title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ที่เสนอขายใบทรัสต์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ พ.ศ. 2553
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ ที่เสนอขายใบทรัสต์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ พ.ศ. 2553 โดยที่มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของกองทรัสต์ ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ดังนั้น เพื่อให้ผู้สอบบัญชีต่างประเทศสามารถลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของกองทรัสต์ที่มีการเสนอขายใบทรัสต์ทั้งหมดต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศได้ สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ผู้สอบบัญชีที่สามารถประกอบธุรกิจการเป็นผู้สอบบัญชีได้โดยชอบด้วย กฎหมายของประเทศที่มีการเสนอขายใบทรัสต์ เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ ผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่ง ให้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินได้เฉพาะกองทรัสต์ที่มีการเสนอขายใบทรัสต์นั้นทั้งหมดต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ *หมายเหตุ* : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีต่างประเทศสามารถตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของกองทรัสต์ที่มีการเสนอขายใบทรัสต์ทั้งหมดต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
11,362
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อข. 1/2554 การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ อข. 1 /2554เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ มาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2553 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2553 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อีเอ็มเอฟ มาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2553 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2553 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงศรี กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2553 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | | (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | |
11,363
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ อข. 2/2554 การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ อข. 2 /2554เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท ไอ.พี. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 276/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอไอจี ไฟแนนซ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 505/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ภูริลาภ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 54/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บาคาร์ดี (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 87/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 35/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 83/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทหารไทยธนรัฐ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทหารไทย SET 50 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน ปตท.สผ. 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทหารไทยธนบดี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 11. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ JUMBO 25 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 12. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ทุนก้าวหน้า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2551 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 13. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอไอเอ-อเบอร์ดีน เอเชีย แปซิฟิค เอคควิตี้ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 11/2552 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 14. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เวลล่า (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 459/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 15. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงเทพ 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 12/2535 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2553 16. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เอ็กโคแล็บ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2547 ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2553 17. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ทีซีแอล ทอมสัน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 46/2535 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 18. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอออน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 519/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 19. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท มอลลิเก้ เฮลท์ แคร์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 103/2533 ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2553 20. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ไทยแอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 9/2539 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2553 21. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงเทพ 3 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 155/2540 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2553 22. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทวีทรัพย์พนักงาน บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 5/2547 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 23. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ดอยซ์ แบงก์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 217/2533 ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2553 24. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยูโอบี ทรัพย์มั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2548 ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2553 25. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยูโอบี ทวีทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2543 ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2553 26. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอไอเอพัฒนา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 97/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2553 27. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอไอเอเพิ่มพูน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 23/2542 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2553 28. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอไอเอตราสารทุน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2553 29. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอไอเอเสถียรทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2553 30. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกรไทยทรัพย์ทวีผล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 56/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2553 31. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานทิสโก้เพื่อการออม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2545 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2553 32. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอวอน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 298/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 33. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน จี.เปรมจี กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 331/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 34. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่ม เอ็น เอส ไอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 10/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 35. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (กองทุนที่ 1) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 9/2550 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 36. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (กองทุนที่ 3) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 10/2550 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 37. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทไทยโอริกซ์ลีสซิ่ง จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 465/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 38. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 25/2541 ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2553 ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ. ศ. 2554 | | (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | |
11,364
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2554 หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ 1 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7/1(6) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพพ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ 1/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเข้ากองทุน ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การโอนทรัพย์สินที่มาจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก (2) การโอนทรัพย์สินที่มาจากกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ข้อ 3 ในกรณีที่ลูกจ้างประสงค์จะโอนทรัพย์สินจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก ให้ผู้จัดการกองทุนตรวจสอบเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ก่อนดําเนินการโอนทรัพย์สินดังกล่าว (1) เอกสารการแสดงเจตนาของลูกจ้างในการขอโอนทรัพย์สินเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก (2) เอกสารหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการไปยังกองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก ข้อ 4 ในการรับโอนทรัพย์สินของลูกจ้างที่มาจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก ให้ผู้จัดการกองทุนแบ่งแยกเงินหรือผลประโยชน์ส่วนที่ได้รับยกเว้นภาษีออกจากเงินหรือผลประโยชน์ส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในประมวลรัษฎากรและหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และนําส่งเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ตามแนวทางที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด ข้อ 5 เมื่อมีการโอนทรัพย์สินของลูกจ้างจากกองทุนเดิมที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการเข้ากองทุนใหม่ที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกแล้ว ให้ผู้จัดการกองทุนคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุน โดยปฏิบัติตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
11,365
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 3/2555 การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 3 /2555เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ ชอยส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2554 ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์คส (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2554 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงาน คอร์น โปรดักส์ และ เนชั่นแนล สตาร์ช ประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2554 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2554 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2554 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จํากัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 5/2554 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 | | (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | |
11,366
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 4/2555 การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 4 /2555เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 169/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 57/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 90/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2551 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 74/2540 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2554 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงเทพ 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 45/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานทริส ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 120/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ วรรณเอเอ็มบาลานซ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2547 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สันติภาพประกันภัย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 19/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทหารไทยเพิ่มทรัพย์ทวี 3 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 68/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 11. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 82/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 12. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ฟินันซ่า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2549 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2554 13. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เกษียณมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2543 ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2554 14. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์ทรัพย์มั่นคง 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 228/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 15. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ํามันพืช จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 266/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 16. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยพาณิชย์รวมทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 111/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 17. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพิ่มขวัญมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 28/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 18. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2545 ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 19. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 279/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2554 20. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เครือเอสทีซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 22/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2554 21. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 88/2541 ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2554 ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 | | (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | |
11,367
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 6/2556 การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 6 /2556เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท 3 เอ็ม ประเทศไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงเทพประกันชีวิต ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 5/2555 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แอล เอช ฟันด์ มาสเตอร์พูล ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 6/2555 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2555 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2555 ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2555 ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | | (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | |
11,368
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 7/2556 การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 7/2556เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 132/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท คัสตอม แพค จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 468/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทในเครือประกิต ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 470/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 25/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อัลฟานี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 83/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาพิส เซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 52/2540 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที เอส ไอ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 12/2539 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารนครหลวงไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 411/2533 ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สแต็ทส์ ชิพแพ็ค (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 517/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 7/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 11. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2543 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 12. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. (2) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 5/2546 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 13. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ไม้อัดไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 46/2540 ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 14. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนสัมพันธ์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 24/2533 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2555 15. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บลจ. ธนชาต จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 97/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 16. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงศรี กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2553 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 17. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท น้ํามันปิโตรเลียมไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 100/2533 ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2555 18. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 248/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2555 19. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ศรีอู่ทอง จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 479/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 20. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สินอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 221/2533 ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | | (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | |
11,369
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 30/2556 การยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยวิธีปฏิบัติและเงื่อนไขสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ในการใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30 /2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยวิธีปฏิบัติและเงื่อนไขสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ในการใช้บริการด้าน งานสนับสนุนจากผู้ให้บริการ โดยที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนได้ออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ซึ่งข้อกําหนดดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงการใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการตามแนวทางที่สํานักงานเคยกําหนดไว้แล้ว สํานักงานจึงเห็นควรยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 7/2549เรื่อง วิธีปฏิบัติและเงื่อนไขสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ในการใช้บริการด้านงานสนับสนุนจากผู้ให้บริการลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานจึงขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,370
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 546) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
**ประกาศกระทรวงการคลัง** ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 546) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔)พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 828 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 828 ) มูลนิธิส่งเสริมสุขภาพ ในพระบรมราชูปถัมภ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,371
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕
**Update ถึง ระเบียบฯ (ฉ.๔/๒๕๕๓)** ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๔ (๙) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง “ค่าเช่าบ้าน” หมายความว่า ค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจากการปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสําหรับค่าวิชาหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะหรือสําหรับประจําตําแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ หรือสําหรับการสู้รบ หรือเงินค่าตอบแทนตําแหน่งพนักงานคดีปกครอง “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ หรือสหกรณ์ที่ดําเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกําหนดตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการและกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ “ท้องที่” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อําเภอ กิ่งอําเภอ หรือท้องที่ของอําเภอ และหรือกิ่งอําเภอที่เลขาธิการกําหนดให้เป็นท้องที่เดียวกัน ทั้งนี้ โดยที่เลขาธิการจะกําหนดให้อําเภอ และหรือกิ่งอําเภอหลายท้องที่ รวมเป็นท้องที่เดียวกันก็ได้ “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่มีคําสั่งบรรจุเข้ารับราชการและได้มีการรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการตามระเบียบนี้เป็นครั้งแรก “ท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ตั้งสํานักงานเดิม” หมายความว่า ท้องที่ที่มีเขตติดต่อกับท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของสํานักงานเดิม ทั้งนี้ ตามที่เลขาธิการกําหนด “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง “ภัยพิบัติ” หมายความว่า ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายอย่างใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายนั้นไม่มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดด้วย ข้อ ๔ การจ่ายเงินงบประมาณเป็นเงินค่าเช่าบ้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราตามระเบียบนี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการกําหนด ข้อ ๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หมวด หมวด ๑ สิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจํานวนเงินที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่โดยไม่มีหนี้ค้างชําระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคําร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย ข้อ ๘ ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจําสํานักงานในต่างท้องที่ เนื่องจากสํานักงานที่ปฏิบัติราชการประจําอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทําการไปตั้งในท้องที่ใหม่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ตามข้อ ๗ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สํานักงานได้ย้ายไปนั้นเป็นท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ตั้งสํานักงานเดิม ข้อ ๙ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคําสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใดและไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามข้อ ๗ (๒) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใด ก็ไม่ทําให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทําลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ ข้อ ๑๐ ข้าราชการผู้ใดมีคู่สมรสเป็นข้าราชการตามระเบียบนี้ ถ้ารับราชการในท้องที่เดียวกันและต่างมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านสูงกว่าเท่านั้น ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ มีคู่สมรสเป็นตุลาการศาลปกครองข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์การมหาชน ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้ในท้องที่เดียวกัน ผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านอยู่แล้ว ภายหลังได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจํานวนเงินที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน ข้อ ๑๒ การงดหรือลดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือการลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเสมือนหนึ่งไม่มีการงดหรือลดเบิกจ่ายเงินเดือนเช่นว่านั้น เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ ข้อ ๑๓ ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือน ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านเมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสําหรับเดือนใดให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านสําหรับเดือนนั้นตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๔ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าจริง แต่ไม่ก่อนวันรายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดลงในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันที่ส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีจําเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านต่อไปได้เท่าที่จําเป็นโดยได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านอยู่แล้วในท้องที่หนึ่ง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามข้อ ๗ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิเลือกที่จะนําหลักฐานการชําระค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ หรือหลักฐานการชําระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกได้ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจําเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป หมวด หมวด ๒ การชําระค่าเช่าซื้อบ้านหรือเงินกู้ซื้อบ้าน ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านที่ค้างชําระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่หรือท้องที่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่ตามที่เลขาธิการกําหนด เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ไม่เกินจํานวนเงินที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือนตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. (๑) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ผ่อนชําระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านในท้องที่นั้นจะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทําลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ (๒) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชําระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สําหรับบ้านหลังดังกล่าว (๓) จะต้องเป็นการผ่อนชําระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านกับสถาบันการเงินและสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน (๔) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้สําหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว (๕) หากเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นําค่าผ่อนชําระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านได้โดยให้คํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือนให้นําบทบัญญัติข้อ ๙ ถึงข้อ ๑๔ มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ข้าราชการซึ่งได้ใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้ เพื่อชําระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านตามข้อ ๑๖ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามข้อ ๗ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิเลือกใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่หรือใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกในท้องที่ใหม่ได้ หมวด หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๘ ข้าราชการผู้ใดที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ แต่ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามหมวด ๑ และหมวด ๒ ของระเบียบนี้ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อไปได้ และให้สิทธินั้นสิ้นสุดลงเมื่อข้าราชการผู้นั้นได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ โดยให้สิทธิในการได้รับค่าเช่าบ้านของข้าราชการผู้นั้นเป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ ข้าราชการในหน่วยงานของรัฐอื่นหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในหน่วยงานของตน ไม่ว่าจะเป็นการเบิกตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบใด และโอนมาเป็นข้าราชการตามมาตรา ๘๘ ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือท้องที่ที่รับราชการครั้งแรกตามกฎหมายกฎ หรือระเบียบที่มีสิทธิเบิกอยู่เดิมนั้น เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๐ ให้นําประกาศ ระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือวิธีการที่ออกตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ มาใช้บังคับกับการเบิกค่าเช่าบ้านเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ ระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือวิธีการตามระเบียบนี้ ออกใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
11,373
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้ชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๔ (๙) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1](#fn1) ข้อ ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “สถาบันการเงิน” ระหว่างนิยามคําว่า “เงินเดือน” กับนิยามคําว่า “ท้องที่” และเพิ่มนิยามคําว่า “ภัยพิบัติ” ต่อจากนิยามคําว่า “เลขาธิการ” ในข้อ ๓ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ หรือสหกรณ์ที่ดําเนินกิจการเกี่ยวกับการเคหะ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกําหนดตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการและกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายอย่างใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายนั้นไม่มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดด้วย ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจํานวนเงินที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชําระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (๔) ได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคําร้องขอของตนเอง” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ข้าราชการผู้ใดรับราชการหรือได้รับคําสั่งให้ไปรับราชการในท้องที่ใดและไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามข้อ ๗ (๒) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใด ก็ไม่ทําให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้นเว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทําลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๑๐ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ มีคู่สมรสเป็นตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์การมหาชน ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน หรือได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้ในท้องที่เดียวกัน ผู้นั้นไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๔ ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าจริงแต่ไม่ก่อนวันรายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ และให้สิ้นสุดลงในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันส่งมอบหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันที่ส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีจําเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านต่อไปได้เท่าที่จําเป็นโดยได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านอยู่แล้วในท้องที่หนึ่ง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามข้อ ๗ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิเลือกที่จะนําหลักฐานการชําระค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ หรือหลักฐานการชําระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจําเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านที่ค้างชําระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่หรือท้องที่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่ตามที่เลขาธิการกําหนด[2](#fn2) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้นให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ไม่เกินจํานวนเงินที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ผ่อนชําระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทําลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ (๒) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชําระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สําหรับบ้านหลังดังกล่าว (๓) จะต้องเป็นการผ่อนชําระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านกับสถาบันการเงิน และสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน (๔) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้สําหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้วหรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว (๕) หากเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นําค่าผ่อนชําระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านได้ โดยให้คํานวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน ให้นําบทบัญญัติข้อ ๙ ถึงข้อ ๑๔ มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ข้าราชการซึ่งได้ใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านตามข้อ ๑๖ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามข้อ ๗ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิเลือกใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่หรือใช้สิทธินําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกในท้องที่ใหม่ได้” ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง --- 1. 2.
11,374
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๔ (๙) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป[1](#fn1) ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจํานวนเงินที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (๒) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่โดยไม่มีหนี้ค้างชําระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคําร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย” ข้อ ๔ ให้แก้ไขความว่า “จํานวนเงินที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน” ในข้อ ๑๑ และข้อ ๑๖ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็น “จํานวนเงินที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการกําหนดไว้สําหรับข้าราชการพลเรือน” ข้อ ๕ สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านเมื่อได้รับคําสั่งให้เดินทางไปประจําสํานักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง --- 1.
11,375
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๓
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่สมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้ชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๔ (๙) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[[1]](#footnote-1) ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” ในข้อ ๓ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่มีคําสั่งบรรจุเข้ารับราชการ และได้มีการรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการตามระเบียบนี้เป็นครั้งแรก” ข้อ ๔ ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านโดยอาศัยบทนิยามคําว่า “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” ตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านโดยอาศัยบทนิยามนั้นได้ต่อไปจนกว่าสิทธินั้นจะสิ้นสุดลงตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ ฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๗๑ ก หน้า ๔๖ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ [↑](#footnote-ref-1)
11,376
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ ขส. 1/2562 เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ขส. 1/2562 เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงานและสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจต่าง ๆ ของสํานักงาน โดยเพิ่มส่วนงานจากเดิม 32 ฝ่าย เป็น 33 ฝ่าย และปรับปรุงอํานาจหน้าที่ของส่วนงานต่าง ๆ ของสํานักงาน เพื่อให้การบริหารจัดการงานของสํานักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสํานักงาน โดยควบรวมงานกํากับดูแลด้านการระดมทุนเริ่มตั้งแต่ต้นกระบวนการไปจนถึงการกํากับดูแล (end-to-end) ให้อยู่ภายในส่วนงานเดียว ขยายบทบาทด้านการพัฒนาตลาดทุนด้วยการให้ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปในวงกว้างมีช่องทางเข้าถึงตลาดทุนได้มากขึ้นเพิ่มช่องทางการสนับสนุนและผลักดันงานด้านธรรมาภิบาล การมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) รวมงานกํากับดูแลด้านการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลทั้งในส่วนของการกําหนดหลักเกณฑ์ การพิจารณาคําขออนุญาต ตลอดจนการพิจารณาความผิดของผู้ให้บริการไว้ในส่วนงานเดียว เพิ่มส่วนงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนงานของเลขาธิการและรวมศูนย์งานด้านเลขานุการของคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน และงานประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 (1) (2) และ (3) ที่จะให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ จึงขอประกาศโครงสร้างการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสํานักงาน ดังนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ขส. 1/2561 เรื่อง โครงสร้างองค์กร และอํานาจหน้าที่ขององค์กร ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 2 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้จัดตั้งสํานักงาน และกําหนดให้มีคณะกรรมการ ก.ล.ต. และต่อมาพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้มีคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเพิ่มเติม ข้อ 3 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งโดยคําแนะนําของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา 31/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 จํานวนไม่น้อยกว่า 4 คนแต่ไม่เกิน 6 คนเป็นกรรมการ โดยในจํานวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านบัญชี และด้านการเงิน ด้านละ 1 คน และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจน กํากับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่อง องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ และการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อํานาจดังกล่าวรวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับคําขออนุญาต คําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาตหรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (3) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ (4) ออกระเบียบ คําสั่ง และข้อบังคับเกี่ยวกับการพนักงาน ระบบพนักงานสัมพันธ์การบรรจุแต่งตั้งถอดถอน และวินัยพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน การกําหนดเงินเดือนและเงินอื่น ๆ รวมตลอดถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ (5) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (6) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ยังมีอํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดนิติบุคคล เฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้ อํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (1) กําหนดนโยบายเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) กํากับดูแลให้นิติบุคคลเฉพาะกิจปฏิบัติตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (3) กําหนดประเภทของสินทรัพย์ที่อนุญาตให้ทําการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และประเภทของหลักทรัพย์ที่จะออกเนื่องจากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (4) ออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (5) กําหนดค่าธรรมเนียมในการดําเนินการต่าง ๆ ตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (6) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาตลอดจนกํากับดูแลในเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อํานาจหน้าที่ ดังกล่าวรวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับการขออนุญาต การขอจดทะเบียน การขอความเห็นชอบ การออกใบอนุญาต การรับจดทะเบียน การให้ความเห็นชอบ หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ที่ได้จดทะเบียน หรือที่ได้รับความเห็นชอบ (3) กําหนดขอบเขตและวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (4) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกํากับดูแล ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับการขออนุญาต การอนุญาต หรือการประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (3) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อํานาจหน้าที่ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีหน้าที่และอํานาจวางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกํากับ และควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกําหนดดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการกํากับและควบคุมการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล และการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หน้าที่และอํานาจดังกล่าวให้รวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) กําหนดค่าธรรมเนียมสําหรับคําขออนุญาต การอนุญาต คําขอความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี การยื่นคําขอต่าง ๆ หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบ (3) กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (4) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ข้อ 4 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกอบด้วยเลขาธิการเป็นประธานกรรมการรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมาย 1 คน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กําหนดในมาตรา 31/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 อีกไม่เกิน 4 คนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ ให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจหน้าที่ในการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่น โดยต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้รวมถึง (1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนดในเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี นายทะเบียนหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และการเข้าถือ หลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (2) รายงานผลการดําเนินงานเป็นระยะต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด (3) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเพื่อให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุน มีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองลูกค้า การรักษาความมั่นคงของระบบการเงิน หรือการควบคุมความเสี่ยงอันเกิดจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 5 สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินกิจการทั้งปวงของ สํานักงาน ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวเลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และปฏิบัติงานอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 หรือตามกฎหมายอื่น อันได้แก่ การกํากับดูแลให้มีการปฏิบัติตามและดําเนินการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลที่กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 การออกประกาศหรือคําสั่ง เป็นต้น อํานาจและหน้าที่ของสํานักงานดังกล่าวรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการของสํานักงาน (1) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหาขาย จําหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจํานํา รับจํานอง แลกเปลี่ยนโอน รับโอน หรือดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ (2) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินและลงทุนหาผลประโยชน์ (3) กําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (4) รับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรือตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสํานักงานกําหนด โดยที่สํานักงานได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 ให้เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา สํานักงานจึงมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ข้อ 6 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โครงสร้างการดําเนินงานของสํานักงานโดยอนุมัติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แบ่งออกเป็นส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้ 1. ฝ่ายกฎหมายและพัฒนา 2. ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป 3. ฝ่ายกํากับการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน 4. ฝ่ายกํากับการสอบบัญชี 5. ฝ่ายกํากับตลาด 6. ฝ่ายกํากับธุรกิจจัดการลงทุน 7. ฝ่ายกํากับธุรกิจตัวกลาง 8. ฝ่ายกํากับธุรกิจออกแบบการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 9. ฝ่ายกํากับรายงานทางการเงิน 10. ฝ่ายคดี 11. ฝ่ายงานเลขาธิการ 12. ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 1 13. ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 14. ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 3 15. ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดทุน 16. ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 17. ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2 18. ฝ่ายตรวจสอบภายใน 19. ฝ่ายตราสารหนี้ 20. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 21. ฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายและคดีปกครอง 22. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 23. ฝ่ายนโยบายธุรกิจจัดการลงทุน 24. ฝ่ายนโยบายธุรกิจตัวกลาง 25. ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร 26. ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 1 27. ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 28. ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ 29. ฝ่ายวิจัย 30. ฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด 31. ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน 32. ฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน 33. ฝ่ายสื่อสารและบริการผู้ลงทุน ข้อ 7 ฝ่ายกฎหมายและพัฒนา มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ให้คําปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายเพื่อวางกรอบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในตลาดทุน (2) ศึกษา พัฒนา ยกร่าง และแก้ไขกฎหมายที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงาน (3) ประสานงานและติดตามความคืบหน้าร่างกฎหมายของสํานักงาน รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานในการชี้แจง ศึกษารวบรวมข้อมูล และปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวในชั้นการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรากฎหมาย (4) ให้ความเห็นหรือให้การสนับสนุนฝ่ายงานหลักในการพิจารณาร่างกฎหมายที่หน่วยงานภายนอกขอความเห็น (5) ตรวจพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจและบันทึกข้อตกลงที่สํานักงานทํากับหน่วยงานต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ (6) ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย (ด้านที่ปรึกษา) (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 8 ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ 1. บริหารจัดการระบบบัญชี จัดทํารายงานด้านการเงินและภาษีอากร บริหารจัดการเงินสด สภาพคล่อง และเงินลงทุน รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลทางการเงินเพื่อการตัดสินใจทางนโยบาย (2) บริหารจัดการการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและงานบริการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสํานักงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมทั้งให้คําแนะนําแก่ฝ่ายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง (3) วางแผนและบริหารจัดการระบบวิศวกรรมอาคาร การจัดสรรพื้นที่สํานักงาน การให้บริการด้านการจัดประชุม การจัดเลี้ยง การดูแลความสะอาดในอาคาร และบริการด้านรถยนต์สําหรับผู้บริหารและส่วนกลาง (4) จัดระบบรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคารและผู้มาติดต่อ รวมทั้งบริหารจัดการผู้ประกอบการที่ใช้พื้นที่อาคารสํานักงาน (5) จัดการเอกสารที่รับจากภายนอกและจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนบริหารจัดการคลังเอกสาร (6) จัดระบบควบคุมภายในที่ดีและบริหารจัดการให้มีการใช้ทรัพยากรในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดระบบการบริหารความเสี่ยง และระบบสารสนเทศที่เพียงพอและเหมาะสมกับการบริหารจัดการงานในฝ่าย (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 9 ฝ่ายกํากับการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ที่เป็นธนาคาร บริษัทประกันชีวิต และบริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงผู้แนะนําการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน (2) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าและจัดจําหน่ายตราสารหนี้ ที่เป็นธนาคารและบริษัทประกันชีวิต โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงผู้แนะนําการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน (3) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทค้าตราสารหนี้ ที่เป็นธนาคารและบริษัทประกันชีวิต โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผันให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร (4) ให้ความเห็นชอบและพัฒนาผู้ขายผลิตภัณฑ์การลงทุน ได้แก่ ผู้แนะนําการลงทุน และผู้วางแผนการลงทุน (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 10 ฝ่ายกํากับการสอบบัญชี มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ 1. พัฒนาด้านการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงเสนอแนะการกําหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน 2. ให้ความเห็นชอบและกํากับดูแลผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงให้ความเห็นในกรณีการพิจารณาความผิดผู้สอบบัญชีและการสั่งลงโทษ (สั่งพัก) 3. ตรวจสอบการทํางานและสอบทานคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชี 4. ประสานงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านการสอบบัญชี 5. ปฏิบัติงานด้านต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการสอบบัญชีของตลาดทุนไทยน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 6. ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 11 ฝ่ายกํากับตลาด มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) กํากับดูแลและพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ การพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการตรวจสอบองค์กรดังกล่าว ในด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี โครงสร้างของระบบซื้อขายระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้มีความมั่นคง ปลอดภัย น่าเชื่อถือ เป็นไปตามมาตรฐาน และแข่งขันได้ในระดับสากล (2) ติดตามการดําเนินงานของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เกี่ยวกับการกํากับดูแลและพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในด้านอื่น ๆ ให้มีการดําเนินงานตามเป้าหมายและความคาดหวังของสํานักงาน และทําให้การกํากับดูแลกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ของสํานักงานมีความสอดคล้องกันในภาพรวม (3) ติดตามสภาพการซื้อขายในตลาดรองของหลักทรัพย์ต่าง ๆ และศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภาพรวม (4) ติดตามและวิเคราะห์ภาวะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงาน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ เสนอแนะนโยบายแก้ไขปัญหา รวมถึงวางแนวทางเพื่อจํากัดความเสียหายหรือป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวม (5) กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผันให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการและผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ และบุคลากร (6) ให้คําปรึกษาและข้อคําแนะนําแก่ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (7) ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตและประสานงานกับฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 เพื่อดําเนินการทางกฎหมายต่อไป (8) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 12 ฝ่ายกํากับธุรกิจจัดการลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ ดังนี้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน ซึ่งรวมถึงการจัดการกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจจัดการลงทุน (เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวม ผู้รับฝากทรัพย์สินกองทุนส่วนบุคคลนายทะเบียนหน่วยลงทุนและสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ไม่รวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์)ตัวแทนการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดอันดับกองทุนรวม เป็นต้น) (ข) ผู้ประกอบธุรกิจทรัสต์สําหรับการบริหารและจัดการลงทุน เฉพาะทรัสตีของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ไม่รวมผู้จัดการของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์) ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน และผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า หรือจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ (ค) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายตราสารหนี้ และหน่วยลงทุน ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (2) ติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ และบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ ตามข้อ (1) (3) อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบุคลากร ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร เฉพาะสังกัดบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน และผู้จัดการกองทุน (4) ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นกับผู้ประกอบธุรกิจตาม ข้อ (1)โดยไม่ได้รับอนุญาต (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 13 ฝ่ายกํากับธุรกิจตัวกลาง มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ 1. กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับตราสารทุนและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท (ไม่รวมธุรกิจจัดการลงทุน ธุรกิจนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและธุรกิจสินค้าเกษตรล่วงหน้า) โดยการให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผันให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากร ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร นักวิเคราะห์ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากร 2. ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ (1)โดยไม่ได้รับอนุญาต (3) กํากับดูแลตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกํากับดูแลและลงโทษบริษัทสมาชิก (4) การเป็นศูนย์กลางการประสานงานกับสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 14 ฝ่ายกํากับธุรกิจออกแบบการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ 1. ศึกษาและเสนอแนะนโยบายเพื่อส่งเสริมการให้บริการออกแบบการลงทุน 2. พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการออกแบบการลงทุน 3. กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการออกแบบการลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตอบข้อหารือและดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียน 4. วางแผนการสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้ผู้ลงทุนใช้บริการออกแบบการลงทุนผ่านกิจกรรมและช่องทางต่าง ๆ 5. สร้างและสานสัมพันธ์กับพันธมิตรโครงการ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน เพื่อร่วมกันสนับสนุนการดําเนินการตามข้อ (4) 6. ศึกษาพัฒนาการ การออกกฎหมาย กฎเกณฑ์กองทุนการออมในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะนโยบายในการส่งเสริมการออมและการลงทุนของสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530และการออกประกาศนายทะเบียน 7. ดําเนินการในฐานะนายทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 รวมทั้งการตอบข้อหารือและข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้อง 8. ดูแลการขอใช้วงเงินลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในผลิตภัณฑ์สกุลเงินตราต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 9. ติดตาม รวบรวมข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจนําส่งสํานักงานที่เกี่ยวกับการให้บริการออกแบบการลงทุนและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่อนํามาวิเคราะห์และจัดทํารายงาน 10. ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 15 ฝ่ายกํากับรายงานทางการเงิน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ 1. พัฒนาด้านการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงเสนอแนะแนวทางการวางกลไกและรากฐานของระบบการจัดทําและการรายงานทางการเงินธุรกิจในตลาดทุนและแนวทางการกําหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) ตรวจทานรายงานทางการเงิน การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (3) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี แก่ส่วนงานในสํานักงาน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง (4) ประสานงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านการบัญชี (5) ปฏิบัติงานด้านต่างประเทศเพื่อส่งเสริมให้รายงานทางการเงินของตลาดทุนไทยน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 16 ฝ่ายคดี มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) พิจารณาการดําเนินการลงโทษทางปกครองกับนิติบุคคลและผู้ประกอบวิชาชีพที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับเรื่องมาจากฝ่ายงานต้นเรื่อง (2) เสนอข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ (ก) คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ข) คณะกรรมการเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 พระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ค) คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (ง) คณะที่ปรึกษาสําหรับมาตรการลงโทษทางแพ่ง (จ) คณะกรรมการวินัยบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉ) คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย (ด้านคดี) (3) ดําเนินการเพื่อการบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง ทั้งกรณีที่ผู้กระทําผิดตกลงยินยอมรับมาตรการลงโทษ และกรณีที่ผู้กระทําผิดไม่ยินยอมและต้องดําเนินการฟ้องคดีต่อศาล (4) ประสานงานและติดตามคดีที่อยู่ในกระบวนการดําเนินคดีอาญา (5) เป็นผู้แทนในการแก้คดีหรือให้คําปรึกษาด้านกฎหมายและคดีในกรณีที่มีผู้ยื่นฟ้องสํานักงานหรือบุคคลที่ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานให้กับสํานักงาน เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการต่อสู้คดี ฟ้องแย้ง หรือฟ้องกลับ (6) ดําเนินคดีกับบุคคลที่ไม่ชําระเงินค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย (7) บังคับคดีกับบุคคลที่ไม่ชําระค่าปรับทางปกครอง หรือบังคับคดีตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง (8) พิจารณาข้อมูลที่จะนําส่งตามหมายศาล หนังสือเรียกของพนักงานผู้มีอํานาจ หรือหนังสือร้องขอใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หรือพิจารณาบุคคลที่จะเป็นผู้แทนสํานักงานในการเบิกความเป็นพยานในคดีตามหมายเรียกของศาลรวมทั้งการเตรียมข้อมูลการเป็นพยานให้กับบุคคลดังกล่าว (9) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 17 ฝ่ายงานเลขาธิการ มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) งานเลขานุการคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (2) สนับสนุนเลขาธิการในงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานที่เลขาธิการดํารงตําแหน่งทั้งภายในและภายนอกสํานักงาน (3) ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดการทํางานแบบบูรณาการ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น (4) งานวิชาการ เช่น การศึกษาและจัดทําข้อเสนอในเรื่องที่เป็นประเด็นสําคัญและเร่งด่วนตามที่ได้รับมอบหมาย (5) พิจารณาให้ความเห็นต่อการสั่งการของเลขาธิการ (6) ปฏิบัติงานด้านเลขานุการและธุรการของสํานักงานและผู้บริหารระดับสูง (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 18 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 1 มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ เช่นการควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้างการซื้อกิจการโดยการใช้หนี้หรือเงินกู้ เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วย (2) พิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับตราสารทุนและตราสารที่คล้ายทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ และตราสารกึ่งทุน เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน (3) กํากับดูแลการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ซึ่งรวมถึงการวางหลักเกณฑ์กํากับดูแล การพิจารณาคําขอ ผ่อนผัน และการเปิดเผยข้อมูล (4) ติดตามการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (5) สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว (6) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําความผิดที่เกี่ยวข้องกับ (2) – (6) ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 19 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ เช่นการควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้างการซื้อกิจการโดยการใช้หนี้หรือเงินกู้ เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วย (2) พิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับตราสารทุนและตราสารที่คล้ายทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ และตราสารกึ่งทุน เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน (3) กํากับดูแลการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ซึ่งรวมถึงการวางหลักเกณฑ์กํากับดูแล การพิจารณาคําขอ ผ่อนผัน และการเปิดเผยข้อมูล (4) ติดตามการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (5) สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว (6) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําความผิดที่เกี่ยวข้องกับ (2) – (6) ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 20 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 3 มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ศึกษา เสนอนโยบาย ในการส่งเสริมให้ตลาดทุนเป็นทางเลือกในการระดมทุน รวมทั้งออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (2) งานนโยบายเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารทุน ตราสารที่คล้ายทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ ตราสารกึ่งทุน (3) วางนโยบาย พิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งกํากับดูแลการดําเนินการภายหลัง การจัดตั้งและเสนอขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน(กอง 3) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน (4) วางนโยบายเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของตัวกลางในกระบวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน ผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และพิจารณาคําขอความเห็นชอบตัวกลางดังกล่าว รวมทั้งเข้าตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (5) พิจารณาข้อร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทําความผิดที่เกี่ยวข้องกับ (3) ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก (6) จัดการระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์การดําเนินการภายหลังการเสนอหลักทรัพย์และการทําหน้าที่ของตัวกลางในกระบวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 21 ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดทุน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) เสนอแนะนโยบาย บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และขอบเขตอํานาจในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําคัญ (2) วางแผน ดําเนินการ และบริหารจัดการข้อมูล ออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูล รวมถึงพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์และเรียกดูข้อมูล เพื่อให้สํานักงานมีข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจเชิงนโยบาย สนับสนุนงานของฝ่ายงานต่าง ๆ และการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน (3) พัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และเครื่องมือที่จําเป็นในการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อให้สํานักงานมีข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจเชิงนโยบายเป็นหลัก (4) สนับสนุนและให้คําแนะนําส่วนงานในการจัดทํารายงาน รวมถึงการออกแบบและปรับปรุงระบบงานและกระบวนการทํางานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 22 ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ตลอดจนพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการกระทําความผิดในมาตราที่สําคัญอื่น ๆ หรือการกระทําผิดอื่นซึ่งจําเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือใช้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเชิงลึก (2) นําเสนอผลสรุปการตรวจสอบและความเห็น รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายให้คณะกรรมการด้านตรวจสอบและคดีพิจารณาก่อนจะเสนอสํานักงาน (3) ประสานงานและสนับสนุนด้านข้อมูลกับฝ่ายคดี พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ สําหรับการดําเนินการทางอาญา และร่วมกับฝ่ายคดีในการฟ้องผู้กระทําผิดต่อศาลเพื่อกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง สําหรับการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง (4) กํากับและดูแลตลาดหลักทรัพย์ และตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลการซื้อขาย และการป้องกันการกระทําไม่เป็นธรรมในตลาดทุน (5) ติดตามข่าวสารและพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (6) จัดการระบบฐานข้อมูลลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เกี่ยวข้องจากการดําเนินคดี (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 23 ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2 มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ตลอดจนพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทําอันฝ่าฝืนหรือกระทําผิดกฎหมายในลักษณะการบริหารงานที่เป็นการฉ้อโกง และการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ใช้ความระมัดระวังหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งจําเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือใช้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเชิงลึก (2) นําเสนอผลสรุปการตรวจสอบและความเห็น รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายให้คณะกรรมการด้านตรวจสอบและคดีพิจารณาก่อนจะเสนอสํานักงาน (3) ประสานงานและสนับสนุนด้านข้อมูลกับฝ่ายคดี พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ สําหรับการดําเนินการทางอาญา และร่วมกับฝ่ายคดีในการฟ้องผู้กระทําผิดต่อศาลเพื่อกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง สําหรับการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง (4) จัดการระบบฐานข้อมูลลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เกี่ยวข้องจากการดําเนินคดี (5) ประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานอื่น เช่น สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือและดําเนินการตามบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีร่วมกัน (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 24 ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ตรวจสอบ สอบทาน และประเมินด้วยวิธีการตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน เพื่อให้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิผลของกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน (2) ให้คําปรึกษาหรือข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบาย ก.ล.ต.องค์กรปลอดคอร์รัปชัน (3) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ (4) ปฏิบัติงานด้านเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 25 ฝ่ายตราสารหนี้ มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) กําหนดนโยบายในการพัฒนาและกํากับดูแลตลาดตราสารหนี้ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกตราสารหนี้ประเภทใหม่ ๆ และกํากับดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (2) กําหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาคําขออนุญาตเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ หุ้นกู้อนุพันธ์ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และกํากับดูแลตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ ได้แก่ ที่ปรึกษาการเงิน ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ นายทะเบียนหุ้นกู้ และ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งรวมถึงการกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การให้ความเห็นชอบผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวการกํากับดูแล และการพิจารณาเรื่องร้องเรียน (3) กํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ผู้ค้าตราสารหนี้ นายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ให้ได้มาตรฐานและแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งรวมถึงการกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย Thai BMA การกํากับดูแลสมาชิก การพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว (4) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 26 ฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ศึกษาและติดตามเทคนิคการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินงานด้านพนักงานใหม่ ๆ เพื่อนํามาปรับใช้ในงานสํานักงาน (2) รับผิดชอบงานด้านบริหารบุคคลของสํานักงาน ซึ่งรวมถึงการจัดโครงสร้างองค์กร จัดทําแผนอัตรากําลัง การสรรหาพนักงาน การประเมินผล การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ (3) รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาพนักงาน รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นําสําหรับผู้บริหาร การฝึกอบรม การพัฒนาสายงานอาชีพ การพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพและการจัดทําแผนสืบทอดตําแหน่ง รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ (4) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน รวมถึงการสื่อสารและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทํางานให้เป็นองค์กรน่าทํางาน (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 27 ฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายและคดีปกครอง มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ให้คําปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายต่อส่วนงานต่าง ๆ ของสํานักงาน (2) วางแนวทางในการต่อสู้คดีปกครองที่สํานักงาน คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี รวมรวมพยานหลักฐานเพื่อแก้ต่าง และจัดทําเอกสารเพื่ออธิบายความเชื่อมโยงของพยานหลักฐานรวมทั้งเหตุผลของการกระทําอันเป็นสาเหตุแห่งการถูกฟ้องคดี ตลอดจนเป็นผู้แทนในการติดต่อกับศาลจนคดีถึงที่สุด (3) ดูแลรับผิดชอบการดําเนินกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งของสํานักงานและคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดทําสรุปข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน และจัดทําความเห็นเสนอคณะอนุกรรมการซึ่งทําหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ ตลอดจนปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะอนุกรรมการ รวมถึงการสรุปข้อเท็จจริงและนําเสนอความเห็นของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาวินิจฉัย รวมทั้งแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ (4) ยกร่างบันทึกความร่วมมือ บันทึกข้อตกลง (เฉพาะที่สํานักงานทํากับหน่วยงานหรือองค์กรในประเทศ) สัญญา ข้อบังคับ คําสั่ง และระเบียบที่ใช้กับงานภายในของสํานักงาน กรรมการ และพนักงานของสํานักงาน (5) ดูแลรับผิดชอบการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ติดต่อประสานกับคู่กรณี และปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของอนุญาโตตุลาการ (6) ติดตามพัฒนาการกฎหมายที่อาจมีผลกระทบต่อการดําเนินงานของสํานักงานและดูแลให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 28 ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ติดตามและนําเสนอการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มีการนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ ของสํานักงานอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ศึกษา ติดตาม และให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในตลาดทุน รวมถึงประเมินผลกระทบในด้านการกํากับดูแลของสํานักงาน และให้การสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกําหนดมาตรการรองรับอย่างเหมาะสม (3) บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารการจัดการเครือข่ายข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (4) วิเคราะห์ จัดหา และออกแบบระบบงานเพื่อการใช้งานภายในและให้บริการต่อบุคคลภายนอก (5) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 29 ฝ่ายนโยบายธุรกิจจัดการลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) เสนอแนะนโยบายเพื่อการพัฒนาและกํากับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสํารองเลี้ยงชีพและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจจัดการลงทุน (เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวม ผู้รับฝากทรัพย์สินกองทุนส่วนบุคคล (ไม่รวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และบริษัทในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์) เป็นต้น)การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน รวมถึงออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) พิจารณาคําขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมรวมทั้งการตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง (3) ติดตามและวิเคราะห์ภาวะตลาดทุนและการลงทุนของกองทุนรวม เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ เสนอแนะนโยบายแก้ไขปัญหา รวมถึงวางแนวทางเพื่อจํากัดความเสียหายและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมกองทุนรวมและตลาดทุนโดยรวม (4) ประสานงานและกํากับดูแลการทําหน้าที่ของสมาคมหรือองค์กรกํากับดูแลตนเองในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจจัดการลงทุน และธุรกิจนายหน้า ค้า และจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ซักซ้อม สื่อสาร และตอบข้อหารือผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งประสานงานกับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) สนับสนุนการเสนอขายกองทุนรวมข้ามประเทศ โดยมองหาโอกาสอํานวยความสะดวก และช่วยลดอุปสรรคให้แก่บริษัทจัดการ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานกํากับดูแลด้านตลาดทุนในต่างประเทศ (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 30 ฝ่ายนโยบายธุรกิจตัวกลาง มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ 1. เสนอแนะนโยบายในการพัฒนาและกํากับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน นายหน้าและจัดจําหน่ายตราสารหนี้ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจเฉพาะสินค้าเกษตร และบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตั้งแต่การให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากร ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร นักวิเคราะห์ รวมถึงผู้แนะนําการลงทุนที่อยู่ภายใต้สังกัดของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทําความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากร 3. ติดตามดูแลการบริหารความเสี่ยงในด้านฐานะการเงินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสินค้าเกษตร และธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อมิให้กระทบต่อลูกค้า ระบบการชําระราคาและส่งมอบ ตลอดจนความเชื่อมั่นของตลาดทุนโดยรวม 4. กํากับดูแลตลาดหลักทรัพย์และบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎเกณฑ์ในการกํากับดูแลสมาชิก เช่น การพิจารณาให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์สําคัญ ๆ ในการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด รวมถึงการมีส่วนร่วมเข้าตรวจสอบ 5. ประสานงานกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเรียนรู้ รับฟังข้อมูลอย่างเปิดใจ รวมถึงการให้ความเห็นชอบประกาศหรือแนวทางของสมาคมหรือองค์กรดังกล่าว 6. ติดตามพัฒนาการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ในตลาดทุน เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงประสานงานกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจหรือองค์กรกํากับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันการยกระดับความพร้อมรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์ในภาคธุรกิจตลาดทุน 7. ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 31 ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และการนําหลักธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมาย บูรณาการเข้ากับกระบวนการทํางาน การตัดสินใจของทั้งสํานักงานเพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน และการเป็นหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล (2) จัดทํากรอบนโยบายและแผนการบริหารความเสี่ยงองค์กร และแผนบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินงาน โดยอิงมาตรฐานสากล (3) จัดทําแผนการบริหารความเสี่ยง รายงานความคืบหน้าการปฏิบัติตามแผน ผลสัมฤทธิ์ผลของการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อผู้บริหารระดับสูง คณะอนุกรรมการกํากับดูแลความเสี่ยง และคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามลําดับ (4) เสนอแนะแนวทาง สนับสนุน และให้คําแนะนําฝ่ายงานในการออกแบบและปรับปรุงกระบวนการทํางาน รวมถึงจัดให้มีสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร (5) สนับสนุน ติดตาม ให้ความรู้ คําแนะนําแก่ฝ่ายงานและพนักงานในเรื่องธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง และกระบวนการทํางาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์กร (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 32 ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 1 มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ยกร่างและปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและกํากับดูแล (ก) การเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อการระดมทุนหรือเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเงินของภาคธุรกิจ และการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ข) การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ค) การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (ง) ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมตาม (ก) (ข) และ (ค) ได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้สอบบัญชี บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ตาม (ก)) ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (จ) การกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์และโทเคนดิจิทัล (2) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตาม (1) (3) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 33 ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ยกร่างและปรับปรุงประกาศเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและกํากับดูแล (ก) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ธุรกิจตัวกลาง และกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว (ข) ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชี องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และบรรดาสมาคมหรือองค์กรที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจดังกล่าว (2) ให้คําปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตาม (1) (3) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 34 ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ศึกษา กําหนดท่าที นโยบาย และยุทธศาสตร์ของตลาดทุนไทย และท่าทีกลยุทธ์กับตลาดทุนต่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาค พหุภาคี และทวิภาคี เพื่อให้ตลาดทุนไทยแข่งขันได้ในระดับสากลและมีความน่าเชื่อถือ สามารถตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (2) ติดตามการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสากลสําคัญในตลาดทุนและพัฒนาการของตลาดทุนต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนฝ่ายงานต่าง ๆ ในการปรับปรุงแนวทางการกํากับดูแลของสํานักงานให้เทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล (3) จัดทําแผนกลยุทธ์ของสํานักงานและดําเนินการด้านการต่างประเทศ ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาตลาดทุนไทย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสํานักงาน (4) ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความรู้ และผลักดันให้ทุกฝ่ายงานมีการดําเนินการ ติดตาม ประเมินผลและรายงานตามแผนกลยุทธ์ที่กําหนด (5) พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ความเสี่ยงด้านตลาดทุน ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยส่งเสริมและสนับสนุนฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ ติดตาม ควบคุมและลดความเสี่ยงในตลาดทุน และประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อระบบการเงินร่วมกัน แต่ไม่รวมการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (6) เป็นทีมเลขานุการการประชุมหรือทํางานร่วมระหว่างหน่วยงานกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง (7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 35 ฝ่ายวิจัย มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ให้บริการด้านงานวิจัยเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสํานักงาน โดยจัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านพัฒนาการต่าง ๆของตลาดทุน รวมถึงโอกาสและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในงานด้านนโยบายของสํานักงาน (2) ให้คําปรึกษาและร่วมเป็นคณะทํางานกับฝ่ายงานและหน่วยงานต่าง ๆในประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือต่อยอดงานวิจัย รวมทั้งสนับสนุนด้านเทคนิคและการวิเคราะห์แก่ฝ่ายงานต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และกลไกในตลาดทุน (3) เผยแพร่และแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมและจัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับตลาดทุน (4) พบปะ สื่อสาร เรียนรู้ สร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานต่าง ๆ และนํามาสู่การพัฒนางานวิจัยเชิงนโยบาย (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 36 ฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนแก่ประชาชนซึ่งประกอบด้วยผู้สนใจลงทุน ผู้ลงทุน รวมถึงกรรมการและสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและผู้ที่ต้องการระดมทุน (2) ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการเงิน การลงทุน การระดมทุน และตลาดทุน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตาม (1) ผ่านโครงการ สื่อ และเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ตลอดจนการออกไปพบปะประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม (3) พัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนด้านตลาดทุนในต่างจังหวัด เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการทํางานของสํานักงานในพื้นที่ และสนับสนุนการทํางานแบบมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน (4) เป็นศูนย์กลางประสานงาน และทํางานแบบบูรณาการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ในด้านการให้ความรู้ การให้คําแนะนํา รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาดทุน (5) ติดตามการเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มของสถานการณ์ในตลาดทุน ผลิตภัณฑ์ด้านตลาดทุนใหม่ ๆ ศึกษาพฤติกรรมของผู้ลงทุน เพื่อทําความเข้าใจความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ลงทุน และสามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและหลากหลายในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ป้องกันหรือป้องปรามโอกาสเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ลงทุน (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 37 ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ติดตาม ศึกษาพัฒนาการและผลกระทบของนวัตกรรม / เทคโนโลยีทางการเงิน และรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนและสินทรัพย์ดิจิทัล วิเคราะห์และเสนอท่าที นโยบาย แนวทางการพัฒนาและกํากับดูแลที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุน / สินทรัพย์ดิจิทัลในไทย (2) ผลักดัน ดําเนินการ และร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสํานักงาน เพื่อทําให้เกิดระบบนิเวศน์ และแนวทางดําเนินการซึ่งสนับสนุนให้นวัตกรรมทางการเงินที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นได้จริงในไทย รวมทั้งให้คําแนะนําเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องภายนอกเกี่ยวกับการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (3) เสนอนโยบาย ออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการ ระบบคราวด์ฟันดิง รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายทะเบียน เป็นต้น (4) ให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับนวัตกรรม / เทคโนโลยีทางการเงินและรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนและสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการกรณีการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต (5) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน ดังนี้ (ก) ออกและแก้ไขประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) (ข) พิจารณาคําขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน รวมทั้งสอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกและเสนอขายดังกล่าวภายหลังการเสนอขาย (ค) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ง) ติดตามและพิจารณาดําเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน ที่ไม่ได้รับอนุญาต และประสานงานกับสายงานบังคับใช้กฎหมาย เพื่อดําเนินการทางกฎหมายต่อไป (จ) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และรวบรวมข้อมูลกรณีที่สงสัยว่าผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลอาจมีการกระทําหน้าที่บกพร่อง รวมทั้งพิจารณาข้อบกพร่องและมาตรการลงโทษผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 38 ฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) กําหนดแนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้างการประกอบธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) กําหนดแนวทางและดําเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดแรงผลักดันจากสังคม โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดําเนินการตาม (1) (3) ดําเนินการหรือสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดทําคู่มือ เครื่องมือช่วยให้ความรู้ในเรื่องตาม (1) และ (2) กับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสถาบัน หน่วยงานและ/หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (4) ดําเนินการหรือสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของบริษัทจดทะเบียนและผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ตลอดจนสํานักงาน (5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 39 ฝ่ายสื่อสารและบริการผู้ลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้ (1) ติดตามข้อมูลข่าวสาร กําหนดท่าที กลยุทธ์ ดําเนินการสื่อสาร และให้คําปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงในประเด็นที่เป็นข่าว รวมถึงจัดเตรียมร่างข่าวและงานสื่อมวลชนสัมพันธ์โดยทํางานร่วมกับโฆษกของสํานักงาน (2) กําหนดกลยุทธ์และดําเนินการบริหารจัดการภาพลักษณ์ของสํานักงานการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ การเขียนบทความ การจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ การบริหารจัดการสื่อโซเชียลของสํานักงาน (อาทิ เฟสบุค ทวิตเตอร์)การจัดกิจกรรมและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง (3) เป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลสําหรับผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องและรับเบาะแสและเรื่องร้องเรียนจากบุคคลภายนอก ซึ่งรวมทั้งบริหารจัดการโดยประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้การดําเนินการของสํานักงานมีความรวดเร็วและช่วยยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ลงทุน (4) บริหารจัดการเว็บไซต์ขององค์กร เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการบริการผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง (5) บริหารจัดการการแปลข่าว ประกาศและข้อมูลสําคัญอื่น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ (6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 40 สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสํานักงานตั้งอยู่เลขที่ 333/3ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2033-9999โทรสาร 0-2033-9660 การติดต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถกระทําผ่านสํานักงานได้ตามสถานที่ทําการข้างต้น หรือทาง email: [email protected] นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,377
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 290)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ ๒๙๐) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๙๘) พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๔๗๖) ของข้อ ๑ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔๗๖) ศูนย์วิจัยสุขภาพบีดีเอ็มเอส บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จํากัด (มหาชน)” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๔๗) และ (๗๔๘) ของข้อ ๑ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ “(๗๔๗) หน่วยงาน New Solution Development บริษัท เอสซีจี รูฟฟิ่ง จํากัด (๗๔๘) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท โอเพ่นแลนด์สเคป จํากัด (มหาชน)” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับกรณีดังต่อไปนี้ (๔๗๖) ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป (๗๔๗) ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป (๗๔๘) ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กุลยา ตันติเตมิท (นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
11,378
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 441) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๔๑) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๘) พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือในการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1)ต้องเป็นการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือในการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสํานักงานสภานโยบายการุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotics Excellence : CoRE) 1. (2)ต้องเริ่มการศึกษาหรือฝึกอบรมหลักสูตรตาม (๑) ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ ข้อ ๒ การศึกษาหรือการฝึกอบรมในหลักสูตรตามข้อ ๑ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้างนั้น ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กุลยา ตันติเตมิท (นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
11,379
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 440) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการจ้างแรงงาน ลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๔๐) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการจ้างแรงงาน ลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๔ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๗) พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสําหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย สําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่มีทักษะสูง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1. (1)เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงานที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ หรือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงานที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๓๙) พ.ศ. ๒๕๖๔ หรือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงานที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้วแต่กรณี อื่นๆ (2)บุคลากรที่จ้างต้องเป็นบุคลากรที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ อื่นๆ (3)ตําแหน่งงานที่จ้างต้องเป็นตําแหน่งงานของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้ทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ข้อ ๒ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต้องจัดทํารายงานแสดงรายละเอียดการจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะสูงซึ่งมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กุลยา ตันติเตมิท (นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
11,380
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 439) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๓๙) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๕ (๑) และมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๓๘) พ.ศ. ๒๕๖๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๖) พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๑ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๒๑) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนที่เกิดขึ้นจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทํานองเดียวกัน ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๘” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๓ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๒๑) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑)จัดทําโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติและแผนการจ่ายเงินตามตารางการแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินตามที่แนบท้ายประกาศนี้และแจ้งต่ออธิบดีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามประสงค์ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้แจ้งภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ (ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามประสงค์ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ ให้แจ้งภายในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๙” ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กุลยา ตันติเตมิท (นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
11,381
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 545) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
**ประกาศกระทรวงการคลัง** ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 545) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔)พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 827 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 827 ) มูลนิธิกาญจนสิริ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕6 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕7 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,382
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 544) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 544) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 826 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 826 ) มูลนิธิสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดชลบุรี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕6 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕7 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,383
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 543) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 543) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 825 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 825 ) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มพพ.)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,384
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 542) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 542) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 824 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 824 ) มูลนิธิรวมใจช่วยนักเรียนยากจน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,385
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 541) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 541) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 823 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 823 ) มูลนิธิปานจิตต์ – สมัยสินี อเนกวณิช” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,386
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 540) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 540) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 822 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 822 ) มูลนิธิมหาสมุทรแห่งปัญญา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,387
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 539) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 539) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (821 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 821 ) มูลนิธิรุจิรวงศ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,388
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 538) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 538) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (820 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 820 ) มูลนิธิปิยมหาราชานุสรณ์ จังหวัดเชียงราย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,389
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 537) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 537) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (819 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 819 ) มูลนิธิเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลหัวหิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2556 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,390
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 536) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 536) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 818 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑2 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕35 “( 818 ) มูลนิธินักรบไทย ไทรทองเทพนิมิต” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,391
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 535) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 535) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (817) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑5 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕5๕ “(817) มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,392
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 534) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 534) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 816 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 816 ) มูลนิธิเสริมกล้า” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,393
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 533) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 533) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 815 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 815 ) มูลนิธิสยามบรมราชกุมารี เพื่อโรงเรียนจิตรลดา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,394
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 532) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๓2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘๑4) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(๘๑4) มูลนิธิพุทธสมุนไพร คู่แผ่นดินไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,395
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 531) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่ง พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ __________________
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 531) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่ง พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจที่จะประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วและเป็นธรรมในการพิจารณากําหนดดังกล่าว จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของมูลนิธิหรือสมาคมที่จะพิจารณาประกาศกําหนดเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ” หมายความว่า รายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะในประเทศไทย เช่น การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และหมายความรวมถึงรายจ่ายเพื่อการรณรงค์ ส่งเสริมหรือปลูกจิตสํานึกต่อสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๔) เรื่อง กําหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา ๖๕ ตรี (๓) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓ มูลนิธิที่ประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลจะต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคําขอเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลัง ข้อ ๔ ชื่อมูลนิธิจะต้องไม่เป็นชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้า ข้อ ๕ มูลนิธิจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะในประเทศไทยเท่านั้นและจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งที่จะให้ประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ ข้อ ๖ การดําเนินงานของมูลนิธิต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และไม่มีการดําเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว และไม่มีการใช้ชื่อมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว ข้อ ๗ กรมสรรพากรจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการดําเนินงานของมูลนิธินั้นก่อน เช่น งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว โดยจะตรวจสอบย้อนหลังหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าปรากฏดังต่อไปนี้ จะไม่ประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล (๑) รายได้ของมูลนิธิได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา หรือรายได้เฉพาะดอกผลของมูลนิธิได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ดอกผลในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมากรณีตราสารจัดตั้งระบุว่า ให้นําดอกผลมาเป็นรายจ่ายเท่านั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นต้องเก็บสะสมรายได้เพื่อดําเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ (๒) รายได้ของมูลนิธิจะต้องมิใช่เป็นการได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการโดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้นเกี่ยวข้องกับการศาสนาการศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นํารายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น (๓) รายจ่ายของมูลนิธิเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๕ ของรายจ่ายทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา (๔) รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะของมูลนิธิต้องกระจายเป็นการทั่วไป ข้อ ๘ มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นยังไม่ครบ ๑ ปี จะไม่พิจารณาประกาศให้ ข้อ ๙ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่มิได้มีฐานะเป็นมูลนิธิจะไม่พิจารณาประกาศให้ เว้นแต่จะมีวัตถุประสงค์และการดําเนินงานเช่นเดียวกับมูลนิธิจะพิจารณาประกาศให้เป็นราย ๆ ไป ในหลักเกณฑ์เดียวกันหรือตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๐ มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๙ จะไม่ประกาศให้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะพิจารณาเห็นสมควร ข้อ ๑๑ มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษา ที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลแล้ว เว้นแต่สภากาชาดไทย วัดวาอาราม และสถานพยาบาล หรือสถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ใบรับที่ออกให้แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งซึ่งบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ให้ระบุลําดับที่ได้รับการประกาศด้วย (๒) ส่งรายงานการประชุมใหญ่ งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่าย พร้อมทั้งรายงานการดําเนินงานของกิจการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาให้กรมสรรพากรทราบภายใน ๑๕๐ วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยยื่นผ่านสํานักงานสรรพากรพื้นที่ที่องค์การหรือสถานสาธารณกุศลนั้นตั้งอยู่ ข้อ ๑๒ มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลแล้ว ให้สํานักงานสรรพากรภาคที่องค์การหรือสถานสาธารณกุศลนั้นตั้งอยู่ ดําเนินการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานเกี่ยวกับผลการดําเนินงาน หากปรากฏว่า ผลการดําเนินงานเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้แจ้งผลการตรวจสอบให้กรมสรรพากรทราบเพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลังเพิกถอน การประกาศต่อไป ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกาศเพิกถอนในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๑) การดําเนินงานขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลไม่ตรงตามวัตถุประสงค์หรือมีการใช้ชื่อมูลนิธิดําเนินการเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว (๒) รายได้ขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ทั้งสิ้นในสามรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา หรือรายได้เฉพาะดอกผลขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของรายได้ดอกผลในสามรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมากรณีตราสารจัดตั้งระบุว่า ให้นําดอกผลมาเป็นรายจ่ายเท่านั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นต้องเก็บสะสมรายได้เพื่อดําเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ (๓) รายจ่ายขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๖๕ ของรายจ่ายทั้งสิ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและรายจ่ายดังกล่าวได้นําไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ของรายจ่ายทั้งสิ้นในสามรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควร (๔) รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะขององค์การหรือสถานสาธารณกุศลไม่กระจายเป็นการทั่วไป และรายได้ของมูลนิธิได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการโดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้นเกี่ยวข้องกับการศาสนาการศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นํารายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น (๕) องค์การหรือสถานสาธารณกุศลไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ องค์การหรือสถานสาธารณกุศลที่ถูกเพิกถอนการประกาศแล้ว หากประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลใหม่ สามารถยื่นคําขอได้เมื่อพ้นสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกาศเพิกถอนในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,396
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๓๐) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๓๐) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘๑๓) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(๘๑๓) มูลนิธิสายเด็ก 1387” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,397
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 529) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 529) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (812 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 812 ) มูลนิธินิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่น 28” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,398
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 528) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 528) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (811 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 811 ) มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,399
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 527) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 527) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (810 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 810 ) มูลนิธิทองประทาน โดย พล.ต.อ. สมชาย วาณิชเสนีและคณะผู้ก่อตั้ง เพื่อการศึกษาชาวฉะเชิงเทรา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,400
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 526) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 526) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (809 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 809 ) มูลนิธิ 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,401
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 525) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 525) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (808 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 808 ) มูลนิธิสนับสนุนสถาบันพยาธิวิทยา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,402
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 524) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 524) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (807 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 807 ) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,403
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 523) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 523) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (806 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 806 ) มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,404
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 522) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 522) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (805 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 805 ) มูลนิธิสวัสดิการทหารบก” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,405
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 521) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๒๑) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๘๐๔ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “ ( ๘๐๔ ) มูลนิธิสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,406
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 520) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 520) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (803) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 803 ) มูลนิธิเพื่อพระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,407
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 519) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 519) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (802) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 802 ) มูลนิธิโรงพยาบาลพระปกเกล้า” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,408
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 518) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 518) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (800) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 800 ) มูลนิธิอาสาสมัครนานาชาติช่วยงานสังคมสงเคราะห์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,409
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 517) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 517) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (800) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 800 ) มูลนิธิอาสาสมัครนานาชาติช่วยงานสังคมสงเคราะห์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,410
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 516) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 516) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 799 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 799 ) สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,411
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 515) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๑๕) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๙๘ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “ ( ๗๙๘ ) มูลนิธิโรงพยาบาลหาดใหญ่” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,412
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 514) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 514) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 797 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 797 ) มูลนิธิศูนย์รักษ์สุนัขหัวหิน ในพระบรมราชูปถัมภ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,413
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 513) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 513) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 796 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 796 ) มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,414
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 512) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 512) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 795 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 795 ) โครงการ 99 ล้าน ถวายไท้องค์ราชัน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,415
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 511) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 511) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 794 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 794 ) มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,416
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 510) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 510) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 793 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 793 ) มูลนิธิวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,417
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 16/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๖/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) มาตรา ๒๐๕ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ ผู้ขอรับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่มีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นบริษัทหลักทรัพย์รวมกันไม่น้อยกว่า ๑๕ ราย (๒) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ตาม (๑) มีการจัดทําข้อตกลงจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมีข้อตกลงอย่างน้อยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างสมาชิกผู้ก่อตั้ง และเหตุที่จะเลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (๓) แสดงได้ว่าศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะจัดตั้งมีคุณสมบัติและลักษณะตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ เมื่อได้จัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว การยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง (๒) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงได้ว่าศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะจัดตั้งมีคุณสมบัติและลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (๑) มีทุนในการดําเนินงานไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ล้านบาท (๒) มีกรรมการที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งมีวาระการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง และจํานวนกรรมการ ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีกรรมการอิสระอย่างน้อย ๑ ใน ๓ ของจํานวนกรรมการทั้งหมด (๓) มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับการประกอบการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ส่วนของทุนในการดําเนินงานต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจรวม ๖ เดือน และคํานวณจากงบบัญชีล่าสุด โดยต้องอยู่ในรูปของทรัพย์สินที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่องเพียงพอ (๔) มีระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ และระบบการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ ซึ่งดําเนินการโดยสํานักหักบัญชีหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรืออยู่ระหว่างยื่นขอรับใบอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะดําเนินการโดยตนเองหรือบุคคลอื่น หรือดําเนินการโดยผู้ที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้สามารถประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ได้โดยมิต้องได้รับใบอนุญาต (๕) มีมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ที่เพียงพอ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าว โดยอนุโลม และจัดให้มีการทดสอบการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (penetration test) ให้ครบถ้วนทุกระบบงานทุก ๓ ปี โดยเรียงลําดับความสําคัญตามผลการประเมินความเสี่ยง และรายงานผลการทดสอบดังกล่าวต่อสํานักงานภายในไตรมาสแรกของปีถัดจากปีที่มีการทดสอบแต่ละระบบ (๖) มีมาตรการรักษาความลับของสมาชิกและผู้ใช้บริการ (๗) มีมาตรการจัดการข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเกิดจากการใช้บริการที่จัดโดยศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (๘) มีมาตรการป้องกันศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ จากการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (๙) มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขาย ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ (ก) ขั้นตอนและวิธีการซื้อขายของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจะต้องเปิดเผยการจัดลําดับและการจับคู่คําสั่งซื้อขายด้วย (ข) ประเภทหลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้บนศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ รวมถึงข้อจํากัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของหลักทรัพย์ในแต่ละประเภท (๑๐) มีหลักเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ที่มีข้อกําหนดที่จะไม่รับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์อื่น มาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (๑๑) มีกลไกในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในส่วนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอิสระจากการบริหารจัดการของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และรายงานการปฏิบัติงานโดยตรงต่อคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (๑๒) มีระเบียบหรือข้อบังคับของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และการดําเนินการเกี่ยวกับการกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว รวมถึงการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก ผู้ลงทุน หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (๑๓) มีหนังสือยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นใด เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๖ หมวด ๒ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต จัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบอื่นตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน และต้องชําระค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตตามหมวด ๔ การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐาน และการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีความจําเป็นและสมควร และได้รับความยินยอมจากผู้ขอรับใบอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นใด เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานตรวจสอบรายละเอียดในคําขอและเอกสารหลักฐานนั้น หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวครบถ้วน แต่หากเห็นว่ายังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตดําเนินการแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขให้ถูกต้องหรือครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะดําเนินการต่อไป และให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมการประกอบการตามหมวด ๔ หมวด ๓ เงื่อนไขภายหลังการได้รับใบอนุญาต จัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเริ่มประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อสํานักงานตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (๒) มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การป้องกัน การล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ ตลอดจนมีโครงสร้างของคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์อันจําเป็นต่อการดําเนินงานของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และมีกรรมการอิสระที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ เป็นกลาง และมีความเป็นธรรม โดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ความมั่นคงปลอดภัย และเสถียรภาพของระบบตลาดทุนเป็นสําคัญ (๓) มีผู้จัดการศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่สามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาและเป็นไปตาม เงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ (๔) มีผู้บริหาร ที่ปรึกษา และผู้รับผิดชอบสูงสุดในงานเกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน ที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ (๕) ไม่มีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (๖) สํานักหักบัญชีและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่แสดงไว้ตามข้อ ๔ (๔) สามารถประกอบการได้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (๗) มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (๘) ระเบียบหรือข้อบังคับของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ ๔ (๓) ถึง (๑๒) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเริ่มประกอบธุรกิจภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรซึ่งทําให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่อาจแสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจตามข้อ ๙ (๗) และ (๘) อันเป็นเหตุให้ไม่อาจเริ่มประกอบธุรกิจได้ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจยื่นคําขอผ่อนผันระยะเวลาการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันกําหนดเวลาการเริ่มประกอบธุรกิจได้อีกไม่เกิน ๑๘๐ วัน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นผล ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจได้แต่เฉพาะตามที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ (๑) การให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (๒) ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือธุรกิจอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องดํารงคุณสมบัติและลักษณะตามข้อ ๔ และดําเนินการในเรื่องที่ได้แสดงไว้ในข้อ ๙ ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจสั่งเลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ หมวด ๔ ค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (๑) คําขอรับใบอนุญาต คําขอละ ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้ชําระพร้อมกับการยื่นคําขอรับใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ชําระในวันที่ได้รับใบอนุญา ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมการประกอบการต่อสํานักงานในอัตราร้อยละ ๐.๐๐๒ ของมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามวรรคหนึ่ง เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าปีละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท และไม่สูงกว่าปีละ ๒๐ ล้านบาท ข้อ ๑๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ ๑๔ ภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือถูกสั่งให้เลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ให้ชําระค่าธรรมเนียมภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่เลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือวันที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งให้เลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบการต่อสํานักงานตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,418
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.162/2566 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.๑๖๒/๒๕๖๖ เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนําผู้อยู่ในประเทศไทยซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ อื่นๆ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑ ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.๑๖๑/๒๕๖๖ เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗” อื่นๆ สั่ง ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กุลยา ตันติเตมิท (นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
11,419
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 509) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 509) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 792 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 792 ) มูลนิธิพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,420
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 508) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 508) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 791 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 791 ) มูลนิธิสายน้ํา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,421
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 507) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 507) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 790 ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( 790 ) มูลนิธิผาแดงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,422
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 506) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๐๖) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๙ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(๗๘๙) มูลนิธิเคมบริดจ์ (ไทย) ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินของมูลนิธิฯ ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2555 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,423
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 505) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๐๕) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๘ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(๗๘๘) มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,424
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 504) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 504) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (787) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(787) มูลนิธิสถาบันพยาธิวิทยา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2555 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,425
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 503) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 503) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (786) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศลสถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “(786) มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕5 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕6 เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕5 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2555 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,426
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 502) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๐๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๕ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๘๕ ) มูลนิธิปันบุญ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,427
ระกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 501) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๐๑) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๔ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๘๔ ) โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,428
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 500) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๐๐) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๓ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๘๓ ) มูลนิธิเพื่อนศิลปิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,429
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 499) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๙) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๒ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๘๒ ) มูลนิธิบ้านราชาวดี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,430
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 498) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๘) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๑ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๘๑ ) มูลนิธิชวาล – มาลัย ไชยธีระพันธ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,431
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 497) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๗) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๘๐ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๘๐ ) มูลนิธิโรงพยาบาลสุรินทร์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,432
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 496) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๖) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๗๙ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๗๙ ) มูลนิธิการประถมศึกษา สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,433
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 495) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๕) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๗๘ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๗๘ ) มูลนิธิสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,434
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 494) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๔) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๗๗ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๗๗ ) มูลนิธิส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,435
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 493) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๓) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๗๖ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๗๖ ) มูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,436
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 492) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๗๕ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๗๕ ) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาชุมชนเมือง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,437
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 491) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๙๑) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( ๗๗๔ ) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗(๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓(๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๗๔ ) มูลนิธิสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,438
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 490) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 490) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 773 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 773 ) มูลนิธิอิออนประเทศไทย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,439
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 489) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 489) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 772 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 772 ) มูลนิธิหออภิบาลสงฆ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,440
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 488) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 488) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 771 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 771 ) มูลนิธิยกเต้งอุทิศ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,441
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 487) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 487) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 770 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 770 ) มูลนิธิคนตาบอดไทย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,442
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 486) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 486) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 769 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 769 ) มูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2555 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,443
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 485) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 485) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 768 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 768 ) มูลนิธิบ้านอารีย์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,444
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 484) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 484) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 767 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 767 ) มูลนิธิตํารวจจังหวัดยะลา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,445
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 483) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 483) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 766 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 766 ) มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,446
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 482) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 482) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 765 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 765 ) มูลนิธิวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,447
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 481) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 481) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 764 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 764 ) มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อน รังสิต” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,448
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 480) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 480) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 763 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 763 ) มูลนิธิกู้ภัย ร่มไทร” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,449
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตประกอบการเป็น สำนักหักบัญชี
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๗/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตประกอบการเป็น สํานักหักบัญชี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) มาตรา ๒๒๒ ประกอบกับมาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือรับประโยชน์จากหุ้น เกินกว่าร้อยละ ๑๐ ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับใบอนุญาต “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอํานาจโดยทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) อํานาจกําหนดหรือควบคุมการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาต (๒) อํานาจกําหนดหรือควบคุมการได้มา จําหน่าย หรือก่อภาระผูกพันในหุ้นที่ออกโดยผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) อํานาจกําหนดหรือควบคุมในลักษณะอื่นใดตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าอํานาจดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากข้อตกลง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือโดยประการอื่นใด และไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการได้มาหรือการถือหุ้นโดยตนเองหรือโดยบุคคลอื่น การคํานวณหุ้นหรือประโยชน์จากหุ้น ให้นับรวมจํานวนหุ้นหรือประโยชน์จากหุ้นของบุคคลที่มีลักษณะหรือความสัมพันธ์ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด ๑ ผู้ขอรับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็น (๑) ธนาคารพาณิชย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญา สํานักหักบัญชีสัญญา สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี หรือผู้ที่อยู่ระหว่างยื่นคําขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และ (๒) ต้องมิใช่ผู้ประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตต่อเมื่อมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีไม่มีทุนจดทะเบียนให้พิจารณาจากส่วนของเจ้าของในรอบปีบัญชีล่าสุด หากไม่มีส่วนของเจ้าของให้พิจารณาจากทุนในการดําเนินงาน (๒) แสดงได้ว่าศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งจะใช้บริการสํานักหักบัญชีที่จะจัดตั้งขึ้น ได้รับใบอนุญาตหรืออยู่ระหว่างยื่นขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์จากคณะกรรมการ ก.ล.ต. (๓) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี อย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (๔) แสดงได้ว่าจะให้บริการเฉพาะหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (๕) แสดงได้ว่าจะมีการนํานวัตกรรม (innovative financial services) มาใช้ในการประกอบการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อโครงสร้างพื้นฐานของตลาดทุนไทย (๖) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (๗) ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจอื่นหรือประสงค์จะประกอบธุรกิจอื่น ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (ก) แสดงได้ว่ามีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วหรือส่วนของเจ้าของในรอบปีบัญชีล่าสุดหรือทุนในการดําเนินงานเพียงพอสําหรับการประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งแยกต่างหากจากทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วหรือส่วนของเจ้าของในรอบปีบัญชีล่าสุดหรือทุนในการดําเนินงานสําหรับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี (ข) ธุรกิจอื่นของผู้ขอรับใบอนุญาตต้อง ๑. เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี ๒. ไม่มีความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของสมาชิกหรือผู้ใช้บริการ เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการควบคุมความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของสมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม ๓. ไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ค) งบการเงินประจําปีงวดการบัญชีปีล่าสุดของผู้ขอรับใบอนุญาตต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ง) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ ในกรณีไม่มีเงินกองทุนและเงินสํารองให้พิจารณาจากทุนในการดําเนินงาน (จ) ได้รับความยินยอมให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีจากหน่วยงานที่ควบคุมการประกอบธุรกิจอื่นของนิติบุคคลนั้น (๘) ไม่มีประวัติดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนก่อนวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต (ก) เคยถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. ปฏิเสธการให้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี (ข) เคยถอนคําขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีในระหว่างการพิจารณาคําขอ (ค) เคยถูกสํานักงานจําหน่ายเรื่องออกจากสารบบเนื่องจากไม่แก้ไขความบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามข้อ ๗ (๙) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับจดทะเบียน (๑๐) ไม่เป็นผู้ที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับจดทะเบียน เว้นแต่จะพ้นโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี (๑๑) มีหนังสือยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นใด เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ตามข้อ ๖ หมวด ๒ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบอื่น ตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน และต้องชําระค่าธรรมเนียมคําขอรับใบอนุญาตตามหมวด ๓ การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐาน และการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีความจําเป็นและสมควร และได้รับความยินยอมจากผู้ขอรับใบอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นใด เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานตรวจสอบรายละเอียดในคําขอและเอกสารหลักฐานนั้น หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวครบถ้วน แต่หากเห็นว่ายังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตดําเนินการแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขให้ถูกต้องหรือครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะดําเนินการต่อไป และให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ในกรณีผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างยื่นคําขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตนั้นได้ใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้รับใบอนุญาตดังต่อไปนี้ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ ๙ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเริ่มประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีได้ต่อเมื่อสํานักงานตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (ข) มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (ค) มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีมีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (ง) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา และผู้รับผิดชอบสูงสุดในงานเกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ (จ) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ (ฉ) กฎเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ ๔ (๓) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรซึ่งทําให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่อาจแสดงความพร้อมในการประกอบการตามข้อ ๘ (๑) (ค) หรือ (ฉ) อันเป็นเหตุให้ไม่อาจเริ่มประกอบการได้ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจยื่นคําขอผ่อนผันระยะเวลาการเริ่มประกอบการต่อสํานักงานก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าวได้ โดยสํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันกําหนดเวลาการเริ่มประกอบการได้อีกไม่เกิน ๑๘๐ วัน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นผล (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องดํารงคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๓ และข้อ ๔ รวมทั้งดําเนินการในเรื่องที่ได้แสดงไว้ใน (๑) ตลอดเวลาที่ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวได้ ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างยื่นคําขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๘ เว้นแต่เงื่อนไขตามข้อ ๘ (๑) (จ) หมวด ๓ ค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (๑) คําขอรับใบอนุญาตประกอบการ เป็นสํานักหักบัญชี คําขอละ ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการ เป็นสํานักหักบัญชี ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้ชําระในวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ชําระในวันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีชําระค่าธรรมเนียมการประกอบการต่อสํานักงานในอัตราร้อยละ ๐.๐๐๐๕ ของมูลค่าชําระราคาหลักทรัพย์ (settlement value) ในสํานักหักบัญชีดังกล่าว ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามวรรคหนึ่ง เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าปีละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท และไม่สูงกว่าปีละ ๑๐ ล้านบาท ข้อ ๑๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ ๑๐ ภายในวันที่ ๓๑ มกราคมของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเลิกประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหรือถูกสั่งให้เลิกสํานักหักบัญชี ให้ชําระค่าธรรมเนียมภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่เลิกสํานักหักบัญชีหรือวันที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งให้เลิกสํานักหักบัญชี แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,450
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๘/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตประกอบการเป็น ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) มาตรา ๒๒๒ ประกอบกับมาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือรับประโยชน์จากหุ้น เกินกว่าร้อยละ ๑๐ ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับใบอนุญาต “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอํานาจโดยทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) อํานาจกําหนดหรือควบคุมการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาต (๒) อํานาจกําหนดหรือควบคุมการได้มา จําหน่าย หรือก่อภาระผูกพันในหุ้นที่ออกโดยผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) อํานาจกําหนดหรือควบคุมในลักษณะอื่นใดตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าอํานาจดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากข้อตกลง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือโดยประการอื่นใด และไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการได้มาหรือการถือหุ้นโดยตนเองหรือโดยบุคคลอื่น การคํานวณหุ้นหรือประโยชน์จากหุ้น ให้นับรวมจํานวนหุ้นหรือประโยชน์จากหุ้นของบุคคลที่มีลักษณะหรือความสัมพันธ์ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด ๑ ผู้ขอรับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็น (๑) บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือผู้ที่อยู่ระหว่างยื่นคําขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และ (๒) ต้องมิใช่ผู้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี หรือสํานักหักบัญชีสัญญา ข้อ ๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตต่อเมื่อมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีไม่มีทุนจดทะเบียนให้พิจารณาจากส่วนของเจ้าของในรอบปีบัญชีล่าสุด หากไม่มีส่วนของเจ้าของให้พิจารณาจากทุนในการดําเนินงาน (๒) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ อย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (๓) แสดงได้ว่าจะให้บริการเฉพาะหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (๔) แสดงได้ว่าจะมีการนํานวัตกรรม (innovative financial services) มาใช้ในการประกอบการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อโครงสร้างพื้นฐานของตลาดทุนไทย (๕) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (๖) ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจอื่นหรือประสงค์จะประกอบธุรกิจอื่น ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (ก) แสดงได้ว่ามีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วหรือส่วนของเจ้าของในรอบปีบัญชีล่าสุดหรือทุนในการดําเนินงานเพียงพอสําหรับการประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งแยกต่างหากจากทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วหรือส่วนของเจ้าของในรอบปีบัญชีล่าสุดหรือทุนในการดําเนินงานสําหรับการประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ข) ธุรกิจอื่นของผู้ขอรับใบอนุญาตต้อง ๑. เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ๒. ไม่มีความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของสมาชิกหรือผู้ใช้บริการ เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการควบคุมความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของสมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม ๓. ไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ค) งบการเงินประจําปีงวดการบัญชีปีล่าสุดของผู้ขอรับใบอนุญาตต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ง) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ ในกรณีไม่มีเงินกองทุนและเงินสํารองให้พิจารณาจากทุนในการดําเนินงาน (จ) ได้รับความยินยอมให้ประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จากหน่วยงานที่ควบคุมการประกอบธุรกิจอื่นของนิติบุคคลนั้น (๗) ไม่มีประวัติดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนก่อนวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต (ก) เคยถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. ปฏิเสธการให้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ข) เคยถอนคําขอรับใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในระหว่างการพิจารณาคําขอ (ค) เคยถูกสํานักงานจําหน่ายเรื่องออกจากสารบบเนื่องจากไม่แก้ไขความบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามข้อ ๗ (๘) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับจดทะเบียน (๙) ไม่เป็นผู้ที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับจดทะเบียน เว้นแต่จะพ้นโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี (๑๐) มีหนังสือยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นใด เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ตามข้อ ๖ หมวด ๒ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบอื่น ตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน และต้องชําระค่าธรรมเนียมคําขอรับใบอนุญาตตามหมวด ๓ การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐาน และการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีความจําเป็นและสมควร และได้รับความยินยอมจากผู้ขอรับใบอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นใด เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานตรวจสอบรายละเอียดในคําขอและเอกสารหลักฐานนั้น หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวครบถ้วน แต่หากเห็นว่ายังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตดําเนินการแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขให้ถูกต้องหรือครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะดําเนินการต่อไป และให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ในกรณีผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างยื่นคําขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตนั้นได้ใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้รับใบอนุญาตดังต่อไปนี้ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ ๙ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเริ่มประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ได้ต่อเมื่อสํานักงานตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (ข) มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (ค) มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีมีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (ง) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา และผู้รับผิดชอบสูงสุดในงานเกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ (จ) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ (ฉ) กฎเกณฑ์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่จําเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ ๔ (๒) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรซึ่งทําให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่อาจแสดงความพร้อมในการประกอบการตามข้อ ๘ (๑) (ค) หรือ (ฉ) อันเป็นเหตุให้ไม่อาจเริ่มประกอบการได้ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจยื่นคําขอผ่อนผันระยะเวลาการเริ่มประกอบการต่อสํานักงานก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าวได้ โดยสํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันกําหนดเวลาการเริ่มประกอบการได้อีกไม่เกิน ๑๘๐ วัน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นผล (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องดํารงคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๓ และข้อ ๔ รวมทั้งดําเนินการในเรื่องที่ได้แสดงไว้ใน (๑) ตลอดเวลาที่ประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวได้ ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างยื่นคําขอรับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๘ เว้นแต่เงื่อนไขตามข้อ ๘ (๑) (จ) หมวด ๓ ค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (๑) คําขอรับใบอนุญาตประกอบการ เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ คําขอละ ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตประกอบการ เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้ชําระในวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ชําระในวันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมการประกอบการต่อสํานักงานในอัตราร้อยละ ๐.๐๐๑ ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่รับฝากในรอบปีปฏิทินในศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดังกล่าว โดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ที่รับฝาก ณ สิ้นวันทําการมาถัวเฉลี่ย ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามวรรคหนึ่ง เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าปีละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท และไม่สูงกว่าปีละ ๑๐ ล้านบาท ข้อ ๑๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ ๑๐ ภายในวันที่ ๓๑ มกราคมของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเลิกประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือถูกสั่งให้เลิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ให้ชําระค่าธรรมเนียมภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่เลิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือวันที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งให้เลิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,451
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) มาตรา ๒๒๒ ประกอบกับมาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. ๑๗/๒๕๓๙ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๕/๒๕๔๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๓) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๓๐/๒๕๔๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ (๔) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๓๒/๒๕๔๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๙/๒๕๕๘ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ (๖) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๘/๒๕๖๐ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ หมวด ๑ ผู้ขอรับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตต่อเมื่อมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และต้องเป็นบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (๒) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีไม่มีทุนจดทะเบียนให้พิจารณาจากส่วนของเจ้าของในรอบปีบัญชีล่าสุด หากไม่มีส่วนของเจ้าของให้พิจารณาจากทุนในการดําเนินงาน (๓) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (๔) แสดงได้ว่าจะจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์แยกต่างหากจากหน่วยงานอื่น (๕) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ อย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (๖) ไม่มีประวัติดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนก่อนวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต (ก) เคยถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. ปฏิเสธการให้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต (ข) เคยถอนคําขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ในระหว่างการพิจารณาคําขอ (ค) เคยถูกสํานักงานจําหน่ายเรื่องออกจากสารบบเนื่องจากไม่แก้ไขความบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามข้อ ๗ (๗) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับจดทะเบียน (๘) ไม่เป็นผู้ที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับจดทะเบียน เว้นแต่จะพ้นโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี (๙) มีหนังสือยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจ เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ตามข้อ ๖ หมวด ๒ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบอื่นตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน และต้องชําระค่าธรรมเนียมคําขอรับใบอนุญาตตามหมวด ๔ การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐาน และการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๖ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีความจําเป็นและสมควร และได้รับความยินยอมจากผู้ขอรับใบอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจ เพื่อตรวจสอบฐานะการเงิน การดําเนินงาน สินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ ข้อ ๗ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานตรวจสอบรายละเอียดในคําขอและเอกสารหลักฐานนั้น หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานดังกล่าวครบถ้วน แต่หากเห็นว่ายังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตดําเนินการแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขให้ถูกต้องหรือครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะดําเนินการต่อไป และให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้รับใบอนุญาตดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเริ่มให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้ต่อเมื่อสํานักงานตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถแสดงได้ถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (ข) มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (ค) มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามที่ได้แสดงไว้ในคําขอ เว้นแต่กรณีมีความแตกต่างกันเพียงวิธีการซึ่งมิได้ทําให้ระบบงานและบุคลากรที่ได้แสดงไว้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรซึ่งทําให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่อาจแสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจตามข้อ ๘ (๑) (ค) อันเป็นเหตุให้ไม่อาจเริ่มให้บริการได้ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจยื่นคําขอผ่อนผันระยะเวลาการเริ่มให้บริการต่อสํานักงานก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันกําหนดเวลาการเริ่มให้บริการได้อีกไม่เกิน ๑๘๐ วัน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นผล หมวด ๓ การเพิกถอนใบอนุญาต และการขอเลิกให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ หรือดําเนินการตามเงื่อนไขในข้อ ๘ (๑) ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดําเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๐ คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยข้อเสนอแนะของสํานักงานอาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ ๙ (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในหมวด ๔ (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้สํานักงานแจ้งคําสั่งตามวรรคหนึ่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบเป็นหนังสือ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์โดยเร็ว ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะเลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้แจ้งการเลิกการให้บริการให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ และให้มีหนังสือแจ้งการดําเนินการดังกล่าวพร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน และให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด หมวด ๔ ค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ คําขอละ ๓๐,๐๐๐ บาท (2) ใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้ชําระในวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ชําระในวันที่ได้รับใบอนุญาต บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดในใบอนุญาตดังกล่าวจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ แต่ต้องดําเนินการตามข้อ ๔ (๒) ให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๔ คําขอรับใบอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไว้แล้วในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการต่อไปตามประกาศเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,452
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2566 เรื่อง การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. ๑๙/๒๕๖๖ เรื่อง การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่อง ในการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อ ๑๑ (๒) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๖/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ กําหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือธุรกิจอื่นได้แต่เฉพาะตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ได้แต่เฉพาะธุรกิจให้บริการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (๑) การเป็นสํานักหักบัญชี (๒) การเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (๓) การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (๔) การให้บริการด้านข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ (๕) การให้บริการอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับการให้บริการตาม (๑) ถึง (๔) การประกอบธุรกิจให้บริการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายที่กํากับดูแลธุรกิจดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
11,453
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบ สำหรับคำขอและหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามพระราชบัญญัติ การปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดแบบ สําหรับคําขอและหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามพระราชบัญญัติ การปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๒ และข้อ ๕ วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวง การขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดแบบการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้แบบคําขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน และแบบหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ เป็นแบบคําขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน และเป็นแบบหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน ตามข้อ ๒ และข้อ ๕ วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวง การขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. ๒๕๖๖ ข้อ ๒ ให้ผู้ที่มีความประสงค์จะยื่นคําขอให้ออกหนังสือรับรองตามข้อ ๑ ยื่นแบบคําขอดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการลงทะเบียนการเข้าใช้งานระบบยื่นแบบและ ชําระภาษีออนไลน์ (e-Filing) ให้ถือว่าการยื่นคําขอให้ออกหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง มีผลสําเร็จเมื่อได้รับแจ้งข้อความยืนยันผ่านระบบของกรมสรรพากร ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กุลยา ตันติเตมิท (นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
11,454
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการส่งข้อมูลผ่านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่จัดทำขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงาน (International Data Exchange Service)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการส่งข้อมูลผ่านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่จัดทําขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนําส่งข้อมูลที่ต้องรายงาน (International Data Exchange Service) อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง การรวบรวมและนําส่งข้อมูลที่ต้องรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจ พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ การส่งข้อมูลผ่านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จัดทําขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนําส่งข้อมูลที่ต้องรายงาน (International Data Exchange Service) ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ความตกลง” หมายความว่า ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ และการดําเนินการตาม FATCA ซึ่งทําขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แนบท้ายพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ “บัญชีทางการเงิน” หมายความว่า บัญชีทางการเงินตามข้อ ๑ อนุวรรคหนึ่ง ถ) ของความตกลง และไม่เป็นบัญชีทางการเงินที่ถูกยกเว้นการรายงานตามที่กําหนดในเอกสารแนบท้ายความตกลง ๒ “บัญชีสหรัฐที่ต้องรายงาน” หมายความว่า บัญชีทางการเงินตามข้อ ๑ อนุวรรคหนึ่ง ภ) ของความตกลง “ระบบ IDES” หมายความว่า ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จัดทําขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนําส่งข้อมูลที่ต้องรายงาน (International Data Exchange Service) “เลขทะเบียน GIIN” หมายความว่า เลขทะเบียนระบุตัวตนของผู้มีหน้าที่รายงานตามความตกลง(Global Intermediary Identification Number) “ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)” หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใดซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) กับข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) “ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)” หมายความว่า องค์กรที่ให้บริการเกี่ยวกับการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) เพื่อรับรองตัวตนของบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยมีมาตรฐานตามที่ได้รับการยอมรับโดยสรรพากรสหรัฐอเมริกา (IRS) “เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจ” หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะผู้ได้รับมอบอํานาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ข้อ ๒ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานดําเนินการ ดังนี้ (๑) ยื่นคําขอมีเลขทะเบียน GIIN ผ่านระบบ FATCA Registration System ทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th (๒) จัดให้มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) (๓) สมัครเข้าใช้งานระบบ IDES ผ่านทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยใช้ข้อมูลตาม (๑) และ (๒) รวมถึงระบุข้อมูลที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email Address) ของผู้มีหน้าที่รายงาน ข้อ ๓ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานจัดเตรียมข้อมูลของผู้มีหน้าที่รายงาน และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงาน ตามที่กําหนดในข้อ ๒ อนุวรรคสอง (ก) ของความตกลงดังต่อไปนี้ ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์นามสกุล XML ตาม FATCA XML Schema ในระบบ IDES (๑) ข้อมูลบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงานที่มีอยู่ก่อนวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้แก่ (ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี และผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) (ข) เลขบัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่สามารถใช้แทนเลขบัญชีใด้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงานไม่สามารถระบุเลขบัญชีทางการเงินนั้นได้ (ค) ชื่อและเลข GIIN ของผู้มีหน้าที่รายงาน (ง) ยอดคงเหลือหรือมูลค่าในบัญชีทางการเงิน รวมถึงในกรณีของสัญญาประกันภัย มูลค่าเงินสดหรือสัญญาประกันชีวิตแบบเงินรายปี มูลค่าเงินสดหรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ วันสิ้นสุดของปีปฏิทินที่เกี่ยวข้อง หรือวันที่มีการปิดบัญชีในกรณีที่บัญชีถูกปิดระหว่างปี ทั้งนี้ ในกรณีมีการปิดบัญชีระหว่างปี จะต้องมีการหามูลค่าทันทีก่อนการปิดบัญชีนั้น (๒) ข้อมูลบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงานที่มีอยู่ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้แก่ (ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี และผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) (ข) เลขบัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่สามารถใช้แทนเลขบัญชีใด้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงานไม่สามารถระบุเลขบัญชีทางการเงินนั้นได้ (ค) ชื่อและเลข GIIN ของผู้มีหน้าที่รายงาน (ง) ยอดคงเหลือหรือมูลค่าในบัญชีทางการเงิน รวมถึงในกรณีของสัญญาประกันภัย มูลค่าเงินสดหรือสัญญาประกันชีวิตแบบเงินรายปี มูลค่าเงินสดหรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ วันสิ้นสุดของปีปฏิทินที่เกี่ยวข้อง หรือวันที่มีการปิดบัญชีในกรณีที่บัญชีถูกปิดระหว่างปี ทั้งนี้ ในกรณีมีการปิดบัญชีระหว่างปี จะต้องมีการหามูลค่าทันทีก่อนการปิดบัญชีนั้น (จ) กรณีบัญชีผู้ดูแลสินทรัพย์ ได้แก่ ผลรวมของดอกเบี้ยทั้งหมด ผลรวมของเงินปันผลทั้งหมด และผลรวมของเงินได้อื่นใดทั้งหมดที่เกิดจากสินทรัพย์ในบัญชี ซึ่งในแต่ละกรณี ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นใดดังกล่าวที่จ่าย หรือเครดิตเข้าบัญชี หรือเกี่ยวเนื่องกับบัญชีระหว่างปีปฏิทิน (ฉ) กรณีบัญชีเงินฝาก จํานวนรวมของดอกเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตเข้าบัญชีระหว่างปีปฏิทิน หรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม (ช) กรณีบัญชีใด ๆ นอกจากบัญชีตาม (จ) หรือ (ฉ) จํานวนรวมทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตให้กับเจ้าของบัญชีซึ่งเกี่ยวเนื่องกับบัญชีดังกล่าวระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสมซึ่งผู้มีหน้าที่รายงานเป็นผู้มีภาระผูกพันหรือเป็นลูกหนี้รวมถึงการจ่ายเงินค่าไถ่ถอนทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าของบัญชีในระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม (๓) ข้อมูลบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงานที่มีอยู่ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป (ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี และผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) (ข) เลขบัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่สามารถใช้แทนเลขบัญชีใด้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงานไม่สามารถระบุเลขบัญชีทางการเงินนั้นได้ (ค) ชื่อและเลข GIIN ของผู้มีหน้าที่รายงาน (ง) ยอดคงเหลือหรือมูลค่าในบัญชีทางการเงิน รวมถึงในกรณีของสัญญาประกันภัย มูลค่าเงินสดหรือสัญญาประกันชีวิตแบบเงินรายปี มูลค่าเงินสดหรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ วันสิ้นสุดของปีปฏิทินที่เกี่ยวข้อง หรือวันที่มีการปิดบัญชีในกรณีที่บัญชีถูกปิดระหว่างปี ทั้งนี้ ในกรณีมีการปิดบัญชีระหว่างปี จะต้องมีการหามูลค่าทันทีก่อนการปิดบัญชีนั้น (จ) กรณีบัญชีผู้ดูแลสินทรัพย์ ได้แก่ ๑) ผลรวมของดอกเบี้ยทั้งหมด ผลรวมของเงินปันผลทั้งหมด และผลรวมของเงินได้อื่นใดทั้งหมดที่เกิดจากสินทรัพย์ในบัญชี ซึ่งในแต่ละกรณี ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นใดดังกล่าวที่จ่าย หรือเครดิตเข้าบัญชี หรือเกี่ยวเนื่องกับบัญชีระหว่างปีปฏิทิน และ ๒) เงินได้รวมทั้งหมดจากการขายหรือไถ่ถอนทรัพย์สินที่จ่ายหรือเครดิตเข้าบัญชีระหว่างปีปฏิทิน ซึ่งผู้มีหน้าที่รายงานดําเนินการในฐานะผู้รับฝาก นายหน้า ผู้กระทําการแทนหรือตัวแทนอื่นใดสําหรับเจ้าของบัญชี (ฉ) กรณีบัญชีเงินฝาก จํานวนรวมของดอกเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตเข้าบัญชีระหว่างปีปฏิทิน หรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม (ช) กรณีบัญชีใด ๆ นอกจากบัญชีตาม (จ) หรือ (ฉ) จํานวนรวมทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตให้กับเจ้าของบัญชีซึ่งเกี่ยวเนื่องกับบัญชีดังกล่าวระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสมซึ่งผู้มีหน้าที่รายงานเป็นผู้มีภาระผูกพันหรือเป็นลูกหนี้รวมถึงการจ่ายเงินค่าไถ่ถอนทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าของบัญชีในระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงานไม่สามารถจัดหาข้อมูลหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ผู้มีหน้าที่รายงานดําเนินการดังนี้ (๑) ระบุวัน เดือน ปีเกิด ของผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) (๒) ทําการติดต่อขอหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) เป็นประจําทุก ๆ ปีปฏิทิน (๓) ทําการค้นหาหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของ ผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) ในช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (๔) ระบุสาเหตุที่ไม่สามารถจัดหาข้อมูลหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) โดยกรอกรหัส ในไฟล์รายงาน ตามที่กรมสรรพากรกําหนดไว้บนเว็บไซต์กรมสรรพากร (๕) จัดเก็บหลักฐานตาม (๑) ถึง (๔) เป็นเวลา ๖ ปีนับแต่วันสิ้นสุดปีปฏิทินถัดจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กุลยา ตันติเตมิท (นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
11,455
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 479) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 479) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 762 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 762 ) โครงการจัดทํารายการโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชุด “84 พรรษา ใต้ร่มพระบารมี”” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,456
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 478) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 478) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ 2508 และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 761 ) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “( 761 ) โครงการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัย ถวายเป็นพระราชกุศล โดยคู่สมรสคณะรัฐมนตรี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (1) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2554 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป (2) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,457
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 477) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๗๗) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘ และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗๖๐) ของข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กําหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๕๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ “( ๗๖๐) มูลนิธิอินทร์-คําบาง ศรีนิลทา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับ (๑) สําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป (๒) สําหรับมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ตรีช่ว บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
11,458
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 42/2561 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 42/2561เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มพนักงานบริษัท ออลเน็กซ์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 208/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท จีซีพี (ไทยแลนด์) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 209/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จํากัดซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 257/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 374/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที.แอล. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 32/2534 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) เพื่อพนักงาน บีทีเอ็มยูเดิม ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 81/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานบริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 158/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สํานักข่าว เอ.พี. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 99/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จํากัดซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 390/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มโฟร์โมสต์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 56/2536 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 11. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 15/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | | (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | | *หมายเหตุ* การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพข้างต้นเป็นการโอนย้ายไปเข้าร่วมกองทุนที่มีหลายนายจ้าง และหลายนโยบายการลงทุน จํานวน 10 กองทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ กองทุนและเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่สมาชิก และนายจ้างเลิกกิจการ จํานวน 1 กองทุน
11,459
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 20/2561 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 20/2561เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษาเมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท คอบร้า อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 21/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ การยางแห่งประเทศไทย 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 47/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนาคารดอยซ์ แบงก์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2556 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทพฤกษา โฮลดิ้ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2560 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 69/2537 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2560 6. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เอ็มเอสดี แอนิมัลเฮ็ลธ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 305/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัท สยามเจ้าพระยา โฮลดิ้งส์ จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 15/2542 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 8. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เอส.ซี. ยอห์นสัน แอนด์ ซัน จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 185/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 9. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บีฟิท ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 550/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 10. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เอ็น วาย เค ไลน์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 77/2541 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 11. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กรุงไทยทวีทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 114/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | | (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | | *หมายเหตุ* การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพข้างต้นเป็นการโอนย้ายไปเข้าร่วมกองทุนที่มีหลายนายจ้าง และหลายนโยบายการลงทุน และการยุบรวมกองทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ กองทุนและเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่สมาชิก
11,460
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 19/2561 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สท. 19/2561เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2560 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทพฤกษา โฮลดิ้ง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2560 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท อาโทส ไอที โซลูชั่นส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 3/2560 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 4. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 4/2560 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | | (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | |
11,461
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ นป. 2/2560 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ (ฉบับประมวล)
-ร่าง- ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2/2560เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (“ประกาศ ที่ ทธ. 35/2556”)และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2560เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560 (“ประกาศ ที่ สน. 18/2560”) กําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคํานึงถึงความต้องการและประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญตามหลักธรรมาภิบาลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (Product Governance) นั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมสํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 12 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) (5)และ (7) แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 และข้อ 3 แห่งประกาศ ที่ สน. 18/2560 จึงกําหนดแนวทาง ปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญตามแนวทางปฏิบัตินี้จนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 และประกาศ ที่ สน. 18/2560 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการต่างจากแนวทางปฏิบัตินี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 และประกาศ ที่ สน. 18/2560 ข้อ 2 แนวทางปฏิบัติตามประกาศนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญตามที่กําหนดในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศแนวปฏิบัตินี้ทั้งนี้ รายละเอียดดังกล่าวได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดโครงสร้างองค์กร บทบาทของคณะกรรมการ และหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง (2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (Product Development) (3) การคัดเลือกตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุน และการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (Distributor Selection and Communication) (4) การติดตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและการทําหน้าที่ของตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุน (Product and Distributor Monitoring) ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้วเมื่อวันที่ 22/2/2560 .CSDS เลขที่ 58/2559ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS
11,462