title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 8) | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษีให้แก่
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ ๘)
โดยที่ได้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในท้องที่อําเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีในท้องที่ไม่อาจประกอบกิจการได้ตามปกติ และไม่สามารถยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษีภายในกําหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรกําหนด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญา จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา ๓ อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษีตามประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีในท้องที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาฟากท่า ซึ่งอยู่ในท้องที่ความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่อุตรดิตถ์ สํานักงานสรรพากรภาค ๗ ดังนี้
๑.๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและนําส่งภาษีตามมาตรา ๓ เตรส มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๙ ทวิ มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๐ ทวิ มาตรา ๘๓/๕ มาตรา ๘๓/๖ และมาตรา ๘๓/๗ แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีสําหรับเดือนภาษีกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่จะต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ออกไปเป็นภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
๑.๒ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา ๕๖ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ออกไปเป็นภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
๑.๓ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีสําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา ๖๗ ทวิ มาตรา ๖๘ และมาตรา ๖๙ แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการและชําระภาษีภายในวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ออกไปเป็นภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
๑.๔ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๓ แห่งประมวลรัษฎากร และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา ๙๑/๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นรายการและชําระภาษีธุรกิจเฉพาะ สําหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา ๙๑/๒ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับเดือนภาษีกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่จะต้องยื่นรายการและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ออกไปเป็นภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
๑.๕ ให้ขยายกําหนดเวลาการขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ตามมาตรา ๑๐๓ (๓) แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับกรณีที่จะต้องเสียอากรตั้งแต่วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ออกไปเป็นภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
ข้อ ๒ แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีได้รับการขยายกําหนดเวลา
การยื่นรายการและชําระภาษีอากรหรือนําส่งภาษี มีดังนี้
๒.๑ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.๑ ภ.ง.ด.๒ ภ.ง.ด.๓ ภ.ง.ด.๕๓ และ ภ.ง.ด.๕๔
๒.๒ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.๙๔
๒.๓ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแบบ ภ.ง.ด.๕๐ และ ภ.ง.ด.๕๑
๒.๔ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.๓๐ และ ภ.พ.๓๖
๒.๕ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ.๔๐
๒.๖ อากรแสตมป์ ตามแบบ อ.ส.๔ อ.ส.๔ก และ อ.ส.๔ข
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
เศรษฐา ทวีสิน
(นายเศรษฐา ทวีสิน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,463 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 476) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๗6)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗59) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗59) มูลนิธิสมณวัตรวิมล”
ข้อ ๒ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕3 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕4 เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,464 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 475) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๗5)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๕8) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๕8) โครงการเหรียญที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชพลังแผ่นดินและพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวช”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,465 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 21/2553 การกำหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
================================================
ที่ กด. 21/2553
เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ทรัพย์สินดังต่อไปนี้เป็นสินค้าตามมาตรา 3 (1) เงิน (silver) (2) แพลทินัม (3) ทองแดง (4) สังกะสี (5) เหล็ก (6) อะลูมิเนียม (7) ดีบุก (8) ถ่านหิน (9) ก๊าซธรรมชาติ (10) ไฟฟ้า (11) พลาสติก
ข้อ 2 ให้ตัวแปรดังต่อไปนี้เป็นตัวแปรตามมาตรา 3 (1) ค่าระวาง (2) คาร์บอนเครดิต
(3) ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553
-----------------------------------
(นายวิจิตร สุพินิจ)
###
#### ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
*หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม อันจะทําให้การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงสินค้าและตัวแปรดังกล่าวอยู่ภายใต้การกํากับดูแลตามกฎหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถพัฒนาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 11,466 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2558 การกำหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 22/2558
เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 21/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553
“(12) สินค้าเกษตร ซึ่งได้แก่ ผลิตผลทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลิตผลทางเกษตรกรรม”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,467 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 21/2553 การกำหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กด. 21/2553
เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม(ประมวล)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ทรัพย์สินดังต่อไปนี้เป็นสินค้าตามมาตรา 3
(1) เงิน (silver)
(2) แพลทินัม
(3) ทองแดง
(4) สังกะสี
(5) เหล็ก
(6) อะลูมิเนียม
(7) ดีบุก
(8) ถ่านหิน
(9) ก๊าซธรรมชาติ
(10) ไฟฟ้า
(11) พลาสติก
(12)[1](#fn1) สินค้าเกษตร ซึ่งได้แก่ ผลิตผลทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลิตผลทางเกษตรกรรม
ข้อ 2 ให้ตัวแปรดังต่อไปนี้เป็นตัวแปรตามมาตรา 3
(1) ค่าระวาง
(2) คาร์บอนเครดิต
(3) ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ:
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 21/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม ลงวันที่ 02/12/2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เล่ม 127 ตอนพิเศษ 143 ง
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทสินค้าและตัวแปรเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 02/12/2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เล่ม 132 ตอนพิเศษ 327 ง
---
1. | 11,468 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 4/2547 เรื่อง กำหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(ประมวล)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 4/2547
เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับ
ของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 (3) และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์
“สินค้า” หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา หรือน้ํามันดิบ
“สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วย
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 ให้สัญญาดังต่อไปนี้เป็นสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(1) สัญญาที่ถือเป็นหลักทรัพย์
(2) สัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่การชําระหนี้ตามสัญญากระทําผ่านสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนด
(3) สัญญาที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. กําหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น
ผู้ชําระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจํานวนและราคาตามที่กําหนดไว้ในสัญญา และสัญญา
ดังกล่าวได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
1. ไม่มีข้อกําหนดที่อนุญาตให้คู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าสามารถชําระเงินหรือส่วนต่างของราคาสินค้า (settle by cash) หรือทําการหักกลบลบหนี้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (set-off) แทนการส่งมอบสินค้าได้ และ
2. ธรรมเนียมปฏิบัติในการทําสัญญาดังกล่าวไม่เปิดช่องให้คู่สัญญาฝ่ายที่มี
หน้าที่ส่งมอบสินค้าหลุดพ้นจากหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวด้วยการทําสัญญาขึ้นใหม่ที่มีผลในทาง
ตรงกันข้าม (close-out) กับสัญญาเดิม
ทั้งนี้ มิให้ถือว่าข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ขายต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ซื้อในกรณี
สินค้าที่ส่งมอบไม่ตรงตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในสัญญา เป็นข้อกําหนดที่อนุญาตให้คู่สัญญาฝ่าย
ที่มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าสามารถชําระเงินหรือส่วนต่างของราคาสินค้า หรือทําการหักกลบลบหนี้กับ
คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แทนการส่งมอบสินค้าได้ตาม (ข)
(4) สัญญารับฝากเงิน สัญญาเพื่อการจัดหาเงินทุน สัญญาเพื่อการให้สินเชื่อ หรือ
สัญญาให้กู้ยืมเงินที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนกระทําภายใต้กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,469 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 23/2558 เรื่อง กำหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(ฉบับที่ 3)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 23/2558
เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(3) และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 4/2547 เรื่อง กําหนดสัญญาที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547
“(5) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นสัญญาที่ได้ทําขึ้นก่อนวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และยังคงมีอายุสัญญาเหลืออยู่ (ข) สัญญาตาม (ก) ไม่มีการทําข้อตกลงต่ออายุหลังจากวันที่ 16 ธันวาคม
พ.ศ. 2558”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(นายวรวิทย์ จําปีรัตน์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,470 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 1/2553
เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจ
โดยทั่วไปของทรัสตี
(ฉบับประมวล)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 1/2553
เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสตี
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 11 วรรคสอง มาตรา 37(4) มาตรา 38
มาตรา 57(7) มาตรา 58 และมาตรา 59 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนพ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
หมวด 1บททั่วไป**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_**
ข้อ 1 ประกาศนี้เป็นข้อกําหนดขั้นต่ําสําหรับการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี และในกรณีที่มีข้อกําหนดเป็นการเฉพาะสําหรับธุรกรรมประเภทใด ทรัสตีต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวเพิ่มเติมเมื่อให้บริการเป็นทรัสตีในธุรกรรมประเภทนั้น เช่น ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุน
ในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust) ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกตราสารศุกูก (sukuk) เป็นต้น
ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตีที่มีหน้าที่เฉพาะ
เพื่อการออกตราสารศุกูก (sukuk) เว้นแต่ประกาศว่าด้วยการดังกล่าวจะกําหนดให้ทรัสตีนั้นอยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้
ข้อ 3 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว
หมวด 2หลักในการดําเนินธุรกิจ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 4 เพื่อให้ทรัสตีทําหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพที่ได้รับความไว้วางใจให้ถือกรรมสิทธิ์และบริหารจัดการกองทรัสต์ ทรัสตีต้องประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (2) ดําเนินธุรกิจโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่
และระมัดระวังเยี่ยงผู้มีวิชาชีพ (3) มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอ
(4) มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
(5) ดําเนินธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานของผู้มีวิชาชีพในลักษณะเดียวกันนั้น (market conduct) พึงกระทํา (6) ปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม และคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุน
เป็นสําคัญ (7) จัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (8) ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างทรัสตีกับผู้ลงทุน หรือระหว่างผู้ลงทุนกับลูกค้าในธุรกิจด้านอื่นของทรัสตี (9) ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้ให้คําแนะนํา
ที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนหรือตัดสินใจเพื่อผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม
(10) มีมาตรการเพียงพอในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของกองทรัสต์ (11) เปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นซึ่งอาจมีผลต่อการสั่งการหรือการดําเนินการของทรัสตี
ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ 4/1( ทรัสตีต้องดูแลและดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการทรัสต์จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทรัสต์นั้น ๆ และมิได้เป็นไปหรือถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust)ทั้งนี้ ตลอดอายุของทรัสต์ดังกล่าว
หมวด 3ระบบงาน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 5 เพื่อให้มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทรัสตีต้องจัดให้มีระบบงานที่มีคุณภาพและสามารถรองรับงานในความรับผิดชอบได้อย่างครบถ้วน โดยต้องมีระบบงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) การจัดการกองทรัสต์
(ก) การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบภายในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
(ข) การคัดเลือกและดูแลบุคลากรให้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
(ค) มาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร
(ง) การกํากับดูแล ตรวจสอบ และถ่วงดุลการปฏิบัติงานในหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
(จ) การจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์
(2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน
(ก) การแยกทรัพย์สินในกองทรัสต์ออกจากทรัพย์สินส่วนตัวของทรัสตี
(ข) การเก็บรักษา ตรวจสอบ ดูแล เบิกจ่าย และการจัดทําบัญชีทรัพย์สินในกองทรัสต์ รวมทั้งการดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินในกองทรัสต์
(ค)( ในกรณีที่ทรัสตีดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณีเป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน
(3) การบริหารความเสี่ยง
(ก) การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) ที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ
(ข) การกํากับดูแลการบริหารและจัดการความเสี่ยง (risk management oversight)
ข้อ 6 การจัดระบบงานตามข้อ 5 จะต้องปรากฏผลในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สามารถรองรับให้การบริหารจัดการกองทรัสต์แต่ละกองเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ในการจัดตั้ง ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
(2) สามารถป้องกันได้อย่างเพียงพอตามที่คาดหมายได้โดยทั่วไปเพื่อมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกระทําการโดยทุจริตต่อทรัพย์สินในกองทรัสต์ และในกรณีที่มีการทุจริตเกิดขึ้น ระบบงานสามารถหยุดการกระทําดังกล่าว ตลอดจนบรรเทา แก้ไข และเยียวยาความเสียหายจากกรณีดังกล่าวได้
(3) สามารถป้องกันการกระทําซึ่งเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน รวมทั้งสามารถป้องกันมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ อาศัยข้อมูลจากการทําหน้าที่ที่เกี่ยวกับกองทรัสต์ดังกล่าวหาประโยชน์ให้กับตนเอง (4) สามารถบ่งชี้ทรัพย์สินในกองทรัสต์ได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน
หมวด 4การติดต่อและชักชวนผู้ลงทุน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 7 เพื่อให้ทรัสตีติดต่อชักชวนให้มีการลงทุนในใบทรัสต์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
และจัดให้มีข้อมูลตามความต้องการของผู้ลงทุน ทรัสตีต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในจํานวนที่เพียงพอต่อการทําหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนทั่วไป (2) ควบคุมดูแลให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในใบทรัสต์อย่างเหมาะสม (3) จัดให้มีช่องทางอย่างเพียงพอและเหมาะสมที่ทําให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูล
ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อขายใบทรัสต์ได้
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (1) คําว่า “ผู้ลงทุนทั่วไป” ให้หมายความถึง
ผู้ลงทุนอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการ
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการ
กองทุนส่วนบุคคล
ข้อ 8 การดําเนินการตามข้อ 7 จะต้องทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างครบถ้วนตามที่ต้องการเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และความเหมาะสมในการลงทุนในใบทรัสต์ (2) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่เหมาะสมกับเวลาและสภาพของผู้ลงทุน (3) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (4) ได้รับข้อมูลหรือคําแนะนําอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่ได้ลงทุนในใบทรัสต์นั้นแล้ว
หมวด 5การมอบหมายงาน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 9 เพื่อให้ทรัสตีคัดเลือกบุคคลที่จะได้รับมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง อีกทั้งมีการกํากับและตรวจสอบการจัดการงานแทนดังกล่าวอย่างเพียงพอ ทรัสตีต้องกําหนดมาตรการในการดําเนินงานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับมอบหมาย โดยพิจารณาถึงความพร้อมด้านระบบงานและบุคลากรของผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการขัดกันทางผลประโยชน์ของผู้รับมอบหมายงานและกองทรัสต์ (2) การควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติของผู้ได้รับมอบหมายงาน (3) การดําเนินการของทรัสตีเมื่อปรากฏว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่เหมาะสมที่จะได้รับมอบหมายงานอีกต่อไป
ข้อ 9/1( ในกรณีที่ทรัสตีจะมอบหมายหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นผู้ดําเนินการแทน ให้ทรัสตีมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้บุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์
(3) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านการจัดการลงทุนซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในระดับที่ไม่ต่ํากว่า Broadly Implemented หรือเทียบเท่า
ข้อ 10 นอกจากการมอบหมายงานการจัดการกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
ในมาตรา 37(1) ถึง (3) แล้ว ทรัสตีอาจมอบหมายงานในส่วนของการลงทุน การเก็บรักษาทรัพย์สิน
การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ หรือการปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน ให้ผู้อื่นดําเนินการได้โดย
ต้องระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์อย่างชัดแจ้งว่าให้มีการมอบหมายงานนั้นได้
ข้อ 10/1( ในกรณีที่ทรัสตีดําเนินการบริหารจัดการกองทรัสต์ด้วยตนเอง ทรัสตีต้องมอบหมายการเก็บรักษาทรัพย์สินให้ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของ
กองทุนส่วนบุคคล หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน
ข้อ 11 ในการมอบหมายงานตามข้อ 10 ทรัสตีต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การจัดการในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณีทั้งนี้ หากเป็นการจัดการลงทุนดังกล่าวในต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าวจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) การเก็บรักษาทรัพย์สิน ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (ค) ทรัสตีรายอื่น
(ง) ผู้รับฝากทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กองทรัสต์ได้ลงทุนไว้ หรือของประเทศที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตั้งอยู่ (3) การจัดทําทะเบียนผู้ถือใบทรัสต์ ต้องเป็นการมอบหมายให้ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้
ข้อ 12( การมอบหมายงานตามหมวดนี้ ต้องปรากฏผลในลักษณะที่ทําให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการกองทรัสต์จะสามารถดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดผลเสียหายต่อกองทรัสต์ และทรัสตีจะยังคงรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กองทรัสต์ ตามที่กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนกําหนด
หมวด 6การจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_**
ข้อ 13 ทรัสตีต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 14 เว้นแต่เป็นกองทรัสต์สําหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้
ในการออกหลักทรัพย์ (Passive trust) และมีการระบุอย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่จะไม่มีการจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ดังกล่าว
ข้อ 14 ทรัสตีต้องจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่มีการเสนอขายใบทรัสต์ทั้งหมดต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ต้องจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP)
หมวด 7ผลของการฝ่าฝืนประกาศ**\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_**
ข้อ 15 การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ทรัสตีอาจได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 67 ประกอบกับมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550ทั้งนี้ ตามความร้ายแรงของพฤติกรรม หรือผลของการกระทํา หรือผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของธุรกิจทรัสตี ซึ่งโทษทางปกครองดังกล่าวได้แก่
(1) ภาคทัณฑ์ (2) ปรับทางปกครอง
(3) ตําหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน
(4) จํากัดการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตี
(5) พักการประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตีเฉพาะสัญญาก่อตั้งทรัสต์ใดหรือทุกสัญญาก็ได้
(6) เพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการเป็นทรัสตี
หมวด 8วันมีผลใช้บังคับของประกาศ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 16 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
*หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อวางข้อกําหนดขั้นต่ําในการดําเนินธุรกิจของ
การให้บริการเป็นทรัสตี ซึ่งจะทําให้ทรัสตีสามารถให้บริการแก่ลูกค้าหรือผู้ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจในจัดการหรือดูแลเงินทุนของลูกค้าหรือผู้ลงทุน และเกิดความเชื่อมั่นในภาพรวมของธุรกิจการเป็นทรัสตี จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 11,471 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กร. 5/2558
เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจ
โดยทั่วไปของทรัสตี
(ฉบับที่ 2)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กร. 5/2558
เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจ
โดยทั่วไปของทรัสตี
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 30 วรรคสอง และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ในหมวด 2 หลักในการดําเนินธุรกิจ ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 1/2553 เรื่อง ระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสตี ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 “ข้อ 4/1 ทรัสตีต้องดูแลและดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการทรัสต์จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทรัสต์นั้น ๆ และมิได้เป็นไปหรือถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust)ทั้งนี้ ตลอดอายุของทรัสต์ดังกล่าว”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,472 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับประมวล)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 9/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 และมาตรา 57แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
(1) การจัดการกองทุนรวม
(2) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือ
(3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
“ประกาศการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม”( หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม
การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับอนุญาต
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับประโยชน์จากหุ้น หมายความถึงผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
ข้อ 2( ยกเลิก
ข้อ 3( ผู้ขอรับอนุญาตจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาท
(2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ
(3) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนหรือกันสํารองอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ในกรณีที่ผู้ขอรับอนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือเป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจและการดํารงเงินกองทุนของนิติบุคคลนั้นต้องดํารงเงินกองทุนและกันสํารองตามกฎหมายดังกล่าว
(ข) ในกรณีผู้ขอรับอนุญาตเป็นนิติบุคคลอื่นนอกเหนือจาก (ก) ต้องดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม และดํารงเงินกองทุนขั้นต้นเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาท
(4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทรัสตีของผู้ขอรับอนุญาต หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาต มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้กับ กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของนิติบุคคลนั้นด้วย
(5) แสดงได้ว่าจะมีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ
(6) แสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้
(7) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
(8) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านทรัสตี
ข้อ 4 ให้ผู้ขอรับอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ 5( ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้ผู้ขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีได้คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะออกใบอนุญาตให้ไว้เป็นหลักฐาน โดยเป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 6( ยกเลิก
ข้อ 7 ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) จะเริ่มประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีได้ ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับอนุญาตได้ดําเนินการให้เป็นไปตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(5) (6) (7) และ (8)
(2) ต้องดํารงคุณสมบัติและดําเนินการในเรื่องที่แสดงไว้ในข้อ 3 ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
(3)( ยกเลิก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนการอนุญาตดังกล่าวได้
ข้อ 8( ค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี คําขอละ 30,000 บาท
สําหรับค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยการนั้น
เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีแก่สํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,473 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กร. 12/2558เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับที่ 4)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กร. 12/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติ
ถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.
เพื่อพิจารณาอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต.”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่
4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี คําขอละ 30,000 บาท
สําหรับค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยการนั้น
เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีแก่สํานักงาน ก.ล.ต.”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558
(นายอัชพร จารุจินดา)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,474 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับประมวล)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 49/2555
เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์
เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์”( หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“ทุนชําระแล้ว” หมายความว่า มูลค่ารวมของหน่วยทรัสต์ที่ชําระเต็มจํานวนแล้ว
“ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์
“แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์
“ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
“บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“บริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ”(( (wholly-owned subsidiary) หมายความว่า (1) บริษัทที่มีกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้น
ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่มีกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (1) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้น
ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยเริ่มจากการถือหุ้นของ (1) หรือ (2)
“ทรัสต์อื่น”(( หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายไทยซึ่งมิใช่หน่วยทรัสต์ตามประกาศนี้ หรือทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายต่างประเทศ
“ลงทุนในทรัสต์อื่น”(( หมายความว่า ลงทุนในทรัสต์อื่นไม่ว่าในรูปแบบใด ๆเพื่อให้มีสิทธิในฐานะผู้รับประโยชน์ของทรัสต์อื่นนั้น
“การแปลงสภาพ”( หมายความว่า การแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“ประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ”( หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
“ผู้บริหาร”( หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
(ยกเลิก
“การส่งเสริมการขาย”( หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ลงทุน เพื่อจูงใจให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์
“ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่สามารถจัดจําหน่ายหน่วยทรัสต์ได้
“กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้
(1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือ
เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุน
สํารองเลี้ยงชีพ
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”(( หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์
“ผู้ลงทุนสถาบัน”(( หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่
“กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน”(( หมายความว่า กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม
“กองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า”(( หมายความว่า กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า โดยเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กําหนดเพิ่มเติมขึ้น นอกเหนือจากเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากการผิดสัญญา
ข้อ 3 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 1
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 2
(3)( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3 (4)(( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนและกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 4
(5)(( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 5
ข้อ 4 เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ในการพิจารณาข้อกําหนดในประกาศนี้
(1) การลงทุน การได้มาหรือจําหน่ายไป และการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ ให้หมายความรวมถึงการดําเนินการดังกล่าวสําหรับสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ด้วย
(2)( การให้เช่า และค่าเช่า ให้หมายความรวมถึงการให้ใช้พื้นที่ที่มีการเรียกค่าตอบแทน การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้เช่าหรือให้ใช้พื้นที่ แล้วแต่กรณี และค่าตอบแทนที่ได้รับจากการดําเนินการดังกล่าว
ภาค 1
การขออนุญาตและการอนุญาต
ให้เสนอขายหน่วยทรัสต์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด 1
การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 5 ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้ว
ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก และยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์
(2) ผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่จัดตั้งแล้ว ผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย
ข้อ 6(( ให้บุคคลที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขอ
ต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยอย่างน้อยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตต้องมีหนังสือรับรองจากทรัสตีหรือผู้ที่จะเข้าเป็นทรัสตีของกองทรัสต์ที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ยังมิได้จัดตั้งกองทรัสต์ ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์ โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว และรับรองว่าร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตาม
พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์นั้น
(2) กรณีที่กองทรัสต์จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวรับรองว่ากระบวนการเพิ่มทุนของกองทรัสต์เป็นไปโดยชอบตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ตลอดจนเป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว
ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ 7(( ยกเลิก
ข้อ 8( เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน
ตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการ
ที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงาน
ได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง
ข้อ 9( คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน
เป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในคําขออนุญาต เว้นแต่ในกรณีที่
ผู้ขออนุญาตมีลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ จะไม่จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทํา
คําขออนุญาตก็ได้
(1) เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว
(2) มิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า
หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้ขออนุญาตไม่สามารถ
ทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์
ที่กองทรัสต์จะลงทุน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์
ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์
แก่กองทรัสต์ในลักษณะที่จะทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน
ข้อ 9/1( คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามข้อ 9 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้ลงนามรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลด้วย (1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขออนุญาต (2) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีที่ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทําคําขออนุญาต
หมวด 2
หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 10 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะทั่วไปของกองทรัสต์
(ก) สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ แล้วแต่กรณี เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์
ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
(ข) มีชื่อหรือคําแสดงชื่อที่แสดงลักษณะสําคัญของกองทรัสต์นั้น ๆ และไม่มี
ลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในนโยบายการลงทุนของกองทรัสต์ โดยในกรณีที่มีนโยบายลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องสะท้อนถึงการลงทุนในลักษณะดังกล่าวด้วย
(ค)( แสดงได้ว่ากองทรัสต์จะมีทุนชําระแล้วภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนในทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 12หรือข้อ 12/1
(ง) มีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(จ) ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 (ฉ) กําหนดให้การชําระค่าหน่วยทรัสต์ต้องชําระด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเท่านั้น
(2)( ทรัพย์สินหลักที่จะลงทุน
(ก)( ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 โดยอาจเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือเป็นการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 ก็ได้
(ข) ต้องระบุได้อย่างแน่นอนในขณะที่ยื่นคําขอ และแสดงได้ว่าพร้อมจะได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จในกรณีที่เป็น
การเสนอขายครั้งแรกและยังไม่ได้จัดตั้งกองทรัสต์ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ภายหลังจัดตั้งกองทรัสต์
(ค) ต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 13/1 เว้นแต่ในกรณีที่
ผู้ขออนุญาตสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน
ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 13/1
วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว มิให้นําความในข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ
กับบุคคลนั้นอีก
(3) การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินหลัก ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก)(( มีข้อกําหนดให้กองทรัสต์จัดหาผลประโยชน์โดยการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
เท่านั้น และมีข้อจํากัดมิให้ดําเนินการในลักษณะใดที่เป็นการใช้กองทรัสต์เพื่อประกอบธุรกิจอื่น
เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น เว้นแต่ในกรณีที่กองทรัสต์มีความจําเป็น
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างสรรหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์
รายใหม่ กองทรัสต์อาจดําเนินการในลักษณะที่เป็นการใช้กองทรัสต์เพื่อประกอบธุรกิจอื่นดังกล่าว
เป็นการชั่วคราวได้
(ข)(( ในกรณีที่กองทรัสต์จะให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แก่บุคคลที่จะนําอสังหาริมทรัพย์นั้นไปประกอบธุรกิจที่กองทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการได้เอง เช่น ธุรกิจโรงแรมหรือธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น ต้องมีข้อตกลงกําหนดค่าเช่าไว้ล่วงหน้าเป็นจํานวนที่แน่นอน และอาจกําหนดค่าเช่าที่อ้างอิงกับผลประกอบการของผู้เช่าเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้เปิดเผยข้อมูลข้อตกลงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี และรายงานประจําปี
(ค) มีข้อห้ามมิให้กองทรัสต์ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แก่บุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะนําอสังหาริมทรัพย์นั้นไปใช้ประกอบธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยการให้เช่าในแต่ละครั้ง จะจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้กองทรัสต์สามารถเลิกสัญญาเช่าได้หากปรากฏว่าผู้เช่านําอสังหาริมทรัพย์ไปใช้ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว
(4)( การกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันของกองทรัสต์ หากประสงค์จะให้กองทรัสต์กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันได้ ต้องมีลักษณะดังนี้
(ก) มีข้อกําหนดให้กองทรัสต์กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันได้อย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ โดยการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่าโดยการออกตราสารหนี้หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน ต้องไม่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 13/2
(ข) จํากัดสัดส่วนการกู้ยืมเงินไม่ว่ากระทําโดยวิธีการใด ซึ่งไม่เกินไปกว่าอัตราตามข้อ 14
(ค) จํากัดการก่อภาระผูกพันไว้ไม่เกินไปกว่ากรณีที่กําหนดตามข้อ 15 เท่านั้น
((การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกู้ยืมเงินของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นตามข้อ 12/2 การกู้ยืมเงินของผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือการกู้ยืมเงินของทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมด้วย
(5)( การบริหารจัดการกองทรัสต์
(ก) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่ากลไกการบริหารจัดการกองทรัสต์จะไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์หรือไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างเป็นธรรม
(ข) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้ขออนุญาตขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถบริหารจัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างน่าเชื่อถือ
(ค) แสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตได้ตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 16 และเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงไว้ใน
แบบแสดงรายการข้อมูลอย่างครบถ้วนและเพียงพอ
(ง) แสดงได้ว่ามีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
ในการจัดการกองทรัสต์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17
(จ) แสดงได้ว่าทรัสตีมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ใช่บุคคลที่
ขาดความเป็นอิสระตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(6) การเปิดเผยข้อมูล
(ก) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุนไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือมีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด
(ข) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถจัดทําและเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามประกาศที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ
(7) ข้อกําหนดอื่น ๆ
(ก) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตอยู่ระหว่างการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ บุคคลดังกล่าวจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้
เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์แล้ว
(ข) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องผ่านกระบวนการออกหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมมาแล้วโดยชอบ เช่น การได้รับมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์เป็นต้น ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์
(ค) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการประกันรายได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18
(ง)( ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering)ต้องแสดงได้ว่าผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ยอมผูกพันที่จะซื้อหน่วยทรัสต์เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 24/1(2)
(จ)(( ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ขออนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือประกาศ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและ
การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี แล้วแต่กรณี
ข้อ 11 ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยทรัสต์ออกเป็นหลายชนิด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยทรัสต์ชนิดเดียวกันต้องมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่เท่าเทียมกัน (2) หน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่แตกต่างกันได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ข) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยทรัสต์
(ค) กรณีอื่นใดที่ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่าเป็นการแบ่งชนิดหน่วยทรัสต์ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และได้คํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะได้รับแล้ว
ข้อ 12 การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่มีการออก น.ส. 3 ก.
(ข) เป็นการได้มาซึ่งสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการออกตราสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองประเภท น.ส. 3 ก.
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาต้องไม่อยู่ในบังคับแห่งทรัพยสิทธิหรือมีข้อพิพาทใด ๆเว้นแต่ผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีได้พิจารณาโดยมีความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรว่า การอยู่ภายใต้บังคับแห่งทรัพยสิทธิหรือการมีข้อพิพาทนั้นไม่กระทบต่อการหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ และเงื่อนไขการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม
(3) การทําสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่มีข้อตกลงหรือข้อผูกพันใด ๆที่อาจมีผลให้กองทรัสต์ไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ในราคายุติธรรม (ในขณะที่มีการจําหน่าย) เช่น ข้อตกลงที่ให้สิทธิแก่คู่สัญญาในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ได้ก่อนบุคคลอื่น โดยมีการกําหนดราคาไว้แน่นอนล่วงหน้า เป็นต้น หรืออาจมีผลให้กองทรัสต์มีหน้าที่มากกว่าหน้าที่ปกติที่ผู้เช่าพึงมีเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง
(4) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาต้องพร้อมจะนําไปจัดหาประโยชน์คิดเป็นมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าหน่วยทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายรวมทั้งจํานวนเงินกู้ยืม (ถ้ามี) ทั้งนี้ กองทรัสต์อาจลงทุนในโครงการที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จได้ โดยมูลค่าของเงินลงทุนที่จะทําให้ได้มาและใช้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้แล้วเสร็จเพื่อนําไปจัดหาประโยชน์ต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ (ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์) และต้องแสดงได้ว่าจะมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอเพื่อการพัฒนาดังกล่าว โดยไม่กระทบกับความอยู่รอดของกองทรัสต์ด้วย
(5)( ผ่านการประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ
และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน เป็นเวลาไม่เกินกว่าหกเดือน
ก่อนวันยื่นคําขออนุญาต โดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างน้อยสองราย ที่ผู้ขออนุญาตและ
ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาต (ถ้ามี) พิจารณาว่ามีความเหมาะสมและสามารถประเมิน
มูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ และมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(ข) ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอาจเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของ
ประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น
2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล
3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm)
(6) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาททั้งนี้ ในกรณีที่จํานวนเงินที่จะได้จากการระดมทุนผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์น้อยกว่ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ประสงค์จะลงทุน ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีแหล่งเงินทุนอื่นเพียงพอที่จะทําให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
ข้อ 12/1(( การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
(ก) ลงทุนผ่านบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินการในลักษณะเดียวกันกับกองทรัสต์ไม่ว่าบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท โดยการถือหุ้นหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทดังกล่าว หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/2 (ข) ลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน การลงทุนตาม (1) วรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/3
(2) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่า มีกลไกการกํากับดูแลที่จะทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัทตาม (1) วรรคหนึ่ง (ก) ผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ตาม (1) วรรคหนึ่ง (ข) ดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง โดยต้องมีกลไกการกํากับดูแลอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 12/4 หรือข้อ 12/5 แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ในกรณีของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 14 ให้พิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์เท่านั้น
(3) มีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13
ข้อ 12/2(( บริษัทที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ (wholly-owned subsidiary) (2) ในกรณีที่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในทรัพย์สินหลักดังกล่าวมิใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้ขออนุญาต ต้องเป็นบริษัทที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทที่มีกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) บริษัทที่มีกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (ก) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยเริ่มจากการถือหุ้นของ (ก) หรือ (ข)
การถือหุ้นในบริษัทตามวรรคหนึ่งไม่ว่าในชั้นใด ต้องมีสิทธิออกเสียงไม่น้อยกว่าจํานวนที่กฎหมายของประเทศที่บริษัทนั้นจัดตั้งขึ้นได้กําหนดไว้สําหรับการผ่านมติที่มีนัยสําคัญ
โดยการถือหุ้นในชั้นสุดท้ายเมื่อคํานวณโดยวิธีตามสัดส่วน (pro rata basis) แล้ว ต้องมีจํานวนหุ้น
ที่กองทรัสต์ถือไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
ในชั้นสุดท้าย (3) เป็นบริษัทที่กองทรัสต์ไม่สามารถถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้ถึงสัดส่วนตาม (1) หรือ (2) เนื่องจากมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น โดยกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (1) หรือ (2) ต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าจํานวนขั้นสูงที่สามารถถือได้ตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น และแสดงได้ว่ากองทรัสต์มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นด้วย
ข้อ 12/3(( ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุนการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมของกองทรัสต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) กรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการลงทุน
ในตราสารหนี้หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับบริษัทตามข้อ 12/2 บริษัทใด หากสัดส่วนการลงทุนหรือการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนที่กองทรัสต์และบริษัทอื่นตาม
ข้อ 12/2 ถือหุ้นรวมกันในบริษัทนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตีให้ลงทุนหรือเข้าทําสัญญาดังกล่าว
(ข) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนหรือการเข้าทําสัญญาดังกล่าว โดยหนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และข้อมูลดังต่อไปนี้
1. เหตุผลและความจําเป็นในการลงทุนหรือการเข้าทําสัญญาดังกล่าว
2. ความสมเหตุสมผลของอัตราดอกเบี้ย
3. เงื่อนไขการชําระคืนเงินต้น
(2) กรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้น
ในบริษัทตามข้อ 12/2 (2) หรือ (3) ต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนดังกล่าว โดยหนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และข้อมูลดังนี้
(ก) ความเสี่ยงจากการลงทุนโดยการถือหุ้นในสัดส่วนดังกล่าว
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขที่สําคัญของการร่วมลงทุน การแบ่งกําไรและประโยชน์ตอบแทนระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท การมีผลใช้บังคับของสัญญาระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท ข้อจํากัดในการจําหน่ายหุ้นของบริษัทที่กองทรัสต์ถือและความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายในเรื่องดังกล่าว
(3)(( ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ต้องได้รับความเห็นชอบการลงทุนจากทรัสตีหรือได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม
ข้อ 12/4(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนโดยทางอ้อมผ่านบริษัทตามข้อ 12/2
ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าได้จัดให้มีกลไกการกํากับดูแลบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มีการส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้น และมีระเบียบปฏิบัติหรือข้อกําหนดที่ทําให้การส่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์
(2) มีการกําหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
ตาม (1) ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึง
(ก) การกําหนดกรอบอํานาจในการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจน และที่มีผลให้การพิจารณา ของกรรมการดังกล่าวในการออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทในเรื่องสําคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ก่อน
(ข) การติดตามดูแลให้บริษัทดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การทํารายการระหว่างกัน และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญ ให้ครบถ้วนถูกต้อง
(ค) การติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกําหนด
(3) มีการกําหนดแนวทางการบริหารจัดการในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัทดังกล่าว
(4) มีกลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การทํารายการระหว่างบริษัทดังกล่าว
กับบุคคลที่เกี่ยวโยง การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือการทํารายการสําคัญอื่นใดของ
บริษัทดังกล่าว มีสาระของรายการและได้รับมติจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์หรือที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ก่อนการเข้าทํารายการดังกล่าวของบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ ให้พิจารณา
การทํารายการของบริษัทดังกล่าวทํานองเดียวกับการทํารายการในลักษณะและขนาดเดียวกันกับ
ที่กองทรัสต์ต้องได้รับมติของคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์หรือที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์
ตามข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์
(5) กลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเรื่องใด ๆ ที่อาจ
ส่งผลกระทบต่อส่วนได้เสียของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การแก้ไขเอกสารสําคัญ การเลิกหรือเปลี่ยนการประกอบธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน การออกหลักทรัพย์ การกู้ยืมเงิน การให้หลักประกัน การโอนหรือขายทรัพย์สิน เป็นต้น ต้องได้รับอนุมัติ
จากกองทรัสต์
กลไกการกํากับดูแลตามวรรคหนึ่ง (4) และ (5) มิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทตาม
ข้อ 12/2(3) ที่ถูกถือหุ้นโดยกองทรัสต์และบริษัทตามข้อ 12/2 (ถ้ามี) รวมกันน้อยกว่าร้อยละห้าสิบ
ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
ข้อ 12/5(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีกลไกการกํากับดูแลผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ดังนี้
(1) กลไกที่เทียบเคียงได้กับกลไกการกํากับดูแลบริษัทตามข้อ 12/4 วรรคหนึ่ง (4) และ (5) และในกรณีใดที่กลไกดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะกํากับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของกองทรัสต์ ต้องจัดให้มีกลไกอื่นที่จําเป็นเพิ่มเติมด้วย
(2) กลไกกํากับดูแลในการจัดทํางบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่ต้องจัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินด้วย
ข้อ 13(( การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ต้องมีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม ทั้งในชั้น
ของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น ดังนี้
(ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนการถือหุ้นของกองทรัสต์ ภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์
ในกรณีที่การลงทุนโดยทางอ้อมดังกล่าวมีการถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 12/2
เป็นทอด ๆ การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ต้องคํานึงถึงปัจจัยตามวรรคหนึ่งของบริษัทในทุกชั้นด้วย
(ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5)
(2) มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นซึ่งบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นและบริษัท
ที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ (ถ้ามี) ได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของ
เงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม
(ข) ในกรณีที่หลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล
สมาคมบริษัทจัดการลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่อง
กับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
(3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่มีลักษณะเป็น
การให้กู้ยืมเงิน ต้องมีการประเมินมูลค่าตราสารหรือสัญญาดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ใน (2) ด้วย
(4)(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ต้องมีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ใน (1) (2) และ (3) โดยอนุโลม
ข้อ 13/1( กองทรัสต์ต้องไม่เข้าทําสัญญาการลงทุนในทรัพย์สินหลักกับบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นเองหรือบุคคลอื่นที่บุคคลดังกล่าวควบคุมได้ จะมีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการบริหารจัดการกองทรัสต์ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ ให้พิจารณาการมีลักษณะตามที่กําหนดใน (1) (ก) เท่านั้น
(1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์บุคคลดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้
1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร
2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
(ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพรางหรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ
(ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยในเหตุตาม (ข) หรือ (ค) นั้น
(2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์บุคคลดังกล่าวเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น
ข้อ 13/2(( การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่ากระทําด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond)
(2) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้
(ก) ให้สิทธิลูกหนี้ในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิกองทรัสต์ในการเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable)
(ข) กําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(ค) ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม
(3) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ 14 การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ ต้องมีข้อจํากัดให้มูลค่าการกู้ยืมไม่เกินอัตราส่วนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม
(1) ร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์
(2) ร้อยละหกสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ ในกรณีที่กองทรัสต์มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่ได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการออกตราสารหรือเข้าทําสัญญาไม่ว่าในรูปแบบใดที่มีความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) เข้าลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน
ข้อ 15 การก่อภาระผูกพันของกองทรัสต์ ต้องมีข้อจํากัดให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่จําเป็นและเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์ดังต่อไปนี้
(1) การก่อภาระผูกพันซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการทําข้อตกลงหลักที่กองทรัสต์สามารถกระทําได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ เช่น การนําทรัพย์สินของกองทรัสต์ไปเป็นหลักประกันการชําระเงินกู้ยืมตามข้อ 10(4) เป็นต้น (2) การก่อภาระผูกพันที่เป็นเรื่องปกติในทางพาณิชย์หรือเป็นเรื่องปกติในการทําธุรกรรมประเภทนั้น
((ในกรณีที่การก่อภาระผูกพันตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการเพื่อประโยชน์
ของบริษัทใดตามข้อ 12/2 หากสัดส่วนการก่อภาระผูกพันดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนที่กองทรัสต์
และบริษัทอื่นตามข้อ 12/2 (ถ้ามี) ถือหุ้นรวมกันในบริษัทนั้น การก่อภาระผูกพันดังกล่าวต้อง
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/3(1) โดยอนุโลมด้วย
ข้อ 16 ในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน ผู้ขออนุญาตต้องดําเนินการเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ โดยอย่างน้อยต้องมีการตรวจสอบและสอบทานในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) สภาพของอสังหาริมทรัพย์ เช่น สภาพที่ตั้ง ทางเข้าออก โอกาสในการจัดหารายได้ และภาระผูกพันต่าง ๆ ของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นต้น
(2) ความสามารถของคู่สัญญาในการเข้าทํานิติกรรม ตลอดจนความครบถ้วน ถูกต้อง และบังคับได้ตามกฎหมายของเอกสารสิทธิหรือเอกสารสัญญาที่เกี่ยวข้อง
(3) ความเหมาะสมอื่น ๆ ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น
(4) ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ต้องตรวจสอบและ
สอบทานความสามารถของกองทรัสต์ในการได้มาและถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายของประเทศดังกล่าว โดยต้องจัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เชี่ยวชาญในกฎหมายของประเทศนั้นประกอบการตรวจสอบและสอบทานด้วย
ข้อ 17( การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการกองทรัสต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกที่สามารถรองรับให้การจัดการกองทรัสต์ดําเนินไปในลักษณะที่เป็นธรรม ไม่เป็นการเอาเปรียบกองทรัสต์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐาน
การปฏิบัติงาน และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(2)(( ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีการจัดการกองทรัสต์อื่นอยู่ด้วย ทรัพย์สินหลัก
ของกองทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่น เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) กองทรัสต์ที่ขออนุญาตเป็นกองทรัสต์ที่แปลงสภาพมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ และผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมซึ่งบริหารจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
(ข) กองทรัสต์ที่ขออนุญาตหรือกองทรัสต์อื่น แล้วแต่กรณี มีการเปลี่ยนแปลง
ให้ผู้ขออนุญาตเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่เนื่องจากผู้จัดการกองทรัสต์รายเดิมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อ 18 ในกรณีที่กองทรัสต์จะได้รับหรือมีการแสดงต่อผู้ลงทุนว่าจะได้รับการประกันรายได้ การประกันรายได้นั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการประกันรายได้ที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใดรายหนึ่งตามวงเงินที่กําหนดไว้ในสัญญาประกันรายได้
(2) ผู้ประกันรายได้อย่างน้อยหนึ่งรายต้องเป็นนิติบุคคล (3) มีข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ประกันรายได้ยอมผูกพันตนทั้งในฐานะผู้ประกันรายได้และในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่า
(4) มีข้อตกลงสามฝ่ายระหว่างผู้ประกันรายได้ ผู้เช่า และกองทรัสต์ว่าในกรณีที่ผู้ประกันรายได้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันรายได้ ให้ถือว่าผู้เช่าผิดสัญญาเช่า โดยต้องไม่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไข
ในลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ข้อตกลงที่เป็นการยกเว้นความรับผิดของผู้ประกันรายได้ เว้นแต่ในกรณีที่
เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือมิใช่ความผิดของผู้ประกันรายได้
(ข) เงื่อนไขที่เกินความจําเป็นในลักษณะที่จะทําให้การเรียกร้องของกองทรัสต์ตามสัญญาประกันรายได้เป็นไปได้ยาก หรือเป็นการสร้างภาระต่อกองทรัสต์เกินสมควร
หมวด 3
อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 19( ยกเลิก
ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ตามคําขออนุญาตได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงที่ทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ
(4) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจ
ทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ 21 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน และมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
หมวด 4
เงื่อนไขการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วนที่ 1
ข้อกําหนดทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 22 ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ของภาคนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขในหมวดนี้
ข้อ 23 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ไม่ถูกต้องหรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์นั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหน่วยทรัสต์หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขาย หรือในส่วนที่ยังมิได้มีการโอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปยังกองทรัสต์หรือเพื่อการก่อตั้งกองทรัสต์
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยทรัสต์นั้น
ส่วนที่ 2
การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 23/1( ในส่วนนี้
คําว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ โดยให้พิจารณาจากผู้จัดการกองทรัสต์เป็นสําคัญ
ข้อ 24(( ผู้ได้รับอนุญาตต้องขายหน่วยทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นขอขยายระยะเวลาการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาที่กําหนด โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี)มาพร้อมด้วย ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่สํานักงานแจ้งการอนุญาตในครั้งแรก
ในกรณีที่รายงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินมีอายุเกินหนึ่งปีในวันที่กองทรัสต์เสนอขายหน่วยทรัสต์ หรือในกรณีที่มีปัจจัยที่อาจทําให้มูลค่าการประเมินทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการปรับปรุงรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบันก่อนดําเนินการเสนอขายหน่วยทรัสต์
ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(7) (จ) ห้ามผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ข้อ 24/1( ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้ลงทุนรายอื่น
(2) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายให้แก่บุคคลตาม (1) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่บุคคลดังกล่าวประสงค์จะซื้อ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า
(3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องก่อตั้งกองทรัสต์โดยการโอนเงินทั้งหมดที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ตาม (2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 35 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุน
ข้อ 25 ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1)( ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน โดยอนุโลม เว้นแต่ข้อกําหนดในส่วนนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับกองทรัสต์ก็ได้
(2) จัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้รับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนไปจัดจําหน่าย เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการเองได้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(3) ในกรณีที่จัดให้มีบุคคลอื่นเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) กํากับดูแลให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(ข) จัดให้มีข้อตกลงกับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กรณีที่ต้องมีการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์
(4) จัดให้ใบจองซื้อมีข้อความที่แสดงว่า การจองซื้อและการยกเลิก ตลอดจนการจัดสรรหน่วยทรัสต์เป็นไปตามที่ได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน
(4/1)( การโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายหน่วยทรัสต์
โดยวิธีการอื่นนอกจากการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการส่งเสริมการขาย ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 25/1 ข้อ 25/2 และข้อ 25/3 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้สํานักงานมีอํานาจดังนี้
(ก) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียด เพื่อให้มีความชัดเจนเพียงพอที่
ผู้ได้รับอนุญาตจะสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายได้
(ข) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียด เพื่อเป็นการให้
แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริม
การขาย และหากผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตมีการปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
(ค) กําหนดให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายบางกรณีต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนทําการโฆษณาหรือจัดให้มีการส่งเสริมการขายนั้น เพื่อตรวจสอบ
ให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
(4/2)( ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (4/1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้
(ก) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ข) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย
(ค) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงหรือไม่ทําให้สําคัญผิด
(ง) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้สําคัญผิด
(5) เมื่อสิ้นสุดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากปรากฏกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวนและคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ
(ก) มีผู้จองซื้อไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย หรือมีการกระจายการถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรับหน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ข) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี)
มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ถึงจํานวนตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน
(ค)( มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์
ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง
(ง) ไม่สามารถโอนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตี เพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์
(จ)(( กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ซึ่งมีผู้จองซื้อไม่ถึงจํานวนดังนี้ ก1. ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย เฉพาะกรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ก2. ไม่ถึงสองราย เฉพาะกรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
(6) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมของกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นแล้วหากปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์และคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ
(ก) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับเงินที่กองทรัสต์กันไว้เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี) มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน โดยให้ยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวน
(ข)( มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้ง
ทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว และทําให้การถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวเมื่อรวมกับจํานวนหน่วยที่ถืออยู่เดิม (ถ้ามี) ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ โดยให้ยกเลิกการเสนอการขายเฉพาะส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนด
(7)( ในกรณีที่มีการยกเลิกการเสนอขายไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการ หรือดูแลให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการดังนี้
(ก)(( คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์แก่ผู้จองซื้อตามระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถคืนเงินได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีด้วย
(ข) ไม่นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์ในส่วนที่คาดว่าต้องคืนให้แก่
ผู้จองซื้อตาม (ก) ไปใช้ในกิจการใด ๆ ก่อนที่จะดําเนินการเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ
(8)( เมื่อปรากฏกรณีที่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณี
ที่เป็นการยกเลิกการเสนอขายตาม (5) หรือ (6) (ก) ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์
เป็นอันสิ้นสุดลง
ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเลิกการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง (5) และ (6) ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนด้วย
ข้อ 25/1( ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ
(2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามภาค 2 และภาค 3 ของประกาศนี้
(3) ไม่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์
(4) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยทรัสต์
เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้
(ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม
(ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข
(ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด
(5) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในหน่วยทรัสต์อย่างเหมาะสมและมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยทรัสต์
(6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูล
ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
(7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้อง
มีข้อมูลของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลหน่วยทรัสต์ต้องเป็นเนื้อหาหลักและข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย
(8) การนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทรัสต์ ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทรัสต์หรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทรัสต์นั้น
(9) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ได้รับอนุญาต ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8)
ในกรณีที่การโฆษณาตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการในช่วงระยะเวลาก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนจะมีผลใช้บังคับ นอกจากหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับด้วย
ข้อ 25/2( ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย
ข้อ 25/3( ผู้ได้รับอนุญาตอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดผู้ลงทุนโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้ลงทุน
ตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน
(2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด
(3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือ
ประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสมและเป็นธรรม
(4) มีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย
(5) ไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทรัสต์
ข้อ 26 ในการจัดสรรหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน และตามหลักเกณฑ์ในข้อ 27 ถึงข้อ 30 ด้วย
ข้อ 27 ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ และ
(2) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์
แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์
ข้อ 28( ภายใต้บังคับข้อ 27 และข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุมบริษัทใหญ่ หรือบริษัทย่อยของผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลข้างต้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องแบ่งแยกหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าวออกจากหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยประเภทบุคคลดังกล่าวรวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน
ข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรหน่วยทรัสต์เป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี หรือผู้จัดการกองทรัสต์ ให้การจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่บุคคลดังกล่าวเป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน แล้วแต่กรณีด้วย
ข้อ 30 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยหากกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์นั้นกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้นด้วย
ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหลายโครงการและบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์นั้นมีการกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้แตกต่างกัน ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ต่ําสุดของบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้น
ข้อ 31( ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ผู้ได้รับอนุญาตว่าบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าวถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบโดยไม่ชักช้าถึงข้อจํากัดสิทธิเกี่ยวกับการออกเสียง
ลงคะแนนและการรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งจัดทําขึ้นตาม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(2) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตรู้หรือควรรู้
ถึงเหตุดังกล่าว
ข้อ 32( ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการที่จําเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว เป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินการที่จําเป็นให้หมายความรวมถึงการจัดให้มีระบบงานที่สามารถควบคุมการถือหน่วยทรัสต์ หรือการแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีระบบงานดังกล่าว
ส่วนที่ 3
เงื่อนไขภายหลังการเสนอขาย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 33 ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาตแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ตลอดจนข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์
ข้อ 34 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่มีสาระไม่ต่างจากร่างที่ผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว ก่อนหรือในวันที่มีการโอนทรัพย์สินที่จะให้เป็นกองทรัสต์แก่ทรัสตีตามข้อ 35 และให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่ลงนามแล้วต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เข้าทําสัญญาดังกล่าว
ข้อ 35( ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มิใช่กรณีตาม (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการ
นับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์
(2) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน
(ก) ให้โอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอนให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดในข้อ 24/1(2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุน
(ข) ให้โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือให้แก่ทรัสตีภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในส่วนดังกล่าว
(3) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทรัสต์ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์
((ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินตามวรรคหนึ่ง
ต่อสํานักงานในวันเดียวกับวันที่ผู้ได้รับอนุญาตรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและ
เสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ข้อ 36 ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก ให้ผู้ได้รับอนุญาตเข้าทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตที่กําหนดไว้ในประกาศนี้และในสัญญาก่อตั้งทรัสต์เมื่อกองทรัสต์จัดตั้งขึ้นแล้ว
ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญว่าในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับผู้ได้รับอนุญาตในประกาศนี้ โดยอนุโลม
ข้อ 37 ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการเพื่อให้หน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่สามารถเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์
ข้อ 38 ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ภายหลังการเสนอขายตามประกาศที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ข้อ 39 ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้ และให้ส่งสําเนาสัญญาซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลงนามหรือวันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามแต่กรณี
ข้อ 40 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทรัสตีตามที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายกําหนด ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และให้แจ้งต่อสํานักงานภายในระยะเวลาเดียวกันนั้นด้วย
ข้อ 40/1(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีความจําเป็นต้องประกอบธุรกิจอื่นเป็นการชั่วคราวตามข้อ 10(3) (ก) ก่อนการดําเนินการดังกล่าว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยรายงานเพื่อชี้แจงสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดําเนินการของกองทรัสต์ในระหว่างการสรรหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใหม่ และรายงานความคืบหน้าของการดําเนินการดังกล่าวทุกหกเดือนนับแต่วันที่มีการประกอบธุรกิจอื่นเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใหม่
การเปิดเผยรายงานและการรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีหน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการเปิดเผยสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้รายงานต่อสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด และเปิดเผยข้อมูลด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่นการประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น
ข้อ 40/2(( ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 12ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุกองทรัสต์
ภาค 2
การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด 1
การยื่นและค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 41(( ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการดังต่อไปนี้ และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนด ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
(1) ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อสํานักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว
(2) ให้ยื่นข้อมูลดังต่อไปนี้ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงาน จํานวนหนึ่งชุด
ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(ก) ส่วนรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ที่จัดพิมพ์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งผู้ขออนุญาตได้ยื่นตาม (1) และลงลายมือชื่อแล้ว
(ข) ต้นฉบับหนังสือมอบอํานาจที่แสดงว่าผู้ดําเนินการยื่นข้อมูลตาม (1) และ
(2) (ก) ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้เสนอขายในการดําเนินการดังกล่าวและการอื่นที่จําเป็น
ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุด
ลงแล้ว หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่โดยวิธีการตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง
ข้อ 42 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
2ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กําหนดในข้อ 9 วรรคหนึ่ง
ข้อ 4313 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการประกันรายได้ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันรายได้อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) สรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาประกันรายได้
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับประกันรายได้ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งระบุการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันรายได้ครั้งล่าสุดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขอ และเป็น
การจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(3) ความเห็นของผู้ได้รับอนุญาตเกี่ยวกับความสามารถของผู้รับประกันรายได้ตาม (2) ในการปฏิบัติตามสัญญารับประกันรายได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน
กับผู้ได้รับอนุญาต ต้องมีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย
(4) รายงานการสอบบัญชีของผู้รับประกันรายได้ตาม (2) สําหรับสามรอบปีบัญชี
ย้อนหลังก่อนยื่นคําขอ โดยอย่างน้อยรอบปีบัญชีล่าสุดต้องจัดทําโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้จัดให้มีหนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์หรือ
หลักประกันอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งครอบคลุมตามจํานวนและระยะเวลาที่ผู้รับประกันรายได้รับประกันไว้
ผู้ได้รับอนุญาตจะไม่จัดให้มีรายงานการสอบบัญชีดังกล่าวก็ได้
ข้อ 44 งบการเงินและงบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามมาตรา 56 โดยอนุโลม
ข้อ 45 ก่อนปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์
ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน
ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูล
มีผลใช้บังคับแล้ว ต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น
ข้อ 46 ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในต่างประเทศโดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ดังกล่าวในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผย
ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นในต่างประเทศ
หมวด 2
อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 47 ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์แสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล หรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ 48 ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อ
การตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ดําเนินการตามวรรคหนึ่งสํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ผ่านทางเว็บไซต์
ของสํานักงาน ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้
หมวด 3
วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 49 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
มีผลใช้บังคับ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่นั้นแล้ว
(2) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 19
(3) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 48 วรรคสาม (ถ้ามี) แล้ว
(4) เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 41 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
(ก) สิบสี่วัน ในกรณีทั่วไป
(ข) สามวันทําการ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(5) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ระบุข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (4) ของวรรคหนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขาย
หน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ให้หมายถึงข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาที่เสนอขาย (2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหน่วยทรัสต์
(4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) และ (3)
ภาค 3(
การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลง
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 50( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตตามหมวด 2 และอํานาจสํานักงานเกี่ยวกับ
การอนุญาตตามหมวด 3 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ แต่ไม่รวมถึงหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) หลักเกณฑ์การชําระค่าหน่วยทรัสต์ด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าตามข้อ 10(1) (ฉ) โดยในการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแปลงสภาพ ให้รับชําระ
ค่าหน่วยทรัสต์ด้วยทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมดังกล่าวตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพได้
(ข) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าตามข้อ 12(5) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ และอสังหาริมทรัพย์นั้นผ่านการประเมินมูลค่าโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพแล้ว
(2) ให้นําเงื่อนไขการอนุญาตตามหมวด 4 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ
โดยในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ 25(5) (ก) และ (ค) และข้อ 25(6) (ข) ให้พิจารณาเสมือนว่า
ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพเป็นผู้จองซื้อหน่วยทรัสต์หรือ
ได้รับจัดสรรหน่วยทรัสต์ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ มิให้นําเงื่อนไขการอนุญาตดังนี้มาใช้บังคับ
โดยให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ
(ก) เงื่อนไขการเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์ตามข้อ 25(1) (2) (3) (4) (4/1) และ (4/2) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อ
การแปลงสภาพ
(ข) เงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามข้อ 25(5) (ง) และ ข้อ 35 ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแปลงสภาพ
(ค) เงื่อนไขเกี่ยวกับการดําเนินการจดทะเบียนหน่วยทรัสต์ตามข้อ 37 โดยให้ดําเนินการตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ
(3) ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงสภาพ (ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่หรือไม่) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตาม
แบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนที่กําหนดในภาค 2 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ
เว้นแต่หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่การแปลงสภาพนั้นเป็นการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หนึ่งกองเป็นกองทรัสต์หนึ่งกอง และไม่มีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อื่นเพิ่มเติมจากอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(ก) การมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องของ
ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 42
(ข) ระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน
ตามข้อ 49 วรรคหนึ่ง (4) ทั้งนี้ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับ
การเสนอขายหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
ภาค 4((
การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน
และกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 51 ในภาคนี้
“เจ้าของเดิม” หมายความว่า (ก1) บุคคลที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุนให้แก่กองทรัสต์ ซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าวด้วย ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน
(ก2) บุคคลที่เป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่
ข้อ 52 ในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาคนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่หลักเกณฑ์ในภาคอื่น ๆ ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้
ข้อ 53 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก1) ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดดังนี้
(ก) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน ต้องมีข้อกําหนดให้เจ้าของเดิมมีภาระผูกพัน (obligation) ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์คืน ภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
(ข) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องมีข้อตกลงให้กองทรัสต์มีสิทธิในการบอกเลิกสัญญาเช่าภายในวันเวลาและตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และให้กองทรัสต์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากเจ้าของเดิมเมื่อกองทรัสต์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไข ทั้งนี้ เงื่อนไขดังกล่าวต้องไม่มีผลทําให้สัญญาเช่ามีลักษณะเป็นนิติกรรมอําพรางสัญญาอื่น
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตาม (1) อย่างน้อยต้องผ่านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach)
(2/1)(( ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตาม (1) ต้องเป็นราคาที่ลดลงจากมูลค่าที่ได้จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตาม (2)
(3) ภาระผูกพัน (obligation) หรือข้อตกลง ตาม (1)ต้องทําในรูปแบบของสัญญาที่มีข้อกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
(ก) ระบุชื่อเจ้าของเดิมที่มีสิทธิซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
(ข) วันเวลาที่จะซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือบอกเลิกสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
(ค) เหตุแห่งการผิดนัดไขว้ (event of cross-default) ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
ความสามารถของเจ้าของเดิมในการซื้ออสังหาริมทรัพย์คืน หรือในการจ่ายค่าชดเชยเมื่อมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เช่น การผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้หรือมูลหนี้อื่น การหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สําคัญไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร หรือถูกศาลสั่งอายัดทรัพย์สิน เป็นต้น
(ง) กําหนดราคาซื้อคืนเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนและต้องไม่มีเงื่อนไขที่จะทําให้จํานวนเงินที่ตกลงกันไว้เปลี่ยนแปลง ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน
(จ) มีข้อกําหนดเพิ่มเติมดังนี้ ในกรณีกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า
ก1. ค่าชดเชยให้แก่กองทรัสต์เมื่อมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งต้องเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนหรือเป็นสูตรการคํานวณที่ชัดเจน
2. เงื่อนไขในการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า
(ฉ)(( ระยะเวลาการลงทุนและระยะเวลาที่ต้องขายทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของเดิมต้องไม่เกินระยะเวลาที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ
(4) เจ้าของเดิมต้องมีลักษณะครบถ้วนดังนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลและไม่มีข้อจํากัดในเรื่องการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(ข) มีการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(ค) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานยอมรับ และมีการทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาจนกว่าจะมีการซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า แล้วแต่กรณี
(5) การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนอาจมีข้อกําหนดให้สามารถจัดหาผลประโยชน์จากการทํากําไรจากส่วนต่างของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนกับราคาขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้
ข้อ 54 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน หรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้
(ก) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะตามข้อ 53(1)
(ข) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้
1. มีข้อตกลง (option) ให้เจ้าของเดิมซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เช่น สัญญาขายฝาก เป็นต้น
2. มีข้อตกลงให้เจ้าของเดิมมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญาเช่าภายในวันเวลาและตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และให้กองทรัสต์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากเจ้าของเดิมเมื่อเจ้าของเดิมใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไข
(ห2) ในกรณีของกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีลักษณะตาม (1) (ก)ต้องเป็นไปตามข้อ 53(2) ข้อ 53(3) ข้อ 53(4) (ก) และ (ข) และข้อ 53(5)
(3)(( ในกรณีของกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีลักษณะตาม (1) (ข)ต้องเป็นไปตามข้อ 53(2) ข้อ 53(3) (ก) (ข) (ง) (จ) และ (ฉ) ข้อ 53(4) (ก) และข้อ 53(5)
(ก4) ต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) รวมทั้งต้องมิได้เป็นไปเพื่อการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) มีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ให้กับผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
(6) ไม่มีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 55 ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ มีการจัดการกองทรัสต์อื่นไม่ว่าจะเป็นกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่าหรือไม่ ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ที่ยื่นขออนุญาตเสนอขายตามข้อ 53 หรือข้อ 54ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่นที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จัดการอยู่ เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จะแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เหมาะสมและเพียงพอ เช่น ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์อื่นแล้ว เป็นต้น
ข้อ 55/1 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT
(1) สรุปสาระสําคัญของข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า
(2) ข้อมูลผลการดําเนินงานของอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน (ถ้ามี)
(3) ข้อมูลการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และ
วิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach)
(4) ข้อมูลวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของการมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า เช่น ลักษณะผลตอบแทนที่คาดว่าผู้ลงทุนจะได้รับ การดําเนินการของกองทรัสต์ภายหลังจากการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ความเสี่ยงและผลกระทบหากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในสัญญา และแผนการดําเนินการภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้น
(5) ข้อมูลวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) ของตัวแปรต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังว่าจะได้รับ เช่น อัตราการเช่า (occupancy rate) เป็นต้น
(6) ข้อมูลประมาณการค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาทรัพย์สิน และสัดส่วนของเงินลงทุนที่มีการกันไว้เพื่อดูแลรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี
(7) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นและอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน (ถ้ามี)
((ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้เพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT
(1) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าเจ้าของเดิมได้รับผลกระทบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เช่น การเปรียบเทียบรายได้และผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง โดยต้องเป็นการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันก่อนการระบาดกับในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นต้น
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การใช้เงินของเจ้าของเดิม โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะนําเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินให้กองทรัสต์ไปใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกิจการของเจ้าของเดิม เช่น ชําระค่าจ้างพนักงาน ค่าบํารุงรักษาทรัพย์สิน หรือชําระคืนเงินกู้หรือดอกเบี้ย เป็นต้น
ภาค 5((
การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์
เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 56 ในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาคนี้
หมวด 1
หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 57 ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้วในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก และยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์
(2) ผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์
บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์
ข้อ 58 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด
ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายต่อบุคคลดังนี้ โดยต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ให้กับผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนดังกล่าว เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้จัดการกองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันของผู้จัดการกองทรัสต์
(2) ต้องมีข้อกําหนดให้มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ตั้งแต่สองรายขึ้นไป และต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) รวมทั้งต้องมิได้เป็นไปเพื่อการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) มีลักษณะทั่วไปของกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(1) (จ) และ (ฉ)รวมทั้งมีสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
(4) เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์ลงทุนต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังนี้
1. เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(1) และ (2)
2. เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตาม 1. โดยทางอ้อมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/1(1) และ (2) ข้อ 12/2 ข้อ 12/3 ข้อ 12/4 และข้อ 12/5
(ข) การลงทุนในทรัพย์สินหลักตาม (ก) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายทั้งหมดรวมถึงเงินกู้ยืม (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จในกรณีที่เป็นการเสนอขายครั้งแรกและยังไม่ได้จัดตั้งกองทรัสต์ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ภายหลังจัดตั้งกองทรัสต์
(ค) ทรัพย์สินหลักตาม (ก) ต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 13/1เว้นแต่บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงาน จนทําให้บุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะตามข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว
(5) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนในทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมจากทรัพย์สินหลักตาม (4) ให้สามารถลงทุนในตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินอื่นใดได้ทุกประเภท
(6) มีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(3)
(7) การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13/2
(8) มีการบริหารจัดการกองทรัสต์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(5) (ก) (ข) (ง)และ (จ)
(9) มีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17
(10) มีการเปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(6)
(11) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์หรือทรัสตีสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี แล้วแต่กรณี
(12) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และเอกสารตามหลักเกณฑ์ในข้อ 63 ครบถ้วน
ข้อ 59 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินหลักตามข้อ 58(4)
ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุกองทรัสต์
ข้อ 60 ให้นําความในข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 27 ข้อ 29 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 32 ข้อ 36 ข้อ 39 ข้อ 40 และข้อ 40/1 ในภาค 1 โดยอนุโลม
ข้อ 61 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าการจัดตั้งหรือการจัดการกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ไว้ก่อนหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีดังกล่าวได้
ข้อ 62 ในกรณีที่มีความจําเป็นและสมควร ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์หากผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยทรัสต์เกินกว่าอัตราที่กําหนดในข้อ 27 โดยไม่ถูกจํากัดสิทธิเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและการรับประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่จะขอผ่อนผันได้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงผู้จัดการกองทรัสต์หรือทรัสตี หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว
หมวด 2
การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 63 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-Private REIT พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน และเอกสารอื่นต่อสํานักงาน ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหนึ่งวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูล
ข้อ 64 ให้นําข้อ 47 ในภาค 2 มาใช้บังคับกับการยื่นแบบเสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด
หมวด 3
การรายงานผลการขาย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 65 ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานผลการขายและส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,475 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทจ. 18/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 18/2558
เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69(11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้บริหาร” ระหว่างบทนิยามคําว่า“ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “การส่งเสริมการขาย” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์(ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557
““ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 ในส่วนที่ 2 การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์ ของหมวด 4 เงื่อนไขการอนุญาต ในภาค 1 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
“ข้อ 23/1 ในส่วนนี้
คําว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ โดยให้พิจารณาจากผู้จัดการกองทรัสต์เป็นสําคัญ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน โดยอนุโลม เว้นแต่ข้อกําหนดในส่วนนี้
จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับกองทรัสต์ก็ได้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (5) ในวรรคหนึ่งของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์
เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ และ
ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (6) ในวรรคหนึ่งของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์
เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์
ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว และทําให้การถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลดังกล่าวเมื่อรวมกับจํานวนหน่วยที่ถืออยู่เดิม (ถ้ามี) ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์
ที่กําหนดในส่วนนี้ โดยให้ยกเลิกการเสนอการขายเฉพาะส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนด”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557
“ข้อ 28 ภายใต้บังคับข้อ 27 และข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ หรือบริษัทย่อยของผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลข้างต้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องแบ่งแยกหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าวออกจากหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไป
ไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยประเภทบุคคลดังกล่าวรวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 31 และข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 31 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ผู้ได้รับอนุญาตว่าบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าวถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบโดยไม่ชักช้าถึงข้อจํากัดสิทธิเกี่ยวกับการออกเสียง
ลงคะแนนและการรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งจัดทําขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(2) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตรู้หรือควรรู้
ถึงเหตุดังกล่าว
ข้อ 32 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการที่จําเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว เป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินการที่จําเป็นให้หมายความรวมถึงการจัดให้มีระบบงานที่สามารถควบคุมการถือหน่วยทรัสต์ หรือการแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีระบบงานดังกล่าว”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความตามส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556และให้ใช้ความตามส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายชาลี จันทนยิ่งยง)
รองเลขาธิการ
รักษาการเลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,476 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ฉบับประมวล)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 37/2552
เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา
ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 41(3) มาตรา 46 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้ และในแบบคําขอตามประกาศนี้
(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน”“บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
(2) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้
และผู้ถือหุ้นกู้
(3)3 “การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามที่กําหนดโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ แล้วแต่กรณี [1](#fn1)
(4)4 “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์ตามประกาศดังต่อไปนี้
(ก) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ [2](#fn2)
(ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
(5)4 “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์
ตามสัญญาก่อตั้งของกองทรัสต์
---------------------------
หมวด 1
------
คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 3 ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายไทยในประเภทหนึ่งประเภทใดดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
(ค) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ
(ง) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
หลักทรัพย์ที่มิใช่การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(2) มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ชัดเจน โดยอย่างน้อย
ต้องแยกส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ออกจากส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือส่วนงานอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการกระทําหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตลอดจนมีโครงสร้างการจัดการและระบบการควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้
(3) มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหารในสายงานที่รับผิดชอบงานด้านผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดําเนินการ มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(ข) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(ค) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน
(ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทย
หรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(จ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(ฉ) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (ง) หรือ (จ)
(ช) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(ซ) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงาน
ที่แท้จริงของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อ
ประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญ
ที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(ฌ) มีพฤติกรรมในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือ
บริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือ
ขาดความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้น
อย่างร้ายแรง หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องนั้น
(ญ) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบ
ดูแลมิให้บริษัทและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามตาม (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) ให้พิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอต่อสํานักงาน
ข้อ 4 ให้บุคคลที่ประสงค์จะให้บริการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ยื่นคําขอต่อสํานักงาน
ตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน เพื่อตรวจสอบความครบถ้วนของคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว
1ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ข้อ 5 สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงานประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
สําหรับผู้ยื่นคําขอรายที่สํานักงานพบว่ามีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 3(3) (ฉ) (ช) (ซ)
(ฌ) หรือ (ญ) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) หากข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติมิใช่เรื่องร้ายแรงหรือผู้ยื่นคําขอได้ดําเนินการแก้ไขแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานกําหนด
ระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอของบุคคลรายนั้นในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลา
การรับพิจารณาคําขอ ระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งหรือวันพ้นโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุด หรือวันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับมีคําสั่งเปรียบเทียบ
หรือวันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตาม
ข้อ 3(3) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) หรือ (ญ) แล้วแต่กรณี
ข้อ 6 ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติ
การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บุคคลดังกล่าวแจ้งให้สํานักงานทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงการขาดคุณสมบัติดังกล่าว
เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาให้บุคคลดังกล่าว
แก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ก่อนก็ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อได้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในลักษณะที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือบุคคลดังกล่าวไม่มีการแก้ไขเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติหรือไม่สามารถแก้ไขเหตุดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดหรือบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ของประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้บุคคลดังกล่าวชี้แจง หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) สั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไขการกระทํา หรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ
(3) สั่งพักหรือเพิกถอนรายชื่อบุคคลดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ โดยอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (3) ไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคล
ดังกล่าวในการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ที่ได้ออกไปแล้วก่อนวันที่สํานักงานมีคําสั่งทั้งนี้ เท่าที่จําเป็นจนกว่าจะมีการแต่งตั้งบุคคลรายใหม่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สําหรับหุ้นกู้ครั้งนั้น
หมวด 2
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 7/12 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ตามหมวดนี้สําหรับกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้เป็นกองทรัสต์ ให้พิจารณาความสัมพันธ์ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ และทรัสตีของกองทรัสต์นั้นด้วย โดยอนุโลม
ส่วนที่ 1
---------
การไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
###
####
#####
###### ข้อ 8 เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน บุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชี
###### รายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออก
###### ในแต่ละครั้งได้ก็ต่อเมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ในมูลหนี้เดียวกับที่จะทําหน้าที่
เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหุ้นกู้โดยมีสิทธิออกเสียงเกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิ
ออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้ออกหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทน
ผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับเป็นหุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วน
(ข) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดรวมกันเกินร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น
(ค) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
(ง) บริษัทที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ก) หรือ (ข) หรือบริษัทตาม (ค) ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น
(จ) บริษัทที่มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(3) มีผู้ออกหุ้นกู้เป็นผู้ถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เกินร้อยละห้า
ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ทั้งนี้ หุ้นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตาม (2) (ก) ถึง (จ) ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหุ้น
ที่ถือโดยผู้ออกหุ้นกู้ด้วย โดยอนุโลม
(4) มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันถือหุ้นโดยมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งในผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และในผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการถือหุ้นของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(5) มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหุ้นกู้ เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นกรรมการที่ไม่มีอํานาจในการจัดการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งมีจํานวนไม่เกินหนึ่งคน และเฉพาะกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้มีกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่าเก้าคน
(6) มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียในผู้ออกหุ้นกู้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะอื่นที่อาจเป็นเหตุให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ขาดความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
ข้อ 9 ให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 8 ได้รับการผ่อนผันให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนั้นได้หากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด ทั้งนี้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องเปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้ได้รับทราบในเอกสารประกอบการเสนอขายที่แจกจ่ายให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นกู้หรือผู้ถือหุ้นกู้
ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้การผ่อนผันที่ได้รับสิ้นสุดลง และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของหุ้นกู้ดังกล่าวได้เฉพาะเท่าที่จําเป็นระหว่างที่ผู้ออกหุ้นกู้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว
การผ่อนผันตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รายใหม่อันเป็นผลจากการที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ออกหุ้นกู้ในลักษณะที่อาจทําให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเอกสารประกอบการเสนอขายหุ้นกู้
ส่วนที่ 2
การกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 10 ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องกระทําด้วยความระมัดระวังและดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้เยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงกระทําในกิจการเช่นว่านั้น
ข้อ 11 ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในกิจการซึ่งต้องลงลายมือชื่อของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ระบุไว้ด้วยว่าเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวง
ข้อ 12 ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดูแลมิให้ผู้ออกหุ้นกู้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ที่เป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามหุ้นกู้อันจะทําให้มูลค่าของทรัพย์สินนั้นลดน้อยถอยลงในลักษณะ
ที่ทําให้สัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลหนี้ตามหุ้นกู้ต่ําลงกว่าที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่อาจทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เสียประโยชน์ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
ในข้อกําหนดสิทธิ ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการใช้สอยทรัพย์สินตามปกติ
ข้อ 13 ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องไม่ให้ความเห็นชอบในการนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ออกหาผลประโยชน์ หากการหาผลประโยชน์นั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือจะเป็นผลให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นมีมูลค่าไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
ข้อ 14 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิในลักษณะอื่น
นอกจากการผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยหรือการผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ (ถ้ามี)และเกิดความเสียหายขึ้น ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งปวงภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นได้ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ 15 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ย หรือผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการไถ่ถอน (ถ้ามี) ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติในการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิและสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ 16 ในการแจ้งกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือแก่ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ โดยระบุถึงการดําเนินการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามอํานาจหน้าที่ในกรณีดังกล่าว ตลอดจนผลการดําเนินการนั้นด้วย
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
รู้หรือควรรู้ถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ หรือนับแต่วันที่ได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ปรากฏผลการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ แล้วแต่กรณี
ข้อ 17 ในการดําเนินการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขอมติของผู้ถือหุ้นกู้
ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเป็นหนังสือถึงการจัดให้มีการประชุมดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวันก่อนวันประชุม
ข้อ 18 ในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าวล่วงหน้าไปพลางก่อน
ก่อนดําเนินการแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไป
เพื่อการดังกล่าวออกจากทรัพย์สินนั้นได้
ข้อ 19 ภายใต้บังคับข้อ 18 เมื่อดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้แล้ว ให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รวบรวมและแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชําระหนี้ให้ผู้ถือหุ้นกู้ตามสัดส่วนที่ผู้ถือหุ้นกู้แต่ละคนพึงได้รับให้ถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องจัดทําบัญชีแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรวบรวมทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และการแจกจ่ายทรัพย์สินไว้ทุกขั้นตอน
ข้อ 20 ห้ามมิให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กระทําการดังต่อไปนี้
(1) เข้าทําสัญญารับหลักประกันที่มีข้อความแห่งสัญญาที่เป็นผลให้ไม่อาจดําเนินการ
บังคับหลักประกันได้
(2) ยอมให้มีการปลดหรือเปลี่ยนแปลงหลักประกันนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
(3) นําทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้ซึ่งอยู่ในการครอบครองของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไปแสวงหาประโยชน์หรือยอมให้บุคคลใดนําไปแสวงหาประโยชน์ เว้นแต่ข้อกําหนดสิทธิกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(4) เข้าซื้อไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมซึ่งทรัพย์สินที่เป็นประกันการออกหุ้นกู้นั้น
หรือทรัพย์สินของผู้ออกหุ้นกู้ที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเพื่อการชําระหนี้ตามหุ้นกู้
(5) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อตนเองจาก
บุคคลใด ๆ ที่เข้าซื้อหลักประกันหรือทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ในกรณีที่มีการบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้
(6) รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดจากการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหายบังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (7) ประนีประนอมยอมความในการดําเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่การประนีประนอมยอมความนั้นไม่ทําให้ผู้ถือหุ้นกู้ได้รับชําระหนี้และค่าเสียหายน้อยลงกว่าที่ควรจะได้รับตามสิทธิ หรือได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ให้ประนีประนอมยอมความได้
(8) หักเงินที่ต้องแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งได้มาจากการเรียกร้องค่าเสียหาย
บังคับหลักประกันหรือบังคับชําระหนี้ เพื่อชําระหนี้อื่นที่ผู้ถือหุ้นกู้มีอยู่กับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(9) กระทําการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอาจเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นกู้ไม่ได้รับชําระหนี้ตามหุ้นกู้อย่างครบถ้วน
หมวด 3บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 21 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 22 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
---
1.
2. | 11,477 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทจ. 34/2558 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ฉบับที่ 2)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 34/2558
เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทํา
ตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 37/2552 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับ ประชาชน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,478 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 21/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/13แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ (1) “ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(1/1)1 “กิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ” หมายความว่า
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีหน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหรือของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนนั้น
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือนิติบุคคลตาม (ก) ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหรือของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนนั้น (1/2)1 “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า
(ก) ส่วนราชการ
(ข) องค์กรของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ(2) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 บทนิยามดังต่อไปนี้ ในประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้มีความหมายดังนี้
(1) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า บุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการตามมาตรา 89/1
1. “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลตามมาตรา 258 (1) ถึง (7) แห่งพระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม
(3) “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์ และให้รวมถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 89/1 ซึ่งหมายถึง
(ก) กรรมการของนิติบุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัท
(ข) คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการตาม (ก)
(ค) นิติบุคคลที่บุคคลตาม (ก) หรือ (ข) มีอํานาจควบคุมกิจการ
(ง) บุคคลใดที่กระทําการด้วยความเข้าใจหรือความตกลงว่า หากบริษัททําธุรกรรม
ที่ให้ประโยชน์ทางการเงินแก่บุคคลดังกล่าว บุคคลดังต่อไปนี้ จะได้รับประโยชน์ทางการเงินด้วย ทั้งนี้ เฉพาะการทําธุรกรรมดังกล่าว
1. กรรมการของบริษัท
2. ผู้บริหารของบริษัท
3. บุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัท
4. กรรมการของบุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัท
5. คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตาม 1. 2. 3. หรือ 4.
(4) “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทย่อยตามมาตรา 89/1
(5)3 “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชี หรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า และให้หมายความรวมถึงกรรมการตามมาตรา 89/1 ด้วย
3 ถูกเพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการตลาดทุน ที่ ทจ. 79/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 4)ลงวันที่ 26 พฤศจิกาบน 2558 มีผลใช้บังคับวันที่ 16 ธันวาคม 2558
ข้อ 32 ในการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อยกับกรรมการ ผู้บริหาร หรือ
บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องของบริษัท ตามมาตรา 89/12 และมาตรา 89/13 ให้บริษัทปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมตามข้อ 3/1 หรือเป็นกรณี
ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 3/2
ในกรณีที่การทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง เป็นรายการที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป
ตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือ
เป็นไปตามหลักการที่คณะกรรมการอนุมัติไว้แล้วตามมาตรา 89/12 (1)
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้คําว่า
“สํานักงาน” แทนคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 3 บทนิยามคําว่า “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” ข้อ 6 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 18 ข้อ 20 และข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 3/11 ในกรณีที่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันเป็นหน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือกิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเจ้าของ หากเป็นธุรกรรมที่ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้ต้องขออนุมัติการตกลงเข้าทํารายการที่เกี่ยวโยงกันจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้บริษัทได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุมัติการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น หากธุรกรรมดังกล่าวได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทแล้ว
ข้อ 3/22 ในกรณีที่บริษัทเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หากบริษัทจะทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยประสงค์จะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้กระทําได้
เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. เป็นธุรกรรมที่อยู่ในแผนการควบ โอน หรือรับโอนกิจการที่ได้รับความเห็นชอบ
จากธนาคารแห่งประเทศไทย
1. การทําธุรกรรมจะเกิดขึ้นภายหลังบริษัทได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้เพิกถอนหุ้น
ของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนด้วยความสมัครใจตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน และในการขอมติเพิกถอนหุ้นดังกล่าว
บริษัทได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ก่อนแล้ว โดยระบุไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
1. แผนการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทและผู้ถือหุ้นรายใหญ่
2. การนับคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นในการอนุมัติให้เข้าทําธุรกรรม ซึ่งจะไม่ห้าม
การออกเสียงลงคะแนนของผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (ข) คําว่า “ส่วนได้เสีย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
1. คําเตือนผู้ถือหุ้นที่แสดงว่า ผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วยกับการทําธุรกรรม ต้องใช้สิทธิ
ออกเสียงคัดค้านตั้งแต่การพิจารณาวาระการเพิกถอนหุ้นของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
1. การทําธุรกรรมได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับ
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการควบ โอน หรือรับโอนกิจการตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน”
ข้อ 4 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทย่อย
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
###
####
#####
###### ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
**สารบัญเชิงอรรถ**
| ลําดับ | ประกาศ ณ วันที่ | เลขที่ประกาศ | ชื่อเรื่อง | เนื้อหา | สถานะ |
| | 31 ส.ค. 51 | ทจ. 21/2551 | หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน | | ใช้งาน (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 31 ส.ค. 51 เป็นต้นไป) |
| 2 | 24 พ.ค. 53 | ทจ. 20/2553 | หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 3) | แก้ไขประกาศ ทจ. 21/2551 ดังนี้ 1. แก้ไข วรรคหนึ่งของข้อ3 2. เพิ่ม ข้อ 3/2 | ใช้งาน (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 16 มิ.ย. 52 เป็นต้นไป) |
| 3 | 26 พ.ย. 58 | ทจ. 79/2558 | หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 4) | แก้ไขประกาศ ทจ. 21/2551 ดังนี้ 1. เพิ่ม (5) ของข้อ 2 | ใช้งาน (มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 16 ธ.ค. 58 เป็นต้นไป) | | 11,479 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทจ. 79/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน (ฉบับที่ 4)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 79/2558เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/13แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
“(5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกรายและผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชี หรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า และให้หมายความรวมถึงกรรมการตามมาตรา 89/1 ด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,480 |
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ สท. 1/2558 เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(ฉบับประมวล)
| ประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ที่ สท. 1/2558
เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23/4 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพพ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ผู้ชําระบัญชี” หมายความว่า ผู้ชําระบัญชีของกองทุน
“เงินกองทุน” หมายความว่า เงินทั้งหมดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากกองทุนหรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด หรือเงินที่ลูกจ้างคงไว้ในกองทุน
ข้อ 2 ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ เมื่อลูกจ้างแสดงเจตนาให้โอนเงินกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอันเนื่องจากเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชําระบัญชีดําเนินการตามข้อ 3 (1) นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและยังไม่ได้จัดให้มีกองทุนใหม่ (2) ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด (3) กองทุนเลิก
ข้อ 3 เมื่อผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชําระบัญชีได้รับแจ้งให้โอนเงินกองทุนจากกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชําระบัญชี แล้วแต่กรณี โอนเงินดังกล่าวพร้อมจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วนจากคณะกรรมการกองทุน
(1) เอกสารการแสดงเจตนาของลูกจ้างเพื่อโอนเงินกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งต้องระบุชื่อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จะโอนไป (2) เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าลูกจ้างได้รับทราบคําเตือนเกี่ยวกับการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังนี้ (ก) ในกรณีที่เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของลูกจ้างครบเงื่อนไขเกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาซึ่งเป็นผลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว ลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมจากการโอนเงินดังกล่าวไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าวอาจมีต้นทุนที่แตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป (ข)( ในกรณีที่การโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะมีผลให้การถือหน่วยลงทุนของลูกจ้างเกิน 1 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินดังกล่าว (3) เอกสารแสดงจํานวนเงินกองทุนที่โอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนเงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสมทบไว้ด้วย (4) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | 11,481 |
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ สท. 1/2558
เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ที่ สท. 1/2558
เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23/4 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพพ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “ผู้ชําระบัญชี” หมายความว่า ผู้ชําระบัญชีของกองทุน “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินทั้งหมดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากกองทุนหรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด หรือเงินที่ลูกจ้างคงไว้ในกองทุน
ข้อ 2 ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ เมื่อลูกจ้างแสดงเจตนาให้โอนเงินกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอันเนื่องจากเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชําระบัญชีดําเนินการตามข้อ 3 (1) นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและยังไม่ได้จัดให้มีกองทุนใหม่ (2) ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด (3) กองทุนเลิก
ข้อ 3 เมื่อผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชําระบัญชีได้รับแจ้งให้โอนเงินกองทุนจากกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชําระบัญชี แล้วแต่กรณี โอนเงินดังกล่าวพร้อมจัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วนจากคณะกรรมการกองทุน
(1) เอกสารการแสดงเจตนาของลูกจ้างเพื่อโอนเงินกองทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งต้องระบุชื่อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จะโอนไป (2) เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าลูกจ้างได้รับทราบคําเตือนเกี่ยวกับการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังนี้ (ก) ในกรณีที่เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของลูกจ้างครบเงื่อนไขเกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาซึ่งเป็นผลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว ลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพิ่มเติมจากการโอนเงินดังกล่าวไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าวอาจมีต้นทุนที่แตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป (ข) ในกรณีที่การโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะมีผลให้การถือหน่วยลงทุนของลูกจ้างเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ดังกล่าว (3) เอกสารแสดงจํานวนเงินกองทุนที่โอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนเงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสมทบไว้ด้วย (4) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | 11,482 |
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ สท. 1/2563 เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ 2)
| -ร่าง-
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ที่ สท. 1/2563
เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23/4 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพพ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ สท. 1/2558 เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) ในกรณีที่การโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะมีผลให้การถือหน่วยลงทุนของลูกจ้างเกิน 1 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินดังกล่าว”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
-----------------------7
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. กองทุนสํารองฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้วเมื่อวันที่ 08/07/63 CSDS เลขที่ 25/2563ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS | 11,483 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 2/2558 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 2/2558เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้
1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ฟิลไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 460/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน)
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 594/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สยามพิวรรธน์ กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 36/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มิลีนเนียม ไมโครเทค (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 98/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557
5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เจวีซี แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2536 ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานเอชเอสบีซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 73/2539 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2557
7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอชเอสบีซีทวีทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2551 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2557
8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สยามสินธร ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 30/2539
ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2557
9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่
120/2533 ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2557
10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จํากัด
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 110/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557
11. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 584/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557
12. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซิตี้คอร์ปมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 12/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557
13. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซิตี้คอร์ปมั่งคั่ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 13/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557
ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | 11,484 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 29/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวลถึงฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ทธ. 42 /2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า
(1) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ค้าสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของผู้ประกอบธุรกิจ
“ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย
“โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) หรือแพลทินัม
“ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ให้บริการ
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
ข้อ 3 ในการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการหรือตัวแทนการตลาด ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา ให้เป็นไปตามหมวด 3
(4) การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามหมวด 4
**หมวด 1**
**การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์**
**หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา**
ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนได้ ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น
(ข) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นด้วย
(2) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแทนซื้อขายสัญญาในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นด้วย
(3) มีความมั่นคงทางด้านการเงินรวมทั้งความสามารถและความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานกําหนด และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีมาตรการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน
(4) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า
ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามหมวดนี้ ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตในการทําหน้าที่ของผู้ให้บริการ
(2) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ให้บริการที่จะแต่งตั้งมีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4
[1](#fn1) สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ข้อ 6 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงความรับผิดต่อบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา แล้วแต่กรณี และความรับผิดชอบต่อลูกค้าของตนเอง อันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ
(2) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ
(3) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ
ข้อ 7 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีแผนงานหรือมาตรการรองรับในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาระหว่างกัน หรือผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการต่อไปได้
ข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับลูกค้า เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขาย และรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ไว้ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงานและผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 9 ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการได้
ข้อ 10 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานในภายหลังว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือผู้ให้บริการไม่มีลักษณะหรือขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการได้
**หมวด 2**
**การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็น**
**สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า**
ข้อ 11 ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญา โดยจํากัดเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี และเป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ชมรมผู้ค้าปลีกทองคําแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย หรือหน่วยงานอื่นใดที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป
(2) กรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย
(4) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว
(5) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งครอบคลุมระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
(6) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า
ข้อ 12 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้เท่านั้น
(1) การรับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาอนุมัติ
(2) การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
(3) การรับคําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าเพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํารายการให้แก่ลูกค้า
(4) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ลูกค้า โดยต้องไม่ทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ 13 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามข้อ 11 แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวันทําการก่อนการใช้บริการ หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
ข้อ 14 ในกรณีที่การแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่า ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการรายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
ข้อ 15 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้ให้บริการและการยกเลิกการใช้บริการต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในวันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่มีการแต่งตั้งผู้ให้บริการหรือยกเลิกการใช้บริการ แล้วแต่กรณี
ข้อ 16 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ
(2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 12
(3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา
(4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง
(5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ
ข้อ 17 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดูแลผู้ให้บริการ ให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ผู้ให้บริการปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4)
(2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11
ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการยกเลิกการใช้บริการโดยไม่ชักช้า
ข้อ 18 เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ และพนักงาน ของผู้ให้บริการอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงาน เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อผู้ให้บริการ หรือเพื่อบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระเบียบวิธีปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระเบียบปฏิบัติดังกล่าวอย่างน้อยต้องเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเป็นแนวทางปฏิบัติที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป
ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว มีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาอื่น ระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน แจ้งให้ผู้ให้บริการทราบถึงการมีบัญชีรวมทั้งข้อมูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของตนเอง รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลที่ได้รับให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการทราบตามหลักเกณฑ์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนด
ข้อ 19 ให้นําความในข้อ 8 และข้อ 9 มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า โดยอนุโลม
ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ หรือผู้ให้บริการขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11 หรือกระทํากิจการนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12 สํานักงานอาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการได้
**หมวด 3**
**การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา**
ข้อ 21 ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ลงทุน หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการทําการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุน ให้ผู้ค้าสัญญาแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการมอบหมาย
**หมวด 4[2](#fn2)**
**การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุน**
**สัญญาซื้อขายล่วงหน้า**
ข้อ 22 ในหมวดนี้
“ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย
“ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต
(4) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย
(5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของสาขาในประเทศไทย ในกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
**ส่วนที่ 1**
**การตั้งตัวแทนการตลาด**
ข้อ 23 บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2
ข้อ 24 ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายงานการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาดต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในวันทําการที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการตั้งหรือยกเลิกการตั้งนั้น
**ส่วนที่ 2**
**การให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาด**
ข้อ 25 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาด ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นสถาบันการเงิน หรือเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนการตลาดอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท
(2) มีหรือจะมีระบบการรับลูกค้าและระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้าที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) มีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด ซึ่งเป็นบุคคลที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้วางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(4) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาด
(5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการปฏิบัติงานใด ๆที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ
(ข) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(ค) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(ง) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ความรู้ความสามารถและความชํานาญ ไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังตามมาตรฐานที่พึงจะกระทํา
ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานจะพิจารณาประวัติการถูกเพิกถอนตามวรรคหนึ่ง (5)(ก) และการมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5)(ข) ถึง (ง) ภายในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลังก่อนวันที่ยื่นคําขอ
ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานอาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นนั้นได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่ง (5) ในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเป็นตัวแทนการตลาด
ข้อ 26 การยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ 27 สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ข้อ 28 ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประสงค์จะตั้งนิติบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นตัวแทนการตลาด ให้ถือว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) นิติบุคคลที่สามารถประกอบการเป็นตัวแทนการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะตั้งนิติบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนการตลาดในประเทศนั้น
**ส่วนที่ 3**
**มาตรฐานการให้บริการของตัวแทนการตลาด**
ข้อ 29 ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาดที่แสดงว่าจะมีความพร้อมเกี่ยวกับระบบงานและบุคลากรภายหลังได้รับความเห็นชอบ ก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะเริ่มให้บริการเป็นตัวแทนการตลาด บุคคลดังกล่าวต้องขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นว่ามีความพร้อมของระบบงานและบุคลากรแล้ว
ข้อ 30 ตัวแทนการตลาดต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงและเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ
(2) มีหนังสือแจ้งการตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีมติตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ
(3) แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบตามข้อ 25 วรรคหนึ่ง (2) หรือข้อ 29 แล้วแต่กรณี
ข้อ 31 ตัวแทนการตลาดต้องดูแลให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม
ข้อ 32 เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพและเป็นธรรม ตัวแทนการตลาดต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(3) ได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนส่งรายชื่อของลูกค้าให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด
ข้อ 33 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนการตลาดต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้
(1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน
(2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้า
(3) รับมอบหรือจ่ายทรัพย์สินของลูกค้า
**ส่วนที่ 4**
**มาตรการบังคับตัวแทนการตลาด**
ข้อ 34 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนการตลาดรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งระงับการเป็นตัวแทนการตลาด หรือสั่งระงับการให้ความเห็นชอบตามข้อ 28 เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด
(2) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (2) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก”
**หมวด 5**
**บทเฉพาะกาล**
ข้อ 36 ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนเองอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย
ข้อ 37 ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย
ข้อ 38 ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนการตลาดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ:
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 02/10/2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29/10/2556 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 147ง หน้า 33
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 47/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10/07/2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20/07/2558เล่ม 132 ตอนพิเศษ 167ง หน้า 22
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11/04/2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13/05/2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 110ง หน้า 24
---
1.
2. | 11,485 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 29/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ
ในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาด
ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 29/2556
###
#### เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 42 /2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า
(1) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ค้าสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของผู้ประกอบธุรกิจ
“ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย
“โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) หรือแพลทินัม
“ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ให้บริการ
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. 2546
ข้อ 3 ในการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการหรือตัวแทนการตลาด ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา ให้เป็นไปตามหมวด 3
(4) การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เป็นไปตามหมวด 4
หมวด 1
การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา
ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนได้ ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น
(ข) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นด้วย
(2) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแทนซื้อขายสัญญาในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นด้วย
(3) มีความมั่นคงทางด้านการเงินรวมทั้งความสามารถและความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานกําหนดและระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีมาตรการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน
(4) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า
ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามหมวดนี้ ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตในการทําหน้าที่ของผู้ให้บริการ
(2) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ให้บริการที่จะแต่งตั้งมีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4
สํานักงานจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องตรวจสอบระบบหรือพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและสํานักงานได้แจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้ทราบก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันแล้ว สํานักงานอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาคําขอออกไปเท่าเหตุจําเป็นที่มีได้
ข้อ 6 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงความรับผิดต่อบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา แล้วแต่กรณี และความรับผิดชอบต่อลูกค้าของตนเอง อันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ
(2) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ
(3) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ
ข้อ 7 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีแผนงานหรือมาตรการรองรับในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาระหว่างกัน หรือผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการต่อไปได้
ข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับลูกค้า เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขายและรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ไว้ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันโดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงานและผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 9 ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการได้
ข้อ 10 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานในภายหลังว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือผู้ให้บริการไม่มีลักษณะหรือขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการได้
หมวด 2
การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า
ข้อ 11 ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญา โดยจํากัดเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี และเป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ชมรมผู้ค้าปลีกทองคําแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย หรือหน่วยงานอื่นใดที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป
(2) กรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย
(4) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว
(5) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งครอบคลุมระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากรและระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
(6) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า
ข้อ 12 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้เท่านั้น
(1) การรับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาอนุมัติ
(2) การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า
(3) การรับคําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าเพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํารายการให้แก่ลูกค้า
(4) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ลูกค้า โดยต้องไม่ทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ 13 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามข้อ 11แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวันทําการก่อนการใช้บริการ หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
ข้อ 14 ในกรณีที่การแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่า ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการรายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
ข้อ 15 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้ให้บริการและการยกเลิกการใช้บริการต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในวันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่มีการแต่งตั้งผู้ให้บริการหรือยกเลิกการใช้บริการ แล้วแต่กรณี
ข้อ 16 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ
(2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 12
(3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา
(4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง
(5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ
(6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ
ข้อ 17 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดูแลผู้ให้บริการ ให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ผู้ให้บริการปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4)
(2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11
ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการยกเลิกการใช้บริการโดยไม่ชักช้า
ข้อ 18 เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ และพนักงาน ของผู้ให้บริการอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงาน เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อผู้ให้บริการ หรือเพื่อบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระเบียบวิธีปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระเบียบปฏิบัติดังกล่าวอย่างน้อยต้องเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเป็นแนวทางปฏิบัติที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป
ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว มีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาอื่น ระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน แจ้งให้ผู้ให้บริการทราบถึงการมีบัญชีรวมทั้งข้อมูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของตนเอง รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลที่ได้รับให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการทราบตามหลักเกณฑ์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนด
ข้อ 19 ให้นําความในข้อ 8 และข้อ 9 มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า โดยอนุโลม
ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ หรือผู้ให้บริการขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11หรือกระทํากิจการนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12 สํานักงานอาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการได้
หมวด 3
การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา
ข้อ 21 ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ลงทุน หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการทําการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุน ให้ผู้ค้าสัญญาแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการมอบหมาย
หมวด 4
การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ส่วนที่ 1
การแต่งตั้งตัวแทนการตลาด
ข้อ 22 บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งตัวแทนการตลาดที่ทําหน้าที่เฉพาะในต่างประเทศ ต้องเป็นการแต่งตั้งนิติบุคคลที่สามารถประกอบการเป็นตัวแทนการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และให้ถือว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาดแล้ว
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ต้องเป็นการแต่งตั้งผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2
ข้อ 23 ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายงานการแต่งตั้งและยกเลิกการแต่งตั้งตัวแทนการตลาดต่อสํานักงาน โดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ส่วนที่ 2
การให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาด
ข้อ 24 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาด ต้องเป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต
(4) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย
(5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ
(6) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท
ข้อ 25 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบตามข้อ 24 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ระบบการรับลูกค้า
(ข) ระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้า
(ค) ระบบการรับเงินทุนที่ลูกค้ามอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการเงินทุน
(ง) ระบบการรับเรื่องร้องเรียน
(2) มีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีพนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าเป็นผู้วิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนําการลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน
(3) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาด
ข้อ 26 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบตามข้อ 24 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ
(2) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(3) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(4) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงวิธีการทําธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ
(5) ถูกสํานักงานเพิกถอนจากการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ
ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานจะพิจารณาประวัติการมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (2) ถึง (5) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ
สํานักงานอาจไม่นําลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งมาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบได้ หากปรากฏว่าผู้ขอความเห็นชอบได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่งในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาด
ข้อ 27 ในกรณีที่ผู้ที่จะเป็นตัวแทนการตลาดเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี ในการพิจารณาคุณสมบัติตามข้อ 25 และลักษณะต้องห้ามตามข้อ 26 ให้พิจารณาเฉพาะที่สาขาดังกล่าวนั้นเอง
ข้อ 28 ให้ผู้ที่ประสงค์จะยื่นขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด จัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ 29 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบผู้ใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย
สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ที่ยื่นขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากผู้ที่ยื่นขอความเห็นชอบมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบอีกต่อไป
ข้อ 30 ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดแล้ว ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นชอบแล้ว
(2) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าโดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ
(3) มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ
ความในวรรคหนึ่ง (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมตามข้อ 25(1) และ (2) อยู่แล้วในขณะที่ยื่นคําขอให้สํานักงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ
การเปลี่ยนแปลงระบบงานตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ตัวแทนการตลาดแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนดําเนินการ ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบไปแล้ว
ส่วนที่ 3
มาตรฐานการทําหน้าที่ของตัวแทนการตลาด
ข้อ 31 ตัวแทนการตลาดต้องดูแลให้พนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน
ข้อ 32 เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ตัวแทนการตลาดต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) กรณีที่รับมอบทรัพย์สินที่ลูกค้ามอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการ ต้องมอบหลักฐานการรับมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้ลูกค้าด้วย
(3) ปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
(4) จัดทํารายงาน ชี้แจง หรือจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่สํานักงานโดยไม่ชักช้า
ข้อ 33 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนการตลาดต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้
(1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน
(2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้านอกเหนือจากที่ลูกค้ามีหน้าที่ต้องชําระต่อผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนที่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น
ข้อ 34 ตัวแทนการตลาดต้องดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้
(1) รับข้อร้องเรียนของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนการตลาดหรือพนักงานของตนเอง และหากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ต้องบันทึกการร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ลูกค้าลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนการตลาดจะดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
(2) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว
(3) แจ้งข้อร้องเรียนให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
(4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ตัวแทนการตลาดต้องแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบหรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น
(5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น
ส่วนที่ 4
มาตรการบังคับตัวแทนการตลาด
ข้อ 35 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนการตลาดรายใดขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์
(2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด
(3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (3) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก
หมวด 5
บทเฉพาะกาล
ข้อ 36 ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนเองอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย
ข้อ 37 ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย
ข้อ 38 ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนการตลาดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,486 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 47/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ. 47/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ
ในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาด
ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 42/2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็น
ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สํานักงาน
ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคมพ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบผู้ใด
สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,487 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
| ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
========================================================
ที่ สธ. 14/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ
ในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาด
ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 42/2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหมวด 4 การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 22 ถึงข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ
ในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมวด 4
การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุน
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ 22 ในหมวดนี้
“ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย
“ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต
(4) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย
(5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
“ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของสาขาในประเทศไทย ในกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศแล้วแต่กรณี
ส่วนที่ 1
การตั้งตัวแทนการตลาด
ข้อ 23 บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2
ข้อ 24 ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายงานการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาดต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในวันทําการที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการตั้งหรือยกเลิกการตั้งนั้น
ส่วนที่ 2
การให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาด
ข้อ 25 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาด ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นสถาบันการเงิน หรือเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนการตลาดอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท
(2) มีหรือจะมีระบบการรับลูกค้าและระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้าที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) มีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด ซึ่งเป็นบุคคลที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้วางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
(4) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาด
(5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการปฏิบัติงานใด ๆ
ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ
(ข) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(ค) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(ง) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ความรู้ความสามารถ
และความชํานาญ ไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังตามมาตรฐานที่พึงจะกระทํา
ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานจะพิจารณาประวัติการถูกเพิกถอนตามวรรคหนึ่ง (5)(ก) และการมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5)(ข) ถึง (ง)ภายในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลังก่อนวันที่ยื่นคําขอ
ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานอาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นนั้นได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่ง (5) ในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเป็นตัวแทนการตลาด
ข้อ 26 การยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ 27 สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดภายใน60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ข้อ 28 ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประสงค์จะตั้งนิติบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นตัวแทนการตลาด ให้ถือว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) นิติบุคคลที่สามารถประกอบการเป็นตัวแทนการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะตั้งนิติบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนการตลาดในประเทศนั้น
ส่วนที่ 3
มาตรฐานการให้บริการของตัวแทนการตลาด
ข้อ 29 ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาดที่แสดงว่าจะมีความพร้อมเกี่ยวกับระบบงานและบุคลากรภายหลังได้รับความเห็นชอบ ก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะเริ่มให้บริการเป็นตัวแทนการตลาด บุคคลดังกล่าวต้องขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นว่ามีความพร้อมของระบบงานและบุคลากรแล้ว
ข้อ 30 ตัวแทนการตลาดต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงและเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ
(2) มีหนังสือแจ้งการตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายใน15 วันนับแต่วันที่มีมติตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ
(3) แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบตามข้อ 25 วรรคหนึ่ง (2) หรือข้อ 29 แล้วแต่กรณี
ข้อ 31 ตัวแทนการตลาดต้องดูแลให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม
ข้อ 32 เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพและเป็นธรรม ตัวแทนการตลาดต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ
(2) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(3) ได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนส่งรายชื่อของลูกค้าให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด
ข้อ 33 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนการตลาดต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้
(1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน
(2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้า
(3) รับมอบหรือจ่ายทรัพย์สินของลูกค้า
ส่วนที่ 4
มาตรการบังคับตัวแทนการตลาด
ข้อ 34 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนการตลาดรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งระงับการเป็นตัวแทนการตลาด หรือสั่งระงับการให้ความเห็นชอบตามข้อ 28 เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด
(2) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (2) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,488 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับประมวล)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 10/2554
เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การยื่นคําขอและการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 2
(3) การตรวจสอบและขอรับหลักฐานการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 3
ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนกองทรัพย์สินไว้เป็นการเฉพาะ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด
“กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
“กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน”( หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
“กองทุนรวมคาร์บอน”( หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน
“เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
“เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอ
จดทะเบียนไว้กับสํานักงานเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
หมวด 1
การยื่นคําขอและการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 3 เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกเสร็จสิ้นแล้วให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายใน
สิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกนั้น โดยแสดงรายการดังต่อไปนี้
(1) จํานวนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุน เพื่อเป็นเงินทุนจดทะเบียนและเพื่อเป็นกองทุนรวม
(2) จํานวนเงินทุนโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินผลรวมของวงเงินที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมและร้อยละสิบห้าของวงเงินดังกล่าว
ความในวรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) กองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว
(2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(3) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อ 4 การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าโครงการจัดการกองทุนรวมมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีจํานวนผู้ซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําไม่น้อยกว่าที่กําหนดในประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งและเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนรวม
(2) ไม่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนดในประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการจัดสรรและการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลเดียวกัน
ข้อ 5( ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนรวมคาร์บอน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงาน (2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจากกองทุนรวมตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ 6 ให้สํานักงานรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม พร้อมทั้งออกหลักฐานการรับจดทะเบียนให้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ยื่นคําขอจดทะเบียน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) คําขอจดทะเบียนและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ แล้ว
ข้อ 7 ในกรณีที่จํานวนเงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมเป็นไปตามอัตราในข้อ 3(2) แต่สูงกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้ถือว่าเงินทุนโครงการดังกล่าวเป็นวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานแทนวงเงินเดิม
หมวด 2
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 8 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 และข้อ 11
(2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12
ข้อ 9 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนด
(1)( เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียน
เป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) โดยการกันหน่วยลงทุนบางส่วนที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
(2) เมื่อมีการลดเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ลดทุนแล้วเสร็จ
(3) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายใน
ห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง
ข้อ 10( การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน
(1) กรณีกองทุนรวมปิด
(ก) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน
(ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมปิดนั้น
(ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด
(ก)( ยกเลิก
(ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดนั้น
(ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมคาร์บอน ให้ยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานเท่านั้น
การคํานวณเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
ข้อ 11 การรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว และการออกหลักฐานการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
ในข้อ 6 โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมให้เป็นไปตาม
ข้อ 12
ข้อ 12 การเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้ถือว่าสํานักงานรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการ หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) คําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอมีความครบถ้วนตามที่สํานักงานกําหนด
(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมคําขอ (ถ้ามี) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น
แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ แล้ว
ในกรณีที่เงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งสูงกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้ถือว่าเงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนไว้นั้นเป็นวงเงินที่ได้รับอนุมัติแทนวงเงินเดิม
หมวด 3
การตรวจสอบและขอรับหลักฐานการจดทะเบียน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 13 ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือหลักฐานการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่จดทะเบียนไว้แล้ว สูญหายหรือถูกทําลายบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ
ข้อ 14 บุคคลใดที่ประสงค์จะขอตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่จดทะเบียนไว้ ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ
หมวด 4
วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 15 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,489 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 44/2555
เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับที่ 2)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 44/2555
เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” และคําว่า “เงินทุนจดทะเบียน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
““กองทุนรวมคาร์บอน” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคสองในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนรวมคาร์บอน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงาน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนด
(1) กรณีกองทุนรวมปิด
(ก) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมปิดนั้น
(ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง
(2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) เมื่อมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติม ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป
(ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดนั้น
(ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และส่งคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมคาร์บอนให้ยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานเท่านั้น
การคํานวณเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,490 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 10/2559
เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับที่ 3)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 10/2559เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,491 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 43/2561
เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับที่ 4)
| ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 43/2561เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) โดยการกันหน่วยลงทุนบางส่วนที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไป”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,492 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 10/2563
เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับที่ 5)
| - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทน. 10/2563
เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2555เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนรวมคาร์บอน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงาน (2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจากกองทุนรวมตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2555เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน
(1) กรณีกองทุนรวมปิด
(ก) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน
(ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมปิดนั้น
(ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด
(ก) เมื่อมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติม ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป
(ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดนั้น
(ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมคาร์บอน ให้ยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานเท่านั้น
การคํานวณเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
-----------------------ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้วเมื่อวันที่ 23/1/2563 CSDS เลขที่ 70/2562
ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS . | 11,493 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 474) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๗4)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๕7) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๕7) มูลนิธิคณะลูกหลานคุณย่าสีป่าคาเพื่อการศึกษาโรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,494 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 473) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๗๓)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๕๖) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๕๖) กองทุนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,495 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 472) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 47๒)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗55) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗55) มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,496 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 471) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 471)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗54) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( 754) มูลนิธิไทยพัฒนา”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,497 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 470) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๗0)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗53) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗53) มูลนิธิส่งเสริมพลเมืองดี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,498 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 469) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 469)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗52) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(752) มูลนิธิไทยรักษ์ป่า”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,499 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 468) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 468)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๕1) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๕1) มูลนิธิพระครูสังวรานุโยค (ช่อ ปญญาทีโปมหาเถระ)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,500 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 467) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๖7)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๕๐) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๕๐) มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร โรงพยาบาลตราด”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,501 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 466) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๖6)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔9 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(749 ) มูลนิธิสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
อื่นๆ ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทระสิทธิ์
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,502 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 465) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๖๕)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๘ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๔๘ ) มูลนิธิพูนพลัง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรป
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,503 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 464) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๖๔)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๒๑๕) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๒๑๕) มูลนิธิโรงพยาบาลขอนแก่น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2554
บุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,504 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 463) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๖๓)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๗) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๔๗) กองทุนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,505 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 462) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 462)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (746) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(746) มูลนิธิยุทธสาร ณ นคร เพื่อสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,506 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 460) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๖๐)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๔ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๔๔ ) มูลนิธิไทยซัมมิทพัฒนา”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,507 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 461) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๖๑)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๕ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๔๕ ) สมาคมแม่บ้านทหารบก”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,508 |
ประกาศแนวปฏิบัติ
ที่ นป. 2/2559
เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการกำหนดชื่อกองทุนรวมที่ระบุว่า
จะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ
เมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมาย
ที่กำหนด (trigger fund)
| -ร่าง-
ประกาศแนวปฏิบัติ
ที่ นป. 2/2559เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดชื่อกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (“ประกาศ ที่ ทน. 88/2558”) กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ลงทุนและประกอบธุรกิจบนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความระมัดระวัง โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนอย่างเต็มที่ นั้น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของบริษัทจัดการกองทุนรวม สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 38 ประกอบกับข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 แนวทางปฏิบัตินี้ให้ใช้สําหรับบริษัทจัดการกองทุนรวม
ข้อ 2 ในประกาศนี้ “กองทุนรวมทริกเกอร์” (trigger fund) หมายความว่า กองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ 3 โดยที่ข้อ 9 แห่งประกาศ ที่ ทน. 88/2558 กําหนดให้การกําหนดชื่อของกองทุนรวมต้องไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดในลักษณะ ประเภท ความเสี่ยง หรือผลตอบแทนของกองทุนรวม การกําหนดชื่อของกองทุนรวมทริกเกอร์โดยระบุเป็นอัตราร้อยละหรือจํานวนอื่นใดในลักษณะที่อาจสื่อได้ว่าเป็นมูลค่าหรือผลตอบแทนเป้าหมาย เช่น กองทุนเปิด ABC ทริกเกอร์ 8%
กองทุนเปิด ABC 3+3 เปอร์เซ็นต์ ทริกเกอร์ กองทุนเปิด ABC ทริกเกอร์ 3 พลัส 3 กองทุนเปิด ABC
ทริกเกอร์ 8 % ( 8% ไม่ใช่ผลตอบแทน) เป็นต้น จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกําหนดดังกล่าว เนื่องจาก อาจทําให้
ผู้ลงทุนเข้าใจผิดได้ว่า กองทุนรวมทริกเกอร์มีการรับประกันผลตอบแทนต่อผู้ลงทุน
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-----------------------ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้วเมื่อวันที่ 20/6/2559 .CSDS เลขที่ 3/2559ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS | 11,509 |
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 3/2559 เรื่อง แนวปฏิบัติในการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ | ประกาศแนวปฏิบัติที่ นป. 3/2559เรื่อง แนวปฏิบัติในการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (ประกาศที่ ทธ. 35/2556)และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 37/2559 เรื่องข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559(ประกาศที่ สธ. 37/2559) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีนโยบาย มาตรการ และระบบงานในการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยี และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศโดยต้องดําเนินการควบคุมดูแล ติดตาม และตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และระบบงานดังกล่าว ตลอดจนมีการทบทวนความเหมาะสมของเรื่องดังกล่าวเป็นประจํา นั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของผู้ประกอบธุรกิจ สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 12 วรรคหนึ่ง (11) และ (12) และข้อ 14 ของประกาศที่ทธ. 35/2556 จึงออกประกาศแนวปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 แนวปฏิบัตินี้เป็นแนวทางเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดให้มีนโยบาย มาตรการ และระบบงานเกี่ยวกับการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กรที่ดี และระบบงานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
(2) การควบคุมดูแล ติดตาม และตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และระบบงานตาม (1)
(3) การทบทวนความเหมาะสมของ (1)
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามแนวทางตามวรรคหนึ่งจนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามประกาศที่ ทธ. 35/2556 และประกาศที่ สธ. 37/2559 แล้วทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการต่างจากแนวปฏิบัตินี้ ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศที่ ทธ. 35/2556 ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประกาศที่ สธ. 37/2559
ข้อ 2 แนวทางปฏิบัติตามข้อ 1 วรรคหนึ่งมีรายละเอียดตามที่กําหนดในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศแนวปฏิบัตินี้ ทั้งนี้ รายละเอียดดังกล่าวได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้
(1) หมวดที่ 1 การกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กรที่ดี (governance of enterprise IT)
(2) หมวดที่ 2 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT security)โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)
2.2 การจัดโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (organization of information security) 2.3 การสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศด้านบุคลากร(human resource security)
2.4 การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ (asset management)
2.5 การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศ (access control)
2.6 การควบคุมการเข้ารหัสข้อมูล (cryptographic control)
2.7 การสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม(physical and environmental security)
2.8 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security)
2.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (communications security)
2.10 การจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศ (system acquisition, development and maintenance)
2.11 การใช้บริการระบบสารสนเทศจากผู้รับดําเนินการ (IT outsourcing)
2.12 การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security incident management) 2.13 การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security aspects of business continuity management)
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
**ภาคผนวก**
**บทนิยาม**
| “ทรัพย์สินสารสนเทศ” | หมายถึง | (1) ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทระบบ ซึ่งได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ (2) ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ ซึ่งได้แก่ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์อื่นใด (3) ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทข้อมูล ซึ่งได้แก่ ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์ |
| “ทรัพย์สินสารสนเทศที่มีความสําคัญ” | หมายถึง | ทรัพย์สินสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง หรือจําเป็นต้องใช้ประกอบกับงานที่มีความสําคัญ |
| “ระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญ” | หมายถึง | ระบบสารสนเทศที่รองรับการปฏิบัติงานที่สําคัญ เช่น ระบบซื้อขาย ระบบปฏิบัติการ back office และระบบจัดการลงทุน เป็นต้น |
| | | |
| “งานที่สําคัญ” | หมายถึง | งานที่เกี่ยวกับการให้บริการ การทําธุรกรรม หรืองานอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งหากมีการหยุดชะงัก อาจส่งผลกระทบต่อลูกค้า การดําเนินงาน ธุรกิจ ชื่อเสียง ฐานะ และผลการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ อย่างมีนัยสําคัญ |
| | | |
| “การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile device)” | หมายถึง | การปฏิบัติงานที่มีการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อเข้าถึงระบบ สารสนเทศที่มีความสําคัญโดยผ่านการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง |
| | | |
| “การปฏิบัติงานจากเครือข่ายภาย นอกบริษัท (teleworking)” | หมายถึง | การปฏิบัติงานที่มีการเข้าถึงระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญโดยไม่ผ่านการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง |
| | | |
| “cloud computing” | หมายถึง | รูปแบบการใช้งานระบบสารสนเทศร่วมกันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ ให้อ้างอิงจากนิยาม ที่กําหนดโดย National Institute of Standards and Technology (NIST) |
| | | |
| “ผู้รับดําเนินการ (outsourcee)” | หมายถึง | บุคคลจากภายนอกองค์กรซึ่งผู้ประกอบธุรกิจว่าจ้าง เพื่อให้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและต้องใช้ดุลพินิจ หรือการตัดสินใจในการปฏิบัติงานดังกล่าว แทนผู้ประกอบธุรกิจ |
| | | |
| “ผู้ใช้งาน” | หมายถึง | พนักงานของผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรภายนอก ที่มีการปฏิบัติงานโดยมีการเข้าถึงข้อมูลลับหรือ ระบบงานสําคัญภายในองค์กรโดยไม่รวมถึงลูกค้า |
| | | |
| “สิ่งอํานวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูล (information processing facility)” | หมายถึง | อุปกรณ์ ระบบงาน หรือสภาพแวดล้อม ที่จําเป็นหรือ มีส่วนช่วยให้การประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เช่น อุปกรณ์หรือโปรแกรมประมวลผลข้อมูล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนหรือสถานที่ประมวลผลข้อมูล เป็นต้น |
**หมวดที่ 1 : การกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กรที่ดี(governance of enterprise IT)**
| วัตถุประสงค์ โดยที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ และถือเป็นหนึ่งใน ระบบงานหลักที่หากเกิดขัดข้องขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ลงทุน และความเชื่อมั่นต่อตลาดทุนโดยรวมได้ ผู้บริหารระดับสูงจึงต้องมีบทบาทสําคัญในการบริหารจัดการ การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการประกอบธุรกิจ รวมถึงมีหน้าที่ในการส่งทอดเป้าหมายตาม ภารกิจ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนงานระดับองค์กรสู่เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าการนําเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว มาใช้ในการประกอบธุรกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามที่กําหนดไว้ โดยมีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับ การกํากับดูแลกิจการที่ดี (corporate governance) |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
.
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. นโยบายการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อกําหนด 5(1)ควรสอดคล้องกับนโยบายและการบริหารความเสี่ยงองค์กร (enterprise risk) และควรมีเนื้อหาขั้นต่ํา ดังนี้
(1) การระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT-related risk)
(2) การประเมินความเสี่ยง ซึ่งครอบคลุมถึงโอกาสหรือความถี่ที่จะเกิดความเสี่ยง และความมีนัยสําคัญหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อจัดลําดับความสําคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง
(3) การกําหนดเครื่องมือและมาตรการในการบริหารและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ (risk appetite)
(4) การกําหนดตัวชี้วัดระดับความเสี่ยง (IT risk indicator) สําหรับความเสี่ยงสําคัญที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ระบุตาม (1) รวมถึงจัดให้มีการติดตามและรายงานผลตัวชี้วัดดังกล่าว เพื่อให้สามารถบริหารและจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์
(5) การกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับผิดชอบ (accountable person) และผู้ทําหน้าที่(responsible person) การบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อกําหนด 5(1)
2. นโยบายการจัดสรรและบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อกําหนด 5(2) ควรสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์องค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามภารกิจ กลยุทธ์ นโยบายและแผนการดําเนินงานที่กําหนดไว้และควรมีเนื้อหาขั้นต่ํา ดังนี้
(1) การกําหนดหลักเกณฑ์และปัจจัยในการกําหนดลําดับความสําคัญของแผนงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (เช่น ความเหมาะสมสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษัท / ผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจ/ ความเร่งด่วนในการใช้งาน)
(2) การจัดทําและอนุมัติงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับแผนงบประมาณและแผนกลยุทธ์องค์กร
(3) การจัดให้มีทรัพยากรบุคคลอย่างเพียงพอต่องานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (เช่น การจัดให้มีหรือการพัฒนาทักษะของบุคลากร / การจัดจ้างบุคลากรด้าน IT จากภายนอก)
(4) การจัดการความเสี่ยงสําคัญในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้เพียงพอต่อการดําเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (เช่น กรณีบุคลากรสําคัญด้าน IT ลาออก / งบประมาณไม่เพียงพอ / ความต้องการใช้งานเกินกว่าที่กําหนดไว้ใน capacity plan)
(5) การกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับผิดชอบ (accountable person) และผู้ทําหน้าที่(responsible person) การจัดสรรและบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อกําหนด 5(2)
3. นโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามข้อกําหนด 5(3) ควรมีเนื้อหาขั้นต่ําตามที่กําหนดในหมวดที่ 2 ข้อ 1 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)
4. ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 6(2)
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
5. ในการปฏิบัติตามข้อกําหนด 6(4) ผู้ประกอบธุรกิจควรดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีขั้นตอนการจัดทํา การติดตาม และการควบคุมดูแลการจัดทํารายงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถจัดทํารายงานได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา
(2) กําหนดให้จัดทํารายงานที่มีเนื้อหาครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ ตามรอบระยะเวลาที่เหมาะสม
(ก) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยง หรือการจัดสรรและบริหารทรัพยากรด้าน IT เช่น สรุปผลการบริหารจัดการด้านความเสี่ยง / การจัดสรรทรัพยากร IT ในรอบปี เป็นต้น
(ข) ความคืบหน้าของงานโครงการ (ถ้ามี)
(ค) การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อตกลงที่จัดทํากับบุคคลภายนอกและภายในบริษัทเช่น การจัดส่ง incident report ต่อสํานักงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบ IT / การติดตามให้ผู้ให้บริการดําเนินการตามข้อตกลงที่กําหนดไว้ใน service level agreement
(ง) ความมีประสิทธิภาพของการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น การติดตามระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่ลดลงภายหลังการนําเทคโนโลยีมาปรับปรุงกระบวนการทํางาน และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน
(จ) ประเด็นปัญหาและอุปสรรค
6. ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 6(4)
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
7. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 6(5) ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการติดตาม ประเมิน และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของระบบควบคุมภายใน ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพของขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ทําหน้าที่บริหารและจัดการในเรื่องดังต่อไปนี้ โดยผู้ตรวจสอบที่เป็นอิสระจากหน่วยงานดังกล่าว
(ก) การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายในข้อกําหนด 5(1) (2) และ (3)
(ข) การรายงานการปฏิบัติงานในข้อกําหนด 6(4)
(2) จัดให้มีการประเมินตนเองในด้านประสิทธิภาพของขั้นตอนการปฏิบัติงาน (control self-assessment : CSA)
(3) จัดให้ผู้ตรวจสอบที่เป็นอิสระเป็นผู้ประมวลและรายงานผลที่ได้จากการดําเนินการตาม (1) และ (2)พร้อมทั้งรายงานข้อบกพร่องที่ตรวจพบและผลการปรับปรุงแก้ไขให้คณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการตรวจสอบและผู้บริหารระดับสูงทราบตามรอบการประเมินและตามรอบการติดตามการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง หรือโดยไม่ชักช้าเมื่อพบข้อบกพร่องที่มีนัยสําคัญ
**หมวดที่ 2 : การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT security)**
**1. แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)**
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. นโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามข้อกําหนดในหมวดที่ 1ข้อ 5(3) ควรมีเนื้อหาขั้นต่ําครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
1. การรักษาความปลอดภัยต่อทรัพย์สินสารสนเทศ
- การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศ (access control) [อ้างอิงจากข้อ 5]
- การสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม (physical and environmental security) [อ้างอิงจากข้อ 7]
1. การจัดการข้อมูลสารสนเทศและการรักษาความลับ
- การจําแนกประเภททรัพย์สินสารสนเทศ (asset classification) เพื่อกําหนดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย [อ้างอิงจากข้อ 4.2]
- การสํารองข้อมูล (backup) [อ้างอิงจากข้อ 8.3]
- การควบคุมการเข้ารหัสข้อมูล (cryptographic control) [อ้างอิงจากข้อ 6]
1. การควบคุมดูแลบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
- การควบคุมการใช้งานของผู้ใช้งาน (end user) เช่น
- มาตรการป้องกันทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ระหว่างที่ไม่มีผู้ใช้งาน (protection of unattended user equipment) [อ้างอิงจากข้อ 7.2 แนวทางปฏิบัติข้อ 6]
- การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่และการปฏิบัติงานจากเครือข่ายภายนอกบริษัท (mobile deviceand teleworking) [อ้างอิงจากข้อ 2.2]
- การควบคุมการติดตั้งซอฟต์แวร์บนระบบงาน (installation of software on operational systems) [อ้างอิงจากข้อ 8.5]
- การควบคุมดูแลผู้รับดําเนินการด้านระบบสารสนเทศ (IT outsourcing) [อ้างอิงจากข้อ 11]
1. การจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการรับส่งข้อมูลสารสนเทศ
- การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (communications security) [อ้างอิงจากข้อ 9]
- การควบคุมการรับส่งข้อมูลสารสนเทศ (information transfer) [อ้างอิงจากข้อ 9.2]
1. การป้องกันภัยคุกคามต่อระบบสารสนเทศ
- การป้องกันภัยคุกคามจากโปรแกรมไม่ประสงค์ดี (protection from malware) [อ้างอิงจากข้อ 8.2]
- การบริหารจัดการช่องโหว่ทางเทคนิค (technical vulnerability management) [อ้างอิงจากข้อ 8.6]
1. การจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศ (system acquisition, development and maintenance) [อ้างอิงจากข้อ 10]
**2. การจัดโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (organization of information security)**
**2.1 การจัดโครงสร้างภายในองค์กร (internal organization)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อกําหนดมาตรการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศสําหรับส่วนงานต่าง ๆ ภายในองค์กร ให้เป็นไปตามนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ ระบบสารสนเทศ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 10(1) และ (2)
1. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 10(2) ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศอย่างชัดเจน เพื่อให้มีการสอบทานการปฏิบัติงานระหว่างกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การแบ่งแยกบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการพัฒนาระบบงาน (developer) ออกจากบุคลากรที่ทําหน้าที่บริหารระบบ (system administrator)ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในส่วนระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานจริง (production environment) ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบเนื่องจากข้อจํากัดทางด้านขนาดของการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีกระบวนการติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและสม่ําเสมอเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
**2.2 การปฏิบัติงานที่มีการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile device) เพื่อเข้าถึงระบบสารสนเทศภายในองค์กรและการปฏิบัติงานจากเครือข่ายภายนอกบริษัท (teleworking)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อกําหนดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสําหรับการปฏิบัติงานจากเครือข่ายภายนอกบริษัท รวมทั้งการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อเข้าถึงระบบงานภายในองค์กร |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ในการปฏิบัติงานที่มีการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อเข้าถึงระบบงานภายในองค์กร (ไม่รวมถึงระบบ mail service) ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีมาตรการป้องกันข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญตามข้อกําหนด 9(1)โดยพิจารณาถึงแนวทางดังต่อไปนี้
2. กําหนดให้มีการลงทะเบียนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น ยี่ห้อ รุ่น ระบบปฏิบัติการ รหัสประจําเครื่อง (serial number) และหมายเลขอ้างอิงอุปกรณ์เครือข่าย (MAC address) เป็นต้น ก่อนการใช้งานรวมถึงจัดให้มีการทบทวนทะเบียนดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและเมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์พร้อมทั้งยกเลิกสิทธิการใช้งานของอุปกรณ์เดิม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวมีความสอดคล้องเป็นไปตามนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจใช้ระบบเทคโนโลยีการลงทะเบียนอื่นทดแทนได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสม
3. มีมาตรการป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ (sensitive data) กรณีที่อุปกรณ์เคลื่อนที่สูญหาย เช่น การกําหนดให้ใส่รหัสผ่านก่อนใช้งานอุปกรณ์ (lock screen) หรือการลบข้อมูลจากระยะไกล (remote wipe-out) เป็นต้น
4. กําหนดประเภทบริการการใช้งาน (application service) ที่อนุญาตให้ใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่และกําหนดมาตรการควบคุมการเข้าถึงบริการการใช้งานดังกล่าวโดยคํานึงถึงความปลอดภัยของการเชื่อมต่อกับเครือข่าย เช่น จํากัดให้เข้าถึงบริการการใช้งานบางประเภทหากเป็นการเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอก เป็นต้น
5. จัดให้มีการเข้ารหัสข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญทั้งที่จัดเก็บในอุปกรณ์เคลื่อนที่และที่รับส่งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
6. จัดให้มีการสื่อสารให้ผู้ใช้งานพร้อมทั้งลงนามรับทราบ เพื่อสร้างความตระหนักและทราบถึงความเสี่ยงจากการใช้งาน และแนวทางการควบคุมความเสี่ยงดังกล่าว
7. ควบคุมให้มีการติดตั้งเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ และโปรแกรมเพื่อปิดช่องโหว่ (patches) ที่เหมาะสม และกําหนดมาตรการป้องกันโปรแกรมไม่ประสงค์ดี (malware)
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการบุกรุกหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลที่เป็นความลับและมีความสําคัญที่จัดเก็บในอุปกรณ์เคลื่อนที่
1. จัดให้มีการดําเนินการเพื่อลดผลกระทบเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ เช่น ตัดการเชื่อมต่อโดยทันทีที่ทราบเหตุ เป็นต้น
ทั้งนี้ หากอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นทรัพย์สินของพนักงาน ผู้ประกอบธุรกิจควรพิจารณาแนวทางในข้อ (1) - (5) เป็นขั้นต่ํา พร้อมทั้งจัดให้มีมาตรการควบคุมที่เทียบเคียงหรือทดแทนแนวทางในข้อ (6) - (7) ได้ เช่น กําหนดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสม่ําเสมอ กําหนดบทลงโทษหรือตัดสิทธิการใช้งาน application service ในกรณีที่พนักงานละเมิดข้อกําหนด เป็นต้น
1. ในกรณีที่มีการปฏิบัติงานจากเครือข่ายภายนอกบริษัท (teleworking) ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่รัดกุมเพียงพอสําหรับข้อมูลสารสนเทศที่ถูกเข้าถึง ประมวลผลและจัดเก็บในพื้นที่ปฏิบัติงาน ตามข้อกําหนด 9(1) โดยพิจารณาถึง
2. การกําหนดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพที่เหมาะสม รัดกุมเพียงพอ กับขอบเขตการปฏิบัติงาน สําหรับพื้นที่ปฏิบัติงานนอกองค์กร
3. การควบคุมสิทธิการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของผู้ใช้งานอย่างเหมาะสม
4. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบงานภายในองค์กรที่สําคัญและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กรณีมีการเชื่อมต่อหรือรับส่งข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญจากระยะไกล (remote access) เช่น การติดตั้ง firewall การ update โปรแกรมป้องกัน malware การกําหนดสิทธิการเข้าถึงและการเข้ารหัสข้อมูล (data encryption) หรือเข้ารหัสระบบเครือข่าย (network encryption) เป็นต้น
5. การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสารสนเทศในกรณีใช้เทคโนโลยี virtual desktop
6. การป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิในการใช้งาน เช่น ญาติพี่น้องและเพื่อน เป็นต้น
7. การตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงของพนักงานที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานจากภายนอกบริษัท
8. การป้องกันโปรแกรมไม่ประสงค์ดี
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
3. ในกรณีที่ใช้บริการ cloud computing กับระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการใช้งาน โดยขั้นต่ําควรมีรายละเอียด ดังนี้
3.1 กําหนดนโยบายการใช้งาน cloud computing ตามข้อกําหนด 8(1) โดยอย่างน้อยมีเนื้อหา ดังนี้
1. ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้บริการ
2. กําหนดประเภทงานที่จะใช้บริการ
3. กําหนดรูปแบบของการใช้บริการ เช่น software as a service (saas), platform as a service (paas) และ infrastructure as a service (iaas)
4. กําหนดวิธีการคัดเลือกและประเมินผู้ให้บริการ (due diligence) โดยควรให้ความสําคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญ (confidentiality) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability)
5. กําหนดการทบทวนคุณสมบัติของผู้ให้บริการอย่างสม่ําเสมอ เช่น ฐานะทางการเงิน ความเพียงพอของการให้บริการ (capacity planning) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการยังคงมีความพร้อมในการให้บริการที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
6. จัดให้มีการเผยแพร่นโยบายเกี่ยวกับการใช้บริการ และสื่อสารให้พนักงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งลงนามรับทราบ เพื่อให้ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยจากการใช้บริการ cloud computing
7. กําหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการอย่างชัดเจน เช่น การสํารองข้อมูล
การรับเรื่องแก้ไขปัญหา ขั้นตอนและกระบวนการแก้ไขปัญหา รายชื่อและช่องทางสําหรับติดต่อ เป็นต้น
1. กําหนดความปลอดภัยของข้อมูลแต่ละประเภทที่จะใช้ใน cloud โดยแบ่งชั้นความลับของข้อมูล และกําหนดวิธีปฏิบัติแต่ละระดับชั้นความลับของข้อมูล
2. กําหนดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมตามการใช้งานแต่ละประเภท เพื่อป้องกันภัยคุกคามและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. กําหนดใช้วิธีพิสูจน์ตัวตนแบบ multi-factor authentication[1](#fn1) สําหรับการเข้าถึงหน้าผู้บริหารระบบ (administrator page) สําหรับระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญ
4. กําหนดให้มีการตรวจสอบบันทึกหลักฐานต่าง ๆ และติดตามปัญหาที่อาจส่งผลต่อการใช้บริการ
3.2 กําหนดข้อตกลงระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการตามข้อกําหนด 9(2)(ก) โดยมีลักษณะดังนี้
1. ผู้ใช้บริการถือเป็นเจ้าของข้อมูลสารสนเทศ
2. กําหนดประเภทบริการที่จะใช้ cloud computing
3. กําหนดมาตรฐานความปลอดภัยด้านเครือข่าย เช่น การเข้ารหัสข้อมูลที่รับส่งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การป้องกันการโจมตีในลักษณะ DDoS (distributed denial of service) การป้องกันการบุกรุกจากโปรแกรมไม่ประสงค์ดี การป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ (advanced persistent threat) การแบ่งแยกเครือข่าย การเข้ารหัสระหว่างแอพพลิเคชั่น (application) การป้องกันการบุกรุกแบบลําดับชั้น (defense-in-depth) และการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศ (hardening) เป็นต้น
4. ระบุข้อตกลงในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เช่น วิธีการเข้าใช้งานระบบ วิธีการกําหนดสิทธิการใช้งาน การติดตามการแก้ปัญหา การรายงานข้อผิดพลาด ประสิทธิภาพ และสภาพโดยรวมของระบบ อย่างชัดเจน
5. กําหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการในด้านการสํารองข้อมูล กระบวนการ แก้ไขปัญหา ระดับการให้บริการ (service level agreement) ระยะเวลาในการกลับคืนสู่สภาพ การดําเนินงานปกติของระบบสารสนเทศ (recovery time objectives : RTO) และกําหนดเป้าหมายในการกู้คืนข้อมูล เช่น กําหนดประเภทของข้อมูล และชุดข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืนได้ (recovery point objective : RPO) อย่างชัดเจน
6. กําหนดเงื่อนไขความรับผิดชอบในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการตามที่กําหนดในข้อตกลง
7. กําหนดให้เนื้อหาหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงมีการระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ให้บริการ
8. ผู้ให้บริการไม่ควรมีสิทธิเข้าถึงและเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้บริการ เว้นแต่จะแจ้งและได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ หรือแจ้งให้ทราบหากเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ผู้ให้บริการไปตั้งศูนย์ข้อมูล (cloud server hosting country) หรือเป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศผู้ให้บริการ (origin country)
9. ผู้ให้บริการควรปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการรับรองความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศในระดับสากล[2](#fn2) ฉบับปัจจุบันโดยไม่ชักช้า หากมาตรฐานดังกล่าวได้ถูกปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน (update)
10. ผู้ประกอบธุรกิจควรมีมาตรการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการจัดให้มีการตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จากผู้ตรวจสอบอิสระ
11. มีข้อกําหนดเมื่อสิ้นสุดการใช้บริการ (exit plan) เช่น กําหนดระยะเวลารักษาข้อมูลและวิธีการทําลายข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าไม่สามารถกู้คืนข้อมูลกลับมาได้
12. มีข้อกําหนดในการใช้บริการ cloud computing ต่อจากผู้ให้บริการรายอื่น (subcontract) อย่างชัดเจน โดยอย่างน้อยควรมีเงื่อนไขกําหนดให้บริการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการควรรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทําหรือการดําเนินการใด ๆ ของผู้ให้บริการรายอื่น
3.3 ในการติดตาม ประเมิน และทบทวนการให้บริการของผู้ให้บริการให้เป็นไปตามข้อกําหนด 9(2)(ค) ผู้ประกอบธุรกิจควรดําเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
1. ติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพของการให้บริการ รวมทั้งมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยให้สอดคล้องกับข้อกําหนดตามสัญญาต่าง ๆ หรือข้อตกลงในการให้บริการ
2. ประเมินความเพียงพอของระบบงานของผู้ให้บริการ (capacity planning) อย่างสม่ําเสมอ
3. ทบทวนเงื่อนไขการบริการในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการให้บริการยังคงสอดคล้องกับการใช้งานและนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ
4. ทบทวนคุณสมบัติของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจสอบความมั่นคงในฐานะทางการเงิน กระบวนการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เป็นต้น
**3. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศด้านบุคลากร (human resource security)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้พนักงานและบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานโดยมีการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบงานภายในองค์กร มีความตระหนักรู้ และปฏิบัติงานโดยคํานึงถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ตัวอย่างการใช้งานระบบสารสนเทศในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประกอบธุรกิจ ตลาดทุนโดยรวม หรือความมั่นคงของประเทศ ตามข้อกําหนด 13(2) เช่น การหมิ่นประมาท การข่มขู่ การปลอมแปลงเป็นบุคคลอื่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ และการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของผู้ประกอบธุรกิจ เป็นต้น
**4. การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ (asset management)**
**4.1 หน้าที่ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินสารสนเทศ (responsibility for assets)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทรัพย์สินสารสนเทศที่มีความสําคัญได้รับการป้องกันอย่างเหมาะสม ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มี การระบุและกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของทรัพย์สินสารสนเทศ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
- ไม่มีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม -
**4.2 การจําแนกประเภททรัพย์สินสารสนเทศ (asset classification) และการจัดการสื่อบันทึกข้อมูล (media handling)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทรัพย์สินสารสนเทศที่มีความสําคัญได้รับการปกป้องในระดับที่เหมาะสม และเพื่อป้องกัน การเปิดเผย เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือสร้างความเสียหายในกรณีที่เป็นข้อมูลสารสนเทศสําคัญซึ่งถูกจัดเก็บในสื่อบันทึกข้อมูล |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่สอดคล้องเหมาะสมกับทรัพย์สินสารสนเทศแต่ละประเภทที่ได้จําแนกไว้ เช่น การควบคุมการเข้าถึง การจัดให้มีการเข้ารหัสข้อมูลที่เป็นความลับหรือต้องการความถูกต้องในระดับสูง เป็นต้น
1. ในการบริหารจัดการสื่อบันทึกข้อมูลเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนด 17 ผู้ประกอบธุรกิจควรดําเนินการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
2. จัดให้มีกระบวนการทําลายข้อมูลเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลและไม่ให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้ในกรณีที่ไม่มีความจําเป็นต้องใช้ข้อมูล
3. จัดให้มีกระบวนการทําลายสื่อบันทึกข้อมูลเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ
4. คํานึงถึงความเสี่ยงที่สื่อบันทึกข้อมูลอาจเสื่อมสภาพ รวมทั้งวิธีการนําข้อมูลกลับมาใช้งานใหม่ในกรณีที่จัดเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลานาน
5. จัดเก็บสื่อบันทึกข้อมูลในพื้นที่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และเป็นไปตามคําแนะนําของผู้ผลิต (ถ้ามี)
6. จัดให้มีกระบวนการดูแลรักษาความปลอดภัยกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายสื่อบันทึกข้อมูลออกจากพื้นที่ทําการ
**5. การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศ (access control)**
**5.1 การควบคุมการเข้าถึงตามข้อกําหนดทางธุรกิจ (business requirements of access control)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและสิ่งอํานวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูล (information processing facilities) |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดทํานโยบายตามข้อกําหนด 8(4) เป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีเนื้อหาขั้นต่ําครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งจัดให้มีการทบทวนนโยบายดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ
2. การกําหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับการใช้งานและหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน รวมทั้งมีการทบทวนสิทธิการเข้าถึงอย่างสม่ําเสมอ และยกเลิกสิทธิ ของบุคคลที่ไม่มีความจําเป็นในการเข้าถึงโดยทันที
3. การแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคคลผู้ร้องขอ (access request) บุคคลผู้มีอํานาจอนุมัติ (access authorization) และบุคคลผู้บริหารสิทธิการเข้าถึง (access administration) เป็นต้น
4. รายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นต่ําควรครอบคลุมถึงการระบุประเภทหรือบริการทางเครือข่าย (network services) และบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึง กระบวนการควบคุมและป้องกันการเข้าถึง วิธีการเข้าถึงแบบปลอดภัย เทคนิคการระบุตัวตนและการติดตามการใช้งานของบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึง
5. การมีระบบที่ระบุผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้หมายเลขประจําเครื่องแบบพลวัต (dynamic IP address) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีข้อมูลที่สามารถระบุผู้ใช้งานหมายเลข IP address ในช่วงเวลาที่ใช้งานได้
**5.2 การบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้งาน (user access management)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีการควบคุมสิทธิการใช้งานระบบสารสนเทศอย่างเหมาะสมและป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิใช้งานสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศได้ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
- ไม่มีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม –
**5.3 หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน (user responsibilities)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิ สามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศได้ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 20(2) ผู้ประกอบธุรกิจควรระบุในข้อกําหนดให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบบัญชีผู้ใช้งาน (user ID) และรหัสผ่าน (password) รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจนํามาใช้เพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัญชีการใช้งานระบบได้ (accountable for safeguard)
**5.4 การควบคุมการเข้าถึงระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์ (system and application access control)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการเข้าถึงระบบสารสนเทศและแอพพลิเคชั่นโดยไม่ได้รับอนุญาต |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ตัวอย่างของการควบคุมการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์ตามข้อกําหนด 20(3)(ข) เช่น มีการป้องกันการเข้าใช้งานโดยวิธีเดาสุ่ม (brute force) จัดเก็บและตรวจสอบ log-in attempt logอย่างสม่ําเสมอ เป็นต้น
1. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 20(3)(ค) ผู้ประกอบธุรกิจควรพิจารณากําหนดกระบวนการที่จําเป็น ดังนี้
2. กําหนดให้ผู้ใช้งานแต่ละรายรับผิดชอบ (accountable) บัญชีผู้ใช้งาน (user ID) และรหัสผ่าน (password) ของตนเอง
3. กําหนดให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าหรือเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านได้ด้วยตนเอง และระบบควรมีขั้นตอนให้ยืนยันความถูกต้อง
4. กําหนดให้ผู้ใช้งานตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา เช่น มีความยาวขั้นต่ํา 6-8 ตัวอักษร โดยอาจมีอักขระพิเศษ (เช่น “#”) ประกอบด้วย
5. กําหนดให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านทันทีที่ได้รับรหัสผ่านครั้งแรก และควรเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างน้อยทุก 6 เดือน
6. ในการเปลี่ยนรหัสผ่านแต่ละครั้ง ไม่ควรกําหนดรหัสผ่านใหม่ให้ซ้ํากับรหัสที่ใช้งานครั้งล่าสุด
7. ระหว่างที่ผู้ใช้งานใส่รหัสผ่าน ระบบไม่ควรแสดงให้เห็นค่ารหัสผ่านบนหน้าจอ
8. มีระบบการเข้ารหัส (encryption) ข้อมูลรหัสผ่าน เพื่อป้องกันการล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง รวมทั้งไม่จัดเก็บข้อมูลรหัสผ่านใน folder เดียวกันกับ folder ที่จัดเก็บข้อมูลของแอพพลิเคชั่น
9. ควรกําหนดจํานวนครั้งที่ยอมให้ผู้ใช้งานใส่รหัสผ่านผิด ซึ่งในทางปฏิบัติโดยทั่วไปไม่ควรเกิน 10 ครั้ง
10. ควรมีวิธีการจัดส่งรหัสผ่านให้แก่ผู้ใช้งานอย่างรัดกุมและปลอดภัย เช่น การใส่ซองปิดผนึก เป็นต้น
**6. การควบคุมการเข้ารหัสข้อมูล (cryptographic control)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้การใช้งานระบบการเข้ารหัสข้อมูลมีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. นโยบายการใช้งานระบบการเข้ารหัสข้อมูลและการบริหารกุญแจเข้ารหัสข้อมูลตามข้อกําหนด 8(2)ควรมีเนื้อหาที่คํานึงถึงชนิด และขั้นตอนวิธีการเข้ารหัสข้อมูล (algorithm) ที่สอดคล้องเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ รวมทั้งกําหนดผู้รับผิดชอบในการดําเนินนโยบายและบริหารจัดการกุญแจเพื่อการเข้ารหัสข้อมูล (key management)
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีนโยบายการบริหารกุญแจเพื่อการเข้ารหัสข้อมูลตามแนวทางปฏิบัติข้อ 1 ตลอดช่วงเวลาการใช้งาน (key management whole life cycle) โดยกําหนดแนวปฏิบัติเพื่อการคัดเลือกวิธีการเข้ารหัส การกําหนดความยาวของรหัส การใช้งานและการยกเลิกการใช้งานกุญแจเพื่อการเข้ารหัส กระบวนการบริหารจัดการกุญแจเพื่อการเข้ารหัส รวมทั้งติดตามให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ
**7. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม (physical and environmental security)**
**7.1 พื้นที่หวงห้าม (secure areas)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าถึงพื้นที่หวงห้าม เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ (data center) ศูนย์สํารอง (backup site) และพื้นที่ที่ตั้งอุปกรณ์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ floor swith หรือ router ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์สารสนเทศหรือมีผลกระทบต่อข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรออกแบบพื้นที่หวงห้ามโดยคํานึงถึงความมั่นคงปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและภัยคุกคามจากมนุษย์ และให้มีความมิดชิด รวมทั้งป้องกันมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดของพื้นที่หวงห้ามต่อสาธารณะ
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดสิทธิการเข้าออกพื้นที่หวงห้ามให้เฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรวมทั้งควรจัดให้มีระบบการควบคุมการเข้าออกอย่างรัดกุม และทบทวนสิทธิดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับศูนย์คอมพิวเตอร์ เช่น มีระบบ กล้องวงจรปิด อุปกรณ์เตือนไฟไหม้ ถังดับเพลิงหรือระบบดับเพลิงแบบอัตโนมัติ ระบบไฟฟ้าสํารอง (uninterrupted power supply) และระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม เป็นต้น พร้อมทั้ง มีการบํารุงรักษาอย่างสม่ําเสมอ
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรมีการติดตามและควบคุมบุคคลภายนอกที่เข้าปฏิบัติงานภายในพื้นที่หวงห้ามอย่างใกล้ชิด
2. ผู้ประกอบธุรกิจควรแยกพื้นที่จุดรับส่งของ (delivery and loading area) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนที่ต้องมีการเข้าถึงโดยพนักงานฝ่ายอื่น เช่น ส่วนที่ใช้เก็บรายงานที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ได้จัดพิมพ์ให้หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้นออกจากศูนย์คอมพิวเตอร์
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดเก็บอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สําคัญ เช่น เครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์เครือข่าย เป็นต้นไว้ในพื้นที่หวงห้ามอย่างมั่นคงปลอดภัย
**7.2 ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ (equipment)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์มิให้สูญหาย ถูกโจรกรรม เกิดความเสียหาย เข้าถึงหรือถูกใช้งานโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้ทรัพย์สินดังกล่าวสามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่อง |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการป้องกันทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ที่อาจหยุดชะงักจากการทํางานผิดพลาดของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคม ระบบระบายอากาศและระบบปรับอากาศ เป็นต้น
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีมาตรการป้องกันสายเคเบิลที่ใช้เพื่อการสื่อสาร สายไฟ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น floor switch และท่อเดินสายเคเบิลและสายไฟ อย่างรัดกุมและบํารุงรักษาอย่างสม่ําเสมอเพื่อมิให้มีความเสียหาย
2. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการดูแลและบํารุงรักษาทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์อย่างถูกวิธี เพื่อให้คงไว้ซึ่งความถูกต้องครบถ้วนและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรควบคุมมิให้มีการนําทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ออกนอกพื้นที่โดยมิได้รับอนุญาต โดยในกรณีที่ได้รับอนุญาต ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการทําทะเบียนคุมและมีกระบวนการรักษา ความมั่นคงปลอดภัย โดยให้คํานึงถึงระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันจากการนําไปใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ
2. ก่อนการยกเลิกการใช้งานหรือจําหน่ายทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ด้านเครือข่าย เช่น switch, firewall และ router เป็นต้น ผู้ประกอบธุรกิจควรตรวจสอบทรัพย์สินนั้นว่าได้มีการลบ ย้าย ทําลายข้อมูลเกี่ยวกับการปรับแต่ง (configuration) ที่สําคัญ หรือปรับค่าดังกล่าวกลับไปสู่ค่าตั้งต้น (restore from factory) ด้วยวิธีการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าไม่สามารถกู้คืนได้อีก
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการควบคุมป้องกันทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ระหว่างที่ไม่มีผู้ใช้งาน (unattended user equipment) ให้มีความปลอดภัย รวมทั้งควรกําหนดการควบคุมเอกสารข้อมูลหรือสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น thumb drive และ external hard disk ที่มีข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บหรือบันทึกอยู่ ไม่ให้วางทิ้งไว้บนโต๊ะทํางานหรือสถานที่ไม่ปลอดภัยในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน (clear desk) ตลอดจนการควบคุมหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้มีข้อมูลสําคัญปรากฏในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน (clear screen)เช่น การตัดออกจากระบบ (session time out) หรือการล็อคหน้าจอ (lock screen) อัตโนมัติ เป็นต้น
**8. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security)**
**8.1 หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนการปฏิบัติงาน (operational procedures and responsibilities)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศเป็นไปอย่างถูกต้องและมั่นคงปลอดภัย |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้พนักงานปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (computer operator) สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ เช่น ขั้นตอนในการเปิด - ปิดระบบการประมวลผล การตรวจสอบประสิทธิภาพการทํางานของระบบ และตารางเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นต้น และควรทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงานดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานและเข้าถึงได้อยู่เสมอ
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในกรณีที่มี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือการทํางานของระบบงานต่าง ๆ ซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ตัวอย่างของการควบคุมดังกล่าว เช่น
- กําหนดขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
- มีแผนรองรับ และดําเนินการทดสอบภายหลังการเปลี่ยนแปลง
- มีการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
- มีขั้นตอนการขออนุมัติจากผู้มีอํานาจ
- มีขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปตามนโยบาย
ด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
- มีการสื่อสารให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
- มีกระบวนการถอยกลับสู่สภาพเดิม (fall-back) ของระบบงาน หากเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการเปลี่ยนแปลง
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรติดตามประสิทธิภาพการทํางานของระบบสารสนเทศและทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ที่สําคัญ ให้ทํางานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสมรรถภาพและความเพียงพอ (capacity) ของระบบสารสนเทศ ทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์และบุคลากร รวมถึงเพื่อให้สามารถรองรับแผนการปฏิบัติงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรแบ่งแยกส่วนคอมพิวเตอร์ที่มีไว้สําหรับการพัฒนาระบบงาน (develop environment) และใช้งานจริง (production environment) ออกจากกัน และควบคุมให้มีการเข้าถึงเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ การแบ่งแยกส่วนดังกล่าวอาจแบ่งโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คนละเครื่อง หรือแบ่งโดยการจัดเนื้อที่แยกไว้ต่างหากภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกันก็ได้
**8.2 การป้องกันภัยคุกคามจากโปรแกรมไม่ประสงค์ดี (protection from malware)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสารสนเทศได้รับการป้องกันภัยคุกคามจากโปรแกรมไม่ประสงค์ดี |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ในการกําหนดมาตรการป้องกันและตรวจสอบโปรแกรมไม่ประสงค์ดี และมาตรการในการแก้ไขระบบสารสนเทศเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ (recovery) ตามข้อกําหนด 23(2) นั้น ผู้ประกอบธุรกิจควรมีมาตรการขั้นต่ํา ดังนี้
2. กําหนดนโยบายห้ามใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต
3. มีกระบวนการป้องกัน และตรวจสอบการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต และการใช้งานเว็บไซต์ ที่อาจมีโปรแกรมไม่ประสงค์ดี
4. ติดตั้งซอฟต์แวร์ตรวจสอบโปรแกรมไม่ประสงค์ดี และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ พร้อมทั้งกําหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้รายงานและแก้ไขปัญหากรณีพบภัยคุกคาม
5. ตรวจสอบซอฟต์แวร์ระบบงานที่มีความสําคัญอย่างสม่ําเสมอ หากพบการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ได้รับอนุญาต ควรจัดให้มีการตรวจสอบ
6. จัดให้มีการติดตามและกลั่นกรองข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคาม เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง รวมทั้งแจ้งให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงภัยคุกคามดังกล่าว
**8.3 การสํารองข้อมูล (backup)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีนโยบายสํารองข้อมูลสําคัญทางธุรกิจ รวมถึงระบบปฏิบัติการ (operating system) แอพพลิเคชั่นระบบงานคอมพิวเตอร์ (application system) และชุดคําสั่งที่ใช้ทํางานให้ครบถ้วน ให้สามารถพร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง โดยขั้นต่ําควรพิจารณา ดังนี้
2. กําหนดขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติในการสํารองข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยอย่างน้อย ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับ
(ก) ข้อมูลที่ต้องสํารอง
(ข) ความถี่ในการสํารอง
(ค) ประเภทสื่อบันทึกข้อมูล
(ง) จํานวนที่ต้องสํารอง
(จ) ขั้นตอนและวิธีการสํารองโดยละเอียด
(ฉ) สถานที่และวิธีการเก็บรักษาสื่อบันทึกข้อมูล
(ช) กระบวนการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่สูญหาย
1. จัดเก็บสื่อบันทึกข้อมูลสํารอง พร้อมทั้งสําเนาขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ไว้นอกสถานที่เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่สถานที่ปฏิบัติงานได้รับความเสียหาย โดยสถานที่ดังกล่าวควรจัดให้มีระบบควบคุมการเข้าออกและระบบป้องกันความเสียหายตามที่กล่าวในหัวข้อการสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมด้วย
2. กําหนดเป้าหมายในการกู้คืนข้อมูล เช่น กําหนดประเภทของข้อมูล และชุดข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืนได้ (recovery point objective : RPO)
3. ในกรณีที่จําเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลานาน ควรคํานึงถึงวิธีการนําข้อมูลกลับมาใช้งาน ในอนาคตด้วย เช่น กรณีที่จัดเก็บข้อมูลในสื่อบันทึกประเภทใด ควรมีการเก็บอุปกรณ์และโปรแกรม ที่เกี่ยวข้องสําหรับใช้อ่านสื่อบันทึกประเภทนั้นไว้ด้วยเช่นกัน เป็นต้น
**8.4 การบันทึก จัดเก็บหลักฐานและติดตาม (logging and monitoring)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อบันทึกและจัดเก็บหลักฐานการใช้งานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศอย่างครบถ้วนและเพียงพอสําหรับ การตรวจสอบการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การสอบทานการใช้งานข้อมูลและระบบสารสนเทศตามหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมาย การตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศโดยบุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบและป้องกันการใช้งานระบบสารสนเทศที่มี ความผิดปกติหรือไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ของทางการ และการตรวจสอบตัวตนของลูกค้า ที่ทํารายการซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเพื่อให้มีการติดตามและวิเคราะห์หลักฐานที่จัดเก็บ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการป้องกันข้อมูลและระบบการบันทึกและจัดเก็บหลักฐานการใช้งานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศของผู้ใช้งานทั่วไป รวมถึง system administrator logs และ system operator logsจากการถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทําความเสียหาย หรือเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
1. ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ควรกําหนดระบบเวลาของอุปกรณ์และระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการชําระราคาให้ตรงกับเวลาอ้างอิงของระบบซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้การตรวจสอบธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งหมดเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
1. กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้งานระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญร่วมกันกับบริษัทในเครือที่อยู่ในต่างประเทศผู้ประกอบธุรกิจอาจกําหนดให้บริษัทในเครือนั้นเป็นผู้ติดตามวิเคราะห์หลักฐาน พร้อมทั้งจัดเก็บผลการวิเคราะห์ดังกล่าวได้
**8.5 การควบคุมการติดตั้งซอฟต์แวร์บนระบบงาน (installation of software on operational systems)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมให้ระบบงานทํางานโดยมีความถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ (integrity of operational system) |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
- ไม่มีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม -
**8.6 การบริหารจัดการช่องโหว่ทางเทคนิค (technical vulnerability management)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากช่องโหว่ทางเทคนิค |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับช่องโหว่ทางเทคนิคที่อาจเป็นความเสี่ยงต่อระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจอย่างทันต่อเหตุการณ์ รวมทั้งควรจัดให้มีการตรวจสอบหาช่องโหว่ดังกล่าวและมีมาตรการดําเนินการเพื่อปิดช่องโหว่หรือกําหนดแผนรองรับกรณีที่ระบบถูกบุกรุก ผ่านช่องโหว่ดังกล่าว โดยควรกําหนดแนวทางดําเนินการดังนี้
2. กําหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเกี่ยวกับช่องโหว่ทางเทคนิค โดยครอบคลุมถึงการประเมินความเสี่ยงของทรัพย์สินสารสนเทศที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าวโดยเฉพาะทรัพย์สินสารสนเทศที่มีความเสี่ยงสูง การดําเนินการเพื่อปิดช่องโหว่ (patching) และการประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3. จัดให้มีการปิดช่องโหว่ที่พบโดยไม่ชักช้า โดยควรมีการประเมินความเสี่ยงของโปรแกรมเพื่อปิดช่องโหว่ (patches) ก่อนการติดตั้งโปรแกรมเพื่อทดสอบและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดจากการติดตั้งโปรแกรมดังกล่าว ทั้งนี้ กรณีที่ไม่มีโปรแกรมเพื่อปิดช่องโหว่ ให้ปฏิบัติตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิตทรัพย์สินสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
4. มีกระบวนการจัดการช่องโหว่ด้านเทคนิคที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (incident management) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกรณีที่ระบบถูกบุกรุกผ่านช่องโหว่ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกรณีที่ตรวจพบช่องโหว่แต่ยังไม่สามารถหาวิธีปิดช่องโหว่ได้
5. มีการบันทึกและจัดเก็บหลักฐานเพื่อการตรวจสอบในการดําเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการช่องโหว่ทางเทคนิค ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้วิธีปรับปรุงโปรแกรมเพื่อปิดช่องโหว่แบบอัตโนมัติ (automatic patching) สําหรับระบบหรืออุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการดําเนินการดังกล่าวแล้วพบว่าไม่สร้างความเสียหายต่อระบบงานผู้ประกอบธุรกิจอาจงดเว้นการบันทึกและจัดเก็บหลักฐานสําหรับการ patching ระบบหรืออุปกรณ์นั้นได้
**8.7 การตรวจสอบระบบสารสนเทศ (information systems audit)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อจัดให้มีการวางแผนการตรวจสอบระบบสารสนเทศอย่างเพียงพอเหมาะสม โดยการตรวจสอบดังกล่าวควรส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานน้อยที่สุด |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
- ไม่มีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม -
**9. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (communications security)**
**9.1 การบริหารจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network security management)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการกระทําที่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลสารสนเทศในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และป้องกันโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. การบริหารจัดการและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมั่นคงปลอดภัยตามข้อกําหนด 22(1)ควรมีการดําเนินการขั้นต่ํา ดังนี้
2. แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่าง network administrator และ computer administrator ออกจากกัน พร้อมทั้งกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนในการบริหารจัดการระบบ และอุปกรณ์เครือข่ายให้ชัดเจน
3. จํากัดการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างเครือข่าย เช่น จํากัดการใช้งานจุดเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (port outlet)
4. เปิดใช้งาน service port ที่เชื่อมต่อตามความจําเป็น พร้อมทั้งมีวิธีการเพื่อระบุถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ (authenticate) อย่างชัดเจน เช่น IP address และประเภทของอุปกรณ์ เป็นต้น
5. มีการควบคุมการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายสาธารณะ (public network) และระบบเครือข่ายไร้สาย (wireless network) อย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่ายดังกล่าว รวมทั้งเพื่อป้องกันระบบที่เชื่อมต่อและแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน เช่น การเข้ารหัสเครือข่าย หรือการแบ่งแยกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกจากกัน เป็นต้น นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการควบคุมเป็นพิเศษเพื่อให้ระบบเครือข่ายดังกล่าวอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น จัดให้มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทดแทนกันได้ (network load balance) เป็นต้น
6. มีการบันทึกและจัดเก็บหลักฐาน (logs) ที่ติดต่อกับระบบงานสําคัญและมีความเสี่ยงสูง เพื่อติดตามตรวจสอบการทํางานที่เกี่ยวข้อง หรืออาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ กรณีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจากการใช้งานผ่านเครือข่ายสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ ให้บันทึกและจัดเก็บหลักฐาน internet access log ตามข้อ 8.4
**9.2 การควบคุมการรับส่งข้อมูลสารสนเทศ (information transfer)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายภายในองค์กร และระหว่างระบบเครือข่ายภายในองค์กรกับระบบเครือข่ายภายนอก |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
1. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 8(3) และ 22(4) ผู้ประกอบธุรกิจควรดําเนินการดังต่อไปนี้
2. จัดให้มีนโยบายและหลักปฏิบัติเพื่อปกป้องข้อมูลสารสนเทศที่รับส่งผ่านระบบและอุปกรณ์ในการสื่อสารทุกประเภท โดยมีเนื้อหาขั้นต่ําครอบคลุมถึง
3. แนวปฏิบัติที่ดีในการรับส่งข้อมูลสารสนเทศผ่านช่องทางการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ
4. กระบวนการป้องกันการรับส่งข้อมูลสารสนเทศนอกเส้นทางที่ได้กําหนดไว้ (mis-routing) การดักรับสัญญาณ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือทําความเสียหายกับข้อมูล และโปรแกรมไม่ประสงค์ดี (malware) ที่ถูกส่งผ่านช่องทางการสื่อสาร
5. กระบวนการป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญที่รับส่งในรูปแบบของไฟล์แนบ (attachment files) และการส่งต่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติออกสู่ภายนอกองค์กร
6. การนําเทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลมาใช้ในการรับส่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็นความลับและมีความสําคัญผ่านช่องทางการสื่อสารบางประเภทที่ต้องการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การใช้งานระบบ cloud computing เป็นต้น
7. ในการใช้งานระบบรับส่งข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (electronic messaging)ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่รับส่งผ่านช่องทางดังกล่าว โดยควรจัดให้มีมาตรการป้องกันการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทําความเสียหาย หรือเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีกระบวนการตรวจสอบผู้ใช้งานอย่างเข้มงวดในกรณีที่ใช้งานผ่านเครือข่ายสาธารณะรวมทั้งควรจัดการและควบคุมให้ระบบทํางานรับส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ทั้งนี้ การใช้งานระบบรับส่งข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการโดยบุคคลภายนอก เช่น โปรแกรมสนทนาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (instant messaging) ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social networking) หรือโปรแกรมเรียกใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน (file sharing) ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสมเพียงพอ เช่น มีการขออนุมัติก่อนการใช้งาน รวมถึงควรปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ของทางการอย่างเคร่งครัด
1. ข้อตกลงเกี่ยวกับการรักษาความลับหรือไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีความสําคัญตามข้อกําหนด 22(5)ควรมีเนื้อหาขั้นต่ําครอบคลุมถึง
2. การระบุความเป็นเจ้าของข้อมูลสําคัญทางธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา และวิธีป้องกันการรั่วไหล
ของข้อมูล
1. การป้องกันการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจัดให้มีการลงนามโดยผู้รับผิดชอบ
2. การกําหนดขั้นตอนการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลหรือกําหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลตามที่ได้ลงนาม
3. การกําหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบหรือติดตามการใช้งานข้อมูลที่มีความสําคัญ
4. การกําหนดกระบวนการแจ้งเตือนและรายงานผู้เกี่ยวข้องหากพบการรั่วไหลหรือเปิดเผยข้อมูล โดยไม่ได้รับอนุญาต
5. การกําหนดมาตรการดําเนินการกรณีละเมิดหรือยกเลิกข้อตกลง รวมทั้งข้อกําหนดในการคืนหรือทําลายข้อมูลที่มีความสําคัญเมื่อสิ้นสุดข้อตกลง
**10. การจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศ (system acquisition, development and maintenance)**
**10.1 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (security requirements of information systems)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อกําหนดให้กระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศของทั้งภายในองค์กรและที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการภายนอกผ่านเครือข่ายสาธารณะ ตลอดช่วงอายุ การใช้งานระบบสารสนเทศ (entire life cycle) ได้แก่ กระบวนการจัดหา กระบวนการพัฒนาระบบ (system development life cycle) การใช้งาน และการดูแลรักษา |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
=====================================
- ไม่มีแนวปฏิบัติเพิ่มเติม -
**10.2 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ (security in development and support process)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้การพัฒนาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศประมวลผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน (change management) รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตลอดช่วงการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ (system development life cycle) |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
1. การควบคุมการพัฒนาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศตามข้อกําหนด 24(3) ควรมีกระบวนการขั้นต่ํา ดังนี้
2. ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
3. กําหนดวิธีปฏิบัติให้คําขอให้แก้ไขหรือพัฒนาต้องมาจากผู้ที่มีสิทธิและอนุมัติคําขอโดยผู้มีอํานาจควบคุมผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีการแก้ไข ตรวจรับจากผู้มีอํานาจภายหลังการแก้ไขหรือพัฒนาแล้วเสร็จก่อนโอนย้ายระบบงาน รวมทั้งจัดเก็บรายละเอียดของคําขอไว้
4. กําหนดวิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบงานคอมพิวเตอร์ในกรณีฉุกเฉินบันทึกเหตุผลความจําเป็นและขออนุมัติจากผู้มีอํานาจทุกครั้ง
5. ปรับปรุงเอกสารประกอบระบบงานทั้งหมดหลังจากที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทันสมัย อยู่เสมอ เช่น เอกสารประกอบรายละเอียดโครงสร้างข้อมูล คู่มือระบบงาน ทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิ ใช้งาน ขั้นตอนการทํางานของโปรแกรม และควรจัดเก็บเอกสารดังกล่าวในที่ปลอดภัยและสะดวก ต่อการใช้งาน
6. จัดเก็บโปรแกรม version ก่อนการเปลี่ยนแปลงไว้ใช้งาน หรือมีกระบวนการถอยกลับสู่สภาพเดิม (fall-back) ของระบบงาน ในกรณีระบบงานผิดพลาดหรือไม่สามารถใช้งานได้
7. สื่อสารให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
8. บันทึกและจัดเก็บหลักฐานทั้งหมด (audit trail) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อใช้ประกอบ ในกรณีที่มีการตรวจสอบ
1. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 24(5) ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีการทดสอบระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มั่นใจว่าการทํางานมีประสิทธิภาพ การประมวลผลถูกต้องครบถ้วน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน พร้อมทั้งปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (business continuity plan)
2. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 24(6) ผู้ประกอบธุรกิจควรคํานึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
3. การรักษาความลับของข้อมูลที่นํามาประมวลผล จัดเก็บ และส่งผ่านระบบ และการควบคุม การนําข้อมูลเข้าและออกจากระบบที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
4. การควบคุมการเข้าถึงสภาพแวดล้อมของการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างรัดกุมเหมาะสม
5. การติดตามหากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการพัฒนาระบบสารสนเทศ
6. มีการจัดเก็บข้อมูลสํารองในพื้นที่นอกองค์กรที่มีความมั่นคงปลอดภัย
1. ในการทดสอบการทํางานของระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานหรือผู้ทดสอบที่เป็นอิสระตามข้อกําหนด 24(8) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบที่ได้รับการพัฒนาดังกล่าวสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการของผู้ใช้งาน และเป็นไปตามนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีแนวทางควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบหากข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับหรือมีความสําคัญ
**11. การใช้บริการระบบสารสนเทศจากผู้รับดําเนินการ (IT outsourcing)**
**11.1 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศจากผู้รับดําเนินการ (information security inIT outsourcing)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันทรัพย์สินสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจจากการเข้าถึงโดยผู้รับดําเนินการอย่างไม่เหมาะสม |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
1. นโยบายเกี่ยวกับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจตามข้อกําหนด 8(5) ควรมีเนื้อหาขั้นต่ําครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้
2. กําหนดวิธีการคัดเลือกและประเมินผู้รับดําเนินการ (due diligence) โดยควรให้ความสําคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญ (confidentiality) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) เช่น ผู้รับดําเนินการควรมีแผนรองรับกรณีเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (incident response policy) โดยคํานึงถึงแผนของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งมีกระบวนการการกู้คืนระบบงานให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้กําหนดไว้ เพื่อให้ข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ เป็นต้น
3. กําหนดการทบทวนคุณสมบัติของผู้รับดําเนินการอย่างสม่ําเสมอ เช่น ฐานะทางการเงินความเพียงพอของการให้บริการ (capacity planning) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับดําเนินการยังคงมีความพร้อมในการให้บริการที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. กําหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและกระบวนการควบคุมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการลงนามร่วมกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้รับดําเนินการ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจควรมั่นใจว่าผู้รับดําเนินการมีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศเสมือนกับผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการด้วยตนเอง
1. กําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการ
2. ระบุประเภทข้อมูลสารสนเทศที่อนุญาตให้ผู้รับดําเนินการเข้าถึง เพื่อให้การกําหนดมาตรการควบคุมและติดตามการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างเหมาะสม ภายใต้หลักความจําเป็นในการรู้ข้อมูล (need-to-know basis)
3. จัดให้มีขั้นตอนและกระบวนการติดตามควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศอย่างเหมาะสม
4. มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายหรือถ่ายโอนข้อมูลสารสนเทศ
5. มีการควบคุมความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจาก ผู้รับดําเนินการ
6. กําหนดกระบวนการควบคุมอย่างเป็นมาตรฐานเพื่อติดตามการทํางานของผู้รับดําเนินการ
1. ข้อตกลงเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามข้อกําหนด 25(1) ควรมีเนื้อหาขั้นต่ําดังนี้
2. รายละเอียดของข้อมูลที่จําเป็นต้องใช้หรือเข้าถึงโดยผู้รับดําเนินการ รวมทั้งวิธีการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว
3. การจัดแบ่งประเภทข้อมูลซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
4. มีมาตรการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ ทรัพย์สินทางปัญญา และลิขสิทธิ์ของผู้ประกอบธุรกิจได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัยตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ของทางการที่เกี่ยวข้อง
5. กําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการในการปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมต่าง ๆเช่น กําหนดเงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของ ผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ประกอบธุรกิจ กําหนดให้ผู้รับดําเนินการรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบเมื่อร้องขอ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในระยะเวลาที่กําหนด รวมทั้งการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ
6. แนวทางการใช้งานข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้องเหมาะสม
7. แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีที่เกิดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติหน้าที่
8. รายชื่อและช่องทางสําหรับติดต่อบุคคลหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
9. มีข้อกําหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ กรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกมอบหมายการปฏิบัติงานให้กับบุคคลอื่นต่อ (sub-contracting to another supplier)
**11.2 การควบคุมการส่งมอบงานของผู้รับดําเนินการ (Supplier Service Delivery Management)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมผู้รับดําเนินการส่งมอบงานให้เป็นไปตามข้อตกลงที่จัดทําไว้กับผู้ประกอบธุรกิจ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
1. ในการติดตาม ประเมิน ทบทวน และตรวจสอบผู้รับดําเนินการตามข้อกําหนด 25(2) ผู้ประกอบควรพิจารณาฐานะทางการเงิน กระบวนการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพการให้บริการของผู้รับดําเนินการประกอบกัน
**12. การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security incident management)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้เหตุการณ์และจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศได้รับการดําเนินการอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
1. ในการกําหนดขั้นตอนและกระบวนการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ รวมทั้งกําหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ตามข้อกําหนด 11(1) และ (2) ผู้ประกอบธุรกิจควรกําหนดขั้นตอนและกระบวนการขั้นต่ําดังต่อไปนี้
2. กําหนดแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
3. ประเมินเหตุการณ์หรือจุดอ่อนของมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและพิจารณาว่าควรจัดเป็นเหตุการณ์และมีระดับความรุนแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
4. จัดให้มีบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อทําหน้าที่รับแจ้งเหตุการณ์ (point of contact) และรายงานเหตุการณ์ต่อคณะผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องให้ทราบและดําเนินการต่อไป (escalation)
5. ดําเนินการเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทําให้เหตุการณ์คลี่คลายหรือกลับสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว
6. รวบรวมและจัดเก็บหลักฐานโดยไม่ชักช้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ก่อให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลหรือทรัพย์สินของลูกค้า โดยคํานึงถึงประเด็นสําคัญต่าง ๆ เช่น มีกระบวนการการจัดเก็บอย่างมั่นคงปลอดภัย การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง การคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถหรือมีประสบการณ์ด้านการรวบรวมและจัดเก็บหลักฐาน เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบและจัดทําเอกสารสรุปนําเสนอต่อบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เป็นต้น ทั้งนี้ การรวบรวม จัดเก็บ และนําเสนอหลักฐาน ควรสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ใช้บังคับ
7. บันทึกและจัดเก็บหลักฐานการบริหารจัดการตามความจําเป็นและเหมาะสม
8. รายงานให้สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รับทราบถึงสถานการณ์และผลการบริหารจัดการ
9. ตรวจหา ติดตาม วิเคราะห์ และรายงานเหตุการณ์ ทั้งนี้ ให้รวมถึงการวิเคราะห์ภายหลังเหตุการณ์ยุติแล้ว เพื่อระบุถึงสาเหตุของเหตุการณ์และเพื่อใช้ประโยชน์จากผลการวิเคราะห์ในการเตรียม ความพร้อมรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
1. ในการรายงานสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่รับแจ้งเหตุการณ์ (point of contact) ตามข้อกําหนด 11(3) ผู้ประกอบธุรกิจควรดําเนินการดังนี้
2. จัดทําแบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐานเพื่อรองรับการรายงานสถานการณ์ และสร้างความเข้าใจให้กับผู้รายงานเกี่ยวกับการดําเนินการต่าง ๆ ที่จําเป็นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้ เนื้อหาขั้นต่ํา
ควรประกอบด้วย วันเวลา เหตุการณ์ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การดําเนินการแก้ไข ผลการแก้ไข ระยะเวลาในการแก้ไข สาเหตุที่เกิดปัญหา และแนวทางการป้องกันในอนาคต
1. รายงานคณะผู้บริหารขององค์กรเมื่อทราบเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย เช่น พบช่องโหว่ในการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย (ineffective security control) เกิดเหตุการณ์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการรักษาความลับ (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของระบบสารสนเทศ ข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน (human errors) การบุกรุกด้านกายภาพ (breaches of physical security arrangements) การปฏิบัติงาน ที่ไม่เป็นไปตามนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (non-compliances with policies) การเปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติการหรือชุดคําสั่งที่ควบคุมระบบงานโดยไม่ได้รับอนุญาต (uncontrolled system changes) การทํางานผิดพลาดของโปรแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (malfunctions of software or hardware) และการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต (access violations)
2. รายงานสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เมื่อมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญ ประเภทดังต่อไปนี้
(ก) ระบบหยุดชะงัก (system disruption)
(ข) มีการบุกรุก เข้าถึง หรือใช้งานระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (system compromised)(ค) ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของผู้ประกอบธุรกิจ (harm to reputation) เช่น ถูกปลอมแปลง หน้าเว็บไซต์ของบริษัท (website defacement) โดยให้รายงาน ดังนี้
* รายงานโดยไม่ชักช้าเมื่อทราบเหตุการณ์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวันเวลา ประเภทเหตุการณ์ เหตุการณ์ และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ อาจแจ้งโดยวาจาหรือผ่านระบบรับส่งข้อความผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic messaging) ตามความเหมาะสม
* รายงานภายในวันทําการถัดไปหลังทราบเหตุการณ์ เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวันเวลา ประเภทเหตุการณ์ เหตุการณ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การดําเนินการแก้ไขปัญหา และความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา
* รายงานเมื่อเหตุการณ์ยุติหรือแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวันเวลา ประเภทเหตุการณ์ เหตุการณ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การดําเนินการแก้ไขปัญหา ผลการแก้ไขปัญหา ระยะเวลาในการแก้ไข สาเหตุที่เกิดปัญหา และแนวทางป้องกันในอนาคต
* แจ้งบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า รับทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เหตุการณ์ส่งผลกระทบต่อบุคคลดังกล่าว
* จัดให้มีการรายงานความคืบหน้าในการบริหารจัดการสถานการณ์และผลการบริหารจัดการเป็นระยะ และเมื่อเหตุการณ์ยุติแล้ว
1. ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนด 11(4) (5) และ (7) ผู้ประกอบธุรกิจควรดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการจําลองสถานการณ์เสี่ยง (risk scenarios) เพื่อทดสอบการเตรียมความพร้อมรับมือต่อเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ โดย risk scenarios ดังกล่าวควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เป็นสถานการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะ ขอบเขต และความซับซ้อนในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ
(ข) เป็นสถานการณ์ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศอย่างมีนัยสําคัญ
(ค) เป็นสถานการณ์ที่สามารถวัดผลได้ และนําผลที่ได้ไปใช้ในการทบทวนขั้นตอนและกระบวนการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
(ง) เป็นสถานการณ์ที่มีความสมเหตุสมผล สามารถปฏิบัติได้จริงโดยไม่ขัดแย้งกัน
(จ) เป็นสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ และสอดคล้องกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน
(2) จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ดังนี้
(ก) สถานการณ์เสี่ยง (risk scenario) ที่ใช้ในการทดสอบ
(ข) สรุปผลการทดสอบ ผลการประเมิน และผลการทบทวนแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์
**13. การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security aspects of business continuity management)**
| วัตถุประสงค์ เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความต่อเนื่อง ทางธุรกิจ (business continuity management) ของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบสารสนเทศ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ |
**ข้อกําหนดในประกาศที่ สธ. 37/2559**
===================================
**แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนด**
1. ในการกําหนดขั้นตอน กระบวนการดําเนินการ และการควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามข้อกําหนด 12(2) ควรมีรายละเอียดขั้นต่ําดังต่อไปนี้
2. กําหนดขั้นตอนดําเนินการเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (incident response process) ให้เป็นไปตามนโยบายการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย ของระบบสารสนเทศ
3. มีขั้นตอนการแก้ไขปัญหาในแต่ละเหตุการณ์โดยละเอียด ชัดเจน พร้อมทั้งกําหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบที่สามารถปฏิบัติงานได้ในแต่ละเหตุการณ์
4. มีรายละเอียดของอุปกรณ์ที่จําเป็นต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินของแต่ละระบบงาน เช่น รุ่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ (specification) ขั้นต่ํา ข้อมูลเกี่ยวกับการปรับแต่ง (configuration) และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
5. ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์คอมพิวเตอร์สํารอง (ถ้ามี) ให้ชัดเจน เช่น สถานที่ตั้ง แผนที่ เป็นต้น
-----------------------ข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรในการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ
(1) การบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการระบุความเสี่ยงการประเมินความเสี่ยง และการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
(2) การจัดสรรและบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจ และการกําหนดแนวทางเพื่อรองรับในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้เพียงพอตามที่กําหนดไว้
(3) การจัดให้มีนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามข้อ 8 และข้อ 9
ข้อ 6 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกํากับดูแลและบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่กําหนดไว้ตามข้อ 5
(1) สื่อสารนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้บุคลากรดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง
(2) กําหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ทบทวนหรือปรับปรุงนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง โดยต้องทบทวนโดยไม่ชักช้าเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีนัยสําคัญ และต้องปรับปรุงขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วย
ข้อ 6 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกํากับดูแลและบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่กําหนดไว้ตามข้อ 5
(4) จัดให้มีการรายงานการปฏิบัติตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจทราบอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ ต้องรายงานให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจทราบโดยไม่ชักช้าด้วย
ข้อ 6 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกํากับดูแลและบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่กําหนดไว้ตามข้อ 5
(5) จัดให้มีระบบการควบคุมภายในสําหรับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยดังนี้
(ก) มีการตรวจสอบภายในและการสอบทานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวอย่างเป็นระบบ
(ข) มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และติดตามการปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวอย่างเป็นระบบ
ข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรในการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ
(3) การจัดให้มีนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามข้อ 8 และข้อ 9
ข้อ 10 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (organization of information security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษร และแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) สอบทานการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่
(3) จัดให้มีช่องทางในการติดต่อสํานักงาน หน่วยงานกํากับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยงานของผู้ให้บริการที่สนับสนุนการทํางานระบบสารสนเทศของบริษัท โดยต้องปรับปรุงรายชื่อและช่องทางสําหรับติดต่อดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน
ข้อ 9 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีมาตรการอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
(1) มาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมเพียงพอสําหรับข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญในกรณีที่มีการปฏิบัติงานจากเครือข่ายภายนอกบริษัทหรือมีการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยกรณีที่เป็นการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ ต้องจัดให้มีการลงทะเบียนอุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อนการใช้งาน และทบทวนทะเบียนดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและเมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์เคลื่อนที่
ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกําหนดนโยบายอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)
(1) นโยบายการใช้งานระบบสารสนเทศร่วมกันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้งาน (cloud computing) ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการคัดเลือกและประเมินผู้ให้บริการ การทบทวนคุณสมบัติของผู้ให้บริการ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการใช้บริการ และการตรวจสอบบันทึกหลักฐานต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้บริการ
ข้อ 9 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีมาตรการอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
(2) มาตรการในการใช้งานระบบสารสนเทศร่วมกันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้งานตามนโยบายที่กําหนดไว้ในข้อ 8(1) ที่ครอบคลุมเรื่องดังนี้
(ก) ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการซึ่งมีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
1. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ รวมถึงความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามมาตรฐานการรับรองความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศในระดับสากล
3. มาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย การควบคุมการเข้าถึง และการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ
4. การตรวจสอบการปฏิบัติงานจากผู้ตรวจสอบที่เป็นอิสระ
5. เงื่อนไขในกรณีที่ผู้ให้บริการจะให้ผู้ให้บริการรายอื่นรับดําเนินการช่วง (subcontractof the cloud provider) และข้อกําหนดความรับผิดต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินการของผู้ให้บริการรายอื่น
(ข) คุณสมบัติด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการรายอื่นที่รับดําเนินการช่วงซึ่งเทียบเท่ากับผู้ให้บริการหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล
(ค) การติดตาม ประเมิน และทบทวนการให้บริการของผู้ให้บริการ
(ง) ขั้นตอนในการโอนย้ายข้อมูลไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้ให้บริการ
ข้อ 13 ผู้ประกอบธุรกิจต้องสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและบุคคลภายนอก (human resource security)ที่มีการปฏิบัติงานโดยมีการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบงานภายในองค์กร และดําเนินการให้บุคลากรดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายและมาตรการที่กําหนด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานดังกล่าว
(2) สื่อสารให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานดังกล่าว ระมัดระวังและงดเว้นการใช้งานระบบสารสนเทศในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือตลาดทุนโดยรวม หรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และต้องรายงานผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศโดยไม่ชักช้าเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ อย่างมีนัยสําคัญ
(3) กําหนดมาตรการในการลงโทษบุคลากรที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
ข้อ 15 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ (asset management) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดบุคคลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินสารสนเทศแต่ละประเภทตลอดอายุการใช้งานของทรัพย์สินดังกล่าว
(2) มีข้อกําหนดการใช้งานทรัพย์สินสารสนเทศที่เหมาะสม
(3) มีการทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อทรัพย์สินสารสนเทศให้สอดคล้องกับหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และความรับผิดชอบ
ข้อ 16 ในการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศที่เป็นทรัพย์สินสารสนเทศประเภทระบบหรืออุปกรณ์ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการจัดทําและจัดเก็บทะเบียนทรัพย์สินดังกล่าว ตลอดจนทบทวนทะเบียนดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินสารสนเทศอย่างมีนัยสําคัญด้วย
ข้อ 17 ในการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศที่เป็นทรัพย์สินสารสนเทศประเภทข้อมูล ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการจัดประเภทข้อมูลดังกล่าวตามระดับชั้นความลับและจัดประเภททรัพย์สินสารสนเทศอื่น ๆตามระดับความสําคัญ เพื่อให้ทรัพย์สินสารสนเทศได้รับการปกป้องในระดับที่เหมาะสมตามระดับชั้นความลับหรือระดับความสําคัญ แล้วแต่กรณีด้วย และในกรณีที่เป็นข้อมูลสารสนเทศ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีกระบวนการป้องกันการเปิดเผย เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือสร้างความเสียหายต่อข้อมูลสารสนเทศที่สําคัญที่ถูกจัดเก็บในสื่อบันทึกข้อมูลด้วย
ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกําหนดนโยบายอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)
(4) นโยบายควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและสิ่งอํานวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ (information processing facilities) ให้สอดคล้องกับข้อกําหนดด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (4) คําว่า “สิ่งอํานวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูล”หมายความว่า อุปกรณ์ ระบบงาน หรือสภาพแวดล้อม ที่จําเป็นหรือมีส่วนช่วยให้การประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เช่น อุปกรณ์หรือโปรแกรมประมวลผลข้อมูลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นตอน หรือสถานที่ประมวลผลข้อมูล
ข้อ 20 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการควบคุมการเข้าถึงระบบและข้อมูลสารสนเทศ (access control)ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีการบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้งานโดยจํากัดการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศให้สามารถเข้าถึงได้เฉพาะบุคคลที่ได้รับสิทธิการเข้าถึงดังนี้
(ก) มีการลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ
(ข) มีการจัดสรรสิทธิการเข้าถึงระดับสูงอย่างจํากัดและมีการควบคุมการเข้าถึงสิทธิดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
(ค) มีขั้นตอนการบริหารจัดการในการกําหนดรหัสผ่านอย่างเหมาะสม
(ง) มีการติดตามและทบทวนระดับสิทธิการเข้าถึงอย่างสม่ําเสมอ
ข้อ 20 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการควบคุมการเข้าถึงระบบและข้อมูลสารสนเทศ (access control)ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(2) มีข้อกําหนดให้ผู้ใช้งานปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานและดูแลรับผิดชอบรหัสผ่านอย่างมั่นคงปลอดภัย
ข้อ 20 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการควบคุมการเข้าถึงระบบและข้อมูลสารสนเทศ (access control)ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(3) มีการป้องกันมิให้มีการเข้าถึงระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์ (application software)โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้
(ก) ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในโปรแกรมประยุกต์ของผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับสิทธิที่ได้รับ
(ข) ควบคุมการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์
(ค) จัดให้มีระบบการบริหารจัดการรหัสผ่านที่มีความมั่นคงปลอดภัย
(ง) จํากัดการใช้งานโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่าง ๆ (utility program) และจํากัดการเข้าถึงชุดคําสั่งควบคุมการทํางานของโปรแกรมอย่างเข้มงวด
ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกําหนดนโยบายอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)
(2) นโยบายการใช้งานระบบการเข้ารหัสข้อมูลและการบริหารกุญแจเข้ารหัสข้อมูลที่สามารถป้องกันการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสําคัญ
ข้อ 18 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อม(physical and environmental security) ของทรัพย์สินสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ประเมินความเสี่ยงและความสําคัญของทรัพย์สินสารสนเทศ
(2) กําหนดพื้นที่หวงห้ามและพื้นที่สําหรับจัดวางทรัพย์สินสารสนเทศที่มีความสําคัญให้มีความมั่นคงปลอดภัยและป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าว
ข้อ 19 ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินสารสนเทศประเภทอุปกรณ์ นอกจากมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของทรัพย์สินสารสนเทศตามข้อ 18 แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องป้องกันทรัพย์สินดังกล่าวมิให้เกิดความเสียหาย สูญหาย ถูกโจรกรรม เข้าถึง หรือถูกใช้งานโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและมั่นคงปลอดภัย
ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(2) มีมาตรการป้องกันและตรวจสอบโปรแกรมไม่ประสงค์ดี (malware) และมาตรการในการแก้ไขระบบสารสนเทศให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(3) มีการสํารองข้อมูลสําคัญทางธุรกิจ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ ระบบงานคอมพิวเตอร์และชุดคําสั่งที่ใช้ทํางาน ไว้อย่างครบถ้วน และต้องมีการทดสอบข้อมูลสํารองและกระบวนการกู้คืนข้อมูลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(4) จัดเก็บและบันทึกหลักฐาน (logs) ต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและเพียงพอสําหรับการตรวจสอบการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การสอบทานการใช้งานข้อมูลและระบบสารสนเทศตามหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมาย การตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศโดยบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบและป้องกันการใช้งานระบบสารสนเทศที่มีความผิดปกติหรือไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบตัวตนของลูกค้าที่ทํารายการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ตามตารางแสดงรายละเอียดการจัดเก็บหลักฐานที่แนบท้ายประกาศนี้โดยต้องมีการติดตามและวิเคราะห์หลักฐานที่จัดเก็บสําหรับการใช้งานสารสนเทศที่มีความสําคัญให้สอดคล้องกับการประเมินความเสี่ยงขององค์กร
ตารางแสดงรายละเอียดการจัดเก็บหลักฐาน
| ประเภทหลักฐานที่ต้องจัดเก็บ | รายละเอียดขั้นต่ํา | ระยะเวลาจัดเก็บขั้นต่ํา |
| หลักฐานการเข้าถึงพื้นที่หวงห้าม (physical access log) | บุคคลที่เข้าถึง / วันเวลาที่ผ่านเข้าออก / ความพยายามในการเข้าถึง (ถ้ามี) | ไม่น้อยกว่า 3 เดือน |
| หลักฐานการเข้าถึงระบบปฏิบัติการ ฐานข้อมูล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (authentication log) | บัญชีผู้ใช้งาน / วันเวลาที่เข้าใช้งาน / ความพยายามในการเข้าใช้งาน | ไม่น้อยกว่า 3 เดือน |
ตารางแสดงรายละเอียดการจัดเก็บหลักฐาน
| ประเภทหลักฐานที่ต้องจัดเก็บ | รายละเอียดขั้นต่ํา | ระยะเวลาจัดเก็บขั้นต่ํา |
| หลักฐานการเข้าถึงและใช้งาน ระบบสารสนเทศ (application log) | บัญชีผู้ใช้งาน / หมายเลขประจําเครื่องที่ใช้งาน (IP address) / วันเวลาที่มีการใช้งาน --------------------------------------------------------------------- กรณีที่เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ (trading system) ให้เพิ่มรายละเอียดชื่อย่อหลักทรัพย์ (securities symbol) / หมายเลขบริษัทสมาชิก (broker No. 4 หลัก : xxxx) / เลขที่คําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (SET order ID) / เลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ (account ID) / วันและเวลาในการส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (yyyy/mm/dd - hh:mm:ss:sss) / หมายเลข Public และ Local IP address ต้นทาง (source) / หมายเลข IP address ปลายทาง(destination) / ที่อยู่ของเว็บไซต์ปลายทาง (full URL) / terminal type (ถ้ามี) เช่น iPad, iPhone เป็นต้น --------------------------------------------------------------------- ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องสามารถระบุตัวตนผู้ใช้งาน และ local IP address ในช่วงเวลาที่ใช้งานได้ (เฉพาะการใช้งานผ่านอุปกรณ์ของบริษัท) | ไม่น้อยกว่า 1 ปี สําหรับผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการ จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน และตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 6 เดือน สําหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทอื่น |
| หลักฐานการใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในของผู้ประกอบธุรกิจ (internet access log) | บัญชีผู้ใช้งาน / หมายเลขประจําเครื่องที่ใช้งาน (IP address) / หมายเลขอินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบธุรกิจ (organization IP address) / วันเวลาที่มีการใช้งาน / ที่อยู่ของเว็บไซต์ปลายทาง (full URL) --------------------------------------------------------------------- ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องสามารถระบุตัวตนผู้ใช้งาน และ IP address ในช่วงเวลาที่ใช้งานได้ | |
| หลักฐานการใช้งานแฟ้มข้อมูล (audit log)\* | บัญชีผู้ใช้งาน / วันเวลาที่เข้าใช้งาน / บันทึกการเรียกดู และการแก้ไขข้อมูล | ไม่น้อยกว่า 6 เดือน |
| หลักฐานการบริหาร (event log)ระบบปฏิบัติการ และ network firewall | วันและเวลาที่เกิดเหตุการณ์ / เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ OS (event services) เช่น สถานะการให้บริการของ service /เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ network firewall เช่น การปรับปรุง หรือแก้ไข firewall rules | ระยะเวลาตามที่จําเป็นและเพียงพอสําหรับ การตรวจสอบซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยง ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ประเมินไว้ |
| หลักฐานบันทึกข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ของ network firewall (network firewall log) | วันและเวลา / IP address ต้นทาง (source) และปลายทาง (destination) / firewall action / port ที่ใช้ติดต่อ | |
| หลักฐานการจัดการบริหารข้อมูล (database log) | บัญชีผู้ใช้งาน / วันเวลาที่เข้าใช้งาน | |
| หลักฐานการติดต่อสนทนาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic messaging)\*\* | บัญชีผู้ใช้งาน / วันเวลาที่เข้าใช้งาน / ข้อมูลการติดต่อ ตลอดระยะเวลาการสนทนา | ไม่น้อยกว่า 6 เดือน |
\* จัดเก็บเฉพาะบุคคลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายใน (“access person”) ของผู้ประกอบธุรกิจทุกประเภท
\*\* จัดเก็บเฉพาะบุคคลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายใน (“access person”) ของผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล เท่านั้น
\*\*\* นิยามว่าด้วย access person ให้เป็นไปตามประกาศแนวปฏิบัติว่าด้วยการกําหนดนโยบาย มาตรการ และระบบงานที่เกี่ยวกับการกระทําที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้า
ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(5) มีขั้นตอนควบคุมการติดตั้งซอฟท์แวร์บนระบบงาน และมีมาตรการจํากัดการติดตั้งซอฟท์แวร์โดยผู้ใช้งาน เพื่อให้ระบบปฏิบัติงานต่าง ๆ มีความถูกต้องครบถ้วนและน่าเชื่อถือ
ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(6) มีระบบในการบริหารจัดการกรณีช่องโหว่ทางเทคนิค (technical vulnerability management)ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเพียงพอและเหมาะสมดังนี้
(ก) มีการทดสอบการเจาะระบบ (penetration test) กับระบบงานที่มีความสําคัญที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายนอก (untrusted network) โดยบุคคลที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นไปตามการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบทางธุรกิจ (risk andbusiness impact analysis) ดังนี้
1. กรณีที่เป็นระบบงานสําคัญที่ประเมินแล้วมีความสําคัญสูง ต้องทดสอบอย่างน้อยทุก 3 ปีและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ
2. กรณีที่เป็นระบบงานที่มีความสําคัญอื่น ๆ ต้องทดสอบอย่างน้อยทุก 6 ปี
(ข) มีการประเมินช่องโหว่ของระบบ (vulnerability assessment) กับระบบงานที่มีความสําคัญ
ทุกระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ และรายงานผลไปยังหน่วยงานกํากับการปฏิบัติงาน หรือหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยไม่ชักช้า
ข้อ 23 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (operations security) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(7) มีการตรวจสอบระบบสารสนเทศดังนี้
(ก) วางแผนการตรวจสอบระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้
(ข) กําหนดขอบเขตในการตรวจสอบระบบสารสนเทศทางเทคนิคให้ครอบคลุมถึงจุดเสี่ยงที่สําคัญ โดยการตรวจสอบดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติงาน
(ค) ตรวจสอบระบบสารสนเทศนอกเวลาทํางาน ในกรณีที่การตรวจสอบนั้นอาจส่งผลกระทบต่อความพร้อมในการใช้งานระบบดังกล่าว
ข้อ 22 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (communications security) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีการบริหารจัดการและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมั่นคงและปลอดภัย โดยต้องสามารถป้องกันมิให้เกิดการกระทําที่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(2) จัดทําข้อตกลงการใช้บริการผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการ และกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับผู้รับดําเนินการ
(3) แบ่งแยกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามความเหมาะสม โดยระบุขอบเขตของระบบเครือข่ายย่อยอย่างชัดเจน และมีกระบวนการควบคุมการเข้าถึงขอบเขตดังกล่าวอย่างเหมาะสม
ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกําหนดนโยบายอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)
(3) นโยบายการรับส่งข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายภายในองค์กร และระหว่างเครือข่ายภายในองค์กรกับระบบเครือข่ายภายนอกองค์กร ให้มีความมั่นคงปลอดภัย
ข้อ 22 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (communications security) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(4) กําหนดมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่มีการรับส่งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(5) ดําเนินการให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจและผู้รับดําเนินการ (ถ้ามี) มีข้อตกลงเกี่ยวกับการรักษาความลับหรือไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีความสําคัญ
ข้อ 24 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศ (system acquisition, developmentand maintenance) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีข้อกําหนดในการจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัยเมื่อมีระบบสารสนเทศใหม่หรือมีการปรับปรุงระบบเดิม
(2) จัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ ในกรณีที่มีการเข้าถึงระบบการให้บริการการใช้งาน (application service)
ข้อ 24 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศ (system acquisition, developmentand maintenance) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(3) มีการควบคุมการพัฒนาหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศในทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามขั้นตอนการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศที่กําหนดไว้
(4) มีการทดสอบระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบสารสนเทศดังกล่าวทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน
(5) ปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้สอดคล้องกับการพัฒนาหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศ
(6) มีการควบคุมบุคลากร ขั้นตอน และเทคโนโลยีสําหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัยตลอดขั้นตอนการพัฒนาระบบ
(7) มีการดูแล ติดตาม และควบคุมการพัฒนาระบบสารสนเทศของผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงการใช้บริการ
(8) มีการทดสอบการทํางานของระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนา โดยผู้ใช้งานหรือผู้ทดสอบที่เป็นอิสระจากผู้พัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว
ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการกําหนดนโยบายอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security policy)
(5) นโยบายเพื่อรองรับในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการคัดเลือกและประเมินผู้รับดําเนินการการทบทวนคุณสมบัติของผู้รับดําเนินการ และการมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการใช้บริการ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงทรัพย์สินสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม
ข้อ 25 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) มีข้อตกลงและกระบวนการควบคุมเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในการใช้บริการจากผู้รับดําเนินการ โดยผู้ประกอบธุรกิจและผู้รับดําเนินการต้องมีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงและกระบวนการดังกล่าว
(4) มีมาตรการตรวจสอบดูแลให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยมาตรการดังกล่าวต้องสามารถควบคุมให้ผู้รับดําเนินการไม่มีลักษณะที่จะทําให้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ
(5) มีแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (incident response policy)
(6) กําหนดสิทธิในการเข้าตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการและควบคุมให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามข้อตกลงที่กําหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมีข้อจํากัดในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงที่กําหนดไว้ได้
(7) มีข้อกําหนดให้ผู้รับดําเนินการยินยอมให้สํานักงานเรียกดู ตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสามารถเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการ
ข้อ 25 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(2) มีการติดตาม ประเมิน ทบทวน และตรวจสอบผู้รับดําเนินการอย่างสม่ําเสมอ
(3) มีการประเมินความเสี่ยงและกําหนดกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ขั้นตอน หรือวิธีการปฏิบัติงานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หรือเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ
ข้อ 11 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security incident management) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดขั้นตอนและกระบวนการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
(2) กําหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
(3) รายงานต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ตาม (2) และสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
(4) ทดสอบขั้นตอนและกระบวนการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตาม (1) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงไซเบอร์ (cyber security drill)
(5) พิจารณาทบทวนขั้นตอนและกระบวนการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ หลังจากที่มีการทดสอบตาม (4) แล้วอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(6) จัดให้มีการประเมินผลการทดสอบตาม (4) และประเมินผลพิจารณาทบทวนตาม (5) โดยต้องรายงานผลต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวต้องกระทําโดยบุคคลที่เป็นอิสระจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเหตุการณ์ตาม (2)
(7) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการในการบริหารจัดการเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันที่จัดทําเอกสารนั้น โดยต้องเก็บรักษาไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานสามารถเรียกดูและตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (4) ให้คําว่า “ความเสี่ยงไซเบอร์” หมายความว่า ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบ หรือสร้างความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการใช้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม
ข้อ 12 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security of business continuity management) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดมาตรการรองรับสําหรับกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
(2) กําหนดขั้นตอน กระบวนการดําเนินการ และการควบคุม เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
(3) กําหนดระยะเวลาในการกลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานปกติของระบบสารสนเทศและจัดลําดับการกู้คืนระบบงานสารสนเทศที่มีความสําคัญให้สอดคล้องกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
(4) มีระบบสารสนเทศสํารองที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ซึ่งต้องสอดคล้องกับระยะเวลาในการกลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานตามปกติของระบบสารสนเทศตาม (3)
---
1.
2. | 11,510 |
ประกาศแนวปฏิบัติ
ที่ นป. 4/2559
เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
(Business Continuity Management)
| ประกาศแนวปฏิบัติที่ นป. 4/2559
เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ(Business Continuity Management)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (“ประกาศ ที่ ทธ. 35/2556”) และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ/น. 45/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (“ประกาศ ที่ สธ/น. 45/2559”)กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีความเหมาะสม น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า และเพื่อให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องตรงตามหน้าที่และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทําให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นั้น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของผู้ประกอบธุรกิจ สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องตามแนวทางปฏิบัตินี้จนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบงานในการรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและประกาศ ที่ สธ/น. 45/2559 แล้ว ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการต่างจากแนวปฏิบัตินี้ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบงานในการรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และประกาศ ที่ สธ/น. 45/2559
ข้อ 2 แนวทางปฏิบัติตามข้อ 2 มีรายละเอียดตามที่กําหนดในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศแนวปฏิบัตินี้ ทั้งนี้ รายละเอียดดังกล่าวได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้
===========================================================================================================================================
(1) ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ของแนวทางปฏิบัติเรื่อง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management)
(2) ส่วนที่ 2 หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูง (Board of directors and senior management responsibility)
(3) ส่วนที่ 3 ผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินที่อาจทําให้งานสําคัญหยุดชะงัก (Major operational disruptions)
(4) ส่วนที่ 4 บริษัทควรกําหนดเป้าหมายในการกู้คืนการดําเนินงานให้กลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานปกติ (Recovery objective)
(5) ส่วนที่ 5 บริษัทต้องจัดให้มีแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business continuity planning)
(6) ส่วนที่ 6 การติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง (Communication)
(7) ส่วนที่ 7 การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศ (Cross-border Communication)
(8) ส่วนที่ 8 บริษัทต้องทดสอบและประเมิน BCP (Training, Exercising and Auditing)
(9) ส่วนที่ 9 ตัวอย่างเหตุฉุกเฉินที่อาจทําให้งานสําคัญหยุดชะงัก (Major operation disruption)
ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
**ภาคผนวก**
**ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ของแนวทางปฏิบัติเรื่อง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management)**
สํานักงานจัดทําแนวปฏิบัตินี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยครอบคลุมประเด็นสําคัญ
ในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจแต่ละแห่งควรนําไปปรับใช้และกําหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างชัดเจนให้เหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนในการดําเนินธุรกิจของบริษัท นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจควรศึกษามาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น Business continuity institute (BCI)[1](#fn1), International organization of securities commissions (IOSCO)[2](#fn2) เป็นต้น
**ส่วนที่ 2 หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูง (Board of directors and senior management responsibility)**
คณะกรรมการบริษัท (“คณะกรรมการ”) และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบกําหนดกลยุทธ์และนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity management: BCM) และแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business continuity plan : BCP) ของบริษัท ตลอดจนจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ต้องจัดให้มีการติดตามการปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายและแผนดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงอาจแต่งตั้งคณะทํางานเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านปฏิบัติการได้แต่จะต้องติดตามดูแลการดําเนินการดังกล่าว
**ส่วนที่ 3 ผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินที่อาจทําให้งานสําคัญหยุดชะงัก (Major operational disruptions)**
บริษัทต้องจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่งานสําคัญจะหยุดชะงักจากเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจและประเมินความเสียหายจากการหยุดชะงักของการดําเนินงานที่สําคัญ (Major operational disruptions) เพื่อให้บริษัทสามารถกําหนดลําดับความสําคัญของงาน และจัดสรรทรัพยากรในการบริหารการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยบริษัทควรทําการประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจดังกล่าวปีละครั้งหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญที่ส่งผลต่อความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้น โดยควรปฏิบัติตามวิธีการดังนี้
3.1 *การระบุงานสําคัญ* (Critical business function) บริษัทควรคัดเลือกงานสําคัญที่พิจารณาว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินแล้วงานดังกล่าวหยุดชะงัก จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อลูกค้า การดําเนินธุรกิจ สถานะทางการเงิน หรือชื่อเสียงของบริษัท เช่น การส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์การชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สิน การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) เป็นต้น
3.2 *การประเมินความเสี่ยง* (Risk assessment) บริษัทต้องทําการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจทําให้งานสําคัญหยุดชะงัก โดยควรประเมินเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ทําให้เกิดการหยุดชะงักและก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบทางธุรกิจทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว เช่น อาคารและสถานที่ทําการหรือสาขาได้รับความเสียหาย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใช้งานไม่ได้ พนักงานไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้งานอาคารได้ พนักงานไม่สามารถมาปฏิบัติงานทั้งกรณีชั่วคราวหรือถาวร เป็นต้น
3.3 *การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ* (Business impact analysis) บริษัทต้องวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจและประเมินความเสียหายจากการหยุดชะงักของงานสําคัญ เพื่อให้บริษัทสามารถกําหนดลําดับความสําคัญของงาน และจัดสรรทรัพยากรในการบริหารการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาถึงผลกระทบทั้งในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินที่มีต่อลูกค้า พนักงาน บริษัทในเครือ อุปกรณ์ ทรัพย์สินและที่ทําการของบริษัท สถานะการเงิน ความเชื่อมั่นของลูกค้าและชื่อเสียงของบริษัท รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางการ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงผลกระทบในวงกว้างด้วย เช่น การลงทุนหรือการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล ต้องคํานึงถึงกระบวนการชําระเงิน การส่งมอบหลักทรัพย์ ที่อาจกระทบต่อระบบตลาดโดยรวมด้วย หรือการขัดข้องของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการซื้อขายของบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ หากมีผลให้ไม่สามารถบันทึกการเสนอซื้อขายเข้ามาในระบบซื้อขายพร้อมกันหลายบริษัทและนานเกินกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กําหนด อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ หยุดการซื้อขายทั้งหมดเป็นการชั่วคราวได้ เป็นต้น
**ส่วนที่ 4 บริษัทควรกําหนดเป้าหมายในการกู้คืนการดําเนินงานให้กลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานปกติ (Recovery objective)**
4.1 บริษัทควรกําหนดระยะเวลาในการกลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานปกติของแต่ละงานสําคัญ (Recovery time objectives) พร้อมทั้งจัดลําดับการกู้คืนการดําเนินงานของงานที่สําคัญทุกงานให้เหมาะสมกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
4.2 บริษัทควรพิจารณากําหนดประเภทของข้อมูล และชุดข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืนได้ (Recovery point objective) เพื่อให้บริษัทสามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อลูกค้า การดําเนินธุรกิจ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ข้อมูลทรัพย์สินของลูกค้าและกองทุน รายการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหน่วยลงทุน ข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืนได้อาจเป็นการกู้คืนข้อมูล ณ สิ้นวันก่อน หรือ 1 ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินแล้วแต่กรณี นอกจากนี้ ควรมีวิธีการในการจัดหาหรือจัดทําข้อมูลทดแทนข้อมูลสําคัญที่สูญหาย
4.3 หากบริษัทมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการ (service provider) บริษัทควรร่วมกับผู้ให้บริการในการกําหนดระยะเวลากลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานปกติและชุดข้อมูลที่จะกู้คืนล่าสุด เพื่อให้ได้เป้าหมายที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้จริง
ทั้งนี้ การกําหนดระยะเวลากลับคืนสู่สภาพการดําเนินงานปกติและชุดข้อมูลที่จะกู้คืนล่าสุดเป็นปัจจัยสําคัญในการกําหนดทรัพยากรที่ต้องการใช้จึงควรได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัทหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมาย
**ส่วนที่ 5 บริษัทต้องจัดให้มีแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business continuity planning)**
เพื่อให้งานสําคัญสามารถดําเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทต้องจัดให้มี BCP ที่กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัทหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมาย โดยควรจัดเก็บ BCP ดังกล่าวไว้ทั้งในและนอกสถานที่ทําการ
BCP จะต้องครอบคลุมทุกงานสําคัญของบริษัท ตลอดจนระบบงานที่สําคัญที่บริษัทใช้บริการจากผู้ให้บริการ (service provider) นอกจากนี้ บริษัทควรกําหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติไว้ใน BCP ให้เหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของธุรกิจและครอบคลุมการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นทุกสถานการณ์ รวมทั้งกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเป็นเวลานานหรือส่งผลเสียหายครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้าง เช่น การเกิดโรคระบาด การไฟฟ้าหรือการสื่อสารขัดข้องในหลายพื้นที่ เป็นต้น โดยให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดทํา BCP เพื่อรองรับงานสําคัญของตนเอง ทั้งนี้ BCP ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
5.1 *ขั้นตอนการปฏิบัติงานและผู้รับผิดชอบ* เพื่อให้บริษัทสามารถกลับมาดําเนินงานสําคัญได้ตามระยะเวลาที่กําหนดหลังจากเกิดการหยุดชะงักการดําเนินงาน บริษัทต้องกําหนดหน้าที่และ
ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานแต่ละรายอย่างชัดเจน และจัดให้มีการสื่อสารและซักซ้อมความเข้าใจถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ตลอดจนกําหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติงานที่สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ว่าต้องปฏิบัติงานอะไร อย่างไร เมื่อไร และที่ไหน
5.2 *วิธีการและช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกบริษัท* บริษัทต้องกําหนดวิธีการและช่องทางติดต่อสื่อสาร รายชื่อผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกบริษัท ผู้รับผิดชอบ การติดต่อสื่อสาร รวมทั้งรายละเอียดข้อมูลที่จะเปิดเผยแก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน บริษัทควรจัดทําผังการติดต่อพนักงาน (Call tree[3](#fn3)) และจัดทํารายชื่อลูกค้า ผู้ให้บริการหลักและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมถึงข้อมูลที่สามารถใช้ในการติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์สํานักงาน หมายเลขโทรศัพท์บ้าน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ E-mail เป็นต้น โดยบริษัทต้องปรับปรุงรายชื่อและข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ นอกจากนี้บริษัทควรกําหนดช่องทางการสื่อสารเพิ่มเติม เช่น เว็บไซต์บริษัท SMS Call center หรือการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เป็นต้น
5.3 *ทรัพยากรที่จําเป็นสําหรับการปฏิบัติงาน* บริษัทควรจัดเตรียมหรือจัดหาทรัพยากรที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน เช่น การจัดหาหรือกําหนดบุคลากรที่จะปฏิบัติงานแทนทั้งระดับพนักงานและผู้บริหาร แหล่งเงินทุน อุปกรณ์สํานักงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น รวมทั้งควรประเมินการใช้เงินทุนและการเข้าถึงเงินทุนในช่วงที่เกิดเหตุฉุกเฉินด้วย
5.4 *การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติงานสํารอง (Alternate site)* เพื่อป้องกันผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง บริษัทอาจจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติงานสํารองเพื่อรองรับการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์ปฏิบัติงานดังกล่าวไม่ควรใช้สาธารณูปโภคแหล่งเดียวกันกับสถานที่ทําการหลัก และควรตั้งอยู่ห่างจากสถานที่ทําการหลักเพียงพอที่จะไม่ได้รับผลกระทบเดียวกัน รวมทั้งควรจัดให้สามารถรองรับปริมาณงานสําคัญหรือการเกิดเหตุฉุกเฉินเป็นระยะเวลานานได้ นอกจากนี้ศูนย์ปฏิบัติงานสํารองควรมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานทันทีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ (Recovery Time Objectives) กรณีที่บริษัทไม่มีการจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการสํารองบริษัทควรมีแนวทางการปฏิบัติงานอื่นที่สามารถรองรับการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องได้
**ส่วนที่ 6 การติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง** **(Communication)**
6.1 เพื่อป้องกันและลดความตระหนกของผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน รวมทั้งสามารถแจ้งเหตุแก่หน่วยงานกํากับดูแลได้ทันท่วงที ผู้ประกอบธุรกิจต้องวางแผนการติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกบริษัทให้สอดคล้องกับผลกระทบที่เกิด หากผลกระทบที่กล่าวส่งผลอย่างมีนัยสําคัญต่อลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น การปิดหรือเลื่อนการเปิดทําการของสํานักงานแห่งใดแห่งหนึ่ง การขัดข้องของระบบซื้อขายหลักทรัพย์หรือระบบปฏิบัติการหลักทรัพย์ การขัดข้องของการรับคําสั่งซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) เป็นต้น บริษัทต้องแจ้งหรือประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้องทราบถึงเหตุฉุกเฉิน ผลกระทบที่เกิดขึ้น ช่องทางที่ลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้องจะสามารถติดต่อขอใช้บริการหรือสื่อสารกับบริษัทได้ตลอดระยะเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ช่องทางที่ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงทรัพย์สินของตนเองในช่วงที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อตรวจสอบยอดทรัพย์สินหรือทํารายการได้ และมาตรการดําเนินการของบริษัทให้ทั่วถึงกันโดยเร็ว รวมทั้งต้องสื่อสารเป็นระยะให้เห็นถึงความคืบหน้าของการดําเนินการหากเกิดเหตุฉุกเฉินเป็นเวลานาน
6.2 กรณีที่มีการหยุดการให้บริการของงานสําคัญหรือเกิดเหตุฉุกเฉินซึ่งส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ บริษัทต้องแจ้งต่อสํานักงานโดยเร็วและไม่เกินวันทําการถัดไป พร้อมทั้งรายงานรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการดําเนินการและระยะเวลาที่ใช้หรือคาดว่าจะใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยให้บริษัทแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรับผิดชอบบริษัท และเมื่องานสําคัญที่กล่าวสามารถกลับมาดําเนินการได้ตามปกติ ให้บริษัทแจ้งสํานักงานรับทราบด้วย
**ส่วนที่ 7 การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศ (Cross-border Communication)**
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการทําธุรกรรมหรือใช้บริการจากผู้ให้บริการต่างประเทศผู้ประกอบธุรกิจควรมีแผนรองรับการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานกํากับดูแลในต่างประเทศ หน่วยงานอื่นของต่างประเทศ และผู้ให้บริการต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินอันส่งผลกระทบข้ามประเทศด้วย โดยในการติดต่อกับหน่วยงานกํากับดูแลในต่างประเทศผู้ประกอบธุรกิจสามารถติดต่อผ่านคู่ค้าในต่างประเทศหรือสํานักงานได้
**ส่วนที่ 8 บริษัทต้องทดสอบและประเมิน BCP (Training, Exercising and Auditing)**
8.1 บริษัทควรจัดให้มีการอบรมและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ BCP แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกอย่างสม่ําเสมอ พร้อมทั้งต้องทดสอบ BCP ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทุกระดับต้องมีส่วนร่วมในการทดสอบ และจัดให้มีการทดสอบ BCP ของงานที่สําคัญอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ[4](#fn4) โดยบริษัทควรกําหนดขอบเขตการทดสอบให้เพียงพอ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทสามารถดําเนินงานตาม BCP ได้อย่างถูกต้อง และได้ผลตามที่คาดหวังไว้
8.2 ในการทดสอบและประเมิน BCP บริษัทควรกําหนดสถานการณ์จําลองซึ่งอาจแตกต่างกันในการทดสอบแต่ละครั้ง เช่น สถานการณ์การเกิดน้ําท่วม แผ่นดินไหว การลอบวางระเบิด การเดินขบวนประท้วง ไข้หวัดนกระบาด การถูกโจมตีทางไซเบอร์ (cyber attack)[5](#fn5) เป็นต้น เพื่อทดสอบความสามารถของ BCP ในการรองรับการดําเนินการอย่างต่อเนื่องในการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ โดยบริษัทอาจพิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ผลการทดสอบที่ผ่านมา หรือผลกระทบที่อาจเกิด เป็นต้น โดยการทดสอบและการประเมินต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
8.2.1 ขั้นตอนการติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง ความถูกต้องและทันสมัยของรายชื่อและข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อ
8.2.2 ขั้นตอนการอพยพพนักงานหรือการเคลื่อนย้ายพนักงานไปยังสถานที่ที่กําหนดไว้
8.2.3 ขั้นตอนการปฏิบัติงานตามปกติตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการของงานสําคัญ เช่น การส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ การชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สิน การบันทึกบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและกองทุน การรับซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) การจัดการลงทุน เป็นต้น
8.2.4 ความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย อุปกรณ์ต่างๆ และการสํารองและกู้คืนข้อมูลสําคัญ โดยสามารถกู้คืนข้อมูลล่าสุดตามที่กําหนดไว้จากอุปกรณ์หรือสถานที่จัดเก็บได้
8.2.5 ความพร้อมของศูนย์ปฏิบัติงานสํารอง (ถ้ามี) ศูนย์ปฏิบัติงานสํารองสามารถรองรับการเข้าไปปฏิบัติงานได้ทันทีหรือภายในระยะเวลาที่กําหนด
นอกจากนี้ บริษัทควรทดสอบ BCP ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นตลาดหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการหลัก ตัวแทนรับซื้อขายคืนหน่วยลงทุน เป็นต้น
8.3 เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติตาม BCP ได้จริงและครบถ้วนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน บริษัทต้องจัดให้มีผู้ประเมินที่สามารถให้ความเห็นได้อย่างอิสระเป็นผู้ประเมินประสิทธิภาพของแผนการตรวจสอบ และผลการทดสอบ BCP ว่าการทดสอบดังกล่าวบรรลุเป้าหมายตามที่บริษัทกําหนดทั้งในด้านระยะเวลาที่ใช้และข้อมูลที่สามารถกู้คืนได้ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผนได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายตามงวดเวลาที่เหมาะสมด้วย โดยผู้ประเมินอาจเป็นบุคคลภายในหรือภายนอกบริษัท
8.4 เพื่อปรับปรุง BCP ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทต้องทบทวน BCP ทั้งในระดับหน่วยงานและองค์กรตามผลการประเมิน และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เช่น การได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจเพิ่ม การควบรวมกิจการการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ใช้ เป็นต้น
8.5 บริษัทต้องจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ดังนี้
(1) แผนที่ใช้ในการทดสอบ
(2) สรุปผลการทดสอบ
(3) สรุปการทบทวนแผน
8.6 บริษัทควรติดตามและประเมินผล BCP ของผู้ให้บริการหลัก โดยบริษัทอาจเข้าร่วมทดสอบ ร่วมสังเกตการณ์ หรือให้ผู้บริการหลักแจ้งผลการทดสอบ BCP มายังบริษัทก็ได้
**ส่วนที่ 9 ตัวอย่างเหตุฉุกเฉินที่อาจทําให้งานสําคัญหยุดชะงัก (Major operation disruption)**
ตัวอย่างเหตุฉุกเฉินซึ่งแบ่งกลุ่มเพื่อความชัดเจน และเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถวิเคราะห์ผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยด้านต่าง ๆ เพื่อจะได้กําหนดมาตรการได้ครอบคลุมมากขึ้นโดยผู้ประกอบธุรกิจจะต้องประเมินความเสี่ยงและผลกระทบของภัยด้านต่าง ๆ และจัดเตรียมมาตรการเพื่อรองรับภัยที่อาจเกิดขึ้นตามสมควร โดยแบ่งเป็นภัย 5 ด้าน ได้แก่
9.1 ด้านเศรษฐกิจ/กายภาค เช่น การประท้วงของแรงงาน การไม่สามารถเข้าถึงอาคารสถานที่ หรือสิ่งอํานวยความสะดวกในเขตพื้นที่ เป็นต้น
9.2 ด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น การสูญเสียผู้บริหารและบุคลากรหลักที่สําคัญ พนักงานขาดงานจํานวนมาก เป็นต้น
9.3 ด้านชื่อเสียง เช่น การถูกฟ้องร้องดําเนินคดีที่ร้ายแรง ข่าวลือต่าง ๆ ในทางเสื่อมเสียแก่องค์กร เป็นต้น
9.4 ด้านภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย สึนามิ โรคระบาดร้ายแรง เป็นต้น
9.5 ด้านภัยจากมนุษย์ เช่น การก่อการร้าย การถูกจับเป็นตัวประกัน การถูกโจมตีทางไซเบอร์ (cyber attack) เป็นต้น
---
1.
2.
3.
4.
5. | 11,511 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๑/๒๕๖๖ เรื่อง การขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ สมาคมกำกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. ๑๑/๒๕๖๖
เรื่อง การขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ
สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
---------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์การขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๙ และมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ สมาคมที่ประสงค์จะเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นสมาคมที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอันมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน
ข้อ ๓ สมาคมตามข้อ ๒ ที่ประสงค์จะเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจ ให้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งหลักเกณฑ์ในการดําเนินงานและเอกสารหลักฐานประกอบอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดในเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. และต้องชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามข้อ ๑๔
การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐาน และการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดในเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๔ หลักเกณฑ์ในการดําเนินงานตามข้อ ๓ วรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) มีโครงสร้างการกํากับดูแลสมาคม และหลักเกณฑ์ในการเลือกกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากสมาชิกทุกประเภทธุรกิจ และกรรมการอิสระ เพื่อให้สมาคมสามารถกํากับดูแลสมาชิกได้อย่างเป็นอิสระ โปร่งใส เป็นธรรม เข้าใจการดําเนินงานของสมาชิกทุกประเภท
(๒) มีการให้สิทธิสมาชิกในการเสนอชื่อบุคคลที่จะดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการและการออกเสียงเลือกกรรมการที่สะท้อนประเภทธุรกิจและจํานวนสมาชิกอย่างเป็นธรรม
(๓) มีการกําหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ รวมทั้งองค์ประกอบและวิธีการคัดเลือกกรรมการ ประธานกรรมการ วาระการดํารงตําแหน่ง การใช้สิทธิออกเสียง การเรียกและการประชุมคณะกรรมการ ตลอดจนการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ การพิจารณาการมีส่วนได้เสีย การพ้นและการต่อวาระการดํารงตําแหน่ง
(๔) มีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใส เป็นธรรม และไม่มีลักษณะเป็นการกีดกันการแข่งขัน ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึงความเหมาะสมและสถานภาพของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการรับสมาชิก ประเภทของสมาชิก สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก การพ้นจากสมาชิกภาพ การรับสมาชิกซึ่งพ้นจากสมาชิกภาพเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการประชุมใหญ่
(๕) มีหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของผู้ลงทุนและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาดโดยรวม
(๖) มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิก ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(ก) การให้สมาชิกประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีจริยธรรมในการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าหรือประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอื่น
(ข) การให้สมาชิกปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ตลอดจนให้บริการโดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ด้วยความระมัดระวัง ด้วยข้อมูลที่เพียงพอและมีหลักฐานที่สามารถอ้างอิงได้
(ค) การให้สมาชิกเปิดเผยให้ลูกค้าทราบในกรณีที่สมาชิกมีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ให้บริการนั้น
(ง) การห้ามมิให้สมาชิกเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าที่ตนได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการดําเนินธุรกิจ อันเป็นข้อมูลที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ตามกฎหมาย หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงินหรือประชาชน
(จ) การห้ามมิให้สมาชิกช่วยเหลือหรือสนับสนุนการกระทําอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การกระทําอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริต หรือการกระทําอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนปกปิดหรือมีส่วนในการยักย้ายหรือจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทําดังกล่าว
(๗) มีมาตรการกํากับดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสมาคมและจรรยาบรรณ
ในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวินัยและระดับการลงโทษสมาชิก การเปิดเผยการลงโทษ บทบาทของคณะกรรมการในการลงโทษ ตลอดจนการพิจารณาและการดําเนินการทางวินัย
(๘) มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับข้อร้องเรียนจากลูกค้าของสมาชิก หรือระบบระงับข้อพิพาทระหว่างสมาชิกหรือระหว่างสมาชิกกับลูกค้าอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) จัดให้มีระเบียบปฏิบัติที่เปิดเผยและเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท โดยการกําหนดระเบียบปฏิบัติดังกล่าวต้องคํานึงถึงการคุ้มครองผู้ร้องเรียนด้วย
(ข) จัดให้มีหน่วยงานหรือบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท
(ค) จัดให้มีการติดตามตรวจสอบและแจ้งผลการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทให้ผู้ร้องเรียนหรือคู่พิพาททราบ
(ง) จัดส่งรายงานสรุปข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทุก ๖ เดือน โดยในรายงานดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับสรุปสาระสําคัญ และผลการพิจารณาหรือการดําเนินการของสมาคม
ข้อ ๕ ในกรณีที่หลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิกที่ยื่นประกอบคําขอรับความเห็นชอบอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินงานหรือประโยชน์ได้เสียของสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาคม สมาคมต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าว และจัดส่งรายงานการรับฟังความคิดเห็นนั้นให้สํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์กรของสมาคม หรือหลักเกณฑ์อื่นใดตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ ๖ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบรายละเอียด
ในคําขอและเอกสารหลักฐานนั้น หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวครบถ้วน แต่หากเห็นว่ายังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบดําเนินการแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบไม่แก้ไขให้ถูกต้องหรือครบถ้วนให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบไม่ประสงค์จะดําเนินการต่อไป และให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๗ ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบให้ผู้ยื่นคําขอเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจ และผู้นั้นได้ชําระค่าธรรมเนียมการดําเนินกิจการเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ ๑๔ ครบถ้วนแล้ว ให้ดําเนินกิจการเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจได้
ข้อ ๘ สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติหน้าที่และดําเนินงานให้เป็นไปตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีและหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม ตลอดจนจัดให้มีระบบรองรับการดําเนินงานที่เพียงพอ มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามข้อ ๔ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบ
ข้อ ๙ ในกรณีที่สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิก ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็น สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจอาจออกหลักเกณฑ์เพื่อใช้บังคับเป็นการชั่วคราวได้ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดในกรณีที่หลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิกตามวรรคหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินงานหรือประโยชน์ได้เสียของสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจ สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าว และจัดส่งรายงานการรับฟังความคิดเห็นนั้นให้สํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับการออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์กรของสมาคม หรือหลักเกณฑ์อื่นใดตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป และสํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งให้สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม หรือยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว หรือแจ้งให้สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการใด ๆ สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตามที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๑ ให้สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจรายงานการดําเนินงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดหรือร้องขอ และยินยอมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบ
การดําเนินงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายและประกาศกําหนด
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจใด
(๑) สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคล หรือไม่สามารถดํารงหลักเกณฑ์ในการดําเนินงานตามข้อ ๔
(๒) มีการดําเนินงานในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือกระทบความน่าเชื่อถือของการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม
(๓) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๑
(๔) ออกหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิกเป็นการชั่วคราวโดยไม่สุจริต หรือไม่มีเหตุอันสมควรให้สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งให้บุคคลดังกล่าวดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เว้นแต่กรณีการสิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง (๑)
ข้อ ๑๓ สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจใดไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามข้อ ๑๒ ในลักษณะร้ายแรงอันอาจกระทบต่อการรักษาความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยข้อเสนอแนะของสํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจได้
ข้อ ๑๔ ค่าธรรมเนียมในการขอรับความเห็นชอบและการดําเนินกิจการเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้
(๑) คําขอรับความเห็นชอบเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจ คําขอละ ๕๐๐ บาท
(๒) การดําเนินกิจการเป็นสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจ ปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท
ค่าธรรมเนียมตาม (๑) ให้ชําระในวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ
ค่าธรรมเนียมตาม (๒) ให้ชําระล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทิน โดยต้องชําระก่อน
วันเริ่มปีปฏิทินนั้น เว้นแต่ในปีแรก ให้ชําระเมื่อได้รับความเห็นชอบและให้คิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ยตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ในปีปฏิทินที่ได้รับความเห็นชอบ
ข้อ ๑๕ สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจใดไม่ชําระค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ ๑๔ วรรคสาม ต้องชําระค่าธรรมเนียมเพิ่มในอัตราร้อยละ ๒๐ ของค่าธรรมเนียมที่ชําระไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(นายพิชิต อัคราทิตย์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 11,512 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. ๒๗/๒๕๖๖ เรื่อง การกำหนดลักษณะของลูกค้าซึ่งไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง กับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสิทธิ ได้รับจัดสรรทรัพย์สินคืนก่อน | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. ๒๗/๒๕๖๖
เรื่อง การกําหนดลักษณะของลูกค้าซึ่งไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
กับตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสิทธิ
ได้รับจัดสรรทรัพย์สินคืนก่อน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“บริษัทใหญ่” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในตัวแทนซื้อขายสัญญา
(๒) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (๑)
(๓) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (๒) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (๒)
“บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) บริษัทที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีอํานาจควบคุมกิจการ
(๒) บริษัทที่บริษัทตาม (๑) มีอํานาจควบคุมกิจการ
(๓) บริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (๒) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (๒)
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในตัวแทนซื้อขายสัญญาเกินกว่าร้อยละ ๑๐ ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญา การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
คําว่า “บริษัท” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “อํานาจควบคุมกิจการ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
ข้อ ๒ ให้ลูกค้าที่ไม่มีลักษณะความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เป็นลูกค้าซึ่งไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีสิทธิได้รับจัดสรรทรัพย์สินคืนก่อนตามมาตรา ๔๔
(๑) กรรมการหรือผู้บริหารของตัวแทนซื้อขายสัญญา
(๒) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของตัวแทนซื้อขายสัญญา
(๓) ผู้มีอํานาจควบคุมของตัวแทนซื้อขายสัญญา
(๔) บริษัทใหญ่ของตัวแทนซื้อขายสัญญา
(๕) บริษัทย่อยของตัวแทนซื้อขายสัญญา
(๖) คู่สมรส ผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
(๗) ผู้ที่มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ทําให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาได้ว่าเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) หรือเป็นตัวแทนโดยมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลดังกล่าว ในการดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ของบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(นางพรอนงค์ บุษราตระกูล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,513 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. ๒๘/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีทดรองจ่ายทรัพย์สิน ของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแทนลูกค้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. ๒๘/๒๕๖๖
เรื่อง การจัดทําและเก็บรักษาบัญชีทดรองจ่ายทรัพย์สิน
ของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแทนลูกค้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“บัญชีทดรองจ่าย” หมายความว่า บัญชีทดรองจ่ายทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อเป็นประกันหรือชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแทนลูกค้า
ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําบัญชีทดรองจ่าย ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันทําการที่ ๕ ของเดือนถัดไป
ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาหยุดหรือถูกระงับการประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาในวันใด ให้จัดทําบัญชีทดรองจ่าย ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายก่อนวันที่มีการหยุดหรือถูกระงับการประกอบธุรกิจ โดยให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการหยุดหรือถูกระงับการประกอบธุรกิจ
บัญชีทดรองจ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละราย
อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(๑) รายชื่อลูกค้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาทดรองจ่าย
(๒) วันที่ทดรองจ่าย
(๓) ประเภท จํานวน และมูลค่าของทรัพย์สินที่ทดรองจ่าย
(๔) เหตุที่ต้องทดรองจ่าย
(๕) วันที่แจ้งการทดรองจ่ายต่อลูกค้า
(๖) รายการเกี่ยวกับการรับชําระทรัพย์สินคืนจากลูกค้า
ข้อ ๓ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแก้ไขข้อมูลในบัญชีทดรองจ่าย ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า และต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขข้อมูลดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําและแก้ไขข้อมูลในบัญชีทดรองจ่ายตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ปีนับจากวันที่ทําธุรกรรมอันเป็นเหตุให้ต้องทดรองจ่ายหรือวันที่แก้ไขข้อมูลดังกล่าว โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลา ๒ ปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(นางพรอนงค์ บุษราตระกูล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 11,514 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 253) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทาง ออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๓)
เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทาง
ออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ ๓.๒ ของข้อ ๓ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๙๐) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ ๒๓๐) เรื่อง กําหนดคุณลักษณะ และหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วจากการซื้อสินค้าที่เป็น อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพาหรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือรวมทั้งกระเป๋าใส่ธนบัตรหรือเหรียญหรือกระเป๋าอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่สี่หมื่นบาทขึ้นไปหรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้ผู้ประกอบการประทับข้อความ "Item No........ must also be presented to Revenue Officer" ลงในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๑๐)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
กุลยา ตันติเตมิท
(นางสาวกุลยา ตันติเตมิท)
อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 11,515 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้า จากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้า
จากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ อธิบดีกรมสรรพากร กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่ง และวรรคสองของข้อ ๔ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๙๑) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๓) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๔ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วซึ่งมีมูลค่าการซื้อสินค้ารวมกันทั้งหมดตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป ต้องนําสินค้าตามข้อ ๒ และคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๑๐) พร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับรับรองในคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๑๐) หรือตรวจรับรองคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๑๐) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่สินค้าที่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพาหรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือรวมทั้งกระเป๋าใส่ธนบัตรหรือเหรียญหรือกระเป๋าอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่สี่หมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแสดงสินค้าดังกล่าว และคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๑๐) พร้อมใบกํากับภาษี ต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรด้วย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกวรรคสามของข้อ ๖ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๙๑) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๓) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
กุลยา ตันติเตมิท
(นางสาวกุลยา ตันติเตมิท)
อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 11,516 |
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 255) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้า จากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร | ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๕)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้า
จากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ อธิบดีกรมสรรพากร
กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๒๙) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนําออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๘ ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วซึ่งมูลค่าการซื้อสินค้าทั้งหมดตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป ต้องนําสินค้าตามข้อ ๗ และคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.๑๐) พร้อมใบกํากับภาษีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ที่มีกล่องรับคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.๑๐)(Drop Box) ติดตั้งไว้ ในขณะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากรประทับรับรองในคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.๑๐)
กรณีสินค้าที่ปรากฏข้อความ “Item No. ... must also be presented to Revenue Officer” ในคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.๑๐) ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพาหรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือรวมทั้งกระเป๋าใส่ธนบัตรหรือเหรียญหรือกระเป๋าอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน (ไม่รวมถึงกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่สี่หมื่นบาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนําติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องแสดงสินค้าดังกล่าว และคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.๑๐) พร้อมใบกํากับภาษีต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ จุดบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตั้งอยู่ภายหลังผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อประทับรับรองการมีสินค้าลงในคําร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.๑๐)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
กุลยา ตันติเตมิท
(นางสาวกุลยา ตันติเตมิท)
อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร | 11,517 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 459) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๙)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๓ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๔๓ ) มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,518 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 458) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๘)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๒ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๔๒ ) มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,519 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 457) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๗)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๑) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๔๑) มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,520 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 456) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๖)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๔๐ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๔๐) มูลนิธิเทคนิคการแพทย์ ศาสตราจารย์ วีกูล วีรานุวัตติ์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,521 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 455) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๕)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๙ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๙) มูลนิธิสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคา พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,522 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 454) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๔)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๘ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๘) มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,523 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 453) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๓)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๗ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๗ ) มูลนิธิหลวงพ่อเกศมงคลพุทธพรหมบดี”
ข้อ ๒ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,524 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 452) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๒)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๖ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๖) มูลนิธิหัวแหลมเพื่อสังคม”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,525 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 451) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๑)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๕ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๕) มูลนิธิรักษ์ธรรม”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,526 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 450) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๕๐)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๔ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๔) มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2554
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,527 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 449) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๙)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๓ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๓ ) โครงการจัดศาลาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว King Pavillion เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
อื่นๆ ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,528 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 448) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๘)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๒ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๒ ) โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ประกาศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,529 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 447) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๗)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๑ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๑ ) มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,530 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 446) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๖)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๓๐ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๓๐ ) มูลนิธิเพื่อเกื้อกูลการศึกษาในประเทศไทย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,531 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 445 ) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๕ )
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๒๙ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๒๙) มูลนิธิกลุ่มทีมรวมใจ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,532 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 444) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๔)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๒๘ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๒๘) มูลนิธิเพิร์ล เอส บัค (ประเทศไทย)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(ร.จ. ฉบับประกาศและ | 11,533 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 443) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๓)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔) (ข)
แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๒๗ ) ของข้อ ๓ ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๒๗) มูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,534 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 442) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๒)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๒๖) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๒๖) โครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ๙๙๙ รูป เฉลิมพระเกียรติถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,535 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 441) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๑)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๒๕ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๒๕ ) มูลนิธิสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนสิรินธร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,536 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 440) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๔๐)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๒๔ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๒๔ ) มูลนิธิเด็กตัวเล็ก”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,537 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 439) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๙)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๒๓ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๒๓ ) สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,538 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 438) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๘)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๒๒) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๒๒) มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา (หญิง)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,539 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 437) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๗)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๒๑ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๒๑ ) มูลนิธิพระราชวิสุทธิคุณ (จิตฺตสาโร ภิกขุ เกตุ วงศ์แหวน)”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,540 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 436) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๖)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๒๐ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๒๐ ) มูลนิธิพิทักษ์ประชาชาติ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,541 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 435) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๕)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๑๙ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๑๙ ) ส้มจีน อุณหะนันทน์ มูลนิธิ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,542 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 434) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๔)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๑๘ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๑๘) มูลนิธิช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนอําเภอเมืองเพชรบุรี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,543 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 433) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๓)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๑๗) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๑๗) มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,544 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๒)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๑๖) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๑๖) มูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,545 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 431) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๑)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๑๕) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๑๕) มูลนิธิส่งเสริมภาษาฝรั่งเศสและฝรั่งเศสศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,546 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 430) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๓๐)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๑๔) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๑๔) มูลนิธิโอโต้ซัง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,547 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 429) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๙)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๑๓) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๑๓) มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,548 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 428) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๘)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๑๒ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๑๒ ) มูลนิธิพระมงกุฎเกล้า”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,549 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 427) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๗)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๑๑ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๑๑ ) มูลนิธิเพื่อคุณภาพชีวิต”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,550 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 426) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๖)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๑๐) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
"(๗๑๐) มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,551 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 425) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๕)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๐๙) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๐๙) สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,552 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 424) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๔)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๐๘) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๐๘) มูลนิธิจิรกิติ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,553 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 423) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา ๔๗ (๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๓)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา
๔๗ (๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๐๗ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๐๗ ) มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดําริ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,554 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 422) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา ๔๗ (๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๒)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา
๔๗ (๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๐๖ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๐๖ ) มูลนิธิชมรมธนาคารภาคเหนือ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,555 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 421) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๑)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๐๕) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๐๕) มูลนิธิส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะไทย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,556 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 420) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒๐)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙)
พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๐๔) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๐๔) มูลนิธิกิมหย่งร่วมใจ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,557 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 419) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๑๙)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๐๓) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๐๓) มูลนิธิชูเกียรติปิติเจริญกิจ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,558 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 418) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๑๘)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข)
แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๐๒ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“( ๗๐๒ ) กองทุนสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,559 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 417) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๑๗)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราช
กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๐๑ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๐๑) มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,560 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 416) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๑๖)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราช
กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๐๐ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๗๐๐) มูลนิธิชัชวาลย์ คงอุดม”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,561 |
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 415) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๑๕)
เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา
ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราช
กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความ
ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๖๙๙ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
“(๖๙๙) ขลุงมูลนิธิ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ
(๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
(๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2553
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 11,562 |
Subsets and Splits
No community queries yet
The top public SQL queries from the community will appear here once available.