title
stringlengths
10
260
context
stringlengths
29
179k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. ปลื้ม ได้รับการจัดอันดับเครดิตเรทติ้งส์ สูงสุดที่ AAA(tha) และ F1+(tha) ต่อเนื่อง 7 ปี
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ธ.ก.ส. ปลื้ม ได้รับการจัดอันดับเครดิตเรทติ้งส์ สูงสุดที่ AAA(tha) และ F1+(tha) ต่อเนื่อง 7 ปี 'ฟิทช์ เรทติ้งส์' คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ธ.ก.ส. ที่ระดับสูงสุด 'AAA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิต Stable และระยะสั้นที่ 'F1+(tha)' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 สะท้อนสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มั่นคง และมีเสถียรภาพ 'ฟิทช์ เรทติ้งส์' คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ธ.ก.ส. ที่ระดับสูงสุด 'AAA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิต Stable และระยะสั้นที่ 'F1+(tha)' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 สะท้อนสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มั่นคง และมีเสถียรภาพ เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีการบริหารจัดการทางการเงิน ที่ดีและมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายรัฐและพัฒนาภาคเกษตรได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศผลการจัดอันดับเครดิตของ ธ.ก.ส. โดย คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวอยู่ที่ระดับ 'AAA(tha)' แสดงถึงความน่าเชื่อถือสูงสุดและความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ต่ำสุด แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ 'Stable' และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ระดับ 'F1+(tha)' แสดงถึงความสามารถสูงสุดในการชำระคืนเงินกู้ตามกำหนดและความเสี่ยงในการผิดนัด ชำระหนี้ต่ำที่สุด และมีสภาพคล่องแข็งแกร่งเป็นพิเศษ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ซึ่งเป็นอันดับเครดิตที่สูงสุดสำหรับการจัดอันดับเครดิตในประเทศ ในการจัดอันดับเครดิตของ ธ.ก.ส. นั้น ฟิทช์เรทติ้งส์ระบุว่า ด้วยสถานะทางกฎหมายของ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ รวมทั้งบริหารงานร่วมกับคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนพิเศษนอกเหนือจากการดำเนินงานตามปกติแก่ ธ.ก.ส. อย่างทันท่วงทีในกรณีที่มีความจำเป็น อาทิ การเพิ่มทุนและการค้ำประกันเงินกู้ยืม เป็นต้น นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังได้รับการชดเชยทางการเงินจากการสนับสนุนโครงการและนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนนโยบายรัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับภาคเกษตรและการพัฒนาชนบท ซึ่งการจัดอันดับเครดิตนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงเสถียรภาพทางเครดิตและประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ดีในการจัดการทางการเงิน และขับเคลื่อนภารกิจเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการสนับสนุนทางการเงิน และเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทหลักในการพัฒนาภาคเกษตรของไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36472
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เข้าแล้ว !! จุรินทร์ ยัน ประกันรายได้ “ข้าว-ยาง” เข้าที่ประชุมครม.วันนี้ !!!
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เข้าแล้ว !! จุรินทร์ ยัน ประกันรายได้ “ข้าว-ยาง” เข้าที่ประชุมครม.วันนี้ !!! นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชน ที่ จ.ภูเก็ต ถึงเรื่องที่จะได้นำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม ครม. สัญจรนัดนี้ว่า วันนี้จะนำประกันรายได้พืชเกษตร 2 ตัว คือข้าว กับยางพารา เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี สำหรับพืชทั้ง 2 ตัวนี้ รายได้ที่ประกันก็จะเหมือนปีที่แล้ว เช่น ข้าว มี 5 ชนิด เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ที่เหลือก็ลดหลั่นกันไป ส่วนยางพารา จะแบ่งเป็น 3 ชนิด ยางแผ่นดิบชั้น 3 กก.ละ 60 บาท น้ำยางข้น กก.ละ 57 บาท ยางก้อนถ้วย กก.ละ 23 บาท ซึ่งวงเงินสำหรับยางพารา อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท วงเงินประกันรายได้ข้าวประมาณ 50,000 ล้านบาท เพราะข้าวจะมีส่วนช่วยเรื่องการพัฒนาคุณภาพไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ด้วย ซึ่งก็จะรอการพิจารณาของ ครม. วันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรปี2 ได้ผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้ว 3 ชนิดคือการประกันรายได้ข้าวโพด ปาล์ม และมันสำปะหลัง แต่ยังค้างข้าวและยางพารา โดยข้าวนั้นคณะกรรมการ นบข.เห็นชอบ 18 มิ.ย. และ 17 ก.ค.63 จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ลงนามเสนอคณะรัฐมนตรี 21 สิงหาคม 2563 ส่วนยางพารา บอร์ด กนย. เห็นชอบเมื่อ 1 มิถุนายน 2563 จากนั้นนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรลงนามเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อ 14 กันยายน 2563 และเป็นเรื่องที่เกษตรกรติดตามอย่างใกล้ชิด ล่าสุดเข้าครม.วันนี้และคณะรัฐมนตรีกำลังอยู่ระหว่างการประชุม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36479
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อธิบดีกรมศิลปากรตรวจแหล่งภาพเขียนสีในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา พร้อมมอบนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งภาพเขียนสี (ศิลปะถ้ำ) ฝั่งทะเลอันดามัน
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 อธิบดีกรมศิลปากรตรวจแหล่งภาพเขียนสีในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา พร้อมมอบนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งภาพเขียนสี (ศิลปะถ้ำ) ฝั่งทะเลอันดามัน อธิบดีกรมศิลปากรตรวจแหล่งภาพเขียนสีในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา พร้อมมอบนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งภาพเขียนสี (ศิลปะถ้ำ) ฝั่งทะเลอันดามัน นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจแหล่งภาพเขียนสีที่พบใหม่ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ซึ่งสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้รับการประสานจากอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา และขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมสำรวจภาพเขียนสีโบราณ จึงดำเนินการสำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ตามโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ ๒๗ – ๒๘ ตุลาคมที่ผ่านมา โดยสำรวจแหล่งภาพเขียนสีแหล่งเดิม ๖ แห่ง ได้แก่ เกาะปันหยี ถ้ำนาค เขารายา เขาเขียน ๑ เขาเขียน ๒ และเขาพระอาดเฒ่า และสำรวจพบแหล่งภาพเขียนสีแหล่งใหม่ จำนวน ๕ แหล่ง ได้แก่ เกาะทะลุนอก เกาะเขาเต่า ถ้ำนกกระเรียน เกาะไข่ และเกาะยางแดง รวมทั้งสิ้น ๑๑ แหล่ง อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งภาพเขียนสียุคก่อน ประวัติศาสตร์ที่ค้นพบ นับว่าเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญมาก จึงได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช จัดทำโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งภาพเขียนสี (ศิลปะถ้ำ) ฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อรวบรวม องค์ความรู้เกี่ยวกับภาพเขียนสีในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่และพังงาอย่างเป็นระบบ และนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาเป็นพื้นฐานต่อยอดในเชิงพัฒนา เช่น การจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ มีการกระจายรายได้ให้กับชุมชนที่ร่วมกันดูแล และเป็นการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมด้วยอีกทางหนึ่ง ภาพเขียนสีตามเพิงผาหรือถ้ำบริเวณอ่าวพังงา รวมไปถึงบริเวณฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมดที่สำรวจพบแล้วมีกว่า ๓๐ แห่ง เกือบทั้งหมดเป็นภาพที่เขียนขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งผู้คนยังไม่มีตัวอักษรใช้สื่อสาร เรื่องราวภาพเขียนสีที่บันทึกจึงแสดงออกถึงวิถีชีวิตและการใช้พื้นที่ของผู้คนเมื่อราว ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว เช่น ภาพบุคคล ภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ภาพลวดลายเรขาคณิต โดยมนุษย์ในอดีตสามารถใช้ถ้ำและเพิงผาเป็นแหล่งพักพิงชั่วคราว ประกอบกิจกรรมหรือพิธีกรรมบางอย่าง หรือใช้พื้นที่เป็นแหล่งหลบลมมรสุมกระแสคลื่นลมในการเดินทางไปมาระหว่างแผ่นดินตอนใน และพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่มีการใช้เส้นทางตามลำน้ำและคลอง ลัดเลาะเชื่อมเข้าออกสู่ทะเล และอาศัยแหล่งอาหารตามธรรมชาติ จึงสามารถสะท้อนถึงกลุ่มคนผู้เขียนภาพเหล่านี้ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย จากประวัติการศึกษาที่ผ่านมา มีการค้นพบและสำรวจแหล่งภาพเขียนสีบริเวณอ่าวพังงา – อ่าวลึก ของนักวิชาการไทยและต่างชาติ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๓๑ กรมศิลปากร ภายใต้การดำเนินงานของโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดี (ภาคใต้) ได้ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศ พบแหล่งภาพเขียนสีหลายแห่ง หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา มีการแจ้งพบแหล่งภาพเขียนสีเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดพังงา กระบี่ และตรัง จึงดำเนินการสำรวจซ้ำแหล่งเดิมเพื่อตรวจสอบสภาพของแหล่งภาพเขียนสี และสำรวจแหล่งที่พบใหม่เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน --------------------------------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36475
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อนุทิน" เยี่ยมรัฐมนตรีประเทศแถบยุโรปติดโควิด 19 ไม่มีอาการ พิสูจน์ระบบเฝ้าระวังไทยมีประสิทธิภาพ
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 "อนุทิน" เยี่ยมรัฐมนตรีประเทศแถบยุโรปติดโควิด 19 ไม่มีอาการ พิสูจน์ระบบเฝ้าระวังไทยมีประสิทธิภาพ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมรัฐมนตรีของประเทศแถบยุโรปที่สถาบันบำราศนราดูร หลังตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 แต่ไม่มีอาการ ขณะเดินทางถึงประเทศไทยเพื่อปฏิบัติภารกิจตามกำหนดการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมรัฐมนตรีของประเทศแถบยุโรปที่สถาบันบำราศนราดูร หลังตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 แต่ไม่มีอาการ ขณะเดินทางถึงประเทศไทยเพื่อปฏิบัติภารกิจตามกำหนดการ พิสูจน์ระบบเฝ้าระวังและคัดกรองโรคมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้ติดตาม 12 ราย ผลเป็นลบ เผยรัฐบาลประเทศต้นทางส่งเครื่องบิน 2 ลำรับตัวกลับ วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2563) ที่สถาบันบำราศนราดูร จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นตัวแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมให้กำลังใจให้รัฐมนตรีของประเทศหนึ่งในแถบยุโรป ซึ่งตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 จากระบบตรวจเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ และเชิญเข้ารับการรักษาที่ห้องแยกโรค สถาบันบำราศนราดูร พร้อมมอบแจกันดอกไม้จากนายกรัฐมนตรีผ่านทางเทเลเมดิซีน นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า ผู้ติดเชื้อเป็นคณะรัฐมนตรีของประเทศในแถบยุโรป ซึ่งมีหมายเดินทางมาเจรจาในประเทศไทยตามกำหนดการภายใต้การควบคุมทุกอย่าง เมื่อคณะเดินทางถึงประเทศไทยจึงผ่านกระบวนการคัดกรองและตรวจหาเชื้อในช่วง 21.00 น. ของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เมื่อทำการตรวจเชื้อด้วยวิธีการ RT-PCR 2 ครั้ง พบว่า รัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าทีมมีการติดเชื้อโควิด 19 แต่ไม่มีอาการ จึงเชิญมารับการรักษาในห้องแยกโรค ที่สถาบันบำราศนราดูร ดังนั้น กำหนดการต่างๆ ที่มีต้องยกเลิกไป วันนี้ตนจึงมาเยี่ยมในฐานะตัวแทนของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีก็กำชับให้ดูแลด้วยความเรียบร้อย นายอนุทินกล่าวต่อว่า จากการเยี่ยมทำให้ได้รับทราบว่า รัฐบาลของประเทศต้นทางได้ส่งเครื่องบิน 2 ลำ เข้ามารับผู้ติดเชื้อและคณะกลับไป โดยผู้ติดเชื้อและคณะต้องแยกลำกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ยืนยันว่าไม่ใช่เครื่องบินพาณิชย์ และไม่มีผู้โดยสารอื่น จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการติดเชื้อ โดยกระบวนการส่งตัวผู้ติดเชื้อ เจ้าหน้าที่จะสวมชุดป้องกัน PPE. และจัดรถแยกโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้มีการแพร่เชื้อ ถือว่าเป็นอีกครั้งที่ระบบการสาธารณสุขของประเทศไทยพิสูจน์ถึงความมีประสิทธิภาพ ความเข้มแข็งของการตรวจและคัดกรองโรคโควิด 19 ขอยืนยันกับประชาชนให้เกิดความสบายใจว่า เราจะไม่มีวันปล่อยให้ผู้ติดเชื้อออกไปจากการควบคุมหรือนอกสถานที่กักกันโรค จากนี้โรงพยาบาลจะจัดยาฟาวิพิราเวียร์ให้ด้วย เพื่อดูแลระหว่างเดินทางกลับประเทศ หากหายดีแล้วจึงค่อยกลับมาใหม่อีกครั้ง นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นกรณีแรกๆ ที่เป็นรัฐมนตรีระดับสูงของต่างประเทศ แต่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการใดๆ ตามแนวทางคือ หากไม่มีอาการจะอยู่รักษา 10 วัน หากมีอาการจะต้องอยู่รักษาตัวจนหาย หรือหากประเทศต้นทางสามารถจัดเครื่องบินมารับแบบปลอดภัย ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และผู้ติดเชื้อแข็งแรงพอที่จะเดินทางได้ ก็จะอนุญาตให้ออกนอกประเทศได้ สำหรับคณะที่เดินทางมาด้วยมีจำนวน 12 คน ถือว่าเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด แต่ผลการตรวจโพรงจมูกหาเชื้อเป็นลบ ตามแนวปฏิบัติจะดำเนินการกักกันโรคและให้เดินทางออกนอกประเทศด้วยเที่ยวบินพิเศษโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ****************************** 4 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36496
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดงานมหกรรมที่อยู่อาศัยโลก ปี 2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ขอนแก่น
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 พม. จัดงานมหกรรมที่อยู่อาศัยโลก ปี 2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ขอนแก่น พม. จัดงานมหกรรมที่อยู่อาศัยโลก ปี 2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ขอนแก่น วันนี้ (4 พ.ย. 63) เวลา 11.00 น. นายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ณ เวทีกลางหน้าอาคารสำนักงาน พอช. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อมอบนโยบายสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยให้กับผู้บริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ผู้แทนองค์กรชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้แทนองค์กรชุมชนในจังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งประกาศยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยจังหวัดขอนแก่นและรับมอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยจังหวัดขอนแก่น ในงานมหกรรมที่อยู่อาศัยโลก ปี 2563 ภายใต้หัวข้อ การพัฒนาที่อยู่อาศัยสู่แผนยุทธศาสตร์ ที่อยู่อาศัยจังหวัด นอกจากนี้ ยังเป็นประธานมอบบ้านพอเพียงชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด นายสากล กล่าวว่า ด้วยองค์การที่อยู่อาศัยแห่งสหประชาชาติ (UN – HABITAT) ได้กำหนดหัวข้อ Housing For All : A better Urban Future หรือ ที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน : อนาคตของเมืองที่ดีกว่า สำหรับงานมหกรรมที่อยู่อาศัยโลกปี 2563 เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลกปี 2563 ซึ่งรัฐบาลไทย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้กำหนดจัดงานมหกรรมที่อยู่อาศัยโลก ปี 2563 ทั้งในส่วนกลางและในทุกภูมิภาค สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการจัดงาน ณ จังหวัดขอนแก่น ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาที่อยู่อาศัย สู่แผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยจังหวัด” เพื่อนำเสนอรูปธรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย โดยชุมชนร่วมกับท้องถิ่น และการผลักดันนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในรูปแบบการแก้ไขปัญหาระดับเมืองหรือตำบล นายสากล กล่าวต่อไปว่า สำหรับจังหวัดขอนแก่น กระทรวง พม. โดย พอช. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผ่านโครงการบ้านมั่นคงใน 10 เมือง 59 ชุมชน จำนวน 5,700 ครัวเรือน และการแก้ปัญหาที่ดินทำกินใน 36 ตำบล รวมทั้ง การปรับปรุง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับครัวเรือนยากจนและกลุ่มคนเปราะบางที่มีปัญหาความเดือดร้อนผ่านโครงการบ้านพอเพียงชนบท จำนวนกว่า 400 ครัวเรือน ใน 60 ตำบล ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายมากกว่า 10 องค์กร นายสากล กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาที่อยู่อาศัยในประเทศไทยในภาพรวม มีการขับเคลื่อนงานทั้งแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับชาติ กลไกคณะกรรมการทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนงบประมาณผ่านหน่วยงานต่างๆ ไปสู่ท้องถิ่นโดย กระทรวง พม. โดย พอช. ได้ผลักดันการคลี่คลายปัญหาข้อติดขัด เรื่องระเบียบ กฎหมาย ให้เอื้อต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย การอนุญาตให้ใช้และให้เช่าที่ดินของรัฐ โดยชุมชนร่วมรับผิดชอบในรูปแบบกลุ่มหรือสหกรณ์ และมีภาคีเครือข่ายร่วมกันพัฒนาชุมชนและสังคมในมิติต่างๆ ไปพร้อมกัน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36498
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส.ลุย Money Expo เชียงใหม่ ครั้งที่ 15 สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.99% ต่อปี พร้อมดอกเบี้ยพิเศษวงเงินจำกัด!! ช่วงนาทีทอง Golden Minute
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ธอส.ลุย Money Expo เชียงใหม่ ครั้งที่ 15 สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.99% ต่อปี พร้อมดอกเบี้ยพิเศษวงเงินจำกัด!! ช่วงนาทีทอง Golden Minute ธอส.จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับชาวเหนือที่ต้องการมีบ้าน ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ย 2 ปีแรก คงที่ 2.99% ต่อปี ปีที่ 3 MRR ลบ 3.16% ต่อปี ปัจจุบันเฉลี่ย 3 ปีแรกอัตราดอกเบี้ยเพียง 2.99% ต่อปี และจัดช่วงนาทีทอง Golden Minute ที่งาน Money Expo เชียงใหม่ ครั้งที่ 15 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารบ้านของคนไทย จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับชาวเหนือที่ต้องการมีบ้าน ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ย 2 ปีแรก คงที่ 2.99% ต่อปี ปีที่ 3 MRR ลบ 3.16% ต่อปี ปัจจุบันเฉลี่ย 3 ปีแรกอัตราดอกเบี้ยเพียง 2.99% ต่อปี และจัดช่วงนาทีทอง Golden Minute ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 พบกับอัตราดอกเบี้ยพิเศษยิ่งกว่าเดิม เพียงจองสิทธิ์ผ่าน Application : GHB ALL เวลา 15.00 – 15.15 น. เท่านั้น วงเงินจำกัด จองก่อนได้ก่อน!! ด้านคนรักการออมพบกับสลากออมทรัพย์ ธอส. ชุดเกล็ดดาว หน่วยละ 5,000 บาท ได้ลุ้นรางวัลสูงสุด 1 ล้านบาท ตลอด 24 เดือน และเงินฝากออมทรัพย์ New Flexi For Welfare and Corporate รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.10% ต่อปี พร้อมด้วยทรัพย์ NPA ลดราคาพิเศษสูงสุด 60% ที่งาน Money Expo เชียงใหม่ ครั้งที่ 15 วันที่ 6 - 8 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์พิเศษของธนาคารได้สะดวกยิ่งขึ้น ธอส. ธนาคารบ้านของคนไทยที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” จึงได้จัดทำโปรโมชั่นพิเศษ สำหรับงาน “Money Expo เชียงใหม่ ครั้งที่ 15” ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 8 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต นำโดย 1.สินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก คงที่ 2.99% ต่อปี ปีที่ 3 MRR ลบ 3.16% ต่อปี เฉลี่ย 3 ปีแรกอัตราดอกเบี้ยเพียง 2.99 % ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.150% ต่อปี) ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กรณีลูกค้าสวัสดิการเท่ากับ MRR ลบ 1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MOU เท่ากับ MRR ลบ 0.75% ต่อปี และกรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไปเท่ากับ MRR ลบ 0.50% ต่อปี วัตถุประสงค์การให้กู้ เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม ไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น ซื้อที่ดินเปล่าที่เป็นทรัพย์ NPA ของ ธอส. และกู้เพิ่มเพื่อปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย และซ่อมแซมอาคาร ทั้งนี้ เฉพาะที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ และตากเท่านั้น พิเศษ! 3 ฟรีค่าธรรมเนียม ประกอบด้วย 1.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 2.ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และ 3.ค่าประเมินราคาหลักประกัน โดยต้องจองสิทธิ์สินเชื่อภายในงาน ยื่นคำขอกู้ระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2563 อนุมัติและทำนิติกรรมภายในวันที่ 29 มกราคม 2564 และพลาดไม่ได้สำหรับสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่สุดในงานช่วงนาทีทอง Golden Minute ซึ่งธนาคารจะเปิดให้เฉพาะลูกค้าที่จองสิทธิ์สินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยพิเศษในงาน Money Expo เชียงใหม่เรียบร้อยแล้วภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ก่อนเวลา 12.00 น. จากนั้นจะสามารถจองสิทธิ์สินเชื่อช่วงนาทีทอง Golden Minute ได้ผ่าน Application : GHB ALL ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 15.15 น. จองก่อนได้ก่อน (ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการปิดจองก่อนเวลา 15.15 น. เมื่อมีการจองเต็มกรอบวงเงินรวม 100 ล้านบาท และห้ามกู้เกินวงเงินที่จองสิทธิ์) ทั้งนี้ ลูกค้าสินเชื่อที่มีวงเงินทำนิติกรรมสูงสุด 5 อันดับแรก ยังมีสิทธิ์ได้รับของสมนาคุณพิเศษจากธนาคารอีกด้วย 2. สลากออมทรัพย์ ธอส. ชุดเกล็ดดาว หน่วยละ 5,000 บาท จำหน่ายรวม 3 ล้านหน่วย แบ่งเป็น 3 หมวด ๆ ละ 1 ล้านหน่วย โดยล่าสุด ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. สามารถจำหน่ายได้แล้วมากกว่า 1,300,000 หน่วย หลังจากเปิดจำหน่ายเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ผู้ซื้อได้สิทธิ์รับผลตอบแทนหน้าสลาก 0.4% ต่อปี อายุสลาก 2 ปี ออกรางวัลทุกเดือนรวม 24 ครั้ง ได้ลุ้นรางวัลมากมาย แบ่งเป็นรางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลสูงถึง 1,000,000 บาท/หมวด รางวัลที่ 2 รางวัลละ 50,000 บาท 4 รางวัล/หมวด รางวัลที่ 3 รางวัลละ 5,000 บาท 20 รางวัล/หมวด รางวัลที่ 4 รางวัลละ 500 บาท 20 รางวัล/หมวด รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 100 บาท รางวัลเลขสลับเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 50 บาท รางวัลเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 50 บาท และรางวัลเลขสลับเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 20 บาท ออกรางวัลครั้งแรกวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 พิเศษสำหรับผู้ที่จองสิทธิ์และซื้อสลากออมทรัพย์ชุดเกล็ดดาวภายในงานหรือภายในระยะเวลาที่กำหนดจะได้รับกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน 1 ราย ต่อ 1 ใบ 3.เงินฝากออมทรัพย์ New Flexi for Welfare and Corporate สำหรับลูกค้าที่มีเงินเดือนประจำจากหน่วยงานหรือบริษัท หากเปิดบัญชีและมียอดเงินฝากคงเหลือไม่เกิน 10 ล้านบาท จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.85% ต่อปี พิเศษ!! หากเดือนใดไม่มีการถอนจะได้รับดอกเบี้ยบวกเพิ่ม 0.25% ต่อปี (คิดเป็นอัตราดอกเบี้ย 1.1% ต่อปี) เพียงเปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท จองสิทธิ์ภายในงาน และเปิดบัญชีระหว่างวันที่ 6 – 15 พฤศจิกายน 2563 ได้ที่สาขาที่ธนาคารกำหนดในพื้นที่ภาคเหนือเท่านั้น พิเศษสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีตามระยะเวลาที่กำหนดจะได้รับตุ๊กตาหมี 1 ตัว ต่อ 1 ราย 4.บ้านมือสอง หรือ ทรัพย์ NPA พบกับทรัพย์สภาพใหม่ ทำเลเด่น เดินทางสะดวก ที่นำมาจำหน่ายในราคาสุดคุ้มรวม 117 รายการ ทั้งประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง ด้วยส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 60% จากราคาปกติ ได้แก่ ที่ดินเปล่า ขนาด 1,051 ตารางวา ในโครงการมะลิวรรณแกรนด์วิวล์ ราคา 850,000 บาท ส่วนรายการที่มีราคาจำหน่ายต่ำสุดคือ ที่ดินเปล่าขนาด 464 ตารางวา ในโครงการริมกกการ์เด้นท์รีสอร์ท จ.เชียงใหม่ ราคาเพียง 325,000 บาท เท่านั้น พิเศษ ผู้ซื้อทรัพย์ NPA สามารถผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% ต่อปี นานสูงสุดถึง 48 เดือน หรือยื่นขอสินเชื่อและทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 รับอัตราดอกเบี้ย 0% นานสูงสุดถึง 4 ปี (เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามระเบียบธนาคาร) สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36491
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อธิบดีกรมศิลปากรตรวจติดตามโครงการบูรณะพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม จังหวัดพังงา
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 อธิบดีกรมศิลปากรตรวจติดตามโครงการบูรณะพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม จังหวัดพังงา อธิบดีกรมศิลปากรตรวจติดตามโครงการบูรณะพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม จังหวัดพังงา อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจติดตามการดำเนินโครงการบูรณะพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม ตำบล กระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งกรมศิลปากรได้อุดหนุนงบประมาณในการดำเนินงาน เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ทางวัดมาตุคุณาราม โดยพระครู สัจจญาณประยุต เจ้าอาวาส ได้หารือมายังสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เพื่อบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม เนื่องจากในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา พระอุโบสถมีสภาพชำรุดทรุดโทรม หลังคารั่ว เครื่องไม้หลังคาผุกร่อน ฯลฯ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบศาสนกิจของสงฆ์ โดยวัดมีงบประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการสำรวจสภาพความชำรุด จัดทำรูปแบบรายการ และประมาณการค่าใช้จ่ายในการบูรณะอุโบสถวัดมาตุคุณาราม เป็นเงินทั้งสิ้น ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้ขอตั้งงบประมาณในลักษณะงบอุดหนุน โดยกรมศิลปากรได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท จากนั้นวัดมาตุคุณาราม ได้ว่าจ้างผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับมาทำการบูรณะ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ มีกำหนดแล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ นับเป็นการประสานความร่วมมืออย่างดีระหว่างวัดและกรมศิลปากร ทั้งด้านการทำงานและงบประมาณ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนสืบไป วัดมาตุคุณาราม สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๓๐ – ๒๓๔๐ โดยพระยาโลหะภูมิพิสัย (ขุนดำ ณ ตะกั่วทุ่ง) เป็นผู้สร้าง เพื่อตอบแทนคุณมารดา จึงมีนามว่า “วัดมาตุคุณาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดใหม่” เพราะสร้างขึ้นคู่กับวัดบูรณารามที่มีอยู่เดิม วัดนี้ได้รับการอุปถัมภ์บำรุงเป็นอย่างดีจากตระกูล ณ ตะกั่วทุ่ง ๓ ชั่วอายุคนติดต่อกันมา คือ พระตะกั่วทุ่ง (ขุนดำ) พระตะกั่วทุ่ง (ถิน) พระตะกั่วทุ่งอ่อน (อ่อน) สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง ประตูประดับลวดลายปูนปั้นรูป วงโค้งแสดงอิทธิพลศิลปะตะวันตก หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ภายในอุโบสถประดิษฐานกลุ่มพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณศิลปะพื้นถิ่นภาคใต้ มีพระประธานปางปาลิไลยก์ ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิ รอบอุโบสถมีใบเสมา ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงดอกบัวตูม กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดมาตุคุณาราม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง หน้า ๙ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ --------------------------------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36474
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.รับมอบหุ่นยนต์ HAPYbot ส่งต่อ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 สธ.รับมอบหุ่นยนต์ HAPYbot ส่งต่อ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบหุ่นยนต์ทางการแพทย์ HAPYbot ส่งต่อให้โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.นราธิวาส ขนส่งเอกสาร ยา เวชภัณฑ์ อาหาร เสื้อผ้า สิ่งของ ลดความเสี่ยงโรคโควิด 19 บุคลากรทางการแพทย์ ต่อยอดโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบ Smart Hospital พร้อมรับมอบเครื่องผลิตออกซิเจน 75 เครื่อง เครื่องช่วยหายใจแรงดันระดับ 2 จำนวน 182 เครื่อง และชุด PPE. 52,000 ชิ้น จากมูลนิธิเทมาเสก ให้แก่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 135 แห่ง ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด 19 และโรคทางเดินหายใจ วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหุ่นยนต์อัจฉริยะเพื่อการแพทย์ "HAPYbot" จากบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ตัว เพื่อมอบให้โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส ซึ่งหุ่นยนต์ดังกล่าวจะช่วยลดการสัมผัสผู้ป่วย ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ต่อโรคโควิด 19 โดยการควบคุมสั่งการหุ่นยนต์ผ่านแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือการสแกนคิวอาร์โคดด้วยระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม สามารถช่วยขนส่งเอกสาร ยา เวชภัณฑ์ อาหาร เสื้อผ้า สิ่งของต่างๆ โดยรับน้ำหนักสิ่งของได้ถึง 10-15 กิโลกรัม เปิดปิดประตูห้องคนไข้ได้ อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับระบบลิฟต์ มีความเร็วเคลื่อนที่ประมาณ 2.5-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีระบบกล้องและเทเลเมดิซีน ช่วยให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ สื่อสารซักถามอาการกับผู้ป่วยภายในห้องได้ รวมถึงมีระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในการเรียนรู้เส้นทางและหลบหลีกคนหรือสิ่งของที่ขวางทางได้ เมื่อทำงานเสร็จจะกลับไปยังแท่นชาร์จทันที สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ 210 นาที แพทย์หญิงพรรณประภา กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบ Smart Hospital การมอบหุ่นยนต์ดังกล่าวให้กับโรงพยาบาลในครั้งนี้ จึงเป็นการต่อยอดการพัฒนาระบบบริการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ทุกจังหวัดมีโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบ Smart Hospital อย่างน้อย 1 แห่งภายในปีนี้ แพทย์หญิงพรรณประภา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังรับมอบเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากมูลนิธิเทมาเสก อินเตอร์เนชันแนล ประเทศสิงคโปร์ ผ่านทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้แก่ เครื่องผลิตออกซิเจน จำนวน 75 เครื่อง เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันระดับ 2 พร้อมอุปกรณ์เสริมประกอบการใช้งาน จำนวน 182 เครื่องและชุด PPE. จำนวน 52,000 ชิ้น เนื่องจากมีความประสงค์บริจาคเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ให้แก่โรงพยาบาลรัฐของไทย โดยส่งมอบต่อให้แก่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 135 แห่งเพื่อใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19และผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ทั้งนี้ สพฉ. จะเป็นผู้ติดต่อประสานและดำเนินการนำเข้าต่อไป ************************************* 4 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36482
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน จับมือ SINOPEC ร่วมสร้างแรงงานคุณภาพ สนองอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ก.แรงงาน จับมือ SINOPEC ร่วมสร้างแรงงานคุณภาพ สนองอุตสาหกรรมปิโตรเลียม กระทรวงแรงงาน มอบ กพร. ร่วมมือ SINOPEC พัฒนาฝีมือแรงงานไทยในสาขาเทคโนโลยีเชื่อมอัตโนมัติในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม สนองอุตสาหกรรมเป้าหมาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีนโนบายขับเคลื่อนประเทศไทย และสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจโดยมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน พัฒนากำลังแรงงานให้มีฝีมือตรงกับเทคโนโลยี และความต้องการของภาคอุตสาหกรรม มอบหมายให้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในวันนี้ กพร. ร่วมกับบริษัท ซิโนเปค อินเตอร์เนชั่นแนล ปิโตรเลียม เซอร์วิส คอร์ปอเรชั่น ได้บูรณาการความร่วมมือเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานด้านเทคโนโลยีการเชื่อมอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นการยกระดับทักษะฝีมือให้แก่แรงงานไทย รองรับงานด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งถือว่าเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับบริษัทชิโนเปคฯ เป็นบริษัทในเครือ SINOPEC Group สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิศวกรรมปิโตรเลียมชั้นนำของโลก และได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune Global 500 ให้เป็นบริษัทที่มีรายได้เป็นอันดับสองของโลกในปี 2019 และ 2020 ทั้งนี้ บริษัทชิโนเปค ฯ ได้ดำเนินกิจการในประเทศไทยร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เดินท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าแรงงาน จึงมีความต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่แรงงานไทยในสาขาเทคโนโลยีการเชื่อมอัตโนมัติในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ตลอดจนการเป็นศูนย์กลางในการฝึกด้านการเชื่อม เพื่อส่งออกแรงงานไทยสู่การทำงานในแถบเอเชียและภูมิภาคอื่นต่อไป ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวเพิ่มเติมว่า กพร. มีแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาเทคโนโลยีการเชื่อมอัตโนมัติในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม โดยร่วมกับบริษัทซิโนเปค อินเตอร์เนชั่นแนล ปิโตรเลียม เซอร์วิส คอร์ปอเรชั่น (SINOPEC) เพื่อพัฒนาครูฝึกกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสามารถขยายผลฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาหรือกลุ่มแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มทักษะฝีมือแรงงานในการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการเชื่อมอัตโนมัติกับทางบริษัทฯ จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ การเชื่อมไฟฟ้าระดับกลาง การเชื่อม TIG/การเชื่อมอาร์กอนและก๊าซคาร์บอนไดออกไชด์ระดับกลาง การเชื่อมระดับสูง และการเชื่อมท่อหม้อไอน้ำและภาชนะรับความดัน เป้าหมายผู้เข้ารับการอบรมนำร่องที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 100 คน โดยสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี หรือศูนย์ฝึกของบริษัทชิโนเปคโดยตรง โดยบริษัทชิโนเปคฯ จะนำผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดองค์ความรู้ และนำอุปกรณ์การฝึกภาคปฏิบัติมาติดตั้งที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี และใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านงานเชื่อมดังกล่าว ทั้งนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมในแต่ละหลักสูตร โดยคาดว่าจะสามารถจ้างงานผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 300 คน ในโครงการนำร่อง จึงเป็นโอกาสที่ดีในการประกอบอาชีพของแรงงานไทย ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองสื่อสารองค์กร โทร 0 2245 4035 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36500
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน ส่งทีมดูแลสุขภาพ ทีมเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 อนุทิน ส่งทีมดูแลสุขภาพ ทีมเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพกาย ทีมเยียวยาจิตใจ และทีมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ดูแลผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลาก พร้อมแจกยาชุดน้ำท่วม 2,789 ชุด ยาน้ำกัดเท้า 518 ชุด ให้แก่ผู้ประสบภัยในจังหวัดปราจีนบุรี วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2563) แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยผู้ประสบภัยจากพายุโคนี ได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดให้การดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างเต็มที่ และมอบหมายให้กองสาธารณสุขฉุกเฉินสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ส่งให้ตามความต้องการของจังหวัดรวม 61,500 ชุด ขณะนี้ สถานบริการสาธารณสุขทั้ง 15 แห่งที่ได้รับผลกระทบ สามารถให้บริการได้ตามปกติ แพทย์หญิงพรรณประภากล่าวต่อว่า สำหรับจังหวัดปราจีนบุรี ขณะนี้ระดับน้ำในพื้นที่ได้ลดลงแล้ว ได้มอบหมายให้นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานมูลนิธิ อสม. และคณะ ลงพื้นที่ มอบข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้ส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ อสม. และผู้ประสบภัยเหตุน้ำป่าไหลหลาก ใน 4 ตำบล อำเภอนาดี จำนวน 169 ชุด และนายแพทย์อภิชาติ รอดสม สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุภาพที่ 6 ได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่ได้ผลกระทบในตำบลบุพราหมณ์ อ.นาดี ส่งทีมดูแลสุขภาพ ทีมเยียวยาจิตใจ หรือ เอ็มแคท (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team : MCATT) และทีมเจ้าหน้าที่ลงฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ทีม 4 หมู่บ้านในตำบลบุพราหมณ์ อ.นาดี ได้แก่ หมู่ 5 บ้านวังมีด หมู่ 6 บ้านวังขอนแดง หมู่ 8 บ้านวังใหม่ และหมู่ 10 บ้านทับลานใน รวม 88 หลังคาเรือน พร้อมจัดทีมช่วยเหลือ​ด้านการรักษา​พยาบาล​ 1 จุด​ ที่ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน สาขาบริการ​สุขภาพ​โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน กม. 80 และศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้ ได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการผู้ประสบภัยในอ.กบินทร์บุรี อ.นาดี และอ.ศรีมหาโพธิ จำนวน 9 ครั้ง มีผู้มารับบริการจำนวน 147 คน พร้อมแจกยาชุดน้ำท่วม 2,789 ชุด ยาน้ำกัดเท้า 518 ชุดแก่ผู้ประสบภัย ทั้งนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม.ออกเยี่ยมบ้านให้ความรู้ป้องกันโรคหลังน้ำลด การดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารและน้ำดื่มให้ถูกสุขลักษณะ จำนวน 2,350 หลังคาเรือน พร้อมเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อุจจาระร่วง ********************************** 4 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36488
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บอร์ดบีโอไอไฟเขียวลงทุนกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท กิจการอีวี-ผลิตไฟฟ้า-น้ำตาล
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 บอร์ดบีโอไอไฟเขียวลงทุนกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท กิจการอีวี-ผลิตไฟฟ้า-น้ำตาล บอร์ดบีโอไอไฟเขียวลงทุนกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท กิจการอีวี-ผลิตไฟฟ้า-น้ำตาล บอร์ดบีโอไอไฟเขียวลงทุนกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท กิจการอีวี-ผลิตไฟฟ้า-น้ำตาล บอร์ดบีโอไอ เห็นชอบอนุมัติ 6 โครงการใหญ่ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า กิจการผลิตไฟฟ้า และกิจการผลิตน้ำตาลและน้ำเชื่อม นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่าที่ประชุมเห็นชอบให้ส่งเสริมการลงทุน 6 โครงการใหญ่ รวมมูลค่าเงินลงทุน 35,687.43 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี จำกัด กิจการผลิตน้ำตาลและน้ำเชื่อม เงินลงทุน 5,071.84 ล้านบาท ตั้งโครงการในจังหวัดสระแก้ว ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) โดยมีกำลังการผลิตน้ำตาลและน้ำเชื่อมปีละประมาณ 374,550 ตัน ผลิตเพื่อการส่งออก 1,777.45 ล้านบาท/ปี คิดเป็นร้อยละ 65 ของมูลค่าการจำหน่าย 2. บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ เงินลงทุน 3,247 ล้านบาท ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง จังหวัดระยอง ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (PLUG-IN HYBRID ELECTRIC VEHICLES-PHEV) ปีละประมาณ 5,000 คัน และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BATTERY ELECTRIC VEHICLES-BEV) ปีละประมาณ 1,000 คัน ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศทั้งสิ้น 3. บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 1 จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำปราศจากแร่ธาตุ เงินลงทุน 6,000 ล้านบาท ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ชลบุรี จังหวัดชลบุรี ผลิตไฟฟ้า 157.32 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 75 ตัน/ชั่วโมง และน้ำปราศจากแร่ธาตุ 1,566 ลูกบาศก์เมตร/วัน 4. บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 2 จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า และไอน้ำ เงินลงทุน 5,400 ล้านบาท ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี จังหวัดชลบุรี ผลิตไฟฟ้า 157.32 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 75 ตัน/ชั่วโมง 5. บริษัท โกลว์ เอสพีพี 1 จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า และไอน้ำ เงินลงทุน 11,300 ล้านบาท ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จังหวัดระยอง ผลิตไฟฟ้า 290 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 120 ตัน/ชั่วโมง 6. บริษัท บางกอก โคเจนเนอเรชั่น จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำปราศจากแร่ธาตุ เงินลงทุน 4,668.59 ล้านบาท ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ผลิตไฟฟ้า 162 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 90 ตัน/ชั่วโมง และน้ำปราศจากแร่ธาตุ 250 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ************************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36492
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เฮ..! สนั่น ชาวนาจับมือชาวสวนยางปลื้ม ครม. อนุมัติประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและมาตรการคู่ขนาน ปี2แล้ว จุรินทร์ ย้ำ เพื่อช่วยพี่น้องชาวนาและเกษตรกรทั่วประเทศ
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เฮ..! สนั่น ชาวนาจับมือชาวสวนยางปลื้ม ครม. อนุมัติประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและมาตรการคู่ขนาน ปี2แล้ว จุรินทร์ ย้ำ เพื่อช่วยพี่น้องชาวนาและเกษตรกรทั่วประเทศ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและยางพาราวงเงินรวมทั้งสิ้น 61,900.82 ล้านบาท ดังนี้ สินค้าข้าว วงเงินรวม 51,858 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการประกันรายได้ ปี2563/64 มาตรการคู่ขนานและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยโครงการประกันรายได้ ปี 2 กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกรเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - พฤษภาคม 2564 ส่วนมาตรการคู่ขนานควบคู่กับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 ได้แก่ (1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี (ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2563 – 29 กุมภาพันธ์ 2564) โดยนอกจากเกษตรกรจะได้รับสินเชื่อและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแล้ว เกษตรกรที่มียุ้งฉางจะได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท กรณีสหกรณ์จะได้รับตันละ 1,000 บาท และสมาชิกจะได้รับ ตันละ 500 บาท (2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564) โดยสหกรณ์เสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 และ (3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 มีนาคม 2564 ให้ผู้ประกอบการเก็บข้าวไว้ระยะเวลา 2-6 เดือน และจะได้รับชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ซึ่งจะสามารถดูดซับอุปทานในช่วงที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมากเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 7 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณในการชดเชยตามโครงการประกันรายได้ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 จะเริ่มเดือนพฤศจิกายน 2563 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ช่วยให้เกษตรกรมีกำลังใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยในช่วงแรกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณของรัฐบาล จะจ่ายเงินให้เกษตรกร ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ในรอบแรกเบื้องต้น อัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ ก่อน และในช่วงต่อไปจะได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอ ครม.เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมต่อไป ด้านเกษตรกรชาวสวนยาง ในโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางปี 2 ได้รับการอนุมัติเช่นกัน โดยกำหนดราคาประกันรายได้ ยางแผ่นดิบ กก.ละ 60 บาท น้ำยางสด กก.ละ 57 บาท ยางก้อนถ้วย กก.ละ 23 บาท รายละไม่เกิน 25 ไร่ ให้คนกรีด ร้อยละ 40 และเจ้าของสวนร้อยละ 60 วงเงิน 10,042 บาท ระยะเวลาดำเนินการเดือนตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564 แต่ระหว่างนี้ยางพาราราคาดีดตัวสูงขึ้นทะลุรายได้ที่ประกันไว้สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมากแต่โครงการประกันรายได้เกษตรกรก็อยากเดินหน้าเพื่อเป็นหลักประกันว่าถ้าราคาตกลงมาเกษตรกรก็จะอยู่รอดด้วยการประกันรายได้ที่ได้รับการอนุมัตินี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36478
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิด การฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิด การฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิด การฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ ในวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิด การฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ โดยมี นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้บริหาร ข้าราชการ และคณะกรรมการฯ จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้ชี้แจงเรื่องเพื่อทราบเกี่ยวกับ ๑. คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัด การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดอันเกิดจากการฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ๒. คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดอันเกิดจากการฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ๓. คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอันเกิดจากการฉ้อโกงประชาชนในลักษณะ แชร์ลูกโซ่ และรายงานข้อมูลคดีแชร์ลูกโซ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการถูกหลอกลวงในลักษณะแชร์ลูกโซ่ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดการฉ้อโกงประชาชน ในลักษณะแชร์ลูกโซ่ การสร้างฐานข้อมูลสถิติแชร์ลูกโซ่ และร่วมหารือการมอบหมายผู้แทนหลักและผู้แทนรองเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการฯ อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36503
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ลดโหดเหมือนโกรธโควิด! จุรินทร์ นำเปิดพาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชน ล็อต7 13700 รายการ ลดสูงสุด70%
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ลดโหดเหมือนโกรธโควิด! จุรินทร์ นำเปิดพาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชน ล็อต7 13700 รายการ ลดสูงสุด70% นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำ กระทรวงพาณิชย์เปิดโครงการช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ คือโครงการพาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน ล็อตที่ 7 ลดสูงสุด 70% ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) รวมทั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยได้ร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ห้างค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ และห้างท้องถิ่น นายจุรินทร์ นำจัดงานพาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน เพื่อลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค มาแล้วถึง 6 ครั้ง ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมลงลึกถึงระดับหมู่บ้าน ซึ่งสามารถช่วยลดค่าครองชีพให้ผู้บริโภคในวงกว้างได้อย่างแท้จริง สำหรับงานวันนี้ “พาณิชย์ลดราคา ! ช่วยประชาชน” LOT 7 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 รวมระยะเวลา 30 วัน ในครั้งนี้ มีการจำหน่ายสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง ซอสปรุงรส ของใช้ประจำวัน ผลิตภัณฑ์ชำระร่างกาย ผลิตภัณฑ์ซักล้าง รวมกว่า 13,700 รายการ ลดราคาสูงสุดถึงร้อยละ 70 ซึ่งคาดว่าสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนได้ประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยให้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น และกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นไปด้วย " ขอขอบคุณ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดงานขึ้นครั้งนี้ขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการจัดงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติแบบนี้ในโอกาสต่อไปด้วย" นายจุรินทร์ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36480
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“e-Withholding Tax” นวัตกรรมการจ่ายภาษีสุดสมาร์ท ที่ตัวแทนภาคธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs เห็นความสำคัญ
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 “e-Withholding Tax” นวัตกรรมการจ่ายภาษีสุดสมาร์ท ที่ตัวแทนภาคธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs เห็นความสำคัญ กรมสรรพากรเชื่อว่าหนึ่งในปัญหาสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่ผู้ประกอบการยังต้องใช้ความเข้าใจอย่างมาก นั่นก็คือ “ภาษี” และผู้ประกอบการบางรายเห็นว่าภาษีเป็น กิจกรรมที่ทำให้เสียเวลา ยากที่จะทำความเข้าใจ เต็มไปด้วยเอกสารที่ไม่จำเป็น ยุ่งยากซับซ้อน กรมสรรพากรเชื่อว่าหนึ่งในปัญหาสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่ผู้ประกอบการยังต้องใช้ความเข้าใจอย่างมาก นั่นก็คือ “ภาษี” และผู้ประกอบการบางรายเห็นว่าภาษีเป็น กิจกรรมที่ทำให้เสียเวลา ยากที่จะทำความเข้าใจ เต็มไปด้วยเอกสารที่ไม่จำเป็น ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ภาครัฐต้องหันมายกระดับอย่างจริงจัง และต้องทำให้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “กรมสรรพากร เข้าใจถึงปัญหาที่ภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการจะต้องเจอในการดำเนินการเกี่ยวกับภาษี ประกอบกับการเข้ามาของ Digital Disruption ที่ภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการต้องปรับตัวสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ e-Withholding Tax (ระบบหักภาษี ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์) ที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้การจัดการภาษีให้ง่ายและสะดวกต่อภาคธุรกิจ พร้อมชี้ให้เห็นถึงประโยชน์จากระบบที่สามารถลดอุปสรรคในการเสียภาษี ได้แก่ ลดต้นทุน ลดการดำเนินการ ลดขั้นตอนที่ซับซ้อน ลดการตรวจสอบ ซึ่งในอดีตการจัดเก็บเอกสารสำหรับการยื่นภาษีสร้างปัญหา และความวุ่นวายให้ผู้ประกอบการ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนให้มาอยู่ในรูปแบบระบบ e-Withholding Tax จะลดปัญหาเหล่านั้น นอกจากนี้ จุดที่น่าสนใจ คือการให้สิทธิประโยชน์โดยลดอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 2% ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และเป็นแรงจูงใจที่ดีที่ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้บริการระบบ e-Withholding Tax มากขึ้น” โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตัวแทนจากภาคธุรกิจคุณอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ก็เล็งเห็นถึงข้อดีของการใช้ระบบ e-Withholding Tax ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้รุดหน้าได้ โดยกลุ่มธุรกิจบีเจซี บิ๊กซี ได้ปรับตัวเพื่อพร้อมรับของ Digital Disruption มาอย่างต่อเนื่องโดยการปรับใช้ดิจิทัลมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ซึ่งในเรื่องการจัดการภาษีก็จะยิ่งช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปได้ไวมากยิ่งขึ้น ลดความยุ่งยาก ลดความซับซ้อน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทิ้งไป ซึ่งสิ่งที่ได้กลับมานอกจากการตัดค่าใช้จ่ายส่วนเกินออกแล้ว สิ่งสำคัญก็คือการได้เครดิตที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้มากขึ้น ซึ่งหากภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ ทั้งฝ่ายที่เป็นผู้จ่ายเงิน และผู้รับเงินหันมาใช้ระบบ e-Withholding Tax ก็จะช่วยให้ระบบการดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ราบรื่นมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ขณะที่ผู้ประกอบการทั้งขนาดกลาง และขนาดย่อมที่อาจจะต้องดำเนินการทางภาษีด้วยตนเอง ระบบ e-Withholding Tax จะเอื้อประโยชน์ให้การเสียภาษีเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และยังได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จูงใจให้เสียภาษีอย่างถูกต้อง โดย คุณหนุ่ย - พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด และเจ้าของเว็บไซต์ beartai.com มองว่า การเสียภาษีควรทำให้เป็นเรื่องง่าย สนุก และให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ดำเนินการทางภาษีอย่างถูกต้อง ผู้ประกอบการ ที่สนใจใช้บริการระบบหักภาษี ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ e-Withholding Taxสามารถยื่นความประสงค์ที่จะใช้งานระบบ e-Withholding Tax ผ่านสถาบันทางการเงินที่เข้าร่วมโครงการได้โดยตรง” หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 กรมสรรพากร สำนักงานเลขานุการกรม โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324 หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36481
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กระทรวงเกษตรฯ” ขานรับมติคณะรัฐมนตรีสัญจรทันที
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 “กระทรวงเกษตรฯ” ขานรับมติคณะรัฐมนตรีสัญจรทันที “กระทรวงเกษตรฯ” ขานรับมติคณะรัฐมนตรีสัญจรทันที “เฉลิมชัย” สั่งเร่งดำเนินโครงการประกันรายได้ชาวนาและชาวสวนยาง 2.9 ล้านครัวเรือนกว่า 6 หมื่นล้านบาท เผยสินค้าเกษตร-อาหาร และผลิตภัณฑ์ยางครองแชมป์การส่งออกยุคโควิด คาดแนวโน้มดีขึ้นเป็นผลจากโมเดล “เกษตรผลิต นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แถลงวันนี้ (4 พ.ย.) ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรและมาตรการเสริมทันทีหลังจาก ครม.สัญจรภูเก็ตอนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/2564 วงเงิน 51,858 ล้านบาท และโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางระยะที่สองวงเงิน 10,042 ล้านบาทเพื่อดูแลเกษตรกร 2.9 ล้านครัวเรือนรวมวงเงินกว่า 6.19 หมื่นล้านบาท เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวนาและชาวสวนยางในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ ครม.สัญจร ยังอนุมัติมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 ประกอบไปด้วย 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีปีการผลิต 2563/64 วงเงิน 19,826 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 ธันวาคม 2564 2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 วงเงิน 15,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 และ 3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก วงเงิน 610 ล้านบาท ปีการผลิต 2563/64 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 31 ตุลาคม 2565 ซึ่งจะสามารถดูดซับอุปทานในช่วงที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมากเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก มีเป้าหมายอยู่ที่ 7 ล้านตันข้าวเปลือก และจะส่งผลให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณในการชดเชยตามโครงการประกันรายได้ โดยทั้ง 3 โครงการจะใช้เงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 35,999 ล้านบาท รวมทั้งโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/2564 โดยให้จ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับกรมการส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท เป็นการจ่ายก่อนในเบื้องต้น วงเงินจ่ายขาด 28,046 ล้านบาท นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะที่ 2 วงเงิน 10,042 ล้านบาท ครอบคลุมเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 1.8 ล้านราย พื้นที่ปลูกยางพารากว่า 18 ล้านไร่ โดยยึดหลักเกณฑ์เดิมตามโครงการระยะที่ 1 ส่วนระยะเวลาโครงการ เดือนกันยายน 2563 - กันยายน 2564 (ประกันรายได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - 1 มีนาคม 2564) ยิ่งกว่านั้น ครม.สัญจร ยังได้อนุมัติ โครงการคู่ขนานตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2563 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโรคโควิด-19 และช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางขายไม้ยางพาราได้ในราคาที่เป็นธรรม รวมถึงสนับสนุนการลดพื้นที่ปลูกยางพารา โดยธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี แต่ไม่เกิน 600 ล้านบาท และมีค่าบริหารจัดการโครงการ 4 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายของโครงการมีดังนี้ (1) ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ร้อยละ 80 (2) กระตุ้นการโค่นยาง จำนวน 400,000 ไร่ และดูดซับไม้ยางจากการโค่น จำนวน 12 ล้านตัน และ (3) ราคาไม้ยางที่คาดหวังเฉลี่ย 1,300 บาทต่อตัน ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2565 นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ภายใต้โมเดล “เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด” ตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตมีผลทำให้สถานการณ์การส่งออกดีขึ้นติดลบน้อยลง ทั้งนี้ จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ในช่วง 9 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 172,996 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.33% เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ถือว่าติดลบน้อยลง โดยการส่งออกไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6% ทำให้ยอดรวมทั้งปี 2563 จะส่งออกมูลค่า 228,904 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบประมาณ 7% ไม่ติดลบถึง 2 หลัก อย่างที่เคยมีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น มาจากการฟื้นตัวของสินค้าส่งออกหลายกลุ่มที่ส่งออกติดลบน้อยลง และหลายตัวเริ่มขยายตัวดีขึ้น โดยมีสินค้า 3 กลุ่มหลักที่ส่งออกเติบโตได้ดี คือ สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร อาหารสัตว์เลี้ยง และสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นสินค้านอกกลุ่มอาหารคือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ “ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โลกกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารและเป็นโอกาสของประเทศไทยในฐานะครัวโลก กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคเกษตรและอาหารอย่างต่อเนื่องด้วยนโยบายเกษตรปลอดภัย นโยบายตลาดนำการผลิตและนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเน้นแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตภาพ (productivity) รวมทั้งสร้างศักยภาพใหม่และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตลอดจนการเดินหน้าปฏิรูปการบริหารของ22หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงเกษตรฯเพื่อเพิ่มประเทศอย่างต่อเนื่อง” นายอลงกรณ์ กล่าว นายอลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับประเด็นผลกระทบทั้งบวกและลบกรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจะวิเคราะห์ผลกระทบทางนโยบายที่มีผลต่อตลาดอเมริกาและจีนทันทีที่ทราบผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ตลาดสหรัฐขยายตัวเพิ่มเกือบ 20% ทั้งนี้ ตลาดส่งออกของไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นโดยตลาดหลัก เพิ่ม 6.3% ได้แก่ สหรัฐฯ เพิ่ม 19.7% ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป 15 ประเทศ อัตราติดลบดีขึ้นโดยลดลงเพียง 1.9% และ 4.4% ตลาดศักยภาพสูง ลด 8.1% โดยอาเซียน 5 ประเทศ ลด 15.6% CLMV ลด 4.8% และเอเชียใต้ ลด 6.3% แต่จีนกลับมาขยายตัว เพิ่ม 6.9% และตลาดศักยภาพระดับรอง ลด 10.1% โดยตะวันออกกลาง ลด 26.1% ลาตินอเมริกา ลด 14.5% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ลด 31.5% ทวีปแอฟริกา ลด 15.3% แต่การส่งออกไปทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 2.1% เป็นบวกในรอบ 6 เดือน กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02 281 0859
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36483
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ยุติธรรม ชี้ทุกคนเป็นตัวจักรสำคัญช่วยลูกหลานหลุดพ้นวงจรยาเสพติด ขอ สำนักงาน ป.ป.ส. หาวิธีลดค่าตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม เผยเทคโนโลยีใหม่ตรวจได้เร็ว - แม่นยำ แยกสารได้ละเอียด
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รมว.ยุติธรรม ชี้ทุกคนเป็นตัวจักรสำคัญช่วยลูกหลานหลุดพ้นวงจรยาเสพติด ขอ สำนักงาน ป.ป.ส. หาวิธีลดค่าตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม เผยเทคโนโลยีใหม่ตรวจได้เร็ว - แม่นยำ แยกสารได้ละเอียด รมว.ยุติธรรม ชี้ทุกคนเป็นตัวจักรสำคัญช่วยลูกหลานหลุดพ้นวงจรยาเสพติด ขอ สำนักงาน ป.ป.ส. หาวิธีลดค่าตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม เผยเทคโนโลยีใหม่ตรวจได้เร็ว - แม่นยำ แยกสารได้ละเอียด ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องแกรนด์พาลาสโซ ชั้น ๗ โรงแรมพาลาซโซ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายอุทัย สินมา อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๓ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีอัยการ สำนักงานคดียาเสพติด เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์และแนวทางในการเอาชนะยาเสพติด ในหัวข้อ " หลักการและนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินคดียาเสพติด และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดียาเสพติด " ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร " อัยการผู้ช่วย " รุ่นที่ ๖๑ พ.ศ. ๒๕๖๓ (สนามใหญ่) ภาควิชาการ โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ๓๐๙ คน ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ในฐานะที่ทุกท่านเป็นอัยการ ซึ่งจะต้องใช้กฎหมาย ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรม ได้เสนอร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว โดยเอากฎหมายเก่า ๆ ทั้งหมด รวมเป็นฉบับเดียวซึ่งจะง่ายต่อการบังคับใช้ เพราะเป็นการปรับกฎหมายทั้งหมดให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากการทำประมวลกฎหมายยาเสพติดแล้ว ตอนนี้เรามีเครื่องมือในการตรวจสารเสพติดที่ทันสมัย โดยกำลังผลักดันให้เป็นกฎหมายให้พวกท่านได้ใช้ในการตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม ซึ่งสามารถตรวจย้อนหลังได้ ๖ - ๑๐ เดือน แต่การตรวจมีค่าใช้จ่ายสูง ตนกำลังขอให้ลดลงมาโดยให้ สำนักงาน ป.ป.ส. จัดสรรงบประมาณมาดูแลเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งการตรวจด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ใช้เวลาเพียง ๕๐ นาที เท่านั้น และสามารถตรวจแยกสารอย่างละเอียดได้ถึง ๓๐ ชนิด ทั้งนี้ ปัญหายาเสพติดยังมีประเด็นเกี่ยวกับผู้ต้องขัง ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ต้องขัง ๘๐% หรือประมาณ ๓๘๐,๐๐๐ คน เป็นผู้ตัองขังในคดียาเสพติด ในตอนนี้กำลังประสบปัญหาผู้ต้องขังล้นคุก จึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้คนที่พ้นโทษไปแล้วกลับมาติดคุกอีก ดังนั้น การป้องกันและการปราบปรามปัญหายาเสพติดต้องเข้มข้นขึ้น ซึ่งการยึดทรัพย์ตัดวงจรเครือข่ายยาเสพติดให้สิ้นซาก สืบค้นเส้นทางธุรกรรมและการใช้แวลูเบต ประเมินมูลค่ายาเสพติดเพื่อยึดทรัพย์ย้อนหลังด้วย นอกจากนี้เราต้องเริ่มต้นที่ต้นทาง คือการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้คนหันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งต้องเริ่มต้นที่ครอบครัว และถือเป็นการบ้านข้อใหญ่ที่เราต้องช่วยกันคิด เราถึงจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน คนไม่กลับไปติดคุกอีก และอาจจะแก้ปัญหาคนไม่มีงานทำได้อีกด้วย วันนี้ทุกท่านคือทรัพยากรที่มีประโยชน์ และเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยให้การปราบปรามยาเสพติดเดินหน้าไปได้ และช่วยให้ดำเนินการยึดทรัพย์จากกระบวนการค้ายาเสพติดประสบความสำเร็จ พวกเราต้องช่วยกันให้ลูกหลานชาวไทยหลุดพ้นจากวงจรยาเสพติด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36502
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ เพื่อพิจารณาข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวัฒนธรรมประจำสัปดาห์ และสรุปความคืบหน้าการดำเนินงาน และสรุปผลงาน แนวทางการดำเนินงานสำคัญ และแนวทางการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย และรายงานผลงานดำเนินงานตามนโยบายหลักของรัฐบาล ๑๒ ด้าน โดยมี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ กระทรวงวัฒนธรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36487
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.รับทราบกิจกรรมแสดงทางศิลปวัฒนธรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทยกับอินโดนีเซีย-ลาว วธ.เดินหน้าหนุนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ครม.รับทราบกิจกรรมแสดงทางศิลปวัฒนธรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทยกับอินโดนีเซีย-ลาว วธ.เดินหน้าหนุนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์ ครม.รับทราบกิจกรรมแสดงทางศิลปวัฒนธรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทยกับอินโดนีเซีย-ลาว วธ.เดินหน้าหนุนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์ ยกระดับเทศกาลประเพณีภาคใต้สู่นานาชาติ เพิ่มมูลค่า-พัฒนาผลิตภัณฑ์ ครม.รับทราบกิจกรรมแสดงทางศิลปวัฒนธรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทยกับอินโดนีเซีย-ลาว วธ.เดินหน้าหนุนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์ ยกระดับเทศกาลประเพณีภาคใต้สู่นานาชาติ เพิ่มมูลค่า-พัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่นพร้อมต่อยอดภูเก็ต“เมืองสร้างสรรค์”ด้านอาหาร วันที่ 3 พ.ย2563 ที่จ.ภูเก็ต นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ) เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร)กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันว่า ที่ประชุมครม.รับทราบวิดีทัศน์และผลการจัดกิจกรรมการแสดงทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมนาฏศิลป์ออนไลน์”รามายณะ สองแผ่นดิน 70 ปี ไทย–อินโดนีเซีย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2563 มีการแสดงของทั้งสองประเทศ ณ โรงละครแห่งชาติ และถ่ายทอดการแสดงสดผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตให้ชมพร้อมกันทั่วโลก จากFacebook LiveและYouTube Liveของกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ซึ่งมีผู้ชมผ่านช่องทางออนไลน์ 28,100 คน และกิจกรรมการแสดงดนตรี และศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน“โขงบ่กั้น โควิดบ่ใกล้ 70 ปี ไทย–ลาว ฮักแพง แบ่งปัน และมั่นคง”เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563 ณ โรงละครแห่งชาติ โดยมีผู้ชมผ่านช่องทางออนไลน์ 19,950 คน รมว.วธ.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมครม.รับทราบผลปฏิบัติราชการติดตามการดำเนินงานพัฒนา แหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันตามที่วธ.รายงาน ได้แก่ 1.เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ณ วัดมงคลวนาราม (วัดในยาง) ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ตซึ่งเป็นต้นแบบความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนเน้นปฏิบัติตามหลักทางศาสนา ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีสถาบันหลักของชาติยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับนักท่องเที่ยว“บวรOn Tour”ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานราก สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ประชาชนท้องถิ่นและประชุมหารือร่วมกับผู้นำทางศาสนา 2.ติดตามการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยดัดแปลงรูปแบบมาจากเรือนไทยพื้นถิ่นภาคใต้ มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวรนำเสนอเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์และศิลปะวัฒนธรรมของจ.ภูเก็ตและพื้นที่ชายทะเลอันดามัน และ3.เยี่ยมชมการพัฒนาบ้านชินประชา ต.ตลาดเหนือ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นตัวอย่างของภาคเอกชนในการพัฒนาสถาปัตยกรรมเก่าแก่ตามแบบชิโน-โปรตุกีสให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันวธ.มีข้อสั่งการหน่วยงานต่างๆของวธ.ให้ดำเนินการดังนี้ 1.มอบสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(สป.วธ.) กรมศิลปากร(ศก.) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.)ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้มีมาตรฐานอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตท้องถิ่น พัฒนาเมืองศิลปะ รวมถึงยกระดับเทศกาลประเพณีท้องถิ่นสู่ระดับชาติและนานาชาติในรูปแบบวิถีใหม่ 2.มอบสป.วธ. สวธ.และ สศร.ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าที่มีศักยภาพในพื้นที่เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนอย่างยั่งยืน โดยนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นต่อยอดรูปแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมให้เป็นที่ยอมรับของตลาดและต่อยอดจากการที่ภูเก็ตได้รับการประกาศยกย่องเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารจากยูเนสโกและ3.มอบกรมการศาสนาร่วมกับองค์การศาสนาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการส่งเสริม ให้เด็ก เยาวชนและประชาชนปฏิบัติตามหน้าที่ของศาสนิกชนและนำหลักธรรมทางศาสนาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันในลักษณะพหุวัฒนธรรม -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36473
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ 'เฉลิมชัย' ติดตามการดำเนินการตามแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รัฐมนตรีเกษตรฯ 'เฉลิมชัย' ติดตามการดำเนินการตามแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) รัฐมนตรีเกษตรฯ 'เฉลิมชัย' ติดตามการดำเนินการตามแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนจำเป็นเร่งด่วน ทั้งปัญหาขยะในพื้นที่ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างจริงจัง และผลกระทบจากโควิด-19 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินการตามแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ร่วมเป็นกรรมการ โดยได้มีการประชุมและเห็นชอบประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของจังหวัด และได้สรุปปัญหาหลักที่สำคัญและเป็นปัญหาความเดือดร้อนจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ 1) ปัญหาขยะในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างจริงจัง และ 3) ปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา (Covid-19) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้มาช่วยดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความคุ้นเคยและรับรู้ปัญหาในเบื้องต้น ซึ่งรัฐบาลอยากให้มีตัวแทนมารับทราบปัญหาได้โดยตรง หากดำเนินการแก้ไขระดับจังหวัดได้ให้รีบดำเนินการ แต่หากเกินกว่าการแก้ไขระดับจังหวัดก็จะนำประเด็นปัญหาไปนำเรียนนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งใน 3 ประเด็นหลักที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนนั้น ในส่วนของปัญหาขยะ ได้มอบหมายให้มีการประสานความร่วมมือกันในพื้นที่ พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืน สำหรับในส่วนการบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างจริงจัง กระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบหมายกรรมมาธิการด้านการเกษตรตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากฎหมาย พร้อมทั้งแก้ไข พ.ร.บ. ประมง โดยได้มีการเชิญทุกภาคส่วนมาให้ข้อคิดเห็น ทั้งในส่วนของประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ และจะนำไปสู่สภาผู้แทนราชฎรต่อไป อย่างไรก็ต้อง รัฐบาลต้องดู IUU เป็นหลัก แต่ต้องดูแลคนไทยเป็นหลักด้วย จึงสามารถสังเกตได้ว่าจะมีมาตรการเยี่ยวยาที่ช่วยเหลือพี่น้องชาวประมง ซึ่งเป็นการสื่อให้เห็นถึงความห่วงใยของรัฐบาล และอยากขอให้ในพื้นที่มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ต่อพี่น้องประชาชน อีกทั้งในเรื่องแรงงานประมง ได้มีการประสานกับกระทรวงแรงงานอย่างต่อเนื่อง พี่น้องชาวประมงสามารถสอบถามความคืบหน้าได้ทั้งจากประมงจังหวัดและประมงอำเภอ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่องหนี้นอกระบบ ปัญหาที่ดิน และปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งน้ำนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยว จึงต้องดูให้ครอบคลุมและมีการบริหารจัดการน้ำ โดยได้มอบหมายกรมชลประทานบริหารจัดการทั้งระบบ ทั้งการอุปโภค-บริโภค ภาคการเกษตร รวมถึงภาคอุตสาหกรรมด้วย อย่างไรก็ตาม พยายามที่จะเพิ่มน้ำต้นทุนและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า "ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องการโควิด-19 อยากขอให้พี่น้องประชาชนมีการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ประเทศไทยจะสามารถป้องกันได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ต้องไม่ประมาท มาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลมีนั้นต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และการล้างมือ เป็นต้น จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และขอเป็นตัวแทนรัฐบาลขอบคุณข้าราชการ ที่มุ่งมั่นทำงานอยากหนัก และพี่น้องประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมาโดยตลอด หากเราตั้งหลักได้ก่อนประเทศอื่น ก็จะเป็นจุดแข็งของประเทศไทย จึงให้ความสำคัญทั้งในส่วนของภาคการเกษตรและการท่องเที่ยวที่จะช่วยฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจของจังหวัดได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ อยากขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้เหมือนคนในครอบครัว เพราะจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันต่อไป" นายเฉลิมชัย กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36494
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เผยผลการรับสมัครโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เผยผลการรับสมัครโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรฯ เผยผลการรับสมัครโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ทั้ง 3 รอบ พร้อมขับเคลื่อนโครงการในระยะต่อไปทันที ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ครั้งที่ 6/2563 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งได้ทำการเปิดรับสมัครเกษตรกรและแรงงานจำนวน 3 รอบ และได้ปิดรับสมัครในรอบที่ 3 ไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ เพื่อเริ่ม KICK OFF โครงการฯ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับตำบลที่มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพียง 1 ราย จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ เนื่องจากไม่ตรงตามเงื่อนไขในการจับกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ระบุว่า ต้องมีเกษตรกรเข้าร่วม 2 รายขึ้นไปใน 1 ตำบล เพื่อจับกลุ่มกันจ้างแรงงานได้ 1 ราย ดังนั้นการขับเคลื่อนโครงการฯ ในระยะต่อไป กระทรวงเกษตรฯ จะขอทบทวนประเด็นดังกล่าวและนำเข้าครม. อีกครั้ง เพื่อขอมติ ครม. ดำเนินการตามเป้าหมายโครงการฯ ในการขยายผลโครงการระยะต่อไปกับกลุ่มเกษตรกรดังกล่าว นอกจากนี้ในกรณีที่มีเกษตรกรสมัครตามเงื่อนไขแต่ไม่มีผู้สมัครจ้างงาน จะพิจารณาจ้างงานจากผู้สมัครแรงงานตำบลข้างเคียงในอำเภอเดียวกันก่อน หากยังไม่เพียงพอให้ทางคณะทำงาน 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ระดับจังหวัด พิจารณาจ้างงานในอำเภอข้างเคียง โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของระยะเวลา ระยะทางและความสมัครใจของผู้จ้างงานเป็นหลัก และสำหรับเกษตรกรที่ขอถอนตัว ยกเลิก ขอสละสิทธิ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ เห็นควรให้คณะทำงาน 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ระดับอำเภอ ทำการสื่อสาร ทำความเข้าใจกับเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรทบทวนการเข้าร่วมโครงการใหม่อีกครั้ง ถายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้ การรับสมัครทั้ง 3 รอบนั้น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 67,414 ราย แบ่งเป็นเกษตรกร จำนวน 35,193 ราย ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณาแล้ว 22,272 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณา 2,941 ราย ไม่ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา 9,980 ราย และกลุ่มแรงงานมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ 32,221 ราย ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณาแล้ว 18,675 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณา 6,143 ราย และไม่ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา 7,403 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.30 น.)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36497
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นบข. เคาะ 5 ปี ยุทธศาสตร์ข้าวไทย 2563-2567 ตั้งเป้า “ไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก” เน้นพัฒนาเพิ่มความหลากหลายพันธุ์ข้าวไทย
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 นบข. เคาะ 5 ปี ยุทธศาสตร์ข้าวไทย 2563-2567 ตั้งเป้า “ไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก” เน้นพัฒนาเพิ่มความหลากหลายพันธุ์ข้าวไทย นบข. เคาะ 5 ปี ยุทธศาสตร์ข้าวไทย 2563-2567 ตั้งเป้า “ไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก” เน้นพัฒนาเพิ่มความหลากหลายพันธุ์ข้าวไทย วันนี้ (4 พ.ย. 63) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ครั้งที่ 4/2563 มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” ตั้งเป้า “ไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก” โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานการประชุม และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 มีพันธกิจสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการตลาดต่างประเทศ มุ่งเน้นการสนองต่อความหลากหลายของตลาดข้าวซึ่งมีความต้องการข้าวที่หลากหลายชนิดที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวพื้นนุ่มที่เป็นความต้องการของตลาดในปัจจุบันรวมทั้งการลดต้นทุนทางการตลาด 2. ด้านการตลาดภายในประเทศ ดำเนินการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของการบริโภคในประเทศและการผลิตในประเทศ 3. ด้านการผลิต เป็นหัวใจสำคัญที่ต้องใช้สนองตอบต่อความต้องการของตลาดจะดำเนินการ ประการที่หนึ่ง ลดต้นทุนการผลิตให้เหลือไม่เกินไร่ละ 3,000 บาทจากปัจจุบันเฉลี่ยที่ไร่ละ 6,000 บาท ประการที่สอง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว เฉลี่ยต่อไร่จาก 465 กิโลกรัมเป็น 600 กิโลกรัม ประการที่สาม เพิ่มข้าวพันธุ์ใหม่ให้ได้ไม่น้อยกว่า 12 พันธุ์ในช่วงระยะเวลา 5 ปี โดยมุ่งเน้นเป้าหมายที่จะได้พันธุ์ข้าวที่มีลักษณะ สั้น เตี้ย ดก ดี โดย 12 พันธุ์ จะประกอบด้วยข้าวนุ่ม 4 พันธุ์ ข้าวพื้นแข็ง 4 พันธุ์ ข้าวหอมไทย 2 พันธุ์ และข้าวที่มีโภชนาการสูง 2 พันธุ์ และประการที่สี่ จะดำเนินการประกวดข้าวพันธุ์ใหม่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาพันธุ์เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในตลาดข้าวโลกได้ต่อไป สำหรับปี 64 จะเป็นกรณีพิเศษจะมีการจัดประกวด 2 ครั้งคือในต้นปี และปลายปี 4. ด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว จะมุ่งเน้นการวิจัยและการคิดค้นนวัตกรรมจากข้าว เพื่อสนองความต้องการของตลาด และประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นได้แต่ละชนิดทำจากข้าวชนิดใดบ้างและมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมมีผลิตภัณฑ์ชนิดใดอย่างไร และเน้นในเรื่องของการอำนวยความสะดวกให้กับผู้วิจัยและผู้ประกอบการที่คิดค้นนวัตกรรมจากข้าว การปรับปรุงกฎระเบียบ ลดขั้นตอน และการอนุมัติอนุญาตและแหล่งทุนเป็นต้น สุดท้ายจะดำเนินการในการช่วยหาช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับสินค้าแปรรูปและสินค้านวัตกรรมที่ทำจากข้าว นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการดูแลพี่น้องเกษตรกรเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ มีทั้งโครงการหลักและโครงการเสริม ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาพันธุ์ข้าวไทยแบบครบวงจร สร้างความหลากหลายที่ตอบสนองต่อความต้องการตลาด/ผู้บริโภค แบบเฉพาะกลุ่ม กำหนดโซนนิ่งปลูกข้าวพันธุ์ที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่และประมาณน้ำ เป้าหมายของรัฐบาล คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย ดังนั้น รัฐบาลกับเกษตรกรต้องร่วมมือกันให้การเกษตรเป็นอาชีพที่เลี้ยงตนเองได้และเกษตรกรกรทุกรายมีรายได้ที่เพียงพอ ที่ประชุมยังทราบโครงการเพิ่มช่องทางการตลาดข้าวเปลือกเหนียว ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการตลาดข้าวเปลือกเหนียว ปี 63/64 การจัดกิจกรรมรณรงค์กระตุ้นการบริโภคข้าวเหนียวในห้างสรรพสินค้า และการรณรงค์กระตุ้นการบริโภคข้าวเหนียว โดยจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ “โครงการรณรงค์บริโภคข้าวเหนียว” วันที่ 28 ต.ค.63 ก่อนการประชุม ครม. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล และการเจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 ล้านตัน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งรัฐบาลจีนได้ซื้อข้าวจากไทยไปแล้ว 7 แสนตัน ทั้งนี้ มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเร่งเจรจากับผู้แทนรัฐบาลจีน เพื่อทำการซื้อ-ขาย ข้าวในจำนวนที่เหลือ อนึ่ง ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีจุดอ่อนในการแข่งขันข้าวโลกคือมีต้นทุนการผลิตสูงและมีความหลากหลายด้านพันธุ์ข้าวน้อย จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ข้าว โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งรัดการส่งออกในปัจจุบัน ด้วยการรักษาตลาดเก่าไว้ควบคู่ไปกับการขยายตลาดใหม่
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36505
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คลังประสาน ปอศ. ดำเนินการกับผู้กระทำผิดโครงการคนละครึ่ง
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 คลังประสาน ปอศ. ดำเนินการกับผู้กระทำผิดโครงการคนละครึ่ง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2563 รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เข้าพบผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ผบก.ปอศ.) นำส่งข้อมูลสำหรับใช้ในการสืบสวนสอบสวนและแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อดำเนินคดีกับร้านค้าจำนวน 3 ราย นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 น. นายอรรถพล อรรถวรเดช รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เข้าพบ พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ผบก.ปอศ.) นำส่งข้อมูลสำหรับใช้ในการสืบสวนสอบสวนและแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อดำเนินคดีกับร้านค้าจำนวน 3 ราย ณ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) ถนนสาทร แขวงสีลม เขตบางรักกรุงเทพฯ รองโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องอุทธรณ์สำหรับโครงการคนละครึ่งเพื่อดำเนินการตรวจสอบพิจารณาและวินิจฉัยการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดเงื่อนไขโครงการ ซึ่งในขณะนี้พบว่ามีร้านค้าจำนวน 3 ร้านค้า มีเหตุอันควรสงสัยว่าเข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการคนละครึ่ง ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการระงับสิทธิการใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” และระงับการจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าดังกล่าวแล้ว กระทรวงการคลังและธนาคารกรุงไทยได้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามตรวจสอบพฤติกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งหากตรวจสอบพบการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ จะมีการระงับการใช้แอปพลิเคชันและระงับการจ่ายเงินร้านค้าทันที จึงขอเตือนประชาชนและร้านค้าโปรดอย่าหลงเชื่อการเชิญชวนตามโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆ ที่เป็นการดำเนินการผิดเงื่อนไขโดยไม่มีการใช้จ่ายซื้อสินค้าจริงอย่างเด็ดขาด เพราะอาจตกเป็นเหยื่อในการสนับสนุนให้เกิดการกระทำความผิดซึ่งจะมีโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปด้วย รองโฆษกกระทรวงการคลังย้ำว่า โครงการคนละครึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนและกระจายรายได้ให้กับร้านค้ารายย่อยโดยเฉพาะหาบเร่แผงลอยให้มีรายได้จากการขายสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้โครงการได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. มียอดใช้จ่ายสะสม 5,815.37 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 2,966.46 ล้านบาท และรัฐช่วยจ่ายอีก 2,848.91 ล้านบาท จึงขอความร่วมมือประชาชนและร้านค้าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ อย่าให้มีการดำเนินการไปในทางมิชอบ เพื่อมิให้ทำลายบรรยากาศของการดำเนินโครงการคนละครึ่ง โครงการคนละครึ่ง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 (24 ชั่วโมง) แจ้งเบาะแสการกระทำผิดเงื่อนไขโครงการสามารถส่งข้อมูลมาที่ Email: [email protected] หรือ ส่งไปรษณีย์มาที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (โครงการคนละครึ่ง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36486
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน มอบ SMART GATE คัดกรองโควิด รพ.ราชวิถี
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 อนุทิน มอบ SMART GATE คัดกรองโควิด รพ.ราชวิถี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบ Smart Gate วัดอุณหภูมิอัจฉริยะที่ได้รับจากบริษัทเอกชน สามารถตรวจจับใบหน้าคนที่ไม่ใส่หน้ากาก แสดงผลแบบเรียลไทม์ ลดการสัมผัส เพิ่มความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ พร้อมเปิดหอผู้ป่ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบ Smart Gate วัดอุณหภูมิอัจฉริยะที่ได้รับจากบริษัทเอกชน สามารถตรวจจับใบหน้าคนที่ไม่ใส่หน้ากาก แสดงผลแบบเรียลไทม์ ลดการสัมผัส เพิ่มความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ พร้อมเปิดหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ รองรับผู้ป่วยวิกฤตและโรคโควิด 19 จำนวน 9 ห้อง บ่ายวันนี้ (4 พฤศจิกายน 2563) ที่โรงพยาบาลราชวิถี กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้นำประตูอัจฉริยะคัดกรองอุณหภูมิ (Smart Gate) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมการแพทย์และบริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด มามอบให้โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองผู้มารับบริการ สามารถตรวจจับใบหน้าคนที่ไม่ใส่หน้ากาก แสดงผลอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ ทำให้คัดกรองได้รวดเร็วภายใน 1 นาที ช่วยลดการสัมผัส ลดการแพร่กระจายเชื้อ เพิ่มความปลอดภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและผู้มารับบริการ พร้อมทั้งได้เปิดหอผู้ป่วยวิกฤตแยกโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (AIRBORNE INFECTION ISOLATION INTENSIVE CARE UNIT) เพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤตที่จำเป็นต้องใช้ห้องแยกแรงดันลบ ให้ได้รับการรักษาทันเวลา ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรงพยาบาลราชวิถีถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลหลักของกระทรวงสาธารณสุข ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 และให้บริการรักษาโรคอื่นๆ ด้วย จากสถิติมีผู้ป่วยมาใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 6,000 คน/วัน จากเดิมการวัดอุณหภูมิร่างกายคนไข้ เป็นการวัดด้วยเครื่องดิจิตอลโดยใช้บุคลากรทางการแพทย์วัดรายบุคคล ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาระงานที่เพิ่มขึ้น การสนับสนุนประตูอัจฉริยะคัดกรองอุณหภูมิของบริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด (TOUCH TECHNOLOGIES CO.,LTD.) จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ ได้ ช่วยลดภาระการทำงานและจำนวนของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานคัดกรองด่านหน้า และลดการสัมผัส สร้างความปลอดภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ผู้ป่วย และญาติ สำหรับหอผู้ป่วยวิกฤตแยกโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ จำนวน 9 ห้อง ได้ปรับปรุงจากหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมเดิม มีพยาบาลประจำหอผู้ป่วย 15 คนที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว รองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตแยกโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคโควิด 19 ซึ่งโรงพยาบาลราชวิถี ถือเป็นโรงพยาบาลต้นแบบ กรมการแพทย์ ที่ให้บริการจัดการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึงการดำเนินงานคลินิกบัตรประกันสุขภาพ มาตรา 8 ถือว่าเป็นการดูแลผู้ป่วยบัตรทองที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง *********************************** 4 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36501
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. มอบนโยบายการขับเคลื่อนคุณธรรมและความโปร่งใส ปี 2564
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รมว.พม. มอบนโยบายการขับเคลื่อนคุณธรรมและความโปร่งใส ปี 2564 รมว.พม. มอบนโยบายการขับเคลื่อนคุณธรรมและความโปร่งใส ปี 2564 วันนี้ (4 พ.ย. 63) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมพร้อมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานให้กับคณะผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม รวมจำนวน 100 คน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการขับเคลื่อนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้กับทุกส่วนราชการ นายจุติ กล่าวว่า ตนได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานช่วยกันปิดจุดอ่อนให้กลายเป็นจุดแข็ง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทุกกรมจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน รวมทั้งต้องมีการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่ และข้อมูลสาธารณะที่จำเป็น จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนสามารถรับรู้ รับทราบได้ อีกทั้งได้สั่งการให้ทุกกรมจัดตั้ง ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือ CIO เพื่อดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน โดยมอบให้ผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. กำกับดูแล เพื่อให้ผ่านการประเมินและยกระดับประสิทธิภาพการขับเคลื่อนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36495
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไออัดมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นลงทุน ฟื้นอีวี ชูไทยฐานผลิตในภูมิภาค
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 บีโอไออัดมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นลงทุน ฟื้นอีวี ชูไทยฐานผลิตในภูมิภาค บีโอไออัดมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นลงทุน ฟื้นอีวี ชูไทยฐานผลิตในภูมิภาค บีโอไออัดมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นลงทุน ฟื้นอีวี ชูไทยฐานผลิตในภูมิภาค บอร์ดบีโอไอไฟเขียวมาตรการชุดใหญ่ กระตุ้นการลงทุนส่งท้ายปี 2563 ฟื้นลงทุนกิจการผลิต ยานยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมทุกประเภท หนุนผู้ประกอบการปรับปรุงประสิทธิภาพสู่ความอย่างยั่งยืน พร้อมผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ ศูนย์กลางการค้า การลงทุน และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก นางสาวดวงใจ อัศวจิตนจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายด้าน โดยเปิดประเภทกิจการให้การส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม ได้แก่ กิจการโรงพยาบาลผู้สูงอายุ กิจการดูแลผู้สูงอายุ และกิจการวิจัยทางคลินิก พร้อมทั้งเปิดให้การส่งเสริมรอบใหม่อีก 2 ประเภทกิจการ คือ กิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และกิจการเพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก รวมทั้งขยายเวลาและปรับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน เปิด 2 กิจการใหม่รับสังคมสูงอายุ ที่ประชุมได้เห็นชอบเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการบริการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกิจการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร รองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด โดยอนุมัติเปิด 2 ประเภทกิจการใหม่ ได้แก่ 1) กิจการโรงพยาบาลผู้สูงอายุ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 5 ปี และ 2) กิจการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 3 ปี เปิดกิจการวิจัยทางคลินิก นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการแพทย์ของประเทศไทย และสนับสนุนเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านการผลิต บริการ การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเป็นโอกาสให้สถาบันการแพทย์ของไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่จะมาดำเนินการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย ที่ประชุมจึงอนุมัติเปิดให้ส่งเสริมกิจการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) โดยครอบคลุม 2 กิจการย่อย คือ กิจการสนับสนุนและบริหารจัดการการวิจัยทางคลินิก (Contract Research Organization: CRO) และศูนย์การวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Center: CRC) โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงิน หนุนลงทุนกิจการยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดให้การส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า (อีวี) รอบใหม่ หลังจากหมดระยะเวลาการยื่นคำขอรับการส่งเสริมไปตั้งแต่ปี 2561 โดยในรอบนี้ เปิดให้การส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ รถโดยสารและรถบรรทุก รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จากเดิมที่มีการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้า โดยมีสิทธิประโยชน์และเงื่อนไข ดังนี้ 1) Battery Electric Vehicles: BEV ในกรณีที่มีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และหากมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สามารถได้รับสิทธิเพิ่ม ในกรณีขนาดการลงทุนน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565 มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน มีปริมาณการผลิตจริงมากกว่า 10,000 คันต่อปี และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ถ้ามีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid Electric Vehicles หรือ PHEV ด้วย จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ทั้งนี้ต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ชิ้น 2) กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตภายในปี 2565 มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา 3) กิจการผลิตสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตภายในปี 2565 มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา 4) กิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตภายในปี 2565 มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ทุกประเภท ผู้ลงทุนจะต้องเสนอแผนงานรวม (Package) เช่น โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ โครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตในระยะ 1 – 3 ปี แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบ ในประเทศไทย (ที่มีคนไทยถือหุ้นข้างมาก) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปรับปรุงขอบข่ายและสิทธิประโยชน์ของประเภทกิจการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า โดยเพิ่มเติมรายการชิ้นส่วนสำคัญอีก 4 รายการ ได้แก่ 1) High Voltage Harness 2) Reduction Gear 3) Battery Cooling System และ 4) Regenerative Braking System พร้อมทั้งปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้จูงใจมากขึ้นสำหรับกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีการลงทุนในขั้นตอนที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยให้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ไม่มีการผลิตในประเทศ ในอัตราร้อยละ 90 เป็นระยะเวลา 2 ปี ในกรณีที่มีขั้นตอนการผลิต Module หรือ Cell เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค พร้อมกันนี้ คณะกรรมการยังให้ความเห็นชอบการปรับปรุงประเภทกิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ ให้ครอบคลุมถึงการผลิตเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าด้วย โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 มีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมฯ รวม 26 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 78,099 ล้านบาท โดยมี 7 โครงการที่มีการผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว แบ่งเป็นประเภทกิจการ HEV (Hybrid Electric Vehicles) 3 ราย ได้แก่ นิสสัน ฮอนด้า และโตโยต้า ประเภทกิจการ PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicles) 2 ราย ได้แก่ เมอร์เซเดส เบนซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู และ ประเภทกิจการ BEV (Battery Electric Vehicles) 2 ราย ได้แก่ ฟอมม์ และ ทาคาโน นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว จำนวน 14 โครงการ โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า 10 โครงการ ปลุกกิจการ IPO อีกครั้ง เพื่อส่งเสริมและยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก ที่ประชุมมีมติเปิดให้การส่งเสริมกิจการศูนย์จัดหาจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบระหว่างประเทศ (International Procurement Office: IPO) อีกครั้ง โดยให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก ขยายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ” เพื่อให้ครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ พร้อมทั้ง ขยายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล (Sustainability Certification) ให้ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากภาคเกษตร ในการดำเนินการให้ได้รับรองมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้โครงการที่เคยได้รับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพมาแล้ว สามารถขอรับการส่งเสริมซ้ำในมาตรการย่อยเดียวกันได้ และขยายเวลายื่นขอรับการส่งเสริมจนถึงวันทำการสุดท้ายของปี 2565 ทั้งนี้ ยังคงให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของวงเงินในการปรับปรุง เป็นเวลา 3 ปี สำหรับโครงการที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านใดด้านหนึ่ง ใน 4 มาตรการย่อย ได้แก่ 1) การประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2) การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร 3) การวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรม และ 4) การยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพใช้กับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเป็นประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ และหากเป็นผู้ประกอบการ SMEs กำหนดให้มีเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 500,000 บาท ************************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36490
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บอร์ดบีโอไอเห็นชอบมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นการลงทุน ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ การค้า การลงทุน และฐานการผลิตสำคัญของโลก
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 บอร์ดบีโอไอเห็นชอบมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นการลงทุน ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ การค้า การลงทุน และฐานการผลิตสำคัญของโลก บอร์ดบีโอไอเห็นชอบมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นการลงทุน ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ การค้า การลงทุน และฐานการผลิตสำคัญของโลก นายกฯ ย้ำทุกฝ่ายปรับเปลี่ยนวิธีคิดและปฏิบัติใหม่แบบ New Normal ให้ทันสถานการณ์โลก วันนี้ (4 พ.ย. 63) เวลา 09.30 น.ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ครั้งที่ 1/2563 โดย นายกรัฐมนตรี ย้ำในโลกยุคใหม่ New Normal ทุกหน่วยงานปรับเปลี่ยนวิธีการ คิดและปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง และบริบทของประเทศภูมิภาคต่าง ๆ เช่น เรื่องข้อตกลงทางด้านการค้าและข้อกฎหมาย รวมถึงสอดคล้องกับความต้องการประเทศและศักยภาพที่ประเทศไทยมีอยู่เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ภายใต้สถานการณ์การค้าต่างตอบแทนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือการเตรียมความพร้อมในด้านของทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและรองรับการเป็นรัฐบาล New Normal และรัฐบาลดิจิทัลด้วย พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายด้าน โดยเปิดประเภทกิจการให้การส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม ได้แก่ 1. กิจการโรงพยาบาลผู้สูงอายุ กิจการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกิจการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร รองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 โดยอนุมัติเปิด 2 ประเภทกิจการใหม่ ได้แก่ (1) กิจการโรงพยาบาลผู้สูงอายุ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 5 ปี และ (2) กิจการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 3 ปี 2. กิจการวิจัยทางคลินิก เพื่อส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการแพทย์ของประเทศไทย และสนับสนุนเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ได้อย่างสมบูรณ์ อนุมัติเปิดให้ส่งเสริมกิจการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) โดยครอบคลุม 2 กิจการย่อย คือ กิจการสนับสนุนและบริหารจัดการการวิจัยทางคลินิก (Contract Research Organization: CRO) และศูนย์การวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Center: CRC) โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงิน รวมทั้งที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดให้การส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า (อีวี) รอบใหม่ หลังจากหมดระยะเวลาการยื่นคำขอรับการส่งเสริมไปตั้งแต่ปี 2561 โดยในรอบนี้ เปิดให้การส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ รถโดยสารและรถบรรทุก รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จากเดิมที่มีการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้า ทั้งนี้ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ทุกประเภท ผู้ลงทุนจะต้องเสนอแผนงานรวม (Package) เช่น โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ โครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตในระยะ 1 – 3 ปี แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบในประเทศไทย (ที่มีคนไทยถือหุ้นข้างมาก) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปรับปรุงขอบข่ายและสิทธิประโยชน์ของประเภทกิจการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า โดยเพิ่มเติมรายการชิ้นส่วนสำคัญอีก 4 รายการ ได้แก่ 1) High Voltage Harness 2) Reduction Gear 3) Battery Cooling System และ 4) Regenerative Braking System พร้อมทั้งปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้จูงใจมากขึ้นสำหรับกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีการลงทุนในขั้นตอนที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยให้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ไม่มีการผลิตในประเทศ ในอัตราร้อยละ 90 เป็นระยะเวลา 2 ปี ในกรณีที่มีขั้นตอนการผลิต Module หรือ Cell เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค รวมทั้งให้ความเห็นชอบการปรับปรุงประเภทกิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ ให้ครอบคลุมถึงการผลิตเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าด้วย โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 มีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมฯ รวม 26 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 78,099 ล้านบาท อีกทั้งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ” เพื่อให้ครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ พร้อมทั้ง ขยายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล (Sustainability Certification) ให้ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากภาคเกษตร ในการดำเนินการให้ได้รับรองมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061) เป็นต้น ทางด้าน นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้กล่าวถึงภาวะการส่งเสริมการลงทุนช่วง 9 เดือนของปี 2563 (มกราคม-กันยายน) ว่า มียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,098 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1,088 โครงการ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 223,720 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15 ที่มีมูลค่ารวม 262,470 ล้านบาท สำหรับยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58 ของมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีจำนวน 556 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 128,980 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 37,550 ล้านบาท ตามด้วยอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร 26,880 ล้านบาท อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 19,980 ล้านบาท และอุตสาหกรรมการแพทย์ 14,710 ล้านบาท ทั้งนี้ คำขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการแพทย์ยังคงมีจำนวนโครงการและมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยมีจำนวน 65 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 132 มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 14,710 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามแม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยรวม แต่ในบางอุตสาหกรรมมียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ ตอกย้ำศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาค ------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36484
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ธรรมนัส เปิดงานนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” ในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 รมช.ธรรมนัส เปิดงานนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” ในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 รมช.ธรรมนัส เปิดงานนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” ในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 แสดงถึงสิ่งสำคัญของกรมฝนหลวงฯ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 รมช.ธรรมนัส เปิดงานนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” ในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2563 แสดงถึงสิ่งสำคัญของกรมฝนหลวงฯ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2563 ครบปีที่ 65 แห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน ภายใต้แนวคิด “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารB) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดงานขึ้น เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้ประชาชน เยาวชน ได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงก่อให้เกิดเทคโนโลยีฝนหลวง นับจากวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวง เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” “ในวันนี้ได้มีพิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งภายในงานจะประกอบไปด้วยนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” มีการมอบรางวัลอาสาสมัครฝนหลวงดีเด่นระดับประเทศและระดับภูมิภาค มอบรางวัลโครงการประกวดภาพจิตรกรรม “ฝนหลวง สืบสาน รักษา ต่อยอด” พร้อมการจัดแสดงผลงานที่ได้รับรางวัล การแสดงนิทรรศการ “9 ใน 9 สิ่งสำคัญสัมพันธ์ฝนหลวง” จะแสดงถึงสิ่งสำคัญของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 การถ่ายทอดเรื่องราวฝนหลวงในรูปแบบ 4 มิติ (4D Experience) ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ จึงขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปมาร่วมงาน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2563” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานร่วมบูรณาการ อาทิ กองทัพอากาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) นอกจากนี้ตลอดการจัดงานยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกมากมายกว่า 60 ร้านค้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP มีทั้งผัก ผลไม้ อาหารสด และอาหารแปรรูปทางการเกษตรมาจำหน่ายให้ประชาชนในราคาประหยัด อาทิ ก้อนจุลินทรีย์จากมูลไส้เดือน วุ้นทุเรียน เครื่องสำอางจากนมแพะ น้ำพริกและเห็ดแปรรูป แชมพูสมุนไพร ผ้าทอ เครื่องเงิน เป็นต้น รวมทั้งยังมีกิจกรรมการสาธิตเสริมสร้างอาชีพจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ อาทิ สาธิตการทำอาหารแปรรูปจากปลานิล โดยกรมประมง การประดิษฐ์พัดเดคูพาจ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การสาวไหมและแสดงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหม่อนไหมพร้อมบริการแจกต้นหม่อนไหมผลสด โดยกรมหม่อนไหม นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดงดนตรีคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังอีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36730
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15.45 - 16.45 น. ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15.45 - 16.45 น. * * * * * ท่านประธาน ฯพณฯ ประธานาธิบดีมุน แช อิน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอร่วมต้อนรับท่านประธานาธิบดีมุน แช อิน สู่การประชุมฯ ในวันนี้ ตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง และผมยินดีที่มีการรับรองแผนปฏิบัติการฯ ฉบับใหม่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับความร่วมมือระหว่างกันในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ร่วมฯ ที่เราได้รับรองในที่ประชุมสุดยอดฯ สมัยพิเศษ ที่นครปูซาน เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผมได้ทำหน้าที่เป็นประธานร่วมกับท่านประธานาธิบดีมุนฯ ในการนี้ ผมขอย้ำความมุ่งมั่นของไทยที่จะร่วมขับเคลื่อนแผนงานต่าง ๆ ให้คืบหน้าและเป็นรูปธรรม ในปีนี้ สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน ในขณะเดียวกัน ภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนและความตึงเครียดในภูมิภาค เราจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือที่สอดรับกับบริบทดังกล่าว ผมยินดีที่สาธารณรัฐเกาหลีกำลังพิจารณายกระดับนโยบายมุ่งใต้ใหม่ให้ทันสมัย รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเติบโตอย่างครอบคลุม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผมมองว่า การรักษาชีวิตและการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นลำดับแรก เพื่ออนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ผมจึงขอเสนอความร่วมมือ 2 ด้านหลัก ดังนี้ ประการแรก ด้านสาธารณสุข ผมขอขอบคุณความร่วมมือของสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อรับมือกับโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต ไทยสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการหารือด้านสาธารณสุข ทั้งในกรอบอาเซียนและทวิภาคี ซึ่งรวมถึงการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ตลอดจนการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสโควิด-19 ประการที่สอง การฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการเสริมสร้างการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค รวมทั้งการดำเนินการเพื่อขยายปริมาณการค้าการลงทุนระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพจากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ข้อริเริ่มร่วมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจฯ ในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด และความตกลง RCEP ที่เรากำลังจะลงนามร่วมกัน ไทยและอาเซียนพร้อมที่จะหารือกับสาธารณรัฐเกาหลี ในการกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายใต้มาตรการทางสาธารณสุขที่รัดกุม ในด้านความเชื่อมโยง เราขอเชิญชวนให้สาธารณรัฐเกาหลีพิจารณาขยายความร่วมมือในโครงการภายใต้เอ็มแพ็ค 2025 โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสีเขียว ผ่านกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย “Green New Deal” ของท่านประธานาธิบดีมุนฯ และการต่อยอดความร่วมมือเรื่องเมืองอัจฉริยะที่เราได้วางรากฐานไว้ในการประชุมสุดยอดฯ ที่นครปูซาน ในขณะเดียวกัน เราสนับสนุนบทบาทที่แข็งขันและต่อเนื่องของสาธารณรัฐเกาหลีในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะโครงการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา หรือ TVET (ทีเว็ด) นอกจากนี้ เราควรมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกัน โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและรับมือกับความท้าทายในยุค 4IR (โฟร์ ไอ อาร์) โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ MSMEs start-ups และผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และพัฒนาทักษะที่จำเป็น สุดท้ายนี้ ผมเชื่อว่าสันติภาพและเสถียรภาพเป็นพื้นฐานของความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไทยสนับสนุนบทบาทของสาธารณรัฐเกาหลีที่พยายามสร้างสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลี และเล็งเห็นความจำเป็นของการรักษาพลวัตของการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ดังนั้น ผมหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะกลับเข้าสู่การเจรจาโดยเร็ว เพื่อให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์และมีความรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36734
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ผนึก แคทบัซซ์ จัด Free WiFi ความเร็วสูง ให้บริการแรงงาน
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ก.แรงงาน ผนึก แคทบัซซ์ จัด Free WiFi ความเร็วสูง ให้บริการแรงงาน ก.แรงงาน ร่วมมือ บ.แคทบัซซ์ ทีวี ให้บริการ Digital Service ผ่านเครือข่าย Free WiFi ความเร็วสูง พัฒนาฝีมือแรงงานตามแนวทางประชารัฐ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงความร่วมมือการพัฒนาฝีมือแรงงานผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับบริษัท แคทบัซซ์ ทีวี จำกัด โดยมีนายสุทธิพงษ์ โกศลวิริยะกิจ ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นางดรุณี นิธิทวีกุล ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ นายณัฐฐินันท์ สุขสมพงษ์ ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แคทบัซซ์ ทีวี จำกัด ร่วมแถลง ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแถลงว่า ปัจจุบัน WiFi หรืออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ รวมทั้งรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และการพัฒนากำลังคนให้มีความพร้อมรองรับการเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยให้บุคลากรวัยทำงานทุกสาขาจะต้องมีความรู้และทักษะดิจิทัล ทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้เกิดการจ้างงานในธุรกิจใหม่ และเป็นการกระตุ้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้บริการ ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ บ. แคทบัซซ์ จะร่วมมือกันในการพัฒนาการให้บริการ Digital Service ผ่านเครือข่าย Free WI-FI ความเร็วสูง ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวเป็นการให้บริการ Digital Service ผ่านเครือข่าย Free WiFi ความเร็วสูง โดยติดตั้งระบบ Free WiFi นำร่องที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นแห่งแรก เพื่อสร้างช่องทางในการเชื่อมต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการให้บริการประชาชนผ่าน Line Official Account รวมถึงสื่อสารกับประชาชนหรือผู้ใช้แรงงาน ให้เข้าถึงการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น ทั้งด้านการเชื่อมโยงข้อมูลการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตำแหน่งงานว่าง และความต้องการจ้างงานของนายจ้าง โดยมีระบบการจัดเก็บข้อมูลเฉพาะบุคคลที่เข้ามาใช้บริการด้านต่าง ๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผ่านระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการจัดหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะฝีมือสอดคล้องกับตำแหน่งงาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นชุมชนเข็มแข็งพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน รมช. แรงงาน กล่าวต่อว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีภารกิจหลักในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน และพัฒนาแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้น โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตามแนวทางประชารัฐ เป็นนโยบายหลักประการหนึ่งของรัฐบาล จึงร่วมมือกับบริษัท แคทบัซซ์ ทีวี จำกัด ดำเนินการติดตั้งระบบ Free WiFi เพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน และในอนาคตจะได้หารือขยายพื้นที่การให้บริการต่อไป นายณัฐฐินันท์ สุขสมพงษ์ ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แคทบัซซ์ ทีวี จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท แคทบัซซ์ ทีวี จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านวางระบบโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพร้อมให้บริการ และได้รับเลือกจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้เป็นพันธมิตรในการให้บริการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และบริการ Digital Service สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่านระบบเครือข่าย Free Wi-Fi โดยบริษัทฯ จะจัดฝึกอบรมการใช้งานแก่เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้มีความรู้ในการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว และอบรมให้ความรู้การสร้าง Contents เพื่อรองรับการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่าน Line Official Account ของหน่วยงาน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้มีการเชื่อมโยงหลักสูตรการฝึกอบรมด้าน Networking และ Smart city กับ Platform ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย “ความร่วมมือระหว่าง กพร. และ แคทบัซซ์ ในครั้งนี้ จะช่วยให้การบริการแก่ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง สามารถติดต่อสื่อสารและใช้บริการจากภาครัฐได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น” รมช. แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36698
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บ้านมือสอง ธอส. ยังขายดี!! เปิดประมูล 1 ชั่วโมง ขายได้ 49 รายการ 69.9 ล้านบาท ในมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ผ่านแอป G H Bank Smart NPA
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 บ้านมือสอง ธอส. ยังขายดี!! เปิดประมูล 1 ชั่วโมง ขายได้ 49 รายการ 69.9 ล้านบาท ในมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ผ่านแอป G H Bank Smart NPA ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยผลการจัดมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส. ผ่าน Application GH Bank Smart NPA ประจำเดือนพฤศจิกายน จำหน่ายทรัพย์ได้ทั้งสิ้น 49 รายการ มากที่สุดในรอบ 5 เดือน มูลค่ารวม 69.9 ล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยผลการจัดมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส. ผ่าน Application GH Bank Smart NPA ประจำเดือนพฤศจิกายน จำหน่ายทรัพย์ได้ทั้งสิ้น 49 รายการ มากที่สุดในรอบ 5 เดือน มูลค่ารวม 69.9 ล้านบาท แบ่งเป็นทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 12 รายการ และทรัพย์ในส่วนภูมิภาค 37 รายการ พิเศษ!! ผู้ชนะการประมูล รับส่วนลดราคาพิเศษเพิ่มให้อีก 10% จากราคาที่ปิดประมูล เพียงทำสัญญาและทำนิติกรรมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการจัดมหกรรม 11.11 ประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส.ประจำเดือนพฤศจิกายน โดยนำทรัพย์สภาพดีทั่วประเทศ 111 รายการ มาเปิดประมูลพร้อมกันผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ในวันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) ระหว่างเวลา 12.00-13.00 น. ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าประชาชนเข้าร่วมประมูลเป็นอย่างมาก และหลังจากปิดการประมูลพบว่า ธนาคารสามารถจำหน่ายทรัพย์ได้จำนวนถึง 49 รายการ มากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มจัดประมูลออนไลน์ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าที่จำหน่ายได้รวม 69.9 ล้านบาท แบ่งเป็นทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 12 รายการ และทรัพย์ในส่วนภูมิภาค 37 รายการ โดยทรัพย์ที่ประมูลขายได้ในราคาสูงสุด คือ อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ขนาด 20.3 ตารางวา ในหมู่บ้านไอโมเดิร์น จ.ชุมพร จำหน่ายได้ในราคาตั้งต้นประมูลที่ 3,290,000 บาท ส่วนทรัพย์ที่ประมูลขายได้ในราคาถูกที่สุด คือ ทาวน์เฮ้าส์ 1 ชั้น ขนาด 21 ตารางวา ในหมู่บ้านแสงจันทร์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ปิดประมูลในราคาตั้งต้นประมูลที่ 500,000 บาท ขณะที่ทรัพย์ประเภทที่ดินเปล่า ขนาด 1,845 ตารางวา ในโครงการท่าสองคอน ต.บะฮี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นรายการที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลมากที่สุด โดยปิดประมูลในราคา 685,000 บาท จากราคาตั้งต้นประมูล 595,000 บาท ขณะที่ทรัพย์เด่นประเภทห้องชุด ในโครงการแฟมิลี่เฮ้าส์-ลาดพร้าว 71 ซึ่งเป็นโครงการที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ลิฟท์ ที่จอดรถ ฟิตเนส สระว่ายน้ำ กล้องวงจรปิดระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง และยังอยู่ไม่ห่างจากทางด่วน ศูนย์การค้า และสถานศึกษา ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาตั้งต้นประมูลที่ 1,900,000 บาท “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การประมูลบ้านมือสอง หรือ ทรัพย์ NPA ของ ธอส. ยังคงได้รับความนิยมจากลูกค้าคือ คุณภาพของทรัพย์ที่อยู่ในสภาพดี คุ้มค่ากับราคา และยังอยู่ในทำเลที่ตั้งที่เดินทางสะดวก ขณะเดียวกันธนาคารยังต้องการช่วยให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้น ด้วยการลดราคาตั้งต้นประมูลสูงสุดถึง 40% จากราคาปกติ และมอบส่วนลดเพิ่มให้กับผู้ชนะการประมูลอีก 10% จากราคาที่ปิดประมูล หากทำสัญญาและทำนิติกรรมภายใน 30 ธันวาคม 2563 หรือหากทำสัญญาและทำนิติกรรมหลังวันที่ 30 ธันวาคม 2563 แต่ไม่เกินวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 จะได้รับส่วนลดเพิ่มจากราคาที่ประมูลได้ 5% อีกด้วย” นายฉัตรชัย กล่าว ทั้งนี้ มหกรรมประมูลบ้านออนไลน์กับ ธอส. ผ่าน Application : G H Bank Smart NPA ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2563 หรือ 12.12 โดยผู้ชนะการประมูลสามารถเลือกใช้โปรโมชั่นผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% นาน 12-60 เดือน หรือเทดาวน์แล้วยื่นกู้เลยก็มีสิทธิ์เลือกใช้โปรโมชั่นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 0% ได้นาน 12-48 เดือน โดยระยะเวลาดอกเบี้ย 0% กำหนดตามระยะเวลาการถือครองทรัพย์ของธนาคาร หรือกรณีกู้ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกเพียง 2.80% ต่อปีเท่านั้น และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินทำนิติกรรมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดและดูข้อมูลทรัพย์ NPA ของธนาคารได้ที่ www.ghbhomecenter.com กรณีทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โทร 0-2202-1016, 0-202-1582 ส่วนทรัพย์ในภูมิภาค โทร 0-202-1170 หรือ 0-202-2036 และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36689
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00-11.00 น. ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00-11.00 น. * * * * * ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีเวียดนามที่จัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องในวันนี้ ซึ่งยังเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในภูมิภาคของเราและทั่วโลก และขอแสดงความยินดีกับท่านออง ซาน ซู จี ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งของเมียนมาอีกสมัยหนึ่ง ผมเชื่อว่า อาเซียนจะผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ก็ด้วยความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนี้ ผมขอชื่นชมเวียดนามที่ทำหน้าที่ประธานอาเซียนได้อย่างดีเยี่ยม และมีบทบาทนำในการเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งของอาเซียนภายใต้แนวคิดหลัก “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” ผ่านข้อริเริ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนกึ่งวาระของแผนงานประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 ทั้งสามเสา การทบทวนการดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียน และการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียนผ่านการใช้ธงและเพลงอาเซียนให้มากขึ้น ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับเพื่อนประเทศสมาชิกอย่างเต็มที่เพื่อให้การดำเนินการตามข้อริเริ่มเหล่านี้ประสบผลสำเร็จ และเพื่อความแข็งแกร่งของประชาคมอาเซียนในระยะยาว ถึงแม้ว่า ความร่วมมือร่วมใจของอาเซียนจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภูมิภาคได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง แต่อาเซียนก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่ ในขณะเดียวกัน หลายภาคส่วนยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ ดังนั้น การรับมือกับการแพร่ระบาดและผลกระทบจากโควิด-19 ยังเป็นภารกิจสำคัญและเร่งด่วนที่อาเซียนต้องร่วมมือกัน โดยควรเน้นประเด็นสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ หนึ่ง เราต้องร่วมเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความมั่นคงและการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน และทำให้วัคซีนโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะที่ประชาชนอาเซียนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมในราคาที่สมเหตุสมผล โดยผมยินดีที่จะแจ้งว่า รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 และยาต้านไวรัส และพร้อมแบ่งปันให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 ในการสนับสนุนการกระจายวัคซีนในภูมิภาคของเราในอนาคต นอกจากนั้น ไทยยินดีสนับสนุนคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์อาเซียนสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และพร้อมสมทบเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ยาฟาวิพิราเวียร์ และเครื่องวัดอุณหภูมิ รวมทั้งได้จัดส่งชุดตรวจโควิด-19 ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนใจก่อนหน้านี้แล้ว และในโอกาสนี้ ผมขอยืนยันว่าไทยพร้อมที่จะเป็นที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ สอง อาเซียนควรส่งเสริมแนวทางการฟื้นฟูและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 แบบบูรณาการ เพื่อให้ภูมิภาคนี้ฟื้นตัวและสามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบ New Normal ได้อย่างเต็มที่ โดยผมยินดีที่จะร่วมรับรองกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน และสนับสนุนการนำกรอบการฟื้นฟูนี้ไปปฏิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เช่น การช่วยให้ SMEs ในอาเซียนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อประคองให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ เนื่องจากภาคธุรกิจดังกล่าวเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญในภูมิภาค และมีอัตราการจ้างงานสูงกว่าร้อยละ 95 ของการจ้างงานในภูมิภาค โดยผมหวังว่าข้อเสนอของไทยในเรื่องนี้จะได้รับการพิจารณาจากกลไกเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนั้น ไทยสนับสนุนการจัดทำกรอบข้อตกลงระเบียงการเดินทางของอาเซียน โดยคำนึงถึงมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดควบคู่กันไป เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางสำหรับการทำธุรกิจที่จำเป็นในอาเซียน ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างครอบคลุมได้ต่อไป สาม อาเซียนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ และเตรียมความพร้อมในระยะยาวเพื่อให้สามารถยืนหยัดและต้านทานต่อความท้าทายใหม่ ๆ โดยสร้างความเข้มแข็งจากฐานรากผ่านการบูรณาการความร่วมมือในระดับภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานให้มีความหลากหลาย ยืดหยุ่น และโปร่งใสในการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า โอกาสนี้ ผมขอเน้นย้ำประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. ผมสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงของการทำธุรกรรมทางการค้าดิจิทัลในอาเซียนอย่างครบวงจร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค 2. ผมยินดีที่จะมีการลงนาม RCEP ในช่วงการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางยุทธศาสตร์แก่อาเซียน โดยผมเห็นว่าอาเซียนควรหารือกับอินเดียให้กลับมาเข้าร่วม RCEP โดยเร็ว และ 3. ผมขอผลักดันวาระของประชาชนที่เกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาทุนมนุษย์ การพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อสนับสนุนประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยผมเห็นว่าประเด็นเหล่านี้ควรเป็นหัวใจสำคัญในการจัดทำวิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 ซึ่งเราต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ประการสุดท้าย อาเซียนต้องร่วมมือในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดและการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 ดังนั้น ในการพบกับคู่เจรจาในช่วง 2-3 วันข้างหน้า อาเซียนจะต้องเป็นหนึ่งเดียวเพื่อส่งสารไปยังมหาอำนาจต่าง ๆ ถึงความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้อง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” เพื่อป้องกันการเผชิญหน้าในภูมิภาคและเพิ่มพูนความร่วมมือที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ซึ่งจะช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ เราต้องร่วมกันส่งเสริมระบบพหุภาคีนิยมและภูมิภาคนิยม ที่อาเซียนยึดถือ ให้เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน ในสถาปัตยกรรมภูมิภาค โดยใช้มุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้มหาอำนาจเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคให้มีความยั่งยืน ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย สุดท้ายนี้ ผมขอแสดงความยินดีกับเวียดนามที่ประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่ประธานอาเซียนในปีนี้และสามารถนำอาเซียนฝ่าฟันวิกฤตโควิด-19 อย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ผมและประเทศไทยพร้อมสนับสนุนบรูไนฯ ในการเป็นประธานอาเซียนในปีหน้าอย่างเต็มที่ เพื่อร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันต่อความท้าทายต่าง ๆ และขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป ขอบคุณครับ * * * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36703
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ ร่วมแสดงความยินดีวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 41 ปี
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงเกษตรฯ ร่วมแสดงความยินดีวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 41 ปี กระทรวงเกษตรฯ ร่วมแสดงความยินดีวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 41 ปี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ร่วมพิธีวางพวงมาลาหม่อมหลวงชูชาติ กำภู เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 41 ปี ณ สระพระพิรุณ ศูนย์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว แถลงข่าวการจัดงานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 24 ประจำปี 2563 ในหัวข้อ ข้าวพันธ์ใหม่ พันธ์ “หอมมาลัยแมน” ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 10 ธันวาคม 2563 รวมถึงยังได้กล่าวแสดงความยินดี พร้อมร่วมอวยพรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 41 ปี นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ยังได้มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น บุคลากรดีเด่น นิสิตดีเด่น ให้กับนายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ซึ่งเป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นในด้านผู้บริหารภาครัฐ ประจำปี 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36705
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบการประชุมทางไกลของนายกรัฐมนตรี
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบการประชุมทางไกลของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 – 15 พฤศจิกายน 2563 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ในรูปแบบการประชุมทางไกลของนายกรัฐมนตรี ไทยเน้นย้ำศักยภาพสตรีในเวทีอาเซียน ส่งเสริมการประกอบธุรกิจ SMEs และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่กับบทบาทด้านการสาธารณสุข ไทยมุ่งสานต่ออาเซียน-อินเดีย สนับสนุนการเชื่อมโยงในภูมิภาค ร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็ง ครอบคลุม และยั่งยืน ไทยพร้อมสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการหารือด้านสาธารณสุขกับสาธารณรัฐเกาหลีทั้งในกรอบอาเซียน และทวิภาคี ไทยย้ำหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-ญี่ปุ่น คือโอกาสร่วมฝ่าวิกฤตและความท้าทายไปด้วยกัน อาเซียน-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และความยั่งยืน ​ ไทยร่วมขับเคลื่อนอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามแนวคิดหลัก “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” (Cohesive and Responsive)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36696
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. นำทัพ จป. จัดกิจกรรมพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่าย ช่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยและโรคเนื่องจากการทำงาน
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 กสร. นำทัพ จป. จัดกิจกรรมพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่าย ช่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยและโรคเนื่องจากการทำงาน กสร. ผนึกกำลัง จป.ทุกระดับจากสถานประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กว่า 300 คน ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ประจำปี 2563 เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายความปลอดภัย หวังลดการประสบอันตรายและโรคเนื่องจากการทำงาน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้ใช้แรงงานถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมาย มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงแรงงานภายใต้การนำของ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับงานด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้ใช้แรงงาน จึงได้กำหนดมาตรการ Safety and Healthy Thailand ให้เป็น 1 ใน 9 นโยบายสำคัญ การจัดงานวันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานปีนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้มุ่งเน้นกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายความปลอดภัยแรงงานอย่างยั่งยืน ด้วยปัจจุบันมีการรวมตัวเป็นสมาคมและชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในสังคมแรงงาน อีกทั้งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับแนวทางประชารัฐได้เป็นอย่างดี อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือเป็นวันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 ที่กำหนดให้สถานประกอบกิจการต้องจัด ให้มี “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน” ทำหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการ เพื่อลดการประสบอันตรายและโรคเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งในปีนี้นับเป็นปีที่ 35 กิจกรรมประกอบด้วย การบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย นิทรรศการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของชมรม/สมาคม/เครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน การสาธิตการเชื่อมใต้น้ำอย่างปลอดภัยโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายความปลอดภัยแรงงานอย่างยั่งยืน โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ มาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หัวข้อสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นต้น โดยได้เชิญชวนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กว่า 300 คน ร่วมกิจกรรม ณ อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ส่วนแยกตลิ่งชัน) กรุงเทพมหานคร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36717
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวง​กลาโหม​เยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันสารสนเทศ​ทรัพยากร​น้ำ
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ปลัดกระทรวง​กลาโหม​เยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันสารสนเทศ​ทรัพยากร​น้ำ พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวง​กลาโหม​เยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันสารสนเทศ​ทรัพยากร​น้ำ(องค์​การมหาชน)​ พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวง​กลาโหม​เยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันสารสนเทศ​ทรัพยากร​น้ำ(องค์​การมหาชน)​ ติดตามสถานการณ์​น้ำ ระบบคลังข้อมูล​น้ำแห่งชาติ การใช้งานเพื่อบริหารจัดการภัยพิบัติ และร่วมหารือแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลด้านทรัพยากร​น้ำระหว่างหน่วยงาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36741
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หนุนช่วยคนเข้าถึงแหล่งทุน - จัดการเจ้าหนี้โหด
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 หนุนช่วยคนเข้าถึงแหล่งทุน - จัดการเจ้าหนี้โหด -- #ไทยคู่ฟ้า น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยประชาชนผู้ที่ต้องการเข้าถึงเงินกู้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีรายได้ที่มั่นคง และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยได้ติดตามการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ผ่านระบบพิโกไฟแนนซ์ และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออมสิน พร้อมสั่งการเข้มเอาผิดเจ้าหนี้นอกระบบผิดกฎหมาย เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และกำชับให้ทุกภาคส่วนทำงานอย่างบูรณาการตามนโยบายแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36693
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เคาะแผนแม่บทฯ สู้โควิด “ล้มแล้วลุกไว”
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เคาะแผนแม่บทฯ สู้โควิด “ล้มแล้วลุกไว” -- #ไทยคู่ฟ้าบอร์ดยุทธศาสตร์ชาติเห็นชอบร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564 - 2565 (ฉบับสมบูรณ์) หรือแผนระดับที่ 2 ด้วยแนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” ตั้งเป้าให้คนไทยยังชีพอยู่ได้ มีงานทำ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง มุ่งวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมี 4 ประเด็นหลักที่ต้องเร่งพัฒนาใน 2 ปีข้างหน้า ได้แก่ 1.การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ 2.การยกระดับขีดความสามารถของประเทศ 3.การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน 4.การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อฟื้นฟูประเทศ . นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบร่างแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ ให้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36690
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชวนท่องเที่ยวไฮซีซั่น ใช้จ่ายผ่านโครงการรัฐ
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ชวนท่องเที่ยวไฮซีซั่น ใช้จ่ายผ่านโครงการรัฐ -- #ไทยคู่ฟ้าเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว (High season) อย่างเต็มตัวแล้ว ช่วงนี้จึงเป็นเวลาทองของการได้ออกไปเที่ยวพักผ่อน รัฐบาลขอเชิญชวนประชาชนออกมาท่องเที่ยวในช่วงปลายปี และใช้จ่ายผ่านโครงการของรัฐ เช่น • โครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" รับสิทธิส่วนลดค่าที่พัก 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน รวมไม่เกิน 10 ห้องหรือ 10 คืน , รับคูปองสูงสุด 900 บาทต่อวัน เพื่อใช้เป็นค่าอาหาร ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการ และคืนเงินค่าตั๋วเครื่องบิน 40% นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีในโครงการช้อปดีมีคืนได้ด้วย (ปัจจุบันเหลือจำนวนสิทธิที่พักกว่า 2.2 ล้านสิทธิ และสิทธิตั๋วเครื่องบินอีกจำนวนกว่า 1.8 ล้านสิทธิ) • โครงการ “กําลังใจ” รัฐสนับสนุนเงินให้คนละ 2,000 บาท แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) เป็นค่าใช้จ่ายให้เที่ยวในประเทศ 2 วัน 1 คืน . อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันโรคระบาด ขณะเดียวกันจะต้องทำควบคู่กับการเดินหน้างานด้านเศรษฐกิจ โดยได้ย้ำถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความความมั่นใจในการท่องเที่ยวแบบ New Normal จึงขอประชาชนอย่ากังวลเกี่ยวกับการเดินทางออกไปท่องเที่ยว เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนได้ดียิ่งขึ้นด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36692
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘จับกัง 1’ ส่งแรงงานไทย 206 คน ไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ‘จับกัง 1’ ส่งแรงงานไทย 206 คน ไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ส่งแรงงานไทย 206 คน ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมให้กำลังใจก่อนเดินทางไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน" สร้างรายได้ต่อหัวเดือนละ 48,073 บาท โดยมี นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เข้าร่วมส่งแรงงานไทยในครั้งนี้ด้วย นายสุชาติฯ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานดำเนินการตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมให้แรงงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยมุ่งประโยชน์และคำนึงถึงความปลอดภัยของพี่น้องแรงงานไทยเป็นสำคัญ มีกระบวนการคัดเลือกที่โปร่งใสตั้งแต่การรับสมัคร การสัมภาษณ์ การทำสัญญาจ้าง และการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในรัฐอิสราเอล ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งในแต่ละปี ประเทศไทยได้รับโควตาจัดส่งปีละ 5,000 คน และข้อมูลการจัดส่งจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในรัฐอิสราเอลแล้ว จำนวน 40,082 คน สร้างรายได้ให้ประเทศทั้งสิ้น 54,580 ล้านบาท “สำหรับการเดินทางไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอลภายใต้โครงการ TIC เป็นการดำเนินการหลังจากที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลอิสราเอลแจ้งความต้องการให้แรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตร จำนวน 2,000 คน โดยกรมการจัดหางานได้เริ่มจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 มีแรงงานเดินทางไปแล้ว จำนวน 386 คน และวันนี้จะมีแรงงานเดินทางไปอีก 206 คน ซึ่งตามแผนการจัดส่งที่วางไว้ คาดว่าจะสามารถจัดส่งแรงงานไทยได้ครบ 2,000 คน ภายในเดือนมกราคม 2564 โดยคนหางานจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษี เดือนละ 5,300 เชคเกลอิสราเอล หรือประมาณ 48,073 บาทต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น) ทั้งนี้ การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศหลังจากที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ กระทรวงแรงงานจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศแล้ว จำนวน 16,466 คน โดยประเทศที่จัดส่งไปทำงานมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไต้หวัน 5,032 คน สวีเดน 3,189 คน ฟินแลนด์ 2,319 คน ญี่ปุ่น 2,107 คน และเวียดนาม 473 คน “ รมว.แรงงาน กล่าว นายสุชาติ ยังกล่าวอีกว่า แรงงานไทยทั้งหมดที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศจะได้รับการอบรมก่อนเดินทางกับกรมการจัดหางาน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเดินทางไปทำงานอย่างปลอดภัย ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย พร้อมสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ และทุกคน ต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัยส่วนบุคคลคุ้มครองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในราคาเริ่มต้น 199 บาท และสำหรับผู้ที่สนใจเดินทางไปทำงานในรัฐอิสราเอล กรมการจัดหางานจะรับสมัครและคัดเลือกคนหางานเพื่อไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers:TIC) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.doe.go.th/overseas และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36743
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมธนารักษ์ผนึกกรุงไทยพัฒนาระบบประมูลทรัพย์ออนไลน์ Real Time ครั้งแรก
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 กรมธนารักษ์ผนึกกรุงไทยพัฒนาระบบประมูลทรัพย์ออนไลน์ Real Time ครั้งแรก นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ และ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาระบบประมูลขายทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยพัฒนาเว็บไซต์ Treasury e-Auction นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ และ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาระบบประมูลขายทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยพัฒนาเว็บไซต์ Treasury e-Auction ซึ่งเป็นระบบประมูลทรัพย์ออนไลน์เพื่อให้ประชาชนค้นหาและประมูลทรัพย์ที่ต้องการผ่านออนไลน์แบบ Real Time สะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ที่กรมธนารักษ์ นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีที่ราชพัสดุที่ได้มาจากการยึดทรัพย์จากผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวนกว่า 700 รายการ และมีหลายประเภท จึงมีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึดทรัพย์ โดยเปิดประมูลขายเพื่อลดภาระในการดูแลรักษาทรัพย์สิน และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐอีกทางหนึ่ง และมีความเชื่อมั่นว่าความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีระบบการจัดการขายทรัพย์สินของธนาคาร และมีประสบการณ์ในการขายการบริหารทรัพย์สินรอการขายทอดตลาด มากว่า 10 ปี จะสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้จากการยึดทรัพย์โดยการเปิดประมูลผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างรายได้กลับคืนเข้าสู่รัฐ รวมถึงการให้บริการสินเชื่อของธนาคารกรุงไทยแก่ผู้ประมูลได้ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารมีความพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างต่อเนื่อง และครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยได้ร่วมกับกรมธนารักษ์พัฒนาเว็บไซต์ Treasury e-Auction ซึ่งเป็นระบบประมูลทรัพย์ออนไลน์ มีการออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์หลายชนิด เช่น โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน อำนวยความสะดวก ให้ประชาชนสามารถร่วมประมูลได้แบบเรียลไทม์ ทุกที่ทุกเวลา และมีความโปร่งใสให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ สอดคล้องกับในยุค New Normal โดยกรมธนารักษ์เป็นหน่วยงานรัฐแห่งแรก ที่นำระบบประมูลทรัพย์ออนไลน์มาใช้ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบสถานะทรัพย์ และออกหลักฐานให้กับผู้ที่ชนะประมูลได้สะดวก รวดเร็ว “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถสมัครสมาชิกประมูลทรัพย์ออนไลน์ โดยใช้ที่อยู่ตามบัตรประชาชนหรือที่ติดต่อได้สำหรับออกใบเสร็จชำระค่าธรรมเนียม แจ้งอีเมลและเบอร์ติดต่อ พร้อมวางเงินประกัน 10,000 บาท ผ่านระบบ e-Payment ของธนาคารที่ครอบคลุมทุกการใช้งาน อาทิ การหักบัญชีธนาคารกรุงไทยแบบ Page2Page ซึ่งเป็นระบบที่ชำระเงินผ่านเว็บไซต์ได้ทันที และการชำระด้วย บัตรเครดิต บัตรเดบิต ผ่าน ระบบ Krungthai Fast Pay หรือชำระด้วย QR Code หรือ ใบแจ้งการชำระเงิน และเมื่อชำระเงินวางประกันเสร็จสิ้นแล้วสามารถเข้าร่วมประมูลทรัพย์ได้ โดยสามารถกำหนดงบประมาณในการประมูล สามารถบันทึกทรัพย์ที่ชื่นชอบลงในรายการโปรด เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ กำหนดการประมูลได้ตามช่วงราคาที่ต้องการ นอกจากนี้ ระบบจะแสดงอันดับของผลประมูลล่าสุดทันที มีการแจ้งเตือนผู้ประมูลเมื่อมีการเปลี่ยนอันดับ พร้อมแจ้งเตือนเมื่อใกล้หมดเวลาประมูล โดยเจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์จะติดต่อไปที่ผู้ชนะการประมูลโดยตรง เพื่อแจ้งรายละเอียดการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์หลังการสรุปและรับรองผลประมูลจากคณะกรรมการของกรมธนารักษ์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมประมูล ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ไม่ชนะประมูล ระบบจะโอนเงินคืนกลับไปตามเลขที่บัญชีที่แจ้งไว้ในระบบตอนชำระเงินวางประกัน” นายผยง ศรีวณิช กล่าวในตอนท้ายว่า เว็บไซต์ Treasury e-Auction พร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2563 และในเร็วๆ นี้ ธนาคารจะพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ของระบบประมูลขายทรัพย์ออนไลน์ เพื่อรองรับการชำระเงินค่าทรัพย์ผ่าน e-Payment ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี อีกทั้ง ขยายแพลตฟอร์มทางการเงินอื่นๆ ไปยังหน่วยงานภาครัฐ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของประชาชน และเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ทีม Marketing Strategy โทร 0-2208-4174-8
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36728
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดวธ.ร่วมพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม แต่งตั้งศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ขึ้นเป็นนายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ปลัดวธ.ร่วมพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม แต่งตั้งศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ขึ้นเป็นนายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ปลัดวธ.ร่วมพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม แต่งตั้งศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ขึ้นเป็นนายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๔๕ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม แต่งตั้งศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ขึ้นเป็นนายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เข้าร่วม ณ โรงละครวังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36714
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.หนุนสร้างความปลอดภัยการทำงานทุกอาชีพทุกคนตามเป้าหมาย SDGs
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 สธ.หนุนสร้างความปลอดภัยการทำงานทุกอาชีพทุกคนตามเป้าหมาย SDGs รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมสมาคมอาชีวอนามัย สนับสนุนนโยบายงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ส่งเสริมนักอาชีวอนามัยในสถานประกอบการทำงานร่วมนายจ้าง ลูกจ้าง และทีมสาธารณสุข ให้สถานประกอบการมีการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมสมาคมอาชีวอนามัย สนับสนุนนโยบายงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ส่งเสริมนักอาชีวอนามัยในสถานประกอบการทำงานร่วมนายจ้าง ลูกจ้าง และทีมสาธารณสุข ให้สถานประกอบการมีการประเมิน และลดความเสี่ยงการบาดเจ็บจากการทำงาน สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยทุกอาชีพทุกคน ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2563) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กทม. ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเปิดการประชุมสมาคมอาชีวอนามัย ว่า อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานในประเทศไทยยังมีแนวโน้มสูง ข้อมูลจากกองทุนเงินทดแทนในปี 2562 พบว่า มีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน 94,906 ราย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครร้อยละ 27.47 ต่อปี ส่วนความรุนแรงของการประสบอันตราย ส่วนใหญ่หยุดงานไม่เกิน 3 วันคิดเป็นร้อยละ 68.76 ต่อปี หยุดงานเกิน 3 วันร้อยละ 29.30 ต่อปี สูญเสียอวัยวะบางส่วนร้อยละ 1.28 ต่อปี เสียชีวิตร้อยละ 0.67 ต่อปี และทุพพลภาพร้อยละ 0.01 ต่อปี สาเหตุที่ทำให้บาดเจ็บเกิดจากวัตถุหรือสิ่งของตัด/บาด/ทิ่มแทง ร้อยละ 23.91 ต่อปี อวัยวะที่ได้รับอันตรายสูงสุด คือ นิ้วมือ/นิ้วหัวแม่มือ ร้อยละ 29.47 ต่อปี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-29 ปีร้อยละ 17.71 ต่อปี โดยสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 1,000 คน ประสบอันตรายสูงสุดร้อยละ 13.52 ต่อปี ดร.สาธิตกล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับงานอาชีวอนามัยและการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (Decent Work For All) ตามนโยบายขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals–SDGs) ภายในปี 2573 ที่มี 17 เป้าหมาย โดยเรื่องนี้อยู่ในเป้าหมายที่ 8 คือ การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ทำงานที่เป็นต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าวและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย ซึ่งวัดผลจากอัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน จำแนกตามเพศและสถานะพลเมือง เนื่องจากผู้ทำงานทุกคนถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ หากส่งเสริมให้มีงานที่เหมาะสมและจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เอื้อต่อสุขภาวะคนทำงานทุกอาชีพและทุกคน จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากการทำงาน การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงาน โดยเฉพาะงานที่เสี่ยงอันตราย ทำให้ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทั้งค่ารักษาพยาบาลและการขาดแคลนคนทำงานจากภาวะพิการและเสียชีวิต ดร.สาธิตกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนให้นักอาชีวอนามัย (HSE) ในสถานประกอบการ ทำหน้าที่ประสาน 3 ฝ่ายคือ นายจ้าง ลูกจ้าง และทีมสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และพยาบาลอาชีวอนามัย เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการประเมินและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพสำหรับทุกอาชีพและทุกคน โดยเฉพาะลดการบาดเจ็บจากการทำงาน นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังได้ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่แจ้งหรือรายงานเกี่ยวกับการพบหรือมีเหตุสงสัยว่าเกิดโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกรมควบคุมโรค เพื่อให้สามารถดำเนินการกับสถานการณ์การเกิดโรคดังกล่าวได้ทันท่วงที ********************************* 12 พฤศจิกายน 2563 **********************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36701
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 ประชุมคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน เร่งรัดการจัดที่ดินทำกิน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 มท.1 ประชุมคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน เร่งรัดการจัดที่ดินทำกิน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต มท.1 ประชุมคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน เร่งรัดการจัดที่ดินทำกิน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต วันนี้ (12 พ.ย. 63) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน ครั้งที่ 1/2563 โดยมี นายชยาวุธ จันทร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องราชสีห์ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อบูรณาการในการขับเคลื่อนการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จำนวน 9 คณะ ประกอบด้วย1) คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน 2) คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน 3) คณะอนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด 4) คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) 5) คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน 6) คณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน 7) คณะอนุกรรมการ กำกับ ติดตาม และประเมินผล 8) คณะอนุกรรมการสารสนเทศที่ดินและทรัพยากรดิน และ 9) คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1:4000 (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งทุกคณะอนุกรรมการจะเป็นกลไกสำคัญที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาการจัดที่ดินทำกินให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงมหาดไทยได้รับการแต่งตั้งให้ดำเนินการในคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน วันนี้จึงร่วมพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดที่ดิน และรับฟังผลการดำเนินการจัดที่ดินให้กับประชาชนที่ผ่านมา นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนหรือที่อยู่อาศัยในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ความเห็นชอบกระบวนการการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนหรือที่อยู่อาศัย สำหรับผลการดำเนินการจัดที่ดินให้ชุมชนที่ผ่านมา ได้รับมอบข้อมูลพื้นที่เป้าหมายจากคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน จำนวน 552 พื้นที่ 70 จังหวัด คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) รับรองรายชื่อราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์ จำนวน 258 พื้นที่ 65 จังหวัด 56,758 ราย 70,168 แปลง เนื้อที่ 383,441 ไร่ 32.48 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการจัดที่ดิน จำนวน 182 พื้นที่ 46 จังหวัด 49,511 ราย 65,485 แปลง และอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลให้ครบถ้วน จำนวน 76 พื้นที่ 11 จังหวัด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน เร่งรัดการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในการสำรวจพื้นที่ ผู้ได้รับการจัดที่ดิน เพื่อส่งให้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) คัดเลือกบุคคลตามหลักเกณฑ์เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ รวมถึงการส่งเสริมอาชีพ และการตลาดอย่างเร็วที่สุด ตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีโอกาสในที่ดินเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36704
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-8 หน่วยงานร่วมลงนามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศ.ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 8 หน่วยงานร่วมลงนามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศ.ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 8 หน่วยงานร่วมลงนามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศ.ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 8 หน่วยงานร่วมลงนามความร่วมมือโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ภายใน 5 ปี ให้ประเทศไทยปลอดจากพิษสุนัขบ้า ประสานความร่วมมือควบคุมโรคทั้งในคน สัตว์ และชุมชน สร้างความตระหนักรู้ที่ถูกต้อง หลังพบผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่ไปพบแพทย์และไม่รับวัคซีน วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2563) ที่หอประชุม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี (วิทยาเขตศรีธัญญา) นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ปี 2564-2568 ระหว่าง 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรคนายแพทย์สมชาย ธรรมสารโสภณ รักษาการอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายขจร ศรีชวโนทัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผศ.นายสัตวแพทย์ ดร.คงศักดิ์ เที่ยงธรรม คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนาม นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ด้วยศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า ที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ และทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศ รัฐบาลเห็นสมควรดำเนินการโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน เพื่อให้ประเทศไทยปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ จากรายงานกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 พบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนสูงสุดในปี 2523 ที่มีผู้เสียชีวิต 370 ราย และตั้งแต่ปี 2557-2562 มีผู้เสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัดในบางปีเหลือน้อยกว่า 10 ราย สำหรับในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 5 สิงหาคม 2563 พบผู้เสียชีวิต 2 รายในจังหวัดสระแก้วและหนองคาย สาเหตุมาจากไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาและไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างถูกต้อง ดังนั้น การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน นำมาสู่การลงนามความร่วมมือระหว่าง 8 หน่วยงานดังกล่าว นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ สถาบันพระบรมราชชนกสนับสนุนงานด้านวิชาการ ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่คนในชุมชนเป้าหมายที่วิทยาลัยในสังกัดให้บริการวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติกรมควบคุมโรคดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในคน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เฝ้าระวังโรคในชุมชน กรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินงานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินงานในท้องถิ่น และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมบุคลากรในสถานศึกษาเฝ้าระวังให้ประชาชนมีการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและการเลี้ยงสุนัข ********************************* 12 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36702
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมธนารักษ์จับมือธนาคารกรุงไทยพัฒนาระบบการจัดการขายทรัพย์สิน (NPA) ของธนาคารกรุงไทย
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 กรมธนารักษ์จับมือธนาคารกรุงไทยพัฒนาระบบการจัดการขายทรัพย์สิน (NPA) ของธนาคารกรุงไทย กรมธนารักษ์จับมือธนาคารกรุงไทยพัฒนาระบบการจัดการขายทรัพย์สิน (NPA) ของธนาคารกรุงไทย รองรับการประมูลขายที่ราชพัสดุที่ได้มาจากการยึดทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ กรมธนารักษ์ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมธนารักษ์ กับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาระบบประมูลขายทรัพย์สินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบประมูลออนไลน์เพื่อสามารถให้ประชาชนค้นหาและประมูลทรัพย์ได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2563) ณ กรมธนารักษ์ นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบประมูลขายทรัพย์สินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์มีภารกิจในการบริหารจัดการด้านกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ ซึ่งปัจจุบันมีที่ราชพัสดุที่ได้มาตามคำพิพากษาของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยกรมธนารักษ์ได้รับมอบทรัพย์สินมาจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวนกว่า 700 รายการ รวมเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ มีทั้งที่ดินเปล่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินอื่น ห้องชุด และอาคารชุด ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมิได้มีความมุ่งหมายเพื่อใช้ในราชการและกรมธนารักษ์ไม่มีอัตรากำลังคนและงบประมาณในการดูแล บำรุงรักษา ซึ่งเป็นภาระในการบริหารจัดการ กรมธนารักษ์จึงมีแนวทางในการบริหารจัดการโดยการเปิดประมูลเป็นการทั่วไปเพื่อขายทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อลดภาระในการดูแล และเป็นการเพิ่มรายได้แก่รัฐอีกทางหนึ่งด้วย อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันการบริหารจัดการภาครัฐ มุ่งเน้นในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการบนนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) โดยนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ดังนั้น กรมธนารักษ์จึงมีแนวคิดในการประมูลขายทรัพย์สินที่ได้จากการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จำนวนมาก ผ่านระบบออนไลน์ พร้อมทั้งได้ปรับปรุงแก้ไข ระเบียบกฎหมายให้รองรับการดำเนินการควบคู่กันไปด้วย และกล่าวได้ว่ากรมธนารักษ์เป็นหน่วยงานแรกที่มีการพัฒนาระบบประมูลขายทรัพย์สิน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกรมธนารักษ์เห็นว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีระบบการจัดการขายทรัพย์สินของธนาคารผ่านเว็บไซต์ของธนาคารมากว่า 10 ปี อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าของธนาคารที่มีความสามารถในการซื้อทรัพย์สินพร้อมขาย และยังเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์การประมูลขายทรัพย์สินให้เป็นที่สนใจของลูกค้าและบุคคลทั่วไปได้ สำหรับการเปิดให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนค้นหาและประมูลทรัพย์นั้น สามารถเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ระบบประมูลขายทรัพย์สินผ่านระบบอเล็กทรอนิกส์จะทำให้ประมูลขายทรัพย์สินเป็นไปตามหลักของการแข่งขันโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเพื่อให้การบริการจัดการทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึดทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐต่อไป อธิบดีกล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36729
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยพร้อมสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการหารือด้านสาธารณสุขกับสาธารณรัฐเกาหลีทั้งในกรอบอาเซียน และทวิภาคี
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ไทยพร้อมสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการหารือด้านสาธารณสุขกับสาธารณรัฐเกาหลีทั้งในกรอบอาเซียน และทวิภาคี ไทยพร้อมสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการหารือด้านสาธารณสุขกับสาธารณรัฐเกาหลีทั้งในกรอบอาเซียน และทวิภาคี วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2563) เวลา 15.45 – 16.45 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจากทั้ง 10 ประเทศ และ นายมุน แช-อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมหารือ นายกรัฐมนตรีเวียดนามเปิดการประชุมฯ โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมว่าเป็นการประชุมเพื่อร่วมกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้บริบทสถานการณ์โควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดจากการแข่งขันของมหาอำนาจ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคที่อยู่ในความสนใจและเป็นความห่วงกังวลร่วมกัน จากนั้น ประธานาธิบดีมุน แช-อิน ได้กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียน และสาธารณรัฐเกาหลี อาเซียนเป็นมิตรแท้ ความพยายามร่วมกันจะสามารถเอาชนะโรคโควิด-19ได้ โดยเกาหลีพร้อมสนับสนุนช่วยเหลือ ทั้งอุปกรณ์ป้องกัน ทดสอบ ช่วยเหลือผ่านกองทุน และโครงการต่างๆ ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า นโยบายมุ่งใต้ใหม่ของเกาหลีใต้จะขยายความร่วมมือกับอาเซียนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ สาธารณรัฐเกาหลียังยืนยันให้ความสำคัญกับการรับมือโรคโควิด-19 ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี มีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยมุ่งมั่นขับเคลื่อนแผนงานต่าง ๆ ให้คืบหน้าและเป็นรูปธรรม ไทยชื่นชมที่สาธารณรัฐเกาหลีพิจารณายกระดับนโยบายมุ่งใต้ใหม่ให้ทันสมัย รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ในด้านต่าง ๆ เพื่อสังคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ เพื่อให้อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีสามารถขับเคลื่อนสู่อนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นายกรัฐมนตรีได้เสนอกรอบความร่วมมือสำคัญ 2 ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข เพื่อรับมือกับโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนกองทุนอาเซียน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยไทยสนับสนุนการจัดตั้งกลไกด้านสาธารณสุข ทั้งในกรอบอาเซียนและทวิภาคี ซึ่งรวมถึงการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี การแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ คือด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เสริมสร้างการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค การขยายปริมาณการค้าการลงทุนระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ข้อริเริ่มร่วมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจฯ ในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด และความตกลง RCEP ไทยและอาเซียนพร้อมกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายใต้มาตรการทางสาธารณสุขที่รัดกุม รวมทั้งพร้อมขยายความร่วมมือในโครงการภายใต้เอ็มแพ็ค 2025 โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสีเขียว ผ่านกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย “Green New Deal” และพร้อมสนับสนุนการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะโครงการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา หรือ TVET (ทีเว็ด) โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ไทย อาเซียน และสาธารณรัฐเกาหลีควรมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกัน โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและรับมือกับความท้าทายในยุค 4IR (โฟร์ ไอ อาร์) ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าสันติภาพและเสถียรภาพเป็นพื้นฐานของความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไทยสนับสนุนบทบาทของสาธารณรัฐเกาหลีที่พยายามสร้างสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลี เพื่อให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และมีความรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36731
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธนาคารออมสินคว้าแชมป์ Best Retail Bank of the Year 2020
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ธนาคารออมสินคว้าแชมป์ Best Retail Bank of the Year 2020 ธนาคารออมสินครองแชมป์ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2563 Best Retail Bank of the Year 2020 ควบธนาคารยอดเยี่ยมด้านเงินฝาก จากผลโหวตของประชาชนผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน Money Expo 6 แห่งทั่วประเทศ ธนาคารออมสินครองแชมป์ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2563 Best Retail Bank of the Year 2020 ควบธนาคารยอดเยี่ยมด้านเงินฝาก ธนาคารกสิกรไทยครองธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อเอสเอ็มอี ธอส.แชมป์ธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบ้าน ธนาคารไทยพาณิชย์คว้าธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตชิงบริษัทยอดเยี่ยมด้านประกันชีวิต จากผลโหวตของประชาชนผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน Money Expo 6 แห่งทั่วประเทศ วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2563 เผยผลการสำรวจความคิดเห็นผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน Money Expo ทั่วประเทศประจำปี 2563 ว่า ธนาคารออมสิน ได้ครองตำแหน่งธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2563 Best Retail Bank of The Year 2020 ซึ่งเป็นการครองตำแหน่งติดต่อกันเป็นปีที่ 5 แล้ว สำหรับการจัดอันดับดังกล่าว วารสารการเงินธนาคารได้รับความร่วมมือจากสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน Money Expo ทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาครวม 6 งาน ซึ่งผลปรากฏว่า ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารที่ผู้เข้าชมงานชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่ามีความมั่นใจในการใช้บริการ เนื่องจากเป็นสถาบันการเงินที่มีความมั่นคงน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังมีบริการที่ครบถ้วนมีแคมเปญโปรโมชั่นเด่นที่น่าสนใจ ทั้งเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและสิทธิพิเศษต่างๆ รวมถึงพนักงานในบูธเต็มใจให้คำแนะนำบริการและให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ทำให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจใช้บริการ นอกจากนี้ ยังมีธนาคารที่มีความยอดเยี่ยมในแต่ละบริการแห่งปี 2563 ที่ผู้เข้าชมงานมีความพึงพอใจและตัดสินใจใช้บริการในแต่ละด้าน โดยธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยมด้านเงินฝาก ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบ้าน ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อเอสเอ็มอี ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบุคคลและธนาคารที่มีความยอดเยี่ยมด้านบัตรเครดิต ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทที่มีบริการยอดเยี่ยมด้านประกันชีวิต ได้แก่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต GSB Social Bank ธนาคารเพื่อสังคม สำหรับธนาคารออมสินปีนี้มีรูปแบบการจัดบูธสะท้อนความเป็นตัวตนของธนาคารออมสิน “GSB Social Bank ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม” ซึ่งดำเนินบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการออมเคียงคู่สังคมไทย พร้อมไปกับความมุ่งมั่นในการสร้างโอกาสให้คนไทยได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบเพื่อยกระดับรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งต่อไป ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไฮไลต์ของธนาคารออมสินที่นำมาเสนอในงาน ได้แก่ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 107 ระยะเวลาฝาก 107 วัน ในโอกาสที่ปีนี้ธนาคารออมสินมีวาระครบ 107 ปี ให้ดอกเบี้ยสูงเฉลี่ยเทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.52% ต่อปี ทำให้มีประชาชนมารอเข้าคิวตั้งแต่เช้าทุกวันเพื่อจองสิทธิ์จนเต็มวงเงิน 700 ล้านบาท ด้านโปรโมชั่นเงินกู้ “สินเชื่อเคหะ ซื้อบ้านผ่อน 0% นาน 1 ปี” และเปิดให้จองสิทธิ์สำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่/คอนโดใหม่ หรือรีไฟแนนซ์ วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 3 ล้านบาท ได้สิทธิ์ลุ้นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1% นาน 3 ปี นอกจากนี้ ยังมี สินเชื่อธุรกิจ GSB Smooth Biz+ เป็นเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร หรือไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินกู้ 1-100 ล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษปีที่ 1-2 = 1.99% ต่อปี https://www.gsb.or.th/news/best-retail-bank-of-the-year-2020/
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36697
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยมุ่งสานต่ออาเซียน-อินเดีย สนับสนุนการเชื่อมโยงในภูมิภาค ร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็ง ครอบคลุม และยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ไทยมุ่งสานต่ออาเซียน-อินเดีย สนับสนุนการเชื่อมโยงในภูมิภาค ร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็ง ครอบคลุม และยั่งยืน ไทยมุ่งสานต่ออาเซียน-อินเดีย สนับสนุนการเชื่อมโยงในภูมิภาค ร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็ง ครอบคลุม และยั่งยืน วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2563) เวลา 17.50 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมและกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 17 ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจากทั้ง 10 ประเทศ พร้อมด้วยนายนเรนทร โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวสรุป ดังนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมว่า เป็นการทบทวนความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน-อินเดีย ในมิติการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อกำหนดทิศทางความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียในอนาคตให้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม ด้านนายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของอาเซียนว่า เป็นศูนย์กลางของนโยบายมุ่งตะวันออกของอินเดีย และพร้อมจะร่วมกับอาเซียนเพื่อเอาชนะความท้าทายต่าง ๆ รวมทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม ผ่านกรอบความร่วมมือต่าง ๆ โดยย้ำความร่วมมือกันรับมือกับโรคโควิด-19 ทั้งในส่วนของยา การป้องกัน การรักษา ต้องส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระบบสาธารณสุข และการวิจัย อินเดียยินดีส่งเสริมการพัฒนากับประเทศอาเซียน และสนับสนุนการเชื่อมโยงด้านดิจิทัล เพื่อเป็นส่วนสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับอินเดีย รวมทั้งประสงค์เพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุน ตลอดจนยินดีที่จะมีการทบทวนกลไก และความร่วมมือภายหลังโควิด-19 เพื่อเพิ่มความร่วมมือในอินโด-แปซิฟิก ซึ่งอาจขยายไปสู่ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และความร่วมมืออื่นๆ ที่จะสร้างประโยชน์ร่วมกัน นายกรัฐมนตรีไทยกล่าวในฐานะที่ไทยเป็นผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย อาเซียนยินดีกับการมีส่วนร่วมของอินเดียในภูมิภาคตามแนวนโยบายมุ่งตะวันออก และเห็นว่าความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างกันจะช่วยเสริมสร้างสันติสุข เสถียรภาพ และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตลอดจนเพิ่มพูนความเข้าใจของประชาชนทั้งสองฝ่าย ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อรับมือกับผลกระทบของโรคโควิด-19 และเร่งให้เศรษฐกิจและสังคมฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็ง ครอบคลุม และยั่งยืน ซึ่งเชื่อว่าอินเดียจะให้การสนับสนุนอาเซียนในทุกโครงการด้านสาธารณสุข โดยอาเซียนคำนึงถึงความสำคัญของความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะความร่วมมือในการวิจัย พัฒนา ผลิต กระจายยาและวัคซีนต้านโควิด-19 เพื่อให้เป็นสินค้าสาธารณะของโลก ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ และยินดีที่จะผลักดันความร่วมมือภายใต้กลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ นอกจากนี้ ไทยย้ำถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจว่า อาเซียนคำนึงถึงความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายการค้าร่วมกันจำนวน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐให้ได้ภายในปี ค.ศ.2020 โดยส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดียอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยอาเซียนจะยึดมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคีที่ตั้งอยู่บนกฎกติกา และขอย้ำว่า อาเซียนยังคงรอต้อนรับอินเดียในการเข้าร่วมความตกลง RCEPและพร้อมสนับสนุนสภาธุรกิจอาเซียน-อินเดีย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และหวังที่จะพัฒนาความร่วมมือในการการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ SMEs ผู้ประกอบการสตรี และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ตลอดจน อาเซียนสนับสนุนให้อินเดียมีบทบาทส่งเสริมการดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ.2025 (MPAC 2025) สอดคล้องกับแนวคิด “การเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงต่าง ๆ” ของอาเซียน โดยจะผลักดันโครงการถนนสามฝ่ายอินเดีย-เมียนมา-ไทย และส่วนขยายไปยัง สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนามให้ดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมยินดีที่อินเดียสนใจจะขยายความร่วมมือทางทะเลกับอาเซียน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมได้ภายใต้หลักการของ AOIP และ IPOI รวมทั้งชื่นชมบทบาทของอินเดียในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมไอทีในกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม รวมทั้งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอาเซียน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเน้นย้ำว่า อาเซียนมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับอินเดียให้ก้าวหน้าอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งสามเสาของประชาคมอาเซียนตามแนวทางภายใต้แผนปฏิบัติการฉบับใหม่ ค.ศ.2021-2025 เพื่อให้ภูมิภาคเติบโตอย่างเข้มแข็ง พร้อมรับมือกับโอกาสและความท้าทายต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36736
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-'ไทย' เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการยางพาราโลก ครั้งที่ 16
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 'ไทย' เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการยางพาราโลก ครั้งที่ 16 'ไทย' เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการยางพาราโลก ครั้งที่ 16 ในรูปแบบ Hybrid ทั้งห้องประชุมจริง และการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ virtual conference จาก 25 ประเทศทั่วโลก นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดการประชุมวิชาการยางพาราโลก (Global Rubber Conference : GRC) ครั้งที่ 16 ในรูปแบบ Hybrid ทั้งห้องประชุมจริง และการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ virtual conference จาก 25 ประเทศทั่วโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 พ.ย. 63 ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูนทาวน์ พระราม 9 กรุงเทพฯ ว่า เป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ประเทศไทยยังคงเป็นผู้ผลิตและส่งออกยาง/ผลิตภัณฑ์ยางคุณภาพสูงรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้แก่ ยางรถยนต์ ถุงมือยาง และถุงยางอนามัย ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตจะล้นตลาด เนื่องมาจากราคายางพาราที่ผันผวนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ในปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยยังคงผลิตยางได้ 4.9 ล้านตัน โดยมีปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติมากถึง 4.18 ล้านตัน การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและยางแปรรูปมีมูลค่า 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคาดการณ์ว่าภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน การผลิตยางธรรมชาติคาดว่าจะอยู่ที่ 4.7 ล้านตันในปีนี้ โดยมีการส่งออกอยู่ที่ 3.8 - 3.9 ล้านตัน นายนราพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความเป็นผู้นำของไทยในภาคยางพารา เกิดจากการสนับสนุนและให้ความสำคัญจากภาครัฐ การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ปัจจัยด้านทรัพยากรที่เอื้อต่อการผลิตยางธรรมชาติ แรงงานที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุน อาทิ การขนส่ง การสนับสนุนการลงทุนเพื่อดึงดูดหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในผลิตภัณฑ์ยางของไทยมากขึ้น การจัดตั้ง Rubber City เพื่อเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยาง ทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย ไม่เพียงแต่ให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศและต่างประเทศเท่านั้น แต่เป้าหมายที่สำคัญของเราคือการผลักดันราคาและรักษาเสถียรภาพของรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยาง ควบคู่กับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มมูลค่าการส่งออกยางธรรมชาติหรือผลิตภัณฑ์ยางด้วย นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับนโยบายห่วงโซ่มูลค่าที่เกี่ยวข้องกับแผนแม่บท Thailand 4.0 โดยการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ทั้งในภาคการเพาะปลูกและการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ยางที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ยางรถยนต์และยางล้อเครื่องบิน เป็นต้น ด้าน นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมวิชาการยางพาราโลก (Global Rubber Conference : GRC) ในครั้งนี้ เป็นการประชุมระดับนานาชาติ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องด้านยางพาราของโลกทั้งภาครัฐ นักวิชาการ และภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังสถานการณ์ยางพาราของโลกในปัจจุบัน ตลอดจนทิศทางแนวโน้ม และความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญในอนาคต โดยจัดการประชุมในรูปแบบไฮบริดโมเดล เปิดโอกาสให้ผู้แทนและวิทยากรกว่า 400 คน จาก 25 ประเทศ และมีผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ ในประเทศไทยประมาณ 100 คน เข้าร่วมประชุมแบบเสมือนจริง ซึ่งจะไม่ทำให้เจตจำนงของความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมในด้านนโยบาย การวิจัย และธุรกิจของยางพาราลดลง จึงเชื่อมั่นว่าผลของการประชุมครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางให้สามารถแข่งขัน ฟื้นกลับมาและมีความยั่งยืนได้ ทั้งนี้ ภายในงานมีพิธีมอบรางวัล Wickham ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้ผู้มีคุณูปการด้านอุตสาหกรรมและวิชาการยางพาราของโลก โดยมีผู้ได้รับรางวัล ได้แก่ คุณบุญธรรม นิธิอุทัย เป็นผู้เชี่ยวชาญภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับรางวัลคัดเลือกสายเทคโนโลยีทางการค้า จากผลงานการผลิตหุ่น CPR เพื่อสังคม และนำยางไปใช้ในการเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ คุณปรีดิ์เปรม ทัศนกุล เป็นนักวิชาการของการยางแห่งประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลคัดเลือกสายนวัตกรรมเทคโนโลยีจากผลงาน การพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมยางแปรรูปขั้นต้น GMP เพื่อให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางได้ผลิต แปรรูปวัตถุดิบให้มีมูลค่าเพิ่มภายใต้มาตรฐานสากล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36706
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยสท. พร้อมปรับกลยุทธ์ ต่อยอดธุรกิจ ผลิตกัญชง-กัญชาเชิงพาณิชย์ และพัฒนาที่ดิน เพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ยสท. พร้อมปรับกลยุทธ์ ต่อยอดธุรกิจ ผลิตกัญชง-กัญชาเชิงพาณิชย์ และพัฒนาที่ดิน เพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน การยาสูบแห่งประเทศไทยพร้อมเดินหน้าโครงการปลูกพืชทดแทน เพื่อช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบในสังกัดที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษี พร้อมหารายได้เพิ่มทุกช่องทาง ทั้งการต่อยอดธุรกิจผลิตกัญชง-กัญชาเชิงพาณิชย์ โครงการพัฒนาธุรกิจที่ดินให้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้ การยาสูบแห่งประเทศไทย พร้อมเดินหน้าโครงการปลูกพืชทดแทน เพื่อช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบในสังกัดที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษี พร้อมหารายได้เพิ่มทุกช่องทาง ทั้งการต่อยอดธุรกิจผลิตกัญชง-กัญชาเชิงพาณิชย์ โครงการพัฒนาธุรกิจที่ดินให้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้ให้องค์กรในอนาคต เพื่อให้การดำเนินธุรกิจบรรลุผลสำเร็จตามพันธกิจขององค์กร คือ การนำส่งรายได้สู่รัฐ และการพัฒนาธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร ผู้ว่าการ ยสท. กล่าวว่า ยอดจำหน่ายบุหรี่ของ ยสท. ในปีงบประมาณ 2563 ลดลงจากปีงบประมาณ 2562 จำนวน 1,138.35 ล้านมวน (ร้อยละ 6.12) ในภาพรวมการจำหน่ายยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากภาระภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ซึ่งมีการปรับเพิ่มขึ้นโดยคิดภาษีตามมูลค่าที่ร้อยละ 20 และร้อยละ 40 ทำให้ราคาบุหรี่ของ ยสท. ต้องปรับราคาขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าของ ยสท. จำนวนหนึ่งหันไปบริโภคบุหรี่ปลอมและบุหรี่เถื่อนทดแทน นอกจากนี้ บุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศยังเลือกที่จะปรับลดราคาขายปลีกลงมาเพื่อให้อยู่ในฐานภาษีขั้นต่ำ จึงเกิดการแข่งขันแย่งฐานลูกค้าหลักของ ยสท. โดยตรง ทำให้ ยสท. ต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมกับเปิดช่องทางใหม่ ๆ ทางธุรกิจเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเร่งรัดปราบปรามบุหรี่เถื่อนบุหรี่ผิดกฎหมาย เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดของบุหรี่ ยสท. และรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ภารกิจเร่งด่วนที่ ยสท. กำลังดำเนินการในขณะนี้ คือ การเสนอให้มีการทบทวนแก้ไขโครงสร้างภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้เหมาะสม รักษาผลประโยชน์รัฐ สร้างรายได้ที่เป็นธรรมแก่ ยสท. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม เกษตรกรและผู้ค้านับแสนราย บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ ยสท. ยังเดินหน้าที่จะส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อทดแทนยาสูบ เช่น กัญชง-กัญชา เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนให้แก่ ยสท. และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเครือข่าย เป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา ยสท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันพัฒนาพืชยาสูบ กัญชง กัญชา และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งในด้านการวิจัย การผลิตบัณฑิต การพัฒนาบุคลากร การแลกเปลี่ยนนักวิชาการและนักวิจัย รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องสู่เกษตรกรชาวไร่ในสังกัด ยสท. อีกหนึ่งภารกิจสำคัญเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ ยสท. คือ การนำที่ดินที่มีอยู่ในครอบครองมาพัฒนาหรือทำโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้เพิ่มขึ้น เช่น ที่ดินใจกลางเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 17 ไร่ ที่ดินใจกลางเมืองเชียงใหม่และริมแม่น้ำปิง 720 ไร่ ที่ดินจังหวัดหนองคายและนครพนม 20 ไร่ ที่ดินใจกลางกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ติดริมแม่น้ำกว่า 5 ไร่ ฯลฯ ซึ่งที่ดินแต่ละแปลงสามารถนำไปพิจารณาทำโครงการได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งโรงแรม ตลาด สปอร์ตคอมเพล็กซ์ หรือแม้แต่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเร็วๆ นี้ ยสท. จะเปิดโอกาสให้เอกชนที่สนใจได้เข้ามายื่นข้อเสนอโครงการต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36715
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (เพิ่มเติม)
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (เพิ่มเติม) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2562 นั้น เนื่องจากในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทำให้สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้เรียน ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้น นโยบาย “การศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco – System : TE2S) เป็นการศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand” ดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม) ดังนี้ หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม) “5.ดำเนินการปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง ที่เป็นเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย “การศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco – System : TE2S) การศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand” โดย ปลดล็อก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้สามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการบริหารการศึกษาของประเทศให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปรับเปลี่ยน หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ปรับเปลี่ยนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เพื่อให้ครู Up Skill และ Re-Skill ของตนเองได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ เพื่อส่งต่อความรู้ไปยังผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนที่มีคุณภาพ เปิดกว้าง เสรีทางการศึกษาให้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาร่วมประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จากแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ให้ครอบคลุมผู้เรียนทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่นักเรียนยกกำลังสอง ที่เน้นเรียนเพื่อรู้ พัฒนาทักษะเพื่อทำ ครูยกกำลังสองที่เน้นเพิ่มคนเก่งมาเป็นครู พัฒนาครูในระบบ ห้องเรียนยกกำลังสองที่เน้นเรียนที่บ้าน ถามที่โรงเรียน หลักสูตรยกกำลังสองที่เน้นลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สื่อการเรียนรู้ยกกำลังสองที่เน้นเรียนผ่านสื่อผสมผสาน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่ On-Site เรียนที่โรงเรียน Online เรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ที่มีเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน On-Air เรียนผ่านโทรทัศน์ DLTV มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน และ On-Demand ซึ่งสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เชื่อมต่อ โรงเรียนยกกำลังสองที่มุ่งเน้นคุณภาพในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อความเป็นเลิศทางภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนที่เน้นคุณภาพของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญที่สามารถตอบโจทย์ทักษะและความรู้ที่เพิ่มความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม) พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train The Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเว็บไซต์ http://www.deep.go.th โดยปลดล็อกและเปิดกว้างให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารทางการศึกษามีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP) จัดทำ “คู่มือมาตรฐานโรงเรียน” เพื่อกำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องมีพื้นฐานที่จำเป็น” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36712
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ศธ.เร่งขับเคลื่อน “ลูกเสือ-ประวัติศาสตร์-การศึกษาสนองพระราชดำริ” มุ่งสร้างคุณธรรมพื้นฐานเด็กและเยาวชนไทย
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 รมว.ศธ.เร่งขับเคลื่อน “ลูกเสือ-ประวัติศาสตร์-การศึกษาสนองพระราชดำริ” มุ่งสร้างคุณธรรมพื้นฐานเด็กและเยาวชนไทย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมรับฟังการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ (อพ.สธ.-ศธ.) ครั้งที่ 2/2563 (4 พฤศจิกายน 2563) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมรับฟังการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ (อพ.สธ.-ศธ.) ครั้งที่ 2/2563 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ศธ.มุ้งเน้นในการนำ “วิชาลูกเสือ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และโครงการในพระราชดำริ” มาขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้าใจในการที่เป็นเยาวชนที่ดี ตลอดจนจงรักภักดีในสถาบันชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องมีการบูรณาการในหลักสูตรต่าง ๆ โดยนำทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาหารือกัน เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนประวัติศาสตร์นั้น มีความหลากหลาย จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกันหารือแนวทางการจัดการเรียนการสอน ให้สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนให้มากที่สุด อาจจะมีการปรับรูปแบบและวิธีการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ รวมถึงการพัฒนาครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนได้อย่างถูกต้อง และให้เกิดการเรียนที่ไม่น่าเบื่อเป็นการเรียนแบบ Active Learning (การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้) ที่สำคัญ นักเรียนต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ โดยไม่ใช่การท่องจำ แต่เรียนแล้วมีวิธีการคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ และรู้ว่าคนในอดีตคิดอย่างไร จึงทำให้ประเทศชาติดำรงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น คือ จะทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้โครงการพระราชดำริ ถือเป็นประวัติศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์การปกป้องประเทศของสถาบันฯ เพราะทั้งสองสิ่งนี้คือที่มาที่ไปของความสำเร็จของประเทศชาติ หากเด็กและเยาวชนไทยได้เรียนรู้วิธีการเหล่านี้ได้ ก็จะเห็นถึงความรัก ความสามัคคี ความปรองดอง และความเสียสละของบรรพบุรุษ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีคุณธรรมพื้นฐาน เป็นประโยชน์ในการดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ช่วยให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน สำหรับการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ (อพ.สธ.- ศธ.) ในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน สถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัด ร่วมสนองงานโครงการเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีแนวทางการดำเนินงานที่หลากหลายมากขึ้น และได้บรรลุผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อปลูกจิตสำนึก สร้างความเข้าใจ แก่นักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในในสังกัด เห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์กับประชาชนชาวไทย สำหรับการประชุมครั้งนี้ นายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ. เป็นประธานการประชุม โดยมีนายวีระ แข็งกสิการ รองปลัด ศธ. พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมจันทรเกษม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563 ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะที่ 5 ปีที่หก พร้อมทั้งพิจารณาแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2564 และ 2565 รวมถึงแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก และระยะ 5 ปีที่เจ็ด ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ อิชยา กัปปา,อานนท์ วิชานนท์ / สรุป อธิชนม์ สลางสิงห์ / ภาพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36707
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยย้ำหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-ญี่ปุ่น คือโอกาสร่วมฝ่าวิกฤตและความท้าทายไปด้วยกัน
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ไทยย้ำหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-ญี่ปุ่น คือโอกาสร่วมฝ่าวิกฤตและความท้าทายไปด้วยกัน ไทยย้ำหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-ญี่ปุ่น คือโอกาสร่วมฝ่าวิกฤตและความท้าทายไปด้วยกัน วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563) เวลา 14.15-15.15 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมและกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจากทั้ง 10 ประเทศ พร้อมด้วยนายซูกะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ภายหลังเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในมิติต่าง ๆ ตลอดจนความร่วมมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรควิดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจและความห่วงกังวลร่วมกัน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เน้นย้ำความร่วมมือในฐานะมิตรประเทศของอาเซียน โดยญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่นอย่างรอบด้าน ยืนยันพร้อมทำงานร่วมกับอาเซียนในกรอบความร่วมมือที่เปิดกว้างและเสรี ตลอดจนพร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยืดหยุ่นในภูมิภาค ในบริบทของโควิด-19 ญี่ปุ่น และพร้อมสนับสนุนการทำงานของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยืนยัน พร้อมส่งเสริมความเป็นเอกภาพของอาเซียน และพร้อมร่วมมือเพื่อให้พื้นที่อินโด-แปซิฟิก มีความมั่งคั่งและเสรี ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีของไทยได้แสดงความยินดีกับนายซูกะ โยชิฮิเดะ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 99 ของญี่ปุ่น พร้อมทั้งกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแด่มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น เนื่องในพระราชพิธีสถาปนามกุฎราชกุมารเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตลอดทั้งปีนี้ โลกและภูมิภาคได้เผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ ทั้งโควิด-19 ซึ่งเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในสภาวะถดถอย ตลอดจนความตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาค ในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่นในอนาคต ไทยมองวิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสที่อาเซียนและญี่ปุ่นได้เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ซึ่งกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือความร่วมมือภายใต้เอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (AOIP) ไทยจึงสนับสนุนข้อเสนอของญี่ปุ่นในการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมภายใต้เอกสาร AOIP และร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมในเรื่องนี้ พร้อมทั้งเสนอให้อาเซียนและญี่ปุ่นมุ่งเน้นเป้าหมายและสาขาความร่วมมือที่สอดคล้องกับบริบทของโลกในปัจจุบัน 3 ประการ คือ ภูมิภาคที่มั่นคง เศรษฐกิจที่มั่งคั่ง และสังคมที่ยั่งยืน ภูมิภาคที่มั่นคง นั้นต้องยึดมั่นในวัตถุประสงค์ตามเอกสาร AOIP ที่จะสร้างภูมิภาคที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างใกล้ชิด โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งขยายความร่วมมือบนพื้นฐานของหลักการร่วมกัน ส่วน เศรษฐกิจที่มั่งคั่ง ก็ด้วยการเสริมสร้างการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค โดยไทยยินดีต่อการลงนามความตกลง RCEP และมุ่งหวังให้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ไทยให้ความสำคัญต่อการนำถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยความเชื่อมโยงที่ได้รับรองเมื่อปีที่แล้ว มาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยเน้นการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ ไทยและอาเซียนยังคงยินดีต้อนรับนักลงทุนและนักธุรกิจญี่ปุ่น อีกทั้ง ไทยพร้อมร่วมมือในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและรับมือกับ 4IR สำหรับ สังคมที่ยั่งยืน นั้นต้องเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ซึ่งไทยและหลายประเทศในอาเซียนพร้อมที่จะเป็นที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ โดยจะสนับสนุนบุคลากรและงบประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และจะหารือกับประเทศสมาชิกเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป นอกจากนี้ ไทยพร้อมสานต่อความร่วมมือด้านปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการขยะทะเล ซึ่งสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างกรอบปฏิบัติการอาเซียนด้านขยะทะเลกับกรอบความร่วมมือ G20 ของญี่ปุ่นในเรื่องนี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36721
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.ทส. เปิดงานประชุมระดับโลก GC Circular Living Symposium 2020 ร่วมมือกันเพื่อวันพรุ่งนี้ พลิกวิกฤตทรัพยากรโลกอย่างยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ​รมว.ทส. เปิดงานประชุมระดับโลก GC Circular Living Symposium 2020 ร่วมมือกันเพื่อวันพรุ่งนี้ พลิกวิกฤตทรัพยากรโลกอย่างยั่งยืน ​รมว.ทส. เปิดงานประชุมระดับโลก GC Circular Living Symposium 2020 ร่วมมือกันเพื่อวันพรุ่งนี้ พลิกวิกฤตทรัพยากรโลกอย่างยั่งยืน วันนี้ (12 พ.ย. 63) เวลา 09.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานประชุมระดับโลก GC Circular Living Symposium 2020 : Tomorrow Together ซึ่ง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้ผนึกกำลังพันธมิตรจัดงานนี้ขึ้น เพื่อตอกย้ำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ภาคปฏิบัติ (Circular in Action) ตอบโจทย์การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พลิกวิกฤตสู่โอกาสในการปฏิวัติการใช้ทรัพยากรโลกอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน โดยมี ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC คณะผู้บริหาร ทส. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วมงาน ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน นายวราวุธ ศิลปอาชา กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศที่จะแสดงพลังความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเรื่องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการร่วมสร้างสังคมรีไซเคิล และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเน้นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดความขาดแคลน และสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนกระบวนการที่ลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ (Zero waste) นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการปฏิวัติรูปแบบการใช้พลังงานและวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาสมดุลระหว่างมนุษย์กับทรัพยากร นำไปสู่ความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ในโอกาสนี้ รมว.ทส. ยังได้มอบฝาขวดน้ำพลาสติกจำนวน 100,000 ฝา จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อใช้ในกิจกรรม Trashpresso l Funtastic Upcycling Plastic ที่นำพลาสติกที่ใช้แล้ว ทั้งประเภท PE,HDPE,PP และ PS มาอัพไซเคิลด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ ได้เป็นแผ่นพลาสติกที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบตกแต่งทั้งภายในและภายนอก อาทิ กระถางปลูกต้นไม้ขนาดเล็ก กล่องใส่ของอเนกประสงค์ เป็นต้น ซึ่งนับเป็นอีกก้าวของการขยายขอบเขตการจัดการขยะพลาสติกจาก PET สู่ประเภทอื่นๆ ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36709
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย ให้การต้อนรับผู้แทนสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ประจำประเทศไทย (CCPIT)
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ปลัดฯ กอบชัย ให้การต้อนรับผู้แทนสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ประจำประเทศไทย (CCPIT) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับผู้แทนสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ประจำประเทศไทย (CCPIT) วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2563) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ นาย หลี่ เฟิง ผู้แทนสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีนประจำประเทศไทย (China Council for the Promotion of International Trade : CCPIT) และคณะ ในโอกาสเข้าพบ เพื่อแนะนำภารกิจหลักขององค์กรในฐานะหน่วยงานการส่งเสริมการลงทุนของสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมได้ร่วมหารือถึง แนวทางการอำนวยความสะดวก การให้คำปรึกษาด้านการลงทุนและประกอบกิจการในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายแก่นักลงทุนชาวจีน ตลอดจนการจัดทำความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และการจับคู่ธุรกิจในอนาคต โดยมี นายนฤบดินทร์ วุฒิวรรณ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม อก. 2 ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36716
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรีในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 23
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรีในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 23 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 23 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา 13.00 - 14.00 น. ท่านประธาน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอร่วมกับผู้นำอาเซียนทุกท่านต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง สู่การประชุมฯ ในวันนี้ สุภาษิตที่ว่า “มิตรในยามยากคือมิตรแท้” พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างอาเซียนกับจีน ในการฝ่าฟันวิกฤตใหญ่หลายครั้งตลอดเกือบ 30ปีที่ผ่านมา และวิกฤตโควิด-๑๙ ได้พิสูจน์ความเป็นมิตรแท้อีกครั้ง โดยเราได้จับมือกันเพื่อรับมือกับวิกฤตในครั้งนี้มาตั้งแต่เริ่มมีการระบาด ซึ่งเราจะผ่านพ้นไปด้วยกัน เพื่อให้เราทุกคนมองไปข้างหน้า ผมขอเสนอแนวทางที่จะฟื้นฟูภูมิภาคของเราให้กลับมาเข้มแข็งกว่าเดิม ด้วยการกำหนด “อนาคตร่วมกัน” ดังนี้ ประการที่หนึ่ง “อนาคตทางสาธารณสุข” เราควรร่วมมือกันเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ไทยขอบคุณที่จีนให้ความร่วมมือและสนับสนุนข้อริเริ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะการสมทบกองทุนอาเซียนเพื่อการรับมือกับโควิด-19จำนวน 1ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยินดีที่จีนประกาศให้วัคซีนและยาต้านไวรัสโควิด-19เป็นสินค้าสาธารณะ ซึ่งอาเซียนจะได้รับการจัดสรรและใช้ประโยชน์จากวัคซีนและยาดังกล่าวเป็นลำดับต้น ในการนี้ ไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับมิตรประเทศในการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนร่วมทำวิจัย พัฒนา และผลิตยา เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประเทศในภูมิภาคภายใต้ศักยภาพทางการแพทย์และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพของไทย ประการที่สอง “อนาคตทางเศรษฐกิจ” เราควรร่วมมือกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งบนพื้นฐานของการพึ่งพาระหว่างกันทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นอยู่แล้ว ซึ่งท่ามกลางวิกฤตนี้ เรายังสามารถรักษามูลค่าการค้าและการลงทุนให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจได้ โดยเราควรยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้างและเสรี สานต่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค โดยใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพจากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และความตกลง RCEP ซึ่งเรากำลังจะลงนามร่วมกันในห้วงการประชุมนี้ ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19ยังคงมีอยู่ แต่เราควรมุ่งสานต่อการดำเนินการตามถ้อยแถลงว่าด้วยการสอดประสานระหว่างแผนแม่บทเอ็มแพ็ค 2025กับข้อริเริ่ม BRI ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น รวมทั้งร่วมหารือเพื่อกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดภัย เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้ดีควบคู่กับการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เราควรสานต่อผลสำเร็จของความร่วมมือภายใต้ปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในปีนี้ ซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลกลายเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคปกติใหม่ ดังนั้น เราควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการ MSMEs start-ups และผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุค 4IR (โฟร์ ไอ อาร์) ในขณะเดียวกัน เราต้องร่วมมือกันป้องกันผลกระทบด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด ซึ่งไทยพร้อมที่จะพิจารณาความร่วมมือภายใต้ข้อริเริ่มสากลว่าด้วยความมั่นคงทางข้อมูล ที่เสนอโดยจีนต่อไป ประการที่สาม “อนาคตที่ยั่งยืน” เราควรร่วมมือกันเสริมสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยผลักดันในช่วงการเป็นประธานอาเซียนเมื่อปีที่แล้ว ผมจึงยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมประกาศให้ปี 2564เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนอาเซียน-จีน โดยในฐานะผู้ประสานงานของอาเซียนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยจะสานต่อความร่วมมือในเรื่องนี้ให้มีผลเป็นรูปธรรมต่อไป เมื่อกล่าวถึงประเด็นนี้ ไทยขอเน้นย้ำความพร้อมในการร่วมมือกับอาเซียนและจีนที่จะต่อสู้กับศัตรูที่สำคัญของเรา คือ ความยากจน ความหิวโหย และภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น การขจัดความท้าทายดังกล่าว ซึ่งรวมถึง การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร จึงถือเป็นเป้าหมายร่วมกันของเรา โดยอาเซียนมีความพร้อมที่จะเป็นฐานการผลิตอาหารและ “ครัวของโลก” โอกาสนี้ ไทยขอเชิญชวนให้ใช้ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อไป สุดท้ายนี้ เพื่อให้เรามี “อนาคตที่มั่นคงร่วมกัน” เราต้องมุ่งรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความไพบูลย์ในภูมิภาค ภายใต้สถานการณ์ที่ภูมิภาคของเราต้องเผชิญกับความตึงเครียดและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ดังนั้น ไทยขอเรียกร้องให้ประเทศที่เกี่ยวข้อง “แสวงหาจุดร่วม และสงวนจุดต่าง” ใช้ความยับยั้งชั่งใจ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และหันมาหารือเพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยไทยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างสร้างสรรค์ อาทิ การปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล และสานต่อการเจรจาจัดทำ COC (ซีโอซี) ที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36725
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยเน้นย้ำศักยภาพสตรีในเวทีอาเซียน ส่งเสริมการประกอบธุรกิจ SMEs และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่กับบทบาทด้านการสาธารณสุข
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ไทยเน้นย้ำศักยภาพสตรีในเวทีอาเซียน ส่งเสริมการประกอบธุรกิจ SMEs และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่กับบทบาทด้านการสาธารณสุข ไทยเน้นย้ำศักยภาพสตรีในเวทีอาเซียน ส่งเสริมการประกอบธุรกิจ SMEs และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่กับบทบาทด้านการสาธารณสุข วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2563) เวลา 19.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำสตรีอาเซียน เรื่อง “การเสริมสร้างบทบาทสตรีสำหรับประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนและรวมเป็นหนึ่งเดียวในโลกหลังโควิด” ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมนอกเหนือจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยเป็นการหารือร่วมกันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสตรีในการรับมือกับประเด็นท้าทายในภูมิภาค นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามในฐานะประธานอาเซียนและประธานการประชุมกล่าวเปิดการประชุมได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมว่าเป็นเวทีเพื่อหารือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของสตรีในการรับมือกับประเด็นท้าทายในภูมิภาค โดยเฉพาะในช่วงการฟื้นฟูหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อร่วมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยในการประชุมนี้ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมา เสด็จเป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ โดยทรงมีพระราชดำรัสถึงการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนา การส่งเสริมศักยภาพสตรีเพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนในโลกที่เปลี่ยนแปลง และนางวิคตอเรีย วาวา รองประธานธนาคารโลกสำหรับเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้กล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อสตรี และสังคมที่เติบโตพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า นายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวว่า ไทยชื่นชมเวียดนามที่ตระหนักถึงความสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพสตรีอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการประชุมผู้นำอาเซียน สมัยพิเศษ เรื่องการเสริมสร้างศักยภาพสตรีในยุคดิจิทัล เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 และได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งตามเป้าหมายของวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเยียวยากลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยแบ่งความช่วยเหลือออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสวัสดิการและการสงเคราะห์ เช่น ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ช่วยเหลือพนักงานสตรีที่ตั้งครรภ์และถูกเลิกจ้างงานอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น 2. ด้านส่งเสริมการจ้างงาน ให้สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการในการทำงานของสตรี 3. ด้านการส่งเสริมศักยภาพ ผ่านการฝึกทักษะให้แก่สตรี โดยเฉพาะกลุ่มสตรีแรงงานนอกระบบ 4. ด้านเศรษฐกิจ ด้วยการออกมาตรการพักชำระหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ระยะเวลา 1 ปี นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่า มีสตรีอีกจำนวนมากที่สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยใช้ศักยภาพและคุณสมบัติที่มี คือ ความเข้มแข็ง เคารพตนเอง พึ่งตนเองได้ และรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งสตรีที่เป็นแนวหน้าในการป้องกันและต่อสู้กับการแพร่ระบาดในชุมชน ตลอดจนสตรีที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ซึ่งถือเป็นพลังขับเคลื่อนที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนและรวมเป็นหนึ่งเดียว พร้อมเสนอแนะ 2 ประการที่อาเซียนควรให้ความสำคัญ คือ 1. ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้สตรีสร้างรายได้และพึ่งพาตนเองได้ ปรับกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์ยุคโควิด-19 2. ส่งเสริมให้สตรีมีบทบาทด้านการสาธารณสุข ซึ่งไทยมีกลุ่มสตรีที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวนหลายล้านคน เป็นบทบาทสำคัญในการทำงานเชิงป้องกันและต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในชุมชน ทำให้สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศได้ในระดับที่น่าพอใจ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36740
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานเปิดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานเปิดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานเปิดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๗.๐๐ น. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว "เหล่าตั้กลักชากแง้ว" ณ บริเวณโรงเจ (โรงงิ้ว) ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมี นายไพรัตน์ ไตรศุภโชค นายกเทศมนตรีตำบลห้วยใหญ่ กล่าวรายงาน และมีหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี ผู้บริหารตลาดชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว และประชาชน เข้าร่วมงาน ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรีจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว "เหล่าตั๊กลักชากแง้ว" ตามนโยบายของนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในการต่อยอดวัฒนธรรม นําคุณค่าของวัฒนธรรม สร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ(Creative Culture) สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม สนับสนุนให้ชุมชนได้นำ "ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น" มาใช้ในการพัฒนาและต่อยอดเพื่อสร้างเสน่ห์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36711
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เตรียมพร้อม! 11.11 นี้ เปิดลงทะเบียน “คนละครึ่ง” รอบเก็บตก
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เตรียมพร้อม! 11.11 นี้ เปิดลงทะเบียน “คนละครึ่ง” รอบเก็บตก -- #ไทยคู่ฟ้าผู้ที่พลาดสิทธิลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่ง” ที่มีผู้ลงทะเบียนครบ 10 ล้านคน ไปเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา ฟังทางนี้.... ล่าสุด กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มีผู้ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิและไม่เริ่มใช้สิทธิภายในกำหนด 14 วัน จึงได้มีการเริ่มตัดสิทธิ ซึ่ง ณ วันที่ 9 พ.ย. 63 มีจำนวนกว่า 2.3 ล้านสิทธิ โดยยอดลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและสิทธิที่ถูกตัดในแต่ละวันจะถูกรวบรวมนำมาเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนอีกครั้ง ในวันที่ 11 พ.ย. 63 (11.11) ระหว่างเวลา 06.00 – 23.00 น. ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง .com หรือ ณ สาขาหรือจุดรับลงทะเบียนของธนาคารกรุงไทย จนกว่าจะครบจำนวน ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนต้องไม่เคยได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งมาก่อน และผู้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งจะไม่สามารถใช้สิทธิมาตรการช้อปดีมีคืนได้ . สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 9 พ.ย. 63 เวลา 12.00 น. มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 5.57 แสนร้านค้า และผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 7,352,274 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 10,155 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 5,178 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 4,977 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 214 บาทต่อครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ตามลำดับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36691
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อาเซียน-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และความยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 อาเซียน-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และความยั่งยืน อาเซียน-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และความยั่งยืน วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563) เวลา 13.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – จีน ครั้งที่ 23 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจากทั้ง 10 ประเทศ และนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เข้าร่วมด้วย ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปผลการประชุม ดังนี้ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามในฐานะประธานการประชุมกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อร่วมกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีนในมิติต่าง ๆ รวมถึงความร่วมมือต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน ซึ่งผู้นำอาเซียนและจีน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความร่วมมือต่างๆอย่างกว้างขวาง ด้านนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนที่มีร่วมกันหลายมิติ ความร่วมมือหลายปีที่ผ่านมาได้ปูทางความร่วมมือที่จะเกิดในภายภาคหน้าต่อไป จีนมีความประสงค์ที่จะพัฒนาอย่างสันติเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค และขอให้ทุกฝ่ายพัฒนาแนวทางความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน เดินไปข้างหน้าด้วยกันอย่างสามัคคี และก้าวข้ามวิกฤตที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน โดยนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำบทบาท และความร่วมมือระหว่างอาเซียน และจีนที่มีมาอย่างแนบแน่น ซึ่งทุกฝ่ายร่วมมือกันฝ่าฟันวิกฤตมาตลอดระยะเวลา 30 ปี เปรียบเสมือนสุภาษิตที่ว่า “มิตรในยามยากคือมิตรแท้” และวิกฤตโควิด-19 ได้พิสูจน์ความเป็นมิตรแท้อีกครั้ง จากการที่อาเซียนและจีนได้ร่วมกันรับมือนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด เพื่อฟื้นฟูภูมิภาคให้กลับมาเข้มแข็ง ผ่านการกำหนดอนาคตร่วมกัน นายกรัฐมนตรีเสนอ 3 แนวทาง ดังนี้ “อนาคตทางสาธารณสุข" ที่ต้องเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ขอบคุณที่จีนให้ความร่วมมือและสนับสนุนข้อริเริ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะการสมทบกองทุนอาเซียนเพื่อการรับมือกับโควิด-19 จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการประกาศให้วัคซีนและยาต้านไวรัสโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะ โดยไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับมิตรประเทศในการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนร่วมทำวิจัย พัฒนา และผลิตยา เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประเทศในภูมิภาค “อนาคตทางเศรษฐกิจ” ซึ่งอาเชียนและจีนต้องร่วมมือกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งบนพื้นฐานของการพึ่งพาระหว่างกันทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้น ยึดมั่นระบบการค้าพหุภาคี สานต่อบูรณาการทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และ RCEP “อนาคตที่ยั่งยืน” อาเซียนและจีนต้องร่วมมือกันเสริมสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ ยินดีที่จะร่วมประกาศให้ปี 2564 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนอาเซียน-จีน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำความพร้อมในการร่วมมือกับอาเซียนและจีนที่จะต่อสู้กับความยากจน ความหิวโหย และภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งรวมถึง การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงความร่วมมือเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค โดยขอให้ “แสวงหาจุดร่วม และสงวนจุดต่าง” ใช้ความยับยั้งชั่งใจ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และหันมาหารือเพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36710
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สพฐ.ผนึกเครือข่าย ชู “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร” บนฐานนิวนอร์มอล
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 สพฐ.ผนึกเครือข่าย ชู “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร” บนฐานนิวนอร์มอล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่าย 13 องค์กร จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในรูปแบบ New Normal สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่าย 13 องค์กร จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในรูปแบบ New Normal ซึ่งเน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สัตว์ป่า ระบบนิเวศ ตลอดจนเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การสหกรณ์ และการปรับปรุงดิน ภายใต้หัวข้อ “3 รักษ์” คือ รักษ์ชาติ รักษ์ศาสตร์ รักษ์กษัตริย์ โดยได้นำตัวแทนนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนวัดหนัง และโรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) เข้าร่วมกิจกรรม ณ มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ กิจกรรมครั้งนี้เป็นครั้งแรกของค่ายที่มีการถ่ายทอดสด (Live) กิจกรรมตลอดทั้งงาน การจัดงานดังกล่าวมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ให้เยาวชนซึ่งเป็นตัวแทนนักเรียนได้เข้ามาศึกษาจากฐานกิจกรรมการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้เยาวชนในภูมิภาคต่าง ๆ เรียนรู้และรับชมไปพร้อมกันผ่านการ Live ช่องทาง “แฟนเพจเฟซบุ๊ก โครงการค่ายเยาวชนรักษ์พงไพร” โดยได้รับเกียรติจาก นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เข้าเยี่ยมค่ายเยาวชน พบปะนักเรียน พร้อมทั้งให้ข้อคิดด้วยว่า “การมาทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับชาติเรามาก หลายโครงการในศูนย์เรียนรู้ที่นี่ล้วนเป็นโครงการที่เกิดมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 9 ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนเป็นโครงการที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ และนี่คือพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงประทานไว้ให้กับคนไทย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา สพฐ. เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสอันดียิ่งที่เยาวชนได้เรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ ในสถานที่จริงกับวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถ ฝากน้อง ๆ เยาวชนรักษ์พงไพรทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในใจของน้อง ๆ อยู่ในวิถีชิวิตรวมถึงเป็นนักอนุรักษ์ตามเจตนารมณ์คือ สืบสาน รักษา ต่อยอด ในโอกาสต่อไป โครงการค่ายเยาวชนรักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2558 มีการอบรมให้ความรู้แก่เยาวชน โดยใช้ศูนย์สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 1 ศูนย์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติ 22 ศูนย์ทั่วประเทศ และศูนย์การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริของกรมป่าไม้ 8 ศูนย์ รวม 31 ศูนย์ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นกว่า 4 หมื่นคน ศตายุ วาดพิมาย ประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจ สพฐ.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36719
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา มอบเงินเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดกำแพงเพชร 1,176 ราย พื้นที่ 11 อำเภอ
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 รมช.มนัญญา มอบเงินเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดกำแพงเพชร 1,176 ราย พื้นที่ 11 อำเภอ รมช.มนัญญา มอบเงินเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดกำแพงเพชร 1,176 ราย พื้นที่ 11 อำเภอ วงเงินกว่า 19 ล้านบาท รมช.มนัญญา มอบเงินเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดกำแพงเพชร 1,176 ราย พื้นที่ 11 อำเภอ วงเงินกว่า 19 ล้านบาท รมช.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบเงินชดเชยเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1,176 ราย พื้นที่ 11 อำเภอ ในอัตราไร่ละ 2,000 บาท รายละไม่เกิน 25 ไร่ เป็นวงเงินกว่า 19 ล้านบาท ณ ที่ว่าการอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ว่าจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนลำไยได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาด้านตลาดและราคาตกต่ำ นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ฤดูกาลผลิตปี 2563 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยมีเป้าหมายเพื่อเยียวยาชาวสวนลำไยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรทั่วประเทศ จำนวน 200,000 ครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังเป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ภายใต้ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยนอกฤดูจังหวัดกำแพงเพชร” ซึ่งงานดังกล่าวจะมีการถ่ายทอดความรู้การผลิตลำไยคุณภาพตามหลักวิชาการ และมีระบบการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ แก่เกษตรกร เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาองค์ความรู้ให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติ สามารถปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ดีขึ้น และเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ทางวิชาการ 5 สถานี กิจกรรมจัดนิทรรศการและให้บริการด้านการเกษตรของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ นิทรรศการโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร โดยจังหวัดกำแพงเพชรมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 85 ราย ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั่งประเทศกว่า 7,500 ราย นิทรรศการเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพ และกิจกรรมการแสดงและจำหน่ายสินค้าแปรรูปลำไยและสินค้าเกษตรอื่นๆ ของกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกลุ่ม Young Smart Farmer และภาคเอกชน รมช.มนัญญา กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมที่ดีที่ได้ถ่ายทอดความรู้การผลิตลำไยคุณภาพ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะสถานการณ์ COVID – 19 ที่มีผลต่องบประมาณและเศรษฐกิจ ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ที่พร้อมสนับสนุนคนรุ่นใหม่คืนสู่ภาคเกษตร ส่งเสริมให้พัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปและการใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมด้านธุรกิจ นอกจากจะรองรับภาวะตกงานแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานตามนโยบายรัฐบาลอีกด้วย รวมทั้งการยกระดับภาคการเกษตรจะสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินธุรกิจสหกรณ์ ใช้หลักการตลาดนำการผลิต และเพิ่มการจัดตั้งซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ ร้านค้าสหกรณ์ เชื่อมโยงการทำการเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ มุ่งเน้นออร์แกนิค และสร้างช่องทางการตลาดให้กับลูกหลานเกษตรกร ซึ่งจะเชื่อมโยงกับโครงการซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ให้ครอบคลุมทุกชุมชนทั่วประเทศ เป็นการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับสมาชิก มีความมั่นคงในอาชีพ สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาภาคเกษตร และส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งนี้ ลำไย นับว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทยในฤดูกาลผลิตปี 2562 มีพื้นที่ปลูก 1.1 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 1 ล้านตัน มีมูลค่าการส่งออก 28,904 ล้านบาท นับเป็นผลไม้ที่ยังมีโอกาสทางการตลาดสูง หากเกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการ ตลาด ก็จะทำให้มีรายได้และผลตอบแทนมากกว่าสินค้าเกษตรอีกหลายชนิด จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเกษตรกรเพาะปลูกลำไยเป็นอาชีพหลัก โดยในฤดูกาลผลิตปี 2562 มีเกษตรกรเพาะปลูก 1,465 ราย พื้นที่ 12,818 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 4,033 ตัน คิดเป็นมูลค่า 120 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 70 ผลิตนอกฤดูเพื่อส่งจำหน่ายต่างประเทศ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36718
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงในนามอาเซียน (ASEAN Common Statement) กล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 17 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงในนามอาเซียน (ASEAN Common Statement) กล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 17 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ถ้อยแถลงในนามอาเซียน (ASEAN Common Statement) กล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 17 ผ่านระบบการประชุมทางไกล วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงในนามอาเซียน (ASEAN Common Statement) กล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 17 ผ่านระบบการประชุมทางไกล วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ท่านประธาน ท่านนายกรัฐมนตรีนเรนทร โมที ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอร่วมกับท่านประธานอาเซียนในการต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรีนเรนทร โมที สู่การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 17 โดยวันนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้หารือแนวทางการขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีพลวัตก้าวหน้าในทุกมิติ ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย ผมขอกล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียน ดังนี้ อาเซียนยินดีกับการมีส่วนร่วมของอินเดียในภูมิภาคตามแนวนโยบายมุ่งตะวันออก และเห็นว่า ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างกัน จะช่วยเสริมสร้างสันติสุข เสถียรภาพ และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตลอดจนเพิ่มพูนความเข้าใจของประชาชนทั้งสองฝ่าย อาเซียนเเละอินเดียวจะต้องร่วมมือกันรับมือกับผลกระทบจากโควิด-19 และเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง ครอบคลุม และยั่งยืน โดยเราหวังว่า อินเดียจะสนับสนุนกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 และคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์ของอาเซียนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข รวมทั้งการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน เราควรร่วมกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรักษาห่วงโซ่อุปทานให้มีความยืดหยุ่น เปิดกว้าง และเชื่อมโยงกัน อาเซียนย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะความร่วมมือในการวิจัย พัฒนา ผลิต และกระจายยาและวัคซีนต้านโควิด-19 เพื่อให้เป็นสินค้าสาธารณะของโลก ตลอดจนการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ และเราขอขอบคุณอินเดีย ที่ได้ช่วยอำนวยความสะดวกพลเมืองอาเซียนในการเดินทางกลับประเทศในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย เราเห็นว่า การที่อินเดียสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมในภูมิภาคมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเน้นความร่วมมือภายใต้กลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ อาทิ EAS ARF และ ADMM-Plus ขณะเดียวกันเรายังให้ความสำคัญกับแนวคิดพหุภาคีนิยม ภูมิภาคนิยม และการยึดมั่นในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในโลกและในภูมิภาค อาเซียนเน้นย้ำว่า การเสริมสร้างบรรยากาศความไว้เนื้อเชื่อใจในภูมิภาคเป็นสิ่งจำเป็นและจะเอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 โดยเราควรมุ่งแสวงหาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม บนพื้นฐานของหลักการภายใต้หลักการของ AOIP และ IPOI ของอินเดีย เราเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายการค้าร่วมกันจำนวน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2022 โดยส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดียอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ อาเซียนยึดมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคีที่ตั้งอยู่บนกฎกติกา และขอย้ำว่า อาเซียนยังคงรอต้อนรับอินเดียในการเข้าร่วมความตกลง RCEP อาเซียนสนับสนุนบทบาทที่แข็งขันของสภาธุรกิจอาเซียน-อินเดีย ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการเปิดโอกาสให้เยาวชนอาเซียนได้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติงานในบริษัทของอินเดียที่ดำเนินกิจการในภูมิภาค นอกจากนี้ เรายังหวังที่จะพัฒนาความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ SMEs ผู้ประกอบการสตรี และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เราขอบคุณที่อินเดียให้การสนับสนุนต่อแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 3 และหวังที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องสำหรับแผนงานฯ ฉบับที่ 4 ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างการพัฒนาภายในอาเซียน ขณะเดียวกันเรายินดีที่อินเดียสนับสนุนการพัฒนาอนุภูมิภาคในอาเซียน ผ่านกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาด้วย อาเซียนสนับสนุนให้อินเดียมีบทบาทส่งเสริมการดำเนินการตามเอ็มแพ็ค 2025 และแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมการสอดประสานกันระหว่างเอ็มแพ็ค 2025 กับยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงต่าง ๆ ของอินเดีย ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิด “การเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงต่าง ๆ” ของอาเซียน ทั้งนี้ เราหวังให้โครงการถนนสามฝ่ายอินเดีย-เมียนมา-ไทย และส่วนขยายไปยัง สปป. ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งเรายินดีที่ได้รับทราบผลการศึกษาของโครงการดังกล่าวในการประชุมครั้งนี้ เรามุ่งหวังที่จะขยายความร่วมมือกับอินเดียในประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเพิ่มขีดความสามารถของอาเซียนในการจัดการภัยพิบัติ เรายินดีที่อินเดียสนใจที่จะขยายความร่วมมือทางทะเลกับอาเซียน ซึ่งเราสามารถแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมได้ในเรื่องนี้บนพื้นฐานของหลักการของ AOIP และ IPOI อาเซียนยืนยันถึงความสำคัญของการส่งเสริมการจัดระเบียบในภูมิภาคและระเบียบระหว่างประเทศ บนพื้นฐานของกฎและกติกา โดยการยึดถือกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ตลอดจนเน้นย้ำความสำคัญในการรักษาสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ ความปลอดภัย และเสรีภาพในการเดินเรือและการบินผ่านเหนือทะเลจีนใต้ พร้อมกับความสำคัญของการดำเนินการตาม DOC อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงยินดีที่การเจรจาเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปของ COC มีความคืบหน้า มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ อาเซียนหวังให้ทั้งสองฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนนักวิชาการและเยาวชน รวมถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา อาเซียนชื่นชมบทบาทของอินเดียในการสนับสนุนการฝึกอบรมและกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม และ ICT โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม IT ในกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม นอกจากนี้ เรายังยินดีที่อินเดียสนใจสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอาเซียนผ่านเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน ตลอดจนการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ประการสุดท้าย อาเซียนมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับอินเดียให้ก้าวหน้าอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งสามเสาของประชาคมอาเซียน ตามแนวทางภายใต้แผนปฏิบัติการฉบับใหม่ ค.ศ. 2021 – 2025 ผมหวังว่า อาเซียนและอินเดียจะร่วมกันขับเคลื่อนความร่วมมือในประเด็นสำคัญที่ได้กล่าวถึงข้างต้นให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ภูมิภาคของเราเติบโตอย่างรุ่งเรือง เข้มแข็ง และสามารถเปิดรับโอกาสและรับมือความท้าทายต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36739
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือ รพ.กล้วยน้ำไท สร้างอาชีพดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ ให้เยาวชนและสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคม
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 พม. จับมือ รพ.กล้วยน้ำไท สร้างอาชีพดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ ให้เยาวชนและสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคม พม. จับมือ รพ.กล้วยน้ำไท สร้างอาชีพดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ ให้เยาวชนและสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคม วันนี้ (12 พ.ย. 63) เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมชั้น 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถนนกรุงเกษม สะพานขาว กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท โดยมี นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน ทั้งนี้ นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นางสาวอณิรา ธินนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และนายศีขรินทร์ ชเนศร์ ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทในเครือโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดังกล่าว นายจุติ กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของภาครัฐกับภาคเอกชนและภาคประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อบูรณาการการทำงานให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยจะมีคนดูแลผู้สูงอายุและคนพิการเพิ่มมากขึ้นอย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ สำหรับประชาชนที่ต้องการทำอาชีพนี้ แต่ไม่มีใครให้โอกาส วันนี้ จะมีครอบครัวจำนวนมากที่จะได้รับโอกาสด้วยทักษะความรู้เฉพาะ จะเป็นอาชีพที่มั่นคง มั่งคั่ง และสร้างความยั่งยืนให้กับตนเองและสังคม นับเป็นโครงการที่ดี ซึ่งตรงกับจุดแข็งทิศทางประเทศไทยที่ต้องการให้มีผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นก้าวย่างที่มั่นคงที่จะทำให้สังคมเข้มแข็งขึ้น นายจุติ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการขยายต่อยอดโครงการนี้ ภาคเอกชนได้ให้โอกาสกับภาครัฐ โดยจะมีกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวและเด็กที่จบใหม่ แต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนให้เรียนต่อ ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งจะทำให้มีอาชีพที่มั่นคง และในอนาคต อาจจะขยายไปสู่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อพัฒนาพื้นฐานทักษะองค์ความรู้สำหรับดูแลผู้สูงอายุและคนพิการต่อไป นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการให้มีมาตรฐานด้านวิชาชีพ โดยการสร้างโอกาสทางอาชีพให้กับเยาวชนและสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคม ด้วยการมอบทุนการศึกษาในหลักสูตรวิชาชีพการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ ตลอดระยะเวลาหลักสูตร 6 เดือน ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนมอบโอกาสในการประกอบอาชีพที่มีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งขณะนี้ ยังขาดแคลนผู้ดูแลผู้สูงอายุและคนพิการตามมาตรฐานสากล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36727
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส.จัดสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.99% ต่อปี พร้อมดอกเบี้ยพิเศษช่วงนาทีทองที่งาน Money Expo หาดใหญ่ ครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ธอส.จัดสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.99% ต่อปี พร้อมดอกเบี้ยพิเศษช่วงนาทีทองที่งาน Money Expo หาดใหญ่ ครั้งที่ 10 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารบ้านของคนไทย จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับชาวใต้ที่งาน Money Expo หาดใหญ่ ครั้งที่ 10 ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ย 2 ปีแรก คงที่ 2.99% ต่อปี ปีที่ 3 MRR ลบ 3.16% ต่อปี ปัจจุบันเฉลี่ย 3 ปีแรกอัตราดอกเบี้ยเพียง 2.99% ต่อปี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารบ้านของคนไทย จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับชาวใต้ที่งาน Money Expo หาดใหญ่ ครั้งที่ 10 ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ย 2 ปีแรก คงที่ 2.99% ต่อปี ปีที่ 3 MRR ลบ 3.16% ต่อปี ปัจจุบันเฉลี่ย 3 ปีแรกอัตราดอกเบี้ยเพียง 2.99% ต่อปี พร้อมจัดช่วงนาทีทอง Golden Minute ในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2563 พบกับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ จองสิทธิ์ผ่าน Application : GHB ALL เวลา 15.00 – 15.15 น. เท่านั้น วงเงินจำกัด 100 ล้านบาท ด้านการออมนำโดยสลากออมทรัพย์ ธอส. ชุดเกล็ดดาว หน่วยละ 5,000 บาท ได้ลุ้นรางวัลสูงสุด 1 ล้านบาท ตลอด 24 เดือน และเงินฝากออมทรัพย์ New Flexi For Welfare and Corporate รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.10% ต่อปี พร้อมด้วยทรัพย์ NPA ราคาพิเศษรวม 617 รายการ ลดพิเศษสูงสุดถึง 50% วันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา หาดใหญ่ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกให้ประชาชนในจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง ได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินสุดพิเศษส่งท้ายปี 2563ของ ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” จึงได้จัดทำโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าประชาชนที่เข้าชมงาน “Money Expo หาดใหญ่ ครั้งที่ 10” ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา หาดใหญ่ นำโดย 1.สินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก คงที่ 2.99% ต่อปี ปีที่ 3 MRR ลบ 3.16% ต่อปี เฉลี่ย 3 ปีแรกอัตราดอกเบี้ยเพียง 2.99 % ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.150% ต่อปี) ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กรณีลูกค้าสวัสดิการเท่ากับ MRR ลบ 1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MOU เท่ากับ MRR ลบ 0.75% ต่อปี และกรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไปเท่ากับ MRR ลบ 0.50% ต่อปี วัตถุประสงค์การให้กู้ เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม ไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น ซื้อที่ดินเปล่าที่เป็นทรัพย์ NPA ของ ธอส. และกู้เพิ่มเพื่อปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย และซ่อมแซมอาคาร ทั้งนี้ เฉพาะที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล และพัทลุงเท่านั้น พิเศษ! 3 ฟรีค่าธรรมเนียม ประกอบด้วย 1.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 2.ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และ 3.ค่าประเมินราคาหลักประกัน โดยต้องจองสิทธิ์สินเชื่อภายในงาน ยื่นคำขอกู้ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2563 อนุมัติและทำนิติกรรมภายในวันที่ 29 มกราคม 2564 และยังคงเตรียม สินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่สุดในงานช่วงนาทีทอง Golden Minute ให้กู้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท เฉพาะลูกค้าที่จองสิทธิ์สินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยในงาน Money Expo หาดใหญ่ เรียบร้อยแล้วภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ก่อนเวลา 12.00 น.จากนั้นจะสามารถจองสิทธิ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษช่วงนาทีทอง Golden Minute ได้ผ่าน Application : GHB ALL ในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 15.15 น. จองก่อนได้ก่อน (ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการปิดจองก่อนเวลา 15.15 น. เมื่อมีการจองเต็มกรอบวงเงินรวม 100 ล้านบาท และห้ามกู้เกินวงเงินที่จองสิทธิ์) ซึ่งในการเปิดให้จองสิทธิ์ช่วงนาทีทอง Golden Minute ที่งานมหกรรมการเงินเชียงใหม่ ครั้งที่ 15 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 พบว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากวงเงินถูกจองสิทธิ์เต็ม 100 ล้านบาท ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 17 วินาทีเท่านั้น ทั้งนี้ ลูกค้าสินเชื่อที่มีวงเงินทำนิติกรรมสูงสุด 5 อันดับแรก ยังมีสิทธิ์ได้ของสมนาคุณพิเศษจากธนาคารอีกด้วย 2. สลากออมทรัพย์ ธอส. ชุดเกล็ดดาว หน่วยละ 5,000 บาท จำหน่ายรวม 3 ล้านหน่วย แบ่งเป็น 3 หมวด ๆ ละ 1 ล้านหน่วย โดยหลังจากเปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2563ล่าสุด ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ธนาคารสามารถจำหน่ายได้เกือบหมดหมวดที่ 2 แล้ว โดยมียอดจำหน่ายรวมกว่า 1,700,000 หน่วย ผู้ซื้อได้สิทธิ์รับผลตอบแทนหน้าสลาก 0.4% ต่อปี อายุสลาก 2 ปี ออกรางวัลทุกเดือนรวม 24 ครั้ง ได้ลุ้นรางวัลมากมาย แบ่งเป็นรางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลสูงถึง 1,000,000 บาท/หมวด รางวัลที่ 2 รางวัลละ 50,000 บาท 4 รางวัล/หมวด รางวัลที่ 3 รางวัลละ 5,000 บาท 20 รางวัล/หมวด รางวัลที่ 4 รางวัลละ 500 บาท 20 รางวัล/หมวด รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 100 บาท รางวัลเลขสลับเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 50 บาท รางวัลเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 50 บาท และรางวัลเลขสลับเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 20 บาท ออกรางวัลครั้งแรกวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 พิเศษสำหรับผู้ที่จองสิทธิ์และซื้อสลากออมทรัพย์ชุดเกล็ดดาวภายในงานหรือภายในระยะเวลาที่กำหนดจะได้รับกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน 1 ราย ต่อ 1 ใบ 3.เงินฝากออมทรัพย์ New Flexi for Welfare and Corporate สำหรับลูกค้าที่มีเงินเดือนประจำจากหน่วยงานหรือบริษัท หากเปิดบัญชีและมียอดเงินฝากคงเหลือไม่เกิน 10 ล้านบาท จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.85% ต่อปี พิเศษ!! หากเดือนใดไม่มีการถอนจะได้รับดอกเบี้ยบวกเพิ่ม 0.25% ต่อปี (คิดเป็นอัตราดอกเบี้ย 1.1% ต่อปี) เพียงเปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท จองสิทธิ์ภายในงาน และเปิดบัญชีระหว่างวันที่ 13 – 22 พฤศจิกายน 2563 ได้ที่สาขาที่ธนาคารกำหนดในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น พิเศษสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีตามระยะเวลาที่กำหนดจะได้รับตุ๊กตาหมี 1 ตัว ต่อ 1 ราย .บ้านมือสอง หรือ ทรัพย์ NPA พบกับทรัพย์หลากหลายประเภทที่เปิดให้ผู้ที่ต้องการมีบ้านในราคาคุ้มค่าได้เลือกจับจองเป็นเจ้าของรวม 617 รายการ ทั้งประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ห้องชุด อาคารพาณิชย์ และที่ดินเปล่า ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง เปิดจำหน่ายด้วยส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 50% จากราคาปกติ ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ 1 ชั้น ขนาด 22 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ราคา 250,000 บาท ส่วนรายการที่มีราคาจำหน่ายต่ำสุดคือ บ้านเดี่ยว 1 ชั้น ขนาด 86 ตารางวา ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ราคาเพียง 145,000 บาท เท่านั้น พิเศษ ผู้ซื้อทรัพย์ NPA สามารถผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% ต่อปี นานสูงสุดถึง 48 เดือน หรือยื่นขอสินเชื่อและทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 รับอัตราดอกเบี้ย 0% นานสูงสุดถึง 4 ปี (เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามระเบียบธนาคาร) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36720
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เฮ! ขึ้น’ด่วนฟรี ช่วงหยุดยาว
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เฮ! ขึ้น’ด่วนฟรี ช่วงหยุดยาว -- #ไทยคู่ฟ้าข่าวดี! ครม. เห็นชอบยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์ หรือค่าผ่านทางบน 2 ทางหลวงพิเศษ คือ 1.ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – บ้านฉาง ตอนกรุงเทพฯ – เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี เข้าท่าเรือแหลมฉบัง และเข้าพัทยา และ 2.ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ (ถ.กาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน และตอนบางปะอิน – บางพลี ตั้งแต่เวลา 00.01 - 24.00 น. ในช่วงวันที่ 18 – 23 พ.ย. 63 และวันที่ 9 – 14 ธ.ค. 63 . มาตรการยกเว้นค่าผ่านทางในช่วงวันหยุดยาวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง เนื่องจากประชาชนมักเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงวันหยุดยาว และยังเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนอีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36694
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยร่วมขับเคลื่อนอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามแนวคิดหลัก “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” (Cohesive and Responsive)
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ไทยร่วมขับเคลื่อนอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามแนวคิดหลัก “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” (Cohesive and Responsive) ไทยร่วมขับเคลื่อนอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามแนวคิดหลัก “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” (Cohesive and Responsive) วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563) เวลา 08.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยประธานาธิบดีเวียดนามได้กล่าวต้อนรับ และนายกรัฐมนตรีเวียดนามในฐานะประธานจัดการประชุมได้กล่าวเปิดการประชุมฯ ซึ่งได้ย้ำเจตนารมณ์ของเวียดนามที่จะขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามแนวคิดหลักการเป็นประธานอาเซียนปี 2563 “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” (Cohesive and Responsive) จากนั้นเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 (Plenary) โดยมีผู้นำและผู้แทนผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจากทั้ง 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุมด้วย นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามกล่าวเปิดการประชุม โดยย้ำวัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง เสริมสร้างความร่วมมือและติดตามความคืบหน้าของข้อริเริ่มต่าง ๆ ของอาเซียนในการรับมือกับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนเพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือกับภาคีภายนอกของอาเซียน และแลกเปลี่ยนทัศนะต่อสถานการณ์ อันจะเป็นโอกาสในการพัฒนาที่สำคัญในภูมิภาคและระหว่างประเทศ สำหรับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงข้อคิดเห็นและเสนอทิศทางขับเคลื่อนกลไกของอาเซียน โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำถึงความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของอาเซียนจะทำให้อาเซียนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ร่วมกัน การรับมือกับการแพร่ระบาดและผลกระทบจากโควิด-19 ยังเป็นภารกิจสำคัญและเร่งด่วนที่อาเซียนต้องร่วมมือกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเสนอ 4 ประเด็นสำคัญ คือ การร่วมเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข สร้างความมั่นคงและการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน เพื่อให้วัคซีนโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะ ไทยได้ร่วมมือด้านการพัฒนาวัคซีนกับภาคส่วนต่าง ๆ และพร้อมแบ่งปันไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน ให้ใช้ประโยชน์จากกองทุนอาเซียน เพื่อสนับสนุนการกระจายวัคซีนในภูมิภาคของเราในอนาคต ไทยยินดีสนับสนุนคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์อาเซียนสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และพร้อมสมทบเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ตลอดจนพร้อมที่จะเป็นที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ ส่งเสริมแนวทางการฟื้นฟูและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 แบบบูรณาการ ภูมิภาคของเราจะฟื้นตัวและปรับตัวกับความปกติใหม่ New Normal พร้อมร่วมรับรองกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง อาทิ SMEs เนื่องจากเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาค และสนับสนุนการจัดทำกรอบข้อตกลงระเบียงการเดินทางของอาเซียน เสนอให้อาเซียนควรเตรียมความพร้อมในระยะยาวเพื่อยืนหยัดและต้านทานต่อความท้าทายใหม่ ๆ สร้างความเข้มแข็งจากฐานราก ผ่านการบูรณาการระดับภูมิภาค และส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน เชื่อมโยงการทำธุรกรรมทางการค้าดิจิทัลในอาเซียนอย่างครบวงจร การสานต่อการส่งเสริมความยั่งยืนในทุกมิติ และผลักดันการใช้โมเดลเศรษฐกิจ การใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อสนับสนุนประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อาเซียนต้องร่วมมือรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดและการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 ที่ทุกฝ่ายต้อง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” เพื่อป้องกันการเผชิญหน้าในภูมิภาคและเพิ่มพูนความร่วมมือที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย (win-win cooperation) นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมบทบาทนำของเวียดนาม ประธานอาเซียนในปีนี้ ที่ได้เสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนภายใต้แนวคิดหลัก “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” ผ่านข้อริเริ่มต่าง ๆ ซึ่งไทยพร้อมร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อความแข็งแกร่งของประชาคมอาเซียน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้สนับสนุนบรูไนฯ ในการเป็นประธานอาเซียนในปีหน้าอย่างเต็มที่ เพื่อร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันต่อความท้าทายต่าง ๆ และขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป อนึ่ง นายโอน ปวนมุนีรวต รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง เป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36699
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรีในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 23
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรีในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรีในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.15 – 15.15 น. ท่านประธาน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีซูกะ โยชิฮิเดะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอร่วมแสดงความยินดีกับท่านนายกรัฐมนตรีซูกะ โยชิฮิเดะ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 99 ของญี่ปุ่น และร่วมต้อนรับท่านสู่ครอบครัวอาเซียนและการประชุมในวันนี้ ในนามของรัฐบาลและประชาชนไทย ผมขอกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแด่มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น เนื่องในพระราชพิธีสถาปนามกุฎราชกุมารเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตลอดทั้งปีนี้ โลกและภูมิภาคของเราต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนและทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในสภาวะถดถอย ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจได้ทวีความตึงเครียด อันส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคมากขึ้น ดังนั้น อาเซียนและ “มิตรแท้” เช่น ญี่ปุ่น ต้องร่วมมือกันฟันฝ่าวิกฤตและจัดการกับความท้าทายครั้งนี้ไปด้วยกัน ซึ่งถือเป็นเป็นบทพิสูจน์ความร่วมมือแบบ “ใจถึงใจ” ที่แน่นแฟ้นมาตลอดเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา ในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่นในอนาคต ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ช่วงกลางปีหน้า ไทยมองวิกฤตครั้งนี้ เป็นโอกาสให้เราเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ความร่วมมือภายใต้เอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก หรือ AOIP (เอโอไอพี) คือกุญแจสำคัญให้เราบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้น ไทยจึงสนับสนุนข้อเสนอของญี่ปุ่นในการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมภายใต้เอกสาร AOIP และร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมในเรื่องนี้ โดยผมขอเสนอให้เรามุ่งเน้นเป้าหมายและสาขาความร่วมมือที่สอดคล้องกับบริบทของโลกในปัจจุบัน ดังนี้ ประการแรก ภูมิภาคที่มั่นคง ด้วยการยึดมั่นในวัตถุประสงค์ร่วมกันตามเอกสาร AOIP ที่จะสร้างภูมิภาคที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างใกล้ชิด โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งขยายความร่วมมือบนพื้นฐานของหลักการร่วมกัน อาทิ ความเป็นแกนกลางของอาเซียน การเปิดกว้าง ความโปร่งใส การทำงานตามกฎกติกา และหลักการ 3Mได้แก่ ความไว้เนื้อเชื่อใจ การเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการมีสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคจะสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคได้ ประการที่สอง เศรษฐกิจที่มั่งคั่ง ด้วยการเสริมสร้างการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค โดยไทยยินดีต่อการลงนามความตกลง RCEP และมุ่งหวังให้เราใช้ประโยชน์จากความตกลงนี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยความเชื่อมโยงที่ได้รับรองเมื่อปีที่แล้วมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเน้นการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ นอกจากนั้น การที่อาเซียนเป็นฐานการลงทุนและการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง กอปรกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เราต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง ไทยและอาเซียนยังคงยินดีต้อนรับนักลงทุนและนักธุรกิจญี่ปุ่น โดยจะหารือเพื่อกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานสาธารณสุข ไทยพร้อมร่วมมืออย่างเต็มที่ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในยุค 4IR (โฟร์ ไอ อาร์) โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนผู้ประกอบการ MSMEs start-ups และผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาทักษะที่จำเป็น ประการสุดท้าย สังคมที่ยั่งยืน ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ซึ่งไทยขอขอบคุณญี่ปุ่นสำหรับการสนับสนุนทั้งต่อความช่วยเหลือสามเสา กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 และการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ ทั้งนี้ ผมยินดีที่ได้รับทราบว่ามีประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศแสดงความสนใจเป็นที่ตั้งของศูนย์ และหวังว่าจะตกลงกันได้ในไม่ช้า โดยไทยมุ่งหวังว่าเราจะใช้ประโยชน์จากกลไกเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผ่านการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ เช่น การรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโดยใช้กลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการพัฒนายาและวัคซีน เป็นต้น นอกจากนี้ สังคมที่ยั่งยืนต้องประกอบด้วยคนและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ ไทยได้เสนอแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติและมุ่งหวังที่จะขยายความร่วมมือในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสานต่อความร่วมมือในระดับประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา เยาวชน หรือสังคมสูงวัย โดยขอเชิญชวนให้ญี่ปุ่นร่วมมือกับศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม ในขณะเดียวกัน ไทยพร้อมมีบทบาทที่แข็งขันในการสานต่อความร่วมมือด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการขยะทะเล ซึ่งจะสอดประสานความร่วมมือระหว่างกรอบปฏิบัติการอาเซียนด้านขยะทะเลกับกรอบความร่วมมือ G20 ของญี่ปุ่นในเรื่องนี้ ขอบคุณครับ ********************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36726
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 สั่งการ 52 จังหวัด ภาคเหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก เตรียมพร้อมรับมือภัยหนาว ย้ำดูแลประชาชน และนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 มท.1 สั่งการ 52 จังหวัด ภาคเหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก เตรียมพร้อมรับมือภัยหนาว ย้ำดูแลประชาชน และนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง มท.1 สั่งการ 52 จังหวัด ภาคเหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก เตรียมพร้อมรับมือภัยหนาว ย้ำดูแลประชาชน และนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง วันนี้ (11 พ.ย. 63) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูหนาวตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2563 และจากการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยพบว่าช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดจะเริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนธันวาคม 2563 ถึงปลายเดือนมกราคม 2564 และสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยคาดการณ์ว่าในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวม 52 จังหวัดจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณยอดดอย ยอดภู และเทือกเขาจะมีอากาศหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า ได้สั่งการไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้เตรียมความพร้อมรับมือภัยหนาวด้วยการ 1) ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ภายใต้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ทำหน้าที่ติดตามสภาวะอากาศ คาดหมายพื้นที่เสี่ยงที่มีโอกาสเกิดอาการหนาวหรือหนาวจัด การแจ้งเตือนและเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอากาศหนาวในพื้นที่ 2) ประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อซักซ้อมแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย การกำหนดแนวทาง การจัดเตรียมเครื่องกันหนาว ตลอดจนชี้แจงระเบียบหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ 3) ให้ทบทวน ปรับปรุงแผนเผชิญเหตุของจังหวัด โดยเฉพาะการสำรวจปรับปรุงข้อมูลบัญชีผู้ประสบภัยหนาวกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กไร้ผู้อุปการะ คนพิการ ทุพพลภาพ สตรีมีครรภ์ และผู้มีรายได้น้อยให้เป็นปัจจุบัน และปรับปรุงข้อมูลวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 4) สร้างการรับรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพช่วงฤดูหนาวพร้อมประสานหน่วยงานด้านสาธารณสุขเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมป้องกันโรคติดต่อในช่วงฤดูหนาว และรณรงค์ขอความร่วมมือเกษตรกรใช้วิธีการไถกลบแทนการเผาตอซังและวัสดุทางการเกษตรเพื่อลดมลพิษในอากาศและปัญหาหมอกควัน 5) กำหนดมาตรการในการป้องกันการเกิดอัคคีภัยและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปตามสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ทัศนวิสัยจากหมอกหนา เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจร และอัคคีภัยในเต็นท์ที่พักของนักท่องเที่ยว เป็นต้น โดยจัดเจ้าหน้าที่ รถยนต์ดับเพลิง รถบรรทุกน้ำ และอุปกรณ์ดับเพลิงให้มีความพร้อมปฏิบัติงานได้ทันที พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่าได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุฯ ทันทีเมื่อเกิดภัย พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยทหาร ภาคราชการ ภาคเอกชน องค์กรการกุศล มูลนิธิ และประชาชนจิตอาสา แบ่งพื้นที่รับผิดชอบเพื่อบูรณาการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวไม่ซ้ำซ้อนกันและเป็นไปอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ขอให้จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ขาดแคลนเครื่องกันหนาวเป็นสำคัญ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36658
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ผ่านการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจาก Climate Bonds Initiative (CBI) ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นจากนักลงทุนนานาชาติ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 พันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ผ่านการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจาก Climate Bonds Initiative (CBI) ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นจากนักลงทุนนานาชาติ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ที่ออกโดยกระทรวงการคลังได้รับการรับรองด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจาก Climate Bonds Initiative (CBI) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติที่ไม่แสวงผลกําไร นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า พันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ที่ออกโดยกระทรวงการคลังได้รับการรับรองด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจาก Climate Bonds Initiative (CBI) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติที่ไม่แสวง ผลกําไรและมีวัตถุประสงค์เพื่อการขับเคลื่อนการลงทุนและการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการรับรองจาก CBI เป็นการยืนยันว่า พันธบัตรของรัฐบาลที่ออกผ่านเกณฑ์และมาตรฐานตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมีความโปร่งใสในการบริหารจัดการเงินที่ได้จากการระดมทุนที่เป็นมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับจากนักลงทุนนานาประเทศ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาลให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nation Sustainable Development Goals: UNSDGs) และความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อแก้ไขปัญหาด้าน Climate Change โดยส่วนหนึ่งเป็นการออกพันธบัตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม ด้านการคมนาคมที่สะอาด (Clean Transportation) สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนรุ่นแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ออกโดยรัฐบาล และยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน ทั้งนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้มีการร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เพื่อดำเนินการรับรองพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืนที่ออกโดยกระทรวงการคลังข้างต้นกับ CBI ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรสีเขียว เพื่อเป็นการผลักดันการระดมทุนเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสังคม และธรรมภิบาลของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน สบน. มีความมั่นใจว่า การได้รับการรับรองจาก CBI จะเป็นการยกระดับพันธบัตรสีเขียวและพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนของไทยตามมาตรฐานสากล และเป็นการแสดงจุดยืนของรัฐบาลในการสนับสนุนการระดมทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย สบน. มีแผนการจัดจำหน่ายพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนครั้งต่อไปในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 วงเงิน 20,000 ล้านบาท และกำหนดให้มีการออกพันธบัตรเป็นประจำเพื่อขยายความสำเร็จในการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนและสร้างสภาพคล่องในระยะยาว สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2271 7999 ต่อ 5806 หรือ 5817
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36665
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ วิเคราะห์ภาคเกษตรไทย หลัง โจ ไบเดน ชนะศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงเกษตรฯ วิเคราะห์ภาคเกษตรไทย หลัง โจ ไบเดน ชนะศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ กระทรวงเกษตรฯ วิเคราะห์ภาคเกษตรไทย หลัง โจ ไบเดน ชนะศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ สศก. เผยไทยได้โอกาส ขยายตลาดสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงวันนี้ (11พ.ย.) ว่า จากที่ผลการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2020 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา “โจ ไบเดน” จากพรรคเดโมแครต เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐฯ ซึ่งมีผลกระทบทั้งมุมโอกาสและปัญหาต่อประเทศไทยในประเด็นความสำคัญของสหรัฐต่อโลกทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยเฉพาะภาคเกษตรในภาพรวม สหรัฐอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐถือว่ามีอิทธิพลอันดับต้นๆ ของโลก และการค้าโลก ใช้เงินสกุล US ดอลลาร์ เป็นหลัก การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกการเคลื่อนไหวของค่าเงิน US ดอลลาร์ ส่งผลต่อค่าเงินสกุลอื่นทั่วโลก สหรัฐคือตลาดส่งออกใหญ่อันดับ2 ของไทย เงินสำรองระหว่างประเทศไทยของไทย ก็มีเงินสกุล USดอลลาร์ อยู่ไม่น้อย ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตาม US ดอลลาร์สหรัฐ ยังคงให้สิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) กับสินค้า 644 รายการ สหรัฐคือกลุ่มทุนซีกโลกตะวันตกที่ลงทุนในไทยมากอันดับต้นๆ นโยบายของสหรัฐภายใต้การนำของผู้นำคนใหมจะส่งผลให้นโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ มีแนวโน้มกลับมาผ่อนคลายมากขึ้น การค้าจะเปิดเสรีมากขึ้น สหรัฐจะเข้าสู่กติกาการค้าโลก นโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเพิ่มรายจ่ายภาครัฐเพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐาน และเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้งเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีธุรกิจและภาษีคนรวย ซึ่งอาจมีผลทำให้ภาวะการลงทุนภายในประเทศของสหรัฐชะลอตัวลง แต่จะเป็นผลดีต่อไทยและประเทศในแถบเอเชียที่จะเป็นแหล่งรองรับนักลงทุนสหรัฐที่ย้ายฐานออกมาโดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมเกษตร ด้านการต่างประเทศ นโยบาย Free Trade with Alies เน้นทำการค้าเสรีแบบมีเงื่อนไขแต่ยังคงถ่วงดุลอำนาจจีน โดยสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศพันธมิตรเดิมโดยเฉพาะสมาชิกในความตกลงการค้า TPP เดิม ด้านการเกษตรภาพรวม ขยายฐานเสียงสู่ชาวอเมริกันชนชั้นกลางในเขตชนบท ด้านนโยบายการค้าสินค้าเกษตร เน้นนโยบายการค้าที่ส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวอเมริกัน เน้นการจัดการการผลิตที่ล้นตลาด (global overcapacity) เพื่อป้องกันการทุ่มตลาดและส่งผลต่อการค้า รวมทั้งเข้มงวดในมาตรการด้านการจัดการและกำหนดบทลงโทษกับคู่ค้าที่ฝ่าฝืนมาตรการดังกล่าว ซึ่งคาดว่าสหรัฐจะมีการกำหนดเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สหรัฐจะหันกลับมาใส่ใจกับการลดปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้น โดยวางแผนตั้งเป้าหมายให้อเมริกาเป็นอุตสาหกรรมเกษตรรายแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Net-zero emission) และสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ระบบน้ำ การขนส่ง พลังงาน ให้เพียงพอและรองรับต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศได้ “ผลการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2020 ซึ่ง โจ ไบเดน ได้รับชัยชนะนั้น สศก. ได้ติดตามและวิเคราะห์ประเมินทิศทางนโยบายต่อภาคเกษตร คาดว่า นโยบายการค้าระหว่างประเทศจะผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับที่ โจ ไบเดนให้ความสำคัญ รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยอาหาร การแสดงที่มาของผลผลิต การควบคุมการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยไทยมีโอกาสขยายการเปิดตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดได้มากขึ้น อาทิ ผลิตภัณฑ์ออแกนิค หรือสินค้าเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งการเน้นนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของสหรัฐให้เติบโต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าอุปโภค บริโภค และสินค้าเกษตรและอาหารของไทยด้วยเช่นกัน” นายอลงกรณ์ กล่าว ด้านนางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สศก. กล่าวเพิ่มเติมถึงสถานการณ์การค้าระหว่างไทยและสหรัฐที่ผ่านมาว่า จากข้อมูลการส่งออกตั้งแต่ปี 2560 - 2562 ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ มูลค่าเฉลี่ย 8.45 แสนล้านบาท โดยส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่าเฉลี่ย 1.28 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15.18 ของมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐทั้งหมด สินค้าส่งออกมูลค่าสูงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์และปลาและสัตว์น้ำ ของปรุงแต่งจากพืชผัก ผลไม้และลูกนัต ธัญพืช อาหารสัตว์เลี้ยง และยางพารา อย่างไรก็ตาม สหรัฐได้ประกาศการระงับสิทธิ GSP สำหรับสินค้าไทยจำนวน 231 รายการ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ด้วยเหตุผลว่าไทยไม่ปรับปรุงกฎระเบียบที่จะเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ เข้าสู่ตลาดเนื้อสุกรของไทยได้อย่างเพียงพอ โดยสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP ครั้งนี้ เป็นสินค้าเกษตรจำนวน 44 รายการ แต่มีการนำเข้าในตลาดสหรัฐเพียง 22 รายการ ที่จะได้รับผลกระทบทำให้มีราคาขายสูงขึ้นจากการเสียภาษีนำเข้าที่จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 1.9-9.6 ได้แก่ สินค้าเกษตรที่ถูกเรียกเก็บตามมูลค่าสินค้า (Ad valorem) จำนวน 13 รายการ เช่น พืชมีชีวิต ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืช พืชผักปรุงแต่ง กลูโคสและน้ำเชื่อมกลูโคส และเครื่องเทศ ที่จะเสียภาษีนำเข้าที่จะเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นต้นทุนทางภาษีที่เพิ่มขึ้นประมาณ 17.72 ล้านบาท และ สินค้าที่ถูกเรียกเก็บภาษีตามสภาพ (Specific Rate) 9 รายการ ซึ่งจะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นตามปริมาณการนำเข้าของสินค้า เช่น ถั่วลิสงปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย เมล็ดถั่วบีน เมล็ดพืชผักที่ใช้สำหรับการเพาะปลูก มะม่วงปรุงแต่ง และถั่วมะแฮะแห้ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากการดำเนินมาตรการทางการค้าของสหรัฐที่อาจตามมาในอนาคต ไทยจึงควรเร่งปรับตัว โดยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งเร่งเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้า (Value Added) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้ผู้บริโภคมีความพึงพอใจและยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้น และให้ความสำคัญกับการขยายตลาดไปยังประเทศอื่นมากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36668
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผ่านภาค ก. เตรียมตัวให้พร้อม กสร.จะเปิดสอบบรรจุเป็น “ข้าราชการ” จำนวน 40 อัตรา
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ผ่านภาค ก. เตรียมตัวให้พร้อม กสร.จะเปิดสอบบรรจุเป็น “ข้าราชการ” จำนวน 40 อัตรา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตรียมเปิดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง นักวิชาการแรงงาน (ปริญาตรีทุกสาขา) เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (ปวส.บัญชี/การเงิน-การธนาคาร) และเจ้าพนักงานธุรการ (ปวส.ทุกสาขา) รวม 40 อัตรา นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กรมเตรียมดำเนินการเปิดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในตำแหน่งนักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ จำนวน 30 อัตรา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน จำนวน 3 อัตรา และตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จำนวน 7 อัตรา รวมทั้งสิ้น 40 อัตรา ซึ่งจะบรรจุไปปฏิบัติงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไว้ดังนี้ ตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน รับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรีในทุกสาขา ปฏิบัติงานด้านวิชาการตามภารกิจของกรมในการคุ้มครองดูแลแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ รวมถึงดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรม ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี มีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาการบัญชี การเงิน หรือการเงินและการธนาคาร ปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชี รวมถึงรายละเอียดในการทำงบประมาณประจำปีของกรม และตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ มีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในทุกสาขาวิชา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่งหนังสือราชการ ลงทะเบียน จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสารต่าง ๆ นายอภิญญา กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่สนใจสมัครสอบเข้ารับราชการกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ต้องเป็นผู้ที่มีหนังสือรับรองการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับเดียวกันกับคุณวุฒิที่ใช้สมัครสอบ หรือสูงกว่า โดยสมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ที่เว็บไซต์ http://labour.jobthaigov.com หัวข้อ “สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ” ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน - 14 ธันวาคม 2563 ไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านประกาศการรับสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์กองการเจ้าหน้าที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน http://personnel.labour.go.th หรือโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 0 2246 2770
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36664
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย ทุกรายเป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้ากักตัวในสถานกักตัวที่รัฐกำหนด 2 ราย และพบผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังควบคุมโรคที่ด่านคัดกรองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 ราย มีผู้ป่วยกลับบ้า รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย ทุกรายเป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้ากักตัวในสถานกักตัวที่รัฐกำหนด 2 ราย และพบผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังควบคุมโรคที่ด่านคัดกรองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 ราย มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 15 ราย ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,685 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.79 มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 102 ราย หรือร้อยละ 2.65 ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,847 ราย โดยรายละเอียดผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ ได้แก่ รายที่ 1เดินทางมาจากประเทศตุรกี เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 40 ปี อาชีพ แม่บ้าน เดินทางถึงประเทศไทย วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานครตรวจหาเชื้อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 (วันที่ 5 ของการกักตัว) ผลพบเชื้อ ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน รายที่ 2เดินทางมาจากประเทศอังกฤษ เป็นเพศหญิง สัญชาติอังกฤษ อายุ 62 ปี เดินทางถึงประเทศไทย วันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ตรวจพบเชื้อจากการคัดกรองที่ด่านฯสุวรรณภูมิ มีอาการไข้ ไอ และมีน้ำมูก เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน รายที่ 3เดินทางมาจากประเทศอังกฤษ เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 58 ปี เดินทางถึงประเทศไทย วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร ตรวจหาเชื้อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 (วันแรกของการกักตัว) ผลพบเชื้อ ไม่มีอาการ เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลเอกชน นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นห่วงเนื่องจากมีรายงานในต่างประเทศพบการติดเชื้อผ่านการสัมผัสสิ่งของ พัสดุ ที่จัดส่งผ่านระบบขนส่ง จึงขอเตือนประชาชนหากมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบขนส่งเมื่อรับแล้วให้รีบล้างมือ หรือหากเป็นไปได้ให้ทำความสะอาดสิ่งของที่รับมาด้วยแอลกอฮอล์ และสวมหน้ากากทุกครั้งเมื่อออกไปรับของจากพนักงานส่งสินค้า และในช่วงนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว อาจทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย ซึ่งไข้หวัดและโรคโควิด 19 จะมีอาการใกล้เคียงกันมาก ขอให้ทุกคนเฝ้าระวังสังเกตอาการป่วยของตนเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ โดยเฉพาะหากป่วยด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีอาการระบบทางเดินหายใจ ลิ้นไม่รับรส หรือจมูกได้กลิ่นลดลง ภายหลังจากเดินทางไปในที่ชุมชน สถานที่แออัด ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36673
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดประชุมพิจารณาร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย ประจำปี 2563 ฉบับภาษาไทยและอังกฤษ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 พม. จัดประชุมพิจารณาร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย ประจำปี 2563 ฉบับภาษาไทยและอังกฤษ พม. จัดประชุมพิจารณาร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2563 ฉบับภาษาไทยและอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 63 เวลา 13.30 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้มอบหมายให้นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ครั้งที่ 7/2563 เพื่อพิจารณาร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2563 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงแรงงาน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 60 คน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นางพัชรี กล่าวว่า ที่ประชุมครั้งนี้ฯ ได้พิจารณาร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2563 ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่ขนานกันไป และได้เห็นชอบในหลักการของร่างทั้งสองฉบับเรียบร้อยแล้ว โดยเน้นนำเสนอความก้าวหน้าและผลการดำเนินงาน 3 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1) ด้านดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย : นำเสนอสถิติการดำเนินคดีค้ามนุษย์ ณ ปัจจุบันมี 112 คดี เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2562 จำนวน 288 คดี ปี 2561 จำนวน 304 คดี และปี 2560 จำนวน 302 คดี) พบว่า สถิติคดีลดลง เนื่องจากการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน และผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการคัดกรองและคุมเข้มการใช้แรงงานอย่างเข้มงวด 2) ด้านคุ้มครองช่วยเหลือ: การเตรียมการรองรับการดูแลกลุ่มผู้เสียหายที่มีความหลากหลายทางเพศ และการพัฒนาแนวทางการใช้ระยะเวลาฟื้นฟูและไตร่ตรอง (Reflection Period) เพื่อให้บุคคลที่อาจเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้มีระยะเวลาที่เหมาะสมในการทบทวนเรื่องราว ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองช่วยเหลือและดำเนินคดี และ 3) ด้านป้องกัน : การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปรามการค้ามนุษย์การกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจแรงงานกลุ่มเสี่ยงและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างเข้มงวด นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบให้หน่วยงานเจ้าภาพหลัก 3 ด้าน ไปปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและสมบูรณ์ โดยให้กระทรวง พม. นำร่างรายงานฯ ทั้งสองฉบับดังกล่าวเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ความเห็นชอบ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีและส่งให้สหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดระดับประเทศไทย ในรายงานการค้ามนุษย์ ประจำปี 2564 ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36678
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.ทส. รับข้อเสนอผู้ประกอบการแท็กซี่ ยืดอายุจาก 9 ปี เป็น 12 ปี
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ​รมว.ทส. รับข้อเสนอผู้ประกอบการแท็กซี่ ยืดอายุจาก 9 ปี เป็น 12 ปี ​รมว.ทส. รับข้อเสนอผู้ประกอบการแท็กซี่ ยืดอายุจาก 9 ปี เป็น 12 ปี วันนี้​ (9 พ.ย. 63) เวลา​ประมาณ​ 18.20 น.​ นายวราวุธ​ ศิลปอาชา​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ ได้พบปะพูดคุย​ และหารือกับตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ที่มายื่นหนังสือตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา​ เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ทบทวนเรื่องการเยียวยาขยายอายุรถแท็กซี่จาก 9 ปี เป็น 12 ปี นับตั้งแต่ที่จดทะเบียนเป็นครั้งแรก จำนวน 87,000 คัน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการอาชีพแท็กซี่ในช่วงภาวะโควิด -19 ณ​ บริเวณหน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ ​รมว.ทส.​ กล่าวว่า​ ต้องขออภัยพี่น้องขับรถแท็กซี่ที่ออกมาเรียกร้อง ไม่อยากให้ใครเดือดร้อน การแก้ไขปัญหาต้องไม่กระทบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บางฝ่ายมีข้อสังเกตเรื่องฝุ่นละออง PM2.5 ที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่กระทรวงทรัพย์ฯ ต้องบริหารคือความสุขของทุกคนทุกกลุ่มขอบคุณที่กลุ่มพี่น้องชาวแท็กซี่มาพบ และต้องขอโทษพี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงในซอยอารีย์​ ที่ทำให้การจราจรติดขัดกันทั้งวัน​ เมื่อทางกลุ่มพี่น้องแท็กซี่เสนอที่จะมีการตรวจสภาพรถทุก 3 เดือน ปีละ 4 ครั้ง ก็จะเป็นคำตอบให้กับสังคม พี่น้องประชาชนจะได้อุ่นใจจากข้อกังวล เขาจะได้อุ่นใจที่ได้รับการดูแล และทางกระทรวงทรัพย์ฯ ก็ยินดีที่จะขยายจาก 9 ปีเป็น 12 ปีตามที่ขอ​ และตามจำนวนรถที่มีในระบบทุกคัน ทั้งนี้​ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชนในทุกๆ กลุ่ม ​ทางกลุ่มแท็กซี่เองต้องเลี้ยงดูตนเอง ครอบครัว เสียค่างวดผ่อนรถ ทางรัฐมนตรีและรัฐบาล มีหน้าที่แก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ให้ทุกฝ่ายดำเนินกิจกรรมของตัวเองไปได้ สำคัญที่สุดพวกเราอยู่ต้องร่วมกันได้อย่างมีความสุข และในวันพรุ่งนี้ (10 พ.ย.63) จะเข้าหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียนให้ท่านทราบในเรื่องดังกล่าว และจะลงนามในเอกสารถึงกระทรวงคมนาคมภายในคืนนี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36675
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 วงเงิน 23,000 ล้านบาท สูงสุดตันละ 15,000 บาท ตามแต่ละชนิดข้าว ณ ราคาความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 63/64 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 31 ต.ค. 63 ยกเว้นภาคใต้ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 16 มิ.ย. 63 – 28 ก.พ. 64 โดยเกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการประกันฯ ได้แปลงละ 1 ครั้ง เท่านั้น เพื่อป้องกันการจ่ายเงินซ้ำซ้อน ซึ่ง ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินตามประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบ เข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง โดยเกษตรกรไม่ต้องทำสัญญาประกันรายได้ กับ ธ.ก.ส. ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36659
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน หารือ ไมโครซอฟท์ อัพเกรดแรงงานไทยสู่แรงงานดิจิทัล
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ก.แรงงาน หารือ ไมโครซอฟท์ อัพเกรดแรงงานไทยสู่แรงงานดิจิทัล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน หารือร่วม บ.ไมโครซอฟท์ เตรียมสร้างแรงงานดิจิทัล มุ่งยกระดับคุณภาพแรงงาน สร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้น วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานหารือความร่วมมือการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แรงงานไทยร่วมกับ นายปวิช ชื่นใจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และคณะ โดยมีนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมอัมพร จุณนานนท์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ศาสตราจารย์ นฤมลกล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมถึงพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังแรงงานด้านดิจิทัล เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ด้วยการยกระดับแรงงานไทยในทุกระดับทั้งกลุ่มแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานกลุ่มเปราะบาง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนเตรียมความพร้อมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศรองรับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ สู่การกำหนดนโยบายของกระทรวงแรงงาน ภายใต้แนวคิด สร้าง ยก ให้ รวมไทยสร้างชาติ ซึ่งทักษะด้านดิจิทัลมีความจำเป็นต่อทุกอุตสาหกรรม รมช.แรงงานกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด มีเป้าหมายในการช่วยให้ผู้คนทั่วโลกได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพแรงงานเพื่อที่จะสร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ที่มีมูลค่าสูงกว่า ชดเชยการสูญเสียงานที่เกิดขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่บุคลากรในองค์กรด้วยหลักสูตรการเรียนรู้ดิจิทัลที่ทันสมัย เพื่อให้ความรู้แก่แรงงานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการในการ Reskills และ Upskills ให้แก่แรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสามารถบรรจุหลักสูตรการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูล ปรับแต่งรูปลักษณ์ กำหนดของเขตของเนื้อหาหลักสูตร ลดขั้นตอนการใช้งาน และมีผู้ดูแลระบบทั้งหมด เพื่อนำไปใช้ฝึกอบรมออนไลน์ให้แก่แรงงานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ แท๊ปเล็ต สมาร์ทโฟน โดยสามารถเปลี่ยนชื่อจาก Microsoft เป็น Department of Skill Development (DSD) ได้ พร้อมทั้งสามารถเพิ่มหลักสูตรและเนื้อหาได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ platform มีค่าใช้จ่ายค่าเช่าสัญญาณประมาณเดือนละ 10,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการ นายปวิช กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ มีความยินดีที่จะมอบ Microsoft Community Training Platform และมอบหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ภาษาไทยจำนวน 51 หลักสูตร และภาษาอังกฤษอีกกว่า 200 หลักสูตรให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานนำไปใช้ฝึกอบรมได้ทันที เช่น หลักสูตร Digital literacy การใช้โปรแกรมพื้นฐาน Microsoft word, Microsoft office การนำเสนองานผ่านโปรแกรม Microsoft sway การใช้โปรแกรมสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า Cloud of infrastructure การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analytics) โปรแกรม coding แบบ unplug เมื่อมีสัญญาณ wifi ข้อมูลจะถูกบันทึกภายหลัง การใช้ Python ตั้งแต่ระดับ basic-intermediate เป็นต้น ซึ่งบทเรียนมีทั้ง PDF และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม Microsoft team ในการใช้จัดฝึกอบรม ประชุมผ่าน video conference ได้ฟรี รองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ถึง 1,000 คนพร้อมกัน “แนวทางความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน จะช่วยให้แรงงานมีศักยภาพในการทำงานด้านดิจิทัลสูงขึ้น รวมถึงสามารถต่อยอดองค์ความรู้รองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมให้แรงงานมีทักษะตรงกับความต้องการของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้จะได้หารือความร่วมมือต่อไป”รมช. แรงงานกล่าวในท้ายสุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36676
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกอบชัยฯ และคณะเยี่ยมชมการดำเนินงานห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่างๆ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ปลัดกอบชัยฯ และคณะเยี่ยมชมการดำเนินงานห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่างๆ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะลงพื้นที่เชียงใหม่ เยี่ยมชมการดำเนินงานห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่างๆ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ : วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะลงพื้นที่เชียงใหม่ เยี่ยมชมระบบวิจัยระบบพลังงานสะอาด ห้องปฏิบัติการทดสอบหน้ากากอนามัยตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ ห้องปฏิบัติการระบบควบคุมในอุตสาหกรรม 4.0 ศูนย์วิจัยพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ระบบขนส่งทางราง เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากร รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมี นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพิชิต มิทราวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ อุตสาหกรรมในพื้นที่อุตสาหกรรมภาคเหนือเข้าร่วม ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36688
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน มอบกรมการแพทย์เตรียม 1 มกราคม 2564 “มะเร็งรักษาทุกที่”
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 อนุทิน มอบกรมการแพทย์เตรียม 1 มกราคม 2564 “มะเร็งรักษาทุกที่” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบนโยบายกรมการแพทย์ “New Normal Medical Care การแพทย์ก้าวหน้า” ผู้ป่วยมะเร็งรักษาทุกที่ในโรงพยาบาลที่พร้อม เริ่ม 1 มกราคม 2564 ได้รับการรักษาเร็ว ลดการเสียชีวิต เตรียมแผนรับมือโควิด 19 เมื่อเปิดประเทศ การบำบัดรักษายาเสพติด การดูแลสุขภาพพระภิกษุอาพาธ กัญชาทางการแพทย์ วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) ที่โรงแรมเครสโก จังหวัดบุรีรัมย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดการสัมมนาเชิงวิชาการ “นโยบายการแพทย์ก้าวหน้า กรมการแพทย์ ปีงบประมาณ 2564” เพื่อสื่อสารนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและการแพทย์ก้าวหน้าไปสู่การปฏิบัติ โดยมีอธิบดี ผู้ตรวจราชการกระทรวง สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 1-13 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และผู้บริหารกรมการแพทย์ ร่วมสัมมนา 300 คน นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบาย New Normal Medical Care การแพทย์ก้าวหน้า เพื่อให้ผู้รับบริการและบุคลากรการแพทย์ปลอดภัย ลดแออัด ลดเหลื่อมล้ำ ใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ 1.การเตรียมความพร้อมในการรองรับโรคโควิด 19 เมื่อเปิดประเทศ ทั้งระบบบริการแบบ New Normal มาตรการภาครัฐและการป้องกันส่วนบุคคล 2.มะเร็งรักษาทุกที่ พัฒนารูปแบบการรักษาและระบบบริการผู้ป่วยโรคมะเร็ง ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลทุกที่ที่มีความพร้อม ลดระยะเวลารอคิว ได้รับการรักษาเร็วขึ้น ลดการเสียชีวิต เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 3.การบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัว บูรณาการทุกภาคส่วนในการดูแล บำบัด รักษา ฟื้นฟู 4.การดูแลสุขภาพพระภิกษุอาพาธ จัดตั้งกองทุนอุปัฏฐากพระภิกษุอาพาธทั่วประเทศมอบให้กับทุกเขตสุขภาพ และ5.กัญชาทางการแพทย์ เพิ่มการเข้าถึง ส่งเสริมการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ และสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรทางการแพทย์นำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษา ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการจัดบริการรักษาโรคมะเร็งทุกที่ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม กรมการแพทย์ได้พัฒนา 4 โปรแกรมขึ้นมารองรับ ได้แก่ 1.โปรแกรมฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็ง Thai Cancer Based (TCB) ที่ต่อยอดเป็น TCB Plus เพื่อให้ใช้ลงทะเบียนและรับส่งต่อผู้ป่วย 2.The One Program เพื่อใช้บริหารจัดการคิวในการตรวจทางรังสีวินิจฉัย และการรักษาด้วยรังสีรักษาและเคมีบำบัด โดยผู้ป่วยมะเร็งสามารถเลือกประเภทการตรวจหรือรักษา เช่น การทำ MRI, แมมโมแกรม, ซีทีสแกน เป็นต้น ซึ่งแต่ละบริการจะระบุจำนวนโรงพยาบาลที่มีความพร้อมให้บริการ เมื่อเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการแล้ว สามารถเลือกวันและเวลาที่ผู้ป่วยสะดวกได้ ซึ่งจะมีตารางให้เห็นว่า รอบบริการไหนที่มีคิวเต็มแล้วหรือยังว่างอยู่ เปรียบเสมือนการชมภาพยนตร์ที่สามารถเลือกภาพยนตร์ที่ชอบ เลือกโรงหนัง เลือกรอบเวลาและที่นั่งตามสะดวก 3.โปรแกรม DMS bed Monitoring เพื่อใช้บริหารจัดการเตียง และ4.แอปพลิเคชัน DMS Telemedicine ที่ใช้นัดคิวเพื่อรับการปรึกษาทางไกล (Tele-Consult) กับแพทย์ได้ ขอนัดรับยา ติดตามการรับยาทางไปรษณีย์ เป็นต้น พฤศจิกายน3/3 ******************************** 11 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36666
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ไทย-ปากีสถาน และไทย-มาเลเซีย เสริมสร้างความสัมพันธ์ขยายสู่ความร่วมมือในภูมิภาค"
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 "ไทย-ปากีสถาน และไทย-มาเลเซีย เสริมสร้างความสัมพันธ์ขยายสู่ความร่วมมือในภูมิภาค" เมื่อวันที่10พ.ย.63 เวลา0930 ศาลาว่าการกลาโหม พล.ร.อ. สมประสงค์ นิลสมัย รอง ปล.กห.ให้การต้อนรับ พ.อ. Muhammad Tayyab (มูฮัมหมัด ไตยญาบ) ผชท.ทหาร สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน/กรุงเทพฯ ทั้งสองประเทศต่างชื่นชมความสัมพันธ์อันดีของสองประเทศโดยเฉพาะการเสด็จเยือนปากีสถานของ ร.9และ ร.10 รวมถึงความสำเร็จในการฝึกทางทหารร่วมกันในทุกระดับที่ผ่านมาและจะพัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นต่อไป ต่อมาเวลา1000 พล.ร.อ. สมประสงค์ นิลสมัย รอง ปล.กห.ให้การต้อนรับ พลจัตวา Baharuddin bin Ahmad (บาฮารุดดิน บิน อาเหม็ด) ผชท.ทหาร มซ./กรุงเทพฯในโอกาสครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ รอง ปล.กห.ขอบคุณและชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของ ผชท.ทหาร มซ./กรุงเทพฯ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีส่วนเสริมสร้างความสัมพันธ์และผลักดันความร่วมมือทางทหาร ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำระดับสูง นอกจากนี้ ยังขอบคุณ มซ. ที่มีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. ทางด้าน ผชท.ทหาร มาเลเซีย/กรุงเทพฯ ขอบคุณ กห. สำหรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และยืนยันว่า มซ. พร้อมดำรงบทบาทผู้ประสานงานในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. ต่อไป เพื่อความสงบสุขของประชาชนและเสถียรภาพของประเทศ นอกจากนี้ ยังขอบคุณ นรม. และ รมว.กห. ที่ได้ส่งมอบห้องแยกผู้ป่วยเคลื่อนที่ (ตู้ความดันลบ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ของ มซ. และจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาโดยตนเองต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36662
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อนุทิน" เปิดโครงการตรวจสุขภาพ "พระสงฆ์" ที่เอื้อธรรมวินัย จ.บุรีรัมย์ จัดตั้งกองทุนอุปัฏฐากทุกเขตสุขภาพดูแลค่ารักษา
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 "อนุทิน" เปิดโครงการตรวจสุขภาพ "พระสงฆ์" ที่เอื้อธรรมวินัย จ.บุรีรัมย์ จัดตั้งกองทุนอุปัฏฐากทุกเขตสุขภาพดูแลค่ารักษา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการถวายการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย เขตสุขภาพที่ 9 จ.บุรีรัมย์ ช่วยพระสงฆ์เข้าถึงบริการตรวจสุขภาพมากขึ้น ลดเสี่ยงอาพาธจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หลังพบแนวโน้มสูงขึ้น หากเจ็บป่วยรักษ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการถวายการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย เขตสุขภาพที่ 9 จ.บุรีรัมย์ ช่วยพระสงฆ์เข้าถึงบริการตรวจสุขภาพมากขึ้น ลดเสี่ยงอาพาธจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หลังพบแนวโน้มสูงขึ้น หากเจ็บป่วยรักษาทันที ช่วยลดความรุนแรงของโรค สร้างความตระหนักพระสงฆ์ดูแลสุขภาพตนเอง ได้รับการตรวจคัดกรองประจำปี พร้อมตั้งกองทุนอุปัฏฐากทุกเขตสุขภาพดูแลค่ารักษาพยาบาล แนะประชาชนร่วมสร้างสุขภาพที่ดีพระสงฆ์ ด้วยการถวายอาหารลดหวานมันเค็ม วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) ที่วัดกลาง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดงาน “โครงการถวายการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดบุรีรัมย์” นายอนุทินกล่าวว่า พระสงฆ์มีแนวโน้มอาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลกรมการแพทย์พบว่า โรคที่พบบ่อยในพระสงฆ์คือโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง และข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคเหล่านี้หากได้รับการคัดกรองพบมีความเสี่ยงตั้งแต่ระยะแรก จะช่วยป้องกัน ลดการอาพาธ หรือหากพบการเจ็บป่วยก็รักษาได้ทันที เพื่อลดความรุนแรงของโรค ลดภาวะเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากพระสงฆ์เป็นกลุ่มที่เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้ยาก มีหลักประกันสุขภาพเพียง 61.7 เปอร์เซ็นต์ ถือว่ายังไม่ครอบคลุม ทำให้มีการคิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับพระสงฆ์ และตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์จะไม่ร้องขอการตรวจสุขภาพ ยกเว้นการมารับการรักษาเมื่ออาพาธ โดยข้อมูลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพบว่า พระสงฆ์และสามเณรได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเพียงร้อยละ 34 เท่านั้น นายอนุทินกล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ จึงสร้างภาคีเครือข่ายและสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธทั่วประเทศ ซึ่งกองทุนดังกล่าว กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลสงฆ์เป็นผู้ดูแล และกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการมอบเงินให้พระภิกษุสงฆ์อาพาธทั่วประเทศ โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขตสุขภาพเป็นผู้แทนรับมอบ แต่ละเขตสุขภาพจะได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนในจำนวนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนพระสงฆ์อาพาธในแต่ละเขต นอกจากนี้ ได้ให้กรมการแพทย์จัดโครงการถวายการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย เนื่องจากไม่ได้เป็นการร้องขอ เพื่อให้พระสงฆ์ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเอง ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี พร้อมได้รับสมุดตรวจสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ได้ฐานข้อมูลด้านสุขภาพของพระสงฆ์ หากพบว่าพระสงฆ์อาพาธสามารถเข้าบริการด้านการแพทย์ได้ นอกจากนี้ ทำให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ความเข้าใจในการอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธตามหลักพระธรรมวินัย สำหรับการจัดโครงการถวายการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ มีโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 250 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 21 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 227 แห่ง ขณะที่มีวัด 1,093 วัด มีพระสงฆ์ สามเณร 7,379 รูป ภายในงานได้จัดบริการตรวจสุขภาพคัดกรองเบื้องต้น ตรวจเลือด เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจตา ทั้งต้อหิน ต้อกระจก ค่าสายตา ตรวจทางทันตกรรม เป็นต้น โดยมีพระสงฆ์เข้ารับบริการ 200 รูป ทั้งนี้ ประชาชนสามารถร่วมดูแลสุขภาพพระสงฆ์ได้ด้วยการถวายอาหารพระสงฆ์ที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยการถวายอาหารที่ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อป้องกันการอาพาธจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ********************** 11 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36671
รัฐบาลไทย-
วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม 2513
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36682
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ช่วยชาวนาทันที! จุรินทร์ แจงสภาฯ ชาวนาได้ประโยชน์เต็มจากประกันรายได้ จ่ายส่วนต่าง 16 พย.นี้
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ช่วยชาวนาทันที! จุรินทร์ แจงสภาฯ ชาวนาได้ประโยชน์เต็มจากประกันรายได้ จ่ายส่วนต่าง 16 พย.นี้ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจา ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยเป็นการทำหน้าที่ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวกับราคาข้าวตกต่ำ นายจุรินทร์ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเกษตรกร รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกข้าว สำหรับข้าวอยากเห็นข้าวมีราคาดีแต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลเพียงอย่างเดียวขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต และความต้องการในแต่ละปีด้วย และในปีการผลิตที่ผ่านมาเป็นยุคหนึ่งในรอบ 10 ปี ที่ราคาข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงเกวียนละ 10,000 บาท สำหรับข้าวเปลือกเจ้า เพราะหลายมาตรการของรัฐบาลประกอบกับกลไกตลาดในช่วงเวลานั้น แต่สำหรับภาพรวมผลผลิตปี 2563 มากกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6 และช่วงนี้ที่ราคาข้าวอ่อนลงเนื่องจากเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปีผลผลิตข้าวจะออกมากและจะมีผลกระทบเช่นนี้ทุกปี ประกอบกับโรงสีได้ซื้อข้าวเก่าเก็บไว้ในราคาสูง และยังไม่สามารถระบายออกได้ แล้วก็ขาดสภาพคล่อง รัฐบาลจึงจะออกมาตรการหลายมาตรการในการช่วยดึงราคาในตลาด 1.ชะลอขายโดยทางเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ชะลอขายข้าวเก็บไว้ มีเงินช่วยเหลือสนับสนุน ตันละ 1,500 บาท 2.ถ้าเป็นสหกรณ์และโรงสีเก็บข้าวไว้ รัฐบาลจะช่วยดอกเบี้ยร้อยละ 3 และธ.ก.ส.มีมาตรการในการให้สินเชื่อกับโรงสีเป็นกรณีพิเศษตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน เพื่อซื้อข้าวมาเก็บไว้ลดปริมาณข้าวในตลาด โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 และรัฐบาลมีสินเชื่อ SME ด้านการเกษตรโดยให้โรงสีสามารถกู้ในวงเงินถึงรายละ 20 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 เป็นต้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า สัปดาห์นี้กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในจะเชิญธนาคารพาณิชย์และแบงค์ชาติมาหารือในการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆในการปล่อยสินเชื่อให้กับโรงสีในการที่จะไปเร่งรับซื้อข้าวจากเกษตรกร แต่ไม่ว่าพืชเกษตรตัวใดใน 5 ตัว ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถ้าราคาลดลงมาจากรายได้ที่ประกันไว้ รัฐบาลยังมี "นโยบายประกันรายได้เกษตรกร" เป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้ชาวนาผู้ปลูกข้าวสามารถมีรายได้ตามรายได้ที่ประกันไว้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ตให้เริ่มต้นนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในฤดูการผลิตปีนี้ " โดยคณะอนุกรรมการได้เคาะเงินส่วนต่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รายได้ที่ประกันและเงินส่วนต่างที่เกษตรกรจะได้รับนั้น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 2,911 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท ส่วนต่างตันละ 2,137 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท ส่วนต่างตันละ 1,222 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาทส่วนต่างตันละ 1,066 บาท ข้าวเหนียวประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท ส่วนต่างตันละ 2,084 บาท สำหรับการจ่ายเงินงวดแรกวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 นี้ จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดรับเงินส่วนต่างสูงสุด ถ้าปลูกข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท ข้าวเหนียวจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 34,199 บาท และข้าวหอมมะลิจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาท ต่อครัวเรือนจะเป็นตัวช่วยจากนโยบายประกันรายได้ของรัฐบาล" นายจุรินทร์ กล่าว รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้รัฐบาลมีเงินช่วยพิเศษสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เรียกว่า เงินค่าพัฒนาคุณภาพข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ จะได้รับครัวละไม่เกิน 20,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ได้รับ 500 บาท งวดต่อไป 500 บาทจะช่วยชาวนาเพื่อลดปัญหารายได้ลดลงถ้าอยู่ในช่วงที่ราคาข้าวตกต่ำ ส่วนมาตรการระยะยาวรัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการเข้าไปดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยใช้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย 5 ปี ตั้งแต่ปี 63-67โดยยุทธศาสตร์ข้าวกำหนดยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ไว้ชัดเจนว่า ใน 5 ปีเราจะทำให้ไทยเป็นผู้นำการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลกโดยเน้นข้าว 7 ชนิด ประกอบด้วยข้าวหอมมะลิข้าวหอมไทย ข้าวขาวพื้นนุ่ม ข้าวขาวพื้นแข็ง ข้าวนึ่ง ข้าวเหนียว ข้าวสี และข้าวคุณลักษณะพิเศษ โดยเน้นตลาด 3 ตลาดคือ ตลาดพรีเมียม ตลาดทั่วไปและตลาดเฉพาะ และที่สำคัญถ้าการผลิตมีเป้าหมายชัดเจนใน 5 ปี จะลดต้นทุนการผลิตให้ข้าวจากไร่ละ 6,000 บาท เป็นไม่เกิน 3,000 บาทต่อไร่ และจะมีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตจากไร่ละ 465 กิโลกรัม เป็นไร่ละ 600 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนช่วยให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และจะมุ่งเน้นในการเพิ่มพันธุ์ข้าวใหม่ให้ได้ 12 พันธุ์ ภายใน 5 ปี และมุ่งเน้นในการประกวดพันธุ์ข้าวไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้งเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ไปแข่งกับประเทศอื่นในตลาดโลกได้ต่อไป " ขอให้เพื่อนสมาชิกสบายใจหัวใจเราตรงกัน เป็นผู้แทนราษฎรเช่นเดียวกัน เราเห็นใจและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ตาม" นายจุรินทร์ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36667
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเพิ่มเติม มีผู้ลงทะเบียนครบแล้ว
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเพิ่มเติม มีผู้ลงทะเบียนครบแล้ว โครงการคนละครึ่งซึ่งเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเพิ่มเติม จำนวน 2.5 ล้านสิทธิ ภายใต้กลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านสิทธิ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com มีประชาชนให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งอย่างมาก นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงการคนละครึ่งซึ่งเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเพิ่มเติม จำนวน 2.5 ล้านสิทธิ ภายใต้กลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านสิทธิ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com มีประชาชนให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งอย่างมากและลงทะเบียนครบจำนวนในเวลาอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ระบบจะทำการตรวจสอบและส่ง SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วัน สำหรับยอดลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและยอดผู้ที่ได้รับสิทธิที่ถูกตัดสิทธิจากการไม่ใช้จ่ายภายใน 14 วัน จะมีการรวบรวมมาเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนใหม่ต่อไป รองโฆษกกระทรวงการคลังย้ำว่าประชาชนที่ลงทะเบียนสำเร็จและได้รับ SMS ยืนยันสิทธิแล้วขอให้รีบติดตั้งแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” รวมทั้งยืนยันตัวตนให้เรียบร้อย โดยท่านสามารถเติมเงินจำนวนเท่าใดก็ได้ตามต้องการเข้าไปในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ก็จะสามารถใช้สิทธิซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการร้านค้าที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ที่เข้าร่วมโครงการได้ทันที ซึ่งสามารถใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 หากไม่ใช้จ่ายภายใน 14 วัน นับจากวันถัดจากวันที่ได้รับ SMS แจ้งรับสิทธิ ท่านจะถูกตัดสิทธิและไม่สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้อีก นอกจากนี้ สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 5.9 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 7,410,937 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 11,889 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 6,059 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 5,830 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 210 บาทต่อครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ตามลำดับ ทั้งนี้ รองโฆษกกระทรวงการคลังได้ขอความร่วมมือประชาชนและร้านค้าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอให้ร้านค้าอย่าฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า เนื่องจากจะเป็นการเอาเปรียบประชาชนและทำลายบรรยากาศของการจับจ่ายใช้สอยตามโครงการคนละครึ่ง อีกทั้งประชาชนโปรดอย่าหลงเชื่อการเชิญชวนตามโฆษณาผ่านช่องทางต่าง ๆ ในการช่วยดำเนินการโดยไม่มีการใช้จ่ายจริงอย่างเด็ดขาดเพราะอาจตกเป็นเหยื่อในการสนับสนุนให้เกิดการกระทำความผิดและมีโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งกระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดเงื่อนไขโครงการ โดยหากตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดจริง จะมีการระงับการใช้แอปพลิเคชันและระงับการจ่ายเงินร้านค้าทันที รองโฆษกกระทรวงการคลังยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำโครงการคนละครึ่งระยะที่ 2 เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน เพื่อรักษาระดับการบริโภคของประชาชนและกระจายรายได้ไปยังร้านค้ารายย่อยได้อย่างต่อเนื่อง โครงการคนละครึ่ง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 (24 ชั่วโมง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36674
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางขานรับนโยบาย ฟอร์มทีมติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 กรมบัญชีกลางขานรับนโยบาย ฟอร์มทีมติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ตามที่กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐ ที่จะต้องเร่งรัด สนับสนุนให้มีเม็ดเงินจากระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ลงสู่ระบบเศรษฐกิจให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐ ที่จะต้องเร่งรัด สนับสนุนให้มีเม็ดเงินจากระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ลงสู่ระบบเศรษฐกิจให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณปี 2564 ทั้งรายจ่ายประจำและงบลงทุน แบ่งตามไตรมาส ไตรมาสแรกภาพรวมการเบิกจ่ายต้องได้ร้อยละ 32 ไตรมาสที่ 2 ภาพรวมการเบิกจ่ายต้องได้ร้อยละ 54 ไตรมาส 3 ภาพรวมการเบิกจ่ายต้องได้ร้อยละ 77 และไตรมาสสุดท้ายภาพรวมการเบิกจ่ายต้องได้ร้อยละ100 ของงบประมาณ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ให้มากที่สุดหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ โดยให้สนับสนุนโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็ก เน้นพื้นที่เมืองรองเป็นหลัก เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดในการกระตุ้นการฟื้นตัวช่วงหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อติดตาม หารือ และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของทุกหน่วยรับงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐอื่นๆ เพื่อเร่งรัดมาตรการการเงินเพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดและกระตุ้นเศรษฐกิจ “กรมบัญชีกลางพร้อมสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น เพื่อประโยชน์ในการติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของหน่วยรับงบประมาณ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้เตรียมแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 มีการใช้จ่ายแล้ว 536,565.47 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.33 ของวงเงินงบประมาณ (3,285,962.48 ล้านบาท) จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 467,488.44 ล้านบาท (ร้อยละ 17.73) และรายจ่ายลงทุน 69,077.03 (ร้อยละ 10.64) โดยกรมบัญชีกลางพร้อมสนับสนุนหน่วยรับงบประมาณทุกแห่งให้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งช่วยดำเนินการเร่งรัดเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (front load) ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36680
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี มอบนโยบาย กอ.รมน. ย้ำใช้หลักบูรณาการ การมีส่วนร่วม และสร้างการรับรู้ควบคู่ประชาสัมพันธ์ “เชิงรุก”
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นายกรัฐมนตรี มอบนโยบาย กอ.รมน. ย้ำใช้หลักบูรณาการ การมีส่วนร่วม และสร้างการรับรู้ควบคู่ประชาสัมพันธ์ “เชิงรุก” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบาย กอ.รมน. ย้ำใช้หลักบูรณาการ การมีส่วนร่วม และสร้างการรับรู้ควบคู่ประชาสัมพันธ์ “เชิงรุก” วันนี้ (11 พ.ย.63) เวลา13.30น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท กรุงเทพฯพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ครั้งที่1/2563และกล่าวมอบนโยบายในการสรุปผลการปฏิบัติงาน 2563 และแถลงแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2564 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรโดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ผอ.รมน.ภาค หัวหน้าหน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. และ ผอ.รนม.จังหวัด เข้าร่วมด้วย โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติงานทุกระดับที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปและแผนแม่บท โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถทั้งการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยยึดหลักการพัฒนาควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้สถิติการใช้ความรุนแรงลดลงจนเป็นที่น่าพอใจ รวมถึงการปรับลดพื้นที่อำเภอไม้แก่นจังหวัดปัตตานี ออกจากพื้นที่ประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่นำมาตรการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาบังคับใช้แทน คืนสันติสุขกลับมา ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดำเนินการได้อย่างเต็มที่ อาทิ โครงการ“สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ส่งเสริมให้“ดินแดนปลายด้ามขวานทอง”เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุนของไทยในภูมิภาค (Regional Trading/Investment Center)ต่อไป นายกรัฐมนตรียังมอบ 3แนวทางการปฏิบัติงานเน้น“กุญแจสู่ความสำเร็จ”ได้แก่ 1)“หลักบูรณาการและการมีส่วนร่วม”กอ.รมน.ต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการให้มีความอ่อนตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์และพร้อมที่จะทำงานแบบบูรณาการ เพื่อร่วมแก้ปัญหากับทุกหน่วยงานดึงพลังทางสังคมในแต่พื้นที่–ท้องถิ่น เข้ามาร่วมกันทำงาน ภายใต้แนวทาง“รวมไทยสร้างชาติ”โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางด้วยการ“ระเบิดจากข้างใน”มีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นทาง - กลางทาง–ปลายทาง ขณะที่กอ.รมน.ภาค จะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำกับการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.จังหวัด เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่ทุกตำบลยกระดับการทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ (AI)มาสนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมกับให้ความรู้ประชาชนในเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล ให้ สามารถเป็น“ศูนย์กลางข้อมูลด้านความมั่นคง”ของประเทศ2)“ข้อมูลข่าวสาร และการตัดสินใจ”ต้องบูรณาการระบบงานข่าวกรองรวมทั้งการขยายเครือข่ายข่าวภาคประชาชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เป้าหมาย เพื่อการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มสถานการณ์ มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ และระบบสารสนเทศด้านการข่าวให้ทันสมัย รองรับระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ช่วยในการวิเคราะห์ได้แม่นยำ - รอบคอบ สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการ และสามารถแจ้งเตือนภัยคุกคาม เน้นมาตรการป้องกันเป็นสำคัญ และ 3)“การสร้างการรับรู้”จะต้องประกอบด้วย(1) เสนาสนเทศคือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. ทุกระดับ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ภายใต้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในฯ และยุทธศาสตร์ชาติ(2) ชุมชนสัมพันธ์คือ ความรู้ ความเข้าใจ ใน“ภูมิสังคม–ภูมิรัฐศาสตร์”ของพื้นที่เป้าหมาย พร้อมทั้งเรียนรู้บทบาท หน้าที่ และศักยภาพของส่วนราชการอื่น ๆ ที่ต้องทำงานบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และ(3) ประชาสัมพันธ์ได้แก่ การพัฒนางานวิเทศสัมพันธ์ สร้างความตระหนักรู้ ทำเข้าใจ และแสวงหาร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนงานบริการของรัฐ รวมทั้ง การเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไก“บวร” (บ้าน - วัด - โรงเรียน) เป็นภูมิคุ้มกัน ไม่ให้มีกระบวนการบ่มเพาะเผยแพร่แนวคิดที่ผิด ๆ ในชุมชน หรือผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมประชาสัมพันธ์“เชิงรุก”อาทิ ยกระดับการรู้เท่าทันสื่อ ติดตามFake newsการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงและภัยคุกคามด้านต่าง ๆที่ง่าย–สะดวก ในรูปแบบOSSหรือสายด่วน โดยต้องคุ้มครองผู้แจ้งให้ปลอดภัยด้วย ----------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36684
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.เห็นชอบ คนต่างด้าว MoU ครบ 4 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อได้อีก 2 ปี ไม่ต้องกลับประเทศ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ครม.เห็นชอบ คนต่างด้าว MoU ครบ 4 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อได้อีก 2 ปี ไม่ต้องกลับประเทศ รมว.แรงงาน แจ้ง นายจ้าง/สถานประกอบการที่จ้างคนต่างด้าว 3 สัญชาติที่เข้ามาตาม MoU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2563- 31 ธ.ค. 2564 ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้อีก 2 ปี โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ บัดนี้ –31 ธ.ค. 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ แนวทางการดำเนินการให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 ธันวาคม 2564 ให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไป เนื่องด้วยปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นประเทศต้นทางที่สำคัญในการจัดส่งแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานของนายจ้าง/สถานประกอบการ ตลอดจนคุ้มครองสิทธิของคนต่างด้าวที่จะได้ทำงานอย่างถูกกฎหมาย โดยสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ด้านนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงขั้นตอนดำเนินการว่า คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตาม MoU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 ธันวาคม 2564 ที่ประสงค์จะทำงานในประเทศไทยต่อไป ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1.คนต่างด้าวตรวจสุขภาพ เพื่อนำใบรับรองแพทย์ไปยื่นขออนุญาตทำงาน และขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป 2.คนต่างด้าวยื่นขออนุญาตทำงาน โดยกรมการจัดหางานเป็นผู้ออกใบอนุญาตทำงานให้ ตามระยะเวลาที่ผู้ขออนุญาตร้องขอแต่ไม่เกิน 2 ปี 3.คนต่างด้าวยื่นขอรับการตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร (Visa) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ค่าธรรมเนียมคำขอ 1,900 บาท โดยยกเว้นการเปรียบเทียบปรับการอยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนดแก่คนต่างด้าวที่ระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2563 4.การจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร แนะนำวิธีการทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36663
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เตรียมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 พร้อมให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่อาจได้รับผลกระทบ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านเกษตร ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากการคาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563/64 คาดว่าจะมีแนวโน้มเกิดการขาดแคลนน้ำ หากมีการใช้น้ำในแต่ละส่วนไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นต่อภาคการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ จึงได้จัดทำ (ร่าง) แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 สำหรับใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานราชการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านเกษตร และเตรียมการให้ความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยใช้กรอบแนวคิด "Smart DRM for 3s : SEP - SDGs - SEDRR" มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยแบบครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งจะเสนอ (ร่าง) แผนดังกล่าว เข้าคณะอนุกรรมาธิการฯ ชุดใหญ่เพื่อพิจารณาต่อไป \นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2563/64 และได้กำหนดแผน นโยบายและมาตรการการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยมีแผนการเพาะปลูกทั่วประเทศ จำนวน 5.12 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 2.61 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 1.12 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 1.49 ล้านไร่) พืชไร่พืชผัก จำนวน 2.51 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.54 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.97 ล้านไร่) สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด จำนวน 1.04 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 0.48 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน - ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.50 ล้านไร่) พืชไร่พืชผัก จำนวน 0.56 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.06 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.50 ล้านไร่) และลุ่มน้ำแม่กลองจำนวน 0.30 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 0.02 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน - ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.02 ล้านไร่) พืชไร่พืชผัก จำนวน 0.28 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.21 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.07 ล้านไร่) อย่างไรก็ตาม ด้านการจัดสรรน้ำ ได้มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการอุปโภค - บริโภค การรักษาระบบนิเวศ์ การสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน ด้านเกษตร และอุตสาหกรรม ตามลำดับของความสำคัญ สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 48,380 ล้าน ลบ.ม. (หรือ 64% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 24,451 ล้าน ลบ.ม. (หรือ 47% ของความจุน้ำใช้การ) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของน้ำใช้การ จำนวน 2 แห่ง คือ ภูมิพล แม่มอก ปริมาณน้ำไหลลงอ่างและระบาย ช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง (1 พ.ย.63 – ปัจจุบัน) ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 1,512.01 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 403.89 ล้าน ลบ.ม. (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พ.ย. 63) ในส่วนของสภาพอากาศในขณะนี้พายุดีเปรสชั่น "เอตาว" (พายุระดับ 2) ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้วบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกของประเทศไทยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พ.ย. 63)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36685
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติกำชับหน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์ เดินหน้าสร้างการรับรู้ ต่อสู้ข่าวลวงที่เป็นบ่อนทำลายประเทศ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ​คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติกำชับหน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์ เดินหน้าสร้างการรับรู้ ต่อสู้ข่าวลวงที่เป็นบ่อนทำลายประเทศ ​คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติกำชับหน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์ เดินหน้าสร้างการรับรู้ ต่อสู้ข่าวลวงที่เป็นบ่อนทำลายประเทศ วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ครั้งที่ 1/2563 โดยมี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธาน กปช. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการ กปช. เข้าร่วม ที่ประชุมได้พิจารณาผลการดำเนินงานของคณะกรรมการที่ผ่านมา โดยการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการปรับปรุงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2659-2564) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่ง ครม.มีมติให้ใช้ชื่อว่า "นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2553-2565 (ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขาติ 20 ปี) ซึ่งได้กำหนดทิศทางการประชาสัมพันธ์ของประเทศ โดยมีคณะอนุกรรมการขัยเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการทบทวนนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2659-2564) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมี รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ เป็นประธาน 2. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติด้านต่างประเทศ โดยมี นายวิบูลย์ คูสกุล เป็นประธาน 3. คณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐเพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจให้แก่ประชาชน โดยมี นายเกษมสันต์ วีระกุล เป็นประธาน 4. คณะอนุกรรมการพัฒนายุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ โดยมี รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา เป็นประธาน ที่ประชุมเห็นชอบการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และได้กำหนดเรื่องสื่อสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่ 1) พัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน 2) สังคมปลอดภัย ไร้ความรุนแรง 3) มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจการค้า การลงทุน 4) รับมือภัยแล้งและอุทกภัย 5) บริหารจัดการฝุ่น PM 2.5 6) สังคมสูงวัย 7) ยุติธรรมเท่าเทียม 8) ส่งเสริมค่านิยมที่ดีของสังคมไทย และเห็นชอบการกำหนดเรื่องสื่อสารที่สำคัญด้านต่างประเทศ จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ 1) ความพร้อมและศักยภาพด้านสาธารณสุขของไทย 2) ศักยภาพด้านเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขัน 3) การท่องเที่ยววิถีใหม่ 4) อัตลักษณ์ไทย 5) มาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามแนวชายแดน 6) ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและ 7การดูแลคนไทยในต่างประเทศโดยเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับประชาชน รองนายกรัฐมนตรี ย้ำว่าปัญหาของการสื่อสารในยุคปัจจุบัน คือ ข่าวลวง หรือ ข่าวปลอม ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีพยายามสร้างเพื่อบ่อนทำลายประเทศชาติ จึงต้องมีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐและผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์ กำหนดทิศทางการสื่อสารที่สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยอาศัยกลไกที่หน่วยงานด้านการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก และสื่อของรัฐ ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการเสนอโครงการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารและพัฒนาคลังข่าวอัจฉริยะ ที่ประมวลผลและวิเคราะห์โดยใช้ซอฟท์แวร์และโปรแกรมอัจฉริยะ (AI) ที่ถูกพัฒนาให้สามารถเปรียบเทียบ แยกแยะ จากระบบคลังข้อมูลข่าวสารความรู้อัจฉริยะเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข่าวปลอมที่เกิดขึ้นใน Social media โดยจะมีการศึกษาและพิจารณาความเป็นไปได้อีกครั้ง ----------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36670
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ ระดมสมองหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคเหนือจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตฯ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เร่งขับเคลื่อนภาคอุตฯ ด้วยระบบอัตโนมัติและดิจิทัล
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ก.อุตฯ ระดมสมองหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคเหนือจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตฯ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เร่งขับเคลื่อนภาคอุตฯ ด้วยระบบอัตโนมัติและดิจิทัล นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาระดมสมองการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคเหนือ ณ โรงแรมฮอไรซั่น วิลเลจ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ : วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) เวลา 09.00 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาระดมสมองการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคเหนือ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรม โดยการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและดิจิทัล เข้ามาใช้ให้ตรงกับอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและกำหนดทิศทางพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อบูรณาการสรรพกำลังของประเทศให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน การจัดระดมสมองหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กำหนดจัดขึ้น 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ภาคกลาง จ. กรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ครั้งที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ โดยมี นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพิชิต มิทราวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ อุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วม ณ โรงแรมฮอไรซั่น วิลเลจ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ #อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ #กระทรวงอุตสาหกรรม #prindustry2020
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36686
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน ชื่นชม อสม. ชัยภูมิ ได้รับการอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐานครบ 100%
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 อนุทิน ชื่นชม อสม. ชัยภูมิ ได้รับการอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐานครบ 100% รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชื่นชม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ จัดอบรมการกู้ชีพขั้นพื้นฐานให้ อสม. ในจังหวัดครบ 100% ส่วนนักเรียน นักศึกษา ประชาชน เข้ารับการฝึกแล้วกว่า 45,000 คน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชื่นชม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ จัดอบรมการกู้ชีพขั้นพื้นฐานให้ อสม. ในจังหวัดครบ 100% ส่วนนักเรียน นักศึกษา ประชาชน เข้ารับการฝึกแล้วกว่า 45,000 คน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่ตั้งเป้าให้คนไทยทำ CPR ได้อย่างน้อย 10 ล้านคน เนื่องจากแต่ละปีมีผู้ที่เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกว่า 45,000 ราย หรือ เฉลี่ย 6 คน ต่อชั่วโมง ซึ่งหากได้รับการช่วยชีวิตอย่างถูกต้องและทันท่วงทีจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้ ภายหลังการตรวจเยี่ยมการให้บริการด้านสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ได้พบว่า สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ และโรงพยาบาลชัยภูมิ ได้ตอบรับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี เป็นที่น่าชื่นชม โดยส่งเสริมให้ความรู้ในการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator : AED) แก่เจ้าหน้าที่ อสม. จังหวัดชัยภูมิทั้งหมด 24,247 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับคนในชุมชนมากที่สุด และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ครบ 100% นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ได้จัดกิจกรรมโครงการ CPR DAY ให้หน่วยบริการในสังกัดจัดกิจกรรมสอนสาธิต และฝึกปฏิบัติ CPR อย่างต่อเนื่องโดยเน้นในกลุ่ม อสม., อพปร.,นักเรียน., นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยให้มีการจัดร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น การประชุม อสม., อบรม อพปร. อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และยังออกให้ความรู้ประชาชนที่ในงานประจำปีของจังหวัด ซึ่งมีผู้สนใจที่เข้าร่วมการฝึกจำนวนมาก ขณะนี้มีผู้ผ่านการฝึกอบรมทั้งจังหวัดแล้ว 45,271 คน **********************************11 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36681
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” เผยคลินิกกัญชาทางการแพทย์เปิดแล้วกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 “อนุทิน” เผยคลินิกกัญชาทางการแพทย์เปิดแล้วกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์บูรณาการการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง และโรงพยาบาลชุมชนที่พร้อม รวมกว่า 300 แห่ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์บูรณาการการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง และโรงพยาบาลชุมชนที่พร้อม รวมกว่า 300 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การดูแลแบบประคับประคอง โรคพาร์กินสัน นอนไม่หลับ ผู้รับบริการ 35,495 ครั้ง ร้อยละ 70 อาการดีขึ้น เกือบทั้งหมดไม่พบอาการข้างเคียง วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์คิท อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดอบรมการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์แก่แพทย์ และเภสัชกร เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 150 คน พร้อมเผยแพร่ในระบบวิดีโอทางไกลไปยังเขตสุขภาพที่ 7 ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ใช้กัญชาทางการแพทย์เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการใช้กัญชาทางการแพทย์ เพิ่มทางเลือกประชาชน เพิ่มการเข้าถึงอย่างเหมาะสมและปลอดภัย การนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดประโยชน์ต่อการดูแลรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โดยเปิดคลินิกบริการกัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis Clinic) บูรณาการการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนที่มีความพร้อม ขณะนี้มี 311 แห่ง ผู้รับบริการ 14,236 ราย รวม 35,495 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โรคพาร์กินสัน ภาวะปวดประสาทที่ดื้อต่อการรักษา นอนไม่หลับ เป็นต้น ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นร้อยละ 70 มีการติดตามอาการผู้ใช้สารสกัดกัญชา ไม่พบอาการข้างเคียงถึงร้อยละ 98.07 จากการดำเนินงานที่ผ่านมา หลายแห่งมีนวัตกรรมที่ดี เช่น มีสายตรงรับปรึกษาเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ เชื่อมระบบบริการกับการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง มีระบบลงทะเบียนออนไลน์สำหรับผู้สนใจรับคำปรึกษา ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ได้พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์แก่บุคลากรทางการแพทย์ให้มีความทันสมัย รวมทั้งบูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดทำเป็นหลักสูตรและดำเนินการอบรม “การใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์” และได้ปรับหลักสูตรใหม่ให้ทันสมัยสอดคล้องกับผลวิจัยและประสบการณ์การใช้ที่มีมากขึ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีความรู้ ความเข้าใจในการนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2562 ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ที่กรมการแพทย์และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้การรับรองแล้ว 11,747 คน สำหรับการจัดตั้งคลินิกให้บริการกัญชาทางการแพทย์ จะดำเนินการในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ได้รับใบอนุญาต ยส.5 จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา บุคลากรผ่านการอบรม ปฏิบัติตามคู่มือระบบบริการ (Service Plan) สาขากัญชาทางการแพทย์ และมีระบบการติดตามอาการ เพื่อให้การจ่ายยา/ สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ มีความปลอดภัย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36672
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. แถลงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุ 150 ล้านปี
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ทส. แถลงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุ 150 ล้านปี ทส. แถลงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุ 150 ล้านปี วันนี้​ (11​ พ.ย. 63)​ เวลา 11.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการแถลงข่าวการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” ถูกค้นพบที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รศ.ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี ร่วมแถลง และมีคณะผู้บริหาร ทส. และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม 101 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายวราวุธ ศิลปอาชา เปิดเผยว่า “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” จัดเป็นปลาโบราณที่พบมาตั้งแต่ 417 ล้านปี มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถหายใจด้วยปอดร่วมกับการหายใจด้วยเหงือก ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดที่พบครั้งนี้ ประกอบด้วย ชิ้นส่วนของกะโหลกและแผ่นฟันซึ่งคาดว่าเป็นชิ้นส่วนจากปลาตัวเดียวกัน มีอายุประมาณ 150 ล้านปี โดยสกุลนี้มีการพบในประเทศจีน ประเทศรัสเซีย และประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้น การค้นพบครั้งนี้ จึงนับว่ามีความสำคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการและถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก ผลการศึกษาวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ปลา Dr.Lionel Cavin พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเจนีวา ร่วมกับ ดร.อุทุมพร ดีศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา และศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ นักธรณีวิทยาชำนาญการ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี พบว่า รูปสัณฐานของส่วนกะโหลกและแผ่นฟันปลาปอดที่พบ จัดอยู่ในสกุล เฟอกาโนเซอราโตดัส แต่มีความแตกต่างจากชนิดอื่น จึงได้ตั้งชื่อปลาปอด ที่พบในแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อยนี้ เป็นปลาปอดชนิดใหม่ของโลก นามว่า “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป (Ferganoceratodus annekempae) ซึ่งชื่อชนิดตั้งเป็นเกียรติแก่ Dr. Anne Kemp (ดร.แอน เคมป์) ผู้เชี่ยวชาญปลาปอดของโลก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36677
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.ทส.พร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยววิถีใหม่ สร้างรายได้แก่ชุมชน พร้อมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ​รมว.ทส.พร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยววิถีใหม่ สร้างรายได้แก่ชุมชน พร้อมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ​รมว.ทส.พร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยววิถีใหม่ สร้างรายได้แก่ชุมชน พร้อมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ วันนี้ (11 พ.ย. 63) เวลา 09.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความเห็นด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการพัฒนาโครงการ Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development (GEF-7) พร้อมมอบแนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ที่ให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการและร่วมรับประโยชน์ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และสร้างรูปแบบใหม่ด้านการอนุรักษ์กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหลังยุค COVID-19 ซึ่งงานประชุมครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP ประเทศไทย) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) มี Mr.Renaud Meyer, Resident Representative ,UNDP Thailand นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการ รมว.ทส. คณะผู้บริหาร ทส. และผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คนจาก 26 หน่วยงาน ส่วนราชการ และภาคธุรกิจเอกชนในแวดวงการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ณ โรงแรม เดอะสุโกศล กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา กล่าวว่า ประเทศไทย จำเป็นต้องช่วยกันพัฒนาการท่องเที่ยววิถีใหม่ ในยุค New Normal ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลัง COVID-19 จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและชาวบ้านในพื้นที่ ในการมาร่วมกันหาแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อนำพาประเทศไทยให้ขับเคลื่อนไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) และเตรียมความพร้อมให้กับประเทศในการรับมือภาวะวิกฤตต่อไปในอนาคต โดยในโอกาสนี้ รมว.ทส.ได้หารือกับ Mr. Renaud Meyer ผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย และได้รับเชิญเข้าร่วมงานเปิดตัว Global Human Development Report 2019 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 นี้อีกด้วย โครงการบูรณาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับชุมชนในประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development) ได้เสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environmental Facility – GEF) รอบที่ 7 ภายใต้กรอบงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และได้รับความเห็นชอบจากมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility Council) ทั้งนี้ มีพื้นที่นำร่องในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีโครงข่ายการคมนาคมที่สะดวกสามารถเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36679
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย และคณะเยี่ยมชมการดำเนินงาน พานาคอฟฟี่ พร้อมร่วมมือยกระดับคุณภาพ มาตรฐานกาแฟไทย เชื่อมเกษตรกรและผู้ประกอบการแปรรูปกาแฟในรูปแบบ contract farming
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ปลัดฯ กอบชัย และคณะเยี่ยมชมการดำเนินงาน พานาคอฟฟี่ พร้อมร่วมมือยกระดับคุณภาพ มาตรฐานกาแฟไทย เชื่อมเกษตรกรและผู้ประกอบการแปรรูปกาแฟในรูปแบบ contract farming นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของบริษัท พานาคอฟฟี่ จำกัด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตกาแฟดริป กาแฟคั่ว ภายใต้แบรนด์ “สด” (SOD) จ.เชียงใหม่ : วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของบริษัท พานาคอฟฟี่ จำกัด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตกาแฟดริป กาแฟคั่ว ภายใต้แบรนด์ “สด” (SOD) โดยมี นายพีระ พนาสุภน ประธานบริษัท ให้การต้อนรับ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง บรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพ มาตรฐานกาแฟไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการแปรรูปกาแฟในรูปแบบ contract farming เพื่อให้ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพ และมีช่องทางการจำหน่ายที่แน่นอนต่อไป บริษัท พานาคอฟฟี่ฯ เป็นผู้ผลิตกาแฟแบบครบวงจร โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะเน้นจุดขายการเป็นกาแฟออร์แกนิก โดยมีเป้าหมายทำตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้กาแฟ “เดอะ คอฟฟีเนอรี่” (The Coffeenery) ศูนย์การเรียนรู้ด้านกาแฟที่ครบวงจรและทันสมัย ภายในมีบริการและสินค้าที่ครอบคลุมทั้งการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร หน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น คอร์สกาแฟระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับสูงสำหรับบาริสต้า บริการสีกาแฟกะลา การคัดแยกขนาดและคัดคุณภาพเมล็ดกาแฟ บริการคั่วกาแฟ บริการบรรจุกาแฟดริป บริการผลิตกาแฟแบบโออีเอ็ม เป็นต้น โดยมี นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพิชิต มิทราวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือเข้าร่วม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36687
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเชื่อ “รวมไทยสร้างชาติ” พาไทยฝ่าวิกฤต ยืนยันสังคมอยู่ได้เพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นายกรัฐมนตรีเชื่อ “รวมไทยสร้างชาติ” พาไทยฝ่าวิกฤต ยืนยันสังคมอยู่ได้เพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย นายกรัฐมนตรีเชื่อ “รวมไทยสร้างชาติ” พาไทยฝ่าวิกฤต ยืนยันสังคมอยู่ได้เพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2563) เวลา 09.00 น. ณ แกรนด์ฮอลล์ โรงแรม ดิ แอทธินี่ โฮเทล แบงค็อก (เพลินจิต) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา และกล่าวปาฐกถาพิเศษ “ภาคธุรกิจไทย ในวิถียั่งยืน” ยืนยันแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของการพัฒนา เพื่อประชาชนได้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นและเป็นหลักสำคัญของการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ ภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ ได้รับเอาแนวคิดการพัฒนายั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงาน โดยมีการปรับแนวทาง กลยุทธ์ และนโยบายให้สอดคล้อง นำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ามาอยู่ในกระบวนการของธุรกิจ (CSR in Process) อาทิ การช่วยเหลือวิสาหกิจชมชุน การดูแลกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการยกระดับชีวิตคนในชุมชนโดยรอบ ดังนั้น จึงเป็นบทบาทภาระทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม ที่ต้องสนองตอบและให้ความสำคัญต่อการสร้างความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับการทำงานของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาชำระหนี้ ปลดล็อคกฎหมายหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขยายโอกาสให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน Soft Loan มากขึ้น โดยที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบาย สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย Startup และ SMEs ให้มีการจดทะเบียนของธุรกิจ SMEs ในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ ด้วย นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ผ่านมาตรการเยียวยาต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ รวมถึงพยุงธุรกิจไม่ให้เกิดการเลิกจ้างงาน ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงโอกาสและทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ แก้ไขปัญหาจราจรติดขัด เพิ่มเส้นทางรถไฟทางคู่ ขยายท่าเรือ ยกระดับโครงการขนาดใหญ่ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) มีการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้นักลงทุนต่างชาติ ตามที่ BOI ได้ปรับรูปแบบแผนการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อรักษาไทยให้สามารถเป็นฐานการผลิตของศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียนได้ ทั้งนี้ การบริหารราชการคำนึงภาวการณ์โลกในปัจจุบัน เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น งบประมาณที่จะต้องใช้ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งการดูแลปัญหาอื่นที่นอกเหนือจากเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาอุทกภัย ปัญหาภัยแล้ง การกระจายแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทั้งแปลงใหญ่และแปลงเล็ก ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเข้าถึงตลาดออนไลน์ ปรับปรุงกฎหมายการค้าออนไลน์เพื่อให้มีความสะดวกมากขึ้น รวมทั้งการขยายช่องทางรายได้ประเทศจากการส่งออก ด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ขณะเดียวกันก็เดินหน้าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งการเจรจาร่วมกับประเทศทวิภาคีเพื่อซื้อขาย การเข้าร่วมหารือในการประชุม G20 หรือ APEC ด้วย นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงหนทางที่จะให้ไทยรอดพ้นจากความท้าทายครั้งนี้ว่า รัฐบาลเน้นดึงศักยภาพของประเทศออกมาใช้ ด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ และประชาชนทุกคน ให้เข้ามาช่วยกันขับเคลื่อนการฟื้นฟูประเทศ “รวมไทยสร้างชาติ” ท่ามกลางวิกฤตนี้ “เราจะต้องรอด และวันหน้า เราต้องเข็มแข็งกว่าเดิม” “ล้มแล้วต้องลุกไว” ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ในสังคมเพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย กฎกติกา อันเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีการปรับแก้การบริหารราชจากเดิม 4 ภาคเป็น 6 ภาค เพิ่มภาคเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) และภาคชายแดนใต้ เพื่อจัดสรรงบประมาณในแต่ละจังหวัดก็มีงบบูรณาการ เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนไทยให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั่นคือ การน้อมนำ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เรียกว่า SDGs (Sustainable Development Goals) ตามที่สหประชาชาติกำหนด นายกรัฐมนตรียังย้ำหลักการสำคัญของรัฐบาล คือ การทำงานโดยคิดถึงทุกๆ คน ภายใต้แนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่ง “ใคร” ในที่นี้ยังหมายถึงคนทุกคน รวมทั้งคนรุ่นหลังของเราด้วย ให้ความสำคัญกับ“การพัฒนาคน” และ “ความมั่นคงของมนุษย์” เพื่อให้ทุกคนในชาติมีภูมิต้านทานต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โลกสมัยใหม่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่การกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าและสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในชุมชน เมื่อทุกคนมีความต้านทาน จึงจะเกิดความยั่งยืน เพราะถือเป็นการสร้างความเข้มแข็งจากภายในและฐานรากอย่างแท้จริง ....................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36669
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 14
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563 ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 14 รมว.คลังร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Finance Ministers’ Meeting: ASEM FinMM) หรืออาเซมครั้งที่ 14 ในรูปแบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Finance Ministers’ Meeting: ASEM FinMM) หรืออาเซมครั้งที่ 14 ในรูปแบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (นาย A H M Mustafa Kamal) เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกอาเซม ทั้งจากยุโรป และเอเชีย รวม 43ประเทศ รวมถึงผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป สำนักเลขาธิการอาเซียน ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ มูลนิธิเอเชีย-ยุโรป และสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 เข้าร่วมการประชุม ซึ่งหัวข้อหลักที่ใช้ในการหารือคือการสร้างความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งยั่งยืนทั่วถึงและสมดุลจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Addressing COVID-19: Ensuring a Strong,Sustainable, Inclusive and Balanced Recovery) โดยมีสาระที่สำคัญ ดังนี้ 1. การระบาดของCOVID-19นำมาซึ่งความท้าทายที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ต่อนานาประเทศทั่วโลก ทั้งยังได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจ้างงาน รายได้ การประกอบธุรกิจ การลงทุน การค้า และวิถีการดำรงชีวิตประจำวันโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบางรวมไปถึงผลกระทบต่อความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยที่ประชุมได้แสดงความกังวลถึงผลกระทบที่เกิดจากการระบาดระลอก 2 ที่มีต่อประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 1 ล้านคน โดยผู้แทนจากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้นำเสนอภาพรวมการรับมือกับ COVID-19 ของประเทศต่าง ๆ โดยใช้นโยบายการทางการเงินและการคลังมาใช้เป็นมาตรการพื้นฐานซึ่งส่งผลกระทบถึงความท้าทายในการรักษาระดับหนี้สาธารณะและความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนะในการให้ความสำคัญกับการนำระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมาปรับใช้ และพัฒนาขีดความสามารถของแต่ละประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งการให้ความสำคัญกับความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อก้าวข้ามวิกฤตทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 โดยเฉพาะการช่วยเหลือกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด(Least Developing Countries) 2. การประชุม ASEM FinMM ในครั้งนี้ประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือและการใช้มาตรการต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 โดยในส่วนของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวต่อที่ประชุมถึงมาตรการที่รัฐบาลไทยใช้ในการรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ การตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการด้านนโยบายการรับมือและกระตุ้นเศรษฐกิจ การออกมาตรการการเงินและการคลังเพื่อช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น อาทิ เงินช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การขยายระยะเวลาชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์แก่บริษัทและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นต้น โดยมาตรการเหล่านี้ล้วนมีการดำเนินการอย่างระมัดระวังภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง พร้อมกันนี้ ยังได้ชี้แจงต่อที่ประชุมเพิ่มเติมถึงความจริงจังของประเทศไทยในการรักษาความสมดุลระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นและการปฏิรูปโครงสร้างของประเทศในระยะยาว ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจท้องถิ่นให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น โดยมุ่งที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงภายในประเทศและระหว่างประเทศ และการพัฒนาการใช้ระบบดิจิทัลและนวัตกรรมทางการเงินให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้งานในแต่ละกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยระบบดิจิทัลจะช่วยให้การติดต่อสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนในการดำเนินการ และสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ โดยการทบทวนการปฏิรูประบบภาษีให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ และเอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว นอกจากนี้ จะมีการพิจารณามาตรการระยะยาวเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทางสังคม อาทิ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น ทั้งนี้ จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือกับวิกฤต COVID-19 ของประเทศสมาชิกแสดงให้เห็นว่า การบรรเทาผลกระทบจากCOVID-19 ทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคม การควบคุมและป้องกันการระบาด การประคับประคองผู้ประกอบการและธุรกิจ และการคิดค้นและแสวงหาแนวทางการรับมือ COVID-19 ที่ยั่งยืนล้วนเป็นประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญ และเอเซมยังคงเชื่อมั่นในการสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งและความเข้าใจอันดีระหว่างกันของ 2 ภูมิภาค โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศสมาชิกล้วนประสบกับความยากลำบากและความท้าทายอันเกิดจาก COIVD-19 อนึ่ง การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวของไทยเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการเมืองการต่างประเทศและความมั่นคงซึ่งจะช่วยยกระดับศักยภาพของไทยในหลากหลายมิติ และผลักดันให้เกิดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องรวมไปถึงส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกับต่างประเทศเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันต่อไป สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. (02) 273-9020 ต่อ 3613
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36581
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 12 ราย เป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด 9 ราย ผู้เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ ไม่ได้เข้าสถานกักกันและส่งตัวกลับประเทศ 2 ราย และผู้ติดเชื้อในประเทศ 1 ราย ขณะนี้รอผลการตรวจภูมิคุ้มกันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 5 ราย ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,644 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.14 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 126 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.29 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,830 ราย โดยรายละเอียดผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ ได้แก่ 1.ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ - ชาวไทย 4 ราย เดินทางมาจากประเทศสหรัฐเอมิเรตส์ 1 ราย, สหรัฐอเมริกา 2 ราย และสวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย เข้ารับการกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ทั้งหมดตรวจพบเชื้อ ไม่แสดงอาการ เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลตามระบบ - ชาวต่างชาติ 5 ราย เดินทางมาจากประเทศฝรั่งเศส 2 ราย, อินเดีย 1 ราย, เม็กซิโก 1 ราย และเนเธอร์แลนด์ 1 ราย เข้ารับการกักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ทั้งหมดตรวจพบเชื้อ ไม่แสดงอาการ เข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชน โดยค่าใช้จ่ายคิดจากประกันโควิด 19 ที่ผู้เข้ารับการกักตัวทำไว้ก่อนเดินทางเข้าประเทศ - ชาวเมียนมา 2 ราย พบเชื้อจากการตรวจคัดกรอง ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศชายแดนไทย-เมียนมา ผลพบเชื้อไม่มีอาการ ส่งกลับไปรักษาที่เมียนมา 2. ผู้ติดเชื้อในประเทศไทย 1 ราย เป็นเพศชาย สัญชาติอินเดีย อายุ 37 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว ในจังหวัดกระบี่ พบเชื้อจากการตรวจสุขภาพเพื่อขอ work permit เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกระบี่ และผลตรวจยืนยันของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 จังหวัดภูเก็ตพบเชื้อเช่นกัน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ ส่งทีมสอบสวนโรคที่บ้านผู้ติดเชื้อแล้ว พร้อมติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด จำนวน 19 รายต่อเป็นเวลา 14 วัน ขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ส่วนผู้ติดเชื้อรายนี้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการซ้ำครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ผลไม่พบเชื้อ ขณะนี้รอผลการตรวจภูมิคุ้มกันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ทั่วโลกวันนี้ มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 623,226 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 49,655,454 ราย แนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย เช่น เมียนมา มาเลเซีย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้กว่า 1,000 ราย สำหรับประเทศไทย ผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้ารับการกักตัวในสถานกักกันที่รัฐกำหนด/สถานกักกันที่รัฐจัดให้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ทำให้โอกาสแพร่กระจายเชื้ออยู่ในระดับต่ำ บวกกับการปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโรค ทั้งการสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนจำนวนมาก ลงทะเบียนแพลตฟอร์มไทยชนะ เมื่อเข้าใช้สถานที่ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ไทยมีโอกาสที่จะพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศได้ เช่น กรณีดีเจร้านอาหาร หญิงชาวฝรั่งเศส ชายชาวอินเดีย ซึ่งสามารถตรวจพบได้รวดเร็ว นำเข้าสู่ระบบการรักษา และติดตามผู้สัมผัสอย่างครอบคลุม ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม จำกัดวงการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงระบบการป้องกันควบคุมโรค ความพร้อมห้องปฏิบัติการ และระบบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ขอให้ประชาชนมั่นใจในมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และเข้มข้นการปฏิบัติตัวในการป้องกันตัวเองอย่างต่อเนื่อง การ์ดอย่าตก *********************************** 7 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36584
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รพ.นครปฐม จัดระบบพร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ครบวงจร
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563 รพ.นครปฐม จัดระบบพร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ครบวงจร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมาตรการความพร้อมรองรับโควิด 19 ที่โรงพยาบาลนครปฐม พบมีระบบการดูแลรักษาแบบครบวงจร ห้องความดันลบสำหรับผู้ป่วยหนัก 39 ห้อง หอผู้ป่วยแยกโรค 50 เตียง จัดช่องทางพิเศษเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ห้อง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมาตรการความพร้อมรองรับโควิด 19 ที่โรงพยาบาลนครปฐม พบมีระบบการดูแลรักษาแบบครบวงจร ห้องความดันลบสำหรับผู้ป่วยหนัก 39 ห้อง หอผู้ป่วยแยกโรค 50 เตียง จัดช่องทางพิเศษเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ห้องเก็บตัวอย่างพระราชทาน 4 ห้อง ลดความเสี่ยงผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ พร้อมห้องปฏิบัติการต้นแบบตรวจได้ 300 รายต่อวัน รู้ผลใน 3 ชั่วโมง วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2563) ที่โรงพยาบาลนครปฐม จ.นครปฐม ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมาตรการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ของโรงพยาบาลนครปฐม และให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกสังกัด เตรียมความพร้อมระบบบริการ หากพบผู้ป่วยโควิด 19 ต้องได้รับการรักษาทันที เน้นหลักการผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ปลอดภัย ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลนครปฐม ได้เข้มระบบคัดกรองเพื่อลดความเสี่ยงผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน จัดช่องทางเดินในโรงพยาบาลใหม่ เพื่อลดความแออัด ลดการสัมผัส มีคลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ให้บริการแบบ one stop service แยกโซนออกมาจากอาคารที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอื่นๆ หากพบผู้ป่วยมีความเสี่ยงจะส่งตัวไปเก็บตัวอย่างที่ห้องเก็บเชื้อพระราชทานได้ทันที ซึ่งมีจำนวน 4 ห้องพร้อมส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบที่มีศักยภาพตรวจได้วันละ 300 ตัวอย่าง ทราบผลไม่เกิน 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีห้องความดันลบสำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการหนัก จำนวน 39 ห้อง หอผู้ป่วยแยกโรคสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อย 50 เตียง ในส่วนของยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย มีสำรองในระบบอย่างน้อย 3 เดือน ดูแลผู้ป่วยได้จำนวนมาก และสามารถหมุนเวียนใช้ภายในเขตสุขภาพได้ “ที่ผ่านมาของโรงพยาบาลนครปฐมได้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 23 ราย ทุกรายรักษาหาย และมีความพึงพอใจบริการที่ได้รับ การเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ ทำให้มั่นใจว่าโรงพยาบาลพร้อมให้การดูแลรักษาหากพบผู้ติดเชื้อโควิด19 ได้เป็นอย่างดี” ดร.สาธิตกล่าว นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เยี่ยมเสริมพลังอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรด้านการแพทย์การสาธารณสุข ในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเชิงรุก ทั้งในช่วงสถานการณ์ปกติ และวิกฤติโควิด 19 เป็นตัวแทนภาคประชาชนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนลดปัญหาข่าวลือ ข่าวลวง และระดมความร่วมมือให้ทุกคนในชุมชนปฏิบัติตามมาตรการการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัดจนประสบผลสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรค ทำให้ไม่พบรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ในจังหวัดนครปฐม ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 **************************7 พฤศจิกายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/36585