักดันความเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคและโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เช่น โครงการ MyPromptQR ให้ร้านค้าสามารถรับเงินด้วยการแสกน QR code และการทดสอบนวัตกรรมการเงินใหม่ ๆ ใน Regulatory Sandbox และ Own Sandbox
(2) การปรับปรุงนโยบายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที โดยเฉพาะการออกมาตรการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เช่น การกำหนดมาตรการขั้นต่ำในการช่วยเหลือลูกหนี้ การออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจและการผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงิน
(3) การผลักดันและปรับปรุงนโยบายเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินและความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การยกระดับการกำกับดูแลด้าน IT Risk Management และ Cyber Resilience ให้มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และการจัดทำแนวนโยบายการให้สินเชื่อในลักษณะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
2.2.2 การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม โดยการติดตามและประเมินความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และการให้ความเห็นต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เช่น การดูแลไม่ให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์จนเกินไป
2.2.3 ผลการดำเนินการของระบบธนาคารพาณิชย์และระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institution: SFIs)
(1) ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคง เงินกองทุนและเงินสำรองอยู่ในระดับสูง แต่ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ด้านการเติบโตของสินเชื่อ ระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวจากการใช้สินเชื่อของภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่แต่คุณภาพสินเชื่อด้อยลงจากการหดตัวของเศรษฐกิจ
(2) ระบบ SFIs มีเงินกองทุนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเพียงพอที่จะรองรับการขยายสินเชื่อในระยะต่อไปได้ ทั้งนี้ สินเชื่อของระบบ SFIs มีการชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
2.3 ด้านนโยบายระบบการชำระเงิน
2.3.1 โครงการระบบพร้อมเพย์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 มียอดการลงทะเบียนใช้บริการจำนวน 55.1 ล้านหมายเลข ปริมาณโอนเงินเฉลี่ยต่อวัน 14.5 ล้านรายการหรือคิดเป็นมูลค่า 56.2 พันล้านบาท อีกทั้งยังทำสถิติการใช้งานสูงสุดใหม่ถึง 20.2 ล้านรายการต่อวัน
2.3.2 การดำเนินการตามกรอบการพัฒนา 5 ด้านของแผนกลยุทธ์ ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 5
(1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่เชื่อมโยงกัน โดยส่งเสริมการใช้ ISO 20022 ในการจัดทำมาตรฐานข้อความการชำระเงินของระบบพร้อมเพย์ ระบบ Bulk payment และระบบบาทเนต ให้สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างระบบได้ รวมทั้งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลที่ต่อยอดการใช้ ISO 20022 ในการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางดิจิทัลอื่น เช่น ข้อมูลใบแจ้งหนี้ เพื่อส่งเสริม e-Business อย่างครบวงจร
(2) การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน โดยผลักดันการพัฒนาบริการชำระเงินหรือโอนเงินระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีและช่องทางใหม่กับประเทศต่าง ๆ ผ่านความร่วมมือทั้งในระดับธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ เช่น การเชื่อมโยงระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างประเทศและการเชื่อมโยงระบบโอนเงินรายย่อยแบบเรียลไทม์ เช่น โครงการเชื่อมโยง PromptPay ของไทย และ PayNow ของสิงคโปร์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2564
(3) การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้บริการชำระเงิน เช่น การเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตให้เป็นแบบชิปการ์ดเพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น การผลักดันการขยายการใช้ digital payment ในหน่วยงานภาครัฐ และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ digital payment อย่างแพร่หลาย
(4) การกำกับดูแลและการบริหารความเสี่ยง มีการจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใต้พระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้าสำหรับการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
(5) การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน อยู่ระหว่างพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์และติดตามความเสี่ยงของผู้ให้บริการ e-Payment รวมทั้งจัดทำเครื่องมือและตัวชี้วัดในการติดตามทิศทางการชำระเงินรายย่อย จัดทำสถิติข้อมูลการชำระเงินเพื่อใช้รายงานภาพรวมธุรกรรมการชำระเงินต่อผู้บริหารโดยเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ infographic ผ่านเว็บไซต์และช่องทางออนไลน์ของ ธปท. และศึกษาแนวทางการบูรณาการข้อมูลการชำระเงินร่วมกับผู้ให้บริการ e-Payment
22. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 ในประเทศไทย พ.ศ. 2566
คณะรัฐมนตรีรับทราบการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 ในประเทศไทย พ.ศ. 2566 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี โดยในแต่ละปีมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ได้ส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ปีแรกที่มีการจัดการแข่งขัน (พ.ศ. 2547) จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 16 ปี
2. ในปี 2566 ประเทศไทยได้รับเชิญให้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 โดย สอวน. (ซึ่งมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธานมูลนิธิ) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศธ. และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ทั้งนี้ งานดังกล่าวจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
หัวข้อ
รายละเอียด
1) วัตถุประสงค์
- เฉลิมพระเกียรติ 100 พรรษา ชาตกาล ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศด้านวิชาการและการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร ระบบการเรียนการสอน และการวิจัย ที่จะช่วยในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศ
- ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถด้านปัญญา และพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้นทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
2) หน่วยงานเจ้าของโครงการ
สอวน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศธ. และ สสวท.
3) ระยะเวลาโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567
4) ผู้เข้าร่วม
คาดว่าจะมีผู้เข้าแข่งขันประมาณ 60 ประเทศ ประเทศละ 6 คน อาจารย์ผู้ควบคุมดูแล ประเทศละ 3 คน และมีประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์จำนวนหนึ่ง รวมผู้เข้าร่วมประมาณ 600 คน
5) การติดตามและ
สรุปผลของโครงการ
มีการประเมินทุกขั้นตอนตลอดการดำเนินโครงการ เพื่อนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงที และประเมินขั้นสุดท้ายเพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
6) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- กระตุ้นให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของไทยให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและมีความทันสมัย
- เยาวชนของไทยมีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพิ่มมากขึ้นและได้มีโอกาสแสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
- ครูและเยาวชนของไทยได้รับประสบการณ์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูและเยาวชนจากนานาชาติ
- นานาประเทศยอมรับความสามารถของนักวิชาการไทยมากยิ่งขึ้น
- เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยอีกทางหนึ่ง
6) งบประมาณ
ประมาณ 79,229,450 บาท (จากงบประมาณประจำปีของ สอวน. รวมทั้งการสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน)
23. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนกันยายน 2563 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การจัดฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อปท. ทุกแห่ง ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติฯ ครบถ้วน จำนวน 7,550 แห่ง และบันทึกรายชื่อผู้สมัครในระบบรายงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Report) ของกรมการปกครองแล้ว 448,926 คน (เป้าหมาย 377,500 คน) และได้จัดฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติฯ ใน 76 จังหวัด 3,800 อปท. โดยมีผู้ผ่านการอบรมแล้ว จำนวน 194,560 คน
2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 เนื่องในวันมหิดล (วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) จังหวัดต่าง ๆ ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการทำกิจกรรมพัฒนาโรงพยาบาล/สถานพยาบาลภายในพื้นที่จังหวัด เช่น การทำความสะอาดปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ของโรงพยาบาลและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ตามความเหมาะสมของพื้นที่
3. การติดตามผลการดำเนินการที่สำคัญของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ได้แก่
3.1 ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-19
3.2 ความคืบหน้าการดำเนินโครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โดยกรมราชทัณฑ์
3.3 ความคืบหน้าการพัฒนาคลองเปรมประชากรและการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ทิ้งขยะลงคลองเปรมประชากร
3.4 รายงานผลการสนับสนุนโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์
3.5 รายงานสถานการณ์ด้านภัยพิบัติและผลกระทบจากพายุโซนร้อน “โนอึล”
3.6 ความคืบหน้าการพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ความคืบหน้าการพัฒนาสระบ่อหินขาว จังหวัดนครสวรรค์ และความคืบหน้าโครงการพัฒนาบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร
3.7 ความคืบหน้าการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนร่วมกับเด็กและเยาวชนจิตอาสา “พลังเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุขให้สังคม” ณ สถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
3.8 ความคืบหน้าการฝึกอบรมจิตอาสาภัยพิบัติประจำ อปท.
3.9 รายงานการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานและ การปฏิบัติงานของจิตอาสา 904 ทั่วประเทศ ผ่านระบบแอปพลิเคชันและรายงานการประชาสัมพันธ์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “จิตอาสาพระราชทาน” เพื่อสร้างการรับรู้ในด้านต่าง ๆ
4. ข้อมูลจำนวนจิตอาสาและกิจกรรมจิตอาสา ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีจิตอาสาลงทะเบียน รวม 6,709,049 คน [จำแนกตามพื้นที่ (ภูมิลำเนา) ได้แก่ กรุงเทพมหานครจำนวน 455,919 คน ส่วนภูมิภาค จำนวน 6,253,130 คน และจำแนกตามเพศ ได้แก่ เพศชาย จำนวน 2,986,471 คน เพศหญิง จำนวน 3,722,578 คน] และมีการจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา จำนวน 52,045 ครั้ง กิจกรรมจิตอาสาภัยพิบัติ จำนวน 656 ครั้ง และการบรรยายขยายผลให้ความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย จำนวน 1,001 ครั้ง มีผู้เข้ารับฟังการบรรยาย จำนวน 634,711 คน
24. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
กค. เสนอว่า
1. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มาตรา 10 บัญญัติให้ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้ กค. รายงานการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
2. กค. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
2.1 ความเป็นมาและข้อเท็จจริง
2.2 รายละเอียดการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของการกู้เงิน และวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ และผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดโครงการและผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับของโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 4 โครงการ (เป็นโครงการตามแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงศ์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)
จึงได้เสนอรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของรายงาน
1. ความเป็นมาและข้อเท็จจริง
ตามที่รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 โดยได้กำหนดวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาทเพื่อนำไปใช้สำหรับแผนงานหรือโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกำหนด และตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดฉบับนี้กำหนดให้ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้ กค. รายงานการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
2. รายละเอียดการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
2.1 รายละเอียดของการกู้เงิน
ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 กค. ได้ลงนามในสัญญากู้เงินและออกตราสารหนี้ภายใต้พระราชกำหนดแล้ว จำนวน 373,761.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.38 ของวงเงินกู้ตามพระราชกำหนด และมีวงเงินกู้คงเหลือตามพระราชกำหนด จำนวน 626,239.00 ล้านบาท ซึ่ง กค. จะได้ดำเนินการทยอยกู้เงินเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเพิ่มเติมตามความจำเป็นและความสอดคล้องกับการใช้เงินของโครงการต่อไป
2.2 วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ ประกอบด้วย
1) เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โดยเงินกู้ตามพระราชกำหนดดังกล่าวสามารถนำไปใช้จ่ายตามแผนงานโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกำหนด อันประกอบด้วย 3 แผนงานหรือโครงการ ดังนี้
(1) แผนงานที่ 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 45,000.00 ล้านบาท
(2) แผนงานที่ 2 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ วงเงิน 555,000.00 ล้านบาท
(3) แผนงานที่ 3 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000.00 ล้านบาท
3. ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
การดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 มีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 4 โครงการ ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (แผนงานที่ 2) โดยสามารถเยียวยาให้กับผู้มีสิทธิ์ จำนวน 30,524,376 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 89.92 จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 33,946,103 ราย
4. สถานภาพการอนุมัติแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 30 กันยายน 2563คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว จำนวน 46 โครงการ วงเงินรวม 476,587.44 ล้านบาท และหน่วยงานเจ้าของโครงการได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว จำนวน 298,071.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.54 ของกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
5. การดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและอยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการ ซึ่ง กค. จะรายงานผลการกู้เงินและผลสัมฤทธิ์เมื่อโครงการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จต่อไป
25. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เสนอและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่ 1/2563 และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กบส. รายงานว่า ผลการประชุม กบส. ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ซึ่งมี
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์) เป็นประธาน มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
1.1 รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2562 โดยคาดการณ์ว่าในปี 2562 ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13.4 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หรือมีมูลค่ารวม 2,258.4 พันล้านบาท เป็นไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีการชะลอตัวจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในส่วนการประมาณการสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ในปี 2563 คาดการณ์ว่ามูลค่าต้นทุนโลจิสติกส์มีแนวโน้มลดลงจากการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยคาดว่า สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยอยู่ที่ร้อยละ 12.9-13.4 ต่อ GDP อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคจากภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน
1.2 ความคืบหน้าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
ด้าน
ผลการดำเนินการ
อุตสาหกรรม
พัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 205 กิจการ พัฒนาบุคลากรจำนวน 300 คน ลดต้นทุนโลจิสติกส์รวม 2,536 ล้านบาท และเพิ่มผลิตภาพการผลิตโดยนำระบบอัตโนมัติมาใช้ปรับปรุงสายพานขนส่งสินค้าในโรงงานและนำระบบ Enterprise Resource Planning มาใช้เพื่อวางแผนการผลิตและจัดการวัตถุดิบ
การเกษตร
จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร พ.ศ. 2563-2565 (ฉบับทบทวน) เพื่อให้สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน
รวมทั้งอยู่ระหว่างพัฒนาระบบ e-Logistics เพื่อออกใบรับรองด้านสุขอนามัยพืช
การพัฒนาระบบ National Single Window (NSW)
สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ครบทั้ง 37 หน่วยงาน และมีธุรกรรมการให้บริการ
ผ่านระบบ NSW แล้ว 379 รายการ จาก 807 รายการ (คิดเป็นร้อยละ 47)
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่ออกตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนกับประเทศสมาชิกอาเซียนได้ครบทุกประเทศ และอยู่ระหว่างจัดหาองค์กรผู้ให้บริการ NSW ทั้งนี้ การปรับลดขั้นตอนกระบวนการทำงานภาครัฐใน 5 สินค้ายุทธศาสตร์ ได้แก่ น้ำตาล ข้าว ยางพารา สินค้าแช่แข็ง และวัตถุอันตราย มีความก้าวหน้าตามรายสินค้ายุทธศาสตร์อยู่ระหว่างร้อยละ 37-35
การพัฒนาระบบบริหารจัดการท่าเรือในประเทศ
(1) ท่าเรือศาลาลอย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ระหว่างจัดทำแผนบริหารจัดการ
(2) ท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จังหวัดตราด อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี
(3) ท่าเรือคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ระหว่างสอบถามความสนใจ
ขององค์การสะพานปลาหรือผู้ที่สนใจ
(4) การบริหารจัดการท่าเทียบเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ระหว่างเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 (เรื่อง การส่งเสริมการจัดท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร) เพื่อนำพื้นที่บางส่วนของท่าเรือสาธารณะมาใช้ในเชิงพาณิชย์
2. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
2.1 แผนการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port)
2.1.1 สาระสำคัญ
(1) แผนการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาท่าเรือบกของไทยในระยะยาวให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าสู่การขนส่งทางรางโดยใช้ท่าเรือบกเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศในภาพรวม โดยแผนดังกล่าวมีวิสัยทัศน์เพื่อเสริม
ความสามารถในการแข่งขันของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางรางของภูมิภาคอาเซียน
(2) แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาท่าเรือบกเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง วงเงินรวมประมาณ 30,920 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น การก่อสร้างท่าเรือทางบกในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ขอนแก่น และนครสวรรค์ และการปรับปรุงมาตรฐานการเดินรถไฟเพื่อเป้าหมายการตรงต่อเวลาในการให้บริการ 2) การสร้างศักยภาพของท่าเรือบกและธุรกิจสนับสนุน วงเงินรวมประมาณ 830 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการจัดตั้งศูนย์อำนวย
ความสะดวกด้านศุลกากรและการตรวจสอบสินค้าในลักษณะ One Stop Service และโครงการจัดตั้งศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างท่าเรือบก ท่าเรือแหลมฉบัง และด่านชายแดน
(3) รูปแบบการลงทุน การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดยภาครัฐลงทุนค่าจัดหาที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเอกชนบริการพื้นที่ท่าเรือบก
(4) นโยบายและมาตรการอื่นเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาท่าเรือบก เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งสินค้าทางรางและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนและการกำหนดให้ท่าเรือบกเป็น “ที่” เพื่อเป็น “ด่านศุลกากร” ตามนิยามในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
2.1.2 ความเห็นและประเด็นอภิปราย
(1) ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นเพิ่มเติม เช่น 1) ควรศึกษารายละเอียดในเชิงลึกของพื้นที่ที่จะพัฒนาโครงการให้ครบถ้วน รวมทั้งมาตรการสนับสนุนหรือแนวทางแก้ไขผลกระทบที่ได้รับจากการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต 2) จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินโครงการฯ โดยนำปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ มาพิจารณา เช่น ต้นทุนค่าที่ดิน ปริมาณตู้สินค้า และขนาดพื้นที่ และ 3) ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบและปัจจัยที่จะส่งผลต่อ
การดำเนินโครงการฯ อย่างรอบด้านรวมทั้ควรกำหนดมาตรการสนับสนุนที่มีความชัดเจน
(2) กบส. มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และประสานรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการ ดำเนินงานอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสม คุ้มค่า และประโยชน์สูงสุด 2) ให้ความสำคัญกับแนวทางการเชื่อมโยงการขนส่งในภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างทะเลอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และทะเลจีนใต้ และ 3) ศึกษาภาพรวมของการขนส่งสินค้าที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงในแต่ละรูปแบบ
การขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.3 มติที่ประชุม
(1) เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยให้นำความเห็นของฝ่ายเลขานุการฯ และความเห็นของ กบส. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
(2) มอบหมายให้ คค. จัดทำภาพรวมแนวทางการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกันในแต่ละรูปแบบการขนส่ง และนำเสนอ กบส. ในการประชุมครั้งต่อไปด้วย
2.2 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) จากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
2.2.1 แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ฯ ประกอบด้วย
(1) การดำเนินการของภาครัฐ ประกอบด้วย
กิจกรรม
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
1) การพัฒนาฐานข้อมูลกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านโลจิสติกส์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
สศช.
2) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะที่ให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบข้อมูลในการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งและโลจิสติกส์อัตโนมัติ
คค.
3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการสื่อสารให้สามารถรองรับการสร้างธุรกิจใหม่
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคทม (ดศ.)
4) การสนับสนุนความเชื่อมโยงของภาคธุรกิจขนส่งที่ยังสามารถเติบโตได้กับสินค้าเกษตรหรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
ดศ. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
5) การสนับสนุนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กระทรวงการคลัง (กค.) และ คค.
6) การขจัดอุปสรรคด้านการขนส่งระหว่างประเทศ
กค. และ คค.
(2) ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานของภาคเอกชนผู้ประกอบการภาคเอกชนควรให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1) การบริหารความเสี่ยงธุรกิจและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 2) การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการคลังสินค้าให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3) การใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบจัดเก็บข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้าและการขนส่ง 4) การสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการ โลจิสติกส์และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และ 5) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ กบส. มีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ฯ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [ตามข้อ 2.2.1 (1)] ดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
2.2.2 ข้อเสนอแนะของภาคเอกชน ตัวแทนภาคเอกชนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน
ความเห็นและมติ กบส.
การขับเคลื่อนให้โลจิสติกส์เป็นอุตสาหกรรมในการสร้าง
รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ โดยมีรายได้
เพิ่มจากเดิมอย่างน้อย 300,000 ล้านบาทต่อปี
ภายในปี 2565
ความเห็น : ในปี 2562 มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
ของธุรกิจโลจิสติกส์มีมูลค่าประมาณ 486,708 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องและปัจจัยหลายด้าน
ที่ยังไม่ได้นำมาใช้คิดคำนวณ
มติ : มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแนวทาง
การดำเนินงานต่อไป
การจัดตั้งสำนักงานโลจิสติกส์แห่งชาติและสภาโลจิสติกส์แห่งชาติ เพื่อบูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ให้อยู่ภายใต้หน่วยงานเดียว
ความเห็น : กบส. เป็นกลไกการขับเคลื่อนในระดับ
นโยบายโดยมีองค์ประกอบทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชนเป็นกรรมการ รวมทั้งมีการกำหนดให้มี
แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบ
โลจิสติกส์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับจัดสรร
งบประมาณในการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการอยู่แล้ว
จึงไม่มีความจำเป็นในการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว
มติ : มอบหมายให้ฝ่ายลขานุการฯ ประสานความร่วมมือ
กับภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนา
ระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมาย
การพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลของประเทศไทย
(National Digital Trade Platform: NDTP)
และการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(e-Commerce Platform)
ความเห็น : ภาครัฐควรเร่งสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศใช้ระบบดังกล่าว
มติ : มอบหมาย กค. ดศ. สำนักงานพัฒนาธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัดการพัฒนาระบบ NDTP ร่วมกับภาคเอกชน
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสามารถเชื่อมโยงกับ
ระบบการนำเข้าและส่งออกสินค้าอื่น ๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
การจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์เพื่อพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับชุมชน โดยมีหน่วยงานภาครัฐให้บริการด้านการส่งออกและใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งกรมศุลกากรได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) และอยู่ระหว่างจัดหาหน่วยงาน
หรือองค์กรเพื่อทำหน้าที่ NSW Operator
มติ : มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) พณ.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงอุตสาหกรม (อก.) และกระทรวงมหาดไทย ยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด (2) กค. คค. และ ดศ. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรองรับการดำเนินงาน
ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ
ในชุมชน และ (3) กค. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการออกใบอนุญาตและใบรับรองสินค้าเพื่อพัฒนา
ระบบการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก
ต่อผู้ใช้บริการ
การให้บริการของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ควรให้บริการ
24 ชั่วโมง ในกรณีส่งสินค้าเร่งด่วนทางอากาศ
มติ : มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) กค.
เป็นหน่วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่มี
ภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านระบบ NSW และ (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรร
เจ้าหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนในการให้บริการ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
กรณีมาตรา 102 และมาตรา 152 (ยกเว้นไม่ต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายบางประการเพื่ออำนวยความสะดวก
ด้านพิธีศุลกากร)
มติ : มอบหมายให้ กค. (กรมศุลกากร) พิจารณา
ความหมาะสมของระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้คำนึงถึงกฎระเบียบเป็นสำคัญ
โครงการช่องทางพิเศษสำหรับสินค้าเน่าเสียง่าย
โดยอยู่ระหว่างศึกษาโครงการและทำกรอบ
แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโซ่ความเย็น
มติ : มอบหมายให้ กค. กษ. พณ. และ คค. หารือร่วมกัน
โดยให้ความสำคัญในการรวมจุดออกใบรับรอง
สุขอนามัยพืชและจุดตรวจสินค้าเกษตรในลักษณะ
การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ
ขอขยายเวลาการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายลงกึ่งหนึ่ง
เป็นระยะเวลา 2 ปี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน สินเชื่อ
เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ Soft loan และแปลงสินทรัพย์
ทางธุรกิจให้เป็นทุนสามารถใช้ค้ำประกัน
มติ : มอบหมายให้ กค. พิจารณาความเหมาะสม
ในการกำหนดมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ
และให้ สศช. ติดตามการดำเนินงานในระยะต่อไป
2.2.3 ความเห็นและประเด็นอภิปราย
(1) ควรมีการจัดประชุม กบส. เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการผลักดันในเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในแต่ละประเด็นการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป
(2) มอบหมาย กค. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดติดตามการพัฒนาระบบ NSW ให้มีความสมบูรณ์และครบถ้วนภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 รวมทั้งเร่งรัดการพัฒนาระบบ Port Community System (PCS) เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและเอกสารการขนส่งทางเรือกับระบบ NSW ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
(3) ให้หน่วยงานหรือคณะกรรมการต่าง ๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทาง มาตรการ และกฎระเบียบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการขนส่งสินค้าให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้อย่างมีศักยภาพ
(4) ให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนข้อบังคับการกำหนดให้เรือขนส่งชายฝั่งที่มารับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังต้องใช้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง A เป็นลำดับแรก เพื่อลดผลกะทบด้านต้นทุนและประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ให้บริการขนส่ง
2.2.4 มติที่ประชุม เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ฯและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับความเห็นและประเด็นอภิปรายของ กบส. ไปดำเนินการ และให้ สศช. ติดตามการดำเนินงานและรายงาน กบส. เพื่อทราบต่อไป
3. เรื่องอื่น ๆ ที่ประชุมได้มีหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศ ได้แก่
3.1 การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าเกษตรที่ผลิตในชุมชน กษ. ชี้แจงว่า ในปัจจุบันได้มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย เพื่อการจำหน่ายและบริโภคภายในประเทศแล้ว แต่การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าของประเทศปลายทาง อย่างไรก็ตาม กษ. ได้พัฒนาระบบการทดสอบสินค้าเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของโควิด-19 ในสินค้าประมงเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ กษ. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการได้รับทราบแนวทางการตรวจรับรองสินค้าเกษตรเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
3.2 การสนับสนุนผู้ประกอบการ e-Commerce เกี่ยวกับการจดทะเบียนรถบรรทุกที่ยังคงมีความล่าช้าในการดำเนินการ และไม่ทันกับความต้องการของผู้ประกอบการจึงควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการจดทะเบียนให้สะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ คค. ให้ความสำคัญในการพัฒนาแนวทางหารือรูปแบบการจดทะเบียนรถบรรทุกให้มีความสะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณานำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ดำเนินการร่วมด้วย เพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มศักยภาพ รวมทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของตลาด e-Commerce
26. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติให้ปรับแก้วิธีการกำหนดราคากลางอ้างอิง จากเดิมประกาศทุก 2 เดือน (2 เดือน/1 ครั้ง) แก้ไขเป็น ประกาศทุก 1 เดือน โดยใช้ราคาอ้างอิงเฉลี่ยของแต่ละเดือนที่ชดเชย ตั้งแต่เตือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป (เป็นการยกเลิกข้อความในหน้า 2 ของ เอกสารแนบ 6 ของหนังสือ กษ. ด่วนที่สุด ที่ กษ. 2908.02/3684 ลงวันที่ 14 กันยายน 2563) จากเดิม “ข้อ 4.4 (2) กำหนดให้ ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนดราคาอ้างอิงประกาศทุก 2 เดือน (บาท/กิโลกรัม) โดยพิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา, SICOM, TOCOM, เซี่ยงไฮ้ และปัจจัยอื่น ๆ” และให้ใช้ข้อความดังนี้แทน “ข้อ 4.4 (2) ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนดราคาอ้างอิงประกาศทุก 1 เดือน (บาท/กิโลกรัม) โดยพิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา, SICOM, TOCOM เซี่ยงไฮ้ และปัจจัยอื่น ๆ”
2. อนุมัติเพิ่มเติมให้เกษตรกรที่แจ้งพื้นที่ปลูกยาง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ยังไม่มีเอกสารแสดงถึงการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ หรือยินยอมให้ใช้ทำประโยชน์ทางการเกษตร ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้เป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการทำสวนยางเพื่อการดำรงชีพและเป็นเกษตรกรที่ด้อยโอกาส และยังไม่สามารถข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร ได้รับความช่วยเหลือในการประกันรายได้ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวทางการดำเนินงานของโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า จากการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 พบว่า เกษตรกรที่แจ้งพื้นที่ปลูกยาง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ยังไม่มีเอกสารแสดงถึงการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ หรือยินยอมให้ใช้ทำประโยชน์ทางการเกษตร จะไม่สามารถได้รับการช่วยเหลือในโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้ เป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการทำสวนยางเพื่อการดำรงชีพและเป็นเกษตรกรที่ด้อยโอกาส และยังไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร และในรายละเอียดการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกำหนดราคากลางอ้างอิงในการประกันรายได้ ตามชนิดและอัตราค่าชดเชยรายได้ในแต่ละรอบ 2 เดือน ต่อ 1 ครั้ง และให้มีการจ่ายเงินชดเชยทุก 1 เดือน เพื่อให้การดำเนินการในการกำหนดราคากลางอ้างอิงสอดคล้องกับวิธีการจ่ายเงินชดเชยทุก 1 เดือน ปรับแก้วิธีการกำหนดราคากลางอ้างอิง จากเดิมประกาศทุก 2 เดือน (2 เดือน/1 ครั้ง) แก้ไขเป็น ประกาศทุก 1 เดือน โดยใช้ราคาอ้างอิงเฉลี่ยของแต่ละเดือนที่ชดเชย ตั้งแต่พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป
เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเห็นสมควรเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 เพื่อให้สามารถช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำอย่างทั่วถึง
27. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 30/2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2563 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และพิจารณาความเหมาะสมของการปรับปรุงรายละเอียดของแผนงานหรือโครงการ รวมถึงรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ ราย 3 เดือน รอบที่ 2 (ระหว่างวันที่1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของพระราชกำหนดฯ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
วงเงินรวม 22,500 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ภายใต้แผนงานที่ 3.3 พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการต่อไป
2. อนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วงเงินและแหล่งเงิน จำนวนไม่เกิน 20,635.4925 ล้านบาทโดยให้ขอรับจัดสรรเงินงบประมาณจากงบกลางฯ
3. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 และข้อ 2 ดำเนินการดังนี้
3.1 จัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายวัน/รายเดือน (แล้วแต่กรณี) เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลด ค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ
3.2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงปัญหา
อุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ภายในวันที่ 7ของเดือนถัดไป
3.3 ประสานกับกระทรวงการคลังในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้
เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่พระราชกำหนดฯ ด้วย
4. อนุมัติการปรับปรุงรายละเอียดวิธีดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกันและโครงการกำลังใจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้ เห็นควรให้ปรับลดวงเงินสำหรับจัดกิจกรรมกระตุ้นการเดินทางในรูปแบบ Consumer Fair จำนวน 3 ครั้ง ภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกัน จากวงเงิน 9,000,000 บาท เป็น 8,080,000 บาท (ปรับลด 920,000 บาท) พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเศษฐกิจการคลังและธนาคารกรุงไทยฯ รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการต่อไปด้วย
5. มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเร่งสร้างความชัดเจนของการดำเนินโครงการเที่ยวไทยวัยเก๋าตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถส่งเสริมและกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน รวมถึงการลงทุนต่าง ๆ ของภาคเอกชน เพื่อให้สภาวะการบริโภคและการลงทุนกลับเข้าสู่ระดับปกติได้โดยเร็วตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และนำเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่งตามขั้นตอนต่อไป
6. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ดำเนินแผนงาน/โครงการโดยใช้เงินกู้ตาม พระราชกำหนดฯ ที่มีรูปแบบการร่วมจ่ายของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าจะสามารถตรวจสอบยืนยันข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการดำเนินการ กระทรวงเจ้าสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งดำเนินการติดตามตรวจสอบผู้เข้าร่วมโครงการในเชิงรุก นอกจากนี้ ให้ส่วนราชการนำประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการดำเนินโครงการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงของการดำเนินโครงการต่อไป
7. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ ราย 3 เดือน ครั้งที่ 2 (ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563) ตามมาตรา 8 (2) แห่งพระราชกำหนดฯ พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบรับความเห็นและข้อสนอแนะ เพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
8. รับทราบผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ของจังหวัดพัทลุง และอนุมัติให้จังหวัดพัทลุงดำเนินโครงการเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง วงเงิน 6.0500 ล้านบาท ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบแผนงาน/โครงการของจังหวัด จำนวน 12 โครงการ เร่งรายงานผลการดำเนิงานตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
28. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2563 และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
กค. เสนอว่า
1. มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่าภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้ กค.รายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงินและการค้ำประกัน รวมถึงผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ ประกอบกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 ข้อ 16 กำหนดให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะติดตามประเมินผลโครงการหรือแผนงานที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และจัดทำรายงานผลสำเร็จของโครงการนั้น ประกอบด้วยความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบของโครงการ และความยั่งยืนของโครงการเพื่อเสนอต่อ กค. พร้อมกับรายงานการกู้เงินและการค้ำประกันเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อเสนอรัฐสภาทราบต่อไป
2. กค. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ 2563 เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
2.1 รายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว และรายงานสถานะหนี้สาธารณะ
2.2 รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการประจำปีงบประมาณ 2563 ตามหลักเกณฑ์การประเมินผล 5 ประการ ได้แก่ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ (Relevance) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) ผลกระทบ (Impact) และความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability) โดยในปีงบประมาณ 2563 กค. โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จของรัฐวิสาหกิจ 6 แห่ง จำนวนรวม 15 โครงการ
จึงได้เสนอรายงานฯ มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. รายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
1.1 โครงสร้างของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติและรับทราบ มีวงเงินรวม 2,991,574.40 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 แผนงานย่อย ได้แก่
แผนงานย่อย
วงเงิน (ล้านบาท)
(1) แผนการก่อหนี้ใหม่
1,656,020.40
(2) แผนการบริหารหนี้เดิม
968,510.10
(3) แผนการชำระหนี้
367,043.90
1.2 รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 รวมทั้งสิ้น 2,364,050.34 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79.02 ของแผน
1.3 กค. รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ บริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 วงเงินรวม 2,364,050.34 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) ผลการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 1,298,592.66 ล้านบาท 2) ผลการบริหารหนี้เดิม วงเงิน 685,126.56 ล้านบาท และ 3) ผลการชำระหนี้ วงเงิน 380,331.12 ล้านบาท และ กค. รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐได้ใช้เครื่องมือทางการเงินและอาศัยโอกาสที่ภาวะตลาดการเงินเอื้ออำนวยดำเนินการบริหารหนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการหนี้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) อยู่ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด (ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP) อยู่ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด (ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP) รวมทั้งสามารถจัดหาเงินกู้ที่มีต้นทุนต่ำและอยู่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม
1.4 การจัดหาเงินกู้ของภาครัฐทำให้รัฐบาลมีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในการบริหารประเทศ เพื่อการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขยายโอกาสให้แก่ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินโครงการแผนงานลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการที่สำคัญด้านต่าง ๆ เช่น (1) โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) (2) โครงการรถไฟฟ้า จำนวน 5 โครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ (3) โครงการพัฒนาระบบราง จำนวน 5 โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ จำนวน 3 โครงการ
1.5 การระดมทุนของรัฐบาลด้วยวิธีการออกพันธบัตรทำให้มีปริมาณการออกพันธบัตรอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark) เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
1.6 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีจำนวน 7,848,155.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 49.34 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) โดยเป็นหนี้รัฐบาล จำนวน 6,734,881.76 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 795,980.29 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ และธุรกิจประกันสินเชื่อ) (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 309,472.36 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 7,821.47 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 946,354.33 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.71 หนี้สาธารณะดังกล่าวสามารถจำแนกตามแหล่งที่มา โดยเป็นหนี้ต่างประเทศ 139,390.11 ล้านบาท และหนี้ในประเทศ 7,708,765.77 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.78 และร้อยละ 98.22 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ และจำแนกตามอายุหนี้คงเหลือ แบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 6,770,098.48 ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น 1,078,057.40 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 86.26 และร้อยละ 13.74 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ
2. รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการประจำปีงบประมาณ 2563
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กค. โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 15 โครงการ โดยทั้ง 15 โครงการดังกล่าว ได้มีแหล่งเงินกู้มาจากเงินกู้ในประเทศ (กค. ค้ำประกันเงินกู้ และ กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) ดังนี้
โครงการ
เจ้าของ
โครงการ
วงเงินกู้
(ล้านบาท)
แหล่งเงินกู้
ผลการประเมิน
รัฐวิสาหกิจ
1) โครงการจัดหา
รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า
จำนวน 112 คัน
การรถไฟ
แห่งประเทศไทย
193.28
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการขนส่ง ลดภาระขาดทุน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยระบบรางตามนโยบายรัฐบาล โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ C หมายถึง พึงพอใจ
2) โครงการทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี
การทางพิเศษ
แห่งประเทศไทย
2,245.17
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการรองรับเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีกับปากทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยตรง ลดปัญหาการจราจร ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก
3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายป้อนอากาศเป็นสายป้อนใต้ดิน
การไฟฟ้า
นครหลวง
200.00
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้าและเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก
4) โครงการปรับปรุงขยายการประปาพัทยา
จังหวัดชลบุรี
การประปา
ส่วนภูมิภาค
765.65
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพัทยาให้สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำประปาที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของชุมชนในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้า โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึงพึงพอใจมาก
5) โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7/1
การประปา
นครหลวง
833.00
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการยกเลิกใช้น้ำบาดาลและเพิ่มประสิทธิภาพการสูบจ่ายน้ำให้กับบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งเชื่อมต่อระบบท่อ/อุโมงค์ส่งน้ำเส้นที่ 3 จากโรงงานผลิตน้ำบางเขนไปยังสถานีสูบจ่ายน้ำบางพลีให้ครบวงจรทั้งระบบ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ A หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
6) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
การประปา
ส่วนภูมิภาค
95.83
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปาของ กปภ. สาขาอรัญประเทศ ขนาด 200 ลบ.ม./ชม. เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำประปาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก
7) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
การประปา
ส่วนภูมิภาค
128.71
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาร้อยเอ็ด ขนาด 1,000 ลบ.ม./ชม. เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก
8) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาฉะเชิงเทรา (น.เทพราช) จังหวัดฉะเชิงเทรา
การประปา
ส่วนภูมิภาค
350.07
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปาของหน่วยบริการเทพราช สาขาบางคล้า ขนาด 1,000 ลบ.ม./ชม. เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ C พึงพอใจ
9) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาปากท่อ จังหวัดราชบุรี
การประปา
ส่วนภูมิภาค
246.73
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปา ขนาด 500 ลบ.ม./ชม. เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ C พึงพอใจ
10) โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะมุกด์ เกาะสุกร และเกาะลิบง จังหวัดตรัง)
การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค
253.00
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าและลดปัญหาในการปฏิบัติการและบำรุงรักษา ลดหน่วยสูญเสียในระบบจำหน่าย โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก
11) โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะศรีบอยา เกาะปู และเกาะพีพีดอน จังหวัดกระบี่
การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค
558.07
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าและลดปัญหาในการปฏิบัติการและบำรุงรักษา ลดหน่วยสูญเสียในระบบจำหน่าย โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึงพึงพอใจมาก
12) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา (โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะน)
การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย
4,657.47
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภาคใต้ โดยเพิ่มกำลังการผลิตพร้อมจ่ายในพื้นที่และลดการพึ่งพาหรือความเสี่ยงในการถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลางและมาเลเซีย โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ A พึงพอใจมากที่สุด
13) โครงการโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 2
การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย
4,000.00
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ รวมทั้งลดการสูญเสียในระบบไฟฟ้าจากการส่งพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลาง โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ A พึงพอใจมากที่สุด
14) โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์)
การรถไฟ
แห่งประเทศไทย
34,362.15
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
- เป็นการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการเดินทาง บรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ผู้ที่เดินทางระหว่างพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ D หมายถึง ไม่พึงพอใจ
15) โครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทางเดินเชื่อมสถานีเพชรบุรี)
(ประเมินร่วมกับโครงการลำดับที่ 14)
การรถไฟ
แห่งประเทศไทย
84.15
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้)
ต่างประเทศ
29. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับหน่วยข่าวกรองทางการเงินแห่งราชอาณาจักรภูฏาน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติให้สำนักงาน ปปง. จัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับหน่วยข่าวกรองทางการเงินแห่งราชอาณาจักรภูฏาน โดยใช้ร่างบันทึกความเข้าใจที่ปรับแก้ถ้อยคำแล้ว[ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)เสนอ]
2. อนุมัติให้เลขาธิการ ปปง. หรือผู้แทนสำนักงาน ปปง. เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจฝ่ายไทย
3. อนุมัติให้สำนักงาน ปปง. ใช้ดุลยพินิจแก้ไขได้โดยมิต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก หากเป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยที่ไม่กระทบต่อสารัตถะของบันทึกความเข้าใจฯ
4. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม(Full Powers)เพื่อให้เลขาธิการ ปปง. หรือผู้แทนสำนักงาน ปปง. เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจฝ่ายไทย
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ(ที่ปรับแก้ถ้อยคำตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ)
1. วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม ขยายผล พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของตนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน
2. ความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลใด ๆ ที่มีอยู่ที่อาจเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งมีส่วนร่วมกับการฟอกเงิน โดยข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนของคู่ภาคีทั้งสอง ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวจะต้องกระทำโดยริเริ่มเองหรือเมื่อได้รับการร้องขอ และจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่บังคับใช้ในประเทศของตนและความยินยอมของคู่ภาคีทั้งสอง การร้องขอข้อมูลดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดพฤติการณ์แห่งคดีพร้อมเอกสารข้อมูลที่สำคัญโดยย่อ
3. การเปิดเผยข้อมูลข้อมูลหรือเอกสารใด ๆ ที่ได้รับจากภาคีจะต้องไม่นำไปเผยแพร่แก่บุคคลที่สามโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดในทางการปกครอง การดำเนินคดี หรือกระบวนการยุติธรรมในศาลโดยปราศจากความยินยอมจากภาคีผู้เปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้รับภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้จะสามารถนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางศาลได้ เมื่อข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาหรือความผิดมูลฐาน โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในภาคผนวกหมายเลข 1 (เช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การค้ามนุษย์ การฉ้อโกงประชาชน การก่อการร้าย) สำหรับประเทศไทยและความผิดที่ก่อให้เกิดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทุกประเภทสำหรับราชอาณาจักรภูฏาน
4. มีผลบังคับใช้มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่คู่ภาคีฝ่ายหลังได้มีการลงนาม และจะมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจดังกล่าวโดยทำเป็นหนังสือแจ้งขอยกเลิกให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5.ข้อโต้แย้งข้อโต้แย้งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตีความบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ให้ดำเนินการแก้ไขโดยการหารือร่วมกันระหว่างคู่ภาคีภายใต้หลักการความตกลงร่วมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน โดยไม่อ้างอิงถึงบุคคลที่สามหรือศาลระหว่างประเทศ
30. เรื่อง สหรัฐอเมริกาประกาศระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(GSP)สินค้าไทย 231 รายการ ด้วยเหตุผลประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่อง สหรัฐอเมริกาประกาศระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(Generalized System of Preferences: GSP)สินค้าไทย 231 รายการ ด้วยเหตุผลประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. การประกาศระงับสิทธิGSPสหรัฐฯได้มีการประกาศระงับสิทธิGSPสินค้าไทย จำนวน 573 รายการ จากผลการประเมินคุณสมบัติประเทศไทยในประเด็นการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีประกาศแจ้งผลการประเมินคุณสมบัติของประเทศที่ได้รับสิทธิGSPของสหรัฐฯ ในการพิจารณาแบบรายประเทศ โดยสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับสิทธิGSPสินค้าไทย รวม 231 รายการ ด้วยเหตุผลในประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทยที่ไม่อยู่ในระดับที่ เท่าเทียมและสมเหตุสมผล ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2533 เป็นต้นไป
2. สาเหตุของการประกาศระงับสิทธิGSPสินค้าไทย 231 รายการ ตามข้อ 1 เนื่องจากไทยห้ามนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ ที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง (แรคโตพามีน) ในระบบการเลี้ยง โดยสหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ค่าการตกค้างสูงสุด(Maximum Residue Limits:MRLs)ของสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสัตว์ตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร(Codex)ในการพิจารณาการประเมินความเสี่ยงสำหรับการเปิดตลาดเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ
ทั้งนี้ คณะผู้แทนไทยนำโดยรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายพิศาล พงศาพิชญ์) ได้เข้าร่วมการเปิดรับฟังความคิดเห็นของคณะอนุกรรมาธิการGSPณ สำนักงานUnited States Trade Representative (USTR)กรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการพิจารณาเปิดตลาดให้กับสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์นำเข้าจากสหรัฐฯ ที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในระบบการเลี้ยงสรุปข้อชี้แจงได้ดังนี้
2.1 ไทยได้หารือและทำงานร่วมกับฝ่ายสหรัฐฯ มาอย่างต่อเนื่องในกระบวนการประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งมีความคืบหน้ามาเป็นลำดับ โดยอยู่ในระหว่างการดำเนินขั้นตอนที่ 4 จากทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ หน่วยงานสัตวแพทย์ของประเทศผู้ส่งออกจัดส่งแบบสอบถามให้กรมปศุสัตว์พิจารณาและให้ความคิดเห็น
2.2 ไทยยังไม่รับรองค่าการตกค้างสูงสุดตามมาตรฐานที่Codexให้การรับรอง เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยจะบริโภคทั้งเนื้อสุกรและเครื่องในสุกร ซึ่งเป็นส่วนที่มีการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงในระดับสูง ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงของไทยจึงครอบคลุมทุกชิ้นส่วนเนื้อเยื่อสุกร ในขณะที่มาตรฐานของCodexครอบคลุมเพียง 4 เนื้อเยื่อ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต)
2.3 ไทยได้เน้นย้ำเกี่ยวกับการให้ความสำคัญเรื่องการปกป้องความปลอดภัยและสุขภาพของผู้บริโภคและยึดหลักการว่ามาตรฐานที่ใช้กับสินค้านำเข้าจะต้องสอดคล้องกับสินค้าภายในประเทศ หากไทยเปิดตลาดให้สินค้าสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดงจากต่างประเทศในขณะที่ยังห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในประเทศจะไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตในประเทศ
3. ผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิGSP
สินค้า 231 รายการ ที่สหรัฐฯ ประกาศระงับสิทธิGSPมีการส่งออกโดยใช้สิทธิGSPจริงเพียง 157 รายการ คิดเป็นมูลค่าการใช้สิทธิฯ 601.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการระงับสิทธิดังกล่าวมีผลให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราภาษีปกติ(MFN Rate)เฉลี่ยร้อยละ 3-4 จากเดิมที่ได้รับการยกเว้นเป็นร้อยละ 0 คิดเป็นมูลค่าต้นทุนภาษีที่ต้องเสียเพิ่มประมาณ 18.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 600 ล้านบาท)โดยรายการสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบได้พิจารณาจาก2 มิติคือ 1)สัดส่วนการใช้สิทธิGSPและ 2)ระดับอัตราภาษีMFNที่ต้องชำระซึ่งรายการสินค้าที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบปานกลาง-สูง เช่น อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์และส่วนประกอบ กรอบและโครงสร้างแว่นตาทำด้วยพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมเรซิน เกลือฟลูออรีน และเครื่องนอนที่ทำจากยางหรือพลาสติก ทั้งนี้ จากการประกาศระงับสิทธิฯ สินค้าทั้ง 231 รายการดังกล่าว ทำให้ไทยมีสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ คงเหลือ 2,660รายการ เป็นสินค้าที่มีการใช้สิทธิฯ จริง 645 รายการ มูลค่าการใช้สิทธิฯ ประมาณ 2,622 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. มาตรการรองรับผลกระทบ
4.1การหารือกับฝ่ายสหรัฐเพื่อหาทางออกร่วมกันในทุกช่องทาง เช่น การประชุม คณะมนตรีภายใต้กรอบTrade and Investment Framework Agreement (TIFA)การหารือระหว่างUSTRกับผู้แทนฝ่ายไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี
4.2การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างหลากหลายเช่นOnline Business Matchingสำหรับสินค้าที่มีความต้องการในตลาดสหรัฐฯ และตลาดใหม่ การส่งเสริมสินค้าไทยเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยใช้ช่องทางCross border e-Commerceเข้าถึงผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ และตลาดใหม่โดยตรง
4.3การประสานและหารือกับภาคเอกชนเช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามผลกระทบที่ภาคเอกชนอาจจะได้รับจากการถูกระงับสิทธิอย่างใกล้ชิด
4.4การจัดทำคลินิกให้คำปรึกษาและจัดสัมมนาให้ความรู้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัว รวมถึงให้คำปรึกษาผ่านช่องทางไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี“@gsp_helper”
31. เรื่อง การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ครั้งที่ 9
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาพนมเปญของการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ครั้งที่ 9 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรอง ร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างปฏิญญาพนมเปญฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิกยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
1. ยินดีต่อความคืบหน้าของการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ซึ่งพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การก่อตั้งกรอบความร่วมมือในปี 2546 ตามเจตนารมณ์ของปฏิญญาพุกาม โดยเฉพาะในมิติด้านการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการสร้างเสริมความร่วมมือที่ยั่งยืนระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศ
2. ย้ำเจตนารมณ์ที่จะสานต่อการขับเคลื่อนแผนงานตามสาขาความร่วมมือ 3 เสา ของแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี (ค.ศ. 2019 -2023) โดยเฉพาะการดำเนินการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ ACMECS เป็นกรอบความร่วมมือที่มีพลวัตและสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์ โดยผู้นำประเทศสมาชิกได้เห็นชอบในหลักการให้มีการบรรลุการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS (ACMECS Development Fund) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนที่จะสนับสนุนการพัฒนาโครงการภายใต้ ACMECS อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ตลอดจนให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ ACMECS และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาทั้งในและนอกภูมิภาคเพื่อผนึกกำลังและบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
3. ตระหนักถึงภัยคุกคามทางสาธารณสุขที่เกิดจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ โดยเฉพาะการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก ตลอดจนย้ำความสำคัญของการยกระดับความร่วมมือของประเทศสมาชิก ACMECS ในการดำเนินมาตรการอย่างครอบคลุมเพื่อบรรเทาและป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งเห็นชอบที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข การสร้างภูมิคุ้มกัน และการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานร่วมกันภายใต้กลไกของกรอบความร่วมมือพหุภาคี อาทิ อาเซียน องค์การอนามัยโลก และการร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนานอกอนุภูมิภาค
4. เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ และการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ และให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางดิจิทัล การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนการสร้างขีดความสามารถของภาคธุรกิจ รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ตลอดจนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและเร่งให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS
โดยที่ประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ครั้งที่ 9 มีกำหนดจะรับรองร่างปฏิญญาพนมเปญฯ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2563
32. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Project of Mekong - Lancang Cooperation Special Fund)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Project of Mekong - Lancang Cooperation Special Fund) และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี 2563 ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการบริการจัดการงบประมาณของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายจีนให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้กองทุนอย่างสูงสุด ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1. หลักการเบื้องต้น มุ่งบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่งคั่งต่อประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง โดยเคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน และร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุน
2. โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 4 โครงการ ได้แก่
2.1 โครงการการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน และ 10 ไมครอน (PM10 and PM2.5 from HAZE Smog and Visibility Effect in Thailand) เสนอโดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นจำนวนเงิน 59,576 ดอลลาร์สหรัฐ
2.2 โครงการการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง (A Microbial - based Index to Assess the Ecological Status of the Lancang - Mekong River based on Molecular Approaches and DNA Barcoding) เสนอโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นจำนวนเงิน 461,300 ดอลลาร์สหรัฐ
2.3 โครงการการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การแปรรูป การควบคุมศัตรูพืช การผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง รวมทั้งการบริหารจัดการของเสีย (Enhance Production Capacity and People’s Livelihood by Improving the Value Chain for Cassava Cultivation and Application: Clean Cassava Chips, Native Starch, Modified Starch, Ethanol and Biogas Production) เสนอโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นจำนวนเงิน 462,700 ดอลลาร์สหรัฐ
2.4 โครงการบริหารจัดการโลจิสติกส์และการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The Cooperation of SMEs and Labor in Logistics and Border Trade in Lancang - Mekong Countries under the plan to develop an Integrated Transportation and Logistic) เสนอโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นจำนวนเงิน 453,000 ดอลลาร์สหรัฐ
3. การส่งมอบงบประมาณและการบริหารจัดการ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะส่งมอบงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการภายใน 20 วันหลังจากการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ และฝ่ายไทย โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจะแจ้งฝ่ายจีนอย่างเป็นทางการภายใน 10 วัน หลังการได้รับงบประมาณ
4. การควบคุมดูแลและประเมินผลโครงการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะควบคุมดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตรวจสอบการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอ และอาจมีการตรวจสอบการดำเนินโครงการร่วมกันกับฝ่ายจีน ทั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน และคืนงบประมาณส่วนที่เหลือให้แก่ฝ่ายจีนภายใน 3 เดือน หลังจบโครงการ โดยการประยุกต์ใช้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
33. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล (Framework for Promoting Accessibility for All in ASEAN Digital Broadcasting) และอนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนของไทยรับรองร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล แบบเวียน (Ad-referendum) โดยกรมประชาสัมพันธ์จะประสานสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อแจ้งยืนยันการรับรองของไทย ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างกรอบความร่วมมือดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่สำนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ
สาระสำคัญของร่างกรอบความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมบริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง และเสริมสร้างความร่วมมือ การพัฒนา และความมุ่งมั่นในการให้บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญกับการพัฒนากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการสร้างประชาสังคมที่เข้มแข็งและครอบคลุม โดยมุ่งส่งเสริมการให้บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึง ได้แก่ คำบรรยายแทนเสียง (Closed Caption) เสียงบรรยายภาพ (Audio Description) และภาษามือ (Sign Language Interpretation)
แต่งตั้ง
34. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายนรชิต สิงหเสนี เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่างโดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นายเจริญ ชื้อตระกูล ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2. นางรุ่งรัตนา บุญ – หลง ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. นางสาวหิรัญญา บุญจำรูญ ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
36. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นายมนู สิทธิประศาสน์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ผู้อำนวยการ สคพ.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสถาบันหรือองค์การ จำนวน 2 คน และกลุ่มบุคคลผู้มีคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ จำนวน 2 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
1. ผู้แทนจากสถาบันหรือองค์การ
1.1 นายวิจารย์ สิมาฉายา ผู้แทนสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
1.2 รองศาสตราจารย์พนิต ภู่จินดา ผู้แทนสมาคมนักผังเมืองไทย
2. กลุ่มบุคคลผู้มีคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ
2.1 นายสุพล ศรีพันธุ์ ผู้มีคุณวุฒิทางด้านการพัฒนาเมืองและการจัดรูปที่ดิน
2.2 นายวีระพงษ์ บุญญานุสนธิ์ ผู้มีคุณวุฒิทางด้านกฎหมายและการจัดรูปที่ดิน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป
38. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้ง นายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร แทน นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
39. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1. นางกฤษณา ลิ่มสุวรรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรวรรธน์ พลวิชัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์
3. นางสาวสุลักขณา ธรรมานุสติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป
..............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37453 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค.มท. สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด แบ่งพื้นที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน 3 ส่วน สแกนทุกพื้นที่ สกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด-19 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ศบค.มท. สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด แบ่งพื้นที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน 3 ส่วน สแกนทุกพื้นที่ สกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด-19
ศบค.มท. สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด แบ่งพื้นที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน 3 ส่วน สแกนทุกพื้นที่ สกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด-19
เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 63 เวลา 15.30 น. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากประเทศเพื่อนบ้านแบ่งพื้นที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ถือปฏิบัติตามข้อสั่งการดังกล่าวโดยเคร่งครัด โดยการแบ่งพื้นที่ปฏิบัติให้ชัดเจน ดังนี้ 1) ในพื้นที่ชายแดน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ผอ.รมน.จังหวัด) ประสานการปฏิบัติ และวางมาตรการร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง (นรข.) ตำรวจตระเวนชายแดน กองกำลังป้องกันชายแดน ให้เข้มงวด ควบคุมการลักลอบเข้าประเทศ ด้วยการตั้งเครื่องกีดขวาง เพิ่มการลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังและสกัดกั้นป้องกันมิให้มีการลักลอบเดินทางเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณพื้นที่ชายแดน หากพบการลักลอบเข้าประเทศ ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มข้น 2) ในพื้นที่ตอนใน ให้ประสานการปฏิบัติกับตำรวจภูธร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และจุดคัดกรองโรค บุคคล และการขนส่งสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยดำเนินการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าเมืองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และให้วางระบบการขนส่งสินค้าตามแนวชายแดน กำหนดจุดรับ-ส่งสินค้าให้อยู่ในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนด พร้อมกำหนดให้มีผู้บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Commander : IC) ประจำช่องทางผ่านแดนทุกแห่งที่มีการอนุญาตให้ใช้ในการผ่านเข้า-ออก ของบุคคล สินค้า และยานพาหนะที่ชัดเจน ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง 3) ในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ สำรวจตรวจสอบบุคคลที่เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชน รวมทั้งบุคคลที่เคยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนแต่เดินทางไปทำงานในพื้นที่เสี่ยง โดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบและดำเนินการ หากพบบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงให้ดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข หากพบการละเมิดให้พิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้ ให้ชี้แจงทำความเข้าใจกับข้าราชการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้ปล่อยปละละเลยหรือรู้เห็นเป็นใจในพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หากฝ่าฝืนอาจเข้าข่ายเป็นความผิดทางวินัยหรืออาญา และสร้างการรับรู้ความเข้าใจในการขอความร่วมมือภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ทั้งผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ ผู้จัดกิจกรรม และผู้ร่วมกิจกรรม ในพื้นที่สาธารณะ ให้เกิดความตระหนักรู้และปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด คือ หัวหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ เว้นระยะห่างหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่น และใช้แพลตฟอร์มไทยชนะในการเข้า-ออก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37441 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส ประชุม APT สมัยที่ 44 ร่วม 35 ประเทศสมาชิก ผ่านระบบออนไลน์ครั้งแรก ร่วมมือผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านโทรคมนาคมฯในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ดีอีเอส ประชุม APT สมัยที่ 44 ร่วม 35 ประเทศสมาชิก ผ่านระบบออนไลน์ครั้งแรก ร่วมมือผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านโทรคมนาคมฯในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ดีอีเอส ประชุม APT สมัยที่ 44 ร่วม 35 ประเทศสมาชิก ผ่านระบบออนไลน์ครั้งแรก ร่วมมือผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านโทรคมนาคมฯในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
นางปิยนุช วุฒิสอน ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และคณะได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการจัดการ (MC) สมัยที่ 44 ขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APT) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 10 ธันวาคม 2563 โดย APT ได้จัดการประชุมในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรก ( Video Conference) การประชุม MC เป็นการประชุมประจำปีของ APT เพื่อพิจารณาโครงการและกิจกรรมของ APT และรายงานผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา โดยการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม 258 คน จากประเทศสมาชิก 35 ประเทศ รวมถึงสมาชิกสมทบ สมาชิกในเครือ และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งไทยในฐานะประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้ง APT จะให้ความร่วมมือและสนับสนุน APT ในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกต่อไป
*****************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37444 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. เผยโฉม “ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส” คุ้มครอง “อุบัติเหตุ-โควิด-19” เป็นของขวัญปีใหม่ ส่งท้ายปีชวด | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
คปภ. เผยโฉม “ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส” คุ้มครอง “อุบัติเหตุ-โควิด-19” เป็นของขวัญปีใหม่ ส่งท้ายปีชวด
• ผนึกกำลังบริษัทประกันภัย - ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ในช่วงเทศกาลหยุดยาวและสถานการณ์โควิด-19
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. มีมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและพัฒนาช่องทางการจำหน่าย เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองที่ตรงกับความต้องการด้วยเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตั้งแต่ ปี 2556 อาทิ การประกันภัย 200 การประกันภัย100 และ การประกันภัย 222 และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการทำประกันภัยรายย่อยอย่างแพร่หลายและขยายตัวในวงกว้างมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการยกระดับการพัฒนาช่องทางการเข้าถึงระบบประกันภัย และตอบโจทย์ความต้องการด้านการประกันภัยของประชาชน โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยงในการเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสำคัญที่มีวันหยุดต่อเนื่อง เช่น เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อยอดเพิ่มขึ้น โดยให้การคุ้มครองในระยะเวลา 30 วัน เบี้ยประกันภัยไม่สูง มีความคุ้มครองชัดเจนไม่ซับซ้อน สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่ม ได้แก่ ประกันภัย 10 บาท ประกันภัย 10 บาท พลัส และประกันภัย 7 บาท โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชนเป็นอย่างดี
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า จากสถิติในปี 2562 มีผู้ทำประกันภัยมากกว่า 1.3 ล้านราย/ปี ดังนั้น สำหรับเทศกาลปีใหม่ 2564 จึงได้นำแนวคิดและรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย 10 บาทพลัส มาต่อยอดพัฒนาให้เป็นกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส (ไมโครอินชัวรันส์) หรือเรียกชื่อว่า “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส” โดยเพิ่มความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และจ่ายเบี้ยประกันภัยเพียง 10 บาท เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในสถานการณ์ที่ทุกประเทศทั่วโลก ยังคงเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส จะให้ความคุ้มครองหลักๆ คือ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ มือ เท้า สูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่รวมการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกายและ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับความคุ้มครอง 100,000 บาท กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะมือ เท้า สูญเสียสายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากการถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่
หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับความคุ้มครอง 50,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 14 วันแรก นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย) จะได้รับความคุ้มครองจำนวน 5,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจ้างพยาบาลพิเศษ อุปกรณ์ค้ำยันต่าง ๆ (ยกเว้นไม้ค้ำยัน) รถเข็นผู้ป่วยอวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย ค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) การฝังเข็ม จะได้รับความคุ้มครอง 5,000 บาท นอกจากนี้ ยังได้รับคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ “เจอ-จ่าย-จบ” จำนวนเงินเอาประกันภัย 3,000 บาท (เมื่อพ้นกำหนด 14 วัน นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย และไม่คุ้มครองถึงสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย) โดยมีเงื่อนไขการรับประกันภัยที่สำคัญ คือ ผู้เอาประกันภัยต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ทำประกันภัย ระยะเวลาเอาประกันภัย 30 วัน และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย โดยเริ่มจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 - 31 มกราคม 2564
ทั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส” เป็นที่รู้จักของสาธารณชนในวงกว้าง และประชาชนสามารถเข้าถึงการทำประกันภัยประเภทนี้ได้ สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดงานเปิดตัว “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุม Auditorium C ASEAN อาคารไซเบอร์เวิลด์ ชั้น 10 ถนนรัชดาภิเษก โดยมีนางสาวภูริตา สุปินชุมภู หรือ น้องน้ำหวาน ดาราชื่อดัง มาร่วมงานเปิดตัวกรรมธรรม์ฯ ในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดบูธนิทรรศการความรู้ด้านการประกันภัย และกิจกรรมเล่นเกม ชิงรางวัลต่าง ๆ มากมาย จากสำนักงาน คปภ. บริษัทประกันภัย และนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล ที่ได้รับรางวัลส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น ประจำปี 2562
เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า การจัดทำกรมธรรม์ประกันภัย 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส ครั้งนี้ ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนคนไทยที่ได้นำผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีราคาถูกมาพัฒนาต่อยอดและเพิ่มความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ “เจอ-จ่าย-จบ” เพื่อขยายฐานการประกันภัยให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น ในราคาที่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถซื้อเพื่อมอบความคุ้มครองให้กับพนักงานลูกจ้างของตน รวมทั้งลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ซึ่งขณะนี้ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 20 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนคารออมสิน บริษัท 724 มาร์เกต จำกัด บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท เทสโก้ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท พีเคอาร์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด บริษัท โพรแอคอินชัวรันโบรคเกอร์ จำกัด บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) บริษัท แรบบิท อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท ศรีกรุงโบรคเกอร์ จำกัด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็น.ที.อาร์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท เอสส์โค โซลูชั่น จำกัด บริษัท เอเอ็นซี โบรคเกอร์เรจ จำกัด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท แบล็คแคนยอน จำกัด และ Toyota Buzz
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป เพื่อซื้อกรมธรรม์ดังกล่าว ได้โดยตรงกับบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 25 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทประกันวินาศภัย 15 บริษัท ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนชาต ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอลเอ็มจีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ส่วนบริษัทประกันชีวิต 10 บริษัท ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอไอเอ จำกัด
“สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ตลอดจนผู้ประกอบการขนาดใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน ได้ร่วมกันส่งมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ในรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัย 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส ที่ให้ความคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและโรคโควิด-19 ในคราวเดียวกัน เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบสนองพฤติกรรมการใช้ชีวิตของประชาชน ด้วยเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม ทำให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงและนำระบบประกันภัยมาใช้ในการบริหารความเสี่ยง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส สามารถสอบถามได้ที่บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 25 บริษัท หรือสอบถามที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37484 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กยศ. รับสมัครกิจกรรมเชิดชูคนดี ประจำปี 2564 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
กยศ. รับสมัครกิจกรรมเชิดชูคนดี ประจำปี 2564
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปี 2564 โดยขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่าผู้กู้ยืม และสถานศึกษา ร่วมสมัครเป็นต้นแบบจิตสาธารณะ ทำความดีเพื่อสังคม ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า กองทุนได้จัดกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่เป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่าผู้กู้ยืม และสถานศึกษาที่ดำเนินงานกับกองทุน ทั้งนี้ กิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ได้แบ่งประเภทรางวัลที่จะทำการคัดเลือก ดังนี้ 1. รางวัลนักเรียน นักศึกษาต้นแบบ 12 รางวัล ซึ่งเป็นผู้กู้ยืมที่มีความประพฤติดี มีประวัติการร่วมกิจกรรมจิตสาธารณะอย่างต่อเนื่อง โดยให้สถานศึกษาเป็นผู้เสนอชื่อผู้กู้ยืมเข้ารับการคัดเลือก 2. รางวัลศิษย์เก่าต้นแบบ 12 รางวัล ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องมีประวัติการชำระเงินคืนกองทุนที่ดี และสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่นักเรียน นักศึกษารุ่นน้องได้ โดยผู้กู้ยืมสามารถสมัครได้ด้วยตนเอง หรือองค์กรนายจ้าง/สถานศึกษาสามารถเสนอชื่อผู้กู้ยืมเข้ารับการคัดเลือกได้ และ 3. รางวัลสถานศึกษาต้นแบบ 12 รางวัล ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ต้องมีระบบการบริหารจัดการเงินกู้ยืมที่ดี ให้ความร่วมมือสนับสนุนงานกองทุน และปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษาทำกิจกรรมจิตสาธารณะอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่าผู้กู้ยืม และสถานศึกษาที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณและมีโอกาสได้ร่วมเป็นเครือข่ายในการสร้างประโยชน์แก่สังคม และดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่เกี่ยวกับกองทุนในโอกาสต่างๆ ต่อไป
ปัจจุบัน กองทุนมีนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจากกองทุนทั่วประเทศจำนวนกว่า 5.7 ล้านราย และมีสถานศึกษาที่เข้าร่วมการดำเนินงานกองทุนกว่า 4,000 แห่ง กองทุนจึงขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่าผู้กู้ยืม และสถานศึกษา สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปี 2564 ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 โดยดาวน์โหลดใบสมัครและดูรายละเอียดกิจกรรมได้ทาง www.studentloan.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2016 4888
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37451 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ภาพแห่งความประทับใจ บรรยากาศการเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ของพี่น้องประชาชน ณ บริเวณถนนสนามไชย หน้ากระทรวงกลาโหม | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ภาพแห่งความประทับใจ บรรยากาศการเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ของพี่น้องประชาชน ณ บริเวณถนนสนามไชย หน้ากระทรวงกลาโหม
เนื่องในวันพ่อแห่งชาติและพระราชสมภพในหลวงรัชกาลที่ ๙
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37462 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายทูมูร์ อามาร์ซานา เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะรมว.วธ. | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
นายทูมูร์ อามาร์ซานา เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะรมว.วธ.
นายทูมูร์ อามาร์ซานา เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะรมว.วธ.
วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๓๐ น. นายทูมูร์ อามาร์ซานา (HE. Mr. Tumur Amarsanaa) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และปรึกษาหารือเรื่อง ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างสาธารณรัฐมองโกเลียและราชอาณาจักรไทย โดยมี นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมหารือ ณ ห้องรับรอง ชั้น ๗ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37474 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน นำความห่วงใยจากนายกรัฐมนตรี จนท./ปชช. จ.เชียงราย ร่วมป้องกันโควิด 19 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
อนุทิน นำความห่วงใยจากนายกรัฐมนตรี จนท./ปชช. จ.เชียงราย ร่วมป้องกันโควิด 19
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จ.เชียงรายนำความห่วงใยจากนายกรัฐมนตรี ถึงเจ้าหน้าที่ ประชาชน ร่วมป้องกันโรคโควิด19 ยืนยันระบบป้องกันควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ นำผู้ติดเชื้อรักษารวดเร็ว ค้นหาผู้สัมผัสครบ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จ.เชียงรายนำความห่วงใยจากนายกรัฐมนตรี ถึงเจ้าหน้าที่ ประชาชน ร่วมป้องกันโรคโควิด19 ยืนยันระบบป้องกันควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ นำผู้ติดเชื้อรักษารวดเร็ว ค้นหาผู้สัมผัสครบ ขอประชาชนเข้าเมืองแบบถูกต้อง ไม่ปกปิดประวัติเสี่ยง ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง
วันนี้ (8 ธันวาคม2563) ที่จ.เชียงราย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรคและคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ด่านพรมแดนแม่สาย สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2, สถานที่กักกัน (Local Quarantine) โรงแรมแม่โขงเดลต้า และตรวจเยี่ยมสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัด
นายอนุทิน กล่าวว่า ในวันนี้ได้นำความห่วงใยของท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาให้เจ้าหน้าที่ ประชาชนในพื้นที่ จากเกิดเหตุการณ์ที่มีผู้ลักลอบเข้าเมืองจาก จ.ท่าขี้เหล็ก นำเชื้อโควิด 19 เข้ามาในประเทศไทย มั่นใจว่าเรามีศักยภาพเพียงพอที่ดำเนินการควบคุมป้องกันโรค ไม่ถือว่าเป็นการแพร่ระบาด ขอให้ประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวมั่นใจถึงประสิทธิภาพของระบบการป้องกันควบคุมโรคของ จ.เชียงราย และของประเทศไทย ที่สามารถตรวจจับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ได้รวดเร็ว นำเข้าระบบการรักษาทันที พร้อมติดตามผู้สัมผัสได้อย่างครบถ้วน ทำให้ควบคุมการแพร่ระบาดได้ไม่กระจายไปในวงกว้าง ข้อมูลล่าสุด (8 ธันวาคม 2563) มีผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจาก จ.ท่าขี้เหล็ก เข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ 17 ราย มาทางจุดผ่านแดนและเข้าสถานที่กักกัน27 ราย และเป็นผู้สัมผัสในไทยอีก 2 ราย รวมเป็น 46 ราย รับไว้รักษา ที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา กทม. พิจิตร และราชบุรี
สำหรับการดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิด 19 เชิงรุกในพื้นที่ดำเนินการทั้งในพื้นที่ จ.เชียงราย – เชียงใหม่ด้วยรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน 3 คัน ระหว่างวันที่ 2-8 ธันวาคม 2563 จำนวน 4,228 ราย ได้ผลลบทั้งหมด ส่วนการคัดกรองผู้เดินทางผ่านด่านควบคุมโรคแม่สาย ผู้เดินทางทั้งไทยและเมียนมาสะสม ตั้งแต่ 13 ตุลาคม 2563 จำนวน 13,098 ราย ในด้านการเตรียมพร้อมรองรับผู้เดินทางกลับจากจ.ท่าขี้เหล็ก มีสถานที่กักกัน 9 แห่งที่ จ.เชียงราย สามารถรองรับได้ 550 คน ขณะนี้มีผู้กักกันคงเหลือ 169 คน ส่วนห้องแยกความดันลบ อุปกรณ์ ยา เวชภัณฑ์ มีสำรองไว้อย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ ได้สั่งการให้ดำเนินการดังนี้ 1.ประสานฝ่ายความมั่นคง ยกระดับการเฝ้าระวังตามแนวชายแดน ทั้งช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศและช่องทางธรรมชาติ 2.เปิดช่องทางพิเศษรับคนไทยกลับจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ให้ด่านฯสามารถอนุญาตให้เข้ามาได้เลย 3.ให้ อสม.เฝ้าระวังผู้ที่เดินทางกลับเข้ามาอยู่ในพื้นที่ โดยให้ผู้ที่เดินทางมาจาก จ.ท่าขี้เหล็กเดือนพฤศจิกายน มารายงานตัว และรับการตรวจคัดกรองทุกคน 4.เตรียมความพร้อมบริหารจัดการทรัพยากร ยกระดับการจัดการหากมีผู้ป่วยมากขึ้น 5.เพิ่มความเข้มข้นมาตรการป้องกันควบคุมโรคในสถานประกอบการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรค และ6.การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน ป้องกันการเกิดข่าวปลอม /ข่าวลวง
“ยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งด้านการรักษาทีมสอบสวนโรค ยา เวชภัณฑ์ ขอประชาชนร่วมมือไม่ปกปิดประวัติเสี่ยง คาดว่ามีพี่น้องเราไปทำงานที่ จ.ท่าขี้เหล็กไม่เกิน 500 คน เข้ามาแล้วบางส่วน ที่เหลืออีกไม่มาก ให้เข้ามาแบบถูกต้อง หากป่วยจะได้รับการรักษาทันทีไม่แพร่โรคให้ครอบครัว คนใกล้ชิด ไม่กระทบต่อระบบป้องกันควบคุมโรค เศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวของประเทศ และที่สำคัญต้องไม่ประมาท การ์ดอย่าตก สวมหน้ากาก เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่างตามความจำเป็น ช่วยไม่ให้โรคโควิด 19ระบาดซ้ำ” นายอนุทินกล่าว
สำหรับภาพรวมเขตสุขภาพที่ 1 มีทรัพยากรรองรับ อาทิ ห้องแยกความดันลบ 215 ห้อง ห้องแยกโรค 304 ห้อง ICU และ NICU 517 เตียง โรงพยาบาลสนาม 1,741 เตียง (กรณีมีการระบาด) มีสถานที่กักกัน 29 แห่ง รองรับได้ 2,083 คน มีหน้ากากอนามัย จำนวน 5.1 ล้านชิ้น หน้ากาก N95 จำนวน 5 หมื่นกว่าชิ้น Face shield 1.2 แสนชิ้น Cover all จำนวน 6.5 หมื่นชุด เสื้อกาวน์กันน้ำ จำนวน 2.9 หมื่นชุด ถุงมือยาง จำนวน 1.8 ล้านชิ้น เพียงพอต่อการใช้งานมากกว่า 3เดือน
************************************** 8 ธันวาคม 2563
***************************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37468 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. เชิญชวนร่วมแต่งชุดไทยช้อปสินค้างานฝีมือ งาน “Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ” ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
พม. เชิญชวนร่วมแต่งชุดไทยช้อปสินค้างานฝีมือ งาน “Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ” ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
พม. เชิญชวนร่วมแต่งชุดไทยช้อปสินค้างานฝีมือ งาน “Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ” ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
วันนี้ (8 ธ.ค. 63) เวลา 16.30 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถนนกรุงเกษม สะพานขาว กรุงเทพมหานคร นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) จัดงาน “Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ” เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 9–11 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ บริเวณลาน Avenue โซน A ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. อาทิ เด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และคนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งภาคีเครือข่าย มาออกร้านจำหน่ายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและสร้างรายได้ให้กลุ่มบุคคลที่อยู่ในความดูแลของกระทรวง พม. และเครือข่าย นอกจากนี้ ยังสามารถร่วมทำบุญบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อส่งต่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 ให้กับกลุ่มเด็กในสถานสงเคราะห์ทั่วประเทศกว่า 6,000 คน อีกทั้งมีการเปิดรับสมัครอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมต่อไป
ทั้งนี้ ขอเชิญชวนแต่งชุดไทยมาช้อปสินค้าฝีมือคนไทย ชิมอาหารไทย และชมโชว์แบบไทย จากกลุ่มบุคคลที่ต้องการโอกาสจากสังคม ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง พม. พร้อมอิ่มบุญอิ่มใจกับการส่งมอบความสุขได้ที่งาน “Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ” ระหว่างวันที่ 9 – 11 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10:00-20:00 น. ณ บริเวณลาน Avenue โซน A ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37472 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลชี้แจงข้อวิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
รัฐบาลชี้แจงข้อวิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
รัฐบาลชี้แจงข้อวิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำกลไกการแจ้งเตือนประชาชนให้เข้าถึงระดับพื้นที่มากขึ้น และปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ
วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เผยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้สั่งการให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เน้นย้ำกลไกการแจ้งเตือนประชาชนให้เข้าถึงระดับพื้นที่มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำด้วย สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ในระยะยาว สทนช. ได้จัดทำแผนงานในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เพื่อให้มือเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากนั้นทั้งการเร่งแผนงานโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เช่น โครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช เป็นการขุดคลองระบายน้ำใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพคลองเดิมเป็น 750 ลบ.ม. ต่อวินาที นอกจากนั้นยังมีแผนงานโครงการที่ดำเนินการได้ในปี 2564-2566 อีก 63 โครงการ อาทิ อ่างฯคลองสีสุก จ.สุราษฎร์ธานี แก้มลิงฉลุง จ.สงขลา ระบบระบายน้ำหลักพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช ระยะที่ 2 ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองพัทลุง สงขลา ตรัง และ ยะลา และมีโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร (ขุดคลองผันน้ำลุ่มน้ำคลองชุมพร) ให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในคลองชุมพรเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 นอกจากนั้น ปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จตามแผน ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จแล้วทั้งสิ้น 66 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 30 แห่ง และตรวจสอบเพิ่มเติมอีก 19 แห่ง ด้วย
ขณะที่ นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงประเด็นการแจ้งเตือนภัยว่า รัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนของพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2563 เมื่อตรวจสอบและประเมินข้อมูลสภาพอากาศพบแนวโน้มมีภาวะฝนตกหนัก ปภ.ได้แจ้งเตือนให้พื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยล่วงหน้า เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ในการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 9 จังหวัด มีการดำเนินการในภาวะฉุกเฉิน ในระดับพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด ดำเนินการบรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อให้ประชาชนดำรงชีพได้อย่างปลอดภัย โดยการจัดอาหารและน้ำดื่ม การแจกจ่ายถุงยังชีพ การอพยพประชาชนไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวพร้อมดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในขณะเกิดภัย และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ระดมทรัพยากรด้านสาธารณภัยของ ปภ. ทั้งเรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ เรือไฟเบอร์ รถสูบส่งน้ำระยะไกล รถผลิตน้ำดื่ม รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถสุขาเคลื่อนที่รถประกอบอาหาร รถไฟฟ้าส่องสว่าง ทั้งที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย พื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่อื่น ๆ เข้าสนับสนุนจังหวัดในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
ในการดำเนินการฟื้นฟู ส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ประสบภัยจะดาเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 โดยขณะนี้จังหวัดที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยและประกาศเขตให้ความช่วยเหลือแล้ว คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) จะสำรวจความเสียหายและผู้ที่ได้รับผลกระทบ และพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบฯ หากอำเภอมีความจาเป็นต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเกินวงเงินของอำเภอจะเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่าง ๆ ต่อไป อาทิ ด้านการดำรงชีพ ด้านการประกอบอาชีพด้านการสาธารณสุข ด้านการเกษตร เป็นต้น
..................................
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37443 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2
เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2563 ครม.เห็นชอบตามผลพิจารณาของ คกก.กลั่นกรองใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2563 โดยอนุมัติให้ ก.คลังดำเนินโครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 2 และ (2) โครงการคนละครึ่งระยะที่ 2
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2563 โดยอนุมัติให้กระทรวงการคลังดำเนินโครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 และ (2) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 รัฐบาลจะเพิ่มวงเงินช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวนประมาณ 14 ล้านคน ให้เป็นค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จำเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลาเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2564 ถือเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการเดิมที่สิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว ยังจะก่อให้เกิดการใช้จ่ายในท้องถิ่น ช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นวงจรเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญอีกด้วย
2. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับฐานรากให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ผ่านการบริโภคจับจ่ายใช้สอยของประชาชน โดยภาครัฐจะร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไปร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน เช่นเดียวกับโครงการคนละครึ่งในปัจจุบัน โดยโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 นี้ แบ่งกลุ่มผู้ใช้สิทธิเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) ผู้ได้รับสิทธิเดิม ไม่เกิน 10 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐเพิ่มเติมคนละ 500 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งเมื่อรวมกับวงเงินตามสิทธิที่มีอยู่เดิม 3,000 บาท เท่ากับจะมีวงเงินรวม 3,500 บาท สามารถใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 และ (2) ผู้ลงทะเบียนใหม่ ไม่เกิน 5 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐคนละ 3,500 บาท สำหรับใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ว่า จะมีการเพิ่มปุ่มในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ให้ผู้ที่มีสิทธิในโครงการคนละครึ่งกลุ่มเดิมกดยืนยันการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2และสำหรับกลุ่มผู้ลงทะเบียนใหม่ 5 ล้านคน กระทรวงการคลังจะเปิดให้ลงทะเบียนด้วยวิธีการเดิม ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป ในระหว่างเวลา 06.00 น. - 23.00 น. ซึ่งผู้ลงทะเบียนต้องมีสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีบัตรประจำตัวประชาชน และไม่ใช่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งนี้ ในโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิจากการไม่ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะแรก สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ได้ใหม่ นอกจากนี้ ขอย้ำว่าผู้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะแรกและระยะที่ 2 จะไม่สามารถใช้สิทธิมาตรการช้อปดีมีคืนได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่จำแนกกลุ่มเป้าหมายของโครงการและมาตรการต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนไม่ให้ซ้ำซ้อนลักลั่นกัน
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของโครงการคนละครึ่ง ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เวลา 12.00 น. มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 9.4 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 9,537,093 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 39,318 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 20,091 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 19,227 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 176 บาทต่อครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา ชลบุรีนครศรีธรรมราช และเชียงใหม่ ตามลำดับ สำหรับผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง
กระทรวงการคลังจึงมุ่งหวังว่า โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 จะเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลที่มอบให้แก่ประชาชน เพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับฐานรากอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งที่กระทรวงการคลังได้นำดำริของนายกรัฐมนตรีมาดำเนินการ ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2564
โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3514 3513 3697
โครงการคนละครึ่ง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 (24 ชั่วโมง)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37475 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดวธ.เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการด้านการประเมินชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ปลัดวธ.เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการด้านการประเมินชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓
ปลัดวธ.เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการด้านการประเมินชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓
วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการด้านการประเมินชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ โดยมีคณะอนุกรรมการฯ ผู้บริหาร และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๒ กระทรวงวัฒนธรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37459 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน ย้ำ ให้คนไทยรีบแสดงตนเข้าประเทศตามระบบถูกกฎหมาย | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
อนุทิน ย้ำ ให้คนไทยรีบแสดงตนเข้าประเทศตามระบบถูกกฎหมาย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำให้คนไทยแสดงตนเดินทางเข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย ภาครัฐพร้อมดูแล ขอประชาชนฟังข้อมูลสถานการณ์โควิด 19 จาก ศบค.เป็นหลัก เพื่อความมั่นใจ ลดกระแสข่าวลือ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำให้คนไทยแสดงตนเดินทางเข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย ภาครัฐพร้อมดูแล ขอประชาชนฟังข้อมูลสถานการณ์โควิด 19 จาก กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก เพื่อความมั่นใจ ลดกระแสข่าวลือ
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์โควิด 19 ของประเทศขณะนี้ยังถือว่าไม่มีการระบาด เป็นผู้ติดเชื้อที่นำเชื้อมาจากนอกประเทศ ส่วนผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นผู้สัมผัสกับผู้ที่นำเชื้อเข้ามา ไม่ใช่การระบาดหรือการแพร่กระจายที่ควบคุมไม่ได้ จุดเริ่มต้นของเชื้อเป็นผู้ที่เดินทางมาจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่ต้องการถูกกักตัว 14 วัน ถือว่าขาดความรับผิดชอบต่อสังคมเกิดผลกระทบต่อการทำมาหากินและอื่นๆ ตามมาอีกมาก และยังผิดกฎหมายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง และพระราชบัญญัติโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
จากการสอบสวนโรค ทำให้เราทราบว่าตอนนี้ยังคงมีคนอยู่ที่ท่าขี้เหล็กเหลืออีกกี่คน ได้ให้ทางการและญาติติดต่อเพื่อมาแสดงตนไม่ลักลอบเข้าเมือง ซึ่งมาตอนนี้ถือว่าไม่มีความผิด ภาครัฐพร้อมดูแลและทำการตรวจหาเชื้อบริเวณด่านควบคุมโรค หากไม่ติดเชื้อจะให้ไปกักตัวใน State Quarantine เป็นเวลา14 วัน หรือหากติดเชื้อจะทำการแยกรักษาที่โรงพยาบาล ไม่ว่าติดเชื้อหรือไม่จะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เรามียาที่มีสรรพคุณดี ทุกรายที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์จะหายจากการติดเชื้อภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ สำหรับมาตรการตามแนวชายแดนขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคงได้เข้มงวดมากขึ้น และในช่วงบ่ายวันนี้จะลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์ที่จังหวัดเชียงราย
อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีแนวพรมแดนกว่า 2,400 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรึงได้ทั้งหมด หากคนไทยจะเดินทางเข้าประเทศต้องมาอย่างถูกวิธีถูกกฎหมาย โดยวันนี้จะลงพื้นติดตามมาตรการควบคุมป้องกันพร้อมประสานฝ่ายความมั่นคงช่วยอีกทาง ขอประชาชนติดตามสถานการณ์โควิด 19 จากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก ซึ่งจะแถลงทุกวัน สร้างความมั่นใจ ลดกระแสข่าวลือ
******************************* 8 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37454 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สุชาติ” ชื่นชม กสร. เป็นหน่วยงานปิดทองหลังพระ มีมาตรฐานที่ดีงามในการทำงาน | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
“สุชาติ” ชื่นชม กสร. เป็นหน่วยงานปิดทองหลังพระ มีมาตรฐานที่ดีงามในการทำงาน
“สุชาติ” รมว.แรงงาน ตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายแก่ กสร. พร้อมชื่นชมว่าเป็นหน่วยงานปิดทองหลังพระ ทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย ขอให้ยึดมั่นในความถูกต้องและเป็นธรรม รักษามาตรฐานการทำงานที่ดีงามไว้ เพื่อชาติบ้านเมือง และประชาชน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมพร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และมอบนโยบายแก่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงาน โดยมุ่งยกระดับให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ เพราะพี่น้องผู้ใช้แรงงานถือเป็นฟันเฟืองตัวแรกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น จึงต้องทำให้เกิดการจ้างงานที่ถูกกฎหมาย ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งที่ผ่านมากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นหน่วยงานด่านแรกที่ได้ทำหน้าที่รับปัญหาให้กับรัฐบาล ที่ต้องชื่นชมว่าเป็นหน่วยงานปิดทองหลังพระ เพราะต้องดูแลคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย และส่งเสริม สนับสนุนนายจ้างให้ดำเนินธุรกิจตาม หลักมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ทั้งนี้ หากเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน ขอให้ตระหนักถึงความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พิจารณาวินิจฉัยความขัดแย้งด้วยเหตุด้วยผล ยึดหลักความถูกต้อง และได้ฝากการบ้านไปยังหน่วยงานในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ให้ช่วยกันติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานสัมพันธ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ช่วงปลายปี หากพบว่ากิจการใดส่งสัญญาณจะเกิดข้อพิพาทด้านแรงงานจะได้เข้าไปพูดคุย ป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และนโยบายสุดท้ายที่ฝากไว้ คือ ขอให้นำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยใช้เป็นแนวทางแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นปัญหาให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ประชาชน และประเทศชาติ
ด้าน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจเยี่ยมของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะในครั้งนี้ ถือเป็นขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรกรมเป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าทุกคนน้อมรับ และยินดีที่จะร่วมกันปฏิบัติภารกิจตามที่ท่านรัฐมนตรีมอบนโยบายไว้ข้างต้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนมีความผาสุก มีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมทุกมิติ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37442 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ร่วมภาคีเครือข่ายกำกับดูแลผักผลไม้ปลอดสารพิษตลอดห่วงโซ่อาหาร | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
สธ.ร่วมภาคีเครือข่ายกำกับดูแลผักผลไม้ปลอดสารพิษตลอดห่วงโซ่อาหาร
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมภาคีเครือข่ายกำกับดูแล ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ ตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำการผลิตถึงปลายน้ำสู่มือผู้บริโภค รณรงค์แบนการใช้ 3 สารเคมีอันตรายทางการเกษตร ส่งเสริมเกษตรกรปลูกผักผลไม้ด้วยเกษตรอินทรีย์ ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อจากแหล่ง
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมภาคีเครือข่ายกำกับดูแล ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ ตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำการผลิตถึงปลายน้ำสู่มือผู้บริโภค รณรงค์แบนการใช้ 3 สารเคมีอันตรายทางการเกษตร ส่งเสริมเกษตรกรปลูกผักผลไม้ด้วยเกษตรอินทรีย์ ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เผยผลการตรวจผักผลไม้นำเข้าที่ด่านและตลาดส่วนใหญ่ยังปลอดภัยจากสารพิษ
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-Pan) สุ่มตรวจพบ ผัก ผลไม้มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างหลายชนิด ว่า การกำกับดูแลความปลอดภัยของผัก ผลไม้ มีการดำเนินการร่วมกันเป็นเครือข่ายหลายหน่วยงาน เพื่อดูแลความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลเรื่องวิธีการเพาะปลูกของเกษตรกร การอนุญาตวัตถุอันตรายที่ใช้ทางการเกษตร และการนำวัตถุอันตรายไปใช้อย่างถูกวิธีส่วนกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ช่วยคุ้มครองผู้บริโภคในปลายน้ำ ด้วยการตรวจสอบและเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผัก ผลไม้นำเข้าที่ด่านอาหารและยา 52 แห่งทั่วประเทศ และผักผลไม้ที่จำหน่ายในตลาดทั่วประเทศ โดยส่งตรวจกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ทั้งนี้ จากการตรวจวิเคราะห์ผักและผลไม้ในปี 2563 พบว่า ณ สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) และสถานที่จำหน่าย ได้แก่ ห้างค้าปลีก ค้าส่ง ตลาดนัด ตลาดสดทั่วประเทศ ตรวจวิเคราะห์ผักผลไม้ทั้งหมด 416 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 354 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.1 เช่น กะหล่ำปลี กระเทียม แครอท แตงกวา ผักกาดขาว กล้วย สับปะรด แอปเปิ้ล องุ่นเขียว เมลอน เป็นต้น ส่วนที่ด่านอาหารและยาตรวจ 890 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 698 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.43 เช่น กระเทียม มันเทศ หอมหัวใหญ่ เห็ด เป็นต้น
นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า สำหรับผัก ผลไม้ที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน จัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หากตรวจพบที่ด่านอาหารและยาจะมีการอายัดสินค้า เพื่อทำลายหรือส่งกลับประเทศต้นทาง ไม่ให้มาถึงมือประชาชน นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม รวมถึงเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รณรงค์ให้เกษตรกรงดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูก ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์ และร่วมแบนสารเคมีอันตรายทางเกษตร 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวเกษตรกรเอง ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมผู้บริโภคเลือกซื้อผัก ผลไม้สดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือมีตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และแนะนำการล้างผักผลไม้สดที่ถูกวิธีเพื่อช่วยลดสารพิษตกค้าง
************************************** 8 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37455 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดเกษตรฯ เตรียมเสนอขอทบทวนโครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (เพิ่มเติม) พร้อมชงเข้า ครม. ต่อไป | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ปลัดเกษตรฯ เตรียมเสนอขอทบทวนโครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (เพิ่มเติม) พร้อมชงเข้า ครม. ต่อไป
ปลัดเกษตรฯ เตรียมเสนอขอทบทวนโครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (เพิ่มเติม) พร้อมชงเข้า ครม. ต่อไป
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ครั้งที่ 7/2563 ณ ห้องประชุมโรงแรมทีเค พาเลซ & คอนเวนชั่น ว่า คณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้มีมติเห็นชอบ ให้มีการเสนอขอทบทวนโครงการฯ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (เพิ่มเติมอีก 3 ข้อ) ได้แก่ 1) ขอทบทวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการ จาก 3 ไร่/ราย เป็น 2.5 ไร่ขึ้นไป/ราย หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด 2) การอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จากเดิม หลักสูตร 4 วัน 3 คืน เพียงครั้งเดียว จะขอปรับเป็นการอบรมมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เกษตรกรทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยปรับในรูปแบบการจัดเวทีชุมชน การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด และ 3) กรณีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ (5 ประสาน สืบสาน เกษตรทฤษฎีใหม่) หากพื้นที่ที่ร่วมโครงการขาดแหล่งน้ำ หรือมีแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร และมีความประสงค์อยากเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรฯ จะสนับสนุนเฉพาะการขุดบ่อเก็บกักน้ำ เพื่อทำให้เกิดจุดเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างไรก็ตาม จะนำมติดังกล่าวเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563) กระทรวงเกษตรฯ เปิดรับสมัครเกษตรกร และแรงงานเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ทั้ง 3 รอบ มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วม 34,019 ราย ผ่านหลักเกณฑ์พิจารณาแล้ว 21,556 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณา 792 ราย และไม่ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา 11,670 ราย ในส่วนของการจ้างแรงงานมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ 32,239 ราย ผ่านการพิจารณาแล้ว 19,996 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณา 2,380 ราย และไม่ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา 9,863 ราย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37477 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันยึดหลักการในการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
นายกรัฐมนตรียืนยันยึดหลักการในการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์
นายกรัฐมนตรียืนยันยึดหลักการในการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์
วันนี้ (8 ธ.ค. 63) เวลา 13.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันยึดหลักการในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ใช่ตามคำนาย ขออย่าคาดเดาในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น พร้อมมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณากรณีผู้ชุมนุมทางการเมืองแสดงจุดยืนข้อเสนอการปรับประเทศไทยให้เป็นสาธารณรัฐว่ามีเจตนาเข้าข่ายกระทำความผิด ยุยง ปลุกปั่นหรือไม่ หากพบว่ามีความผิดก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
นายกรัฐมนตรียืนยันรัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณาการส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์ ขณะนี้วิปรัฐบาลกำลังเตรียมรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมเพื่อเสนอมาให้ทราบ
.....................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37469 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางแก้ไขแบบประกาศและเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างวิธี e-bidding กรณีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
กรมบัญชีกลางแก้ไขแบบประกาศและเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างวิธี e-bidding กรณีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง
คกก.วินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ แก้ไขแบบประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธี e-bidding และแบบเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธี e-bidding
นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้กำหนดแบบประกาศและเอกสารเชิญชวนในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และวิธีสอบราคา ซึ่งต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐแก้ไขแบบประกาศและเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธี e-bidding สำหรับกรณีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้าง ประกอบกับกรมบัญชีกลางได้ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ และมีการแก้ไขแบบประกาศและเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธี e-bidding เพื่อรองรับรูปแบบทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กำหนดรูปแบบทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ที่มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยไม่ต้องรับรองสำเนาถูกต้องนั้น
ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จึงได้แก้ไขแบบประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธี e-bidding และแบบเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธี e-bidding และยกเลิกหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 466 ลงวันที่ 25 กันยายน 2563
"สำหรับหน่วยงานของรัฐใดได้ดำเนินการนำร่างประกาศและร่างเอกสารเชิญชวนเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ หรือเผยแพร่ประกาศและเอกสารเชิญชวนในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง (ระบบ e-GP) หรือมีหนังสือเชิญชวนไปแล้วก่อนวันที่กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้าง ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ให้หน่วยงานของรัฐนั้นดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ โดยได้รับยกเว้นการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอของผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่ต้องขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวันและเวลาราชการ ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37449 |
รัฐบาลไทย-นายกรัฐมนตรีเผยรัฐบาลเตรียมของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
นายกรัฐมนตรีเผยรัฐบาลเตรียมของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
นายกรัฐมนตรีเผยรัฐบาลเตรียมของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
วันนี้ (8 ธ.ค. 63) เวลา 13.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผยรัฐบาลโดยกระทรวงและหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้จัดเตรียมดำเนินโครงการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการคนละครึ่ง เฟส 2 รวมไปถึงระบบการขนส่ง การคมนาคม ในช่วงปีใหม่ เพื่อที่จะทำให้เกิดการใช้จ่าย ฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหารือหลายมาตรการด้านเศรษฐกิจ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งกฎกระทรวงให้สอดคล้อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศรอบบ้าน ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่เข้าใจและปฏิบัติได้จริงจัง โดยเฉพาะในเรื่อง e-Government เป็นต้น นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังทบทวนถึงแผนการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทต่าง ๆ พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมและติดตามความก้าวหน้าซึ่งต้องใช้เวลา เพราะการบริหารราชการต้องรัดกุม รอบคอบ ถูกต้องตามกฎหมาย ยึดเจตนาบริสุทธ์ในการดูแลประชาชนที่ได้กำลังรับความเดือดร้อน ทั้งเริ่มต้นใหม่และขจัดปัญหาอุปสรรคเดิมที่มีอยู่ให้ได้โดยเร็วที่สุด ทั้งเรื่องเกษตร ที่ดิน อาศัยกลไกใหม่ที่จัดตั้ง เช่น คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) สทนช. และสำนักงานอื่น ๆ เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีตอบคำถามสื่อมวลชนถึงกรณีข้อเสนอการจัดตั้งกระทรวงน้ำและดินว่า การจัดตั้งกระทรวงใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัจจุบันได้ใช้การบริหารที่มีอยู่แล้วตามกลไก คือ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เพื่อดูแลในภาพรวมและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ให้เกิดความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในทุกระบบ
.......................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37470 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำชับ สคร. เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และติดตามแก้ไขปัญหาโครงการลงทุนล่าช้า เพื่อช่วยเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจปี 2564” | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำชับ สคร. เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และติดตามแก้ไขปัญหาโครงการลงทุนล่าช้า เพื่อช่วยเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจปี 2564”
เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2563 รมว.คลังตรวจเยี่ยม สคร.และมอบนโยบายในงานด้านต่างๆ ของ สคร. โดยในส่วนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ รมว.คลังให้ความสำคัญกับเรื่องการติดตามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการลงทุน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนตามเป้าหมาย
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำชับ สคร. เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และติดตามแก้ไขปัญหาโครงการลงทุนล่าช้า เพื่อช่วยเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจปี 2564”
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ตรวจเยี่ยม สคร. และมอบนโยบายในงานด้านต่างๆ ของ สคร. โดยในส่วนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการติดตามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการลงทุน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงที่เหลือของปี 2563 และในปี 2564 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย สำหรับผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 203,172 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และสำหรับรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ ได้เริ่มการเบิกจ่ายงบลงทุนปี 2564 มา 1 เดือน (ตุลาคม 2563) มีผลการเบิกจ่าย 8,290 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 103 ของแผนการเบิกจ่าย
นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2563 ของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 – ตุลาคม 2563 จำนวน 102,389 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุนสะสม ทำให้ภาพรวมการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2563 เท่ากับ 203,172 ล้านบาท หรือร้อยละ 80 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โดยมีรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้เพื่อเสริมความมั่นคง โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคใต้ตอนล่างเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 12 ปี 2560 – 2564 ของการไฟฟ้านครหลวง
ผลการเบิกจ่ายสะสมของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2563 ถึงเดือนตุลาคม 2563 (มกราคม 2563 – ตุลาคม 2563)
รัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายจริงสะสม (ล้านบาท) ร้อยละเบิกจ่ายจริงสะสม/แผนเบิกจ่ายสะสม
ปีงบประมาณ (ต.ค. 62 – ก.ย. 63)
จำนวน 34 แห่ง (สิ้นสุดการดำเนินการแล้ว) 100,783 67%
ปีปฏิทิน (ม.ค. 63 – ธ.ค. 63)
จำนวน 10 แห่ง (10 เดือน) 102,389 99%
รวม 44 แห่ง 203,172 80%
สำหรับการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2564 ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 ของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณมีผลการเบิกจ่ายสะสม 1 เดือน (ตุลาคม 2563) ได้จำนวน 8,290 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 103 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุน โดยโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้ดีกว่าเป้าหมาย ได้แก่ แผนงานปรับปรุงท่อเพื่อลดน้ำสูญเสีย แผนงานปรับปรุงระบบท่อประปาเพื่อเสถียรภาพของระบบจ่ายน้ำของการประปานครหลวง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2564 ถึงเดือนตุลาคม 2563
รัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายจริงสะสม ร้อยละเบิกจ่ายจริงสะสม/แผนเบิกจ่ายสะสม
ปีงบประมาณ (ต.ค. 63 – ก.ย. 64)
จำนวน 34 แห่ง (1 เดือน) 8,290 103%
ปีปฏิทิน (ม.ค. 64 – ธ.ค. 64)
จำนวน 10 แห่ง (เริ่มดำเนินการ ม.ค. 64) - -
รวม 44 แห่ง 8,290 103%
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวทิ้งท้ายว่า ทั้งนี้ เพื่อให้การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังข้างต้น สคร. จะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการติดตามและเร่งผลการเบิกจ่ายงบลงทุน รวมทั้งร่วมแก้ไขปัญหาโครงการที่มีการเบิกจ่ายล่าช้าอย่างใกล้ชิดต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37460 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย ครั้งที่ 10/2563 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
การประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย ครั้งที่ 10/2563
รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย ครั้งที่ 10/2563
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย ครั้งที่ 10/2563 ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ชั้น 1 กระทรวงอุตสาหกรรม โดยที่ประชุมฯ ได้รับทราบและพิจารณา ดังนี้ 1) การดำเนินการตามมติคณะกรรมการน้ำตาลทราย 2) รายงานสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในและภายนอกประเทศ 3) สรุปปริมาณการขนย้ายน้ำตาลทรายที่ได้รับสิทธิของบริษัทผู้ผลิตสินค้าส่งออกปี 2563 ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 และ 4) รายงานการจำหน่ายและการขนย้ายน้ำตาลทรายดิบ เพื่อจำหน่ายภายในราชอาณาจักรปีการผลิต 2562/2563 และก่อนฤดูการผลิตปี 2562/2563 รวมถึงได้หารือและพิจารณาการขอรับสิทธิซื้อน้ำตาลทรายผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกปี 2564
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37464 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เตรียมเข้าร่วมประชุมผู้นำ ACMECS ผ่านระบบการประชุมทางไกล พร้อมผลักดันความร่วมมือกับประเทศสมาชิกเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโรคโควิด-19 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
นายกฯ เตรียมเข้าร่วมประชุมผู้นำ ACMECS ผ่านระบบการประชุมทางไกล พร้อมผลักดันความร่วมมือกับประเทศสมาชิกเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโรคโควิด-19
นายกฯ เตรียมเข้าร่วมประชุมผู้นำ ACMECS ผ่านระบบการประชุมทางไกล พร้อมผลักดันความร่วมมือกับประเทศสมาชิกเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโรคโควิด-19
วันนี้ (วันที่ 8 ธันวาคม 2563) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS ) ครั้งที่ 9 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอีก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม และเลขาธิการอาเซียน ในวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ระหว่างเวลา 8.30 -10.00 น. โดยมีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพการประชุมภายใต้หัวข้อ “หุ้นส่วนเพื่อความเชื่อมโยงและความยืดหยุ่น” (Partnership for Connectivity and Resilience)
การประชุม ACMECS เป็นข้อริเริ่มของไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือเฉพาะของประเทศลุ่มน้ำโขงที่เป็นสมาชิกอาเซียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาค ทั้งนี้ ACMECS ขับเคลื่อนโดยแผนแม่บทระยะ 5 ปี พ.ศ. 2562 – 2566 (ค.ศ. 2019 - 2023) ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 8 เมื่อปี 2561 ที่ไทยเป็นประธาน เป็นแผนแม่บทที่เน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 3 สาขาหลัก ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ (Seamless Connectivity) 2) การสอดประสานด้านเศรษฐกิจ (Synchronized ACMECS Economies) และ 3) การพัฒนาภูมิภาคในลักษณะยั่งยืนและมีนวัตกรรม (Smart and Sustainable ACMECS) นอกจากนี้ ไทยยังเป็นผู้เสนอให้ริเริ่มผลักดันประเด็นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ ACMECS มีพลวัตและสามารถรับมือกับความท้าทายของโลก คือ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS และการมีปฏิสัมพันธ์กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กรอบการประชุม ACMECS จะสร้างผลประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและ MSMEs ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจมหภาคในอนุภูมิภาค ลดอุปสรรคและเพิ่มพูนการค้า การขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างกัน นอกจากนี้ การประชุม ACMECS ยังช่วยยกระดับสถานะของไทยในเวทีระหว่างประเทศเรื่องการรับมือกับโควิด-19 สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นานาประเทศถึงขีดความสามารถในการรับมือกับวิกฤตสาธารณสุขในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพในการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประชาชนและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีความเข้มแข็งร่วมกัน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะกล่าวถ้อยแถลงเพื่อสนับสนุนผู้นำทุกคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อน ACMECS ให้ก้าวหน้า มีพลวัต และพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์และความท้าทายรูปแบบใหม่ ตลอดจนจะนำเสนอข้อเสนอของไทยในหลักการ “อนุภูมิภาค ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้” (Safe, Secure and Trustworthy ACMECS) ให้เป็นอีกหนึ่งสาขาความร่วมมือภายใต้แผนแม่บท ACMECS ทั้งนี้ คาดว่าในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมฯ จะรับรอง “ร่างปฏิญญาพนมเปญ” ด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37463 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงกลาโหมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เร่งช่วยเหลือพี่น้องประชาชน 11 จังหวัดภาคใต้ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
กระทรวงกลาโหมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เร่งช่วยเหลือพี่น้องประชาชน 11 จังหวัดภาคใต้
" ที่ประสบภัยน้ำท่วมจากสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเดินหน้าแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบเพื่อความยั่งยืน"
#ทหารของพระราชา
#ใครไม่ทำทหารทำ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37446 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ เป็นประธานประชุมหารือติดตามการดำเนินงานพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ เป็นประธานประชุมหารือติดตามการดำเนินงานพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานประชุมหารือติดตามการดำเนินงานพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานประชุมหารือติดตามการดำเนินงานพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 พร้อมด้วย นายสมพล โนดไธสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายประชา มีธรรม อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นายณัฐ อารีกุล อุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย นายกิติพงษ์ ชลิทธิกุล อุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร และคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เข้าร่วม ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37466 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ. เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “พรานน้อย” สื่อเรื่องเล่าสร้างภูมิพ่อแม่ และร่วมชมการแสดงละครเวที “พรุ่งนี้จะลองตื่นดู” | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ผู้ช่วยรมว.วธ. เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “พรานน้อย” สื่อเรื่องเล่าสร้างภูมิพ่อแม่ และร่วมชมการแสดงละครเวที “พรุ่งนี้จะลองตื่นดู”
ผู้ช่วยรมว.วธ. เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “พรานน้อย” สื่อเรื่องเล่าสร้างภูมิพ่อแม่ และร่วมชมการแสดงละครเวที “พรุ่งนี้จะลองตื่นดู”
วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “พรานน้อย” สื่อเรื่องเล่าสร้างภูมิพ่อแม่ และร่วมชมการแสดงละครเวที “พรุ่งนี้จะลองตื่นดู” ซึ่งเป็นละครเวทีที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ๖ แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและ เยาวชนหญิงบ้านปรานี ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชนชายบ้านอุเบกขา ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต ๔ จังหวัดขอนแก่น เขต ๕ จังหวัดอุบลราชธานี เขต ๗ จังหวัดเชียงใหม่ และเขต ๙ จังหวัดยะลา ได้ร่วมแสดงความสามารถและถ่ายทอดประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครองและผู้ที่จะได้รับชมละคร โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พ.ต.ท. วรรณพงษ์ ดชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายชนประคัลภ์ จันทร์เรือง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมชมการแสดง ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37476 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีสั่งดำเนินคดีผู้ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายรวมถึงผู้ที่ให้การช่วยเหลือ วอนทุกภาคส่วนช่วยกันป้องไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดระลอก 2 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
นายกรัฐมนตรีสั่งดำเนินคดีผู้ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายรวมถึงผู้ที่ให้การช่วยเหลือ วอนทุกภาคส่วนช่วยกันป้องไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดระลอก 2
นายกรัฐมนตรีสั่งดำเนินคดีผู้ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายรวมถึงผู้ที่ให้การช่วยเหลือ วอนทุกภาคส่วนช่วยกันป้องไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดระลอก 2
วันนี้ (8 ธ.ค. 63) เวลา 13.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแถลงต่อสื่อมวลชนว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เพราะทุกคนช่วยกันและทำได้เป็นอย่างดีต่อเนื่อง จนกระทั่งมีสถานการณ์กลุ่มคนบางกลุ่มลักลอบเข้าสู่ประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายจึงต้องมีมาตรการที่เข้มข้นมากกว่าเดิม เพื่อสามารถติดตามต้นทางผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ว่ามาจากที่ไหน และแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รัฐบาลก็ต้องเตรียมรับมือซึ่งไม่อยากเหตุการณ์ถึงขั้นชัตดาวน์เกิดขึ้นอีก
นายกรัฐมนตรีกำชับให้มีการตรวจสอบ คัดกรองโรค ในทุกพื้นที่อย่างเข้มงวดทุกระดับ คือ แนวที่ 1 คือแนวชายแดน แนวที่ 2 คือ พื้นที่ตอนในที่ต้องจัดตั้งด่านตรวจ จุดสกัดต่าง ๆ และแนวที่ 3 คือระดับพื้นที่ อาศัยความร่วมมือของประชาชนช่วยกันสังเกตผู้ที่ลักลอบเข้าประเทศไทยแบบผิดปกติ โดยย้ำว่า สถานการณ์ตอนนี้ยังไม่ใช่การแพร่ระบาดระลอกที่ 2 หรือ Super Spreader เพราะสามารถติดตามผู้ที่ลักลอบเข้ามา ตามมาตรการของสาธารณสุขได้ทุกคน ว่าเดินทางไปไหนบ้างและใกล้ชิดกับใครบ้าง ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลตรวจ โดยมอบหมายให้โฆษก ศบค. รายงานสถานการณ์ประจำวัน ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะเดินทางไปยังภาคเหนือเพื่อติดตาม ทำความเข้าใจ ช่วยเหลือภาคธุรกิจและการท่องเที่ยว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้มีการยกเลิกการจองโรงแรมจำนวนมาก จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก พร้อมขอความร่วมมือสื่อมวลชนให้ชี้แจงตามข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือคนที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย และขอความร่วมมือผู้ที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ให้เดินทางเข้ากลับเข้าประเทศไทยในช่องทางที่ถูกกฎหมายเพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคัดกรองโรค เพราะถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงและสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 รอบ ๆ ประเทศไทยยังไม่ปลอดภัย จึงอยากให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและคำนึงถึงส่วนรวมด้วย พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคัดกรองโรคอย่างดีที่สุดทั้งช่องทางธรรมชาติและช่องทางปกติ
...................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37471 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดหนังสั้นโครงการส่งเสริมและเผยแพร่ค่านิยมและความเป็นไทย “ไทยดี มีมารยาท ปี ๒” | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดหนังสั้นโครงการส่งเสริมและเผยแพร่ค่านิยมและความเป็นไทย “ไทยดี มีมารยาท ปี ๒”
ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดหนังสั้นโครงการส่งเสริมและเผยแพร่ค่านิยมและความเป็นไทย “ไทยดี มีมารยาท ปี ๒”
วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดหนังสั้นโครงการส่งเสริมและเผยแพร่ค่านิยมและความเป็นไทย “ไทยดี มีมารยาท ปี ๒” โดยมี นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด(มหาชน) ผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันฯ นักเรียน นักศึกษา แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ เธียร์เตอร์ ๒ ลิโด้คอนเน็คท์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) จัดการประกวดหนังสั้นโครงการส่งเสริมและเผยแพร่ค่านิยมและความเป็นไทย “ไทยดี มีมารยาท ปี ๒” เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการผลิตผลงานสร้างสรรค์สังคมไทยในรูปแบบของหนังสั้นที่มีเนื้อหาความคิดสร้างสรรค์ ความโดดเด่นน่าติดตาม เกิดความประทับใจ และเกิดภาพลักษณ์ที่ดีทางด้านวัฒนธรรม โดยในปีนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัล จำนวนทั้งสิ้น ๑๖ เรื่อง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37458 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย และคณะผู้บริหารปล่อยคาราวานถุงยังชีพ น้ำดื่มเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ปลัดฯ กอบชัย และคณะผู้บริหารปล่อยคาราวานถุงยังชีพ น้ำดื่มเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารปล่อยคาราวานถุงยังชีพ น้ำดื่มเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ณ หน้าตึกกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) เวลา 17.00 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมปล่อยคาราวานรถถุงยังชีพ จำนวน 1,200 ชุด น้ำดื่ม 10,000 ขวด เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้
ณ หน้าตึกกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
#prmoi #น้ำท่วมภาคใต้ #คาราวานถุงยังชีพ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37479 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ภาครัฐติดตามเฝ้าระวังปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก–ผลไม้เกินค่ามาตรฐาน | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ภาครัฐติดตามเฝ้าระวังปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก–ผลไม้เกินค่ามาตรฐาน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยภาครัฐติดตามเฝ้าระวังปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก–ผลไม้เกินค่ามาตรฐาน
วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์จริต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยผักและผลไม้ของกระทรวงสาธารณสุขว่า ผลการตรวจวิเคราะห์ผักและผลไม้ในปี 2563 พบว่า ณ สถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) และสถานที่จำหน่าย ได้แก่ ห้างค้าปลีก ค้าส่ง ตลาดนัด ตลาดสดทั่วประเทศ ตรวจวิเคราะห์ผักผลไม้ทั้งหมด 416 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 354 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.1 เช่น กะหล่ำปลี กระเทียม แครอท แตงกวา ผักกาดขาว กล้วย สับปะรด แอปเปิ้ล องุ่นเขียว เมลอน เป็นต้น ด่านอาหารและยาตรวจ 890 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 698 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.43 เช่น กระเทียม มันเทศ หอมหัวใหญ่ เห็ด เป็นต้น โดยมีการดำเนินคดีทางกฎหมาย กรณีตรวจพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 จัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท กรณีสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) หากผักผลไม้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 มีโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท มาตรการด่านอาหารและยา หากพบมีประวัติตรวจพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน จะอายัดสินค้าที่ด่านนำเข้า และส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ หากไม่ผ่านมาตรฐานจะทำลายหรือส่งกลับประเทศต้นทาง
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังเร่งรณรงค์งดใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร สนับสนุนการยกเลิกสารเคมีอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวเกษตรกรเอง ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเกษตรกรงดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูก ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมผู้บริโภคเลือกซื้อผักผลไม้สดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือมีตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ แนะนำการล้างผักผลไม้สดที่ถูกวิธีแก่ประชาชนเพื่อช่วยลดสารพิษตกค้าง
สำหรับกรมวิชาการเกษตร ตรวจติดตามเฝ้าระวังสารตกค้างในผักและผลไม้ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ กรมวิชาการเกษตรได้สุ่มตัวอย่างสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ เช่น ในห้างค้าปลีกและตลาดค้าส่ง โดยเน้นชนิดผักและผลไม้ที่มีการแจ้งว่าตรวจพบสารตกค้างบ่อยครั้ง เช่น พริก ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ คะน้า ผักกาดขาว ส้ม และฝรั่ง เป็นต้น
สำหรับในปี 2563 นี้กรมวิชาการเกษตรได้สุ่มเก็บตัวอย่างพืชเพื่อวิเคราะห์สารตกค้างจากแปลงที่ได้รับการรับรอง GAP จำนวน 665 ตัวอย่าง และห้างสรรพสินค้าจำนวน 650 ตัวอย่าง รวมจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 1,315 ตัวอย่าง พบมีความปลอดภัยจำนวน 1,162 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 88 เปอร์เซ็นต์ โดยพืชที่พบมีความปลอดภัยมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ เห็ด ข้าวโพดฝักอ่อน ต้นอ่อนพืช เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักสด ผักกูด ฝรั่ง ซูกินี บล็อกโคลี่ และพลู
ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรมีแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบายอาหารปลอดภัยที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชทั้งในระบบ GAP และเกษตรอินทรีย์ โดยได้มีการตรวจติดตามแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองพร้อมกับสุ่มตัวอย่างผลิตผลที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานจากแหล่งผลิตและสถานที่จำหน่ายมาตรวจสอบโดยตลอด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเกษตรกรยังปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในระบบ รวมทั้งยังมีการทดลอง ทดสอบ สารชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช ที่มีความปลอดภัย เพื่อช่วยลดหรือทดแทนการใช้สารเคมี พร้อมกับพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารตกค้างให้สามารถตรวจสอบชนิดสารได้มากขึ้น
..................................
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37447 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อนุทิน" มั่นใจ ไม่เกิน 1สัปดาห์ จ.เชียงราย เที่ยวได้ปลอดภัย | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
"อนุทิน" มั่นใจ ไม่เกิน 1สัปดาห์ จ.เชียงราย เที่ยวได้ปลอดภัย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เยี่ยมสถานที่กักกันเตรียมรับผู้เดินทางกลับจากเมียนมาชื่นชมระบบคัดกรองโรคมีมาตรฐาน มั่นใจไม่เกิน 1 สัปดาห์ จ.เชียงราย เที่ยวได้ปลอดภัย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เยี่ยมสถานที่กักกันเตรียมรับผู้เดินทางกลับจากเมียนมาชื่นชมระบบคัดกรองโรคมีมาตรฐาน มั่นใจไม่เกิน 1 สัปดาห์ จ.เชียงราย เที่ยวได้ปลอดภัย
วันนี้ (8 ธันวาคม2563) ที่จ.เชียงราย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลัง ตรวจเยี่ยมสถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยผู้รับการกักตัวที่นี่ส่วนใหญ่มาจากสถานบันเทิง 1G1 จากฝั่งจ.ท่าขี้เหล็ก โดยทุกรายได้รับการคัดกรองจากทีมคัดกรองสอบสวนโรคตามมาตรฐาน หากพบติดเชื้อจะแยกนำไปรักษาที่โรงพยาบาล โดยพบผู้ติดเชื้อ 45 คน คิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือแม้จะยังตรวจไม่พบเชื้อ แต่เนื่องจากทำงานอยู่ในที่ที่เดียวกัน ต้องเข้ารับการกักตัวอยู่ที่นี่ 14 วัน ซึ่งการกักกันตัว 14 วัน ทำให้เกิดความมั่นใจ แก่ประชาชนทั่วไปว่า สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุมได้
“จากนี้เป็นต้นไปมั่นใจว่าผู้ลักลอบเข้าเมืองจากฝั่งท่าขี้เหล็กก็จะหยุดหรือน้อยลงเรื่อยๆ เพราะได้รับข่าวสารข้อมูล ไม่สามารถลักลอบเข้าเมืองได้เป็นอันขาด รวมทั้งมีความกดดันจากฝ่ายต่างๆ และจะเสี่ยงถูกดำเนินคดีด้วย ขอให้มั่นใจว่าเชียงรายตอนนี้จะกลับคืนสู่สภาพปกติภายในระยะเวลาไม่เกินสัปดาห์ ขอให้คนไทยช่วยมาเที่ยวกัน เมื่อก่อนตรงสะพานข้ามแดนเดินกันแทบจะไหล่ชนไหล่ แต่เดี๋ยวนี้เงียบเหงา เพราะพวกเราไม่กล้ามากัน แต่ว่าทุกอย่างได้รับการควบคุมเป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวล เพียงแค่มากัน แล้วใส่หน้ากากอนามัยทุกอย่างจะปลอดภัย” นายอนุทินกล่าว
************************************** 8 ธันวาคม 2563
*******************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37485 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
กรมศุลกากรเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) กรมศุลกากร ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยมอบถุงยังชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัย
นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกรมศุลกากร ที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ ด่านศุลกากรบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช ด่านศุลกากรสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และด่านศุลกากรสงขลา ด่านศุลกากรท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยจัดทำถุงยังชีพ ประกอบด้วย ข้าวสาร อาหารเเห้ง นม เวชภัณฑ์ ของใช้ในครัวเรือนมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ดังกล่าว
กรมศุลกากรจึงได้มอบถุงยังชีพดังนี้
1. นายยุทธนา พูนพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 พร้อมด้วยนางกาญจนา สุวานิโช นายด่านศุลกากรสงขลา จังหวัดสงขลาและเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในเขตชุมชนบ้านธรรมโฆษณ์ ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 44 ครัวเรือน
2. นางอาภาพรรณี แสงมุกดา นายด่านศุลกากรท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนในเขต ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จำนวน 70 ครัวเรือน
3. นางปรารถนา สันติอนุชิต นายด่านศุลกากรบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย นางสาวจินตนา คงเมือง นายด่านศุลกากรเกาะสมุย และเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 300 ครัวเรือน
4. นายคณิต มีปิด นายด่านศุลกากรสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ในเขต ตำบลสิชล อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 300 ครัวเรือน
5. นายธวัชชัย สมบุญเจริญ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการพิเศษรักษาราชการแทนนายด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมกับศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 4 กองทัพอากาศ มอบถุงยังชีพให้กับประชาชนในชุมชนวัดศรีทวี ชุมชนวัดมุมป้อม บ้านบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 100 ครัวเรือนและมอบถุงยังชีพให้ชุมชนรอบท่าอากาศยานจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ศูนย์อพยพวัดโทเอก ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 100 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 200 ครัวเรือน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37481 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.อนุชา เชิญชวนประชาชนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับแผ่นดินและปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
รมต.อนุชา เชิญชวนประชาชนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับแผ่นดินและปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
รมต.อนุชา เชิญชวนประชาชนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับแผ่นดินและปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ได้สั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันเสาร์ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับแผ่นดินและปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2563 นั้น ผลจากการจัดกิจกรรมจนกระทั่งถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2563 พบว่ามีประชาชนทั่วประเทศเข้าร่วมเป็นจำนวนกว่า 20 ล้านคน โดยส่วนมากต้องการน้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปถือปฏิบัติในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญปัญหาหลายด้าน อีกทั้งยังเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ 9 แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติไทย
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์วันเสาร์อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันเสาร์ ที่ 12 ธันวาคม 2563
ครั้งที่ 2 วันเสาร์ ที่ 19 ธันวาคม 2563
ครั้งที่ 3 วันเสาร์ ที่ 26 ธันวาคม 2563
โดยกำหนดจัดพิธีพร้อมกันทั่วประเทศ เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป สำหรับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและใกล้เคียง สามารถเข้าร่วมพิธีได้ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ประชาชนต่างจังหวัด สามารถเข้าร่วมพิธีได้ที่วัดประจำจังหวัดหรืออำเภอ หรือสถานที่ตามที่ทางจังหวัดเห็นสมควร จึงขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมพิธีตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน
.........................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37456 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด ก.อุตฯ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1/2563 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
ปลัด ก.อุตฯ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1/2563
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1/2563 เพื่อพิจารณาทบทวนประเภทรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี 2564 จำนวนรางวัลของแต่ละประเภทประจำปี 2564 ทบทวนองค์ประกอบคณะทำงานและอำนาจหน้าที่ประจำปี 2564 และแผนการดำเนินงานการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี 2564 และคณะกรรมการจัดงานฯและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37467 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุริยะ ให้เอกอัคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิไตยศรีลังกาประจำประเทศไทย เข้าพบ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
รมว.สุริยะ ให้เอกอัคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิไตยศรีลังกาประจำประเทศไทย เข้าพบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เอกอัคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิไตยศรีลังกาประจำประเทศไทย เข้าพบ ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 สปอ.
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) เวลา 16.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นางสมันตา เค. ชยสุริยะ เอกอัคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิไตยศรีลังกาประจำประเทศไทย และคณะเข้าพบ เพื่อเยี่ยมคารวะและแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 สปอ.
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37482 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สาธิต” เผยความสำเร็จหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย อยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียม-มีประสิทธิภาพ-มีส่วนร่วม | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
“สาธิต” เผยความสำเร็จหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย อยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียม-มีประสิทธิภาพ-มีส่วนร่วม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยความสำเร็จของหลักประสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยอยู่บนพื้นฐาน 3 ประการ ความเท่าเทียม-มีประสิทธิภาพ-มีส่วนร่วม พร้อมแบ่งปันนานาประเทศ เพื่อสร้างสุขภาพดีไปพร้อมกัน ตั้งเป้าพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2573
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยความสำเร็จของหลักประสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยอยู่บนพื้นฐาน 3 ประการ ความเท่าเทียม-มีประสิทธิภาพ-มีส่วนร่วม พร้อมแบ่งปันนานาประเทศ เพื่อสร้างสุขภาพดีไปพร้อมกัน ตั้งเป้าพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2573
บ่ายวันนี้ (8 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงการต่างประเทศ กทม. ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมงานวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล รณรงค์ภายใต้แนวคิด “สุขภาพดีถ้วนหน้า : ปกป้องคุ้มครองทุกคน” โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานจากไทยและต่างประเทศ อาทิ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมงาน
ดร.สาธิต กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนทั้งประเทศ เข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ครัวเรือนมีความมั่นคงด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ไม่ล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาล ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 18 ปี และผลักดันให้วันที่ 12 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล โดยในปี 2563 นี้ ได้รณรงค์ชูประเด็น “สุขภาพดีถ้วนหน้า: ปกป้องคุ้มครองทุกคน” (HEALTH FOR ALL: Protect Everyone) เพื่อให้นานาประเทศ ตระหนักรับรู้และกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศตน ประชาชนสุขภาพดี รวมถึงคุ้มครองทุกคนภายใต้สถานการณ์โรคโควิด 19 โดยมุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2573
ดร.สาธิตกล่าวต่อว่า สำหรับความสำเร็จด้านสาธารณสุขของไทยมีพื้นฐานจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ดำเนินการบนพื้นฐานหลักการ 3 ประการ คือ ความเท่าเทียม ความมีประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง จนทำให้เป็นที่ประจักษ์และชื่นชมจากองค์การอนามัยโลกและนานาชาติ
“กระทรวงสาธารณสุขและทุกหน่วยงานจะร่วมมือกัน เพื่อทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เป็นของคนไทย เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืน พร้อมแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ให้แก่ประเทศต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม และจะร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนให้ประชากรโลกมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นไปด้วยกัน”ดร.สาธิตกล่าว
************************************** 8 ธันวาคม 2563
***********************************************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37480 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เข้มโรงพยาบาลคู่สัญญา ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคโควิด 19 ใน ASQ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
สธ.เข้มโรงพยาบาลคู่สัญญา ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคโควิด 19 ใน ASQ
กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศจากสถานกักกันโรคที่รัฐกำหนด (ASQ) เพิ่ม 4 ราย ติดตามผู้สัมผัสแล้วทั้งหมด ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม อยู่ระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุการติดเชื้อ ยัน ASQ และโรงพยาบาลคู่สัญญามีมาตรฐาน
กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศจากสถานกักกันโรคที่รัฐกำหนด (ASQ) เพิ่ม 4 ราย ติดตามผู้สัมผัสแล้วทั้งหมด ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม อยู่ระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุการติดเชื้อ ยัน ASQ และโรงพยาบาลคู่สัญญามีมาตรฐาน เตรียมประชุมซักซ้อมเข้มแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ส่วนผู้ป่วยกลุ่มลักลอบมาจากท่าขี้เหล็ก มีเพิ่ม 1 ราย เข้าสู่การรักษาแล้ว
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) พร้อมด้วยทันตแพทย์อาคม ประดิษฐ์สุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. และนายแพทย์จักรรัฐ พิธยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่าสถานกักกันที่รัฐจัดให้และสถานกักกันที่รัฐกำหนด เป็นกลไกสำคัญในการคัดกรองและควบคุมโรคโควิด 19 ที่มาจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันมี State Quarantine (SQ) 25แห่ง Alternative State Quarantine (ASQ) 116แห่ง Alternative Local Quarantine (ALQ) 39 และ และ Alternative Hospital Quarantine (AHQ) 183 แห่ง ปัจจุบันมีผู้เดินทางเข้ามาสู่ระบบการกักกันทุกรูปแบบ 171,016 คน อัตราการติดเชื้อร้อยละ 0.67 หากพิจารณาเฉพาะส่วนของ ASQ อยู่ที่ร้อยละ 0.54 ถือว่ายังไม่สูงผิดปกติ สำหรับโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้ามาดูแลผู้เข้ากักตัวในส่วนของโรงแรม ASQ มีจำนวน 17 แห่ง ดังนั้น โรงพยาบาล 1 แห่งจึงเป็นคู่สัญญากับโรงแรมหลายแห่ง
นายแพทย์ธเรศกล่าวว่า สำหรับกรณีพบผู้ติดเชื้อเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานใน ASQอยู่ระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุร่วมกับกรมควบคุมโรค ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำเข้าสู่ระบบการกักกันและเฝ้าระวังอาการทั้งหมดแล้ว ขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าโรงแรมที่เข้าร่วมเป็นสถานที่กักกันจะต้องผ่านมาตรฐาน 6 ด้านตามที่กำหนด และโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามหลักการควบคุมจัดการโรคติดต่อ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 (Infectious Control) และแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา กรณีโรคโควิด 19 (CPG) อย่างเคร่งครัด โดยวันที่ 9 ธันวาคม 2563 จะประชุมชี้แจงและซักซ้อมแนวปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงาน (SOP) ผ่านระบบ Web-ex และ Zoom Meeting โดยขอให้ผู้ปฏิบัติงานใน ASQ ดำเนินการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการเข้าเก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อและการถอดชุดป้องกัน ที่ต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและระมัดระวัง เนื่องจากเป็นจุดเสี่ยงที่อาจทำให้ติดเชื้อได้
นายแพทย์จักรรัฐ พิธยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลก วันนี้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเกือบ 5 แสนราย ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อสะสม 67,934,939 ราย เสียชีวิต 1,550,169 ราย ประเทศที่มีการติดเชื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล รัสเซีย และฝรั่งเศส ส่วนประเทศเมียนมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,276 ราย สะสม 100,431 ราย และมาเลเซีย รายใหม่ 1,600 ราย สะสม 74,294 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวม 19 ราย เป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศและกักตัวในสถานกักกันโรคที่รัฐกำหนด 14 ราย เดินทางมาจากเมียนมา 6 ราย ตุรกี 1 ราย บัลแกเรีย 1 ราย โมร็อกโก 1 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย สหราชอาณาจักร 1 ราย เดนมาร์ค 1 ราย และบาเรนห์ 1 ราย ทุกรายเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว ลักลอบเดินทางเข้ามา 1 ราย มาจากเมียนมาเข้าทางเส้นทางธรรมชาติ เข้าสู่ระบบการดูแลรักษา และพบผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 4 ราย เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนคู่ปฏิบัติการของสถานกักกันที่รัฐกำหนด (ASQ) ขณะนี้เข้ารับการรักษาทุกราย สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่เกี่ยวข้องกับ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา อยู่ในระบบการควบคุมสอบสวนโรครวม 39 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 21 ปี เดินทางเข้ามาผ่านช่องทางธรรมชาติพร้อมเพื่อนที่เป็นชาวราชบุรี (ผู้ติดเชื้อรายเก่าที่รายงานแล้ว) ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2563 ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามระบบแล้ว ทั้งนี้ ได้รับรายงานในเบื้องต้นว่ามีผู้ติดเชื้อรอการยืนยันอีก 7 ราย
ซึ่งทาง จ.เชียงรายได้แถลงข่าวไปแล้วเมื่อเวลา 10.00 น.
นายแพทย์จักรรัฐกล่าวต่อว่า ขณะนี้ เริ่มพบการติดเชื้อภายในประเทศโดยอยู่ในวงจำกัดของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลเอกชนคู่ปฏิบัติการของ ASQ ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมลงพื้นที่ดำเนินการสอบสวนโรค ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ ข้อมูลสอบสวนโรคในเบื้องต้น ผู้ติดเชื้อเป็นบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งเดียวกัน รวม 5 ราย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนคู่ปฏิบัติการของ ASQ โดยรายแรกเริ่มมีอาการและตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 (เป็นผู้ป่วยที่รายงานแล้วเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2563) ในวันนี้พบเพิ่ม 4 ราย นับเป็นรายที่ 2 ของกลุ่มก้อนนี้ โดยตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานและพักห้องเดียวกันกับผู้ติดเชื้อรายแรก, รายที่ 3 ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม, รายที่ 4 ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ให้ประวัติว่าเริ่มมีอาการเล็กน้อยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 และรายที่ 5 ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563 แต่ไม่มีอาการ ทั้งหมดเป็นเพื่อนร่วมงานของผู้ติดเชื้อรายแรก เบื้องต้นตรวจผู้สัมผัสรวม 280 ราย เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง 51 ราย ผลตรวจทั้งหมดไม่พบการติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยงต่ำ 229 ราย ผลออกแล้ว 14 รายไม่พบการติดเชื้อ และรอผล 215 ราย ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มดังกล่าว อยู่ระหว่างการสอบสวนและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ จะได้มีการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมและแถลงให้ทราบต่อไป
นายแพทย์จักรรัฐกล่าวอีกว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการไปยังโรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งให้กำชับบุคลากรเข้มงวดการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และสั่งการให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ติดตาม กำกับดูแลมาตรฐานของสถานกักกันทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในส่วนของผู้โดยสารที่เดินทางเที่ยวบินเดียวกับผู้ติดเชื้อหญิงอายุ 51 ปี จ.สิงห์บุรี ขณะนี้ยังไม่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม หากผู้โดยสารที่เดินทางในเที่ยวบินเดียวกันหรือวันเดียวกัน มีความกังวล สามารถสอบถาม รับคำปรึกษาที่สายด่วน 1422 หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ประสานงานกับกระทรวงคมนาคม เข้มงวดมาตรการควบคุมป้องกันโรคของสนามบิน และบนเครื่องบิน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน
************************************** 8 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37465 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ ครั้งที่ 1 | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ ครั้งที่ 1
กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ ครั้งที่ 1 รวมทั้งสิ้น 1,625 ราย มุ่งเน้นความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐานในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 51 บัญญัติให้คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ มีอำนาจประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้งานก่อสร้างในสาขาใดเป็นงานก่อสร้างที่ผู้ประกอบการงานก่อสร้างจะเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐได้ ผู้ประกอบการงานก่อสร้างในสาขานั้นต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง โดยต้องใช้เงินงบประมาณในวงเงินเท่าใดหรือต้องใช้ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาใดด้วยก็ได้ และมาตรา 53 บัญญัติให้กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ซึ่งหน่วยงานของรัฐ ไม่ต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการประเภทนั้นอีก และให้หน่วยงานของรัฐกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ายื่นข้อเสนอตามมาตรา 51 ในประกาศเชิญชวนให้เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วย
จากการที่คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วนั้น กรมบัญชีกลางจึงได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างแล้ว ปรากฏว่า มีผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างประกาศกำหนด รวมทั้งสิ้น 5 สาขา ได้แก่ สาขางานก่อสร้างทาง สาขางานก่อสร้างสะพาน สาขางานก่อสร้างทางและสะพานพิเศษ สาขางานก่อสร้างชลประทาน และสาขางานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งและชายฝั่ง จำนวน 1,625 ราย อย่างไรก็ดี สำหรับหน่วยงานของรัฐใดได้ดำเนินการนำร่างประกาศและร่างเอกสารเชิญชวนเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ หรือเผยแพร่ประกาศและเอกสารเชิญชวนในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง (ระบบ e-GP) หรือมีหนังสือเชิญชวนไปแล้วก่อนวันที่กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้าง ให้หน่วยงานของรัฐนั้นดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ โดยได้รับยกเว้นการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอของผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่ต้องขึ้นทะเบียนไว้กับกรมบัญชีกลาง
“กรมบัญชีกลางมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐในครั้งนี้ จะทำให้การดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างมาตรฐาน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ ครั้งที่ 1 ได้ตามบัญชีเอกสารแนบท้ายประกาศ ผ่านทางเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ CGD Application ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวันและเวลาราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37473 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีแนะสตาร์ทอัพไทยพัฒนาต่อเนื่องให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศพร้อมโปรโมทวิ่งเทรลในไทย ส่งเสริมการออกกำลังกายเพิ่มการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ | วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563
นายกรัฐมนตรีแนะสตาร์ทอัพไทยพัฒนาต่อเนื่องให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศพร้อมโปรโมทวิ่งเทรลในไทย ส่งเสริมการออกกำลังกายเพิ่มการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
นายกรัฐมนตรีแนะสตาร์ทอัพไทยพัฒนาต่อเนื่องให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศพร้อมโปรโมทวิ่งเทรลในไทย ส่งเสริมการออกกำลังกายเพิ่มการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
วันนี้ (8 ธ.ค. 63) เวลา 08.30 น. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยภารกิจก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ในหัวข้อ “Edtech for all Gens” จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และรับฟังสรุปผลการจัดการแข่งขันวิ่งเทรล รายการ Thailand by UTMB 2020 Doi Inthanon Chiang Mai ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมีนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมชมนิทรรศการในครั้งนี้ด้วย ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมการพัฒนาทักษะดิจิทัลสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลด้วยการ Reskill, Upskill และ New Skill ได้แก่ เครื่องมือช่วยประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนแก่คุณครูในห้องเรียนผ่านเกมตอบคําถาม การแสดง Virtual Reality (VR) ช่วยพนักงานฝึกปฏิบัติผ่านโลกเสมือนจริงในสถานการณ์จําลอง และการแข่งขันหุ่นยนต์ซูโม่ด้วยการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองในการแข่งขัน หุ่นยนต์ยุวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจําปี 2562
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีชื่นชมดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย พร้อมสนับสนุนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในระดับมาตรฐานที่สามารถแข่งขันกับสตาร์ทอัพจากต่างประเทศได้ ทั้งสนใจการใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง หรือ VR โดยเห็นว่า อาจนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการฝึกอบรมแรงงานหรือบุคคลจำนวนมาก ในลักษณะเป็น e-training ได้เช่นกัน โอกาสเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรียังชมการสาธิตแข่งขันหุ่นยนต์ซูโม่ โดยนักเรียนจากโรงเรียนชลประทานวิทยา พร้อมสนใจสอบถามถึงแนวทางการออกแบบโปรแกรมและกติกาในการเล่น โดยย้ำให้นักเรียนเยาวชนทำกิจกรรมควบคู่ไปกับการเรียนด้วย
จากนั้น นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมนิทรรศการ “Ultra Trail Series” รายการ Thailand by UTMB 2020 ณ ดอยอินทนน์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักวิ่งเทรลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมาก เป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าว รัฐบาลส่งเสริมการออกกำลังกาย รวมถึง วิ่งเทรลหรือวิ่งตามภูมิประเทศ ซึ่งการจัดกิจกรรมวิ่งทุกประเภทต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยของนักวิ่ง ซึ่งอยากเห็นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จัดกิจกรรมวิ่งในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตามสถานที่ท่องเที่ยวหรือเส้นทางธรรมชาติ สวนสาธารณะในกรุงเทพ หรือการแข่งขันวิ่งในรูปแบบอื่น ๆ เช่น สปาร์ตัน นินจาวอริเออร์ เพื่อดึงดูดนักวิ่งชาวต่างชาติ ที่สำคัญต้องยกระดับมาตรฐานการจัดงานวิ่งเทรลของไทยรวมทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในพื้นที่ใหม่ ๆ
......................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37448 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ เยี่ยมชมการดำเนินงาน ธุรกิจรีไซเคิลโลหะมีค่า บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ เยี่ยมชมการดำเนินงาน ธุรกิจรีไซเคิลโลหะมีค่า บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด
นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงาน ธุรกิจรีไซเคิลโลหะมีค่า บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด ณ บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงาน ธุรกิจรีไซเคิลโลหะมีค่า บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วย นายพรธวัช เพ่งศรี วิศวกรชำนาญการพิเศษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และคณะ โดยมี Mr. Noriyoshi Totsuka, Managing Director และผู้บริหารบริษัทฯ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา
สำหรับ บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับดำเนินการจัดการกากอุตสาหกรรม โรงงานประเภท 105, 106 ประกอบกิจการคัดแยก บดย่อย และรีไซเคิลวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีโลหะมีค่า อาทิ ทองคำ แพลตตินั่ม พาลาเดียม โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีการใช้โลหะมีค่าเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37356 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ธรรมนัส ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดพะเยา ครั้งที่ 3/2563 | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
รมช.ธรรมนัส ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดพะเยา ครั้งที่ 3/2563
รมช.ธรรมนัส ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดพะเยา ครั้งที่ 3/2563 เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกร
ร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดพะเยาครั้งที่3/2563ณห้องประชุมภูกามยาวชั้น5ศาลากลางจังหวัดพะเยาว่าจากการที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้มาช่วยดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดพะเยาจังหวัดเชียงรายและจังหวัดหนองบัวลำภูซึ่งจังหวัดพะเยานั้นเป็นพื้นที่ที่มีความคุ้นเคยและรับรู้ปัญหาในเบื้องต้นจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพะเยายังต้องเตรียมแผนงานและโครงการต่างๆเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินทำกินให้พี่น้องเกษตรกรการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมจังหวัดพะเยารวมทั้งประเด็นความเดือดร้อนและข้อเรียกร้องต่างๆของพี่น้องเกษตรกรที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรพร้อมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นและเกิดความมั่นคงที่ยั่งยืนผลักดันคุณภาพชีวิตของพี่น้องจังหวัดพะเยาในทุกๆอำเภอ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37362 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ระบบสาธารณสุขไทย หลังยุคโควิด 19 ต้องออกแบบ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อความปลอดภัยของคนไทยและประเทศ | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
ระบบสาธารณสุขไทย หลังยุคโควิด 19 ต้องออกแบบ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อความปลอดภัยของคนไทยและประเทศ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้นำประสบการณ์ต่อสู้กับโควิด19 ที่ผ่านมา นำไปออกแบบการดำเนินชีวิตยุคหลังโควิด19 เพื่อให้ทุกคนอยู่ด้วยความปลอดภัย ลดสูญเสียทั้งชีวิต สุขภาพ ธุรกิจ และเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้นำประสบการณ์ต่อสู้กับโควิด19 ที่ผ่านมา นำไปออกแบบการดำเนินชีวิตยุคหลังโควิด19 เพื่อให้ทุกคนอยู่ด้วยความปลอดภัย ลดสูญเสียทั้งชีวิต สุขภาพ ธุรกิจ และเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด พร้อมดูแลรักษาสุขภาพประชาชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
วันนี้ (6 ธันวาคม 2563) ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข บรยายายพิเศษ เรื่อง อนาคตระบบสาธารณสุขไทย ในงานการประชุมวิชาการประจำปี 2563 แพทยสภา-ปธพ.ครั้งที่ 8 โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา ผู้บริหาร และผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุม
นายอนุทิน กล่าวว่า โลกทุกวันนี้มีแต่ความท้าทาย ทั้งเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะองค์กรหลักด้านสุขภาพของประเทศ ต้องเป็นผู้นำในการออกแบบระบบสาธารณสุข เพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย และทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยจึงต้องพัฒนาให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การทำงานแบบเดิม จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน และลดขั้นตอน เพื่อที่จะก้าวได้ทันการเปลี่ยนแปลง และจัดการโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคโควิด19 ที่ผ่านมา นำไปออกแบบการดำเนินชีวิตยุคหลังโควิด19 เพื่อให้ทุกคนอยู่ด้วยความปลอดภัย ลดการสูญเสียทั้งชีวิต สุขภาพ ธุรกิจ และเศรษฐกิจให้ได้น้อยที่สุด และตั้งรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นให้มีประสิทธิภาพ
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนการสาธารณสุขไทย ได้ยึดนโยบายหลักของรัฐบาล โดยภารกิจที่สำคัญลำดับแรก คือ โครงการพระราชดำริทางด้านสาธารณสุข ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศ์ทุกพระองค์ ที่จะต้องนำมาปฏิบัติทันทีอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญใน 4 เรื่อง คือ 1.ระบบสุขภาพปฐมภูมิเพื่อการดูแลประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ให้มีสุขภาพที่ดี ปลอดโรค และคนไทยทุกครอบครัว ต้องมีหมอประจำตัว 3 คน ดูแลใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ สร้างสุขภาพที่ดีให้แก่คนไทย มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพที่บ้านและชุมชน 2. ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชน เช่น สปา นวดไทย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการทางการแพทย์เพื่อความสวยงาม เป็นต้น 3. ส่งเสริมสมุนไพร กัญชา กัญชงทางการแพทย์ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอย่างปลอดภัยสมุนไพรไทย ประชาชนเข้าถึง และได้ใช้เพื่อสุขภาพ ปลูกเพื่อพึ่งพาตนเอง โดยไม่ผิดกฎหมาย และ4. 30 บาทรักษาทุกที่ เริ่มต้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น รพ.สต. คลินิก และ โรงพยาบาลชุมชน ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างมีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ ลดแออัด
“การขับเคลื่อนงานสาธารณสุขทั้งหมดนี้ จะสำเร็จลุล่วงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประชาชน ได้ด้วยความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย และการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผมเชื่อว่า ทุกท่านจะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานสาธารณสุขสู่การพัฒนาประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสาธารณสุขไทย สู่การยกระดับบริการและการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นระบบสาธารณสุขที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนและประเทศ ด้วยการพัฒนาระบบสาธารณสุขร่วมกันอย่างบูรณาการ สู่การเดินหน้าขับเคลื่อนการสาธารณสุขไทย ให้ ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจไทยแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง” นายอนุทิน กล่าว
ธันวาคม 2/2 ************************************** 6 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37360 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ยันทุกจังหวัดที่พบผู้ป่วยโควิด 19 จากท่าขี้เหล็ก อยู่ภายใต้การควบคุม เดินทางท่องเที่ยวได้ | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
สธ.ยันทุกจังหวัดที่พบผู้ป่วยโควิด 19 จากท่าขี้เหล็ก อยู่ภายใต้การควบคุม เดินทางท่องเที่ยวได้
กระทรวงสาธารณสุข เผยวันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 เพิ่ม 14 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 1 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานในสถานกักกันที่รัฐกำหนด และเป็นผู้ที่มาจากต่างประเทศ 13 ราย ในจำนวนนี้ลักลอบมาจากเมียนมา 3 ราย จาก จ.ท่าขี้เหล็ก และเมียวดี
ยันทุกจังหวัดที่พบผู้ป่วยติดเชื้อมาจากท่าขี้เหล็ก ยังควบคุมสถานการณ์ได้ ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้
วันนี้ (6 ธันวาคม 2563) ที่ ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด 19 (ศบค.) พร้อมด้วย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป ร่วมกันแถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 และการสอบสวนโรคผู้ป่วยโควิด 19 ที่มาจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา
นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง โดย 2 วันจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1 ล้านคน ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อสะสม 66,847,041 ราย เสียชีวิต 1,534,344 ราย ประเทศที่มีการติดเชื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล รัสเซีย และฝรั่งเศส ส่วนประเทศเมียนมาและมาเลเซียยังมีการติดเชื้อสูง ต้องเฝ้าระวังการเดินทางอย่างเข้มข้น สำหรับประเทศไทยวันนี้มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายใหม่ จำนวน 14 ราย เป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 1 ราย คือ หญิงไทยอายุ 26 ปี เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานกักกันโรคที่รัฐกำหนด (ASQ) เป็นผู้ที่มาจากต่างประเทศ 13 ราย เข้าสู่ระบบการกักกันตามปกติ จำนวน 10 ราย จากเบลเยียม ยูเครน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอเมริกา กาตาร์ สวีเดน ญี่ปุ่น เมียนมา และสหราชอาณาจักร และข้ามพรมแดนธรรมชาติมาจากเมียนมา จำนวน 3 ราย คือ 1. ชายไทยอายุ 70 ปี เข้ารักษาตัวโรงพยาบาลแม่สอด 2. หญิงไทยอายุ 26 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิง เข้ารักษาตัวโรงพยาบาลนครพิงค์ และ 3.หญิงไทยอายุ 26 ปี เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
"แม้การพบผู้ติดเชื้อจะสามารถติดตามควบคุมสอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังต้องไม่ประมาท การ์ดอย่าตก ขอให้ยึดหลักการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ทำความสะอาดสถานที่ และสแกนไทยชนะ รวมถึงขอให้คนที่จะเดินทางกลับเข้าประเทศกลับมาตามระบบ หรือผู้ที่เข้ามาแล้วขอให้มาแสดงตัวเพื่อรับการตรวจหาเชื้อและดูแลตามระบบ จะทำให้สถานการณ์ในช่วงปลายปีและปีใหม่ที่เป็นบรรยากาศของการท่องเที่ยวในประเทศเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับกรณีข่าวปลอมต่างๆ เช่น 10 จังหวัดที่ห้ามเดินทาง ขออย่าเชื่อถือและให้ติดตามข้อมูลจากทางราชการเท่านั้น" นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าว
ด้าน นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยโควิด 19 ของไทยช่วงนี้ส่วนใหญ่เดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การติดเชื้อทั่วโลก ที่มีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เดินทางเข้ามามีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่การมีระบบกักกันโรคที่ดีจะช่วยป้องกันควบคุมการแพร่เชื้อได้ ส่วนผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มาจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ทำให้มีการติดเชื้อภายในประเทศเพิ่ม 2 ราย ถือว่ายังไม่มาก แต่การสอบสวนโรคทำให้ได้ข้อมูลว่าผู้ป่วยเดินทางไปจุดไหน เวลาใด สัมผัสกับใคร ที่เรียกว่าไทม์ไลน์ มีประโยชน์อย่างมาก ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในจุดนั้นๆเข้ามารับคำแนะนำการปฏิบัติตัว การตรวจหาเชื้อ ช่วยให้การควบคุมโรคง่ายขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินการอย่างเข้มแข็งของแต่ละจังหวัด คือ พบผู้ติดเชื้อนำเข้าสู่การรักษา ผู้สัมผัสทุกคนได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติ และมีการกำกับมาตรการการดำเนินงานในสถานพยาบาล สถานที่ต่างๆ และยานพาหนะ ตามมาตรการป้องกันโรค โดยกรมควบคุมโรคจะประเมินสถานการณ์ร่วมกับทางจังหวัด
"กรณีของผู้ป่วยที่มาจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ขณะนี้ทุกจังหวัดอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ เช่นที่เชียงใหม่มีผู้ป่วย 5 ราย ไม่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ประชาชนร่วมมือดี มีความปลอดภัย หากไปเที่ยวสามารถไปได้ พะเยา พิจิตร ราชบุรี สิงห์บุรี มีผู้ป่วยจังหวัดละราย ตรวจผู้สัมผัสได้ครบ ไม่พบการติดเชื้อ ส่วนเชียงรายพบผู้ป่วย 11 ราย เนื่องจากอยู่ฝั่งตรงข้ามของท่าขี้เหล็ก ฝ่ายความมั่นคงพยายามควบคุมผู้ลักลอบเข้ามาอย่างเข้มแข็ง ระยะหลังเป็นผู้ป่วยที่ตรวจพบในสถานกักกันโรค แปลว่าดำเนินการได้ดี ถือว่าสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ เพราะฉะนั้น ประชาชนไม่ต้องกังวล สามารถเดินทางไปเที่ยวได้ ปัญหาการแพร่ระบาดโรคเป็นไปได้น้อย" นายแพทย์โอภาสกล่าว
ด้าน นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า ขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่เกี่ยวข้องกับ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา มีจำนวน 23 ราย ได้แก่ เชียงใหม่ 5 ราย, เชียงราย 11 ราย, กทม. 3 ราย, ราชบุรี พิจิตร สิงห์บุรี และพะเยาจังหวัดละ 1 ราย ส่วนความก้าวหน้าการสอบสวนโรคล่าสุดของผู้ป่วยโควิด 19 เพศชายอายุ 30 ปี และเพศหญิงอายุ 26 ปี ที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน พบว่าเป็นเพื่อนกัน วันที่ 6-27 พฤศจิกายน ไปสถานบันเทิง จ.ท่าขี้เหล็ก ผู้หญิงเดินทางกลับกทม. วันที่29 พฤศจิกายน ด้วยสายการบิน Thai Smile WE137 เวลา 20.40 น.ลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ วันที่ 5 ธันวาคมไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนและพบเชื้อ ส่วนผู้ชายเริ่มมีไข้ต่ำๆ ก่อนเดินทางกลับ กทม. วันที่ 30 พฤศจิกายน ด้วยสายการบิน Thai Lion Air SL545 เวลา 19.15 น. วันที่ 4 ธันวาคมมารับการตรวจที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนและพบเชื้อ ทั้งสองรายอยู่ในการดูแลของแพทย์ อยู่ระหว่างติดตามข้อมูลผู้สัมผัส เบื้องต้นมีสัมผัส 15 ราย สัมผัสเสี่ยงสูงไม่น้อยกว่า 5 ราย คือ เพื่อนใน อ.แม่สาย 2 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ 1 ราย กำลังติดตาม 1 ราย ผู้สัมผัสในครัวเรือนที่ปทุมธานี 1 ราย แท็กซี่ 1 รายและผู้ร่วมเที่ยวบิน2 เที่ยวบิน สัมผัสเสี่ยงต่ำไม่ต่ำกว่า 10 ราย
ส่วนกรณีการติดเชื้อในประเทศ 2 ราย รายที่1.ผู้ป่วยหญิงอายุ 51 ปี จ.สิงห์บุรี มีผู้สัมผัสรวม 227 ราย ขณะนี้ยังไม่พบผู้ใดติดเชื้อ การสอบสวนจากผังที่นั่งของเที่ยวบิน DD8717 วันที่ 28 พฤศจิกายน เวลา13.40 น.ผู้ป่วยเดินทางเที่ยวบินเดียวกันกับผู้ป่วยราย กทม.อายุ 21 ปี และพิจิตร อายุ 25 ปี โดยรายกรุงเทพฯ และพิจิตรนั่งอยู่อยู่ที่ 44J และ 44K ส่วนรายสิงห์บุรีนั่งอยู่ที่ 52C ห่างกัน 8 แถวและไม่รู้จักกัน สวมหน้ากากบนเครื่องบินตลอด จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดสนามบินแม่ฟ้าหลวง พบว่าผู้ป่วยรายสิงห์บุรีอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับผู้ป่วยรายพิจิตร คาดว่าอาจมีช่วงเวลาหนึ่งที่ไปห้องน้ำในเวลาใกล้เคียงกัน แต่ต้องสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่า จุดที่มีความเสี่ยงสูงสุดอยู่บริเวณใด ซึ่งทั้งเครื่องบินและสนามบินได้มีการปรับมาตรการแล้ว โดยบนเครื่องบินได้งดการเสิร์ฟอาหารและน้ำในเที่ยวบินที่เดินทางจากเชียงราย สนามบินทำความสะอาดห้องน้ำที่ถี่ขึ้นและจัดระเบียบการพักรอขึ้นเครื่อง ดังนั้น ผู้โดยสารเที่ยวบินดังกล่าวขอให้รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ หากมีอาการป่วยโทรแจ้งทันที2.ชายไทยอายุ 28 ปี จ.เชียงราย ที่ได้ไปงานฟาร์ม เฟสติวัล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และกรมควบคุมโรคได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อในผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงและผู้ที่ไปเที่ยวในงานดังกล่าวในช่วง 2 วันที่ผ่านมา จำนวนประมาณ 2 พันคน ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม
สำหรับการติดเชื้อจากประเทศเมียนมาที่ไม่เกี่ยวข้องกับ จ.ท่าขี้เหล็ก จำนวน 2 ราย พบว่าลักลอบเข้ามาจาก จ.เมียวดี มาทางอ.แม่สอด จ.ตาก รายแรกเป็นชายชาวเมียนมาอายุ 43 ปี อาชีพนักธุรกิจ คาดว่าข้ามพรมแดนมาไทยวันที่ 30 พฤศจิกายน วันที่ 3 ธันวาคม ขอรับการตรวจเชื้อที่โรงพยาบาลแม่สอดเพื่อเป็นเอกสารการเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ วันที่ 4 ธันวาคม ตรวจพบการติดเชื้อ ไม่มีอาการป่วย มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 13 ราย ระบุตัวได้ กำลังเฝ้าระวังกักกัน และผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 14 ราย อีกรายเป็นชายเมียนมาอายุ 70 ปี เข้ามาวันที่ 29 พฤศจิกายน ทางช่องทางธรรมชาติ เริ่มมีอาการป่วย วันที่ 4 ธันวาคม มีอาการเหนื่อยมากขึ้น จึงเรียกรถโรงพยาบาลเอกชนมารับ ระหว่างทางอาการไม่ดีขึ้น นำส่งโรงพยาบาลแม่สอด แพทย์ให้การรักษาส่งตรวจพบเชื้อ มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 13 ราย
************************************** 6 ธันวาคม 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37361 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุชา ปลื้มใจ พุทธศานิกชนทั่วไทยกว่า 20 ล้านคน ร่วมใจสวดมนต์ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 และบูรพกษัตริย์ทุกๆพระองค์ | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
อนุชา ปลื้มใจ พุทธศานิกชนทั่วไทยกว่า 20 ล้านคน ร่วมใจสวดมนต์ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 และบูรพกษัตริย์ทุกๆพระองค์
อนุชา ปลื้มใจ พุทธศานิกชนทั่วไทยกว่า 20 ล้านคน ร่วมใจสวดมนต์ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 และบูรพกษัตริย์ทุกๆพระองค์ เพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์ไทย และความเป็นสิริมงคลของแผ่นดิน
ตามที่มติมหาเถระสมาคมได้มีมติเห็นชอบบทพระธรรมเทศนาเรื่องรักชาติศาสน์กษัตริย์ แต่งโดยพระพรหมบัณฑิตกรรมการเถระสมาคมเพื่อสวดในวันที่5ธันวาคมโดยเนื้อหาเป็นการบอกกล่าวและสร้างความตระหนักให้เกิดความรักชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์รักเทิดทูนสถาบันซึ่งเป็นเสาหลักของประเทศ
โดยวันเสาร์ที่5ธันวาคม2563ที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จลพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรอีกทั้งเป็นวันชาติและวันพ่อแห่งชาติของไทยรัฐบาลโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและคณะสงฆ์พร้อมด้วยประชาชนทั่วประเทศร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน
.
โดยที่วัดบวรนิเวศวิหารเขตพระนครกรุงเทพมหานครพระราชพุทธิมุนี(ม.ล.คิวปิดปิยวิโรจโนป.ธ.๖)เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และนางสาวณัฐธ์ภัสส์ยงใจยุทธที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายจากนายอนุชานาคาศัยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกระธานฝ่ายฆราวาสโดยมีนายสิทธามูลหงษ์ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับแผ่นดินและปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าอย่างหนาแน่น
.
นอกจากนี้ในส่วนภูมิภาคยังมีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์พร้อมกันทั่วประเทศโดยประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมพิธีณวัดที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดและอำเภอทั้งนี้พบว่ามีพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมากกว่า20ล้านคนจากจำนวน42,000กว่าวัดทั่วประเทศนับเป็นการถวายเป็นพระราชกุศลครั้งใหญ่ด้วยหัวใจแห่งความจงรักภักดีถวายในหลวงรัชกาลที่9และสถาบันพระมหากษัตริย์
-----------------
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37359 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ ร่วมจุดเทียนมหามงคลสดุดีเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
ก.อุตฯ ร่วมจุดเทียนมหามงคลสดุดีเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมจุดเทียนมหามงคลสดุดีเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ ณ ท้องสนามหลวง
วันนี้ (5 ธันวาคม 2563) เวลา 19.19 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมจุดเทียนมหามงคลสดุดีเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ประจำปี 2563 ณ ท้องสนามหลวง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37357 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ และภริยา เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ปีที่ 10” | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
นายกฯ และภริยา เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ปีที่ 10”
นายกฯ และภริยา เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ปีที่ 10” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
วันนี้(6ธันวาคม2563)เวลา17.30น.นายอนุชาบูรพชัยศรีโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผยว่าพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพร้อมด้วยนางนราพรจันทร์โอชาภริยาเป็นประธานในพิธี“โครงการมหกรรมผ้าไหมไหมไทยสู่เส้นทางโลกปีที่10”เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงส่งเสริมและสนับสนุนผ้าไหมไทยและทรงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้า เป็นอาชีพเสริมจนทำให้เกษตรกรมีความอยู่ดีกินดีและเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทยมรดกไทยให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและให้ความสนใจสวมใส่ผ้าไหมไทยมากยิ่งขึ้น โดยมีนายวิษณุเครืองามรองนายกรัฐมนตรี ท่านผู้หญิงภรณีมหานนท์รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงนายอิทธิพล คุณปลื้มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายณัฏฐพลทีปสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคุณหญิงกัลยาโสภณพนิชรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนางกนกวรรณวิลาวัลย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายดิสทัตโหตระกิตย์เลขาธิการนายกรัฐมนตรีนางสาวไตรศุลีไตรสรณกุลรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคณะกรรมการผู้จัดงานและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องอาทิมูลนิธิช่วยเหลือนักท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคณะทูตานุทูตประจำประเทศไทยและคู่สมรส100ประเทศและนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการร่วมในงานณหอประชุมกองทัพเรือกรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีและภริยาถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรก่อนเยี่ยมชมนิทรรศการสินค้าตัวอย่างจากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอาทิผ้าไหมสำเร็จรูปผ้าไหมบาติกรวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปรังไหม กระเป๋าเครื่องสำอางทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางผ้าไหมของจังหวัดต่างๆพร้อมให้ความสนใจวิธีการทอผ้าไหมของแต่ละจังหวัดและชมผลงานรอบสุดท้าย30ชิ้นจากนักเรียนนิสิตและนักศึกษาโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดThe Next Silk Designer Contestนายอนาวิลทองน้อยจากวิทยาลัยอาชีวะศึกษานครราชสีมาโดยได้รับรางวัลเป็นเงินมูลค่า200,000บาท
จากนั้นนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานโดยขอบคุณเอกอัครราชทูตกงสุลกงสุลกิตติมศักดิ์และคู่สมรสที่ให้เกียรติมาในงานมหกรรมผ้าไหมไหมไทยสู่เส้นทางโลกครั้งที่10และให้ความไว้วางใจนักศึกษาและนักเรียนอาชีวะจากสถาบันการศึกษาต่างๆของไทยเป็นผู้ออกแบบและตัดเย็บชุดต่างๆให้แก่ผู้ร่วมเดินแบบถือเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศโดยกิจกรรมในวันนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรวันชาติและวันพ่อแห่งชาติพุทธศักราช2563 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงส่งเสริมและสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมการทอผ้าไหมไทยไปสู่นานาอารยประเทศซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความอยู่ดีกินดีทั้งพระราชทานแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการพัฒนาและอนุรักษ์ดินเพื่อการเกษตรกรรมจนสหประชาชาติร่วมสดุดีพระเกียรติคุณโดยประกาศให้วันที่5ธันวาคมอันเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพเป็นวันดินโลก
ทั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงส่งเสริมการปลูกป่าและการจัดหาอาชีพเสริมนอกฤดูการเกษตรให้แก่ชาวบ้านเช่นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมการทอผ้าและการฝึกหัดอาชีพได้พัฒนาต่อยอดเป็นงานศิลปหัตถกรรมและงานผ้าไหมไทยของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯอันเป็นที่รู้จักและยอมรับไปทั่วโลก
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีและภริยารับชมการแสดงเดินแฟชั่นโชว์Grand Fashion Show Extravaganzaจากเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ที่ร่วมเป็นนายแบบและนางแบบกิตติมศักดิ์มากถึง41ท่านซึ่งนับว่าเป็นการจัดงานครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันของมนุษยชาติที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหลังจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37364 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ ปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามคืนสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
รัฐมนตรีเกษตรฯ ปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามคืนสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง
รัฐมนตรีเกษตรฯ ปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามคืนสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา หนุนเพิ่มปริมาณทรัพยากรประมง เป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามคืนสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง โดยมีนายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมพิธี ณ ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง บริเวณอาคารประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ว่า การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำเป็นหนึ่งในภารกิจหลักที่สำคัญของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมุ่งสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงครัวเรือน พร้อมส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำโดยใช้หลักคืน คง เพิ่ม และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
สำหรับกิจกรรม “ปล่อยกุ้งก้ามกรามคืนสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ถือเป็นการเพิ่มปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติหลังจากที่ได้รับผลกระทบอุทกภัยเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ กุ้งก้ามกราม จำนวนมากถึง 1.5 ล้านตัว อีกทั้งยังมีการปล่อยพันธุ์ปลา เช่น ปลากระแห ปลาสร้อยขาว ปลากาดำ ปลาตะเพียนทอง ปลาสวาย จำนวน 2 ล้านตัว และหอยขมอีกกว่า 300 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีการมอบพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ชุมชน เพื่อนำไปปล่อยในพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองด้วย
“กระทรวงเกษตรฯ เชื่อมั่นว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองให้กลับมาคงความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการประกอบอาชีพด้านการประมงและเพิ่มพูนรายได้ให้กับประชาชนและชาวประมงในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังสร้างความสามัคคีให้แก่ชุมชน มีการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตลอดจนปลูกจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรประมงที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีผลผลิตที่ยั่งยืนตลอดไป” นายเฉลิมชัย กล่าว
ด้าน นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจข้อมูลพบว่า บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง มีชาวประมงทั้งหมด 241 ราย แบ่งเป็นผู้ที่ทำการประมงเป็นอาชีพหลัก 159 ราย และอาชีพรอง 82 ราย และจากสถิติการจับสัตว์น้ำ ระหว่าง พ.ศ. 2558 - 2562 มีรายงานการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 343.88 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 14.27 ล้านบาท โดยผลผลิตกุ้งก้ามกรามจัดเป็นชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่สร้างมูลค่าได้มากที่สุด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37363 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ กำชับ คุมเข้มป้องกันโควิด สร้างความเชื่อมั่นประชาชนท่องเที่ยวปลายปี ด้าน | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
นายกฯ กำชับ คุมเข้มป้องกันโควิด สร้างความเชื่อมั่นประชาชนท่องเที่ยวปลายปี ด้าน
รองโฆษกรัฐบาล เผยนายกฯ กำชับ คุมเข้มป้องกันโควิด สร้างความเชื่อมั่นประชาชนท่องเที่ยวปลายปี ด้าน "อนุทิน" เตรียมลงพื้นที่เชียงราย 8 ธ.ค.นี้
เมื่อวันที่6ธ.ค.น.ส.ไตรศุลีไตรสรณกุลรองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายหลังได้รับรายงานการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19โดยขอให้ทุกภาคส่วนคุมเข้มในมาตรการป้องกันการลักลอบเข้าเมืองติดติดตามตัวผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายและย้ำถึงมาตรการเพื่อเฝ้าระวังคนกลุ่มเสี่ยงสัมผัสทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวทั้งช่วงหยุดยาวระหว่างวันที่10 -13ธ.ค.เทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่โดยคาดหวังให้ประชาชนท่องเที่ยวด้วยความสบายใจปลอดภัยจากโรคระบาด
น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่าเพื่อสร้างความมั่นใจต่อประชาชนนายอนุทินชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุขและนายพิพัฒน์รัชกิจประการรมว.การท่องเท่ียวและกีฬาพร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเตรียมลงพื้นที่จ.เชียงรายในวันที่8ธ.ค.นี้เพื่อติดตามสถานการณ์ภายหลังพบผู้ติดเชื้อในประเทศโดยจะเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอ.แม่สายและด่านพรหมแดนอ.แม่สายสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์แห่งที่2 และมีกำหนดการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของLocal Quaran Tineณโรงแรมแม่โขงเดลต้าก่อนไปยังตลาดสดบ้านดู่ซึ่งนอกจากเพื่อสร้างความมั่นใจต่อประชาชนแล้วยังเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อย่างหนักในเวลานี้ด้วย
"นายกรัฐมนตรีเป็นกำลังใจเจ้าหน้าที่ให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและขอบคุณในความเสียสละของเจ้าหน้าที่เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยวปลายปีโดยรัฐบาลเชื่อมั่นในมาตรการการเฝ้าระวังโรคโควิด-19ของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถตรวจพบผู้ติดเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือประชาชนว่าการ์ดอย่าตกการใช้ชีวิตประจำวันยังต้องสวมใส่หน้ากากล้างมือบ่อยๆเช่นเดียวกับสถานประกอบการต่างๆต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเอง"
-------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37358 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตันระดับสูงสุดของโลก 3 รายการสำคัญติดต่อกัน | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตันระดับสูงสุดของโลก 3 รายการสำคัญติดต่อกัน
โฆษกรัฐบาลเผย ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตันระดับสูงสุดของโลก 3 รายการสำคัญติดต่อกัน
วันนี้(วันที่6ธันวาคม2563)นายอนุชาบูรพชัยศรีโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยินดีที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตันHSBC BWF World Tour in Bangkokในภูมิภาคเอเชียในช่วงเดือนมกราคม2564ซึ่งสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รับสิทธิ์ในการจัดการแข่งขันทั้งหมด3รายการประกอบด้วย
1. YONEX Thailand Open (Super 1000)ระหว่างวันที่12-17มกราคม2564
เงินรางวัลมูลค่ารวม1ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2. TOYOTA Thailand Open (Super 1000)ระหว่างวันที่19-24มกราคม2564
เงินรางวัลมูลค่ารวม1ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. HSBC World Tour Finalsระหว่างวันที่27-31มกราคม2564
เงินรางวัลมูลค่ารวม1.5ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาลขอบคุณสหพันธ์แบดมินตันโลก(Badminton World Federation : BWF)ที่เชื่อมั่นและมีมติมอบสิทธิ์ให้ไทยจัดการแข่งขันดังกล่าวโดยไทยมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรการหลักในการควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โรคโควิด-19)อย่างเคร่งครัดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยนักกีฬาและผู้ฝึกสอนที่เข้าร่วมในครั้งนี้
ทั้งนี้นายอนุชาบูรพชัยศรีกล่าวย้ำว่าการจัดการแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สำคัญเพราะมีการจัดการแข่งขันในรายการสำคัญระดับโลกเกิดขึ้นถึง3รายการอต่อเนื่องกันที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพทั้งหมดภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่เคร่งครัดเข้มงวดนักกีฬาแบดมินตันที่เดินทางมายังประเทศไทยประกอบด้วยนักกีฬามือวางอันดับ1-40ของโลกผู้ช่วยเจ้าหน้าที่และโค้ชทุกๆคนจะต้องผ่านการกักตัวครบ14วันตามการกำหนดมาตรการควบคุมของประเทศไทยที่เรียกว่าBubble Protocolsโดยจะเตรียมร่างกายและฝึกซ้อมระหว่างกักตัวและเริ่มการแข่งขันหลังกักตัว7วันซึ่งจะใช้ชีวิตในพื้นที่ที่กำหนดเป็นเวลา14วันตามมาตรการของไทยการปฏิบัตินี้รวมถึงเจ้าหน้าที่โรงแรมและเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันของไทยด้วยที่จะต้องกักตัวอยู่ในBubbleตลอดช่วง14วัน
รัฐบาลยืนยันว่าจะดูแลทุกคนทั้งนักกีฬาที่มีชื่อเสียงและประชาชนไทยเพื่อความปลอดภัยของทุกคนประเทศไทยมั่นใจว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติในยุควิถีชีวิตใหม่(New Normal)โดยเชื่อมั่นว่าการจัดการแข่งขันครั้งนี้จะส่งผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศเหมือนกับที่ไทยประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิตจนเป็นตัวอย่างที่ดีได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
-------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37355 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เตรียมลงพื้นที่ตรวจนำ้ท่วม ให้กำลังใจผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เดินหน้าแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้อย่างเป็นระบบเพื่อความยั่งยืน | วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
นายกรัฐมนตรี เตรียมลงพื้นที่ตรวจนำ้ท่วม ให้กำลังใจผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เดินหน้าแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้อย่างเป็นระบบเพื่อความยั่งยืน
โฆษกรัฐบาลเผยนายกรัฐมนตรีเตรียมลงพื้นที่ตรวจนำ้ท่วม ให้กำลังใจผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เดินหน้าแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้อย่างเป็นระบบเพื่อความยั่งยืน
วันนี้(6ธ.ค.63)นายอนุชาบูรพชัยศรีโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าในวันจันทร์ที่7ธันวาคม2563นี้พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพร้อมคณะจะเดินทางไปศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมังตำบลแม่เจ้าอยู่หัวอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อตรวจสถานการณ์น้ำและเยี่ยมเยียนและมอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยรวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วยโดยได้รับทราบรายงานในเบื้องต้นว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ล่าสุดขณะนี้(6ธ.ค.63)ในหลายจังหวัดระดับน้ำเริ่มลดลงต่อเนื่องเนื่องจากฝนจะลดลงต่อเนื่องไป1สัปดาห์และจากอิทธิพลน้ำทะเลหนุนที่ไม่กระทบต่อการระบายน้ำเช่นกันซึ่งได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมเครื่องจักรเครื่องมือเร่งระบายน้ำให้ลดลงโดยเร็วที่สุดก่อนจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่12-14ธ.ค.นี้และมอบให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติติดตามประเมินปริมาณฝนในช่วงดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไปขณะนี้ยังคงมีสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยคงเหลืออีก5จังหวัดได้แก่สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราชตรังพัทลุงและสงขลารวมทั้งสิ้น51อำเภอและมีประชาชนได้รับผลกระทบ290,997ครัวเรือน
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกำชับหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด24ชั่วโมงเพื่อแจ้งเตือนประชาชนและปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ รวมทั้งสั่งให้การช่วยเหลือประชาชนต้องเป็นไปในรูปแบบบูรณาการโดยให้กระทรวงกลาโหมเร่งช่วยซ่อมแซมบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างสาธารณะถนนสะพานที่ได้รับความเสียหายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงสาธารณสุขดูแลกลุ่มเปราะบางทั้งเด็กผู้สูงอายุและผู้ป่วยเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจ รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งสำรวจจำนวนครอบครัวที่ได้รับผลกระทบรวมถึงทรัพย์สินและพื้นที่การเกษตรและปศุสัตว์ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อเร่งชดเชยเยียวยาตามระเบียบหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรี
“ท่านนายกฯแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้อย่างใกล้ชิดซึ่งที่ผ่านมาได้มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกระจายกันลงพื้นที่ทั้งนายนิพนธ์บุญญามณีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ลงพื้นที่จ.พัทลุงและจ.นครศรีธรรมราชและนายอนุชานาคาศัยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่จ.สงขลาตามลำดับโดยก่อนนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรมอุตุนิยมวิทยาสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีการแจ้งเตือนและประสานไปยังจังหวัดและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ด้วยและในวันจันทร์ที่จะถึงนี้นายกรัฐมนตรีจะร่วมประชุมกับหน่วยงานน้ำทั้งระบบเพื่อพิจารณาปรับปรุงแผนและมาตรการต่างๆเพื่อให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีประสิทธิภาพมากขึ้น”โฆษกรัฐบาลกล่าว
นายอนุชากล่าวเพิ่มเติมถึงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ในระยะยาวว่า“ท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)จัดทำแผนงานในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนเพื่อให้มืเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากทั้งการเร่งแผนงานโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการในช่วง3ปีที่ผ่านมาเช่นโครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการขุดคลองระบายน้ำใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพคลองเดิมเป็น750ลบ.ม.ต่อวินาที นอกจากนั้นยังมีแผนงานโครงการที่ดำเนินการได้ในปี2564-2566อีก63โครงการอาทิอ่างฯคลองสีสุกจ.สุราษฎร์ธานีแก้มลิงฉลุงจ.สงขลาระบบระบายน้ำหลักพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชระยะที่2ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองพัทลุงสงขลาตรังและยะลาและยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการเช่นโครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร(ขุดคลองผันน้ำลุ่มน้ำคลองชุมพร)ให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มขึ้นรวมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในคลองชุมพรเดิมซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี2565นอกจากนั้นยังอยู่ในระหว่างเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จตามแผน ซึ่งปัจจุบันดำเนินการเสร็จแล้วทั้งสิ้น66แห่งอยู่ระหว่างดำเนินการ30แห่งและตรวจสอบเพิ่มเติมอีก19แห่งอีกด้วย”
-------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สำนักโฆษก
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37354 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“พุทธิพงษ์” เป็นประธานเอ็มโอยู “ทีโอที-อีอีซี” ดัน 5G เจาะภาคอุตสาหกรรม | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
“พุทธิพงษ์” เป็นประธานเอ็มโอยู “ทีโอที-อีอีซี” ดัน 5G เจาะภาคอุตสาหกรรม
“พุทธิพงษ์” เป็นประธานเอ็มโอยู “ทีโอที-อีอีซี” ดัน 5G เจาะภาคอุตสาหกรรม
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อรองรับระบบสื่อสารต่างๆ และเทคโนโลยี 5G ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เสริมความเข้มแข็งการลงทุน ยกระดับภาคธุรกิจและความเป็นอยู่ประชาชนอย่างยั่งยืน โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โดยนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยนายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แจ้งวัฒนะ
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคมและดิจิทัล เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี 5G ที่จะช่วยกลุ่มอุตสาหกรรมลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ เพื่อดึงดูดนักลงทุนผู้ประกอบการทั่วโลกให้สนใจเข้าร่วมลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดย สกพอ.ร่วมกับทีโอที เตรียมความพร้อมให้บริการระบบ 5G เต็มรูปแบบแก่ภาคอุตสาหกรรมและร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชนรายอื่น ๆ ในลักษณะการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนระหว่างภาครัฐกับเอกชนใช้ทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เป็นการผูกขาดทางธุรกิจ
โดยการดำเนินงานในระยะแรก จะมุ่งด้านพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ด้านพัฒนาชุมชนโครงการ เมืองอัจฉริยะบ้านฉาง ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งนี้ ทีโอที มีเป้าหมายดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน และในระยะต่อไปจะเดินหน้าการทำโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เพื่อรองรับระบบสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยี 5Gจะดำเนินการคู่ขนานไปกับโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในพื้นที่อีอีซี
******************
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36626 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘รัฐมนตรีสุชาติ’ลุยสมุทรสาคร รณรงค์แรงงานอิสระสมัครมาตรา 40 เข้าถึงหลักประกันทางสังคม | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
‘รัฐมนตรีสุชาติ’ลุยสมุทรสาคร รณรงค์แรงงานอิสระสมัครมาตรา 40 เข้าถึงหลักประกันทางสังคม
‘สุชาติ ชมกลิ่น’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมมาตรา 40@สมุทรสาคร รณรงค์และเชิญชวนให้แรงงานนอกระบบหรือแรงงานภาคอิสระได้รับหลักประกันที่มีความมั่นคงในชีวิต
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมมาตรา 40@สมุทรสาคร ณ ลานกิจกรรม เซ็นทรัล พลาซา มหาชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุเทพ อู่อ้น ประธานกรรมาธิการการแรงงาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นางสาวอนุสรี ทับสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวต้อนรับ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาล ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างหลักประกันทางสังคมให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่สังคมสูงวัย ในวันนี้ ผมจึงได้มาเปิดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมมาตรา 40 ที่สมุทรสาคร ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจัดขึ้น เพื่อรณรงค์และเชิญชวนให้แรงงานนอกระบบหรือแรงงานภาคอิสระได้รับหลักประกันที่มีความมั่นคงในชีวิต
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานตระหนักดีว่า แรงงานภาคอิสระ เป็นกลุ่มกำลังแรงงานที่สำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และหากกลุ่มแรงงานดังกล่าวมีความมั่นคงในชีวิตทำให้เกิดความมั่นใจในการทำงานและการดำเนินชีวิต ย่อมส่งผลทางบวกต่อระบบเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติโดยรวม ซึ่งในการดำเนินโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมมาตรา 40@สมุทรสาคร ภายใต้กิจกรรมต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ เครือข่ายผู้นำชุมชน พ่อค้า แม่ค้า นักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป ที่มาร่วมโครงการให้สามารถรับรู้ และเผยแพร่สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 40 ที่ได้รับตามความคุ้มครองทั้ง 3 ทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นกรณีทดแทนการขาดรายได้จากการเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร รวมทั้งเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้สมาชิกกลุ่มอาชีพต่างๆ ได้รับทราบและนำไปเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป รวมทั้งให้แรงงานภาคอิสระตัดสินใจสมัครเพื่อเข้าถึงสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมมาตรา 40 เพิ่มมากขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36630 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เตรียมจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขฯ | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
เตรียมจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขฯ
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลอนุมัติกรอบการเจรจาและข้อเสนอของไทยเพื่อจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ให้กับประชาคมอาเซียน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือทั้งด้านวิชาการและการป้องกันโรคร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน และความร่วมมือจากประเทศอื่น ๆ ที่สำคัญยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของไทย ที่ใช้สนับสนุนการตรวจคัดกรอง ตรวจรักษา และควบคุมโรคระบาดในกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว นักลงทุน มั่นใจถึงความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขของไทย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36617 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เงินสะพัด! จุรินทร์ นำเปิด มหกรรมการเงินเชียงใหม่ "MONEY EXPO" มั่นใจ GDP ภาคเหนือและประเทศโตต่อเนื่อง | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
เงินสะพัด! จุรินทร์ นำเปิด มหกรรมการเงินเชียงใหม่ "MONEY EXPO" มั่นใจ GDP ภาคเหนือและประเทศโตต่อเนื่อง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดมหกรรมการเงินเชียงใหม่ คร้ังที่ 15 MONEY EXPO CHIANGMAI 2020 ณ เวทีพิธีเปิดเชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่
โดยมี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานมหกรรมการเงิน Money Expo ร่วมด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับงานนี้วารสารการเงินธนาคารได้จัดขึ้นในวันนี้ ภายใต้แนวคิด “Wealth Being” เปิดโอกาสให้นักธุรกิจ SME และ Micro SME ของภาคเหนือ รวมทั้งเกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนที่มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลาย สามารถเลือกเครื่องมือทางการเงินการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อการลงทุนขยายกิจการและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
"มั่นใจว่างานนี้จะส่งผลให้ GDP ของประเทศและภาคเหนือมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญงาน MONEY EXPO CHAINGMAI ครั้งนี้มีการให้ความรู้ทางการเงิน นวัตกรรมทางการเงิน การลงทุน ต่อผู้ที่สนใจและผู้เข้าร่วมงานส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถวางแผนบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจต่อไป ขอชื่นชมวารสารการเงินธนาคาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้จัดงานมหกรรมการเงินนี้ขึ้น" นายจุรินทร์ กล่าว
รายงานจากผู้เข้าร่วมงาน ระบุว่า งานนี้สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่มุ่งกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และกระจายรายได้ไปยังกลุ่มคนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ประชาชน นักลงทุน ยังสามารถเลือกเครื่องมือการเงินการลงทุนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง และมีโอกาสเรียนรู้และสัมผัสกับนวัตกรรมทางการเงินการลงทุนใหม่ๆ ที่ช่วยทำให้การดำเนินชีวิตง่ายและสะดวกขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วารสาร การเงินธนาคาร ในเครือ บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอ็ดเต็ด จำกัด ผู้จัดงาน มหกรรมการเงิน MONEY EXPO งานมหกรรมการเงินการลงทุนครบวงจรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศและในภูมิภาค ครั้งนี้เป็นโอกาสครบรอบ 20 ปี ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับและธุรกิจ SMEs สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและการลงทุนได้อย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ จากธนาคารของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทการเงิน (Non Bank) บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน โบรกเกอร์ผู้ค้าทอง บริษัทเช่าซื้อรถยนต์ และหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเงินการลงทุน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจและบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36595 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สุริยะ” ปลื้มเปิดเขตประกอบการฯ เกษตร-ชีวภาพแห่งแรกของเอเชีย มูลค่าลงทุน 20,000 ล้านบาท จ้างงานใหม่ 8,000 อัตรา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาท | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
“สุริยะ” ปลื้มเปิดเขตประกอบการฯ เกษตร-ชีวภาพแห่งแรกของเอเชีย มูลค่าลงทุน 20,000 ล้านบาท จ้างงานใหม่ 8,000 อัตรา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาท
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลื้มเปิดเขตประกอบการฯ เกษตร-ชีวภาพแห่งแรกของเอเชีย มูลค่าลงทุน 20,000 ล้านบาท จ้างงานใหม่ 8,000 อัตรา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาท ปักหมุดสู่เทคโนโลยีนวัตกรรมขั้นสูง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์นเป็น Bio-Circular Green Complex แห่งแรกของเอเชีย ภายในประกอบด้วยโรงงาน เกษตรแปรรูปปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพลังงานทดแทน พร้อมอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น โรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากทะลายปาล์ม ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศตั้งให้เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมลำดับที่ 26 ของประเทศ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ถือเป็นความสำเร็จที่ภาคเอกชนและภาครัฐร่วมกันผลักดันเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลหลายด้าน คือ 1. การลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 2. การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) สาขาเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 3. การเชื่อมโยงภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม และ 4. เป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เต็มรูปแบบ
“ไทยเป็นผู้นำด้านผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งโครงการ เขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์นจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพและเป็นตัวอย่างที่ดีของการต่อยอดอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไปสู่อุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนเป็นโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรม S-Curve สาขาเกษตรชีวภาพขนาดใหญ่ลำดับแรกของประเทศ ซึ่งมีการลงทุนใหม่กว่า 20,000 ล้านบาท เกิดจ้างแรงงานในพื้นที่กว่า 8,000 อัตราภายใน 3 ปี และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 2.5 ล้านไร่” นายสุริยะกล่าว
นายสมชาย โกกนุทาภรณ์ ประธานกลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น กล่าวว่า “บริษัท ไทยอีสเทิร์น อินดัสเตรียล แลนด์ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น ภายใต้การออกแบบและพัฒนาระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรภายในอย่างเกื้อกูลกัน (Symbiosis) สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนด้านพลังงาน วัตถุดิบ วัสดุเหลือใช้ และกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างเหมาะสม (Sharing Economy) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Optimized) นำมาซึ่งอุตสาหกรรมที่ปราศจากของเสีย (Zero Waste) และปราศจากมลภาวะตลอดทั้งกระบวนการ (Zero Discharge) สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กระบวนการผลิต และลดต้นทุนได้อย่างเป็นรูปธรรม (Transform Zero Waste to Waste to Value) ผสานกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้”
โครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น ตั้งอยู่บนถนนสาย 344 ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี บนเส้นทางยุทธศาสตร์การเกษตรของภาคตะวันออก มีพื้นที่โครงการกว่า 725 ไร่ แบ่งโซนออกเป็น พื้นที่อุตสาหกรรมกว่า 510 ไร่ และพื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่สาธารณูปโภค พื้นที่สีเขียวกว่า 215 ไร่ สอดคล้องตามแนวทางการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการสามารถรองรับพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชพลังงาน อาหาร ผลไม้ พืชสมุนไพร และวัตถุดิบอื่นๆ ทางชีวภาพ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตรทั้งระบบในภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ตอนบน เป็นศูนย์กลางของการสร้างบุคลากรเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรองรับการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพขั้นปลาย ในอนาคต และเป็นศูนย์กลางบูรณาการด้านเกษตรชีวการแพทย์ระดับ Bio Medical Hub (ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ยา เครื่องสำอาง อาหารจากเกษตรชีวภาพ) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงอยู่ระดับบนของห่วงโซ่การผลิตในอนาคต
โดยมีหน่วยงานภาครัฐร่วมกันบูรณาการผลักดันขับเคลื่อน โครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรม ทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และจังหวัดชลบุรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36598 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ประจำวันที่9 พฤศจิกายน 2563
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย ทุกรายเป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้ากักตัวในโรงพยาบาลทางเลือก มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 7 ราย ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,661 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.94 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 119 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.1 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,840 ราย
โดยรายละเอียดผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ ได้แก่
ชาวต่างชาติ 3 รายเป็นชาวต่างชาติ ที่เดินทางมารักษาด้วยโรคอื่น เข้ากักตัวในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) มาจากประเทศเอธิโอเปีย 2 ราย (เป็นผู้ป่วยรักษาโรคสูตินรีเวช 1 ราย, ผู้ติดตาม 1 ราย) พบเชื้อ ไม่แสดงอาการ และจากโอมาน 1 ราย (เป็นผู้ติดตามผู้ป่วย) พบเชื้อ มีน้ำมูก
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ทั่วโลกวันนี้ มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 472,468 ราย มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกแล้วกว่า 50 ล้านราย ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับรายงานนี้มีความเป็นไปได้ว่าน้อยกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจริงอยู่มาก เนื่องจากบางรายไม่แสดงอาการป่วยหรือไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา
สถานการณ์ในประเทศไทย ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ขณะนี้ยังคงเป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ดังนั้นประเทศไทยจึงมีโอกาสพบผู้ติดเชื้อในประเทศได้ เนื่องจากอาจมีผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการปะปนอยู่ในสังคม อย่างเช่นกรณีชายชาวอินเดีย ที่พบในจังหวัดกระบี่ ต้องขอขอบคุณประชาชน โดยเฉพาะชาวกระบี่ที่ไม่ตื่นตระหนกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และยังให้ความสำคัญกับการป้องกันการแพร่ระบาดตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นวินัยที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อเนื่อง ไม่ประมาทการ์ดอย่าตก ตามวิถี New Normal นอกจากนี้ขอให้ทุกคนสังเกตตนเองหากพบว่ามีอาการป่วย ไข้ ไอ อาการระบบทางเดินหายใจ การรับรสและกลิ่นลดลง ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
สำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเริ่มในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือความเสี่ยงใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยมีมาตรการรองรับในการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ก่อนการเดินทาง จะต้องมีใบรับรองตรวจไม่พบเชื้อโควิดก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง ระหว่างเดินทาง ทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่อยู่บนเครื่องบิน และเมื่อเดินทางมาถึง จะมีระบบคัดกรอง ระบบกักกัน ตรวจหาเชื้อเป็นระยะตามมาตรฐาน เพื่อให้พบผู้ที่อาจติดเชื้อโดยเร็วที่สุด รวมถึงมีระบบติดตามขณะที่อยู่ในประเทศ เพื่อให้เกิดความปลอดสูงสุดสำหรับคนในประเทศ อีกประการสำคัญคือ นักท่องเที่ยวทุกคนต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ได้แก่ หน้ากากอนามัย/ หน้ากากผ้า เว้นระยะห่าง ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย แม้ว่าขณะนี้จะมีนักท่องเที่ยวกลุ่ม long stay เข้ามาบ้างแล้วแต่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อจากกลุ่มนี้
************************************* 9 พฤศจิกายน 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36613 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานโล่เชิดชูเกียรติแก่หน่วยงานที่มีการดำเนินงานดีเด่นด้านเอชไอวี | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานโล่เชิดชูเกียรติแก่หน่วยงานที่มีการดำเนินงานดีเด่นด้านเอชไอวี
วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2563) ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระอ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีกรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระราชทานโล่เชิดชูเกียรติแก่หน่วยงานที่มีการดำเนินงานดีเด่นด้านเอชไอวี
วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2563) ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทูตสันถวไมตรีของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติในการป้องกันเอชไอวีในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เสด็จไปพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติแก่หน่วยงานดีเด่นในการดำเนินงานด้านเอชไอวี โดยมี นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเฝ้ารับเสด็จ
นายสาธิตกราบทูลรายงานว่า ในโอกาสที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงดำรงตำแหน่งทูตสันถวไมตรีของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติในการป้องกันเอชไอวีในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ได้ดำเนินโครงการคืนคนสุขภาพดีสู่สังคม จัดบริการคัดกรองเอชไอวี ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบซี แก่ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษปล่อยตัวเพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการจัดตั้งศูนย์บริการชุมชน และภาคีเครือข่ายศูนย์บริการชุมชนในระดับอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่บูรณาการการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวัณโรค เพื่อยกระดับการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กร ภาคประชาสังคม และเรือนจำให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่การบรรลุนโยบายยุติปัญหาเอดส์และวัณโรคของประเทศ การจัดงานครั้งนี้ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ศูนย์บริการชุมชนและภาคีเครือข่ายศูนย์บริการชุมชน รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบูรณาการการดำเนินงานในกลุ่มผู้ต้องขังและกลุ่มประชากรหลักเข้าถึงบริการเชิงรุกอย่างทั่วถึงเท่าเทียม
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กราบทูลรายงานว่า โครงการคืนคนสุขภาพดีสู่สังคม ได้จัดบริการคัดกรองเอชไอวี ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบซีแก่ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษปล่อยตัว ในเรือนจำนำร่อง 40 แห่ง จำนวน 30,359 ราย พบผู้ต้องขังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมากที่สุดร้อยละ 2.1 รองลงมาซิฟิลิสร้อยละ 1.78 และติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 1.05 นำเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการดูแลรักษา สำหรับศูนย์บริการชุมชนและภาคีเครือข่ายศูนย์บริการชุมชน ในระดับอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2558 ขณะนี้ผ่านการประเมินมาตรฐาน จำนวน 82 แห่ง และจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
สำหรับหน่วยงานที่เข้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ ประกอบด้วย ประเภทเรือนจำที่จัดบริการคัดกรองเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิสในกลุ่มผู้ต้องขัง ตามโครงการคืนคนสุขภาพดีสู่สังคม ดีเด่น จำนวน 10 ราย ประเภทศูนย์บริการชุมชนที่ทำประโยชน์ด้านการจัดบริการเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค จำนวน 9 ราย ส่วนใบประกาศเกียรติคุณ ประกอบด้วย เรือนจำที่จัดบริการคัดกรองเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิสในกลุ่มผู้ต้องขังตามโครงการคืนคนสุขภาพดีสู่สังคมและโรงพยาบาลแม่ข่ายของเรือนจำที่เข้าร่วมโครงการคืนคนสุขภาพดีสู่สังคม รวมทั้งหมด 83 หน่วยงาน
******************************* 9 พฤศจิกายน 2563
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36625 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยืนยันตัดสิทธิ GSP ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
ยืนยันตัดสิทธิ GSP ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
จากกรณีที่สหรัฐอเมริกาประกาศตัดสิทธิ GSP หรือภาษีสินค้านำเข้ากับไทย 231 รายการ นั้น รัฐบาลเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ เนื่องจากยังสามารถส่งออกสินค้าได้เช่นเดิม เพียงแต่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ และยังคงส่งออกไปยังตลาดยุโรปและเอเชียได้ โดยไทยได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว เช่น เจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ และเร่งเจาะตลาดใหม่ทดแทนตลาดหลักที่เริ่มอิ่มตัว นอกจากนี้ ในอนาคตไทยสามารถเติบโตและพัฒนาสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งจะไม่ได้รับสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36618 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท. ชี้แจงข้อร้องเรียนความไม่เป็นธรรมในการอนุญาตรถขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดได้อย่างไม่เท่าเทียม | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
มท. ชี้แจงข้อร้องเรียนความไม่เป็นธรรมในการอนุญาตรถขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดได้อย่างไม่เท่าเทียม
กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงข้อร้องเรียนความไม่เป็นธรรมในการอนุญาตรถขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดได้อย่างไม่เท่าเทียม
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายสมคิด จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงกรณี ข้อร้องเรียนความไม่เป็นธรรมในการอนุญาตรถขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดได้อย่างไม่เท่าเทียม โดยผู้ประกอบการพยายามเรียกร้องให้คณะกรรมการโรคติดต่อ จ.นครพนม พิจารณาขยายระยะเวลาขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับรายงานการชี้แจง ดังนี้
1. เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 นายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครพนม ครั้งที่ 29/2563 โดยสาธารณสุขจังหวัดนครพนมได้นำเสนอสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) มาตรการการขนส่งสินค้าข้ามแดน ซึ่งเจ้าหน้าที่ประจำด่าน พนักงานขนส่งสินค้า พนักงานขับเรือ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย และชุดกาวน์กันน้ำ และสินค้าขาเข้าต้องผ่านการฉีดพ่นฆ่าเชื้อก่อนเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดที่กำหนด โดยที่ประชุมได้พิจารณาอนุญาตให้รถบรรทุกรับส่งสินค้าภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ภายใน 16 ชั่วโมง (แบบมีการพักค้างคืน) ของบริษัท คำม่วนซีเมนต์ จำกัด (KCL) และบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SCGL) ให้ดำเนินการได้ หลังจากทั้ง 2 บริษัทมีการนำเสนอแผนการดำเนินงานในการป้องกันโรคในด้านต่างๆ ว่ามีมาตรฐานที่ดีมีความปลอดภัย ทั้งนี้ หลังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครพนม มีมติอนุญาตขยายเวลาให้เฉพาะรถบรรทุกปูนซีเมนต์ ข้ามสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) ได้ในเวลา 16 ชั่วโมง ทำให้ผู้ประกอบการรถบรรทุกสินค้ารายอื่นร้องเรียนว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่มีการอัพเดทข้อมูลล่าสุด เนื่องจากทางจังหวัดมุกดาหารที่อยู่ห่างจังหวัดนครพนม 100 กิโลเมตร อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าข้ามสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 ได้ถึง 72 ชั่วโมง
2. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม แจ้งว่า คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครพนม ไม่ได้เลือกปฏิบัติดังข้อมูลข่าวที่ปรากฏ การพิจารณาอนุญาตให้รถบรรทุกรับ - ส่งสินค้าภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใน 16 ชั่วโมง (แบบมีการพักค้างคืน) ของบริษัท คำม่วนซิเมนต์ จำกัด (KCL) และบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SCGL) คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาจากมาตรการที่บริษัทฯ นำเสนอประกอบการขอพิจารณาอนุญาต โดยบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SCGL) กำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID - 19 ให้พนักงานขับรถสวมหน้ากากอนามัย จัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด มีการวัดอุณหภูมิที่หน้าด่านคำม่วน ควบคุมสถานะรถขนส่งระหว่างเดินทางผ่านระบบ GPS real-time ให้รถขนส่งวิ่งตามเส้นทางที่กำหนด และการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนบริษัท คำม่วน ซิเมนต์ จำกัด (KCL) มีมาตรการที่เข้มงวดรัดกุมเพื่อป้องกันการแพร่หรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาทิ การคัดกรองก่อนเข้าโรงงาน การควบคุมผู้เข้าออก Social distancing การควบคุมคนเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง การไม่อนุญาตให้รถออกเดินทางในเวลากลางคืน และพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดพื้นที่
3. สำหรับกรณีของผู้ประกอบการรถบรรทุกสินค้ารายอื่น หากมีความประสงค์จะขออนุญาตให้รถบรรทุกสามารถข้ามไปรับหรือส่งสินค้าภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ก็สามารถเสนอมาตรการในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครพนม พิจารณาได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตขึ้นอยู่กับมาตรฐานการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในจังหวัดนครพนมและประเทศไทยเป็นสำคัญ
......................
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36609 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คุ้มเกินห้ามใจ!! บ้านมือสอง ธอส. ในมหกรรม 11.11 พบกับ 111 ทรัพย์เด่น ธอส.เปิดประมูลขายออนไลน์ผ่านแอป G H Bank Smart NPA | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
คุ้มเกินห้ามใจ!! บ้านมือสอง ธอส. ในมหกรรม 11.11 พบกับ 111 ทรัพย์เด่น ธอส.เปิดประมูลขายออนไลน์ผ่านแอป G H Bank Smart NPA
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เอาใจคนอยากมีบ้าน จัดมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส. ประจำเดือนพฤศจิกายน คัดทรัพย์ 111 รายการ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงในส่วนภูมิภาคมาให้เลือกซื้อได้ง่ายๆ ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เอาใจคนอยากมีบ้าน จัดมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส. ประจำเดือนพฤศจิกายน คัดทรัพย์ 111 รายการ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงในส่วนภูมิภาคมาให้เลือกซื้อได้ง่ายๆ ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ราคาเริ่มต้นประมูลลดจัดหนักสูงสุดถึง 40%จากราคาปกติ ราคาต่ำสุดเพียง 420,000 บาทเท่านั้น พิเศษ!! มอบส่วนลดเพิ่มอีก10% จากราคาที่ปิดประมูล หากทำสัญญาและทำนิติกรรมภายใน 30 ธันวาคม 2563 ให้ผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 60 เดือน ผ่อนได้นานสูงสุด 40 ปี เริ่มประมูลพร้อมกันวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ระหว่างเวลา 12.00-13.00 น.
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน2563 ธอส. มีกำหนดจัดมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส. ประจำเดือนพฤศจิกายน โดยธนาคารได้คัดทรัพย์ใหม่สภาพดีทั่วประเทศรวม 111 รายการ ทั้งประเภททาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ ที่ดินเปล่า มาเปิดประมูลให้กับลูกค้าที่ต้องการมีบ้านได้เลือกซื้อผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ราคาเริ่มต้นประมูลให้ส่วนลดแบบจัดหนักสูงสุด 40% จากราคาปกติ และเพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนได้มีบ้านเป็นของตนเองง่ายขึ้น ธอส.ยังเตรียมมอบส่วนลดเพิ่มให้กับผู้ชนะการประมูลอีก 10% จากราคาที่ปิดประมูล หากทำสัญญาและทำนิติกรรมภายใน 30 ธันวาคม 2563 (กรณีทำสัญญาและทำนิติกรรมหลังวันที่ 30 ธันวาคม 2563 แต่ไม่เกินวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 จะได้รับส่วนลดเพิ่มจากราคาที่ประมูลได้เหลือ 5%) โดยทรัพย์ที่นำมาเปิดประมูลครั้งนี้แบ่งเป็น รายการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 50 รายการ มีรายการที่น่าสนใจ อาทิ ทรัพย์ที่ราคาเริ่มต้นประมูลต่ำสุดเพียง 420,000 บาท ได้แก่ ห้องชุด ขนาด 32.06 ตารางเมตร โครงการบ้านเอื้ออาทรวัดศรีวารีน้อย 3 อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ส่วนรายการที่เป็นทรัพย์เด่นทำเลทอง ได้แก่ ทรัพย์ประเภทบ้านแฝด 2 ชั้น เนื้อที่ 37.1 ตารางวา ในหมู่บ้านชวนชื่นเพชรเกษม 81 เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ราคาเริ่มต้นประมูลลด 10% จากราคาปกติ โดยอยู่ที่ 3,330,000 บาท และทรัพย์ประเภททาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น ขนาด 18.8 ตารางวา หมู่บ้านพฤกษา 92 รังสิต-ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งถือเป็นทำเลศักยภาพ ไม่ห่างจาก ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และสถานศึกษา ราคาเริ่มต้นประมูลลดเหลือเพียง 1,360,000 บาท จากราคาปกติที่ 1,700,000 บาท
ขณะที่ทรัพย์ในภูมิภาคที่นำออกประมูลมีจำนวน 61 รายการ แบ่งเป็นรายการที่น่าสนใจ อาทิ รายการที่มีราคาเริ่มต้นประมูลต่ำสุด 450,000 บาท ได้แก่ อาคารพาณิชย์ 1 ชั้น ขนาด 18 ตารางวา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ส่วนทรัพย์ที่ราคาเริ่มต้นประมูลลดสูงที่สุด 40% จากราคาปกติ มีจำนวนถึง 3 รายการ อาทิ ทรัพย์ประเภท ทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น ขนาด 25 ตารางวา โครงการเมืองใหม่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ราคาเพียง 720,000 บาท และบ้านแฝด 1 ชั้น ขนาด 39 ตารางวา โครงการตะวันทอง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ราคาเริ่มต้นประมูล 1,080,000 บาท ส่วนรายการที่ตั้งอยู่ในทำเลดี อาทิ รายการทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาด 63.10 ตารางวา ในโครงการรุ่งธนา 6 อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ห่างจากถนนสายหลักสายเชียงใหม่ – สันกำแพงเพียง 2 กิโลเมตร ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ธนาคาร ตลาดสด และร้านสะดวกซื้อ ราคาเริ่มต้นประมูลเพียง 2,300,000 บาทเท่านั้น
สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถเข้าชมรายการทรัพย์ NPA ที่เปิดประมูลครั้งนี้ได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ตั้งทรัพย์ ก่อนการเข้าร่วมประมูล นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้โปรโมชั่นผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% ได้นาน 12-60 เดือน หรือเทดาวน์แล้วยื่นกู้เลยก็มีสิทธิ์เลือกใช้โปรโมชั่นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 0% ได้นาน 12-48 เดือน โดยระยะเวลาดอกเบี้ย 0% กำหนดตามระยะเวลาการถือครองทรัพย์ของธนาคาร หรือกรณีกู้ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และ ซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกเพียง 2.80% ต่อปีเท่านั้น และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินทำนิติกรรมอีกด้วย
ทั้งนี้ มหกรรม 11.11 ประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส. ประจำเดือนพฤศจิกายน ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 จะเริ่มเปิดประมูลพร้อมกันทั้ง 111 รายการ ตั้งแต่เวลา 12.00 – 13.00 น. ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลสามารถดาวน์โหลด Application : G H Bank Smart NPA และลงทะเบียนเข้าร่วมประมูลออนไลน์ได้จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.40 น.(เฉพาะลูกค้าที่ยังไม่เคยลงทะเบียน) ส่วนผู้ชนะการประมูลจะได้รับ QR Code สำหรับติดต่อกับธนาคารเพื่อชำระเงินและทำสัญญาตามที่ธนาคารกำหนดภายใน 3 วันทำการนับถัดจากวันที่ประมูลได้ หรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารเพิ่มเติมได้ที่ www.ghbhomecenter.com และ www.ghbank.co.th หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายบริหาร NPA โทร. 0-2202-1822, 0-2202-1582-3 และ 0-2202-1016 และฝ่ายบริหารหนี้ภูมิภาค โทร.0-2202-1170 และ 0-2202-2036
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36623 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ท่องเที่ยวกีฬาลงพื้นที่ภาคกลาง เพื่อกระตุ้น สนับสนุน และส่งเสริมการท่องเที่ยว | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
รมว.ท่องเที่ยวกีฬาลงพื้นที่ภาคกลาง เพื่อกระตุ้น สนับสนุน และส่งเสริมการท่องเที่ยว
รมว.ท่องเที่ยวกีฬาลงพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคกลางได่แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี และอ่างทอง เพื่อกระตุ้น สนับสนุน และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
6 พฤศจิกายน 2563
นายพิพัฒน์รัชกิจประการรมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานการเปิดงาน "ล่องเรือ ดูนก บึงบอระเพ็ด" ณ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวจะมีนกอพยพเข้ามาอาศัยในบริเวณนี้อย่างมากมาย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดและฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 - มกราคม 2564 ซึ่งมีอากาศเย็นสบาย เหมาะแก่การท่องเที่ยว มีกิจกรรมสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกกลุ่ม เช่น กิจกรรมเย็นดูดาว เช้าดูนก กิจกรรมวันรักษ์บึงบอระเพ็ด เทศกาลกินปลาบึงบอระเพ็ด กิจกรรมเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ได้แก่ การล่องเรือชมความงามของบึงบอระเพ็ด การดูนกประจำถิ่น นกอพยพ การชมทุ่งบัวแดง และชมวิถีชีวิตชาวประมง เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้มอบตราสัญลักษณ์โครงการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยAmazing Thailand Safety and Health Administration : SHAให้กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 20 ราย
7 พฤศจิกายน 2563 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย นายเขมพล อุ้ยตยะกุล เลขานุการ รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะลงพื้นที่จ.อุทัยธานี
10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว. พร้อมคณะเยี่ยมชมศูนย์ผ้าทอลายโบราณบ้านผาทั่ง ตำบลห้วยแห้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นกลุ่มทอผ้าที่จัดตั้งเป็นศูนย์ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รวบรวมผ้าทอลายโบราณฝีมือชาวบ้านไร่ ที่เป็นผลงานการสืบทอดของชาวลาวครั่งและลาวเวียงที่อพยพมาจากประเทศลาว ลวดลายผ้าแปลกตาจนได้รับรางวัลชนะเลิศจากยูเนสโก้UNESCOเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นแหล่งราชินีผ้าฝ้าย
หลังจากนั้นคณะฯ เดินทางเยี่ยมชมตลาดซาวไฮ่ ตลาดวิถีชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวกันโดยคนอำเภอบ้านไร่ร่วมกับเครือข่ายภาคกลางหลายพื้นที่ เป็นการสร้างพื้นที่ให้เกษตกรนำผลผลิตมาจำหน่ายโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง พร้อมพบปะ พูดคุยผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ณ ตลาดซาวไฮ่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
14.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินทางไปยังวัดจันทาราม วัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อกราบสักการะสรีระพระราชพรหมยานเถระ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ณ วิหารแก้วร้อยเมตร
14.30 น. เดินทางต่อไปยังเขาสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี สักการะพระบรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
15.30 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพร้อมคณะ ตรวจเยี่ยมสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุทัยธานี เพื่อประชุมรับฟังการบรรยายสรุปและหารือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาของจังหวัดอุทัยธานี พร้อมเยี่ยมชมสนามกีฬาจังหวัดอุทัยธานีเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงสนามกีฬาของจังหวัดอุทัยธานี
17.10 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพร้อมคณะ เดินทางไปยังถนนนคนเดินตรอกโรงยา อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี พบปะผู้ประกอบการในพื้นที่ นักท่องเที่ยว เพื่อรับฟังข้อมูลปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว พร้อมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านนกเขา พิพิธภัณฑ์โรงฝิ่น ชุมชนเก่าแก่ ชมการแสดงของคณะ ล่อ โก๊ว ซึ่งถนนคนเดินตรอกโรงยาเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุทัยธานี
8 พฤศจิกายน 2563 10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานเปิด โครงการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดอ่างทอง กิจกรรม อาหารถิ่น อาหารไทย อ่างทองปลอดภัย ถูกใจนักท่องเที่ยว งานกินขนม ชมตลาด โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายศักดิ์ดา บรรดาศักดิ์ นายสุชน ภัยธิราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าวต้อนรับ ณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
งานกินขนม ชมตลาด ภายในงานมีผลิตภัณฑ์หลากหลายจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน โดยคัดสรรอาหารเด่น อาหารอร่อย ขนมโบราณเลื่องชื่อ สินค้าแปรรูป อันเกิดจากการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้ทรัพยากรในชุมชนสร้างสรรค์เป็นสินค้า ในบรรยากาศของตลาดชุมชนเก่าแบบผสมผสานไทยจีน ตลาดศาลเจ้าโรงทอง ภายใต้แนวคิด กินขนม ชมตลาด 100 ปี สีสันอ่างทอง และเยี่ยมชมสถาปัตยกรรม อาคาร บ้านเรือน ที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะ สถาปัตยกรรมดีเด่น
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36606 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กิจกรรมโครงการจิตอาสา "เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์" | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
กิจกรรมโครงการจิตอาสา "เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์"
กิจกรรมทำความสะอาด ปรับปรุงภูมิทัศน์ และช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และชุมชนท่าเตียน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36599 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘สุชาติ’ตัดริ้บบิ้นประกันสังคมสมายด์คอนเนอร์ เปิดมิติใหม่รับรองผู้ประกันตนเข้ารับบริการที่ รพ.วิชัยเวช สมุทรสาคร | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
‘สุชาติ’ตัดริ้บบิ้นประกันสังคมสมายด์คอนเนอร์ เปิดมิติใหม่รับรองผู้ประกันตนเข้ารับบริการที่ รพ.วิชัยเวช สมุทรสาคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดประกันสังคมสมายด์คอนเนอร์ ให้เป็นจุดรับรองพิเศษแก่ผู้ประกันตนที่มาเข้ารับบริการยังสถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ณ โรงพยาบาลวิชัยเวช สมุทรสาคร เสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกันตนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิ
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดประกันสังคมสมายด์คอนเนอร์ ให้เป็นจุดรับรองพิเศษแก่ผู้ประกันตนที่มาเข้ารับบริการยังโรงพยาบาล ณ โรงพยาบาลวิชัยเวช อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิชัยเวช เข้าร่วมเป็นเกียรติในครั้งนี้ด้วย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาล ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการกับการเสริมสร้างหลักประกันทางสังคมให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ผมได้มีแนวคิดให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับการดูแลทั้งการอำนวยความสะดวกจากเจ้าหน้าที่ด้วยบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และครอบคลุมไปยังสถานพยาบาลในเครือข่ายทั่วประเทศ จึงได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมเชิญชวนให้สถานพยาบาล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมแต่ละแห่ง มีประกันสังคมสมายด์คอนเนอร์ เพื่อเป็นจุดรับรองพิเศษแก่ผู้ประกันตนที่มาใช้บริการยังโรงพยาบาล เช่น มีน้ำดื่ม เครื่องดื่ม ชา กาแฟ และที่นั่งพักระหว่างรอรับบริการ เป็นต้น
นายสุชาติ กล่าวว่า ในวันนี้ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้มาเปิดประกันสังคมสมายด์คอนเนอร์ที่โรงพยาบาลวิชัยเวช สมุทรสาคร เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกันตนที่มาใช้บริการให้ได้รับความสะดวกสบาย โดยขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจได้ว่า สำนักงานประกันสังคมจะดูแลผู้ประกันตน และพร้อมพัฒนางานด้านประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานปรัชญาการพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อให้เกิดความมั่นคงต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ประกันตนต่อไป
โอกาสเดียวกันนี้ รมว.แรงงาน และคณะ ยังได้เยี่ยมมอบสิ่งของเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ประกันตนที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวิชัยเวช สมุทรสาครอีกด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36632 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. ชวนร่วมสนับสนุนนมสำหรับเด็ก ในโครงการ ปันรัก ปันน้ำใจ เพื่อเด็กไทยในชุมชน | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
ปลัด พม. ชวนร่วมสนับสนุนนมสำหรับเด็ก ในโครงการ ปันรัก ปันน้ำใจ เพื่อเด็กไทยในชุมชน
ปลัด พม. ชวนร่วมสนับสนุนนมสำหรับเด็ก ในโครงการ ปันรัก ปันน้ำใจ เพื่อเด็กไทยในชุมชน
วันนี้ (9 พ.ย. 63) เวลา 10.30 น. ที่บริเวณโถงชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานรับมอบผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กจากนายโรหิต จินดัล (Mr.Rohit A Jindal) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร บริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) สำหรับโครงการ ปันรักปันน้ำใจ เพื่อเด็กไทยในชุมชน โดยมี นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. ร่วมกับบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์นมผงและนมพร้อมดื่มUHTให้แก่เด็กกลุ่มเป้าหมายในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จำนวน 1,500 คน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ด้วยการเชิญชวนให้ประชาชนร่วมบริจาคผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นA+ Genius Baby
นางพัชรีกล่าวว่า ด้วยประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้กลุ่มเป้าหมายจำนวนมากของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ต้องประสบปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงและจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กช่วงวัย 0-6 ปี ต้องได้รับนมและอาหารที่เป็นประโยนชน์ สำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมกันจัดโครงการ ปันรักปันน้ำใจ เพื่อเด็กไทยในชุมชน เพื่อเชิญชวนประชาชนผู้สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการส่งมอบโภชนาการที่ดีสู่เด็กไทย จำนวน 1,500 คน ในชุมชนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกระทรวง พม. ได้ลงพื้นที่สำรวจชุมชนดังกล่าว พบว่า มีเด็กจำนวนมากที่ขาดแคลนนม เนื่องจากครอบครัวมีรายได้ลดลงจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะได้รับเงินจากโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เพื่อนำไปซื้อนมและเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ
นายโรหิตกล่าวต่อไปว่า จากความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด ในการส่งมอบนมผงพรีเมี่ยมภายใต้แบรนด์เอฟาโกรA+ทั้งนมผงและนมน้ำยูเอชทีพร้อมดื่ม ให้แก่เด็กจำนวนมากในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา นำมาสู่การยกระดับความร่วมมือกับโครงการ ปันรักปันน้ำใจ เพื่อเด็กไทยในชุมชน ในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งมอบโภชนาการที่ดีสู่เด็กไทยในชุมชนขาดแคลนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน1,500คน ให้ได้มีนมดื่มนาน3เดือน ด้วยการบริจาคนมผ่านช่องทางแอปพลิเคชันA+ Genius Baby
ทั้งนี้ ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการส่งมอบโภชนาการที่ดีสู่เด็กไทยในชุมชน ด้วยการบริจาคทั้งในรูปแบบของการซื้อนมบริจาค หรือ ใช้แต้มสะสมภายในแอป พลิเคชันA+ Genius Babyเพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์นมผงEnfagrow A+ / Enfagrow Smart Plusและผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มUHTมอบให้แก่เด็กในชุมชนที่ขาดแคลน โดยมี้ด จอห์นสัน จะร่วมสมทบนมเพิ่มเติมจากยอดบริจาคผ่านแอปพลิเคชันจนครบจำนวน เพื่อให้เด็กได้ดื่มนมอย่างต่อเนื่องนานถึง3เดือน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36607 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานสมาคมธนาคารไทยแนะทางรอดภายใต้ Perfect Storm | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
ประธานสมาคมธนาคารไทยแนะทางรอดภายใต้ Perfect Storm
มุมมองทิศทางเศรษฐกิจช่วง 1-2 ปีข้างหน้า มีความท้าทายจากเรื่องผลกระทบของโควิด-19 และการปรับตัวให้อยู่รอดในยุค Disruption เศรษฐกิจจึงอยู่ภายใต้ “พายุใหญ่แห่งยุค” หรือ Perfect Storm ที่มีความรุนแรงและความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึง มุมมองทิศทางเศรษฐกิจในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า มีความท้าทายทั้งจากเรื่องผลกระทบของโควิด-19 และการปรับตัวให้อยู่รอดในยุค Disruption เศรษฐกิจจึงอยู่ภายใต้ “พายุใหญ่แห่งยุค” หรือ Perfect Storm ที่มีความรุนแรงและความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่สำหรับประเทศไทยอาจจะเจอกับความท้าทายมากกว่าหลายๆ ประเทศ เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย อาทิ พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวในระดับสูง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และการเข้าสู่สังคมสูงอายุ
พายุใหญ่แต่ละครั้งจะทิ้งมรดกแห่งการเปลี่ยนแปลงไว้ ในคราวนี้มองว่ามี 3 ประเด็นสำคัญ ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น New Paradigm ที่เกิดขึ้น
ประเด็นแรก คือ การฟื้นตัวจะเป็นแบบ K-Shaped Recovery จะไม่ได้เป็นการกลับไปอยู่ที่จุดเดิม หรือ status quo โดย K-Shaped Recovery หมายถึงทิศทางการฟื้นตัวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มแรกที่สามารถกลับสู่จุดเดิมได้เร็ว และกลุ่มที่สองที่กลับมาได้ช้าหรือกลับมาไม่ได้ โดยในระยะสั้นเห็นได้ชัดว่าหลายกิจกรรมยังโดนจำกัดโดยมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดทำให้ฟื้นตัวได้ยากและยังไม่รู้จุดสิ้นสุดของมาตรการ นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเกิดเป็น New Normal ซึ่งธุรกิจที่เก็บเกี่ยวโอกาสได้ เช่น ธุรกิจ platform จะเติบโตได้ดี ขณะที่มีธุรกิจอีกจำนวนมากที่ปรับตัวไม่ทัน
ประเด็นที่สอง คือ แนวคิดทางนโยบายที่เปลี่ยนไปจากเดิม ธนาคารกลางและ Think Tank อย่าง IMF ออกมาบอกว่าสามารถใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยที่ความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาหนี้สาธารณะตามมามีค่อนข้างน้อย และไม่ต้องรีบถอนนโยบายเหมือนในอดีต สหรัฐฯ และยุโรปจึงมีแนวโน้มจะมีการใช้ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่เข้มข้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในเบื้องต้นแนวคิดใหม่นี้ อาจทำให้ตลาดการเงินคลายความกังวลในเรื่องหนี้สาธารณะ และลดโอกาสเกิดปัญหาหนี้ซ้อนปัญหาสาธารณสุขโดยไม่จำเป็น แต่ก็แลกมาด้วยการสั่งสมความเปราะบางในระยะยาวที่มากกว่าเดิม
ประเด็นที่สาม คือ การจัดใหม่ของระบบทุนนิยม โดยโลกเสี่ยงที่จะแบ่งขั้ว หรือ Deglobalize ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะยังดำเนินต่อไป ขณะที่ระบบทุนนิยมจะโดนเรียกร้องให้ปรับตัวในหลายมิติ อาทิ การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อระบบนิเวศมากขึ้น รวมทั้งการให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในเชิงสังคมและเศรษฐกิจ เพราะนี่เป็นจุดอ่อนที่สำคัญของระบบทุนนิยมเดิม โดยเฉพาะการที่ Digital Disruption มักทำให้เกิด Winner และ Loser ในลักษณะ Winner takes all และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางสังคมที่ขยายกว้างขึ้น
นายผยง ศรีวณิช กล่าวในตอนท้ายว่า โลกข้างหน้าที่จะเกิดขึ้น ยังไม่มีใครบอกได้ว่า New paradigm ทั้งสามจะนำไปสู่รูปแบบการทำธุรกิจอย่างไร มีสูตรสำเร็จหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจต้องเดินไปข้างหน้าอย่างยืดหยุ่น และต้องกล้าทำในสิ่งใหม่ๆ โดยยึดหลักที่ว่า การลองผิดลองถูกนั้นจะช่วยให้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มโอกาสในการหา The right solution ภายใต้ต้นทุนของการผิดพลาดที่ต่ำ เปรียบได้กับการใช้ Speed boat เพื่อความคล่องตัว และก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลง
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36624 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ด้วยมาตรการส่งเสริมตัดอ้อยสดเต็มสูบ สู่เป้าหมายอ้อยไฟไหม้ไม่เกินร้อยละ 20 ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ด้วยมาตรการส่งเสริมตัดอ้อยสดเต็มสูบ สู่เป้าหมายอ้อยไฟไหม้ไม่เกินร้อยละ 20 ในฤดูการผลิตปี 2563/2564
กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ในฤดูการผลิต 2563/2564 ด้วย 3 มาตรการเข้ม ส่งเสริมตัดอ้อยสด ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 ให้มีอ้อยไฟไหม้ไม่เกินร้อยละ 20 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด พร้อมสนองนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น
(วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 ณ หอประชุมใหญ่สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ว่า “จากนโยบายให้โรงงานรับอ้อยไฟไหม้ไม่เกินร้อยละ 50 ต่อวัน และการช่วยเหลือปัจจัยการผลิตเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี 2562/2563 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ปริมาณอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2562/2563 ลดลงโดยมีปริมาณอ้อยไฟไหม้ 37.18 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 49.65 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยสามารถลดพื้นที่การเผาอ้อยได้ถึง 1.2 ล้านไร่ ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้โดยเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อย สำหรับในฤดูการผลิตปี 2563/2564 ได้เตรียม 3 มาตรการในการส่งเสริมตัดอ้อยสด ดังนี้
1. ลดอ้อยไฟไหม้เหลือร้อยละ 20 ด้วยมาตรการส่งเสริมให้ราคาอ้อยสดสูงกว่าอ้อยไฟไหม้
2. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้จัดหาเครื่องสางใบอ้อย ให้กับชาวไร่อ้อยสมาชิกกลุ่มเรียนรู้พัฒนาด้านอ้อยยืม จำนวน 112 เครื่อง โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1 – 4
3. กรณีมีนโยบายการช่วยเหลือจากภาครัฐ จะช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเท่านั้น โดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติให้ความเห็นชอบหักเงินชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยไฟไหม้ในอัตราตันละ 30 บาท จ่ายคืนให้กับชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีทุกรายเต็มจำนวนโดยคิดแยกเป็นรายโรง และมีนโยบายที่จะผลักดันโครงการเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด ลดฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดมีรายได้รวมมากกว่าชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยไฟไหม้ เป็นการจูงใจให้ชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดก่อนส่งโรงงาน พร้อมทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดกรอบวงเงินการช่วยเหลือต่อไป
สำหรับแนวโน้มราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตปี 2563/2564 คาดการณ์ว่าเกษตรชาวไร่อ้อยจะได้ราคาอ้อยขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 800 บาท/ตันอ้อย ซึ่งคาดว่าราคาอ้อยในปี 2563/2564 มีราคาสูงกว่าฤดูการผลิตที่แล้วแน่นอน”
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้จัดทำระบบจดทะเบียนชาวไร่อ้อยแบบดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่มีความประสงค์จะจดทะเบียนชาวไร่อ้อยเพียงใช้บัตรประจำตัวประชาชนใบเดียว ก็สามารถจดทะเบียนชาวไร่อ้อยได้ภายใน 10 นาที ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์พร้อมใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2565 นายสุริยะ กล่าว.
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36596 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดโครงการ “การบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔” | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดโครงการ “การบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔”
นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “การบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔”
ในวันจันทร์ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ โรงแรม เบสเวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “การบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมทั้งจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้สามารถดำเนินภารกิจได้บรรลุตามเป้าหมาย จนกระทั่งเกิดความพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินแผนงาน/โครงการที่สำคัญ และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ กำหนดจัดอบรมระหว่างวันที่ ๙ - ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36628 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการจัดงาน Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน “มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน” ครั้งที่ 1/2564 | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
การประชุมคณะกรรมการจัดงาน Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน “มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน” ครั้งที่ 1/2564
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงาน Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน “มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน” ครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2563) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงาน Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน “มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน” ครั้งที่ 1/2564 เพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการและผู้ประกอบการให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ และประชาชนสามารถหาซื้อสินค้าที่จำเป็นในราคาโรงงาน สินค้าดี มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน อันเป็นการช่วยเหลือไม่ให้ประชาชนรับภาระจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 25 ธันวาคม 2563 บริเวณโดยรอบกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายสหวัฒน์ โสภา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36612 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์ไม่หวั่นนโยบายโจ ไบเดน! จุรินทร์ สั่งลุยรับมือ"อเมริกา" เชื่อสัญญาณดีกว่า ทิศทางส่งออกเป็นบวกมากขึ้น | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
พาณิชย์ไม่หวั่นนโยบายโจ ไบเดน! จุรินทร์ สั่งลุยรับมือ"อเมริกา" เชื่อสัญญาณดีกว่า ทิศทางส่งออกเป็นบวกมากขึ้น
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงถึงยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ รองรับหลังการเปลี่ยนแปลงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
โดยนายจุรินทร์ ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามมาโดยตลอดร่วมกับภาคเอกชน เพราะมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาในช่วงปีที่ผ่านมา (2562) สหรัฐฯเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจาก อาเซียน จีน และญี่ปุ่น และในปี 2563 มูลค่าการค้าไทยสหรัฐเดือนมกราคมถึงกันยายน มีมูลค่า 1.16 ล้านล้านบาท ดังนั้นจากลำดับที่ 4 มาเป็นลำดับที่ 2 รองจากอาเซียน ส่วนตัวเลขการส่งออกไทยไปสหรัฐฯเดือนมกราคมถึงกันยายน รวม9เดือนแรกของปี มีมูลค่าการค้า 7.9 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.7 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย เป็นบวกร้อยละ 7.4 เฉพาะเดือนกันยายนปี 2563 เป็นบวกถึงร้อยละ 19.7 โดยมีสินค้า 4 กลุ่มหลักเป็นตัวสำคัญประกอบด้วย อิเล็คทรอนิกส์ อาหาร เครื่องตกแต่งบ้านของใช้ในบ้าน อุปกรณ์วัสดุทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น
นายจุรินทร์ กล่าวว่า เมื่อผลการเลือกตั้งเป็น "โจ ไบเดน"นั้น เราคาดว่า เรื่องที่ยังคงอยู่ คือ 1.สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ แต่อาจผ่อนปรนลง 2.เรื่องอินโดแปซิฟิกของสหรัฐฯ กลุ่มประเทศมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิคของสหรัฐฯ น่าจะยังอยู่โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศอินโดแปซิฟิก 3.คาดว่าการใช้เงื่อนไขการให้ฝ่ายเดียวทางการค้าหรือสิทธิพิเศษทางการค้าของสหรัฐน่าจะยังคงอยู่ เช่น GSP หรือการจัดการกับการทุ่มตลาด และเซฟการ์ด แต่ขั้นตอนและรูปแบบอาจมีความผ่อนปรนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวด้วยว่า คาดว่า "โจ ไบเดน" จะมีความแตกต่างจากช่วงประธานาธิบดีทรัมป์ คือ 1.คาดว่าสหรัฐจะให้ความสำคัญกับการเจรจาทางการค้าในรูปแบบพหุภาคีมากขึ้น เช่น ผ่านองค์การการค้าโลก (WTO)มากขึ้น และที่ต้องจับตาการกลับมาใช้ CPTPP โดยอาจเพิ่มการทำข้อตกลงทางการค้าใหม่ เช่น FTA กับประเทศต่างๆ และเงื่อนไขสิ่งแวดล้อม แรงงาน ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิมนุษยชน มาเป็นเงื่อนไขต่อรองหรือเจรจาทางการค้ามากขึ้นในภาพรวมคิดว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพรวมของการค้าโลก ที่ผ่อนปรนขึ้นซึ่ง ประเทศไทยจะมีผลในทางบวกร่วมกันด้วย ซึ่งวันนี้คาดการณ์ว่าวัตถุดิบที่ไทยจะส่งไปจีนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐอาจจะมีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้น หากสงครามการค้าผ่อนคลายลงไทยก็จะได้รับประโยชน์ส่วนนี้ด้วย หรือประเทศไทยอาจจะใช้วิธีพหุภาคีเพื่อเจรจาต่อรองทางการค้าได้มากขึ้น
" โดยตนให้กระทรวงพาณิชย์ ต้องเดินหน้าทำงานร่วมกับภาคเอกชนโดยใกล้ชิดต่อไปในรูปแบบ กรอ.พาณิชย์ ให้ร่วมมือกับอาเซียนใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อเจรจาต่อรองทางการค้าร่วมกัน และปรับรูปแบบการเจรจาทางการค้าเป็นอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ให้ความสำคัญแพลตฟอร์มของสหรัฐเช่น Amazon โดยต้องเปิดห้องหรือร้านในนั้นมากขึ้น " นายจุรินทร์ กล่าว
รายงานของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐจะลดความแข็งกร้าวลง ซึ่งจะส่งผลให้ไทยสามารถเจรจาทางการค้าแบบฉันมิตรกับสหรัฐได้มากขึ้น รวมทั้งไทยอาจพิจารณาเข้าร่วมเวทีการเจรจา FTA ใหม่ๆที่มีสหรัฐฯร่วมอยู่ด้วย เรื่องสงครามการค้าจะยังอยู่แต่ไทยยังมีโอกาสส่งสินค้าไทยทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯและสินค้าสหรัฐฯในตลาดจีนได้ และไทยอาจจะได้รับนักลงทุนที่ย้ายฐานการผลิตมายังไทยเพิ่มมากขึ้น ส่วนประเด็นการปฏิรูป WTO โดยสหรัฐจะให้ความสำคัญกับระบบพหุภาคีและกฎระเบียบทางการค้ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้กลไก WTO เดินหน้าต่อได้ ทั้งการเลือกตั้งผู้อำนวยการใหญ่ และการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อไทย และการทบทวนสิทธิ GSP ที่สหรัฐจะให้ความสำคัญกับมาตรฐาน สิ่งแวดล้อม แรงงาน สิทธิมนุษยชนมากขึ้น ซึ่งไทยต้องเร่งปรับตัว เพื่อสร้างโอกาสในการเจรจาทบทวนการคืนสิทธิ GSP ให้ไทยด้วย
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36614 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ฉบับสมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” ใน 3 มิติการพัฒนา ให้ประเทศมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ฉบับสมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” ใน 3 มิติการพัฒนา ให้ประเทศมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ฉบับสมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” ใน 3 มิติการพัฒนา ให้ประเทศมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
วันนี้ (9 พ.ย.63) เวลา 09.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 3/2563 ร่วมกับ ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยผลการประชุม ดังนี้
คณะกรรมการฯ รับทราบ (1) การเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ โดยเห็นชอบให้แต่งตั้ง ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และอดีตเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรับตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน (2) ความก้าวหน้าการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) โดยได้สั่งการเพิ่มเติมให้หน่วยงานดำเนินการรายงานผลการดำเนินการโครงการ/การดำเนินงาน และนำเข้าแผนระดับที่ 3 เข้าในระบบ eMENSCR ตามที่ระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562 กำหนด เพื่อเป็นช่องทางให้ภาคประชาชนและภาคีการพัฒนามีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป (3) การจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) เพื่อเป็นกลไกเชิงนโยบายในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม โดยใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) เป็นข้อมูลหลักในการดำเนินการ เนื่องจาก ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือเชิงนโยบายแรกของประเทศที่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาได้ทั้งในครัวเรือนและบุคคล โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ ครอบคลุมทุกกลุ่มเปราะบาง ทั้งเกษตรกร ผู้เคยต้องรับโทษ ผู้มีหนี้สิน ผู้ที่ทำงานอยู่นอกภูมิลำเนา ทั้งนี้ ให้นำกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทและขีดความสามารถของประเทศไทย เพื่อความคุ้มค่าของการใช้เงินงบประมาณของประเทศต่อไปและ (4) หลักสูตรยุทธศาสตร์ชาติ ให้มีการขยายผลการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Massive Open Online Course: MOOCs) วิชายุทธศาสตร์ชาติสำหรับกลุ่มเป้าหมายนิสิต นักเรียน นักศึกษา นอกจากนี้ ต้องเร่งสร้างการตระหนักรู้ให้กับข้าราชการทุกระดับต่อไป เพื่อให้การแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติสามารถเป็นไปได้อย่างบูรณาการต่อไป
พร้อมกันนี้ คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญ จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้
1) (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) คณะกรรมการฯ เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน ได้แก่ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข สื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ สังคม พลังงาน การป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ การศึกษา วัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีเป้าหมายเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) รวม 62 กิจกรรม และมีกฎหมายที่ต้องจัดทำหรือปรับปรุงแก้ไข จำนวน 45 ฉบับ โดยได้สั่งการเพิ่มเติมให้สรุปผลความสำเร็จของแผนฯ ในช่วงที่แผนมา เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าและประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานระยะต่อไปหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานกิจกรรมตามแผนการปฏิรูปฯ เดิม คู่ขนานไปกับกิจกรรม Big Rock และสื่อสารสร้างความเข้าใจกิจกรรม Big Rock เพื่อถ่ายทอดสู่หน่วยปฏิบัติ โดยให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่ระบุระยะเวลาและวิธีการดำเนินการที่ชัดเจน รวมทั้งให้มีการกำหนดกรอบงบประมาณเป็นการเฉพาะ เพื่อนำไปสู่การจัดทำโครงการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายตามผลอันพึงประสงค์ที่กำหนด
2) ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564 - 2565 (ฉบับสมบูรณ์) คณะกรรมการฯ เห็นชอบร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ซึ่งมีแนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” หรือ Resilience โดยกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ “คนสามารถยังชีพอยู่ได้ มีงานทำ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ และมีการวางรากฐาน เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่” มี 3 มิติการพัฒนา ได้แก่ (1) การพร้อมรับ (Cope) (2) การปรับตัว (Adapt) (3) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งจะทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนภายใต้หลัก 3 ขั้นการพัฒนา ได้แก่ Survival (การอยู่รอด) Sufficiency (พอเพียง) และ Sustainability (ยั่งยืน) ประเด็นการพัฒนาประกอบด้วย 4 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ในระยะ 2 ปีข้างหน้า ได้แก่ (1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) ลดความเสี่ยงในการพึ่งพาต่างประเทศ (2) การยกระดับขีดความสามารถของประเทศ รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) ส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการที่มีโอกาสและศักยภาพภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงและบริบทโลกใหม่ (3) การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) เพื่อการยกระดับและปรับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและโครงสร้างเศรษฐกิจ พร้อมเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต และ (4) การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) ให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพของประเทศ ทั้งนี้ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ (ฉบับสมบูรณ์) เป็นแผนระดับที่ 2 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 โดยเป็นฉบับเพิ่มเติมจากแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 ประเด็น ดังนั้น เพื่อให้การแปลงร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ (ฉบับสมบูรณ์) ไปสู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการได้บูรณาการและสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คณะกรรมการฯ จึงได้เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2465 เพิ่มเติมจากโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 รวมทั้งให้สำนักงบประมาณใช้เป็นกรอบจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2565 ร่วมกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 ประเด็นในปัจจุบัน
3) แนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน ... เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการฯ เห็นชอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน ... ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ เพื่อเป็นการแปลงยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ไปสู่การปฏิบัติ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ สศช. เสนอ (1) (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) (2) ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565 (ฉบับสมบูรณ์) และ (3) แนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน ... เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
-------------
(ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สศช.)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36604 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คลังย้ำคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
คลังย้ำคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11)
โครงการคนละครึ่งจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการอีกครั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) ระหว่างเวลา 06.00 น. – 23.00 น. ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com จนกว่าจะครบจำนวน
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงการคนละครึ่งจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการอีกครั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) ระหว่างเวลา 06.00 น. – 23.00 น. ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com จนกว่าจะครบจำนวน ทั้งนี้ ขอย้ำว่า ผู้ที่สามารถลงทะเบียนได้จะต้องเป็นผู้ไม่เคยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งมาก่อน หรือเป็นผู้เคยลงทะเบียนแต่ไม่สำเร็จจึงถือเป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการ ซึ่ง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 มีสิทธิคงเหลือจากผู้ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิและผู้ไม่เริ่มใช้สิทธิภายในกำหนด 14 วัน ที่จะนำมาเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเป็นจำนวน 2.3 ล้านสิทธิ
รองโฆษกกระทรวงการคลังยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงคุณสมบัติของผู้ที่สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการว่า ต้องเป็นประชาชนสัญชาติไทยอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันลงทะเบียน มีบัตรประจำตัวประชาชน และไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งได้รับสิทธิจากโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยขอให้เตรียมลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งในวันที่ 11/11 ก่อนจำนวนสิทธิจะหมดลงอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ผู้ได้รับสิทธิและใช้สิทธิตามโครงการคนละครึ่งแล้ว จะไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืนได้
สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 5.57 แสนร้านค้า และผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 7,352,274 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 10,155 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 5,178 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 4,977 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 214 บาทต่อครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ตามลำดับ
โครงการคนละครึ่ง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 (24 ชั่วโมง)
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36620 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓ | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓
ในวันจันทร์ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกฤษณะ ผลอนันต์ อาคาร ๓ ชั้น ๒ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เขตดินแดง กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมี นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน พร้อมคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เข้าร่วมฯ
โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานตรวจสอบทรัพย์สิน รวมทั้งพิจารณาสำนวนคดีตรวจสอบทรัพย์สิน จำนวน ๕๑ คดี ทรัพย์สิน จำนวน ๑๕๘ รายการ รวมมูลค่าทรัพย์สิน ๔๑,๓๑๔,๒๘๑.๑๔ บาท โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (๑ ตุลาคม - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓) คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ได้มีการประชุมไปแล้ว ๕ ครั้ง พิจารณาวินิจฉัยทั้งสิ้น จำนวน ๑๙๑ คดี ทรัพย์สิน จำนวน ๘๐๓ รายการ รวมมูลค่าทรัพย์สิน ๒๒๗,๓๗๗,๕๐๘.๓๓ บาท สำหรับการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ตามมาตรการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด เพื่อตัดโอกาสในการกลับมาเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซ้ำ และไม่ให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้รับประโยชน์ใดจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติด อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนและสังคมจากปัญหายาเสพติด
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36627 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. ปลุกกระแสซิตี้รัน "Amazing Thailand ซิตี้รัน...มันส์ ฟัน เว่อร์" ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. ปลุกกระแสซิตี้รัน "Amazing Thailand ซิตี้รัน...มันส์ ฟัน เว่อร์" ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า "Amazing Thailand ซิตี้รัน...มันส์ฟันเว่อร์" ปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่กำลังได้รับความนิยมและกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวไทยในช่วงปลายปีโดยมี ททท.ดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน
วันนี้ (5พฤศจิกายน2563)นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในงานแถลงข่าวโครงการกิจกรรม "Amazing Thailandซิตี้รัน...มันส์ฟันเว่อร์" ปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่กำลังได้รับความนิยมและกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวไทยในช่วงปลายปี โดยมี นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการอธิบดี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พลตำรวจตรีสุรพงษ์ อาริยะมงคล อุปนายกและเลขาธิการสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยฯ นายอิทธิพล สมุทรทอง ผู้ก่อตั้งเพจ42.195 Kclubเราจะไปมาราธอนด้วยกัน นายกอบเกียรติ แสงวนิชย์ ผู้บริหารไทยแลนด์ไตรลีก ให้เกียรติร่วมเปิดงาน ณ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศปัจจุบันมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ กระทรวงฯจึงพยายามผลักดันให้มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการกีฬาให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงมาตรการของการป้องกันจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ศบค. เป็นสำคัญ ขณะนี้ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเริ่มเปิดรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขด้านสาธารณสุขที่เข้มงวดและระมัดระวัง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดภายในประเทศ และคาดว่านโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวนี้ จะส่งผลให้มีการจัดกิจกรรมทางด้านการท่องเที่ยวและการแข่งขันกีฬาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่ดีในการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. กล่าวว่า ททท. ได้เร่งดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพททท. ได้มีแนวคิดที่จะปลุกกระแสของการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยม จึงได้กำหนดจัดงานAmazing Thailandซิตี้รัน มันส์ ฟัน เว่อร์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ สนุกทุกเส้นทางในเมืองกรุง ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมFlagshipของสินค้าท่องเที่ยวเชิงกีฬาSport Tourismโดย ททท. จะเชิญชวนให้ เยาวชน คนรุ่นใหม่ รวมถึงนักท่องเที่ยวทุกท่านออกมาเดินหรือวิ่งไปในเส้นทางต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานครในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องวิ่งกันในสวนสาธารณะเท่านั้นอีกทั้งนำเอาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอย่างDistrict Race Applicationซึ่งเป็นระบบการจับเวลารูปแบบใหม่ที่สามารถจับการเคลื่อนไหวของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แบบVirtual Run Live Trackerมาใช้ในการจัดงานในครั้งนี้อีกด้วย
สำหรับกิจกรรมAmazing Thailandซิตี้รัน มันส์ ฟัน เว่อร์ จะจัดงานทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตลอด8สัปดาห์ โดยเริ่มกิจกรรมในวันเสาร์ที่7พ.ย. ถึง27ธ.ค. นี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะต้องปฏิบัติตามภารกิจMissionที่ถูกกำหนดไว้ไม่ซ้ำกันในทุกสัปดาห์ และมีเวลาในการร่วมกิจกรรม3ชั่วโมงต่อครั้ง เริ่มตั้งแต่เวลา05.00ถึง20.00น. โดยทุกคนจะต้องวิ่งไปค้นหาจุดCheck PointแบบVirtualที่ถูกซ่อนไว้ในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน40จุด อาทิ ภูเขาทอง ลานคนเมืองกรุงเทพมหานคร สะพานพุทธฯ มิวเซียมสยาม ป้อมพระสุเมรุ วงเวียนโอเดียน ถนนเยาวราช ตึกมหานครหัวลำโพง สถานีรถไฟฟ้าBTSสวนลุมพินี ท่าเรือคลองแสนแสบ เป็นต้น หลังจากหมดเวลาCutoffผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำคะแนนไปแลกของที่ระลึกโครงการได้ อาทิ ระดับ2,500คะแนน แลกรับผ้าพันคออเนกประสงค์ ระดับ3,000คะแนน แลกรับเสื้อวิ่ง ระดับ4,000คะแนน แลกรับเสื้อทีเชิ้ต และระดับ5,000คะแนน แลกรับเสื้อJacketเป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่านยังได้ลุ้นรับรางวัลต่างๆ อีกมากมาย จากภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะประกาศรางวัลกันในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี2563นี้ต่อไป
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36605 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดเกษตรฯ ฟันธงมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
ปลัดเกษตรฯ ฟันธงมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา
ปลัดเกษตรฯ ฟันธงมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา หวังบรรเทาปัญหาทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการหารือแนวทางเฝ้าระวังสถานการณ์ยางพารา และมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราทั้งระบบ ตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ กรมการค้าภายใน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ห้อง 123
จากสถานการณ์ยางพาราที่ผันผวนในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ซึ่งมีปัจจัยจากหลายสาเหตุ อาทิ ผู้ประกอบการเก็งกำไรในช่วงสถานการณ์ผันผวน นักลงทุนเทขายในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศเพื่อทำกำไร และปริมาณสต๊อกยางเซี่ยงไฮ้ปรับตัวสูงขึ้น ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ 253,537 ตัน เพิ่มขึ้น 5,627 ตัน จากสัปดาห์ก่อนเนื่องจากมีการซื้อเข้าสูงในช่วงก่อนหน้า และปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การขาดแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 ที่หลายประเทศประกาศล็อกดาวน์ มาตรการต่าง ๆ จากภาครัฐ รวมทั้งสถานการณ์โรคใบร่วง และสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตก พายุเข้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมอื่น ๆ อีก เช่น ราคาน้ำมันดิบ และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากช่วงก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลให้ปริมาณยางพาราที่ออกสู่ตลาดลดลง เป็นปัจจัยทำให้ราคายางพาราผันผวนนั่นเอง
จากการหารือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มติที่ประชุมเห็นชอบให้นำมาตรการทางกฎหมายเพื่อมาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยและสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าพ.ศ. 2560 โดยกำหนดให้จุดรับซื้อยางต้องติดป้ายแสดงราคารับซื้อยางพาราที่ชัดเจน เพื่อประกอบการตัดสินใจขายยางของเกษตรกร หากพบว่าผู้ประกอบกิจการยางหรือผู้รับซื้อยางมีพฤติกรรมที่ส่อให้เห็นว่าร่วมกันกำหนดราคาหรือเงื่อนไข กฎเกณฑ์ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 อีกทั้ง ระบุให้ผู้ค้ายางทุกรายจะต้องมีใบอนุญาตค้ายาง และต้องรายงานบัญชีการซื้อขายยาง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ซึ่งกรมวิชาการเกษตรและการยางแห่งประเทศไทย จะร่วมมือกันในการออกตรวจใบอนุญาตค้ายางแบบปูพรมทุกพื้นที่อย่างเข้มงวด นอกจากนี้ กยท. ยังมีโครงการคู่ขนานเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางควบคู่กับมาตรการทางกฎหมายดังกล่าว เช่น โครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกร การเพิ่มจุดรับซื้อและรวบรวมน้ำยางสด โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ตั้งคณะติดตามสถานการณ์ราคายางพาราผันผวน โดยมอบให้ปลัด กษ. เป็นประธานคณะกรรมการ และจะเชิญผู้ประกอบกิจการมาเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ตั้งคณะติดตามสถานการณ์ราคายางพาราผันผวน โดยมอบให้ปลัด กษ. เป็นประธานคณะกรรมการ และจะเชิญผู้ประกอบกิจการมาเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางอย่างเร่งด่วน
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36631 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย ย้ำมาตรการประกันราคายางพาราเพื่อช่วยชาวสวนยาง | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย ย้ำมาตรการประกันราคายางพาราเพื่อช่วยชาวสวนยาง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย ย้ำมาตรการประกันราคายางพาราเพื่อช่วยชาวสวนยาง
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายสรวิศ ธานีโต โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงกรณีสถานการณ์ราคายางพารา ณ ปัจจุบัน โดยนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงสถานการณ์ราคายางพาราในขณะนี้ว่า ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายตุลาคมที่ผ่านมา ราคายางขยับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 54 บาท/กก. เป็น 82 บาท/กก. เพิ่มขึ้นประมาณ 28 บาท/กก. ปัจจัยมาจากในช่วงดังกล่าวผู้ซื้อในประเทศเร่งซื้อยางเพื่อส่งมอบตามสัญญา ซึ่งความต้องการใช้ยางในประเทศสูง ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติต่างได้ผลกระทบจากพายุโซเดล และ โมลาเบ แต่หลังจาก 28 ต.ค เป็นต้นมา ราคายางเริ่มปรับตัวลง เป็นผลจากนักลงทุนต่างประเทศเกิดการเทขายเพื่อเกร็งกำไรในตลาดล่วงหน้า อีกทั้งการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) ระลอกใหม่ หลายประเทศประกาศ ล็อกดาวน์อีกครั้ง ส่งผลต่อการส่งออกยาง รวมถึงผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น เหล่านี้จึงเป็นผลให้ราคายางมีการย่อตัวลง ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 6 พ.ย. 63 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ปิดตลาดราคาเฉลี่ยที่ 61.48 บาท/กก. ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงทรงตัวของราคา อย่างไรก็ตามในส่วนนี้รัฐบาลได้สั่งการให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เข้าดูแล ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เป็นมาตรการหนึ่งของรัฐบาลที่เน้นช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางโดยการประกันความเสี่ยงเรื่องรายได้ ซึ่งราคาประกันที่โครงการกำหนดไว้ คือ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาท/กก. น้ำยางสดราคา 57 บาท/กก. และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาท/กก. ทั้งนี้ เกษตรกรชาวสวนยางต้องขึ้นทะเบียนกับ กยท. ก่อน 15 พฤษภาคม 63 มีสวนยางเปิดกรีดแล้ว อายุยาง 7 ปีขึ้นไป รายละไม่เกิน 25 ไร่ โดยจะได้รับเงินประกันรายได้นอกเหนือจากการขายยาง ตั้งแต่ ตุลาคม 63 – มีนาคม 64
อย่างไรก็ตาม กยท. เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในนามรัฐบาลมีบทบาทหน้าที่ดูแลยางพาราทั้งระบบ ครอบคุมทั้ง เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) โดยทุกหน่วยต่างมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแลและแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างแน่นอน
......................
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36610 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการพัฒนาเนินทรายงาม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ | วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563
โครงการพัฒนาเนินทรายงาม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลอนุมัติงบกลาง โครงการพัฒนาเนินทรายงาม วงเงิน 19 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบ รองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ ตามเส้นทางท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลระดับสากลอย่างยั่งยืน หรือ Scenic Route ช่วยส่งเสริมและสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก ที่เรียกว่า Thailand Riviera โดยจะจ้างที่ปรึกษาสำรวจและรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม ก่อสร้างและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน จัดอบรมบุคลากร และจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
| https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36615 |
Subsets and Splits
No community queries yet
The top public SQL queries from the community will appear here once available.