title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 76/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 76/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 30 ข้อ 38 และข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และข้อ 12(3/1) และข้อ 25/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) และ (6/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “(6/1) การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม buy & hold ให้เป็นไปตามหมวด 6/1 (6/2) การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ให้เป็นไปตามหมวด 6/2” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 6/2 การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ข้อ 35 และข้อ 35/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “หมวด 6/2 การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ประเภทหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 35 ในหมวดนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศการเสนอขายหุ้น “ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์” หมายความว่า กระดานซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้มีขึ้นเพื่อการซื้อขายหุ้นของบริษัท “ประกาศการเสนอขายหุ้น” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ข้อ 35/1 ในการให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหุ้นของบริษัท หรือนายหน้าซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้เพิ่มเติม สําหรับการให้บริการซื้อหุ้นดังกล่าวแก่ลูกค้า เพื่อให้การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามข้อ 12(3/1) ข้อ 25/4 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 38 และข้อ 40 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ (1) การทําความรู้จักลูกค้าว่าลูกค้าเป็นผู้ลงทุนตามประเภทผู้ลงทุนที่บริษัทสามารถเสนอขายหุ้นของบริษัทได้ตามประกาศการเสนอขายหุ้น และเป็นผู้ลงทุนตามประเภทผู้ลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการได้ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด (ถ้ามี) (2) การจัดให้มีคําเตือนเพิ่มเติมแก่ลูกค้าว่าการลงทุนหรือใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัท มีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป และการจัดให้ลูกค้าได้รับทราบความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนหรือใช้บริการก่อนการลงทุนหรือให้บริการ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด เฉพาะกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนตามภาคผนวกท้ายประกาศการเสนอขายหุ้นดังนี้ (ก) บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตาม 25. (ข) ผู้ลงทุนตาม 26. เว้นแต่ผู้ลงทุนนั้นเป็นนิติบุคคลและแสดงเจตนาว่าไม่ประสงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังกล่าว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,200
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) และ (12) ข้อ 14 ข้อ 30 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 43(3) และข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป เว้นแต่ (1) ข้อ 12(4) ที่เกี่ยวกับการจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าที่จะระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงานสําหรับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป (2) ข้อ 17 ที่เกี่ยวกับการจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าสําหรับการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป (3)( ยกเลิก (4)( ยกเลิก หมวด 1 ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจโครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ 3( ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 1/1 (2) การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 4 (5) การจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 5 (6) การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ให้เป็นไปตามหมวด 6 (6/1)(( การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม buy & hold ให้เป็นไปตามหมวด 6/1 (6/2)(( การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ให้เป็นไปตามหมวด 6/2 (7) การรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามหมวด 7 (8) การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัด ให้เป็นไปตามหมวด 7/1 ข้อ 4 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามประกาศนี้เป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผ่อนผันต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ 5( ในการติดต่อและให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังในการให้บริการหรือนําเสนอบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ (1) ลูกค้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มีอายุตั้งแต่หกสิบปีขึ้นไป (2) ลูกค้าที่มีความรู้ทางการเงินอย่างจํากัด หรือไม่มีประสบการณ์การลงทุน (3) ลูกค้าที่มีข้อจํากัดในการสื่อสารหรือในการตัดสินใจด้วยตนเอง หรือมีภาวะบกพร่องทางสุขภาพ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกค้าตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (3)เป็นผู้มีความรู้ทางการเงินหรือมีประสบการณ์การลงทุนแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้ดุลยพินิจในการให้บริการหรือนําเสนอบริการตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับลูกค้ารายดังกล่าวก็ได้ หมวด 1/1( การจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5/1 ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อ 12(3/1) และข้อ 25/1แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ 5/2 ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่ประสงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามความในหมวดนี้ (3) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนหรือผู้ใช้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 5/3( ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่า การกําหนดขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ได้มีการคํานึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ รวมทั้งสอดคล้องและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (1) กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การคัดเลือกและมอบหมายให้บุคลากรซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท เป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการแก่ลูกค้า (ข) การจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ศึกษาและทําความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการก่อนนําไปเสนอขายหรือให้บริการแก่ลูกค้า (ค) การจัดหาเครื่องมือหรือสื่อประกอบการอธิบายให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ในการอธิบายลักษณะและความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการ แก่ลูกค้าตามความจําเป็น (2) กระบวนการในการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อทําความรู้จักลูกค้าและประเมิน ความเหมาะสมในการลงทุนหรือทําธุรกรรมของลูกค้า (ข) การนําเสนอผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการที่มีความเหมาะสมกับลูกค้าโดยพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน(suitability test) และคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุน (asset allocation)ของลูกค้า (ค) การแจกจ่ายเอกสารประกอบการติดต่อหรือให้บริการให้แก่ลูกค้า ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (ง) การอธิบายและให้ข้อมูลตลอดจนความเสี่ยงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจลงทุนหรือใช้บริการ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์สําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (material event) (ถ้ามี) (3) กระบวนการในการยืนยันตัวตนของลูกค้า (authentication) ที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนได้กระทําโดยลูกค้าหรือ ผู้ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจติดต่อและให้บริการ (4) กระบวนการติดตามตรวจสอบการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าสอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดตาม (1) (2) และ (3) (ข) การแก้ไขหรือดําเนินการใด ๆ เมื่อพบว่ามีการติดต่อและให้บริการไม่สอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการ (ค) การจัดเก็บเอกสารและหลักฐานการดําเนินการตาม (ก) และ (ข) ไว้ในลักษณะที่สํานักงานสามารถเรียกดูได้โดยไม่ชักช้า ข้อ 5/4 ผู้ประกอบธุรกิจต้องกํากับดูแลให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่กําหนดในข้อ 5/3 ในกรณีที่เป็นการติดต่อและให้บริการซ้ําในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ประเภท รุ่นและชนิดเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเดิม หรือเป็นการติดต่อและให้บริการซ้ําในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (repeated sell) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถปรับลดขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าลงได้ตามความเหมาะสม ในการปรับลดลดขั้นตอนหรือวิธีการตามวรรคสอง ลูกค้าต้องได้รับทราบข้อมูลหรือความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งลูกค้าเคยได้รับจากกระบวนการติดต่อและให้บริการครั้งก่อนด้วย (ถ้ามี) หมวด 2 การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 ในการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าตามข้อ 30 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อยต้องมีการกําหนดรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 หรือข้อ 8 แล้วแต่กรณีด้วย ข้อ 7 ในการจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลจากลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนแก่ลูกค้าว่า การที่ลูกค้าให้ข้อมูลที่เป็นความจริง ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และครบถ้วนตามที่ผู้ประกอบธุรกิจร้องขอ ย่อมมีผลต่อการให้บริการหรือการให้คําแนะนําที่ลูกค้าแต่ละรายจะได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณาความสามารถในการลงทุน ความสามารถในการชําระหนี้ และความสามารถในการวางหลักประกันของลูกค้า โดยการกําหนดวงเงินหรือปริมาณการซื้อขาย (position limit) สําหรับลูกค้าแต่ละราย ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาให้การกําหนดวงเงินหรือปริมาณการซื้อขายของลูกค้าแต่ละรายเป็นไปตามประกาศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีข้อกําหนดในรายละเอียดเป็นการเฉพาะสําหรับผู้ประกอบธุรกิจบางประเภทด้วย ข้อ 9 ในการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้เป็นปัจจุบันภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามข้อ 37 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทําการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าภายในระยะเวลาดังนี้ (ก) ข้อมูลเพื่อการทําความรู้จักลูกค้าและการจัดประเภทลูกค้า ให้ดําเนินการ ภายในระยะเวลาที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็น สถาบันการเงิน ให้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่สถาบันการเงินนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย ธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) ข้อมูลเพื่อการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้า ให้ดําเนินการอย่างน้อยทุกสองปี (ค) ข้อมูลเพื่อการพิจารณาความสามารถในการลงทุน ความสามารถในการชําระหนี้ และความสามารถในการวางหลักประกัน รวมทั้งความสามารถในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการใด ๆ ของลูกค้า ให้ดําเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (2) ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือปรากฏข้อเท็จจริงต่อผู้ประกอบธุรกิจว่าข้อมูลในส่วนที่มีนัยสําคัญของลูกค้ารายใดไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงให้ดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าทันที (3) ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อลูกค้ารายใดเพื่อทําการการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าได้ตาม (1) ให้ดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ (4)( ในกรณีที่บัญชีของลูกค้ามีสถานะถูกระงับบัญชีไม่ให้ทําธุรกรรมตามระเบียบปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้แล้วเสร็จก่อนยกเลิกสถานะดังกล่าว (5)( ในกรณีที่มูลค่า รูปแบบหรือวิธีการในการทําธุรกรรม การชําระเงิน หรือการรับชําระเงินของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญหรือมีความไม่เหมาะสม หรือมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลหรือเอกสารที่ลูกค้าให้ไว้กับผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าโดยไม่ชักช้า โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังนี้ (ก) รวบรวมข้อมูลและสอบยันข้อมูลเพิ่มเติมจากการดําเนินการตามปกติ (ข) จัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรายได้ที่ใช้ในการทําธุรกรรมของลูกค้า (ค) จัดให้ลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ (ง) ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการในการทําความรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงินที่เปิดบัญชีหรือทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อบุคคลที่ใช้บริการของสถาบันการเงินดังกล่าวหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ(omnibus account) (จ) ติดตามการทําธุรกรรมของลูกค้าอย่างใกล้ชิด ในระหว่างที่ยังดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง (3)ไม่แล้วเสร็จ ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าได้เฉพาะการรับคําสั่งขายหรือล้างฐานะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่คงค้างอยู่ในบัญชีของลูกค้าอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น เว้นแต่การรับคําสั่งขายหรือล้างฐานะดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องห้ามมิให้บริการแก่ลูกค้าตามกฎหมายอื่น หมวด 3 การทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 ในกรณีที่การให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจจําเป็นต้องทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของคําขอเปิดบัญชี สัญญา หรือข้อตกลงในรูปแบบอื่นใดตามข้อ 44 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้การทําข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ 11 ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการทําข้อตกลงกับลูกค้า ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ 12 ผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีข้อตกลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกับลูกค้าที่จะระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงานเมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยข้อตกลงดังกล่าวให้จัดให้มีตั้งแต่ในเวลาที่ทําสัญญาหรือข้อตกลงกับลูกค้าด้วย (1) ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม (3) ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ส่วนที่ 1/1( ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการให้บริการเป็น ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 12/1 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึง ข้อมูลและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ โครงสร้าง สินค้าหรือตัวแปร และเงื่อนไข ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําไรหรือขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งรายละเอียดวิธีการคํานวณกําไรขาดทุน ประโยชน์หรือผลตอบแทนดังกล่าว (3) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และขอบเขตความเสียหายในสถานการณ์ที่เป็นผลลบกับลูกค้ามากที่สุด (4) ช่องทางในการดําเนินการเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายต่างประเทศ (2) ลูกค้าอื่นที่มิใช่กรณีตาม (1) ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ประกอบธุรกิจว่าไม่ประสงค์ที่จะรับทราบข้อมูลนั้น ส่วนที่ 2 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการให้บริการเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือพฤติกรรมการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ไว้ในข้อตกลงกับลูกค้าเพื่อการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย (1) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลดังนี้ พร้อมทั้งจัดทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักงาน เมื่อผู้ประกอบธุรกิจหรือหน่วยงานต่าง ๆดังกล่าวร้องขอ หรือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนด (ก) ข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าทุกรายทุกทอด (ข) วัตถุประสงค์ในการซื้อขายของลูกค้า (ค) ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายของลูกค้า ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าซื้อขาย (ง) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้ง จัดหา และจัดทําคําชี้แจงเกี่ยวกับข้อมูลตาม (ก) (ข) และ (ค) ของบุคคลอื่นนั้นทุกรายและทุกทอด ทั้งนี้ เฉพาะที่ลูกค้า รู้หรือควรรู้เนื่องจากการเป็นผู้ดําเนินการเช่นนั้น (2) ลูกค้ายินยอมให้ผู้ประกอบธุรกิจงดให้บริการเป็นตัวแทนกับลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขาย จํากัดฐานะหรือปริมาณการซื้อขาย ล้างฐานะ และดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักงาน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้ (ก) การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ามีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือทําให้หรือน่าจะทําให้ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด (ข) ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสมหรืออาจฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ค) ลูกค้าไม่ดําเนินการแจ้ง จัดหาข้อมูล หรือจัดทําคําชี้แจงตาม (1) หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรืออาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญ ข้อ 14(( ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ก่อนทําการเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้าหรือก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้หมายความถึง ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ข้อ 15(( ยกเลิก ส่วนที่ 3 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการให้บริการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16 ในส่วนนี้ “หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 17 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือพฤติกรรมการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ไว้ในข้อตกลงกับลูกค้าเพื่อการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนด้วย (1) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลดังนี้ พร้อมทั้งจัดทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี หรือสํานักงาน เมื่อผู้ประกอบธุรกิจหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวร้องขอ หรือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนด (ก) ข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้าทุกรายทุกทอด (ข) วัตถุประสงค์ในการซื้อขายของลูกค้า (ค) ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายของลูกค้า (ง) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้ง จัดหา และจัดทําคําชี้แจงเกี่ยวกับข้อมูลตาม (ก) (ข) และ (ค) ของบุคคลอื่นนั้นทุกรายและทุกทอด ทั้งนี้ เฉพาะที่ลูกค้ารู้หรือควรรู้เนื่องจากการเป็นผู้ดําเนินการเช่นนั้น (2) ลูกค้ายินยอมให้ผู้ประกอบธุรกิจงดให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนกับลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขาย จํากัดการซื้อขาย และดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้าได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหรือสํานักงาน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้ (ก) การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้ามีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือทําให้หรือน่าจะทําให้ราคาของหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด (ข) ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ไม่เหมาะสมหรืออาจฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค) ลูกค้าไม่ดําเนินการแจ้ง จัดหาข้อมูล หรือจัดทําคําชี้แจงตาม (1) หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรืออาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญ ส่วนที่ 4 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับธุรกรรม การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 18 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีฐานะเป็นตัวแทนของผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ข้อ 19 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่มีลักษณะและสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 20 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี ข้อ 20 เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 21 สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ใช้ในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องทําเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีลักษณะและสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมและหลักประกันในการยืมหลักทรัพย์โดยต้องมีรายละเอียดในเรื่องดังนี้ (ก) ผู้ให้ยืมต้องโอนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ยืมโดยปลอดจากบุริมสิทธิหรือภาระผูกพันใด ๆ โดยผู้ยืมต้องส่งมอบหลักประกันให้แก่ผู้ให้ยืมเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้และผู้ให้ยืมจะส่งมอบหลักประกันคืนให้แก่ผู้ยืม เมื่อผู้ยืมคืนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ให้ยืม (ข) การคืนหลักทรัพย์ที่ยืมและการคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่เป็นหลักประกัน ให้ใช้หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกัน ประเภทและชนิดเดียวกัน และจํานวนเท่ากันแทนกันได้ (ค) ในกรณีที่มีการวางหลักประกันเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกันที่สถาบันการเงินออกให้ไว้แก่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ การคืนหลักประกันให้กระทําโดย การยกเลิกหรือลดวงเงินของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกันที่นํามาวางไว้ แล้วแต่กรณี (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืน โดยสัญญาต้องมีรายละเอียดในเรื่องดังนี้ ซึ่งเกี่ยวกับการปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืนเมื่อมีเหตุการณ์อันจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมเมื่อมีการโอนหลักทรัพย์หรือหลักประกันคืนเกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่ครบกําหนดคืน (ก) การให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่มีอยู่ก่อนแล้ว (ข) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้อันเป็นผลให้จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง (ค) การไถ่ถอนหลักทรัพย์ (ง) การรวมกิจการ การควบกิจการ หรือการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (จ) การจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น (ฉ) การแปลงสภาพหลักทรัพย์ หรือ (ช) กรณีอื่นใดในทํานองเดียวกัน (3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการชดเชยสิทธิประโยชน์ให้แก่คู่สัญญา โดยสัญญาต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการชดเชยสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์หรือ ผู้ยืมหลักทรัพย์พึงได้รับ หากยังถือหลักทรัพย์หรือหลักประกันไว้ แล้วแต่กรณี โดยต้องกําหนดให้การจ่ายชดเชยสิทธิประโยชน์ดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือ ผู้ออกตราสารจ่ายให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์หรือตราสารนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงเป็นประการอื่น (4) ข้อกําหนดในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ที่ทําให้ หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน โดยสัญญาต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาตลอดจนมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ใด ๆที่ทําให้หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ผู้ให้ยืมและผู้ยืมอาจตกลงกําหนดลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักประกันไว้เป็นประการอื่นก็ได้ ข้อ 21 สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ตผ่านบัญชีมาร์จิ้น ให้เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด 4 การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22 การวิเคราะห์หรือการแนะนําการลงทุนให้กับลูกค้าตามข้อ 38 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรซึ่งทําหน้าที่ดังกล่าวและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนบางประเภทที่จะแนะนําให้แก่ลูกค้าหรือที่ลูกค้าสนใจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมและดูแลบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การแนะนํา หรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า โดยให้บุคลากรดังกล่าวให้บริการแก่ลูกค้าตามประเภทและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 24 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้มอบหมายให้บุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นผู้แนะนําการลงทุนเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตรดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้แก่ลูกค้าด้วย (1) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของพันธบัตรที่จะลงทุน โดยอาจดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน ดังนี้ (ก) จัดให้มีพนักงานที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าประจําอยู่ ณ สถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจที่ติดต่อกับลูกค้าในเรื่องดังกล่าว (ข) จัดให้มีระบบติดต่อสื่อสารที่ทําให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าได้ (ค) จัดให้มีศูนย์บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าโดยอย่างน้อยต้องให้บริการตลอดเวลาทําการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) ดําเนินการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (1) (3) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงราคารับซื้อคืน (4) ตรวจสอบดูแลให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ข้อ 24/1( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ปรึกษาการลงทุนหรือ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีการให้คําแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า โดยมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของลูกค้ารายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ (specific advice)ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมอบหมายให้ผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน เป็นผู้ดําเนินการ หมวด 4/1( กระบวนการซื้อขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 24/2 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบสถานะบัญชีของลูกค้าก่อนทําการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า (2) กําหนดขั้นตอนและวิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าให้เป็นไป ตามลําดับก่อนหลัง และต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อนประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ (3) กําหนดขั้นตอนและวิธีการในการแก้ไขรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องควบคุมดูแลมิให้มีการแก้ไขรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนด หมวด 5 การจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 25 เมื่อลูกค้าตัดสินใจให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้มีการลงทุนหรือเข้าทํา ธุรกรรมแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานหรือแจ้งผลการดําเนินการให้ลูกค้าทราบตามข้อ 43(3)แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งหลักฐานการยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า (confirmation statement) ซึ่งมีรายละเอียดตามแนวทางที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามวิธีการที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้า ข้อ 26 ในกรณีที่เป็นธุรกรรมดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้าที่มีรายละเอียดตามข้อ 25 ให้แก่ลูกค้าภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับธุรกรรมดังกล่าว (1) ธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ให้จัดส่งภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการซื้อขายหุ้น (2) ธุรกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้จัดส่งภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการซื้อขายหรือวันที่มีการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี (3) ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการวางหรือการคืนหลักประกันให้จัดส่งลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดธุรกรรม ข้อ 27 เพื่อประโยชน์ในการส่งหลักฐานการยืนยันการทําธุรกรรมตามข้อ 26 (1) ในกรณีที่ธุรกรรมการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นในต่างประเทศให้จัดส่งหลักฐานการยืนยันการทําธุรกรรมดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อมูลยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้าจากต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ หากการยืนยันข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นนอกเวลาทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อมูลยืนยันการทําธุรกรรมนั้นในวันทําการถัดไป (2) ให้ถือว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นให้แก่ลูกค้า หมวด 6( การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 28( ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดไว้ในหมวดนี้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการปฏิบัติต่อลูกค้าตามปกติ เพื่อให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามข้อ 12(3/1) ข้อ 25/4 ข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ข้อ 29 ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ (1)(( ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน เว้นแต่ลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเฉพาะในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(6) (7) (7/1) (8) (9) (10) และ (10/1) เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน (ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ค) บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบุคคลที่เคยมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งข้างต้น ซึ่งพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่เกิน 3 เดือน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่ประสงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อ ให้เป็นไปตามความในหมวดนี้ (3) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนหรือใช้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 30 ให้ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย (complex return fund) (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ (net exposure) ในสินค้าโภคภัณฑ์ ผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น (5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เกินกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (5/1)( หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (6) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (hybrid securities) ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้เกินกว่าสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตราสาร และมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) มีข้อกําหนดให้ผู้ออกตราสารมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการชําระหนี้ตามตราสาร หรือมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนตามตราสาร (ข) มีข้อกําหนดให้ผู้ถือตราสารมีสิทธิได้รับชําระหนี้คืนจากผู้ออกตราสารด้อยกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ แต่ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหุ้นสามัญของผู้ออกตราสาร (7) ตราสารหนี้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (7/1)( ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือตราสารมีสิทธิได้รับชําระหนี้คืนจากผู้ออกตราสารด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ แต่ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นสามัญของผู้ออกตราสารและครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (subordinated perpetual bond) (8) ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้(non-investment grade bond) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) (9)(( หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (10)(( ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 1 เพื่อการนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทประกันภัย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (10/1)(( ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 เพื่อการนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทประกันภัย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (11) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (12) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทํานองเดียวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตาม (1) ถึง (11) ข้อ 31 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30 นอกจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามความในหมวด 1/1ของประกาศนี้แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานในการกําหนดและกํากับดูแลกระบวนการติดต่อและให้บริการโดยคํานึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย (1) การคัดเลือกและมอบหมายให้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน เป็นผู้ทําหน้าที่ติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้า (2)( การประเมินความรู้ความสามารถของลูกค้าโดยพิจารณาจากปัจจัยดังนี้ก่อนทําการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า (ก) การศึกษา (ข) ประสบการณ์การทํางาน (ค) ประสบการณ์การลงทุน (3) การจัดให้มีแนวทางการให้ข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน โดยเฉพาะข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนเนื่องจากผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง (4) การจัดให้มีเครื่องมือหรือสื่อประกอบการอธิบายในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนที่เข้าใจยาก เพื่อให้ลูกค้าทําความเข้าใจได้ง่ายขึ้น (5) การจัดให้มีคําเตือนเพิ่มเติมแก่ลูกค้าว่า การลงทุนหรือใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน มีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป (6) การจัดให้ลูกค้าได้รับทราบความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนหรือใช้บริการก่อนการลงทุนหรือให้บริการ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ข้อ 32(( ในกรณีที่เป็นการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(1) (10) หรือ (10/1) ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการอธิบายถึงสถานการณ์เชิงลบอย่างมากที่สุดที่เกิดขึ้น (worst case scenario) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนหรือใช้บริการของลูกค้าด้วย ข้อ 32/1(( ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(7/1) หรือ (10) แล้วแต่กรณี เป็นครั้งแรก ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทดสอบความรู้ของลูกค้าเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเพื่อประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวก่อนการใช้บริการทั้งนี้ แบบทดสอบจะต้องครอบคลุมถึงลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทนจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าว ข้อ 32/2(( ในกรณีที่ผลการทดสอบความรู้ของลูกค้าตามข้อ 32/1 แสดงว่าผลิตภัณฑ์ ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(7/1) หรือ (10) แล้วแต่กรณี อาจไม่เหมาะสมกับลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการเตือนให้ลูกค้าทราบว่าลูกค้าไม่เหมาะสมที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าว และต้องไม่นําเสนอบริการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นแก่ลูกค้า เว้นแต่ในกรณีที่ลูกค้ารายใดประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมต่อไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําเสนอบริการแก่ลูกค้าได้ หมวด 6/1( การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม buy & hold \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 33( ในหมวดนี้ “กองทุนรวม buy & hold” หมายความว่า กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรือครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม “พอร์ตการลงทุน” (portfolio) หมายความว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดของลูกค้าแต่ละราย ข้อ 34( ในการจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานตามข้อ 11 และข้อ 12(3) และ (3/1) รวมถึงการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อ 25/1 ข้อ 30 ข้อ 38 และข้อ 40แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม buy & hold ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีช่องทางและวิธีการที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าได้รับทราบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนที่มีการกระจุกตัวของรายผู้ออกตราสาร รายกลุ่มอุตสาหกรรม และรายประเทศที่ลงทุน ในพอร์ตการลงทุนก่อนทําการซื้อหน่วยลงทุนนอกเหนือจากการปฏิบัติต่อลูกค้าตามปกติด้วย หมวด 6/2(( การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 35 ในหมวดนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศการเสนอขายหุ้น “ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์” หมายความว่า กระดานซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้มีขึ้นเพื่อการซื้อขายหุ้นของบริษัท “ประกาศการเสนอขายหุ้น” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ข้อ 35/1 ในการให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหุ้นของบริษัท หรือนายหน้าซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้เพิ่มเติม สําหรับการให้บริการซื้อหุ้นดังกล่าวแก่ลูกค้า เพื่อให้การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามข้อ 12(3/1) ข้อ 25/4 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 38 และข้อ 40 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ (1) การทําความรู้จักลูกค้าว่าลูกค้าเป็นผู้ลงทุนตามประเภทผู้ลงทุนที่บริษัทสามารถเสนอขายหุ้นของบริษัทได้ตามประกาศการเสนอขายหุ้น และเป็นผู้ลงทุนตามประเภทผู้ลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการได้ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด (ถ้ามี) (2) การจัดให้มีคําเตือนเพิ่มเติมแก่ลูกค้าว่าการลงทุนหรือใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัท มีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป และการจัดให้ลูกค้าได้รับทราบความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนหรือใช้บริการก่อนการลงทุนหรือให้บริการ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด เฉพาะกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนตามภาคผนวกท้ายประกาศการเสนอขายหุ้นดังนี้ (ก) บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตาม 25. (ข) ผู้ลงทุนตาม 26. เว้นแต่ผู้ลงทุนนั้นเป็นนิติบุคคลและแสดงเจตนาว่าไม่ประสงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังกล่าว หมวด 7 การรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน นอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 36 ในหมวดนี้ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุนหรือตราสารดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (foreign collective investment scheme) “สถานที่ทําการ”(( หมายความว่า สถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา ข้อ 37 เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องตามข้อ 12(3) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่มีการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ 38(( ยกเลิก ข้อ 39 ในการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) รับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในสถานที่ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจเปิดให้บริการชั่วคราวเท่านั้น (ข) จัดให้ลูกค้าส่งคําสั่งซื้อขายด้วยตนเอง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สําหรับลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจัดไว้ในสถานที่เปิดให้บริการชั่วคราว (2) ในกรณีที่เป็นการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน (ข) รับใบจองซื้อหลักทรัพย์ตามสถานที่และวิธีการที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนและแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟซึ่งโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดให้ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนโดยตรงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) และ (ข) ข้อ 40(( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการในกรณีอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 39 ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงได้ว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว รวมทั้งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 40/1และข้อ 41 (1) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าโดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการซื้อขายของลูกค้า และระบบป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เข้าถึงข้อมูลของลูกค้าทั้งนี้ ในกรณีที่กําหนดให้บุคคลใดสามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจํากัดให้เข้าถึงได้เฉพาะเท่าที่จําเป็นกับการปฏิบัติงาน รวมถึงต้องป้องกันไม่ให้มีการนําข้อมูลของลูกค้าไปใช้ในทางมิชอบ (2) ระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่นบันทึกการสนทนาการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถตัด เพิ่มแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อความที่บันทึกคําสนทนาได้ เป็นต้น (3) ระบบการให้บริการรับส่งคําสั่งซื้อขายแก่ลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ (4) ระบบควบคุมภายในและระบบกํากับดูแลและตรวจสอบสําหรับการรับคําสั่งซื้อขายที่สอดคล้องกับความเสี่ยง ลักษณะการปฏิบัติงานและปริมาณธุรกรรม (5) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เทียบเท่าหรือเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งความประสงค์ให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการก่อนเริ่มให้บริการ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องมีผลการประเมินจากการตรวจสอบโดยสํานักงานครั้งล่าสุด ไม่เกินกว่าระดับปานกลางหรือระดับที่ยอมรับได้ ในเรื่องเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการ การจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความเสี่ยงเกี่ยวกับลูกค้าณ วันที่แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ การแจ้งให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ 40/1(( ในการติดต่อและให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน นอกสถานที่ทําการตามข้อ 40 ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่ทําให้สําคัญผิดว่าเป็นการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ในสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน นอกสถานที่ทําการ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ (3) ดําเนินการให้มั่นใจว่าผู้แนะนําการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุนมีการปฏิบัติงานให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยมีการแบ่งแยกพื้นที่ การปฏิบัติงานที่ไม่ทําให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงหรือล่วงรู้ข้อมูลของลูกค้า เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” และ “ผู้วางแผน การลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 41(( ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการ โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ วันและเวลาที่ให้บริการรับคําสั่งซื้อขายและขอบเขตการให้บริการ และจัดส่งเมื่อสํานักงานร้องขอ ในกรณีที่เป็นการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 40ให้รายงานการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําตามวรรคหนึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคลากรที่เป็นผู้รับคําสั่งซื้อขายจากลูกค้านอกสถานที่ทําการ จํานวนลูกค้าที่ใช้บริการ รายการ และมูลค่าซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่รับคําสั่งซื้อขาย นอกสถานที่ทําการด้วย และให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน วันทําการที่สิบ ของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมของทุกปี หรือเมื่อสํานักงานร้องขอ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หมวด 7/1( การให้บริการเกี่ยวกับแผนจัดสรรการลงทุน หรือกลยุทธ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41/1 การให้บริการเกี่ยวกับแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน ให้เป็นไปตามส่วนที่ 1 (2) การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน ให้เป็นไปตามส่วนที่ 2 ข้อ 41/2 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดเก็บข้อมูลหลักฐานในการให้บริการในหมวดนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่การจัดเก็บข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้จัดเก็บเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย โดยในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที ส่วนที่ 1 การกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41/3 ในส่วนนี้ “การกําหนดแผนจัดสรรการลงทุน” หมายความว่า การวิเคราะห์และแนะนําการลงทุนเพื่อกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนสําหรับลูกค้า ซึ่งแสดงถึงผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภทและสัดส่วนการลงทุน (portfolio advisory) “การกําหนดกลยุทธ์การลงทุน” หมายความว่า การกําหนดกลยุทธ์การลงทุนสําหรับการส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยใช้โปรแกรมการคัดเลือกและส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่สามารถถูกแทรกแซงขั้นตอนการส่งคําสั่งได้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว คําว่า “ผู้จัดการกองทุน” และ “นักวิเคราะห์การลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับความเห็นชอบการเป็นบุคลากรดังกล่าวด้วยคุณสมบัติการดํารงตําแหน่งผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน หรือสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน แล้วแต่กรณี ข้อ 41/4 ในการให้บริการกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกลไกหรือกระบวนการในการจัดทําแนวทางการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (house view) ที่มีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน มีส่วนร่วมในการกําหนดแนวทางการลงทุนด้วย ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุนของผู้ประกอบธุรกิจ แนวทางการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รูปแบบของแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) แนวทางในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) โครงสร้างการลงทุน (portfolio construction) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีแผนจัดสรรการลงทุน ต้องมีการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (asset allocation) (ข) กรณีกลยุทธ์การลงทุน ต้องกําหนดตัวแปรของกลยุทธ์การลงทุน (parameter) เพื่อใช้ในโปรแกรมการคัดเลือกและส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งประกอบด้วยผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและสายงานที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อทําหน้าที่ในการกําหนดแนวทางการลงทุนตามวรรคหนึ่งก็ได้ ข้อ 41/5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อตกลงการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องกําหนดขอบเขตและเงื่อนไขในการให้บริการ รวมถึงสิทธิของลูกค้าในการใช้บริการ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการดําเนินการทบทวนข้อตกลงการให้บริการและปรับปรุงข้อมูลทันที ข้อ 41/6 ในการติดต่อและให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจให้คําแนะนําและกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนที่สอดคล้องกับผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า โดยต้องอยู่ในขอบเขตของแนวทางการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (house view)ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกเหนือแนวทางการลงทุนดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงความเสี่ยงจากการลงทุนนอกเหนือแนวทาง การลงทุนดังกล่าว รวมทั้งต้องจัดให้มีหลักฐานที่แสดงว่าลูกค้าได้รับทราบและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย (2) จัดให้มีการติดตามและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า โดยในกรณีที่ผลการประเมินความเสี่ยงของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ประกอบธุรกิจปรับปรุงแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนและนําเสนอข้อมูลต่อลูกค้าโดยไม่ชักช้า ข้อ 41/7 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลการวัดผลการดําเนินงานให้ลูกค้าทราบ โดยต้องเปรียบเทียบผลการดําเนินงานกับตัวชี้วัดการดําเนินงาน (benchmark) ที่สอดคล้องกับแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้าและเป็นดัชนีผลตอบแทนรวม (total return index)ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถระบุตัวชี้วัดการดําเนินงานของแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนเป็นดัชนีผลตอบแทนรวมได้ ให้เปิดเผยอัตราผลตอบแทนขั้นต่ํา (hurdle rate) พร้อมทั้งอธิบายถึงความเหมาะสมอัตราผลการตอบแทนดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนตามส่วนที่ 2 ด้วย ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลการวัดผล การดําเนินงานตามวรรคหนึ่งให้ลูกค้าทราบตามระยะเวลาที่ตกลงไว้กับลูกค้า ส่วนที่ 2 การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน หรือกลยุทธ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41/8 ในส่วนนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 41/9 ในการให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดขั้นตอนและวิธีการให้ลูกค้าเลือกแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน โดยต้องมีหลักฐานยืนยันการเลือกแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้า (2) มีกลไกควบคุมการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถดูแลให้การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นไปตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้า ตลอดจนมีการติดตามและปรับปรุงการลงทุน (monitoring & rebalancing) ให้สอดคล้องกับแผนจัดสรรการลงทุนของลูกค้า (3) มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับลูกค้า (ก) กําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนรวมถึงในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นที่ไม่สามารถให้บริการได้ (ข) เงื่อนไขของการสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนรวมอื่นซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้ลงทุนไว้มีการเลิกกองทุนรวม ปิดรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน หรือเหตุอื่นใดทํานองเดียวกัน (ถ้ามี) (4) จัดให้มีการแยกบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามหมวดนี้ออกจากบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทอื่น (5) ดําเนินการให้ลูกค้ายืนยันรายละเอียดของคําสั่ง ก่อนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน ต้องให้ลูกค้ายืนยันรายชื่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เว้นแต่เป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนเพื่อสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนรวมอื่นซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้ลงทุนไว้มีการเลิกกองทุนรวม ปิดรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน หรือเหตุอื่นใดทํานองเดียวกัน อาจไม่ต้องดําเนินการให้ลูกค้ายืนยันรายชื่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนก็ได้ (ข) กรณีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามกลยุทธ์การลงทุน ต้องดําเนินการให้ลูกค้ายืนยันตัวแปรของกลยุทธ์การลงทุน (parameter) (6) แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงข้อมูลดังนี้ ก่อนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน (ก) ประมาณการสัดส่วนการลงทุนของแต่ละรายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (ข) กรอบราคาที่เหมาะสมของแต่ละรายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หมวด 8 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 42( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ปรึกษาการลงทุนหรือ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีการให้คําแนะนําตามข้อ 24/1 และไม่มีการให้บริการเป็นตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยได้มอบหมายให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่มิใช่ผู้วางแผนการลงทุนเป็นผู้ดําเนินการอยู่แล้วโดยชอบตามข้อ 5/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ.12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 1/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่4 มกราคม พ.ศ. 2561 ผู้ประกอบธุรกิจนั้นยังคงมอบหมายให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังกล่าวดําเนินการต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,201
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 69/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
-ร่าง- ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 69/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) ข้อ 27 ข้อ 30 ข้อ 38 และข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการ ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 12(3/1) และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้าง การบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 6/1 การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้า ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม buy & hold ข้อ 33 และข้อ 34 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “หมวด 6/1 การติดต่อและการให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม buy & hold ข้อ 33 ในหมวดนี้ “กองทุนรวม buy & hold” หมายความว่า กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรือครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม “พอร์ตการลงทุน” (portfolio) หมายความว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดของลูกค้าแต่ละราย ข้อ 34 ในการจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานตามข้อ 11 และข้อ 12(3) และ (3/1) รวมถึงการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อ 25/1 ข้อ 30 ข้อ 38 และข้อ 40แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม buy & hold ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีช่องทางและวิธีการที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าได้รับทราบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนที่มีการกระจุกตัวของรายผู้ออกตราสาร รายกลุ่มอุตสาหกรรม และรายประเทศที่ลงทุน ในพอร์ตการลงทุนก่อนทําการซื้อหน่วยลงทุนนอกเหนือจากการปฏิบัติต่อลูกค้าตามปกติด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้วเมื่อวันที่ 27/11/62 CSDS เลขที่ 64/2562ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS
1,202
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 37/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 13)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 37/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกอบกับข้อ 12(3/1) และข้อ 25/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 และข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 29แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน เว้นแต่ลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเฉพาะในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(6) (7) (7/1) (8) (9) และ (10) เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน (ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ค) บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบุคคลที่เคยมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งข้างต้น ซึ่งพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่เกิน 3 เดือน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,203
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 46/2562 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 46/2562 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นวันหยุดราชการประจําปี นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดให้วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นวันหยุดทําการ ของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,204
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สม. 47/2562 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม และตราสารเพื่อความยั่งยืน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 47/2562 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม และตราสารเพื่อความยั่งยืน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายตราสารดังต่อไปนี้ และได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียม การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (1) ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม (3) ตราสารเพื่อความยั่งยืน ตราสารตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน และศุกูก ที่เสนอขาย โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินในประเทศไทย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,205
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 53/2562 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 53/2562 เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพอร์นอต ริคาร์ด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 36/2535 ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2562 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 59/2534 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,206
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือ จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามแบบ 90/91-1 และแบบรับรองประวัติบุคคลตามแบบ 90/91-2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน (1) กรณีบุคคลธรรมดา (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้แก่สําเนาบัตรประจําตัวที่ออกให้โดยส่วนราชการหรือองค์กรของรัฐหรือสําเนาหนังสือเดินทาง และสําเนาทะเบียนบ้านที่ปรากฏชื่อบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบ (ข) เอกสารเพิ่มเติมประกอบแบบรับรองประวัติบุคคลตามแบบ 90/91-2 (ถ้ามี) (ค) เอกสารหรือข้อมูลอื่น ซึ่งสํานักงานเรียกให้ยื่นเพิ่มเติมตามที่จําเป็นและเห็นสมควรเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบ (2) กรณีนิติบุคคล (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับนิติบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบเป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 1. กรณีเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ได้แก่ หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทที่รับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ 2. กรณีเป็นห้างหุ้นส่วน ได้แก่ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนที่รับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ 3. กรณีเป็นนิติบุคคลประเภทอื่น ได้แก่ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่รับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) หรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงความเป็นนิติบุคคล (ข) ข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการหรือหุ้นส่วน ได้แก่ สําเนาบัตรประจําตัวที่ออกให้โดยส่วนราชการหรือองค์กรของรัฐหรือสําเนาหนังสือเดินทาง และสําเนาทะเบียนบ้านที่ปรากฏชื่อบุคคลที่ขอรับความเห็นชอบ (ค) เอกสารเพิ่มเติมประกอบแบบรับรองประวัติบุคคลตามแบบ 90/91-2 (ถ้ามี) (ง) เอกสารหรือข้อมูลอื่น ซึ่งสํานักงานเรียกให้ยื่นเพิ่มเติมตามที่จําเป็นและเห็นสมควรเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบ ในการยื่นขอรับความเห็นชอบนิติบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นแบบรับรองประวัติบุคคลตามแบบ 90/91-2 ของกรรมการหรือหุ้นส่วนของนิติบุคคลดังกล่าวทุกรายด้วย ข้อ ๓ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานจากบริษัทหลักทรัพย์ครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,207
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 33/2550 เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 33/2550 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือ จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2545เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,208
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 37/2558 เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 37/2558 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคล ที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,209
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 54/2562 เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 54/2562 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 33/2550 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 37/2558 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๓ สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,210
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๒๘/๒๕๖๖ เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๒๘/๒๕๖๖ เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๕๔/๒๕๖๒ เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ภายใน ๒๐ วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๒ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๕๔/๒๕๖๒ เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ระยะเวลาการพิจารณาคําขอดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ ๓ แห่งประกาศสํานักงานคณะครรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๕๔/๒๕๖๒ เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,211
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 54/2562 เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 54/2562 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 33/2550 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 37/2558 เรื่อง การกําหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๓ สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ภายใน 20 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,212
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 63/2562 เรื่อง กำหนดรายการเพิ่มเติมสำหรับสินทรัพย์สภาพคล่อง หนี้สินพิเศษและหนี้สินรวมในการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 63/2562 เรื่อง กําหนดรายการเพิ่มเติมสําหรับสินทรัพย์สภาพคล่อง หนี้สินพิเศษและหนี้สินรวมในการคํานวณ เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2560 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2560 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิและประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ให้รายการดังต่อไปนี้ เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (1) ลูกหนี้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ลูกหนี้สํานักหักบัญชี หรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ลูกหนี้ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ (4) ลูกหนี้อื่นตามที่กําหนดในคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิและประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ ให้รายการดังต่อไปนี้ เป็นหนี้สินพิเศษตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (1) เจ้าหนี้ขายหลักทรัพย์ที่เกิดจากการจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายภายใต้ผู้ให้บริการรายเดียวกันในลักษณะการซื้อขายรายใหญ่ (big lot) ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วย**การซื้อขาย การชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์** (2) หนี้สินจากการซื้อตราสารหนี้ภาครัฐที่มีการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แบบ delivery versus payment (DVP) (3) หนี้สินรอตัดบัญชีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีภาระต้องชําระหรือสูญเสียกระแสเงินสดในอนาคต ข้อ ๔ ให้รายการหนี้สินที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งเป็นหนี้สินตามสัญญาเช่าที่ผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาได้ ภายหลังจากหักส่วนที่เป็นหนี้สินหรือเบี้ยปรับทั้งหมดในการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวตลอดอายุสัญญาแล้ว ไม่ถือเป็นหนี้สินรวมตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,213
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สท. 13/2563 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 13/2563 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 8 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มมิตรผล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2562 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2562 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนเทเลคอม แอสเซนด์ และ ซีพีเอ็มซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2562 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,214
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สท. 14/2563 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 14/2563 เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นครหลวงเพิ่มพูนทรัพย์ 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 85/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ วอลโว่ คาร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 10/2552 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัทไทยโทเรเท็กซ์ไทล์มิลลส์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 529/2533 ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สตาร์ รีชเชอร์ส กรุ๊ป จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 500/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท บอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,215
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ ขส. 1/2563 เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ขส. 1 /2563 เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่วิธีดําเนินงานและสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -------------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจ ต่าง ๆ ของสํานักงาน โดยให้จัดตั้งฝ่ายกํากับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพิ่มเติม เพื่อการกํากับดูแลและตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศในตลาดทุน การศึกษาติดตามและ กําหนดมาตรการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 อีกทั้ง ให้ปรับปรุงการแบ่งหน้าที่งานในสายกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบในลักษณะ end-to-end ให้แต่ละส่วนงานรับผิดชอบงานกฎหมายทั้งในระดับกฎหมาย แม่บทและกฎหมายลําดับรอง รวมถึงการให้คําปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7(1) (2) และ (3) ที่จะให้ ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ จึงขอประกาศ โครงสร้างการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของ สํานักงาน ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ขส. 1/2560 เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับ ข้อมูลข่าวสารของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562 ข้อ ๒ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้จัดตั้ง งสํานักงาน และกําหนดให้มีคณะกรรมการ ก.ล.ต. และต่อมาพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้มีคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเพิ่มเติม ข้อ ๓ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งโดยคําแนะนําของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง โดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา 31/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 จํานวนไม่น้อยกว่า 4 คนแต่ไม่เกิน 6 คนเป็นกรรมการ โดยในจํานวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ค้านกฎหมาย ด้านบัญชี และด้านการเงิน ด้านละ 1 คน และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจน กํากับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อ ประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ และการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อํานาจดังกล่าวรวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) กําหนดค่าธรรมเนียมงสําหรับคําขออนุญาต คําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (3) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ (4) ออกระเบียบ คําสั่ง และข้อบังคับเกี่ยวกับการพนักงาน ระบบพนักงานสัมพันธ์ การบรรจุแต่งตั้งถอดถอน และวินัยพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน การกําหนดเงินเดือนและเงินอื่น ๆ รวมตลอดถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ (5) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (6) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ยังมีอํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดนิติบุคคล เฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกําหนดการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้ อํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (1) กําหนดนโยบายเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) กํากับดูแลให้นิติบุคคลเฉพาะกิจปฏิบัติตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (3) กําหนดประเภทของสินทรัพย์ที่อนุญาตให้ทําการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และประเภทของหลักทรัพย์ที่จะออกเนื่องจากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (4) ออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (5) กําหนดค่าธรรมเนียมในการดําเนินการต่าง ๆ ตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (6) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกํากับดูแลในเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อํานาจหน้าที่ ดังกล่าวรวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับการขออนุญาต การขอจดทะเบียน การขอความเห็นชอบ การออกใบอนุญาต การรับจดทะเบียน การให้ความเห็นชอบ หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับ ใบอนุญาต ที่ได้จดทะเบียน หรือที่ได้รับความเห็นชอบ (3) กําหนดขอบเขตและวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (4) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกํากับดูแล ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับการขออนุญาต การอนุญาต หรือการประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (3) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีหน้าที่และอํานาจวางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกํากับ และควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกําหนด ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการกํากับและควบคุมการออกและเสนอขายโทเคนคิจิทัล และการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หน้าที่และอํานาจดังกล่าวให้รวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการออกและ เสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับคําขออนุญาต การอนุญาต คําขอความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนคิจิทัล การยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูลประจําปี การยื่นคําขอต่างๆ หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบ (3) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (4) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกําหนดการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ข้อ ๔ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกอบด้วยเลขาธิการเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมาย 1 คน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา 3*1*7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 อีกไม่เกิน 4 คนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 คนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ ให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการกํากับตลาดทุน คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจหน้าที่ในการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่น โดยต้องรับผิดชอบต่อ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้รวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดในเรื่องการประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี นายทะเบียนหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และการเข้าถือ หลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (2) รายงานผลการดําเนินงานเป็นระยะต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด (3) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเพื่อให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับ ตลาดทุน มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองลูกค้า การรักษาความมั่นคงของระบบการเงิน หรือการควบคุมความเสี่ยง อันเกิดจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๕ สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินกิจการทั้งปวงของ สํานักงาน ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวเลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และปฏิบัติงานอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 หรือตามกฎหมายอื่น อันได้แก่ การกํากับ ดูแลให้มีการปฏิบัติตามและดําเนินการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลที่กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 การออกประกาศหรือคําสั่ง เป็นต้น อํานาจและหน้าที่ของสํานักงานดังกล่าวรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ ในการดําเนินกิจการของสํานักงาน (1) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จําหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจํานํา รับจํานอง แลกเปลี่ยนโอน รับโอน หรือ ดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ (2) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินและลงทุนหาผลประโยชน์ (3) กําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (4) รับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรือตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงานกําหนด โดยที่สํานักงานได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 ให้เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา สํานักงานจึงมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับและ ควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป โครงสร้างการดําเนินงานของ สํานักงานโดยอนุมัติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แบ่งออกเป็นส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้ (1) ฝ่ายกฎหมาย 1 (2) ฝ่ายกฎหมาย 2 (3) ฝ่ายกฎหมาย 3 (4) ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป (5) ฝ่ายกํากับการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน (6) ฝ่ายกํากับการสอบบัญชี (7) ฝ่ายกํากับตลาด (8) ฝ่ายกํากับธุรกิจจัดการลงทุน (9) ฝ่ายกํากับธุรกิจตัวกลาง (10) ฝ่ายกํากับธุรกิจออกแบบการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (11) ฝ่ายกํากับรายงานทางการเงิน (12) ฝ่ายกํากับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (13) ฝ่ายคดี (14) ฝ่ายงานเลขาธิการ (15) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 1 (16) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 (17) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 3 (18) ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดทุน (19) ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 (20) ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2 (21) ฝ่ายตรวจสอบภายใน (22) ฝ่ายตราสารหนี้ (23) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (24) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (25) ฝ่ายนโยบายธุรกิจจัดการลงทุน (26) ฝ่ายนโยบายธุรกิจตัวกลาง (27) ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร (28) ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ (29) ฝ่ายวิจัย (30) ฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด (31) ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน (32) ฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน (33) ฝ่ายสื่อสารและบริการผู้ลงทุน ข้อ ๗ ฝ่ายกฎหมาย มีหน้าที่ (1) ศึกษา พัฒนา และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและกํากับดูแล (ก) การเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อการระดมทุนหรือเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเงินของ (ข) การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ค) การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (ง) ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมตาม (ก) (ข) และ (ค) ได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้สอบบัญชีในตลาดทุน บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (จ) การกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (2) ยกร่างและปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องตาม (1) (3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง ตาม (1) และ (2) (4) ประสานงานและติดตามความคืบหน้าร่างกฎหมายตาม (1) รวมทั้ง เป็นผู้ประสานงานในการชี้แจง ศึกษารวบรวมข้อมูล และปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าว ในชั้นการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรากฎหมาย (5) ให้ความเห็นหรือให้การสนับสนุนในการพิจารณาร่างกฎหมายที่หน่วยงาน ภายนอกขอความเห็นตามที่ได้รับมอบหมาย (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๘ ฝ่ายกฎหมาย 2 มีหน้าที่ (1) ศึกษา พัฒนา และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและกํากับดูแล (ก) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัล ธุรกิจตัวกลาง ธุรกิจทรัสตี และกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว (ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง และ การเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ค) ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมตาม (ก) และ (ช) ได้แก่ ผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (3) การกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ สินทรัพย์ดิจิทัล (2) ยกร่างและปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องตาม (1) (3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง ตาม (1) และ (2) (4) ประสานงานและติดตามความคืบหน้าร่างกฎหมายตาม (1) รวมทั้ง เป็นผู้ประสานงานในการชี้แจง ศึกษารวบรวมข้อมูล และปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวในชั้น การพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรากฎหมาย (5) ให้ความเห็นหรือให้การสนับสนุนในการพิจารณาร่างกฎหมายที่หน่วยงาน ภายนอกขอความเห็นตามที่ได้รับมอบหมาย (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมา ข้อ ๙ ฝ่ายกฎหมาย 3 มีหน้าที่ (1) ศึกษา พัฒนา และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและกํากับดูแล ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชี องค์กร ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และบรรดาสมาคมหรือองค์กรที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจดังกล่าว (2) ยกร่างและปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องตาม (1) (3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง ตาม (1) และ (2) รวมทั้งการให้คําปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายต่อส่วนงานต่าง ๆ ของสํานักงาน ในฐานะที่ปรึกษากฎหมาย (4) วางแนวทางในการต่อสู้คดีปกครองที่สํานักงาน คณะกรรมการพิจารณา โทษทางปกครอง คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อแก้ต่าง และจัดทําเอกสารเพื่ออธิบายความเชื่อมโยงของพยานหลักฐาน รวมทั้งเหตุผลของการกระทําอันเป็นสาเหตุแห่งการถูกฟ้องคดี ตลอดจนเป็นผู้แทนในการติดต่อ กับศาลจนคดีถึงที่สุด (5) ดูแลรับผิดชอบการดําเนินกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง ของสสํานักงานและคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง ให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดทําสรุป ข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน และจัดทําความเห็นเสนอคณะอนุกรรมการซึ่งทําหน้าที่พิจารณา อุทธรณ์ ตลอดจนปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะอนุกรรมการ รวมถึงการสรุปข้อเท็จจริงและ นําเสนอความเห็นของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณา วินิจฉัย รวมทั้งแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ (6) ยกร่างและตรวจพิจารณาบันทึกความร่วมมือ บันทึกข้อตกลง สัญญา ข้อบังคับ คําสั่ง และระเบียบที่ใช้กับงานภายในของสํานักงาน กรรมการ และพนักงานของสํานักงาน และที่สํานักงานทํากับหน่วยงานภายนอก (7) ดูแลรับผิดชอบการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย ติดต่อประสานกับคู่กรณี และปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ อนุญาโตตุลาการ (8) ติดตามพัฒนาการกฎหมายต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ของสํานักงาน และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว (9) ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการคัดเลือก และ คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย (ด้านที่ปรึกษา) (10) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๐ ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป มีหน้าที่ (1) บริหารจัดการระบบบัญชี จัดทํารายงานด้านการเงินและภาษีอากร บริหารจัดการ เงินสด สภาพคล่อง และเงินลงทุน รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลทางการเงินเพื่อการตัดสินใจทางนโยบาย (2) บริหารจัดการการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและงานบริการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ของสํานักงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมทั้งให้คําแนะนําเกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและงานบริการแก่ส่วนงานต่างๆ (3) วางแผนและบริหารจัดการระบบวิศวกรรมอาคาร การจัดสรรพื้นที่สํานักงาน การให้บริการด้านการจัดประชุม การจัดเลี้ยง การดูแลความสะอาดในอาคาร และบริการด้านรถยนต์ สําหรับผู้บริหารและส่วนกลาง (4) จัดระบบรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคารและผู้มาติดต่อ รวมทั้งบริหารจัดการ ผู้ประกอบการที่ใช้พื้นที่อาคารสํานักงาน (5) จัดการเอกสารที่รับจากภายนอกและจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจน บริหารจัดการคลังเอกสาร (6) จัดระบบควบคุมภายในที่ดีและบริหารจัดการให้มีการใช้ทรัพยากรในอาคาร อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดระบบการบริหารความเสี่ยง และระบบสารสนเทศที่เพียงพอและ เหมาะสมกับการบริหารจัดการงานในส่วนงาน (7) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๑ ฝ่ายกํากับการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน มีหน้าที่ (1) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจําหน่าย หน่วยลงทุน ที่เป็นธนาคาร บริษัทประกันชีวิต และบริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โดยการให้ ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการและผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณา เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงผู้แนะนําการลงทุน และผู้วางแผนการลงทุน (2) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าและจัดจําหน่าย ตราสารหนี้ ที่เป็นธนาคารและบริษัทประกันชีวิต โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบ ธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและ บุคลากรในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงผู้แนะนําการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน (3) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทค้าตราสารหนี้ ที่เป็นธนาคาร และบริษัทประกันชีวิต โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการและผู้บริหาร (4) ให้ความเห็นชอบและพัฒนาผู้ขายผลิตภัณฑ์การลงทุน ได้แก่ ผู้แนะนํา การลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๒ ฝ่ายกํากับการสอบบัญชี มีหน้าที่ (1) พัฒนาด้านการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงเสนอแนะการกําหนด หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (2) ให้ความเห็นชอบและกํากับดูแลผู้สอบบัญชีในตลาดทุนและสํานักงาน สอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงให้ความเห็นในกรณีการพิจารณาความผิดและการพิจารณา ลงโทษ ผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (3) ตรวจสอบการทํางาน และสอบทานคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีและสํานักงาน สอบบัญชี (4) ประสานงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับ ด้านการสอบบัญชี (5) ปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการสอบบัญชีในตลาดทุนไทย ให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๓ ฝ่ายกํากับตลาด มีหน้าที่ (1) กํากับดูแลและพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่อยู่ใน กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ การพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการตรวจสอบองค์กรดังกล่าวในด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี โครงสร้างของระบบซื้อขาย ระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ เป็นไปตามมาตรฐาน และแข่งขันได้ในระดับสากล (2) ติดตามการดําเนินงานของส่วนงานที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เกี่ยวกับการกํากับดูแล และพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในด้านอื่น ๆ ให้มีการดําเนินงานตามเป้าหมายและความคาดหวังของสํานักงาน และทําให้การกํากับดูแล กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ของสํานักงานมีความสอดคล้องกันในภาพรวม (3) ติดตามสภาพการซื้อขายในตลาครองของหลักทรัพย์ต่าง ๆ และศูนย์ซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภาพรวม (4) ติดตามและวิเคราะห์ภาวะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ สํานักงาน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ เสนอแนะนโยบาย แก้ไขปัญหา รวมถึงวางแนวทางเพื่อจํากัด ความเสียหายหรือป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล โดยรวม (5) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผันให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการและ ผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิดที่เกี่ยวกับ ผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ (6) ให้คําปรึกษาและข้อคําแนะนําแก่ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (7) ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นในกรณีที่มีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต และประสานงานกับฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 เพื่อดําเนินการตาม กฎหมายต่อไป (8) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๔ ฝ่ายกํากับธุรกิจจัดการลงทุน มีหน้าที่ (1) ให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ ดังนี้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน ซึ่งรวมถึง การจัดการกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจจัดการลงทุน เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวม ผู้รับฝากทรัพย์สินกองทุนส่วนบุคคล นายทะเบียนหน่วยลงทุนและสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ไม่รวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์) ตัวแทนการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดอันดับกองทุนรวม เป็นต้น (ข) ผู้ประกอบธุรกิจทรัสต์สําหรับการบริหารและจัดการลงทุน เฉพาะทรัสตี ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ไม่รวมผู้จัดการของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและกองทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์) ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน และผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท นายหน้า อ้า หรือจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ (ค) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจําหน่าย ตราสารหนี้ และหน่วยลงทุน ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (2) ติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิดที่เกี่ยวกับ ผู้ประกอบธุรกิจ และบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจตาม (1) (3) อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบุคลากร ได้แก่ กรรมการและผู้บริหารเฉพาะที่สังกัดบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน และผู้จัดการกองทุน (4) ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นในกรณีที่มีการประกอบธุรกิจตาม (1) โดยไม่ได้รับอนุญาต (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๕ ฝ่ายกํากับธุรกิจตัวกลาง มีหน้าที่ (1) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับตราสารทุนและสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าทุกประเภท (ไม่รวมธุรกิจจัดการลงทุน ธุรกิจนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และธุรกิจสินค้าเกษตรล่วงหน้า) โดยการให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร นักวิเคราะห์ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิด ที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว (2) ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นในกรณีที่มีการประกอบธุรกิจตาม (1) โดยไม่ได้รับอนุญาต (3) กํากับดูแลตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกํากับดูแลและลงโทษ บริษัทสมาชิก (4) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับสํานักงานป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย หมวด ๑๖ ฝ่ายกํากับธุรกิจออกแบบการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีหน้าที่ (1) ศึกษาและเสนอแนะนโยบายเพื่อส่งเสริมการให้บริการออกแบบการลงทุน (2) พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการออกแบบการลงทุน (3) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการออกแบบการลงทุนให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตอบข้อหารือและดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียน (4) วางแผนการสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้ผู้ลงทุนใช้บริการออกแบบ การลงทุนผ่านกิจกรรมและช่องทางต่างๆ (5) สร้างและสานสัมพันธ์กับพันธมิตรโครงการ 5 ขั้น มั่นใจลงทุน เพื่อร่วมกัน สนับสนุนการดําเนินการตาม (4) (6) ศึกษาพัฒนาการ การออกกฎหมาย กฏเกณฑ์กองทุนการออมในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะนโยบายในการส่งเสริมการออมและการลงทุนของสมาชิก กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และ การออกประกาศนายทะเบียน (7) ดําเนินการในฐานะนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รวมทั้งการตอบข้อหารือและข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้อง (8) ดูแลการขอใช้วงเงินลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในผลิตภัณฑ์สกุลเงินตรา ต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด (9) ติดตาม รวบรวมข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจนําส่งสํานักงานที่เกี่ยวกับการให้บริการ ออกแบบการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อนํามาวิเคราะห์และจัดทํารายงาน (10) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๗ ฝ่ายกํากับรายงานทางการเงิน มีหน้าที่ (1) พัฒนาด้านการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงเสนอแนะแนวทาง การวางกลไกและรากฐานของระบบการจัดทําและการรายงานทางการเงินธุรกิจในตลาดทุน และแนวทางในการกํานดมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) ตรวจทานรายงานทางการเงิน การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ของบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีแก่ส่วนงาน ในสํานักงาน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง (4) ประสานงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับ ด้านการบัญชี (5) ปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศเพื่อส่งเสริมให้รายงานทางการเงิน ของตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๘ ฝ่ายกํากับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน้าที่ (1) ศึกษากฎหมาย หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ และร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา การออกและแก้ไขหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย หลักเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติที่ดี (2) ศึกษาและพัฒนาเครื่องมือและแนวทางในการกํากับดูแลความเสี่ยง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ของผู้ประกอบธุรกิจ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติที่สํานักงานกําหนด รวมทั้งวิเคราะห์และติดตามแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber resilience) ในภาคการเงิน เพื่อร่วมหาแนวทางหรือวิธีป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสมแก่ ผู้ประกอบธุรกิจ (3) ให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ ผู้ขอประกอบธุรกิจ เพื่อให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาประกอบการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หรือเริ่มประกอบธุรกิจ (4) กํากับ ติดตาม และตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งประเมินความพร้อม ในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ของผู้ประกอบธุรกิจ และเสนอรายงานการตรวจสอบระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบและเพื่อพิจารณากําหนด มาตรการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่เหมาะสม (ถ้ามี) (5) ร่วมตรวจสอบหรือให้ความเห็นเพื่อให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากรณีมีเรื่อง ร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ (6) กํากับดูแลการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของหน่วยงาน โครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศในภาคตลาดทุนให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานและแนว ปฏิบัติตามกรอบกฎหมายและมาตรฐานสากล (7) ดําเนินการเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสร้างศักยภาพ ecosystem และ ดําเนินกิจกรรมเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ (8) ประสานความร่วมมือและดําเนินการร่วมกับภาคอุตสาหกรรมหรือ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเมื่อเกิดเหตุ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในภาคตลาดทุนและภาคการเงิน (9) เป็นด่านแรกในการรับข้อมูลและตอบสนอง (response) ในกรณีผู้ประกอบ ธุรกิจเผชิญเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber incident) และประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง หากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ (10) สนับสนุนเลขาธิการในงานที่ดํารงตําแหน่งในคณะกรรมการกํากับดูแล ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (11) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๙ ฝ่ายคดี มีหน้าที่ (1) พิจารณาการดําเนินการลงโทษทางปกครองกับนิติบุคคลและผู้ประกอบวิชาชีพ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับเรื่อง มาจากส่วนงานต้นเรื่อง (2) เสนอข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ (ก) คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ข) คณะกรรมการเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายว่าด้วยทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ค) คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (3) คณะกรรมการวินัยบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (จ) คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย (ด้านคดี) (3) ดําเนินการเพื่อการบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งตามที่ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง ทั้งกรณีที่ผู้กระทําความผิด ยินยอมที่จะปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง และกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอม ที่จะระงับคดีและสํานักงานต้องดําเนินการฟ้องคดีผู้กระทําความผิดต่อศาลเพื่อกําหนดมาตรการ ลงโทษทางแพ่ง (4) ประสานงานและติดตามคดีที่อยู่ในกระบวนการดําเนินคดีอาญา (5) เป็นผู้แทนในการแก้คดี หรือให้คําปรึกษาด้านกฎหมายและคดีในกรณีที่มี ผู้ยื่นฟ้องสํานักงานหรือบุคคลที่ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานให้กับสํานักงาน เป็นคดีแพ่งหรือ คดีอาญาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการต่อสู้คดี ฟ้องแย้ง หรือฟ้องกลับ (6) ดําเนินคดีกับบุคคลที่ไม่ชําระเงินค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย (7) ดําเนินการบังคับคดีกับบุคคลที่ไม่ชําระค่าปรับทางปกครอง หรือบังคับคดี ตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง (8) พิจารณาข้อมูลที่จะนําส่งตามหมายศาล หนังสือเรียกของพนักงานผู้มีอํานาจ หรือหนังสือร้องขอใช้สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือพิจารณาบุคคล ที่จะเป็นผู้แทนสํานักงานในการเบิกความเป็นพยานในคดีตามหมายเรียกของศาล รวมทั้งการเตรียม ข้อมูลการเป็นพยานให้กับบุคคลดังกล่าว (9) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๐ ฝ่ายงานเลขาธิการ มีหน้าที่ (1) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (2) สนับสนุนเลขาธิการในงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานที่ เลขาธิการดํารงตําแหน่งทั้งภายในและภายนอกสํานักงาน (3) ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น เพื่อให้เกิดการทํางานแบบบูรณาการ (4) ปฏิบัติงานด้านวิชาการตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การศึกษาและจัดทําข้อเสนอ ในเรื่องที่เป็นประเด็นสําคัญและเร่งด่วนตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น (5) กลั่นกรองงานที่เสนอต่อเลขาธิการ (6) สนับสนุนผู้บริหารระดับสูงในงานตามที่ได้รับมอบหมาย (7) ปฏิบัติงานด้านเลขานุการและงานธุรการของสํานักงานและผู้บริหารระดับสูง (8) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๑ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 1 มีหน้าที่ (1) ส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ เช่น การควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้าง การซื้อกิจการ โดยการใช้หนี้หรือเงินกู้ เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วย (2) พิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับ ตราสารทุนและตราสารที่คล้ายทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝาก หลักทรัพย์ และตราสารกึ่งทุน เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน (3) กํากับดูแลการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ซึ่งรวมถึงการวางหลักเกณฑ์ กํากับดูแล การพิจารณาคําขอ การผ่อนผัน และการเปิดเผยข้อมูล (4) ติดตามการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (5) สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ภายหลังการเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว (6) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําความผิดที่เกี่ยวข้อง กับกรณีตาม (2) - (5) แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย หลักทรัพย์ รวมทั้งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก (7) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๒ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 มีหน้าที่ (1) ส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ เช่น การควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้าง การซื้อกิจการโดยการใช้หนี้หรือเงินกู้ เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วย (2) พิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับ ตราสารทุนและตราสารที่คล้ายทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝาก หลักทรัพย์ และตราสารกึ่งทุน เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน (3) กํากับดูแลการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ซึ่งรวมถึงการวางหลักเกณฑ์ กํากับดูแล การพิจารณาคําขอ การผ่อนผัน และการเปิดเผยข้อมูล (4) ติดตามการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (5) สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ภายหลังการเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว (6) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําความผิดที่เกี่ยวข้อง กับกรณีตาม (2) - (5) แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย หลักทรัพย์ รวมทั้งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณี ที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอนเชิงลึก (7) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๓ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 3 มีหน้าที่ (1) ศึกษาและเสนอนโยบายในการส่งเสริมให้ตลาดทุนเป็นทางเลือก ในการระดมทุน รวมทั้งออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (2) วางนโยบายเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารทุน ตราสารที่คล้ายทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ ตราสารกึ่งทุน (3) วางนโยบายพิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต เกี่ยวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งกํากับดูแลการดําเนินการภายหลัง การจัดตั้งและ เสนอขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหา ในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูล เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน (4) วางนโยบายเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของตัวกลางในกระบวนการออกและ เสนอขายหลักทรัพย์ ได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน ผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และพิจารณาคําขอความเห็นชอบตัวกลางดังกล่าว รวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (5) พิจารณาข้อร้องเรียนและกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําความผิดที่เกี่ยวข้องกับ กรณีตาม (3) แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับ การดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก (6) จัดการระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การดําเนินการภายหลังการเสนอหลักทรัพย์ และการทําหน้าที่ของตัวกลางในกระบวนการออก และเสนอขายหลักทรัพย์ (*7*) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๔ ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดทุน มีหน้าที่ (1) เสนอแนะนโยบาย บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และขอบเขตอํานาจ ในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําคัญ (2) วางแผน ดําเนินการ และบริหารจัดการข้อมูล ออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูล รวมถึงพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์และเรียกดูข้อมูล เพื่อให้สํานักงานมีข้อมูลสารสนเทศ ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย และสนับสนุนงานของส่วนงานต่าง ๆ และการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน (3) พัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและเครื่องมือที่จําเป็นในการวิเคราะห์ เชิงลึกเพื่อให้สํานักงานมีข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจเชิงนโยบายเป็นหลัก (4) สนับสนุนและให้คําแนะนําแก่ส่วนงานในการจัดทํารายงาน รวมถึง การออกแบบและปรับปรุงระบบงานและกระบวนการทํางานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๕ ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 มีหน้าที่ (1) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ตลอดจนพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับ การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการกระทําความผิดในมาตรา ที่สําคัญอื่น ๆ หรือการกระทําผิดอื่นซึ่งจําเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือใช้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการตรวจสอบเชิงลึก (2) นําเสนอผลสรุปการตรวจสอบและความเห็น รวมถึงประเด็นข้อกฎหมาย ให้คณะกรรมการด้านตรวจสอบและคดีพิจารณาก่อนจะเสนอสํานักงาน (3) ประสานงานและสนับสนุนด้านข้อมูลกับฝ่ายคดี พนักงานสอบสวน และ พนักงานอัยการ สําหรับการดําเนินการทางอาญา และร่วมกับฝ่ายคดีในการฟ้องผู้กระทําผิดต่อศาล เพื่อกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง สําหรับการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง (4) กํากับและดูแลตลาดหลักทรัพย์ และตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลการซื้อขาย และการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมในตลาดทุน (5) ติดตามข่าวสารและพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการกระทํา อันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (6) จัดการระบบฐานข้อมูลลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เกี่ยวข้อง จากการดําเนินคดี (7) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๖ ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2 มีหน้าที่ (1) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ตลอดจนพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทํา อันฝ่าฝืนหรือกระทําผิดกฎหมายในลักษณะการบริหารงานที่เป็นการฉ้อโกง และการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งจําเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือใช้อํานาจ พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเชิงลึก (2) นําเสนอผลสรุปการตรวจสอบและความเห็น รวมถึงประเด็นข้อกฎหมาย ให้คณะกรรมการด้านตรวจสอบและคดีพิจารณาก่อนจะเสนอสํานักงาน (3) ประสานงานและสนับสนุนด้านข้อมูลกับฝ่ายคดี พนักงานสอบสวน และ พนักงานอัยการ สําหรับการดําเนินการทางอาญา และร่วมกับฝ่ายคดีในการฟ้องผู้กระทําผิดต่อศาล เพื่อกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง สําหรับการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง (4) จัดการระบบฐานข้อมูลลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เกี่ยวข้องจากการดําเนินคดี (5) ประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานอื่น เช่น สํานักงานป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน และการประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือและ ดําเนินการตามบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีร่วมกัน (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๗ ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ (1) ตรวจสอบ สอบทาน และประเมินด้วยวิธีการตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน เพื่อให้มีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิผลของกระบวนการกํากับดูแล กิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชั่น (2) ให้คําปรึกษาหรือข้อเสนอแนะแก่ส่วนงานต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการ กํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและ การควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบาย ก.ล.ต. องค์กร ปลอดคอร์รัปชั่น (3) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ (4) ปฏิบัติงานด้านเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๘ ฝ่ายตราสารหนี้ มีหน้าที่ (1) กําหนดนโยบายในการพัฒนาและกํากับดูแลตลาดตราสารหนี้ รวมถึง การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกตราสารหนี้ประเภทใหม่ๆ และกํากับดูแลความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้อง (2) กําหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาคําขออนุญาตเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย ตราสารหนี้ หุ้นกู้อนุพันธ์ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และกํากับดูแลตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับ ตราสารหนี้ ได้แก่ ที่ปรึกษาการเงิน ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นายทะเบียนหุ้นกู้ และทรัสตีสําหรับหุ้นกู้และ ศุกก ซึ่งรวมถึงการกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การให้ความเห็นชอบผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว การกํากับดูแล และการพิจารณาเรื่องร้องเรียน (3) กํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ผู้ค้าตราสารหนี้ นายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ให้ได้มาตรฐานและแข่งขันได้ ในระดับสากล ซึ่งรวมถึงการกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของสมาคม ตลาดตราสารหนี้ไทย การพิจารณาเรื่องร้องเรียนและการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน ดังกล่าว (4) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒๙ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ (1) ศึกษาและติดตามเทคนิคการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินงาน ด้านพนักงานใหม่ ๆ เพื่อนํามาปรับใช้ในงานสํานักงาน (2) รับผิดชอบงานด้านบริหารบุคคลของสํานักงาน ซึ่งรวมถึงการจัดโครงสร้าง องค์กร จัดทําแผนอัตรากําลัง การสรรหาพนักงาน การประเมินผล การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ (3) รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาพนักงาน รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นําสําหรับ ผู้บริหาร การฝึกอบรม การพัฒนาสายงานอาชีพ การพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพและการจัดทําแผน สืบทอดตําแหน่ง รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ (4) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงาน รวมถึงการสื่อสารและเสริมสร้าง สภาพแวดล้อมการทํางานให้เป็นองค์กรน่าทํางาน (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๐ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่ (1) ติดตามและนําเสนอการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มีการนําระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ ของสํานักงานอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ศึกษา ติดตาม และให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในตลาดทุน รวมถึงประเมินผลกระทบในด้านการกํากับดูแลของสํานักงาน และให้การสนับสนุน ส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการกําหนดมาตรการรองรับอย่างเหมาะสม (3) บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานการบริหารการจัดการเครือข่ายข้อมูล และความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (4) วิเคราะห์ จัดหา และออกแบบระบบงานเพื่อการใช้งานภายในและให้บริการ ต่อบุคคลภายนอก (5) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๑ ฝ่ายนโยบายธุรกิจจัดการลงทุน มีหน้าที่ (1) เสนอแนะนโยบายเพื่อการพัฒนาและกํากับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการลงทุน ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจจัดการลงทุน (เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวม ผู้รับฝากทรัพย์สิน กองทุนส่วนบุคคล (ไม่รวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และบริษัทในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์) เป็นต้น) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน รวมถึง ออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) พิจารณาคําขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม รวมทั้งการตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง (3) ติดตามและวิเคราะห์ภาวะตลาดทุนและการลงทุนของกองทุนรวม เพื่อเตรียมรับ สถานการณ์ เสนอแนะนโยบายแก้ไขปัญหา รวมถึงวางแนวทางเพื่อจํากัดความเสียหายและป้องกัน มิให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมกองทุนรวมและตลาดทุนโดยรวม (4) ประสานงานและกํากับดูแลการทําหน้าที่ของสมาคมหรือองค์กรกํากับดูแล ตนเองในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจจัดการลงทุน และธุรกิจนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ซักซ้อม สื่อสาร และตอบข้อหารือผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งประสานงานกับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) สนับสนุนการเสนอขายกองทุนรวมข้ามประเทศ โดยมองหาโอกาส อํานวยความสะดวก และช่วยลดอุปสรรคให้แก่บริษัทจัดการ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงาน กํากับดูแลด้านตลาดทุนในต่างประเทศ (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๒ ฝ่ายนโยบายธุรกิจตัวกลาง มีหน้าที่ (1) เสนอแนะนโยบายในการพัฒนาและกํากับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทตราสารทุน นายหน้าและจัดจําหน่ายตราสารหนี้ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจการให้ สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจเฉพาะสินค้าเกษตร และบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตั้งแต่การให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากร ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร นักวิเคราะห์ รวมถึงผู้แนะนําการลงทุน ที่อยู่ภายใต้สังกัดของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ (3) ติดตามดูแลการบริหารความเสี่ยงในด้านฐานะการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสินค้าเกษตร และธุรกิจสินทรัพ*ย์*ดิจิทัลในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อมิให้กระทบต่อลูกค้า ระบบการชําระราคาและส่งมอบ ตลอดจน ความเชื่อมั่นของตลาดทุนโดยรวม (4) กํากับดูแลตลาดหลักทรัพย์และบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎเกณฑ์ในการกํากับดูแลสมาชิก เช่น การพิจารณาให้ ความเห็นชอบกฎเกณฑ์สําคัญๆ ในการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาด รวมถึงการมีส่วนร่วมเข้าตรวจสอบ (5) ประสานงานกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเรียนรู้ รับฟังข้อมูลอย่างเปิดใจ รวมถึงการให้ความเห็นชอบประกาศหรือแนวทางของสมาคมหรือองค์กร ดังกล่าว (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๓ ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร มีหน้าที่ (1) เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และการนําหลักธรรมาภิบาล การบริหาร ความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมาย บูรณาการเข้ากับกระบวนการทํางาน การตัดสินใจของ ทั้งสํานักงาน เพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน และการเป็นหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นไป ตามมาตรฐานสากล (2) จัดทํากรอบนโยบายและแผนการบริหารความเสี่ยงองค์กร และแผนบริหาร ความต่อเนื่องในการดําเนินงาน โดยอิงมาตรฐานสากล (3) จัดทําแผนการบริหารความเสี่ยง รายงานความคืบหน้าการปฏิบัติตามแผน ผลสัมฤทธิ์ผลของการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อผู้บริหารระดับสูง คณะอนุกรรมการกํากับดูแล ความเสี่ยง และคณะกรรมการ ก.ล.ต. (4) เสนอแนะแนวทาง สนับสนุน และให้คําแนะนําแก่ส่วนงานในการออกแบบ และปรับปรุงกระบวนการทํางาน รวมถึงจัดให้มีสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการองค์กร (5) สนับสนุน ติดตาม ให้ความรู้ คําาแนะนําแก่ส่วนงานและพนักงาน ในเรื่องธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง และกระบวนการทํางาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์กร (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๔ ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ มีหน้าที่ (1) ศึกษา กําหนดท่าที่นโยบายและยุทธศาสตร์ของตลาดทุนไทย และท่าทีกลยุทธ์ กับตลาดทุนต่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาค พหุภาคี และทวิภาคี เพื่อให้ตลาดทุนไทยแข่งขันได้ ในระดับสากลและมีความน่าเชื่อถือ สามารถตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (2) ติดตามการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสากลสําคัญในตลาดทุนและพัฒนาการ ของตลาดทุนต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนส่วนงานต่าง ๆ ในการปรับปรุงแนวทางการกํากับดูแลของ สํานักงานให้เทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล (3) จัดทําแผนกลยุทธ์ของสํานักงานและดําเนินการด้านการต่างประเทศ ให้สอดรับ กับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาตลาดทุนไทย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสํานักงาน (4) ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความรู้ และผลักดันให้ทุกส่วนงานมีการดําเนินการ ติดตาม ประเมินผลและรายงานตามแผนกลยุทธ์ที่กําหนด (5) พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านตลาดทุน ให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล โดยส่งเสริมและสนับสนุนส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ ติดตาม ควบคุมและ ลดความเสี่ยงในตลาดทุน และประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจ กระทบต่อระบบการเงินร่วมกัน แต่ไม่รวมการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานในการประชุมหรือทํางานร่วมระหว่าง หน่วยงานกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง (7) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๕ ฝ่ายวิจัย มีหน้าที่ (1) ให้บริการด้านงานวิจัยเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของ สํานักงาน โดยจัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านพัฒนาการต่าง ๆ ของตลาดทุน รวมถึงโอกาสและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในงานด้านนโยบายของสํานักงาน (2) ให้คําปรึกษาและร่วมเป็นคณะทํางานกับส่วนงานและหน่วยงานต่าง ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือต่อยอดงานวิจัย รวมทั้งสนับสนุนด้านเทคนิคและการวิเคราะห์ แก่ส่วนงานต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และกลไกในตลาดทุน (3) เผยแพร่และแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วม และจัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับตลาดทุน เป็นต้น (4) พบปะ สื่อสาร เรียนรู้ สร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานต่าง ๆ และนํามาสู่การพัฒนางานวิจัยเชิงนโยบาย (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๖ ฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด มีหน้าที่ (1) เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนแก่ประชาชน ซึ่งประกอบด้วยผู้สนใจลงทุน ผู้ลงทุน รวมถึงกรรมการและสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และผู้ที่ต้องการระดมทุน (2) ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการเงิน การลงทุน การระดมทุน และตลาดทุน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตาม (1) ผ่านโครงการ สื่อ และเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ตลอดจน การออกไปพบปะประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม (3) พัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนด้านตลาดทุนในต่างจังหวัด เพื่อช่วยเหลือ และสนับสนุนการทํางานของสํานักงานในพื้นที่ และสนับสนุนการทํางานแบบมีส่วนร่วมกับ ภาคประชาชน (4) เป็นศูนย์กลางประสานงาน และทํางานแบบบูรณาการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดต่างๆ ในด้านการให้ความรู้ การให้คําแนะนํา รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาดทุน (5) ติดตามการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสถานการณ์ในตลาดทุน ผลิตภัณฑ์ ด้านตลาดทุนใหม่ ๆ ศึกษาพฤติกรรมของผู้ลงทุน เพื่อทําความเข้าใจความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับ ผู้ลงทุน และสามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและหลากหลายในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ป้องกัน หรือป้องปรามโอกาสเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ลงทุน (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๗ ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน มีหน้าที่ (1) ติดตาม ศึกษาพัฒนาการและผลกระทบของนวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการเงิน และรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน และสินทรัพย์ดิจิทัล วิเคราะห์และเสนอท่าทีนโยบาย แนวทางการพัฒนาและกํากับดูแลที่เหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุนหรือสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย (2) ผลักดัน ดําเนินการ และร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก สํานักงาน เพื่อทําให้เกิดระบบนิเวศ และแนวทางดําเนินการซึ่งสนับสนุนให้นวัตกรรมทางการเงิน ที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นได้จริงในไทย รวมทั้งให้คําแนะนําเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องภายนอกเกี่ยวกับ การให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (3) เสนอนโยบาย ออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการ ระบบคราวด์ฟันคิง รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายทะเบียน เป็นต้น (4) ให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการเงินและรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน และสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการกรณีที่มีการประกอบธุรกิจ โดยไม่ได้รับอนุญาต (5) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคนดิจิทัล ดังนี้ (ก) ออกและแก้ไขประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายที่อยู่ใน รูปแบบโทเคนดิจิทัล และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ข) พิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต ออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคนดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ ความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน รวมทั้ง สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของผู้ออกและเสนอขายดังกล่าวภายหลังการเสนอขาย (ค) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อให้ ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ง) ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ออกและเสนอขาย ที่อยู่ในรูปแบบโทเคนดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต และประสานงานกับสายงานบังคับใช้กฎหมาย เพื่อดําเนินการทางกฎหมายต่อไป (จ) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และรวบรวมข้อมูลกรณีที่สงสัยว่าผู้ให้บริการระบบ เสนอขายโทเคนดิจิทัลอาจมีการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง รวมทั้งพิจารณาข้อบกพร่องและมาตรการ ลงโทษผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๘ ฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน มีหน้าที่ (1) กําหนดแนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้างการประกอบธุรกิจ อย่างมีธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนของ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) กําหนดแนวทางและดําเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดแรงผลักดันจากภาคสังคม โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดําเนินการตาม (1) (3) ดําเนินการหรือสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดทําคู่มือ เครื่องมือ ช่วยให้ความรู้ในเรื่องตาม (1) และ (2) แก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสถาบัน หน่วยงาน หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (4) ดําเนินการหรือสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างการต่อต้าน ทุจริตและคอร์รัปชันของบริษัทจดทะเบียนและผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ตลอดจนสํานักงาน (5) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓๙ ฝ่ายสื่อสารและบริการผู้ลงทุน มีหน้าที่ (1) ติดตามข้อมูลข่าวสาร กําหนดท่าทึกลยุทธ์ ดําเนินการสื่อสาร และให้คําปรึกษา แก่ผู้บริหารระดับสูงในประเด็นที่เป็นข่าว รวมทั้งจัดเตรียมร่างข่าวและงานสื่อมวลชนสัมพันธ์ โดยทํางานร่วมกับโฆษกของสํานักงาน (2) กําหนดกลยุทธ์และดําเนินการบริหารจัดการภาพลักษณ์ของสํานักงาน การสื่อสารทั้งภายในและภายนอก การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ การเขียนบทความ การจัดทํา สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ การบริหารจัดการสื่อโซเชียลของสํานักงาน (เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์) การจัดกิจกรรมและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง (3) เป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลสําหรับผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง และรับเบาะแสและเรื่องร้องเรียนจากบุคคลภายนอก ซึ่งรวมทั้งบริหารจัดการโดยประสานงานกับ ส่วนงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้การดําเนินการของสํานักงานมีความรวดเร็วและช่วยยับยั้งความเสียหาย ที่เกิดขึ้นต่อผู้ลงทุน (4) บริหารจัดการเว็บไซต์ขององค์กร เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการบริการผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (5) บริหารจัดการการแปลข่าวประกาศและข้อมูลสําคัญอื่น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ (6) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๔๐ สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสํานักงานตั้งอยู่เลขที่ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2033-9999 โทรสาร 0-2033-9660 การติดต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถกระทําผ่านสํานักงานได้ตามสถานที่ทําการข้างต้น หรือทาง email: [email protected] นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,216
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 16/2563 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมเพื่อการออม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 16/2563 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและ การจดทะเบียนของกองทุนรวมเพื่อการออม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมและการจดทะเบียนกองทุนรวม ตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ สําหรับกองทุนรวมที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุนที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (2) มีนโยบายการลงทุนซึ่งแสดงได้ว่าเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (3) มีการเสนอขายหน่วยลงทุนในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,217
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 17/2563 เรื่อง การผ่อนผันเกี่ยวกับการจัดทำและส่งสำเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2563 เรื่อง การผ่อนผันเกี่ยวกับการจัดทําและส่งสําเนางบการเงินและรายงาน การสอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเนื่องจากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมที่มีการรวมตัวกันของบุคคลจํานวนมาก ซึ่งรวมถึงการประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จึงมีเหตุจําเป็นและสมควรในการผ่อนผันเกี่ยวกับการจัดทําและส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต่อสํานักงาน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน แลกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภท ข้อ ๑ ในการจัดทําและส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้สํานักงานสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี พ.ศ. 2562 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มีการรับรองงบการเงินโดยที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้จัดส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีให้สํานักงาน โดยได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการจัดส่งเอกสารดังกล่าวเป็นภายใน 240 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี ในการนี้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องมีหนังสือแจ้งให้สํานักงานทราบถึงการดําเนินการดังกล่าวและเปิดเผยงบการเงินพร้อมรายงานการสอบบัญชีดังกล่าวให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี (2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเลือกใช้วิธีการส่งหนังสือขอมติจากสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อรับรองงบการเงินแทนการจัดประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีที่ผ่านการรับรองแล้วให้สํานักงานภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี และต้องเสนองบการเงินพร้อมรายงานการสอบบัญชีดังกล่าวต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อพิจารณาในการประชุมที่จะมีขึ้นในครั้งถัดไป ทั้งนี้ มติดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,218
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2563 เรื่อง อันดับและสถาบันจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของผู้รับประกันภัยที่สำนักงานยอมรับในการใช้กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2563 เรื่อง อันดับและสถาบันจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ผู้รับประกันภัยที่สํานักงานยอมรับในการใช้กรมธรรม์ประกันภัย เพื่อการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ โดยที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (“ประกาศ ที่ สธ. 12/2561”) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับ ความรับผิดจากการปฏิบัติงานสามารถใช้กรมธรรม์ประกันภัยในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวได้โดยผู้รับประกันภัยต้องได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินในอันดับและจากสถาบันจัดอันดับที่สํานักงานยอมรับเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของผู้ประกอบธุรกิจ สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 12(2) แห่งประกาศ ที่ สธ. 12/2561 ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้อันดับและสถาบันจัดอันดับที่ปรากฏตามตารางแนบท้ายประกาศนี้เป็นอันดับและสถาบันจัดอันดับที่สํานักงานยอมรับในการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (financial strength rating) ของผู้รับประกันภัย เพื่อประโยชน์ในการใช้กรมธรรม์ประกันภัยประกอบการดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,219
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 27/2563 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดประชุมสามัญประจำปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 27/2563 เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้น ในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมที่มีการรวมตัวกันของบุคคลจํานวนมาก ซึ่งรวมถึงการประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ด้วยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดการดําเนินการของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ ข้อ ๒ ในการจัดประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดให้มีการประชุมภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีของกองทรัสต์ หรือภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงกําหนดหลัง ข้อ ๓ ในกรณีที่การประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ใดเป็นการประชุมเพื่อรายงานให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบเท่านั้น โดยไม่มีการขอมติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์อาจดําเนินการด้วยวิธีการอื่นแทนการจัดประชุมสามัญประจําปีตามข้อ 2 เพื่อรายงานให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดการกองทรัสต์ในเรื่องที่สําคัญ และแนวทางการจัดการกองทรัสต์ในอนาคต (2) ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกองทรัสต์ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา โดยอย่างน้อยต้องมีงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีแล้ว (3) การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ และค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชีให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดให้มีช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้จัดการกองทรัสต์ได้ และในกรณีที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์มีการสอบถามข้อมูลใด ๆ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดทําสรุปประเด็นสําคัญในลักษณะคําถามและคําตอบเพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบด้วย ให้ผู้จัดการกองทรัสต์เผยแพร่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งและวรรคสองผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๔ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,220
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2563 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการกู้ยืมเงินหรือการทำธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราว
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2563 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมการขาย โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อการบริหารสภาพคล่องของ กองทุนรวมเป็นการชั่วคราว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 7/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวม ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถกู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน เพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ เพิ่มเติมจากที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน และการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามของกองทุนรวม โดยให้การกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ สิ้นวันใด เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 (1) กองทุนรวมตราสารหนี้ (2) กองทุนรวมผสมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,221
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 29/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุน ในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ โดยอนุโลม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,222
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2563 เรื่อง การผ่อนผันการดำเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2563 เรื่อง การผ่อนผันการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8(1) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีข้อจํากัดเนื่องด้วยข้อกําหนดใดที่ออกตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเนื่องจากกรณีที่บริษัทจัดการต่างประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดังกล่าว และส่งผลกระทบต่อการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ ได้รับการผ่อนผันให้สามารถปฏิบัติแตกต่างจากหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวตามที่จําเป็นและเป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานจะได้กําหนดเป็นคราว ๆ ไป (1) การคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) ช่องทาง ระยะเวลา และวิธีการเกี่ยวกับเรื่อง ดังนี้ (ก) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน (ข) การหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (3) การจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนรวม (4) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลของกองทุนรวม (5) การดําเนินการเมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมเพราะเหตุครบกําหนดอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกําหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,223
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 31/2563 เรื่อง การผ่อนผันการจัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2563 เรื่อง การผ่อนผันการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและ ผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เนื่องจากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน จึงมีเหตุจําเป็นและสมควรในการผ่อนผันการจัดทําและส่งรายงานดังกล่าวเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น และโดยที่ข้อ 45 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556 กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอผ่อนผันการส่งรายงานดังกล่าวของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไว้ สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศการดําเนินการเกี่ยวกับการขอผ่อนผันไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งประสงค์จะขอผ่อนผันการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานดังต่อไปนี้ สําหรับงวดที่สิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 (1) งบการเงินรายไตรมาส (2) งบการเงินประจํารอบปีบัญชีและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งประสงค์จะขอผ่อนผันการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 1 และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ได้รับการผ่อนผันการจัดทําและส่งรายงานดังกล่าว ทั้งนี้ ภายในกําหนดระยะเวลาตามที่มีคําขอ (1) จัดส่งหนังสือขอผ่อนผันการส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ต่อสํานักงานที่มีข้อมูลตามวรรคสอง ก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) เปิดเผยข้อมูลตามวรรคสองผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด หรือในกรณีที่ไม่สามารถเปิดเผยผ่านช่องทางดังกล่าว ให้เปิดเผยข้อมูลผ่านระบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงได้ หนังสือขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง (1) ต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจําเป็นในการขอผ่อนผันซึ่งแสดงถึงผลกระทบที่บริษัทได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) จนไม่สามารถจัดทําและส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานเนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่งหรือหลายเหตุดังนี้ (ก) เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอุปสรรคหรือข้อจํากัดในการดําเนินงานหรือการเข้าถึงข้อมูลอย่างเป็นสาระสําคัญต่อการจัดทํารายงานดังกล่าว (ข) ผลกระทบต่อข้อมูลทางการเงินของบริษัท ในลักษณะที่ทําให้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายการต่าง ๆ ในรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานอย่างมีนัยสําคัญ โดยที่บริษัทยังไม่สามารถระบุหรือคาดการณ์ผลกระทบที่ชัดเจนได้ (2) กําหนดระยะเวลาที่จะจัดส่งรายงานดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินระยะเวลาดังนี้ (ก) ไม่เกินกําหนดระยะเวลาจัดส่งงบการเงินงวดถัดไป กรณีเป็นการขอผ่อนผันการจัดทําและนําส่งงบการเงินรายไตรมาส (ข) ไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี กรณีเป็นการขอผ่อนผันการจัดทําและนําส่งงบการเงินประจํารอบปีบัญชีและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (3) ความเห็นเกี่ยวกับเหตุผลและความจําเป็นในการขอผ่อนผันตามวรรคสอง (1) และกําหนดระยะเวลาที่ขอผ่อนผันตามวรรคสอง (2) ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริษัทในกรณีอื่น (4) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์หรืออาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,224
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 33/2563 เรื่อง มาตรการผ่อนปรนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 33/2563 เรื่อง มาตรการผ่อนปรนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูลประจําปีเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน กรณีจึงมีเหตุจําเป็นและสมควรในการออกมาตรการผ่อนปรนเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระต่อสํานักงานในบางกรณี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี 2562 ให้เป็นดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาทหรือเทียบเท่า และมีลักษณะครบถ้วนดังนี้ ในรอบปีปฏิทินก่อน ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 30 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ (ก) ไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน เนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนด (ข) ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงานระบุเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และแหล่งอ้างอิงของอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วย (2) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีดังนี้ ที่มีลักษณะครบถ้วนตาม (1) (ก) และ (ข) ในรอบปีปฏิทินก่อน (ก) บริษัทอื่นนอกจาก (1) (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ค) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๒ ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 1 ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี 2562 ตามอัตราที่กําหนดในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๓ การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี 2562 ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ชําระภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,225
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ นป. 2/2563 เรื่อง แบบฟอร์มมาตรฐาน (single form) สำหรับการทำธุรกรรมในตลาดทุน
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2 /2563 เรื่อง แบบฟอร์มมาตรฐาน (single form) สําหรับการทําธุรกรรมในตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (“ประกาศ ที่ ทธ. 35/2556”) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (“ผู้ประกอบธุรกิจ”) ต้องรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า นั้น เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกแก่ลูกค้าโดยการลดภาระในการกรอกข้อมูลเพื่อเปิดบัญชีใหม่ และการกําหนดข้อมูล (data set) ขั้นต่ํา สําหรับการเปิดบัญชีทําธุรกรรมในตลาดทุนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 12(3/1) ข้อ 25/4 และความในหมวด 5 ส่วนที่ 1 เรื่อง การรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้า แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ประกอบธุรกิจไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ เพื่อรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าสําหรับการเปิดบัญชีเพื่อลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 แต่ไม่รวมถึงการจองซื้อหลักทรัพย์ หรือการเปิดบัญชีกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (unit link) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะใช้แบบฟอร์มของผู้ประกอบธุรกิจในการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกระทําได้โดยมีข้อมูลอย่างน้อยเทียบเท่าข้อมูลในแบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ ข้อ ๒ ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงอื่นเกี่ยวกับลูกค้าที่จําเป็นต่อการทําความรู้จักลูกค้า การจัดประเภทลูกค้า การประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือการพิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ตามข้อ 30 แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 ผู้ประกอบธุรกิจยังมีหน้าที่รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพิ่มเติมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 เช่น การตรวจสอบตัวตนของลูกค้า หรือความเป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริง เป็นต้น ข้อ ๓ ในกรณีที่ลูกค้าได้แจ้งความประสงค์จะขอสําเนาแฟ้มข้อมูลแบบฟอร์มการเปิดบัญชีมาตรฐานที่ได้กรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือชุดข้อมูลเทียบเท่า หรือขอให้ส่งแฟ้มข้อมูลหรือชุดข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการโดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ ๔ ผู้ประกอบธุรกิจควรอํานวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถนําข้อมูลของลูกค้าจากแบบฟอร์มมาตรฐานที่ลูกค้าได้กรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือชุดข้อมูลอย่างน้อยเทียบเท่าแบบฟอร์มมาตรฐานจากแหล่งอื่น ซึ่งลูกค้าได้รับรองความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวแล้ว มาใช้เพื่อการเปิดบัญชีได้ โดยลูกค้าไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ํา ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ก่อนวันที่แนวปฏิบัตินี้มีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้แบบฟอร์มดังกล่าวต่อไปได้ และให้รวบรวมข้อมูลอย่างน้อยเทียบเท่ามาตรฐานของแบบฟอร์มที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ ตามรอบระยะเวลาการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าแห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 นับแต่วันที่แนวปฏิบัตินี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าโดยใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ก่อนวันที่แนวปฏิบัตินี้มีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวสามารถใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ได้ ข้อ ๗ ประกาศแนวปฏิบัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,226
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 39/2563 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 39/2563 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2563 จํานวน 1 วัน นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดให้วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,227
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 40/2563 เรื่อง การผ่อนผันข้อกำหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 40/2563 เรื่อง การผ่อนผันข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินการของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดการดําเนินการของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “สถานการณ์โควิด 19” หมายความว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๒ การขอมติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ในปี พ.ศ. 2563 ผู้จัดการกองทรัสต์อาจดําเนินการด้วยวิธีการส่งหนังสือขอมติแทนการจัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการขอมติเพื่อ การจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทรัสต์ การดําเนินการขอมติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันปิดรับหนังสือตอบกลับจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยหนังสือขอมติดังกล่าวต้องระบุวันปิดรับหนังสือตอบกลับไว้อย่างชัดเจน และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในข้อ 94(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโดยอนุโลม (2) มติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขอมติเพื่อทํารายการที่ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ให้ถือมติ ตามจํานวนหน่วยทรัสต์รวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มี สิทธิออกเสียง (ข) กรณีอื่นใดนอกจาก (ก) ให้ถือมติตามจํานวนหน่วยทรัสต์รวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีหนังสือตอบกลับและมีสิทธิออกเสียง ผู้จัดการกองทรัสต์อาจดําเนินการขอมติผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่งด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยต้องคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ถือหน่วยทรัสต์ มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการดําเนินการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการดําเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย การนับองค์ประชุมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรา 129/2 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 129/2 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยอนุโลม ข้อ ๓ การประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพยที่กองทรัสต์ลงทุนในส่วนที่ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563 หากผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ขอผ่อนผันการประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหนังสือขอผ่อนผันดังกล่าวที่มีข้อมูลตามวรรคสองต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (2) เปิดเผยข้อมูลตามวรรคสองผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด หนังสือขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง (1) ต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจําเป็นในการขอผ่อนผันซึ่งแสดงถึงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับรายได้ของกองทรัสต์อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด 19 (ข) อุปสรรคหรือข้อจํากัดในการดําเนินงานหรือการเข้าถึงข้อมูลซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ จนเป็นผลให้ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ไม่สามารถประเมินมูลค่าหรือสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ได้ (2) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์หรืออาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ของผู้ถือหน่วยทรัสต์และผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น หนังสือแจ้งเหตุผลการไม่สามารถประเมินมูลค่าหรือสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ เป็นต้น ข้อ ๔ การจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ซึ่งมีรอบปีบัญชีสิ้นสุดไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จ่ายประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วของรอบปีบัญชีนั้น ทั้งนี้ กําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วดังกล่าวให้ปรับปรุงเพิ่มเติมจากรายการตามประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้ ด้วยรายการผลต่างระหว่างรายได้ค่าเช่าค้างรับในรอบปีบัญชีก่อนหน้ากับรอบปีบัญชีปัจจุบัน ทั้งนี้ รายได้ค่าเช่าค้างรับตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงรายได้ที่เกี่ยวเนื่องจากการให้เช่าค้างรับด้วย ข้อ ๕ กรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ หมวด ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,228
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 44/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุน ในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ โดยอนุโลม เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้ ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นไปตามแบบ 123-1 (HYB) แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว (2) แสดงผลด้วยรูปแบบที่สามารถอ่านหรือสื่อสารได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่มีการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน ข้อ ๔ รายการคําเตือนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลของกองทุนรวม ให้มีข้อมูลคําเตือนใต้ชื่อกองทุนรวมในจุดแรกที่สามารถเห็นได้ชัดเจนว่า “กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงสูง จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้” และ “กองทุนรวมนี้มีการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงจากการผิดนัดชําระหนี้หรือการขาดสภาพคล่องของตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย” คําเตือนตามวรรคหนึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษร ส่วนใหญ่ในหนังสือชี้ชวน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,229
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 46/2563 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 46/2563 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและ การจดทะเบียนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมและการจดทะเบียนกองทุนรวม ตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ สําหรับกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,230
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ นป. 3/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการดำรงสภาพคล่องของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 3/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการดํารงสภาพคล่องของกองทุนรวม ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ ทน. 87/2558”) กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวมต้องไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องโดยรวมในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน นั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของบริษัทจัดการกองทุนรวม สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 4 ข้อ 9(2) และข้อ 13 แห่งประกาศ ที่ ทน. 87/2558 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการดํารงสภาพคล่องของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ให้เพียงพอในสถานการณ์ต่าง ๆ และมีความสอดคล้องกับนโยบายการรับซื้อและชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศและภาคผนวกแนบท้ายประกาศฉบับนี้ “กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ประเภทกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ และกองทุนรวมผสมที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ “กองทุนรวมเพื่อการออม” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” และ “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศ ที่ ทน. 87/2558 คําว่า “กองทุนรวมตลาดเงิน” “กองทุนรวมตราสารหนี้” และ “กองทุนรวมผสม” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ และกองทุนรวมผสม ตามประกาศ ที่ ทน. 87/2558 ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ใช้บทนิยามตามภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ และคําศัพท์ตามภาคผนวกของประกาศ ที่ ทน. 87/2558 ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้สําหรับกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) กองทุนรวมเพื่อการออม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (4) กองทุนรวมที่กําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไว้แน่นอนเป็นการล่วงหน้า (auto redemption) (5) กองทุนรวมที่กําหนดระยะเวลาเปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเกินกว่า 14 วัน ข้อ ๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมควรดําเนินการให้กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอและสอดคล้องกับนโยบายการรับซื้อและชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน รวมถึงดําเนินการเพื่อให้กองทุนรวมดังกล่าวสามารถกลับมาดํารงสภาพคล่องได้ตามอัตราส่วนขั้นต่ํา ที่ควรดํารง ทั้งนี้ ตามแนวทางปฏิบัติในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศแนวปฏิบัตินี้ ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัตินี้จนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ ทน. 87/2558 ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวมต้องไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องโดยรวมในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแล้ว ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการต่างจากแนวทางปฏิบัตินี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศ ที่ ทน. 87/2558 ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวมต้องไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องโดยรวมในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,231
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 47/2563 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 47/2563 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันศุกร์ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2563 จํานวน 2 วัน นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดให้วันศุกร์ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,232
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ นป. 4/2563 เรื่อง แบบฟอร์มมาตรฐาน (single form) สำหรับการทำธุรกรรมในตลาดทุน
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 4/2563 เรื่อง แบบฟอร์มมาตรฐาน (single form) สําหรับการทําธุรกรรมในตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (“ประกาศ ที่ ทธ. 35/2556”) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (“ผู้ประกอบธุรกิจ”) ต้องรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า นั้น เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกแก่ลูกค้าโดยการลดภาระในการกรอกข้อมูลเพื่อเปิดบัญชีใหม่ และการกําหนดข้อมูล (data set) ขั้นต่ํา สําหรับการเปิดบัญชีทําธุรกรรมในตลาดทุนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 12(3/1) ข้อ 25/4 และความในหมวด 5 ส่วนที่ 1 เรื่อง การรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้า แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ประกอบธุรกิจไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศแนวปฏิบัติที่ นป. 2/2563 เรื่อง แบบฟอร์มมาตรฐาน (single form) สําหรับการทําธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ข้อ ๒ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ เพื่อรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าสําหรับการเปิดบัญชีเพื่อลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 แต่ไม่รวมถึงการจองซื้อหลักทรัพย์ หรือการเปิดบัญชีกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (unit link) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะใช้แบบฟอร์มของผู้ประกอบธุรกิจในการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกระทําได้โดยมีข้อมูลอย่างน้อยเทียบเท่าข้อมูลในแบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ ข้อ ๓ ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงอื่นเกี่ยวกับลูกค้าที่จําเป็นต่อการทําความรู้จักลูกค้า การจัดประเภทลูกค้า การประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือการพิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ตามข้อ 30 แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 ผู้ประกอบธุรกิจยังมีหน้าที่รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพิ่มเติมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 เช่น การตรวจสอบตัวตนของลูกค้า หรือความเป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริง เป็นต้น ข้อ ๔ ในกรณีที่ลูกค้าได้แจ้งความประสงค์จะขอสําเนาแฟ้มข้อมูลแบบฟอร์มการเปิดบัญชีมาตรฐานที่ได้กรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือชุดข้อมูลเทียบเท่า หรือขอให้ส่งแฟ้มข้อมูลหรือชุดข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการโดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจควรอํานวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถนําข้อมูลของลูกค้าจากแบบฟอร์มมาตรฐานที่ลูกค้าได้กรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือชุดข้อมูลอย่างน้อยเทียบเท่าแบบฟอร์มมาตรฐานจากแหล่งอื่น ซึ่งลูกค้าได้รับรองความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวแล้ว มาใช้เพื่อการเปิดบัญชีได้ โดยลูกค้าไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ํา ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ก่อนวันที่แนวปฏิบัตินี้มีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้แบบฟอร์มดังกล่าวต่อไปได้ และให้รวบรวมข้อมูลอย่างน้อยเทียบเท่ามาตรฐานของแบบฟอร์มที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ ตามรอบระยะเวลาการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าแห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 นับแต่วันที่แนวปฏิบัตินี้มีผลใช้บังคับ ตอน ๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าโดยใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ก่อนวันที่แนวปฏิบัตินี้มีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวสามารถใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ได้ ข้อ ๘ ประกาศแนวปฏิบัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,233
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 48/2563 เรื่อง ประเทศที่มีการกำกับดูแลตลาดทุนเป็นที่ยอมรับของสำนักงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2563 เรื่อง ประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนเป็นที่ยอมรับของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนได้ออกประกาศหลายฉบับที่มีข้อกําหนดอ้างอิงถึงตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศที่สํานักงานยอมรับ เช่น ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนในกรณีดังกล่าว สํานักงานจึงกําหนดแนวทางในการพิจารณายอมรับประเทศที่มีการพัฒนาของตลาดทุนในระดับที่ได้มาตรฐานสากลหรือที่มีมาตรฐานการกํากับดูแลกิจการที่ออกหลักทรัพย์เทียบเคียงได้กับประเทศไทย รวมทั้งประกาศรายชื่อประเทศที่เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ นป. 1/2559 เรื่อง ประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนเป็นที่ยอมรับของสํานักงาน ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานจะถือว่าเป็นประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนที่ได้รับการยอมรับ (1) เป็นประเทศที่มีการพัฒนาของตลาดทุนในระดับที่ได้มาตรฐานสากล โดยพิจารณาจากปัจจัยดังนี้ (ก) ตลาดหลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และได้มาตรฐาน ในด้านโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร กลไกการซื้อขายหลักทรัพย์ ระบบการชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ และระบบการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว (ข) หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศดังกล่าวมีการกํากับดูแลตลาดหลักทรัพย์อย่างใกล้ชิด (ค) มีกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรการบังคับที่เพียงพอ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ลงทุน (2) เป็นประเทศที่มีมาตรฐานการกํากับดูแลการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และบริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้น เทียบเคียงได้กับมาตรฐานการกํากับดูแลบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ประเทศที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานจะถือว่ามีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2(2) (1) หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศดังกล่าวได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในหัวข้อเกี่ยวกับ ผู้ออกหลักทรัพย์ ภายใต้มาตรฐานของ International Organization of Securities Commission (IOSCO) ในเรื่องที่เกี่ยวกับ Objectives and Principles of Securities Regulation ในระดับที่ไม่ต่ํากว่า Broadly Implemented หรือเทียบเท่า (2) เคยผ่านการพิจารณาจากสํานักงานแล้วว่ามีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการกํากับดูแลบริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้นในเรื่องที่สําคัญ เทียบเคียงได้กับหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๔ ประเทศที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ เป็นประเทศที่สํานักงานพิจารณาแล้วว่าเป็นประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนที่ได้รับการยอมรับตามข้อ 2 ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,234
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 33/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชำระบัญชีของกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 33/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม โดยที่มาตรา 130 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้ผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมต้องเป็นผู้ชําระบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ข้อ ๓ 3 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้น หรือจะแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้สอบบัญชี เป็นผู้ชําระบัญชี เมื่อบริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้โดยครบถ้วนแล้ว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ชําระบัญชี (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้น ให้แต่งตั้งกรรมการ หรือพนักงานตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชี (2) มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งบุคคลที่เป็นผู้ชําระบัญชีหรือผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชีให้สํานักงานทราบภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้นก็ได้ และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) แล้ว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,235
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 11/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชำระบัญชีของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 11/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 130 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้ผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมต้องเป็นผู้ชําระบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ประกอบกับเพื่อปรับปรุงวิธีการแจ้งการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีให้กระทําได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 33/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้น หรือจะแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้สอบบัญชี เป็นผู้ชําระบัญชี เมื่อบริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้โดยครบถ้วนแล้ว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ชําระบัญชี (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้น ให้แต่งตั้งกรรมการ หรือพนักงานตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชี (2) แจ้งการแต่งตั้งบุคคลที่เป็นผู้ชําระบัญชีหรือผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชี ภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนรวมคาร์บอน ให้มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งให้สํานักงานทราบ (ข) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจากกองทุนรวมตาม (ก) ให้แจ้งต่อสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง บริษัทจัดการอาจแต่งตั้ง ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้นก็ได้ และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเมื่อได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) แล้ว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,236
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 16/2565 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชำระบัญชีของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 16/2565 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 130 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้ผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมต้องเป็นผู้ชําระบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ประกอบกับเพื่อปรับปรุงวิธีการแจ้งการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีให้กระทําได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 33/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ หน่วยลงทุน หรือตราสารทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 33/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 11/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้น หรือจะแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้สอบบัญชี เป็นผู้ชําระบัญชี ให้บริษัทจัดการทําหน้าที่ชําระบัญชีหรือแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ชําระบัญชีได้ โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการจะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้น ให้แต่งตั้งกรรมการ หรือพนักงานตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชี (2) แจ้งการแต่งตั้งบุคคลที่เป็นผู้ชําระบัญชีหรือผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงานประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้นก็ได้ โดยให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,237
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 33/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชำระบัญชีของกองทุนรวม (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 33/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวม (ฉบับประมวล)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 130 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 กําหนดให้ผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมต้องเป็นผู้ชําระบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ข้อ 2 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “บริษัทหลักทรัพย์”( หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ หน่วยลงทุน หรือตราสารทุน “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ข้อ 3( ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้น หรือจะแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้สอบบัญชี เป็นผู้ชําระบัญชี ให้บริษัทจัดการทําหน้าที่ชําระบัญชีหรือแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ชําระบัญชีได้ โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทจัดการจะทําหน้าที่ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้น ให้แต่งตั้งกรรมการ หรือพนักงานตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชี (2) แจ้งการแต่งตั้งบุคคลที่เป็นผู้ชําระบัญชีหรือผู้รับผิดชอบดําเนินการชําระบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงานประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นผู้ชําระบัญชีของกองทุนรวมนั้นก็ได้ โดยให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal) SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal)
1,238
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 57/2563 เรื่อง การลาออกและถอดถอนทรัสตี และการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 57/2563 เรื่อง การลาออกและถอดถอนทรัสตี และการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) มาตรา 23 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ “ประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ ทรัสตีลาออก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์มิได้กําหนดเงื่อนไขในการลาออกของทรัสตีไว้ ให้ทรัสตีที่ประสงค์จะลาออกจากการทําหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์และผู้จัดการกองทรัสต์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน และให้ผู้จัดการกองทรัสต์แจ้งการลาออกของทรัสตีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ทราบการลาออกของทรัสตี หมวด ๒ การถอดถอนทรัสตี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าทรัสตีมิได้จัดการกองทรัสต์ตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งถือหน่วยทรัสต์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด อาจเข้าชื่อกันทําหนังสือขอให้ผู้จัดการกองทรัสต์เรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ เพื่อพิจารณาถอดถอนทรัสตีได้ ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องระบุเหตุผลในการถอดถอนทรัสตี และเสนอชื่อทรัสตีรายใหม่ (ถ้ามี) ข้อ ๕ เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์ได้รับหนังสือขอให้เรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามข้อ 4 แล้ว ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ดําเนินการจัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อให้ได้มาซึ่งมติถอดถอนทรัสตี การขอมติและการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์ ข้อ ๖ เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์ได้ดําเนินการตามข้อ 5 แล้วเสร็จ ให้แจ้งมติถอดถอนทรัสตีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีมติ หมวด ๓ การแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์มิได้กําหนดเรื่องการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ไว้ เมื่อปรากฏเหตุการเปลี่ยนแปลงทรัสตีตามประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งมติแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ โดยการขอมติและการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าวด้วย ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการให้ได้มาซึ่งมติตามข้อ 7 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์สรรหาทรัสตีรายอื่น และจัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อขอมติแต่งตั้งทรัสตี รายใหม่ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ การขอมติตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ออกเสียงคัดค้านรวมกันเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ข้อ ๙ ทรัสตีรายเดิมต้องทําหน้าที่ทรัสตีต่อไปตามความจําเป็นเฉพาะการดูแลรักษาประโยชน์หรือการใช้สิทธิในกองทรัสต์เพื่อมิให้กองทรัสต์เสียหาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ จนกว่าทรัสตีรายใหม่จะมีสิทธิโดยสมบูรณ์เหนือกองทรัสต์ ข้อ ๑๐ เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์ดําเนินการตามข้อ 7 หรือข้อ 8 แล้วเสร็จ ให้แจ้งมติแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีมติ และให้ดําเนินการแก้ไขสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมติ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,239
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 58/2563 เรื่อง การลาออกและถอดถอนทรัสตี และการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 58/2563 เรื่อง การลาออกและถอดถอนทรัสตี และการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) มาตรา 23 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน “กิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า กิจการเงินร่วมลงทุนที่มีลักษณะตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 7/2557 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “ผู้จัดการทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ หมวด ๑ ทรัสตีลาออก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์มิได้กําหนดเงื่อนไขในการลาออกของทรัสตีไว้ ให้ทรัสตีที่ประสงค์จะลาออกจากการทําหน้าที่แจ้งการลาออกเป็นหนังสือให้ผู้ถือใบทรัสต์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน หมวด ๒ การถอดถอนทรัสตี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าทรัสตีมิได้จัดการทรัสต์ตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ผู้ถือใบทรัสต์ซึ่งถือหน่วยทรัสต์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด อาจเข้าชื่อกันทําหนังสือขอให้ผู้จัดการทรัสต์ดําเนินการถอดถอนทรัสตีได้ ทั้งนี้ ผู้ถือใบทรัสต์ต้องระบุเหตุผลในการถอดถอนทรัสตี และเสนอชื่อทรัสตีรายใหม่ (ถ้ามี) ข้อ ๕ เมื่อผู้จัดการทรัสต์ได้รับหนังสือขอให้ดําเนินการถอดถอนทรัสตีตามข้อ 4 แล้ว ให้ผู้จัดการทรัสต์ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งมติถอดถอนทรัสตี โดยวิธีการจัดประชุมผู้ถือใบทรัสต์ การส่งหนังสือเพื่อขอมติจากผู้ถือใบทรัสต์ หรือวิธีการอื่นใดโดยคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ถือใบทรัสต์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และรายละเอียดเกี่ยวกับการขอมติจากผู้ถือใบทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ เว้นแต่ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์มิได้กําหนดเรื่องดังกล่าวไว้ ต้องได้รับมติเสียงข้างมากจากผู้ถือใบทรัสต์ที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ทั้งนี้ ผู้ถือใบทรัสต์ที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในกรณีดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ เมื่อผู้จัดการทรัสต์ได้ดําเนินการตามข้อ 5 แล้วเสร็จ ให้แจ้งมติถอดถอนทรัสตีเป็นหนังสือให้ผู้ถือใบทรัสต์ ทรัสตี และสํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่มีมติ หมวด ๓ การแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์มิได้กําหนดเรื่องการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ไว้ เมื่อปรากฏเหตุทรัสตีลาออกตามหมวด 1 หรือถูกถอดถอนจากการทําหน้าที่ตามหมวด 2 ผู้ถือใบทรัสต์ซึ่งถือหน่วยทรัสต์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด อาจเข้าชื่อกันทําหนังสือขอให้ผู้จัดการทรัสต์ดําเนินการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ได้ ข้อ ๘ เมื่อผู้จัดการทรัสต์ได้รับหนังสือขอให้ดําเนินการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ตามข้อ 7 แล้ว ให้ผู้จัดการทรัสต์ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งมติแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5 ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ถือใบทรัสต์ไม่เข้าชื่อกันขอให้ดําเนินการแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ตามข้อ 7 หรือผู้จัดการทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งมติแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ตามข้อ 8 ให้ผู้จัดการทรัสต์สรรหาทรัสตีรายอื่น และดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งมติแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5 ข้อ ๑๐ ทรัสตีรายเดิมต้องทําหน้าที่ทรัสตีต่อไปตามความจําเป็นเฉพาะการดูแลรักษาประโยชน์หรือการใช้สิทธิในทรัสต์เพื่อมิให้ทรัสต์เสียหาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ จนกว่าทรัสตีรายใหม่จะมีสิทธิโดยสมบูรณ์เหนือทรัสต์ ข้อ ๑๑ เมื่อผู้จัดการทรัสต์ดําเนินการตามข้อ 8 หรือข้อ 9 แล้วเสร็จ ให้ทรัสตีรายเดิมหรือผู้จัดการทรัสต์แจ้งมติแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่เป็นหนังสือให้ผู้ถือใบทรัสต์และสํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่มีมติ และให้ดําเนินการแก้ไขสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อแต่งตั้งทรัสตีรายใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่มีมติดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,240
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 59/2563 เรื่อง การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการคัดสำเนาของกองทรัสต์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 59/2563 เรื่อง การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการคัดสําเนาของกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 47 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ทรัสตีอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการคัดสําเนาบัญชีของกองทรัสต์หรือเอกสารอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด พร้อมทั้งคํารับรอง ได้เท่าที่จําเป็นและใช้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหน้าละ 50 บาท ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,241
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 61/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมสำหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์บางประเภท
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 61/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมสําหรับ การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์บางประเภท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 106 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนตามแบบที่สํานักงานกําหนด โดยงบดุลนั้นต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และข้อ 11(6) (ข) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 กําหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้วก่อนวันที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง และการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ต้องมีงบการเงินประจําปีงวดการบัญชีปีล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ สํานักงานจึงออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมสําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์บางประเภทให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สช. 81/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมสําหรับบริษัทหลักทรัพย์บางประเภท ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ นิติบุคคลดังต่อไปนี้ อาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน หรือผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 3 เป็นผู้สอบบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวได้ (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทเฉพาะที่กําหนดดังต่อไปนี้ (ก) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นหน่วยลงทุน ซึ่งไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (ข) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ค) การจัดการเงินร่วมลงทุน (2) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 11(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ข้อ ๓ ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เมื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนั้นไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่ง (ก) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (ข) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีในช่วงสามปีก่อนวันที่นิติบุคคลตามข้อ 2 ทําการแต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชี หรือเคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,242
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 64/2563 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจและข้อกำหนดในกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 64/2563 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุน ของผู้ประกอบธุรกิจและข้อกําหนดในกรณี ที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และมาตรา 14 วรรคสอง (2) มาตรา 19 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 31/2557 เรื่อง ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 84/2558 เรื่อง ข้อกําหนดสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินได้ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2560 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2560 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2561 เรื่อง ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 61/2562 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 62/2562 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน “ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ “ดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน “รายงานการคํานวณเงินกองทุน” หมายความว่า รายงานดังต่อไปนี้ (1) รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (2) รายงานการคํานวณส่วนของผู้ถือหุ้น (3) รายงานประกอบการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หมวด ๑ การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุน ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนตามแบบและคําอธิบายประกอบการรายงานการคํานวณเงินกองทุนที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดมีการคํานวณรายการหนี้สินด้อยสิทธิหรือสัญญาเช่าที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวม หรือมีรายการเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือภาระผูกพันใดที่สามารถนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินพิเศษ เป็นครั้งแรกหรือทุกครั้งที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิและจัดส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นเพิ่มเติม ต่อสํานักงานภายในกําหนดเวลาดังนี้ (ก) ในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการคํานวณรายการดังกล่าวเป็นครั้งแรก (ข) ในวันทําการถัดจากวันที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการดังกล่าวในแต่ละครั้ง (3) กรณีเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นตามประกาศการดํารงเงินกองทุนให้จัดทํารายงานการคํานวณส่วนของผู้ถือหุ้นของทุกวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน และยื่นรายงานต่อสํานักงานภายใน 10 วันทําการแรกของเดือนถัดไป เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้จัดทําและยื่นรายงานดังกล่าวโดยไม่ชักช้า (4) กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้จัดทํารายงานประกอบการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของทุกวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน และยื่นรายงานต่อสํานักงานภายใน 10 วันทําการแรกของเดือนถัดไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจเก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง พร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้ หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ภายในระยะเวลาที่กําหนด อาจขอผ่อนผันโดยยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงานก่อนครบกําหนดเวลาการยื่นรายงานดังกล่าว ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันหนึ่งวันใดเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องดํารงไว้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นดําเนินการดังต่อไปนี้ เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น (1) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ประกอบธุรกิจเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราดังกล่าวและของทุกวันถัดไปต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราดังกล่าว จนกว่าผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้มากกว่าอัตราดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 วันทําการติดต่อกัน และผู้ประกอบธุรกิจได้ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของ 2 วันทําการนั้นต่อสํานักงานแล้ว (2) ยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิลดจนถึงอัตราดังกล่าวพร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดําเนินการที่ผู้ประกอบธุรกิจจะกลับมาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราดังกล่าว ข้อ ๗ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.1 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้นที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องดํารงไว้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุที่ส่วนของผู้ถือหุ้นลดจนถึงอัตราดังกล่าว และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของส่วนของผู้ถือหุ้นในอนาคต รวมถึงความสามารถในการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 1 ปีนับแต่วันที่ยื่นรายงานชี้แจง พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดําเนินการที่ผู้ประกอบธุรกิจจะกลับมาดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นได้มากกว่าอัตราดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง ภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่รู้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นลดจนถึงอัตราดังกล่าว และทุกวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนจนกว่าผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นได้มากกว่าอัตราดังกล่าว เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นรายงานตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๒ ข้อกําหนดในกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ ๙ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรายใดไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้ผู้ประกอบ ธุรกิจนั้นดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําและยื่นแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนต่อสํานักงานภายใน 30 วันนับแต่วันแรกที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถดํารงเงินกองทุนได้ไม่น้อยกว่า 7 วันทําการติดต่อกัน (2) ดําเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตาม (1) เพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุน ภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนดังกล่าวซึ่งต้องไม่เกิน 90 วันนับแต่วันแรกที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันระยะเวลาในการดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะขอผ่อนผันระยะเวลาดังกล่าวยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วันก่อนครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๑๑ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ หรืออยู่ในระหว่างการดําเนินการตามข้อ 10 ห้ามผู้ประกอบธุรกิจนั้นดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ประกอบธุรกิจได้ตามปกติ (1) เพิ่มวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า เว้นแต่เป็นการซื้อหลักทรัพย์ที่ลูกค้าได้วางเงินไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ หรือเป็นการขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์แล้ว (2) ให้บริการหรือเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้ารายใหม่ (3) เพิ่มเงินลงทุนของบริษัท (portfolio) เว้นแต่เป็นการลงทุนดังนี้ (ก) การลงทุนในเงินฝาก หรือหน่วยลงทุนกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (ข) การลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินลงทุนหรือภาระผูกพันของบริษัทที่มีอยู่ก่อนหรือในวันแรกที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (ค) การลงทุนเนื่องจากมีภาระผูกพันในฐานะเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้ทําการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนดังกล่าวไว้แล้วอย่างเต็มจํานวน (ง) การลงทุนเนื่องจากเกิดความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า (error port) (4) สลักหลัง รับอาวัล หรือให้การรับรองตั๋วเงิน หรือเป็นผู้ค้ําประกันในนิติกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจแก่ลูกค้า เว้นแต่ลูกค้าได้วางเงินสดเป็นหลักประกันเต็มจํานวนไว้กับผู้ประกอบธุรกิจ (5) กระทําอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดําเนินงาน หรือการปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ห้ามดําเนินการดังนี้ด้วย (1) เพิ่มยอดหนี้คงค้างของลูกค้าบัญชีมาร์จิ้นหรือลูกค้าที่ยืมหลักทรัพย์จาก ยอดหนี้คงค้างที่ปรากฏในวันแรกที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่เป็นการเพิ่มยอดหนี้คงค้างเนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้ (ก) ดอกเบี้ยค้างรับ (ข) หลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืมมีมูลค่าสูงขึ้น (ค) การซื้อหลักทรัพย์เพื่อนํามาคืนการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต (2) ทําสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากสัญญาที่มีผลผูกพันอยู่ก่อนวันที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (3) เพิ่มมูลค่าเงินทุนที่รับบริหารให้แก่ลูกค้าบัญชีกองทุนส่วนบุคคล หรือ เปิดบัญชีกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้ารายใหม่ เว้นแต่เป็นกรณีที่เกิดจากการจ่ายเงินสะสม ของลูกจ้างหรือการจ่ายเงินสมทบของนายจ้างสําหรับลูกค้าที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ห้ามให้บริการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่มีการวางหลักประกันขั้นต้น (initial margin) เต็มจํานวนก่อนส่งคําสั่งซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าด้วย ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 แล้วแต่กรณี (1) ไม่สามารถยื่นแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนต่อสํานักงานตามระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 10 วรรคหนึ่ง (1) หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี (2) ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนได้ตามแผนและระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 10 วรรคหนึ่ง (2) หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี (3) มีเงินกองทุนต่ํากว่า 0 ติดต่อกันเกิน 5 วันทําการ (4) มีการผิดนัดชําระราคาหรือส่งมอบหลักทรัพย์ต่อสํานักหักบัญชีหรือต่อลูกค้าในกรณีเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผิดนัดชําระหนี้ต่อสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือต่อลูกค้าในกรณีประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 12 ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการดําเนินธุรกิจทุกประเภทจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นกรณีดังนี้ (ก) การป้องกันความเสี่ยงโดยรวมในเงินลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหรือการดําเนินการตามภาระผูกพันที่ค้างอยู่ (ข) การดําเนินการตามความจําเป็นและสมควรเพื่อป้องกันมิให้มูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าได้รับความเสียหาย การใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ของลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ลงทุน หรือเพื่อเปลี่ยนตราสารที่ครบกําหนดไถ่ถอนกับผู้ออกตราสารดังกล่าว (ค) การบริหารเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วในขณะนั้น หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สิ้นสมาชิกภาพ (2) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีไว้เพื่อตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินลงทุนหรือภาระผูกพันของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) การมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระผูกพันหรือก่อหนี้เพิ่มเติมในภายหลัง (3) ดําเนินการดังนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุตามข้อ 12 (ก) กรณีผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้โอนทรัพย์สินของลูกค้าในบัญชีเงินสดไปยังผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อื่นเพื่อการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ข) กรณีผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้โอนทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไปยังผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายอื่นตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ (4) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมจากการดําเนินการตามข้อ 13 ด้วย (1) ดําเนินการให้ลูกค้าแต่ละรายเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ หรือหลักทรัพย์อื่นโดยตรง (2) โอนบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าแต่ละรายไปยังผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งประเภทใดดังนี้เป็นผู้ให้บริการแทน ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน (ข) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ๆ (3) ดําเนินการตาม (1) และ (2) ให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุตามข้อ 12 ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมจากการดําเนินการตามข้อ 13 ด้วย (1) กรณีจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ติดต่อลูกค้าโดยเร็วเพื่อสอบถามความประสงค์ของลูกค้าว่าจะให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดการทรัพย์สินของลูกค้าอย่างไร ระหว่างวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังนี้ (ก) เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเพื่อให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นโดยตรง (ข) ดําเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลอื่นเข้าจัดการกองทุนส่วนบุคคลแทน ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ ให้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเพื่อให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่อไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือเปลี่ยนผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่จัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุตามข้อ 12 (2) กรณีจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยเร็ว และดําเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ส่วนบุคคลอื่นเข้าจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแทน โดยต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุตามข้อ 12 ข้อ ๑๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการดําเนินการตามข้อ 13(1) และ (3) ข้อ 14 หรือข้อ 15 แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการตามข้อ 13(3) ข้อ 14 หรือข้อ 15 ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,243
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 24/2565 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจและข้อกำหนดในกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2565 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุน ของผู้ประกอบธุรกิจและข้อกําหนดในกรณี ที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคสอง (2) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 8 ตุลาคมพ.ศ. 2563 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 64/2563 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจและข้อกําหนดในกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 “(1/1) กรณีเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตาม (1) และเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิรายวันตาม (1) ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่จัดทํารายงานดังกล่าว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,244
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 65 /2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และประกาศ เรื่อง แนวทางในการควบคุมการปฎิบัติงานในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ที่มิใช้ตราสารแห่งหนี้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 65/2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และประกาศ เรื่อง แนวทาง ในการควบคุมการปฏิบัติงานในการเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจโครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ตามแนวทางที่สํานักงานเคยกําหนดไว้แล้ว ประกอบกับแนวทางดังกล่าวบางส่วนไม่สอดคล้องกับบริบทของสภาพสังคมในปัจจุบัน สํานักงานจึงเห็นควรยกเลิกประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ อธ. 10/2543 ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และประกาศ เรื่อง แนวทางในการควบคุมการปฏิบัติงานในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ที่ อธ. 21/2543 ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,245
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 66/2563 เรื่อง การกำหนดนิยามผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 66/2563 เรื่อง การกําหนดนิยามผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4(25) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 4 แห่งประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,246
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 71/2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานเงินลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ตามวงเงินจัดสรร
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 71/2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานเงินลงทุน ของบริษัทหลักทรัพย์ตามวงเงินจัดสรร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ/น. 18/2554 เรื่อง การรายงานเงินลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ตามวงเงินจัดสรร ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,247
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 72/2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวงเงินจัดสรร
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 72/2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของ ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามวงเงินจัดสรร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคสอง (2) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 19/2554 เรื่อง การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวงเงินจัดสรร ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,248
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 73/2563 เรื่อง การคำนวณและการจัดทำรายงานการคำนวณเงินกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 73/2563 เรื่อง การคํานวณและการจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2562 เรื่อง การคํานวณและการจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลคํานวณเงินกองทุนตามแบบรายงานและคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1 คํานวณเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิทุกสิ้นวันทําการ (2) คํานวณส่วนของผู้ถือหุ้นทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2 คํานวณเงินกองทุนที่ต้องดํารงทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่งคํานวณมูลค่าของเงินกองทุนสภาพคล่องที่ดํารงได้หรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้มูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวคํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวใหม่ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัย ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยทุกสิ้นวันที่เกิดเหตุการณ์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการ ให้คํานวณมูลค่าในวันทําการถัดไป (2) เมื่อมีการจําหน่าย จ่าย โอน หรือไถ่ถอนสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันใด ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยทุกสิ้นวันนั้น (3) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหุ้น ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์ทุกสิ้นวันทําการ (4) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อมีการเปิดเผยมูลค่าของหน่วยลงทุนหรือหน่วยดังกล่าวแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์นั้นทุกสิ้นวันทําการ ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3 คํานวณเงินกองทุนที่ต้องดํารงปีละ 2 ครั้ง โดยให้คํานวณทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่งคํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละไตรมาส เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้มูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวคํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวใหม่ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัย ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยทุกสิ้นวันที่เกิดเหตุการณ์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการ ให้คํานวณมูลค่าในวันทําการถัดไป (2) เมื่อมีการจําหน่าย จ่าย โอน หรือไถ่ถอนสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันใด ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยทุกสิ้นวันนั้น (3) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหุ้น ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์ทุกสิ้นวันทําการ (4) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อมีการเปิดเผยมูลค่าของหน่วยลงทุนหรือหน่วยดังกล่าวแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์นั้นทุกสิ้นวันทําการ ข้อ ๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทําและยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รายงานการคํานวณเงินกองทุนสําหรับการดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1 ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิรายวันและยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการถัดไป (ข) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิรายเดือนทุกสิ้นวันสุดท้ายของแต่ละเดือนและยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 10 วันทําการแรกของเดือนถัดไป (ค) จัดทํารายงานการคํานวณส่วนของผู้ถือหุ้นรายเดือนทุกสิ้นวันสุดท้ายของแต่ละเดือน เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้จัดทํารายงานดังกล่าวทันที และยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 10 วันทําการแรกของเดือนถัดไป (2) รายงานการคํานวณเงินกองทุนสําหรับการดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2 ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนรายเดือนและยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน (ข) จัดทํารายงานมูลค่าความเสียหายอันเนื่องจากการปฏิบัติงาน (operational risk loss) รายปีปฏิทิน ตามแบบรายงานข้อมูลความเสียหายที่เกิดจาก operational risk และคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป (3) รายงานการคํานวณเงินกองทุนสําหรับการดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3 ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีการคํานวณเงินกองทุนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนของแต่ละปี ให้จัดทํารายงานและยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันที่ 7 กรกฎาคมของปีนั้น (ข) กรณีการคํานวณเงินกองทุนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี ให้จัดทํารายงานและยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป รายงานการคํานวณเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนและหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบได้ หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับการร้องขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นรายงานตามข้อ 6(1) ให้เก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ยื่นรายงาน (2) กรณีเป็นรายงานตามข้อ 6(2) และ (3) ให้เก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ยื่นรายงาน ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1 มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดํารงไว้ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ทันที (1) ยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น (2) แจ้งแนวทางการดําเนินการที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะกลับมาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1 มีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.1 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้นที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวต้องดํารงไว้ ให้ยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุที่ส่วนของผู้ถือหุ้นลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของส่วนของผู้ถือหุ้นในอนาคต รวมถึงความสามารถในการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 1 ปีนับแต่วันที่ยื่นรายงานชี้แจง พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดําเนินการที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะกลับมาดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นได้ การยื่นเอกสารตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่รู้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น และทุกวันสุดท้ายของแต่ละเดือนจนกว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะสามารถดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นได้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลยื่นรายงานตามประกาศนี้ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยดําเนินการ ให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,249
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 23/2565 เรื่อง การคำนวณและการจัดทำรายงานการคำนวณเงินกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2565 เรื่อง การคํานวณและการจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และมาตรา 14 วรรคสอง (2) มาตรา 19 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 27/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 73/2563 เรื่อง การคํานวณและการจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 “ข้อ 1/1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณเงินกองทุน การรายงานการคํานวณเงินกองทุน และการรายงานกรณีเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราที่กําหนด สําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) การคํานวณเงินกองทุน การรายงานการคํานวณเงินกองทุน การรายงานกรณี เงินกองทุนต่ํากว่าอัตราที่กําหนด และการดําเนินการกรณีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 สําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยหรือไม่” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 73/2563 เรื่อง การคํานวณและการจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 “ข้อ 9/1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ปฏิบัติตามประกาศนี้ เว้นแต่หลักเกณฑ์ตามข้อ 3(2)ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6(1)(ค) ข้อ 6(2) ข้อ 6(3) ข้อ 7(2) และ ข้อ 9 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ได้ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในตารางการดําเนินการกรณีบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศนี้” ข้อ 3 ให้เพิ่มตารางการดําเนินการกรณีบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศนี้ เป็นตารางการดําเนินการกรณีบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 73/2563เรื่อง การคํานวณและการจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,250
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 75/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า และการจัดการลงทุนสำหรับผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 75/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้า และการจัดการลงทุนสําหรับ ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(1) ประกอบกับข้อ 9(2) (4) (5) (7) และ (8)แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และข้อ 7/4 และส่วนที่ 3 การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ของหมวด 8 ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล “ประกาศที่ กธ. 19/2561” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๓ ข้อกําหนดในรายละเอียดแห่งประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามประกาศที่ กธ. 19/2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า และการจัดการลงทุน ในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การบริหารและการจัดการความเสี่ยงอันเกิดจากการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การจัดการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 4 (5) การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนต่อลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 5 (6) การรายงานสถานะการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 6 หมวด ๑ การบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ เพื่อให้การบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 9(2) แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจัดให้มีระบบงานเกี่ยวกับการบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบธุรกิจ โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวได้ออกข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องไว้แล้ว ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการให้เป็นไปตามข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติดังกล่าว โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง หมวด ๒ การบริหารและการจัดการความเสี่ยงอันเกิดจากการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ เพื่อให้การบริหารและการจัดการความเสี่ยงอันเกิดจากการลงทุนเป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 9(4) แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) การบริหารและจัดการความเสี่ยงในเรื่องดังนี้ (ก) การระบุความเสี่ยง (risk identification) ![กล่องข้อความ: หรือจะเอาแบบประกาศระบบ PF สธ.24/62 หมวด 2 ส่วนที่ 2 การจัดการลงทุน](file:///C:/Users/asus/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image001.png)(ข) การประเมินความเสี่ยง (risk evaluation) ซึ่งต้องครอบคลุมถึงโอกาสหรือความถี่ที่จะเกิดความเสี่ยง รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ค) การกําหนดเครื่องมือและมาตรการในการบริหารและจัดการกับความเสี่ยง เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (ง) การติดตามและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารและควบคุมความเสี่ยง (2) การป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากการดําเนินการตาม (1) (3) การกําหนดกิจกรรมการควบคุมความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น และวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (4) การสํารองข้อมูล (backup) สําหรับระบบงานต่าง ๆ ตามที่กําหนดในประกาศที่ กธ. 19/2561 (5) การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล หมวด ๓ สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ เพื่อให้สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าตามข้อ 7/4 ข้อ 9(5) และข้อ 45 แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเปิดเผยข้อมูลในสัญญาอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ลูกค้ารับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย (1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (2) นโยบายหรือขอบเขตการลงทุนหรือข้อห้ามการลงทุนที่ชัดเจน (3) ผลของการทําธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (4) สิทธิของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุน รวมถึงรายงานการลงทุน (5) ข้อมูลและคําเตือนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้ลูกค้ารับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน (6) สิทธิของลูกค้าในการบอกเลิกสัญญาภายใน 5 วันนับแต่วันที่ลงนาม โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลทราบล่วงหน้า และไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ แก่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเนื่องจากการเลิกสัญญาดังกล่าว (7) สิทธิของลูกค้าในการบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ โดยผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากลูกค้าอันเนื่องจากการเลิกสัญญาดังกล่าว ทั้งนี้ สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อความที่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถปฏิเสธความรับผิดทางแพ่ง อันเนื่องจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่กระทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญา และต้องไม่มีข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า หมวด ๔ การจัดการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ เพื่อให้การจัดการลงทุนเป็นไปด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนตามส่วนที่ 3 การเป็นผู้จัดกาเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ของหมวด 8 ข้อกําหนด ตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ให้กําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 8 (2) จัดให้มีการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 9 ข้อ ๘ ขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุน อย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดกลยุทธ์และนโยบายการลงทุน (2) การพิจารณาตัดสินใจในการจัดการลงทุน (3) การส่งคําสั่งซื้อขาย (4) การควบคุมดูแลการจัดการลงทุน (5) การปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน ข้อ ๙ ในการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน อย่างน้อยต้องครอบคลุมการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การจัดให้มีบุคลากรหรือส่วนงานที่รับผิดชอบงานสนับสนุนการเข้าทําสัญญาและจัดการลงทุนอย่างชัดเจน (2) การจัดให้มีการกําหนดขั้นตอนและวิธีการทํางานอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว รวมถึงข้อตกลงที่ทําไว้กับลูกค้า หมวด ๕ การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนต่อลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ เพื่อให้การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนต่อลูกค้าเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามข้อ 9(7) และ (8) แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนให้ลูกค้าทราบในระยะเวลาที่เหมาะสมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การวัดผลการดําเนินงานของการลงทุน (2) ผู้ที่รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดของผู้ที่รับฝากทรัพย์สิน (3) การลงทุนและผลการดําเนินงานของการลงทุน (4) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ (5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า (6) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้า หมวด ๖ การรายงานสถานะการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ เพื่อให้การจัดทําและส่งรายงานสถานะการลงทุนสําหรับการติดตามการจัดการลงทุนของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปอย่างถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามข้อ 48 แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทําและรายงานสถานะการลงทุนของลูกค้าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,251
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 75/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า และการจัดการลงทุนสำหรับผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 75/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า และการจัดการลงทุนสําหรับผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(1) ประกอบกับข้อ 9(2) (4) (5) (7) และ (8)แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และข้อ 7/4 และส่วนที่ 3 การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ของหมวด 8 ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล “ประกาศที่ กธ. 19/2561” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 3 ข้อกําหนดในรายละเอียดแห่งประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามประกาศที่ กธ. 19/2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า และการจัดการลงทุน ในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การบริหารและการจัดการความเสี่ยงอันเกิดจากการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การจัดการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 4 (5) การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนต่อลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 5 (6) การรายงานสถานะการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 6 หมวด 1 การบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 เพื่อให้การบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 9(2) แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจัดให้มีระบบงานเกี่ยวกับการบริหารความต่อเนื่องของการประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบธุรกิจ โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวได้ออกข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องไว้แล้ว ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการให้เป็นไปตามข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติดังกล่าว โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง หมวด 2 การบริหารและการจัดการความเสี่ยงอันเกิดจากการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 เพื่อให้การบริหารและการจัดการความเสี่ยงอันเกิดจากการลงทุนเป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 9(4) แห่งประกาศที่กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) การบริหารและจัดการความเสี่ยงในเรื่องดังนี้ (ก) การระบุความเสี่ยง (risk identification) (ข) การประเมินความเสี่ยง (risk evaluation) ซึ่งต้องครอบคลุมถึงโอกาสหรือความถี่ที่จะเกิดความเสี่ยง รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ค) การกําหนดเครื่องมือและมาตรการในการบริหารและจัดการกับความเสี่ยงเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (ง) การติดตามและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารและควบคุมความเสี่ยง (2) การป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากการดําเนินการตาม (1) (3) การกําหนดกิจกรรมการควบคุมความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (4) การสํารองข้อมูล (backup) สําหรับระบบงานต่าง ๆ ตามที่กําหนดในประกาศที่ กธ. 19/2561 (5) การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล หมวด 3 สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 เพื่อให้สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าตามข้อ 7/4 ข้อ 9(5) และข้อ 45 แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเปิดเผยข้อมูลในสัญญาอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ลูกค้ารับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย (1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (2) นโยบายหรือขอบเขตการลงทุนหรือข้อห้ามการลงทุนที่ชัดเจน (3) ผลของการทําธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (4) สิทธิของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุน รวมถึงรายงานการลงทุน (5) ข้อมูลและคําเตือนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้ลูกค้ารับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน (6) สิทธิของลูกค้าในการบอกเลิกสัญญาภายใน 5 วันนับแต่วันที่ลงนาม โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลทราบล่วงหน้า และไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ แก่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเนื่องจากการเลิกสัญญาดังกล่าว (7) สิทธิของลูกค้าในการบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ โดยผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆจากลูกค้าอันเนื่องจากการเลิกสัญญาดังกล่าว ทั้งนี้ สัญญารับจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อความที่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถปฏิเสธความรับผิดทางแพ่ง อันเนื่องจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่กระทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญา และต้องไม่มีข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า หมวด 4 การจัดการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 เพื่อให้การจัดการลงทุนเป็นไปด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนตามส่วนที่ 3 การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ของหมวด 8 ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ให้กําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 8 (2) จัดให้มีการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 9 ข้อ 8 ขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุน อย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดกลยุทธ์และนโยบายการลงทุน (2) การพิจารณาตัดสินใจในการจัดการลงทุน (3) การส่งคําสั่งซื้อขาย (4) การควบคุมดูแลการจัดการลงทุน (5) การปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน ข้อ 9 ในการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน อย่างน้อยต้องครอบคลุมการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การจัดให้มีบุคลากรหรือส่วนงานที่รับผิดชอบงานสนับสนุนการเข้าทําสัญญาและจัดการลงทุนอย่างชัดเจน (2) การจัดให้มีการกําหนดขั้นตอนและวิธีการทํางานอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว รวมถึงข้อตกลงที่ทําไว้กับลูกค้า หมวด 5 การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนต่อลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 เพื่อให้การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนต่อลูกค้าเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามข้อ 9(7) และ (8) แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนให้ลูกค้าทราบในระยะเวลาที่เหมาะสมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การวัดผลการดําเนินงานของการลงทุน (2) ผู้ที่รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดของผู้ที่รับฝากทรัพย์สิน (3) การลงทุนและผลการดําเนินงานของการลงทุน (4) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ (5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า (6) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้า หมวด 6 การรายงานสถานะการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 เพื่อให้การจัดทําและส่งรายงานสถานะการลงทุนสําหรับการติดตามการจัดการลงทุนของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปอย่างถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามข้อ 48 แห่งประกาศที่ กธ. 19/2561 ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทําและรายงานสถานะการลงทุนของลูกค้าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------หรือจะเอาแบบประกาศระบบ PF สธ.24/62 หมวด 2 ส่วนที่ 2 การจัดการลงทุน
1,252
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 76/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำรายชื่อลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 76/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานการปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทําและยื่นรายงานการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ตอน ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,253
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 77/2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 77/2563 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับ การจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 วรรคสอง มาตรา 100 วรรคหนึ่ง และมาตรา 132 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การรายงานผลการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การตั้งตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,254
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 7/2564 เรื่อง การดำเนินการจัดประชุมสามัญประจำปี และการผ่อนผันข้อกำหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 7/2564 เรื่อง การดําเนินการจัดประชุมสามัญประจําปี และการผ่อนผันข้อกําหนด ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ยังไม่คลี่คลายและยังส่งผลกระทบต่อการดําเนินการของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดการดําเนินการของผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “สถานการณ์โควิด 19” หมายความว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๒ ในการประชุมสามัญประจําปีที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2564 ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ใดเป็นการประชุมเพื่อรายงานให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบเท่านั้น โดยไม่มีการขอมติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์อาจดําเนินการด้วยวิธีการอื่นแทนการจัดประชุมสามัญประจําปี เพื่อรายงานให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดการกองทรัสต์ในเรื่องที่สําคัญ และแนวทางการจัดการกองทรัสต์ ในอนาคต (2) ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกองทรัสต์ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา โดยอย่างน้อยต้องมีงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีแล้ว (3) การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ และค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชี ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดให้มีช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้จัดการกองทรัสต์ได้ และในกรณีที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์มีการสอบถามข้อมูลใด ๆ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดทําสรุปประเด็นสําคัญในลักษณะคําถามและคําตอบเพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบด้วย ให้ผู้จัดการกองทรัสต์เผยแพร่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งและวรรคสองผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ การขอมติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ในปี พ.ศ. 2564 ผู้จัดการกองทรัสต์อาจดําเนินการด้วยวิธีการส่งหนังสือขอมติแทนการจัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการขอมติเพื่อการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทรัสต์ การดําเนินการขอมติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันปิดรับหนังสือตอบกลับจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยหนังสือขอมติดังกล่าวต้องระบุวันปิดรับหนังสือตอบกลับไว้อย่างชัดเจน และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในข้อ 94(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโดยอนุโลม (2) มติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขอมติเพื่อทํารายการที่ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ให้ถือมติ ตามจํานวนหน่วยทรัสต์รวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีสิทธิออกเสียง (ข) กรณีอื่นใดนอกจาก (ก) ให้ถือมติตามจํานวนหน่วยทรัสต์รวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีหนังสือตอบกลับและมีสิทธิออกเสียง ผู้จัดการกองทรัสต์อาจดําเนินการขอมติผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่งด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยต้องคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ถือหน่วยทรัสต์ มาตรฐานการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยของการดําเนินการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการดําเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย การนับองค์ประชุมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรา 129/2 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 129/2 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยอนุโลม ข้อ ๔ การประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนในส่วนที่ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2564 หากผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ขอผ่อนผันการประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหนังสือขอผ่อนผันดังกล่าวที่มีข้อมูลตามวรรคสองต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (2) เปิดเผยข้อมูลตามวรรคสองผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด หนังสือขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง (1) ต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจําเป็นในการขอผ่อนผันซึ่งแสดงถึงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับรายได้ของกองทรัสต์อันเนื่องมาจากสถานการณ์ โควิด 19 (ข) อุปสรรคหรือข้อจํากัดในการดําเนินงานหรือการเข้าถึงข้อมูลซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ จนเป็นผลให้ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ไม่สามารถประเมินมูลค่าหรือสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ได้ (2) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์หรืออาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์และผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น หนังสือแจ้งเหตุผลการไม่สามารถประเมินมูลค่าหรือสอบทานการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ เป็นต้น ข้อ ๕ กรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,255
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 8/2564 เรื่อง การผ่อนผันเกี่ยวกับการจัดทำและส่งสำเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2564 เรื่อง การผ่อนผันเกี่ยวกับการจัดทําและส่งสําเนางบการเงินและรายงาน การสอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสําหรับรอบระยะเวลา บัญชีประจําปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ออกประกาศผ่อนผันระยะเวลาในการจัดทําและส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี พ.ศ. 2562 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) และโดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อการจัดประชุมที่มีการรวมตัวกันของบุคคลจํานวนมาก จึงมีเหตุจําเป็นและสมควรในการผ่อนผันเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี พ.ศ. 2563 อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใชรายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการจัดทําและส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต่อสํานักงานสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจําปี พ.ศ. 2563 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2563 เรื่อง การผ่อนผันเกี่ยวกับการจัดทําและส่งสําเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยอนุโลม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,256
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.10/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการ กองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 140 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และข้อ 31 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ข้อ 6 วรรคสาม และข้อ32 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ประกาศที่ สน. 9/2564” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ข้อ ๒ เมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ลูกค้ารับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ลูกค้าปฏิเสธการรับทราบข้อมูล (1) การวัดผลการดําเนินงานของกองทุนในเรื่องดังนี้ (ก) วิธีการวัดผลการดําเนินงานซึ่งได้จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด (ข) ช่วงเวลาสําหรับการวัดผลการดําเนินงานซึ่งต้องกําหนดให้มีการวัดผลทุกเดือน กรณีที่มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนโดยเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด (benchmark) ตัวชี้วัดดังกล่าวต้องคํานวณโดยใช้ดัชนีที่ใช้วัดผลตอบแทนทุกประเภทจากการลงทุนในหลักทรัพย์ (total return index) เท่านั้น และไม่ใช้ดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี (price index) มิให้นําความใน (1) วรรคสองมาใช้บังคับกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมฟีดเดอร์ (2) ชื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับฝากทรัพย์สิน (3) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุน (4) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ (5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า การทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน และการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ (6) ข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับกองทุนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าตามที่สํานักงานกําหนด มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับ (1) การจัดการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (2) การจัดการกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดต่อลูกค้าอย่างชัดเจน ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดทําบัญชีแสดงฐานะทางการเงินของกองทุนแต่ละรายตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานสถานะและการลงทุนของทุกกองทุนเป็นรายเดือนต่อสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยให้จัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ และดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานการทําธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ตามข้อ 2.5 ของส่วนที่ 1 ในภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศที่ สน. 9/2564 โดยอนุโลม โดยให้จัดเก็บรายงานดังกล่าวไว้ให้สํานักงานตรวจสอบได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน หากลูกค้าได้มอบหมายให้บริษัทจัดการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหลักทรัพย์ในนามกองทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุน (2) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงตาม (1) ต่อลูกค้าด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ (3) รายงานการได้ใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบเมื่อได้ดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงแล้ว ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว บริษัทจัดการจะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบก็ได้ ข้อ ๘ เมื่อสัญญารับจัดการกองทุนสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนให้แก่ลูกค้าหรือผู้รับฝากทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการและลูกค้าได้ตกลงกัน ข้อ ๙ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หรือที่ใช้บังคับอยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนตามประกาศนี้ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนตามประกาศนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,257
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 14/2564 เรื่อง การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกำหนดค่าธรรมเนียมคำขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 14/2564 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมคําขอ อนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 17/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,258
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ ต่อประชาชนยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-W ท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด 1. เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับใบสําคัญแสดงสิทธิ 2. เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ขออนุญาต 3. เอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้สําหรับการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต เฉพาะเอกสารหลักฐานที่ไม่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ โดยอนุโลม 4. สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งที่มีการพิจารณาให้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว 5. สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวาระที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ 6. สําเนาหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้ไม่เกินสามเดือนก่อนวันยื่นคําขออนุญาต 7. ร่างข้อกําหนดสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ 8. หนังสือรับรองคุณสมบัติจากกรรมการอิสระ ในกรณีที่บริษัทยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นรองรับและร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าบริษัทได้แนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดแบบคําขออนุญาตเสนอขาย ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับซึ่งเสนอขายต่อประชาชน โดยกําหนดประเภทเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นประกอบคําขออนุญาตด้วย จึงจําเป็น ต้องออกประกาศนี้
1,259
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 56/2562 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 56/2562 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ในกรณีที่บริษัทยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต มาพร้อมกับหรือในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบริษัทได้แนบเอกสารตามวรรคหนึ่งเฉพาะที่มีข้อมูลเป็นอย่างเดียวกันแล้ว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 35-W ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้แบบ 35-W ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,260
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 15/2564 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 15/2564 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 56/2562 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ข้อ ๒ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตรายใดมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ ผู้ขออนุญาตอาจขอผ่อนผันการไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 56/2562 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ข้อ ๕ ให้การยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ ซึ่งผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานไว้แล้วในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศดังกล่าวต่อไป เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตจะได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เ ลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,261
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 7/2543 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อ หลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต และรายละเอียดข้อมูลในหนังสือ นัดประชุมผู้ถือหุ้น อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 และข้อ 6(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 6 มกราคม 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-1-RE ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้จํานวน 5 ชุด (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69/247-1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้าง และข้อมูลอื่นเพื่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ รวมทั้ง ข้อมูลที่มาของการกําหนดสัดส่วนในการเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อแลกกับหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นมานั้น เป็นหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่บริษัทยื่นไว้ตามวรรคหนึ่ง แล้ว (2) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ของผู้ขออนุญาต (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (3) เอกสารที่แสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้มีการจัดส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น (4) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ และสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ รวมทั้งแผนอื่นใดที่จําเป็นต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ (5) สําเนาหนังสือแจ้งผลการอนุญาตเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ และแผนการนําหลักทรัพย์ของผู้ขออนุญาตเข้าจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ (6) สําเนาหนังสือการได้รับความเห็นชอบการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของผู้ขออนุญาตและของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์จากหน่วยงานที่กํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย (ถ้ามี) (7) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงานของผู้ขออนุญาต(ถ้ามี) (8) รายงานการตรวจสอบล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทยในการตรวจสอบผู้ขออนุญาต (กรณีธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน) (9) หนังสืออนุญาตให้ผู้ขออนุญาตเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลัง (กรณีบริษัทเงินทุน) (10) หนังสือรับรองจากผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (11) หนังสือรับรองจากผู้บริหารของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่เคยได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายหลักทรัพย์จากสํานักงาน) (12) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (ให้รวมถึงการรับรองการปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความเห็นในการประชุมผู้ถือหุ้นด้วย) (13) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน (กรณีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือกรณีที่บริษัทมีการประเมินค่าทรัพย์สิน) (14) หนังสือรับรองจากกรรมการอิสระว่า มีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาตในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย และเป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (15) หนังสือแสดงความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการอิสระเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาตโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ขออนุญาตต้องยื่นเอกสารในลักษณะเดียวกับที่กําหนดตาม (3) ถึง (5) ของผู้ขออนุญาตนั้นด้วย ข้อ ๒ รายละเอียดของข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ขออนุญาตและบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้มีรายการและรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,262
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 23/2554 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23 /2554 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทํา คําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้าง การถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต และรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-1-RE ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ จํานวน 5 ชุด (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69/247-1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้าง และข้อมูลอื่นเพื่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อมูลที่มาของการกําหนดสัดส่วนในการเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อแลกกับหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นมานั้น เป็นหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่บริษัทยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว (2) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ของผู้ขออนุญาต (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (3) เอกสารที่แสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้มีการจัดส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น (4) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ และสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ รวมทั้งแผนอื่นใดที่จําเป็นต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ (5) สําเนาหนังสือแจ้งผลการอนุญาตเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ และแผนการนําหลักทรัพย์ของผู้ขออนุญาตเข้าจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ (6) สําเนาหนังสือการได้รับความเห็นชอบการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของผู้ขออนุญาตและของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์จากหน่วยงานที่กํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย (ถ้ามี) (7) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงานของผู้ขออนุญาต (ถ้ามี) (8) รายงานการตรวจสอบล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทยในการตรวจสอบผู้ขออนุญาต (กรณีธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน) (9) หนังสืออนุญาตให้ผู้ขออนุญาตเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลัง (กรณีบริษัทเงินทุน) (10) หนังสือรับรองจากผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (11) หนังสือรับรองจากกรรมการและผู้บริหารของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่เคยได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายหลักทรัพย์จากสํานักงาน) (12) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (ให้รวมถึงการรับรองการปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความเห็นในการประชุมผู้ถือหุ้นด้วย) (13) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน (กรณีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือกรณีที่บริษัทมีการประเมินค่าทรัพย์สิน) (14) หนังสือรับรองจากกรรมการอิสระว่ามีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาตในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย และเป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (15) หนังสือแสดงความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการอิสระเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ขออนุญาตต้องยื่นเอกสารในลักษณะเดียวกับที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง (3) ถึง (5) ของผู้ขออนุญาตนั้นด้วย ข้อ ๒ รายละเอียดของข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ขออนุญาตและบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้มีรายการ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- และรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน --------------------------------------------------------- ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,263
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 62/2558 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 62/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทํา คําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้าง การถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต และรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2554 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-1-RE ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ จํานวน 3 ชุด (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69/247-1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้าง และข้อมูลอื่นเพื่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อมูลที่มาของการกําหนดสัดส่วนในการเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อแลกกับหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ (2) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) (ข) เลขประจําตัวประชาชน (ค) การดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทอื่น (3) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยของผู้ขออนุญาต (4) เอกสารที่แสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์และผู้ขออนุญาตได้มีการจัดส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์และของผู้ขออนุญาต (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) (5) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์และของผู้ขออนุญาตรวมทั้งสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์และของผู้ขออนุญาตที่เห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ รวมทั้งแผนอื่นใดที่จําเป็นต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) (6) สําเนาหนังสือแจ้งผลการอนุญาตเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์และผู้ขออนุญาตและแผนการนําหลักทรัพย์ของผู้ขออนุญาตเข้าจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ (7) สําเนาหนังสือการได้รับความเห็นชอบการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของผู้ขออนุญาตและของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์จากหน่วยงานที่กํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย (กรณีกฎหมายกําหนดให้ต้องขอความเห็นชอบ) (8) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงานของผู้ขออนุญาต (ถ้ามี) (9) สําเนารายงานการตรวจสอบจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฉบับล่าสุด ซึ่งรวมถึงรายงานเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน (ถ้ามี) (10) สําเนาหนังสืออนุญาตให้เพิ่มทุนจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย (กรณีกฎหมายกําหนดให้ต้องขออนุญาต) (11) หนังสือรับรองจากผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (12) หนังสือรับรองจากกรรมการและผู้บริหารของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่เคยได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายหลักทรัพย์จากสํานักงาน) (13) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (ให้รวมถึงการรับรองการปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความเห็นในการประชุมผู้ถือหุ้นด้วย) (14) หนังสือรับรองจากกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบว่ามีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบของบริษัทและสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาตในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย และเป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (15) หนังสือแสดงความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเพียงพอเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต โดยอนุโลม (16) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบ (17) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการบริษัทมีการมอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทน (ถ้ามี) (18) รายงานหรือสําเนารายงานผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายในของระบบงานสําคัญล่าสุดและรายงานการติดตามผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายใน (ถ้ามี) พร้อมตารางอํานาจอนุมัติ (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) (19) สําเนาข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับความบกพร่องของระบบควบคุมภายในทางบัญชีที่สําคัญฉบับล่าสุด (ถ้ามี) (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) (20) สําเนารายงานหรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (ถ้ามี) (21) ใบรายการหรือสําเนาใบรายการการตรวจสอบกิจการของที่ปรึกษาทางการเงิน (22) ใบรายการที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (23) เอกสารหรือกระดาษทําการประกอบการทํางบเสมือนกรณีที่งบการเงินของผู้ขออนุญาตไม่สะท้อนผลประกอบการที่แท้จริงของกิจการ (24) เอกสารที่แสดงว่ากรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของผู้ขออนุญาต (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่) (25) งบการเงินปีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสล่าสุดของผู้ขออนุญาต (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ งบการเงินดังกล่าวให้หมายความรวมถึงงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ด้วย) ข้อ ๓ รายละเอียดของข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ขออนุญาตและบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้มีรายการและรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,264
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 31/2559 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2)
-ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทํา คําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้าง การถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต และรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อ หลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สํานักงาน ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 62/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและ การจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 3/1 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตรายใดมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 ได้ ผู้ขออนุญาตอาจขอผ่อนผัน การไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,265
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 16/2564 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 16/2564 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทํา คําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้าง การถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต และรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 62/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตรายใดมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งได้ ผู้ขออนุญาตอาจขอผ่อนผันการไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 62/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 62/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๕ ให้การยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 62/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตและรายละเอียดข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ ซึ่งผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานไว้แล้วในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศดังกล่าวต่อไป เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตจะได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,266
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 17/2564 เรื่อง มาตรการผ่อนปรนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 17/2564 เรื่อง มาตรการผ่อนปรนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูลประจําปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่การระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน กรณีจึงมีเหตุจําเป็นและสมควรในการออกมาตรการผ่อนปรนเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระต่อสํานักงานในบางกรณี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี 2563 ให้เป็นดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาทหรือเทียบเท่า และมีลักษณะครบถ้วนดังนี้ ในรอบปีปฏิทินก่อน ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 30 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ (ก) ไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานเนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนด (ข) ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดในกรณีที่งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงานระบุเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และแหล่งอ้างอิงของอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วย (2) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีดังนี้ ที่มีลักษณะครบถ้วนตาม (1) (ก) และ (ข) ในรอบปีปฏิทินก่อน (ก) บริษัทอื่นนอกจาก (1) (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ค) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๒ ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 1 ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี 2563 ตามอัตราที่กําหนดในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๓ การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี 2563 ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ชําระภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,267
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 18/2564 เรื่อง มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีสำหรับบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 18/2564 เรื่อง มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี สําหรับบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “แบบ 69-1” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์(แบบ 69-1) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ “แบบ 56-1 One Report” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1 One Report) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้ผู้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ได้รับการลดอัตราค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดในข้อ 4 สําหรับค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (1) ผู้เสนอขายได้ยื่นแบบ 69-1 ต่อสํานักงานภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยมีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและระบุชื่อผู้ทวนสอบการจัดทําคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบอื่นใดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่กําหนดแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในกําหนดระยะเวลาเดียวกัน โดยเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตามรายละเอียดที่กําหนดในแบบ 69-1 (2) ผู้เสนอขายมีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ ในรอบปีปฏิทินก่อนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน (ก) ไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน เนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนด (ข) ในกรณีที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ได้ชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (3) กรณีที่ผู้เสนอขายเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ บริษัทดังกล่าวต้องไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่กําหนดใน (1) ตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างประเทศอยู่ก่อนแล้ว ข้อ ๓ ให้บริษัทที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ได้รับการลดอัตราค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดในข้อ 4 สําหรับค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี 2563 ปี 2564 และปี 2565 ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (1) เป็นบริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ (ก) บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ข) บริษัทที่ไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งมีการเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตร ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ 56-1 One Report (2) บริษัทได้ยื่นแบบ 56-1 One Report โดยมีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และระบุชื่อผู้ทวนสอบการจัดทําคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (3) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 2(2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 2 และข้อ 3 ได้รับการลดค่าธรรมเนียมเท่ากับค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ทวนสอบการจัดทําคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยต้องยื่นหลักฐานแสดงการจ่ายเงินในการจ้างดังกล่าว และเอกสารอื่นใดตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หลักฐานแสดงการจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง สามารถนํามาใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศนี้ได้เพียง 1 แบบ ต่อ 1 หลักฐานแสดงการจ่ายเงินเท่านั้น ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี แล้วแต่กรณี มีสิทธิได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมตามประกาศอื่นด้วย ให้บุคคลดังกล่าวได้รับลดหย่อนรวมกันไม่เกินจํานวนค่าธรรมเนียมที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลนั้นต้องชําระต่อสํานักงานในการคํานวณค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ 56-1 One Report ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบหักค่าลดหย่อนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่สามารถหักค่าลดหย่อนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ได้ ให้หักค่าลดหย่อนตามประกาศดังกล่าวก่อนแล้วจึงหักค่าลดหย่อนตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ผู้ชําระค่าธรรมเนียมไม่สามารถหักค่าลดหย่อนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ได้อีก (2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้หักค่าลดหย่อนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ก่อน แล้วจึงหักค่าลดหย่อนตามประกาศนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,268
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 21/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกและลดภาระ ต้นทุน และเวลาให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ในการจัดทํา เปิดเผย และนําส่งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และธุรกิจเป็นทรัสตีต่อสํานักงานสํานักงานจึงเห็นควรให้ยกเลิกการจัดส่งข้อมูลที่ไม่จําเป็น และปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้เหมาะสมมากขึ้น ตลอดจนสามารถดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 14 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตามบทอาศัยอํานาจที่กําหนดในภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “กฎหมายที่เกี่ยวข้อง” และ “วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ “การขออนุญาตหรือแจ้ง” หมายความว่า การขออนุญาต การขอจดทะเบียน การขอรับความเห็นชอบ การขอผ่อนผัน การส่งรายงานหรือเอกสาร หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันต่อสํานักงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ ข้อ ๒ การขออนุญาตหรือแจ้งตามกรณีที่กําหนดในภาคผนวก 1 รายการขออนุญาต หรือแจ้งต่อสํานักงานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ท้ายประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตหรือแจ้งดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งในแต่ละกรณีให้เริ่มดําเนินการได้ตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนดเป็นต้นไป โดยสํานักงานจะแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงกรณีดังกล่าวเป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงานด้วย เมื่อผู้ขออนุญาตหรือแจ้งได้ดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานได้รับการขออนุญาตหรือแจ้งดังกล่าวตามวันและเวลาที่เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกการแจ้งข้อมูลหรือการจัดส่งรายงานตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 รายการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลหรือการจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน ท้ายประกาศนี้ และให้ดําเนินการตามกรณีที่กําหนดไว้ในภาคผนวกดังกล่าวแทน ข้อ ๔ ให้ยกเลิกการขออนุญาตหรือแจ้งตามที่กําหนดในภาคผนวก 3 รายการยกเลิกการขออนุญาตหรือแจ้ง ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,269
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 22/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อมูลที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องเก็บรวบรวมและเปิดเผยต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของรูปแบบและวิธีการในการเปิดเผยข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (2) ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูล ให้เป็นไปตามตารางที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,270
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 24/2564 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม ตราสารเพื่อความยั่งยืน และตราสารส่งเสริมความยั่งยืน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 24/2564 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อ พัฒนาสังคม ตราสารเพื่อความยั่งยืน และ ตราสารส่งเสริมความยั่งยืน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์เฉพาะรุ่นที่มี ลักษณะดังต่อไปนี้ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (1) ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม (3) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (4) ตราสารส่งเสริมความยั่งยืน ตราสารตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือศุกูก แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เฉพาะตราสารตาม (1) (2) และ (3) จะต้องเป็นการเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินในประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,271
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้โดยเฉพาะนั้น ข้อ ๒ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการแล้ว (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการแล้ว (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๔ รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการกองทุนรวม (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (5) ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการที่เสนอขายผู้ลงทุนทั่วไปหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (6) จํานวนเงินทุนโครงการ นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และขั้นตอนการดําเนินการ (ถ้ามี) (7) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน (8) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย (ข) สิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (9) ชื่อผู้ประกัน (ถ้ามี) ข้อ ๕ รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับรายละเอียดของทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนหรือมีไว้ และอัตราส่วนการลงทุน ข้อ ๖ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการแล้ว (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๗ รายการการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน มูลค่าขั้นต่ําในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุน การหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน การไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่ได้รับไว้แล้ว และการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลวิธีการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) ข้อ ๘ รายการข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของผู้ลงทุนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุน และคุณสมบัติ (ถ้ามี) เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าว เช่น การไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลที่ซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือการไม่นับคะแนนเสียงในการลงมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนเกินอัตราดังกล่าว เป็นต้น ข้อ ๙ รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีปกติ และธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๐ รายการการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การมอบหมายงานในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้แก่บุคคลอื่น (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องระบุขอบเขตของการมอบหมาย และชื่อผู้รับมอบหมายด้วย (2) การแต่งตั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของกองทุนรวม เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย และผู้สอบบัญชี เป็นต้น ข้อ ๑๑ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการแล้ว (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๒ รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมเมื่อจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมลดลงต่ํากว่าอัตราที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทหลักทรัพย์จะเลิกกองทุนรวม เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือเมื่อสํานักงานมีคําสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๑๓ การระบุข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมได้ โดยถือว่าได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หรือข้อกําหนดอื่นในทํานองเดียวกัน ให้กระทําได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําโครงการจัดการกองทุนรวมที่มีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต่อไป หรือจะแก้ไขให้สอดคล้องกับประกาศนี้ก็ได้ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการที่จะแก้ไขเพิ่มเติม โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) คํารับรองว่าข้อมูลของกองทุนรวมดังกล่าวมิได้มีสาระสําคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ คํารับรองต้องลงลายมือชื่อโดยบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และ (ข) กรรมการที่มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจจากกรรมการ ผู้รับรองต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้วให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการซึ่งมีสาระสําคัญที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั้นได้ ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,272
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (12) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(9) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี)” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (10) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “(10) ชื่อผู้ประกัน (ถ้ามี)” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าว เช่น การไม่จัดสรร หน่วยลงทุนให้แก่บุคคลที่ซื้อหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,273
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเปิด” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” “ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” “ผู้มีเงินลงทุนสูง” และ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน” ข้อ ๒ ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 3/1 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนให้ระบุรายละเอียดของเรื่องดังต่อไปนี้ไว้ในโครงการตามรายการที่เกี่ยวข้องด้วย (1) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ในแต่ละชนิดหน่วยลงทุน (2) ข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนระหว่างหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (3) การจัดสรรรายได้ รายจ่าย รวมทั้งผลกําไรและขาดทุน ที่เกิดจากการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี) (4) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) โดยการกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจะต้องมีความสอดคล้องกับหน่วยลงทุนแต่ละชนิดด้วย (5) วิธีการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งสิทธิและส่วนได้เสียของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ถ้ามี)” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการกองทุนรวม (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (5) ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการที่เสนอขายผู้ลงทุนประเภทใด เช่น ผู้ลงทุนทั่วไปผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือผู้ลงทุนที่เป็นผู้มีเงินลงทุนสูง เป็นต้น (6) จํานวนเงินทุนโครงการ นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และขั้นตอนการดําเนินการ (ถ้ามี) (7) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน (8) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก)ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของ หน่วยลงทุนด้วย (ข) สิทธิประโยชน์ ผลตอบแทน หรือการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด (ถ้ามี)ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (9) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี) (10) ชื่อผู้ประกัน (ถ้ามี)” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมต้องมีการกําหนดนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน และต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายการลงทุนที่กําหนดนั้น ทั้งนี้ ต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 5/1 (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 5/2 (3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 5/3 (4) ในกรณีที่จะลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่นตามข้อ 5/4 เกินกว่าร้อยละ 20 ของทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม จะต้องระบุนโยบายและอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนด้วย (5) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม จะต้องระบุหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนรวมมุ่งลงทุนไว้อย่างชัดเจน” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ข้อ 5/2 ข้อ 5/3 และข้อ 5/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 5/1 รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ต้องมี รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุนเพื่อมุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้นของผู้ลงทุนทั้งจํานวน (2) อัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ําในทรัพย์สินตาม (1) ซึ่งแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวสามารถรักษาเงินต้นทั้งจํานวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (3) ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขและจํานวนเงินต้นที่รักษา ระยะเวลาและกลไกเพื่อการดังกล่าวและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ 5/2 รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องระบุข้อมูลซึ่งแสดงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) คุณสมบัติของทองคําแท่งตามที่ระบุไว้ในส่วนที่ 7 : ทรัพย์สินประเภททองคําแท่ง ของภาคผนวก 3 แห่งประกาศการลงทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทองคําแท่งนั้น (2) ในกรณีกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ให้ระบุอย่าง ชัดเจนว่าเป็นการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยของกองอีทีเอฟอื่น (ไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ) ที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่งเช่นกัน ข้อ 5/3 ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง นโยบายการลงทุนต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่สัญญาหรือตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับดัชนี ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุในการเปลี่ยนแปลงการคํานวณดัชนีและการยกเลิกการคํานวณดัชนี ตลอดจนแนวทางการดําเนินการของกองทุนรวมในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวด้วย (2) ในกรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ระบุว่าเป็นการคํานวณตามมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) โดยใช้วิธี relative VaR approach หรือ absolute VaR approach แล้วแต่กรณี โดยระบุสมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณตามวิธีการดังกล่าวด้วย อย่างน้อยดังนี้ (ก) ระดับความเชื่อมั่น (confidence interval) (ข) ระยะเวลาการถือครองทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (holding period) ในกรณีที่เป็นการใช้วิธี relative VaR approach ให้ระบุ benchmark ที่ใช้ด้วย ข้อ 5/4 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว (2) หน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง (1) คําว่า “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,274
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเปิด” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “ผู้มีเงินลงทุนสูง” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ประกาศการลงทุน” “การลงทุน” และ “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 5/5 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการทําธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดของกองทุนรวมในธุรกรรมดังกล่าวด้วย (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาตามมูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศ การระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดในธุรกรรมดังกล่าวของกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังกล่าวด้วย มิให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(6) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการทําธุรกรรมตามข้อ 5/5 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) จะต้องระบุฐานะการลงทุนสูงสุด (maximum limit) ของกองทุนรวม โดยมีรายละเอียดตามข้อ 5/5” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 5/5 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการทําธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดของกองทุนรวมในธุรกรรมดังกล่าวด้วย (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาตามมูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศ การระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดในธุรกรรมดังกล่าวของกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังกล่าวด้วย มิให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ลักษณะของผู้ลงทุนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุน เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง เป็นต้น และคุณสมบัติของผู้ลงทุนดังกล่าว (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,275
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 21/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “(3) แนวทางการใช้ดุลยพินิจของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการโอนย้ายการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น แล้วแต่กรณี เมื่อมีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย (ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดและมีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2. มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ความใน (3) (ข) วรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งดังนี้ 1. กองทุนรวมตลาดเงิน 2. กองทุนรวมหน่วยลงทุน 3. กองทุนรวมฟีดเดอร์ 4. กองทุนรวมดัชนี 5. กองทุนรวมอีทีเอฟ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,276
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 12 ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวในโครงการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิในโครงการจัดการกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” (3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,277
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 11/2561 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2561 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “(12) การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,278
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 8/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity)” ต่อจากบทนิยามคําว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ““หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity)” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5/5 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการลงทุนหรือการทําธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดของกองทุนรวมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวด้วย (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาตามมูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (5) การลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศ การระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวของกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังกล่าวด้วย มิให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ซึ่งกําหนดระยะเวลาการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนไว้แตกต่างจากหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ให้แสดงข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,279
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 30/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5/4 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง (1) คําว่า “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (2) หน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (3) หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) ไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,280
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 23/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ CSDS เลขที่ 47/2561.......... ครั้งที่ 2 ผ่านทาง.....CSDS.................. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 รายการมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) และจํานวนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ตลอดจนการดําเนินการในกรณีที่การคํานวณมูลค่า ราคา หรือจํานวนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน รายการการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ทั้งวงเงินรายบุคคลและวงเงินรวมของกองทุนรวมด้วย” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 “(4) การระบุภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี) โดยอย่างน้อยต้องระบุว่า “ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทยและไม่ได้แจ้งไว้เป็นอย่างอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมจะอ้างอิงที่อยู่ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นภูมิลําเนาเพื่อการวางทรัพย์ในกรณีที่ต้องมีการวางทรัพย์”” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,281
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 58/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 12)
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ CSDS เลขที่ 47/2561.......... ครั้งที่ 2 ผ่านทาง.....CSDS.................. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 12) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,282
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 10/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 14)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 3/1/2563 CSDS เลขที่ 70/2562 ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS . ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการนั้นได้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,283
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 15)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “(7) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 จะต้องระบุนโยบายการลงทุนซึ่งแสดงได้ว่าเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,284
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 52/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 16)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่ 24/08/63 CSDS เลขที่ 25/2563 ครั้งที่ 4 ผ่านทาง CSDS ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 52/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(9) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนและข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียง (ถ้ามี)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,285
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2561 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 (16) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 52/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้โดยเฉพาะนั้น ข้อ ๓ ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเปิด” “ผู้มีเงินลงทุนสูง” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ประกาศการลงทุน” “การลงทุน” “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” และ “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ คําว่า “หน่วย private equity” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าว ที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๔ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงรายละเอียดของโครงการอย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อของโครงการ (2) ประเภท อายุ และวัตถุประสงค์ของโครงการ (3) ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการที่เสนอขายผู้ลงทุนประเภทใด เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง เป็นต้น (4) จํานวนเงินทุนโครงการเริ่มต้น (5) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย (ข) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน สิทธิประโยชน์ ผลตอบแทน หรือการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด รวมทั้งข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทน (ถ้ามี) ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (6) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 5 (7) ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามข้อ 11 (8) การจ่ายเงินปันผล (9) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม หรือผู้ถือหน่วยลงทุน (10) การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก) การคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ข) การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิแยกตามรายชนิดของหน่วยลงทุน (ค) การดําเนินการในกรณีที่การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิไม่ถูกต้อง (ง) การคํานวณจํานวนหน่วยลงทุน สําหรับกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน ซึ่งกําหนดราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขายและรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา (11) เงื่อนไขหรือข้อจํากัดในเรื่องดังนี้ (ถ้ามี) (ก) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน (ข) การเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน (ค) การจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน เช่น การโอนหน่วยลงทุนของกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี การโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก หรือการโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมควบคู่กรมธรรม์ (12) เงื่อนไขหรือข้อจํากัดของการไม่ขาย การไม่รับซื้อคืน หรือการไม่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว (ถ้ามี) ข้อ ๕ รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมต้องมีการกําหนดนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน และมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ ให้เปิดเผยรายละเอียดดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) กรณีที่มีการจํากัดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมในทรัพย์สินใดที่มีผลให้ลงทุนได้น้อยกว่าอัตราที่สามารถลงทุนได้สูงสุดสําหรับทรัพย์สินดังกล่าวตามประกาศการลงทุน ต้องระบุอัตราส่วนการลงทุนสําหรับทรัพย์สินนั้นด้วย (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 6 (3) กรณีที่เป็นกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 7 (4) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 8 (5) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 9 เกินกว่าร้อยละ 20 ของทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ต้องระบุนโยบายและอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าไว้อย่างชัดเจนด้วย (6) กรณีที่เป็นกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ต้องระบุหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนรวมมุ่งลงทุนไว้อย่างชัดเจน (7) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการลงทุนหรือการทําธุรกรรมตามข้อ 10 ต้องระบุฐานะการลงทุนสูงสุด (maximum limit) ของกองทุนรวม (8) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 ต้องระบุนโยบายการลงทุนซึ่งแสดงได้ว่าเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๖ รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุนเพื่อมุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้นของผู้ลงทุนทั้งจํานวน (2) อัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ําในทรัพย์สินตาม (1) ซึ่งแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวสามารถรักษาเงินต้นทั้งจํานวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขและจํานวนเงินต้นที่รักษา ระยะเวลาและกลไกเพื่อการดังกล่าวและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ ๗ รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องระบุข้อมูลซึ่งแสดงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) คุณสมบัติของทองคําแท่งตามที่ระบุไว้ในส่วนที่ 7 : ทรัพย์สินประเภททองคําแท่ง ของภาคผนวก 3 แห่งประกาศการลงทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทองคําแท่งนั้น (2) กรณีเป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ให้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยของกองอีทีเอฟอื่น (ไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ) ที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่งเช่นกัน ข้อ ๘ กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง นโยบายการลงทุนต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่สัญญาหรือตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับดัชนี ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุในการเปลี่ยนแปลงการคํานวณดัชนีและการยกเลิกการคํานวณดัชนี ตลอดจนแนวทางการดําเนินการของกองทุนรวมในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวด้วย (2) กรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ระบุว่าเป็นการคํานวณตามมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) โดยใช้วิธี relative VaR approach หรือ absolute VaR approach แล้วแต่กรณี โดยระบุสมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณตามวิธีการดังกล่าวด้วย อย่างน้อยดังนี้ (ก) ระดับความเชื่อมั่น (confidence interval) (ข) ระยะเวลาการถือครองทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (holding period) ในกรณีที่เป็นการใช้วิธี relative VaR approach ให้ระบุ benchmark ที่ใช้ด้วย ข้อ ๙ กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (2) หน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (3) หน่วย private equity ข้อ ๑๐ กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการลงทุนหรือการทําธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดของกองทุนรวมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวด้วย (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาตามมูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (5) การลงทุนในหน่วย private equity กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษซึ่งมีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศ การระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวของกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังกล่าวด้วย มิให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ข้อ ๑๑ ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับวันทําการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และมูลค่าขั้นต่ําในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน รายการการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินสูงสุดทั้งวงเงินรายบุคคลและวงเงินรวมของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๑๒ กรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิในโครงการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” (3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน ข้อ ๑๓ การระบุข้อกําหนดในโครงการว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้ โดยถือว่าได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หรือข้อกําหนดอื่นในทํานองเดียวกัน ให้กระทําได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ (1) การแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง (4) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ ๑๔ ในกรณีเป็นกองทุนรวมซึ่งได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และยังไม่ได้แสดงรายการจํานวนเงินทุนโครงการเริ่มต้นไว้ในรายละเอียดของโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรายการดังกล่าวเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องอื่น ๆ ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,286
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 4/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 “(9) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 10/1” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 “ข้อ 10/1 กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามข้อ 5(9) ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) นโยบายการลงทุนดังนี้ (ก) วัตถุประสงค์การลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืน (ข) เป้าหมายด้านความยั่งยืน (ถ้ามี) (ค) กรอบการลงทุน (investment universe) (2) กลยุทธ์การลงทุนดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ (ข) กระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์ (ค) การอ้างอิงดัชนีชี้วัดที่สอดคล้องกับความยั่งยืน (ง) ข้อจํากัดด้านการลงทุน (ถ้ามี) (3) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (4) แนวทางดําเนินการและมาตรการควบคุมผลกระทบในกรณีการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนใน (1)” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,287
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (10) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงสร้างการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 “(10) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลางของอาเซียน ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 10/2” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 “ข้อ 10/2 กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลางของอาเซียน ตามข้อ 5(10) ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดว่ามีการจัดการและการลงทุนของกองทุนรวมเป็นไปตามมาตรฐานกลางของอาเซียนด้านการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืน (ASEAN Sustainable and Responsible Fund Standards) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับความเห็นชอบจาก ASEAN Capital Markets Forum” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,288
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมายผปก.แล้ว เมื่อวันที่........04/08/2566.......................... L&R เลขที่.. 2566-0020.. ครั้งที่ ......3.......... ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) ในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการ จัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2566 เรื่อง รายละเอียด ของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 “(11) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอิสลาม ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 10/3” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการ จัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 “ข้อ 10/3 กรณีที่เป็นกองทุนรวมอิสลามตามข้อ 5(11) ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชะรีอะฮ์หรือที่ปรึกษา ชะรีอะฮ์ ให้ระบุข้อมูลดังนี้ (ก) คุณสมบัติของคณะกรรมการชะรีอะฮ์หรือที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ของ กองทุนรวมซึ่งต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก (ข) หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการชะรีอะฮ์หรือที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ตาม (ก) ใช้ในการคัดเลือกทรัพย์สินและการติดตามดูแลให้การลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม (2) กรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินซึ่งเป็นองค์ประกอบของดัชนีทรัพย์สินตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่า ทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุชื่อผู้จัดทําดัชนี ลักษณะของดัชนีและข้อมูลทั่วไปของดัชนีดังกล่าว (3) แนวทางดําเนินการกรณีทรัพย์สินที่ลงทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การลงทุนของกองทุนรวมอิสลามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุน ของกองทุน (4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน (ถ้ามี)” ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้โครงการของกองทุนรวม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่มีนโยบายการลงทุนโดยมุ่งเน้นการลงทุนตามหลัก ศาสนาอิสลาม เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการกองทุนรวมอิสลาม ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียด ของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (นายธวัชชัย พิทยโสภณ) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,289
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) และมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมเว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้โดยเฉพาะนั้น ข้อ 2( ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเปิด” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” “ผู้ลงทุนรายใหญ่”“ผู้มีเงินลงทุนสูง” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ประกาศการลงทุน” “การลงทุน” และ“ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศนี้ที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity)”( ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน “มติเสียงข้างมาก”(( หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน “มติพิเศษ”(( หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน “กองทุนรวมเพื่อการออม”(( หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการออมตามประกาศการลงทุน ข้อ 3 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (3) นโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม (ถ้ามี) (4) มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม (5) การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (6) ข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) (7) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (8) การปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม (9) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม (10) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม (11) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (12)( การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด ข้อ 3/1( ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนให้ระบุรายละเอียดของเรื่องดังต่อไปนี้ไว้ในโครงการตามรายการที่เกี่ยวข้องด้วย (1) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ในแต่ละชนิดหน่วยลงทุน (2) ข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนระหว่างหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (3) การจัดสรรรายได้ รายจ่าย รวมทั้งผลกําไรและขาดทุน ที่เกิดจากการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี) (4) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) โดยการกําหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจะต้องมีความสอดคล้องกับหน่วยลงทุนแต่ละชนิดด้วย (5) วิธีการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด รวมทั้งสิทธิและส่วนได้เสียของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ถ้ามี) ข้อ 4( รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการกองทุนรวม (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (5)( ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการที่เสนอขายผู้ลงทุนประเภทใด เช่น ผู้ลงทุนทั่วไปผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง เป็นต้น (6) จํานวนเงินทุนโครงการ นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และขั้นตอนการดําเนินการ (ถ้ามี) (7) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน (8) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย (ข) สิทธิประโยชน์ ผลตอบแทน หรือการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด(ถ้ามี) ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (9)(( ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนและข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียง (ถ้ามี) (10) ชื่อผู้ประกัน (ถ้ามี) ข้อ 5( รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมต้องมีการกําหนดนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน และต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายการลงทุนที่กําหนดนั้น ทั้งนี้ ต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย 1. ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 5/1 (2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 5/2 (3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 5/3 (4) ในกรณีที่จะลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่นตามข้อ 5/4 เกินกว่าร้อยละ 20ของทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม จะต้องระบุนโยบายและอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนด้วย (5) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม จะต้องระบุหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนรวมมุ่งลงทุนไว้อย่างชัดเจน (6)( ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการทําธุรกรรมตามข้อ 5/5 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) จะต้องระบุฐานะการลงทุนสูงสุด(maximum limit) ของกองทุนรวม โดยมีรายละเอียดตามข้อ 5/5 (7)(( ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 จะต้องระบุนโยบายการลงทุนซึ่งแสดงได้ว่าเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ 5/1( รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้นต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุนเพื่อมุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้นของผู้ลงทุนทั้งจํานวน (2) อัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ําในทรัพย์สินตาม (1) ซึ่งแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวสามารถรักษาเงินต้นทั้งจํานวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (3) ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขและจํานวนเงินต้นที่รักษา ระยะเวลาและกลไกเพื่อการดังกล่าวและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ 5/2( รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องระบุข้อมูลซึ่งแสดงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) คุณสมบัติของทองคําแท่งตามที่ระบุไว้ในส่วนที่ 7 : ทรัพย์สินประเภททองคําแท่ง ของภาคผนวก 3 แห่งประกาศการลงทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทองคําแท่งนั้น (2) ในกรณีกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ให้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยของกองอีทีเอฟอื่น (ไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ) ที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่งเช่นกัน ข้อ 5/3( ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง นโยบายการลงทุนต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่สัญญาหรือตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับดัชนี ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุในการเปลี่ยนแปลงการคํานวณดัชนีและการยกเลิกการคํานวณดัชนี ตลอดจนแนวทางการดําเนินการของกองทุนรวมในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวด้วย (2) ในกรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ระบุว่าเป็นการคํานวณตามมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) โดยใช้วิธี relative VaR approach หรือ absolute VaR approach แล้วแต่กรณี โดยระบุสมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณตามวิธีการดังกล่าวด้วยอย่างน้อยดังนี้ (ก) ระดับความเชื่อมั่น (confidence interval) (ข) ระยะเวลาการถือครองทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (holding period) ในกรณีที่เป็นการใช้วิธี relative VaR approach ให้ระบุ benchmark ที่ใช้ด้วย ข้อ 5/4( ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง (1) คําว่า “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (2) หน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (3) หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) ไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ข้อ 5/5( ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือจะมีการลงทุนหรือการทําธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดของกองทุนรวมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวด้วย (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาตามมูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (5) การลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศ การระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวของกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังกล่าวด้วย มิให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ข้อ 6( รายการมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) และจํานวนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ตลอดจนการดําเนินการในกรณีที่การคํานวณมูลค่า ราคา หรือจํานวนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ข้อ 7 รายการการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน มูลค่าขั้นต่ําในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุน การหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน การไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่ได้รับไว้แล้ว และการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลวิธีการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน รายการการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ทั้งวงเงินรายบุคคลและวงเงินรวมของกองทุนรวมด้วย ข้อ 8 รายการข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1)( ลักษณะของผู้ลงทุนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุน เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง เป็นต้น และคุณสมบัติของผู้ลงทุนดังกล่าว (ถ้ามี)ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (2)(( ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าว ข้อ 9 รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1)(( ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใดต้องได้รับมติเสียงข้างมาก และธุรกรรมใดต้องได้รับมติพิเศษ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องเป็นไปตามที่กําหนดไว้ใน มาตรา 129/2 และมาตรา 129/3 (2) ข้อกําหนดว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ 10 รายการการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การมอบหมายงานในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้แก่บุคคลอื่น (ถ้ามี) ทั้งนี้ต้องระบุขอบเขตของการมอบหมาย และชื่อผู้รับมอบหมายด้วย (2) การแต่งตั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของกองทุนรวม เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย และผู้สอบบัญชี เป็นต้น (3)(( แนวทางการใช้ดุลยพินิจของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการโอนย้ายการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีดังนี้ เมื่อมีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตาม (3) วรรคสอง (ก) การโอนย้ายการลงทุนจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น (ข) การโอนย้ายการลงทุนจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น (ค) การโอนย้ายการลงทุนจากกองทุนรวมเพื่อการออมไปยังกองทุนรวมเพื่อการออมอื่น การเลิกกองทุนรวมตาม (3) วรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงการเลิกกองทุนรวมในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย (ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดและมีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2. มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจํานวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ความใน (3) วรรคสอง (ข) วรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการออม ที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งดังนี้ 1. กองทุนรวมตลาดเงิน 2. กองทุนรวมหน่วยลงทุน 3. กองทุนรวมฟีดเดอร์ 4. กองทุนรวมดัชนี 5. กองทุนรวมอีทีเอฟ (4)( การระบุภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี) โดยอย่างน้อยต้องระบุว่า “ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทยและไม่ได้แจ้งไว้เป็นอย่างอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมจะอ้างอิงที่อยู่ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นภูมิลําเนาเพื่อการวางทรัพย์ในกรณีที่ต้องมีการวางทรัพย์” ข้อ 11 รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการแล้ว (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ 12( ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวในโครงการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิในโครงการจัดการกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” (3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน ข้อ 13(( การระบุข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมได้ โดยถือว่าได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หรือข้อกําหนดอื่นในทํานองเดียวกัน ให้กระทําได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง (4) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ หรือเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง ข้อ 14 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําโครงการจัดการกองทุนรวมที่มีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต่อไป หรือจะแก้ไขให้สอดคล้องกับประกาศนี้ก็ได้ ข้อ 15(( ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการนั้นได้ ข้อ 16 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,290
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 29/2564 รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับประมวล)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่ 05/05/64 CSDS เลขที่ 117/2563 ครั้งที่ 4 ผ่านทาง CSDS ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2564 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2556 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 89/2558 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 11/2561 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 39/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 58/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 10/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 (16) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 52/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้โดยเฉพาะนั้น ข้อ 3 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเปิด” “ผู้มีเงินลงทุนสูง” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ประกาศ การลงทุน” “การลงทุน” “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” และ “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ คําว่า “หน่วย private equity” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าว ที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ 4 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงรายละเอียดของโครงการอย่างน้อย ตามรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อของโครงการ (2) ประเภท อายุ และวัตถุประสงค์ของโครงการ (3) ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการที่เสนอขายผู้ลงทุนประเภทใด เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง เป็นต้น (4) จํานวนเงินทุนโครงการเริ่มต้น (5) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิด ของหน่วยลงทุนด้วย (ข) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน สิทธิประโยชน์ ผลตอบแทน หรือการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด รวมทั้งข้อจํากัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทน (ถ้ามี) ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (6) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 5 (7) ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามข้อ 11 (8) การจ่ายเงินปันผล (9) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม หรือผู้ถือหน่วยลงทุน (10) การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก) การคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ข) การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิแยกตามรายชนิดของหน่วยลงทุน (ค) การดําเนินการในกรณีที่การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิไม่ถูกต้อง (ง) การคํานวณจํานวนหน่วยลงทุน สําหรับกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน ซึ่งกําหนดราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขาย และรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา (11) เงื่อนไขหรือข้อจํากัดในเรื่องดังนี้ (ถ้ามี) (ก) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน (ข) การเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน (ค) การจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน เช่น การโอนหน่วยลงทุนของกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี การโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก หรือการโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมควบคู่กรมธรรม์ (12) เงื่อนไขหรือข้อจํากัดของการไม่ขาย การไม่รับซื้อคืน หรือการไม่สับเปลี่ยน หน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว (ถ้ามี) ข้อ 5 รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมต้องมีการกําหนดนโยบายการลงทุน ที่ชัดเจน และมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ ให้เปิดเผยรายละเอียดดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) กรณีที่มีการจํากัดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมในทรัพย์สินใดที่มีผล ให้ลงทุนได้น้อยกว่าอัตราที่สามารถลงทุนได้สูงสุดสําหรับทรัพย์สินดังกล่าวตามประกาศการลงทุน ต้องระบุอัตราส่วนการลงทุนสําหรับทรัพย์สินนั้นด้วย (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 6 (3) กรณีที่เป็นกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทน ตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 7 (4) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสาร ที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 8 (5) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 9 เกินกว่าร้อยละ 20 ของทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ต้องระบุนโยบายและอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ไว้อย่างชัดเจนด้วย (6) กรณีที่เป็นกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ต้องระบุหมวดอุตสาหกรรม ที่กองทุนรวมมุ่งลงทุนไว้อย่างชัดเจน (7) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีหรือ จะมีการลงทุนหรือการทําธุรกรรมตามข้อ 10 ต้องระบุฐานะการลงทุนสูงสุด (maximum limit) ของกองทุนรวม (8) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษีเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 ต้องระบุนโยบายการลงทุน ซึ่งแสดงได้ว่าเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของกองทุนรวม (9) [[1]](#footnote-1)1 กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 10/1 (10) [[2]](#footnote-2)2 กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลางของอาเซียน ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 10/2 (11) [[3]](#footnote-3)3 กรณีที่เป็นกองทุนรวมอิสลาม ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 10/3 (12) [[4]](#footnote-4)4 กรณีที่เป็นกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ต้องมีรายละเอียดตามข้อ 10/1 ข้อ 6 รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ประเภททรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุนเพื่อมุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้น ของผู้ลงทุนทั้งจํานวน (2) อัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ําในทรัพย์สินตาม (1) ซึ่งแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุน ดังกล่าวสามารถรักษาเงินต้นทั้งจํานวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขและจํานวนเงินต้นที่รักษา ระยะเวลาและกลไก เพื่อการดังกล่าวและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ 7 รายการนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมของกองทุนรวมทองคําหรือกองทุนรวม อีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่ง ต้องระบุข้อมูลซึ่งแสดงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) คุณสมบัติของทองคําแท่งตามที่ระบุไว้ในส่วนที่ 7 : ทรัพย์สินประเภททองคําแท่ง ของภาคผนวก 3 แห่งประกาศการลงทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในทองคําแท่งนั้น (2) กรณีเป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่สร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคา ทองคําแท่ง ให้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุน ในหน่วยของกองอีทีเอฟอื่น (ไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ) ที่มีนโยบาย สร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคําแท่งเช่นกัน ข้อ 8 กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสาร ที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง นโยบายการลงทุนต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่สัญญาหรือตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับดัชนี ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เหตุในการเปลี่ยนแปลงการคํานวณดัชนีและการยกเลิกการคํานวณดัชนี ตลอดจนแนวทาง การดําเนินการของกองทุนรวมในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวด้วย (2) กรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ระบุว่าเป็น การคํานวณตามมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) โดยใช้วิธี relative VaR approach หรือ absolute VaR approach แล้วแต่กรณี โดยระบุสมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณตามวิธีการดังกล่าวด้วย อย่างน้อยดังนี้ (ก) ระดับความเชื่อมั่น (confidence interval) (ข) ระยะเวลาการถือครองทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (holding period) ในกรณีที่เป็นการใช้วิธี relative VaR approach ให้ระบุ benchmark ที่ใช้ด้วย ข้อ 9 กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จะลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การลงทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุน ส่วนบุคคล (2) หน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (3) หน่วย private equity ข้อ 10 กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ที่มีหรือจะมีการลงทุนหรือการทําธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ให้ระบุข้อมูล ซึ่งแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดของกองทุนรวมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวด้วย (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาตามมูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญา ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (5) การลงทุนในหน่วย private equity กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษซึ่งมีการลงทุน ในกองทุนรวมอื่นหรือกองทุนต่างประเทศ การระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการแสดงรายละเอียดฐานะการลงทุนสูงสุดในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าวของกองทุนรวมอื่น หรือกองทุนต่างประเทศดังกล่าวด้วย มิให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการลงทุนในกองทุนรวมอื่น หรือกองทุนต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทรัสต์หรือกองดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (2) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ข้อ 10/1[[5]](#footnote-5)4 กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามข้อ 5(9) หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนตามข้อ 5(12) ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) นโยบายการลงทุนดังนี้ (ก) วัตถุประสงค์การลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืน (ข) เป้าหมายด้านความยั่งยืน (ถ้ามี) (ค) กรอบการลงทุน (investment universe) (2) กลยุทธ์การลงทุนดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ (ข) กระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์ (ค) การอ้างอิงดัชนีชี้วัดที่สอดคล้องกับความยั่งยืน (ง) ข้อจํากัดด้านการลงทุน (ถ้ามี) (3) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (4) แนวทางดําเนินการและมาตรการควบคุมผลกระทบในกรณีการลงทุนไม่เป็นไป ตามนโยบายการลงทุนใน (1) ข้อ 10/2[[6]](#footnote-6)2 กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลางของอาเซียน ตามข้อ 5(10) ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดว่ามีการจัดการและการลงทุนของกองทุนรวม เป็นไปตามมาตรฐานกลางของอาเซียนด้านการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืน (ASEAN Sustainable and Responsible Fund Standards) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับความเห็นชอบจาก ASEAN Capital Markets Forum ข้อ 10/3[[7]](#footnote-7)3 กรณีที่เป็นกองทุนรวมอิสลามตามข้อ 5(11) ให้ระบุข้อมูล ซึ่งแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชะรีอะฮ์หรือที่ปรึกษา ชะรีอะฮ์ ให้ระบุข้อมูลดังนี้ (ก) คุณสมบัติของคณะกรรมการชะรีอะฮ์หรือที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ของกองทุนรวมซึ่งต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก (ข) หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการชะรีอะฮ์หรือที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ตาม (ก) ใช้ในการคัดเลือกทรัพย์สินและการติดตามดูแลให้การลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นไปตาม หลักศาสนาอิสลาม (2) กรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินซึ่งเป็นองค์ประกอบของดัชนีทรัพย์สินตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้ระบุชื่อผู้จัดทําดัชนี ลักษณะของดัชนีและข้อมูลทั่วไปของดัชนีดังกล่าว (3) แนวทางดําเนินการกรณีทรัพย์สินที่ลงทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การลงทุนของกองทุนรวมอิสลามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุน ของกองทุน (4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน (ถ้ามี) ข้อ 11 ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียด อย่างน้อยเกี่ยวกับวันทําการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และมูลค่าขั้นต่ําในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่ง ขายคืนหน่วยลงทุน รายการการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินสูงสุดทั้งวงเงินรายบุคคลและวงเงินรวมของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอม ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ข้อ 12 กรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วน การลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิ ในโครงการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน ได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจ ในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” (3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน ข้อ 13 การระบุข้อกําหนดในโครงการว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้ โดยถือว่าได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หรือข้อกําหนดอื่นในทํานองเดียวกัน ให้กระทําได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ (1) การแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง (4) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ 14 ในกรณีเป็นกองทุนรวมซึ่งได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และยังไม่ได้แสดงรายการจํานวนเงินทุนโครงการเริ่มต้นไว้ในรายละเอียดของโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรายการดังกล่าวเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ ในเรื่องอื่น ๆ ข้อ 15 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 1. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 4/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565) [↑](#footnote-ref-1) 2. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 6/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-2) 3. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 13/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-3) 4. 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 23/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-4) 5. 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 23/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-5) 6. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 6/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-6) 7. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 13/2566 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-7)
1,291
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๓/๒๕๖๖ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๕)
- ร่าง - ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๓/๒๕๖๖ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๕) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๒) ของข้อ ๕ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๙/๒๕๖๔ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๑๓/๒๕๖๖ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ “(๑๒) กรณีที่เป็นกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ต้องมีรายละเอียดตามข้อ ๑๐/๑” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐/๑ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๙/๒๕๖๔ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๔/๒๕๖๕ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐/๑ กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามข้อ ๕ (๙) หรือกองทุนรวมไทย เพื่อความยั่งยืนตามข้อ ๕ (๑๒) ให้ระบุข้อมูลซึ่งแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (๑) นโยบายการลงทุนดังนี้ (ก) วัตถุประสงค์การลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืน (ข) เป้าหมายด้านความยั่งยืน (ถ้ามี) (ค) กรอบการลงทุน (investment universe) (๒) กลยุทธ์การลงทุนดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ (ข) กระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์ (ค) การอ้างอิงดัชนีชี้วัดที่สอดคล้องกับความยั่งยืน (ง) ข้อจํากัดด้านการลงทุน (ถ้ามี) (๓) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (๔) แนวทางดําเนินการและมาตรการควบคุมผลกระทบในกรณีการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนใน (๑)” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,292
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “โครงการจัดการลงทุน” “หน่วยของโครงการจัดการลงทุน” และ “ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย ข้อ ๒ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๓ ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการรายงานผลการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยต่อสํานักงานภายใน 45 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละปีปฏิทินที่มีการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๔ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่สามารถรายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามข้อ 3 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการนั้นอาจขอผ่อนผันการรายงานดังกล่าวได้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน โดยต้องยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนต่อสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนด และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาแล้วเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งแบบรายงานดังกล่าวได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,293
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 33/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจำกัด
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 33/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด “อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “ทรัพย์สินหลัก” หมายความว่า ทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์สามารถลงทุนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขาย หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๒ สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ต้องมีรายการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และที่กําหนดในประกาศนี้เพิ่มเติม ข้อ ๓ สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้เพิ่มเติม (1) รายการเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (2) รายการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิในการรับประโยชน์ตอบแทน การจัดการกับประโยชน์ตอบแทน และสิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ข้อ ๔ รายการเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางตรงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์โดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก (ข) กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอาจเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศ อันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น 2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล 3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm) (ค) การประเมินมูลค่าต้องไม่กระทําโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินรายเดียวกันติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง (ง) จัดให้มีการประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน ในกรณีดังนี้ 1. ประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบครั้งแรกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กองทรัสต์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 2. ประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบเมื่อครบกําหนด 2 ปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่าเต็มรูปแบบครั้งล่าสุด (จ) มีการสอบทานการประเมินมูลค่าทุก 1 ปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่าเต็มรูปแบบครั้งล่าสุด (2) การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัทหรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่ออกหุ้นดังนี้ 1. การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ จะประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ ใน (1) โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนการถือหุ้นของกองทรัสต์ ภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่การลงทุนโดยทางอ้อมดังกล่าวมีการถือหุ้นในบริษัทเป็นทอด ๆ การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ต้องคํานึงถึงปัจจัยตามวรรคหนึ่งของบริษัทในทุกชั้นด้วย 2. การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ใน (1)โดยอนุโลม (ข) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ใน (ก) โดยอนุโลม ข้อ ๕ รายการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิในการรับประโยชน์ตอบแทน การจัดการกับประโยชน์ตอบแทน และสิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จํากัดสิทธิในการรับประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ถือหน่วยทรัสต์เกินกว่าอัตราหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และกําหนดให้ประโยชน์ตอบแทนในส่วนที่ไม่อาจจ่ายแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ดังกล่าวตกเป็นของผู้ถือหน่วยทรัสต์รายอื่นตามสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ (2) จํากัดสิทธิในการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ถือหน่วยทรัสต์เกินกว่าอัตราหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (ข) ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในเรื่องที่ขอมติ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,294
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ นป. 1/2564 เรื่อง การยกเลิกประกาศแนวปฏิบัติ เรื่อง โครงการทดสอบนวัตกรรมในกระบวนการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า (KYC Regulatory Sandbox)
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 1/2564 เรื่อง การยกเลิกประกาศแนวปฏิบัติ เรื่อง โครงการทดสอบนวัตกรรม ในกระบวนการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า (KYC Regulatory Sandbox) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทําความรู้จักลูกค้า และเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว สํานักงานได้ออกประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 5/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการทําความรู้จักลูกค้า ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งได้กําหนดแนวทางเกี่ยวกับการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าโดยการนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อทําความรู้จักลูกค้าและจัดประเภทลูกค้าแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจึงสามารถดําเนินการตามประกาศแนวปฏิบัติดังกล่าวได้ โดยไม่จําเป็นต้องเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมในกระบวนการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า (KYC Regulatory Sandbox) สํานักงานจึงเห็นควรยกเลิกประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 3/2560 เรื่อง โครงการทดสอบนวัตกรรมในกระบวนการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า (KYC Regulatory Sandbox) ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,295
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 37/2564 เรื่องแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และวิธีการยื่นคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2564 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 วรรคหนึ่ง และข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2560 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 49/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 4/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 ข้อ ๒ ให้บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ที่ทําให้บริษัทต่างประเทศ ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งได้ บริษัทต่างประเทศอาจขอผ่อนผันการไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทย ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,296
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ นป. 2/2564 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องสำหรับบริษัทจัดการกองทุนรวม
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2/2564 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง สําหรับบริษัทจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ ทน. 11/2564”) กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารและจัดการความเสี่ยง ด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมนั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของบริษัทจัดการกองทุนรวม สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 9/1 แห่งประกาศ ที่ ทน. 11/2564 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ใช้บทนิยามตามภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ และคําศัพท์ตามภาคผนวกของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุนประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้สําหรับกองทุนรวมเปิด ข้อ ๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมควรกําหนดแนวทางการดําเนินการในรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนการดําเนินการ มีคู่มือในเรื่องที่เกี่ยวข้องรวมถึงขั้นตอนกระบวนการในการประสานงานทั้งภายในและภายนอกอย่างเหมาะสม มีการซักซ้อมการดําเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ เพื่อมั่นใจได้ว่าการดําเนินการดังกล่าวสามารถใช้บริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่ปรากฏขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่อาจลุกลามไปสู่ความเสี่ยงเชิงระบบ ทั้งนี้ ตามแนวทางปฏิบัติในภาคผนวกแนบท้ายประกาศแนวปฏิบัตินี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัตินี้จนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ ทน. 11/2564 ในส่วนที่เกี่ยวกับการกําหนดแนวทางการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการดําเนินการต่างจาก แนวทางปฏิบัตินี้ บริษัทจัดการมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศ ที่ ทน. 11/2564 ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวทางการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,297
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 45/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 45/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเก็บรวบรวมและเปิดเผยต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของรูปแบบและวิธีการในการเปิดเผยข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กําหนด ไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (2) ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูล ให้เป็นไปตามตารางที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,298
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 19/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7/1 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 12)ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 45/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 “ข้อ 1/1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี นายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี และผู้ค้าโทเคนดิจิทัล เก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการและการใช้ความสามารถของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT usage capacity) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
1,299