title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสงขลา
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสงขลา[1](#fn1) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองกลางให้ดํารงตําแหน่งต่างๆ ในศาลปกครองสงขลา จํานวน 6 ราย ดังนี้ 1. นางปานตา ศิริวัฒน์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง อธิบดีศาลปกครองสงขลา 2. นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่งรองอธิบดีศาลปกครองสงขลา 3. นายจักริน วงศ์กุลฤดี ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสงขลา 4. นายถาวร เกียรติทับทิว ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการศาลปกครองสงขลา 5. นายศรศักดิ์ นิยมธรรม ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการศาลปกครองสงขลา 6. นายโสภณ บุญกูล ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการศาลปกครองสงขลา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี --- 1.
11,062
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 752) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 752) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (990) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(990) มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,063
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 751) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 751) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (989) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(989) สมาคมนักเรียนเก่าสวิสส์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,064
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองนครราชสีมา
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองนครราชสีมา[1](#fn1) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองกลาง ให้ดํารงตําแหน่งต่างๆ ในศาลปกครองนครราชสีมา จํานวน 6 ราย ดังนี้ 1. นายเกษม คมสัตย์ธรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง อธิบดีศาลปกครองนครราชสีมา 2. นางมณีวรรณ พรหมน้อย ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง รองอธิบดีศาลปกครองนครราชสีมา 3. นายพัลลภ รัตนจันทรา ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองนครราชสีมา 4. นายประสาน บางประสิทธิ์ ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการศาลปกครองนครราชสีมา 5. นางสาวพยุง พันสุทธิรางกูร ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการศาลปกครองนครราชสีมา 6. นายเสถียร ทิวทอง ตุลาการศาลปกครองกลาง ดํารงตําแหน่ง ตุลาการศาลปกครองนครราชสีมา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2545 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี --- 1.
11,065
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 750) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๗๕๐) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๙๘๘) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(๙๘๘) มูลนิธิต่อต้านการทุจริต” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,066
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 749) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 749) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (987) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(987) มูลนิธิไฮเน็ค” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,067
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 748) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 748) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (986) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(986) มูลนิธิชุมชนยั่งยืน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,068
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 747) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 747) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (985) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(985) มูลนิธิศรีธรรมราชา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,069
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 746) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 746) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (581) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 286) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,070
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 745) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 745) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (984) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(984) มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,071
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 40/2541 เรื่อง การไม่ประกอบกิจการตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาต ในปริมาณที่กำหนด อันเป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์เข้าข่ายถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 40/2541 เรื่อง การไม่ประกอบกิจการตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาตในปริมาณที่กําหนด อันเป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์เข้าข่ายถูกเพิกถอนใบอนุญาต | | อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 147 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 บริษัทหลักทรัพย์ใดไม่มีธุรกรรมใด ๆ ในธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภทที่ได้รับ ใบอนุญาตในช่วงระยะเวลาสองปีใด ๆ นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ไม่ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะขอระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้น ไม่ประกอบกิจการตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาตในปริมาณที่กําหนด อันเป็นเหตุแห่งการสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตตามมาตรา 147 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2541 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,072
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 11/2541 เรื่อง อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2541 เรื่อง อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98 (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ สามารถจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการได้ ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2541 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,073
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 17/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สิน เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา ในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ "กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว "กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน" หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม "สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน "บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม "โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ให้บริษัทจัดการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนของโครงการแต่ละโครงการเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนของโครงการ ในกรณีที่มีการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุน คําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามแบบ 124-4 ท้ายประกาศนี้ ข้อ 3 เมื่อสํานักงานดําเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่า คําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง และบริษัทจัดการได้ชําระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามอัตราที่สํานักงานกําหนดแล้ว ให้รับจดทะเบียนพร้อมออกหลักฐานการรับจดทะเบียนดังกล่าวให้แก่บริษัทจัดการที่ยื่นขอจดทะเบียนนั้น ข้อ 4 ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนตามข้อ 3 สูญหายหรือถูกทําลาย ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่สํานักงานกําหนด ข้อ 5 ผู้ใดประสงค์จะตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,074
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 744) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 744) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (983) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(983) มูลนิธิคาราบาว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,075
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 743) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 743) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (855) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(855) มูลนิธิพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2562 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,076
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 742) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 742) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (982) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(982) มูลนิธิไทยอาสาป้องกันชาติ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,077
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ. 2/2542 เรื่อง การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากัน หรือบริษัทหลักทรัพย์ลูก
ประกาศ เรื่อง การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากัน หรือบริษัทหลักทรัพย์ลูก ที่ อธ. 2/2542 โดยที่มาตรา 104 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บัญญัติว่า การแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ จะกระทําได้ต่อเมื่อ บริษัทหลักทรัพย์ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อลดขั้นตอนและความซ้ําซ้อนในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ บุคคลที่จะทําหน้าที่ต่อเนื่องเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการแยกการประกอบธุรกิจ เงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากัน หรือ บริษัทหลักทรัพย์ลูก สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงกําหนด แนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ผู้บริหาร” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งหรือยอมให้เป็นหรือทําหน้าที่ กรรมการหรือผู้จัดการ “บริษัทหลักทรัพย์เดิม” หมายความว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ก่อนการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน หรือบริษัทหลักทรัพย์ก่อนการควบบริษัท เข้ากันไม่ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนอยู่ด้วยหรือไม่ แล้วแต่กรณี “บริษัทใหม่” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ใหม่ หรือบริษัทหลักทรัพย์ลูก “บริษัทหลักทรัพย์ใหม่” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการแยก การประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน หรือบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบ บริษัทเข้ากันไม่ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนอยู่ด้วยหรือไม่ แล้วแต่กรณี “บริษัทหลักทรัพย์ลูก” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ และถูกถือหุ้นในขั้นเริ่มแรกโดยบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากัน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - 2 - ข้อ 2 แนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้สําหรับการขอความเห็นชอบผู้บริหารของ บริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเข้าเกณฑ์ทั้งหมดดังต่อไปนี้ (1) *การดํารงตําแหน่งต่อเนื่อง* บุคคลที่จะขอรับความเห็นชอบเป็นผู้บริหารของ บริษัทใหม่ต้องเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์เดิม โดย ณ เวลาที่ขอความเห็นชอบนั้น บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์เดิมอยู่ก่อนการเข้าดํารงตําแหน่งในบริษัทใหม่ (2) *ระดับตําแหน่งในบริษัทใหม่* บุคคลที่จะดํารงตําแหน่งในบริษัทใหม่ต้องมี คุณสมบัติที่อยู่ในกลุ่มคุณสมบัติเดียวกันหรือกลุ่มคุณสมบัติที่ต่ํากว่าตําแหน่งซึ่งบุคคลนั้นเคยดํารง อยู่ในบริษัทหลักทรัพย์เดิม โดยพิจารณาตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยเรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ดังกรณีต่อไปนี้ (ก) บุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งผู้จัดการที่บริษัทหลักทรัพย์เดิมจะไปดํารงตําแหน่ง ผู้จัดการ หรือกรรมการ (มีอํานาจในการจัดการ) หรือกรรมการ (ไม่มีอํานาจในการจัดการ) ที่บริษัทใหม่ (ข) บุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งกรรมการ (มีอํานาจในการจัดการ) ที่บริษัทหลักทรัพย์เดิม จะไปดํารงตําแหน่งกรรมการ (มีอํานาจในการจัดการ) หรือกรรมการ (ไม่มีอํานาจในการจัดการ) ที่บริษัทใหม่ (ค) บุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งกรรมการ (ไม่มีอํานาจในการจัดการ) ที่บริษัทหลักทรัพย์เดิมจะไปดํารงตําแหน่งกรรมการ (ไม่มีอํานาจในการจัดการ) ที่บริษัทใหม่ (3) *ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่ง* บุคคลที่จะขอรับความเห็นชอบไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามที่กําหนดในมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามมาตรา 103 (9) และ (10) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และ (4) *การยื่นขอความเห็นชอบ* บริษัทใหม่ต้องยื่นหนังสือขอความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นผู้บริหารของบริษัทใหม่ต่อสํานักงานก่อนวันที่บริษัทใหม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทใหม่เกิดจากการควบบริษัทเข้ากัน ผู้ยื่นคําขออาจเป็นบริษัทหลักทรัพย์เดิมก็ได้ ข้อ 3 การขอความเห็นชอบบุคคลใดเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 2 ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริหารตั้งแต่วันที่บริษัทใหม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,078
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 741) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 741) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (981) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “(981) มูลนิธิบ้านพระพร” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2563 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,079
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 740) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 740) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (979) และ (980) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(979) โครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี (980) โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทําความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,080
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 15/2542 เรื่อง การขออนุญาตย้ายที่ตั้งสำนักงานของบริษัทจัดการ
ประกาศ เรื่อง การขออนุญาตย้ายที่ตั้งสํานักงานของบริษัทจัดการ ที่ อน. 15/2542 --------------- โดยที่มาตรา 98(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535กําหนดห้ามมิให้บริษัทจัดการย้ายที่ตั้งสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาโดยมิได้รับอนุญาตจาก สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง แนวปฏิบัติในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทจัดการย้ายที่ตั้งสํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขา หรือสํานักงานบริการของบริษัทจัดการ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงวางแนวปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ย้ายที่ตั้งสํานักงาน” หมายความว่า การที่หน่วยงานทั้งหมดหรือบางส่วนของ สํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขา หรือสํานักงานบริการ เปลี่ยนที่ทําการจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง และให้หมายความรวมถึงการที่หน่วยงานทั้งหมดหรือบางส่วนของสํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขา หรือสํานักงานบริการ ขยายขนาดพื้นที่ของที่ทําการปัจจุบันด้วย “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สํานักงานบริการ” หมายความว่า สํานักงานบริการด้านธุรกิจจัดการลงทุนซึ่งเป็น สํานักงานสาขาของบริษัทจัดการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตมีสํานักงานบริการด้านธุรกิจ จัดการลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 การย้ายที่ตั้งสํานักงานของบริษัทจัดการจากที่ได้รับอนุญาตไว้ ให้ถือว่า ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ 1. ในกรณีที่หน่วยงานทั้งหมดของบริษัทจัดการเปลี่ยนที่ทําการจากแห่งหนึ่งไปยัง - 2 - อีกแห่งหนึ่ง ให้บริษัทจัดการแจ้งที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ และวันเปิดทําการวันแรกของที่ทําการแห่งใหม่ให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันก่อนการย้ายที่ตั้งที่ทําการดังกล่าว และปิดที่ทําการแห่งเดิมในวันเดียวกับวันเปิดที่ทําการแห่งใหม่ด้วย (2) ในกรณีที่หน่วยงานทั้งหมดหรือบางส่วนของบริษัทจัดการขยายขนาดพื้นที่ของ ที่ทําการ ให้บริษัทจัดการแจ้งขนาดพื้นที่ของที่ทําการที่จะขยายให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ห้าวันก่อนการขยายขนาดพื้นที่ของที่ทําการดังกล่าว ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,081
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 16/2542 เรื่อง การผ่อนผันระยะเวลาการส่งรายงาน เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเปิด ของรอบระยะเวลาหกเดือนหลังของรอบปีบัญชี
ประกาศ เรื่อง การผ่อนผันระยะเวลาการส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูล เกี่ยวกับกองทุนเปิดของรอบระยะเวลาหกเดือนหลังของรอบปีบัญชี ที่ อน. 16/2542 ตามที่ข้อ 36 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541 กําหนดให้บริษัทจัดการจัดทํารายงาน ทุกรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบปีบัญชีหรือปีปฏิทินเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเปิดของรอบ ระยะเวลาหกเดือนนั้น และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และสํานักงานภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าวหรือเมื่อผู้ถือ หน่วยลงทุนร้องขอ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยตามข้อ 35(2) ถึง (7) แห่งประกาศ ดังกล่าว และตามที่ข้อ 52 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 กําหนดให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณา ผ่อนผันการปฏิบัติดังกล่าวได้นั้น เนื่องจากข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานของรอบระยะเวลาหกเดือนหลัง ของรอบปีบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของรายการของข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานของรอบปีบัญชี ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงเห็นสมควรผ่อนผันระยะเวลาการส่งรายงานของรอบระยะเวลาหกเดือนหลังของรอบปีบัญชีดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและ จัดการโดยบริษัทจัดการ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ให้บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ กองทุนเปิดของรอบระยะเวลาหกเดือนหลังของรอบปีบัญชีตามข้อ 36 แห่งประกาศ ที่ กน. 46/2541 เมื่อบริษัทจัดการได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งรายชื่อกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอผ่อนผันระยะเวลาการส่งรายงาน ดังกล่าวให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นปีบัญชี และ (2) จัดทํารายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเปิดของรอบระยะเวลาหกเดือนหลัง ของรอบปีบัญชี และส่งรายงานดังกล่าวพร้อมกับรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเปิดของรอบปีบัญชีให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายในเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นปีบัญชี ในการแจ้งรายชื่อกองทุนเปิดตาม (1) บริษัทจัดการอาจกําหนดรอบระยะเวลาที่ขอผ่อนผัน เป็นการล่วงหน้าไว้ด้วยก็ได้ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,082
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ. 24/2543 เรื่อง วิธีปฏิบัติและเงื่อนไขของบริษัทหลักทรัพย์ ในการใช้บริการด้านงานสนับสนุน จากบริษัทผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 24/2543 เรื่อง วิธีปฏิบัติและเงื่อนไขของบริษัทหลักทรัพย์ในการใช้บริการ ด้านงานสนับสนุนจากบริษัทผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุน โดยที่บริษัทหลักทรัพย์อาจลดภาระต้นทุนในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ด้วยการ ใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากบริษัทอื่นได้ และเนื่องจากหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจของ บริษัทหลักทรัพย์กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การ ป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับการ ปฏิบัติงานด้านธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งต้องมีระบบในการดูแลรักษาทรัพย์สิน ของลูกค้า ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการที่บริษัทหลักทรัพย์ใช้บริการด้านงานสนับสนุนจาก บริษัทอื่นจะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าดังกล่าว สํานักงานจึงกําหนดวิธีปฏิบัติและเงื่อนไขของบริษัทหลักทรัพย์ในการใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากบริษัทอื่นซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุน ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ทุกประเภท ยกเว้นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เฉพาะ ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุน” หมายความว่า บริษัทซึ่งให้บริการด้านงาน สนับสนุนแก่บริษัทหลักทรัพย์ “งานสนับสนุน” หมายความว่า งานปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ งานบัญชีและการเงิน งานเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้า งานตรวจสอบภายใน งานกํากับดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ (compliance) หรืองานสนับสนุนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากบริษัทผู้ให้บริการ ด้านงานสนับสนุนต้องยื่นขออนุญาตจากสํานักงานโดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ขอบเขตการใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากบริษัทผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุน (2) ระบบการควบคุมภายในและระบบการรักษาความปลอดภัยซึ่งบริษัทผู้ให้บริการ ด้านงานสนับสนุนใช้ในการให้บริการแก่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของลูกค้า ของบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 3 บริษัทหลักทรัพย์ต้องตรวจสอบดูแลให้บริษัทผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุน ปฏิบัติงานในส่วนที่ให้บริการแก่บริษัทหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานกําหนด และในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้ สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัทผู้ให้บริการด้านงานสนับสนุนในส่วนที่ให้บริการแก่ บริษัทหลักทรัพย์ด้วย ข้อ 4 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานจากบริษัทหลักทรัพย์ครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็น ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อน สิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็น ที่มีได้ ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,083
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 739) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 739) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (971) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(971) มูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,084
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 738) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 738) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (978) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(978) โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,085
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 737) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 737) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (67) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(67) มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,086
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 736) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 736) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (977) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(977) มูลนิธิจํานงค์ ภิรมย์ภักดี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,087
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 735) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 735) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (976) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(976) สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนจิตรลดา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,088
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 734) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 734) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (975) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(975) มูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕63 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕64 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,089
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 733) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 733) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (969) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(969) มูลนิธิทิพย์พิมานเพื่อสัตว์ป่วยและสัตว์ไร้ที่พึ่ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,090
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 732) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 732) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (513) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(513) สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดพัทลุง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,091
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 731) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 731) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (294) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 48) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2539 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,092
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 730) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 730) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (974) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(974) มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,093
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 729) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 729) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (973) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(973) มูลนิธิแพทยศาสตร์ตํารวจ ในพระสังฆราชูปถัมภ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕62 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562 สันติ พร้อมพัฒน์ (นายสันติ พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,094
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 728) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 728) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (230) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(230) มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,095
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 727) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 727) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (959) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(959) มูลนิธิ บีเจซี บิ๊กซี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,096
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 726) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 726) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (100) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(100) มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,097
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 725) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 725) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (171) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(171) มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,098
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 724) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 724) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (217) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(217) มูลนิธิกุมาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,099
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 723) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 723) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (249) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(249) มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,100
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 722) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 722) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (972) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(972) มูลนิธิร่มเกล้าเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ข้อ ๒ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕62 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕62 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,101
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 721) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 721) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (971) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 “(971) มูลนิธิรักษ์ป่าน่าน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ข้อ 2 ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2562 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,102
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 720) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 720) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (970) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(970) มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี” ข้อ ๒ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕62 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. ๒๕62 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,103
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 719) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 719) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (969) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(969) มูลนิธิทิพย์พิมานเพื่อสัตว์ป่วยและสัตว์ไร้ที่พึ่ง ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕62 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕63 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2562 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,104
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 718) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 718) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (968) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(968) มูลนิธิทาง สู่ฝัน ปั้นคนเก่ง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,105
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 717) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 717) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจที่จะประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมในการพิจารณากําหนดดังกล่าว จึงปรับปรุงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติขององค์การหรือสถานสาธารณกุศล ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (4) ของข้อ 7 ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 704) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕61 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะต้องกระจายเป็นการทั่วไปตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า มูลนิธิต้องไม่มีรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 35 ของรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะทั้งสิ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่เป็นรายจ่ายให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 704) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕61 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลจะไม่พิจารณาประกาศให้ เว้นแต่จะมีวัตถุประสงค์และการดําเนินงานเช่นเดียวกับมูลนิธิที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จะพิจารณาประกาศให้เป็นราย ๆ ไป ในหลักเกณฑ์เดียวกัน ข้อ ๑๐ มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่มีวัตถุประสงค์และการดําเนินงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓ ถึงข้อ ๙ จะไม่ประกาศให้ เว้นแต่ (๑) เป็นมูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราชินูปถัมภ์ พระอุปถัมภ์ของพระบรมวงศานุวงศ์หรือพระสังฆราชูปถัมภ์ หรือมีบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป หรือสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ (2) เป็นมูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย หรือเพื่อการศึกษาเป็นการทั่วไป ข้อ ๑๑ มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล เว้นแต่สภากาชาดไทย วัดวาอาราม และสถานพยาบาลหรือสถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ใบรับที่ออกให้แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งซึ่งบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ให้ระบุลําดับที่ได้รับการประกาศด้วย (๒) ส่งรายงานการประชุมใหญ่ งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่าย พร้อมทั้งรายงานการดําเนินงานของกิจการ สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาให้กรมสรรพากร ทราบภายใน ๑๕๐ วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยยื่นผ่านสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษานั้นตั้งอยู่ ข้อ ๑๒ มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลแล้ว ต่อมาได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อหรือวัตถุประสงค์ต่อนายทะเบียน ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น เว้นแต่กรณีมูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาซึ่งไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อหรือวัตถุประสงค์ ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อหรือวัตถุประสงค์ต่อกรมสรรพากรภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่คณะกรรมการของมูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษานั้นได้มีมติให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อ ๑๓ มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลแล้ว ให้สํานักงานสรรพากรภาคที่องค์การหรือสถานสาธารณกุศลนั้นตั้งอยู่ ดําเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับผลการดําเนินงาน หากปรากฏว่า การดําเนินงานเข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้แจ้งผลการตรวจสอบให้กรมสรรพากรทราบเพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลังเพิกถอนการประกาศต่อไป ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกาศเพิกถอนในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๑) การดําเนินงานขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์ หรือมีการใช้ชื่อองค์การหรือสถานสาธารณกุศลหรือการดําเนินงานของคณะกรรมการขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลเป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง (๒) รายได้ขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ทั้งสิ้นใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา เว้นแต่รายได้เฉพาะดอกผลขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ดอกผลของใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา ทั้งนี้ เฉพาะกรณีตราสารจัดตั้งระบุว่าให้นําดอกผลมาเป็นรายจ่ายเท่านั้น หรือกรณีมีเหตุจําเป็นต้องเก็บสะสมรายได้เพื่อดําเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลนั้น (3) รายได้ได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการโดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้นเกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นํารายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น (4) รายจ่ายขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๕ ของรายจ่ายทั้งสิ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และรายจ่ายดังกล่าวได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ของรายจ่ายทั้งสิ้นใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควร (5) รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลไม่กระจายเป็นการทั่วไป (6) องค์การหรือสถานสาธารณกุศลไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ หรือข้อ 12 ข้อ ๑๔ องค์การหรือสถานสาธารณกุศลที่ถูกเพิกถอนการประกาศแล้ว หากประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลใหม่ สามารถยื่นคําขอได้เมื่อพ้น 3 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกาศเพิกถอนในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 15 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๓๑) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การพิจารณาคําขอของมูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาที่ได้ยื่นไว้ต่อกรมสรรพากรเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อขอให้เสนอกระทรวงการคลังพิจารณาประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล และยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ (2) การดําเนินการตรวจสอบผลการดําเนินงานของมูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลที่ค้างอยู่ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ” ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2561 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,106
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ. 18/2543 เรื่อง แนวปฏิบัติในการแสดงรายการสินทรัพย์ของลูกค้า ประเภทบัญชีเงินสดในงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการแสดงรายการสินทรัพย์ของลูกค้าประเภท บัญชีเงินสดในงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ อธ. 18/2543 เพื่อให้การจัดทํางบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับรายการสินทรัพย์ ของลูกค้าประเภทบัญชีเงินสดเป็นไปอย่างครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง และสอดคล้องกับหลักการบัญชี สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 เงินที่ลูกค้าวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ (1) บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่รับรู้เป็นสินทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจาก บริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นตัวแทน (agent) รับเงินสดจากลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นตัวแทนนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้าเท่านั้น และบริษัทหลักทรัพย์ไม่มีการควบคุมในเงินสดนั้น (2) ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยการดูแลรักษาสินทรัพย์ของลูกค้า กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกเงินดังกล่าวของลูกค้าออกจากเงินอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์อาจนําเงินดังกล่าวไปฝากธนาคาร โดยระบุว่าเป็นบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบริษัทเพื่อลูกค้า ในทางปฏิบัติบริษัทหลักทรัพย์อาจมีการนําเงินส่วนหนึ่งของบริษัทหลักทรัพย์ ฝากรวมในบัญชีดังกล่าวด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องปรับจํานวนเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าวตลอดเวลาเมื่อจํานวนเงินที่ลูกค้านํามาวางเปลี่ยนแปลง บริษัทหลักทรัพย์จะต้องไม่แสดงรายการเงินสดหรือเงินฝากธนาคารในส่วนที่เป็นของ ลูกค้าไว้ในงบดุลของบริษัทหลักทรัพย์ โดยให้แสดงเฉพาะส่วนที่เป็นของบริษัทหลักทรัพย์เท่านั้น พร้อมให้เปิดเผยรายละเอียดเงินของลูกค้าไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์อาจบันทึกรายการเงินของลูกค้าในบัญชีรายวันเพื่อการควบคุมภายในของ บริษัทหลักทรัพย์เองก็ได้ *ตัวอย่างการเปิดเผยในงบดุลและหมายเหตุประกอบงบการเงิน* บริษัทหลักทรัพย์มีรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ *จํานวนเงิน (บาท)* เงินสด 200 เงินฝากธนาคาร 1,500 - 2 - โดยในบัญชีเงินฝากธนาคารจํานวน 1,500 บาท ดังกล่าว เป็นเงินฝากธนาคารของบริษัทหลักทรัพย์เองจํานวน 300 บาท และเป็นเงินฝากธนาคารในนามบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้า จํานวน 1,200 บาท ซึ่งเป็นเงินของลูกค้าที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องส่งคืนเมื่อลูกค้าทวงถาม ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดเผยใน งบดุลและหมายเหตุประกอบงบการเงินดังนี้ ก) การเปิดเผยในงบดุล *งบดุล* เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน 500 ข) การเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน *รายละเอียดเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน* เงินสด 200 เงินฝาก 300 เงินฝากของบริษัทในบัญชีเพื่อลูกค้า 1,200 “บริษัทมีเงินฝากธนาคารจํานวน 1,500 บาท ซึ่งในจํานวนนี้เป็นส่วนของลูกค้าที่บริษัท ต้องส่งคืนเมื่อลูกค้าทวงถามจํานวน 1,200 บาท คงเหลือเป็นเงินฝากของบริษัทจํานวน 300 บาท” ข้อ 2 หลักทรัพย์ที่ลูกค้าฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่รับรู้ เป็นสินทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นตัวแทน (agent) รับฝากหลักทรัพย์ของลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นตัวแทนนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้าเท่านั้น ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,107
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ. 28/2543 เรื่อง แนวทางการพิจารณาการประกอบกิจการที่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 28/2543 เรื่อง แนวทางการพิจารณาการประกอบกิจการที่เข้าข่ายเป็น การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะใดต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการกํากับ ดูแลผู้ประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์ตามแนวทางที่เป็นสากล สํานักงานจึงชี้แจงแนวทางในการพิจารณาการประกอบกิจการที่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เพื่อตนเองนอกตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ถือเป็นการประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ 1. มีการแสดงตนว่าพร้อมจะซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์กับบุคคลอื่นโดยมีการ เสนอราคาซื้อขายอย่างต่อเนื่อง (2) มีการติดต่อชักชวนในลักษณะที่กระทําเป็นปกติให้บุคคลอื่นซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน หลักทรัพย์กับตน ทั้งนี้ บุคคลอื่นดังกล่าวไม่รวมถึงบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,108
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 716) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 716) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (801) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(801) มูลนิธิทุนแพทย์เพื่อปวงประชา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,109
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 715) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 715) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (967) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(967) มูลนิธิสโมสรโรตารี่กรุงเทพ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕61 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,110
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 13/2543 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
### #### ##### ###### ประกาศ เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ============================================== ที่ อน. 13/2543 โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บีโอเอ เพิ่มพูนทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 5/2543 ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บีโอเอ ทวีทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2543 ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2543 ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,111
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 14/2543 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศ เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ **ที่ อน. 14/2543** โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ จึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายใต้การดําเนินการของสํานักงาน เศรษฐกิจการคลังในฐานะเป็นนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทมิคุนิ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 48/2540 ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2542 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงเทพมั่งคั่ง 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 74/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2542 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเซ็นจูรี่อีเลคโทรนิคส์ แอนด์ ซิสเต็มส์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 43/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทบีโอเอ ลิสซิ่ง จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 29/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอเสค จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 12/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทสยามสแน็ค จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 401/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเอ็ม เอ็ม ซี สิทธิผล จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 54/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยูเอชเอ็มกรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 87/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อพนักงานบริษัทอีเล็คโทรเซรามิคส์ (ไทยแลนด์) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 62/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แบคเทิล ประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 284/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไทยซันเอะ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 12/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัททีดีเค (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 51/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์เพิ่มทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 94/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บุคลากรมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียน เลขที่ 52/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทโซโก้ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 66/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อพนักงานบมจ.เอสเซก อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 13/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทอาหารสากล จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 56/2535 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทในเครือเสถียรสเตนเลสสตีล จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 11/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอสอาร์อาร์เอ็มเอสแอล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 167/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซีเอ็ดยูเคชั่น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 175/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานเครือ ลี แอนด์ ฟุง (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 25/2539 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สุมิโตโม ไทยสุมิคอน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 44/2539 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไทยฮิตาชิลวดอาบน้ํายา จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 81/2541 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เครือปิ่นทอง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 53/2537 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สยามโคน่า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 23/2540 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไทยเอ็น.โอ.เค. จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 50/2538 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเอส.เอ.บี (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 262/2533 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ครอมัลลอย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 22/2534 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เบอร์ลี่ พรอสแพค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 157/2540 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอส ไอ จี คอมบิบล็อค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 92/2540 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กระเบื้องยาง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 107/2533 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อพนักงานกลุ่มบริษัท เอพีแอล จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 168/2540 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท สยามสตาร์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 42/2536 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์วอร์เบิร์ก ดิลลอน รีด จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 36/2539 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 54/2537 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดาว คอร์นนิ่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 566/2533 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทลีการ์เดนส์ กรุงเทพ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 43/2541 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 13/2540 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทเซอร์เดค และดูบุยท์ ฟาร์อีสท์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 603/2533 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเกรแฮม มิลเลอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 363/2533 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทรอนด้า (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 92/2541 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทวัฒนเวช จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 52/2535 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เมย์ฟลาวเวอร์กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 62/2537 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทศูนย์บริการเหล็กโลหะกิจ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 10/2537 ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มเอบิโก้ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 80/2538 ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทไทยคอมเมอร์เชียล ออโต้ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 38/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทโอลิมเปียไทย และบริษัทในเครือ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 12/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อุตสาหกรรมผ้าวิจิตรไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 133/2533 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไทยพาณิชย์ธนพันธ์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 95/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 14/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 358/2533 ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทนานาบริการ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 126/2533 ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ทรัพย์มั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 106/2541 ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไทยไวร์ แอนด์ เคเบิ้ล เซอร์วิสเซส จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 116/2540 ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซีซีเอส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 518/2533 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มโทรีเซน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 163/2540 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โรงพยาบาลรวมแพทย์ พิษณุโลก ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 18/2540 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเอกโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 64/2537 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จีเนียส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 159/2540 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มฟิลิพพ์ ฮอลส์แมนน์ (ไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 46/2536 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทพรีไซซ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 23/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยสตีลบาร์ส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 57/2535 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สยามบริการการบิน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 263/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รอยัลปริ๊นเซส โคราช ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 25/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สันติบุรี ดุสิต รีสอร์ท ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 34/2536 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดุสิต รีสอร์ท พัทยา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 373/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดุสิต รีสอร์ท ชะอํา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 601/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เจริญธานี ปริ๊นเซส ขอนแก่น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 21/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไอส์แลนด์รีสอร์ท โฮเต็ล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 5/2534 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โอกิฮาร่า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 19/2535 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ องค์การแคร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 68/2536 ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สามัคคีประกันภัย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 234/2533 ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บ้านริมน้ํา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 602/2533 ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยูไนเต็ด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 10/2535 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที.ยู.ดับบลิว.เท็กซ์ไทล์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 10/2540 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 33/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 148/2533 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทไทเทียน อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 152/2540 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทฮิตาชิคอมเพรสเซอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 51/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ เวนเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 351/2533 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อีเกีย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 138/2540 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไทยเฮเลีย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 150/2533 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทออล นิปปอน แอร์เวส์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 58/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อความมั่นใจ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซีลวาเนีย (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 60/2536 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทโอเรียนตัล อีเลคโทรนิคส์ ดีไวซ์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 154/2540 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทดีเอชแอล อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 42/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซีเคียวริคอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 58/2534 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,112
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 15/2543 เรื่อง การแก้ไขชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศ เรื่อง การแก้ไขชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ============================================== ที่ อน. 15/2543 =============== โดยที่สํานักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ได้รับจดทะเบียนแก้ไขชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงเห็นสมควรประกาศการแก้ไขชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทคริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทคริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อินช์เคป เอ็นอาร์จี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ ริโก้ (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอเชีย เอบีเอ็น - แอมโร เสถียรทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บีโอเอ เสถียรทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แจนเซ่น ฟาร์มาซูติกา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ แจนเซ่น - ซีแลก ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเฮิกซ์ เมเรียน รูซเซล (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทอเวนตีส ฟาร์มา จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2543 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คาร์เปทอินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ทรัพย์มั่นคง 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สินรวมใจ 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซีดีจี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2543 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์เพิ่มผล 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2543 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทไทยบาโรด้า อินดัสตรี้ส์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์เพิ่มผล 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2543 10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกรุงไทยธนกิจ - ไทยธนกิจ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทแจ๊กเจีย อุตสาหกรรม (ไทย) จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ทรัพย์มั่นคง 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 12. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มเฮิกซ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มเวียโนว่าเรซิ่น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2543 13. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทราชสีมา ส.ซัพพลาย ก่อสร้าง (1995) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทวังขนายคอนสตรัคชั่น จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทกระดาษเซลล็อกซ์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2543 15. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานฮ่องกงแบงก์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ พนักงานเอชเอสบีซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2543 16. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สยามซันวา ไทรลีส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ สยามซันวา ลีสซิ่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2543 ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,113
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 16/2543 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศ เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ============================================== ที่ อน. 16/2543 --------------- โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สํานักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะเป็นนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทฟาบริเนท จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยูไนเต็ด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สินเพิ่มพูน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 ### #### ##### ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,114
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 17/2543 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศ เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ========================================= ### #### ##### ที่ อน. 17/2543 โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จีซีเอ็มพี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 546/2533 ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เค.คอมเมอร์เชียล แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 48/2536 ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทหลักทรัพย์ แอสเซท พลัส จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 89/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท โมบิลออยล์ไทยแลนด์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 123/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ####
11,115
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 25/2543 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศ เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ========================================= ### #### ##### ที่ อน. 25/2543 โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน พี เอ อี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 56/2538 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เฮอร์มาลิค กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 29/2537 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท โคราช ไซซัน จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 83/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท อินดัสเตรียล มาร์เก็ตติ้ง จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 316/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทในกลุ่ม เอ็ม อี ซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 53/2534 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทแท็ค กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 89/2540 ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2543 ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,116
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2543 เรื่อง แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2543 เรื่อง แบบบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ 2 รูปถ่ายที่ติดบัตรประจําตัวให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและ แว่นตาดํา ขนาด 2.5 X 3 เซนติเมตร ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) นายทะเบียน แบบบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ท้ายประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (ด้านหน้า) | (ตราสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 วันออกบัตร ................/.............../............. บัตรหมดอายุ............./............../................ | (ด้านหลัง) | เลขที่ ...................... ชื่อ ................................................ ตําแหน่ง ......................................... สังกัด ............................................ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ....................... ................................................... ลายมือชื่อผู้ถือบัตร เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ | ตราสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------5.5 ซ.ม. 8.5 ซ.ม. รูปถ่ายขนาด2.5 X 3 ซ.ม. 8.5 ซ.ม. 5.5 ซ.ม. ഍
11,117
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 5/2544 เรื่อง การตั้งตัวแทนรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ของกองทุนปิด
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 5/2544 เรื่อง การตั้งตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด เนื่องจากมาตรา 100 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน สํานักงานจึงกําหนดเกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศ เรื่อง การตั้งตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด ที่ อน. 1/2541 ลงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2541 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 3 บริษัทหลักทรัพย์ใดที่ได้ตั้งธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด โดยได้ดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ของกองทุนปิดแล้ว ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ข้อ 4 ให้บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 3 จัดส่งสัญญาตั้งตัวแทนรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันทําสัญญาดังกล่าว ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,118
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 8/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทจัดการ เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 8/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทจัดการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า โดยที่มาตรา 135 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้บริษัทหลักทรัพย์อาจทําหน้าที่เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้มอบหมาย ให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการได้ เมื่อได้รับความยินยอมจาก ผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน สํานักงานจึงกําหนดเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบบริษัทจัดการที่ทําหน้าที่เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการ จัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ในกรณีที่บริษัทจัดการรายใดประสงค์จะเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า หากบริษัทจัดการรายนั้นได้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกําหนดให้บริษัทจัดการอาจเป็น ผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้าได้ ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 แล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2544 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,119
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 9/2544 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 9 /2544 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เกษียณก้าวหน้า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2544 ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอก-ชัย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2544 ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ซิเลซติกา (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2544 ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2544 ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,120
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 16/2544 เรื่อง การผ่อนผันให้บริษัทจัดการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ
ประกาศ เรื่อง การผ่อนผันให้บริษัทจัดการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ที่ อน. 16/2544 โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการผ่อนผันให้บริษัทจัดการซื้อ หรือมีหุ้นได้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงกําหนดการผ่อนผันไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้น ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ข้อ 2 ในประกาศนี้ "บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม และบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 2 (6) แห่ง กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล "ประกาศ ที่ กน. 15/2544" หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้น เพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 3 การซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ หากบริษัทจัดการ ได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ กน. 15/2544 ให้ถือว่าได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ 4 ให้การได้รับผ่อนผันการซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการเป็นอันสิ้นสุดลง ในกรณีที่บริษัทจัดการซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นที่บริษัทตามข้อ 4 แห่งประกาศ ที่ กน. 15 /2544 เป็นผู้ออก และต่อมาบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารอื่นใดที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือของลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการนั้นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันจากสํานักงานให้มีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวต่อไปได้โดยยื่นขอผ่อนผันก่อนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือของลูกค้ากองทุนส่วนบุคคล ข้อ 5 ในกรณีที่บริษัทจัดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศ ที่ กน. 15/2544 สํานักงานอาจพิจารณายกเลิกการผ่อนผันการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของ บริษัทจัดการได้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,121
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 713) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 713) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (966) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕3๕ “(966) มูลนิธิหยดน้ํา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,122
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 712) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 712) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔7 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (965) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “(965) มูลนิธิโรคพันธุกรรมแอลเอสดี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2561 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,123
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 711) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 711) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (964) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(964) จักษุมูลนิธิแห่งประเทศไทย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,124
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 710) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 710) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (322) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(322) มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,125
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 709) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 709) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (963) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕3๕ “(963) มูลนิธิ วิเชียร-ปราณี เผอิญโชค” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,126
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 708) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 708) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (962) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(962) มูลนิธิชาวโคกลําพาน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,127
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 23/2544 เรื่อง คุณสมบัติของบริษัทจัดการที่จะได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ สำหรับวงเงินลงทุนปี 2545
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 23/2544 เรื่อง คุณสมบัติของบริษัทจัดการที่จะได้รับความเห็นชอบ ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ สําหรับวงเงินลงทุนปี 2545 เนื่องจากข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ได้กําหนดให้บริษัทจัดการที่ประสงค์จะยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวม ที่ลงทุนในต่างประเทศต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งสํานักงาน จะให้ความเห็นชอบบริษัทจัดการจํานวนไม่เกินสี่ราย เพื่อจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่สามารถจะนําเงิน ไปลงทุนในต่างประเทศในไตรมาสที่หนึ่งและที่สองได้ในมูลค่าไม่ต่ํากว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาต่อบริษัทจัดการหนึ่งราย และอาจจะได้รับวงเงินเพิ่มเติมอีกในไตรมาสที่สามและที่สี่มูลค่าไม่ต่ํากว่า 12.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาต่อบริษัทจัดการหนึ่งราย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่จะให้ความเห็นชอบบริษัทจัดการจํานวนสี่ราย สํานักงานจึงประกาศกําหนดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 บริษัทจัดการที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดการที่จะจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศได้ต้องเป็นบริษัทที่ได้รับคะแนนการพิจารณาจากสํานักงาน ในอันดับสูงสุดและรองลงมาตามลําดับจํานวนไม่เกินสี่บริษัท และสํานักงานจะให้ความเห็นชอบสํารองไว้โดยพิจารณาจากคะแนนในลําดับถัดมาจํานวนไม่เกินสองบริษัท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบท้ายประกาศนี้ โดยสํานักงานจะพิจารณาจาก (1) ความพร้อมในการดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันความผันผวน (fluctuation) ของอัตราแลกเปลี่ยน (2) ความพร้อมในการจัดการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยพิจารณาจาก ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของบริษัทจัดการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบุคคลที่บริษัทจัดการจะมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ การบริหารความเสี่ยง ความร่วมมือทางวิชาการและทางธุรกิจกับสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และผลงานวิจัยของบริษัทจัดการ (3) ระบบในการจัดการลงทุน และการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุน โดยพิจารณาจาก (ก) การแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ อํานาจหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ และ ผู้รับฝากทรัพย์สิน (ถ้ามี) (ข) การเก็บรักษาทรัพย์สิน และการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บรักษาทรัพย์สิน (ค) มาตรการแก้ไขกรณีที่ผลการลงทุนไม่เป็นไปตามแผนการลงทุน (ง) วิธีการจัดการในเรื่องความแตกต่างของเวลา (time zone) ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (4) แนวทางที่จะให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนไทยเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (5) แนวทางการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ถ้ามี) (6) แผนการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศตามข้อ 3 ที่เหมาะสม ข้อ 3 บริษัทจัดการที่ประสงค์จะได้รับการพิจารณาตามข้อ 2 ต้องยื่นแผนการจัดตั้งและ จัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่ประสงค์จะจัดตั้งรายละ 1 โครงการมาพร้อมด้วย โดยแผนดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ประเภทและลักษณะการจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ การนําหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการกําหนดเวลาในการรับซื้อ คืนหน่วยลงทุนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) ความเสี่ยงของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (3) การเสนอขายหน่วยลงทุน และการจัดสรรหน่วยลงทุน (4) นโยบาย กลยุทธ์ และแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการระบุถึงประเภทและสัดส่วนที่คาดว่าจะลงทุน เหตุผลประกอบการกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน อย่างชัดเจน (5) อัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และเงินตอบแทนอื่นใดที่บริษัทจัดการจะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ โดยแสดงประเภทค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด และแสดงค่าใช้จ่ายรวมเป็นร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่ลงทุน ในต่างประเทศ (6) ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ และการเสนอขายหน่วยลงทุนหากได้รับอนุมัติ ข้อ 4 การยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ถึงวันที่30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ตามแบบ 117 F ที่กําหนดท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอจํานวน 2 ชุด สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทจัดการทุกรายทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคําขอ ข้อ 5 บริษัทจัดการที่ได้รับความเห็นชอบต้องยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และในกรณีที่บริษัทจัดการ ที่ได้รับความเห็นชอบไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กําหนด สํานักงานจะพิจารณา ให้บริษัทจัดการที่ได้รับความเห็นชอบสํารองเรียงตามลําดับดําเนินการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ที่ลงทุนในต่างประเทศต่อไป ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,128
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 707) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 707) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (887) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕3๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(887) มูลนิธิเติมฝันเติมชีวิต” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,129
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 706) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 706) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (961) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(961) มูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๖1 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๖2 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖1 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,130
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 705) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 705) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (543) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(543) มูลนิธิยุวรักษ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,131
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 704) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 704) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจที่จะประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมในการพิจารณากําหนดดังกล่าว จึงปรับปรุงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติขององค์การหรือสถานสาธารณกุศล ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๓๑) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ” หมายความว่า รายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะในประเทศไทย เช่น การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และหมายความรวมถึงรายจ่ายเพื่อการรณรงค์ ส่งเสริมหรือปลูกจิตสํานึกต่อสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๔) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่าย เพื่อการกีฬา ตามมาตรา ๖๕ ตรี (๓) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓ มูลนิธิที่ประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลจะต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคําขอเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ ชื่อของมูลนิธิต้องไม่ปรากฏข้อความว่า “บริษัทจํากัด” “บริษัทมหาชนจํากัด” “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” “ห้างหุ้นส่วนจํากัด” หรือ “ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” หรือข้อความอื่นใดที่มีความหมายในลักษณะทํานองเดียวกัน ข้อ ๕ มูลนิธิต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะในประเทศไทยเท่านั้น และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อ ๖ การดําเนินงานของมูลนิธิต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และต้องไม่มีการใช้ชื่อของมูลนิธิหรือไม่มีการดําเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ข้อ ๗ กรมสรรพากรจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการดําเนินงานของมูลนิธินั้นก่อน เช่น รายงานการประชุมใหญ่ งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว เอกสารหลักฐานที่นํามาบันทึกบัญชีรายได้หรือรายจ่าย เป็นต้น โดยจะตรวจสอบการดําเนินงานของมูลนิธิย้อนหลัง 3 รอบระยะเวลาบัญชี และจะต้องปรากฏดังต่อไปนี้ (๑) รายได้ของมูลนิธิได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ทั้งสิ้นใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา เว้นแต่ (ก) ตราสารจัดตั้งระบุว่า ให้นําดอกผลมาเป็นรายได้เท่านั้น หรือให้นําดอกผลมาใช้จ่ายเท่านั้น (ข) กรณีมีเหตุจําเป็นต้องเก็บสะสมรายได้เพื่อดําเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ (๒) รายได้ของมูลนิธิต้องไม่ได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการโดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้นเกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นํารายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น (๓) รายจ่ายของมูลนิธิต้องเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของรายจ่ายทั้งสิ้นใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา และรายจ่ายดังกล่าวได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของรายจ่ายทั้งสิ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี (๔) รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะของมูลนิธิต้องกระจายเป็นการทั่วไปตามวัตถุประสงค์ที่จดแจ้งไว้ หรือไม่ได้จ่ายไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะต้องกระจายเป็นการทั่วไปตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า มูลนิธิต้องไม่มีรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 35 ของรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะทั้งสิ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ข้อ ๘ มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นยังไม่ครบ 3 รอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ ๑๒ เดือน จะไม่พิจารณาประกาศให้ ข้อ ๙ มูลนิธิใดที่มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลจะไม่พิจารณาประกาศให้ เว้นแต่จะมีวัตถุประสงค์และการดําเนินงานเช่นเดียวกับมูลนิธิที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จะพิจารณาประกาศให้เป็นรายๆ ไป ในหลักเกณฑ์เดียวกัน ข้อ ๑๐ มูลนิธิใดที่มีวัตถุประสงค์และการดําเนินงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓ ถึงข้อ ๙ จะไม่พิจารณาประกาศให้ เว้นแต่ (๑) เป็นมูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราชินูปถัมภ์ พระอุปถัมภ์ของพระบรมวงศานุวงศ์หรือพระสังฆราชูปถัมภ์ หรือมีบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป หรือสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ (2) เป็นมูลนิธิที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย หรือเพื่อการศึกษาเป็นการทั่วไป ข้อ ๑๑ มูลนิธิที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล เว้นแต่สภากาชาดไทย วัดวาอาราม และสถานพยาบาล หรือสถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ใบรับที่ออกให้แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งซึ่งบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ให้ระบุลําดับที่ได้รับการประกาศด้วย (๒) ส่งรายงานการประชุมใหญ่ งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่าย พร้อมทั้งรายงานการดําเนินงานของกิจการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาให้กรมสรรพากรทราบภายใน ๑๕๐ วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยยื่นผ่านสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่มูลนิธินั้นตั้งอยู่ ข้อ ๑๒ มูลนิธิใดที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลแล้ว ต่อมาได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อหรือวัตถุประสงค์ ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงนั้น ข้อ ๑๓ มูลนิธิที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลแล้ว ให้สํานักงานสรรพากรภาคที่มูลนิธินั้นตั้งอยู่ ดําเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับผลการดําเนินงาน หากปรากฏว่า การดําเนินงานเข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้แจ้งผลการตรวจสอบให้กรมสรรพากรทราบเพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลังเพิกถอนการประกาศต่อไป ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกาศเพิกถอนในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๑) การดําเนินงานของมูลนิธิไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์หรือมีการใช้ชื่อมูลนิธิหรือการดําเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิเป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง (๒) รายได้ของมูลนิธิได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ทั้งสิ้นใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา เว้นแต่รายได้เฉพาะดอกผลของมูลนิธิได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ดอกผลใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา ทั้งนี้ เฉพาะกรณีตราสารจัดตั้งระบุว่าให้นําดอกผลมาเป็นรายจ่ายเท่านั้น หรือกรณีมีเหตุจําเป็นต้องเก็บสะสมรายได้เพื่อดําเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ (3) รายได้ได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการโดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้นเกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นํารายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น (4) รายจ่ายของมูลนิธิเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๕ ของรายจ่ายทั้งสิ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และรายจ่ายดังกล่าวได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ของรายจ่ายทั้งสิ้นใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควร (5) รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะของมูลนิธิไม่กระจายเป็นการทั่วไป (6) มูลนิธิไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ หรือข้อ 12 ข้อ ๑๔ มูลนิธิที่ถูกเพิกถอนการประกาศแล้ว หากประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลใหม่ สามารถยื่นคําขอได้เมื่อพ้น 3 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกาศเพิกถอนในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับมูลนิธิที่ได้ยื่นคําขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกรมสรรพากรตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๓๑) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะมูลนิธิที่ได้ยื่นคําขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกรมสรรพากรก่อนวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2561 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,132
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 703) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 703) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น (960) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(960) มูลนิธิ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,133
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ. 26/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 26/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับ อนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 9/2545 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจ ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนเพิ่มเติมได้ และให้รวมการประกอบกิจการอื่น ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เคยอนุญาตให้ทําได้มากําหนดไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอแจ้งมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกันดังนี้ ประเภทของกิจการอื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์สามารถประกอบกิจการได้มีดังต่อไปนี้ (1) การดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ (custodian service) ซึ่งรวมถึงการรับหรือส่งมอบ หลักทรัพย์ การรับหรือจายเงินค่าหลักทรัพย การรับเงินปันผล และการส่งมอบผลประโยชนอันเกิดจาก หลักทรัพย์นั้นๆ (2) การเป็นนายทะเบียนและตัวแทนจายเงินสําหรับหลักทรัพย์เพื่อบุคคลอื่น ซึ่งได้แก การอํานวยความสะดวกในเรื่องการจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น การเป็นตัวแทนจ่ายเงินในกรณีต่าง ๆ เช่น เงินปันผล การไถถอนคืนหลักทรัพย์ต่าง ๆ เปนตน ทั้งนี้ การให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ด้วย (3) การให้บริการขาวสารขอมูล การศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการจัดอบรม สัมมนาด้านเศรษฐกิจ การเงิน หรือการลงทุน เพื่อนําเสนอและจําหนายแก่ประชาชน (4) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ซึ่งต้อง ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (5) การประกอบธุรกิจซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (repurchase agreement หรือ repo) เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ซึ่งมิได้เป็น ผู้ลงทุนต่างประเทศ (non resident) ดังนี้ 1. ธนาคารพาณิชย์ 2. บริษัทเงินทุน 3. บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการจัดการกองทุน ส่วนบุคคล 4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5. บริษัทประกันภัย 6. นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น 7. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 8. กองทุนบําเหน็จบํานาญ 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 10. กองทุนรวม 11. ธนาคารแห่งประเทศไทย 12. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,134
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ/น. 16/2545 เรื่อง การผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ ซื้อหรือมีหุ้นของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ./น. 16/2545 เรื่อง การผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้น ของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ./น. 24/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ ผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้นของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนได้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงกําหนดการผ่อนผันไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน “บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน “ประกาศ ที่ กธ./น. 24/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ./น. 24/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 การซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของ บริษัทหลักทรัพย์ หากบริษัทหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ กธ./น. 24/2545 ให้ถือว่าได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนด ในประกาศ ที่ กธ./น. 24/2545 สํานักงานอาจพิจารณายกเลิกการผ่อนผันการซื้อหรือมีหุ้นของ บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ได้ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,135
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 702) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 702) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (959) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(959) มูลนิธิ บิ๊กทรี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,136
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 1/2545 เรื่อง การอ้างอิงเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 1/2545 เรื่อง การอ้างอิงเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาคําขอ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและเพื่อความสะดวกของผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ คําขอรับอนุญาต คําขอขึ้นทะเบียน หรือคําขอรับใบอนุญาตต่อสํานักงาน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงกําหนดแนวทางในการยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2544 เรื่อง การอ้างอิงเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาคําขอ ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 3 ในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบ คําขอรับอนุญาต คําขอขึ้นทะเบียน หรือ คําขอรับใบอนุญาต หรือคําขออื่นใดที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ กองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หากผู้ยื่นคําขอเป็น ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบ ได้รับอนุญาต ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือได้รับใบอนุญาตตามคําขอดังกล่าว อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้ยื่นคําขอจะแสดงความจํานงต่อสํานักงานให้ถือว่าเอกสารหลักฐานที่ได้ ยื่นไว้ต่อสํานักงานในครั้งก่อน และที่แก้ไขเพิ่มเติมในกรณีที่ข้อมูลในเอกสารหลักฐานดังกล่าวได้ เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ครบถ้วนถูกต้อง (ถ้ามี) โดยรับรองว่าข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารหลักฐาน ดังกล่าว มีความถูกต้องทุกประการแล้ว เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังกล่าวก็ได้ ข้อ 4 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,137
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 701) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 701) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (958) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕3๕ “(958) มูลนิธิสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕61 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕62 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕61 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,138
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 8/2545 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 8/2545 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัททีพีไอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 13/2544 ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2544 ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,139
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 700) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 700) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (957) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(957) มูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2561 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,140
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 9/2545 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 9/2545 ============== เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ================================== โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท นําสินประกันภัย จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 47/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มคลอสเตอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มเนชั่น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 340/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โอทิส เอเลเวเทอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 201/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 211/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เทเวศประกันภัย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 285/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานโรงแรมตวันนา-รามาดา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 287/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท แอนเซลล์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 289/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 360/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทไทยเทพรส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 417/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานโรงแรมฮิลตันฯ ณ ปาร์คนายเลิศ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 536/2533 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อพนักงานไทยซังเกียวและเอเชี่ยน ทีเจดี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2534 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลุกซ์ รอยัล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 51/2535 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สยาม แอดมินนิสเทรทีฟ แมเนจเม้นท์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 27/2538 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สมิติเวช จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 100/2538 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ทาคาฮาชิ พลาสติก จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 71/2539 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ขอนแก่น บริวเวอรี่ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 40/2540 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 66/2540 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 93/2540 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทีทีแอล อุตสาหกรรม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 112/2540 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ชีวิตมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 19/2541 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อพนักงานบริษัทในเครือเอส.พี.ไอ. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 31/2541 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานโอเซ่ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 39/2541 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซันโย (ไทยแลนด์) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 91/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นานาโฮเต็ล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 99/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เช้งเกอร์ (ไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 291/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เพทโทร – อินสตรูเมนท์ จํากัด ทะเบียนเลขที่ 18/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 304/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานไทยลิฟท์อินดัสตรีส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 37/2540 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานสินเคหการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 202/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน ยูไนเต็ดฟาร์มาแอนติไบโอติคส์ อินดัสตรีส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แสตนดาร์ดแคน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 47/2536 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยสตาร์ไลท์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 101/2538 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ซิตี้แพค จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 60/2539 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สยามซันวาลีสซิ่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 38/2534 ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ดริสเซ่น แอร์คราฟท์ อินทีเรีย ซิสเทมส์ (เอเชีย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 507/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทโรงพยาบาลเอกชล จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 74/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท น้ํามันบริโภคไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 264/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยซากุระ กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 28/2535 ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โรห์ม แอนด์ ฮาสส์ เคมิคอล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2542 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บุคคลัภย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 93/2533 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คลับคอร์ปอเรชั่น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 94/2533 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มเท็กซ์ไทล์เพรสทีจ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 40/2536 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทธนูลักษณ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 21/2536 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท อ๊าร์ท-เสรีนา ปีสตัน จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 60/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2544 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทิสโก้ร่วมทุน 2/2000 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 29/2542 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2544 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มพนักงาน เซ้าท์ ซิตี้ กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 25/2542 ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2544 ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ### #### ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ####
11,141
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 11/2545 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 11/2545 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทเทเลคอมเอเซีย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2545 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานทิสโก้เพื่อการออม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2545 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอ็กเซล (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2545 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เกษียณสําราญ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2545 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ควอลิตี้เฮ้าส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 5/2545 ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซีบา สเปเชียลตี้ เคมิคอลส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2545 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ธนทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2545 ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2545 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2545 ### #### ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,142
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 12/2545 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 12/2545 =============== เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ================================== โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยูเนียนคาร์ไบด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 242/2533ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ซาโนฟี่-ซินเตลาโบ (ประเทศไทย) จํากัด ทะเบียนเลขที่ 280/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บลูครอส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 407/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 510/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 143/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สหประกันชีวิต จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 26/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ คราวน์ พลาซ่า กรุงเทพ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 40/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท ททบ.5 จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 54/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เคพโทรนิค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 26/2542 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นากาเซ่ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 24/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน ธนาคารฟอร์ทิส สํานักงานวิเทศธนกิจ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 115/2541 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เจ จี ซี คอร์ปอเรชั่น ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 49/2537 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โกเบลโก ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 606/2533 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 127/2540 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2545 ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ### #### ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ####
11,143
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน เนื่องจากข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดกิจการการจัดการ เงินร่วมลงทุนให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 กําหนดให้บริษัทจัดการ เงินร่วมลงทุนขอขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนจัดตั้งขึ้นกับสํานักงาน และบริหารเงินของนิติบุคคลร่วมลงทุนดังกล่าว โดยอาจส่งบุคลากรเข้าร่วมบริหารในกิจการที่นิติบุคคลร่วมลงทุนนั้นนําเงินไปลงทุน ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงกําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและการยกเลิกการขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “นิติบุคคลร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน “บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2545 เรื่อง กําหนดลักษณะของคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” “นิติบุคคลร่วมลงทุน” และ “กิจการ” ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 “ประกาศที่ กน. 22/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุน ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 นิติบุคคลร่วมลงทุนที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนขอขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าสองร้อยล้านบาท และมีการชําระค่าหุ้นครั้งแรก เป็นจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียน 1. มีผู้ถือหุ้นทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน นิติบุคคลร่วมลงทุนดังกล่าวอาจมีผู้ถือหุ้นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันถือหุ้นรายละไม่เกินหนึ่งหุ้น เพื่อให้มีผู้เริ่มก่อการหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทครบตามจํานวนที่กฎหมายกําหนด ข้อ 3 ในการขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน ให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนที่เป็น ผู้จัดตั้งนิติบุคคลร่วมลงทุนยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงาน ตามแบบคําขอขึ้นทะเบียนนิติบุคคล ร่วมลงทุน ท้ายประกาศนี้พร้อมเอกสารประกอบแบบคําขอขึ้นทะเบียนตามข้อ 4 ข้อ 4 รายการเอกสารประกอบแบบคําขอขึ้นทะเบียน มีดังต่อไปนี้ (1) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (2) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (3) สําเนาข้อบังคับของบริษัท ที่ระบุข้อจํากัดในเรื่องการโอนหุ้นของนิติบุคคล ร่วมลงทุนว่านิติบุคคลร่วมลงทุนขอสงวนสิทธิที่จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นที่ถือโดยผู้ลงทุน ประเภทสถาบันไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (4) สําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์รับรอง (5) หนังสือรับรองจากบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนที่รับรองว่านิติบุคคลร่วมลงทุน มีลักษณะตามข้อ 2 โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันด้วย ข้อ 5 ให้การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนสิ้นสุดลงเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนหรือนิติบุคคลร่วมลงทุนขอยกเลิกการขึ้นทะเบียน นิติบุคคลร่วมลงทุน (2) บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ ภายในระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 4 แห่งประกาศ ที่ กน. 22/2545 1. นิติบุคคลร่วมลงทุนมีจํานวนผู้ถือหุ้นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันและจํานวน การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าว ไม่เป็นตามที่กําหนดในข้อ 2 วรรคสอง (4) นิติบุคคลร่วมลงทุนเลิกกิจการ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,144
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 8/2546 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 8/2546 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน (ฉบับที่ 2) ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กําหนด หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 นั้น เพื่อให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนสามารถส่งกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนเข้าไปร่วมในการบริหารจัดการนิติบุคคลร่วมลงทุนได้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 นิติบุคคลร่วมลงทุนที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนขอขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ําไม่น้อยกว่าจํานวนที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการยกเว้นภาษี เงินได้ให้แก่นิติบุคคลร่วมลงทุนในเงินปันผลที่ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร 1. มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) มีผู้ถือหุ้นตามจํานวนขั้นต่ําที่กฎหมายกําหนดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันแล้ว และมีกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนร่วมถือหุ้นไม่เกินหนึ่งรายในจํานวนไม่เกินหนึ่งหุ้น (ข) มีผู้ถือหุ้นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันถือหุ้นรายละไม่เกินหนึ่งหุ้น เพื่อให้มี จํานวนผู้ถือหุ้นขั้นต่ําครบตามจํานวนที่กฎหมายกําหนด” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) นิติบุคคลร่วมลงทุนมีจํานวนผู้ถือหุ้นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันและจํานวนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าว ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 2” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,145
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 8/2546 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน (ฉบับที่ 2) ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กําหนด หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 นั้น เพื่อให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนสามารถส่งกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนเข้าไปร่วมในการบริหารจัดการนิติบุคคลร่วมลงทุนได้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 นิติบุคคลร่วมลงทุนที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนขอขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ําไม่น้อยกว่าจํานวนที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการยกเว้นภาษี เงินได้ให้แก่นิติบุคคลร่วมลงทุนในเงินปันผลที่ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร 1. มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) มีผู้ถือหุ้นตามจํานวนขั้นต่ําที่กฎหมายกําหนดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันแล้ว และมีกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนร่วมถือหุ้นไม่เกินหนึ่งรายในจํานวนไม่เกินหนึ่งหุ้น (ข) มีผู้ถือหุ้นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันถือหุ้นรายละไม่เกินหนึ่งหุ้น เพื่อให้มี จํานวนผู้ถือหุ้นขั้นต่ําครบตามจํานวนที่กฎหมายกําหนด” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 13/2545 เรื่อง การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุน ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) นิติบุคคลร่วมลงทุนมีจํานวนผู้ถือหุ้นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันและจํานวนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าว ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 2” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,146
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 14/2545 เรื่อง การผ่อนผันให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน ซื้อหรือมีหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 14/2545 เรื่อง การผ่อนผันให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน ซื้อหรือมีหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุน โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 ได้กําหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผัน ให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนซื้อหรือมีหุ้นได้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์จึงกําหนดการผ่อนผันไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน “นิติบุคคลร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน “ประกาศ ที่ กน. 23/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นของ นิติบุคคลร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 การซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของ บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน หากบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ กน. 23/2545 ให้ถือว่าได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,147
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 15/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 15/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับ อนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงมีมติอนุญาต เป็นการทั่วไปให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนสามารถประกอบกิจการอื่นได้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน “นิติบุคคลร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนประกอบกิจการอื่นที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ ในประเภทที่ได้รับอนุญาต โดยการซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนเกินร้อยละห้าสิบ ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลร่วมลงทุนได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการ ก.ล.ต. สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอแจ้งมติ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,148
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 19/2545 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 19/2545 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไอเอ็นจีสวัสดิการมั่นคง 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 9/2545 ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2545 ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,149
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 20/2545 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 20/2545 =============== เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ================================== โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานรายเดือนปฏิบัติการ แอลแคนนิคเคไทยซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 349/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานรายเดือน แอลแคนนิคเคไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 350/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท แอมพาสอินดัสตรี จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 62/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มแสนสิริ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 35/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โอ.ซี.ซี. กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 40/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2545 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ เจ.พี. มอร์แกน (ประเทศไทย) จํากัดซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 167/2533 ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2545 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัท เจพีมอร์แกน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 148/2540 ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2545 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อัลฟาซอร์ส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 65/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2545 10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บมจ.ธนาคารศรีนคร ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 140/2540 ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2545 ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ### #### ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ####
11,150
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 23/2545 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 23/2545 =============== เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ================================== โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จํากัด (มหาชน)ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 37/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทรัพย์ทวีผล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 32/2541 ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท โรช ไทยแลนด์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้วทะเบียนเลขที่ 122/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2545 ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ### #### ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ####
11,151
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อย. 7/2545 เรื่อง แนวทางการพิจารณาการประกอบกิจการที่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อย. 7/2545 เรื่อง แนวทางการพิจารณาการประกอบกิจการที่เข้าข่ายเป็นการ ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ --------------------------------------------------- โดยที่บทนิยามของคําว่า “ธุรกิจหลักทรัพย์” ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ===================================================================== ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หลายประเภทมีลักษณะของการเข้าเป็นตัวกลางเพื่อทําให้เกิดการซื้อขาย ======================================================================================== หลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (broker) การค้าหลักทรัพย์ (dealer) หรือการ ========================================================================================== จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (underwriter) เป็นต้น ซึ่งลักษณะของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในแต่ละ ======================================================================================== ประเภทดังกล่าวมีการดําเนินการบางส่วนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดจําหน่าย =========================================================================================== หลักทรัพย์ ผู้จัดจําหน่ายอาจต้องกระทําการในฐานะตัวแทนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของ ======================================================================================= หลักทรัพย์ หรือเป็นตัวแทนของผู้ลงทุน หรือดําเนินการรับโอนหลักทรัพย์ผ่านบัญชีของตนเอง =================================================================================== ซึ่งการกระทําในลักษณะดังกล่าวทําให้เกิดข้อสงสัยกับบุคคลทั่วไปว่าจะเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือประเภทการค้าหลักทรัพย์ด้วยหรือไม่ นั้น ==================================================================================================================================================================================== เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะให้บริการแก่บริษัทที่จะออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์ทราบว่าการให้บริการในลักษณะใดต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ สํานักงาน =========================================================================================================================================================================================== คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงชี้แจงแนวทางในการพิจารณาการประกอบกิจการ ที่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ================================================================================ แนวทางในการพิจารณา 1. สํานักงานจะพิจารณาว่าการให้บริการแก่ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อ ประชาชนเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หากพิจารณาจากลักษณะโดยรวมของการให้บริการแล้วเห็นว่า ผู้ให้บริการรับหลักทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทหรือ เจ้าของหลักทรัพย์โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหลักทรัพย์ที่รับมานั้นไปกระจาย (distribution) ต่อผู้ลงทุน ในลักษณะของการเป็นช่องทางในการกระจายหลักทรัพย์ไปสู่ประชาชนแทนบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือ เป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ (selling agent) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด 2. ในกรณีที่ไม่ปรากฏวัตถุประสงค์ของบุคคลที่รับหลักทรัพย์จากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์อย่างชัดเจน หากบุคคลนั้นนําหลักทรัพย์ที่รับมาไปเสนอขายต่อประชาชนหลังจากครบกําหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่มีการชําระราคาหลักทรัพย์ หรือเป็นกรณีการขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาซื้อคืน (repurchase agreement) สํานักงานจะถือว่าบุคคลดังกล่าวมิได้รับหลักทรัพย์มาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําหลักทรัพย์ไปกระจายต่อผู้ลงทุน จึงมิใช่การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ ในทางกลับกัน หากบุคคลนั้นนําหลักทรัพย์ไปเสนอขายต่อประชาชนก่อนที่ตนจะได้มาซึ่ง หลักทรัพย์ หรือภายในกําหนดเวลา 6 เดือน สํานักงานอาจถือว่าบุคคลนั้นรับหลักทรัพย์มาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อกระจายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุน อันเข้าลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม สํานักงานจะนําข้อเท็จจริงอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย เช่น วิธีการในการได้มาและการขายหลักทรัพย์ จํานวนหลักทรัพย์ที่รับมาจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือ เจ้าของหลักทรัพย์ จํานวนหลักทรัพย์ที่นําไปเสนอขายต่อประชาชน เป็นต้น ### #### ##### ###### **กรณีตัวอย่างที่เข้าข่ายการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์** (1) *การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ในลักษณะที่เป็นตัวแทนในการจําหน่ายให้แก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์* เช่น กรณีที่บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ต้องการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป แต่ไม่อยากมีภาระในการรวบรวมคําเสนอซื้อและเก็บเงินค่าหลักทรัพย์จาก ผู้ซื้อด้วยตนเอง จึงแต่งตั้งให้สถาบันการเงินเป็นผู้ทําหน้าที่ดังกล่าว โดยบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์อาจผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการของสถาบันการเงินให้ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบด้วยก็ได้ เป็นต้น (2) *การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์โดยการเข้าร่วมประมูลหลักทรัพย์และนําออกเสนอขาย* ต่อประชาชนในภายหลัง*ในลักษณะของการเป็นช่องทางในการกระจายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุน* เช่น กรณีที่สถาบันการเงินเข้าร่วมประมูลพันธบัตรรัฐวิสาหกิจแล้วนําพันธบัตรที่ได้จากการประมูลออก เสนอขายต่อประชาชนภายในกําหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่มีการชําระราคาพันธบัตรในลักษณะ ของการเป็นช่องทางในการกระจายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนแทนบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของ หลักทรัพย์ เป็นต้น อนึ่ง แม้ว่าการจัดจําหน่ายพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารอื่นที่ออกโดยกระทรวงการคลังและเสนอขายต่อประชาชนในตลาดแรกจะมีลักษณะเป็นการกระจายหลักทรัพย์ไปสู่ผู้ลงทุน แต่เนื่องจาก ผู้ออกพันธบัตรหรือตราสาร คือกระทรวงการคลัง มิได้มีฐานะเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจตามคํานิยาม “การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์” ดังนั้น การ จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจึงไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ จึงไม่จําต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ สํานักงานจึงขอประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ ========= สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ==================================================
11,152
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อย. 18/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อย. 18/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ประเภท การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติอนุญาตให้บริษัท หลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ประกอบกิจการอื่นได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนด สํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอแจ้งมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกันดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ ----------------- “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ “ผู้ค้าหลักทรัพย์” หมายความว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ (2) ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ต่างประเทศ (3) ธนาคารแห่งประเทศไทย “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ กรรมการบริหาร รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย “อนุพันธ์” หมายความว่า สัญญาที่มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามมูลค่าของสินค้าอ้างอิง หรือระดับตัวเลขของตัวแปรอ้างอิง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง “ซื้อขายอนุพันธ์” หมายความว่า เข้าผูกพันตามอนุพันธ์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สํานักงานอาจสั่งให้ บริษัทหลักทรัพย์นั้น แก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดก็ได้ หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจพิจารณาเพิกถอน การอนุญาตให้ประกอบกิจการอื่นนั้นได้ หมวด 1 การให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ เพื่อการซื้อขายตราสารแห่งหนี้ที่ไม่ใช่หลักทรัพย์ ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ เพื่อการซื้อขายตราสารแห่งหนี้ที่ไม่ใช่หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ได้ (1) บัตรเงินฝาก (2) ตั๋วเงิน (3) ตราสารแห่งหนี้อื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ 4 ในการให้บริการตามหมวดนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ด้วยโดยอนุโลม หมวด 2 การให้บริการเป็นนายหน้าเพื่อการทําธุรกรรมอื่นระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าเพื่อการทําธุรกรรมอื่นระหว่างผู้ค้า หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ได้ (1) การซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (repurchase agreement) (2) การซื้อขายอนุพันธ์เฉพาะที่มีสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงดังต่อไปนี้ (ก) ตราสารแห่งหนี้ (ข) เงินตราสกุลใด ๆ (ค) อัตราดอกเบี้ย (ง) สินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) การซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ข้อ 6 ในการให้บริการตามหมวดนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์เข้าเป็นคู่สัญญากับ ผู้ค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากการให้บริการ และบริษัทหลักทรัพย์ได้ทําธุรกรรม ในทางตรงกันข้ามเพื่อปลดภาระหรือสิทธิ (close out position) ตามสัญญาในโอกาสแรกที่ทําได้ ข้อ 7 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ ที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติในการให้บริการตามหมวดนี้เพิ่มเติมได้ ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,153
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อย. 21/2545 เรื่อง แนวทางการพิจารณาการทำธุรกรรมที่เข้าข่ายเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อย. 21/2545 เรื่อง แนวทางการพิจารณาการทําธุรกรรมที่เข้าข่ายเป็นการ ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า โดยที่มาตรา 98(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในนามของตนเอง หรือลูกค้า เว้นแต่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนดให้กระทําได้ ซึ่งในปัจจุบันคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการ ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ไว้แล้วตามประกาศว่าด้วยการทําธุรกรรมและการให้ บริการด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดี ยังคงมี ข้อสงสัยในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทําธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ที่มีกําหนด ระยะเวลาชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์นานกว่ากําหนดเวลาตามธรรมเนียมปฏิบัติในการซื้อขาย ตราสารหนี้ทั่วไป ว่าเข้าข่ายเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าตามมาตรา 98(4) หรือไม่ ประกอบกับ สํานักงานยังไม่เคยกําหนดแนวทางการพิจารณาเป็นการทั่วไปว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะใด เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า สํานักงานจึงเห็นควรกําหนดแนวทางการพิจารณาการทําธุรกรรม ที่เข้าข่ายเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าตามมาตรา 98(4) ไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ ถูกต้องตรงกันและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจการค้าหลักทรัพย์อันเป็น ตราสารแห่งหนี้ **แนวทางการพิจารณา** 1. สํานักงานเห็นว่าบทบัญญัติตามมาตรา 98 (4) ที่กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในนามของตนเองหรือลูกค้านั้น มีเจตนารมณ์ที่จะ ใช้บังคับกับการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็งกําไร เพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือ เพื่อปรับทิศทางการลงทุน เช่น สัญญา Futures สัญญา Options เป็นต้น ดังนั้น หากบริษัทหลักทรัพย์ ทําการซื้อขายหลักทรัพย์โดยกําหนดระยะเวลาในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในอนาคตเพื่อ วัตถุประสงค์ดังกล่าว สํานักงานจะถือว่าธุรกรรมนั้นเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า ในทางกลับกัน หากบริษัทหลักทรัพย์ทําการซื้อขายหลักทรัพย์โดยกําหนดระยะเวลาในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในอนาคตเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ทั่วไปนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น เช่น เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อเป็นเครื่องมือในการให้สินเชื่อวิธีหนึ่ง เป็นต้น สํานักงานจะไม่ถือว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าตามมาตรา 98(4) โดยสํานักงาน จะพิจารณาลักษณะการซื้อขายในภาพรวมเป็นรายกรณีไป 2. ในการพิจารณาว่าธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ที่มีกําหนดระยะเวลาชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในอนาคตเป็นธุรกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็งกําไร เพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือเพื่อปรับทิศทางการลงทุนอันจะทําให้ธุรกรรมดังกล่าวเป็นการซื้อขาย หลักทรัพย์ล่วงหน้าตามมาตรา 98(4) หรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงที่จะนํามาประกอบการพิจารณาจะรวมถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระยะเวลาในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ วิธีการชําระหนี้ตามสัญญา และ วิธีการหลุดพ้นจากหนี้ตามสัญญาก่อนถึงกําหนดชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ดังนั้น หากการ ซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ใดกําหนดระยะเวลาในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ นานเกินควร เช่น นานกว่าสิบวันทําการนับแต่วันที่ตกลงราคาซื้อขายหลักทรัพย์ ให้สิทธิคู่สัญญาเลือกที่จะชําระส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ (cash settlement) แทนการส่งมอบหลักทรัพย์เมื่อถึงกําหนดชําระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ หรือยินยอมให้คู่สัญญาปิดฐานะ (close-out position) ก่อนถึงวันครบกําหนดชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ สํานักงานอาจพิจารณาว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าตามมาตรา 98(4) โดยสํานักงานจะนําข้อเท็จจริงอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย สํานักงานจึงขอประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,154
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อข/ธ/น. 15/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อข./ธ./น. 15/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับ อนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. นั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดอันดับกองทุนรวมและจัดอันดับบริษัทจัดการจึงเห็นควรให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถประกอบการดังกล่าวได้ โดยการประกอบการนั้นต้องกระทําอย่างมีมาตรฐาน เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งด้วยความระมัดระวังโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญด้วย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 10/2546 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2546ได้มีมติอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมและการจัดอันดับบริษัทจัดการได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “การจัดอันดับกองทุนรวม” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนของกองทุนรวมเชิงเปรียบเทียบ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือ เครื่องหมายอื่นใดเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้ “การจัดอันดับบริษัทจัดการ” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับ ความสามารถในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใด เพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนจะประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมได้ต่อเมื่อ ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวมเป็นทางค้าปกติ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการได้ โดยต้อง แจ้งต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หากสํานักงานไม่ได้แจ้งเป็นอย่างอื่นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการตามที่กําหนดไว้ใน ข้อ 5 และข้อ 6 ด้วย ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะประกอบกิจการการจัดอันดับบริษัทจัดการต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. แสดงได้ว่าหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการจัดอันดับบริษัทจัดการเป็นหลักเกณฑ์ที่มี หลักวิชาการรองรับซึ่งสามารถสะท้อนวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับบริษัทจัดการ และไม่ก่อให้เกิด ความสําคัญผิดในสาระสําคัญของข้อมูลการจัดอันดับบริษัทจัดการดังกล่าว 1. มีโครงสร้างการถือหุ้น โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหาร ขอบเขตการ ประกอบธุรกิจ และผู้บริหาร ที่เชื่อได้ว่าไม่มีส่วนได้เสียอันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นอิสระในการ จัดอันดับบริษัทจัดการ และสามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรม ข้อ 5 ในการจัดอันดับบริษัทจัดการ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อมูลประกอบการจัดอันดับบริษัทจัดการที่มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและสามารถอ้างอิงได้ (2) จัดอันดับบริษัทจัดการและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับบริษัทจัดการ ด้วยความสุจริต เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งใช้ความระมัดระวังโดยคํานึงถึงผู้รับข้อมูล เป็นสําคัญ (3) ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดอันดับบริษัทจัดการ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับ บริษัทจัดการ และคําอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลการจัดอันดับบริษัทจัดการ ตลอดจนแสดงคําเตือนเกี่ยวกับ ความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับบริษัทจัดการ โดยมีสาระสําคัญของคําเตือนว่า ข้อมูล การจัดอันดับกองทุนเป็นเพียงข้อมูลหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ไว้ในเอกสารที่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจัดอันดับบริษัทจัดการ (4) จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ชี้แจงอธิบายข้อมูลการจัดอันดับ บริษัทจัดการเมื่อได้รับการซักถาม 1. ในกรณีที่มีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดประกอบการจัดอันดับบริษัท จัดการ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 1. เก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับบริษัทจัดการและข้อมูลที่ใช้ประกอบการ พิจารณาการจัดอันดับบริษัทจัดการไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว (7) ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ทําการจัดอันดับบริษัทจัดการใด หากบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม กับบริษัทจัดการหรือกองทุนรวมในลักษณะที่จะทําให้บริษัทหลักทรัพย์ขาดความเป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระในการจัดอันดับบริษัทจัดการ 1. ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการใด ๆ อันไม่เหมาะสมจนอาจก่อให้เกิดความ เสียหายต่อผู้ใช้ข้อมูล บริษัทจัดการ หรือความเชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์หรือตลาดทุนโดยรวม (9) ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารเกี่ยวกับการจัดอันดับบริษัทจัดการตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงานกําหนด ในการนี้ สํานักงานจะให้ทําคําชี้แจงเพื่ออธิบาย หรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ ข้อ 6 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ ที่ใช้ในการจัดอันดับบริษัทจัดการ และสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดที่ใช้ประกอบการจัดอันดับ บริษัทจัดการ ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์ หรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์หรือ เครื่องหมายอื่นใดนั้น ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ สัญลักษณ์หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการจัดอันดับบริษัทจัดการได้ ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ขาดคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5 และข้อ 6 ให้การอนุญาตของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นอันสิ้นสุดลงทันที สํานักงานจึงขอแจ้งมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,155
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ. 9/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 9/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับ อนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 7/2546 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติอนุญาตให้บริษัท หลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ประกอบกิจการอื่นเพิ่มเติมได้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงขอแจ้ง มติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน ดังนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัท มหาชนจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการ กองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้นักลงทุนกู้ยืมเงิน เพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ประเภทของกิจการอื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้สถาบันสินเชื่อ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์สามารถประกอบกิจการได้มีดังต่อไปนี้ 1. การให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อชําระคืนหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ (refinancing) โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ หนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องเป็นหนี้ที่มีมูลค่าหลักประกันที่ต้องดํารงไว้ตาม ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทมาร์จิ้น และ จํานวนเงินที่จะให้นักลงทุนแต่ละรายกู้ยืมต้องไม่เกินกว่ามูลค่าของหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ที่มีต่อบริษัทหลักทรัพย์ นอกจากนี้ สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ต้องดําเนินการจดทะเบียน จํานําหรือดําเนินการอื่นใดตามวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจ หลักทรัพย์มีบุริมสิทธิเหนือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่รับโอนมาเป็นหลักประกัน และต้องบันทึก รายการการให้กู้ยืมเงินและหลักประกันที่ได้รับไว้ในบัญชีมาร์จิ้น โดยให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดของ ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยอนุโลม (2) การแนะนํานักลงทุนเพื่อไปเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ 1. การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทหลักทรัพย์ในการทําธุรกรรมการจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,156
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อธ/น. 11/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ/น. 11/2546 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ โดยที่มาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. นั้น เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีความคล่องตัวในการประกอบกิจการอื่นและสามารถปรับตัว ให้เข้ากับภาวะการแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 10/2545 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และครั้งที่ 3/2546 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2546 มีมติให้ปรับเปลี่ยนแนวทาง ในการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่น จากเดิมที่พิจารณาอนุญาตเป็นรายประเภทกิจการ เป็นการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นได้เป็นการทั่วไปแทน หากกิจการดังกล่าว มีลักษณะครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ พร้อมทั้งมีมติให้ยกเลิกหนังสือเวียนและประกาศต่างๆ ดังนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) หนังสือเวียนสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลต.ก.(ว) 145/2535 เรื่อง การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2535 (2) หนังสือเวียนสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลต.ก.(ว) 359/2535 เรื่อง การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2535 (3) หนังสือเวียนสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลต.ธ.(ว) 7/2540 เรื่อง การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 16 เมษายน 2540 (4) หนังสือเวียนสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลต.น.(ว) 18/2540 เรื่อง การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 กันยายน 2540 1. หนังสือเวียนสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลต.ธ.(ว) 19/2540 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 กันยายน 2540 (6) ประกาศ เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ อธ. 3/2541 ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2541 - 2 - (7) ประกาศ เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ อธ/น. 14/2542 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (8) ประกาศ เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ อธ/น. 19/2543 ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2543 1. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ/น. 29/2543 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 4/2544 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2544 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 17/2544 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 21/2544 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ/น. 3/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 5/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545 (15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 19/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ และการห้ามการกระทําที่อาจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เนื่องจากการประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2545 (16) หนังสือเวียนสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลต.ธ.(ว) 15/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (private repo) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2545 (17) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ/น. 17/2545 เรื่อง การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - 3 - ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับ อนุญาตซึ่งมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ได้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่ กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณีด้วย (1) เป็นกิจการที่ไม่มีความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของลูกค้า ฐานะของบริษัท หรือระบบ การชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ หรือเป็นกิจการที่อาจมีความเสี่ยงดังกล่าว แต่บริษัทหลักทรัพย์ สามารถจัดให้มีระบบในการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอ (2) เป็นกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือกับลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ หรือเป็นกิจการที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ดังกล่าว แต่บริษัทหลักทรัพย์สามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (3) เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องและช่วยสนับสนุนการให้บริการในธุรกิจหลักทรัพย์ ตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาตให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรยิ่งขึ้น หรือเป็นการบริหารจัดการ ทรัพยากรบุคคล สถานที่ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่มีอยู่ของบริษัทหลักทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ อย่างเต็มที่ ข้อ 4 ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือ ซื้อคืน (repurchase agreement หรือ repo) ได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. เป็นการทํา repo เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนประเภท สถาบัน ซึ่งมิได้เป็นผู้ลงทุนต่างประเทศ (non resident) ดังนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน 1. บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ช) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ซ) กองทุนบําเหน็จบํานาญ (ฌ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 1. กองทุนรวม 2. ธนาคารแห่งประเทศไทย 3. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ - 4 - 1. ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําหุ้นที่ได้มาจากการซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน (equity repo) ไปขายต่อ เว้นแต่เป็นการขายต่อตามสัญญา repo อื่น ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับ อนุญาต โดยการลงทุนในกิจการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุน ทั้งหมดของกิจการนั้นได้ หากกิจการดังกล่าวประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อบุคคลอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่า บุคคลอื่นนั้นจะเป็นกิจการในเครือเดียวกันกับบริษัทหลักทรัพย์หรือไม่ก็ตาม ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนในกิจการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ นับรวมหุ้นของบุคคลที่โดยพฤติการณ์แล้วบริษัทหลักทรัพย์มีอํานาจควบคุมบุคคลนั้น ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อมในเรื่องการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในกิจการ หรือการได้มา การจําหน่าย หรือการ ก่อภาระผูกพัน ในหุ้นที่บุคคลนั้นมีอยู่ในกิจการด้วย ข้อ 6 นอกจากกรณีตามข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต โดยการลงทุนในกิจการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ขึ้นไปของทุนทั้งหมดของกิจการนั้นได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ต่อเมื่อกิจการ ดังกล่าวมีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 3 และบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจหลักและขอบเขตการดําเนินธุรกิจ พร้อมทั้งหนังสือแสดงความยินยอมของกิจการนั้นให้สํานักงานเข้าตรวจสอบ การประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์จะลงทุนในกิจการดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนข้างต้น หรือก่อนที่กิจการดังกล่าวจะเริ่มดําเนินการในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดตั้งกิจการดังกล่าวขึ้นใหม่ ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบ การประกอบธุรกิจของกิจการตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถจัดให้สํานักงาน เข้าตรวจสอบได้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในกิจการดังกล่าวให้เหลือ ไม่เกินร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดของกิจการนั้นภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนด หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถลดสัดส่วนการลงทุนได้ ให้ถือว่าการอนุญาตของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นอันสิ้นสุดลง ให้นําความในวรรคสองของข้อ 5 มาใช้บังคับกับการคํานวณสัดส่วนการลงทุนใน กิจการอื่นตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ 7 บริษัทหลักทรัพย์ต้องควบคุมดูแลการประกอบกิจการอื่นของบริษัทให้เป็นไป ตามลักษณะ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 3 และข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณีไว้ตลอดเวลา - 5 - ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดไม่สามารถควบคุมดูแลการประกอบกิจการอื่นของบริษัท ตามข้อกําหนดดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนด หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้ ให้ถือว่าการอนุญาตของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ 8 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ลงทุนในกิจการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่า ร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุนทั้งหมดของกิจการนั้นตามข้อ 6 ที่ได้รับอนุญาตให้กระทําได้ตามมาตรา 98(8) อยู่แล้วก่อนวันที่ในประกาศนี้ และเป็นกิจการที่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 3 จัดให้กิจการดังกล่าว มีหนังสือแสดงความยินยอมให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการประกอบกิจการได้และส่งให้สํานักงานภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ในประกาศนี้ ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควรบริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้สํานักงาน เข้าตรวจสอบการประกอบธุรกิจของกิจการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกิจการที่เคยส่งหนังสือแสดงความ ยินยอมให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการประกอบกิจการแล้ว และกิจการที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อบุคคลอื่น ให้นําความในวรรคสองของข้อ 6 มาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถ ส่งหนังสือแสดงความยินยอมของกิจการดังกล่าวให้สํานักงานภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือ ไม่สามารถจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบกิจการดังกล่าวได้โดยอนุโลม ข้อ 9 บริษัทหลักทรัพย์ที่ลงทุนในกิจการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่า ร้อยละห้าสิบขึ้นไปของทุนทั้งหมดของกิจการนั้น ที่ได้รับอนุญาตให้กระทําได้ตามมาตรา 98(8) อยู่แล้ว ก่อนวันที่ในประกาศนี้ แต่กิจการที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวไม่เป็นไปตามลักษณะที่กําหนดในข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในกิจการดังกล่าวให้เหลือไม่เกินร้อยละห้าสิบ ของทุนทั้งหมดของกิจการนั้น หรือเลิกการประกอบกิจการดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่ในประกาศนี้ สํานักงานจึงขอแจ้งมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,157
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 3/2546 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 3/2546 ============== เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ================================== โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เดคส์ แอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้วทะเบียนเลขที่ 171/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท สยามอีเลคตริกอินดัสตรีส์ จํากัดซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 425/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารแห่งอเมริกา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 126/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน เมย์ แอนด์ เบเกอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 178/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมทรัพย์ กลุ่ม เอส ที เอสฯ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 573/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน บริษัท ซันเทคกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทในเครือธนชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 129/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท คอมแพค คอมพิวเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 346/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท อิเมอร์สัน อิเล็คทริค (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 14/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เฟิร์สท บางกอก ลอว์ แอนด์ แพรคทิส จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 99/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ### #### ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,158
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 1/2546 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ======================================================== ที่ อน. 1/2546 ============== เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ================================== โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซี อี ไอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 37/2539ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธนซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 355/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บี.บราวน์ (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 54/2534 ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2545 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกรุงไทยธนกิจ-ไทยธนกิจ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 156/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ธนทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2545 ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทที่ปรึกษาเวิลด์คลาส จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2542 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2545 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มยูคอม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 142/2540 ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2545 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รัตนไพลิน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 65/2533 ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2545 ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,159
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อน. 5/2546 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 5/2546 เรื่อง ระบบงานเกี่ยวกับการปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคล ที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่ข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ----------------------------------------------------------------- ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 กําหนดให้บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานที่แสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังนั้น เพื่อให้บริษัทจัดการ มีความชัดเจนในการเตรียมระบบงานและเพื่อให้การให้ความเห็นชอบระบบงานมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น สํานักงานจึงเห็นสมควรกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานเกี่ยวกับการปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและการให้ความเห็นชอบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ ----------------- “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 “การปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า งานทะเบียนสมาชิกกองทุน งานการเงินและบัญชีกองทุน “งานทะเบียนสมาชิกกองทุน” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการจัดทําทะเบียน ข้อมูลสมาชิกกองทุน และจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงยอดเงินสะสมของลูกจ้าง เงินสมทบนายจ้าง พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้างแต่ละราย ### #### ##### ข้อ 2 ในการปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สํานักงานจะถือว่าบริษัทจัดการมีระบบงานที่พร้อมในการประกอบธุรกิจโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ต่อเมื่อบริษัทจัดการจัดให้มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนในการปฏิบัติการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองชีพ ทั้งนี้ ระบบงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยระบบงานดังต่อไปนี้ 1. ระบบรับและจ่ายเงินกองทุน อันได้แก่ (ก) ระบบการรับเงินสะสมและเงินสมทบนําส่งเข้ากองทุน และ (ข) ระบบการจ่ายเงินรวมทั้งการติดตามการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกกองทุนที่ สิ้นสมาชิกภาพหรือผู้รับประโยชน์ของสมาชิก 1. ระบบทะเบียนสมาชิกกองทุน อันได้แก่ (ก) ระบบการจัดเก็บและการประมวลข้อมูลสมาชิกกองทุน (ข) ระบบการรับข้อมูลและติดตามเกี่ยวกับเงินสะสมและเงินสมทบที่นําส่ง เข้ากองทุน รวมทั้งการรับข้อมูลเมื่อมีการจ่ายเงินเพิ่ม 1. ระบบการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกกองทุน 2. ระบบการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย 3. ระบบการโอนย้ายเงินและข้อมูลสมาชิกกองทุน และ 4. ระบบการคํานวณภาษี ออกหนังสือรับรองภาษี และการนําส่งภาษี 5. ระบบบัญชีกองทุน อันได้แก่ (ก) ระบบการคํานวณมูลค่าต่อหน่วยและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และ (ข) ระบบการจัดทําบัญชีทรัพย์สินเพื่อแสดงรายการและจํานวนทรัพย์สิน ของกองทุน ตลอดจนการบันทึกรายการรับหรือจ่ายทรัพย์สินของกองทุน และการจัดทํางบการเงิน --------------------------------------------------------------------------------- ข้อ 3 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ------------------------------------------------------------------- ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ. ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,160
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อย. 4/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อย. 4/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ โดยที่มาตรา 106 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้งบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําต้องมีการตรวจสอบ และแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และเพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่าง ผู้ค้าหลักทรัพย์ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงกําหนดเกี่ยวกับ การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบดุลและบัญชี กําไรขาดทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้า ระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวอาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบ ผู้สอบบัญชี หรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีก็ได้ โดยให้ถือว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 106 วรรคหนึ่งแล้ว ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,161