title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการนำเข้าไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการแจ้งดำเนินการ การขออนุญาต และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2458 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ยกเว้นการนําเข้าไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
เกี่ยวกับการแจ้งดําเนินการ การขออนุญาต และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2458
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม มาตรา 20 (5) และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วัตถุอันตรายตามประกาศนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย
ข้อ ๒ วัตถุอันตรายที่นําเข้ามาเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง วรรคสอง มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
(1) วัตถุอันตรายที่นําเข้ามาเพื่อใช้สอยส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเป็นครั้งคราว
(2) วัตถุอันตรายที่นําเข้ามาเพื่อการแสดงนิทรรศการ
(3)วัตถุอันตรายที่นําเข้ามาเพื่อการศึกษาของสถาบันการศึกษา หรือเพื่อใช้ในงานศึกษาวิจัย
(4) วัตถุอันตรายที่นําเข้ามาใช้โดยหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของการใช้ วัตถุอันตรายนั้น
(5) วัตถุอันตรายที่นําเข้าเพื่อส่งต่อให้กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐ สภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองการดําเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชํานัญพิเศษในประเทศไทย
ข้อ ๓ การนําเข้าวัตถุอันตรายตามข้อ 2 (1) - (4) ต้องมิใช่นําเข้ามาเพื่อการขาย
ข้อ ๔ การนําเข้าวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กําหนดท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548
สุชัย เจริญรัตนกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,149 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผ่อนผันสำหรับการนำกลับเข้ามา หรือส่งกลับออกไปซึ่งวัตถุอันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2563 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผ่อนผันสําหรับการนํากลับเข้ามา หรือส่งกลับออกไปซึ่งวัตถุอันตราย
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
พ.ศ. 2563
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 20/3 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยาโดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
หมวด ๑ การผ่อนผันสําหรับการน่ากลับเข้ามา
-----------------------
ข้อ ๓ ให้การนํากลับเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ที่การส่งออกได้ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 22 หรือมาตรา 23 แล้ว และเป็นกรณีที่มีความจําเป็น ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) วัตถุอันตรายที่นํากลับเข้ามาต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพวัตถุอันตราย ภาชนะบรรจุ หรือฉลาก และต้องมีเลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต (batch number หรือ lot number) เดียวกันกับวัตถุอันตรายที่ส่งออกไป
(2) เป็นวัตถุอันตรายที่ได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาไม่เกิน1 ปี นับตั้งแต่วันที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(3) การนํากลับเข้ามาซึ่งวัตถุอันตรายต้องกระทําโดยผู้ส่งออกวัตถุอันตรายดังกล่าว
ข้อ ๔ ผู้ใดประสงค์จะขอผ่อนผันการนํากลับเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งวัตถุอันตราย ให้ยื่นคําขอตามแบบ วอ./สธ 17 ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในแบบดังกล่าว
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ กองด่านอาหารและยา สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา หรือยื่น ณ หน่วยงาน สถานที่ หรือยื่นตามวิธีการอื่น ที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยากําหนดก็ได้
ข้อ ๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเอกสารหลักฐานแล้วเห็นควรผ่อนผันการนํากลับเข้ามา ในราชอาณาจักรซึ่งวัตถุอันตราย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบผ่อนผันเพื่อเป็นหลักฐานโดยการบันทึก ลงในท้ายแบบ วอ./สธ 17 ท้ายประกาศนี้ โดยใบผ่อนผันให้ใช้ได้ไม่เกิน 45 วัน นับแต่วันที่ออกใบผ่อนผันนั้น
ทั้งนี้ เมื่อวัตถุอันตรายที่ได้รับการผ่อนผันการนํากลับเข้ามาได้เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว และมีเหตุอันควรสงสัย พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถสั่งอายัดวัตถุอันตรายดังกล่าวไว้ ณ สถานที่เก็บรักษา ของผู้นํากลับเข้ามา เพื่อตรวจสอบก่อนที่จะดําเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ในคําขอ
หมวด ๒ การผ่อนผันสําหรับการส่งกลับออกไป
------------------------------
ข้อ ๖ ให้การส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ที่การนําเข้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 22 หรือมาตรา 23 แล้ว และเป็น กรณีที่มีความจําเป็น ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) วัตถุอันตรายที่ส่งกลับออกไปต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพวัตถุอันตราย ภาชนะบรรจุ หรือฉลาก และต้องมีเลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต (batch number หรือ lot number) เดียวกันกับวัตถุอันตรายที่นําเข้ามา
(2) การส่งกลับออกไปซึ่งวัตถุอันตรายต้องส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง และต้องกระทําโดย ผู้นําเข้าวัตถุอันตรายดังกล่าว
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอผ่อนผันการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งวัตถุอันตราย ให้ยื่นคําขอตามแบบ วอ/สธ 18 ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในแบบดังกล่าว
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) กองด่านอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในกรณีที่วัตถุอันตราย อยู่ในอารักขาของศุลกากร
(2) กองควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาในกรณีที่วัตถุอันตรายอยู่นอกอารักขาของศุลกากร
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือยื่น ณ หน่วยงาน สถานที่ หรือยืนตามวิธีการอื่น ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากําหนดก็ได้
ข้อ ๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเอกสารหลักฐานแล้วเห็นควรผ่อนผันการส่งกลับ ออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งวัตถุอันตราย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบผ่อนผันเพื่อเป็นหลักฐานโดยการบันทึกลงในท้ายแบบ วอ/สธ 18 ท้ายประกาศนี้ โดยใบผ่อนผันให้ใช้ได้ไม่เกิน 45 วัน นับแต่วันที่ ออกใบผ่อนผันนั่น
ในการพิจารณาคําขอผ่อนผัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบวัตถุอันตรายในกรณีที่มีเหตุ อันควรสงสัย หรือตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ไพศาล ดั่นคุ้ม
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 6,150 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549
------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 เรื่อง แต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กระทรวงสาธารณสุขมีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2555
ข้อ ๒ ให้ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
(1) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(2) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(3) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
(4) สาธารณสุขนิเทศ
(5) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
(6) รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
(7) นักวิชาการอาหารและยา 10 ชช ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(8) นักวิชาการอาหารและยา 10 ชช ด้านความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์และ การใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(9) เภสัชกร 9 วช ด้านความปลอดภัยของเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย
(10) นักวิชาการอาหารและยา 6 ชช ด้านพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(11) ผู้อํานวยการสํานักควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(12) ผู้อํานวยการกองงานด้านอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(13) ผู้อํานวยการกองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและ ท้องถิ่น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(14) เภสัชกร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(15) นักวิชาการอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในการรับแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละ ผลิตภัณฑ์ (แบบ วอ./สธ 5) สําหรับผู้ประสงค์ผลิต หรือนําเข้าซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่อง บัญชีรายชื่อ วัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สําหรับสถานประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บในเขตจังหวัดของตน
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) เภสัชกร กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ข้อ ๔ ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในการรับแจ้งความประสงค์เฉพาะการมีไว้ในครอบครอง เพื่อใช้ในการรับจ้างหรือให้บริการซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่เป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป (แบบ วอ./สธ 3) ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งดังกล่าว สําหรับสถานประกอบการที่มี สถานที่เก็บในเขตจังหวัดของตน
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(4) เภสัชกร กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไป
ข้อ ๕ ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่ออายุใบอนุญาตผลิตนําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รับผิดชอบ สําหรับสถานประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บในเขตจังหวัดของตน
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ข้อ ๖ ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตเฉพาะการมีไว้ ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่เป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปเพื่อใช้รับจ้างหรือให้บริการ ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2525 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตดังกล่าว และการรับชําระค่าธรรมเนียม สําหรับสถานประกอบการที่มีสถานที่เก็บในเขตจังหวัดของตน
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ข้อ ๗ ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบปรับความผิด เกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวงสาธารณสุข
(1) รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(2) นิติกร กลุ่มกฎหมายอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป เฉพาะในความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
(3) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เฉพาะในความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่จังหวัดที่รับผิดชอบ
ข้อ ๘ ให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง มาตรา 53 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะในเขตจังหวัดที่ตนมีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) นายแพทย์ 6 ด้านเวชกรรมป้องกัน สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(4) นักวิชาการสาธารณสุข 5 ด้านส่งเสริมพัฒนา สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(5) เภสัชกร กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(6) เภสัชกร โรงพยาบาลของรัฐ4
(7) นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานคุ้มครอง ผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(8) พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(9) สาธารณสุขอําเภอและกิ่งอําเภอ
(10) นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในสาธารณสุขอําเภอ กิ่งอําเภอ และสถานีอนามัย
(11) เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข พยาบาลเทคนิค พนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงาน สาธารณสุขชุมชน ตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานในสาธารณสุขอําเภอ กิ่งอําเภอ และสถานีอนามัย
ข้อ ๙ ให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข ซึ่งดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างหรือนําตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ตามมาตรา 54 (1) และ (2)
(1) อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(2) รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(3) ผู้อํานวยการกองเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย
(4) ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
(5) ผู้อํานวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
(6) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป
(7) เภสัชกร กองเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป
(8) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป
(9) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป
(10) เภสัชกร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2549
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,151 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ
พ.ศ. 2554
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบ ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2549
ข้อ ๒ ให้ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
(1) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(2) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(3) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
(4) สาธารณสุขนิเทศ
(5) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
(6) รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
(7) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(8) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์และการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(9) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย
(10) ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(11) ผู้อํานวยการสํานักควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(12) ผู้อํานวยการสํานักด่านอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(13) ผู้อํานวยการกองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(14) เภสัชกร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(15) นักวิชาการอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในการรับแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละผลิตภัณฑ์ (แบบ วอ./สอ 5) สําหรับผู้ประสงค์ผลิต หรือนําเข้าซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยารับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สําหรับสถานประกอบการ ที่มีสถานที่ผลิต หรือสถานที่เก็บในเขตจังหวัดที่มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) เภสัชกร กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ข้อ ๔ ให้ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในการรับแจ้งความประสงค์การมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ รับจ้างหรือให้บริการซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่เป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป (แบบ วอ/สธ 3) ที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุ อันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งดังกล่าว สําหรับสถานประกอบการที่มีสถานที่เก็บในเขต จังหวัดที่มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) เภสัชกร กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป
ข้อ ๕ ให้ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่ออายุใบรับแจ้งการดําเนินการ ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และการต่ออายุใบอนุญาต ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยารับผิดชอบ สําหรับสถานประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บในเขตจังหวัด ที่มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) เภสัชกร กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป
ข้อ ๖ ให้ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ รับจ้างหรือให้บริการซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่เป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยารับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้แก่ การออกใบอนุญาต การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการ สั่งพักใช้หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สําหรับสถานประกอบการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่มีสถานที่เก็บในเขตจังหวัดที่มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ข้อ ๗ ให้ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบความผิด
(1) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(2) นิติกร กลุ่มกฎหมายอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เฉพาะใน ความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
(3) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เฉพาะในความผิดที่เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่จังหวัดที่รับผิดชอบ
ข้อ ๘ ให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะในเขตจังหวัดที่ตนมีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
(2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(3) นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(4) นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมพัฒนา สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(5) เภสัชกร กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(6) เภสัชกร โรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
(7) นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(8) เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานคุ้มครอง ผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
(9) สาธารณสุขอําเภอ หรือกิ่งอําเภอ
(10) นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในสาธารณสุขอําเภอ หรือกิ่งอําเภอ สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล
(11) เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ที่ปฏิบัติงานในสาธารณสุขอําเภอ หรือกิ่งอําเภอ และสถานีอ มัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล
ข้อ ๙ ให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างหรือนําตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ มาตรา 54 (1) และ (2)
(1) อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(2) รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(3) ผู้อํานวยการสํานักเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย
(4) ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
(5) ผู้อํานวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
(6) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ สํานักเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป
(7) เภสัชกร สํานักเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย ตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป
(8) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป
(9) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป
(10) เภสัชกร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
วิทยา บุรณศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,152 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
---------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคล ซึ่งมาตรา 28 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (14) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลาก และระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 แล้วให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(14) ทะเบียนวัตถุอันตราย (เฉพาะวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน) หรือเลขที่รับแจ้ง (เฉพาะวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่ต้องแจ้งข้อเท็จจริง”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) และ (5) ของข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 แล้วให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ชื่อการค้าภาษาไทยจะต้องมีขนาดเหมาะสม เห็นได้ชัดเจนและหากมีชื่อทางการค้า ภาษาต่างประเทศ จะต้องตรงกันหรือมีความหมายอย่างเดียวกันกับชื่อการค้าภาษาไทย
(5) ข้อความที่เป็นสาระสําคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้แก่ คําเตือนข้อควรระวังและวิธีใช้ ถ้าจะมีภาษาอื่นด้วย จะต้องมีความหมายตรงกันกับความในภาษาไทย
ข้อ ๓ ให้เพิ่มข้อ 3 (20) และข้อ 3 (21) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลาก และระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ดังนี้คือ
“ข้อ 3 (20) วัน เดือน ปี ที่ผลิต
(21) เลข หรืออักษร แสดงครั้งที่ผลิต”
ข้อ ๔ ให้ผู้ผลิต และผู้นําเข้าที่มีฉลากตามประกาศเดิมอยู่แล้วแจ้งระยะเวลาที่จะขอผ่อนผัน การใช้ฉลากเดิม ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกําหนดเวลาที่ผู้ผลิต และผู้นําเข้าได้ขอผ่อนผันไว้ ให้จัดทําฉลากตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2549
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,153 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2549 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2549
-------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วัตถุอันตรายตามประกาศนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วย เรื่อง บัญชีรายชื่อ วัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ข้อ ๒ ผู้มีความประสงค์จะดําเนินการผลิต หรือนําเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แต่ละผลิตภัณฑ์ ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ วอ./สธ 5 ท้ายประกาศนี้
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ผลิตแจ้งภายใน 15 วันนับแต่วันผลิตครั้งแรก และให้ผู้นําเข้า แจ้งก่อนนําวัตถุอันตรายออกจากด่านศุลกากรเฉพาะการนําเข้าครั้งแรกเท่านั้น
ข้อ ๓ การแจ้งข้อเท็จจริงตามข้อ 2 ให้แจ้งที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาสําหรับ ผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือแจ้งผ่านระบบสัญญาณ คอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือแจ้งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับ หรือแจ้งที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสําหรับผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิต หรือสถานที่เก็บในจังหวัดนั้น ๆ
ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ใบรับแจ้งการดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ 3 สําหรับผลิตภัณฑ์นั้นอยู่แล้ว ก่อนที่ประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ที่จัดวัตถุอันตรายดังกล่าวเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายตามประกาศฉบับนี้ แต่ต้องปรับปรุงฉลากให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2549
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,154 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 20 (2) แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 25 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 35 มาตรา 48 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศกระทรวง เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ วัตถุอันตรายในประกาศนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยา เป็นผู้รับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ข้อ ๒ ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างในประกาศนี้ หมายถึง ผู้มีหน้าที่ควบคุม การใช้วัตถุอันตรายของสถานประกอบการใช้รับจ้างป้องกันกําจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะในบ้านเรือนหรือ ทางสาธารณสุข ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบความรู้
ข้อ ๓ ผู้มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง ต้องปฏิบัติ ดังนี้
3.1 จัดให้มีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ที่มีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ํากว่า 18 ปีบริบูรณ์
(2) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานป้องกันกําจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุขไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือจบการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
(3) ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการใช้รับจ้าง
(4) ผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบความรู้ความชํานาญตามหลักสูตรการอบรม จากหน่วยงาน สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การรับรอง
(5) ผ่านการฝึกอบรมและทดสอบความรู้ตามที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยากําหนดทุก 3 ปีเพื่อต่ออายุหนังสือรับรองผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง
3.2 หลักสูตรการอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างให้เป็นไปตามที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากําหนด
3.3 หน่วยงานที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การรับรองต้องมีคุณสมบัติและสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
(1) เป็นหน่วยงานจากภาครัฐหรือภาคเอกชน
(2) สามารถจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความชํานาญในการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง
(3) สามารถจัดฝึกอบรมและทดสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยากําหนดได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(4) เป็นผู้ออกหนังสือรับรองผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างในฐานะหน่วยงานจัดฝึกอบรมและทดสอบร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
3.4 หนังสือรับรองผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ให้เป็นไปตามที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากําหนด
ข้อ ๔ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างก่อนประกาศนี้มีผลบังคับใช้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศนี้จนถึงวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2548
สุชัย เจริญรัตนกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,155 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การยกเว้นการขึ้นทะเบียนและการแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขเพื่อประโยชน์ในการลบหรือแก้คำผิด พ.ศ. 2541 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การยกเว้นการขึ้นทะเบียนและการแจ้งการดําเนินการเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขเพื่อประโยชน์
ในการลบหรือแก้คําผิด พ.ศ. 2541
------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม มาตรา 7 (2) มาตรา 20 (4) มาตรา 36 วรรคสอง และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเว้นการขึ้นทะเบียนและการแจ้งการดําเนินการ สําหรับวัตถุ อันตรายชนิดที่ 2 ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการลบหรือแก้คําผิดที่มีน้ํา เป็นตัวทําละลายหรือที่มีรูปแบบเป็นแผ่นหรือแถบที่มีลักษณะการใช้โดยไม่ต้องใช้ตัวทําละลายใดๆ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551
รักเกียรติ สุขธนะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,156 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ
พ.ศ. 2538
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม มาตรา 7 (2) และมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขโดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ วัตถุอันตรายในประกาศนี้หมายความว่า วัตถุอันตรายที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ
ข้อ ๒ วัตถุอันตรายที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราช อาณาจักรจะต้องแสดงฉลากไว้ที่หีบห่อบรรจุหรือภาชนะบรรจุ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
(1) ชื่อทางการค้า (ถ้ามี)
(2) ชื่อสามัญตามระบบ ISO หรือชื่อสามัญในระบบอื่นๆ หรือ ชื่อสามัญเคมี หากไม่สามารถระบุชื่อสามัญดังกล่าวได้ให้ระบุ ชื่อทางเคมีตามระบบ IUPAC หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสาระสําคัญ
(3) สัญลักษณ์ตาม UN Class (ถ้ามี)
(4) อัตราส่วนของสาระสําคัญ
(5) UN Number (ถ้ามี)
ข้อ ๓ วัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศ จะต้อง แสดงฉลากไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุวัตถุอันตรายทุกชิ้น ฉลากดังกล่าวจะ ต้องมีเครื่องหมายและข้อความดังต่อไปนี้
(1) ชื่อสามัญตามระบบ ISO หรือชื่อสามัญในระบบอื่นๆ หรือ ชื่อสามัญเคมี หากไม่สามารถระบุชื่อสามัญดังกล่าวได้ให้ระบุชื่อทางเคมีตามระบบ IUPAC หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสาระสําคัญ
(2) อัตราส่วนของสารสําคัญที่ผสมอยู่ในวัตถุอันตราย โดยระบุเป็นน้ําหนัก/น้ําหนัก น้ําหนัก/ปริมาตร หรือปริมาตร/ปริมาตร
(3) ชื่อทางการค้า (ถ้ามี)
(4) ประโยชน์
(5) วิธีใช้
(6) คําเตือน หรือข้อควรระวัง (ใช้อักษรทึบหรือขีดเส้นใต้)
(7) วิธีเก็บรักษา
(8) อาการเกิดพิษ (ถ้ามี)
(9) วิธีแก้พิษเบื้องต้น (ถ้ามี)
(10) คําแนะนําสําหรับแพทย์ (ถ้ามี)
(11) วันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี)
(12) การทําลายภาชนะบรรจุ (ถ้ามี)
(13) สัญลักษณ์ตาม UN hazard symbol(ถ้ามี)
(14) ทะเบียนวัตถุอันตราย (เฉพาะวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน)
(15) ขนาดบรรจุในกรณีของแข็งให้ใช้หน่วยน้ําหนัก สําหรับของเหลว ให้ใช้หน่วยปริมาตร หรือหน่วยน้ําหนักในระบบเมตริก
(16) ชื่อที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของแหล่งผลิตในประเทศ
(17) ชื่อที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้นําเข้า (ในกรณีวัตถุอันตราย นําเข้าจากต่างประเทศ)
(18) ชื่อที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ค้าส่งหรือผู้จัดจําหน่าย(ถ้ามี)
(19) เครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษ และ/หรือ อันตรายตามที่กําหนด (ถ้ามี)
ข้อ ๔ ข้อความบนฉลากในข้อ 3 ต้องมีลักษณะดังนี้
(1) ข้อความใน (2) - (2) เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
(2) ข้อความใน (3) - (18) ต้องเป็นภาษาไทย
(3) เครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษ และ/หรือ อันตรายในข้อ 3 (15) ต้องมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนและใช้สีดําหรือสีแดงเท่านั้น
(4) หากมีชื่อทางการค้าเป็นภาษาต่างประเทศ จะต้องมีขนาดไม่ และต้องมีความหมายอย่างเดียวกัน ใหญ่กว่าชื่อภาษาไทย
(5) ข้อความในฉลากถ้าจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทย ความหมายต้องตรงกับความในภาษาไทย
(6) ข้อความใน (4) - (5) และ (3) (10) อาจอยู่ในใบแทรกได้
(7) ฉลากของภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่ อาจบรรจุข้อความได้ทั้งหมด ฉลากที่จะปิดบนภาชนะดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องบรรจุ ข้อความใน (1) - (3) ส่วนข้อความอื่น ๆ จะบรรจุในใบแทรก
(8) ขนาดของตัวอักษรบนฉลากต้องไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร และเห็นได้ชัดเจน
(9) การแสดงข้อความบนฉลากของวัตถุอันตราย ต้องไม่เป็นเท็จหรือเป็นความจริง หรือในทํานองโอ้อวดสรรพคุณ
ข้อ ๕ ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย แบ่งเป็น 4 ชั้น ดังนี้
ชั้น 1 เอ พิษร้ายแรงมาก
ชั้น 1 บี พิษร้ายแรง
ชั้น 2 พิษปานกลาง
ชั้น 3 พิษน้อย
ข้อ ๖ การจําแนกระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ให้จําแนกตามดังนี้
(1) สารหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเข้มข้นใดที่มีการจําแนกไว้แล้วใน The WHO Recommended Classification of Pesticides by Hazard and Guidelines to Classification ขององค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุด ให้ถือตามที่จําแนกไว้นั้น
(2) สารหรือผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจาก (1) ให้จําแนกโดยใช้ค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน (LD) ตามตารางดังต่อไปนี้
| | |
| --- | --- |
| ชั้น | สําหรับหนูทดลอง (มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ําหนักตัว) |
| ทางปาก | ทางผิวหนัง |
| ของแข็ง | ของเหลว | ของแข็ง | ของเหลว |
| I เอ มีพิษร้ายแรงมาก I บี มีพิษร้ายแรง II มีพิษปานกลาง III มีพิษน้อย | 5หรือน้อยกว่ามากกว่า5-50มากกว่า50-500มากกว่า500 | 20หรือน้อยกว่ามากกว่า20-200มากกว่า200-2000มากกว่า2000 | 10หรือน้อยกว่ามากกว่า10-100มากกว่า100-1000มากกว่า1000 | 40หรือน้อยกว่ามากกว่า40-400มากกว่า400-4000มากกว่า4000 |
คําว่า “ของแข็ง” และ “ของเหลว” ตามตารางนี้ หมายความถึงลักษณะทาง กายภาพของสารหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเข้มข้น และผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป
(3) ค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน (LD) อาจใช้สัตว์ทดลองอื่นหรือ เกณฑ์มาตรฐานอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดใน (2) ก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะอนุกรรมการ สถานที่และทะเบียนวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขกําหนด
ข้อ ๗ ให้แสดงเครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษไว้ที่ด้านหน้าของฉลากวัตถุอันตราย ตามข้อ 5 ดังนี้
(1) วัตถุอันตรายซึ่งมีระดับความเป็นพิษอยู่ในชั้น 1 เอ ให้ใส่เครื่องหมายหัวกะโหลกกับกระดูกไขว้ และคําว่า “พิษร้ายแรงมาก” ดังภาพ
(2) วัตถุอันตรายซึ่งมีระดับความเป็นพิษอยู่ในชั้น1 บี ให้ใส่ เครื่องหมายหัวกระโหลกกับกระดูกไขว้ และคําว่า “พิษร้ายแรง” ดังภาพ
(3) วัตถุอันตรายซึ่งมีระดับความเป็นพิษอยู่ในชั้น 2 ให้ใส่ เครื่องหมายกากบาท และคําว่า “อันตราย” ดังภาพ
ข้อ ๘ ให้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจกําหนดข้อความ และวิธีการจัดทําฉลากในรายละเอียดได้เท่าที่ไม่ขัดตามประกาศนี้
การกําหนดตามวรรคหนึ่งใช้บังคับได้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๙ ให้ผู้ผลิตและผู้นําเข้าที่ยังคงมีฉลากตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 แจ้งระยะเวลาที่จะขอผ่อนผันการใช้ฉลากเดิม ภายใน 30 วันนับแต่ วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเวลาที่ผู้ผลิตและผู้นําเข้าได้ขอ ผ่อนผันไว้ ให้จัดทําฉลากตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
อาทิตย์ อุไรรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,157 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
พ.ศ. 2538
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 56 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ รูปถ่ายที่จะติดบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 2.5x3 เซนติเมตร
ข้อ ๓ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยาเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้ออกบัตร
ข้อ ๔ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอายุตามที่กําหนดในบัตร แต่ ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันออกบัตร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
อาทิตย์ อุไรรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,158 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแจ้ง การออกใบรับแจ้ง การขอต่ออายุและการต่ออายุใบรับแจ้ง การดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2556 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การแจ้ง การออกใบรับแจ้ง การขอต่ออายุและการต่ออายุใบรับแจ้ง
การดําเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
พ.ศ. 2556
-------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติ บางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดย อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ในการควบคุมวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแจ้ง การออกใบรับแจ้ง การขอต่ออายุและการต่ออายุใบรับแจ้งการดําเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2554
ข้อ ๒ วัตถุอันตรายในประกาศนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยารับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะดําเนินการผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ให้แจ้งการดําเนินการตามแบบ วอ./45 3 ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุใน แบบดังกล่าว
ข้อ ๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งการดําเนินการตามข้อ 3 แล้ว ให้ออกใบรับแจ้ง การดําเนินการเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้แจ้ง ตามแบบท้ายประกาศนี้ ดังนี้
(1) ใบรับแจ้งการดําเนินการผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามแบบ วอ./45
(2) ใบรับแจ้งการดําเนินการนําเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามแบบ วอ./สส
(3) ใบรับแจ้งการดําเนินการส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามแบบ วอ./สธ ค
(4) ใบรับแจ้งการดําเนินการมีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามแบบ วอน/สธ 4ง
ใบรับแจ้งการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่สามนับแต่ ปีที่ออกใบรับแจ้งการดาเนินการนั้น
ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งการดําเนินการ ให้ยื่นคําขอ ตามแบบ วอ. สอ 11 ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารและหลักฐานที่ระบุในแบบดังกล่าว ทั้งนี้ การขอแก้ไข เปลี่ยนแปลงชื่อทางการค้า ชื่อและปริมาณวัตถุอันตราย (สารสําคัญ) ไม่อาจกระทําได้
การอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งการดําเนินการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงไว้ ในบันทึกการแก้ไขเปลี่ยนแปลงท้ายใบรับแจ้งการดําเนินการ
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบรับแจ้งการดําเนินการ ให้ยื่นคําขอตามแบบ วอ./สธ 12 ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบดังกล่าว ภายในเก้าสิบวัน ก่อนที่ใบรับแจ้ง การดําเนินการสิ้นอายุ
การอนุญาตให้ต่ออายุใบรับแจ้งการดําเนินการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงไว้ในบันทึกการต่ออายุ ท้ายใบรับแจ้งการดําเนินการ หรือจะออกใบรับแจ้งการดําเนินการให้ใหม่ก็ได้
ข้อ ๗ การแจ้งดําเนินการ การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งการดําเนินการ และการขอต่ออายุใบรับแจ้งการดําเนินการตามประกาศนี้ ให้ยื่น ณ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ ณ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา
ข้อ ๘ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
บุญชัย สมบูรณ์สุข
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 6,159 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การกำหนดหลักสูตรอบรม และหน่วยงานอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง การกําหนดหลักสูตรอบรม และหน่วยงานอบรม
ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง
----------------------------
ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกําหนดให้ผู้มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ ไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติ และผ่านการ ฝึกอบรมและการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรและหน่วยงานที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประกาศกําหนด ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 (3) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง พ.ศ. 2550 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ หลักสูตรอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ให้เป็นไปตาม หลักสูตร ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง และหลักสูตรต่อเนื่องผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้ รับจ้าง ท้ายประกาศ
ข้อ ๒ หน่วยงานอบรมต้องมีคุณสมบัติ และสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่สามารถจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ให้การอบรม ตามหลักสูตรการอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ตามข้อ 1 ได้
(2) เป็นหน่วยงานที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกําหนด
ข้อ ๓ ให้หน่วยงานที่ประสงค์จะจัดอบรม ยื่นหนังสือเพื่อขอเป็นผู้จัดอบรมหลักสูตร ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง หรือหลักสูตรต่อเนื่องผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้ รับจ้าง ต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ก่อนการอบรมไม่น้อยกว่า 30 วัน พร้อมเอกสาร หลักฐานประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้
(1) รายชื่อวิทยากรพร้อมคุณวุฒิ
(2) แผนการจัดอบรม ระบุวัน เวลา สถานที่
(3) ตารางการอบรม เนื้อหาการอบรมตามหลักสูตร พร้อมข้อสอบหรือแบบทดสอบ (ถ้ามี)
(4) คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
(5) ค่าลงทะเบียนการอบรม โดยมีรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายการอบรมแต่ละครั้ง
ข้อ ๔ ให้หน่วยงานอบรมยื่นรายงานผลการอบรมต่อ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกอบรม
ข้อ ๕ หนังสือรับรองการอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ให้เป็นไปตาม แบบ วอ./ผค.1 ท้ายประกาศนี้ และให้มีอายุใช้ได้ 3 ปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง
ข้อ ๖ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง สามารถ สมัครเข้ารับการอบรม หลักสูตรต่อเนื่องผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ได้ภายใน 1 ปี ก่อนวันที่หนังสือรับรองหมดอายุ จากหน่วยงานที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศ กําหนด
ข้อ ๗ หนังสือรับรองการอบรมหลักสูตรต่อเนื่อง ให้เป็นไปตาม แบบวอ. ผศ.2 ท้ายประกาศ และให้มีอายุใช้ได้ 3 ปีนับแต่วันที่หนังสือรับรองเดิมหมดอายุ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | 6,160 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง ซึ่งวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2555 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนําเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง
ซึ่งวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ
พ.ศ. 2555
---------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 44 (1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (2) และมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มี บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การมีไว้ ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง และการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
ข้อ ๒ วัตถุอันตรายในประกาศนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยารับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตาม ความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ข้อ ๓ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑ การผลิต
-----------------------
ข้อ ๔ ในการผลิต ดังนี้ ให้ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
4.1 ปฏิบัติเกี่ยวกับสถานที่ อาคาร เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ และภาชนะบรรจุ ในการผลิต ดังนี้
(1) สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายต้องตั้งอยู่ในทําเลที่เหมาะสม อาคารมั่นคงแข็งแรง และมีการระบายอากาศที่เหมาะสมที่จะประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้น ๆ โดยคําถึงความปลอดภัยในการประกอบการเป็นหลัก
(2) ภายในอาคารผลิตวัตถุอันตรายควรแบ่งแยกบริเวณพื้นที่ในการผลิตแต่ละประเภท เป็นสัดส่วนโดยใช้เส้นหรือเครื่องหมายแสดงพื้นที่ให้เห็นได้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการปะปนของวัตถุ อันตราย และพื้นของส่วนการผลิตวัตถุอันตรายต้องเรียบไม่กักขังหรือดูดซับสารเคมีใด ๆ
(3) จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอแก่สภาพการทํางานในบริเวณนั้น ๆ
(4) จัดทําแผ่นป้าย “ห้ามสูบบุหรี่ ดื่มน้ํา รับประทานอาหารหรือเก็บอาหารในบริเวณที่ปฏิบัติงาน
(5) จัดให้มีสถานที่สําหรับให้ผู้ปฏิบัติงานล้างมือ ล้างหน้า ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ หรือสถานที่สําหรับให้ผู้ปฏิบัติงานเปลี่ยนเสื้อผ้า ชุดปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
(6) จัดให้มีที่อาบน้ําฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจําเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติ ของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ เพื่อทําความสะอาดร่างกายขั้นต้นเมื่อสัมผัสกับ วัตถุอันตราย
(7) สถานที่รับประทานอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ที่จัดให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ต้องแยก เป็นสัดส่วนต่างหากจากสถานที่ปฏิบัติงาน
(8) จัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ และภาชนะบรรจุ ที่เหมาะสมกับปริมาณ และการผลิตแต่ละประเภท โดยเฉพาะภาชนะบรรจุหรือถังที่ใช้ในการผลิตจะต้องไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี กับวัตถุอันตรายที่ผลิต
(9) จัดให้มีป้ายแสดงชื่อวัตถุอันตรายและสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายต่าง ๆ ตามคุณสมบัติของวัตถุอันตรายนั้น ไว้ที่อุปกรณ์การผลิตในขณะปฏิบัติงาน
(10) ทําความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละชนิดเสร็จสิ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนหรือเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ไม่ เหมาะสมเมื่อจะผลิตวัตถุอันตรายอื่นต่อไป
(11) มีวิธีการป้องกันมิให้วัตถุอันตรายรั่วไหลจากอุปกรณ์ในการผลิตในลักษณะ ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
(12) ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่รั่วไหล สะดวกต่อการขนย้าย ไม่ชํารุดเสียหาย แตกหัก หรือบุบสลายได้ง่าย และไม่มีปฏิกิริยาทางเคมีกับวัตถุอันตรายที่บรรจุอยู่ภายใน
(13) จัดให้มีระบบที่ดีและเหมาะสมเพื่อป้องกันกําจัด กลิ่น ละออง ไอระเหย ฝุ่นผงของวัตถุอันตราย โดยระบบดังกล่าวจะต้องสามารถป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่บริเวณใกล้เคียง และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคล และทรัพย์สิน
(14) ในกรณีที่มีการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ จากสถานที่ผลิตวัตถุอันตราย ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(ก) จัดให้มีถังหรือบ่อพักสําหรับกักเก็บน้ําทิ้งจากการประกอบกิจการเพื่อรอ การบําบัดหรือจัดสร้างระบบบําบัดน้ําทิ้งที่มีประสิทธิภาพโดยสามารถบําบัดน้ําทิ้งให้มีคุณลักษณะเป็นไป ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานเกี่ยวกับการระบายน้ําทิ้ง ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้ วิธีทําให้เจือจาง
(ข) จัดให้มีระบบกําจัดอากาศเสียจากการประกอบกิจการที่มีประสิทธิภาพโดยสามารถทําให้อากาศที่ระบายออกมานั้นมีปริมาณของสารเจือปนไม่เกินกว่าค่าที่กําหนดตามประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานเกี่ยวกับปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกมา ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้วิธีทําให้เจือจาง
(ค) การทําลายภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายรวมทั้งเศษเหลือของวัตถุอันตราย ต้องใช้วิธีการที่เหมาะสมกับวัตถุอันตรายและห้ามมิให้มีการทําลายสิ่งเหล่านั้นในบริเวณที่อาจก่อให้เกิด อันตรายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
4.2 จัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยสําหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ผลิต ดังนี้
(1) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามคุณสมบัติของวัตถุอันตราย เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้
(ก) เสื้อผ้าชุดปฏิบัติงาน
(ข) หมวก ถุงมือ รองเท้า
(ค) หน้ากาก และ แว่นตา ป้องกันสารเคมี
(ง) สิ่งกันเปื้อนที่ป้องกันการสัมผัสวัตถุอันตราย
(2) จัดให้มีเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet) ของวัตถุอันตราย หรือสถานที่ปฏิบัติงานนั้น
(3) จัดให้มีการอบรมชี้แจงแนะนําผู้ปฏิบัติงาน ให้เข้าใจถึงอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้ ในขณะปฏิบัติงาน วิธีระมัดระวังป้องกันอันตราย การแก้ไข และการฝึกอบรม เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน ให้พนักงานทุกคนอย่างน้อยปีละครั้ง และสารเคมีอื่นที่เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่อยู่ในสถานที่เก็บ
(4) จัดให้มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อป้องกันอันตราย จากการมีวัตถุอันตรายสะสมอยู่ในร่างกาย และถ้าเป็นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่มีสารประกอบ ออร์กาโนฟอสเฟตหรือสารคาร์บาเมต ต้องตรวจวิเคราะห์หาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสด้วยพร้อมทั้ง จัดทําทะเบียนประวัติสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานแต่ละราย และหากตรวจพบความผิดปกติอันเนื่องจากการ ปฏิบัติงานกับวัตถุอันตราย ต้องจัดให้ผู้นั้นได้รับการรักษาหรือไปปฏิบัติงานอื่นตามความเหมาะสม
(5) ในกรณีเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน หรือเมื่อมีวัตถุอันตรายรั่วไหลหรือฟุ้งกระจาย ผู้ผลิตหรือผู้ซึ่งควบคุมการปฏิบัติงานต้องให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทํางานในบริเวณนั้นหรือบริเวณใกล้เคียงหยุดทํางานและออกไปให้พ้นรัศมีที่อาจได้รับอันตรายและดําเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและแก้ไขโดยมิชักช้า
(6) จัดให้มีเครื่องปฐมพยาบาลพร้อมทั้งคําแนะนําวิธีปฐมพยาบาลที่เหมาะสมกับ ประเภทของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ
4.3 จัดให้มีบันทึกการผลิตวัตถุอันตรายแต่ละครั้งของการผลิต โดยแบบบันทึกการผลิต อย่างน้อยต้องแสดง วัน เดือน ปีที่ผลิต ชื่อผลิตภัณฑ์ เลขที่ครั้งที่ผลิต ปริมาณการผลิต ปริมาณ วัตถุดิบที่ใช้พร้อมรุ่นที่ผลิต (ถ้ามี) และลายมือชื่อของผู้ควบคุมในการผลิต และให้เก็บบันทึกการผลิตไว้ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
4.4 ให้แจ้งปริมาณการผลิตวัตถุอันตรายในรอบหนึ่งปีปฏิทินให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ทราบภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ตามแบบ วอ./สธ 13 ท้ายประกาศนี้ โดยวิธีการแจ้ง อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) แจ้ง ณ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้ และให้ถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราลงทะเบียนเป็นวันแจ้ง
(2) แจ้งผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
4.5 จัดให้มีฉลากขนาดใหญ่พอสมควรไว้ที่หีบห่อสําหรับการขนส่งโดยให้เป็นไปตามประกาศ มติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545
ข้อ ๕ ให้ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ต้องจัดให้มีการควบคุมและการตรวจสอบพร้อมทั้งการบันทึกไว้ ดังต่อไปนี้
5.1 การควบคุมและการตรวจสอบกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้
5.2 การตรวจสอบภาชนะบรรจุทั้งก่อนและหลังจากที่บรรจุวัตถุอันตรายแล้วให้อยู่ใน สภาพที่เรียบร้อยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.1 (12)
5.3 การตรวจสอบฉลากที่จะปิดบนภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายให้ถูกต้องตรงตามประเภท ของวัตถุอันตรายที่ผลิต และติดแน่นบนภาชนะบรรจุแต่ละชนิดโดยไม่หลุดง่าย เพื่อมิให้ปิดฉลากผิด
ให้จัดเก็บบันทึกการควบคุมและการตรวจสอบตามข้อ 5 ไว้รวมกับบันทึกการผลิตตาข้อ 4.3 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อเป็นหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
หมวด ๒ การนําเข้า
---------------------
ข้อ ๖ ให้ผู้นําเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 แจ้งปริมาณวัตถุอันตราย ที่นําเข้าและให้ผ่านการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยาของสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา
ข้อ ๗ ขณะนําเข้าให้ผู้นําเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 จัดให้มีใบรับรองผล วิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่นําเข้าแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยา และให้จัดเก็บใบรับรองผลวิเคราะห์ไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อเป็น หลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
หมวด ๓ การส่งออก
---------------------
ข้อ ๘ ให้ผู้ส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 แจ้งปริมาณวัตถุอันตรายที่ส่งออกใน รอบหนึ่งปีปฏิทินให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ตามแบบ วอ/สธ 14. ท้ายประกาศนี้ โดยวิธีการแจ้งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
8.1 แจ้ง ณ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ตอบรับก็ได้และให้ถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราลงทะเบียนเป็นวันแจ้ง
8.2 แจ้งผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
หมวด ๔ การมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง
-------------------------
ข้อ ๙ ให้ผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้างซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
9.1 ปฏิบัติเกี่ยวกับบุคลากรและการให้บริการ ดังนี้
(1) จัดให้มีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง โดยให้เป็นไปตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา 20 (2) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
(2) จัดให้มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ที่ถูกต้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ และเข้าใจถึงพิษภัยของวัตถุอันตรายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดให้มีหลักฐานการเข้ารับ การอบรมของผู้ปฏิบัติงานไว้ด้วย
(3) จัดให้มีการปฏิบัติตามข้อความของฉลากด้วยความระมัดระวัง มิให้เกิดอันตรายแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ และสิ่งแวดล้อม
(4) ต้องสื่อสารข้อมูลความเป็นอันตราย หรือให้แจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ใช้ปฏิบัติงานให้บริการหรือครอบครองแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ เช่น การส่งมอบฉลาก เอกสาร ข้อมูลความปลอดภัย หรือรายละเอียดของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายตามที่ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าจัดทําขึ้น
(5) ใช้วัตถุอันตรายที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีฉลากที่ครบถ้วนและตรงตาม วัตถุประสงค์ของวัตถุอันตรายชนิดนั้น ๆ
(6) จัดให้มีภาชนะหรือเครื่องมือที่เหมาะสมและปลอดภัยสําหรับแบ่งวัตถุอันตราย ที่จะนําไปใช้ พร้อมทั้งระบุชื่อวัตถุอันตรายให้เห็นชัดเจนไว้บนภาชนะที่ใช้ประจํากับวัตถุอันตรายชนิดนั้น และมีภาชนะรองรับป้องกันการหกรดขณะแบ่งถ่ายวัตถุอันตราย
(7) ดูแลรักษา ทําความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย มิให้มีการรั่วไหลของวัตถุอันตรายออกจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ขณะใช้งาน
(8) ต้องจัดการกับวัตถุอันตรายที่เหลือใช้แล้ว ภาชนะบรรจุ สิ่งที่สัมผัสกับวัตถุอันตราย ให้ถูกต้องและปลอดภัยตามประเภทของวัตถุอันตรายนั้น ๆ โดยคํานึงถึงวิธีการที่ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ระบุไว้
(9) จัดให้มีการป้องกันกําจัดกลิ่น ละออง ไอระเหยของวัตถุอันตราย มิให้เกิด เหตุเดือดร้อนรําคาญหรืออันตรายต่อผู้อยู่ข้างเคียง บุคคลหรือทรัพย์สิน และจัดให้มีแผ่นป้ายคําว่า “อันตรายห้ามเข้า” หรือ “สถานที่มีการใช้วัตถุอันตราย” ขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนสําหรับปิดแสดงไว้ บริเวณทางเข้าสถานที่ พื้นที่อาคาร ที่มีการใช้วัตถุอันตรายในการใช้รับจ้าง
(10) จัดให้มีวัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและปริมาณเพียงพอในการดูดซับวัตถุอันตราย ที่อาจรั่วไหล เช่น ขี้เลื่อย ทราย เป็นต้น และนําไปกําจัดทําลายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
(11) จัดให้มีสบู่และน้ําไว้ให้ผู้สัมผัสวัตถุอันตรายใช้ชําระล้าง
(12) ให้ผู้อยู่อาศัยและสัตว์เลี้ยงออกจากบริเวณที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ วัตถุอันตรายดังกล่าวขณะปฏิบัติงาน
9.2 จัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) จัดให้มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้
(ก) เสื้อผ้าชุดปฏิบัติงาน
(ข) หมวก ถุงมือ รองเท้า
(ค) หน้ากาก และแว่นตาป้องกันสารเคมี
(ง) สิ่งกันเปื้อนที่ป้องกันการสัมผัสวัตถุอันตราย
(2) จัดให้มีชุดปฐมพยาบาล พร้อมทั้งคําแนะนําวิธีการปฐมพยาบาล ให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นจะได้ใช้ทันที
(3) จัดให้มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อป้องกัน อันตรายจากการมีวัตถุอันตรายสะสมอยู่ในร่างกาย และถ้าเป็นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่มี สารประกอบออร์กาโนฟอสเฟตหรือสารคาร์บาเมต ต้องตรวจวิเคราะห์หาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสด้วย พร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานแต่ละราย และหากตรวจพบความผิดปกติ อันเนื่องจากการปฏิบัติงานกับวัตถุอันตราย ต้องจัดให้ผู้นั้นได้รับการรักษาหรือไปปฏิบัติงานอื่นตามความ เหมาะสม
9.3 จัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับความปลอดภัยและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานดังนี้
(1) จัดทําสัญญาในการให้บริการเป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อยต้องแสดง รายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่ใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย รายชื่อวัตถุอันตราย ที่ใช้พร้อมเลขทะเบียนวัตถุ ที่ใช้พร้อมเลขทะเบียนวัตถุอันตราย รวมทั้งอาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษและคําเตือน
(2) จัดให้มีเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet) และข้อแนะนํา ความปลอดภัย เช่น คําเตือน วิธีป้องกัน อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษ ประจํายานพาหนะขณะขนส่งวัตถุ อันตรายทุกชนิด
(3) จัดให้มีเอกสารแสดงวิธีการใช้ การป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่บุคคล สัตว์พืช ทรัพย์ และสิ่งแวดล้อม
(4) จัดให้มีบันทึกเกี่ยวกับสถานที่ที่ไปให้บริการโดยอย่างน้อยประกอบด้วยวันที่ ให้บริการ ชื่อผู้ว่าจ้าง ชื่อผลิตภัณฑ์และเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ปริมาณที่ใช้ อัตราส่วนการผสม ที่ตั้งสถานที่ไปให้บริการ และชื่อผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ให้เก็บบันทึกไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
หมวด ๕ การเก็บรักษา
-----------------------
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 หรือผู้ส่งออก ผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้างวัตถุอันตราย ชนิดที่ 6 หรือชนิดที่ 3 ต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
10.1 ต้องมีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่สามารถป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญ และเกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ และสิ่งแวดล้อม
10.2 ต้องมีที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเฉพาะตามคุณสมบัติของวัตถุอันตรายมีขนาด และลักษณะเหมาะสมกับคุณสมบัติและปริมาณที่ขออนุญาต สะดวกแก่การขนย้ายวัตถุอันตรายเข้า ออก
10.3 ในบริเวณทางเข้าอาคารหรือส่วนของอาคารที่เป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย ให้มีแผ่นป้ายคําว่า “วัตถุอันตราย” ด้วยอักษรสีแดงบนพื้นสีขาว โดยแผ่นป้ายและตัวอักษรต้องมีขนาด ที่เหมาะสมและเห็นได้ชัดเจน
10.4. ในบริเวณที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย ต้องจัดให้มีแผ่นป้ายคําเตือนถึงอันตราย โดยมีข้อความของแผ่นป้ายคําเตือนตามท้ายประกาศนี้ และจัดให้มีสัญลักษณ์แสดงอันตรายของวัตถุ อันตรายอันเป็นที่ทราบโดยทั่วไป เช่น สัญลักษณ์สารกัดกร่อน สารไวไฟ สารพิษ เป็นต้น
10.5. จัดให้มีเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet) ของวัตถุ อันตรายที่อยู่ในสถานที่เก็บหรือสถานที่ปฏิบัติงานนั้น
10.6 ในกรณีเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน หรือเมื่อมีวัตถุอันตรายรั่วไหลหรือ ฟุ้งกระจาย ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก ผู้มีไว้ในครอบครอง หรือผู้ซึ่งควบคุมการปฏิบัติงาน ต้องให้ผู้ปฏิบัติงาน ทุกคนที่ทํางานในบริเวณนั้น หรือบริเวณใกล้เคียงหยุดทํางานและออกไปให้พ้นรัศมีที่อาจได้รับอันตราย และดําเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและแก้ไขโดยมิชักช้า
10.7 จัดให้มีการอบรมชี้แจงแนะนําผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้ ในขณะปฏิบัติงาน วิธีระมัดระวังป้องกันอันตราย การแก้ไข และการฝึกอบรมเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินให้ พนักงานทุกคนอย่างน้อยปีละครั้ง
10.8 จัดให้มีที่อาบน้ําฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจําเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติ และปริมาณของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ เพื่อทําความสะอาดร่างกายขั้นต้นเมื่อสัมผัส กับวัตถุอันตราย
10.9 จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามความจําเป็นและเหมาะสมกับ การปฏิบัติงานและต้องมีมาตรการสําหรับการดูแลรักษาเครื่องป้องกันอันตรายดังกล่าวให้อยู่ในสภาพ เรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
10.10 จัดให้มีเครื่องปฐมพยาบาลพร้อมทั้งคําแนะนําวิธีปฐมพยาบาลที่เหมาะสมกับประเภทของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ
10.11 จัดให้มีเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ สําหรับป้องกัน ควบคุม ระงับ หรือบรรเทาอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นตามความจําเป็นและเหมาะสมกับประเภทของวัตถุอันตรายและขนาด ของการประกอบกิจการ และต้องมีมาตรการสําหรับการดูแลรักษาเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ดังกล่าว ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
หมวด ๖ การขนส่ง
--------------------
ข้อ ๑๑ ในการขนส่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ให้ปฏิบัติตามประกาศ มติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วิทยา บุรณศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,161 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม มาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับ วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2558
ข้อ ๒ วัตถุอันตรายตามประกาศนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ ตามประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ดังต่อไปนี้
(1) วัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่นํา มาใช้เพื่อประโยชน์แก่การระงับ ป้องกัน ควบคุม ไล่ กําจัดแมลงและสัตว์อื่น ดังต่อไปนี้
1.1 ACETOPHENONE-4-METHOXY-3-METHYL
1.2 ALDRIN
1.3 ARSENIC TRIOXIDE
1.4 BHC
1.5 n-BUTYL-dl-MALATE
1.6 CHLORDANE
1.7 CHLORDECONE
1.8 CYCLOHEXIMIDE
1.9 DIELDRIN
1.10 DIETHYLENE GLYCOL MONOBUTYL ETHER ACETATE
1.11 2,4-DINITROANISOLE
1.12 ENDRIN
1.13 HEPTACHLOR
1.14 LEAD ARSENATE
1.15 p-METHOXYBENZYL ALCOHOL
1.16 MIREX
1.17 METHOXYCHLOR
1.18 NALED
1.19 OXYDEMETON-METHYL
1.20 PARIS GREEN
1.21 PENTACHLOROPHENATE SODIUM
1.22 PENTACHLOROPHENOL AND ITS SALTS
1.23 PHOSMET
1.24 2-PHENYLCYCLOHEXANOL
1.25 THALLIUM SULFATE
(2) วัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่นํา มาใช้เพื่อประโยชน์ในการกําจัดสัตว์แทะ ดังต่อไปนี้
2.1. FLUOROACETAMIDE
2.2 FLUOROACETATE SODIUM
(3) วัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้เพื่อขัดขวางระบบการทํางานของร่างกายเป็นการชั่วคราวเพื่อการป้องกันตัวหรือทําร้ายผู้อื่น ดังต่อไปนี้
3.1 n-BUTYL MERCAPTAN
3.2 sec-BUTYL MERCAPTAN
3.3 tert-BUTYL MERCAPTAN
3.4 CAPSAICIN
3.5 ETHANETHIOL
3.6 PAVA
3.7 SKUNK OIL
(4) ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสําคัญที่ใช้เพื่อขัดขวางระบบการทํางานของร่างกาย เป็นการชั่วคราวเพื่อการป้องกันตัวหรือทําร้ายผู้อื่น
(5) วัตถุอันตรายที่ใช้เป็นสารขับดันในผลิตภัณฑ์สําหรับฉีดหรือพ่นดังต่อไปนี้
5.1 CHLOROFLUOROCARBONS ยกเว้นในผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์ที่ทําให้ผิวหนังเย็น
5.2 VINYL CHLORIDE MONOMER
(6) METHANOL ในผลิตภัณฑ์สําหรับฉีดหรือพ่นและในผลิตภัณฑ์ที่การใช้ ต้องสัมผัสกับผิวหนังหรืออาหาร
(7) METHANOL>1% W/V ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบ อาหารหรืออุ่นอาหาร
(8) DYES ในผลิตภัณฑ์อาหารหรือผสมอาหาร
(9) CARBON TETRACHLORIDE (TETRACHLOROMETHANE)ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ในการลบหรือแก้คําผิด หรือเพื่อละลายสารเคมีที่ใช้ลบหรือแก้คําผิด หรือซักแห้งผ้า หรือสิ่งทออื่นๆ
ข้อ ๓ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตามความในมาตรา 43
(1) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(2) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(3) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
(4) รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
(5) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
(6) นักวิชาการอาหารและยา 10 ชช. ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(7) นักวิชาการอาหารและยา 10 ชช. ด้านความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์และการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(8) เภสัชกร 5 วช. ด้านความปลอดภัยของวัตถุอันตราย
(9) นักวิชาการอาหารและยา 9 ชช. ด้านพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
(10) สาธารณสุขนิเทศ
(11) ผู้อํานวยการกองควบคุมวัตถุมีพิษ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(12) ผู้อํานวยการกองสารวัตร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(13) นักวิชาการอาหารและยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(14) เภสัชกร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
กร ทัพพะรังสี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,162 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545
----------------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไข ปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2553 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้วัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขตามรายชื่อ ต่อไปนี้เป็นวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2543
1. 4-AMINODIPHENYL
2. AMITROLE
3. ASBESTOS-AMOSITE
4. BENZIDINE
5. BIS (CHLOROMETHYL) ETHER
6. CADMIUM and CADMIUM COMPOUNDS
7. CALCIUM ARSENATE
8. CHLORANIL
9. CHLOROBENZILATE
10. COPPER ARSENATE HYDROXIDE
11. 1,2-DIBROMO-3-CHLOROPROPANE (DBCP)
12. 0-DICHLOROBENZENE
13. DI (PHENYLMERCURY) DODECENYL SUCCINATE [DI (PHENYLMERCURY) DODECENYL-3-SUCCINATE]
14. EDB (ETHYLENE DIBROMIDE)
15. EPN
16. ETHYLENE OXIDE (1,2-EPOXYETHANE)
17. ETHYL HEXYLENEGLYCOL (ETHYL HEXANE DIOL)
18. beta-HCH (1,3,5/2,4,6-HEXACHLOROCYCLOHEXANE)
19. HEXACHLOROBENZENE
20. METHAMIDOPHOS
21. MGK REPELLENT-11
22. NAPHTHYLAMINE
23. 4-NITRODIPHENYL
24. PARAQUAT DICHLORIDE
25. PARATHION-METHYL
26. PHENYLMERCURIC OLEATE (PMO)
27. PHENYLMERCURY ACETATE
28. PHOSPHORUS
29. POLYBROMINATED BIPHENYLS (PBBS)
30. POLYCHLORINATED TRIPHENYLS (PCTS)
31. PYRINURON (PIRIMINIL)
32. SAFROLE
33. SCHRADAN (OCTAMETHYLPYROPHOSPHORAMIDE, OMPA)
34. SILVEX
35. STROBANE (POLYCHLOROTERPENES)
36. 2,4,5-TCP (2,4, 5-TRICHLOROPHENOL)
37. TDE or DDD [1,1-DICHLORO-2,2-bis (4-CHLOROPHENYL) ETHANE]
38 TRI (2,3-DIBROMOPROPYL) PHOSPHATE
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,163 |
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2547 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2547
--------------------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 ให้เหมาะสม ยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุ อันตราย พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตราย อันดับที่ 17, 29 และ 30 ในประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“17. ETHYL HEXYLENEGLYCOL (ETHYL HEXANE DIOL:ETHOHEXADIOL)
29. POLYBROMINATED BIPHENYLS (PBBs).
29/1 DECABROMOBIPHENYL
29/2 HEXABROMOBIPHENYL
29/3 OCTABROMOBIPHENYL
30. POLYCHLORINATED TERPHENYL (PCT)"
ข้อ ๒ ให้เพิ่มรายชื่อวัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขที่นํามาใช้ เพื่อประโยชน์แก่การระงับ ป้องกัน ควบคุม ไล่ กําจัดแมลงและสัตว์อื่น ดังต่อไปนี้ เป็นลําดับที่ 1.26 ถึง 1.53 ในข้อ 2 (1) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2553
“1.26 ALDICARB
1.27 ANTU
1.28 CALOMEL
1.29 CAPTAFOL
1.30 CHLORDIMEFORM
1.31 DDT
1.32. DICOFOL
1.33 DICROTOPHOS
1.34 DINOSEB AND DINOSEB SALTS
1.35 ENDOSULFAN
1.36 ETHION
1.37 ETHYLENE DICHLORIDE
1.38. ISAZOFOS
1.39 ISOBENZAN
1.40 ISODRIN
1.41. KELEVAN
1.42 METHYL BROMIDE; (BROMOMETHANE)
1.43 MEVINPHOS
1.44 MONOCROTOPHOS
1.45 OMETHOATE
1.46 PARATHION
1.47 PHENTHOATE
1.48 PHOSPHAMIDON
1.49 PHOSPHINE
1.50 QUINTOZENE; (PCNB)
1.51 TETRACHLOROETHANE; (ACETYLENE TETRACHLORIDE; 9, 9, 5, 5 TETRACHLOROETHANE)
1.52 TOXAPHENE; (CAMPHECHLOR)
1.53 1,1,1-TRICHLOROETHANE (METHYL CHLOROFORM)"
ข้อ ๓ ให้เพิ่มรายชื่อวัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขที่นํามาใช้ เพื่อประโยชน์ในการกําจัดสัตว์แทะ ดังต่อไปนี้ เป็นลําดับที่ 2.3 ถึง 2.5 ในข้อ 2 (2) ของ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2553
“2.3 CRIMIDINE
2.4 FLUOROACETIC ACID AND ITS SALTS
2.5 ZINC PHOSPHIDE"
ข้อ ๔ ให้เพิ่มข้อความดังต่อไปนี้ เป็นข้อ 2 (10) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2553
“(10) วัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ดังต่อไปนี้
10.1 DINITROCRESOL; (DNOC)
10.2 HYDROCYANIC ACID; (HYDROGEN CYANIDE)"
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2547
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | 6,164 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1011/ว 3 เรื่อง แบบตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 | ที่ นร 1011/ว 3
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
เรื่อง แบบตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบที่สํานักงาน ก.พ. กําหนด (ดว.1 - ดว.6) จํานวน 6 ฉบับ
อื่นๆ - โดยที่กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 หมวด 4 การดําเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 31 ข้อ 40 และข้อ 53 หมวด 6 การสั่งยุติเรื่อง ลงโทษ หรืองดโทษ ข้อ 66 ข้อ 69 ข้อ 71 และข้อ 72 หมวด 7 การมีคําสั่งใหม่กรณีมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ข้อ 74 และหมวด 8 การสั่งพักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน ข้อ 92 กําหนดให้แบบคําสั่งและแบบการสอบสวนทางวินัยต้องมีสาระสําคัญตามที่สํานักงาน ก.พ. กําหนด
สํานักงาน ก.พ. จึงได้กําหนดแบบคําสั่งและแบบการสอบสวนทางวินัยตามหวด 4 การดําเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 31 ข้อ 40 และข้อ 53 รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
สําหรับแบบคําสั่งอื่น ในระหว่างที่สํานักงาน ก.พ. ยังมิได้กําหนด ให้นําแบบคําสั่งที่กําหนดไว้ในกฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎ ก.พ. นี้ โดยแบบคําสั่งดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญ ดังนี้
หมวด 6 การสั่งยุติเรื่อง ลงโทษ หรืองดโทษ ต้องมีสาระสําคัญตามข้อ 66 ข้อ 69 ข้อ 71 หรือข้อ 72
หมวด 7 การมีคําสั่งใหม่กรณีมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ต้องมีสาระสําคัญตามข้อ 74
หมวด 8 การสั่งพักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน ต้องมีสาระสําคัญตามข้อ 82 ข้อ 84 หรือข้อ 91
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือเป็นหลักในการปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักมาตรฐานวินัย
โทร. 0 2547 1628
โทรสาร 0 2547 1625 | 6,165 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 1 เรื่อง การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ | ที่ นร 1006/ว 1
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
14 มีนาคม 2551
เรื่อง การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว 12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
3. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 34 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547
4. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 35 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
5. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
อื่นๆ - โดยที่ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยบําเหน็จความชอบสําหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550 ข้อ 20 และข้อ 21 กําหนดให้หน่วยงานของรัฐนับระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นทวีคูณ สําหรับใช้ในการคํานวณระยะเวลาการดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลแต่ละประเภทกําหนด และให้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้าในตําแหน่งด้วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญกําลังใจและแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องปฏิบัติงานในภาวะไม่ปกติ ประกอบกับแนวทางการบริหารงานบุคคลในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) ตามหนังสือที่อ้างถึง 4 ได้สิ้นผลลงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เนื่องจากได้มีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของระเบียบข้างต้น และสนับสนุนให้การบริหารงานบุคคลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคล่องตัวและเหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 และมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 131 และมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงมีมติให้กําหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลสําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งได้รับคําสั่งจากทางราชการให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
1. การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้น
ให้ส่วนราชการนับระยะเวลาที่ข้าราชการพลเรือนสามัญได้ปฏิบัติหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นทวีคูณทุกตําแหน่งและทุกสายงาน สําหรับใช้คํานวณระยะเวลาในทุกกรณี เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้นได้
2. หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกและแต่งตั้ง
2.1 กรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
(1) ตําแหน่งสําหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ตําแหน่งประเภททั่วไป) และตําแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
ให้ส่วนราชการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลตามความเหมาะสม โดยพิจารณาคัดเลือกจากความรู้ ความสามารถ ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา และ/หรือข้อเสนอแนวคิด วิธีการพัฒนา/การแก้ปัญหางานที่ดําเนินการอยู่ในพื้นที่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาจกําหนดให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดําเนินการคัดเลือกก็ได้ โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในหนังสือที่อ้างถึง 5 และเมื่อคัดเลือกได้บุคคลที่เหมาะสมแล้ว ให้แต่งตั้งได้
(2) ตําแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติงานโดยอาศัยความรู้ ความชํานาญและประสบการณ์เฉพาะตัว สําหรับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และระดับ 2
ให้ส่วนราชการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลตามความเหมาะสม โดยพิจารณาคัดเลือกจากความรู้ ความสามารถ และผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ทั้งนี้ อาจกําหนดให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดําเนินการคัดเลือกก็ได้ โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในหนังสือที่อ้างถึง 3 และเมื่อคัดเลือกได้บุคคลที่เหมาะสมแล้ว ให้แต่งตั้งได้
(3) คุณสมบัติของผู้ได้รับแต่งตั้ง
- มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง
- มีระยะเวลาขั้นต่ําในการดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งหรือสายงานอื่นที่มีลักษณะงานเกี่ยวข้องหรือเกื้อกูลกัน ตามคุณวุฒิของบุคคลและระดับตําแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่กําหนดในหนังสือที่อ้างถึง 3 หรือ 5 สําหรับการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตาม (1) ไม่จําเป็นต้องมีระยะเวลาการดํารงตําแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง (ต้นทุน)
- มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และ/หรือมีคุณวุฒิเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กําหนด (ถ้ามี)
2.2 กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม
(1) ตําแหน่งสําหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ตําแหน่งประเภททั่วไป) ตําแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ และตําแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
ให้ส่วนราชการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลตามความเหมาะสม โดยพิจารณาคัดเลือกจากความรู้ ความสามารถ และผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในหนังสือที่อ้างถึง 2 และ 5 และเมื่อคัดเลือกได้บุคคลที่ีเหมาะสมแล้วให้แต่งตั้งได้
(2) ตําแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติงานโดยอาศัยความรู้ความชํานาญและประสบการณ์เฉพาะตัว สําหรับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และระดับ 2
ให้ส่วนราชการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลตามความเหมาะสม โดยพิจารณาคัดเลือกจากความรู้ ความสามารถ และผลการปฏิบัติงานที่ผานมาโดยไม่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในหนังสือที่อ้างถึง 3 และเมื่อคัดเลือกได้บุคคลที่เหมาะสมแล้วให้แต่งตั้งได้
(3) การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 6 ขึ้นไปสําหรับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ถ้าผู้นั้นไม่เคยดํารงตําแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 มาก่อน แต่ตําแหน่งที่ดํารงอยู่นั้นมีหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติคล้ายคลึงกับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง เช่น สายงานเจ้าหน้าที่บริหารงานส่งเสริมสหกรณ์กับสายงานนักวิชาการสหกรณ์ เป็นต้น ก็ให้แต่งตั้งได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามหนังสือที่อ้างถึง 1
(4) คุณสมบัติของผู้ได้รับแต่งตั้ง
- มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง
- มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และ/หรือมีคุณวุฒิเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กําหนด (ถ้ามี)
3. การดําเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 ส่วนราชการอาจมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดําเนินการแทนได้
4. สําหรับพนักงานราชการหรือข้าราชการตามกฎหมายอื่นที่ประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งตามข้อ 2
5. ให้ทุกส่วนราชการสนับสนุนและส่งเสริมให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีโอกาสก้าวหน้าในตําแหน่ง ถ้าผู้ใดมีคุณสมบัติครบถ้วน และมีความเหมาะสม ก็ให้เร่งดําเนินการคัดเลือกโดยเร็ว และเมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว ควรต้องให้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่มีเหตุผลความจําเป็นเป็นพิเศษ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดต่าง ๆ ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977
โทรสาร 0 2282 7316 | 6,166 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1001/ว 2 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.พ.สามัญ | ที่ นร 1001/ว 2
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
10 เมษายน 2551
เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.พ.สามัญ
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยมีส่วนราชการหลายแห่งได้หารือไปยัง สํานักงาน ก.พ.ว่า เมื่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับในวันที่ 26 มกราคม 2551 แล้ว อนุกรรมการใน อ.ก.พ.สามัญ คือ อ.ก.พ.กระทรวง อ.ก.พ.ทําหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ.จังหวัด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้หรือไม่
สํานักงาน ก.พ.ขอเรียนว่า แม้ปัจจุบันบทบัญญัติในลักษณะ 1 ที่บัญญัติเกี่ยวกับ อ.ก.พ.สามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ก.พ. ยังมิได้ออกกฎ ก.พ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตามมาตรา 15 (1) และ (2) มาตรา 17 (1) และ (2) และมาตรา 19 (1) และ (2) วาระการดํารงตําแหน่ง และจํานวนขั้นต่ําของอนุกรรมการดังกล่าวตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตลอดจนบทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ยังไม่มีผลใช้บังคับ ในขณะนี้ส่วนราชการต่าง ๆ จึงยังไม่สามารถดําเนินการแต่งตั้ง อ.ก.พ.สามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้
อย่างไรก็ดี โดยที่มาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 บัญญัติให้ อ.ก.พ.สามัญซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง อ.ก.พ.สามัญ ตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น อ.ก.พ.สามัญ ที่ทําหน้าที่อยู่ในวันที่ 25 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ใช้บังคับ จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง อ.ก.พ.สามัญ ใหม่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
อนึ่ง ในกรณีที่ อ.ก.พ.สามัญ ของส่วนราชการใดมีจํานวนอนุกรรมการใน อ.ก.พ.เหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่งจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้แล้ว ก็ให้ส่วนราชการนั้นเสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - กองนิติการ
โทร. 0 2547 1558 - 70
โทรสาร 0 2547 1571 | 6,167 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1011/ว 1 เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 | ที่ นร 1011/ว 1
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
13 มกราคม พ.ศ.2557
เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 130 ตอนที่ 126 ก วันที่ 27 ธันวาคม 2556 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักมาตรฐานวินัย
โทร. 0 2547 1628
โทรสาร 0 2547 1625 | 6,168 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1011/ว 2 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งประธานกรรมการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 | ที่ นร 1011/ว 2
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
เรื่อง กําหนดตําแหน่งประธานกรรมการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - โดยที่กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 หมวด 4 การดําเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ 18 กําหนดว่า ในขณะที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ประธานกรรมการต้องดํารงตําแหน่งตามที่ ก.พ. กําหนด
ก.พ. จึงมีมติกําหนดตําแหน่งประธานกรรมการที่แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนสามัญดังต่อไปนี้
1. กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือระดับกรมที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
1.1 ประเภทบริหารระดับสูง ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับเดียวกับผู้ถูกกล่าวหา หรือ
1.2 ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในส่วนราชการอื่น
2. กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตําแหน่งอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน 1 หรือประเภทบริหารระดับต้น ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
2.1 ประเภทบริหารระดับไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา หรือ
2.2 ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในส่วนราชการอื่น
3. กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
3.1 ประเภทบริหารทุกระดับ หรือ
3.2 ประเภทอํานวยการระดับไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา หรือ
3.3 ประเภทวิชาการระดับไม่ต่ํากว่าเชี่ยวชาญในส่วนราชการอื่น
4. กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
4.1 ประเภทบริหารระดับสูง หรือ
4.2 ประเภทอํานวยการระดับไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา หรือ
4.3 ประเภทวิชาการระดับไม่ต่ํากว่าระดับเชี่ยวชาญ หรือ
4.4 ประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษในส่วนราชการอื่น
5. กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
5.1 ประเภทบริหารระดับสูง หรือ
5.2 ประเภทวิชาการระดับไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา
6. กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญลงมา ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
6.1 ประเภทบริหารทุกระดับ หรือ
6.2 ประเภทอํานวยการระดับสูง หรือ
6.3 ประเภทอํานวยการระดับต้น สําหรับกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ระดับชํานาญการพิเศษลงมา หรือ
6.4 ประเภทวิชาการระดับไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา และไม่ต่ํากว่าระดับชํานาญการ หรือ
6.5 ประเภททั่วไปไม่ต่ํากว่าระดับอาวุโส สําหรับกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ระดับชํานาญการลงมา
7. กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไปทุกระดับ ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
7.1 ประเภทบริหารทุกระดับ หรือ
7.2 ประเภทอํานวยการระดับสูง หรือ
7.3 ประเภทอํานวยการระดับต้น สําหรับกรณีกล่าวหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ระดับอาวุโสลงมา หรื
7.4 ประเภทวิชาการระดับไม่ต่ํากว่าระดับเชี่ยวชาญ หรือ
7.5 ประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษ สําหรับกรณีผู้ถูกกลา่วหาเป็นผู้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ระดับอาวุโสลงมา หรือ
7.6 ประเภทวิชาการระดับชํานาญการ สําหรับกรณีผู้ถูกกล่าวหาตําแหน่งตั้งแต่ระดับชํานาญงานลงมา หรือ
7.7 ประเภททั่วไประดับไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา และไม่ต่ํากว่าระดับชํานาญงาน
ในกรณีที่แต่งตั้งประธานกรรมการจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนนอกจากที่กล่าวข้างต้น ประธานกรรมการต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับไม่ต่ํากว่าหรือเทียบได้ไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา โดยให้นําหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 30 ลงวันที่ 15 กันยายน 2553 เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาใช้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎ ก.พ. นี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือเป็นหลักในการปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักมาตรฐานวินัย
โทร. 0 2547 1628
โทรสาร 0 2547 1625 | 6,169 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 4 เรื่อง การกำหนดคุณสมบัติของบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ และการรับเงินประจำตำแหน่ง | ที่ นร 1006/ว 4
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
24 มีนาคม พ.ศ.2557
เรื่อง การกําหนดคุณสมบัติของบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ และการรับเงินประจําตําแหน่ง
เรียน (เวียน กระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 7ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 16 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2552
3. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
4. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
5. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006๖/ว 18 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
6. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 12 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2554
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 แจ้งมติ ก.พ. กําหนดแนวทางดําเนินการในการย้าย การโอน
การเลื่อน และการบรรจุกลับตามมาตรา 63 มาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. หรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการดําเนินการในเรื่องดังกล่าวกรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการและระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 3 และการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 4 และแจ้งมติ ก.พ. กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจําตําแหน่งสําหรับตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ และระดับทรงคุณวุฒิ ประการหนึ่งว่า ต้องผ่านการประเมินคุณสมบัติและผลงานจากส่วนราชการหรือ ก.พ. ตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กําหนดไว้ สําหรับใช้ในการประเมินเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 7 (วิชาชีพเฉพาะ) เดิม หรือตําแหน่งระดับ 11 (เชี่ยวชาญเฉพาะ/วิชาชีพเฉพาะ) เดิม แล้วแต่กรณี ตามหนังสือที่อ้างถึง 5 มาเพื่อทราบ และถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
โดยที่ ก.พ. ได้ปรับปรุงมาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ของตําแหน่งในสายงานที่กําหนดคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาในสาขาวิชาหรือทางใดทางหนึ่งไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง โดยปรับลดระยะเวลาการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการศึกษาในบางสาขาวิชาตามหนังสือที่อ้างถึง 6 ดังนั้น ก.พ. จึงมีมติกําหนดคุณสมบัติของบุคคลตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ และการประเมินเพื่อขอรับเงินประจําตําแหน่ง ตามที่กําหนดในหนังสือที่อ้างถึง 3 - 5 เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานกําหนดตําแหน่งที่ปรับปรุงดังกล่าว โดยให้กําหนดระยะเวลาขั้นต่ําในการดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคลและระดับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง สําหรับผู้มีคุณวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่ ก.พ. กําหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตรปริญญาตรีที่มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 6 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ ก.พ. ได้รับรองคุณวุฒิและกําหนดอัตราเงินเดือนให้ได้รับในอัตราเดียวกับที่กําหนดให้กับคุณวุฒิปริญญาโททั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง และการประเมินเพื่อขอรับเงินประจําตําแหน่ง ในสายงานตามที่กําหนดในหนังสือที่อ้างถึง 6 โดยให้กําหนดระยะเวลาขั้นต่ํา ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| คุณวุฒิ/ระดับ | ชํานาญการ | ชํานาญการพิเศษ | เชี่ยวชาญ | ทรงคุณวุฒิ |
| กรณีเลื่อน | รับเงินประจําตําแหน่ง | กรณีเลื่อน | รับเงินประจําตําแหน่ง |
| ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (หลักสูตร 5 ปี ที่ ก.พ. กําหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร 5 ปี) | 5 ปี | 6 ปี | 7 ปี | 8 ปี | 9 ปี | 10 ปี |
| ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (หลักสูตร 6 ปี) | 4 ปี | 5 ปี | 6 ปี | 7 ปี | 8 ปี | 9 ปี |
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1647
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,170 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004/ว 5 เรื่อง การเพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กำหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 | ที่ นร 1004/ว 5
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
8 สิงหาคม พ.ศ.2557
เรื่อง การเพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558
เรียน (กระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 14 ลงวันที่ 12 กันยายน 2556
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558
2. แบบรายงานการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
3. คําอธิบายรายละเอียดวุฒิที่ ก.พ. กําหนด
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้แจ้งมติให้ส่วนราชการดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 มาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
โดยที่ ก.พ. ได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 ให้เพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 จํานวน 3 รายการ ได้แก่ ปริญญาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เพื่อเข้ารับราชการในตําแหน่งนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกปฏิบัติการ ปริญญาสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางเวชศาสตร์การธนาคารเลือก เพื่อเข้ารับราชการในตําแหน่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ และปริญญาสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางเวชนิทัศน์ เพื่อเข้ารับราชการในตําแหน่งช่างภาพการแพทย์ปฏิบัติการ โดยเพิ่มวุฒิดังกล่าวในรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือก ตามหนังสือที่อ้างถึง ในลําดับที่ 54 - 56 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 ทั้งนี้ หากส่วนราชการใดได้ดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้วุฒิที่ ก.พ. กําหนด ตามหนังสือที่อ้างถึง ก่อนวันที่ ก.พ. มีมติให้เพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือก ตามหนังสือฉบับนี้ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามหนังสือที่อ้างถึงต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
อนึ่ง เมื่อดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเสร็จสิ้น ให้ส่วนราชการรายงานผลการดําเนินการตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ทั้งนี้ ในการดําเนินการคัดเลือกส่วนราชการควรศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับคําอธิบายรายละเอียดวุฒิที่ ก.พ. กําหนด ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3 เพื่อจะได้ดําเนินการได้อย่างถูกต้องต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
โทร. 0 2547 1941 - 1946
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,171 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 6 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งประเภทบริหาร | ที่ นร 1008/ว 6
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
8 สิงหาคม พ.ศ.2557
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งประเภทบริหาร
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 17 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2552
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 28 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง)
2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น)
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 แจ้งมติ ก.พ. กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอํานวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และปรับปรุงหลักเกณฑ์การกําหนดจํานวนตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง) ตามลําดับ มาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การกําหนดจํานวนตําแหน่งประเภทบริหารของส่วนราชการเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงมีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งประเภทบริหาร ดังนี้
1. ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง) ข้อ 1.7 ของสิ่งที่ส่งมาด้วยพร้อมหนังสือที่อ้างถึง 1 และยกเลิกหนังสือที่อ้างถึง 2 โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง) ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 พร้อมหนังสือนี้แทน
2. ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น) ข้อ 2.1 ของสิ่งที่ส่งมาด้วยพร้อมหนังสือที่อ้างถึง 1 โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น) ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 พร้อมหนังสือนี้แทน
ทั้งนี้ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณากําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง) และตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 และ 2 ของหนังสือนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป สําหรับการกําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง) และตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด (ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น) ที่ อ.ก.พ. กระทรวง ได้มีมติไปโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 แล้ว ให้เป็นอันใช้ได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1986
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,172 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1010.3/ว 1 เรื่อง กฎ ก.พ.ค. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1010.3/ว 1
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
7 มกราคม 2552
เรื่อง กฎ ก.พ.ค. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551
อื่นๆ - ด้วย ก.พ.ค. ได้ออกกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551 รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ กฎ ก.พ.ค. ดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 129 ก วันที่ 11 ธันวาคม 2551 แล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพิทักษ์ระบบคุณธรรม
โทร. 0 2547 1673
โทรสาร 0 2547 1672 | 6,173 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012/ว 2 เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1012/ว 2
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
26 มกราคม 2552
เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551
เรียน (เวียน กระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 197 ง วันที่ 30 ธันวาคม 2551 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1841
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,174 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 7 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ กรณีผู้ครองตำแหน่งเป็นข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง | ที่ นร 1006/ว 7
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
26 สิงหาคม พ.ศ.2557
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ กรณีผู้ครองตําแหน่งเป็นข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 40 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 7 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552
3. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ก.พ. กําหนดหลักเกณฑ์การปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งประเภทวิชาการสําหรับผู้ที่อยู่ในระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง โดยให้ปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ หรือระดับชํานาญการ เป็นระดับชํานาญการพิเศษได้ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด ซึ่งได้กําหนดเงื่อนไขไว้ประการหนึ่งว่าให้กําหนดตําแหน่งเป็นการเฉพาะคราวเพื่อแต่งตั้งผู้ที่อยู่ในระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงที่ผ่านการพัฒนาและมีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และมีผลงานที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ประจักษ์ตามเงื่อนไขหลักของกรอบการสั่งสมประสบการณ์ในระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง และมื่อผู้ดํารงตําแหน่งพ้นไปให้กําหนดตําแหน่งเป็นระดับเดิม และตามหนังสือที่อ้างถึง 2 กําหนดแนวทางการดําเนินการในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยกรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กําหนดในหนังสือที่อ้างถึง 3 ความแจ้งแล้ว นั้น
เพื่อให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้งข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงที่ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ที่เป็นกรณีการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดตามหนังสือที่อ้างถึง 1 เป็นไปอย่างเหมาะสม ก.พ. จึงมีมติให้นําแนวทางการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ ก.พ. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย กําหนดเป็นตําแหน่งที่ปรับระดับสูงขึ้นได้จากระดับเริ่มต้นของสายงานและมีผู้ครองตําแหน่งอยู่แล้ว โดยให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกบุคคลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ. กรม กําหนดในข้อ 1.3.1 ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 ของหนังสือที่อ้างถึง 3 มาใช้ในการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ที่เป็นกรณีการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งสําหรับผู้ที่อยู่ในระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงตามหนังสือที่อ้างถึง 1
สําหรับการแต่งตั้งข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงที่ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญการพิเศษ ในตําแหน่งว่างซึ่งมิใช่ตําแหน่งที่ได้รับการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ให้ดําเนินการคัดเลือกบุคคลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในข้อ 1.3.2 ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 ของหนังสือที่อ้างถึง 3
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดต่าง ๆ ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1642
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,175 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012/ว 3 เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ในสำนักงานรัฐมนตรี | ที่ นร 1012/ว 3
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
30 มิถุนายน 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ในสํานักงานรัฐมนตรี
เรียน (เวียนกระทรวง กรมและจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540
สิ่งที่ส่งมาด้วย รายละเอียดแนวทางและตัวอย่างการจัดทําเครื่องมือประกอบการพิจารณาความเหมาะสมกับตําแหน่ง
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 8 ลงมา และระดับ 9 ระดับ 10 ระดับ 11 มาเพื่อถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
ก.พ. พิจารณาเห็นว่า โดยที่ ก.พ. ได้ปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งหัวหน้าสํานักงานรัฐมนตรีเป็นตําแหน่งระดับ 9 บส. ประกอบกับมติ ก.พ. ตามหนังสือที่อ้างถึงดังกล่าว มิได้กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ในสํานักงานรัฐมนตรีไว้แต่ประการใด ดังนั้นเพื่อให้สามารถดําเนินการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว อาศัยอํานาจตามมาตรา 52 มาตรา 58 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตามนัยมาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ก.พ.จึงมีมติกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ๙ในสํานักงานรัฐมนตรีเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้
1. ให้ อ.ก.พ. กระทรวง มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ที่ว่างในสํานักงานรัฐมนตรี ดังนี้
1.1 ประธาน 1 คน
1.2 กรรมการประกอบด้วย
- เลขานุการรัฐมนตรีในสํานักงานรัฐมนตรีที่มีตําแหน่งว่าง หรืออธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตําแหน่งว่าง ตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงเห็นสมควร 1 คน
- ผู้แทน ก.พ. ใน อ.ก.พ. กระทรวง 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง 1 คน และ
- ผู้ดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวงอธิบดี หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 10 ขึ้นไปที่เป็น อ.ก.พ. กระทรวง ผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน 1 คน
ในกรณีที่ อ.ก.พ.กระทรวงเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการเกิน 5 คน ก็ให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนที่ดํารงตําแหน่งในระดับไม่ต่ํากว่าตําแหน่งที่จะแต่งตั้งได้อีกไม่เกิน 2 คน
1.3 ให้คณะกรรมการเลือกผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบงานการเจ้าหน้าที่ของกระทรวงในสังกัดเพื่อทําหน้าที่เลขานุการ 1 คน แต่ถ้าเป็นผู้อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกด้วย ก็ให้เลือกผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานการเจ้าหน้าที่ทําหน้าที่เลขานุการแทน
2. เมื่อมีตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 9 ในสํานักงานรัฐมนตรีว่างลง ให้เลขานุการรัฐมนตรีในกระทรวงที่มีตําแหน่งว่าง เสนอข้อมูลต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อส่งต่อไปยังคณะกรรมการ ดังนี้
2.1 ชื่อของตําแหน่งว่าง พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความต้องการของตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง เช่น ขอบเขตของงานในหน้าที่ของตําแหน่ง ลักษณะงานการควบคุมบังคับบัญชา คุณลักษณะของบุคคลที่จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์และจําเป็นต่อการปฏิบัติงานในตําแหน่ง เป็นต้น ตามเอกสารหมายเลข 1
2.2 รายชื่อข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ว่างจากสํานักงานรัฐมนตรีและส่วนราชการต่างๆในกระทรวงส่วนราชการละ 1 - 2 ชื่อ ตามที่สํานักงานรัฐมนตรีเห็นสมควรกําหนด พร้อมข้อมูลบุคคลพื้นฐานอื่นๆที่เกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาการฝึกอบรมดูงานประสบการณ์ ความสามารถ ผลงานสําคัญพิเศษ ประวัติทางวินัยในอดีตของข้าราชการผู้นั้น รวมทั้งเสนอผลการปฏิบัติงานประจําปี ของผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อ และความเห็นของผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับความเหมาะสมและความพร้อมที่จะเลื่อนตําแหน่งที่สูงขึ้น ตามเอกสารหมายเลข 2
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเป็นผู้ดําเนินการจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ สําหรับใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
3. ให้คณะกรรมการดําเนินการ ดังนี้
3.1 กําหนดเกณฑ์การประเมินบุคคลให้เหมาะสมกับตําแหน่งที่จะแต่งตั้งโดยถือเกณฑ์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กล่าวคือ ให้คํานึงถึงความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ และประวัติการรับราชการ ซึ่งจะต้องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้วเป็นหลัก และให้พิจารณาถึงคุณลักษณะอื่นๆ ที่จําเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานในตําแหน่งและส่วนราชการนั้นตามเอกสารหมายเลข 3
3.2 ประเมินและคัดเลือกผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อทุกคน โดยพิจารณาเทียบข้อมูลบุคคล เช่น คุณสมบัติ ผลงาน ประวัติการรับราชการของแต่ละคน กับหน้าที่ความรับผิดชอบและความต้องการของตําแหน่ง แล้วคัดเลือกให้เหลือผู้ซึ่งเหมาะสมไว้ไม่เกิน 3 คน
3.3 ให้คณะกรรมการเสนอรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกตาม 3.2 ต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดโดยให้เสนอเรียงลําดับผู้ซึ่งเหมาะสมที่สุดไว้ในลําดับแรก และผู้ซึ่งเหมาะสมรองลงไปในลําดับต่อ ๆ กันไป พร้อมทั้งความสมควรและเหตุผลไปประกอบการพิจารณาด้วย
4. ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณารายชื่อที่คณะกรรมการเสนอตาม 3.3 แล้วดําเนินการ ดังนี้
4.1 เมื่อได้ใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่า บุคคลใดในรายชื่อผู้ที่คณะกรรมการเสนอเหมาะสมที่จะได้เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ก็ให้ดําเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งต่อไป
4.2 ในกรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเห็นว่ารายชื่อผู้ที่คณะกรรมการเสนอตาม 3.3 ยังไม่เหมาะสมก็ให้ปรึกษากับประธานกรรมการหรือส่งให้คณะกรรมการพิจารณาใหม่ตามที่เห็นสมควร
แล้วดําเนินการตาม 4.1 ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไปทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1840
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,176 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1011/ว 8 เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย และการสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. 2556 | ที่ นร 1011/ว 8
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
25 กันยายน พ.ศ.2557
เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย และการสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. 2556
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย และการสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. 2556
2. แบบบันทึกสรุปประวัติและข้อเท็จจริง
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย และการสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. 2556 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 130 ตอนพิเศษ 182 ง วันที่ 16 ธันวาคม 2556 รวมทั้งสํานักงาน ก.พ. ได้ดําเนินการออกแบบบันทึกสรุปประวัติและข้อเท็จจริงตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 ของระเบียบ ก.พ. ฉบับนี้แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักมาตรฐานวินัย
โทร. 0 2547 1628
โทรสาร 0 2547 1625 | 6,177 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 4 เรื่อง คำสั่งอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ และคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับผู้เข้าร่วมมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) | ที่ นร 1006/ว 4
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
19 สิงหาคม 2551
เรื่อง คําสั่งอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ และคําสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสําหรับผู้เข้าร่วมมาตรการปรับปรุงอัตรากําลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกําหนด)
เรียน (กระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือคณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/466 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2550
สิ่งที่ส่งมาด้วย ตัวอย่างคําสั่งอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ และคําสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสําหรับผู้เข้าร่วมมาตรการปรับปรุงอัตรากําลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกําหนด)
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง คณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐแจ้งรายละเอียดและแนวทางดําเนินการของมาตรการปรับปรุงอัตรากําลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกําหนด) เพื่อให้ส่วนราชการพิจารณาดําเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 89 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 และหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/15326 ลงวันที่ 5 กันยายน 2550 ต่อไป ความแจ้งแล้ว นั้น
เพื่อให้การออกคําสั่งอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการและคําสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญผู้เข้าร่วมมาตรการปรับปรุงอัตรากําลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกําหนด) ดังกล่าว เป็นไปในรูปแบบเดียวกันและสะดวกในการดําเนินการที่เกี่ยวข้อง จึงขอส่งตัวอย่างคําสั่ง ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย มาเพื่อใช้เป็นแนวทางการออกคําสั่งในเรื่องดังกล่าวต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และถือปฏิบัติต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
นายปรีชา วัชราภัย
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977 โทรสาร 0 2282 7316 | 6,178 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 9 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1006/ว 9
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
11 ธันวาคม 2557
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 19 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 11 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติเรื่องระยะเวลาการดํารงตําแหน่งต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งได้เป็นการเฉพาะคราวในครั้งแรกของแต่ละบุคคล ทั้งในกรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้นหรือการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่างประเภทตําแหน่งที่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดสําหรับการเลื่อนตําแหน่ง และอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ได้เป็นการเฉพาะคราวในครั้งแรกของแต่ละบุคคล ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพื่อถือปฏิบัติ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เจตนารมณ์ของมติ ก.พ. ดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงของการเปลี่ยนผ่านการบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยให้สิทธิเรื่องระยะเวลาการดํารงตําแหน่งแก่ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 อยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แต่โดยที่ขณะนี้มาตรฐานกําหนดตําแหน่งใหม่ได้มีการประกาศใช้มาเป็นระยะเวลาถึง 6 ปี ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทและระดับต่าง ๆ ย่อมที่จะมีระยะเวลาการดํารงตําแหน่งครบตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งใหม่แล้ว ดังนั้น ก.พ. จึงมีมติให้ยกเลิกมติ ก.พ. ตามหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การใดที่ได้ดําเนินการตามหนังสือที่อ้างถึงแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามหนังสือที่อ้างถึงดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญนจะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1650
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,179 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1010.3/ว 3 เรื่อง กฎ ก.พ.ค. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1010.3/ว 3
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
28 มกราคม 2552
เรื่อง กฎ ก.พ.ค. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551
อื่นๆ - ด้วย ก.พ.ค. ได้ออกกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ กฎ ก.พ.ค. ดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 129 ก วันที่ 11 ธันวาคม 2551 แล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพิทักษ์ระบบคุณธรรม
โทร. 0 2547 1673
โทรสาร 0 2547 1672 | 6,180 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008.1/ว 5 เรื่อง ขอความร่วมมือในการออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 | ด่วนที่สุด
ที่ นร 1008.1/ว 5
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
19 สิงหาคม 2551
เรื่อง ขอความร่วมมือในการออกคําสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม 2551
เรียน (กระทรวง กรม และจังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยสํานักงาน ก.พ. ได้รับแจ้งจากกรมบัญชีกลางว่า กรมบัญชีกลางจะดําเนินการปรับระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจําให้รองรับการเบิกจ่ายเงินเดือนสําหรับข้าราชการพลเรือนที่จะต้องมีการปรับตําแหน่งในปัจจุบันเข้าสู่ระบบจําแนกตําแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ หากจะให้ดําเนินการเรื่องดังกล่าวสําเร็จเรียบร้อยด้วยดีและทันเวลานั้น ส่วนราชการและจังหวัดควรจะต้องดําเนินการออกคําสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจํา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2551
ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการปรับปรุงระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินเดือนให้กับข้าราชการสามารถดําเนินการไปได้ด้วยความเรียบร้อยและทันเวลา สํานักงาน ก.พ. จึงขอความร่วมมือจากส่วนราชการและจังหวัดในการดําเนินการออกคําสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจํา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ให้แล้วเสร็จภายในวันเดียวกันนั้นด้วย เพื่อให้กรมบัญชีกลางสามารถดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดําเนินการตามกําหนดเวลาดังกล่าวด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
กลุ่มค่าตอบแทน
โทร. 0 2282 1889
โทรสาร 0 2281 9602 | 6,181 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 10 เรื่อง อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1006/ว 10
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
24 ธันวาคม พ.ศ.2557
เรื่อง อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อื่นๆ - โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48 บัญญัติให้ ก.พ. จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งได้กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ประการหนึ่งว่า จะต้องเป็นผู้ที่ได้ดํารงตําแหน่งประเภทนั้นและมีระยะเวลาการดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ําลงไป 1 ระดับ มาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 62 บัญญัติให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้นตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งก็ได้
ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่เคยดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้พัฒนาตนเองและใช้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาให้เกิดประโยชน์แก่ราชการ จึงมีมติอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่เคยดํารงตําแหน่งระดับ 4 ขึ้นไปของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 หรือสายงานเจ้าหน้าที่บริหารงาน .... ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 อยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แล้วได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ โดยใช้ผลการสอบแข่งขันหรือการคัดเลือก แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติเรื่องระยะเวลาการดํารงตําแหน่งต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ได้ โดยข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นต้องมีระยะเวลาการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สําหรับผู้ที่เคยดํารงตําแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่า และไม่น้อยกว่า 2 ปี สําหรับผู้ที่เคยดํารงตําแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่า ทั้งนี้ การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวข้างต้น จะต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดไว้สําหรับตําแหน่งประเภทและระดับนั้นด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1650
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,182 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่่ นร 1013.7/ว 11 เรื่อง แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรม | ที่่ นร 1013.7/ว 11
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
25 ธันวาคม พ.ศ.2557
เรื่อง แนวทางการดําเนินการตามประมวลจริยธรรม
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการเรี่ยไร
2. แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด
อื่นๆ - ด้วยประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ข้อ 5 กําหนดให้ข้าราชการต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตําแหน่งหน้าที่และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และข้อ 6 กําหนดให้ข้าราชการต้องละเว้นจากการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบ โดยอาศัยตําแหน่งหน้าที่และไม่กระทําการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
เพื่อให้ส่วนราชการและข้าราชการได้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ก.พ. จึงกําหนดแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการเรี่ยไร และแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด โดยหัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาต้องดํารงตนเป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมทั้งกํากับดูแลข้าราชการในสังกัดให้ประพฤติตนเกี่ยวกับการเรี่ยไรและการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใดให้ถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้คณะกรรมการจริยธรรมประจําส่วนราชการมีหน้าที่สอดส่องดูแลและรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการ และ ก.พ. ทราบ ภายในเดือนกันยายนของทุกปี ดังมีรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม
โทร. 0 2547 1710
โทรสาร 0 2547 1727 | 6,183 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 6 เรื่อง การกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดอัตรากำลังและการแต่งตั้งข้าราชการในระหว่างการปรับใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1006/ว 6
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
15 กันยายน 2551
เรื่อง การกําหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกําหนดอัตรากําลังและการแต่งตั้งข้าราชการในระหว่างการปรับใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (กระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยมาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้บทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มีผลใช้บังคับเมื่อ ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งเสร็จ จัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และประกาศให้ทราบ โดยให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งใหม่ภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ ให้ดําเนินการประกาศให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เพื่อให้การจัดตําแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม จําเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกําหนดอัตรากําลัง และการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการในระหว่างการปรับใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงมีมติดังนี้
1. การกําหนดอัตรากําลัง
1.1 หลักการ
ให้คงกรอบทั้งจํานวนตําแหน่ง และระดับตําแหน่ง เท่าที่มีอยู่ตามกรอบอัตรากําลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 โดยไม่ให้มีการกําหนดตําแหน่ง และระดับเพิ่มขึ้น เว้นแต่กรณีที่ ก.พ. มีมติอนุมัติการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งหรือเห็นชอบการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่ง
1.2 แนวทางปฏิบัติ
ภายใต้หลักการดังกล่าว จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1.2.1 ให้ส่วนราชการหยุดดําเนินการกําหนดตําแหน่งตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 18 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ที่ นร 1008/ว 5 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 และที่่ นร 1008/ว 1 ลงวันที่ 26 มกราคม 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
1.2.2 ก.พ. จะพิจารณาคําขอการกําหนดตําแหน่งเฉพาะกรณีที่มีรายละเอียดประกอบการพิจารณาครบถ้วนสมบูรณ์และได้รับก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ส่วนคําขอที่ได้รับตั้งแต่วันดังกล่าวจะให้ส่วนราชการไปดําเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลความจําเป็น หรือกรณีที่จะเกิดผลเสียหายแก่ราชการ ก.พ. จะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป เช่น การกําหนดตําแหน่งตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใหม่หรือการให้ความเห็นชอบการกําหนดตําแหน่งที่ส่วนราชการได้ดําเนินการเสร็จก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้น
2. การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ
2.1 หลักการ
ให้ดําเนินการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในระหว่างการปรับใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้เท่าที่จําเป็น เพื่อมิให้ราชการเสียหาย
2.2 แนวทางปฏิบัติ
ภายใต้หลักการดังกล่าว จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
2.2.1 ให้เร่งรัดการออกคําสั่งบรรจุแต่งตั้ง โอน ย้าย เลื่อน และบรรจุกลับข้าราชการในส่วนราชการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2551 และให้ชะลอการดําเนินการดังกล่าวเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าส่วนราชการจะแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แล้วเสร็จ
2.2.2 หากดําเนินการออกคําสั่งตาม 2.2.1 ไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2551 ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการรักษาการในตําแหน่งหรือรักษาราชการแทนในตําแหน่งที่จะแต่งตั้งไปก่อน และเมื่อมีการแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แล้ว จึงให้ออกคําสั่งแต่งตั้งย้อนหลักสําหรับผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนและเป็นไปตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 255 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2524 และที่ สร 0203/ว 38 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2526 และหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่่ สร 0711/ว 9 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2523
2.2.3 การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป (ตําแหน่งสําหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ว)) ตําแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) และตําแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.) ถ้าผู้ขอรับการประเมินบุคคลมีคุณสมบัติและได้ส่งผลงานที่มีเอกสารหลักฐานประกอบการขอประเมินครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ก็ให้ดําเนินต่อไปได้ ทั้งนี้ การออกคําสั่งแต่งตั้งให้ดําเนินการตาม 2.2.1 หรือ 2.2.2 แล้วแต่กรณี
2.2.4 กรณีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการให้กระทําได้เท่าที่จําเป็น เช่น การบรรจุผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งบัญชีผู้สอบแข่งขันได้นั้นจะถูกยกเลิกระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2551 หรือ การบรรจุผู้ได้รับทุนรัฐบาลหรือทุนเล่าเรียนหลวง เป็นต้น
2.2.5 กรณีที่มีเหตุผลความจําเป็น ซึ่งหากไม่ดําเนินการจะเกิดผลเสียหายแก่ราชการ ก.พ. จะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
3. การจัดตําแหน่งและจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ให้ส่วนราชการจัดทําบัญชีการการจัดตําแหน่งและจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และจัดส่งไปให้สํานักงาน ก.พ. เพื่อดําเนินการต่อไป ดังนี้
3.1 ส่วนราชการที่มีอัตรากําลังไม่เกิน 1,000 ตําแหน่ง ให้จัดส่งภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2551
3.2 ส่วนราชการที่มีอัตรากําลังเกินกว่า 1,000 ตําแหน่ง ให้จัดส่งภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2551
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรม จังหวัด ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977
โทรสาร 0 2282 7316 | 6,184 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 4 เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ | ที่ นร 1006/ว 4
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
20 กุมภาพันธ์ 2552
เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ
เรียน เวียน กระทรวง กรม จังหวัด
อื่นๆ - ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 บัญญัติให้การย้าย การโอน หรือการเลือนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎก.พ. ตามมาตรานี้ สมควรที่จะให้ส่วนราชการดําเนินการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญได้ ก.พ.จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา132และมาตรา137แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กําหนดการดําเนินการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไว้ เพื่อใช้ปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 ดังต่อไปนี้
1. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง กรม อาจทําได้เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา57ทังสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกัน ในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิมทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 6
2. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูงประเภทอํานวยการระดับสูงประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในประเภทและระดับเดียวกัน ในกระทรวงเดียวกัน ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวได้ โดยให้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม สําหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
3. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูงประเภทอํานวยการระดับสูง ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการระดับกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งดังกล่าว ซึ่งสังกัดส่วนราชการระดับกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างส่วนราชการระดับกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ในกระทรวงเดียวกัน อาจทําได้เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิมสําหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
4. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวงโดยแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกัน ในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม ให้ทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
5. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในสํานักงานรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสํานักงานรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างสํานักงานรัฐมนตรี อาจทําได้เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทังสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้วทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม
6. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 2 ลงวันที่ 31 มกราคม 2539 โดยอนุโลม
7. การโอนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทําได้ตามที่ ก.พ. เทียบประเภทตําแหน่ง สายงาน ระดับตําแหน่ง และเงินเดือนที่จะให้ได้รับ ทั้งนี้ จะต้องได้รับความยินยอมในการโอนจากผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุของทั้งสองฝ่ายแล้ว
8. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงและได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือตําแหน่งประเภทอื่น ซึ่งได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราที่ต่ํากว่าเดิม จะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น และให้ทําได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977
โทรสาร 0 2282 7316 | 6,185 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004.1/ว 7 เรื่อง วุฒิที่ ก.พ. กำหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ | ที่ นร 1004.1/ว 7
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม.10300
25 กันยายน 2551
เรื่อง วุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
เรียน (กระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว 16 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้กําหนดให้ส่วนราชการอาจคัดเลือกบรรจุบุคคลซึ่งสําเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. กําหนด เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามนัยมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2551 มาเพื่อถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้พิจารณามีมติให้ส่วนราชการอาจคัดเลือกบรรจุบุคคลซึ่งสําเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. กําหนดเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว 16 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 ต่อไปได้จนกว่า ก.พ. จะกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อถือปฏิบัติแทน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดต่าง ๆ ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
นายปรีชา วัชราภัย
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
กลุ่มงานระบบการสรรหาบุคคลเพื่อรับราชการ
โทร. 0 2547 1944
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,186 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012/ว 5 เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติราชการและเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ด่วนที่สุด
ที่ นร 1012/ว 5
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
27 กุมภาพันธ์ 2552
เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติราชการและเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0204/ว64 ลงวันที่ 12 เมษายน 2544
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว5 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2544
3. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว13 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544
4.หนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ นร1009.5/986-1195 ลงวันที่ 10 กันยายน 2546
สิ่งที่ส่งมาด้วย ตารางการเลื่อนเงินเดือนชั่วคราวสําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ
อื่นๆ - ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตําแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กําหนดในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 74 บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์สูงต่อภารกิจของรัฐ ตามควรแก่กรณีตามที่กําหนดไว้ในกฎ ก.พ. และมาตรา 76 บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด นั้น
โดยที่ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนตามมาตรา 74 และหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามมาตรา 76 ดังกล่าว ยังอยู่ในระหว่างเร่งดําเนินการ ประกอบกับมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกําหนดกรณีใดเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นําพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กําหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน2552 จึงให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหนังสือที่อ้างถึง 2 และการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญในวันที่ 1 เมษายน 2552 และวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ให้นํากฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 เมษายน 2544 เรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการและหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ นร0708.1/ว13ลงวันที่ 5พฤศจิกายน2544เรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 3 ซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับจนกว่า ก.พ. จะออก กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนฉบับใหม่และหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการใหม่มาใช้บังคับ
อย่างไรก็ดีเนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการในกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าวไม่สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ และเพื่อให้การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 132 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงมีมติกําหนดการดําเนินการเพื่อการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ดังนี้
1. กําหนดตารางการเลื่อนเงินเดือนชั่วคราวสําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อใช้สําหรับการเลื่อนเงินเดือนวันที่ 1 เมษายน และ 1 ตุลาคม 2552 โดย “เงินเดือนฐาน” หมายถึง อัตราเงินเดือนที่ข้าราชการได้รับอยู่ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2552 และ “เลื่อน 0.5 ขั้น” “เลื่อน 1 ขั้น” “เลื่อน 1.5 ขั้น” หมายถึง ขั้นเงินเดือนครึ่งขั้น หนึ่งขั้น หรือหนึ่งขั้นครึ่งแล้วแต่กรณี ตามที่กําหนดไว้ ในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544
กรณีข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับเงินเดือนฐาน ให้ใช้เงินเดือนฐานใกล้เคียงที่ไม่ต่ํากว่าเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับ เป็นเงินเดือนฐานที่ใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
กรณีข้าราชการที่มีจํานวนเงินสําหรับการเลื่อนเงินเดือนตามผลการปฏิบัติราชการสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงสุดของประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับที่ตนดํารงอยู่ ให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับที่ตนดํารงอยู่นั้น และได้รับส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินสําหรับการเลื่อนเงินเดือนและเงินเดือนขั้นสูงสุด เป็นค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจําผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงหรือใกล้ถึงขั้นสูงของอันดับหรือตําแหน่ง พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สําหรับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544
2. ผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับที่กําหนดไว้ในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2551 ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายด้วย ได้แก่
2.1 ผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสในสายงานที่กําหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 36,020 บาท
2.2 ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ในสายงานที่กําหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 64,340 บาท
3. การเลื่อนเงินเดือนครึ่งปีแรกในวันที่ 1 เมษายน 2552 กําหนดกลุ่มข้าราชการที่ได้รับการจัดสรรโควตาจํานวนผู้มีสิทธิได้เลื่อนเงินเดือน 1 ขั้น ไม่เกินร้อยละ 15 ของจํานวนข้าราชการ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2552 เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ตําแหน่งระดับ 1 ถึงระดับ 8 เดิมได้แก่ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน และระดับอาวุโส ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ และตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น
กลุ่มที่ 2 ตําแหน่งตั้งแต่ระดับ 9 เดิมขึ้นไป ได้แก่ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง และตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น และระดับสูง
4. การเลื่อนเงินเดือนครึ่งปีหลังในวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ให้เลื่อนได้ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 6 ของเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน 2552 โดยให้นําวงเงินที่ได้ใช้เลื่อนเงินเดือนไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 มาหักออกก่อน ทั้งนี้ จํานวนข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นรวมทั้งปีต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของจํานวนข้าราชการ
5. การสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งเลื่อนเงินเดือน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอํานาจสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน และระดับอาวุโสตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ
6. สําหรับการมอบอํานาจด้านการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการมอบอํานาจด้านการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามหนังสือที่อ้างถึง 4 เฉพาะกรณีการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนขั้นเงินเดือน ยกเว้นการออกคําสั่งเลื่อนเงินเดือน ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ให้เป็นไปตามข้อ 5
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1834 0 2547 1831
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,187 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004/ว 1 เรื่อง การเพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กำหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 | ที่ นร 1004/ว 1
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เรื่อง การเพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558
เรียน (กระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 14 ลงวันที่ 12 กันยายน 2556
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 5 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2557
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558
2. แบบรายงานการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
3. คาอธิบายรายละเอียดวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ก.พ. ได้แจ้งมติให้ส่วนราชการดาเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลซึ่งสําเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. กําหนดจํานวน 59 วุฒิ เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ และมีมติให้เพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 จานวน 3 รายการ รวมเป็น 62 วุฒิ ตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ความแจ้งแล้ว นั้น
โดยที่ ก.พ. ได้มีมติให้เพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 ในตําแหน่งเจ้าพนักงานเดินเรือปฏิบัติงาน ดังนี้
1. คุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาหรือทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1.2 ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันหรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปีต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาหรือทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1.3 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปีต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาหรือทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ หรือ
1.4 ประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสาหรับตําแหน่งนี้ได้และ
2. ประกาศนียบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1 ประกาศนียบัตรนายประจาเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ํากว่า 500 ตันกรอส จากกรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบให้ไม่ต่ํากว่านี้
2.2 ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ํากว่า 500 ตันกรอส จากกรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบให้ไม่ต่ํากว่านี้
2.3 ประกาศนียบัตรนายประจาเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 - 3,000 ตันกรอส จากกรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบให้ไม่ต่ํากว่านี้
โดยเพิ่มวุฒิดังกล่าวในรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกฯ ในลําดับที่ 61 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 ทั้งนี้ หากส่วนราชการใดได้ดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้วุฒิที่ ก.พ. กําหนดตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ก่อนวันที่ ก.พ. มีมติให้เพิ่มรายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกฯ ตามหนังสือฉบับนี้ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
อนึ่ง เมื่อดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเสร็จสิ้น ให้ส่วนราชการรายงานผลการดําเนินการตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ทั้งนี้ ในการดําเนินการคัดเลือกขอให้ส่วนราชการศึกษาและทาความเข้าใจเกี่ยวกับคําอธิบายรายละเอียดวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกฯ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3เพื่อจะได้ดําเนินการได้อย่างถูกต้องต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
โทร. 0 2547 1943 - 1944
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,188 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 6 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ | ที่ นร 1008/ว 6
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
3 มีนาคม 2552
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 10 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง จํานวน 245 สายงานและได้แจ้งส่วนราชการเพื่อถือปฏิบัติแล้ว นั้น
โดยที่มาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการได้กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ประการหนึ่งว่า “มีประสบการณ์ในงานที่หลากหลายสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการตามที่กําหนดใน กฎ ก.พ. ที่ออกตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551” ซึ่งกฎ ก.พ. ดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการดําเนินการของ ก.พ. อันเป็นผลให้ส่วนราชการต่างๆ ไม่สามารถแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการในขณะนี้ได้ ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์ของทางราชการและเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. ตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 132 และมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงมีมติกําหนดมิให้นําคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการที่ว่า “มีประสบการณ์ในงานที่หลากหลายสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ตามที่กําหนดใน กฎ ก.พ. ที่ออกตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551” มาใช้บังคับจนกว่าจะมีการออก กฎ ก.พ. ตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และมีผลใช้บังคับ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2280 3422
โทรสาร 0 2282 0874 | 6,189 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1001/ว 8 เรื่อง การแต่งตั้งอนุกรรมการใน อ.ก.พ.สามัญที่มีอนุกรรมการเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง | ที่ นร 1001/ว 8
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
21 พฤศจิกายน 2551
เรื่อง การแต่งตั้งอนุกรรมการน อ.ก.พ.สามัญที่มีอนุกรรมการเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยมีส่วนราชการหารือไปยังก.พ.ว่าอนุกรรมการในอ.ก.พ.สามัญที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามนัยมาตรา 128 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการย้ายไปดํารงตําแหน่งอื่น เกษียณอายุราชการ ลาออก และเสียชีวิต ทําให้มีจํานวนอนุกรรมการใน อ.ก.พ.สามัญเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง มีแนวทางปฏิบัติในการดําเนินการอย่างไร
ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ ก.พ. อ.ก.พ.วิสามัญ และ อ.ก.พ.สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้ง ก.พ.หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ.วิสามัญหรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ.สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ และในขณะนี้บทบัญญัติในลักษณะ 4 ยังไม่ใช้บังคับ รวมทั้ง ก.พ. ยังมิได้ออก กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.สามัญ จึงยังไม่สามารถดําเนินการแต่งตั้ง อ.ก.พ.สามัญใหม่ได้ ประกอบกับ มาตรา 137 บัญญัติให้ การใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการหรือเคยดําเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือมีกรณีที่ไม่อาจดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การดําเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดําเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ.กําหนด และมาตรา 132 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ในกรณีที่ไม่อาจนําพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือกรณีที่กําหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่งการจะดําเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ.กําหนดดังนั้นอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว ก.พ.จึงเห็นควรกําหนดให้กรณีของ อ.ก.พ.สามัญ หากจะแต่งตั้งอนุกรรมการแทนผู้ที่พ้นจากตําแหน่งในขณะที่เหลือจํานวนอนุกรรมการอยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งนั้น ให้แต่งตั้งตามองค์ประกอบตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และเห็นควรกําหนดให้นําหลักเกณฑ์วิธีการตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.สามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม และโดยที่เรื่องนี้เป็นการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ก.พ.จึงมีมติให้นํามติ ก.พ.ดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 8 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เพื่อให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมายต่อไป
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 แล้ว มีมติให้ความเห็นชอบตามที่ ก.พ.เสนอ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดต่างๆทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
นายปรีชา วัชราภัย
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - กองนิติการ
โทร. 0 2547 1563
โทรสาร 0 2547 1571 | 6,190 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 2 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1008/ว 2
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง
เรียน (กระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ดําเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สําหรับตําแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอํานวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เปลี่ยนแปลงไปของส่วนราชการ ก.พ. จึงมีมติ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.
ที่ นร 1008/ว 17 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 ที่ นร 1008/ว 25 ลงวันที่ 21 กันยายน 2552
ที่ นร 1008/ว 40 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 ที่ นร 1008/ว 45 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553
ที่ นร 1008/ว 5 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2554 ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2554
ที่ นร 1008/ว 17 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ที่ นร 1008/ว 25 ลงวันที่ 4 กันยายน 2554
ที่ นร 1008/ว 26 ลงวันที่ 14 กันยายน 2554 ที่ นร 1008/ว 28 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
ที่ นร 1008/ว 29 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.3.1/45 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2555
ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555 ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555
ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 ที่ นร 1008/ว 15 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2555
ที่ นร 1008/ว 16 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2555 ที่ นร 1008/ว 17 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2555
ที่ นร 1008/ว 28 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 17 เมษายน 2556 และ
ที่ นร 1008/ว 5 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2557
2. ให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณากําหนดตําแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การกําหนดตําแหน่งตามสิ่งที่ส่งมาด้วยของหนังสือฉบับนี้
3.การใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการก่อนวันที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง ตามหนังสือฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งที่ ก.พ. กําหนดไว้เดิม ต่อไปจนแล้วเสร็จ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัด ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6602 6617 66mo
โทรสาร 0 2547 1882 | 6,191 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1001/ว 9 เรื่อง กฎ ก.พ. ระเบียบ ก.พ. และข้อบังคับ ก.พ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1001/ว 9
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง กฎ ก.พ. ระเบียบ ก.พ. และข้อบังคับ ก.พ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่ง พ.ศ. 2551
2. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2551
3. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2551
4. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551
5. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. 2551
6. ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ พ.ศ. 2551
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่ง พ.ศ. 2551 กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2551 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2551 รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ กฎ ก.พ. ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 128 ก วันที่ 10 ธันวาคม 2551 แล้ว
อนึ่ง ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551 ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ พ.ศ. 2551 รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ ระเบียบ ก.พ. และข้อบังคับ ก.พ. ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 187 ง วันที่ 10 ธันวาคม 2551 แล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - กองนิติการ
โทร. 0 2547 1563
โทรสาร 0 2547 1571 | 6,192 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 7 เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1006/ว 7
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
6 มีนาคม 2552
เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ว 13 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึงก.พ.มีมติกําหนดการดําเนินการตาม มาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติความโดยสรุปว่าในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับหรือระเบียบ หรือกําหนดกรณีใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นําพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กําหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ประกอบกับส่วนราชการหลายแห่งหารือแนวทางปฏิบัติในการย้าย การโอน การเลื่อนและการบรรจุกลับตามมาตรา 63 มาตรา 64 และ มาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. หรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการดําเนินการในเรื่องดังกล่าว ก.พ. จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 132 และมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดแนวทางดําเนินการเพื่อใช้ปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 ดังนี้
1. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกัน
ก. การเลื่อนระดับตําแหน่ง
(1) กรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป
(1.1) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 34 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547
(1.2) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับอาวุโส ให้ใช้หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 ส่วนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสายงานนายช่างศิลปกรรม คีตศิลปิน ดุริยางคศิลปิน และนาฏศิลปิน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
(1.3) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับทักษะพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
(2) กรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ
(2.1) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญการ และระดับ ชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
สําหรับการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญการในสายงานแพทย์ สายงานทันตแพทย์ และสายงานนายสัตวแพทย์ ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ก.พ. กําหนดเป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 4 และเป็นระดับควบ (ระดับ 4-6) ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 6 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536 โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญการ จะต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ํากว่าขั้นต่ําชั่วคราวของระดับชํานาญการ
(2.2)การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
(3) กรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับสูง ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กําหนดในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 ส่วนในสํานักงานรัฐมนตรี ให้ใช้หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 3 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551
(4) กรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับสูง และการแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 14,500 บาท ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 ที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 และที่ นร 1004.1/ว 9 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2548
ข. การย้าย
(1) กรณีการย้ายในตําแหน่งประเภททั่วไป
(1.1) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(1.2) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์ และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 34 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547 และที่ นร 1006/ว 17 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2549
(1.3) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับอาวุโส ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสายงานนายช่างศิลปกรรม คีตศิลปิน ดุริยางคศิลปิน และนาฏศิลปิน ให้ใช้หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
(1.4) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับทักษะพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
(2) กรณีการย้ายในตําแหน่งประเภทวิชาการ
(2.1) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติการ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(2.2) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
(2.3) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
(3) กรณีการย้ายในตําแหน่งประเภทอํานวยการ
ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(4) กรณีการย้ายในตําแหน่งประเภทบริหาร
ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 ส่วนการย้ายผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารในสายงานอื่นที่มิใช่สายงานบริหาร ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งนักบริหารระดับต้น ให้ใช้หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544และที่ นร 1003/ว 13 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549
สําหรับการย้ายจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 14,500 บาท จะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น
(5) กรณีการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม จะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น ตามนัยมาตรา 63 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ค. การบรรจุกลับเข้ารับราชการ
การบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญกลับเข้ารับราชการ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ สร 0711/ว 8 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2523 ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538 ที่ นร 0703/ว 8 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2543 ที่ นร 0708.1/ว 14 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ที่ นร 1006/ว 34ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547 ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548 หรือที่ นร 1006/ว 17 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2549 แล้วแต่กรณี
2. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่างประเภท
ก. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการ ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 34 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547 และที่ นร 1006/ว 17 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2549
(3) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับอาวุโส ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ส่วนการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสายงานนายช่างศิลปกรรม คีตศิลปิน ดุริยางคศิลปิน และนาฏศิลปิน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
(4) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับทักษะพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
ข. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติการ
(1.1) กรณีการแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเดิมดํารงตําแหน่งระดับ 1 และระดับ 2 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และจากผู้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นมา ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536
(1.2) กรณีการแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเดิมดํารงตําแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และระดับชํานาญงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว 12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 ที่ นร 0705/ว 7 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2534 หรือที่ นร 1006/ว 15 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2547 แล้วแต่กรณี
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ
ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
(3) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
ค. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับต้น หากเป็นการแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส หรือ ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับสูง
(2.1) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540
(2.2) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
ง. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับต้น
(1.1) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ให้ดํารงตําแหน่งนักบริหารระดับต้น ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 และที่ นร 1003/ว 13 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549
(1.2) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ในสายงานอื่นที่มิใช่สายงานบริหาร ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(1.3) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ในสายงานอื่นที่มิใช่สายงานบริหาร ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับสูง
(2.1) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 13,000 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 14,500 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(2.2) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 13,000 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(2.3) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 15,600 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(2.4) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 15,600 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 14,500 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 โดยต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น
(2.5) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
3. การโอน และการบรรจุกลับ พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ก. การรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการรับโอนตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ สร 0704/ว 5 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2525 ที่ นร 0708/ว 3 ลงวันที่ 31 มกราคม 2539 ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538 ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 30 กันยายน 2546 ที่ นร 1006/ว 34 ลงวันที่ 29 กันยายน 2547 ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548 หรือที่ นร 1006/ว 17 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2549 แล้วแต่กรณี
ในการกําหนดระดับตําแหน่งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับ ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 30 กันยายน 2546 หรือที่ นร 1006/ว 4 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2549 แล้วแต่กรณี แล้วให้เทียบการดํารงตําแหน่งและระดับดังกล่าวเป็นตําแหน่งประเภทและระดับตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
สําหรับการโอนข้าราชการประเภทอื่นนอกจากนี้ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาเทียบประเภทตําแหน่ง สายงาน ระดับตําแหน่ง และเงินเดือนที่จะให้ได้รับเป็นราย ๆ ไป โดยจะต้องส่งหนังสือยินยอมให้โอนจากผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของส่วนราชการที่ผู้นั้นสังกัดมาด้วย
ข. การบรรจุกลับผู้เคยเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการบรรจุกลับตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ สร 0704/ว 5 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2525 ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538 ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 30 กันยายน 2546 ที่ นร 1006/ว 34 ลงวันที่ 29 กันยายน 2547 ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548 หรือที่ นร 1006/ว 17 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2549 แล้วแต่กรณี
ในการกําหนดระดับตําแหน่งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับ ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 30 กันยายน 2546 หรือ ที่ นร 1006/ว 4 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2549 แล้วแต่กรณี แล้วให้เทียบการดํารงตําแหน่งและระดับดังกล่าวเป็นตําแหน่งประเภทและระดับตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
สําหรับกรณีการบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 30กันยายน2546 แล้วให้เทียบการดํารงตําแหน่งและระดับดังกล่าวเป็นตําแหน่งประเภทและระดับตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
สําหรับการบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการประเภทอื่นกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนอกจากนี้ ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาเทียบประเภทตําแหน่ง สายงาน ระดับตําแหน่ง และเงินเดือนที่จะให้ได้รับเป็นราย ๆ ไป
4. กรณีการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 35 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 และที่ นร 1006/ว 1 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2551
5. กรณีที่ ก.พ. เคยกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นการเฉพาะสําหรับส่วนราชการใดตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 หากส่วนราชการนั้นประสงค์ที่จะใช้หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวต่อไป ให้ขอ ก.พ.เป็นกรณี ๆ ไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไปทั้งนี้ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977
โทรสาร 0 2282 7316 | 6,193 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 10 เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1008/ว 10
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง มาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
เรียน (กระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. บัญชีแสดงมาตรฐานกําหนดตําแหน่งแยกตามประเภท สายงาน และระดับตําแหน่ง
2. แผ่นบันทึกข้อมูลซีดีรอม เรื่อง มาตรฐานกําหนดตําแหน่ง จํานวน 1 แผ่น
อื่นๆ - ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45 บัญญัติให้ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี 4 ประเภท ได้แก่ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา 48 ให้ ก.พ. จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งโดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน เพื่อให้ยึดถือเป็นหลักในการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญทุกตําแหน่งในส่วนราชการ ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว ก.พ. จึงมีมติให้กําหนดมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง จํานวน 245 สายงาน ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
นายปรีชา วัชราภัย
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
สํานักงาน ก.พ.
โทร. 0 2280 3422 , 0 2282 0362
โทรสาร 0 2282 0874 | 6,194 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 11 เรื่อง การใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1008/ว 11
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง การใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียน กระทรวง กรม)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง การจัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการ เข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
2. บัญชีจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
3. บัญชีจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
4. แบบคําสั่งและแบบบัญชีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่ง
อื่นๆ - ตามที่มาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้บทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ยังไม่ใช้บังคับจนกว่า ก.พ. จะจัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งเสร็จ และจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และประกาศให้ทราบ จึงให้นําบทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ก.พ. ประกาศเป็นต้นไป นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งเสร็จ และจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งเสร็จแล้ว พร้อมทั้งได้มีประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แล้ว (สิ่งที่ส่งมาด้วย 1) จึงมีผลให้ลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
จึงขอส่งบัญชีจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง (สิ่งที่ส่งมาด้วย 2) บัญชีจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง (สิ่งที่ส่งมาด้วย 3) แบบคําสั่งและแบบบัญชีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่ง (สิ่งที่ส่งมาด้วย 4) มาเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งใหม่ ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งตามมาตรา 131 ดังกล่าวให้ดําเนินการ ดังนี้
1. ให้ผู้บังคับบัญชา ได้แก่
1.1 รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้สั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดสํานักงานรัฐมนตรี
1.2 ปลัดกระทรวง เป็นผู้สั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง
1.3 อธิบดีหรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกรม หรือส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดี
2. ให้ส่วนราชการดําเนินการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งตามประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง ตามบัญชีจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง (สิ่งที่ส่งมาด้วย 3) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 มกราคม 2552 ตามแบบคําสั่งและแบบบัญชีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่ง (สิ่งที่ส่งมาด้วย 4) ทั้งนี้ ต้องแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเลขที่เดิม ตามสถานภาพเดิมที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีอยู่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และให้การแต่งตั้งมีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551
3. ผู้ได้รับการแต่งตั้งจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามที่ ก.พ. กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง แต่โดยที่การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งของบางสายงาน ทําให้ข้าราชการพลเรือนสามัญบางรายมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่กําหนดใหม่ ก.พ. จึงมีมติอนุมัติให้ส่วนราชการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดํารงตําแหน่งใดในกรณีดังต่อไปนี้อยู่ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 และเป็นผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้น ให้ดํารงตําแหน่งนั้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้
3.1 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งซึ่ง ก.พ. ได้อนุมัติให้ดํารงตําแหน่งใด ๆ ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ไปแล้ว
3.2 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดํารงตําแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 รายที่มีคุณวุฒิต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า เช่น มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) ซึ่งเดิมได้กําหนดคุณวุฒิดังกล่าวเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ ให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไปได้
3.3 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ไม่มีคุณวุฒิระดับปริญญา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 สําหรับตําแหน่งที่มาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ทั้งกรณีไม่ต้องได้รับคุณวุฒิระดับปริญญาและกรณีต้องได้รับคุณวุฒิระดับปริญญา ได้แก่ นักวิชาการที่ดิน เจ้าพนักงานปกครอง นายตรวจศุลกากร เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต สมุห์บัญชีอําเภอ และพยาบาลเวชปฏิบัติ ให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการได้
3.4 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดํารงตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรมตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีคุณวุฒิระดับปริญญา และไม่อาจจัดเข้าตําแหน่งประเภทอํานวยการที่ ก.พ. กําหนดเป็นผู้อํานวยการเฉพาะด้านที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการได้
4. การปรับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
5. เมื่อได้ดําเนินการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้จัดส่งสําเนาคําสั่งดังกล่าวให้สํานักงาน ก.พ. สํานักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ออกคําสั่ง เพื่อดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในกรณีที่บัญชีจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง หรือบัญชีจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง มีความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง ทั้งที่ส่วนราชการตรวจพบและแจ้งสํานักงาน ก.พ. หรือสํานักงาน ก.พ. ตรวจพบ สํานักงาน ก.พ. จะได้ดําเนินการปรับปรุงบัญชีดังกล่าวให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง แล้วแจ้งส่วนราชการเพื่อดําเนินการต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดําเนินการต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชรภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2280 3422 0 2282 0362
โทรสาร 0 2282 0874 | 6,195 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 12 เรื่อง การเทียบการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เท่ากับการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1006/ว 12
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง การเทียบการดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เท่ากับการดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - โดยที่มาตรฐานกําหนดตําแหน่งซึ่ง ก.พ. จัดทําตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภท สายงาน และระดับต่าง ๆ ไว้ประการหนึ่งว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดํารงตําแหน่งประเภทใดและระดับใดที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในประเภทและระดับที่สูงขึ้นได้ จะต้องเป็นผู้ที่ได้ดํารงตําแหน่งประเภทนั้นหรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. เทียบได้ไม่ต่ํากว่านี้มาแล้วระยะเวลาหนึ่ง ทําให้ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ไม่ครบตามที่กําหนดไว้
ก.พ. พิจารณาแล้ว เห็นว่า เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญดํารงตําแหน่ง จึงกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเทียบการดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เท่ากับการดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังนี้
1. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน
2. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 5 หรือระดับ 6 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับชํานาญงาน
3. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 7 หรือระดับ 8 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส
4. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ขึ้นไป เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
5. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 3 ระดับ 4 หรือระดับ 5 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ
6. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 6 หรือระดับ 7 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ
7. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 8 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษ
8. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
9. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 10 หรือระดับ 11 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
10. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 8 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงและประเภทบริหารระดับกลาง พ.ศ. 2535 ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น
11. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ตามมาตรา 3 (7) (8) และ (9) แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงและประเภทบริหารระดับกลาง พ.ศ. 2535 ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง
12. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ที่ดํารงตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือรองหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด เทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
13. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 10 หรือระดับ 11 ที่ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้
(1) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง
(2) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีและอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
(3) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
(4) อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมที่ไม่ใช่ตําแหน่งตาม (2) และ (3)
(5) รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง
(6) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(7) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมตาม (2) และ (3)
(8) เอกอัครราชทูต
(9) ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวงเทียบได้ไม่ต่ํากว่าการดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
กรณีใดที่ไม่อาจเทียบการดํารงตําแหน่งในแต่ละประเภทและระดับได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ให้เสนอ ก.พ. พิจารณากําหนดเป็นกรณีๆ ไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 02 281 0977
โทรสาร 02 282 7316 | 6,196 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 3 เรื่อง การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น | ที่ นร 1006/ว 3
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เรื่อง การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 18 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. อนุมัติให้ส่วนราชการอาจคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน โดยให้ส่วนราชการสามารถคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในตําแหน่งอื่นได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด มาเพื่อทราบและปฏิบัติ นั้น
โดยที่การนํารายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ไปขึ้นบัญชีใหม่เป็น "บัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก" ตามหนังสือที่อ้างถึง ทําให้ไม่สามารถย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีดังกล่าวไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว 12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 หรือหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536 หรือหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว 4 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548 ดังนั้น ในระหว่างที่กฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังไม่ใช้บังคับ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดําเนินการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน หรือระดับชํานาญงาน ซึ่งได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามหนังสือที่อ้างถึง ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ในตําแหน่งที่เป็นสายงานเดียวกันกับตําแหน่งในสายงานที่ได้รับการคัดเลือกขึ้นบัญชีไว้ได้ ก.พ. จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญในกรณีดังกล่าว ดังนี้
1. กรณีการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งระดับ 1 และระดับ 2 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 หรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 พิจารณาย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ในตําแหน่งที่เป็นสายงานเดียวกันกับตําแหน่งในสายงานที่ได้รับการคัดเลือกขึ้นบัญชีไว้ได้ เมื่อถึงลําดับที่ที่จะได้รับการบรรจุตามบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกนั้น
2. การย้ายจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งระดับ 3 และระดับ 4 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 หรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญงาน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 พิจารณาย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ในตําแหน่งที่เป็นสายงานเดียวกันกับตําแหน่งในสายงานที่ได้รับการคัดเลือกขึ้นบัญชีไว้ได้ โดยไม่ต้องรอถึงลําดับที่ที่จะได้รับการบรรจุตามบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกนั้น แต่ให้คํานึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับและผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการผู้นั้นประกอบด้วย ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวส่วนราชการจะต้องกําหนดสัดส่วนของตําแหน่งว่างที่จะใช้สําหรับการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้กับการบรรจุบุคคลเพื่อเข้ารับราชการใหม่ให้ชัดเจน เช่น ถ้ามีตําแหน่งว่างมากกว่า 1 ตําแหน่ง ให้กําหนดสัดส่วนการย้ายไม่เกินร้อยละ 50 ของตําแหน่งว่า แต่ถ้าว่างเพียง 1 ตําแหน่ง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ที่จะพิจารณาดําเนินการ
3. การดําเนินการตามข้อ 1 และ 2 บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ (บัญชีหลัก) ที่ส่วนราชการนํามาคัดเลือกเพื่อขึ้นบัญชีเป็นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกนั้น บัญชีดังกล่าวต้องยังไม่ถูกยกเลิกแต่อย่างใด
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1646
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,197 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1011/ว 13 เรื่อง การดำเนินการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1011/ว 13
สํานักงาน ก.พ
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง การดําเนินการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อื่นๆ - ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 แล้วนั้น บัดนี้ ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามมาตรา 48 เสร็จ และจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และประกาศให้ทราบเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แล้ว บทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงนํามาใช้บังคับ ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 131 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ในการใช้บังคับบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาและออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ และระเบียบ หรือกําหนดกรณี เพื่อปฏิบัติการตามบทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ซึ่งอยู่ระหว่างดําเนินการหลายเรื่อง ก.พ. จะต้องกําหนดการดําเนินการตามบทเฉพาะกาล มาตรา 132 วรรคสอง และมาตรา 137 ก.พ. จึงมีมติกําหนดการดําเนินการดังต่อไปนี้
1. เพื่อประโยชน์ในการนําพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ และระเบียบ หรือกรณีที่กําหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิม มาใช้บังคับตามบทเฉพาะกาล มาตรา 132 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ใช้อยู่เดิมให้เทียบเท่ากับตําแหน่งในประเภทและระดับ ตามที่ ก.พ. กําหนด ซึ่งได้แจ้งตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
2. การใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 การดําเนินการต่อไป ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ให้ดําเนินการตามมาตรา 100 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับการเทียบตําแหน่งตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
3. การดําเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการในกรณีที่จะต้องส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. สามัญ ตามมาตรา 104 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด หรือ อ.ก.พ. กรม ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา
(2) ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา
4. การพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ที่อยู่ระหว่างดําเนินการตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 การดําเนินการต่อไปตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ให้ดําเนินการตามมาตรา 101 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการ ให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณา ให้ถือเสมือนว่าผู้ถูกสั่งพักราชการดํารงตําแหน่งเดิมที่เทียบเท่ากับตําแหน่งในประเภทและระดับตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และสําหรับกรณีให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และขณะที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนดํารงตําแหน่งเดิมที่เทียบเท่ากับตําแหน่งในประเภทและระดับ ตามที่ ก.พ. กําหนด ซึ่งได้แจ้งตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
อนึ่ง การดําเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือน ซึ่งมีกรณีกระทําผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 และการดําเนินการเรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ได้มีบทเฉพาะกาลมาตรา 133 มาตรา 134 มาตรา 135 และมาตรา 136 บัญญัติไว้แล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักมาตรฐานวินัย
โทร. 0 2547 1631
โทรสาร 0 2547 1630 | 6,198 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 8 เรื่อง การย้ายโอนเลื่อนหรือบรรจุกลับข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1006/ว 8
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
9 มีนาคม 2552
เรื่อง การย้ายโอนเลื่อนหรือบรรจุกลับข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 10 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 11 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 และตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ก.พ. ได้จัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และแจ้งให้ส่วนราชการดําเนินการแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งตามบัญชีจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง ซึ่งส่วนราชการได้ดําเนินการแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไปแล้ว นั้น
ก.พ.พิจารณาแล้วเห็นว่าโดยที่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทสายงาน และระดับดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป นั้น เป็นกรณีที่ ก.พ. ได้อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญทุกรายที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ดํารงตําแหน่งในประเภทและสายงานนั้นไว้แล้ว ดังนั้น ก.พ.จึงมีมติอนุมัติเป็นหลักการให้ส่วนราชการดําเนินการได้ดังต่อไปนี้
1. อาจย้าย หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอื่นในประเภทและสายงานเดียวกันได้
2.กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวผู้ใดออกจากราชการหรือพ้นจากการดํารงตําแหน่งในประเภทและสายงานนั้นไปแล้วก็อาจบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นให้ดํารงตําแหน่งในประเภทและสายงานเดิมได้
3.ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวมีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกหรือรับคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดํารงดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในประเภทและสายงานเดิมได้เมื่อมีคุณสมบัติประการอื่นครบถ้วน
หลักการดังกล่าวให้ใช้กับข้าราชการพลเรือนสามัญรายอื่นที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งซึ่ง ก.พ. จะอนุมัติต่อไปด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977
โทรสาร 0 2282 7316 | 6,199 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 10014.3/ว 14 เรื่อง การรับรองคุณวุฒิ | ที่ นร 10014.3/ว 14
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง การรับรองคุณวุฒิ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. หลักเกณฑ์ วิธีการรับรองคุณวุฒิและการกําหนดอัตราเงินเดือน จํานวน 1 ฉบับ
2. บัญชีอัตราเงินเดือนและระดับตําแหน่งและประเภทตําแหน่งของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นจากสถานศึกษาในประเทศและต่างประเทศ จํานวน 1 ฉบับ
อื่นๆ - ด้วยมาตรา 8 (10) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ ก.พ. มีอํานาจหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกําหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตําแหน่งและประเภทตําแหน่งสําหรับคุณวุฒิดังกล่าว
ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การรับรองคุณวุฒิเพื่อการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนด ก.พ.จึงมีมติให้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองคุณวุฒิ อัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรวมทั้งระดับและประเภทตําแหน่งของผู้ที่ส่วนราชการประสงค์จะบรรจุเข้ารับราชการ ดังมีรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การกําหนดคุณวุฒิเพื่อเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งสําหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ใช้บังคับสําหรับผู้ที่เข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
กลุ่มหลักสูตรและคุณวุฒิ
โทร. 0 2547 1921 – 7 โทรสาร 0 2547 1928 | 6,200 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004.1/ว 15 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ | ที่ นร 1004.1/ว 15
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 15 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. หลักเกณฑ์ และวิธีดําเนินการ สอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
2. หลักสูตร และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
3. หลักเกณฑ์ และวิธีการนํารายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งอื่น
อื่นๆ - ด้วยมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ได้บัญญัติว่า การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลําดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
ก.พ. พิจารณาแล้วจึงมีมติให้กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการไว้ ดังต่อไปนี้
1. การดําเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้มีการสอบ 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่ง และภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง โดยมีผู้ดําเนินการ ดังนี้
(1) ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ในกรณีที่ ก.พ. ไม่ได้ดําเนินการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ก.พ. อาจมอบหมายให้ส่วนราชการเป็นผู้ดําเนินการสอบก็ได้
(2) ส่วนราชการดําเนินการสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่ง และภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง เพื่อบรรจุในตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง โดยรับสมัครจากผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของ ก.พ.
ในวุฒิการศึกษาที่ ก.พ. ยังมิได้ดําเนินการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ให้ส่วนราชการดําเนินการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่ง และภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง เพื่อบรรจุในตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่งโดยใช้ข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของ ก.พ.
(3) ในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ. อาจดําเนินการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่ง และภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง สําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่งหรือหลายตําแหน่งก็ได้
2. การดําเนินการสอบแข่งขัน ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีดําเนินการ ที่ ก.พ. กําหนดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1
3.ให้ผู้สมัครสอบเสียค่าธรรมเนียมสอบสําหรับการสมัครสอบดังนี้
(1) อัตราครั้งละ100 บาทสําหรับสอบเฉพาะภาคความรู้ความสามารถทั่วไป
(2) อัตราตําแหน่งละ 200 บาท สําหรับสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่ง และภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
(3) อัตราตําแหน่งละ 300 บาท สําหรับสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งและภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
ค่าธรรมเนียมสอบจะไม่จ่ายคืนให้เมื่อได้ประกาศรายชื่อว่าเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบแล้ว เว้นแต่มีการยกเลิกการสอบครั้งนั้นทั้งหมด เนื่องจากมีการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตตามข้อ 6 จึงให้จ่ายคืนค่าธรรมเนียมสอบแก่ผู้สมัครสอบเฉพาะผู้ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตนั้น
4.การตัดสินว่าผู้ใดเป็นผู้สอบได้ให้ถือเกณฑ์ว่าต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนในการสอบแต่ละภาค ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงหลักวิชาการวัดผลด้วย
5. การสอบแข่งขันจะต้องสอบตามหลักสูตรทุกภาคตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 เว้นแต่ ก.พ. จะพิจารณากําหนดเป็นอย่างอื่น
ในการสอบแข่งขัน คณะกรรมการดําเนินการสอบแข่งขันจะกําหนดให้ผู้สมัครสอบสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป หรือภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งก่อน แล้วจึงให้ผู้ที่สอบได้คะแนนตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4 สอบในภาคอื่นต่อไปก็ได้
6. กรณีที่ปรากฏว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตอันอาจทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการสอบแข่งขัน ให้คณะกรรมการดําเนินการสอบแข่งขันรายงานให้ผู้ดําเนินการสอบแข่งขันทราบ เพื่อพิจารณาว่าจะสมควรยกเลิกการสอบแข่งขันครั้งนั้นทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ไปแล้วหรือไม่ หรือจะพิจารณายกเลิกการสอบแข่งขันเฉพาะวิชาหรือเฉพาะภาคที่เกิดการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตตามแต่จะเห็นสมควร ถ้าหากผู้ดําเนินการสอบแข่งขันให้ยกเลิกการสอบแข่งขันเฉพาะวิชาใดหรือเฉพาะภาคใดแล้วก็ให้ดําเนินการสอบแข่งขันเฉพาะวิชานั้นหรือเฉพาะภาคนั้นใหม่ สําหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตไม่มีสิทธิเข้าสอบอีกต่อไป
7. การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เรียงลําดับที่จากผู้สอบได้คะแนนรวมสูงสุดลงมาตามลําดับ ในกรณีที่มีผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้สอบได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตําแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลําดับที่สูงกว่าถ้าได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตําแหน่งเท่ากัน ให้ผู้ได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลําดับที่สูงกว่า ถ้ายังคงได้คะแนนเท่ากันอีกก็ให้ผู้ได้รับเลขประจําตัวสอบก่อนเป็นผู้อยู่ในลําดับที่สูงกว่า
8. บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันขึ้นบัญชี แต่ถ้ามีการสอบแข่งขันอย่างเดียวกันนั้นอีก และได้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งก่อนเป็นอันยกเลิก เว้นแต่ในกรณีที่ได้มีการเรียกตัวผู้สอบแข่งขันได้ผู้ใดให้มารายงานตัวเพื่อรับการบรรจุไปแล้วก่อนบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะมีอายุเกิน 2 ปี หรือก่อนมีการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่ แล้วแต่กรณี ก็ให้การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งก่อนนั้นยังคงมีผลใช้ได้ต่อไป แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่บัญชีผู้สอบแข่งขันได้นั้นมีอายุครบ 2 ปี หรือวันที่ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่ แล้วแต่กรณี
9. กรณีที่ส่วนราชการมีตําแหน่งว่างในตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ซึ่งต้องการบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาอย่างเดียวกัน และมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันกับตําแหน่งที่ได้มีการสอบแข่งขันและขึ้นบัญชีไว้ ให้ส่วนราชการสามารถนํารายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งอื่นได้โดยเรียกผู้สอบแข่งขันได้มารับการประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดในสิ่งที่ส่งมาด้วย 3 โดยให้เรียกเป็นจํานวน 3 เท่าของตําแหน่งว่างแต่ไม่น้อยกว่า10คน โดยเรียกตั้งแต่ลําดับแรกของผู้ที่ยังไม่ได้รับการบรรจุไปตามลําดับต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยไม่ซ้ํากัน และเมื่อเรียกจนถึงคนสุดท้ายในบัญชีแล้ว แต่บัญชียังไม่ยกเลิกให้ย้อนกลับมาเริ่มเรียกตั้งแต่ลําดับแรกของผู้ที่ยังไม่ได้รับการบรรจุอีก ในกรณีที่มีผู้สอบแข่งขันได้เหลืออยู่ในบัญชีน้อยกว่า 10 คนให้เรียกตามจํานวนที่เหลืออยู่ในบัญชีได้
ทั้งนี้ คําว่า“ตําแหน่งอื่น”ให้หมายถึงชื่อตําแหน่งเดียวกันแต่ต่างส่วนราชการด้วย
10.ผู้ใดได้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ถ้ามีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้คือ
(1) ผู้นั้นได้ขอสละสิทธิจากการบรรจุและแต่งตั้งในตําแหน่งที่สอบได้
(2) ผู้นั้นไม่มารายงานตัวเพื่อรับการบรรจุเข้ารับราชการภายในเวลาที่ส่วนราชการกําหนดโดยมีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ(EMS)แจ้งให้ทราบกําหนดเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ที่ทําการไปรษณีย์รับฝาก หรือมีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแจ้งให้ทราบกําหนดเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า10วันนับตังแต่วันที่ที่ทําการไปรษณีย์รับฝาก
(3) ผู้นั้นมีเหตุที่ไม่อาจเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามกําหนดเวลาที่จะบรรจุและแต่งตั้งในตําแหน่งที่สอบแข่งขันได้
(4) ผู้นั้นประสงค์จะรับการบรรจุและแต่งตั้งในตําแหน่งที่สอบแข่งขันได้โดยการโอน แต่ส่วนราชการที่จะบรรจุไม่รับโอน และได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วว่าจะไม่รับโอนผู้นั้นจึงไม่ประสงค์จะรับการบรรจุและแต่งตั้ง
(5) ผู้นั้นได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตําแหน่งใดที่สอบได้ไปแล้วให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ทุกบัญชีในการสอบครั้งเดียวกัน
ในกรณีที่เป็นการประกาศรับสมัครสอบครั้งเดียวกัน ตําแหน่งเดียวกัน ประเภทเดียวกัน ระดับเดียวกัน และแยกขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เป็นรายบัญชี เพื่อบรรจุในกระทรวง กรม เป็นการทั่วไป ในหน่วยราชการใด และในท้องที่ใดไว้แล้ว ถ้ามีกรณีจะต้องยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้ใดจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้บัญชีใดก็ให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้บัญชีอื่นดังกล่าวด้วย
11. ผู้ใดถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้บัญชีใดไปแล้ว ถ้าบัญชีนั้นยังไม่ยกเลิก และ ก.พ. หรือส่วนราชการ แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นว่า ผู้นั้นมีหลักฐานว่ามีเหตุผลอันสมควรมิได้หลีกเลี่ยงหรือเลือกโอกาสที่จะบรรจุ จะอนุมัติให้ขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีเดิมเป็นลําดับแรก ที่จะบรรจุในครั้งต่อไปตามเดิมก็ได้ สําหรับผู้ซึ่งถูกยกเลิกการขึ้นบัญชี เนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อออกจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะเข้ารับราชการในตําแหน่งที่สอบได้ และบัญชีผู้สอบแข่งขันได้นั้นยังไม่ยกเลิก ให้ขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีเดิม เป็นลําดับแรกที่จะบรรจุในครั้งต่อไป
12. หลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ 1 (2) วรรคแรก ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552
13. การใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการตามหนังสือที่อ้างถึง ก่อนวันที่หนังสือฉบับนี้ใช้บังคับให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามหนังสือดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่มีการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ไปก่อนวันที่หนังสือนี้จะมีผลใช้บังคับแต่บัญชีนั้นยังมีอายุหรือใช้ได้อยู่ หรือบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ตามหนังสือฉบับนี้ ทั้งนี้ บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งใด หาก ก.พ. จัดตําแหน่งนั้นให้เป็นตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ก็ให้ถือว่าเป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตําแหน่งประเภท สายงาน และระดับนั้น และให้บรรจุแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าวต่อไปได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
กลุ่มงานระบบการสรรหาบุคคลเพื่อรับราชการ
โทร. 0 2547 1941-48
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,201 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 9 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการและประเภททั่วไป | ที่ นร 1008/ว 9
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
10 มีนาคม 2552
เรื่อง การกําหนดตําแหน่งประเภทวิชาการและประเภททั่วไป
เรียน (เวียน กระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. หลักเกณฑ์การประเมินค่างานสําหรับตําแหน่งประเภทวิชาการและประเภททั่วไป
2. ตัวอย่างแบบบันทึกเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง
อื่นๆ - ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47 บัญญัติว่า ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใดจํานวนเท่าใดและเป็นตําแหน่งประเภทใดสายงานใดระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ.กระทรวงกําหนดโดยต้องคํานึงถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลักทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.กําหนดและต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามมาตรา 48
ก.พ. จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งเพื่อ อ.ก.พ. กระทรวง ใช้เป็นแนวทางในการกําหนดตําแหน่ง ดังนี้
1. กรณีที่ ก.พ.กําหนดตําแหน่งประเภทวิชาการและตําแหน่งประเภททั่วไปไว้หลายระดับตามบัญชีจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 131แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งเป็นระดับที่ต่ําลงหรือสูงขึ้นได้โดยไม่เปลี่ยนประเภทตําแหน่งและสายงาน ภายในกรอบระดับตําแหน่ง ดังนี้
ก) ตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1)ระดับปฏิบัติการ หรือชํานาญการ
(2)ระดับปฏิบัติการ หรือชํานาญการ หรือชํานาญการพิเศษ
ข) ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน หรือชํานาญงาน
ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1.1 การกําหนดตําแหน่งเป็นระดับต่ําลงให้พิจารณาโดยคํานึงถึงเหตุผลความจําเป็น
1.2 การกําหนดตําแหน่งเป็นระดับสูงขึ้นให้พิจารณาโดยคํานึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานที่เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญถึงขนาดที่ต้องปรับตําแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น โดยมีการประเมินค่างานตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างาน ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1
2. การปรับปรุงชื่อตําแหน่งในสายงาน โดยไม่เปลี่ยนประเภทและระดับตําแหน่ง ให้พิจารณาดําเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
2.1 เป็นสายงานที่ ก.พ.กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และสอดคล้องกับบทบาท ภารกิจ ของส่วนราชการ หน้าที่และความรับผิดชอบ และลักษณะงานที่ปฏิบัติของตําแหน่ง
2.2 ไม่เป็นการปรับปรุงชื่อตําแหน่งในสายงานที่สงวนไว้เพื่อบรรจุนักเรียนทุนรัฐบาล
2.3 ไม่เป็นการปรับปรุงชื่อตําแหน่งในสายงานแพทย์และสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการทางการแพทย์
2.4 ไม่เป็นการปรับปรุงชื่อตําแหน่งในสายงานให้เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง หรือเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
2.5 การปรับปรุงชื่อตําแหน่งในสายงานให้ดําเนินการได้เมื่อเป็นตําแหน่งว่าง สําหรับกรณีที่มีผู้ดํารงตําแหน่ง ให้กระทําได้เมื่อผู้ดํารงตําแหน่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งโดยคํานึงถึงเหตุผลความจําเป็นและความเหมาะสมในการบริหารตําแหน่งด้วย
3. การตัดโอนตําแหน่งและอัตราเงินเดือนภายในกรม โดยไม่เปลี่ยนประเภทและระดับตําแหน่งให้พิจารณาดําเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
3.1 ภารกิจและปริมาณงานของส่วนราชการที่ตําแหน่งสังกัดอยู่เดิมลดลงหรือหมดความจําเป็น และส่วนราชการที่จะตัดโอนตําแหน่งไปกําหนดมีภารกิจและปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
3.2 ไม่เป็นการตัดโอนตําแหน่งและอัตราเงินเดือนที่กําหนดไว้ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค หรือราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคไปกําหนดเป็นตําแหน่งและอัตราเงินเดือนในราชการบริหารส่วนกลาง เว้นแต่กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภารกิจของส่วนราชการที่เป็นสาระสําคัญ และไม่กระทบต่อการบริการประชาชนในส่วนภูมิภาค
4. การปรับปรุงการกําหนดตําแหน่ง ตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ให้มีผลไม่ก่อนวันที่ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติ และไม่มีผลทําให้งบประมาณรายจ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการเพิ่มสูงขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลเมื่ออ.ก.พ.กระทรวงได้มีมติเป็นประการใดแล้วให้แจ้งส่วนราชการที่ปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งทราบ สําหรับกรณีที่มีมติอนุมัติการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งให้แจ้งให้สํานักงาน ก.พ. และกรมบัญชีกลางทราบด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไปทั้งนี้ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2282 0362 , 0 2281 9707
โทรสาร 0 2282 0874 | 6,202 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004.1/ว 16 เรื่อง การคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ | ที่ นร 1004.1/ว 16
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง การคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 1 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2536
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ตามกรณีที่ 1 (1) และ 1 (2)
2. หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ตามกรณีที่ 1 (3)
3. แบบใบสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
4. แบบหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหาร
อื่นๆ - ด้วยมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 อาจคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง โดยไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา 53 ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
ก.พ. พิจารณาแล้ว จึงมีมติให้กําหนดเหตุพิเศษ หลักเกณฑ์ และวิธีการให้ส่วนราชการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งได้โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน ดังต่อไปนี้
1. กรณีเหตุพิเศษซึ่งส่วนราชการอาจคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งได้ มีดังนี้
(1) กรณีเป็นผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สําเร็จการศึกษาแล้ว
(2) กรณีเป็นผู้สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่ ก.พ. อนุมัติให้ส่วนราชการจัดให้มีการศึกษาขึ้นเพื่อเข้ารับราชการในส่วนราชการใดส่วนราชการนั้นโดยเฉพาะ
(3) กรณีเป็นผู้สําเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. จะกําหนด
(4) กรณีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งไม่สามารถมารับการบรรจุได้เมื่อถึงลําดับที่ที่สอบได้ เพราะอยู่ระหว่างรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและได้มารายงานตัวขอรับการบรรจุเมื่อบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ที่ผู้นั้นสอบได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
(5) กรณีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้โดยได้มารายงานตัวเพื่อขอรับการบรรจุแล้ว แต่มีเหตุที่ไม่อาจเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตําแหน่งที่สอบแข่งขันได้ตามกําหนดเวลาที่ทางราชการจะบรรจุและแต่งตั้ง
(6) กรณีอื่นที่ ก.พ. อนุมัติ
2. สําหรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งนั้น ให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) กรณีตามข้อ 1 (1) และข้อ 1 (2) ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในสิ่งที่ส่งมาด้วย 1
(2) กรณีตามข้อ 1 (3) ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในสิ่งที่ส่งมาด้วย 2
(3) กรณีตามข้อ 1 (4) ให้ผู้ประสงค์จะขอรับการบรรจุตามกรณีนี้ ยื่นใบสมัครตามแบบที่กําหนดไว้ในสิ่งที่ส่งมาด้วย 3 และหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหารตามแบบที่กําหนดไว้ในสิ่งที่ส่งมาด้วย 4 พร้อมด้วยสําเนาหลักฐานการศึกษาและสําเนาหลักฐานการรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และมารายงานตัวเพื่อขอรับการบรรจุเข้ารับราชการภายในเวลา 180 วัน นับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ก็ให้ดําเนินการสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ผู้นั้นเคยสอบแข่งขันได้ที่มีว่างอยู่ได้
(4) กรณีตามข้อ 1 (5) ให้ผู้ประสงค์จะขอรับการบรรจุตามกรณีอื่นยื่นหนังสือแสดงความจํานงขอบรรจุเข้ารับราชการและเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 15 วัน นับแต่กําหนดเวลาที่ทางราชการจะบรรจุและแต่งตั้ง
เมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 พิจารณาเห็นสมควรที่จะบรรจุผู้นั้นเข้ารับราชการแล้ว ก็ให้ดําเนินการสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ผู้นั้นได้มารายงานตัวเพื่อขอรับการบรรจุไว้แล้ว ที่มีว่างอยู่ได้
3. การใดที่ได้ดําเนินการโดยถูกต้องตามมติ ก.พ. ตามหนังสือที่อ้างถึงเสร็จไปแล้ว ก่อนวันมีหนังสือฉบับนี้ให้เป็นอันใช้ได้ และกรณีที่ได้ดําเนินการไปแล้ว แต่ยังไม่เสร็จก็ให้ดําเนินการตามหนังสือดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะเสร็จ กรณีที่ส่วนราชการได้ดําเนินการคัดเลือกและขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกแล้ว ก็ยังสามารถนําบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวมาใช้เพื่อดําเนินการบรรจุและแต่งตั้งให้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้จนกว่าจะครบกําหนดเวลาที่ประกาศไว้ แต่ไม่สามารถดําเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึงอีก
กรณีที่มีการดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่งใดตามหนังสือที่อ้างถึงไปแล้วก่อนวันที่หนังสือฉบับนี้ใช้บังคับ หากจะต้องดําเนินการบรรจุแต่งตั้งหลังวันที่หนังสือนี้ใช้บังคับและ ก.พ. จัดตําแหน่งนั้นให้เป็นตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ก็ให้ถือว่าเป็นบัญชีผู้ได้รับคัดเลือกในตําแหน่งประเภท สายงาน และระดับนั้น และให้บรรจุแต่งตั้งในตําแหน่งดังกล่าวต่อไปได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดต่าง ๆ ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
กลุ่มงานระบบการสรรหาบุคคลเพื่อรับราชการ
โทร. 0 2547 1941 - 48
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,203 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 17 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1008/ว 17
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/17951 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
สิ่งที่ส่งมาด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้มีบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงและบัญชีอัตราเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยแบ่งออกเป็น 4 บัญชีตามประเภทตําแหน่งที่กําหนดไว้ตามมาตรา 45 ประกอบกับมาตรา 138 บัญญัติให้การปรับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติตามมาตรา 138 ตามที่ ก.พ. เสนอ
สํานักงาน ก.พ. จึงขอแจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด ดังปรากฏรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดต่าง ๆ ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2282 3422, 0 2282 0362 โทรสาร 0 2282 0874 | 6,204 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012/ว 10 เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 | ที่ นร 1012/ว 10
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
24 มีนาคม 2552
เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ กฎ ก.พ. ดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 15 ก วันที่ 17 มีนาคม 2552 แล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1841
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,205 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 18 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการและระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ | ที่ นร 1006/ว 18
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจําตําแหน่งสําหรับตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการและระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - ด้วย กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2551 ข้อ 3 กําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสายงานตามบัญชีกําหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งท้ายกฎ ก.พ. ในตําแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราที่กําหนด ส่วนการได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการและระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ ตามข้อ 3 (6) และ (10) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
ก.พ. จึงกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจําตําแหน่งสําหรับตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการและระดับทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1.กรณีการได้รับเงินประจําตําแหน่งสําหรับผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ
1.1 ต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
1.2 ต้องผ่านการประเมินคุณสมบัติและผลงานจากส่วนราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ สําหรับใช้ในการประเมินเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 7 (วิชาชีพเฉพาะ) เดิม
2.กรณีการได้รับเงินประจําตําแหน่งสําหรับผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
2.1 ต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.2 ต้องผ่านการประเมินคุณสมบัติและผลงานจาก ก.พ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ สําหรับใช้ในการประเมินเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับ 11 (เชี่ยวชาญเฉพาะ/วิชาชีพเฉพาะ) เดิม
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
นายปรีชา วัชราภัย
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 02 281 0977 โทรสาร 02 282 7316 | 6,206 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 19 เรื่อง อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1006/ว 19
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48 บัญญัติให้ ก.พ. จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงานและจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน และในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งได้กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ประการหนึ่งว่า จะต้องเป็นผู้ที่ได้ดํารงตําแหน่งประเภทนั้น หรือตําแหน่งอื่นตามที่ ก.พ. เทียบได้ในระดับต่ําลงไปมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทําให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 อยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 มีระยะเวลาการดํารงตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งไม่ครบตามที่กําหนดไว้
บัดนี้ ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งและจัดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตําแหน่ง สายงานและระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งเสร็จและประกาศให้ทราบตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งในครั้งแรกของแต่ละบุคคล ทั้งในกรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น หรือการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่างประเภทตําแหน่งที่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดสําหรับการเลื่อนตําแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ก.พ. จึงอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติเรื่องระยะเวลาการดํารงตําแหน่งต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งได้เป็นการเฉพาะคราวในครั้งแรกของแต่ละบุคคล ดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร
1.1 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
1.2 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 10 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สําหรับตําแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 9 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สําหรับตําแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่า
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 9 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี สําหรับตําแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ
2.1 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้นได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 6 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.2 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูงได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ
3.1 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งในสายงานและระดับต่างๆ ได้ เว้นแต่กรณีตามข้อ 3.2 ข้อ 3.3 และข้อ 3.4
(1) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 4 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(2) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 6 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
(3) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
(4) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 9 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3.2 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งในสายงานแพทย์ ระดับต่าง ๆ
(1) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ระดับ ชํานาญการ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ 5 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่านายแพทย์ 4 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(2) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ ระดับชํานาญการพิเศษ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่านายแพทย์ 6 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
(3) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ ระดับเชี่ยวชาญ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่านายแพทย์ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
(4) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งนายแพทย์ 9 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่านายแพทย์ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3.3 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งในสายงานทันตแพทย์ระดับต่าง ๆ
(1) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ ระดับชํานาญการ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ 5 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าทันตแพทย์ 4 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(2) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ ระดับชํานาญการพิเศษ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าทันตแพทย์ 6 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
(3) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ ระดับเชี่ยวชาญ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าทันตแพทย์ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
(4) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งทันตแพทย์ 9 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าทันตแพทย์ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3.4 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งในสายงานการทูตระดับต่าง ๆ
(1) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งนักการทูต ระดับชํานาญการ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งเจ้าหน้าที่การทูต 5 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าเจ้าหน้าที่การทูต 4 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(2) ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งนักการทูต ระดับชํานาญการพิเศษ ได้
ก. ผู้ดํารงตําแหน่งเจ้าหน้าที่การทูต 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
ข. ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าเจ้าหน้าที่การทูต 6 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป
4.1 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน ได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า2 ปี หรือ
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 3 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
4.2 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 6 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 5 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
4.3 ให้แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งในระดับ 8 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977
โทรสาร 0 2282 7316 | 6,207 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 11 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น | ที่ นร 1008/ว 11
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
24 มีนาคม 2552
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 62 บัญญัติให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้นตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง และในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งก็ได้ แต่โดยที่มาตรฐานกําหนดตําแหน่งของตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ได้กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ประการหนึ่งว่า จะต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือดํารงตําแหน่งอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ํากว่านี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด จึงทําให้ข้าราชการพลเรือนสามัญบางรายซึ่งเคยดํารงตําแหน่งในระดับ 7 หรือระดับ 8 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 อยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ตามที่มาตรฐานกําหนดตําแหน่งกําหนดไว้
ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ได้เป็นการเฉพาะคราวในครั้งแรกของแต่ละบุคคล จึงมีมติอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ต้องดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ หรือ
2. ต้องดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ และเคยดํารงตําแหน่งในระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่า มาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
3. ต้องดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส และเคยดํารงตําแหน่งในระดับ 8 หรือ
4. ต้องดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส และเคยดํารงตําแหน่งในระดับ 7 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่า มาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ปี
สําหรับการที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น จะต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดไว้ในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 7 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552 หรือหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 แล้วแต่กรณี
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2280 3422
โทรสาร 0 2282 0874 | 6,208 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012/ว 12 เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552 | ที่ นร 1012/ว 12
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
21 เมษายน 2552
เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552 รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้ กฎ ก.พ. ดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 23 ก วันที่ 8 เมษายน 2552 แล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
ผู้มีอํานาจลงนาม - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1830
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,209 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1013.8.5/ว 20 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศ | ที่ นร 1013.8.5/ว 20
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
11 ธันวาคม 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 75 บัญญัติว่า การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้วางระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการที่อยู่ในสังกัดส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของฝ่ายบริหาร หมายความรวมถึงข้าราชการพลเรือนสามัญด้วยแล้ว ดังนั้น ก.พ. จึงมีมติกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ โดยให้นําระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัยและดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549 มาใช้บังคับ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
นายปรีชา วัชราภัย
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
กลุ่มการศึกษาและฝึกอบรมในต่างประเทศ
โทร. 022819453, 022813333 ต่อ 2130
โทรสาร 026286202 | 6,210 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 21 เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1008/ว 21
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
22 ธันวาคม 2551
เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 189 ง วันที่ 15 ธันวาคม 2551 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
นายปรีชา วัชราภัย
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2282 3422, 0 2282 0362
โทรสาร 0 2282 0874 | 6,211 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008.1/ว 13 เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 | ที่ นร 1008.1/ว 13
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
24 เมษายน 2552
เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
2. ประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 กับประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 52 ง วันที่ 9 เมษายน 2552 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 และ 2
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 8100 8101 8104
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,212 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 14 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) | ที่ นร 1008/ว 14
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
24 เมษายน 2552
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.)
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 13 ลงวันที่ 24 เมษายน 2552
สิ่งที่ส่งมาด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.)
อื่นๆ - ตามที่ ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และมีหนังสือที่อ้างถึงแจ้งกระทรวง กรม และจังหวัด เพื่อถือปฏิบัติ ซึ่งในประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ได้กําหนดให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการในสายงานนิติการ ตําแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ และประเภทอํานวยการ สายงานอํานวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับต้น เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "พ.ต.ก." จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขประการหนึ่งว่า "ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐกําหนด" นั้น
บัดนี้ อ.ก.พ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 1984 8100 8101 8119 8121
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,213 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1003/ว 15 เรื่อง แนวทางการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการเพื่อเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง | ที่ นร 1003/ว 15
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม.10300
29 เมษายน 2552
เรื่อง แนวทางการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการเพื่อเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1003/ ว 7 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2550
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้มีมติเห็นชอบให้นําระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงมาใช้สําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อเตรียมข้าราชการสําหรับการดํารงตําแหน่งนักบริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ นั้น
ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางการสรรหาและคัดเลือกตามที่กําหนดในข้อ 2 ของเอกสารรายละเอียด เรื่อง ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 ของหนังสือที่อ้างถึง ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ที่ได้มีการปรับปรุงระบบตําแหน่งใหม่ โดยแบ่งออกเป็นประเภทและระดับตําแหน่ง ก.พ. จึงมีมติให้ปรับปรุงแนวทางการสรรหาและคัดเลือกในข้อ 2 ดังกล่าว เป็นดังนี้
2. การสรรหาและคัดเลือก
2.1 แนวทางการสรรหา
2.1.1 การสรรหาข้าราชการเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงสูง สามารถดําเนินการได้ 2 แนวทาง ดังนี้
(1) ผู้บังคับบัญชาระดับต้นที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน และผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป (ผู้อํานวยการกอง/ผู้อํานวยการสํานัก) พิจารณาเสนอชื่อข้าราชการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ ก.พ.กําหนดโดยคํานึงถึงความสมัครใจของข้าราชการผู้นั้นด้วย
(2) ข้าราชการผู้มีคุณสมบัติตรงตามที่ ก.พ. กําหนดสมัครด้วยตนเองพร้อมด้วยความเห็นของผู้บังคับบัญชาระดับผู้อํานวยการกอง/ผู้อํานวยการสํานัก
ทั้งนี้ ขอรับใบสมัครได้ที่หน่วยงานการเจ้าหน้าที่ที่ตนสังกัด หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครได้จากเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.พ. (www.ocsc.go.th)
2.1.2 คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิสมัคร ดังต่อไปนี้
(1) เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
(1.1) กรณีบรรจุด้วยคุณวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ต้องมีอายุราชการไม่น้อยกว่าสองปี หรือ
(1.2) กรณีบรรจุด้วยคุณวุฒิปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ต้องมีอายุราชการไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
(1.3) กรณีได้รับคุณวุฒิปริญญาโทเพิ่มขึ้น และได้ปรับเงินเดือนตามคุณวุฒิแล้ว หรือกรณีได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นและเป็นคุณวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้เป็นคุณวุฒิคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการให้ลดอายุราชการเป็นไม่น้อยกว่าหนึ่งปีได้หรือ
(1.4) กรณีดํารงตําแหน่งประเภททั่วไปแล้วได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการโดยใช้คุณวุฒิปริญญา อาจนําระยะเวลาการดํารงตําแหน่งเดิมมานับรวมกับระยะเวลาการดํารงตําแหน่งปัจจุบันเพื่อให้มีอายุราชการ ดังนี้
(1.4.1) อายุราชการรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี สําหรับคุณวุฒิปริญญาตรี หรือ
(1.4.2) อายุราชการรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี สําหรับคุณวุฒิปริญญาโทหรือปริญญาเอก
(2)ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการในส่วนราชการที่สมัครอย่างน้อย 1 ปี
(3) มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานและมีผลการปฏิบัติราชการโดยเฉลี่ยในระดับดีมาก
(4)เป็นผู้ที่มีศักยภาพที่เหมาะสมสําหรับการพัฒนา
(5) มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดีมาก ตลอดจนมีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์ในระดับที่ใช้งานได้ดี
(6) เป็นผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ทั้งนี้ อ.ก.พ. กรม คณะกรรมการที่ อ.ก.พ. กรมแต่งตั้ง หรือคณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งแล้วแต่กรณี อาจกําหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิสมัครเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
สําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่สําเร็จการศึกษาหลักสูตรโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ให้ใช้คุณสมบัติและหลักเกณฑ์เดียวกันกับข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป เว้นแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญที่สําเร็จการศึกษาหลักสูตรโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ให้เข้าสู่ระบบได้ตามความสมัครใจ
2.2 แนวทางการคัดเลือก
การคัดเลือกข้าราชการเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงประกอบด้วย 2 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้
2.2.1 การคัดเลือกขั้นตอนที่ 1
(1) การคัดเลือก ส่วนราชการอาจพิจารณาเลือกดําเนินการแนวทางใดแนวทางหนึ่งได้ดังนี้
แนวทางที่ 1 ดําเนินการคัดเลือกโดย อ.ก.พ. กรม
แนวทางที่ 2 ดําเนินการโดยคณะกรรมการที่ อ.ก.พ. กรมแต่งตั้ง หรือ
แนวทางที่ 3 ดําเนินการโดยคณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการเป็นประธานคณะกรรมการ และอย่างน้อยกรรมการต้องประกอบด้วย ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือตําแหน่งประเภทอํานวยการของส่วนราชการที่กํากับดูแลงานปรับปรุงโครงสร้างและระบบงาน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือตําแหน่งประเภทอํานวยการของส่วนราชการที่กํากับดูแลงานนโยบายและยุทธศาสตร์ และผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการในระดับสูงสุดของส่วนราชการ
(2) การรายงานผลการคัดเลือก
(2.1) การรายงานผลต่อ อ.ก.พ.กรม ให้คณะกรรมการที่ อ.ก.พ. กรมแต่งตั้ง หรือคณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งแล้วแต่กรณี รายงานผลการคัดเลือกให้ อ.ก.พ. กรมเพื่อทราบ
(2.2) การรายงานผลต่อสํานักงาน ก.พ. ให้ส่วนราชการแจ้งผลการคัดเลือกพร้อมรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกขั้นตอนที่ 1 ให้สํานักงาน ก.พ. เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกขั้นตอนที่ 2 และประโยชน์ในการศึกษาและพัฒนาระบบการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการผู้มีศักยภาพสูงภาคราชการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(3) สัดส่วนจํานวนข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง
จํานวนข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกในขั้นตอนที่ 1 เมื่อรวมกับจํานวนข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงที่มีอยู่แล้ว จะต้องไม่เกินจํานวนตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิของส่วนราชการนั้น ๆ รวมกัน
2.2.2 การคัดเลือกขั้นตอนที่ 2 สํานักงาน ก.พ. จะคัดเลือก โดยวิธีการประเมินที่ ก.พ. กําหนด เพื่อให้ข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในแต่ละส่วนราชการมีคุณภาพและมาตรฐานที่เทียบเคียงกัน
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการทําให้ไม่อาจดําเนินการตามแนวทางการสรรหาและคัดเลือกดังกล่าวข้างต้น ให้ส่วนราชการขอทําความตกลงกับ ก.พ. เป็นกรณี ๆ ไป”
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - กลุ่มยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
ศูนย์นักบริหารระดับสูง
โทรศัพท์ 0 2547 1705 โทรสาร 0 2547 1736 | 6,214 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 4 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตำแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1008/ว 4
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
27 มีนาคม พ.ศ.2558
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 30 ลงวันที่ 15 กันยายน 2553
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 รวม 23 ประเภท มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ นั้น
โดยที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 จัดตั้งกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในสํานักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี การจัดโครงสร้างและอัตรากําลังให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด และคณะรัฐมนตรีได้กําหนดให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนประจํา กอ.รมน. ให้นําพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ประกอบกับตําแหน่งและการเทียบตําแหน่งข้าราชการทหาร และข้าราชการตํารวจในบางตําแหน่ง ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ ก.พ. จึงมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังนี้
1. เพิ่มเติมการเทียบตําแหน่งข้าราชการพลเรือนประจํา กอ.รมน. เท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นข้อ 24. ในข้อ ก. ของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งแนบท้ายหนังสือที่อ้างถึง "24. ข้าราชการพลเรือนประจํากองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร"
2. ยกเลิกการเทียบตําแหน่งข้าราชการทหาร ตําแหน่งหลักชั้นสัญญาบัตรอื่น และชั้นประทวนตามตารางการเทียบตําแหน่งข้าราชการทหารแนบท้ายหนังสือที่อ้างถึง และให้ใช้การเทียบตําแหน่งข้าราชการทหารตําแหน่งหลักชั้นสัญญาบัตรอื่นและชั้นประทวน ดังนี้ แทน
การเทียบตําแหน่งข้าราชการ
| | |
| --- | --- |
| ข้าราชการทหาร | ข้าราชการพลเรือนสามัญ |
| ตําแหน่งหลัก | ชั้นยศ | ประเภททั่วไป | ประเภทวิชาการ | ประเภทอํานวยการ | ประเภทบริหาร |
| ชั้นสัญญาบัตรอื่น | พ.อ./น.อ.พ.ต.-พ.ท./น.ต.-น.ทร.ต.-ร.อ. | --- | ระดับชํานาญการพิเศษระดับชํานาญการระดับปฏิบัติการ | --- | --- |
| ชั้นประทวน | จ.ส.ต.-จ.ส.อ.พ.จ.ต.-พ.จ.อ.พ.อ.ต.-พ.อ.อ | ระดับชํานาญงาน | - | - | - |
| ส.ต.-ส.อ./จ.ต.-จ.อ. | ระดับปฏิบัติงาน | - | - | - |
3. ยกเลิกการเทียบตําแหน่งข้าราชการตํารวจ ตําแหน่งผู้บังคับหมู่ รองผู้บังคับหมู่ และลูกแถย ตามตารางเทียบตําแหน่งข้าราชการตํารวจแนบท้ายหนังสือที่อ้างถึง และให้ใช้การเทียบตําแหน่งข้าราชการตํารวจตําแหน่งหลักผู้บังคับหมู่ และรองผู้บังคับหมู่ ดังนี้ แทน
การเทียบตําแหน่งข้าราชการตํารวจ
| | |
| --- | --- |
| ข้าราชการ | ข้าราชการพลเรือนสามัญ |
| ตําแหน่งหลัก | ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น | ชั้น/ยศ | ประเภททั่วไป | ประเภทวิชาการ | ประเภทอํานวยการ | ประเภทบริหาร |
| ผู้บังคับหมู่ | -- | จ.ส.ต.-ด.ตส.ต.ต.-ส.ต.อ | ระดับชํานาญงานระดับปฏิบัติงาน | -- | -- | -- |
| รองผู้บังคับหมู่ | - | พลตํารวจ | ระดับปฏิบัติงาน | - | - | - |
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6632
โทรสาร 0 2547 1982 | 6,215 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004.3/ว 5 เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน | ที่ นร 1004.3/ว 5
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
7 พฤษภาคม 2558
เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.3/ว 21 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2554
สิ่งที่ส่งมาด้วย คู่มือปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ ก.พ. รับรอง จํานวน 1 เล่ม
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง นําส่งรายชื่อปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต่าง ๆ ที่ ก.พ. รับรอง มาเพื่อส่วนราชการทราบและใช้ประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้พิจารณามีมติรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพิ่มเติมจากที่กําหนดไว้ตามหนังสือที่อ้างถึง รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
โทร. 0 2547 1921 - 7
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,216 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012.2/ว 6 เรื่อง การปรับเงินเดือนเข้าสู่บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ | ด่วนที่สุด
ที่ นร 1012.2/ว 6
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
25 พฤษภาคม 2558
เรื่อง การปรับเงินเดือนเข้าสู่บัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 8 ลงวันที่ 28 เมษายน 2558
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
2. แบบคําสั่งให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนกรณีการปรับเงินเดือนเข้าสู่บัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับการปรับใหม่
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2554 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป พร้อมแจ้งแนวทางปฏิบัติในการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
เนื่องจากขณะนี้ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ยกเลิกบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และให้ใช้บัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้แทน ก.พ. จึงอาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 (1) และ (2) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 กําหนดเงินเดือนสูงสุดของผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสและประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิใหม่ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 ดังนั้น เพื่อให้การออกคําสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนในวันที่ 1 ธันวาคม 2557 เป็นไปตามพระราชบัญญัติและกฎ ก.พ. ดังกล่าว สํานักงาน ก.พ. จึงขอชี้แจงแนวทางปฏิบัติซึ่งผ่านความเห็นชอบของ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี และแจ้งเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ. กําหนด ดังนี้
1. ในกรณีที่ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุมีคําสั่งที่มีผลต่อการรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด (ถ้ามี) เช่น คําสั่งเลื่อนระดับตําแหน่ง ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในเรื่องนั้น ๆ
2. เมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุได้มีคําสั่งตามข้อ 1 (ถ้ามี) แล้ว ให้มีคําสั่งปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ตามประเภทและระดับตําแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามแบบคําสั่ง ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ดังนี้
2.1 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารและประเภทอํานวยการทุกระดับ ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม ทั้งนี้ หากข้าราชการผู้ใดได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามอัตราของผลการประเมินในรอบการประเมินระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจําผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงหรือใกล้ถึงขั้นสูงของอันดับหรือตําแหน่ง พ.ศ. 2550 และที่่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ปรับเงินเดือนผู้นั้นเพิ่มขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ตามอัตราของผลการประเมินเฉพาะในส่วนที่่ยังไม่ได้นําไปเลื่อนเป็นเงินเดือน ในกรณีที่่มีเศษไม่ถึงสิบบาให้ปัดเป็นสิบบาท
2.2 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชํานาญการ และผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชํานาญงาน ให้ได้รับการปรับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่่ได้รับอยู่เดิมอีกร้อยละ 4 ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ทั้งนี้ หากข้าราชการผู้ใดได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามอัตราของผลการประเมินในรอบการประเมินระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจําผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงหรือใกล้ถึงขั้นสูงของอันดับหรือตําแหน่ง พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ปรับเงินเดือนผู้นั้นเพิ่มขึ้นตามอัตราของผลการประเมินดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ยังไม่ได้นําไปเลื่อนเป็นเงินเดือน หากมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท แล้วจึงปรับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราดังกล่าวนั้นอีกร้อยละ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป กรณีที่มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
3. สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสและผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ก.พ. กําหนดเงินเดือนสูงสุดของผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป ดังนี้
3.1 ผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 41,620 บาท เว้นแต่ผู้นั้นดํารงตําแหน่งในนายงานที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา 41,620 บาท ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่
3.2 ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 74,320 บาท เว้นแต่ผู้นั้นดํารงตําแหน่งในสายงานที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา 74,320 บาท ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร 0 2547 1000 ต่อ 8827,8842,8826,8823
โทรสาร 0 2547 1362 | 6,217 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 16 เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1006/ว 16
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
22 มิถุนายน 2552
เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียน กระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 7 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 4 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ก.พ. แจ้งมติกําหนดแนวทางดําเนินการในการย้าย การโอนการเลื่อน และการบรรจุกลับตามมาตรา 63 มาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. หรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการดําเนินการในเรื่องดังกล่าวมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ นั้น
ก.พ.พิจารณาแล้วเห็นว่าการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งต่างประเภทตามข้อ 2 ในหนังสือที่อ้างถึง 1 ยังไม่ครอบคลุมการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งต่างประเภทในบางกรณี ก.พ. จึงมีมติให้ยกเลิกความในข้อ 2 ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และให้ใช้แนวทางดําเนินการตามหนังสือฉบับนี้แทนดังนี้
2. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่างประเภท
ก. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ.ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 34 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547 และที่ นร 1006/ว 17 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2549
(3) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับอาวุโส ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ส่วนการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสายงานนายช่างศิลปกรรม คีตศิลปิน ดุริยางคศิลปิน และนาฏศิลปิน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
(4) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับทักษะพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538
ข. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติการ
(1.1) กรณีการแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเดิมดํารงตําแหน่งระดับ 1 และระดับ 2 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และจากผู้ดํารงตําแหน่งระดับปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นมาให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536 หรือที่ นร 1004.1/ว 4 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548 แล้วแต่กรณี
(1.2) กรณีการแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเดิมดํารงตําแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และระดับชํานาญงาน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว 12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 ที่ นร 0705/ว 7 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2534 หรือที่ นร 1006/ว 15 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2547 แล้วแต่กรณี
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ
ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548 และที่ นร 0707.3/ว 5 ลงวันที่ 12 เมษายน 2542
(3) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 16 ลงวันที่ 29 กันยายน 2538 และที่ นร 0707.3/ว 5 ลงวันที่ 12 เมษายน 2542
ค. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับต้น หากเป็นการแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส หรือ ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับสูง
(2.1) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 ส่วนในสํานักงานรัฐมนตรี ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 3 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551
(2.2) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(2.3) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 ส่วนในสํานักงานรัฐมนตรี ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 3 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551
(2.4) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535
(2.5) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ให้ใช้หลักเกณฑ์
และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 โดยต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น
ง. การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร
(1) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับต้น
(1.1) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ให้ดํารงตําแหน่งนักบริหารระดับต้น ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 และที่ นร 1003/ว 13ล งวันที่ 21 สิงหาคม 2549
(1.2) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ในสายงานอื่นที่มิใช่สายงานบริหาร ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(1.3) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง ให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ในสายงานอื่นที่มิใช่สายงานบริหาร ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(1.4) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ให้ดํารงตําแหน่งนักบริหาร ระดับต้น ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 และที่ นร 1003/ว 13 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549
(2) กรณีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งระดับสูง
(2.1) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 13,000 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 14,500 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 และที่ นร 1006/ว 3 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548
(2.2) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 13,000 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(2.3) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 15,600 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
(2.4) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 15,600 บาท ไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 14,500 บาท ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 โดยต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น
(2.5) การแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และที่ นร 0708.1/ว 11 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542
สําหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ให้นําแนวทางการดําเนินการตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และหนังสือฉบับนี้ มาใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งด้วย
ในกรณีที่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทและระดับตําแหน่งใดไม่สามารถดําเนินการได้ตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไปทั้งนี้ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปรีชา วัชราภัย)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2281 0977
โทรสาร 0 2282 7316 | 6,218 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012.2/ว 7 เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ | ด่วนที่สุด
ที่ นร 1012.2/ว 7
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
25 พฤษภาคม 2558
เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/ว 11 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554
สิ่งที่ส่งมาด้วย ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละประเภทและระดับตําแหน่ง (เอกสารแนบท้าย 1 - 6)
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 กําหนดฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือน ให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2554 มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
เนื่องจากขณะนี้ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งมาตรา แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ยกเลิกบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และให้ใช้บัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้แทน ดังนั้น เพื่อให้ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือนสอดคล้องกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติ ก.พ. จึงมีมติให้ยกเลิกฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือน ตามหนังสือที่อ้างถึง และกําหนดฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละประเภทและระดับตําแหน่ง ตั้งแต่รอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ดังนี้
1. การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2558 ให้ใช้ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือน ตามเอกสารแนบท้าย 1
2. การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ให้ใช้ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือน ตามเอกสารแนบท้าย 2
3. การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2559 ให้ใช้ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือน ตามเอกสารแนบท้าย 3
4. การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ให้ใช้ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือน ตามเอกสารแนบท้าย 4
5. การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2560 ให้ใช้ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือน ตามเอกสารแนบท้าย 5
6. การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ให้ใช้ฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือน ตามเอกสารแนบท้าย 6
อนึ่ง สํานักงาน ก.พ. ได้ปรับปรุงโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (DPIS/PPIS) รุ่น 5.0 ฉบับที่ 5.0.0.37 ขึ้นไป เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้างต้นแล้ว โดยส่วนราชการสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของสํานักงาน ก.พ. ที่ http://dpis.go.yh/service/downloads
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 8842, 8827, 8823, 8826
โทรสาร 0 2547 1362 | 6,219 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 8 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1008/ว 8
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
29 พฤษภาคม พ.ศ.2558
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงําน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. พิจารณาเห็นว่า เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ จึงมีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัดเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์เดิม โดยให้เพิ่มความเป็นวรรคท้ายของข้อ 2.1 ตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด ดังนี้
"กรณีมีการจัดตั้งส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัดขึ้นใหม่ ให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณากําหนดตําแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด ได้จํานวน 1 ตําแหน่ง โดยไม่ต้องส่งข้อเสนอหลักเกณฑ์การกําหนดจํานวนตําแหน่งให้ ก.พ. พิจารณา"
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิกา ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6602 6617 6619 6630
โทรสําร 0 2547 1982 | 6,220 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 9 เรื่อง การโอนและการบรรจุกลับพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ | ที่ นร 1006/ว 9
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
19 มิถุนายน 2558
เรื่อง การโอนและการบรรจุกลับพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 36 ลงวันที่ 29 กันยายน 255
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 37 ลงวันที่ 29 กันยายน 2553
3. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 30 ลงวันที่ 15 กันยายน 2553
4. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2558
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. เรื่อง การโอน การบรรจุกลับพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้หลักเกณฑ์และวิธีการโอนและการบรรจุกลับพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 ครอบคลุมการเทียบตําแหน่งของข้าราชการทหาร ตําแหน่งหลักชั้นสัญญาบัตรอื่นและชั้นประทวน และข้าราชการตํารวจ ตําแหน่งหลักผู้บังคับหมู่ รองผู้บังคับหมู่ และลูกแถว ตามหนังสือที่อ้างถึง 4 ก.พ. จึงมีมติ ดังนี้
1. ยกเลิกความในข้อ 1.6 ของหนังสือที่อ้างถึง 1 และให้ใช้ความ ดังนี้ แทน "1.6 ให้รับโอนมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในประเภทและระดับที่เทียบได้ ระดับที่สูงกว่า ระดับที่ต่ํากว่า หรือต่างประเภทตําแหน่งที่เทียบได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 30 ลงวันที่ 15 กันยายน 2553 และหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2558 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดสําหรับการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม"
2. ยกเลิกความในข้อ 1.6 ของหนังสือที่อ้างถึง 2 และให้ใช้ความ ดังนี้ แทน "1.6 ให้บรรจุกลับและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภท และระดับที่เทียบได้ หรือระดับที่ต่ํากว่าที่เทียบได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตําแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 30 ลงวันที่ 15 กันยายน 2553 และหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2558 แล้วแต่กรณี หากจะบรรจุกลับข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เข้ารับราชการในตําแหน่งประเภทและระดับใด ผู้นั้นจะต้องเคยดํารงตําแหน่งที่ ก.พ. เทียบเป็นตําแหน่งประเภทและระดับนั้น ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดสําหรับการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับกับการบรรจุกลับนี้โดยอนุโลม"
ทั้งนี้ การรับโอนหรือบรรจุกลับข้าราชการทหารและข้าราชการตํารวจมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งใช้การเทียบตําแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในหนังสือที่อ้างถึง 3 ที่ยังดําเนินการไม่เสร็จ ก็ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวต่อไปจนกว่าการรับโอนหรือการบรรจุกลับนั้นจะแล้วเสร็จ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 02547 1644
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,221 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 10 เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 | ที่ นร 1008/ว 10
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
26 มิถุนายน พ.ศ.2558
เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
2. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
หมวด - ด้วย ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 132 ตอนที่ 43 ก วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งกรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
หมวด - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
หมวด - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1064, 0 2547 1254
โทรสาร 0 2547 1982 | 6,222 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 11 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1008/ว 11
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
26 มิถุนายน พ.ศ.2558
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
2. กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
3. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 132 ตอนที่ 43 ก วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามหนังสือที่อ้างถึง 2 และ 3
ก.พ. พิจารณาแล้ว เพื่อให้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง สอดคล้องกับการแก้ไขปรับปรุงกฎ ก.พ. ตามหนังสือที่อ้างถึง 2 และ 3 จึงมีมติ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกความในข้อ 1.2.1 ในสิ่งที่ส่งมาด้วยของหนังสือที่อ้างถึง 1 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"1.2.1 หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสํานักนายกรัฐมนตรี และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน"
2. ให้ยกเลิกความในข้อ 1.7.1 ในสิ่งที่ส่งมาด้วยของหนังสือที่อ้างถึง 1 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"1.7.1 ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ในสํานักนายกรัฐมนตรีและอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อํานวยการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน"
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1064, 0 2547 1254
โทรสาร 0 2547 1982 | 6,223 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 12 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง | ที่ นร 1008/ว 12
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
24 กรกฎาคม พ.ศ.2558
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
สิ่งที่ส่งมาด้วย หลักเกณฑ์การเกลี่ยอัตรากําลังข้าราชการที่ประจําการในต่างประเทศ
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่งตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การบริหารอัตรากําลังข้าราชการที่ประจําการในต่างประเทศเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกําหนดตําแหน่ง โดยให้กําหนดหลักเกณฑ์การเกลี่ยอัตรากําลังข้าราชการที่ประจําการในต่างประเทศเพิ่มเติมตามสิ่งที่ส่งมาด้วยของหนังสือนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6646 6610
โทรสาร 0 2547 1982 | 6,224 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 13 เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 | ที่ นร 1008/ว 13
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
24 กรกฎาคม 2558
เรื่อง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 132 ตอนที่ 62 ก วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1063 0 2547 1066
โทรสาร 0 2547 1982 | 6,225 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 14 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น | ที่ นร 1006/ว 14
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
24 กรกฎาคม 2558
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง สํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 9 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2557
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งยกเลิกมติ ก.พ. ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 19 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 และหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 11 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552 ที่อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติเรื่องระยะเวลาการดํารงตําแหน่งต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งได้เป็นการเฉพาะคราวในครั้งแรกของแต่ละบุคคล ทั้งในกรณีการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น หรือการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่างประเภทตําแหน่งที่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการทีกําหนดสําหรับการเลื่อนตําแหน่ง และอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ได้เป็นการเฉพาะคราวในครั้งแรกของแต่ละบุคคล ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป ความแจ้งแล้ว นั้น
โดยที่ภายหลังการยกเลิกหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 11 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552 ได้ปรากฏว่า มีบางส่วนราชการประสบปัญหาการแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น อาทิเช่น ไม่มีตําแหน่งหรือไม่สามารถกําหนดตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ซึ่งเป็นเส้นทางความก้าวหน้าไปสู่ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น หรือมีตําแหน่งแต่ผู้ดํารงตําแหน่งมีคุณสมบัติในเรื่องระยะเวลาการดํารงตําแหน่งไม่ครบตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น อันส่งผลกระทบต่อการบริหารงานและบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการซึ่งถือเป็นกรณีมีเหตุผลความจําเป็นที่ ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งได้ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังนั้น เพื่อให้ส่วนราชการสามารถบริหารงานได้อย่างต่อเนื่อง ก.พ. จึงมีมติอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตามกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น สามารถเข้ารับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวได้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ และเคยดํารงตําแหน่งในระดับ 7 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ และเคยดํารงตําแหน่งในระดับ 7 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
สําหรับการที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น จะต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด โดยกรณีการแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 16 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ซึ่งกําหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708/ว 9 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 กรณีการแต่งตั้งจากผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 หรือหลักเกณฑ์และวิธีการสําหรับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ที่ ก.พ. จะกําหนดต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1650
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,226 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่่ นร 1008/ว 15 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ | ที่ นร 1008/ว 15
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
28 กรกฎาคม 2558
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 10 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 6 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2552
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. มาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการ สายงานอํานวยการ
2. มาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการ สายงานอํานวยการเฉพาะด้าน
3. มาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการ สายงานตรวจราชการกรม
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ก.พ. ได้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งจํานวน 245 สายงาน โดยกําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการไว้ประการหนึ่งว่า "มีประสบการณ์ในงานที่หลากหลายสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. ที่ออกตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551" และตามหนังสือที่อ้างถึง 2 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 132 และมาตรา 137 ก.พ. มิให้นําคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการเกี่ยวกับการมีประสบการณ์ในงานที่หลากหลายดังกล่าว มาใช้บังคับจนกว่าจะมีการออกกฎ ก.พ. ตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และมีผลใช้บังคับ มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญ ก.พ. จึงมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 - 3 และให้ยกเลิกแนวทางปฏิบัติตามหนังสือที่อ้างถึง 2
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1393
โทรสาร 0 2547 1982 | 6,227 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 16 เรื่อง การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ | ที่ นร 1006/ว 16
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
28 กรกฎาคม 2558
เรื่อง การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 1 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2551
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 7 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552
3. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว 12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533
4. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 5 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2556
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลสําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับคําสั่งจากทางราชการให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ นั้น
บัดนี้ ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของส่วนราชการ และเพื่อสร้างขวัญ กําลังใจ และแรงจูงใจให้แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่ได้รับคําสั่งจากทางราชการให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ประจําในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 8 (3) และมาตรา 132 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ สําหรับพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสตูล และใน 4 อําเภอของจังหวัดสงขลา คือ อําเภอจะนะ อําเภอเทพา อําเภอนาทวี และอําเภอสะบ้าย้อย เพื่อให้ส่วนราชการใช้ถือปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
1. ส่วนราชการสามารถพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน ที่มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทวิชาการ แต่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ในส่วนของการดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ได้ โดยไม่ต้องดําเนินการตามหนังสือที่อ้างถึง 3 แต่ให้จัดทําข้อเสนอแนวคิด วิธีการพัฒนา/การแก้ปัญหางานที่ดําเนินการอยู่ในพื้นที่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติประการอื่น ได้แก่ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และ/หรือมีคุณวุฒิเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กําหนด (ถ้ามี) ด้วย
2. ส่วนราชการสามารถพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ไปดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ได้ โดยข้าราชการผู้นั้นจะต้องมีผลการสอบแข่งขันได้ในสายงานที่จะแต่งตั้ง หรือมีผลการคัดเลือกในสายงานที่จะแต่งตั้งตามหนังสือที่อ้างถึง 4 ด้วย โดยไม่ต้องรอให้ถือลําดับที่เรียกบรรจุก่อน
ทั้งนี้ การดําเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1) ข้าราชการที่จะได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง จะต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสตูล หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ 4 อําเภอของจังหวัดสงขลา คือ อําเภอจะนะ อําเภอเทพา อําเภอนาทวี และอําเภอสะบ้าย้อย ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
2) ส่วนราชการต้องมีตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และให้สามารถดําเนินการไปจนกว่ากฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งออกตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จะใช้บังคับ
3) เมื่อข้าราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแล้วผู้นั้นจะต้องอยู่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่อไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่มีเหตุผลความจําเป็นเป็นพิเศษ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดต่าง ๆ ทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6307 และ 6704
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,228 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1006/ว 17 เรื่อง ประสบการณ์ในงานที่หลากหลายตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ | ที่ นร 1006/ว 17
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
28 กรกฎาคม 2558
เรื่อง ประสบการณ์ในงานที่หลากหลายตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทอํานวยการ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 15 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2558
อื่นๆ - ด้วยมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการตามหนังสือที่อ้างถึงได้กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้นและระดับสูงว่า จะต้องมีประสบการณ์ในงานที่หลากหลายสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการตามที่ ก.พ. กําหนด
ก.พ. จึงกําหนดประสบการณ์ในงานที่หลากหลายสําหรับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ดังนี้
1. "ประสบการณ์ในงานที่หลากหลาย" หมายถึง ประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการในต่างสายงาน ต่างหน่วยงาน ต่างพื้นที่ หรือต่างลักษณะงาน ไม่น้อยกว่าสามอย่าง โดยมีระยะเวลาปฏิบัติราชการอย่างละไม่น้อยกว่าสองปี โดยอาจเป็นประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการในต่างสายงาน ต่างหน่วยงาน ต่างพื้นที่ หรือต่างลักษณะงาน รวมกันก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการในต่างสายงาน ต่างหน่วยงาน ต่างพื้นที่ หรือต่างลักษณะงานในเวลาเดียวกัน ให้นับได้เพียงอย่างเดียว
"ต่างหน่วยงาน" หมายถึง ชื่อของกระทรวง กรม หรือส่วนราชการ ตามที่ปรากฏในกฎหมายหรือกฎที่แบ่งส่วนราชการนั้น ต่างกัน โดยจะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของหน่วยงานต่างกันด้วย ทั้งนี้ ตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกําหนด
"ต่างพื้นที่" หมายถึง ชื่อของอําเภอหรือเขต จังหวัด หรือประเทศต่างกัน
"ต่างลักษณะงาน" หมายถึง ชื่อของตําแหน่งในสายงาน หน่วยงาน หรือพื้นที่คงเดิม แต่งานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ หรือทักษะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกําหนด
2. ในกรณีที่ส่วนราชการใดจะกําหนดจํานวนหรือระยะเวลาในการมีประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการมากกว่าขั้นต่ําที่กําหนดไว้ตาม 1. ให้นําเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
3. กรณีที่มีปัญหาในการพิจารณาประสบการณ์ในงานที่หลากหลาย ให้ อ.ก.พ. กระทรวง มีอํานาจในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวทุกกรณี
4. แนวทางการบังคับใช้ ให้นําประสบการณ์ในงานที่หลากหลายมาใช้บังคับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
4.1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คําว่า "ประสบการณ์ในงานที่หลากหลาย" ให้หมายถึงประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการในต่างสายงาน ต่างหน่วยงาน ต่างพื้นที่ หรือต่างลักษณะงาน ไม่น้อยกว่าสองงาน อย่างละไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก็ได้
4.2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป คําว่า "ประสบการณ์ในงานที่หลากหลาย" ให้เป็นไปตามข้อ 1.
5. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับหรือเคยได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการมาแล้วก่อนวันที่ประสบการณ์ในงานที่หลากหลายตามหนังสือฉบับนี้ใช้บังคับตาม 4 ให้ถือว่าผู้นั้นมีประสบการณ์ในงานที่หลากหลายตามหนังสือฉบับนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กราและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักตรวจสอบและประเมินผลกําลังคน
โทร. 0 2547 1643
โทรสาร 0 2547 1603 | 6,229 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004/ว 18 เรื่อง การคัดเลือกบรรจุทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ | ที่ นร 1004/ว 18
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
13 สิงหาคม 2558
เรื่อง การคัดเลือกบรรจุทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว 16 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
2. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบําเหน็จความชอบสําหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการคัดเลือกบรรจุทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายดแดนภาคใต้เข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ
2. แบบฟอร์มแสดงความจํานงในการคัดเลือก
3. แบบหนังสือรับรองประวัติการรับราชการของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ
4. แบบหนังสือรับรองการใช้สิทธิของทายาทเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ก.พ. ได้กําหนดเหตุพิเศษ ซึ่งส่วนราชการอาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งได้โดยไม่ต้องสอบแข่งขันได้ไว้ โดยข้อ 1 (6) กําหนดกรณีอื่นที่ ก.พ. อนุมัติ และตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีที่อ้างถึง 2 ข้อ 24 กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้การสงเคราะห์และช่วยเหลือแก่ทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานอันเนื่องมาจากการสู้รบ ต่อสู้ ปราบปราม หรือประทุษร้ายจากสถานการณ์ความไม่สงบ และมิได้เกิดจากสาเหตุส่วนตัวหรือความประมาทเลินเล่ออยางร้ายแรงของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นเอง โดยให้พิจารณาบรรจุทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเข้าทํางานได้ครอบครัวละ 1 คน ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีที่อ้างถึง 2 และเป็นการสร้างขวัญกําลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเพื่อกําหนดแนวทางการคัดเลือกทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และเป็นธรรม จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และข้อ 1 (6) ของหนังสือที่อ้างถึง 1 กําหนดวิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการคัดเลือกบรรจุทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 - 4
ในการนี้ เมื่อหน่วยงานใดได้ดําเนินการตามวิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขนี้แล้ว ให้รายงานสํานักงาน ก.พ. ทราบ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางเกี่ยวกับการบรรจุทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายดแดนภาคใต้ที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพฯ ด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
โทร. 0 2547 1350 0 2547 1941 0 2547 1943 - 44
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,230 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 19 เรื่อง การดำเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย หรือ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติให้ยกเลิกคำส่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือเพิกถอนคำสั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออกจากราชการ | ที่ นร 1008/ว 19
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
19 สิงหาคม พ.ศ.2558
เรื่อง การดําเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคําวินิจฉัย หรือ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติให้ยกเลิกคําส่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือเพิกถอนคําสั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออกจากราชการ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 46 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการดําเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคําวินิจฉัย หรือ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติให้ยกเลิกคําส่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือเพิกถอนคําสั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออกจากราชการ
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. เกี่ยวกับแนวทางการดําเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคําวินิจฉัยหรือ ก.พ. มีมติให้ยกเลิกคําสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ มาเพื่อถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการมีความคล่องตัว อาศัยอํานาจตามมาตรา 8 (3) และมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงมีมติให้ยกเลิกแนวทางการดําเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคําวินิจฉัยหรือ ก.พ. มีมติให้ยกเลิกคําสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหนังสือที่อ้างถึง และกําหนดแนวทางการดําเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคําวินิจฉัย หรือ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติให้ยกเลิกคําส่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือเพิกถอนคําสั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออกจากราชการ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สําหรับส่วนราชการที่ได้ดําเนินการตามหนังสือที่อ้างถึงไปแล้ว ก็ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางการดําเนินการนี้ด้วยเช่นกัน
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1958
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,231 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004/ว 20 เรื่อง วุฒิที่ ก.พ. กำหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560 | ที่ นร 1004/ว 20
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
17 กันยายน พ.ศ.2558
เรื่อง วุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 14 ลงวันที่ 12 กันยายน 2556
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 5 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2557
3. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 1 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558
4. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว 16 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายชื่อวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560
2. แบบรายงานการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
3. คําอธิบายรายละเอียดวุฒิที่ ก.พ. กําหนด
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 - 3 แจ้งมติ ก.พ. ให้ส่วนราชการดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลซึ่งสําเร็จการศึกษาในวุฒิต่าง ๆ ที่ ก.พ. กําหนด เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนดตามหนังสือที่อ้างถึง 4 สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 มาเพื่อถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
โดยที่ ก.พ. ได้มีมติกําหนดให้ส่วนราชการอาจคัดเลือกบรรจุบุคคลซึ่งสําเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. กําหนดตามสิ่งที่่ส่งมาด้วย 1 เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560 ได้ สําหรับวิธีการคัดเลือกนั้นให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดตามหนังสือที่อ้างถึง 4 ต่อไป โดยบรรจุและแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2560 และมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
1. วุฒิที่จะคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งต้องเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งของตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง
2. ห้ามส่วนราชการโอนผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งตามข้อ 1 เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
3. เมื่อได้ดําเนินการคัดเลือกเสร็จสิ้นแล้วในแต่ละครั้ง ให้รายงานผลการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการไปยังสํานักงาน ก.พ. ทุกครั้งตามแบบรายงานตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2
4. ในกรณีที่ส่วนราชการได้ดําเนินการคัดเลือกและขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกโดยถูกต้องไว้ก่อนวันสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ซึ่งผู้มีรายชื่อดังกล่าวมีวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2560 ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57 ดําเนินการบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกที่เหลืออยู่ดังกล่าวต่อไปได้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ ส่วนราชการที่จะดําเนินการคัดเลือกควรศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับคําอธิบายรายละเอียดวุฒิที่ ก.พ. กําหนดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3 เพื่อจะได้ดําเนินการได้อย่างถูกต้องต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
โทร. 0 2547 1941, 0 2547 1943 - 1944
โทรสาร 0 2 547 1954 | 6,232 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1004/ว 21 เรื่อง การสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทำงานในส่วนราชการ | ที่ นร 1004/ว 21
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
3 พฤศจิกายน 2558
เรื่อง การสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางานในส่วนราชการ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 22 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2554
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางานในส่วนราชการ
2. แบบรายงานการดําเนินการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางานในส่วนราชการ
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้กําหนดแนวทางปฏิบัติในการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้ารับราชการ ความแจ้งแล้ว นั้น
ก.พ. พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้ส่วนราชการเป็นหน่วยงานตัวอย่างในการรับคนพิการเข้าทํางานตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และส่งเสริมให้คนพิการมีความรู้ความสามารถ มีความเหมาะสมกับลักษณะงานของส่วนราชการ ได้เข้าทํางานมากขึ้นด้วยวิธีการที่สะดวก คล่องตัว ทั้งต่อคนพิการและส่วนราชการ โดยคํานึงถึงระบบคุณธรรม ความรู้ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรมในกลุ่มคนพิการด้วยกัน และประโยชน์ของทางราชการ ก.พ. จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบมาตรา 22 มาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางานในส่วนราชการ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกแนวทางปฏิบัติในการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้ารับราชการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 22 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2554
2. ให้ส่วนราชการดําเนินการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางานในส่วนราชการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางานในส่วนราชการ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 และรายงานผลการดําเนินการสรรหาและเลือกสรรให้สํานักงาน ก.พ. ทราบ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลและพัฒนาแนวทางการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางาน
3. ในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถรับคนพิการเข้าทํางานได้ ให้ดําเนินการจัดบริการอื่นทดแทนตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. การใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการก่อนวันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาและเลือกสรรคนพิการเข้าทํางานในส่วนราชการตามหนังสือฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนดไว้เดิมต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายวิสูตร ประสิทธิ์ศิริวงศ์)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
โทร. 0 2547 1350 0 2547 1941 0 2547 1943 - 44
โทรสาร 0 2547 1954 | 6,233 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008.5/17 เรื่อง การปรับค่าตอบแทนของพนักงานราชการ | ที่ นร 1008.5/17
คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
25 พฤษภาคม พ.ศ.2558
เรื่อง การปรับค่าตอบแทนของพนักงานราชการ
เรียน กระทรวง กรม จังหวัด
อ้างถึง หนังสือคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ที่ นร 1008.5/6 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2558
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558
อื่นๆ - ด้วยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 ได้พิจารณาเรื่อง การปรับค่าตอบแทนของพนักงานราชการ แล้ว มีมติเห็นชอบ ดังนี้
(1) การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ตามหนังสือที่อ้างถึง
(2) ให้พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มในอัตราร้อยละ 4 ของค่าตอบแทนที่ได้รับในปัจจุบัน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557
(3) ปรับเพดานบัญชีค่าตอบแทนขั้นสูงกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4 และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
สําหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเห็นสมควรให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จากงบบุคลากร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าวก่อน หากไม่เพียงพอก็ให้ขอใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น โดยขอทําความตกลงกับสํานักงบประมาณต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล)
รองเลขาธิการ ก.พ.
กรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
กลุ่มบริหารพนักงานราชการ
โทร. 0 2547 1977
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,234 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012.2/43 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ | ที่ นร 1012.2/43
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 เห็นชอบและอนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อปรับปรุงบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญและปรับเพิ่มเงินเดือนของข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชํานาญการและผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชํานาญงาน ในอัตราร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 และร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สํานักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน จึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญในรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 โดยขอให้ส่วนราชการและจังหวัดพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการไปตามปกติ ส่วนการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ขอให้ชะลอการสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการในสังกัดในวันที่ 1 เมษายน 2558 ไว้ก่อนจนกว่าร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย และสํานักงาน ก.พ. ได้แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าสู่บัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมนําส่งฐานในการคํานวณและช่วงเงินเดือนสําหรับการเลื่อนเงินเดือนตั้งแต่รอบการประเมินดังกล่าวให้ส่วนราชการและจังหวัดทราบและถือปฏิบัติแล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายวิสูตร ประสิทธิ์ศิริวงศ์)
รองเลขาธิการ ก.พ.
ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 8823, 8826, 8827, 8842
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,235 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008.5/26 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ | ที่ นร 1008.5/26
คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
26 สิงหาคม พ.ศ.2558
เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ
เรียน (กระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ
อื่นๆ - ด้วยมีส่วนราชการขอหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบพนักงานราชการไปยังคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การย้าย การโอน การปรับวุฒิ การช่วยราชการ และการสั่งให้ไปปฏิบัติงาน
2. เงินทดแทน
3. การฝึกอบรม ดูงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน
4. คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินการปฏิบัติงาน 2 ครั้งติดต่อกัน
5. หลักเกณฑ์การเลื่อนค่าตอบแทน กรณีการนับระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
6. การเลื่อนค่าตอบแทนของพนักงานราชการ กรณีถูกลงโทษทางวินัย
7. การปรับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น สําหรับผู้ที่มีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงานในตําแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง
8. การสั่งให้พนักงานราชการไปปฏิบัติราชงานนอกเหนือจากเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้าง
ฝ่ายเลขานุการ คพร. จึงขอซักซ้อมแนวทางปฏิบัติของระบบพนักงานราชการในประเด็นต่าง ๆ ซึ่ง คพร. ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบแล้ว รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล)
รองเลขาธิการ ก.พ.
กรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
กลุ่มบริหารพนักงานราชการ
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6612 6625 6626 6635
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,236 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012/ว 1 เรื่อง การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ที่ นร 1012/ว 1
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
20 มกราคม 2553
เรื่อง การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เรียน (เวียน กระทรวง กรม และจังหวัด)
อื่นๆ - ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 110 (1) และวรรคสอง บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้ ในกรณีผู้นั้นเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ําเสมอ ทั้งนี้ การสั่งให้ออกจากราชการตามกรณีดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดําเนินการได้ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. ตามนัยบทบัญญัติดังกล่าว ก.พ. จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดการดําเนินการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ําเสมอ ตามมาตรา 110 (1) ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 พิจารณาเห็นว่า สมควรให้ออกจากราชการโดยมีความเห็นแพทย์ประกอบว่าผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติราชการได้โดยสม่ําเสมอ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นางเบญจวรรณ สร่างนิทร)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1852
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,237 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 2 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) | ที่ นร 1008/ว 2
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
10 กุมภาพันธ์ 2553
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.)
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่ 24 เมษายน 2552
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง อ.ก.พ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และประกาศ ก.พ. เรื่อง กําหนดตําแหน่งและเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 มาเพื่อถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ อ.ก.พ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐพิจารณาเห็นควรเพิ่มลักษณะงานด้านกฎหมายล้มละลายไว้ในลักษณะงานที่ 10 : การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง ในเอกสารแนบ 1 ลักษณะงานด้านกฎหมายในราชการพลเรือนที่แนบท้ายหนังสือที่อ้างถึง เพื่อใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตําแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ได้ จึงมีมติให้ปรับปรุงลักษณะงานที่ 10 ดังกล่าวเพื่อถือปฏิบัติแทน ดังนี้
“10. ลักษณะงานที่ 10 : การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง
หมายถึง การดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งในการรวบรวมเงินให้พอชําระหนี้ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งโดยวิธียึดหรืออายัด และขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา นอกจากนั้น ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทรัพย์สินนั้นด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและให้มีอํานาจขนย้ายสิ่งของออกจากสิ่งปลูกสร้างที่มีการรื้อถอนด้วยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายฉบับนี้บัญญัติ
ลักษณะงานนี้ ให้หมายความรวมถึง การดําเนินการตามอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ตามคําสั่งศาล การชําระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลในฐานะผู้ชําระบัญชีตามคําสั่งศาล การวางทรัพย์ การประเมินราคาทรัพย์สิน การดําเนินการยึด อายัด จําหน่ายทรัพย์สิน เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีให้ประชาชนได้เข้าใจ ตลอดจนทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและการประนอมหนี้ รวมถึงการบังคับคดีตามกฎหมายอื่น
นอกจากนี้ ยังให้หมายรวมถึง การบังคับคดีปกครองตามกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองด้วย”
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นางเบญจวรรณ สร่างนิทร)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 0983 2985 1990 8100 8104
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,238 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012/ว 3 เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2553 | ที่ นร 1012/ว 3
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
12 กุมภาพันธ์ 2553
เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2553
เรียน (เวียน กระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2553
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2553 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 18 ง วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นางเบญจวรรณ สร่างนิทร)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร 0 2547 1823 0 2547 1829
โทรสาร 0 2547 1868 | 6,239 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 4 เรื่อง การบริหาอัตรากำลังลูกจ้างประจำ | ด่วนที่สุด
ที่ นร 1008/ว 4
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
12 กุมภาพันธ์ 2553
เรื่อง การบริหารอัตรากําลังลูกจ้างประจํา
เรียน (หัวหน้าส่วนราชการ)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 5 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547
อื่นๆ - ด้วยสํานักงาน ก.พ. ได้ดําเนินการพัฒนาระบบตําแหน่งลูกจ้างประจําโดยจําแนกตําแหน่งลูกจ้างประจําเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่ 1) กลุ่มงานบริการพื้นฐาน 2) กลุ่มงานสนับสนุน 3) กลุ่มงานช่าง และ 4) กลุ่มงานเทคนิคพิเศษ ซึ่งกําหนดจะให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน 2553
การดําเนินการดังกล่าว จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดต่าง ๆ ของตําแหน่งลูกจ้างประจํา เช่น ชื่อตําแหน่ง ระดับตําแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารอัตรากําลังลูกจ้างประจําตามหนังสือที่อ้างถึง ซึ่งเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน ก.พ. ส่วนการกําหนดอัตราค่าจ้างและคุณสมบัติเฉพาะตําแหน่งของลูกจ้างประจําเป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ดังนั้น เพื่อให้การปรับเปลี่ยนตําแหน่งลูกจ้างประจําเข้าสู่ระบบตําแหน่งใหม่เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และราบรื่น สํานักงาน ก.พ. จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. ให้ส่วนราชการหยุดดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการปรับระดับตําแหน่งลูกจ้างประจํา การเปลี่ยนตําแหน่งลูกจ้างประจํา และการตัดโอนอัตรากําลังลูกจ้างประจํา ซึ่งสํานักงาน ก.พ. ได้มอบอํานาจให้ส่วนราชการดําเนินการตามหนังสือที่อ้างถึง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป จนกว่าการดําเนินการปรับตําแหน่งลูกจ้างประจําเข้าสู่ระบบใหม่จะแล้วเสร็จ
2. กรณีการปรับระดับชั้นของตําแหน่งลูกจ้างประจํา จากชั้น 3 เป็นชั้น 4 ซึ่งส่วนราชการต้องขอทําความตกลงกับสํานักงาน ก.พ. ตามหนังสือที่อ้างถึง ข้อ 1.1 นั้น สํานักงาน ก.พ. จะพิจารณาคําขอเฉพาะกรณีที่มีรายละเอียดประกอบการพิจารณาครบถ้วนสมบูรณ์ และได้รับก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เท่านั้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ ทั้งนี้ สําหรับรายละเอียดการจัดตําแหน่งลูกจ้างประจํา และการปรับตําแหน่งลูกจ้างประจําเข้าสู่ระบบตําแหน่งใหม่ สํานักงาน ก.พ. จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นางเบญจวรรณ สร่างนิทร)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
ศูนย์บริหารกําลังคนภาครัฐ
โทร 0 2547 1957
โทรสาร 0 2547 1437 | 6,240 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1011/ว 6 เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 | ที่ นร 1011/ว 6
สํานักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
24 กุมภาพันธ์ 2553
เรื่อง ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - ด้วย ก.พ. ได้ออกระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 14 ง วันที่ 27 มกราคม 2553 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นางเบญจวรรณ สร่างนิทร)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักมาตรฐานวินัย
โทร 0 2547 1631
โทรสาร 0 2547 1630 | 6,241 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2560 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 6/2560
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางภารวดี ตาปสนันทน์ 2. นางวราภรณ์ ศุภางดเสน
3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน
5. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 6. นางโสภา อินสุข
7. นายสิงห์ชัย บุญยโยธิน 8. นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ
9. นายสุเมธ จินดามานพ 10. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์
11. นายทวัส ทาสุวรรณ 12. นายสมชาย เลิศลาภวศิน
13. นายอดุลย์ ค้ําชู 14. นายธีรพงศ์ อินทรชัย
15. นายชนัช เทียมมณีเนต 16. นายธีรเมธ พุทธนารัตน์
17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ 18. นางอุษณี ปรีชม
19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายอเนก อิงวิยะ
21. นายภูวดล เหล่าแก้ว
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2560
(นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,242 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2560 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 7/2560
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางวาสนา นิมิตยงสกุล 2. นางวราภรณ์ ศุภางดเสน
3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน
5. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 6. นางโสภา อินสุข
7. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 8. นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ
9. นายสุเมธ จินดามานพ 10. น.ส.สมิตานันช์ พรหมพินิจ
11. นายทวัส ทาสุวรรณ 12. นายสมชาย เลิศลาภวศิน
13. นายอดุลย์ ค้ําชู 14. นายถนอม จันทเพชร
15. นายธีรเมธ พุทธนารัตน์ 16. นายสุวัฒน์ วิเชียรศิริ
17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ 18. นางอุษณี ปรีชม
19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายอเนก อิงวิยะ
21. นายภูวดล เหล่าแก้ว
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2563
(นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,244 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2561 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 6/2561
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏเป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางวาสนา นิมิตยงสกุล 2. นางวราภรณ์ ศุภางดเสน
3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน
5. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 6. นางโสภา อินสุข
7. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 8. นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ
9. นายทวัส ทาสุวรรณ 10. น.ส.สมิตานันช์ พรหมพินิจ
11. นายประสาท สมจิตรนึก 12. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
13. นายถนอม จันทเพชร 14. นางมัณฑนา กล้าหาญ
15. นางรัญจวน ช่อสัมฤทธิ์ 16. นางยสันติ รังสิยาภาณ์รัตน์
17. นายธีระพร ศรีรัตน์ 18. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา
19. นายอเนก อิงวิยะ 20. นายภูวดล เหล่าแก้ว
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563
(นางผุสดี หมู่พยัคฆ์)
ผู้ทรงคุณวุฒิ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,245 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 7/2560
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.5/14/60 | 40,000 | 3 กุมภาพันธ์ 2560 | 7/2/60 – 21/2/60 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,246 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 8/2560
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.6/14/60 | 40,000 | 9 กุมภาพันธ์ 2560 | 14/2/60 – 28/2/60 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,247 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 9/2560
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.7/14/60 | 40,000 | 17 กุมภาพันธ์ 2560 | 21/2/60 – 7/3/60 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,248 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2560 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 10/2560
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2560
-------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 (รุ่นที่ 1/2ปี/2560) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2560 ที่จะประมูลในวันที่ 16 กุมภาพันธ์2560 เท่ากับร้อยละ 1.59 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,250 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.