title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) | -ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 10/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และข้อ 9 วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ 12(3)ข้อ 46 ข้อ 47 และข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2558 เป็นต้นไป
หมวด 1
ข้อกําหนดทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 2( ในประกาศนี้
คําว่า “กองทุนรวมมีประกัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน และให้หมายความรวมถึงกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการจัดการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
“ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงานระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“ผู้ลงทุน” หมายความว่า ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่สนใจจะใช้บริการหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนด้วย
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวม” หมายความว่า (1) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการจัดการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใดแต่ไม่รวมถึงกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) กองทุนซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ 3 ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
ในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(1) การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2
(2) ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณากองทุน ให้เป็นไปตามหมวด 3
(3) ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ให้เป็นไปตามหมวด 4
(4) การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้เป็นไปตามหมวด 5
ข้อ 4 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามประกาศนี้เป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการชั่วคราว โดยในการผ่อนผันสํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
หมวด 2
การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 5 เพื่อให้การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นไปตามข้อ 46 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องนําเสนอข้อมูลประกอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้
(เพื่อประโยชน์ในการกําหนดหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ ให้คําว่า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และให้หมายความรวมถึงกองทุนด้วย
ส่วนที่ 1
มาตรฐานการโฆษณาที่เหมาะสม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 6 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีระบบงานและกระบวนการภายในเพื่อให้มั่นใจว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละครั้งมีความสอดคล้องกับข้อกําหนดเกี่ยวกับการโฆษณาตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ และประกาศฉบับนี้ ตลอดจนแนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว
ข้อ 7 ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเสนอข้อมูลประกอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนไม่ว่าโดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณามีการนําเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างครบถ้วน โดยอย่างน้อยต้องแสดงข้อมูลดังนี้
(ก) มีการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
(ข)( หากมีการแสดงข้อมูลด้านบวกหรือโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนต้องมีการแสดงข้อมูลด้านลบหรือความเสี่ยงจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนควบคู่กัน เว้นแต่เป็นการแสดงข้อมูลดังกล่าวสําหรับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ออกโดยกองทุนรวม
(ค) มีการตรวจสอบความถูกต้องของถ้อยคํา เพื่อมิให้มีถ้อยคําที่ไม่ถูกต้องหรือที่มีความหมายคลุมเครือในโฆษณา
(2) การนําเสนอข้อมูลประกอบการโฆษณา ต้องไม่มีลักษณะดังนี้
(ก) ทําให้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมีความเสี่ยงต่ํากว่าความเป็นจริงหรือไม่มีความเสี่ยงจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
(ข) แสดงผลตอบแทนจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนสูงเกินจริง
(ค) ทําให้สําคัญผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เช่น ประเภท ผลตอบแทน หรือความเสี่ยง เป็นต้น
(ง) ใช้คําศัพท์เทคนิคหรือคําศัพท์เฉพาะ เว้นแต่คําศัพท์ดังกล่าวเป็นคําศัพท์ที่ผู้ลงทุนทั่วไปมีความคุ้นเคยแล้ว
(จ) ใช้ภาษาที่ยากต่อการเข้าใจ หรือใช้ประโยคที่ซับซ้อน หรือใช้ข้อความที่ทําให้สามารถแปลความหมายได้หลายทาง
(ฉ) ใช้รูปแบบการนําเสนอที่ยากต่อการเข้าใจ หรือทําให้เข้าใจเกินความเป็นจริง
(ช) ใช้ภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ประกอบการโฆษณาขัดแย้งกับข้อความ
ที่ปรากฏในโฆษณา
(ซ) ใช้ภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ขนาดใหญ่จนลดความสําคัญของข้อความหรือคําเตือนในโฆษณาลง
(3) ในกรณีที่การโฆษณามีการนําเสนอข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลพื้นฐานสําหรับใช้ในการตัดสินใจลงทุน ต้องมีคําอธิบายประกอบข้อมูลดังกล่าวอย่างชัดเจน
ข้อ 8 การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงผลการดําเนินงานในอดีตหรือผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ
(2) ไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น
(3)( ได้จัดทําขึ้นตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําขึ้นเพื่อวัดผลการดําเนินงานของกองทุนดังกล่าวตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(4) ต้องจัดให้มีคําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต”
(5) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน กับการลงทุนโดยวิธีการอื่น การลงทุนที่สามารถนํามาเปรียบเทียบนั้นจะต้องมีความคล้ายคลึงกันโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การลงทุน นโยบายการลงทุน และลักษณะความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้งต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน
ข้อ 9 การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณาอันดับหรือรางวัลที่เกี่ยวกับผลการดําเนินงานของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในอดีต จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) อันดับหรือรางวัล ต้องเป็นข้อมูลที่มาจากการจัดอันดับหรือผู้ให้รางวัลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้จัดอันดับหรือให้รางวัลโดยใช้วิธีการตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
(ข) มีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ในหน้าเดียวกัน
1. อันดับ ชื่อรางวัล หรือประเภทรางวัลที่ได้รับ
2. เวลาหรือช่วงเวลาที่ได้รับรางวัล
3. ชื่อสถาบันที่เป็นผู้ให้รางวัลหรือเป็นผู้จัดอันดับรางวัล
4. คําเตือนตามข้อ 8(4)
(2) การโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลอื่นใดนอกเหนือจาก (1) ให้แสดงข้อมูลเฉพาะตาม (1) (ข) 1. 2. และ 3.
ข้อ 10 การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ
(2) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต ต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น
ส่วนที่ 2
คําเตือนประกอบการโฆษณา
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 11 เพื่อให้การโฆษณามีการนําเสนอคําเตือนประกอบการโฆษณาเป็นไปตามข้อ 47 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การนําเสนอคําเตือนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้
ข้อ 12 ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทุกประเภท ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “ทําความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน”
ข้อ 13 ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเมื่อวันที่...........................................................มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน และสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น”
(ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่ากองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมจากสํานักงานแล้ว ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม.............................. เมื่อวันที่ ................................ มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลในการเสนอขาย และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของกองทุนรวม”
ข้อ 14 การสื่อสารคําเตือนประกอบการโฆษณาผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) รูปแบบการนําเสนอคําเตือนต้องมีความคมชัดและสังเกตได้ง่าย โดยให้พิจารณาเลือกใช้โทนสีที่มีความแตกต่างจากสีพื้นโฆษณาหรือใช้ตัวอักษรหนาขึ้น และมีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในโฆษณา
(2) การอ่านออกเสียงคําเตือนต้องอยู่ในวิสัยที่ผู้ฟังสามารถจับใจความของถ้อยคําได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องจัดให้มีการอ่านออกเสียงด้วยความเร็วปกติ
ข้อ 15 ให้นําความในข้อ 14 มาใช้บังคับกับการนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ปรากฏในการโฆษณาด้วย โดยอนุโลม
หมวด 3
ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณากองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 16 การโฆษณากองทุนรวม ต้องมีข้อความหรือคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1)( ข้อความที่ระบุช่องทางในการขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวต้องมีลักษณะเด่นชัดเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบได้โดยง่าย
(2)( การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย
ข้อ 16/1( ยกเลิก
ข้อ 17( ยกเลิก
ข้อ 18 การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมจะกระทําได้เมื่อเป็นกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมมีประกัน
(2) กองทุนรวมที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมหรือตลอดรอบการลงทุนในแต่ละรอบ ที่มีลักษณะดังนี้
(ก) ทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนมีการกําหนดระยะเวลาและอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับไว้อย่างชัดเจน
(ข) ในกรณีที่ทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนครบกําหนดระยะเวลาการลงทุนก่อนครบอายุโครงการจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการจะนําเงินที่ได้รับมานั้นไปลงทุนต่อจนครบอายุโครงการในทรัพย์สินที่ไม่มีความเสี่ยงด้านความผันผวนทางราคา (market risk) และ
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk)
(3)( กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(4) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อ 19 การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมตามข้อ 18(2) (3) หรือ (4) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ
(2) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต ต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมต้องถูกจัดทําโดยบริษัทจัดการซึ่งรับจัดการกองทุนนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนําข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อ ต้องไม่ทําการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นเป็นประการอื่นด้วย
(4) การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 18(2)มีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่ปรากฏในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน
(ก) ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน
(ข)( อัตราผลตอบแทนของทรัพย์สินที่จะลงทุนแต่ละรายการ
(ค) สัดส่วนการลงทุน
(ง) ระยะเวลาการลงทุน
(จ) อายุของกองทุนรวม
(ฉ) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม
(5) ในกรณีที่เป็นการโฆษณากองทุนรวมตามข้อ 18(3) หรือ (4) ต้องมีการแสดงและเปิดเผยข้อมูลดังนี้ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนแล้ว
(ก) ประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมซึ่งมีการระบุข้อมูลในลักษณะดังนี้
1. มีการระบุสมมติฐานที่สําคัญที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
รวมทั้งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคตและความเสี่ยงที่อาจทําให้ผลตอบแทนหรือ
ผลการดําเนินการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ และ
2. มีการระบุประมาณการรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ที่ได้รับการรับรองจากผู้ประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งจัดทํารายงานการประเมินค่าทรัพย์สินที่กองทุนใช้อ้างอิงในการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว
(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานหรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดังกล่าวมีการเปิดเผยสมมติฐานที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
(6)( ในกรณีที่เป็นการนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมตามข้อ 18(3) หรือ (4) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) แสดงในรูปอัตราเงินปันผล โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทําอัตราเงินปันผลดังกล่าว ต้องมาจากประมาณการงบการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานว่าสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีและแนวปฏิบัติทางบัญชีตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(ข) ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการต้องเป็นข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งดังนี้
1. รอบปีบัญชีที่มีการโฆษณาประมาณการดังกล่าว โดยอาจใช้ข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งรอบปีบัญชี
2. รอบระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันที่คาดว่ากองทุนรวมดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้วเสร็จ
(ค) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสิทธิการเช่า สิทธิสัมปทานสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือสิทธิอื่นใดในทํานองเดียวกัน ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการไม่รวมส่วนที่เป็นเงินคืนทุน
(ง) ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการสนับสนุนรายได้หรือกําไรที่ไม่ได้เกิดจากการจัดหาผลประโยชน์ตามปกติธุรกิจ เช่น การประกันรายได้ เป็นต้น ต้องจําแนกให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการผลตอบแทนประกอบด้วยผลตอบแทนจากการดําเนินงานและผลตอบแทนจากการสนับสนุนรายได้หรือกําไรดังกล่าวในอัตราเท่าใด
(7) ต้องมีข้อความดังนี้ อธิบายประกอบตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต
(ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 18(2) ให้มีข้อความประกอบว่า “หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้”
(ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 18(3) ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ ..................บาท และจากอัตราการให้เช่าพื้นที่ ที่ .....................% ซึ่งเป็นเพียงการแสดงการประมาณการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่......................................................และไม่อาจรับรองผลได้”
(ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 18(4) ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ ..............บาท และจากสมมติฐานว่า ..........(ให้ระบุสมมติฐานหลักที่ทําให้เกิดที่มาของรายได้ที่กองทุนรวมจะได้รับ เช่น อัตราการใช้กําลังการผลิต หรือสัดส่วนรายได้ที่กองทุนได้รับ หรืออัตราการให้บริการของกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้น)....... ซึ่งเป็นเพียงการแสดงประมาณการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่ ............................................ และไม่อาจรับรองผลได้”
ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (4) และข้อความตามวรรคหนึ่ง (7) ต้องแสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) และขนาดตัวอักษรของข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (4) และข้อความตามวรรคหนึ่ง (7) ต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของข้อมูลส่วนใหญ่ในการโฆษณา
ข้อ 19/1( ในการนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง (6)ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเสนอตัวเลขประมาณการอัตราผลตอบแทนภายใน (internal rate of return)ควบคู่กันไปด้วย
ข้อ 20 การโฆษณากองทุนรวมมีประกัน ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการประกันหรือผู้ประกันของกองทุนรวมดังกล่าวด้วย
ข้อ 20/1( การโฆษณากองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน ต้องไม่เป็นการนําสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมดังกล่าวมาเป็นปัจจัยหลักในการโฆษณา
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายลักษณะหรือสาระสําคัญของกองทุนรวม รูปแบบและขนาดตัวอักษรที่ใช้ในการอธิบายต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น รวมถึงต้องมีการอธิบายเงื่อนไขในการลงทุน และผลกระทบในกรณีที่มีการลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
ข้อ 21 การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการจ่ายเงินปันผลและประวัติการจ่ายเงินปันผลในอดีตที่ผ่านมาย้อนหลังอย่างน้อยห้าปี โดยหากกองทุนรวมมีการจัดตั้งมาแล้วน้อยกว่าห้าปี ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวตั้งแต่จัดตั้งกองทุนรวม
ข้อ 21/1( กรณีเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้
จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรืออายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม(buy & hold fund) โดยมีการกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา*(ระบุ x วัน/เดือน/ปี)* ได้ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก”
ในกรณีที่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่งมีการโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมตามข้อ 19 ด้วย คําเตือนตามวรรคหนึ่งต้องแสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับการโฆษณาข้อมูลดังกล่าว และขนาดตัวอักษรของคําเตือนต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของข้อมูลส่วนใหญ่ในการโฆษณา
ข้อ 22( การโฆษณาของกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้
การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีคําเตือนดังนี้
(ก) มูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน
(ข)( ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา*(ระบุ x วัน/เดือน/ปี)* ได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก”
(2) ไม่มีข้อความใด ๆ ที่ทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่ามูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมายนั้นเป็นอัตราผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) ไม่ใช้คําว่า “ผลตอบแทน” เพื่อสื่อถึงมูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมาย (4) ในกรณีที่มีการกําหนดมูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายเป็นอัตราร้อยละ มูลค่าดังกล่าวต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเป้าหมายที่กําหนดด้วย เช่น กําหนดระยะเวลาเป้าหมายภายในหกเดือน
ต้องใช้ตัวเลขที่เป็นอัตรา X% สําหรับระยะเวลาหกเดือน เป็นต้น (5) มีข้อความอธิบายเกี่ยวกับการดําเนินการเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กําหนด เช่น การเลิกกองทุนรวมและโอนเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนเข้าบัญชีของผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น
(6) การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับความสําเร็จของกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําเสนอข้อมูลในรูปแบบกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน หรือแยกตามประเภทหรือนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม หรือระบุเป็นช่วงระยะเวลา โดยต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนกองทุนรวมทั้งหมด
ซึ่งอยู่หรือเคยอยู่ภายใต้การจัดการที่สอดคล้องกับข้อมูลที่นําเสนอดังกล่าวและข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ (ก) จํานวนกองทุนรวมที่ถึงเป้าหมายภายในกําหนดเวลาการลงทุน (ข) จํานวนกองทุนรวมที่ถึงเป้าหมายแต่เกินกว่ากําหนดเวลาการลงทุน (ค) จํานวนกองทุนรวมที่ยังไม่ถึงเป้าหมายแต่อยู่ภายในกําหนดเวลาการลงทุน (ง) จํานวนกองทุนรวมที่ยังไม่ถึงเป้าหมายและเกินกว่ากําหนดเวลาการลงทุน ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องมีรูปแบบและขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในโฆษณา
ข้อ 22/1( การโฆษณาของกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิให้บริษัทจัดการสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ”
(3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน โดยขนาดตัวอักษรของข้อความดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนนั้น
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
ข้อ 22/2( มิให้นําความในข้อ 12 ข้อ 16(2) และข้อ 22(1) (ก) และ (5) มาใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีข้อจํากัดด้านเวลาหรือพื้นที่สื่อในการโฆษณา โดยผู้ประกอบธุรกิจได้จัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทําความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน” ในการโฆษณาดังกล่าว
หมวด 4
ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 23 นอกจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 2 และหมวด 3 แล้วให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนเป็นไปตามข้อกําหนดเฉพาะตามที่กําหนดในหมวดนี้ด้วย
ข้อ 24 การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อความอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ปัญหาสภาพคล่องหรือข้อจํากัดการโอน (ถ้ามี)
(2) ความเสี่ยงหรือความซับซ้อนที่สําคัญ
ข้อ 25 การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง (underlying asset) และกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อความอธิบายในเรื่องดังนี้เพิ่มเติมด้วย
(1) การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทําให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้
(2) ผู้ลงทุนควรทําความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องก่อนทําการลงทุน
ข้อ 26 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีคําเตือนแก่ผู้ลงทุนถึงความจําเป็นในการขอคําแนะนําเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทําการลงทุน
ข้อ 27 ในกรณีที่เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบหากมีสถานการณ์ในเชิงลบอย่างมากที่สุดเกิดขึ้น (worst case scenario) ด้วย ทั้งนี้ ตามที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนและเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (factsheet)
(1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามากกว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(2) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
หมวด 5
การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 28( เพื่อให้การจัดให้มีการส่งเสริมการขายเป็นไปตามข้อ 48 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การส่งเสริมการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ออกโดยกองทุนรวม ให้เป็นไปตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกเหนือจาก (1) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้
ข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเข้าร่วมในการจัดงานมหกรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งแก่ผู้จัดงานทราบถึงขอบเขตการจัดให้มีการส่งเสริมการขายที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถดําเนินการได้ รวมทั้งปฏิเสธไม่เข้าร่วมการส่งเสริมการขายของผู้จัดงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติ
ข้อ 30 การจัดให้มีการส่งเสริมการขาย ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จํานวนของสมนาคุณต้องมีอย่างเพียงพอสําหรับผู้ลงทุนที่ใช้บริการหรือลงทุนตามเงื่อนไขที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด
(2) ผู้ลงทุนที่ใช้บริการหรือลงทุนตามเงื่อนไขเดียวกันต้องมีสิทธิได้รับของสมนาคุณเท่าเทียมกัน
(3) กําหนดระยะเวลาในการจัดให้มีการส่งเสริมการขายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันเว้นแต่เป็นการส่งเสริมการขายสําหรับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นครั้งแรก (IPO)หรือเป็นการส่งเสริมการขายในการจัดงานมหกรรมที่มีผู้ประกอบธุรกิจหลายรายเข้าร่วมและผู้ประกอบธุรกิจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้จัดงาน
(4) ของสมนาคุณมีมูลค่าไม่เกินกว่าที่กําหนดตามข้อ 31
ข้อ 31 มูลค่าของสมนาคุณ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1)( ยกเลิก
(2) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายหุ้นหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด
(3)( ยกเลิก
(4) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายตราสารหนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ 0.2 ของมูลค่าการลงทุนขั้นต่ําสําหรับผู้ลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ ในกรณีที่ของสมนาคุณเป็นอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนเพิ่มเติมจากอัตราปกติของตราสารหนี้ ให้ถือเอามูลค่าดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเพิ่มเติมที่จะได้รับตลอดอายุของตราสารหนี้นั้นเป็นมูลค่าของสมนาคุณ
(5) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการเปิดบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีเงื่อนไขให้ผู้ลงทุนต้องทําการซื้อขายหรือลงทุนตามจํานวนขั้นต่ําภายในระยะเวลาที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด ต้องไม่เกินสองร้อยบาท
(6)( มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด
ข้อ 32 การส่งเสริมการขายที่เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะดังต่อไปนี้ผู้ประกอบธุรกิจอาจไม่ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 30 ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่มีเจตนาเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อ 30
(1) การจัดกิจกรรมให้ผู้ลงทุนแข่งขันลงทุนโดยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนแก่ผู้ลงทุนตลอดระยะเวลาที่จัดกิจกรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่เหมาะสม และสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน
(2) การให้ของขวัญในโอกาสอันเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป
(3) การจัดกิจกรรมสันทนาการหรือให้ความบันเทิงแก่ลูกค้าในโอกาสต่าง ๆเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีหรือแสดงความขอบคุณแก่ผู้ลงทุน
ข้อ 33( ในการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศของสมาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ในกรณีที่เป็นหุ้นหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามประกาศสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยว่าด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทสมาชิก (2) ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ปฏิบัติตามแนวทางของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยในส่วนที่เกี่ยวกับประกาศคณะกรรมการชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าว่าด้วยวงเงินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด 6
บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 34 ในกรณีที่การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งใช้โฆษณาอยู่ในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังไม่มีข้อความที่เป็นคําเตือนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12
ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขให้การโฆษณาดังกล่าวมีข้อความที่เป็นคําเตือนตามที่กําหนดภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 900 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 72/2564 เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้บริหารเพื่อการปฏิบัติตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 72/2564
เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้บริหารเพื่อการปฏิบัติตามหมวด 3/1
แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2551 เรื่อง กําหนดบทนิยามผู้บริหารเพื่อการปฏิบัติตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ เว้นแต่จะมีประกาศกําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้บุคคลที่มีตําแหน่งตามตารางแนบท้ายประกาศนี้ เป็นผู้บริหารของบริษัทหรือบริษัทย่อยตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 901 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 75/2564 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 75/2564
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 วรรคหนึ่ง (3) (ข) (4) และวรรคสอง มาตรา 89/13 มาตรา 89/27 และมาตรา 89/29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้มีการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
“ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
“ส่วนได้เสีย” หมายความว่า การได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากการตกลงเข้าทํารายการของบริษัทหรือบริษัทย่อย
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัดที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
(2) บริษัทจดทะเบียน
ข้อ ๔ การแจ้ง การยื่น การรับรอง การส่งข้อมูลหรือเอกสาร หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกันต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากมิได้กําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
หมวด ๒ การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน
และผลการดําเนินงาน
ข้อ ๕ การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้
ข้อ ๖ ให้บริษัทมีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหมวดนี้ เว้นแต่มีเหตุที่ทําให้บริษัทดังกล่าวสิ้นสุดหน้าที่ตามที่กําหนดในข้อ 10
หน้าที่การจัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดทําและส่งงบการเงิน ให้บริษัทจัดทําและส่งงบการเงินตั้งแต่งวดถัดจากงบการเงินที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว
ข้อ ๗ รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ได้แก่ ประเภทข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินประจํางวด 6 เดือนแรกของปีบัญชีที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว
(2) งบการเงินประจํารอบปีบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(3) การวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis)
(4) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและรายงานประจําปี โดยมีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบ 56-1 SME One Report ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๘ การส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามระยะเวลาและเงื่อนไขการส่งดังต่อไปนี้
| | |
| --- | --- |
| **ประเภทข้อมูล** | **ระยะเวลาและเงื่อนไขการส่ง** |
| 1. งบการเงินประจํางวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี
| ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี |
| 1. งบการเงินประจํารอบปีบัญชี
|
| 1. การวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการ
| ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยให้ส่งพร้อมกับการส่งงบการเงินตาม (1) และ (2) |
| 1. แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและรายงานประจําปี (แบบ 56-1 SME One Report)
| ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี |
ให้บริษัทจดทะเบียน จัดส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามวรรคหนึ่งในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้ถือว่าการส่งข้อมูลผ่านระบบข้างต้นเป็นการส่งรายงานต่อสํานักงานตามประกาศนี้
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี หรือรายงานประจําปี ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทยื่นแบบ 56-1 One Report ตามประกาศดังกล่าว โดยผนวกรายการตามแบบ 56-1 SME One Report ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ซ้ํากันรวมไว้ในแบบที่ยื่นต่อสํานักงานแล้ว ให้ถือว่าบริษัทดังกล่าวได้ส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและรายงานประจําปีตามหมวดนี้ต่อสํานักงานแล้ว
(2) กรณีที่บริษัทยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลอื่น (นอกจากแบบ 56-1 One Report) และรายงานประจําปีตามประกาศดังกล่าว โดยผนวกรายการในแบบ 56-1 SME One Report ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ซ้ํากันรวมไว้ในแบบแสดงรายการและรายงานประจําปีที่ยื่นต่อสํานักงานแล้ว ภายในระยะเวลาตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนด หรือระยะเวลาตามข้อ 8 แล้วแต่ว่าระยะเวลาใดสั้นกว่า ให้ถือว่าบริษัทดังกล่าวได้ส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและรายงานประจําปีตามหมวดนี้ต่อสํานักงานแล้ว
การผนวกรายการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทแจ้งให้สํานักงานทราบในเวลาที่ยื่นข้อมูลด้วย
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทสิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหมวดนี้ เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) มีการชําระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ
(2) อยู่ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
(3) บริษัทไม่ได้ขายหุ้นที่ออกใหม่ภายในระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาต หรือบริษัทยกเลิกการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน
(4) บริษัทเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยความสมัครใจ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
(ก) ภายหลังการทําคําเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนในไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์แล้ว ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้นรายอื่นซึ่งมิใช่ผู้ทําคําเสนอซื้อ บุคคลที่กระทําการร่วมกับผู้ทําคําเสนอซื้อ (concert party) และบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลเหล่านั้น ถือหุ้นรวมกันไม่เกินร้อยละ 5 ของจํานวนสิทธิออกเสียทั้งหมดของบริษัท
(ข) ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือหุ้นทุกรายว่าไม่ประสงค์จะได้รับข้อมูลตามประกาศนี้
(ค) คณะกรรมการบริษัทมีมติให้มีการรับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป และมีการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 11 แล้ว
(5) บริษัทพ้นจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
(ข) เป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย
(ค) บริษัทเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งดังนี้
1. มีจํานวนผู้ถือหุ้นรวมกันไม่เกิน 100 ราย
2. คณะกรรมการบริษัทมีมติให้มีการรับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป และมีการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 11 แล้ว
(ง) บริษัทได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายว่าไม่ประสงค์จะได้รับข้อมูลตามประกาศนี้
ข้อ ๑๑ ในการรับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไปตามข้อ 10(4) (ค) และ (5) (ค) 2. บริษัทและผู้รับซื้อหุ้นต้องเปิดเผยวัตถุประสงค์ในการรับซื้อหลักทรัพย์และข้อความที่แสดงว่าภายหลังการรับซื้อหุ้น บริษัทจะสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ผู้รับซื้อหลักทรัพย์ต้องดําเนินการเกี่ยวกับการรับซื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
การประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์และมาตรการที่คุ้มครอง
ผู้ถือหลักทรัพย์เป็นสําคัญ
ข้อ ๑๒ ให้บริษัทแจ้งเหตุที่ทําให้หน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทสิ้นสุดลงตามข้อ 10 ต่อสํานักงานก่อนถึงกําหนดเวลาส่งรายงานดังกล่าว
หมวด ๓ การทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
ข้อ ๑๓ การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามภาคผนวก 1 ท้ายประกาศนี้ ให้ถือเป็นการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการทําธุรกรรมที่มีลักษณะตามข้อยกเว้นในประกาศดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
(2) ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน
ข้อ ๑๔ รายการที่เกี่ยวโยงกันซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของหมวดนี้ ได้แก่ รายการที่มีมูลค่ารายการดังต่อไปนี้
| |
| --- |
| ร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท มูลค่ารายการ > { หรือ } แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า 1 ล้านบาท |
ข้อ ๑๕ การคํานวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกัน ให้เป็นไปตามภาคผนวก 2 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๖ ในพิจารณาการคํานวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามภาคผนวก 2 ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ให้บริษัทใช้ตัวเลขตามงบการเงินของบริษัทที่ได้มีการปรับปรุงตัวเลขด้วยรายการที่เกิดขึ้นหลังวันที่ระบุในงบการเงินจนถึงวันที่มีการตกลงเข้าทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งผู้สอบบัญชีของบริษัทได้สอบทานตัวเลขดังกล่าวแล้ว
(2) เปลี่ยนแปลงมูลค่ารายการหรือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยสํานักงานอาจนับหรือไม่นับมูลค่าของรายการบางรายการตามงบการเงินเป็นมูลค่าที่ใช้ในการเปรียบเทียบได้ เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) บริษัทหรือบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนมีจํานวนเป็นนัยสําคัญ
(ข) งบการเงินที่ใช้ในการพิจารณามูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันมิได้แสดงถึงมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจของบริษัทหรือบริษัทย่อยเนื่องจากลักษณะพิเศษของธุรกิจนั้น
(ค) ผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือบริษัทย่อยไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงิน หรือแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีในงบการเงิน
(3) พิจารณานับรวมรายการที่เกี่ยวโยงกันหลายรายการเป็นรายการเดียวกัน หากปรากฏว่ารายการดังกล่าวทําขึ้นโดยมีเจตนาแยกเป็นหลายรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามความในหมวดนี้
ข้อ ๑๗ ก่อนการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
“การทํารายการ” หมายความว่า การเข้าไปหรือตกลงใจเข้าทําสัญญา หรือทําความตกลงใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อก่อให้เกิดการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ การให้เช่า หรือเช่าสินทรัพย์ การให้หรือรับบริการ การให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือการออกหลักทรัพย์ใหม่ รวมทั้งเพื่อก่อให้เกิดสิทธิหรือการสละสิทธิในการกระทําดังกล่าว
“การให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน” หมายความว่า การให้หรือการรับความช่วยเหลือทางการเงินด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ําประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทํานองเดียวกัน
ข้อ ๑๘ ในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ให้บริษัทดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุม
(2) หนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น และอย่างน้อยต้องมีรายการขั้นต่ําดังนี้
(ก) วันที่ทํารายการ
(ข) วัตถุประสงค์การทํารายการ
(ค) ลักษณะทั่วไปของรายการ รายละเอียดธุรกรรม มูลค่ารวมสิ่งตอบแทน การชําระราคา การคํานวณมูลค่ารายการ เหตุผลและความจําเป็นของการทํารายการ และแหล่งเงินทุน เป็นต้น
(ง) รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวโยง เช่น ความสัมพันธ์กับบริษัท และส่วนได้เสีย เป็นต้น
(จ) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในการทํารายการ
หมวด ๔ การทํารายการที่มีนัยสําคัญต่อบริษัท
ข้อ ๑๙ การทํารายการที่มีนัยสําคัญตามหมวดนี้ ได้แก่ การเข้าไปหรือตกลงใจเข้าทําสัญญา ทําความตกลงหรือทําความเข้าใจใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อการใดการหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การก่อให้เกิดการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
(2) การก่อให้เกิดสิทธิหรือการสละสิทธิในการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
(3) การได้มาหรือโอนไปซึ่งสิทธิในการครอบครองสินทรัพย์ในระยะยาว
(4) การลงทุนหรือยกเลิกการลงทุน
รายการที่มีนัยสําคัญตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้รวมถึงธุรกรรมที่เป็นการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของบริษัท ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้มีการพิจารณาอนุมัติแนวทางในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวไว้
ข้อ ๒๐ รายการที่มีนัยสําคัญซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของหมวดนี้ ได้แก่ รายการที่มีมูลค่ารายการดังต่อไปนี้
| |
| --- |
| มูลค่ารายการ > ร้อยละ 50 ของสินทรัพย์รวมของบริษัท |
ข้อ ๒๑ การคํานวณมูลค่าของรายการที่มีนัยสําคัญต่อบริษัท ให้เป็นไปตามภาคผนวก 2ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒๒ ในพิจารณาการคํานวณมูลค่าของรายการที่มีนัยสําคัญ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) เปลี่ยนแปลงมูลค่ารายการ โดยสํานักงานอาจนับหรือไม่นับมูลค่าของรายการบางรายการตามงบการเงินเป็นมูลค่าที่ใช้ในการเปรียบเทียบได้ เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) บริษัทหรือบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนมีจํานวนเป็นนัยสําคัญ
(ข) งบการเงินที่ใช้ในการพิจารณามูลค่าของรายการที่มีนัยสําคัญมิได้แสดงถึงมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจของบริษัทหรือบริษัทย่อยเนื่องจากลักษณะพิเศษของธุรกิจนั้น
(ค) ผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือบริษัทย่อยไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงิน หรือแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีในงบการเงิน
(2) พิจารณานับรวมรายการที่มีนัยสําคัญหลายรายการเป็นรายการเดียวกัน หากปรากฏว่ารายการดังกล่าวทําขึ้นโดยมีเจตนาแยกเป็นหลายรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามความในหมวดนี้
ข้อ ๒๓ ก่อนการทํารายการที่มีนัยสําคัญ บริษัทต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย
ข้อ ๒๔ ในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการทํารายการที่มีนัยสําคัญ ให้บริษัทดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุม
(2) หนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น และอย่างน้อยต้องมีรายการขั้นต่ําดังนี้
(ก) วันที่ทํารายการ
(ข) คู่กรณีและความสัมพันธ์
(ค) วัตถุประสงค์การทํารายการ
(ง) ลักษณะทั่วไปของรายการ รายละเอียดสินทรัพย์ที่มีการได้มาหรือจําหน่ายไป มูลค่ารวมสิ่งตอบแทน การชําระราคา การคํานวณมูลค่ารายการ เหตุผลและความจําเป็นของการทํารายการ และแหล่งเงินทุน
(จ) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในการทํารายการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 902 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2566 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (ฉบับที่ 2)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 17/2566
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 75/2564 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ในประกาศนี้
“บริษัทในไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้มีการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
“ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
“ส่วนได้เสีย” หมายความว่า การได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากการตกลงเข้าทํารายการของบริษัทหรือบริษัทย่อย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 75/2564 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) บริษัทในไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 75/2564 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 การส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 7ให้เป็นไปตามระยะเวลาและเงื่อนไขการส่งดังต่อไปนี้
| ประเภทข้อมูล | ระยะเวลาและเงื่อนไขการส่ง |
| (1) งบการเงินประจํางวด 6 เดือนแรกของ ปีบัญชี | ภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี |
| (2) งบการเงินประจํารอบปีบัญชี | |
| (3) การวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการ | ภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยให้ส่งพร้อมกับการส่งงบการเงินตาม (1) และ (2) |
| (4) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและรายงานประจําปี (แบบ 56-1 SME One Report) | ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี |
ให้บริษัทจัดส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามวรรคหนึ่งในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้ถือว่าการส่งข้อมูลผ่านระบบข้างต้นเป็นการส่งรายงานต่อสํานักงานตามประกาศนี้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 75/2564 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) บริษัทพ้นจากการเป็นบริษัทในไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
(ข) เป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย
(ค) บริษัทเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งดังนี้
1. มีจํานวนผู้ถือหุ้นรวมกันไม่เกิน 100 ราย
2. คณะกรรมการบริษัทมีมติให้มีการรับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป และมีการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 11 แล้ว
(ง) บริษัทได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายว่าไม่ประสงค์จะได้รับข้อมูลตามประกาศนี้”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566
(นายธวัชชัย พิทยโสภณ)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 903 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 76/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 76/2564
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการรายงานการได้มาหรือ
จําหน่ายหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ
ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) มาตรา 246 มาตรา 247 และมาตรา 250 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 248 มาตรา 255 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้มีการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
ข้อ ๒ การรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ และการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยกเว้นการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ มิให้นํามาใช้บังคับ
(ก) การได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ตามธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ที่กระทํากับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ รวมถึงการวางหลักประกันหรือรับหลักประกันสําหรับธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าว
(ข) การได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการโดยผู้ออกใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ซึ่งเป็นบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่ีจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
(2) การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อ มิให้นํามาใช้บังคับ
(3) การจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อของกิจการ ให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยแบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ มิให้นํามาใช้บังคับ
(4) การขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ให้นําหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(ก) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ
(ข) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยรายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีความเห็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นที่บริษัทจดทะเบียนแต่งตั้งจากบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ มิให้นํามาใช้บังคับ
ข้อ ๓ การแจ้ง การยื่น การรับรอง การส่งข้อมูลหรือเอกสาร หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกันต่อสํานักงานตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 904 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 78/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นของบริษัท | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 78/2564
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น
โดยผู้ถือหุ้นของบริษัท
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) มาตรา 89/27 และมาตรา 89/28 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในการเสนอเรื่องที่จะขอให้คณะกรรมการบรรจุเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 89/28 ผู้ถือหุ้นต้องจัดทําและส่งข้อมูลตามข้อ 2 ไปยังบริษัทตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอวาระในการประชุมสามัญประจําปีผู้ถือหุ้น ให้ส่งข้อมูลล่วงหน้าก่อนการประชุมสามัญประจําปีผู้ถือหุ้นตามระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งดังนี้ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสั้นกว่า
(ก) ไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีล่าสุดของบริษัท
(ข) ระยะเวลาที่บริษัทกําหนด
(2) การเสนอวาระในกรณีอื่น ให้ส่งข้อมูลล่วงหน้าไปยังบริษัทเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของคณะกรรมการก่อนการอนุมัติให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๒ การเสนอเรื่องที่จะขอให้คณะกรรมการบรรจุเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เรื่องที่จะเสนอพร้อมด้วยสรุปสาระสําคัญ เอกสารหลักฐานและรายละเอียดโดยสังเขป โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่เป็นการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัท ต้องจัดให้มีประวัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ พร้อมทั้งแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวได้ให้ความยินยอมและรับรองความถูกต้องของข้อมูลโดยลงลายมือชื่อไว้แล้ว
(2) ข้อมูลของผู้ถือหุ้นที่เสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุม โดยต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อ จํานวนหุ้นที่ถือ และคํารับรองว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียง
นับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ณ วันที่มีการเสนอวาระ
ข้อ ๓ ในกรณีที่คณะกรรมการปฏิเสธการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นที่จะจัดให้มีขึ้นในครั้งใด หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนั้นต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ ไว้อย่างชัดเจน
(1) เหตุผลในการปฏิเสธการบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้น
(2) ข้อความที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง เห็นชอบให้มีการบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการจะบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทจะจัดให้มีขึ้นในครั้งถัดไป
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการคณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 905 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 79/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการชักชวนเป็นการทั่วไปเพื่อให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทมอบฉันทะให้เข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 79/2564
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการชักชวนเป็นการทั่วไปเพื่อให้ผู้ถือหุ้น
ของบริษัทมอบฉันทะให้เข้าประชุมผู้ถือหุ้น
และออกเสียงลงคะแนนแทน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 89/31 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“การชักชวน” หมายความว่า การชักชวน ชี้นํา หรือกระทําด้วยประการใด ๆ ไม่ว่าโดยบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นการทั่วไป
“ญาติสนิท” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมถึงคู่สมรสของบุตร
ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการชักชวนที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การชักชวนต่อผู้ถือหุ้นไม่เกิน 10 ราย โดยการนับจํานวนผู้ถือหุ้นดังกล่าว ไม่รวมถึงญาติสนิทของผู้ชักชวน
(2) การชักชวนของผู้รับฝากหลักทรัพย์ (custodian) ที่มีลักษณะเป็นการให้บริการรับมอบฉันทะในการเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น แทนผู้ถือหุ้นที่ฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๓ การชักชวนเพื่อให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ตนหรือบุคคลอื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทนในการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ผู้ชักชวนและผู้รับมอบฉันทะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4
(2) การชักชวนต้องไม่ใช้ถ้อยคําหรือข้อความที่เกินความจริง เป็นเท็จ หรืออาจทําให้ผู้ถือหุ้นสําคัญผิด และต้องเปิดเผยข้อมูลและให้คํารับรองอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5
(3) การมอบฉันทะที่ชักชวน ต้องเป็นการมอบฉันทะโดยใช้หนังสือมอบฉันทะตามแบบ ข. หรือ แบบ ค. แล้วแต่กรณี ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ออกตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ชักชวนให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้แก่กรรมการอิสระ จะใช้หนังสือมอบฉันทะตามแบบ ก. ก็ได้
ข้อ ๔ ผู้ชักชวนและผู้รับมอบฉันทะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีความพร้อมในการจัดการและเก็บรักษาเอกสารและข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนผู้มอบฉันทะได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
(2) ภายในระยะเวลา 1 ปีก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ชักชวนและผู้รับมอบฉันทะต้องไม่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) มีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ อันเป็นเหตุให้ถูกเปรียบเทียบความผิดหรือถูกสํานักงานกล่าวโทษเป็นหนังสือต่อพนักงานสอบสวน
(ข) มีประวัติการจงใจไม่เข้าประชุมหรือไม่ออกเสียงลงคะแนนแทนผู้มอบฉันทะ หรือไม่เป็นไปตามที่ได้รับมอบฉันทะอย่างถูกต้องครบถ้วน หรือรู้เห็นหรือตกลงด้วยกับการดังกล่าว
ข้อ ๕ ในการชักชวนเพื่อให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ตนหรือบุคคลอื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทนในการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องเปิดเผยข้อมูลและให้คํารับรอง อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ชื่อบริษัทที่จัดประชุมผู้ถือหุ้น
(2) ชื่อผู้ชักชวนและผู้รับมอบฉันทะ พร้อมสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งความสัมพันธ์กับบริษัท กรรมการและผู้บริหารของบริษัท และการมีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหรือวาระการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละวาระ (ถ้ามี)
(3) วันที่ เวลา และสถานที่ที่จัดการประชุมผู้ถือหุ้น
(4) วัตถุประสงค์ในการชักชวนที่ชัดเจน
(5) ระเบียบวาระการประชุม
(6) แนวทางการออกเสียงลงคะแนนแต่ละวาระครบทุกวาระ เช่น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง โดยต้องระบุเหตุผลและข้อมูลสนับสนุนแยกรายวาระด้วย เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ชักชวนให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้แก่กรรมการอิสระ
(7) วิธีการและระยะเวลาในการส่งหนังสือมอบฉันทะให้ผู้รับมอบฉันทะ เงื่อนไขการรับมอบฉันทะ (ถ้ามี) และการยกเลิกการมอบฉันทะ
(8) แสดงคําเตือนที่ชัดเจนว่า “ผู้ถือหุ้นควรศึกษารายละเอียดของวาระการประชุมก่อนตัดสินใจมอบฉันทะ”
(9) คํารับรองว่าผู้รับมอบฉันทะจะดําเนินการตามที่ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ และหากผู้รับมอบฉันทะไม่ดําเนินการตามที่ได้รับมอบฉันทะ ผู้ถือหุ้นที่ได้รับความเสียหายสามารถใช้สิทธิดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ชักชวนและผู้รับมอบฉันทะได้
ข้อ ๖ ให้ผู้ชักชวนเก็บรักษาเอกสาร หลักฐาน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่มีการชักชวน
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 906 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 89/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป โดยไม่ได้จํากัดผู้ลงทุนที่จะซื้อหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายและจํากัดการถือหน่วยลงทุนไว้เฉพาะต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยหรือผู้มีเงินลงทุนสูง โดยมีนโยบายการลงทุนในลักษณะผ่อนคลายกว่ากองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับซึ่งมีผู้ถือหน่วยทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ทั้งนี้ ตามบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“ผู้มีเงินลงทุนสูง” หมายความว่า ผู้ที่จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในครั้งแรกตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป (initial minimum subscription)
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการกําหนดมาตรฐานการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล เพื่อให้บริษัทจัดการดูแลและจัดการกองทุนดังกล่าวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยใช้ความรู้ความสามารถและความชํานาญ และด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา
ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุน บริษัทจัดการกองทุนต้องแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนในลักษณะที่เหมาะสม โดยบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนจะต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ ๔ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนอย่างสม่ําเสมอ และเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การวัดผลการดําเนินงาน และการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพิ่มเติมจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดตามวรรคสอง
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ งบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศของสํานักงานว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Board หรือ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบในประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
(2) กรณีที่เป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีของกองทุนรวมที่มีการเลิกกองทุนภายใน 15 เดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือเป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีสุดท้ายของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีดังกล่าว ณ วันเลิกกองทุนรวมเพียงครั้งเดียวได้ โดยมีระยะเวลาเกิน 12 เดือนแต่ไม่เกิน 15 เดือน
ข้อ ๖ ในการจัดการกองทุน ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อให้มีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของกองทุนหรือลูกค้า เช่น กองทุนรวมมีประกัน กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ลูกค้าที่มีลักษณะการลงทุนเป็นแบบเดียวกัน เป็นต้น
ข้อ ๗ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะก่อภาระผูกพันใด ๆ ในนามของกองทุนส่วนบุคคลได้ต่อเมื่อเป็นการก่อภาระผูกพันที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลที่สามารถดําเนินการได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน
ข้อ ๘ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงได้รับ และเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติได้
(1) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนหรือการจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ตลอดจนเมื่อเกิดการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าผิด
(2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน
(3) การควบหรือรวมกองทุนรวม
(4) การรับชําระหนี้ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของกองทุน
(5) การดําเนินการให้กองทุนรวมเปิดดํารงสภาพคล่องและวิธีปฏิบัติในกรณีที่ไม่สามารถดํารงสภาพคล่องได้ตามที่กําหนด
(6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนหรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน
ข้อ ๙ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุจําเป็นโดยไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้หรือหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอื่นใดที่ออกตามประกาศนี้ สําหรับการจัดการกองทุนรวมใดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุน
ในประเทศไทยให้กับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country)
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้
(1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(2) มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ปฏิบัติหรือดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน
(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หากปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ
(4) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที
ข้อ ๑๒ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด
(1) กองทุนรวมมีการจัดการที่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามที่ประกาศเกี่ยวข้องกําหนด แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดการกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) การจัดการกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
(3) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
(5) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานอํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังนี้
(1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
(2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง
(3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่สํานักงานยังไม่ได้ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนส่วนบุคคล ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๑๕ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออก หรือวางแนวปฏิบัติ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 907 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 17/2560
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 12/5/2559 .
CSDS เลขที่ 82/2557
ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ก่อนบทนิยามคําว่า “กองทุน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้
“คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” และ “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป โดยไม่ได้จํากัดผู้ลงทุนที่จะซื้อหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะผ่อนคลายกว่ากองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป และจํากัดการเสนอขายและการถือหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดตามวรรคสองได้”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันใด ๆ ในนามของกองทุนส่วนบุคคลได้ต่อเมื่อเป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่สามารถให้บริการธุรกรรมดังกล่าวได้ตามกฎหมายของประเทศที่สถาบันการเงินนั้นให้บริการ
(2) เป็นการก่อภาระผูกพันที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลที่สามารถดําเนินการได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน”
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 908 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 57/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) | - ร่าง -
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 20/10/2560 .
CSDS เลขที่ 55/2560 .
ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 57/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวม” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนที่จะซื้อหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมวายุภักษ์”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมวายุภักษ์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” และคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
““กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 909 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 16/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 9/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดูแลให้โครงการและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการหรือข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขโครงการหรือข้อผูกพันโดยไม่ชักช้า”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 910 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 73/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 73/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 133 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การวัดผลการดําเนินงาน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน และการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 911 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 24/09/61
CSDS เลขที่ 47/2561..........
ครั้งที่ 1 ผ่านทาง.....CSDS..................
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 12/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 912 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 64/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 64/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 140 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ งบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน หรือโดยผู้สอบบัญชีที่ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพบางประเภท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Board หรือ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและ
แสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบในประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
(2) กรณีที่เป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีของกองทุนรวมที่มีการเลิกกองทุนภายใน 15 เดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือเป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีสุดท้ายของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีดังกล่าว ณ วันเลิกกองทุนรวมเพียงครั้งเดียวได้ โดยมีระยะเวลาเกิน 12 เดือนแต่ไม่เกิน 15 เดือน”
ข้อ 2 ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ในการจัดทํางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ยังไม่ถึงรอบระยะเวลาบัญชีตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่มีธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี จนกว่าจะถึงรอบระยะเวลาบัญชีตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 913 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 32/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 32/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดูแลให้โครงการและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการหรือข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขโครงการหรือข้อผูกพันโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีที่หลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการชั่วคราว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวในลักษณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าตรวจดูได้ รวมถึงแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและสํานักงานทราบแทนการดําเนินการดังกล่าวโดยไม่ชักช้า”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 914 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 60/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล(ฉบับที่ 9) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 60/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 915 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 77/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่
ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 02/10/63 CSDS เลขที่ 103/2563
ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 77/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 10)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะกู้ยืมเงิน ก่อภาระผูกพันใด ๆ หรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในนามของกองทุนส่วนบุคคลได้ต่อเมื่อเป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่สามารถให้บริการธุรกรรมดังกล่าวได้ตามกฎหมายของประเทศที่สถาบันการเงินนั้นให้บริการ
(2) เป็นการก่อภาระผูกพันที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลที่สามารถดําเนินการได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน
(3) เป็นการเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนหลักทรัพย์เพื่อการบริหารสภาพคล่องของลูกค้า โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบัน
ให้คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 4(1) ถึง (23) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(ข) มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 916 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 11/2564.
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง มาตรา 134 วรรคหนึ่ง และมาตรา 140 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 57/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 73/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 64/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 32/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 60/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(10) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 77/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
คําว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” “กองทุนรวมเพื่อการออม” “กองทุนรวมดัชนี” “กองทุนรวมตลาดเงิน” “กองทุนรวมฟีดเดอร์” “กองทุนรวมมีประกัน” “กองทุนรวมวายุภักษ์”“กองทุนรวมหน่วยลงทุน” “กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม” และ “กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมดังกล่าวตามประกาศการลงทุน
“ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนที่จะซื้อหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมวายุภักษ์
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะผ่อนคลายกว่ากองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป และจํากัดการเสนอขายและการถือหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง
“ผู้มีเงินลงทุนสูง” หมายความว่า ผู้ที่จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในครั้งแรกตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป (initial minimum subscription)
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้จัดตั้งอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับซึ่งมีผู้ถือหน่วยทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ทั้งนี้ ตามบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 และมีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามประกาศการลงทุน
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“กองทุนต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนใดกองทุนหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(2) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปแบบบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(3) กองทรัสต์หรือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
“ลงทุน” หมายความว่า การจัดการลงทุนในทรัพย์สินหรือการเข้าเป็นคู่สัญญาในธุรกรรมทางการเงิน หรือการได้มาหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหรือธุรกรรมดังกล่าว
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทําการที่คํานวณนั้น
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
“มติพิเศษ” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
“มติเสียงข้างมาก” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
“วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ
“วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดไว้ในโครงการ
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
“เงินทุนโครงการ” หมายความว่า เงินทุนโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอจดทะเบียนไว้กับสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
“ควบรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม แล้วแต่กรณี
“ควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิม และเลิกกองทุนรวมเดิม
“รวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอน
“กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม
“กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน
“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้
ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการกําหนดมาตรฐานการจัดการกองทุน เพื่อให้บริษัทจัดการดูแลและจัดการกองทุนดังกล่าวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยใช้ความรู้ ความสามารถและความชํานาญ และด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ในการจัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนในลักษณะที่เหมาะสม โดยบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนจะต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ ๖ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนอย่างสม่ําเสมอ และเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ (ถ้ามี) เป็นต้น ต่อผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การวัดผลการดําเนินงาน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน และการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดตามวรรคสองได้
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ งบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน หรือโดยผู้สอบบัญชีที่ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพบางประเภท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Board หรือ American Institution of Certified Public Accountantsหรือ Financial Accounting Standards Board โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบในประเทศที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
(2) กรณีที่เป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีของกองทุนรวมที่มีการเลิกกองทุนรวมภายใน 15 เดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือเป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีสุดท้ายของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีดังกล่าว ณ วันเลิกกองทุนรวมเพียงครั้งเดียวได้ โดยมีระยะเวลาเกิน 12 เดือนแต่ไม่เกิน 15 เดือน
ข้อ ๘ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะกู้ยืมเงิน ก่อภาระผูกพันใด ๆ หรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในนามของกองทุนส่วนบุคคลได้ต่อเมื่อเป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่สามารถให้บริการธุรกรรมดังกล่าวได้ตามกฎหมายของประเทศที่สถาบันการเงินนั้นให้บริการ
(2) เป็นการก่อภาระผูกพันที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลที่สามารถดําเนินการได้ตามประกาศการลงทุน
(3) เป็นการเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของลูกค้า โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบัน
ให้คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 4(1) ถึง (23) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(ข) มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๙ ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดูแลให้โครงการและข้อผูกพันเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่ง ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการหรือข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขโครงการหรือข้อผูกพันโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีที่หลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการชั่วคราว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวในลักษณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าตรวจดูได้ รวมถึงแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและสํานักงานทราบแทนการดําเนินการดังกล่าวโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดชื่อของกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๑๒ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายขั้นสูงที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวม และเรียกเก็บได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว
(2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) เรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือเป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยลงทุน
(ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงาน (performance based management fee)
ทั้งนี้ โดยให้เรียกเก็บได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดในแต่ละครั้งจากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปีจากกองทุนรวม
ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ซึ่งเรียกเก็บจากกองทุนรวม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงของยอดรวมค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ ที่ระบุไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าน้อยกว่า 50 ล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเท่านั้น
ในกรณีที่มูลค่าของกองทุนรวมในขณะจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท หากต่อมากองทุนรวมดังกล่าวมีมูลค่าลดลงน้อยกว่า 50 ล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมไว้อยู่แล้ว ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นอัตราร้อยละที่ไม่สูงกว่าอัตราร้อยละของค่าธรรมเนียมเดิมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บในช่วงเวลาที่กองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาทโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน
(2) ในกรณีอื่นนอกเหนือจากกรณีตามวรรคสอง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในอัตราที่แสดงได้ว่าเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานมูลค่าของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเกินกว่าจํานวนเงินทุนโครงการที่จดทะเบียนไว้แล้วจนถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 และจะแก้ไขเพื่อเพิ่มเงินทุนโครงการอีกไม่ได้
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมมีประกัน เมื่อเกิดหรือรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้ต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและมีข้อกําหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ไม่ต่ํากว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทําสัญญาเดิมหรือตามที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติพิเศษให้จัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เป็นอย่างอื่น
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมมีประกัน หรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไปโดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน โดยถือว่าได้รับมติพิเศษ
ในการขอมติพิเศษตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยรายละเอียดซึ่งเป็นสาระสําคัญที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกันรายเดิมกับรายใหม่ และเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ในกรณีที่การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวผู้ประกันหรือที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่อาจจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ให้แก่กองทุนรวมมีประกันหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
ส่วน ๒ การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังนี้
(1) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Part I : The Qualifications of the CIS Operator, Trustee / Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes
(2) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passport ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Annex 3 : Passport Rules ของ Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport
(3) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศตามประกาศการลงทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมตาม (1) และ (2) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยมิให้นับรวมวันหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวม และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการชําระราคา โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุเกี่ยวกับวันหยุดทําการในต่างประเทศดังกล่าวไว้แล้วในโครงการ
(4) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นซึ่งมิใช่กองทุนรวมตาม (1) (2) และ (3) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถชําระค่าขายคืนตามกําหนดเวลาในวรรคหนึ่ง เนื่องจากจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการคํานวณดังกล่าว
บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินซึ่งได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมดังกล่าวตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
ข้อ ๑๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่กระทําการใด หรือรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่นในการกระทําการใด ที่ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับประโยชน์เสมือนหนึ่งว่าได้รับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยไม่เป็นไปตามกําหนดเวลาในข้อ 16
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวันหรือเวลาในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในโครงการหรือข้อผูกพันของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราว อันเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวันหรือเวลาในการให้บริการของผู้ให้บริการตามที่สํานักงานกําหนดซึ่งส่งผลกระทบต่อการซื้อขายทรัพย์สินที่กองทุนรวมไปลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถดําเนินการดังกล่าวได้เพียงเท่าที่มีความจําเป็น ทั้งนี้ ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการหรือข้อผูกพันแล้ว
ข้อ ๑๙ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้ในโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้
(1) ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว ซึ่งให้กระทําได้ไม่เกิน 1 วันทําการ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันเวลาดังกล่าวจากสํานักงาน
(ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล
(ข) ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม
(ค) มีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(3) กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ และมีเหตุการณ์ดังนี้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ
(ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แห่งนั้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ หรือ
(ค) มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่เหนือการควบคุมของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นชอบด้วยแล้ว
(4) เป็นการไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่รับไว้แล้ว หรือเป็นการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนเฉพาะราย เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ลงทุนรายนั้น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. การกระทําที่เป็นความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
2. การให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
3. การกระทําที่เป็นการปฏิบัติตามคําสั่งเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินโดยบุคคลผู้มีอํานาจตามกฎหมาย
(ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการรู้จักลูกค้า และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้ในสาระสําคัญ
(5) อยู่ในระหว่างดําเนินการเปลี่ยนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าบริหารจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนอันเนื่องมาจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งให้กระทําได้ไม่เกิน 3 วันทําการ
(6) อยู่ในระหว่างดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 29(4)
ข้อ ๒๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้กําหนดกรณีที่เป็นเงื่อนไขการชําระและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในข้อผูกพัน โดยขั้นตอนที่กําหนดดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดนั้นทุกราย ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงื่อนไขมีได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมเปิดกําหนดวิธีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้สามารถชําระเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินไว้เป็นการทั่วไป
(2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ
(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเงิน
(4) ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงรับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติพิเศษให้ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้
ส่วน ๓ การจ่ายเงินปันผล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ เว้นแต่มีหลักเกณฑ์กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามประกาศนี้ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้จ่ายได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
ในกรณีกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่ต่างกันสําหรับหน่วยลงทุนที่ขายในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันได้ ต่อเมื่อได้กําหนด
กรณีดังกล่าวไว้ในโครงการ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนดําเนินการจ่ายเงินปันผลในแต่ละครั้งแล้ว
ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๒๒ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยออกเป็นหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทุกประเภท
ข้อ ๒๔ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมและจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
ในการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละครั้ง ให้เลือกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม
(2) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของกําไรสะสมดังกล่าว หรือกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า
ให้นําความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมเพื่อการออม โดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นในลักษณะเดียวกันจากการลงทุนในทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินดังกล่าวจ่ายเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม อย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปีบัญชีที่ได้รับประโยชน์ตอบแทน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) หน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(3) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หรือหน่วยทรัสต์ตาม (2) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น
(4) หน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หน่วยทรัสต์ตาม (2) หรือตราสารตาม (3) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(2) กองทุนรวมเพื่อการออม
ส่วน ๔ การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๖ การควบรวมกองทุนรวมต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม
ข้อ ๒๗ กองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการและข้อผูกพัน ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการควบรวมกองทุนรวมระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เดียวกัน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับมติเสียงข้างมากของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว
(2) กรณีการควบรวมกองทุนรวมระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) แตกต่างกัน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับมติพิเศษของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ ๒๘ สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงในการควบรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ โดยวิธีการนั้นต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในเวลาก่อนหน้าการควบรวมกองทุนรวม ตลอดจนโอกาสในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย
ส่วน ๕ การเลิกกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามที่กําหนดในข้อ 30 เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 รายในวันทําการใด
(2) กรณีกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมดังนี้
(ก) กองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม
(ข) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และกองทุนรวมดังกล่าวมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเท่านั้น
(3) กรณีที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) การพิจารณาระยะเวลาการขายคืนหน่วยลงทุน ให้พิจารณาจากเฉพาะในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกองทุนรวมเปิดให้รับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้น
ความใน (3) วรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าการเลิกกองทุนรวมจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่เนื่องจากกองทุนรวมยังคงมีทรัพย์สินคงเหลือที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการขายคืนนั้น
(4) กรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้วมีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าจะมีการขายคืนหน่วยลงทุนตาม (3) วรรคหนึ่ง และการเลิกกองทุนรวมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม
ความในวรรคหนึ่ง (3) และ (4) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมตลาดเงิน
(2) กองทุนรวมดัชนี
(3) กองทุนรวมอีทีเอฟ
(4) กองทุนรวมหน่วยลงทุน
(5) กองทุนรวมฟีดเดอร์
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏเหตุเลิกกองทุนรวมตามข้อ 29 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว
(2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
หมวด ๓ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๑ ในการจัดการกองทุน ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อให้มีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของลูกค้าที่เป็นกองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๓๒ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้ หรือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนหรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุจําเป็นโดยไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้หรือหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอื่นใดที่ออกตามประกาศนี้ สําหรับการจัดการกองทุนรวมใดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยให้กับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country)
ข้อ ๓๔ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงินให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ไม่เกินกว่า 20 วันทําการติดต่อกัน
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้
(1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือข้อผูกพันที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(2) มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ปฏิบัติหรือดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน
(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หากปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที
ข้อ ๓๖ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด
(1) กองทุนรวมมีการจัดการที่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามที่ประกาศเกี่ยวข้องกําหนด แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดการกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) การจัดการกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
(3) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
(5) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
(2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง
(3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ยังไม่มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 6 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ จนกว่าจะได้มีหลักเกณฑ์ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๓๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หรืออ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๓๙ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หรือที่ใช้บังคับอยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 917 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 7/6/2564 CSDS เลขที่ 7/2564 ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 49/2564
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 ในส่วนที่ 1 บททั่วไป ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
“ข้อ 9/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดแนวทางการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และดําเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวซึ่งต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) โครงสร้างการบริหารและจัดการความเสี่ยงและการกํากับดูแล
(2) การบริหารและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์กองทุนรวม
(3) การติดตามความเสี่ยงและปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนรวม
(4) เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม
(5) การทดสอบผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนรวมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญ (stress test)
ในการกําหนดแนวทางตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม และได้รับการพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมจากคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเมื่อปรากฏเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญโดยไม่ชักช้า”
ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) (2) และ (3) ของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3/1 เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ข้อ 25/1 ข้อ 25/2 ข้อ 25/3 และข้อ 25/4 ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
“ส่วนที่ 3/1
เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 25/1 เพื่อประโยชน์ในการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องมือดังกล่าวที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นตามข้อ 25/2 และข้อ 25/3
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงได้ว่า กองทุนรวมใดไม่มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 25/2 เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามข้อ 25/1 ต้องเป็นไปตามหลักการโดยครบถ้วนอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มีการกําหนดให้ผู้ที่ทํารายการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในวันที่มีปริมาณการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมถึงระดับมีนัยสําคัญ หรือมีการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนเกินจํานวนที่กําหนด หรือมีการขายหน่วยลงทุนก่อนครบระยะเวลาที่กําหนด เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทําธุรกรรมของกองทุนรวมเพื่อรองรับการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนนั้นได้
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจํากัดปริมาณการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมให้สอดคล้องกับสภาพคล่องของกองทุนรวมในแต่ละขณะได้
(3) กรณีทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หรือไม่สามารถจําหน่ายได้ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนให้สอดคล้องกับกรณีดังกล่าว
(4) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนได้หากเห็นว่ามีความจําเป็นและการดําเนินการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม
ข้อ 25/3 ในการจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามข้อ 25/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามวิธีการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดให้ผู้ลงทุนเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังนี้
(ก) การกําหนดค่าธรรมเนียมการขายคืนที่ไม่เป็นไปตามปริมาณหรือระยะเวลาที่กําหนด (liquidity fee)
(ข) การปรับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิด้วยสูตรการคํานวณที่สะท้อนต้นทุนในการซื้อขายทรัพย์สินของกองทุนรวม (swing pricing)
(ค) การเพิ่มค่าธรรมเนียมการซื้อขายหน่วยลงทุนที่สะท้อนต้นทุนในการซื้อขายทรัพย์สินของกองทุนรวม (anti-dilution levies – ADLs)
(2) กําหนดเงื่อนไขหรือข้อจํากัดในการรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังนี้
(ก) การกําหนดระยะเวลาที่ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนการขายคืนหน่วยลงทุน (notice period)
(ข) การกําหนดเพดานการขายคืนหน่วยลงทุน (redemption gate)
(3) กําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนในกรณีทรัพย์สินที่กองทุนรวมมีการลงทุนโดยมีนัยสําคัญต่อมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หรือไม่สามารถจําหน่ายได้ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถใช้วิธีการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนโดยบันทึกมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็น 0 และให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน ณ วันที่ได้บันทึกมูลค่าดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินภายหลังจากที่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินนั้นได้
(4) กําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถระงับการซื้อขายหน่วยลงทุน ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าจําเป็นต้องระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ อันเนื่องจากเหตุจําเป็นตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ ทั้งนี้ การระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันเวลาดังกล่าวจากสํานักงาน
1. ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมได้อย่างสมเหตุสมผล
2. ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม
3. มีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม
ในกรณีที่มีการระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนตาม (4) (ข) วรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบโดยทันที ทั้งนี้ หากเป็นการระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 วันทําการ สํานักงานอาจพิจารณาสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการโดยประการใด ๆ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมหรือเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจการจัดการกองทุนรวม
(ค) กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ และมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ
1. ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แห่งนั้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
2. มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ
3. มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่เหนือการควบคุมของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นชอบด้วยแล้ว
ข้อ 25/4 ในการจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามประกาศนี้ หากปรากฏว่าการดําเนินการตามเครื่องมือดังกล่าวจะขัดหรือแย้งกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ขัดหรือแย้งนั้น
(1) กรณีที่เป็นเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตามข้อ 25/3(1) ได้แก่ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน และการเก็บค่าธรรมเนียมในเรื่องดังกล่าวที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) กรณีที่เป็นเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตามข้อ 25/3(2) หรือ (4) ได้แก่ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการส่งคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน และการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนในเรื่องดังกล่าวที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมในข้อ 1 และข้อ 3 ของประกาศนี้ ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 918 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับประมวล) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 11/2564.
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง มาตรา 134 วรรคหนึ่ง และมาตรา 140 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 57/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 73/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 64/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 32/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 60/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(10) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 77/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 3 ในประกาศนี้
คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
คําว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” “กองทุนรวมเพื่อการออม” “กองทุนรวมดัชนี” “กองทุนรวมตลาดเงิน” “กองทุนรวมฟีดเดอร์” “กองทุนรวมมีประกัน” “กองทุนรวมวายุภักษ์”
“กองทุนรวมหน่วยลงทุน” “กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม” และ “กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมดังกล่าวตามประกาศการลงทุน
“ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ว่าด้วยการลงทุนของกองทุน
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนที่จะซื้อหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมวายุภักษ์
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบาย
การลงทุนในลักษณะผ่อนคลายกว่ากองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป และจํากัดการเสนอขายและ
การถือหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง
“ผู้มีเงินลงทุนสูง” หมายความว่า ผู้ที่จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ในครั้งแรกตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป (initial minimum subscription)
“กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติ
จากสํานักงานให้จัดตั้งอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับซึ่งมีผู้ถือหน่วยทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ทั้งนี้ ตามบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2563 และมีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามประกาศการลงทุน
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน”[[1]](#footnote-1)3 หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนตามประกาศการลงทุน
“กองทุนต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนใดกองทุนหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(2) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุน
ในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้ง
ในรูปแบบบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(3) กองทรัสต์หรือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก
ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้
ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
“ลงทุน” หมายความว่า การจัดการลงทุนในทรัพย์สินหรือการเข้าเป็นคู่สัญญา
ในธุรกรรมทางการเงิน หรือการได้มาหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหรือธุรกรรมดังกล่าว
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุน
ส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุน
ส่วนบุคคลซึ่งทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต
ให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุน
ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทําการที่คํานวณนั้น
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ
กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุน
กับบริษัทจัดการกองทุนรวม
“มติพิเศษ” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า
3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
“มติเสียงข้างมาก” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
“วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ
“วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน
ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดไว้ในโครงการ
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจาก
การจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
“เงินทุนโครงการ” หมายความว่า เงินทุนโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวม
ยื่นขอจดทะเบียนไว้กับสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียน
กองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
“ควบรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม แล้วแต่กรณี
“ควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไป
เข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่
ของกองทุนรวมเดิม และเลิกกองทุนรวมเดิม
“รวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไป
เข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของ
กองทุนรวมที่โอนมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอน
“กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม
“กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน
“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
ในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน
แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้
ข้อ 4 ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการกําหนดมาตรฐานการจัดการกองทุน เพื่อให้บริษัทจัดการดูแลและจัดการกองทุนดังกล่าวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยใช้ความรู้ ความสามารถและความชํานาญ และด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา
หมวด 1
หลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 5 ในการจัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนในลักษณะ
ที่เหมาะสม โดยบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนจะต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ
กํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ข้อ 6 บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนอย่างสม่ําเสมอ และเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ (ถ้ามี) เป็นต้น ต่อผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูล
อย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การวัดผลการดําเนินงาน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน และการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้บริษัทจัดการ
ปฏิบัติเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมกําหนดตามวรรคสองได้
ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้าน
การลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ งบการเงินดังกล่าวต้อง
มีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
ในตลาดทุน หรือโดยผู้สอบบัญชีที่ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของ
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพบางประเภท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Board หรือ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board โดยงบการเงินดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบและ
แสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบในประเทศ
ที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการ
(2) กรณีที่เป็นการจัดทํางบการเงินประจํางวดการบัญชีของกองทุนรวมที่มีการเลิกกองทุนรวมภายใน 15 เดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือเป็นการจัดทํา
งบการเงินประจํางวดการบัญชีสุดท้ายของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจจัดทํางบการเงินประจํางวด
การบัญชีดังกล่าว ณ วันเลิกกองทุนรวมเพียงครั้งเดียวได้ โดยมีระยะเวลาเกิน 12 เดือนแต่ไม่เกิน 15 เดือน
ข้อ 8 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะกู้ยืมเงิน ก่อภาระผูกพันใด ๆ หรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในนามของกองทุนส่วนบุคคลได้ต่อเมื่อเป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์
หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่สามารถให้บริการธุรกรรมดังกล่าวได้ตามกฎหมายของประเทศที่
สถาบันการเงินนั้นให้บริการ
(2) เป็นการก่อภาระผูกพันที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลที่สามารถดําเนินการได้ตามประกาศการลงทุน
(3) เป็นการเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์
ในการบริหารสภาพคล่องของลูกค้า โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) [[2]](#footnote-2)2 คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 8/1
(ข) มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ 8/1[[3]](#footnote-3)2 คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามข้อ 8(3) (ก) หมายความว่า ผู้ลงทุนที่เป็น
นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการลงทุน (professional investor) ดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ธนาคารพาณิชย์
(3) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4) บริษัทเงินทุน
(5) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(6) บริษัทหลักทรัพย์
(7) บริษัทประกันวินาศภัย
(8) บริษัทประกันชีวิต
(9) กองทุนรวม
(10) กองทุนส่วนบุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนดังนี้
(ก) ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (9) หรือ (11) ถึง (21)
(ข) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (21)
(ค) ผู้จัดการกองทุน หรือผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(ง) ผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติด้านฐานะทางการเงินเทียบเท่าผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
หรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(จ) ผู้ลงทุนอื่นใดตามข้อ 5(26) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่
(11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(13) กองทุนประกันสังคม
(14) กองทุนการออมแห่งชาติ
(15) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(16) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(17) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(18) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(19) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(20) นิติบุคคลประเภทบรรษัท
(21) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (20) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 75
ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(22) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (21)
ข้อ 9 ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องเปิดเผย
ข้อมูลที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
หมวด 2
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วนที่ 1
บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 9/1[[4]](#footnote-4)1 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดแนวทางการบริหารและจัดการ
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และดําเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวซึ่งต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) โครงสร้างการบริหารและจัดการความเสี่ยงและการกํากับดูแล
(2) การบริหารและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์กองทุนรวม
(3) การติดตามความเสี่ยงและปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนรวม
(4) เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม
(5) การทดสอบผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนรวมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์
ที่มีนัยสําคัญ (stress test)
ในการกําหนดแนวทางตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม และได้รับการพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมจากคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเมื่อปรากฏเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญโดยไม่ชักช้า
ข้อ 10 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดูแลให้โครงการและข้อผูกพันเป็นไปตาม
กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่ง ที่ออกโดยอาศัย
อํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการหรือข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขโครงการหรือข้อผูกพันโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีที่หลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว
เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์ดังกล่าวในลักษณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าตรวจดูได้ รวมถึง
แจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและสํานักงานทราบแทนการดําเนินการดังกล่าวโดยไม่ชักช้า
ข้อ 11 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดชื่อของกองทุนรวมให้เป็นไปตาม
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน
ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ 12 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด
หรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน
หรือกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด
หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไป
ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวม
ต้องกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายขั้นสูงที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวม และเรียกเก็บได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว (2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) เรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือเป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยลงทุน
(ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงาน (performance based management fee)
ทั้งนี้ โดยให้เรียกเก็บได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด
ในแต่ละครั้งจากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปีจากกองทุนรวม
ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ซึ่งเรียกเก็บ
จากกองทุนรวม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงของยอดรวมค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน
และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ ที่ระบุไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขาย
หน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ 13 ในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าน้อยกว่า 50 ล้านบาท ให้บริษัทจัดการ
กองทุนรวมกําหนดวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเท่านั้น
ในกรณีที่มูลค่าของกองทุนรวมในขณะจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท หากต่อมากองทุนรวมดังกล่าวมีมูลค่าลดลงน้อยกว่า 50 ล้านบาท
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตรา
ร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมไว้อยู่แล้ว ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ
ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นอัตราร้อยละที่ไม่สูงกว่าอัตราร้อยละของค่าธรรมเนียมเดิมที่บริษัทจัดการ
กองทุนรวมเรียกเก็บในช่วงเวลาที่กองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาทโดยคํานวณตามมูลค่า
ที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน
(2) ในกรณีอื่นนอกเหนือจากกรณีตามวรรคสอง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวม
เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในอัตราที่แสดงได้ว่าเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงาน
มูลค่าของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้
ของหน่วยลงทุน
ข้อ 14 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ห้ามบริษัทจัดการ
กองทุนรวมเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเกินกว่าจํานวนเงินทุนโครงการที่จดทะเบียนไว้แล้วจนถึงวันที่
16 มกราคม พ.ศ. 2559 และจะแก้ไขเพื่อเพิ่มเงินทุนโครงการอีกไม่ได้
ข้อ 15 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมมีประกัน เมื่อเกิดหรือรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้ต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและ
มีข้อกําหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ไม่ต่ํากว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทําสัญญาเดิมหรือ
ตามที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติพิเศษให้จัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เป็นอย่างอื่น
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการว่า ในกรณีที่ปรากฏ
เหตุดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมมีประกัน หรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไป
โดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน โดยถือว่า
ได้รับมติพิเศษ
ในการขอมติพิเศษตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยรายละเอียดซึ่งเป็นสาระสําคัญที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกันรายเดิมกับรายใหม่ และเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ในกรณีที่การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการ
กองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวผู้ประกัน
หรือที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่อาจจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ให้แก่กองทุนรวมมีประกันหรือ
ผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
ส่วนที่ 2
การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 16 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืน
หน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังนี้
(1) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายภายใต้โครงการ Cross-border
Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Part I :
The Qualifications of the CIS Operator, Trustee / Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ
Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers
of ASEAN Collective Investment Schemes
(2) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passport ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Annex 3 : Passport Rules ของ Memorandum of
Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport
(3) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ
ตามประกาศการลงทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมตาม (1) และ (2) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยมิให้นับรวมวันหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวม และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการชําระราคา โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุเกี่ยวกับวันหยุดทําการ
ในต่างประเทศดังกล่าวไว้แล้วในโครงการ
(4) กรณีเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นซึ่งมิใช่กองทุนรวมตาม (1) (2)
และ (3) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถชําระค่าขายคืนตามกําหนดเวลา
ในวรรคหนึ่ง เนื่องจากจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน
ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายใน 5 วันทําการนับแต่
วันที่เสร็จสิ้นการคํานวณดังกล่าว
บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง
ในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของ
กองทุนรวมตลาดเงินซึ่งได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับ
กองทุนรวมดังกล่าวตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
ข้อ 17 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่กระทําการใด หรือรู้เห็นหรือตกลงกับ
บุคคลอื่นในการกระทําการใด ที่ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับประโยชน์เสมือนหนึ่งว่าได้รับชําระ
ค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยไม่เป็นไปตามกําหนดเวลาในข้อ 16
ข้อ 18 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวันหรือเวลา
ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในโครงการหรือข้อผูกพันของ
กองทุนรวมเป็นการชั่วคราว อันเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวันหรือเวลาในการให้บริการของผู้ให้บริการตามที่สํานักงานกําหนดซึ่งส่งผลกระทบต่อการซื้อขายทรัพย์สินที่กองทุนรวมไปลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถดําเนินการดังกล่าวได้เพียงเท่าที่มีความจําเป็น ทั้งนี้ ให้ถือว่าบริษัทจัดการ
กองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการหรือข้อผูกพันแล้ว
ข้อ 19 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่ง
ที่รับไว้แล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้
ในโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้
(1)[[5]](#footnote-5)1 ยกเลิก
(2)[[6]](#footnote-6)1 ยกเลิก
(3)[[7]](#footnote-7)1 ยกเลิก
(4) เป็นการไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่รับไว้แล้ว หรือ
เป็นการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนเฉพาะราย เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ลงทุนรายนั้น ๆ
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. การกระทําที่เป็นความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมาย
เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
2. การให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
3. การกระทําที่เป็นการปฏิบัติตามคําสั่งเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
โดยบุคคลผู้มีอํานาจตามกฎหมาย
(ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการรู้จักลูกค้า และตรวจสอบ
เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้ในสาระสําคัญ
(5) อยู่ในระหว่างดําเนินการเปลี่ยนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าบริหารจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนอันเนื่องมาจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิม
ไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งให้กระทําได้
ไม่เกิน 3 วันทําการ
(6) อยู่ในระหว่างดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 29(4)
ข้อ 20 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้กําหนดกรณีที่เป็นเงื่อนไขการชําระและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในข้อผูกพัน โดยขั้นตอนที่กําหนดดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดนั้นทุกราย ทั้งนี้
กรณีที่เป็นเงื่อนไขมีได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมเปิดกําหนดวิธีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้สามารถชําระ
เป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินไว้เป็นการทั่วไป
(2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
นําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการ
กองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ
(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเงิน
(4) ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงรับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติพิเศษให้ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน
เป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้
ส่วนที่ 3
การจ่ายเงินปันผล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 21 เว้นแต่มีหลักเกณฑ์กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามประกาศนี้ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้จ่ายได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวม
มีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
ในกรณีกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
ด้วยวิธีการที่ต่างกันสําหรับหน่วยลงทุนที่ขายในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันได้ ต่อเมื่อได้กําหนด
กรณีดังกล่าวไว้ในโครงการ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนดําเนินการจ่ายเงินปันผล
ในแต่ละครั้งแล้ว
ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความ
ใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผล
จํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น
ข้อ 22 ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยออกเป็นหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ 23 ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม
เพื่อการเลี้ยงชีพทุกประเภท
ข้อ 24 การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวม
มีกําไรสะสมและจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่าย
เงินปันผลนั้น
ในการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละครั้ง ให้เลือกจ่าย
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม
(2) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของกําไรสะสมดังกล่าว หรือกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า
[[8]](#footnote-8)3ให้นําความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการจ่ายเงินปันผลของ
กองทุนรวมเพื่อการออม และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน โดยอนุโลม
ข้อ 25 ในกรณีที่กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นในลักษณะเดียวกัน
จากการลงทุนในทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินดังกล่าวจ่ายเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม อย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปีบัญชีที่ได้รับประโยชน์ตอบแทน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) หน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและ
เสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(3) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หรือหน่วยทรัสต์ตาม (2) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียน
เพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น
(4) หน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หน่วยทรัสต์ตาม (2)
หรือตราสารตาม (3) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(2) กองทุนรวมเพื่อการออม
ส่วนที่ 3/1[[9]](#footnote-9)1
เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 25/1 เพื่อประโยชน์ในการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องมือดังกล่าวที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงาน ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นตามข้อ 25/2 และข้อ 25/3
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงได้ว่า กองทุนรวมใดไม่มีความเสี่ยงด้าน
สภาพคล่อง ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 25/2 เครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามข้อ 25/1 ต้องเป็นไปตามหลักการโดยครบถ้วนอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มีการกําหนดให้ผู้ที่ทํารายการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในวันที่มีปริมาณการซื้อ
หรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมถึงระดับมีนัยสําคัญ หรือมีการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนเกินจํานวน
ที่กําหนด หรือมีการขายหน่วยลงทุนก่อนครบระยะเวลาที่กําหนด เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจาก
การทําธุรกรรมของกองทุนรวมเพื่อรองรับการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนนั้นได้
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถจํากัดปริมาณการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของ
แต่ละกองทุนรวมให้สอดคล้องกับสภาพคล่องของกองทุนรวมในแต่ละขณะได้
(3) กรณีทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หรือไม่สามารถจําหน่ายได้ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่า
หน่วยลงทุนให้สอดคล้องกับกรณีดังกล่าว
(4) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนได้หากเห็นว่า
มีความจําเป็นและการดําเนินการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม
ข้อ 25/3 ในการจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามข้อ 25/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามวิธีการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดให้ผู้ลงทุนเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ
หลายอย่างดังนี้
(ก) การกําหนดค่าธรรมเนียมการขายคืนที่ไม่เป็นไปตามปริมาณหรือระยะเวลา
ที่กําหนด (liquidity fee)
(ข) การปรับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิด้วยสูตรการคํานวณที่สะท้อนต้นทุนในการ
ซื้อขายทรัพย์สินของกองทุนรวม (swing pricing)
(ค) การเพิ่มค่าธรรมเนียมการซื้อขายหน่วยลงทุนที่สะท้อนต้นทุนในการซื้อขาย
ทรัพย์สินของกองทุนรวม (anti-dilution levies – ADLs)
(2) กําหนดเงื่อนไขหรือข้อจํากัดในการรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน โดยวิธีการ
อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังนี้
(ก) การกําหนดระยะเวลาที่ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนการขายคืนหน่วยลงทุน
(notice period)
(ข) การกําหนดเพดานการขายคืนหน่วยลงทุน (redemption gate)
(3) กําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนในกรณีทรัพย์สินที่กองทุนรวมมีการลงทุนโดยมีนัยสําคัญต่อมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หรือไม่สามารถจําหน่ายได้ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถใช้วิธีการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนโดยบันทึกมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็น 0 และ
ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน ณ วันที่ได้บันทึกมูลค่าดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงิน
ภายหลังจากที่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินนั้นได้
(4) กําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถระงับการซื้อขายหน่วยลงทุน
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผล
ว่าจําเป็นต้องระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ อันเนื่องจาก
เหตุจําเป็นตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ ทั้งนี้ การระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการ
เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันเวลาดังกล่าวจากสํานักงาน
1. ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวม
ได้อย่างสมเหตุสมผล
2. ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้อย่างเป็นธรรม
และเหมาะสม
3. มีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม
ในกรณีที่มีการระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนตาม (4) (ข) วรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบโดยทันที ทั้งนี้ หากเป็นการระงับการซื้อขายหน่วยลงทุน
เกินกว่า 1 วันทําการ สํานักงานอาจพิจารณาสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการโดยประการใด ๆ
เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมหรือเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจการจัดการกองทุนรวม
(ค) กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ และมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ
1. ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนไม่สามารถเปิดทําการซื้อขาย
ได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์
แห่งนั้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
2. มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี
และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ
3. มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน
ที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่เหนือการควบคุมของบริษัทจัดการกองทุนรวม
และผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นชอบด้วยแล้ว
ข้อ 25/4 ในการจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
ของกองทุนรวมตามประกาศนี้ หากปรากฏว่าการดําเนินการตามเครื่องมือดังกล่าวจะขัดหรือแย้งกับ
การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้น
การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ขัดหรือแย้งนั้น
(1) กรณีที่เป็นเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตามข้อ 25/3(1) ได้แก่ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน และการเก็บค่าธรรมเนียม
ในเรื่องดังกล่าวที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) กรณีที่เป็นเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตามข้อ 25/3(2) หรือ (4) ได้แก่ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการส่งคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน และการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนในเรื่องดังกล่าวที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ส่วนที่ 4
การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 26 การควบรวมกองทุนรวมต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม
ที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม
ข้อ 27 กองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการและข้อผูกพัน ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการควบรวมกองทุนรวมระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เดียวกัน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับ
มติเสียงข้างมากของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว
(2) กรณีการควบรวมกองทุนรวมระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) แตกต่างกัน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับ
มติพิเศษของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ 28 สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงในการควบรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ
โดยวิธีการนั้นต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คํานึงถึง
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในเวลาก่อนหน้า
การควบรวมกองทุนรวม ตลอดจนโอกาสในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวม
ของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย
ส่วนที่ 5
การเลิกกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 29 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามที่กําหนด
ในข้อ 30 เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 รายในวันทําการใด
(2) กรณีกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมดังนี้
(ก) กองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม
(ข) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สิน
เป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และกองทุนรวมดังกล่าวมี
ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม กองทุนบําเหน็จ
บํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเท่านั้น
(3) กรณีที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการ
ซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) การพิจารณาระยะเวลาการขายคืนหน่วยลงทุน ให้พิจารณาจากเฉพาะในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกองทุนรวมเปิดให้รับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้น
ความใน (3) วรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าการเลิกกองทุนรวมจะไม่เป็นประโยชน์ต่อ
ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่เนื่องจากกองทุนรวมยังคงมีทรัพย์สินคงเหลือที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่อง
อย่างเพียงพอ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการขายคืนนั้น
(4) กรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้วมีความเชื่อ
โดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าจะมีการขายคืนหน่วยลงทุนตาม (3) วรรคหนึ่ง และการเลิกกองทุนรวมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม
ความในวรรคหนึ่ง (3) และ (4) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมตลาดเงิน
(2) กองทุนรวมดัชนี
(3) กองทุนรวมอีทีเอฟ
(4) กองทุนรวมหน่วยลงทุน
(5) กองทุนรวมฟีดเดอร์
ข้อ 30 ในกรณีที่ปรากฏเหตุเลิกกองทุนรวมตามข้อ 29 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว
(2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามขั้นตอน
และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
หมวด 3
อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 31 ในการจัดการกองทุน ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อให้มีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของลูกค้าที่เป็นกองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 32 ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ
ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้ หรือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนหรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
ข้อ 33 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุจําเป็นโดยไม่สามารถปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้หรือหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอื่นใดที่ออกตามประกาศนี้ สําหรับ
การจัดการกองทุนรวมใดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สํานักงาน
มีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุน
ในประเทศไทยให้กับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่า
การขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน
ในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country)
ข้อ 34 เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือในกรณีที่มีความจําเป็น
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงินให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ไม่เกินกว่า 20 วันทําการติดต่อกัน
ข้อ 35 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติ
ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้
(1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือข้อผูกพันที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(2) มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนโดยบริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ปฏิบัติหรือดูแลให้มี
การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามที่
กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน
(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หากปรากฏข้อเท็จจริงว่ามี
ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ระบุไว้ในโครงการ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที
ข้อ 36 เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์
ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏ
ข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวม
กระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด
(1) กองทุนรวมมีการจัดการที่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือ
เงื่อนไขตามที่ประกาศเกี่ยวข้องกําหนด แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหา
สาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดการกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) การจัดการกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้อง
กับตลาดทุน
(3) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทย
โดยรวม
(4) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้
ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบ
การตัดสินใจลงทุน
(5) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน
อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
(2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง
(3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม
บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 37 ในกรณีที่ยังไม่มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมตามข้อ 6 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวซึ่งใช้บังคับอยู่
ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ จนกว่าจะได้มีหลักเกณฑ์ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงาน
ข้อ 38 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม
พ.ศ. 2558 หรืออ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่
17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ 39 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หรือที่ใช้บังคับอยู่
ตามบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออก
หรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 36/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4)
ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-1)
2. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)
ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565) [↑](#footnote-ref-2)
3. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)
ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565) [↑](#footnote-ref-3)
4. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-4)
5. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-5)
6. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-6)
7. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-7)
8. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 36/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4)
ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-8)
9. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-9) | 919 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 14/2565
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 8/1”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
“ข้อ 8/1 คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามข้อ 8(3) (ก) หมายความว่า ผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการลงทุน (professional investor) ดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ธนาคารพาณิชย์
(3) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4) บริษัทเงินทุน
(5) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(6) บริษัทหลักทรัพย์
(7) บริษัทประกันวินาศภัย
(8) บริษัทประกันชีวิต
(9) กองทุนรวม
(10) กองทุนส่วนบุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนดังนี้
(ก) ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (9) หรือ (11) ถึง (21)
(ข) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (21)
(ค) ผู้จัดการกองทุน หรือผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(ง) ผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติด้านฐานะทางการเงินเทียบเท่าผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(จ) ผู้ลงทุนอื่นใดตามข้อ 5(26) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่
(11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(13) กองทุนประกันสังคม
(14) กองทุนการออมแห่งชาติ
(15) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(16) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(17) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(18) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(19) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(20) นิติบุคคลประเภทบรรษัท
(21) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (20) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 75
ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(22) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (21)”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 920 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๖/๒๕๖๖
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๔)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. ๓๖/๒๕๖๖
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ ๔)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” และคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ในข้อ ๓ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๑/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล
ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔
““กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน
ในลักษณะของกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนตามประกาศการลงทุน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ ๒๔ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. ๑๑/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๒๙ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๖๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้นําความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม
เพื่อการออม และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน โดยอนุโลม”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
(นางพรอนงค์ บุษราตระกูล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 921 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 22/2566เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่ 3)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) มาตรา 34 และมาตรา 113แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 56 มาตรา 92 วรรคสอง มาตรา 98(4) (5)และ (8) มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 103(9) และ (10) มาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 114มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 มาตรา 119(6) มาตรา 124 วรรคหนึ่ง และมาตรา 130วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 124/1วรรคสอง และมาตรา 140/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562และมาตรา 133 วรรคสอง มาตรา 134 และมาตรา 135 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(3) และ (5) และมาตรา 24วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 รายการขออนุญาตหรือแจ้งต่อสํานักงานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 30/2564เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 11/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 และให้ใช้ภาคผนวก 1 รายการขออนุญาตหรือแจ้งต่อสํานักงานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 1 รายการขออนุญาตหรือแจ้งต่อสํานักงานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 30/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564 แทน
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566
(นางพรอนงค์ บุษราตระกูล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 922 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2564 เรื่อง การจัดทำและส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ของบริษัทที่ไม่สามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 34/2564
เรื่อง การจัดทําและส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ของบริษัทที่ไม่สามารถ
จัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจําปี เนื่องจากสถานการณ์การระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมที่มีการรวมตัวกันของบุคคลจํานวนมาก โดยมีการออกประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ให้บริการจัดประชุม ประกอบกับการเปลี่ยนการจัดประชุมเป็นวิธีการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อาจไม่สามารถดําเนินการได้ในเวลาอันจํากัด เป็นเหตุให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่สามารถจัดประชุมสามัญประจําปีผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งผู้สอบบัญชีได้ จึงมีเหตุจําเป็นและสมควรในการผ่อนผันเกี่ยวกับการจัดทําและส่งงบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงานตามมาตรา 56
ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่สามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจําปีเพื่อแต่งตั้งผู้สอบบัญชีได้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)ให้บริษัทส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ซึ่งผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานและได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทดังกล่าวต่อสํานักงานได้ โดยบริษัทต้องเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจําปี 2564 แต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายดังกล่าวในการประชุมที่จะจัดขึ้นต่อไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 923 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 41/2564
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการ
จัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35(6) มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 และมาตรา 67 และมาตรา 69 วรรคหนึ่ง (11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“โครงการจัดการลงทุน” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ลงนามร่วมกัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อการเสนอขายกองทุนรวมระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย (Mutual Recognition of Funds between Hong Kong Special Administrative Regionof the People's Republic of China and Thailand (HK-TH MRF))
“หน่วยของโครงการจัดการลงทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ของโครงการจัดการลงทุนหรือที่ออกภายใต้อีทีเอฟต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน หรือธุรกรรมทางการเงิน
(1) หุ้นของบริษัท (investment company)
(2) ใบทรัสต์ของทรัสต์ (unit trust)
(3) ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการจัดการลงทุน
“ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ” (CIS operator) หมายความว่า ผู้รับผิดชอบ
ในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุน
“แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน
“หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแล
ที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุน หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน
หมวด ๑ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับอํานาจของสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน และโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับการดําเนินการตามข้อกําหนดในประกาศนี้
หมวด ๒ การขออนุญาต และการปฏิบัติหน้าที่ของ
ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ ในการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย
ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวโดยอนุโลม และยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(1) คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน ตามแบบ 35 - HK-TH MRF ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(2) เอกสารซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการจัดการลงทุนที่จะเสนอขายหน่วยโดยเอกสารดังกล่าวต้องมีลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล
ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นมานั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ได้ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว
(3) เอกสารที่แสดงว่าโครงการจัดการลงทุนได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่
(4) หนังสือแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์เพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน และหนังสือแต่งตั้งตัวแทน (local representative) ในประเทศไทยของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
ข้อ ๕ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการแจ้งต่อสํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นการล่วงหน้า โดยปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่มีการควบรวมหรือเลิกการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในต่างประเทศ ให้แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนวันที่การควบรวมจะมีผลหรือก่อนวันที่จะสิ้นสุดการเสนอขายในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
(ก) เหตุผลของการควบรวมหรือเลิกการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในต่างประเทศ
(ข) ข้อกําหนดในโครงการจัดการลงทุนที่กําหนดให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการสามารถควบรวมหรือเลิกการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในต่างประเทศ
(ค) ผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ
(ง) การดําเนินการอื่นใดเท่าที่จําเป็น เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(จ) ประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น (ถ้ามี)
(2) กรณีที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่ประสงค์ที่จะเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในประเทศไทยอีกต่อไปและมิใช่กรณีตาม (1) ให้แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนวันที่จะสิ้นสุดการเสนอขายดังกล่าว โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
(ก) เหตุผลที่จะไม่เสนอขายอีกต่อไป
(ข) ผลที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการเสนอขาย
(ค) การดําเนินการที่เปลี่ยนแปลงไปของโครงการจัดการลงทุนเมื่อสิ้นสุดการเสนอขาย และผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ
(ง) การดําเนินการอื่นใดเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(จ) ประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น (ถ้ามี)
หมวด ๓ การให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน
ของบริษัทหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ในการให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน และโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 924 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมภายใต้โครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 42/2564
เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมภายใต้โครงการจัดการลงทุน
ระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117 และมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“โครงการจัดการลงทุน” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ลงนามร่วมกัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อการเสนอขายกองทุนรวมระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย (Mutual Recognition of Funds between Hong Kong Special Administrative Regionof the People's Republic of China and Thailand (HK-TH MRF))
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่เสนอขายภายใต้โครงการจัดการลงทุน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“MoU” หมายความว่า Memorandum of Understanding (MoU) between the Securities and Futures Commission of Hong Kong (SFC) and the Securities and Exchange Commission of Thailand (SEC) Concerning Mutual Recognition of Covered Funds and Covered Management Companies and related Cooperation ซึ่งเปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
หมวด ๑ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับอํานาจของสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ
การดําเนินการตามข้อกําหนดในประกาศนี้
หมวด ๒ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงแนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้
ข้อ ๕ ในการจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบปกติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๖ ในการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริษัทจัดการดูแลให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะใน Appendix B - I - SFC Circular แนบท้าย MoU
(2) ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมและประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว สําหรับกรณีที่เป็นการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนในต่างประเทศที่มิได้มีสัญชาติไทยหรือผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account)
หมวด ๓ การเสนอขายกองทุนรวมในต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ในการเสนอขายกองทุนรวมตามประกาศนี้ในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการดําเนินการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและเสนอขายกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ใน Appendix B - I - SFC Circular แนบท้าย MoU โดยให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 925 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 32/2563 เรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม และตราสารเพื่อความยั่งยืน | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สม. 32/2563
เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย
ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม
และตราสารเพื่อความยั่งยืน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายตราสารดังต่อไปนี้ และได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(1) ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(2) ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม
(3) ตราสารเพื่อความยั่งยืน
ตราสารตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน และศุกูก ที่เสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินในประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 926 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็น
ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 123 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวม หากบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ไปลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
(5) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อ ๔ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่ บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการได้ เว้นแต่กองทุนรวมดังกล่าวมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด ๆ ที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
(2) เป็นกองทุนรวมตามข้อ 3(2) (3) และ(4)
ข้อ ๕ ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ไปลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมที่ไปลงทุนในลักษณะที่ซ้ําซ้อนกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมอื่น
(2) เปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 6 และข้อ 7
(3) ไม่ใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุนรวมที่ไปลงทุนในกองทุนรวม
มิให้นําความในวรรคหนึ่ง (3) มาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ในโครงการของกองทุนรวมที่ไปลงทุน
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ พร้อมทั้งอัตราส่วนการลงทุนในกรณีดังกล่าวไว้ในส่วนนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) ไว้ในส่วนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงตามข้อ 5(3) ไว้ในส่วนการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและ ส่วนข้อมูลกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมที่ไปลงทุน
(1) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ
(2) ข้อมูลการเก็บค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นตามข้อ 6(1)
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 927 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 2/2563 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 2/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็น
ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 123 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อการออม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดการ” และคําว่า “โครงการ” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
“ “กองทุนรวมเพื่อการออม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการออมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น
ที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มิใช่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 3(2) (3) หรือ (4) 87/ (2) เป็นการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการออมที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการในทอดแรก และกองทุนรวมอื่นนั้นอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด ๆ ที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการต่อไปได้อีกไม่เกิน 1 ทอด
(3) เป็นการลงทุนของกองทุนรวมที่มิใช่กองทุนรวมเพื่อการออม ที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ และกองทุนรวมอื่นนั้นต้องไม่มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด ๆ ที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอีก
คําว่า “กองทุนรวมเพื่อการออม” ในวรรคหนึ่ง ไม่ให้หมายความรวมถึงกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป | 928 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 68/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 68/2564
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็น
ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อการออม” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกัน
เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 3(2) (3) หรือ (4)
87/ (2) เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น และกองทุนรวมอื่นนั้นมีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด ๆ ที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการต่อไปได้อีกไม่เกิน 1 ทอด”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
“ข้อ 4/1 กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ต้องไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมอื่นที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว
(2) กองทุนรวมที่เป็นผู้ถือหน่วยของกองทุนรวมอื่นตาม (1)”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ข้อ 5 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ในส่วนข้อมูลกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมที่ไปลงทุน
(1) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ
(2) ข้อมูลการเก็บค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงตามข้อ 5(3)
(4) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นตามข้อ 6(1)
ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (4) ไว้ในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมที่ไปลงทุนด้วย”
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 929 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2565
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็น
ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 68/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ไม่เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3)”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 68/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564
“ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับกรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น โดยให้ดําเนินการตามข้อ 7/1”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
“ข้อ 7/1 กรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ระบุข้อมูลตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมดังนี้
(ก) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุไว้ในส่วนข้อมูลโครงการ
(ข) กรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ระบุไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินกิจการของกองทุนรวม
(2) เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 6(1) ผ่านระบบการเปิดเผยสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมีหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565”
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 930 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 10/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 123 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(ยกเลิก
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวม หากบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ไปลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ 3( ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ข้อ 4( บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1)( ไม่เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 3(1) (2) หรือ (3)
(2) เป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น และกองทุนรวมอื่นนั้นมีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด ๆ ที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการต่อไปได้อีกไม่เกิน 1 ทอด
ข้อ 4/1( กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ต้องไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมอื่นที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว
(2) กองทุนรวมที่เป็นผู้ถือหน่วยของกองทุนรวมอื่นตาม (1)
ข้อ 5 ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ไปลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมที่ไปลงทุนในลักษณะที่ซ้ําซ้อนกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมอื่น (2) เปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 6 และข้อ 7 (3) ไม่ใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุนรวมที่ไปลงทุนในกองทุนรวม (ยกเลิก
ข้อ 6 ให้บริษัทจัดการระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ในโครงการของกองทุนรวมที่ไปลงทุน (1) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ พร้อมทั้งอัตราส่วนการลงทุนในกรณีดังกล่าวไว้ในส่วนนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (2) ข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) ไว้ในส่วนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (ยกเลิก
ข้อ 7( ให้บริษัทจัดการระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ในส่วนข้อมูลกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมที่ไปลงทุน (1) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ (2) ข้อมูลการเก็บค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงตามข้อ 5(3)
(4) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นตามข้อ 6(1)
ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (4) ไว้ในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมที่ไปลงทุนด้วย
(ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับกรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น โดยให้ดําเนินการตามข้อ 7/1
ข้อ 7/1( กรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ระบุข้อมูลตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมดังนี้
(ก) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้ระบุไว้ในส่วนข้อมูลโครงการ
(ข) กรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ระบุไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินกิจการของกองทุนรวม
(2) เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 6(1) ผ่านระบบการเปิดเผยสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่มีหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 931 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2563 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดประชุมสามัญประจำปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 23/2563
เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้น
ในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมที่มีการรวมตัวกันของบุคคลจํานวนมาก ซึ่งรวมถึงการประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานด้วย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๒ ในการจัดประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการจัดให้มีการประชุมภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของกองทุนรวม หรือภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงกําหนดหลัง
ในกรณีที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ให้บริษัทจัดการจัดประชุมตามระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนดเพิ่มเติม
ข้อ ๓ ในกรณีการประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเป็นการประชุมเพื่อรายงานให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเท่านั้น โดยไม่มีการขอมติ
จากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจดําเนินการด้วยวิธีการอื่นแทนการจัดประชุมสามัญประจําปีตามข้อ 2 เพื่อรายงานให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การจัดการกองทุนรวมในเรื่องที่สําคัญ และแนวทางการจัดการกองทุนรวมในอนาคต
(2) ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา โดยอย่างน้อยต้องมีงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีแล้ว
(3) การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของกองทุนรวม และค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชี
ให้บริษัทจัดการจัดให้มีช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทจัดการได้ และในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีการสอบถามข้อมูลใด ๆ ให้บริษัทจัดการจัดทําสรุปประเด็นสําคัญในลักษณะคําถามและคําตอบเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ให้บริษัทจัดการเผยแพร่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งและวรรคสองผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๔ ในการจัดการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 2 ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 932 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 19/2559
เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือ
จะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 16 และข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 57/2552 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ประกาศนี้เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ตามข้อ 3 และข้อ 4
(2) การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยเป็นการทั่วไป ตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8
ข้อ ๓ ให้บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นแบบคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทต่างประเทศมีหรือจะมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) กรณีที่บริษัทต่างประเทศมีหรือจะมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดต่างประเทศ ให้ยื่นคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกเพื่อการจดทะเบียนหุ้นทีเสนอขายนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน ให้ยื่นคําขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามแบบดังนี้ ที่แสดงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามข้อ 4
1. แบบ 35-FE-1 ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก
2. แบบ 35-FE-2 ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม 1.
(ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (ก) หรือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่น ให้ยื่นคําขออนุญาตตามแบบที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน โดยต้องเป็นไปตามแบบที่กําหนดไว้ใน (ก) 1. หรือ 2. แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามข้อ 4
ข้อ ๔ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยบริษัทต่างประเทศตามข้อ 3(2) ให้มีดังต่อไปนี้
(1) เอกสารซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทต่างประเทศที่จะเสนอขายหลักทรัพย์
ในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นมานั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่บริษัทยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว
(2) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย)
(ข) เลขประจําตัวประชาชน หรือเลขที่หนังสือเดินทาง
(ค) การดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทอื่น
(3) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(4) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทให้ออกหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(5) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน
(6) สําเนาสัญญาแต่งตั้งให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี)
(7) สําเนาหนังสือแต่งตั้งหรือมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทนในประเทศไทยของบริษัทต่างประเทศ
(8) หนังสือรับรองจากบริษัทต่างประเทศเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหุ้น ทั้งนี้ เฉพาะกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก
(9) สําเนาหนังสือที่แสดงได้ว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตนั้นกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศนั้น
(10) สําเนาหนังสืออนุญาตให้เพิ่มทุนจากหน่วยงานที่กํากับดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาต (ถ้ามี)
(11) งบการเงินและงบการเงินรวมประจํารอบปีบัญชีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (ถ้ามี)
(12) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรหรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้บริษัทต่างประเทศไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งบางรายการ บริษัทต่างประเทศอาจขอผ่อนผันการจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าวได้
ในการพิจารณาผ่อนผันตามวรรคสอง สํานักงานจะคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผัน หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าวประกอบด้วย
ข้อ ๕ การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ผู้เสนอขายมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานผลการขายตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8
ข้อ ๖ กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 5(2) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-FE-1 ที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๗ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ให้บริษัทต่างประเทศตามข้อ 5(2) ที่เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวรายงานผลการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์นั้นโดยใช้แบบ 81-FE-1 ที่จัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน และต้องรายงานภายในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวในแต่ละครั้ง
(2) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ในกรณีที่มีการใช้สิทธิในลักษณะต่อเนื่องตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ
ข้อ ๘ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่สามารถรายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามข้อ 6 หรือข้อ 7 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นอาจขอผ่อนผันการรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะสามารถรายงานผลการขายนั้นได้มาพร้อมด้วย
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 933 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 34/2560 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | -ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 34/2560
เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือ
จะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานผลการขายตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 934 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 49/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) | -ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 49/2561
เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือ
จะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 และข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (11) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(11) งบการเงินของผู้ขออนุญาตดังต่อไปนี้
(ก) กรณีมีงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เป็นงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดก่อนยื่นคําขออนุญาต ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชี 3 ปีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (ถ้ามี)
(ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (ถ้ามี)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 935 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 4/2562 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 4/2562
เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือ
จะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 และข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ที่ทําให้บริษัทต่างประเทศ ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งได้ บริษัทต่างประเทศอาจขอผ่อนผันการไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 49/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 936 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 22/2547 เรื่อง แบบงบการเงินสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | #### ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 22/2547
เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
==========================================================================================================================================================================================================================================================================================================================
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 46/2545 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2545
“ข้อ 1/1 ในประกาศนี้
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์กับสํานักงาน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 46/2545 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2545
“ข้อ 2/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะยื่นงบการเงินตามข้อ 2 ต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นงบการเงินดังกล่าวผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป
-----------------------------------------------------------------
ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
### เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 937 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 46/2545 เรื่อง แบบงบการเงินสำหรับบริษัทหลักทรัพย์
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่สธ/น. 46/2545
เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.6/2543 เรื่อง แบบงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ.44/2543 เรื่อง แบบงบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํางบการเงินซึ่งประกอบด้วยงบดุล งบกําไรขาดทุนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และงบกระแสเงินสด ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้โดยถือปฏิบัติตามคําชี้แจงท้ายประกาศนี้ด้วย
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ใดได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 อยู่ด้วยงบการเงินที่จัดทําตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 938 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ/น. 26/2549 เรื่อง แบบงบการเงินสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 26/2549
เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ/น. 46/2545 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ/น. 22/2547 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์กับสํานักงาน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํางบการเงินตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยถือปฏิบัติตามคําชี้แจงท้ายประกาศนี้ด้วย
ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะยื่นงบการเงินตามข้อ 3 ต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นงบการเงินดังกล่าวผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549
(นายประสงค์ วินัยแพทย์)
รองเลขาธิการ
รักษาการแทนเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 939 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 22/2559 เรื่อง แบบงบการเงินสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 22/2559
เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 106 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/ข/น. 53/2553 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
“ข้อ 4/1 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 4 เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ ซึ่งเข้าข่ายเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะของสภาวิชาชีพบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวอาจจัดทํางบการเงินตามแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ แบบขั้นเดียว ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากําหนดไว้ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่าด้วยกําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน ก็ได้
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน และไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง
(2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบและคําอธิบายแบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/ข/น. 53/2553 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้แบบและคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 940 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 6/2562 เรื่อง แบบงบการเงินสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 6/2562
เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 106 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบและคําอธิบายแบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/ข/น. 53/2553 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 22/2559 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้แบบและคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะจัดทํางบการเงินตามแบบและคําอธิบายแบบงบการเงินที่แนบท้ายประกาศนี้สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบและคําอธิบายแบบงบการเงินที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยไม่ต้องจัดทํางบการเงินตามแบบและคําอธิบายแบบงบการเงินที่แนบท้ายประกาศ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/ข/น. 53/2553 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 22/2559 เรื่อง แบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 941 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 11/2560
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
คําว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” และ “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน
“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“ประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๒ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป และในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตามหมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตามลักษณะพิเศษ แห่งประกาศหนังสือชี้ชวน
ของกองทุนรวมทั่วไป ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมดังกล่าวด้วย เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้
ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นไปตามแบบ 123-1 (UI) แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ให้เป็นไปตามแบบและคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(2) แสดงผลด้วยรูปแบบที่สามารถอ่านหรือสื่อสารได้อย่างชัดเจนในกรณีที่มีการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๔ ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีนโยบายการลงทุนในธุรกรรมดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในธุรกรรมดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม โดยให้ระบุข้อมูลประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมในกรณีที่กองทุนรวมนั้นได้รับผลกระทบทางลบภายใต้สมมติฐานและความเชื่อมั่นที่สมเหตุสมผล (worst-case scenario) จากการทําธุรกรรมดังกล่าว
(1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม
(3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม
(4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ
ข้อ ๕ ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีนโยบายการลงทุนในธุรกรรมตามข้อ 4(1) (2) (3) หรือ (4) ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูล
ฐานะการลงทุนสูงสุด (maximum limit) ไว้ในรายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมด้วย
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 942 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 37/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 37/2560
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 (UI) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้แบบ 123-1 (UI) ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 943 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 9/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 9/2561
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เป็นไปตามแบบ 123-1 (UI) แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
“ข้อ 3/1 หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้มีข้อมูลคําเตือนใต้ชื่อกองทุนรวมในจุดแรกที่สามารถเห็นได้ชัดเจนดังต่อไปนี้ ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในหนังสือชี้ชวน
(1) คําเตือนว่า “กองทุนนี้ไม่ถูกจํากัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น”
(2) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรืออายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด โดยมีการกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา (ระบุ x วัน/เดือน/ปี) ได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก””
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 37/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้แบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 1 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 944 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 66/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 66/2561
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่องหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 9/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ บริษัทจัดการสามารถยื่นหนังสือชี้ชวนตามแบบและรายการของหนังสือชี้ชวนที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ในเอกสารรายการประเภทของหนังสือชี้ชวนที่บริษัทจัดการสามารถยื่นต่อสํานักงานท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่บริษัทจัดการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือชี้ชวนดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 945 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 9/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 9/2562
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
“ข้อ 5/1 ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีการกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ ไว้แตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมด้วย
(1) การคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 9/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 946 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 51/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ(ฉบับที่ 6) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 51/2563
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 947 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 70/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 7) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 70/2564
เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป และในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมใดตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง (2) (ข) ของประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมนั้นที่กําหนดในประกาศดังกล่าวด้วย เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกแบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้แบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวแนบท้ายประกาศนี้เป็นแบบ 123-1 (UI) และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 948 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 11/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 11/2560เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(ฉบับประมวล)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ คําว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” และ “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง”ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “ประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป”( หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ 2( ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป และในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมใดตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง (2) (ข) ของประกาศหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมทั่วไป ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมนั้นที่กําหนดในประกาศดังกล่าวด้วย เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้
ข้อ 3 หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1)( เป็นไปตามแบบ 123-1 (UI) แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว (2) แสดงผลด้วยรูปแบบที่สามารถอ่านหรือสื่อสารได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่มีการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน
ข้อ 3/1( หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้มีข้อมูลคําเตือนใต้ชื่อกองทุนรวมในจุดแรกที่สามารถเห็นได้ชัดเจนดังต่อไปนี้ ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในหนังสือชี้ชวน
(1) คําเตือนว่า “กองทุนนี้ไม่ถูกจํากัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น”
(2) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรืออายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวมหรือกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด โดยมีการกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา (ระบุ x วัน/เดือน/ปี) ได้ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก”
ข้อ 4 ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีนโยบายการลงทุนในธุรกรรมดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในธุรกรรมดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม โดยให้ระบุข้อมูลประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมในกรณีที่กองทุนรวมนั้นได้รับผลกระทบทางลบภายใต้สมมติฐานและความเชื่อมั่นที่สมเหตุสมผล (worst-case scenario) จากการทําธุรกรรมดังกล่าว (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ
ข้อ 5 ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีนโยบายการลงทุนในธุรกรรมตามข้อ 4(1) (2) (3) หรือ (4) ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลฐานะการลงทุนสูงสุด (maximum limit) ไว้ในรายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมด้วย
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-----------------------SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal)
SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal) | 949 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 44/2561 เรื่อง บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 44/2561
เรื่อง บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซี
ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2561 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และข้อ 36 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้คริปโทเคอร์เรนซีที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้เป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถรับเป็นการตอบแทนหรือในการทําธุรกรรมได้ตามหลักเกณฑ์ ในประกาศดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 950 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 12/2562 เรื่อง บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สจ. 12/2562
เรื่อง บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซี
ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2561 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และข้อ 36 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบัญชีแนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 44/2561 เรื่อง บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 951 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 14/2558
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและ
จัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 22(3) ข้อ 23 และข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2551 เรื่อง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล
“กองทุนรวมพิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
“ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าที่มิพึงเปิดเผย ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“การลงทุน” หมายความว่า การได้มา การจําหน่ายไป หรือการมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๔ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(1) การทําธุรกรรมเพื่อลูกค้าเกินความจําเป็น ให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกระทําที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามหมวด 3
(4) การควบคุมดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน ให้เป็นไปตามหมวด 4
หมวด ๑ การทําธุรกรรมเพื่อลูกค้าเกินความจําเป็น
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ในการกําหนดนโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 17 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายดังกล่าวให้ครอบคลุมในเรื่องการไม่ทําธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับคู่สัญญารายใดรายหนึ่งบ่อยครั้งเกินความจําเป็น (churning) ด้วย
หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้า
กับผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมพิเศษกับบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๗ บุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อกําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้หมายถึงบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) บุคคลที่บริษัทจัดการกําหนดว่าเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้องกับการกําหนดลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่บริษัทจัดการมีหน้าที่กําหนดตามข้อ 18(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ
(3) บุคคลที่อยู่ในวิสัยที่บริษัทจัดการจะทราบได้ว่าหากบริษัทจัดการเข้าทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลดังกล่าว ผลประโยชน์ที่เกิดจากการทําธุรกรรมในท้ายที่สุดจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนตามที่กําหนดใน (1) และ (2)
บุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีอื่นใดนอกจากวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงบุคคลใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดไม่ว่าโดยทางสัญญา การถือหุ้น การควบคุม หรือการบริหารจัดการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวกับผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าว อยู่ในข่ายที่อาจทําให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความไม่เป็นธรรม
ข้อ ๘ ในกรณีที่เกี่ยวกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุนตามมาตรา 17(2) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ให้ถือว่าการทําธุรกรรมระหว่างนโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย
ส่วน ๑ การจัดทําเอกสารหลักฐานการทําธุรกรรม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจนั้นเองหรือกับบุคลที่เกี่ยวข้อง นอกจากผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามที่กําหนดในข้อ 22(1) และ (2) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นให้ลูกค้าทราบอย่างเพียงพอและเหมาะสมก่อนการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีเหตุอันสมควรในการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจนั้นเองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามที่กําหนดในข้อ 22 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีเอกสารหลักฐานที่แสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันสมควรในการทําธุรกรรมเช่นนั้น และความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว ทุกครั้งที่มีการทําธุรกรรมนั้น และจัดเก็บเอกสารหลักฐานไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์เฉพาะสําหรับการทําธุรกรรมเพื่อกองทุน
กับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑ ในการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ 12
(2) กรณีการตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ 13
(3) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) และ (2) ให้ปฏิบัติตามข้อ 15
ข้อ ๑๒ การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร และได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการทําธุรกรรมนั้น
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการเป็นผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการ โดยบริษัทจัดการจะรับค่าตอบแทนในการเป็นผู้ชําระบัญชีนั้นด้วย แต่ทั้งนี้ หากการรับค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15(2) บริษัทจัดการสามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมก่อนการทําธุรกรรมนั้น
ข้อ ๑๓ การตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ก่อนการทําธุรกรรม
ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งมีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลขอความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพก่อนเข้าทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่งของแต่ละรายนโยบายการลงทุน
บริษัทในเครือตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง
(1) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ หรือ
(2) บริษัทที่บริษัทจัดการถือหุ้นเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
ข้อ ๑๔ การขอความยินยอมตามข้อ 13 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะขอความยินยอมจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เป็นการทั่วไปไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลก่อนก็ได้
ข้อ ๑๕ การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการทําธุรกรรมดังกล่าวทุกครั้ง เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการสามารถดําเนินการได้ทันที
(1) การทําธุรกรรมการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินตามมูลค่ายุติธรรมในตลาดรองที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ
(2) การทําธุรกรรมการลงทุนหรือการใช้บริการที่มีราคา ค่าตอบแทนหรือค่าบริการเป็นไปตามอัตราที่สามารถอ้างอิงได้หรือเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าที่ใช้กับธุรกรรมนั้น
ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการกําหนดนโยบายหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกําหนดราคาหรืออัตราที่จะใช้ในการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนโยบายหรือวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว บริษัทจัดการจะไม่ขอความเห็นชอบหรือไม่ขอความยินยอมก่อนการเข้าทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละครั้งตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งอีกก็ได้
หมวด ๓ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกระทําที่อาจมี
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ 23 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่กําหนดให้ต้องมีการเปิดเผยผลการทําธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ลูกค้าทราบอย่างเพียงพอและเหมาะสม ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในการทําธุรกรรมดังกล่าวดังต่อไปนี้
(1) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมกับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามข้อ 17
(2) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนส่วนบุคคลกับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติตามข้อ 18
ข้อ ๑๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมกับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อ 16(1) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยข้อมูลการทําธุรกรรมดังกล่าวต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(2) เปิดเผยข้อมูลการทําธุรกรรมดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นรายเดือน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรอบระยะเวลาบัญชีสําหรับกองทุนรวม และในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรอบระยะเวลาหกเดือนด้วย
การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่จําต้องเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
(1) การลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากกับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสถาบันการเงินเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา เพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนนั้น
(2) การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ข้อ ๑๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําข้อมูลการทําธุรกรรมตามข้อ 16(2)และแจ้งให้ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่ทําธุรกรรม ลักษณะของธุรกรรม มูลค่าของธุรกรรม ราคาต่อหน่วย (ถ้ามี) และอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล โดยให้ระบุว่าธุรกรรมดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นธุรกรรมกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกรณีใดตามประเภทธุรกรรมที่กําหนดไว้ในแบบที่สํานักงานกําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานตามข้อ 17(1) โดยอนุโลม
บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจกําหนดข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการจัดทําข้อมูลการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองกับลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ไว้เป็นอย่างอื่นก็ได้
หมวด ๔ การควบคุมดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๙ การกําหนดระเบียบปฏิบัติหรือมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของพนักงานตามข้อ 18(2) (ง) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ และเป็นไปตามประกาศของสมาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) ต้องมีลักษณะเป็นการควบคุมดูแลการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของพนักงาน ทั้งการลงทุนเพื่อบัญชีของพนักงานหรือเพื่อบัญชีที่พนักงานเป็นผู้มีอํานาจสั่งการในการลงทุน
(2) ต้องสามารถป้องกันมิให้พนักงานนําข้อมูลภายในที่ตนได้ล่วงรู้อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ
(3) ต้องกําหนดให้พนักงานแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบ ในกรณีที่พนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน มีบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนกับผู้ประกอบธุรกิจอื่น
(4) มีมาตรการที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าถึงข้อมูลการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานได้
พนักงานตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงพนักงานและลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจและให้หมายความรวมถึงกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศของสมาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 952 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 72/2558 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 72/2558
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและ
จัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 22(3) และข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บุคคลที่เกี่ยวข้องตามหมวดนี้ ให้หมายถึงบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) บุคคลที่บริษัทจัดการกําหนดว่าเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้องกับการกําหนดลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่บริษัทจัดการมีหน้าที่กําหนดตามข้อ 18(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ
(3) บุคคลที่อยู่ในวิสัยที่บริษัทจัดการจะทราบได้ว่าหากบริษัทจัดการเข้าทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลดังกล่าว ผลประโยชน์ที่เกิดจากการทําธุรกรรมในท้ายที่สุดจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนตามที่กําหนดใน (1) และ (2)”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 บุคคลที่เกี่ยวข้องตามหมวดนี้ ให้หมายถึงบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) บุคคลที่บริษัทจัดการกําหนดว่าเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้องกับการกําหนดลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่บริษัทจัดการมีหน้าที่กําหนดตามข้อ 18(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ
(3) บุคคลที่อยู่ในวิสัยที่บริษัทจัดการจะทราบได้ว่าหากบริษัทจัดการเข้าทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลดังกล่าว ผลประโยชน์ที่เกิดจากการทําธุรกรรมในท้ายที่สุดจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนตามที่กําหนดใน (1) และ (2)”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 การตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ก่อนการทําธุรกรรม
บริษัทในเครือตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงบริษัทดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ
(2) บริษัทที่บริษัทจัดการถือหุ้นเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) และ (4) ในวรรคสองของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
“(3) การลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก
(4) การลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งผู้ออกตราสารดังกล่าวเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกแผนภาพบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้แผนภาพบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุนที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 953 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 44/2559 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 44/2559
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและ
จัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 16(1) และ (6) ข้อ 19 ข้อ 22(1) และ (3) ข้อ 23 ข้อ 24 และข้อ 26(5) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” ท้ายบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้
““บุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการหรือกองทุน ตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) บุคคลที่บริษัทจัดการกําหนดว่าเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้องกับการกําหนดลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่บริษัทจัดการมีหน้าที่กําหนดตามข้อ 18(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ
(3) บุคคลที่อยู่ในวิสัยที่บริษัทจัดการจะทราบได้ว่าหากบริษัทจัดการเข้าทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลดังกล่าว ผลประโยชน์ที่เกิดจากการทําธุรกรรมในท้ายที่สุดจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลตาม (1) หรือ (2)
(4) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดไม่ว่าโดยทางสัญญา การถือหุ้น การควบคุม หรือการบริหารจัดการกับผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ดังกล่าว ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวอยู่ในข่ายที่อาจทําให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความไม่เป็นธรรม”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 72/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11 ในการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ 12
(2) การตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ 13
(3) การกําหนดนโยบายการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม ที่บริษัทจัดการซึ่งรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ 13/1
(4) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) (2) และ (3) ให้ปฏิบัติตามข้อ 15”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 72/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 การตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้กระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ก่อนการตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินรายดังกล่าว
ในการขอความยินยอมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องอธิบายให้ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบถึงความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่ง และเหตุผลที่เลือกบุคคลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
“ข้อ 13/1 การกําหนดนโยบายการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม ที่บริษัทจัดการซึ่งรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ให้กระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ก่อนการกําหนดนโยบายการลงทุนดังกล่าว
ในการขอความยินยอมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องอธิบายให้ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) เหตุผลในการกําหนดนโยบายการลงทุนดังกล่าว ซึ่งอย่างน้อยต้องคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดสําหรับลูกค้า
(2) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนตามนโยบายการลงทุนดังกล่าว
(3) รายละเอียดของค่าธรรมเนียมการจัดการที่บริษัทจัดการจะได้รับจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และกองทุนรวมหรือทรัสต์”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 การขอความยินยอมตามข้อ 13 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 13/1 วรรคหนึ่งบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะขอความยินยอมจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เป็นการทั่วไปไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลก่อนก็ได้”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 72/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๘ มิให้นําความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ มาใช้บังคับกับการตั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยสัญญาตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินยังไม่สิ้นสุดลง และเป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการตั้งนิติบุคคลดังนี้
(ก) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(ข) บริษัทที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
(2) เป็นการตั้งนิติบุคคลอื่นนอกเหนือจาก (1) และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้อธิบายให้ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบถึงความเกี่ยวข้องที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และเหตุผลที่เลือกนิติบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินแล้ว ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 954 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 17/2562 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 17/2562
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและ
จัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 139(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 16 ข้อ 19 และข้อ 22(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556และ ข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 69/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่
29 กันยายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 การทําธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม หรือได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการทําธุรกรรมดังกล่าวทุกครั้ง เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการสามารถดําเนินการได้ทันที
(1) การลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน โดยใช้ราคาที่เหมาะสมตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
(2) การใช้บริการที่ค่าตอบแทนหรือค่าบริการเป็นไปตามอัตราทั่วไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าที่ใช้กับบริการนั้น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 955 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 69/2558 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 69/2558
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและ
จัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 16(6) ข้อ 19 ข้อ 22 ข้อ 23 และข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
“ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการได้มาเพิ่มเติมหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามที่กําหนดในส่วนที่ 3”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3 หลักเกณฑ์เฉพาะสําหรับการทําธุรกรรม
เพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ข้อ 15/1 ข้อ 15/2 ข้อ 15/3 และข้อ 15/4
ในหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
“ส่วนที่ 3
หลักเกณฑ์เฉพาะสําหรับการทําธุรกรรม
เพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 15/1 ในส่วนนี้
“บุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตาม (1)
“กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้
(1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) ที่ไม่ใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 15/2 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่เข้าลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) ธุรกรรมดังกล่าวเป็นการได้มาเพิ่มเติมหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) เป็นธุรกรรมที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป หรือตั้งแต่ร้อยละสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ให้นับรวมมูลค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาหกเดือน ซึ่งเป็นธุรกรรมที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทํากับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันด้วย
ข้อ 15/3 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําธุรกรรมตามข้อ 15/2 ได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนอนุมัติการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวแล้ว โดยมติดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15/4
ในกรณีที่การทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่งเป็นธุรกรรมที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทํากับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในภาคผนวก นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ตรวจสอบและรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนเป็นการทําธุรกรรมกับลูกค้าทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transactions)
ข้อ 15/4 ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขออนุมัติการเข้าทําธุรกรรมตามข้อ 15/3 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องกระทําโดยการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน หรือโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
(2) จัดให้มีข้อมูลในหนังสือขอมติหรือหนังสือนัดประชุม แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการทําธุรกรรมตามข้อ 15/3 วรรคสอง ให้แนบเอกสารการตรวจสอบและรับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์ไปกับหนังสือขอมติหรือหนังสือนัดประชุมด้วย
(3) ในกรณีที่เป็นการขอมติโดยการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน องค์ประชุมต้องประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนหรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมด โดยมีหน่วยลงทุนนับรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม
(4) มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่อนุมัติการเข้าทําธุรกรรมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) กรณีที่ส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียง
(ข) กรณีที่เรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
การนับคะแนนเสียงตามวรรคหนึ่ง (4) ต้องไม่นับจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียในการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มแผนภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อ 15/1 ที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวกแนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 956 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 15/2558
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(7) (ข) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7(1) (3) และ (5) ข้อ 12(1) และ (8) ข้อ 14 และข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12(2) (3) และ (4) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
“รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์” หมายความว่า บทความหรืองานวิจัยที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําขึ้นเพื่อให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์ ความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(1) หลักเกณฑ์ทั่วไป ให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามหมวด 3
ในการรับจัดการเงินทุนของนิติบุคคลภายในกลุ่มกิจการเดียวกันของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ในการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีปฏิบัติตามข้อ 12(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ
ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 12(8) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ระบบบริหารความเสี่ยง
(2) ระบบควบคุมการลงทุน
(3) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
(4) ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สิน
ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ป้องกันมิให้การลงทุนก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ลูกค้าหรือความไม่เป็นธรรมแก่ลูกค้าตามข้อ 12(8) (ง) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้หมายความรวมถึงการดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) การกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) การควบคุมดูแลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติตาม (1)
(3) ในกรณีที่มีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งดังนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องสามารถแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร และการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในลักษณะเอาเปรียบลูกค้า หรือสามารถแสดงได้ว่ามีระบบในการควบคุมและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรอย่างชัดเจนแล้ว
(ก) ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการจัดทํารายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ดังกล่าว
(ข) ภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันที่รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของผู้ประกอบธุรกิจได้เผยแพร่ต่อผู้ลงทุน
(ค) ในระหว่างที่ยังมีคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าค้างอยู่
(ง) ในระหว่างที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อลูกค้า
ข้อ ๘ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีการลงทุนในหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจและประกาศนี้แล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ซื้อหรือมีหุ้นโดยได้รับผ่อนผันการซื้อหรือมีหุ้นจากสํานักงานตามมาตรา 98(7) (ข) แล้ว
ข้อ ๙ การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ในการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมมิให้มีการลงทุนระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างของราคา (short term speculation)
ความในวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น หรือที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นด้วย
ข้อ ๑๑ ในการลงทุนในหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้ผู้ประกอบธุรกิจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของผู้ประกอบธุรกิจได้เฉพาะตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด โดยต้องเป็นการลงทุนเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม เนื่องจากมีการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นจํานวนมาก โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล
(ข) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถแสดงได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงของกองทุนรวม
(2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ โดยต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้น
(3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งเดียวและกําหนดอายุโครงการไว้แน่นอนแล้ว โดยต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวจนกว่าจะครบอายุโครงการ
(4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานให้ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนได้แต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
ผู้ประกอบธุรกิจต้องจําหน่ายหน่วยลงทุนที่ลงทุนไว้ตามวรรคหนึ่ง (1) ในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่น ๆ เป็นสําคัญ
ข้อ ๑๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เปิดเผยข้อมูล จัดทํา จัดส่งและจัดเก็บเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและจัดส่งรายงานการซื้อและขายหน่วยลงทุนตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1) โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงถึงเวลาและเหตุผลในการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวมและบริษัทในเครือ ตามแบบ วิธีการ และระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(2) เปิดเผยข้อมูลการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) หรือ (5) ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมและในรายงานรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุนรวมดังกล่าว
(3) เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบว่าผู้ประกอบธุรกิจอาจมีการลงทุนในหลักทรัพย์เดียวกับหลักทรัพย์ที่ลงทุนเพื่อลูกค้า ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
(4) จัดเก็บเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1) และการจําหน่ายหน่วยลงทุนที่ลงทุนไว้ตามข้อ 11 วรรคสอง ไว้ในลักษณะพร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้
ส่วน ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ ในการลงทุนหรือมีไว้ในหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจลงทุนในหุ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และจํานวนเงินลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวลงทุนในหุ้นรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละหกสิบของเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
เงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึง เงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
ประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 957 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 18/2562 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 18/2562
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(7) (ข) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7(1) (3) และ (5) และข้อ 14 และข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจโครงสร้าง การบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และ ข้อ 12(8) แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
“ข้อ 2/1 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการลงทุนเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจ
การจัดการกองทุนอันเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมตลาดทุนโดยรวม โดยมิใช่เป็นการมุ่งแสวงหา
ผลกําไรเป็นสําคัญ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ในการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมมิให้มีการลงทุนระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่าง
ของราคา (short-term speculation)
ความในวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลดังนี้
(ก) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น
(ข) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นด้วย
(ค) ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ได้ให้บริการกับลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(2) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดการเงินทุนภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(ก) การมอบหมายดังกล่าวไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่มีผลให้ผู้มอบหมายสามารถชี้นําหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือการตัดสินใจลงทุนของผู้รับมอบหมาย
(ข) การจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับการทําธุรกรรมที่มอบหมายต้องมีการดําเนินการให้ผู้รับมอบหมายเก็บรักษาในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันทีตลอดระยะเวลาที่มีการมอบหมาย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 958 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 45/2562 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 3) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 30/04/2562 CSDS เลขที่ 76/2561
ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS ...
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 45/2562
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7(5) ข้อ 12(8) และข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจโครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับยกเว้นให้ถือหน่วยลงทุนได้เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562
(นางทิพยสุดา ถาวรามร)
รองเลขาธิการ
เลขาธิการแทน
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 959 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 52/2562 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 4) | -ร่าง-
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 52/2562
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(7) (ข) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7(1) และ (5) ข้อ 12 วรรคหนึ่ง (8) และข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงานและการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 18/2562 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2/1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้รับผ่อนผันการซื้อหรือมีหุ้นตามมาตรา 98(7) (ข) เมื่อเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการได้มาจากการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนอันเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมตลาดทุนโดยรวม โดยมิใช่เป็นการมุ่งแสวงหาผลกําไรเป็นสําคัญ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจแล้ว ทั้งนี้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อื่นในประกาศนี้
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจและประกาศนี้แล้ว”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 960 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 54/2563 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 54/2563
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุน
เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7(1) และข้อ 12 วรรคหนึ่ง (8) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (5) ของวรรคหนึ่งในข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 45/2562 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 เมษายนพ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ประกอบธุรกิจลงทุนเพื่อสนับสนุนการขยายขนาดของกองทุนรวม ให้สามารถบริหารกองทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมเป็นสําคัญ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 961 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 15/2558
เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(7) (ข) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7(1) (3) และ (5) ข้อ 12(1) และ (8) ข้อ 14 และข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12(2) (3) และ (4) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่6 กันยายน พ.ศ. 2556
“รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์” หมายความว่า บทความหรืองานวิจัยที่บริษัทหลักทรัพย์จัดทําขึ้นเพื่อให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์ ความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ข้อ 2/1( ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้รับผ่อนผันการซื้อหรือมีหุ้นตามมาตรา 98(7) (ข) เมื่อเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการได้มาจากการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนอันเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมตลาดทุนโดยรวม โดยมิใช่เป็นการมุ่งแสวงหาผลกําไรเป็นสําคัญ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจแล้ว ทั้งนี้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อื่นในประกาศนี้
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจและประกาศนี้แล้ว
ข้อ 3 ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(1) หลักเกณฑ์ทั่วไป ให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามหมวด 3
ในการรับจัดการเงินทุนของนิติบุคคลภายในกลุ่มกิจการเดียวกันของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
หมวด 1หลักเกณฑ์ทั่วไป\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 4 ในการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีปฏิบัติตามข้อ 12(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ
ข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 12(8) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ระบบบริหารความเสี่ยง
(2) ระบบควบคุมการลงทุน
(3) ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
(4) ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ข้อ 6 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําและจัดเก็บเอกสาร หลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจไว้ ณ ที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีการลงทุน โดยต้องเก็บรักษาไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า
หมวด 2
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วนที่ 1
หลักเกณฑ์การลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 7 ระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ป้องกันมิให้การลงทุนก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ลูกค้าหรือความไม่เป็นธรรมแก่ลูกค้าตามข้อ 12(8) (ง) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้หมายความรวมถึงการดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) การกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) การควบคุมดูแลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติตาม (1)
(3) ในกรณีที่มีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งดังนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องสามารถแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร และการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในลักษณะเอาเปรียบลูกค้า หรือสามารถแสดงได้ว่ามีระบบในการควบคุมและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรอย่างชัดเจนแล้ว
(ก) ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการจัดทํารายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ดังกล่าว
(ข) ภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันที่รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของผู้ประกอบธุรกิจได้เผยแพร่ต่อผู้ลงทุน
(ค) ในระหว่างที่ยังมีคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าค้างอยู่
(ง) ในระหว่างที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อลูกค้า
ข้อ 8( ยกเลิก
ข้อ 9 การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
ส่วนที่ 2
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 10( ในการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมมิให้มีการลงทุนระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่าง
ของราคา (short-term speculation)
ความในวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลดังนี้
(ก) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น
(ข) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นด้วย
(ค) ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ได้ให้บริการกับลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(2) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดการเงินทุนภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(ก) การมอบหมายดังกล่าวไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่มีผลให้ผู้มอบหมายสามารถชี้นําหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือการตัดสินใจลงทุนของผู้รับมอบหมาย
(ข) การจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับการทําธุรกรรมที่มอบหมายต้องมีการดําเนินการให้ผู้รับมอบหมายเก็บรักษาในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันทีตลอดระยะเวลาที่มีการมอบหมาย
ข้อ 11 ในการลงทุนในหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้ผู้ประกอบธุรกิจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของผู้ประกอบธุรกิจได้เฉพาะตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด โดยต้องเป็นการลงทุนเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม เนื่องจากมีการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นจํานวนมาก โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล
(ข) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถแสดงได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงของกองทุนรวม
(2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ โดยต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้น
(3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งเดียวและกําหนดอายุโครงการไว้แน่นอนแล้ว โดยต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวจนกว่าจะครบอายุโครงการ
(4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(5)( หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ประกอบธุรกิจลงทุนเพื่อสนับสนุนการขยายขนาดของกองทุนรวม ให้สามารถบริหารกองทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมเป็นสําคัญ
ผู้ประกอบธุรกิจต้องจําหน่ายหน่วยลงทุนที่ลงทุนไว้ตามวรรคหนึ่ง (1) ในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่น ๆ เป็นสําคัญ
ข้อ 12 ให้ผู้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เปิดเผยข้อมูล จัดทํา จัดส่งและจัดเก็บเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและจัดส่งรายงานการซื้อและขายหน่วยลงทุนตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1)โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดงถึงเวลาและเหตุผลในการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวมและบริษัทในเครือ ตามแบบ วิธีการ และระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(2) เปิดเผยข้อมูลการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) หรือ (5) ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมและในรายงานรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุนรวมดังกล่าว
(3) เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบว่าผู้ประกอบธุรกิจอาจมีการลงทุนในหลักทรัพย์เดียวกับหลักทรัพย์ที่ลงทุนเพื่อลูกค้า ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
(4) จัดเก็บเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1) และการจําหน่ายหน่วยลงทุนที่ลงทุนไว้ตามข้อ 11 วรรคสอง ไว้ในลักษณะพร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้
ส่วนที่ 3
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 13 ในการลงทุนหรือมีไว้ในหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจลงทุนในหุ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และจํานวนเงินลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวลงทุนในหุ้นรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละหกสิบของเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
เงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึง เงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต
หมวด 3
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 14 ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 962 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 28/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุน” ก่อนบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดการ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
““กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในหมวด 2 การดําเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ข้อ 6 ของภาค 1 ข้อกําหนดที่ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๒ การเปิดเผยข้อมูลและการจัดทํารายงานของกองทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖/๑ ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศภายใต้วงเงินลงทุนที่ได้รับการจัดสรรจากสํานักงาน ให้บริษัทจัดการรายงานการจัดการวงเงินดังกล่าวต่อสํานักงานผ่านระบบควบคุมวงเงินการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Allotment System) ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
ข้อ ๖/๑ ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศภายใต้วงเงินลงทุนที่ได้รับการจัดสรรจากสํานักงาน ให้บริษัทจัดการรายงานการจัดการวงเงินดังกล่าวต่อสํานักงานผ่านระบบควบคุมวงเงินการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Allotment System) ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อ 163 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๔ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 963 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 9/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 50 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 50 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการใด หากไม่สามารถดําเนินการตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ เนื่องจากข้อจํากัดดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดได้
(1) การนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับ ตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
(2) การนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 50 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 50 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการใด หากไม่สามารถดําเนินการตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ เนื่องจากข้อจํากัดดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดได้
(1) การนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับ ตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
(2) การนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 964 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 22/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 6 ข้อ 8(1) (2) และ (6) และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ฐานะการลงทุนสุทธิ” (net exposure) ถัดจากบทนิยามคําว่า “กองทุนต่างประเทศ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
““ฐานะการลงทุนสุทธิ” (net exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนสุทธิในทรัพย์สินไม่ว่าเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 ในกรณีที่วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดตรงกับวันที่สํานักงานได้ประกาศกําหนดให้เป็นวันหยุดทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นกรณีพิเศษ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับวันดังกล่าว และแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการหยุดรับคําสั่งในกรณีดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5 วันทําการก่อนถึงวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษนั้น โดยจัดให้มีข้อมูลเรื่องดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 70 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 70 ในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติเพื่อควบรวมกองทุนรวมถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ โดยจัดให้มีข้อมูลเรื่องดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
ในช่วงระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานแสดงสถานะการลงทุนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละสัปดาห์ของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมและจัดให้มีรายงานดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนข้างต้นเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 101 ข้อ 102 ข้อ 106/2 หรือข้อ 106/3 โดยเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงานดังกล่าว”
ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการปิดสมุดทะเบียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ หากปรากฏว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไว้ก่อนมีการปิดสมุดทะเบียนว่าจะเลิกกองทุนรวมเมื่อมีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังนี้
(ก) แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อกําหนดสิทธิในการรับเงินคืนจากการเลิกกองทุนรวมและแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์
(ข) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันเดียวกันกับวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์
(ค) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
(ง) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระเงินคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
(จ) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในวันปิดสมุดทะเบียนตาม (1) (ก) ทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และชําระเงินที่รวบรวมได้ตาม (1) (ง) คืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเมื่อได้ดําเนินการชําระเงินแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียน และดําเนินการปิดสมุดทะเบียนอีกครั้งหนึ่งเมื่อครบระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่มีการปิดสมุดทะเบียนในครั้งก่อน พร้อมทั้งดําเนินการดังนี้
(ก) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมโดยให้ปฎิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดใน (1)
(ข) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 35 รายขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 95 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) เรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือเป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยลงทุน
(ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงาน (performance based management fee) ทั้งนี้ โดยให้เรียกเก็บได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 133 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 133 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกส่วนที่ 15 การเลิกกองทุนรวม ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม ข้อ 100 ถึงข้อ 106 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ส่วน ๑๕ การเลิกกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ตอน ๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการปิดสมุดทะเบียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ หากปรากฏว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไว้ก่อนมีการปิดสมุดทะเบียนว่าจะเลิกกองทุนรวมเมื่อมีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังนี้
(ก) แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อกําหนดสิทธิในการรับเงินคืนจากการเลิกกองทุนรวมและแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์
(ข) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันเดียวกันกับวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์
(ค) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
(ง) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระเงินคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
(จ) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในวันปิดสมุดทะเบียนตาม (1) (ก) ทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และชําระเงินที่รวบรวมได้ตาม (1) (ง) คืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเมื่อได้ดําเนินการชําระเงินแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียน และดําเนินการปิดสมุดทะเบียนอีกครั้งหนึ่งเมื่อครบระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่มีการปิดสมุดทะเบียนในครั้งก่อน พร้อมทั้งดําเนินการดังนี้
(ก) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมโดยให้ปฎิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดใน (1)
(ข) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 35 รายขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว
ข้อ ๑๐๐ ในส่วนนี้
คําว่า “กองทุนรวมตลาดเงิน” “กองทุนรวมหน่วยลงทุน” “กองทุนรวมฟีดเดอร์” “กองทุนรวมดัชนี” และ “กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมดังกล่าวตามประกาศการลงทุน
“กองทุนปลายทาง” หมายความว่า กองทุนที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์ไปลงทุนซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) เป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และให้หมายความรวมถึงกองทุนที่มีลักษณะเป็นการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุน ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศและไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปแบบอื่นใด เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ (REIT) หรือโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) เป็นต้น
(2) เป็นกองทุนที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์ มีการลงทุนในกองทุนตาม (1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตาม (1) นั้น
ข้อ ๑๐๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมปิด เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว
(1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย
(2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 106/2
ข้อ ๑๐๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 133 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 133 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ ๑๐๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 104 ในกรณีเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ และปรากฏว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนปลายทางที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์ไปลงทุนมีการลดลงตามวรรคสอง
(1) มีฐานะการลงทุนสุทธิในหน่วยของกองทุนต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีน้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์
(2) มีฐานะการลงทุนสุทธิในหน่วยของกองทุนต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไปของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์โดยกองทุนต่างประเทศไม่มีวัตถุประสงค์การลงทุนในทํานองเดียวกับกองทุนรวมดัชนีหรือกองทุนรวมอีทีเอฟ
การลดลงของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิให้หมายความถึงการลดลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งลดลงเกินกว่า 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนปลายทางดังกล่าว
(2) ยอดรวมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนปลายทางดังกล่าวลดลงในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนปลายทางนั้น
ข้อ ๑๐๔ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 103 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งเหตุที่กองทุนปลายทางมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงตามข้อ 103 พร้อมแนวทาง
การดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมให้สํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลของ
กองทุนปลายทางที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103
(2) ปฏิบัติตามแนวทางการดําเนินการตาม (1) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนปลายทางที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103
(3) รายงานผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ
(4) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการของกองทุนรวมตาม (1) ต่อผู้ที่สนใจจะลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวม ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๐๕ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 102 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102
(3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
(4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตามวรรคหนึ่ง (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น
ข้อ ๑๐๖ เมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้นดังต่อไปนี้
(1) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบ และแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ
(2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ เช่น เผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือทางหนังสือพิมพ์ หรือโดยจัดให้มีข้อมูลเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เป็นต้น
(3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม
ตอน ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุน
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐๖/๑ ในตอนนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
“สมุดทะเบียน” หมายความว่า สมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๑๐๖/๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการปิดสมุดทะเบียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ หากปรากฏว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไว้ก่อนมีการปิดสมุดทะเบียนว่าจะเลิกกองทุนรวมเมื่อมีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังนี้
(ก) แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อกําหนดสิทธิในการรับเงินคืนจากการเลิกกองทุนรวมและแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์
(ข) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันเดียวกันกับวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์
(ค) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
(ง) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระเงินคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
(จ) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในวันปิดสมุดทะเบียนตาม (1) (ก) ทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และชําระเงินที่รวบรวมได้ตาม (1) (ง) คืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเมื่อได้ดําเนินการชําระเงินแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียน และดําเนินการปิดสมุดทะเบียนอีกครั้งหนึ่งเมื่อครบระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่มีการปิดสมุดทะเบียนในครั้งก่อน พร้อมทั้งดําเนินการดังนี้
(ก) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมโดยให้ปฎิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดใน (1)
(ข) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 35 รายขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว
ข้อ ๑๐๖/๓ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 102(2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(2) พร้อมทั้งแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อกําหนดสิทธิในการรับเงินคืนจากการเลิกกองทุนรวม และแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์
(2) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์
(3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระเงินคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในวันปิดสมุดทะเบียนตาม (1) ทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และชําระเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) คืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเมื่อได้ดําเนินการชําระเงินแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (6) และ (7) ของข้อ 107 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(6) ระยะเวลาในการปฏิบัติตามแนวทางการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามข้อ 104(2) ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์มาเพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย
(7) การดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 105 วรรคหนึ่ง (4) ข้อ 106 ข้อ 106/2(1) (จ) หรือข้อ 106/3(4)”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 119 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 119 มิให้นําความในข้อ 102 ข้อ 106/2 และข้อ 106/3 มาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อจํากัดความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการจนเป็นเหตุให้จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย”
ข้อ ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 123/1 และข้อ 123/2 ในส่วนที่ 1 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทุกประเภท ของหมวด 4 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 123/1 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ 123/2 ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปรากฏเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102(1) หรือ (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังต่อไปนี้ และมิให้นําความในข้อ 105 มาใช้บังคับ
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2)
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) โดยข้อมูลที่แจ้งดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการโอนย้ายการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นตามแนวทางที่กําหนดไว้ในโครงการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นอีกทอดหนึ่ง ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกําหนด และผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังนี้
1. เป็นการโอนย้ายตามคําสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกโดยโอนย้ายไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน
2. เป็นการโอนย้ายการลงทุนภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด ทั้งนี้ ในการกําหนดระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงระยะเวลาที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะสามารถดําเนินการเพื่อแจ้งโอนย้ายการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
(3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวเพื่อรวบรวมเงินและดําเนินการโอนย้ายการลงทุนภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2)
เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 133 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 133 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 133/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 133/1 ในกรณีที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวปรากฏเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102(1) หรือ (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว โดยให้ปฎิบัติตามข้อ 123/2 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม และเมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้วให้ถือว่าเป็น
การเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกข้อ 135 ข้อ 136 ข้อ 142 และข้อ 143 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 965 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 23/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 23/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1/1 การกําหนดชื่อของกองทุนรวม ข้อ 8/1 ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ส่วน ๑/๑ การกําหนดชื่อของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘/๑ บริษัทจัดการต้องกําหนดชื่อของกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล”
ข้อ ๒ ในกรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยที่บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนรวมดังกล่าวก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 35/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560
(1) เป็นกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดอายุโครงการไว้อย่างชัดเจนในโครงการและเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว
(2) เป็นกองทุนรวมอื่นที่ไม่ใช่กองทุนรวมตาม (1) ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นเฉพาะในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 966 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 39/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 52/1 ในส่วนที่ 6 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 52/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งในโครงการได้ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินนั้นและมีข้อความสงวนสิทธิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการ
แก้ไขเพิ่มเติมโครงการให้ข้อความสงวนสิทธิเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 967 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 47/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 47/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนและข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกหมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมวายุภักษ์ ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม ข้อ 113 ถึงข้อ 118 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 119 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 968 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 7/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 7/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Part I : The Qualifications of the CIS Operator, Trustee / Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes
(ข) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passport ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Annex 3 : Passport Rules ของ Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport
(ค) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศตามประกาศการลงทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (3) (ก) และ (ข) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยมิให้นับรวมวันหยุดทําการในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุเกี่ยวกับวันหยุดทําการในต่างประเทศดังกล่าวไว้แล้วในโครงการ
(ง) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นซึ่งมิใช่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (3) (ก) (ข) และ (ค) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ในข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“(5) อยู่ในระหว่างดําเนินการเปลี่ยนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าบริหารจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนอันเนื่องมาจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งให้กระทําได้ไม่เกิน 3 วันทําการ”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 เมื่อปรากฏเหตุตามข้อ 28 และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน และหากเป็นเหตุตามข้อ 28(1) (2) (3) หรือ (5) ให้เปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลันด้วย
(2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน
(3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 28(1) (2) (3) และ (5) เกิน 1 วันทําการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังนี้ ก่อนการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน
(ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน
(ข) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 1 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 969 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 64/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 64/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 10)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
โดยที่เป็นการสมควรให้บริษัทจัดการจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงาน และเปิดเผยผลการดําเนินงานของกองทุนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพิ่มเติมจากมาตรฐานการปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าวที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 72/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 33 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมที่จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด
ในกรณีที่สมาคมมีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด (benchmark) ตัวชี้วัดดังกล่าวต้องคํานวณโดยใช้ดัชนีที่ใช้วัดผลตอบแทนทุกประเภทจากการลงทุนในหลักทรัพย์ (total return index) เท่านั้น และไม่ใช้ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี (price index)
มิให้นําความใน (1) วรรคสองมาใช้บังคับกับกองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 37 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ผลการดําเนินงานตามที่กําหนดในข้อ 33 วรรคหนึ่ง (1)”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 149 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลในเรื่องดังนี้
(ก) วิธีการวัดผลการดําเนินงานซึ่งได้จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด
(ข) ช่วงเวลาสําหรับการวัดผลการดําเนินงานซึ่งต้องกําหนดให้มีการวัดผลทุกเดือน
กรณีที่มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลโดยเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด (benchmark) ตัวชี้วัดดังกล่าวต้องคํานวณโดยใช้ดัชนีที่ใช้วัดผลตอบแทนทุกประเภทจากการลงทุนในหลักทรัพย์ (total return index) เท่านั้น และไม่ใช้ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี (price index)
มิให้นําความใน (1) วรรคสองมาใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 970 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 69/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 11) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 69/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 11)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ข้อ 8(6) และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 150 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 150 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในตราสารตามข้อ 44 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ต่อลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยให้เปิดเผยข้อมูลการลงทุนดังกล่าวไว้ในรายงานรายเดือนตามข้อ 161”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 155 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้แจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งผ่านช่องทางหรือโดยวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงโดยวิธีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลไว้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 155 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้แจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งผ่านช่องทางหรือโดยวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงโดยวิธีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลไว้”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 161 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 161 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งรายงานรายเดือนให้แก่ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศสมาคมบริษัทจัดการกองทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้กับลูกค้า
ในการจัดทํารายงานรายเดือนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยอัตราการลงทุนสูงสุดต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามที่ระบุไว้ในแผนการลงทุนสําหรับการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 165 และข้อ 166 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 165 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เสนอนโยบายการลงทุนที่หลากหลายและเหมาะสมกับสมาชิกโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนโยบายการลงทุนแต่ละนโยบาย พร้อมทั้งคําแนะนําที่เหมาะสมแก่คณะกรรมการกองทุน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุน
(2) จัดให้สมาชิกทําการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 2
(3) จัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของนโยบายการลงทุนสําหรับนโยบายการลงทุนที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกองทุนตาม (1) โดยมีรายการและรูปแบบของข้อมูลอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ทั้งนี้ สรุปข้อมูลสําคัญของนโยบายการลงทุนต้องมีการเผยแพร่ให้สมาชิกทราบโดยผ่านช่องทางหรือวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าสมาชิกสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและอย่างทั่วถึงก่อนการตัดสินใจเลือกหรือเปลี่ยนนโยบายการลงทุน
(4) จัดให้มีการทบทวนสรุปข้อมูลสําคัญของนโยบายการลงทุนตาม (3) ทุกงวด 6 เดือนของปีปฏิทิน และเผยแพร่ภายใน 45 วันนับแต่วันสิ้นงวด 6 เดือนของปีปฏิทินแก่สมาชิกโดยผ่านช่องทางหรือวิธีการอื่นใดตาม (3)
(5) จัดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เว้นแต่สมาชิกมีมติกําหนดเวลาในการใช้สิทธิไว้เป็นอย่างอื่น
(6) จัดให้มีช่องทางหรือวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าสมาชิกสามารถเข้าถึงคําแนะนําที่เหมาะสมได้โดยง่ายและอย่างทั่วถึงสําหรับการลงทุนในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ในการจัดทําและทบทวนสรุปข้อมูลสําคัญของนโยบายการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
ข้อ 166 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่ได้กําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 165(1) (3) (4) และ (6)
โดยอนุโลม
ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งมีนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงตามข้อ 171 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าคณะกรรมการกองทุนและสมาชิกรับทราบและเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนเป็นอย่างดีแล้ว ก่อนเข้าเป็นสมาชิกหรือก่อนที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะมีการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนเป็นนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าว”
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 971 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่
CSDS เลขที่ 47/2561..........
ครั้งที่ 2 ผ่านทาง.....CSDS..................
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 12)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังนี้
(ก) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป
(ข) วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่เปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ ให้ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังนี้เพิ่มเติมด้วย
1. วันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยให้ประกาศภายในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
2. วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมกําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันเกินกว่า 1 เดือน
3. วันที่ปรากฏเหตุการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าจะมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) วงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนได้ในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ต้องไม่เกินวงเงินดังนี้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในโครงการด้วย
(ก) วงเงินรายบุคคลตามที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด
(ข) วงเงินรวมของกองทุนรวมให้เป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนในทรัพย์สินหรือถือครองทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงของกองทุนรวมตามที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
“(6) อยู่ในระหว่างดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102/1”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 101 ข้อ 102 ข้อ 102/1 ข้อ 106/2 หรือข้อ 106/3 โดยเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงานดังกล่าว”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 37 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 64/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
“(5/1) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดที่มิใช่ดอกผลหรือผลประโยชน์ทั่วไปที่เกิดจากการลงทุน (ถ้ามี)”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 45 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 7 ให้ยกเลิกส่วนที่ 12 การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวม ข้อ 92 ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ส่วนที่ 12
การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์
ในนามกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 92 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ใด
เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียของผู้ถือหลักทรัพย์ในนามกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(2) เปิดเผยแนวทางและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงตาม (1) ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใด ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลของกองทุนรวมดังกล่าว ด้วยวิธีการที่เหมาะสมดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยข้อมูลในลักษณะที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถทราบได้ เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
(2) แจ้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 97 และข้อ 98 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 97 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีความประสงค์จะลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามที่ได้ระบุไว้ในโครงการและได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบอย่างทั่วถึงภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลต้องกระทําโดยวิธีการที่เหมาะสมอันทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว เช่น เผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เป็นต้น
การลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายให้แตกต่างไปจากโครงการ ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ 98 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีความประสงค์จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามที่ระบุไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงความสมเหตุสมผลกับสภาพปกติทางธุรกิจและประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ และต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าอย่างทั่วถึงด้วยวิธีการที่เหมาะสมอันทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม และ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทําการก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
(2) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการแล้วว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถกระทําการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง 1 ปีนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะขึ้นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่เกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ของอัตราขั้นสูงดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
(ข) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ของอัตราขั้นสูงดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับมติพิเศษ
ในการเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้กับกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติพิเศษ”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 99 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 99 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามข้อ 97 หรือข้อ 98(2) ให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 102 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 102 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 105 เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจํานวนดังนี้ ในวันทําการใด
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน
ที่มิใช่รายย่อย จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม
ความใน (1) วรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 106/2
(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) การพิจารณาระยะเวลาการขายคืนหน่วยลงทุน ให้พิจารณาจากเฉพาะในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกองทุนรวมเปิดให้รับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้น
ความใน (2) วรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าการเลิกกองทุนรวมจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ เนื่องจากกองทุนรวมยังคงมีทรัพย์สินคงเหลือที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการขายคืนนั้น
ในกรณีที่กองทุนรวมซึ่งมีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตาม (2) วรรคหนึ่ง เป็นกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 106/3
ความใน (2) วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังนี้
(ก) กองทุนรวมตลาดเงิน
(ข) กองทุนรวมหน่วยลงทุน
(ค) กองทุนรวมฟีดเดอร์
(ง) กองทุนรวมดัชนี
(จ) กองทุนรวมอีทีเอฟ”
ข้อ 12 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 102/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 105 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้วมีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าจะมีการขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 102(2) วรรคหนึ่ง และการเลิกกองทุนรวมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 102(2) วรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความในข้อ 105 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 105 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1
(3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
(4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตามวรรคหนึ่ง (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น”
ข้อ 14 ให้ยกเลิกความในข้อ 106/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 106/3 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 102(2) หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(2) หรือข้อ 102/1 พร้อมทั้งแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อกําหนดสิทธิในการรับเงินคืนจากการเลิกกองทุนรวม และแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์
(2) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์
(3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระเงินคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในวันปิดสมุดทะเบียนตาม (1) ทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และชําระเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) คืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเมื่อได้ดําเนินการชําระเงินแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 15 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 107 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) การดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 105(4) ข้อ 106 ข้อ 106/2(1) (จ) หรือข้อ 106/3(4)”
ข้อ 16 ให้ยกเลิกความในข้อ 123/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 123/2 ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปรากฏเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังต่อไปนี้ และมิให้นําความในข้อ 105 มาใช้บังคับ
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1 โดยข้อมูลที่แจ้งดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการโอนย้ายการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นตามแนวทางที่กําหนดไว้ในโครงการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นอีกทอดหนึ่ง ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกําหนด และผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังนี้
1. เป็นการโอนย้ายตามคําสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกโดยโอนย้ายไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน
2. เป็นการโอนย้ายการลงทุนภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด ทั้งนี้ ในการกําหนดระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงระยะเวลาที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะสามารถดําเนินการเพื่อแจ้งโอนย้ายการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
(3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1
(4) รวบรวมเงินที่ได้จากการดําเนินการตาม (3) ภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1
(5) ดําเนินการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นตามแนวทางที่กําหนดไว้ในโครงการโดยไม่ชักช้า
เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 17 ให้ยกเลิกความในข้อ 133/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 133/1 ในกรณีที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวปรากฏเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 123/2 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม และเมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 18 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 9 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนเพียงครั้งเดียว ข้อ 148/1 ข้อ 148/2 และข้อ 148/3 ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“หมวด 9
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม
ที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 148/1 ในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนเพียงครั้งเดียว” หมายความว่า กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรือครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม
ข้อ 148/2 มิให้นําความในข้อ 10 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนเพียงครั้งเดียว โดยให้บริษัทจัดการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างน้อยในวันดังนี้
(ก) คํานวณทุกสิ้นวันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ข) คํานวณทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทําการถัดไป
(ค) คํานวณทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน และประกาศภายในวันทําการถัดไป
(ง) คํานวณทุกสิ้นวันที่ปรากฏเหตุการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าจะมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และประกาศภายในวันทําการถัดไป
(2) คํานวณและประกาศราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างน้อยในวันดังนี้
(ก) คํานวณทุกสิ้นวันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ข) คํานวณทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคา และประกาศภายในวันทําการถัดไป
ข้อ 148/3 มิให้นําความในข้อ 35 ข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 38 และข้อ 39 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนเพียงครั้งเดียวซึ่งมีอายุกองทุนไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเป็นกองทุนรวม”
ข้อ 19 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 10 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมตลาดเงินที่กําหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ข้อ 148/4 ข้อ 148/5 ข้อ 148/6 ข้อ 148/7 ข้อ 148/8 ข้อ 148/9 ข้อ 148/10 และข้อ 148/11 ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“หมวด 10
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมตลาดเงิน
ที่กําหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 148/4 ในหมวดนี้
“กองทุนรวมตลาดเงินที่กําหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน ซึ่งกําหนดราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขายและรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา
ข้อ 148/5 ในการจัดการกองทุนรวมตลาดเงินที่กําหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม เว้นแต่มีบทบัญญัติตามหมวดนี้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ
ส่วนที่ 1
การคํานวณจํานวนหน่วยลงทุนโดยใช้ราคา
หน่วยลงทุนคงที่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 148/6 ในการคํานวณจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่กําหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดมูลค่าหน่วยลงทุน ราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขายและรับซื้อคืนให้คงที่ตามที่กําหนดไว้ในโครงการ
(2) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนโดยใช้มูลค่ายุติธรรม ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนดังกล่าว ให้คํานวณเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมอย่างน้อย 10 ตําแหน่งต่อหน่วยลงทุน โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(3) เพิ่มหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุน หรือดําเนินการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในโครงการ เพื่อรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่
ในการเพิ่มหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนภายหลังจากการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนตาม (2) ให้เป็นราคาคงที่ ให้จัดสรรมูลค่าหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย โดยมีทศนิยม 2 ตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล ทั้งนี้ หากมีมูลค่าหน่วยลงทุนคงเหลือจากการจัดสรรมูลค่าหน่วยลงทุนดังกล่าว ให้ใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ครั้งละไม่เกินกว่า 0.01 บาท โดยเรียงลําดับตามมูลค่าการถือหน่วยลงทุนสูงสุด
ข้อ 148/7 ในกรณีที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจํานวนหน่วยลงทุนในแต่ละวัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยจํานวนหน่วยลงทุนดังกล่าว และแจ้งให้บุคคลดังต่อไปนี้ทราบโดยวิธีการใด ๆ
(1) ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ลงทุน
(2) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือ เมื่อได้รับการร้องขอ
ส่วนที่ 2
การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 148/8 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขายหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนด้วยราคาหน่วยลงทุนคงที่ โดยรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ซื้อหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายในวันทําการถัดจากวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
ข้อ 148/9 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาหน่วยลงทุนคงที่ โดยชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน และยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุน ไม่ว่าการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวจะเกิดขึ้นในหรือนอกเวลาเวลาทําการของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ เว้นแต่กําหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนในวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 20(3) (ง) ก็ได้
(1) กรณีที่การรับซื้อคืนอยู่ภายในวงเงินตามข้อ 22(3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนนั้นให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนและยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนในวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) กรณีที่การรับซื้อคืนเกินกว่าวงเงินตามข้อ 22(3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าวงเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนและยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนในวันทําการถัดจากวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
เว้นแต่กําหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าวงเงินตามวรรคหนึ่งหรือตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการถัดจากวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนก็ได้
ข้อ 148/10 ในกรณีที่มีการคํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนก่อนรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่ หากมีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของราคาหน่วยลงทุนคงที่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดส่วนได้เสียของผู้ถือหน่วยลงทุนสําหรับสิทธิประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในกองทุนรวมไว้ในโครงการให้ชัดเจน โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมเป็นสําคัญ และปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ตลอดจนไม่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นที่เหลืออยู่
ส่วนที่ 3
การดําเนินการเมื่อจํานวนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 148/11 ในกรณีที่จํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนมีจํานวนไม่ถูกต้องให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่จํานวนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนของการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อการรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่ หากมูลค่าดังกล่าวที่ไม่ถูกต้องคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าที่ถูกต้อง ให้นําบทบัญญัติในส่วนที่ 3
การดําเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ของหมวดที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวมมาใช้บังคับ เพื่อให้การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนเป็นไปตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ในกรณีที่จํานวนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องเกิดขึ้นภายหลังจากการรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่ ให้ปรับปรุงจํานวนหน่วยลงทุน เพื่อให้การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนเป็นไปตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป”
ข้อ 20 ให้ยกเลิกข้อ 159 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 21 ให้ยกเลิกความในข้อ 171 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 171 ในส่วนนี้
“นโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง” หมายความว่า นโยบายการลงทุนที่กําหนดให้มีการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้รวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น
(1) ตราสารทุน
(2) ตราสารหนี้ดังนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
(ข) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. มีกําหนดการชําระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน หรือมีข้อกําหนดชําระคืนเงินต้นเพียงบางส่วนหรือไม่คืนเงินต้น
2. มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ย เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(3) ทรัพย์สินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6.2 ของส่วนที่ 3 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ในภาคผนวก 4-PVD ท้ายประกาศการลงทุน”
ข้อ 22 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 192 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การจัดทําและส่งรายงานอื่นใดให้แก่ลูกค้า”
ข้อ 23 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 972 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 25/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 13) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 25/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 13)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ข้อ 8(2) และ (6) และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่
17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 154 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 154 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดต่อลูกค้าอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้นําความในข้อ 95 วรรคหนึ่ง (2) มาใช้บังคับกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 159 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 973 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 48/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 15) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 17/6/62 .
CSDS เลขที่ 24/2562 .
ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS .
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 48/2562 .
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 15)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงาน ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 47 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 47 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโครงการก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้
(1) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง
(3) การเปลี่ยนแปลงประเภทของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรืออัตราส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน
(4) การคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ 9 และข้อ 10 ซึ่งได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 107(2)
(5) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินให้แก่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวจะนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้รับไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(6) กรณีอื่นใดนอกเหนือจาก (1) (2) (3) (4) และ (5)”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 99 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 99 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามข้อ 97 วรรคสอง หรือข้อ 98(2) ให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 152 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 974 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 57/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 16) | ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่
CSDS เลขที่ 47/2561..........
ครั้งที่ 2 ผ่านทาง.....CSDS..................
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 57/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 16)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 98 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ของอัตราขั้นสูงดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับมติพิเศษ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 975 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 64/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 17) | - ร่าง -
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่......04/12/62..............................
CSDS เลขที่..79/2562.. ครั้งที่ ......3..........
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 64/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 17)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 131 และข้อ 132 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 131 ในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 และมีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามประกาศการลงทุน
ข้อ 132 ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบดังต่อไปนี้
(1) ระบบในการขายคืนหน่วยลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน สําหรับหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมขายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
(2) ระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อจําแนกหน่วยลงทุนที่ซื้อหรือขายคืนก่อนหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบตามวรรคหนึ่งจนกว่าจะครบระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะทําให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 976 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 20) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 3/1/2563 CSDS เลขที่ 70/2562
ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS .
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 9/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 20)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 48 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 48 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงานนอกเหนือจากข้อ 50 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 50 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 50 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงานในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าว เมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว
(1) การแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
ในกรณีดังนี้
(ก) การลดมูลค่าขั้นต่ําในการซื้อหน่วยลงทุน
(ข) การเพิ่มช่องทางในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(ค) การเพิ่มจํานวนผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
(ง) การเพิ่มความถี่ของการส่งคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนในแต่ละช่วงเวลา
ซึ่งไม่กระทบต่อสถานะการลงทุนของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ
(จ) การลดเวลาส่งคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนมีการเปิดให้ขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว
(3) การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง
(4) การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 8 แล้ว
(5) การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิด ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 97 วรรคสอง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคสองในข้อ 93 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 105 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1 โดยวิธีการดังนี้
(ก) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
(ข) แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ดูแลผลประโยชน์
(ค) แจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 106 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบก่อนวันเลิกกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ โดยวิธีการดังนี้
(ก) แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ดูแลผลประโยชน์
(ข) แจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(ค) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 106/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 106/2 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการปิดสมุดทะเบียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ หากปรากฏว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไว้ก่อนมีการปิดสมุดทะเบียนว่าจะเลิกกองทุนรวมเมื่อมีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังนี้
(ก) แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อกําหนดสิทธิในการรับเงินคืนจากการเลิกกองทุนรวมและแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์
(ข) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันเดียวกันกับวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์
(ค) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบ และแจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในวันทําการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
(ง) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระเงินคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
(จ) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในวันปิดสมุดทะเบียนตาม (1) (ก) ทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และชําระเงินที่รวบรวมได้ตาม (1) (ง) คืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเมื่อได้ดําเนินการชําระเงินแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียน และดําเนินการปิดสมุดทะเบียนอีกครั้งหนึ่งเมื่อครบระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่มีการปิดสมุดทะเบียนในครั้งก่อน พร้อมทั้งดําเนินการดังนี้
(ก) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่า 35 ราย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมโดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดใน (1)
(ข) ในกรณีที่การปิดสมุดทะเบียนในครั้งหลังมีผู้ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 35 รายขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งผลการปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 106/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบ และแจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในวันทําการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 123/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1 โดยวิธีการดังนี้
(ก) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
(ข) แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ดูแลผลประโยชน์
(ค) แจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อมูลที่แจ้งตาม (2) วรรคหนึ่งต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการโอนย้ายการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นตามแนวทางที่กําหนดไว้ในโครงการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นอีกทอดหนึ่ง ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกําหนด และผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังนี้
1. เป็นการโอนย้ายตามคําสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกโดยโอนย้ายไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน
2. เป็นการโอนย้ายการลงทุนภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด ทั้งนี้ ในการกําหนดระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงระยะเวลาที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะสามารถดําเนินการเพื่อแจ้งโอนย้ายการลงทุนได้อย่างเหมาะสม”
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 977 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 21) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่
ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 12/05/63 CSDS เลขที่ 51/63 .
ครั้งที่ 2 ผ่านทาง ระบบ CSDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 35/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 21)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 27/1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวันหรือเวลาในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในโครงการหรือข้อผูกพันของกองทุนรวมใดเป็นการชั่วคราว อันเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวันหรือเวลาของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมไปลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถดําเนินการดังกล่าวได้เพียงเท่าที่มีความจําเป็น ทั้งนี้ ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการหรือข้อผูกพันแล้ว”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 978 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 49/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 22) | -ร่าง-
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่
ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 08/07/63 CSDS เลขที่ 25/2563
ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 49/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 22)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8(6) และข้อ 9 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (14) ของวรรคหนึ่งในข้อ 37 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(14) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียง (ถ้ามี) โดยให้ระบุจํานวนบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลนั้นด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 979 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 67/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 23) | ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 20/01/2563 CSDS เลขที่ 82/2562
ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS .
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 67/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 23)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 40 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 40 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ ตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
(1) รายงานรายละเอียดของหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ทุกกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้เป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(2) รายงานสถานะและการลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(3) รายงานการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเปิดเป็นรายวัน โดยให้จัดส่งภายในวันทําการถัดไป”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 980 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 70/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 24) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 70/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 24)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 981 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 16/256058
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสาม และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ในประกาศนี้
คําว่า “บริษัทจัดการ” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” และ “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน
“ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน”
“วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่า 1 นโยบาย โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้น
เพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย
“กองทุนต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนใดกองทุนหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(2) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปแบบบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(3) กองทรัสต์หรือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 152 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 152 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวตามข้อ 45 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3)
ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดส่งข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่มีการลงทุนดังกล่าว และจัดเก็บสําเนาข้อมูลไว้ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 982 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 87/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่า 1 นโยบาย โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว
“กองทุนสํารองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย
“กองทุนต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนใดกองทุนหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
(2) กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้ง
(3) กองทรัสต์หรือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด
“ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน
ภาค ๑ ข้อกําหนดที่ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวม
และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ ผู้จัดการกองทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓ ในหมวดนี้
“พนักงานที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พนักงานของบริษัทจัดการที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ
การลงทุนของกองทุนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ข้อ ๔ ในการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน บริษัทจัดการต้องพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทอื่น และต้องไม่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่บุคคลอื่นที่ดําเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของบริษัทจัดการ เว้นแต่บริษัทจัดการแสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้
(2) ในกรณีที่แต่งตั้งพนักงานของบริษัทจัดการเป็นผู้จัดการกองทุน บุคคลดังกล่าวต้องดํารงตําแหน่งที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน
(ข) ตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการของบริษัทจัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน
ข้อ ๕ บริษัทจัดการต้องให้ความรู้หรือจัดอบรมแก่ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังต่อไปนี้ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(1) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
(2) มาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงานกําหนดหรือที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(3) จรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนด
(4) นโยบายและกฎระเบียบภายในของบริษัทจัดการ
ในกรณีที่มีการออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลดังกล่าวด้วยทุกครั้ง
หมวด ๒ การดําเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
ภาค ๒ การจัดการกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ ในภาคนี้
“ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
“โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม
“มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทําการที่คํานวณนั้น
“ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม
“วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดไว้ในโครงการ
“ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ผู้ดูแลผลประโยชน์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมในภายหลัง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุดังกล่าว และแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในกําหนดเวลาตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน
ส่วน ๒ การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ในการจัดการกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ
(2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังนี้
(ก) วันทําการสุดท้ายของเดือน โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมปิดที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ประกาศ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการล่าสุด โดยให้เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ภายในวันทําการถัดไป
(ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป
(ค) วันทําการก่อนวันขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน โดยให้ประกาศภายในวันขายหน่วยลงทุน
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนที่ประกาศตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องใช้ตัวเลขทศนิยมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11 และต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว
เว้นแต่ได้กําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่น การประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น และภายในเวลาที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้
ข้อ ๑๐ ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ
(2) คํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคา
ดังกล่าว
(3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังนี้
(ก) วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่เปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ ให้ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังนี้เพิ่มเติมด้วย
1. วันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด เว้นแต่กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
2. วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมกําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันยาวกว่า 1 เดือน
(ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป
(4) ประกาศราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของวันทําการ
ซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป
การประกาศมูลค่าและราคาตามวรรคหนึ่ง (3) และ (4) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ใช้ตัวเลขทศนิยมตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11 และต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว
(2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่น การประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น และภายในเวลาที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้
(3) จัดให้มีข้อมูลดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และสถานที่ทุกแห่งที่ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนใช้ซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อมูลดังกล่าวด้วยหรือไม่ก็ได้
ข้อ ๑๑ การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมปิด
(ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 2 ตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 5 ตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 4 ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ 5 ทิ้ง
(2) กรณีกองทุนรวมเปิด
(ก) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 2 ตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(ข) คํานวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 5 ตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล สําหรับมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนให้ปัดเศษทศนิยมตําแหน่งที่ 4 ขึ้น ส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้ตัดทศนิยมตําแหน่งที่ 5 ทิ้ง
(ค) ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2) (ข) เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 4 ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ 5 ทิ้ง และประกาศราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่คํานวณได้ใน (2) (ข)
(ง) คํานวณจํานวนหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 5 ตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล แต่ให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมเพียง 4 ตําแหน่ง โดยตัดทศนิยมตําแหน่งที่ 5 ทิ้ง
ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคํานวณตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําผลประโยชน์นั้นรวมเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม
ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 9 และข้อ 10 เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน โดยให้ได้รับยกเว้นเฉพาะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
(2) เมื่อมีเหตุที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเลิกกองทุนรวม โดยให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว
ส่วน ๓ การดําเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุน
หรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ ในส่วนนี้
“การชดเชยราคา” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนที่มีราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง แทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุน
“ราคาหน่วยลงทุน” หมายความว่า ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่า 1 สตางค์ หรือคิดเป็นอัตราไม่ถึงร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบถึงความไม่ถูกต้องภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง โดยรายงานดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญดังนี้
(ก) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง
(ข) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
(ค) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
(ง) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ในกรณีที่
ความไม่ถูกต้องมิได้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้
(2) ในกรณีที่สาเหตุที่ทําให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีผลต่อเนื่องถึงการคํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนครั้งต่อไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องตั้งแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาไม่ถูกต้อง
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) คํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจนถึงวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนถูกต้อง
(2) ดําเนินการดังนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว
(ก) จัดทํารายงานการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังเสร็จสิ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์
รายงานตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) วรรคหนึ่ง ให้มีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 14(1) โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีของรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังของกองทุนรวมเปิด ให้ระบุการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องไว้แทนข้อมูลตามข้อ 14(1) (ง)
(ข) แก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องภายในวันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตามวรรคหนึ่ง (2) (ก)
(ค) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถรับทราบชื่อกองทุนรวมที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน และวัน เดือน ปี ที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตามวรรคหนึ่ง (2) (ก)
ความในวรรคหนึ่ง (2) (ค) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมปิดที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และได้ประกาศการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนตามระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แล้ว
ข้อ ๑๖ นอกจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 แล้ว ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว
(1) จัดทํารายงานการชดเชยราคาไว้ในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ด้วย โดยให้อยู่ในส่วนของการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
(2) ชดเชยราคาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 17 ให้แล้วเสร็จและดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องทราบถึงการแก้ไขราคาตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) (ข) และการชดเชยราคา ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา
(3) จัดทํามาตรการป้องกันเพื่อมิให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งสําเนารายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ให้สํานักงานภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนาเอกสารที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้มาพร้อมสําเนารายงานดังกล่าวแทน
ข้อ ๑๗ ในการชดเชยราคาตามข้อ 16(2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่ํากว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน
1. ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
2. หากปรากฏว่าผู้ซื้อหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง เป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว
(ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน แต่หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน
(2) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องสูงกว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุน
(ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
1. ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง
2. หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แกกองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชดเชยราคาเป็นเงินให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนรายใดมีมูลค่าไม่ถึง 100 บาท บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจนําเงินชดเชยราคาไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่มีการจ่ายเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีสถานะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชดเชยราคาให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา
การจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือผู้ซื้อหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองแทนกองทุนรวมเปิดก็ได้
ข้อ ๑๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีสําเนารายงานตามข้อ 14(1) และข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวม เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจากกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้
ส่วน ๔ การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๐ เว้นแต่จะมีประกาศกําหนดให้ดําเนินการเป็นอย่างอื่นได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) รับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่มีการสงวนสิทธิในการรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่รับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนตามกรณีที่สงวนสิทธิไว้ก็ได้
(2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนและเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืน ในวันทําการถัดจากวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
(3) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม Part I : Qualifications of the CIS Operator, Trustee/Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters ซึ่งอยู่ใน Appendix C: Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes
(ข) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศตามประกาศการลงทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (3) (ก) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยมิให้นับรวมวันหยุดทําการในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุเกี่ยวกับวันหยุดทําการในต่างประเทศดังกล่าวไว้แล้วในโครงการ
(ค) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นซึ่งมิใช่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (3) (ก) และ (ข) ต้องไม่เกินกว่า 5 วันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(4) จัดให้มีข้อความในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนรับทราบและยินยอมเข้าผูกพันตามรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานและที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนข้อผูกพันที่จัดทําขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามประกาศนี้หรือประกาศอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนที่รับซื้อคืนตามวรรคหนึ่ง (2) ภายในวันทําการถัดจากวันที่มีหน้าที่คํานวณเมื่อสิ้นสุดการผ่อนผัน และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการผ่อนผัน หรือภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดไว้ในคําสั่งผ่อนผัน
บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) ในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุนซึ่งมีการลงทุนเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 21 อาจกําหนดให้มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งก็ได้ แต่ต้องมีการระบุไว้ในโครงการ และเป็นการขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 22
ข้อ ๒๑ กองทุนรวมที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 20 วรรคสาม ที่อาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ จะต้องมีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) เป็นการลงทุนในตราสารหรือเข้าทําสัญญาที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) ตราสารของผู้ออกตาม (1) ต้องเสนอขายในประเทศไทย หรือเป็นการเข้าทําสัญญาตาม (1) ในประเทศไทย
(3) การชําระหนี้ตามตราสารหรือสัญญาต้องกําหนดให้ชําระเป็นสกุลเงินบาท
ข้อ ๒๒ ในการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมตามข้อ 21 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนต้องอยู่ภายในวงเงินรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการ โดยการจัดสรรวงเงินดังกล่าวเป็นไปตามลําดับก่อนหลัง (first come first serve basis)
(2) การคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งในเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติ ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
(ข) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งหลังเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติจนถึงเวลาเริ่มต้นของเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไป ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไปนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
(3) วงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละคนขายคืนหน่วยลงทุนได้ ต้องไม่เกินวงเงินดังนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า
(ก) 20,000 บาท โดยให้คํานวณจากคําสั่งทั้งหมดที่ส่งโดยใช้ฐานของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเดียวกัน
(ข) ร้อยละ 80 ของมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุด โดยให้นับรวมคําสั่งขายคืนทั้งหมดที่ยังไม่ได้หักออกจากมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุดนั้น
(4) จัดให้มีมาตรการในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมอย่างเพียงพอและเหมาะสม
(5) เปิดเผยหลักเกณฑ์การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตาม (1) (2) และ (3) ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๒๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่กระทําการใด หรือรู้เห็นหรือตกลงกับบุคคลอื่นในการกระทําการใด ที่ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับประโยชน์เสมือนหนึ่งว่าได้รับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยไม่เป็นไปตามกําหนดเวลาในข้อ 20 วรรคหนึ่ง (3)
ข้อ ๒๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไว้แล้วได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้ในโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นกรณีที่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้ โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว
(ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่ายโอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล
(ข) มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทจัดการกองทุนรวม
(2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนก่อนหรือในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่า ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 15 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา
ข้อ ๒๕ การเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 24 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนได้ไม่เกิน 10 วันทําการนับแต่วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเลื่อนกําหนดการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบเรื่องดังกล่าวด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน
(3) แจ้งการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน พร้อมทั้งจัดส่งรายงานที่แสดงเหตุผลของการเลื่อน และหลักฐานการได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 24(1) หรือการรับรองข้อมูลของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 24(2) ต่อสํานักงานโดยพลัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดําเนินการแทนก็ได้
(4) ในระหว่างการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน หากมีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น โดยต้องชําระค่าขายคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามลําดับวันที่ส่งคําสั่งขายคืนก่อนหลัง
ข้อ ๒๖ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดการขายหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทพบว่าราคาขายหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามข้อ 15 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา โดยแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการหยุดขายหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดตรงกับวันที่สํานักงานได้ประกาศกําหนดให้เป็นวันหยุดทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นกรณีพิเศษ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับวันดังกล่าว และต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการหยุดรับคําสั่งในกรณีดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5 วันทําการก่อนถึงวันหยุดทําการกรณีพิเศษนั้น โดยการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
ข้อ ๒๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้ในโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้
(1) ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว ซึ่งให้กระทําได้ไม่เกิน 1 วันทําการ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันเวลาดังกล่าวจากสํานักงาน
(ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล
(ข) ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม
(ค) มีเหตุจําเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
(3) กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ และมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ
(ก)ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แห่งนั้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(ข)มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ หรือ
(ค) มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่เหนือการควบคุมของบริษัทจัดการกองทุนรวม และผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นชอบด้วยแล้ว
(4) เป็นการไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่รับไว้แล้ว หรือเป็นการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน แก่ผู้ลงทุนเฉพาะราย เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ลงทุนรายนั้น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. การกระทําที่เป็นความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมาย เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
2. การให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
3. การกระทําที่เป็นการปฏิบัติตามคําสั่งเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินโดยบุคคลผู้มีอํานาจตามกฎหมาย
(ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการรู้จักลูกค้า และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้ในสาระสําคัญ
ข้อ ๒๙ เมื่อปรากฏเหตุตามข้อ 28 และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน และหากเป็นเหตุตามข้อ 28(1) (2) หรือ (3) ให้เปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลันด้วย
(2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน
(3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 28(1) (2) และ (3) เกิน 1 วันทําการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังนี้ ก่อนการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน
(ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน
(ข) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน
ข้อ 30 เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่สํานักงานประกาศซึ่งไม่เกิน 20 วันทําการติดต่อกัน
ข้อ ๓๐ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่สํานักงานประกาศซึ่งไม่เกิน 20 วันทําการติดต่อกัน
ข้อ ๓๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้กําหนดกรณีที่เป็นเงื่อนไขการชําระและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในข้อผูกพัน โดยขั้นตอนที่กําหนดดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดนั้นทุกราย ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงื่อนไขมีได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมเปิดกําหนดวิธีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้สามารถชําระเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินไว้เป็นการทั่วไป
(2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นไปชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ
(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเงิน
(4) ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงรับชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้
ส่วน ๕ การจัดทํารายงานของกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๒ ในส่วนนี้
“บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ฐานะการลงทุนสุทธิ” (net exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนสุทธิในทรัพย์สินไม่ว่าเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น
ข้อ ๓๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของแต่ละกองทุนรวมทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม เป็นรายเดือนดังต่อไปนี้
(1) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมที่จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด
(2) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมโดยมีสาระสําคัญดังนี้
(ก) กรณีกองทุนรวมตราสารทุน ให้เปิดเผยชื่อหลักทรัพย์และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ตลอดจนน้ําหนักการลงทุนในหลักทรัพย์และกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น
(ข) กรณีกองทุนรวมตราสารหนี้ ให้เปิดเผยชื่อตราสารหนี้ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ตลอดจนอันดับความน่าเชื่อถือและน้ําหนักการลงทุนในตราสารหนี้นั้น
(ค)กรณีกองทุนรวมผสม ให้เปิดเผยชื่อหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด5 อันดับแรก และน้ําหนักการลงทุนในหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นตราสารหนี้ ให้เปิดเผยอันดับความน่าเชื่อถือด้วย
(ง) กรณีกองทุนรวมที่มีฐานะการลงทุนสุทธิในหน่วยของกองทุนต่างประเทศกองทุนใดกองทุนหนึ่ง เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้เปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนต่างประเทศนั้น เท่าที่กองทุนต่างประเทศนั้นได้เปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปหรือเท่าที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเข้าถึงได้
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้กระทําภายใน 15 วันนับแต่วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน เว้นแต่กรณีตามวรรคหนึ่ง (2) (ง) ให้กระทําภายใน 15 วันนับแต่วันที่กองทุนต่างประเทศนั้นเปิดเผยข้อมูลการลงทุนเป็นวันแรก
ข้อ ๓๔ บริษัทจัดการจะไม่จัดทําและเปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมเป็นรายเดือนตามข้อ 33 ก็ได้ หากเป็นกรณีที่เป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้ประกอบกัน
(1) กองทุนรวมดังกล่าวมีกลยุทธ์มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียว โดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุของทรัพย์สินหรือครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม (buy-and-hold fund)
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แสดงข้อมูลการลงทุนตามข้อ 33 วรรคหนึ่ง (2) ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตลอดจนได้เปิดเผยให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบถึงแหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลการลงทุนได้เองแล้ว
ข้อ ๓๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมทุกรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งมีสาระตามที่กําหนดไว้ในข้อ 37 วรรคหนึ่ง และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนรวมเปิด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกจัดทําและส่งรายงานตามข้อ 36 ตามปีปฏิทิน ให้ระยะเวลาการส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมของรอบระยะเวลาบัญชีขยายเป็นภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
การส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีให้แก่สํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้
การส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดกากองทุนรวมดําเนินการอย่างน้อยด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งรายงานดังกล่าวในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(2) เผยแพร่รายงานดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยต้องมีการแจ้งช่องทางการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแจ้งความประสงค์ให้จัดส่งรายงานดังกล่าวโดยวิธีการตามวรรคสาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามวิธีการดังกล่าวด้วย
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กําหนดไว้ในข้อ 102 และข้อ 103 โดยเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกําหนดจัดทําหรือจัดส่งรายงานดังกล่าว
ข้อ ๓๖ นอกจากการจัดทํารายงานทุกรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 35 แล้ว ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมเปิดทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทิน ซึ่งมีสาระตามที่กําหนดไว้ในข้อ 37 วรรคสองด้วย และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายใน 2 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลา 6 เดือนดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกจัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่งตามรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทําและส่งรายงานดังกล่าวในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลังสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ให้นําความในข้อ 35 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๗ การจัดทํารายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 35 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) งบดุล งบกําไรขาดทุน และงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(2) รายละเอียดเงินลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวมที่ต้องแสดงการจัดกลุ่มให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามคําอธิบายที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(3) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนด
(4) ค่านายหน้าทั้งหมดจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนรวม รายชื่อบริษัทนายหน้าที่ได้รับค่านายหน้าในจํานวนสูงสุด 10 อันดับแรก อัตราส่วนของจํานวนค่านายหน้าที่บริษัทนายหน้าแต่ละรายดังกล่าวได้รับต่อจํานวนค่านายหน้าทั้งหมด และอัตราส่วนของจํานวนค่านายหน้าส่วนที่เหลือต่อจํานวนค่านายหน้าทั้งหมด
(5) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน
(6) ข้อมูลอัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุนรวม (portfolio turnover ratio) ซึ่งคํานวณจากมูลค่าที่ต่ํากว่าระหว่างผลรวมของมูลค่าการซื้อทรัพย์สินกับผลรวมของมูลค่าการขายทรัพย์สิน ที่กองทุนรวมลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา หารด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
(7) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้า ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน (complex strategic investment) หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความซับซ้อน (exotic derivatives) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมอธิบายสาเหตุที่ค่าเฉลี่ยของมูลค่าธุรกรรมในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริง (average actual leverage) เกินกว่าที่บริษัทจัดการประมาณการไว้ (expected gross leverage) ตามหนังสือชี้ชวน
(8) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการกองทุนรวม
(9) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนเฉลี่ยในรอบระยะเวลาที่กําหนด ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผล
(10) ข้อมูลการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(11) ข้อมูลการบันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็น 0 ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ (ถ้ามี)
(12) ข้อมูลการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น (ถ้ามี)
(13) ข้อมูลการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมของรอบปีปฏิทินล่าสุด
(14) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี) โดยให้ระบุจํานวนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นด้วย
(15) รายชื่อผู้จัดการกองทุนของกองทุนรวม
การจัดทํารายงานรอบระยะเวลา 6 เดือนตามข้อ 36 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (9) โดยอนุโลม เว้นแต่งบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) ไม่จําต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี
ข้อ ๓๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเงินลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง (2) ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นรายไตรมาส โดยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายใน60 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและเปิดเผยข้อมูลอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนซึ่งได้จากการคํานวณค่าตามมาตรฐานสากล และสัดส่วนของการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงต่อมูลค่าทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมด้วย
ข้อ ๓๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีรายงานตามข้อ 35 และข้อ 36 ของรอบระยะเวลาล่าสุดไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ
ข้อ ๔๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ ตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
(1) รายงานรายละเอียดของหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ทุกกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้เป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(2) รายงานสถานะและการลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(3) รายงานการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเปิดเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(4) รายงานการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมเปิดเป็นรายวัน โดยให้จัดส่งภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกองทุนรวมเปิดประเภทที่มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบอัตโนมัติ (auto redemption) และกองทุนรวมเปิดประเภทอื่น ๆ ตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๔๑ ในกรณีที่กองทุนรวมมีฐานะการลงทุนสุทธิในหน่วยของกองทุนต่างประเทศกองทุนใดกองทุนหนึ่ง เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําข้อมูลของกองทุนรวม ทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทิน และทุกรอบระยะเวลาบัญชี โดยมีสาระสําคัญประกอบกันดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนต่างประเทศ
(2) ความผันผวนของผลการดําเนินงานของกองทุนต่างประเทศ
การจัดทําข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลของกองทุนต่างประเทศ เท่าที่กองทุนต่างประเทศนั้นได้เปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปหรือเท่าที่บริษัทจัดการสามารถเข้าถึงได้
ข้อ ๔๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานช่องทางการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมทั้งหมดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวม ทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนของปีปฏิทิน ทั้งนี้ ตามแบบที่สํานักงานกําหนดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และส่งรายงานดังกล่าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว
ข้อ ๔๓ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานการทําธุรกรรมดังกล่าวเป็นรายเดือน โดยระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) รายชื่อคู่สัญญา และวัน เดือน และปีที่ทําธุรกรรม
(2) ชื่อ ประเภท และมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ณ วันทําธุรกรรม
(3) อัตราผลตอบแทนต่อปี และอายุของสัญญา
(4) ชื่อและประเภทของหลักประกัน
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดเก็บรายงานที่จัดทําตามวรรคหนึ่งไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๔๔ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือเงินฝาก ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) รายงานสรุปจํานวนเงินลงทุนในตราสารหนี้ ตราตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือเงินฝาก และสัดส่วนเงินลงทุนดังกล่าวต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยแบ่งข้อมูลตามกลุ่มดังนี้
(ก) กลุ่มตราสารภาครัฐไทย และตราสารภาครัฐต่างประเทศ
(ข) กลุ่มตราสารของธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้อาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน
(ค) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้
(ง) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(2) รายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือเงินฝากที่ลงทุนหรือมีไว้เป็นรายตัว
(3) สัดส่วนเงินลงทุนขั้นสูงต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมตั้งไว้ในแผนการลงทุนสําหรับกลุ่มตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) (ง)
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเปิดเผยข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งเป็นรายเดือนทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือน
ในการเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจใช้วิธีเปิดเผยรายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวเป็นรายกลุ่มตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) (ข) (ค) และ (ง) แทนการเปิดเผยเป็นรายตัวก็ได้
ข้อ ๔๕ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ใช้ในการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาหรือตราสารดังกล่าว ตลอดจนผลกําไรหรือผลขาดทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคาดว่าจะได้รับ
(2) การวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา ในกรณีของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) แผนการรองรับในการชําระหนี้ตามสัญญาหรือตราสารดังกล่าว
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งข้อมูลที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่มีการลงทุนดังกล่าว และจัดเก็บสําเนาข้อมูลไว้ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๔๖ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานกํากับดูแลธุรกิจกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ เมื่อสํานักงานร้องขอ โดยข้อมูลที่จัดส่งให้เป็นไปตามรูปแบบ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบล่วงหน้า
(1) ข้อมูลตามรายการที่สํานักงานกําหนด โดยให้ส่งผ่านระบบจัดส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(2) รายงานอื่นใดที่เกี่ยวกับการดําเนินงานจัดการกองทุนรวม
การจัดส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ส่วน ๖ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๗ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน นอกเหนือจากข้อ 51 และข้อ 52 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เว้นแต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามข้อ 48 บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าว
เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว สํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บจากกองทุนรวม
ข้อ ๔๘ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือสํานักงานกําหนด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้
ข้อ ๔๙ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่เกินร้อยละ 55 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อคํานวณเฉพาะหน่วยลงทุนแต่ละชนิด มีจํานวนไม่เกินร้อยละ 55 ของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น
ข้อ ๕๐ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการใด หากไม่สามารถดําเนินการตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ เนื่องจากข้อจํากัดในการนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดได้
ข้อ ๕๑ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อได้รับ
อนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 8 แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
ในเรื่องดังกล่าวได้
ข้อ ๕๒ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิด ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 97 วรรคสอง
ส่วน ๗ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๓ ในส่วนนี้
“เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
“เงินทุนโครงการ” หมายความว่า เงินทุนโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอจดทะเบียนไว้กับสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
ข้อ ๕๔ ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนได้ไม่เกินกว่าจํานวนเงินทุนโครงการที่จดทะเบียนไว้แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และจะแก้ไขเพื่อเพิ่มเงินทุนโครงการอีกไม่ได้
ข้อ ๕๕ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การขายหน่วยลงทุนเพิ่มจะต้องไม่ทําให้มูลค่าทั้งหมดของหน่วยลงทุนที่เพิ่มมีมูลค่าเกินกว่าเงินทุนโครงการ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
(2) ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนต้องกําหนดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ สิ้นวันที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่ม
(3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนตามจํานวนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนโครงการได้ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการต่อสํานักงานแล้ว
ส่วน ๘ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๖ กองทุนรวมใดที่ไม่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากประสงค์จะมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หรือกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนอยู่แล้ว หากจะมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะของชนิดหน่วยลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนต้องไม่กระทบสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนเดิม
ข้อ ๕๗ ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากชนิดหนึ่งเป็นหน่วยลงทุนอีกชนิดหนึ่งได้โดยต้องระบุวิธีการสับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ในโครงการให้ชัดเจน
ข้อ ๕๘ ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนนอกจากจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน หรือที่กําหนดไว้ในมาตรา 129 หรือตามที่กําหนดในประกาศนี้ การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด โดยแต่ละชนิดได้รับผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เท่ากัน ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด
(2) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ว่ากรณีใด ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกว่าร้อยละ 50ของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด
(3) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น
บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งไว้อย่างชัดเจนในข้อผูกพันด้วย
ข้อ ๖๐ ในกรณีที่หน่วยลงทุนชนิดใดของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ไม่มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนเหลืออยู่แล้วสําหรับหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจคงชนิดของหน่วยลงทุนนั้นไว้ต่อไปก็ได้ และหากจะมีการขายหน่วยลงทุนชนิดนั้นเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี ตามความเหมาะสมของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
ส่วน ๙ การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิด
เป็นกองทุนรวมเปิด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๑ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก
(2) ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้แก้ไขโครงการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด
ข้อ ๖๒ ในการดําเนินการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดในการที่จะออกจากกองทุนรวมดังกล่าว และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชําระค่าหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว โดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันทําการก่อนวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
(ข) การชําระค่าหน่วยลงทุนตาม (ก) ให้กระทําภายใน 5 วันทําการนับแต่วันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิด โดยให้นับวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นวันแรกของระยะเวลาดังกล่าว
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด ซึ่งมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิดโดยการเปลี่ยนสภาพ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามข้อ 74 แทน
(2) ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานตามแบบที่จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมข้อผูกพันและสัญญาแต่งตั้งดูแลผลประโยชน์ที่มีการลงนามแล้วในกรณีที่มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวม รวมทั้งรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ในวันทําการที่ 3 ล่วงหน้าก่อนวันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด
(ก) การแก้ไขรายการทางทะเบียนแสดงสภาพของกองทุนรวม
(ข) การจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือเงินทุนโครงการของกองทุนรวม (ถ้ามี)
(3) จัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิด และจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้สํานักงานไม่น้อยกว่า 1 วันทําการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ประชาชน โดยการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนต้องแนบข้อมูลดังนี้ด้วย
(ก) ประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมนั้น
(ข) งบการเงินประจํารอบระยะเวลาบัญชีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(ค) รายงานฐานะการลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน ราคาที่ได้มา มูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น และอัตราส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมโดยแยกเป็นแต่ละรายการ และตามประเภทธุรกิจหลักที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด
ข้อ ๖๓ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการกําหนดไว้ในโครงการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดได้รับคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนเมื่อกองทุนรวมมีการเปลี่ยนสภาพ
จากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด หากดําเนินการตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 62(1) วรรคหนึ่ง
(1) ดําเนินการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมเมื่อครบอายุโครงการเดิม
(2) ดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนตามสิทธิที่ระบุไว้ในโครงการเดิมสําหรับการสิ้นสุดอายุโครงการของกองทุนรวมปิด
(3) ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนให้แก้ไขโครงการเป็นกองทุนรวมเปิดตามข้อ 61 ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนต้องได้รับมติตามข้อ 58 ด้วย
ให้นําความในข้อ 62(1) วรรคหนึ่ง (ก) และ (ข) มาใช้บังคับกับการดําเนินการคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
ข้อ ๖๔ มิให้นําความในข้อ 101(1) และข้อ 102(1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ในวันสุดท้ายของการเป็นกองทุนรวมปิดและในวันทําการแรกที่มีผลเป็นกองทุนรวมเปิด
ข้อ ๖๕ ให้ถือว่าวันที่สํานักงานรับจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนตามข้อ 62(2) (ก) เป็นวันเริ่มต้นมีผลเป็นโครงการจัดการกองทุนรวมเปิด
ส่วน ๑๐ การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๖ ในส่วนนี้
“ควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิและหน้าที่ของกองทุนรวมเดิม และเลิกกองทุนรวมเดิม
“รวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอน
“ควบรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม แล้วแต่กรณี
“กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม
“กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน
ข้อ ๖๗ การควบรวมกองทุนรวมต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม และการควบรวมกองทุนรวมแต่ละครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย
ข้อ ๖๘ กองทุนรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไปจะดําเนินการเพื่อควบรวมกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการและข้อผูกพัน ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ได้รับมติเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว
(2) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมออกเสียงน้อยกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือออกเสียงตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการแต่ไม่ได้มติโดยเสียงข้างมากด้านใดด้านหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะควบรวมกองทุนรวมต่อไป ให้ดําเนินการขอมติครั้งใหม่ภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมครั้งแรกหรือวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในการขอมติครั้งแรก และได้รับมติในครั้งหลังนี้เกินกว่าร้อยละ 50ของจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งออกเสียงลงมติของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งผลการนับมติครั้งแรกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดรายละเอียของโครงการและข้อผูกพันใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและข้อผูกพันที่รับโอน (ถ้ามี) พร้อมทั้งขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนไปในคราวเดียวกันด้วย
ในการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดด้วย และหากได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง (1) ให้ถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมตามข้อ 61(2) แล้ว
ข้อ ๖๙ การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 68 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุม หรือส่งหนังสือขอมติล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันที่กําหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน โดยเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรทราบเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ให้ชัดเจนไว้ในหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติดังกล่าว
(1) สถานะการลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนที่เป็นปัจจุบันก่อนการขอมติควบรวมกองทุนรวม ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดเป็นรายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น โดยระบุประเภท ชื่อ จํานวน อัตราผลตอบแทน (ถ้ามี) มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับกิจการที่ดําเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทําการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุด และผลการดําเนินงานล่าสุดของกองทุนรวม
(2) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสําคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการควบรวมกองทุนรวมแล้ว โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและวัตถุประสงค์ของโครงการ นโยบายการลงทุน และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนและจากกองทุนรวม เป็นอย่างน้อย
(3) ขั้นตอน สาระสําคัญของการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน และกําหนดเวลาในการควบรวมกองทุนรวม
(4) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม
(5) รายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ประมาณการฐานะการเงินของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน
(6) การดําเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) ก่อนการควบรวมกองทุนรวม และนโยบายการจ่ายเงินปันผลภายหลังการควบรวมกองทุนรวม (ถ้ามี)
(7) ค่าใช้จ่ายในการควบรวมกองทุนรวมที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุนรวม (ถ้ามี) เช่น ค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชี เป็นต้น
(8) ข้อดีและข้อเสียหลังจากมีการควบรวมกองทุนรวม เช่น ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง หรือสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะที่เกินความจริง
เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสําเนาหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติ พร้อมด้วยเอกสารดังกล่าวไปยังสํานักงานภายใน 3 วันทําการนับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติ
ข้อ ๗๐ ในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติเพื่อควบรวมกองทุนรวมถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหน่วยลงทุนตามคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ โดยการปิดประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และจัดให้มีการประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
ในช่วงระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานแสดงสถานะการลงทุนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละสัปดาห์ของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และจัดให้มีรายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการกองทุนรวมและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสําเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ
ข้อ ๗๑ เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้มีการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 68 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการใหม่ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่จะควบรวมกองทุนรวม
(2) ร่างข้อผูกพันใหม่กับบริษัทจัดการกองทุนรวม ร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมใหม่ และร่างหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน รวมทั้งร่างข้อผูกพันและร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่รับโอน ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อผูกพันและสัญญาดังกล่าว
(3) หนังสือรับรองการได้มติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม
(4) รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน สถานะการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงาน
สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายใน 45 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๗๒ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําการควบรวมกองทุนรวมแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานอนุมัติโครงการใหม่หรือให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่ควบรวมกองทุนดังกล่าว และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมควบรวมกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นวันเดียวกันกับวันที่ควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว
ข้อ ๗๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมบอกกล่าวการควบรวมกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและข้อผูกพัน (ถ้ามี) ตลอดจนสิทธิและกําหนดเวลาในการใช้สิทธิขอผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอน ตามวิธีการดังต่อไปนี้ภายใน15 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนทราบเป็นหนังสือพร้อมสรุปสาระสําคัญของโครงการและข้อผูกพันใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน วันที่จะควบรวมกองทุน วันเริ่มทําการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยระบุวัน เดือน ปี อย่างชัดแจ้ง และสถานที่ติดต่อเพื่อสอบถามหรือรับข้อมูลเพิ่มเติม
(2) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจําหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อย 2 ฉบับเป็นเวลา 2 วันติดต่อกัน
ในกรณีที่เป็นการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด นอกจากการแจ้งและประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งและประกาศการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 68 วรรคสี่ด้วย
ข้อ ๗๔ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้มีหนังสือแจ้งและประกาศการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 73 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามโครงการและข้อผูกพันเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนในการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน แล้วแต่กรณี
สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงในการควบรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ โดยวิธีการนั้นต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คํานึงถึมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในเวลาก่อนหน้าการควบรวมกองทุนรวม ตลอดจนโอกาสในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย
ข้อ ๗๕ ในกรณีของการควบกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่ และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กําหนดในโครงการและข้อผูกพันใหม่มาเป็นของกองทุนรวมใหม่ ส่วนในกรณีของการรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอน และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนตามที่กําหนดในโครงการและข้อผูกพันที่รับโอนมาเป็นของกองทุนรวมที่รับโอน ทั้งนี้ สําหรับการซื้อหรือรับโอนสิทธิเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างการฟ้องคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการนั้น
ในกรณีที่กองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อให้หลักประกันนั้นตกเป็นหลักประกันแก่กองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนด้วย
ข้อ ๗๖ ในการขายหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการควบรวมกองทุนรวม ถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 69 เกี่ยวกับการดําเนินการควบรวมกองทุนต่อผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวมหากมีการควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวด้วย
ข้อ ๗๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและส่วนข้อมูลโครงการที่เป็นปัจจุบันของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยระบุวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม รวมทั้งประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนไว้ด้วย และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้สํานักงานไม่น้อยกว่า1 วันทําการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญให้ประชาชน
ข้อ ๗๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือแจ้งสถานะการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน ไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 15 วันนับแต่วันที่ควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ
ส่วน ๑๑ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้
หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
ผิดนัดชําระหนี้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗๙ ในส่วนนี้
“สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“เงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้” หมายความว่า เงินได้จากการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น รายได้ที่เกิดจากการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน ตลอดจนดอกผลที่ได้จากทรัพย์สินดังกล่าว และเงินสํารอง (ถ้ามี) หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการได้มา การมีไว้ หรือการจําหน่ายทรัพย์สินนั้น
“เงินสํารอง” หมายความว่า จํานวนเงินที่ตั้งสํารองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น
ข้อ ๘๐ ในการจัดการกองทุนรวม หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๘๑ กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็น 0 ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็น 0 เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 82 ก่อนแล้ว
ข้อ ๘๒ ในกรณีที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ก็ได้ ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนําตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้นมารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ ๘๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 81 หรือข้อ 82 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งประเภท จํานวน ชื่อผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องและเงินสํารอง (ถ้ามี) รวมทั้งวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมบันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็น 0 หรือวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี ไปยังสํานักงานภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็น 0 หรือนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 81 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีรายละเอียดตามวรรคแรกไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งสํานักงานเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วันด้วย
ข้อ ๘๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ดําเนินการตามข้อ 81 หรือข้อ 82 แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในข้อผูกพัน
(2) ก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการนั้น หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่าในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น
ข้อ ๘๕ ในการขอความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 84 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น
(2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํา ซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้
ข้อ ๘๖ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังสํานักงานภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา
(2) จัดให้มีรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง (1) ไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน
กรณีเป็นกองทุนรวมปิด นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุไว้ในการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนในครั้งถัดจากวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาว่า กองทุนรวมได้รับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นซึ่งผู้ลงทุนสามารถขอดูรายละเอียดได้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้ระบุไว้ในการประกาศดังกล่าวไม่น้อยกว่า 3 ครั้งติดต่อกัน
ข้อ ๘๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๘๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 81 หรือข้อ 82 บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(2) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ ๘๙ 89 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามข้อ 81 หรือข้อ 82 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ตกลงรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวแทนเงิน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในข้อผูกพันและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ในระหว่างที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้
(2) กรณีอื่นนอกเหนือจากวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมก็ได้
(ข) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ และในระหว่างที่บริษัทยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมบันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็น 0 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายจากเงินสํารอง รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการบริหารทรัพย์สินนั้น
ข้อ ๙๐ เมื่อมีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ในแต่ละครั้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเฉลี่ยเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามข้อ 81 หรือข้อ 82 แล้วแต่กรณี ภายใน 45 วันนับแต่วันที่มีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ และให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเฉลี่ยเงินคืนไปยังสํานักงานภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้เฉลี่ยเงินคืน เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันระยะเวลาการเฉลี่ยเงินคืนเป็นอย่างอื่น
ในการเฉลี่ยเงินคืนในแต่ละครั้งตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้ไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่การเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะคุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายก็ได้ ทั้งนี้ หากได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นจนครบถ้วนแล้ว และปรากฏว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้นไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืน บริษัทอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่น
ที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมก็ได้
บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดหลักเกณฑ์ตามวรรคสองไว้ในข้อผูกพันแล้ว
ข้อ ๙๑ กองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็น 0 หากต่อมาปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับชําระหนี้ตามตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามความในข้อ 90 โดยอนุโลม
ส่วน ๑๒ การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(2) เปิดเผยแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ
ส่วน ๑๓ การจ่ายเงินปันผล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙๓ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้จ่ายได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใด ให้บริษัทประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวแทนการประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ได้
(2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล
(3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอในกรณีกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่ต่างกันสําหรับหน่วยลงทุนที่ขายในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันได้ ต่อเมื่อได้กําหนดกรณีดังกล่าวไว้ใน
โครงการ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนดําเนินการจ่ายเงินปันผลในแต่ละครั้งแล้ว
ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น
ข้อ ๙๔ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยออกเป็นหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ส่วน ๑๔ ค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จําเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวมได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายขั้นสูงที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวม และเรียกเก็บได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว
(2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) เรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงาน (performance based management fee) ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
(3) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดในแต่ละครั้งจากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปีจากกองทุนรวม
ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ซึ่งเรียกเก็บจากกองทุนรวม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงของยอดรวมค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สามารถประมาณการได้ ที่ระบุไว้ในโครงการและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ข้อ ๙๖ ในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าน้อยกว่า 50 ล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเท่านั้น
ในกรณีที่มูลค่าของกองทุนรวมในขณะจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท หากต่อมากองทุนรวมดังกล่าวมีมูลค่าลดลงน้อยกว่า 50 ล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมไว้อยู่แล้ว ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นอัตราร้อยละที่ไม่สูงกว่าอัตราร้อยละของค่าธรรมเนียมเดิมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บในช่วงเวลาที่กองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาทโดยคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน
(2) ในกรณีอื่นนอกเหนือจากกรณีตามวรรคสอง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในอัตราที่แสดงได้ว่าเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
มูลค่าของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน
ข้อ ๙๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้ในโครงการอย่างชัดเจนแล้วว่าจะมีการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน
การลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายให้แตกต่างไปจากโครงการ ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน
ข้อ ๙๘ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดซึ่งโครงการได้ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากมูลค่าขั้นสูงของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้ล่าสุดในโครงการ และต่อมาบริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามที่ระบุไว้นั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
(2) ติดประกาศไว้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ใช้เป็นสถานที่ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ในกรณีที่เป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้ล่าสุดในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแทนการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ก็ได้
ข้อ ๙๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามข้อ 97 หรือข้อ 98 ให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย
ส่วน ๑๕ การเลิกกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐๐ ในส่วนนี้คําว่า “กองทุนรวมหน่วยลงทุน” และ “กองทุนรวมฟีดเดอร์” ให้หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุนแล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมปิด เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ภายในวันทําการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว
(1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย
ข้อ 102 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 105 เมื่อปรากฏกรณีดังนี้
(1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจํานวนดังต่อไปนี้ ในวันทําการใด
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม
(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมหน่วยลงทุน และกองทุนรวมฟีดเดอร์ ทั้งนี้ ในกรณีกองทุนรวมหน่วยลงทุนและกองทุนรวมฟีดเดอร์ให้ปฏิบัติตามข้อ 104
(ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวเป็นกองทุนรวมเปิดที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) การพิจารณาระยะเวลาตาม (2) (ข) วรรคหนึ่ง ให้พิจารณาจากเฉพาะในช่วงระยะเวลาเดียวกันซึ่งกองทุนรวมเปิดให้รับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้น
ข้อ ๑๐๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 105 เมื่อปรากฏกรณีดังนี้
(1) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจํานวนดังต่อไปนี้ ในวันทําการใด
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจําหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม
(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมหน่วยลงทุน และกองทุนรวมฟีดเดอร์ ทั้งนี้ ในกรณีกองทุนรวมหน่วยลงทุนและกองทุนรวมฟีดเดอร์ให้ปฏิบัติตามข้อ 104
(ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวเป็นกองทุนรวมเปิดที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) การพิจารณาระยะเวลาตาม (2) (ข) วรรคหนึ่ง ให้พิจารณาจากเฉพาะในช่วงระยะเวลาเดียวกันซึ่งกองทุนรวมเปิดให้รับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้น
ข้อ ๑๐๓ ในกรณีของกองทุนรวมหน่วยลงทุนและกองทุนรวมฟีดเดอร์ หากปรากฏกรณีที่กองทุนอื่นที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนดังกล่าวไปลงทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 104
(1) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งลดลงเกินกว่า 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นดังกล่าว
(2) ยอดรวมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นดังกล่าวลดลงในช่วงระยะเวลา5 วันทําการใดติดต่อกัน คิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นนั้น
กองทุนอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงเฉพาะกองทุนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และให้หมายความรวมถึงกองทุนที่มีลักษณะเป็นการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุน ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศและไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปแบบอื่นใด เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ (REIT) โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) เป็นต้น
(2) เป็นกองทุนที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์ มีการลงทุนในกองทุนตามวรรคสอง (1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นนั้น
ข้อ ๑๐๔ ในกรณีที่กองทุนอื่นที่กองทุนรวมหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมฟีดเดอร์ไปลงทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงตามข้อ 103 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งเหตุที่กองทุนอื่นมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงตามข้อ 103 พร้อมแนวทางการดําเนินการโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ให้สํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนอื่นที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103
(2) ดําเนินการตามแนวทางการดําเนินการตาม (1) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนอื่นที่ปรากฏเหตุตามข้อ 103
(3) รายงานผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ
(4) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการของกองทุนรวมตาม (1) ต่อผู้ที่สนใจจะลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวม ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๐๕ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 102 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทาง
ไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102
(3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
(4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตามวรรคหนึ่ง (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น
เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) แล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม
ข้อ ๑๐๖ เมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้นดังต่อไปนี้
(1) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบ และแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ
(2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น
(3) จําหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม
ส่วน ๑๖ การผ่อนผัน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐๗ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานได้
(1) การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 8 วรรคสาม
(2) การคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ 9 และข้อ 10
(3) ระยะเวลาการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ตามข้อ 28(2)
(4) การจัดทําและส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 35 รายงานรอบระยะเวลา 6 เดือนตามข้อ 36 และข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานดังกล่าวตามข้อ 37
(5) การประกาศการจ่ายเงินปันผลตามข้อ 93 วรรคสอง (1)
(6) ระยะเวลาการดําเนินการเมื่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่กองทุนรวมไปลงทุนมีมูลค่าลดลงตามข้อ 103 วรรคหนึ่ง (2) ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์มาเพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย
(7) การดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 105 วรรคหนึ่ง (4) หรือข้อ 106
หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับ
กองทุนรวมมีประกัน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐๘ ในหมวดนี้
“กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนมีประกันตามประกาศการลงทุน
“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนที่รับประกันไว้
“มติของผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า มติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ
ข้อ ๑๐๙ เมื่อเกิดหรือรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้ต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและมีข้อกําหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ไม่ต่ํากว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทําสัญญาเดิมหรือตามที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนให้จัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เป็นอย่างอื่น
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมมีประกัน หรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไปโดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน โดยถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว
ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยรายละเอียดซึ่งเป็นสาระสําคัญที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกันรายเดิมกับรายใหม่ และเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ในกรณีที่การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวผู้ประกันหรือที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่อาจจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ให้แก่กองทุนรวมมีประกันหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่จะมีผลทําให้ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 25 ของอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันสําหรับงวดการประกันล่าสุด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ดังกล่าวได้ ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวโดยต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการตามข้อ 109 วรรคหนึ่ง (2)
ข้อ ๑๑๑
หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับ
กองทุนรวมวายุภักษ์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๑๓ ในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ข้อ ๑๑๔ ในการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กําหนดนโยบายการลงทุนและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการการลงทุน และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุนไว้ในโครงการด้วย
ข้อ ๑๑๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์เป็นทรัพย์สินอื่นแทนเงินสดได้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการขายหน่วยลงทุนให้แก่กระทรวงการคลังซึ่งได้กระทําภายใน 30 วันนับแต่วันที่กองทุนรวมวายุภักษ์เปลี่ยนสภาพจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการระบุวิธีการรับชําระค่าซื้อหน่วยลงทุนในลักษณะดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในโครงการ
ข้อ ๑๑๖ มิให้นําความในข้อ 20 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติต่อการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์มีการสงวนสิทธิหรือกําหนดเงื่อนไขในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้มีการระบุการสงวนสิทธิหรือเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการด้วย
(2) ในกรณีที่เป็นการสงวนสิทธิในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน หากผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนเป็นจํานวนรวมมากกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามคําสั่งขายคืนดังกล่าวโดยวิธีการจัดสรรเฉลี่ยตามสัดส่วนจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนทั้งหมด (pro rata basis
ข้อ ๑๑๗ มิให้นําความในข้อ 94 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยการออกเป็นหน่วยลงทุนหรือจ่ายเป็นทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นกระทรวงการคลังหรือผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดเดียวกับกระทรวงการคลัง
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการระบุวิธีการในการจ่ายเงินปันผลในลักษณะดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในข้อผูกพัน
ข้อ ๑๑๘ มิให้นําความในข้อ 93 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิเมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น หรือจ่ายได้จากสํารองการจ่ายเงินปันผล
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ
(2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล
(3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ
ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมวายุภักษ์
ข้อ ๑๑๙ มิให้นําความในข้อ 102 มาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อจํากัดความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการจนเป็นเหตุให้จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย
หมวด ๔ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ส่วน ๑ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทุกประเภท
ข้อ ๑๒๐ ในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามประกาศการลงทุน
ข้อ ๑๒๑ ในการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๒๒ มิให้นําความในข้อ 93 มาใช้บังคับ และห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๒๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ส่วน ๒ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงิน
จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ส่วน ๑๒๔ ในส่วนนี้
“กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า
(1) เงินที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(2) เงินตาม (1) ที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น
(3) ผลประโยชน์อันเกิดจากเงินตาม (1) และ (2)
“เงินสะสม” หมายความว่า เงินสะสมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๑๒๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานเพื่อแยกส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่รองรับเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกจากส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(2) จัดให้มีระบบงานในการจําแนกเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
(ก) เงินสะสม
(ข) เงินอื่นที่ไม่ใช่เงินสะสม
(3) จัดเก็บข้อมูลของผู้ถือหน่วยลงทุนเกี่ยวกับอายุ และระยะเวลาการเป็นสมาชิกหรือการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เพื่อการนับอายุต่อเนื่อง
ข้อ ๑๒๖ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดไม่ประสงค์จะลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายดังกล่าวทราบ
ข้อ ๑๒๗ ในกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพบางส่วนไปยังกองทุนรวมอื่น ให้สามารถทําได้โดยโอนเงินสะสมและเงินอื่นที่ไม่ใช่เงินสะสมในอัตราที่เท่ากัน
ข้อ ๑๒๘ ในการเปิดเผยข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุไว้ด้วยว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิดังกล่าวได้รวมเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ด้วย
บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นําข้อมูลในส่วนของเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปรวมคํานวณเป็นข้อมูลเงินลงทุนและภาพรวมอุตสาหกรรมในธุรกิจกองทุนรวม
หมวด ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม
สําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๒๙ ในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศตามประกาศการลงทุน
ข้อ ๑๓๐ มิให้นําความในข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 93 วรรคสอง และข้อ 106 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ
มิให้นําความในข้อ 101(2) และข้อ 102(1) (ข) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสํานักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน
พ.ศ. 2547 และกองทุนรวมดังกล่าวมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุรวม กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเท่านั้น
หมวด ๖ หมวด 6
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวม
หุ้นระยะยาว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓๑ ในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามประกาศการลงทุน
ข้อ ๑๓๒ ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบดังต่อไปนี้
(1) ระบบในการขายคืนหน่วยลงทุนตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) ระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน
ข้อ 133 ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือภายใน 5 วันทําการเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 135 และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๓๓ ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับคําสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือภายใน 5 วันทําการเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 135 และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน
ข้อ ๑๓๔ มิให้นําความในข้อ 93 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมและจะต้องไม่ทําให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละครั้ง ให้เลือกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม
(2) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของกําไรสะสมดังกล่าว หรือกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า
ข้อ ๑๓๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 136 เมื่อปรากฏว่ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 รายในวันทําการใด ๆ และมิให้นําความในข้อ 102 และข้อ 105 มาใช้บังคับ
ข้อ ๑๓๖ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 135 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทําการที่ปรากฏเหตุการณ์ตามข้อ 135
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบทางไปรษณียลงทะเบียนว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะดําเนินการโอนย้ายการลงทุนตามข้อ 133 และดําเนินการตามที่กําหนดในข้อนี้ รวมทั้งให้แจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบ ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 135
(3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 135 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้และชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นโดยอัตโนมัติ
(4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตามวรรคหนึ่ง (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 135 และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น
เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม
หมวด ๗ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับ
กองทุนรวมอีทีเอฟ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓๗ ในหมวดนี้
“กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมอีทีเอฟตามประกาศการลงทุน
ข้อ 138 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนทั่วไปได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ในโครงการ
ข้อ 139 ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 (Asian Bond Fund 2)
ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกําหนดปริมาณหรือมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนจากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๓๘ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนทั่วไปได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ในโครงการ
ข้อ ๑๓๙ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 (Asian Bond Fund 2)
ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกําหนดปริมาณหรือมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนจากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๔๐ ในกรณีที่มูลค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ตามข้อ 10 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) จะทําให้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจํานวนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ใช้ชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการใช้มูลค่าในการคํานวณราคาขายและราคารับซื้อคืนให้แตกต่างจากมูลค่าที่กําหนดไว้ตามข้อดังกล่าวต่อสํานักงานได้
ข้อ ๑๔๑ ในระหว่างที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทําการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) ข้อมูลความเคลื่อนไหวของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมอีทีเอฟโดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่เปิดเผยไม่ต้องได้รับการรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์ และไม่ต้องใช้ตัวเลขทศนิยมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11
(ข) ความถี่ในการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต้องสอดคล้องกับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าหรือราคาของปัจจัยอ้างอิงของกองทุนรวมอีทีเอฟ
(2) ข้อมูลความคลาดเคลื่อน (tracking errors) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมอีทีเอฟจากมูลค่าของปัจจัยอ้างอิงสุดท้าย (ultimate underlying) โดยให้เปิดเผยก่อนการเปิดซื้อขายหลักทรัพย์รอบแรกของตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๑๔๒ มิให้นําความในข้อ 102(1) และข้อ 105 มาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ
ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 143 เมื่อปรากฏว่าจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีไม่ถึง 35 รายภายหลังจากวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง
ข้อ ๑๔๓ เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 142 วรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 142 วรรคสอง
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในวันถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 142 วรรคสอง
(3) จําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในวันถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 142 วรรคสอง เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้ เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
(4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ตามวรรคหนึ่ง (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 142 วรรคสอง และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น
เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม
หมวด ๘ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม
ที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔๔ ในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม” และ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมหรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามประกาศการลงทุน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔๕ ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ข้อ ๑๔๖ ในกรณีที่กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นในลักษณะเดียวกันจากการลงทุนในทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินดังกล่าวจ่ายเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม อย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปีบัญชีที่ได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 147 และข้อ 148
(1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) หน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(3) ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หรือหน่วยทรัสต์ตาม (2) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น
(4) หน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (1) หน่วยทรัสต์ตาม (2) หรือตราสารตาม (3) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุด ณ วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนนั้น
ข้อ ๑๔๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ที่คํานวณจากประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับหักด้วยค่าใช้จ่ายทุกประเภทในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่กองทุนรวมมีกําไรสุทธิหรือกําไรสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผล แต่รายการกําไรสุทธิหรือกําไรสะสมทั้ง 2 รายการดังกล่าวมียอดเงินน้อยกว่าจํานวนเงินปันผลที่คํานวณได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลเท่ากับยอดกําไรสุทธิหรือกําไรสะสมนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า
(2) กรณีที่เงินปันผลที่จะจ่ายเมื่อคํานวณแล้วเป็นจํานวนเงินน้อยกว่า 25 สตางค์ต่อหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจงดจ่ายเงินปันผลดังกล่าวก็ได้ ทั้งนี้ สําหรับกองทุนรวมที่มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลมากกว่า 1 ครั้งในรอบปีบัญชี ให้นํายอดเงินปันผลที่คํานวณได้น้อกว่า 25 สตางค์ต่อหน่วยลงทุนนั้นไปรวมคํานวณกับการจ่ายเงินปันผลในครั้งต่อไปของรอบปีบัญชีเดียวกันด้วย
ข้อ ๑๔๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลตามหมวดนี้ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล
ภาค ๓ การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔๙ เมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ลูกค้ารับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ลูกค้าที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพปฏิเสธการรับทราบข้อมูล
(1) การประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล
(ก) วิธีการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลนั้น โดยอาจเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ที่สามารถอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ให้ระบุสมมติฐานและข้อจํากัดในการประเมินผลการดําเนินงานดังกล่าวด้วย
(ข) ช่วงเวลาสําหรับการประเมินผลการดําเนินงานซึ่งต้องกําหนดให้มีการประเมินผลทุกเดือน
(2) ชื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับฝากทรัพย์สิน
(3) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล
(4) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ
(5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน และการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(6) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าตามที่สํานักงานกําหนด
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (3) (4) และ (6) ให้แก่ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับ
(1) การจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(2) การจัดการกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
ข้อ ๑๕๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในตราสารตามข้อ 44 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ต่อลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยให้เปิดเผยข้อมูลการลงทุนดังกล่าวไว้ในรายงานรายเดือนและรายงานรายปีตามข้อ 161
ข้อ ๑๕๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํารายงานการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ตามข้อ 43 วรรคหนึ่ง โดยให้จัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ให้สํานักงานตรวจสอบได้
ข้อ ๑๕๒ ในกรณีที่กองทุนส่วนบุคคลรายย่อยหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวตามข้อ 45 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) และให้จัดส่งข้อมูลให้ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่ไม่ใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่มีมูลค่าทรัพย์สินของผู้ลงทุนต่ํากว่า 1 ล้านบาท
ข้อ ๑๕๓ เมื่อสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้าหรือผู้รับฝากทรัพย์สินแล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและลูกค้าได้ตกลงกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินโดยเร็วที่สุด
ข้อ ๑๕๔ ให้นําความในข้อ 95 วรรคหนึ่ง (2) มาใช้บังคับกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม
ส่วน ๒ การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของลูกค้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หากลูกค้าได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลปฏิบัติตามข้อ 92 โดยอนุโลม และดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้รายงานการได้ใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบเมื่อได้ดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงแล้ว
(2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้แจ้งให้ลูกค้าทราบไว้ในรายงานรายปีตามข้อ 161 ว่า ลูกค้าสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงได้โดยวิธีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลไว้
ข้อ ๑๕๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล และลูกค้าไม่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบก็ได้
(2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบ หรือขอรัมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อไปใช้สิทธิออกเสียงแทน
ส่วน ๓ การจัดทําและส่งรายงานต่อสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕๗ ในส่วนนี้
“งานทะเบียนสมาชิกกองทุน” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนข้อมูลสมาชิกกองทุน และการจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงยอดเงินสะสมของลูกจ้าง เงินสมทบนายจ้างพร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้างแต่ละราย
ข้อ ๑๕๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งรายงานสถานะและการลงทุนของทุกกองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน ต่อสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยให้จัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ และดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๑๕๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํารายงานการฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละปี และจัดส่งให้สํานักงานภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวให้เป็นตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๖๐ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังต่อไปนี้ ตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
(1) รายงานรายละเอียดของหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ทุกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนหรือมีไว้เป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(2) รายงานสถานะและการลงทุนของแต่ละกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(3) รายงานรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้างของทุกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
(4) รายงานรายละเอียดของแต่ละกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นรายไตรมาส โดยให้จัดส่งภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส
การจัดส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกระทําผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๖๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งรายงานรายเดือนและรายงานรายปีให้แก่ลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศสมาคมบริษัทจัดการกองทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้กับลูกค้า
ในการจัดทํารายงานรายเดือนและรายงานรายปีตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยอัตราการลงทุนสูงสุดต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามที่ระบุไว้ในแผนการลงทุนสําหรับการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๑๖๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานกํากับดูแลธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามที่สํานักงานร้องขอ โดยข้อมูลที่จัดส่งให้เป็นไปตามรูปแบบ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่สํานักงานแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า
ข้อ ๑๖๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําและส่งข้อมูลการลงทุนหรือการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเงินของกองทุนส่วนบุคคลออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศ โดยให้จัดทําและส่งข้อมูลดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน หรือตามรูปแบบอื่นใดที่สํานักงานแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าได้ยื่นคําขอเพื่อนําเงินไปลงทุนในต่างประเทศ
ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง และกองทุนส่วนบุคคลที่มีลูกค้าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติต่างด้าวเท่านั้น
ข้อ ๑๖๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีที่จัดทําขึ้นตามข้อ 168 ให้สํานักงานภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ประจําปีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และแสดงไว้ที่ทําการของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อให้สมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตรวจดูได้ด้วย
หมวด ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖๕ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) เสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายต่อคณะกรรมการกองทุนและสมาชิก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม
(2) จัดให้สมาชิกทําการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 2
(3) จัดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เว้นแต่สมาชิกมีมติกําหนดเวลาในการใช้สิทธิไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๖๖ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่ได้กําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงตามข้อ 171
บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าคณะกรรมการกองทุนและสมาชิก รับทราและเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนเป็นอย่างดีแล้ว ก่อนเข้าเป็นสมาชิกหรือก่อนที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะมีการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนเป็นนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าว
ข้อ ๑๖๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งรายงานจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วยของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และมูลค่าของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบให้สมาชิกแต่ละรายทราบอย่างน้อยทุกงวด 6 เดือนของปีปฏิทินโดยให้ส่งรายงานดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นงวด 6 เดือน และหากสมาชิกขอทราบรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งรายงานดังกล่าวให้สมาชิกทราบในเวลาอันควรด้วย
ข้อ ๑๖๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทํางบการเงินโดยมีผู้สอบบัญชีตามข้อ 169 เป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินนั้น และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเสนองบการเงินพร้อมรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อทําการรับรองงบการเงินดังกล่าว
ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเก็บรักษางบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รายงานการสอบบัญชี และเอกสารแสดงจํานวนสมาชิกและมูลค่าเงินกองทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันแต่งตั้งผู้สอบบัญชีไว้ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย
ข้อ ๑๖๙ ผู้สอบบัญชีที่จะเป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินตามข้อ 168 ได้จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกสภาวิชาชีพบัญชีสั่งพักใบอนุญาตการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้สอบบัญชี และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้สอบบัญชีนั้นอาจเป็นเพียงผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีได้
(1) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีจํานวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ไม่เกินกว่า 100 ราย
(2) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ไม่เกินกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้ความเห็นชอบโดยคณะกรรมการกองทุนได้แจ้งให้ที่ประชุมสมาชิกทราบแล้วว่า ผู้สอบบัญชีดังกล่าวไม่ใช่ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
ส่วน ๒ การประเมินความเหมาะสมในการเลือก
นโยบายการลงทุนรายสมาชิก
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗๐ ความในส่วนนี้ใช้เฉพาะกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่กําหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้
ข้อ ๑๗๑ ในส่วนนี้
“นโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง” หมายความว่า นโยบายการลงทุนที่กําหนดให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้
รวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น
(1) ตราสารทุน
(2) ตราสารหนี้ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
(ข) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. มีกําหนดการชําระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน หรือมีข้อกําหนดชําระคืนเงินต้นเพียงบางส่วนหรือไม่คืนเงินต้น
2. มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ย เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(3) ทรัพย์สินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6.2 ของส่วนที่ 3 : อัตราส่วนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ในภาคผนวก 4-PVD ท้ายประกาศการลงทุน
ข้อ ๑๗๒ เพื่อให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้อย่างเหมาะสมโดยสอดคล้องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน สถานะทางการเงินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายการออมเมื่อเกษียณอายุ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนของสมาชิกตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้สมาชิกทําการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนครั้งแรกตามเงื่อนไขและกรอบเวลาที่กําหนดในข้อ 173 และต้องแสดงให้สมาชิกทราบถึงประโยชน์และความจําเป็นในการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนด้วย
(2) จัดให้มีการทบทวนความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนทุกรอบ2 ปีปฏิทินนับแต่ปีที่ได้ทําการประเมินครั้งล่าสุด โดยให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีที่ครบกําหนดเวลาทบทวนดังกล่าว ทั้งนี้ หากเป็นการทบทวนความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนก่อนปี พ.ศ. 2562 การทบทวนความเหมาะสมดังกล่าวจะทําเฉพาะกับสมาชิกที่เลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงก็ได้
(3) ในกรณีที่ผลประเมินไม่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนที่สมาชิกแสดงความจํานงเลือก ไม่ว่าเป็นการเลือกไว้เดิมหรือที่จะเลือกใหม่ ให้เตือนให้สมาชิกทราบถึงความเสี่ยงของการเลือกนโยบายการลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับสมาชิก ก่อนให้สมาชิกลงนามยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกนโยบายการลงทุนนั้น
(4) ในกรณีที่สมาชิกปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลให้ไม่สามารถดําเนินการตาม (1) หรือ (2) ได้ ให้เตือนให้สมาชิกทราบถึงความเสี่ยงในการเลือกนโยบายการลงทุนโดยไม่มีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน
(5) ติดตามให้มีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนอีกครั้งสําหรับสมาชิกที่ปฏิเสธการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน
ข้อ ๑๗๓ การรวบรวมข้อมูลของสมาชิกและทําการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนครั้งแรก ให้เป็นดังนี้
(1) ในกรณีที่เป็นสมาชิกใหม่ที่เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จในวันเข้าเป็นสมาชิก
(2) ในกรณีที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ให้ดําเนินการดังนี้
(ก) หากสมาชิกแสดงความจํานงเลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าเป็นการเลือกไว้เดิมหรือที่จะเลือกใหม่ ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2557
(ข) หากมิได้เป็นสมาชิกตาม (ก) ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2562
ข้อ ๑๗๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้แบบและวิธีการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนตามแนวทางที่สมาคมกําหนด
ข้อ ๑๗๕ การดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนตามส่วนนี้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้อยู่ในรูปเอกสารหรือรูปแบบอื่นใด ที่สมาชิกหรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะสามารถจัดเก็บข้อมูลและตรวจดูข้อมูลได้ในอนาคต
ข้อ ๑๗๖ ในส่วนนี้
“มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งคํานวณโดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยทั้งหมด ณ วันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น
“จํานวนหน่วย” หมายความว่า จํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกที่ยังคงมีสมาชิกภาพอยู่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย
“วันคํานวณจํานวนหน่วย” หมายความว่า วันคํานวณจํานวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“ผู้รับรองมูลค่า” หมายความว่า บุคคลที่ทําการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๑๗๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคํานวณมูลค่าต่อหน่วยโดยสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงานที่แท้จริงของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยเงินที่มิได้เกิดจากผลการดําเนินงานให้นํามาคํานวณเป็นจํานวนหน่วย
ข้อ ๑๗๘ ในการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าต่อหน่วย การปรับปรุงรายการ การแก้ไขมูลค่าต่อหน่วยและการชดเชยมูลค่า ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบรรดาสมาชิกกองทุนเป็นสําคัญ และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังกล่าวต่อสมาชิกกองทุนแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่โดยผลของกฎหมายทําให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถปฏิบัติต่อสมาชิกแต่ละรายได้อย่างเท่าเทียมกันหรือโดยเงื่อนไขและปัจจัยของสมาชิกแต่ละรายแตกต่างกัน อันเป็นเหตุให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้ หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ดําเนินการตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้
ข้อ ๑๗๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วยของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน และในการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วยที่จะถึงเร็วที่สุดที่ผ่านการรับรองจากผู้รับรองมูลค่าแล้ว โดยเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกภายใน 3 วันทําการนับแต่วันคํานวณจํานวนหน่วย เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจขอผ่อนผันระยะเวลาการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยจากสํานักงานได้
ข้อ ๑๘๐ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วยได้ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้
(1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ
(2) มีประกาศสํานักงานให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเลื่อนวันคํานวณจํานวนหน่วยออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน
(3) เมื่อมีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถจําหน่าย จ่ายโอหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน หรือไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม โดยบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(4) ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประกาศการลงทุน เมื่อมีเหตุการณ์ดังนี้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ
(ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทําการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือ
(ข) มีเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรีและทําให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ
ข้อ ๑๘๑ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว และหากมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องและตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดส่งรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วยหรือการชดเชยมูลค่าเสร็จสิ้น โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง
(2) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง
(3) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง
(4) การดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเมื่อพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง
ในระหว่างที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วย บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดทํามาตรการป้องกันและอาจหยุดการคํานวณเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยได้ไม่เกิน 7 วันทําการติดต่อกัน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน
ข้อ ๑๘๒ ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 4 ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(2) เปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยม 2 ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
ข้อ ๑๘๓ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้มีการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยผู้รับรองมูลค่าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสํานักงานให้เป็นผู้รับรองมูลค่า
(2) ไม่มีส่วนได้เสียอันมีนัยสําคัญกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจนทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกองทุนทราบและได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนแล้ว
ส่วน ๔ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้
หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
ผิดนัดชําระหนี้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘๔ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๘๕ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อบังคับกองทุน หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน และก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน โดยคณะกรรมการกองทุนได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่า ในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้อง
ในการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น
(2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทําขึ้นซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้จะไม่สามารถชําระหนี้ได้
ข้อ ๑๘๖ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง วันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังคณะกรรมการกองทุนภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา
ข้อ ๑๘๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๘๘ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้
(2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายใน 2 ปีนับแต่วันที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้รับทรัพย์สินนั้นมา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ส่วน ๕ การจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘๙ ในการจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกําหนดราคาทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้เพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๙๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพก็ได้
(2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลาที่ผู้อุทิศให้ระบุห้ามมิให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ส่วน ๖ หลักเกณฑ์เฉพาะสําหรับการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ที่มีหลายนโยบายการลงทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๙๑ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้ แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนแทนการดําเนินการในส่วนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทั้งกองทุน
(1) การคํานวณมูลค่าต่อหน่วยตามข้อ 177 และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(2) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 182
(3) การรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 183
ข้อ ๑๙๒ ในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการดังต่อไปนี้แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรับจัดการด้วย
(1) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้วตามข้อ 149
(2) การจัดทําและส่งรายงานต่อสํานักงานตามข้อ 160 วรรคหนึ่ง (2) และ (4)
(3) การส่งรายงานตามข้อ 163 หรือการรายงานอื่นใดให้แก่ลูกค้า
(4) การจัดทําและการเก็บรักษางบการเงินตามข้อ 164
(5) การดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามข้อ 185
(6) การดําเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อ 190
ภาค ๔ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๙๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๙๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 23/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 983 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 57/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 57/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับ
การลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๒ บรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าต้องลงชื่อลูกค้าและชื่อบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการเดียว จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน และให้ความยินยอมให้บริษัทจัดการมอบการจัดการช่วงให้กับบุคคลอื่นได้ บริษัทจัดการผู้มอบการจัดการช่วงอาจดําเนินการให้ทรัพย์สินดังกล่าวปรากฏชื่อลูกค้าและชื่อบริษัทจัดการที่จัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน โดยไม่ปรากฏชื่อบริษัทจัดการที่จัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการรับลูกค้า และการจัดทําทะเบียนข้อมูลก็ได้
(2) ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการหลายบริษัท จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน บริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนอาจดําเนินการให้ทรัพย์สินดังกล่าวปรากฏชื่อลูกค้าและชื่อตนเอง โดยไม่ปรากฏชื่อบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการรับลูกค้า และการจัดทําทะเบียนข้อมูลก็ได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 984 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 20/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 20/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับ
การลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการอนุญาตให้บริษัทจัดการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า โดยไม่ต้องลงชื่อของบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทน ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 57/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(3) “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
(4) “ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งให้เป็นตัวแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๓ บรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าต้องลงชื่อลูกค้าและบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการเดียว จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน และให้ความยินยอมให้บริษัทจัดการมอบหมายการจัดการช่วงให้กับบุคคลอื่นได้ บริษัทจัดการผู้มอบการจัดการช่วงอาจดําเนินการให้ทรัพย์สินดังกล่าวปรากฏชื่อลูกค้าและชื่อบริษัทจัดการที่จัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน โดยไม่ปรากฏชื่อบริษัทจัดการที่จัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการรับลูกค้า และการจัดทําทะเบียนข้อมูลก็ได้
(2) ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการหลายบริษัท จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน บริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนอาจดําเนินการให้ทรัพย์สินดังกล่าวปรากฏชื่อลูกค้าและชื่อตนเอง โดยไม่ปรากฏชื่อบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการรับลูกค้า และการจัดทําทะเบียนข้อมูลก็ได้
(3) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้มีการลงชื่อของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในหลักทรัพย์และทรัพย์สินนั้นแล้ว บริษัทจัดการจะไม่ลงชื่อของบริษัทจัดการในหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะผู้ทําการแทนก็ได้
(4) ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินมีการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน บรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้ที่ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าวอาจไม่ต้องลงชื่อลูกค้าและบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทนได้ หากได้รับความยินยอมจากลูกค้าและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. บริษัทจัดการและผู้รับฝากทรัพย์สินต้องมีระบบงานในการจัดทําบัญชีแสดงรายการหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ลูกค้าแต่ละรายเป็นเจ้าของแยกต่างหากจากบัญชีหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวของตน ซึ่งสามารถใช้ติดตามหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าได้
(ข) ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินต้องมีการจัดทําบัญชีแสดงรายการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าแยกต่างหากจากบัญชีหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวของตน และ
(ค) บริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน และตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องมีการสอบทานความถูกต้องระหว่างกันถึงบัญชีแสดงรายการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าที่บริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน และตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน จัดทําขึ้น ความในวรรคหนึ่ง (4) มิให้นํามาใช้บังคับกับการลงชื่อในบรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อรวบรวมหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงชื่อในบรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน (2) เพื่อรองรับกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินมีการแต่งตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ให้สามารถเก็บรักษาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าในบัญชีที่ไม่เปิดเผยชื่อลูกค้าที่ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าบริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน และตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องจัดทําบัญชีหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละรายแยกต่างหากจากบัญชีของตน รวมทั้งต้องดําเนินการสอบทานความถูกต้องระหว่างกันของบัญชีด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติอันเป็นสากลของธุรกิจการรับฝากทรัพย์สิน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 985 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 17/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 17/2555
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับ
การลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“(5) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินในต่างประเทศและมีข้อจํากัดที่ทําให้บริษัทจัดการลงชื่อในฐานะผู้ทําการแทนลูกค้าไม่ได้ บริษัทจัดการอาจดําเนินการให้มีการลงชื่อของลูกค้าโดยไม่ต้องลงชื่อของบริษัทจัดการก็ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 986 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 27/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 27/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 20/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
“(6) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพบริษัทจัดการอาจลงชื่อของลูกค้าโดยไม่ต้องลงชื่อของบริษัทจัดการก็ได้ หากปรากฏว่าบริษัทจัดการมีเหตุจําเป็นและสมควรต้องตัดสินใจสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนที่เกิดจากการซื้อขายผ่านบัญชีซื้อขายหน่วยลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหน่วยลงทุนไปยังกองทุนรวมอื่น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 987 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 20/2552 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 20/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการอนุญาตให้บริษัทจัดการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า โดยไม่ต้องลงชื่อของบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทน ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 57/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการอนุญาตเกี่ยวกับการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ 2 ในประกาศนี้
(1) “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(3) “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
(4) “ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งให้เป็นตัวแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ 3 บรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าต้องลงชื่อลูกค้าและบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการเดียว จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน และให้ความยินยอมให้บริษัทจัดการมอบหมายการจัดการช่วงให้กับบุคคลอื่นได้ บริษัทจัดการผู้มอบการจัดการช่วงอาจดําเนินการให้ทรัพย์สินดังกล่าวปรากฏชื่อลูกค้าและชื่อบริษัทจัดการที่จัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน โดยไม่ปรากฏชื่อบริษัทจัดการที่จัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการรับลูกค้า และการจัดทําทะเบียนข้อมูลก็ได้
(2) ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการหลายบริษัท จัดการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของตน บริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุนอาจดําเนินการให้ทรัพย์สินดังกล่าวปรากฏชื่อลูกค้าและชื่อตนเอง โดยไม่ปรากฏชื่อบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการรับลูกค้า และการจัดทําทะเบียนข้อมูลก็ได้
(3) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้มีการลงชื่อของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในหลักทรัพย์และทรัพย์สินนั้นแล้ว บริษัทจัดการจะไม่ลงชื่อของบริษัทจัดการในหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะผู้ทําการแทนก็ได้
(4) ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินมีการตั้งตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน บรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้ที่ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าวอาจไม่ต้องลงชื่อลูกค้าและบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทนได้ หากได้รับความยินยอมจากลูกค้าและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทจัดการและผู้รับฝากทรัพย์สินต้องมีระบบงานในการจัดทําบัญชีแสดงรายการหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ลูกค้าแต่ละรายเป็นเจ้าของแยกต่างหากจากบัญชีหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวของตน ซึ่งสามารถใช้ติดตามหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าได้
(ข) ตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สินต้องมีการจัดทําบัญชีแสดงรายการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าแยกต่างหากจากบัญชีหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวของตน และ
(ค) บริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน และตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องมีการสอบทานความถูกต้องระหว่างกันถึงบัญชีแสดงรายการหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าที่บริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน และตัวแทนเก็บรักษาทรัพย์สิน จัดทําขึ้น
(5)( ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินในต่างประเทศและมีข้อจํากัดที่ทําให้บริษัทจัดการลงชื่อในฐานะผู้ทําการแทนลูกค้าไม่ได้ บริษัทจัดการอาจดําเนินการให้มีการลงชื่อของลูกค้าโดยไม่ต้องลงชื่อของบริษัทจัดการก็ได้
(6)( ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพบริษัทจัดการอาจลงชื่อของลูกค้าโดยไม่ต้องลงชื่อของบริษัทจัดการก็ได้ หากปรากฏว่าบริษัทจัดการมีเหตุจําเป็นและสมควรต้องตัดสินใจสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนที่เกิดจากการซื้อขายผ่านบัญชีซื้อขายหน่วยลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหน่วยลงทุนไปยังกองทุนรวมอื่น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน
ความในวรรคหนึ่ง (4) มิให้นํามาใช้บังคับกับการลงชื่อในบรรดาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 988 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 18/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการ
และระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวม
โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกอบกับข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ตัวกลาง” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือการเป็นนายหน้า ค้า หรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนซึ่งมีข้อตกลงในการให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒ เพื่อให้การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมเป็นไปอย่างเหมาะสมและเพียงพออย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 11 และข้อ 12 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) (5) และ (7) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีนโยบาย แผนกลยุทธ์ ระบบงาน และขั้นตอนปฏิบัติ เกี่ยวกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนรวมดังนี้
(ก) การกําหนดกลุ่มผู้ลงทุนเป้าหมายที่เหมาะสมสําหรับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม
(ข) การออกแบบผลิตภัณฑ์กองทุนรวม โดยกําหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนในการดําเนินการดังกล่าว รวมถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ค) การทดสอบผลิตภัณฑ์กองทุนรวมก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุน
(2) การคัดเลือกตัวกลางและการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมดังนี้
(ก) การคัดเลือกตัวกลางในการขายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและผู้ลงทุนเป้าหมาย
(ข) การสื่อสารข้อมูลกับผู้ลงทุน รวมถึงการสื่อสารข้อมูลและช่องทาง
การติดต่อประสานงานระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับตัวกลาง
(3) การติดตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์กองทุนรวม และการทําหน้าที่ของตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ลงทุนเป้าหมาย
ข้อ ๓ เพื่อให้การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมเป็นไปอย่างเหมาะสมและเพียงพออย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 11 และข้อ 12 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) (5) และ (7) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีนโยบาย แผนกลยุทธ์ ระบบงาน และขั้นตอนปฏิบัติ เกี่ยวกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนรวมดังนี้
(ก) การกําหนดกลุ่มผู้ลงทุนเป้าหมายที่เหมาะสมสําหรับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม
(ข) การออกแบบผลิตภัณฑ์กองทุนรวม โดยกําหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนในการดําเนินการดังกล่าว รวมถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ค) การทดสอบผลิตภัณฑ์กองทุนรวมก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุน (2) การคัดเลือกตัวกลางและการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมดังนี้
(ก) การคัดเลือกตัวกลางในการขายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและผู้ลงทุนเป้าหมาย
(ข) การสื่อสารข้อมูลกับผู้ลงทุน รวมถึงการสื่อสารข้อมูลและช่องทาง
การติดต่อประสานงานระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับตัวกลาง
(3) การติดตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์กองทุนรวม และการทําหน้าที่ของตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ลงทุนเป้าหมาย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 989 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 50/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ (ฉบับที่ 2) | -ร่าง-
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 50/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการ
และระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวม
โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 16/5/2562 .
CSDS เลขที่ 24/2562
ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกอบกับข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการ และระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560
“ข้อ 1/1 ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่จํากัดการเสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 990 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ (ฉบับประมวล) | -ร่าง-ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 18/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ
(ฉบับประมวล)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่6 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกอบกับข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 12แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจโครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7)ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“ตัวกลาง” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือการเป็นนายหน้า ค้า หรือจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนซึ่งมีข้อตกลงในการให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวม แล้วแต่กรณี
ข้อ 1/1( ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่จํากัดการเสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ข้อ 2 ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้การออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นไปโดยคํานึงถึงความต้องการและประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญตามหลักธรรมาภิบาลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (product governance)
ข้อ 3 เพื่อให้การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมเป็นไปอย่างเหมาะสมและเพียงพออย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 11 และข้อ 12 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) (5) และ (7) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีนโยบาย แผนกลยุทธ์ ระบบงาน และขั้นตอนปฏิบัติ เกี่ยวกับการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนรวมดังนี้ (ก) การกําหนดกลุ่มผู้ลงทุนเป้าหมายที่เหมาะสมสําหรับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (ข) การออกแบบผลิตภัณฑ์กองทุนรวม โดยกําหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนในการดําเนินการดังกล่าว รวมถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ค) การทดสอบผลิตภัณฑ์กองทุนรวมก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุน (2) การคัดเลือกตัวกลางและการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมดังนี้ (ก) การคัดเลือกตัวกลางในการขายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและผู้ลงทุนเป้าหมาย (ข) การสื่อสารข้อมูลกับผู้ลงทุน รวมถึงการสื่อสารข้อมูลและช่องทางการติดต่อประสานงานระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมกับตัวกลาง
(3) การติดตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์กองทุนรวม และการทําหน้าที่ของตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ลงทุนเป้าหมาย
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 991 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 50/2559 เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 50/2559
เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2546เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2547เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 8/2549 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 16/2551 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 28/2552 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 54/2553 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 9/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 27/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549
(9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 17/2551 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิสถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น
(1) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(2) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
(3) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(4) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้ในการยื่นรายงานต่อสํานักงาน
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน รายงานการทําธุรกรรม รวมทั้งรายงานทรัพย์สินของลูกค้า ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามแบบที่กําหนดในตารางแนบท้ายประกาศนี้ ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน เป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่ 14 ของเดือนถัดไป
(2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานการทําธุรกรรมเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่ 14 ของเดือนถัดไป
(3) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานทรัพย์สินของลูกค้าเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่จัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง แม้ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นรายงานตามข้อ 3 ต่อสํานักงาน ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๕ ให้ยกเว้นหน้าที่ในการจัดทําและยื่นรายงานตามประกาศนี้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ประกอบธุรกิจทุกประเภทตามข้อกําหนดหรือคําสั่ง ให้ได้รับยกเว้นหน้าที่การจัดทําและยื่นรายงานทุกประเภทเมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือคําสั่งระงับการประกอบธุรกิจมีผลบังคับ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนที่ไม่ประกอบธุรกิจ จนกว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจะกลับมาประกอบธุรกิจได้ใหม่ เว้นแต่รายงานทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 3(3) ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับยกเว้นการรายงานดังกล่าวต่อเมื่อไม่มีทรัพย์สินคงค้างแล้ว
(2) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ประกอบธุรกิจประเภทหนึ่งประเภทใดตามข้อกําหนดหรือคําสั่ง ให้ได้รับยกเว้นหน้าที่การจัดทําและยื่นรายงานเฉพาะที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจดังกล่าวเมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือคําสั่งระงับการประกอบธุรกิจมีผลบังคับ และผู้ประกอบธุรกิจไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงานแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนที่ไม่ประกอบธุรกิจ จนกว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจะกลับมาประกอบธุรกิจได้ใหม่
(3) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจยังไม่สามารถเริ่มประกอบธุรกิจประเภทหนึ่งประเภทใดได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างสํานักงานตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ ให้ได้รับยกเว้นหน้าที่การจัดทําและยื่นรายงานเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทที่ยังไม่สามารถเริ่มประกอบธุรกิจ จนกว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจะได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจดังกล่าวได้
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําและยื่นรายงานสําหรับข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 992 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 60/2562 เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 60/2562
เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2559 เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน รายงานการทําธุรกรรม รวมทั้งรายงานทรัพย์สินของลูกค้าต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามตารางแนบท้ายประกาศนี้ และตามแบบและคําอธิบายประกอบการจัดทํารายงานที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) จัดทํารายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการที่ 10 ของเดือนถัดไป
(2) จัดทํารายงานการทําธุรกรรมเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการที่ 10 ของเดือนถัดไป
(3) จัดทํารายงานทรัพย์สินของลูกค้าเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการที่ 5 ของเดือนถัดไป
ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีการทําธุรกรรมในช่วงระยะเวลาดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2559 เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
“ข้อ 3/1 ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถยื่นรายงานตามข้อ 3 ภายในระยะเวลาที่กําหนด อาจขอผ่อนผันโดยยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงานก่อนครบกําหนดเวลาการยื่นรายงานดังกล่าว ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน
ในการพิจารณาคําขอผ่อนผัน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอผ่อนผันและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกตารางและแบบที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2559 เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ตารางที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําและยื่นรายงานสําหรับข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 993 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 50/2559 เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 50/2559
เรื่อง แบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 55/2546 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 20/2547 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 8/2549 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 16/2551 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 28/2552 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 54/2553 เรื่อง แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 9/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
(8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 27/2549 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549
(9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 17/2551 เรื่อง การจัดทําและการยื่นรายงานของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น
(1) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
(2) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
(3) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(4) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้ในการยื่นรายงานต่อสํานักงาน
ข้อ 3( ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน รายงานการทําธุรกรรม รวมทั้งรายงานทรัพย์สินของลูกค้าต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามตารางแนบท้ายประกาศนี้ และตามแบบและคําอธิบายประกอบการจัดทํารายงานที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) จัดทํารายงานฐานะการเงินและผลการดําเนินงานเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการที่ 10 ของเดือนถัดไป
(2) จัดทํารายงานการทําธุรกรรมเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการที่ 10 ของเดือนถัดไป
(3) จัดทํารายงานทรัพย์สินของลูกค้าเป็นรายเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการที่ 5 ของเดือนถัดไป
ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและยื่นรายงานต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีการทําธุรกรรมในช่วงระยะเวลาดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม
ข้อ 3/1( ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถยื่นรายงานตามข้อ 3 ภายในระยะเวลาที่กําหนด อาจขอผ่อนผันโดยยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงานก่อนครบกําหนดเวลาการยื่นรายงานดังกล่าว ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน
ในการพิจารณาคําขอผ่อนผัน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอผ่อนผันและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ข้อ 4 ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นรายงานตามข้อ 3 ต่อสํานักงาน ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น
ข้อ 5 ให้ยกเว้นหน้าที่ในการจัดทําและยื่นรายงานตามประกาศนี้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ประกอบธุรกิจทุกประเภทตามข้อกําหนดหรือคําสั่ง ให้ได้รับยกเว้นหน้าที่การจัดทําและยื่นรายงานทุกประเภทเมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือคําสั่งระงับการประกอบธุรกิจมีผลบังคับ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนที่ไม่ประกอบธุรกิจ จนกว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจะกลับมาประกอบธุรกิจได้ใหม่ เว้นแต่รายงานทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 3(3) ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับยกเว้นการรายงานดังกล่าวต่อเมื่อไม่มีทรัพย์สินคงค้างแล้ว
(2) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ประกอบธุรกิจประเภทหนึ่งประเภทใดตามข้อกําหนดหรือคําสั่ง ให้ได้รับยกเว้นหน้าที่การจัดทําและยื่นรายงานเฉพาะที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจดังกล่าวเมื่อสํานักงานได้รับหนังสือแจ้งจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือคําสั่งระงับการประกอบธุรกิจมีผลบังคับและผู้ประกอบธุรกิจไม่มีข้อมูลคงค้างในเรื่องที่ต้องรายงานแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนที่ไม่ประกอบธุรกิจจนกว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจะกลับมาประกอบธุรกิจได้ใหม่
(3) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจยังไม่สามารถเริ่มประกอบธุรกิจประเภทหนึ่งประเภทใดได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างสํานักงานตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ ให้ได้รับยกเว้นหน้าที่การจัดทําและยื่นรายงานเฉพาะรายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทที่ยังไม่สามารถเริ่มประกอบธุรกิจ จนกว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจะได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจดังกล่าวได้
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําและยื่นรายงานสําหรับข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 994 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 1/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศว่าด้วยการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 1/2562
เรื่อง การยกเลิกประกาศว่าด้วยการจัดทําบัญชีเกี่ยวกับ
ลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2544
เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2560 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี โดยไม่ต้องจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 5/2544 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2560 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์ในเรื่องการจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเดิมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กําหนดขึ้นเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ถือเป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี แต่ด้วยสภาวิชาชีพบัญชีได้ปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศแล้ว คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงยกเลิกหลักเกณฑ์เดิมที่เคยกําหนดไว้เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่แทน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 995 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 2/2562 เรื่อง ขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2561 เรื่อง การกำหนดการจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 2/2562
เรื่อง ขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบตามประกาศคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2561 เรื่อง การกําหนด
การจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบการลงทุนที่ไม่ถือ
เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ
กองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2561 เรื่อง การกําหนดการจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้บังคับในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 แต่เนื่องจากมีความจําเป็นต้องขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบของสํานักงานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายระยะเวลาการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการออกแบบการลงทุนของสํานักงานตามที่กําหนดในข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2561 เรื่อง การกําหนดการจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยให้สํานักงานกําหนดระยะเวลาให้ความเห็นชอบได้ไม่เกินวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ข้อ ๒ ให้การให้บริการออกแบบการลงทุนของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการออกแบบการลงทุนจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ได้รับการขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ ผู้ให้บริการออกแบบการลงทุนดังกล่าวต้องดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2) และดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2561 เรื่อง การกําหนดการจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 996 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 6/2547 เรื่อง กำหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ 6/2547
เรื่อง กําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้นิติบุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(4) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(5) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(6) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(7) นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์รวมตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
(8) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(9) นิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตามที่กําหนดในนิยามผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และที่กําหนดใน(1) ถึง (8) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(10) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับบุคคลตามที่กําหนดในนิยามผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือที่กําหนดใน (1) ถึง (9) โดยอนุโลม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
(ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 997 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 3/2551 เรื่อง กำหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 3/2551
เรื่อง กําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 6/2547 เรื่อง กําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ให้นิติบุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(1) ธนาคารพาณิชย์
(2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) ผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(7) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(8) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(9) นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์รวมตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
(10) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(11) นิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตามที่กําหนดในนิยามผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และที่กําหนดใน (1) ถึง (10) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(12) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับบุคคลตามที่กําหนดในนิยามผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือที่กําหนดใน (1) ถึง (11) โดยอนุโลม
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับการจดทะเบียนจากสํานักงาน ก.ล.ต. สามารถให้บริการแก่นิติบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนสามารถดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเองได้เพิ่มเติม จึงจําเป็นต้องออกประกาศฉบับนี้ | 998 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 3/2562 เรื่อง กำหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 3/2562
เรื่อง กําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2551 เรื่อง กําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“เงินฝาก” หมายความว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) เงินฝาก บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือตราสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกันที่ผู้รับฝากเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน หรือเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายต่างประเทศ
(2) ข้อตกลงที่มีลักษณะที่เทียบเคียงได้กับทรัพย์สินตาม (1) ที่เป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์(Shariah) โดยคู่สัญญาฝ่ายที่เทียบเคียงได้กับผู้รับฝากเป็นธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ คู่สัญญาที่เทียบเคียงได้กับผู้ฝากต้องสามารถเรียกคืนเงินต้นจากคู่สัญญาฝ่ายที่เทียบเคียงได้กับผู้รับฝากได้เต็มจํานวน ณ เวลาใด ๆ
(3) สลากออมทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(4) สลากออมสินพิเศษที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
ข้อ ๓ ให้นิติบุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(3) กองทุนการออมแห่งชาติ
(4) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(6) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(7) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(8) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(9) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(10) นิติบุคคลที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ 200 ล้านบาทขึ้นไป
(11) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตั้งแต่ 40 ล้านบาทขึ้นไป หรือในกรณีที่นับรวมเงินฝากแล้วมีเงินลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวตั้งแต่ 80 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว
(12) นิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตามที่กําหนดในนิยามผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และที่กําหนดใน (1) ถึง (11) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(13) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับบุคคลตามที่กําหนดในนิยามผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือที่กําหนดใน (1) ถึง (12) โดยอนุโลม
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 999 |
Subsets and Splits